ศิลปะแห่งการดำ�เนินชีวิต และ
ตายแล้วไปไหน โดย ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า
จัดพิมพ์โดย มูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานในพระสังฆราชูปถัมภ์
ศิลปะแห่งการดำ�เนินชีวิต และ
ตายแล้วไปไหน โดย ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า
จัดพิมพ์โดย มูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานในพระสังฆราชูปถัมภ์
ศิลปะแห่งการดำ�เนินชีวิต และ ตายแล้วไปไหน โดย ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ISBN : ๙๗๘-๖๑๑-๙๐๓๑๗-๑-๕
มูลนิธฯิ อนุญาตให้น�ำ หนังสือนี้ (ไม่รวมภาพประกอบ) ไปใช้เผยแพร่เป็นธรรมทานในรูปแบบ อื่นๆ ต่อไปได้ เช่น นำ�ไปอ่านบันทึกเสียง ฯลฯ ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ 1. อ้างอิงแหล่งที่มา ได้แก่ ชื่อผู้เขียนและชื่อหนังสือ 2. ห้ามนำ�ข้อความจากหนังสือนี้ไปใช้เพื่อการค้า หรือเพื่อผลประโยชน์ตอบแทนด้วยการเผย แพร่ทุกรูปแบบ 3. ห้ามเพิ่มเติม ตัดทอน ดัดแปลง หรือแก้ ไขข้อความจากต้นฉบับ ทั้งนี้ขอให้แจ้งความประสงค์แก่มูลนิธิฯ ก่อนดำ�เนินการใดๆ เนื่องจากหนังสือส่วนใหญ่มี ลิขสิทธิ์ของต่างประเทศ
จัดพิมพ์โดย
มูลนิธิส่งเสริมวิปัสสน�กรรมฐ�นในพระสังฆร�ชูปถัมภ์ ๔๒/๖๖๐ หมู่บ้�นเค.ซี.ก�ร์เด้นโฮม ถ.นิมิตใหม่ เขตคลองส�มว� กทม. ๑๐๕๑๐ โทร. ๐-๒๙๙๓-๒๗๑๑ (ในเวล�ร�ชก�ร) อีเมล : dhamma.th@gmail.com เว็บไซต์ : www.thai.dhamma.org
ศิลปะแห่งการดำ�เนินชีวิต
H H H สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญฺาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ เมื่อบุคคลเห็นแจ้งด้วยปัญญาดังนี้ เขาย่อมหน่ายในทุกข์ นี้คือทางแห่งความบริสุทธิ์
สุตตันต. เล่ม ๑๗ ขุททกนิกาย ธรรมบท ข้อ ๓๐
H H H
คน
เราทุกคนล้วนต้องการความสุข ความสงบ ความเป็นมิตร แต่เพราะสภาพชีวติ ปัจจุบนั ขาด สิง่ เหล่านี้ ชีวิตจึงเต็มไปด้วยความขุ่นมัว มีแต่ความฟุ้งซ่าน รำ�คาญใจ ความขัดแย้งและความทุกข์ และเมือ่ เรามีแต่ความ ขุ่นมัว เราจะไม่เก็บสิ่งเหล่านี้ไว้คนเดียว แต่จะแจกจ่ายความ ทุกข์เหล่านี้ให้ผู้อื่นที่อยู่รอบข้างด้วย บรรยากาศรอบตัวของ คนที่มีความทุกข์จะเต็มไปด้วยความขัดเคือง และทุกคนที่ สัมผัสกับเขาจะต้องเกิดความขุ่นมัวตามไปด้วย ความเป็นอยู่ เช่นนี้ไม่ใช่การใช้ชีวิตที่ถูกต้องอย่างแน่นอน เราควรจะอยู่อย่างมีสันติกับตัวเราเองและกับผู้อื่น ทั้งนี้ เพราะคนเป็นสัตว์สังคม ต้องอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เหล่า ต้อง เกีย่ วข้องกัน แล้วเราจะปฏิบตั ติ นอย่างไร จึงจะมีสนั ติ ความ สอดคล้องภายในตัวเรา ตลอดจนรักษาความสงบและกลมกลืน รอบๆ ตัวเรา เพื่อที่ผู้อื่นจะได้อยู่อย่างสงบและสอดคล้องเช่น เดียวกัน
