วิทยาสาร มกราคม

Page 1

วิทยาสาร ฉบับที่ 3 ปีที่ 1 ประจำ�เดือน มกราคม 2554 จุลสารความรู้รายเดือนฉบับอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จ.สงขลา 90112

สาระในเล่ม

อวยพรปีใหม่

น.1

แนะนำ�บุคลากร

น.4

ผลการประกวดคำ�คม

น.6

เล่าสู่กันฟัง

น.7

มุมระบายความคิด

น.8

ประมวลภาพกิจกรรม

น.9

Smart Science by Smart People

ทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์

ประจำ�เดือน พ.ย.-ธ.ค.53

Smart Science by Smart People

ระบบควบคุมคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา การประกันคุณภาพภายใน (IQA) และ การประกันคุณภาพภายนอก (EQA) โดย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายระบบคุณภาพ

(สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.รพีพรรณ วิทิตสุวรรณกุล กับแนวคิดการทำ�งานและการขอกำ�หนดตำ�แหน่งทางวิชาการ (ศาสตราจารย์คนล่าสุด คณะวิทยาศาสตร์) โดย ศิริประภา เรณุมาศ

(Tea Talk 3, งานสังสรรค์วันปีใหม่, ทำ�บุญวันขึ้นปีใหม่, งานวันเด็ก)

Smart Science by Smart People ฉลาดคิด คณะวิทย์ก้าวไกล


ฉ.3 ปี1/ 2554

หน้า 1

วยพรปี ใ หม่ อ ทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์

รศ.ดร.จุฑามาส ศตสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์

ในศุภวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2554 ขออาราธนา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ในสากลโลก และขออัญเชิญอานุภาพ แห่งพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ ตลอดจนเดชะพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้โปรดดลบันดาลประทานพรให้ทุกท่าน ประสบแต่ความสุขความเจริญ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และขอให้ปี 2554 นี้ เป็นปีแห่งการยึดมั่นและเจริญรอยตามเบื้อง พระยุคลบาท ดำ�รงตนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้ประมาณตนเพื่อวิถีความเป็นอยู่ ที่ ยั่งยืน ประสบแต่ความสุขที่แท้จริงตลอดปี 2554

ในโอกาสขึ้นปีใหม่ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย จงอำ�นวยพรให้ทุกท่านมีความสุข สุขภาพแข็งแรง และประสบความสำ�เร็จสิ่งที่หวังตลอดไป รศ.ดร.วิไลวรรณ โชติเกียรติ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา

ในศุภวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2554 ขออวยพรให้ท่านประสบแต่ความสุข และความสำ�เร็จตลอดไปเทอญ ผศ.ดร.อภิชัย ชูปรีชา รองคณบดีฝ่ายพัฒนาระบบและเทคโนโลยี

ขอให้ผู้อ่านทุกท่าน มีความเจริญทั้งทางโลกและ ทางธรรมมีสุขภาพแข็งแรงและมีจิตใจแจ่มใสเบิกบาน รศ.ดร.วราภรณ์ ตันรัตนกุล รองคณบดีฝ่ายการคลังและบริการวิชาการ

ในศุภวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ขออำ�นาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งหลายในสากลโลก โปรดดลบันดาลให้ทุก ท่านที่คิดดี ทำ�ดี จงประสบแต่ความสุขความ สำ�เร็จ ในสิ่งอันพึงปรารถนา ตลอดไป ครับ ผศ.ดร.ภัทร อัยรักษ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ กลับสู่หน้าหลัก

Smart Science by Smart People ฉลาดคิด คณะวิทย์ก้าวไกล


ฉ.3 ปี1/ 2554

หน้า 2

ขออวยพรให้บุคลากรทุกท่านได้รับสิ่งดีๆ ที่ปรารถนา มีความสุขความเจริญตลอดไปครับ

ขอให้ทุกท่าน มีความสุข ทั้งกายและใจตลอดไปค่ะ รศ.ลัดดา เอกสมทราเมษฐ์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา

ผศ.ดร.อำ�นาจ เปาะทอง รองคณบดีฝ่ายพัฒนาบุคลากรและการจัดการความรู้

มอบสิ่งดีปรีดิ์เปรมเกษมสมัย กิจก้าวไกลสุขสวัสดิ์พิพัฒน์ผล สิ่งศักดิ์สิทธิ์เสกสรรบันดาลดล พรมงคลให้พร้อมพรั่งยั่งยืนนาน ผศ.สมสมร ชิตตระการ รองคณบดีฝ่ายวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ขอให้ชาวคณะวิทย์มีความสุขในการทำ�งาน คิดดี ทำ�ดี ดร.วันดี อุดมอักษร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายระบบคุณภาพ

ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ มีความสุข ตลอดปี ๒๕๕๔ นี้ ผศ.ชุติพร จิโรจน์กุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ

ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ขออำ�นาจความดีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ท่านนับถือ ดลบันดาลให้ท่านประสบพบความสุข ความสมหวังตลอดไปเทอญ อ.สมศักดิ์ คงแสง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ กลับสู่หน้าหลัก

Smart Science by Smart People ฉลาดคิด คณะวิทย์ก้าวไกล


ฉ.3 ปี1/ 2554

หน้า 3

ขอให้ชาวบานบุรี มีความสุข และ สนุกกับชีวิต ตลอดปีกระต่าย ค่ะ ดร.กมลธรรม อ่ำ�สกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและประชาสัมพันธ์

ขอขอบพระคุณอาจารย์และบุคลากรทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุนการทำ�งานในทุกภาระกิจและ กิจกรรมของคณะฯ ด้วยดียิ่งเสมอมา ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านเคารพนับถือ จงดลบันดาลให้ ทุกท่าน และครอบครัวประสบแต่ความสุข สดชื่น สมหวัง ปราศจากโรคภัย และพานพบแต่สิ่งดีๆ เข้ามา ในชีวิต ตลอดปี 2554 และตลอดไป นายประสาท ศรประสิทธิ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม

Smart Science by Smart People ฉลาดคิด คณะวิทย์ก้าวไกล

กลับสู่หน้าหลัก


นะนำ � บุ ค ลากร แ

ฉ.3 ปี1/ 2554

หน้า 4

ประจำ�เดือน พ.ย.-ธ.ค. 53

ชื่อ-สกุล ตำ�แหน่ง สังกัด บรรจุเมื่อวันที่ จบการศึกษา คติประจำ�ใจ ข้อคิดในการทำ�งาน

นางสาวสกลวรรษ์ เพชรประกอบ นักวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเคมี 15 พฤศจิกายน 2553 ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยทักษิณ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ขยัน อดทน หมั่นฝึกฝนให้ชำ�นาญงาน

ชื่อ-สกุล ตำ�แหน่ง สังกัด บรรจุเมื่อวันที่ จบการศึกษา คติประจำ�ใจ ข้อคิดในการทำ�งาน

นางสาวแพรนาตยา กาจกำ�แหง นักวิชาการอุดมศึกษา หน่วยส่งเสริมและพัฒนาทางวิชาการ 15 พฤศจิกายน 2553 ระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่มีคำ�ว่าสาย ถ้าคิดจะเริ่มต้น ในการทำ�งานนั้น เราไม่ใช่แค่ไปทำ�งานแต่เพียง อย่างเดียว แต่เรายังต้องไปทำ�ความรู้จักกับสังคม การเป็นผู้ให้และผู้รับที่ดีจะทำ�ให้ใครๆ รักและ เคารพเราเสมอ

ชื่อ-สกุล ตำ�แหน่ง สังกัด บรรจุเมื่อวันที่ จบการศึกษา คติประจำ�ใจ ข้อคิดในการทำ�งาน

นายพิทักษ์ เศวตสุนทร อาจารย์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) 7 ธันวาคม 2553 ระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน ความพยายามและมุ่งมั่นนำ�มาซึ่งความสำ�เร็จ

