อนุสารอุดมศึกษา issue 406

Page 1

อุ ด มศึ ก ษา อนุสาร

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๐๖ ประจำเดือนเมษายน ๒๕๕๕ เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web

ดวงแก้วที่จากไป คือดวงใจพสกนิกร


อุดมศึกษา

อนุสาร

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๐๖ ประจำเดือนเมษายน ๒๕๕๕

สารบัญ เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย สกอ. สืบสานกิจกรรมเทศน์มหาชาติ ๓ หอการค้าญี่ปุ่นมอบทุนการศึกษา ๔ ทุนอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ ๒ ๕ สกอ. พัฒนาบรรยากาศวัฒนธรรมองค์กร ๖ สกอ. จัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ไทย-อินโดนีเซีย ครั้งที่ ๔ ๗ ๖ มหาวิทยาลัยไทย ร่วมโครงการ ๘ Super Short-Term Student Exchange Scholarship สกอ. เร่งปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย สกอ. สนับสนุน ม/ส พัฒนาความเป็นนานาชาติ

๙ ๙

เรื่องเล่าอาเซียน

การเกิดประชาคมอาเซียนกับการศึกษาของประเทศไทย (๗)

เรื่องพิเศษ

๑๐

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

๑๒

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

๑๖

การส่งเสริมการดนตรีไทย

เรื่องแนะนำ กิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์

๑๘

เหตุการณ์เล่าเรื่อง กิจกรรมนักศึกษา เชื่อมสัมพันธ์ไทย-ลาว ครั้งที่ ๒

๒๐

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๓

คณะผู้จัดทำ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ http://www.mua.go.th อีเมล์ pr_mua@mua.go.th นายอภิชาติ จีระวุฒิ รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี นางวราภรณ์ สีหนาท นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ ที่ปรึกษา บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด บริษัท ออนป้า จำกัด ผู้พิมพ์


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. สืบสานกิจกรรม

เทศน์มหาชาติ

๑๗ มี น าคม ๒๕๕๕ - สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาจั ด กิจกรรมดนตรีไทยอุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ‘๘๔ พระพรรษา เทศน์มหาชาติ มหาราชภูมิพล’ ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ อาคารจักรพันธ์ เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีการเทศน์มหาชาติประกอบดนตรีไทย โดยเริ่มจากกัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์ กัณฑ์ทานกัณฑ์ กัณฑ์วนปเวสน์ กัณฑ์ชูชก กัณฑ์จุลพน กัณฑ์มหาพน กัณฑ์กุมาร กัณฑ์มัทรี กัณฑ์สักกบรรพ กัณฑ์มหาราช กัณฑ์ฉกษัตริย์ กัณฑ์นครกัณฑ์ และคาถาพัน ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ มีนาคม ที ่ ผ ่ า นมา ซึ ่ ง การจั ด กิ จ กรรมในครั ้ ง นี ้ ม ี ว ั ต ถุ ป ระสงค์ เพื ่ อ เฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ ห ั ว ภู ม ิ พ ลอดุ ล ยเดช ในวโรกาส

ที่มีพระชนมายุ ๘๔ พรรษา พร้อมทั้งเพื่อให้ประชาคมอุดมศึกษาและประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมอันเป็นมหากุศลและร่วมร้อยใจ

ถวายพระพรด้วยการบรรเลงดนตรีไทยประกอบการเทศน์มหาชาติ ตลอดจนได้เรียนรู้เรื่องของการเทศน์มหาชาติ ซึ่งเป็นการเผยแพร่

คุณธรรมในพระพุทธศาสนา และให้นิสิตนักศึกษาได้เห็นคุณค่า สืบสานและเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีไทย

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดงานเทศน์มหาชาติเฉลิมพระเกียรติต่อเนื่องมา ๖ ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ ๑ ‘เทศน์มหาชาติ ฉลองราชย์หกสิบทัศ สิริสวัสดิ์รัชสมัย’ ระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ ‘เทศน์มหาชาติ ๘๐ พรรษา คีตมหาราชัน’ ระหว่างวันที่ ๑ - ๒ กันยายน ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ ‘เทศน์มหาชาติ ดนตรีไทยอุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ’ ระหว่างวันที่ ๓๐ - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๔ ‘เทศน์มหาชาติ ฉลองราชย์ ๖๐ ปี พระราชพิธีบรมราชาภิเษก’ ระหว่างวันที่ ๒๙ - ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๕ ‘เทศน์มหาชาติ ๘๔ พรรษา มหาราชภูมิพล’ ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๖ ‘๘๔ พระพรรษา เทศน์มหาชาติ มหาราชภูมิพล’ ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๕

อนุสารอุดมศึกษา

3


หอการค้าญี่ปุ่นมอบทุนการศึกษา ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๕ - หอการค้าญี่ปุ่นจัดพิธีมอบทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔ แก่นิสิต นักศึกษา โดยได้รับเกียรติจากนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และนายซุซุมุ อูเนโนะ รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น ร่วมพิธีมอบ ณ หอการค้าญี่ปุ่น นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า จากการสนับสนุน ทุนการศึกษาของหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่จัดตั้งโครงการทุน การศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ เพื่อศตวรรษที่ ๒๑ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ เนื่องในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๖ รอบ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะมุ่ง เน้นให้ทุนการศึกษาต่อเนื่องตลอดหลักสูตรจนจบการศึกษาให้แก่นิสิตนักศึกษาในระดับ ปริญญาตรีที่ศึกษาในสาขาวิชาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การเกษตร การประมง เทคโนโลยี อุ ต สาหกรรม และสาขาวิ ช าอื ่ น ๆ ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาส่ ว นภู ม ิ ภ าค สั ง กั ด สำนั ก งาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษา จนในปีการศึกษา ๒๕๕๓ หอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ ยังคงให้การสนับสนุนทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดโครงการทุนการ ศึกษาขึ้นใหม่ ใช้ชื่อว่า ทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นทุนการศึกษาที่จัดสรรให้แก่นิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรี และปริ ญ ญาโท ที ่ ศ ึ ก ษาสาขาวิชาด้านสิ่งแวดล้อม หรื อ สาขาวิ ช าอื ่ น ๆ ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในสั ง กั ด และในกำกั บ ของสำนักงาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ๕ แห่ง คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

สุรนารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แสดงให้เห็นว่า หอการค้าญีป่ นุ่ กรุงเทพฯ มีความมุง่ มัน่ เห็นความสำคัญ และประโยชน์ของการศึกษาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาประเทศ ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันทุน การศึกษาถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่เอื้ออำนวยให้นิสิตนักศึกษามีขวัญ กำลังใจ เกิดความอุตสาหะ ความพยายามที่จะศึกษาจน ประสบความสำเร็จเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพและใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้ายว่า ต้องขอขอบคุณหอการค้าญี่ปุ่น ที่ได้มีส่วนเกื้อหนุนในการพัฒนาเยาวชนไทย ซึ่งเป็นทรัพยากร บุคคลที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ และขอแสดงความยินดีกับนิสิตนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษา โดยขอให้ทุกคนปฏิบัติตนเป็นนิสิต นักศึกษาที่ดี อยู่ในระเบียบวินัยใฝ่หาความรู้ มีความกตัญญู รู้จักใช้สติปัญญา ในการดำเนินชีวิต นำความรู้และวิชาการต่างๆ ที่ได้ศึกษา เล่าเรียนมาช่วยเหลือสังคม และพัฒนาประเทศชาติในอนาคตต่อไป

4

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

ทุนอุดมศึกษา

เพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

ระยะที่ ๒

๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ

คณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึงโครงการทุนอุดมศึกษาเพือ่ การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ ๒ ว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับศูนย์ อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และสถาบัน อุ ด มศึ ก ษาในสั ง กั ด /ในกำกั บ ของสำนั ก งานคณะกรรมการ

การอุดมศึกษา จัดโครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ระยะที ่ ๒ ตามมติ ท ี ่ ป ระชุ ม คณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที ่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ที่ให้ ศอ.บต. จัดสรร

งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ ของ ศอ.บต. จำนวน ๑๐ ล้านบาท ให้ สกอ. เพือ่ ดำเนินโครงการฯ โดยสนับสนุน ทุนการศึกษา จำนวน ๒๕๐ ทุน “ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ คณะกรรมการดำเนินโครงการทุน อุดมศึกษาเพือ่ การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้พจิ ารณาจัดสรรทุน ๒ รูปแบบ คือ (๑) สนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นกั เรียนทีย่ งั ไม่มที ่ี เรียน จำนวน ๑๒๕ ทุน โดยขอความอนุเคราะห์ที่นั่งการศึกษา พร้อมยกเว้นค่าเล่าเรียนเป็นกรณีพิเศษจากสถาบันอุดมศึกษา

(๒) สนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักเรียนและนักศึกษาที่สอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะในสาขาที่มีความจำเป็น และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ จำนวน ๑๒๕ ทุน โดยพิจารณาจากผลการเรียน ฐานะยากจน และมีความประพฤติดี เป็นต้น” เลขาธิการ กกอ. กล่าว เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า ในขณะนี้ สกอ. ได้ทำหนังสือขอที่นั่งการศึกษา พร้อมยกเว้นค่าเล่าเรียนเป็นกรณีพิเศษจากสถาบัน อุดมศึกษา โดยให้สถาบันอุดมศึกษาแจ้งจำนวนทีน่ ง่ั กลับมายัง สกอ. ภายในวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕ เพือ่ สกอ. จะได้ดำเนินการให้ทนั ตาม กำหนดเปิดภาคการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๕๕ ทัง้ นี้ เพือ่ ความเหมาะสม คณะกรรมการดำเนินโครงการทุนอุดมศึกษา เพือ่ การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะพิจารณาแนวทางการดำเนินงาน และรูปแบบการจัดสรรทุนอีกครัง้

ข้อมูลประกอบ: จากการดำเนินงานทุนระยะที่ ๑ ตัง้ แต่ปกี ารศึกษา ๒๕๕๐ จนสิน้ สุดโครงการเมือ่ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ปัจจุบนั มีผรู้ บั ทุน จำนวน ๑,๙๘๔ คน โดยมีผหู้ มดสิทธิร์ บั ทุน จำนวน ๑๘๒ คน เนือ่ งจากพ้นสภาพนักศึกษา ๑๕๖ คน และ จบการศึกษา ๒๖ คน

