อนุสารอุดมศึกษา issue 458

Page 1

เอกสารเผยแพร่ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461


สารบัญ

CONTENT

๓ เรื่องพิเศษ

• ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ • พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ • สตรีไทยดีเด่น ๒๕๕๙

๙ เรื่องเล่าอุดมศึกษา

• รองนายกรัฐมนตรี มอบเงินรางวัลและแสดงความยินดีแก่ทัพนักกีฬา มหาวิทยาลัยอาเซียนครั้งที่ ๑๘ • สกอ. เดินหน้าจัดท�ำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลกลางอุดมศึกษา • การประชุมวิชาการเรื่อง Center of Excellence Past, Present, and Thailand 4.0 • สกอ. ยกระดับการประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความรู้ และสร้าง เครือข่ายประชาสัมพันธ์สถาบันอุดมศึกษา • สกอ. ระดมความคิดเห็นเพื่อส่งเสริม และพัฒนางานวิชาการรับใช้ สังคม • สกอ. เดินหน้าพัฒนาการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดใน สถาบันอุดมศึกษา • การประชุมคณะกรรมการอ�ำนวยการเครือข่าย มหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๓๒ (The 32 nd AUN - BOT Meeting)

๑๗ เหตุการณ์เล่าเรื่อง

• ไทย - ฝรั่งเศษ ร่วมขยายผลงานวิจัยภายใต้ความร่วมมือระหว่างกัน • สกอ. จัดประชุมกรอบมาตราฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา • ขอแสดงความยินดี รองศาสตราจารย์บัณฑิต ทิพากร รองเลขาธิการ กกอ.คนใหม่

๒๑ เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๑

คณะผู้จัดท�ำ

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม นายขจร จิตสุขุมมงคล นางอรสา ภาววิมล นายวันนี นนท์ศิริ บรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ กองบรรณาธิการ นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด นางสาวกุลนันท์ ภูมิภักดิ์ พิมพ์ท ี่ บริษัท เอกพิมพ์ไท จ�ำกัด โทรศัพท์ : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๕๒ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๑ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๔๘๖ โทรสาร : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๐


เรื่อง

พิเศษ

ตราสัญลักษณ์

งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ อักษรพระนามาภิไธย ส.ก. อักษร ส. ถมสีครามเข้ม สีแห่งวันพระราชสมภพอักษร ก. ถมสีขาว เป็นสีเดชแห่งวันพระราชสมภพ อักษรพระนามาภิไธย ส.ก. มีพระมหามงกุฎสีทองประดิษฐานอยูเ่ บือ้ งบน ภายใต้พระมหามงกุฎประดิษฐานพระแสงจักรตรี ว่าทรงสถิต อยู่ในพระบรมราชจักรีวงศ์ พระนามาภิไธย ส.ก. อยู่ภายในกรอบวัชรรัตน์ ๗ ดวง ว่าทรงเจริญพระชนมายุได้ ๗ รอบ มีพื้นสีมอคราม เป็นสีประจ�ำวันพระราชสมภพนอกกรอบวัชรรัตน์อลงกรณ์ประกอบหน้าราชหงส์ทองอยู่ทั้งซ้ายขวา ว่าทรงงามสง่าดังราชหงส์ทอง หน้าราชหงส์มีกระหนกแนบ ห้อยพวงดอกไม้ทิพย์อันมีดอกไม้ในพระนามเป็นอาทิ มีพรรณมอครามปนทอง ถัดออกไปเป็นขอบเขียน อักษรสีทอง ความว่า พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๕๕๙ ระบายพื้นด้วยสีหงชาด อันเป็นสิริแห่งวันพระราชสมภพ เพือ่ เฉลิมพระเกียรติในอภิลกั ขิตสมัยทีท่ รงเจริญพระชนมายุบรรจบครบ ๘๔ พรรษา ดังมีเลขมหามงคลนัน้ อยูใ่ ต้อกั ษรพระนามาภิไธย ประกอบเถาไม้ทิพย์ชื่อ จิตรลดา ตามต�ำราว่าเป็นเครือเถาไม้ทิพย์มีอยู่ในจิตรลดาวัน พระราชอุทยาน ๑ ใน ๔ แห่งของพระอินทร์ หมายว่าสมเด็จพระบรมราชินนี าถทรงเนานิเวศน์สถานชือ่ พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐานอันเป็นทีป่ ระทับ เถาไม้นวี้ า่ เป็นเถาไม้แห่งความหวัง ดุจดังสมเด็จพระบรมราชินนี าถทรงเป็นความหวังแห่งปวงชน ราษฎรพ้นจากความยากไร้ดว้ ยพระมหากรุณาธิคณ ุ อันมีโครงการศิลปาชีพ เป็นอาทิ อาณาประชาราษฎร์จึงน้อมใจถวายพระพรให้ทรงเจริญพระชนม์ยิ่งยืนนาน

3


พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิ ติ์ พระบรมราชิ นีนาถ ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ที่บ้านพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ผู้เป็นบิดาของหม่อมหลวงบัว ณ บ้านเลขที่ ๑๘๐๘ ถนนพระรามหก ต�ำบลวังใหม่ อ�ำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ขณะนัน้ เป็นระยะทีป่ ระเทศ เพิ่งเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็น ระบอบประชาธิปไตย ก่อนหน้านัน้ พระบิดาของพระองค์ ทรงด�ำรงต�ำแหน่ง ผูช้ ว่ ยเสนาธิการทหารบก มียศเป็นพันเอกหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิตยิ ากร หลังจากเปลีย่ นแปลงการปกครองในวันที่ ๒๔ มิถนุ ายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้อง ทรงออกจากราชการทหาร โดยรัฐบาล แต่งตั้งให้ไปรับราชการในต�ำแหน่งเลขานุการเอก ประจ�ำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนหม่อมหลวงบัว ยังคงพ�ำนัก อยูใ่ นประเทศไทย จนให้กำ� เนิดหม่อมราชวงศ์สริ กิ ติ แิ์ ล้วจึงเดินทางไปสมทบ มอบหม่อมราชวงศ์สริ กิ ติ ใิ์ ห้อยูใ่ นความดูแลของเจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ และ ท้าววนิดา พิจาริณี ผู้เป็นบิดา และ มารดาของหม่อมหลวงบัว หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ต้องอยู่ห่างไกลพระบิดามารดาตั้งแต่อายุพียง น้อยนิด บางคราวต้องระหกระเหินไปต่างจังหวัดกับพระบรมวงศานุวงศ์ ตามเหตุการณ์ผนั ผวนทางการเมือง เช่น ในปีพทุ ธศักราช ๒๔๗๖ หม่อมเจ้า อัปษรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ ทรงรับ นัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไป สงขลาด้วย ปลายปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ หม่อมจ้านักขัตรมงคล ทรงลาออกจาก ราชการ กลับประเทศไทยพร้อมครอบครัว อันมีหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ บุตรคนโตและ หม่อมราชวงศ์บุษบาบุตรีคนเล็กผู้เกิดที่สหรัฐอเมริกาแล้ว มารับหม่อมราชวงศ์อดุลยกิติ์บุตรคนรอง กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์จาก หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กลับมาอยูร่ วมกันทีต่ ำ� หนักซึง่ ตัง้ อยูท่ ถี่ นนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น�้ำเจ้าพระยา

