อนุสารอุดมศึกษา issue 447

Page 1

อุดมศึกษา อนุสาร

LOGO

ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๔๔๗ ประจำ�เดือนกันยายน ๒๕๕๘

เอกสารเผยแพร่ของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web


สารบัญ

CONTENT

๑๗

ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๔๔๗ ประจำ�เดือนกันยายน ๒๕๕๘

เรื่องเล่าอุดมศึกษา รมว.ศธ. มอบนโยบายด้านอุดมศึกษา สกอ. และประชาคมอุดมศึกษาร่วมกำ�หนดแผนยาว ๑๕ ปี เสริมสร้างความเป็นพลเมืองในอุดมศึกษา วิเคราะห์บทบาท สกอ. การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO RIHED ครั้งที่ ๒๓ จัดทำ�แผนบริหารความเสี่ยง ความร่วมมือโครงการแผนโคลัมโบครั้งใหม่ เสริมสร้างความรู้ ต่อต้านการทุจริต The 3rd ASEAN Citation Index Steering Committee Meeting เสริมสร้างศักยภาพผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ‘ทุนเฉลิมราชกุมารี’ ASEAN International Mobility for Students (AIMS) Programme

เรื่องพิเศษ 2

การประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษาสัญจร ครั้งที่ ๖

๒๓

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

๑๗ ๒๑

การปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๓

คณะผู้จัดทำ�

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา

รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ นายสุภัทร จำ�ปาทอง รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม นายขจร จิตสุขุมมงคล นางสาวสุมัณฑนา จันทโรจวงศ์ บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๒ ๙๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๔๓๓ ๒๗๔๒


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

รมว.ศธ. มอบนโยบายด้านอุดมศึกษา ๑๐ กันยายน ๒๕๕๘ - พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีชว่ ยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจเยีย่ ม และมอบนโยบายให้ แ ก่ ผู ้ บ ริ ห ารส�ำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา โดยมีรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา นายสุภัทร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา และนายขจร จิตสุขุมมงคล ผู้ช่วย เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยผูบ้ ริหาร ข้าราชการ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้การต้อนรับและรับฟัง นโยบาย ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ กล่าวว่า ขอให้ สกอ. กลับไปดูแผนและทิศทางการท�ำงาน ว่าสอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะเรื่องการผลิตก�ำลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ รวมถึงแผนการท�ำงานอื่นๆ ที่จะต้องให้เกิดการเชื่อมโยงและประสาน สอดคล้องระหว่างกลุม่ มหาวิทยาลัยด้วยกัน นอกจากนีน้ ายกรัฐมนตรี ต้องการให้เห็นภาพว่าภายในเดือนกันยายน ๒๕๕๙ จะเกิดผลลัพธ์ (outcome) อะไรบ้าง ดังนั้นการก�ำหนดแผนในระยะแรกควรจะเห็น ผลชัดเจนภายในกรอบเวลาดังกล่าว ซึง่ ต้องตอบค�ำถามได้วา่ จะเห็นผล อะไร เรือ่ งใดบ้าง และระยะต่อไปจะเห็นผลอะไรบ้าง อาจก�ำหนดไว้ใน เป้าหมายหลักและเป้าหมายรอง โดยเสนอแนะให้น�ำตารางประสาน สอดคล้องเป็นเครื่องมือที่ส�ำคัญในการจัดท�ำ Roadmap รวมทั้งย�้ำ ให้เห็นความส�ำคัญของการสือ่ สารภายในองค์กร เพือ่ จะให้ทศิ ทางการ ท�ำงานตรงกันและเข้าใจตรงกันด้วย รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า ส�ำหรับการจัดท�ำแผนอุดมศึกษา ระยะยาว ๑๕ ปี ขอให้ สกอ. วางแผนและทิศทางให้ชัดเจนและ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะต้องท�ำให้เป็นทีย่ อมรับแก่ สังคม และหากแผนดังกล่าวมีความชัดเจน แม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาล

ก็ไม่มใี ครมาเปลีย่ นแปลงแผนได้ นอกจากนี้ สถาบันอุดมศึกษาควรจะ ต้องค�ำนึงถึงแนวทางด�ำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการลดเวลา เรียนในชั้นเรียน และช่วงเวลาที่เหลือจะจัดกิจกรรมที่เน้นการพัฒนา ผูเ้ รียน ซึง่ ผูป้ กครองกังวลว่าเมือ่ ลดเนือ้ หาวิชาการลง แต่มหาวิทยาลัย ยังคงสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบเดิม เด็กจะต้องไปเร่งกวดวิชาตั้งแต่ ระดับประถมศึกษา กลายเป็นปัญหาใหญ่ต่อไป ด้ า นรองศาสตราจารย์ พิ นิ ติ รตะนานุ กู ล เลขาธิ ก าร คณะกรรมการการอุดมศึกษากล่าวว่า สกอ. ได้วางแนวทางขับเคลือ่ น สถาบันอุดมศึกษาของไทยในช่วง ๑๐ ปีข้างหน้า คือ ๓ Track University ได้แก่ (๑) Research University (๒) Teaching University (๓) Technology University โดยมี โ ครงการ ส�ำคัญที่จะด�ำเนินการภายใต้นโยบายรัฐบาลปัจจุบัน คือ โครงการ คุรุทายาท ที่จะด�ำเนินการร่วมกับส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้ น พื้ น ฐาน โครงการขั บ เคลื่ อ นมหาวิ ท ยาลั ย ไทยสู ่ ม หาวิ ท ยาลั ย ระดับโลก โครงการพัฒนาของทรัพยากรมนุษย์ในอุดมศึกษาเพื่อ รองรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก และโครงการทุนช่างเทคนิค และบัณฑิตนักปฏิบตั ิ (Technician & Technologist Scholarship : TTS) ซึ่งจะมาแทนโครงการ ๑ อ�ำเภอ ๑ ทุน ที่ด�ำเนินการร่วมกับ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

3

นโยบายรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ : ด้านการอุดมศึกษา • ก�ำหนดบทบาทการผลิตนักศึกษาให้ชดั เจน ตามความ ถนัดและความเป็นเลิศของแต่ละสถาบัน เพื่อลดความซ�้ำซ้อน • ผลลัพธ์ (outcome) ที่สถาบันอุดมศึกษาควรมี เช่น การวิจัยพัฒนาจนเกิดเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากทรัพยากรท้องถิ่น เพิ่มมูลค่าการส่งออกของประเทศ • สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ ท�ำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้แก่ โรงเรียนในการพัฒนาท้องถิ่น อนุสารอุดมศึกษา


สกอ. และประชาคมอุดมศึกษา ร่วมกำ�หนดแผนยาว

4

๒๘ สิ ง หาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อก�ำหนดทิศทางแผน อุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๔) ณ โรงแรม รามา การ์เด้นส์ โดยได้รับเกียรติจาก พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม และ ดร.อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ ดร.สุเมธ แย้มนุ่น ประธานคณะอนุกรรมการกรอบแผนอุดมศึกษา ระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๔) และแผนพัฒนาการ ศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) เป็นวิทยากร บรรยายพิเศษเพื่อให้ความรู้และมุมมองภาพอนาคตประเทศไทย รวมทัง้ ทิศทางของแผนและบทบาทของอุดมศึกษาในการเตรียมรองรับ แนวโน้มใหม่ที่จะเกิดขึ้น พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ กล่าวว่า การประชุมวันนี้เป็นเวทีหนึ่งที่จะกระตุ้นและ สร้างความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของประชาคมอุดมศึกษา ในการ ร่วมก�ำหนดทิศทางการอุดมศึกษาใน ๑๕ ปีขา้ งหน้า เพือ่ ให้อดุ มศึกษา เป็นกลไกหลักในการพัฒนาประเทศและท้องถิน่ อย่างสมดุลและยัง่ ยืน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการปฏิรูปประเทศและปฏิรูป การศึกษา เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนา คนได้เต็มตามศักยภาพ ประกอบอาชีพและด�ำรงชีวิตได้ โดยมีความ