๒ H เมื่อเราเกิดความขุ่นมัว เราจะทำ�ให้มันหายไปได้อย่างไร ถ้าเราศึกษาปัญหาก็จะพบว่า เมื่อมีกิเลสเกิดขึ้นในใจ เราจะ รู้สึกขัดเคือง กิเลสกับความสงบและความสอดคล้องไม่อาจ จะอยู่ด้วยกันได้ แล้วกิเลสเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าเราศึกษาปัญหาลึกลงไป จะพบว่า เราเป็นทุกข์ เมื่อใครคนหนึ่งกระทำ�สิ่งที่เราไม่ชอบ หรือเมื่อเราประสบกับสถานการณ์ที่ไม่ชอบ สิ่งที่เราไม่ชอบ เกิดขึ้น ทำ�ให้เราสร้างความตึงเครียดในตัวเรา สิ่งที่เรา ต้องการไม่เกิดขึ้น อุปสรรคเข้ามาขวางกั้น เราก็สร้างความ ตึงเครียดในตัวเรา เราเริม่ ผูกปมในตัวเราและตลอดชีวติ ของ เรา สิง่ ทีไ่ ม่ตอ้ งการมักเกิดขึน้ เสมอ สิง่ ทีต่ อ้ งการอาจจะเกิด หรือไม่เกิดขึน้ และเราก็จะเฝ้าแต่ตอบโต้ สร้างความตึงเครียด ทำ�ให้จิตใจและร่างกายของเราเต็มไปด้วยความตึงเครียด ชีวิตเต็มไปด้วยความทุกข์ แนวทางในการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ เราจะต้องทำ�ให้ ทุกสิง่ ทุกอย่างเกิดขึน้ ตามต้องการ เราต้องเสริมสร้างอำ�นาจ หรือขอให้ผทู้ มี่ อี �ำ นาจช่วยขจัดปัดเป่าสิง่ ทีไ่ ม่ตอ้ งการ บันดาล ให้เฉพาะแต่สิ่งที่ต้องการ ซึ่งนั่นไม่มีทางเป็นไปได้เลย ไม่มี ใครในโลกที่จะสมหวังตามความต้องการทุกอย่าง สิ่งที่ไม่ ปรารถนาย่อมเกิดขึ้นเสมอๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะแก้ปัญหา
๓ H ได้อย่างไร ทำ�อย่างไรจึงจะไม่ตอบโต้ ไม่สร้างความเครียด เมือ่ สิง่ ทีไ่ ม่ปรารถนาเกิดขึน้ ทำ�อย่างไรจึงจะมีความสงบและ ความสมานฉันท์ นักปราชญ์ในอดีตได้ศกึ ษาปัญหานี้ ปัญหาในการดับทุกข์ ของมนุษย์ ทางออกอย่างหนึ่งคือ เมื่อมีสิ่งที่ไม่ต้องการเกิด ขึ้น และเราเริ่มตอบโต้ด้วยความโกรธ ความกลัว หรือด้วย กิเลสอืน่ ๆ ก็ให้เราหันเหความสนใจไปทีอ่ นื่ เช่น ลุกขึน้ ไปหา นำ�้ ดืม่ ความโกรธก็จะไม่เพิม่ พูน เราจะค่อยๆ หายโกรธ หรือ ให้นบั หนึง่ ถึงสิบ หรือให้ทอ่ งคาถา สวดมนต์ หรือท่องชือ่ ของ เทพเจ้า และนักบุญที่เราศรัทธา จิตจะหันเหจากสิ่งที่โกรธ ท�ำให้เราหายโกรธได้ในระดับหนึ่ง วิธนี ชี้ ว่ ยได้ เคยใช้ได้ดี และยังใช้ได้ดอี ยู่ ถ้าฝึกท�ำเช่นนี้ จะรูส้ กึ ว่าจิตใจหายจากความขุน่ มัว แต่อย่างไรก็ตาม วิธนี ไี้ ด้ ผลเพียงแค่ในระดับจิตส�ำนึกเท่านัน้ แท้จริงแล้ว ในขณะทีเ่ รา หันเหความสนใจ เราได้เก็บความโกรธหรือกิเลสนัน้ ไว้ทสี่ ว่ น ลึกของจิต คือจิตไร้ส�ำนึก และจิตไร้ส�ำนึกนี้จะยังคงเพิ่มพูน กิเลสขึ้นเรื่อยๆ ที่ระดับพื้นผิวของจิตดูเหมือนจะถูกฉาบด้วย ความสงบและความสอดคล้อง ทว่าในส่วนลึกลงไปนั้นมี ภูเขาไฟที่คุกรุ่นอยู่ซ่อนอยู่ ซึ่งไม่ช้าก็เร็วจะต้องระเบิดออกมา นักปราชญ์อนื่ ทีส่ �ำรวจเข้าไปภายในส่วนลึกของจิต ได้พบ
