อนุสารอุดมศึกษา issue 450

Page 1


สารบัญ

CONTENT ๓ เรื่องเล่าอุดมศึกษา

๑๑

- Talent Mobility ในสถาบันอุดมศึกษา - ‘นบน. รุ่น ๑’ พัฒนาบุคลากรทางด้านกิจการนักศึกษา ชี้แจงหลักเกณฑ์คัดเลือกนักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา

๗ เรื่องเล่าอาเซียน ๑๐ เรื่องพิเศษ ๑๔ เรื่องแนะน�ำ ๑๗ เหตุการณ์เล่าเรื่อง ๒๒ เล่าเรื่องด้วยภาพ

- การประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ ๑

- ปั่นเพื่อพ่อ BIKE FOR DAD

๑๕

- ‘กันเกราเกมส์’ กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ ๔๓ - The 5th ASEM Rectors’ Conference and Students’ Forum (ARC5) - กกอ. สัญจรครั้งที่ ๗

๒๐ คณะผู้จัดท�ำ

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม นายขจร จิตสุขุมมงคล นางอรสา ภาววิมล บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด พิมพ์ท ี่ บริษัท เอกพิมพ์ไท จ�ำกัด โทรศัพท์ : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๕๒ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๑ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๔๘๖ โทรสาร : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๐


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

Talent Mobility

ในสถาบันอุดมศึกษา

๒๖ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๘ - ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จัดการประชุมเพื่อลงนามความร่วมมือและชี้แจง การสนับสนุนกิจกรรมการด�ำเนินงานโครงการ Talent Mobility ในสถาบันอุดมศึกษา ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการนโยบายวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี แ ละ นวัตกรรมแห่งชาติ ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยได้รบั เกียรติ จากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวว่า นโยบาย Talent Mobility นับเป็นนโยบายส�ำคัญ ต่ อ การขั บ เคลื่ อ นระบบเศรษฐกิ จ ของประเทศ โดยเป็ น การเพิ่ ม ขีดความสามารถในการผลิตให้กบั ภาคอุตสาหกรรม อันเป็นการพัฒนา และแก้ไขปัญหาของประเทศในภาพรวม ซึ่งในเรื่องนี้ สกอ. ในฐานะ หน่วยงานที่ก�ำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา และ สวทน. ในฐานะ หน่วยงานที่ก�ำกับดูแลนโยบายดังกล่าว มีความยินดีที่จะร่วมกัน ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมตามนโยบายดังกล่าว โดยอาศัยสถาบัน

อุ ด มศึ ก ษาเป็ น ก� ำ ลั ง ส� ำ คั ญ ในการขั บ เคลื่ อ นนโยบายเนื่ อ งจาก ในปัจจุบนั มีบคุ ลากรวิจยั ในสถาบันอุดมศึกษาทีม่ คี วามรู้ ความสามารถ ในสังกัดเป็นจ�ำนวนมาก และการส่งเสริมให้บุคลากรวิจัยในสถาบัน อุดมศึกษาไปปฏิบตั งิ าน เพือ่ แก้ไขปัญหาและเพิม่ ขีดความสามารถใน การผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม จะเปิดโอกาสและสนับสนุนให้ คณาจารย์ได้ท�ำงานร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นการน�ำความรู้ ความสามารถไปใช้ได้จริง ขณะเดียวกัน คณาจารย์ก็จะได้เข้าใจโจทย์ จริงที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรม ในทางกลับกัน ก็จะเปิดโอกาสให้ ผูเ้ ชีย่ วชาญในสาขาวิชาชีพต่างๆ ทีอ่ ยูใ่ นภาคเอกชนได้เข้ามาถ่ายทอด ความรู้ให้กับสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะการถ่ายทอดประสบการณ์ จากการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างแท้จริง เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า ในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ สกอ. และ สวทน. ได้รว่ มกันสนับสนุนการด�ำเนินการโครงการ Talent Mobility ใน ๒ กิจกรรมหลัก ได้แก่ (๑) การจัดสรรทุนสนับสนุนการ วิจัย โดย สกอ. สนับสนุนงบประมาณในส่วนของค่าตอบแทนส�ำหรับ อาจารย์/นักวิจัย และสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย และ

3


สวทน. สนับสนุนค่าตอบแทนส�ำหรับผู้ช่วยนักวิจัย (นักศึกษา) และ สนับสนุนงบประมาณชดเชยการเคลื่อนย้ายบุคลากรให้กับสถาบัน อุดมศึกษาต้นสังกัด และ (๒) การสนับสนุนกิจกรรมการด�ำเนินงาน โครงการ Talent Mobility ในสถาบันอุดมศึกษา โดย สกอ. และ สวทน. ร่วมกันสนับสนุนศูนย์อำ� นวยความสะดวก (TM Clearing House) และ หน่วยสนับสนุนโครงการ Talent Mobility (TM Supporting Task)

4

“สกอ. หวังว่า ความร่วมมือในวันนี้ จะเป็นจุดเริม่ ต้นทีส่ ำ� คัญ ในการผลักดันความร่วมมือในการสนับสนุนกิจกรรมการด�ำเนินงาน โครงการ Talent Mobility ในสถาบันอุดมศึกษา อันจะเป็นประโยชน์ การขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ในระยะยาวต่อไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

เกร็ดเรื่องเล่า การสนับสนุนการด�ำเนินงานโครงการ Talent Mobility ของสถาบันอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาและส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ร่วมกัน พิจารณาแล้วว่า ในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ มีสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมและมีความประสงค์ที่จะร่วม ด�ำเนินงานโครงการ Talent Mobility จ�ำนวน ๑๓ แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

‘นบน. รุ่น ๑’