อนุสารอุดมศึกษา

5


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. พัฒนาบรรยากาศ

วัฒนธรรมองค์กร

๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ‘การวิเคราะห์แนวทางการจัดทำ แผนพัฒนาปรับปรุงบรรยากาศวัฒนธรรมองค์กรของ สกอ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕’ ณ ห้องราฟเฟิล โรงแรมรามาดา เดมา กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจากนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นประธานพิธีเปิด โดยกล่าวว่าใน ปี ง บประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ คณะรั ฐ มนตรี เห็ นชอบให้ สำนั ก งาน ก.พ.ร. นำระบบการประเมิ น ผลภาคราชการแบบบู ร ณาการ (Government Evaluation System หรือ GES) มาใช้ประเมินผลภาคราชการ ซึ่งในส่วนของ สกอ. จากการสำรวจผ่านระบบออนไลน์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. พบว่า มีผลต่างระหว่างความเห็นเกี่ยวกับสถานะบรรยากาศวัฒนธรรมองค์กรของ สกอ. กับความสำคัญของการ พัฒนาสถานะบรรยากาศวัฒนธรรมองค์กรเท่ากับ ๐.๕ ดังนั้น เพื่อให้ผลต่างระหว่างความเห็นด้วยและความสำคัญ มีผลต่างลดลง สกอ. จึงได้จัดประชุมในวันนี้ “การที่จะบรรลุเป้าหมาย ต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกลุ่ม ข้าราชการ คณะทำงาน พัฒนาปรับปรุงบรรยากาศวัฒนธรรมองค์กร และผู้แทนสำนัก/หน่วยงาน เพื่อที่ชาว สกอ. จะได้ร่วมกันพิจารณาข้อเท็จจริง วิเคราะห์ สาเหตุแห่งปัญหาที่ทำให้เกิดสถานะบรรยากาศวัฒนธรรมองค์กรของ สกอ. ที่ไม่พึงประสงค์ และร่วมกันระดมความคิดเห็นเสนอ แนวทางการพัฒนาปรับปรุงบรรยากาศวัฒนธรรมองค์กรของ สกอ. ให้ดียิ่งขึ้น” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

ข้อมูลประกอบ: ระบบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการ (Government Evaluation System หรือ GES) ใช้ติดตาม ประเมินผลความสามารถและมาตรฐานการทำงานของส่วนราชการ เกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการ การพัฒนาปรับปรุง ระบบสารสนเทศ และการพัฒนาปรับปรุงบรรยากาศวัฒนธรรมองค์กรของส่วนราชการมากำหนดเป็นตัวชี้วัดที่ ๑๐ - ๑๒

ในคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ โดยการพัฒนาปรับปรุงบรรยากาศวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ ๑๒ เป็นการวัดที่มุ่งเน้นในเรื่องผู้นำ วัฒนธรรม การทำงานเป็นทีม การอุทิศตนและความมุ่งมั่นในการทำงาน การจัดการความรู้ และ การประเมินพฤติกรรมเชิงลบที่สะท้อนถึงความสำเร็จในการทำงาน คือ ความโปร่งใส และการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ

6

อนุสารอุดมศึกษา


สกอ. จัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการ

ไทย-อินโดนีเซีย ครั้งที่ ๔

๓๐ มีนาคม ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้บริหารสำนักงาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษาและผู้บริหารของกรมการอุดมศึกษา กระทรวงการศึกษาและวัฒนธรรมอินโดนีเซีย (Directorate General of Higher Education (DGHE), Ministry of Education and Culture) ครั้งที่ ๔ ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต กรุงเทพฯ โดยมี

รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา และ Dr.Harris Iskandar, Secretary of DGHE เป็นหัวหน้าคณะกรมการอุดมศึกษา อินโดนีเซีย รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า การประชุม ครั้งนี้เป็นการสานต่อและสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลด้านอุดมศึกษาของไทยและอินโดนีเซีย รวมถึงเป็นเวทีใน การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านอุดมศึกษาที่เป็นปัจจุบัน และกระตุ้นให้ผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองประเทศได้เตรียมความพร้อมสำหรับการ รวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ซึง่ ทีผ่ า่ นมาฝ่ายไทยได้ดำเนินการตามข้อตกลงจากทีป่ ระชุมอย่างไม่เป็นทางการ ครัง้ ที่ ๓ เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในการสนับสนุนการดำเนินโครงการนำร่องการแลกเปลี่ยนนักศึกษามาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย (Malaysia-Indonesia-Thailand Student Mobility Programme) ซึง่ มีนกั ศึกษาอินโดนีเซียเข้าร่วมโครงการในสถาบันอุดมศึกษาไทย ตัง้ แต่เริม่ ต้นโครงการในปี ๒๕๕๔ ถึงปัจจุบนั จำนวน ๖๘ คน และมีนกั ศึกษาไทยเข้าร่วมโครงการทีป่ ระเทศอินโดนีเซีย จำนวน ๔๐ คน “สำหรับการประชุมครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ให้ความสำคัญในเรื่องการแลกเปลี่ยนบุคลากร ทั้งในระดับกระทรวงและระดับสถาบัน โดยได้เห็นชอบโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างกันของ สกอ. และ กรมการอุดมศึกษา อินโดนีเซีย เพื่อศึกษาระบบการทำงาน การสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้บริหารของทั้งสองฝ่าย รวมถึงการแลกเปลี่ยนอาจารย์และบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาของทั้งสอง ประเทศ นอกจากนั้น ผู้แทนฝ่ายอินโดนีเซียได้แสดงความสนใจร่วมมือกับไทยในด้านการพัฒนาวิทยาลัยชุมชน และ สกอ. ได้เสนอ ให้ฝ่ายอินโดนีเซียส่งผู้แทนมาดูงานในวิทยาลัยชุมชน ทั้งนี้ สกอ.จะนำเสนอผลการประชุมอย่างไม่เป็นทางการครั้งนี้ไปยังที่ประชุม ASEAN Senior Officials Meeting on Education (SOM-ED) เพื่อให้รับทราบผลการจัดประชุมและของบประมาณสนับสนุนการ

ดำเนินงาน” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

สำหรับการจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ ๕ มีกำหนดจัดประมาณเดือนกุมภาพันธ์หรือเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

อนุสารอุดมศึกษา

7


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

มหาวิทยาลัยไทย ร่วมโครงการ Super Short-Term Student Exchange Scholarship ๒๗ - ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๕ - สำนักงานเลขาธิการ UMAP (UMAP International Secretariat: UMAP IS), Fu Jen Catholic University ร่วมกับ UMAP Philippine Council เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม UMAP Committee and Board ประจำปี ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑

ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิก UMAP จำนวน ๗ ประเทศ เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น บรูไน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเก๊า ไต้หวัน และไทย ซึ่งรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา พร้อมคณะเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการ UMAP จำนวน ๘ ชุด ได้แก่ Committee on Strategic Planning, Alumni Committee, Committee on Promotion & Marketing Strategy, Committee on UCTS, UMAP Vice President Forum Coordination Committee, Committee on Chair Election and International Secretariat, Committee on Model and Role of Member Secretariat และ Committee on Finance and Audit รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้รับเกียรติเป็นประธานดำเนินการประชุม UMAP Alumni Committee ในวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ มหาวิทยาลัย Ataneo de Manila กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และได้มี การเสนอกิจกรรมภายใต้แผนยุทธศาสตร์การจัดตั้ง UMAP Alumni พร้อมกันนี้ได้ร่วมพิจารณาการจัดสรรทุนให้แก่มหาวิทยาลัยที่ เสนอหลักสูตรระยะสั้นเข้าร่วมโครงการ Super Short-Term Student Exchange Scholarship โดยในปีนี้มีมหาวิทยาลัยไทยเสนอ หลักสูตรเข้าร่วมโครงการจำนวน ๖ แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ มหาวิทยาลัยพายัพ และมหาวิทยาลัยสยาม นอกจากนี้ UMAP Taiwan ได้ประกาศทุนสนับสนุนผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ USCO ของมหาวิทยาลัยสมาชิก UMAP ในไต้หวัน จำนวน ๑,๔๔๐,๐๐๐ เหรียญไต้หวัน (ประมาณ ๔๖,๔๐๐ เหรียญสหรัฐ) โดยจัดสรรให้ทุนละ ๒๐,๐๐๐ เหรียญไต้หวันต่อคน

สำหรับการประชุม UMAP Board ครั้งที่ ๒ ประจำปี ๒๕๕๕ จะกำหนดจัดขึ้นในเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ ที่ไต้หวัน

8

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. เร่งปรับปรุงเกณฑ์

มาตรฐานดนตรีไทย

๑๙ มี น าคม ๒๕๕๕ - สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา จั ด ประชุ ม

คณะอนุกรรมการติดตามและพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาดนตรีไทยร่วมกับผู้ทรง คุณวุฒิด้านดนตรีไทย ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ โดยรองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติ ย กวี รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เปิ ด เผยว่ า สำนั ก งาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มีการติดตามและพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชา ดนตรีไทย โดยเชิญศิลปินแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และ คณาจารย์ดา้ นดนตรีไทย รวมทัง้ ผูร้ บั ผิดชอบหรือเกีย่ วข้องในหน่วยงานต่างๆ เพือ่ ร่วมกัน จัดทำเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมินเครื่องดนตรีไทย ซึ่งเกณฑ์ฯ

ดังกล่าวจะครอบคลุมการศึกษาดนตรีไทย ในด้านทฤษฎีและปฏิบัติทุกระดับการศึกษา ปัจจุบันเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมินเครื่องดนตรีไทยได้รับความสนใจจากสถาบัน อุ ด มศึ ก ษาหลายแห่ ง ที ่ จ ั ด การศึ ก ษาด้ า นดนตรี ไทย ซึ ่ ง ถื อ เป็ นการสนั บ สนุ น และเผยแพร่ เ กณฑ์ มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยให้แก่ผู้ที่ศึกษาด้านดนตรี ไทยและผู้สนใจได้นำเกณฑ์ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนด้านดนตรีไทย “ล่าสุด สกอ. ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาดนตรี ไทยร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรีไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ประกอบการปรับปรุงเกณฑ์ฯ และเพื่อให้สถานศึกษาได้นำไปใช้ในการจัดการเรียน

การสอนด้านดนตรีไทยต่อไป ทั้งนี้ เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมินเครื่องดนตรีไทย จะเป็นเครื่องมือที่พัฒนาความรู้ความสามารถในการบรรเลงเครื่องดนตรีในแต่ละชนิด ก่อให้เกิด มาตรฐานการศึกษาสาขาวิชาดนตรีไทย ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมสืบไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

สกอ. สนับสนุน ม/ส พัฒนาความเป็นนานาชาติ

๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการ

การอุดมศึกษา กล่าวถึงการจัดสัมมนา เรื่อง Internationalization and Best Practices: An Artistic MUST for Future Education ว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดการสัมมนาครั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด/ในกำกับสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ดูแลงานด้านต่างประเทศ ได้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาความเป็นนานาชาติ ของสถาบันอุดมศึกษาไทย ร่วมกับ Prof. Dr. Kathleen Sunshine ผู้เชี่ยวชาญจากฟุลไบรท์ รวมทั้งเป็นการขยายผลและแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในการดำเนินโครงการแนวปฏิบัติที่ดีในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับของ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ “ถือเป็นโอกาสดีของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมสัมมนา เพราะการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษาและผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนในระดับนานาชาติ จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเรียนรู้ และ

เตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาไทยในการจัดการศึกษา เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคต” นางสาวอาภรณ์ กล่าว อนุสารอุดมศึกษา

9


เรื่องเล่าอาเซียน โดย รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล

การเกิดประชาคมอาเซียนกับ

การศึกษาของประเทศไทย (๗)

อาเซี ย นจะเข้าสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซี ย นเต็ ม รู ป แบบภายในปี ๒๕๕๘ ผลกระทบจากการรวมตั ว เป็น ประชาคมอาเซียนต่อการศึกษา ได้แก่ การเปิดเสรีทางการศึกษาและการเคลื่อนย้ายกำลังคนเสรีในตลาดแรงงานของ ภู ม ิ ภ าค โดยตลาดแรงงานจะมีโอกาสในการเลือ กจ้ า งบุ ค ลากรที ่ ม ี ค วามรู ้ ความสามารถและความชำนาญมากขึ้น

การแข่งขันเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยกระตุ้นจากภายนอกนี้ส่งผลให้สถาบันอุดมศึกษาต้องเตรียมนักศึกษาที่ กำลังจะเป็นบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรอบรู้และสามารถที่จะเป็นพลเมืองของโลกเพื่อแข่งขันได้ในตลาดแรงงานระดับภูมิภาค และระดับสากล จากฉบับที่แล้ว ‘คอลัมน์เรื่องเล่าอาเซียน’ ได้นำเสนอการดำเนินการที่ผ่านมาของสำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาในการส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาไทยเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งได้ดำเนินการมา อย่างต่อเนื่อง สำหรับในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดให้มีโครงการ/กิจกรรมหลาย รูปแบบ เพื่อเร่งผลักดัน และกระตุ้นให้สถาบันอุดมศึกษาเห็นความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของนิสิต นักศึกษา และบุคลากร เพื่อเข้าสู่การเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทยและอาเซียน เป็นโครงการหลักโครงการหนึ่งในการเตรียมความพร้อมของนิสิต นักศึกษา ซึ่งมีงบประมาณสนับสนุน ๑๐ ล้านบาท เนื่องจากการให้นักศึกษาได้มีโอกาสไปศึกษาในต่างประเทศในช่วง เวลาสั้นๆ จะเป็นกลไกที่สำคัญในการกระตุ้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม เรียนรู้วิธีการศึกษาในประเทศอื่นๆ เรียนรู้การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม เรียนรู้วิชาการใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากวิชาที่สอนใน มหาวิทยาลัยต้นสังกัด เรียนรู้ภาษาต่างประเทศทั้งด้านวิชาการและการสื่อสาร ได้เปิดโลกทัศน์สู่สากล รวมทั้งได้เครือข่าย ในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคต โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาไทยให้พร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานในภูมิภาคอาเซียนและ มีประสบการณ์ในต่างประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมการถ่ายโอนหน่วยกิตกลับมายังสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด ตลอดจนใช้ การศึกษาเป็นตัวนำสู่การกระชับความสัมพันธ์และการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ สกอ. ดำเนินโครงการในรูปของ คณะกรรมการบริหาร โดยจัดสรรทุนการศึกษาให้นักศึกษาไทยระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๒ ขึ้นไป จากทุกสถาบัน อุดมศึกษาจำนวน ๖๐ คน ลงทะเบียนเรียน (และต้องไม่ใช่การฝึกอบรมหรือดูงาน) ระยะเวลา ๑ ภาคการศึกษา แต่ไม่เกิน ๔ เดือน ในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียนอีก ๙ ประเทศ ซึ่งนักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนอย่างน้อย ๒ รายวิชาและต้องถ่ายโอนหน่วยกิตกลับมายังสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดอย่างน้อย ๖ หน่วยกิต โดยต้องแสดงหลักฐานว่า มีการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างกัน สกอ. จะประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกนักศึกษา ทีส่ ถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งเสนอชือ่ ผูส้ มัครมาสถาบันละไม่เกิน

๕ คน ภายในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ และผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องเดินทางก่อนวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ โดย สกอ. จะให้การสนับสนุนค่าเบี้ยเลี้ยงเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายประจำเดือนและที่พักแบบเหมาจ่ายไม่เกินจำนวน ๘๐๐ ดอลลาร์ สหรัฐต่อเดือน ผู้อ่านสามารถติดตามคุณสมบัติของนักศึกษาที่สมัคร ค่าใช้จ่ายที่สกอ. ให้การสนับสนุน และรายละเอียด อื่นๆ ได้จากเว็บไซต์ www.inter.mua.go.th หัวข้อ Announcement นอกจากนี้ สกอ. ยังได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและภาษาในกลุ่มประเทศสมาชิก อาเซียน ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านให้แก่นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรด้านอุดมศึกษา อันจะเป็นการสร้างศักยภาพของ บัณฑิตในอนาคตให้มีความสามารถตอบสนองตลาดแรงงานและการเคลื่อนย้ายกำลังคนระหว่างสมาชิกของประชาคม อาเซียน และเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ

ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมจัดโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษา อังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน ๓ โครงการ มีระยะเวลาดำเนินการ ๕ เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เดือนกันยายน ๒๕๕๕ โดย สกอ. จะประกาศผลการคัดเลือกโครงการต่างๆ ภายในเดือนเมษายน ๒๕๕๕ และจัดสรร

งบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานให้แก่โครงการที่ได้รับการคัดเลือกผ่านมหาวิทยาลัย/สถาบันต้นสังกัด ซึ่งแต่ละ โครงการมีรายละเอียด ดังนี้

10

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอาเซียน โครงการวิจัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อ สนับสนุนให้อาจารย์และบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาไทยทำวิจัยด้านการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาของ ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ภาษาพม่า ภาษาลาว ภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม ภาษาบาฮาซามาเลเซีย/อินโดนีเซีย ซึ่งจำเป็นและ ตอบสนองต่อพลวัตรทางเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ สกอ. ได้จัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการนี้เป็นเงินรวม ๓

ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการวิจัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับการทำงานในประชาคมอาเซียน จำนวน ๑ โครงการ ในวงเงินไม่เกินโครงการละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท และโครงการวิจัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของประเทศ เพื่อนบ้าน ได้แก่ ภาษาพม่า ลาว เขมร เวียดนาม บาฮาซามาเลเซีย/อินโดนีเซีย ภาษาละ ๑ โครงการ ในวงเงินไม่เกินโครงการละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวม ๕ โครงการ เป็นเงิน ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่ง สกอ. ได้ให้สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับเสนอ โครงการให้คณะกรรมการคัดเลือก โดยพิจารณาจากคุณภาพและความสมบูรณ์ของข้อเสนอโครงการวิจัย ความเชื่อมโยงของงาน วิจัยกับการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับการทำงานในประชาคมอาเซียน หรือความเชื่อมโยงของงานวิจัยกับการ

ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน ความเป็นไปได้ในการดำเนินงานวิจัยให้แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนด ผลของการวิจัยที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในการพัฒนาการเรียนการสอน และหัวหน้าโครงการวิจัย ซึ่งหลังจากดำเนินโครงการแล้ว คาดว่าจะได้ผลการวิจยั ทีจ่ ะนำไปสูก่ ารพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาประเทศเพือ่ นบ้านให้มปี ระสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้ และสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาประเทศเพื่อนบ้านให้มีผลในทางปฏิบัติจริง โครงการจัดทำหลักสูตรร่วมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน เป็นอีก หนึ่งโครงการที่สนับสนุนให้อาจารย์และบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาไทยได้พัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาในกลุ่ม ประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ภาษาพม่า ภาษา ลาว ภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม ภาษาบาฮาซามาเลเซีย/อินโดนีเซีย โดย สกอ. สนับสนุนงบประมาณดำเนินการ เป็นเงิน

๖ ล้านบาท เพื่อพัฒนาหลักสูตรร่วมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ภาษาพม่า ภาษาลาว ภาษาเขมร ภาษา เวียดนาม ภาษาบาฮาซามาเลเซีย/อินโดนีเซีย ภาษาละ ๒ โครงการ รวม ๑๒ โครงการ ในวงเงินโครงการละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับเป็นค่าใช้จา่ ยสมทบในการเดินทางไปเจรจาความร่วมมือ และการจัดประชุมร่วมกับมหาวิทยาลัยคูส่ ญ ั ญาในประเทศเป้าหมาย

(ไม่รวมการศึกษาดูงาน และการฝึกอบรม) ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะคัดเลือกโครงการ โดยพิจารณาจากคุณภาพและความสมบูรณ์ ของข้อเสนอ แนวทางการดำเนินโครงการ ความเป็นไปได้ในการจัดทำหลักสูตรร่วม และการนำหลักสูตรไปใช้ในการเรียนการสอน และความเชื่อมโยงของการจัดทำหลักสูตรร่วมกับการพัฒนาการเรียนการสอนด้านภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน ที่เกิดขึ้นได้จริง โครงการกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้านให้แก่นักศึกษา และอาจารย์ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาและอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาไทยได้พัฒนาและแสดงออกถึงความรู้ ความสามารถทางทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาพม่า ภาษาลาว ภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม ภาษาบาฮาซามาเลเซีย/ อินโดนีเซีย ในการอ่าน พูด เขียน คิดวิเคราะห์ โดย สกอ. สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมา เข้าร่วมกิจกรรมของนิสิต นักศึกษา ในวงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท กิจกรรมภายใต้โครงการเปิดกว้างในทุกมิติ ทั้งในด้านการพูด การอ่าน การเขียน รวมทั้งการนำภาษาอังกฤษและภาษาของ ประเทศเพื่อนบ้านไปใช้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การประกวดสุนทรพจน์ การประกวดบทความ การโต้วาที การจัด ค่ายภาษา การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การรณรงค์ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้านในชีวิตประจำวัน เป็นต้น ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะคัดเลือกโครงการ โดยพิจารณาจากคุณภาพและความเหมาะสมของข้อเสนอการจัดกิจกรรม แนวทาง การดำเนินโครงการ ความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมโครงการของนิสิตนักศึกษาและอาจารย์ และความเชื่อมโยงของกิจกรรมกับการ พั ฒ นาการเรี ย นการสอนด้ า นภาษาอั ง กฤษและภาษาของประเทศเพื ่ อ นบ้ า น ซึ ่ ง คาดว่ า นั ก ศึ ก ษาและอาจารย์ ข องสถาบั น อุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จะได้พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ เกิดความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน อันจะนำไปสู่การตอบสนองตลาด แรงงานและการเคลื่อนย้ายกำลังคนระหว่างสมาชิกของประชาคมอาเซียน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในฐานะหน่วยงานการศึกษา รับผิดชอบการส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบัน อุดมศึกษาเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คาดหวังว่าโครงการต่างๆ ข้างต้น จะเป็นโครงการต้นแบบเพื่อกระตุ้นให้ สถาบันอุดมศึกษาได้นำไปคิดต่อยอดจัดทำกิจกรรมเพื่อผลักดันให้นิสิต นักศึกษาและบุคลากรอุดมศึกษามีความตื่นตัวในการ พัฒนาศักยภาพทางวิชาการและทักษะที่จำเป็น ทั้งด้านภาษาอังกฤษ และภาษาเพื่อนบ้าน พร้อมที่จะปรับตัวเพื่อเข้าสู่ตลาด แรงงานอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้ต่อไป อนุสารอุดมศึกษา

