ฟื้นบ้านย่านเวียง ฉบับ 2

Page 1

ฟืย่้นานบ้เวีายนง เชียงใหม่

ฉบับที่ 2 ปีที่ 1 มีนาคม 2555

วารสารเพื่อการดูแลและรักษา มรดกทางวัฒนธรรมของเวียงเชียงใหม่


เล่าเรื่องล้านนา

พระเจ้าไม้ล้านนา เรื่อง : วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ภาพ : แอนเจล่า ศรีสมวงศ์วัฒนา

การที่มีผู้กล่าวว่า “ล้านนาเป็นดินแดนแห่งศาสนา” เป็นสิ่งที่สามารถเห็นประจักษ์ ชัดเจน ซึ่งจะเห็นได้จากการสร้างศาสนสถานที่มีมากมายนับไม่ถ้วน และอีกสิ่งที่มี การสร้างควบคู่กับศาสนสถาน คือ “พระพุทธรูป” ซึ่งพระพุทธรูปไม้ในล้านนาก็มี การสร้างด้วยวัสดุหลายชนิด เช่น แกะจากหิน หยก และไม้ ซึ่งพระพุทธรูปไม้นั้น เป็นสิ่งที่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปในวัด โดยบางวัดอาจมีมากถึง 200-300 องค์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศรัทธาของ “ชาวล้านนา” ที่มีต่อศาสนา

คติของการสร้างพระพุทธรูปไม้ในล้านนา พบเนื้อความเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูปไม้ในชิน กาลมาลีปกรณ์ว่า “พระเมืองแก้ว” กษัตริย์ล้านนาซึ่ง ครองราชย์อยู่ในช่วง พ.ศ.2039-2069 ได้ทรงสร้าง พระพุทธรูปด้วยไม้แก่นจันทน์1 ซึ่งเป็นไม้หอมต่อมายัง เป็นที่นิยมในการท�ำสายประค�ำและพระพุทธรูปบูชาต่างๆ ท�ำให้สันนิษฐานได้ว่า ความนิยมสร้างพระพุทธรูปไม้ที่ พบมากในเขตล้านนาเป็นความนิยมที่มีมาแต่สมัยยุคทอง ของล้านนา และเป็นคติที่มีการเขียนต�ำนานรองรับความ ส�ำคัญ โดยเนื้อหาในต�ำนานเกี่ยวกับ “พระแก่นจันทน์” กล่าวไว้ว่า สมัยพุทธกาลครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จไป โปรดพระมารดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระเจ้าปเสนทิ โกศลกษัตริย์แคว้นสาวัตถี และชาวเมืองต่างเกิดความ ร�ำลึกถึงพระพุทธองค์ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงสั่งให้ช่าง แกะพระพุทธรูปด้วยแก่นไม้จันทน์แดง แล้วประดิษฐาน ไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ ครั้นพระพุทธ องค์เสด็จลงจากดาวดึงส์มาถึงบริเวณที่ประทับ เกิดปาฏิหาริย์กล่าวคือ พระแก่นจันทน์ลุกขึ้นมามี ปฏิสันถารกับพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงตรัสให้พระ แก่นจันทน์กลับไปยังอาสนะที่ประทับดังเดิม เพื่อให้เป็น ตัวอย่างของพระพุทธรูปที่พุทธบริษัทจะได้ใช้เป็นแบบ อย่างสร้างต่อไป เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว อนึ่ ง จากต� ำ นานพระแก่ น จั น ทน์ นี้ ท� ำ ให้ เ กิ ด การสร้ า ง พระพุทธรูปปางห้ามพระแก่นจันทน์ ซึ่งมีพุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปประทับยืน ทิ้งพระกรขวาข้างพระวรกาย พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์เป็น กิริยาห้าม พระบาทวางเสมอกัน

อานิสงส์ของการสร้างพระพุทธรูป

2

ชาวล้านนานิยมสร้างพระพุทธรูปถวายเป็นพุทบูชา สาเหตุหลักก็คงเนื่องมาจาก “อานิสงส์ของการสร้าง พระพุทธรูป” ที่ท�ำให้เกิดในตระกูลผู้มั่งมี ดังที่พบจาก คัมภีร์ใบลานเรื่อง “อานิสงส์สร้างพระพุทธรูป” ของวัดควรค่าม้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

วารสาร ฟื้นบ้าน-ย่าน-เวียง เชียงใหม่

จากเมื่อ จ.ศ.1290 (พ.ศ.2471) และสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้แปลและเรียบเรียงไว้ มีเนื้อความ กล่าวถึง อานิสงส์ของการสร้างพระพุทธรูป ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่หมู่ช่างปั้นหม้อ กรุงสาวัตถี ความว่า “อานิสงส์ของการสร้างพระพุทธรูปมี มหาผลานิสงส์มาก จะได้เป็นพระจักรพรรดิ ปราบทวีปทั้ง 4 เป็นมหาเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติมาก เป็นพราหมณ์จบ ไตรเพทในชาติทั้งหลายอันมาก และจะได้เป็นพระอินทร์ ผู้เป็นใหญ่ของหมู่เทวดาทั้งหลาย ผู้ที่สร้างพระพุทธรูป ถวายนั้น จะไม่ได้ไปเกิดในที่ทุคติแม้แต่ชาติเดียว ย่อมเกิด ในตระกูลมั่งมี”2 และยังมีเนื้อความอีกตอนหนึ่งที่กล่าวถึง อานิสงส์ผลบุญของการสร้างพระพุทธรูปด้วยวัสดุประเภท ต่าง ๆ ดังนี้ “ผู้ใดสร้างพระพุทธรูปด้วยใบตอง ใบไม้ ใบลาน ก็จะ รับอานิสงส์นาน 5 กัป สร้างด้วย... (ค�ำบันทึกบนใบลาน เลือนหาย) ได้อานิสงส์นาน 10 กัป สร้างด้วยดินเหนียว ได้อานิสงส์นาน 15 กัป สร้างด้วยไม้ ได้อานิสงส์นาน 20 กัป สร้างด้วยงา นอ เขาสัตว์ ได้อานิสงส์นาน 25 กัป สร้างด้วยดินเผา ได้อานิสงส์นาน 30 กัป สร้างด้วยหิน ได้ อานิสงส์นาน 35 กัป สร้างด้วยตะกั่ว ชิน ได้อานิสงส์นาน 40 กัป สร้างด้วยทองเหลือง ทองแดง ได้อานิสงส์นาน 45 กัป สร้างด้วยเงิน ได้อานิสงส์นาน 50 กัป

สร้างด้วยทองค�ำ ได้อานิสงส์นาน 60 กัป สร้างด้วยแก้ว มณี ได้อานิสงส์นาน 65 กัป และสร้างด้วยไม้ศรีมหาโพธิ์ ไม้แก่นจันทน์ก็จะได้รับอานิสงส์นานเป็นอนันต์หาก�ำหนด ไม่ได้” 3 จะเห็นได้ว่าการสร้างพระพุทธรูปด้วยไม้แก่นจันทน์ และไม้โพธิ์นั้นผู้สร้างจะได้รับอานิสงส์ไม่มีที่สิ้นสุด ท�ำให้ สันนิษฐานได้ว่าคติการสร้างพระพุทธรูปด้วยไม้ทั้ง 2 ชนิดนี้จึงเป็นที่นิยมและแพร่หลายในหมู่ชาวล้านนา ต่อ มายังพบการใช้ไม้อีกหลายชนิดที่ชาวล้านนาน�ำมาแกะ สลักเป็นพระพุทธรูปถวายไว้เป็นพุทธบูชา เช่น ไม้สัก ไม้ งิ้ว เป็นต้นในโครงการ “ฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่” มี โครงการย่อยในการสอนการแกะสลักพระพุทธรูปไม้ให้แก่ พระภิกษุ สามเณรและผู้สนใจได้เรียนรู้ ภายใต้การรับผิด ชอบของ “กลุ่มคนตัวเล็กกับการอนุรักษ์” ซึ่งมีสล่าเบญจิมิน สุตาและอาจารย์สุพจน์ จิตรทอง จากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้สอน ตลอดโครงการ

1 พระรัตนปัญญา, ชินกาลมาลีปกรณ์, แปลโดย แสง มนวิทูร, พิมพ์ครั้งที่ 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2518), 154. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราน ทานเพลิงศพ นายพงษ์สวัสดิ์ สุริโยทัย ณ เมรุวัดธาตุทอง วันที่ 15 พฤศจิกายน 2518) 2 วิเชียร สุรินต๊ะ และอุไร ไชยวงค์, ผู้แปล, อานิสงส์สร้างพระพุทธรูป, (เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม, ม.ป.ป) ไม่ระบุหน้า.__ 3 เรื่องเดียวกัน. พระเจ้าไม้วัดดอกค�ำ วัดดอกค�ำ อ.เมือง จ.เชียงใหม่​่


