การพัฒนาระบบอาสาสมัครในโรงพยาบาล

Page 1


การพัฒนาระบบอาสาสมัครในโรงพยาบาล กรณีศึกษาโครงการอาสาข้างเตียง เครือข่ายพุทธิกา


การพัฒนาระบบอาสาสมัครในโรงพยาบาล กรณีศึกษาโครงการอาสาข้างเตียง เครือข่ายพุทธิกา

จัดทำ�โดย โครงการส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ โรงพยาบาลและชุมชน ในการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย เครือข่ายพุทธิกา

สนับสนุนโดย แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต และสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพจิต สสส.

ผู้เรียบเรียง ภาพประกอบ

ออกแบบปกและรูปเล่ม พิมพ์ครั้งที่ ๑ จำ�นวน

เพ็รชลดา ซึ้งจิตสิริโรจน์ มะลิ ณ อุษา นลิน รมย์ศิลป์ศุภา มิถุนายน ๒๕๕๖ ๒๐๐๐ เล่ม

เครือข่ายพุทธิกา ๔๕/๔ ซ.อรุณอมรินทร์ ๓๙ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐๒-๘๘๒-๔๓๘๗ โทรสาร ๐๒-๘๘๒-๕๐๔๓ เว็บไซด์ www.budnet.org อีเมล์ peacefuldeath2011@gmail.com เฟซบุค www.facebook.com/peacefuldeath


สารบัญ บทนำ�

แนวคิดอาสาข้างเตียง ............................ จุดเริ่มต้น ........................................... อาสาสมัคร .......................................... การปฐมนิเทศและการอบรม .................... การเยี่ยมผู้ป่วย ..................................... การพัฒนาระบบอาสาสมัคร ..................... บทบาทของผู้ประสานงาน .....................

๘ ๑๔ ๒๐ ๒๘ ๔๒ ๕๒ ๖๐



บทนำ�

การดู แ ลผู้ ป่ ว ยเรื้ อ รั ง และระยะสุ ด ท้ า ยในโรงพยาบาล มีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะสามารถดูแลผู้ป่วยทั้งกาย จิตใจ และ จิตวิญญาณ ทั้งนี้เพราะภาระงานที่มากมายจนล้นมือของบุคลากร ทางการแพทย์ ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลหลายแห่ง จึงจัดหาอาสาสมัคร มาพู ด คุ ย แลกเปลี่ ย นและรั บ ฟั ง ความทุ ก ข์ เ พื่ อให้ ผู้ ป่ ว ยได้ มี ชี วิ ต ที่เหลืออย่างมีคุณภาพ โรงพยาบาลบางแห่งจัดเตรียมอาสาสมัคร จากผู้ ป่ ว ยที่ เ ป็ นโรคเดี ย วกั น บางแห่ งใช้ เ จ้ า หน้ า ที่ หรื อ แม้ แ ต่ บุคคลทั่วไป เช่น อาสากาชาด กลุ่มกระจกเงา wishing well เช่นเดียวกับเครือข่ายพุทธิกาที่แรกเริ่มได้พยายามเผยแพร่ ความรู้ด้วยการอบรมในเรื่องการเตรียมตัวตายอย่างสงบและการ ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากร ทางการแพทย์ จนเกิ ด การรวมตั ว ของเครื อ ข่ า ยดู แ ลผู้ ป่ ว ยระยะ สุดท้าย ในที่สุดได้ขยายโครงการใหม่ ในการนำ�อาสาสมัครดูแล จิตใจผูป้ ว่ ยเรือ้ รังและระยะสุดท้ายในโรงพยาบาล ภายใต้ชอื่ โครงการ อาสาข้างเตียง การนำ�อาสาสมัครซึง่ เป็นบุคคลภายนอกเข้ามาทำ�งานในโรง พยาบาล ในแง่หนึ่งอาจดูเสมือนเป็นการเพิ่มภาระให้กับแพทย์และ พยาบาล แต่หากมีกระบวนการเรียนรูร้ ว่ มกันทีด่ ี นอกจากจะเป็นการ เปิดประตูให้กับบุคคลภายนอกที่จะเข้ามาช่วยเหลือ ได้สัมผัสและ 5


เรี ย นรู้ ค วามจริ ง ของชี วิ ตในยามเจ็ บ ป่ ว ย ยั ง เป็ น การสร้ า งความ เข้าใจร่วมกันในการดูแลรักษาผู้ป่วยกับบุคลากรทางการแพทย์ และ ทีส่ ำ�คัญยังเป็นการสร้างความเชือ่ มัน่ และศักยภาพว่าทุกคนสามารถ เป็นผู้ดูแลตนเองและผู้อื่นได้

ประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ ทำ�ให้ โครงการอาสาข้ า งเตี ย งสามารถพั ฒ นารู ป แบบการจั ด ระบบงานอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้ายใน โรงพยาบาล และได้นำ�มารวบรวมเป็นหนังสือเล่มนี้ แม้จะ เป็นระบบอาสาสมัครในโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ แต่เชื่อว่า อาจจะเอื้ อ ประโยชน์ ใ ห้ กั บโรงพยาบาลหรื อ แม้ แ ต่ ศู น ย์ อนามัยชุมชนที่ต้องการริเริ่มหรือประยุกต์นำ�ไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อไปได้

6




แนวคิดอาสาข้างเตียง

ก่อนทีจ่ ะแบ่งปันประสบการณ์ในการพัฒนาระบบการทำ�งาน ร่วมกับโรงพยาบาลเพื่อให้เกิดกระบวนการอาสาสมัคร จะขอเล่าถึง แนวคิดของพุทธิกาในการทำ�งานอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและ ระยะสุดท้ายก่อน เพราะมีความสำ�คัญนำ�ไปสูก่ ระบวนการออกแบบ และจัดการต่อไป

อาสาข้างเตียง ผู้ให้และรับ

ศูนย์กลางหรือหัวใจของการทำ�งานอาสาสมัครครั้งนี้อยู่ที่ การให้ ด้วยการสละเวลาเป็นเพื่อน ให้กำ�ลังใจแก่ผู้ป่วย ซึ่งส่วน ใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ป่วยระยะสุดท้าย รวมทั้งญาติและ ครอบครัวอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์เป็นเวลา ๓ เดือน โดยมีอาสา ๑ คน / คนไข้ ๑ คน หลายครั้ ง ที่ พ ยาบาลเห็ น ผู้ ป่ ว ยอยู่ ใ นภาวะซึ ม เศร้ า ไม่ มี ญ าติ ม าเยี่ ย มเยี ย น แต่ ด้ ว ยภาระหน้ า ที่ อั น ล้ น มื อ จึ งไม่ ่ สามารถปลี ก ตั ว มาพู ด คุ ย สอบถามได้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ งสมำ�เสมอ อาสาสมัครจึงเข้ามามีบทบาทในการช่วยรับฟังความทุกข์ เปิดโอกาส ให้ทั้งผู้ป่วยและญาติได้ระบายความอึดอัดคับข้องใจ หรือเป็นสื่อ กลางเชื่อมข้อมูลให้กับพยาบาลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเยียวยา 9


รักษา และบางครั้งก็เป็นเสมือนผู้ประสานเชื่อมโยงให้กับญาติและ ครอบครัวได้เข้าใจผู้ป่วยได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามการให้ ไม่ได้มาจากความต้องการของอาสา สมัครเป็นตัวตัง้ แต่เป็นการทำ�ความเข้าใจความปรารถนาของผูป้ ว่ ย ด้วยลดตัวตนอันจะนำ�ไปสู่การรับฟังอย่างแท้จริง อาสาอาจจะอยาก ให้คำ�แนะนำ�ดีๆ เพราะผ่านประสบการณ์ที่เลวร้ายในชีวิตมาอย่าง โชกโชน หรือมีหลักธรรมที่สามารถนำ�ไปใช้บรรเทาความทุกข์และ ความเจ็บป่วย หรืออยากให้ข้าวของและเงินทอง แต่ผู้ป่วยอาจยังไม่ พร้อมกับคำ�แนะนำ�ใดๆ เพราะยังไม่สามารถยอมรับหรือเผชิญกับ ความจริงตรงหน้า หรือรู้สึกไม่ตรงกับจริต หรือไม่ต้องการให้ใครมา แสดงความสงสาร เขาอาจต้องการเพื่อนผู้รับฟังและเข้าใจเท่านั้น จะเป็นการดีมิใช่น้อย หากความต้องการของอาสากับผู้ป่วย ได้มีโอกาส พูดคุย สอบถาม ทำ�ความเข้าใจกันก่อน แยกแยะให้ดีว่า สิ่งที่จะมอบให้นั้นเป็นความต้องการของใคร เป็นของอาสาหรือของ ผู้ป่วย เพราะในที่สุดหากรีบร้อนที่จะให้โดยไม่มีการประเมินก่อน การให้นั้นอาจกลับกลายเป็นการยัดเยียดโดยไม่รู้ตัว

การรับ

การให้และรับเป็นแนวทางที่พุทธิกาคาดหวังให้เกิดขึ้นกับ งานอาสาสมัคร เพราะงานเหล่านี้เริ่มต้นจากสิ่งที่ดี มาจากความ คิดของการเป็นผู้ให้ สวนทางกับอีกหลายคนในสังคมที่พยายามจะ กอบโกยและไขว่คว้าจะเป็นผู้รับแต่ฝ่ายเดียว อาสาสมัครหลายคน ตระหนักว่าแม้ไม่ได้คาดหวังสิ่งใดตอบแทน การให้ด้วยตัวมันเอง แล้วก็ได้รับผลตอบแทนกลับมาเช่นกัน ส่วนการรับนั้นมีมากมาย ไม่น้อยเช่นกัน รับ ความรู้สึกภาคภูมิใจ และมีคุณค่าในการช่วยเหลือ 10


ผูม้ คี วามทุกข์ รับ ความเข้มแข็งอดทนของผูป้ ว่ ยทีส่ ามารถมีความสุข และมีรอยยิ้มได้แม้ความเจ็บป่วยมาเยือน ทำ�ให้รู้สึกว่าทุกข์ของ ตนเองมีพียงเล็กน้อย และ รับ มิตรภาพระหว่างเพื่อนอาสาสมัคร แพทย์และพยาบาล รับ อื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน และการรับทีส่ ำ�คัญยิง่ อีกประการหนึง่ คือ การรับทีก่ อ่ ให้เกิด การเติบโตภายในของตัวอาสาสมัครเอง เปิดโอกาสให้ตนเองได้เรียน รู้และเข้าใจผ่านสถานการณ์ที่ผันแปรของผู้ป่วย เนื่องจากบางครั้ง ตัวเราอดไม่ได้ที่จะมีความคาดหวังว่า เมื่อได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ แล้ว ผู้ป่วยที่อยู่ในฐานะผู้รับควรมีการตอบสนองที่ดีเช่นกันไม่ว่า การพูดคุยโต้ตอบที่ดี การแสดงออกทางสีหน้าท่าทางในทางบวก ทว่าการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้ายนั้นต่างออกไป เนื่ อ งจากความหวั งในการมี ชี วิ ต ของผู้ ป่ ว ยบางคนนั้ น แทบเลื อ น ราง ความเจ็บปวดบั่นทอนสุขภาพและกำ�ลังใจจนไม่ฟื้นฟูได้เพียง ชั่วข้ามคืน ความเครียดจากการต้องทนอยู่กับโรงพยาบาลเป็นระยะ เวลาอันยาวนาน ความกดดันจากค่าใช้จา่ ยทีม่ ากมาย ทีส่ ำ�คัญภาวะ โรคภัยและยาที่มีผลให้สภาพชีวิตประจำ�วันของผู้ป่วยผันแปรทั้งทาง ด้านร่างกายและจิตใจ ด้วยเหตุนี้การแสดงออกในแต่ละวันของผู้ป่วยนั้นจึงไม่อาจ คาดเดาได้ บางวันแม้แต่ฝืนยิ้มยังไม่สามารถทำ�ได้ หากอาสาสมัคร ไม่เข้าใจยังคงยึดให้ตนเองเป็นศูนย์กลาง ย่อมรู้สึกทุกข์มากกว่า สุขแต่หากใช้เหตุการณ์เหล่านี้เป็นโอกาสในการหันมามองตนเอง ตรวจสอบว่าใจของเรานั้นหวั่นไหวเพียงไหน เพราะเหตุใด อาจพบว่า เป็นเพียงเพราะเราไม่ได้รับการตอบสนองอย่างที่คาดหวังเท่านั้นเอง ดังนัน้ ความประสบความสำ�เร็จในการทำ�งาน อาสาสมั ค รดู แ ลผู้ ป่ ว ยจึ งไม่ ใ ช่ ก ารทำ�ให้ ผู้ ป่ ว ยยิ้ ม มีความสุขตลอดเวลา แต่เป็นการเข้าใจผู้ป่วย เข้าใจ ตนเอง และเข้าใจกับความไม่แน่นอนของชีวิตนั่นเอง 11


