การเก็บเกี่ยวผลอโวคาโดบนพื้นที่สูง

Page 1

คู่มือการเก็บเกี่ยว ผลอาโวคาโด บนพื้นที่สูง มูลนิธิโครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง ที่ปรึกษา ............................................................................................................................... • นางสาวรุจิรา ริมผดี ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) • ดร.ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ ผู้ประสานงาน งานพัฒนาและส่งเสริมการผลิตไม้ผลขนาดเล็ก ไม้ผลเขตร้อน และไม้ผลกึ่งร้อน มูลนิธิโครงการหลวง • นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ รองผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) • นางสาวเพชรดา อยู่สุข ผู้อ�ำนวยการส�ำนักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) รวบรวม/ เรียบเรียง ............................................................................................................. • สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ดร.อัจฉรา ภาวศุทธิ์ นางสาวจิระนิล แจ่มเกิด • มูลนิธิโครงการหลวง นายสานิตย์ นิรพาธ นายประเสริฐ จอมดวง นายชัตชนะ สุขเทศ พิมพ์ครั้งที่ 1 จ�ำนวนพิมพ์ จัดท�ำโดย ISBN

สิงหาคม 2561 1,000 เล่ม ส�ำนักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) 65 หมู่ 1 ถนนสุเทพ ต�ำบลสุเทพ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ……..

พิมพ์ที่

วนิดาการพิมพ์ 14/2 หมู่ 5 เทศบาลต�ำบลสันผีเสื้อ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์/โทรสาร 0 5311 0503-4


ค�ำน�ำ คูม่ อื การเก็บเกีย่ วผลอาโวคาโด เป็นผลจากการ ด�ำเนินงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการเก็บเกี่ยวผลผลิต อาโวคาโดของเกษตรกรบนพื้นที่สูง ที่เก็บผลที่ยังไม่ แก่ไปจ�ำหน่าย ซึง่ ปกติใช้วธิ กี ารสังเกตจากการเปลีย่ น สีผิวของผล แต่บางพันธุ์จะไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ ภายนอกของผลให้เห็นชัดเจนเมือ่ ผลแก่และสุก จึงยาก ต่อการสังเกตของผู้ปลูกที่ไม่ช�ำนาญ และอาโวคาโด แต่ละพันธุ์ยังมีช่วงการเก็บเกี่ยวผลไม่พร้อมกัน และ แม้จะเป็นพันธุเ์ ดียวกันแต่หากปลูกคนละแห่งทีส่ ภาพ แวดล้อมต่างกัน อาจท�ำให้ผลแก่เร็วหรือช้ากว่ากันได้ จึงท�ำให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลที่ยังไม่แก่ และเมื่อน�ำ ไปจ�ำหน่าย ผูบ้ ริโภคจะได้รบั ผลทีไ่ ม่สามารถบ่มให้สกุ และรับประทานได้ คูม่ อื นีป้ ระกอบด้วย ความส�ำคัญของการเก็บเกีย่ ว ผลอาโวคาโด วิธีการเก็บเกี่ยวผล ดัชนีการเก็บเกี่ยว การบ่มผล คุณค่าทางอาหาร และการใช้ประโยชน์ของ อาโวคาโด คณะผูจ้ ดั ท�ำขอขอบคุณสถานีเกษตรหลวง อิ น ทนนท์ ศู น ย์ พั ฒ นาโครงการหลวงหนองเขี ย ว ศูนย์พฒ ั นาโครงการหลวงทุง่ เริงทีเ่ อือ้ เฟือ้ สถานทีแ่ ละ อ�ำนวยความสะดวกในการวิจยั และหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า คู่มือนี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกร ผูป้ ลูกอาโวคาโดบนพืน้ ทีส่ งู เพือ่ ให้ผลผลิตไปสูผ่ บู้ ริโภค โดยมีคุณภาพที่ดี คณะผู้จัดท�ำ สิงหาคม 2561


สารบัญ ความส�ำคัญของการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโด

1

วิธีการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโด

10

ดัชนีการเก็บเกี่ยวอาโวคาโด

22

การบ่มผลอาโวคาโด

27

คุณค่าทางอาหารและการใช้ประโยชน์ของอาโวคาโด

29


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

ความส�ำคัญ ของการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโด อาโวคาโด (Avocado: Persea americana Miller.) เป็นไม้ผลเขตร้อนของ ประเทศในทวีปอเมริกากลาง มูลนิธิโครงการหลวงได้น�ำอาโวคาโดมาส่งเสริมให้ เกษตรกรบนพืน้ ทีส่ งู ปลูกเป็นอาชีพจนเป็นไม้ผลเศรษฐกิจทีส่ ำ� คัญชนิดหนึง่ ในปัจจุบนั โดยมีการศึกษาคัดเลือกพันธุ์ส�ำหรับปลูกเป็นการค้าในประเทศไทย พัฒนาเทคนิค การปลูก และการดูแลรักษา ตลอดจนการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมด้านการตลาด ท�ำให้เป็นที่รู้จักของคนไทย อาโวคาโดสามารถปลูกได้ตั้งแต่พื้นราบจนถึงพื้นที่สูง 1,000 เมตร เป็นไม้ผลยืนต้นที่มีใบเขียวตลอดปี สามารถปลูกเป็นป่าได้ และมีพันธุ์ ที่หลากหลายท�ำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ต่อเนื่อง อาโวคาโดเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทาง อาหารสูงซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคได้ให้ความสนใจด้านอาหารสุขภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถน�ำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ได้แก่ แชมพู โลชั่นทาผิว อาโวคาโดจึงเป็นพืช ที่มีศักยภาพการผลิตบนพื้นที่สูงและมีโอกาสทางการตลาดอย่างมาก พันธุ์อาโวคาโด ที่เป็นพันธุ์ส่งเสริมหลักของมูลนิธิโครงการหลวง ได้แก่ พันธุ์ปีเตอร์สัน (Peterson) ฮอล (Hall) บูท 7 (Booth 7) บูท 8 (Booth 8) บัคคาเนีย (Buccaneer) พิงค์เคอตัน (Pinkerton) และแฮส (Hass) มีปริมาณผลผลิตที่ผ่านฝ่ายตลาดมูลนิธิโครงการหลวง ประมาณ 177,000 กิโลกรัมต่อปี และมีบางส่วนที่เกษตรกรจ�ำหน่ายเอง

