อนุสารอุดมศึกษา issue 401

Page 1

อุดมศึกษา อนุสาร

ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔๐๑ ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web

รวมน้ำใจอุดมศึกษาช่วยภัยน้ำท่วม


อุดมศึกษา

อนุสาร

ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔๐๑ ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔

สารบัญ เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย มอบหมายงาน รองเลขาธิการ กกอ. ๓ สกอ. ร่วม สถาบันอุดมศึกษา ๔ ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สกอ. เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ๕ สกอ. กกอ. รับทราบหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต ๖ หลังมหาวิทยาลัยมหิดลเสนอขอปรับหลักสูตร สกอ. สรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กกอ. ๖ สกอ. ย้ำ นศ. ตรวจสอบวันเปิดภาคเรียนเทอม ๒/๒๕๕๔ ๗

เรื่องเล่าอาเซียน

การเกิดประชาคมอาเซียนกับการศึกษาของประเทศไทย (๒) ๘

เรื่องพิเศษ

น้ำใจอุดมศึกษาไทย

๑๐

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

๑๓ ๑๕ ๑๗

การจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งอย่างมีคุณภาพ

เรื่องแนะนำ สกอ. แสดงความยินดี ประธาน กกอ. คนใหม่ นิทรรศการ ‘ตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา ครั้งที่ ๑๖’ เหตุการณ์เล่าเรื่อง

สกอ. รวมน้ำใจอุดมศึกษาช่วยภัยน้าท่วม

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๘ ๒๑

คณะผู้จัดทำ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ http://www.mua.go.th อีเมล์ pr_mua@mua.go.th นายอภิชาติ จีระวุฒิ รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี นางวราภรณ์ สีหนาท นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ ที่ปรึกษา บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด บริษัท ออนป้า จำกัด ผู้พิมพ์


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

มอบหมายงาน

รองเลขาธิการ กกอ.

๑๑

ตุลาคม ๒๕๕๔ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษา ราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา เปิดเผยถึงการมอบอำนาจให้ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และผู ้ ต รวจราชการกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร รั ก ษาราชการแทนรองเลขาธิ ก ารคณะ กรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ปฏิ บ ั ต ิ ร าชการ แทนเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ว่าขณะนี้ได้มีคำสั่งสำนักงาน คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ที ่ ๓๗๗/ ๒๕๕๔ เรื่อง มอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการ แทน โดยสั่ง ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ ให้รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รอง เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ในราชการของ (๑) สำนัก นโยบายและแผนการอุดมศึกษา (๒) สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ พร้อมทั้งศูนย์ออสเตรเลียศึกษา ศูนย์ยุโรปศึกษา ศู น ย์ ศ ึ ก ษาเอเปค (๓) สำนั ก พั ฒ นาบั ณฑิ ต ศึ ก ษาและวิ จ ั ย ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี (๔) สถาบั น วิ จ ั ย จุ ฬ าภรณ์

(๕) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) (๖) ศูนย์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการอุดมศึกษาและการพัฒนา (SEAMEO RIHED) (๗) สำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) และ (๘) สำนักงานเลขาธิการ UMAP เลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า สำหรับรองศาสตราจารย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปฏิบัติ ราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในราชการของ (๑) สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา (๒) สำนัก ประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา (๓) สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร (๔) โครงการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศ อุดมศึกษา (๕) สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) (๖) โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (TCU) และ (๗) สถาบันคลังสมองของชาติ ในขณะที่นางวราภรณ์ สีหนาท ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการ แทนรองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในราชการของ (๑) สำนักอำนวยการ (๒) สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน และ (๓) สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา พร้อมทั้งงานคัด เลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา และงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา) ทั ้ ง นี ้ ราชการของหน่ ว ยตรวจสอบภายใน และกลุ ่ ม พั ฒ นาระบบบริ ห าร ให้ ข ึ ้ นตรงต่ อ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการ อุดมศึกษา และเรื่องที่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสำคัญ หรือมีผลผูกพันระยะยาว ให้เสนอเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณา

อนุสารอุดมศึกษา

3


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. ร่วม สถาบันอุดมศึกษา

ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ๑๑

ตุลาคม ๒๕๕๔ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการประชุมเพื่อหารือการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ อุทกภัย ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อหารือแนวทางการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย และวางแผนการพื้นฟู สถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับความเสียหายจากพิบัติภัย โดยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี กล่าวว่า การประชุมเพื่อหารือการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการให้ความช่วยเหลือในเหตุการณ์เฉพาะหน้า และจัดทำแผนกิจกรรมที่สถาบันอุดมศึกษาสามารถมี ส่วนร่วมเพื่อการฟื้นฟูสถานการณ์ต่างๆ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์น้ำท่วม ตามศักยภาพและความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุดมศึกษาเพื่อสังคม หรือ University Social Responsibility (USR) และเพื่อเสนอแผนกิจกรรมที่กระทรวง ศึกษาธิการจะบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงต่างๆ เพื่อเร่งรัดแก้ไข ปัญหา เยียวยา และนำเสนอแนวทางการป้องกัน ตลอดจนการเฝ้าระวังในด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ในการพื้นฟูและพัฒนา ทั้งในระดับพื้นที่และในระดับประเทศต่อไป รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมได้แบ่งกิจกรรมกลุ่มออกเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการ แพทย์ ซึ่งมีกิจกรรมการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในพื้นที่วิกฤติ การรับช่วงต่อในการดูแลผู้ป่วยจากโรงพยาบาลในสังกัด กระทรวงสาธารณสุขที่อยู่ในพื้นที่วิกฤติ การฟื้นฟูสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก คนชรา ผู้พิการและผู้ป่วย รวมถึงการฟื้นฟูสุขภาพจิตของประชาชน กลุ่มการเกษตร ซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขฟื้นฟูการผลิตทางการเกษตรและ

การประมง ทั้งเพื่อการบริโภคและเพื่อการค้า การจัดการสภาพพื้นที่ทางกายภาพ การฟื้นฟูคุณภาพของดิน การจัดการขยะ ประเภทต่ า งๆ การฟื ้ น ฟู ส ภาพแวดล้ อ ม รวมถึ ง การฟื ้ น ฟู อ าชี พ เดิ ม และส่ ง เสริ ม อาชี พ ใหม่ ข องเกษตรกร กลุ ่ ม สั ต วแพทย์