แกะพระเจ้าเล่าเป็นเรื่อง กิจกรรมฟื้นฟูฝีมือช่างล้านนา เรียบเรียง : สามารถ สุวรรณรัตน์ ภาพ : แอนเจล่า ศรีสมวงศ์วัฒนา

หากคลุ ก คลี กั บ แวดวงผญาปั ญ ญาว่ า ด้ ว ย วัฒนธรรมล้านนาบ้านเรา นักวิชาการและนักอนุรักษ์ที่มี คุณูปการ ต่อสารสืบภูมิ เชื่อมโยงองค์ความรู้จากรุ่นปู่รุ่น ย่าสู่ลูกหลานได้งดงามและเป็นที่ยอมรับ หลายคนคงนึกถึง อาจารย์วิลักษณ์ ศรีป่าซาง หนึ่งในครูผู้รู้และเชี่ยวชาญ ล้านนาคดี และผู้เขียนหนังสือ ‘พระเจ้าไม้ล้านนา’ อาจารย์ วิ ลั ก ษณ์ ก ล่ า วถึ ง ที่ ไ ปที่ ม าของความรั ก และความศรัทธาในพระเจ้าไม้ไว้อย่างน่าฟัง “ส�ำหรับครู พระเจ้าไม้ คือพระเจ้า(พระพุทธรูป)ของคนทุกข์ยาก องค์ พระได้ส่องสะท้อนแรงศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อพระพุทธ ศาสนา” “ในห้วงเวลาสองร้อยปีก่อน เชียงใหม่ไม่ได้มีงานศิลปะใน ทางสร้างพระที่สวยงามมากนัก มันเป็นยุคที่แรงข้างนอก มันเข้ามาเยอะ ทั้งพม่าทั้งสยาม ชาวบ้านหรือคนชั้นล่าง ก็ล�ำบากกัน ครั้นจะท�ำพระตอง(พระโลหะ)หรือพระแก้วก็ ไม่มีกำ� ลังทรัพย์ ได้อาศัยแกะควักพระเจ้าไม้นี่หละ ใช้ลงรัก ทาชาติลูบค�ำ(ทองหรือสีทอง)ตามก�ำลัง แล้วสมมติบอก แต่งให้ว่าเป็นแก้วเป็นค�ำ เสร็จสรรพจึงน�ำไปถวายวัด” อาจารย์วิลักษณ์ได้ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมอีก ว่า “เพราะเห็นคุณค่า ความงามและสายใยความผูกพัน กับผู้คน รวมถึงความล่มสลาย การถูกทิ้งขว้างปล่อยให้ ตากฝนตากแดดปล่อยให้ปลวกกินเสียหาย มันท�ำให้ครู รู้สึกอยากเก็บรักษา อยากบอกเล่าเรื่องราวของพระเจ้าไม้

เพราะวัฒนธรรมนี้มันได้ตายไปแล้ว พระเจ้าไม้ที่งดงาม ในสถานะให้กราบไหว้บูชา ที่ไม่ใช้แบบจัดแสดงอย่างใน พิพิธภัณฑ์ ก็มีอยู่ไม่กี่ที่ ตัวอย่างเช่น ที่วัดบุพพาราม วัดเจ็ดยอด วัดท้าววังค�ำที่อำ� เภอหางดง พระเจ้าไม้สะเหลียมหวาน ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง อ�ำเภอจอมทอง วัดพระเจ้าสะเหลียมหวาน ที่บ้านโฮ่ง จังหวัดล�ำพูน พระเจ้าพร้าโต้ วัดพระธาตุศรีดอนค�ำ จังหวัดแพร่” อาจารย์ ยั ง ได้ ใ ห้ แ ง่ คิ ด เรื่ อ งพระเจ้ า ไม้ ที่ โ ยงใย กั บ ความเปลี่ ย นของสั ง คมไว้ อ ย่ า งน่ า สนใจ“สั ง เกต ดู น ะพระเจ้ า ไม้ ห รื อ พระเจ้ า ปู น ปั ้ น ฝี มื อ ช่ า งพื้ น ถิ่ น จะมีหน้าละม้ายคล้ายคนในพื้นที่นั้นๆ เพราะสล่าเขาเอา แรงบันดาลใจ เอาแบบมาจากเณรหน้อย(อายุน้อย)ที่ หน้าตาน่ารัก สาวหน้อย(สาววัยร่นุ )ทีเ่ อาข้าวมาถวายทีว่ ดั นี่มันเป็นเสน่ห์นะ มันสัมพันธ์กับโลก มันบอกต�ำแหน่ง แห่งที่ของผู้คน และที่มากไปกว่านั้นกว่าจะสร้างพระเจ้า ได้สักองค์ ชาวบ้านต้องรวมเงินรวมแรงกันอย่างหนัก ปู่ปั่นอิฐ อ้ายน้อยขนหินขนดิน อีหล้าท�ำกับข้าวขนม มาฮอม ยายหรือย่าสละลานหู(ต่างหูทองม้วนเป็นลอด) ท�ำเป็นใจพระพุทธรูป สิ่งเหล่านี้คือปฏิสัมพันธ์ของชุมชน ที่งดงามและเป็นความหมายส่งต่อเป็นสายสัมพันธ์จาก อดีต มาถึงรุ่นพวกเรา มันน่าเศร้าที่คนรุ่นปัจจุบัน ซึ่งก็ คือพวกเราเองนี่หละ หลงลืม มัวเมากับวัตถุ กับเงิน

กับอัตตา วัดเราต้องมีแจกันจีนใบใหญ่ๆสวยๆ ต้องมี นาฬิกาไม้เรือนโต มีดอกไม้ประดิษฐ์ ต้องมีเจ้าแม่กวน อิม พระสังฆจาย มีกล่องบริจาคเยอะๆ มีชื่อของเรา คนเดียวติดอยู่ที่นู้นที่นี่ เราพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนโยกย้าย หรือท�ำลายของเก่าของเดิมที่มันมีคุณค่าและความหมาย ลึกซึ้งออกไปเพื่อสิ่งใหม่ๆ ที่นอกจากจะไม่เข้ากับบริบท ชุมชนแล้ว ยังหนักไปในทางแข่งขันประชันกัน เราต้อง ถามตนเองว่าเราให้ความส�ำคัญต่อความพอเหมาะพอควร น้อยลงไปรึเปล่า วัดต้องใหญ่ต้องโตหรือ ในขณะที่คน

เข้าวัดน้อยลงทุกที มันน่าคิดนะ ว่าสิ่งเหล่านี้เรอะที่ จะเป็นมรดกที่เราจะส่งต่อให้ลูกหลานของเรา แล้ว อะไรคือคุณค่าที่แท้ หรือสิ่งที่เราควรหันกลับมาเอาใจใส่ เพื่อรักษาขนบวัฒนธรรมอันดีงามของเราต่อไป เมื่อมอง องค์พระเจ้าไม้ ก็อยากให้พวกเราพินิจ ให้คิดให้ตรึกตรอง”

พี่แอ้ ธัญวลัย พ่อหนานเบญจิมิน สุตา

หรือที่ลูกศิษย์ลูกหาเรียกพ่อหนานด้วยความเคารพว่า “พ่อหนานมิน” พ่อหนานคือครูสล่าล้านนา ผู้มีความรู้ครอบคลุมงานสล่าเรียกได้ว่าแทบจะทุกแขนง ในสายงานสถาปัตยกรรมล้านนาและการสร้างชิ้นงานตกแต่งอาคารวัดวา ในระหว่างการอบรมแกะพระเจ้าไม้พ่อหนานได้แบ่งปันเรื่องราวความประทับใจเกี่ยว กับงานสล่าและงานแกะพระเจ้าไม้ไว้ให้เราอย่างน่าสนใจ “เมื่อก่อนพ่อแกะพระเจ้าไม้อยู่ บ่อยครั้ง จ�ำได้ว่าเคยท�ำองค์เท่าตัวคนด้วยนะ ท�ำอยู่สององค์ ตอนนั้นพ่อยังเด็ก จ�ำได้ว่า ช่วยกับพ่ออุ้มพระใส่เรือข้ามแม่น�้ำปิงไปส่งที่วัด ราคาองค์ละตั้ง 300 บาท” “หลังจาก ช่วงปีต้นๆของพ.ศ. 2500 ทางการเขาเริ่มเข้มงวดเรื่องไม้ พระตองก็หาได้ง่ายขึ้นและเป็นที่นิยม พระไม้ที่มีหน้าตาแบบ คนบ้านเรา ก็ค่อยๆเสื่อมความนิยมไป” ด้วยกาลเวลาที่แปรเปลี่ยนมุมมองต่อพระเจ้าไม้จึงเปลี่ยนตาม จากสิ่งสักการะบูชา หรือของถวาย กลับกลาย เป็นวัตถุสะสมสูงค่าเป็นที่ต้องการของตลาดวัตถุโบราณ พ่อหนานมินให้ความเห็นต่อความเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่าง ซาบซึ้งและน่าครุ่นคิด “พ่อไม่เห็นด้วยนะ จะเอาพระเจ้ามาซื้อขายกันเป็นของกลางตลาด จะเอากรดเอาโซดาไฟกัดผิว แช่น�้ำใส่สีให้เก่าให้ผุ พ่อว่ามันไม่เหมาะ ถ้าจะซื้อไปแต่งบ้านแต่งโรงแรมพ่อไม่เห็นด้วยเลย พระเจ้าไม่ใช่ของประดับเพื่อ สวยงาม แต่คือต้นทุนให้เราระลึกกราบไหว้ถึงพระพุทธคุณและระลึกถึงพระปัญญาอันวิสุทธิ์ ปัญญาที่ช่วยน�ำชีวิตของ เราไปในทางที่ดี จริงๆเรื่องวัฒนธรรม ความเหมาะควร มันคือเรื่องวิถี เรื่องชีวิต มันคือการสืบต่อคุณค่าของความเป็น คน เป็นเรื่องของปัญญา เป็นเรื่องที่เราต้องใส่ใจห่วงแหนเป็นส�ำคัญ”