อนุสารอุดมศึกษา

๑๕ ปี

ใฝ่รู้และทักษะที่เหมาะสม เป็นคนดีมีคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพ การเรียนรู้ โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างสัมมาชีพในพื้นที่ ลดความ เหลือ่ มล�ำ้ และพัฒนาก�ำลังคนให้เป็นทีต่ อ้ งการเหมาะสมกับพืน้ ที่ รวมทัง้ นโยบายด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และ นวัตกรรม และด้านการรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการ สร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เป็นต้น รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้แนวทางการปฏิรูปการศึกษา ไว้ ๓ ประการ คือ ประการแรก ‘การพัฒนาคน’ ต้องได้รับการพัฒนา เป็นอันดับแรก เพราะการพัฒนาประเทศทุกด้านต้องขับเคลื่อนด้วยคน การศึ ก ษาที่ ดี จึ ง ต้ อ งทั่ ว ถึ ง เท่ า เที ย ม และมี คุ ณ ภาพให้ ไ ด้ โดย เป็นการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต ไม่ใช่เฉพาะการศึกษาในระบบแต่ ต้องครอบคลุมถึงแรงงานในประเทศ ประการที่สอง ‘คุณภาพการ ศึกษา’ ต้องมุ่งเสริมสร้างศักยภาพของความเป็นมนุษย์ให้เป็นคนใฝ่รู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รู้ผิดชอบชั่วดี รู้จักการคิด วิเคราะห์หาเหตุผล มีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตส�ำนึกที่ดีต่อส่วนรวม ต่อการช่วยเหลือเพื่อนร่วมแผ่นดิน และมีงานท�ำที่มั่นคง และประการ ที่สาม ‘โลกยุคใหม่’ การศึกษาอาจจะไม่ใช่แค่การให้ความรู้ท่องจ�ำกัน แบบเดิม ต้องเสริมสร้างศักยภาพในการเรียนรูต้ ลอดชีวติ ให้กบั ประชากร ทุกวัย เพื่อให้ประชากรทุกวัยเป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาประเทศ ในทุกๆ ด้านตลอดไป


นอกจากนี้ ในเรื่องเชิงโครงสร้างและระบบการศึกษา จะมี การกระจายบทบาทความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาลงไปเป็นการ จัดการเชิงพื้นที่จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด เพื่อให้การศึกษาเกิดความ หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของแต่ละพื้นที่ได้ตามบริบท เศรษฐกิ จ และภู มิ สั ง คมแต่ ล ะพื้ น ที่ รวมทั้ ง เขตพั ฒ นาพิ เ ศษต่ า งๆ ที่เป็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยควรมีรูปแบบการจัดการศึกษาและ การวิจัยพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีขึ้นมารองรับ ในพื้นที่พัฒนาพิเศษเหล่านี้ด้วยในอนาคต ซึ่งเรื่องวิจัยและพัฒนา กระบวนการผลิตเป็นสิ่งส�ำคัญที่จะสร้างนวัตกรรม สร้างความเจริญ ทันสมัยให้กับท้องถิ่นและประเทศชาติ เพื่อให้ทันต่อโลกภายนอก และจะสร้างอาชีพ รายได้ประเทศในระยะต่อไป “กระทรวงศึกษาธิการยินดีที่จะร่วมผลักดันให้อุดมศึกษา มีส่วนในการสนับสนุนการผลิตก�ำลังคนและงานวิจัยระดับสูง เพื่อการ ขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูปการศึกษาของประเทศและโครงการลงทุน ขนาดใหญ่ของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาระบบคมนาคม โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โครงการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคม (Digital Economy) โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำ ขยะ และสิง่ แวดล้อม และเป็นหัวรถจักรในการขับเคลือ่ นพัฒนาประเทศไทย อย่างยั่งยืน” รมว.ศธ. กล่าว ด้านรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า การจัดท�ำแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี มีความส�ำคัญต่อการพัฒนาอุดมศึกษา เพือ่ ใช้เป็นแผนชีน้ �ำทิศทาง และพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาของประเทศให้ด�ำเนินการตามพันธกิจ

ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นกลไกหนึ่งในการเพิ่มขีดความ สามารถและศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ รองรับความท้าทาย และการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ได้ด�ำเนินการทบทวนกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบั บ ที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๖๕) และจั ด ท�ำแผนอุ ด มศึ ก ษา ระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๔) ในลักษณะ Rolling Plan เพื่อให้สามารถคาดการณ์สถานการณ์มองเชิงรุกไป ข้างหน้าและมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ซึ่งจะเป็น แผนแม่บทส�ำหรับการจัดท�ำแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา รวม ๓ ฉบับ คือ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๕ - ๒๕๖๙) และฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๗๐ - ๒๕๗๔) การประชุ ม ในครั้ ง นี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ให้ ส ถาบั น อุดมศึกษารับทราบแนวทางการจัดท�ำแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๔) โดยเน้นการมีสว่ นร่วมจากประชาคม อุดมศึกษาและทุกภาคส่วนในสังคม รวมทั้งเชื่อมโยงกับทิศทางการ พัฒนาประเทศและรัฐบาล เพื่อผลักดันให้อุดมศึกษาเป็นกลไกหลัก ในการขั บ เคลื่ อ นการพั ฒ นาประเทศควบคู ่ กั บ การพั ฒ นาชุ ม ชน ท้องถิน่ เชือ่ มรอยต่อการศึกษาในระดับต่างๆ ตัง้ แต่ระดับการศึกษาขัน้ พื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงบริบทโลก และของประเทศไทย

5

เลขาธิการ กกอ. กล่าว

อนุสารอุดมศึกษา


เสริมสร้างความเป็นพลเมืองในอุดมศึกษา

6

๑๘ กันยายน ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา จั ด การประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร เรื่ อ ง การศึ ก ษาเพื่ อ ความเป็นพลเมืองระดับอุดมศึกษา ประจ�ำปี ๒๕๕๘ ณ โรงแรม แอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองในระดับ อุดมศึกษาของต่างประเทศ และสามารถน�ำความรูท้ ไี่ ด้รบั ไปประยุกต์ ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยได้ รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุม และ Ms. Kirsti Westphalen, Ambassader Extraordinary and Plenipotentiary The Embassy of Finland เป็นวิทยากรถ่ายทอดบทเรียนของ ประเทศฟินแลนด์ ในประเด็น การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองใน ฐานะเครื่องมือของประชาธิปไตย รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา ตระหนั ก ถึ ง ความส�ำคั ญ ของการสร้ า งเยาวชนหรื อ ประชากรวั ย เรี ย นให้เป็น ผู้ที่มีความเป็น พลเมือง จึงยิ น ดี ทุ ่ มเท ทรัพยากรและสรรพก�ำลังในการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างความ เป็นพลเมืองของประชากรของประเทศ โดยการสนับสนุนให้สถาบัน อุดมศึกษาพัฒนาการจัดการศึกษาด้านการสร้างความเป็นพลเมือง ตามบริบทของแต่ละกลุม่ สถาบัน โดยทีย่ ทุ ธศาสตร์พฒ ั นาการศึกษา เพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๖๑ มีวัตถุประสงค์ (๑) เพือ่ พัฒนาการศึกษาทีส่ ร้างความเป็นพลเมือง (Civic Education) ในรูปกิจกรรมที่เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความ คิ ด เห็ น และการลงมื อ ปฏิ บั ติ เพื่ อ ให้ ผู ้ เรี ย นมี ทั ก ษะรอบด้ า น เพื่อประโยชน์ของตนเอง สังคมประเทศ ไปจนถึงเพื่อประโยชน์ ของมนุษยชาติ และ (๒) เพื่อเสริมสร้าง/ฝึกฝนคุณลักษณะของ ความเป็นพลเมืองให้กับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ โดยเฉพาะในช่วง

อนุสารอุดมศึกษา

เปลี่ยนผ่าน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณาจารย์ และบุคลากร ทางการศึกษา ผู้เรียน ครอบครัว ชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ประชาชน ทั่วไป และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการเป็นแบบอย่างที่ดี มีพลังในสังคม ส�ำหรับท�ำหน้าที่หล่อหลอมปลูกฝังอุปนิสัย ค่านิยม ความเป็นพลเมืองให้กับเด็กและเยาวชนได้อย่างลึกซึ้ง “โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็น ‘สังคม พลเมือง’ (Civil Society) ที่หมายถึง ประเทศที่ประกอบด้วยสมาชิก ที่ตระหนักในพลังของตนเอง และร่วมกันสร้าง ‘สังคมที่เข้มแข็ง’ ในมิติต่างๆ อาทิ การเมือง สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ ประเทศไทยมีความมั่นคง ประชาชนแต่ละกลุ่มความคิด ความเชื่อ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและปราศจากความรุนแรง ภายใต้ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเพื่อเตรียมความพร้อมทรัพยากรบุคคลของประเทศในการก้าวสู่ การเป็นประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกอย่างสมศักดิ์ศรี และ เป็นพลังส�ำคัญในการสร้างสันติภาพถาวร รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งใน การร่วมแก้ปัญหาของโลกและมนุษยชาติ ทั้งในฐานะพลเมืองไทย และพลเมืองโลก ซึ่งยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็น พลเมือง ได้สอดรับกับนโยบายค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เป็นนโยบายให้คนใน สังคมไทยยึดถือและก�ำหนดการกระท�ำของตนเอง โดยเฉพาะใน ประเด็น ‘ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อ ส่วนรวม’ ‘เข้าใจเรียนรูก้ ารเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริยท์ รง เป็นประมุขทีถ่ กู ต้อง’ ‘รูจ้ กั ด�ำรงตนอยูโ่ ดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงตามพระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว’ ‘ค�ำนึง ถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของ ตนเอง’ ทั้งนี้ สกอ. มุ่งหวังว่าสถาบันอุดมศึกษาจะได้น�ำแนวทางที่ได้ รับในวันนี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของสถาบันของท่าน ต่อไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าว