๔ H กับความเป็นจริงสูงสุดเกี่ยวกับร่างกายและจิตใจของตนเอง จนกระทั่งได้รู้ว่า การหันเหความสนใจเป็นเพียงการวิ่งหนี ปัญหา เราไม่อาจแก้ปญ ั หาด้วยการวิง่ หนี แต่ตอ้ งเผชิญหน้า กับมัน เมื่อกิเลสเกิดขึ้นในใจ ก็เพียงแต่เฝ้าดูมัน เผชิญหน้า กับมัน ทันทีที่เราสังเกตดูกิเลสในใจ กิเลสนั้นจะค่อยๆ อ่อน ก�ำลังลง และสลายไปเอง วิธีนี้นับเป็นวิธีที่ดี เป็นทางสายกลาง คือไม่เก็บกดกิเลส อันจะเป็นอันตรายต่อตนเอง หรือปล่อยให้มันระบายออกมา เป็นค�ำพูด หรือการกระท�ำที่ท�ำร้ายผู้อื่น เราเพียงแต่เฝ้า สังเกตดู แล้วมันก็จะค่อยๆ อ่อนก�ำลังลง และถูกขจัดไปในทีส่ ดุ จนเราเป็นอิสระจากกิเลสนั้น วิธนี ฟี้ งั ดูดมี าก แต่จะปฏิบตั ไิ ด้หรือไม่ ปัญหาอยูท่ วี่ า่ คน ทั่วไปจะสามารถเผชิญหน้ากับกิเลสได้อย่างเท่าทันหรือไม่ เมือ่ ความโกรธเกิดขึน้ มันจะครอบง�ำเราอย่างรวดเร็วจนไม่ทนั สังเกต แล้วเราก็จะท�ำ หรือพูดในสิ่งที่ท�ำร้ายทั้งตนเองและ ผูอ้ นื่ ครัน้ พอหายโกรธ เรากลับเสียใจ ส�ำนึกผิด และร้องขอ อภัยต่อคนๆ นั้น หรือต่อพระเจ้า แต่คราวต่อไป เมื่อเรา เผชิญกับสถานการณ์ทคี่ ล้ายคลึงกันอีก เราก็ตอบโต้ในลักษณะ เดิมอีก ความส�ำนึกผิดไม่สามารถจะช่วยอะไรเราได้เลย ปัญหาอยูท่ วี่ า่ เราไม่รวู้ า่ กิเลสเริม่ ต้นขึน้ เมือ่ ใด กิเลสเกิด
๕ H ขึ้นที่ ส ่ ว นลึ ก ของจิ ต ไร้ ส�ำนึ ก และกว่ า จะออกมาถึ ง ระดั บ จิตส�ำนึก มันก็มีพลังแรงกล้าเข้าครอบง�ำเราโดยไม่รู้ตัว ถ้า เช่นนั้น เราต้องหาเลขานุการส่วนตัวไว้คอยเตือนตัวเองเมื่อ เกิดความโกรธ และเนื่องจากความโกรธอาจเกิดขึ้นเมื่อใด ก็ได้ เราจึงต้องมีเลขานุการคอยท�ำงานตลอด ๒๔ ชั่วโมง แบ่งเป็น ๓ กะ กะละ ๘ ชั่วโมง สมมติว่าเราสามารถจ้าง เลขานุการไว้ช่วยเตือนได้ แต่เมื่อเราเกิดความโกรธ แล้ว เลขานุการรีบเตือนว่า “ระวังครับท่าน ความโกรธเกิดขึน้ แล้ว” ทว่าสิ่งแรกที่เรากลับท�ำก็คือ ตบหน้าเลขานุการ แล้วว่า “เจ้า โง่ ฉันไม่ได้จา้ งแกมาสอนฉัน” ทัง้ นีเ้ พราะความโกรธครอบง�ำ เราอย่างหนัก ค�ำแนะน�ำใดๆ ก็ไม่อาจช่วยเราได้ในเวลานั้น และถึ ง แม้ว่าเราจะไม่ท�ำอะไรรุนแรงด้ ว ยการตบหน้ า เลขานุการ แต่กล่าวว่า “ขอบใจมากทีเ่ ตือน ฉันจะต้องนัง่ ลง และคอยเฝ้าดูความโกรธ” ทว่าเราจะสังเกตความโกรธอย่างไร ทันทีที่หลับตาและสังเกตความโกรธ สิ่งที่ท�ำให้เราโกรธจะ ปรากฏขึน้ ในใจ เราไม่ได้ก�ำลังเฝ้าดูความโกรธ หากแต่ก�ำลัง สังเกตสิ่งกระตุ้นภายนอกเท่านั้น การท�ำเช่นนี้มีแต่จะเพิ่มพูน ความโกรธ ไม่ใช่ทางแก้ปญ ั หา เป็นการยากทีจ่ ะสังเกตความ โกรธ ซึ่งเป็นนามธรรมแยกจากสิ่งภายนอกที่ท�ำให้เราโกรธ แต่ผู้ที่เข้าถึงสัจธรรมอันสูงสุดได้พบทางออกที่เห็นผลจริงๆ