อาสาข้างเตียง ส่วนหนึ่งของทีม

หากกล่าวว่าการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย ต้อง อาศัยทีมสหวิชาชีพ ไม่วา่ จะเป็นแพทย์ดแู ลความปวด พยาบาลรักษา ทางกาย นักกายภาพบำ�บัดดูแลการเคลื่อนไหว นักโภชนาการดูแล ด้านอาหาร อาสาก็มีบทบาทในการดูแลด้านจิตใจเป็นหลัก อาสาก็ตอ้ งการการเป็นผูใ้ ห้และเป็นผูร้ บั จากทีมเช่นเดียวกัน หากบทบาทของอาสาสมัครไม่ชัดเจนว่าดูแลทางด้านจิตใจแต่เป็น เพียงผู้ให้ในฐานะช่วยเหลือหรือเป็นลูกน้องฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาสา อาจไม่รสู้ กึ ว่ามีศกั ดิศ์ รีและคุณค่า และไม่เกิดการเรียนรูใ้ ด แต่หากมี การส่งเสริมให้เป็นผู้รับได้เพิ่มทักษะการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยนพูด คุย ได้มติ รภาพทีเ่ ท่าเทียมจากทีม อาสาบางคนอาจพัฒนาศักยภาพ จนสามารถเป็นแรงเสริมในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นส่วนหนึ่งของทีมได้อย่างแท้จริง

แนวคิดของอาสาข้างเตียงเน้นการให้และรับ ซึ่งจะ ทำ�ให้เกิดความเท่าเทียม ความเป็นเพื่อนกันระหว่างอาสา สมัครกับผู้ป่วย รวมทั้งเกิดความเป็นทีมกับบุคลากรในโรง พยาบาล ทุกคนจึงไม่มุ่งเฉพาะเพียงเยียวยาผู้ป่วยให้มีชีวติ ที่เหลืออย่างมีคุณภาพ แต่ถือโอกาสนี้เป็นการเรียนรู้และ พัฒนาตนเองไปพร้อมกันด้วย

12


13



จุดเริ่มต้น

สำ�หรับบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล การเริ่มต้น โครงการอาสาสมั ค รซึ่ ง เป็ น บุ ค คลภายนอกเข้ า มาดู แ ลผู้ ป่ ว ย เรื้อรังและระยะสุดท้าย ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายๆ แม้หลายคนสนใจประเด็นการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และต้ อ งการมี อ าสาสมั ค รจากเข้ า มาช่ ว ยเหลื อ อยู่ เ ป็ น ทุ น เดิ ม อยู่แล้ว แต่ก็ชั่งใจว่างานประจำ�ที่มีอยู่ก็มากเกินพอ อีกทั้งถ้าเป็น อาสาสมั ค รที่ เ ป็ น บุ ค คลภายนอกคงต้ อ งทำ�ความเข้ าใจกั น มากพอสมควร ในขณะเดี ย วกั น ยั ง มี โ รงพยาบาลอี ก หลายแห่ ง ที่ ฝ่ า ย บริหารเปิดทางและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ทั้งทางด้านทักษะ การดูแลผู้ป่วยและทุนทรัพย์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลได้มี โอกาสบุกเบิกงานอาสาสมัคร แต่กลับกลายเป็นว่าโรงพยาบาล บางแห่ ง ก็ ไ ม่ แ น่ ใ จว่ า จะเริ่ ม ต้ น ประสานงานกั บ บุ ค คลภายนอก อย่างไร หรือบางแห่งเริ่มต้นแล้วกลับเจอทางตัน อย่างไรก็ตามสิง่ ทีค่ ดิ ว่าไม่สามารถเกิดขึน้ ได้ ทว่าด้วยความ มุ่งมั่นทุ่มเทก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นไปได้ จุดเริ่มต้นงานอาสา สมัครของแต่ละหน่วยงาน แต่ละองค์กรอาจไม่เหมือนกัน และมักจะ ไม่ได้เริ่มต้นจากความพรั่งพร้อมเสมอไป 15


กรณีศึกษาอาสาข้างเตียง ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

กิจกรรมอาสาสมัครของพุทธิกาเริ่มต้นจากความคิดของ กลุ่มคนเล็กๆ ที่อยากจะเผยแพร่แนวคิดในเรื่องการเผชิญความตาย อย่ า งสงบ และเริ่ ม มี ก ารจั ด กิ จ กรรมฝึ ก อบรมเผยแพร่ ค วามรู้ ในปี ๒๕๔๖ โดยคาดการณ์ว่าบุคคลที่เข้าร่วมอบรมน่าจะเป็น บุคคลทั่วไป แต่ความจริงคือแพทย์และพยาบาลแสดงความจำ�นง ขอรับการอบรมถึงครึ่งหนึ่งของผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด ซึ่งแสดง ให้เห็นว่าบุคลากรทางการแพทย์ยังต้องการเพิ่มพูนทักษะในการ ดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะทางด้านจิตใจมากขึ้น ต่อมาเครือข่ายพุทธิกา และแพทย์ พยาบาล ในโรงพยาบาลต่างๆ ได้จัดกิจกรรมเสวนา เพื่ อ เป็ น เวที ใ นการแลกเปลี่ ย นความรู้ แ ละประสบการณ์ ใ นการ ดู แ ลผู้ ป่ ว ยระยะสุดท้ายให้กับบุคลากรทางการแพทย์ จ นเกิ ด เป็ น เครือข่าย แต่ยังขาดโอกาสและช่องทางในการเข้าถึงผู้ป่วยในระบบ โรงพยาบาล ในขณะเดียวกันนั้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้มีความ พยายามที่ จ ะพั ฒ นางานอาสาสมั ค รซึ่ ง เป็ น บุ ค คลภายนอกเพื่ อ ช่วยเหลือผู้ป่วย แต่ก็ประสบปัญหาหลายประการ อาทิ ทักษะใน การสื่อสารกับผู้ป่วย การประสานงาน และการจัดการอาสาสมัคร ด้วยเหตุนี้คุณหมอพรเลิศ ฉัตรแก้ว นักวิสัญญี และ คุณวีรมลล์ จันทร์ดี นักสังคมสงเคราะห์ จึงได้ประสานกับเครือข่ายพุทธิกา ในการรณรงค์เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาแพทย์ บุคลากรในเครือข่าย การช่ ว ยเหลื อ ป่ ว ยระยะสุ ด ท้ า ย และบุ ค คลทั่ วไป ได้ มี โ อกาส บำ�เพ็ญประโยชน์ร่วมกันโดยการทำ�งานอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ป่วย ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาปี ๒๕๔๙ ด้วยการสนับสนุนทุนจาก สสส ผ่านโครงการจิตอาสาฉลาดทำ�บุญ 16


ในช่ ว งแรกคุ ณ หมอพรเลิ ศ และคุ ณ วี ร มลล์ เ ดิ นไปตาม หอผู้ป่วยผู้ใหญ่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคมะเร็ง เพื่ออธิบายความเป็นมา และรายละเอียดของโครงการ และขอความร่วมมือในการจัดเตรียม หาเคสผู้ป่วยเพื่อให้อาสาสมัครภายนอกเข้าเยี่ยมเป็นระยะเวลา ต่อเนื่อง ๓ เดือน ในเวลานั้นพยาบาลหลายคนก็ให้ความร่วมมือใน ฐานะที่มีมิตรสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทั้งๆ ที่ยังไม่ค่อย เข้าใจที่มาและประโยชน์ของโครงการเท่าใดนัก เช่ น เดี ย วกั บ การดู แ ลผู้ ป่ ว ยเรื้ อ รั ง และระยะสุ ด ท้ า ยในหอผู้ ป่ ว ยเด็ ก ที่ เ ครื อ ข่ า ย พุทธิกาไม่ได้เริ่มต้นผ่านฝ่ายพยาบาลประจำ�หอผู้ป่วย โดยตรง แต่ได้ประสานความร่วมมือผ่านทางคุณหมอพัชรินทร์ สุ คนธาภิรมย์ ณ พัทลุง จิตแพทย์และนักศิลปะบำ�บัด อาสาสมัคร หลัง จากนั้นจึงติดต่อเชื่อมเครือข่ายกับคุณหมอปริชวัน จันทร์ศิริ ภายใต้ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวติ เด็กป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อกี ครัง้

อาสาข้างเตียง สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯ มหาราชินี

ในโรงพยาบาลบางแห่ ง ที่ มี โ ครงการอาสาข้ า งเตี ย งอาจ เริ่มต้นจากฝ่ายบริหารก่อนก็เป็นได้ เพราะเล็งเห็นประโยชน์ใน การจัดอาสาสมัคร ดังเช่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯ มหาราชินี ที่ผู้ใหญ่ในระดับบริหารเห็นความสำ�คัญ แต่รู้จุดอ่อนของการเริ่มต้น โครงการใหม่ว่าถ้าฝ่ายปฏิบัติงานยังไม่เข้าใจก็ไม่สามารถทำ�งาน ได้อย่างต่อเนื่อง จึงเตรียมพร้อมบุคลากรด้วยการเชิญเครือข่าย พุทธิกาจัดเสวนาให้ข้อมูลเกี่ยวกับจุดอ่อนจุดแข็งของการทำ�งาน อาสาสมัคร อีกทั้งเชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญจากต่างประเทศ 17


เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้กับบุคลากร ที่เกี่ยวข้อง และด้วยหัวใจที่เปิดกว้างยอมรับการจัดกระบวนการที่ความ แตกต่าง ความเชื่อมั่นในทักษะและความรู้ที่มี รวมทั้งประสบการณ์ ทำ�งานกับอาสาสมัคร คุณหมอวินัดดา ปิยะศิลป์ จึงเปิดไฟเขียวให้ ทีมพยาบาลเป็นผู้เชื่อมประสานงาน และจัดสรรกระบวนการอาสา สมัครร่วมกับพุทธิกา โดยครั้งแรกจัดให้อาสาสมัครจำ�นวน ๑๐ คน เข้าเยี่ยมดูแลผู้ป่วยเด็กแบบรายบุคคลในปี ๒๕๕๑ ตลอดระยะเวลา ๓ เดือน

ปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดงานอาสาข้างเตียง

เครื อ ข่ า ยพุ ท ธิ ก าพบว่ า การเริ่ ม ต้ น งานอาสาสมั ค รที่ เ ป็ น บุคคลภายนอกในการดูแลผู้ป่วย ไม่ว่าจะเริ่มต้นจากจุดใด จากกลุ่ม เล็กๆ ที่มีบุคลากรเพียงไม่กี่คน หรือผู้ใหญ่ในระดับบริหาร สิ่งสำ�คัญ อันดับต้นๆ คือ ความเข้าใจร่วมกันของบุคลากรภายในโรงพยาบาล เพื่อรองรับกิจกรรมจากภายนอก หากจุดเริ่มต้นมาจากฝ่ายบริหาร อย่างสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯ ก็ใช้วิธีจัดเสวนาบรรยายเกี่ยวกับ อาสาข้างเตียง ๑ วัน ให้บคุ ลากรทางการแพทย์ทสี่ นใจ ต่อมาก็มกี าร ประชุมทำ�ความเข้าใจ แต่หากเริ่มต้นเพียงเฉพาะกลุ่มอาจประสาน ผ่านการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ หรือประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้เกี่ยวข้องที่มีความสำ�คัญต่อการพัฒนาระบบอาสาสมัคร ดังกล่าว คือ ผู้ประสานงานกลางของโรงพยาบาล ทำ�หน้าที่เป็น ผู้ประสานงานกับองค์กรภายนอกในฐานะภาคีเครือข่าย นอกจากนี้ ยั ง มี บ ทบาทเชื่ อ มพยาบาลประจำ�หอผู้ ป่ ว ยกั บ อาสาสมั ค รและ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งเป็นผู้คอยดูแลให้กระบวนการต่างๆ 18


สามารถดำ�เนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง คล่องตัว และสามารถ ปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เหมาะสมยิ่งขึ้นได้ นอกจากนี้ คือ พยาบาลประจำ�หอผู้ป่วย เนื่องจากงาน อาสาสมั ค รนอกจากจะต้ อ งทำ�ความเข้ าใจข้ อ ปฏิ บั ติ ผู้ ป่ ว ยและ ครอบครัว และเรื่องสิทธิผู้ป่วยแล้ว ยังต้องการความช่วยเหลือในการ เปิดทางเรียนรู้และเข้าใจระบบในโรงพยาบาลอีกด้วย หากไม่มีการ จัดกระบวนการเชือ่ มความสัมพันธ์ให้เกิดมิตรภาพทีด่ รี ว่ มกันระหว่าง พยาบาลกับอาสาสมัคร กิจกรรมของอาสาสมัครก็จะดำ�เนินไปอย่าง ติดขัด เมื่อเกิดปัญหาก็ไม่สามารถแลกเปลี่ยนทำ�ความเข้าใจเพื่อ คลี่คลายปัญหาร่วมกันได้ สุดท้ายผู้ที่เกี่ยวข้องอีกคนคือ ผู้ป่วย หากกำ�หนดว่าเป็น ผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย จำ�เป็นที่จะต้องมีผู้ป่วยรองรับการ ทำ�งานอาสาสมัคร ซึ่งสัดส่วนอาสาต่อคนไข้ ๑ ต่อ ๑ และอยู่ใน โรงพยาบาลยาวนานพอ และไม่ควรกระจุกตัวอยู่ในหอผู้ป่วยเดียว ที่สำ�คัญให้การยินยอมที่จะให้อาสาสมัครเข้าไปพูดคุยให้กำ�ลังใจได้

