อนุสารอุดมศึกษา issue 456

Page 1

อนุสาร ปที่ ๔๒ ฉบับ ๔๕๖ ประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙

เอกสารเผยแพรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461


สารบัญ

CONTENT

๖ เรื่องเล่าอุดมศึกษา

• วันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ ๗ • สกอ. จัดประชุมสัมมนากรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิสถาบัน อุดมศึกษาเอกชน • สกอ.จัดประชุมผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบงานด้านต่างประเทศ ของสถาบันอุดมศึกษาไทย • สกอ. ขับเคลื่อนการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกเชิงบูรณาการ ระบบพิชญพิจารณ์แบบมีส่วนร่วม • สกอ. จัดประชุมระดมความคิดเห็นเกีย่ วกับตัวชีว้ ดั มหาวิทยาลัยด้าน ความสัมพันธ์กับสังคม (Engagement) • สกอ. เดินหน้าพัฒนาความพร้อมและติดตามความก้าวหน้า เพื่อ ขอรับการรับรองจาก ABET

๑๕ เรื่องพิเศษ ๒๑ เหตุการณ์เล่าเรื่อง ๒๓ เล่าเรื่องด้วยภาพ • กกอ. สัญจร ครั้งที่ ๙

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ภาพเก่าลงสีโดย Facebook : S. Phormma’s Colorization

๑๐

๑๕

คณะผู้จัดท�ำ

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม นายขจร จิตสุขุมมงคล นางอรสา ภาววิมล นายวันนี นนท์ศิริ บรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ กองบรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด นางสาวกุลนันท์ ภูมิภักดิ์ พิมพ์ท ี่ บริษัท เอกพิมพ์ไท จ�ำกัด โทรศัพท์ : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๕๒ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๑ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๔๘๖ โทรสาร : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๐


ความหมายของตราสัญลักษณ์ ฉลองสิรริ าชสมบัตคิ รบ ๗๐ ปี อักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. สีเหลืองนวลทอง เป็นสีประจ�ำวันพระบรมราชสมภพ ขอบริม อักษรสีทองบนพื้นสีขาบเข้ม (น�้ำเงินแก่) เป็นสีประจ�ำสถาบันพระมหากษัตริย์ ภายในกรอบลายทอง ปนนากมีลายเนือ่ งสีทองมากกว่า ๗๐ ดวง เป็นการถวายพระพร ให้ทรงสถิตด�ำรงในสิรริ าชสมบัตมิ ากกว่า ปีที่ ๗๐ ให้สถาพรโดยสวัสดีเป็นอเนกอนันต์ ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใด อักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. และกรอบลายทองปนนากนี้สถิตอยู่ภายใต้ พระมหาพิชัยมงกุฎ ประกอบพระอุณาโลมสีทอง แวดล้อมด้วยพระแสงขรรค์ชัยศรี และพระแส้จามรีอยู่เบื้องซ้ายแห่ง พระมหาพิชยั มงกุฎ มีธารพระกรและพัชนีฝกั มะขาม อยูเ่ บือ้ งขวา มีฉลองพระบาททอดอยูท่ ปี่ ลายพระแสง และธารพระกรนั้นเบื้องล่าง รวมเรียกว่าเครื่องเบญจสิริราชกกุธภัณฑ์ เป็นนิมิตหมายแห่งการฉลอง สิริราชสมบัติ ล่างลงมาเป็นแพรแถบสีหงชาด (ชมพู) ขลิบทอง เขียนอักษรสีทอง ความว่า ฉลองสิริราช สมบัติครบ ๗๐ ปี ปลายด้านขวาของแพรแถบระบุ พ.ศ. ๒๔๘๙ อันเป็นปีที่ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ปลายด้านซ้ายของแพรแถบระบุ พ.ศ. ๒๕๕๙ แสดงกาลเวลาที่ล่วงมา ๗๐ ปี ตราบจนปัจจุบัน ปีที่ ๔๒ ฉบับ ๔๕๖ ประจ�ำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙

3


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรอบรู้ทางวิชาการในสาขาต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ดูเหมือนจะไม่มีสาขาวิชาใดเลยที่ พระองค์มไิ ด้ทรงสนพระทัยและใฝ่ศกึ ษา และทีส่ ำ� คัญยิง่ กว่านัน้ ในสาขาวิชาใดทีพ่ ระองค์ทรงศึกษาค้นคว้า พระองค์จะทรงศึกษา ให้เข้าพระทัยอย่างถ่องแท้ถึงแก่นของวิชานั้น ด้วยความจริงนี้ คราวใดที่พระองค์พระราชทานแนวพระราชด�ำริเรื่องใดก็ตาม เพื่อแก้ไขปัญหา แนวพระราชด�ำริดังกล่าวจะสอดคล้องกับหลักแห่งวิชาของเรื่องนั้น พร้อมทั้งทรงประยุกต์หรือใช้หลักวิชา นั้นให้บังเกิดผลในเชิงปฏิบัติได้อย่างน่าอัศจรรย์ ผลแห่งการประยุกต์ใช้วิชาของพระองค์ท่านเป็นเครื่องพิสูจน์ที่ชัดเจนถึง พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาญาณในสาขาแห่งวิชานั้น ๆ

การศึกษาวิชาการในสาขาวิชาใดก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนให้น�ำหลักแห่งวิชาสาขาต่าง ๆ มาใช้เพื่อการแก้ไข ปัญหาให้ส�ำเร็จ ทั้งนี้ด้วยพระปัญญาอันประเสริฐที่ทรงสามารถแยกแยะปัญหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ได้ว่า มีขอบเขตของสาระครอบคลุมหลัก แห่งวิชาในสาขาใดบ้าง ในหลายกรณีทรงเห็นว่าการเข้าสู่ปัญหาด้วยการใช้หลักของสหวิชาการเป็นสิ่งจ�ำเป็น เช่น การพัฒนาชนบท จะทรงแสดง การน�ำหลักแห่งวิชาสาขาต่าง ๆ มาประกอบกันเข้าเพือ่ แก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ ด้วยตรรกะเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงแสดง ให้เห็นว่า ปัญหาของประเทศชาติมคี วามสลับซับซ้อนและความยุง่ ยากไม่สามารถจะใช้เพียงหลักวิชาสาขาใดสาขาหนึง่ เข้าแก้ไขให้สำ� เร็จได้

