คู่มือ
กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
กรณีศึกษาพื้นทีป่ ่าสนวัดจันทร์ อ�ำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
ที่ปรึกษา
นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ดร.เพชรดา อย่สุข ดร.อัจฉรา ภาวศุทธิ์ ผศ. ดร.บุญวงศ์ ไทยอุตส่าห์
ผู้เขียนและเรียบเรียง
ดร.นิตยา เมี้ยนมิตร ผศ. ดร.รัชนี โพธิแท่น นางสาวกมลเนตร จันทร์แก้ว นางสาวกัลยา เขตเนาว์อนุรักษ์ นางสาวกมลทิพย์ เรารัตน์
ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง รองผู้อ�ำนวยการสถาบัน ด้านการพัฒนา รักษาการผู้อ�ำนวยการส�ำนักวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ช่วยนักวิจัยในพื้นที่บ้านวัดจันทร์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
พิมพ์ครั้งที่ 1 มกราคม 2564 จ�ำนวนพิมพ์ 500 เล่ม จัดพิมพ์โดย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
65 หมู่ 1 ต�ำบลสุเทพ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 0 5332 8496-8 โทรสาร 0 5332 8494, 0 5332 8229 เว็บไซต์ http://www.hrdi.or.th
พิมพ์ที่
ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด อิงค์เบอร์รี่ 6/5 ถนนรังษีเกษม ต�ำบลในเวียง อ�ำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 55000 โทรศัพท์ 08 7512 3087 978-616-8082-17-1
ISBN
ค�ำน�ำ ป่ า ไม้ เ ป็ น ทรั พ ยากรธรรมชาติ ที่ มี ค วามส� ำ คั ญ อย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพราะ ป่าไม้มปี ระโยชน์ทงั้ การเป็นแหล่งวัตถุดบิ ของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคส�ำหรับ มนุษย์ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของ สิง่ แวดล้อม ถ้าป่าไม้ถกู ท�ำลายลงไปมาก ๆ ย่อมส่งผลกระทบ ต่อสภาพแวดล้อมทีเ่ กีย่ วข้องอืน่ ๆ การเปลีย่ นแปลงพืน้ ที่ ป่าไม้ โดยเฉพาะบนพื้นที่สูงอันเป็นแหล่งต้นน�้ำล�ำธาร ที่ส�ำคัญ ส่งผลกระทบต่อการด�ำเนินชีวิตของประชาชน ดั ง นั้ น การฟื ้ น ฟู แ ละใช้ ป ระโยชน์ ท รั พ ยากรป่ า ไม้ อย่างมีสว่ นร่วม จึงเป็นแนวทางหนึง่ ทีจ่ ะยังคงรักษา ฟืน้ ฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ให้เกิดความยั่งยืน คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ อย่างมีสว่ นร่วมนี้ จึงอาจเป็นส่วนหนึง่ ทีจ่ ะช่วยเจ้าหน้าที่ ที่ท�ำงานภาคสนามได้ใช้เป็นแนวทางในการท�ำงานของ ตนเอง เพือ่ บรรลุเป้าหมายของการรักษาทรัพยากรป่าไม้ ให้คงอยู่และอ�ำนวยประโยชน์อย่างยั่งยืนตลอดไป คณะผู้จัดท�ำ ตุลาคม 2563
สารบัญ หน้า บทที่ 1 บทน�ำ 1 บทที่ 2 บริบทเชิงพื้นที่ป่าสนวัดจันทร์ 4 - การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของป่าสนวัดจันทร์ ในพื้นที่ต�ำบลบ้านจันทร์ 5 - ความเป็นมาของชุมชนบ้านวัดจันทร์ อ�ำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ 8 - ความสัมพันธ์ระหว่างป่าสนวัดจันทร์กับชุมชนบ้านวัดจันทร์ 9 บทที่ 3 แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ 14 - ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรป่าไม้กับมนุษย์ 15 - การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ 16 บทที่ 4 กระบวนการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม 18 - กระบวนการท�ำงานของนักพัฒนา 20 - กระบวนการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน 21 - เทคนิคและวิธีการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชน 27 - ตัวอย่างเทคนิคและเครื่องมือในการศึกษา และวิเคราะห์ชุมชน 28 บทที่ 5 ปัจจัยและเงื่อนไขความส�ำเร็จของการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ในการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ 45 - ปัจจัยและเงื่อนไขความส�ำเร็จของการส่งเสริมการมีส่วนร่วม 46 - คุณสมบัตินักพัฒนา/นักส่งเสริมป่าไม้ 48 บรรณานุกรม 51
บทที่ 1 บทน�ำ
บทที่ 1 บทน�ำ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ปัจจุบันถือเป็น ประเด็นส�ำคัญ เพราะประชาชนโดยเฉพาะคนในท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่า หรื อ อาศั ย อยู ่ โ ดยรอบพื้ น ที่ ป ่ า เป็ น กลุ ่ ม คนที่ เ ป็ น ทั้ ง ผู ้ ส นั บ สนุ น และขั ด ขวาง ให้เป้าหมายของการจัดการทรัพยากรป่าไม้บรรลุผล รวมทั้งเป็นผู้ได้รับผลกระทบ ไม่ ว ่ า จะทางตรงหรื อ ทางอ้ อ ม ดั ง นั้ น การมี ส ่ ว นร่ ว มจึ ง เป็ น การเปิ ด โอกาสให้ กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกลุ่มต่าง ๆ ได้เข้ามาแสดงบทบาทหน้าที่ของตน นอกจากนี้ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ยังตอบสนองต่อกฎหมาย นโยบาย และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทยอีกด้วย อย่างไรก็ตามงานด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมนี้เป็นงานที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ต้องมีความเข้าใจในกระบวนการท�ำงาน และสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท�ำงานได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อท�ำความเข้าใจ บริบทของพื้นที่นั้น ๆ ที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย การถอดประสบการณ์การท�ำงานวิจัย ด้านการฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่ป่าสน วัดจันทร์ จังหวัดเชียงใหม่ จึงเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้นักพัฒนาหรือนักส่งเสริม งานด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้ใช้เป็นแนวทางการท�ำงานในอนาคตได้ ป่าสนวัดจันทร์ เป็นชื่อเรียกพื้นที่ป่าสนธรรมชาติผืนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ในท้องที่อ�ำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยสนธรรมชาติ 2 ชนิด คือ สนสองใบ (Pinus latteri) หรือไม้เกีย๊ ะด�ำ และสนสามใบ (Pinus kesiya) หรื อ ไม้ เ กี๊ ย ะเหลื อ ง บางพื้ น ที่ ใ นป่ า สนมี ไ ม้ ก ่ อ และชนิ ด พั น ธุ ์ ไ ม้ ข องป่ า เต็ ง รั ง ขึ้นผสมผสานอยู่ เช่น ยางเหียง เต็ง พลวง ฯลฯ ซึ่งไม้ชนิดต่าง ๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะ ไม้สนทัง้ สองชนิด ชุมชนท้องถิน่ ชาวปกาเกอะญอทีอ่ าศัยอยูใ่ นพืน้ ทีต่ ำ� บลบ้านจันทร์ อ�ำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนาน ทั้งเป็น ไม้ใช้สอยในการก่อสร้าง ใช้เป็นไม้เชื้อเพลิง และการพึ่งพิงป่าในรูปแบบอื่น ๆ เช่น
2
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
แหล่งเก็บหาของป่า เป็นพื้นที่ต้นน�้ำล�ำธาร รวมถึงเป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมหรือ สืบสานวัฒนธรรมของชุมชน อย่างไรก็ตามรูปแบบและความเข้มข้นของการใช้ประโยชน์ได้มกี ารเปลีย่ นแปลง ไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น ช่วงแรกของการอยู่อาศัย การใช้ประโยชน์จากป่าไม้ เน้นเพือ่ การยังชีพ ต่อมาเมือ่ พบว่าทรัพยากรในพืน้ ทีส่ ามารถสร้างรายได้และมีตลาด ซือ้ ขายผลิตผล การใช้ประโยชน์ได้เปลีย่ นไปเป็นการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึง่ จะเห็น ได้จากต้นสนสองใบขนาดใหญ่จำ� นวนมากทีม่ รี อ่ งรอยการเจาะชันสน ซึง่ เป็นผลมาจาก การให้สัมปทานเจาะชันสนแก่บริษัทเอกชนในอดีตเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับรัฐ ลักษณะการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ที่ปรากฏนี้ บางอย่างได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของป่าไม้ นั่นคือความสมบูรณ์ของต้นไม้โดยเฉพาะต้นสน อันเป็นองค์ประกอบ ส�ำคัญของป่าในระบบนิเวศป่าสน ความเปลี่ยนแปลงของสภาพป่าท�ำให้ชุมชนต้อง หันมาให้ความส�ำคัญกับพื้นที่ป่าไม้บริเวณโดยรอบชุมชนตนเองมากยิ่งขึ้น มีการตั้ง กฎกติ ก าในการดู แ ลและใช้ ป ระโยชน์ ท รั พ ยากรในพื้ น ที่ ทั้ ง ที่ เ ป็ น ทางการและ ไม่เป็นทางการ ใช้จารีตและวัฒนธรรมของชุมชนเป็นตัวเสริมให้การดูแลทรัพยากร ป่าไม้มีคุณค่าต่อชุมชน แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปบางครั้งรูปแบบการจัดการ ทรัพยากรทีเ่ คยอาศัยวัฒนธรรมของชาวปกาเกอะญอเป็นแนวทางหลักในการจัดการ ปัจจุบันอาจไม่เพียงพอ การใช้เทคโนโลยีและความรู้ทางวิชาการเข้ามาช่วยเสริม ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟู อนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ ได้เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะท�ำให้ทรัพยากรป่าไม้ยังคงรักษาบทบาทหน้าที่ของตนเอง ได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นในพื้นที่ป่าสนวัดจันทร์ การมีส่วนร่วมของประชาชนพร้อมกับ การร่วมท�ำงานกับภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ ได้เข้ามามีบทบาทส�ำคัญต่อการจัดการ ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งการเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรนี้ จะสามารถพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ให้อ�ำนวยประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและ ยั่งยืนได้
3
บทที่ 2 บริบทเชิงพื้นที่ป่าสนวัดจันทร์
บทที่ 2 บริบทเชิงพื้นที่ป่าสนวัดจันทร์ การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของป่าสนวัดจันทร์ ในพื้นที่ต�ำบลบ้านจันทร์ ข้อมูลการแปลภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ โดยเฉพาะป่าสนวัดจันทร์ ในปี พ.ศ. 2547-2558 ของส�ำนักงานพัฒนาเทคโนโลยี อวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA พบว่า ในพื้นที่ต�ำบล บ้านจันทร์ ซึง่ มีพนื้ ทีป่ ระมาณ 373,388 ไร่ นัน้ ช่วงเวลา 12 ปีทผี่ า่ นมา มีพนื้ ทีป่ า่ ไม้ที่ เพิม่ ขึน้ จากการอนุรกั ษ์ฟน้ื ฟูปา่ ด้วยโครงการต่าง ๆ ประมาณ 34,447 ไร่ (ร้อยละ 9.2) มีพนื้ ทีถ่ กู บุกรุกประมาณ 37,837 ไร่ (ร้อยละ 10.1) พืน้ ทีป่ า่ ไม้ทไี่ ม่มกี ารเปลีย่ นแปลง ในรอบ 12 ปี ประมาณ 301,104 ไร่ (ร้อยละ 80.6) อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมแล้ว พื้นที่ป่าไม้ในต�ำบลบ้านจันทร์ลดลงประมาณ 3,390 ไร่ (ร้อยละ 0.9) ซึ่งที่ผ่านมา ได้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่เพื่อขอคืนพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกเปลี่ยนสภาพ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมบางส่วนกลับมาเป็นพื้นที่ป่าไม้ดังเดิม การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าไม้ในต�ำบลบ้านจันทร์ ได้สะท้อนให้เห็นถึง วิถชี วี ติ ของคนปกาเกอะญอกับทรัพยากรป่าไม้ได้เป็นอย่างดี พืน้ ทีป่ า่ ทีล่ ดลงไปเพียง ร้อยละ 0.9 ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดในรอบ 12 ปี ท�ำให้เห็นว่าคนสามารถอยู่กับป่าได้ และการอยูก่ บั ป่านัน้ นอกจากการได้รบั ประโยชน์จากป่าไม้แล้ว การดูแล รักษา และ จัดการทรัพยากรเพือ่ ให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยัง่ ยืน ก็เป็นหน้าทีห่ นึง่ ของคนทีใ่ ช้ ประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านั้น ดังนั้นบ้านวัดจันทร์อาจเป็นชุมชนต้นแบบในการ ฟื้นฟูป่าไม้ผ่านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ภูมิปัญญาของคนในชุมชน และการมีส่วนร่วม ของคนในพื้นที่ทั้งภาคประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ภาพที่ 1 สภาพปัจจุบันของป่าสนวัดจันทร์ ต�ำบลบ้านจันทร์ อ�ำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