พัฒนาบุคลากรทางด้านกิจการนักศึกษา ๑๔ ธั น วาคม ๒๕๕๘ - ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จัดการอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูง ด้านกิจการ นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา รุ่นที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๘ เพือ่ เสริมสร้างและพัฒนาแนวคิด ความรู้ ความเข้าใจ สมรรถนะ และการบริหารงานกิจการนักศึกษาให้สามารถวางแนวทาง การบริหารงานกิจการนักศึกษาเพื่อสนองตอบต่อทิศทางการพัฒนา คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยได้ รับเกียรติจากนายขจร จิตสุขมุ มงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา เป็นประธานในพิธเี ปิดการอบรม ณ โรงแรมอวานี เอเทรียม กรุงเทพฯ นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และสังคมไทยในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบให้นิสิตนักศึกษาในปัจจุบัน มีคุณลักษณะและวัฒนธรรมในการด�ำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจัย การเปลี่ยนแปลงท�ำให้บัณฑิตรุ่นใหม่จ�ำเป็นต้องพัฒนาขีดความ สามารถในระดับสากล ซึง่ องค์ประกอบคุณลักษณะของบัณฑิตยุคใหม่ ที่ส�ำคัญในศตวรรษที่ ๒๑ ควรประกอบด้วย ด้านความรู้ ด้านทักษะ ที่จ�ำเป็น และด้านบุคลิกภาพ เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์และสังคม ตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ๕ ด้าน คือ คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการจัดการเรียนการ สอนทีจ่ ดั ขึน้ ตามหลักสูตร ควรมีกจิ กรรมพัฒนานักศึกษาควบคูไ่ ปด้วย

“การจะพัฒนานิสิตนักศึกษาให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาเพื่อการแข่งขันในระดับชาติ ระดับสากล และตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคมได้ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในการเตรียม ปัจจัยต่างๆ ให้มคี วามพร้อม ทัง้ การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ให้มปี ระสิทธิภาพ การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างทักษะ คุณลักษณะ ที่ จ� ำ เป็ น ให้ แ ก่ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาผ่ า นกิ จ กรรมเสริ ม หลั ก สู ต รต่ า งๆ ปัจจัยส�ำคัญในการพัฒนานักศึกษาที่จะต้องพัฒนาควบคู่ไปกับงาน ด้านวิชาการ คือ งานด้านกิจการนักศึกษา ซึ่งเป็นงานที่จะต้องเตรียม การรองรับความเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่ ทั้งด้านนโยบาย การวางแผนโครงการ การสนับสนุนงบประมาณ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การ พัฒนาบุคลากรด้านกิจการนิสติ นักศึกษาให้เอือ้ ต่อการพัฒนานักศึกษา อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า จากการที่ สกอ. ตระหนัก ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของการพั ฒ นาบุ ค ลากรทางด้ า นกิ จ การนั ก ศึ ก ษา การจัดอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูง ด้านกิจการนักศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษา รุ่นที่ ๑ ตามโครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบัน อุดมศึกษาในครั้งนี้ จึงเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่ สกอ. ได้ด�ำเนินการ ควบคู่กับการสัมมนาวิชาการประจ�ำปี ซึ่ง สกอ. ได้จัดการประชุม ดังกล่าวมาแล้ว ๕ ครั้ง เพื่อให้ผู้บริหารที่รับผิดชอบงานด้านกิจการ นักศึกษาและผู้สนใจงานด้านพัฒนานักศึกษา ได้รับข้อมูลข่าวสาร และความรู้ใหม่ในการพัฒนานิสิตนักศึกษา สามารถน�ำสิ่งที่ได้จาก การสัมมนาไปปรับใช้ในการพัฒนากิจการนิสิตนักศึกษาในสถาบัน ให้ ส อดคล้ อ งกั บ สภาพการณ์ ป ั จ จุ บั น ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ผ ลและ ประสิทธิภาพ “สกอ. หวังว่าผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรนี้จะน�ำความรู้ ความเข้าใจจากการอบรมในครั้งนี้ไปขยายผลและประยุกต์ใช้ในการ ปฏิบัติงาน รวมทั้งการสร้างเครือข่ายงานด้านกิจการนักศึกษาต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

5


ชี้แจงหลักเกณฑ์คัดเลือก

นักศึกษารางวัลพระราชทาน

ระดับอุดมศึกษา

๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดการประชุมสัมมนาและมอบนโยบายการคัดเลือก นักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา เพื่อชี้แจงและ สร้างความเข้าใจในหลักเกณฑ์และแนวทางการประเมินและคัดเลือก นักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา และสร้างความ เข้าใจแนวทางการประเมินฯ ในระดับเขต/ภูมิภาค พร้อมทั้งส่งเสริม สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ รวมทัง้ สามารถส่งผลงานของนักศึกษาทีเ่ ข้ารับการประเมินผ่านระบบ คอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง และสมบูรณ์ โดยได้รับเกียรติจาก นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธิเปิด ณ โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ซอฟเฟอริน นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวว่า การคัดเลือกนักศึกษา รวมไปถึงนักศึกษาพิการเพือ่ รับรางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา ถือเป็นหนึง่ ในพันธกิจทีส่ ำ� คัญ ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ต้องให้ความส�ำคัญ ในกระบวนการ และขั้นตอนการคัดเลือกนักศึกษาที่มีความโดดเด่น ทั้งในด้านกิจกรรม/ผลงาน จิตอาสา มีความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งสถาบัน อุดมศึกษาจะต้องตระหนักถึงความส�ำคัญในการคัดเลือกนักศึกษา ที่เป็นตัวแทนของสถาบันให้มีความเพียบพร้อมตามคุณสมบัติครบ ทุกด้าน รวมทั้งควรให้ความส�ำคัญในการเตรียมผลงานของนักศึกษา การจัดส่งผลงาน การเตรียมความพร้อมในการสัมภาษณ์ และการน�ำ เสนอผลงานให้เป็นทีป่ ระจักษ์ตอ่ คณะอนุกรรมการประเมินฯ เพือ่ แสดง ให้เห็นถึงคุณลักษณะพื้นฐาน และกิจกรรมผลงานที่โดดเด่นที่สมควร

