อนุสารอุดมศึกษา issue 459

Page 1

เอกสารเผยแพร่ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461


สารบัญ

CONTENT

๓ เรื่องพิเศษ

• สกอ. แนะแนวการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ • สถาบันอุดมศึกษากับธรรมาภิบาล

๘ เรื่องเล่าอุดมศึกษา • • • •

สกอ. เตรียมคัดเลือกนักศึกษารับรางวัลพระราชทานระดับอุดมศึกษา การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO RIHEO สกอ. พัฒนาการท�ำงานตามแบบ Lean Value Stream Mapping การประชุมประจ�ำปี สมาคมนักวิชาชีพไทย ในสหภาพยุโรปประจ�ำปี ๒๕๕๙ • ความร่วมมือ ไทย - มาเลเซีย

๑๖ เหตุการณ์เล่าเรื่อง ๑๘ เรื่องแนะน�ำ

• สกอ. ศึกษา Best Practice การจัดการศึกษาส�ำหรับคนพิการใน ระดับอุดมศึกษา ณ สหรัฐอเมริกา

๑๑

• ขอแสดงความยินดี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม • ขอแสดงความยินดี นายสุภัทร จ�ำปาทอง เลขาธิการ กกอ. คนใหม่

๒๐ เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๒

คณะผู้จัดท�ำ

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม นายขจร จิตสุขุมมงคล นางอรสา ภาววิมล นายวันนี นนท์ศิริ บรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ กองบรรณาธิการ นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด นางสาวกุลนันท์ ภูมิภักดิ์ พิมพ์ท ี่ บริษัท เอกพิมพ์ไท จ�ำกัด โทรศัพท์ : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๕๒ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๑ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๔๘๖ โทรสาร : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๐


เรื่อง

พิเศษ

สกอ. แนะแ นวการศึกษาต่อ อุดมศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้

พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธเี ปิดการประชุมแนะแนวการศึกษา ต่อระดับอุดมศึกษา ส�ำหรับเยาวชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ โรงแรมซากุระ แกรนด์ วิว อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายนที่ผ่านมา รั ฐ มนตรี ช ่ ว ยว่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร กล่ า วว่ า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในฐานะหน่วยงานหลัก ที่ท�ำหน้าที่ในการผลิตและพัฒนาก�ำลังคน เพื่อเป็นทรัพยากร มนุษย์ที่มีคุณภาพ ได้ริเริ่มโครงการเพื่อให้สอดรับกับนโยบาย การสนั บ สนุ น และเสริ ม สร้ า งโอกาสทางการศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริญญาตรีส�ำหรับเยาวชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ส่วนหนึ่งของ แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ โดยส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับผิดชอบ ด�ำเนินการภายใต้ชอื่ “โครงการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยการ สนั บ สนุ น ทุ น การศึ ก ษาและการด� ำ เนิ น งานโครงการหลั ก ๆ จ�ำนวน ๓ เรื่อง คือ ๑) การผลิตและพัฒนาอาจารย์และบุคลากร ส�ำหรับอุดมศึกษาของรัฐบาลทีต่ งั้ อยูใ่ นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒) การส่งเสริมให้เยาวชนในเขตพัฒนา พิเศษฯ ที่ส�ำเร็จการศึกษาระดับ ม.๖ หรือเทียบเท่าและยังไม่มีที่

ระดับ

เรียนได้ศกึ ษาต่อระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาทัว่ ประเทศ ๓) การส่งเสริมและสนับสนุนวิทยาลัยชุมชนเป็นกลไกในการ พั ฒ นาทั ก ษะอาชี พ ให้ แ ก่ เ ยาวชนและชุ ม ชนในพื้ น ที่ จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ ในการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา นัน้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำ� เนินโครงการทุน อุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสนับสนุน ทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้แก่เยาวชนทีม่ ภี มู ลิ ำ� เนาในเขต พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการเปิด โอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนในพื้นที่ ที่ไม่สามารถสอบเข้า ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา รวมทัง้ นักเรียนที่ สอบเข้าเรียนในสาขาวิชาขาดแคลนทีเ่ ป็นความต้องการของพืน้ ที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสถาบัน อุดมศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ ท�ำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สังคม พหุลักษณ์ พหุวัฒนธรรม ทั้งด้านชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรมทีแ่ ตกต่างจากภูมลิ ำ� เนาของตน และเป็นการเสริมสร้าง ให้นิสิต นักศึกษามีทัศนคติที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุ วัฒนธรรม โดยเมือ่ ส�ำเร็จการศึกษาแล้วสามารถน�ำความรูท้ ไี่ ด้รบั กลับไปพัฒนาท้องถิน่ ภูมลิ ำ� เนาของตนเอง นอกจากนีย้ งั เป็นการ เปิดโอกาสทางการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี โดยการสนับสนุน

3


ทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่มีผลการเรียนดี ความประพฤติดี ขาดแคลนทุนทรัพย์ และศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนตามความ ต้องการของพืน้ ที่ ซึง่ ก่อให้เกิดการสร้างศักยภาพในการประกอบ อาชีพและการมีงานท�ำในพื้นที่ของตนเองสืบต่อไป “จากผลการด�ำเนินงานการเสริมสร้างโอกาสทางการ ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีให้เยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เริ่มด�ำเนินงานมา ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบัน มีเยาวชนในเขตพัฒนาพิเศษฯ ที่ ส�ำเร็จการศึกษาระดับ ม.๖ หรือเทียบเท่าได้รับโอกาสเข้าศึกษา ต่อระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา เป็นจ�ำนวนถึง ๔,๑๐๔ คน ซึ่งจากการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการในระยะที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔ พบว่า นักศึกษาทุนที่ส�ำเร็จ การศึกษาแล้วมีงานท�ำมีจำ� นวนร้อยละ ๗๐.๓ และส่วนหนึง่ ศึกษา ต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก นักศึกษาทุนส่วนใหญ่ ส�ำเร็จการศึกษาในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มีงานท�ำ ร้อยละ ๗๔.๙ โดยพบว่าสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีงาน ท�ำร้อยละ ๖๕.๖ และสาขาวิทยาศาสตร์และสุขภาพ มีงานท�ำร้อยละ ๕๘.๐ ส่วนใหญ่ร้อยละ ๖๓.๑ ท�ำงานอยู่ในหน่วยงานเอกชน