4

หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เริ่มเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ปากคลอง ตลาดในพุทธศักราช ๒๔๗๙ แต่เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาลุกลามมาถึง ประเทศไทย จังหวัดพระนครถูกโจมตีทางอากาศบ่อย ๆ ท�ำให้การเดินทาง ไม่สะดวกและ ปลอดภัย หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ จึงต้องย้ายไปโรงเรียนที่ โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ และ ในเวลาต่อมาได้ตงั้ ใจทีจ่ ะเป็น นักเปียโนผู้มีชื่อเสียง หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้เผชิญสภาพของสงครามโลกเช่นเดียวกับ คนไทยทั้งหลาย พระบิดาผู้ทรงเป็นทหารเป็นผู้ปลูกฝังให้ บุตร และ บุตรี รูจ้ กั ความมีวนิ ยั ความอดทน ความกล้าหาญ และ ความเสียสละ โดยอาศัย เหตุการณ์ในสงครามเป็นตัวอย่าง และ สงครามก็ท�ำให้ผู้คนต้องหันหน้า เข้าช่วยเหลือกันในยามทุกข์ยากสิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้ หม่อมราชวงศ์ สิรกิ ติ มิ์ คี วามเมตตาต่อผูอ้ นื่ และ รักความมีระเบียบแบบแผนมาตัง้ แต่เยาว์วยั หลังจากสงครามสงบแล้ว นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น คือ นายควง อภัยวงศ์ ได้แต่งตั้งให้ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลเป็นรัฐทูตวิสามัญและ อัครราชทูตผูม้ อี ำ� นาจเต็มประจ�ำส�ำนักเซ็นต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ หม่อมเจ้า นักขัตรมงคลจึงทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปด้วย ในกลางปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ขณะนั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เรียนจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ ของโรงเรียน เซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์แล้ว ระหว่างที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์สริ กิ ติ ติ์ งั้ ใจเรียนเปียโน ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรัง่ เศสกับ ครูพิเศษ แต่อยู่อังกฤษได้ไม่นานหม่อมเจ้านักขัตรมงคลก็ทรงย้ายไป ประเทศเดนมาร์กและ ประเทศฝรัง่ เศสตามล�ำดับ ระหว่างนีห้ ม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ยังคงตั้งใจเรียนเปียโนอย่างขะมักเขม้นเพื่อเตรียมสอบเข้าวิทยาลัย การดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส พุทธศักราช ๒๔๙๑ ขณะที่หม่อมเจ้า นักขัตรมงคลและ ครอบครัวอยู่ในปารีส ได้รับเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งโปรดเสด็จพระราชด�ำเนินไป ทอดพระเนตรโรงงาน

อนุสาร


เรื่อง

พิเศษ

ท�ำรถยนต์ในกรุงปารีสอยู่เสมอ จนเป็นที่ค้นุ เคยต่อพระยุคลบาทและ ต้อง พระราชอัธยาศัย ฉะนั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอุปัทวเหตุ ทางรถยนต์ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ต้องประทับรักษาพระองค์ในสถาน พยาบาล จึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ หม่อมหลวงบัว พาบุตรีทั้งสอง คือหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ และ หม่อมราชวงศ์บุษบา เข้าเฝ้า ทูลละอองพระบาทเยีย่ มอาการเป็นประจ�ำ จนพระอาการประชวรทุเลาลง เสด็จกลับพระต�ำหนักได้ สมเด็จพระราชชนนีได้รบั สัง่ ขอให้ หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์อยู่ศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ในโรงเรียนประจ�ำ Riante Rive ซึ่งเป็น โรงเรียนทีม่ ชี อื่ เสียงในการสอนวิชาพิเศษแก่กลุ สตรี คือ ภาษา ศิลปะ ดนตรี ประวัติวรรณคดี และ ประวัติศาสตร์ ต่อมาอีก ๑ ปี ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลและ ครอบครัวมาเฝ้าฯ แล้วสมเด็จ พระราชชนนีรับสั่งขอหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ต่อหม่อมเจ้านักขัตรมงคล และ ประกอบพระราชพิธหี มัน้ อย่างเงียบ ๆ ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ทรงใช้พระธ�ำมรงค์ทสี่ มเด็จพระราชบิดา ทรงหมัน้ สมเด็จพระราชชนนี เป็นพระธ�ำมรงค์หมั้น แล้วคงให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ศึกษาต่อไป จนเสด็จ นิวตั พระนคร จึงโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์สริ กิ ติ ติ์ ามเสด็จกลับมาถวาย พระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั อานันทมหิดล ในเดือน มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ วันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓

มีพระราชพิธรี าชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นประธานพระราชทานน�ำ้ พระพุทธ มนต์และ เทพมนต์ สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดชและ หม่อมราชวงศ์สริ กิ ติ ิ์ ได้ ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และ ในวันนัน้ สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ได้ ทรงสถาปนาหม่ อ มราชวงศ์ สิ ริ กิ ติ์ เ ป็ น สมเด็ จ พระราชิ นี วั น ที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ เป็นวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงรับเฉลิมพระบรมนามาภิไธยว่า "พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว” และ ทรงสถาปนาเฉลิมพระยศสมเด็จพระราชินีเป็น "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชิน”ี วันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ ทั้งสองพระองค์เสด็จกลับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพราะแพทย์ผรู้ กั ษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั กราบบังคมทูลแนะน�ำให้ ทรงพักรักษาพระองค์อีกระยะหนึ่ง พุทธศักราช ๒๔๙๔ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเจริญพระชันษาได้ ๗ เดือน ทั้งสามพระองค์จึงเสด็จ นิวตั ประเทศ ประทับ ณ พระทีน่ งั่ อัมพรสถานพระราชวังดุสติ หลังจากนัน้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ซึ่งต่อมา ทรงได้รับการ สถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งต่อมา ทรงได้รับการ สถาปนาเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ ได้ประสูติต่อมา ตามล�ำดับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน รวมพระราชโอรสและ พระราชธิดา ๔ พระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ ทรงปฏิบัติพระราช กรณียกิจน้อยใหญ่เป็นล�ำดับมา ทัง้ ในฐานะที่ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ของไทยและ ในฐานะคู่พระราชหฤทัยแห่งพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว กล่าวคือ ทรงช่วยแบ่งเบาพระราชภาระทั้งหลายไป ได้มาก อนุรักษ์ศิลป วัฒนธรรมไทย ทรัพยากรธรรมชาติ และ การพัฒนาประเทศอยู่เนือง ๆ เห็นได้ชัดจากพระราชกรณียกิจที่เผยแพร่สู่สายตาประชาชนอยู่ทุกวันนี้

5


สตรี ไทยดีเด่น ๒๕๕๙

6

อนุสาร


เรื่อง

พิเศษ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปิดงาน “วันสตรีไทย” ประจ�ำปี ๒๕๕๙ และพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติสตรีไทยดีเด่น ๑๗๓ คน และ เยาวชนสตรีไทยดีเด่น ๒๕ คน ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมือ่ วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ในโอกาสนี้ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เข้ารับพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติ สตรีไทยดีเด่น ประจ�ำปี ๒๕๕๙ ด้วย วันสตรีไทย ประจ�ำปี ๒๕๕๙ ภายใต้แนวคิด “พลังสตรีไทยทั่วหล้า ใต้พระบารมี ร่วมใจภักดี พระบรมราชินีนาถ ของแผ่นดิน” ในโอกาสที่ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด กระหม่อมพระราชทานให้ วันที่ ๑ สิงหาคมของทุกปี เป็น วันสตรีไทย นับตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ ดอกคัทลียา ควีนสิริกิติ์ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจ�ำวันสตรีไทย