วิเคราะห์บทบาท สกอ. ๑๖ กั น ยายน ๒๕๕๘ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ ‘การวิเคราะห์บทบาท ภารกิจของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา’ โดยได้รบั เกียรติ จากรองศาสตราจารย์พนิ ติ ิ รตะนานุกลู เลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา เป็นประธานพิธเี ปิดการประชุม ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ ประเสริฐ ณ นคร รองศาสตราจารย์ พิ นิ ติ รตะนานุ กู ล เลขาธิ ก ารคณะ กรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อให้ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีข้อมูลที่เพียงพอ ในการปรับปรุงบทบาทภารกิจให้สอดคล้อง เหมาะสม รองรับต่อ การเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยมีการวางแผนจัดสรรอัตราก�ำลังที่ เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ เตรียมรองรับการพัฒนาที่มีศักยภาพ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึง่ เป็นโอกาสดี

7

ในการทีจ่ ะทบทวนบทบาทภารกิจ และน�ำไปใช้ปรับปรุงพัฒนาระบบ งานให้เกิดความคล่องตัว และวางแผนโครงสร้างองค์กรให้ท�ำงาน อย่างมีประสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้ “ขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันระดมความคิดเห็น โดยน�ำ ความรูแ้ ละข้อแนะน�ำทีไ่ ด้รบั จากท่านวิทยากรใช้เป็นแนวทางในการ วิเคราะห์ ทบทวนภารกิจงานในปัจจุบัน เพื่อจัดระบบการท�ำงาน และช่วยกันพิจารณางานและภารกิจของแต่ละส�ำนัก/หน่วยงาน ว่างานใดควรด�ำเนินการ หรือปรับปรุงกระบวนการท�ำงาน งานใด ควรถ่ายโอน ยกเลิก หรือควรจัดท�ำภารกิจใดเพิ่มเติม เพื่อเป็นการ พัฒนาประสิทธิภาพการท�ำงานของส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ในการส่งเสริมสนับสนุนและก�ำกับคุณภาพมาตรฐาน สถาบันอุดมศึกษาต่อไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

อนุสารอุดมศึกษา


การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO RIHED ครั้งที่ ๒๓

8

๑๔ กันยายน ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์พนิ ติ ิ รตะนานุกลู เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในฐานะประธานคณะ กรรมการบริหารศูนย์ซมี โี อ ไรเฮด (SEAMEO RIHED) เข้าร่วมการ ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO RIHED ครั้งที่ ๒๓ ณ โรงแรม เดอะ เซ็นเตอร์พอยท์ เมืองบันดาร์เสรีเบกาวัน บรูไน ดารุสซาลาม รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา กล่าวเปิดการประชุมและกล่าวถึงความ ส�ำคัญของการพัฒนาการวิจยั ให้มคี วามเข้มแข็ง อันจะน�ำไปสูก่ าร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ โดยการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจยั และงานวิจยั ไปสู่ระดับภูมิภาคผ่านโครงการที่มีอยู่แล้วหรืออยู่ในระหว่างการ ริเริม่ เช่น ASEAN Citation Index, ASEAN Research Cluster หรือกิจกรรมอื่นๆ ในอนาคต ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาของประเทศ สมาชิกจะมีบทบาทส�ำคัญในการยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม รวมถึงขีดความสามารถในการแข่งขันของภูมภิ าค

อนุสารอุดมศึกษา

ในขณะที่ Dr. Hazri bin Haji Kifle, Director of Planning, Research and Development กระทรวงการศึกษา บรูไนดารุสซาลาม และกรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO RIHED ในฐานะผู ้ แ ทนประเทศเจ้ า ภาพ ได้ ก ล่ า วต้ อ นรั บ ผู ้ เข้ า ร่ ว ม การประชุม โดยเน้นย�้ำความส�ำคัญของการพัฒนาการศึกษา อย่างยั่งยืนด้วยการให้ผู้เรียนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ได้รับ การเพิ่มพูนทักษะที่จ�ำเป็นและการจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบัน บทบาทของการอุดมศึกษาและการศึกษาเทคนิคและอาชีวศึกษา และการฝึกอบรม (Technical and Vocational Education and Training: TVET) มีความส�ำคัญอย่างมากในการพัฒนา แรงงานที่มีฝีมือเพื่อให้ทันต่อความต้องการและการแข่งขันใน ตลาดโลก ดังนั้น ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึง มีความจ�ำเป็นเพื่อผลักดันให้มีกิจกรรมและหลักสูตรที่สอดรับ กับความต้องการ สร้างโอกาสในการฝึกงานและฝึกปฏิบัติเพื่อ เสริมสร้างประสบการณ์และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อความ ก้าวหน้าในอาชีพการท�ำงาน


การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO RIHED จัดขึน้ เป็นประจ�ำทุกปี มีวตั ถุประสงค์เพือ่ รายงานผลการด�ำเนินงานในรอบปี และพิจารณาแผนงานและแผนงบ ประมาณในปีถดั ไป ซึง่ ในครัง้ นี้ บรูไนดารุสซาลาม โดยกระทรวงการศึกษาเป็นประเทศ เจ้าภาพจัดการประชุม มีผเู้ ข้าร่วมการประชุม ได้แก่ กรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO RIHED จากประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย สปป. ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม บรูไนดารุสซาลาม และผูแ้ ทนทีไ่ ด้รบั มอบหมาย นอกจากนี้แล้ว ในแต่ละปีก�ำหนดให้มีการสัมมนา Regional Seminar ควบคูไ่ ปกับการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ SEAMEO RIHED โดยหัวข้อในการ สัมมนาครัง้ นี้ คือ “Bridging Higher Education and Technical and Vocational Education and Training to Create Flexible Education Pathways and to Improve Students’ Employability” มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ แนวทางการบูรณาการร่วมระหว่างการอุดมศึกษาและการศึกษาเทคนิคและอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการผลิตบัณฑิต สูต่ ลาดแรงงาน ส�ำหรับประเทศไทยได้รบั เกียรติจากผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์พชั นี นนทศักดิ์ คณบดี คณะการจัดการและการท่องเทีย่ ว มหาวิทยาลัยบูรพา ซึง่ เป็นผูท้ มี่ ปี ระสบการณ์และ ความเชีย่ วชาญด้านสหกิจศึกษาเข้าร่วมน�ำเสนอแนวปฏิบตั ทิ ดี่ ขี องประเทศไทยในการ สัมมนาดังกล่าว

9

อนุสารอุดมศึกษา


จัดทำ�แผนบริหารความเสี่ยง

10

๑ กันยายน ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบตั กิ ารการจัดท�ำแผนบริหาร ความเสี่ยง ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร โดยได้ รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธเี ปิดการประชุม รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า การประชุมสัมมนาครัง้ นี้ จะท�ำให้ บุคลากร สกอ. มีความเข้าใจเกีย่ วกับการจัดท�ำแผนบริหารความเสีย่ ง การระบุความเสีย่ งและปัจจัยเสีย่ ง การวิเคราะห์ ประเมิน และจัดการ ความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงตาม มาตรฐาน COSO สามารถน�ำความรูใ้ นการบริหารความเสีย่ งไปปรับใช้ ในการปฏิบตั งิ านให้บรรลุความส�ำเร็จตามเป้าหมายทีก่ �ำหนด ซึง่ การ บริหารความเสีย่ งเป็นเครือ่ งมือทีจ่ ะช่วยให้สามารถบริหารจัดการกับ ความเสี่ยงในการบริหารงานและการด�ำเนินงาน ด้วยการพิจารณา ความเสีย่ ง อาทิ ในด้านการเงิน สังคม จริยธรรม กฎหมาย ข้อบังคับ และด้านอืน่ ๆ เป็นต้น ซึง่ ท�ำให้มโี อกาสทีจ่ ะบรรลุวตั ถุประสงค์มากขึน้ รวมทั้งเกิดโอกาสในการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และ การให้บริการประชาชน