4

ร้อยละ ๓๑.๔ ท�ำงานในหน่วยงานราชการ และร้อยละ ๕.๕ ท�ำธุรกิจส่วนตัว นักศึกษาทุนท�ำงานอยู่ในและนอกพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ไม่แตกต่างกันนัก คือ ร้อยละ ๕๐.๔ และร้อยละ ๔๙.๖ ตามล�ำดับ ทัง้ นี้ ยังพบว่านักศึกษาทุนร้อยละ ๙๖.๘ มีความ ต้องการกลับไปท�ำงานในภูมลิ ำ� เนาของตนเองด้วย” รัฐมนตรีชว่ ย ว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวใน ตอนสุดท้ายว่า การประชุมสัมมนาในวันนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ การแนะแนวทางเลือกในการศึกษาต่อของเยาวชนในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ เพือ่ สร้างแรงจูงใจในการศึกษาต่อในระดับทีส่ งู ขึน้ ทั้งนี้ เนื่องจากในปัจจุบัน ปัญหาการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษามีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งระบบการสอบ คัดเลือก รูปแบบการสอบ และก�ำหนดการสอบ ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อนักเรียนนักศึกษา และผู้ปกครอง ตลอดจนการจัดการเรียน การสอนในระดั บ การศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน ดั ง นั้ น กระทรวง ศึกษาธิการจึงมีแนวคิดในการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้า ศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งทัง้ ของรัฐและเอกชน โดยมี หลั ก การส� ำ คั ญ ๔ ประการ คื อ ๑) สร้ า งความเท่ า เที ย ม

อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

๒) ไม่เป็นภาระแก่นกั เรียนและผูป้ กครอง ทัง้ ค่าใช้จา่ ยและการวิง่ รอกสอบ ๓) ไม่กระทบต่อการเรียนของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปี ที่ ๖ และ ๔) นักเรียนมีโอกาสเลือกและสถาบันอุดมศึกษาได้ นักศึกษาตามความต้องการ ซึง่ การด�ำเนินงานในเรือ่ งดังกล่าว อยู่ ในระหว่ า งพิ จ ารณาหารื อ ร่ ว มกั บ ที่ ป ระชุ ม อธิ ก ารบดี แ ห่ ง

ประเทศไทย มหาวิทยาลัยราชภัฎ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคล และสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชน เพื่ อ จั ด เตรี ย มราย ละเอียดขององค์ประกอบต่าง ๆ ส�ำหรับด�ำเนินการร่างระบบ การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาตามหลักการข้าง ต้น เพือ่ ให้สามารถมีผลบังคับใช้ในปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นต้นไป

5


สถาบันอุดมศึกษา กับ ธรรมาภิบาล อุดมศึกษาเป็นส่วนส�ำคัญในการทีจ่ ะช่วยให้ประเทศไทยพัฒนา ไปข้างหน้าให้ทดั เทียมและแข่งขันได้กบั นานาอารยะประเทศ ความคาดหวัง ของรัฐบาล หน่วยงานทุกระดับ สังคมและประชาชน ทีอ่ ยากจะเห็นสถาบัน อุดมศึกษามีความเข้มแข็งปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีคุณภาพ เช่น จัดการ ศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐานเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและตรงกับความ ต้องการของประเทศ ผลิตงานวิจัยและพัฒนาที่มีคุณภาพสนับสนุน การพัฒนาประเทศ และอื่นๆ เพื่อสร้างความมั่นคงและความเข้มแข็งทาง เศรษฐกิจแก่ประเทศและสังคมท้องถิ่น แต่ในปัจจุบันพบว่า สถาบัน อุดมศึกษาหลายแห่งมีปญ ั หาในเรือ่ งธรรมาภิบาลและมีแนวโน้มจะมากขึน้ ด้วย ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงการบริหารสถาบันท�ำให้มีข้อร้องเรียนไปยัง หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องและมีการฟ้องร้องในศาล การจัดการศึกษาที่ ไม่มีคุณภาพท�ำให้การผลิตบัณฑิตไม่มีคุณภาพ งานวิจัยและพัฒนาไม่ได้ พัฒนา และภารกิจอืน่ ๆของสถาบันอุดมศึกษาด้วย ท�ำให้สถาบันอุดมศึกษา มีความอ่อนแอ ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ดีอย่างควรจะเป็น และส่งผล ท�ำให้ผลงานไม่มีคุณภาพไม่สามารถสนับสนุนการพัฒนาประเทศได้ทั้งที่ อุดมศึกษาเป็นส่วนส�ำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศในการผลิต ก�ำลังคนระดับสูง การผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมต่าง ๆ

6

อนุสาร


เรื่อง

พิเศษ

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในฐานะทีเ่ ป็นหน่วยงาน กลางและเป็นต้นสังกัดของสถาบันอุดมศึกษา ในขณะนี้จ�ำนวน ๑๕๖ แห่ง ทั้งสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ซึ่งต้องมีส่วนเกี่ยวข้องและเป็น ภาระมาก เช่น การรับเรือ่ งร้องเรียนต่างๆ ซึง่ มาทัง้ ทางตรงทีส่ ำ� นักงานเอง ผ่านมาทางบุคคลต่าง ๆ เช่น ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รองนายก รัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี และบุคคลอื่นๆ ตลอดจนจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น ส�ำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ส�ำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งสร้างภาระงานให้กับส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นอย่างมากภายใต้ความจ�ำกัดอัตราก�ำลัง และมีภาระงานทีส่ ำ� คัญหลายอย่างต้องด�ำเนินการ ซึง่ ในบางกรณีสำ� นักงาน คณะกรรมการอุดมศึกษาจะต้องเข้าไปมีสว่ นเข้าไปแก้ไข หากเป็นเรือ่ งใหญ่ และบางสถาบันไม่สามารถแก้ไขด้วยระบบและกลไกลของสถาบันเองได้ จึงเป็นทีม่ าอย่างหนึง่ ของการใช้มาตรา ๔๔ ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ ที่ ๓๙/๒๕๕๙ เรือ่ ง การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาล ในสถาบันอุดมศึกษา การใช้กฎหมายอาจจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ ปัญหาธรรมาภิบาลนั้นสาเหตุมาจากคน ท�ำอย่างไรที่จะให้คนของสถาบัน อุดมศึกษามีธรรมาภิบาล หากบุคลากรทุกระดับของสถาบันอุดมศึกษามี ธรรมาภิบาลจะสามารถท�ำให้สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติภารกิจได้อย่างมี คุณภาพ และมีการพัฒนาไปข้างหน้า กฎหมายก็ไม่มีความจ�ำเป็นต้องใช้ เลยก็ได้ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