คื อ สาวสวยหนึ่ ง เดี ย วที่ เ ข้ า มาร่ ว มฝึ ก อบรมการแกะพระเจ้ า ไม้ล้านนา พี่แอ้มีความ สนใจศิ ล ปะเป็ น ทุ น เดิ ม และประกอบงานฝีมือเป็น อาชีพ เช่น เย็บเครื่อง หนัง ถักโคร์เชต์ พอได้มา อบรมวั น แรกได้ รั บ ความ รู้เกี่ยวกับงานแกะพระเจ้าไม้ล้านนา ก็รู้สึกประทับใจมาก จากวันแรกๆที่จับค้อนจับสิ่วไม่ถนัด พอได้รับความรู้และ การสั่งสอนจากพ่อหนานมิน บวกกับลงมือลงแรงเคี้ยว กร�ำตนเองอยู่หลายสัปดาห์ พระเจ้าไม้จากฝีมือพี่แอ้ก็ ส�ำเร็จ ครบถ้วนลักษณะอันงดงามของพระเจ้าไม้ล้านนา “พี่จะน�ำพระที่แกะเองไปบูชาที่บ้าน ถ้าคราวหน้า มีอบรมลงรักปิดทองก็จะขอตามมาเรียนกับพ่อหนานอีก และคงเป็นเรื่องน่ายินดีมากหากกิจกรรมแบบนี้ เข้าไปอยู่ ในโรงเรียนในสถานศึกษา เด็กรุ่นหลังๆจะได้เรียนรู้ ซึมซับ และชื่นชมของดีๆและเรื่องราวดีๆของบ้านเราเช่นเดียวกับ ที่พี่ได้มีโอกาสดีๆในวันนี้”

วารสาร ฟื้นบ้าน-ย่าน-เวียง เชียงใหม่

3


หมู่เฮา...

เล่าเอง

เรื่อง : สามารถ สุวรรณรัตน์, ศุภกุล ปันทา และคน.ใจ.บ้าน ภาพ : กรินทร์ มงคลพันธ์, สามารถ สุวรรณรัตน์, ศุภกุล ปันทา

วัดพวกหงษ์ วัดชาวบ้าน วัดพวกหงษ์ ชาวเชียงใหม่หลายคนคงไม่คุ้นกับชื่อวัดนี้ วัดตั้งอยู่ใน ตรอกฝั่งทิศตะวันตกของถนนสามล้าน เป็นวัดเล็กๆ ที่มีศรัทธาไม่มากเท่ากับ วัดใหญ่ๆ วัดอื่นๆ ในเขตเมืองเก่า ต�ำนานเล่าว่า วัดพวกหงษ์เป็นวัดที่สร้างโดยสามัญชน ทั้งชาวบ้าน ไพร่ และกลุ่มช่างในสมัยก่อน ไม่ใช่ศรัทธาของเจ้าหรือกลุ่มข้าราชบริพารมียศศักดิ์ เช่นวัดอื่นๆ วัดพวกหงษ์จึงมีขนาดเล็ก ไม่หรูหราหรือโอ่อ่า บรรยากาศชวนให้ รู้สึกถึงความเรียบง่ายสงบงามแบบพื้นบ้าน

เจดีย์ปล่องวัดพวกหงษ์

สล่าจาวบ้าน ลักษณะที่โดดเด่นในวัดพวกหงษ์ที่ไม่เหมือนกับ วัดอื่นๆ ในเขต เมืองเก่ามีหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นก�ำแพงวัดที่ เตี้ยเท่าระดับเอว เชื่อมบรรยากาศภายในและภายนอก เหมือนเช่นสมัยก่อน, ต๊อมสรงน�้ำพระ หรือที่สรงน�้ำของ พระสงฆ์โบราณที่ยังคงเหลืออยู่, ใบเสมาแบบล้านนาดั้งเดิม เป็นพุทธศิลป์แบบล้านนาที่แทบจะไม่เหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน, เป็นสถานที่เก็บรักษาธรรมใบลานแหล่งส�ำคัญของเมือง, เจดีย์ ปล่อง รูปแบบเฉพาะของเจดีย์ที่พบเพียง 3 แห่งในเชียงใหม่ และ ลานดิน ลานโพธิ์ที่ร่มรื่นสบายตา ความศรัทธาของชาวบ้านสร้าง ความศักดิ์สิทธิ์และความสวยงามที่สงบนิ่งอันเกิดจากความเรียบง่าย

รูปปั้นหงษ์ บนก�ำแพง

บรรยากาศลานโพธิ์ในวัด

แต่ส�ำหรับในยุคปัจจุบัน ยุคที่ข้าวยากหมากแพง สังคมตลาดแบบนี้ คือสายลมอันสดชื่นที่ช่วยเกื้อหนุนคลี่คลายบรรยากาศอันอับทึบ อันเกิดจาก สภาวะการเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองที่เดินสวนทางกับรายได้และปัจจัยที่ เมื่อแดดร่มลมยามเย็นโรย โมงยามที่คนท�ำงานส่วนใหญ่กำ� ลังเลิกงาน เอื้อให้ผู้คนด�ำรงชีวิตได้อย่างเรียบง่ายในสังคมเมือง ตลาดและอาหารที่นี่จึงเป็น เป็นเวลาเดียวกับที่แม่ค้ารถเข็นประจ�ำตลาดขนาดเล็ก(คนเมืองเรียกติดปากว่า อีกทางเลือกที่ยั่งยืน งดงาม เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและความหมายควบคู่ไปกับ “กาดหน้อย” หรือ “กาดก้อม”) ริมถนนหน้าตึกไทยนิวส์ (ถนนสามล้าน) เมืองเก่าที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับไว...อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เริ่มเปิดร้านขายอาหารราคาย่อมเยา จากซอกซอยใกล้เคียงจนถึงเพิงไม้ ชั่วคราวเรียงรายทั้งสองฝากถนน แม่ค้าพ่อค้าเจ้าเดิมจะน�ำอาหาร ขนม ผลไม้ มาจัดวางรอลูกค้า ลูกค้าเจ้าประจ�ำที่อุดหนุนร้านค้าบนถนนสายนี้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคน ท�ำงานรับจ้างทั่วไปในเขตเมืองเชียงใหม่ กลุ่มคนท�ำงานรายได้ต่อเดือนไม่มาก นัก รวมถึงกลุ่มนักเรียนนักศึกษาระดับ ปวช. ปวส. พนักงานร้านสะดวกซื้อ แรงงานชาวไทใหญ่ที่เข้ามาท�ำงานในละแวกใกล้เคียง และกลุ่มคนท�ำงานหาเช้า กินค�่ำที่เป็นฟันเฟืองหลักในการหมุนเศรษฐกิจของเมืองเชียงใหม่ จะแวะเวียน มาจับจ่ายซื้อหาอาหารปรุงสุก ขนมคบเคี้ยว และผลไม้ก่อนจะกลับที่พัก ของซื้อของขายทั้งหมดจะเป็นอาหารปรุงส�ำเร็จ ขายแบบกับข้าวเป็น ถุงๆ ทั้งอาหารไทย ทั้งอาหารเมือง ของหวาน ของปิ้งย่าง ผลไม้ และของกิน เล่นเล็กๆ น้อยๆ ราคากับข้าวและขนมเริ่มต้นที่ 10 บาท ราคาที่หลายคนอาจ จะต้องตกใจว่าเงิน 10 บาท ที่น่าจะพอซื้อน�้ำดื่มได้แค่หนึ่งขวด นั้นสามารถซื้อ ลาบคั่วรสชาติดีได้หนึ่งถุงและผักสดกินแกล้มอย่างพอเหมาะพอแนม พร้อมรอยยิ้มและบทสนทนาม่วนงันจากพี่ป้าน้าอาเจ้าของร้าน แม้ว่าตลาดนี้จะไม่ใหญ่โตหรือมีเงินสะพัดจ�ำนวนมาก เหมือนอย่างห้าง สรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือตลาดเก่าแก่แห่งอื่นๆ ในเขตเมืองเก่า บรรยากาศตลาดหน้าตึกไทยนิวส์ ยามเย็น ลูกค้าขาประจ�ำก�ำลังเหมาปลาปิ้งก่อนกลับบ้าน

ร้านแวะซื้อ กับข้าวยามแลง

4

งามวัดวา...