ปัจจัยดังกล่าวไม่มีสูตรสำ�เร็จควรทำ�ข้อใดก่อนหลัง ทัง้ นีข้ น ึ้ อยูก่ บั ความพร้อมของแต่ละโรงพยาบาล แต่สง่ิ สำ�คัญ คงเป็นการเริ่มต้นที่ ลองถูกลองผิด เรียนรู้จากปัญหาและ ความล้มเหลว จนนำ�ไปสู่ความเข้าใจ และทางออกที่ชัดเจน

19



อาสาสมัคร

หลายโรงพยาบาลมี ปั จ จั ยในการเตรี ย มระบบรองรั บ อาสาสมัครเพื่อดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้ายในโรงพยาบาล แต่ไม่รู้ว่าจะหาอาสาสมัครได้จากที่ไหน

การเปิดรับอาสาสมัคร

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า โครงการอาสาสมัครดูแลผู้ป่วย เรื้อรังและระยะสุดท้ายในช่วงแรก เป็นทำ�งานสืบเนื่องจากการอบรม การเผชิ ญความตายอย่างสงบ ผู้เข้า อบรมบางคนมี ค วามสนใจ ที่จะนำ�ทักษะของการตายสงบเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วย และงานอาสา สมัครก็เป็นกิจกรรมหลักที่เปิดโอกาสในการนำ�ความรู้ในเชิงทฤษฎี มาใช้ปฏิบัติจริง ในขณะเดียวกันเครือข่ายพุทธิกาเพิ่งเริ่มจับงาน อาสาสมัครดูแลผู้ป่วยเหล่านี้เป็นครั้งแรก จึงวางใจให้ผู้เข้าอบรม เผชิญความตายอย่างสงบเป็นกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาเยี่ยมผู้ป่วยใน โรงพยาบาลและประชาสัมพันธ์ผ่านองค์กรที่เคยทำ�งานร่วมกัน หลังจากการทำ�งานอาสาสมัครรุ่นแรกเสร็จสิ้นลง การจัด โครงการอาสาสมั ค รรุ่ น ต่ อไปก็ ไ ม่ ไ ด้ มี ก ารประชาสั ม พั น ธ์ ผ่ า น สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ใดๆ มีเพียงการประสานงานให้กับ ผู้เข้าอบรมเผชิญความตายอย่างสงบ หรือและกระจายข่าวส่งต่อ 21


ให้กับเครือข่ายที่รู้จักกัน อาทิ เสมสิกขาลัย กลุ่มจิตอาสาต่างๆ โดยเฉพาะในเว็บไซด์ budpage.org และ volunteerspirit.com มีบ้างที่อาสาสมัครบางคนได้อ่านบทสัมภาษณ์ของอาสาสมัครที่เข้า ร่วมโครงการดูแลผู้ป่วยในนิตยสารจึงติดต่อเข้ามา การประชาสัมพันธ์ที่ไม่เปิดกว้างนัก ไม่ใช่เพราะต้องการคน ใกล้ตวั เหมือนแต่กอ่ น แต่เป็นเพราะมีผสู้ นใจแจ้งความจำ�นงเข้าร่วม กิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นจำ�นวนมาก สำ�หรับอาสาข้างเตียงหาก ต้องการ ๑๕ คน อาจจะรับ ๒๐ คน ทีเ่ หลือทางเครือข่ายพุทธิ กาจะแจ้งกับอาสาว่าขอเก็บรายชื่อไว้เพื่อทำ�งาน ในรุน่ ต่อไป เมือ่ กำ�หนดการรุน่ ต่อไปชัดเจนแล้ว ก็ จะติดต่อเพื่อขอการยืนยันจากอาสาสมัครอีกครั้ง ว่ายังสนใจและมีเวลาว่างหรือไม่ อย่างไรก็ตามหากในช่วงเริม่ ต้น ทางโรงพยาบาลไม่มรี าย ชือ่ อาสาสมัครในฐานข้อมูลเลยก็สามารถประชาสัมพันธ์ผา่ นเว็บไซด์ ได้ เพราะจากบทเรียนการทำ�งานตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ พบว่ามีคนสนใจ ติดต่อทำ�งานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะชื่อเสียงของเครือข่าย พุทธิกา แต่เพราะคำ�ว่า จิตอาสา เป็นประเด็นที่ทุกคนให้ความสนใจ อาสาสมัครส่วนใหญ่รู้จักอาสาข้างเตียงโดยค้นหาทางอินเตอร์เน็ต ผ่านคำ�ว่าจิตอาสา หรือ อาสาสมัคร นอกจากนี้กิจกรรมการดูแล จิตใจกลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นเรื่องที่ไกลตัวจึงท้าทายให้พวกเขา มาค้นหาและเรียนรู้ รวมทั้งต้องการให้กำ�ลังใจเพื่อบรรเทาทุกข์ การประชาสัมพันธ์ที่ส่งข่าวออกไปจะมีการให้เขียนจดหมาย แนะนำ�ตัว และแสดงทัศนะในการเข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร ความ ยาวประมาณ ๑ หน้ากระดาษ โดยเพิ่มการเล่าถึงแรงบันดาลใจ หรือที่มา รวมทั้งสิ่งที่อยากได้อยากเห็นหรืออยากให้เกิดขึ้นจากการ เป็นอาสาสมัคร นอกจากนี้ควรมีชี้แจ้งขั้นตอน รายละเอียด และ วันเวลาในการทำ�งานจนครบวาระ ๓ เดือน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ 22


ตรวจสอบว่าตนเองมีเวลามากพอหรือไม่ และความคาดหวังของตน ตรงกับโครงการหรือไม่ ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอาสาสมัครในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง และระยะสุดท้ายมีตั้งแต่นักศึกษาจนถึงวัยเกษียณ อายุระหว่าง ๒๐-๖๐ ปี ประกอบอาชีพทุกสาขาตั้งแต่ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัท เจ้าของกิจการ รับจ้างอิสระ ข้าราชการบำ�นาญ และ แม่บ้านนอกจากนี้ยังมีบุคลากรสาธารณสุขได้แก่ นักศึกษาพยาบาล จากโรงพยาบาลตำ�รวจ พยาบาล ทันตแพทย์ รวมทั้งอาจารย์สอน นักศึกษาแพทย์ ส่วนใหญ่เข้ามาเป็นอาสาสมัครเพราะต้องการ เป็นเพื่อนพูดคุยให้กำ�ลังใจผู้ป่วย ให้รู้สึกสบายใจ คลายความทุกข์ ต้องการเข้าใจสภาวะของโรคและดำ�รงอยู่กับโรคได้อย่างปกติสุข และความรู้ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ถูกต้องเพื่อปรับใช้กับ ตนเองและคนรอบข้าง รวมทั้งเพื่อเข้าใจชีวิต เรียนรู้สัจธรรมและ การปล่อยวาง รวมทั้งเพื่อเตรียมตัวตายอย่างมีสติให้กับตนเองและ ครอบครัว ข้อมูลจากจดหมายแนะนำ�ตัวพบว่าทุกคนมีความตั้งใจดี แต่จะพบว่ามีความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมน้อยมาก ไม่ว่าทำ�งาน ประจำ�จนไม่น่าจะมีเวลา หรือสถานที่อยู่ห่างไกลโรงพยาบาลมาก ทางโครงการจึงต้องมีการโทรศัพท์กลับไปเพื่อตรวจสอบว่าสามารถ จั ด สรรเวลาในการปฐมนิ เ ทศ อบรม และเยี่ ย มผู้ ป่ ว ยได้ อ ย่ า ง ต่อเนื่องได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามอาจมีเรื่องนึกไม่ถึงได้เช่นกัน อย่างอาสาท่าน หนึ่งอยู่จังหวัดชลบุรี แต่ยืนยันจะเข้าร่วมโครงการโดยใช้วิธีมาค้างที่ กรุงเทพช่วงเสาร์-อาทิตย์ และพบว่าอาสาสามารถมาเยี่ยมผู้ป่วยได้ อย่างต่อเนื่อง อาสาบางคนทำ�งานฟรีแลนซ์ในกรุงเทพฯ ซึ่งดูเสมือน มีเวลาว่าง แต่ที่จริงจะจัดสรรเวลาได้น้อยกว่าคนทำ�งานประจำ�และ หยุดเสาร์-อาทิตย์ ด้วยเหตุนี้จึงมีการกำ�หนดให้มีการนัดเจออีกครั้ง 23


ซึ่งอาจใช้รูปแบบการปฐมนิเทศ หรือสัมภาษณ์ก็จะทำ�ให้เกิดความ แน่ใจได้ยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้สิ่งสำ�คัญในการจัดหาอาสาสมัครจึงอยู่ที่ การจัดระบบรองรับอาสาสมัครที่ชัดเจน และสอดคล้องกับ สัดส่วนของผู้ป่วยที่ต้องการดูแล ซึ่งจะทำ�ให้ไม่จำ�เป็นต้อง รับอาสาสมัครจำ�นวนมากและไม่เป็นภาระกับคนทำ�งาน จนเกินไป

24


ตัวอย่างการประชาสัมพันธ์อาสาข้างเตียง เครือข่ายพุทธิกา รับสมัครอาสาข้างเตียง (ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย)

กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งเรื้อรัง หรือผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคระยะสุดท้ายใน โรงพยาบาล เป็นอีกกลุม่ หนึง่ ทีต่ อ้ งการกำ�ลังใจและการช่วยเหลือดูแลจากคน รอบข้าง แม้วา่ โรงพยาบาลจะมีแนวทางการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานการ ดูแลผู้ป่วย ทว่าระบบโรงพยาบาลก็มีภาระในการดูแลผู้ป่วยเป็นจำ�นวนมาก และบุคลากรมีจำ�นวนไม่เพียงพอ ทำ�ให้ไม่สามารถดูแลตอบสนองต่อความ ทุกข์ของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะสภาวะทางจิตใจที่เป็น ทุกข์เนื่องจากความเจ็บป่วยที่รักษาไม่หาย ด้วยเหตุนี้ ในปี ๒๕๕๔ นี้ เครือ ข่ายพุทธิกาจึงอยากเชิญชวนผู้สนใจได้มีโอกาสบำ�เพ็ญประโยชน์ร่วมกันโดย การทำ�งานอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ป่วย โดยเน้นไปที่การดูแลด้านจิตใจ อาทิ การเยีย่ มเยียน ให้กำ�ลังใจ เป็นเพือ่ นข้างเตียงผูป้ ว่ ยและครอบครัว และชักชวน ให้ทำ�กิจกรรมเพื่อผ่อนคลายต่างๆ

อาสาสมัครที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รับอาสาสมัคร จำ�นวน ๒๐ คน ปฐมนิเทศและสัมภาษณ์ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ อบรม วันที่ ๑๙-๒๐ มีนาคม ๒๕๕๔ (ไป-กลับ) ระยะเวลาเยี่ยมผู้ป่วย เยี่ยมผู้ป่วยอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๔ รูปแบบการเยี่ยม เป็นเพื่อนให้กำ�ลังใจผู้ป่วยเด็กและญาติ โดยมีอาสา ๑ คน ต่อคนไข้ ๑ คน สรุปการเรียนรู้ เดือนละครั้ง รวม ๓ ครั้ง 25


คุณสมบัติอาสาสมัคร ๑. มีสุขภาพกายและจิตที่ดี ๒. สามารถเข้ารับการปฐมนิเทศ อบรม และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามวัน เวลา ที่กำ�หนดได้ ๓. สามารถเข้าเยี่ยมผู้ป่วยอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งต่อเนื่องตลอด ๓ เดือน ๔. เปิดใจกว้างพร้อมทีจ่ ะเรียนรู้ รับฟัง และให้ความสำ�คัญกับการทำ�งานเป็นทีม เงื่อนไขการเข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร เขียนแนะนำ�ตนเองประมาณ ๑ หน้า A4 โดยมีหัวข้อ ดังนี้ - แนะนำ�ตัว อายุ อาชีพ ฯลฯ และอีเมล์ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ - เล่าถึงสาเหตุหรือแรงบันดาลใจในการเป็นอาสาสมัครดูแลผู้ป่วย - ทัศนคติและมุมองต่อการเป็นอาสาข้างเตียง - เข้าเยี่ยมผู้ป่วยได้ในวัน..................เวลา...........(เช้า / บ่าย / เย็น) - เข้าประชุมแลกเปลี่ยนได้ในวัน....... เวลา..........(เช้า / บ่าย / เย็น) โดยส่งมาที่อีเมล์...........................ภายในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