มีกิจกรรมการจัดถุงยังชีพสำหรับสัตว์ การจัดการสัตว์หนีน้ำ การควบคุมโรคระบาดของสัตว์ การรักษาและป้องกันการระบาด ของโรคจากสัตว์สู่คน รวมถึงการเฝ้าระวังการระบาดของโรค ตลอดจนการออกหน่วยตรวจเยี่ยมดูแลรักษาสัตว์ในพื้นที่วิกฤติ และกลุ่มกิจกรรมนักศึกษา การจัดค่ายอาสาของนิสิตนักศึกษาเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย โดยกิจกรรมแต่ละกลุ่มได้วางแนวทาง การดำเนินกิจกรรมเป็นระยะเร่งด่วน เฉพาะหน้า และระยะพื้นฟูหลังเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว “ทั้งนี้ สกอ. ได้เปิดศูนย์รับแจ้งข้อมูลผู้ประสบอุทกภัยและข้อมูลการให้ความช่วยเหลือของสถาบันอุดมศึกษา สามารถเข้า มาแจ้งข้อมูลเพื่อรับความช่วยเหลือผ่านทางเว็บไซต์ รวมน้ำใจอุดมศึกษาช่วยภัยน้ำท่วม http://www.mua.go.th/flood.html หรื อ ที ่ โทรศั พ ท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๔๖๗ และ ๐ ๒๖๑๐ ๕๔๑๖-๗ และสามารถแจ้ ง ข้ อ มู ล มาที ่ อ ี เมล์ flood@mua.go.th ”

รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

4

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ฉุ ก เฉิ น ๒๗

ตุลาคม ๒๕๕๔ - สำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ได้มีคำสั่งที่ ๓๙๐/๒๕๕๔ เรื่อง การให้ข้าราชการ ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยนายอภิชาติ จีระวุฒิ ปลั ด กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร รั ก ษาราชการแทนเลขาธิ ก าร

คณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยว่า ด้วยขณะนี้ได้เกิด อุทกภัยร้ายแรงขึน้ ในประเทศและมีแนวโน้มทีจ่ ะขยายตัวเพิม่ ขึน้ จึ ง มี ค วามจำเป็ นที ่ จ ะต้ อ งมี ผู ้ ท ี ่ ท ำหน้ า ที ่ ร ั บ ผิ ด ชอบในการ วินิจฉัย บริหารและสั่งการในกรณีฉุกเฉิน รวมถึงทำหน้าที่เป็น ศู น ย์ ก ลางในการติ ด ต่ อ ประสานงานและอำนวยการให้

การแก้ ไ ขปั ญ หาเป็ น ไปอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ สำนั ก งาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการ สำนั ก อำนวยการ ผู ้ อ ำนวยการสำนั ก ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นา ศั ก ยภาพนั ก ศึ ก ษา ผู ้ อ ำนวยการสำนั ก ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นา สมรรถนะบุคลากร ผู้อำนวยการสำนักประสานและส่งเสริม กิจการอุดมศึกษา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการ อุ ด มศึ ก ษา ผู ้ อ ำนวยการสำนั ก มาตรฐานและประเมิ น ผล อุ ด มศึ ก ษา ผู ้ อ ำนวยการสำนั ก ยุ ท ธศาสตร์ อ ุ ด มศึ ก ษา

ต่างประเทศ ผู ้ อ ำนวยการสำนั ก บริ ห ารงานวิ ท ยาลั ย ชุ ม ชน

ผู ้ อ ำนวยการสำนั ก งานบริ ห ารเทคโนโลยี ส ารสนเทศเพื ่ อ พัฒนาการศึกษา ผูอ้ ำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและแผน (นายอาณัติ พงษ์สุวรรณ) และนั ก วิ ช าการศึ ก ษาเชี ่ ย วชาญ (นายฉั ต รชั ย บั ว กั น ต์ )

ทำหน้าที่ในการบริหาร สั่งการ แก้ไขปัญหา และรับผิดชอบใน กรณี ท ี ่ เ กิ ดเหตุ การณ์ ฉุ กเฉิ น รวมถึ ง ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ต ามแผน ปฏิบัติการฉุกเฉินของอุดมศึกษา โดยให้รับผิดชอบร่วมกันวัน ละสองสำนัก ทั้งนี้ ให้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะเป็นปกติ และในกรณีที่นอก เหนื อ การตั ด สิ น ใจหรื อ ไม่ อ าจตั ด สิ น ใจได้ ให้ ร ายงานรอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อทราบ และดำเนิน การต่อไป หากเป็นกรณีที่ร้ายแรงสูงสุด ให้รายงานเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจสุดท้าย

อนุสารอุดมศึกษา

5


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

กกอ.

รับทราบหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต

หลังมหาวิทยาลัยมหิดลเสนอขอปรับหลักสูตร

พฤศจิกายน ๒๕๕๔ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๔ เกี่ยวกับการพิจารณาหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการ การอุดมศึกษามีมติเห็นชอบให้รับทราบหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๐) ของมหาวิทยาลัย มหิดล ๗ แขนงวิชา คือ แขนงวิชาปฏิบัติดนตรีคลาสสิค แขนงวิชาดนตรีแจ๊ส แขนงวิชาดนตรีสมัยนิยม แขนงวิชาดนตรีไทยและ ดนตรีตะวันออก แขนงวิชาการประพันธ์ดนตรี แขนงวิชาเทคโนโลยีดนตรี และแขนงวิชาธุรกิจดนตรี ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มีการ ปรับแก้ตามมติและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการพิจารณาหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ การปรับแก้จำนวนหน่วยกิตในแขนงวิชาเทคโนโลยีดนตรี และแขนงธุรกิจดนตรี ในกลุ่มวิชาบังคับ หมวดปฏิบัติดนตรี ให้มากขึ้น จาก ๒๘ หน่วยกิต เป็น ๕๒ หน่วยกิต (เพิ่มขึ้น ๒๔ หน่วยกิต) และปรับลดจำนวนหน่วยกิตในกลุ่มวิชาบังคับ หมวดวิชาเอก และวิชาเสริมจาก ๔๒ หน่วยกิต เป็น ๑๘ หน่วยกิต (ลดลง ๒๔ หน่วยกิต) ทั้งนี้ เพื่อให้ทั้ง ๗ แขนงวิชา มีโครงสร้างหลักสูตรที่ สอดคล้องกัน และสามารถใช้ชื่อปริญญาเดียวกันได้ โดยไม่มีข้อขัดแย้ง การปรับชื่อแขนงวิชาปฏิบัติดนตรีเป็นแขนงวิชาปฏิบัติ ดนตรีคลาสสิค เพื่อให้มีความชัดเจนขึ้นว่าเน้นการเรียนการสอนด้านใด เป็นต้น นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแจ้งข้อสังเกตเพิ่มเติมของ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เกี่ยวกับการใช้ชื่อปริญญาดุริยางคศาสตรบัณฑิต ว่าบัณฑิตที่จบจะต้องมีความสามารถขั้นมือ อาชีพทางด้านดนตรี ซึ่งถือเป็นมาตรฐานทางวิชาชีพ ซึ่งแตกต่างจากการใช้ชื่อปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตทางดนตรี ที่บัณฑิต จะสามารถใช้ความรู้ทางด้านดนตรีทำงานในสาขาต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางกว่า ตลอดจนมหาวิทยาลัยควรจัดทำหลักสูตรแยก ตามสาขาวิชาให้ชัดเจน หรือระบุแขนงวิชาไว้ในใบบันทึกผลการศึกษา (transcript) เพื่อประโยชน์ต่อการทำงานของบัณฑิต ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะเผยแพร่ผลการพิจารณาหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต ของมหาวิทยาลัย มหิดลไว้บนเว็บไซต์ของ สกอ. เพื่อเป็นหลักฐานที่เป็นข้อเท็จจริงต่อสาธารณะ พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจให้สาธารณะได้รับ ทราบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลได้ปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการตามข้อเสนอ แนะเรียบร้อยแล้วจึงรับทราบหลักสูตร