ลักษณะผลอาโวคาโด 5


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

อย่างไรก็ตาม การผลิตอาโวคาโดบนพื้นที่สูงยังมีปัญหาเรื่องของการเก็บเกี่ยว ผลผลิต ผู้เก็บเกี่ยวต้องอาศัยประสบการณ์และความช�ำนาญในการสังเกตจาก การเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงของสีผิวของผล การเกิด จุดประสีน�้ำตาลบนผล แต่บางพันธุ์เมื่อแก่ผิวผลยังคงเป็นสีเขียวอยู่ ต้องสังเกต ที่ขั้วผลเปลี่ยนจากเขียวเป็นเหลือง หรือผลมีจุดสี และบางพันธุ์จะไม่เปลี่ยนแปลง ลักษณะภายนอกของผลให้เห็นชัดเจนเมื่อผลแก่และสุก นอกจากการสังเกตจาก การเปลีย่ นแปลงลักษณะภายนอกแล้ว การดูการเปลีย่ นแปลงลักษณะภายในของผล เช่น การดูเยื่อหุ้มเมล็ดเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีนำ�้ ตาล และการดูสีเนื้อผลเปลี่ยนเป็น สีเหลือง รวมทั้งวิธีอื่นด้วย เช่น ฤดูกาลเก็บเกี่ยว การนับอายุผล อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เพื่อเป็นการสนับสนุนบ่งชี้ว่าผลแก่สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว นอกจากนี้ อาโวคาโดแต่ละพันธุย์ งั มีชว่ งการเก็บเกีย่ วผลไม่พร้อมกัน พันธุเ์ ดียวกัน ปลูกต่างพืน้ ที่ สภาพแวดล้อมต่างกัน การแก่ของผลเร็วหรือช้ากว่ากันได้ 1-3 สัปดาห์ บ่อยครั้งการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อส่งจ�ำหน่ายของเกษตรกร ยังมีการผิดพลาดคือ มีผลที่ยังไม่แก่ และผลที่ไม่แก่จัดปลอมปนมากับผลที่แก่จัดด้วย ผู้บริโภคจะได้รับ ผลอาโวคาโดทีไ่ ม่แก่จดั คุณภาพต�ำ ่ รสชาติไม่ดี และบางครัง้ ได้รบั ผลอาโวคาโดไม่แก่ ไม่สามารถบ่มให้สุกและรับประทานได้ จึงส่งผลเสียหายในด้านการตลาดอย่างมาก ในการผลิตอาโวคาโดเพือ่ การค้าไม่ควรมีความผิดพลาดในการเก็บเกีย่ วผลผลิต ความแก่ของผลมีผลต่อการสุกและคุณภาพของผลผลิต อายุของผลมีความส�ำคัญต่อ การเก็บเกีย่ วผลผลิตมาก จะสามารถบอกช่วงการเก็บเกีย่ วผลผลิตของแต่ละสายพันธุ์ ได้แน่นอนมากขึ้นถ้ามีการมัดป้ายบอกวันที่ออกดอก 50% ไว้ที่ช่อดอกของแต่ละ สายพันธุโ์ ดยการค�ำนวณ และใช้รว่ มกับวิธอี นื่ ๆ ในการเก็บเกีย่ วผลผลิต ดัชนีการเก็บเกีย่ ว ผลผลิตอาโวคาโดมีหลายวิธสี ามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม

เปลือกหุ้มเมล็ด (เยื่อหุ้มเมล็ด) .................................................................

การเปลีย่ นแปลงของเปลือกหุม้ เมล็ดสามารถบอกถึงความแก่ของผลอาโวคาโด ได้ และได้นำ� มาใช้กบั อาโวคาโดในรัฐฟลอริดา มีการตรวจสอบความหนาของเปลือก หุม้ เมล็ดของอาโวคาโดพันธุ์ Fuerte เมือ่ ผลยังไม่แก่ เปลือกหุม้ เมล็ดมีสขี าว หนา สด แต่เมื่อผลแก่พบว่าเปลือกหุ้มเมล็ดบางลงอย่างรวดเร็ว ในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว พบว่า เปลือกหุม้ เมล็ดเหีย่ วและเปลีย่ นเป็นสีนำ�้ ตาล อย่างไรก็ตาม มีความผันแปรอย่างมาก 6


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

ของสีของเปลือกหุ้มเมล็ดและการสุกแก่ของผลอาโวคาโด เปลือกหุ้มเมล็ดสีน�้ำตาล พบได้บอ่ ยครัง้ ในผลทีย่ งั ไม่แก่ ซึง่ การเปลีย่ นแปลงของเปลือกหุม้ เมล็ดนีข้ นึ้ อยูก่ บั พันธุ์ และฤดูกาลทีแ่ ตกต่างกัน เช่นเดียวกับการเปลีย่ นแปลงของเปลือกหุม้ เมล็ดมักพบใน ผลทีผ่ ดิ ปกติ เช่น ผลทีไ่ ม่มเี มล็ด ผลทีถ่ กู ท�ำลายโดยความร้อน หรือผลทีเ่ ก็บเกีย่ วแล้ว ดังนัน้ การใช้สขี องเปลืองหุม้ เมล็ดเพือ่ เป็นตัวก�ำหนดระยะเก็บเกีย่ วของผลอาโวคาโด ใช้ได้ในผลทีส่ ดและปกติเท่านัน้

การนับอายุผล ...........................................................................................

การนับอายุผลเพื่อก�ำหนดวันเก็บเกี่ยวถูกใช้เป็นดัชนีเก็บเกี่ยวในรัฐฟลอริดา และหาความสัมพันธ์ระหว่างการก�ำหนดวันเก็บเกี่ยว น�้ำหนักผล ขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลางผล กับรสชาติ ในอาโวคาโด พบว่าการก�ำหนดวันเก็บเกีย่ วได้ผลทีด่ ตี อ่ รสชาติ มากที่สุด ขณะที่ น�้ำหนักผล และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางผลมีความสัมพันธ์น้อยกว่า การก�ำหนดวันเก็บเกีย่ ว และมีงานวิจยั ทีร่ ายงานว่าการก�ำหนดวันเก็บเกีย่ วเป็นวิธที ดี่ ี ที่สุดส�ำหรับอาโวคาโด Florida

น�้ำหนักแห้ง ...............................................................................................