๖ H ท่านผู้นั้นพบว่าเมื่อเกิดกิเลสขึ้นในจิต จะมีปรากฏการณ์ทาง กายเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ๒ อย่าง อย่างแรกคือ ลมหายใจจะ ผิดปกติ เราจะหายใจแรง เมื่อมีกิเลสเกิดขึ้นในใจ ลมหายใจ เป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่าย ส่วนอย่างที่สองนั้นเกิดขึ้นในระดับที่ ละเอียดกว่าคือ จะมีปฏิกิริยาทางชีวเคมีบางอย่างเกิดขึ้นกับ ร่างกาย ซึ่งปรากฏออกมาเป็นความรู้สึก กิเลสทุกอย่างจะ ท�ำให้เกิดความรูส้ กึ อย่างใดอย่างหนึง่ ขึน้ ทีส่ ว่ นใดส่วนหนึง่ ของ ร่างกาย วิธนี สี้ ามารถปฏิบตั ไิ ด้จริง คนทัว่ ไปไม่อาจจะสังเกตกิเลส ซึง่ เป็นนามธรรม เช่น ความโกรธ ความกลัว ความใคร่ แต่ สามารถสังเกตลมหายใจ หรือความรูส้ กึ หากได้ฝกึ ปฏิบตั อิ ย่าง ถูกต้อง ลมหายใจและความรู้สึกทางกายจะช่วยเราได้ ๒ ทาง คือ คอยเตือนเราเหมือนเป็นเลขานุการส่วนตัว ทันทีที่กิเลสเกิด ขึ้นในจิต ลมหายใจของเราจะผิดปกติ ราวกับจะร้องบอกว่า “ระวัง ! มีบางสิ่งผิดปกติ” เราไม่อาจทุบตีเลขานุการประเภท นี้ หากต้องยอมรับค�ำเตือน เช่นเดียวกับความรูส้ กึ ทางกาย ของเราที่จะบอกว่ามีอะไรผิดปกติเกิดขึ้น เมื่อเราได้รับการ เตือน แล้วหันมาสังเกตลมหายใจหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับ ร่างกาย เราจะพบว่ากิเลสนั้นค่อยๆ สลายตัวไป
๗ H ปรากฏการณ์ทางจิตและกายนี้เปรียบเสมือนด้านทั้งสอง ของเหรียญอันเดียวกัน ด้านหนึ่งคือความคิดหรืออารมณ์ ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับจิต ส่วนอีกด้านคือลมหายใจ หรือความ รู้สึกที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ไม่ว่าจะเกิดความคิดหรืออารมณ์ ขึ้นในจิตใจ ย่อมแสดงออกทางลมหายใจและความรู้สึกทาง กายในขณะนั้นด้วย ดังนั้น การสังเกตลมหายใจหรือความ รู้สึกทางกาย ก็คือการสังเกตสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ กับจิต แทนทีจ่ ะเป็น การหนีปญ ั หา กลับเป็นการเผชิญหน้ากับความจริงทีก่ �ำลังเกิด ขึน้ ถ้าเราสังเกตความจริงนี้ ก็จะพบว่ากิเลสนัน้ อ่อนก�ำลังลง จนไม่สามารถครอบง�ำเราได้เหมือนก่อน และถ้าเราสังเกต ต่อไปเรื่อยๆ มันก็จะสลายตัวไปในที่สุด ท�ำให้เรายังคงรักษา ความสงบเอาไว้ได้ การสังเกตตนเองท�ำให้เราเห็นความจริงทัง้ สองแง่มมุ คือ ความจริงภายนอก และความจริงภายใน เราเคยแต่มองออก ไปข้างนอก ท�ำให้ไม่พบกับความจริงภายใน เรามองออกไป ข้างนอกเพื่อหาสาเหตุที่ท�ำให้ตัวเองเป็นทุกข์ เราเอาแต่โทษ สิ่งภายนอก และพยายามแก้ไขสิ่งภายนอก โดยไม่รู้ถึงความ จริงภายใน เราไม่เข้าใจว่า ความทุกข์ของตัวเองเกิดจาก สาเหตุภายใน คือการปรุงแต่งตอบโต้ต่อความรู้สึกน่าพอใจ และไม่น่าพอใจเพียงเท่านั้น
