คู่มือการทำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

Page 1


คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญา ในผู้ป่วยระยะท้าย

����������������������������������.indd 1

9/12/16 6:55 PM


คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญา ในผู้ป่วยระยะท้าย ผู้เขียน พิสูจน์อักษร ภาพประกอบและภาพปก ออกแบบปกและรูปเล่ม

พระวิชิต ธัมมชิโต ศรินธร รัตน์เจริญขจร อมรรัตน์ พุฒเจริญ โลลุทายี ’กาล

จ�ำนวนพิมพ์ พิมพ์ครั้งแรก

๑,๐๐๐ เล่ม สิงหาคม ๒๕๕๙

จัดพิมพ์โดย

โครงการขับเคลื่อนมิติสุขภาวะทางปัญญาผ่านการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เครือข่ายพุทธิกา ๔๕/๔ ซ.อรุณอมรินทร์ ๓๙ ถ.อรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐๒-๘๘๖-๐๘๖๓, ๐๒-๘๘๒-๔๓๘๗, ๐๘๖-๓๐๐-๕๔๕๘ โทรสาร ๐๒-๘๘๒-๕๐๔๓ เว็บไซต์ www.budnet.org สนับสนุนโดย

ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

����������������������������������.indd 2

9/12/16 6:55 PM


ค�ำน�ำ เครือข่ายพุทธิกาขับเคลื่อนงานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบ ประคับประคองโดยชุมชนมีส่วนร่วมมาหลายปี โดยเริ่มจากโครงการ ส่ ง เสริ ม บทบาทพระสงฆ์ โรงพยาบาลและชุ ม ชนในการเยี ย วยา ผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย (๒๕๕๔–๒๕๕๖) และท�ำงานระยะที่ สองในโครงการขับเคลื่อนมิติสุขภาวะทางปัญญาผ่านการดูแลผู้ป่วย ระยะสุดท้าย (๒๕๕๗–๒๕๕๙) ซึ่งมีความมุ่งหวังส�ำคัญ คือ การมี ระบบสุขภาพที่เอื้อต่อการตายดี จากประสบการณ์การท�ำงานตลอดระยะเวลาดังกล่าว โครงการ ระยะที่สองจึงรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ส�ำหรับบุคลากรสุขภาพ หรือผู้สนใจงานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง จัดท�ำ เป็นคู่มือ โดยเน้นที่การท�ำงานเป็นทีมผู้ดูแล และการดูแลสุขภาวะ ทางปั ญ ญา ด้ ว ยเหตุ ผ ลส� ำ คั ญ คื อ การดู แ ลสุ ข ภาพผู ้ ป ่ ว ยระยะ สุดท้ายให้ครอบคลุมทุกมิติสุขภาวะนั้นเป็นเรื่องไม่ง่าย ประกอบกับ ภาระงานล้นมือของพยาบาลและบุคลากรสุขภาพ จึงท�ำให้เกิดการ ทดลองท�ำงานโดยเปิดโอกาสให้พระสงฆ์และจิตอาสาเข้าร่วมเป็น ส่วนหนึ่งของทีมผู้ดูแล ซึ่งพบว่า กลไกเสริมทีมทั้งสองส่วน มีบทบาท หนุนเสริมการดูแลได้ครอบคลุมทุกมิติสุขภาวะ กล่าวคือ พระสงฆ์ เป็นผู้น้อมน�ำหลักธรรมเข้ามาช่วยดูแลทั้งมิติจิตใจและปัญญาให้กับ ผู้ป่วย ส่วนจิตอาสาจะมีบทบาทส�ำคัญในการช่วยเหลือด้านสังคม

����������������������������������.indd 3

9/12/16 6:55 PM


และชุ ม ชน ทั้ ง นี้ โ ดยมิ ไ ด้ ล ะเลยมิ ติ สุ ข ภาพทางกายซึ่ ง บุ ค ลากร สุขภาพมีความรู้ความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว เนื่องด้วยสุขภาวะทางปัญญาเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ ในแวดวงสุขภาพ แต่ด้วยความเป็นนามธรรมของมิติด้านนี้ ท�ำให้ ยั ง ไม่ มี แ นวทางการดู แ ลที่ ชั ด เจน คู ่ มื อ เล่ ม นี้ จึ ง มี จุ ด เน้ น ในเรื่ อ ง ดังกล่าว เพื่อน�ำเสนอเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้ปฏิบัติเรียนรู้และ ทดลองน�ำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ โครงการฯ ตระหนักดีว่าสุขภาวะทางปัญญา มิได้จ�ำกัดการดูแล ด้วยหลักธรรมในพุทธศาสนาเท่านั้น แต่สุขภาวะทางปัญญา หรือ ความสุขใจ ดูแลได้ด้วยหลักธรรมของทุกศาสนา ความเชื่อ หรือ เครื่องมืออื่นใดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกัน แต่ด้วย โครงการฯ มีประสบการณ์การท�ำงานร่วมกับพระสงฆ์เป็นหลัก จึง รวบรวมแนวทางการท�ำงานเฉพาะด้านนี้ไว้ ส�ำหรับผู้ปฏิบัติที่พบ ผู้ป่วยนับถือศาสนาอื่น หรือมีความเชื่อต่างไป อาจหารือผู้น�ำทาง ศาสนา หรือผู้น�ำชุมชนในพื้นที่จะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการดูแล สุขภาวะทางปัญญาผู้ป่วยระยะท้าย บทแรกของคู่มือเป็นการน�ำเสนอให้เห็นคุณค่าของสุขภาวะ ทางปัญญาว่ามีผลต่อผู้ป่วยระยะท้ายอย่างไร ซึ่งมีเอกสารงานวิจัย จ�ำนวนมากที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าความส�ำคัญของสุขภาวะทาง

����������������������������������.indd 4

9/12/16 6:55 PM


ปั ญ ญา (หรื อ จิ ต วิ ญ ญาณ) และแม้ จ ะเป็ น นามธรรมแต่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ พัฒนาและประเมินได้ เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นว่าการดูแลให้ครอบคลุมถึง มิติสุขภาวะทางปัญญาส�ำคัญอย่างไร อาจเป็นการจุดประกายให้มี พลังเริ่มต้นลงมือท�ำและขับเคลื่อนงานต่อเนื่องได้ บทที่ ๒ จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีแนวทางในการท�ำงานอย่างเป็น ระบบ ด้ ว ยรู ป แบบโครงสร้ า งและกลไกการท� ำ งาน ซึ่ ง เป็ น การ รวบรวมจากประสบการณ์การท�ำงานเป็นทีมของเครือข่ายที่ร่วมงาน กับโครงการฯ ท�ำให้เห็นว่ามีปัจจัยเกื้อหนุนและข้อจ�ำกัดเกิดขึ้นได้ ในการขับเคลื่อนงานทุกอย่าง ขณะเดียวกันก็จะเห็นว่ายังมีโอกาส และตัวอย่างประสบการณ์จากพืน้ ทีอ่ นื่ ซึง่ เริม่ ต้นงานก่อนให้ได้เรียนรู้ ส�ำหรับบทที่ ๓ เป็นรายละเอียดของการท�ำงานดูแลผู้ป่วย ระยะท้ายอย่างครอบคลุม ตั้งแต่เริ่มต้นพบผู้ป่วยจนกระทั่งผู้ป่วย เสียชีวิตว่าควรท�ำอะไร แค่ไหน อย่างไรบ้าง โดยมีตัวอย่างของค�ำพูด ที่น่าสนใจน�ำไปปรับใช้ในการดูแล เพราะบางครั้งบุคลากรสุขภาพ อาจขาดความมั่นใจ หรือไม่รู้จะเริ่มต้นสนทนากับผู้ป่วยและญาติ อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแนะน�ำเรื่องการน�ำทางส�ำหรับผู้ป่วย ที่ใกล้เสียชีวิตว่าควรพูดและวางบทบาทเช่นไร หรือการดูแลพระสงฆ์ อาพาธควรปฏิบัติอย่างไร รวมทั้งไม่ลืมที่จะกลับมาดูแลจิตใจตนเอง และทีมงานหลังดูแลผู้ป่วย

����������������������������������.indd 5

9/12/16 6:55 PM


ส่วนบทที่ ๔ และ ๕ เป็นการกล่าวถึงอีกสองกลไกส�ำคัญของ ทีมดูแล คือ พระสงฆ์และจิตอาสา การนิมนต์พระสงฆ์ร่วมงานไม่ใช่ เรื่องยาก หากรู้แนวทางและวัตรปฏิบัติของท่านซึ่งมีรายละเอียด ส�ำคัญรวบรวมไว้ในบทที่ ๔ รวมทั้งการท�ำงานร่วมกับจิตอาสาซึ่งมี บทบาทส�ำคัญเช่นกัน จิตอาสาเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนงาน ดูแลผู้ป่วยในชุมชนได้อย่างราบรื่นขึ้น ดังมีรายละเอียดกล่าวไว้ใน บทที่ ๕ ดั ง ที่ ก ล่ า วแล้ ว ว่ า การดู แ ลสุ ข ภาวะทางปั ญ ญาเป็ น เรื่ อ งที่ ค่อนข้างนามธรรม ขณะเดียวกันการท�ำงานก็ต้องการผลส�ำเร็จ จึง จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี ก ารประเมิ น เพื่ อ รายงานผลการท� ำ งาน ดั ง นั้ น คู ่ มื อ จึงได้น�ำเสนอตัวอย่างของแบบประเมินสุขภาวะทางปัญญาผู้ป่วย ระยะท้ายไว้ในภาคผนวก ซึ่งสามารถน�ำไปผสมผสานให้เหมาะสม และปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้โดยอิสระ การดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย เปรียบเสมือน การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความตายให้ผู้ป่วยนั่นเอง อีกทั้ง ยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติได้ฝึกฝนและเรียนรู้ที่จะเตรียมตัวตายได้เช่นกัน ดังค�ำกล่าวที่ว่า ความตายนั้นไม่น่ากลัว แต่ความกลัวตายต่างหาก ส�ำคัญกว่า เพราะเราไม่รู้ว่าความตายเป็นอย่างไร เราจึงหวาดกลัว

����������������������������������.indd 6

9/12/16 6:55 PM


แต่ถ้าเราได้เตรียมตัวเตรียมใจ ดูแลสุขภาวะทางปัญญาของตนเอง และผู้ป่วย เตรียมพร้อมยอมรับความตาย ก็จะเป็นโอกาสให้ทั้งเรา และผู้ป่วยได้ตายอย่างสงบ หรือตายดีได้ โครงการฯ ขอขอบพระคุณแพทย์ พยาบาล บุคลากรสุขภาพ และภิกษุสงฆ์ ที่มีความรู้และประสบการณ์ในงานดูแลผู้ป่วยแบบ ประคับประคองทุกท่านที่กรุณาสละเวลาอ่านคู่มือฉบับร่างและให้ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์น�ำมาปรับเนื้อหาให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ยิ่งขึ้น หากมีข้อผิดพลาดประการใด โครงการฯ ขอน้อมรับ ไว้ทั้งหมด

����������������������������������.indd 7

ศรินธร รัตน์เจริญขจร โครงการขับเคลื่อนมิติสุขภาวะทางปัญญา ผ่านการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย วันพระ แรม ๑๕ ค�่ำ เดือน ๘ สิงหาคม ๒๕๕๙

9/12/16 6:55 PM


สารบัญ

บทที่ ๑ หลักคิดในการดูแลสุขภาวะทางปัญญา • สุขภาวะทางปัญญา : ความเป็นมาและความหมาย • ความหมายของสุขภาวะทางปัญญา • คุณค่าของสุขภาวะทางปัญญาต่อสุขภาพ • คุณค่าของสุขภาวะทางปัญญาต่อผู้ป่วยระยะท้าย • หลักคิดในการขับเคลื่อนงานสุขภาวะทางปัญญา ในผู้ป่วยระยะท้าย • บทสรุป

๑๓ ๑๔ ๑๘ ๒๑ ๒๘ ๓๐

บทที่ ๒ การจัดระบบ โครงสร้าง และกลไกการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญา • โครงสร้างและการจัดการตามลักษณะการท�ำงาน • กรณีศึกษาการท�ำงานดูแลผู้ป่วยระยะท้าย • การจัดการภารกิจที่ได้รับมอบหมาย • การแทรกมิติทางปัญญาในงาน • การบันทึกผลงาน ตรวจสอบ ประเมินผล และพัฒนางาน • บทสรุป

๓๙

����������������������������������.indd 8

๓๗

๔๐ ๕๑ ๖๑ ๖๕ ๖๘ ๗๗

9/12/16 6:55 PM


บทที่ ๓ แนวทางการดูแลสุขภาวะทางปัญญา ในผู้ป่วยระยะท้าย • การเตรียมตัวก่อนเยี่ยมผู้ป่วย • การท�ำความรู้จัก/เข้าใจผู้ป่วย • เทคนิคเมื่อเข้าพบผู้ป่วย • การประเมินระดับสุขภาวะทางปัญญา • การพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาตามพื้นฐานของผู้ป่วย • การตายของผู้มีสุขภาวะทางปัญญา • การน�ำทางในช่วงท้ายแห่งชีวิต • การจัดการหลังผู้ป่วยสิ้นชีวิต • การดูแลผู้ป่วยที่ร่างกายถูกกระทบกระเทือนรุนแรง • การดูแลญาติผู้ป่วย • การดูแลภิกษุอาพาธระยะท้าย • การเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน • การดูแลจิตใจตนเองและทีมงาน • บทสรุป

����������������������������������.indd 9

๗๙ ๘๐ ๘๕ ๘๘ ๑๐๙ ๑๑๔ ๑๓๑ ๑๓๕ ๑๔๘ ๑๕๓ ๑๕๖ ๑๖๐ ๑๖๕ ๑๖๙ ๑๗๑

9/12/16 6:55 PM


บทที่ ๔ การร่วมงานกับพระภิกษุ • ตระหนักในคุณค่าของพระภิกษุ • วิถีของพระ • ขั้นตอนการประสานงาน • การเตรียมรับรองพระ • บทบาทของพระ ในการดูแลสุขภาวะทางปัญญาผู้ป่วยระยะท้าย • บทสรุป

๑๗๓ ๑๗๔ ๑๗๖ ๑๘๓ ๑๘๖ ๑๙๖

บทที่ ๕ บทบาทจิตอาสาและองค์กรชุมชน ในการดูแลสุขภาวะทางปัญญา • ใครควรเป็นจิตอาสา • กิจกรรมที่จิตอาสาช่วยดูแลผู้ป่วย • การประสานงานกับองค์กรชุมชนและองค์กรอื่นๆ • บทสรุป

๒๐๕

����������������������������������.indd 10

๒๐๓

๒๐๖ ๒๑๑ ๒๑๖ ๒๑๘

9/12/16 6:55 PM


ภาคผนวก ๒๒๐ • ตัวอย่างแบบบันทึกการดูแลผู้ป่วย ๒๒๑ • ตัวอย่างตารางสรุปผลการประเมินมิติทางสังคม/ปัญญา ๒๒๒ • ตัวอย่างแบบบันทึกกิจกรรมการดูแลทางปัญญา ๒๒๔ • ตัวอย่างบันทึกการดูแลประจ�ำวัน, ๒๒๖ บันทึกสรุปการดูแลประจ�ำสัปดาห์ • ตัวอย่างบันทึกกิจกรรมเพื่อปิดการดูแล ๒๒๗ • ตัวอย่างแบบประเมินระดับสุขภาวะทางปัญญา ๒๒๘ ของผู้ป่วยระยะท้าย • ตัวอย่างบันทึกข้อมูลผู้ดูแลหลัก ๒๓๒ • ตัวอย่างแบบบันทึกการดูแลจิตใจของญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วย ๒๓๓ • ตัวอย่างแบบประเมินระดับสุขภาวะทางปัญญา ๒๓๔ ของญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย • ตัวอย่างแบบประเมินความพึงพอใจ ๒๓๘ ในการรับบริการของผู้ป่วย/ญาติ

����������������������������������.indd 11

9/12/16 6:55 PM


����������������������������������.indd 12

9/12/16 6:55 PM


บ ท ที่ ๑

หลักคิดในการดูแลสุขภาวะทางปัญญา

การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่อาศัยศาสตร์ และศิลป์หลายด้านมาประยุกต์ใช้ร่วมกันเพื่อปรับให้เหมาะสมกับ ผู้ป่วยแต่ละราย นับเป็นจังหวะดีที่ปัจจุบันวงการสุขภาพได้ให้ความ ส�ำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น มีการจัดประชุมวิชาการ ให้ความรู้ และ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การท�ำงานจากในพื้นที่ จัดอบรมทั้งหลักสูตร ระยะสั้น และระยะยาว เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญในการท�ำงาน ด้ า นนี้ ใ ห้ กั บ แพทย์ พยาบาล และบุ ค ลากรสุ ข ภาพอย่ า งจริ ง จั ง ในด้านระบบมีการจัดท�ำเป็นยุทธศาสตร์แห่งชาติเพื่อการขับเคลื่อน ประเด็นการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิตขึ้นโดยตรง อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในระดับ พืน้ ทีไ่ ม่วา่ จะเป็นในโรงพยาบาลหรือในชุมชน ต้องอิงอาศัยความพร้อม ในด้านต่างๆ ผนวกกับองค์ความรู้ กระบวนการท�ำงาน และแนวทาง การจัดระบบการท�ำงานตามโครงสร้างและทรัพยากรที่มีอยู่ ในบทนี้ จะกล่าวเน้นเฉพาะองค์ความรู้ในส่วนของหลักคิดและแนวทางการ ดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้ายและญาติ

����������������������������������.indd 13

9/12/16 6:55 PM


14

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

สุขภาวะทางปัญญา : ความเป็นมาและความหมาย สุขภาวะทางปัญญาเป็นค�ำทีไ่ ด้รบั การบัญญัตอิ ย่างเป็นทางการ ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ แทนค�ำว่า Spiritual Well-being ซึ่งเป็นค�ำที่องค์การอนามัยโลก หยิบยกมาพิจารณากันอย่างกว้างขวางในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๐ และได้ สร้างความตระหนักในเรือ่ งนีแ้ ก่วงการสุขภาพทัว่ โลกรวมถึงประเทศไทย ด้วย ระยะแรกก่อนที่จะบัญญัติค�ำว่าสุขภาวะทางปัญญา นักวิชาการ ไทยรวมทัง้ คนในวงการสุขภาพได้แปลค�ำนีว้ า่ “สุขภาวะทางจิตวิญญาณ” จนคุ้นเคยกันในวงกว้าง แต่ก็ได้รับการทักท้วงในด้านความหมาย ที่ไม่สื่อถึงเนื้อหาของค�ำเท่าที่ควร รวมทั้งอาจสร้างความสับสนหรือ เข้าใจผิดพลาดไปได้ เพราะสังคมไทยคุ้นเคยกับการใช้ค�ำว่า “จิต” และ “วิญญาณ” ในความหมายเดิมอยู่แล้ว ส่วนเนื้อหาที่ต้องการ สื่อไปถึงก็มีค�ำที่ตรงกว่าอยู่แล้วคือ “ปัญญา”๑ ในที่สุดพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ได้ให้ นิยามความหมายของสุขภาพไว้วา่ “ภาวะของมนุษย์ทสี่ มบูรณ์ทงั้ ทาง กาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม อย่างสมดุล” และได้ให้ความหมายของ “ปัญญา” ไว้ดว้ ยว่าคือ “ความ รู้ทั่ว รู้เท่าทัน และความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดี ๑

ศึกษาความเป็นมาในการบัญญัติคำ�ว่าปัญญาได้ใน สุขภาพทางจิตวิญญาณ : สุขภาพทางปัญญา รวบรวมความรู้ มุมมอง และความเห็นของปราชญ์แห่ง สั ง คมไทย สำ�นักงานปฏิรูประบบสุขภาพ (สปรส.) (๒๕๔๕) (http://www. openbase.in.th/files/9281-A-W3.pdf)

����������������������������������.indd 14

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

15

ความชั่ว ความมีประโยชน์ และความมีโทษ ซึ่งน�ำไปสู่ความมีจิตใจ อั น ดี ง ามและเอื้ อ เฟื ้ อ เผื่ อ แผ่ ” ซึ่ ง อาจยั ง คงท� ำ ให้ มี ค วามรู ้ สึ ก ว่ า ไม่ชัดเจนอยู่พอควร ทั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเมื่อบัญญัติค�ำขึ้นใช้เป็น ภาษาไทยเท่านั้น แต่โดยความหมายของ Spiritual Well-being หรือ Spiritual Health นั้นเอง ก็มีความหมายที่แตกต่างกันไปตาม สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความแตกต่าง ในความเชื่อทางศาสนาของแต่ละท้องถิ่น ไม่สามารถให้ค�ำนิยาม และหามาตรวัดออกมาได้อย่างชัดเจน ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี ได้อธิบายขยายความสุขภาวะ ทางปัญญาไว้วา่ ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๔ ด้าน๒ คือ ปัญญารูร้ อบ รู้เท่าทัน ปัญญาท�ำเป็น ปัญญาอยู่ร่วมกันเป็น และปัญญาบรรลุ อิสรภาพ โดยปัญญารู้รอบรู้เท่าทันนั้นท�ำให้เกิดความสุขจากการ หลุดพ้นความบีบคั้นของความไม่รู้ ความเห็นผิด จึงมีความสงบและ มีความสุขอยู่ในตัว รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ปัญญาท�ำเป็น เป็นปัญญาที่ เกิดจากการลงมือท�ำและท�ำเป็น เป็นการเรียนรู้จากการท�ำ และเกิด ปัญญาที่ท�ำให้ท�ำได้ดี ปัญญาอยู่ร่วมกันเป็น ได้แก่ปัญญาที่ค�ำนึงถึง การอยู่ร่วมกัน ไม่ใช่ตัวใครตัวมันเป็นเอกเทศ สามารถสร้างความ สัมพันธ์ที่ดีในทุกระดับ รวมตัวร่วมคิดร่วมท�ำเป็นชุมชนเข้มแข็งได้ ๒

ศึกษารายละเอียดในบทความเรื่อง สุขภาวะทางปัญญา โดย ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี แผนงานพั ฒ นาจิ ต เพื่ อ สุ ข ภาพ มู ล นิ ธิ ส ดศรี - สฤษดิ์ ว งศ์ สนั บ สนุ น โดย สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตีพิมพ์ในมติชนรายวัน ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ (www.budnet.org/file/goodness/doc/7.doc)

����������������������������������.indd 15

9/12/16 6:55 PM


16

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ส่วนปัญญาบรรลุอิสรภาพ เป็นปัญญาเครื่องออกจากทุกข์ ท�ำให้ มีอิสรภาพออกจากความบีบคั้นโดยสิ้นเชิง มีความสุขอย่างยิ่ง เป็น วิมุตติสุข เมื่อพูดถึงความเจ็บป่วย ท่านอาจารย์พุทธทาส๓ ท่านแบ่งโรค ออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ โรคทางกาย โรคทางจิต และโรคทางวิญญาณ โดยโรคทางกายนั้นคนส่วนใหญ่เข้าใจตรงกันแล้วว่าหมายถึงอะไร ส่วนโรคทางจิตนั้นท่านให้รายละเอียดว่าคือกลุ่มโรคที่รักษากันที่ โรงพยาบาลโรคจิ ต ส่ ว นโรคทางวิ ญ ญาณนั้ น ต้ อ งรั ก ษากั น ที่ โรงพยาบาลของพระพุทธเจ้า คือมีธรรมะ ถ้าขาดสติและปัญญาแล้ว โรคในทางวิญญาณก็จะเกิดขึ้น ความรู้หรือปัญญาจะไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่มีสติ เพราะฉะนั้นเราจะต้องสนใจพร้อมกันทั้งสองอย่างคือมี ปั ญ ญาและสติ เพื่ อ จะก� ำ จั ด โรคในทางวิ ญ ญาณ คื อ ถ้ า มี ป ั ญ ญา ระบบปัญญาถูกต้องไม่มีโรคแล้ว ระบบกายและระบบจิตจะพลอย ถูกต้องไปด้วย พระไพศาล วิสาโล๔ ได้จ�ำแนกแง่มุมของสุขภาพให้เห็นได้ ง่ า ยๆ ว่ า “สุ ข ภาวะมี อ ย่ า งน้ อ ย ๓ ด้ า น คื อ สุ ข ภาวะทางกาย ๓

ศึ ก ษารายละเอี ย ดในธรรมบรรยายเรื่ อ ง ธรรมะกั บ สุ ข ภาพอนามั ย ที่ ดี ใน พุทธทาสภิกขุ ธรรมะกับสุขภาพ ความมีสุขภาพอนามัยทางจิตใจที่ดี ธรรมสภา ๒๕๔๔ ๔ พระไพศาล วิสาโล สุขแท้ด้วยปัญญา : วิถีสู่สุขภาวะทางปัญญา พิมพ์ครั้งที่ ๓ เครือข่ายพุทธิกา ๒๕๕๓ (http://resource.thaihealth.or.th/library/hot/ 12801)

����������������������������������.indd 16

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

17

สุขภาวะทางใจ และสุขภาวะทางสังคม อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก “ใจ” นั้นยังสามารถแบ่งได้เป็น ๒ ส่วน คือ จิต และปัญญา จิตนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก ส่วนปัญญา เกี่ยวข้องกับความรู้ และความคิด ดังนั้น สุขภาวะทางใจนั้น จึงสามารถจ�ำแนกได้เป็น สุขภาวะทางจิต และสุขภาวะทางปัญญา” หากกล่าวโดยสรุป สุขภาวะทางปัญญาเป็นเรื่องของสภาวะที่ มีความสุขใจ ซึ่งลักษณะ/คุณภาพของใจที่เป็นสุข และเหตุปัจจัย ที่จะส่งผลที่ท�ำให้เกิดความสุขใจของแต่ละคนนั้นต่างกัน เด็กบางคน แค่มีแม่กอดอยู่ข้างๆ ก็มั่นคงสุขใจไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว วัยรุ่น เมื่อรู้ว่าเพื่อนๆ ยังรักเป็นห่วงตนอยู่ก็อิ่มใจเป็นสุข ส�ำหรับหลวงตา แค่ได้อยู่เงียบๆ มีสติดูจิตของตนไม่มีใครมารบกวนนั่นอาจเป็นภาวะ ที่ท�ำให้ท่านรู้สึกสุขสงบเป็นอิสระที่สุด แต่เมื่อถ้าขยายความออกไป ความสุขใจ จะเป็นสถานการณ์ที่ท�ำให้จิตใจของผู้นั้น มี ความสงบ เย็น และผ่อนคลายลง ซึ่งสามารถ แผ่ขยายไปสู่ความรู้สึกมั่นคง เป็นอิสระ มี ความประณี ต ลึ ก ซึ้ ง อิ่ ม ใจ ประกอบด้ ว ย เมตตา กรุ ณ า มี ค วามหวั ง ความมุ ่ ง มั่ น พากเพียรที่จะท�ำสิ่งดีๆ ต่อชีวิตรอบข้างและ สิ่ ง แวดล้ อ ม ทั้ ง ด้ า นความคิ ด ค� ำ พู ด หรื อ การกระท�ำที่ตนจะท�ำได้ เป็นสภาวะที่ท�ำให้ ความรู ้ สึ ก ด้ า นลบ เช่ น ความกลั ว เศร้ า

����������������������������������.indd 17

9/12/16 6:55 PM


18

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ว้ า เหว่ หวั่ น ไหว วิ ต กกั ง วล เคี ย ดแค้ น ชิ ง ชั ง อิ จ ฉา ฯลฯ หรื อ แม้แต่ความทุกข์ทางกายลดลงหรือจางหายไปได้ ปัจจัยที่ท�ำให้เกิดความสุขใจของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน อาจเป็นวัตถุ สิ่งของ เงินทอง สัตว์เลี้ยง เสียงเพลง ผู้คน ผลงาน ของตน หรือเกิดจากการฝึกฝนพัฒนาจิตใจ ให้มองเห็นคุณค่าของ ตนเองและผู้อื่น สามารถยอมรับและให้อภัยกับความผิดพลาดที่ ตนเคยท�ำมา อโหสิกรรมกับความผิดพลาดบกพร่องที่คนอื่นกระท�ำ ต่อตนได้ ตระหนักว่าได้ปฏิบัติตัวดี เหมาะสม จนได้เข้าใกล้หรือ เป็นส่วนหนึ่งของความดีงามที่ยิ่งใหญ่ที่ตนเชื่อมั่นศรัทธาอยู่ ตลอดจน รู้สึกว่าตนได้มีความรู้ชัดในเรื่องต่างๆ จนหมดความสงสัย มั่นใจใน การกระท�ำของตนเองว่าถูกต้องดีงาม ความสุขใจหรือสุขภาวะทาง ปัญญาเป็นเรื่องที่อาจแยกไม่ออกจากศาสนา และลัทธิความเชื่อ แต่ส�ำหรับบางคนอาจไม่ใช่ส่ิงเดียวกัน ผู้ที่ไม่เชื่อ ไม่ศรัทธาในลัทธิ ศาสนาใดๆ สามารถมีความสุขใจหรือเข้าถึงสุขภาวะทางปัญญาผ่าน คุณค่า/หลักคิด/การกระท�ำ ที่ตนเองเชื่อมั่น รัก และศรัทธาได้

ความหมายของสุขภาวะทางปัญญา ความสุขใจหรือความลึกซึ้งของมิติสุขภาวะทางปัญญาอาจ จั ด ได้ ห ลายกลุ ่ ม ตามลั ก ษณะหรื อ คุ ณ ภาพของความสุ ข ใจ และ เหตุปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เข้าสู่สภาวะนั้น ในที่นี้แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ ๑ ปัจจัยที่ท�ำให้เกิดความสุขใจจะสัมพันธ์อยู่กับบุคคล หรือวัตถุสิ่งของภายนอก เช่น การได้รับของเยี่ยมที่ถูกใจ มีคนมา

����������������������������������.indd 18

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

19

ให้ก�ำลังใจ การได้พบคนรัก ได้รับ/ได้อยู่ใกล้สิ่งของที่ตนรัก เช่น ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง ภาพวาด และพระพุทธรูป ในกรณีของผู้ป่วยจะ ท�ำให้เขารู้สึกดีใจ มีความสุข สงบ มั่นคง ผ่อนคลายได้ แต่ความ รู้สึกสุขใจนี้อาจคลายลงเมื่อเวลาผ่านไป หรือหมดไปทันทีเมื่อมี สถานการณ์บางอย่างแทรกเข้ามา เช่น พบคนที่ไม่ชอบหน้ามาเยี่ยม ช่วงเวลาท�ำแผล หรือเกิดความเจ็บปวดขึ้นอย่างรุนแรง กลุ่มที่ ๒ ปัจจัยที่ท�ำให้เกิดความสุขใจจะสัมพันธ์อยู่กับความ รู ้ สึ ก ปลอดภั ย มั่ น ใจ มั่ น คง ทั้ ง ของตนเองและคนใกล้ ชิ ด หรื อ ครอบครัว เช่น ผู้ป่วยมั่นใจว่าตนจะได้รับการดูแล ไม่ถูกทอดทิ้ง มั่นใจว่ามีค่ารักษาพยาบาลเพียงพอไม่ท�ำให้ครอบครัวเดือดร้อน มีหนี้สิน มั่นใจว่าลูกจะขยันเรียน มั่นใจว่าสามีจะดูแลลูกต่อไปได้ มั่นใจว่ากิจการได้รับการสืบทอดดูแลต่อ เป็นต้น เมื่อมีความมั่นใจ หมดห่ ว งในสิ่ ง ที่ ต นกั ง วลได้ แ ล้ ว ก็ จ ะสุ ข ใจผ่ อ นคลาย พร้ อ มที่ จ ะ เผชิญกับปัญหาอื่นๆ ได้ กลุ่มที่ ๓ ปัจจัยที่ท�ำให้เกิดความสุขใจสัมพันธ์อยู่กับคุณค่า ของชีวิตที่ผ่านมา เช่น การมีครอบครัวที่อบอุ่น ประสบความส�ำเร็จ ในหน้าที่การงาน มีอาชีพที่ม่ันคง มีเกียรติยศชื่อเสียง ได้เสียสละ ท�ำความดี มีผลงานที่ได้รับการยกย่อง และยอมรับจากสังคม เป็นต้น รู้สึกชีวิตที่ผ่านมาคุ้มค่า ไม่เสียทีที่ได้เกิดมา เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น ได้เอง หรือเมื่อมีผู้มาช่วยเตือนให้เห็นคุณค่าในส่วนนี้ของตน โดย อาจไม่มีใครมาร่วมรับรู้ในความดีงามนี้ก็ได้

����������������������������������.indd 19

9/12/16 6:55 PM


20

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

กลุ่มที่ ๔ ปัจจัยที่ท�ำให้เกิดความสุขใจสัมพันธ์อยู่กับคุณภาพ จิตใจของผู้ป่วย ที่ได้ฝึกฝน เรียนรู้จนมีความสงบนิ่ง มั่นคง เพราะ เข้าใจ ยอมรับในธรรมชาติความเป็นจริงของโลกและชีวิต รู้สึกว่า ตนได้เข้าใกล้ หรือเข้าถึงความดีงามสูงสุดที่ตนศรัทธา เป็นความสุข ที่ไม่ขึ้นต่อปัจจัยภายนอกมากนัก เช่น อาจต้องการบรรยากาศที่ สงบไม่ถูกรบกวนจากญาติ เจ้าหน้าที่ เครื่องมือทางการแพทย์ หรือ ฤทธิ์ของยาโดยไม่จ�ำเป็น เป็นความสุขที่ลึกซึ้ง มั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลง หวั่ น ไหวง่ า ย แม้ ค วามเจ็ บ ปวดที่ รุ น แรง หรื อ สั ญ ญาณชี พ ต่ า งๆ ก�ำลังจะหมดลง ความตายก�ำลังคืบคลานมาอยู่ตรงหน้า ก็ยังมีความ สงบ สุข มีสติเต็มเปี่ยมอยู่ได้แม้ในขณะลมหายใจสุดท้ายที่จิตดับลง ผูป้ ว่ ยแต่ละรายจะมีความสุขใจแต่ละกลุม่ ประกอบอยูใ่ นสัดส่วน ที่ต่างกัน และไม่จ�ำเป็นต้องมีครบทั้งสี่กลุ่ม เด็กๆ หรือผู้ป่วยบางราย อาจมีเฉพาะกลุ่มที่ ๑ หรือ ๒ หรือบางรายอาจมีเฉพาะกลุ่มที่ ๔ เท่านั้น รวมทั้งเปลี่ยนน้ำหนักของแต่ละกลุ่มได้เมื่อเหตุปัจจัยแวดล้อม หรือมีอาการเจ็บป่วยเปลี่ยนแปลงไป การแบ่งความสุขใจหรือสุขภาวะ ทางปัญญาเป็น ๔ กลุ่ม เพื่อให้เข้าใจและยอมรับในความแตกต่าง ของสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยแต่ละรายว่าเป็นเรื่องธรรมดา ช่วย ให้ผู้ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม แต่ไม่ใช่เครื่องมือตัดสิน ว่าความสุขใจหรือสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยรายใดดีกว่าหรือ ลึกซึ้งกว่าใคร การช่วยเกื้อหนุนให้ผู้ป่วยได้พัฒนากลุ่มของความสุขใจ หรือสุขภาวะทางปัญญาเป็นเรื่องดี แต่ไม่ควรถึงขั้นต้องพยายาม เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ผู้ป่วยไม่พร้อมหรือมีข้อจ�ำกัด

����������������������������������.indd 20

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

21

คุณค่าของสุขภาวะทางปัญญาต่อสุขภาพ สุ ข ภาวะทางปั ญ ญาเป็ น ประเด็ น ที่ ถู ก หยิ บ ยกขึ้ น มาพู ด กั น ไม่ น าน แต่ ทุ ก ฝ่ า ยต่ า งยอมรั บ ในความส� ำ คั ญ และคุ ณ ค่ า ของมิ ติ สุขภาพนี้ ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี๕ กล่าวว่า ถ้าปราศจาก ปั ญ ญา สุ ข ภาวะทางกาย ทางจิ ต และทางสั ง คมก็ เ ป็ น ไปไม่ ไ ด้ เช่นเดียวกับท่านอาจารย์พุทธทาส๖ ก็ได้กล่าวถึงความส�ำคัญของ ปัญญาว่า “ถ้ามีปัญญา ระบบปัญญาถูกต้องไม่มีโรคแล้ว ระบบกาย และระบบจิตจะพลอยถูกต้องไปด้วย” ซึ่งก็ไม่ต่างจากพระไพศาล วิสาโล๗ ที่กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า “สุขภาวะทางปัญญาเป็นที่มาของ สุขภาวะ ๓ ด้าน กล่าวได้ว่า สุขภาวะทางกาย ทางสังคม และทาง จิต จะมั่นคงยั่งยืนได้ก็ต้องอาศัยสุขภาวะทางปัญญาเป็นพื้นฐาน หากปราศจากสุขภาวะทางปัญญา พฤติกรรมและการด�ำเนินชีวิต ของเราก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมหรือการชักจูงจากคนรอบข้าง รวมทั้งการโฆษณา ซึ่งอาจน�ำพาเราไปในทางที่ไม่ถูกต้องได้ เช่น การโฆษณาที่กระตุ้นการบริโภค รวมทั้งอาจท�ำให้เรามีสุขภาวะที่ ไม่ครบถ้วน เช่น มีสุขภาวะทางกาย แต่ขาดสุขภาวะทางสังคม หรือ ทางจิต ดังเห็นในปัจจุบันว่ามีคนเป็นอันมากที่แม้ว่าสุขภาพกายจะดี แต่มีชีวิตครอบครัวที่ร้าวฉาน มีเรื่องบาดหมางกับผู้อื่น รวมทั้งมี ความทุกข์กลัดกลุ้มใจอยู่เสมอ” ๕

ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี (๒๕๕๑) อ้างแล้ว พุทธทาสภิกขุ (๒๕๔๔) อ้างแล้ว ๗ พระไพศาล วิสาโล (๒๕๕๓) อ้างแล้ว ๖

����������������������������������.indd 21

9/12/16 6:55 PM


22

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

นอกจากนี้ เพื่อยืนยันถึงคุณค่าของสุขภาวะทางปัญญา จาก การศึกษาของ Harold G. Koenig๘ ซึ่งรวบรวมงานวิจัยที่พิมพ์ใน วารสารทางวิชาการเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและจิตวิญญาณ๙ (religion/ spirituality) กั บ สุ ข ภาพทั้ ง ทางร่ า งกายและจิ ต ใจ ในระหว่ า ง ปี ค.ศ.๑๘๗๒ - ๒๐๑๐ และยังรวมบทความชิ้นส�ำคัญที่พิมพ์หลัง ค.ศ.๒๐๑๐ อีกจ�ำนวนหนึ่ง โดยรวมใช้งานวิจัยเชิงปริมาณมาศึกษา มากกว่า ๓,๓๐๐ ชิ้น ยังไม่รวมงานวิจัยเชิงคุณภาพ และเอกสาร วิชาการอื่นๆ อีกจ�ำนวนไม่น้อย จากงานวิจัยที่น�ำมาศึกษาทั้งหมดพบว่าร้อยละ ๘๐ ศึกษา ความสัมพันธ์ของศาสนาและจิตวิญญาณต่อสุขภาพจิต (Mental Health) ส่ ว นที่ เ หลื อ เป็ น การศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ต ่ อ พฤติ ก รรม สุขภาพ (Health Behavior) และผลต่อสุขภาพทางกาย (Physical Health) ในภาพรวมสามารถยืนยันจากงานวิจัยได้อย่างหนักแน่นว่า เรื่องของศาสนาและจิตวิญญาณนั้นช่วยเสริมอารมณ์ด้านบวก และ ช่วยคลายหรือสลายอารมณ์ด้านลบในจิตใจลง ท�ำหน้าที่คล้ายสิ่งที่ มาเสริมพลัง (Life-enhancing factor) และช่วยจัดการปัญหาใน ชีวิต (Coping resource) ท�ำให้มีความสามารถในการเผชิญกับ ๘

Harold G. Koenig (2012) Religion, Spirituality, and Health: The Research and Clinical Implications ISRN Psychiatry Volume 2012, Article ID 278730, 33 pages (http://www.hindawi.com/journals/ isrn/2012/278730/) ๙ ในที่นี้จะแปล spirituality ว่าจิตวิญญาณ ส่วน spiritual well-being หรือ spiritual health จะแปลว่าสุขภาวะทางปัญญา

����������������������������������.indd 22

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

23

ปัญหาที่มากระทบทั้งเรื่องภายในตนและปัญหาจากภายนอกได้ดีขึ้น โดยข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากการประมวลและวิ เ คราะห์ ง านวิ จั ย ชั้ น เยี่ ย ม จ�ำนวนมากนี้ช่วยให้เห็นคุณค่าของงาน และสร้างความเชื่อมั่นกับ ผู้ที่ท�ำงานด้านสุขภาวะทางปัญญาได้ดี จึงน�ำมาสรุปได้ดังนี้ ความเลื่อมใสสนใจในศาสนาและจิตวิญญาณจะช่วยจัดการ กับเรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างกว้างขวาง (Coping with Adversity) ทั้งการเผชิญกับความเจ็บป่วยประเภทต่างๆ และภาวะ ที่ท�ำให้เครียด เช่น ความเจ็บปวดเรื้อรัง การต้องทนดูแลผู้ป่วย เรื้อรัง ความเศร้าโศกจากการสูญเสีย การเผชิญกับความตาย เผชิญ กับภัยธรรมชาติ สงคราม และการก่อการร้าย เป็นต้น ความสนใจในศาสนาและจิตวิญญาณช่วยให้มอี ารมณ์ดา้ นบวก เพิ่มขึ้น (Positive Emotions) เช่น มีความรู้สึกสบาย มีความสุข มีความหวัง มองโลกแง่ดี ชีวิตมีความหมาย มีเป้าหมาย มีความ เชื่อมั่นในตนเอง ควบคุมตนเองได้ ส่งผลให้มีสุขภาพจิตดี ลดความ เห็นแก่ตัว มีความเสียสละ ใจดี มีเมตตา ให้อภัย เกื้อกูลผู้อื่น และมี ความกตัญญู โดยทั่วไปอาจเข้าใจว่าผู้ที่สนใจเรื่องศาสนา/จิตวิญญาณ น่าจะมีความเครียด (Depression) เพราะต้องเข้มงวดกับตัวเอง เพราะกลัวบาป แต่ผลจากงานวิจัยส่วนใหญ่๑๐ ชี้ว่าผู้ที่สนใจเรื่อง ๑๐

“งานวิจัยส่วนใหญ่” หรือคำ�อื่นๆ ในลักษณะนี้ ที่ระบุไว้ในตอนนี้ หมายถึงงานที่ Harold G. Koenig (2012) นำ�มาศึกษาวิเคราะห์ในงานวิจัยของเขา หากผู้อ่าน สนใจสามารถสืบค้นต่อที่ได้อ้างอิงไว้

����������������������������������.indd 23

9/12/16 6:55 PM


24

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ศาสนา/จิตวิญญาณมีความเครียดน้อยกว่าและหายเครียดเร็วกว่า อย่างชัดเจน การศึกษาชิ้นนี้พบว่ามีงานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ศาสนาและจิตวิญญาณกับการฆ่าตัวตาย (Suicide) ทั้งหมด ๑๔๑ ชิ้ น มี จ� ำ นวน ๑๐๖ ชิ้ น (ร้ อ ยละ ๗๕) ที่ ส รุ ป ว่ า ให้ ผ ลผกผั น กั น กล่าวคือถ้าสนใจเรื่องศาสนาและจิตวิญญาณมากขึ้นจะมีแนวโน้ม ฆ่าตัวตายน้อยลง มีรายงานเพียง ๓ ชิ้น ที่รายงานว่ามีผลไปในทาง เดียวกัน (คือสนใจศาสนาและจิตวิญญาณมาก มีแนวโน้มฆ่าตัวตาย มากขึ้น) เช่นเดียวกับงานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและ จิตวิญญาณกับสภาวะวิตกกังวล (Anxiety) ส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๔๙) สรุปว่าผู้ที่สนใจในเรื่องศาสนาและจิตวิญญาณมากขึ้น จะมีความ วิตกกังวลน้อยลง ในขณะที่มีเพียงร้อยละ ๑๑ ของงานวิจัยกลุ่มนี้ที่ พบว่าคนสนใจศาสนาและจิตวิญญาณมากขึน้ จะมีความเครียดมากขึน้ ส่วนการวิเคราะห์งานวิจยั ทีศ่ กึ ษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนา และจิตวิญญาณกับการมีอาการทางจิต (Psychotic disorder/ Schizophrenia) การดื่ ม สุ ร าและใช้ ส ารเสพติ ด (Substance Abuse) ส่วนใหญ่พบว่าผู้ที่สนใจด้านศาสนา จะมีความสัมพันธ์กับ การป่วยเป็นโรคจิต และเป็นคนติดสุราหรือใช้สารเสพติดน้อยกว่า ในขณะที่ความสัมพันธ์กับการมีอารมณ์แปรปรวน (Bipolar disorder) และการมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (Personality Traits) ผล

����������������������������������.indd 24

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

25

ยั ง ไม่ ชั ด เจนนั ก คื อ ความสนใจในเรื่ อ งศาสนาและจิ ต วิ ญ ญาณที่ มากขึ้นส่งผลต่อปัญหาของอาการทั้งมากขึ้นและลดลง และเป็น ไปได้ทั้งสองอย่างขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างประกอบ ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างความสนใจในศาสนาและ จิตวิญญาณกับคุณภาพของจิตใจที่น�ำไปสู่การปฏิบัติต่อผู้อื่นและ สังคม งานวิจัยในเรื่องนี้ส่วนใหญ่สรุปว่าผู้ที่สนใจเรื่องศาสนาและ จิ ต วิ ญ ญาณมี แ นวโน้ ม ที่ จ ะเป็ น คนที่ ค อยช่ ว ยเหลื อ ผู ้ อื่ น /ให้ ก าร สนับสนุนทางสังคม (Social Support) มีส่วนร่วมในการท�ำงาน สังคม และเป็นจิตอาสามากกว่าการมีพฤติกรรมในทางลบต่อสังคม เช่น เป็นคนเกเร/ก่ออาชญากรรม (Delinquency/Crime) และ เป็นผู้ที่ไม่มีความมั่นคงในชีวิตคู่ (Marital Instability) ในด้านพฤติกรรมสุขภาพ งานวิจัยส่วนใหญ่พบว่าผู้ที่ให้ความ สนใจในศาสนาและจิตวิญญาณเพิ่มขึ้นจะลดอัตราการสูบบุหรี่และ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศลง และมีสัดส่วนการออกก�ำลังกายที่มากขึ้น สนใจกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น (แต่ก็พบว่ามีน้ำหนักเฉลี่ย มากกว่ากลุ่มที่ไม่ค่อยสนใจเรื่องศาสนาและจิตวิญญาณด้วย) ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความสนใจในศาสนาและจิตวิญญาณ กับสุขภาพทางกายพบว่า งานวิจัยส่วนใหญ่พบว่าผู้ที่สนใจในศาสนา และจิตวิญญาณมีอัตราป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจต่ำกว่า มีการ ท�ำงานของหัวใจดีกว่า ให้ผลตอบสนองหลังการผ่าตัดหัวใจดีกว่า

����������������������������������.indd 25

9/12/16 6:55 PM


26

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

งานวิจัยส่วนใหญ่ยังพบอีกว่าผู้ที่สนใจในศาสนาและจิตวิญญาณ มีค่าความดันโลหิตโดยเฉลี่ยต�่ำกว่าคนที่สนใจเรื่องนี้น้อย รวมทั้ง ผู้สนใจในศาสนาและจิตวิญญาณมีการท�ำงานของกลไกเกี่ยวกับ ความจ�ำที่ดีกว่าท�ำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ น้อยกว่ากลุ่มอื่น แม้รายงานบางชิ้นจะเสนอว่าผู้ที่สนใจในศาสนา และจิตวิญญาณเป็นโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์มากกว่าแต่ก็อาจ เป็นเพราะการมีอายุที่ยืนกว่าคนกลุ่มอื่น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มของงานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความสนใจในศาสนาและจิตวิญญาณกับการท�ำงานของระบบภูมคิ มุ้ กัน และระบบต่อมไร้ท่อ พบความสัมพันธ์ไปในทางบวกคือผู้ที่สนใจ เรื่องของศาสนาและจิตวิญญาณมากจะมีระบบภูมิคุ้มกันดี มีการ ท�ำงานของระบบต่อมไร้ท่อดี และพบว่าผู้ที่สนใจในศาสนาและ จิตวิญญาณเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งน้อยกว่า หรือหากป่วยจะควบคุม โรคได้ดีกว่า มีงานวิจยั จ�ำนวนมากพบว่าผูท้ สี่ นใจในศาสนาและจิตวิญญาณ มีแนวโน้มที่ประสิทธิภาพการท�ำงานของร่างกายในกิจวัตรประจ�ำวัน ต่างๆ ดีกว่า ในส่วนของการประเมินสุขภาพของตนเอง งานวิจัย ส่วนใหญ่พบว่าผู้ที่สนใจในศาสนาและจิตวิญญาณนั้น มีสัดส่วน การประเมินสุขภาพตนเองว่าตนนั้นมีสุขภาพดีในสัดส่วนที่มากกว่า งานวิจัยยังพบว่าผู้ที่สนใจในศาสนาและจิตวิญญาณมีอาการ เจ็บปวดน้อยกว่า หรือระบุว่ากิจกรรมทางศาสนาและจิตวิญญาณ

����������������������������������.indd 26

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

27

ช่วยลดความปวดลง นอกจากนี้งานวิจัย ๘๒ ชิ้น จาก ๑๒๑ ชิ้น (ร้อยละ ๖๘) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า จากเหตุไปหาผล (Cohort study) พบว่าผู้ที่สนใจในศาสนาและ จิตวิญญาณมากกว่ามีแนวโน้มอายุจะยืนยาวกว่า ผลการศึกษาวิเคราะห์งานวิจัย (Meta-analysis) ของ H.G. Koenig ที่น�ำมาสรุปให้เห็นข้างต้นนั้น แม้จะศึกษาจากศาสนาและ ความเชื่อทางจิตวิญญาณที่หลากหลายมีข้อปฏิบัติแตกต่างกันมาก แต่ในภาพรวมเป็นเครื่องยืนยันอย่างชัดเจนถึงคุณค่าของศาสนา และจิตวิญญาณที่มีต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพจิต สุขภาพกาย หรือพฤติกรรมสุขภาพทั่วไป ดังนั้นการน�ำมิติสุขภาวะทางปัญญา มาร่วมเป็นองค์ประกอบส�ำคัญในการดูแลสุขภาพคนไทย จึงเป็น สิ่ ง ที่ มี คุ ณ ค่ า เป็ น ประโยชน์ อ ย่ า งยิ่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ย โดยเฉพาะเนื้ อ หา แห่งหลักพุทธธรรมที่เน้นเหตุผล ไม่ใช้ความรุนแรง มีเมตตา ให้อภัย และยอมรับผลแห่งกรรมที่ตนท�ำไว้ ไม่มีอ�ำนาจพิเศษใดๆ ที่จะมา ดลบันดาล ท�ำลาย ท�ำร้ายเราได้ จนต้องสยบยอมอย่างขาดเหตุผล อันเป็นเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้ศาสนิกที่นับถือเกิดความเครียด ความทุกข์ หรือถูกกดดันจนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งหมดนี้จึงเป็น การเสียโอกาสต่อผูป้ ว่ ยอย่างยิง่ หากไม่ได้นำ� คุณค่าของพระพุทธศาสนา หรือหลักธรรมในศาสนาต่างๆ มาใช้เพื่อการดูแลสุขภาวะทางปัญญา ของผู้ป่วยพร้อมไปกับการดูแลร่างกายและจิตใจที่ก�ำลังทุกข์ แต่จะ น�ำมาใช้อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นสิ่งที่จะกล่าวถึงต่อไป

����������������������������������.indd 27

9/12/16 6:55 PM


28

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

คุณค่าของสุขภาวะทางปัญญาต่อผู้ป่วยระยะท้าย นอกเหนือจากผลของความสัมพันธ์ในทางบวกระหว่างความ สนใจในเรื่องศาสนาและจิตวิญญาณกับผลดีที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพทั้ง ทางกาย จิตใจ และพฤติกรรมที่กล่าวมาแล้ว เรื่องของศาสนาและ จิตวิญญาณยังได้รับความสนใจมากในการน�ำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย ระยะท้าย๑๑ ซึ่งโดยภาพรวมต่างได้ข้อสรุปไปในทิศทางเดียวกันคือ การน�ำเรื่องของศาสนาและจิตวิญญาณมาเป็นส่วนหนึ่งในการดูแล ผู้ป่วยระยะท้ายเกิดผลดีต่อผู้ป่วยหลายๆ ด้าน เช่น ท�ำให้ผู้ป่วยสงบลง ไม่กระวนกระวาย ทนต่อความเจ็บปวดได้ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตโดยรวม ดีขึ้น เป็นต้น หลังจากที่ประเด็นการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในประเทศไทย ได้รับความสนใจมากขึ้น ได้ท�ำให้การศึกษาวิจัยในประเด็นสุขภาวะ ทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้ายเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งแทบทั้งหมดต่างยืนยัน ถึงคุณค่าของมิติทางปัญญาที่มีต่อผู้ป่วยระยะท้าย เช่น งานของ

๑๑

ตัวอย่างของงาน เช่น Peter Speck, Irene Higginson, and Julia Addington-Hall. (2004) Spiritual needs in health care: May be distinct from religious ones and are integral to palliative care. BMJ. 2004 Jul 17; 329 (7458): 123–124. A Edwards et al. (2010) The understanding of spirituality and the potential role of spiritual care in end-of-life and palliative care: a meta-study of qualitative research. Palliat Med July 21, 2010.

����������������������������������.indd 28

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

29

เพียงจันทร์ เศวตศรีสกุล และทวีพร สิทธิราชา (๒๕๕๔)๑๒ พบว่า ผู ้ ป ่ ว ยระยะท้ า ยต้ อ งการมี โ อกาสได้ ส วดมนต์ มี พี่ เ ลี้ ย งคอยให้ ค�ำปรึกษาอยู่ใกล้ๆ มีคนมาสัมผัสบีบนวดมือเท้าให้ สุชิรา เกตุคง๑๓ ศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายพบว่าผู้ป่วย ๒ ใน ๓ ใช้วิธีการอื่นๆ (เช่น การดูแลทางจิตใจ ทางปัญญา อาหาร สมุนไพร และยาแผน โบราณ) ร่วมไปกับการใช้ยาในการดูแลอาการของตนด้วย ๑ ใน ๓ ใช้เฉพาะทางเลือกอื่นไม่ใช้ยา และมีน้อยมาก (ร้อยละ ๑) ที่ใช้ เฉพาะยาบรรเทาอาการทางกายของตน การได้พูดคุยกับคนที่ให้ ก�ำลังใจและแรงสนับสนุนท�ำให้มีสุขภาวะทางปัญญาดี ซึ่งกลุ่มนี้จะ มีความถี่ ความรุนแรง และมีความทุกข์ทรมานจากโรคน้อยกว่า เป็นต้น งานวิชาการรวมทั้งประสบการณ์ที่รวบรวมขึ้นจากการท�ำงาน เรื่องนี้ยังคงก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทีมงานควรหาโอกาส แสวงหาองค์ความรู้ในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาการท�ำงาน เรื่องนี้ของตนเองและหน่วยงาน ผ่านการศึกษาคู่มือ เอกสารวิชาการ เครือข่ายในอินเตอร์เน็ต การประชุมวิชาการ อบรมต่างๆ นอกจากนี้ ๑๒

เพียงจันทร์ เศวตศรีสกุล ; ทวีพร สิทธิราชา (๒๕๕๔) ความต้องการในการได้รับ การดูแลเมื่อป่วยระยะสุดท้ายของประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช. (บทความ, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, ฐานข้อมูล ThaiLis) ๑๓ Suchira Get-Kong (2009) Symptom Experience, Palliative Care, and Spiritual-Well-being in Patients with Advance Cancer. Thesis for Ph.D. (Nursing), Mahidol University.

����������������������������������.indd 29

9/12/16 6:55 PM


30

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย ยังรวบรวมข้อมูลทั้งส่วนที่เป็นงาน ค้นคว้าวิจัยและประสบการณ์ในการท�ำงานดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อเป็นคลังความรู้ภายใต้โครงการ Pal2know๑๔ ช่วยให้ติดตาม ความเคลื่อนไหวทางวิชาการได้สะดวกรวดเร็วขึ้น

หลักคิดในการขับเคลื่อน งานสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย ข้อมูลจากทุกภาคส่วนต่างยืนยันตรงกันว่าการช่วยเหลือผูป้ ว่ ย ในมิติทางปัญญา เป็นสิ่งที่จ�ำเป็นและมีประโยชน์หลายด้านต่อผู้ป่วย ครอบครัวญาติพี่น้อง และบุคลากรที่ดูแล โดยเฉพาะการสร้างหรือ ส่งเสริมให้สุขภาวะทางปัญญาเติบโตขึ้นในผู้ป่วยระยะท้าย ซึ่งเป็น ภาวะวิกฤติของทุกฝ่าย ทั้งผู้ป่วยที่ก�ำลังมีความทุกข์ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ญาติที่ต้องเหน็ดเหนื่อยจากการดูแล รับผิดชอบภาระ หน้าที่เดิมของผู้ป่วย ดูแลค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และก�ำลังจะพลัดพราก สูญเสียคนที่ตนรักไป รวมทั้งเป็นสภาวะที่บุคลากรรู้สึกหมดหวังหมด หนทางที่จะช่วยให้คนไข้ฟื้นกลับมาดีดังเดิม หากช่วยให้ผู้ป่วยมี สุขภาวะทางปัญญาดีขึ้นจนสามารถสิ้นชีวิตจากไปได้ด้วยความสงบ จะท�ำให้ปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าอยู่คลี่คลายลงไปได้ แต่เรื่องของสุขภาวะ ทางปัญญานั้นยังคงมีข้อจ�ำกัดในทางปฏิบัติอีกหลายประการ ดังนั้น

๑๔

ติดตามได้ที่ https://www.gotoknow.org/user/pal2know/profile หรือ https://www.facebook.com/pal2know

����������������������������������.indd 30

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

31

ในระยะเริ่มต้นของการขับเคลื่อนงานสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วย ระยะท้าย ผู้ท�ำงานควรมีหลักคิดพื้นฐานเกี่ยวกับงานที่ก�ำลังท�ำอยู่ที่ ชัดเจนระดับหนึ่งด้วย โดยในที่นี้ได้เสนอหลักคิดประกอบการท�ำงาน เบื้องต้น ดังนี้ คุณค่าของความคลุมเครือในนิยามและขอบเขตงาน นิยามและขอบเขตความหมายของค�ำว่าสุขภาวะทางปัญญา ยังต้องพัฒนาให้มีความชัดเจนขึ้นแต่ไม่ได้หมายความว่าในที่สุดแล้ว เรื่องนี้จะกระจ่างชัด มีมาตรฐานเป็นสากล มีตัวชี้วัดเป็นตัวเลขได้ ทว่าจะเป็นความชัดเจนที่เกิดจากทุกฝ่ายยอมรับว่า เป็นธรรมชาติ/ เป็นเรื่องธรรมดาที่สุขภาวะทางปัญญา จะมีความพร่ามัว คลุมเครือ หลากหลาย บางครั้ ง อาจดู ลึ ก ลั บ เหนื อ ธรรมชาติ มี เ รื่ อ งความ ศักดิ์สิทธิ์ ปาฏิหาริย์ปะปนเข้ามา สุขภาวะทางปัญญาของแต่ละคน เปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ ตามเรื่องราวประสบการณ์ชีวิต และการ ตีความสิ่งที่แต่ละคนได้เรียนรู้สั่งสมมา การกระท�ำใดๆ ที่ท�ำให้เกิด ความชัดเจน เป็นมาตรฐาน วัดออกมาได้เป็นตัวเลขนั้น อาจท�ำให้ สูญเสียคุณค่า ละเลยคุณลักษณะที่แท้จริงและจ�ำเป็นของมิติทาง ปัญญาที่ต้องสัมผัสอารมณ์และความรู้สึกนั้นด้วย “ใจ” ขณะเดียวกันควรเข้าใจผู้ที่ยังไม่ยอมรับ ไม่เห็นคุณค่าและ ความส�ำคัญของเรื่องนี้ หรือแม้แต่กลุ่มผู้ที่ท�ำงานช่วยเหลือผู้ป่วย ระยะท้ายด้วยกัน แต่มีวิธีคิดและลงมือท�ำงานในลักษณะที่แตกต่าง ออกไปจากที่ตนเองท�ำอยู่ เพราะอคติที่มีในใจหรือแม้แต่ความรู้สึก

����������������������������������.indd 31

9/12/16 6:55 PM


32

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ยอมรับผู้ที่คิดต่างในเรื่องนี้ไม่ได้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจ ธรรมชาติของเรื่องนี้ จึงยังต้องพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาของตน ให้ ลึ ก ซึ้ ง ยิ่ ง ขึ้ น อี ก สิ่ ง ที่ ค วรท� ำ เมื่ อ พบผู ้ ที่ เ ห็ น ต่ า งหรื อ ยั ง ไม่ เ ห็ น คุ ณ ค่ า ของเรื่ อ งนี้ เพี ย งแต่ พู ด คุ ย กั น ด้ ว ยความเมตตา ไม่ ใ ช่ เ พื่ อ โต้แย้ง โน้มน้าว หรือมุ่งชักชวนเขาให้เชื่อยอมรับเรา แต่เพียงเพื่อ ที่จะให้ทั้งสองฝ่ายได้เข้าใจและเรียนรู้จากกันมากขึ้น ไม่จำ�เป็นต้องตัดสินแบ่งกลุ่ม ความสามารถในการจ�ำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ แบ่งกลุ่ม ความแตกต่าง (Reductionism) เป็นทักษะส�ำคัญที่ต้องพัฒนาขึ้น ภายใต้ระบบการศึกษาและวิถีชีวิตของคนทุกวันนี้ ช่วยให้จัดระบบ โครงสร้าง บริหารองค์กร สร้างโครงข่ายระบบประสานงาน หรือ สนับสนุนให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะกลุ่มได้ดี ท�ำให้มีประสิทธิภาพ ในการท�ำงาน รวดเร็ว ชัดเจนและตรวจสอบความผิดปกติได้ง่าย เรารับรู้จนคุ้นเคยกับการจัดหมวดหมู่ผ่านหลายเรื่องราวในชีวิต เช่น การแบ่งแผนกในโรงพยาบาล การจัดประเภทรายการโทรทัศน์ การจั ด วางสิ่ ง ของในซุ ป เปอร์ ม าร์ เ ก็ ต หรื อ การจั ด หมวดหมู ่ ข อง แอปพลิเคชั่นต่างๆ ในโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น แม้จะมีประโยชน์ อยู่มาก แต่การจัดหมวดหมู่ก็มีข้อจ�ำกัดที่อาจท�ำให้ลืมมองภาพรวม หรือละเลยลักษณะเฉพาะที่พิเศษ แตกต่างของแต่ละส่วนย่อยไป

����������������������������������.indd 32

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

33

ก่อนการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ป่วย ที่ได้รับ เป็นสิ่งจ�ำเป็นและมีประโยชน์มาก ท�ำให้ผู้ดูแลพร้อมที่จะ รับกับสถานการณ์เบื้องต้นที่ตนก�ำลังจะเผชิญต่อไปได้ดีขึ้น รวมทั้ง วางแนวทางในการพูดคุยและให้การช่วยเหลือได้ง่ายขึ้นด้วย แต่ต้อง ระวังไม่ให้ข้อมูลเหล่านั้นกลายเป็นเครื่องขัดขวางการเข้าถึงผู้ป่วย เพราะการด่วนตัดสินว่าผู้ป่วยรายนั้น ดีหรือเลว ดูแลยากหรือง่าย มีธรรมะหรือไม่มีธรรมะ พวกเราหรือพวกอื่น ฯลฯ ล้วนส่งผลต่อ ความรู ้ สึ ก ลึ ก ๆ ในใจคนท� ำ งานและส่ ง ผลต่ อ การทุ ่ ม เทให้ ค วาม ช่วยเหลือแก่เขา เพียงเริ่มต้นด้วยการส�ำรวจตัวเองว่า “ยอมรับ” ในสภาพที่ผู้ป่วยหรือญาติๆ เป็นอยู่ได้หรือไม่ก่อน เช่น หากเรารับ ไม่ได้ที่จะต้องไปดูแลผู้ป่วยที่ถูกรุมประชาทัณฑ์ปางตายเพราะไป กระท�ำช�ำเราเด็กจนเสียชีวิต เราควรถอยออกมาเพราะขณะนั้น ไม่ใช่เวลาที่เราจะมาแก้แค้นให้กับเด็กหรือสั่งสอนเขา ไม่มีอะไรต้องรีบร้อนเปลี่ยนแปลง ทุกคนทราบดีว่าสุขภาวะทางปัญญาหรือสภาวะสุขใจนั้นเป็น เรื่องของปัจเจกบุคคลที่ได้รับการสั่งสมบ่มเพาะมานานปี ยิ่งส�ำหรับ พุทธศาสนาด้วยแล้วผลของกรรมไม่ว่าดีหรือชั่วที่ได้กระท�ำมาแล้ว ในภพชาติก่อนๆ ของแต่ละคน ย่อมมีผลต่อคุณภาพของสุขภาวะ ทางปัญญาของเขา ณ ปัจจุบันขณะด้วย แม้จะมองกันเฉพาะใน ชาติ นี้ จะพบว่ า มี ป ั จ จั ย มากมายตั้ ง แต่ ค วามสมบู ร ณ์ พ ร้ อ มทาง