น�้ำหนักแห้ง เป็นน�้ำหนักที่น�้ำได้ถูกท�ำให้ออกไปจากผลจนหมด ซึ่งพบว่า เปอร์เซ็นต์นำ�้ หนักแห้งเพิม่ ขึน้ เมือ่ ผลแก่ และพบว่ามีความสัมพันธ์กนั ระหว่างปริมาณ น�้ำมันและน�้ำหนักแห้ง การเพิ่มขึ้นของน�้ำหนักแห้งระหว่างสุกแก่เนื่องมาจากการ เพิม่ ขึน้ ของปริมาณน�้ำมัน และถูกน�ำมาใช้เป็น harvesting index ในรัฐ New South Wales ของออสเตรเลีย โดยผลอาโวคาโดที่แก่จะต้องมีเปอร์เซ็นต์น�้ำหนักแห้ง 21 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการหาเปอร์เซ็นต์นำ�้ หนักแห้งที่เพิ่มขึ้นระหว่างการพัฒนาของผล จากการใช้ตอู้ บไมโครเวฟท�ำได้งา่ ยกว่าการหาปริมาณน�ำ้ มันในผลอาโวคาโด เกษตรกร สามารถท�ำได้ ดังนั้น การหาน�้ำหนักแห้งจึงเป็นวิธีที่แนะน�ำและน�ำมาใช้แทนการใช้ เปอร์เซ็นต์น�้ำมัน ซึ่งอาจใช้ปริมาณน�้ำมันและเปอร์เซ็นต์น�้ำหนักแห้งมาใช้เป็นเกณฑ์ ร่วมกันในการเก็บเกี่ยวผล โดยอาโวคาโดพันธุ์ Hass ในประเทศเปรู เก็บเกี่ยวเมื่อมี ปริมาณน�้ำมัน 8-9 เปอร์เซ็นต์ และมีเปอร์เซ็นต์ของน�้ำหนักแห้ง 20-21 เปอร์เซ็นต์ ส�ำหรับเปอร์เซ็นต์ของน�ำ้ หนักแห้งเมื่อผลแก่ในพันธุ์ เบคอน (Bacon) เฟอร์เออเท่ (Fuerte) พิงค์เคอตัน (Pinkerton) และซูตาโน (Zutano) เท่ากับ 19.4 19.8 18.9 7


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

และ 18.4 เปอร์เซ็นต์ ตามล�ำดับ โดยผลของอาโวคาโดมีรสชาติทยี่ อมรับได้นนั้ ในพันธุ์ เบคอน (Bacon) เฟอร์เออเท่ (Fuerte) พิงค์เคอตัน (Pinkerton) ซูตาโน (Zutano) และแฮส (Hass) มีเปอร์เซ็นต์น�้ำหนักแห้ง 20 21 20 20.2 22.8 เปอร์เซ็นต์ ตามล�ำดับ

ปริมาณน�้ำมัน (Oil Content) .................................................................

ตั้งแต่ปี ค.ศ.1925 ในอุตสาหกรรมการผลิตอาโวคาโดจะเก็บผลอาโวคาโด จากต้นโดยวัดปริมาณน�้ำมันในผล เนื่องจากระยะการสุกแก่ของผลมีความสัมพันธ์ กับปริมาณน�้ำมันในผล โดยปริมาณน�้ำมันเพิ่มขึ้นและใกล้เคียงกับการพัฒนาของผล และจะเพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็วในอาโวคาโดทีแ่ ก่ โดยจะต้องมีปริมาณน�ำ้ มัน 8 เปอร์เซ็นต์ โดยน�ำ้ หนัก อย่างไรก็ตาม ปริมาณน�ำ้ มันก็ไม่ได้สมั พันธ์กบั รสชาติทยี่ อมรับได้ในแต่ละ สายพันธุ์ ในรัฐฟลอริดา พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของปริมาณน�้ำมันระหว่างการพัฒนาผล แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณน�้ำมันไม่ได้เหมือนกับอาโวคาโดที่ปลูกในแคลิฟอร์เนีย โดยผลอาโวคาโดทีป่ ลูกในรัฐแคลิฟอร์เนียทุกพันธุม์ ปี ริมาณน�ำ้ มันมากกว่า 8 เปอร์เซ็นต์ เมือ่ ผลแก่เต็มที่ ทัง้ นีอ้ าจเป็นเพราะสายพันธุแ์ ละการทีม่ ปี ริมาณน�ำ้ มันมากในอาโวคาโด บางพันธุ์ไม่ได้ท�ำให้รสชาติดีขึ้น อาโวคาโดบางพันธุ์ เช่น พันธุ์ Trapp และ Pollock ซึง่ เป็น West Indian race จะเหมาะส�ำหรับการบริโภคเมือ่ มีปริมาณน�้ำมันน้อย และ มีรายงานว่าไม่มคี วามสัมพันธ์กนั ระหว่างปริมาณน�ำ้ มันกับคุณภาพผลอาโวคาโด และ ปริมาณน�ำ้ มันของผลอาโวคาโดนัน้ ผันแปรไปในแต่ละผลและแตกต่างกันในระยะของ การพัฒนาผล แม้แต่ในอาโวคาโดพันธุ์เดียวกัน ความผันแปรของปริมาณน�้ำมันใน ผลนี้ท�ำให้การใช้ปริมาณน�ำ้ มันเพื่อบ่งชี้ความแก่ของผลอาโวคาโดไม่สามารถที่จะใช้ เป็นดัชนีเก็บเกี่ยวอาโวคาโดได้

ความถ่วงจ�ำเพาะ ......................................................................................

การหาความถ่วงจ�ำเพาะเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว ไม่แพง และไม่ต้องท�ำลายผล ในการเก็บเกี่ยวอาโวคาโด แต่พบว่ามีความผันแปรของความถ่วงจ�ำเพาะของผล แต่ละผล และบางครั้งไม่สัมพันธ์กับความสุกแก่ของผลอาโวคาโด ท�ำให้การน�ำ ความถ่วงจ�ำเพาะมาใช้วัดความสุกแก่ของผลอาโวคาโดไม่ได้ ความผันแปรของ ความถ่วงจ�ำเพาะนั้นเนื่องจากขนาดของเมล็ด และช่องว่างของเมล็ดในผล การมี 8


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

ปริมาณน�้ำในผลน้อยจะท�ำให้ความถ่วงจ�ำเพาะของผลน้อย ขนาดของเมล็ดในแต่ละ ผลแตกต่างกัน ผลที่มีเมล็ดน้อยจะมีความถ่วงจ�ำเพาะน้อย ความถ่วงจ�ำเพาะของ เปลือกมีความผันแปรน้อยกว่าความถ่วงจ�ำเพาะของผล

ปริมาณน�้ำตาล ..........................................................................................