7


สกอ. เตรียมคัดเลือกนักศึกษา พระราชทาน ระดับอุดมศึกษา

นางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เป็นประธานเปิด การประชุมสัมมนาการคัดเลือกนักศึกษา เพื่ อ รั บ รางวั ล พระราชทาน ระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ณ โรงแรมเอเชี ย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ที่ผ่านมา เลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้รับมอบหมายจากกระทรวงศึกษาธิการให้ด�ำเนินการคัดเลือกนิสิต นักศึกษา ระดับอุดมศึกษา ที่มีผลการเรียน กิจกรรม และมีผลงานดีเด่น เพื่ อ เข้ า รั บ พระราชทานเกี ย รติ บั ต ร เข็ ม เชิ ด ชู เ กี ย รติ และเงิ น รางวั ล พระราชทาน โดยได้ด�ำเนินการโครงการตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๗ เป็นประจ�ำต่อเนื่องทุกปีการศึกษาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งงานคัดเลือกนักศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชทานนี้ ถือเป็นงานที่ด�ำเนินการเพื่อสนองพระ ราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทีท่ รงยินดีพระราชทานรางวัล ให้นกั เรียน นักศึกษาทีม่ คี วามประพฤติดี และมีความมานะพยายามในการ ศึกษาเล่าเรียน โดยถือเป็นภารกิจส�ำคัญของกระทรวงศึกษาธิการที่ปฏิบัติ สืบต่อมาช้านาน เพราะนอกจากจะเป็นโอกาสอันดีในการท�ำกิจกรรมที่ สนองพระราชปรารภของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว แล้ ว รางวั ล พระราชทานยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนามาตรฐานคุณภาพการ ศึกษาของชาติให้ดียิ่งขึ้นด้วย ซึ่งเป็นที่ตระหนักชัดว่าพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทรงเล็งเห็นความส�ำคัญในการ ส่งเสริมการศึกษาของชาติ รวมทัง้ ทรงพระราชทานขวัญก�ำลังใจแก่นกั เรียน นักศึกษาที่มีความประพฤติดี มีผลการเรียนดี มีคุณธรรม จริยธรรม ที่สมควรเป็นต้นแบบของเยาวชนของชาติต่อไป

8

เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า การคัดเลือกนักศึกษา รวมไปถึง นักศึกษาพิการเพือ่ รับรางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา จึงถือเป็นหนึง่ ในพันธกิจที่ส�ำคัญของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ต้องให้ ความส�ำคัญในกระบวนการ และขัน้ ตอนการคัดเลือกนักศึกษาทีม่ คี วามโดดเด่น ทั้งในด้านกิจกรรม/ผลงาน จิตอาสา มีความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งสถาบัน อุดมศึกษาจะต้องตระหนักถึงความส�ำคัญในการคัดเลือกนักศึกษาที่เป็น ตัวแทนของสถาบันให้มีความเพียบพร้อมตามคุณสมบัติครบทุกด้าน รวม ทั้งควรให้ความส�ำคัญในการเตรียมผลงานของนักศึกษา การจัดส่งผลงาน การเตรียมความพร้อมในการสัมภาษณ์ และการน�ำเสนอผลงานให้เป็นที่ ประจักษ์ต่อคณะอนุกรรมการประเมินฯ เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะ พืน้ ฐานและกิจกรรมผลงานทีโ่ ดดเด่นทีส่ มควรจะได้รบั รางวัลพระราชทาน ประเด็นส�ำคัญที่ควรตระหนัก คือ ขั้นตอนและกระบวนการในการด�ำเนิน การคัดเลือกนักศึกษาเพื่อเป็นตัวแทนของสถาบัน รวมถึงกระบวนการ ประเมิ น และคั ด เลื อ กนั ก ศึ ก ษาเพื่ อ รั บ รางวั ล พระราชทานของคณะ อนุกรรมการประเมินและคัดเลือกนักศึกษา ระดับเขต/ภูมิภาค และของ คณะอนุกรรมการประเมินและคัดเลือกนักศึกษาพิการฯ ควรจะต้องให้ ความส�ำคัญในการประเมินและคัดเลือกนักศึกษาโดยค�ำนึงถึงคุณลักษณะ ในทุก ๆ ด้านของนักศึกษาทีส่ มควรจะได้รางวัลพระราชทาน ประกอบด้วย ด้านความรู้และสามารถ ด้านทักษะความเป็นนักคิด นักบริหารจัดการ ทักษะการเป็นผู้น�ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งด้านบุคลิกอุปนิสัยเป็นผู้ที่มีจริยธรรมและค่านิยมที่ดีงามอยู่ใน พืน้ ฐานของจิตใจ เช่น การมีจติ อาสา การมีวนิ ยั ในตนเอง มีความรับผิดชอบ อนุสาร


รับรางวัล

ต่อตนเองและสังคม มีความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข รวมถึงการมีทัศนคติและค่านิยมเพื่อการ ปฏิสัมพันธ์ที่ดี ตลอดจนการมีจิตส�ำนึกในจริยธรรมสากล โดยคุณลักษณะ ด้านต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นองค์ประกอบพืน้ ฐานทีอ่ ยากจะให้สถาบันอุดมศึกษา ให้ความส�ำคัญ และตระหนักถึงกระบวนการในการคัดเลือกนักศึกษาที่ สมควรจะได้รับรางวัลพระราชทานในนามสถาบัน เพื่อเข้ารับการประเมิน ในระดับเขต/ภูมิภาคต่อไป