อนุสารอุดมศึกษา

ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๘ ได้เห็นชอบให้ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ ราชการ (กพร.) น�ำเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหาร จัดการภาครัฐ (PMQA) เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการยก ระดับมาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยเกณฑ์ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ระดับ พืน้ ฐานในหมวด ๒ การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ก�ำหนดให้สว่ น ราชการต้องมีการวิเคราะห์และจัดท�ำแผนบริหารความเสี่ยง ตามมาตรฐาน COSO เพือ่ เตรียมการรองรับการเปลีย่ นแปลง ทีอ่ าจเกิดขึน้ จากการด�ำเนินแผนงาน/โครงการทีส่ �ำคัญ ซึง่ ต้อง ครอบคลุมความเสีย่ งด้านธรรมาภิบาล


ความร่วมมือโครงการแผนโคลัมโบครั้งใหม่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์พนิ ติ ิ รตะนานุกลู ร่วมงานเลี้ยงเพื่อเฉลิมฉลองความร่วมมือของสถาบันการศึกษา และภาคธุ ร กิ จ ในโครงการแผนโคลั ม โบครั้ ง ใหม่ ใ นประเทศไทย ณ ท�ำเนียบเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจ�ำประเทศไทย ซึง่ จัดโดย สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจ�ำประเทศไทย งานเลี้ยงนี้ เป็นส่วนหนึ่งของก�ำหนดการเดินทางเยือนประเทศไทยของ ฯพณฯ สตีเวน โชโบ เลขาธิการสภาประจ�ำรัฐมนตรีต่างประเทศ และ เลขาธิ ก ารสภาประจ�ำรั ฐ มนตรี ก ารค้ า และการลงทุ น ประเทศ ออสเตรเลีย โดย ฯพณฯ พอล โรบิลลิอาร์ด เอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ประจ�ำประเทศไทย ได้ เชิ ญ ผู ้ แ ทนจากสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทย และบริษัทที่รับนักศึกษาออสเตรเลียภายใต้โครงการแผนโคลัมโบ ครั้งใหม่เข้าศึกษาและฝึกงาน นักศึกษาออสเตรเลียภายใต้โครงการ แผนโคลัมโบครั้งใหม่ ผู้แทนจากหอการค้าออสเตรเลีย-ไทย และ ผู้ได้รับรางวัลศิษย์เก่าออสเตรเลียดีเด่น เข้าร่วมงานดังกล่าว รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา ในฐานะผูแ้ ทนฝ่ายไทย กล่าวขอบคุณรัฐบาล ออสเตรเลียทีไ่ ด้รเิ ริม่ โครงการแผนโคลัมโบครัง้ ใหม่นขี้ นึ้ มา และท�ำให้ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศมีความร่วมมือที่ดีระหว่างกัน ซึ่งในอดีตรัฐบาลออสเตรเลียได้สนับสนุนทุนให้แก่นักศึกษาไทย ไปศึ ก ษาต่ อ ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาออสเตรเลี ย ภายใต้ โ ครงการ

แผนโคลัมโบ และนักศึกษากลุ่มดังกล่าวได้กลับมามีบทบาทส�ำคัญ ทั้ ง ในภาครั ฐ และเอกชนของประเทศไทย โดยเชื่ อ ว่ า นั ก ศึ ก ษา ออสเตรเลียที่เข้าร่วมโครงการแผนโคลัมโบครั้งใหม่ก็จะกลับไปเป็น ก�ำลังส�ำคัญของประเทศออสเตรเลียเช่นเดียวกัน รวมทั้งจะช่วย เผยแพร่ข้อมูลและประสบการณ์เกี่ยวกับประเทศไทยให้ออสเตรเลีย รูจ้ กั ต่อไป ทัง้ นี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายินดีทจี่ ะช่วย ประสานและให้ความช่วยเหลือในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่ออ�ำนวยความ สะดวกในการด�ำเนินโครงการแผนโคลัมโบครั้งใหม่ในประเทศไทย รวมทั้งเพิ่มจ�ำนวนนักศึกษาออสเตรเลียที่จะมาเข้าร่วมโครงการ โครงการแผนโคลัมโบครั้งใหม่เป็นโครงการที่รัฐบาล ออสเตรเลียสนับสนุนงบประมาณให้นักศึกษาออสเตรเลียระดับ ปริ ญญาตรี ไ ปศึ ก ษา/วิ จั ย /ฝึ ก งานไม่ เ กิ น ๑ ปี ในประเทศแถบ อินโด-แปซิฟิก และถ่ายโอนหน่วยกิตกลับไปยังสถาบันอุดมศึกษา ต้นสังกัด โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นประเทศเจ้าภาพในโครงการ แผนโคลัมโบครั้งใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และมีนักศึกษาออสเตรเลีย ระดับปริญญาตรีด้านระบบสิ่งแวดล้อมจาก The University of Sydney จ�ำนวน ๑ คน ได้ รั บ คั ด เลื อ กให้ เข้ า ร่ ว มโครงการ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นระยะเวลา ๑ ปี และมีนักศึกษาจ�ำนวน ๑๖๐ คน ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการในสถาบันอุดมศึกษาไทย เป็นระยะเวลา ๑ สัปดาห์ - ๖ เดือน

11

อนุสารอุดมศึกษา


เสริมสร้างความรู้ ต่อต้านการทุจริต 12

๒๒ กันยายน ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดโครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการต่อต้าน การทุจริต การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนและหลักธรรมาภิบาล ในการปฏิบตั ริ าชการ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร โดยได้รับเกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธเี ปิดการประชุม นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ แสดงเจตจ�ำนงและมีสว่ นร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต อย่างแท้จริง โดยได้มกี ารจัดท�ำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ของข้าราชการและลูกจ้างของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต ประพฤติมชิ อบของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามที่รัฐบาลได้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ และมีนโยบาย ให้สอดแทรกประเด็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตไว้ใน ทุกแนวนโยบายการด�ำเนินงานของรัฐบาล นอกจากนี้ ส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษาได้จดั โครงการให้ความรู้ ปลุกจิตส�ำนึกในการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้กบั เครือข่ายภาครัฐต่อต้านการ ทุจริต ภายใต้โครงการ ‘ข้าราชการไทยไร้ทจุ ริต’ โดยความร่วมมือกับ ส�ำนักงาน ป.ป.ท. เมือ่ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ทีผ่ า่ นมา

อนุสารอุดมศึกษา

รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รปั ชัน่ มีระดับความรุนแรงอยูใ่ นภาวะวิกฤติ ส่งผลกระทบต่อความมัน่ คงของ ชาติในทุกด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยเฉพาะ ผลกระทบต่อระบบราชการอันเป็นโครงสร้างส�ำคัญในการบริหาร ราชการแผ่นดิน การทุจริตมีลกั ษณะเป็นวัฏจักรและเครือข่ายทีเ่ กิดขึน้ ในทุกระดับและเป็นระบบ มีรูปแบบการทุจริตที่หลากหลาย เช่น การทุจริตเชิงนโยบาย การทุจริตต่อต�ำแหน่งหน้าทีร่ าชการ การทุจริต ในการจัดซื้อจัดจ้าง การทุจริตในการให้สัมปทาน และอื่นๆ ซึ่งจาก การจัดอันดับขององค์กรเพือ่ ความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : CPI) ได้จดั อันดับดัชนีชวี้ ดั ภาพลักษณ์ปญ ั หาคอร์รปั ชัน่ ของประเทศต่างๆ ทัว่ โลก (Corruption Perceptions Index) โดยดัชนี คอร์รปั ชัน่ ของประเทศไทยดีขนึ้ จากอันดับที่ ๑๐๒ จาก ๑๗๗ ประเทศ ในปี ๒๕๕๖ มาอยูอ่ นั ดับที่ ๘๕ จาก ๑๗๕ ประเทศ ในปี ๒๕๕๗ “การทีป่ ระเทศไทยมีอนั ดับดีขนึ้ เป็นเพราะหลายภาคส่วน ได้พยายามร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะรัฐบาลที่ประกาศต่อต้าน การทุจริตอย่างจริงจัง และก�ำหนดเป็นหัวใจส�ำคัญในการปฏิรปู ประเทศ และภาคธุรกิจมีการตื่นตัวที่จะออกมาร่วมต่อต้านการทุจริต เพราะ คนไทยจ�ำนวนมากรู้สึกไม่พอใจต่อการทุจริตคอร์รัปชั่น และแสดง จุดยืนชัดเจนไม่ยอมรับการทุจริต รวมถึงไม่ยอมรับการโกงทุกรูปแบบ” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว


The 3rd ASEAN Citation Index Steering Committee Meeting ๑๐ กั น ยายน ๒๕๕๘ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษาร่ ว มกั บ ศู น ย์ ดั ช นี ก ารอ้ า งอิ ง วารสารไทย (ThaiJournal Citation Index (TCI) Centre) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการบริหาร โครงการพัฒนาฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสารส�ำหรับประเทศ ในกลุ่มอาเซียน ครั้งที่ ๓ (The 3rd ASEAN Citation Index (ACI) Steering Committee Meeting) ณ โรงแรม Windsor Suites and Convention โดยได้ รั บ เกี ย รติ จ ากนางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เป็ น ประธานเปิ ด การประชุม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากประเทศสมาชิกอาเซียน ๙ ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม การประชุมมีวัตถุประสงค์ ได้แก่ (๑) แนะน�ำและทดลอง ระบบน�ำร่องในการบรรจุวารสารทางวิชาการในฐานข้อมูล ACI ผ่าน ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผแู้ ทนจากศูนย์เทคโนโลยีอเิ ล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ (๒) พิจารณาวารสารทางวิชาการกลุ่มถัดไปเพื่อบรรจุลงในฐานข้อมูล ACI และ (๓) พิจารณาความเป็นไปได้ในการขอรับการสนับสนุน งบประมาณจากประเทศสมาชิกเพื่อให้การด�ำเนินงานของฐานข้อมูล ACI มีความยั่งยืน

นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวถึงผลจากการประชุมครั้งนี้ซึ่งมีความก้าวหน้า ที่ส�ำคัญว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้วารสารวิชาการชั้นน�ำของประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย จ�ำนวนทั้งหมด ๑๒๑ วารสาร บรรจุเข้าสู่ฐานข้อมูล ACI โดยในปัจจุบันมีวารสาร บรรจุในฐานข้อมูลแล้วรวมทั้งหมด ๑๖๒ วารสาร และที่ประชุม เห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมคณะ กรรมการบริหารโครงการพัฒนาฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสาร ส�ำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียน ครั้งที่ ๔ ซึ่งมีก�ำหนดจัดในปี ๒๕๕๙ ในการนี้ ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์รับพิจารณาเป็นเจ้าภาพ ในการจัดประชุมครั้งที่ ๕ และ ๖ ตามล�ำดับ

13

อนุสารอุดมศึกษา


เสริมสร้างศักยภาพผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา 14 ๒๗ สิ งหาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนัก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดพิธีปิดการฝึกอบรม ‘หลักสูตรการพัฒนานักบริหาร มหาวิทยาลัยสายวิชาการระดับสูง (นบม.)’ รุ่นที่ ๒๖ ณ โรงแรม ปทุมวัน ปริ๊นเซส โดยได้รับเกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีปิด และมอบประกาศนียบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติแก่ผผู้ า่ นการฝึกอบรม นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวแสดงความยินดีกับผู้ผ่านการฝึกอบรมว่า หลั ก สู ต รการพั ฒ นานั ก บริ ห ารมหาวิ ท ยาลั ย สาย วิชาการระดับสูง รุ่นที่ ๒๖ เป็นหนึ่งในโครงการ ทีส่ �ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามุง่ หวัง ให้เป็นส่วนส�ำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพและ ความเข้มแข็งของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นกลไกหลัก ในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ ในอนาคต ซึง่ จากการเข้าร่วมโครงการ ฝึกอบรม ทุกท่านคงจะได้รับทราบ สภาพความเป็ น จริ ง ของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทย และตระหนั ก ถึ ง

ผลกระทบของกระแสและเหตุปัจจัยจากภายนอกประเทศ ต่อการ พัฒนาขีดความสามารถของประเทศ รวมถึงความจ�ำเป็นอย่างเร่งด่วน ในการทบทวนและพัฒนาขีดความสามารถในการด�ำเนินภารกิจของ สถาบันอุดมศึกษา “ถึงเวลาที่ทุกสถาบันจะต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่โดย ร่วมคิดและร่วมมือกันในการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการด�ำเนินงาน ซึ่งกันและกัน ภายใต้มโนทัศน์ที่ว่า ‘การแข่งขันภายใต้บรรยากาศ ของความร่วมมือ’ ซึง่ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบัน อุดมศึกษาจะเป็นกลไกหนึง่ ทีท่ วีความส�ำคัญในอนาคต และโครงการนี้ น่าจะเป็นส่วนส�ำคัญทีจ่ ะจุดประกายการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นรูปธรรม และอ�ำนวยประโยชน์ต่อ การด�ำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาในอนาคต” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า ภายหลังการอบรมแล้ว ขอให้ร่วมกันสรรค์สร้างกิจกรรมอันจะเป็นการสานต่อเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างผู้บริหารที่เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่องและ ขยายต่อไปยังรุ่นต่างๆ เพื่อให้เครือข่ายความร่วมมือเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และส่งเสริมให้การด�ำเนินภารกิจของสถาบัน อุดมศึกษามีความก้าวหน้ามากยิง่ ขึน้ ทัง้ ในปัจจุบนั และอนาคต


ปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ‘ทุนเฉลิมราชกุมารี’ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาจัดโครงการปัจฉิมนิเทศเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ อาชีพและสร้างเครือข่ายนักศึกษาทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ประสบการณ์ และ เตรียมความพร้อมส�ำหรับการเข้าสู่อาชีพภายหลังส�ำเร็จการศึกษา พร้อมทั้งแนะแนวอาชีพ/การศึกษาต่อ และการท�ำงานให้ประสบ ความส�ำเร็จ ตลอดจนปลูกฝังและพัฒนานักศึกษาทุนการศึกษาเฉลิม ราชกุมารี ให้มีจิตอาสา มีความส�ำนึกในความเป็นไทย รักถิ่นฐาน รักประเทศ และรักการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริยเ์ ป็นประมุข ทัง้ นี้ ได้รบั เกียรติจากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ส รนิ ต ศิ ล ธรรม รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการ อุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีปิดการสัมมนาและมอบวุฒิบัตร ณ โรงแรมเดอะรอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า รู้สึกปลาบปลื้มยินดีที่ได้ เห็นความส�ำเร็จของนิสิต นักศึกษา ทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี รุ่นที่ ๖ ที่ได้พากเพียรศึกษาเล่าเรียนจนถึงชั้นปีที่ ๔ และเตรียม พร้อมที่จะส�ำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิต ความภาคภูมิใจในความ ส�ำเร็จของทุกคน ทีไ่ ด้รบั คัดเลือกจากนักเรียนทัว่ ประเทศทีม่ ถี นิ่ ฐาน ภูมลิ �ำเนาอาศัยอยูใ่ นพืน้ ทีห่ า่ งไกลและมีอตั ราการเรียนต่อตำ�่ ให้เป็น ผู้ได้รับทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี เพื่อได้มีโอกาสศึกษาต่อตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ต่อเนื่อง จนได้มีโอกาสส�ำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี เพื่อน�ำความรู้ กลับไปพัฒนาท้องถิ่น บ้านเกิด เป็นต้นแบบของคนดี พัฒนาชุมชน สังคม ให้มั่นคงและยั่งยืนสืบไป “การสัมมนาโครงการปัจฉิมนิเทศ เพือ่ เตรียมความพร้อม เข้ า สู ่ อ าชี พ ในพื้ น ที่ และสร้ า งเครื อ ข่ า ยผู ้ รั บ ทุ น โครงการทุ น การศึกษาเฉลิมราชกุมารีในครั้งนี้ ประสบความส�ำเร็จเป็นอย่างดี

โดยนิสิต นักศึกษา ได้รับความรู้และแนวทางในการประกอบอาชีพ การเตรียมความพร้อมในการสมัครงาน การท�ำงานให้ประสบความ ส�ำเร็จ การแนะแนวการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น การเตรียมความ พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งได้มีโอกาสรู้จักและแลกเปลี่ยน แสดงความคิ ด เห็ น ในการท�ำกิ จ กรรมร่ ว มกั น ตลอดจนได้ ส ร้ า ง เครือข่ายนักศึกษาทุนเฉลิมราชกุมารี ซึง่ นับได้วา่ เป็นความส�ำเร็จของ โครงการทีค่ าดหวังให้นสิ ติ นักศึกษาทุกคนทีส่ �ำเร็จการศึกษาไปแล้วจะ ได้สร้างเครือข่ายร่วมกัน ช่วยเหลือพึง่ พาอาศัยกัน มีการติดต่อสือ่ สาร กันอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ จัดกิจกรรมสาธารณะและบ�ำเพ็ญประโยชน์เพือ่ ท้องถิ่นและภูมิล�ำเนาต่อไป ซึ่งเชื่อมั่นว่านิสิต นักศึกษาทุกคนจะได้ น�ำความรู้และประโยชน์ที่ได้รับจากการสัมมนาในครั้งนี้ไปประยุกต์ ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและท�ำประโยชน์คืนสู่สังคม รวมทั้งน�ำ ความรูไ้ ปพัฒนาท้องถิน่ และภูมลิ �ำเนาในอนาคตต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