����������������������������������.indd 33

9/12/16 6:55 PM


34

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ร่างกาย สภาพจิตใจ นิสัยส่วนตัว ระดับสติปัญญา ลักษณะชีวิต ความเป็นอยู่ ความรักความอบอุ่นในครอบครัว ฐานะ การศึกษา ที่ได้อบรมมา เพื่อน อาชีพการงาน ความส�ำเร็จในหน้าที่ ในชีวิต สถานภาพทางสังคม สภาพการเมือง สิ่งแวดล้อม และที่ส�ำคัญคือ ศาสนา ความเชื่อ หรือระบบคุณค่าคุณธรรมต่างๆ ที่ตนเองเชื่อถือ ศรัทธายึดเป็นแนวทางปฏิบัติอยู่ เหล่านี้ต่างล้วนส่งผลต่อระดับ สุขภาวะทางปัญญาทั้งสิ้น ทุกคนไม่เว้นแม้แต่คู่แฝดจึงมีพื้นฐานทาง สุขภาวะทางปัญญาที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้การจะเข้าไปช่วยเหลือเกื้อหนุนสุขภาวะทางปัญญา ของผู้ป่วยแต่ละรายจึงไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในผู้ป่วยระยะท้าย ที่ก�ำลังถูกบีบคั้นทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความนึกคิด และเวลาที่มีเหลือ จ�ำกัด นอกจากนี้สุขภาวะทางปัญญายังไม่ใช่เรื่องที่จะตัดสินว่าถูก หรือผิดได้ เป็นเรื่องที่แต่ละคนมีสิทธิที่จะเชื่อจะชอบสิ่งต่างๆ ตาม พื้นฐานที่เขามี ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยจึงไม่ควรตั้งเป้าหมายว่าจะไป พัฒนาสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยให้อยู่ในกลุ่มนั้นให้ถึงระดับนี้ แม้บางเรื่องอาจชัดเจนว่าเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง แต่ ณ เวลานั้น ยังไม่ใช่เวลาที่จะมาท�ำให้ถูกต้อง ควรเริ่มจากท�ำความเข้าใจพื้นฐาน ทีเ่ ขามีอยู่ แล้วหาทางหนุนให้เขาเกิดความสุขใจมีสขุ ภาวะทางปัญญา ให้เหมาะกับพื้นฐานที่เขามีอยู่

����������������������������������.indd 34

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

35

สุขภาวะทางปัญญาพัฒนาได้ แม้สภาพร่างกาย จิตใจ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยระยะท้าย จะถูกรุมเร้าจากปัญหามากมาย แต่ธรรมชาติก็ยังเปิดช่องในการ พั ฒ นาสุ ข ภาวะทางปั ญ ญาหรื อ ท� ำ ให้ เ กิ ด ความสุ ข ใจขึ้ น ได้ เ สมอ หลายครั้งภาวะวิกฤติที่รุมเร้าอยู่นั่นเอง กลายเป็นตัวบ่มเพาะหรือ ชี้ ท างปั ญ ญาให้ เ กิ ด ขึ้ น ให้ เ ข้ า ใจธรรมชาติ ย อมรั บ ความเป็ น จริ ง ของชีวิต คนที่มีทรัพย์ มีอ�ำนาจ มีบริวาร อาจได้ตระหนักอย่าง ชัดแจ้งขึ้นมาในใจช่วงนี้เองว่า สิ่งทั้งหลายที่เขาครอบครองอยู่น้ัน มันไม่ใช่ของเราจริงๆ เพราะไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามความ ต้องการได้อีกต่อไป แม้ร่างกายนี้ก็ยังสั่งให้เป็นไปตามที่ต้องการ ไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้ผู้ให้การดูแลจึงไม่ควรพลาดโอกาสที่จะประคับ ประคอง สร้างบรรยากาศ สร้างเหตุปัจจัยที่เกื้อหนุนให้พื้นฐานทาง ปัญญาที่เขามีอยู่เบ่งบานที่สุดอยู่เสมอ ขณะเดียวกันต้องตระหนักในหลักพื้นฐานที่ว่า การพัฒนา ปัญญาเป็นสิ่งที่แต่ละคนต้องสั่งสม ต้องท�ำเอง ท�ำแทนกันไม่ได้ หรือ จะยัดเยียดให้ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อจัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ให้ข้อมูล หรือได้ช่วยเหลืออย่างเต็มที่แล้ว ผู้ป่วยไม่แสดงออกให้เห็นว่ามี ความสงบมีสุขภาวะทางปัญญา ผู้ดูแลต้องยอมรับในความเป็นไป ของเหตุปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ โดยไม่คิดโทษตัวเองหรือ สิ่งรอบข้าง

����������������������������������.indd 35

9/12/16 6:55 PM


36

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

การประเมินระดับสุขภาวะทางปัญญา การประเมินผลการท�ำกิจกรรมต่างๆ ช่วยให้รู้ว่าสิ่งที่ท�ำไปนั้น เกิดผลอย่างไร ท�ำให้มีโอกาสได้ทบทวนเรียนรู้ข้อดีหรือข้อผิดพลาด และชี้แนวทางว่าควรท�ำอย่างไรต่อไป ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ควรมีการประเมินผลการช่วยเหลือดูแลว่าเป็นอย่างไร ทว่าความ เคยชินกับการประเมินในสิ่งที่สามารถวัดได้ ต้องการผลการประเมิน ออกมาเป็นตัวเลข และการตัดสินให้คุณค่าไปเบ็ดเสร็จพร้อมกับ ผลการประเมินที่ได้รับ จะท�ำให้สุขภาวะทางปัญญา ซึ่งเป็นเรื่อง อารมณ์ ความรู้สึก ความรู้ ความคิดภายใน ซึ่งวัดให้ออกมาเห็นเป็น รูปธรรมได้ยากหรืออาจไม่ได้เลยมีข้อจ�ำกัดในการประเมิน ทางออกในเรื่องนี้อยู่ที่ความเข้าใจในธรรมชาติของสุขภาวะ ทางปัญญา และพัฒนาเครื่องมือการวัดผลในแง่มุมต่างๆ ออกมาให้ มากที่สุด ละเอียดที่สุด และสะดวกในการใช้มากที่สุด ซึ่งคู่มือเล่มนี้ ได้ยกร่างพัฒนาขึ้นไว้เป็นต้นแบบ (เสนอไว้ในภาคผนวก) ให้แต่ละ พื้นที่น�ำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทการท�ำงานของตนต่อไป แต่ ในอีกด้านหนึ่งผู้ที่ท�ำงานด้านนี้ก็ต้องฝึกทักษะในการสัมผัสอารมณ์/ ความรู้สึก ด้วยใจที่อ่อนโยนมีกรุณาให้ละเอียดอ่อนลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้น จากนั้นจึงเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านี้เข้าด้วยกันเพื่อน�ำไปใช้ประโยชน์ ทั้งต่อผู้ป่วยและการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาวะทางปัญญาของ ผู้ป่วยโดยรวมต่อไป

����������������������������������.indd 36

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

37

บทสรุป จะเห็นได้ว่าสุขภาวะทางปัญญาหรือสภาวะความสุขใจของ ผูป้ ว่ ย เป็นเรือ่ งทีไ่ ด้รบั ความสนใจและยอมรับกว้างมากขึน้ ในวงวิชาการ ปัจจุบัน มีงานศึกษาในแง่มุมต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และให้ ข้อมูลออกมาในทิศทางเดียวกันว่า ผู้ป่วยที่มีสุขภาวะทางปัญญา หรือมีความสุขใจจะมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตโดยรวมดีกว่าผู้ป่วย ที่ไม่สามารถเข้าถึงความสุขใจได้ อย่างไรก็ตามมิติด้านนี้ยังคงต้อง มีการศึกษาและพัฒนาอีกมากเพื่อการน�ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่าง เป็นรูปธรรม และการพัฒนานั้นยังเป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจงของ แต่ละพื้นที่แต่ละวัฒนธรรม วงการสุขภาพของไทยโดยเฉพาะผู้ที่ สนใจงานด้านดูแลผู้ป่วยระยะท้าย จึงควรร่วมมือกันเร่งศึกษาและ พัฒนามิติสุขภาวะทางปัญญาในสังคมไทยต่อไป

����������������������������������.indd 37

9/12/16 6:55 PM


����������������������������������.indd 38

9/12/16 6:55 PM


บ ท ที่ ๒

การจัดระบบ โครงสร้าง และกลไกการทำ�งานดูแลสุขภาวะทางปัญญา

การจัดโครงสร้างการท�ำงานและระบบบริหารจัดการให้มคี วาม ชัดเจน มีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งต่อคุณภาพและประสิทธิภาพในการ ท�ำงาน แม้ขณะนี้งานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ของระบบสุ ข ภาพไทย หลายพื้ น ที่ ยั ง ไม่ มี ผู ้ ส นใจท� ำ งานด้ า นนี้ อย่างจริงจัง บางพื้นที่เริ่มด�ำเนินงานบ้างแล้วตามนโยบาย ขณะที่ โรงพยาบาลหลายแห่งมีบุคลากรที่สนใจและเห็นคุณค่าของงานนี้ แม้ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร แต่ได้เริ่มต้นท�ำงานเองด้วย ใจรัก เห็นถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อผู้ป่วยและญาติ ไปจนถึงบางแห่ง มีการจัดหน่วยดูแลรับผิดชอบท�ำงานอย่างแข็งขันชัดเจน เมื่องานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองยังอยู่ใน ระยะเริ่ ม ต้ น เนื้ อ หาเฉพาะของงานที่ เ น้ น การดู แ ลสุ ข ภาวะทาง ปัญญาหรือสร้างความสุขใจให้ผู้ป่วยระยะท้ายจึงเป็นงานที่ใหม่ หรือยังไม่ได้เริ่มท�ำในหลายพื้นที่ ในบทนี้จะกล่าวถึงการจัดระบบ โครงสร้าง และกลไกการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาที่แทรกอยู่ ในเนื้องานดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ในบริบทของหน่วยงานที่เพิ่งริเริ่ม

����������������������������������.indd 39

9/12/16 6:55 PM


40

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ท�ำงานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองเป็นหลัก เพื่อช่วย ให้ไม่ละเลยการน�ำเนื้อหาด้านสุขภาวะทางปัญญาเข้าไปในงานดูแล ผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองในช่วงเริ่มต้นนี้

โครงสร้างและการจัดการตามลักษณะการทำ�งาน เนื่องจากสถานการณ์การท�ำงานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของ แต่ละโรงพยาบาลแตกต่างกันมาก เพื่อให้คู่มือนี้เหมาะในการใช้เป็น แนวทางส� ำ หรั บ ผู ้ เ ริ่ ม ต้ น ท� ำ งาน การพู ด ถึ ง โครงสร้ า งและระบบ การจัดการในที่นี้จึงยังไม่ได้แบ่งตามขนาดของโรงพยาบาล แต่จะ แบ่งตามลักษณะของการท�ำงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งโรงพยาบาล ขนาดใหญ่ ห ลายแห่ ง อาจยั ง คงท� ำ งานในลั ก ษณะจิ ต อาสาของ เจ้าหน้าที่ที่สนใจช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายกันเองตามก�ำลังของตน ในทางตรงข้ามโรงพยาบาลขนาดเล็กกว่าอาจมีนโยบายสนับสนุน และจั ด ระบบการท� ำ งานที่ ชั ด เจนแล้ ว ก็ เ ป็ น ได้ ดั ง นั้ น การจะจั ด ระบบ โครงสร้าง และกลไกการท�ำงานของทีมอย่างไร ควรเริ่ม กิจกรรมตามความพร้อมที่ตนมีอยู่ ในที่นี้จะยกตัวอย่างรูปแบบเริ่มต้นจัดระบบการท�ำงานดูแล ผู้ป่วยระยะท้าย ตามลักษณะการท�ำงานของทีม โดยมีการดูแลใน ส่วนของมิติทางปัญญาแทรกอยู่ภายใน ซึ่งประกอบด้วย ๔ กลุ่ม ดังนี้

����������������������������������.indd 40

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

41

กลุ่มที่ ๑ กรณีเริ่มต้นท�ำงานด้วยความสนใจส่วนตัว กลุ่มที่ ๒ กรณีทผี่ บู้ ริหารมอบหมายให้รบั ผิดชอบงานโดยล�ำพัง กลุ่มที่ ๓ กรณีทผี่ บู้ ริหารมอบหมายให้รบั ผิดชอบพร้อมทีมงาน และทรัพยากร กลุ่มที่ ๔ กรณีเข้าร่วมงานเป็นทีมงานกับกลุ่มที่พัฒนางานไป ระดับหนึ่งแล้ว กรณีเริ่มต้นทำ�งานด้วยความสนใจส่วนตัว

ดังทีก่ ล่าวแล้วว่าการช่วยดูแลมิตทิ างปัญญาในผูป้ ว่ ยระยะท้าย สามารถเริ่มท�ำได้แม้ด้วยความสนใจของคนเพียงคนเดียว ไม่ว่าเรา จะเป็ น ใคร ท� ำ งานอยู ่ แ ผนกไหนของโรงพยาบาล หรื อ แม้ ไ ม่ ไ ด้ ท�ำงานในโรงพยาบาลก็สามารถท�ำงานช่วยเหลือผู้ป่วยเรื่องนี้ได้ เพียงแต่ว่ามีความยากง่ายและบทบาทในการเข้าไปดูแลที่แตกต่าง กั น บ้ า ง หากเป็ น พยาบาลหรื อ บุ ค ลากรสุ ข ภาพก็ ยั ง ขึ้ น กั บ ว่ า มี ต�ำแหน่งหน้าที่ประจ�ำอะไร ซึ่งจะมีบทบาทในการดูแลแตกต่างกันไป การช่วยเหลือในฐานะคนภายนอก ในกรณีที่ผู้สนใจไม่ใช่บุคลากรสุขภาพ ไม่มีความรู้ด้านสุขภาพ และการรักษาโรค สิ่งที่ท�ำได้คือเมื่อทราบข่าวว่ามีคนรู้จักป่วยหนัก หรือป่วยอยู่ในระยะท้าย อาจเป็นญาติ เพื่อนที่ท�ำงาน คนในชุมชน ที่เคยเห็นหน้าคุยกันมาบ้าง หรือเพื่อนของคนที่รู้จักผู้ป่วย ฯลฯ ก็ สามารถไปเยี่ยมให้การดูแลจิตใจเขาได้ จะช่วยได้มากเพียงใดเยี่ยม

����������������������������������.indd 41

9/12/16 6:55 PM


42

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ได้บ่อยครั้งแค่ไหนก็ขึ้นกับระดับความสัมพันธ์ รวมทั้งความพร้อม ของตนเองเป็นส�ำคัญ หากมีความพร้อมและต้องการทุ่มเทให้กับเรื่องนี้มากขึ้นก็ อาจไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล ซึ่งสามารถเข้าถึงได้หลายช่องทาง แต่ ช่องทางที่สะดวกที่สุดคือเข้าไปร่วมเป็นทีมจิตอาสาของโรงพยาบาล ซึ่งมีในโรงพยาบาลทุกแห่ง เมื่อมีความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ระดับหนึ่ง อาจขอเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยบางรายที่เราสนใจอยากเข้าไปช่วย เป็นพิเศษ เช่น เข้าไปช่วยพระอาพาธที่ท่านไม่มีคนคอยอุปัฏฐากดูแล หรือผู้ป่วยที่ไม่มีญาติ ถูกทอดทิ้ง ผู้พิการ ผู้ป่วยเด็ก ฯลฯ เมื่อคุ้นเคย กับเจ้าหน้าที่มากขึ้น จนมีความเชื่อใจและเห็นคุณค่าของการช่วยเหลือ ผู้ป่วยก็อาจแนะน�ำหรือขอร้องให้เข้าไปช่วยดูผู้ป่วยรายอื่นๆ รวมทั้ง ผู้ป่วยระยะท้ายด้วย รูปแบบการช่วยเหลือควรไปเยีย่ มในช่วงเวลาปกติทเี่ ปิดโอกาส ให้ญาติเข้าเยี่ยม ซึ่งสามารถเข้าเยี่ยมได้ในฐานะของญาติคนหนึ่ง หากพบญาติผู้ป่วยเฝ้าอยู่ต้องแนะน�ำตัวสร้างสัมพันธภาพให้เกิด ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน บอกขอบเขตความช่วยเหลือที่ตนจะปฏิบัติต่อ ผู้ป่วยให้ญาติทราบและยินยอมก่อน ขณะเดียวกันก็เป็นการป้องกัน มิให้ญาติมาเรียกร้องขอความช่วยเหลือจนเกินขอบเขตความสามารถ ที่จะท�ำได้ สิ่งที่ช่วยเหลือผู้ป่วยได้มีมากมายที่จะกล่าวถึงในรายละเอียด ในบทต่อไป เช่น ตั้งแต่เรื่องทางกาย บีบนวด สัมผัสร่างกาย ชวน พูดคุยให้ระลึกถึงสิ่งที่ดีงามในชีวิต การอยู่เป็นเพื่อนรับฟังปัญหา ของผู้ป่วย ไปจนถึงเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความอึดอัด คับข้องใจ

����������������������������������.indd 42

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

43

(เพียงแค่รับฟังอย่างเข้าใจ เห็นใจ ยอมรับ อยู่เป็นเพื่อนข้างๆ ผู้ป่วย โดยไม่ต้องแก้ปัญหาใดๆ ให้เขาก็ช่วยได้มากแล้ว) อาจหาหนังสือดีๆ หรือหนังสือธรรมะที่ผู้ป่วยชอบมาอ่านให้ฟังวันละ ๑๕ นาที (ตาม ความเหมาะสมกับเวลาที่มีและสภาพผู้ป่วย) หากสามารถเยีย่ มได้เป็นประจ�ำควรท�ำความคุน้ เคยกับเจ้าหน้าที่ ในหอผู้ป่วย แนะน�ำตัว ให้ข้อมูลที่สร้างความมั่นใจแก่เจ้าหน้าที่และ บอกขอบเขตในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่เราจะท�ำ อาจสอบถามถึงบุคคล หรือหน่วยงานของโรงพยาบาลที่รับผิดชอบงานช่วยเหลือผู้ป่วย ระยะท้ายแล้วหาโอกาสเข้าไปพูดคุยท�ำความรู้จัก ดูช่องทางว่าจะ มีโอกาสช่วยเหลือในฐานะจิตอาสาอย่างเป็นทางการได้หรือไม่อย่างไร หากมีโอกาสอาจชักชวนเพื่อนผู้ที่สนใจให้มาร่วมท�ำงานอาสานี้ไปด้วย กัน ก็จะช่วยให้มีเพื่อนและมีก�ำลังใจท�ำงานไปด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ทัง้ หมดนีส้ ามารถปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์หรือเงือ่ นไขส่วนตัว ที่จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้เป็นส�ำคัญ การช่วยเหลือในฐานะเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล หากท�ำงานอยู่ในโรงพยาบาล จะสะดวกยิ่งขึ้นในการดูแล จิตใจผู้ป่วยระยะท้าย นอกเหนือจากการช่วยแบบพื้นฐานในลักษณะ เดียวกับการเป็นบุคคลภายนอกข้างต้นแล้ว สามารถเข้าไปท�ำความ รู้จักสร้างความคุ้นเคยกับผู้รับผิดชอบหรือทีมงานดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ก่อน จากนั้นอาจขอร่วมติดตามสังเกตการณ์เรียนรู้กับทีมงานเพื่อ หาจุดที่เหมาะสมหรือที่ถนัดจะเข้าไปช่วย และหากสามารถเข้าร่วม

����������������������������������.indd 43

9/12/16 6:55 PM


44

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

เป็นทีมงานหรือเป็นจิตอาสาของทีมงานก็จะเข้าช่วยงานได้เต็มที่ ตามความพร้อมที่จะท�ำได้ แต่หากโรงพยาบาลยังไม่มีการจัดตั้งหน่วย ยังไม่มอบหมาย ภารกิจให้ผู้ใดชัดเจน หรือเป็นเรื่องยากที่จะเข้าไปประสานงานกับ หน่วยงานหรือบุคคลที่รับผิดชอบเรื่องนี้ ผู้ที่สนใจช่วยเหลือผู้ป่วย ด้านนี้ก็ยังสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างไม่เป็นทางการ คล้ายกับ เป็นญาติของผู้ป่วยที่มาช่วยดูแล อย่างไรก็ตามต้องวางระยะห่างกับ ผู้ป่วยและเลือกวิธีช่วยเหลือให้เหมาะสม อาจอาศัยความคุ้นเคย ส่วนตัวกับเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วยให้คอยช่วยส่งข่าวให้ทราบเมื่อ มีผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือ กรณีที่ผู้บริหารมอบหมายให้รับผิดชอบงานโดยลำ�พัง หากต้องรับผิดชอบท�ำงานนี้เพราะเป็นค�ำสั่งของผู้บริหารตาม นโยบาย โดยผู้บริหารเองอาจยังให้ความส�ำคัญด้านนี้ไม่มากนัก จะ ท�ำให้เป็นงานหนักเพราะมักไม่มีทั้งทรัพยากรและบุคลากรช่วยงาน หากเป็นไปได้การท�ำงานควรเริ่มต้นโดยจัดสรรเวลาเพื่อท�ำงานนี้ ให้ ชั ด เจน โดยเฉพาะเมื่ อ ยั ง คงมี ง านเดิ ม ต้ อ งร่ ว มรั บ ผิ ด ชอบอยู ่ ควรอาศัยทรัพยากรในบทบาทหน้าที่เดิมมาหนุนการท�ำงานใหม่นี้ แล้วค่อยๆ สร้างเครือข่ายผู้ร่วมงานขึ้นใหม่

����������������������������������.indd 44

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

45

ในระหว่างการหาทรัพยากร บุคลากร รวมทั้งพัฒนาทีมงาน ผู้ได้รับมอบหมายควรศึกษาเรียนรู้แนวทางการท�ำงานดูแลผู้ป่วย ระยะท้ายจากแหล่งต่างๆ ฝึกฝนทักษะที่จ�ำเป็นในการช่วยผู้ป่วย และญาติ จ ากการเข้ า ร่ ว มอบรม หรื อ ประชุ ม วิ ช าการด้ า นนี้ ขอ ค�ำปรึกษาจากผู้มีประสบการณ์จากโรงพยาบาลใกล้เคียง ศึกษา ข้ อ มู ล จากอิ น เตอร์ เ น็ ต ฯลฯ และทดลองให้ ก ารดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยด้ ว ย ตนเอง เรียนรู้ไปกับสถานการณ์จริง ขณะท�ำงานอาจท�ำให้ได้เพื่อน หรือผู้ที่สนใจมาร่วมงานด้วย พร้อมทั้งอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัว ที่เคยมี ดึงผู้ที่สนใจมาเป็นจิตอาสาร่วมเรียนรู้และท�ำงานไปด้วยกัน เมื่อผลงานเริ่มปรากฏไม่ควรละเลยที่จะกล่าวถึงทีมงานที่ร่วมเป็น จิตอาสาให้ผู้บริหารได้ทราบ เพื่อประสานกับหน่วยงานในการจัดสรร เวลาให้บุคลากรมาร่วมงานมากขึ้น รูปแบบการขอความร่วมมือหรือชวนบุคลากรจากแผนกงานอืน่ มาร่วมงาน ท�ำได้หลายวิธีขึ้นกับผลงานที่เริ่มปรากฏต่อผู้บริหาร และแพทย์เจ้าของไข้ ซึ่งจะเป็นผู้ขอให้ทีมดูแลจิตใจผู้ป่วยระยะท้าย เข้ามาดูแลผู้ป่วย รวมทั้งขึ้นกับระบบงานของโรงพยาบาล ภาระงาน และความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ฯลฯ ข้อได้เปรียบที่ส�ำคัญอย่างหนึ่ง ของการดูแลมิติทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย คือ เป็นงานที่ไม่รีบเร่ง และอาจไม่มีผู้ป่วยจ�ำนวนมากให้ดูแลเป็นประจ�ำ (กรณีเป็นโรงพยาบาล ขนาดเล็ก) จึงเป็นไปได้ที่จะไหว้วานเพื่อนร่วมงาน หรือคนที่สนใจ จากแผนกงานอื่นให้มาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันในช่วงเวลาที่จัดสรรได้ อาจเป็นช่วงหลังเวลาเลิกงาน หรือเป็นช่วงไม่ได้ขึ้นเวร บางครั้งการ

����������������������������������.indd 45

9/12/16 6:55 PM


46

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ช่วยขออนุญาตจากหัวหน้างานจะท�ำให้เพื่อนร่วมงานสบายใจขึ้น ในช่วงเริ่มต้นอาจยังไม่มีเพื่อนร่วมงานสนใจ จึงต้องอาศัยความ สั ม พั น ธ์ กั บ เครื อ ข่ า ยนอกโรงพยาบาล เช่ น อสม. กลุ ่ ม จิ ต อาสา หรือพระภิกษุที่สนใจ แต่ต้องมั่นใจว่าจะสามารถดูแลจิตอาสาที่มา ช่วยงานได้ ไม่สร้างภาระใหม่มาแทน ในกรณียืมตัวบุคลากรจากแผนกงานอื่นมาช่วยงานอย่างเป็น ทางการ ควรท�ำในกรณีที่งานเริ่มลงตัวเห็นเป็นรูปธรรม จนผู้บริหาร เห็นผลงานจึงอนุมัติให้มีบุคลากรช่วยงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบาย ของผู ้ บ ริ ห าร รวมทั้ ง สถานการณ์ ด ้ า นการเงิ น และบุ ค ลากรของ โรงพยาบาล ซึ่งท�ำได้ตั้งแต่มีนโยบายให้แผนกงานที่เกี่ยวข้องให้ ความร่ ว มมื อ ในการดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยระยะท้ า ย ให้ ยื ม ตั ว เจ้ า หน้ า ที่ ม า ช่วยงานเป็นประจ�ำในบางช่วงเวลา (เช่น ในบ่ายวันอังคารและ พฤหัสบดี) จัดเวรลอยให้มีเจ้าหน้าที่ว่างจากภารกิจหลักมาช่วยงาน ในบางวัน เช่น ทุกวันพุธที่จะมีการลงเยี่ยมผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน เป็นต้น การบริหารจัดการเพือ่ ให้การช่วยเหลือผูป้ ว่ ยอย่างมีประสิทธิภาพ หัวหน้าทีมที่เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ต้องวางแผนทรัพยากรบุคคลที่ ได้รับการจัดสรรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยช่วงเวลาที่ต้องท�ำงาน คนเดียวควรใช้เพื่อจัดเตรียมข้อมูลและแนวทางปฏิบัติต่างๆ เมื่อมี บุคลากรอาสามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นจิตอาสานอกเวลางาน หรือมา ตามระบบที่มีก็ตาม ควรใช้เวลาเพื่อประชุมสรุปกิจกรรมที่จะท�ำใน

����������������������������������.indd 46

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

47

แต่ละครั้ง ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการดูแล ที่โรงพยาบาลหรือติดตามเยี่ยมเพื่อดูแลต่อเนื่องในชุมชนและควร เผื่อเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ส�ำหรับสรุปผลการดูแลผู้ป่วยในวันนั้น เพื่อให้ทีมงานค่อยๆ เรียนรู้พัฒนาทักษะในการท�ำงานด้านนี้ร่วมกัน อีกทั้งยังช่วยสร้างความคุ้นเคยและเป็นก�ำลังใจให้กันและกัน จากนั้น หัวหน้าทีมต้องสรุปจัดเก็บข้อมูลโดยละเอียด ทั้งยังต้องแบ่งเวลาไว้ ส�ำหรับให้การดูแลกลุ่มผู้ป่วยประจ�ำที่อาจมีอยู่ที่โรงพยาบาลด้วย กรณีที่ผู้บริหารมอบหมายให้รับผิดชอบพร้อมทีมงานและ ทรัพยากร การที่ ผู ้ บ ริ ห ารสนใจ เห็ น ความส� ำ คั ญ และสนั บ สนุ น การ ท� ำ งานนี้ เป็ น เงื่ อ นไขที่ ท� ำ ให้ ท� ำ งานได้ ง ่ า ยที่ สุ ด ข้ อ จ� ำ กั ด เพี ย ง อย่างเดียวที่มีคือมักถูกคาดหวังให้พัฒนางานไปอย่างรวดเร็วและ มีประสิทธิภาพสูงสุด หากผู้ที่ได้รับมอบหมายมีฉันทะรักในงานนี้ เป็ น พื้ น ฐานอยู ่ แ ล้ ว ย่ อ มช่ ว ยให้ ฟ ั น ฝ่ า อุ ป สรรคที่ มี ใ ห้ ล ่ ว งลุ ไ ปได้ อย่างไรก็ตามแม้ผู้บริหารสนใจและสนับสนุนการท�ำงานเต็มที่ก็ใช่ว่า จะท�ำอะไรทุกอย่างได้ตามปรารถนา ทรัพยากรที่มักมีจ�ำกัดอยู่เสมอ ความเข้ า ใจและทั ศ นะที่ แ ตกต่ า งของบุ ค ลากรอื่ น ในหน่ ว ยงาน ความไม่ชัดเจนของเนื้องานใหม่ชิ้นนี้ รวมทั้งประสิทธิภาพและความ เอาจริ ง เอาจั ง ของที ม งาน ยั ง คงเป็ น เรื่ อ งท้ า ทายการท� ำ งานอยู ่ ทุกสถานการณ์

����������������������������������.indd 47

9/12/16 6:55 PM


48

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

เมื่อรู้ชัดเจนว่าได้รับมอบหมายให้ขับเคลื่อนเรื่องนี้ แม้อาจจะ ต้องรอค�ำสั่งที่เป็นทางการ และต้องเตรียมความพร้อมในอีกหลาย ด้านก่อนจะเริ่มให้การดูแลผู้ป่วย พึงระลึกไว้เสมอว่าการได้เริ่มลงมือ ดูแลจิตใจผู้ป่วยระยะท้ายคือประโยชน์ที่แท้จริงที่มุ่งหวังให้เกิดขึ้น และเป็นสิ่งที่จะพิสูจน์ให้ทุกฝ่ายเห็นคุณค่าของงานนี้ ดังนั้นการ ประสานงานเพื่อเยี่ยมดูแลเรียนรู้สภาพของผู้ป่วยและญาติจึงเป็น กิจกรรมที่ควรท�ำให้เกิดขึ้นโดยเร็ว แม้อาจจ�ำเป็นต้องท�ำเพียงคนเดียว ก่อนก็ตาม การเริ่มให้การดูแลนอกจากช่วยให้มีประสบการณ์ตรงใน การท�ำงานกับผู้ป่วยแล้ว ยังได้เห็นปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจริงทั้ง ในส่วนที่มาจากระบบ จากบุคลากร และจากฝ่ายผู้ป่วยและญาติที่ อาจมีความคิดความเชือ่ หรือประเพณีทอ้ งถิน่ ทีเ่ ราอาจไม่เคยรูม้ าก่อน และยังช่วยให้ได้พบคนใหม่ๆ ที่อาจทาบทามให้ร่วมทีมท�ำงานด้วย ประสบการณ์ที่ได้จากการเริ่มต้นเช่นนี้ นอกจากช่วยเตรียม ความพร้อมของตนเองแล้ว ยังเป็นข้อมูลพื้นฐานอย่างดีที่ใช้ประกอบ การร่างแผน ก�ำหนดเป้าหมาย และแนวทางการท�ำงานเพื่อน�ำไป หารือกับผู้บริหารให้ได้ทิศทางการท� ำงานที่ชัดเจนสอดคล้องกัน จากนั้นเมื่อผู้บริหารมีค�ำสั่งหรือมอบหมายอย่างเป็นทางการแล้ว จึงเริ่มท�ำงานอย่างเป็นทางการ ส่วนรูปแบบการดึงตัวบุคลากรมา ช่วยงาน การฝึกทักษะการท�ำงานให้ทีมงาน การท�ำงานกับจิตอาสา รวมทั้งการบริหารจัดการภายในเรื่องการดูแลผู้ป่วยแต่ละรายจะท�ำ อย่างไร ควรเป็นเรื่องที่ค่อยๆ ร่วมกันพัฒนาไปกับทีมงานและผู้บริหาร ได้ ซึ่งแต่ละพื้นที่ย่อมมีผู้บริหารและวัฒนธรรมการท�ำงานที่ต่างกัน

����������������������������������.indd 48

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

49

กรณีร่วมเป็นทีมงานกับกลุ่มที่พัฒนางานไประดับหนึ่งแล้ว เนือ่ งจากงานดูแลผูป้ ว่ ยระยะท้ายแบบประคับประคองเป็นงาน ที่เกิดขึ้นใหม่ในโรงพยาบาล การมีโอกาสเป็นคนใหม่ในทีมดูแล ผู้ป่วยระยะท้ายจึงมักเกิดขึ้นในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่เริ่มงานนี้ มาแล้วระยะหนึ่ง ข้อดีในการเข้าร่วมทีมลักษณะนี้คือมีทรัพยากร ในการท�ำงานค่อนข้างพร้อม อย่างไรก็ตามงานดูแลผู้ป่วยระยะท้าย แบบประคับประคองที่ท�ำมาส่วนใหญ่นั้นยังเน้นที่การดูแลทางกาย หรือมิติทางจิตและสังคมบ้าง แต่ที่จะให้ความส�ำคัญกับดูแลมิติทาง ปัญญาด้วยแล้วถือว่าไม่มากนัก แต่ไม่ว่าทีมงานเดิมจะท�ำงานอย่างไร การที่ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในทีมงานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับ ประคองย่อมเป็นโอกาสที่จะได้ช่วยดูแลจิตใจและปัญญาของผู้ป่วย ระยะท้ายได้มากขึ้น ดีกว่าต้องไปเริ่มแสวงหาทรัพยากรและสร้างทีม กันใหม่อยู่มาก การเข้ า ไปร่ ว มที ม ที่ มี อ ยู ่ แ ล้ ว ไม่ ว ่ า จะในฐานะหั ว หน้ า หรื อ ผู้ร่วมทีมก็ตาม ย่อมมีความแตกต่างจากการเป็นผู้ริเริ่มสร้างทีมงาน ขึ้นมาใหม่ เพราะต้องเข้าไปเผชิญกับมาตรฐานการปฏิบัติต่างๆ ที่ไม่ ตรงกับความคาดหวังของเราไม่มากก็น้อย หากอยู่ในฐานะหัวหน้า แม้มีอ�ำนาจในการปรับเปลี่ยนพัฒนางานก็ควรท�ำอย่างรอบคอบ เป็นขั้นตอน โดยเฉพาะการท�ำความเข้าใจกับทีมงาน และเตรียม ความพร้อมบุคลากรภายในให้เรียบร้อยก่อนที่จะเปลี่ยนแปลง รวมทั้ง ต้องคิดถึงแนวทางการประเมินผลกิจกรรมที่ปรับเปลี่ยนนั้นไว้ด้วย เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้และพัฒนางานในอนาคต

����������������������������������.indd 49

9/12/16 6:55 PM


50

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

การร่วมในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานที่ด�ำเนินการมาแล้ว เป็ น ไปได้ ที่ อ าจอึ ด อั ด ใจในหลายด้ า น เช่ น แนวคิ ด เทคนิ ค การ ท�ำงาน รูปแบบบริหารจัดการทีม บุคลิกของหัวหน้างาน ฯลฯ ที่ ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ แต่ควรมองเป็นเรื่องธรรมดาของการ ท�ำงาน เป็นหน้าที่ของผู้มาใหม่ต้องปรับตัวให้เข้ากับระบบ แต่ทั้งนี้ มิ ไ ด้ ห มายความว่ า จะต้ อ งโอนอ่ อ นตามรู ป แบบและวั ฒ นธรรม องค์กรไปเสียทั้งหมด บางแง่มุมของการดูแลเป็นสิ่งที่ทีมงานเดิม ไม่ได้ให้ความสนใจมาก่อน ก็ไม่ได้แปลว่าเขาจะปฏิเสธ เพราะโดย พื้นฐานของผู้ท�ำงานด้านนี้ส่วนใหญ่ตระหนักดีถึงความส�ำคัญของ มิติที่ลึกซึ้งของจิตใจอยู่แล้ว แต่อาจไม่มีความเชี่ยวชาญ หรือไม่มีผู้ที่ สนใจเป็นพิเศษในเรื่องนี้ จุดส�ำคัญอยู่ที่การรอน�ำเสนอคุณค่าของ เรื่องนี้ในโอกาสและเวลาที่เหมาะสม อาจหาโอกาสใช้ทักษะและความสนใจส่วนตัวดูแลมิติทาง ปัญญาของผู้ป่วยร่วมไปกับบทบาทหลักที่ได้รับมอบหมาย ให้ความ ช่วยเหลือผู้ป่วยหรือญาติ จนสร้างการยอมรับให้กับทีมงาน ผู้ป่วย และญาติ หรือทีมดูแลผู้ป่วยอื่นๆ อันเป็นวิธีการที่นุ่มนวลแม้จะ ใช้ เ วลาบ้ า งก็ ต าม อาจใช้ เ วที ป ระชุ ม ที ม งาน หรื อ ช่ อ งทางอื่ น ๆ น�ำเสนอแนวคิดการท�ำงานในมิตินี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจชักชวน หรือจ�ำเป็นต้องแนะน�ำทักษะการท�ำงานด้านนี้ให้ทีมงานได้ทดลอง น�ำไปใช้ จะช่วยให้เขาสัมผัสถึงคุณค่าที่เกิดขึ้นต่อผู้ได้รับการดูแล และแน่นอนที่สุดว่าการดูแลทางกายและมิติอื่นๆ ของเราก็ต้องยัง ได้รับการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน

����������������������������������.indd 50

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

51

จะเห็นได้ว่าการจัดโครงสร้างและระบบบริหารจัดการเพื่อ การดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยที่กล่าวมาไม่ได้แยกออกจาก การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่มีอยู่แล้วในระบบ เพราะมิติ สุขภาพด้านนี้ควรผสานเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับการดูแลร่างกายของ ผู้ป่วย การเน้นกล่าวถึงก็เพื่อความชัดเจน และป้องกันการละเลย ขณะที่ทุ่มเทความสนใจไปกับเรื่องทางกายของผู้ป่วย ควรตระหนัก ว่ า บุ ค ลากรแต่ ล ะคนอาจมี ค วามสนใจและเชี่ ย วชาญในการดู แ ล ผู้ป่วยระยะท้ายในด้านที่แตกต่างกัน ส�ำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ที่ มี ท รั พ ยากรมาก อาจมี บุ ค ลากรที่ เ ชี่ ย วชาญด้ า นการให้ ค วาม ช่วยเหลือมิติทางปัญญาเฉพาะขึ้นมาได้ หรือในหน่วยงานที่มีขนาด เล็กก็อาจขอความร่วมมือจากพระภิกษุที่มีทักษะและสนใจช่วยเหลือ ให้เข้ามาท�ำหน้าที่นี้ได้เช่นกัน

กรณีศึกษาการทำ�งานดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ในที่นี้จะได้น�ำเสนอแนวทางการเริ่มงานดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ใน ๓ พื้นที่ ซึ่งช่วยให้เห็นรูปธรรมในการท�ำงานที่เกิดขึ้นอย่างเป็น ธรรมชาติ รวมทั้งรูปแบบการจัดระบบและโครงสร้างได้ชัดเจนขึ้น กรณีศึกษาที่ ๑ ก่อตัวด้วยหัวใจ ทีมงานของโรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ มีความโดดเด่น ในงานเชิ ง รุ ก เยี่ ย มผู ้ ป ่ ว ยในชุ ม ชน โดยพยาบาลมี บ ทบาทในการ ประสานงานกับชุมชน สร้างกระบวนการเรียนรู้ อ�ำนวยความสะดวก

����������������������������������.indd 51

9/12/16 6:55 PM


52

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ให้พระสงฆ์และจิตอาสาเข้ามาท�ำงานร่วมกันอย่างราบรื่นเกิดประโยชน์ แก่ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยระยะสุดท้ายในพื้นที่จ�ำนวนมาก แต่หาก กล่าวถึงระบบและกลไกการท�ำงานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายภายใน โรงพยาบาลโดยตรง ยั ง อยู ่ ใ นช่ ว งก� ำ ลั ง ก่ อ ตั ว เพื่ อ พั ฒ นาภายใต้ ข้อจ�ำกัดหลายด้าน ท�ำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนครอบคลุมในทุกมิติ เช่น ความจ�ำกัดของสถานที่ พื้นที่ในหอผู้ป่วยที่คับแคบไม่สามารถ ให้ความสะดวกแก่ผู้ป่วยระยะท้ายและญาติได้มากนัก เป็นต้น คุณอุบล หาญฤทธิ์ พยาบาลแกนน�ำคนส�ำคัญของทีมเล่าว่า เมื่อประมาณ ๑๐ ปีก่อน ช่วงที่ระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายยัง ไม่ได้ถูกพูดถึงมากนัก โรงพยาบาลนครพิงค์ได้สร้างทีมเพื่อการดูแล ผู้ป่วยระยะสุดท้ายขึ้นในโรงพยาบาล ภายใต้ภาพของชุมชนนักปฏิบัติ (COP) มีแพทย์ท่านหนึ่งเป็นหัวหน้าทีมและได้รับความร่วมมืออย่างดี จากฝ่ายการพยาบาล สร้างทีมงานได้ประมาณ ๒๐ คน เข้าไปช่วย

����������������������������������.indd 52

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

53

ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหอผู้ป่วยต่างๆ แต่เมื่อแพทย์หัวหน้าทีมลาไป ศึกษาต่อ และหัวหน้าพยาบาลท่านเดิมเกษียณราชการ ก็ท�ำให้งาน สะดุดลง เกิดข้อจ�ำกัดการสื่อสารกันในกลุ่มไม่เข้าใจบทบาทของกัน และกัน จนเป็นเหตุให้ต้องล้มเลิกภารกิจในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย อย่างเป็นทางการไป แต่กระนั้นความรู้สึกประทับใจ เห็นคุณค่าของกิจกรรมที่มีต่อ ผู้ป่วยและญาติ ประกอบกับประสบการณ์และโอกาสในการเข้าถึง ผู้ป่วยพอมีอยู่บ้าง ท�ำให้ช่วงระยะเวลา ๖-๗ ปีหลังจากทีมงาน COP ที่ร่วมกันดูแลผู้ป่วยระยะท้ายยุติบทบาทไปนั้น ยังคงมีทีมงานกลุ่ม เล็กๆ ที่ไม่อยากให้งานหยุดลง ยังคงเยี่ยมดูแลผู้ป่วยอย่างไม่เป็น ทางการ เช่น มีเพื่อนร่วมงานที่ท�ำงานในหอผู้ป่วยพบผู้ป่วยที่ก�ำลัง ทุกข์ทรมานอยู่ในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต ก็จะชักชวนไปเยี่ยม พูดคุยให้การดูแลในส่วนที่พอท�ำได้ และอีกส่วนหนึ่งได้น�ำทักษะ ด้านนี้ไปใช้ดูแลผู้ป่วยในชุมชนในความรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ ใหม่ของตน บางครั้งมีผู้ป่วยหนักจากชุมชนที่ทีมเยี่ยมบ้านติดตาม และเข้ามานอนรักษาตัวในหอผู้ป่วย ทีมงานจะชวนจิตอาสาหรือ พระเข้ามาเยี่ยมให้ก�ำลังใจแก่ผู้ป่วยในฐานะญาติพี่น้องเพื่อนฝูงที่ คุ้นเคยกัน แม้เมื่อต้นปี ๒๕๕๘ ที่กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายให้ โรงพยาบาลทุกแห่งตั้งหน่วยงานรับผิดชอบการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ขึ้นโดยตรง โรงพยาบาลนครพิงค์ก็ยังอยู่ระหว่างการปรับตัว ไม่ได้ ใช้ศักยภาพที่มีอยู่เดิมมาเป็นฐานในการพัฒนางานด้านนี้เท่าใดนัก

����������������������������������.indd 53

9/12/16 6:55 PM


54

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ท� ำ ให้ กิ จ กรรมที่ เ ครื อ ข่ า ยพุ ท ธิ ก าเข้ า มาให้ ก ารสนั บ สนุ น ถู ก เน้ น ไปที่การท�ำงานในชุมชนตามความสนใจและหน้าที่รับผิดชอบของ ผู้ประสานงานเป็นหลัก ส่วนระบบและกลไกหลักในการท�ำงานนี้ ภายในโรงพยาบาลยังคลุมเครือ ไม่มีทีมช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้าย อย่างเป็นทางการ ไม่มีระบบการส่งขอค�ำปรึกษา มีเพียงการส่ง พยาบาลวิชาชีพไปฝึกอบรมระยะยาวในเรื่องนี้ เพื่อเตรียมความ พร้อมให้รับผิดชอบงานต่อไปในอนาคต กระทั่งในช่วงปลายปี ๒๕๕๘ จึงได้มีความพยายามจัดประชุมผู้สนใจและผู้เกี่ยวข้องที่จะท�ำงาน ด้านนี้อีกครั้ง ซึ่งต้องติดตามว่าระบบและกลไกการท�ำงานเรื่องนี้ ของโรงพยาบาลนครพิงค์จะเป็นอย่างไรต่อไป โดยสรุประบบและกลไกการท�ำงานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใน ภาพรวมของโรงพยาบาลนครพิงค์ถือว่าอยู่ในระยะเริ่มต้น ก�ำลัง เตรี ย มบุ ค ลากรและพั ฒ นาระบบการท� ำ งานขึ้ น ใหม่ เ ช่ น เดี ย วกั บ โรงพยาบาลส่ ว นใหญ่ ที่ รั บ นโยบายของกระทรวงสาธารณสุ ข ไป ปฏิบัติ แต่ในทางปฏิบัติได้มีการให้การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้าย กันอย่างไม่เป็นทางการอยู่แล้วทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน ซึ่ง เกิดจากทีมงานของโรงพยาบาลที่เคยท�ำงานด้านนี้มาก่อน และเห็น คุณค่าของการดูแลที่มีต่อผู้ป่วยและญาติจึงอาสาท�ำงานด้วยใจต่อ ตามศักยภาพและโอกาสที่ตนพอท�ำได้ ส่วนงานในชุมชนนั้นเติบโต ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของพื้นที่ซึ่งได้ขยายกิจกรรมนี้สู่ รพ.สต. ทั้งในอ�ำเภอแม่ริม และอ�ำเภออื่นๆ ที่สนใจ มีการจัดฝึกอบรมให้ ความรู้ ดูงาน ถ่ายทอดประสบการณ์ พัฒนากิจกรรม สนับสนุน

����������������������������������.indd 54

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

55

เครื่องมืออุปกรณ์ในการท�ำงาน สร้างความเข้มแข็งและกระตุ้นการ ท�ำงานของเครือข่ายได้เป็นอย่างดี เป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่นในการ ท�ำงานระดับชุมชนได้ กรณีศึกษาที่ ๒ ทีมงานภายในและปัจจัยหนุนภายนอก โรงพยาบาลครบุ รี จ.นครราชสี ม า เริ่ ม ต้ น งานดู แ ลผู ้ ป ่ ว ย ระยะท้าย จากความสนใจของแพทย์ท่านหนึ่งที่มีโอกาสเข้าร่วม อบรมหลักสูตรเผชิญความตายอย่างสงบ ของเสมสิกขาลัย ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๑ หลังจากนั้นได้ขอความสนับสนุนจากโรงพยาบาล ให้ ทยอยส่งพยาบาลและเจ้าหน้าที่ที่สนใจเข้าร่วมอบรมทั้งในหัวข้อนี้ และหัวข้ออื่นที่เกี่ยวข้องเป็นระยะ จากนั้นจึงได้เริ่มร่วมกันให้การ ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาลตามก�ำลัง ต่อจากนั้น เครือข่ายโรงพยาบาลในจังหวัดนครราชสีมาให้ความสนใจพัฒนาระบบ การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย โดยมีโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น เป็นแกนน�ำในทางวิชาการ จัดระบบ จัดการอบรมให้ ความรู้เพิ่มเติมกับบุคลากร จึงเป็นโอกาสในการพัฒนาระบบการ ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาลให้ชัดเจนขึ้น มีระบบการรายงาน ข้อมูลการท�ำงาน และแบบบันทึกการท�ำงานต่างๆ อย่างชัดเจน ในช่วงปี ๒๕๕๔ ขณะที่เครือข่ายพุทธิกาได้ด�ำเนินโครงการ ส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ โรงพยาบาล และชุมชนในการเยียวยา จิตใจผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย โรงพยาบาลครบุรีได้เข้าร่วม

����������������������������������.indd 55

9/12/16 6:55 PM


56

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

โครงการครั้งนั้นด้วย ท�ำให้ได้รับความรู้และทักษะที่เป็นประโยชน์ ต่อการปฏิบัติงาน เป็นการเปิดโอกาสให้ได้นิมนต์พระสงฆ์เข้ามา ร่วมดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่โรงพยาบาล พร้อมกันนั้นโรงพยาบาล มหาราชนครราชสีมาได้ส่งแพทย์ที่ศึกษาเพิ่มเติมเฉพาะทางด้าน เวชศาสตร์ ค รอบครั ว มาท� ำ งานดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยระยะท้ า ยโดยตรงที่ โรงพยาบาลครบุรี แพทย์กลุ่มนี้มีโอกาสรับการอบรมเพิ่มเติมใน เรื่องการดูแลผู้ป่วยประคับประคองที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์กับ ทีมอาจารย์แพทย์หญิงศรีเวียง มีการร่วมประชุมทีมผู้ท�ำงานร่วมกับ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว น�ำเสนอข้อมูลปัญหาการท�ำงานให้ท่าน ผู้อ�ำนวยการทราบ โดยเสนอขอให้มีพยาบาลเวรลอยเพิ่มเพื่อดูแล ผู้ป่วยประคับประคองและประสานงานกับพระภิกษุสงฆ์ที่หอผู้ป่วยใน ทั้ง ๒ ตึก สัปดาห์ละ ๑ วัน เพื่อให้มีเวลารับผิดชอบงานข้อมูล และประสานงานด้านดูแลผู้ป่วยระยะท้ายอย่างเต็มที่ งานดูแลผู้ป่วย ระยะท้ายของโรงพยาบาลจึงพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง หากกล่าวถึงการวางระบบและกลไกการท�ำงานด้านนี้ของ โรงพยาบาลครบุรีโดยตรง ต้องยอมรับว่ายังไม่เป็นระบบที่ชัดเจน ยังไม่มีการตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามนโยบาย ของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากไม่มีบุคลากรเพียงพอที่จะให้มา รับผิดชอบงานนี้ แต่ขั้นตอนการท�ำงานที่แม้จะยังไม่เป็นทางการ ก็ถูกจัดอย่างเป็นระบบตามกรอบของจังหวัดที่พัฒนาขึ้น บุคลากร ท�ำงานนี้ด้วยใจรักงานเพราะเห็นประโยชน์ที่เกิดต่อผู้ป่วย

����������������������������������.indd 56

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

57

หลังจากมีแพทย์ที่ศึกษาเวชศาสตร์ครอบครัวมาฝึกงานด้านนี้ อย่างต่อเนื่อง ท�ำให้มีระบบการขอค�ำปรึกษาเพื่อการดูแลผู้ป่วย ระยะท้ายโดยตรง พร้อมกันนั้นพยาบาลประจ�ำหอผู้ป่วยที่พบว่า ผู้ป่วยมีอาการหนักมากจะปรึกษากันในทีมเพื่อให้การช่วยเหลือ ผู้ป่วยก่อนโดยไม่ถือว่าก้าวก่ายงานกัน รวมทั้งแพทย์ประจ�ำเดิมของ โรงพยาบาลเริ่มเห็นคุณค่า ให้การยอมรับ และให้ความร่วมมือใน การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายมากขึ้น กลไกสนับสนุนทางวิชาการของ โรงพยาบาลศรี น คริ น ทร์ ไ ด้ ช ่ ว ยให้ แ พทย์ แ ละที ม เภสั ช กรของ โรงพยาบาลได้ช่วยจัดหายาแก้ปวดให้กับผู้ป่วยระยะท้ายได้อย่าง เพียงพอและเหมาะสม กล่าวได้ว่าความส�ำเร็จในการท�ำงานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของ โรงพยาบาลครบุรี ไม่ได้อิงอยู่กับระบบกลไกการท�ำงานที่ตั้งขึ้น ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข แต่เกิดจากการเห็นคุณค่า ของงาน การเสียสละของบุคลากร รวมทั้งจังหวะที่มีทีมงานด้าน วิชาการและองค์กรภายนอกเข้ามาพอดี ทั้งส�ำนักงานสาธารณสุข จั ง หวั ด โรงพยาบาลศรี น คริ น ทร์ เครื อ ข่ า ยพุ ท ธิ ก า และการมา ฝึกงานของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ท�ำให้กลไกขับเคลื่อนไปได้ และเติบโตมาเป็นล�ำดับ สิ่งส�ำคัญที่ขาดไม่ได้คือการสนับสนุนของ ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาล ซึ่งเป็นศัลยแพทย์ไม่ถนัดในเรื่องนี้ แต่ให้ การสนั บ สนุ น อย่ า งเต็ ม ที่ ทั้ ง เปิ ด โอกาสให้ มี พ ยาบาลเวรลอยถึ ง ๒ ต�ำแหน่ง สนับสนุนเจ้าหน้าที่ให้ไปอบรม จัดรถรับส่งพระ และ

����������������������������������.indd 57

9/12/16 6:55 PM


58

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

อ�ำนวยความสะดวกในการท�ำงานชุมชน ซึ่งก�ำลังจะก่อตัวอย่างเป็น รูปธรรมมากขึ้นในระยะต่อไป กรณีศึกษาที่ ๓ แพทย์คือผู้มีบทบาทสำ�คัญ งานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของโรงพยาบาลปะทิว จ.ชุมพร เริ่ม จากความสนใจส่วนตัวของคุณดวงพร ไชยรักษ์ พยาบาลวิชาชีพ ที่รับผิดชอบดูแลงานห้องคลอด ที่มีความสนใจเรียนรู้การท�ำงานใน มิติทางสังคมและจิตใจเป็นพื้นฐานอยู่ก่อน รวมกับเคยได้รับการฝึก อบรมด้านจิตเวชเพิ่มเติม และในปี ๒๕๔๙ มีโอกาสสมัครเข้าร่วม อบรมหลักสูตรเผชิญความตายอย่างสงบ โดยพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล น�ำการอบรมพร้อมทีมกระบวนกรของเสมสิกขาลัย ท�ำให้ได้ เข้าใจความตายในอีกมิติหนึ่งที่ลุ่มลึกและท้าทาย ความประทับใจใน เนื้อหาการอบรมครั้งแรก ท�ำให้สมัครเข้าร่วมหลักสูตรเข้มข้นใน ปีเดียวกัน และเริ่มน�ำประสบการณ์ที่ได้จากการอบรมมาใช้ช่วยเหลือ ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและผู้ป่วยใกล้เสียชีวิตในโรงพยาบาลปะทิว ผลจากการลองผิดลองถูกท�ำงานนี้อยู่คนเดียวในโรงพยาบาล และมีโอกาสได้ศึกษาอบรมเพิ่มเติมมาบ้าง ท�ำให้น้องๆ รวมทั้งเพื่อน ร่วมงานเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้ป่วย และขอเข้าร่วม เรียนรู้สอบถามถึงสิ่งที่เธอท�ำ ผ่านไปประมาณ ๓ ปี จึงเริ่มมีผู้สนใจ จะเข้าร่วมอบรมเรียนรู้งานด้านนี้ และโรงพยาบาลให้การสนับสนุน ส่งเจ้าหน้าเข้าร่วมอบรมในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จวบจนปัจจุบัน

����������������������������������.indd 58

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

59

มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด ๙ คน ที่ผ่านหลักสูตรอบรมระยะสั้นเกี่ยวกับ เรื่องนี้จากที่ต่างๆ มาช่วยกันท�ำงานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามดวงพรเล่าว่า ทีมงานที่แม้จะเคยผ่านการอบรม มาแล้ว แต่ส่วนใหญ่จะช่วยให้การดูแลทางร่างกายและจิตใจของ ผู้ป่วยในเบื้องต้นเป็นหลัก เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะท้าย โดยเฉพาะผู้ที่มี ปัญหาซับซ้อนติดค้างในใจ น้องๆ มักจะตามเธอหรืออีก ๒ คน ใน ทีมให้ไปช่วยเสมอ โดยเหตุผลที่เคยร่วมกันประเมินว่าท�ำไมทุกคน ไม่สามารถช่วยผู้ป่วยได้ทุกรายพบว่า เป็นเพราะน้องๆ ยังไม่มีความ มั่นใจเต็มที่ในการช่วยเหลือผู้ป่วยในช่วงวิกฤติ ซึ่งจ�ำเป็นต้องพัฒนา กันต่อไป การที่เครือข่ายพุทธิกาได้เข้ามาท�ำงานโครงการส่งเสริมบทบาท พระสงฆ์ โรงพยาบาล และชุมชน ในการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยเรื้อรัง และระยะสุดท้าย (โครงการระยะที่ ๑) ที่จังหวัดชุมพร โรงพยาบาล ปะทิวได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในเครือข่าย แม้ภาพรวมเครือข่ายการ ท�ำงานของทีมจังหวัดชุมพรยังมีจุดที่ต้องพัฒนาอีกหลายด้าน แต่ โครงการได้ทำ� ให้การท�ำงานช่วยเหลือผูป้ ว่ ยระยะท้ายในโรงพยาบาล ปะทิวได้รับการพูดถึง ยอมรับ และมีการท�ำงานที่เป็นระบบเป็น ทางการมากขึ้น ทุกวันนี้ กล่าวได้ว่างานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของโรงพยาบาล ปะทิ ว ได้ รั บ การพั ฒ นาและได้ รั บ การยอมรั บ มากขึ้ น เจ้ า หน้ า ที่ เริ่มเห็นข้อดีจากประสบการณ์ที่ผู้ป่วยหรือญาติบอกเล่า เจ้าหน้าที่

����������������������������������.indd 59

9/12/16 6:55 PM


60

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

บางรายได้น�ำเทคนิคการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายกลับไปใช้ในครอบครัว ของตน หรือขอให้ทีมงานเข้าไปช่วยญาติของตนเป็นการส่วนตัว ทีมงานทุกฝ่ายในโรงพยาบาลเห็นคุณค่าของการดูแลผูป้ ว่ ยระยะท้าย มากขึ้น เห็นความจ�ำเป็นของการให้พระมาช่วยผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิต บางรายอนุญาตให้น�ำรถของโรงพยาบาลไปรับพระมาจากวัดได้ แต่ อย่างไรก็ตามการท�ำงานยังคงไม่มีระบบที่ชัดเจน ยังไม่มีการจัดตั้ง หน่วยงาน ทีมงาน หรือองค์กรอย่างชัดเจน แพทย์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ในหอผู้ป่วย ยังคงไหว้วานให้ทีมงานเข้าไปดูแลผู้ป่วยหนักโดยไม่ได้ เขียนใบขอปรึกษา หรือมีค�ำสั่งแพทย์ลงในแฟ้มประวัติผู้ป่วยแต่ อย่างใด การท�ำงานในชุมชนเริ่มมีการประสานส่งต่อผู้ป่วยหนักที่จะ กลับบ้านและต้องการความช่วยเหลือต่อไปยังโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพประจ�ำต�ำบล ซึ่งแม้จะเป็นรูปธรรมมากขึ้นแต่ยังมีอีกหลาย ขั้นตอนที่ควรจะพัฒนาต่อไปให้คล่องตัว เป็นระบบ และมีผู้รับผิดชอบ ที่ชัดเจนขึ้น บางครั้งท�ำให้ต้องประสานงานโดยอาศัยความคุ้นเคย ส่วนตัว ต้องจัดสรรเวลาและทรัพยากรส่วนตัวเข้าไปให้การช่วยเหลือ ผู้ป่วยเท่าที่จะท�ำได้ อย่างไรก็ตามการที่นโยบายค่อยๆ พัฒนาชัดเจน ขึ้ น มี ร ะบบ และความต้ อ งการเก็ บ ตั ว เลขข้ อ มู ล การท� ำ งานเพื่ อ ประกอบรายงานและการประเมินผลงานต่างๆ ในด้านนี้ ก็มีส่วน ผลักดันให้งานมีความชัดเจน และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้เป็นระบบ ในช่วงเวลาต่อไปได้ไม่ยากนัก

����������������������������������.indd 60

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

61

การจัดการภารกิจที่ได้รับมอบหมาย หน่วยดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่ตั้งขึ้นใหม่ควรท�ำความเข้าใจ ขอบเขตเนื้ อ หาของภารกิ จ และขั้ น ตอนการท� ำ งานที่ ต นได้ รั บ มอบหมายให้ชัดเจนตรงกับสิ่งที่ผู้บริหารต้องการ พร้อมทั้งจัดล�ำดับ ความส�ำคัญและความเร่งด่วนของงานเพือ่ จัดระบบให้ทำ� งานได้อย่าง ครบถ้วนครอบคลุม มีประสิทธิภาพ และไม่เกิดความขัดแย้งกับ บุ ค คลหรื อ หน่ ว ยงานอื่ น โดยเริ่ ม ที่ ก ารดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยระยะท้ า ยใน โรงพยาบาลก่อน จากนั้นจึงขยับไปดูแลผู้ป่วยในชุมชน การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาล เมื่อได้รับมอบหมายหน้าที่อย่างเป็นทางการแล้ว การดูแล ผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาลถือเป็นภารกิจหลักของหน่วยงาน ที่ ต ้ อ งท� ำ อย่ า งเต็ ม ก� ำ ลั ง ความสามารถและทรั พ ยากรที่ มี ส่ ว น รายละเอียดของระบบการท�ำงานว่าต้องด�ำเนินการอย่างไรแค่ไหน เป็นสิ่งที่ค่อยๆ พัฒนาขึ้นได้ภายหลังตามก�ำลัง และสร้างเป็นข้อตกลง ในการท�ำงานตามความพร้อมของตนเองและหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปนี้

����������������������������������.indd 61

9/12/16 6:55 PM


62

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

จะดูแลผู้ป่วยรายใดบ้าง ควรตกลงกับผูบ้ ริหารและทีมรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลว่า ทีมงานจะเริ่มเข้าหาผู้ป่วยเมื่อใด ใช้เกณฑ์ใดเป็นเครื่องตัดสิน แม้ โดยส่วนใหญ่จะมีแนวปฏิบตั ทิ คี่ อ่ นข้างชัดเจนว่าเมือ่ แพทย์เจ้าของไข้ ร้องขอให้ทีมดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเข้าไปดูแล แต่ทั้งนี้อาจแตกต่าง ไปบ้างตามบริบทของแต่ละพื้นที่ หากผู้บริหารหรือมีแพทย์ที่เห็น ความส�ำคัญของงานนี้ อาจก�ำหนดเกณฑ์การเข้าไปดูแลที่กว้างขึ้น เช่น ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจาย แล้วทุกราย หรือผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองเรื้อรังทุกราย ควรได้รับการ ดูแลจากทีม เป็นต้น ซึ่งหากเป็นกรณีเช่นนี้ทีมงานต้องสร้างระบบ เข้าถึงผู้ป่วยให้ครอบคลุมและรวดเร็ว หากมีผู้ป่วยจ�ำนวนมากที่ต้อง ดูแลแต่บุคลากรและทรัพยากรจ�ำกัด ต้องมีเกณฑ์จัดล�ำดับความ ส�ำคัญของผู้ป่วยที่จะเข้าไปให้การดูแลก่อน รวมทั้งก�ำหนดแนวทาง หรือแผนการดูแลผูป้ ว่ ยในแต่ละสถานการณ์ทผี่ ปู้ ว่ ยมีสภาวะของโรค แตกต่างกันว่าควรจะด�ำเนินไปอย่างไร เช่น จะให้การดูแลด้านใดบ้าง กิจกรรมใดที่จ�ำเป็นต้องท�ำ กิจกรรมใดที่ควรเลือกท�ำ จะแบ่งความ รับผิดชอบผู้ป่วยในระหว่างทีมงานกันอย่างไร เวลาที่จะให้กับผู้ป่วย ควรมากน้อยเพียงใด จัดความถี่ในการเข้าเยี่ยมอย่างไร เป็นต้น ตัวอย่างเช่นผูป้ ว่ ยทีเ่ พิง่ ได้รบั การวินจิ ฉัยว่ามะเร็งแพร่กระจาย อาจท�ำเอกสารแนะน�ำการดูแลจิตใจสั้นๆ แจก เช่น ค�ำแนะน�ำเพื่อ การผ่อนคลายเบื้องต้นส�ำหรับผู้ป่วยมะเร็ง หรือเทคนิคการแผ่เมตตา แบบไร้ขีดจ�ำกัด พร้อมทั้งให้เบอร์โทรศัพท์หรือสถานที่ติดต่อเพื่อให้

����������������������������������.indd 62

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

63

ผู้ป่วยที่สนใจติดต่อได้ เป็นต้น ในกรณีผู้ป่วยหนักที่มีโอกาสเสียชีวิต ใน ๑ สัปดาห์ ที่ยังไม่เคยได้รับการดูแลมาก่อนอาจก�ำหนดมาตรฐาน ให้ มี ก ารเยี่ ย มดู แ ลทุ ก วั น วั น ละ ๑๕-๓๐ นาที โดยอาจก� ำ หนด คร่าวๆ ว่าจะพูดคุยกับผู้ป่วย/ญาติประเด็นใดบ้างตามล�ำดับ (ขึ้นกับ สภาพของผู้ป่วยเป็นหลัก) เป็นต้น การดูแลต่อเนื่องและจุดสิ้นสุดของการดูแล ในกรณีที่ต้องดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องไม่ชัดเจนว่าผู้ป่วยจะ เสี ย ชี วิ ต ลงเมื่ อ ใด ที ม งานควรมี ม าตรฐานการดู แ ลเช่ น กั น ว่ า จะ เข้าเยี่ยมบ่อยเพียงใด ใช้เวลาแค่ไหน มีเป้าหมายหรือเนื้อหาใดบ้าง ที่ ต ้ อ งเข้ า ไปติ ด ตามดู แ ล ซึ่ ง ขึ้ น อยู ่ กั บ ก� ำลั ง บุ ค ลากรและจ� ำ นวน ผู้ป่วยที่ก�ำลังรับผิดชอบดูแลอยู่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความรู้สึกเบื่อหน่าย ชินชา หรือหมดเรื่องคุย จนท�ำให้ละเลยผู้ป่วยที่นอนติดเตียงอยู่นานๆ ทีมงานควรชี้แจงผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ทราบถึงงาน บริการที่ต่อเนื่องนี้ รวมทั้งจุดสิ้นสุดของการดูแลผู้ป่วยแต่ละราย ของทีมงานด้วย เนื่องจากงานดูแลมิติทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย ควรครอบคลุ ม ไปถึ ง การดู แ ลญาติ / คนใกล้ ชิ ด ให้ ค ลายจากความ เศร้าโศก ได้เรียนรู้จากการจากไปของคนรัก ท�ำให้ด�ำเนินชีวิตอย่าง มีเป้าหมายและมีคุณค่ายิ่งขึ้น และกลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติและ เป็นประโยชน์ในสังคมต่อไป เนื่องจากจ�ำเป็นต้องใช้ทรัพยากร เวลา หรื อ ก� ำ ลั ง คนไปเพื่ อ กิ จ กรรมต่ อ เนื่ อ งเหล่ า นี้ ซึ่ ง ผู ้ บ ริ ห ารควรได้ รับทราบและให้การสนับสนุน