เรื่อง

พิเศษ

ซึง่ ความภาคภูมใิ จในความร่วมมือร่วมใจกันของคณะกรรมการฯ และคณะ อนุ ก รรมการฯ ในการคั ด เลื อ กและประเมิ น นั ก ศึ ก ษาเพื่ อ รั บ รางวั ล พระราชทานครั้งนี้ นับได้ว่าเป็นงานที่มีเกียรติ เป็นสิริมงคล สมควรที่ ผูเ้ กีย่ วข้องทุกฝ่ายจะต้องด�ำเนินการด้วยความรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การคัดเลือกนักศึกษาเพื่อเสนอชื่อเข้ารับรางวัลพระราชทานในระดับ สถาบันอุดมศึกษาในแต่ละเขต/ภูมภิ าค ซึง่ คณะอนุกรรมการประเมิน และ คัดเลือกนักศึกษาฯในระดับเขต/ภูมิภาค และคณะอนุกรรมการประเมิน และคัดเลือกนักศึกษาพิการฯ จะต้องให้ความส�ำคัญในกระบวนการประเมิน อย่างมีหลักเกณฑ์ บริสุทธิ์ ยุติธรรม มีใจเป็นกลาง ไม่โน้มเอียงไป ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการฯ ควรใช้ดุลพินิจใน การพิจารณาตัดสินผลการคัดเลือกอย่างถูกต้อง และเป็นธรรมตาม หลักเกณฑ์และแนวปฏิบตั ทิ สี่ ำ� นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาก�ำหนด เพื่ อ ให้ ไ ด้ นั ก ศึ ก ษาที่ ส มควรได้ รั บ รางวั ล พระราชทานอย่ า งแท้ จ ริ ง เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนสุดท้าย

9


แผนปฏิบัติงานโครงการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๙ วัน / เดือน / ปี

การด�ำเนินงาน

๙ กันยายน ๒๕๕๙

- จัดประชุมสัมมนาโครงการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา ณ โรงแรมเอเชียกรุงเทพ ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

กันยายน ๒๕๕๙

- สกอ. แจ้งสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด เรื่องการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อเข้ารับรางวัลพระราชทานฯ ระดับอุดมศึกษา ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๙

ธันวาคม ๒๕๕๙

- สกอ.โอนเงินงบประมาณด�ำเนินการให้ประธานคณะอนุกรรมการประเมินฯ ระดับภาค (ภายในเดือนธันวาคม ๒๕๕๙)

๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๙ (วันสุดท้าย)

- สถาบันอุดมศึกษาส่งรายชื่อนักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ โดยส่งเอกสาร พร้อมหลักฐานต่าง ๆ ให้ประธานคณะ อนุกรรมการประเมินฯระดับภาค ภายในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๙ โดยถือตราประทับไปรษณีย์เป็นส�ำคัญ และส่งข้อมูลเข้าระบบ ผ่านเว็ปไซต์ สกอ.ได้จนถึงเวลา ๒๔.๐๐ น. ของวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๙ (หากพ้นก�ำหนดถือว่าสละสิทธิ์)

มกราคม ๒๕๖๐

- ประชุมคณะกรรมการด�ำเนินงานคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานฯ (สกอ.) - ประชุมคณะอนุกรรมการประเมินฯ ระดับเขต/ภูมิภาค - ด�ำเนินการประเมินและคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานฯ ระดับเขต/ภูมิภาค

๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (วันสุดท้าย)

- คณะอนุกรรมการประเมินและคัดเลือกนักศึกษาฯ ระดับเขต/ภูมิภาค ส่งสรุปผลคะแนนการพิจารณา และเอกสารประกอบการคัดเลือกให้ สกอ. ภายในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐

- ประชุมคณะกรรมการด�ำเนินงานคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานฯ (สกอ.) เพื่อตรวจสอบ และสรุปผลการคัดเลือกนักศึกษาที่ได้ รับรางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๙

๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐

- สกอ. ส่งผลการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา ให้ส�ำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

เม.ย.-พ.ค. ๒๕๖๐

- กระทรวงศึกษาธิการออกประกาศผลการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษา และ สถานศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชทานประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๙

ก.ค. ๒๕๖๐

- นักศึกษาเข้ารับพระราชทานรางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๙

หมายเหตุ แผนปฏิบัติงานอาจจะมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

สถาบันอุดมศึกษาที่นักศึกษาได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา จ�ำนวน ๓ ปีการศึกษาขึ้นไป และได้รับโล่เชิดชูเกียรติวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๙ รายชื่อสถาบันอุดมศึกษา

๒๕๔๗ ๒๕๔๘

๒๕๔๙

๒๕๕๐

๒๕๕๑

๒๕๕๒

๒๕๕๓

๒๕๕๔

๒๕๕๕

๒๕๕๖

๒๕๕๗

๒๕๕๘

๑. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๒. มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี ๓. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ๔. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ๕. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ๖. วิทยาลัยนครราชสีมา

สถาบันอุดมศึกษาที่นักศึกษาพิการได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา และได้รับโล่เชิดชูเกียรติวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๙

รายชื่ อสถาบันอุ ดมศึกษา ปี ๒๕๕๘

๑. ๒.

มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

10

๓.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

๔.

วิทยาลัยชุมชนสตูล

๕.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO RIHED นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาและประธาน คณะกรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO RIHED เป็น ประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO RIHED ครัง้ ที่ ๒๔ ซึง่ มีผเู้ ข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย กรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO RIHED จากประเทศกัมพูชา สปป. ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลปิ ปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม และ บรูไนดารุสซาลาม และได้รบั เกียรติจาก H.E. Mr. Youk Ngoy รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการศึกษา การกีฬาและเยาวชน กัมพูชา มาร่วมในพิธเี ปิด การประชุมด้วย ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เมือ่ วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาการ กีฬาและเยาวชน กัมพูชา กล่าวว่า กัมพูชาให้ ความส�ำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากร มนุษย์ในระยะยาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ อุดมศึกษา ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดท�ำแผนการ พั ฒ นาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ เ พื่ อ รองรั บ การ เปลี่ยนแปลงในระยะยาวซึ่งจ�ำเป็นต้องอาศัย ความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภายใน ประเทศและจากต่างประเทศ

เลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า การประชุมใน ครั้งนี้ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าในการด�ำเนิน โครงการ/กิจกรรมประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ของ ศูนย์ฯ ในการส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือด้าน อุดมศึกษาในระดับภูมภิ าคในเชิงรุกโดยมีกจิ กรรม หลักทีส่ ำ� คัญทีด่ ำ� เนินการมาอย่างต่อเนือ่ ง อาทิ เช่น ๑) Meeting of Directors General/Secretary General/Commissioner of Higher Education in Southeast Asia ๒) โครงการ “SEAMEO RIHED International Workshop on Internationalization and Academic Exchanges: “Embracing the New Normal for IZN: Quality Mobility” ส�ำหรับโครงการริเริม่ ใหม่เพือ่ พัฒนาศักยภาพของผูบ้ ริหารระดับสูงทีไ่ ด้ ด�ำเนินการ ได้แก่ โครงการ “The Presidents’ Forum on Strategic Leadership for New Normal Leaders” และโครงการ “Academic Credit Transfer Framework for Asia (ACTFA) Technical Workshops” ซึง่ เป็นโครงการน�ำร่อง ทีม่ งุ่ เน้นการพัฒนาคุณภาพการจัดการอุดมศึกษา และสร้างระบบถ่ายโอนหน่วยกิตในกลุม่ ประเทศ อนุภูมิภาคลุ่มน�้ำโขง นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้

กล่าวถึงความคืบหน้าในการด�ำเนินโครงการ ASEAN International Mobility for Students เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่าง ประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย การประชุ ม ครั้ ง นี้ ถื อ เป็ น การเข้ า ร่ ว ม ประชุ ม ครั้ ง แรกของกรรมการบริ ห ารศู น ย์ SEAMEO RIHED ทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ แทนผูแ้ ทน ชุดเดิมที่ได้หมดวาระแล้วจากประเทศบรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย และไทย และได้มี การก� ำ หนดการประชุ ม ส� ำ คั ญ ที่ จ ะจั ด ขึ้ น ใน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้แก่ การสัมมนาเรือ่ ง University Social Responsibility (CSR) and Community Services ซึง่ มีกำ� หนดจัดในเดือน มีนาคม ๒๕๖๐ และการสัมมนาเรือ่ ง SEAMEO RIHED Platform for Southeast Asia Higher Education Leaders ซึ่งมีก�ำหนดจัดในเดือน มิ ถุ น ายน ๒๕๖๐ ส� ำ หรั บ การประชุ ม คณะ กรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO RIHED ครัง้ ที่ ๒๕ (25th SEAMEO RIHED Governing Board) มีกำ� หนดจัดขึน้ ณ ประเทศอินโดนีเซีย ประมาณ เดือนสิงหาคมหรือกันยายน ๒๕๖๐

11


สกอ. พัฒนาการท�ำงานตามแบบ Lean Value Stream Mapping

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เปิดการประชุมการพัฒนา งานของส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา โดยใช้แนวทางการท�ำงานแบบ Lean Value Stream Mapping ณ ห้อง ประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร อาคารอุ ด มศึ ก ษา ๑ ส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๙ ทีผ่ า่ นมา รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า จาก วิ สั ย ทั ศ น์ ข องส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ทีก่ ำ� หนดไว้วา่ “สกอ.เป็น องค์กรหลักทีช่ นี้ ำ� การพัฒนาอุดมศึกษาไทย ให้ เ ป็ น พลั ง สร้ า งสรรค์ สั ง คมไทยอย่ า ง ยัง่ ยืน” การท�ำงานให้บรรลุวสิ ยั ทัศน์ และ ประสบความส�ำเร็จต้องอาศัยผูบ้ ริหารและ บุ ค ลากรของส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาทีล่ งมือ ร่วมแรง และรวม ก�ำลัง ท�ำงานด้วยกันเป็นทีม ใช้ความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ทสี่ งั่ สมมาใน การท�ำหน้าทีข่ องส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา ซึ่ ง จะส่ ง ผลดี กั บ ระบบ อุดมศึกษา และเนือ่ งจากสถาบันอุดมศึกษา ที่ สกอ. ต้องสนับสนุนมีทงั้ รัฐ และเอกชน จ�ำนวนมากกว่า ๑๕๐ สถาบัน มีบริบท และอัตลักษณ์ทแี่ ตกต่างกัน การด�ำเนินงาน ทีเ่ กีย่ วข้องกับสถาบันอุดมศึกษามีหลายด้าน ได้แก่ นโยบายและแผน การก�ำกับติดตาม หลั ก สู ต รและมาตรฐานการอุ ด มศึ ก ษา

12

นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนส่งเสริมใน โครงการ ต่าง ๆ ทั้งโครงการริเริ่ม และ โครงการประจ�ำต่อเนื่อง บุคลากรของ สกอ. แต่ละคนจึงมีบทบาท หน้าที่ ภาระ งานที่ รั บ ผิ ด ชอบแตกต่ า งกั น และต้ อ ง ท�ำงานประสาน สอดคล้อง สัมพันธ์กนั เพือ่ ให้งานราบรืน่ ต่อเนือ่ ง อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจ�ำเป็นต้องมีวิธีการท�ำงานที่ดี หรือการแสวงหาทางเพิม่ ประสิทธิภาพใน การท�ำงาน เพือ่ ทีจ่ ะท�ำให้งานประสบความ ส�ำเร็จ และท�ำงานอย่างมีความสุข รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า การท�ำให้งานมีประสิทธิภาพจึงมีในสอง ลักษณะคือ บุคคลแต่ละคน และการวาง ระบบงานให้สอดประสานสัมพันธ์กนั ทัง้ การพัฒนาบุคลากรแต่ละคนทีม่ อี ตั ลักษณ์ เฉพาะบุคคล และระบบหน้าทีก่ ารท�ำงาน มีความส�ำคัญทั้งสองส่วน ดังนั้น การน�ำ แนวทางการท�ำงานแบบ Lean Value Stream Mapping มาใช้ในการพัฒนางาน ของ สกอ. คือ วิเคราะห์งาน และท�ำการ วางกระบวนการท�ำงาน ของบุคคล และ หน่วยงาน ให้สอดคล้องกับวิสยั ทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย โดยการสะท้อนออกมาเป็นดัชนี ชีว้ ดั ทีส่ อดคล้อง เหมาะสม ทัง้ รายบุคคล และองค์กรเพื่อท�ำให้งานมีความรวดเร็ว ลดขั้นตอนที่ไม่จ�ำเป็น เพิ่มความถูกต้อง และส่งผลดีต่อวิสัยทัศน์ เป้าหมายของ องค์กร การพัฒนาการท�ำงานโดยใช้ Lean Value Stream Mapping เป็นเครือ่ งมือ