วารสาร ฟื้นบ้าน-ย่าน-เวียง เชียงใหม่


ยายศรีบุตร สล่าปั้นพระ บ้านพวกหงษ์ หนึ่งในงานพุทธศิลป์ของคนล้านนาคือ การสร้างองค์พระพุทธรูป ขั้นตอนการสร้างพระพุทธรูปมีความซับซ้อน และอาศัยทักษะงานช่างที่ละเอียด อ่อน ตั้งแต่เริ่มการปั้นหุ่นแบบ การเททอง ไปจนถึงการขัดแต่งองค์พระพุทธรูป จนเสร็จส�ำเร็จ แม่ศรีบุตร แก้วจันทมา สล่าปั้นแบบพระเจ้า(พระพุทธรูป) รุ่นที่ 3 ของสายตระกูลดั้งเดิมจากชุมชนบ้านช่างหล่อ (กลุ่มบ้านช่างหล่อที่ กระจายตัวอยู่ในแถบพื้นที่ด้านทิศใต้ของย่านประตูเชียงใหม่) แม่ศรีบุตรย้าย บ้านมาอยู่บ้านพวกหงษ์เมื่อหลายสิบปีผ่านมา แต่ยังคงบรรจงฝีมือปั้นแบบ พระเจ้าเป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัวมาจนถึงปัจจุบัน ฝีมือของแม่เป็นที่ลำ�้ ลือใน หมู่ผู้ผลิตพระ งานปั้นพระเจ้าจะเริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ บนเก้าอี้ไม้เก่าตัวต�่ำที่จับ หมุนได้รอบ ดิน วัสดุและเครื่องมือถูกวางไว้รอบตัวให้หยิบจับสะดวก เช่นเดียว กับวิทยุทรานซิสเตอร์แบบใช้ถ่าน ถูกยึดด้วยลวดหลวมๆแขวนติดกับราวตาก ผ้าในระยะเอื้อม พร้อมส่งเสียงเพลงขับกล่อมบรรยากาศการท�ำงาน ขั้ น ตอนเก็ บ งานปั ้ น พระที่ คั่ ง ค้ า งจะเริ่ ม ต้ น แต่ เ ช้ า ไปจนจรดเวลา บ่าย แม่ขึ้นรูปพระเจ้าจากฐานบัวด้วยดินเหนียวผสมแกลบ กะสัดส่วนรูป ทรงพระเจ้าจากประสบการณ์ความช�ำนาญ ประกอบกับใช้เครื่องมือวัดระยะ แบบชาวบ้านๆ ที่ประดิษฐ์เอง ใช้ลวดไม้แขวนเสื้อในการเกลี่ยดิน สายรัดของ ถูกประยุกต์ใช้แทนเทปวัดระยะ เตาแก๊สปิ๊คนิคที่ให้ความร้อนในการหลอมขี้ผึ้ง บางครั้งก็ใช้เป็นตั่งวางพระดิน ทุกสิ่งอย่างถูกประยุกต์และใช้เข้ากับงานอย่าง กลมกลืน หลังจากที่แม่ศรีบุตรขึ้นรูปพระเจ้าจากฐานถึงยอดเศียรเสร็จแล้ว ก็จะละลายขี้ผึ้งเคลือบดินเหนียวไว้ ก่อนส่งให้ผู้ศรัทธามารับไปส่งให้ช่างหล่อเท ทองต่อไป รูปแบบองค์พระเจ้าที่สายตระกูลแม่ศรีบุตรสืบต่อกันมา เป็นพระเจ้า แบบเชียงแสนผสมสุโขทัย เป็นรูปแบบที่ล้านนารับอิทธิผลมามากที่สุด องค์พระเจ้าแบบเชียงแสนมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ รูปพระพักตร์(ใบหน้า)กลมหรือไข่ มีเกตุมาลา(ยอดเศียร)เป็นรูปดอกบัวตูม สูงหรือมีเปลวรัศมี มีไรพระศก(เส้นขอบไรผม) ชายจีวรยาวลงมาถึงพระ นาภี(สะดือ) ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิ นอกจากทักษะงานปั้นประติมากรรมที่ช�ำนาญแล้ว แม่ศรีบุตรยังมี ความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ที่เป็นองค์ความรู้สืบเนืองต่อยอดจากความรู้ เรื่องรูปแบบของตัวองค์พระเจ้า และภูมิความรู้เรื่องความเชื่อในพุทธศาสนา เทพเจ้า ผี วิญญาณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปจนถึงสิ่งลี้ลับ หลายๆ ค�ำบอกเล่าสะท้อน ความเชื่อกึ่งกุศโลบายที่เป็นมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนล้านนา ไม่ว่าจะเป็น การบูชาพระเจ้าประจ�ำปีเกิด เรื่องผีกะ ต�ำนานผีหัวโต เป็นต้น

กลองทิ้งบ้อม ลุงพัศและหมู่ละอ่อนวัดช่างลาน กลองทิ้งบ้อม เป็นกลองพื้นบ้านชนิดหนึ่ง หรือพูดได้ว่า กลองนี้เป็น เสมือนกลองยาวของคนล้านนา ชาวบ้านทั่วไปจะตีกลองนี้เพื่อแห่งานบุญ งานรื่นเริงต่างๆ เช่น งานปีใหม่ งานขึ้นบ้านใหม่ งานปอยหลวง งานแห่กระทง เสียงและจังหวะจากกลองทิ้งบ้อมสร้างบรรยากาศที่ มีกลิ่นอายของความ สนุกสนาน เร่งเร้า และมีลูกล่อลูกชน ส่งกันไปมา เป็นเครื่องดนตรีธรรมดา สามัญที่ใช้ในงานทั่วไป ไม่ใช้ในงานมงคลระดับสูง เช่น งานแห่พระ งานสรงน�ำ้ พระ ในวงกลองทิ้งบ้อมที่เน้นความสนุกสนาน จ�ำนวนกลองจึงมีได้ไม่จำ� กัด แต่โดยปกติแล้ว คณะกลองจะมีกลองหลักๆ ได้แก่ กลองใหญ่ กลองเล็ก ฉาบ และ กรับ ตีประกอบกันเป็นจังหวะที่ต้องการ ในเขตเมืองเก่านี้ ยังคงมีคนที่ตีกลองนี้อยู่แค่ 2 คณะ หนึ่งในสองคณะที่ ว่า คือ คณะลุงพัฒน์หัวล้าน ชุมชนช่างลาน (ลุงสุพัฒน์ ค�ำภีระปัญญา) ลุงพัศเล่าให้ฟังว่า งานว่าจ้างให้ไปตีในงานรื่นเริงมีไม่บ่อย ส่วนใหญ่ เป็นงานบุญ ไปรวมไปฮอมงานเขา กลองนี้สืบกันมาตั้งแต่รุ่นปู่มาสู่รุ่นพ่อและ จนปัจจุบันเป็นรุ่นลุง ตอนนี้ลุงรวบรวมเด็ก เยาวชนในละแวกบ้านมาซ้อมมา ฝึกในเวลาว่างหลังเลิกเรียน นอกจากจะช่วยให้เด็กเหล่านี้มีรายได้เล็กน้อยๆ แล้วยังหมายเป็นการสืบทอดให้คนรุ่นต่อไปได้รู้จักและสืบศิลปะบ้านเราต่อไป

แม่ศรีบุตรก�ำลังปั้ั่นแบบพระเจ้าในลานใต้ถุนบ้าน

แม่ศรีบุตรบอกว่า “ถ้าถามว่า พระเจ้าองค์ใดงามที่สุดเท่าที่แม่เคยเห็นมา แม่ว่า พระเจ้าวัดเก้าตื้อในวัดสวนดอก งามที่สุด เป็นศิลปะแบบล้านนา แท้ๆที่ได้มาจากเชียงแสน”

อุปกรณ์งานปั้นประยุกต์ เพื่อขึ้นแบบ เกลี่ยแบบ และวัดระยะ ที่แม่ศรีบุตรประดิษฐ์เอง บรรยากาศโดยรอบลานใต้ถุนบ้าน

คณะตีกล้องทิ้งบ้อมวัดช่างลานครบชุด

วารสาร ฟื้นบ้าน-ย่าน-เวียง เชียงใหม่

5


หนองบวกหาด หนองน�้ำธรรมชาติโบราณที่ถูกจัดให้สร้างบรรยากาศสดชื่นในสวนของเมืองในปัจจุบัน