����������������������������������.indd 63

9/12/16 6:55 PM


64

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน ผู ้ ป ่ ว ยระยะท้ า ยที่ ข อกลั บ ไปดู แ ลต่ อ เนื่ อ งที่ บ ้ า นหรื อ ทาง โรงพยาบาลขอให้ญาติน�ำกลับไปดูแล ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ควรต้องได้รับการติดตามช่วยเหลือดูแลเป็นระยะ จนมั่นใจว่าผู้ป่วย จะได้ รั บ การดู แ ลเพี ย งพอและสามารถกลั บ เข้ า รั บ การรั ก ษาที่ โรงพยาบาลต่อได้เมื่อจ�ำเป็น หากผู้ป่วยพ�ำนักอยู่ในเขตรับผิดชอบ ของโรงพยาบาล ย่อมเป็นหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ต้องให้การดูแลต่อ แต่หากอยู่นอกเขตก็ต้องประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในพื้นที่ อย่างไรก็ตามบทบาทการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านของโรงพยาบาล มักมีทีมงานที่ท�ำงานด้านนี้อยู่แล้วซึ่งอาจไม่ได้เน้นการดูแลผู้ป่วย ระยะท้ า ยนั ก ที ม งานดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยระยะท้ า ยควรประสานงานกั บ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อติดตามเยี่ยมบ้านร่วมกัน จึงจะ เกิ ด ประโยชน์ ต ่ อ ผู ้ ป ่ ว ยสู ง สุ ด ภายใต้ ข ้ อ จ� ำ กั ด ของบุ ค ลากรและ ทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งท�ำได้ตั้งแต่การโทรศัพท์พูดคุย ให้ค�ำปรึกษา ให้ก�ำลังใจกับผู้ป่วย/ญาติ หรือให้ข้อมูลที่จ�ำเป็นแก่ทีมเยี่ยมบ้าน ฝากให้ช่วยดูแลเป็นพิเศษ อาจร่วมเยี่ยมกับทีมเยี่ยมบ้านเป็นครั้งคราว หรืออาจมีทมี เยีย่ มบ้านของตนเองติดตามเยีย่ มเฉพาะผูป้ ว่ ยระยะท้าย ในบางวันของสัปดาห์ โดยออกแบบกิจกรรมขณะเยี่ยมให้เหมาะสม กับลักษณะผู้ป่วยและรูปแบบการออกเยี่ยมของทีม

����������������������������������.indd 64

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

65

การบริหารงานภารกิจหลักที่ได้รับมอบหมายนี้ต้องให้ความ ส�ำคัญ และทุ่มเทท�ำงานให้เต็มประสิทธิภาพ ควรมีระบบเก็บข้อมูล ผลงาน เพื่อแสดงให้ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องได้เห็นประสิทธิผล ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไป

การแทรกมิติทางปัญญาในงาน การบริหารจัดการอีกส่วนหนึง่ ทีแ่ ทรกอยูใ่ นกระบวนการท�ำงาน ที่ ช ่ ว ยให้ ไ ม่ ล ะเลยเรื่ อ งการดู แ ลมิ ติ ท างปั ญ ญาของผู ้ ป ่ ว ยคื อ การ ก�ำหนดกิจกรรมที่มีเนื้อหาด้านสุขภาวะทางปัญญาเข้าไปในองค์กร วัฒนธรรมหน่วยงาน และแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น การจัดสถานที่ หากหน่วยงานมีพื้นที่ท�ำงานเป็นของตนเองชัดเจน การจัด สถานที่และบรรยากาศในห้องท�ำงานให้สะอาด เรียบร้อย สบายตา เอื้อต่อการมีจิตใจที่สงบเย็น จะช่วยให้ผู้ท�ำงานและคนที่เข้ามาติดต่อ รู้สึกผ่อนคลาย ได้รับพลังทางบวกโดยไม่รู้ตัว หากเป็นหน่วยงานใหญ่ มีงบประมาณเพียงพออาจว่าจ้างสถาปนิกหรือมัณฑนากรผูเ้ ชีย่ วชาญ ด้านนี้ออกแบบให้ แต่ถ้ามีงบจ�ำกัดหรือต้องท�ำกันเอง อาจเริ่มตั้งแต่ เลือกสีห้องที่ให้ความสงบ อบอุ่น เลือกวัสดุ ครุภัณฑ์ที่ดูเรียบง่าย สบายตา มีเส้นโค้งส่วนเว้าที่บ่งบอกถึงความหลากหลาย มีศิลปะ อ่อนโยน แตกต่างไปจากโต๊ะ ตู้ ป้ายประกาศ รูปสี่เหลี่ยมที่ให้

����������������������������������.indd 65

9/12/16 6:55 PM


66

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

บรรยากาศเคร่งครัด ชัดตรง เต็มไปด้วยมาตรฐาน หรือหากท�ำอะไร ไม่ได้มากนักก็อาจประดับด้วยต้นไม้ ดอกไม้ ตู้ปลา แต่งกลิ่นหอม จางๆ พอสดชื่น หรือจะหาเพลงผ่อนคลายมาเปิด กิจกรรมเสริมพลัง จิตใจที่เข้มแข็งสงบเย็นพร้อมทั้งมีสุขภาวะทางปัญญาหรือ ความสุขใจที่ได้รับการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง คือต้นทุนที่ส�ำคัญใน การท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วย หน่วยงานจึงควรมี กิ จ กรรมเสริ ม พลั ง และพั ฒ นาความสุ ข ใจของที ม งานที่ ถื อ ปฏิ บั ติ ร่วมกันเป็นปกติ กิจกรรมที่ท�ำได้ เช่น มีข้อธรรม หรือคติพจน์ใหม่ๆ ที่ให้ก�ำลังใจติดไว้ในที่มองเห็นง่าย มีข้อเตือนใจส�ำหรับการเป็น ผู้ดูแลจิตใจผู้ป่วย ก่อนเริ่มงานตอนเช้าอาจให้เวลาสวดมนต์แผ่เมตตา ร่วมกันสัก ๑๐ นาที มีกิจกรรมผ่อนพักตระหนักรู้หลังอาหารเที่ยง สัก ๓๐ นาที ต่อด้วยนั่งสมาธิอีกสัก ๑๕-๓๐ นาที มีเวลาจิบน�้ำชา กินขนมด้วยกันตอนบ่ายสัปดาห์ละ ๒-๓ ครั้ง เพื่อเป็นโอกาสคุย เรื่ อ งชี วิ ต และงาน รวมทั้ ง ใช้ ป ลดเปลื้ อ งความทุ ก ข์ ค วามอึ ด อั ด คับข้องใจที่อาจได้รับมาจากผู้ป่วยหรือญาติที่ให้การดูแลอยู่ ใน แต่ละเดือนควรมีเวลาที่เปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมเสนอกิจกรรม พิเศษได้ท�ำร่วมกันเพื่อเสริมสร้างปัญญาและความสามัคคีในกลุ่ม อาจเปิดโอกาสให้ทกุ คนได้หยุดไปปฏิบตั ธิ รรมในแนวปฏิบตั ทิ ตี่ นชอบ ปีละครั้ง และไปปฏิบัติธรรมด้วยกันทั้งหมดปีละครั้ง เป็นต้น

����������������������������������.indd 66

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

67

ความสงบมั่นคงขณะทำ�งาน นอกเหนือจากการอบรมทักษะพื้นฐานทั่วไปในการดูแลผู้ป่วย แล้ว ในการท�ำงานประจ�ำทีมงานควรสร้างหลักปฏิบัติที่ช่วยเตือนให้ ไม่ละเลยการดูแลมิติทางปัญญาของตนเองและผู้ป่วย โดยอาจเป็น กิจกรรมเล็กๆ ที่คนนอกทีมอาจไม่มีโอกาสได้รับรู้ เช่น อาจมีเหรียญ หรือภาพของพระพุทธเมตตา (หรือพระอื่นที่ทีมงานศรัทธา) ติดไว้ ด้ า นในเสื้ อ คลุ ม ที่ ป ลอกแขน หรื อ สิ่ ง อื่ น ที่ ที ม ต้ อ งใส่ ติ ด ตั ว ขณะ ออกเยี่ยมผู้ป่วย ก่อนสวมเสื้อคลุมออกจากหน่วยไปเยี่ยมผู้ป่วยให้ ตั้งจิตอธิษฐานขอพรและพลังจากพระพุทธเมตตาให้ช่วยเกื้อหนุน การท�ำงานดูแลผู้ป่วย รวมทั้งให้ระลึกถึงท่านก่อนจะสัมผัสตัวผู้ป่วย หรือก่อนร�่ำลาจากผู้ป่วย เป็นต้น อาจก�ำหนดเป็นข้อเตือนใจว่า ก่อนที่จะพูดค�ำแรกกับผู้ป่วย หรือก่อนที่จะให้ค�ำแนะน�ำอะไรแก่ผู้ป่วย ให้กลับมาดูลมหายใจตนเองทุกครั้งก่อน ปล่อยวางเสียงในหัวของเรา และความคาดหวังต่างๆ ก่อน แล้วอยู่กับผู้ป่วยที่อยู่ตรงหน้าอย่าง ตั้งใจ หรือก่อนจะละสายตาจากผู้ป่วยหรือญาติหลังการเยี่ยม ให้ ท่องบทแผ่เมตตาในใจ “สุขีอัตตานังปะริหะรันตุ” พร้อมทั้งยิ้มด้วย เมตตาก่อนเสมอ เป็นต้น ทีมงานควรคิดเทคนิคเหล่านี้ให้เหมาะกับ ตนหรือทีมงานโดยรู้ความหมายและเชื่อมั่นในคุณค่าของสิ่งที่ท�ำด้วย ในเบื้องต้นอาจรู้สึกขัดเขินเมื่อปฏิบัติ แต่หากท�ำเป็นประจ�ำแล้ว เงื่อนไขแห่งสติและปัญญาเหล่านี้ นอกจากจะท�ำให้ไม่ลืมที่จะนึกถึง ประเด็นด้านสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยแล้ว ยังช่วยเติมคุณค่า ทางปัญญาให้กับผู้ดูแลเองด้วย

����������������������������������.indd 67

9/12/16 6:55 PM


68

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

การบันทึกผลงาน ตรวจสอบ ประเมินผล และพัฒนางาน การเก็บข้อมูลการท�ำงาน ตรวจสอบ ประเมินผล คือส่วนส�ำคัญ ที่ช่วยให้เห็นผลงานและใช้พัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าต่อไป จึงควร มีแผนการท�ำงานด้านนี้ไว้ตั้งแต่ต้นเพื่อมิให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นระหว่าง การท�ำงานสูญหายหรือกระจัดกระจายไป และไม่กลายเป็นภาระหนัก เมื่ อ ต้ อ งย้ อ นกลั บ มาค้ น หาหรื อ จั ด ท� ำ ระบบบั น ทึ ก ใหม่ ภ ายหลั ง สิ่งเหล่านี้ยังใช้เป็นตัววัดประสิทธิภาพในการท�ำงาน บ่งบอกถึงผลงาน ที่ได้ท�ำไปแล้วทั้งของหน่วยและทีมงานแต่ละคน เป็นเครื่องมือที่ จ�ำเป็นต่อการชี้แจงให้กับทีมผู้บริหาร เพื่อขอสนับสนุนการด�ำเนินการ ในส่วนที่เหมาะสมต่อไป

����������������������������������.indd 68

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

69

บันทึกผลงาน การบันทึกข้อมูลการท�ำงานเป็นภารกิจที่ต้องท�ำให้เป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นการท�ำงานอย่างไม่เป็นทางการด้วยจิตอาสาของตนเอง หรือเมื่อได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นทางการยิ่งต้องท�ำให้ เป็นระบบ การบันทึกช่วยให้ได้กลับมาทบทวนเรียนรู้สิ่งที่ได้ดูแล ผู้ป่วย รวมทั้งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ท�ำให้เห็นพัฒนาการของสภาพจิตใจ ของผู้ป่วยหรือญาติเมื่อต้องดูแลเยียวยาอย่างต่อเนื่อง และยังเป็น ฐานข้อมูลให้ใช้ทบทวนภาพรวมของงาน บันทึกการท�ำงานของ หน่วยงานยังรวมไปถึงกิจกรรมอื่นๆ ทั้งในส่วนที่เชื่อมโยงกับผู้ป่วย กับหน่วยงานอื่น หรือกิจกรรมในหน่วยงานของตน เช่น การพัฒนา ระบบ หรือบุคลากร เป็นต้น บันทึกที่ควรจัดท�ำขึ้นประกอบด้วย บันทึกการดูแลผู้ป่วย ในกรณีที่การเยี่ยมผู้ป่วยยังไม่ได้ท�ำอย่างเป็นทางการ ควรท�ำ สมุดบันทึกผลการเยีย่ มของตนเองไว้เพือ่ เก็บข้อมูลเตือนความทรงจ�ำ ในสิ่งที่ได้ดูแลผู้ป่วย ถ้าได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยอย่าง เป็นทางการแล้วยิ่งต้องท�ำให้ชัดเจนขึ้น ทั้งในส่วนการบันทึกข้อมูล ในแฟ้มผู้ป่วย (โดยทีมสหวิชาชีพ) ตามระบบของโรงพยาบาล และ บันทึกของหน่วยงานตนเองทีอ่ าจมีขอ้ มูลรายละเอียดในมิตทิ างปัญญา ของผู้ป่วยมากขึ้น ระบบการจัดเก็บข้อมูลควรท�ำให้ง่าย ครอบคลุม เนื้องาน และสามารถค้นหาเพื่อใช้เมื่อต้องการอ้างอิงได้สะดวก เป็นฐานข้อมูลที่เหมาะกับขนาดของหน่วยงาน และหากเป็นไปได้

����������������������������������.indd 69

9/12/16 6:55 PM


70

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ควรพัฒนาให้รองรับการเชือ่ มต่อเข้าเป็นส่วนหนึง่ ของระบบฐานข้อมูล ผู้ป่วยของโรงพยาบาลที่เชื่อมกับเครือข่ายข้อมูลการให้การรักษา ในส่วนอื่นๆ ด้วย ส� ำ หรั บ แฟ้ ม บั น ทึ ก ข้ อ มู ล และประวั ติ ก ารดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยโดย ละเอียดของหน่วยดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง ควร ต้องมีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ - ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล หมายเลข ประจ�ำตัวผู้ป่วย (H.N.) อายุ เพศ อาชีพ เบอร์โทรติดต่อผู้ป่วย-ญาติ สิทธิการรักษาพยาบาล โรคประจ�ำตัว ประวัติการรักษาโดยสังเขป และแพทย์ผู้ดูแล เป็นต้น - ข้อมูลประวัติท่ีจ�ำเป็นต่อการดูแลแบบประคับประคองและ ช่วยเหลือในมิติทางปัญญา เช่น ข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษา อาชีพ (เพื่อน ผู้ร่วมงาน) ศาสนา (ความเคร่งครัด ความสนใจ สายการ ปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ที่ศรัทธา วิธีท�ำบุญที่ท�ำบ่อยๆ) พื้นฐานทาง ครอบครัว (ฐานะ ที่มาของรายได้ ข้อมูลเกี่ยวกับภรรยา/สามี บุตร ความสัมพันธ์กับญาติพี่น้อง) พรสวรรค์ ความสามารถ/ความสนใจ พิเศษ (งานอดิเรก พืช/สัตว์เลี้ยง ดนตรี ศิลปะ ฯลฯ) ข้อมูลผู้ดูแล หลัก (ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย การศึกษา อาชีพ ภาระส่วนตัว ทักษะ การช่วยเหลือผู้ป่วย) เป็นต้น

����������������������������������.indd 70

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

71

- ข้ อ มู ล จ� ำ เพาะ ที่ ต ้ อ งติ ด ตามให้ ก ารดู แ ล เยี ย วยา เช่ น ความปวด การไม่ยอมรับข่าวร้าย ความกลัวตาย มีสิ่งที่ยังค้างคาใจ มีภาระหนี้สิน มีปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว ฯลฯ - บันทึกการดูแลที่ให้ เป็นการบันทึกกิจกรรมหลักๆ ที่ท�ำ ไปแล้ว เช่น การทดสอบการปวด แนะน�ำเทคนิคการผ่อนคลาย การ จัดให้อภัย/อโหสิกรรม การประชุมญาติ ฯลฯ และผลที่ได้จากการ ท� ำ กิ จ กรรมเหล่ า นั้ น รวมทั้ ง ข้ อ มู ล กิ จ กรรมที่ เ ข้ า พบดู แ ลผู ้ ป ่ ว ย ทุกครั้ง โดยส่วนนี้อาจแยกพื้นที่การบันทึกส�ำหรับเจ้าหน้าที่แต่ละ ระดับ เช่น แพทย์ พยาบาล แต่ยังสามารถเห็นภาพรวมของการ ดูแลผู้ป่วยได้ - สรุปทบทวนการดูแลผู้ป่วยรายสัปดาห์ เป็นพื้นที่ให้ผู้ดูแล หรือทีมงานร่วมกันทบทวนผลการดูแลผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อวางแผน การดูแลในช่วงต่อไป อาจใช้วิธีขีดเส้นใต้สีแดงคั่นในบันทึกการดูแล ประจ� ำ วั น เมื่ อ ครบ ๗ วั น แล้ ว เขี ย นบั น ทึ ก สรุ ป การดู แ ลประจ� ำ สัปดาห์ไว้ หรืออาจท�ำเป็นบันทึกเฉพาะแทรกรวมเข้าไว้ในแฟ้ม บันทึกการดูแลของผู้ป่วยแต่ละราย ควรเลือกวันที่มีภาระงานน้อย เช่น ทุกวันพุธ จะท�ำการสรุปการดูแลประจ�ำสัปดาห์ - สรุปปิดการดูแลผู้ป่วย เป็นการปิดแฟ้มติดตามผู้ป่วย หลังจาก ผู้ป่วยเสียชีวิต ตามดูแลการจัดพิธีศพตามความเหมาะสม และดูแล ญาติจนยอมรับความสูญเสียและกลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติได้

����������������������������������.indd 71

9/12/16 6:55 PM


72

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ในขณะที่ยังไม่มีแบบฟอร์มบันทึกมาตรฐานงานจากส่วนกลาง ให้ ใ ช้ แฟ้ ม ผู ้ ป ่ ว ยที่ ท� ำ ขึ้ น เองนี้ ค วรปรั บ รู ป แบบให้ เ หมาะสมกั บ ลักษณะและภาระงานของแต่ละโรงพยาบาล ควรเก็บข้อมูลของ คนไข้ที่ดูแลให้ได้ทุกราย ทั้งในโรงพยาบาลหรือในชุมชน หรือแม้แต่ การขอค�ำปรึกษาเฉพาะกิจเป็นครั้งคราวส�ำหรับผู้ป่วยอื่นที่ไม่ใช่ ผู้ป่วยระยะท้าย (อาจท�ำสมุดบันทึกส�ำหรับกลุ่มนี้โดยเฉพาะ ที่มี รายละเอียดน้อยกว่า) เพราะรายละเอียดในการดูแลเหล่านี้นอกจาก ใช้พัฒนางานในอนาคตแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับประเด็นทางกฎหมาย อันเนื่องมาจากการเสียชีวิตของผู้ป่วยด้วย บันทึกกิจกรรมหน่วยงาน นอกเหนือจากภารกิจหลักในการดูแลผู้ป่วยแล้ว หน่วยงาน ควรจัดเก็บข้อมูลการจัดกิจกรรมอื่นๆ ที่หน่วยงานจัดขึ้นหรือมีส่วน เข้าไปร่วมจัดกับหน่วยงานอื่นทั้งในโรงพยาบาล หรือนอกโรงพยาบาล เช่น

- กิ จ กรรมที่ จั ด ให้ ผู ้ ป ่ ว ย/ญาติ เช่ น การนิ ม นต์ พ ระมารั บ บิณฑบาต จัดพิธีสรงน�้ำพระวันสงกรานต์ เป็นต้น - กิจกรรมให้ผู้สนใจทั่วไป เช่น จัดนิทรรศการ ท�ำแผ่นพับให้ ความรู้ เสียงตามสาย ฯลฯ - กิจกรรมส�ำหรับบุคลากรโรงพยาบาล เช่น นิมนต์พระ/เชิญ วิทยากรมาบรรยายพิเศษในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

����������������������������������.indd 72

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

73

- กิ จ กรรมพั ฒ นาบุ ค ลากรในหน่ ว ยงาน เช่ น ส่ ง ไปอบรม ศึกษาต่อ ปฏิบัติธรรม เป็นต้น - กิจกรรมกับหน่วยงานนอกโรงพยาบาล เช่น ร่วมกิจกรรม ในวันผู้สูงอายุกับวัด องค์กรปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

ข้อมูลการจัดกิจกรรมเหล่านี้เป็นทั้งผลงานของหน่วยงานและ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในการท�ำงานของหน่วยที่สามารถน�ำไป แสดงแก่ผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้องได้ เป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อวางแผน พัฒนาหน่วยงานและแลกเปลีย่ นให้กบั พืน้ ทีอ่ นื่ ใช้เป็นแนวทางพัฒนา กิจกรรมร่วมกันต่อไป การทบทวนและประเมินผล การทบทวนและประเมินผลการท�ำงานเป็นกิจกรรมทีม่ ปี ระโยชน์ อย่างยิ่งต่อการพัฒนางาน ควรจัดให้มีการทบทวนและประเมินผล การท�ำงานเป็นหลายระดับที่มีความละเอียดแตกต่างกันไป เช่น การ ประเมินเบื้องต้นรายวันว่ามีความส�ำเร็จ ข้อผิดพลาด หรือปัญหา อะไรเกิดขึ้นบ้าง และได้ท�ำการแก้ไขไปอย่างไร รวมทั้งรายสัปดาห์ ราย ๖ เดือน หรือในรอบ ๑ ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้อาจจัดให้มีการ ทบทวนและประเมินผลการท�ำงานในผู้ป่วยแต่ละราย หรือเมื่อได้ จัดกิจกรรมบางอย่างขึ้นเป็นพิเศษในบางช่วง การประเมินนี้ควร กระจายความรับผิดชอบออกไป โดยมีหัวหน้าแต่ละทีมสรุปผลส่งมา เป็นล�ำดับ

����������������������������������.indd 73

9/12/16 6:55 PM


74

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

การทบทวนผลการท�ำงานในรอบช่วงเวลายาว เช่น ๑ ปีนั้น หากให้ ค วามส� ำ คั ญ จะเป็ น กิ จ กรรมในหน่ ว ยงานที่ เ ปิ ด โอกาสให้ ทีมงานได้เรียนรู้ร่วมกันที่ส�ำคัญยิ่ง สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการ ท�ำความเข้าใจปัญหาและเรียนรู้วิธีการแก้ไขไปด้วยกัน สร้างการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาหน่วยงาน ท�ำให้เกิดการยอมรับ เข้าใจกัน มีความสามัคคีในหน่วยงานได้เป็นอย่างดี ทั้งยังใช้เป็นเครื่องมือ ก�ำกับการท�ำงานของทีมงานให้มีความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้ตกลง ร่วมกันไว้ อย่างไรก็ตามการทบทวนและประเมินผลจะมีคุณค่าอย่าง แท้จริง มีจุดเริ่มต้นที่ข้อมูลการท�ำงานที่ได้บันทึกและรวบรวมไว้ แม้การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองจะมีเนื้องานที่ลึกซึ้ง ต้องเข้าใจสถานการณ์และร่วมสัมผัสอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น ในสถานการณ์นั้นๆ แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธการบันทึกและประเมิน คุณภาพงานที่ท�ำไปได้ ในขณะที่ยังไม่มีเครื่องมือและเกณฑ์มาตรฐาน ในการประเมิ น การท� ำ งานด้ า นนี้ โ ดยตรง หน่ ว ยงานควรพั ฒ นา เครื่องมือในการทบทวนตรวจสอบการท�ำงานของตนขึ้นมาเอง และ น�ำมาใช้ประเมินการท�ำงานของทีมงานของตนอย่างจริงจัง แนวทาง เบื้องต้นในการทบทวนและประเมินผลการท�ำงานที่ขอยกมากล่าว เป็นตัวอย่างในที่นี้ประกอบด้วย

����������������������������������.indd 74

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

75

การตรวจสอบบันทึกการทำ�งาน บันทึกการท�ำงานและกิจกรรมต่างๆ ทีก่ ล่าวถึงในหัวข้อทีผ่ า่ นมา ควรได้รับการตรวจสอบจากหัวหน้าทีมงานอย่างสม�่ำเสมอ เพื่อไม่ให้ ทีมงานละเลยการลงบันทึกข้อมูล ช่วยให้เห็นภาพรวมในการท�ำงาน ของทีม สามารถติดตามประเมินคุณภาพการท�ำงานของทีมย่อยหรือ ลูกทีมแต่ละคน และในบางสถานการณ์อาจสามารถช่วยแก้ปัญหา ที่ก�ำลังเผชิญอยู่ได้ การตรวจสอบบันทึกเหล่านี้ยังช่วยให้เห็นความ สัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นทั้งในและนอกโรงพยาบาลด้วย อันเป็น ข้อมูลที่จะใช้ในการปรับทิศทางการท�ำงานของหน่วยงานได้ หากยัง ไม่สามารถท�ำได้ทั่วถึงควรมีระบบการสุ่มตรวจในจ�ำนวนที่มากพอ ที่จะท�ำให้มั่นใจในสถานการณ์การท�ำงานของหน่วยงาน การประเมินผลการทำ�งานจากผู้เกี่ยวข้อง การจัดท�ำแบบประเมินง่ายๆ ให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ตัวผู้ป่วย ญาติ จิตอาสา และบุคลากรที่ต้องท�ำงานร่วมกันได้ประเมินความ พึงพอใจต่อการท�ำงานของทีม ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่จะท�ำให้ได้รับ ข้อมูลมาทบทวนและปรับปรุงการท�ำงาน ตัวอย่างแบบประเมิน เบื้องต้นในประเด็นต่างๆ ได้รวบรวมไว้ในภาคผนวก การประชุมทีมงาน การจัดประชุมทีมงานอย่างเป็นทางการ ควรท�ำสม�่ำเสมอทุก ๑-๒ สัปดาห์หรืออย่างน้อยเดือนละครั้ง จะช่วยให้มีโอกาสได้พูดคุย ทบทวนการท�ำงาน รับรู้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่ทีมงานแต่ละคนพบ

����������������������������������.indd 75

9/12/16 6:55 PM


76

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ทั้งเรื่องการดูแลผู้ป่วยและเรื่องอื่นๆ เพื่อจะได้ร่วมกันหาทางแก้ไข ต่อไป การจัดทำ�กรณีศึกษา กรณีที่บางคนในทีมงานมีโอกาสดูแลจิตใจผู้ป่วยระยะท้าย และญาติที่มีลักษณะพิเศษน่าสนใจน่าจะได้เรียนรู้ร่วมกัน การยก รายละเอียดของผู้ป่วยรายนั้นๆ มาศึกษาวิเคราะห์ (และอาจเชิญ บุคลากรจากหน่วยงานอื่นมาร่วมเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันด้วยก็ได้) ถือเป็นโอกาสได้ทบทวนแนวทางการดูแลผู้ป่วยและญาติร่วมกัน เรียนรู้จากผลการดูแลที่ปรากฏในมิติต่างๆ ร่วมกัน การจะจัดได้ บ่อยเพียงใดขึ้นกับว่ามีผู้ป่วยที่อยู่ภายใต้การดูแลเพียงใดด้วย ใน ช่วงเริ่มต้นการจัดให้ได้ ๑-๒ ครั้งต่อเดือนร่วมไปกับกิจกรรมอื่นๆ ก็ จะเป็นการกระตุน้ ให้มคี วามตืน่ ตัวในการท�ำงานและเก็บรายละเอียด ในการดูแลเพื่อใช้เตรียมน�ำเสนอด้วย การทบทวนประเมินผลทีมงานประจำ�ปี เป็นกิจกรรมที่ควรจัดให้มีขึ้นเพื่อประเมินผลสรุปภาพรวมการ ท�ำงานในรอบปีที่ผ่านมา เป็นการสรุปบทเรียนในการท�ำงานทุกด้าน ร่วมกัน พร้อมทั้งช่วยกันคิดก�ำหนดทิศทางการท�ำงานในปีต่อไป ผลการประชุมยังใช้เป็นข้อมูลในการเสนอแผนพัฒนาหน่วยงาน บุคลากร และการของบประมาณของหน่วยในปีงบประมาณต่อไปด้วย

����������������������������������.indd 76

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

77

บทสรุป แม้จะเป็นภาระที่เพิ่มขึ้น กินเวลา และดูเหมือนไม่ได้เกี่ยวข้อง กับผู้ป่วยโดยตรง แต่งานด้านบริหารจัดการ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นสิ่งจ�ำเป็นที่ต้องท�ำ และมีผลอย่างมากต่อการช่วยเหลือดูแล ผู้ป่วยให้ด�ำเนินไปอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยให้ พัฒนางานอย่างต่อเนื่องได้ แม้เรื่องการบริหารจัดการองค์กรจะเป็น ความรู้พื้นฐานที่ใช้ได้ทั่วไป แต่การน�ำมาใช้กับงานดูแลสุขภาวะ ทางปัญญาผู้ป่วยระยะท้ายเป็นเรื่องใหม่และลึกซึ้ง หลายอย่างไม่ สามารถนับออกมาเป็นตัวเลขหรือประเมินให้เห็นผลสัมฤทธิ์ที่เป็น รูปธรรมได้ ผู้ปฏิบัติงานจึงจ�ำเป็นต้องร่วมกันพัฒนาให้เป็นรูปธรรม เหมาะสมกับเนื้องานต่อไป

����������������������������������.indd 77

9/12/16 6:55 PM


����������������������������������.indd 78

9/12/16 6:55 PM


บ ท ที่ ๓

แนวทางการดูแลสุขภาวะทางปัญญา ในผู้ป่วยระยะท้าย

การดู แ ลสุ ข ภาวะทางปั ญ ญาของผู ้ ป ่ ว ยระยะท้ า ยเป็ น การ ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยและญาติที่ก�ำลังประสบวิกฤติครั้งใหญ่ในชีวิตให้ มีสติและจิตใจสงบเย็นผ่อนคลายลงบ้าง หรืออาจถึงขั้นท�ำให้เกิด ความสุขใจขึ้นได้ตามระดับพื้นฐานของแต่ละคน ซึ่งผู้ดูแลต้องน�ำ ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในชีวิต รวมทั้งทุ่มเทใจของตนเพื่อ ดูแลผู้ป่วยแต่ละราย ในบทนี้ขอน�ำเสนอแนวทางเบื้องต้นส�ำหรับผู้ที่ เริ่มเรียนรู้ในการช่วยเหลือเยียวยาใจผู้ป่วยและผู้ดูแลหรือคนใกล้ชิด ที่ก�ำลังมีความทุกข์ใจ ที่มีบางส่วนนอกเหนือไปจากแนวทางการ ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายทั่วๆ ไป อย่างไรก็ตามพึงตระหนักไว้เสมอว่า ข้อแนะน�ำต่างๆ ต่อไปนี้ เมื่อน�ำไปใช้จริงจะต้องได้รับการปรับใช้ให้ เหมาะกับสภาพของผู้ป่วยให้มากที่สุด

����������������������������������.indd 79

9/12/16 6:55 PM


80

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

การเตรียมตัวก่อนเยี่ยมผู้ป่วย การเตรียมตัวของผู้เยี่ยมให้พร้อม เป็นสิ่งจ�ำเป็นเบื้องต้นที่จะ ช่วยให้การเยี่ยมเป็นไปอย่างราบรื่น การเตรียมความพร้อมนั้นต้องท�ำ ทั้งในด้านร่างกาย เตรียมอุปกรณ์และกระบวนการ เตรียมทีมงาน และเตรียมจิตใจให้พร้อมที่จะรับฟังผู้ป่วย เตรียมร่างกาย ร่างกายต้องมีก�ำลังพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือผู้ป่วย แม้จะ เป็ น เพี ย งการไปรั บ ฟั ง ปั ญ หา หยิ บ จั บ หรื อ สั ม ผั ส กั บ ผู ้ ป ่ ว ยเพี ย ง เล็ ก น้ อ ย แต่ ก็ ต ้ อ งใช้ พ ลั ง ใช้ ค วามตั้ ง ใจ ร่ า งกายที่ เ หนื่ อ ยล้ า อ่อนเพลียจากการโหมท�ำงานหนัก การเจ็บป่วย คร�่ำเคร่งกับการ เรียน ฯลฯ ย่อมส่งผลต่อสมาธิในการฟัง จับประเด็นไม่ได้ ขาดความ ว่องไวในการสังเกตสีหน้า อารมณ์ หรือบรรยากาศในขณะที่คุย บางครั้ ง อาจถึ ง ขั้ น เผลอสั ป หงกขณะฟั ง ผู ้ ป ่ ว ยเล่ า เรื่ อ งยาวๆ จน ดูเหมือนไม่ให้ความส�ำคัญต่อคู่สนทนา นอกจากสภาพร่างกายที่พร้อมแล้ว การแต่งกาย อุปกรณ์ จ�ำเป็นต่างๆ ก็ควรเตรียมให้พร้อม ทีมงานผู้ดูแลสุขภาวะทางปัญญา ควรเป็นต้นแบบของทีมที่ท�ำงานด้วยใจ มีความสุข สงบ มีฉันทะใน งาน พร้อมที่จะเป็นขุมพลังที่คอยเติมความเข้มแข็ง ก�ำลังใจ และ แง่มุมทางปัญญาให้ผู้ป่วยและญาติ อาจรวมถึงทีมงานดูแลผู้ป่วย ชุดอื่นด้วย

����������������������������������.indd 80

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

81

เตรียมทีม ชื่อทีมงาน บัตรแสดงตัว เครื่องแบบท�ำงานในช่วงเวลาปกติ เป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่ควรละเลย เพราะคือภาพลักษณ์ที่ ส่งผลต่อท่าทีของผู้ป่วย ญาติ และทีมงานอื่นตั้งแต่แรกพบ “ทีม ส่งวิญญาณ” อาจเป็นเพียงชื่อที่เรียกกันเล่นๆ ในหมู่เจ้าหน้าที่ แต่ เมื่อผู้ป่วย ญาติ หรือผู้ป่วยรายอื่นที่ก�ำลังมีความทุกข์ความกังวล ในความเจ็บป่วยของตนได้ยินพอดี ย่อมเกิดความไม่สบายใจ ควร ตั้งชื่อที่ฟังแล้วไพเราะให้ก�ำลังใจให้ความรู้สึกที่ดีเกิดขึ้น เครื่ อ งหมายที ม อาจเป็ น เพี ย งสั ญ ลั ก ษณ์ ที่ เ พิ่ ม ลงไปบน เครื่องแบบเดิมของผู้ที่มีหลายบทบาทที่ต้องรับผิดชอบ เช่น เข็มกลัด ปลอกแขน หมวก เสื้อคลุม หรือบัตรประจ�ำตัวพิเศษ ฯลฯ เพื่อ แสดงตัวและเอกลักษณ์ของทีมเมื่อท�ำหน้าที่นี้ หากคิดออกแบบ มาอย่ า งดี อ าจช่ ว ยสื่ อ ถึ ง หลั ก คิ ด ในการท� ำ งานของที ม ไปถึ ง ผู ้ อื่ น อย่างไม่รู้ตัว การเตรียมปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้ให้พร้อมและน�ำมาใช้ อย่างเหมาะสมเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นทั้งกับตนเอง ผู้ป่วย ญาติ รวมทั้งผู้บริหารและผู้ที่พบเห็นการท�ำงาน นอกจากนี้ยังช่วย ให้จิตอาสาหรือพระภิกษุสงฆ์ที่เข้ามาร่วมดูแลรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของทีมงานไม่รู้สึกแปลกแยก ฝ่ายคนไข้และญาติเองก็ไม่รู้สึกว่า มีผู้อื่นที่แปลกปลอมเข้ามา

����������������������������������.indd 81

9/12/16 6:55 PM


82

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

เตรียมข้อมูล อุปกรณ์ และกระบวนการ การได้ศึกษาข้อมูลของผู้ป่วย ญาติ รวมทั้งทีมอื่นที่ดูแลผู้ป่วย ก่อนเข้าเยี่ยมจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง หากเป็นการเยี่ยมผู้ป่วย ครั้ ง แรกที ม งานควรศึ ก ษาข้ อ มู ล ผู ้ ป ่ ว ยเบื้ อ งต้ น จากแฟ้ ม ประวั ติ หรือหากมีโอกาสพูดคุยกับแพทย์เจ้าของไข้ หรือพยาบาลประจ�ำ หอผู้ป่วยก็จะช่วยให้เข้าหาผู้ป่วยได้ง่ายขึ้นและตรงจุด ดังนั้นเมื่อ มีจิตอาสา หรือพระภิกษุสงฆ์เข้ามาร่วมดูแลผู้ป่วย (ซึ่งมักเข้ามา หลังจากทีมของโรงพยาบาลดูแลไปแล้วระยะหนึ่ง) ทีมงานควรให้ ข้อมูลเบื้องต้นที่ตนมีกับทีมจิตอาสาที่มาใหม่ด้วย โดยแปลงให้เป็น ภาษาที่สามารถเข้าใจร่วมกันได้ง่าย หลังจากที่ได้พูดคุยท�ำความรู้จักกับผู้ป่วยเพิ่มขึ้นแล้ว อาจ จ�ำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ เอกสารเพื่อการบันทึกผลต่างๆ หรื อ อาจมี ก ระบวนการที่ ต ้ อ งท� ำ อย่ า งเป็ น ขั้ น ตอน ที ม งานควร เตรียมเอกสารให้พร้อม ศึกษาแนวทางการใช้เอกสารหรือเครื่องมือ ประกอบกิจกรรมนั้นๆ มาเป็นอย่างดี เพื่อจะได้น�ำมาใช้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ จัดเวลาได้เหมาะสมไม่รบกวนผู้ป่วยหรือระบบการ ดูแลผู้ป่วยตามปกติ มีระบบการเก็บบันทึกและประมวลผลไม่ให้ สับสนกับผู้ป่วยรายอื่น หากจ�ำเป็นต้องจัดพิธีกรรมบางอย่างให้ ผู้ป่วยที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้อื่นบ้าง เช่น เสียง กลิ่น การใช้พื้นที่ ฯลฯ ในกรณี เ ช่ น นี้ อ าจต้ อ งขออนุ ญ าตและท� ำ ความเข้ า ใจกั บ

����������������������������������.indd 82

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

83

เจ้าหน้าที่ประจ�ำหอผู้ป่วยก่อน แจ้งแพทย์ท่านอื่นที่ร่วมดูแลอยู่ ให้ทราบ แจ้งขออภัยผู้ป่วยรายอื่นที่อาจถูกรบกวนบ้าง (ซึ่งควร รบกวนให้น้อยที่สุด) หากเป็นไปได้อาจเชิญชวนผู้ป่วยรายอื่นให้ เข้าร่วมกิจกรรมไปด้วยกัน เตรียมจิตใจ การเตรียมจิตใจของทีมผู้ดูแลสุขภาวะทางปัญญาให้พร้อมก่อน เข้าพบผู้ป่วย เป็นสิ่งที่มีความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง จิตใจที่มีความพร้อม สงบเย็น มีพลัง กอปรด้วยกรุณาคืออุปกรณ์ส�ำคัญที่ใช้ช่วยเหลือ ผู ้ ป ่ ว ยและญาติ หากขณะนั้ น ไม่ พ ร้ อ มด้ ว ยเหตุ ใ ดเหตุ ห นึ่ ง เช่ น มีภาระอื่นเร่งด่วนที่ต้องท�ำ หรืออาจเป็นฝ่ายผู้ป่วยและญาติที่ยัง ไม่พร้อม ก็ควรเลื่อนการเยี่ยมหรือการท�ำกิจกรรมที่ต้องใช้ความ สงบ สมาธิ หรือใช้เวลามากๆ ออกไปก่อน ในภาวะปกติที่เยี่ยมโดย ทีมเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ก่อนเข้าเยี่ยมผู้ป่วยควรหาโอกาสท�ำ จิตใจให้สงบมีสมาธิ ปลูกความกรุณา แผ่เมตตาสักครู่หนึ่ง ก็จะช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการท�ำงานได้มาก หากในครั้งนั้นทีมงานได้เชิญจิตอาสาและพระภิกษุให้เข้าร่วม ดูแลผู้ป่วยด้วย เป็นการดีที่หลังจากได้ฟังสรุปข้อมูลของผู้ป่วยที่จะ ไปเยี่ยมทั้งหมดแล้วจะมีเวลาได้ท�ำความสงบจิตใจร่วมกัน และควร ท�ำอีกครั้งเมื่อสรุปผลการเยี่ยมร่วมกันก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับ

����������������������������������.indd 83

9/12/16 6:55 PM


84

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

เตรียมเผชิญความขัดแย้ง แม้ว่าผู้ป่วยคือจุดศูนย์กลางที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสนใจ และ ต่างมุ่งเป้าหมายเดียวกันคือ ต้องการให้ผู้ป่วยได้รับสิ่งที่เหมาะสม ที่สุด แต่ด้วยพื้นฐานของผู้เกี่ยวข้องที่แตกต่างกัน หลายครั้งได้ท�ำให้ เกิดความขัดแย้ง ความตึงเครียดในระหว่างการดูแลอยู่ไม่น้อย ไม่ว่า จะเป็นฝ่ายญาติด้วยกันเอง ญาติกับผู้ให้การรักษา หรือแม้แต่ทีม ผู้รักษาในโรงพยาบาลด้วยกันก็อาจมีความเห็นที่แตกต่างกันบ้าง ต่อวิธีให้การรักษา จนอาจท�ำให้เกิดบรรยากาศที่น่าล�ำบากใจทั้งต่อ ตัวผู้ป่วย ญาติ เจ้าหน้าที่ประจ�ำที่ต้องดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และ ส่งผลต่อจิตอาสาหรือพระภิกษุที่เข้าร่วมช่วยเหลือผู้ป่วยด้วย นอกจากพยายามไม่สร้างเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้งขึ้นแล้ว หากเป็นไปได้ทีมงานดูแลสุขภาวะทางปัญญา (ซึ่งหลายกรณีอาจ สวมบทบาทอื่นอยู่ด้วย เช่น เป็นแพทย์เจ้าของไข้ เป็นแพทย์ที่ ช่วยดูแลผู้ป่วยในด้านใดด้านหนึ่งอยู่ เป็นพยาบาลประจ�ำหอผู้ป่วย เป็นทีมงานช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้าย) ควรช่วยสร้างความเข้าใจใน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับญาติและผู้ป่วย รวมทั้งพระภิกษุและจิตอาสา ที่อาจไม่คุ้นเคยกับงานภายในโรงพยาบาล โดยเฉพาะเมื่อญาติหรือ ผู้ป่วยต้องตัดสินใจเลือกว่าจะให้ท�ำอย่างไรต่อผู้ป่วย โดยอาจเป็น ตัวกลางช่วยสรุปสถานการณ์ทั้งหมดให้เข้าใจชัดเจนตรงกัน สรุป ข้อดีข้อเสียต่างๆ แล้วเปิดโอกาสให้ผู้ป่วย ญาติ และผู้ใกล้ชิด ได้ ทบทวนอารมณ์ ค วามรู ้ สึ ก ความเข้ า ใจและความต้ อ งการ แล้ ว ร่วมกันหาทางออกจากสถานการณ์ที่คับข้องใจ ความกังวล หรือ

����������������������������������.indd 84

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

85

ความคลางแคลงใจ คอยเป็นผู้ให้ข้อมูล ประคับประคองการพูดคุย โดยไม่ชี้น�ำ ไม่กดดัน ไม่เร่งรัด เปิดโอกาสให้ได้มีเวลาปรึกษาหารือ และตัดสินใจด้วยตนเอง พร้อมที่จะยืนอยู่เคียงข้างผู้ป่วยและญาติ เสมอ ไม่ว่าเขาจะตัดสินใจอย่างไร ความขัดแย้งหรือสภาวะทีต่ อ้ งเลือกต้องตัดสินใจทีก่ ล่าวมานัน้ อาจเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ ตลอดช่วงระยะเวลาที่ให้การรักษาผู้ป่วย แต่ โดยธรรมชาติเมื่อโอกาสในการรักษาให้ชีวิตรอดมีน้อยลง ความ ขัดแย้งต่างๆ จะค่อยๆ ลดลง จ�ำนวนทีมงานที่ร่วมดูแลผู้ป่วยก็จะ เริ่มลดลงหรือลดแรงกดดันให้ต้องตัดสินใจด้วย โอกาสนี้เองที่ทีมงาน ดูแลสุขภาวะทางปัญญาจะได้ท�ำงานมากขึ้น มีโอกาสพูดคุยดูแล ผู้ป่วยมากขึ้น ได้ช่วยประมวลเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้ป่วย และ/หรือญาติได้เรียนรู้ เป็นโอกาสที่จะให้พระภิกษุ จิตอาสา ได้มี เวลาเข้าเยี่ยมให้ก�ำลังใจมากขึ้น แม้ดูเหมือนว่าจะช่วยผู้ป่วยได้ ไม่มาก แต่ก็เป็นโอกาสที่ดีในการช่วยเหลือในด้านสุขภาวะทางปัญญา

การทำ�ความรู้จัก/เข้าใจผู้ป่วย การได้รจู้ กั ตัวตนของผูป้ ว่ ยมากขึน้ จะยิง่ ท�ำให้การดูแลสุขภาวะ ทางปัญญาท�ำได้ตรงจุดและลึกซึ้งขึ้น แต่มีข้อพึงระวังที่ส�ำคัญคือ กระบวนการท�ำความรู้จักผู้ป่วย (รวมทั้งญาติ/ผู้ดูแล) ต้องท�ำอย่าง ค่อยเป็นค่อยไปตามธรรมชาติ เพราะหลายอย่างที่เป็นเรื่องส่วนตัว ต้องรอให้มีความพร้อมมีความไว้วางใจ ผู้ป่วยหรือญาติจึงจะเปิดเผย ให้ทีมงานทราบ การสอบถามอย่างไม่รู้กาลเทศะ หรือเร่งรัดอยากรู้

����������������������������������.indd 85

9/12/16 6:55 PM


86

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ค�ำตอบเร็วๆ อาจเป็นก�ำแพงขัดขวางการท�ำงานในขั้นตอนต่อๆ ไป จนเป็นเหตุให้เสียโอกาสแก่ผู้ป่วย ในที่สุดแล้วแม้ผู้ป่วยและญาติจะ มีเหตุผลส่วนตัวที่จะไม่ยอมเปิดเผยเรื่องราวต่างๆ ให้ได้รู้ ก็ไม่ควร ตัดพ้อหรือแสดงท่าทีด้านลบใดๆ ให้ผู้ป่วยและญาติต้องอึดอัด จน อาจท�ำให้รู้สึกไปเองว่าตนไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเต็มที่ ท่าทีในการตอบสนองของทีมงานเมื่อรับรู้ข้อมูลก็มีผลมาก เช่นกัน ความรู้สึกในใจที่เกิดขึ้นต่อสิ่งที่ได้รับรู้ย่อมแสดงออกให้เห็น ทางสีหน้า ท่าทาง หรือค�ำพูด แม้จะให้ความระมัดระวังอย่างมาก แล้วก็ตาม สิ่งที่ควรฝึกฝนในเรื่องนี้คือการวางใจให้รับรู้เรื่องราว อย่ า งเป็ น กลาง ยอมรั บ และพยายามเข้ า ใจผู ้ ป ่ ว ย พึ ง ตระหนั ก ไว้เสมอว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุปัจจัยมากมายที่ผลักดันสิ่งนั้น ให้ด�ำรงอยู่ เรารู้จักและควบคุมปัจจัยเหล่านั้นได้เพียงบางส่วนเท่านั้น และไม่ใช่เวลาที่จะมาตัดสินว่าใครผิดใครถูก หรือลงโทษใคร (แม้ ดูเหมือนว่าจะช่วยให้ผู้ป่วยสบายใจขึ้นก็ตาม) การช่วยให้เขาเข้าใจ ถึงความซับซ้อนของเรื่องราว ให้การยอมรับในความผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว และสามารถให้อภัยกับความผิดพลาดที่ตนเองท�ำหรือ ผู้อื่นกระท�ำต่อเราได้เป็นสิ่งที่ควรท�ำมากกว่า แต่หากผู้ป่วยท�ำไม่ได้ แม้เราได้ใช้ความพยายามแล้วก็ต้องยอมรับความจริงที่เป็นเช่นนั้น บางครัง้ สิง่ ที่ได้รับรูจ้ ากผูป้ ว่ ยอาจเป็นจุดที่ผ้อู าสาดูแลรับไม่ได้ เช่ น เมื่ อ รู ้ ว ่ า ผู ้ ป ่ ว ยเคยลงมื อ ท� ำ ร้ า ยบุ พ การี หรื อ อาจเพี ย งแค่ มี ความเห็นทางการเมืองคนละขั้ว เป็นไปได้ที่อาจท�ำให้ผู้ดูแลแสดง อารมณ์ สีหน้า หรือกล่าววาจาที่ไม่เหมาะสมออกไป ไม่ใช่เรื่องที่

����������������������������������.indd 86

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

87

น่าอับอายหรือเสียหน้าเลยที่จะยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้น การได้กล่าวค�ำขอโทษกับผู้ป่วยหรือญาติเมื่อมีโอกาสเหมาะสม ซึ่ง ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาตนเองอย่างดียิ่ง การ ปล่อยเรื่องราวให้ผ่านไปหรือหาข้ออ้างข้อแก้ตัวต่างๆ ให้กับตัวเอง ต่างหาก ที่น�ำผลร้ายมาสู่ทั้งผู้ที่เราดูแล ตัวเรา และทีมงานโดยรวม สิ่งที่ส�ำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งส�ำหรับทีมงาน เมื่อผู้ป่วยหรือ ญาติไว้วางใจบอกข้อมูลส่วนตัวของตนให้ทราบ คือการเก็บรักษา ความลับของผู้ป่วยไว้อย่างดีที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องล่อแหลมที่อาจ น�ำความเสียหายมาสู่ผู้ป่วยหรือครอบครัวได้ แม้จะหวังดีเห็นว่าอาจ มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยยิ่งขึ้นถ้าผู้ร่วมดูแลท่านอื่นได้รับรู้ด้วย กระนั้น ก็ควรขออนุญาตให้ผู้ป่วยหรือญาติยินยอมด้วยความเต็มใจก่อน หรือแม้กระทั่งสถานการณ์ในการดูแลผู้ป่วยผ่านไปแล้ว ความลับ ของผู้ป่วยและครอบครัวก็ยังต้องเก็บรักษาไว้อย่างดี ไม่น�ำมาเป็น เรื่องพูดเล่นกันสนุกสนาน แม้แต่ในวงแคบๆ ของบุคลากรที่ร่วม ดูแลผู้ป่วยด้วยกัน เมื่อน�ำไปเป็นกรณีตัวอย่างเสนอประสบการณ์ เรียนรู้กับผู้อื่น เพื่อประโยชน์ทางวิชาการหรือการพัฒนาระบบการ ดูแลสุขภาวะทางปัญญา ก็ควรปกปิดเนื้อหา หน้าตา (ผู้ป่วย ญาติ รวมทั้งสิ่งที่จะสื่อไปยังสถานที่) ที่อาจน�ำสู่การสืบค้นสาวย้อนไป จนถึงตัวหรือครอบครัวผู้ป่วยที่ยังใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนเดิมที่อาจได้รับ ความเสียหายในด้านใดด้านหนึ่งได้ เช่นเดียวกัน แม้จะเป็นเรื่องราว ที่ดีงาม น่าชื่นชมก็ตาม การน�ำเรื่องส่วนตัวของผู้ป่วยและญาติไป เปิดเผยควรได้รับอนุญาตอย่างชัดเจนแล้วเท่านั้น เพราะญาติหรือ

����������������������������������.indd 87

9/12/16 6:55 PM


88

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ภายหลังอาจมีเหตุผลส่วนตัวอีกมากมายที่ไม่ต้องการ ให้คนอื่นได้รับรู้

เทคนิคเมื่อเข้าพบผู้ป่วย การเข้าเยี่ยมผู้ป่วยแต่ละครั้งพึงตระหนักว่าเป็นเหตุการณ์ เฉพาะที่มีความแตกต่างกับครั้งก่อนเสมอ แม้ว่าจะเป็นผู้ป่วยรายเดิม ทีมผู้เยี่ยมทีมเดิม และในบรรยากาศเดิมๆ จุดเปลี่ยนที่ส�ำคัญอยู่ที่ตัว ผู้ป่วย ทั้งสภาพทางร่างกายที่เสื่อมโทรมลงตามการพัฒนาของโรค และจิตใจที่มีเรื่องเข้ามากระทบมากมายในช่วงที่ทีมงานไม่อยู่ มี เรื่องให้ต้องครุ่นคิด หรืออาจฉุกคิดเข้าใจหรือยอมรับบางเรื่องได้ ปลงได้ก็มี ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้แม้ในผู้ป่วยที่ดูเสมือนว่า ไม่มีการตอบสนองทางกายใดๆ แล้ว การมองว่าเป็นการเยี่ยมที่ แตกต่างจากครั้งก่อน ยังช่วยให้การเยี่ยมผู้ป่วยเป็นเรื่องที่ไม่น่าเบื่อ อีกด้วย เทคนิคการเยี่ยมที่จะน�ำเสนอต่อไปนี้เป็นเพียงแนวทางหรือ ตัวอย่าง เพื่อให้ผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ มีความมั่นใจที่จะเริ่มต้น ดูแลผู้ป่วย ซึ่งเป็นเพียงข้อแนะน�ำกว้างๆ ที่จ�ำเป็นต้องปรับให้เข้ากับ สถานการณ์ทั้งฝ่ายผู้ป่วย ผู้ดูแล และสภาพแวดล้อม ที่แม้แต่อยู่ใน โรงพยาบาลเหมือนกันก็มีความแตกต่างกันทั้งขนาดโรงพยาบาล ประเภทของหอผู้ป่วย รูปแบบและเงื่อนไขการท�ำงานอื่นๆ ยิ่งเป็น การเข้าเยี่ยมในชุมชน ที่บ้านผู้ป่วยด้วยแล้ว ก็ยิ่งต้องปรับให้มีความ เหมาะสมยิ่งขึ้น

����������������������������������.indd 88

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

89

การทักทาย ค� ำ ทั ก ทายเป็ น การเปิ ด ตั ว ท� ำ ความรู ้ จั ก กั บ ผู ้ ป ่ ว ยและญาติ หากเป็นการเข้าเยี่ยมผู้ป่วยเป็นครั้งแรก ไม่ว่าทางเจ้าหน้าที่ประจ�ำ จะเกริ่ น ให้ ผู ้ ป ่ ว ยหรื อ ญาติ ไ ด้ ท ราบก่ อ นหรื อ ไม่ ก็ ต าม ควรต้ อ ง แนะน�ำชื่อตัวเอง รวมทั้งบทบาทหน้าที่ของตนที่จะเข้ามาช่วยเหลือ ผู้ป่วย หากมีทีมดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหลายทีม ควรระบุให้ชัดว่า ทีมผู้ดูแลสุขภาวะทางปัญญาทีมของตนนั้นจะเข้ามาช่วยเหลือใน เรื่องใดบ้าง จะเข้ามาพบเวลาใด บ่อยแค่ไหน โดยใช้ภาษาที่เข้าใจ ง่าย เหมาะกับพื้นฐานของผู้ป่วย ดูเป็นกันเอง แต่ยังคงให้เกียรติต่อ ผู้ป่วยเสมอ (เพราะหลายครั้งที่ค�ำพูดและการกระท�ำที่หวังให้ผู้ป่วย รู้สึกเป็นกันเอง ถูกตีความว่าไม่มีมารยาทหรือขาดสัมมาคารวะ) ตัวอย่างค�ำทักทายที่ใช้ได้ง่ายๆ เช่น “สวัสดีครับ/สวัสดีค่ะ” เป็นค�ำที่ใช้ได้ทั่วไป หากเป็นพระ ท่านใช้ค�ำว่าเจริญพรโยม๑๕ หรือหากผู้ป่วยเป็นพระ/นักบวชก็ควรใช้ ค�ำว่า “กราบนมัสการ” (ครับ/ค่ะ) พระอาจารย์ (หรือแม่ชี น้องเณร หลวงแม่-ภิกษุณี หลวงพี่ หลวงอา หลวงตา พระครู... ตามวัยวุฒิ หรือพระเดชพระคุณหลวงพ่อ-ในกรณีพระผู้ใหญ่มาก)

๑๕

คำ�ว่า “เจริญพร” พระท่านยังใช้ในความหมายว่า “ครับ” ตามภาษาคนทั่วไป เพราะปกติพระจะไม่พูด “ครับ” กับโยมเนื่องจากเป็นคำ�ที่แสดงความเคารพผู้ที่ พูดด้วย ผู้ท่ไี ม่คุ้นเคยอาจงงว่าทำ�ไมพระท่านพูด “เจริญพร” อยู่เรื่อย

����������������������������������.indd 89

9/12/16 6:55 PM


90

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

จากนั้ น ควรแนะน� ำ ตั ว “ผม (หนู ดิ ฉั น พี่ . ..) ชื่ อ ... เป็ น เจ้าหน้าที่ (หรือเป็นจิตอาสา) ของหน่วย... หมอได้ขอให้เข้ามาช่วย ดูแลคุณป้าด้วย... (หรืออาจใช้น้อง พี่ คุณตา ตามความเหมาะสม แต่หากประเมินว่าเป็นผู้ที่ค่อนข้างถือยศ-ศักดิ์ ก็อาจใช้ค�ำกลางๆ ว่า คุณ.... หรือท่าน....)” จากนั้นควรให้เหตุผลว่าท�ำไมคุณหมอถึงให้มาเยี่ยมเพื่อไม่ให้ ผู้ป่วยหรือญาติตกใจ และเพื่อจะได้ขอความร่วมมือจากผู้ป่วยหรือ ญาติในด้านต่างๆ ได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามการบอกเหตุผลเรื่องนี้ ต้องใช้ศิลปะพอควรขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ผู้ป่วย/ญาติรับรู้เกี่ยวกับ โรคและความพร้อมของเขา การบอกบทบาทหน้าที่อาจเริ่มต้นเพียง กว้างๆ ก่อน แล้วค่อยขยายความในรายละเอียดหลังจากคุ้นเคยกับ ผู้ป่วยและญาติมากขึ้น ตัวอย่าง เช่น “...เพราะคุณลุงมาอยู่โรงพยาบาล หลายวันแล้ว มันไม่สะดวกสบายเหมือนที่บ้าน เผื่อนอนไม่หลับ เครียด หรือมีอะไรที่ไม่สะดวกทางหนูจะได้ช่วยคุณหมออีกแรงหนึ่ง...” พร้อมกับส่งรอยยิ้ม รอฟังว่าผู้ป่วยจะตอบสนอง หรืออยากพูดอะไร หรือไม่ ในกรณีที่ผู้ป่วยรับผิดชอบค่ารักษาเอง ควรบอกด้วยว่าการ ดูแลส่วนนี้มีค่าใช้จ่ายหรือไม่อย่างไร เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกกังวล และ หากมีค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นภาระของผู้ป่วยที่ไม่สามารถจ่ายได้ ควรต้อง เตรียมมาตรการไว้รองรับว่าจะให้การช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างไรต่อไป เพือ่ ทีจ่ ะป้องกันไม่ให้เกิดความรูส้ กึ ทีไ่ ม่ดกี บั ทัง้ สองฝ่ายว่าผูป้ ว่ ยไม่ได้ รับการดูแลสุขภาวะทางปัญญาเพราะไม่มีค่ารักษาพยาบาลเพียงพอ

����������������������������������.indd 90

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

91

บุคลิกภาพ/การวางตัว ตัง้ แต่กล่าวค�ำทักทายและตลอดระยะเวลาทีอ่ ยูก่ บั ผูป้ ว่ ยและ/ หรือญาติ ผู้ดูแลสุขภาวะทางปัญญาและทีมงาน (ถ้ามี) ต้องวางตัว ให้เหมาะสม แสดงความเคารพและให้เกียรติต่อผู้ป่วยและญาติ เสมอ ยืนในต�ำแหน่งที่เหมาะสม ค้อมกายเล็กน้อยเมื่อพูดคุยเพื่อ ให้เกียรติและอยู่ใกล้ผู้ป่วยมากขึ้น ท�ำให้ไม่ต้องใช้เสียงดังเกินควร หาที่ยืนในต�ำแหน่งที่สะดวกต่อการพูดคุยกับผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยอยู่ ในท่าที่สบายและผ่อนคลายที่สุด (เว้นแต่มีเหตุผลอื่น เช่น ต้องการ ให้ผู้ป่วยได้ออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อ พลิกตะแคงตัว เป็นต้น) ขณะพูดคุยหรือท�ำกิจกรรมเพื่อการเยียวยาผู้ป่วยควรท�ำอย่าง มีสติ เคลื่อนไหวกายอย่างมั่นคงแต่ผ่อนคลาย พุ่งความสนใจใน เรื่องที่ก�ำลังสนทนาหรือกิจกรรมที่ก�ำลังท�ำ ไม่ควรรับโทรศัพท์ หรือ ส่ ง สายตาไปที่ อื่ น การวางตั ว ที่ เ หมาะสมช่ ว ยสร้ า งความศรั ท ธา เชื่อมั่นให้เกิดกับผู้ป่วยและญาติ ซึ่งมีผลอย่างมากในการช่วยเหลือ ทางปั ญ ญาแก่ ผู ้ ป ่ ว ย โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ขณะน� ำ ทางชี วิ ต ในช่ ว ง สุดท้าย การสร้างอารมณ์ขันสามารถท�ำได้แต่ควรอยู่ในขอบเขตที่ พอดี และสังเกตปฏิกิริยาผู้ที่ร่วมวงสนทนาด้วยโดยเฉพาะตัวผู้ป่วย เมื่อทีมงานเป็นฝ่ายเริ่มต้นพูดเพราะบรรยากาศที่สงบเย็นเหมาะกับ ผู้ป่วยได้ทบทวนชีวิต ได้คิดแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่ได้ดีกว่า เรื่องข�ำ ช่วยกลบเกลื่อนความทุกข์ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น และอาจถูกผู้ป่วย ตีความไปในทางลบ ท�ำให้ผู้ดูแลดูไม่น่าเชื่อถือเมื่อต้องท�ำกิจกรรม

����������������������������������.indd 91

9/12/16 6:55 PM


92

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

หรือพิธีกรรมที่ต้องอาศัยความจริงจังน่าศรัทธา และไม่ควรใช้เรื่อง ลามกมาสร้างความขบขันหรือสนุกสนานในสถานการณ์เช่นนี้ การเริ่มพูดคุย ในช่วงต้นของการสนทนาควรบอกให้รวู้ า่ ทีมงานจะชวนพูดคุย ในเรื่องใดและใช้เวลามากน้อยแค่ไหน ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ยากที่จะก�ำหนดลงไปได้ แต่จุดที่ควรระวังคือต้องไม่รบกวนผู้ป่วย จนเกินไป ควรวางแผนการพูดคุยและกิจกรรมไว้คร่าวๆ ผสมผสาน ให้มีความพอดีและพอเหมาะกับผู้ป่วย หากประเมินว่ายังพอมีเวลา พู ด คุ ย กั บ ผู ้ ป ่ ว ยอี ก หลายวั น ไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งรี บ สอบถามประวั ติ แก้ปัญหาสิ่งติดค้างคาใจ ในช่วงแรกผู้ดูแลควรพูดคุยเพื่อให้เกิด ความคุ้นเคย สร้างความไว้วางใจ ให้ผู้ป่วยและญาติมั่นใจว่าสามารถ พูดคุยกับเราได้ พร้อมทั้งมีกิจกรรมง่ายๆ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย สบายใจอย่างเห็นผลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าของการ ได้พบกัน เช่น การนวดหรือสัมผัสเพื่อผ่อนคลาย ได้วาดภาพ ได้ เล่าเรื่องราวแห่งความสุข ได้ท�ำกิจกรรมให้ฉุกคิด ฯลฯ แม้สถานการณ์ที่พบกับผู้ป่วยเป็นช่วงที่เขาไม่สามารถสื่อสาร ได้ การพูดคุยกับผู้ป่วยยังคงเป็นสิ่งจ�ำเป็น แต่อาจปรับองค์ประกอบ ด้ า นเนื้ อ หาและเวลาให้ สั้ น ลง แต่ พู ด คุ ย กั บ ญาติ ม ากขึ้ น ข้ อ มู ล ส่วนตัวที่มีประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้ป่วย เช่น ความประทับใจ