6

จะได้รบั รางวัลพระราชทาน ประเด็นส�ำคัญทีค่ วรตระหนัก คือ ขัน้ ตอน และกระบวนการในการด�ำเนินการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อเป็นตัวแทน ของสถาบั น รวมถึ ง กระบวนการประเมิ น และคั ด เลื อ กนั ก ศึ ก ษา เพื่ อ รั บ รางวั ล พระราชทานของคณะอนุ ก รรมการประเมิ น และ คัดเลือกนักศึกษา ระดับเขต/ภูมิภาค ของคณะอนุกรรมการประเมิน และคั ด เลื อ กนั ก ศึ ก ษาพิ ก ารฯ ควรจะต้ อ งให้ ค วามส� ำ คั ญ ในการ ประเมินและคัดเลือกนักศึกษาโดยค�ำนึงถึงคุณลักษณะในทุกๆ ด้าน ของนั ก ศึ ก ษาที่ ส มควรจะได้ ร างวั ล พระราชทาน ทั้ ง ด้ า นความรู ้ ด้านทักษะ ด้านบุคลิกอุปนิสัย การมีทัศนคติและค่านิยมเพื่อการ ปฏิสัมพันธ์ที่ดี และการมีจิตส�ำนึกในจริยธรรมสากล “ทั้งนี้ อยากจะให้สถาบันอุดมศึกษาให้ความส�ำคัญ และ ตระหนักถึงกระบวนการในการคัดเลือกนักศึกษาที่สมควรจะได้รับ รางวัลพระราชทานในนามสถาบัน เพื่อเข้ารับการประเมินในระดับ ภู มิ ภ าคต่ อ ไป ซึ่ ง ความภาคภู มิ ใ จในความร่ ว มมื อ ร่ ว มใจกั น ของ คณะกรรมการฯ และอนุกรรมการฯ ในการคัดเลือกและประเมิน นั ก ศึ ก ษาเพื่ อ รั บ รางวั ล พระราชทานครั้ ง นี้ นั บ ได้ ว ่ า เป็ น งานที่ มี เกียรติ เป็นสิริมงคล สมควรที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องด�ำเนินการ ด้วยความรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อ เสนอชื่ อ เข้ า รั บ รางวั ล พระราชทานในระดั บ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ในแต่ละเขต/ภูมิภาค ซึ่งคณะอนุกรรมการประเมิน และคัดเลือก นักศึกษาฯในระดับเขต/ภูมิภาค และคณะอนุกรรมการประเมิน และคัดเลือกนักศึกษาพิการฯ จะต้องให้ความส�ำคัญในกระบวนการ ประเมินอย่างมีหลักเกณฑ์ บริสทุ ธิ์ ยุตธิ รรม มีใจเป็นกลาง ไม่โน้มเอียง ไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการฯ ควรใช้ดลุ พินจิ ในการพิจารณาตัดสินผลการคัดเลือกอย่างถูกต้อง และ เป็นธรรมตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษาก� ำ หนด เพื่ อ ให้ ไ ด้ นั ก ศึ ก ษาที่ ส มควรได้ รั บ รางวั ล พระราชทานอย่างแท้จริง” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

อนุสาร


เรื่องเล่า

อาเซียน

การประชุมอย่างไม่เป็นทางการ

ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ ๑

ตัง้ แต่ปี พ.ศ.๒๕๕๑ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้บริหารระดับสูงของ สกอ. กับผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการ การอุดมศึกษาของกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงของ สกอ. ได้รู้จักและสร้างความคุ้นเคยกับผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบ การบริหารจัดการการอุดมศึกษาของประเทศสมาชิกต่างๆ ของอาเซียน พร้อมทัง้ สร้างช่องทางในการติดต่อระหว่างกันได้โดยตรงอย่างสะดวก และรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังเป็นการแลกเปลีย่ นความรูแ้ ละประสบการณ์ ในการก�ำหนดนโยบายและการบริหารจัดการการอุดมศึกษาของ ประเทศต่างๆ ในอาเซียน ตลอดจนเป็นการปูพื้นฐานที่จะน�ำไปสู่ การรวมตัวของประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘ และเสริมสร้างขีด ความสามารถในการแข่งขันของการอุดมศึกษาไทย ซึง่ สกอ. ด�ำเนินการ จัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้บริหารระดับสูงของ สกอ. กับผูบ้ ริหารระดับสูงของหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบการบริหารจัดการการ อุดมศึกษาของกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามความ ร่วมมือระหว่างหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบการบริหารจัดการการอุดมศึกษา ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน

เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย ในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผูบ้ ริหาร ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากับผู้บริหารกรมอุดมศึกษา กระทรวงการศึกษา เยาวชน และกีฬา ราชอาณาจักรกัมพูชา ครัง้ ที่ ๑ ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ โดยมี Mr. MAK Ngoy อธิบดี กรมอุดมศึกษา กระทรวงการศึกษา เยาวชน และกีฬา ราชอาณาจักร กัมพูชาเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายกัมพูชา การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและสานต่อ ความร่วมมือ รวมทั้งแสวงหาแนวทางในการด�ำเนินกิจกรรมทาง วิชาการในระดับอุดมศึกษาเพือ่ พัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาระหว่างไทย กับกัมพูชาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และกระชับความสัมพันธ์ของ ผู้ปฏิบัติงานในระดับกระทรวงให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งสองฝ่ายได้ตระหนักถึงความส�ำคัญของการส่งเสริมและ พัฒนาศักยภาพนักศึกษาและบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาและมุง่ เน้น ความร่วมมือในอนาคตในสาขาที่มีความสนใจร่วมกัน ที่ประชุมจึงได้ เห็นชอบการด�ำเนินกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมย์ดังกล่าว

7


เรื่องเล่าอาเซียน ได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนาการวิจยั การบริหารจัดการด้านนโยบาย และแผนอุดมศึกษา การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ภาษาไทยและภาษาเขมร การแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ และ บุ ค ลากรทั้ ง ในระดั บ กระทรวงและในระดั บ สถาบั น ส� ำ หรั บ การ แลกเปลี่ ย นบุ ค ลากรระหว่ า งกั น ทั้ ง สองฝ่ า ยได้ ริ เ ริ่ ม โครงการ Shadowing Programme ซึ่งเป็นโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การ สั ง เกตและติ ด ตามการท� ำ งานระหว่ า งกั น ของผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ระดับกลาง รวมทั้งระดับปฏิบัติ นอกจากนี้ ฝ่ายกัมพูชาได้เสนอให้ มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาหลักสูตรร่วม ทั้งในระดับ ปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา

8

เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดให้คณะผู้แทนกัมพูชา ไปศึกษาดูงาน ณ สถาบันอุดมศึกษาไทย จ�ำนวน ๔ แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ และมหาวิ ท ยาลั ย หอการค้ า ไทย ในระหว่างวันที่ ๑๖ - ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ ใ นการบริ ห ารจั ด การและการส่ ง เสริ ม ให้ ส ถาบั น อุดมศึกษามีเสรีภาพและความเป็นเลิศทางวิชาการ และสามารถ ตรวจสอบได้ รวมถึงการศึกษาแนวทางในการผลักดันให้มหาวิทยาลัย ออกนอกระบบ โดยเน้นการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี ทั้งในระดับ นโยบายและระดับปฏิบัติของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งสร้างเครือข่าย อุดมศึกษาศึกษาระหว่างกันเพื่อการพัฒนาความร่วมมือในอนาคต