สวนบวกหาด ปอดของเมือง สวนบวกหาด สวนเขียวกลางเมืองเชียงใหม่ที่หน่วยงานรัฐและชาวบ้านร่วมกัน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมจากหนองน�้ำธรรมชาติที่มีป่ารกชัด พื้นที่แจ่งเมืองถูกทิ้งร้างหรือ มุมอับที่ไม่มีใครอยากใช้หรือแม้แต่เข้าใกล้ เมื่อหลายสิบปีก่อน ปรับเปลี่ยนแปลงโฉม เป็นสวนสาธารณะ “หนองบวกหาด” สวนสาธารณะแห่งเดียวในเขตเมืองที่ชาวเชียงใหม่ รู้จักเป็นอย่างดี เชื่อว่าแทบทุกคนเคยเข้ามาชมสวนนี้ อย่างน้อยก็คงเคยเข้ามาเดินทอด น่อง ดูดอกไม้ ปูเสื่อนั่งเล่นให้อาหารปลาริมน�ำ้ หรือแม้แต่ชะเง้อมองยามเมื่อขับ ยวดยานผ่านบริเวณด้านหน้า สวนเขียวในเมืองแบบสวนบวกหาดมีบรรยากาศน่ารื่นรมย์ พื้นหญ้าเขียว ต้นไม้ ใหญ่ ดอกไม้สีสวยถูกจัดแต่งตามฤดูกาล บรรยากาศร่มรื่นทั้งวันใต้เงาไม้ เชื้อเชิญให้ ผู้คนมาปูเสื่อนั่งคุย ทานส้มต�ำรสแซ่บ ให้อาหารนกและปลาในสระที่อยู่ใกล้ๆกัน ยามเช้าและเย็นย�ำ่ นักออกก�ำลังกายทั้งหลายจะรวมตัวกันตามทางเดินในสวน กิจกรรม ออกก�ำลังกายมีตั่งแต่ เดินถอดน่องแบบช้าๆ วิ่งจ๊อกกิ้ง ร�ำมวยจีน จับคู่ตีแบดมินตัน ตั้ง วงเตะตะกร้อลอดห่วง ไปจนถึงเล่นโยคะบนพื้นหญ้า ส�ำหรับผู้ที่ต้องการการพักผ่อนแบบ สบายๆ ที่นี่มีบริการในสวนแบบบ้านๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะ เช่าเสื่อผืนละสิบบาท อาหาร ปลาอาหารนกแบ่งขาย ลูกชิ้นทอด ส้มต�ำแซ่บ เครื่องดื่มเย็นๆ ไปจนถึงร้านกาแฟนั่งกิน

หากรู้สึกเมื่อยล้าปวดหลังปวดเอว ก็มีบริการนวดผ่อน คลายจากชาวบ้านชุมชนวัดหมื่นเงินกอง สปาพื้นบ้านใต้ ซุ้มหลังคาหญ้าคาที่ร่มรื่นเย็นสบายและเป็นกันเอง ร้านนวดชุมชนเปิดบริการทุกวันตั้งแต่ช่วงสายๆ ไปจนถึง เวลาเย็น สวนบวกหาดจึงเป็นพื้นที่สีเขียวที่เปิดโล่งที่เดียว ในเมืองเก่า เป็นสวน “สาธารณะ” ของคนเชียงใหม่อย่าง แท้จริง เมื่อวิถีชีวิตคนเชียงใหม่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย การ ปฏิสัมพันธ์ของคนกับเมืองจึงเปลี่ยนตามไปด้วย กิจกรรม และบรรยากาศที่เกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะแบบสวนบวก หาดเป็นตัวอย่างของการเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่และความ ต้องการพื้นที่สาธารณะของเมือง ที่จำ� เป็นอย่างยิ่ง รวมถึง ความขาดพร่องไม่สมดุลกันระหว่างกับการเติบโตของเมือง กับพื้นที่สีเขียว...ปอดของเมือง ต้นทุนส�ำคัญที่ท�ำให้เกิด สภาพแวดล้อมอันเหมาะสมเกื้อหนุนมิติทางด้านกายภาพ ของการอยู่อาศัยที่ดีและส่งเสริมสุขภาพจิตใจของผู้คนที่ใช้ ชีวิตอยู่ในเมือง

กิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจในสวน

ทีมตะกร้อลอดห่วงในสวน

6

วารสาร ฟื้นบ้าน-ย่าน-เวียง เชียงใหม่


เรื่อง : คน.ใจ.บ้าน ภาพ : ศุภกุล ปันทา


ชุมชนบ้านเมธังในอดีต เรื่อง : พระครูปลัดอุดม อายุวฑฺฒโก ภาพ : กรินทร์ มงคลพันธ์

ท่านพระครูปลัดอุดม รองเจ้าอาวาสวัดเมธัง ผู้มีศักดิ์เป็นเหลนของ พ่อหนานหลวงเป็ง กาวิโล (พ.ศ.2426-2498) โดยพ่อหนานหลวงเป็งผู้นี้ สมัยที่ท่านบวช ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเมธังรูปที่ 9 นามจั๋นต๊ะรังสี เมื่อสึกออกมาก็ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.พระสิงห์ นายบ้านคนสุดท้ายของบ้านเมธัง และเป็นพิทธาจารย์ ผู้ทรงความรู้ความสามารถ ในอดีตถือเป็นบุคคลส�ำคัญผู้มีบทบาทต่อวัดและชุมชนบ้านเมธัง ส�ำหรับท่านพระครูปลัดอุดม นั้นท่านเป็นผู้ที่สนใจใฝ่รู้เรื่องราวในอดีตของวัด และชุมชนบ้านเมธัง โดยท่านพระครูปลัดได้ รับรู้เรื่องราวต่างๆจากค�ำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่รุ่นก่อนตั้งแต่ท่านยังเป็นเด็ก จนท่านสามารถรวบรวมเรียบเรียงหนังสือประวัติวัดเมธัง และเป็นผู้ให้ข้อมูลประวัติและเรื่อง ราวของวัดและชุมชนแก่นักเรียน นักศึกษาและญาติโยมต่างถิ่นที่มาสอบถามหรือหาข้อมูลอยู่ เสมอ ท่านพระครูปลัดได้เมตตาเล่าว่า “ในอดีตชุมชนบ้านเมธังมีอาชีพหลักคือการท�ำนา อาชีพรองคือ ผู้ชายปั้น กระเบื้องดินขอมุงหลังคา หรือที่เรียกว่า ปั้นดินขอ ผู้หญิงคุบขี้โย จ่อใบตอง ปันมูลีขาย โดยกระเบื้องดิน ขอนั้นท�ำรายได้ให้กับคนในชุมชนมาก ใส่ วั ว ล้ อ ตามกั น ไปเป็ น ขบวนไปขายถึ ง

พระครูปลัดอุดม รองเจ้าอาวาสวัดเมธัง

ต่างอ�ำเภอคราวละหลายหมื่นแผ่น ซึ่งดินดากหรือดินเหนียวที่น�ำมาใช้ปั้นดินขอนั้นเป็น ดินวัดโลกโมฬี ซึ่งมีสีขาวนวลมีเนื้อดินที่ละเอียดและเหนียวมาก จึงท�ำให้ดินขอบ้านเมธังมีคุณภาพแข็งแรงคงทน เป็นที่ต้องการของคนในยุคนั้นส่งขายทั้ง ในเมืองเชียงใหม่และต่างอ�ำเภออีกด้วย เมื่อ พ.ศ.2474 ครูบาศรีวิชัย มาสร้างวิหารหลวงวัดสวนดอก พ่อหนานหลวง เป็งจึงได้คิดค้นท�ำกระเบื้องดินขอรูปตัวเปิ้ง 12 ราศี ให้คนมาซื้อไปตานฮอมครูบาเจ้ามุง หลังคาวิหารหลวงวัดสวนดอก และยังได้ส่งไปมุงหลังคาคุ้มเจ้าในสมัยก่อนด้วย ส่วนขี้โย ไม้ข่อย ตองมูลี ยาแพร่นำ� ไปขายที่ตลาดประตูเชียงใหม่ สร้างรายได้เสริมให้กับแม่บ้าน ในชุมชนอีกทางหนึ่ง

ดินขอมุงหลังคาบ้านเมธัง รูปตัวเปิ้ง 12 ราศี

คร่าวฮ�่ำวัด

ประพันธ์ : พ่อหนานหลวงเป็ง บ้านเมธัง เรียบเรียง : พระครูปลัดอุดม อายุวฑฺฒโก พ่อหนานหลวงเป็ง บ้านเมธัง คร่าวฮ�ำ่ คือ กลอนภาษาเมืองอาศัย การ ‘ฮ�่ำ’ หรือเล่าครวญและทักษา ทางภาษาในการผูกเรื่องราวเชื่อมโยง สิ่งต่างๆหรือประสบการณ์เป็นกลอน เล่าขนาดยาว คร่าวฮ�ำ่ วัดในที่นี้มีอายุ ร่วมร้อยปี บอกเล่าถึงชื่อวัดส�ำคัญๆ ในเมืองเชียงใหม่ ทั้งในและนอก สี่เหลี่ยมคูเมือง ทั้งนี้มีบางวรรคตอน มีการแต่งเสริมเติมค�ำต่อท้ายชื่อวัด เพื่อให้เกิดอารมณ์กลอนสนุกสนาน และสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต สภาพ สังคมในสมัยนั้นได้อย่างน่าสนใจ