11


เรื่องพิเศษ

พระประสูติกาล เดือนตุลาคม ๒๔๖๘ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี มีพระครรภ์แก่ใกล้ประสูติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยิ่งทรงพระโสมนัส โปรดเกล้าฯ ให้พระนางเจ้า สุวัทนาฯ เสด็จไปประทับ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรม มหาราชวัง เพื่อ “สมเด็จเจ้าฟ้า” พระองค์แรก จะได้ประสูติในพระมหามณเฑียร ตาม โบราณราชประเพณี อีกทั้งยังเสด็จพระราชดำเนินเข้าไปประทับ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิ พิมาน ติดกับพระที่นั่งเทพสถานพิลาส ทรงรอฟังข่าวพระประสูติกาลอย่างจดจ่อ แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรหนักอย่างกะทันหัน ด้วยโรคพระอันตะ (ลำไส้) มีพระอาการรุนแรงทวีมากขึ้นทุกขณะ นับแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน อันเป็นวันฉัตรมงคลในรัชกาลของพระองค์เป็นต้นมา เวลา ๑๒ นาฬิกา ๕๕ นาที ของ วันอังคาร ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๘ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี มี พระประสูตกิ าล “เจ้าฟ้าหญิง” เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์แรกและพระองค์เดียวในรัชกาลที่ ๖ …เวลานัน้ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรหนักมากแล้ว เมื่อทรงทราบข่าวพระประสูติกาลว่าเป็นเจ้าฟ้าหญิง มิใช่เจ้าฟ้าชาย ซึ่งทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะได้เป็นพระรัชทายาทสืบสนองพระองค์ ก็มีพระราชกระแสเบาๆ ว่า “ก็ดีเหมือนกัน” วั น รุ ่ ง ขึ ้ น เจ้ า ฟ้ า หญิ ง พระองค์ น ้ อ ย พระชนมายุ เพี ย ง ๑ วั น มี โอกาสได้ เ ฝ้ า ฯ สมเด็ จ พระบรมชนกนาถ ซึ ่ ง ทรง

พระประชวรหนักบนพระแท่น ไม่สามารถมีพระราชดำรัสใดๆ ได้เสียแล้ว คงได้แต่ทอดพระเนตรและสัมผัสพระราชธิดา

เป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย ในคืนนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสวรรคต เมื่อพ้นเที่ยงคืนย่างสู่วัน พฤหัสบดี ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ได้ราวหนึ่งชั่วโมง พระนาม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระราชอนุชาในรัชกาลที่ ๖ เสด็จขึน้ ครองราชย์สบื สนองพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๗ และได้พระราชทานพระนามสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๖ ว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา

สิริโสภาพัณณวดี” ซึ่งหมายความว่า ลูกสาวผู้เป็นดั่งดวงแก้วของพระมหากษัตริย์ มีพระกำเนิดเป็นศรีอันงามพร้อม

12

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องพิเศษ

เจริญพระวัยใต้พระบารมี พระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว พระประมุ ข แห่ ง พระบรมราชวงศ์ กั บ ทั ้ ง สมเด็ จ พระศรี ส วริ น ทิ ร าบรมราชเทวี

พระพั น วั ส สาอั ย ยิ ก าเจ้ า (ทรงเป็ น “ย่ า ” ในรั ช กาลที ่ ๘ และ รัชกาลปัจจุบัน และทรงเป็น “ย่าใหญ่” คือ พระเชษฐภคินีหรือ

พี่สาวของสมเด็จพระศรีพัชรินทรา

บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ผู้ทรงเป็น “ย่า” ของ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ) ทรงเอาพระราชหฤทั ย ใส่ ดู แ ลทั ้ ง ด้ า นพระอนามั ย ด้ า นการศึ ก ษา และการดำรงพระชนมชี พ ของ

เจ้ า ฟ้ า หญิ ง พระองค์ น ้ อ ยอย่ า ง

ใกล้ ช ิ ด เมื ่ อ สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า ฯ ประชวร ก็ ท รงรั บ ไปดู แ ลด้ ว ย พระองค์เอง โปรดเกล้าฯ ให้ประทับ ณ พระตำหนักสวนหงษ์ อันเป็นที่ ประทับเดิมส่วนพระองค์ หรือเมื่อมีงานรื่นเริงพิศษก็โปรดเกล้าฯ ให้เสด็ จ ไปประทั บ ณ วังสระปทุม เพื่อ ทรงพระสำราญร่ ว มกั บ

เจ้านายในราชสกุลมหิดล สวนรื่นฤดี ระหว่างความวุ่นวายทางการเมืองเมื่อเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง การปกครอง ใน พ.ศ.๒๔๗๕ และเหตุการณ์กบฏบวรเดช สมเด็จ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ และพระชนนีต้องทรงย้ายที่ประทับเพื่อ ความปลอดภัยหลายแห่ง จนเหตุการณ์ได้ผันผ่านไป พระนางเจ้า สุวัทนาฯ จึงโปรดให้สร้างตำหนักที่ประทับเป็นที่ส่วนพระองค์ของ พระธิดา ณ ที่ดินบนถนนราชสีมาตัดกับถนนสุโขทัย ทรงขนาน นามที่ประทับแห่งนี้ว่า “สวนรื่นฤดี” การทรงพระอักษรเบื้องต้น สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า เพชรรั ต นราชสุ ด าฯ ทรงพระอั ก ษรเบื ้ อ งต้ น

ณ โรงเรียนราชินี แล้วจึงทรงพระอักษรตามหลักสูตรของกระทรวง ศึกษาธิการ กับพระอาจารย์จากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ซึ่งมา ถวายพระอักษร ณ สวนรื่นฤดี พร้อมกับทรงเริ่มเรียนเปียโนกับ

พระอาจารย์ชาวต่างประเทศ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ ในเดือนมีนาคม ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงสละราชสมบั ต ิ พระบาทสมเด็ จ พระปรเมนทรมหาอานั นท มหิดล เสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ คณะผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ จึงได้มีประกาศเปลี่ยนคำนำพระนามสมเด็จ เจ้ า ฟ้ า เพชรรั ต นราชสุ ด า สิ ร ิ โสภาพั ณ ณวดี ผู ้ ท รงเป็ น “ลู ก พี ่

ลูกน้อง” กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เนื่องจากทรงอ่อนพระชนมายุกว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๘

ประมาณ ๔ เดือน ทั้งนี้ คำว่า “ภคินี” แปลว่า “น้องหญิง” หรือ “พี ่ ห ญิ ง ” ก็ ได้ ท ั ้ ง สองความหมาย ดั ง นั ้ น เมื ่ อ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เถลิงถวัลยราชสมบัติ ก็ยังคงคำนำ พระนามเดิมไว้ดังเช่นในรัชกาลที่ ๘ ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ มีพระชนมายุสูงกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ราว ๒ ปี นิราศประเทศไทย สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และพระนางเจ้าสุวัทนาฯ ทรงสังเกตว่าพระอนามัยของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ มีลักษณะ พิเศษ เช่น ทรงมีความสามารถด้านการคำนวณ การจดจำทิศทาง และความสนพระทัยจดจ่อต่อสิ่งต่างๆ รอบพระองค์ที่ผิดแผกจาก เด็กสามัญทั่วไป ทรงเห็นพ้องต้องกันให้นำเสด็จสมเด็จพระเจ้า ภคิ น ี เ ธอฯ ไปทรงศึ ก ษาต่ อ และประทั บ รั ก ษาพระองค์ ย ั ง

ต่างประเทศ ทัง้ นี้ ยังเป็นไปเพือ่ สวัสดิภาพของเจ้าฟ้าหญิง ในช่วงสมัย ทีบ่ า้ นเมืองกำลังเผชิญกับความไม่มน่ั คงทางการเมืองการปกครองด้วย ครั้น พ.ศ.๒๔๘๐ พระนางเจ้าสุวัทนาฯ จึงทรงพาพระธิดา ขณะพระชนมายุ ๑๒ พรรษา เสด็ จ จากประเทศไทยไปประทั บ

ณ ประเทศอังกฤษ ซึง่ ขณะนัน้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั หลังทรงสละราชสมบัติ ได้ประทับอยูแ่ ล้วพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณี พระบรมราชินี เกียรติศักดิ์ราชนารี ณ ประเทศอั ง กฤษ สมเด็ จ พระเจ้ า ภคิ น ี เ ธอฯ และพระชนนี ประทับ ณ ตำหนักแฟร์ฮิลล์ เมือง แคมเบอร์เลย์ มณฑลเซอร์เรย์ เป็น แห่งแรก ตำหนักมีขนาดและการ จัดตกแต่งที่งดงามสมพระเกียรติ ทรงวางพระองค์ อ ย่ า งประหยั ด เรี ย บง่ า ย แต่ เหมาะสมสง่ า งาม เพื่อมิให้ชาวต่างชาติตำหนิครหา พระราชวงศ์ไทยได้ บรรดาผู้ปฏิบัติ งานในตำหนักล้วนเป็นสตรีทั้งสิ้น ทรงตั้งพระทัยมั่นในการรักษา พระเกียรติศักดิ์แห่งความเป็นราชนารี ไม่ให้ด่างพร้อยหรือเปิดช่อง ให้ผู้ใดติฉินนินทา แม้ประทับห่างไกลขนบธรรมเนียมในพระบรม มหาราชวังทางเมืองไทย แต่ก็ทรงรักษาจารีตอย่างเจ้านายฝ่ายใน แห่งกรุงสยามไว้อย่างเหมาะสมกาลเทศะ แม้ในยามยากลำบาก ต่อมาได้เ กิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้น ทรงประสบปัญหา อย่ า งยิ ่ ง โดยเฉพาะด้ า นการเงิ น ต้ อ งทรงรั บ ปั น ส่ ว นอาหารเช่ น พลเมืองอังกฤษทั่วไป ต้องทรงอพยพลี้ภัยไปประทับ ณ แคว้น เวลส์ ต้องทรงทำงานบ้านเองอย่างสามัญชน แต่แม้ในความยาก ลำบากเช่นนั้น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ พร้อมด้วยพระชนนี ยังมี พระเมตตากรุณา ได้เสด็จไปทรงช่วยกิจการสภากาชาดอังกฤษ อนุสารอุดมศึกษา