ปริมาณน�้ำตาลค่อนข้างมีน้อยในผลอาโวคาโด แต่น�้ำตาลจะหายไปเมื่อผลแก่ การลดลงของปริมาณน�้ำตาลเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความแก่ของผลเช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้น ของปริมาณน�้ำมันระหว่างที่มีการพัฒนาผล ซึ่งปริมาณน�้ำตาลและปริมาณน�้ำมัน เกี่ยวข้องกับการสุกแก่ของผล มีการทดสอบปริมาณน�้ำตาลของผลอาโวคาโด 2 พันธุ์ คือพันธุ์ Zutano และ Mexican seedling พบปริมาณน�้ำตาลในระยะแรกของ การพัฒนาผลมากกว่าระยะท้ายๆ ของการพัฒนาผล และพบความผันแปรของ ปริมาณน�้ำตาลในผลอาโวคาโด น�้ำตาลปริมาณมากพบในตรงกลางผลมากกว่าตรง ปลายผล

การน�ำไฟฟ้าและแสง ................................................................................

การน�ำไฟฟ้าและการใช้แสงเข้ามาตรวจสอบความสุกแก่ของผลอาโวคาโด โดยวั ด ค่ า การน�ำ ไฟฟ้าระหว่างการพัฒนาของผล พบว่ามีความผันแปรเกิดขึ้น อย่างมากในอาโวคาโดแต่ละผล และแต่ละส่วนของผลก็มีการน�ำไฟฟ้าที่แตกต่างกัน และวิธีการน�ำแท่งเหล็ก 2 แท่งเสียบเข้าไปในผลเพื่อหาการน�ำไฟฟ้าท�ำให้ผลเกิด ความเสียหาย มีการทดลองน�ำแสง infrared มาใช้แต่พบว่าค่าที่วัดได้มีปริมาณ ที่น้อยมาก รวมถึงการน�ำ ultrasonic มาใช้แต่ไม่ได้ผล

9


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

วิธีการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโด วิธีการสังเกตว่าผลอาโวคาโดแก่พร้อมเก็บเกี่ยว มีหลายวิธี คือ 1. ลักษณะภายนอกของผล ผล ของอาโวคาโดที่แก่นั้น พบว่าลักษณะ ภายนอกของผลเปลีย่ นแปลงแตกต่างกัน ตามลักษณะประจ�ำพันธุ์ บางพันธุ์ผลแก่ จะมี น วลที่ ล บออกได้ บางพั น ธุ ์ ผิ ว ผล เปลีย่ นสีจากเขียวเป็นเขียวปนเหลือง เช่น พันธุ์ปีเตอร์สัน บางพันธุ์เปลี่ยนจากเขียว

ผลแก่เป็นสีเขียวอมเหลือง และมีจุดปะสีน�้ำตาล

ลักษณะผลที่แก่ โดยสังเกตจากสีผิวผล

ผลแก่เปลี่ยนเป็นสีม่วง 10


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

เป็นเขียวปนม่วง เช่น พันธุ์แฮส, พิงค์เคอตัน บางพันธุ์เมื่อแก่ผิวผลเปลี่ยนเป็น สีเหลืองเล็กน้อย เกิดจุดประสีน�้ำตาลบนผล เช่น พันธุ์บัคคาเนียร์ และบางพันธุ์ เมื่อแก่ผิวผลยังคงเป็นสีเขียวอยู่ แต่ขั้วผลเปลี่ยนจากเขียวเป็นเหลือง หรือผลมีจุด สีน�้ำตาล เช่น พันธุ์บูท 7, พันธุ์บูท 8, พันธุ์ฮอลล์ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องอาศัยความช�ำนาญ จากประสบการณ์การสังเกตของผู้ปลูก 2. ลักษณะภายในของผล อาโวคาโดแต่ละพันธุ์มีอายุการเก็บเกี่ยวที่แน่นอน และมีฤดูกาลเก็บเกีย่ วตามสภาพภูมปิ ระเทศและภูมอิ ากาศของพืน้ ทีต่ า่ งๆ ทีค่ อ่ นข้าง แน่นอน เมือ่ เริม่ เข้าฤดูเก็บเกีย่ วผลผลิตเกษตรกรหรือผูป้ ลูกอาโวคาโดสามารถทดสอบ ความแก่ของผลได้โดย 2.1 เนื้อเยื่อหุ้มเมล็ด สามารถทดสอบความแก่ของผลได้โดยการเก็บผล มาผ่าดูเยื่อหุ้มเมล็ด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเมล็ดสามารถบอกถึง ความแก่ของผลอาโวคาโดได้ โดยเยื่อหุ้มเมล็ดเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน�้ำตาลแสดงว่า ผลของอาโวคาโดแก่สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว เป็นวิธีการทดสอบความแก่ของ ผลอาโวคาโดที่ได้ผลดีวิธีหนึ่ง แต่ควรใช้ ร่วมกับวิธีการอื่นๆ ด้วย เช่น ฤดูกาล เก็บเกี่ยว การนับอายุผล สีเนื้อของผล และการสังเกตลักษณะภายนอกของผล อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเพื่อ เป็นการสนับสนุนบ่งชี้ว่าผลแก่สามารถ เก็บเกี่ยวได้แล้ว

ลักษณะเยื่อหุ้มเมล็ดที่เปลี่ยนเป็นสีน�้ำตาล 11


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

ผลแก่เนื้อผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง 2.2 สีเนื้อของผล อาโวคาโดบางพันธุ์เมื่อแก่ผิวผลไม่เปลี่ยนแปลงยังคงเป็น สีเขียว สังเกตจากลักษณะภายนอกของผลค่อนข้างยาก การดูจากสีเนื้อของผล เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ได้ผลดี โดยการผ่าดูเนื้อ ผลอาโวคาโดที่แก่เนื้อผลจะเปลี่ยนเป็น สีเหลือง 2.3 ทดสอบความแก่ของผล โดยการทดลองเก็บผลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมา บ่มทุกๆ สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5-10 ผล หากผลแก่จะบ่มได้สุก ผิวผลที่สุกไม่เหี่ยวย่น หรือแห้ง รสชาติมัน เนื้อไม่เหนียวหรือแข็ง และไม่มีรสขม แสดงว่าผลที่เหลือบนต้น สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว นอกจากนีย้ งั สามารถทดสอบความแก่ของผลอาโวคาโดโดยวัดเปอร์เซ็นต์ ไขมันในผล เปอร์เซ็นต์นำ�้ หนักแห้ง วัดความถ่วงจ�ำเพาะ วัดเปอร์เซ็นต์นำ�้ ตาลในระยะ ผลแก่ เป็นต้น แต่เป็นวิธีการที่ยุ่งยากและซับซ้อนไม่สะดวกในการใช้ 3. การนับอายุผล การนับอายุผลโดยนับวันหลังจากดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์ ของช่อดอกจนถึงเก็บเกี่ยว เป็นวิธีที่ดีที่สุดและมีความแม่นย� ำในการเก็บเกี่ยว ผลอาโวคาโด โดยอายุเก็บเกี่ยวผลในการเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับพันธุ์และสถานที่ปลูก ซึ่งเกี่ยวข้องกับสภาพอากาศและอุณหภูมิ ส�ำหรับดอกอาโวคาโด โดยปกติดอกย่อย ภายในช่อดอก และแต่ละช่อดอกในต้นจะบานไม่พร้อมกัน ท�ำให้อายุผลของแต่ละผล 12