����������������������������������.indd 92

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

93

ความภาคภู มิ ใ จ ช่ ว งเวลาแห่ ง ความสุ ข ในชี วิ ต มั ก สอบถามได้ ไม่ยากนักจากผู้ใกล้ชิด ก็น�ำมาพูด มาเล่า มาชื่นชม เสมือนว่าผู้ป่วย ร่วมรับรู้รับฟังอยู่ด้วย เพียงแต่ไม่สามารถร่วมแลกเปลี่ยนหรือออก ความเห็นได้ ในสถานการณ์เช่นนี้อาจเปิดโอกาสให้ญาติๆ ได้เข้ามา มีส่วนร่วมในการพูดคุย ได้เปิดอก บอกความรู้สึก กล่าวค�ำในใจ ที่มีผลดีต่อผู้ป่วย โดยผู้ดูแลสุขภาวะทางปัญญาเป็นผู้เชื่อมประสาน ตั้งประเด็นให้ ในกรณีที่ญาติๆ ไม่รู้จะพูดอะไร แม้สามารถท�ำได้ วั น ละเล็ ก ละน้ อ ย แต่ ก็ ส ามารถแนะน� ำ ให้ ญ าติ แ ละคนใกล้ ชิ ด ที่ ผลั ด เปลี่ ย นกั น มาดู แ ล ชวนพู ด คุ ย เรื่ อ งที่ ดี ง ามน่ า ประทั บ ใจนี้ ไ ด้ เรื่อยๆ ผู้ดูแลสุขภาวะทางปัญญาอาจเพียงท�ำหน้าที่ประมวล ย�้ำให้ ผู้ป่วยเห็นคุณค่าของตนเอง เห็นถึงความรัก ความศรัทธา ความ ทรงจ�ำดีๆ ที่ทุกคนมีต่อผู้ป่วย และประคับประคองไม่ให้เกิดบรรยากาศ ที่เศร้าโศกหดหู่ตามมา การถาม/ชวนพูดคุย การตั้งค�ำถามถือว่าเป็นวิธีการง่ายที่สุดเพื่อให้ได้รับรู้ข้อมูล แต่ในกรณีของผู้ป่วยระยะท้ายการถามเป็นเรื่องที่มีข้อจ�ำกัดและ ข้อควรระวังมากมายที่ผู้ให้การดูแลสุขภาวะทางปัญญาต้องใส่ใจ ยิ่ง ค�ำถามที่ต้องใช้ความคิด เป็นเรื่องสะกิดสะเทือนใจ หรือต้องอธิบาย ยืดยาว ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ

����������������������������������.indd 93

9/12/16 6:55 PM


94

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

การตัง้ ค�ำถามอาจไม่ใช่วธิ กี ารทีด่ นี กั ในการสร้างบรรยากาศแห่ง ความสงบและผ่อนคลายในช่วงท้ายแห่งชีวิต ดังนั้นผู้ดูแลสุขภาวะ ทางปัญญาจึงต้องมีความละเอียดอ่อนในการตั้งค�ำถาม ถามในสิ่งที่ ผู้ตอบอยากบอก หรือบางครั้งอาจถามเพื่อให้ผู้ป่วยได้คิดโดยไม่ได้ สนใจว่าค�ำตอบจะเป็นอย่างไร ต้องรู้จังหวะในการถาม อาจใช้การ ชวนคุยหรือวิธีการอื่นๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยหรือญาติได้เล่าเรื่องราว ต่างๆ ออกมาเองอย่างธรรมชาติได้ยิ่งดี พื้นฐานของค�ำถามที่ใช้ จึง ควรเป็นค�ำถามปลายเปิด หรืออาจเป็นเพียงประโยคบอกเล่าชวนคุย ยกค�ำเปรียบเปรย หรือการตั้งข้อสังเกต แล้วรอฟังความเห็นอย่าง ไม่รีบร้อน อย่างไรก็ตามเมื่อจ�ำเป็นอาจต้องตั้งค�ำถามตรงๆ กับ ผู้ป่วยเช่นกัน การตั้งค�ำถาม/ชวนคุยนี้อาจไม่ใช่ท�ำเพื่อให้ได้รับข้อมูล เท่านั้นแต่อาจเป็นการให้ข้อมูลอีกแบบหนึ่ง โดยการย้อนถามเพื่อให้ ผู้ป่วยได้ฉุกคิดถึงข้อมูลหรือค�ำตอบที่เขาเองรู้อยู่แล้ว ตัวอย่างของค�ำถามและประเด็นพูดคุยทั่วๆ ไปต่อไปนี้ อาจใช้ เพื่อจุดประเด็น หรือหยั่งเชิงว่าผู้ป่วยพร้อมจะคุยกันในเรื่องที่ยกมา หรือไม่ ผู้ดูแลต้องตั้งใจฟังค�ำตอบ หรือความเห็นที่ได้รับ ซึ่งอาจ ไม่ได้พูดออกมา แต่สังเกตสีหน้า ท่าทางที่เปลี่ยนไปอย่างไรหรือไม่ ไม่ต้องรีบถาม หรือเปิดประเด็นต่อ ถ้าประเมินว่าผู้ป่วยพร้อมจะคุย ในประเด็นนั้น จึงค่อยๆ สอบถามเพิ่มเติมให้ลึกลงไป

����������������������������������.indd 94

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

95

ตัวอย่างค�าถาม หรือการชวนคุย

เกี่ยวกับประวัติชีวิต ครอบครัว บุคลิกนิสัย • มีพี่น้องหลายคนแบบนี้ ตอนเด็กๆ คงเล่นกันบ้านระเบิด แน่เลย • เพลงนี้สมัยก่อนเห็นเขาว่ากันว่า ดังน่าดู ป้าร้องเป็นมั้ย • เขาบอกว่าปกติยายเนี่ย จะรักหลานมากกว่ารักลูกซะอีก จริงรึเปล่าคะ เกี่ยวกับอาชีพ การท�างาน • เป็นครูสอนโรงเรียนมัธยมนี้เหนื่อยไหมคะ นักเรียนก�าลัง เป็นวัยรุ่น มีเรื่องวุ่นตลอด • แม่ค้าสมัยก่อนคงล�าบากกว่าทุกวันนี้มาก สิ่งที่สนใจ ความเชื่อ ความศรัทธา • ได้ยินว่าที่อู่ทองน่ะ พระกรุถ�้าเสือศักดิ์สิทธิ์มาก จริงรึเปล่า ไม่ทราบ

����������������������������������.indd 95

9/12/16 6:55 PM


96

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

• หนูเนี่ยได้ยินพ่อ-แม่ สวดมนต์ท�ำวัตร เช้า-เย็น มาตั้งแต่ เด็กจนโต • เด็กสมัยนี้ เขามีดารา หรือพวก Net Idol เป็นต้นแบบ ไม่ใช่พ่อแม่เป็นต้นแบบ ไม่รู้ว่าอนาคตเขาจะเป็นอย่างไร มุมมองต่อโรคและการรักษา • คุณน้าเคยรู้จัก หรือเคยคุยกับคนที่เป็นโรคเดียวกันนี้บ้าง หรือเปล่า เขาว่าอย่างไรบ้าง (ฟังแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง) • หมอใหญ่คุยให้ฟังบ้างหรือยังครับ ว่าจะมีแนวทางรักษา อย่างไร • บางคนเขาก็ใช้หลายวิธีไปพร้อมๆ กันนะ เห็นเขาใช้ยาต้ม ไปด้วยก็มี ไปสะเดาะเคราะห์ด้วย (รอฟังความเห็น) • คุณน้าเคยเจอคนที่เขารักษาโรคนี้จนหายขาดหรือเปล่า • ตั้งใจจะไปรักษาที่ไหนอีกหรือเปล่าคะ การส�ำรวจภาระ/สิ่งที่ผู้ป่วยยังติดค้าง • ช่วงนี้อยากท�ำอะไรมากที่สุด • สั ง เกตว่ า คุ ณ ยายถอนหายใจ อยากเล่ า อะไรให้ ห นู ฟ ั ง หรือเปล่า หนูจะนั่งเล่นเป็นเพื่อนนะ • วันนี้อยากให้ใครมาเยี่ยมเป็นพิเศษหรือเปล่าคะ อยากคุย กันเรื่องอะไรบ้าง

����������������������������������.indd 96

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

97

ตัวอย่างค�ำถาม/การชวนพูดคุยนี้ ไม่ใช่สิ่งส�ำเร็จรูป และไม่ สามารถใช้ ไ ด้ อ ย่ า งเหมาะสมกั บ ผู ้ ป ่ ว ยทุ ก ราย เมื่ อ จะใช้ ทุ ก ครั้ ง ควรปรับให้สอดคล้องกับบริบทและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ป่วย หากท�ำได้ควรใช้ภาษาท้องถิ่นที่ผู้ป่วยคุ้นเคย สิ่งที่ยกขึ้นมาเปรียบเปรย ควรเป็นสิ่งที่เห็นได้ง่ายรอบๆ ตัวผู้ป่วย การฟัง การเป็ น ผู ้ ฟ ั ง ที่ ดี ยั ง คงเป็ น ทั ก ษะที่ ส� ำ คั ญ มาก แม้ ก ารดู แ ล สุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยระยะท้ายมักพบว่าผู้ป่วยพูดน้อย หรือ ไม่สามารถพูดได้ ความยากของการฟังไม่ได้อยู่ที่แปลความหมาย ของเสียงที่ได้ยิน แต่อยู่ที่การจับความรู้สึก อารมณ์ ของผู้พูดที่ท�ำให้ สื่อสารถ้อยค�ำนั้นออกมา และที่ส�ำคัญคือใช้รับข้อมูลจากญาติหรือ ผู้ดูแล การฟังจะท�ำได้ดีต้องฟังอย่างตั้งใจ ใส่ใจในการสังเกตสีหน้า แววตา ลีลา-จังหวะการพูด การเลือกใช้ค�ำ ฯลฯ ของผู้ป่วยและญาติ ค�ำพูดของเราเพียง ๒-๓ ค�ำ ที่สะท้อนความรู้สึกที่เขาก�ำลังมีอยู่ กลับไปเพื่อให้เขารับรู้ว่าเราเข้าใจเขา ก็ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ รู้ว่าคนนี้เป็นเพื่อนเขาได้ เช่น “เป็นเรื่องที่หนักมาก”“กดดันมาก” “ไม่น่าท�ำกับเราได้” “ดีจังเลย” หรืออาจใช้เพียงค�ำตอบรับสั้นๆ ที่สื่อให้รู้ว่าเราก�ำลังตั้งใจฟังก็เพียงพอแล้ว แต่ต้องระวังที่จะไม่ ด่วนตัดสินใคร ไม่ใช้ตัวเราไปชี้ถูกชี้ผิด หรือรีบให้ความเห็น/เสนอแนะ วิธีการแก้ปัญหาออกไป แม้อาจดูเหมือนว่าจะท�ำให้ผู้ป่วยพอใจ

����������������������������������.indd 97

9/12/16 6:55 PM


98

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

สะใจ หรือดูเป็นพวกเดียวกับผู้ป่วยก็ตาม แต่ควรย้อนถามถึงการ กระท�ำของเขาในสถานการณ์นั้นๆ รวมทั้งความรู้สึกที่ได้โต้ตอบกลับ ไป เช่น “แล้วไงต่อ” “ผลปรากฏว่า” “ทางนั้นว่าไง” “แล้วพี่เอง รู้สึกอย่างไร” การฟังให้ได้ผลดีผู้ฟังต้องมีสมาธิ จึงต้องอาศัยบรรยากาศที่ เอื้ออ�ำนวยอย่างมาก หากเป็นไปได้เมื่อจะต้องพูดคุยและรับฟังเรื่อง ส�ำคัญต้องรอจังหวะที่เหมาะสม พื้นที่พูดคุยไม่ควรถูกรบกวนด้วย เสียง กลิ่น ความร้อน ฝุ่น ยุง และบรรยากาศที่สับสนวุ่นวายรอบตัว โดยเฉพาะเสียงโทรทัศน์ โทรศัพท์ สัญญาณเตือนจากเครื่องมือ สื่อสารต่างๆ ที่ผู้ดูแลอาจมีติดตัวอยู่ อาจต้องเตรียมน�ำ้ ดื่ม กระดาษ ทิชชู ไว้ในที่ที่หยิบได้สะดวกเมื่อต้องการใช้ การมีห้องเพื่อพูดคุย เฉพาะเป็นเรื่องดี แต่หลายครั้งส�ำหรับผู้ป่วยระยะท้ายก็ยากที่จะ ย้ายสถานที่ หรืออาจท�ำให้ผู้ป่วย/ญาติกลัว หรือตึงเครียดขึ้นเพราะ แปลกที่ก็ได้ อาจหามุมริมระเบียง หรือข้างหน้าต่างใกล้ๆ นั้น แต่ ห่างความวุ่นวายออกมาหน่อยอาจเหมาะกับการพูดคุยมากกว่า ควรหลีกเลี่ยงการจดหรือขอบันทึกเสียง/ภาพขณะที่มีการ พูดคุย เพราะท�ำให้ผู้ป่วยและญาติเกร็งหรือเกิดความระมัดระวังตัว เกินไป หรือมีความรู้สึกหวาดระแวงเกิดขึ้น จนไม่สามารถถ่ายทอด เรื่องราวและความรู้สึกที่แท้จริงออกมาเป็นค�ำพูดได้หมด การรีบ กลับมาจดบันทึกหรือท�ำแบบสรุปหลังการพูดคุยจะดีต่อการพูดคุย มากกว่า ท�ำให้มีเวลาได้คิดทบทวนสถานการณ์และเรื่องราวที่เพิ่ง เกิดขึ้นอีกครั้ง อาจช่วยให้เห็นแนวทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

����������������������������������.indd 98

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

99

การตอบคำ�ถาม ส่วนใหญ่ผู้เริ่มดูแลผู้ป่วยมักกังวลว่าตนเองจะตอบค�ำถาม หรือช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ป่วยและญาติไม่ได้ ให้ค�ำแนะน�ำไม่ถูก (หัวข้อ ว่าด้วยการให้ค�ำแนะน�ำจะได้กล่าวถึงต่อไป) แต่ปัญหาที่พบเสมอ ในการปฏิบัติจริงคือผู้ช่วยดูแล พูดหรือให้ค�ำแนะน�ำมากเกินจ�ำเป็น จนหลายครั้งเกิดปัญหาสืบเนื่องไปยังผู้ป่วยหรือเจ้าหน้าที่ประจ�ำ ที่ให้การดูแลผู้ป่วยอยู่ พึงระลึกว่าการตอบค�ำถามนัน้ มีทงั้ ส่วนทีเ่ ป็นการให้ขอ้ เท็จจริง และการให้ความเห็นหรือแสดงความรู้สึกของผู้ตอบ ในส่วนของการ ให้ข้อเท็จจริงนั้นหลักส�ำคัญคือต้องพูดเรื่องจริงไม่โกหกผู้ป่วยหรือ ญาติ ซึ่งมักมีค�ำถามติดตามมาเสมอว่า ถ้าบอกแล้วท�ำให้ผู้ป่วยตกใจ เสียใจ หรือมีความทุกข์มากขึ้นจ�ำเป็นต้องบอกด้วยหรือ ค�ำตอบคือ ไม่จ�ำเป็นต้องบอกก็ได้ แต่ไม่จ�ำเป็นต้องโกหกคือบอกสิ่งที่ไม่ตรงกับ ความจริงเช่นกัน ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นแทบหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะ ต้องบอกข่าวร้ายกับผู้ป่วยและญาติ (จ�ำนวนหนึ่งแพทย์อาจบอกให้ ทราบมาก่อนแล้ว) แต่อาจมีผู้ป่วยและญาติบางส่วนที่ไม่อยากรับรู้ ข่าวร้ายที่จะมาถึง กรณีเช่นนี้ในเบื้องต้นผู้ดูแลไม่จ�ำเป็นต้องบอก เพราะสภาพผูป้ ว่ ยและรูปแบบการรักษาก็บอกเป็นนัยระดับหนึง่ แล้ว หากจ�ำเป็นอาจส่งสัญญาณด้วยการพูดเป็นนัยให้ญาติหรือผู้ป่วยได้ เตรียมตัวบ้าง เช่น “ช่วงนี้ผู้ป่วยต้องอาศัยความรักและก�ำลังใจจาก

����������������������������������.indd 99

9/12/16 6:55 PM


100

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

คนใกล้ชดิ มาช่วยมากๆ นะ” “จากนีผ้ ปู้ ว่ ยคงอ่อนแรงลงและตอบสนอง ลดลงไปบ้างนะคะ” เป็นต้น ผูป้ ว่ ยและญาติสว่ นใหญ่มกั ไม่ปฏิเสธทีจ่ ะรับรูค้ วามเป็นไปของ โรคหรือผลการรักษา แต่เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เมื่อทราบผลแล้ว จะเศร้าโศกเสียใจ ซึ่งผู้ดูแลควรมีศิลปะและรู้จักจังหวะในการพูด หรือให้ข้อมูลที่จะส่งผลกระทบกระเทือนจิตใจให้น้อยที่สุด รวมทั้งมี วิธีการประคับประคองให้ความเศร้าโศกนั้นได้รับการผ่อนคลายลง อย่างเหมาะสม การให้ข้อมูลทางการแพทย์กับคนไข้ยังต้องค�ำนึง ด้วยว่าข้อมูลที่จะให้นั้นควรเป็นบทบาทหน้าที่ของใคร การบอกผล การวินิจฉัยและแนวทางการรักษาเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง เทคนิคการดูแลพยาบาลผู้ป่วยเป็นหน้าที่ของพยาบาล การให้ยา ที่มีเทคนิคการใช้ซับซ้อนเป็นบทบาทของเภสัชกร เป็นต้น แต่ผู้ดูแล ทุกคนสามารถช่วยตรวจสอบความเข้าใจ และประคับประคองจิตใจ ผู้ป่วยและญาติหลังจากนั้นได้ ในกรณีที่มีความขัดแย้งกันระหว่างตัวผู้ป่วยและญาติ เช่น ผู้ป่วยอยากรู้ผล แต่ญาติไม่อยากให้รับรู้ หรือผู้ป่วยไม่อยากรับรู้แต่ ญาติอยากให้บอก เรื่องนี้ให้ค�ำนึงถึงความประสงค์ของผู้ป่วยเป็น หลักประกอบกันกับประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการบอกข้อมูลนั้น หาก เป็นไปได้ควรหาโอกาสเรียนรู้ว่าเหตุใดผู้ป่วยหรือญาติจึงมีความเห็น ไม่ตรงกัน อาจต้องแยกให้ข้อมูลข้อดีข้อเสียของการรับรู้ข่าวร้ายนั้น กับแต่ละกลุ่ม แล้วจึงหาโอกาสให้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยเบื้องต้น ควรให้ทกุ ฝ่ายยอมรับและตระหนักในความทุกข์ทมี่ กั เกิดขึน้ เมือ่ ได้รบั

����������������������������������.indd 100

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

101

รู้ข่าวร้าย แต่ชี้ผลดีที่จะได้รับตามมาให้เห็นด้วย เช่น จะได้มีเวลา จั ด การกั บ ภาระที่ คั่ ง ค้ า ง จะได้ เ ป็ น โอกาสให้ จั ด การกั บ ชี วิ ต ที่ ยั ง เหลืออยู่ได้อย่างมีคุณค่าที่สุด หรือบางรายอาจเลยไปถึงขั้นว่าจะได้ จัดการสิ่งต่างๆ แม้กระทั่งงานศพของเขาให้ได้อย่างที่ต้องการ ส่วนการตอบค�ำถามทีเ่ ป็นความคิดเห็นส่วนตัวหรือประสบการณ์ ของผู้ตอบ ผู้ป่วยหรือญาติอาจถามถึงสมุนไพร หมอพื้นบ้าน หรือ วิธีการรักษาอื่นจากผู้ดูแล ค�ำตอบเหล่านี้ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง ที่จะพูด หลายเรื่องเกี่ยวกับการรักษาผู้ดูแลอาจเพียงเคยได้ยิน ได้ อ่านมา หรือคิดเทียบเคียงขึ้นเอง โดยไม่ทราบในรายละเอียด ไม่มี ประสบการณ์ตรง จึงยังไม่ควรพูดแนะน�ำผู้ป่วย เพราะในขณะที่เขา ก�ำลังหมดหนทาง อาจไขว่คว้าหาทุกวิธีที่รู้มาว่าพอจะช่วยได้ จน อาจท�ำให้สูญเสียค่าใช้จ่าย หรือสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วย ยิ่ ง ขึ้ น จนไม่ มี เ วลาเตรี ย มจั ด การกั บ ชี วิ ต ในช่ ว งท้ า ยของตนซึ่ ง มี ผลเสียมากกว่าผลดีที่จะได้รับ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากกว่า หากเพียงอยู่เงียบๆ รับฟัง กุมมือนั่งอยู่เป็นเพื่อนใกล้ๆ เขา การสัมผัส การสัมผัสตัวผู้ป่วยพร้อมกับถ่ายทอดความรู้สึกห่วงใยและส่ง ความปรารถนาดีไปให้ เป็นวิธีการที่ได้ผลดีมากอย่างหนึ่งในการ ให้ก�ำลังใจเมื่อเยี่ยมผู้ป่วยและญาติ ช่วงแรกที่ยังไม่คุ้นเคยกัน การ สัมผัสตัวผู้ป่วยทุกครั้งควรกล่าวค�ำขอโทษและขออนุญาตก่อน และ ควรเริ่มต้นด้วยการสัมผัสแขนขาผ่านผ้าห่ม หรือเสื้อผ้าก่อนที่จะ

����������������������������������.indd 101

9/12/16 6:55 PM


102

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

สัมผัสมือหรือร่างกายโดยตรง โดยเฉพาะผู้เยี่ยมต่างเพศกันหรือ ผู ้ ป ่ ว ยยั ง อยู ่ ใ นวั ย ที่ อ าจท� ำ ให้ ผู ้ ป ่ ว ยหรื อ ญาติ คิ ด ไปในทางที่ ไ ม่ เหมาะสมได้ รวมทั้ ง ผู ้ ใ หญ่ ผู ้ สู ง อายุ ห รื อ ผู ้ มี ย ศถาบรรดาศั ก ดิ์ ที่ อาจถือตัว มีความเป็นส่วนตัวสูง และหากไม่จ�ำเป็นผู้เยี่ยมไม่ควร ผลีผลามสัมผัสร่างกายส่วนที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวของผู้ป่วย พื้นที่ที่อยู่ ภายใต้การปกปิดของเสื้อผ้า หรือแม้แต่บริเวณศีรษะ ใบหน้า หรือ ซอกคอ หากจ�ำเป็นต้องท�ำควรกล่าวค�ำขอโทษและใช้เวลาเพียงสั้นๆ เท่าที่จ�ำเป็นเท่านั้น การสัมผัสท�ำร่วมไปกับกิจกรรมอื่นได้ ตั้งแต่ขณะแนะน�ำตัว เช่น อาจกล่าวค�ำขอโทษแล้ววางมือสัมผัสผู้ป่วยเบาๆ ส่วนการจะ สัมผัสอย่างไรก็ต้องดูความเหมาะสมในหลายๆ ด้านประกอบกัน เช่น การสัมผัสแล้วบีบเล็กน้อยที่แขนพร้อมทั้งแผ่ความรักความรู้สึก ปรารถนาดีไปให้เป็นวิธีพื้นฐานที่ท�ำได้ท่ัวไป การสัมผัสแล้วลูบเบาๆ บริเวณที่ปวด การวางมือที่หน้าผากพร้อมกับถามว่าตัวร้อนไหมควร ท�ำเมื่อเริ่มคุ้นเคยกันแล้ว การกุมมืออวยพรก็เป็นการสัมผัสที่ฝาก ความทรงจ�ำที่ดีไว้ก่อนจบการเยี่ยมในแต่ละวันได้ ในผู้ป่วยหนักที่ร่างกายไม่สามารถตอบสนองมากนัก หรือ แม้กระทั่งดูเหมือนไม่มีสติรับรู้ใดๆ การช่วยเหลือพื้นฐานคือการ สัมผัส ลูบ บีบ นวดแขน ขา ล�ำตัว พร้อมกับพูดคุยถึงสิ่งที่ดีงามที่ ผู้ป่วยเคยท�ำ หรือเตือนให้ผู้ป่วยวางภาระเรื่องราวที่ยังวิตกกังวล

����������������������������������.indd 102

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

103

ต่างๆ ลง ซึ่งนอกจากสื่อถึงความห่วงใย ความปรารถนาดีผ่านเสียง และการสัมผัสแล้ว ยังช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ได้ด้วย การใช้สายตา/สีหน้า การสื่อสารด้วยสายตา สีหน้า มีความส�ำคัญมิใช่เฉพาะขณะที่ ผู้ป่วยลืมตา มองเห็น หรือรับรู้ผ่านสายตาได้เท่านั้น แต่มีความ ส�ำคัญและควรให้ความส�ำรวมระวังเรื่องนี้อยู่ทุกขณะที่เยี่ยมผู้ป่วย เพราะเป็นตัวสือ่ ถึงความรูส้ กึ ทีแ่ ท้จริงภายในของผูเ้ ยีย่ มให้ปรากฏต่อ สายตาและการสัมผัสรับรู้ของผู้อื่น ไม่ต้องถึงขั้นเสแสร้งแกล้งขรึม เพียงแค่ส�ำรวมระวังสีหน้าท่าทาง มีสติจดจ่ออยู่กับภาระหน้าที่ใน การช่วยเหลือด้วยใจกรุณา ความงดงามในอาการก็จะปรากฏขึ้นเอง โดยธรรมชาติ ในบางครั้งการตั้งใจแสดงสีหน้าบางอย่างให้ปรากฏ เช่น แสดงท่าทางสดชื่นกระปรี้กระเปร่าเมื่อจะบอกข่าวดี แสดงออก ถึงความหนักใจก่อนที่จะแจ้งข่าวร้าย ก็ช่วยเตือนให้ผู้ป่วยได้เตรียมตัว รับฟังเรื่องราวต่อไปได้ อย่างไรก็ตามควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ของบุคลิกนิสัยของผู้เยี่ยมแต่ละรายจะเหมาะที่สุด การพยายาม เลียนแบบโดยที่นิสัยพื้นฐานตนเองไม่ได้เป็นเช่นนั้นอาจท�ำให้ดูไม่ เหมาะสมได้

����������������������������������.indd 103

9/12/16 6:55 PM


104

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

การนิ่ง การอยู่นิ่งๆ ไม่โต้ตอบทางกายหรือวาจาใดๆ เป็นอีกเทคนิคที่ น�ำมาใช้ได้ในหลายโอกาสเมื่อให้การดูแลสุขภาวะทางปัญญาของ ผู้ป่วยระยะท้าย แม้การเงียบจะเป็นทักษะง่ายๆ แต่หลายคนท�ำ ไม่ ไ ด้ เพราะมี ค วามรู ้ สึ ก อึ ด อั ด กดดั น สั ม ผั ส ได้ ถึ ง บรรยากาศที่ ตึงเครียด การนิ่งเงียบจึงมิใช่เพียงแค่การปิดวาจาแล้วยืนนิ่งๆ แต่ ต้องท�ำพร้อมกับการสื่อสารผ่านทางสายตา ผ่านการสัมผัสที่อ่อนโยน มีจิตใจที่เปี่ยมด้วยกรุณา อาจยิ้มน้อยๆ เป็นสัญลักษณ์ว่าเรายัง สนใจเขาอยู่ บรรยากาศเช่นนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยหรือญาติ ได้ รั บ รู ้ ถึ ง ความห่ ว งใยและใส่ ใ จต่ อ เขา ให้ มี เ วลาได้ ใ ช้ ค วามคิ ด ทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ หรือตัดสินใจในบางเรื่อง ช่วงเวลาที่จะนิ่ง เงียบ เพื่อรอให้คิดหรือฟังค�ำตอบนั้น ไม่มี ก�ำหนดตายตัวว่าจะนานเพียงใด แต่ก็ไม่ควรเกิน ๑ นาที (กรณีนี้ ไม่เกี่ยวกับการนิ่งเพื่อฝึกสมาธิหรือเจริญสติซึ่งใช้เวลานิ่งได้นาน กว่านี้) การที่ผู้ดูแลไม่สามารถทนอยู่ในสภาพที่เงียบนานๆ ได้ อาจ ท�ำให้พลาดโอกาสที่จะได้รับรู้ข้อมูลลึกๆ ของผู้ป่วยบางราย ที่ต้อง ผ่านการทบทวน กลั่นกรอง แล้วจึงตัดสินใจบอกออกมา การนิ่งยังจ�ำเป็นต้องใช้ขณะที่ผู้ป่วยและญาติก�ำลังเศร้าโศก ร้ อ งไห้ หรื อ ฟู ม ฟายพรั่ ง พรู ข ้ อ มู ล เรื่ อ งราวต่ า งๆ ในชี วิ ต ออกมา ขณะนั้นผู้ดูแลไม่ควรรีบใช้ค�ำพูดปลอบให้หยุดร้องไห้ (เว้นแต่การ ร้องนั้นอาจท�ำให้ร่างกายแย่ลงอย่างชัดเจน) หรือรีบตัดบทตั้งค�ำถาม

����������������������������������.indd 104

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

105

ซักต่อข้อมูลต่างๆ ในเวลานั้น การนิ่ง ตั้งใจรับฟัง พร้อมทั้งแสดง สายตาว่าเรารับรู้ เข้าใจสิ่งที่เขาก�ำลังพูด ก�ำลังบอก การปลอบใจ ในขณะนั้นควรใช้วิธีบีบมือเบาๆ ตบไหล่ช้าๆ ลูบผมเบาๆ หรือยื่น กระดาษ/ผ้าซับน�้ำตาให้ ไม่ใช่เรื่องเสียหายหรือน่าอายถ้าผู้ดูแล กลั้นน�้ำตาไว้ไม่อยู่ แต่ต้องควบคุมสติไว้ให้ได้ ไม่ถึงขั้นฟูมฟายไปกับ ผู้ป่วยหรือญาติด้วย การสังเกต ความสามารถในการสังเกตเป็นทักษะที่มีความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง ในทุกกรณี และในทุกขณะของการเยี่ยมผู้ป่วย ผู้ที่ช่างสังเกตหากมา พร้อมกับความสามารถในการตีความเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ที่สังเกตพบ จะช่วยให้เข้าใจผู้ป่วยได้ดี รวมทั้งตอบสนองความต้องการของเขา ได้อย่างตรงจุด แม้การสังเกตพบจุดส�ำคัญเพียงบางอย่างแล้วน�ำมา ใช้อย่างเหมาะสม ก็ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกได้ทันทีว่าผู้ดูแลนั้นเข้าใจเขา และพร้อมที่จะรับเราเข้าเป็น “คนใน” ที่เขาจะให้ความไว้วางใจใน การปรึกษาเรื่องราวส่วนตัวทั้งหลายได้ หน้าตา เป็นจุดแรกและโดดเด่นที่สุดเมื่อเริ่มรู้จักผู้คน ไม่เว้น แม้แต่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ก�ำลังจะให้การดูแล เริ่มตั้งแต่ความรู้สึก ในใจของเราเองเมื่อแรกพบผู้ป่วยว่ามีความรู้สึกอย่างไร ไม่ว่าความ รู้สึกจะเป็นอย่างไร เป็นบวกหรือลบให้เตือนตนเองว่าอย่าเพิ่งด่วน ตัดสินผู้ป่วย หน้าตาของผู้ป่วยอาจบอกแพทย์ผู้รักษาหลายอย่าง เกี่ยวกับสภาพร่างกายและการด�ำเนินของโรค ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ

����������������������������������.indd 105

9/12/16 6:55 PM


106

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ผิว ดวงตา ลิ้น การควบคุมใบหน้า ฯลฯ แต่ขณะเดียวกันใบหน้า ก็สื่อถึงสภาพจิตใจของผู้ป่วยในหลายมิติอันเป็นหน้าที่ของเราที่จะ ใส่ ใ จดู แ ล ผู ้ ป ่ ว ยที่ ฝ ึ ก จิ ต พั ฒ นาปั ญ ญามาดี แม้ มี โ รครุ ม เร้ า กาย มากมาย แต่ยังคงมีสติรักษาจิตใจให้มั่นคง ไม่แสดงให้เห็นอาการ ท้อแท้เศร้าหมองออกมาทางใบหน้าเลยได้ ในขณะที่บางรายสภาพ ร่างกายอาจไม่ได้ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานมากนักแต่สีหน้ากลับ หม่นหมองเศร้าซึมอมทุกข์ เมื่ อ สั ง เกตเห็ น ใบหน้ า ผู ้ ป ่ ว ยแล้ ว เลื อ กค� ำ กล่ า วทั ก ทายที่ เหมาะสม ช่วยให้เปิดบทสนทนาในวันนั้นได้อย่างดีเยี่ยม “วันนี้ คุณป้ายังดูแจ่มใสเหมือนเคยนะคะ” แต่ถา้ หน้าตาค่อนข้างเศร้าหมอง อาจทักแค่ว่า “เป็นอย่างไรบ้างวันนี้...” ใบหน้ายังสะท้อนอารมณ์ ความรู้สึกในขณะที่ก�ำลังเยี่ยม ขณะสนทนาในหัวข้อต่างๆ ได้ดี ช่วย เป็นตัวบ่งชี้ว่าจะด�ำเนินกระบวนการเยี่ยมต่อไปอย่างไร จึงควรคอย สังเกตสีหน้าแววตาของผู้ป่วยหรือญาติอยู่เป็นระยะๆ ค� ำ พู ด ถ้อยค�ำต่างๆ ที่ออกจากปากผู้ป่วยและญาติ ล้วน มีคุณค่าต่อการน�ำมาพิจารณา หากท�ำได้ควรลองสังเกตความแตกต่าง หรือความเปลี่ยนแปลงของค�ำพูดจากที่ผู้ป่วยเคยพูดไว้ ซึ่งเป็นหนึ่ง ในเครื่องช่วยประเมินผลการเยี่ยมได้อย่างดี แม้ค�ำพูดจะสามารถ สร้างสรรค์แต่งขึ้นได้ไม่ใช่เรื่องจริงทั้งหมด แต่ส�ำหรับผู้ป่วยระยะท้าย แล้ว ขณะนั้นไม่ใช่เวลาหรือหน้าที่ของผู้ดูแลทางปัญญาที่จะมาจับผิด ผู้ป่วย หรือพยายามชี้แจงความจริง หรือมุ่งปรับเปลี่ยนทัศนคติเขา ให้ถูกต้อง เมื่อรู้ว่าความจริงเป็นอย่างไรและตระหนักว่าผู้ป่วยก�ำลัง

����������������������������������.indd 106

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

107

โกหกอยู่ แทนที่จะโกรธเขา ผู้ดูแลควรยอมรับและรู้สึกเห็นใจที่ ผู้ป่วยต้องมีภาวะบีบคั้นภายในอยู่หลายอย่างจึงท�ำให้ต้องพูดเช่นนั้น ในบางกรณีอาจต้องท�ำเป็นไม่รู้ไม่เคยได้ยินสิ่งที่เขาพูด และก็ ไม่จ�ำเป็นต้องเออออไปกับผู้ป่วยเพราะเมื่อผู้ป่วยต้องการพูดความ จริงเขาอาจล�ำบากใจว่าเคยโกหกไปแล้ว เพียงใช้ค�ำพูดกลางๆ ว่า “ไม่ว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไร หนูก็จะคอยยืนอยู่ข้างๆ คุณป้า เป็น ก�ำลังใจให้เสมอนะคะ” เมื่อถึงเวลาเขาจะบอกเอง หรือเขาอาจ พอใจเลื อ กที่ จ ะให้ ผู ้ อื่ น รั บ รู ้ เ รื่ อ งราวของเขาแบบนั้ น ก็ เ ป็ น สิ ท ธิ ของเขา บรรยากาศแวดล้ อ ม แม้ ก ารเจ็ บ ป่ ว ยอยู ่ ที่ โ รงพยาบาล โดยเฉพาะในหอผู้ป่วยสามัญ ผู้ป่วยหรือญาติแทบไม่มีโอกาสจัด บรรยากาศสถานที่ได้มากนัก แต่ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ การตั้งวางสิ่งของ ความสะอาดของเนื้อตัว เสื้อผ้าผู้ป่วย สิ่งของ เครื่องใช้ จ�ำนวนของเยี่ยม ดอกไม้ พวงมาลัย จ�ำนวนญาติพี่น้อง ที่แวะเวียนมาเยี่ยม หรือแม้แต่เศษขยะที่ทิ้งอยู่ในถัง ก็ให้ข้อมูล เกี่ยวกับผู้ป่วยที่สื่อถึงนิสัย ฐานะความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์กับ คนรอบข้าง เพื่อนที่ท�ำงาน หรือชุมชนของตน รวมทั้งสะท้อนถึง ความเอาใจใส่ดูแลของผู้ที่เฝ้าไข้ได้พอควร เมื่อสังเกตพบว่ามีอะไร ใหม่ ใ นบรรยากาศสิ่ ง แวดล้ อ มรอบตั ว ผู ้ ป ่ ว ย เราอาจน� ำ มาเป็ น ประเด็นเปิดการสนทนาในแต่ละวันที่เข้าพบผู้ป่วยได้ หากผู้ป่วย พักในห้องพิเศษซึ่งมีพื้นที่ในการจัดวางสิ่งของมากขึ้นหรือพักอยู่ที่ บ้านตนเองยิง่ มีหลายจุดทีค่ วรสังเกตและใช้เป็นประเด็นในการพูดคุย

����������������������������������.indd 107

9/12/16 6:55 PM


108

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ่ ว ย อย่ า งไรก็ ต าม การสังเกตสภาพแวดล้อมและจะ พูดคุยเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด ต้อง ประเมินการตอบสนองของผู้ป่วย และคนรอบข้างด้วย หากมากไป อาจจะเป็นการล่วงเกินความเป็น ส่วนตัวของผู้ป่วยได้เช่นกัน ความสนใจ การสังเกตว่าผู้ป่วยมีความสนใจพิเศษในเรื่องใด บ้ า ง อาจดู จ ากสิ่ ง ของเครื่ อ งใช้ หนั ง สื อ ที่ อ ่ า น ดอกไม้ ใ นแจกั น เพลงที่ เ ปิ ด ฟั ง รายการโทรทั ศ น์ ที่ ดู เรื่ อ งราวที่ ช อบพู ด ถึ ง หรื อ ประเด็นที่เขาสนใจซักถามเป็นพิเศษ หากน�ำเรื่องที่ผู้ป่วยสนใจมา เชื่ อ มโยงกั บ ประเด็ น ที่ ต ้ อ งการพู ด คุ ย กั บ ผู ้ ป ่ ว ยได้ ก็ จ ะช่ ว ยให้ ประเด็นนั้นมีความน่าสนใจส�ำหรับผู้ป่วย ช่วยให้เขาเข้าใจเรื่องราวที่ ยกมาพูดคุยได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป็นการสร้างคุณค่าสร้างความภาคภูมิใจ ให้เกิดขึ้นในตัวผู้ป่วย เมื่อเขาสามารถให้ความรู้ค�ำแนะน�ำกับเราใน เรื่องที่เขาถนัดได้ เมื่อทราบว่าผู้ป่วยสนใจเรื่องใดจึงเป็นหน้าที่ของ ฝ่ายผู้เยี่ยมดูแลที่จะไปท�ำความคุ้นเคยกับเรื่องนั้นมาคุยกับผู้ป่วย อาจไม่จำ� เป็นต้องลึกซึง้ เพียงแค่พอให้มแี ง่มมุ ในการตัง้ ค�ำถามกระตุน้ ให้พูดคุย หรือเชื่อมโยงมาสู่ประเด็นที่ต้องการพูดคุยได้ก็เพียงพอ

����������������������������������.indd 108

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

109

การประเมินระดับสุขภาวะทางปัญญา การประเมินเป็นสิ่งจ�ำเป็นในหลายๆ สถานการณ์ของการดูแล สุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยระยะท้าย เพียงแต่ผู้ประเมินต้องไม่ ติดยึดอยู่กับความหมายเดิมของการประเมิน ที่มักพ่วงความหมาย ของการตัดสิน การจ�ำแนกกลุ่ม หรือการตรวจสอบประสิทธิภาพ การท� ำ งานไว้ ด ้ ว ย และมั ก ท� ำ ด้ ว ยการใช้ เ ครื่ อ งมื อ มาตรวั ด มี แบบฟอร์มให้กรอกข้อมูล ตัวเลข หรือให้คะแนนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สุขภาวะทางปัญญาเป็นเรื่องของสภาวะภายในจิตใจของแต่ละคน ที่ตัวเขาเท่านั้นจะรู้ชัดว่าเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่วัดออกมาไม่ได้ ทั้งหมดจากเครื่องมือหรือแบบวัดใดๆ แม้มาตรวัดและแบบฟอร์ม ต่างๆ ที่จะมีการพัฒนาขึ้นในอนาคตจะเป็นตัวช่วยส�ำคัญในการ ประเมินระดับสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วย แต่ต้องไม่ลืมการสัมผัส ด้วยใจและความรู้สึกที่ส่งผ่านถึงกันที่ไม่สามารถวัดออกมาได้ การประเมินทีจ่ ะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นการประเมินสุขภาวะทาง ปัญญาของผู้ป่วยระยะท้ายผ่านกระบวนการพูดคุยขณะเยี่ยมผู้ป่วย ที่ มุ ่ ง เกื้ อ กู ล ต่ อ การพั ฒ นาสุ ข ภาวะทางปั ญ ญาหรื อ ความสุ ข สงบ ผ่อนคลายในใจของผู้ป่วยเป็นส�ำคัญ (มิได้มุ่งเพื่อการวัดประสิทธิผล ของวิธีการที่ใช้ในการดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วย) การประเมิน ควรท�ำหลังจากเยี่ยมผู้ป่วยเสร็จเพื่อก�ำหนดแนวทางการดูแลใน ครั้งต่อไป ในภาพรวมหลังจากแยกพิจารณาเป็น ๓ ด้านหลัก ที่ไม่ สามารถแยกขาดออกจากกันได้ โดยด้านแรกเป็นคุณสมบัติพื้นฐาน

����������������������������������.indd 109

9/12/16 6:55 PM


110

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ที่ ค วรมี ด้ า นที่ ๒ เป็ น สภาวะที่ ค วรหมดไป และด้ า นที่ ๓ เป็ น สภาวะที่ควรเกิดขึ้น ซึ่งสภาวะทั้ง ๓ นี้ มีประเด็นที่ควรเรียนรู้จาก ผู้ป่วยเพื่อให้การช่วยเหลือดูแลที่เหมาะสม ดังนี้ คุณสมบัติพื้นฐานที่ควรมี คนทุกคนควรมีศาสนา ลัทธิ หรือความเชื่อส่วนตัวอย่างใด อย่างหนึ่งที่ตนศรัทธา ยึดถือ รัก หรือเทิดทูนไว้ ซึ่งใช้เป็นหลัก ยึดเหนี่ยวทางใจ เป็นแนวทางหรือแบบอย่างที่ใช้ด�ำเนินชีวิตของตน หรื อ เป็ น วิ ธี คิ ด พื้ น ฐานที่ ใ ช้ เ ป็ น เครื่ อ งตั ด สิ น ผิ ด ชอบชั่ ว ดี ใ นการ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต เป็ น เครื่ อ งจรรโลงจิ ต สร้ า งความมั่ น ใจว่ า ตนเองได้ ด�ำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง ดีงาม เป็นชีวิตที่มีคุณค่า มีความหมาย สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และอาจเลยไปถึงขั้นที่หวังได้ว่าจะ ช่วยให้ประสบสิ่งดีๆ มีความสุขหลังจากตายไปแล้ว แม้ความศรัทธา พื้นฐานของคนส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของศาสนาหรือลัทธิความเชื่อ แต่ไม่จ�ำเป็นเช่นนั้นเสมอไป ส�ำหรับบางคนอาจเป็นดารา ผู้มีชื่อเสียง นักคิดนักเขียน โดยใช้ปรัชญาค�ำสอน หรือรูปแบบการด�ำเนินชีวิต ของคนเหล่านั้นเป็นแบบอย่าง อาจเป็นเรื่องนามธรรม เช่น ความ รั บ ผิ ด ชอบผู ก พั น กั บ ครอบครั ว ความรั ก ในศิ ล ปะ ดนตรี หรื อ ผสมผสานกันจากหลายๆ ส่วน แต่ลงตัวกันในจิตใจเขาจนใช้เป็น หลักในการด�ำเนินชีวิตได้ แม้ความเชื่อความผูกพันพื้นฐานเหล่านี้ มักมีความมั่นคง แต่ก็เปลี่ยนแปลงได้ตามการเรียนรู้และประสบการณ์ ชีวิตของแต่ละคน

����������������������������������.indd 110

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

111

ข้อมูลพื้นฐานเรื่องศาสนาที่มีในแฟ้มประวัติผู้ป่วยเป็นข้อมูล ที่ควรรับรู้ไว้เบื้องต้นเท่านั้น เพราะอาจไม่ใช่หลักยึดเหนี่ยวทางใจ ของเขาจริงๆ ก็ได้ ก่อนเริ่มต้นพูดคุยควรสังเกตสิ่งที่อาจสื่อถึงความ เชื่อความศรัทธาของผู้ป่วย เช่น การแต่งกาย การสวมเครื่องราง หรือเครื่องหมายที่สื่อถึงความเชื่อ รอยสัก รูปเคารพ พวงมาลัย ผูกสายสิญจน์ หนังสือ ฯลฯ อาจใช้สิ่งที่สังเกตพบนี้เป็นจุดเริ่มต้น ของการพูดคุยสอบถามถึงความเชื่อ แนวทางการปฏิบัติในชีวิต อาจ วิเคราะห์จากความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ ข่าว หรือเรื่องราวรอบตัว ของเขา หากเป็นไปได้ควรให้ผู้ป่วยประเมินตนเองว่าสามารถปฏิบัติ ตามแนวทางที่ตนเองเชื่อได้ดีเพียงใด และเหตุผลว่าท�ำไมจึงประเมิน ตนเองเช่นนั้นซึ่งจะสะท้อนหลักคิดเขาได้เป็นอย่างดี ส�ำหรับผู้ที่ระบุว่านับถือศาสนาพุทธซึ่งในสังคมไทยมีความ หลากหลายในแนวทางปฏิบัติและเคร่งครัดต่างกันมาก ควรพูดคุย เพิ่มเติมถึงพระพุทธรูป พระสงฆ์ บทสวดมนต์ พิธีกรรม ที่ผู้ป่วย ศรัทธา แนวทางที่ใช้ปฏิบัติธรรม ความสม�่ำเสมอจริงจังในการปฏิบัติ ทั้งในเรื่องทาน ศีล ภาวนา และพิธีกรรมทางศาสนาที่เคยร่วม เช่น เข้าอบรมสมาธิภาวนา บวชชีพราหมณ์ สร้างพระ โบสถ์ วิหาร การ ปฏิบัติตัวในวันส�ำคัญทางศาสนา งานบุญประเพณี วันเกิด ฯลฯ ค�ำถามเหล่านี้นอกจากช่วยบอกว่าผู้ป่วยมีพื้นฐานด้านความเชื่อ อย่างไร มีความมั่นคงในการปฏิบัติตามความเชื่อแค่ไหนแล้ว ยัง น� ำ มาใช้ เ ป็ น ประเด็ น พู ด คุ ย หรื อ จั ด กิ จ กรรมที่ ช ่ ว ยเสริ ม ให้ ผู ้ ป ่ ว ย

����������������������������������.indd 111

9/12/16 6:55 PM


112

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

มีศรัทธาที่มั่นคงขณะความทุกข์ทางกายรุมเร้า ให้มีความอิ่มใจ หรือ ได้มีโอกาสทบทวนการใช้ชีวิตของตนที่ผ่านมาด้วย ผู ้ ที่ มี ค วามชั ด เจนในมิ ติ ด ้ า นนี้ แ ละสามารถใช้ ชี วิ ต ตรงตาม แนวทางที่ยึดถืออยู่นี้ได้ดี จะถือว่าเป็นผู้ที่มีสุขภาวะทางปัญญาดี มักมีจิตใจมั่นคง เอื้อเฟื้อ ท�ำตัวมีประโยชน์ต่อสังคม ไม่หวั่นไหว ไม่ ก ลั ว ต่ อ ความตายที่ ก� ำ ลั ง จะมาถึ ง สอดคล้ อ งกั บ ผลงานวิ จั ย ที่ ยกมาอ้างไว้ในบทที่ ๑ และจะลดหลั่นลงไปจนถึงผู้ที่มีหลักยึดแต่ ไม่ชัดเจนและปฏิบัติตามหลักที่ตนศรัทธาอยู่ได้ไม่ดีนัก บางคนอาจ มีหลักยึดมั่นหลากหลายไม่ชัดเจนไม่ได้ปฏิบัติตามหลักการที่ตน ศรัทธา ไปจนถึงผู้ที่ไม่เคยคิดถึงเรื่องเหล่านี้เลย ใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ ตามแต่จะพบกับสถานการณ์ใด ซึ่งในระยะสุดท้ายของชีวิตอาจหา เครื่องยึดเหนี่ยวทางใจได้ยากกว่า ซึ่งอาจต้องให้นึกถึงพ่อ แม่ หรือ คนที่มีพระคุณต่อเขาแทน สภาวะที่ควรหมดไป ผู ้ ป ่ ว ยที่ มี ศ าสนา หลั ก คิ ด หรื อ บุ ค คลต้ น แบบที่ ต นศรั ท ธา และสามารถด�ำเนินชีวิตไปตามแนวทางที่ตนศรัทธาได้ หากแนวทาง ที่ ยึ ด ถื อ อยู ่ นั้ น ชอบธรรม มั ก จะท� ำ ให้ ผู ้ นั้ น มี สุ ข ภาวะทางปั ญ ญา มีชีวิตที่เป็นอิสระมากขึ้น ความรู้สึกด้านลบต่างๆ ไม่ว่า ความกลัว เศร้า ว้าเหว่ หวั่นไหว วิตกกังวล เกลียด เคียดแค้น ชิงชัง อิจฉา ฯลฯ หรือแม้แต่ความทุกข์ทางกายก็อาจลดลงหรือหมดไปได้ แต่ก็ เป็นไปได้ที่บางความเชื่ออาจน�ำผู้ศรัทธาที่ยังปฏิบัติได้ไม่ถึงขั้น หรือ

����������������������������������.indd 112

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

113

อาจสร้างให้ผู้ศรัทธาเกิดความโกรธ เคียดแค้น ชิงชังผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือคิดร้ายต่อสิ่งที่ตนเองศรัทธา ซึ่งเราคงต้องหาด้านดีที่ยังพอมีอยู่ บ้างในแนวคิดนั้นให้ผู้ป่วยได้ยึดเหนี่ยวไว้ การสังเกตและพูดคุยเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ป่วยว่า ยังมีความหวาดกลัวในเรื่องใดบ้าง มีความเศร้าโศกในจิตใจเพียงใด รู้สึกเหงาว้าเหว่ หวั่นไหว หรือยังวิตกกังวล เคียดแค้น ชิงชัง อิจฉา อยู่เพียงใด ก็จะช่วยให้มีแนวทางในการช่วยเหลือเพื่อลดความรู้สึก ที่ บั่ น ทอนความสุ ข สงบของจิ ต ใจในระยะท้ า ยของชี วิ ต ลงได้ ต าม พื้นฐานที่แต่ละคนมีอยู่ สภาวะที่ควรเกิดขึ้น การได้ใช้ชีวิตตามแนวทางที่ตนเชื่อมั่นศรัทธามาอย่างดีจะ ท�ำให้ผู้นั้นมีสุขภาวะทางปัญญา กล่าวคือมีความสุข มั่นคง มั่นใจ ในการกระท�ำของตนเองว่าถูกต้องดีงาม เป็นอิสระไม่กลัวแม้จะต้อง แลกกับชีวิตหรือความตายที่จะเข้ามาถึง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะหลัก ค� ำ สอนเหล่ า นั้ น ได้ ใ ห้ ค� ำ มั่ น สั ญ ญากั บ สาวกผู ้ ที่ ป ฏิ บั ติ ต ามอย่ า ง เคร่งครัดว่าจะมีชีวิตเบื้องหน้าหลังตายที่ดีงามมีความสุข ผนวกกับ ความมั่นใจว่าตนเองได้ท�ำสิ่งนั้นอย่างเต็มที่แล้ว รู้สึกถึงการได้ใช้ชีวิต อย่างมีคุณค่าสมกับที่ได้เกิดมา แม้ความรู้สึกที่ว่านั้นหากมองใน สายตาผู้อื่นที่ไม่ได้ศรัทธาอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องงมงาย ไร้สาระ หรือ อาจถึงขั้นเป็นชีวิตที่ผิดพลาดสร้างความเดือดร้อนเบียดเบียนผู้อื่น ก็ตาม

����������������������������������.indd 113

9/12/16 6:55 PM


114

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

หากแนวทางที่ศรัทธานั้นเป็นศาสนาหรือลัทธิความเชื่อที่ไม่นิยม ความรุนแรง ให้ความส�ำคัญกับมิติทางจิตใจ ก็มักจะน�ำสาวกไปสู่ วิถีชีวิตที่ร่มเย็นในช่วงท้ายของชีวิต มีสุขภาวะทางปัญญาคือท�ำให้ จิ ต ใจมี ค วามประณี ต ลึ ก ซึ้ ง อิ่ ม ใจ สุ ข ใจ มี ค วามเมตตา กรุ ณ า พร้ อ มกั บ มี ค วามหวั ง มี ค วามมุ ่ ง มั่ น อยู ่ เ สมอ เสี ย สละเพื่ อ ผู ้ อื่ น ไม่เห็นแก่ตัว พากเพียรที่จะท�ำดีต่อชีวิตรอบข้าง/สิ่งแวดล้อมแม้ใน ขณะที่เจ็บป่วยอยู่ก็ตาม พร้อมทั้งยังเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น สามารถยอมรับและให้อภัยกับความผิดพลาดที่ตนเคยท�ำมา และ อโหสิกรรมกับความผิดพลาด บกพร่องที่คนอื่นกระท�ำต่อตนได้ การสังเกตและพูดคุยเพื่อประเมินว่าจิตใจมีคุณสมบัติดังกล่าว นี้เกิดขึ้นเพียงใด จะช่วยให้ผู้ดูแลให้การช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม ภาวะเหล่านี้มักผกผันกับมิติด้านลบที่ควรหมดไปดังได้กล่าวแล้ว นั่นคือถ้ามีคุณสมบัติในด้านนี้มาก คุณสมบัติด้านที่เป็นความเคียดแค้น กังวล ฯลฯ ย่อมมีน้อย

การพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาตามพื้นฐานของผู้ป่วย แม้ความศรัทธาความเชื่อบางอย่างดูเหมือนว่าน�ำให้ชีวิตผู้ที่ ศรัทธานั้นวุ่นวายเหนื่อยยาก สร้างความเดือดร้อนให้สังคม แต่ ส�ำหรับผู้ศรัทธาแล้ว เมื่อได้ใช้ชีวิตตามแนวทางที่ตนเชื่อมั่น มัก ท�ำให้ผู้นั้นมีความสุข จิตใจมั่นคง เป็นอิสระ ไม่กลัวแม้ความตาย การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายให้เข้าถึงสุขภาวะทางปัญญาได้ดีที่สุด

����������������������������������.indd 114

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

115

ควรท�ำโดยผู้ที่มีความเชื่อความศรัทธาเหมือนกัน หรืออย่างน้อย ควรไปในทิศทางเดียวกัน แม้ในช่วงเวลาสั้นๆ ก็ยังมีประโยชน์ แต่ ถ้าเป็นไปไม่ได้ควรเป็นหน้าที่ของผู้ให้การดูแลโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลที่ต้องคอยอยู่เป็นเพื่อน อ�ำนวยความสะดวกให้เขาได้ ท� ำ ในสิ่ ง ที่ ส อดคล้ อ งกั บ ความเชื่ อ ที่ มี ใ ห้ ม ากที่ สุ ด ในขอบเขตที่ ไ ม่ รบกวนผู้ป่วยรายอื่นเกินไป ในที่ นี้ จ ะกล่ า วถึ ง การพั ฒ นาสุ ข ภาวะทางปั ญ ญาให้ ผู ้ ป ่ ว ย ระยะท้ายที่เป็นพุทธศาสนิกชนเป็นหลัก เพราะนอกจากใช้ได้กับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่แล้ว อาจกล่าวได้ว่ามีการพัฒนาแนวทางปฏิบัติไว้ อย่างเป็นรูปธรรมน้อยกว่าในศาสนาอื่นๆ มาก ที่กล่าวถึงนี้ควรถือว่า เป็นเพียงหนึ่งในจุดเริ่มต้นของการพัฒนางานด้านนี้ที่ยังต้องการ ความร่วมมือจากทุกฝ่ายมาพัฒนาต่อไปอีกมาก แต่กระนั้นต้องไม่ลืม ว่าพระพุทธศาสนาก็เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ ความศรัทธาพื้นฐาน ที่มีอยู่ในสังคม ส�ำหรับผู้ป่วยที่นับถือศาสนาอื่นก็ใช้หลักที่กล่าวถึง กลางๆ ในที่นี้ได้ ส่วนการช่วยเหลือระดับลึกทางศาสนาควรจะปรึกษา ญาติของผู้ป่วยให้หาทางช่วยเหลือที่พอท�ำได้ พร้อมกันนั้นผู้ป่วย จ�ำนวนหนึ่งยังมีความสนใจหรือศรัทธาต่อปรัชญา วิถีชีวิต หรือใน กิจกรรมที่เขารักบางอย่าง เช่น ดนตรี ศิลปะ สัตว์เลี้ยง ท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม ของสะสม ฯลฯ หากสามารถน�ำสิ่งเหล่านี้เข้ามาเติมให้ ชีวิตของเขาในช่วงท้ายได้ ก็จะช่วยเสริมสุขภาวะทางปัญญาได้อย่าง รวดเร็วยิ่งขึ้น

����������������������������������.indd 115

9/12/16 6:55 PM


116

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

การช่วยเหลือทางกาย การช่วยเหลือทางร่างกายให้ผปู้ ว่ ยได้รบั ความสะดวกสบายขึน้ บรรเทาความทุกข์อันเกิดจากความเจ็บป่วยลงโดยเฉพาะอาการ เจ็บปวด หอบเหนื่อย หายใจล�ำบาก ถือเป็นหน้าที่หลักของวงการ แพทย์ทมี่ คี วามเชีย่ วชาญในเรือ่ งการใช้ยาและเทคโนโลยีให้การรักษา อยู่แล้ว เมื่อความช่วยเหลือทางกายท�ำให้ผู้ป่วยมีความสบายตัวขึ้น ทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยลดลง ก็จะส่งผลให้จิตใจสงบลงพร้อม ที่จะมีสุขภาวะทางปัญญาได้ง่ายขึ้น หลายกิจกรรมยังเชื่อมโยงโดย ตรงสู่การพัฒนาจิตใจไปพร้อมๆ กันอีกด้วย การสัมผัส บีบนวด ขยับร่างกาย ถือเป็นวิธีการพื้นฐานที่ใช้ได้ กับผู้ป่วยระยะท้ายส่วนใหญ่ การบีบนวดของผู้ดูแลนี้ไม่จ�ำเป็นต้อง ใช้ทักษะระดับแพทย์แผนไทย (แต่ถ้ามีทักษะนี้อยู่แล้วก็เป็นประโยชน์ ยิ่งขึ้น) การบีบนวดเป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้ได้มีความใกล้ชิด กันมากขึ้น นอกจากจะเป็นโอกาสที่ได้ถ่ายทอดความรู้สึกห่วงใย ได้ พูดคุยอย่างไม่เป็นทางการที่มีประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้ป่วยมากขึ้น ดังที่กล่าวมาบ้างแล้ว ยังใช้เป็นเครื่องมือในการฝึกสติให้จิตใจจดจ่อ อยู่กับการรับรู้สัมผัสทางกายจากการบีบนวดได้ด้วย การนวดท� ำ ได้ ตั้ ง แต่ ศี ร ษะ ใบหน้ า ต้ น คอ ไหล่ แขน มื อ แผ่นหลัง ท้อง ต้นขา น่อง เท้า และส่วนที่ต้องเน้นต�ำแหน่งใดหรือ ควรเลี่ ย งในต� ำ แหน่ ง ใดนั้ น ขึ้ น กั บ สภาวะการเจ็ บ ป่ ว ยของผู ้ ป ่ ว ย แต่ละราย นอกจากนี้ต�ำแหน่งที่จะนวดยังขึ้นกับความใกล้ชิดคุ้นเคย

����������������������������������.indd 116

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

117

และระยะเวลาที่มีด้วย หากทราบอยู่แล้วว่าการสัมผัสหรือขยับนั้น จะท� ำ ให้ เ กิ ด การเจ็ บ ปวด ต้ อ งบอกให้ ผู ้ ป ่ ว ยทราบล่ ว งหน้ า เพื่ อ เตรียมรับสถานการณ์ หากอยู่ในระยะท้ายของชีวิตแล้วก็ไม่ควร ท�ำให้เจ็บปวดหรือความล�ำบากทางกายใดๆ โดยไม่จ�ำเป็น การใช้กิจกรรมอื่นๆ มาช่วย ก็เป็นโอกาสที่ท�ำให้ผู้ป่วยได้ ผ่อนคลาย และเสริมสร้างมิติทางปัญญาด้วย หากเป็นเรื่องที่ผู้ป่วย สนใจหรือเป็นกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เช่น ดนตรี บ�ำบัด ศิลปะบ�ำบัด การได้วาดภาพ ปั้นแป้ง พับกระดาษร่วมกับ สมาชิกในครอบครัวหรือคนที่ตนรัก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วย และความสามารถในการน�ำกิจกรรมเหล่านี้มาใช้ด้วย บางอย่างอาจ ต้องอาศัยผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้โดยตรง การให้ก�ำลังใจ ก� ำ ลั ง ใจเป็ น สิ่ ง จ� ำ เป็ น พื้ น ฐานในการดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยระยะท้ า ย เว้นแต่ในผูท้ มี่ พี นื้ ฐานการพัฒนาจิตจนสุขภาวะทางปัญญามัน่ คงแล้ว แต่ปญ ั หามักอยูท่ วี่ า่ ผูด้ แู ลควรให้กำ� ลังใจผูป้ ว่ ยอย่างไรจึงจะเหมาะสม ไม่เป็นการซ�้ำเติม ตอกย�้ำ หรือกดดันผู้ป่วยเกินไป ก�ำลังใจที่ผู้ป่วย มักได้รับจากครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือเพื่อนฝูงที่มาเยี่ยมเยียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นก�ำลังใจในเชิงการกระตุ้นให้สู้กับโรค ให้เข้มแข็ง ให้เอาชนะ เพื่อที่จะได้มีชีวิตอยู่กับคนที่รักต่อไป ส�ำหรับผู้ป่วย ระยะท้ายนั้นแม้ตัวเขาเองอยากที่จะเป็นเช่นนั้นเพื่อความสุขของตน

����������������������������������.indd 117

9/12/16 6:55 PM


118

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

และคนที่ตนรัก แต่มักรู้ถึงความเป็นไปของอัตภาพร่างกายตนเองดี ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะในผู้ป่วยเรื้อรังที่โรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เป็นล�ำดับ ดังนั้นการให้ก�ำลังใจโดยบอกให้ผู้ป่วย “สู้ๆ” “ป้าต้อง หายนะ” จึงเป็นการกดดัน ซ�้ำเติมให้ผู้ป่วยเดินต่อไปเพียงล�ำพัง การให้กำ� ลังใจดังกล่าวเป็นสิง่ ทีท่ ำ� ได้ โดยเฉพาะในผูป้ ว่ ยโรคที่ ยังพอมีทางรักษาประคับประคองให้ชีวิตยืนยาวไปอีกระยะพอควร หรือผู้ที่เพิ่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ยังต้องใช้เวลาตรวจ ร่างกายอีกนานและทางทีมช่วยเหลือผู้ป่วยยังต้องการเวลาเรียนรู้ ผู้ป่วยมากขึ้น เพราะก�ำลังใจที่ดีเป็นเหมือนพลังภายในส�ำคัญที่จะ หนุนให้ร่างกายนี้ด�ำรงอยู่ได้ แต่การให้ก�ำลังใจของทีมงานนั้นควรท�ำ ในระดับที่เป็นกลางๆ ในช่วงเริ่มต้น เมื่อผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น การ ให้ก�ำลังใจควรปรับมาชี้ให้เห็นแง่มุมดีๆ ในชีวิต และเมื่อผู้ป่วยอยู่ใน ระยะสุดท้ายของชีวิต การให้ก�ำลังใจไม่ควรให้เขาสู้ หรือให้ความหวัง ในการมีชีวิตกับเขาอีกต่อไป แต่ควรพูดให้ผู้ป่วยยอมรับความเป็น จริ ง ของชี วิ ต ตระหนั ก ในความตายที่ จ ะมาถึ ง และเตรี ย มตั ว ให้ พร้อมที่จะรอรับความตายที่จะคืบคลานเข้ามาได้ทุกเมื่อ (ดูตัวอย่าง การพูดให้ก�ำลังใจในกรอบข้อความ) ในช่วงท้ายแห่งชีวิต ถ้าผู้ป่วยไว้ใจและอยากให้ผู้ดูแลอยู่เป็น เพื่อนใกล้ๆ ถ้าไม่ติดภารกิจจ�ำเป็นก็ไม่ควรปฏิเสธ การสัมผัส เป็น ก�ำลังใจ ส่งเขาอยู่ใกล้ๆ โดยไม่ต้องพูดสิ่งใดก็เพียงพอที่จะให้เขา จากไปอย่างไม่รู้สึกโดดเดี่ยวได้

����������������������������������.indd 118

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

119

ตัวอย่างประโยคให้ก�าลังใจ ช่วงเริ่มต้น • หนูขออนุญาตมาเยี่ยมเป็นก�าลังใจให้คุณยายทุกวันนะคะ • ทางโรงพยาบาลเราจะรักษาโรคที่คุณพี่เป็นอย่างเต็มความ สามารถนะครับ แต่พี่ต้องท�าใจให้เข้มแข็งด้วย ไม่อย่างนั้นความ เครียด ความเศร้า จะซ�้าเติมให้สุขภาพแย่ลงไปมากกว่านี้อีก • ช่วงนี้เข้มแข็งไว้นะ คุณหมอเขาก�าลังรอผลการตรวจร่างกาย ส่วนต่างๆ อยู่นะคะ อย่าเพิ่งกังวลเกินไป มันจะเครียด นอนไม่หลับ โรคจะก�าเริบขึ้นอีก ไว้ผลออกมาเป็นอย่างไรแล้วค่อยคุยกันอีกที ชี้ให้เห็นแง่มุมที่ดีในชีวิตเมื่ออาการหนักขึ้น • วันนี้ผลเลือดออกมาไม่ค่อยดีเลย คุณป้าทราบแล้วใช่ไหม ตอนนี้เราท�าได้ก็เพียงยอมรับสภาพที่มันไม่เลวร้ายไปกว่านี้ แต่ ดีนะนี่ ที่คุณป้าไม่ค่อยปวดมาก เตียงนั้นเป็นโรคคล้ายๆ กับคุณป้า นี่แหละ แต่เขาปวดร้องโอดโอยน่าสงสารมาก • วันนี้ขยับตัวไม่ค่อยได้เลยใช่มั้ย ดีนะมีคุณลุงอยู่เป็นเพื่อน คอยพลิกตัวให้ คนที่ไม่มีญาติเฝ้า กว่าพยาบาลมาพลิกตัวให้ครั้งหนึ่ง ก็รอนาน ตอนพลิกตัวเจ็บบ้างก็อย่าไปโกรธลุงนะ เดี๋ยวหนูจะช่วย นวดแขนนวดมือให้นะคะ