13


เรื่องพิเศษ

ทรงถักเครื่องกันหนาว และม้วนผ้าพันแผลสำหรับผู้ปฏิบัติงานใน แนวรบ สภากาชาดอังกฤษจึงทูลเกล้าฯ ถวายเกียรติบัตรสรรเสริญ น้ำพระทัยของราชนารีแห่งกรุงสยามทั้งสองพระองค์ ที่เปี่ยมด้วย มนุษยธรรม ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา แม้ ในยามที่ทรงประสบความยากลำบากโดยส่วนพระองค์เองอยู่แล้ว เป็นทุนเดิมก็ตาม ที่พึ่งของชาวไทยในต่างแดน เมื่อสงครามยุติ ทรงย้ายไปประทับ ณ ตำหนักในเมืองไบรตัน สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ทรงเป็นศูนย์รวมน้ำใจชาวไทยในประเทศ อังกฤษและประเทศใกล้เคียง ได้เสด็จไปทรงร่วมงานของสามัคคี สมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นสมาคมชาวไทยในอังกฤษอยู่ เสมอ ทั้งยังมีชาวไทยมาขอพึ่งพระบารมีในโอกาสต่างๆ ถึงยัง ตำหนักที่ประทับ ทรงพระกรุณาช่วยเหลือทุกเรื่อง เช่น นักเรียน ไทยบางคนประสบปั ญ หาทางสุ ข ภาพ ก็ โปรดให้ แพทย์ ป ระจำ พระองค์ช่วยดูแล บางรายคิดถึงอาหารไทยก็โปรดพระราชทาน เลี้ย งอาหารให้ อ ิ ่ มหนำสำราญ เป็นที่พ ึ่งของคนไทยในต่ า งแดน ตลอดเวลากว่า ๒ ทศวรรษที่ประทับ ณ ประเทศอังกฤษ นิวัตประเทศไทย-วังรื่นฤดี เมื่อพระอนามัยดีขึ้น และสภาวการณ์บ้านเมืองไทยเป็นปกติ สุข กอปรกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เสด็จฯ นิ ว ั ต ประเทศไทยแล้ ว สมเด็ จ พระเจ้ า ภคิ น ี เ ธอฯ และพระชนนี

จึงเสด็จกลับมาประทับ ณ ประเทศไทยเป็นการถาวร เมือ่ พ.ศ.๒๕๐๒ ทรงซื้อที่ดินในซอยสุขุมวิท ๓๘ และโปรดให้สร้างวังเป็นที่ประทับ แทนสวนรื่นฤดี ถนนราชสีมา ซึ่งทรงขายแก่รัฐบาลไปในช่วงภาวะ สงคราม พระราชทานนามวังแห่งใหม่ว่า วังรื่นฤดี และเป็นจุด

เริ่มต้นของการทรงงานเพื่อประชาชนอย่างจริงจังตลอดพระชนมชีพ เจ้าฟ้าผู้ทรงธรรม พระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็น เครื่องหล่อเลี้ยงพระหฤทัยอยู่ตลอดพระชนมชีพ โปรดเสด็จไปทรง บำเพ็ญพระกุศลตามวัดต่างๆ ทั้งใกล้ไกลทั่วประเทศ เสด็จไปทรง ถวายผ้าพระกฐินอย่างน้อยปีละ ๓ วัดทุกปี ทรงบูชาพระรัตนตรัย ด้วยดอกไม้ธปู เทียน และทรงสวดมนต์ทกุ วัน โปรดสดับพระพุทธมนต์ สดับพระธรรมเทศนา ทรงอ่านหนังสือธรรมะและทรงศึกษาธรรมะ

14

อนุสารอุดมศึกษา

ได้เคยเสด็จไปทรงศึกษาธรรมะกับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร นาน นับปี และทรงศึกษาพระอภิธรรมอย่างจริงจัง ทรงแจ่มแจ้งในหลักธรรมอย่างลึกซึ้ง และมีพระโอวาทสั่งสอน เตือนสติข้าราชบริพารอยู่เสมอ เช่นครั้งหนึ่งเคยรับสั่งสอนธรรมะ ด้วยอุปมาโวหารกับข้าราชบริพาร ซึ่งเป็นคนโมโหง่าย ว่า “โทสะนั้น เหมือนไฟ เช่นตะเกียงที่จุดไฟ ถ้ารุนแรงขึ้นเมื่อใด ก็ให้ระงับเสีย เหมือนเราดับตะเกียง คือ ค่อยๆ หรี่ตะเกียงลง แล้วโทสะก็จะดับ หายไปเอง” ความเป็นไทย แม้ ประทั บในต่ า งประเทศนานกว่ า ๒๐ ปี สมเด็จ พระเจ้า ภคินีเธอฯ ทรงนิยมและภาคภูมิพระทัยในความเป็นไทยอย่างยิ่ง โปรดฉลองพระองค์ ผ ้ า ไหมและผ้ า ฝ้ า ยของไทย ฉลองพระบาท กระเป๋าทรงถือ เครื่องพระสำอาง ล้วนโปรดที่ผลิตในประเทศไทย ทั้งยังโปรดน้ำอบไทยอย่างมาก ทรงใช้นับแต่ทรงพระเยาว์จนตลอด พระชนมชีพ การใช้ ภ าษาไทย ทรงเคร่ ง ครั ด เป็ น พิ เศษ ทรงเขี ย นและมี รับสั่งด้วยภาษาไทยที่ถูกต้องชัดเจนตามแบบแผน จะมีรับสั่งภาษา อังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศสกับชาวต่างประเทศเท่านั้น ไม่โปรดให้

ผู้ใดกราบทูลภาษาไทยปนภาษาต่างประเทศ โปรดให้ใช้คำไทย เช่น ล็อคประตู ให้กราบทูลว่า ลงกลอนประตู ทีวี ให้กราบทูลว่า โทรทัศน์ เน็ตคลุมผม ให้กราบทูลว่า ร่างแห่คลุมผม เป็นต้น ความเรียบง่าย แม้ ม ี พ ระกำเนิ ด เป็ น เจ้ า ฟ้ า มี พ ระเกี ย รติ ย ศสู ง ส่ ง มี ข ้ า ใน พระองค์แวดล้อมถวายงาน แต่กลับไม่โปรดให้รบกวนผู้ใดจนเกิน ไปให้ต้องลำบาก จะทรงหยิบจับใช้สอยสิ่งใด โปรดทรงทำเองทุก อย่าง เวลาเสด็จออกไปยังที่ใดก็ไม่โปรดให้กีดกันประชาชนให้ไกล ห่างไปจากพระองค์ จะเสด็จไปทอดพระเนตรสิ่งใด หรือสถานที่ใด ก็ไม่โปรดให้ตระเตรียมการให้เกินปรกติ ส่วนใหญ่จึงโปรดเสด็จไป ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจอย่างเงียบๆ ในลักษณะ “ปิดทองหลังพระ” ไม่ต้องมีการป่าวประกาศ ประชาสัมพันธ์ทำข่าว หรือกะเกณฑ์ใดๆ ให้ยุ่งยาก ทรงวางพระองค์อย่างเป็นปรกติ รับสั่งทักทายผู้คนด้วย รอยแย้มพระสรวลสดใสเสมอ มีพระจริยวัตรที่เรียบง่ายและสามัญ ธรรมดา ความมัธยัสถ์ ทรงใช้จ่ายอย่างประหยัดมัธยัสถ์ การใช้จ่ายเงินส่วนพระองค์ จะทรงลงบันทึกรายการอย่างชัดเจนถี่ถ้วน ทรงประหยัดไฟฟ้า ไม่ โปรดให้ผู้ใดเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าถวายไว้ล่วงหน้า จะเสด็จเข้าออก ห้องใด โปรดทรงเปิดปิดเครื่องไฟฟ้าในห้องนั้นๆ เอง เมื่อฉลอง พระองค์ชำรุด ก็ทรงซ่อมด้วยฝีพระหัตถ์ เพราะโปรดงานเย็บปักถัก ร้อยอยู่แล้วเป็นทุนเดิม เครื่องใช้ส่วนพระองค์ก็โปรดให้มีเท่าที่


เรื่องพิเศษ

จำเป็น เมื่อทรงมีสิ่งของใดมากเกินกว่าจะทรงใช้สอย เช่น ฉลอง พระองค์ ฉลองพระบาท กระเป๋าทรงถือ ฯลฯ ก็ไม่ทรงเก็บไว้จน เกินจำเป็น แต่จะโปรดพระราชทานไปยังสภากาชาดไทย เพื่อนำ ออกจำหน่ายหารายได้เพื่อสาธารณกุศลในงานกาชาดเป็นประจำ ทุกปี กำลังสำคัญแห่งพระราชวงศ์ สมัยที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ เสด็จนิวัตประเทศไทยเมื่อ ๕๐ ปีก่อน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอใน รัชกาลปัจจุบัน ยังทรงพระเยาว์เกินกว่าจะทรงแบ่งเบาพระราช ภารกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้อย่างเต็มที่ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ จึงทรง มุ ่ ง มั ่ น บำเพ็ ญ พระกรณี ย กิ จ เพื ่ อ แบ่ ง เบาพระราชภาระนั ้ นด้ ว ย

พระอุตสาหวิริยะ ทั้งในการเสด็จแทนพระองค์ไปในพระราชพิธ ี รัฐพิธี และพิธีต่างๆ ตลอดจนทรงริเริ่มเปิดวังรื่นฤดี เป็นสถานที่จัด งานการกุศลเพื่อหารายได้สมทบทุนองค์กรสาธารณกุศล เช่น การ จัดงานเดินแฟชั่น งานราตรีสโมสร และงานรื่นเริงต่างๆ หารายได้ เพื่อการกุศล เป็นครั้งแรกๆ ในประเทศไทย โดยมีสมเด็จพระบรม ราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธาน ทั้งยังทรงงานร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เช่น ทรงสร้าง “โรงเรียนเพชรรัตนราชสุดา” เป็นโรงเรียนตำรวจตระเวน ชายแดน ณ จั ง หวั ด สระแก้ ว ตามพระราโชบายของสมเด็ จ

พระศรี นคริ นทราบรมราชชนนี ทรงบริ จ าคทรั พ ย์ ส ่ ว นพระองค์ จำนวนมากเพือ่ สมทบทุนมูลนิธติ า่ งๆ เช่น มูลนิธริ าชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ฯลฯ อยู่เป็นนิตย์ เพื่อช่วยเหลือบำบัด ทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาราษฎร์ สืบสานพระราชปณิธานจากพระบุพการี แนวพระดำริ ท ี ่ ท รงยึ ด ถื อ เป็ น หลั ก ในการทรงงาน คื อ