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

ไม่เท่ากัน จึงต้องบันทึกวันและท�ำเครือ่ งหมายผูกทีช่ อ่ ดอกไว้เมือ่ ดอกย่อยบานมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของช่อดอก หากวันต่อไปเมื่อช่อดอกอื่นบานมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของช่อดอก ให้ท�ำเครื่องหมายและบันทึกวันเพื่อแสดงให้เห็นดอกและผลแต่ละรุ่น จากผลการวิจัยที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง ผลอาโวคาโดพันธุ์บูท 7 บูท 8 บัคคาเนีย และแฮส สามารถเก็บเกี่ยวผลได้ 171 177 181 และ 242 วัน หลังจากดอกบาน ตามล�ำดับ ขณะที่หน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง ผลอาโวคาโดพันธุ์ บัคคาเนีย และแฮส มีอายุการเก็บเกี่ยวผล 187 และ 251 วันหลังจากดอกบาน ตามล�ำดับ ส�ำหรับทีศ่ นู ย์พฒ ั นาโครงการหลวงหนองเขียว อาโวคาโดพันธุพ์ งิ ค์เคอตัน มีอายุการเก็บเกี่ยวผล 309 วันหลังจากดอกบาน ซึ่งหากเก็บผลก่อนอายุผลที่ก�ำหนด เมื่อน�ำผลไปบ่มหรือปล่อยทิ้งไว้ ผลจะเหี่ยว ไม่สามารถรับประทานได้ เนื่องจากผล ที่เก็บมายังไม่แก่และไม่สามารถพัฒนาให้สุกรับประทานได้

ดอกอาโวคาโดพันธุ์บัคคาเนีย (บน) และพันธุ์แฮส (ล่าง) ที่บาน 50 เปอร์เซ็นต์ของทั้งช่อดอก 13


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

171 วัน

177 วัน

183 วัน

การเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกของอาโวคาโดพันธุ์บูท 7 หลังดอกบาน 171 วัน 177 วัน และ 183 วัน ก่อนบ่มผล ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง โดยมีอายุผลเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คือ 171 วันหลังจากดอกบานเป็นต้นไป 14


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

171 วัน

177 วัน

การเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกของอาโวคาโดพันธุ์บูท 8 หลังดอกบาน 171 วัน และ 177 วัน ก่อนบ่มผล ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง โดยมีอายุผลเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คือ 177 วันหลังจากดอกบานเป็นต้นไป

15


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

175 วัน

181 วัน

187 วัน

193 วัน

การเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกของอาโวคาโดพันธุ์บัคคาเนีย หลังดอกบาน 175 วัน 181 วัน 187 วัน และ 193 วัน ก่อนบ่มผล ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง โดยมีอายุผลเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คือ 181 วันหลังจากดอกบานเป็นต้นไป 16


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

187 วัน

211 วัน

193 วัน

217 วัน

199 วัน

223 วัน

205 วัน

229 วัน

การเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกของอาโวคาโดพันธุ์บัคคาเนีย หลังดอกบาน 187 193 199 205 211 217 223 และ 229 วัน ก่อนบ่มผล ที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ โดยมีอายุผลเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คือ 187 วันหลังจากดอกบานเป็นต้นไป 17


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

242 วัน

248 วัน

254 วัน

การเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกของอาโวคาโดพันธุ์แฮส หลังดอกบาน 242 258 และ 254 วัน ก่อนบ่มผล ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง โดยมีอายุผลเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คือ 242 วันหลังจากดอกบานเป็นต้นไป 18


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

251 วัน

275 วัน

257 วัน

281 วัน

263 วัน

287 วัน

269 วัน

293 วัน

การเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกของอาโวคาโดพันธุ์แฮส หลังดอกบาน 251 257 263 269 275 281 287 และ 293 วัน ก่อนบ่มผล ที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ โดยมีอายุผลเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คือ 251 วันหลังจากดอกบานเป็นต้นไป 19


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

249 วัน

259 วัน

270 วัน

288 วัน

300 วัน

309 วัน

346 วัน

358 วัน

การเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกและภายในของอาโวคาโดพันธุ์พิงค์เคอตัน หลังดอกบาน 249 259 270 288 300 309 346 และ 358 วัน ก่อนบ่มผล ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว โดยมีอายุผลเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คือ 309 วันหลังจากดอกบานเป็นต้นไป 20


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

4. น�้ำหนักแห้ง เปอร์เซ็นต์น�้ำหนักแห้งจะเพิ่มขึ้นเมื่อผลแก่ เนื่องจากระหว่าง การพัฒนาของผลมีการเพิม่ ขึน้ ของปริมาณน�ำ้ มัน แต่วธิ กี ารหาเปอร์เซ็นต์นำ�้ หนักแห้ง ท�ำได้ง่ายกว่าการหาปริมาณน�้ำมัน โดยการใช้เตาไมโครเวฟ ซึ่งชาวสวนสามารถท�ำ ได้เอง ดังนี้ (1) ชั่งน�้ำหนักเนื้อผลอาโวคาโดสดประมาณ 500 กรัมต่อ 1 ผลส�ำหรับ ผลที่มีขนาดใหญ่ หากผลมีขนาดเล็กอาจใช้น�้ำหนักน้อยกว่า 500 กรัม (2) ปอกเปลือก น�ำเมล็ดและลอกเยือ่ หุม้ เมล็ดออก หัน่ ผลอาโวคาโดเป็นชิน้ น�ำผลไปชั่งน�้ำหนัก เป็นน�้ำหนักผลสด (3) น�ำเข้าเตาอบไมโครเวฟ อบด้วยความร้อนทีก่ ำ� ลังไฟ 500 วัตต์ เป็นเวลา 7 นาที น�ำเนื้อผลมาชั่งน�้ำหนักอีกครั้งหนึ่ง เป็นน�้ำหนักผลแห้ง (4) น�ำน�ำ้ หนักสดและน�้ำหนักแห้งมาค�ำนวณหาเปอร์เซ็นต์น�้ำหนักแห้งดังนี้ % น�้ำหนักแห้ง = น�้ำหนักผลแห้ง × 100 น�้ำหนักผลสด จากผลการวิจัย พบว่าการใช้นำ�้ หนักแห้งเป็นดัชนีการเก็บเกี่ยวของอาโวคาโด ทั้ ง 4 พั น ธุ ์ ใ นพื้ น ที่ ข องมู ล นิ ธิ โ ครงการหลวงมี ค วามถู ก ต้ อ งและแม่ น ย�ำ โดยที่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง ส�ำหรับอาโวคาโดพันธุ์บูท 7 บูท 8 บัคคาเนีย และ แฮส มีน�้ำหนักแห้งที่เหมาะส�ำหรับการเก็บเกี่ยว 14.76 16.51 17.17 24.72 เปอร์เซ็นต์ ตามล�ำดับ ขณะที่อาโวคาโดที่หน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง พันธุ์บัคคาเนีย และแฮส มีน�้ำหนักแห้งที่เหมาะแก่การเก็บเกี่ยว 17.22 และ 28.98 เปอร์เซ็นต์ ตามล�ำดับ