����������������������������������.indd 119

9/12/16 6:55 PM


120

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ยอมรับความจริงและเตรียมตัว • วันนี้ปวดแผลมากขึ้นใช่มั้ย พระท่านว่า ร่างกายมันไม่ใช่ ของเรา เราไม่อยากให้ปวดมันก็ปวด บังคับให้มันเป็นไปตามใจเรา ไม่ได้ แม้ให้ยาแก้ปวดแล้ว มันยังปวดอยู่เลย • แม้กายเราจะทุกข์ แต่พระท่านว่าเราสามารถฝึกใจของเรา ให้สดใสอยู่ได้นะ มันคนละส่วนกัน ร่างกายเราดูเหมือนว่าจะขยับ ไปไหนไม่ไหวแล้ว แต่ดูใจเราซิ วิ่งคิดโน่นคิดนี่ไม่หยุดเลย เรามาลอง ท�ำใจให้มันสงบกันดูมั้ย • ใครๆ ก็กลัวความตายกันทั้งนั้นแหละนะ พระท่านว่า “ความ กลัวตาย” นี่น่ากลัวกว่า “ความตาย” จริงๆ ซะอีก แต่ในเมื่ออย่างไร เราก็หนีเขาไม่พ้น มาเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับเขาไม่ดีกว่าหรือ • ถึงขั้นนี้แล้ว คงต้องยอมรับ ถือเสียว่ามันเป็นกรรมที่ติดตัว เรามา เราเลี่ยงไม่ได้ มาดูแลใจของเราดีกว่า ยังพอปรับพอพัฒนา มันได้บ้าง หนูจะคอยเป็นก�ำลังใจอยู่ข้างๆ นี้นะ • ถ้ า ให้ นึ ก ถึ ง พระ คุ ณ น้ า นึ ก เห็ น พระองค์ ไ หนได้ ชั ด ที่ สุ ด (พระพุทธรูปหรือพระสงฆ์ก็ได้) เรามาฝึกนึกถึงท่านบ่อยๆ ดีมั้ย ให้ ท่ า นมาเป็ น เพื่ อ นคุ ณ น้ า อี ก คน หนู จ ะคอยบี บ คอยนวดคุ ณ น้ า ที่ ร่างกายนี่ ส่วนท่านให้เป็นเพื่อนอยู่ในใจคุณน้านะ

����������������������������������.indd 120

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

121

การให้ค�ำแนะน�ำ/ข้อมูล การให้ ค� ำ แนะน� ำ ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยระยะท้ า ยนั้ น ถื อ เป็ น หั ว ใจของ งานเยี่ยมอย่างหนึ่ง โดยตัวผู้เยี่ยมเองไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของ โรงพยาบาล พระ หรือจิตอาสา ต่างก็คิดว่าตัวเองต้องมีความรู้ หรือข้อมูลต่างๆ ให้เพียงพอเสียก่อนจึงจะเข้าเยีย่ มผูป้ ว่ ยระยะท้ายได้ จะได้บอกอะไรแก่ผู้ป่วยบ้าง แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้น แน่นอนที่สุดผู้ท่ีมีข้อมูล มีประสบการณ์คือผู้ที่ท�ำหน้าที่นี้ได้ดีกว่า แต่ถ้าผู้เริ่มต้นใหม่ที่มีใจเต็มร้อยในการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยระยะท้าย แม้เพียงการอยู่เป็นเพื่อน หยิบจับ สัมผัสตัว เล็กๆ น้อยๆ ยิ้มให้ ส่งสายตาให้ก็เพียงพอแล้วส�ำหรับต้นทุนในการเข้าเยี่ยม การแนะน�ำผู้ป่วยอาจไม่จ�ำเป็นต้องมีข้อมูลหรือความรู้ใดๆ เลยก็ได้ เพียงแต่ขอให้เป็นนักฟังที่ดี รู้จักสังเกต และใช้ค�ำพูดสั้นๆ ตามความเหมาะสม ก็ช่วยให้ผู้ป่วยพบค�ำตอบ หรือตัดสินใจใน หลายเรื่องที่ยากล�ำบากได้ด้วยตัวเขาเองในขณะที่เราฟังอย่างใส่ใจ ไม่ด่วนตัดสิน ขัดจังหวะ ตั้งค�ำถาม หรือพาเขาออกนอกประเด็น ตัวอย่างค�ำพูด เช่น “แล้วคิดจะท�ำอะไรต่อไป” “เรายังไม่ต้องรีบ ตัดสินใจตอนนี้ไม่ได้หรือ” “อยากมีเวลาทบทวนอีกครั้งมั้ย” เป็นต้น หากเลือกพูดได้เหมาะกับสถานการณ์จะเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้คิด ทบทวน และได้ทางออกของปัญหาด้วยตัวเขาเอง

����������������������������������.indd 121

9/12/16 6:55 PM


122

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

เมื่อจ�ำเป็นต้องให้ค�ำแนะน�ำด้วยข้อมูลที่อยู่ในขอบเขตหน้าที่ ที่เราสามารถให้ได้ ถ้ามีข้อมูลอยู่แล้วก็ตอบได้เลย หรือมีอยู่บ้างแต่ ไม่ชัดเจนอาจจะตอบคร่าวๆ ก่อน โดยบอกกับผู้ป่วยให้ชัดว่าเป็น ข้อมูลเบื้องต้นจะค้นค�ำตอบมาบอกอีกครั้งหนึ่ง หรือจะขอเลื่อนไป ให้ค�ำตอบในวันต่อไปก็ได้ (ในกรณีที่ไม่ใช่เรื่องด่วน ที่ควรพยายาม หาค�ำตอบให้เลย) ข้อส�ำคัญคือไม่ควรตอบในสิ่งที่เกินขอบเขตหน้าที่ หรือตอบไปโดยไม่แน่ใจหรือไม่รู้ข้อมูล เพราะอาจส่งผลเสียหรือ ก่อปัญหาขึ้นภายหลัง ในหลายโอกาสผู้ป่วยจะมีค�ำตอบหรือคาดไว้แล้วว่าจะได้รับ ค�ำตอบอย่างไรจากการถามนั้น จึงควรตั้งสติและใช้ความระมัดระวัง เสมอเมื่อได้รับค�ำถามจากผู้ป่วย หากเป็นเรื่องส�ำคัญอาจหยั่งเชิง ด้วยการถามกลับหรือชวนคุย เช่น “ลุงเคยได้ยินเรื่องนี้มาอย่างไร บ้างจ๊ะ... ลุงเชื่อแบบนั้นด้วยรึเปล่า” หรือให้ค�ำตอบในเชิงเงื่อนไข เพื่อดูปฏิกิริยาจากผู้ป่วยก่อน เช่น“แล้วถ้าผลมันไม่เป็นไปตามที่ พี่ต้องการล่ะ” “คุณป้าอยากให้ค�ำตอบเรื่องนี้มันเป็นอย่างไรครับ” พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เตรียมใจในการรับฟังข้อมูล ที่อาจจะ เป็นข่าวร้ายส�ำหรับเขา เช่น “ผลการตรวจ มันก็มีอยู่ ๒ ค�ำตอบ อย่างที่เรารู้กันอยู่นะ ว่าเป็นหรือไม่เป็น ไม่มีใครอยากให้ผลออกมา ว่าเป็นโรคนี้หรอกนะ แต่การได้รู้ว่าเป็นก็ยังดีกว่าปล่อยให้กังวล สงสัยคาใจอยู่ ถ้ารู้ว่าเป็น เราก็จะได้เริ่มดูแลตัว ให้การรักษา แม้ มันจะไม่หาย แต่ก็ยังดีกว่าปล่อยไว้ไม่ท�ำอะไรเลย” เป็นต้น

����������������������������������.indd 122

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

123

ขณะให้ข้อมูลหรือค�ำแนะน�ำต่างๆ ไม่ควรพลาดโอกาสที่จะ สังเกตอากัปกิริยา สีหน้า ท่าทางของผู้ป่วยด้วย เพื่อประกอบการ ตัดสินใจว่าจะให้ข้อมูลเพียงใด แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อ ผู้ป่วยแสดงอาการว่ารับไม่ได้ เช่น ร้องไห้ออกมาเมื่อทราบว่ามะเร็ง ที่เป็นนั้นอยู่ในระยะที่ไม่สามารถรักษาได้แล้ว จะต้องรีบหยุดให้ ข้อมูล เพราะเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีความเสียใจเกิดขึ้น แต่ ควรสรุปปิดเรื่องร้ายในวันนั้นอย่างมีความหวัง เช่น “ใจเย็นๆ ยัง ต้องมีการตรวจเพิ่มเติม เพื่อยืนยันผลอีก” “จะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ในเรือ่ งนีอ้ กี ครัง้ ถึงจะได้ขอ้ สรุปแนวทางการดูแลนะ” “อย่าเพิง่ กังวล เกินไป เรายังประคับประคองรักษากันต่อไปได้” เป็นต้น เปิดโอกาส ให้ผู้ป่วยและญาติได้มีเวลาคิด ได้ท�ำใจ แล้วค่อยๆ ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ภายหลัง และหาทางแก้ไขความเศร้าโศกความทุกข์ใจกันต่อไป การช่วยลดความเครียด/กังวล มี เ รื่ อ งราวมากมายที่ ท� ำ ให้ ผู ้ ป ่ ว ยระยะสุ ด ท้ า ยที่ ยั ง มี ส ติ สัมปชัญญะดีส่วนใหญ่ต้องตกอยู่ในสภาวะเครียดและวิตกกังวล การให้ยาคลายเครียดเป็นทางหนึ่งที่ใช้ได้ผลดี แต่ไม่ได้แก้ปัญหา ที่ต้นเหตุและมีผลข้างเคียงท�ำให้ผู้ป่วยมีความตื่นตัวลดลง ผู้ดูแล สามารถให้การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายได้หลายวิธี ทั้งการช่วย ประสานงานเพื่อจัดการภารกิจต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเครียด หรือกังวลห่วงใยจบไป ช่วยให้ผู้ป่วยท�ำใจยอมรับภาวะที่แก้ไขไม่ได้ แล้ว เช่น ถ้าผู้ป่วยอยากอยู่ให้นานกว่านี้จนเห็นลูกได้รับปริญญา

����������������������������������.indd 123

9/12/16 6:55 PM


124

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ก็ต้องให้ยอมรับความจริงที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่อาจชี้ให้เห็นว่า เขาได้ท�ำและเตรียมสิ่งที่ดีที่สุดไว้ให้ลูกพร้อมแล้ว ลูกย่อมประสบ ความส�ำเร็จตามที่หวังแน่นอนไม่ต้องกังวล ยิ่งให้ลูกให้ค�ำมั่นสัญญา ด้วยตนเองได้ก็จะช่วยให้ยอมรับและลดสิ่งที่ตนคาดหวังลงได้ แล้ว ให้ผู้ป่วยได้ใช้เวลาที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบันอย่างคุ้มค่าที่สุดต่อไป นอกจากการพู ด คุ ย รั บ ฟั ง ปั ญ หา และหาทางช่ ว ยเหลื อ ปลดเปลื้องภาระต่างๆ แล้ว (ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป) การใช้สื่อ เกม ศิลปะ ดนตรี เพลง เรื่องเล่า งานเล็กๆ น้อยๆ รวมถึงการให้ สวดมนต์ ท�ำสมาธิ เปิดเสียงสวดมนต์หรือธรรมะดีให้ฟัง ก็ล้วน น�ำมาใช้ในการลดความเครียดความกังวลของผู้ป่วยลงได้ ขึ้นกับว่ามี ทรัพยากรหรือองค์ความรู้ในด้านใดอยู่ หรือประสานงานเพื่อน�ำมา ช่วยผู้ป่วยได้ ส�ำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย หรือไม่ชอบฟังธรรมะ การใช้ดนตรี ฟังสบายๆ หรือน�ำเพลงที่ผู้ป่วยชอบมาให้ฟัง ก็พบว่าช่วยให้ผู้ป่วย ผ่อนคลายมีความสุขขึ้นลดความกังวลลงได้ การช่วยจัดการภารกิจที่ติดค้าง การมีปัญหาที่ต้องสะสาง มีเรื่องราว ทรัพย์สิน หนี้สิน หรือ ภาระหน้าที่ที่ยังจัดการไม่เรียบร้อยเป็นสาเหตุสำ�คัญที่ทำ�ให้ผู้ป่วย มีความเครียด วิตกกังวล รู้สึกว่ายังตายไม่ได้ จนถึงทำ�ให้จากไป อย่างไม่สงบ ไม่สามารถเข้าถึงสุขภาวะทางปัญญาในระดับที่ควร จะเป็น การสังเกต พูดคุย และรับฟังผู้ป่วยเพื่อค้นหาสิ่งที่ยังติดค้าง คาใจ ภาระ หรือปัญหาต่างๆ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้การช่วยเหลือ

����������������������������������.indd 124

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

125

เสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วย โดยต้องนำ�ภาระที่พบว่า ผู้ ป่ ว ยมี อ ยู่ นั้ น มาวิ เ คราะห์ ว่ า แต่ ล ะเรื่ อ งนั้ น มี ค วามหมายมี ค วาม สำ�คัญต่อผู้ป่วยเพียงใด (ซึ่งบางเรื่องที่สำ�คัญต่อผู้ป่วยอาจดูเล็กน้อย มากสำ�หรับผู้อื่น) แล้วช่วยเป็นธุระจัดการเรื่องที่สำ�คัญที่สุดในสายตา ของผู้ ป่ ว ยก่ อ น ตั ว อย่ า งคำ�ถาม/การชวนคุ ย ที่ ช่ ว ยค้ น หาเรื่ อ ง ค้างคาใจของผู้ป่วยได้ เช่น “ตอนนี้คุณลุง มีเรื่องอะไรที่ยังเป็นห่วง อยู่อีกบ้างหรือเปล่า” “ถ้าป้าเป็นนางฟ้า มีลูกแก้ววิเศษขออะไรก็ได้ ๓ อย่าง หนูอยากขออะไรจากป้าบ้างจ๊ะ” “สมมติถ้าพรุ่งนี้ตื่นขึ้นมา เดินได้เป็นปกติ พี่อยากจะทำ�อะไรเป็นอย่างแรกเลยครับ” เป็นต้น การจัดการปัญหาต่างๆ ของผู้ป่วยหากเป็นไปได้ควรให้ญาติ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเพื่อคนที่เขารัก ซึ่งอาจต้องใช้เวลา พอสมควรในการทำ�ความเข้าใจกับญาติให้เห็นถึงความสำ�คัญของการ ช่วยจัดการภาระให้ผู้ป่วย บางเรื่องอาจต้องใช้ความสามารถในการ ประสานงานของผู้ดูแล ต้องทุ่มเทใช้ความพยายามอย่างมากจึงจะ สำ�เร็จ (เช่น ผู้ป่วยต้องการพบลูกซึ่งถูกจำ�คุกอยู่ในเรือนจำ� ก็เคยมี การช่วยเหลือจนให้ผู้ป่วยได้พบกับลูกจนสำ�เร็จมาแล้วในหลายพื้นที่) และก็มีอีกหลายเรื่องที่ไม่อาจทำ�อะไรได้มากนัก เช่น การหาเงิน ก้อนโตมาชำ�ระหนี้ การให้มีชีวิตอยู่ได้จนถึงลูกได้บวช การขอโทษ กับผู้ที่ไม่สามารถติดต่อได้แล้ว หรืออาจเสียชีวิตไปแล้ว ผู้ดูแลควร ใช้ความสามารถในการสื่อสารและจัดการเพื่อให้ผู้ป่วยสบายใจขึ้น มากที่สุด เช่น ให้เจ้าหนี้มายืนยันว่าจะไม่เร่งรัดหนี้สิน การให้ลูกชาย มารับปากว่าจะบวชให้แน่นอนเมื่ออายุครบบวช การทำ�บุญอุทิศ

����������������������������������.indd 125

9/12/16 6:55 PM


126

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ขออโหสิกรรมกับผู้ที่เคยล่วงเกินกันไว้ หรือแม้กระทั่งพูดให้ยอมรับ ในความจริ ง ว่ า สิ่ ง ที่ ห วั ง ไว้ นั้ น มั น เป็ น สิ่ ง ที่ เ ป็ น ไปไม่ ไ ด้ มั น ขึ้ น กั บ อีกหลายเหตุปัจจัยที่แม้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ต่อไปมันก็ไม่อาจเป็นเช่นนั้น ได้เช่นกัน การสร้างกุศลจิต หลังจากได้ปลดเปลื้องภาระ แบ่งเบาปัญหาต่างๆ ออกจาก ใจผู ้ ป ่ ว ยแล้ ว การกระตุ ้ น ให้ ห วนระลึ ก ถึ ง คุ ณ ความดี ที่ เ คยท� ำ มา ประสบการณ์ที่งดงาม และเติมคุณค่าดีๆ เพิ่มเข้าไปใหม่ เป็นอีก กระบวนการส�ำคัญในการสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาให้ผู้ป่วย เป็นการเพิ่มพื้นที่แห่งความสุขใจ อิ่มใจ เบิกบานใจให้ผู้ป่วย พร้อม ลดสัดส่วนของเวลาที่ใช้ครุ่นคิดในเรื่องที่เป็นปัญหา เรื่องค้างคาใจลง ตามหลักของพระพุทธศาสนาแล้วการหมัน่ ระลึกถึงความดีหรือสิง่ ดีๆ ที่ตนได้เคยท�ำควรท�ำบ่อยๆ จิตใจจะแช่มชื่นเบิกบานเป็นกุศลง่าย และเมื่อถึงช่วงท้ายแห่งชีวิตได้รับการกระตุ้นใจให้ระลึกถึงสิ่งดีงาม เพียงเล็กน้อยก็ท�ำให้จิตใจดื่มด�่ำอยู่ในบุญกุศลนั้นได้อย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้น�ำไปสู่สุคติภพได้ง่าย การชวนผู้ป่วยพูดคุยถึงเรื่องดีงามเป็นกิจกรรมที่ท�ำได้ง่าย ไม่ต้องอาศัยประสบการณ์มากนัก แต่ต้องประเมินบรรยากาศก่อน คุยให้ดีว่าผู้ป่วยยังมีความทุกข์ความเศร้ามากเพียงใด พร้อมที่จะคุย เรื่องนี้หรือยัง การชวนคุยในเวลาที่ไม่เหมาะอาจท�ำให้ผู้ป่วยไม่อยาก

����������������������������������.indd 126

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

127

คุ ย การคุ ย เพื่ อ สร้ า งกุ ศ ลจิ ต นี้ ค วรเปิ ด โอกาสให้ ผู ้ ป ่ ว ยได้ นึ ก ถึ ง รายละเอียดต่างๆ ของกิจกรรมอันเป็นกุศลให้ได้มากที่สุด ได้ท�ำสิ่ง ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร ใครเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง แต่ละฝ่าย มีความสุขหรือได้ประโยชน์อย่างไร ชี้จุดที่น่าชื่นชมต่างๆ ให้ผู้ป่วย ได้เห็น เกิดความภาคภูมิใจที่ได้ท�ำสิ่งนั้นไป อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ครอบครัว ญาติพี่น้อง หน้าที่การงาน การช่วยเหลือสังคม เป็นเรื่องที่ สืบเนื่องกับนิสัยใจคอ เช่น คุณค่าของการเป็นคนช่างคิด ละเอียดอ่อน มีอารมณ์สุนทรีย์ มีใจเมตตา รวมไปถึงเรื่องของการท�ำบุญสร้างกุศล ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนา และอื่นๆ เช่น การบริจาคโลหิต อวัยวะ ร่างกาย สนับสนุนการศึกษา สร้างโรงพยาบาล ฯลฯ โดยข้อมูล เหล่านี้อาจได้จากการพูดคุยกับญาติมาก่อน หรือตั้งค�ำถามโดยตรง เมื่อมีโอกาสเหมาะสม เช่น จากสถานการณ์รอบๆ ตัว จากข่าว หนังสือพิมพ์ รายการทีวี หรือเรื่องที่ก�ำลังคุยอยู่กับญาติ เป็ น การดี ถ ้ า จะแนะน� ำ ให้ ญ าติ หรื อ คนใกล้ ชิ ด น� ำ เรื่ อ งที่ เป็นความสุขในอดีตมาสนทนากับผู้ป่วย อาจน�ำสิ่งของหรือรูปภาพ ในอดีตมาประกอบการพูดคุย เช่น รูปภาพการไปเที่ยวกับครอบครัว สังสรรค์กับเพื่อนฝูง หรือภาพที่ระลึกในโอกาสได้รับความส�ำเร็จ ต่างๆ ตัวอย่างค�ำถามที่ใช้เปิดประเด็นนี้ เช่น“หลานๆ ที่มาเยี่ยม ๓-๔ คนวันนี้ คนไหนเป็นขวัญใจคุณย่าคะ ท�ำไมล่ะ” “เห็นน้องเขา บอกว่ า คุ ณ ลุ ง บริ จ าคดวงตาไว้ ด ้ ว ยหรื อ คะ อนุ โ มทนาด้ ว ยจริ ง ๆ บริจาคมานานหรือยัง ตัดสินใจยากไหมคะตอนนั้น” “หลานเขาบอก ว่า ป้าเคยชนะการประกวดร้องเพลงด้วย ที่ไหนคะ” เป็นต้น

����������������������������������.indd 127

9/12/16 6:55 PM


128

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

การน�ำภาวนา ไหว้พระ สวดมนต์ ส�ำหรับชาวพุทธที่สนใจศาสนาอยู่บ้าง ผู้ป่วยสูงอายุ การชวน พูดคุยธรรมะ หาเทปธรรมะมาให้ฟัง ชวนสวดมนต์ หรือสวดมนต์ ให้ฟัง ชวนนั่งสมาธิภาวนาไปด้วยกัน มักเป็นสิ่งที่ท�ำให้ผู้ป่วยสบายใจ อิ่มใจ มีจิตใจสงบเย็นลงได้ง่าย หากผู้ป่วยมีแนวปฏิบัติหรือหลวงพ่อ ที่ ต นเองศรั ท ธานั บ ถื อ อยู ่ แ ล้ ว ควรชวนพู ด คุ ย ในเนื้ อ หาที่ ต รงกั บ ความสนใจของผู้ป่วย แม้ผู้ดูแลจะรู้เรื่องราวของส�ำนักนั้นดีอยู่แล้ว แต่ควรเป็นฝ่ายขอความรู้จากผู้ป่วย เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ทบทวน ระลึกถึงค�ำสั่งสอนของครูบาอาจารย์แล้วน�ำมาถ่ายทอดต่อ ผู้ดูแล อาจเสริม ซักถามเพื่อให้เกิดศรัทธายิ่งๆ ขึ้นอีก อาจมีค�ำสอนหรือวิธีการปฏิบัติหลายอย่างที่อาจคลาดเคลื่อน ไปบ้าง ส�ำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายแล้วช่วงนี้ไม่ใช่เวลาที่ผู้ดูแลจะ เข้าไปปรับความเข้าใจเขาให้ถูกต้อง หรือแก้ไขความผิดพลาดของเขา (เว้นแต่ผู้ป่วยต้องการจริงๆ) แต่ควรเลือกน�ำแง่มุมที่เป็นประโยชน์ ที่มีอยู่ด้วยเสมอ มาขยายความ ชื่นชม และต่อยอดให้จิตใจสงบเย็น ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามพึงระลึกไว้เสมอว่าไม่ใช่ผู้สูงอายุชาวพุทธทุกราย จะสนใจธรรมะ สวดมนต์ ภาวนา จึงควรสอบถาม หรือประเมิน ความสนใจเบื้องต้นของผู้ป่วยก่อนที่จะน�ำสื่อหรือชวนท�ำกิจกรรม เหล่านี้ แต่แม้สอบถามแล้วก็ไม่ควรปิดโอกาสเรื่องนี้เสียทั้งหมด มีผู้ป่วยจ�ำนวนไม่น้อยที่เมื่อเวลาผ่านไปใกล้ช่วงท้ายแห่งชีวิตมากขึ้น

����������������������������������.indd 128

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

129

กลับหันมาให้ความสนใจฟังธรรมะหรือการสวดมนต์ นอกจากนี้ควร หลีกเลี่ยงการสร้างรูปแบบมาตรฐานให้ผู้ป่วยทุกราย เช่น ถ้าเป็น คนจีนสูงอายุมาก็เปิดบทสวดจีนหรือทิเบตให้ฟัง ซึ่งอาจเป็นบทที่ ผู้ป่วยไม่เคยฟังมาก่อนหรือไม่ชอบเลยก็ได้ จึงควรสอบถามข้อมูล จากญาติ หากพบว่ามีบทใดที่ฟังอยู่ประจ�ำถ้าเป็นไปได้ก็ควรแนะน�ำ ให้ญาติน�ำมาเปิดให้ฟัง ผู ้ ดู แ ลอาจฝึ ก ให้ คุ ้ น เคยในการสวดมนต์ บ างบท เช่ น บท โพชฌังคปริตร ที่เชื่อกันว่าช่วยให้ผู้ป่วยมีก�ำลังใจ มีความเข้มแข็ง อาจถึงขั้นทุเลาหรือหายจากเจ็บป่วยได้ หากผู้ป่วยไม่ขัดข้องก็อาจ ชวนญาติ ๆ สวดไปพร้ อ มกั น รวมทั้ ง บอกถึ ง อานิ ส งส์ ที่ จ ะได้ รั บ นอกจากนี้ บ ทแผ่ เ มตตา บทสรรเสริ ญ พระพุ ท ธคุ ณ ธรรมคุ ณ สั ง ฆคุ ณ ท� ำ นองสรภั ญ ญะ (องค์ ใ ดพระสั ม พุ ท ธ...) ซึ่ ง เป็ น บทที่ ชาวพุทธคุ้นเคยกันดี ก็เป็นทางเลือกที่ดีเมื่อผู้ป่วยสนใจที่อยากจะ สวดมนต์หรือฟังการสวดมนต์ โดยเฉพาะผู้ป่วยบางรายที่อาจฝันร้าย ฝันเห็นภูติผี หรือเห็นบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งต้องการเติม ศรัทธาและก�ำลังใจ การอภัยและอโหสิกรรม เป็นธรรมดาของทุกชีวิตที่ต้องผ่านเหตุการณ์ในชีวิตที่อาจ ผิดพลาดไปบ้าง เช่น เคยไปท�ำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นในลักษณะที่ ไม่สมควร ขณะเดียวกันก็อาจมีความฝังใจที่เคยถูกเอาเปรียบท�ำร้าย จากผู้อื่นด้วย ในผู้ป่วยบางรายเรื่องราวเหล่านี้มีความซับซ้อนรุนแรง

����������������������������������.indd 129

9/12/16 6:55 PM


130

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

เป็นตราบาปในชีวิต ที่ยังคงติดค้างคาใจรอการให้อภัยจากผู้ที่เขา เคยล่วงเกินเอาไว้ หรือการให้อโหสิกรรมจากเบื้องลึกในจิตใจเขากับ ผู้ที่เคยมาล่วงเกินเขาไว้ เรื่องแบบนี้มีความละเอียดอ่อนมากด้วยหลายเหตุผล ส่วนหนึ่ง เป็นเรื่องที่น่าอับอาย หรือเกี่ยวข้องกับชื่อเสียง ผลประโยชน์ เป็น เรื่องทางกฎหมาย เป็นความลับที่บอกใครไม่ได้ ฯลฯ กว่าที่จะได้ ล่วงรู้ถึงสิ่งค้างคาใจนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย และสิ่งที่ยากไปกว่านั้นคือ การจัดการจนสามารถเปิดโอกาสให้ผทู้ เี่ กีย่ วข้องมาอภัยหรืออโหสิกรรม ให้กันและกันจะท�ำได้อย่างไร เพราะมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้ง ๒ ฝ่าย ยังไม่สามารถอภัยกันได้อย่างแท้จริง ไม่สามารถตามหาตัวกันพบ หรือผู้เกี่ยวข้องเสียชีวิตไปแล้ว หากไม่ สามารถท�ำอะไรได้มากไปกว่านี้ การชวนให้ตักบาตร ถวายสังฆทาน แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ที่ผู้ป่วยเคยล่วงเกินไว้ แผ่เมตตาอโหสิกรรม ไปให้คนที่เขาเคยมาท�ำร้ายเบียดเบียนผู้ป่วย ซึ่งแม้จะยังท�ำอย่างนั้น จริงๆ ไม่ได้เมื่อเจอตัวจริงที่ขัดแย้งกันก็ตามก็ให้ผลดีในหลายราย อย่างไรก็ตามแม้พยายามแล้วยังมีผู้ป่วยบางรายที่ยังไม่ยอมให้อภัย หรืออโหสิกรรมได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ดูแลต้องยอมรับตามนั้น ค่อยๆ หาทาง ช่วยเหลือในเรื่องอื่นต่อไป ส่วนหนึ่งของตัวอย่างการเข้าพบดูแลผู้ป่วยที่น�ำมากล่าวถึง ข้างต้นนั้น ต้องย�้ำอีกครั้งว่าพึงระลึกไว้เสมอว่าไม่ใช่สูตรส�ำเร็จ ไม่ใช่ มาตรฐานการปฏิบัติงานที่จะน�ำไปใช้ได้กับผู้ป่วยทุกราย สิ่งที่จ�ำเป็น ต่อการใช้กับผู้ป่วยทุกรายที่แท้จริงคือจิตใจที่พร้อมจะรับฟัง และ

����������������������������������.indd 130

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

131

ยินดีให้การช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยความกรุณา แต่ท้ายที่สุดจะให้การ ดูแลอย่างไรนั้นยังขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัย ทั้งทีมงานที่จะเข้ามา ช่วยเหลือ ระบบบริหารจัดการในองค์กร ตัวผู้ป่วย ญาติพี่น้อง และ ที่ส�ำคัญคือความพร้อม ความถนัดของผู้ดูแลแต่ละคน ทั้งหมดนี้ ควรน�ำมาหลอมรวมกันเป็นวิธีที่ยืดหยุ่นในการดูแลผู้ป่วย พร้อม ที่จะปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะอาการที่ แย่ลงเรื่อยๆ ของผู้ป่วย และความเครียดที่เพิ่มขึ้นของญาติ การ น�ำข้อแนะน�ำไปใช้ในลักษณะสูตรส�ำเร็จกับผู้ป่วยทุกรายอาจน�ำ ผลเสียไปสู่ผู้ป่วยและญาติมากขึ้น

การตายของผู้มีสุขภาวะทางปัญญา การแสดงให้ เ ห็ น คุ ณ ลั ก ษณะที่ ค วรปรากฏขึ้ น ขณะป่ ว ยใน ระยะท้ายของผู้มีสุขภาวะทางปัญญาว่ามีอะไรบ้างนั้น เป็นอีกวิธีการ หนึ่งที่ช่วยให้เกิดความชัดเจนขึ้นในเป้าหมายการท�ำงานส่งเสริม สุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย โดยผู้ป่วยที่มีสภาวะหรือ ลั ก ษณะที่ จ ะกล่ า วถึ ง ต่ อ ไปนี้ เ ด่ น ชั ด ครบถ้ ว น ถื อ ได้ ว ่ า เป็ น ผู ้ ที่ มี แนวโน้มว่าเป็นผู้ที่มีสุขภาวะทางปัญญาดีกว่าผู้ที่ปรากฏว่ามีสภาวะ ดังกล่าวในสัดส่วนที่น้อย - มีสติ มีปัญญา รู้ชัดในการกระท�ำของตน ผู้ป่วยที่มีสุขภาวะ ทางปั ญ ญาขณะที่ ไ ม่ ไ ด้ ห ลั บ ควรเป็ น ผู ้ ที่ มี ส ติ มี จิ ต ใจที่ เ บิ ก บาน แจ่มใสมั่นคงอยู่เสมอ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการพูดจา การโต้ตอบ การสั ม ผั ส สี ห น้ า หรื อ แววตาที่ ม องสิ่ ง ต่ า งๆ อย่ า งมี เ ป้ า หมาย

����������������������������������.indd 131

9/12/16 6:55 PM


132

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ไม่เลื่อนลอย เหม่อ เพ้อ หรือสลึมสลือ พระพุทธศาสนาถือว่าการ จากไปขณะที่ มี ส ติ มั่ น คง มี ใ จที่ เ ป็ น กุ ศ ลอย่ า งน้ อ ยสุ ค ติ ย ่ อ มเป็ น ที่หมาย ยิ่งถ้าเหตุผลพื้นฐานที่ท�ำให้มีสติ มีสมาธิ และเบิกบานนั้น เป็นเพราะมีปัญญาเข้าใจและยอมรับในสภาพความเป็นจริงของ สรรพสิ่งว่า ล้วนเป็นไปตามกฎธรรมชาติที่ผลักดันให้เคลื่อนไปตาม กระแสเหตุปัจจัยต่างๆ ที่หนุนเนื่องอยู่ ไม่เข้าไปยึดมั่นไว้ว่าเป็นตน หรือของตน ก็อาจน�ำไปสู่ความสุขสูงสุดหลุดพ้นจากการเวียนว่าย ตายเกิดไม่เป็นทุกข์อีกต่อไปได้ - มี ค วามสุ ข สงบ มี ศ รั ท ธามั่ น คง มี ค วามมุ ่ ง มั่ น พากเพี ย ร ผู้ป่วยที่มีสุขภาวะทางปัญญาจะปรากฏภาพแห่งความสุข สงบ เย็น ให้เห็น มักเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นศรัทธาในศาสนา บุคคล หรือใน สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างชัดเจน และเชื่อว่าได้ใช้ชีวิตที่ผ่านมาของตนตาม แนวคิดที่ตนศรัทธานั้นสมบูรณ์แล้วระดับหนึ่ง แม้ขณะที่ป่วยหรือ ใกล้ ต ายนี้ เ องก็ ยั ง คงเพี ย รภาวนา สวดมนต์ หรื อ ท� ำ ความดี ต าม แนวทางที่ตนศรัทธา ท�ำให้ความกังวล ความทุกข์ทรมานทางกายที่ เกิ ด จากโรคลดลงได้ มี ค วามชั ด เจนในแนวปฏิ บั ติ ข องตนไม่ ต ้ อ ง พึ่งพิงผู้ช่วยเหลือไม่ว่าทางการแพทย์หรือผู้น�ำทางจิตมากนัก ส�ำหรับ ชาวพุทธเป็นได้ตั้งแต่ผู้ที่มีความแตกฉานทางปัญญาที่กล่าวถึงใน ข้ อ แรก ไล่ ล งมาถึ ง ผู ้ ที่ ไ ด้ ป ฏิ บั ติ ธ รรมมามาก มี ค วามศรั ท ธาต่ อ แนวทางการปฏิบัติ หรือต่อครูบาอาจารย์ที่ตนเคารพเป็นพิเศษ และ ใช้วิธีการที่ได้รับการฝึกมานั้นเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจให้มั่นคง แม้ในขณะจิตสุดท้ายก�ำลังจะมาเยือน

����������������������������������.indd 132

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

133

- ควบคุ ม อารมณ์ ไ ด้ ดี ผลจากคุ ณ สมบั ติ ๒ ข้ อ ที่ ก ล่ า วมา ข้างต้น จะส่งผลให้ผู้มีสุขภาวะทางปัญญาดีนั้น ควบคุมอารมณ์ ตนเองได้ดี การแสดงออกทั้งทางกายวาจาอย่างสุภาพให้เกียรติ อย่างเป็นธรรมชาติกับคนรอบข้างไม่ว่าญาติพี่น้อง จิตอาสา หรือ บุคลากรทางการแพทย์ แม้จะมีความทุกข์ทรมานจากอาการของ โรค แต่ก็เข้าใจและยอมรับสภาพความเป็นไปของร่างกายเช่นนั้นได้ ยอมรั บ การรั ก ษาเยี ย วยาที่ ต นเห็ น ว่ า เหมาะสม ไม่ โ กรธโทษคน รอบกาย มีความเห็นใจ ซึ้งใจญาติ เจ้าหน้าที่ และจิตอาสาทุกฝ่ายที่ เข้ามาดูแล หลายคนอาจเป็นฝ่ายปลอบโยนญาติพี่น้อง มิตรสหาย ที่มาเยี่ยมให้ลดความวิตกกังวลความห่วงใยในตัวผู้ป่วยลง ให้มีความ เข้มแข็งขึ้นด้วย - มีความพร้อมที่จะจากไป ผู้ป่วยที่มีสุขภาวะทางปัญญาจะ มีสติมีการตัดสินใจที่ชัดเจนในการจัดการกับภารกิจของตนต่างๆ ที่ คั่งค้างให้ลุล่วง ตั้งแต่เริ่มมั่นใจว่าตนเองจะไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิต เช่นเดิมได้ เริ่มตั้งแต่การสะสางงานที่คั่งค้างอยู่ มอบหมายให้ผู้อื่น รับผิดชอบงานแทน จัดการทรัพย์สิน หนี้สิน แบ่งปันมรดก และจัด ระบบดูแลคนในครอบครัวที่อยู่ภายหลัง อภัยให้กับผู้ที่เคยล่วงเกิน ตนเองไว้ และขออโหสิกรรมต่อผู้ที่ตนอาจเคยล่วงเกินไว้ ความรู้สึก ว้าเหว่ หวั่นไหว วิตกกังวล เคียดแค้น ชิงชัง อิจฉาแทบจะไม่เกิดขึ้น หรือหากเกิดขึ้นก็รู้ตัว และมีวิธีขจัดความรู้สึกด้านลบเหล่านี้ออก จากใจ เช่นเดียวกับความเจ็บปวดทุกข์ทรมานทางกายแม้จะมีขึ้น ก็ ยอมรับและพร้อมที่จะรับการช่วยเหลือดูแลจากแพทย์ตามที่เขา

����������������������������������.indd 133

9/12/16 6:55 PM


134

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

เห็นว่าเหมาะสม จึงท�ำให้ไม่มีความกลัว ความเศร้าหมองเมื่อนึกถึง ความเจ็บปวดหรือความตายที่ก�ำลังจะมาถึง แต่จะอยู่กับปัจจุบัน และพยายามใช้เวลาที่ตนเหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ผู้ป่วยระยะท้ายที่มีคุณสมบัติที่กล่าวมานี้โดดเด่นถือว่าเป็นผู้มี สุขภาวะทางปัญญา ต้องการความช่วยเหลือดูแลทางปัญญาน้อย แม้ไม่มีผู้ช่วยเหลือเลยผู้ป่วยก็มีความสามารถสร้างความสุขทางใจ ขึ้นเองได้ด้วยปัญญาของตน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยจ�ำนวนมากไม่ได้ พัฒนาจิตใจตนจนเข้าถึงสุขภาวะทางปัญญาดังกล่าว หากมีผู้ดูแล ช่วยเกื้อหนุน ให้ผู้ป่วยได้คิด ทบทวน และพัฒนาจิตใจและปัญญา ของตนขึ้นตามพื้นฐานที่เขามีอยู่ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อย่างไร ก็ ต ามเรื่ อ งการพั ฒ นาจิ ต ใจเป็ น เรื่ อ งที่ แ ต่ ล ะคนต้ อ งลงมื อ ท� ำ เอง ผู้ดูแลท�ำได้อย่างมากเพียงช่วยชี้แนะเกื้อหนุนให้เขาพัฒนา แต่ถ้า ผู้ป่วยไม่พร้อมที่จะพัฒนาไม่ว่าด้วยสภาพของการเจ็บป่วยที่เป็น อุ ป สรรค หรื อ ใจที่ ไ ม่ พ ร้ อ มรั บ ค� ำ แนะน� ำ ที ม ผู ้ ดู แ ลก็ ต ้ อ งยอมรั บ สภาพเช่นนั้น แต่ข้อที่พึงระวังคืออย่าพึงด่วนตัดสินว่าผู้ป่วยรายใดที่ไม่พร้อม ต่อการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญา อันอาจเป็นเหตุให้ละเลยดูแล จิตใจผู้ป่วยไป ส�ำหรับผู้ป่วยระยะท้ายความเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้น ได้เสมอ แม้การยอมจ�ำนนต่อความตายในเสี้ยววินาทีสุดท้ายของ ชี วิ ต หากให้ ก ารช่ ว ยเหลื อ ทางจิ ต ใจที่ เ หมาะสมก็ อ าจน� ำ จิ ต เขา สู่สุคติภูมิได้

����������������������������������.indd 134

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

135

การนำ�ทางในช่วงท้ายแห่งชีวิต ช่วงขณะที่ก�ำลังจะเข้าสู่วาระสุดท้ายแห่งชีวิตถือว่ามีความ ส�ำคัญมากส�ำหรับพุทธศาสนิกชน เพราะเชื่อว่าขณะจิตสุดท้ายนั้น มีผลมากต่อการที่จะไปปฏิสนธิหรืออุบัติขึ้นในภพภูมิต่อไป หากจิต ของผู้ป่วยเต็มไปด้วยอกุศลมีความเศร้าหมอง เช่น ก�ำลังโกรธ กลัว เจ็บปวดทุรนทุราย เศร้าโศก เคียดแค้น ฯลฯ ย่อมมีผลน�ำผู้ป่วยไปสู่ ทุ ค ติ ภู มิ ห ลั ง สิ้ น ชี วิ ต แม้ ก ่ อ นหน้ า นั้ น จะท� ำ แต่ คุ ณ งามความดี ม า อย่ า งดี แ ล้ ว ก็ ต าม ต่ อ เมื่ อ ชดใช้ ก รรมที่ เ ป็ น เหตุ ใ ห้ จิ ต เศร้ า หมอง ก่อนตายนั้นหมดลงแล้ว จึงค่อยไปเสวยสุขตามภพภูมิที่เหมาะกับ บุญกรรมที่ตนท�ำมา ญาติพี่น้องหรือแม้ตัวผู้ป่วยเองจึงมักปรารถนา ที่จะจากไปอย่างสงบ การที่ทีมผู้ดูแลเข้าไปช่วยเหลือน�ำทางผู้ป่วยขณะจะสิ้นชีวิต ได้อย่างเหมาะสม เป็นองค์ประกอบส�ำคัญอย่างหนึ่งที่อาจช่วยน�ำให้ ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบได้ แต่ก็ใช่ว่าจะประสบความส�ำเร็จทุกราย แม้จะเป็นผู้ดูแลที่มีประสบการณ์สูงก็ตาม เพราะสถานการณ์ก่อน สิ้ น ลมของผู ้ ป ่ ว ยแต่ ล ะรายนั้ น ขึ้ น อยู ่ กั บ หลายปั จ จั ย ไม่ ส ามารถ คาดหมายได้ว่าจะเป็นเช่นไร และเกิดขึ้นในเวลาใด การเสียชีวิต หลายๆ ครั้งเกิดขึ้นในช่วงกลางคืนที่ทุกคนหลับสนิท หรือแม้เกิดขึ้น ในช่วงกลางวันแต่อาจไม่มีใครอยู่กับผู้ป่วย จึงไม่มีโอกาสได้น�ำทาง หรือบางครั้งแม้เกิดขึ้นขณะที่มีคนก�ำลังดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ไม่มี โอกาสน�ำทางผู้ป่วยเนื่องจากสิ้นลมไปโดยไม่มีอาการใดๆ แสดงออก ให้ได้เตรียมตัวก่อน เช่น ขณะเช็ดตัวให้ผู้ป่วย หรือก�ำลังเตรียมตัว

����������������������������������.indd 135

9/12/16 6:55 PM


136

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ให้อาหาร บางคนอาจเจ็บปวดทุรนทุรายขาดสติและเสียชีวิตไป ขณะนั้น ในทางตรงข้ามขณะที่ผู้ป่วยมีทีท่าว่าก�ำลังจะสิ้นลม เช่น หายใจแบบหิวอากาศ ความดันโลหิตลดต�่ำลง หัวใจเริ่มเต้นช้าลง ผู้ช่วยเหลือและญาติพยายามน�ำทางผู้ป่วยแต่ผู้ป่วยกลับหลับไป ไม่สิ้นลมก็พบได้มาก เตรียมใจตนเอง การช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ่ ว ยก่ อ นสิ้ น ลมผู ้ ดู แ ลมั ก ถู ก ตามตั ว อย่ า ง กะทันหัน อาจต้องผละจากภารกิจส�ำคัญที่ตนเองก�ำลังติดพันอยู่ อาจต้องตื่นขึ้นกลางดึก ต้องปลีกตัวจากครอบครัว ฯลฯ หากเป็น ช่วงนอกเวลางานควรตัดสินใจในเบื้องต้นขณะนั้นว่าพร้อมจะไป ช่วยเหลือผู้ป่วยหรือไม่ การปฏิเสธที่จะไม่ไปเมื่อตนเองไม่พร้อม ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ดีกว่าไปช่วยในขณะที่จิตใจและร่างกายตนเอง ไม่พร้อม ซึ่งจะส่งผลเสียทั้งต่อตนเอง ผู้ป่วย ญาติ และอาจรวมถึง หน่วยงาน หากปฏิเสธก็ควรหาทางออกให้กับญาติผู้ป่วยบ้าง ซึ่ง ขึ้นอยู่กับระบบการท�ำงานของทีมดูแลแต่ละแห่งว่าจะจัดคนไปแทน ได้หรือไม่ หรืออาจต้องให้ค�ำแนะน�ำญาติผ่านทางโทรศัพท์ เป็นต้น เมื่อตัดสินใจช่วยน�ำทางก่อนสิ้นลม หากมีอุปกรณ์ที่อาจจ�ำเป็น ต้องใช้ (ตามความถนัดของแต่ละคน) เช่น พระพุทธรูป บทสวดมนต์ ดอกไม้ พวงมาลัย ควรเตรียมไปให้พร้อม ผู้ดูแลควรใช้เวลาขณะ เดินทางไปหาผู้ป่วยเตรียมจิตใจตนเองให้มั่นคง ท�ำจิตให้สงบ มี สมาธิ น้อมใจระลึกว่าเราก�ำลังจะได้ท�ำภารกิจอันทรงคุณค่า ภารกิจ

����������������������������������.indd 136

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

137

ที่ ส� ำ คั ญ มากต่ อ ชี วิ ต ผู ้ ป ่ ว ย หากได้ เ คยดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยมาบ้ า งอาจนึ ก ทบทวนเล็กน้อยถึงเรื่องราวดีๆ ที่จะใช้น�ำทางช่วงท้ายชีวิตเขา จัดเตรียมบรรยากาศ เมื่อไปถึงควรสังเกตบรรยากาศรอบตัวผู้ป่วย ขอความร่วมมือ จากผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยจัดสถานที่ให้เป็นส่วนตัวเท่าที่พอจะท�ำได้ เช่น การย้ายเตียงไปในมุมที่สงบเป็นสัดส่วน การกั้นม่านให้เกิดพื้นที่ ส่วนตัว ดูการถ่ายเทของอากาศให้เพียงพอไม่อึดอัด เตรียมความ พร้อมทางกายภาพส�ำหรับการจากไปเท่าที่จะท�ำได้ เช่น ปลดเครื่อง พยุงชีพและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่จ�ำเป็นออก เช็ดตัว ท�ำความ สะอาดร่างกาย แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่ (ขึ้นกับว่าสถานการณ์ เร่งด่วนเพียงใดด้วย) ปรับท่านอนให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวที่สุด เปิด พัดลม หรือปรับระดับความเย็นของเครื่องปรับอากาศให้รู้สึกสบาย พอดี ควรพูดคุยท�ำความเข้าใจกับญาติซึ่งมักอยู่ในอาการเสียใจ กลัวการสูญเสียพลัดพรากที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น อาจต้องขอร้องผู้ที่ยัง ท�ำใจไม่ได้ ไม่มีความเข้มแข็งพอให้อยู่ด้านนอก ไม่ให้เสียงร้องไห้ คร�่ำครวญรบกวนผู้ป่วย หากเป็นคนใกล้ชิดที่ผู้ป่วยต้องการให้อยู่ ใกล้ๆ ตอนจะสิ้นลม ก็ต้องชี้แจงว่าให้พยายามควบคุมอารมณ์ให้ มาก การร้องไห้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่การคร�่ำครวญยื้อไม่ให้ผู้ป่วย จากไป จะเป็นอุปสรรคส�ำคัญที่ไม่สามารถท�ำให้ผู้ป่วยจากไปอย่าง สงบได้ เพราะยังห่วงผู้ที่อยู่ภายหลัง หากมีญาติมิตรอยู่จ�ำนวนมาก

����������������������������������.indd 137

9/12/16 6:55 PM


138

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

อาจขอร้องให้สับเปลี่ยนกันเข้ามาดูแลและกล่าวลาผู้ป่วย ไม่ควรให้ รุมล้อมจนอึดอัดหรือมีบรรยากาศที่ไม่สงบ หากมีโอกาสควรแนะน�ำ ญาติที่จะมากล่าวค�ำอ�ำลาส่งผู้ป่วย ให้วางภาระต่างๆ ที่ยังคั่งค้างลง อ�ำนวยอวยชัยในการเดินทางสู่ภพภูมิใหม่ที่ดีงาม กล่าวชื่นชมใน คุณงามความดีที่เขาได้ท�ำมาตลอดชีวิต การนำ�ทาง ในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีสติสมบูรณ์ รับรู้ สื่อสารได้ ถ้าเป็นผู้ที่ เตรียมตัวมาดี มีสุขภาวะทางปัญญาดี ผู้ดูแลอาจเพียงบอกกล่าวกับ ผู้ป่วยเพียงสั้นๆ ว่า ตอนนี้สภาพร่างกายของผู้ป่วยก�ำลังจะอ่อนก�ำลัง ลงเรื่อยๆ ให้เตรียมจิตใจให้มั่นคงที่จะออกเดินทางไปสู่ภพภูมิต่อไป ไม่มีอะไรที่จะต้องห่วงอีก ทุกอย่างที่ท�ำมาก็เพื่อใช้ในการออกเดินทาง ครั้งส�ำคัญในวันนี้ จากนั้นก็เหลือเพียงการรักษาบรรยากาศให้สงบ ตามแนวทางที่อาจได้เคยเตรียมและซักซ้อมกันไว้แล้วกับผู้ป่วย เช่น ให้คนที่เขาเคารพรักนั่งอยู่ใกล้ๆ นั่งสมาธิ สวดมนต์ไปพร้อมๆ กัน หรือให้สัญญาณระฆังเป็นระยะ เปิดเพลงที่เขาชอบคลอไปเบาๆ หรืออาจให้เขาท�ำสมาธิอย่างสงบอยู่ผู้เดียวหากเขาปรารถนาเช่นนั้น ฯลฯ จนกว่าเขาจะจากไป ส�ำหรับผู้ที่ยังมีสติสมบูรณ์ แต่อาจยังไม่ได้ปฏิบัติพัฒนามา อย่างจริงจังนัก ในช่วงที่ญาติพี่น้อง คนใกล้ชิดมากล่าวค�ำอ�ำลานั้น ควรให้ค�ำมั่นสัญญาว่าจะช่วยดูแลจัดการภาระต่างๆ ที่มีอยู่ให้มั่นใจ

����������������������������������.indd 138

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

139

ว่าคนอยู่ภายหลังอยู่ได้ด้วยตนเอง ผู้ป่วยไม่ต้องห่วงกังวลในสิ่งต่างๆ อีก จากนั้นก็ดึงผู้ป่วยให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน การมีพระพุทธรูปให้ สัมผัส หรือมอบพระเครื่องให้ก�ำไว้ที่อกก็ช่วยเป็นก�ำลังใจก่อศรัทธา ให้มั่นคงได้ดี ถ้าผู้ป่วยไม่มีท่าทีปฏิเสธการสวดมนต์ไปช้าๆ ด้วยกัน หรือสวดให้ผู้ป่วยฟังไปเรื่อยๆ เช่น บทสรรเสริญพระพุทธ ธรรมคุณ สังฆคุณ (อิติปิโสฯ) หรือที่เป็นท�ำนองสรภัญญะ (องค์ใดพระสัมพุทธฯ) หรือบทที่ผู้ป่วยชอบ คุ้นเคย ก็ท�ำให้ผู้ป่วยจากไปพร้อมกับจิตที่สงบ ดีงามได้ ส�ำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกตัว แต่ก�ำลังกระวนกระวาย หายใจหอบ เหนื่ อ ย หรื อ มี อ าการเจ็ บ ปวดทรมานทางกายมาก ต้ อ งมั่ น ใจว่ า ผู้ป่วยได้รับยาหรือการช่วยเหลือทางกายตามสมควรแล้ว ในขณะที่ ร่างกายกระสับกระส่ายอยู่นี้สิ่งที่ช่วยได้คือการสัมผัส บีบมือ นวด แขน ให้ก�ำลังใจอยู่ข้างๆ ผู้ป่วย ให้ความมั่นใจว่าคนที่เขารัก (ถ้า ไม่มีใครอื่นก็คือผู้ดูแล) จะยืนอยู่เคียงข้างเขาเสมอ อาจหาพระหรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เขาเคารพให้เขาได้ก�ำหรือถือไว้ คอยเตือนเบาๆ ให้เขา ผ่อนคลาย อย่าเกร็ง อย่าฝืน ส่วนจะพูดคุยให้ระลึกถึงความดีงาม ให้มีสติ ปล่อยวาง จะท�ำได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจ ของผู้ป่วยเป็นหลัก บางครั้งที่ร่างกายผู้ป่วยดูเหมือนจะหอบเหนื่อย หรือทรมานซึ่งเป็นสภาพที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่จิตใจของเขา อาจไม่ได้ซัดส่ายเหมือนกับร่างกายก็ได้ จึงไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วย พลาดโอกาสสุดท้ายดีๆ ไป ด้วยการโหมยาแก้ปวดจนสงบหรือหลับ ไปอย่างขาดสติ

����������������������������������.indd 139

9/12/16 6:55 PM


140

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ส่วนผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวไม่ตอบสนองใดๆ แล้ว เมื่อสัญญาณชีพ หรื อ สั ญ ญาณอื่ น ที่ สื่ อ ถึ ง แนวโน้ ม ที่ ผู ้ ป ่ ว ยจะเสี ย ชี วิ ต ญาติ พี่ น ้ อ ง ผู้ใกล้ชิดควรได้มีโอกาสกล่าวลาและส่งผู้ป่วยเช่นเดียวที่ท�ำกับผู้ป่วย ที่ ยั ง คงมี ส ติ รวมทั้ ง การท� ำ กิ จ กรรมที่ ผู ้ ป ่ ว ยชอบ เช่ น สั ม ผั ส มื อ ร้องเพลงร่วมกันทั้งครอบครัว หากผู้ป่วยไม่ปฏิเสธพิธีกรรมทาง ศาสนาก็อาจสวดมนต์ให้ฟัง น�ำท�ำสมาธิ พูดให้สติผู้ป่วยให้ระลึกถึง สิ่งดีๆ ให้ภาคภูมิใจในการใช้ชีวิต ให้วางภาระ และมีความมั่นใจว่า คนที่อยู่ข้างหลังจะด�ำเนินชีวิตต่อไปได้ จากประสบการณ์ในการดูแล ผู้ป่วยของหลายคนกล่าวตรงกันว่า ดูเหมือนว่าผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว เหล่านี้ยังคงรับรู้ถึงสิ่งดีๆ ที่เรามอบให้ในขณะสุดท้ายแห่งชีวิตนี้ได้ บางครั้งพบว่ามีน�้ำตาซึมออกมาให้เห็น มีรอยยิ้มปรากฏ และสามารถ จากไปอย่างสงบได้ หากมีพระร่วมอยู่ด้วยขณะที่ผู้ป่วยใกล้จะจากไป อาจให้พระ สาธยายมนต์ให้ฟัง ให้ท่านกล่าวน�ำทาง กล่าวให้ก�ำลังใจ ชื่นชมใน บุญกุศลที่ผู้ป่วยได้ท�ำมา อวยชัยให้พร หรือน�ำนั่งสมาธิ ขึ้นกับว่า พระรูปนั้นมีความถนัดในด้านใด สภาพผู้ป่วยเป็นอย่างไร และมี พื้นฐานอย่างไรด้วย ส�ำหรับผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ เช่น เด็ก วัยรุ่น หรือผู้พิการ ผู้ดูแล ต้องร่วมกับครอบครัว ควรเตรียมสิ่งที่ผู้ป่วยรักผูกพันอยู่ เช่น ของเล่น เพื่อน เครื่องกีฬา สัตว์เลี้ยง ฯลฯ ไว้ใกล้ๆ ใช้สิ่งเหล่านั้นเป็นเครื่อง โน้มน้าวจิตใจให้เขามีความสุข ให้สงบลง เชื่อมโยงสู่การเตรียมจิตใจ เพื่อก้าวสู่ภพภูมิใหม่

����������������������������������.indd 140

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

141

ในกรอบข้อความเป็นตัวอย่างสถานการณ์สมมติ แสดงการ ใช้ค�ำพูดเพื่อน�ำทางผู้ป่วยเมื่อเห็นว่าผู้ป่วยก�ำลังจะเสียชีวิตในเวลา อันใกล้นี้ ด้วยการบอกให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงความตายที่ก�ำลังจะมาถึง ที่ อาจใช้เป็นแนวทางในการพูดน�ำทางผู้ป่วยในสถานการณ์ทั่วไปได้ เริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการเกริ่ น น� ำ กั บ ผู ้ ป ่ ว ยและญาติ ใ ห้ เ ตรี ย มพร้ อ มรอรั บ ความตายที่ก�ำลังจะมาถึง จากนั้นจึงเริ่มกล่าวน�ำให้ผู้ป่วยปล่อยวาง ร่ า งกาย และให้ ผู ้ ป ่ ว ยได้ ป ล่ อ ยวางภารกิ จ เรื่ อ งค้ า งคาใจต่ า งๆ ให้อภัยกับความผิดพลาดทั้งหลาย หรือกล่าวเพื่อระลึกถึงคุณความดี การปฏิ บั ติ ธ รรม ละวางความยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น (ดู ตั ว อย่ า งค� ำ พู ด ใน กรอบข้อความ) ส่วนการพูดน�ำทางส�ำหรับผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุ ใกล้เสียชีวิต อย่างกะทันหัน เช่น กรณีของวัยรุ่นที่ประสบอุบัติเหตุรุนแรง อาจ กล่าวว่า “ชีวติ ของภูอาจจะเคราะห์รา้ ยต้องมาประสบอุบตั เิ หตุทรี่ า้ ยแรง ถึงแม้หายก็คงไม่สามารถเล่นกีฬาได้อีกหรืออาจต้องอยู่อย่างทรมาน ไปอีกนาน แต่ถ้าหมอช่วยเต็มที่แล้วมันไม่หาย ร่างกายยังแย่ลง เรื่อยๆ ภูต้องใช้โอกาสนี้ท�ำใจให้สบาย นึกถึงสิ่งดีๆ ที่เราได้ท�ำมา เราได้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ไม่เคยท�ำให้ท่านต้องหนักใจ พระท่านว่า ให้เราท�ำจิตให้เป็นกุศลแล้วตั้งความปรารถนาให้มั่นคง ก็จะน�ำให้ เราได้พบกับสิ่งดีๆ ภายหน้าได้ อย่าปล่อยใจให้ทุกข์ ให้เศร้าหรือ กังวลไปเลย เรื่องราวที่เกิดขึ้นเราแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว อย่าไปโทษ ใครเลย ไม่มีใครอยากให้เรื่องนี้เกิดขึ้นหรอก เรามาท�ำตอนนี้ให้ดี

����������������������������������.indd 141

9/12/16 6:55 PM


142

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ที่สุด ท�ำใจเราให้สงบเย็น เพื่อให้สิ่งใหม่ดีๆ เกิดขึ้นกันดีกว่า อยู่กับ ลมหายใจ สังเกตลมหายใจที่เข้าออกช้าๆ ไปพร้อมกันกับพ่อแม่นะ พี่จะเปิดเพลงที่ภูชอบคลอเบาๆ ไปด้วย” พึงตระหนักว่า ไม่มีสถานการณ์จริงใดๆ ที่จะใช้ตัวอย่างค�ำพูด ที่ยกมาเป็นตัวอย่างได้เหมาะสมลงตัวทั้งหมด จะต้องถูกปรับแก้ให้ สอดคล้องกับสภาพของร่างกาย จิตใจ บริบททางสังคม และวิถีชีวิต ของผู้ป่วย หากมีเวลาจ�ำกัดไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตามต้องกระชับให้ สั้นลง หรือถ้ามีเวลามากก็ต้องพูดให้ช้า ยืดขยายเพิ่มตัวอย่างต่างๆ เข้ามาให้สอดคล้องกับที่ผู้ป่วยคุ้นเคย ในบางรายอาจเพียงแค่บอก ให้เตรียมใจยอมรับความตายที่ก�ำลังจะมาถึงก็ไม่สามารถท�ำต่อไป ได้แล้ว เพราะผู้ป่วยและญาติเศร้าโศกเสียใจยอมรับไม่ได้ แต่ใน บางราย ก็ผ่านการยอมรับและปล่อยวางสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และใช้เวลาอยู่กับการท�ำใจให้สงบเย็นและพิจารณาความเป็นจริง ของธรรมชาติ ไ ปจนสิ้ น ลม ดั ง นั้ น ผู ้ ดู แ ลจึ ง ต้ อ งน� ำ ไปทดลองใช้ สร้างสรรค์ถ้อยค�ำที่ออกมาจากใจตนเองจริงๆ ฝึกฝนให้เชี่ยวชาญขึ้น เพื่อรองรับสถานการณ์ที่หลากหลายของผู้ป่วย ครั้นเมื่อได้ท�ำเหตุ ปัจจัยในส่วนที่เราพอจะท�ำให้ผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่แล้ว ผลที่เกิดขึ้น จะเป็นอย่างไรก็ต้องยอมรับตามนั้นเพราะนั่นคือผลที่ต้องรวมเข้ากับ สิ่งที่ผู้ป่วยได้ท�ำมาตลอดชีวิตของเขาเอง การน�ำทางผู้ป่วยที่ใกล้สิ้นชีวิตนี้หลายครั้งอาจไม่ได้จบลงที่ การสิ้นชีวิตของผู้ป่วย ผู้ป่วยอาจดีขึ้น หรือหลับไป ถือเป็นเรื่องที่ดี ที่ไม่เกิดการสูญเสีย เป็นการซักซ้อมให้ญาติพี่น้องได้เรียนรู้แนวทาง

����������������������������������.indd 142

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

143

การช่วยเหลือดูแลในยามวิกฤติเพื่อจะท�าให้ได้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป รวมถึงอาจจัดการดูแลผู้ป่วยขณะจากไปได้เองในกรณีที่ทีมดูแล ผู้ป่วยมาไม่ทัน จึงไม่ควรรู้สึกเสียเวลากับการได้ช่วยเหลือไปแล้ว

ตัวอย่างค�าพูดเพื่อน�าทางผู้ป่วย (เป็นแนวทางการพูด ไม่จ�าเป็นต้องท่องจ�า) เกริ่นน�ากับผู้ป่วยและญาติให้เตรียมพร้อมรับความตาย “คุณป้าครับ เวลานี้ แม้ไม่มีใครบอก คุณป้าก็คงรู้ตัวดีว่า ร่างกายนั้นอ่อนแรงลงเต็มทีแล้ว เขาจะหยุดท�างานลงเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ไม่มีใครอยากให้เวลานั้นมาถึงหรอก แต่ก็ไม่มีใครหยุดยั้งได้ ไม่มีใคร เลย ไม่ว่าเศรษฐี ผู้มีอ�านาจ หรือคนยากจนเข็ญใจก็ต้องมาถึงจุดนี้ ทั้งนั้น สิ่งที่เราท�าได้และควรท�าในตอนนี้ ก็คือเตรียมใจของเราให้ พร้อมที่สุดเพื่อที่จะออกเดินทางไกล คุณลุงแล้วก็ลูกหลานทุกคน ก็รอส่งคุณป้าอยู่ตรงนี้แล้ว ให้คุณป้าท�าใจให้สบาย แล้วค่อยๆ นึก ตามที่ผมจะพูดไปพร้อมๆ กันนะครับ”

����������������������������������.indd 143

9/12/16 6:55 PM


144

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

กล่าวเพื่อให้ผู้ป่วยปล่อยวางร่างกาย “ร่างกายนี้คล้ายๆ บ้านหลังเก่า ที่เราอาศัยอยู่กับเขามาหลาย สิบปี เราสุข เราทุกข์อยู่ที่บ้านหลังนี้มายาวนาน ยามมันผุพัง แตกหัก เราก็ช่วยปะช่วยซ่อมใช้เขาเรื่อยมา ความผูกพันกับบ้านหลังนี้ กับ ผู ้ ค นเรื่ อ งราวที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ บ้ า นหลั ง นี้ ย ่ อ มมี อ ย่ า งเหนี ย วแน่ น เป็นธรรมดา แต่ตอนนี้บ้านหลังนี้มันทรุดโทรมจนเกินกว่าจะซ่อมได้ พร้อมที่จะทรุดยุบตัวลงทุกเสี้ยววินาที สิ่งที่เราท�ำได้ดีที่สุดตอนนี้ ก็คือ เตรียมก�ำลังใจ เตรียมเสบียงจ�ำเป็นไว้ให้พร้อม แล้วยืนรอที่ หน้าประตู ไม่มีเวลาให้ชื่นชมข้าวของ สัมผัสเรื่องราวสุขทุกข์ต่างๆ ในบ้านอีกแล้ว เมื่อบ้านยุบตัวลง เราก็พร้อมที่จะได้ก้าวเดินจาก บ้านนี้ไปอย่างสง่างามทันที” กล่าวเพื่อให้ผู้ป่วยปล่อยวางภารกิจ และเรื่องค้างคาใจ “ความเจ็บปวด อึดอัด อ่อนล้าของร่างกายตอนนี้ ก็ไม่ต่างจาก เสียงเอี๊ยดอ๊าดโครมครามจากการแตกหักของโครงสร้างบ้านหลังนี้ แม้จะมีภารกิจอีกมากมายที่เรายังอยากจะท�ำต่อที่บ้านหลังนี้ แต่ ตอนนี้เวลามีไม่พอแล้ว ถึงเวลาที่ต้องทิ้งภาระทั้งหลายให้คนอื่น รับผิดชอบต่อไป ถ้ายังฝืนทนแบกอยู่ต่อไป เมื่อบ้านพังลงมา เรา ก็จะติดจมทุกข์ทรมานอยู่อย่างนั้น ออกไปจากบ้านนี้ไม่ได้... เพียง คุณป้าปล่อยวางภารกิจทั้งหลายไว้กับกายที่จะแตกดับไปนี้ อภัย ให้กับความผิดพลาดทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้น ยกโทษให้กับทุกคนที่เคย