8

หัวข่วง ค�ำตวง ปวงก่าม้า ป่าป๊าว อภัย วัดไจย วัดโลก ปันหลวก ปันแหล่ม ปันแจ๋ม พระครู ไหฟู หอพระ ผาบ๋อง ผาสาท สุทธาวาส ราชมณเถียร วัดไจยพระเกี๋ยร ตุงยู สะหรีเกิด พระสิงห์เหนือ-ใต้ แสนเมืองมา เมธังน�้ำลัด มาตั๊ดใส่ต๋า กันเป๋นป่าคา หมาตึงบ่ขี้ หมื่นเงินกองน�้ำลัด มาตั๊ดใส่ตี๋น งามเหมือนจะบิน เอาเปิ้นบ่ได้ ป๊วกหงษ์ขี้ไร้ สะปายถุงขอ ป๊วกแต้มเงินปอ ใส่ล้อลากเล่น กิตติ เสฏฐา ก๋าละก๊อด ปันเท่า สะเปา หมื่นล้าน บ้านปิง โองโมง ดงดี สะหรีบุญเรือง นางเหลียว สะดือเมือง หมื่นกอง จอกแก้ว จ่างแต้มจ�ำ๋ ศีล เจ็ดลินฮ่างหน้อย ฟ่อนสร้อยฮ่างงาม หมื่นตูมขี้ปู๋มหลาม สาวงามหมื่นสาร สันป่าลานจี๋จ้อน งามแต่ออดแต่อ้อนนันตาบ้านเขิน สังก๋า เจียงของ พระทองแสนเต๋า แสนเส้า เลาเจียง เจียงฮุ้ง ม่วงค�ำ จ๋อกป๋อก จ้อป้อ ร้อยข้อ ปันต๋อง จ่างก๊อง เมืองเล็น อุปา มหาวัน แสนฝาง เจตะวัน ปันอ้น หนองค�ำ หนองหล่ม ร่มโพธิ์ จุมปู อู่ทรายค�ำ เมืองเถิน เมืองยอง ระแกง แสนแซ่ ปันแหวน หนองหญ้าแพร่ บวกหาด จ่านลาน ป๋นตาแหวน แสนต๋าห๋อย สีเสียด ป่าอ้อย พระเจ้าแข้งคม สีสุก อุ้มโอ โพธิ์สุทธิ์ ปันเส่า สวนดอก เก้าตื้อ ป่าเขต ป่าคา ป่าดู่ ป่าแดง ป่องแยง ป่าต๋าล ปุ๊ทธนิปปาน ป่าจ๊าง จ่างเฆี่ยน เวียงเชียงโฉม พระเจ้าอมเหมี้ยง จ๊างเผือก ปันสาด เจ๋ดีย์แดง

วารสาร ฟื้นบ้าน-ย่าน-เวียง เชียงใหม่


เก็บมาฝาก

บทเรียนการฟื้นฟูเมืองเก่า

จากต่างแดน

จากเมืองอาเมดาบัด Ahmadabad ประเทศอินเดีย “Getting the city back to the people” ความท้าทายของการพัฒนาเมืองเก่า ที่ (?) ไม่เคยเข้าใจ เรื่องและภาพ : ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร และคน.ใจ.บ้าน ขอบคุณ Mr. Debashish Nayak ส�ำหรับการเอื้อเฟื้อข้อมูลและบทเรียนอันล�ำ้ ค่าในการรักษาเมืองและผู้คน

ไปอย่างรวดเร็วด้วยแรงเร่งทางธุรกิจ ส่วนเมืองเก่าผู้คน ‘เราจะอนุรักษ์เมืองเก่าเพื่ออะไร ก็ช่างหงอยเหงาขาดชีวิตชีวา เพื่อนบ้านถูกแทนที่ด้วยนัก การอนุรักษ์และพัฒนาจะไปด้วยกันได้จริงรึเปล่า ท่องเที่ยว ตลาดสดถูกแทนที่ด้วยร้านขายของฝาก ใครบ้างที่จะได้ประโยชน์จากการอนุรักษ์เมืองเก่า’ การอนุรักษ์แบบเก็บซากและการพัฒนาแบบลืมชีวิตชีวา และความงดงามที่มีอยู่ในวิถีแบบอินเดียจารีตของผู้คน บางคนอาจจะเกิดสงสัยเช่นนี้ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกอะไร เริ่มถูกตั้งค�ำถาม เป็นค�ำถามร่วมที่ท้าทายไม่ใช่แต่เฉพาะ และยิ่งไม่น่าแปลกเข้าไปใหญ่ หากภาพแรกที่เราจะ ผู้บริหารเมืองเท่านั้น แต่เป็นค�ำถามที่มีอยู่ในสังคมอินเดีย จินตนการเห็น หากใครสักคนพูดถึงค�ำว่า ‘อนุรักษ์’ ยุคใหม่ รวมทั้งในเมืองเชียงใหม่ของเรา จะเป็นภาพเดียวกับที่นักท่องเที่ยวใฝ่ฝันตอนเครื่องบิน ก�ำลังสัมผัสรันเวย์ แท้จริงแล้วอะไรคือสาระแห่งการ อนุรักษ์ที่ยั่งยืนกันแน่ ลองแวะไปดูที่อินเดียกันดีกว่า ว่าเขาคิดและท�ำกัน อย่างไร เมืองอาเมดาบัด เมืองที่มีอายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี ซึ่ง เริ่มพัฒนาจากชุมชนเล็กๆ บนเส้นทางการค้าฝั่งตะวันตก ของชาวฮินดู จากพัฒนาการพ้นยุคผ่านสมัยและการค้า ชายฝั่งทะเลอาหรับอันเฟื่องฟู ท�ำให้อาเมดาบัดได้กลาย เป็นเมืองท่าที่ส�ำคัญและเป็นจุดที่วัฒนธรรมทางศาสนา ฮินดูและอิสลามหลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นของ ผู้คนแทบทะเลทรายตามแนวชายฝั่ง จนพัฒนาเกิดเป็น หน้าตาและบรรยากาศของมุมเมืองแบบ Pol เมืองที่มีรูปลักษณ์เฉพาะตัวขึ้น อาเมดาบัดเป็นเมืองที่มีก�ำแพงรายรอบ เหมือนเชียงใหม่ ถูกประกอบไปด้วยหน่วยที่อยู่ อาศัยเล็กๆ ซึ่งเรียกว่า ‘Pol’ โดยมีถนนที่เป็น สายเลือดเชื่อมโยงลัดเลาะเกาะเกี่ยว Pol ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งอาจจะมีตลาดและร้านค้าบ้าง ตามจุดตัดถนน ‘Pol’ คือมรดกทางวัฒนธรรมการอยู่ อาศัยที่ยังคงท�ำหน้าที่ใช้สอย และยังบอกได้ถึง เรื่ อ งราวของวิ ถี ชี วิ ต ผู ้ ค นในเมื อ งเก่ า แห่ ง นี้ ไ ด้ เป็นอย่างดี แต่เรื่องราวก็ไม่ได้สวยงามไปเสีย ทั้งหมดเพราะเมืองทุกแห่งในโลกย่อมมีชีวิตของ มัน หลังจากอินเดียได้รับเอกราช ตามเมือง ใหญ่ๆ ก็เดินหน้าพัฒนาอย่างเต็มสูบ โดยเฉพาะ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ท�ำให้ศูนย์กลาง ทางธุรกิจ ราชการ ถูกย้ายออกจากเขตเมืองเก่า เพราะ ขบวนการและกระบวนการของผู้ร่วมหัวจมท้าย ในเขตเมืองเก่าระบบสาธารณูปโภค น�้ำ ไฟ ถนนท�ำการ อันมีเทศบาลเป็นผู้นำ� ติดตั้งซ่อมแซมได้ยากและลงทุนสูง เหตุการณ์ครั้งนี้จึงส่ง จากความท้าทายที่เล่ามาข้างต้น สู่ความคิดและ ให้ผู้คนเริ่มทยอยออกจากเมืองเก่า เพราะคุณภาพชีวิต ทิศทางที่จะเดินคล้องแขนกันไประหว่างการพัฒนาและ ไม่ค่อยดีทั้งยังไม่มีงานท�ำประกอบกับกฎหมายควบคุม อนุรักษ์ ทีมท�ำงานที่ประกอบไปด้วยเทศบาลเมืองและ อาคารที่จะก่อสร้างใหม่ และกฎหมายการอนุรักษ์ที่ องค์กรความร่วมมือต่างๆ รวมทั้งชาวบ้านใน Pol ต่างๆ อิมพอร์ตเข้ามาก็ไม่เหมาะสมกับบริบทที่ดินในเมืองเก่า ที่เห็นความส�ำคัญของความท้าทายนี้ จึงได้ช่วยกันก�ำหนด ท�ำให้ชาวบ้านไม่สามารถปรับบ้านของพวกเขาให้เข้ากับ โจทย์ ร ่ ว มในการท�ำ งานร่ ว มกั น อย่ า งเคี ย งบ่ า เคี ย งไหล่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปได้ จุดนี้เองที่ท�ำให้การอนุรักษ์และการ ว่า “ท�ำอย่างไรจะท�ำให้ผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองเก่าเห็นถึง พัฒนา มาถึงทางแยกที่สำ� คัญ ในขณะที่เมืองใหม่ก็พัฒนา ความส�ำคัญ¬ของสภาพแวดล้อมของเมืองที่ถูกสรรสร้าง