ในการสนับสนุนการพัฒนางานนี้ ทุกคนใน องค์กรมีอสิ ระในการแนะน�ำ และแสวงหา วิธกี ารเพิม่ ประสิทธิภาพในการท�ำงานร่วม กัน การประชุ ม การพั ฒ นางานของ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยใช้ แ นวทางการท� ำ งานแบบ Lean Value Stream Mapping ในครั้งนี้ ได้รับ เกียรติจาก รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ เชิดชัย นพมณีจ�ำรัสเลิศ รองผู้อ�ำนวยการ โรงพยาบาลศิรริ าช เป็นวิทยากรให้ความรู้ การใช้ รู ป แบบการท� ำ งานแบบ Lean Value Stream Mapping ในการพัฒนา งานของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ทมี่ ชี อื่ เสียง ของประเทศ ทั้ ง ในด้ า นวิ ช าการและ บริ ห ารส� ำ นั ก งานให้ มี ค วามคล่ อ งตั ว รวดเร็ ว ถู ก ต้ อ งและมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพที่ สามารถน�ำมาเป็นตัวอย่างและประสบการณ์ ทีด่ ใี นการปรับใช้ในส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาได้ตอ่ ไป

อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

ย ี ซ เ ล เ า ม – ย ท ือ ไ

ม ม ว ่ ร ม ควา

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม คณะท� ำ งานร่ ว มด้ า นการอุ ด มศึ ก ษาระหว่ า งประเทศไทยกั บ ประเทศ มาเลเซีย ครั้งที่ ๔ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลนโยบายและเจรจาโครงการความ ร่วมมือด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาระหว่างประเทศไทยและประเทศ มาเลเซีย โดยมีรองศาสตราจารย์บัณฑิต ทิพากร รองเลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เป็นผูน้ ำ� คณะผูแ้ ทนไทย และ Datuk Prof. Asma Binti Ismail Director-General, Department of Higher Education เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา ประเทศมาเลเซีย ณ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา รองเลขาธิการ กกอ. เปิดเผยว่า การประชุมคณะท�ำงานร่วมด้าน การอุดมศึกษาระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ในครั้งนี้ได้มีการ แลกเปลี่ยนข้อมูลนโยบายและแนวทางการพัฒนาการอุดมศึกษาของทั้ง สองประเทศและตกลงทีจ่ ะด�ำเนินโครงการความร่วมมือจ�ำนวน ๒ โครงการ ได้แก่ ๑. โครงการ Malaysia-Thailand Graduate Employability Enhancement Program ซึง่ เป็นโครงการแลกเปลีย่ นนักศึกษาทีเ่ น้นการ ฝึกงานในสถานประกอบการ โดยนักศึกษาไทยที่เข้าร่วมโครงการจะมี โอกาสในการศึกษา ท�ำวิจัยและฝึกงาน ณ ประเทศมาเลเซีย ในขณะที่ นักศึกษามาเลเซียที่เข้าร่วมโครงการจะเดินทางมาเข้าร่วมโครงการใน ประเทศไทย

๒. โครงการ Task Force on Bilateral Qualifications Reference โดยทัง้ สองประเทศตกลงทีจ่ ดั ตัง้ คณะท�ำงานเฉพาะกิจเพือ่ รับรองหน่วยกิต และคุณวุฒริ ว่ มกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย และประเทศอืน่ ๆ ที่ ใ ห้ ค วามสนใจ การรั บ รองหน่ ว ยกิ ต และคุ ณ วุ ฒิ ร ่ ว มกั น จะเป็ น การ สนับสนุนเป้าหมายของ ASEAN Qualification Reference Framework และการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน นอกจากนี้ ทั้ ง สองประเทศตกลงที่ จ ะส่ ง เสริ ม การแลกเปลี่ ย น นักศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาระหว่างกันให้มากขึ้น โดยภายใน ปี ๒๕๖๒ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้กำ� หนดเป้าหมายทีจ่ ะ เพิ่มจ�ำนวนนักศึกษาและบุคลากรไทยที่เดินทางไปแลกเปลี่ยนในมาเลเซีย จ�ำนวน ๒๕๐ คน ในขณะที่ กระทรวงการอุดมศึกษา ประเทศมาเลเซีย ได้ ก�ำหนดเป้าหมายให้มนี กั ศึกษาและบุคลากรมาเลเซียเดินทางมาแลกเปลีย่ น ในไทยอย่างน้อย ๓๕๐ คน รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้าย อนึ่ง ที่ประชุมตกลงให้มีการจัดการประชุมครั้งต่อไปในปี ๒๕๖๒ และกระทรวงการอุดมศึกษา ประเทศมาเลเซียจะเป็นเจ้าภาพในการจัด ประชุม

13


การประชุ มประจ�ำปี สมาคมนักวิชาชี พไทย ในสหภาพยุ โรป ประจ�ำปี ๒๕๕๙ ส�ำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจ�ำ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ประจ�ำปีของสมาคมนักวิชาชีพไทยในภูมภิ าคยุโรป ประจ�ำปี ๒๕๕๙ (ATPER 2016) ร่วมกับคณะกรรมการบริหารสมาคมนักวิชาชีพไทย ในภูมภิ าคยุโรป (The Association of Thai Professional in European Region: ATPER) ซึง่ เป็นการประชุมวิชาการในหัวข้อ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายใต้ ๑๐ อุตสาหกรรม หลัก (S-Curve Industry) ผูเ้ ข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ผูแ้ ทน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้แทนส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา ข้าราชการของหน่วยงานต่าง ๆ ประจ�ำ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ และนักวิชาชีพไทยในภูมภิ าค ยุโรป โดย นางบุษยา มาทแล็ง เอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ และนายอลงกรณ์ เหล่างาม ผูต้ รวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ร่วมเป็นประธานเปิดการประชุมฯ ซึ่งจัดขึ้นใน ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๑ กันยายน ๒๕๕๙ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศ เบลเยีย่ ม