26


27



การปฐมนิเทศและการอบรม

การปฐมนิเทศ

ในช่วงแรกการเปิดรับอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยมีเพียงเฉพาะ การเขียนจดหมายแนะนำ�ตัว แต่ปรากฏว่าข้อความในจดหมาย จะลึกซึ้งกินใจเพียงใดก็ไม่เท่าการพูดคุยพบปะกัน ด้วยเหตุนี้จึงมีการปรับเปลี่ยนให้มีการปฐมนิเทศ ครั้งแรกๆ เป็นภารกิจของเครือข่ายพุทธิกาเพียงฝ่ายเดียว ยังไม่ได้มกี ารนัดแนะ แพทย์หรือพยาบาลเข้าร่วมดำ�เนินการ เนื่องจากใช้อาสาสมัครส่วน ใหญ่ไม่สะดวกนัดพบในวันธรรมดา ในขณะที่แพทย์และพยาบาล ยังคงมีงานในวันหยุด แต่อย่างไรก็ตามสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบ และวันเวลาในการปฐมนิเทศตามความสะดวกและเหมาะสม เช่น การนัดพูดคุยเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่ม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำ�คัญของการปฐมนิเทศในครั้งนั้นก็คือ เป็นการเปิดโอกาสให้อาสาสมัครได้รับข้อมูลและภาพรวมทั้งหมด เพื่อกลับไปชั่งใจตนเองอีกครั้งว่าภารกิจครั้งนี้เหมาะกับเขาหรือไม่ โดยมีการชี้แจงรายละเอียด ดังนี้ • ที่ ม าของและวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องโครงการที่ ค าดหวั งให้ อ าสา สมัครได้เยีย่ มเยียน เป็นเพือ่ นให้กำ�ลังใจผูป้ ว่ ยและครอบครัว และยังเป็นการแบ่งเบาภาระให้พยาบาล รวมทั้งเพื่อให้อาสา สมัครเกิดการเรียนรู้ 29


• • •

ขัน้ ตอนในการเป็นอาสาสมัคร กำ�หนดวันเวลาในการพบปะ ต่างๆ ได้แก่ การอบรม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุป โครงการ เพราะอาสาสมัครส่วนใหญ่เพ่งความสนใจเฉพาะ การเยี่ยมผู้ป่วยและญาติ แต่ไม่เห็นความสำ�คัญของการ อบรม การสร้างสัมพันธภาพร่วมกัน หรือการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ ลักษณะกิจกรรมที่เน้นการฟังอย่างลึกซึ้ง เน้นการให้และรับ และการทำ�งานเป็นทีมมีการตัดสินใจร่วมกัน สภาพในโรงพยาบาลที่ภาระงานล้นมือของพยาบาลจนอาจ ไม่ได้ใส่ใจอาสาสมัครเท่าที่ควร สภาพของผู้ป่วยที่มีความเป็นไปได้ว่าอาจเสียชีวิตกลางคัน ซึ่งประเด็นนี้อาจซักถามอาสาสมัครที่อายุน้อยว่าสามารถ รับได้หรือไม่

การปฐมนิ เ ทศจึ ง เป็ น เสมื อ นการดู ตั ว ระหว่ า ง โครงการฯ และอาสาสมัคร อีกทั้งยังเป็นด่านหน้าช่วยสร้าง ความเข้าใจกัน และช่วยลดปัญหาอาสาสมัครหยุดทำ�งาน กลางคันได้

การอบรม

หลายคนถามว่าทำ�ไมไม่รวมเอาการปฐมนิเทศเข้ากับการ อบรมอาสาสมัครในวันเดียวกัน เพราะจะได้ไม่เสียเวลา แถมอบรมไป ก็จำ�ไม่ได้ สู้ลองทำ�จริงเลยดีกว่า การปฐมนิเทศเป็นการพบปะพูดคุยกันเพียงครึ่งวัน อาจ ทำ�ให้ อ าสาสมั ค รเข้ าใจภาพรวมของโครงสร้ า งงานอาสาสมั ค ร 30


ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้ายก็จริง แต่เป็นเพียงความรู้ผ่าน ความคิดไม่สามารถจดจำ�และประทับในจิตใจจนนำ�ไปใช้จริงได้ แต่การอบรมเป็นการจำ�ลองประสบการณ์เพื่อนำ�ไปประยุกต์กับการ ปฏิบัติงานได้ เพราะที่สำ�คัญอาสาสมัครที่เข้าเยี่ยมผู้ป่วยในครั้งนี้ ไม่ได้เข้าเยี่ยมเป็นกลุ่มและมาเป็นครั้งคราว หากปฏิสัมพันธ์กับ ผู้ป่วยและญาติในลักษณะเป็นรายบุคคลและดูแลอย่างต่อเนื่องถึง ๓ เดือน ทักษะและการทำ�ความเข้าใจการดูแลผู้ป่วยจึงต้องละเอียด และให้เวลามากกว่า การอบรมดู แ ลผู้ ป่ ว ยเรื้ อ รั ง และระยะสุ ด ท้ า ยกำ�หนดให้ อาสาสมัครเข้าร่วมเป็นเวลา ๒ วัน ซึ่งกระบวนการร้อยเรียงในการ อบรมผู้สนใจสามารถนำ�ไปประยุกต์ได้ตามความเหมาะสม ดังนี้

วันแรก ๐๙.๐๐-๐๙.๓๐ น. ๐๙.๓๐-๑๐.๓๐ น. ๑๐.๓๐-๑๐.๔๕ น. ๑๐.๔๕-๑๒.๐๐ น. ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. ๑๓.๓๐-๑๕.๐๐ น. ๑๕.๐๐-๑๕.๑๕ น. ๑๕.๑๕-๑๖.๓๐ น.

แนะนำ�โครงการ ทำ�ความรู้จักกัน อาหารว่าง แนวทางการเยียวยาจิตใจ อาหารกลางวัน บทบาทสมมติ อาหารว่าง บทบาทอาสาสมัคร

วันที่สอง ๐๙.๐๐-๐๙.๓๐ น. ๐๙.๓๐-๑๐.๔๕ น. ๑๐.๔๕-๑๑.๐๐ น.

Check-in และสันทนาการ ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง อาหารว่าง 31


๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น. ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. ๑๓.๐๐-๑๓.๓๐ น. ๑๓.๓๐-๑๔.๓๐ น. ๑๔.๓๐-๑๕.๓๐ น. ๑๕.๓๐-๑๖.๐๐ น.

ความเข้าใจผู้ป่วยและระบบในโรงพยาบาล โดยแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ อาหารกลางวัน สันทนาการ ประสบการณ์การทำ�งานของอาสารุ่นก่อน ข้อปฏิบัติและข้อควรระวัง แนะนำ�หอผู้ป่วยและขั้นตอนการทำ�งาน สรุปการเรียนรู้

รูปแบบการจัดกระบวนการ

เพื่ อให้ เ กิ ด ความรู้ สึ ก เท่ า เที ย ม มี บ รรยากาศเป็ น กันเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จึง เลื อ กนั่ ง เป็ น วงกลมบนพื้ น หรื อ เก้ า อี้ โดยทั้ ง กระบวนกรและ ผู้เข้าร่วม ไม่เกินจำ�นวน ๓๐ คน นั่งอยู่ในวงเดียวกัน ทั้งนี้ ควรจั ดให้ พ ยาบาลประจำ�หอผู้ ป่ ว ยได้ เ ข้ า ร่ ว มอบรมร่ ว มกั บ อาสาสมั ค รด้ ว ย ซึ่ ง นอกจากจะทำ�ให้ เ ข้ าใจแนวคิ ด และการ ทำ�งานของโครงการในทิ ศ ทางเดี ย วกั น แล้ ว ยั ง ทำ�ให้ เ กิ ด สั ม พั น ธภาพที่ ดี ต่ อ กั น อั น เป็ น ประโยชน์ ต่ อ การทำ�งานเป็ น ที ม ในอนาคตด้วย

32


กิจกรรมที่ ๑ : แนวทางการเยียวยาจิตใจ วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้เข้าใจความรู้สึกและความต้ อ งการของผู้ ป่ ว ย ตนเองเพื่อเชื่อมโยงถึงผู้ป่วย ๒. เพื่อให้อาสาสมัครเกิดความเชื่อมั่นว่าทุกคนสามารถ เยียวยาทางด้านจิตใจได้ไม่ยาก

กระบวนการ เปิดโอกาสให้อาสาสมัครพูดคุยกันในวงย่อยเพื่อทบทวน เรื่องราวความทุกข์ทางกายและใจ และการคลี่คลาย รวมทั้งระดม ความคิดว่าหากมีใครเข้ามาช่วยเหลือเราให้คลี่คลายความทุกข์ หรือ ผ่านเรื่องร้ายนั้นมาได้ เขาพูดหรือทำ�อะไรที่ชอบและไม่ชอบ

สรุป

ผู้ป่วยก็มีความทุกข์และต้องการความช่วยเหลือไม่แตกต่าง จากอาสาสมัคร และไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวในการช่วยเหลือ ผู้ป่วย ส่วนใหญ่อยากมีศักยภาพในการจัดการปัญหาด้วยตัวเอง ดังนั้น ให้สังเกต ถามและรับฟังก่อน อีกทั้งเคารพในความคิดของผู้ป่วย นอกจากนี้การเยียวยาทางจิตใจเป็นพื้นฐานของมนุษย์ที่มี อยู่แล้วในตัว ผู้คนสามารถผ่านความทุกข์และคลี่คลายปัญหามา ได้มากมาย บางครั้งเป็นผู้รับฟังปัญหาจนเพื่อนหลายคนสบายใจ บางครั้ ง มี ท างออกดี ๆ ที่ เ ปิ ด มุ ม องใหม่ จ นแก้ ไ ขปั ญ หาได้ อ ย่ า ง ลุล่วง แต่คนส่วนใหญ่ลืมมองไปว่าเรามีศักยภาพมากมาย แต่กลับ ให้ความสำ�คัญกับความรู้จากตำ�รามากกว่า แต่ถ้าเราตระหนักว่า ความรู้อยู่ภายในตน ก็จะสามารถนำ�ความรู้จากตำ�ราหรืออบรม ผสมผสานกับความรู้ภายใน แล้วประยุกต์ไปใช้เพื่อเยียวยาจิตใจ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพได้

33


กิจกรรมที่ ๒ : บทบาทสมมติ วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อนำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลทางด้านจิตใจผู้ป่วย ในกิจกรรมแรกมาทดลองผ่านบทบาทสมมติ ๒. เพื่อเรียนรู้วิธีเข้าหาและพูดคุยกับผู้ป่วย

กระบวนการ แบ่งอาสาสมัครออกเป็น ๒ กลุม่ กลุม่ แรกเป็นผูป้ ว่ ย อีกกลุม่ เป็นเพื่อนที่เข้าเยี่ยม และให้โจทย์สมมติโดยไม่มีบทพูดที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับการสนทนาโต้ตอบขอแต่ละคนว่าถ้าอยู่ในสถานการณ์ นั้ น น่ า จะมี ลั ก ษณะและความรู้ สึ ก อย่ า งไร เน้ น การแสดงออก ตามธรรมชาติ ไม่ มี ถู ก หรื อ ผิ ด โดยแต่ ล ะคู่ จ ะเยี่ ย มพร้ อ มกั น ในห้องเป็นเวลา ๑๕ นาที และจะคุยเฉพาะคู่ของเรา (ทั้งนี้โจทย์ที่ให้ สามารถปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมาย)

โจทย์ตัวอย่าง ผู้ป่วย : ผู้ป่วยมีอายุ ๒๘ ปี กำ�ลังเรียนปริญญาโทอยู่ในกรุงเทพฯ

เป็นลูกคนเดียวของพ่อแม่ซึ่งมีอาชีพค้าขายอยู่ต่างจังหวัด ฐานะ ปานกลาง นานๆ จึงจะลงมาเยี่ยมได้ คุณกำ�ลังป่วยเป็นมะเร็ง เม็ดเลือดระยะสุดท้าย มีอาการเหนือ่ ยหอบ บวม กินอาหารไม่คอ่ ยได้ ซึมเศร้า ไม่อยากพูดจากับใคร รู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระของคนอื่น ตอนป่วยแรกๆ มีแฟนคอยมาอยู่ดูแลเป็นเพื่อนตลอด แต่ระยะหลังๆ แฟนมาเยี่ยมน้อยลง จึงไม่ค่อยแน่ใจว่า ความสัมพันธ์จะเป็นอย่างไร ต่อไป เพื่อนสนิท : อายุ ๒๘ ปี เป็นเพื่อนสนิทกับผู้ป่วยมาตั้งแต่เรียนชั้น มัธยม ปัจจุบันคุณกำ�ลังเรียนปริญญาโทและทำ�งานไปด้วย จึงไม่มี เวลาและไม่ค่อยได้พบปะสังสรรค์กันเหมือนก่อน คุณเพิ่งรู้ว่าเพื่อน เป็นมะเร็งป่วยหนักอยู่ที่โรงพยาบาลจึงมาเยี่ยม โดยรู้ว่าเขามีความ 34