การปฏิบัติพระกรณียกิจด้วยความกตัญญูกตเวทีต่อพระบุพการี ด้วยเหตุ น ี ้ จึ ง ทรงมุ ่ ง มั่นสืบสานพระราชกรณีย กิจของพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างจริงจัง ทรงรับกิจการลูกเสือเนตรนารี และอาสาสมั ค รรั ก ษาดิ น แดน ไว้ ใ นพระอุ ป ถั ม ภ์

ทรงสนับสนุนหน่วยทหารที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานกำเนิดไว้ ทรงอุปการะกิจการของสถาบันการศึกษา และองค์กรต่างๆ ในรัชกาลที่ ๖ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วชิราวุธวิทยาลัย โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โรงเรียนปรินส์รอแยลส์ วิทยาลัย โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ฯลฯ รวมถึงการ บูรณะซ่อมแซมพระราชฐานในรัชกาลที่ ๖ เช่น พระราชวังสนาม จันทร์ จังหวัดนครปฐม พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี และพระราชวังพญาไท ในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เพื่อ เป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที ่ ย วและศึ ก ษาค้ นคว้ า ทางประวั ต ิ ศ าสตร์ แ ละ

ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทั้งยังทรงก่อตั้ง หอวชิราวุธานุสรณ์ และ มูลนิธพิ ระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ เพื ่ อ เผยแผ่ พ ระเกี ย รติ ค ุ ณ ของสมเด็ จ พระบรมชนกนาถ แม้ในส่วนของสมเด็จพระอัยยิกาก็มิได้ทรงทอด ทิ้งทรงอุปการะสถาบันที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พ ั น ปี ห ลวง ทรงก่ อ ตั ้ ง ไว้ เป็ นจำนวนมาก เช่ น

โรงเรียนราชินี โรงเรียนวิเชียรมาตุ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา สภากาชาดไทย เป็นต้น สิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภา พั ณ ณวดี ได้ เ สด็ จ ไปประทั บ รั ก ษาพระอาการติ ด เชื ้ อ ในกระแส

พระโลหิต ณ ตึก ๘๔ ปี ชั้น ๕ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ ้ น พระชนม์ เมื ่ อ เวลา ๑๖ นาฬิ ก า ๓๗ นาที ของวั น พุ ธ ที ่

๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕ รวมพระชนมายุ ๘๕ พรรษา พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ ห ั ว มี พ ระบรมราชโองการ

โปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังจัดการพระศพ ถวายพระเกียรติยศ สูงสุดตามโบราณราชประเพณี ประดิษฐานพระศพ ณ พระที่นั่ง ดุ ส ิ ต มหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวั ง ทรงพระกรุ ณ า

โปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทใน ราชสำนักไว้ทุกข์ถวาย มีกำหนด ๑๐๐ วัน ตั้งแต่วันสิ้นพระชนม์ เป็นต้นไป ครัน้ ถึงอวสานแห่งการพระราชกุศลพระศพ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้ า ฯ ให้ เ ชิ ญ พระศพออกสู ่ พ ระเมรุ ท้ อ งสนามหลวง พระราชทานเพลิ ง พระศพ ในวั นจั นทร์ ท ี ่ ๙ เมษายน ๒๕๕๕

ถวายพระเกียรติยศสูงสุดตามที่ทรงดำรงอยู่ทุกประการ ข้อมูล: เว็บไซต์ http://www.princessbejaratana.com/ อนุสารอุดมศึกษา

15


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน โดย สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา

ดนตรีไทยเป็นศิลปวัฒนธรรมของไทยอย่างหนึ่งที่มีการสืบทอดมาอย่างเป็นระบบ มีพัฒนาการและแบบแผนการสืบทอดทั้ง ด้านทฤษฎีและปฏิบัติ รวมทั้งมีองค์ความรู้ครบถ้วนชัดเจนหมวดหมู่ชัดเจนไม่ยิ่งหย่อนกว่าศาสตร์ทั้งหลายที่เทียบเคียงได้ด้วย หลักเกณฑ์การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และกฎเกณฑ์การวิจัยที่เป็นสากล สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้

ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมในโครงการส่งเสริมการดนตรีไทยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๕๕ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติให้มีความยั่งยืนและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าของคนไทย คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการของโครงการดังกล่าว เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๒ และได้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริม การดนตรีไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยเป็นประธาน คำสั่งลงวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๓๓ และคณะกรรมการได้มีมติ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ๓ ชุด คือ ๑. คณะอนุกรรมการกำหนดนโยบายวิชาการดนตรีไทย มีปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นประธาน ๒. คณะอนุกรรมการวางแผนจัดสัมมนาดนตรีไทย มีปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นประธาน ๓. คณะอนุกรรมการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย มีนายวราวุธ สุมาวงศ์ เป็นประธาน ที่มาของการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย ความเป็ น มาของเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย เริ่มดำเนินการในแผนพัฒ นาการอุดมศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ ๕

(พ.ศ. ๒๕๓๐ – ๒๕๓๔) โดยสำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาได้ เชิ ญ ศิ ล ปิ น แห่ ง ชาติ ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒ ิ ผู ้ เชี ่ ย วชาญ

ผู้ชำนาญการ และคณาจารย์ด้านดนตรีไทย รวมทั้งผู้รับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องในหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันจัดทำเกณฑ์มาตรฐาน ดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมินการบรรเลงเครื่องดนตรีไทยและการขับร้อง ซึ่งเกณฑ์ฯ ดังกล่าว จะครอบคลุมการศึกษาดนตรี ไทย ในด้านทฤษฎีและปฏิบัติทุกระดับการศึกษา ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ คณาจารย์จากสถาบันการศึกษาต่างๆ และ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อให้เกณฑ์ฯ เป็นที่ยอมรับของบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์การจัดทำเกณฑ์ฯ ดังนี้ ๑. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถสาขาวิชาดนตรีไทย ด้านการปฏิบัติ (performance) ๒. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถด้านการสอนวิชาดนตรีไทย หรือกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพการสอนวิชาดนตรี ไทยด้านดนตรีศึกษา (education) ๓. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถสาขาวิชาดนตรีไทย และ/หรือด้านดนตรีวิทยา (musicology) ทั้งนี้ ผลการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาและวิชาชีพดนตรีไทยต่อคณะรัฐมนตรี ในวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๖ และ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกับเกณฑ์ดังกล่าว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิชาดนตรีไทย คือ กระทรวง ศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้เกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวในการจัดทำหลักสูตรในการจัดการเรียน การสอน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล คือ สำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) คณะกรรมการข้าราชการ พลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) และสำนักงานข้าราชการครู (ก.ค.) นำเกณฑ์ไปใช้ในการพิจารณาการจัดบรรจุบุคคลในการ

แต่งตั้งบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถตามเกณฑ์ข้างต้น เข้ารับราชการในตำแหน่งครู หรืออาจารย์ดนตรีไทย

16

อนุสารอุดมศึกษา


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน จากแนวคิดในการจัดทำมาตรฐานดนตรีไทย คณะอนุกรรมการ ซึง่ ประกอบด้วย ผูท้ รงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาการจัดทำ เกณฑ์อย่างรอบคอบ ซึ่งเกณฑ์ต้องสอดคล้องกันกับวิทยาศาสตร์การศึกษา ความเป็น ศาสตร์และปรัชญาของดนตรีไทย ความเป็นวิชาชีพของดนตรีไทย เกณฑ์ได้แบ่งระดับ การศึกษาเป็นระดับอนุบาล ระดับประถมศึกษา ๓ ขัน้ ระดับมัธยมศึกษา ๓ ขัน้ และ ระดับอุดมศึกษา ๔ ขัน้ (อนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก) เกณฑ์ใน การสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ความเป็นสากลของดนตรีไทย การผลิตบัณฑิตด้านดนตรีไทยตามเกณฑ์ฯ มุ่งเน้นด้านการปฏิบัติ ด้านดนตรีศึกษา และด้านดนตรี วิทยา ซึ่งขึ้นอยู่กับความมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาในอนาคตควรมีด้านการ บริหารธุรกิจสำหรับดนตรีไทย ในการพิจารณาจัดทำร่างเกณฑ์ขั้นที่เก้า ซึ่งเทียบเท่าระดับปริญญาตรี ได้กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำให้สอดคล้องกับความสามารถบรรเลงเพลงตามวัตถุประสงค์ของเกณฑ์ ดังนี้ ๑. การบรรเลงงานพิธีกรรมและประเพณีได้ ๒. บรรเลงและขับกล่อมเพื่อการบันเทิงได้ ๓. บรรเลงประกอบการแสดงเบื้องต้นเป็นชุดเป็นตอนได้ ๔. มีความรู้ด้านทฤษฎีในรายละเอียดของเพลงตามเกณฑ์ในขั้นต่างๆ ได้ ด้วยเหตุนี้คณะอนุกรรมการจึงสรรหาเพลงและกำหนดไว้ ทั้งนี้ สถาบันอาจกำหนด เพลงอื ่ น เข้ า มาเพิ ่ ม เติ ม ได้ ต ามความเหมาะสมของหลั ก สู ต รที ่ ส ถาบั น นั ้ น ๆ กำหนด

หลังประกาศใช้เกณฑ์หกปี ใน พ.ศ. ๒๕๔๕ ปรากฏว่า คณะอนุกรรมการติดตามและพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาดนตรีไทย

ได้พิจารณาแล้วควรจะได้มีการทบทวนชื่อบทเพลงให้มีความถูกต้องตามเกณฑ์ฯ ที่ได้ยอมรับและสืบทอดกันมา ตลอดจนสามารถนำไป ใช้ควบคู่กับทำนองหลักเพลงไทย ขั้น ๑ - ๖ ซึ่งวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ได้จัดทำขึ้น ตลอดจนได้แพร่หลายสู่สถาบันการ ศึกษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง ทบวงมหาวิทยาลัยจึงเห็นสมควรทบทวน ตรวจสอบ และปรับปรุงเกณฑ์โดยขอให้กรมศิลปากรใน ฐานะที่เป็นองค์กรหลักในการจัดระเบียบวิชาการและวิชาชีพดนตรีไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นมาดำเนินการ และได้ปรับ

ชื่อเกณฑ์เป็นเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย การจัดพิมพ์หนังสือเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย ครั้งที่ ๑ เกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาและวิชาชีพดนตรีไทย พ.ศ. ๒๕๓๗ เนื่องในปีรณรงค์ศิลปวัฒนธรรมไทย ครั้งที่ ๒ เกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาและวิชาชีพดนตรีไทย พ.ศ. ๒๕๓๘ เนื่องในวาระมงคลสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุ ครบ ๕๐ พรรษา ครั้งที่ ๓ เกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาและวิชาชีพดนตรีไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ ฉบับปรับปรุงโดยกรมศิลปากร เนื่องในวาระมงคลสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุ ครบ ๗๒ พรรษา ในขณะนี้ กำลังปรับปรุงเพื่อการพิมพ์ครั้งที่ ๔ โดยพิจารณารายละเอียดกลวิธีการบรรเลงและปรับถ้อยคำให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