14

และได้รบั เกียรติจาก รองศาสตราจารย์บณ ั ฑิต ทิพากร รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นผูก้ ล่าวปาฐกถา พิเศษ เกีย่ วกับนโยบาย ทิศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ ประเทศไทยและการสร้ า งความร่ ว มมื อ ด้ า นการถ่ า ยทอด วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ประเทศไทยเพื่อรองรับนโยบาย S-Curve Industry และโครงการ Thailand ๔.๐ ร่วมกับ รองศาสตราจารย์วรี ะศักดิ์ อุดมกิจเดชา รองผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ นายกสมาคม ATPER (นางกฤษณา รุง่ เรืองศักดิ์ ทอร์รสิ สัน) ได้รายงานผลการด�ำเนินงานของสมาคมในรอบปีที่ผ่านมาและมี การน�ำเสนอผลงานด้านการวิจยั ของสมาชิก ATPER ในประเด็นที่ เกีย่ วข้องกับ S-Curve Industry ๑๐ กลุม่ เป้าหมายของประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อจั ฉริยะ (Smart Electronics) อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่ม รายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิง สุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism) การเกษตรและเทคโนโลยี ชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) อุตสาหกรรมการ แปรรูปอาหาร (Food for the Future) อุตสาหกรรมหุน่ ยนต์ (Robotics) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติ กส์ (Aviation and Logistics) อุตสาหกรรมเชือ้ เพลิงชีวภาพและ เคมีชวี ภาพ(Biofuels and Biochemicals) อุตสาหกรรมดิจติ อล (Digital) และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมการประชุมยังได้แลกเปลี่ยนความรู้ เกีย่ วกับผลการวิจยั และน�ำเสนอแนวทางในการด�ำเนินความร่วมมือ ของสมาคมนักวิชาชีพไทยในภูมภิ าคยุโรปกับหน่วยงานของไทยให้

มีความยัง่ ยืน เพือ่ ถ่ายทอดองค์ความรูแ้ ละวิทยาการทีเ่ หมาะสมสู่ หน่วยงานทัง้ ภาครัฐและภาคเอกชนของไทย โดยทีป่ ระชุมมีขอ้ เสนอ แนะให้สมาคม ATPER จัดท�ำข้อเสนอโครงการทีม่ กี ารด�ำเนินการ อย่างยัง่ ยืนหรือระยะยาวทีม่ ผี ลกระทบกับประเทศไทยในหลายมิติ และมีหลายหน่วยงานมาท�ำงานร่วมกัน โดยเฉพาะประเด็นทีช่ ว่ ย ตอบโจทย์ ใ นการพั ฒ นาวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ข อง ประเทศไทยในด้านต่าง ๆ ภายใต้ ๑๐ อุตสาหกรรมหลัก (S-Curve Industry) โดยประสานงานผ่านส�ำนักงานทีป่ รึกษาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีประจ�ำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ เพือ่ พิจารณาคัดเลือกโครงการและเสนอไปยังหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องใน ประเทศไทยด�ำเนินการต่อไป โดยขอให้นักวิชาชีพของสมาคม ATPER ช่วยด�ำเนินกิจกรรมสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการ ระหว่างองค์กรในภูมภิ าคยุโรปกับหน่วยงานของไทย เพือ่ ผลักดัน แนวทางการพัฒนาประเทศตามนโยบาย S-Curve Industry และ Thailand ๔.๐ ของรัฐบาลไปสูค่ วามเป็นรูปธรรมมากยิง่ ขึน้

15


สกอ. ศึกษา Best Practice การจัดการศึกษาส�ำหรับคนพิการ ในระดับอุดมศึกษา ณ สหรัฐอเมริกา

16

อนุสาร


เหตุการณ์

เล่าเรื่อง

นายขจร จิ ต สุ ขุ ม มงคล รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ได้เป็นหัวหน้าคณะเดินทาง น�ำผู้บริหารสถาบัน อุดมศึกษาในสังกัดและก�ำกับส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การจั ด การศึ ก ษาส� ำ หรั บ คนพิ ก ารในระดั บ อุดมศึกษา ประจ�ำปี ๒๕๕๙ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ ด้านการศึกษาส�ำหรับคนพิการ และคณะท�ำงานพัฒนาบุคลากร ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การจั ด การศึ ก ษาส� ำ หรั บ คนพิ ก ารในสถาบั น อุดมศึกษา รวมจ�ำนวน ๒๕ คน เดินทางไปฝึกปฏิบัติและศึกษา ดูงานในสถาบันอุดมศึกษาที่เป็น Best Practice ด้านการจัดการ ศึกษาส�ำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ณ สหรัฐอเมริกา ใน ระหว่างวันที่ ๔ - ๑๐ กันยายน ๒๕๕๙ Best Practice ด้านการจัดการศึกษาส�ำหรับคนพิการใน ระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย - San Diego State University (SDSU) - University of California , Los Angeles (UCLA) - California State University Northridge (CSUN) - The Los Angeles Community College ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่จัดขึ้นเป็นประจ�ำ โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาที่มีนักศึกษา พิการศึกษาเล่าเรียนอยู่ ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และได้เห็น รูปแบบของการปฏิบัติงานจากหน่วยงานที่ประสบความส�ำเร็จ ตั้งแต่ขั้นตอนการรับนักศึกษาพิการเข้าสู่สถาบัน การจัดบริการ ทางการศึกษาเพื่อลดอุปสรรคของความพิการ และการผลักดัน สู่การมีงานท�ำ เดินทางไปฝึกปฏิบัติและศึกษาดูงานในครั้งนี้ จะช่วยเป็น แรงผลักดันให้ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาได้ตระหนักถึงความ ส� ำ คั ญ ของการจั ด การศึ ก ษาเพื่ อ คนพิ ก าร และสามารถน� ำ แนวทางการด� ำ เนิ น งานไปปรั บ ปรุ ง และประยุ ก ต์ ใช้ ใ นการ ก� ำ หนดนโยบายและการจั ด บริ ก ารเพื่ อ สนั บ สนุ น การศึ ก ษา ส�ำหรับนักศึกษาพิการในสถาบันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ซึ่งจะช่วยส่งผลให้นักศึกษาพิการได้รับโอกาสและมีสิทธิ เข้าถึงการศึกษาได้เท่าเทียมกับคนทั่วไป และสามารถประกอบ อาชี พ ได้ โ ดยไม่ เ ป็ น ภาระต่ อ ครอบครั ว และสั ง คม รวมทั้ ง ยั ง เป็ น การพั ฒ นาการจั ด การศึ ก ษาให้ มี ค วามทั ด เที ย มกั บ ต่างประเทศในอนาคต ประการส�ำคัญจะเป็นส่วนที่ช่วยให้เกิด การจัดตั้งศูนย์บริการนักศึกษาพิการ (DSS Center) ในสถาบัน อุดมศึกษาให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