ชื่อ-สกุล ตำ�แหน่ง สังกัด บรรจุเมื่อวันที่ จบการศึกษา คติประจำ�ใจ ข้อคิดในการทำ�งาน

นายวีระชาติ โกมลตรี พนักงานขับรถยนต์ หน่วยอาคารสถานที่และยานพาหนะ 1 ธันวาคม 2553 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการจัดการทั่วไป สถาบันราชภัฏสงขลา ทำ�ในสิ่งที่รัก และรักในสิ่งที่ทำ� การบริการคืองานของเรา กลับสู่หน้าหลัก

Smart Science by Smart People ฉลาดคิด คณะวิทย์ก้าวไกล


ฉ.3 ปี1/ 2554

ชื่อ-สกุล ตำ�แหน่ง สังกัด บรรจุเมื่อวันที่ จบการศึกษา คติประจำ�ใจ ข้อคิดในการทำ�งาน ชื่อ-สกุล ตำ�แหน่ง สังกัด บรรจุเมื่อวันที่ จบการศึกษา คติประจำ�ใจ ข้อคิดในการทำ�งาน

นายกมล ไชยภักดี พนักงานรักษาความปลอดภัย หน่วยอาคารสถานที่และยานพาหนะ 1 ธันวาคม 2553 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่างยนต์ โรงเรียนสงขลาเทคโนโลยี ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำ�เร็จอยู่ที่นั่น ความรับผิดชอบ คือ สิ่งสำ�คัญในการปฏิบัติหน้าที่

หน้า 5

นายวันทยุติ หนูพิลักษณ์ พนักงานรักษาความปลอดภัย หน่วยอาคารสถานที่และยานพาหนะ 1 ธันวาคม 2553 ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนธรรมโฆษิต ทำ�วันนี้ให้ดีที่สุด ทำ�หน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อวันต่อไป

ชื่อ-สกุล ตำ�แหน่ง สังกัด บรรจุเมื่อวันที่ จบการศึกษา คติประจำ�ใจ ข้อคิดในการทำ�งาน

นายวิโรจน์ ทองชูช่วย พนักงานรักษาความปลอดภัย หน่วยอาคารสถานที่และยานพาหนะ 1 ธันวาคม 2553 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่างยนต์ โรงเรียนสงขลาเทคโนโลยี มุ่งมั่นและตั้งใจทำ�งาน คิดก่อนทำ� และตั้งใจปฏิบัติงาน

ชื่อ-สกุล ตำ�แหน่ง สังกัด บรรจุเมื่อวันที่ จบการศึกษา คติประจำ�ใจ ข้อคิดในการทำ�งาน

นายจิระพันธุ อาวรเจริญ พนักงานรักษาศพ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ 9 ธันวาคม 2553 ระดับมัธยมศึกษา 6 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกอบกาญจน์ ทำ�ให้ดีที่สุด ทำ�ให้ดีที่สุด

กลับสู่หน้าหลัก

Smart Science by Smart People ฉลาดคิด คณะวิทย์ก้าวไกล


ฉ.3 ปี1/ 2554

หน้า 6

ลการประกวดคำ � คม ผ Smart Science by Smart People

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ประกวดคำ�คม ภาษาไทยที่สอดคล้องกับ “Smart Science by Smart People” โดยเปิดโอกาสให้บุคลากร ของคณะฯ มีส่วนร่วมในการส่งผลงานเข้าร่วมประกวด เพื่อชิงเงินรางวัล 1,000 บาท มีกติกาว่าต้อง เป็นผลงานที่ไม่เคยส่งไปประกวดที่ใดมาก่อน ผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัลถือเป็นกรรมสิทธิ์ของหน่วยงานจัด ประกวด และการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นเด็ดขาด ทั้งนี้ ผลงานที่ได้รับการคัดเลือก ฝ่ายพัฒนาบุคลากร และการจัดการความรู้ จะนำ�ไปประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนการทำ�งานของฝ่ายฯ ตามโอกาสต่างๆ ต่อไป สำ�หรับผลงานที่ร่วมส่งเข้าประกวดในครั้งนี้ มีจำ�นวน 44 ผลงาน โดยคณะกรรมการฯ ได้มีการประชุมเพื่อทำ�การ คัดเลือกรางวัลชนะเลิศ 1 ผลงาน และได้เพิ่มรางวัลชมเชยจำ�นวน 500 บาท อีก 1 ผลงาน พร้อมทั้ง ได้มอบพวงกุญแจเป็น ที่ระลึกสำ�หรับผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทุกคนที่ไม่ได้รับการคัดเลือกฯ ทั้งนี้ ได้ทำ�การประกาศผลการประกวดอย่าง เป็นทางการไปแล้วในวันจัดงานปีใหม่ของคณะฯ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2553 โดยมีผลการประกวด ดังนี้