21


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

ดัชนีการเก็บเกี่ยว ในการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดมีความจ�ำเป็นต้องใช้วิธีการเก็บเกี่ยวหลายวิธี ประกอบกัน เพราะการแก่ของผลอาโวคาโดแต่ละสายพันธุ์มีการแปรเปลี่ยนไป ตามสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของพื้นที่ และการออกดอกติดผลบางสายพันธุ์ มีหลายรุน่ การแก่ของผลจึงมีหลายรุน่ ไม่พร้อมกัน การนับอายุผล การหาน�ำ้ หนักแห้ง การสังเกตลักษณะภายนอกของผล ได้แก่ การเปลี่ยนสีผิวผล การเกิดจุดประที่ผิวผล การเปลีย่ นสีขวั้ ผล การเกิดนวลทีผ่ วิ ผล การดูลกั ษณะภายในของผล ได้แก่ การเปลีย่ น สีของเยือ่ หุม้ เมล็ด การเปลีย่ นสีของเนือ้ ผล และควรมีการทดสอบความแก่ของผลก่อน การเก็บเกี่ยว เพื่อให้มั่นใจว่าผลแก่มีคุณภาพดีและสามารถน�ำไปบ่มเพื่อรับประทาน อร่อยได้คุณค่าทางอาหารและการใช้ประโยชน์ การทดสอบการแก่ของผลสามารถท�ำได้โดยสุ่มเก็บผลบนต้นทุกๆ สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5-10 ผล มาวางผลไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 7 วัน หากผลที่เก็บมาเป็นผลแก่ ผลจะสุก ผิวผลจะไม่เหี่ยวย่นหรือแห้ง สามารถรับประทานได้ โดยเนื้อผลไม่เหนียว หรือแข็ง และไม่มีรสขม แสดงว่าผลที่อยู่บนต้นสามารถเก็บเกี่ยวได้ แต่หากผลที่เก็บ มายังไม่แก่ จะไม่สามารถบ่มผลให้สกุ ได้แม้วา่ จะวางไว้เป็นระยะเวลานาน โดยเนือ้ ผล จะมีลักษณะนิ่ม เหนียว และผลเหี่ยวในที่สุด

ดัชนีการเก็บเกี่ยว อาโวคาโดพันธุ์ที่ส�ำคัญ .............................. 1. พันธุ์ปีเตอร์สัน (Peterson) เก็บเกี่ยว เมื่อผลอายุตั้งแต่ดอกบานร้อยละ 50 ในช่อดอก ถึงเก็บเกี่ยว 160 วัน ประมาณเดือนมิถุนายนถึง เดือนกันยายน ขั้วผลเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นเขียว ปนเหลือง เกิดจุดประสีน�้ำตาลบนผล เยื่อหุ้มเมล็ด เปลีย่ นจากเป็นสีนำ�้ ตาลและเนือ้ ล่อนออกจากเมล็ด ได้ง่าย เนื้อผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง 22


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

2. พันธุบ์ คั คาเนีย (Buccanear) เก็บเกีย่ วเมือ่ อายุผลตัง้ แต่ดอกบานร้อยละ 50 ในช่อดอกถึงเก็บเกี่ยว 181-187 วัน ประมาณกลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือน พฤศจิกายน ลักษณะผลที่แก่เก็บเกี่ยวได้ จะมีนวลลบออกได้ สีของผลเปลี่ยนเป็น สีเหลืองเล็กน้อย เกิดจุดประสีน�้ำตาลบนผล และเยื่อหุ้มเมล็ดเปลี่ยนเป็นสีน�้ำตาล เนื้อผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีน�้ำหนักแห้ง 17.0%

3. พันธุ์บูท 7 (Booth 7) เก็บเกี่ยวเมื่ออายุผลตั้งแต่ดอกบานร้อยละ 50 ในช่อดอกถึงเก็บเกี่ยว 171 วัน ประมาณกลางเดือนกันยายนถึงกลางเดือนธันวาคม ลักษณะผลที่แก่เก็บเกี่ยวได้ จะมีนวลลบออกได้ ผิวผลสีเขียว เกิดจุดประสีน�้ำตาล บนผล และเยือ่ หุม้ เมล็ดเปลีย่ นเป็นสีน�้ำตาล เนือ้ ผลเปลีย่ นเป็นสีเหลือง มีนำ�้ หนักแห้ง 14.8%

23


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

4. พันธุ์บูท 8 (Booth 8) เก็บเกี่ยวเมื่ออายุผลตั้งแต่ดอกบานร้อยละ 50 ในช่อดอกถึงเก็บเกี่ยว 177 วัน ประมาณต้นเดือนกันยายนถึงกลางเดือนธันวาคม ลักษณะผลที่แก่เก็บเกี่ยวได้ จะมีนวลลบออกได้ ผิวผลสีเขียว เกิดจุดประสีน�้ำตาล บนผล และเยือ่ หุม้ เมล็ดเปลีย่ นเป็นสีน�้ำตาล เนือ้ ผลเปลีย่ นเป็นสีเหลือง มีนำ�้ หนักแห้ง 16.5%

5. พันธุ์แฮส (Hass) เก็บเกี่ยวเมื่ออายุผลตั้งแต่ดอกบานร้อยละ 50 ในช่อดอก ถึงเก็บเกี่ยว 242-251 วัน ประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะผล ที่แก่เก็บเกี่ยวได้ ผิวผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเข้มเป็นสีม่วงปนเขียว และเยื่อหุ้มเมล็ด เปลี่ยนเป็นสีน�้ำตาล เนื้อผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีน�้ำหนักแห้ง 24.7-29.0%

24


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

6. พันธุ์พิงค์เคอตัน (Pinkerton) เก็บเกี่ยวเมื่ออายุผลตั้งแต่ดอกบานร้อยละ 50 ในช่อดอกถึงเก็บเกี่ยว 309 วัน ประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ลักษณะ ผลทีแ่ ก่เก็บเกีย่ วได้ ผิวผลจะเปลีย่ นจากสีเขียวเข้มเป็นสีเขียวปนม่วง และเยือ่ หุม้ เมล็ด เปลี่ยนเป็นสีน�้ำตาล เนื้อผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีน�้ำหนักแห้ง 30.0%

วิธีการเก็บเกี่ยว ........................................................................................