17


ขอแสดงความยินดี

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คนใหม่

ประวัติการรับราชการ

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สรนิต ศิลธรรม ข้าราชการพลเรือนสามัญ พ้นจากต�ำแหน่ง รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และแต่งตัง้ ให้ดำ� รงต�ำแหน่ง ปลัดกระทรวง กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง ๒๗ กันยายน ๒๕๕๙)

๒๕๒๗ – ๒๕๓๔ ๒๕๓๕ – ๒๕๕๐ ๒๕๕๐ – ๒๕๕๘ ๒๕๕๘ ๒๕๕๙

กระทรวงสาธารณสุข (โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลด่านช้าง สุพรรณบุรี โรงพยาบาลเสนา พระนครศรีอยุธยา) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พนักงานมหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ต�ำแหน่งบริหาร ประวัตกิ ารศึกษา

๒๕๒๔ ๒๕๒๗ ๒๕๓๓

วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล วุฒบิ ตั รศัลยศาสตร์ทวั่ ไป คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ๒๕๓๗-๘ Jaycee Burn Center, Department of Surgery, University of North Carolina at Chapel Hill, North Carolina, USA – Certificate in Research Fellow in Burn and Trauma ๒๕๓๘ Department of Surgery, State University of New York at Syracuse, New York ๒๕๔๓ ประกาศนียบัตรหลักสูตรผูบ้ ริหาร สถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ๒๕๔๕ วุฒบิ ตั รเวชศาสตร์ฉกุ เฉิน (Critical Care) ๒๕๔๕ วุฒบิ ตั รเวชศาสตร์ครอบครัว ๒๕๕๑ หลักสูตรนักบริหารระดับสูงมหาวิทยาลัย นบม. ๑๙ ๒๕๕๑ ปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักณ วปอ. รุน่ ๕๑

18

๒๕๔๓ ๒๕๔๕ ๒๕๔๗ ๒๕๔๙ ๒๕๕๐ ๒๕๕๐ ๒๕๕๔ ๒๕๕๕ ๒๕๕๘

กรรมการการแพทย์ และกรรมการบริหาร คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา รองคณบดีฝ่ายนโยบายและแผน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รองคณบดีฝ่ายนโยบายและสารสนเทศ คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล รองคณบดีฝ่ายการศึกษาก่อนปริญญา รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้อ�ำนวยการศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล Director of PENSA center (Parenteral and Enteral Society of Asia) นายกสมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดด�ำและ ทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย (SPENT = Society of Parenteral and Enteral Nutrition of Thailand รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อนุสาร


เรื่อง

แนะน�ำ

ขอแสดงความยินดี นายสุภัทร จ�ำปาทอง เลขาธิการ กกอ. คนใหม่

นายสุภัทร จ�ำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ นายสุภัทร จ�ำปาทอง ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พ้นจากต�ำแหน่ง รองปลัดกระทรวง ส�ำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ตั้งแต่ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๒๐๔ ง ๑๒ กันยายน ๒๕๕๙)

ประวัตกิ ารศึกษา

สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) สาขาสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) สาขาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง

ประวัติการรับราชการ ๒๕๓๑ ๒๕๔๖ ๒๕๔๘ ๒๕๕๑ ๒๕๕๕ ๒๕๕๖ ๒๕๕๗ ๒๕๕๘ ๒๕๕๘

สถาปนิก ๓ กองพัฒนาอาคารสถานที่กรมฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ สถาปนิก ๘ วช ส�ำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ นักวิชาการศึกษา ๘ ว ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงสึกษาธิการ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

19


๑๒ กันยายน ๒๕๕๙ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา น�ำคณะผู้บริหารส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาสหทัยสมาคมในพระบรมมหาราชวัง

20

อนุสาร


เล่าเรื่อง

ด้วยภาพ

21


22

๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส่งมอบ งานในหน้าที่ราชการ ต�ำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้แก่ นายขจร จิตร สุขุมมงคล อนุสาร รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

๒๙ กันยายน ๒๕๕๙ - งานแสดงมุทติ าจิตผูเ้ กษียณอายุราชการ

ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูนำ�้ กรุงเทพมหานคร

23


ผู้เกษียณอายุราชการ

ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (บริหาร ระดับสูง)

นางสาวฐิติรัตน์ รักสมยา นักทรัพยากรบุคล ระดับช�ำนาญการ ส�ำนักอ�ำนวยการ

นางไพริน ขันอาสา นักทรัพยากรบุคล ระดับช�ำนาญการ ส�ำนักอ�ำนวยการ

นางสาวสุนันทา ปิ่นโมรา นักวิชาการพัสดุ ระดับช�ำนาญการ ส�ำนักอ�ำนวยการ

นางสาวทิวาพร เอี่ยมโต นักจัดการงานทั่วไป ระดับช�ำนาญการ ส�ำนักอ�ำนวยการ

นางสาวรุ่งอรุณ ฤกษ์เจริญ เจ้าพนักงานธุรการ ระดับช�ำนาญงาน ส�ำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา

นางภัทราวดี มนีกานนท์ เจ้าพนักงานธุรการ ระดับช�ำนาญงาน ส�ำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.