7


รองนายกรัฐมนตรี มอบเงินรางวัล และแสดงความยินดี แก่ทัพนักกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๘ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๙ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายก รัฐมนตรี มอบเงินรางวัลและแสดงความยินดีแก่ คณะนักกีฬา ผู้ฝึกสอน และเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๘ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมี นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นผูน้ ำ� คณะนักกีฬาเข้าพบ ณ ตึกสันติไมตรี หลังนอกท�ำเนียบรัฐบาล รองนายกรัฐมนตรีกล่าวให้โอวาทตอนหนึง่ ว่า การกีฬาถือว่ามีความ ส� ำ คั ญ ต่ อ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพของนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา รวมทั้ ง ด้ า นสุ ข ภาพ พลานามัย และด้านจิตใจ เป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้นิสิตนักศึกษา สามารถ พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมน�ำไปสู่การมี ส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กีฬาถูกน�ำ มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ตลอดจนสร้าง จิตส�ำนึกในการด�ำรงชีวิตที่มีคุณธรรม มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อ หน้าที่ เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น เป็นรากฐานที่ดีของสังคม กีฬา สามารถแก้ปญ ั หาต่าง ๆ ในทุกด้าน เช่น การพัฒนาประเทศ การสร้างความ สามัคคี ความปรองดอง การแก้ปญั หาความมัน่ คง และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาความเป็นเลิศในทุกระดับ และเป็นการสร้าง ความภาคภูมิใจและสร้างความสามัคคีให้กับคนในชาติ “ขอร่วมแสดงความยินดีกบั คณะนักกีฬา ผูฝ้ กึ สอน รวมทัง้ เจ้าหน้าที่ ที่ได้ตั้งใจหมั่นฝึกซ้อมและพัฒนาทักษะในการแข่งขันจนได้ผลการแข่งขัน เป็นที่น่าชื่นชม สร้างความสุข และความภาคภูมิใจแก่สถาบันการศึกษา ครอบครัว และประเทศชาติ ในนามของคณะผู้บริหารจึงขอขอบคุณทุก ๆ คนทีไ่ ด้เสียสละแรงกาย และแรงใจ ร่วมสร้างชือ่ เสียงให้กบั ประเทศชาติใน ครัง้ นี้ และขออวยพรให้นกั กีฬาและเจ้าหน้าทีจ่ งประสบความส�ำเร็จในด้าน การศึกษา และอาชีพเพือ่ จักได้พฒ ั นาประเทศชาติให้มคี วามเจริญก้าวหน้า ต่อไป” รองนายกรัฐมนตรีกล่าว

8

เลขาธิการ กกอ. กล่าวตอนหนึ่งว่า การเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๘ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ในระหว่างวันที่ ๗ – ๒๐ กรกฏาคม ๒๕๕๙ ซึ่งคณะนักกีฬามหาวิทยาลัยจากประเทศไทย มีผลการแข่งขัน ได้อันดับที่ ๑ จ�ำนวน ๕๒ เหรียญทอง ๓๔ เหรียญเงิน และ ๓๕ เหรียญทองแดง รวม ๑๒๑ เหรียญ ในการแข่งขัน ๑๖ ชนิดกีฬา คือ กีฬายิงธนู กรีฑา แบดมินตัน บาสเกตบอล เรือพาย ฟันดาบ ฟุตบอล ยิงปืน ว่ายน�ำ้ เทเบิลเทนนิส วอลเลย์บอล ปันจักสีลตั เปตอง รักบีฟ้ ตุ บอล ๗ คน เซปักตะกร้อ และโปโลน�้ำ โดยมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่รวม ๓๙๗ คน เป็นนักกีฬาชาย ๑๗๑ คน นักกีฬาหญิง ๙๗ คน เจ้าหน้าที่และสื่อมวลชน รวม ๑๒๙ คน การด�ำเนินการในครั้งนี้ ใช้งบประมาณจากส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา จ�ำนวน ๑๔,๕๐๐,๐๐๐.- บาท (สิบสี่ล้าน ห้าแสนบาทถ้วน) และจากคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่ง ประเทศไทย จ�ำนวน ๖๒๑,๐๐๐.- บาท (หกแสนสองหมืน่ หนึง่ พันบาทถ้วน)

อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

สกอ. เดินหน้าจัดท�ำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลกลาง อุดมศึกษา ๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมชีแ้ จง เรือ่ งการจัดท�ำข้อมูลตาม มาตรฐานข้อมูลกลางอุดมศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารเทคโนโลยี สารสนเทศระดับสูง (CIO) ผูร้ บั ผิดชอบการจัดท�ำข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา ทัว่ ประเทศ และหน่วยงานทีจ่ ดั การศึกษาระดับอุดมศึกษา ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชัน่ กรุงเทพมหานคร เลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า รัฐบาลได้มนี โยบายส�ำคัญในการเพิม่ ขีดความ สามารถในการแข่งขันของประเทศ เพือ่ ก้าวไปสูป่ ระเทศไทย ๔.๐ ภายใต้ แนวคิด “ประชารัฐ” บนวิสยั ทัศน์ “มัน่ คง มัง่ คัง่ และยัง่ ยืน” โดยการ ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ทั้งในด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ ด้านการวิจยั และพัฒนา และด้านการศึกษา ดังนัน้ ข้อมูลด้านการศึกษาจึง เป็นสิง่ ส�ำคัญเพือ่ ใช้เป็นข้อมูล ในการก�ำหนดทิศทางการปฏิรปู การศึกษาให้ สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศ เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ ได้ก�ำหนดนโยบายและมอบแนวทางในการจัดท�ำระบบฐานข้อมูลกลาง ทางการศึกษา ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดเป็นหน่วยงานกลางในการจัดเก็บ ข้อมูลในแต่ละระดับและจัดส่งเข้าสูร่ ะบบฐานข้อมูลกลางในระดับกระทรวง เพือ่ ประมวลผลและใช้ประโยชน์รว่ มกันในการพัฒนาการจัดการศึกษาของ สถานศึกษาในทุกระดับ ซึง่ จะเป็นประโยชน์ตอ่ การพัฒนาประเทศ กระทรวง ศึกษาธิการได้ประกาศใช้ระเบียบฯ ว่าด้วยการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้าน การศึกษา พ.ศ.๒๕๕๔ เพือ่ เป็นกลไกในการจัดเก็บ รวบรวม ประมวลผลและ เผยแพร่ขอ้ มูลสารสนเทศด้านการศึกษาของประเทศ และแต่งตัง้ คณะท�ำงาน บริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาในระดับกระทรวง เพือ่ ก�ำหนด มาตรการและแนวปฏิบัติร่วมกันทุกส่วนราชการทั้งในและนอกสังกัด กระทรวงศึกษาธิการที่มีการจัดการศึกษา พร้อมทั้งจัดท�ำคู่มือการบริหาร จัดการข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา เพือ่ เป็นกรอบแนวทางในการด�ำเนินงาน และได้กำ� หนดรายการข้อมูลทีท่ กุ หน่วยงานทีเ่ ป็นหน่วยงานกลางต้องรายงาน ข้อมูลไปยังศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร กระทรวงศึกษาธิการ เพือ่ ประมวลผลในภาพรวมของประเทศ “จากรายงานสถิติข้อมูลอุดมศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๕๘ พบว่า ฐานข้อมูลนิสิตนักศึกษาและบุคลากรอุดมศึกษามีสถาบันอุดมศึกษาได้ รายงานข้อมูลเข้าสูร่ ะบบจ�ำนวน ๑๔๖ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๙๔ ในขณะที่