ในการจัดการป่าสนวัดจันทร์ในปัจจุบันจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ จะพบว่าปัญหาด้านการบุกรุกหรือเปลี่ยนสภาพพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม อาจไม่ใช่ปญ ั หาหลักของชุมชน หากแต่ปญ ั หาทีพ่ บในปัจจุบนั และเป็นประเด็นส�ำคัญ คือปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ซึ่งเป็นปัญหาหรือแรงกดดันจากภายนอกที่เข้าไป มีอทิ ธิพลต่อการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพืน้ ที่ สิง่ ทีส่ ะท้อนจากชุมชนต่อสภาพพืน้ ที่ ป่าสนคือการป้องกันไฟอย่างต่อเนือ่ งจะน�ำมาสูก่ ารเกิดไฟป่าทีร่ นุ แรงเกินกว่าทีช่ มุ ชน จะรับมือได้ เพราะเศษใบไม้ กิ่งไม้แห้ง และใบสนจะใช้เวลานานในการย่อยสลาย เชื้อเพลิงที่สะสมจึงส่งผลต่อความรุนแรงของไฟในบางปี โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มี การป้องกันไฟมากกว่า 3 ปีขนึ้ ไป ส่วนพืน้ ทีท่ มี่ กี ารจัดการไฟอย่างต่อเนือ่ ง ความรุนแรง ของไฟป่าทีเ่ กิดขึน้ จะไม่ทำ� ลายต้นไม้มากนัก และต้นไม้บางชนิดทีถ่ กู ไฟไหม้ เมือ่ ฤดูฝน มาเยือนจะท�ำให้ต้นไม้เหล่านั้นฟื้นฟูขึ้นได้เองอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ไฟยังเป็น ตัวช่วยส่งเสริมให้กล้าไม้สนสามารถงอกได้อย่างดีอีกด้วย
6
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
สภาพพื้นที่ป่าหลังจากมีการจัดการ เชื้อเพลิงและชิงเผา
สภาพพื้นที่ป่าเมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ในพื้นที่ที่มีการชิงเผา
ต้นสนสองใบในระยะ grass stage ที่รอดจากการถูกไฟไหม้ ในพื้นที่ที่จัดการไฟป่า
ต้นสนสองใบในระยะการเป็นไม้รุ่น (sapling) ที่รอดจากการถูกไฟไหม้ ในพื้นที่ที่จัดการไฟป่า
ภาพที่ 2 ร่องรอยการเกิดไฟป่าในพื้นที่ป่าสนวัดจันทร์ ในบริเวณที่มีการจัดการไฟอย่าง เป็นระบบและต่อเนือ่ งปรากฏความเสียหายในระดับทีธ่ รรมชาติสามารถฟืน้ ฟูตวั เองได้
7
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ความเป็นมาของชุมชนบ้านวัดจันทร์ อ�ำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ บ้านวัดจันทร์กอ่ ตัง้ มามากกว่า 200 ปี สาเหตุทชี่ อื่ ว่า วัดจันทร์ นัน้ มีผเู้ ฒ่า ผูแ้ ก่ ในหมู่บ้านเล่าว่า บ้านวัดจันทร์ เดิมทีไม่มีชื่อเรียก แต่ที่ตั้งชื่อหมู่บ้านเช่นนี้เพราะ มีคนชื่อ “จันทร์” เป็นชาวล้านนา ที่ถูกขับไล่ออกจากครอบครัว เพราะท�ำผิดจารีต ประเพณีของตระกูลเดินทางมาเป็นแรมปีแรมเดือนมาถึงบริเวณทีต่ งั้ ชุมชนในปัจจุบนั ประกอบกับความเหมาะสมของพืน้ ทีท่ มี่ แี ม่นำ�้ ไหลผ่าน ท�ำให้นายจันทร์ ปักหลักอาศัย อยู่ตรงนี้ แต่ในที่สุดหลังจากมาพักบริเวณวัดจันทร์ได้ไม่นาน ทางบ้านเมืองล้านนา เกิดอาเพศอย่างร้ายแรง นายจันทร์จงึ เดินทางกลับล้านนา และเรียกหมูบ่ า้ นแห่งนีว้ า่ “บ้านจันทร์” จากนั้นได้มีชนเผ่าลั๊วะเข้ามาบุกเบิกสร้างหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ แต่ชาวลัว๊ ะเหล่านีก้ ม็ กี ารอพยพไปยังท้องทีต่ า่ ง ๆ อยูเ่ สมอ จึงท�ำให้วดั และพระเจดีย์ หลายแห่งขาดการดูแลรักษา ชาวปกาเกอะญอเป็นชนเผ่าหนึง่ ทีไ่ ด้เข้ามาอยูใ่ นพืน้ ทีน่ ี้ และได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์ที่วัดจันทร์เรื่อยมา โดยบ้านจันทร์มีชื่อเป็นภาษา ท้องถิน่ ชาวปกาเกอะญอว่า “โข่คอ่ ทิ” ซึง่ ค�ำว่า โข่ แปลว่า พระเจดีย์ (พระธาตุ) ดังนัน้ โข่ค่อทิ จึงมีความหมายว่า บ้านตีนธาตุ โดยอาศัยพระเจดีย์ที่สร้างในวัดจันทร์เป็น เจดีย์ที่สร้างขึ้นเป็นองค์แรก จากนั้นก็สร้างพระเจดีย์ลูกเพิ่มอีก 2 องค์ ดังภาพที่ 3
สภาพพื้นที่บ้านวัดจันทร์ และที่ตั้งเจดีย์
พระเจดีย์ (พระธาตุ) ณ บ้านวัดจันทร์
ภาพที่ 3 สภาพพื้นที่หมู่บ้านวัดจันทร์และเจดีย์ ในต�ำบลบ้านจันทร์ อ�ำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
8
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ความสัมพันธ์ระหว่างป่าสนวัดจันทร์กับชุมชนบ้านวัดจันทร์ ความสัมพันธ์ระหว่างป่าสนวัดจันทร์กับชุมชนในพื้นที่ มีลักษณะความสัมพันธ์ ในสองมิติ คือ การใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ของชุมชน และการฟื้นฟู ดูแล ทรัพยากรป่าไม้ในพืน้ ทีข่ องชุมชน โดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และการก�ำหนดกฎ กติกา เพื่อการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ การใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ของชุมชนบ้านวัดจันทร์ ในอดีตป่าสนวัดจันทร์เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ ช่วงเวลาต่อมารัฐได้มีการให้ สัมปทานแก่บริษทั เอกชนเจาะยางสนในพืน้ ทีป่ า่ สนวัดจันทร์ โดยมีคนงานจากพืน้ ล่าง ขึ้นไปรับจ้างเจาะยางสน ต่อมาจึงได้มีการสอนคนในหมู่บ้านเจาะยางสน เพื่อขาย ให้กับผู้ได้รับสัมปทาน ซึ่งการใช้ประโยชน์สนด้วยการเจาะยางสนดังกล่าว ส่งผลให้ ป่าสนวัดจันทร์เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว โดยลักษณะการเจาะยางสนจะเจาะ จากต้นสนสองใบที่มีขนาดใหญ่ บางครั้งมีการเจาะต้นสนด้านละ 5 จุดต่อเนื่องกัน โดยห่างกันจุดละประมาณ 30 เซนติเมตร ในแนวตั้ง ทั้งนี้ได้ส่งผลต่อเนื่องเมื่อเวลา เกิดไฟป่า ท�ำให้ไฟป่าท�ำลายต้นสนที่มีการเจาะยาง เพราะน�้ำมันยางที่ออกมา จะเป็นเชือ้ เพลิงอย่างดี ด้วยในอดีตไม่ได้มกี ารควบคุมไฟป่าเช่นปัจจุบนั ท�ำให้ในป่าสน วัดจันทร์พบไม้สนสองใบที่มีขนาดใหญ่ลดน้อยลง โดยไม้สนสองใบที่ยังพบอยู่ในป่า ส่วนใหญ่มีร่องรอยการเจาะต้นและรอยไฟไหม้ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดการหักโค่น จ�ำนวนมาก จากสถานการณ์ข้างต้นคนในพื้นที่ได้เห็นถึงความเสื่อมโทรมของป่าไม้จาก การด�ำเนินกิจกรรมดังกล่าว จึงได้มีการคัดค้านการให้สัมปทานเจาะยางสนและ ต่อมาได้มีการยกเลิกสัมปทาน นับแต่นั้นชุมชนบ้านวัดจันทร์จึงพึ่งพิงทรัพยากร ในพื้นที่เพื่อยังชีพเป็นหลัก อย่างไรก็ตามแม้ว่าคนส่วนใหญ่ในชุมชนจะพึ่งพิง ทรัพยากรป่าไม้เพื่อการยังชีพ แต่มีสมาชิกในชุมชนบางส่วนท�ำการลักลอบตัดไม้สน และตั ด ไม้ เ กี๊ ย ะส่ ง ไปขายยั ง นอกพื้ น ที่ ส่ ง ผลให้ ชุ ม ชนต้ อ งมี ก ารตั้ ง กฎ กติ ก า เพื่อควบคุมการใช้ประโยชน์ ในส่วนพื้นที่ป่าไม้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการลดลง แต่การลดลงอยู่ในอัตราที่ต�่ำเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ
9
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ส�ำหรับสถานการณ์การใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ของชุมชนบ้านวัดจันทร์ ตามที่กล่าวโดยทั่วไปว่า ในอดีตชุมชนต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าไม้มีการพึ่งพิง ทรัพยากรเพื่อการยังชีพเท่านั้น เช่น การใช้ประโยชน์ป่าสนเป็นแหล่งเก็บหาของป่า แหล่งอาหาร เป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์ น�ำไม้มาสร้างบ้านในส่วนของโครงสร้างหลัก เช่น แป ขื่อ คาน และเสา ส่วนพื้นบ้านและฝาจะใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกแทนไม้ ฯลฯ หากแต่ความต้องการทางการตลาดของผลผลิตจากป่าไม้บางประเภทในเวลา ต่อมา ได้ส่งผลให้มีการเก็บหาเพื่อการค้าในชุมชนเกิดขึ้น และบางอย่างยังพบ การพึ่งพิงทรัพยากรป่าไม้ที่ลดลง เช่น การใช้ไม้เพื่อใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบัน เส้นทางการคมนาคมขนส่งสะดวกขึ้น การซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการก่อสร้าง ที่คงทนกว่าการใช้ไม้ก็ท�ำได้ง่ายขึ้น การมีไฟฟ้าใช้ในชุมชนท�ำให้ความต้องการ ฟืนลดลง ฯลฯ อย่างไรก็ตามทรัพยากรป่าไม้ที่แม้จะมีการใช้ประโยชน์ลดลง แต่ปัจจุบันก็ยังคงมีการพึ่งพิงและบางชนิดยังจ�ำเป็นส�ำหรับครัวเรือนส่วนใหญ่ ในพื้นที่ นอกจากการใช้ประโยชน์ไม้เกี๊ยะและไม้ฟืนแล้ว ป่าสนยังเป็นแหล่งของป่า ที่ส�ำคัญและสร้างรายได้ให้กับชุมชน เช่น เห็ดชนิดต่าง ๆ ดังภาพที่ 4 และภาพที่ 5
ไม้เกี๊ยะ เป็นไม้ที่ใช้เป็นเชื้อไฟส�ำหรับ ก่อไฟ โดยได้มาจากไม้สนสองใบเป็นหลัก นิยมใช้ในภาคเหนือ
ไม้ฟืน ได้มาจากไม้หลากหลายชนิด เช่น ไม้ตระกูลก่อ ไม้สนสามใบ ฯลฯ
ภาพที่ 4 การใช้ประโยชน์ไม้สนที่น�ำมาท�ำไม้เกี๊ยะ (สนสองใบ) และไม้ฟืน
10
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ภาพที่ 5 เห็ดที่มีการเก็บหาในป่าสนวัดจันทร์ ต�ำบลบ้านจันทร์ อ�ำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ (ก) เห็ดระโงกขาว (ข) เห็ดระโงกเหลือง (ค) เห็ดเผาะ
การฟื้นฟูดูแลทรัพยากรป่าไม้ของชุมชนบ้านวัดจันทร์ ชุมชนบ้านวัดจันทร์นอกจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ในมิตติ า่ ง ๆ แล้ว ชุมชนยังได้มีการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้และด�ำเนินกิจกรรมด้านการฟื้นฟูและ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ (ภาพที่ 6) เช่น การปลูกฟื้นฟูป่าไม้ การท�ำฝายกั้นน�้ำ ในพื้นที่ป่าต้นน�้ำ การท�ำแนวกันไฟ การชิงเผา และการดับไฟป่า ฯลฯ
กิจกรรมที่ด�ำเนินการในพื้นที่ป่าสนวัดจันทร์ เช่น กิจกรรมการปลูกฟื้นฟูป่า การท�ำฝายกั้นน�้ำ ฯลฯ
ภาพที่ 6 กิจกรรมที่ด�ำเนินการในพื้นที่ป่าสนวัดจันทร์ในแต่ละปีและมีการด�ำเนินกิจกรรม อย่างต่อเนื่อง
11
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
นอกจากนั้นยังมีกฎกติกาในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ที่เกิดจาก การก�ำหนดร่วมกันของชุมชนและภาคส่วนต่าง ๆ ที่สอดคล้องไปกับข้อปฏิบัติตาม จารีตประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่น กรณีชุมชนบ้านวัดจันทร์ คนส่วนใหญ่ รับรู้ รับทราบว่ามีการก�ำหนดกฎกติกาส�ำหรับการจัดการทรัพยากรป่าไม้ โดยกฎ กติกาเหล่านัน้ จะเน้นการควบคุมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้และสิง่ ทีค่ วรปฏิบตั ิ หากมีการฝ่าฝืนก็มีการก�ำหนดบทลงโทษ ตัวอย่างกฎระเบียบที่ใช้ในการจัดการ ทรัพยากรป่าไม้ ดังภาพที่ 7 แต่ปัจจุบันพบว่ากฎกติกาและจารีตต่าง ๆ ที่เคยใช้ บางครั้งได้ถูกละเลยไป และการบังคับใช้กฎระเบียบไม่เข้มแข็งดังอดีตที่ผ่านมา สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ นีเ้ ป็นความท้าทายใหม่ของชุมชนและหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องในการจัดการ ทรัพยากรป่าไม้ ที่ต้องหันกลับมาช่วยกันเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการ ทรัพยากรป่าไม้ของชุมชนในพืน้ ทีป่ า่ สนวัดจันทร์ตอ่ ไป นอกจากนีย้ งั พบหลายชุมชน ที่ได้มีการจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน
12
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ตัวอย่าง กฎระเบียบในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ของชุมชนบ้านวัดจันทร์-ห้วยอ้อ ต�ำบลบ้านจันทร์ อ�ำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ห้ามขายที่ดินให้กับบุคคลภายนอกหรือนายทุนโดยเด็ดขาด บทลงโทษกรณีผฝู้ า่ ฝืนกฎระเบียบ คณะกรรมการจะด�ำเนินการตักเตือน ตัดความช่วยเหลือ และยึดคืนเป็นที่สาธารณะของหมู่บ้าน ในกรณีบุคคล หรือเครือญาติต่างหมู่บ้านจะเข้ามาอาศัยอยู่ด้วย ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้ (1) ต้องให้คณะกรรมการหมู่บ้านพิจารณาก่อน (2) ต้องได้รับการเซ็นรับรองจากคณะกรรมการหมู่บ้านก่อน