4


ฉะนัน้ การศึกษาในสาขาวิชาใดก็ตามจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องศึกษาสาขาวิชาอืน่ ประกอบด้วย จึงจะท�ำให้ สามารถใช้สาขาวิชาที่ศึกษาให้เกิดประโยชน์ได้แท้จริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงแสดงให้เห็นเสมอว่า นักศึกษาเรียนวิชาความรูใ้ นเรือ่ ง ใดก็ตามจะถือว่าส�ำเร็จในเกณฑ์แห่งปริญญาบัตรไม่ได้ ถ้าผู้นั้นยังไม่สามารถน�ำหลักแห่งวิชา ความรู้นั้นไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลของการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาในความเป็นจริงได้การใช้ วิชาความรู้หรือทฤษฎีกับการปฏิบัติเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ ฉะนั้น ความรู้หรือวิชาการ ที่แท้จริงส�ำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะต้องเป็นความรู้หรือวิชาการที่สามารถน�ำไปสู่ การปฏิบัติได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความสามารถในการน�ำหลักวิชาการไปสู่การปฏิบัติจนเกิด ผลส�ำเร็จเป็นคุณสมบัติส�ำคัญยิ่งประการหนึ่งของ บัณฑิต ระดับอุดมศึกษา การศึกษาทางวิชาการจนสามารถน�ำไปสู่การปฏิบัติได้ส�ำเร็จยังคงไม่สามารถเป็น หลักประกันของการเป็น ปัญญาชน หรือ บัณฑิต เพราะการน�ำวิชาการไปสู่การปฏิบัติอาจจะ กระท�ำเพียงเพื่อผลประโยชน์เฉพาะคนเท่านั้น หรือเพื่อน�ำไปสู่จุดมุ่งหมายที่ไม่ดีที่เป็นอกุศลได้ ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงให้ความส�ำคัญอย่างยิ่งแก่ จริยธรรมและศีลธรรม ของผู้ใช้วิชาความรู้ กล่าวคือ การใช้วิชาความรู้ให้เกิดผลดีโดยสมบูรณ์จะต้องเป็นการใช้วิชา ความรู้ที่มุ่งดีมุ่งเจริญต่อทั้งตนเองและส่วนรวม หากวิชาความรู้ขาดซึ่งจริยธรรมและศีลธรรม ก�ำกับแล้ว ย่อมจะกลายเป็นวิชาความรูท้ อี่ นั ตรายและล่อแหลมอย่างยิง่ จนอาจกล่าวได้วา่ สภาวะ ที่มีวิชาความรู้สูงแต่ขาดจริยธรรมและศีลธรรมแล้วย่อมเป็นอันตรายกว่าสภาวะที่ด้อยวิชา ความรูม้ ากนัก ฉะนัน้ วิชาความรูจ้ งึ ยังมิใช่คณ ุ ภาพทีเ่ บ็ตเสร็จในตัวเอง แต่ตอ้ งเป็นคุณภาพทีจ่ ะ สนองตอบต่อจุดหมายที่ดีงาม และนี่คือภารกิจส�ำคัญที่มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาจะ ต้องระลึกและตระหนักถึงตลอดเวลา นอกจากวิชาความรู้ในสาขาต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยแล้ว พระองค์ทา่ นยังทรงเป็นองค์อปุ ถัมภ์แห่งสาขาวิชาเหล่านัน้ มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิง่ ทรง สนับสนุนการสร้างบุคลากรทางวิชาการที่มีคุณภาพสูงด้วยการพระราชทานทุนการศึกษาต่อ ต่างประเทศให้แก่คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษา ด้วยทรงตระหนักถึง ความส�ำคัญของการสร้างบุคลากรทางวิชาการให้มีคุณภาพเท่าเทียมกับอารยประเทศ ยิ่งไป กว่านั้นทรงเป็นแบบอย่างทั้งในด้านวิชาการและพระวิริยะอุตสาหะที่จะน�ำวิชาการไปใช้ให้เกิด ประโยชน์โดยแท้จริงด้วยการน�ำหลักวิชาไปสูก่ ารปฏิบตั ใิ ห้เกิดผลส�ำเร็จ รวมทัง้ พระราชทานขวัญ ก�ำลังใจแก่บรรดานักวิชาการที่จะอดทนต่อปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ อันเกิดจากการศึกษาค้นคว้า วิจัยในทุกสาขาวิชาจนสามารถบรรลุเป้าหมายแห่งการศึกษา นั่นคือการใช้วิชาความรู้ให้เกิด ผลส�ำเร็จที่ดีงามอย่างแท้จริง พระเกียรติยศด้านวิชาการในทุกสาขาวิชาที่ปรากฏแก่มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษา และพสกนิกรทั้งปวง อาจกล่าวโดยรวมได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงให้ปรากฏ และเกิดผลจริงอันเป็นแบบอย่างแก่ บัณฑิต ทั้งหลายคือการเข้าถึงแก่นแท้ของวิชาและการน�ำ วิชาความรูไ้ ปใช้กอ่ ประโยชน์ให้เกิดแก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ เพือ่ ความเจริญก้าวหน้า และความมั่นคงของประชาชนและประเทศชาติในที่สุด

กนก วงษ์ตระหง่าน “บทน�ำแห่งค�ำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ” จดหมายเหตุค�ำประกาศสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒๕๓๙

ปีที่ ๔๒ ฉบับ ๔๕๖ ประจ�ำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙

5


เรื่องเล่าอุดมศึกษา

วันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ ๗ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๙ - พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน “วั น สหกิ จ ศึ ก ษาไทย ครั้ ง ที่ ๗” ณ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ ในฐานะประธาน ได้กล่าวถึงการจัดงานว่ารัฐบาลมีนโยบาย อย่างชัดเจนที่มุ่งส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๙) ประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ คือ ๑) ความมัง่ คง ๒) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ๓) การพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพคน ๔) การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและ เท่าเทียมกันทางสังคม ๕) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ ๖) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการ บริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่งคง

มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง” น�ำไปสูก่ ารพัฒนาให้คนไทยมีความสุขและสร้าง รายได้ระดับสูง เป็นประเทศพัฒนาแล้ว บทบาทของอุดมศึกษา เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ซึ่งเป็นหัวใจส�ำคัญของการพัฒนาที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเป้าหมาย ยุทธศาสตร์อื่น ๆ เพื่อฉุดประเทศไทย ไปสู่ยุค ๔.๐ ซึ่งต้องใช้งานวิจัย

6

ที่เน้นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน และใช้การด�ำเนินงานในรูปแบบประชารัฐ คือเน้นการมีส่วนร่วมจาก ทุกภาคส่วนทั้งภาคเอกชน ภาคการเงิน การธนาคาร มหาวิทยาลัย รวมทั้งสถาบันวิจัยและศูนย์ความเป็นเลิศ “ผมมีความเชื่อมั่นและขอฝากความหวังกับทุกท่านที่จะ

พัฒนาสหกิจศึกษาให้ก้าวหน้าและยั่งยืนเพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มี ความสมบูรณ์พร้อม มีสมรรถนะตามความต้องการ สามารถ แข่งขันได้ในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ” รมว.ศธ. กล่าว ในตอนท้าย


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับ สมาคมสหกิจศึกษาไทย เครือข่ายเพือ่ การพัฒนาอุดมศึกษา ๙ ภูมภิ าค สถาบันอุดมศึกษา สถานประกอบการ ตลอดจนเครือข่ายพหุภาคีที่ เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความส�ำคัญในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตไทย โดยเฉพาะอย่างยิง่ การพัฒนาคุณลักษณะและสมรรถณะบัณฑิตให้ตรง ตามความต้องการของสถานประกอบการหรือตลาดแรงงาน ในฐานะ องค์กรผูใ้ ช้บณ ั ฑิตให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากลและได้ลงนามใน ประกาศเจตนารมณ์รว่ มกันให้มกี ารส่งเสริมและสนับสนุนการด�ำเนินงาน สหกิจศึกษาเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕ เพือ่ ให้ทกุ ภาคส่วนได้ตระหนักและเห็นความส�ำคัญของการจัด สหกิจศึกษาในระดับอุดมศึกษา อันส่งผลต่อความร่วมมือเพื่อการ ส่งเสริมและพัฒนาสหกิจศึกษาของประเทศไทยอย่างยั่งยืนทุกภาคีจงึ

ได้เห็นพ้อง ให้วนั ที่ ๖ มิถนุ ายนของทุกปีเป็น “วันสหกิจศึกษาไทย” โดยเริ่มจัดงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ วันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ ๗ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทุกภาคส่วน ทัง้ รัฐและเอกชนทีร่ ว่ มจัดสหกิจศึกษา และภาคสังคม ได้ตระหนักและ เห็นความส�ำคัญ รวมทั้งประโยชน์ของการจัดการศึกษาระบบสหกิจ ศึกษา เพือ่ เผยแพร่ความรูค้ วามเข้าใจและความก้าวหน้าในการด�ำเนินการ จัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อยกย่องและให้เกียรติ แก่ผู้ท�ำคุณประโยชน์ให้กับสหกิจศึกษาไทยเพื่อให้องค์กร และบุคคล ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ร่วมด�ำเนินการสหกิจศึกษา ได้มีโอกาสสร้าง ปฏิสมั พันธ์ โดยพบปะแลกเปลีย่ นความรูแ้ ละความคิดเห็น ระหว่างกัน อันจะเป็นประโยชน์ตอ่ การส่งเสริมพัฒนาสหกิจศึกษา ของประเทศไทย อย่างจริงจังต่อเนื่องต่อไป