มาตั้งแต่อดีตกาลจนล่วงสู่ปัจจุบัน และจะร่วมกันพัฒนา เมืองอย่างไร ที่ไม่ใช่แค่การสร้างแต่ตึกรามบ้านช่องใหม่ๆ หากแต่การสร้างใหม่และฟื้นฟูนั้นเป็นการถักทอความ สัมพันธ์ของผู้คนกับชุมชนและเมืองที่เขาอยู่อาศัย และการพัฒนาเมืองก็เป็นการฟื้นฟูชีวิตชีวาให้คนรักเมือง และเป็นเมืองที่รักคนอยู่อาศัยด้วยเช่นกัน” ก้าวแรกและก้าวที่เป็นรูปธรรมของแนวคิดอันสวยงาม คือ Desai-ni-Pol หรือ Freedom Walk ที่ให้คนใน Pol หรือย่านนั้นลองส�ำรวจดูว่าในย่านของตนมีบ้านไหนหรือ อาคารใดบ้างที่มีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือมีคน เก่าคนแก่คนใดบ้างที่สามารถเล่าประวัติศาสตร์ความเป็น มาของย่านตนเองได้ โดยทั้งหมดนี้จะถูกพัฒนาเป็นแผนที่ เบื้องต้นเพื่อประกอบกันเป็นแผนที่ใหญ่ของเมือง เป้าหมายก็เพื่อให้คนในย่านได้รู้จักคุ้นเคยกับย่านตนเอง และเป็นการท�ำส�ำรวจที่มาจากคนในพื้นที่ที่จะก�ำหนดว่า อะไรส�ำคัญ และอะไรที่ยังพอมีศักยภาพในการพัฒนา หลังจากได้ข้อมูลและแผนที่เบื้องต้น ก็จะให้ย่านนั้น เป็นเจ้าภาพในการพาเจ้าหน้าที่เทศบาลและคนในเมืองที่ อยู่ตามย่านต่างๆ เดินชมและเรียนรู้เกี่ยวกับย่านของ ตนเอง กิจกรรมครั้งนี้สร้างความมหัศจรรย์ใจแก่ผู้เข้าร่วม มากโดยเฉพาะเจ้ า หน้ า ที่ เ ทศบาลที่ ใ ช้ ค วาม พยายามในการท�ำส�ำรวจเมืองเก่าอยู่นานหลาย ปีด้วยงบประมาณมหาศาล เพื่อที่จะใช้เป็นแผน ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่กลับพบว่า หากเปลี่ยนมาให้แต่ละชุมชนท�ำก็จะได้ทั้งข้อมูล เชิงกายภาพและความต้องการที่แท้จริง ส่วนคนในย่านอื่นๆ ก็เกิดแรงบันดาลใจที่ จะกลับไปท�ำ Freedom Walk นี้ในย่านตนเอง ด้วยว่าอินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่มีวันส�ำคัญและ คนส�ำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย ทางเทศบาลเมืองจึงใช้โอกาสนี้เป็นเครื่องมือใน การรื้อฟื้นความส�ำคัญของย่านต่างๆ โดยให้ทุก วันส�ำคัญนั้นเป็นวันที่ย่านต่างๆ จะจัด Freedom Walk นี้ขึ้นมา เช่น วันเกิดท่านมหา ตมะคานธี ก็จะการพาไปชมย่านที่ท่านเคยมาพักอาศัย อาคารและสถานที่ที่เกี่ยวพันกับท่าน จนกิจกรรมครั้งนี้ กลายเป็นกิจกรรมหลักของเมืองไปในที่สุดและพัฒนามา เป็น Heritage Walk หรือ ‘มรดกสัญจร’ ที่ทั้งเทศบาล และหน่วยงานทุกภาคส่วนรวมทั้งคนในย่านได้มาเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน ผ่านพื้นที่และกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมแทน การนั่งประชุมที่ศาลาว่าการในการวางแผนพัฒนาเมืองบน กระดาษอันแห้งแล้ง (ติดตามตอนจบในฉบับหน้า)

วารสาร ฟื้นบ้าน-ย่าน-เวียง เชียงใหม่

9


หมู่เฮา

ชวนคิด

ก่เยียะได้

เรื่อง : ธนิต ชุมแสง และคณะ ภาพ : บุญเสริม สาตราภัย สนับสนุนโดย : สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แผนงานส่งเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี

บ้านเรือนบนถนนวัดเกตในสมัยก่อน

ประวัติย่านวัดเกต มีหลักฐานว่าชุมชนวัดเกตตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ที่นี่อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปลายสมัยการปกครองของพม่า (หรืออาจจะก่อนหน้านั้น) เนื่องจากมีการกล่าว ถึงการใช้ท่าเรือวัดเกตมาตั้งแต่ช่วงเวลาดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น เมื่อพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ. 2317-2325) เสด็จกลับจากการเดินทางไปเข้า เฝ้ารัชกาลที่ 1 ที่กรุงเทพฯพระองค์เสด็จมาขึ้นที่ท่าวัดเกตย่านนี้เริ่มมีความคึกคัก มากมาตั้งแต่ช่วงปลายรัชกาลที่ 3 – ต้นรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา เมื่อการค้าทางเรือ ระหว่างเชียงใหม่และกรุงเทพฯ เติบโตมากขึ้น ท่าวัดเกตกลายเป็นท่าเทียบเรือส�ำคัญของเรือสินค้าจากที่ต่างๆ จนส่งผลให้ ย่านวัดเกตกลายเป็นแหล่งพ�ำนักของพ่อค้าหลากหลายเชื้อชาติ เช่น ชาวอังกฤษเข้า มาตั้งบริษัทบอร์เนียวค้าไม้สัก กลุ่มหมอสอนศาสนาเข้ามาตั้งโรงพยาบาลแมคคอร์มิค โรงเรียนปรินส์รอแยลวิทยาลัย และโรงเรียนดาราวิทยาลัย ชาวจีนเปิดร้านค้าขาย เช่น ร้านกวงเอี้ย ของนายเซ่งโอก แซ่นิ้ม ขายผ้าฝ้าย ร้านค้าส่งของแปะอุย และร้าน ของจีนอุ๊ที่ขายสินค้าจากกรุงเทพฯ เช่น ผ้า ปลาทูเค็ม และนํ้ามันปี๊บ เป็นต้นความ เจริญรุ่งเรืองย่านวัดเกตยังคงปรากฎหลักฐานให้เห็นจน ทุกวัน นี้ จากอาคารที่เคย เป็นที่อยู่อาศัยและบริษัทห้างร้านของชุมชนชาติต่างๆ ทุกวันนี้หากเราเดินเข้าไปใน ย่านนี้ เราจะพบศาสนสถานทั้งของชาวพุทธ ชาวคริสต์อิสลาม และชาวซิกข์ พบบ้านเรือนที่ยังคงรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่อายุร่วม 100 ปี ทั้งบ้านเรือนที่ทำ� ด้วยไม้สักอย่างดี และอาคารก่ออิฐถือปูน

10

วารสาร ฟื้นบ้าน-ย่าน-เวียง เชียงใหม่

เรื่อง : ประสงค์ แสงงาม (ครูเบิร์ท กลุ่มรักษ์ล้านนา) โครงการ โนโฟม ฟอร์ ฟู้ด ภาพ : กลุ่มเมือง เมือง