อนุสาร


เรื่องเล่า

อาเซียน

การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้บริหารระดับสูงของ สกอ. กับผู้บริหารระดับสูง ของหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการการอุดมศึกษาของกลุ่มประเทศอาเซียน ระหว่าง

วันที่

สถานที่

ไทย - มาเลเซีย ครั้งที่ ๑

๒๒ มี.ค. ๒๕๕๑

ณ จังหวัดเชียงราย

ไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ ๑

๒๘ มิ.ย. ๒๕๕๑

ณ จังหวัดชลบุรี

ไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ ๒

๒๐ ก.พ. ๒๕๕๒

ณ ประเทศอินโดนีเซีย

ไทย - ลาว ครั้งที่ ๑

๒๒ เม.ย. ๒๕๕๓

ณ จังหวัดขอนแก่น

ไทย - สิงคโปร์ ครั้งที่ ๑

๑๙ ส.ค. ๒๕๕๓

ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์

ไทย - ลาว ครั้งที่ ๒

๑๘ มิ.ย. ๒๕๕๔

ณ สปป.ลาว

ไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ ๓

๒๔ มิ.ย. ๒๕๕๔

ณ ประเทศอินโดนีเซีย

ไทย - ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ ๑

๒๒ ก.ค. ๒๕๕๔

ณ กรุงเทพมหานคร

ไทย - บรูไน ครั้งที่ ๑

๒๖ มิ.ย. ๒๕๕๕

ณ กรุงเทพมหานคร

ไทย - ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ ๒

๕ ก.ค. ๒๕๕๕

ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ไทย - ลาว ครั้งที่ ๓

๑๒ พ.ย. ๒๕๕๕

ณ กรุงเทพมหานคร

ไทย - บรูไน ครั้งที่ ๒

๒๗ พ.ค. ๒๕๕๖

ณ บรูไนดารุสซาลาม

ไทย - ลาว ครั้งที่ ๔

๒๘ ก.ค. ๒๕๕๗

ณ หลวงพระบาง สปป.ลาว

ไทย - บรูไน ครั้งที่ ๓

๑๗ - ๑๘ พ.ย. ๒๕๕๗

ณ กรุงเทพมหานคร

ไทย - ลาว ครั้งที่ ๕

๒๕ พ.ค. ๒๕๕๘

ณ จังหวัดชลบุรี

ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ ๑

๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๘

ณ กรุงเทพมหานคร

9


เรื่อง

พิเศษ

ปั่นเพื่อพ่อ BIKE FOR DAD กิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมายุ ๘๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ พระราชปณิธาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชปณิธาน ที่ จั ดกิ จ กรรมจักรยานถวายพระเกียรติ และถวายความจงรั กภั ก ดี เนื่ อ งใน วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร่วมกับพสกนิกรชาวไทย ทั้งประเทศ เพื่อถวายเป็นราชสดุดี โดยเป็นองค์ประธานน�ำขบวนจักรยานใน วันศุกร์ที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ ดังพระราชปณิธาน ต่อไปนี้ ๑. เฉลิมพระเกียรติและส�ำแดงความจงรักภักดี และกตัญญูกตเวที ต่อพระมหากษัตริย์ ๒. ร่วมใจเทิดพระคุณพ่อ ๓. เพื่อความสามัคคีของชาวไทยทั้งชาติ ๔. เพื่อสุขภาพกายและใจ ตลอดจนความสดชื่นแจ่มใส ๕. เพื่อชมศิลปวัฒนธรรมของชาติ (โขน) ประกอบด้วย ๔ กิจกรรมหลัก ๑. กิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติทั่วประเทศไทย และอีก ๖๖ เมืองทั่วโลก ๒. กิจกรรมโขนกลางแปลงพระราชทาน จ�ำนวน ๕ องก์ องก์ที่ ๑ “นารายณ์ปราบนนทุก” องก์ที่ ๒ “ทศกัณฐ์ลักนางสีดา” องก์ที่ ๓ “จองถนน” องก์ที่ ๔ “หนุมานถวายพล - ยกรบ” องก์ที่ ๕ “พระรามคืนนคร” ๓. กิจกรรมนิทรรศการ เพือ่ เฉลิมพระเกียรติ แสดงพระราชกรณียกิจอัน แสดงให้เห็นถึงน�้ำพระทัยของในหลวงที่มีต่อพสกนิกร ฯลฯ โดยใช้พื้นที่จัดแสดง บริเวณสวนอัมพร ๔. กิจกรรมประกวดถ่ายภาพ

10

อนุสาร


11


เรื่องพิเศษ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า พัชรกิตยิ าภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิรวิ ณ ั ณวรีนารีรตั น์ เสด็จพระราชด�ำเนินมาถึงลานพระราชวังดุสติ จุดเริม่ ต้นของกิจกรรม จักรยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในโอกาส เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ ‘ปั่นเพื่อพ่อ Bike for Dad’ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้า หลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงปั่นจักรยานน�ำ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ บุคคลส�ำคัญทุกหมู่เหล่าและประชาชน เข้าร่วม กิจกรรมปั่นจักรยานตลอดเส้นทาง ๒๙ กิโลเมตร รอบกรุงเทพฯ โดยจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดอยู่ที่ลานพระราชวังดุสิต

12

อนุสาร


เรื่อง

พิเศษ

ส�ำหรับส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ร่วมกิจกรรม Bike for Dad ‘ปั่นเพื่อพ่อ’ โดยนางสาว อาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วย ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมขบวนปั่นจักรยานใน เส้นทางต่างๆ