เพื่อการนำไปเป็นต้นฉบับการแปลภาษาอังกฤษ ตามแนวคิดการจัดทำเกณฑ์ ข้อที่ ๖ ด้านความเป็นสากลของดนตรีไทย สำหรับชาว ต่างประเทศได้ศึกษาศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรีไทยได้ดีขึ้น รวมระยะเวลาการดำเนินการตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๒๕ ปี แต่การจัดทำเกณฑ์ยังไม่สิ้นสุด ในอนาคตก็อาจมีการทบทวน ปรับปรุง เพิ่มเติม แก้ไข ให้เหมาะสมครบถ้วนมากขึ้นต่อไปเป็น ระยะๆ โดยอาจารย์ดนตรีไทยรุ่นใหม่จะเป็นผู้มารับช่วงการดำเนินงานต่อไป นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ผลิตสื่อการศึกษา เพื่อประกอบเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย ในขั้นแรกได้ ผลิตสื่อต่างๆ ไว้แล้ว ดังนี้ ๑. เอกสารหนังสือเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมิน ๒. แผ่นซีดี กลวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีไทย และการขับร้องเพลงไทยตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย ขั้น ๑ - ๖ ดังนี้ • ประเภทปี่พาทย์ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม และปี่นอก (เฉพาะขั้น ๔ - ๖) • ประเภทเครื่องสาย ซออู้ ซอด้วง ซอสามสาย จะเข้ และขลุ่ย • ประเภทการขับร้องเพลงไทย และเครื่องกำกับจังหวะหน้าทับ • โน้ตทำนองหลักและทำนองร้องเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาและวิชาชีพดนตรีไทย ขั้น ๑ - ๖ ๓. แผ่นซีดี โน้ตทำนองหลักเพลงไทย ตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยขั้น ๑ - ๖ ๔. เอกสารหนังสือเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย พุทธศักราช ๒๕๕๓ อนุสารอุดมศึกษา

17


เรื่องแนะนำ

กิ จกรรมต้ อ นรั บ น้ อ งใหม่ และประชุมเชียร์ ‘กิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์’ เป็นกิจกรรมที่รู้จักกันดีทั้ง ‘น้องใหม่’ และ ‘รุ่นพี่’ เนื่องจากเป็นประเพณีที่ สืบทอดมายาวนานในสถาบันอุดมศึกษา มีปณิธานเพื่อถ่ายทอดความสัมพันธ์ของนิสิตนักศึกษารุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ยังผลให้เกิด ความสามัคคี มีระเบียบวินัย ความภาคภูมิใจในสถาบัน และมีการช่วยเหลือเกื้อกูลฉันพี่น้อง แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามัก มี กิ จ กรรมในรู ป แบบที่ ไม่ เหมาะสม ไม่ ส ร้ า งสรรค์ เกิ ด ขึ้ น อยู่ เนื อ งๆ ถึ ง แม้ ว่ า สำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาจะมีหนังสือขอความร่วมมือสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งป้องกันปัญหา โดยการสนับสนุน ส่งเสริม แนะนำ กิจกรรมที่เหมาะสมให้กับนิสิตนักศึกษา เพื่อให้ประเพณีการรับน้องใหม่และการประชุมเชียร์ในสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปด้วย ความเรียบร้อย ธำรงไว้ซึ่งปณิธานที่ดีงาม อีกทั้งมีลักษณะในการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ อบอุ่น ประทับใจและเสริมสร้างการ พัฒนานิสิตนักศึกษา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ใน สถาบันอุดมศึกษา มาอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ ที่จะถึงนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ส่งหนังสือที่ ศธ๐๕๐๘/ว ๓๐๓ ลงวันที่

๕ มีนาคม ๒๕๕๕ เพื่อขอความร่วมมือสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งเตรียมการป้องกันปัญหา และให้การสนับสนุน ส่งเสริม แนะนำกิจกรรมที่เหมาะสมให้กับนิสิตนักศึกษา ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง การจัด กิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งประกาศ ณ วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่ได้ กำหนดนโยบายและมาตรการในการจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ของสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้ นโยบาย ๑. การจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ ควรเคารพสิทธิ เสรีภาพและหลักความเสมอภาค ไม่มี ความรุนแรงและห้ามล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทั้งทางร่างกายหรือจิตใจ ไม่ดื่มสุราและเสพสิ่งมึนเมาทุกชนิด และ

ไม่กระทบการเรียนการสอน ๒. การจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุ ม เชี ย ร์ ควรอยู ่ ในความรั บ ผิ ด ชอบ ดู แ ลร่ ว มกั นของผู ้ บ ริ หาร คณาจารย์ บุคลากรทุกคณะ/ภาควิชา และนิสิตนักศึกษารุ่นพี่ รวมถึงต้องให้คำแนะนำ กำกับดูแล ปรึกษาการจัด กิจกรรมให้มีลักษณะสร้างสรรค์ ไม่ขัดต่อระเบียบสถาบัน กฎหมาย วัฒนธรรม ประเพณีและมารยาททางสังคม

ที่ดีงาม ๓. การจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ให้จัดกิจกรรมภายในสถาบันอุดมศึกษา ห้ามจัดกิจกรรม นอกสถานที่โดยเด็ดขาด ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยและประหยัด โดยการอนุมัติหรืออนุญาตการจัดกิจกรรมให้อยู่ใน ดุลยพินิจของสถาบัน

18

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องแนะนำ

มาตรการ ๑. ให้สถาบันอุดมศึกษาออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือหลักเกณฑ์และมาตรการในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับแนวนโยบาย ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการพิจารณาอนุญาต การรับผิดชอบ การกำกับ ระยะเวลาการ จัดกิจกรรม รูปแบบ/แนวทางการจัดกิจกรรม และแนวทางการจัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ทั้งนี้ ให้ยืดหยุ่นตามความเหมาะสม และลักษณะเฉพาะของแต่ละสถาบัน รวมทั้งมีการกำกับดูแลและให้คำปรึกษาการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ๒. ให้องค์กรนิสิตนักศึกษาที่จะจัดกิจกรรม จัดทำรายละเอียดโครงการเสนอขออนุมัติหรืออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ สถาบันอุดมศึกษาที่สังกัด ทั้งนี้ องค์กรนิสิตนักศึกษาจะจัดกิจกรรมได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติหรืออนุญาตแล้วเท่านั้น ๓. ให้สถาบันอุดมศึกษา รณรงค์ ประชาสัมพันธ์เปิดเผยรูปแบบกิจกรรม เพื่อสร้างความเข้าใจกับนิสิตนักศึกษา บุคลากร

ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป ให้เข้าใจวัตถุประสงค์ นโยบายและมาตรการ มีทัศนคติที่ดีต่อกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ และร่วมตรวจสอบการจัดกิจกรรมได้ ๔. ให้นิสิตนักศึกษาใหม่เข้าร่วมกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ด้วยความสมัครใจ และรุ่นพี่ที่จัดกิจกรรมจะต้องได้รับ การคัดเลือกและมีการเตรียมความพร้อม พัฒนาทักษะก่อนการจัดกิจกรรม รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามาสังเกตการณ์การจัด กิจกรรมได้ ๕. สถาบันอุดมศึกษาควรจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวัง มีเว็บไซต์ เพื่อติดตาม แลกเปลี่ยน เรียนรู้ แก้ไขปัญหา ประสานกับสื่อมวลชน และผู้ปกครอง ทั้งนี้ ในแต่ละวิทยาเขต/คณะ ควรมีการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลและให้ความช่วยเหลือ (Call Center) หรือบริการ

สายด่วน (Hotline) เพื่อรับและประสานข้อมูลการจัดกิจกรรมร่วมกัน ๖. ให้สถาบันอุดมศึกษามีการประเมินผล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ มีการยกย่อง ชมเชยนิสิตนักศึกษาที่มีการจัดกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ให้ปรากฏในโอกาสอันควร ๗. ให้สถาบันอุดมศึกษา มีบทลงโทษทางวินัยกับนิสิตนักศึกษา รวมถึงผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมต้อนรับ น้องใหม่และประชุมเชียร์ของนิสิตนักศึกษาที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หลักความเสมอภาค และกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ของสถาบัน ๘. ให้ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาแต่ละสถาบัน ถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการ ข้างต้น ‘นโยบาย’ และ ‘มาตรการ’ ตามประกาศดังกล่าว จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา คณาจารย์ นักศึกษาที่เกี่ยวข้อง กับการจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ ตระหนักถึงความเหมาะสมของรูปแบบในการจัดกิจกรรมให้มีความสร้างสรรค์ โดยยึดหลักการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นระหว่าง ‘รุ่นพี่’ และ ‘น้องใหม่’ ก่อให้เกิดมิตรภาพในหมู่นักศึกษาทุกสถาบัน และร่วมทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุข อนุสารอุดมศึกษา

19


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาของไทย ๗ แห่ง และมหาวิทยาลัย แห่งชาติลาว นำนักศึกษากว่า ๖๐ คน เพื่อจัดกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา ในรูปแบบของค่ายก่อสร้างและกิจกรรมแลกเปลี่ยน ศิลปวัฒนธรรม โดยก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ ตามความต้องการของคณะครูและนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย

แห่งชาติลาว พร้อมจัดเวทีแลกเปลี่ยนด้านศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสันทนาการ เพื่อสร้างความสามัคคีระหว่างนักศึกษาของ ทั้งสองประเทศ ตาม ‘โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดกิจกรรมนักศึกษา เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ไทย - ลาว’ ณ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว เมืองเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กิจกรรมดังกล่าวได้ตอบโจทย์ของแผนงานความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาระหว่าง สปป.ลาว และประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๕ อาทิ ความร่วมมือทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ การพัฒนาอาจารย์ และการ แลกเปลี่ยนนักศึกษาในกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม การแข่งขันกีฬา และกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา ซึ่งเป็นความเห็นชอบ

ร่วมกันของที่ประชุมอย่างไม่เป็นทางการแบบทวิภาคี ระหว่างคณะผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากับกรมการ ศึกษาชั้นสูง สปป.ลาว เมื่อวันที่ ๒๓ - ๒๔ เมษายน ๒๕๕๓ ณ จังหวัดขอนแก่น เพื ่ อ ให้ ค วามสั ม พั นธ์ ข องทั ้ ง สองประเทศ และความสั ม พั นธ์ ข องนั ก ศึ ก ษาไทยและนั ก ศึ ก ษาลาว ตลอดจนบุ ค ลากร อุ ด มศึ ก ษาของทั ้ ง สองฝ่ า ย มี อ ย่ า งต่ อ เนื ่ อ ง เตรี ย มพร้ อ มในการอยู ่ ร ่ ว มกั น ในสั ง คมของประชาคมอาเซี ย นในปี ๒๕๕๘ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงได้สานต่อ โดยจัด ‘โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดกิจกรรมนักศึกษา

เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ไทย - ลาว’ ครั้งที่ ๒ ขึ้น โดยมีนักศึกษาฝ่ายละ ๓๐ คน จากสถาบันอุดมศึกษาไทย ๑๑ แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล และมหาวิทยาลัย

สุภานุวงศ์ สปป.ลาว ร่วมจัดกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา โดยการจัดสร้างอาคารโรงอาหาร ๒ อาคาร ณ มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ สปป.ลาว

20

อนุสารอุดมศึกษา


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้เล่าว่า จากการจัดกิจกรรมเมื่อปีกลาย นิสิตนักศึกษาที่ เข้าร่วมโครงการจากทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านกิจกรรมอาสาพัฒนาบำเพ็ญประโยชน์ ศิลปวัฒนธรรมและ กีฬา พร้อมทั้งได้ร่วมแบ่งปัน และได้เรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างจากกันและกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนทั้งสองฝ่าย โดย เฉพาะอย่างยิ่งถ้าเมื่อทั้ง ๑๐ ประเทศในอาเซียน ต้องรวมกันเป็นประชาคมเดียวกันในอนาคตอันใกล้นี้ กิจกรรมลักษณะนี้จึงถือเป็นการ เตรี ย มพร้ อ มให้ น ิ ส ิ ต นักศึกษาปรับตัวในการดำรงชีวิต และทำงานร่ ว มกั บ ผู ้ อ ื ่ นที ่ ม ี ค วามหลากหลายด้ า นภาษา และมี ความแตกต่าง

ทางวัฒนธรรมมากขึ้น ด้านนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม นางสาวอมรรัตน์ เขตสูงเนิน นักศึกษาสาขาสัตวศาสตร์ ชั้นปีที่ ๔ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการแลกเปลี่ยน เรียนรู้เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ไทย-ลาว ทั้ง ๒ ครั้ง กล่าวว่า ทั้ง ๒ ครั้ง มีความแตกต่างกันเพียงทางด้าน สถานที่เท่านั้น แต่สิ่งที่มีเหมือนกัน คือ ความมีไมตรีของเพื่อนๆ ชาว สปป.ลาว นำไปสู่การสร้าง มิตรภาพที่ดีของนักศึกษาชาวไทย และนักศึกษาชาว สปป.ลาว จนทำให้นึกถึงคำที่ว่า “มิตรภาพ ไมตรี ไม่มีกำแพงใดที่กั้นได้” ต้องขอขอบคุณ สกอ. ที่ให้ตัวแทนนักศึกษาไทยที่เข้าร่วมโครงการ ได้ มีโอกาสได้มาเรียนรู้ เปิดโลกทัศน์ และมาสร้างมิตรภาพ ที่ สปป.ลาว เพื่อนำไปปรับใช้ในการพัฒนา ตนเองและสังคมต่อไป “หากมีการจัดกิจกรรมนี้ในครั้งต่อไป อยากให้เพื่อนนักศึกษา สปป.ลาว ได้ไปเยี่ยมและทำ กิจกรรมที่ประเทศไทย เหมือนกับที่เราได้มาเยี่ยมและทำกิจกรรมร่วมกันที่ สปป.ลาว เพื่อเป็นการ เรียนรู้ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย และ สปป.ลาว เป็นการ เริ่มต้นการผูกมิตรและเชื่อมสัมพันธ์จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ เพื่อขยายความสัมพันธ์ที่ยิ่งใหญ่ต่อไป” นางสาวอมรรัตน์ กล่าว นางสาวโบสวรรค์ ปั ญ ญาสวั ส ดิ์ นั ก ศึ ก ษาชั้ น ปี ที่ ๓ คณะเศรษฐศาสตร์ แ ละการ

ท่องเทีย่ ว มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ กล่าวถึงประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรม ว่า เป็นกิจกรรมทีช่ ว่ ย เพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับนักศึกษาทั้ง ๒ ประเทศ ในการสร้างค่าย ทั้งประสบการณ์ในการใช้ชีวิต ร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งการบริหารและจัดสรรกิจกรรมในค่ายให้มีความลงตัว เป็นการสร้างความชอบ ให้แก่นักศึกษา ในการปฏิบัติภารกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนและต่อ

ส่วนรวม ในขณะเดียวกันนักศึกษายังได้เรียนรู้วิถีชีวิตของนักศึกษาแต่ละประเทศ เพื่อเข้าใจในวิถี ชีวิตและวัฒนธรรมของกันและกัน พร้อมทั้งช่วยสร้างความสามัคคีให้แก่นักศึกษาทั้งสองประเทศ มากยิ่งขึ้น “โครงการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดกิจกรรมนักศึกษาเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ไทย - ลาว ครั้งที่ ๒ ได้ ช่วยสนับสนุนในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทย และ สปป.ลาว โดยช่วยเพิ่มพูน ประสบการณ์และเพิ่มความสามารถของนักศึกษาแต่ละคน ให้นำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาประเทศตน เพื่อให้พร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนไปพร้อมๆ กัน” นักศึกษามหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ กล่าว อนุสารอุดมศึกษา

21


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

ด้านนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ นางสาวชลธิ ด า

กฤดากร ณ อยุธยา กล่าวว่า การเข้าร่วมกิจกรรม ครั้งนี้ ทำให้นักศึกษาทั้ง ๒ ประเทศ ได้เรียนรู้และ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของกันแต่ละกัน ซึ่งสามารถ สนับสนุนในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของ ประเทศไทยและ สปป. ลาวได้ โดยการสร้ า ง

เครือข่ายให้แก่ประเทศของตน รวมถึงการพัฒนา ประเทศของตน เพื ่ อ ให้ ก ้ า วเข้ า สู ่ ป ระชาคม อาเซียนอย่างสมบูรณ์แบบ

22

อนุสารอุดมศึกษา

การเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมในครั ้ ง นี ้ ข อง

นักศึกษา ทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาลาว จึงถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ไม่มีในห้องเรียน เป็นกำไรชีวิตที่ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งมีความแตกต่างทั้งด้านวิถีการดำเนินชีวิต รู ป แบบการทำงาน ภาษา และวั ฒ นธรรม

สิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการปรับ ตั ว ของนั ก ศึ ก ษาในการเตรี ย มพร้ อ มเป็ น สมาชิ ก ของประชาคมอาเซี ย นในปี ๒๕๕๘ ต่อไป  สะบายดี หลวงพระบาง 


ภารกิจ ผู้บริหาร สกอ.

๑ เมษายน ๒๕๕๕ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ

คณะกรรมการการอุดมศึกษาธิการ ร่วมถวายเครื่องสังเวยและ สักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๖ รวมทัง้ สักการะพระพุทธ รูปประจำกระทรวง และพระภูมิ ตลอดจนร่วมพิธีทำบุญในโอกาส ครบรอบ ๑๒๐ ปี กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย

ผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง และข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการร่ ว มงาน

ณ กระทรวงศึกษาธิการ นายอภิ ช าติ จี ร ะวุ ฒิ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการ อุดมศึกษา เป็นประธานการประชุมการ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ ของสำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมี ผู ้ อ ำนวยการสำนั ก

ผู้แทนหน่วยงานในกำกับของ สกอ.

ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด ผู้จัดเก็บ ข้ อ มู ล ตั ว ชี ้ ว ั ด คณะทำงาน PMQA จากทุกสำนัก/หน่วยงาน และผูแ้ ทนจากสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมเข้าประชุม ณ ห้องประชุม ศาสตราจารย์ ว ิ จ ิ ต ร ศรี ส อ้ า น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมือ่ เร็วๆ นี้ ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ขอแสดงความยินดีกบั นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ ผูอ้ ำนวยการสำนักยุทธศาสตร์อดุ มศึกษาต่างประเทศ สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เนื ่ อ งจากที ่ ป ระชุ ม

คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕ มีมติแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่ ง ผู ้ ต รวจราชการกระทรวง สำนั ก งานปลั ด กระทรวง ศึกษาธิการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นต้นไป

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒ เมษายน ๒๕๕๕ - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานให้โอวาทแก่คณะนักกีฬา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทีจ่ ะเข้าร่วมการแข่งขัน กีฬาบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๑ ‘วลัยลักษณ์เกมส์’ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วจิ ติ ร ศรีสอ้าน ‘วลัยลักษณ์เกมส์’ จะจัดขึน้ ในระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๕ เมษายน ๒๕๕๕ ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึง่ จะมี การแข่งขันกีฬา จำนวน ๑๗ ประเภท ได้แก่ กรีฑา ว่ายน้ำ ฟุตบอล วอลเลย์บอล กอล์ฟ เซปักตะกร้อ เทนนิส เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน เปตอง ตะกร้อลอดห่วง โบว์ลง่ิ ลีลาศ แอโรบิค ครอสเวิรด์ สนุกเกอร์/ บิลเลียด และหมากกระดาน

สถาบั น เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า เจ้ า คุ ณทหารลาดกระบั ง

จัดพิธีการส่งมอบพื้นที่ฟื้นฟูจังหวัดนครปฐมและปิดโครงการศูนย์

ช่วยเหลือและฟื้นฟูทางด้านวิศวกรรมผู้ประสบอุทกภัยของรัฐบาล (ระยะสัน้ ) ซึง่ ได้รบั เกียรติจาก ฯพณฯ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี และนายกสภาสถาบั น เป็ น ประธานในพิธี ณ โรงเรียนวัด เวฬุวนาราม จังหวัดนครปฐม ทั ้ ง นี ้ มี ผู ้ แ ทนจากสำนั ก งาน

คณะกรรมการอุ ด มศึ ก ษา

เข้าร่วมพิธี เมือ่ เร็วๆ นี้ สำนั กงานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา โดยโครงการ มหาวิ ท ยาลั ย ไซเบอร์ ไทย จั ด โครงการ “TCU Academy” อบรมผ่านระบบออนไลน์ฟรี (Full Online) เพือ่ การพัฒนาทักษะความรู้ ของบุคลากรทางการศึกษา ตั้งแต่เดือนมีนาคม - กันยายน ๒๕๕๕

เมื่ออบรมจบหลักสูตรตามกำหนด จะได้รับใบประกาศนียบัตร ทั้งนี ้ ไม่ ค ิ ด ค่ า ใช้ จ ่ า ยใดๆ ทั ้ ง สิ ้ น สามารถดู ร ายละเอี ย ดเพิ ่ ม เติ ม ได้ ท ี ่ http://academy.thaicyberu.go.th/ หรือสอบถามได้ท่ี โทร. ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๓๓ อนุสารอุดมศึกษา

23



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.