ห้ามตัดไม้ ในพื้นที่อนุรักษ์หรือเขตหวงห้ามโดยเด็ดขาด บทลงโทษผูฝ้ า่ ฝืนกฎระเบียบคณะกรรมการจะด�ำเนินการปรับต้นละไม่เกิน 500 บาท และ แจ้งเจ้าหน้าที่ด�ำเนินการตามกฎหมาย
ห้ามบุกรุก หรือท�ำกินในบริเวณป่าต้นน�้ำโดยเด็ดขาด บทลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎระเบียบคณะกรรมการจะด�ำเนินการปรับไร่ละไม่เกิน 1,500 บาท แจ้งเจ้าหน้าที่ด�ำเนินการตามกฎหมาย ยึดคืนและปลูกเป็นป่าทดแทน
ห้ามล่าสัตว์ป่าทุกชนิดในพื้นที่อนุรักษ์ของหมู่บ้าน บทลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎระเบียบคณะกรรมการจะด�ำเนินการปรับตัวละไม่เกิน 500 บาท
ห้ามจับสัตว์น�้ำทุกชนิดในเขตอนุรักษ์สัตว์น�้ำ บทลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎระเบียบคณะกรรมการจะด�ำเนินการปรับครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท
ภาพที่ 7 ตัวอย่างกฎระเบียบของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ชุมชน
บ้านวัดจันทร์
13
บทที่ 3 แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดการทรัพยากรป่าไม้
บทที่ 3 แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ การมีสว่ นร่วมเป็นค�ำทีพ่ ดู กันโดยทัว่ ไปในการท�ำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันระหว่าง หน่วยงานภาครัฐและชุมชน และเป็นที่ยอมรับกันว่าการด�ำเนินการใด ๆ กับชุมชน ท้องถิ่นหากไม่ได้รับการมีส่วนร่วมจากคนในท้องถิ่นนั้น ๆ งานมีโอกาสสูงมากที่จะ ไม่ประสบความส�ำเร็จ ดังนัน้ ในบทนีจ้ ะกล่าวถึง แนวคิดเกีย่ วกับความสัมพันธ์ระหว่าง ทรัพยากรป่าไม้กับมนุษย์ แนวคิดและความหมายของการมีส่วนร่วมในการจัดการ ทรัพยากรป่าไม้ หรือการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้
ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรป่าไม้กับมนุษย์ เมือ่ กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรป่าไม้กบั มนุษย์นนั้ มีทงั้ ความสัมพันธ์ ด้านบวกและด้านลบ ด้านบวกคือการที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ ทัง้ ทางตรงและทางอ้อม เช่น การเป็นแหล่งอาหาร แหล่งไม้เชือ้ เพลิง แหล่งไม้ใช้สอย พื้นที่เลี้ยงสัตว์ เป็นแหล่งต้นน�้ำล�ำธาร และพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของคน ในด้านลบ ของมนุษย์ทมี่ ตี อ่ ทรัพยากรป่าไม้ เช่น การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทีเ่ กินกว่าก�ำลังผลิต ของป่าไม้ และการเปลี่ยนสภาพพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ดังนัน้ ในการศึกษาและท�ำงานของนักพัฒนา/นักส่งเสริมด้านป่าไม้รว่ มกับชุมชน ผูท้ ำ� งานควรมีกรอบคิดหรือกรอบการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรป่าไม้กบั มนุษย์ (ภาพที่ 8) เพือ่ ให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์/ชุมชน กับทรัพยากรทีช่ มุ ชน มีการใช้ประโยชน์ และสิง่ ทีช่ มุ ชนปฏิบตั ติ อ่ ทรัพยากรป่าไม้ ซึง่ การเข้าใจความสัมพันธ์นี้ จะช่วยให้สามารถจ�ำแนกและวิเคราะห์บทบาทผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการ ทรัพยากรป่าไม้ผ่านความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ท�ำให้การท�ำงานมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
15
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
การใช้ประโยชน์/การดูแลรักษา
ทรัพยากรป่าไม้
ชุมชนท้องถิ่น/ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การใช้ประโยชน์เกินก�ำลังผลิตของป่าไม้/การบุกรุกป่าไม้
ภาพที่ 8 กรอบการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรป่าไม้กับมนุษย์
การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ การมีสว่ นร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ เป็นกระบวนการทีป่ ระชาชน ชุมชน หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้พัฒนาขีดความสามารถของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้ามา มีบทบาทในการวางแผน การจัดการด�ำเนินงาน ควบคุมก�ำกับ ติดตามผล และ รับผลประโยชน์ในการด�ำเนินกิจกรรมทีเ่ กีย่ วกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ผ่านการ ให้ข้อมูล รับฟังความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนพัฒนา ข้อตกลงร่วมกัน เมื่อกล่าวถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากร ป่าไม้ เป้าหมายของการมีส่วนร่วมคือ การยกระดับความสามารถของชุมชนจน สามารถบริหารจัดการปัญหาด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่เกิดขึ้นในชุมชนได้ ด้วยตนเอง และเสริมพลังอ�ำนาจประชาชนให้สามารถจัดการ ฟืน้ ฟู และใช้ประโยชน์ ทรัพยากรป่าไม้ของตนเองได้ดว้ ยการตัดสินใจของชุมชนเองว่าจะด�ำเนินการอย่างไร (ภาพที่ 9)
16
-
เราจะทํางานกับประชาชน เพื่อให ความคิดเห็นและขอมูลจาก ประชาชนสะทอนในทางเลือก
สัญญาตอประชาชน
เพื่อรวมทํางานกับประชาชน เพื่อ สรางความมั่นใจกับประชาชนวา ความคิดเห็นและความตองการของ ประชาชนจะไดรับการพิจารณา
การลงพื้นที่ชุมชนวัดจันทร การประเมินผลการดําเนินงาน
ศูนยรับเรื่องรองทุกขอําเภอโดย ตัวแทนชุมชน
ขั้นเสริมอํานาจ Empower
เราจะรวมงานกับประชาชนเพื่อได ขอเสนอแนะและความคิดเห็นใหม รวมทั้งนําขอเสนอแนะของ ประชาชนมาเปนสวนหนึ่งของการ ตัดสินใจใหมากที่สุดเทาที่จะทําได
- คณะกรรมการรวมองคกรพัฒนา เอกชน หนวยงานรัฐ ทองถิ่น ดานการจัดการที่ดิน - คณะกรรมการพัฒนา
การแกไขความขัดแยงโดย ประชาคมหมูบาน สภาตําบล
เราจะปฏิบัติสิ่งที่ประชาชนตัดสินใจ
เพื่อเปนหุนสวนกับประชาชนในทุก เพื่อใหประชาชนเปนผูตัดสินใจ ขั้นตอนของการตัดสินใจ ตั้งแตการ ระบุปญหา พัฒนาทางเลือกและแนว ทางแกไข
ขั้นสรางความรวมมือ Collaborate
ภาพที่ 9 ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนของ IAP2 และตัวอย่างเทคนิคการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่มา : ปรับปรุงจาก Public Participation Spectrum พัฒนาโดยสมาคมนานาชาติด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (International Association for Public Participation) อ้างถึงใน วันชัย และ รัตนาภรณ์ (2558)
-
การประชาสัมพันธ การจัดทํารายงานผลงาน ประจําป จดหมายขาว
เราจะใหขอมูลขาวสารแกประชาชน รับฟงความคิดเห็น รวมทั้งตระหนัก ถึงขอมูลและความคิดเห็นจาก ประชาชนในการตัดสินใจ
เราจะทําใหประชาชนไดรับขอมูล ขาวสาร
-
เพื่อใหไดรับขอมูลความคิดเห็นจาก ประชาชนเกี่ยวกับสภาพปญหา ทางเลือกและแนวทางแกไข
เพื่อใหขอมูลขาวสารแกประชาชน และสรางความเขาใจของประชาชน เกี่ยวกับประเด็นปญหาทางเลือก และทางแกไข
เปาหมาย
ขั้นเขามามีบทบาท Involve
ตัวอยางเทคนิคการมีสวนรวมของประชาชน
ขั้นรับฟงความคิดเห็น Consult
ขั้นใหขอมูลขาวสาร Inform
เพิ่มระดับหรือบทบาทการมีสวนรวมของประชาชน
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
17
บทที่ 4 กระบวนการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชน อย่างมีส่วนร่วม
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
บทที่ 4 กระบวนการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ในการท�ำงานร่วมกับชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรป่าไม้นั้น สิ่งส�ำคัญคือ การวิเคราะห์ชุมชนให้ได้ว่าชุมชนมีเป้าหมายเป็นอย่างไร การท�ำความเข้าใจชุมชน ทั้งสภาพเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และความสัมพันธ์ของชุมชนกับ ทรัพยากรในพื้นที่ล้วนเป็นสิ่งจ�ำเป็น ในบทนี้จะกล่าวถึง การศึกษาวิเคราะห์ชุมชน เทคนิคและกระบวนการท�ำงานกับชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการท�ำงานกับชุมชน ของนักพัฒนา (ภาพที่ 10)
ภาพที่ 10 กรอบการท�ำงานกับชุมชน เพื่อการพัฒนางานด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ในพื้นที่ชุมชน
จากกรอบการท�ำงานในแต่ละขัน้ ตอนสามารถประยุกต์ใช้เทคนิค เครือ่ งมือในการ ศึกษาและวิเคราะห์ชมุ ชนให้เข้าใจในสถานการณ์ตา่ ง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในชุมชนได้ เพือ่ ให้ สามารถปรับให้เหมาะสมและบรรลุเป้าหมาย โดยกระบวนการท�ำงานของนักพัฒนา/ นักวิจัย กระบวนการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชน ซึ่งมีรายละเอียดในล�ำดับต่อไป
19
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
กระบวนการท�ำงานของนักพัฒนา ในการท�ำงานด้านส่งเสริมการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการฟืน้ ฟูและใช้ประโยชน์ ทรัพยากรป่าไม้ หรือการจัดการทรัพยากรป่าไม้รว่ มกับชุมชนและผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียนัน้ มีข้อที่ต้องพิจารณาหรือควรด�ำเนินการ ดังนี้ 1. การติดต่อผู้น�ำหรือประสานงานคนในพื้นที่ เพื่อนัดหมายวันเวลาการพบปะ เพือ่ ชีแ้ จงข้อมูล เป็นสิง่ ทีค่ วรให้ความส�ำคัญเป็นอย่างมาก เนือ่ งจากเป็นกิจกรรมแรก ที่ต้องด�ำเนินการเมื่อลงส�ำรวจพื้นที่ 2. อธิ บ ายท� ำ ความเข้ า ใจโครงการระหว่ า งผู ้ วิ จั ย กั บ ชุ ม ชนเป้ า หมาย โดยเป็นการอธิบายเพื่อให้สมาชิกในชุมชนหรือกลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ในการด�ำเนินกิจกรรม เพราะความเข้าใจต่อการด�ำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ครบถ้วน อาจน�ำมาซึ่งความเข้าใจผิดกันได้ 3. อย่าตัดสินว่าอะไรถูกหรือผิดทันที ในการท�ำงานกับชุมชนโดยปกติเราจะพบ สถานการณ์ต่าง ๆ มากมาย บางครั้งบางสถานการณ์ที่ปรากฏผู้ท�ำงานในพื้นที่อาจมี การตัดสินใจไปแล้วว่าถูกหรือผิด แต่บางครั้งการรวบรวมข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นอาจ ท�ำให้เข้าใจบริบทของชุมชนหรือสถานการณ์ได้ชดั เจนมากขึน้ ดังนัน้ การตัดสินใจใด ๆ ก็ตามต้องอยูบ่ นพืน้ ฐานของข้อมูลทีพ่ อเพียงและทีส่ ำ� คัญต้องไม่วพิ ากษ์วจิ ารณ์ชมุ ชน นอกเหนือจากเรื่องที่ศึกษา เพราะอาจสร้างความขัดแย้งได้เช่นเดียวกัน 4. ควรมีการสรุปบทเรียน/สะท้อนการท�ำงาน ซึ่งควรด�ำเนินการเมื่อเสร็จสิ้น กิ จ กรรมหรื อ สิ้ น สุ ด การท� ำ งานในแต่ ล ะวั น (ในกรณี ที่ อ ยู ่ ใ นพื้ น ที่ เ พื่ อ วางแผน การท�ำงานต่อ) และการสรุปการท�ำงานในแต่ละรอบที่ลงพื้นที่ ทัง้ นีก้ ารสะท้อนบทเรียน ผูน้ ำ� กระบวนการต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม ไม่ควร ใช้ภาษาที่บั่นทอนจิตใจหรือดูถูกคนอื่น และควรตั้งค�ำถามที่ชักจูงให้ทีมงานสะท้อน บทเรียนด้วยตนเองก่อน อาจเป็นการเล่าสิ่งที่ได้เรียนรู้ โดยใช้ค�ำถามที่ไม่คุกคาม บอกเล่าสิ่งที่ส�ำเร็จ/ไม่ส�ำเร็จ จากนั้นหากพบการท�ำงานของทีมที่ผิดซ�้ำซาก ต้องมี การตักเตือน เพื่อลดความผิดพลาด โดยสถานทีใ่ นการจัดกิจกรรมสะท้อนบทเรียนของทีมวิจยั ควรเลือกให้เหมาะสม เช่น กรณีประเด็นอ่อนไหว ที่การพูดคุยบางประเด็นอาจส่งผลกระทบต่อสมาชิก
20