����������������������������������.indd 144

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

145

ล่วงเกินเราไว้ ไม่ต้องสนใจค�ำต�ำหนินินทาของใครทั้งสิ้น รักษาใจ ของเราไว้ให้ผ่อนคลาย พร้อมที่จะก้าวไปทันทีที่บ้านนี้ยุบพังลงมา... เรื่องครอบครัวก็ไม่ต้องเป็นห่วงนะครับ คุณป้าได้เป็นคู่ชีวิตที่ดีของ คุณลุง ได้ท�ำหน้าที่ของแม่ที่ดีอย่างเต็มความสามารถ มีหลานที่ น่ารักให้กอด สิ่งดีๆ ที่คุณป้าถ่ายทอดเล่าให้เขาฟัง จะเป็นเครื่อง หล่อเลี้ยงให้ความดีงามเกิดขึ้นในชีวิตพวกเขาต่อไป ไม่ต้องห่วง พวกเขานะ เขาเข้มแข็งอยู่กันได้ทุกคน” กล่าวให้ระลึกถึงคุณความดีที่ท�ำ “คุณป้าโชคดีมากเลยนะครับที่ได้เตรียมเสบียงทั้งหลายไว้ อย่ า งดี แ ล้ ว ได้ ใ ช้ ชี วิ ต ที่ ผ ่ า นมาอย่ า งคุ ้ ม ค่ า ที่ สุ ด มี โ อกาสท� ำ บุ ญ มากมาย ได้ร่วมสร้างพระประธานไว้ตั้ง ๓ วัด งานฝังลูกนิมิตก็ไปมา ไม่รู้กี่วัด ลูกชายก็บวชให้แล้ว ได้ช่วยเหลือผู้คนที่ล�ำบากยากไร้ อีกเยอะแยะ สิ่งเหล่านี้แหละคือเสบียงที่จะช่วยให้คุณป้าไม่ต้อง กังวลกับอนาคตข้างหน้าเลย ขอเพียงตอนนี้ท�ำใจให้สบายที่สุดไว้” กล่าวเพื่อระลึกถึงการปฏิบัติธรรม การสั่งสมบุญกุศล “ให้คุณป้าลองนึกถึงตอนไปปฏิบัติธรรมที่อยุธยาที่เคยเล่าให้ ผมฟังนะ คุณป้าจ�ำได้ไหมที่บอกว่าตอนเดินจงกรมอยู่ที่นั่นแล้ว คุณป้ารู้สึกว่า ร่ายกายนี้มันเบา ใจมันโล่งโปร่งไปหมด มีความสุข อิ่มใจอยู่อย่างนั้น เย็นวันนั้นตอนสอบอารมณ์หลวงพ่อท่านยังชื่นชม

����������������������������������.indd 145

9/12/16 6:55 PM


146

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

คุณป้าให้เพื่อนๆ ที่มาปฏิบัติธรรมด้วยกันฟังด้วย หลวงพ่อท่าน เมตตากับคุณป้าจริงๆ คุณป้าลองส่งใจนึกถึงภาพหลวงพ่อนะ ให้ เห็นท่านในอิริยาบถต่างๆ ที่คุณป้าประทับใจ ทั้งตอนที่ท่านนั่งบน ธรรมาสน์ เดินจงกรม หรือน�ำนั่งสมาธิ ท่านเป็นพระที่งดงาม ส�ำรวม ระวังในทุกอิริยาบถ เป็นบุญของคุณป้าจริงๆ ที่ได้พบท่าน ได้ปฏิบัติ ธรรมกับท่าน ได้อาศัยบารมีและค�ำแนะน�ำดีๆ จากท่านเพื่อการ ด�ำเนินชีวิต ช่วงนี้อยากให้คุณป้าตั้งจิตใจให้แน่วแน่อธิษฐานขอ บุญบารมีของท่านให้มาช่วยประคับประคองให้การเดินทางไกลสู่ ภพภูมิใหม่ของคุณป้าครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่น ให้บุญกุศลทั้งหลาย ทีไ่ ด้ศกึ ษาและปฏิบตั ธิ รรมกับท่านมาจงมาหนุนน�ำให้จติ ใจของคุณป้า เข้มแข็งเป็นบุญอยู่เสมอจนกว่าจิตจะดับไปตามธรรมชาติ ช่วงนี้ อยากให้คุณป้าลองอยู่ในความสงบ ตามดูลมหายใจที่เคลื่อนเข้าออกช้าๆ เบาๆ แบบที่หลวงพ่อท่านสอนไว้ ไปพร้อมกันกับทุกคน ที่ยืนส่งคุณป้าอยู่ที่นี่นะครับ... ท�ำอย่างสบายๆ นะครับ นึกถึงภาพ ถึงบรรยากาศที่แสนสงบใจที่วัดในวันนั้นพร้อมๆ กับดูลมหายใจไป พลางๆ นะครับ” กล่าวเพื่อให้ละความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง “คุณป้าก็ทราบดีนะครับว่าการท�ำจิตให้สงบในช่วงเวลานี้ ไม่ใช่ เรื่องง่ายเลย ร่างกายที่ก�ำลังทุกข์กระสับกระส่ายคล้ายจะแตกดับอยู่

����������������������������������.indd 146

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

147

ทุกเสี้ยววินาทีนี้แสนทรมาน แต่เราก็ไม่ต้องไปกลัว ไปโกรธ ไปโทษ ความเจ็บปวดนั่นหรอก เขาก็ท�ำหน้าที่ของเขาตามธรรมชาติของ ปัจจัยที่หนุนเนื่องอยู่ หน้าที่ของคุณป้าตอนนี้คือเฝ้าดูการแสดงตัว ของธรรมชาติความเป็นไปของสิ่งเหล่านี้ สิ่งทั้งหลายมันไม่ได้เป็น ไปตามใจเราหรอก เพราะมันไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา เราจึงบังคับ ให้เ ป็ นไปตามใจไม่ ได้ แต่มั นเป็ นไปตามเหตุ ปั จจั ยที่ห นุน มัน อยู ่ ร่างกายนี้มันก�ำลังบอกอยู่ชัดๆ ว่ามันไม่ใช่ของคุณป้า มันจึงไม่เป็น ไปตามที่ใจเราอยากให้เป็น เราอยากให้มันมีก�ำลัง มันก็ไม่มีขึ้นมา เราไม่อยากให้มันปวด ถึงเวลามันก็ปวดขึ้นมา มันเป็นของมันตาม ธรรมชาติ เราเด็ ด ดอกไม้ ม าปั ก แจกั น มั น ก็ ต ้ อ งเหี่ ย วเฉาไปตาม ธรรมดาของมัน เราจะร้องไห้เสียใจเพียงใด มันก็ไม่เป็นไปตามที่เรา หวังหรอก เพราะธรรมชาติมันเป็นของมันอย่างนั้น หน้าที่ของเราก็ เพียงแต่ท�ำความเข้าใจในธรรมชาติ ยอมรับตามที่มันเป็นก็พอแล้ว... ไม่ว่ากาย หรือใจ ล้วนมีธรรมชาติของมัน เป็นไปตามเหตุปัจจัยของ มัน ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีอะไรเลยที่เป็นของเรา แม้แต่บุญ แต่บาปที่ว่าเป็นของเรานั้น มันก็เป็นไปตามกฎธรรมชาติของมัน อยู่แล้ว ไปยึดบุญเอาไว้มันก็น�ำทุกข์มาให้เหมือนกัน... ปล่อยวาง ทุกอย่าง เพียงเฝ้าดูการเกิดการดับของมันไป จนเห็นว่าไม่มีอะไรที่ เกิดและดับ มีแต่ธรรมชาติที่เป็นไปของมันอย่างนั้นเอง”

����������������������������������.indd 147

9/12/16 6:55 PM


148

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

การจัดการหลังผู้ป่วยสิ้นชีวิต เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตลงจะเป็นช่วงวิกฤติอีกครั้งหนึ่งของญาติ พี่น้องคนใกล้ชิด เพราะเป็นภาวะแห่งความเศร้าโศกและมีภารกิจ หลายอย่างที่ต้องด�ำเนินการให้เรียบร้อย ทีมผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ควรให้การดูแลช่วยเหลือญาติพี่น้องของผู้ตายต่อไปอีกระยะหนึ่ง คอยแนะน� ำ แก่ ญ าติ ข องผู ้ เ สี ย ชี วิ ต ทั้ ง ในส่ ว นที่ ต ้ อ งติ ด ต่ อ กั บ ทาง ราชการ การจัดการตามประเพณี รวมทั้งการประคับประคองจิตใจ ให้คลายความเศร้าโศกด�ำเนินชีวิตปกติต่อไปได้ แต่ละศาสนาหรือลัทธิความเชื่อต่างๆ มักมีพิธีกรรม/ข้อพึง ปฏิ บั ติ ต ่ อ ผู ้ ต ายส� ำ หรั บ ศาสนิ ก หรื อ สานุ ศิ ษ ย์ ข องตน หากผู ้ ต าย นับถือศาสนาหรือลัทธิที่ผู้ดูแลไม่คุ้นเคยกับพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับ คนตาย เช่น การนับถือผีหรือประเพณีเฉพาะชนเผ่า ควรแนะน�ำ ให้ ญ าติ ป รึ ก ษาผู ้ ท่ี มี ค วามรู ้ ด ้ า นนี้ ใ ห้ ม าช่ ว ย ที ม ผู ้ ดู แ ลท� ำ หน้ า ที่ ประสานงานกั บ เจ้ า หน้ า ที่ โ รงพยาบาลคอยอ� ำ นวยความสะดวก ต่างๆ ให้ ต้องการให้โรงพยาบาลท�ำหรือไม่ทำ� สิ่งใดให้บ้าง เรื่องใดที่ โรงพยาบาลท�ำให้ไม่ได้ บางเรื่องอาจสัมพันธ์กับระเบียบปฏิบัติของ ราชการหรือข้อกฎหมายก็ต้องเป็นผู้ท�ำความเข้าใจกับญาติให้เข้าใจ ตรงกันป้องกันความเข้าใจผิดที่จะเกิดขึ้น แม้พุทธศาสนิกชนเองในแต่ละท้องถิ่นก็ยังมีพิธีศพที่แตกต่าง กันไป ผู้ช่วยเหลือควรให้สติกับญาติพี่น้องถึงการจัดพิธีศพด้วยว่า จุดส�ำคัญอยู่ที่การท�ำบุญอุทิศไปให้ผู้ตาย โดยหลักของพระพุทธศาสนา

����������������������������������.indd 148

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

149

กล่าวถึงเพียงการท�ำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ล่วงลับเท่านั้น ส่วน การจัดพิธีศพนั้นเป็นส่วนของประเพณีนิยมในท้องถิ่นที่ให้คุณค่าใน มิติเชิงสังคม ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือดูแลครอบครัวผู้ล่วงลับ แต่ก็ควรท�ำให้พอดีกับฐานะ๑๖ สมัยครั้งพุทธกาลเมื่อชาวบ้านธรรมดา เสียชีวิตก็เพียงห่อผ้าขาวน�ำไปทิ้งในป่าช้าเป็นอาหารสัตว์ป่าหรือ ย่อยสลายไปตามธรรมชาติ ให้พระได้บังสุกุลผ้าห่อศพไปใช้และ พิจารณาอสุภกรรมฐาน เฉพาะคนฐานะดีเป็นเศรษฐีหรือมหาราชา เท่านั้นจึงจะจัดพิธีเผาขึ้นอย่างสมเกียรติ ข้อแนะน�ำพืน้ ฐานส�ำหรับดูแลญาติผลู้ ว่ งลับทีเ่ ป็นพุทธศาสนิกชน คือ หลังจากให้เวลากับญาติพี่น้องคนใกล้ชิดได้ท�ำใจและแสดงความ เสียใจกล่าวลาผู้ที่ตนรักที่เพิ่งจากไประยะหนึ่งแล้ว ทีมผู้ดูแลควร เริ่มต้นด้วยการกล่าวแสดงความเสียใจพร้อมทั้งชื่นชมญาติที่เสียสละ ดูแลผู้ป่วยด้วยความเหน็ดเหนื่อยมานาน และย�้ำว่าทุกคนได้ท�ำหน้าที่ อย่างดีที่สุดแล้ว ความเศร้าโศกเสียใจเป็นสิ่งธรรมดาที่จะต้องเกิดขึ้น อาจช่วยชี้ให้เห็นข้อดีของการจากไปของผู้ล่วงลับในด้านใดด้านหนึ่ง ให้ญาติพี่น้องผ่อนคลายลง (แต่ต้องมีศิลปะและรู้จังหวะในการพูด มิฉะนั้นอาจดูเหมือนซ�้ำเติมไม่เข้าใจความทุกข์ที่เขาแบกรับไว้) เช่น กรณีที่ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ “เขาจากไปอย่างสงบมาก สุคติ คงเป็นที่หมายของเขาแล้ว” ๑๖

ศึกษาข้อมูลและข้อคิดดีๆ ได้จากหนังสือ “ฉลาดทำ�ศพ” โดย ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์ (๒๕๕๗) กรุงเทพฯ: โครงการสื่อสารสร้างความตระหนัก วิถีการตายอย่างสงบ เครือข่ายพุทธิกา.

����������������������������������.indd 149

9/12/16 6:55 PM


150

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

กรณีที่ผู้ป่วยจากไปในเวลาอันรวดเร็ว “ด่วนจากไปจัง ยังไม่ ทั น ได้ สั่ ง เสี ย ร�่ ำ ลากั น เลย แต่ ก็ ดี ที่ เ ขาจะได้ ไ ม่ ต ้ อ งทรมานมาก เขาไม่ต้องการให้ลูกเมียต้องมาพลอยล�ำบากเพราะเขา ทั้งเรื่อง ค่าใช้จ่าย และเป็นภาระต้องคอยดูแล” กรณี ที่ ผู ้ ป ่ ว ยจากไปอย่ า งทุ ก ข์ ท รมาน “เขาจะได้ พ ้ น ทุ ก ข์ ทรมานทางกายนี้ ไ ปเสี ย ที ส่ ว นที่ เ หลื อ ก็ เ ป็ น บุ ญ กรรมที่ เ ขาได้ สั่งสมของเขาไว้” กรณีที่ผู้ป่วยตายตาไม่หลับ “เขาไปสบายแล้วนะ แต่อาจยังมี หลายเรื่องที่ยังเป็นห่วงอยู่ มันเป็นหน้าที่ของพวกเราที่อยู่ข้างหลัง ที่จะช่วยจัดการภาระต่อไป แสดงให้เขาเห็นว่าเราเข้มแข็งพอที่จะ อยู่ต่อไปได้ด้วยตัวเอง ดวงวิญญาณเขาจะได้ไม่ต้องห่วงอีก” กรณีที่ผู้ป่วยจากไปในช่วงที่ไม่มีใครรู้ ไม่มีคนอยู่ด้วย “เขา ไปดีแล้วนะ คงไม่อยากได้ยินเสียงใครมาร้องไห้คร�่ำครวญ ไม่อยาก เห็นน�้ำตาของคนที่เขารัก เลยเลือกจากไปเงียบๆ คนเดียว” จากนั้นควรเตือนสติญาติพี่น้องให้คลายความเศร้าโศกลงบ้าง ด้วยค�ำที่อ่อนโยนเต็มไปด้วยความปรารถนาดี โดยให้เหตุผลถึงการ ยังมีภารกิจอีกหลายอย่างทีย่ งั ต้องช่วยกันท�ำต่อไปจนกว่าจะเสร็จสิน้ งานศพ ควรเลือกพูดกับผู้ที่เราประเมินแล้วว่ามีใจหนักแน่นและ มีศักยภาพในการที่จะร่วมดูแลจัดการภารกิจต่อไปได้ดีที่สุด เช่น “คุณป้าคะ หลังจากที่ทุกคนพอจะท�ำใจกันได้บ้างแล้ว ทางญาติคง ต้องมาคุยกันว่าจะแบ่งหน้าที่จัดการเรื่องต่างๆ กันอย่างไรบ้าง”

����������������������������������.indd 150

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

151

จากนั้นควรให้ค�ำแนะน�ำการจัดการในเรื่องต่างๆ เป็นล�ำดับ ซึ่งทีมงานอาจเตรียมเป็นเอกสารให้กับทางญาติไว้ด้วยเพื่อความ ชั ด เจนไม่ สั บ สน/ผิ ด พลาดในการด� ำ เนิ น การ ซึ่ ง กิ จ กรรมหลั ก ๆ ประกอบด้วย ๑) หากผู้ป่วยมีการบริจาคอวัยวะ หรือร่างกาย ให้ติดต่อ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ ขอทราบเงือ่ นไขและขัน้ ตอนการด�ำเนินการ ให้เป็นไปตามความตั้งใจของผู้ล่วงลับ บางครั้งอาจต้องด�ำเนินการ ก่อนที่ผู้ป่วยจะสิ้นลม ๒) จัดการตกแต่งศพให้อยู่ในสภาพที่เจริญตาเป็นธรรมชาติ ที่สุดก่อนที่จะย้ายออกจากหอผู้ป่วย โดยเฉพาะในรายที่เสียชีวิต ในขณะที่ไม่มีญาติอยู่ด้วยเลย เพราะเมื่อญาติได้พบศพเป็นครั้งแรก ก็สามารถรับรู้โดยไม่ต้องพูดใดๆ ว่าผู้ป่วยน่าจะจากไปด้วยดี ๓) การน�ำเอกสารรับรองการตายของโรงพยาบาลเพื่อน�ำไป ขอใบมรณบัตร และน�ำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการท�ำนิติกรรม หรือรับสิทธิต่างๆ หากเสียชีวิตที่บ้านต้องตรวจสอบว่าในพื้นที่นั้น จะต้องแจ้งใครบ้างเพื่อใช้เป็นหลักฐานออกมรณบัตร ๔) หากศพจ�ำเป็นต้องมีการพิสูจน์หาสาเหตุการตายที่แน่ชัด เพราะเป็นการตายผิดธรรมชาติ เป็นคดีความทางอาญา หรืออาจ เป็นเงื่อนไขประกอบการขอรับเงินประกันชีวิต ประกันสุขภาพต่างๆ ที่ผู้ป่วยท�ำไว้ ก็ต้องแจ้งเหตุผลและขั้นตอนต่างๆ ที่ต้องด�ำเนินการ ระยะเวลาที่ต้องใช้ เป็นต้น

����������������������������������.indd 151

9/12/16 6:55 PM


152

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

๕) แนะน�ำการไปติดต่อส�ำนักงานเขต เทศบาล หรือหน่วย ราชการที่รับผิดชอบในพื้นที่เพื่อขอใบมรณบัตร ๖) นัดหมายเวลารับศพ พาหนะที่ใช้เคลื่อนย้ายศพ โลงศพ หากทางโรงพยาบาลมีการอ�ำนวยความสะดวกเรือ่ งนีค้ วรแจ้งให้ญาติ ได้ทราบ พร้อมเสนอทางเลือกอื่นๆ ที่ท�ำได้ เช่น มูลนิธิในพื้นที่ บริการของทางวัด ธุรกิจจัดงานศพของเอกชน หรือองค์กรปกครอง ท้องถิ่น ควรสรุปข้อดีข้อเสีย บริการต่างๆ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ อาจเกิดขึ้น ให้ญาติใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการตัดสินใจด้วย ๗) เสนอแนวทางติ ด ต่ อ วั ด ที่ จ ะตั้ ง ศพ ในบางรายอาจต้ อ ง ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับจ�ำนวนวันท�ำบุญ วันฌาปนกิจ จัดเตรียม สิ่งของเครื่องใช้ที่จ�ำเป็นในการจัดงาน ๘) การแจ้งข่าวการเสียชีวิตไปยังญาติพี่น้อง ผู้ที่ผู้ตายรู้จัก เกี่ยวข้องด้วย เตรียมการรับรองแขก เตรียมจัดท�ำของที่ระลึกแจก ในวันฌาปนกิจ ๙) การติดต่อขอรับสิทธิอันพึงได้รับของผู้ตาย เช่น การขอ พระราชทานเพลิงศพ (หากไม่ประสงค์จะขอรับก็ได้) รวมทั้งเงิน ช่วยท�ำศพจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ที่ท�ำงาน ส่วนราชการ ประกัน สังคม บริษัทประกันชีวิต ชมรม องค์กรที่ผู้ตายเป็นสมาชิกอยู่ ฯลฯ การให้ข้อมูลด้วยวาจาในครั้งแรกควรให้เฉพาะข้อมูลที่ส�ำคัญ ที่ต้องท�ำขณะนั้นก่อน ที่เหลือควรให้เป็นเอกสารไปศึกษาเพิ่มเติม เอง หรือหาโอกาสที่เหมาะสมไปพูดคุยด้วยภายหลัง หากท�ำได้ควร

����������������������������������.indd 152

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

153

หาโอกาสไปเคารพศพ ร่วมฟังสวดอภิธรรม หรือไปร่วมงานฌาปนกิจ ด้วย หลังจากเสร็จสิ้นงานศพแล้วทีมงานควรหาโอกาสไปเยี่ยม หรือโทรศัพท์สอบถามความเป็นไปของครอบครัว หากคนใกล้ชิด ยังคงมีปัญหาเรื่องความเศร้าโศกอย่างยืดเยื้อ อาจต้องเข้าไปให้การ ช่วยเหลือเพิ่มเติม หรือหากมีปัญหาอื่นที่เกินขอบเขตหน้าที่ อาจ ช่วยประสานให้หน่วยงานอื่นเข้ามาร่วมดูแล หรือให้ค�ำแนะน�ำเพื่อ ให้ญาติๆ พอมองเห็นทางออกของตนที่พอเป็นไปได้ต่อไป

การดูแลผู้ป่วยที่ร่างกายถูกกระทบกระเทือนรุนแรง การดูแลจิตใจผู้ป่วยระยะท้ายซึ่งมีสาเหตุจากร่างกายได้รับ การกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงไม่ว่าจากอุบัติเหตุ การถูกท�ำร้าย ได้รับสารพิษ หรือสาเหตุอื่นใดก็ตาม ถือว่าเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความ ซับซ้อน ทีมงานผู้ดูแลสุขภาวะผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องเตรียมจิตใจและ เทคนิควิธีการดูแลเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ ด้วยเหตุผลหลัก ๓ ประการ ต่อไปนี้ ๑. ผู้ป่วยมักได้รับการระดมความช่วยเหลือด้วยเทคนิควิธีและ ใช้เครื่องมือทางการแพทย์อย่างเต็มที่ เพื่อควบคุมอาการวิกฤติที่ เป็นเหตุน�ำสู่การเสียชีวิตได้ เช่น การเสียเลือด การหยุดหายใจ การติดเชื้อ ฯลฯ หากท�ำส�ำเร็จผู้ป่วยก็มีโอกาสสูงที่จะมีชีวิตยืนยาว ต่อไปได้ ทีมงานสุขภาวะทางปัญญาแทบไม่มีโอกาสที่จะถูกตามให้ เข้าไปช่วยเหลือช่วงนี้

����������������������������������.indd 153

9/12/16 6:55 PM


154

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

๒. ร่ า งกายของผู ้ ป ่ ว ยกลุ ่ ม นี้ มั ก อยู ่ ใ นสภาพที่ บ อบช�้ ำ มาก หมดสติ หรือมีเครื่องมือทางการแพทย์ระโยงระยางจนยากที่จะ เข้าไปพูดคุยหรือท�ำกิจกรรมต่างๆ ด้วย ๓. ผู้ใกล้ชิดหรือญาติผู้ป่วยมักยังไม่พร้อมที่จะพูดคุย เพราะ เป็นเรื่องกะทันหันที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น มักตั้งความหวังไว้เต็มที่ ว่าผู้ป่วยจะต้องรอดชีวิต การพูดคุยเรื่องนี้อาจถูกมองว่าเป็นลางร้าย เป็นการแช่ง หรือมองไปในด้านลบว่าโรงพยาบาลต้องการปฏิเสธ การรักษาผู้ป่วย ซึ่งส่งผลเสียต่อองค์กรในภาพรวม ทีมดูแลสุขภาวะทางปัญญามักช่วยดูแลผูป้ ว่ ยกลุม่ นีเ้ มือ่ เข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาลอย่างเต็มที่มาระยะหนึ่งแล้ว จนทีมแพทย์ ผู้รักษาเห็นว่าผู้ป่วยแทบไม่มีโอกาสที่กลับมีชีวิตได้อีก ท�ำให้มีเวลา ท�ำงานเพียงระยะสั้นๆ ในขณะที่ผู้ป่วยมักไม่มีสติหรือไม่สามารถ สื่อสารได้แล้ว ส่วนญาติ/คนใกล้ชิดก็ก�ำลังอยู่ในอาการเศร้าโศก สิ่ง ที่ทีมช่วยเหลือสุขภาวะทางปัญญาพอท�ำได้ในกรณีนี้ควรเน้นที่การ ดูแลญาติ ให้มีสติ คลายความตึงเครียดลงระดับหนึ่งก่อน เพื่อมา ร่วมกันใคร่ครวญว่าจะท�ำสิ่งที่ดีๆ ให้กับผู้ป่วยได้อย่างไรบ้าง การเริ่มต้นพูดคุยกับญาติผู้ป่วยหลังจากกล่าวค�ำแสดงความ เสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย แสดงความเห็นใจเข้าใจใน ความรู้สึกทุกข์ ข้อวิตกกังวลต่างๆ ที่ก�ำลังเกิดขึ้น จากนั้นควรแจ้ง บทบาทหน้าที่ของผู้ดูแลสุขภาวะทางปัญญาให้ชัดเจน ไม่ให้เข้าใจ คลาดเคลื่อนไปในทางที่จะก่อผลร้ายกับทุกฝ่าย จากนั้นจึงใช้ทักษะ พื้นฐานต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว (และที่จะกล่าวต่อไปในหัวข้อการ

����������������������������������.indd 154

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

155

ดูแลญาติผู้ป่วย) เพื่อให้ก�ำลังใจญาติ ชื่นชมการเสียสละของผู้ที่มา เฝ้าดูแลผู้ป่วย เมื่อเห็นโอกาสที่เหมาะสมควรชักชวนให้ญาติร่วม ประเมินสถานการณ์ของผู้ป่วยว่าจะเป็นไปในทิศทางใดได้บ้าง โดย อาจเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงผลดีที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ว่าผู้ป่วยจะมี สภาพอย่างไร ซึ่งญาติจะต้องเตรียมตัวให้การดูแลเยียวยากันอย่างไร ต่อไปบ้าง หากอาการเลวร้ายกว่านั้นผลจะเป็นอย่างไร และในที่สุด หากผลออกมาในสถานการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นคือผู้ป่วย ต้องเสียชีวิตลง ทางญาติควรจะต้องเตรียมตัวอย่างไร แล้วอาจชวน สรุปร่วมกันว่า ณ ขณะนี้ มีอะไรที่สามารถท�ำได้เลยบ้าง เช่น การ หาเพลงที่ผู้ป่วยชอบมาเปิดให้ฟังเบาๆ พูดคุยแต่เรื่องราวดีๆ ให้ได้ยิน ซึ่ ง ญาติ จ ะได้ ข ้ อ สรุ ป ด้ ว ยตนเองว่ า การเตรี ย มความพร้ อ มเผื่ อ สถานการณ์เลวร้ายที่สุดเกิดกับผู้ป่วยนั้น ไม่ใช่เรื่องเสียหาย และ กลับมีผลดีต่อทุกฝ่ายแม้ในที่สุดผู้ป่วยอาจมีผลรักษาที่ดีเกินคาดก็ตาม การดูแลตัวผู้ป่วยในครั้งแรกที่ได้พบผู้ป่วย ถือเป็นโอกาสดี ที่จะได้แสดงบทบาทผู้ดูแลสุขภาวะทางปัญญาให้ญาติได้เห็น เป็น จุดที่สร้างความประทับใจความไว้วางใจให้ญาติผู้ป่วยได้ แต่โดย หลักการและวิธีการก็ไม่มีจุดใดที่แตกต่างจากผู้ป่วยระยะท้ายทั่วไป ที่ต้องเยี่ยมดูแลผู้ป่วยด้วยความกรุณาและปรารถนาดีอย่างจริงใจ ใช้การวางมือสัมผัสมือผู้ป่วยเบาๆ พร้อมกับพูดคุยให้ก�ำลังใจ ให้รู้สึก วางใจในการดูแลร่างกายกับทีมแพทย์ผู้รักษา ที่แม้อาจท�ำให้ผู้ป่วย ต้องเจ็บปวดทางกายบ้าง แต่ทั้งหมดนั้นก็ท�ำด้วยความปรารถนาดี และเป็นผลดีต่อผู้ป่วยในที่สุด

����������������������������������.indd 155

9/12/16 6:55 PM


156

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

หากผู้ป่วยยังรับรู้ได้ควรย�้ำหน้าที่ของผู้ป่วยว่าต้องดูแลจิตใจ ตนเองให้เข้มแข็งอดทน จิตใจที่เข้มแข็งมีความมุ่งมั่นมีสติอยู่กับ ปัจจุบัน นอกจากจะหนุนให้ร่างกายหายได้เร็วขึ้นแล้ว ยังช่วยลด ความวิตกกังวล อันเป็นเหตุส�ำคัญของความเครียดและปัญหาอื่น ตามมา การเยี่ยมในวันต่อมา ควรประเมินจากสถานการณ์วันต่อวัน หากสถานการณ์แย่ลงอย่างรวดเร็ว อาจจ�ำเป็นต้องพูดเรื่องการ ปล่อยวางภาระต่างๆ การขออโหสิกรรม ให้อภัย ให้ฝึกหาเครื่อง ยึดเหนี่ยวทางใจไว้ รวมทั้งหากประเมินว่ามีญาติที่มีจิตใจเข้มแข็ง รับสถานการณ์ได้ดี ก็อาจคุยเรื่องแนวทางการน�ำทางผู้ป่วยในช่วง ท้ า ยแห่ ง ชี วิ ต ให้ ญ าติ ไ ด้ ท ราบ หากเกิ ด จะสิ้ น ชี วิ ต ไปในช่ ว งที่ ที ม ผู้ดูแลสุขภาวะทางปัญญาไม่สะดวกที่จะเข้าให้การช่วยเหลือ

การดูแลญาติผู้ป่วย ญาติหรือคนใกล้ชิดที่ดูแลผู้ป่วยคือผู้ที่มีส่วนส�ำคัญยิ่งที่จะช่วย ให้ผู้ป่วยระยะท้ายมีสุขภาวะทางปัญญาและจากไปอย่างสงบ เพราะ รู้จักใกล้ชิดกับผู้ป่วยมานาน มีความรัก ความปรารถนาดีอย่างที่สุด เสียสละความสะดวกสบายส่วนตัวมาดูแลผู้ป่วยและอาจต้องรับภาระ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นด้วย ที่ส�ำคัญคือต้องเหนื่อยล้า มีความทุกข์ ความ เครียด และวิตกกังวล ที่เกิดจากความรักความผูกพันกับผู้ป่วย จึง มีความจ�ำเป็นที่ผู้ดูแลสุขภาวะทางปัญญาผู้ป่วยควรต้องเข้าไปให้ ก�ำลังใจ รับฟัง คอยแบ่งปันสุขทุกข์ คอยเป็นเพื่อน เป็นที่ปรึกษาใน สถานการณ์ที่จ�ำเป็น

����������������������������������.indd 156

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

157

ลักษณะของการมีสว่ นร่วมของญาติในการดูแลผูป้ ว่ ยแต่ละราย จะแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ผู้ป่วยถูกทอดทิ้งไม่มีใครมาดูแลเลย นานๆ จะมีผู้มาเยี่ยมสักครั้ง มาเฉพาะวันหยุด ไปจนถึงมีผู้ดูแลใกล้ชิด เฝ้าอยู่ตลอดเวลา มีการจัดเวรผลัดเปลี่ยนกันมาดูแลเพื่อจะได้มีเวลา พักผ่อน และยังมีผู้ที่แวะเวียนมาหาจนผู้ป่วยแทบไม่ได้พักผ่อนก็มี ทีมผู้ดูแลควรจ�ำแนกกลุ่มญาติคนใกล้ชิดผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มๆ โดยให้ ความส�ำคัญกับกลุ่มที่ใกล้ชิดผูกพันกับผู้ป่วยมากที่สุดก่อน เนื่องจาก มีผลต่อสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยมากกว่าและมักมีความทุกข์ใจ มากกว่าผู้ที่อยู่ห่างออกไป ส่วนผู้ที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษา หรือมีความใกล้ชิดทางสายเลือดหรือตามกฎหมาย แต่ไม่ค่อยได้มา ดูแลใกล้ชิด หากทีมผู้ดูแลสามารถหาโอกาสเข้าถึง พูดคุยสร้างความ เข้าใจในเรื่องที่จ�ำเป็นให้ถูกต้องได้ด้วย ก็จะช่วยให้การดูแลโดยรวม ท�ำได้ง่ายยิ่งขึ้น และลดภาวะกดดันที่เกิดกับผู้ดูแลใกล้ชิดได้ด้วย ญาติและผู้ใกล้ชิดเหล่านี้คือแหล่งข้อมูลที่ส�ำคัญที่จะใช้เพื่อ การดูแลผู้ป่วย ความคุ้นเคยกับญาติท�ำให้ผู้ดูแลทราบข้อมูลลึกๆ ได้ ในเวลาอันรวดเร็ว ไม่ว่าเรื่องชีวิตครอบครัว การงาน ภาระต่างๆ ที่ ผู้ป่วยมี บุคลิกนิสัย อารมณ์ งานอดิเรกหรือสิ่งที่ชอบที่สนใจเป็น พิเศษ ประสบการณ์การศึกษาปฏิบัติธรรมด้วย ดังนั้นในการเข้า เยี่ยมผู้ป่วยทุกครั้งควรแบ่งเวลาส่วนหนึ่งไว้ส�ำหรับพูดคุยกับญาติ หรือคนใกล้ชิดที่ดูแลผู้ป่วย กิจกรรมหลายอย่างสามารถให้ญาติหรือ ผู้ใกล้ชิดชวนผู้ป่วยท�ำยามว่าง เปิดโอกาสให้เขาได้ท�ำหน้าที่ดูแล สุขภาวะทางปัญญาคนที่เขารักด้วยตนเอง ซึ่งนอกจากช่วยให้เกิด

����������������������������������.indd 157

9/12/16 6:55 PM


158

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ความอบอุ่นขึ้นในครอบครัวแล้ว ยังช่วยญาติที่ดูแลนั้นได้เรียนรู้และ พัฒนาสุขภาวะทางปัญญาของเขาเองไปพร้อมๆ กันอีกด้วย ญาติและผู้ใกล้ชิดอีกเช่นกันที่จะช่วยจัดการภารกิจที่คั่งค้าง อยู่ของผู้ป่วยได้ รวมทั้งท�ำให้ความกังวลต่างๆ ที่ผู้ป่วยมีอยู่ลดลง หรือหมดไปได้ เพียงแค่แนะน�ำวิธีการและเปิดโอกาสให้คนใกล้ชิด ขออโหสิกรรมต่อสิ่งที่ได้เคยท�ำผิดพลาดล่วงเกินผู้ป่วยไว้ หรือยกโทษ ให้อภัยแก่สิ่งที่ผู้ป่วยได้เคยล่วงเกินเขาไว้ จะช่วยให้จิตใจผู้ป่วยระยะ ท้ายผ่อนคลายลงได้ ต่อไปเขาก็มีโอกาสแนะน�ำให้ญาติหรือคนอื่น กระท�ำเช่นนี้กับผู้ป่วยบ้าง ผู้ที่ดูแลใกล้ชิดจะเป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่ทีมผู้ดูแลควรแนะน�ำให้ หาโอกาสให้ค�ำมั่นสัญญา รับปากกับผู้ป่วยที่จะท�ำภารกิจที่คั่งค้าง รอการสานต่อและมุ่งมั่นท�ำสิ่งดีๆ ที่ผู้ป่วยหวังไว้ เช่น อาจให้ภรรยา ให้ค�ำมั่นสัญญาว่าตนมีความเข้มแข็งพอที่จะอยู่ดูแลลูกๆ แทนเขาได้ ตามล�ำพัง ส่วนลูกๆ ก็ควรให้ค�ำมั่นว่าจะตั้งใจเรียน พร้อมจะเชื่อฟัง และดูแลแม่ต่อไปจนท่านแก่เฒ่า ต่อไปผู้ใกล้ชิดเหล่านี้ก็อาจแนะน�ำ ให้ญาติ พี่น้อง หรือผู้ที่ตนเห็นว่าเหมาะสมให้ท�ำอย่างนี้กับผู้ป่วย ด้วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยปลดเปลื้องความหนักใจของผู้ป่วยที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องเหล่านั้นลงได้

����������������������������������.indd 158

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

159

ทางทีมผู้ดูแลสุขภาวะทางปัญญาควรเสนอกิจกรรมที่ญาติ สามารถท�ำร่วมกับผู้ป่วยได้ในระหว่างวัน ที่ได้ประโยชน์และไม่เป็น ภาระต่อญาติที่ดูแลจนเกินไป กิจกรรมควรขึ้นอยู่กับความสนใจและ สภาวะทางร่างกายของผู้ป่วย หากเป็นรายการโทรทัศน์ควรเลือก เปิดรายการที่ผู้ป่วยสนใจ เคยดูอยู่เป็นประจ�ำ และเป็นประโยชน์ต่อ ผู้ป่วย หลายเรื่องที่ผู้ป่วยสนใจแต่ไม่เป็นผลดีต่อผู้ป่วยก็ไม่ควรเปิด ถ้าเป็นไปได้อาจน�ำดนตรี/เพลงที่ผู้ป่วยชอบมาเปิดให้ฟัง (หากอยู่ ห้องรวมควรใช้หูฟังเพื่อไม่ให้รบกวนผู้ป่วยอื่น) อ่านหนังสือให้ฟัง น�ำรูปภาพที่เป็นความทรงจ�ำดีๆ มาเปิดประเด็นพูดคุยกับผู้ป่วย หรือฝึกสติดูลมหายใจไปด้วยกัน (ถ้าผู้ป่วยไม่ปฏิเสธ) ทัง้ นีท้ มี ผูด้ แู ลสุขภาวะทางปัญญาต้องระวังทีจ่ ะไม่ไปสร้างภาระ ให้กับญาติเพิ่มขึ้น โดยให้ญาติเห็นคุณค่าของการพูดคุยหรือการท�ำ กิจกรรมนั้นๆ ว่ามีประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างไร พยายามให้ความ ช่วยเหลือญาติผู้ป่วยในส่วนที่ท�ำได้ โดยเฉพาะเรื่องการประสานงาน กั บ ที ม ให้ ก ารรั ก ษาของโรงพยาบาล รวมถึ ง หน่ ว ยงานอื่ น ที่ อ าจ เกี่ยวข้อง ยิ่งผู้ดูแลได้รับการยอมรับจากญาติผู้ป่วยมากขึ้น โอกาส ที่ผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์ก็มีเพิ่มขึ้นด้วย ท�ำให้มีโอกาสแนะน�ำใน เรื่องที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นว่าสิ่งใดควรท�ำหรือไม่ควรท�ำ เช่น เรื่องเกี่ยวกับ ความเชื่อ แนวทางการรักษาหรือพิธีกรรมที่ดูแล้วสิ้นเปลืองไม่เหมาะสม หรืออาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย (หากยังไม่คุ้นเคยพอผู้ดูแลไม่ควร ก้าวก่ายในความเชื่อส่วนตัวของผู้ป่วยหรือญาติ)

����������������������������������.indd 159

9/12/16 6:55 PM


160

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ปัญหาที่พบบ่อยในการช่วยดูแลจิตใจของญาติผู้ป่วยคือความ ขัดแย้งที่เกิดขึ้นในหมู่ญาติ ซึ่งมีได้ในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง การตัดสินใจเลือกแนวทางการรักษาผู้ป่วย การปฏิบัติต่อผู้ป่วย การ เสียสละเวลามาร่วมดูแล เรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแล หรืออาจเป็น เรื่องละเอียดอ่อนเกี่ยวกับพฤติกรรมในอดีตของผู้ป่วย ความขัดแย้ง ในครอบครัว ทรัพย์สิน หนี้สิน การแบ่งมรดก ฯลฯ นอกจากนี้ ยังเป็นความขัดแย้งระหว่างคนที่ทุ่มเทดูแลผู้ป่วย กับผู้ที่รับผิดชอบ ค่ารักษา คนที่ผู้ป่วยรัก ผู้ที่มีอ�ำนาจในการตัดสินใจเรื่องผู้ป่วยตาม กฎหมาย ฯลฯ ผู้ดูแลผู้ป่วยมักต้องท�ำหน้าที่เป็นคนกลางในการ พูดคุยระหว่างคนเหล่านี้และช่วยกันหาทางออกซึ่งต้องแก้ไปตาม สถานการณ์ หลายเรื่องเป็นสิ่งที่ไม่ควรเข้าไปก้าวก่าย เช่น เรื่อง ทรัพย์สิน มรดก หากไม่สามารถแก้ปัญหาได้มากนัก ผู้ดูแลควร เลือกเป็นก�ำลังใจอยู่เคียงข้างผู้ที่ทุ่มเทกายใจดูแลผู้ป่วยมากที่สุด

การดูแลภิกษุอาพาธระยะท้าย ทีมผู้ดูแลสุขภาวะทางปัญญาอาจรู้สึกล�ำบากใจหรือปฏิบัติตัว ไม่ถูกเมื่อต้องช่วยดูแลพระที่อาพาธอยู่ในระยะท้าย อาจเพราะ ไม่คุ้นเคยกับทั้งวิถีชีวิตพระและแนวทางปฏิบัติต่อพระ และที่ส�ำคัญ คือทีมผู้ดูแลมักรู้สึกอยู่ลึกๆ ว่าพระท่านน่าจะได้ศึกษาและปฏิบัติ ทางจิตมามากกว่าตน จนไม่แน่ใจว่าควรปฏิบัติหรือให้ค�ำแนะน�ำต่อ ท่านอย่างไรจึงจะเหมาะสม ไม่เป็นการลบหลู่ท่าน หากทีมดูแล สุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยมีพระอยู่ด้วย วิธีที่ง่ายและเหมาะสม

����������������������������������.indd 160

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

161

ที่สุดคือนิมนต์ให้พระเข้ามาท�ำหน้าที่ดูแลท่าน อย่างน้อยก็ในช่วง เริ่มต้นให้พอมีความคุ้นเคยมั่นใจว่าจะต้องดูแลท่านต่ออย่างไร ปัญหาส�ำคัญในทางปฏิบัติในการดูแลพระซึ่งไม่ต่างจากผู้ป่วย ระยะท้ายทั่วไป คือความแตกต่างหลากหลายของพระแต่ละรูป หากกล่าวโดยภาพรวมแล้วผู้ที่ตัดสินใจบวช พึงพอใจอยู่เป็นพระ ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมมาบ้างแล้ว ควรยอมรับการเจ็บป่วยและ ความตายได้ง่ายกว่าฆราวาส ภาระเรื่องค้างคาใจและปัญหาในชีวิต ก็ควรมีน้อยกว่า อีกทั้งยังเคยชินกับการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายตาม ล�ำพังอยู่แล้ว คุ้นเคยกับความตายและพิธีศพ ดังนั้นภิกษุท่ีอาพาธ ในระยะสุดท้ายจึงน่าจะยอมรับสภาพของตนเองได้ดีและดูแลได้ง่าย กว่าผู้ป่วยทั่วไป แต่ในความเป็นจริงหลายๆ ครั้งกลับพบว่าปัญหาในการดูแล พระอาพาธซับซ้อนกว่าผู้ป่วยทั่วไป ทั้งที่เกิดจากตัวพระเองและ ทีเ่ กิดจากระบบการดูแลทีไ่ ม่คอ่ ยเอือ้ อ�ำนวยต่อความเป็นอยูต่ ามวินยั ของพระภิกษุ โดยพระแต่ละรูปแต่ละส�ำนักก็ศึกษาธรรมะและฝึก ปฏิบัติทางจิตมามากน้อยแตกต่างกัน มีความศรัทธาและเคร่งครัด ในการปฏิบัติตามกรอบของพระวินัยแตกต่างกัน รวมทั้งมีระบบการ ดูแลพระอาพาธที่แตกต่างกันมาก ภาระในการดูแลภิกษุอาพาธ ทุกวันนี้แทนที่จะเป็นธุระของหมู่สงฆ์กลับตกเป็นหน้าที่ของญาติ หรือคนในครอบครัวของพระที่ส่วนใหญ่เป็นสตรีเป็นหลัก

����������������������������������.indd 161

9/12/16 6:55 PM


162

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

แม้ในหมู่สงฆ์เอง การที่พระจะเข้าไปดูแลเพื่อนภิกษุที่อาพาธ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะมีความแตกต่างกันในเรื่องอายุพรรษา นิ ก าย สายปฏิ บั ติ หรื อ แม้ แ ต่ พ ฤติ ก รรมที่ ไ ม่ เ หมาะสมของพระ อาพาธบางรูป อาจท�ำให้พระที่ช่วยดูแลบางท่านรู้สึกล�ำบากใจจน ไม่อยากเข้าไปดูแล แต่หากได้ผ่านการอบรมเตรียมความพร้อมใน การท�ำงานด้านนี้มาบ้าง ก็เชื่อได้ว่าจะยินดีให้การช่วยเหลือดูแล เพราะระลึกได้ว่าเรื่องนี้พระพุทธองค์ได้ทรงฝากไว้พร้อมทั้งท�ำให้ดู เป็นตัวอย่างในการเข้าไปดูแลภิกษุอาพาธที่เพื่อนภิกษุทอดทิ้งเพราะ นิสัยไม่ดี และอาจมองได้ว่านี่คือโอกาสแห่งการได้ฝึกฝนตนเอง อย่างดียิ่ง ได้ดูใจตนเอง ปัญหาต่างๆ จึงไม่ควรถูกยกมาเป็นเหตุผล ที่จะไม่อยากดูแลพระอาพาธ เว้นแต่เป็นความประสงค์ของพระที่ อาพาธเอง ปัญหาอีกส่วนหนึ่งเนื่องมาจากระบบการเยียวยารักษาและให้ บริการของโรงพยาบาล รวมทั้งทีมผู้ดูแล ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่รู้ ไม่ตระหนักถึงสิ่งที่ควรท�ำต่อพระ ส่งผลให้พระที่ปฏิบัติเคร่งครัด บางรูปบางส�ำนักปฏิเสธที่จะนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ยอมที่จะ รักษากันตามมีตามเกิดนอนรอความตายอยู่ท่ีวัด พระอีกส่วนหนึ่ง จ�ำใจต้องลาสิกขาออกไปเมื่อมีอาการทรุดหนักขึ้น เพื่อความสะดวก และสบายใจในการดูแลของลูกหลาน รวมทั้งตนเองก็ไม่รู้สึกผิด เพราะมีความเศร้าหมองทางวินัย ระบบของโรงพยาบาลเองยังไม่ค่อย เอื้ออ�ำนวยให้เพื่อนพระหรือเณรไปพักค้างหรืออยู่ดูแลพระอาพาธ

����������������������������������.indd 162

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

163

อย่างใกล้ชิด เนื่องจากต้องพักอยู่ปะปนร่วมกับญาติโยมผู้หญิง ท�ำให้ ไม่สะดวกเรื่องการนุ่งห่ม อาหารขบฉัน หลายครั้งมีอุปสรรคในการ ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุภาพสตรี ส�ำหรับภาพรวมแล้ว แนวทางการช่วยเหลือพระอาพาธนั้น มีประเด็นที่ทีมผู้ดูแลควรปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากผู้ป่วยทั่วไป ดังนี้ คลายภาระและความรู้สึกโดดเดี่ยว แม้การอยู่คนเดียวจะเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตนักบวช แต่ เมื่อป่วยจนช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ไม่มีพระหรือญาติโยมมาเฝ้าดูแล ประจ�ำ การมีพระสักรูปหรือญาติโยมที่พอวางใจได้สักคนมาพูดคุย ด้วย จะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจของพระอาพาธได้มาก ยิ่งถ้าผู้เยี่ยม ดูแลมีทักษะการฟังที่ดีและช่วยคลี่คลายภาระที่ท่านอาจมีอยู่บ้าง ลงได้ เช่น ช่วยติดต่อกับญาติพี่น้อง ช่วยดูแลข้าวของ-สัตว์เลี้ยง ที่กุฏิ หน้าที่การงานที่วัด ฯลฯ ก็จะเป็นประโยชน์มากขึ้น โดยเฉพาะ เมื่อผู้เยี่ยมเป็นพระภิกษุด้วยกัน ท่านอาจมีหลายเรื่องที่ไม่อยากให้ โยมได้ รั บ รู ้ จ ะได้ โ อกาสขอค� ำ ปรึ ก ษา หากผู ้ ดู แ ลเป็ น ผู ้ ช ายขณะ พูดคุยกับท่านก็สามารถบีบนวดให้ท่านรู้สึกผ่อนคลาย ช่วยพลิก ตะแคงตัว นวดแผ่นหลัง รวมทั้งอาจช่วยปลงผม ตัดเล็บ เช็ดตัว เปลี่ยนผ้านุ่ง หรือซักผ้าให้ตามความเหมาะสมด้วย

����������������������������������.indd 163

9/12/16 6:55 PM


164

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

คลายข้อขัดข้องที่สืบเนื่องกับพระวินัย การรักษาตัวในโรงพยาบาลมีข้อจ�ำกัดมากมายที่ท�ำให้พระ ปฏิบัติตามพระวินัยไม่ได้ ซึ่งเรื่องทางวินัยนี้พระด้วยกันเท่านั้นที่จะ ช่วยแก้ไขให้ได้ ดังนั้นหากพระที่อาพาธไม่มีเพื่อนพระภิกษุมาเยี่ยม เลย เป็ น การดี ต ่ อ ท่ า นอย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะนิ ม นต์ พ ระที่ ท� ำ งานร่ ว มกั บ โรงพยาบาลให้มาเยี่ยมท่าน พระที่เข้าเยี่ยมควรสอบถามท่านว่า มีความอึดอัดใจเรื่องวินัยเพียงใด หากเรื่องใดที่พอติดต่อเจ้าหน้าที่ ให้ช่วยเกื้อหนุนท่านได้ก็ควรท�ำทันที เช่น เรื่องของขบฉัน ท่านอาจ กังวลเรื่องการจ�ำวัด (นอน) เพราะมีโยมผู้หญิง (ญาติผู้ป่วย) นอนอยู่ แถวนั้น ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ให้ช่วยหาม่านกั้นหรือย้ายท่านไปเตียง ในมุมที่เหมาะสมกว่า ในบางเรื่องที่พระวินัยยกเว้นไว้ให้พระอาพาธ แล้วก็บอกให้ท่านสบายใจ หรือช่วยปลงอาบัติให้ท่าน เน้นย้ำ�การปฏิบัติธรรม แม้โดยทั่วไปพระจะฝึกจิตปฏิบัติธรรมมามากกว่าโยมผู้ดูแล แต่ในขณะที่เจ็บป่วยในระยะท้ายภาวะของโรคอาจท�ำให้ท่านลืม หรือละเลยเรื่องนี้ไป ทีมผู้ดูแลสามารถที่จะกล่าวเปรยให้สติท่าน อย่างนุ่มนวลให้ใช้โอกาสทองขณะที่ใกล้ถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตนี้ เพื่อการปฏิบัติธรรม ถ้าเห็นว่าเหมาะสมอาจช่วยน�ำจิตท่านด้วยการ น้อมน�ำให้เห็นคุณค่าของการได้ใช้ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ ให้มีศรัทธา มั่นคงในพระรัตนตรัย ในความบริสุทธิ์ของศีล จากนั้นให้ท่านพิจารณา ถึงธรรมชาติอันไม่เที่ยงของชีวิตและสังขารทั้งหลาย ให้คลายความ

����������������������������������.indd 164

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

165

ยึดมั่นลง แล้วเฝ้าดูการก้าวย่างสู่การแตกดับของธาตุขันธ์ ซึ่งเป็น โอกาสเดี ย วเท่ า นั้ น ที่ จ ะท� ำ ได้ ใ นชี วิ ต นี้ ไม่ ค วรรู ้ สึ ก กระดากหรื อ ล�ำบากใจที่จะย�้ำเรื่องนี้ เพราะนี่คือโอกาสส�ำคัญที่สุดแห่งชีวิตของ ผู้ปฏิบัติธรรม ซึ่งอาจถูกบดบังไว้ด้วยความสับสนกระวนกระวายใน การหาทางรักษา หรือจมระทมทุกข์อยู่กับความเจ็บปวดทางกาย ส่วนผลลัพธ์จะเป็นเช่นไรนัน้ ขึน้ กับการสัง่ สมปฏิบตั มิ าของแต่ละท่าน การเปิดเสียงเทศน์ของครูบาอาจารย์น�ำปฏิบัติกรรมฐาน หรือ เสียงสวดมนต์ท�ำวัตรให้ท่านฟัง ก็อาจเป็นทางเลือกส�ำหรับเจ้าหน้าที่ ที่ยังไม่มั่นใจในการให้ค�ำแนะน�ำต่อพระอาพาธ อย่างไรก็ตามยังมี พระภิกษุอีกไม่น้อยที่ไม่สนใจศึกษาปฏิบัติธรรมเลยและอาจแสดง อาการหรื อ อารมณ์ ที่ ไ ม่ เ หมาะสมออกมา ผู ้ ดู แ ลต้ อ งเข้ า ใจและ ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นไม่มุ่งที่จะต�ำหนิท่าน หรือเมื่อมีพระมาเยี่ยม จึงค่อยหาโอกาสให้พระเป็นฝ่ายพูดคุยกันเอง

การเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน การเยี่ยมดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน เป็นอีกสถานการณ์หนึ่งที่มีบริบทต่างไปจากการดูแลในโรงพยาบาล การค้นหาเหตุผลที่แท้จริงว่าเพราะเหตุใดผู้ป่วยระยะท้ายจึงได้รับ การดูแลอยู่ที่บ้าน จะช่วยให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการ ดูแลผู้ป่วยหลายอย่าง เพราะหากการได้รับการดูแลที่บ้านนั้นเป็น ผลจากความต้องการที่ตรงกันของทุกฝ่ายคือทั้งตัวผู้ป่วย ญาติ และ โรงพยาบาล ก็จะท�ำให้กระบวนการดูแลเป็นไปอย่างราบรื่น การ

����������������������������������.indd 165

9/12/16 6:55 PM


166

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

เยี่ยมจะไม่มีปัญหามากนัก แต่หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นไม่ตรงกัน โดยเฉพาะญาติ ผู้ ดู แลกั บตั ว ผู้ ป ่ว ย ซึ่ง ส่ วนใหญ่ ผู้ ป ่ วยอยากกลั บ โรงพยาบาลไม่ขัดข้อง แต่ญาติไม่อยากให้กลับเพราะรู้สึกเป็นภาระ ในการดูแล อาจส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม หรือ อาจถึงขั้นถูกทอดทิ้ง การเยี่ยมของทีมงานอาจมีภารกิจหลายอย่าง ที่ต้องช่วยเหลือผู้ป่วยและต้องคุยท�ำความเข้าใจรวมทั้งให้ความ ช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาให้กับญาติด้วย อาจช่วยประสานจัดหา เครื่องมือแพทย์ที่จ�ำเป็นให้ยืมกลับไปใช้ที่บ้านโดยไม่ต้องสิ้นเปลือง ซื้อใหม่ สอนเทคนิคการดูแลและการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อ สร้างความมั่นใจและอ�ำนวยความสะดวกให้ผู้ดูแลมากที่สุด นอกจากนีก้ ารไปเยีย่ มผูป้ ว่ ยทีบ่ า้ นหากเป็นผูป้ ว่ ยทีเ่ คยรับการ รักษาเป็นประจ�ำที่โรงพยาบาล ทีมงานมักให้การดูแลต่อเนื่องได้ เพราะมีข้อมูลและประวัติการรักษาอยู่แล้ว แต่หากเป็นการส่งต่อ จากโรงพยาบาลอื่น นอกจากข้อมูลการรักษาในเอกสารส่งต่อผู้ป่วย แล้ว ทีมดูแลผู้ป่วยที่บ้านต้องท�ำงานหนักขึ้นเพื่อท�ำความรู้จักผู้ป่วย อาจต้ อ งสั ม ภาษณ์ สั ง เกต และสอบถามข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม จากคน ใกล้ชิดรวมทั้งเพื่อนบ้านและคนในชุมชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การ ช่วยเหลือทางกายและดูแลสุขภาวะทางปัญญาได้อย่างเหมาะสม

����������������������������������.indd 166

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

167

ข้อพึงตระหนักเมื่อเยี่ยมดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน ๑. เมื่อให้การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล ผู้ป่วยทั้งหมดถูกจัด ให้อยู่ในบรรยากาศที่เหมือนกันซึ่งเจ้าหน้าที่คุ้นเคยดี แต่เมื่อกลับไป อยู่ที่บ้านผู้ป่วยแต่ละรายจะอยู่ในบริบทที่แตกต่างกัน บุคลิกนิสัย ความต้องการ ความเคยชินต่างๆ ที่เคยถูกปิดบังไว้เมื่ออยู่โรงพยาบาล จะถู ก แสดงออกมากขึ้ น การเยี่ ย มดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยที่ บ ้ า นโดยเฉพาะ ครั้งแรกผู้เยี่ยมจึงต้องเตรียมความพร้อมไปอย่างดี อาจต้องอยู่ใน สภาพบ้านที่อึดอัดอุดอู้สกปรก หรืออยู่ในบรรยากาศที่ตึงเครียดของ ครอบครัว ต้องพร้อมที่จะปรับตัวและแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า นอกจากนี้ในการเยี่ยมครั้งแรกควรมีทีมงานเฉพาะเท่าที่จ�ำเป็น การ มี ผู ้ ร ่ ว มที ม มากอาจท� ำ ให้ ผู ้ ป ่ ว ยหรื อ ญาติ บ างรายรู ้ สึ ก อึ ด อั ด หรื อ ล�ำบากใจ การเยี่ยมครั้งต่อๆ ไปที่ผู้ป่วยพร้อมจึงค่อยให้พระหรือ จิตอาสาเข้าร่วม ๒. จุดเด่นของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้านคือการอยู่ใน ชุมชน เป็นโอกาสดีที่ให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล ผู้ป่วย จัดเวลาให้เพื่อนได้พบปะพูดคุยกับผู้ป่วย ให้จิตอาสาหรือ อสม.เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพ เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุ ปราชญ์ ชาวบ้าน พระสงฆ์ ช่วยดูแลมิติทางปัญญา น�ำจิตใจให้สงบให้ระลึกถึง บุญกุศล รวมทั้งท�ำพิธีกรรมความเชื่อของท้องถิ่นได้สะดวก นอกจากนี้ ยังสามารถประสานความช่วยเหลือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ขอความร่วมมือใช้รถของ อบต. ในการรับ/ส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ได้อีกด้วย

����������������������������������.indd 167

9/12/16 6:55 PM


168

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

๓. ที่บ้านของผู้ป่วยมีทั้งผู้คนและอุปกรณ์ที่ใช้เป็นสื่อในการ พูดคุยมากมาย เช่น รูปภาพที่ตั้งโชว์ซึ่งมักมีความส�ำคัญพิเศษที่ อยากจะให้แขกดู ถ้วยรางวัล เสื้อผ้า ของใช้ สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ที่ปลูก เพลงที่ฟัง หนังสือที่อ่าน หรือของสะสมต่างๆ ของผู้ป่วยหรือสมาชิก ในบ้าน การจะหยิบยกเรื่องใดมาคุยโยงไปสู่เป้าหมายใด อยู่ที่ไหวพริบ และความสามารถของทีมผู้ดูแลจะหยิบมาใช้ประโยชน์ ๔. การอยูใ่ นชุมชนอาจมีขอ้ จ�ำกัดบ้างในเรือ่ งความขัดแย้งหรือ ปัญหาความสัมพันธ์กับบางคนในครอบครัวหรือชุมชน เช่น ลูกเขย ลูกสะใภ้ เจ้าหนี้ ฯลฯ ซึ่งถ้าพบปัญหานี้ทีมผู้ดูแลและจิตอาสาใน พื้ น ที่ ค วรหาโอกาสประสานความสั ม พั น ธ์ หากสามารถให้ อ ภั ย อโหสิกรรม หรือหาทางแก้ปัญหาด้วยกันได้ก็จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อ ผู้ป่วย ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือญาติพี่น้องที่อยู่ภายหลัง และชุมชนโดยรวม ก็ได้ประโยชน์ด้วย การเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านโดยทีมงานดูแลสุขภาวะทางปัญญา อาจท�ำได้ไม่บ่อยนักเมื่อเปรียบเทียบกับการเยี่ยมในโรงพยาบาล การพยายามถ่ายทอดเทคนิคการดูแลหรือพูดคุยกับผู้ป่วยให้กับญาติ และจิตอาสาในชุมชน เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับ การดู แ ลใกล้ ชิ ด ขึ้ น อย่ า งไรก็ ต ามปั จ จุ บั น เทคโนโลยี ก ารสื่ อ สาร และอินเตอร์เน็ตที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงกันได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว สามารถน�ำมาใช้เป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการท�ำงานร่วมกับ จิ ต อาสาหรื อ ญาติ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ ต ่ อ ผู ้ ป ่ ว ยได้ ม ากขึ้ น เช่ น ส่ ง ภาพวิดีโอให้ทีมดูแลได้เห็นลักษณะอาการของผู้ป่วยก่อน ซึ่งอาจ ให้ค�ำแนะน�ำในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยเบื้องต้นได้

����������������������������������.indd 168

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

169

การดูแลจิตใจตนเองและทีมงาน การท�ำงานกับผูป้ ว่ ยถือว่าเป็นเรือ่ งทีย่ ากและสร้างความเครียด ให้กับบุคลากรด้านสุขภาพอยู่แล้ว แต่การท�ำงานดูแลผู้ป่วยระยะ ท้ายยิ่งเป็นเรื่องที่ทุกข์และยากล�ำบากยิ่งกว่าหากผู้ดูแลมีสภาพ ร่างกายที่ไม่พร้อมและวางใจต่องานไม่ถูกต้อง เพราะต้องท�ำงาน ท่ามกลางความทุกข์ทรมานทางกาย ความวิตกกังวล ความเครียด ของผู ้ ป ่ ว ยและญาติ โดยเกื อ บทั้ ง หมดจบลงที่ ค วามตาย ความ พลัดพรากจากคนรัก พร้อมทั้งยังต้องมีค่าใช้จ่าย และภาระต่างๆ อีกมากมายให้จัดการอย่างฉุกละหุกเร่งรีบ ดังนั้นคุณสมบัติพื้นฐาน ที่สุดของผู้ที่จะมาท�ำงานนี้คือมีใจรักมีความสนใจ (ฉันทะ) ที่จะท�ำงาน ในลักษณะนี้ เห็นคุณค่า มีความภาคภูมิใจเมื่อได้เข้ามาดูแลผู้ป่วย ที่ก�ำลังทุกข์ และญาติที่ก�ำลังเศร้าโศกกังวลใจ ยิ่งเมื่อเจาะจงลงเป็นการดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วย ระยะท้ายด้วยแล้ว ผู้ดูแลต้องเป็นผู้สนใจเรื่องสุขภาวะทางปัญญา มีหลักยึดในชีวิต มีศรัทธา มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการเข้าถึงชีวิต ที่ ดี ง ามและทรงคุ ณ ค่ า ของตน หากสนใจศึ ก ษาปฏิ บั ติ ธ รรมเป็ น พื้ น ฐาน (ไม่ ว ่ า นั บ ถื อ ศาสนาใด) และมี ศ รั ท ธามุ ่ ง มั่ น ที่ จ ะฝึ ก ฝน พัฒนาตนด้วยหลักธรรมแล้วน�ำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายนั้น เป็นเสมือนบททดสอบอารมณ์และวัดความก้าวหน้าในการปฏิบัติ ของตน หากท�ำได้เช่นนี้จะให้การท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญา ของผู้ป่วยระยะท้ายนั้นเป็นโอกาสอย่างดีในการสร้างกุศล ได้ช่วยเหลือ

����������������������������������.indd 169

9/12/16 6:55 PM


170

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ผู้ป่วยให้ใช้โอกาสสุดท้ายแห่งชีวิตของเขาให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ก่อนจากโลกนี้ไป ได้ช่วยเหลือญาติพี่น้องคนใกล้ชิดผู้ป่วยให้ได้มี โอกาสท�ำสิ่งดีๆ กับผู้ป่วย และผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายในชีวิตนี้ ไปได้ด้วยดี และได้พัฒนาจิตใจตนเอง ได้เรียนรู้ความเป็นจริงแห่ง ชีวิต ได้รู้จักประยุกต์หลักธรรมมาใช้ประโยชน์กับตนเองและผู้ป่วย อยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามทีมงานที่ร่วมกันท�ำงานนี้ในโรงพยาบาล ควร ต้ อ งมี ก ารจั ด ระบบและกิ จ กรรมที่ เ อื้ อ ให้ ที ม งานและอาจรวมถึ ง จิตอาสาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาปัญญา ของแต่ละคน ได้บอกเล่าความสุข ระบายความทุกข์ที่มี หรือร่วมกัน วิเคราะห์แก้ปัญหาของผู้ป่วยที่บางครั้งอาจเกินความรู้ความสามารถ ของคนเพียงคนเดียวจะท�ำได้ ช่วยกันสร้างสรรค์เครื่องมือหรือคิดค้น กิจกรรมใหม่ๆ ที่จะน�ำไปใช้กับผู้ป่วย ส่วนหนึ่งเป็นการปลดปล่อย ความเครียด เสริมความสัมพันธ์ สร้างพลัง และเติมก�ำลังใจให้ผู้ ท�ำงานฮึกเหิมขึ้นใหม่ พร้อมทั้งเข้าใจในความแตกต่างและข้อจ�ำกัด ของทีมงานแต่ละคนที่มีต่างกัน บางคนอาจถนัดคุยกับเด็กหรือกับ ผู้สูงอายุเป็นพิเศษ บางรายมีประสบการณ์ในการช่วยเหลือผู้ป่วย มะเร็ง บางคนถนัดน�ำธรรมะใช้เป็นทางออกให้ผู้ป่วย จึงควรจัดสรร งานตามความถนัด ความเหมาะสม และเกื้อกูลเข้าใจกัน การสร้าง เครือข่ายกับผู้ท�ำงานนี้ในพื้นที่อื่น ให้โอกาสไปศึกษาอบรมเพิ่มเติม ไปปฏิบัติธรรม แม้แต่การจัดทัศนศึกษา หรือหาโอกาสรับประทาน อาหารร่วมกัน ดังที่กล่าวมาแล้ว จะช่วยให้เสริมพลัง ลดความเครียด ในการท�ำงานให้กับทีมงานได้ดีเช่นกัน