15

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้รับมอบหมาย ให้เป็นหน่วยงานหลักในการด�ำเนินโครงการทุนการศึกษาเฉลิมราช กุมารี เพื่อรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ในปีการ ศึกษา ๒๕๕๐ เป็นปีแรก โดยจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่ ส�ำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากสถานศึกษาสังกัดส�ำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีละ ๒๔๐ คน และตั้งแต่ปีการ ศึกษา ๒๕๕๒ เป็นต้นมา ได้จัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่ ส�ำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเพิ่มอีก ปีละ ๑๔๔ คน รวมเป็นจ�ำนวน ๓๘๔ คนต่อปี ปัจจุบันมีนักศึกษาทุน โครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี จ�ำนวน ๘ รุน่ และมีนกั ศึกษา ทุนส�ำเร็จการศึกษาแล้ว จ�ำนวน ๕ รุ่น รวมจ�ำนวนนักเรียนทุนฯ ทั้งหมด ๒,๒๐๓ คน อนุสารอุดมศึกษา


ASEAN International Mobility for Students (AIMS) Programme

16

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นหัวหน้าคณะน�ำคณะผู้แทนจาก สถาบันอุดมศึกษาทีเ่ ข้าร่วมโครงการ ASEAN International Mobility for Students (AIMS) Programme จ�ำนวน ๔ แห่ง ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย แม่ฟา้ หลวง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เดินทาง ไปเจรจาแลกเปลีย่ นข้อมูลการด�ำเนินงานโครงการ และหารือแนวทาง แก้ไขปัญหาอุปสรรคจากการด�ำเนินโครงการที่เกิดขึ้นร่วมกันกับ สถาบันอุดมศึกษาเจ้าภาพและหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบการจัดการศึกษา รวมทั้งติดตามผลการเรียนและการด�ำเนินชีวิตของนักศึกษาระหว่าง การเข้าร่วมโครงการ ณ ประเทศฟิลปิ ปินส์และมาเลเซีย ระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ วั น ที่ ๒๔ - ๒๕ สิ ง หาคม ๒๕๕๘ คณะผู ้ แ ทนไทยได้ เข้ า พบหารื อ กั บ ผู ้ บ ริ ห ารและผู ้ รั บ ผิ ด ชอบโครงการ AIMS ของ สถาบันอุดมศึกษาในฟิลปิ ปินส์ จ�ำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ De La Salle University, Ateneo de Manila University และ University of the Philippines,Diliman และมีโอกาสได้เข้าพบหารือในระดับนโยบาย กับผู้แทนคณะกรรมการการอุดมศึกษาฟิลิปปินส์ (Commission on Higher Education, Philippines) ร่วมกับผูแ้ ทน Saint Louis University, Philippines ซึ่ ง ทั้ ง สองฝ่ า ยเห็ น ชอบร่ ว มกั น ที่ จ ะ สนับสนุนและส่งเสริมให้นกั ศึกษามีการแลกเปลีย่ นระหว่างกันมากขึน้ เพื่อผลักดันให้การด�ำเนินโครงการความร่วมมือด้านอุดมศึกษาทั้งใน กรอบทวิภาคีและพหุภาคีระหว่างสองประเทศเกิดความเข้มแข็งยิง่ ขึน้

วันที่ ๒๖ - ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ คณะผูแ้ ทนไทยได้เข้าพบ ผูบ้ ริหารและเยีย่ มชมสถาบันอุดมศึกษาในมาเลเซีย ทีเ่ ข้าร่วมโครงการ AIMS จ�ำนวน ๓ แห่ง คือ Universiti Malaya, Universiti Putra Malaysia และ Universiti Teknologi MARA และได้ร่วมหารือ ระดับนโยบายกับผู้แทนกระทรวงอุดมศึกษามาเลเซีย (Ministry of Higher Education, Malaysia) ซึ่งในส่วนการด�ำเนินกิจกรรม แลกเปลี่ยนนักศึกษากับประเทศมาเลเซียได้ด�ำเนินกิจกรรมมาตั้งแต่ เริม่ ด�ำเนินโครงการ AIMS ปัญหาส่วนใหญ่จงึ มักได้รบั การแก้ไขแล้ว และสถาบันอุดมศึกษาที่ด�ำเนินกิจกรรมจะร่วมกันผลักดันให้เกิด กิจกรรมอย่างต่อเนื่องต่อไป ส�ำหรับสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งจะ พยายามผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนกับประเทศมาเลเซียมาก ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้แทนมาเลเซียได้เสนอให้มีการขยายกรอบในการ แลกเปลีย่ นบุคลากรภายใต้โครงการ AIMS โดยจะจัดท�ำเป็นข้อเสนอ โครงการเสนอต่อทีป่ ระชุม AIMS Review Meeting ทีก่ �ำหนดจัดขึน้ ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๘ ต่อไป โครงการ ASEAN International Mobility for Students (AIMS) Programme เป็นโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่าง ประเทศสมาชิกอาเซียนภายใต้เงื่อนไขการถ่ายโอนหน่วยกิต ซึ่งเป็น การด�ำเนินโครงการที่เป็นข้อผูกพันระดับรัฐบาล และโดยที่สถาบัน อุดมศึกษาไทยที่เข้าร่วมโครงการ ตลอดจนนักศึกษายังคงประสบ ปัญหาอุปสรรคเดิมในการติดต่อประสานงานกับสถาบันอุดมศึกษา เจ้าภาพ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงจัดกิจกรรมติดตาม ประเมินผลการด�ำเนินโครงการ AIMS ณ ประเทศสมาชิกอาเซียนขึน้


เรื่อง

พิเศษ

การประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษาสัญจร

ครั้งที่ ๖

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดการประชุม กกอ. สัญจร ครั้งที่ ๖ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ในระหว่างวันที่ ๗ - ๙ กันยายน ๒๕๕๘ ประกอบด้วย กิจกรรมการเยี่ยมชม (Site Visit) สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายภาคกลางตอนล่าง การประชุม เสวนาร่วมกับเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง และการประชุม กกอ. ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๘ โดยเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง มีสถาบันอุดมศึกษา จ�ำนวน ๓๓ แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้ า ธนบุ รี มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราช วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มหาวิ ท ยาลั ย เว็ บ สเตอร์ (ประเทศไทย) มหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ ด มหาวิ ท ยาลั ย สยาม มหาวิ ท ยาลั ย เอเชี ย อาคเนย์ มหาวิ ท ยาลั ย คริ ส เตี ย น มหาวิ ท ยาลั ย หั ว เฉี ย วเฉลิ ม พระเกี ย รติ มหาวิทยาลัยธนบุรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี วิทยาลัยแสงธรรม วิ ท ยาลั ย นานาชาติ เ ซนต์ เ ทเรซา วิ ท ยาลั ย ทองสุ ข วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีสยาม สถาบันอาศรมศิลป์ สถาบันกันตนา สถาบันการ เรียนรู้เพื่อปวงชน สถาบันเทคโนโลยีสุวรรณภูมิ และวิทยาลัยชุมชน สมุทรสาคร

โดยการประชุ ม คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาสั ญ จร ครัง้ ที่ ๖ ได้มกี ารเยีย่ มชม (Site Visit) สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ระหว่างวันที่ ๗ - ๘ กันยายน ๒๕๕๘ ซึ่งแบ่งเป็น ๔ เส้นทาง คือ (๑) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ สถาบันกันตนา และมหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล (๒) สถาบั น การเรี ย นรู ้ เ พื่ อ ปวงชน มหาวิ ท ยาลั ย กรุ ง เทพธนบุ รี และมหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (๓) มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี วิทยาลัย ชุมชนสมุทรสาคร และมหาวิทยาลัยสยาม และ (๔) มหาวิทยาลัย นานาชาติแสตมฟอร์ด มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และมหาวิทยาลัย เว็ บ สเตอร์ (ประเทศไทย) และการประชุ ม คณะกรรมการ การอุดมศึกษา ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๘ ในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธาน กรรมการได้เสนอภาพรวมนโยบายคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่จะยกระดับคุณภาพการอุดมศึกษาไทยใน ๘ ประเด็น ดังนี้ (๑) การลงทุนพัฒนาประเทศผ่านสถาบันอุดมศึกษาใน ๓ โครงการใหญ่ คือ โครงการขับเคลือ่ นมหาวิทยาลัยไทยสูม่ หาวิทยาลัย ระดับโลก โครงการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษากลุม่ ใหม่ให้ได้มาตรฐาน การอุดมศึกษา และโครงการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ในอุดมศึกษา (๒) การปรั บ ปรุ ง เกณฑ์ ม าตรฐานหลั ก สู ต รให้ มี ค วาม หลากหลาย ครอบคลุมทั้งสายวิชาการ สายวิชาชีพหรือปฏิบัติการ