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง สถานที่ที่ใช้ควรเป็นพื้นที่อื่นนอกชุมชน แต่ในกรณี การสะท้อนบทเรียนจากคนในชุมชน ควรใช้สถานที่ในชุมชน ฯลฯ 5. การมีทีมงานที่ดี บุคคลที่อยู่ในระดับหัวหน้านั้น ควรมีระบบการท�ำงานเป็น ขัน้ ตอน มีเวลาให้คดิ และทบทวนงาน โดยหัวหน้าทีมควรให้โอกาสลูกทีมท�ำงานและ ได้เรียนรู้ นอกจากนั้นการท�ำงานควรมีทีมที่ปรึกษาที่ดี ที่คอยสนับสนุนการตัดสินใจ หรือข้อมูล ซึง่ ในการท�ำงานเป็นทีมควรมีกจิ กรรมทีส่ ามารถจ�ำแนกบุคลิกของคนเพือ่ ให้ท�ำงานร่วมกันได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น เกมผู้น�ำสี่ทิศและนพลักษณ์ ฯลฯ ส�ำหรับ นพลักษณ์ อันประกอบด้วยบุคลิกลักษณะของบุคคล 9 แบบ ได้แก่ คนสมบูรณ์แบบ ผูใ้ ห้ นักแสดง คนโศกซึง้ นักสังเกตการณ์ นักปุจฉา นักลิม้ ชิมรส เจ้านาย และนั ก ไกล่ เ กลี่ ย ซึ่ ง นพลั ก ษณ์ เ ป็ น การอธิ บ ายบุ ค ลิ ก ที่ ต ่ า งกั น ของบุ ค คลและ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกดังกล่าวนั้น การวิเคราะห์นพลักษณ์จะช่วยให้เรา ตระหนักถึงบุคลิกภาพของตน และมองเห็นวิธจี ดั การปัญหาต่าง ๆ ของเราเอง ท�ำให้ เราเข้าใจเพื่อนร่วมงาน หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง (พาล์มเมอร์, 2552) ซึ่งจะช่วยให้ การท�ำงานอย่างมีส่วนร่วมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 6. สร้างบรรยากาศที่เหมาะสมส�ำหรับการพูดคุย สื่อสาร รวมถึงการท�ำงาน ในแต่ละสถานการณ์ (ผลักดัน สร้างการมีส่วนร่วม ปลอบประโลม ให้ก�ำลังใจ) 7. ให้ความเคารพกับสิ่งที่ท�ำหรืองานที่ท�ำ รวมถึงการให้ความเคารพกับกลุ่ม บุคคลที่เราท�ำงานด้วย เพื่อเป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
กระบวนการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน การวิเคราะห์ชุมชน เป็นกระบวนการศึกษาและท�ำความเข้าใจชุมชนที่ต้อง น�ำความรู้ทั้งในด้านจิตวิทยาชุมชน งานพัฒนาชุมชน และปรัชญาที่เกี่ยวข้องในงาน ชุมชน เพือ่ ให้ผทู้ ำ� งานได้เรียนรูแ้ ละเกิดความเข้าใจในภาพรวมของชุมชนในด้านต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เช่น รูปแบบความสัมพันธ์ในชุมชน โครงสร้างของผู้คนในชุมชน การวิเคราะห์ลักษณะผู้น�ำ ฯลฯ ท�ำให้ผู้ท�ำงานสามารถวิเคราะห์ชุมชนและท�ำงาน ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ (มูลนิธสิ บื นาคะเสถียร, 2556) โดยกระบวนการศึกษา วิเคราะห์ชุมชนนี้เหมาะกับพื้นที่ชนบท เพื่อใช้ในการสืบค้นปัญหา เป้าหมาย และ
21
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ก�ำหนดยุทธวิธเี พือ่ แก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนทีเ่ หมาะสมกับพืน้ ทีน่ นั้ กระบวนการนี้ ใช้ในระดับครัวเรือน กลุม่ ชุมชน และเมือ่ มีความต้องการข้อมูลในการตัดสินใจด�ำเนินงาน ในช่วงเวลานั้น ๆ (ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, 2543) ซึ่งกระบวนการศึกษาวิเคราะห์ชุมชนนี้ ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ 1. การเตรียมทีมงาน (ผูท้ ำ� การศึกษา) และการเตรียมความพร้อมของชุมชน การเตรียมทีมงานในการศึกษาชุมชนเป็นสิ่งที่ส�ำคัญ เพราะจะท�ำให้สามารถ เตรียมการที่ดี ทีมงานมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการศึกษา และมีทักษะ เบื้องต้นในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้การเตรียมทีมงานแยกเป็น 2 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการศึกษา กลุ่มที่ 1 การเตรียมทีมงานจากบุคคลภายนอกชุมชน ทั้งนี้บุคคลภายนอก ทีจ่ ะศึกษาชุมชน ควรเป็นบุคคลทีม่ คี วามรู้ ประสบการณ์พอสมควร โดยเฉพาะความรู้ พืน้ ฐานทางสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นอกจากนัน้ ควรเข้าใจและมองปัญหาอย่าง รอบด้าน รวมทั้งการมีทักษะในการสัมภาษณ์ การใช้วิธีการหรือเครื่องมือต่าง ๆ ใน การศึกษาชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่จะประกอบด้วยทีมย่อยละประมาณ 3 คน ในกรณีที่ บุคลากรยังไม่มคี วามช�ำนาญหรือมีทกั ษะยังไม่เพียงพอ ควรมีการฝึกอบรม เพือ่ พัฒนา ทักษะในการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชน ในการปฏิบัติงานจริงนักพัฒนาแต่ละคน ต้องพยายามฝึกฝน และพัฒนาทักษะในการเก็บข้อมูลชุมชนหลาย ๆ ด้าน จากวิธกี าร หรือเครือ่ งมือทีห่ ลากหลาย เพือ่ ให้ตนเองสามารถศึกษาและวิเคราะห์ชมุ ชนในระดับ เบือ้ งต้นด้วยตนเองได้ ซึง่ จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนากระบวนการท�ำงานกับชุมชน ในโอกาสต่อไป กลุ่มที่ 2 การเตรียมทีมงานภายในชุมชนและความพร้อมของชุมชน (ภาพที่ 11) ในกรณีทนี่ กั พัฒนาต้องการให้เกิดกระบวนการท�ำงานร่วมกันกับชุมชน การศึกษาและ วิเคราะห์ชมุ ชนร่วมกันจะเป็นกิจกรรมทีม่ ปี ระโยชน์มาก เพราะชุมชนจะทราบปัญหา ความต้องการ ข้อจ�ำกัดของตนเองได้ดกี ว่าบุคคลภายนอก และจะน�ำไปสูค่ วามสนใจ ในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองมากขึ้น ในการนี้เจ้าหน้าที่ต้องหากลุ่มคนที่สนใจ อาจจะเป็นผูน้ ำ� องค์กรชุมชนหรือผูท้ สี่ นใจและมีศกั ยภาพเพือ่ ทีจ่ ะพัฒนาให้เป็นวิทยากร ชุมชนต่อไปด้วย โดยการเตรียมชุมชนหรือทีมท�ำงานต้องร่วมกับกลุ่มแกนน�ำชุมชน
22
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ซึ่งการที่ชุมชนจะเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร ใครบ้างควรจะเข้ามาร่วม จะขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ของการศึกษา ทั้งนี้การเตรียมชุมชนอาจจะเริ่มจาก 1) การเข้าพืน้ ที่ เพือ่ แนะน�ำวิธกี าร สร้างความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการศึกษา ชุมชนร่วมกันเพื่อช่วยชุมชนในการเตรียมแผนการปฏิบัติงาน ปรับปรุงการบริการ จัดการทรัพยากรในท้องถิน่ และระดมความพยายามของชุมชนในการด�ำเนินกิจกรรม 2) ทบทวนในชุมชน ชุมชนควรมีการทบทวน โดยการทิ้งระยะเวลาให้ชุมชน กระจายข้อมูลข่าวสารและร่วมกันทบทวนวัตถุประสงค์ ความส�ำคัญ ความจ�ำเป็น ในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล วิธีการที่จะใช้ในการศึกษา บุคคลที่จะเข้ามา มีส่วนร่วม ระยะเวลา ฯลฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีการแลกเปลี่ยนและสร้าง ความเข้าใจร่วมกันของคนในชุมชน 3) ประชุมวางแผน หากชุมชนต้องการให้มีการศึกษาข้อมูลชุมชนร่วมกัน ทีมเก็บข้อมูล ผู้น�ำ และคณะกรรมการประสานงานควรจัดให้มีการประชุมวางแผน อย่างเป็นทางการ
ภาพที่ 11 การเข้าพื้นที่เพื่อชี้แจงท�ำความเข้าใจการด�ำเนินงานโครงการวิจัยกับผู้น�ำชุมชน
2. การก�ำหนดวัตถุประสงค์และกรอบการศึกษา ในการศึกษาชุมชน ก่อนการเก็บข้อมูลต้องมีความชัดเจนว่าจะศึกษาและ วิเคราะห์ข้อมูลอะไรบ้าง และมีเป้าหมายอะไร หลังจากนั้นจึงก�ำหนดวัตถุประสงค์ (ควรกระชับ สามารถทีจ่ ะด�ำเนินการได้ มีความชัดเจน) และก�ำหนดกรอบในการศึกษา ว่าจะท�ำอะไรมากน้อยแค่ไหน
23
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
3. การวางแผนการเก็ บ ข้ อ มู ล ซึ่ ง รวมไปถึ ง การรวบรวมข้ อ มู ล ที่ มี อ ยู ่ เลือกวิธีการ เครื่องมือ และจัดท�ำแผนงานสนามเบื้องต้น ก่อนการเก็บข้อมูลต้องแน่ใจว่าผู้ศึกษารับรู้และเข้าใจวัตถุประสงค์และกรอบ ของการศึกษาอย่างชัดเจน มีการรวบรวมข้อมูลและข่าวสารจากข้อมูลทุติยภูมิ รู้จัก พื้นที่และมีแผนการเก็บข้อมูล โดยมีขั้นตอนที่ส�ำคัญ ได้แก่ 1) การรวบรวมข้อมูลทุตยิ ภูมิ ได้แก่ การค้นคว้าข้อมูล ข่าวสาร งานวิจยั ทีม่ กี าร ตีพมิ พ์เผยแพร่ หรือบันทึกไว้ แต่ตอ้ งระลึกไว้เสมอว่าข้อมูลดังกล่าวอาจจะไม่สมบูรณ์ หรือถูกต้องทัง้ หมด และบางครัง้ ถ้าเก็บมาจากหลายหน่วยงานโดยเป็นข้อมูลในเรือ่ ง เดียวกันอาจจะมีความขัดแย้งกันได้ ซึ่งผู้ศึกษาควรจดบันทึกไว้เพื่อตรวจสอบต่อไป ทัง้ นีก้ อ่ นการเก็บข้อมูลทุตยิ ภูมคิ วรมีการก�ำหนดประเด็นหรือเรือ่ งทีต่ อ้ งการทราบไว้ เป็นกรอบในการเก็บรวบรวมข้อมูล หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วควรน�ำมาปรึกษา หารือ แลกเปลี่ยนในประเด็นที่ก�ำหนดไว้ว่ามีหัวข้อใดบ้างที่มีข้อมูลหรือไม่มีข้อมูล มีความขัดแย้งหรือไม่ มีข้อมูลอยู่ในระดับมากน้อยและน่าเชื่อถือเพียงใด 2) การเลือกวิธีการและเครื่องมือ เป็นขั้นตอนที่ส�ำคัญ ผู้ศึกษาต้องชัดเจน ในวัตถุประสงค์และกรอบการศึกษา เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิแล้วจะท�ำให้เห็น ชัดเจนว่ายังมีประเด็นหรือข้อมูลอะไรอีกบ้างทีต่ อ้ งการเก็บรวบรวม และทีส่ ำ� คัญต้อง ชัดเจนว่าข้อมูลที่ต้องการจะน�ำไปสู่การใช้ประโยชน์อะไรและอย่างไร เพราะจะเป็น ตัวชี้น�ำถึงการคัดเลือกวิธีการและเครื่องมือในการศึกษาชุมชน โดยการศึกษาชุมชน มีเทคนิคและวิธีการที่หลากหลายทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ 3) การจัดท�ำแผนการเก็บข้อมูล คณะผู้ศึกษาควรร่วมจัดท�ำแผนการเก็บข้อมูล ด้วยว่าจะเก็บข้อมูลอะไร เก็บช่วงไหน เก็บจากใครบ้าง โดยแผนการด�ำเนินงานเบือ้ งต้น ควรประกอบด้วย ตารางกิจกรรมประจ�ำวัน ภารกิจของแต่ละคน กลุม่ เป้าหมาย หรือ การเข้ามามีสว่ นร่วมของชุมชน รวมถึงสิง่ อ�ำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ยานพาหนะ ที่พัก อาหาร ฯลฯ
24
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
กิจกรรมการวางแผนของคณะศึกษาและวิจัยที่ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลในชุมชน ต้องมีการประชุมเพื่อวางแผนงานและแบ่งบทบาทหน้าที่ เพื่อการลงพื้นที่แต่ละครั้งให้เป็นไปตามเป้าหมาย
ภาพที่ 12 การวางแผนการท�ำงานก่อนการลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในชุมชน
4. การเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชนและทรัพยากรในพื้นที่จริง การเก็บรวบรวมข้อมูลถ้ามีแผนที่ตั้งชุมชนชัดเจนจะสะดวกในการด�ำเนินการ เพราะทราบว่าจะเก็บข้อมูลอะไร เก็บจากใคร ด้วยวิธีการอย่างไร ทั้งนี้แผนที่ตั้ง ชุมชนจะท�ำให้การเข้าถึงบุคคลเป้าหมายกระท�ำได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยให้ การจ�ำแนกผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ที่ส�ำคัญในแต่ละประเด็นด้วย ซึ่งการ เก็บรวบรวมควรด�ำเนินการตามแผนที่ได้ก�ำหนดไว้ หลังจากการเก็บข้อมูลในทุกวัน ควรมีการตรวจสอบข้อมูล บันทึกในสิ่งที่น่าสนใจ แลกเปลี่ยนในประเด็นของข้อมูล ที่มีความขัดแย้งกัน อุปสรรคและปัญหาในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการชี้แจง แผนงานในวันต่อไปหรือการปรับแผนการด�ำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับ สภาพการณ์ของชุมชน 5. การประมวลผล ตรวจสอบ และวิเคราะห์เบื้องต้น ในการเก็บข้อมูลควรมีการทบทวนกิจกรรมทีด่ ำ� เนินการเป็นรายวัน เพือ่ ทบทวน ความเหมาะสมของวิธีการและเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล พร้อมทั้งตรวจสอบว่าข้อมูล ทีเ่ ก็บมาตรงกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายทีต่ อ้ งการหรือไม่ หรือได้ขอ้ มูลมาเพียงพอไหม ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ตรงกันหรือขัดแย้งกัน
25
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