สกอ. สรรหากรรมการผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ กกอ. ๘

พฤศจิกายน ๒๕๕๔ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหนังสือเวียนแจ้งสถาบันอุดมศึกษา

ทั่วประเทศ เรื่อง การเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการเลือกหรือสรรหาเป็นกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดย นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ลงนามในประกาศสำนักงานคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา เพื ่ อ เชิ ญ ชวนสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา เสนอชื ่ อ ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒ ิ จ ำนวน ๒ คน จำแนกเป็ น สาขาวิ ช า สังคมศาสตร์ ๑ คน และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ๑ คน ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศสำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา และการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ การอุดมศึกษา แทนตำแหน่งที่ว่างลง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อเข้ารับการเลือกหรือเข้ารับการสรรหาเป็น กรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ ตำแหน่ง โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม และดาวน์โหลดใบเสนอชื่อได้ที่ www.mua.go.th ทั้งนี้ ให้ส่งใบเสนอชื่อ ได้ตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ทีส่ ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐

6

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. ย้ำ นศ. ตรวจสอบ

วันเปิดภาคเรียน เทอม ๒/๒๕๕๔ ๘

พฤศจิกายน ๒๕๕๔ - สำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาได้จัดการประชุมหารือเพื่อวางแผนการจัดการศึกษา ในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๔ ของสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับผล กระทบจากอุทกภัย ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ ซึ่งมีผู้แทนจากสถาบัน อุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อม ๗๑ แห่ง รวมทั้งผู้แทนสถาบันทดสอบทางการ ศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) สำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินผลคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) และที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ.) เข้าร่วมหารือ ณ ห้อง ประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร สำนักงานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา ทั ้ ง นี ้ รองศาสตราจารย์ พ ิ น ิ ต ิ รตะนานุ กู ล

รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เปิ ด เผยว่ า

ที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่าจะเปิดการเรียนการสอนในภาค เรียนที่ ๒/๒๕๕๔ ให้เร็วที่สุด โดยให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ มหาวิทยาลัย เพราะมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งได้รับผลกระทบ มากน้อยไม่เท่ากัน โดยมหาวิทยาลัยที่ได้รับผลกระทบน้อยให้ เปิดภาคเรียนวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ตามประกาศกระทรวง ศึกษาธิการ ส่วนมหาวิทยาลัยที่ได้รับผลกระทบมากให้ขึ้นอยู่ กับการพิจารณาของแต่ละแห่ง ทั้งนี้ ขอให้นิสิต นักศึกษา ติ ด ตามข้ อ มู ล การเปิ ด ภาคเรี ย นได้ ท างเว็ บ ไซต์ ข อง มหาวิทยาลัยที่ศึกษาอยู่ “นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับการสอบความ ถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ (PAT) ซึ่ง สทศ. ยืนยันว่าไม่สามารถเลื่อนการสอบ GAT และ PAT ออกไปได้อีก เพราะจะกระทบกับการรับตรงของมหาวิทยาลัย ต่างๆ ส่วนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ในระบบกลาง หรือ แอดมิชชั่น ยังยืนยันกำหนดเดิม คือ ช่วง เดือนเมษายน ๒๕๕๕” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

อนุสารอุดมศึกษา

7


เรื่องเล่าอาเซียน โดย รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล

การเกิดประชาคมอาเซียนกับการศึกษาของประเทศไทย

(๒)

ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๓ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ณ ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้

ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวกันเป็น ประชาคมอาเซียนภายในปี ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ การทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพกฎ กติกา ในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียน จะเป็นสถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Inter governmental Organization)

ในกฎบัตรประกอบด้วย บทต่างๆ ๑๓ บท ๕๕ ข้อ แต่กฎบัตรอาเซียนจะมีผลบังคับใช้ได้จริงก็ตอ่ เมือ่ ประเทศสมาชิกได้ให้สตั ยาบัน ต่อกฎบัตรครบทุกประเทศ กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ คือ หลังจากที่ประเทศสมาชิกทั้ง ๑๐ ประเทศ ได้ให้สัตยาบัน กฎบัตร และประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพครั้งแรกในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๔ ระหว่างวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ -

๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ณ จังหวัดเพชรบุรี ภายหลังจากที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้

ก่อนหน้าที่จะมีการจัดทำกฎบัตรอาเซียน ผู้นำอาเซียนได้ลงนามร่วม กันในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ ๒ (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ หรือ ค.ศ. ๒๐๒๐ โดยการสนับสนุนการรวมตัวและความ ร่วมมืออย่างรอบด้าน ในด้าน ๓ ด้าน คือ ด้านการเมือง ให้จัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน หรือ ASEAN Political-Security Community (APSC) ด้านเศรษฐกิจ ให้จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community (AEC) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ให้จัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียน หรือ ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC)

8

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอาเซียน

ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวมตัวเป็น ประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นกว่าเดิมอีก ๕ ปี คือ ภายในปี ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) เพราะได้ เ ล็ ง เห็ น ว่ า โลกกำลั ง มี ก าร เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประเทศต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับ การรวมตัวกันในภูมิภาค เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ อาเซียนจึง จำเป็ นต้ อ งรี บ ปรั บ ตั ว เพื ่ อ ให้ ส ามารถคงบทบาทนำในการ ดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาคและตอบสนองความต้องการ ของประชาชนในภูมิภาคได้อย่างแท้จริง เมื ่ อ พู ด ถึ ง การเกิ ด ประชาคมอาเซี ย น หลายคนมั ก จะ ได้ ย ิ น แต่ ก ารพู ด ถึ ง ประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น (ASEAN Economic Community, AEC) เป็นส่วนใหญ่ และมักจะพูดถึง เฉพาะประชาคมเสาหลักนี้เท่านั้น แต่เรื่องของการศึกษาไม่ได้ เกี ่ ย วข้ อ งเฉพาะประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย นเท่ า นั ้ น แต่ ย ั ง ครอบคลุมถึงประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community, ASCC) ด้วย ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซี ย นเป็ น เป้ า หมายด้ า นเศรษฐกิ จ หลั ก ที ่ ส ำคั ญ ในการ

ขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน รวมถึงการ

จัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนโดยมุ่งหวังที่จะจัดตั้งประชาคม เศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งหลักที่สำคัญ คือ การเป็น ฐานการผลิตร่วมกัน โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี รวมถึงการ เคลื่อนย้ายเงินลงทุนที่เสรีด้วย มุ่งสร้างความเท่าเทียมในการ พัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาเซียน และการส่งเสริมการ รวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก เมื่อขนาดของตลาด อาเซียนใหญ่ขึ้น ก็ทำให้อาเซียนมีอำนาจการซื้อสูงตามมา ด้วย เช่นเดียวกับความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นที่ เพิ่มขึ้น ความจริงอาเซียนมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเศรษฐกิจ ในระดับภูมิภาค โดยการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area หรือ AFTA) มาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เมื่อผู้นำอาเซียนได้ลงนามกรอบความตกลงแม่บทว่าด้วยการ ขยายความร่ ว มมื อ ทางเศรษฐกิ จ ของอาเซี ย น (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนลงนามความตกลงว่าด้วยการ ใช้ อ ั ต ราภาษี พ ิ เศษที ่ เท่ า กั น สำหรั บ เขตการค้ า เสรี อ าเซี ย น (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)) ซึ่ง ครอบคลุมสินค้าอุตสาหกรรม เกษตรกรรมแปรรูป และสินค้า

เกษตรไม่แปรรูป โดยมีความยืดหยุ่นให้แก่สินค้าอ่อนไหวได้ และได้เริ่มรวมตัวกับประเทศหรือกลุ่มคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี สหภาพยุโรป เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ อาเซี ย นสามารถสร้ า งประโยชน์ สู ง สุ ด จากการรวมตั ว กั บ ประเทศคู่ค้าอื่นๆ ต่อไป หากอาเซียนสามารถสร้างประชาคม เศรษฐกิจได้สำเร็จ ประเทศไทยก็จะได้ประโยชน์จากการขยาย การส่งออกและโอกาสทางการค้า รวมถึงโอกาสทางด้านการ ค้าบริการในสาขาทีป่ ระเทศไทยมีความเข้มแข็ง เช่น การท่องเทีย่ ว การโรงแรมและภั ต ตาคาร การบริ ก ารทางด้ า นสุ ข ภาพ ซึ ่ ง อาเซียนยังมีความต้องการด้านการบริการเหล่านี้ สมาชิ ก อาเซี ย นได้ เ ล็ ง เห็ นถึ ง ความสำคั ญ ของการค้ า บริการดังที่กล่าวมาแล้ว โดยร่วมกันจัดทำและลงนามยอมรับ “กรอบความตกลงว่ า ด้ ว ยบริ ก ารของอาเซี ย น (ASEAN Framework Agreement on Services: AFAS) เมื ่ อ เดื อ น ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ และมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยกรอบความร่วมมือนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความร่วมมือ ในการค้าบริการบางสาขา เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ให้สมาชิกอาเซียน ลดอุปสรรคการค้าบริการระหว่างสมาชิก และเปิดตลาดการค้าบริการระหว่างกลุ่มให้มากขึ้น โดยมีเป้า หมายที่จะเปิดเสรีอย่างเต็มที่ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ภายใต้กรอบความตกลงนี้ได้กำหนดหลักการที่ให้สมาชิกทุก ประเทศต้องเข้าร่วมเจรจาเป็นรอบๆ ละ ๓ ปี ซึ่งภายหลังได้ ลดลงเหลือ ๒ ปี เพื่อให้มีการเปิดตลาดให้มากขึ้นทั้งสาขา (sector) และรูปแบบการให้บริการ (mode of supply) รวมถึง การลดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ให้บริการในกลุ่มสมาชิก แต่กระนั้นก็ตามแต่ละประเทศยังมีสิทธิในการออกระเบียบ ภายในประเทศของตนเองเพื ่ อ กำกั บ ดู แ ลธุ ร กิ จ บริ ก ารให้ ม ี คุณภาพได้ แต่สมาชิกอาเซียนต้องเปิดตลาดธุรกิจบริการให้ แก่กันมากกว่าที่แต่ละประเทศได้มีข้อตกลงไว้กับองค์การการ ค้าโลก (WTO) ที่ผ่านมาได้มีการเจรจาไปแล้วหลายรอบ ซึ่งใน หลั ก การจะมี ก ารขยายจำนวนประเภทธุ ร กิ จ ในแต่ ล ะสาขา บริการเพื่อเปิดตลาดในเชิงลึกให้มากขึ้น ทั้งนี้การเจรจาการ เปิดเสรีเพิ่มเติมจะมีการดำเนินการต่อไป จนบรรลุเป้าหมาย การเปิดตลาดในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ อนุสารอุดมศึกษา

9


เรื่องพิเศษ

น้ำใจอุดมศึกษาไทย มหา

อุทกภัยทีเ่ กิดขึน้ ในหลายพืน้ ทีข่ องประเทศ โดยเฉพาะ บริเวณภาคกลางและกรุงเทพมหานคร สร้างความเดือดร้อนแก่ ประชาชน รวมทั้งนักเรียน นิสิตนักศึกษา ตลอดจนบุคลากร ของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเป็ น จำนวนมาก สำนั ก งานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาในกำกับ/ใน สั ง กั ด ในฐานะที ่ เป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ในสั ง คมไทย ได้ ร วมใจชาว อุดมศึกษาช่วยผู้ประสบอุทกภัยในหลายพื้นที่ ตามโครงการ รวมน้ำใจอุดมศึกษาช่วยภัยน้ำท่วม โดยสถาบันอุดมศึกษา หลายแห่งได้ร่วมให้การเยียวยา ช่วยเหลือด้วยการเปิดเป็น ศูนย์พักพิงชั่วคราว จัดหาอาหาร เครื่องยังชีพ การช่วยเหลือ ด้านการแพทย์ สุขภาพอนามัย ฯลฯ นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริม นิสิตนักศึกษาไปเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาทิ การจั ด ทำอาหารเลี ้ ย งผู ้ ป ระสบอุ ท กภั ย การกรอก กระสอบทราย การบรรจุถุงยังชีพ การช่วยเหลือให้ผู้ประสบ อุทกภัยไปพักพิงในสถานที่ที่ปลอดภัย ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ขอถือโอกาสนี้ขอบคุณในความมี น้ำใจของสถาบันอุดมศึกษา และจิตอาสาของนิสิตนักศึกษา ตลอดจนบุคลากรอุดมศึกษา ในการจัดตัง้ ศูนย์พกั พิง โดยอาศัย สถานที่ของสถานศึกษาเป็นที่พักชั่วคราวและการจัดหาอาหาร ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภายในศูนย์พักพิง ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เรื่อง การจัดตั้งศูนย์พักพิง ช่วยเหลือผู้ประสบ อุทกภัย สกอ.