17

อนุสารอุดมศึกษา


18

อนุสารอุดมศึกษา

(๓) การประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาและการส่ ง เสริ ม สถาบั น อุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (๔) ร่าง พ.ร.บ. การอุดมศึกษา พ.ศ. .... และการแยกส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาออกจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกระทรวง การอุดมศึกษา (๕) การติดตาม ตรวจสอบ การจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง การจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก และสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทีเ่ ปลีย่ น ประเภทแล้ว (๖) การส่งเสริมเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั้ง ๙ เครือข่ายให้มีความ เข้มแข็ง เน้นความร่วมมือ และมีระบบการบริหารจัดการที่ดี (๗) การพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษา เพื่อปรับปรุงระบบในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพและเสมอภาค มากยิ่งขึ้น (๘) การผลิต พัฒนาครู และผู้บริหารการศึกษา ให้มีการผลิตครู ที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ ด้ า นรองศาสตราจารย์ พิ นิ ติ รตะนานุ กู ล เลขาธิ ก ารคณะ กรรมการการอุดมศึกษา ได้กล่าวถึง ภาพรวมการอุดมศึกษาไทย และ นโยบาย ๔ คุณ ๔ สูง พัฒนาอุดมศึกษา ดังนี้ ภาพรวมการอุดมศึกษาไทย ในขณะนีม้ สี ถาบันอุดมศึกษาในสังกัด และในก�ำกับของ สกอ. จ�ำนวน ๑๕๖ แห่ง และมีสถาบันอุดมศึกษาทีไ่ ม่สงั กัด กระทรวงศึกษาธิการอีกจ�ำนวนหนึ่ง ซึ่งนโยบายของ สกอ. เห็นว่าจ�ำนวน สถาบันอุดมศึกษาเพียงพอตอบสนองต่อการจัดการศึกษาของประเทศไทย แล้ว แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันแนวโน้มจ�ำนวนสถาบันอุดมศึกษาเพิ่ม มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในสังกัดและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึง สถาบันอุดมศึกษาจากต่างประเทศด้วย ในขณะที่จ�ำนวนนักเรียนที่จะเข้า สู่อุดมศึกษามีแนวโน้มลดลง จ�ำนวนที่นั่งในสถาบันอุดมศึกษามีมากกว่า ผู้ที่สมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ดังนั้น อุดมศึกษาไทยจะต้อง ตระหนักถึงแนวทางการด�ำเนินการต่อไป โดยประเด็นส�ำคัญจึงอยูท่ คี่ ณ ุ ภาพ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพที่สามารถท�ำงานได้ทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งการ ผลิตผลงานวิจัยที่ซึ่งจะสัมพันธ์กับเรื่องการด�ำรงต�ำแหน่งทางวิชาการของ อาจารย์ ที่จะต้องพัฒนาขึ้นทั้งในส่วนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน


นโยบาย ๔ คุณ ๔ สูง พัฒนาอุดมศึกษา คุณภาพ/มาตรฐานสูง โดยยกระดับคุณภาพการอุดมศึกษา ของประเทศไทยให้มีมาตรฐานเทียบเคียงได้ในระดับอาเซียนและ ระดับนานาชาติ โดยยกระดับคุณภาพบัณฑิต อาจารย์ คุณภาพ หลักสูตร และงานวิจัย คุณธรรม/ธรรมาภิบาลสูง โดยใช้หลักความรู้คู่คุณธรรม หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งปัญหา เรื่องธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาเป็นประเด็นปัญหาที่ส�ำคัญใน ปัจจุบัน คุณค่า/ศักยภาพสูง ในระดับอุดมศึกษาผู้บริหารต้องให้ ความส�ำคัญกับทุนมนุษย์ในการพัฒนาคนทุกระดับ โดยส่งเสริมการ พัฒนาอาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนักศึกษา ให้มีศักยภาพสูง ทุกมิติ รวมถึงเรื่องความต่อเนื่องของคนในระบบอุดมศึกษา คุณประโยชน์/มูลค่าสูง โดยการต่อยอดงานวิจัยให้มีมูลค่า สูงขึน้ เพือ่ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างประโยชน์ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศ เน้นการสร้างความร่วมมือ กับภาคอุตสาหกรรมและชุมชน ส่งเสริมการวิจัยในสายรับใช้สังคม สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ ส่งเสริมโครงการ Talent Mobility เป็นต้น ในขณะที่รองศาสตราจารย์ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในฐานะประธาน กรรมการบริ ห ารเครื อ ข่ า ยอุ ด มศึ ก ษาภาคกลางตอนล่ า ง

ได้กล่าวถึงวาระการขับเคลื่อนของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ประเด็นการ พัฒนาประเทศไทยสู่วิสัยทัศน์ ‘มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน’ ในการเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็น ‘เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา เพื่ อ ยกระดั บ คุ ณ ภาพการผลิ ต บั ณ ฑิ ต และการสร้ า งนวั ต กรรม ให้ กั บ ประเทศ’ ว่ า อุ ด มศึ ก ษามี บ ทบาทสู ง และเป็ น ส่ ว นส�ำคั ญ ในการขั บเคลื่ อ นประเทศไทยไปสู ่ ความมั่ น คง มั่ ง คั่ ง และยั่ งยืน ด้ ว ยการปฏิ รู ป ระบบวิ จั ย ระบบข้ อ มู ล และระบบวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยการกระจายโอกาสไปสู่ภูมิภาคและ ประชาชนอย่างทั่วถึง การพัฒนาที่สมดุลระหว่างมิติเศรษฐกิจ สังคม ภูมิปัญญา มนุษย์ และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมุ่งเน้นเพิ่มผลิตภาพ ในทุกภาคส่วนโดยใช้ทรัพยากรลดลง แต่ใช้ความรู้และเทคโนโลยี เพิม่ ผลผลิตให้มากขึน้ รวมถึงการลดความเหลือ่ มลำ�้ และลดการพึง่ พา เทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องรวมกลุ่มเพื่อเพิ่ม พลังของความหลากหลาย ความเชีย่ วชาญ ร่วมกันและแบ่งงานกันท�ำ ลดความซ�้ำซ้อน ลดช่องว่างของความแตกต่าง บนพื้นฐานของการใช้ องค์ความรู้และทรัพยากรร่วมกันในรูปแบบเครือข่ายอุดมศึกษาที่ เชือ่ มโยงกับการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนกับภาคการผลิต อุตสาหกรรม และภาคประชาสังคม อุดมศึกษาต้องตระหนักถึงบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบให้สอดคล้องเหมาะสมกับการพัฒนาประเทศ ต้องมี ระบบงบประมาณทีเ่ หมาะสม มีการบริหารจัดการทีย่ ดื หยุน่ สร้างและ ปลดปล่อยสมรรถนะความสามารถบนฐานธรรมาภิบาลที่ดี

19

อนุสารอุดมศึกษา


20 นายธนิตสรณ์ จิระพรชัย รองอธิการบดีฝ่ายแผนและ สารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวถึง ภาพรวมการด�ำเนินงานของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ประกอบด้วย เครือข่ายด้านการประกันคุณภาพ (C-IQA) เครือข่าย ด้านสหกิจศึกษา (WIL) เครือข่ายด้านการบ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI) เครือข่ายด้านการพัฒนานักศึกษา เครือข่ายด้านวิจัย เครือข่าย ด้านการศึกษาทั่วไป (GE) และเครือข่ายโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชด�ำริ ซึง่ เป็นการรวมตัวกันของสถาบันในเครือข่ายด�ำเนินงาน ในประเด็นต่างๆ ร่วมกัน แต่เพื่อให้การท�ำงานของเครือข่ายเชื่อมโยง ไปสูก่ ารขับเคลือ่ นของประเทศโดยตรง เป็นก�ำลังส�ำคัญในการผลักดัน พัฒนาประเทศในอนาคต เครือข่ายอุดมศึกษาทั้ง ๙ แห่ง ต้องรวมตัว รวมใจ และอาสา ประสานและเชื่อมโยง เพื่อท�ำงานในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ประเทศมากกว่าบทบาทภาระหน้าที่ในปัจจุบัน ขณะนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาก�ำลังจัดท�ำ กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๔) ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากเครือข่ายและทุกสถาบันอุดมศึกษาเพื่อ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศในเชิงพื้นที่ จึงเป็นโอกาสที่อุดมศึกษา จะก�ำหนดบทบาทภารกิจเพือ่ เข้าไปมีสว่ นในการขับเคลือ่ นยุทธศาสตร์ อนุสารอุดมศึกษา