ทุกข์กับความเจ็บป่วย และมีเรื่องส่วนตัวที่ยังไม่คลี่คลาย ในฐานะ ของเพื่อน คุณจึงอยากมาเยี่ยมและให้กำ�ลังใจ

สรุป

หลั ง จากทำ�กิ จ กรรมบทบาทสมมติ มี ก ารพู ด คุ ย ว่ า ผู้ ป่ ว ย และเพื่อนรู้สึกอย่างไร มีสิ่งใดที่ทำ�แล้วรู้สึกดี และสิ่งใดควรปรับปรุง ซึ่ ง พบว่ า ความต้ อ งการของผู้ ป่ ว ยแม้ ใ นฐานะบทบาทสมมติ ก็สามารถเชื่อมโยงกับผู้ป่วยจริงได้ ทุกคนต้องการการดูแลทาง ้ ยงที่อ่อนโยน นอกจากนี้ จิตใจจากรับฟัง สัมผัส ท่าทีและนำ�เสี อาจเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้ผู้ป่วยเห็นคุณค่าและความภาคภูมิใจ ในตนเอง และทางเลือกในการแก้ปัญหาที่มีมากมาย ยิ่ งไปกว่ า นั้ น อาสาสมั ค รที่ รั บ บทเพื่ อ นจะเข้ าใจถึ ง ความ รู้สึกอึดอัดและอุปสรรคต่างๆ ไม่ว่าผู้ป่วยเงียบ ไม่คุยด้วย ผู้ป่วย อาจร้องไห้ หรือบ่นอยากตาย ซึ่งอาจนำ�ประเด็นต่างๆ เหล่านี้เก็บไว้ เพื่อพูดคุยต่อในหัวข้อการทำ�ความเข้าใจผู้ป่วยต่อไป

กิจกรรมที่ ๓ : มุมมองและบทบาท การเป็นอาสาสมัคร วัตถุประสงค์

๑. เพื่อเข้าใจบทบาทอาสาสมัครเป็นส่วนหนึ่งของทีม ๒. เพื่อเปิดใจยอมรับความแตกต่างหลากหลาย

กระบวนการ กิจกรรมนี้พัฒนามาจากกิจกรรมของคุณ Lucille Proulx นักศิลปะบำ�บัด โดยอาสาสมัครนั่งล้อมเป็นวงกลมและวาดรูป 35


แล้วส่งต่อคนทีอ่ ยูข่ วามือวาดต่อเติมรูปของคนอืน่ ทำ�เช่นนีไ้ ปเรือ่ ยๆ เมื่อรูปของตนเองกลับคืนมาให้วาดแต่งเติมอีกครั้ง

สรุป จากการพู ด คุ ย จากภาพเพื่ อ เชื่ อ มโยงสู่ ก ารทำ�งานเป็ น อาสาสมัคร จะพบว่าการเป็นอาสาสมัครอาจพบเจอสิ่งที่คาดหมาย ได้อยู่เสมอ เหมือนกับภาพวาดที่ถูกหลายๆ คนแต่งเติมมา การ ตั้ ง ความคาดหวั งให้ เ ป็ นไปดั่ งใจมากเกิ นไปอาจทำ�ให้ เ กิ ด ความ ทุกข์ท้อแท้ได้ ที่สำ�คัญในการทำ�งานอาสาสมัคร อย่าหมายมั่นว่า มีแต่เรา ดังนั้นควรจัดความสัมพันธ์ที่ดี ไม่กินพื้นที่คนอื่น ถ้าเราใช้ พื้นที่มากไปคนอื่นก็จะมีพื้นที่น้อย และควรเปิดใจให้กว้างยอมรับ ความแตกต่าง เพราะการดูแลผู้ป่วยมีผู้เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย ทั้งแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ญาติผู้ป่วย อาสาสมัคร ฯลฯ

กิจกรรม ๔ : ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อฝึกทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง ๒. เพื่อเรียนรู้ว่าเมื่อรับฟังอย่างลึกซึ้งแล้วเกิดประโยชน์ อย่างไรกับตนเอง อันจะนำ�ไปใช้กับผู้ป่วยต่อไป

กระบวนการ จับกลุ่ม ๔ คน ให้นั่งหลับตาทบทวนตนเองถึงเหตุการณ์ที่ เป็น จุดเปลี่ยนในชีวิต เพียง ๑ เรื่อง โดยให้นึกรายละเอียด ผู้คน ที่เกี่ยวข้อง และอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น โดยเล่าเหตุการณ์นั้น ให้เพื่อนฟัง คนละ ๑๕ นาที (เล่าทีละคน) โดยระหว่างที่เพื่อนเล่า 36


ให้ฟังอย่างตั้งใจ ไม่ขัดจังหวะหรือแสดงความคิดเห็นแทรก พยายาม รับรู้เรื่องราวโดยไม่เอาความคิดตนเองไปตัดสินผิดถูก อาจถามได้ แต่ให้ทำ�เท่าที่จำ�เป็น แต่ไม่ไปเบี่ยงประเด็นหรืออารมณ์ความรู้สึก หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้สึกของการเป็นผู้ฟังและ ผู้เล่า รวมทั้งระดมความคิดของการฟังที่ดีเป็นอย่างไร

สรุป การรับฟังมีผลเยียวยาผู้ป่วยและอาสาสมัคร เพราะนอกจาก จะช่วยให้อาสาสมัครเข้าถึงความทุกข์ของผู้ป่วยแล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วย ้ าไปในชีวิต เห็นความทุกข์ของตนเอง โดยที่ไม่จำ�เป็นต้องล่วงลำ�เข้ ผู้ป่วยจนเกินควรด้วย เพียงแต่อาศัยการฟัง ยอมรับ และเข้าใจ สำ�หรับการฟังที่ดี ควรตั้งใจและรับฟัง ให้ความสำ�คัญกับ คนตรงหน้า ไม่ตดั สินเรือ่ งผูป้ ว่ ยไม่วา่ เล็กใหญ่ และให้ความมัน่ ใจใน ตัวผูป้ ว่ ยให้เห็นคุณค่าในตนเอง โดยทำ�ให้ผปู้ ว่ ยเกิดความภาคภูมใิ จ และมีกำ�ลังใจขึ้น

กิจกรรมที่ ๕ : การทำ�ความเข้าใจผู้ป่วยเรื้อรัง และระยะสุดท้าย หัวข้อการทำ�ความเข้าใจผู้ป่วยนี้ อาจมอบให้แพทย์หรือ พยาบาลจากโรงพยาบาลในการให้ข้อมูลอาสาสมัครเกี่ยวกับผู้ป่วย เรื้อรังและระยะสุดท้ายในผู้ใหญ่และเด็ก ซึ่งรายละเอียดขึ้นอยู่กับ ความเหมาะสมของโรงพยาบาล โดยจะนำ�เสนอย่อๆ ดังนี้

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อทำ�ความเข้าใจผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย ผู้ป่วยผู้ใหญ่เรื้อรังและระยะสุดท้าย เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับ 37


สภาวะอารมณ์ของผูป้ ว่ ยระยะสุดท้ายหลังรับรูข้ า่ วร้าย หรือความตาย ผู้ ป่ ว ยเด็ ก เรื้ อ รั ง และระยะสุ ด ท้า ย โดยจะชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง ผลกระทบของความเจ็บป่วยเรื้อรังต่อเด็กในวัยต่างๆ ตั้งแต่วัยทารก วัยอนุบาล วัยเรียน และวัยรุ่น นอกจากนี้นำ�เสนอสภาพเด็กที่ป่วย ด้วยโรคเรื้อรัง จะต้องเผชิญกับผลกระทบต่างๆ ทั้งต่อตนเองที่อาจ ส่งผลให้เด็กเกิดอาการซึมเศร้า หวาดกลัว แยกตัว ต่อต้าน ก้าวร้าว ไม่ร่วมมือในการรักษา รวมถึงมีพัฒนาการถดถอยทั้งร่างกายและ จิตใจ ส่งผลกระทบต่อครอบครัวจนเกิดเป็นปัญหาสัมพันธภาพ ในครอบครัว หลังจากนั้นอาจยกกรณีผู้ป่วยจากกิจกรรมบทบาทสมมติ เพื่อช่วยกันพิจารณา และให้กระบวนกรช่วยแสดงความเห็นเกี่ยวกับ กรณี ผู้ ป่ ว ยเงี ย บและปิ ด ตั ว เอง ผู้ ป่ ว ยร้ อ งไห้ หรื อ ผู้ ป่ ว ยบ่ น ว่ า อยากตาย

กิจกรรมที่ ๖ : ประสบการณ์จากอาสารุ่นก่อน ข้อปฏิบัติและข้อควรระวัง วัตถุประสงค์ ๑. เพือ่ เห็นแนวทางการเยีย่ มผูป้ ว่ ยจากประสบการณ์จริงจาก อาสารุ่นก่อน ๒. เพื่ อ ทำ�ความเข้ าใจข้ อ ปฏิ บั ติ แ ละข้ อ ควรระวั ง จาก เหตุการณ์จริง

สรุป

อาสารุ่นเก่า จำ�นวน ๓-๕ คน เล่าถึงครั้งแรกของการเยี่ยมผู้ ป่วยรู้สึกอย่างไร ผ่านพ้นไปด้วยวิธีใด เคสผู้ป่วยที่รู้สึกประทับใจ และ การเรียนรู้จากการเป็นอาสาข้างเตียง หลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมและ 38


อาสารุ่นก่อนช่วยกันคิดข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวังในการเยี่ยม ผู้ป่วยทางโรงพยาบาลอาจเพิ่มเติมข้อควรระวังที่เกิดขึ้นได้บ่อยและ แนวทางการแก้ไข โดยเฉพาะสิทธิผู้ป่วย ขอบเขตการดูแลผู้ป่วย และ การให้ของฝากและระบบการเงินมีค่า เป็นต้น

กิจกรรมที่ ๗ : แนะนำ�หอผู้ป่วย และขั้นตอนการเข้าเยี่ยม วัตถุประสงค์

๑. เพือ่ เรียนรูห้ อผูป้ ว่ ย พยาบาลผูร้ บั ผิดชอบ และการทำ�งาน ตลอด ๓ เดือน ๒. เพื่อให้อาสาสมัครเลือกไปอยู่ตามหอผู้ป่วย

สรุป

- พยาบาลประจำ�หอผู้ป่วยแต่ละคน เล่าลักษณะผู้ป่วย และ กำ�หนดว่ารับอาสาสมัครได้กี่คน โดยพิจารณากับสัดส่วนของคนไข้ - อาสาสมัครเลือกหอผูป้ ว่ ยตามจำ�นวนทีก่ ำ�หนด และพูดคุย ทำ�ความเข้าใจ แลกเบอร์โทรศัพท์ระหว่างพยาบาลและอาสาสมัคร - อธิบายขั้นตอนการเยี่ยมในระบบโรงพยาบาล เช่น การ แลกบัตรและการลงบันทึก - กำ�หนดวันรับเคสและเวทีแลกเปลี่ยนอย่างชัดเจน ๓ ครั้ง โดยห่างกันครั้งละ ๑ เดือน - กำ�หนดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๓ ครั้ง สิ่งสำ�คัญนอกเหนือกว่านั้น คือ การทำ�งานเป็นทีมในการ เยียวยาจิตใจผู้ป่วย ด้วยเหตุนี้จะสนับสนุนให้เกิดการเป็นทีม ได้แก่ - ส่งเสริมให้อาสาสมัคร สื่อสารกับพยาบาล เพื่อให้รับรู้ 39


ความรู้สึกและความต้องการของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ ดีที่สุดเท่าที่ทำ�ได้ - เมื่อประสบปัญหาในการทำ�งาน เน้ นให้ อ าสาสมั ค ร พิจารณาจากข้อควรระวังและพึงปฏิบัติ อย่างไรก็ตามหากคิดว่าเป็น กรณียกเว้น อย่าเพิ่งด่วนตัดสินในสิ่งที่เห็น ให้ตั้งหลักหรือมีสติกับ ตนเอง ไม่ใช้อารมณ์ในการจัดการปัญหา และสามารถปรึกษาหารือ ผูป้ ระสานงานกลางจากโรงพยาบาลและจากเครือข่ายพุทธิกาได้ โดย ให้เบอร์โทรศัพท์ไว้ติดต่อได้ตลอดเวลา