๘ H ถ้าเราฝึกอย่างถูกต้อง นับแต่นี้ไปก็จะสามารถแลเห็นอีก ด้านหนึ่งของความจริง คือความจริงภายในตัวเรา สามารถ รับรู้ถึงลมหายใจและความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะ เป็นการเฝ้าสังเกตลมหายใจ หรือความรู้สึกทางกาย เราก็ เรียนรู้ที่จะเฝ้าดูด้วยจิตที่ไม่หวั่นไหว ไม่ทำ�อะไรที่เป็นการ ตอบโต้ ซึ่งจะเป็นการไปเพิ่มพูนความทุกข์ หากแต่จะปล่อย ให้กเิ ลสทีแ่ สดงตัวออกมาค่อยๆ หมดกำ�ลังลง และดับไป ยิ่งถ้าเราได้ฝึกปฏิบัติจนชำ�นาญมากขึ้น ก็จะพบว่ากิเลส ถูกขจัดออกไปเร็วขึ้น จิตจะค่อยๆ หลุดพ้นจากกิเลส เป็นจิต ทีบ่ ริสทุ ธิข์ น้ึ จิตทีบ่ ริสทุ ธิน์ จ้ี ะเต็มไปด้วยความรักความเมตตา ต่อทุกคน เต็มไปด้วยความกรุณาต่อผู้ทุกข์ยาก เต็มไปด้วย ความยินดีต่อความสำ�เร็จและความสุขของผู้อื่น และเต็มไป ด้วยอุเบกขาในทุกๆ สถานการณ์ ผู้ที่บรรลุถึงขั้นนี้ จะมีรูปแบบของการดำ�เนินชีวิตเปลี่ยน ไป ไม่อาจจะกระทำ�สิง่ ใดๆ ทางกายหรือวาจาทีเ่ ป็นอันตราย ต่อผู้อื่น จิตที่สมดุลไม่เพียงแต่จะทำ�ให้ตัวเองสงบสุข แต่ยัง จะช่วยให้ผู้อื่นสงบสุขด้วย บรรยากาศรอบๆ ตัวเขาจะเต็มไป ด้วยความสงบและความกลมเกลียว ซึง่ จะทำ�ให้ผทู้ อี่ ยูร่ อบข้าง พลอยสงบสุขไปด้วย การที่เราฝึกวางใจเป็นกลาง เมื่อเผชิญกับความรู้สึกทาง
๙ H กายทีเ่ กิดขึน้ จะช่วยให้เราพัฒนาความไม่ยดึ มัน่ ต่อสถานการณ์ ต่างๆ ภายนอกด้วย แต่การไม่ยดึ มัน่ ไม่ได้หมายความว่า เรา ไม่ไยดีตอ่ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบข้าง นักปฏิบัติวิปัสสนา จะต้องห่วงใยในความทุกข์ยากของผู้อื่น และพยายามหาทาง ช่วยเหลือเท่าที่ท�ำ ได้โดยไม่มคี วามรูส้ กึ ขุน่ มัว ทว่าด้วยจิตใจที่ เปี่ยมความรักความเมตตาและอุเบกขา เขาย่อมเรียนรู้ที่จะ ช่วยเหลือผูอ้ น่ื อย่างเต็มที่ โดยทีย่ งั คงรักษาความสมดุลของจิต เอาไว้ตลอดเวลา นั่นคือเขาจะรักษาความสงบสุขในตัวเอง ขณะที่พยายามช่วยให้ผู้อื่นเกิดความสงบสุข นี่คือสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน เป็นศิลปะของการ ดำ�เนินชีวติ พระองค์ไม่ได้สอนหรือตัง้ ลัทธิขน้ึ ใหม่ ทรงไม่เคย บอกให้สาวกของพระองค์ท�ำ พิธกี รรมใดๆ หรือทำ�ตามรูปแบบ ใดๆ อย่างงมงาย พระองค์ทรงสอนวิธสี งั เกตธรรมชาติภายใน ตัวเองอย่างทีเ่ ป็นอยู่ เราเฝ้าแต่ตอบสนองความรูส้ กึ ทีเ่ กิดขึน้ กับร่างกาย ในทางทีเ่ ป็นอันตรายต่อตัวเองและผูอ้ นื่ ด้วยความ รูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์ แต่เมือ่ เรามีปญ ั ญา ซึง่ เป็นปัญญาทีเ่ กิดจาก การสังเกตความจริงตามที่เป็น เราจะเลิกนิสัยตอบโต้นี้ เมื่อ เราเลิกตอบโต้อย่างมืดบอด ก็จะสามารถกระทำ�สิง่ ต่างๆ ด้วย จิตที่สมดุล รู้และเข้าใจความจริง การกระทำ�เช่นนี้จะมีแต่ ผลดี มีแต่สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
๑๐ H สิ่งที่สำ�คัญคือ เราต้อง “รู้จักตัวเอง” ดังที่นักปราชญ์ ทั้งหลายแนะนำ� เราต้องรูจ้ กั ตัวเอง ไม่ใช่เพียงผิวเผินในระดับ เชาวน์ปัญญาหรือระดับทฤษฎี ไม่ใช่เพียงระดับศรัทธาหรือ ระดับอารมณ์ คือยอมรับอย่างงมงายตามที่ได้ยินหรือได้อ่าน มา ความรู้ในระดับนีไ้ ม่อาจช่วยเราได้จริง เราต้องรูค้ วาม จริงเกีย่ วกับตัวเองในระดับประสบการณ์ คือเราจะต้องพบกับ ความจริงนั้น ความจริงที่เกี่ยวกับร่างกายและจิตใจของเรา ด้วยตัวเราเองเท่านั้น จึงจะช่วยให้เราหลุดพ้นจากกิเลสความ ทุกข์ วิธีปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงความจริงภายในตัวเองในระดับ ประสบการณ์นี้เรียกว่า วิปัสสนา ปัสสนา แปลว่า การเห็น ด้วยตา วิปสั สนา แปลว่า การเห็นสิง่ ต่างๆ ตามอย่างที่มัน เป็นอยู่ ไม่ใช่ตามที่ดูเหมือนจะเป็น เราต้องเจาะลึกลงไปใน ความจริงที่ผิวเผิน จนถึงความจริงอันสูงสุดของร่างกายและ จิตใจ เมือ่ เราเข้าถึงความจริงนีแ้ ล้ว เราก็ยอ่ มเรียนรูท้ จ่ี ะหยุด การตอบโต้อย่างมืดบอด หยุดสร้างกิเลส และธรรมชาติก็จะ ทำ�หน้าที่ของมันเอง คือขจัดกิเลสเก่าๆ ออกไปอย่างถอนราก ถอนโคน ทำ�ให้เราหลุดพ้นจากความทุกข์ และประสบแต่ ความสุข การปฏิบัติวิปัสสนามีอยู่ ๓ ขั้นตอนด้วยกัน ขั้นตอนแรก คือ การรักษาศีล เราจะต้องงดเว้นจากการกระทำ�ทางกาย
๑๑ H หรือวาจาที่ทำ�ลายความสงบสุขของผู้อื่น เราจะไม่สามารถ หลุดพ้นจากกิเลสได้ ถ้ายังมีกายกรรมหรือวจีกรรมที่เป็นการ เพิม่ พูนกิเลส ดังนัน้ เราจึงต้องรักษาศีลเป็นเบือ้ งแรก ได้แก่ ศีล ๕ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ พูดเท็จ และไม่ใช้สารมึนเมา การงดเว้นจากการกระทำ�ดัง กล่าวจะช่วยให้จิตสงบลง จนพร้อมที่จะเข้าถึงความเป็นจริง ในตัวเอง ขั้นต่อมาคือ สมาธิ การพัฒนาความสามารถในการ ควบคุมจิตที่ควบคุมได้ยาก ด้วยการฝึกให้จิตเพ่งความสนใจ ไปที่วัตถุอย่างเดียว คือลมหายใจ เราจะพยายามเพ่งความ สนใจไปที่ลมหายใจให้นานที่สุด นี่ไม่ใช่การฝึกหายใจ ไม่ใช่ การควบคุ ม ลมหายใจ แต่ เ ป็ น การสั ง เกตลมหายใจตาม ธรรมชาติที่มันเป็นอยู่ ทั้งในขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก การกระทำ�เช่นนีจ้ ะทำ�ให้จติ สงบยิง่ ขึน้ จิตจะปราศจากกิเลสที่ รุนแรง ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำ�ให้จิตมีสมาธิแหลมคม พร้อมที่จะสำ�รวจความจริงในตัวเอง ขัน้ ตอนทัง้ ๒ นี้ เป็นขัน้ ตอนทีจ่ �ำ เป็นและมีประโยชน์โดย ตัวมันเอง แต่จะนำ�ไปสูก่ ารเก็บกด นอกเสียจากว่าเราจะปฏิบตั ิ ขัน้ ตอนทีส่ ามคือ การชำ�ระจิตให้บริสทุ ธิจ์ ากกิเลส โดยพัฒนา ปัญญาให้เห็นธรรมชาติของตนเอง นี่คือการปฏิบัติวิปัสสนา
๑๒ H ซึ่งเป็นการมองความจริงภายในร่างกายและจิตใจ จะมีการ สังเกตอย่างเป็นระบบ ทำ�อย่างปล่อยวาง สังเกตเข้าไปใน ปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของกระบวนการ นามรูป ซึ่งแสดงตัวออกมาเป็นความรู้สึกที่ร่างกาย นี่เป็น สาระสำ�คัญในคำ�สอนของพระพุทธเจ้า คือการชำ�ระจิตให้ บริสุทธิ์ด้วยการสังเกตตนเอง วิธีนี้สามารถปฏิบัติได้ทุกคน เราทุกคนล้วนมีความทุกข์ ด้วยกันทั้งสิ้น ความทุกข์เป็นโรคสากลที่เกิดในมนุษย์โดยไม่ เลือกเชือ้ ชาติหรือลัทธิ ดังนัน้ วิธกี ารแก้ทกุ ข์จงึ ต้องเป็นสากล ด้วยเช่นกัน เมือ่ เราเป็นทุกข์จากความโกรธ เราไม่เรียกความ โกรธนัน้ ว่า ความโกรธแบบพุทธ แบบฮินดู หรือแบบคริสต์ ความโกรธก็คอื ความโกรธ เมือ่ เราเกิดความขุน่ เคืองเนือ่ งจาก ความโกรธ ความขุ่นเคืองนั้นก็ไม่ใช่ความขุ่นเคืองของชาว คริสต์ ชาวฮินดู หรือชาวพุทธ ทุกข์เป็นของสากล ทางแก้ ทุกข์จงึ ต้องเป็นวิธสี ากลด้วย วิปสั สนาเป็นวิธสี ากล ไม่มใี ครทีจ่ ะคัดค้านได้วา่ ศีล สมาธิ อันเป็นการพัฒนาความสามารถในการควบคุมจิต และการ พัฒนาปัญญาให้แลเห็นความจริงภายในตนเอง อันจะช่วยให้ จิตหลุดพ้นจากกิเลสนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ดีงาม ไม่ถูกต้อง ดังนั้น วิปัสสนาจึงเป็นเส้นทางที่เป็นสากล
๑๓ H การสังเกตความเป็นจริงภายในตนเองคือ การรูจ้ กั ตนเอง ในระดับทีเ่ ป็นจริงจากประสบการณ์ของตนเอง เมือ่ ฝึกปฏิบตั ิ ไปเรือ่ ยๆ เราก็จะค่อยๆ หลุดพ้นจากกิเลส เริม่ จากความจริง หยาบๆ ภายนอก ความจริงอย่างผิวเผิน จนเจาะลึกเข้าไปถึง ความจริงอันสูงสุดของนามและรูป แล้วข้ามพ้นความจริงของ นามรูป เข้าถึงความจริงที่อยู่เหนือนามรูป อยู่เหนือมิติของ กาลเวลาและสถานที่ อยูเ่ หนือขอบเขตของความสัมพัทธ์ เป็น ความจริงทีป่ ราศจากกิเลส ปราศจากความทุกข์ ไม่ส�ำ คัญว่า เราจะเรียกภาวะนี้อย่างไร แต่นั่นเป็นเป้าหมายของทุกคน ขอให้ท่านทั้งหลายได้พบกับความจริงอันสูงสุดนี้ ขอให้ ทุกๆ ท่านจงหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ ได้พบกับความ สุข ความสงบ และความสมานฉันท์ที่แท้จริง ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุขโดยทั่วหน้ากัน
ตายแล้วไปไหน