การตรวจสอบข้อมูล ควรด�ำเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งในระหว่างการเก็บข้อมูล และหลังการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น เพราะจะช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลที่เป็นจริง ทั น ต่ อ สถานการณ์ โดยการตรวจสอบข้ อ มู ล สามารถท� ำ ได้ ห ลายทาง เช่ น การสังเกตการณ์โดยตรง การเปรียบเทียบกับสิ่งที่ได้จากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ถ้ามี ประเด็นที่ขัดแย้ง ควรมีการติดตามตรวจสอบต่อไป หรือในการให้ข้อมูลบางอย่าง ที่ไม่ตรงกันของผู้ให้ข้อมูลหลากหลายคน อาจจะตรวจสอบโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ ผูใ้ ห้ขอ้ มูลหลักอย่างน้อย 3 คน (Triangulation) หรือใช้การประชุมกลุม่ เพือ่ ตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อมูล รวมถึงข้อมูลบางประเด็นที่ขัดแย้งกันหรือไม่ชัดเจนอาจจะ ใช้เครื่องมือหรือวิธีการหลายอย่างช่วยในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ขอ้ มูลเบือ้ งต้น ควรท�ำหลังจากงานภาคสนามสิน้ สุดลง โดยน�ำข้อมูล ดังกล่าวมาใช้ในการก�ำหนดรูปแบบการใช้ที่ดิน ยุทธศาสตร์ในการจัดการทรัพยากร กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประเด็นปัญหาต่าง ๆ ความคิดเห็นของชุมชน/ครัวเรือน และ ภูมิหลังต่าง ๆ หลังจากนั้นควรจัดท�ำรายการปัญหาและข้อจ�ำกัดต่าง ๆ 6. การจัดล�ำดับความส�ำคัญ หลังจากวิเคราะห์ขอ้ มูลเบือ้ งต้นและได้ประเด็นปัญหาต่าง ๆ แล้ว ควรจัดประชุม เพื่อน�ำเสนอผลการศึกษาของชุมชน โดยการน�ำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกับชุมชนและ ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน ว่าจะจัดความส�ำคัญอย่างไร ซึง่ การเรียงล�ำดับความส�ำคัญจะช่วยให้ชมุ ชนตระหนักถึงความจ�ำเป็น ปัญหาอุปสรรค ต่าง ๆ ทัง้ นีใ้ นการจัดล�ำดับความส�ำคัญของโครงการพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากร ป่าไม้อย่างมีสว่ นร่วม ควรพิจารณาตามเงินทุน แรงงาน และอุปกรณ์อนื่ ๆ ทีส่ ามารถ สนับสนุนได้ การเรียงล�ำดับปัญหาอุปสรรคควรยึดถือตามเกณฑ์ทที่ อ้ งถิน่ ยอมรับหรือเกณฑ์ ของบุคคลภายนอก เช่น ความยัง่ ยืนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้และความเป็นไปได้ ทางเทคนิค
26
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
7. การวิเคราะห์เพือ่ การแก้ไขปัญหา สร้างทางเลือก และท�ำแผนปฏิบตั กิ ารร่วม ในการจัดประชุมเพือ่ จัดล�ำดับความส�ำคัญ เมือ่ รูช้ ดั ถึงปัญหา ข้อจ�ำกัด อุปสรรค และจัดล�ำดับความส�ำคัญแล้ว ล�ำดับต่อไปคือการก�ำหนดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งควรด�ำเนินการร่วมกันระหว่างชุมชนและเจ้าหน้าที่ในการสร้างทางเลือกเพื่อ แก้ไขปัญหาและการสร้างแผนปฏิบตั กิ ารร่วม รวมทัง้ การจัดท�ำรายงานผลการศึกษา การวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้ม
เทคนิคและวิธีการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชน การศึกษาและวิเคราะห์ชมุ ชนมีเทคนิคและเครือ่ งมือหลากหลายชนิดทีส่ ามารถ ประยุกต์ใช้ได้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการศึกษาชุมชนนั้น ๆ ดังนั้น ผู้ศึกษาชุมชนจึงต้องก�ำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายให้ชัดเจนว่าต้องการข้อมูล ชุมชนไปเพื่อใช้ประโยชน์อะไร ต้องการข้อมูลชนิดใดบ้าง ระดับความละเอียดของ ข้อมูลต้องการมากน้อยแค่ไหน จากนั้นจึงวางแผนคัดเลือกเทคนิคและวิธีการศึกษา ที่เหมาะสม ซึ่งในการศึกษาชุมชน สามารถที่จะใช้เทคนิคและวิธีการหลายอย่าง ร่วมกันในการเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความชัดเจน ตรงกับความเป็นจริงและ เป็นประโยชน์ต่อการน�ำไปใช้ในงานที่ต้องการ เทคนิคและวิธกี ารทีน่ ยิ มใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ชมุ ชนสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ เทคนิควิธกี ารในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ และเทคนิควิธกี าร ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ นอกจากนัน้ ยังมีเทคนิคและวิธกี ารอีกหลายอย่าง เช่น การวิเคราะห์ปจั จัยภายใน และภายนอก (SWOT Analysis) โมเดลว่าว (Kite Model) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ฯลฯ
27
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ตัวอย่างเทคนิคและเครื่องมือในการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชน ในการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชนมีเทคนิค เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ทัง้ เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณอยูห่ ลายอย่าง ดังนัน้ จึงต้องเลือกเทคนิคและเครือ่ งมือ ที่สอดคล้องเหมาะสมกับข้อมูลที่ต้องการน�ำมาใช้ประโยชน์ ทั้งนี้มีเทคนิคและ เครื่องมือที่นิยมใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชนในงานด้านการจัดการทรัพยากร ป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม ดังนี้ 1. การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interviews) การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นวิธีการสัมภาษณ์หลักที่นิยมใช้ในการศึกษาและ วิเคราะห์ชุมชน โดยเน้นการพูดคุยกับชาวบ้านในสถานการณ์ที่พวกเขาเป็นอยู่และ ในสิ่ ง ที่ พ วกเขาสนใจ โดยมี แ นวค� ำ ถามที่ พั ฒ นาขึ้ น เป็ น แนวทางในการพู ด คุ ย ซึ่ งสามารถใช้ ไ ด้ ทั้ ง กั บ การสัมภาษณ์ผู้ใ ห้ข ้อมูลหลัก คนเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ซึ่งมีวิธีการโดยสังเขป ดังนี้ 1.1 การเตรียมแนวค�ำถาม (Guideline Questions) จากวัตถุประสงค์ จะสามารถก�ำหนดว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่จะต้องใช้เพื่อให้สามารถตอบวัตถุประสงค์ นั้นได้ เมื่อได้ข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่ต้องการแล้วผู้เก็บข้อมูลต้องมาแตกประเด็นว่า ในข้อมูลแต่ละอย่างนัน้ ควรจะมีประเด็นค�ำถามอะไรบ้าง ให้เขียนล�ำดับประเด็นค�ำถาม เหล่านัน้ ไว้ ซึง่ โดยปกติจะเป็นเพียงประเด็นสัน้ ๆ เท่านัน้ เพือ่ เปิดโอกาสให้ผสู้ มั ภาษณ์ มีความยืดหยุ่นในการพูดคุย แต่ถ้าในกรณีที่ผู้สัมภาษณ์ยังไม่มีความช�ำนาญ อาจจะ ตั้งเป็นค�ำถามที่ละเอียดเลยก็ได้ ตัวอย่างแนวค�ำถามดังแสดงไว้ในตารางที่ 1
28
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
1.2 การสัมภาษณ์ ควรเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักที่สามารถให้ข้อมูลในเรื่อง ทีต่ อ้ งการจัดเก็บ ทัง้ นีค้ วรเลือกเวลาและสถานทีท่ เี่ หมาะสมโดยไม่รบกวนผูใ้ ห้ขอ้ มูลหลัก เลือกใช้แนวค�ำถามที่จัดเตรียมไว้เป็นแนวทางในการพูดคุย แต่มีความยืดหยุ่นและ สามารถที่จะพูดคุยในประเด็นอื่นที่ทั้งสองฝ่ายสนใจได้ ควรใช้ค�ำถามปลายเปิด ที่ผู้ให้ข้อมูลหลักสามารถที่จะแสดงความคิดเห็น อธิบายความเพิ่มเติมได้ พร้อมกับ จดบันทึกข้อมูลโดยละเอียด บอกแหล่งที่มาของข้อมูล วันเวลา สถานที่ที่สัมภาษณ์ สถานการณ์ หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้ ผู้เก็บข้อมูลไม่ควรใช้ค�ำถามน�ำหรือ แสดงความคิดเห็นของตนเองมากเกินไป เพราะจะท�ำให้ผู้ให้ข้อมูลมีแนวโน้มที่จะมี ความคิดหรือเห็นด้วยกับผู้เก็บข้อมูล นอกจากนั้นไม่ควรถามค�ำถามที่อ่อนไหวง่าย ถ้ายังไม่คุ้นเคยกับผู้ให้ข้อมูลหลัก (ภาพที่ 13)
การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักหรือผู้รู้ในเรื่องต่าง ๆ ที่ทีมวิจัยหรือผู้ศึกษาต้องการข้อมูลในการท�ำงานในอนาคต
ภาพที่ 13 บรรยากาศการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลด้านต่าง ๆ ของชุมชนบ้านวัดจันทร์
29
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ตารางที่ 1 ตัวอย่างแนวค�ำถามในการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กรอบข้อมูล แนวค�ำถาม การพึ่งพิงทรัพยากรป่าไม้ - รูปแบบ/ลักษณะการพึ่งพิง ทรัพยากรป่าไม้ - ชนิ ด /ประเภททรั พ ยากร จากป่าที่มีการพึ่งพิง
การใช้ไม้ฟืนและถ่าน
• ลักษณะการใช้ไม้ฟืนและ ถ่านของชุมชนในปัจจุบัน • แหล่งเก็บหา • ปริมาณความต้องการและ การใช้ในปัจจุบัน • สภาพการณ์ เ ก็ บ หา และ ปริมาณไม้ฟนื ถ่านในปัจจุบนั
ตัวอย่างค�ำถาม • ชุมชนมีการพึง่ พิงป่าหรือไม่ • ถ้ามีการพึ่งพิง มีรูปแบบ หรื อ ลั ก ษณะการพึ่ ง พิ ง อย่างไร • มี ช นิ ด หรื อ ประเภทของ ทรัพยากรจากป่าไม้อะไรบ้าง • มีการพึ่งพิงทรัพยากรป่าไม้ ในด้านอื่น ๆ อีกหรือไม่ • ฯลฯ • มีการใช้ไม้ฟืน/ถ่านหรือไม่ • ถ้าใช้ไปเก็บหามาจากทีไ่ หน • ในปริมาณเท่าไร • สภาพการณ์ ใ นปั จ จุ บั น เป็นอย่างไร (เช่น ปริมาณความมาก-น้อย ความใกล้-ไกล) • ฯลฯ
2. การสังเกตการณ์โดยตรง (Direct Observation) และการสังเกตการณ์ อย่างมีส่วนร่วม (Participatory Observation) เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้ตลอดเวลา โดยการสังเกตจากสิ่งที่มีอยู่หรือสิ่งที่ ก�ำลังด�ำเนินอยู่ในชุมชน ซึ่งควรมีประเด็นในการสังเกตการณ์และมีการจดบันทึกไว้ เพื่ อ ท� ำ ให้ ข ้ อ มู ล น่ า เชื่ อ ถื อ มากขึ้ น ทั้ ง นี้ ก ารจดบั น ทึ ก จะต้ อ งบอกสิ่ ง ที่ พ บเห็ น สภาพการณ์ในขณะนัน้ วันเวลาทีส่ งั เกตและสถานที่ ไม่ควรสังเกตจนท�ำให้ผถู้ กู สังเกต เกิดความอึดอัด ควรจะปฏิบัติตัวเหมือนการพูดคุยปกติ แต่ให้สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น การสังเกตการณ์โดยตรงนี้สามารถใช้ได้ดีในการสังเกตสิ่งที่เป็นอยู่ในชุมชน เช่น สภาพบ้านเรือน การใช้ประโยชน์ที่ดิน ลักษณะภูมิประเทศ ฯลฯ นอกจากนี้
30
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ในบางโอกาสที่ชุมชนมีกิจกรรม ผู้ศึกษาและวิจัยสามารถเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านั้น และสังเกตถึงการด�ำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมด้วยได้ ซึ่งเรียกว่า การสังเกตการณ์ อย่างมีส่วนร่วม นั่นเอง (ภาพที่ 14)
การเข้าร่วมกิจกรรม งานบุญของชุมชนที่วัด
การร่วมกิจกรรมปลูกฟื้นฟู ป่าต้นน�้ำบ้านเด่น
ภาพที่ 14 การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนพร้อมการบันทึกและสังเกตการณ์สงิ่ ทีเ่ กิดขึน้ ในการท�ำกิจกรรมนั้น
3. การท�ำแผนที่สังเขป (Sketch Mapping) และการท�ำแผนที่อย่าง มีส่วนร่วม (Participatory Mapping) การท� ำ แผนที่ สั ง เขป เป็ น สิ่ ง ที่ ส ามารถด� ำ เนิ น การได้ ด ้ ว ยการเดิ น ส�ำ รวจ ปั่นจักรยาน หรือขับมอเตอร์ไซค์ไปรอบ ๆ หมู่บ้าน เพื่อร่างแผนที่คร่าว ๆ จากสิ่งที่ สังเกตเห็น เช่น แนวถนน แหล่งน�ำ้ สถานทีส่ ำ� คัญ ภูเขา พืน้ ทีป่ า่ ไม้ พืน้ ทีเ่ กษตรกรรม ฯลฯ ซึ่งอาจจะใช้ประกอบกับแผนที่ภูมิประเทศ 1 : 50,000 ก็ได้ ในกรณีที่ต้องการ ท�ำแผนที่สังเขปของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในระหว่างที่ส�ำรวจควรหยุดทักทายหรือ สนทนากับชาวบ้านทีพ่ บเห็น เพือ่ แนะน�ำตัวหรือสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ ซึง่ การท�ำ แผนทีส่ งั เขปจะมีประโยชน์ในการวางแผนการปฏิบตั งิ านหรือการน�ำไปสูก่ ระบวนการ ท�ำแผนทีอ่ ย่างมีสว่ นร่วม การท�ำแผนทีอ่ ย่างมีสว่ นร่วม เป็นการท�ำแผนที่ที่ชาวบ้าน หรือผู้ให้ข้อมูลหลัก เป็นผู้แสดงบทบาทหลัก ซึ่งแผนที่ที่สร้างขึ้นนี้จะเป็นแผนที่ สังเขปที่รวบรวมข้อมูลที่สนใจไว้ เช่น แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน การกระจายของ แหล่งทรัพยากรป่าไม้ การถือครองที่ดิน สาธารณูปโภค การตั้งถิ่นฐาน หรือแผนที่
31