การอบรมช่วยให้อาสาสมัครเกิดทักษะความรู้ในการ เยียวยาจิตใจผู้ป่วย ทว่าสิ่งสำ�คัญยิ่งกว่านั้น คือ ต้องการ ให้ อ าสาสมั ค รเกิด ความเชื่อ มั่ น ซึ่ ง มาจากภายในตนเอง ไม่ยึดติดกับความรู้หรือมีสูตรสำ�เร็จตายตัว แต่อยู่กับผู้ป่วย ตรงหน้า ซึมซับและเข้าใจ

40




การเยี่ยมผู้ป่วย

ทางโครงการฯ กำ�หนดให้อาสาสมัครเข้าเยี่ยมผู้ป่วยอย่าง น้ อ ยสั ป ดาห์ ล ะครั้ ง ๆ แต่ ล ะครั้ ง อาจเยี่ ย มผู้ ป่ ว ยเพี ย งไม่ กี่ น าที บางครั้งหลายชั่วโมงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความพร้อมของผู้ป่วย และความสนิทสนมที่อาจทวีคูณมากขึ้นตามลำ�ดับ ทั้งนี้จะไม่มี การตรวจสอบจากทางโครงการว่าไปเยี่ยมกี่ครั้ง เพราะอยากให้ เป็นกิจกรรมที่อาสาสมัครเป็นผู้รับผิดชอบและจัดสรรเอง ส่วนใหญ่ โรงพยาบาลสะดวกให้อาสาสมัครเยี่ยมในช่วงบ่าย เนื่องจากช่วงเช้า ผู้ป่วยจำ�เป็นต้องรับการรักษาต่างๆ แม้ อ าสาสมั ค รหลายคนในช่ ว งแรกยั ง มี ค วามกลั ว และ ไม่แน่ใจอยู่บ้างในการเยี่ยมผู้ป่วย แต่จากการเตรียมพร้อมระบบ รองรับ การสร้างความร่วมมือระหว่างพยาบาลกับอาสาสมัคร การให้ ข้อมูลภาพรวม ทำ�ให้อาสาสมัครบางคนรูส้ กึ มัน่ ใจทีจ่ ะนำ�ความรูแ้ ละ ประสบการณ์ต่างๆ จากการอบรมไปใช้ในการเยี่ยมผู้ป่วยได้

การรับฟังผู้ป่วย

อาสาสมัครดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ลืมที่จะเน้นทักษะการ รับฟัง เป็นพื้นฐานในการทำ�งาน ทั้งที่บางคนสารภาพว่า ไม่แน่ใจ 43


ว่าการรับฟังจะช่วยคนไข้ได้อย่างไร แต่ผลส่วนใหญ่ก็ปรากฏให้เห็น ชัดเจนแล้วว่า การรับฟังอย่างลึกซึ้งมีประสิทธิผลทำ�ให้อาสาสมัคร เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วยจนนำ�ไปสู่การตอบสนอง ผู้ป่วยได้ นอกจากนี้อาสาสมัครยังมีบทบาทในการถ่ายทอดข้อมูล ทีจ่ ำ�เป็นต่อการรักษาให้กบั แพทย์และพยาบาลทีเ่ กีย่ วข้อง หรือความ ต้องการทีม่ ตี อ่ ครอบครัวให้ญาติฟงั ซึง่ ทำ�ให้การรักษาผูป้ ว่ ยสามารถ ดูแลครอบคลุมทั้งทางร่างกายและการรักษาทางด้านจิตใจ เพราะ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะบอกข้อมูลกับแต่ละคนไม่เท่ากัน ผู้ป่วยอาจพูด เรื่องนี้กับครอบครัว และคุยอีกเรื่องกับหมอ และเล่าเรื่องบางอย่าง กับอาสาสมัคร ถ้าอาสาสมัครสังเกตและจับประเด็นที่ผู้ป่วยต้องการ ได้ ก็จะเป็นเสมือนตัวแทนในการสื่อสารบอกเล่าให้กับพยาบาล เพื่อตอบสนองความต้องการผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตาม อาสาสมัครอาจต้องแยกแยะให้ดวี า่ สิง่ นัน้ เป็นความลับของผูป้ ว่ ยและ ไม่ควรนำ�ไปเปิดเผยหรือไม่ อย่างไรก็ตามแม้มีหลักปฏิบัติในการรับมือกับสถานการณ์ ต่างๆ ในการเยีย่ มผูป้ ว่ ย แต่ในความเป็นจริงอาสาสมัครอาจต้องเจอ กับสิง่ ทีค่ าดไม่ถงึ จากประสบการณ์การทำ�งานพบว่าสิง่ ทีอ่ าจเกิดขึน้ ในช่วงเยี่ยมผู้ป่วยที่อาสาสมัครต้องเผชิญรวมทั้งแนวทางการแก้ไข มีดังนี้

การจัดหาเคสผู้ป่วย

ในช่วงวันสุดท้ายของการอบรม อาสาสมัครได้แจ้งแล้วว่า ตนเองต้องการเยี่ยมผู้ป่วยในหอผู้ป่วยใด หลังจากนั้นประมาณ 44


๑ สัปดาห์ อาสาสมัครจะนัดแนะกับพยาบาลเพื่อเจอผู้ป่วย โดย คนไข้ที่พิจารณาให้อาสาสมัครเข้าเยี่ยม พยาบาลจะคัดเลือกผู้ป่วยที่ ไม่มีญาติ หรือมีญาติแต่รู้สึกเศร้าซึมต้องการคนให้กำ�ลังใจ อย่างไร ก็ตามการเลือกผู้ป่วยควรคำ�นึงถือการรองรับระบบอาสาสมัครด้วย ดังนี้ • ได้รับการอนุญาตจากผู้ป่วยและญาติว่ายินดีให้อาสาสมัครมา พุดคุยให้กำ�ลังใจ • ผูป ้ ว่ ยอาจไม่สามารถพูดได้แต่ควรสือ่ สารได้ เช่น พยักหน้า เพราะ อาสาสมัครต้องการทำ�ความรู้จักพูดคุยและสร้างสัมพันธภาพ หรือถ้าผู้ป่วยเป็นเด็กทารก อาจเลือกให้พูดคุยกับญาติ • ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ไม่ใช่เป็นผู้ป่วยไปกลับ หากช่วงเวลาสั้นเกินไปอาสาสมัครจะไม่สามารถ สานสัมพันธ์ได้ อีกทั้งการเริ่มต้นใหม่ๆ เป็นช่วง เวลาที่ยากที่สุดในการทำ�ความรู้จักกันและอาจ ทำ�ให้อาสาสมัครท้อได้ • หอผู้ป่วยหนึ่งๆ ควรมีอาสาสมัครเยี่ยมไม่เกิน ๔-๕ เคส เพื่อไม่ให้เกิดความแออัด ซึ่งอาจจะสร้างความลำ�บากใจให้ กับพยาบาลที่มีภาระงานเพิ่มมากขึ้น • ผู้ป่วยไม่มีอาสาสมัครกลุ่มอื่นมาดูแล มิเช่นนั้นผู้ป่วยต้องตอบ ้ มจนเกิดความเบื่อหน่าย ส่วนอาสาสมัครอาจรู้สึก คำ�ถามซำ�เดิ เป็นส่วนเกิน • อาสาสมัครดูแลผู้ป่วยเพียง ๑ คน เพื่อไม่ให้มีภาระหนักจนเกิน ไป หากต้องการดูแลเพิ่มต้องมีการพูดคุยกันก่อน • หากอาสาสมัครไม่มีความมั่นใจว่าดูแลผู้ป่วย ๑ ต่อ ๑ ได้ อาจ จับคู่อาสาสมัคร ๒ คนเยี่ยมผู้ป่วย ๑ คน โดยอาสาสมัครควร การพูดคุยส่งต่อข้อมูลซึ่งกันและกัน หลังจากที่มีความมั่นใจแล้ว ค่อยแยกทำ�เดี่ยว 45


มุมมองที่ต่างกัน ส่วนใหญ่อาสาสมัครเตรียมพร้อมที่จะเผชิญปัญหาความ อึดอัดคับข้องใจจากผูป้ ว่ ย ไม่วา่ จะเป็นความทุกข์จากความ เจ็บป่วยทางกายและใจ และความเครียดกดดันต่าง แต่ส่วนใหญ่ลืม เตรียมใจทีจ่ ะเผชิญกับเจ้าหน้าทีใ่ นโรงพยาบาล เช่น เมือ่ เข้ามาในหอ ผู้ป่วยอาจเจอกับพยาบาลที่หน้าตาบึ้งตึง ก็รู้สึกไม่พอใจ อาสาสมัคร อดรู้สึกไม่ได้ว่าตนเองอุตส่าห์เสียสละเวลามาทำ�สิ่งที่ดีช่วยพยาบาล ดูแลคนไข้ อย่างน้อยก็น่าจะส่งยิ้มให้สักหน่อย ในขณะที่พยาบาลบางคนอาจมีทัศนคติที่มองว่าการดูแล งานอาสาสมัครเป็นงานเพิม่ ทัง้ ทีภ่ าระงานจากคนไข้และงานเอกสาร ก็ล้นมืออยู่มากพอแล้ว ประกอบกับความไม่ไว้วางใจในตัวอาสา สมัคร เกรงว่าอาจเกิดความเสียหายกับคนไข้ และทำ�ให้พยาบาลต้อง รับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจึงควรเปิดพื้นที่รับฟังทั้งสองฝ่าย โดยไม่เข้าข้างฝ่าย ใดฝ่ายหนึ่งมากไป และอาจใช้พื้นที่พูดคุยส่วนตัวไม่ผ่าน การประชุม เพื่อทำ�ให้อาสาสมัครหรือพยาบาลกล้าพูดตรงไปตรงมา รวมทั้งช่วยประสานความรู้สึกดีต่อกัน ทั้งนี้พบว่าการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ เป็นสิ่งยากที่จะทำ�ให้เกิดการยอมรับได้ หากใช้ความอดทนและรอ คอย หลายครั้งพบว่าต่างฝ่ายจะเข้าใจกันเองโดยอัตโนมัติ เมื่อเวลา ผ่านไปอาสาสมัครเห็นภาระงานของพยาบาลทีม่ ากมายจนเกิดความ เข้าใจ และพยาบาลเห็นความทุ่มเทจริงจังของอาสาสมัครที่มาอย่าง สมำ�เสมอและทำ�ด้วยใจจนเกิดความชื่นชม

46


อาสาสมัครไม่ได้มาเยี่ยมผู้ป่วย • • •

กรณีอาสาสมัครหยุดการมาเยี่ยมผู้ป่วยมาจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ ภารกิจทีไ่ ม่แน่นอน โดยเฉพาะคนทำ�งานประเภทฟรีแลนซ์ทำ�ให้ ไม่สามารถกำ�หนดขอบเขตงานได้อย่างชัดเจน ช่ ว งเริ่ ม ต้ น ของการมาเยี่ ย มผู้ ป่ ว ยรู้ สึ ก มี อุ ป สรรคไม่ ว่ า ผู้ ป่ ว ย ไม่พูดคุย พยาบาลมักค่อยต้อนรับ เกิดความท้อแท้ ผูป้ ว่ ยกลับบ้านหรือเสียชีวติ ต้องมีการเปลีย่ นเคส แต่ไม่สามารถ ประสานกับพยาบาลได้ทันที หรือการประสานมีความยุ่งยากผู้ ป่วยเสียชีวิตทำ�ให้เกิดความหดหู่เสียใจ

หากเกิดกรณีเช่นนี้ ส่วนใหญ่อาสาสมัครมีความเป็นไปได้ที่ จะไม่แจ้งผู้ประสานงาน แต่หากมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน และมีทำ�ความเข้าใจล่วงหน้าว่าการหายไปไม่ใช่เรื่องผิด อย่างน้อย ควรชีแ้ จงเพือ่ จะได้ปรับเวลาการเยีย่ มผูป้ ว่ ย หรือปรับปรุงกระบวนการ กับอาสาสมัครเพื่อทำ�ให้การทำ�งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ผู้ป่วยไม่ตอบรับ แม้จะมีขออนุญาตผู้ป่วยว่าจะมีอาสาสมัครเข้าเยี่ยมก่อน แล้ว แต่ครั้นอาสาสมัครไปเยี่ยมผู้ป่วยจริง ผู้ป่วยอาจไม่ ต้อนรับด้วยการหันหน้าไปอีกทาง หรือนอนหลับ ทั้งนี้อาจเกิดจากผู้ ป่วยเกิดความไม่สบายใจ หรือไม่สบายกายจากการหัตถการต่างๆ หรือเหตุผลต่างๆ นานาที่ไม่สามารถอธิบายได้ และแม้มีการเน้น 47