10

อนุสารอุดมศึกษา

รายชื่อสถาบันอุดมศึกษา ที่เปิดเป็นศูนย์พักพิง* • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล้วยน้ำไท • มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • มหาวิทยาลัยขอนแก่น • มหาวิทยาลัยชินวัตร • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ) • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (วิทยาเขตบางพระ) • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (วิทยาเขตนนทบุรี) • มหาวิทยาลัยธนบุรี • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต • มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ • มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ • มหาวิทยาลัยบูรพา • มหาวิทยาลัยปทุมธานี • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม • มหาวิทยาลัยรังสิต • มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี • มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม • มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม • มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ • มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร • มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี • มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม • มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ • มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา • มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง • มหาวิทยาลัยรามคำแหง (วิทยาเขตบางนา) • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ • มหาวิทยาลัยศรีปทุม • มหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์) • มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง • สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ • วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม • วิทยาลัยนครราชสีมา (วิทยาเขตกรุงเทพ) • วิทยาลัยราชพฤกษ์ นอกจากนี้ สกอ. ยังได้จัดสถานที่สำหรับเปิดเป็นศูนย์พักพิงให้ กับบุคลากรของ สกอ. ที่ประสบอุทกภัยด้วย


เรื่องพิเศษ

ทั ้ ง นี ้ สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ได้ เ สนอของบ ประมาณการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยระยะเร่งด่วน (ระยะที่ ๑) ของสำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร

ในส่วนของงานด้านสัตวแพทย์ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ ของสถาบัน อุดมศึกษา ๖ แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ม หานคร และมหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น รวม จำนวน ๒๓,๓๘๘,๕๐๐ บาท ซึ่งได้รับจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลมา เป็นเงินจำนวน ๑๘,๓๐๔,๔๐๐ บาท ในขณะที่งานด้านการแพทย์ ได้มี การเสนอของบประมาณ จำนวน ๑๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท และได้ ร ั บ

การจั ด สรรงบประมาณมาจำนวน ๘,๕๐๐,๐๐๐ บาท ซึ ่ ง มี ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาที ่ ไ ด้ ร ั บ จั ด สรร คื อ มหาวิ ท ยาลั ย ศรี น คริ น ทรวิ โ รฒ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร มหาวิ ท ยาลั ย บู ร พา มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีสุรนารี และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ในส่วน ของมหาวิทยาลัยรังสิต) พร้อมกันนี้ สกอ. ยังได้รวบรวมข้อมูลสถาบัน อุดมศึกษาที่เปิดเป็นศูนย์พักพิงเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณบาง ส่วนจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และติดตาม การเสนอของบประมาณการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในด้าน อื่นๆ ในระยะต่อไป อนุสารอุดมศึกษา

11


เรื่องพิเศษ

นอกจากนี ้ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษายั ง จั ด กิจกรรมเพื่อให้นิสิต นักศึกษา และบุคลากร อุดมศึกษาที่มีจิตอาสาได้ช่วยเหลือผู้ประสบ อุทกภัย ทั้งการระดมเงิน และสิ่งของบริจาค จัดหาเครื่องอุปโภค บริโภค บรรจุถุงยังชีพ เพื ่ อ นำไปมอบให้ แ ก่ ผู ้ ป ระสบภั ย จัดหน่วย แพทย์ เคลื ่ อ นที ่ เพื ่ อ ให้ บ ริ ก ารด้ า นสุ ข ภาพ อนามั ย แก่ ผู ้ ป ระสบภั ย จั ด นั ก ศึ ก ษาอาสา สมั ค รลงพื ้ น ที ่ ช ่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ระสบอุ ท กภั ย กรอกกระสอบทราย ช่ ว ยเหลื อ งานในศู น ย์ พักพิง ซึ่งกิจกรรมที่กล่าวมาไม่เพียงแต่เป็น พั นธกิ จ ในการบริ ก ารสั ง คม ให้ ค วามช่ ว ย เหลือ และสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนให้มี จิตสาธารณะ แต่กิจกรรมดังกล่าวยังเป็นการ แสดงน้ ำ ใจของบุ ค ลากรอุ ด มศึ ก ษา นิ ส ิ ต

นั ก ศึ ก ษา สู ่ ส ั ง คมไทย ในยามที ่ บ ้ า นเมื อ ง ประสบวิกฤตมหาอุทกภัยเฉกนี้... ความเสี ย หายจากอุ ท กภั ย ในครั ้ ง นี ้ สร้ า งความเดื อ ดร้ อ นให้ ก ั บ ประชาชนเป็ น อย่างมาก แต่สิ่งหนึ่งที่ปรากฎเป็นที่ประจักษ์ คือ น้ำใจของคนไทย และจิตอาสาที่มีอยู่ใน ตัวตนของนักศึกษา ที่ชาวอุดมศึกษา กำลัง นำกลับมาสู่สังคมไทยอีกครั้งหนึ่ง

*ข้อมูล ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

12

อนุสารอุดมศึกษา


พูดคุยเรื่องมาตราฐาน

การจัดการศึ ก ษานอกสถานที่ ตั้ ง อย่างมีคุ ณ ภาพ หลั ง

จากฉบับที่แล้ว ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจเจตนารมณ์ที่ดีในการสนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพทัดเทียมกับนานาประเทศ ภายใต้ บริบทของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ฉบับนี้ขอนำเรื่องราวการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยนำ ข้อมูลจากประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาประเมินคุณภาพ การจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒ (ประกาศเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒)