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่

ผลงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เยาวลักษณ์ ดิสระ สังกัด ภาควิชาจุลชีววิทยา ชื่อคำ�คม

“ฉลาดคิดวิทย์ฯ ก้าวไกล”

รางวัลชมเชย ได้แก่

ผลงานของ สังกัด ชื่อคำ�คม

นายสันติ บัวกิ่ง หน่วยโสตทัศนศึกษา

“เลิศวิทย์ เลิศคน รู้คิดค้น รู้วิจัย” กลับสู่หน้าหลัก

Smart Science by Smart People ฉลาดคิด คณะวิทย์ก้าวไกล


ฉ.3 ปี1/ 2554

เ ล่าสู่กันฟัง

หน้า 7

ระบบควบคุมคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา การประกันคุณภาพภายใน (IQA) และการประกันคุณภาพภายนอก (EQA) โดย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายระบบคุณภาพ

ณ วันนี้ ระบบควบคุมคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นอย่างไร? คณะวิทยาศาสตร์ ต้องรับการประเมินคุณภาพภายใน และภายนอก สำ�หรับผลดำ�เนินงานในปีการศึกษา 2553 โดยใช้เกณฑ์คุณภาพที่ เน้นปัจจัยนำ�เข้า (INPUT) และกระบวนการ (PROCESS) ของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำ�หรับการประเมินคุณภาพภายใน และเกณฑ์คุณภาพที่เน้นผลผลิต (OUTPUT) และผลลัพธ์ (OUTCOME) ของสำ�นักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) สำ�หรับการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวเป็นเกณฑ์ใหม่ทั้งหมด ดังนั้น การทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์ดังกล่าวมีความสำ�คัญ อย่างยิ่ง ที่จะทำ�ให้ชาวคณะวิทย์สามารถช่วยให้คณะวิทย์ของเราผ่านการประเมินได้ ทุกคนมีส่วนสำ�คัญอย่างยิ่งที่จะร่วมแรงร่วมใจกันในการ ปฏิบัติและจัดการกระบวนการอย่างเป็นระบบในทุกพันธกิจตั้งแต่การทำ�แผนกลยุทธ์การบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การ บริการวิชาการ การทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษารวมทั้งการรวบรวมและให้ข้อมูลที่เป็น ผลผลิตและผลลัพธ์ของการดำ�เนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และบทบาทที่เกี่ยวข้อง รอบนี้ขอทำ�ความรู้จักกับ ระบบควบคุมคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในปัจจุบันก่อน ระบบดังกล่าวแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.การประกันคุณภาพภายใน (INTERNAL QUALITY ASSESSMENT : IQA) 2.การประกันคุณภาพภายนอก (EXTERNAL QUALITY ASSESSMENT : EQA) *****การประกันคุณภาพภายใน (IQA) คืออะไร? การประกันคุณภาพภายในตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในมาตรา 48 คือ ขบวนการและกลไกที่จัดอย่างเป็นระบบเพื่อควบคุมกระบวนการผลิตนักศึกษาให้มีคุณภาพ และเป็นไปตามข้อกำ�หนดที่ สกอ. ได้กำ�หนดไว้ 9 องค์ประกอบได้แก่ 1) ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนดำ�เนินการ 2) การผลิตบัณฑิต 3) กิจกรรมพัฒนานักศึกษา 4) การวิจัย 5) การ บริการวิชาการ 6) การทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรม 7) การบริหารและการจัดการ 8) การเงินและงบประมาณ 9) ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ รวม 23 ตัวบ่งชี้ และ อีก 1 องค์ประกอบเกี่ยวกับสถานศึกษา 3D [ส่งเสริมประชาธิปไตย (democracy) คุณธรรมความเป็นไทย (decency)และ ห่างไกลยาเสพติด (drug free)] อีก 2 ตัวบ่งชี้ รวม 25 ตัวบ่งชี้ รวม 25 ตัวบ่งชี้ โดยเกณฑ์ดังกล่าวจะเน้นปัจจัยนำ�เข้า (INPUT) และกระบวนการ (PROCESS) รวมทั้งมีบางส่วนที่ประเมินในด้านผลผลิต (OUTPUT) ด้วย และคณะจะได้รับการรับรองคุณภาพจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งจะต้องรับการประเมินคุณภาพภายใน ปีละ 1 ครั้ง *****การประกันคุณภาพภายนอก (EQA) คืออะไร? การประกันคุณภาพภายนอก คือ กระบวนการตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษา ตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในมาตรา 49 คือ สมศ. มีหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพ ภายนอก และรับรองคุณภาพของสถาบันการศึกษา โดยทำ�การตรวจสอบและประเมินด้านผลผลิต (OUTPUT) และผลลัพธ์ (OUTCOME) ได้แก่ คุณภาพของบัณฑิต ผลงานทางวิชาการ ผลงานบริการวิชาการที่เป็นประโยชน์กับสังคม ชุมชน และได้มีการเชื่อมโยงการประกันคุณภาพภายใน โดยนำ�ผลการประเมินคุณภาพภายในมาใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพด้วย สำ�หรับเกณฑ์การประเมินรอบนี้จะมีตัวบ่งชี้ 3 กลุ่ม คือ 1 ) ตัวบ่งชี้พื้นฐาน ประกอบด้วย ด้านคุณภาพบัณฑิต ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ด้านการทำ�นุบำ�รุงศิลปะและวัฒนธรรม ด้านการบริหารและพัฒนาสถาบัน และด้านการพัฒนาและประกันคุณภาพภายใน รวม 15 ตัวบ่งชี้ 2) ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ 2 ตัวบ่งชี้ และ 3 ) ตัว บ่งชี้มาตรการส่งเสริม 1 ตัวบ่งชี้ รวมทั้งหมด 18 ตัวบ่งชี้ และการที่คณะจะได้รับการรับรองคุณภาพ จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งจะต้องรับการประเมินภายนอกจาก สมศ. ทุกๆ 5 ปี โปรดติดตามตอนต่อไป สำ�หรับรายละเอียดของตัวบ่งชี้ต่างๆ ทั้งการประเมินคุณภาพภายใน (IQA) และการประเมินคุณภาพภายนอก (EQA) รวมทั้งบทบาทของชาวคณะวิทย์ และหน่วยงานตั้งแต่ระดับภาควิชาฯ หลักสูตร รวมทั้งหน่วยงานสนับสนุน ซึ่งทุกภาคส่วนดังกล่าวมีส่วน สำ�คัญในการทำ�ให้คณะวิทย์ของเราผ่านประเมิน และได้รับการรับรองคุณภาพ

“ชาวบานบุรี ร่วมแรง ร่วมใจ ช่วยคณะวิทย์ ผ่านประเมิน”

Smart Science by Smart People ฉลาดคิด คณะวิทย์ก้าวไกล

กลับสู่หน้าหลัก


ฉ.3 ปี1/ 2554

หน้า 8

มุ มระบายความคิด สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.รพีพรรณ วิทิตสุวรรณกุล กับแนวคิดการทำ�งานและการขอกำ�หนดตำ�แหน่งทางวิชาการ (ศาสตราจารย์คนล่าสุด คณะวิทยาศาสตร์) โดย ศิริประภา เรณุมาศ

ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.รพีพรรณ วิทิตสุวรรณกุล อาจารย์ประจำ�ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำ�รงตำ�แหน่ง ศาสตราจารย์ ระดับ 10 ในสาขาวิชาชีวเคมี ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2551 วิทยาสารฉบับนี้ จึงถือโอกาสนี้เข้าพูดคุยกับท่านถึงแนวคิดการทำ�งานและการขอตำ�แหน่งทางวิชาการ (ศาสตราจารย์คนล่าสุด) กันค่ะ หลังจากที่ศาสตราจารย์ ดร.รพีพรรณ วิทิตสุวรรณกุล จบการศึกษาระดับปริญญาเอก จาก University of Minnesota ประเทศ สหรัฐอเมริกา ก็เริ่มทำ�งานที่คณะวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 สังกัดภาควิชาชีวเคมี ด้วยขณะที่เริ่มทำ�งานจำ�นวนนักศึกษาและอาคาร เรียนต่างๆ ยังมีน้อย และนโยบายมหาวิทยาลัยและคณะต่างๆ เน้นส่งเสริมในด้านการเรียนการสอนมากกว่าด้านงานวิจัย แต่ด้วยพื้นฐานที่ ท่าน ศาสตราจารย์ ดร.รพีพรรณ ชื่นชอบในการทำ�งานวิจัยทำ�ให้มีผลงานทางวิชาการออกมาอย่างต่อเนื่อง “ตอนจบมาใหม่ๆ ก็เข้ามาทำ�งาน ที่คณะวิทยาศาสตร์ ตามเงื่อนไขนักเรียนทุนรัฐบาลระดับอุดมศึกษาต่างประเทศ ภายใต้ความต้องการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ กลับมาทำ�งาน ที่บ้านเกิด เมื่อทำ�งานได้ประมาณ 1 ปี มหาวิทยาลัยมหิดลได้ทำ�เรื่องยืมตัวไปทำ�งานวิจัยและสอนวิชา Cell Biology ที่หน่วย ประสาทชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เป็นระยะเวลากว่า 2 ปี และกลับมาทำ�งานที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อีกครั้ง โดยเริ่มทำ�งานวิจัยเมื่อปีพ.ศ. 2525 ส่วนตัวเป็นคนชอบทำ�งานวิจัย และงานที่ท้าทายซึ่งถือเป็นข้อดี เพราะคิดว่าถ้าจะสอนนักศึกษาอย่างเดียว ก็เปรียบตัวเองเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร ที่ทำ�หน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาเท่านั้น แต่หากได้ทำ�งานวิจัยควบคู่ไปด้วยก็เหมือนกับ เราได้พัฒนาตัวเอง การค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ได้ผลิตผลงานวิจัยและความรู้ใหม่ๆ ออก มาและสร้างสังคมทางวิชาการ โดยได้ติดต่อกับเพื่อนๆ นักวิจัยทั้งไทยและต่างชาติอีกด้วย” ศาสตราจารย์ ดร.รพีพรรณ กล่าว ด้วยความชื่นชอบในการทำ�งานวิจัย ทำ�ให้ศาสตราจารย์ ดร.รพีพรรณ ได้รับทุน จากหลายหน่วยงานได้แก่ ทุนจาก International Foundation for Science (IFS), United States Agency for International Development (USAID), สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.),สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.), ศูนย์ความเป็นเลิศด้าน ชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) เพื่อพัฒนางานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ระยะเวลาร่วม 28 ปีที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร.รพีพรรณ ได้ผลิตผลงานวิจัยชีวเคมีน้ำ�ยางพาราจำ�นวนมาก ซึ่งผลงานส่วนใหญ่จะเป็นผลงานที่มีความสัมพันธ์กันและสามารถต่อยอดพัฒนาไปสู่ผลงาน วิจัยใหม่ๆ ได้ “การทำ�งานวิจัยก็มีแรงกดดันในแง่เงื่อนไขทุนวิจัย อย่างเช่น ทุนของ TCELS ที่ มีเงื่อนไขว่าจะต้องสร้างงานวิจัยไปสู่การพาณิชย์เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่งานวิจัย ในการผลิตครีมยางพารา ที่ได้จากสารสกัดจากน้ำ�ยางพารา นำ�มาใช้ประโยชน์ในการผลิต เครื่องสำ�อางเพื่อปรับปรุงสุขภาพผิวพรรณให้ขาวสดใสขึ้น ช่วยลดริ้วรอยและการอักเสบจากสิวซึ่งเป็นการค้นพบที่สามารถสร้างความสุขแก่ผู้ ที่กำ�ลังต้องการทางออกสำ�หรับการดูแลผิวหน้า ทั้งยังช่วยสร้างมูลค่าให้วัตถุดิบท้องถิ่น คือ ตัวน้ำ�ยางพารา อีกด้วย ในส่วนของการเดินเรื่อง ขอตำ�แหน่งทางวิชาการนั้น ส่วนตัวไม่ได้มุ่งเน้นว่าจะต้องให้ได้ตำ�แหน่งใดๆ เพียงแต่เป็นไปโดยลำ�ดับตามขั้นตอน ด้วยเพราะตนเองมีผลงาน วิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่องและในแต่ละงานวิจัยที่ทำ�นั้นก็พยายามและทุ่มเทกับงาน ผลงาน ของเราก็จะเป็นสิ่งพิสูจน์เอง โดยเห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ตนเองได้พยายามและมุมานะ ซึ่งปัจจุบันนี้น้องๆ อาจารย์ นักวิจัยรุ่นใหม่ๆ ได้เปรียบในเรื่องความพร้อมของการวางแผนการดำ�เนินชีวิต เรื่องทุนวิจัย จึงอยากจะฝากให้ศึกษาในสิ่งที่ท้องถิ่นเรามีในแง่ของวัตถุดิบ ซึ่ง จะทำ�ให้เราได้เปรียบในการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน และหวังว่าจะได้เห็นความสำ�เร็จในแง่ของตำ�แหน่งทางวิชาการของคนรุ่นหลังซึ่งจะ สามารถเติบโตได้เร็วกว่าคนรุ่นก่อนๆอย่างแน่นอน” ศาสตราจารย์ ดร.รพีพรรณกล่าว กลับสู่หน้าหลัก