ปีที่ ๔๒ ฉบับ ๔๕๖ ประจ�ำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙

7


เรื่องเล่าอุดมศึกษา

สกอ. จัดประชุมสัมมนากรรมการสภา

สถาบันผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนากรรมการสภาสถาบันผู้ทรง คุณวุฒิตามตาตรา ๒๘(๔) แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ กรุงเทพฯ

เลขาธิการ กกอ. กล่าวตอนหนึ่งว่า สถาบันอุดมศึกษาเอกชน มี สถานะเป็นนิติบุคคลที่ช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐ ในการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาคนซึ่งเป็นปัจจัย หลักในการพัฒนาประเทศ ท�ำให้ความคาดหวังของภาครัฐ ประชาชน เป็นจริงขึ้นมา โดยมี พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.๒๕๔๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๐ เป็นพระราชบัญญัติ ที่ใช้ในการก�ำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทุกแห่ง และตามความ ในมาตรา ๒๘(๔) ได้ก�ำหนดให้รัฐมนตรีเลือกกรรมการสภาสถาบัน ผู้ทรงคุณวุฒิจ�ำนวนไม่เกินสามคนจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการ การอุดมศึกษาเห็นชอบเพือ่ แต่งตัง้ เป็นกรรมการสภาสถาบัน กรรมการสภา สถาบันผู้ทรงคุณวุฒิจึงมีบทบาทส�ำคัญในฐานะ ๑) ผู้ทรงคุณวุฒิ ตาม ความถนัดของแต่ละท่าน ๒) ในฐานะผู้แทนส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ที่ดูแลความถูกต้องชอบธรรมในการด�ำเนินกิจการของ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ให้ค�ำแนะน�ำ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนโยบาย กฎระเบียบ ต่าง ๆ และ ๓) ในฐานะผูพ้ ทิ กั ษ์ผลประโยชน์ของนักศึกษา และประชาชน ก�ำกับ ดูแลสถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้จดั การเรียนการ สอนทีไ่ ด้คณ ุ ภาพและมีมาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์ของส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เพือ่ รับผิดชอบต่อสังคมด้านคุณภาพวิชาการ

8

ในปัจจุบันได้ปรากฏข่าวตามสื่อมวลชนและมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับ คุณภาพมาตรฐานและปัญหาการด�ำเนินการของสถาบันอุดมศึกษา เอกชนเป็นจ�ำนวนมาก เช่น การจัดการศึกษานอกที่ตั้ง การโฆษณาที่ เกินจริงเรือ่ งหลักสูตร การเรียนการสอน การเปิดสอนหลักสูตรทีไ่ ม่ตรง ตามมาตรฐาน ฯลฯ ซึ่งสะท้อนเสียงของสังคมที่มีต่อความเชื่อมั่นและ ศรัทธา ในสถาบันอุดมศึกษาของไทย สภาสถาบันเป็นผู้มีบทบาท ส�ำคัญในการร่วมรับผิดชอบดูแล มิให้เกิดปัญหาดังกล่าว ประกอบกับ การเข้าสู่ศตวรรษที่ ๒๑ ในยุคที่มีการแข่งขันสูง การเข้าร่วมเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจึงต้องเป็น หน่วยงานหลักที่จะวางนโยบายและก�ำกับแนวทางในการด�ำเนินงาน ของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาที่มี คุณภาพ เป็นประโยชน์กับสังคมและประเทศชาติ สามารถแข่งขันได้ กับสถาบัน อุดมศึกษาของต่างประเทศ ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาคาดหวังว่าการประชุมสัมมนาในครัง้ นีจ้ ะช่วยสร้างเสริม ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของกรรมการสภาสถาบัน เพื่อให้น�ำพา สถาบันอุดมศึกษาเอกชนอยูร่ อดได้และผลิตบัณฑิตทีม่ คี ณ ุ ภาพเพือ่ ช่วย พัฒนาประเทศต่อไป


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

สกอ.จัดประชุมผู้บริหารระดับสูง ทีร่ บั ผิดชอบงานด้านต่างประเทศ ของสถาบันอุดมศึกษาไทย นางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมผูบ้ ริหารระดับสูงทีร่ บั ผิด ชอบงานด้านต่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษาไทย ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน�้ำ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ เลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า แนวทางในการด�ำเนินงานด้าน ต่างประเทศของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา การท�ำงาน ทีผ่ า่ นมามุง่ เน้นการแสวงหาช่องทางเพือ่ สร้างโอกาสให้อดุ มศึกษาไทย มีบทบาทน�ำในเวทีระดับภูมิภาคและนานาชาติ ท�ำให้เกิดกิจกรรม โครงการหลากหลายที่ส่งเสริมภาพลักษณ์อุดมศึกษาไทยในเวทีโลก อาทิ การให้ ทุ น เพื่ อ พั ฒ นาศั ก ยภาพของอาจารย์ แ ละนั ก ศึ ก ษา การด�ำเนินโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร เพื่อ พัฒนาสมรรถนะสากลของทรัพยากรมนุษย์ การจัดประชุมสัมมนา เพื่อริเริ่ม สานต่อความร่วมมือ และการส่งเสริมการวิจัย ผ่านกรอบ ความร่วมมือต่าง ๆ รวมถึงการประชาสัมพันธ์อุดมศึกษาไทยในต่าง ประเทศ แต่ด้วยข้อจ�ำกัดด้านงบประมาณและด้านอื่น ๆ ท�ำให้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมสึกษายังไม่สามารถขับเคลื่อนการ ท�ำงานด้านต่างประเทศทีส่ ง่ เสริมให้อดุ มศึกษาไทยมีความเป็นผูน้ ำ� ใน เวทีโลกได้อย่างที่ตั้งเป้าไว้ และทราบดีว่ายังมีอีกหลายบทบาทที่ มหาวิทยาลัยคาดหวังให้ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็น ผูด้ ำ� เนินการ เช่น เรือ่ งการจัดท�ำฐานข้อมูลอุดมศึกษาไทยในมิตติ า่ ง ๆ เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า ศตวรรษที่ ๒๑ เป็นยุคที่โลก ก้าวไปอย่างรวดเร็ว เป็นยุคของการแข่งขันสูง จึงมีความจ�ำเป็นที่ มหาวิทยาลัยจะต้องทบทวนและพิจารณาปรับกลยุทธ์ในการขับ เคลือ่ นสถาบันไปสูค่ วามเป็นเลิศในมิตติ า่ ง ๆ รวมถึงมิตดิ า้ นความเป็น