มาเสนอให้ผู้อ่านทราบ เพื่อประโยชน์ในการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และการบริหารด้านวิชาการของสถาบัน อุดมศึกษาให้ดำเนินการไปได้ด้วยดี ซึ่งคณะกรรมการการอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ ได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาประเมินคุณภาพการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของ สถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยอาศัยอำนาจตามความ ข้อ ๔(๗) ของกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา เอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษานอก สถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๒ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ๑. สถาบันอุดมศึกษาที่จะจัดการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรหรือเฉพาะบางส่วนของหลักสูตรในสถานที่และอาคารที่มิใช่ สถานที่จัดตั้ง ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบันก่อนการเปิดดำเนินการ และแจ้งให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาทราบ ภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบัน ๒. สถาบันอุดมศึกษาที่จะจัดการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรหรือเฉพาะบางส่วนของหลักสูตรในสถานที่และอาคารที่มิใช่ สถานที่จัดตั้ง จะต้องมีสถานที่ตั้งหลักของสถาบันอุดมศึกษา ในกรณีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องมีสถานที่ตั้งหลักตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ๓. ในกรณีที่เป็นการเช่าสถานที่และอาคารเพื่อดำเนินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง จะต้องไม่เป็นการเช่าช่วงโดย เป็นการดำเนินการเพียงชั่วคราว ซึ่งสถาบันต้องระบุกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดให้ชัดเจน กรณีที่เป็นความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เพื่อใช้สถานที่และอาคารในการจัดการศึกษา สถาบันต้องได้รับความ ยินยอมให้ใช้สถานที่และอาคารจากหัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้มีอำนาจของหน่วยงานนั้น ๆ ๔. สถานที่และอาคารที่ใช้ในการจัดการศึกษา จะต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีความปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวก และมีสิ่งสนับสนุนทางการศึกษาอย่างเพียงพอเช่นเดียวกับการจัดการศึกษาในสถาน

ที่ตั้ง เช่น ห้องเรียน ห้องทำงานของอาจารย์ สถานที่ห้องปฏิบัติการ และอุปกรณ์การศึกษาอันจำเป็นต่อการเรียนการสอนในแต่ละ สาขาวิ ช าที ่ เปิ ด สอน ห้องสมุด จำนวนหนังสือในสาขาวิ ช าที ่ เปิ ด สอน รายชื ่ อ ฐานข้ อ มู ล ในสาขาวิ ช า (กรณี บ ั ณฑิตศึกษา) คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นต้น ๕. สถาบันต้องจัดให้มีบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ การแนะแนวอาชีพ การจัดบริการสวัสดิการนักศึกษา และบริการ ด้านอื่นๆ ที่มีมาตรฐานเช่นเดียวกับการจัดการศึกษาในสถานที่ตั้ง และต้องแจ้งให้นักศึกษาได้รับทราบถึงบริการเหล่านั้นด้วย ๖. หลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนนอกสถานที่ตั้ง ต้องเป็นหลักสูตรเดิมที่ได้เปิดสอนในสถานที่ตั้งแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ภาคการศึกษา และเป็นหลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบเรียบร้อยแล้ว ๗. หลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนนอกสถานที่ตั้งถือเป็นอีกหนึ่งหลักสูตร สถาบันต้องจัดหาอาจารย์ประจำหลักสูตร/ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอีกชุดหนึ่งที่ไม่ซ้ำซ้อนกับในสถานที่ตั้ง โดยมีคุณวุฒิและคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับอุดมศึกษา

อนุสารอุดมศึกษา

13


พูดคุยเรื่องมาตราฐาน

๘. กรณีที่สถาบันประสงค์จะจัดการเรียนการสอนนอกสถานที่ตั้งเฉพาะบางส่วนของหลักสูตรที่เปิดดำเนินการใน สถานที่ตั้ง สถาบันสามารถจัดการเรียนการสอนได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยกิตรวมของหลักสูตรที่เปิดสอน ซึ่งสถาบัน สามารถใช้อาจารย์ประจำหลักสูตร/อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรชุดเดียวกันกับในสถานที่ตั้งได้ ๙. ข้อมูลและหลักฐานที่สถาบันจะต้องเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อประกอบการพิจารณารับ ทราบการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประกอบด้วย ๙.๑ โครงการการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งที่ระบุ เหตุผล ความจำเป็น และวัตถุประสงค์ ในการใช้สถานที่ และอาคารที่มิใช่สถานที่ตั้งตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือตามพระราชบัญญัติของสถาบัน อุดมศึกษาของรัฐหรือในกำกับ ระยะเวลาที่จะเปิดสอนและระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ หลักสูตรที่เปิดสอน หรือรายวิชาที่เปิด สอน (กรณีสอนเฉพาะบางส่วนของหลักสูตร) จำนวนนักศึกษาในแต่ละหลักสูตรในแต่ละปีการศึกษา ๙.๒ สำเนาสัญญาเช่าและรายละเอียดแนบท้ายสัญญาเช่า หรือสำเนาหนังสือยินยอมเกี่ยวกับการใช้สถานที่และ อาคารที่มิใช่สถานที่ตั้ง ในกรณีที่เป็นสถานที่หรืออาคารเช่า หรือความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในการใช้สถานที่และอาคาร ๙.๓ ข้อมูลแผนผังแสดงบริเวณและอาคาร ที่ระบุรายละเอียดของพื้นที่ของการใช้ประโยชน์ในส่วนต่างๆ ของ บริเวณและอาคารนั้น ๆ ข้อมูลแสดงสิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งสนับสนุนทางการศึกษา และอุปกรณ์การศึกษา ๙.๔ ข้อมูลของอาจารย์ประจำหลักสูตร/อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนในสถานที่ตั้งและ นอกสถานที่ตั้งที่สอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ๙.๕ ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดให้มีการให้คำปรึกษาทางวิชาการ การแนะแนวอาชีพ การจัดบริการ สวัสดิการ

นักศึกษา และบริการด้านอื่นที่มีมาตรฐาน ๙.๖ ข้อมูลอื่นๆ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแจ้งให้สถาบันจัดส่งข้อมูลเพิ่มเติม หรือเพื่อ ประกอบการพิจารณา ๑๐. ข้อมูลการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบัน ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบัน และสถาบันได้แจ้งให้ คณะกรรมการการอุดมศึกษาทราบแล้ว สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะเผยแพร่ข้อมูลการเปิดดำเนินการหลักสูตร นอกสถานที่ตั้งของสถาบัน เพื่อให้สาธารณะได้รับทราบ ๑๑. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง สถาบันต้องรายงานให้สภาสถาบันทราบ และ แจ้งให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาทราบภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่สภาสถาบันรับทราบ ๑๒. คณะกรรมการการอุดมศึกษาอาจดำเนินการให้มีการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพและมาตรฐานตามเจตนารมณ์ของประกาศฉบับนี้ ๑๓. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัตินี้ได้ หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือที่กำหนด ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษา และให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นอัน สิ้นสุด การจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษามีความมุ่งหวังเพื่อเป็นช่องทาง

ในการกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้ทั่วถึงกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อให้นิสิต นักศึกษาได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเช่นเดียวกับศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จึงจำเป็นอย่าง ยิ่งที่สถาบันอุดมศึกษาที่ดำเนินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา ต้อง พึงตระหนักถึงและดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาประเมินคุณภาพการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของ สถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อให้การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยมีคุณภาพ มาตรฐาน อย่างแท้จริง

14

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องแนะนำ

แสดงความยินดี ประธาน กกอ. คนใหม่

สกอ.