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ชุมชน ซึ่งการท�ำแผนที่ชนิดใดย่อมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของข้อมูลที่ต้องการใช้ ซึ่งมีวิธีการโดยสังเขป ดังต่อไปนี้ 3.1 ถ้าเป็นไปได้ให้เลือกพืน้ ทีท่ คี่ อ่ นข้างสูงมองเห็นพืน้ ทีไ่ ด้อย่างชัดเจน หรือ สถานทีท่ ถี่ กู รบกวนได้นอ้ ย พร้อมทัง้ กับจัดกลุม่ ชาวบ้านทีส่ นใจ ซึง่ มีความรูแ้ ตกต่างกัน มี ก ลุ ่ ม ที่ แ ตกต่ า งกั น และมี ข ้ อ มู ล ที่ แ ตกต่ า งกั น เพื่ อ ให้ แ ต่ ล ะกลุ ่ ม ได้ มี โ อกาส แลกเปลี่ยนข้อมูลและท�ำให้ได้ข้อมูลหรือแผนที่ที่มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เช่น กลุ่ม ควรประกอบด้วย ผู้ชายและผู้หญิง 3.2 อธิบายวัตถุประสงค์ในการท�ำแผนทีร่ ว่ มกัน โดยถามชือ่ ของพืน้ ที่ แหล่งน�ำ้ สันเขา ทิศ ทัง้ นีผ้ เู้ ก็บข้อมูลเป็นผูถ้ ามค�ำถามเพือ่ กระตุน้ ให้ชาวบ้านแต่ละคนสามารถ ท�ำแผนที่ได้ด้วยตัวเอง เช่น ต�ำแหน่งครัวเรือน พื้นที่ป่า และการใช้ประโยชน์ ซึ่งใน ระหว่างการท�ำแผนที่นี้สามารถที่จะสอบถาม ตรวจทานความถูกต้อง หรือพูดคุย ในประเด็นต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับแผนทีท่ กี่ ำ� ลังท�ำอยูก่ ไ็ ด้ หรือจัดท�ำแผนทีก่ บั กลุม่ อืน่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรมีการตรวจสอบความถูกต้องกับกลุ่มอื่น ๆ เพื่อปรับแก้ให้เหมาะสม พร้อมทั้งตัดข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ควรจัดท�ำแผนที่อีกชุดเพื่อมอบให้ชุมชนใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ส�ำหรับติดตาม การเปลี่ยนแปลงของชุมชนต่อไป 3.3 ผู้เก็บข้อมูลสามารถน�ำแผนที่ที่ได้นี้ไปประกอบกับการเก็บข้อมูลโดย วิธอี นื่ ๆ ได้อกี ซึง่ สามารถตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่ ท�ำให้การเก็บข้อมูลด้วย วิธีการอื่น ๆ มีความน่าสนใจ และได้ข้อมูลชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ตัวอย่างแผนที่สังเขป ดังแสดงไว้ ภาพที่ 15-18 ในการท�ำเค้าร่างแผนที่ของชุมชนในปัจจุบันเราสามารถน�ำภาพถ่ายดาวเทียม หรือแผนที่จาก Google Earth มาร่วมพิจารณาด้วยได้ เพื่อให้เกิดความสะดวกและ ชุมชนเห็นสภาพพืน้ ทีข่ องตนเองผ่านภาพทีม่ าจากด้านบน ทัง้ นีก้ ารใช้แผนทีภ่ าพถ่าย ดาวเทียมประกอบการจัดท�ำแผนที่และการพูดคุยในประเด็นการใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่าได้รับความสนใจจากชุมชนเป็นอย่างยิ่ง
32
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ภาพที่ 15 การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Earth ช่วยในการจัดท�ำแผนที่ชุมชน และการร่างแผนที่การใช้ประโยชน์ดิน
33
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ภาพที่ 16 แผนทีส่ งั เขปบ้านวัดจันทร์-ห้วยอ้อ หมูท่ ี่ 3 ต�ำบลบ้านจันทร์ อ�ำเภอกัลยาณิวฒ ั นา จังหวัดเชียงใหม่ ที่มา : คณะวนศาสตร์, 2561 (รายงานฉบับสมบูรณ์ปีที่ 2)
ภาพที่ 17 แผนที่สังเขปบ้านแจ่มน้อย หมู่ที่ 5 ต�ำบลบ้านจันทร์ อ�ำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ที่มา : คณะวนศาสตร์ 2560 (รายงานฉบับสมบูรณ์ปีที่ 1)
34
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ภาพที่ 18 แผนที่สังเขปบ้านเด่น หมู่ที่ 7 ต�ำบลบ้านจันทร์ อ�ำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ที่มา : คณะวนศาสตร์ 2560 (รายงานฉบับสมบูรณ์ปีที่ 1)
4. การเดินพูดคุยในพื้นที่ป่าไม้ (Forest Walk and Talk) การเดินพูดคุยในพื้นที่ป่าไม้ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและเรียนรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรป่าไม้กบั ชุมชนโดยรอบ ในการใช้เทคนิคการเดินและ พูดคุยไปด้วยในพืน้ ทีป่ า่ ทีช่ มุ ชนมีการพึง่ พิงหรือมีการจัดการนี้ จะท�ำให้มองเห็นภาพ ความสัมพันธ์ที่ชัดเจนขึ้น โดยในการเดินพูดคุยผู้วิจัยหรือนักพัฒนาต้องตั้งประเด็น ค�ำถามทีต่ อ้ งการทราบก่อนเพือ่ ให้ได้ขอ้ มูลทีค่ รบถ้วน และการเดินนัน้ เป็นการพูดคุย ทีต่ อ่ เนือ่ ง ซึง่ ในการเก็บข้อมูลความสัมพันธ์ของทรัพยากรป่าไม้และชุมชนด้วยวิธกี ารนี้ สามารถใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ เช่น การสังเกตการณ์ (ภาพที่ 19) และการใช้ แนวค�ำถามจากการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างได้ ทั้งนี้ในระหว่างการเดินและพูดคุยนั้น จะต้องมีการบันทึกภาพและบันทึกเสียง เพื่อรวบรวมข้อมูลและน�ำข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์สถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับทรัพยากรป่าไม้
35
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ภาพที่ 19 การใช้เครื่องมือ Forest Walk and Talk ในพื้นที่ที่ชุมชนใช้ประโยชน์
5. ปฏิทินกิจกรรมพื้นบ้าน (Seasonal Calendar) ปฏิ ทิ น กิ จ กรรมพื้ น บ้ า นจะเป็ น วิ ธี ก ารเก็ บ ข้ อ มู ล เพื่ อ ให้ ท ราบถึ ง กิ จ กรรม ในช่วงเวลาต่าง ๆ ทีม่ ใี นหมูบ่ า้ น จะท�ำได้โดยการแบ่งตารางเป็นสองส่วน คือ การระบุเวลา โดยนิยมระบุเป็นเดือนต่าง ๆ ในรอบปี และกิจกรรม หรือสิ่งที่ต้องการรู้ ดังนี้ 5.1 การจัดท�ำต้องเตรียมกระดาษแผ่นใหญ่ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่สามารถหาได้ ในท้องถิ่นพร้อมทั้งเขียนปฏิทินท้องถิ่นลงไป โดยใช้เดือนเป็นแกนตั้งและชื่อเดือน ควรจะเขียนตามคตินิยมของชาวบ้าน และอย่าลืมถามว่าตรงกับเดือนทางสุริยคติ อย่างไร ทั้งนี้ควรเลือกเวลาให้เหมาะสมกับกลุ่มคนที่จะไปท�ำปฏิทินร่วม และควร เลือกคนที่สามารถให้ข้อมูล รู้ถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราสนใจ ได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้ง 5.2 อธิบายถึงวัตถุประสงค์ในการด�ำเนินการ และควรให้ชาวบ้านทราบถึง กิจกรรมทีจ่ ะท�ำต่อไป ทัง้ นีห้ วั ข้อทีจ่ ะท�ำปฏิทนิ มีได้หลากหลายจึงขึน้ อยูก่ บั ความสนใจ เช่น กิจกรรมการเพาะปลูกในรอบปี ประเพณี หรือกิจกรรมทางสังคมทีใ่ นชุมชน การเก็บหา ของป่าชนิดต่าง ๆ ในรอบปี ฯลฯ โดยก�ำหนดกิจกรรมที่ต้องการรู้ให้ชัดเจน จากนั้น ถามถึงกิจกรรมต่าง ๆ ว่ามีการท�ำอะไรบ้าง ท�ำในช่วงไหน ดังตัวอย่างปฏิทนิ กิจกรรม เช่น การเก็บหาของป่าในรอบปี ดังแสดงไว้ในภาพที่ 20
36
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
เห็ดเผาะ เห็ดไข่ เห็ดมันปู หน่อเป้ง ไม้ฟืน หนอนรถด่วน หนอนเป้ง
ภาพที่ 20 ปฏิทนิ การเก็บหาของป่าในชุมชนบ้านวัดจันทร์ ต�ำบลบ้านจันทร์ อ�ำเภอกัลยาณิวฒ ั นา จังหวัดเชียงใหม่ ในการท�ำปฏิทินพื้นบ้านอาจจะประยุกต์ประเด็นค�ำถามที่ใช้ ในการสัมภาษณ์กงึ่ โครงสร้างมาใช้จดบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ ทีน่ า่ สนใจและควรมี การสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย
6. การจัดล�ำดับ (Ranking) การจัดล�ำดับเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการช่วยให้ทราบถึงความชอบ ความสนใจ หรือความต้องการของชาวบ้านในระดับมากน้อย ทัง้ นีค้ วรด�ำเนินการกับ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลาย ๆ คน โดยเลือกบุคคลที่รู้เรื่องดีและมีความสนใจ พร้อมทั้งหา บริเวณที่กว้างพอที่จะท�ำตารางเมตริก (ถ้าต้องการเขียนบนพื้นดิน) หรือหากระดาษ แผ่นใหญ่ ทีส่ ามารถมองเห็นกันได้อย่างทัว่ ถึง และก�ำหนดประเด็นทีจ่ ะจัดล�ำดับ เช่น วิธี Pair-wise Ranking ซึง่ เป็นการจัดล�ำดับทีง่ า่ ย ๆ เมือ่ มีประเด็นทีจ่ ะจัดล�ำดับแล้ว ให้กลุม่ ผูใ้ ห้ขอ้ มูลระดมสิง่ ทีพ่ วกเขาชอบ (ไม่ชอบ) สิง่ ทีม่ หี รือเกีย่ วข้องกับประเด็นนัน้ ออกมาให้ได้มากที่สุด หรือในบางกรณีเพื่อความสะดวกในการด�ำเนินการจะก�ำหนด ให้มีประมาณ 10 อย่าง ซึ่งจะมีอะไรบางอย่างใน 10 อย่างนั้น จะต้องเป็นมติของ กลุ่มเป็นส�ำคัญ ดังตัวอย่าง ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจัดล�ำดับกิจกรรมด้านการฟืน้ ฟูทรัพยากรป่าไม้ในป่าสน วัดจันทร์ ผูเ้ ก็บข้อมูลควรกระตุน้ ให้กลุม่ ช่วยกันคิดว่ามีกจิ กรรมใดบ้างทีค่ วรด�ำเนินการ เพื่อการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในชุมชน เมื่อได้กิจกรรมแล้วจะน�ำมาจัดอันดับ
37
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
โดยการเขียนตารางสองแนว (ด้านตั้งและด้านนอน) แล้วใส่ชื่อกิจกรรมในตาราง ทั้งด้านตั้งและด้านนอน จากนั้นให้ถามเปรียบเทียบกิจกรรมทีละคู่ ถ้ากิจกรรมใด มีคะแนนมากกว่าให้เขียนกิจกรรมนัน้ หรือหมายเลขแทนกิจกรรมนัน้ ลงในช่องตาราง โดยอาจใช้วธิ กี ารโหวตและอาจใช้เงือ่ นไขต่าง ๆ มาประกอบการตัดสินใจของสมาชิก ในชุมชนได้ เช่น งบประมาณ ระยะเวลา หรือแรงงาน ฯลฯ การเปรียบเทียบนี้ ท�ำไปจนครบทุกกิจกรรม เช่น จากตารางที่ 2 ระหว่างกิจกรรมปลูกป่า (1) กับกิจกรรม ท�ำฝายกั้นน�้ำ (2) สมาชิกในชุมชนต้องการท�ำกิจกรรมใดมากกว่ากัน ปรากฏว่า คนส่วนใหญ่ต้องการท�ำฝายกั้นน�้ำ (2) มากกว่า จากนั้นใส่หมายเลข 2 ในช่อง ที่เทียบคู่ เมื่อครบทุกคู่จึงนับคะแนนกิจกรรมที่ได้รับการเลือกผ่านหมายเลขที่ก�ำกับ แล้วจัดล�ำดับความส�ำคัญ จะท�ำให้ทราบว่ากิจกรรมใดทีช่ าวบ้านต้องการท�ำในชุมชน มากกว่ากัน
กิจกรรมการฟื้นฟูป่า
ปลูกป่า (1)
ท�ำฝายกั้นน�้ำ (2)
ท�ำแนวกันไฟ (3)
ชิงเผาป่า เชิงวิชาการ (4)
ดับไฟป่า (5)
รวมคะแนน
ล�ำดับกิจกรรม
ตารางที่ 2 ตัวอย่างการจัดล�ำดับกิจกรรมด้านการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ ป่าสนวัดจันทร์ด้วยการจับคู่
ปลูกป่า (1) ท�ำฝายกั้นน�้ำ (2) ท�ำแนวกันไฟ (3) ชิงเผาป่าเชิงวิชาการ (4) ดับไฟป่า (5)
X X X X X
2 X X X X
3 3 X X X
4 4 4 X X
5 5 3 4 X
0 1 3 4 2
5 4 2 1 3
ส�ำหรับการนับคะแนนจากตารางที่ 2 ให้นับจ�ำนวนกิจกรรมที่ปรากฏในช่อง เทียบคู่ เช่น - กิจกรรมปลูกป่า แทนด้วยหมายเลข 1 ไม่ถูกเลือกในช่องเทียบคู่ ได้คะแนน เท่ากับ 0 - กิจกรรมท�ำฝายกั้นน�้ำ แทนด้วยหมายเลข 2 ถูกเลือกในช่องเทียบคู่ จ�ำนวน 1 ช่อง ได้ 1 คะแนน
38
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
- กิจกรรมท�ำแนวกันไฟ แทนด้วยหมายเลข 3 ถูกเลือกในช่องเทียบคู่ จ�ำนวน 3 ช่อง ได้ 3 คะแนน - กิจกรรมชิงเผาป่าเชิงวิชาการ แทนด้วยหมายเลข 4 ถูกเลือกในช่องเทียบคู่ จ�ำนวน 4 ช่อง ได้ 4 คะแนน - กิจกรรมดับไฟป่า แทนด้วยหมายเลข 5 ถูกเลือกในช่องเทียบคู่ จ�ำนวน 2 ช่อง ได้ 2 คะแนน ดังนั้นเมื่อจัดล�ำดับความส�ำคัญของกิจกรรม พบว่ากิจกรรมด้านการฟื้นฟู ทรัพยากรป่าไม้ในป่าสนวัดจันทร์ที่ชาวบ้านต้องการด�ำเนินการ ได้แก่ อันดับ 1 การชิงเผาป่าเชิงวิชาการ อันดับ 2 ท�ำแนวกันไฟ อันดับ 3 ดับไฟป่า อันดับ 4 ท�ำฝาย กั้นน�้ำ และอันดับ 5 ปลูกป่า ส�ำหรับ X ที่ปรากฏในตารางหมายถึงตัวกิจกรรมทั้งด้านตั้งและด้านนอนนั้น ได้ผ่านการจับคู่แล้วและเป็นการจับคู่ตัวกิจกรรมเอง ซึ่งไม่นับหรือไม่จับคู่ซ�้ำ 7. แผนล�ำดับเหตุการณ์ตามช่วงเวลา (Time Chart) เป็นการถามประวัติ เหตุการณ์ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องแล้วมาจัดล�ำดับ ตามช่วงเวลา ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากในการวิเคราะห์พัฒนาการของชุมชนกับ ทรัพยากร และกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อให้ได้เหตุการณ์ หรือกิจกรรมที่มี ความส�ำคัญต่อประวัตขิ องชุมชน รวมถึงการเปลีย่ นแปลงในอดีตถึงปัจจุบนั ทีเ่ กีย่ วกับ ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น�้ำ ป่าไม้ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ภัยพิบัติ หรือ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องและมีความส�ำคัญต่อวิถีชีวิตของชุมชน เช่น ปีที่การตั้งชุมชน ปีที่มีไฟฟ้า ถนน หรือสาธารณูปโภคที่ส�ำคัญ ปีที่มีการให้สัมปทานป่าไม้ ปีที่เกิดการ รวมตัวการจัดการป่า ปีที่มีน�้ำท่วม ฝนแล้ง หรือมีภัยพิบัติเกี่ยวกับป่า เช่น ไฟป่า ที่รุนแรง ฯลฯ ตัวอย่างดังตารางที่ 3
39
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ตารางที่ 3 ตัวอย่างประวัติและพัฒนาการของชุมชน ปี พ.ศ.