ก่อนเก็บเกี่ยวอาโวคาโดต้องตรวจสอบว่าผลแก่เก็บเกี่ยวได้แล้วหรือไม่ โดย พิจารณาถึงระยะเวลาที่เก็บเกี่ยวและตรวจสอบอายุการเก็บเกี่ยวของอาโวคาโด พันธุ์นั้นๆ จากนั้นทดลองเก็บผลบนต้นในระดับต่างๆ ประมาณ 6-8 ผลเพื่อผ่าดู

เยื่อหุ้มเมล็ด หากเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีน�้ำตาลทั้งหมดก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ นอกจากนี้ ควรพิจารณาลักษณะภายนอกของผลเพื่อให้มั่นใจว่าผลแก่แล้ว เนื่องจากบางครั้ง ในต้นเดียวกันอาจมีการออกดอกมากกว่า 1 ชุด ท�ำให้อายุของผลไม่เท่ากัน 25


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

ในการเก็บเกี่ยวต้องให้มีขั้วผลติดอยู่กับผล หากขั้วผลหลุดออกจากผลจะท�ำให้ ผลเสียหายได้ง่ายขณะบ่มให้สุก วิธีการเก็บเกี่ยวท�ำได้โดยการเด็ดหรือใช้กรรไกร ตัดให้ขั้วผลหลุดออกจากกิ่ง อาจใช้บันไดขึ้นเก็บหรือใช้ตะกร้อที่มีใบมีดตัดขั้ว สอยให้ตดิ ขัว้ หรือใช้กรรไกรด้ามยาวทีม่ ที หี่ นีบขัว้ ผลไว้ ไม่ให้ผลตกเสียหาย ควรระวัง ไม่ให้ผิวผลเสียหาย เมื่อเก็บแล้วให้ใส่ลงในภาชนะที่รองด้วยกระดาษหรือฟองน�้ำ ทีป่ อ้ งกันความเสียหายได้ น�ำไปคัดแยกเอาผลทีไ่ ม่ได้คณ ุ ภาพตามมาตรฐานทีก่ �ำหนด ออก ตัดขั้วผลให้สั้นลงเหลือเฉพาะส่วนฐานของขั้วที่ติดกับผล

26


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

การบ่มผลอาโวคาโด เมื่อเก็บผลอาโวคาโดตามดัชนีการเก็บเกี่ยวผลแล้ว จะได้ผลอาโวคาโดที่แก่ พร้อมที่จะสุก แต่ยังไม่สามารถรับประทานได้ โดยเนื้อผลมีลักษณะแข็ง และมี สารแทนนินสูง ท�ำให้มีรสขม หากรับประทานจะท�ำให้ปวดศีรษะ จึงต้องบ่มผลให้สุก โดยวางไว้ทอี่ ณ ุ หภูมหิ อ้ ง ผลจะสุกภายใน 3-4 วันจนถึง 1 สัปดาห์ บางครัง้ อาจมากกว่า 1 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความแก่ของผล อุณหภูมิในที่บ่มและชนิดพันธุ์

ลักษณะผลอาโวคาโดพันธุ์ปีเตอร์สันที่เก็บเกี่ยวเมื่อผลอายุ 170 วัน (บน) และผลหลังการบ่มโดยวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง นาน 7 วัน (ล่าง) นอกจากนี้ การให้เอทิลนี กับผลไม้ทแี่ ก่สามารถเร่งให้เกิดการสุกได้โดยคุณภาพ ของผลไม้ไม่เปลี่ยน โดยใช้สารละลายเอทีฟอนที่ปลดปล่อยก๊าซเอทิลีน หรือการใช้ ถ่านแก๊สหรือแคลเซียมคาร์ไบด์ (Calcium carbide) ซึ่งเมื่อแคลเซียมคาร์ไบด์ ท�ำปฏิกิริยากับน�ำ้ จะได้ก๊าซอะเซทิลีน มีผลเร่งการสุกเช่นเดียวกับการใช้สารละลาย เอทีฟอน การบ่มทั้ง 2 วิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ส�ำหรับอาโวคาโดพันธุ์แฮส ซึ่งมี เปลือกหนา การบ่มผลด้วยสารละลายเอทีฟอนให้ผลดีกว่าการบ่มด้วยแคลเซียมคาร์ไบด์ ขณะที่พันธุ์บัคคาเนีย การบ่มด้วยแคลเซียมคาร์ไบด์ให้ผลที่ดีกว่า 27


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

ขั้นตอนการบ่มผลอาโวคาโด มีรายละเอียด ดังนี้ (1) การบ่มผลด้วยสารละลายเอทีฟอน - เตรียมสารละลายเอทีฟอน ความเข้มข้น 200 ppm โดยสารละลาย เอทีฟอน 48% 2.08 มิลลิลิตร ละลายในน�้ำ 5 ลิตร - น�ำผลอาโวคาโดแช่ในสารละลาย นาน 5 นาที - น�ำผลออกจากสารละลาย ผึ่งผลให้แห้ง (2) การบ่มผลโดยใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ - น�ำผลอาโวคาโด 10 กิโลกรัมเรียงในกล่องที่มีฝาปิด - น�ำถ่านแก๊สแคลเซียมคาร์ไบด์ ประมาณ 15 กรัม ห่อใส่กระดาษ น�ำไป วางในกล่องที่บรรจุผลอาโวคาโด ปิดฝาให้แน่น วางไว้ที่อุณหภูมิห้อง นาน 3 วัน ผลอาโวคาโดทีผ่ า่ นการบ่มจะสุกพร้อมกันหลังจากบ่ม ประมาณ 3-7 วัน ขึน้ กับ พันธุ์ วิธีการบ่ม และอุณหภูมิขณะที่บ่มผล