ฐานข้อมูลผูส้ ำ� เร็จการศึกษา มีสถาบันอุดมศึกษาได้รายงานข้อมูลเข้าสูร่ ะบบ จ�ำนวน ๑๓๓ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๘๖ ซึง่ มีสถาบันอุดมศึกษาส่วนหนึง่ ยังมิได้ รายงานข้อมูลเข้าสูร่ ะบบดังกล่าว ถึงแม้วา่ ร้อยละของการส่งข้อมูลจะดูสงู แต่ การน�ำไปออกรายงานโดยใช้ขอ้ มูลทีถ่ กู ต้องและครบถ้วน ได้เพียงร้อยละ ๔๐ ของข้อมูลที่ส่งเข้ามาในระบบทั้งหมด ดังนั้นส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาจึงขอความร่วมมือสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ทัง้ รัฐและเอกชน รวมทัง้ หน่วยงานนอกสังกัดทีจ่ ดั การศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้จดั ท�ำและ จัดส่งข้อมูลเข้าสูร่ ะบบคลังข้อมูลอุดมศึกษาให้ครบถ้วน ถูกต้องและสมบูรณ์ โดยศูนย์สารสนเทศอุดมศึกษาได้พัฒนาเครื่องมือซึ่งเป็นระบบที่จะช่วย อ�ำนวยความสะดวกในการจัดส่งข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ ของข้อมูลก่อนน�ำเข้าสูฐ่ านข้อมูลกลางอุดมศึกษา เพือ่ ให้ได้ขอ้ มูลทีม่ คี วาม ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นไปตามมาตรฐานข้อมูลกลางที่ส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการก�ำหนด” เลขาธิการ กกอ. กล่าว การประชุมชีแ้ จงในวันนี้ จะน�ำไปสูก่ ารสร้างความเข้าใจในการจัดท�ำ ข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องได้อย่างถูกต้องตาม มาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา และสามารถน�ำส่งเข้าสูร่ ะบบคลังข้อมูลอุดมศึกษา ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพือ่ ใช้ ประโยชน์ในการบริหารจัดการศึกษาร่วมกัน ทัง้ ในระดับกระทรวง ส�ำนักงาน และสถานศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิง่ จะเป็นข้อมูลในการก�ำหนดนโยบายและ ทิศทางในการพัฒนาการศึกษาของประเทศให้มคี ณ ุ ภาพและมาตรฐานต่อไป เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนสุดท้าย

9


การประชุมวิชาการเรื่อง Centers of Excellence: Past, Present, and Thailand ๔.๐

๔ สิ ง หาคม ๒๕๕๙ ส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการการอุดมศึกษาจัดการประชุมวิชาการ เรือ่ ง Centers of Excellence: Past, Present, and Thailand ๔.๐ ขึน้ โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ พัฒนาองค์ความรูใ้ นการบริหารจัดการศูนย์ความ เป็นเลิศทางวิชาการที่จัดตั้งและสนับสนุนงบ ประมาณโดยส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา แลกเปลีย่ นประสบการณ์ และเรียนรู้ แนวปฏิบตั ทิ ดี่ จี ากผูเ้ ชีย่ วชาญจากสหรัฐอเมริกา รวมถึงการพิจารณาบทบาทของศูนย์ความเป็น เลิ ศ ทางวิ ช าการในการพั ฒ นาประเทศไปสู ่ Thailand ๔.๐ มีผเู้ ข้าร่วมกว่า ๑๐๐ คน ประกอบ ด้วย ผูอ้ ำ� นวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ ทั้ ง ๑๑ ศู น ย์ รองอธิ ก ารบดี ฝ ่ า ยวิ จั ย ของ มหาวิทยาลัย ผูแ้ ทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ผูแ้ ทนกระทรวงการต่างประเทศ รวม ไปถึ ง ผู ้ แ ทนหน่ ว ยงานสนั บ สนุ น งานวิ จั ย ที่ เกีย่ วข้อง และได้รบั เกียรติจาก นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ณ โรงแรม เดอะเบอร์เคลีย์ ประตูนำ�้ กรุงเทพมหานคร

10

เลขาธิการ กกอ. กล่าวตอนหนึง่ ว่า ถึงเวลา แล้วทีค่ วรจะต้องมีการทบทวนความก้าวหน้าและ ความส�ำเร็จของศูนย์ความเป็นเลิศฯทีด่ ำ� เนินการ อยู่ รวมไปถึงการก�ำหนดทิศทางในการด�ำเนินงาน ของศูนย์ความเป็นเลิศฯในอนาคตให้สอดคล้อง กับแผนพัฒนาประเทศโดยเฉพาะ Thailand ๔.๐

วิทยากรการประชุม ในครั้งนี้ ประกอบด้ ว ย Dr. Daniel Watts อดีตผู้ อ�ำนวยการ NSF-IUCRC on Hazardous Substance Management Research Center, New Jersey Institute of Technology ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง จ า ก ภ า ค รั ฐ แ ล ะ ภ า ค อุตสาหกรรม ผูแ้ ทนของสมาคมนักวิชาชีพไทยใน สหรัฐอเมริกาและแคนาดา มาร่วมแลกเปลี่ยน องค์ความรู้ในการบริหารจัดการศูนย์ความเป็น เลิศทางวิชาการ และร่วมเสวนาในหัวข้อ Tuning Foci of Centers of Excellence to Support Thailand ๔.๐ โดยได้นำ� เสนอแนวทางและข้อ เสนอแนะในการสร้างผลงานวิจยั และพัฒนาเพือ่ ปรับเปลี่ยนบทบาทของศูนย์ความเป็นเลิศทาง วิชาการให้ตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศไทย ไปสู่ Thailand ๔.๐ ปั จ จุ บั น ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษาก� ำ กั บดู แลศู น ย์ ค วามเป็นเลิศ ทาง วิชาการ (Centers of Excellence: CoE) จ�ำนวนทัง้ หมด ๑๑ ศูนย์ และก�ำลังอยูใ่ นระหว่าง การวางแผนจัดตัง้ ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ ใหม่เพิม่ เติมอีก ๙ ศูนย์ โดยขณะนีก้ ารด�ำเนินงาน ของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการอยูใ่ นระยะที่ ๓

อนุสาร


สกอ. ยกระดับการประชาสัมพันธ์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ และ สร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์สถาบันอุดมศึกษา

๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษาเป็นประธานเปิดประชุมสัมมนาเรือ่ ง การ เสริ ม สร้ า งความรู ้ แ ละสร้ า งเครื อ ข่ า ยประชาสั ม พั น ธ์ ส ถาบั น อุดมศึกษา ณ โรงแรมตวันนารามาดา สุรวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดย ผูเ้ ข้าร่วมการประชุมประกอบด้วยผูบ้ ริหาร เจ้าหน้าทีแ่ ละบุคลากร ที่รับผิดชอบงานด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรของ สถาบันอุดมศึกษาสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาได้สนับสนุนการท�ำงานด้านการประชาสัมพันธ์ ในรูป แบบการบูรณาการเพื่อสร้างเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ของ สถาบันอุดมศึกษา ทัง้ ในรูปแบบทีเ่ ป็นทางการโดยมีงบประมาณ สนับสนุน และรูปแบบทีไ่ ม่เป็นทางการ โดยรวมตัวกันในการด�ำเนิน กิจกรรมต่างๆเฉพาะกิจ ในลักษณะเครือข่ายนักประชาสัมพันธ์ใน สถาบันอุดมศึกษา เพือ่ ประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์องค์กรเครือ ข่ายประชาสัมพันธ์สถาบันอุดมศึกษาจัดขึน้ ครัง้ แรก เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ และเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ จัดขึน้ เป็นครัง้ ที่ ๒ ซึง่ ในการประชุม ครัง้ นีจ้ ดั ขึน้ เป็นครัง้ ที่ ๓ ภายใต้หวั ข้อ “การเสริมสร้างความรูแ้ ละ สร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์สถาบันอุดมศึกษา” ซึง่ เป็นการรวม ตัวกันอีกครัง้ โดยเชิญผูร้ ู้ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านสือ่ ออนไลน์ มาให้ความรู้

เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

สร้างความเข้าใจ แบ่งปันประสบการณ์ แก่นักประชาสัมพันธ์ใน สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา เพื่ อ รองรั บ การสื่ อ สารองค์ ก รและการ ประชาสัมพันธ์ยคุ สังคมข่าวสาร ผ่านสือ่ ออนไลน์ ทีส่ ามารถพลิก สถานการณ์หรือสร้างกระแสข่าวดีหรือข่าวร้ายได้แค่ชวั่ ข้ามคืน ด้วย ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทีท่ นั สมัย “ในการวางแนวทางรองรับการเปลีย่ นแปลงในสังคม ทีจ่ ะส่ง ผลกระทบกับการด�ำเนินการของสถาบัน อุดมศึกษา และร่วมกัน ขับเคลื่อนข้อมูลข่าวสาร ไปในทิศทางที่เกิดประโยชน์สูงสุดกับ สถาบันอุดมศึกษาไทย รวมทัง้ แสวงหารูปแบบในการท�ำงานร่วมกัน แลกเปลีย่ น เกือ้ กูลข้อมูลข่าวสารและทรัพยากร เพือ่ การยกระดับ ความน่าสนใจของข่าวสารอุดมศึกษา แสวงหาแนวร่วมและหา มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขข่าวสารที่บ่ันทอนภาพลักษณ์การ อุดมศึกษาไทย ทีจ่ ะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านสังคมออนไลน์ นัน้ เป็นการด�ำเนินการทีน่ า่ ยินดียงิ่ เพราะการท�ำงานของทุกท่าน จะส่งผลถึงภาพลักษณ์การอุดมศึกษาไทยในสายตาของนานา ประเทศอีกด้วย” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

11


สกอ. ระดมความคิดเห็น เพื่อส่งเสริมและ พัฒนางานวิชาการรับใช้สังคม ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๙ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมเพือ่ ระดม ความคิดเห็นเพื่อส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการรับใช้สังคม ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร

เลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า งานวิชาการ รับใช้สงั คม เป็นผลงานทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ สังคมและท้องถิน่ ทีเ่ กิดขึน้ โดยคณาจารย์ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาน�ำโจทย์ของ ชุมชนมาพัฒนาหัวข้องานวิจัยให้เกิดองค์ ความรู ้ ใ หม่ และน� ำ กลั บ ไปใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์กบั สังคมชุมชนท้องถิน่ ให้มากขึน้ โดยใช้ ค วามรู ้ ป ระสบการณ์ แ ละความ เชี่ ย วชาญไปพั ฒ นาสั ง คมให้ เ กิ ด การ เปลีย่ นแปลงทีด่ ขี นึ้ กับ ชุมชน วิถชี วี ติ ศิลป วัฒนธรรม สิง่ แวดล้อม อาชีพ เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง คุณภาพชีวติ หรือ สุขภาพ และเกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ น� ำ ไปสู ่ ก ารจดทะเบี ย นสิ ท ธิ บั ต รหรื อ ทรัพย์สินทางปัญญา หรือสามารถใช้แก้ ปั ญ หาหรื อ พั ฒ นาสั ง คม ซึ่ ง เป็ น การ เปลีย่ นแปลงในความตระหนักและการรับรู้ ในปัญหาและแนวทางแก้ไขของชุมชนเป็น ทีป่ ระจักษ์ตอ่ สาธารณะ เกิดการมีสว่ นร่วม และการยอมรับของสังคมเป้าหมาย และ ปรากฏผลทีส่ ามารถประเมินได้เป็นรูปธรรม โดยไม่นบั รวมงานทีแ่ สวงหาก�ำไรและได้รบั ผลตอบแทนส่วนบุคคลในเชิงธุรกิจ เพื่อ ให้การขับเคลื่อนงานวิชาการรับใช้สังคม

12

ของสถาบันอุดมศึกษาประสบความส�ำเร็จ จ�ำเป็นจะต้องมีการส่งเสริมและพัฒนางาน วิชาการรับใช้สงั คมในระดับนโยบายภาครัฐ ในส่วนกลาง ระดับสถาบันอุดมศึกษา ซึง่ มี บทบาทส�ำคัญในการผลักดันงานวิจัยสู่ ชุมชนท้องถิ่น และระดับคณาจารย์และ บุคลากรด้านการวิจัย ที่ต้องมีระบบการ บริหารจัดการงานวิจยั การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน เพื่อให้เป็นฐานบริการ วิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งมีการ เชื่อมโยงกับเครือข่ายการวิจัยทั้งภายใน ประเทศและต่างประเทศ สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ และเครือข่ายธุรกิจชุมชน และองค์กร ธุรกิจต่าง ๆ “ดังนัน้ เพือ่ ให้เกิดการผลักดันในการ ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการรับใช้สงั คม ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ตอบสนอง ความต้องการของชุมชนท้องถิน่ ทีเ่ ชือ่ มโยง กับนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาล คณะกรรมการข้ า ราชการพลเรื อ นใน สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา (กพอ.) และคณะ กรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้เรียนเชิญ

ผูท้ รงคุณวุฒใิ นงานวิชาการรับใช้สงั คมจาก สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน มา ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาหาแนวทาง หรือมาตรการ การส่งเสริมและพัฒนางาน วิชาการรับใช้สังคมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และสาขาสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ พร้อมกับร่วมกันพิจารณา แนวทางหรือมาตรการ ส�ำหรับการพิจารณา คุณภาพงานวิชาการรับใช้สังคม ทั้งสาขา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขา สั ง คมศาสตร์ และมนุ ษ ยศาสตร์ ” เลขาธิการกกอ. กล่าว เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนสุดท้าย ว่า การประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นใน วันนี้ ท�ำให้สถาบันอุดมศึกษาได้นำ� แนวทาง หรื อ มาตรการที่ ไ ด้ จ ากการประชุ ม ไป ประกอบการก�ำหนดทิศทางด้าน การวิจยั ที่ เหมาะสมกั บ บริ บ ทของแต่ ล ะสถาบั น เกิดการพัฒนาและผลักดันให้มหาวิทยาลัย สามารถน�ำองค์ความรูท้ ไี่ ด้รบั จากการวิจยั โดยเฉพาะด้ า นรั บ ใช้ สั ง คม น� ำ ไปใช้ ประโยชน์ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของ ชุมชนเพือ่ ความยัง่ ยืนต่อไป อนุสาร


สกอ. เดินหน้าพัฒนาการป้องกัน และ แก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถาบันอุดมศึกษา

๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิด โครงการพั ฒ นา ศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา (กลุม่ ภาคกลาง/ภาคตะวันออกและ กลุ่มกรุงเทพมหานคร) จัดโดยส�ำนักส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพ นักศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยได้รบั การสนับสนุน การด�ำเนินงาน จากส�ำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้าน ยาเสพติด ได้เพิ่มพูนองค์ความรู้ ทักษะที่จ�ำเป็น เสริมสร้างทัศนคติ ในเชิงบวก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการป้องกันและ แก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา ในบริบทที่หลากหลาย ไปบูรณาการกับการท�ำงานด้านการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ตระหนักถึงความส�ำคัญในบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบงานด้านการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบัน อุดมศึกษา ว่าเป็นหัวใจส�ำคัญในการขับเคลื่อน การสร้างภูมิคุ้มกันและ

เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

การป้องกันยาเสพติด ดังนัน้ การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าทีผ่ ปู้ ฏิบตั งิ านด้าน การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา เป็นทั้ง การพัฒนาทักษะ และเพิม่ พูนองค์ความรู้ ซึง่ เป็นเครือ่ งมือส�ำคัญ ทีจ่ ะช่วย ให้ เจ้ า หน้ า ที่ ส ามารถน� ำ ไปประยุ ก ต์ ใช้ ใ นการปฏิ บั ติ ง านได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผูเ้ ข้าร่วมโครงการในครัง้ นีจ้ ะได้มโี อกาสแลกเปลีย่ นเรียนรูก้ ารปฏิบตั งิ าน และเพิ่มพูนทักษะและความรู้ที่จ�ำเป็นส�ำหรับใช้ปฏิบัติงานในสถาบัน อุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เพือ่ ร่วมมือกันดูแลนิสติ นักศึกษาไม่ให้เข้าไปเกีย่ วข้องกับยาเสพติด และ เป็นพลังส�ำคัญของแผ่นดิน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ช่วยลดการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสังคมไทย ให้ลดลง รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนสุดท้าย ศูนย์อ�ำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ (ศอ.ปส.) จัดตั้งขึ้นตามค�ำสั่ง ส�ำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๑๕๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๗ เพื่อเป็นองค์กรอ�ำนวยการระดับชาติ ท�ำหน้าที่ในการ อ�ำนวยการ ขับเคลือ่ นนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดไปสูก่ ารปฏิบตั ใิ ห้บงั เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ตามแผนปฏิบตั กิ าร ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดปี ๒๕๕๙

13


การประชุ ม คณะกรรมการอ� ำ นวยการเครื อ ข่ า ย มหาวิทยาลัยอาเซียนครั้งที่ ๓๒ (The 32nd AUN-BOT Meeting) ๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ รองศาสตราจารย์บณ ั ฑิต ทิพากร รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ อ�ำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนครั้งที่ ๓๒ ณ จังหวัดภูเก็ต โดยมี อ ธิ ก ารบดี รองอธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย สมาชิ ก เครื อ ข่ า ย มหาวิ ท ยาลั ย อาเซี ย นจากประเทศบรู ไ นดารุ ส ซาลาม กั ม พู ช า อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนามและไทย ผู้แทนเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน ผู้แทนส�ำนัก เลขาธิการอาเซียน ผู้แทนส�ำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรีศึกษาแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้อ�ำนวยการและเจ้าหน้าที่ส�ำนักงาน เลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน เข้าร่วมการประชุม รองเลขาธิการ กกอ. เปิดเผยว่า ผลการประชุมครัง้ นีม้ คี วาม ก้าวหน้าที่ส�ำคัญคือ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้ง thematic network ภายใต้การด�ำเนินการของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน จ�ำนวน ๒ เครือข่าย ได้แก่ ๑) AUN Student Affairs Network (AUN-SAN) เสนอโดย University Utara Malaysia เพื่อเป็นเวทีให้ ผูน้ ำ� นักศึกษาของมหาวิทยาลัยในอาเซียนได้หารือในเรือ่ งกิจการนักศึกษา

14

สวัสดิการ และกิจกรรมของนักศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้น�ำและ น�ำไปสู่ความร่วมมือในระดับมหาวิทยาลัยของภูมิภาคอาเซียน

อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

๒) AUN Disability and Public Policy Network (AUN-DPPnet) เสนอโดย University of Malaya เพื่อให้ความรู้ และพัฒนาบุคลากรใน เชิงนโยบายเพื่อผู้พิการและเพื่อเป็นเครือข่ายของนักวิชาการและ ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นคลังสมองให้หน่วยงานรัฐบาลในการก�ำหนดนโยบาย เพือ่ ผูพ้ กิ าร ซึง่ The Nippon Foundation ประเทศญีป่ นุ่ ได้รว่ มสนับสนุน งบประมาณในการด�ำเนินโครงการในปีแรก และที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ ในหลักการเรือ่ งการขยายเครือข่ายมหาวิทยาลัยสมาชิกอาเซียน ซึง่ การเปิด รับมหาวิทยาลัยสมาชิกใหม่ของ AUN จะต้องพิจารณาจาก “คุณภาพและ ข้อผูกพันของสมาชิก” (quality and commitment) โดยให้มีการจัดตั้ง คณะท�ำงานเพื่อท�ำหน้าที่หารือทิศทางและก�ำหนดเกณฑ์ในการขยาย การรับสมาชิกใหม่ของ AUN ซึ่งคณะท�ำงานประกอบด้วยผู้แทนจาก มหาวิทยาลัยสมาชิก จ�ำนวน ๖ แห่งจากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนามและไทย ส�ำหรับการประชุมในครัง้ ต่อไป Viet Nam National University, Hanoi รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการอ�ำนวยการเครือข่าย มหาวิทยาลัยอาเซียนครั้งที่ ๓๓ ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๐ ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

15


ไทย-ฝรั่งเศส ร่วมขยายผลงานวิจัย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกัน ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๙ รองศาสตราจารย์บัณฑิต ทิพากร รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นประธานการประชุม ขยายผลโครงการวิจยั ร่วมภายใต้ความร่วมมือด้านอุดมศึกษาและการ วิจยั ระหว่างไทย - ฝรัง่ เศส ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วจิ ติ ร ศรีสอ้าน อาคารอุดมศึกษา ๑ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวตอนหนึ่งว่า การประชุมในครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพือ่ ติดตามผลการด�ำเนินโครงการวิจยั ในรอบ ๓ ปีทผี่ า่ นมา และเพื่อส่งเสริม และประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์/นักวิจัยในสถาบัน อุดมศึกษาส่งข้อเสนอโครงการวิจัยร่วมภายใต้ความร่วมมือด้าน อุดมศึกษาและการวิจัยระหว่างไทย - ฝรั่งเศส ส�ำหรับปีต่อ ๆ ไป ซึ่ง จะเป็นการส่งเสริมการท�ำวิจยั ในสถาบันอุดมศึกษาและส่งเสริมความ ร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยและฝรัง่ เศส โดยมีผเู้ ข้าร่วมประชุม ประกอบด้ ว ยผู ้ แ ทนจากสถานเอกอั ค รราชทู ต ฝรั่ ง เศสประจ� ำ ประเทศไทย ผู้แทนคณะกรรมการบริหารโครงการวิจัยร่วมภายใต้ ความร่วมมือด้านอุดมศึกษาและการวิจัยระหว่างไทย - ฝรั่งเศส คณาจารย์ นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานวิจัยจากสถาบัน อุดมศึกษาไทยรวมจ�ำนวนกว่า ๑๐๐ คน “โครงการวิจยั ร่วมไทย-ฝรัง่ เศสเป็นตัวอย่างทีด่ ขี องการด�ำเนิน ความร่วมมือที่มีพื้นฐานของความเป็นอิสระ ความเท่าเทียม และ ความเป็นหุน้ ส่วน ซึง่ ผูเ้ สนอโครงการมีอสิ ระในการเลือกวิจยั ในสาขา ที่หลากหลายตามความเชี่ยวชาญ และเป็นที่ต้องการของประเทศ ภายใต้ลักษณะพิเศษที่ส�ำคัญของโครงการคือความเท่าเทียมและ ความเป็นหุน้ ส่วนของเครือข่าย เนือ่ งจากเป็นการด�ำเนินความร่วมมือ