เหตุการณ์
ก่อนปี พ.ศ. 2300 - ก่อตั้งชุมชน เริ่มการก่อสร้างวัดจันทร์ - ประกอบอาชีพแบบพออยู่พอกิน มีการพึ่งพิงทรัพยากรป่าไม้เพื่อ การด�ำรงชีพ - การปกครองขึ้นกับอ�ำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2522-2524 - พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรชาวเขาในเขต หมู่บ้านวัดจันทร์ พ.ศ. 2550-2552 - จัดตั้งโรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา - จัดตั้งเป็นอ�ำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบัน - ชุมชนมีความเป็นเมืองมากขึ้น ด้วยมีระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ถนน และร้านจ�ำหน่ายสินค้าหลายร้าน
8. การสัมภาษณ์ดว้ ยแบบสัมภาษณ์หรือแบบสอบถาม (Questionnaires) การศึกษาชุมชนโดยการส�ำรวจด้วยแบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์ เป็นวิธกี าร ทีส่ ำ� คัญอย่างหนึง่ ในการศึกษาชุมชนในเชิงปริมาณ ทีม่ วี ธิ กี ารใช้คอ่ นข้างง่าย สามารถ น�ำไปประยุกต์ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงลึก หรือข้อมูลทีต่ อ้ งการตัวเลขทีช่ ดั เจน สามารถ เป็นตัวแทนของกลุ่มประชากร แต่อย่างไรก็ตามการสร้างแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่ถูกต้องเหมาะสม ต้องสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่มีคุณค่า และได้ข้อมูลที่มีประโยชน์ สามารถน�ำไปสู่การใช้งานได้จริง ทั้งนี้ในการท�ำงาน ด้านการพัฒนาชุมชนบางครั้งต้องการข้อมูลเชิงปริมาณ เพื่อน�ำไปสู่ความเข้าใจและ การแสดงผลที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน การศึกษาชุมชนด้วยแบบสัมภาษณ์หรือแบบสอบถามนี้ ควรเป็นขั้นตอน ทีต่ อ่ เนือ่ งจากการศึกษาวิเคราะห์ชมุ ชนด้วยวิธกี ารเชิงคุณภาพ ซึง่ จะได้ขอ้ มูลพืน้ ฐาน หรือข้อมูลเฉพาะทีต่ อ้ งการศึกษามาในระดับหนึง่ แล้ว และถ้าพบว่ามีขอ้ มูลบางอย่าง ทีต่ อ้ งการข้อมูลทีเ่ ป็นตัวเลขเชิงปริมาณ จึงควรใช้วธิ กี ารสัมภาษณ์ดว้ ยแบบสัมภาษณ์ หรือแบบสอบถามนี้ โดยแบบสัมภาษณ์หรือแบบสอบถามจะพัฒนาจากข้อมูลที่ได้ ในขั้นตอนการศึกษาชุมชนช่วงแรก ซึ่งจะท�ำให้ได้แบบสัมภาษณ์หรือแบบสอบถาม
40
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
ที่มีความชัดเจน ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการ ง่าย สั้น และกระชับ ดังนั้นจึงมี ความจ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องเข้าใจหลักการ วิธกี ารสร้างแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ทีด่ ี การคัดเลือกกลุม่ ตัวอย่างทีเ่ หมาะสม รวมทัง้ การวิเคราะห์และประมวลผลต่าง ๆ 9. การสนทนากลุ่ม (Focus Group) หรือการระดมความคิดเห็นกลุ่ม (Group Discussion) เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้ชาวบ้าน หรือกลุ่มผู้สนใจได้มีโอกาสพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ซึ่งนักพัฒนาหรือ นักส่งเสริมท�ำหน้าที่เป็นผู้อ�ำนวยความสะดวก (facilitator) ที่คอยกระตุ้นผู้เข้าร่วม กิจกรรมให้เกิดการแลกเปลีย่ นความคิดเห็น ทัง้ นีก้ ารสนทนากลุม่ อาจจะจัดแบบเป็น ทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ ขึ้นอยู่กับโอกาสในแต่ละครั้ง (ภาพที่ 21)
ภาพที่ 21 การสนทนากลุม่ เพือ่ การก�ำหนดกิจกรรมการฟืน้ ฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ ในพื้นที่ป่าสนวัดจันทร์
10. การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Analysis) ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย (stakeholders) คือ ผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องกับกิจกรรมใดกิจกรรม หนึ่งโดยอาจเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือได้รับประโยชน์ในกิจกรรมนั้น ๆ ส�ำหรับ ในด้านการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้นี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็คือ บุคคล กลุ่มคน องค์กร หน่วยงาน หรืออื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบหรือได้รับประโยชน์จากการ ฟืน้ ฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ในพืน้ ทีน่ นั้ ๆ ทัง้ นี้ เมือ่ กล่าวถึงผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย มักจะพูดถึงในงานด้านการด�ำเนินกิจกรรมอย่างมีส่วนร่วม เพราะบุคคลหรือกลุ่ม บุคคลอาจมีการได้รับผลกระทบการจากการตัดสินใจนั้น
41
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
การวิเคราะห์ความส�ำคัญและอิทธิพลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ใช่ทุกกลุ่มผู้มี ส่วนได้สว่ นเสีย จะมีรปู แบบการมีสว่ นร่วมเดียวกัน และแต่ละกลุม่ มีประเด็นทีก่ งั วลใจ แตกต่างกัน บางกลุ่มอาจมีประเด็นการตัดสินใจเป็นเรื่องส�ำคัญมาก บางกลุ่ม อาจต้องการเพียงแสดงความคิดเห็น ฉะนั้นทีมงานต้องวิเคราะห์ประเภทของกลุ่ม ตามระดับความสนใจ ทัง้ นีผ้ มู้ สี ว่ นได้สว่ นเสียต่างประเภทกันอาจมีรปู แบบการมีสว่ นร่วม ที่แตกต่างกัน โดยในการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีขั้นตอน ต่าง ๆ ดังได้สรุป ในภาพที่ 22 ก�ำหนดบริบทของโครงการ ระบุรายชื่อและวิเคราะห์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจัดล�ำดับความส�ำคัญ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ภาพที่ 22 ขั้นตอนในการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ในการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถด�ำเนินการผ่านตารางการวิเคราะห์ ผูม้ สี ว่ นได้ส่วนเสีย ดังตารางที่ 4 โดยส่วนใหญ่ขั้นตอนนี้จะด�ำเนินร่วมกับชุมชนผ่าน เวทีการประชุมหมูบ่ า้ นหรือตัวแทนชุมชนทีม่ หี น้าทีร่ บั ผิดชอบในด้านต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วกับ การจัดการทรัพยากรป่าไม้ ตารางที่ 4 ตารางการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความสนใจ/ สถานภาพของผู้มี ผลประโยชน์ ส่วนได้ส่วนเสีย รายชื่อบุคคล/กลุ่ม/ ประเมิ น สิ่ ง ที่ ส นใจ ระบุสถานภาพ เช่น หน่วยงาน/เครือข่าย และหรือผลประโยชน์/ ชุมชน องค์กรปกครอง ฯลฯ ความต้ อ งการของ ส่วนท้องถิ่น ท้องถิ่น ผู้เกี่ยวข้องนั้น ๆ NGO ธุ ร กิ จ เอกชน หน่วยงานรัฐ ฯลฯ
42
ความสัมพันธ์ กับโครงการ ประเมินว่าผูเ้ กีย่ วข้อง นั้น ๆ มีความสัมพันธ์ กั บ โครงการอย่ า งไร แบบไหน ขั ด แย้ ง / สนับสนุน
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
11. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กรด้วยเทคนิค SWOT วิธีการและเทคนิคในการวิเคราะห์สภาวะขององค์กรและกระบวนการก�ำหนด แผนการท�ำงานมีหลายวิธีด้วยกัน หนึ่งในวิธีการเหล่านี้ คือกระบวนการวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) หรือ SWOT Analysis ซึ่งเป็นวิธีการ ที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย (นันทิยาและณรงค์, 2551) ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังตารางที่ 5 ตารางที่ 5 แผนผังการวิเคราะห์ SWOT สภาพแวดล้อมภายใน จุดแข็ง (Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปจั จัยภายในจากมุมมองของ ผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเอง ว่าปัจจัยภายใน องค์ ก รที่ เ ป็ น ข้ อ ได้ เ ปรี ย บหรื อ จุ ด เด่ น ของ องค์กร ที่องค์กรควรน�ำมาใช้ในการพัฒนา องค์กรได้และควรด�ำรงไว้เพื่อการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งขององค์กร จุดอ่อน (Weaknesses) วิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในพื้นที่ ที่ เ ป็ น จุ ด ด้ อ ยหรื อ ข้ อ เสี ย เปรี ย บของพื้ น ที่ ควรปรับปรุงให้ดขี นึ้ หรือขจัดให้หมดไป อันจะ เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
สภาพแวดล้อมภายนอก โอกาส (Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกขององค์กร โดยปั จ จั ย สามารถส่ ง ผลกระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการด�ำเนิน การ ในระดั บ มหภาค และองค์ ก รสามารถน� ำ ข้ อ ดี เ หล่ า นี้ ม าใช้ เ สริ ม สร้ า งให้ ห น่ ว ยงาน เข้มแข็งได้ อุปสรรค (Threats) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกขององค์กร ปัจจัยที่สามารถส่งผลกระทบในระดับมหภาค ในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรง และทางอ้ อ ม ซึ่ ง องค์ ก รต้ อ งหลี ก เลี่ ย ง หรือปรับสภาพขององค์กรให้มคี วามแข็งแกร่ง พร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้
43
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
12. การก�ำหนดแนวทางในการด�ำเนินกิจกรรมด้วย Tows Matrix นันทิยาและณรงค์ (2551) ได้นำ� เสนอวิธกี ารก�ำหนดแนวทางการด�ำเนินกิจกรรม หลังจากได้ขอ้ มูลการวิเคราะห์ SWOT โดยการได้มาซึง่ ปัจจัยต่าง ๆ ทัง้ ภายนอกและ ภายในหน่วยงาน จะใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบจับคูต่ ามวิธกี าร Tows Matrix ซึ่งก่อให้เกิดยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์เชิงรุก (จับคู่ระหว่างจุดแข็งกับโอกาส) 2) ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน (จับคู่ระหว่างจุดแข็งกับอุปสรรค) 3) ยุทธศาสตร์เชิงแก้ไข (จับคู่ระหว่างจุดอ่อนกับโอกาส) 4) ยุทธศาสตร์เชิงรับ (จับคู่ระหว่างจุดอ่อนกับ อุปสรรค) ดังตารางที่ 6 ตารางที่ 6 ตารางการใช้ TOWS Matrix ส�ำหรับการก�ำหนดกลยุทธ์หรือแผนการท�ำงาน การสร้างกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก โอกาส/ Opportunities
อุปสรรค/ Threats
44
จุดแข็ง/Strengths
จุดอ่อน/Weaknesses
ยุทธศาสตร์เชิงรุก : จุดแข็งภายใน และโอกาสภายนอก (S-O) - จะใช้ จุ ด แข็ ง เพื่ อ รั บ ประโยชน์ จากโอกาสภายนอกที่ มี อ ยู ่ ได้อย่างไร ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน : จุดแข็ง ภายในและภั ย คุ ก คามภายนอก (S-T) - จะได้รับประโยชน์จากจุดแข็ง ของพวกเขาเพือ่ หลีกเลีย่ งหรือลด (ศักยภาพ) ภัยคุกคามภายนอก
ยุทธศาสตร์เชิงแก้ไข : จุดอ่อน ภายในและโอกาสภายนอก (W-O) - จะใช้โอกาสในการเอาชนะ จุดอ่อนภายในขององค์กร ได้อย่างไร ยุทธศาสตร์เชิงรับ : จุดอ่อนภายใน และภัยคุกคามภายนอก (W-T) - จะลดจุดอ่อนและหลีกเลี่ยงภัย คุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร
บทที่ 5 ปัจจัยและเงื่อนไขความส�ำเร็จ ของการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ในการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