้ บอาสาสมัครว่าอาจเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้วก็ตาม เมื่อเจอ ยำ�กั เหตุการณ์จริงอาสาสมัครไม่อาจยอมรับได้ หากสอบถามที่มาและพบว่าสาเหตุที่ผู้ป่วยเงียบมาจาก ตัวผู้ป่วยเอง ไม่ใช่อาสาสมัคร แต่เพราะอาสาสมัครรู้สึก ้ าหากตลอด ๓ เดือน หากผู้ป่วย อึดอัดทำ�อะไรไม่ถูก อาจเน้นยำ�ว่ ปิดตัวเอง ก็ไม่ถือว่าอาสาสมัครทำ�งานผิดพลาด เพราะสิ่งสำ�คัญ คือการเรียนรู้ดังนั้นให้ถือเหตุการณ์นี้เป็นโอกาสให้ใคร่ครวญจิตใจ ตนเอง หรือแก้ไขด้วยการเสนอพี่เลี้ยงช่วยเหลือ เป็นต้น

ความผูกพันที่มากไป ส่ ว นใหญ่ อ าสาสมั ค รเมื่ อ ผ่ า นการปรั บ ตั ว ช่ ว งแรกกั บ ผู้ป่วยและญาติได้แล้ว สิ่งที่ตามมา คือ เริ่มรู้สึกผูกพัน ยิ่ง ถ้าผู้ป่วยคะยั้นคะยอให้มาบ่อยๆ ยิ่งไม่กล้าปฏิเสธ ส่วนใหญ่มักจะ เกิดกับอาสาสมัครสมัครอายุน้อยๆ เพราะยังวางตัวและวางใจไม่ถูก อาสาสมัครควรพูดตรงๆ กับผู้ป่วยว่าสามารถมาได้ กี่วัน และให้มองว่าอาสาสมัครเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วย รู้สึกดี แต่ผ่านเข้ามาในชีวิตเขาเพียงชั่วคราว แต่หากต้องการช่วย เหลือมากกว่านีส้ ามารถประสานความสัมพันธ์เชือ่ มโยงกับครอบครัว ของผู้ป่วย ก็จะทำ�ให้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างยั่งยืนกว่า

อาสาสมัครรู้สึกทำ�น้อยไป อาสาสมัครบางคนอาจผ่านช่วงเวลาที่ปรับตัวกับผู้ป่วยและ 48


สิ่งรอบข้างได้ยาก แต่บางคนอาจเจอผู้ป่วยยิ้ม แย้ ม และเป็ น คนชวนอาสาสมั ค รพู ด คุ ย ด้ ว ย ความร่าเริงไม่ทุกข์ร้อน ยิ่งไปกว่านั้นผู้ป่วยอาจให้กำ�ลังใจกลับด้วย อาสาสมัครส่วนใหญ่แทนทีจ่ ะดีใจกลับรูส้ กึ ไม่ดี รูส้ กึ ไม่มคี ณ ุ ค่าเพราะ ้ าการ ไม่ได้ทำ�อะไรเพื่อผู้ป่วยเลยแค่มานั่งฟังเฉยๆ ทั้งที่มีการเน้นยำ�ว่ มาครั้งนี้เพื่อการเรียนรู้ก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยและญาติไม่ต้องการให้ใครเห็น ตนเองเศร้า เพราะไม่อยากให้สงสาร มีหลายครั้งพบว่า ผู้ป่วยและญาติลักษณะนี้หลายคนแอบร้องไห้ในที่ลับตาคน หรืออาจ เป็นเพราะยังไม่รู้สึกคุ้นเคยมากพอ อาสาสมัครควรใจเย็นพูดคุยจน เกิดความสนิทสนมก่อน

ของฝากและให้เงิน ้ แม้มีการเน้นยำ�ในช่ วงอบรมแล้วก็ตาม แต่เมื่ออาสาสมัคร เจอสภาพเด็กป่วยที่ค่อนข้างหนักอาจเกิดความสงสารจนทน ไม่ได้ต้องซื้อของให้ บางครั้งเป็นของเล่นขนาดใหญ่และมีราคาแพง ผู้ ประสานควรชวนอาสาสมัครคิดหาทางเลือกที่จะทำ�ให้เด็กได้พัฒนา ร่างกายและจิตใจขึ้นมากกว่าการได้ของ เช่น ทำ�กิจกรรมอื่นที่เด็ก ชอบ นอกจากนี้อาจเสนออาสาสมัครให้นำ�ของเล่นไว้ที่ส่วนกลางจะ เป็นประโยชน์มากกว่า ส่วนกรณีของฝาก อาสาสมัครจะซื้อของฝากเล็กๆ น้อยๆ ให้กับญาติมากกว่าผู้ป่วยเพื่อสร้างสัมพันธภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มี ปัญหาแต่อย่างใด แต่เคยมีกรณีที่เกิดปัญหา เพราะญาติหรือผู้ป่วย บางคนอาจคิดว่าเป็นการลดทอนศักดิ์ศรี บางคนต้องซื้อของตอบแทน อาสาสมัครเพราะเกรงใจทั้งที่ตนเองก็ไม่มีเงิน 49


อย่างไรก็ตามการให้ของฝากที่มากไปอาจส่งผลกระทบ ทำ�ให้อาสาสมัครคนอื่นลำ�บากใจเพราะผู้ป่วยอาจบ่นว่า ทำ�ไมเตียงข้างๆ ได้ของ และตนเองไม่ได้ และอาจส่งผลการเยี่ยม ผู้ป่วยในระยะยาวที่เปลี่ยนจากการมาเป็นเพื่อนให้กำ�ลังใจ เป็นการ สงเคราะห์ให้ของได้ สำ�หรับการให้เงิน มีการจัดระบบรองรับอย่างชัดเจนที่ให้ พยาบาลประสานกับสังคมสงเคราะห์ หากมีค่าใช้จ่ายที่อยู่นอกเหนือ ระบบให้อาสาสมัครเสนอเข้าทีป่ ระชุม เพือ่ ให้เพือ่ นอาสาสมัครทุกคน ช่วยกันพิจารณาว่าจะทำ�อย่างไรต่อไป

การสิ้นสุดการเยี่ยม การสิน้ สุดการเยีย่ มประเภทแรก คือ ผูป้ ว่ ยเสียชีวติ ซึง่ มีความ เป็ นไปได้ ที่ อ าสาสมั ค รอาจเกิ ด ความรู้ สึ ก หดหู่ ซึ ม เศร้ า ทางโครงการจะแนะนำ�ให้อาสาสมัครหยุดพักจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น หากผู้ ป่ ว ยกลั บ บ้ า น อาสาต้ อ งเปลี่ ย นเคสโดยสามารถแจ้ ง กั บ พยาบาลในวันนั้นหรือนัดแนะในวันถัดไป อาสาสมัครส่วนใหญ่ ไม่แน่ใจว่า สามารถแลกเบอร์โทรศัพท์ หรือตามไปเยีย่ มผูป้ ว่ ยทีบ่ า้ น ได้หรือไม่ และเมื่อจบ ๓ เดือนแล้ว อาสาสมัครสามารถเยี่ยมต่อ ได้หรือไม่ จากการทำ�งานในเบือ้ งต้นมีขอ้ เสนอทีอ่ าสาสมัครสามารถ เยี่ยมผู้ป่วยต่อเนื่องหลัง ๓ เดือนได้ ส่วนการให้เบอร์ โทรศัพท์ และการเยีย่ มทีบ่ า้ นนัน้ มีความเป็นไปได้ หากพิจารณาแล้ว ว่าไม่เป็นภาระให้กับอาสาสมัครจนเกินไป

50


ในการทำ�งานในโรงพยาบาล อาสาสมัครส่วนใหญ่ เตรียมพร้อมเปิดใจให้กับผู้ป่วยและญาติ จนลืมนึกถึงบุคคล อื่นรอบข้างไป แต่เมื่ออาสาสมัครตระหนักได้ถึงสิ่งเหล่านี้ ทุก สิ่งก็เป็นการเรียนรู้ และส่งผลสะท้อนกลับถึงบุคลากรในโรง พยาบาลที่ต้องเปลี่ยนมุมมองของตนเองต่ออาสาสมัครและ เรื่องราวรอบข้างเช่นกัน

51



การพัฒนาระบบอาสาสมัคร

จากการทำ�โครงการอาสาข้างเตียง ได้มีการเรียนรู้ผ่านการ ลองถูกผิด การปรับเปลี่ยน การแก้ไขอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงแรก ทำ�งานโดยมุ่งเป้าหมายของการจัดระบบอาสาสมัครดูแลจิตใจผู้ป่วย เรื้อรังและระยะสุดท้ายอย่างมีส่วนร่วมกับโรงพยาบาล เพื่อแบ่งเบา ภาระของพยาบาล และสร้างการเรียนรู้แก่อาสาสมัคร จวบจนบัดนี้ บทเรียนของการทำ�งานสามารถกลั่นมาเป็นองค์ความรู้ เกี่ยวกับ การพัฒนาระบบอาสาสมัครดูแลจิตใจผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย ในโรงพยาบาล โดยมีกระบวนการต่างๆ ดังนี้

กระบวนการสร้างความร่วมมือ

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างเป็นองค์รวม โดยอาศัยทีม สหวิชาชีพภายในโรงพยาบาลก็มกี ารจัดการทีม่ ากมายอยูแ่ ล้ว การทีม่ ี อาสาสมัครซึง่ เป็นบุคคลภายนอกซึง่ ไม่รหู้ ลักการในการดูแลทางการ แพทย์ ความเข้าใจระบบพยาบาล และความเจ็บป่วย ก็ตอ้ งอาศัยเวลา ในการจัดการอย่างยิ่งยวด ทั้งนี้แม้มีผู้ประสานงานกลางที่มีความสามารถในการเชื่อม ประสานจนบุคลากรภายในเกิดความเข้าใจ แต่ความเข้าใจอาจไม่ สามารถพัฒนาระบบอาสาสมัครไปได้อย่างยัง่ ยืน อาจต้องอาศัยการ 53


เปิดพื้นที่ของการมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ • การประชุ ม ที ม ในโรงพยาบาล เพื่ อ รั บ รู้ ค วามเข้ าใจของ โครงการระหว่างทุกฝ่าย มีการกำ�หนดผู้ประสานงานกลาง การ ขอความร่วมมือกับพยาบาลประจำ�หอผู้ป่วย การอนุมัติจากฝ่าย บริหาร และการสร้างระบบการจัดการอาสาสมัครภายในโรง พยาบาล • การออกแบบการจัดหาอาสาสมัคร ระหว่างผู้ประสานงาน กลางกับพยาบาลประจำ�หอผู้ป่วย โดยวางแผนให้สอดคล้องกับ จำ�นวนและสภาพของผู้ป่วยที่อาสาสมัครสามารถมาเยี่ยมต่อ เนื่องได้ • การอบรมอาสาสมัครร่วมกับพยาบาล เพื่อเกิดความเข้าใจ โครงการไปในทิศทางเดียวกัน และเกิดสัมพันธภาพทีด่ ี อันส่งผล ให้อาสาสมัครทำ�งานอย่างมีความเข้าใจต่อกัน • เวทีแลกเปลีย ่ นเดือนละครัง้ ระหว่างอาสาสมัครกับพยาบาล ประจำ�หอผู้ป่วย เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเยี่ยมผู้ป่วย และเสนอแนะร่วมกัน • เวที ส รุ ป จากที ม ในโรงพยาบาล เวที ใ ห้ พ ยาบาลและ ผู้เกี่ยวข้องได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและข้อติดขัด เพื่อ นำ�ไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาระบบอาสาสมัครร่วมกัน

กระบวนการดูแลอาสาสมัคร

แม้ มี ก ระบวนการพู ด คุ ยในเวที แ ลกเปลี่ ย นเดื อ นละครั้ ง แล้วก็ตาม ควรมีกระบวนการเพิ่มเติมเพื่อรองรับให้อาสาสมัคร รู้สึกว่าตนเองไม่ได้เข้ามาในสถานที่แปลกใหม่อย่างโดดเดี่ยวและ ต้องเผชิญปัญหาตามลำ�พังเพียงคนเดียว ด้ ว ยเหตุ นี้ ใ นช่ ว งสุ ด ท้ า ยของการอบรมจะมี ก ารชี้ แ จงให้ 54


อาสาสมัครสามารถติดต่อกับผู้ประสานงานกลางได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอแนะและความอึดอัดคับข้องใจต่างๆ นานา เนื่ อ งจากเรื่ อ งราวบางอย่ า งไม่ ส ามารถบอกกั บ บุ ค คลภายใน โรงพยาบาลได้ และพบว่ า การสื่ อ สารอย่ า งไม่ เ ป็ น ทางการนี้ มีประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง แม้ข้อมูลเป็นเพียงการระบายความ ไม่ พ อใจจากอาสาสมั ค ร แต่ ส่ ว นหนึ่ ง ก็ เ ป็ น ข้ อ เท็ จ จริ ง ที่ ไ ม่ อ าจ มองข้ า มได้ ซึ่ ง อาจสามารถแก้ ไ ขปั ญ หาได้ อ ย่ า งทั น ท่ ว งที ก่ อ น เหตุการณ์บานปลาย รวมทั้งสามารถนำ�ไปพัฒนาระบบอาสาสมัคร ได้ต่อไป