13


เรื่องแนะน�ำ

กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๔๓ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะกรรมการ บริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ก.ก.ม.ท.) ได้มอบหมายให้ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๔๓ ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลอง ครบรอบ ๒๕ ปี ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และเป็นการพัฒนา นั ก ศึ ก ษา และบุ ค ลากรของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษารวมถึ ง การสร้ า ง ความร่วมมือกับจังหวัด ชุมชนทางด้านวิชาการ สุขภาพ การท่องเทีย่ ว และศิลปวัฒนธรรม ในการจัดการแข่งขันครัง้ นี้ ก�ำหนดชือ่ การแข่งขันว่า ‘กันเกรา เกมส์’ โดยมีแนวความคิดหลัก ๙ ประการ ได้แก่ ‘Relationship’ คือ กีฬาเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ‘Inspiration’ คือ กีฬาเพื่อ การสร้างแรงบันดาลใจให้สงั คม ‘Spirit’ คือ กีฬาส่งเสริมให้คนมีนำ�้ ใจ นักกีฬา ‘Ethics’ คือ กีฬาก่อให้เกิดจริยธรรมทีด่ งี ามในสังคมอุดมศึกษา ‘Society’ คือ กีฬาเพื่อสังคมสถาบันอุดมศึกษา ‘Healthiness’ คือ กีฬาเพื่อสุขภาพกายใจที่ดีมีกิจกรรมผ่อนคลายหลังจากการแข่งขัน ทุกวัน ‘Intension’ คือ กีฬาสร้างความตัง้ ใจยิง่ ขึน้ ‘Neighborliness’ คือ กีฬาสร้างความเป็นเพือ่ น เป็นมิตรไมตรีจติ ช่วยเหลือซึง่ กันและกัน ‘Excellence’ คือ กีฬาสู่ความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๔๓ ได้ก�ำหนดจัดการแข่งขัน กีฬา ๓๑ ชนิดกีฬา ได้แก่ กรีฑา ว่ายน�้ำ บาสเกตบอล ฟุตบอล วอลเลย์บอล ซอฟท์บอล เซปักตะกร้อ ดาบสากล เทควันโด เทนนิส เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน มวยสากลสมัครเล่น ยิงปืน ยูโด ฮอกกี้ วอลเลย์บอลชายหาด เปตอง คาราเต้-โด เรือพาย ลีลาศ แฮนด์บอล

14

ขี่ม้า ฟุตซอล ปันจักสีลัต ครอสเวิร์ด หมากกระดาน บริดจ์ มวยไทย สมัครเล่น ยูยิตสู (กีฬาสาธิต) บีบีกัน (กีฬาสาธิต) โดยมีการชิงชัย เหรียญทอง จ�ำนวน ๓๗๙ เหรียญ พร้อมทั้งจัดการประชุมวิชาการ ในหัวข้อเรือ่ ง ‘กีฬากับการท�ำกิจกรรมเพือ่ สังคม (CSR)’ กิจกรรมกีฬา เชื่อมสัมพันธ์ในภูมิภาคอาเซียน โดยเชิญนักฟุตบอลแต่ละประเทศ ในภาคอาเซียน ประเทศละ ๔ คน และอาจารย์ ๑ คน รวมนักกีฬา ทั้งหมด ๔๐ คน แบ่งเป็น ๒ ทีมๆ ละ ๒๐ คน ร่วมงานแข่งขันกีฬา กระชับมิตร การจั ด การแข่ ง ขั น ในครั้ ง นี้ ม หาวิ ท ยาลั ย อุ บ ลราชธานี เจ้าภาพจัดการแข่งขัน อาศัยศักยภาพของนักศึกษาร่วมกับนักเรียน ในโรงเรียนต่างๆ จ�ำนวนมากกว่า ๕,๐๐๐ คน ในการเป็นอาสาสมัคร การแข่งขัน ตลอดจนบุคลากรทางด้านการกีฬาของมหาวิทยาลัย ที่มีประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันกีฬา ทั้งในระดับชาติและ นานาชาติ และสิ่งที่ส�ำคัญ คือ เครือข่ายความร่วมมือของชุมชน รอบข้างมหาวิทยาลัย ได้แก่ จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนต�ำบล เทศบาล อ�ำเภอ วัด และโรงเรียน ในการร่วม เป็ น เจ้ า ภาพในการจั ด การแข่ ง ขั น ครั้ ง นี้ และการสนั บ สนุ น จาก หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ดังนัน้ การเตรียมความพร้อมของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในการเป็ น เจ้ า ภาพการจั ด การแข่ ง ขั น กี ฬ ามหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง ประเทศไทย ครั้งที่ ๔๓ ‘กันเกราเกมส์’ จะเป็นการสร้างมิติของการ จัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย โดยเน้นการมีส่วนร่วมในกิจกรรม มากกว่าเหรียญรางวัลการแข่งขัน และน�ำเครือข่ายความร่วมมือกับ ชุมชนมาสร้างวัฒนธรรมทางด้านการกีฬาของชาติที่ดีงามสืบต่อไป

อนุสาร


เรื่อง

แนะน�ำ

การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เป็นกิจกรรม ตามนโยบายการพัฒนาศักยภาพ นิสิต นักศึกษา ในด้านกีฬาและ สุขภาพ เปิดโอกาสให้ได้พบปะ แลกเปลีย่ นประสบการณ์ และเสริมสร้าง มิตรภาพอันดีระหว่างกัน นอกจากนี้ กีฬายังเป็นเครื่องมือปลูกฝัง จิตส�ำนึกการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ และเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในการเฉลิมฉลอง เนือ่ งในโอกาสทีม่ หาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครบรอบ ๒๕ ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงเชื่อมั่นว่า มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีความพร้อมและสามารถด�ำเนินการจัดการ แข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยได้อย่างยิ่งใหญ่ สมศักดิ์ศรี โดยมีสถาบันจาก ทัว่ ภูมภิ าคเข้าร่วมการแข่งขันในครัง้ นี้ สมกับค�ำขวัญทีว่ า่ ‘หลากหลาย สถาบัน รวมกันเป็นหนึ่ง’

ตราสัญลักษณ์ประจ�ำการแข่งขัน ตราสั ญ ลั ก ษณ์ ป ระจ� ำ การแข่ ง ขั น กี ฬ า มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๔๓ โดยทาง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นเจ้าภาพ ตราสัญลักษณ์ จะเน้นใช้แนวคิดที่ได้แรงบันดาลใจจากสัญลักษณ์ ของแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วส� ำ คั ญ ของจั ง หวั ด และสี สั น ออกมาให้สอื่ ถึงการแข่งขันกีฬาทีเ่ ต็มไปด้วยสีสนั และ ความสนุกสนาน คบเพลิงกันเกราเกมส์ : คบเพลิงแห่งสีสันและ ความสนุกสนาน ภาพเขียนสีผาแต้ม : ภาพลักษณะของผู้หญิง และผู้ชายที่ก�ำลังมีความสุขและสนุกสนานกับการ เล่นกีฬา โดยได้แรงบันดาลใจจากภาพเขียนสีผาแต้ม

นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ กกอ. กล่าว

เลข ๔๓ : สื่อถึงหมายเลขของการแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๔๓ Sunrise/แสงตะวัน : อุบลราชธานี คือ ดินแดน ที่ตะวันขึ้นก่อนใครในสยาม สายน�้ำมูล : เส้นโค้งอ่อนพริ้วไหวสวยงาม ดั่ง สายน�้ำมูล สายน�้ำคู่จังหวัดอุบลราชธานี กันเกราเกมส์ : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็น เจ้าภาพการแข่งขันและเลือกใช้ชื่อดอกไม้ประจ�ำ มหาวิทยาลัยเป็นชื่อประจ�ำการแข่งขันครั้งนี้

สัตว์น�ำโชค ปลาบึก ชือ่ ว่า ‘บึกบึน และ บัวบาน’โดย ‘ปลาบึก’ มีชอื่ วิทยาศาสตร์ คือ Pangasianodongigas ปลาลุ่มแม่น�้ำโขงเป็นปลาน�้ำจืดขนาด ใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ดอาศัยอยู่ในแม่น�้ำโขงตั้งแต่ประเทศจีน ลาว เมียนมาร์ ไทย เรื่อยมาตลอดความยาว ของแม่น�้ำรวมไปถึงแคว สาขาต่างๆ เช่น แม่น�้ำมูล แม่น�้ำสงคราม แต่ไม่พบในตอนปลายของ แม่นำ�้ โขงทีเ่ ป็นน�ำ้ กร่อย ดังค�ำขวัญของอุบลราชธานี ว่า มีปลาแซบหลาย แปลว่า อุบลราชธานีมีปลาหลากหลายในบท ๒ บาท ๕ ของสักวา คุณค่าเมืองอุบล ประกอบกับอุบลมีแม่น้�ำมูลไหลผ่าน ซึ่งเป็นแหล่งที่ อยู่อาศัยของปลาบึก ข้อมูล : www.kankraogames.ubu.ac.th

15

ค�ำขวัญประจ�ำการแข่งขัน ‘สายน�ำ้ แสงตะวัน เชือ่ มสัมพันธ์ สามัคคี’


เรื่องแนะน�ำ

ข้อมูล : www.inter.mua.go.th

The 5 ASEM Rectors’ Conference and Students’ Forum (ARC5) th

มูลนิธิเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Foundation - ASEF) และ Charles University กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก โดยการสนับสนุน จากกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงการศึกษา เยาวชนและ กีฬาแห่งสาธารณรัฐเช็ก จะจัดการประชุม The 5th ASEM Rectors’ Conference and Students’ Forum (ARC5) ระหว่างวันที่ ๔ - ๘ เมษายน ๒๕๕๙ ณ Charles University กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก จึงขอเชิญชวนนักศึกษาไทยทีม่ อี ายุระหว่าง ๑๘ - ๓๐ ปี สมัครเข้าร่วม การประชุม Students’ Forum รายละเอียดดังนี้ ๑. The ASEM Rectors’ Conference and Students’ Forum (ARC) เป็นการประชุมทีจ่ ดั ขึน้ ทุกสองปี เพือ่ น�ำผลการประชุม ทีไ่ ด้ไปน�ำเสนอในการประชุม ASEM Education Ministers’ Meeting (ASEM ME) ซึ่งเป็นความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างประเทศ สมาชิก ๕๑ ประเทศ ในเอเชียและยุโรป ๒. การประชุม ARC5 ประกอบด้วย โปรแกรมหลัก ๒ ส่วน คือ ARC5 Rectors’ Conference ระหว่างวันที่ ๖ - ๘ เมษายน ๒๕๕๙

16

และ ARC5 Students’ Forum ระหว่างวันที่ ๔ - ๗ เมษายน ๒๕๕๙ โดยหัวข้อการประชุมคือ ‘Employability: Asia and Europe Prepare the New Generation’ ๓. ผูเ้ ข้าร่วมการประชุม ARC5 Rectors’ Conference จะ ได้รับการเชิญจาก ASEF โดยตรง ๔. ผู้เข้าร่วมการประชุม ARC5 Students’ Forum เปิดให้ นักศึกษาจากประเทศสมาชิกที่มีคุณสมบัติสมัครเข้าร่วมการประชุม ทางออนไลน์ที่ https://asiaeuropefoundation.formstack.com/ forms/arc5 ภายในวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๙ ๕. นักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมการประชุมฯ จะได้รับการสนับสนุนค่าที่พัก ค่าอาหาร และค่าเดินทางจากผู้จัด รายละเอียดเพิ่มเติมศึกษาได้จาก http://www.asef.org/projects/ themes/education/3568-5th-asef-rectors-conference-andstudents-forum-arc5-

อนุสาร


เหตุการณ์

เล่าเรื่อง

กกอ. สัญจร ครั้งที่ ๗

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดการประชุม กกอ. สั ญ จร ครั้ ง ที่ ๗ ณ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี สุ ร นารี แ ละ เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในระหว่างวันที่ ๘ - ๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ ประกอบด้วย กิจกรรมการเยีย่ มชม (Site Visit) สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การประชุมเสวนาร่วมกับเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียง เหนือตอนล่าง และการประชุม กกอ. ครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๘ โดยเครือข่าย อุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีสถาบันอุดมศึกษา จ�ำนวน ๑๗ แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี มหาวิทยาลัย อุ บลราชธานี มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ บุ รี รั มภ์ มหาวิ ท ยาลัยราชภัฏ สุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยราชธานี มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอสี เทิรน์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ วิทยาลัย นครราชสีมา วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมภ์ และวิทยาลัยชุมชนยโสธร

17


เหตุการณ์เล่าเรื่อง โดยการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษาสัญจร ครัง้ ที่ ๗ ได้มีการเยี่ยมชม (Site Visit) สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ แบ่งเป็น ๓ เส้นทาง ดังนี้ เส้นทางที่ ๑ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยราชธานี เส้นทางที่ ๒ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี ร าชมงคลอี ส าน วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พ นมวั น ท์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เส้นทางที่ ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏ บุ รี รั ม ย์ - มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ สุ ริ น ทร์ และการประชุ ม เสวนา ร่ ว มกั บ เครื อ ข่ า ยอุ ด มศึ ก ษาภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ตอนล่ า ง และการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๘ ในวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานคณะ กรรมการการอุดมศึกษาได้เสนอภาพรวมของนโยบายคณะกรรมการ การอุดมศึกษาทีจ่ ะยกระดับคุณภาพการอุดมศึกษาไทย ใน ๘ ประเด็น ดังนี้ (๑) การลงทุนพัฒนาประเทศผ่านสถาบันอุดมศึกษาใน ๓ โครงการใหญ่ คือ โครงการขับเคลือ่ นมหาวิทยาลัยไทยสูม่ หาวิทยาลัย ระดับโลก โครงการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่ให้ได้มาตรฐาน การอุดมศึกษาและโครงการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ในอุดมศึกษา โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ เพิม่ บทบาทของสถาบันอุดมศึกษา ไทย ตามจุดเน้น จุดเด่นของตนเอง พร้อมทั้งเน้นเรื่อง Re-profiling โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่ เพื่อเป็นก�ำลังที่เข้มแข็งในการ พัฒนาประเทศ