โครงการโนโฟมฟอร์ฟู๊ดในวัดพันอ้น

โนโฟม เป็นหนึ่งในโครงการที่กลุ่มเมือง เมือง

ได้ริเริ่มที่วัดพันอ้น เป็นสถานที่แห่งแรกในถนนคนเดินเชียงใหม่ และประสบผลส�ำเร็จเป็นรูปธรรม ทุกวันนี้ผู้ค้าทุกร้านในวัดพันอ้นได้เปลี่ยนจากเดิมใช้โฟมเป็นภาชนะใบตอง กระดาษ และชานอ้อย ส่งผลให้ผู้ซื้อมีสุขภาพที่ดี และผู้ค้าก็มีผู้อุดหนุนมากขึ้นกกว่าเดิม หลายเท่า ทางวัดก็จัดที่คัดแยกทิ้งขยะท�ำให้ง่ายต่อการน�ำขยะเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ อื่นๆ เช่น ใบตอง จาน ชาม ชานอ้อยไปท�ำปุ๋ย ขวดพลาสติก ขายให้ร้านรับซื้อของ เก่าน�ำไปริไซเคิล จากวัดพันอ้น สู่ถนนคนเดินเชียงใหม่ นับเป็นภาพฝันที่หลากหลายองค์กร คนเชียงใหม่ รวมถึงนักท่องเที่ยว ที่อยากให้ถนนคนเดินปลอดโฟมอย่างแท้จริง กลุ่มเมือง เมือง จึงชักชวนภาคีร่วมอย่างหลากหลาย อาทิ เชียงใหม่เขียวสวยหอม กลุ่มรักษ์ล้านนา โดยมีเทศบาลนครเชียงใหม่เป็นผู้ร่วมด�ำเนินการ และเป็นส่วน หนึ่งของกิจกรรมโครงการพื้นบ้าน ย่าน เวียงด้วย โดยทางโครงการได้ขอความร่วม มือกับบริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จ�ำกัด (Bio) ได้น�ำชานอ้อยมาจ�ำหน่ายใน ราคาที่ถูกเพื่ออ�ำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ค้า ที่ต้องการเปลี่ยนจากโฟมมาใช้ภาชนะ ชานอ้อย โดยมีอาสาสมัครน้องๆจากกลุ่มรักษ์ล้านนา เป็นผู้ช่วยกระจายชานอ้อย สู่พ่อค้าแม่ค้าตามโซนต่างๆ กว่า 100 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ค้าที่ห่วงใยสุขภาพของผู้บริโภค ได้ให้ความร่วม มือเปลี่ยนเป็นภาชนะจากเดิมเป็นพลาสติก หรือโฟม มาเป็นภาชนะเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นกระดาษ ใบตอง และชานอ้อย และร้านใดที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีทางนายก เทศมนตรีนครเชียงใหม่ ก็ได้มอบป้าย”โนโฟม ร้านนี้รักสุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม” ให้แก่ผู้ค้า และหากใครยังไม่เปลี่ยนก็จะมีมาตรการให้ใบเหลือง ใบแดง และเปลี่ยน ผู้ค้ารายอื่นเข้ามาแทนที่ เป็นเวลากว่าครึ่งปีแล้วที่กลุ่มรักษ์ล้านนา ได้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในการ ร่วมรณรงค์และกระจายภาชนะชานอ้อยให้แก่พ่อค้าแม่ค้า จึงขอเป็นตัวแทนภาคี เครือข่ายร่วมรณรงค์ขอบพระคุณผู้ค้าทุกร้านที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะถนนคนเดินโนโฟม ปราศจากขยะมลพิษ ถือเป็นภาพที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อ เมืองเชียงใหม่ และจะท�ำให้ถนนคนเดินนั้นมีเสน่ห์ดึงดูดผู้คนหลาหลายเข้ามา ท่องเที่ยว จับจ่ายซื้อของ และเป็นการรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อนาคตข้างหน้า ทางกลุ่มรักษ์ล้านนาหวังว่าโครงการนี้จะยั่งยืนสืบต่อไป ถ้าหากผู้ซื้อช่วยกระตุ้น ผู้ค้าให้ความร่วมมือ ทุกภาคส่วนเห็นความส�ำคัญ เชื่อมั่น ว่าเชียงใหม่จะเป็นถนนคนเดินที่หน้าเดินที่สุด และเป็นแหล่งอาหารที่น่าทานที่สุด เหมือนที่วัดพันอ้นประสบความส�ำเร็จมาแล้ว สุดท้ายนี้ หากใครสนใจอาสาสมัครร่วมรณรงค์โครงการโนโฟม ถนนคนเดิน เชียงใหม่ ติดต่อได้ที่กลุ่มเมือง เมือง หรือโครงการฟื้นบ้าน ย่าน เวียง หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ หรือร่วมรณรงค์อย่างง่ายๆ โดยการเลือกซื้ออาหาร เครื่องดื่ม กับผู้ค้าที่ใช้ภาชนะรักษ์สิ่งแวดล้อม และเป็นหูเป็นตาแจ้งข้อมูลต่างๆ ได้ที่วารสารฟื้นบ้านย่านเวียงได้ตลอดเวลา


17.00 น.

กิโครงการฟื จกรรม ้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่ มกราคม - กุมภาพันธ์ 2555

กิกุมจภาพักรรมที ่น่าสนใจ นธ์ - มีนาคม 2555

งานเมืองเมือง ครั้งที่ 8-9-10 ณ ห้องนั่งเล่นกลางเวียง คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ ถนนคนเดินวันอาทิตย์

7, 21, 28 ม.ค., 4 ก.พ. 55 เรียนการแกะสลักพระเจ้าไม้ล้านนา ภายใต้กิจกรรม ฟื้นฟูฝีมือช่างสร้างกลุ่มหนุ่มสาวรุ่นใหม่

สาธิตและสอนการทอผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม โดยวิทยากรจากอ�ำเภอแม่แจ่ม คุณวิไล แก้วชมพู ผู้สนใจสามารถเข้าชมและเรียนวิธีการทอผ้าได้ ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ที่ห้องภูมิปัญญาคนเมือง

20 ม.ค. 55 เปิดนิทรรศการ “เชียงใหม่ เมืองเก่า เมืองงาม” และ เปิดตัววารสารฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่ ฉบับที่ 1

งาน “ฮ่วมใจ๋ ฮ่วมแฮง คนพวกแต้มฮักชุมชน” งานเปิดชุมชนวัฒนธรรมวัดพวกแต้ม วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม 55 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดพวกแต้ม ถ.บ�ำรุงบุรี ซอย 1

2 ก.พ. 55 เครือข่ายเชียงใหม่เขียว สวย หอม น�ำต้นไม้มาเพิ่ม ณ จุดแลกเปลี่ยนต้นไม้ เรือนเพาะช�ำ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

...“เมืองโมเดิร์น” งานเมืองเมือง*8 อาทิตย์ที่ 25 มีนาคม 2555

นิทรรศการ “เชียงใหม่ เมืองเก่า เมืองงาม” ณ ห้องจัดแสดงนิทรรศการชั้น 2 หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (หอศิลปสามกษัติรย์) เวลา 8.30-17.00 น. ปิดวันจันทร์

19.00-20.00 น. ลาตินแจ๊ซเคล้าก�ำเมืองกับDel Ritmo 20.00-20.30 น. เสวนากลางเมือง

เวทีเสวนาชุมชนปัญญาปฎิบัติ : เชียงใหม่สู่ความก้าวหน้าในการพัฒนาที่ยั่งยืน (เวทีสาธารณะเปิดรับทุกท่านเข้าร่วมแสดงความคิด เห็น ไม่มีค่าใช้จ่าย) 13 มีนาคม 55 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 1 ศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (หอศิลปสามกษัตริย์)

สร้างสรรค์โดย แสนเมือง สุวารี วงค์กองแก้ว รศ.ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ แอนเจล่า ศรีสมวงศ์วัฒนา

สามารถ สุวรรณรัตน์ ศุภกุล ปันทา ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร ทนวินท วิจิตรพร เอกสิทธิ์ ชูวงษ์

ไพลิน ทองธรรมชาติ ฐิติยากรณ์ นาคกลิ่นกูล ขนิษฐา ศักดิ์ดวง ลักขณา ศรีหงส์ อรช บุญ-หลง ประสงค์ แสงงาม

ถ่ายภาพ แอนเจล่า ศรีสมวงศ์วัฒนา กรินทร์ มงคลพันธ์ สามารถ สุวรรณรัตน์ ศุภกุล ปันทา

...นิทรรศการ “เมืองโมเดิร์น” และ “TCDC เชียงใหม่ที่อยากเห็น” โดยนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. วันที่ 16-31 มีนาคม 2555 ...“คนละไม้ละมือให้เมือง” งานเมืองเมือง*9 อาทิตย์ที่ 8 เมษายน 2555

19.00-20.00 น. โฟล์คซองก�ำเมือง กับ ไมตรี 20.00-20.30 น. ละครหุ่นเงา โดยคณะละครหุ่นเงาพระจันทร์พเนจร การฉายภาพยนตร์สารคดี “No foam for food” ถนนคนเดินเชียงใหม่ โนโฟม

...นิทรรศการ “คนละไม้ละมือให้เมือง” โดย สถาปนิกชุมชนกลุ่มคน.ใจ.บ้าน วันที่ 1-15 เมษายน 2555

บทความพิเศษ พระครูปลัดอุดม อายุวฑฺฒโก ศิลปกรรม เอกสิทธิ์ ชูวงษ์ ศุภกุล ปันทา

ประสานงาน อลิสา ยังเยี่ยม ยุพาวดี บุริมสิทธิพงษ์ ศศิพร แก้วพินิจ

โครงการฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่ ส�ำนักงานหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ถนนพระปกเกล้า ต�ำบลศรีภูมิ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์/โทรสาร : 053 217793 Email: cmocity@hotmail.com www.facebook.com/fuenban

วารสาร ฟื้นบ้าน-ย่าน-เวียง เชียงใหม่

11


เรื่องและภาพ : เอกสิทธิ์ ชูวงษ์ และคน.ใจ.บ้าน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.