กระบวนการเรียนรู้

ดั ง ที่ ก ล่ า วมาแล้ ว ว่ า อาสาสมั ค รเยี่ ย มผู้ ป่ ว ยในครั้ ง นี้ เ น้ น การเรียนรู้ของอาสาสมัครด้วย เพราะการเรียนรู้จะทำ�ให้อาสาสมัคร มุ่งหันมาทบทวนและใคร่ครวญตนเอง ไม่ได้มุ่งเฉพาะเป้าหมายที่ ตัวผู้ป่วยอย่างเดียว ทั้งนี้กระบวนการเรียนรู้จะใช้เวทีแลกเปลี่ยนในแต่ละเดือน ้ กกับเรือ่ งเชิงบวกและการเรียนรูม้ ากกว่าการให้นำ�หนั ้ ก โดยให้นำ�หนั ปัญหาและอุปสรรค ดังนัน้ ประเด็นทีจ่ ะยกขึน้ มาพูดเป็นอันดับแรกคือ ประสบการณ์ที่ประทับใจ เรื่องที่ได้เรียนรู้ การจัดรูปแบบในลักษณะนี้เพราะเคยมีบทเรียนจากการจัด เวทีประชุมแลกเปลี่ยนที่เน้นสะท้อนปัญหาระหว่างคนทำ�งานเกินไป จนกลับกลายเป็นความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นการตำ�หนิ ทำ�ให้พยาบาล เกิดการตั้งแง่ไม่พอใจ และเกิดปฏิกิริยาเฉยเมย ส่วนอาสาสมัคร ก็เกิดความไม่เข้าใจ ด้วยเหตุนี้การพูดคุยแลกเปลี่ยนอาจต้องเปิด พื้นที่มีส่วนร่วมด้วยท่าทีที่เป็นเพื่อน และจังหวะที่เหมาะสม การพูดเรื่องดีๆ จะทำ�ให้เกิดความรู้สึกดีต่อกลุ่ม และไม่ใช้ 55


พลังหมดไปกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความโกรธเคือง หลัง จากนัน้ จึงให้อาสาสมัครพูดถึงปัญหาและอุปสรรค และให้อาสาสมัคร และพยาบาลช่วยกันระดมความคิดเห็นถึงสาเหตุและแนวทางแก้ไข ที่เป็นไปได้ ซึ่งถือเป็นกระบวนการเรียนรู้ในการทำ�งานร่วมกัน นอกจากนี้กระบวนการเรียนรู้อีกประเภทหนึ่ง คือ เรื่องเล่า ซึ่งสามารถนำ�เรื่องเล่าไปเผยแพร่หรือจัดเป็นเวทีเพื่อทำ�ให้บุคลากร ในโรงพยาบาลได้รับรู้ข้อมูล และมีผลต่อการยอมรับอาสาสมัคร มากขึ้นได้เช่นกัน

กระบวนการสร้างความต่อเนื่อง

หลังจากการเยีย่ มผูป้ ว่ ย ๓ เดือน มีอาสาสมัคร ๒-๓ คน จาก ๑๕ คน แจ้งความจำ�นงที่เยี่ยมผู้ป่วยต่อ แต่พบว่าอาสาสมัครเยี่ยม ผู้ป่วยไปได้ไม่นานก็หยุดพักไป ทางโครงการมาพบภายหลังว่า อาสาสมัครต้องการให้มีกระบวนการดูแลอาสาสมัครและเรียนรู้ ร่วมกันด้วย ไม่ใช่เฉพาะการเยี่ยมผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้ในการรับสมัครอาสาสมัครแต่ละรุ่นจึงเปิดพื้นที่ ให้อาสาสมัครรุ่นเก่าเข้ามาร่วมกิจกรรมตั้งแต่วันอบรมในวันที่สอง เพื่อทำ�ความรู้จักกับอาสาสมัครใหม่และพยาบาล รวมทั้งเลือก หอผู้ป่วยอีกครั้ง ซึ่งพบว่าทำ�ให้อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการได้บ่อย และนานขึ้น ซึ่งตรงกับความต้องการของโรงพยาบาลที่ไม่ได้เพียง ต้องการแต่อาสาสมัครหน้าใหม่ๆ เสมอไป นอกจากนี้ อ าสาสมั ค รรุ่ น เก่ า ๆ เมื่ อ เวลาผ่ า นไปจะเป็ น อาสาสมัครเจ้าประจำ�ให้กับโรงพยาบาลหรือเป็น วิทยากรจัดกิจกรรมที่เขาเชี่ยวชาญให้กับบุคลากร ทางการแพทย์ หรือให้การสนับสนุนในด้านทุน ทรัพย์และอุปกรณ์ นอกจากนี้อาจมีการรวมตัว 56


ทำ�กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่างๆ ให้กับผู้ป่วยและโรงพยาบาลได้ ซึ่ง ผู้ประสานงานควรใช้โอกาสนี้เปิดพื้นที่ให้อาสาสมัครได้ออกแบบ กิจกรรมร่วมกับพยาบาล ซึ่งในอนาคตจะกลายเป็นเครือข่ายที่มีส่วน ร่วมกันระหว่างอาสาสมัครและบุคลากรในโรงพยาบาลต่อไป

กระบวนการพัฒนาหลักสูตร

ดังที่กล่าวมาแล้วในบทของการอบรมซึ่งมีหลักสูตรว่าด้วย การเข้าใจความทุกข์กายและใจของผูป้ ว่ ย บทบาทสมมติ ทักษะการรับ ฟังอย่างลึกซึง้ การทำ�งานเป็นทีม และระบบในโรงพยาบาล ซึง่ รูปแบบ ในการจัดการเรียนรู้ใช้กิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรงมากกว่าการ บรรยาย อย่างไรก็ตามเนือ้ หาและรูปแบบของหลักสูตรสามารถนำ�ไป ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม โดยคำ�นึงถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น หากใช้กับกลุ่ม อสม. ที่ผ่านการดูแลผู้ป่วยมาแล้ว ในกิจกรรมแรกๆ อาจให้เล่าเรื่องประสบการณ์เยี่ยมผู้ป่วยที่ผ่านมา เป็นต้น ทั้ ง นี้ ก ารปรั บ กระบวนการพั ฒ นาหลั ก สู ต รควรมี ก ารขอ ความคิดเห็นจากทั้งพยาบาลและอาสาสมัคร และ อาจเปิดพื้นที่ ให้บุคลากรทางโรงพยาบาลที่สนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการจัด กิจกรรมอบรมด้วย

การประเมินและข้อเสนอเชิงนโยบาย

การประเมินผลอาจเป็นค้นหาการเรียนรูข้ องอาสาสมัครและ พยาบาล ความพึงพอใจของพยาบาลหรือผู้ป่วยที่มีต่ออาสาสมัคร อย่างไรก็ตามข้อมูลจากการประเมินเหล่านี้หากนำ�มาสังเคราะห์ สามารถเป็นข้อเท็จจริงที่นำ�เสนอต่อฝ่ายบริหาร เพื่อผลักดันงาน อาสาสมัครให้เป็นที่ยอมรับได้ในโรงพยาบาล รวมทั้งการเกิดความ ร่วมมือของบุคลากรที่เพิ่มขึ้น หรือแม้แต่การจัดสรรงบประมาณ 57


ระบบหรื อโครงสร้ า งที่ ใ หญ่ โ ต ก็ เ ริ่ ม มาจากคน ตัวเล็กๆ ที่มีใจที่ยิ่งใหญ่ แต่อาศัยการเปิดกว้างและใช้ความ อดทนพยายามรับฟังเพือ่ เกิดพืน ้ ที่และความร่วมมือ ซึ่งเมื่อ เกิดเป็นระบบที่มีความคล่องตัวแล้ว พื้นที่นี้จึงไม่ใช่ของใคร คนใดคนหนึง่ แต่เป็นของทุกคนทีส่ ามารถจะสร้างสรรค์เพือ่ ประโยชน์ของผู้ป่วย และการเรียนรู้ของคนทำ�งานต่อไป

58


59



บทบาทของผู้ประสานงาน

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วบทเรียนจากโครงการอาสาข้างเตียง บทบาทผู้ประสานงานมี ๒ คน คือผู้ประสานงานจากโรงพยาบาล ทำ�หน้ า ที่ เ ป็ น ผู้ ป ระสานงานกั บ องค์ ก รภายนอกในฐานะภาคี เครือข่าย และเชื่อมพยาบาลประจำ�หอผู้ป่วยกับอาสาสมัครและ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งเป็นผู้คอยดูแลให้กระบวนการต่างๆ สามารถดำ�เนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง คล่องตัว ส่วนเจ้าหน้าที่จากเครือข่ายพุทธิกาทำ�หน้าที่เชื่อมประสาน ความเข้าใจระหว่างอาสาสมัครกับโรงพยาบาลโดยเฉพาะการรับฟัง ความอึดอัดคับข้องใจ เนือ่ งจากเรือ่ งราวบางอย่างไม่สามารถบอกกับ บุคคลภายในโรงพยาบาลได้ อย่างไรก็ตามก็มีความเป็นไปได้ที่จะผสมผสานบทบาทของ ผู้ประสานทั้งสองในคนเดียวกัน และเป็นบุคลากรในโรงพยาบาล เพียงแต่บุคคลนั้นควรมีทักษะ ดังนี้ • มีความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย • ให้ ค วามสำ�คั ญ ของการทำ�งานเป็ น ที ม เห็ น อาสาสมั ค ร เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลผู้ป่วยในด้านจิตใจ และเปิดพื้นที่ ให้ทกุ ส่วนมีสว่ นร่วม โดยทำ�งานในลักษณะภาคีเครือข่ายกับ องค์กรภายนอก และทำ�งานกับทีมในแนวระนาบอย่างเพื่อน 61


ร่วมงาน ไม่ใช่การสั่งการในลักษณะ แนวดิ่ง • เปิ ด พื้ น ที่ ป ลอดภั ยในการรั บ ฟั ง หมายถึงการเปิดโอกาสให้อาสาและ พยาบาลได้พูดเรื่องราวที่อึดอัดคับข้อ งแม้ เ ป็ น เรื่ อ งเล็ ก น้ อ ย เพราะบางครั้ ง ปั ญ หาเล็ ก น้ อ ยอาจก่ อ ตั ว สะสมหมั ก หมมจน กลายเป็นปัญหาใหญ่โตและยากแก้ไขได้ หรือเปิดพืน้ ทีใ่ ห้อาสา เล่าในสิ่งที่ตนเองทำ�ผิดพลาดไป บางครั้งอาจเพียงรับรู้ไม่ต่อว่า แต่ที่สำ�คัญให้เน้นการทำ�งานอย่างมีส่วนร่วมเมื่อต้องตัดสินใจ อะไร •

หากเรื่องเล่านั้นมีความเป็นไปได้ว่าเป็นปัญหาในระยะยาว เช่น ผู้ป่วยไม่พอใจแพทย์หรือพยาบาลซึ่งอาจก่อให้เกิดกรณีฟ้องร้อง ผูป้ ระสานควรตรวจสอบข้อเท็จจริงของประเด็นทีม่ าของความขัด แย้งอย่างระมัดระวัง ซึ่งอาจเป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ หรือพูดคุยทั่วไป หรือใช้การสังเกต เมื่อแน่ใจแล้วจึงดำ�เนินการ แก้ไขต่อไป

มองความขัดแย้งว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น และสามารถสร้างสมดุลได้เพราะความขัดแย้งในมุมหนึ่งก็เป็น วัตถุดิบในการเรียนรู้ของอาสาสมัครและผู้ประสานงานได้ ดัง นัน้ การมองเห็นว่าอึดอัดขัดข้องเป็นการเรียนรูจ้ งึ ประเด็นสำ�คัญ หนึ่งในการทำ�งานด้วยเช่นกัน

ไม่ลืมที่จะดูแลตนเอง และหมั่นเติมพลังชีวิตให้ตนเองอย่าง ่ สมำ�เสมอ

62


อาจกล่าวได้ว่าผู้ประสานงานทำ�หน้าที่เชื่อมประสาน และในขณะเดี ย วกั น ก็ ทำ � หน้ า ที่ เ ป็ น แนวกั น ชนระหว่ า ง กลุ่มต่างๆ อันได้แก่ บุคลากรในโรงพยาบาล ผู้ป่วยและ อาสาสมัคร สิ่งหนึ่งที่ต้องระวังคือไม่ให้กันชนนี้ไปชนใคร ก่อน และไม่ตกอยู่ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งเสียเอง

63



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.