สากล ด้วยทรัพยากรงบประมาณที่มีจ�ำกัดท่านคงต้องเลือกหุ้นส่วน อย่างชาญฉลาด จัดล�ำดับความส�ำคัญของกิจกรรม และเลือกด�ำเนิน กิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าและคุ้มทุน รวมถึงคิดอย่างรอบคอบ ถีถ่ ว้ นมากขึน้ ว่าจะเดินหน้าเรือ่ งการด�ำเนินความร่วมมือกับต่างประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีอย่างไรจึงจะได้รับประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเรือ่ งการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยไทยเป็นทีย่ อมรับ ในระดับนานาชาติ การพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศให้ตอบรับ สภาวการณ์ปัจจุบันและขับเคลื่อนสู่อนาคตอย่างมั่นคงและยั่งยืนนั้น จ�ำเป็นจะต้องให้ความส�ำคัญกับมิติด้านคุณภาพทั้งองคาพยพของ อุดมศึกษา การด�ำเนินงานด้านต่างประเทศของส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของ มหาวิทยาลัยให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล การพัฒนาสมรรถนะ สากลของนักศึกษา อาจารย์และบุคลากร การส่งเสริมบทบาทของ นักวิชาการไทยในเวทีนานาชาติ รวมถึงการริเริ่มความร่วมมือกับ ประเทศหรือกลุ่มประเทศที่มีความส�ำคัญและเป็นตลาดใหม่ที่มีความ มัน่ คงด้านเศรษฐกิจ ขณะนีก้ ลุม่ ประเทศทางตะวันออกกลาง เช่น การ์ตา้ โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สนใจทีจ่ ะมีความร่วมมือด้านการศึกษา โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษากับไทย เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนสุดท้าย ปีที่ ๔๒ ฉบับ ๔๕๖ ประจ�ำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙

9


เรื่องเล่าอุดมศึกษา

สกอ. ขับเคลือ่ นการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก

เชิงบูรณาการระบบพิชญพิจารณ์แบบมีสว่ นร่วม ๙ มิถนุ ายน ๒๕๕๙ – รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา เรื่อง “การติดตามและตรวจเยี่ยมการจัดการศึกษา ระดับปริญญาเอกเชิงบูรณาการระบบพิชญพิจารณ์แบบมีสว่ นร่วม ระยะที่ ๑ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙” ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า การจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกเป็นการจัดการศึกษาระดับสูงทีเ่ น้นการวิจยั เพือ่ สร้างนักวิจัยและนักวิชาการซึ่งถือได้ว่ามีผลต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่จะเป็นฐานทาง ปัญญาของประเทศ เพือ่ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึง่ จากข้อมูลการส�ำรวจการเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาเอกของ สถาบันอุดมศึกษา ปัจจุบันได้มีการจัดการศึกษาในระดับปริญญาเอกครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชา และมีการจัดการ เรียนการสอนปริญญาเอกเป็นจ�ำนวนมาก คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ในฐานะทีม่ อี ำ� นาจหน้าทีใ่ นการติดตาม ตรวจสอบประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตามที่ก�ำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ เห็นความส�ำคัญของการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ท�ำงานติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก เพื่อด�ำเนินการพัฒนาระบบ กลไก และเกณฑ์ในการ ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกของสถาบันอุดมศึกษา และได้ให้ความเห็นชอบ ระบบการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก รวมทัง้ ให้ดำ� เนินการติดตามการจัดการ ศึกษาระดับปริญญาเอก ด้วยกลไกการตรวจเยี่ยมโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบ “พิชญพิจารณ์” (Peer Review) ด�ำเนินการ ตรวจเยี่ยมน�ำร่องในสาขาวิชาบริหารการศึกษาและสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จึงได้ด�ำเนินการตรวจเยี่ยม (น�ำร่อง) การจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาบริหารการศึกษา และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จ�ำนวน ๔ สถาบัน โดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ได้มีมติรับ ทราบผลการตรวจเยีย่ ม (น�ำร่อง) การจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก จ�ำนวน ๔ แห่ง และเห็นชอบกรอบแนวทางในการ ตรวจเยี่ยม รวมทั้ง แผนการตรวจเยี่ยมการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกในระยะต่อไป ทั้งนี้ ให้แบ่งกลุ่มสถาบัน อุดมศึกษา ตามเกณฑ์ดา้ นคุณภาพเพือ่ ให้มคี วามยืดหยุน่ และเน้นการพัฒนาแนวปฏิบตั ทิ ดี่ ขี องสถาบัน และเพือ่ ให้ดำ� เนิน

10


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

การได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ประเด็นการตรวจเยีย่ ม ๑๖ รายการตามทีไ่ ด้ดำ� เนินการตรวจเยีย่ มน�ำร่อง และเพิม่ ประเด็น สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนในระดับปริญญาเอก เช่น ห้องสมุด ฯลฯ และความเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพ ภายในระดับหลักสูตร ซึ่งต่อมาเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีด�ำริให้มีการประชุมหารือระหว่างผู้ที่ เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับแนวทางการติดตาม ตรวจสอบการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ ซึง่ ทีป่ ระชุมมีความเห็นร่วมกันให้มกี ารบูรณาการการติดตามการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกกับการประกันคุณภาพ การศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรให้เป็นการด�ำเนินการด้วยกัน เพื่อเป็นการลดภาระให้กับสถาบันอุดมศึกษา ดังนั้น สกอ. โดยคณะอนุกรรมการท�ำงานติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกจึงได้มีการพัฒนาระบบ การตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก ที่เรียกว่า ระบบ “พิชญพิจารณ์แบบมี ส่วนร่วม” (Participatory Peer Review: PPR) ซึ่งเป็นการติดตามตรวจเยี่ยมโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอก ทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถและประสบการณ์เป็นทีย่ อมรับในวงการอุดมศึกษา โดยมีผแู้ ทนสถาบันอุดมศึกษาทีไ่ ด้รบั การ ติดตามตรวจเยี่ยมเข้าร่วมเป็นคณะผู้ทรงคุณวุฒิด้วย ในการให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเชิงพัฒนาแก่สถาบัน อุดมศึกษาที่ได้รับการตรวจเยี่ยม เพื่อเรียนรู้การปฏิบัติที่ดี และพัฒนากระบวนการบริหาร การจัดการเรียนการสอน อย่างมีคุณภาพและสอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานที่ก�ำหนด สกอ. ตระหนักดีว่า การด�ำเนินการดังกล่าว ในระยะเริ่มต้น เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการสนับสนุนข้อมูลเชิงลึกจาก สถาบันอุดมศึกษา ดังนั้น ในการติดตามการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกในครั้งนี้ จึงได้ออกแบบให้มีการท�ำงาน ตรวจสอบข้อมูลร่วมกันระหว่างผู้แทนสถาบันและเจ้าหน้าที่ของ สกอ. ไปพร้อม ๆ กัน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เป็นภาระของ สถาบันอุดมศึกษาในการรับการตรวจเยี่ยมและตรวจประเมินซ�้ำซ้อนกันหลายครั้ง กกอ. ได้ให้ความเห็นชอบให้มีการ เชื่อมโยงผลการตรวจเยี่ยมการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกของหลักสูตรระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตรวจเยี่ยม กับผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรด้วย รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนสุดท้าย

ปีที่ ๔๒ ฉบับ ๔๕๖ ประจ�ำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙

11


เรื่องเล่าอุดมศึกษา

สกอ.จัดประชุมระดมความคิดเห็น เกี่ยวกับตัวชี้วัดมหาวิทยาลัยด้าน

ความสัมพันธ์กับสังคม (Engagement) ๒ มิถนุ ายน ๒๕๕๙ - นายขจร จิตสุขมุ มงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวชี้วัดมหาวิทยาลัย ด้านความสัมพันธ์กับสังคม (Engagement) ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวตอนหนึ่งว่า การประชุมในครั้งนี้จะ ด�ำเนินการต่อเนือ่ งจากการประชุมสัมมนาเพือ่ น�ำเสนอกรณีศกึ ษาเกีย่ ว กับผลงานวิชาการรับใช้สังคม การขอต�ำแหน่งทางวิชาการด้วยผลงาน วิชาการรับใช้สังคม และตัวชี้วัดสถาบันอุดมศึกษาด้านงานรับใช้สังคม ซึ่งจัดขึ้นเมื่อต้นปี ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ในเรื่องการพัฒนาตัวชี้วัดของ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาด้ า นความสั ม พั น ธ์ กั บ สั ง คม เพื่ อ ส่ ง เสริ ม และ สนับสนุนให้คณาจารย์ได้นำ� ความรูค้ วามเชีย่ วชาญในสาขาวิชาของตน ไปแก้ไขปัญหาและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์หรือผลกระทบในทาง บวกต่อชุมชนหรือสังคมมากขึ้น เกิดการผลักดันในการพัฒนางานวิจัย และงานวิชาการเพื่อรับใช้สังคม และชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนการเรียน

12

การสอน และการผลิตบัณฑิตเพื่อพัฒนาสังคม พื้นที่และท้องถิ่น ซึ่ง เป็นภารกิจหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา โดยการประชุมในครั้งก่อน ได้ ข้อสรุปที่มีนัยส�ำคัญ คือ ๑. เรื่องโจทย์ปัญหาของผลงานวิชาการรับใช้สังคมต้องมาจาก พื้นที่ โดยน�ำองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญของอาจารย์มาประยุกต์ใช้ ประกอบการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนยอมรับ และขยายผลให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน ๒. การจัดท�ำผลงานวิชาการรับใช้สังคมจะต้องมีรายละเอียด ครบถ้วน ทั้ง ๗ ข้อ คือ ๑) สภาพการณ์ก่อนการเปลี่ยนแปลง ๒) การ มีสว่ นร่วมและการยอมรับของสังคมเป้าหมาย ๓) กระบวนการทีท่ ำ� ให้


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

Engagement

เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ๔) ความรู้ความเชี่ยวชาญที่ใช้ในการท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ๕) การคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา หลังเปลี่ยนแปลงแล้ว ๖) การประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ๗) แนวทางการติดตามและธ�ำรงรักษาพัฒนาการเกิดขึน้ ให้คง อยูต่ อ่ ไป ๓. การเผยแพร่ผลงานต้องท�ำในพื้นที่และสู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง เป็นเอกสารที่ใช้อ้างอิงหรือใช้ศึกษาค้นคว้าได้ ๔. การระบุสดั ส่วนการมีสว่ นร่วม ผูข้ อจะต้องเป็นผูด้ ำ� เนินการหลักในสาขาวิชาทีข่ อ โดยระบุบทบาทหน้าทีข่ องตนเองและผูร้ ว่ ม งานทุกคน ทั้งนี้ ผู้ด�ำเนินการหลักต้องมีบทบาทส�ำคัญอย่างน้อย ๓ ข้อ คือ ๑) การวิเคราะห์สถานการณ์ก่อนเริ่มกิจกรรม ๒) การออกแบบหรือพัฒนาชิน้ งานหรือแนวคิดหรือกิจกรรม ๓) การประเมินผลลัพธ์และสรุปแนวทางในการน�ำไปขยายผลหรือปรับปรุง ๕. การก�ำหนดสาขาวิชาที่จะแต่งตั้ง ๖. สกอ. ควรจัดท�ำบัญชีรายชือ่ ผูท้ รงคุณวุฒเิ พือ่ ท�ำหน้าทีป่ ระเมินผลงาน และมีการชีแ้ จงและซักซ้อมความเข้าใจกับผูท้ รงคุณวุฒิ ดังกล่าวต่อไป

ปีที่ ๔๒ ฉบับ ๔๕๖ ประจ�ำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙

13


เรื่องเล่าอุดมศึกษา

สกอ. เดินหน้าพัฒนาความพร้อมและติดตาม ความก้าวหน้า เพื่อขอรับการรับรองจาก ABET

๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ – ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการประชุมเชิงปฏิบตั ิ การเรื่อง การพัฒนาความพร้อมและติดตามความก้าวหน้าของ สถาบันอุดมศึกษาไทยในการขอรับการรับรองจาก Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) ในสาขา วิศวกรรมเครื่องกลและสาขาวิศวกรรมอุตสาหการขึ้น โดยได้ รับเกียรติจาก นางอรสา ภาววิมล ผูช้ ว่ ยเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ณ โรงแรม แคนทารี ฮิลส์ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ช่วยเลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษาได้ ต ระหนั ก ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของการพั ฒ นา ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศที่มีคุณภาพและขีดความสามารถที่ แข่งขันได้ในประชาคมโลก โดยการยกระดับคุณภาพหลักสูตร คุณภาพของบัณฑิต อาจารย์และงานวิจยั ให้มมี าตรฐานเทียบเคียง ได้ทั้งในระดับอาเซียนและระดับนานาชาติ การที่หลักสูตรสาขา วิศวกรรมศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาได้รบั การรับรองมาตรฐาน จาก ABET ทีเ่ ป็นระบบประกันคุณภาพในระดับสากลจะเป็นกลไก ส�ำคัญในการยกระดับความสามารถและคุณภาพของบัณฑิตใน สาขาวิศวกรรมศาสตร์ให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด แรงงานในประชาคมอาเซียนและนานาชาติในอนาคตซึ่งมีการ แข่งขันที่สูงขึ้นจากการเปิดเสรีทางการค้าและการบริการ “ในปี ๒๕๕๙ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ จั ด ท� ำ โครงการน� ำ ร่ อ งเพื่ อ เตรี ย มความพร้ อ มของสถาบั น อุดมศึกษาไทยในการขอรับการรับรองจาก ABET จ�ำนวน ๔ ครั้ง

14

ใน ๕ สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิศวกรรม อุตสาหการ สาขาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและ คอมพิวเตอร์ และสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เพือ่ ให้ขอ้ มูลใน เชิงลึกเกี่ยวกับแนวทาง ขั้นตอนและวิธีการขอรับการรับรองจาก ABET โดยเฉพาะการฝึกปฏิบตั กิ ารจัดท�ำรายงานการศึกษาตนเอง ในส่วนของ student outcomes และ continuous improvement ซึง่ เป็นเกณฑ์สำ� คัญในการประเมินเพือ่ ขอรับการรับรองจาก ABET การประชุมในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๙ จะเป็นการจัดประชุมครั้ง สุดท้ายของปีนี้ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของสถาบันอุดมศึกษา ในการขอรับการรับรองจาก ABET ทัง้ ๕ สาขาวิชา เพือ่ ให้สถาบัน อุดมศึกษาที่มีความพร้อมในการขอรับการรับรองจาก ABET ได้ น�ำเสนอรายงานการศึกษาตนเองที่ทีมวิทยากรได้ให้การบ้านไว้ จากการประชุมในครั้งที่ผ่านมาที่จัดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรเี พือ่ ให้ผเู้ ชีย่ วชาญจาก สหรัฐอเมริกาและทีมวิทยากรมาร่วมให้ขอ้ แนะน�ำและข้อวิพากษ์ เกีย่ วกับการจัดท�ำรายงานการศึกษาตนเองดังกล่าว ซึง่ ในเบือ้ งต้น มีสถาบันอุดมศึกษาทีแ่ สดงความสนใจขอรับการรับรองจาก ABET เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยนเรศวร สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นต้น และหวัง เป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีสถาบันอุดมศึกษาไทยได้ รับการรับรองมาตรฐานหลักสูตรสาขาวิศวกรรมศาสตร์จาก ABET เพือ่ ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของอุดมศึกษาไทยให้เป็นทีย่ อมรับใน ระดับสากล” ผู้ช่วยเลขาธิการ กล่าว