18

(๒) การปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ให้มคี วามหลาก หลาย ครอบคลุมทั้งสายวิชาการ สายวิชาชีพหรือปฏิบัติการซึ่งมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ (๓) การประกันคุณภาพการศึกษา และการส่งเสริมสถาบัน อุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (๔) ร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ. .... และการแยก ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาออกจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกระทรวงการอุดมศึกษา (๕) การติดตาม ตรวจสอบ การจัดการศึกษานอกสถานทีต่ งั้ การจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่เปลี่ยนประเภทแล้ว (๖) การส่งเสริมเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั้ง ๙ เครือข่าย ให้มีความเข้มแข็ง เน้นความร่วมมือ มีระบบการบริหารจัดการที่ดี โดยนโยบายทีส่ ำ� คัญจะเน้นในเรือ่ งเครือข่ายเพือ่ พัฒนาชุมชนฐานราก และเครือข่ายเพื่อพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา (๗) การพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษา เพื่อปรับปรุงระบบในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพและ เสมอภาคมากยิ่งขึ้น (๘) การผลิต พัฒนาครู และผูบ้ ริหารการศึกษา ให้มกี ารผลิต ครูที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศทั้งในเชิง ปริมาณและคุณภาพ

อนุสาร


เหตุการณ์

เล่าเรื่อง

ด้านนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ได้กล่าวถึงนโยบายการพัฒนาอุดมศึกษา ใน ๓ ประเด็น ได้ แ ก่ บริ บ ทของภาคอุด มศึก ษา นโยบายรัฐ บาลและกระทรวง ศึกษาธิการ และการส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษา บริบทของภาคอุดมศึกษาทีเ่ กีย่ วข้องกับหลายๆ ภาคส่วน ได้แก่ ภาคสังคมโดยเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคม พัฒนา ความเข้มแข็งให้แก่จงั หวัดและท้องถิน่ ภาคการผลิตโดยการเป็นแหล่ง ผลิตก�ำลังคนตามความต้องการและการขยายตัวของตลาดแรงงาน ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่น�ำมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมทัง้ ส่งเสริมและพัฒนาการเป็นผูป้ ระกอบการและ SME การศึกษา ขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษาโดยการผลิตและพัฒนาครู การพัฒนา หลักสูตรตามความต้องการของพื้นที่ และการเป็นพี่เลี้ยงให้โรงเรียน ในท้องถิน่ การศึกษานานาชาติเพือ่ เพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขัน ของการอุดมศึกษาไทย โดยการวิจัยและผลิตผลงานทางวิชาการและ การพัฒนาความเป็นสากลของการอุดมศึกษาไทย และการพัฒนา คุณภาพและมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษาไทย

นโยบายรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบนั ในด้านการอุดมศึกษา ประกอบด้วย ๒ ประเด็น คือ (๑) การจัดการศึกษาและเรียนรู้การท�ำนุบ�ำรุงศิลปะ และวัฒนธรรม และ (๒) การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจยั และพัฒนา และนวัตกรรม รวมทัง้ ให้ความส�ำคัญกับการบูรณาการอุดมศึกษากับหน่วยงานอื่น และ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณของรัฐบาล จะให้ความส�ำคัญกับ แผนงาน โครงการ ทีส่ อดคล้องกับนโยบาย และยุทธศาสตร์เชิงบูรณาการ ในส่วนของการปฏิรูปการศึกษา จะมีจุดเน้นใน ๖ เรื่อง ได้แก่ หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพการศึกษาและ แหล่งเรียนรู้ การผลิตพัฒนาก�ำลังคนและงานวิจัยที่สอดคล้องกับ ความต้องการของประเทศ การประเมินและการพัฒนามาตรฐาน การศึกษา ICT เพื่อการศึกษา การบริหารจัดการ และเรื่องครู

19


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในด้านการอุดมศึกษา ประกอบด้วย ๓ ประเด็นส�ำคัญ คือ (๑) ก�ำหนดบทบาทและการผลิต นักศึกษาให้ชดั เจน ตามความถนัดและความเป็นเลิศของแต่ละสถาบัน (๒) Outcome ที่สถาบันอุดมศึกษาควรมี เช่น การวิจัยพัฒนา จนเกิดเป็นนวัตกรรมทีเ่ กิดจากทรัพยากรท้องถิน่ เพิม่ มูลค่าการส่งออก และ (๓) สถาบันอุดมศึกษาในพืน้ ทีท่ ำ� หน้าทีเ่ ป็นพีเ่ ลีย้ งให้แก่โรงเรียน ในการพัฒนาท้องถิ่น การส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษา ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาจะเน้ น ในเรื่ อ ง คุณภาพ และบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา โดยทิศทางด้านคุณภาพ ประกอบด้วย คุณภาพหลักสูตร คุณภาพนักศึกษา คุณภาพอาจารย์ และคุณภาพการวิจัย ส�ำหรับโครงการส�ำคัญที่ก�ำลังด�ำเนินการ ได้แก่ โครงการ คุรทุ ายาท โครงการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในอุดมศึกษา เพือ่ รองรับการเปลีย่ นแปลงของบริบทโลก โครงการมหาวิทยาลัยไทย สูม่ หาวิทยาลัยโลก โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยกลุม่ ใหม่ การส่งเสริม ธรรมาภิบาลในการบริหารสถาบันอุดมศึกษา การจัดท�ำแผนอุดมศึกษา ระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๔) แผนพัฒนาอุดมศึกษา