16

ในลักษณะการมี ส่วนร่วมรับผิดชอบ ค่ า ใช้ จ ่ า ยนั บ เป็ น บทบาททีต่ อ้ งท�ำร่วมกัน ทั้ ง ใ น ร ะ ดั บ ส ถ า บั น อุดมศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรัฐบาลทั้งฝ่ายไทยและฝรั่งเศส ท�ำให้เกิดความเป็นเจ้าของซึ่ง น�ำไปสู่ข้อผูกพันระหว่างกันที่จะด�ำเนินโครงการให้ส�ำเร็จลุล่วง ตามเป้าหมาย” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว การประชุ ม ในครั้ ง นี้ ยั ง มี ก ารบรรยายเกี่ ย วกั บ แนวทาง การด�ำเนินความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย – ฝรั่งเศสและ โครงการอื่น ๆ ภายใต้การริเริ่มของสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจ�ำประเทศไทย จาก นาย Stéphane Roy ผู้ช่วยทูตที่ก�ำกับดูแล ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และอุดมศึกษา สถานเอกอัครราชทูต ฝรั่งเศสประจ�ำประเทศไทย และการเสวนาเรื่อง “ประสบการณ์ การด�ำเนินโครงการวิจัยร่วมไทย - ฝรั่งเศส” โดยหัวหน้าโครงการ ประจ�ำปี ๒๕๕๗ - ๒๕๕๙ มาร่วมให้แนวคิด แนวทาง และแลกเปลีย่ น ประสบการณ์การเขียนข้อเสนอโครงการ การบริหารโครงการ รวมถึง การสนับสนุนการบริหารโครงการเพือ่ ให้เกิดความยัง่ ยืน และสามารถ ต่อยอดไปยังโครงการความร่วมมืออื่น ๆ ต่อไป

อนุสาร


สกอ. จัดประชุมกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา

๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ รองศาสตราจารย์บัณฑิต ทิพากร รองเลขาธิการ คณะกรรมการ การอุดมศึกษา เป็นประธานเปิด การประชุมสัมมนาเรื่อง กรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ อุดมศึกษา : มาตรฐานผลการ เรียนรู้ แผนที่การกระจายความ รับผิดชอบและการทดสอบผลสัมฤทธิ์ ผลการเรียนรู้ โดยโครงการนี้ จะจัดให้มีการประชุมสัมมนาในระดับภูมิภาค จ�ำนวน ๔ ครั้ง คือ สถาบัน อุดมศึกษาพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ซึ่งครั้งนี้จัดขึ้นเป็นภูมิภาคแรก โดยมีวัตถุประสงค์ เพือ่ ให้คณาจารย์ทรี่ บั ผิดชอบในการจัดท�ำหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการ เขียนผลการเรียนรู้ และการทดสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ ตลอดจน การจัดท�ำแผนทีก่ ระจายความรับผิดชอบ จากการเสนอแนวปฏิบตั ทิ ดี่ ี โดย มีผเู้ ข้าร่วมประชุมสัมมนากว่า ๓๕๐ คน จากสถาบันอุดมศึกษาในภาคกลาง และภาคตะวันออก จ�ำนวน ๑๑๖ แห่งเข้าร่วม ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร

เหตุการณ์

เล่าเรื่อง

รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาได้จัดท�ำประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรือ่ ง กรอบมาตรฐานคุณวุฒริ ะดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ และประกาศคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา เรื่ อ ง แนวทางการปฏิ บั ติ ต ามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒริ ะดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ทีม่ งุ่ เน้นมาตรฐานผลการเรียนรูข้ องผูเ้ รียนเป็นส�ำคัญ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา หรือปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ที่จะส่งผลให้คณ ุ ภาพของบัณฑิตในระดับคุณวุฒเิ ดียวกันของ แต่ละสาขาวิชาจากสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งมีมาตรฐานที่เทียบ เคียงกันได้ทงั้ ในระดับชาติและน�ำไปสูร่ ะดับสากล“เพือ่ ส่งเสริมให้สถาบัน อุดมศึกษาและคณาจารย์ด�ำเนินการตามแนวปฏิบัติของกรอบมาตรฐาน คุณวุฒฯิ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน ที่สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามที่ ก� ำหนดไว้ ในกรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ฯ ส� ำ นัก งานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษาในฐานะที่ เ ป็ น หน่ ว ยงานก� ำ กั บ และส่ ง เสริ ม สถาบั น อุดมศึกษาได้จดั กิจกรรมส่งเสริมการด�ำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ อย่างต่อเนือ่ ง และการประชุมสัมมนาในครัง้ นีก้ เ็ ป็นอีกครัง้ ทีเ่ ราจะส่งเสริม การด�ำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ โดยจะเน้นที่ ๓ ประเด็นหลัก ๆ คือ การก�ำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละหลักสูตร การจัดท�ำแผนที่ กระจายความรับผิดชอบของหลักสูตรสู่รายวิชา และการทวนสอบผล สัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

17


ขอแสดงความยินดี รองศาสตราจารย์บัณฑิต ทิพากร รองเลขาธิการ กกอ. คนใหม่

ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๙ อนุมัติ บรรจุกลับ รองศาสตราจารย์บัณฑิต ทิพากร พนักงานมหาวิทยาลัย ต�ำแหน่ง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (เดิ ม เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และได้ลาออกจาก ราชการด้วยเหตุทดแทนเพื่อเป็นพนักงานราชการตามกฎหมาย) มาเป็น ข้าราชการพลเรือนสามัญ และแต่งตัง้ ให้ดำ� รงต�ำแหน่ง รองเลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ และได้น�ำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ต่ อ ไปแล้ ว บั ด นี้ ได้ มี พ ระบรมราชโองการโปรดเกล้ า ฯ แต่ ง ตั้ ง รองศาสตราจารย์บัณฑิต ทิพากร ให้ด�ำรงต�ำแหน่ง รองเลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ประกาศ ณ วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๙ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง ๕ สิงหาคม ๒๕๕๙)

18

ประวัตกิ ารศึกษา วิศวกรรมไฟฟ้า (วศ.บ.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุร ี พ.ศ. ๒๕๒๓ Electrical and Computer Engineering (M.Sc.) University of Missouri-Columbia USA พ.ศ. ๒๕๒๘ Electrical and Computer Engineering (Ph.D.) University of Missouri-Columbia USA พ.ศ. ๒๕๓๘

อนุสาร


เหตุการณ์

เล่าเรื่อง

สาขาวิชาที่ท�ำวิจัย

- Signal Processing and Image Processing - Mechanics and Transport in Micro-circulation - Biomedical Signal and Image Analysis - Fluorescence Microscopy - Speech to Text - Optical Sensors and Optical M29Sensors

รองศาสตราจารย์บัณฑิต ทิพากร รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประสบการณ์ท�ำงาน ๒๕๓๙ – ๒๕๕๙ ๒๕๔๒ – ๒๕๔๕ ๒๕๔๕ – ๒๕๔๗ ๒๕๔๗ – ๒๕๔๙ ๒๕๔๙ – ๒๕๕๓ ๒๕๕๓ – ๒๕๕๙

อาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รองผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักห้องสมุดและบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รองอธิการบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

19


๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา และนายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ร่วมงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ท�ำเนียบรัฐบาล

20

อนุสาร


เล่าเรื่อง

ด้วยภาพ

๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา นางอรสา ภาววิมล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมพิธีท�ำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ครบ ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ ลานหน้าอาคารอุดมศึกษา ๒

21


๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ - ๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองศาสตราจารย์บัณฑิต ทิพากร รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และผูบ้ ริหารส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ (Retreat Meeting) ระหว่างผูบ้ ริหารระดับสูงของส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษากับผูแ้ ทนสมาคมนักวิชาชีพไทยในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ณ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพมหานคร

๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๙ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นประธานมอบเกียรติบัตรในโครงการ “ส่งเสริม การจัดการความรู้ในองค์กรของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา” ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๙๙ ณ ห้องประชุมบริหารช้น ๕

22

อนุสาร


เล่าเรื่อง

ด้วยภาพ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๙ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อ�ำนวยการ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ตรวจเยี่ยมสนาม สอบโครงการผลิตครูเพือ่ พัฒนาท้องถิน่ สนามสอบกรุงเทพมหานคร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การทดสอบความรูโ้ ครงการผลิตครูเพือ่ พัฒนาท้องถิน่ สอบ ทัง้ หมด ๓ วิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และการคิดอย่าง มีวจิ ารณญาณ มีจำ� นวนผูม้ สี ทิ ธิส์ อบ ๓๐,๓๐๕ คน จ�ำแนกตาม สนามสอบ ๘ สนาม ได้แก่ ๑) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้มี สิทธิ์สอบจ�ำนวน ๗,๐๐๗ คน ๒) มหาวิทยาลัยขอนแก่น จั ง หวั ด ขอนแก่ น ผู ้ มี สิ ท ธิ์ ส อบจ� ำ นวน ๙,๖๘๓ คน ๓) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้มีสิทธิ์สอบ จ�ำนวน ๒,๘๓๖ คน ๔) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ผูม้ สี ทิ ธิส์ อบจ�ำนวน ๒,๔๒๘ คน ๕) มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ผู้มีสิทธิ์สอบจ�ำนวน ๒,๙๒๑ คน ๖) มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ผู้มีสิทธิ์สอบ จ�ำนวน ๑,๙๘๙ คน ๗) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัด นครศรี ธ รรมราช ผู ้ มีสิ ท ธิ์ ส อบจ� ำ นวน ๑,๔๒๑ คน และ ๘) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา ผู้มีสิทธิ์สอบจ�ำนวน ๒,๐๒๐ คน โดยภาพรวมการทดสอบความรูโ้ ครงการผลิตครูเพื่อพัฒนา ท้องถิ่นเป็นทั้ง ๘ สนามสอบ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่พบการทุจริต ในการสอบ ทั้งนี้ จะประกาศผลสอบในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ รายงานตัวผู้มี สิทธิ์เข้าร่วมโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในวันที่ ๑๑ – ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ บรรจุ เข้ารับราชการครู สังกัด สพฐ. / สอศ. / กศน. ในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๙

23


การจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ ในสถาบันอุดมศึกษา ด้วยกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ เป็นประเพณีทสี่ บื ทอดมายาวนานในสถาบันอุดมศึกษา มีปณิธานเพือ่ ถ่ายทอดความสัมพันธ์ ของนิสิตนักศึกษารุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ยังผลให้เกิดความสามัคคี มีระเบียบวินัย ความภาคภูมิใจในสถาบัน และมีการช่วยเหลือเกื้อกูลฉันพี่น้อง ฯลฯ ดังนั้น เพื่อให้ประเพณีการรับน้องใหม่และการประชุมเชียร์ในสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ธ�ำรงไว้ซึ่งปณิธานที่ดีงาม อีกทั้งมี ลักษณะในการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ อบอุ่น ประทับใจและเสริมสร้างการพัฒนานิสิตนักศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้ ก�ำหนดนโยบายและมาตรการในการจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ของสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้

นโยบาย

มาตรการ

๑.

มุ่งเสริมสร้างกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และก่อให้ เกิดภาพลักษณ์เชิงบวกแก่สาธารณชน

๒.

เคารพสิทธิ เสรีภาพและหลักความเสมอภาค ไม่มคี วามรุนแรงและ ห้ามล่วงละเมิดสิทธิสว่ นบุคคลทัง้ ทางร่างกายและหรือจิตใจ ไม่ดมื่ สุราและเสพสิ่งมึนเมาทุกชนิด

๓.

ต้องไม่กระทบต่อการเรียนการสอน

๔.

ต้องอยู่ในความรับผิดชอบ ก�ำกับ ดูแลของผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรทุก คณะ/ภาควิชา และนิสิตนักศึกษารุ่นพี่ รวมถึง ต้องให้ค�ำปรึกษาในการจัด กิจกรรมให้มลี กั ษณะสร้างสรรค์ ไม่ขดั ต่อระเบียบสถาบัน กฎหมาย วัฒนธรรม ประเพณีและมารยาททางสังคมที่ดีงาม

๕.

ไม่จัดกิจกรรมนอกสถานที่ เพื่อความปลอดภัยและ ความประหยัดของนิสิตนักศึกษาเป็นส�ำคัญ

๗.

๓.

๑.

รุ่นพี่ที่จัดกิจกรรมจะต้องได้รับการ คัดเลือก และมีการเตรียมความพร้อม พัฒนาทักษะก่อนการจัดกิจกรรม

๕.

ให้สถาบันอุดมศึกษามีการ ประเมิ น ผล และแลกเปลี่ ย น เรียนรู้การจัดกิจกรรมต้อนรับน้อง ใหม่และประชุมเชียร์ มีการยกย่องชมเชย นิสิตนักศึกษาที่มีการจัดกิจกรรมอย่าง สร้างสรรค์ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อ สาธารณชนในโอกาสอันควร

ให้สถาบันอุดมศึกษา รณรงค์ ประชาสั ม พั น ธ์ เ ปิ ด เผยรู ป แบบ ให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาออกกฎ กิจกรรม เพื่อสร้างความเข้าใจกับนิสิต ระเบียบ ข้อบังคับหรือหลักเกณฑ์และ นักศึกษา บุคลากร ผูป้ กครอง และประชาชน มาตรการในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้อง ทั่วไป ให้เข้าใจวัตถุประสงค์ นโยบายและ มาตรการ รวมทั้ ง มี ทั ศ นคติ ที่ ดี ต ่ อ กั บ แนวนโยบายของส� ำ นั ก งานคณะ กิ จ กรรมต้ อ นรั บ น้ อ งใหม่ แ ละ กรรมการการอุดมศึกษา ให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษา มี บ ท ประชุมเชียร์ ตลอดจนร่วมตรวจ ลงโทษทางวินยั อย่างเข้มงวดกับนิสติ ให้ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา สอบการ จัดกิจกรรมได้ นั ก ศึ ก ษา รวมถึ ง ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบและ แต่ ล ะสถาบั น ถื อ เป็ น หน้ า ที่ แ ละ ผูเ้ กีย่ วข้องในการจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ ความรับผิดชอบในการด�ำเนินการตาม และประชุมเชียร์ของนิสิตนักศึกษาที่ขัด นโยบายและมาตรการข้างต้นอย่าง ต่อหลักสิทธิมนุษยชนขัน้ พืน้ ฐาน หลัก เคร่งครัด ความเสมอภาค และกฎ ระเบียบ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาควรจั ด ตั้ ง ให้นิสิตนักศึ กษาใหม่ เข้ า ร่ ว ม ข้อบังคับ ของสถาบัน ศูนย์เฝ้าระวังผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อ กิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุม เชี ย ร์ ด ้ ว ยความสมั ค รใจ รวมทั้ ง เปิ ด ติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ไขปัญหา โอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามาสังเกตการณ์ และประสานกั บ สื่ อ มวลชนและ * จากประกาศส�ำนักงานคณะกรรมการ การจัดกิจกรรมได้ ผู้ปกครอง การอุดมศึกษา เรื่อง การจัดกิจกรรม

๔.

๒.

๘.

๖.

ต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ใน สถาบันอุดมศึกษา ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.