����������������������������������.indd 170

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

171

บทสรุป สิ่งจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกล่าวย�้ำ คือ แนวทางการดูแล สุขภาวะทางปัญญาผู้ป่วยระยะท้ายในสถานการณ์ต่างๆ ที่กล่าวมา ทั้งหมด เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการพัฒนางานด้านนี้ให้เป็นรูปธรรม เพื่ อ ให้ ผู ้ ที่ เ ริ่ ม สนใจมี แ นวทางในการปฏิ บั ติ มิ ใ ช่ ม าตรฐานหรื อ สูตรส�ำเร็จที่สามารถน�ำไปใช้ได้ในทุกสถานการณ์ ทุกตัวอย่างค�ำพูด ทุกเรื่องราวต้องถูกปรับให้เหมาะสมกับบริบทของการดูแล สภาพ ของผู้ป่วย ญาติ และที่ส�ำคัญคือบุคลิกนิสัยและความถนัดของผู้ดูแล เอง มีเพียงข้อแนะน�ำเรื่องเดียวที่สามารถใช้ได้ในทุกสถานการณ์ นั่นคือการท�ำงานอย่างมีสติและด้วยจิตใจที่เปี่ยมด้วยความกรุณาต่อ ผู้ป่วยและญาติอยู่เสมอ

����������������������������������.indd 171

9/12/16 6:55 PM


����������������������������������.indd 172

9/12/16 6:55 PM


บ ท ที่ ๔

การร่วมงานกับพระภิกษุ

แม้ว่าการดูแลสุขภาวะทางปัญญาจะสามารถท�ำได้เองโดย บุคลากรทางการแพทย์และญาติที่ดูแลผู้ป่วย แต่หากมีพระ ผู้น�ำ ศาสนา หรือผู้น�ำลัทธิที่คนไข้เชื่อถือศรัทธามาร่วมดูแลด้วย ก็จะช่วย น้อมน�ำจิตใจของผู้ป่วยให้สงบผ่อนคลายเข้าถึงสุขภาวะทางปัญญา ได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามผลที่เกิดขึ้นนี้ย่อมแตกต่างกันไปบ้างตาม สภาพการเจ็บป่วย ตามความสนใจเคร่งครัดในการปฏิบัติตามหลัก ศาสนาของผู้ป่วยแต่ละราย รวมถึงศักยภาพของพระแต่ละรูป/ผู้น�ำ ศาสนาแต่ละท่านที่เข้ามาช่วยเยียวยาจิตใจด้วย การที่พระภิกษุสงฆ์เข้าเยี่ยมให้ก�ำลังใจผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือที่บ้าน แม้ทุกวันนี้จะยังไม่ใช่เรื่องปกติที่ท�ำกันทั่วไป แต่ก็เป็น เหตุการณ์ที่พบเห็นได้ไม่ยากนัก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ผู้ป่วยหรือญาติ ด�ำเนินการเอง เป็นความสัมพันธ์สว่ นตัวซึง่ อาจรูจ้ กั คุน้ เคยอยูก่ บั พระ มาก่อน ในบางชุมชนจะมีการนิมนต์พระที่วัดใกล้บ้านให้มาเยี่ยม มารับสังฆทาน สวดมนต์ หรือท�ำพิธีกรรมตามความเชื่อของท้องถิ่น ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่จัดให้กับผู้ป่วยหนักที่นอนพักอยู่ที่บ้าน แต่

����������������������������������.indd 173

9/12/16 6:55 PM


174

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

การที่โรงพยาบาลเป็นฝ่ายริเริ่มประสานงานนิมนต์ให้พระได้เข้ามา เยี่ยมมาให้ก�ำลังใจผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ยังถือว่า เป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่มาก จะมีอยู่บ้างก็เป็นเพียงการนิมนต์มารับ บิณฑบาต มาแสดงธรรมเป็นครั้งคราวเท่านั้น แนวทางการท�ำงานร่วมกับพระภิกษุสงฆ์ให้เข้ามาร่วมดูแล ผู้ป่วยระยะท้าย ควรเริ่มต้นอย่างไร มีเงื่อนไขใดที่ต้องรับรู้ก่อน รวมทั้งมีแนวทางการจัดระบบรองรับ และประสานงานกันอย่างไร เป็นประเด็นหลักที่จะน�ำเสนอในบทนี้

ตระหนักในคุณค่าของพระภิกษุ ก่อนที่จะนิมนต์พระภิกษุให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย อันดับแรกทีมงานควรต้องเห็นพ้องกันในคุณค่าและประโยชน์ที่จะ เกิดขึ้นก่อน จึงจะมีพลังที่จะหาหนทางนิมนต์พระที่มีความรู้ความ สามารถเข้ามาร่วมดูแลผู้ป่วย เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหาพระที่มี ความพร้ อ มและมี เ วลาพอที่ จ ะสละมาร่ ว มที ม ดู แ ลได้ อี ก ทั้ ง ทาง โรงพยาบาลยังต้องใช้เวลาเพื่อการบริหารจัดการต่างๆ เช่น เป็น ภาระในการนิมนต์ จัดรถไปรับ และต้อนรับอุปัฏฐากเมื่อท่านมาพบ ผู้ป่วยที่โรงพยาบาลหรือออกไปร่วมเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านด้วย ทีมงานควรยอมรับในสภานภาพของพระภิกษุทท่ี า่ นอยูใ่ นฐานะ ผู้ที่ชาวพุทธให้ความเคารพ เพียงรูปลักษณ์ของสมณะภายนอกที่ ท่านปลงผม ห่มผ้ากาสาวพัสตร์ มีกิริยาวาจาสงบเรียบร้อย ก็ท�ำให้

����������������������������������.indd 174

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

175

เกิดศรัทธาแก่ผู้ที่พบเห็นได้ไม่ยาก โดยเฉพาะผู้ป่วยและญาติผู้มี ศรัทธาที่ก�ำลังมีความทุกข์ทั้งทางกายและจิตใจอยู่แล้วยิ่งยังความ ปลื้มปีติให้เกิดขึ้นได้ ฆราวาสยังให้การนับถือว่าพระภิกษุนั้นเป็น ผู้ที่มีศีลมากกว่าตน ครองเพศพรหมจรรย์ และมีปฏิปทาบวชเข้ามา เพื่อประพฤติปฏิบัติตามธรรมวินัยแห่งพระพุทธศาสนา จึงเป็นผู้ที่ ควรได้รับการยกย่องเคารพบูชา จะต้องปฏิบัติต่อท่านด้วยความ เคารพ ให้เกียรติ และเหมาะสมตามจารีตประเพณีของท้องถิ่น พระภิกษุยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความปลอดภัย ความดีงาม เป็นมงคลแก่ผู้ที่ได้พบเห็นหรือเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย การที่พระภิกษุ ได้มาเยี่ยม ให้ผู้ป่วยที่ก�ำลังทุกข์ได้เห็น ได้ท�ำบุญ-ถวายทาน ได้ กล่าวค�ำให้ก�ำลังใจ ให้ธรรมะ ให้สติ รวมทั้งอวยชัยให้พรแก่ผู้ป่วย ให้ก�ำลังใจแก่ญาติพี่น้องผู้ดูแล ย่อมท�ำให้ผู้มีศรัทธาในพระศาสนา อยู่แล้วมีก�ำลังใจ สุขใจ ได้คิด ได้ย้อนกลับมาทบทวนพัฒนาสุขภาวะ ทางปัญญาของตนได้ แม้จะมีพยาบาล นักพูด นักวิชาการที่เชี่ยวชาญ มาให้ก�ำลังใจ ให้แง่คิดกับผู้ป่วยในกรณีนี้ได้เช่นกัน แต่ส�ำหรับผู้ป่วย ที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา นักวิชาชีพเหล่านี้ไม่สามารถที่จะท�ำ ในสิ่งที่พระภิกษุผู้ทรงศีลท�ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของพิธีกรรมและกิจกรรมที่สัมพันธ์ อยู่กับความเชื่อ ความศรัทธา ความศักดิ์สิทธิ์ หรือการติดต่อกับ สิ่ ง เหนื อ ธรรมชาติ กั บ บรรพบุ รุ ษ ที่ ล ่ ว งลั บ ไปแล้ ว รวมถึ ง ภู ติ ผี วิ ญ ญาณต่ า งๆ ที่ ผู ้ ป ่ ว ยอาจสั ม ผั ส รั บ รู ้ ไ ด้ ข ณะเจ็ บ ป่ ว ย ก็ อ ยู ่ ใ น สถานการณ์ที่พระภิกษุสงฆ์สามารถให้ค�ำตอบ ค�ำแนะน�ำ ช่วยเหลือ

����������������������������������.indd 175

9/12/16 6:55 PM


176

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ได้ในระดับหนึ่ง อย่างน้อยที่สุดการมีพระเครื่อง สายสิญจน์ น�้ำมนต์ จากพระที่เคารพศรัทธามาไว้ใกล้ๆ ก็ช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับผู้ป่วย ได้ มิไยต้องกล่าวถึงว่าถ้ามีพระภิกษุได้มามอบสิ่งเหล่านี้ให้ด้วย ตนเองจะยังความปลื้มปีติให้มากขนาดไหน ทั้งหมดนี้คือคุณค่าของพระภิกษุที่มีต่อผู้ป่วย ญาติและผู้ดูแล ที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาซึ่งยากจะหาสิ่งใดมา ทดแทนได้ การนิมนต์พระให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยระยะท้าย ผู้ป่วยเรื้อรังที่ก�ำลังสิ้นหวังในการรักษา ให้กลับสู่ภาวะปกติ รวมถึงญาติที่ทุ่มเทให้การดูแลอย่างเหน็ดเหนื่อย อ่อนล้า การตระหนักถึงคุณค่าที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครมาท�ำทดแทนได้นี้ ย่อมช่วยให้ทีมงานใส่ใจที่จะลงแรงแสวงหาพระที่ท่านพร้อม และ ยินดีทุ่มเทช่วยเหลืออ�ำนวยความสะดวกให้ท่านได้เข้ามาท�ำหน้าที่ อันทรงคุณค่านี้กับผู้ป่วยของตน

วิถีของพระ ปัญหาส�ำคัญอย่างหนึ่งของทีมงานที่ท�ำงานเรื่องนี้คือ จะหา พระที่ ส นใจ มี ค วามพร้ อ ม และเสี ย สละเข้ า มาช่ ว ยงานนี้ ไ ด้ จ าก ที่ไหน ก่อนที่จะตอบปัญหานี้ทีมงานควรที่จะต้องเข้าใจพระพุทธศาสนาและธรรมชาติ พื้ น ฐานความเหมื อ นและความแตกต่ า ง หลากหลายของพระภิ ก ษุ พ อสั ง เขปก่ อ น เพื่ อ จะได้ ป ระสานงาน ขอความร่วมมือจากท่านได้อย่างถูกต้อง

����������������������������������.indd 176

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

177

พระพุทธศาสนาในประเทศไทย พระพุทธศาสนาในโลกทุกวันนี้แบ่งออกเป็น ๒ นิกายหลัก คื อ ฝ่ า ยมหายาน กั บ ฝ่ า ยเถรวาท สั ง คมไทยมี พ ระพุ ท ธศาสนา ฝ่ า ยเถรวาทเป็ น หลั ก ธรรมความเชื่ อ พื้ น ฐานตั้ ง แต่ ก ่ อ นสถาปนา ราชอาณาจักร ตามกฎหมายพระไทยจะมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ภายใต้การปกครองของมหาเถรสมาคม แต่ในทางปฏิบัติแบ่งออก เป็ น ๒ นิ ก าย คื อ มหานิ ก าย ซึ่ ง เป็ น พระกลุ ่ ม ที่ มี ม าแต่ ดั้ ง เดิ ม ปัจจุบันมีประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ รูป กับธรรมยุติกนิกาย ซึ่งได้รับการ สถาปนาขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพระภิกษุอยู่ประมาณ ๕๐,๐๐๐ รูป๑๗ ๒ นิกายนี้มักไม่ท�ำสังฆกรรมหลักร่วมกัน เช่น การอุปสมบท การฟังสวดปาติโมกข์ รับกฐิน และมีข้อวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้าง เช่ น สี จี ว ร การออกเสี ย งบทสวดมนต์ บ าลี วิ ธี ก ารขบฉั น อาหาร เป็นต้น แต่ในภาพรวมแล้วถือว่าไม่มีความแตกต่างกัน ถือธรรมวินัย เดียวกัน ส่วนท่านใดจะใช้จีวรสีใด อยู่วัดป่าหรือวัดบ้าน จะปฏิบัติ กรรมฐานแบบใด จะฉันกี่มื้อ มีความเคร่งครัดในการปฏิบัติในเรื่อง ต่างๆ มากน้อยเพียงใดนั้น เป็นเรื่องของแต่ละส�ำนักและแต่ละบุคคล มากกว่าเรื่องของนิกาย ๑๗

ข้อมูลเมื้อสิ้นปี ๒๕๕๗ ของสำ�นักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พระภิกษุฝ่าย มหานิกาย ๒๕๖,๘๒๖ รูป และฝ่ายธรรมยุต ๕๑,๖๑๔ รูป https://www. m-society.go.th/article_attach/13651/17651.pdf

����������������������������������.indd 177

9/12/16 6:55 PM


178

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

พระภิกษุก็ไม่ต่างจากบุคคลทั่วไป แต่ละท่านมีอัธยาศัย ความ สนใจ ความถนัด ความรู้พื้นฐานทางโลก ทางธรรม เหตุผลที่ท่าน บวชก็แตกต่างกัน ประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติธรรม รวมทั้งสภาพ ร่างกายก็แตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้พระแต่ละรูปจึงมีความแตกต่าง กันในรายละเอียด บางท่านอาจถนัดด้านก่อสร้าง บ้างชอบเจริญ พระพุทธมนต์ จัดพิธีกรรมทางศาสนา บ้างสนใจแง่มุมทางวิชาการ ศึกษาพระบาลี หรือพระอภิธรรม หากทีมดูแลผู้ป่วยทราบว่าผู้ป่วยมีความศรัทธาต่อพุทธศาสนา รูปใด นิกายใด หรือส�ำนักใด ถ้าเป็นไปได้ก็นิมนต์พระรูปนั้น หรือ พระในสายที่คนไข้มีความศรัทธามาดูแลก็จะมีคุณค่าต่อผู้ป่วยยิ่งขึ้น ส�ำหรับพระไทยทั้ง ๒ นิกายสามารถท�ำงานร่วมกันได้ หากมีข้อที่ ต้องปฏิบัติดูแลท่านเป็นการเฉพาะ ท่านจะเป็นฝ่ายแจ้งให้ทราบเอง การศึกษาและความรู้ของพระภิกษุ แม้คณะสงฆ์ได้พยายามสนับสนุนให้พระภิกษุที่บวชเข้ามาได้ ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพุทธประวัติ พระธรรม-วินัย พุทธพิธี และอื่นๆ ผ่านการเรียนนักธรรมทั้ง ๓ ระดับ คือ นักธรรมชั้นตรี โท และเอก ตามล�ำดับ และเรียนภาษาบาลี ซึ่งแบ่งเป็นเปรียญธรรม ตั้งแต่ขั้น ๑-๒ ไปจนถึงเปรียญธรรม ๙ (ประโยค ๙, ผู้ที่สอบผ่าน ประโยค ๓ ขึ้นไป มีค�ำเรียกน�ำหน้าชื่อว่า “พระมหา”) ทั้งนี้ระบบ การศึกษาของคณะสงฆ์ดังกล่าวก็ไม่ถึงขั้นบังคับให้พระทุกรูปต้อง ศึกษา

����������������������������������.indd 178

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

179

การศึกษาของพระภิกษุสามเณรยังมีระบบทีค่ วบคูก่ บั ระบบการ ศึกษาทางโลก ทั้งในระดับมัธยมที่เรียกว่าโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา (ระดับชั้น ม. ๑ - ม. ๖) และในระดับอุดมศึกษา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก (มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย) แม้ จะเป็นระบบการเรียนที่ได้รับความสนใจเข้าศึกษาจากพระภิกษุ สามเณรจ� ำ นวนมาก เนื่ อ งจากคุ ณ วุ ฒิ ที่ ไ ด้ รั บ สามารถน� ำ ไปใช้ ประกอบอาชีพได้เมื่อลาสิกขา อย่างไรก็ตามการศึกษาส่วนนี้ยังเป็น ไปตามความสมัครใจของแต่ละท่าน อีกด้านหนึ่งเป็นการศึกษาและฝึกปฏิบัติทางจิต ที่รู้จักกัน ทั่วไปในนามพระสายกรรมฐาน ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติหลากหลาย พอควรให้สามารถเลือกฝึกฝนได้ตามความถนัด ความสนใจ หรือ จริตนิสัยของแต่ละคน โดยแต่ละส�ำนักจะมีข้อวัตรปฏิบัติที่แตกต่าง กันไปในรายละเอียด อาจมีบางสายที่ไม่สนับสนุนให้ท�ำงานที่ต้อง คลุกคลีกับฆราวาสมากนัก ความหลากหลายด้ า นการศึ ก ษานี้ ช ่ ว ยให้ ที ม งานที่ ท� ำ งาน ช่วยเหลือผูป้ ว่ ยระยะท้ายต้องตระหนักว่าไม่ใช่พระภิกษุทกุ รูปจะถนัด หรือมีความสามารถในการช่วยเกื้อหนุนสุขภาวะทางปัญญาให้กับ ผู้ป่วยระยะท้ายได้ หรือแม้แต่พระภิกษุแต่ละรูปที่สนใจและมีความ พร้อมเข้ามาช่วยเหลืองานนี้ ก็ยังมีศักยภาพที่แตกต่างกัน การได้ ท�ำความรู้จักพระภิกษุจ�ำนวนที่มากขึ้นในพื้นที่ของตน และทราบ ความถนัดของแต่ละรูป จะช่วยให้มีช่องทางในการท�ำงานกับท่าน

����������������������������������.indd 179

9/12/16 6:55 PM


180

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

มากขึ้น บางรูปท่านอาจเหมาะเพียงการมารับบิณฑบาต/รับสังฆทาน จากผู้ป่วย บางท่านถนัดที่จะมาเทศน์ หรือมาเจริญพระพุทธมนต์ ให้ฟัง บางรูปอาจช่วยรับฟังปัญหา แนะทางออกจากความทุกข์ใน ชีวิต หรือน�ำทางก่อนจะสิ้นลมให้ได้ การมีข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ เปิดโอกาสให้ประสานกับพระที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายได้ดีขึ้น รวมทั้งมีแนวทางถวายความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ตรงกับความ ถนัดของท่านด้วย กิจของพระภิกษุ อีกประเด็นหนึง่ ทีผ่ ปู้ ระสานงานกับพระควรต้องทราบคือกิจวัตร ภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบของพระ เพื่อนิมนต์ท่านได้ถูก กาลเทศะ ในส่วนของกิจวัตรของพระในแต่ละวันจะประกอบด้วย การสวดมนต์ท�ำวัตรปฏิบัติจิตภาวนาร่วมกันทั้งวัด ซึ่งแล้วแต่ว่า แต่ละวัดจะนัดหมายกันในช่วงเวลาใด เช่น การท�ำวัตรเช้ามักท�ำ ก่อนออกบิณฑบาต แต่บางแห่งอาจท�ำในช่วงสายหลังจากฉันเช้า การท�ำวัตรเย็นส่วนใหญ่จะเริ่มตั้งแต่ ๑๕.๐๐ น. เรื่อยไปจนถึง ประมาณ ๒๐.๐๐ น. ตามแต่จะนัดหมายกันในวัด สังฆกรรมส�ำคัญที่ ต้องอยู่ปฏิบัติร่วมกันอีกอย่างหนึ่งคือการฟังสาธยายพระปาติโมกข์ ซึ่งท�ำในวันพระใหญ่คือวันขึ้น ๑๕ ค�่ำ และแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค�่ำ ส่วนเวลานัดหมายก็แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละวัด พระฝ่ายธรรมยุติกนิกายบางแห่งอาจก�ำหนดวันฟังสวดปาฏิโมกข์ ตามปฏิทินที่เคลื่อนไปจากวันพระตามปฏิทินปกติบ้าง

����������������������������������.indd 180

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

181

ในด้านการท�ำภัตกิจหรือการฉันภัตตาหารนั้นมีความแตกต่าง กันบ้าง ส่วนใหญ่มักฉันเช้าในช่วง ๗-๘ นาฬิกา และฉันเพลเวลา ๑๑ นาฬิกา รูปแบบมีทั้งการน�ำอาหารที่บิณฑบาตมารวมกันที่ศาลา หรือหอฉันแล้วลงมือฉันพร้อมกัน หรือใช้วิธีแยกต่างรูปต่างฉันอาหาร ที่ตนรับบิณฑบาตได้มาที่กุฏิของแต่ละท่าน ส่วนวัดที่ฉันมื้อเดียวซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นวัดป่ามักฉันรวมกันที่ศาลาในเวลาประมาณ ๘-๙ นาฬิกา นอกจากนี้อาจมีการปรับให้แตกต่างไปในช่วงเข้าพรรษา หรือวัน ท�ำบุญประเพณีใหญ่ๆ และแต่ละวัดอาจมีนัดหมายเวลาท�ำกิจกรรม ร่วมกันเป็นพิเศษอื่นๆ เช่น มีเวลากวาดลานวัด ท�ำความสะอาดบริเวณ วัดร่วมกันทุกวัน ทุกสัปดาห์ ในวันโกนหรือวันพระใหญ่ เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ก็เป็นกิจพิเศษ ทั้งกิจของสงฆ์ เช่น มีหน้าที่ ที่วัดมอบหมายให้ดูแลภายในวัด ไปกิจนิมนต์ของทางวัด เช่น เจริญ พระพุทธมนต์ ฉันเพล งานบุญ งานศพที่บ้านหรือในวัด หรืองาน ด้านการบริหารจัดการ-ปกครองสงฆ์ ที่เจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาส ต้องท�ำ และอีกส่วนหนึ่งเป็นกิจเฉพาะตัวที่พระบางรูปอาจต้องไป เรียน ไปสอน อบรมเยาวชน ไปเทศน์ หรือประชุมต่างๆ กิจของหมู่สงฆ์บางส่วนที่ฆราวาสอาจไม่ทราบหรือไม่คุ้นเคย ทีมงานควรต้องบันทึกไว้ให้ชัดเจนว่าวัดที่ตนประสานงานด้วยนั้น จัดขึ้นเมื่อใด เช่น วันส�ำคัญทางศาสนาหรือประเพณีท้องถิ่นที่พระ ต้องเข้าไปมีส่วนร่วม เช่น วันตรุษไทย สารทไทย ซึ่งไม่ได้ระบุไว้ใน ปฏิทินปัจจุบัน รวมทั้งวันทอดผ้าป่า ทอดกฐินประจ�ำปี วันสอบ นักธรรมตรี (มักสอบก่อนออกพรรษา ๑ สัปดาห์) นักธรรมโท-เอก-

����������������������������������.indd 181

9/12/16 6:55 PM


182

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ธรรมศึกษา (หลังลอยกระทง ๑ สัปดาห์) ช่วงสอบบาลี (แล้วแต่ ระดับ) แม้บางวัดไม่ได้ส่งพระเณรเข้าร่วมสอบ แต่อาจต้องส่งพระ ไปร่วมคุมสอบด้วย พุทธศาสนาของชาวบ้าน แม้พระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทยจะยึดมัน่ การปฏิบตั ิ ตามพระธรรมวินัยที่มีมาในพระไตรปิฎกเป็นหลัก แต่ในทางปฏิบัติ เนื่องจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวบ้านและชุมชน ท�ำให้วัตร ปฏิ บั ติ ต ลอดจนพิ ธี ก รรมต่ า งๆ ของพระและวั ด มี ก ารปรั บ ตั ว ให้ สอดคล้ อ งกั บ สภาพวิ ถี ชี วิ ต ความเชื่ อ และวั ฒ นธรรมในแต่ ล ะ ท้องถิ่น ตั้งแต่ส�ำเนียง ลีลาการสวด บทสวดมนต์ที่นิยมและได้รับ ความเชื่อถือศรัทธาของผู้คนในย่านนั้น หลายพื้นที่มีบทสวดหรือ การประกอบพิธีกรรมที่เจาะจงให้กับผู้ป่วยหนักซึ่งต้องให้พระหรือ พ่อหมอที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องนั้นท�ำโดยเฉพาะ มีพิธีกรรมที่ควร ปฏิบัติหรือไม่ควรปฏิบัติอันเป็นความเชื่อของท้องถิ่น การนิมนต์ พระหรือเจ้าพิธีในพื้นที่ที่รู้รายละเอียดชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ป่วย หากท่านทราบหลักในการเยี่ยมดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วย แล้ว ย่อมได้เปรียบในการน�ำไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับผู้ป่วยได้ มากกว่าพระที่ไม่ได้อยู่ในชุมชนนั้นๆ ซึ่งบางครั้งท่านอาจมีพิธีกรรม หรือรูปแบบการช่วยเหลือที่อาจดูแปลกไปบ้าง หากไม่มากไปจน เกินงามก็ไม่ควรขัดขวางหรือปฏิเสธความต้องการของผู้ป่วย

����������������������������������.indd 182

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

183

ความเชื่อ พิธีกรรม หรือข้อปฏิบัติต่อผู้ป่วยเหล่านี้ หลายอย่าง อาจไม่ ส อดคล้ อ งกั บ หลั ก การหรื อ แก่ น ของพระพุ ท ธศาสนา ซึ่ ง ทีมงานที่สนใจเรื่องศาสนาอาจรู้สึกล�ำบากใจหรือมองว่าเป็นเรื่อง ไร้สาระสิ้นเปลืองจนเกินเหตุ การแสดงความเห็นหรือให้ค�ำแนะน�ำ ที่เหมาะสมกับญาติหรือผู้ป่วยก็สามารถท�ำได้โดยชี้ผลดีผลเสียให้ เห็น แต่ควรท�ำโดยความเคารพในความเชื่อความศรัทธาที่แตกต่าง กันไปของแต่ละคน พึงตระหนักเสมอว่าช่วงเวลาที่วิกฤติในระยะ สุดท้ายแห่งชีวิตนี้ ไม่ใช่ช่วงเวลาที่จะปรับความเชื่อหรือแก้ไขความ เข้าใจที่ผิดพลาด แต่ควรใช้ความเชื่อพื้นฐานที่เขามีอยู่น�ำเขาสู่การ ปล่อยวาง เกิดความสุขใจ เข้าใกล้ความสงบ ความดีงามให้มากที่สุด และควรใช้เป็นช่วงเวลาที่ได้เรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่อยู่ข้างหลัง

ขั้นตอนการประสานงาน ด้ ว ยลั ก ษณะเฉพาะหลายประการที่ ก ล่ า วมาของพระภิ ก ษุ การประสานงานจึงมีหลากหลายลักษณะตามสภาพความแตกต่างของ พื้นที่ และความสะดวกของพระแต่ละรูป โดยแบ่งการประสานงาน เป็น ๒ แบบพื้นฐาน กล่าวคือ

����������������������������������.indd 183

9/12/16 6:55 PM


184

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

การประสานงานระดับบุคคล หากทีมงานพบว่าในพื้นที่มีพระภิกษุรูปใดที่สนใจ และพร้อม ที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยได้ ไม่ควรพลาดโอกาสที่จะชวนท่านมาร่วมงาน โดยค่อยๆ ศึกษาแนวทางการท�ำงานร่วมกับท่าน เปิดโอกาสให้ท่าน ท�ำงานที่ถนัด จัดสรรเวลาที่ท่านสะดวก เรียนรู้ในข้อจ�ำกัดที่อาจ มีอยู่และค่อยๆ หาทางปรับเข้าหากัน หรือเสริมทักษะที่จ�ำเป็นให้ ท่าน บางรูปมีความคล่องตัว มีความอิสระสูงในการท�ำงาน อาจ ไม่จ�ำเป็นที่จะต้องแจ้งให้เจ้าอาวาสวัดที่ท่านสังกัดทราบก็ได้ แต่ โดยส่วนใหญ่แล้วหากมีโอกาสทางโรงพยาบาลควรต้องกราบเรียน เจ้าอาวาสวัดให้ทราบ กล่าวชื่นชมท่านและขอบคุณทางวัดที่ให้ การช่วยเหลือโรงพยาบาลและผู้ป่วย ซึ่งอาจเป็นช่องทางในการ ประสานงานขอความร่วมมือในเรื่องอื่นๆ ต่อไปด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่ ว นนี้ ที ม งานสามารถปรึ ก ษาจากพระรู ป ที่ ป ระสงค์ จ ะเข้ า มา ช่วยงานโดยตรงว่าต้องการให้ประสานงานกับทางวัดในลักษณะใด การประสานงานผ่านเจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ การปกครองของคณะสงฆ์มีตั้งแต่ระดับผู้ช่วย/รองเจ้าอาวาส เจ้าอาวาส หรือประธานสงฆ์ในส�ำนักสงฆ์ ที่ดูแลพระในวัดหรือ ส�ำนักสงฆ์นั้นๆ ไล่เป็นล�ำดับเป็นเจ้าคณะต�ำบล เจ้าคณะอ�ำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค เจ้าคณะใหญ่ การจะประสานงานกับ พระผู้ปกครองในระดับใดก็ขึ้นกับว่าทางโรงพยาบาลต้องการท�ำงาน

����������������������������������.indd 184

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

185

ในพื้นที่ระดับใด เช่น หากเป็นงานในระดับโรงพยาบาลชุมชนที่มีวัด ใกล้โรงพยาบาลที่ประสานงานกันอยู่เป็นประจ�ำและคาดว่าจะมีพระ ที่สนใจท�ำงานอยู่ก็ปรึกษาเจ้าอาวาสที่วัดนั้น หากวัดใกล้โรงพยาบาล ไม่สะดวก หรือไม่คุ้นเคยมาก่อนก็อาจปรึกษากับเจ้าคณะต�ำบลที่ โรงพยาบาลตั้งอยู่ (ในบางพื้นที่ วัดของเจ้าคณะต�ำบลอาจไม่ได้ ตั้งอยู่ในต�ำบลนั้นๆ ก็ได้) หรือหากต้องการท�ำงานในระดับอ�ำเภอ ที่ครอบคลุมพื้นที่ต�ำบลอื่นๆ ที่มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจ�ำ ต�ำบลตั้งอยู่ ก็อาจปรึกษาในระดับเจ้าคณะอ�ำเภอเลยทีเดียวก็ได้ การขอความช่วยเหลือระดับเจ้าคณะเป็นไปได้หลายแบบ แต่ ส่วนใหญ่ผลจากการขอความร่วมมือจะปรากฏผลเป็นการสั่งการ จากเจ้าคณะฯ ไปยังเจ้าอาวาสวัดในพื้นที่เพื่อให้ความร่วมมือกับ ทางโรงพยาบาล เช่น ส่งพระไปร่วมประชุม ร่วมกิจกรรม เป็นต้น ซึง่ หลายครัง้ มักเป็นพระทีท่ ำ� งานใกล้ชดิ กับเจ้าคณะฯ หรือเจ้าอาวาส ซึ่งมักมีภาระมากอยู่แล้ว หรือไม่มีเวลาพอที่จะสนใจงานดูแลผู้ป่วย ระยะท้ายจริงจัง ท�ำให้ไม่สามารถท�ำงานได้อย่างต่อเนื่อง การเริ่มต้น ประสานงานด้วยการไปขอหารือหรือขอค�ำแนะน�ำในการท�ำงาน ด้านนี้ในภาพรวมจากท่านตั้งแต่ก่อนที่จะมีโครงการอบรมที่ต้องการ นิมนต์พระให้เข้าร่วม จะท�ำให้ท่านมีโอกาสได้เตรียมตัวทราบข้อมูล เบื้องต้น และเมื่อต้องมีกิจกรรมที่ต้องการให้พระมีส่วนร่วมค่อยแจ้ง ท่านอีกครั้ง ซึ่งท่านอาจช่วยหาพระที่สนใจท�ำงานด้านนี้มาช่วยได้ มากกว่า

����������������������������������.indd 185

9/12/16 6:55 PM


186

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

การท�ำงานในระดับประเทศควรต้องท�ำเรื่องผ่านมหาเถรสมาคม ขึ้นอยู่กับว่าผู้ประสานงานสะดวกที่จะน�ำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมฯ ผ่าน ช่องทางใด การส่งเรื่องไปยังส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่ง ท�ำหน้าที่เป็นกองงานเลขานุการของมหาเถรสมาคมถือเป็นช่องทาง ที่เป็นทางการ โดยแนวทางการท�ำงานของมหาเถรสมาคมส่วนใหญ่ มีลักษณะสั่งการหรือท�ำหนังสือขอความร่วมมือไปยังวัดต่างๆ ซึ่งจะ ได้ผลเพียงใดขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่จัดขึ้นรองรับการท�ำงาน และการ ประสานงานในระดับพื้นที่เป็นส�ำคัญ

การเตรียมรับรองพระ ด้วยเหตุทวี่ ถิ ชี วี ติ ของพระต้องอิงอยูต่ ามกรอบของพระธรรมวินยั เมื่อทีมงานต้องท�ำงานร่วมกับพระภิกษุจึงควรต้องทราบข้อที่พึง ปฏิบัติต่อท่านอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับพระวินัย เพื่อให้ท่าน สามารถร่วมงานได้อย่างไม่เก้อเขิน ไม่ต้องกังวลว่าจะมีความมัวหมอง ในศีลวัตร หรือถูกติเตียนจากผู้ที่พบเห็นหรือเพื่อนภิกษุด้วยกัน สิ่งที่ ทีมงานควรทราบและเตรียมการเพื่อรับรองท่าน ประกอบด้วย การนิมนต์ร่วมกิจกรรม การนิมนต์ให้พระเข้ามาร่วมกิจกรรมกับทางโรงพยาบาลท�ำได้ ในหลายรูปแบบ ขึ้นกับว่าต้องการนิมนต์ท่านมาในสถานการณ์ใด ให้ท่านท�ำอะไร เวลาใด นอกจากนี้ยังขึ้นกับฝ่ายพระด้วยว่าท่าน สะดวกอย่างไร ต้องแจ้งเจ้าอาวาสทุกครั้งหรือไม่ เป็นต้น

����������������������������������.indd 186

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

187

การนิมนต์ท่านให้มารับบิณฑบาตเป็นประจ�ำ เช่น หนึ่งวันต่อ สั ป ดาห์ จะนิ ม นต์ กี่ รู ป กิ จ ลั ก ษณะนี้ ค วรไปนิ ม นต์ ต ่ อ เจ้ า อาวาส หรือพระที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่รับกิจนิมนต์โดยตรง เพื่อให้ ลงเป็นกิจประจ�ำของวัดที่อาจมอบหมายรูปใดรูปหนึ่งดูแลหรือจัด ระบบเวียนกันไปท�ำหน้าที่นี้ หากมีหลายวัดที่โรงพยาบาลท�ำงาน ร่วมอยู่ด้วยก็อาจนิมนต์หมุนเวียนกันไปในแต่ละสัปดาห์ หากไม่ จ�ำเป็นต้องใช้พระจ�ำนวนมาก ในวันเดียวกันควรเป็นพระจากวัด เดียวกันทั้งหมด เพราะแต่ละวัดอาจมีวิธีรายละเอียดของการรับ บิณฑบาตที่แตกต่างกันไปบ้าง เช่น จะให้พรหรือไม่ ให้บทใด บางวัด อาจไม่รับปัจจัยที่โยมประสงค์จะใส่ในบาตรเลย เป็นต้น ซึ่งหาก นิมนต์มารับบาตรพร้อมกันจากต่างวัดอาจท�ำให้บางรูปตะขิดตะขวงใจ และฝ่ายญาติโยมก็วางตัวไม่ถูก การนิมนต์ให้มารับบิณฑบาตควรแจ้งรายละเอียดให้ทา่ นทราบ ตั้งแต่วันไปนิมนต์ เช่น เวลาที่ท่านควรมาถึงสถานที่นัดหมาย จะให้ รับบิณฑบาตอย่างไร รออยู่พื้นที่เดียว หรือเดินไปหอผู้ป่วยด้วย ซึ่ง โดยปกติควรให้กิจกรรมเสร็จภายในเวลา ๘.๓๐ น. ให้ท่านได้ฉันเช้า ในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งหากจ�ำเป็นต้องเริ่มสายหรือเสร็จกิจกรรมช้า ควรเตรียมของว่างให้ท่านฉันระหว่างรอเวลาก่อนเดินบิณฑบาต เมื่อ เสร็จกิจจะให้ท่านกลับวัดเลย หรือจะจัดให้ท่านฉันที่โรงพยาบาล ของที่ได้จากการบิณฑบาตจะให้ท่านน�ำกลับวัดหรือต้องการน�ำไปใช้ เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ก็ควรแจ้งให้ท่านทราบก่อน ซึ่งในกรณีหลังนี้ ควรต้องเตรียมจัดอาหารมื้อเพลถวายให้ท่านน�ำกลับไปฉันที่วัดด้วย

����������������������������������.indd 187

9/12/16 6:55 PM


188

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

(เนื่องจากโดยปกติพระจะแบ่งอาหารบิณฑบาตมื้อเช้าบางส่วนไว้ฉัน ตอนเพล) โดยปกติไม่ควรนิมนต์ให้พระมารับบิณฑบาตในช่วงเพล หรือเวลาอื่นเนื่องจากพระไทยจะรับบิณฑบาตวันละครั้งเดียวใน ตอนเช้า อาหารที่ถวายหลังเพลไปแล้ว ท่านไม่สามารถเก็บไว้ฉันใน วันต่อไปได้ (เว้นแต่ให้เจ้าหน้าที่น�ำไปมอบให้ทางโรงครัวของวัด จัดท�ำถวายในวันต่อไป) การนิมนต์พระมาแสดงธรรมเป็นอีกกิจกรรมที่มักจัดขึ้นใน โรงพยาบาล ซึ่งจัดในหลายรูปแบบทั้งจัดให้เฉพาะส�ำหรับเจ้าหน้าที่ ในหน่วยงาน จัดให้กับผู้ป่วยและญาติโดยตรง หรือเปิดกว้างให้ ผู ้ ส นใจทั่ ว ไปได้ เ ข้ า ฟั ง การนิ ม นต์ พ ระเพื่ อ การนี้ มั ก ระบุ หั ว ข้ อ ที่ ต้องการให้แสดงธรรม และเป็นการนิมนต์แบบเจาะจงตัว การแสดง ธรรมมีหลายรูปแบบควรด�ำเนินพิธีให้เหมาะสม หากต้องการให้ท่าน “แสดงพระธรรมเทศนา” ซึ่งเป็นการแสดงธรรมอย่างเป็นทางการ ควรจัดให้พระนั่งด้านล่างก่อน เมื่อได้เวลาจึงนิมนต์ขึ้นบนธรรมาสน์ ผู้ฟังไม่ว่าพระรูปอื่นหรือฆราวาสต้องแสดงความเคารพต่อพระธรรม ด้วยการนั่งพื้นหรือนั่งเก้าอี้ต�่ำกว่าพระผู้เทศน์ ต้องมีการอาราธนาธรรม พระผู้แสดงพระธรรมเทศนาจะตั้ง “นะโมฯ” ยกพระบาลีขึ้นอ้างใน เบื้องต้น แล้วเทศน์ไปตามเนื้อหา และเวลาที่ก�ำหนด จะไม่มีการ ถามตอบกั น บนธรรมาสน์ ส่ ว นรู ป แบบการแสดงธรรมที่ ไ ม่ เ ป็ น ทางการอื่นๆ แล้วแต่ทางผู้จัดจะใช้ชื่ออย่างไรที่เห็นว่าเหมาะสม ไม่ได้มีรูปแบบชัดเจน เช่น การบรรยายธรรม ปาฐกถาธรรม สนทนา ธรรม เสวนาธรรม ฯลฯ แต่ไม่ว่ารูปแบบใด การจัดให้พระ “นั่ง” จะ

����������������������������������.indd 188

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

189

เหมาะสมที่สุด ส่วนผู้ฟังจะนั่งหรือยืนก็ตามควรฟังด้วยความเคารพ ในพระธรรม หากนิมนต์เข้าร่วมกิจกรรมประชุม สัมมนา หรือจัดถวาย ความรู้ให้กับท่าน ควรท�ำหนังสือนิมนต์อย่างเป็นทางการ หากจัด เป็นการเฉพาะส�ำหรับพระควรจัดในวัด หรือสถานที่ที่เหมาะสม โดยเฉพาะหากต้องพักค้างแรม ที่พักควรแยกเป็นสัดส่วนไม่ควร ปะปนกับฆราวาสโดยเฉพาะสตรี แม้แยกห้องพักกันก็ตาม หากจัด รวมกับฆราวาสควรจัดที่นั่งเฉพาะให้พระนั่งด้านหน้า หากเป็นไปได้ ควรปรับตารางประชุมให้เอื้อต่อพระภิกษุ เช่น เวลารับประทาน อาหารกลางวันไม่ควรเกินกว่า ๑๑.๓๐ น. จัดเตรียมสถานที่ฉัน ผู้รับผิดชอบเรื่องการประเคนอาหาร และดูแลขณะที่พระฉัน แต่ หากไม่สามารถปรับตารางเวลาการประชุมได้ เมื่อถึงเวลาภัตกิจ ควรมีผู้มานิมนต์ท่านให้ออกไปฉันในห้องที่จัดเตรียมไว้ รวมทั้งควร จัดคนดูแลท่านเมื่อถึงเวลาพัก จัดเครื่องดื่ม (ปานะ) อาหารว่างให้ เหมาะกับเวลา เป็นต้น ส�ำหรับการนิมนต์พระเข้าเยี่ยมผู้ป่วยในโรงพยาบาล หาก ญาติต้องการนิมนต์พระที่รู้จักเป็นการส่วนตัวมา ทีมงานอาจเตรียม อ�ำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่ให้ตามสมควรที่ไม่รบกวนผู้ป่วย รายอื่น หากเป็นการนิมนต์โดยทีมงานซึ่งมักนิมนต์พระที่คุ้นเคยและ ได้ประสานงานไว้ในเบื้องต้นแล้ว รูปแบบมีทั้งการเยี่ยมเฉพาะราย และเยี่ยมรวมเป็นประจ�ำ ซึ่งการนิมนต์รูปแบบหลังนี้ควรจัดเป็น ตารางนิมนต์ที่ชัดเจนไว้ล่วงหน้า ซึ่งหากท่านติดภารกิจท่านจะหา

����������������������������������.indd 189

9/12/16 6:55 PM


190

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ตัวแทนมาท�ำหน้าที่แทน หากนิมนต์เป็นการเฉพาะส�ำหรับผู้ป่วยที่ ต้องการท�ำบุญ ต้องการพบพระ หรืออยู่ระยะวิกฤติที่ก�ำลังจะเสียชีวิต ซึ่งผู้ป่วยหรือญาติแจ้งไว้ว่าต้องการให้พระเข้าเยี่ยมโปรด กรณีนี้ควร นิมนต์พระในเครือข่ายทีม่ ปี ระสบการณ์และคุน้ เคยกับทีมดูแลอยูบ่ า้ ง ซึ่งมักเป็นการนิมนต์อย่างกะทันหัน จึงควรต้องมีพระในเครือข่าย รูปอื่นไว้แทนด้วย การรับ-ส่ง ดูแลพระ เป็นการดีที่สุดหากทางโรงพยาบาลสามารถจัดรถไปรับพระ มายังโรงพยาบาลหรือไปบ้านผู้ป่วยที่จะเยี่ยม เว้นแต่วัดอยู่ใกล้พอ ที่จะเดินมาได้สะดวก หรือทางวัด/พระท่านมีความพร้อมเรื่องรถ มากกว่า การน�ำรถส่วนตัวไปรับควรเป็นรถที่มีผู้ชายขับ หรืออย่าง น้อยต้องมีผู้ชายที่โตพอพูดคุยรู้เรื่องนั่งอยู่ในรถด้วย เพื่อป้องกัน อาบัติและข้อครหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับพระและผู้ที่ไปรับ ควร สอบถามความสมัครใจของท่านไว้ก่อนหากจ�ำเป็นต้องให้มาเยี่ยม ผู้ป่วยยามวิกาล โดยเฉพาะช่วงเวลาก่อนรุ่งเช้าเพราะพระต้องรักษา ผ้าครอง ต้องเตรียมบิณฑบาต ยิ่งในช่วงพรรษาต้องมั่นใจว่าท่าน ต้องสามารถกลับถึงวัดก่อนอรุณ (เช้าวันใหม่) ป้องกันมิให้พรรษาขาด เมื่อท่านมาถึงควรให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้ป่วย หากยังไม่ พร้อมที่จะให้เข้าเยี่ยมผู้ป่วย เช่น ยังมีทีมผู้รักษาให้การช่วยเหลือ ผู้ป่วยอยู่ หรือผู้ป่วยยังแต่งกายไม่รัดกุม ทีมงานควรจัดที่รับรองให้ พระได้นั่งพัก เมื่อท่านจะเข้าเยี่ยมควรเตรียมพื้นที่ไว้คร่าวๆ ว่าควร

����������������������������������.indd 190

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

191

ให้พระอยู่ในต�ำแหน่งใดจะเหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย มากที่สุด และในขณะที่ท่านเยี่ยมผู้ป่วยหญิงในห้องหรือในพื้นที่ ที่กั้นม่านไว้มิดชิดควรจัดให้มีผู้ชายอยู่ด้วย แม้จะมีญาติและเจ้าหน้าที่ ผู้หญิงอยู่กันหลายคนในนั้นแล้วก็ตาม การดูแลปัจจัยและสิ่งของถวายพระ ทั้งๆ ที่ไม่ใช่สิ่งจ�ำเป็น แต่ทุกวันนี้ถือปฏิบัติจนเป็นเรื่องปกติที่ ผู้ป่วยหรือญาติจะถวายสิ่งของ เครื่องสังฆทาน หรือปัจจัย (เงิน) แก่พระที่มาเยี่ยมผู้ป่วย เพราะถือเป็นโอกาสให้ผู้ป่วยได้ท�ำบุญ ได้ สะเดาะเคราะห์ หรืออุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรที่เชื่อกันว่า อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังการเจ็บป่วยโดยหลักการสิ่งของ ที่ญาติโยมถวายทั้งหมดย่อมตกเป็นของพระรูปนั้น ซึ่งท่านจะน�ำไป ใช้เองหรือมอบให้ผู้ใดก็เป็นสิทธิของท่าน หรือในกรณีที่ถวายเป็น สังฆทานของทั้งหมดนั้นถือเป็นของหมู่สงฆ์ ท่านเป็นเพียงตัวแทน สงฆ์ที่ไปรับมาจะต้องน�ำสิ่งของนั้นไปให้หมู่สงฆ์ การจะน�ำไปให้ใคร ต่อไม่ใช่สิทธิของท่านเพียงผู้เดียวแต่ต้องได้รับอนุญาตจากหมู่สงฆ์ ก่อน อย่างไรก็ตามในแต่ละวัดท่านมักมีข้อตกลงภายในวัดอยู่ว่า จะจัดการกับสังฆทานอย่างไร เช่น น�ำปัจจัยและสิ่งของทั้งหมดมา รวมไว้ที่เดียวท่านใดต้องการใช้สิ่งใดให้มาเบิก ส่วนที่เกินจ�ำเป็นเก็บ ไว้ถวายวัดอื่น หรือน�ำไปบริจาคช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน บางแห่ง ไม่อยากให้มีภาระในการดูแลของส่วนกลางก็อาจตกลงกันว่าปัจจัย และสิ่งของที่พระรูปใดรับสังฆทานมาให้เป็นสิทธิ์ของพระรูปนั้นเลย เป็นต้น

����������������������������������.indd 191

9/12/16 6:55 PM


192

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ในกรณีที่นิมนต์พระมาดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล ทีมงานควร หารือเรื่องนี้กับพระให้ได้ข้อตกลงที่ชัดเจนว่าจะให้ด�ำเนินการเรื่อง สิ่งของที่ได้รับจากการท�ำบุญและปัจจัย (เงิน) ที่ผู้ป่วยหรือญาติ ต้องการถวายอย่างไร เนื่องจากเป็นการท�ำบุญในสถานการณ์ที่ต่าง ไปจากปกติ เป็นเรื่องที่อ่อนไหวและมีผลกระทบหลายด้านทั้งต่อ พระ ผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ และภาพลักษณ์ของโรงพยาบาล/หน่วยงาน เมื่อตกลงกันได้ข้อยุติแล้วควรใช้เป็นแบบแผนเดียวกันกับพระทุกรูป ที่เข้าเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความลักลั่นที่อาจน�ำไปสู่ ปัญหาในอนาคตได้ เงินเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควรกับพระ เป็นข้อห้ามในพระวินัย แม้จะมีเหตุผลมากมายที่ยกขึ้นมาเพื่อสร้างความชอบธรรมในการรับ และถือครองปัจจัย เช่น เป็นความต้องการของญาติโยมหรือตัว ผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยไม่เดือดร้อน พระมีความจ�ำเป็นต้องใช้จ่าย ฯลฯ แต่เนือ่ งจากแต่ละโรงพยาบาลอาจมีพระหลายรูปอาสามาปฏิบตั งิ าน ร่วมกัน ซึ่งแต่ละรูปย่อมมีความเคร่งครัดในพระวินัยต่างกันบ้าง อย่างน้อยการมีข้อตกลงเรื่องเงินร่วมกันย่อมท�ำให้เกิดความสบายใจ และไว้วางใจที่จะท�ำงานร่วมกันมากขึ้น ผู้ป่วย/ญาติแม้จะมีความ เต็มใจที่จะถวายปัจจัยให้พระ แต่หลายคนอาจต้องเดือดร้อนเพิ่มขึ้น เพราะขณะที่ป่วยก็มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นมากมาย ในขณะที่รายได้มัก ลดลงเพราะทั้งผู้ป่วยและคนดูแลไม่ได้ท�ำงานหรือท�ำได้ไม่เต็มที่ ผู้ที่ ไม่ค่อยมีความศรัทธาเลื่อมใสอยู่แล้วอาจมองหรือพูดไปในท�ำนองว่า พระหากินกับผู้ป่วยหรือคนใกล้ตาย โดยเจ้าหน้าที่และโรงพยาบาล อาจถูกข้อกล่าวหาว่าร่วมมือกับพระหาเงินจากผู้ที่ก�ำลังทุกข์

����������������������������������.indd 192

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

193

การที่ พ ระปฏิ เ สธไม่ รั บ ปั จ จั ย จากผู ้ ป ่ ว ยหรื อ ญาติ ทุ ก กรณี ไม่ว่าการเยี่ยมในโรงพยาบาลหรือในชุมชนที่บ้านผู้ป่วย โดยทาง โรงพยาบาลควรประกาศแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันอย่างเปิดเผย นอกจาก จะท�ำให้เกิดความถูกต้องตามพระวินัย เกิดความชัดเจนและความ สบายใจกับทุกฝ่ายแล้ว ยังช่วยลดค�ำครหาที่อาจเกิดขึ้นต่อทุกฝ่าย ช่วยสร้างคุณค่า ภาพลักษณ์ที่ดี และความปีติภาคภูมิใจให้กับพระ ทุกรูปที่เสียสละเข้ามาท�ำหน้าที่นี้ ช่วยกีดกันพระที่เข้ามาแสวงหา ผลประโยชน์จากการท�ำงานออกไปได้ จุดส�ำคัญที่สุดคือผู้ดูแลและ ญาติเพิ่มความศรัทธาเลื่อมใสต่อพระ ช่วยให้ผู้ป่วยทุกคนที่ต้องการ มีพระเป็นที่พึ่งกล้าเอ่ยปากนิมนต์ ท�ำให้เข้าถึงพระได้โดยไม่มีเรื่อง เงินทองมาเป็นเงื่อนไข ส่วนเรื่องสิ่งของที่ถวายรวมทั้งเครื่องสังฆทาน ในเบื้องต้น ทีมงานควรถวายให้พระท่านน�ำกลับไปวัดด้วย โดยเฉพาะในส่วนที่ ถวายเป็นสังฆทาน แต่หากของเหล่านั้นทางวัดมีเพียงพออยู่แล้ว ท่านอาจแจ้งขออนุญาตจากหมู่สงฆ์ว่าขอมอบสิ่งของที่ได้รับจาก การเยี่ยมผู้ป่วยให้ทางโรงพยาบาลน�ำไปใช้ประโยชน์ต่อผู้ป่วยรายอื่นๆ ต่อไป ซึ่งควรเป็นเงื่อนไขของพระแต่ละรูปแต่ละวัดที่อาจมีความ จ�ำเป็นแตกต่างกันในการใช้สิ่งของต่างๆ อย่างไรก็ตามทีมงานควร แจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่าแม้แต่สิ่งของหรือเครื่องสังฆทานก็ไม่ใช่เงื่อนไข ที่จะต้องจัดหามาเตรียมไว้เมื่อมีพระมาเยี่ยม

����������������������������������.indd 193

9/12/16 6:55 PM


194

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

เมื่อจะนิมนต์พระให้ไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน นอกจากสอบถาม ถึงความสมัครใจของผู้ป่วยและญาติก่อนแล้ว ควรนัดหมายวันเวลา ที่สะดวกส�ำหรับทั้งผู้ป่วยและพระ สอบถามเรื่องการรับส่งพระมา ยังบ้านผู้ป่วย พระในวัดของชุมชนที่ผู้ป่วยและญาติให้ความเคารพ ควรได้รับการนิมนต์ก่อน หากท่านไม่พร้อมหรือท่านเคยมาเยี่ยม แล้ว ต้องการให้พระที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลจิตใจผู้ป่วยมา ช่วยจึงค่อยนิมนต์นัดทีมพระอาสาของโรงพยาบาล การได้เข้าเยี่ยม ผู้ป่วยพร้อมกับพระในพื้นที่อาจช่วยให้ได้พบพระที่มีความสามารถ หรืออย่างน้อยมีใจที่อยากช่วยงานดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้นด้วย การถวายความรู้ การถวายความรูแ้ ก่พระทีอ่ าสาเข้ามาเป็นทีมช่วยเหลือมิตทิ าง ปัญญาของผู้ป่วย เพื่อให้ท่านมีความมั่นใจยิ่งขึ้นในการดูแลผู้ป่วย มีความส�ำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดระบบดูแลความสะดวกให้กับ ท่าน แม้พระจ�ำนวนไม่น้อยที่มีความรู้ทางธรรม มีความสามารถใน การสอน มีประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมมาก หรือแม้แต่พระ ทั่วๆ ไปที่ท่านด�ำรงตนอย่างเหมาะสมในสมณเพศ จะสามารถให้ การช่วยเหลือ ให้ก�ำลังใจ หรือดูแลมิติทางปัญญาผู้ป่วยได้อยู่แล้ว แต่การมีโอกาสได้ฝึกฝนเรียนรู้ธรรมชาติของผู้ป่วยระยะท้าย แนวทาง ทั่ ว ไปที่ แ พทย์ ใ ห้ ก ารช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ่ ว ย ความรู ้ เ กี่ ย วกั บ ระบบการ ท�ำงานของโรงพยาบาล รวมทั้งหลักการพื้นฐานในการปลดเปลื้อง ความทุกข์ และพัฒนาปัญญาของผู้ป่วยด้วย ก็จะท�ำให้ท่านท�ำงาน ได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น

����������������������������������.indd 194

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

195

การถวายความรู้ในเบื้องต้น อาจเริ่มด้วยการพาเยี่ยมชมดูการ ท�ำงานของโรงพยาบาล ให้เข้าใจการท�ำงานของเจ้าหน้าที่ พร้อมๆ กับ เห็นสภาพที่แท้จริงของผู้ป่วยในแผนกต่างๆ เห็นความทุกข์ของญาติ ที่ดูแล พูดคุยให้ข้อมูลและให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่าท่านมีคุณค่าต่อ ผู้ป่วยและญาติอย่างไร อาจถวายหนังสือ “คู่มือพระภิกษุเพื่อการ ดูแลภิกษุอาพาธและผู้ป่วยระยะสุดท้าย”๑๘ ให้ท่านได้ศึกษาเป็น เบื้องต้นก่อน หากทางโรงพยาบาลสามารถจัดอบรมถวายความรู้ ให้กับท่านได้เอง หรืออาจประสานระดับเครือข่ายโรงพยาบาลใน พื้นที่ให้ร่วมกันจัดอบรมถวายความรู้ให้กับท่าน (อาจจัดร่วมกับ การอบรมให้จิตอาสาด้วย) จะช่วยให้ท่านได้มีโอกาสเรียนรู้มากขึ้น รวมทั้ ง มี ค วามคุ ้ น เคยกั บ ที ม งานและเป็ น โอกาสที่ จ ะได้ รู ้ จั ก กั บ พระภิกษุที่ท�ำงานด้านนี้ในพื้นที่อื่น ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเกื้อหนุนกันอย่างเป็นธรรมชาติ สิ่งตอบแทนพระอาสา สิ่งหนึ่งที่ทีมงานมักมีความกังวลอยู่เสมอว่าจะให้ค่าตอบแทน แก่พระที่อาสาเข้ามาช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อจัดท�ำ เป็นโครงการทีไ่ ด้งบสนับสนุนและสามารถตัง้ งบค่าตอบแทนสนับสนุน แก่เจ้าหน้าที่หรือจิตอาสาที่มาช่วยงานได้ โดยพื้นฐานแล้วพระที่ อาสาเข้ า มาช่ ว ยเหลื อ งานดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยระยะท้ า ยท่ า นมุ ่ ง ท� ำ ด้ ว ย ๑๘

จัดพิมพ์โดย เครือข่ายพุทธิกา สนใจติดต่อ โทร. ๐๒ ๘๘๖ ๐๘๖๓, b_netmail@ yahoo.com

����������������������������������.indd 195

9/12/16 6:55 PM


196

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ความกรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ที่ก�ำลังมีความทุกข์เป็นส�ำคัญ ไม่ได้ หวังผลตอบแทนแต่อย่างใด โดยเฉพาะค่าตอบแทนที่เป็นเงิน การ ถวายเงินกับพระที่ช่วยงานอาจกลายเป็นจุดที่สร้างปัญหาขึ้นมาใน อนาคตได้ สิ่ ง ตอบแทนที่ ดี ที่ สุ ด ที่ ค วรมอบให้ กั บ ท่ า นคื อ การให้ ค วาม เคารพ ช่วยดูแล และอ�ำนวยความสะดวกให้กับท่านเมื่อท่านมาที่ โรงพยาบาลหรือในชุมชนก็ตาม ให้เกียรติยกย่องในโอกาสที่เหมาะสม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง รวมทั้งการจัดหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการ ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือหนังสือที่เป็นประโยชน์ต่อท่าน รวมทั้งอาจ ส่งท่านไปร่วมประชุม อบรมเสริมทักษะความรู้ในด้านต่างๆ ที่ท่าน สนใจก็เป็นสิ่งที่ทีมงานสามารถตอบแทนแก่ท่านได้ การตอบแทน เป็นเงินอาจท�ำได้ เช่น กรณีที่ท่านจัดหารถมาโรงพยาบาลเอง โดย อาจช่วยเป็นค่าน�้ำมันหรือเป็นเบี้ยเลี้ยงคนขับตามความเหมาะสม เป็นต้น

บทบาทของพระในการดูแล สุขภาวะทางปัญญาผู้ป่วยระยะท้าย พระสงฆ์มีสถานภาพและภาพลักษณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับศรัทธา ในพระพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น แม้เพียงการปรากฏตัวของ พระภิ ก ษุ ส งฆ์ ใ นอาการส� ำ รวมระวั ง ก็ ยั ง ความปี ติ ม าสู ่ ผู ้ มี ศ รั ท ธา ได้มาก ยิ่งหากเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบศึกษาธรรมมาดีและ มีพนื้ ฐานแนวทางการดูแลผูป้ ว่ ยระยะสุดท้ายมาบ้างก็จะยิง่ ช่วยผูป้ ว่ ย ได้มาก ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าเมื่อพระมีความประสงค์จะเข้าเยี่ยม

����������������������������������.indd 196

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

197

ผู้ป่วย (กรณีเป็นพระอาสาของโรงพยาบาล) หรือแม้ผู้ป่วยต้องการ ให้มีพระมาเยี่ยม ต้องนัดหมายแจ้งให้ผู้ป่วยและญาติได้ทราบเพื่อ แต่งกาย เตรียมตัว เตรียมจิตให้พร้อม ถ้าผู้ป่วยไม่สะดวกใจก็ยัง ไม่ควรจัดให้เยี่ยม บทบาทที่พระจะช่วยพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาที่จะกล่าว ต่อไปนี้ พระภิกษุแต่ละรูปอาจมีศักยภาพในการช่วยได้แตกต่างกัน อีกทั้งยังขึ้นกับตัวผู้ป่วยและสถานการณ์ในขณะนั้นด้วยว่าต้องการ ให้พระช่วยในเรื่องใดบ้าง จึงควรน�ำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบท ของผู ้ ป ่ ว ยแต่ ล ะราย ควรถวายข้ อ มู ล พื้ น ฐานและความต้ อ งการ ของผู้ป่วยให้พระได้ทราบด้วย เพื่อท่านจะได้ให้ความช่วยเหลือได้ เหมาะสม ส่งเสริมกำ�ลังใจ ดังที่กล่าวแล้วว่าเพียงพระที่มีสมณสารูปงดงามสงบเรียบร้อย แม้จะไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลยพระภิกษุก็ช่วยให้ผู้ป่วยมีก�ำลังใจ ขึ้นได้ จนชาวพุทธเรามีค�ำพูดติดปากว่า “พระมาโปรด” โดยท่าน อาจพูดให้ก�ำลังใจ ให้คลายความกลัว ความวิตกกังวลในเรื่องต่างๆ ท่ า นอาจสวดมนต์ บ ทอั น เป็ น มงคลให้ ผู ้ ป ่ ว ยฟั ง ซึ่ ง มี ห ลายบทที่ เหมาะกับผู้ป่วย เช่น บทสรรเสริญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ โพชฌงคปริตร ชัยมงคลคาถา ชินบัญชร คาถาโพธิบาท ฯลฯ ขึ้นกับ เวลา สถานการณ์ และความเชี่ยวชาญของพระแต่ละรูป นอกจากนี้ ในแต่ละท้องถิ่นอาจมีคาถาบทเฉพาะที่นิยมสวดให้กับผู้ป่วย พระ

����������������������������������.indd 197

9/12/16 6:55 PM


198

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

อาจมีพิธีกรรม เช่น เป่ากระหม่อม เป่าบาดแผล หรือบริเวณที่ เจ็บปวด (ถ้าต�ำแหน่งเหมาะสม) ให้คาถาไว้บริกรรม หรืออาจมี วัตถุมงคลเตรียมไว้มอบให้เป็นก�ำลังใจแก่ผู้ป่วย เช่น สายสิญจน์ ผูกข้อมือ พระเครื่อง น�้ำมนต์ เป็นต้น การเรียกสติ ดึงศรัทธา เป็นไปได้ทผี่ ปู้ ว่ ยจ�ำนวนหนึง่ จะห่วงอาการของตนหรือกังวลกับ เรื่องต่างๆ จนขาดสติ ลืมที่จะกลับมาดูจิตใจตนเอง ทั้งๆ ที่อาจเป็น ผู้ที่ปฏิบัติธรรมหรือท�ำบุญมามากก็ตาม การที่มี “พระมาโปรด” เป็นการเรียกสติดงึ ศรัทธาของผูป้ ว่ ยให้กลับมาอยูก่ บั ปัจจุบนั ได้งา่ ยขึน้ ยิ่งหากพระท่านสามารถพูดโน้มน้าวชวนให้ระลึกถึงกุศลกรรมหรือ “บุญ” ที่เคยท�ำมาในช่วงต่างๆ ของชีวิต ซึ่งแม้แต่ผู้ที่ไม่เคยใส่บาตร หรือเข้าวัดเลยก็มีโอกาสสร้างบุญได้อีกมากมาย (ในบุญกิริยา ๑๐) หรือมากกว่าคนที่ใส่บาตรทุกวันก็ได้ ซึ่งพระสามารถหยิบยกมา แสดงให้ผู้ป่วย รวมทั้งยังแนะน�ำวิธีการท�ำบุญให้ได้แม้ขณะที่นอน ป่วยหนักอยู่นี้ดังที่จะกล่าวในหัวข้อต่อไป เปิดโอกาสให้ได้ทำ�บุญ ผู้ป่วยจ�ำนวนมากที่คุ้นเคยกับการถวายทาน เช่น ไปวัด ใส่บาตร ถวายสังฆทาน เมื่อป่วยอยู่ย่อมต้องการที่จะได้ถวายทานดังที่เคย ท�ำมา การที่มีพระมาโปรดถึงข้างเตียงเป็นโอกาสพิเศษที่สร้างความ ปลื้มปีติให้กับผู้ป่วยได้มาก แต่ทั้งนี้ควรประสานงานกับพระให้ชัดว่า ควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสม เช่น การให้พระมารับบิณฑบาต