20

ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) การวางแผนการผลิตก�ำลังคน เพื่อรองรับ Mega Project ของรัฐบาล เป็นต้น ในขณะที่ ศาสตราจารย์ ป ระสาท สื บ ค้ า อธิ ก ารบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในฐานะประธานกรรมการบริหาร เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กล่าวถึง พันธกิจของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ซึง่ ประกอบด้วย (๑) สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายในการขับเคลือ่ น คุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา (๒) การเชื่อมโยงเครือข่ายกับภาค การผลิตและภาคส่วนต่างๆ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติและ (๓) ส่งเสริมให้เครือข่ายมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมโดยผลการ ด�ำเนินงานเครือข่ายมีการด�ำเนินโครงการ/กิจกรรม อาทิ เครือข่าย หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) ด้านงานพัฒนา การเรียนการสอน ด้านงานพัฒนานิสติ นักศึกษา ด้านงานส่งเสริมและ พัฒนาวิทยาลัยชุมชน ด้านการวิจยั ด้านส่งเสริมสหกิจศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษา ด้านการผลิตและพัฒนาอาจารย์และก�ำลังคน เครือข่าย เชิงประเด็นการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ (อพ.สธ.) เป็นต้น

อนุสาร


เหตุการณ์ ทั้งนี้ การประชุมเสวนาร่วมกับเครือข่าย โดยผู้แทนสถาบัน สมาชิกเครือข่ายฯ ได้น�ำเสนอวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ/ผลงานที่โดดเด่น (Best Practice) ของเครือข่ายใน ๓ ด้าน ประกอบด้วย (๑) ด้านการ วิจัยและพัฒนา ของเครือข่ายด้านการวิจัย ที่เน้นการมีส่วนร่วมของ ทุกสถาบันในเครือข่าย เพื่อพัฒนานักวิจัยและการร่วมมือด้านการ วิจัยระหว่างสถาบันในเครือข่าย โดยมีการจัดท�ำสต๊อกโครงการวิจัย ไว้ล่วงหน้า (๒) ด้านการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ เครือข่ายพัฒนา สหกิจศึกษา เพือ่ ส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถและความเข้มแข็ง ในสถาบันสมาชิก โดยได้แสดงผลงานการพัฒนาคณาจารย์นิเทศ สหกิจศึกษาในเครือข่าย และ (๓) ด้านการบริการวิชาการ ได้แก่ การสร้างความเข้มแข็งของโรงเรียนในท้องถิ่น เพื่อลดรอยต่อการ ศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนสุรวิวัฒน์ (รสว.) เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และภาษา และเพื่อเป็นต้นแบบและสาธิตวิธีการจัดการเรียนรู้ให้แก่ โรงเรียนระดับภูมิภาค ในการประชุมเสวนาร่วมกับเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือตอนล่างครั้งนี้ ท�ำให้คณะกรรมการการอุดมศึกษา ตลอดจนผูบ้ ริหารของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีโอกาส รับฟังการน�ำเสนอผลงานดีเด่นของสถาบันในเครือข่ายฯ และได้ร่วม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนนโยบาย อุดมศึกษา เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นก�ำลังส�ำคัญในการแก้ไข ปัญหาและพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ ให้กับจังหวัดและพื้นที่ในเรื่องการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการ วิชาการ และการท�ำนุบ�ำรุงศิลปและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นพันธกิจหลัก ของสถาบันอุดมศึกษาไทย

เล่าเรื่อง

21


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมพิธี ถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องใน โอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ณ ตึกสันติไมตรี ท�ำเนียบรัฐบาล หลังจากนั้นเข้าร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็น ข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง ศึกษาธิการ โดยมีพลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวง ศึกษาธิการ เป็นประธาน ณ กระทรวงศึกษาธิการ

๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ - นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เป็ น ประธานพิ ธี ถ วายสั ต ย์ ป ฏิ ญ าณ เพื่ อ เป็ น ข้ า ราชการที่ ดี แ ละพลั ง แผ่ น ดิ น เนื่ อ งในโอกาสวั น เฉลิ ม พระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ และ เจ้ า หน้ า ที่ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เข้ า ร่ ว มพิ ธี ณ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นางอรสา ภาววิมล ผู้ช่วย เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกันท�ำบุญ ตักบาตรอาหารแห้ง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

22

๒๐ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๘ - นางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมบันทึกเทปถวายพระพร พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว เนื่ อ งในโอกาสมหามงคลเฉลิ ม พระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง ๕ โดยมีพลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผูบ้ ริหารองค์กรหลัก เข้าร่วมบันทึก เทปด้วย อนุสาร


เล่าเรื่อง

ด้วยภาพ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธมี อบทุนการ ศึกษาเทสโก้โลตัส เพือ่ นิสติ นักศึกษามหาวิทยาลัย ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๘ ร่วมกับนายสุนทร อรุณานนท์ชัย ประธานกรรมการเทสโก้ โลตัส และประธานมูลนิธิเทสโก้เพื่อไทย ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ ประเสริฐ ณ นคร ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา และคณะผู้แทนองค์การความร่วมมือ ระหว่างประเทศของญีป่ นุ่ (JICA) ร่วมหารือแลกเปลีย่ นข้อคิดเห็นเกีย่ ว กับความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่าง JICA กับ ส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา ณ ห้องประชุมบริหาร ชั้น ๔ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ต้อนรับคณะผูแ้ ทนกระทรวงศึกษาธิการ จีน ทีเ่ ข้าพบ เพือ่ ขอรับทราบเกีย่ วกับกฎระเบียบของประเทศไทยและ มาตรการในการบริหารจัดการเกีย่ วกับการจัดท�ำหุน้ ส่วนความร่วมมือ ด้านการศึกษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษาจีนกับสถาบันอุดมศึกษาไทย เพือ่ ให้สามารถดูแลและบริหารจัดการกิจกรรมการศึกษาข้ามพรมแดน ของสถาบันอุดมศึกษาจีนอย่างถูกต้อง ณ ห้องประชุมบริหาร ชั้น ๔ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สรนิ ต ศิ ล ธรรม รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา น�ำคณะผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ วางพานพุ่มถวายราชสักการะ พระบรมราชานุ ส าวรี ย ์ พระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว รัชกาลที่ ๗ เนื่องในวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว “วันรัฐธรรมนูญ” เพื่อน้อมร�ำลึกพระเกียรติคุณที่ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ หน้าอาคารรัฐสภา เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๒๕ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๘ -นายขจร จิ ต สุ ขุ ม มงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมเป็นเกียรติในพิธี ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิง สร้างสรรค์และนวัตกรรม (Start-Up) ระหว่างส�ำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล (มทร.) จ�ำนวน ๙ แห่ง ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ณ ตึกสันติไมตรี ท�ำเนียบ

23



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.