ของประเทศ โดยโจทย์ส�ำคัญของประเทศ คือ (๑) การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันของสังคม (มั่นคง) เพื่อลดความ เหลื่อมล�้ำ (๒) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน (มั่งคั่ง) เพื่อ หลุดจากประเทศรายได้ปานกลาง และ (๓) การสร้างการเติบโตบน คุณภาพชีวติ ทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม โดยบทบาทหน้าทีท่ สี่ �ำคัญของ สถาบันอุดมศึกษาคือการเข้าไปในพื้นที่ ใช้ก�ำลังคน องค์ความรู้ และ เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันเครือข่าย อุดมศึกษาภาคกลางตอนล่างเข้าไปท�ำงานร่วมกับจังหวัด กลุม่ จังหวัด ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยบูรณาการการท�ำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ เช่น กระทรวงมหาดไทย ผ่านโครงการ ROC (Regional Operation Center) ดังนั้น เพื่อให้การท�ำงานของเครือข่ายอุดมศึกษาทั้ง ๙ เครือข่ายมีพลังต่อการพัฒนาประเทศ ที่ประชุมจึงได้มีการหารือกัน ในประเด็นที่ส�ำคัญ ประเด็นแรก คือ แผนปฏิบัติการของเครือข่าย ควรจะถูกบรรจุอยู่ในแผนอุดมศึกษาเครือข่ายเชิงพื้นที่ที่สอดคล้อง กับแผนของกลุ่มจังหวัดและกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๓ และประเด็นที่สอง คือ การน�ำโจทย์ของพื้นที่มาเป็นโจทย์ ของอุดมศึกษา ซึ่งควรเน้นกลไกการประสานงานระหว่างกระทรวง วิทยาศาสตร์และกระทรวงมหาดไทย


พูดคุยเรื่อง

มาตรฐาน

การปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศใช้ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา และแนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับอุดมศึกษา มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงได้พิจารณาทบทวน ภาพรวมของการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาระดับ อุดมศึกษา โดยเฉพาะการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับ อุดมศึกษาในประเด็นส�ำคัญ ที่เป็นปัญหาและความจ�ำเป็น รวมทั้ง การบูรณาการประกาศหลักเกณฑ์ต่างๆ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เข้าด้วยกัน เพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้ ทั น สมั ย และเหมาะกั บ สถานการณ์ ข องการจั ด การศึ ก ษาระดั บ อุดมศึกษาในปัจจุบัน โดยมีหลักการดังนี้ ๑. สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จ�ำเป็นต้องผลิต บั ณ ฑิ ต ให้ ต รงตามความต้ อ งการของทุ ก ภาคส่ ว นในการพั ฒ นา ประเทศ ๒. เพื่อปรับปรุงแก้ไขเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. ๒๕๔๘ บางประเด็นให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ๓. บูรณาการเกณฑ์ต่างๆ หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องกับ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ให้มีความกระชับและชัดเจนในการปฏิบัติ

สาระส�ำคัญของการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. ๒๕๕๘ การแบ่งหลักสูตรเป็น ๒ กลุ่ม เพื่อตอบสนองต่อการจัดการศึกษาในปัจจุบันที่มีความ หลากหลายและสอดคล้องกับปรัชญาและวัตถุประสงค์ของแต่ละ หลักสูตร ดังนี้ ๑. หลักสูตรทางวิชาการ มุ่งให้บัณฑิตมีความรอบรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เน้นความรู้และทักษะด้านวิชาการ สามารถน�ำความรูไ้ ปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงได้อย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วย หลักสูตรแบบปกติและแบบก้าวหน้า ๒. หลักสูตรทางวิชาชีพหรือปฏิบตั กิ าร มุง่ เน้นให้บณ ั ฑิต มีความรอบรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เน้นความรู้ สมรรถนะ และทักษะด้านวิชาชีพตามข้อก�ำหนดของมาตรฐานวิชาชีพ หรือมี สมรรถนะและทักษะด้านการปฏิบตั เิ ชิงเทคนิคในศาสตร์สาขาวิชานัน้ ๆ โดยผ่านการฝึกงานในสถานประกอบการ หรือผ่านการจัด สหกิ จ ศึ ก ษา ประกอบด้ ว ย หลั ก สู ต รแบบปกติ หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) และหลักสูตร แบบก้าวหน้า

21

อนุสารอุดมศึกษา


22

เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี เน้นการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของ สังคมและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ (the 21st Century Skills) อาทิ มีความรู้ สมรรถนะ และทักษะตามมาตรฐานสาขา วิชาที่ก�ำหนดในหลักสูตร มีทักษะชีวิต (Life Skills) มีทักษะการ เรียนรู้ (Learning Skills) และมีทักษะและรู้เท่าทันด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ (IT Literacy) ให้ความส�ำคัญกับหมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยทุกหลักสูตรต้องเรียนอย่างน้อย ๓๐ หน่วยกิต มีการปรับลด จ�ำนวนหน่วยกิตของหมวดวิชาเฉพาะ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นใน การจัดการศึกษา ในขณะเดียวกันหลักสูตรทางวิชาชีพหรือปฏิบตั กิ าร ที่เน้นทักษะด้านการปฏิบัติเชิงเทคนิคในศาสตร์สาขาวิชานั้นและ หลักสูตรต่อเนือ่ ง จะก�ำหนดสัดส่วนหน่วยกิตวิชาทฤษฎีกบั ปฏิบตั ใิ ห้ มีความใกล้เคียงกัน เพือ่ เน้นให้เกิดความช�ำนาญในการปฏิบตั ิ ควบคู่ กับการเพิ่มพูนองค์ความรู้ในเชิงวิชาการ ซึ่งจะสอดคล้องกับปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบตั กิ าร ที่ เ น้ น ทั ก ษะด้ า นการปฏิ บั ติ เชิ ง เทคนิ ค ในศาสตร์ ส าขาวิ ช านั้ น นอกจากนี้ มีการก�ำหนดคุณสมบัติผู้เข้าศึกษาส�ำหรับหลักสูตรแบบ ก้าวหน้าและหลักสูตรต่อเนือ่ ง คุณสมบัตขิ องอาจารย์ประจ�ำ อาจารย์ ประจ�ำหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และเพิ่มเติม นิยามศัพท์ เพือ่ ให้เกิดความชัดเจนในการน�ำไปปฏิบตั ิ รวมทัง้ ก�ำหนด ความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษส�ำหรับอาจารย์ที่เข้าใหม่

อนุสารอุดมศึกษา

เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา มีการนิยามและปรับคุณสมบัติของอาจารย์เพื่อท�ำหน้าที่ ต่างๆ ให้มีความชัดเจน โดยมีหลักการว่า คุณวุฒิของอาจารย์ผู้สอน จะต้องมีความรู้ ประสบการณ์ไม่น้อยกว่าหรือเท่ากับระดับปริญญาที่ สอน และจะต้องมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษา เพื่อรับปริญญา และเป็นผลงานทางวิชาการที่สามารถใช้ในการขอ ก�ำหนดต�ำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก�ำหนดอย่างน้อย ๓ รายการ ในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย ๑ รายการต้องเป็นผลงานวิจัย เพื่อสร้างความมั่นใจได้ว่าอาจารย์ เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการวิจัยเพียงพอที่จะท�ำการสอนในระดับ บัณฑิตศึกษา มีการปรับคุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษาวิ ท ยานิ พ นธ์ ร ่ ว ม ที่ เ ป็ น ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ภ ายนอก โดยเน้นประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น โดยผ่านความ เห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษา เพือ่ ให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถ บริหารจัดการได้ แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ปรับรายละเอียดต่างๆ ส�ำหรับเป็นแนวทางการบริหาร จั ด การ และพั ฒ นาหลั ก สู ต รระดั บ อุ ด มศึ ก ษาให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ที่ มี ก ารปรั บ ปรุ ง อาทิ การเปิ ด สอนหลั ก สู ต รระดั บ ปริ ญ ญาตรี (ต่อเนื่อง) จ�ำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ การบริหารหลักสูตรกรณี มีข้อตกลงร่วมผลิตกับสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ สถาบันอุดมศึกษา เพิ่มมาตรการก�ำกับดูแลการคัดลอกผลงานหรือ การจ้างท�ำผลงานของบัณฑิต และเพิ่มหัวข้อการควบคุมมาตรฐาน หลักสูตร


เล่าเรื่อง

ด้วยภาพ

23

๓๑ สิงหาคม ๑๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการสัมมนา ‘นโยบายและแนวทางในการขับเคลือ่ น นโยบายสู่การปฏิบัติส�ำหรับบุคลากรส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา’ ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาและบรรยายพิเศษ และมีนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายสุภัทร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ส รนิ ต ศิ ล ธรรม รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา นายขจร จิตสุขุมมงคล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาเข้าร่วมการสัมมนา

อนุสารอุดมศึกษา


ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

LOGO

เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.