����������������������������������.indd 198

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

199

ที่ข้างเตียงผู้ป่วยจะเหมาะสมหรือไม่ก็ขึ้นกับหลายเงื่อนไข แต่ก็มี ทางออกหลายวิธี เช่น ให้ผู้ป่วยจบแล้วลูกหลานหรือเจ้าหน้าที่น�ำไป ใส่บาตรให้ (ปัจจุบันสามารถถ่ายรูป ส่งวิดีโอมาให้ผู้ป่วยดูว่าของที่ เขายกขึ้น “จบ” นั้นได้น�ำไปใส่บาตรแล้ว) การถวายทานกับพระยังท�ำได้อีกหลายรูปแบบที่ไม่ยุ่งยาก เช่น การถวายสิ่งของ ท�ำบังสุกุล ถวายสังฆทาน หรือแม้แต่ปัจจัย (เงิน) ซึ่งหากเป็นพระที่เป็นจิตอาสาร่วมกับโรงพยาบาลอยู่แล้ว อาจ ร่วมกันหาเงื่อนไขที่ท�ำให้การท�ำบุญนั้นเกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น เช่น เป็นสังฆทานเพื่อผู้ป่วยอนาถา สังฆทานเพื่อผู้ป่วยเด็ก ถวายสิ่งของ ที่เป็นประโยชน์ต่อโรงพยาบาล วัด หรือแหล่งสาธารณกุศลอื่นๆ การท�ำบุญยังท�ำด้วยวิธีการอื่นที่นอกเหนือจากวัตถุทาน เช่น การให้ ใช้โอกาสที่ป่วยนี้รับศีลไปรักษาให้บริสุทธิ์ได้ง่าย รวมทั้งการสวดมนต์ ภาวนาให้ผู้ป่วยได้ท�ำบุญต่อเนื่องไปอีกแม้พระจะกลับแล้วก็ตาม เปิดโอกาสให้อภัย/ขออโหสิกรรม/เปลื้องตราบาป การให้อภัยแก่ผู้ที่เคยล่วงเกินเราไว้ก็ถือเป็นทานอันยิ่งใหญ่ ที่เรียกว่าอภัยทาน ซึ่งพระสามารถช่วยย�้ำผู้ป่วยอีกครั้ง ให้เห็นถึง อานิสงส์แห่งการให้อภัยทาน ให้จิตใจอ่อนโยนลงหรือหากเป็นเรื่อง ที่อภัยได้ยาก หากสถานการณ์นั้นเหมาะสมพระก็สามารถ “ขอ บิณฑบาต” ความโกรธแค้นเคืองนั้นจากผู้ป่วย ซึ่งอาจท�ำให้เป็น รูปธรรมเชิงสัญลักษณ์ เช่นให้เขียนว่า “ขอให้อภัยแก่...” แล้ว หย่อนลงในบาตร หรือถวายให้พระรับไป มีการกรวดน�้ำให้พร ก็ช่วย

����������������������������������.indd 199

9/12/16 6:55 PM


200

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ปลดเปลื้ อ งสิ่ ง ติ ด ค้ า งในใจผู ้ ป ่ ว ยออกไปได้ พระยั ง สามารถช่ ว ย โน้มน้าวให้ผู้ป่วยขออโหสิกรรมจากผู้ที่เคยไปล่วงเกินเขาไว้ ซึ่งหาก ไม่สามารถไปขออโหสิกรรมกับผู้นั้นได้จริงไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น ไม่สามารถตามพบตัวได้ ผู้นั้นไม่ยอมมาหาผู้ป่วย พระอาจเป็น ตัวแทนรับค�ำขอโทษขออโหสิกรรมจากผู้ป่วย ซึ่งควรช่วยกันคิด กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ขึ้นมาให้ผู้ป่วยสัมผัสสิ่งนั้นได้ง่ายขึ้น แล้ว กรวดน�้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ จากนั้นจึงรับพรจากพระก็ช่วยปลดเปลื้อง ตราบาปในชีวิตของผู้ป่วยลงได้เช่นกัน ให้ธรรมะ นำ�สมาธิ น้อมนำ�ใจให้สงบ กิจกรรมที่พระท�ำได้ดีกว่าผู้ช่วยเหลืออื่นๆ อีกอย่างหนึ่งคือ การให้ธรรมะ ให้แง่คิด ให้หลักธรรมคลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ ตนผูกพันอยู่ แล้วดึงจิตของผู้ป่วยให้อยู่กับปัจจุบันโดยไม่ต้องกังวล กับชีวิตในอนาคต ซึ่งสามารถกล่าวให้เหมาะกับระดับคุณภาพทาง ปัญญาของผู้ป่วยโดยเฉพาะในผู้ที่สนใจปฏิบัติธรรมมามาก พระคือ ผู้เหมาะสมที่สุดที่จะกล่าวให้เขามีปัญญาคลายจากความยึดมั่นใน สิ่งทั้งปวงลงได้ แม้จะเป็นเพียงช่วงขณะเดียวก็ยังมีอานิสงส์มาก ขณะที่ผู้ป่วยซึ่งอาจไม่เคยสนใจพระ ไม่เคยท�ำบุญกุศลเลย หรืออาจ ถึงขั้นท�ำชั่วมาตลอดชีวิต หากยังมีสติสมบูรณ์อยู่ขณะใกล้ตายมัก ส�ำนึกได้ การมีพระมาโปรดขณะนั้น ก็อาจดึงจิตของบางคนให้สงบ ลงได้

����������������������������������.indd 200

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

201

นำ�ทางในวาระสุดท้าย โดยเฉพาะในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต พระที่มีประสบการณ์หรือ ที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้วคือผู้ที่มีความเหมาะสมในการกล่าวน�ำทาง ผู ้ ป ่ ว ยได้ ดี ก ว่ า ผู ้ อื่ น เพราะนอกเหนื อ จากความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข อง ผ้ากาสาวพัสตร์ที่ห่มอยู่ และพลังกุศลกรรมความเมตตาสมาธิที่ ท่ า นมี แ ล้ ว พระยั ง สามารถท� ำ กิ จ กรรมอั น เกิ ด ประโยชน์ ต ่ อ การ เกื้อหนุนทางปัญญาได้อย่างหลากหลาย ณ ขณะนั้น เช่น การน�ำ สมาธิ การสวดมนต์ การสาธยายธรรม การยกพุทธพจน์มาอ้าง การ น�ำแผ่เมตตา การกล่าวน�ำให้ปล่อยวางสละความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง ฯลฯ ซึ่งนอกจากจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาส ให้ญาติได้ศึกษาเรียนรู้ธรรมะไปพร้อมกับผู้ป่วยขณะนั้นด้วย ช่วยให้ ได้คิด ไม่รู้สึกเศร้าโศกเสียใจต่อการพลัดพรากจากบุคคลอันเป็น ที่รักจนเกินไป ข้อพึงพิจารณา หากผู้ป่วยไม่ได้อยู่ที่บ้านหรือห้องพิเศษที่เป็นสัดส่วน ควร ค�ำนึงถึงผู้ป่วยอื่นและญาติที่อยู่ในบริเวณนั้นด้วยว่าจะรู้สึกอย่างไร ซึ่งอาจมีทั้งผู้ที่กลัวไปจนถึงผู้ที่รู้สึกประทับใจต้องการมีโอกาสได้ คุยกับพระบ้าง (แม้ตนเองยังไม่ใช่ผู้ป่วยระยะท้าย) หรือต้องการ มีส่วนร่วมในการท�ำบุญกับพระที่มาเยี่ยมด้วย ผู้ดูแลควรดูแลจิตใจ ผู้ป่วยเหล่านั้นด้วยการเปิดโอกาสให้พระไปประพรมน�้ำพระพุทธมนต์ ให้ผู้ป่วยรายอื่นๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ญาติ ฯลฯ

����������������������������������.indd 201

9/12/16 6:55 PM


202

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ขณะเดียวกันก็ต้องระวังเรื่องการท�ำบุญ ซึ่งเป็นที่คาดหวัง ได้ ว ่ า ต้ อ งมี ผู ้ ป ่ ว ยและญาติ จ� ำ นวนหนึ่ ง ที่ ต ้ อ งการร่ ว มท� ำ บุ ญ โดย ถวายปัจจัย (เงิน) ให้พระ ซึ่งควรเปิดโอกาสให้พระชี้แจงหรือหา โอกาสชี้แจงแทนพระว่าจะรับปัจจัยเหล่านี้หรือไม่ หรือรับแล้วจะ น�ำไปใช้ประโยชน์อย่างไรต่อไป เพื่อเสริมสร้างความศรัทธาเลื่อมใส ให้ผู้ท�ำบุญมีใจเป็นกุศลมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องออกตัวพร้อมทั้ง แนะน�ำวิธีการอื่นให้กับผู้ป่วยหรือญาติอีกไม่น้อยที่อยากท�ำบุญแต่ ไม่ มี ท รั พ ย์ เ พี ย งพอ ให้ ไ ด้ มี โ อกาสท� ำ บุ ญ ถวายทานด้ ว ย เช่ น เปิดโอกาสให้พระได้แสดงธรรมสั้นๆ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่อง บุญ ให้ผู้ป่วยและญาติตั้งสัจจะท�ำความดีถวายพระ แทนการถวาย ปัจจัย พร้อมทั้งให้รับศีล กรวดน�้ำอุทิศส่วนกุศล รับพรไปพร้อมกับ ผู้ที่ถวายเป็นปัจจัย การท�ำเช่นนี้ให้เป็นกิจกรรมปกตินอกจากจะ ช่วยให้คนเข้าใจเรื่องการท�ำบุญอย่างถูกต้องแล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วย อนาถาได้ มี โ อกาสท� ำ บุ ญ ในขณะที่ ต นก� ำ ลั ง ทุ ก ข์ จ ากพยาธิ ภั ย ที่ ส�ำคัญที่สุดคือช่วยให้พระภิกษุสงฆ์ได้รับการยอมรับ ยกระดับและ เรี ย กศรั ท ธาต่ อ พระสงฆ์ แ ละพระศาสนาให้ ก ลั บ คื น มาสู ่ สั ง คม ช่วยป้องกันมิให้พระภิกษุผู้ปรารถนาลาภสักการะเป็นหลัก หรือมี วัตถุประสงค์ที่ไม่เหมาะสมอื่นๆ แอบแฝงเข้ามาในระบบการดูแล สุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยได้ด้วย

����������������������������������.indd 202

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

203

บทสรุป จากที่กล่าวมาในบทนี้จะเห็นได้ว่า การเปิดโอกาสให้พระภิกษุ ได้เข้ามามีบทบาทร่วมดูแลผู้ป่วยระยะท้ายด้วยจะเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งทั้งต่อผู้ป่วย ญาติ และตัวเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเอง ความรู้สึก ยุ่งยาก ไม่คุ้นเคย ท�ำตัวไม่ถูก หรือกระทั่งรู้สึกว่าเป็นภาระที่มากขึ้น ของทีมงานย่อมเกิดขึ้นแน่นอน โดยเฉพาะในระยะแรก ส่วนหนึ่ง ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าขึ้นอยู่กับบุคลิกของพระภิกษุแต่ละรูปที่ทีมงาน เข้าไปประสานขอความร่วมมือด้วย แต่ก็มีพระอีกจ�ำนวนไม่น้อย ที่พร้อมเสียสละเข้ามาท�ำงานนี้เพียงแต่รอจังหวะและโอกาสที่จะ ได้รับการประสานงานจากทางโรงพยาบาลเท่านั้น และเมื่อเทียบกับ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นเมื่อระบบอยู่ตัวแล้วจะพบว่าการให้พระภิกษุ เข้าร่วมดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยระยะท้ายนี้เป็นกิจกรรม ที่ควรสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างยิ่ง

����������������������������������.indd 203

9/12/16 6:55 PM


����������������������������������.indd 204

9/12/16 6:55 PM


บ ท ที่ ๕

บทบาทจิตอาสาและองค์กรชุมชน ในการดูแลสุขภาวะทางปัญญา

จิตอาสาและองค์กรชุมชนเป็นอีกองค์ประกอบส�ำคัญที่จะช่วย ให้การดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้ายเป็นไปได้อย่าง มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อดูแลผู้ป่วยระยะท้ายอยู่ที่บ้านใน ชุมชนที่ผู้ป่วยคุ้นเคย ยิ่งถ้าผู้ป่วยเป็นผู้ที่ชุมชนนับหน้าถือตาให้ ความเคารพหรือเป็นผู้ที่ชอบคลุกคลีช่วยเหลืองานสังคมของชุมชน ด้วยแล้ว การมีจิตอาสาและคนในชุมชนมาเยี่ยมมาให้การดูแลจะ ช่วยให้ผู้ป่วยมีก�ำลังใจ ภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าของตนเองคือเพิ่ม สุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยอันจะน�ำไปสู่การตายอย่างสงบได้ จะมีข้อยกเว้นอยู่บ้างส�ำหรับผู้ที่รักชีวิตที่สงบเป็นส่วนตัวไม่ชอบ ยุ ่ ง เกี่ ย วกั บ ชุ ม ชน หรื อ อาจเคยมี ป ั ญ หาข้ อ ขั ด แย้ ง รุ น แรงกั บ คน ในชุมชนที่ยังอภัยไม่ได้ นอกจากนี้ในชุมชนเมืองที่ความสัมพันธ์ ระหว่างเพื่อนบ้านและชุมชนมีน้อย การมีคนในชุมชนมาเยี่ยมอาจ สร้างความอึดอัดไม่พอใจให้กับผู้ป่วยได้เช่นกัน การน�ำคู่ขัดแย้ง ในชุมชนมาให้อภัยหรือขออโหสิกรรมกันเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องประเมิน ความพร้อมของทั้งสองฝ่ายให้รอบคอบโดยเฉพาะในด้านตัวผู้ป่วย

����������������������������������.indd 205

9/12/16 6:55 PM


206

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

เพื่ อ ป้ อ งกั น ผลเสี ย ที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น เช่ น การมี ป ากเสี ย งกั น ท� ำ ให้ อารมณ์ขุ่นมัว เศร้าหมอง หรือความรู้สึกผิดเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ดังนั้น ทีมผู้ดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยระยะท้ายจึงควรให้ความ สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับจิตอาสาและการประสานงานกับชุมชนด้วย

ใครควรเป็นจิตอาสา จิตอาสาหมายถึงสภาพจิตใจที่พร้อมเสียสละเกื้อกูลช่วยเหลือ ผู้อื่น และมักใช้เรียกกลุ่มคนที่ตั้งใจเสียสละน�ำความรู้ ความสามารถ เวลาและ/หรื อ ก� ำ ลั ง กายของตนเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ผู ้ อื่ น หรื อ กิ จ ของ สาธารณะ โดยไม่ได้หวังผลตอบแทนเป็นตัวเงินหรือรายได้ประจ�ำ แวดวงสุขภาพคุ้นเคยกับเรื่องจิตอาสามานาน ส่วนใหญ่จิตอาสาใน วงการสุขภาพมักคอยอ�ำนวยความสะดวกให้กบั ผูป้ ว่ ยทีม่ าโรงพยาบาล เช่น การให้ข้อมูลที่จ�ำเป็นต่างๆ ให้ค�ำแนะน�ำขั้นตอนการรับบริการ ช่วยเข็นรถ ช่วยน�ำทางผู้ป่วย ให้ความเพลิดเพลินขณะรอตรวจ และรอรับยา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีจิตอาสาที่ท�ำงานอยู่ในชุมชน เช่น อสม. ที่คอยเก็บข้อมูล และช่วยเหลือกิจกรรมของเจ้าหน้าที่ เมื่อเข้าเยี่ยมชุมชน เยี่ยมติดตามผู้ป่วย ซึ่งอาจรวมถึงการได้ไปเยี่ยม ผู้ป่วยระยะท้ายที่อยู่ในชุมชนนั้นด้วย แต่การมีจิตอาสาที่ช่วยดูแล สุขภาวะทางปัญญาผู้ป่วยระยะท้ายโดยตรงถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่ อีกเรื่องหนึ่งที่ยังต้องประคับประคองพัฒนากันต่อไป

����������������������������������.indd 206

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

207

ดังที่กล่าวมาแล้วถึงคุณสมบัติพื้นฐานของผู้ที่จะอาสาช่วย ส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยระยะท้ายนั้น ต้องมีความสุข และเห็นคุณค่าของการได้ช่วยเหลือผู้ที่ป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย รวมทั้ง ควรเป็นผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสและสนใจศึกษาปฏิบัติธรรมเป็นพื้นฐาน ระดับหนึ่ง ไม่กลัวไม่รังเกียจที่จะช่วยเหลือผู้ที่ก�ำลังจะสิ้นชีวิต ดังนั้น จึงมิได้หมายความว่า จิตอาสาหรือ อสม. ที่ท�ำงานอยู่ก่อนแล้วทุกคน เหมาะที่จะท�ำงานด้านนี้ ทีมงานอาจต้องค้นหาและพัฒนาผู้ที่มีศักยภาพ ด้านนี้ขึ้นมาโดยตรง ในเขตชุมชนแต่ละแห่งนอกเหนือจากพระแล้ว ยังมีคนเฒ่า คนแก่ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือเป็นปราชญ์ของท้องถิ่นที่เป็นผู้น�ำทาง ปัญญาในชุมชน เป็นมัคนายกวัด หรือผู้น�ำในงานบุญพิธีต่างๆ ของ หมู่บ้าน ที่มักได้รับการชักชวนให้มาเยี่ยมผู้ป่วยหนัก หรือเป็นผู้ที่ คอยช่วยน�ำทางให้ผู้ป่วยที่ก�ำลังจะสิ้นลม การใส่ใจสอบถามจากพระ และคนในชุมชนก็จะระบุตัวคนเหล่านี้ได้ไม่ยาก ทีมงานควรหาโอกาส ท�ำความรู้จักและชักชวนให้ปราชญ์พื้นบ้านเหล่านี้เห็นความส�ำคัญ ในการช่วยดูแลมิติทางปัญญาของผู้ใกล้เสียชีวิต และเสริมศักยภาพ ในส่วนที่ตรงกับความถนัดของท่าน อย่างไรก็ตามการพัฒนาศักยภาพของผู้ที่จะเป็นจิตอาสานี้ ควรขึ้นอยู่กับความพร้อมความเต็มใจของเจ้าตัวเป็นหลัก ผู้สูงอายุ อาจไม่สะดวกที่จะให้เข้าร่วมอบรม หรือให้เอกสารไปศึกษา ที่ท�ำได้ ก็อาจเป็นเพียงการให้ค�ำแนะน�ำอย่างพอเหมาะพอดี ให้ท่านเข้ามา ช่วยเหลือผู้ป่วยในจุดที่เหมาะสม หรือเข้าไปช่วยหนุนเสริมการดูแล

����������������������������������.indd 207

9/12/16 6:55 PM


208

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ที่ท่านท�ำอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น บางท่านอาจเคยบวชเรียน มานาน อาจมีเคล็ดวิชา คาถา หรือสัมผัสพิเศษในการสื่อสารกับ เทวดาหรืออมนุษย์ทั้งหลาย การเข้าไปสัมพันธ์ขอความช่วยเหลือ ต้องท�ำในระยะห่างที่เหมาะสม เพราะผู้ป่วย/ญาติบางส่วนอาจไม่ได้ ชอบพิธีกรรมในลักษณะนี้ก็ได้ หากทีมงานเข้าไปท�ำงานใกล้ชิดมาก อาจท�ำให้ความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นหรือกับผู้ป่วยจ�ำนวนหนึ่งเสียไป จิตอาสาที่เป็นคนรุ่นใหม่เป็นความท้าทายของทีมงานที่ควร พัฒนาขึ้นด้วยเหตุผลหลายประการ เพราะผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ได้ มีแต่ผู้สูงอายุเท่านั้น คนที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกันย่อมเข้าใจกันและให้ ความช่วยเหลือกันด้านปัญญาได้ดีกว่าคนต่างวัยกัน หรืออย่างน้อย ช่วยกันเกื้อหนุนการท�ำงานให้ดีขึ้นได้ ยิ่งไปกว่านั้นคือมีคนหนุ่มสาว จ�ำนวนไม่นอ้ ยต้องการท�ำงานจิตอาสาแต่ไม่ทราบว่าจะเข้าไปช่วยเหลือ ผ่านช่องทางใด แม้การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจดูเหมือน เป็นเรื่องน่ากลัวส�ำหรับคนหนุ่มสาว แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป หากอบรมเตรียมความพร้อมอย่างเหมาะสมมีไม่น้อยที่ท�ำงานได้ดี นอกจากนี้งานจิตอาสายังท�ำงานได้หลากหลาย ผู้ที่ไม่พร้อมที่จะ เข้ า ถึ ง ตั ว ผู ้ ป ่ ว ยก็ อ าจช่ ว ยเก็ บ กวาดท� ำ ความสะอาดสถานที่ ห รื อ ช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยก็ ไ ด้ ที่ ผ ่ า นมาในต่ า งจั ง หวั ด จิ ต อาสาดู แ ล ผู้ป่วยระยะท้ายมักมาจากกลุ่ม อสม. โดยคัดเลือกผู้ที่รักงานด้านนี้ มาให้ความรู้เพิ่มเติมให้มีความมั่นใจในการช่วยดูแลมิติทางปัญญา ของผู้ป่วยได้ดีขึ้น นอกจากให้การดูแลเป็นเพื่อนพูดคุยกับผู้ป่วยแล้ว

����������������������������������.indd 208

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

209

ยังสามารถเป็นผู้ประสานงานเชิญผู้สูงอายุหรือปราชญ์ของชุมชนให้ เข้ามาช่วยกันส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาให้ผู้ป่วยได้ด้วย ส�ำหรับพื้นที่ในเขตเมืองยังมีหน่วยงาน เช่น องค์กรพัฒนา เอกชน มูลนิธิ วัด กลุ่มผู้ปฏิบัติธรรม โรงเรียน ฯลฯ ที่สนใจงานนี้ หากทีมเข้าไปประสานงานจัดอบรมความรู้ ฝึกทักษะให้สมาชิกที่สนใจ แล้วให้การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในด้านที่เขาเชี่ยวชาญ หรือสอดรับกับภารกิจเดิมทีเ่ ขาท�ำอยูก่ จ็ ะเป็นประโยชน์ตอ่ ผูป้ ว่ ยและ ชุมชนมากขึ้น เช่น อาจช่วยประสานการรับผู้ป่วยจากโรงพยาบาล มาส่งที่บ้าน ช่วยจัดหาเครื่องมือ คนช่วยดูแลในบางเรื่อง เช่น อาหาร การท�ำความสะอาดบริเวณบ้าน และในอนาคตที่ระบบสื่อสารการ เชื่อมต่อระหว่างกันพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จิตอาสาในเรื่องนี้ควร ขยายให้ครอบคลุมและเข้าถึงได้ง่ายรวดเร็ว โดยอาจให้ค�ำปรึกษา กันทางโทรศัพท์หรือวิดีโอ ซึ่งสามารถเห็นสภาพของผู้ป่วยได้ในทันที สามารถเชือ่ มต่อขอค�ำปรึกษาจากเจ้าหน้าทีใ่ นโรงพยาบาลและแพทย์ ได้โดยตรงด้วย (อย่างไรก็ตามต้องระมัดระวังเรื่องการส่งภาพ ที่อาจ ละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือสร้างความอับอายต่อผูป้ ว่ ยและครอบครัว เพราะอาจถูกส่งต่อกระจายในวงกว้างหรือน�ำไปใช้ในทางเสียหายได้) นอกจากนี้การบรรจุ ข้อมูล ภาพ หรือเทคนิคการดูแลต่างๆ ที่เป็น ประโยชน์ตอ่ การดูแลผูป้ ว่ ยระยะท้ายไว้ในเว็บไซต์กช็ ว่ ยให้ผปู้ ว่ ยและ ญาติที่สนใจได้รับข้อมูลเบื้องต้นเตรียมท�ำความเข้าใจก่อน ท�ำให้ ทีมดูแลและจิตอาสาที่เข้าไปช่วยเหลือท�ำงานได้ง่ายขึ้น

����������������������������������.indd 209

9/12/16 6:55 PM


210

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

จิตอาสายังควรรวมถึงผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในบางเรื่องเป็น พิเศษที่สามารถช่วยเยียวยาจิตใจ ประสานรอยร้าวของความสัมพันธ์ หรือเติมเต็มความต้องการต่างๆ ของผู้ป่วยในระยะท้ายด้วย ไม่ว่า จะเป็นศิลปะ วาดภาพ ดนตรี การนวด ผู้ที่สนใจเรื่องต้นไม้ สัตว์เลี้ยง หรือเรื่องราวอื่นที่ผู้ป่วยสนใจ ทีมงานจึงควรหาโอกาสที่จะเชื่อมต่อ และชี้แจงแนวคิดการดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยระยะท้าย ให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้เห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยและคุณค่า ทางใจที่จะได้รับกับตนเองในการเป็นจิตอาสา กลุ่มจิตอาสาอาจอยู่ ในฐานะเครือข่ายที่ทีมงานดูแลจะประสานขอความช่วยเหลือเมื่อ เห็นว่ากิจกรรมพิเศษเหล่านั้นจะช่วยให้ผู้ป่วยบางรายมีสุขภาวะทาง ปัญญาดีขึ้น หรือหากกลุ่มคนเหล่านี้สนใจจะเข้าร่วมกิจกรรมอย่าง สม�ำ่ เสมอก็อาจจัดเป็นกิจกรรมพิเศษให้ผปู้ ว่ ยในวงกว้างได้เข้าถึงด้วย ก็จะเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น

����������������������������������.indd 210

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

211

กิจกรรมที่จิตอาสาช่วยดูแลผู้ป่วย เนื่องจากจิตอาสาที่จะเข้ามาช่วยดูแลสุขภาวะทางปัญญาใน ผู้ป่วยระยะท้ายนั้นมีหลากหลายกลุ่ม มีเวลา ทักษะ ความเชี่ยวชาญ ที่แตกต่างกัน บทบาทในการช่วยเหลือผู้ป่วยย่อมแตกต่างกัน ซึ่ง พอจ�ำแนกออกเป็นกลุ่มเพื่อความสะดวกในการประสานงาน ดังนี้ การดูแลร่างกาย ความทุกข์ทรมานทางกายที่ลดลงมีส่วนช่วยให้มีสุขภาวะทาง ปั ญ ญาดี ขึ้ น ด้ ว ย กิ จ กรรมที่ ช ่ ว ยให้ ก ายผ่ อ นคลาย หายเจ็ บ ปวด หอบเหนื่อย ที่สามารถโยงไปสู่การพัฒนาปัญญาได้ก็มีไม่น้อย หาก ได้จิตอาสาที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์และศิลป์มาช่วย ก็จะบรรเทา อาการทุกข์ทรมานไม่สบายกายให้ผู้ป่วยระยะท้ายมีความสุขสงบ ขึ้นได้ เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านโยคะอาจช่วยประยุกต์ท่าโยคะง่ายๆ ตั้งแต่การฝึกหายใจ กรอกตา เหยียดแขน ก�ำมือ เกร็ง ผ่อนคลาย มาใช้ให้เหมาะกับผู้ที่ตนไปเยี่ยมได้ ผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการนวดสัมผัส ด้านการใช้สุคนธบ�ำบัด (กลิ่น) หรือใช้พลังพิเศษต่างๆ เช่น พลัง จักรวาล พลังกายทิพย์ การใช้หินสี คริสตัล และศาสตร์ด้านการ แพทย์ทางเลือกต่างๆ ที่ญาติและทีมงานผู้ดูแลพิจารณาแล้วว่าน่า จะเป็นประโยชน์ ไม่สร้างปัญหาให้ผู้ป่วย ไม่เป็นภาระกับญาติ และ ไม่รบกวนแผนการรักษาที่ท�ำอยู่ ที่ส�ำคัญคือเป็นการช่วยเหลือใน ลักษณะจิตอาสา คือท�ำให้เป็นวิทยาทานไม่เรียกร้องค่าตอบแทน

����������������������������������.indd 211

9/12/16 6:55 PM


212

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

หรือหวังผลประโยชน์แอบแฝง (เช่น น�ำไปใช้โฆษณาอวดอ้างว่า วิธีการของตนประสิทธิผลดีจนได้รับการยอมรับให้ใช้ในโรงพยาบาล ได้) องค์ความรู้จากจิตอาสาเหล่านี้หากมีกระบวนการเก็บข้อมูล อย่างเป็นระบบก็สามารถพัฒนาขึ้นมาใช้เป็นแนวทางหรือข้อเสนอ แนะในการปฏิบัติส�ำหรับผู้ป่วยรายอื่นได้ด้วย เป็นเพื่อนคุย รับฟัง ให้ความเพลิดเพลิน จิตอาสาที่อาจไม่ได้มีความสามารถพิเศษในด้านใดเฉพาะ แต่มีใจอยากช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้าย ก็สามารถช่วยเหลือได้ด้วย การอยู่เป็นเพื่อนคอยรับฟังหรือพูดคุยกับผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วย เพียงแต่ต้องรู้จักเลือกเรื่องที่จะมาชวนพูดคุยให้เป็นเรื่องที่ผู้ป่วย สนใจ คุยแล้วจิตใจสบาย มีความสุข ส�ำหรับผู้ที่คุยไม่เก่งหรือเมื่อ ผู้ป่วยไม่ค่อยตอบสนองแล้ว วิธีการง่ายๆ ที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อ ผู้ป่วยและจิตอาสาเอง คือการน�ำข่าวสารดีๆ หนังสือที่มีประโยชน์ ในแนวที่ผู้ป่วยชอบ มาอ่านให้ฟังวันละ ๑๕-๓๐ นาที ในช่วงเวลาที่ เหมาะสม อาจเป็นช่วงเวลาที่ให้ญาติๆ ที่ดูแลอยู่ได้มีโอกาสพักผ่อน ท�ำกิจส่วนตัวบ้าง ก็เป็นสิ่งที่จิตอาสาท�ำได้ ถ้าจิตอาสามีความสามารถพิเศษที่จะช่วยสร้างความเพลิดเพลิน ให้ผู้ป่วยและญาติได้ โดยไม่สร้างความยุ่งยากวุ่นวายรบกวนผู้ป่วย อื่นนัก (หรือถ้าสถานการณ์เหมาะสมก็ควรเอื้อเฟื้อต่อผู้ป่วยรายอื่น ด้วย) เช่น มีความสามารถในการเล่นดนตรี วาดภาพ แสดงมายากล หรื อ อาจท� ำ สิ่ ง ของที่ ผู ้ ป ่ ว ยอาจได้ ใ ช้ ม ามอบให้ เช่ น อาจเตรี ย ม

����������������������������������.indd 212

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

213

ดอกไม้หรือพวงมาลัยเล็กๆ มาชวนผู้ป่วยบูชาพระสวดมนต์ไปด้วยกัน ในการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน อาจช่วยรดน�้ำต้นไม้ ดูแลความสะอาดบ้าน ซักเสื้อผ้าไปด้วยก็ได้ แม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาไม่นานนักที่อยู่ด้วยกัน จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาสนใจกับสถานการณ์ปัจจุบัน เลิกจมอยู่ใน ห้วงแห่งความทุกข์ได้ อย่างไรก็ตามพึงระลึกไว้เสมอว่ากิจกรรม เหล่านี้ไม่ได้เหมาะกับผู้ป่วยทุกราย ทีมงานดูแลผู้ป่วยควรคอยให้ ค�ำปรึกษา พิจารณาถึงความเหมาะสม เมื่อเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อ ผู้ป่วยจึงประสานขอความช่วยเหลือไปยังกลุ่มจิตอาสา ปลดเปลื้องเรื่องคาใจ กระบวนการพูดคุยเพื่อให้รู้ถึงภารกิจที่ยังติดค้างหรือเรื่องราว ที่ฝังจิตคาใจผู้ป่วย มักถูกยกให้เป็นบทบาทของทีมเจ้าหน้าที่ผู้ให้ การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย แต่การปลดเปลื้องภาระเหล่านั้นหลายครั้ง ต้องใช้จิตอาสาที่มีความสามารถเฉพาะด้านเข้ามาช่วย ซึ่งควรจะ เป็นใครบ้างนั้นขึ้นอยู่กับว่าประเด็นที่ผู้ป่วยติดค้างอยู่นั้นคืออะไร เพื่อนบ้าน หรือ อสม. อาจช่วยได้ในเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ/ประเพณี ท้ อ งถิ่ น เช่ น การบนบาน/แก้ บ นกั บ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ นชุ ม ชน การ ประกอบพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับผู้ป่วยหนัก/การจัดการศพ หรือแม้แต่ เรื่องอาหารการกินของท้องถิ่นนั้นๆ บทสวดมนต์ที่ได้รับความนิยม หรือเกจิอาจารย์ที่คนในท้องถิ่นเคารพศรัทธา เป็นต้น พระภิกษุก็ถือ ได้ว่าเป็นจิตอาสาก็สามารถช่วยหนุนเรื่องบุญ เรื่องศรัทธา ประเพณี ที่เกี่ยวข้องกับกรรมเก่า เจ้ากรรมนายเวร เรื่องความสัมพันธ์กับ

����������������������������������.indd 213

9/12/16 6:55 PM


214

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

วิญญาณบรรพบุรุษ หรือท�ำพิธีกรรมที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหลุดออกจาก การติดข้องในสิ่งที่เคยท�ำผิดพลาดไว้ในอดีตได้ดังที่กล่าวถึงไว้ในบท ที่ผ่านมา แต่เรื่องที่ค้างคาใจของผู้ป่วยอาจมีมากไปกว่านั้น หากทีมงาน ดูแลสุขภาวะทางปัญญาสามารถประสานงานกับบุคคลหรือหน่วยงาน ที่เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ให้เข้ามาเป็นจิตอาสาช่วยเหลือได้มาก เพียงใด ก็จะช่วยผู้ป่วยได้มากเท่านั้น บางคนมีทักษะในการรับ ค�ำปรึกษาและให้ก�ำลังใจ บางครั้งอาจต้องใช้ศิลปะบ�ำบัด หรือดนตรี บ�ำบัดมาช่วยให้ผู้ป่วยได้ระบายออกทางอ้อม ส่งเสริมความสงบ บ่มสติ เพาะปัญญา นอกเหนื อ จากพระภิ ก ษุ ส งฆ์ แ ล้ ว คนเฒ่ า คนแก่ ปราชญ์ ชาวบ้าน หรือบุคคลที่ผู้ป่วยหรือชุมชนให้ความเคารพศรัทธา มักมี ประสบการณ์ชีวิตดีๆ หรือมีหลักด�ำเนินชีวิตที่งดงามสะสมอยู่มาก อาจเชิญท่านให้มาเยี่ยมผู้ป่วยระยะท้ายบ้าง เปิดโอกาสให้ท่าน พูดคุย สั่งสอน หรือกระทั่งตักเตือนผู้ป่วยและญาติมิตร ให้หลักคิด หลักวางใจเมื่อต้องนอนเจ็บป่วย หรือแม้แต่เมื่อจะเสียชีวิต จิตอาสาที่แม้ไม่มีประสบการณ์ชีวิตมากนัก ก็อาจช่วยในเรื่องนี้ ได้ด้วยการหาหนังสือที่ช่วยบ่มเพาะปัญญามาอ่านให้ฟังดังที่เคย กล่าวแล้วในหัวข้อที่ผ่านมา หากผู้ป่วยไม่ปฏิเสธก็อาจชวนกันสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ แผ่เมตตาไปพร้อมกัน

����������������������������������.indd 214

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

215

ช่วยนำ�ทางก่อนสิ้นลม แม้วา่ พระภิกษุและบุคลากรดูแลผูป้ ว่ ยระยะท้ายทีม่ ปี ระสบการณ์ จะได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นผู้น�ำทางให้ผู้ป่วยระยะท้ายก่อนสิ้นลม ได้ดีกว่าผู้อื่น แต่เนื่องจากการเสียชีวิตเกิดขึ้นได้ทุกเวลาซึ่งหลายครั้ง ก็ไม่สามารถที่จะตามพระหรือผู้ที่มีประสบการณ์ให้มาช่วยน�ำทาง ในวาระสุดท้ายของชีวิตได้ทัน จิตอาสาที่สนใจงานช่วยเกื้อหนุน สุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้ายหรือแม้แต่ญาติผู้ป่วย ก็ควร สนใจที่จะเรียนรู้และฝึกฝนการน�ำทางผู้ป่วยก่อนสิ้นลมไว้ด้วย ดัง รายละเอียดที่กล่าวไว้พอเป็นตัวอย่างในบทที่ ๓ หรือหาโอกาสได้ อยู่ร่วมพิธีส่งผู้ป่วยก่อนสิ้นลมไว้บ้าง อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงจิตอาสาควรพยายาม ให้ค�ำแนะน�ำคนใกล้ชิดและญาติพี่น้องได้เป็นผู้น�ำทางผู้ป่วยสู่วาระ สุดท้ายของชีวิตด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจที่ได้ท�ำหน้าที่ ของตนอย่างเต็มที่ โดยจิตอาสาคอยแนะน�ำขั้นตอนต่างๆ อย่าง นุ่มนวลด้วยความเคารพ เว้นเสียแต่ว่าญาติที่ใกล้ชิดอยู่ในภาวะที่ ไม่สามารถท�ำเองได้ จึงค่อยเป็นผู้ท�ำหน้าที่นี้เอง จิตอาสาจึงเป็นผู้ที่ช่วยแบ่งเบาภาระของทีมดูแล คอยเติม สีสันและสิ่งดีๆ เพิ่มเข้าไปให้ผู้ป่วยและญาติซึ่งหลายเรื่อง ทีมผู้ดูแล อาจไม่สามารถท�ำได้ดีเท่าหรือไม่มีเวลาพอที่จะท�ำในรายละเอียด เหล่านั้น จึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละทีมงานควรประสานงาน และพัฒนาเครือข่ายจิตอาสาของตนไว้อย่างต่อเนื่อง โดยอาจเชื่อมโยง

����������������������������������.indd 215

9/12/16 6:55 PM


216

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

กับจิตอาสาที่ช่วยงานอยู่ในหน่วยงานอื่นๆ ของโรงพยาบาลอยู่แล้ว รวมทั้งอาจเชื่อมโยงกันระหว่างโรงพยาบาล ระหว่างพื้นที่ หรือ แม้แต่ในระดับประเทศที่มีการสร้างเครือข่ายจิตอาสาไว้๑๙ แม้จิตอาสา อาจไม่สามารถให้การช่วยเหลือได้โดยตรง แต่เครือข่ายในสังคม ออนไลน์มักมีค�ำแนะน�ำดีๆ ให้น�ำไปใช้กับผู้ป่วยได้เช่นกัน

การประสานงานกับองค์กรชุมชนและองค์กรอื่นๆ นอกเหนื อ จากคนที่ จ ะเข้ า มาเป็ น จิ ต อาสาดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยแล้ ว หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน ก็เป็นแหล่งทรัพยากร ที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยระยะท้ายมีสุขภาวะทางปัญญาที่ดีขึ้นได้หาก ทีมงานมีโอกาสประสานงานเป็นเครือข่ายกันไว้ องค์กรในชุมชนโดยเฉพาะ อบต. หรือเทศบาลทีด่ แู ลพืน้ ทีน่ นั้ ๆ เป็นหน่วยงานหนึง่ ทีม่ บี ทบาทและภาระหน้าทีท่ สี่ ามารถน�ำงบประมาณ และทรัพยากรมาจัดสรรช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชนได้อย่าง เป็นระบบ เช่น การจัดรถรับส่งผู้ป่วยยามฉุกเฉิน การระดมทุนทรัพย์ จัดอาหารมาช่วยเหลือ รวมทั้งช่วยประสานงานกับคนในชุมชนให้ ช่วยเหลือผู้ป่วยในลักษณะต่างๆ ตามความเหมาะสม เช่น กรณีที่

๑๙

เช่น ธนาคารจิตอาสา, http://www.volunteerspirit.org โครงการอาสา ข้างเตียง เครือข่ายพุทธิกา http://www.budnet.org/peacefuldeath/node/ 70 เป็นต้น

����������������������������������.indd 216

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

217

ผู้ป่วยอยู่ตามล�าพังไม่มีคนดูแล ก็จะขอความร่วมมือจากภาคส่วน ต่างๆ ให้เข้ามาช่วยดูแลได้ วัดในพื้นที่เป็นอีกจุดหนึ่งที่ชุมชนจะใช้ประโยชน์เพื่อการดูแล ผู้ป่วยระยะท้ายได้อย่างดี วัดมักมีผู้ใจบุญที่พร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่น อยู่ไม่น้อย มีทรัพยากรส่วนกลาง อาหาร หรือสิ่งของที่คนน�ามา ท�าบุญที่สามารถแบ่งปันมาช่วยผู้ป่วยและครอบครัวที่ยากจนได้ นอกจากวัดแล้วในบางชุมชนยังมีองค์กรพัฒนาเอกชนท�างานอยู่ หรือมีกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อท�ากิจกรรมร่วมกัน เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่ม เกษตร สหกรณ์ต่างๆ ในหลายกรณีที่ทีมงานอาจเข้าไปประสานงาน เพื่อให้ร่วมกันช่วยเหลือผู้ป่วยได้

����������������������������������.indd 217

9/12/16 6:55 PM


218

คู่มือการท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาในผู้ป่วยระยะท้าย

ส่วนราชการหลายแห่ง มูลนิธิ หรือ องค์กรสาธารณกุศล ที่ท�ำงานเกี่ยวกับ ผู ้ สู ง อายุ เยาวชน สตรี ผู ้ พิ ก าร ฯลฯ เป็นหน่วยงานที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วย ระยะท้ า ยได้ เ ช่ น กั น เพี ย งแต่ ง านดู แ ล ผู้ป่วยระยะท้ายเองไม่ว่าที่โรงพยาบาล หรือในชุมชนยังอยูใ่ นระยะเริม่ ต้นของการ พัฒนา ซึ่งทีมงานในพื้นที่ยังต้องเรียนรู้ แนวทางการประสานงานหรื อ ท� ำ งาน ร่ ว มกั น กั บ หน่ ว ยงานเหล่ า นี้ แ ละน� ำมา แลกเปลี่ยนกันให้มากยิ่งขึ้นต่อไป

����������������������������������.indd 218

9/12/16 6:55 PM


เครือข่ายพุทธิกา

219

บทสรุป จิตอาสา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งที่อยู่ในภูมิล�ำเนา ของผู้ป่วย หรืออยู่ในพื้นที่ของโรงพยาบาล ถือเป็นทรัพยากรส�ำคัญ ที่จะช่วยให้การท�ำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยระยะท้าย มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่เป็นเรื่องที่ต้องค่อยๆ พัฒนา กลไก รูปแบบ และเนื้อหา ตั้งแต่สร้างความตระหนักของสังคมว่า เรื่องนี้มีความส�ำคัญและเป็นประโยชน์ต่อทุกคน กระทั่งชุมชนเห็น ถึงคุณค่าของกิจกรรมนี้ เห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว เป็นเรื่องของตนเอง ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้พลัง ทรัพยากร และความรู้ความ สามารถที่มีอยู่เพื่อร่วมดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยระยะท้าย แม้ในช่วงต้นอาจพุ่งเป้าประสานงานไปที่พระภิกษุสงฆ์ วัด และกลุ่ม อสม. หรือจิตอาสาเดิมของโรงพยาบาลก่อนก็ช่วยให้ท�ำงานได้อย่าง รวดเร็ว แต่ในอนาคตจ�ำเป็นต้องเตรียมการขยายเครือข่ายจิตอาสา ในงานด้านนี้ออกสู่สังคมในวงกว้างต่อไปเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วย และต่อการยอมรับความส�ำคัญของมิติทางปัญญาของคนในสังคม โดยรวม ซึ่งจ�ำเป็นต้องสร้างและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มิใช่เพียง ท�ำเฉพาะในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ซึ่งหลายครั้งเป็นเรื่องที่สายเกินไป ที่จะให้การช่วยเหลือ

����������������������������������.indd 219

9/12/16 6:55 PM


����������������������������������.indd 220

9/12/16 6:55 PM


ตัวอย่างแบบบันทึกการดูแลผู้ป่วย ข้อมูลพื้นฐาน เพศ-ชื่อ-สกุล................................................................ H.N……....…………… อายุ……..……ปี ชื่อผู้ที่ต้องการให้ติดต่อ........................................ หมายเลขโทรศัพท์.................................. สิทธิการรักษา................... หอผู้ป่วย................ แพทย์เจ้าของไข้......................................... โรค-อาการ............................................................................................................................ การรักษาที่เคยได้รับ............................................................................................................. การรักษาทางเลือกอื่นๆ ที่เคยใช้.......................................................................................... มิติทางกาย การกิน/ขับถ่าย............................................... การนอนหลับ............................................... ความเจ็บปวด................................................. ความเหนื่อย/เพลีย...................................... อื่นๆ (คัน ร้อน/หนาว เสียงดัง กลิ่นเหม็น ฯลฯ).................................................................. มิติทางจิต ความเครียด.......................................................................................................................... อาการทางจิต....................................................................................................................... ภาวะซึมเศร้า............................................. ภาวะวิตกกังวล............................................. ภาวะสับสน............................................... ภาวะกลัว...................................................... คิดสั้น/ท�ำร้ายตนเอง........................................................................................................ ข้อมูลมิติทางสังคม ครอบครัว-ภาระในครอบครัว................................................................................................. หน้าที่การงาน-ภาระการงาน................................................................................................ ความสัมพันธ์กับเพื่อน/ญาติ................................................................................................. บุคคล/เรื่องที่ยังติดค้างใจต้องการสะสาง............................................................................. ข้อมูลพื้นฐานมิติทางปัญญา ศาสนา พุทธ อื่นๆ ระบุ....................... นิกาย/สายปฏิบัติ........................ ความเคร่งครัด มาก ปานกลาง น้อย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือเป็นพิเศษ........... คนต้นแบบที่ประทับใจ................................... ความปรารถนาสูงสุด...................................

����������������������������������.indd 221

9/12/16 6:55 PM


222

ตัวอย่างตารางสรุปผลการประเมินมิติทางสังคม/ปัญญา ตารางสรุปผลการประเมินมิติทางสังคม/ปัญญานี้ ท�ำขึ้นเพื่อใช้ ประเมินสถานการณ์ของผูป้ ว่ ยแต่ละรายในภาพรวมตัง้ แต่แรกรับเข้าดูแล ในฐานะผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อประกอบการวางแผนให้การดูแลผู้ป่วยใน รายละเอียดแต่ละจุดต่อไป อาจมีการประเมินซ�้ำเป็นระยะๆ หากต้อง ดูแลระยะยาวหรือมีสถานการณ์ส�ำคัญเปลี่ยนไป เช่น ต้องออกจากงาน ไม่มีผู้ดูแลประจ�ำ สถานการณ์โรครุนแรงมากขึ้น เป็นต้น

����������������������������������.indd 222

9/12/16 6:55 PM


223 ชื่อผู้ป่วย............................ วันที่ประเมิน.................... ผู้ประเมิน........................... ไม่มีปัญหา

น้อย

มาก

สิ่งที่ประเมิน

มากที่สุด

ความรุนแรงของปัญหา

ข้อมูลที่ส�ำคัญ เพิ่มเติม

ความมั่นคงทางอาชีพ ความมั่นคงทางรายได้ ปัญหาหนี้สิน การจัดการแบ่งทรัพย์สมบัติ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์กับญาติ ความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูง ภารกิจที่ยังต้องสะสาง เรื่องที่ยังติดค้างคาใจ การยอมรับสภาพความเจ็บป่วยของตน ความทนได้ต่อความทุกข์ทางกาย การให้อภัยต่อความผิดพลาดของตนเอง การอภัยผู้อื่น การระลึกถึงคุณค่าความดีในชีวิตที่ผ่านมา มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจที่มั่นคง การยอมรับต่อความตายที่จะมาถึง อื่นๆ........................................................ อื่นๆ........................................................ อื่นๆ........................................................

����������������������������������.indd 223

9/12/16 6:55 PM


224

ตัวอย่างแบบบันทึกกิจกรรมการดูแลทางปัญญา แบบบันทึกกิจกรรมการดูแลทางปัญญานี้ ท�ำขึ้นเพื่อใช้ติดตามการ ดูแลผู้ป่วยแต่ละรายว่าได้รับช่วยเหลือในเรื่องใดแล้วบ้าง ได้ผลอย่างไร จ�ำเป็นต้องท�ำซ�้ำหรือหากิจกรรมอื่นเสริมอีกหรือไม่ ช่วยให้ไม่ลืมหรือ ละเลยการดู แ ลในบางเรื่ อ งไป โดยในที่ นี้ ย กกิ จ กรรมขึ้ น มาแสดงเป็ น ตัวอย่างให้แต่ละพื้นที่น�ำไปประยุกต์ใช้เอง ควรน�ำรายการกิจกรรมที่ ทีมงานของตนใช้อยู่จริงมาใส่แทน และตกลงเรื่องการให้คะแนนการ ประเมินร่วมกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันของทีมงาน

����������������������������������.indd 224

9/12/16 6:55 PM


225 ได้ผลดีมาก

ได้พอควร

ได้เล๋็กน้อย

กิจกรรมที่ท�ำ

ไม่ได้เลย

ประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับ หมายเหตุ

การรับฟังปัญหา/ความทุกข์ การค้นหา/ชื่นชมคุณค่าความดีในชีวิต การเปลื้องภาระ ๑ - ภาระในงาน การเปลื้องภาระ ๒ - ภาระในครอบครัว การเปลื้องภาระ ๓ - ภาระในชีวิต ความฝัน การฝึกสติเพื่อลดความทรมานทางกาย การฝึกสมาธิผ่อนคลาย การได้ท�ำบุญ/คุยกับพระ การท�ำโพวา/ทองเลนa การเจริญเมตตาภาวนา พิธีอภัย/อโหสิกรรม เกมไพ่ไขชีวิตb การขจัดความกลัวตาย ความต้องการในช่วงก่อนสิ้นลม ความประสงค์เกี่ยวกับงานศพของตน ซ้อมตาย-การน�ำทางก่อนสิ้นลม การกล่าวอ�ำลา การประชุมครอบครัว อื่นๆ........................................................ a

ศึ ก ษาข้ อ มู ล ที่ http://budnet.org/peacefuldeath/node/148 และ https://www. youtube.com/watch?v=oD4vuKwYY7Y, https://www.youtube.com/watch?v=YfsDc8rIZ5M b ศึกษาข้อมูลที่ http://www.budnet.org/sunset/game,

����������������������������������.indd 225

9/12/16 6:55 PM


226

ตัวอย่างบันทึกการดูแลประจ�ำวัน ว.ด.ป.

ประเด็น ที่ติดตาม

อาการส�ำคัญ วันนี้

การดูแลที่ให้ ผลลัพธ์ที่ได้

สิ่งที่ต้อง ติดตามต่อ

ตัวอย่างบันทึกสรุปกการดูแลประจ�ำสัปดาห์ ว.ด.ป.

อาการส�ำคัญวันนี้

����������������������������������.indd 226

การดูแลที่ให้

ผลลัพธ์ที่ได้

สิ่งที่ต้อง เฝ้าติดตาม

9/12/16 6:55 PM


227

ตัวอย่างบันทึกกิจกรรมเพื่อปิดการดูแล กิจกรรม

บันทึกเพิ่มเติม

อยู่กับญาติขณะผู้ป่วยสิ้นลม การให้ค�ำแนะน�ำเพื่อจัดพิธีศพอย่างประหยัด มีคุณค่า และเป็นไปตามสมเจตนารมณ์ผู้ตาย การจัดพิธีศพเบื้องต้นที่โรงพยาบาล (แต่งศพ รดน�้ำศพ) ร่วมส่งศพออกจากโรงพยาบาล ร่วมพิธีรดน�้ำศพ ร่วมฟังสวดอภิธรรมศพ/ พิธีปลงศพตามศาสนาผู้ป่วย ร่วมพิธีฌาปนกิจ/บรรจุศพ ฝังศพ กิจกรรมอื่นๆ...................................................... กิจกรรมอื่นๆ...................................................... การติดตามถามข่าวญาติ ๑ สัปดาห์หลังงานศพ การติดตามให้ก�ำลังใจญาติ ๑ เดือนหลังงานศพ การติดตามถามข่าวญาติ ๒ เดือนหลังงาน (ปิดการดูแล) หากพบว่ายังมีปญ ั หาทางจิตใจมาก ให้ค�ำแนะน�ำ เสนอความช่วยเหลือ

����������������������������������.indd 227

9/12/16 6:55 PM


228

ตัวอย่างแบบประเมินระดับสุขภาวะ แบบประเมินนี้ท�ำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างค�ำถามที่จะน�ำไปใช้ประเมิน ระดับสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยระยะท้ายว่าสูงต�่ำเพียงใด หากใช้เพื่อ การดูแลผู้ป่วยแต่ละรายควรปรับเนื้อหาบางส่วนให้สอดคล้องกับข้อมูล พื้นฐานของผู้ป่วยรายนั้น อาจเพิ่มบางค�ำถามที่จ�ำเป็นเข้ามา หรืองดใช้ ค�ำถามบางข้อที่ทราบข้อมูลอยู่แล้วหรืออ่อนไหวเกินไปส�ำหรับผู้ป่วย รายนั้น และควรใช้วิธีอ่านให้ฟัง หรือสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ หรือ พูดคุยเพื่อให้ได้ค�ำตอบที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด แต่หากใช้ เก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยหรือเปรียบเทียบผลระหว่างพื้นที่ ระหว่างช่วงเวลา หรือเทียบผลก่อน-หลังการท�ำกิจกรรมบางอย่าง ควรปรับข้อค�ำถามให้ ชัดเจนตรงกับเรื่องที่จะวัดและกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น รวมทั้งควรให้ผู้ป่วย

ตัวอย่างแบบประเมินระดับสุขภาวะ ประเด็นค�ำถาม ถ้าการป่วยครั้งนี้ทรุดลงเรื่อยๆ ท่านจะรู้สึกเสียดายมากที่ยังไม่ได้ท�ำอีกหลายเรื่อง หากมีโอกาสย้อนเวลาไปสิบปีก่อนได้ ท่านจะไม่เลือกใช้ชีวิตแบบนี้ แม้ไม่เด่นไม่ดัง แต่ท่านก็ยังภูมิใจในชีวิตว่าได้ท�ำในสิ่งที่ตนรักแล้ว + นับแต่นี้ต่อไปท่านคิดว่าชีวิตท่านไม่มีทางที่จะท�ำอะไรให้ดีขึ้นได้อีกแล้ว ท่านคิดว่าครอบครัวของท่านโชคดีกว่าครอบครัวอื่นโดยส่วนใหญ่ +

����������������������������������.indd 228

9/12/16 6:56 PM


229

ทางปัญญาของผู้ป่วยระยะท้าย อ่านและตอบเอง หรืออ่านให้ฟังโดยไม่ต้องอธิบายเพิ่มเพื่อป้องกันความ แตกต่างที่เกิดจากกระบวนการเก็บข้อมูล ข้อค�ำถามมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ต้องปรับคะแนนให้สอดคล้องกัน เช่น ถ้าเป็นค�ำถามเชิงบวกตอบ “เห็นด้วยอย่างยิ่ง” ให้ ๕ คะแนน ลดหลั่นลงไปถึง “ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง” ให้ ๑ คะแนน ส่วนข้อที่เป็น ค�ำถามเชิงลบ ถ้าตอบ “เห็นด้วยอย่างยิ่ง” ให้ ๑ คะแนน ค่อยๆ เพิ่มไป ตามล�ำดับถึง “ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง” ให้ ๕ คะแนน ผลรวมคะแนนที่ได้ ยิ่งคะแนนสูงแสดงว่ามีสุขภาวะทางปัญญาที่ดีกว่า นอกจากนี้ค�ำตอบที่ได้ จากค�ำถามในแบบประเมินนีย้ งั ใช้เป็นข้อมูลเพือ่ การดูแลผูป้ ว่ ยในด้านต่างๆ ได้อีกด้วย

ทางปัญญาของผู้ป่วยระยะท้าย เห็นด้วย อย่างยิ่ง

เห็นด้วย

����������������������������������.indd 229

เฉยๆ/ ไม่แน่ใจ

ไม่เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง

9/12/16 6:56 PM


230

ตัวอย่างแบบประเมินระดับสุขภาวะ ประเด็นค�ำถาม ท่านมีเพื่อนแท้ที่รักและปรารถนาดีต่อท่าน แม้ตอนนี้ร่างกายไม่ค่อยไหวนัก แต่ท่านเชื่อว่าจิตใจเรานั้นยังพัฒนาต่อไปได้อีก ท่านมั่นใจว่าหลังสิ้นชีวิตแล้วท่านจะได้ไปยังภพภูมิต่อไปที่สุขสบาย ท่านทราบดีว่าไม่มีวิธีการใดแล้วที่จะช่วยให้ท่านหายเป็นปกติได้ หากเป็นไปได้ท่านอยากท�ำบุญ รักษาศีล หรือปฏิบัติธรรมให้มากกว่านี้ ท่านให้อภัยและยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนเองที่ผ่านมาได้ ยังมีบางคนที่เคยสร้างความเจ็บปวดให้ชีวิตท่าน จนท่านไม่สามารถยกโทษให้ได้ ท่านพร้อมที่จะกล่าวค�ำขอโทษกับทุกคนที่ท่านเคยท�ำร้ายหรือล่วงเกินเขาไว้ ถ้าไม่มีโอกาสกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเดิม ท่านรู้สึกกังวลมากกับภาระต่างๆ ที่ค้างอยู่ ท่านกังวลมากกับปัญหาหนี้สินที่ครอบครัวมีอยู่ ท่านรู้สึกโชคดีที่ได้เข้ารับการรักษาที่นี่ ไม่รู้สึกกังวลกับเรื่องการแบ่งปันทรัพย์สินที่ท่านพอมีอยู่ให้คนข้างหลัง หลายครั้งที่ท่านไม่พอใจกับการช่วยเหลือดูแลของทีมแพทย์พยาบาลที่นี่ ท่านยอมรับได้หากจะต้องเสียชีวิตในวันนี้ ตอนนี้ท่านยังรู้สึกกลัวต่อสิ่งต่างๆ ที่ก�ำลังจะเกิดขึ้นกับท่าน

+ + + + + + + + + -

ยังมีอะไรอีกบ้างที่ท่านอยากบอกให้ทีมดูแลได้ทราบ..................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................

����������������������������������.indd 230

9/12/16 6:56 PM


231

ทางปัญญาของผู้ป่วยระยะท้าย (ต่อ) เห็นด้วย อย่างยิ่ง

เห็นด้วย

เฉยๆ/ ไม่แน่ใจ

ไม่เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง

...................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................

����������������������������������.indd 231

9/12/16 6:56 PM


232

ตัวอย่างบันทึกข้อมูลผู้ดูแลหลัก คนที่ ๑ (๒, ๓) ชื่อ..................................................................................... ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย................................. โทร...................................... อายุ............ปี อาชีพ................................ การศึกษา................................. เวลาดูแลเฉลี่ย.......................ชม./วันหรือสัปดาห์ ทักษะการช่วยเหลือผู้ป่วย ปานกลาง ไม่ดี ดี อื่นๆ ระบุ....................................................................................... ความห่วงใย/ใส่ใจดูแล ปานกลาง น้อย มาก อื่นๆ ระบุ....................................................................................... บรรยากาศเมื่ออยู่กับผู้ป่วย กลาง ตึงเครียด ดี อื่นๆ ระบุ....................................................................................... ข้อมูลที่น่าสนใจอื่น.................................................................................... .................................................................................................................. .................................................................................................................. ..................................................................................................................

����������������������������������.indd 232

9/12/16 6:56 PM


233

ตัวอย่างแบบบันทึกการดูแลจิตใจของญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วย

ได้ผลน้อย

ได้ผลพอใช้

กิจกรรมการดูแลที่ให้

ได้ผลดี

ผลการดูแล

บันทึกเพิ่มเติม/ ประเด็นที่ต้อง ติดตาม

การได้รับฟังเรื่องราวของผู้ป่วย ที่ผู้ดูแลอยากเล่า ได้ประเมินการรับรู้/การยอมรับสภาพของผู้ป่วย อธิบายสถานการณ์โรคของผู้ป่วย/ วิธีให้การดูแลรักษา (หลังจากแพทย์หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายแจ้งผลแล้ว) การประเมินสุขภาวะทางปัญญาของผู้ดูแล (Pre-test) การส�ำรวจปัญหา/ภาระของผู้ดูแล การรับฟัง/ปลดเปลื้องภาระของผู้ดูแล การเสริมพลัง/สร้างคุณค่าให้ผู้ดูแล การเตรียมความพร้อมผู้ดูแล เพื่อการจากไปของผู้ป่วย การให้เทคนิคสวดมนต์/ ภาวนาเพื่อผู้เยียวยาผู้ป่วย กิจกรรมอื่นๆ............................................. การประเมินสุขภาวะทางปัญญาของผู้ดูแล (Post-test) การเยี่ยม/เสริมก�ำลังใจเมื่อสูญเสีย-ร่วมงานศพ

����������������������������������.indd 233

9/12/16 6:56 PM


234

ตัวอย่างแบบประเมินระดับสุขภาวะทาง ประเด็นค�ำถาม ท่านอยากรู้ข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับสภาพของผู้ป่วยแม้รู้ว่าเป็นข่าวร้าย สุขภาพร่างกายของท่านดีพอที่จะเฝ้าดูแลผู้ป่วยได้ทุกวัน ท่านมีงานที่ต้องรับผิดชอบมากจนไม่สามารถมาดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ ท่านไม่มีใครเป็นที่ปรึกษาหรือคอยให้ก�ำลังใจอยู่ข้างๆ ไม่มีใครสนใจความเหนื่อยยากหรือต้องการแบ่งเบาภาระในการดูแลของท่าน ท่านหวังอยู่เสมอว่าผู้ป่วยจะต้องดีขึ้นกว่านี้ ท่านยอมรับได้หากผู้ป่วยจะต้องจากไปในวันนี้ ท่านรู้สึกเหนื่อยล้าในการดูแลจนเคยนึกอยากให้ผู้ป่วยตายจากไปเร็วๆ ท่านรู้สึกภูมิใจที่ได้ดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่ในขณะที่เขา/เธอล�ำบากอยู่นี้ ท่านเคยนึกโกรธญาติพี่น้องคนอื่นที่ไม่มาช่วยผลัดเปลี่ยนดูแลผู้ป่วย ท่านรู้สึกว่าเป็นเวรกรรมของท่านที่ต้องมาดูแลผู้ป่วยแบบนี้ ท่านยังพร้อมที่จะดูแลผู้ป่วยเสมอ แม้เขาจะไม่รับรู้แล้วว่าใครดูแลเขาอยู่ ท่านเป็นห่วงและทุกข์มากกับการเจ็บป่วยของเขา/เธอ หากใครบอกว่ามีวิธีการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้นได้ท่านรีบตั้งใจฟังทันที ท่านสามารถให้อภัยในความผิดพลาดต่างๆ ที่ผู้ป่วยเคยท�ำกับท่านไว้ได้ทั้งหมด

����������������������������������.indd 234

+ + + + + +

9/12/16 6:56 PM


235

ปัญญาของญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย

����������������������������������.indd 235

ไม่เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

9/12/16 6:56 PM


236

ตัวอย่างแบบประเมินระดับสุขภาวะทาง ประเด็นค�ำถาม ระหว่างดูแล ท่านได้กล่าวขอโทษและบอกสิ่งที่ค้างคาใจให้ผู้ป่วยฟังหมดแล้ว ท่านคิดว่าการได้ดูแลผู้ป่วยเช่นนี้ เป็นการสั่งสมบุญบารมีอย่างหนึ่ง ท่านคิดว่าทางโรงพยาบาลควรเข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วยมากกว่านี้ ท่านสังเกตว่าเจ้าหน้าที่ท�ำงานหนักและเหนื่อยไม่น้อยที่ต้องเข้ามาดูแลผู้ป่วย

+ + +

ยังมีอะไรอีกบ้างที่ท่านอยากบอกให้ทีมดูแลได้ทราบ..................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................

***วิธีการใช้งานเป็นแบบเดียวกันกับแบบประเมินระดับสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยระยะท้าย

����������������������������������.indd 236

9/12/16 6:56 PM


237

ปัญญาของญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย (ต่อ) เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

...................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................

����������������������������������.indd 237

9/12/16 6:56 PM


238

ตัวอย่างแบบประเมินความพึงพอใจ ประเด็นค�ำถาม ท่านคิดว่าแพทย์ใส่ใจดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่ ท่านเคยอยากร้องเรียนเรื่องการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ท่านรู้สึกโชคดีที่ได้น�ำผู้ป่วยมารักษาที่นี่ ท่านเคยคิดที่จะย้ายสถานที่รักษาผู้ป่วยเพราะไม่พอใจการรักษาที่นี่ ท่านรู้สึกเห็นใจเจ้าหน้าที่ที่ทุ่มเทดูแลผู้ป่วยหนักอย่างนี้อยู่ทุกวัน ท่านรู้สึกว่าพยาบาลควรใส่ใจในการดูแลผู้ป่วยมากกว่านี้ ท่านรู้สึกดีที่มีทีมใจสบายเข้ามาเยี่ยมพูดคุยกับท่าน ท่านไม่ค่อยได้ใช้เทคนิคต่างๆ ที่ทีมใจสบายมาแนะน�ำให้ใช้ บางครั้งท่านรู้สึกร�ำคาญทีมใจสบายที่มักถามซอกแซกถึงเรื่องส่วนตัว ท่านรออยากให้ถึงช่วงเวลาที่ทีมใจสบายเข้ามาเยี่ยมผู้ป่วย

+ + + + +

* เพื่อให้ผู้ประเมินไม่ต้องเกรงใจหรือล�ำบากใจ ควรให้ทีมงานคนอื่นที่ไม่ใช่ผู้รับผิดชอบ ผู้ป่วยเป็นผู้น�ำแบบประเมินความพึงพอใจไปให้ผู้ป่วย/ญาติท�ำ ** ลักษณะการคิดคะแนนเช่นเดียวกับแบบประเมินระดับสุขภาวะทางปัญญาของผูป้ ว่ ย *** ทีมใจสบาย เป็นชื่อสมมติของทีมดูแลผู้ป่วยระยะท้าย

����������������������������������.indd 238

9/12/16 6:56 PM


239

ในการรับบริการของผู้ป่วย/ญาติ เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย

����������������������������������.indd 239

ไม่เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

9/12/16 6:56 PM


����������������������������������.indd 240

9/12/16 6:56 PM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.