เรื่อง

พิเศษ

กกอ. สัญจร ครั้งที่ ๙ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดการประชุม กกอ. สัญจร ครั้งที่ ๙ ณ มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ และเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน ในระหว่างวันที่ ๖ - ๘ มิถุนายน ๒๕๕๙ ประกอบด้วย กิจกรรมการเยีย่ มชม (Site Visit) สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายภาคใต้ตอนบน การประชุมเสวนาร่วมกับเครือ ข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน และการประชุม กกอ. ครัง้ ที่ ๖/๒๕๕๙ โดยเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน มีสถาบันอุดมศึกษาจ�ำนวน ๘ แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยตาปี วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ วิทยาลัยชุมชนพังงา วิทยาลัยชุมชนระนอง โดยการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษาสัญจร ครัง้ ที่ ๙ ได้ มีการเยี่ยมชม (Site Visit) สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ในวันที่ ๖-๗ มิถุนายน ๒๕๕๙ แบ่งเป็น ๓ เส้นทาง ดังนี้ เส้นทางที่ ๑ วิทยาลัย เทคโนโลยีภาคใต้-มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช-มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ เส้นทางที่ ๒ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และ มหาวิทยาลัยตาปี เส้นทางที่ ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และวิทยาลัย ชุมชนพังงา และการประชุมเสวนาร่วมกับเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ ตอนบน และการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครัง้ ที่ ๖/๒๕๕๙ ในวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๙ ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้เสนอภาพรวมของนโยบายคณะ กรรมการการอุดมศึกษาที่จะยกระดับคุณภาพการอุดมศึกษาไทย ใน ๘ ประเด็น ดังนี้

(๑) การลงทุ น พั ฒ นาประเทศผ่ า นสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา มี วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาไทย ตามจุดเน้น จุดเด่น และสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง สถาบันอุดมศึกษาทุกกลุม่ ต้อง ผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการการพัฒนาประเทศมากขึ้น ดังนั้น จึงเน้นเรื่อง Reprofiling ซึ่งต่อไปการวิจัย การผลิตบัณฑิต การบริการทางวิชาการ จะผูกเข้ากับระบบงบประมาณของประเทศ และถ้าเรือ่ ง Reprofiling ผูกกับระบบงบประมาณได้ จะท�ำให้สถาบัน อุดมศึกษาปรับตัวได้ชัดเจนและเร็วขึ้น (๒) การปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ให้มีความหลาก หลาย ครอบคลุมทั้งสายวิชาการ สายวิชาชีพหรือปฏิบัติการ ซึ่งมีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (๓) การประกันคุณภาพการศึกษา และการส่งเสริมสถาบัน อุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ปีที่ ๔๒ ฉบับ ๔๕๖ ประจ�ำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙

15


เรื่องพิเศษ

(๔) ร่าง พ.ร.บ. การอุดมศึกษา พ.ศ. .... (๕) การติดตาม ตรวจสอบ การจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง การจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก การจัดการศึกษาของสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนที่เปลี่ยนประเภทแล้ว และเรื่องร้องเรียน (๖) การส่งเสริมเครือข่ายมหาวิทยาลัย ทั้ง ๙ เครือข่ายให้มี ความเข้มแข็ง เน้นความร่วมมือ มีระบบการบริหารจัดการที่ดี โดย นโยบายทีส่ ำ� คัญจะเน้นในเรือ่ งเครือข่ายเพือ่ พัฒนาชุมชนฐานราก และ เครือข่ายเพื่อพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา (๗) การพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษา เพื่อปรับปรุงระบบในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพและเสมอ ภาคมากยิ่งขึ้น (๘) การผลิต พัฒนาครู และผู้บริหารการศึกษา ให้มีการผลิต ครูที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศทั้งในเชิง ปริมาณและคุณภาพ ด้าน นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา ได้ ก ล่ า วถึ ง นโยบายการพั ฒ นาอุ ด มศึ ก ษาของ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ใน ๓ ประเด็น ได้แก่ บริบท ของภาคอุดมศึกษา นโยบายรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ และ การส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษา

16

• บริบทของภาคอุดมศึกษา

ทีเ่ กีย่ วข้องกับหลายๆ ภาคส่วน ได้แก่ ภาคการผลิตโดยการเป็นแหล่งผลิตก�ำลังคนตามความ ต้องการและการขยายตัวของตลาดแรงงาน ผลิตผลงานวิจัยและ นวัตกรรมที่น�ำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งส่งเสริม และพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการและ SME การศึกษานานาชาติเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของการอุดมศึกษาไทย โดยการ วิจัยและผลิตผลงานทางวิชาการและการพัฒนาความเป็นสากลของ การอุดมศึกษาไทย และการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานคุณวุฒิการ ศึกษาไทย ภาคสังคม อุดมศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา สังคม พัฒนาความเข้มแข็งให้แก่จังหวัดและท้องถิ่น การศึกษาขั้น พื้นฐานและอาชีวศึกษา เกี่ยวข้องการโดยขั้นพื้นฐานเป็นส่วนที่ผลิต ตัวป้อนให้อุดมศึกษา ในขณะที่อุดมศึกษาเกี่ยวข้องกับการผลิตและ พัฒนาครู การพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของพื้นที่ และการใช้ องค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงให้โรงเรียนในท้องถิ่น ในปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งหมด ๑๕๖ แห่ง ประกอบด้วย สถาบันอุดมศึกษารัฐ ๘๑ แห่ง และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ๗๕ แห่ง นอกจากนี้ยังมีสถาบันเฉพาะทางที่ไม่ได้สังกัดกระทรวง


เรื่อง

พิเศษ

ศึกษาธิการอีกจ�ำนวนหนึ่ง แต่ใช้เกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษาเดียวกัน โดยมีสำ� นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ท�ำหน้าทีเ่ ป็นเลขานุการ ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา

• นโยบายรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ

นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบันในด้านการอุดมศึกษา ประกอบด้วย ๒ ประเด็น คือ (๑) การจัดการศึกษาและเรียนรู้การท�ำนุบ�ำรุงศิลปะ และวัฒนธรรม และ (๒) การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจยั และพัฒนา และนวัตกรรม นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความส�ำคัญกับการบูรณาการอุดมศึกษากับหน่วยงานอื่น ส� ำ หรั บ ยุ ท ธศาสตร์ เ พื่ อ การปฏิ รู ป การศึ ก ษาของกระทรวง ศึกษาธิการ มี ๑๐ ประการ คือ (๑) ผลิตและพัฒนาก�ำลังคนให้ สอดคล้องกับความต้องการและรองรับการพัฒนาประเทศ (๒) หลักสูตร

และกระบวนการเรียนรู้ (๓) ระบบงบประมาณและทรัพยากรเพื่อการ ศึกษา (๔) ระบบตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษา (๕) ระบบ สื่อสารและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (๖) พัฒนาระบบการผลิต การ สรรหา และการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (๗) ระบบการ บริหารจัดการ (๘) สร้างโอกาสทางการศึกษา (๙) พัฒนาการศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ (๑๐) การวิจยั เพือ่ พัฒนาและเพิม่ ขีดความ สามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีจดุ เน้นการปฏิรปู การศึกษา ๖ เรือ่ ง คือ (๑) หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ (๒) การผลิตและพัฒนา ครู (๓) การทดสอบ การประเมิน การประกันคุณภาพ และการพัฒนา มาตรฐานการศึกษา (๔) ผลิต พัฒนาก�ำลังคนและงานวิจยั ทีส่ อดคล้อง กับความต้องการของการพัฒนาประเทศ (๕) ICT เพื่อการศึกษา และ (๖) การบริหารจัดการ