หลังจากที่ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ได้ลาออกจากประธานกรรมการในคณะกรรมการ

การอุดมศึกษา มีผลเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ นั้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ใช้อำนาจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ คัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งประธาน กกอ.

คนใหม่ จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๔ ท่าน และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔ แต่งตั้ง ศาสตราจารย์วิชัย ริ้วตระกูล เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ตั้งแต่วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ‘อนุ ส ารอุ ด มศึ ก ษา’ ฉบั บ นี ้ จึ ง ถื อ โอกาสแนะนำประธานกรรมการ ในคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ศาสตราจารย์วิชัย ริ้วตระกูล ราชบัณฑิต สาขาวิชาเคมี สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน

ประวัติการศึกษา

• มัธยมปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา • ปริญญาตรี สาขาเคมี (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย • ปริญญาเอก สาขาเคมีอินทรีย์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมืองเมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

ปริญญากิตติมศักดิ์

• ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเคมีประเภทวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ • ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประวัติการทำงาน

• เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๔ จนถึงปัจจุบัน โดยได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ พ.ศ. ๒๕๒๒ และ พ.ศ. ๒๕๒๗ ตามลำดับ • หัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี ๒๕๓๗ – ๒๕๔๔ • ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๑๗ และ ๑๘ ที่ปรึกษาชั่วคราว HRP/WHO • ประธานของ The Steering Committee of WHO Task on Plants for Fertility Regulation • กรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๒ • กรรมการในคณะกรรมการอุดมศึกษาเอกชน ทบวงมหาวิทยาลัย • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาวิชาการ สภาสถาบันราชภัฏ ระหว่างปี ๒๕๔๑ – ๒๕๔๓

อนุสารอุดมศึกษา

15


เรื่องแนะนำ

เกียรติคุณและรางวัล พ.ศ. ๒๕๓๘ พ.ศ. ๒๕๓๙ พ.ศ. ๒๕๔๓ พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๖ พ.ศ. ๒๕๔๘

รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (ประเภทบุคคล) เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สาขาเคมี เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สาขาเคมีอินทรีย์ รางวัลผลงานวิจัยเกียรติยศ สกว. : รางวัลผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงโดยรวมสูงสุด สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ระยะที่ ๒ สาขาเคมีอินทรีย์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช

พ.ศ. ๒๕๓๔ พ.ศ. ๒๕๓๙ พ.ศ. ๒๕๓๙

มหาวชิรมงกุฎไทย (ม.ว.ม.) มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

16

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องแนะนำ

นิทรรศการ

‘ตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา ครั้งที่ ๑๖’

สำนักงาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาจัดโครงการนิทรรศการ ‘ตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา ครัง้ ที่ ๑๖’ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและภาคเอกชน เผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน

ทั้งหลักสูตรภาษาไทย และหลักสูตรนานาชาติ สร้างการกระจายโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลทางการศึกษา รวมทั้งเป็นฐานข้อมูลความรู้ใน การแลกเปลี ่ ย นความคิ ด เห็ น เพื ่ อ การศึ ก ษาต่ อ ในแต่ ล ะสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาทั ่ ว ประเทศ และส่ ง เสริ ม ให้ น ั ก เรี ย น นิ ส ิ ต นั ก ศึ ก ษา ครู

ผู้ปกครอง หน่วยงานและผู้สนใจทั่วไป มีความสนใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในประเทศเพิ่มมากขึ้น

calendar สถาบันอุดมศึกษา ช่วงเวลาจัดงาน สถานที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๑๐ - ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยคริสเตียน ๒๔ - ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณ อาคารกีฬาในร่ม มหาวิทยาลัยคริสเตียน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลื่อนอย่างไม่มีกำหนด ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ๓๐ พฤศจิกายน - ๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณ ศูนย์กีฬา มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ๗ - ๘ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณ อาคารกีฬาเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษาบรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ๑๙ - ๒๐ มกราคม ๒๕๕๕ ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๒ - ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ๒๑ - ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๕ ณ ศูนย์กีฬาอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ๑๙ - ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ อาคารสุรพัฒน์ ๒ เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ๑๖ - ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ ณ ศูนย์ประชุมฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อนุสารอุดมศึกษา

17


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

สกอ.

รวมน้ำใจอุดมศึกษาช่วยภัยน้ำท่วม

๑ ๒

๑ รถจาก ขส.ทบ. มาช่วยบรรทุกถุงยังชีพ ไปมอบแก่ผู้ประสบอุทกภัย ๒ นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล รัฐมนตรีช่วยว่า การกระทรวงศึกษาธิการ มอบถุงยังชีพ ๓ นายอภิชาติ จีระวุฒิ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทน เลขาธิการ กกอ. มอบถุงยังชีพ ๔ รศ.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการ กกอ. มอบถุงยังชีพ ๕ นางวราภรณ์ สีหนาท ผู้ตรวจราชการ ศธ. รักษา ราชการแทน รองเลขาธิการ กกอ. มอบถุงยังชีพ ๖ นางสาวสุนันทา แสงทอง ผู้อำนายการสำนักบริหารงาน วิทยาลัยชุมชน มอบถุงยังชีพ ๗ บรรยากาศการมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัย

18

อนุสารอุดมศึกษา


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ - นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร กล่ า วในการเป็ น ประธานเปิ ด “โครงการรวมน้ ำ ใจ อุดมศึกษาช่วยภัยน้ำท่วม” ว่า มีความยินดีที่ชาวอุดมศึกษา ทั้งข้าราชการ เจ้าหน้าที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา คณาจารย์และบุคลากรใน สถาบันอุดมศึกษา รวมถึงนิสิตนักศึกษา ได้แสดงความมีน้ำใจและจิตอาสา ร่วมให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วนทันที ซึ่งความมีน้ำใจและ จิตอาสาเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างมากในสังคมไทย “สำหรั บ ผู ้ ป ระสบอุ ท กภั ย ผมขอเป็ น ตั ว แทนของรั ฐ บาลและชาว อุดมศึกษา เป็นกำลังใจให้กับทุกท่านและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถานการณ์ที่เกิด ขึ้นนี้จะบรรเทาในเร็ววัน และเราจะระดมกำลังให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ทั ้ ง ในระยะเร่ ง ด่ ว นและระยะฟื ้ น ฟู เพื ่ อ กลั บ สู ่ ส ภาวะปกติ โดยเร็ ว ” รมช.ศธ. กล่าว ด้าน นายอภิชาติ จีระวุฒิ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของผู้ประสบอุทกภัย ที่ได้รับความ เสี ย หายเป็ น อย่ า งมาก ทั ้ ง ที ่ อ ยู ่ อ าศั ย และพื ้ นที ่ ท ำกิ น ดั ง นั ้ น สำนั ก งาน

คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา จึ ง ได้ จ ั ด ตั ้ ง “ศู น ย์ อ ุ ด มศึ ก ษาไทยช่ ว ยเหลื อ

ผู้ประสบอุทกภัย สกอ.” เพื่อให้การช่วยเหลือ รวบรวมข้อมูล และประสาน งานการดำเนินงานบรรเทาความเดือดร้อนของนิสิต นักศึกษา และการช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ที่ได้ระดมสรรพกำลังช่วยเหลือ

ผู้ประสบอุทกภัย ทั้งในระยะเร่งด่วนและฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายให้กลับ คืนสภาพปกติโดยเร็ว โดยดำเนินการในหลายรูปแบบ เช่น การเปิดเป็นศูนย์ พักพิงชั่วคราว บริการด้านการแพทย์พลานามัย แจกถุงยังชีพ และการบูรณะ ซ่อมแซมบ้านเรือน อาคารสถานที่ เป็นต้น

๑ ๓

๒ ๔

๑ - ๓ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๔ - ๕ ผู้ประสบอุทกภัย จังหวัดปทุมธานี

อนุสารอุดมศึกษา

19


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

“สกอ. ซึ่งเป็นหน่วยงานกลาง ยังได้ร่วมระดม สรรพกำลังให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยจัด ให้มี “โครงการรวมน้ำใจอุดมศึกษาช่วยภัยน้ำท่วม” โดยระดมกำลั ง ข้ า ราชการ เจ้ า หน้ า ที ่ ข อง สกอ. บริ จ าคเงิ น เพื ่ อ ใช้ ในการจั ด หาถุ ง ยั ง ชี พ มอบให้ แ ก่

ผู้ประสบอุทกภัย และร่วมลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ ประชาชน ซึ ่ ง ได้ ไปมอบถุ ง ยั ง ชี พ ๕๐๐ ถุ ง น้ ำ ดื ่ ม ข้าวสาร สุขากระดาษ แก่ผู้ประสบอุทกภัย พร้อมนำ หน่วยแพทย์เคลือ่ นทีจ่ ากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ และสวัสดิการโรงครัว ไปบริการผูป้ ระสบ อุทกภัย ณ โรงเรียนปทุมวิไล อำเภอเมือง จังหวัด ปทุมธานี นอกจากนี้ ยังได้นำเครื่องอุปโภคบริโภคอีก จำนวนหนึ่งไปมอบให้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี ซึ่งเปิดเป็นศูนย์พักพิง

ผู้ประสบอุทกภัยด้วย” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

๑ ๒

๓ ๔

๑ - ๓ ผู้ประสบอุทกภัยรับบริการอาหารจาก สวัสดิการโรงครัว ที่ สกอ. จัดลงพื้นที่ ณ โรงเรียนปทุมวิไล อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ๔ ผู้ประสบอุทกภัย รับสุขากระดาษ ที่ สกอ. ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี จัดทำให้

20

อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๕ ตุ ล าคม ๒๕๕๔ - นายอภิ ช าติ

จีระวุฒิ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษา ราชการแทนเลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกลู รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา นางวราภรณ์ สี ห นาท

ผู ้ ต รวจราชการกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร รั ก ษาราชการแทนรองเลขาธิ ก าร

คณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วย ข้ า ราชการ และเจ้ า หน้ า ที ่ ส ำนั ก งาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษา มอบเครื่อง อุ ป โภคบริ โ ภค ให้ ก ั บ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลสุ ว รรณภู ม ิ ศู น ย์ นนทบุรี ซึ่งเปิดเป็นศูนย์พักพิงผู้ประสบ อุทกภัย ตามโครงการรวมน้ำใจอุดมศึกษา ช่ ว ยภั ย น้ ำ ท่ ว ม โดยมี ผศ.จริ ย า

หาสิตพานิชกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เป็นผู้รับ มอบ ณ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าช มงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี

อนุสารอุดมศึกษา

21


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๔ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปี ๒๕๕๔ ณ วัดพัฒนาราม ตำบล ตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นางวราภรณ์ สีหนาท ผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา และประชาชนเข้าร่วมพิธี

22

อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๖ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๔ - รองศาสตราจารย์ พ ิ น ิ ต ิ

รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา พร้ อ มด้ ว ยข้ า ราชการ และเจ้ า หน้ า ที ่ สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เข้ า ร่ ว มพิ ธ ี ปล่อยขบวนศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศปภ.) ซึ่ง ศปภ. ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ จัดขึ้น ณ บริเวณ พระลานพระราชวังดุสิต โดยมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ทัง้ นี้ สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ได้นำถุงยังชีพ น้ำดื่ม อุปกรณ์ช่วยชีวิต แพไม้ ไ ผ่ พร้ อ มด้ ว ยเครื ่ อ งอุ ป โภคบริ โ ภค ไปมอบให้

ผู้ประสบภัย ตามโครงการ “จิตอาสาเยียวยาประชาชน” ณ สำนั กงานเขตพื ้ นที ่ การศึ กษาประถมศึ กษาจัง หวัด นครปฐม เขต ๑ ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมือง จังหวัด นครปฐม

อนุสารอุดมศึกษา

23


ขอขอบคุณ

สถาบันอุดมศึกษา บุคลากรอุดมศึกษา และนิสิต นักศึกษา

จิตอาสา

ทุกคน

ที่รวมน้ำใจ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

ศูนย์รับแจ้งข้อมูลผู้ประสบอุทกภัยและข้อมูลการให้ความช่วยเหลือของสถาบันอุดมศึกษา โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๔๖๗ และ ๐ ๒๖๑๐ ๕๔๑๖-๗ เว็บไซต์ รวมน้ำใจอุดมศึกษาช่วยภัยน้ำท่วม http://www.mua.go.th/flood.html อีเมล์ flood@mua.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.