28


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

คุณค่าทางอาหาร และการใช้ประโยชน์ของอาโวคาโด อาโวคาโดถือว่าเป็นสุดยอดของอาหารสุขภาพชนิดหนึ่ง เพราะอุดมไปด้วย คุณค่าทางอาหารต่างๆ เหมาะส�ำหรับการบริโภคของบุคลากรทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยและเด็ก คุณค่าทางอาหารประกอบด้วย 1. เนื้อผลประกอบด้วยไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ประมาณ 8-20% แล้วแต่พันธุ ์ โดยกรดไขมันในอาโวคาโดร้อยละ 70% เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิด monounsaturated fatty acid ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยช่วยลดปริมาณ LDL-cholesterol ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่เป็นผลเสีย ต่อร่างกาย และเพิม่ ปริมาณ HDL-cholesterol ในเลือดซึง่ เป็นคอเลสเตอรอล ที่เป็นผลดีต่อร่างกาย มีประโยชน์ในการป้องกันโรคหัวใจ 2. มีวติ ามินสูง โดยประกอบด้วยวิตามินอี วิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี โดย เฉพาะวิตามินอี ซึ่งเป็นสาร Antioxidant ที่มีคุณค่าในการป้องกันเซลล์ ร่างกายจากมลพิษทางอากาศ น�้ำและอาหาร ป้องกันร่างกายจากโรคมะเร็ง ชนิดต่างๆ และโรคหัวใจ ในผูใ้ หญ่ควรบริโภควิตามินอี อย่างน้อย 10 mg ต่อวัน จึงใช้เป็นวัตถุดิบส�ำคัญเพื่อการสกัดน�้ำมันในอุตสาหกรรมท�ำเครื่องส�ำอาง ประทินผิวต่างๆ 3. ให้พลังงานสูง แต่มีน�้ำตาลต�่ำ ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจึงสามารถ รับประทานได้ 4. มีโปรตีนสูง และเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย 5. อุดมด้วยแร่ธาตุที่ส�ำคัญ ได้แก่ โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส และแมงกานีส 6. มีเยื่อใยสูง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย

29


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

เอกสารอ้างอิง งานพัฒนาและส่งเสริมการผลิตไม้ผล มูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและ พัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2554. การเก็บเกี่ยวและมาตรฐานคุณภาพ ผลไม้ มู ล นิ ธิ โ ครงการหลวง. มูลนิธิโ ครงการหลวง และสถาบันวิจัยและ พัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 54 หน้า. ฉลองชัย แบบประเสริฐ. 2544. อาโวคาโด. กองพัฒนาที่สูง, กรุงเทพฯ. 63 หน้า. ชินวัฒน์ ยัพวัฒนพันธ์. 2559. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาดัชนี เก็บเกีย่ วผลอาโวคาโด. สถาบันวิจยั และพัฒนาพืน้ ทีส่ งู (องค์การมหาชน). 54 หน้า. มูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2552. อะโวกาโด. มูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การ มหาชน). 62 หน้า. อัจฉรา ภาวศุทธิ์ จิระนิล แจ่มเกิด สุภาวดี ศรีวงค์เพ็ชร คมสันต์ อุตมา และประเสริฐ จอมดวง. 2560. การศึกษาดัชนีการเก็บเกีย่ วผลอาโวกาโด พันธุ์ “Pinkerton”. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกีย่ วแห่งชาติ ครัง้ ที ่ 15. โรงแรมอวานีขอนแก่นโฮเทล แอนคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ขอนแก่น. Appleman, D., and L. Noda 1941. Biochemical studies of the Fuerte avocado fruits – A preliminary report. Calif. Avocado Soc. Yearbook 26: 60. Barmore, C. R. 1976. Avocado fruit maturity. pp. 103-109 In Proceedings of the First International Tropcial Fruit Short Course: The Avocado. J. W. Sauls, R. L. Phillips and L. K. Jackson (eds.). Gainesville: Fruit Crops Dept., Florida Cooperative Extension Service. Bean, R. C. 1958. Changes in sugars during growth and storage of avocados. Calif. Avocado Soc. Yearbook 42: 90. Biale, J. B., and R. E. Young 1971. In the biochemistry of fruits and their products. Vol. 2 (Hulme, A. C., Ed.) Academic press, London, PI. Chapter 1 Avocado Pear. Blumenfeld, A., and S. Gazit 1970. Cytokinin 30


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

activity in avocado seeds during fruit development. Plant Physiol. 46: 331. Chase, E. M. 1921-1922. Some notes on the enzymes of the avocado. Calif. Avocado Assoc. Ann. Report 7: 52. Church, C. G. 1921-1922. A comparison of the composition of standard varieties of avocados grown in the same orchard. Calif. Avocado Assoc. Ann. Report 7: 40. Church, C. G., and E. M. Chase. 1920-1921. Further work on the maturity of avocados. Calif. Avocado Assoc. Ann. Report 6: 45. Erickson, L. C., I. L. Eaks, and G. G. Porter 1970. Over-maturity in Hass avocados. Calif. Avocado Soc. Yearbook 54: 62. Haas, A. R. C. 1937. Chemical composition of avocado fruits. J. Agric. Res. 54: 669. Harkness, R. W. 1954. Chemical and physical tests of avocado maturity. Florida State Hort. Soc. 67: 248. Hatton, T. T., Jr., and C. W. Campbell. 1959. Evaluation of indices for Florida avocado maturity. Florida State Hort. Soc. 72: 349. Hatton, T. T. Jr., M. J. Soule, and J. Popenoe. 1957b. Effect of fruit position and weight on percent of oil in Lula avocados in Florida. Proc. Amer. Soc. Hort. Sci. 69: 217. Hodgkin, G. B. 1939. Avocado standardization. Calif. Avocado Assoc. Yearbook 24: 141. Lee, S. K., R. E.Yong, P. M. Schiffman, and C. W. Coggins, Jr. 1983. Maturity studies of Avocado fruit based on picking dates and dry weight. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 108(3): 390-394. Morris, R., and K. O’Brien. 1980. Testing avocados for maturity. Agri. Gazette of New South Wales 42: 44. Parodi, G., M. Sanchez, and W. Daga. 2007. Correlation of oil content, dry matter and pulp moisture as harvest indicators in Hass Avocado 31


คู่มือการเก็บเกี่ยวผลอาโวคาโดบนพื้นที่สูง

fruits (Persea americana Mill) grown under two conditions of orchards in Chincha-Peru. Proceedings VI World Avocado Congress. 12-16 November 2007. Ruehle, G. D. 1958. The Florida avocado industry. Florida Agric. Exp. Sta. Bull. 602: 1. Stahl, A. L. 1933b. Changes in composition of Florida avocados, in relation to maturity. Florida Agric. Exp. Sta. Bull. 259: 31. Whiley, A. W., B. Schaffer, and B. N. Wolstenholme. 2002. The Avocado: botany, production and uses. CABI. Oxon. 416 p. Wolfe, H. S., L. R. Toy, and A. L. Stahl. 1934. Avocado production in Florida. Florida Agric. Exp. Sta. Bull. 272: 1.

32


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.