ปีที่ ๔๒ ฉบับ ๔๕๖ ประจ�ำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙

17


เรื่องพิเศษ

ด้านอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการให้ความส�ำคัญในเรื่อง การผลิตก�ำลังคนที่ชัดเจน ตามความถนัด ความเป็นเลิศ โดยเน้นให้ สถาบันอุดมศึกษาผลิตก�ำลังคนตามความถนัด และเป็นความต้องการ ของประเทศ ซึง่ สกอ. ได้ดำ� เนินการในส่วนของ Reprofiling สถาบัน อุดมศึกษา และในอนาคตรัฐบาลอาจจะจัดสรรงบประมาณให้เหมาะ สม ทัง้ นี้ สถาบันอุดมศึกษาควรมีผลลัพธ์ในเรือ่ งของงานวิจยั นวัตกรรม ส�ำหรับน�ำไปใช้เพิ่มมูลค่าการส่งออกเพื่อน�ำรายได้เข้าสู่ประเทศ และ การให้มหาวิทยาลัยช่วยพัฒนาท้องถิน่ โดยเป็นพีเ่ ลีย้ งให้โรงเรียนขนาด เล็กและโรงเรียนขยายโอกาสเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

• การส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะ

กรรมการการอุดมศึกษาจะเน้นในเรื่องคุณภาพ และบทบาทของ สถาบันอุดมศึกษา โดยทิศทางด้านคุณภาพ ประกอบด้วย คุณภาพ หลักสูตร คุณภาพนักศึกษา คุณภาพอาจารย์ และคุณภาพการวิจัย ส�ำหรับโครงการส�ำคัญที่ก�ำลังด�ำเนินการ ได้แก่ โครงการครู เพื่อพัฒนาท้องถิ่น โครงการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ในอุดมศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก โครงการ มหาวิทยาลัยไทยสูม่ หาวิทยาลัยโลก โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยกลุม่ ใหม่ การส่งเสริมธรรมาภิบาลในการบริหารสถาบันอุดมศึกษา การ จัดท�ำแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๓ และแผนพัฒนาการ ศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ ๑๒ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง เป็นต้น

18

ในขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัลลา ตันตโยทัย รักษาการ

รองอธิการบดีฝา่ ยวิชาการ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ ในฐานะประธานกรรมการบริหารเครือข่ายอุดมศึกษาภาค

ใต้ตอนบน กล่าวถึงการด�ำเนินงานของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอน บน ซึง่ มีวสิ ยั ทัศน์ทจี่ ะเป็นเครือข่ายทีม่ พี ลวัตอิ นั ท�ำให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และธรรมรัฐ มีเครือข่ายย่อยเชิงประเด็น จ�ำนวน ๑๒ เครือ ข่าย คือ เครือข่ายการผลิตบัณฑิต เครือข่ายการวิจัยและนวัตกรรมฯ เครื อ ข่ า ยการบริ ก ารวิ ช าการ เครื อ ข่ า ยการพั ฒ นาศั ก ยภาพนิ สิ ต นักศึกษา เครือข่ายการท�ำนุบ�ำรุงศิลปวัฒนธรรม เครือข่ายหน่วยบ่ม เพาะวิสาหกิจ เครือข่ายสหกิจศึกษา เครือข่ายวิจัยและพัฒนาภาครัฐ ร่วมเอกชนฯ เครือข่ายมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย เครือข่าย IQA เครือ ข่ายโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ และเครือข่ายพัฒนายุทธศาสตร์ ภาคใต้ตอนบน ซึ่งทุกเครือข่ายมีการด�ำเนินงาน และมีความคืบหน้า อย่างต่อเนือ่ ง ทัง้ นี้ มุง่ หวังว่าในอนาคตเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอน บนจะสามารถด�ำเนินการเครือข่ายฯ เชิงรุก เพือ่ ตอบสนองนโยบายทัง้ ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและนโยบายของประเทศได้ ทั้งนี้ การประชุมเสวนาร่วมกับเครือข่าย โดยอธิการบดีหรือผู้ แทนสถาบันสมาชิกเครือข่ายฯ จ�ำนวน ๘ แห่ง ได้น�ำเสนอวิธีปฏิบัติ ที่เป็นเลิศ/ผลงานที่โดดเด่น (Best Practice) ของเครือข่ายใน ๓ ด้าน ประกอบด้วย (๑) ด้านการจัดการเรียนการสอน (๒) ด้านการวิจัย และพัฒนา และ (๓) ด้านการบริการวิชาการ ท�ำให้คณะกรรมการการ


เรื่อง

พิเศษ

อุดมศึกษา ตลอดจนผูบ้ ริหารของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีโอกาสรับฟังการน�ำเสนอผลงานดีเด่นของ สถาบันในเครือข่ายฯ และได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนนโยบายอุดมศึกษา ในการประชุมเสวนาร่วมกับเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบนครัง้ นี้ ทีป่ ระชุมมีความเห็นร่วมกันว่า เนือ่ งจาก การเปลี่ยนแปลงของจ�ำนวนนักศึกษาที่จะลดลงและส่งผลกระทบกับสถาบันอุดมศึกษาในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาต้องมีการปรับตัวโดยให้ความส�ำคัญและด�ำเนินการท�ำงานวิจยั สร้างองค์ความรู้ เพือ่ ให้เกิดประโยชน์ ทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านบริการทางวิชาการ ผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นแหล่งความรู้ และ สามารถที่จะชี้น�ำสังคมได้ ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาควรดูให้เกิดความกลมกลืนกัน ไม่มุ่งไปทางด้านใดด้านหนึ่ง โดย มหาวิทยาลัยต้องเป็นเพื่อนของความจริง ความดี และความงาม เพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน

ปีที่ ๔๒ ฉบับ ๔๕๖ ประจ�ำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙

19


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

ราชมงคลธัญบุรีเกมส์ ราชมงคลธัญบุรเี กมส์ กีฬาบุคลากร ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๕ ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธั ญ บุ รี ไ ด้ รั บ มอบหมายให้ เ ป็ น เจ้าภาพจัดการแข่งขัน ระหว่างวันที่ ๔-๑๑ มิ ถุ น ายน ๒๕๕๙ ณ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี เ ทคโนโลยี ร าชมงคลธั ญ บุ รี จ.ปทุ ม ธานี ภายใต้ ค� ำ ขวั ญ ประจ� ำ การ แข่งขันกีฬาทีว่ า่ “กีฬาสัมพันธ์ สร้างสรรค์ มหาวิทยาลัย”

ในการแข่งขันครั้งนี้จัดให้มีการแข่งขัน ทั้ ง หมด ๑๗ ชนิ ด กี ฬ า ได้ แ ก่ ฟุ ต บอล วอลเลย์บอล เซปักตะกร้อ วอลเลย์บอลชายหาด

20

ฟุตซอล แบดมินตัน เทนนิส เทเบิลเทนนิส ลีลาศ กอล์ฟ ว่ายน�้ำ กรีฑา ตะกร้อลอดห่วง เปตอง แอโรบิก โบร์ลิ่ง และหมากกระดาน รวมทั้งสิ้น ๔๑๓ เหรียญทอง มีคณะนักกีฬา จาก ๖๔ สถาบันเข้าร่วมการแข่งขัน เมื่ อ วั น ที่ ๔ มิ ถุ น ายน ๒๕๕๙ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานใน พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ครัง้ ที่ ๓๕ “ราช มงคลธัญบุรีเกมส์” โดยกล่าวเปิดการแข่งขัน ว่ า การเข้ า ร่ ว มการแข่ ง ขั น กี ฬ าบุ ค ลากร ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาถือเป็น

กิ จ กรรมส� ำ คั ญ ที่ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาให้การสนับสนุนส่งเสริมให้ บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมการ แข่งขัน เพราะจะได้ประโยชน์ใน ๒ ลักษณะ คือ ประการแรกเป็นกิจกรรมทีเ่ ปิดโอกาสให้ บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาและส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ตระหนักถึง ความส� ำ คั ญ ของการมี สุ ข ภาพที่ ดี จ ากการ ออกก�ำลังกาย และเป็นการเสริมสร้างความ สั ม พั น ธ์ อั น ดี ร ะหว่ า งบุ ค ลากรในองค์ ก ร ประการที่สองเป็นกิจกรรมสื่อกลางที่เปิด โอกาสให้ บุ ค ลากรของหน่ ว ยงานในสั ง กั ด ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา


เหตุการณ์ เล่าเรื่อง

ทั่วประเทศที่อยู่ต่างสถาบันได้มีโอกาสท�ำความรู้จัก พบปะ และมีกิจกรรมด�ำเนินการร่วมกัน เป็นการส่งเสริมสัมพันธภาพอันดีระหว่างกัน อันจะน�ำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและบรรยากาศในการท�ำงานที่ดีร่วมกันของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาและส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาต่อไป ดังนั้นเป้าหมายของการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาบุคลากรส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงไม่มุ่งเน้นที่ชัยชนะ เป็นหลักแต่หากให้น�้ำหนักกับประโยชน์ใน ๒ ลักษณะข้างต้นนี้เป็นส�ำคัญ “หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาบุคลากรส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๕ นี้ นักกีฬาที่เข้าร่วม การแข่งขันจะใช้โอกาสดังกล่าวในการสร้างประโยชน์ให้เกิดขึน้ กับตนเองและหน่วยงานตามแนวทางทัง้ ๒ ข้อนี้ พร้องทัง้ สร้างชือ่ เสียง ให้กับหน่วยงานในด้านของการมีน�้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

มาสคอตประจ�ำการแข่งขัน

ตราสัญลักษณ์ประจ�ำการแข่งขัน

รวงข้าวและเมล็ดข้าว คืออีกหนึง่ ต�ำนานของพืน้ ที่ “ธัญบุรี” พื้นที่อันเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ การแข่งขันกีฬา จึงมีการน�ำเมล็ดข้าวมาท�ำเป็น มาสคอท เพื่อแสดงถึงการต้อนรับด้วยมิตรไมตรี แห่งความอุดมสมบูรณ์ ความมัง่ มี และความอิม่ เอม ดังค�ำทักทายแขกผู้มาเยือนด้วยความห่วงใยว่า “กินข้าวมาหรือยัง”

รูปแบบโลโก้มีการน�ำเอาลักษณะของเปลวไฟ และประติมากรรมบัวเหล็กทีผ่ สมผสานเพือ่ แสดง ถึงสปิริตแห่งการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน สีที่ ถูกไล่ระดับทีห่ ลากหลายแสดงถึงความสนุกสนาน ความคิดสร้างสรรค์ รูปเส้นเกลียวทีเ่ กีย่ วกันไปมา หมายถึงความกลมเกลียวสมัครสมาน สามัคคีของ ทุกมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ในการแข่งขันครั้งนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดส่งคณะนักกีฬา จ�ำนวน ๙๐ คน เข้าร่วมการแข่งขัน ๑๐ ชนิดกีฬา และได้ ๑ เหรียญทอง จากเทเบิลเทนนิส หญิงเดี่ยว (อายุ ๔๕ ปีขึ้นไป) ๓ เหรียญเงิน จาก ว่ายน�้ำ ฟรีสไตล์ ๕๐ เมตร อายุ ๓๖-๔๐ ปี ชาย ว่ายน�้ำ ผีเสื้อ ๕๐ เมตร อายุ ๒๖-๔๐ ปี ชาย และ เทเบิลเทนนิส หญิงเดี่ยว ทั่วไป และ ๒ เหรียญทองแดง จาก ว่ายน�้ำ กบ ๕๐ เมตร อายุ ๓๖-๔๐ ปี ชาย และเทเบิลเทนนิส ทีมหญิง อายุ ๔๕ ปีขึ้นไป

สรุ ป เหรี ย ญรางวั ล ล�ำดับ

สถาบันอุดมศึกษา

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐

มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ......... ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

๒๘

รวม

ทอง

เงิน

ทองแดง

๖๐ ๕๔ ๒๕ ๒๒ ๑๖ ๑๔ ๑๔ ๑๓ ๑๑ ๑๐

๕๓ ๒๗ ๓๐ ๑๕ ๒๙ ๑๙ ๕ ๑๑ ๑๓ ๕

๕๐ ๔๐ ๓๔ ๒๐ ๓๓ ๒๑ ๑ ๙ ๑๔ ๘

๑๖๓ ๑๒๑ ๘๙ ๕๗ ๗๘ ๕๔ ๒๐ ๓๓ ๓๘ ๒๓

ปีที่ ๔๒ ฉบับ ๔๕๖ ประจ�ำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙

21


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมในพิธี ท�ำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลและพิธีเจริญพระพุทธ มนต์ ถ วายพระพรชั ย มงคลเฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิง ถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ และ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ บริเวณพระบรมมหาราชวังและ พระอุโบสถวัดพระศรีรตั นศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การต้อนรับรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงสาธารณสุข สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว น�ำคณะผู้บริหารมาศึกษาดูงานภายใต้โครงการความร่วมมือไตรภาคี ไทย-UNFPA-สปป.ลาว ณ ห้องประชุมบริหาร ชั้น ๔ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

22


เล่าเรื่อง

ด้วยภาพ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๙ – รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้การต้อนรับ Mr. Zhu Dequan คณดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยซีหนาน สาธารณรัฐประชาชน จีน และคณะ เพื่อหารือแนวทางความร่วม มือการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ณ ห้อง ประชุมบริหาร ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา

๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ - นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเพื่อติดตาม นักเรียนทุนโครงการพัฒนาก�ำลังคนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ทุนในประเทศ) ณ โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ

๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ - นางอรสา ภาววิมล ผูช้ ว่ ยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดโครงการประชุมสัมมนาเพื่อ ชี้แจงแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการด�ำเนินการก่อ หนีผ้ กู พันข้ามปีงบประมาณและการใช้จา่ ยงบ ประมาณของหน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา ในสั ง กั ด และในสั ง กั ด และในก� ำ กั บ ของรั ฐ ณ โรงแรม รามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร

ปีที่ ๔๒ ฉบับ ๔๕๖ ประจ�ำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙

23


สรางครูคืนถิ่นฐาน พัฒนาการศึกษาไทยกาวไกลสูสากล

เฟนหาอัตลักษณและมูลคาเพิ่มของมหาวิทยาลัยไทย เพื่อใหเกิดความเปนเลิศทางการบริการอุดมศึกษา

สหกิจศึกษา พัฒนาคนใหรูชัด พัฒนางานใหปฏิบัติได ในศตวรรษที่ ๒๑

เครือขายอุดมศึกษารวมบูรณาการองคความรู

และทรัพยากรเพื่อขับเคลื่อนศักยภาพสถาบันอุดมศึกษาไทย ใหยกระดับโรงเรียนขั้นพื้นฐาน ตามบริบทของทองถิ่น

แปลงองคความรู...สูนวัตกรรมในระดับธุรกิจ เปลี่ยนบัณฑิต...สูผูประกอบการในระดับสากล

ยุทธศาสตรที่มุงสรางความรูวิชาการ ทักษะวิชาชีพ และเทคนิคการใชชีวิตใหกับบัณฑิตไทยเพื่อการมีงานทำ และการดำเนินชีวิตอยูไดอยางมีความสุขทามกลาง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก

ศูนยความเปนเลิศสรางเครือขายในการพัฒนาบัณฑิตศึกษา และสรางมูลคาเพิ่มในงานวิจัยและนวัตกรรมจาก สถาบันอุดมศึกษาเพื่อยกระดับการอุดมศึกษาใหเปนปจจัย ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแขงขันของประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา แขวงทุงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐

๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๖ www.mua.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.