Smart Science by Smart People ฉลาดคิด คณะวิทย์ก้าวไกล


ประมวลภาพ

ฉ.3 ปี1/ 2554

หน้า 9

Tea Talk 3, งานสังสรรค์วันปีใหม่, ทำ�บุญวันขึ้นปีใหม่, วันเด็ก 2553 “งานสังสรรค์วันปีใหม่ 24/12/53+ ทำ�บุญวันขึ้นปีใหม่ 28/12/53”

“Tea Talk 3” : 16/12/53”

“ภาพกิจกรรมงานวันเด็ก” : 8/12/2553

กลับสู่หน้าหลัก

Smart Science by Smart People ฉลาดคิด คณะวิทย์ก้าวไกล


Smart Science by Smart People

ฉลาดคิด คณะวิทย์ก้าวไกล

คณะทำ�งานกองบรรณาธิการจุลสารความรู้ “วิทยาสาร” คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ปรึกษาบรรณาธิการ หัวหน้ากองบรรณาธิการ ผู้ช่วยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ

คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนาบุคลากรและการจัดการความรู้ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและประชาสัมพันธ์ นางสาวทัศนวรรณ แก้วศรีหน่อ นางจิตติมา โพธิ์เสนา นายอิสรภาพ ชุมรักษา นางสาวศิริประภา เรณุมาศ นางสาวพิมพาภรณ์ ชุมสุวรรณ์ นายสันติ บัวกิ่ง นางสาวอรุณศรี รัตนญา นางสาวจุฑามาศ ไพยรัตน์

กลับสู่หน้าหลัก

Smart Science by Smart People ฉลาดคิด คณะวิทย์ก้าวไกล


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.