บทที่ 5 ปัจจัยและเงื่อนไขความส�ำเร็จของการส่งเสริม การมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ การลงพื้นที่ท�ำงานในชุมชนของนักวิจัยหรือนักพัฒนาผ่านโครงการต่าง ๆ สามารถแบ่งกลุ่มความคิดเห็นของคนในชุมชนต่อโครงการเหล่านั้น ได้ 3 กลุ่ม คือ (1) เห็นด้วย โดยกลุ่มนี้จะให้ความร่วมมือเมื่อนักวิจัยต้องการข้อมูล ต้องการ มีสว่ นร่วมในกิจกรรมในอนาคต การริเริม่ การมีสว่ นร่วม พูดคุยหาข้อตกลง และขยาย จากกลุ่มเล็กไปสู่กลุ่มใหญ่ (2) ไม่เห็นด้วย โดยเป็นกลุ่มที่มีความคิดเป็นของตนเองอาจเป็นกลุ่มผู้น�ำ ทีบ่ างครัง้ คิดว่าชุมชนตนเองมีความรูท้ สี่ ามารถจัดการปัญหาเองได้ เช่น ความสามารถ ในการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ด้วยตัวเอง (3) รู้สึกเฉย ๆ กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มคนที่รอดูผลของการด�ำเนินกิจกรรมก่อน จากนั้นจึงค่อยตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมหรือไม่ ดังนั้นจากความหลากหลายของกลุ่มคนในชุมชนนี้ การด�ำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จึงอาจสามารถด�ำเนินการได้อย่างดี หรือไม่สามารถด�ำเนินการได้นั้น ขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการวิเคราะห์ชุมชน
ปัจจัยและเงื่อนไขความส�ำเร็จของการส่งเสริมการมีส่วนร่วม จากการด�ำเนินโครงการวิจยั เรือ่ ง การฟืน้ ฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่าง มีสว่ นร่วมในพืน้ ทีป่ า่ สนวัดจันทร์ตงั้ แต่ปี พ.ศ. 2559-2563 พบว่า ปัจจัยและเงือ่ นไข ความส�ำเร็จของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากร ป่าไม้ มีหลายปัจจัย ดังนี้ 1. ผู้น�ำชุมชนและผู้น�ำในการด�ำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นผู้ที่มีบทบาทส�ำคัญ ในการเอื้อหรือส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม และเป็นผู้สร้างให้เกิดพลังความร่วมมือ ของทุกภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง ไม่วา่ จะเป็นผูน้ ำ� ทีเ่ ป็นทางการหรือผูน้ ำ� ทีไ่ ม่เป็นทางการ
46
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
เช่น ผู้น�ำชุมชน/ท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน ผู้บริหารของส่วนราชการ ฯลฯ โดยเป็นผูน้ ำ� การเปลีย่ นแปลง (Change Agent) เป็นผูส้ ง่ เสริม สนับสนุนกระบวนการ (Facilitator) เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดกิจกรรม (Advocator) เป็นผู้ไกล่เกลี่ย กรณี เกิดปัญหา (Mediator) และเป็นผูเ้ สริมสร้างพลัง (Empower) ทีจ่ ะช่วยให้การด�ำเนิน กิจกรรมต่าง ๆ บรรลุผล 2. ความเข้มแข็งของภาคประชาชนทีม่ จี ติ สาธารณะ มีความตัง้ ใจและกระตือรือร้น ในการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งการ มีส่วนร่วมที่เกิดจากภาคประชาชนที่เข้มแข็ง จะท�ำให้แก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ตรง ประเด็น/ความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง 3. การท�ำงานแบบพหุภาคี/ภาคีเครือข่าย ที่ประกอบด้วยสมาชิกเครือข่าย ที่มาจากหลาย ๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการท�ำงานร่วมกัน ช่วยให้ เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ (Sense of Belonging) เป็นหุ้นส่วนในการท�ำงานร่วมกัน ท�ำให้เกิดการเชื่อมประสานการท�ำงานในพื้นที่ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการท�ำงานแบบหุ้นส่วนความร่วมมืออย่างยั่งยืน 4. ความไว้วางใจ ความเชือ่ มัน่ ศรัทธา และการยอมรับซึง่ กันและกัน เป็นเงือ่ นไข ส�ำคัญของการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม เพราะจะส่งผลให้เกิดการท�ำงานร่วมกัน ระหว่างภาคประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. การใช้ชอ่ งทางการสือ่ สารทีม่ ปี ระสิทธิภาพ มีการสือ่ สารสองทาง เพือ่ เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร สื่อสารข้อมูล หรือประชาสัมพันธ์ และรับฟังความคิดเห็นหรือ ข้อเสนอแนะ โดยจะเป็นช่องทางที่จะท�ำให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในการรับรู้ข้อมูล ที่ครบถ้วน ถูกต้อง และทันการณ์ ซึ่งน�ำไปสู่ความเข้าใจในการท�ำงานร่วมกัน 6. ระบบฐานข้อมูลทีด่ ี ซึง่ อาจเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐหรือของชุมชน ทีม่ กี ารพัฒนาหรือปรับปรุงให้มคี วามทันสมัย น�ำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ในการจัดการข้อมูล ให้เป็นข้อมูลที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ สามารถใช้วิเคราะห์ อ้างอิง และประกอบการตัดสินใจในการแก้ปัญหาของพื้นที่/ชุมชนได้อย่างถูกต้อง ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง 7. ระบบการติดตามประเมินผลการด�ำเนินงานหรือโครงการแบบมีส่วนร่วม
47
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
โดยเปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาทในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล ซึ่งจะช่วยให้โครงการเกิดความโปร่งใสและเกิดความเชื่อมั่น ในการใช้งบประมาณ 8. การจัดการความรู้จากการถอดบทเรียนจากการด�ำเนินงานในพื้นที่ จะท�ำให้ ทราบถึงรูปแบบหรือวิธกี ารด�ำเนินงาน ปัญหา/อุปสรรค และผลส�ำเร็จทีเ่ กิดขึน้ รวมทัง้ ปัจจัยทีม่ ผี ลต่อความส�ำเร็จของการด�ำเนินโครงการ โดยมีตน้ แบบ/ศูนย์เรียนรูแ้ ละเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ซึ่งสามารถน�ำไปขยายผลหรือการน�ำไปประยุกต์ใช้ ในการด�ำเนินการในพื้นที่อื่น หรือโครงการอื่น ๆ ให้เกิดการพัฒนา
คุณสมบัตินักพัฒนา/นักส่งเสริมป่าไม้ 1. มีใจรักและมีโลกทัศน์ทกี่ ว้างเป็นประชาธิปไตย โดยคนทีท่ ำ� งานด้านนีจ้ ะต้อง มีใจที่เปิดกว้าง มีทัศนคติที่ดีต่อการท�ำงาน ให้ความเคารพกับสิ่งที่ตนเองท�ำ เปิดรับ การเรียนรู้และความคิดเห็นที่แตกต่าง 2. มีความพร้อมทีจ่ ะรับฟังและแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยต้องมีคณ ุ สมบัตขิ องการเป็น นักฟังที่ดี คิดวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี เพื่อให้เข้าใจสภาพปัญหาของชุมชน การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น เป็นผู้ฟังที่ดี ควรใช้ใจฟังเพื่อให้ได้ยินสิ่งที่ผู้อื่นสื่อสาร ทัง้ ความรูส้ กึ หรือสิง่ ทีซ่ อ่ นเร้นจากค�ำพูด ฟังแล้วคิดตาม หมัน่ สังเกตอารมณ์ความรูส้ กึ ของผู้พูด มองที่มาของความรู้สึกและอารมณ์ที่เกิดขึ้น และฟังอย่างไรให้เป็นพลัง ผลักดันการท�ำงานให้ส�ำเร็จ/มุ่งเป้าไปที่ความส�ำเร็จ 3. เป็นผู้มีความสุภาพ อ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส และมีคุณธรรม สิ่งเหล่านี้ เป็นใบเบิกทางทีส่ ำ� คัญในการท�ำงานในพืน้ ที่ ทัง้ นีก้ ารท�ำตัวตนให้เข้าหาง่ายจะท�ำให้ ชุมชนกล้าทีจ่ ะเข้าร่วมกิจกรรม และในการสร้างตัวตนของนักพัฒนาหรือนักส่งเสริม ด้วยรูปลักษณ์แบบนี้ไม่ต้องลงทุน 4. เป็ น ผู ้ อุ ทิ ศ เวลาให้ กั บ งาน การเสี ย สละเวลาเป็ น อี ก หนึ่ ง ปั จ จั ย ส� ำ คั ญ ในการท�ำงานร่วมกับชุมชน โดยการท�ำงานร่วมกับชุมชนบางครั้งมีก�ำหนดเวลา ที่ไม่แน่นอน โดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับความสะดวกและความพร้อมของชุมชนเป็นหลัก 5. ไม่ถือตัว มีความเป็นกันเอง ในการท�ำงานด้านการพัฒนาหรือการส่งเสริม
48
คู่มือ กระบวนการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม
โดยเฉพาะงานด้ า นการส่ ง เสริ ม ป่ า ไม้ นั้ น นั ก พั ฒ นาหรื อ นั ก ส่ ง เสริ ม ต้ อ งสร้ า ง ความน่าเชือ่ ถือโดยปรับบุคลิกภาพให้คนอืน่ เกิดความเชือ่ ถือในตัวเรา เมือ่ เราพูดหรือ น�ำเสนอข้อมูลต่าง ๆ และมีความเป็นกันเองไปพร้อมกับการท�ำงานด้วย 6. มีความจริงใจและความจ�ำเป็นเลิศ โดยเฉพาะการจดจ�ำชื่อคนที่เข้าร่วม กิจกรรม หรือบุคคลส�ำคัญที่ท�ำงานร่วมในชุมชน 7. มีความเป็นผู้น�ำที่ดี 8. เป็นผูม้ คี วามอดทน อดกลัน้ และไม่สร้างความขัดแย้ง ควรระวังการแสดงออก ทางสีหน้าเมื่อโกรธหรือไม่พึงพอใจ 9. เป็นผู้หมั่นแสวงหาความรู้และข้อมูล ให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ 10. เป็นผู้มีทักษะการสื่อสาร เช่น การพูดในที่สาธารณะ โดยประสบการณ์ การสื่อสารช่วยสร้างการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ
49
50
บรรณานุกรม คณะวนศาสตร์. (2560). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้าน วัดจันทร์ ปีที่ 1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. . (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้าน วัดจันทร์ ปีที่ 2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. ธัญนรินทร์ ณ นคร. (2535). ผลการจัดท�ำตารางปริมาตรไม้โดยใช้ Spiegel Relascope บริเวณป่าสาธิต อ�ำเภองาว จังหวัดล�ำปาง. ฝ่ายป่าสาธิต กองจัดการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. นันทิยา หุตานุวตั ร และ ณรงค์ หุตานุวตั ร. (2551). คิดกลยุทธ์ดว้ ย SWOT. พิมพ์ครัง้ ที่ 7. โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี. ประสงค์ จันต๊ะคาด และดอน กิลมอร์. (2544). นโยบายและประสบการณ์ดา้ นการฟืน้ ฟูปา่ ในประเทศไทย. ใน รายงานการสัมมนาวิชาการเชิงปฏิบตั กิ าร เรือ่ ง การฟืน้ ป่า : ถึงเวลาชุมชนมีส่วนร่วมหรือยัง? ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2543. บริษัท อินฟินิตี้ เพรส จ�ำกัด. กรุงเทพฯ. หน้า 9-31. พาล์มเมอร์, เฮเลน. (2552). เอ็นเนียแกรม : ศาสตร์เพื่อความเข้าใจตนเอง และผู้อื่น. พิมพ์ครั้งที่ 4. มูลนิธิโกมลคีมทอง, กรุงเทพฯ. มูลนิธสิ บื นาคะเสถียร. 2556. คูม่ อื การมีสว่ นร่วมและการจัดการความขัดแย้งในผืนป่า ตะวันตก. สมอลล์ ไทเกอร์ ดีไซด์. กรุงเทพฯ. รัชนี โพธิแท่น และนิตยา เมี้ยนมิตร. การศึกษาและวิเคราะห์ชุมชน. ใน ดวงใจ ศุขเฉลิม สันติ สุขสอาด และยงยุทธ ไตรสุรัตน์ (บรรณาธิการ). คู่มือการศึกษา ป่าไม้ไทย. กรุงเทพฯ. กองทุนจัดพิมพ์ต�ำรา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. วันชัย วัฒนศัพท์ และ รัตนาภรณ์ วัฒนศัพท์. (2558). การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งใน สถานศึกษา. สถาบันพระปกเกล้า. โรงพิมพ์คลังวิทยา. กรุงเทพฯ.
51
ศันสนีย์ นิจพานิช. (2542). การมีสว่ นร่วมในการบริหารการพัฒนาของคณะกรรมการ บริหารกิจการประปาหมู่บ้านกรมอนามัย : กรณีศึกษาอ�ำเภอเมือง จังหวัด กาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก. (2543). เอกสารประกอบ การฝึกอบรมด้านวนศาสตร์ชุมชน (เอกสารหลัก). กรุงเทพฯ. สมศักดิ์ สุขวงศ์. (2544). การฟื้นฟูป่าเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพและบรรเทา ความยากจนของคนในชนบท. ในรายงานการสัมมนาวิชาการเชิงปฏิบตั กิ าร เรือ่ ง การฟื้นป่า : ถึงเวลาชุมชนมีส่วนร่วมหรือยัง? ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2543. บริษัทอินฟินิตี้ เพรส จ�ำกัด. กรุงเทพฯ. หน้า 41-46. อุทศิ กุฎอินทร์. (2542). นิเวศวิทยาพืน้ ฐานเพือ่ การป่าไม้. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. อุทิศ กุฏอินทร์. 2552. แนวคิดและนโยบายการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติอย่างยั่งยืน. ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. Panayotou, T. and Ashton, P.S. (1994). Sustainable use of tropical forests in Asia. In: Perrings C.A., Mäler KG., Folke C., Holling C.S., Jansson BO. (eds) Biodiversity Conservation. Ecology, Economy & Environment, vol. 4. Springer, Dordrecht. PP. 257-277.
52
บันทึก
บันทึก
บันทึก
บันทึก
บันทึก
บันทึก