อนิจฺจา วต สงฺขารา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ อุปฺปาทวยธมฺมิโน แม้เกิดมาก็เสื่อมไปเป็นธรรมดา อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป เตสํ วูปสโม สุโข ความระงับ คือไม่ยึดถือสังขารเหล่านั้น เป็นสุข สุตตันต. เล่ม ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อ ๑๘๖
อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ คหกากรํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ คหการก ทิฏโฐฺสิ ปุน เคหํ น กาหสิ สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
เราเที่ยวเร่ร่อนไปในสังสารวัฏฏ์หลาย แสนชาติ เพื่อแสวงหานายช่าง ผู้สร้างเรือน (คือร่างกายนี้) แต่ไม่พบ ต้องทนทุกข์กับการเกิดแล้วเกิดอีก นายช่างเอย บัดนี้เราพบท่านแล้ว ท่านจะสร้างเรือนไม่ได้อีก จันทัน (คือกิเลส) เราทำ�ลายหมดแล้ว อกไก่ (คืออวิชชา) เราก็รื้อหมดแล้ว จิตของเราถึงธรรมอันปราศจากการ ปรุงแต่ง เพราะเราได้บรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว
สุตตันต. เล่ม ๑๗ ขุททกนิกาย ธรรมบท ข้อ ๒๑
ก่อน
ทีจ่ ะรูว้ า่ ตายแล้วไปไหน เราควรจะต้องเข้าใจ ว่าความตายคืออะไร
หากจะเปรียบกระแสชีวติ ของสัตว์โลกเหมือนสายน�ำ้ ในนที ความตายก็เปรียบเสมือนจุดโค้งตอนที่สายน�้ำเปลี่ยนทิศทาง ส�ำหรับผูบ้ รรลุธรรมหรือพระอรหันต์ ความตายคือการสิน้ สุด ลงอย่างแท้จริงของชีวิต เป็นการจบสิ้นการเวียนว่ายตายเกิด ส่วนปุถชุ นอย่างเรา กระแสชีวติ จะมีสบื เนือ่ งกันไปไม่มวี น ั สิ้นสุด ฉะนั้น ความตายจึงเท่ากับเป็นการยุติของกิจกรรม ชีวิตในช่วงชีวิตหนึ่ง เพื่อจะตั้งต้นกิจกรรมชีวิตใหม่ในทันทีที่ มีการเกิดใหม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ความตายคือจุดสุดท้าย ของชีวิตนี้ และเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตต่อไปนั่นเอง โดยอาจ เปรียบได้กับการที่พระอาทิตย์ตกและขึ้น ซึ่งแทบไม่มีช่วงของ ความมืดคั่นอยู่เลย และถ้าจะเปรียบกับหนังสือที่ว่าด้วยการ อุบตั ขิ องสัตว์โลก ความตายก็เป็นตอนจบของบทหนึง่ ในขณะ ที่บทต่อไปก็จะเริ่มต้นขึ้นใหม่ในทันทีทันใดนั้นเอง
๑๘ H แม้ว่าเราจะหาอุปมาอุปมัยที่ตรงตัวจริงๆ มากล่าวไม่ได้ แต่เราก็อาจเปรียบกระแสแห่งชีวิตเป็นดั่งรถไฟที่วิ่งไปบนราง เมื่อกำ�ลังจะถึงสถานีแห่งความตาย มันจะชะลอความเร็วลง ชัว่ ขณะหนึง่ แล้วก็จะเร่งความเร็วให้เหมือนเดิมต่อไป โดยไม่มี การหยุดแม้เพียงชัว่ ขณะเดียว สำ�หรับผูท้ ยี่ งั ไม่ใช่พระอรหันต์ ความตายหาใช่สถานีปลายทางไม่ แต่จะเป็นดังสถานีชุมทาง ที่มีรางรถไฟถึง ๓๑ สายมาบรรจบกัน เมื่อรถไฟวิ่งมาถึงชุม ทางนี้ ก็จะเปลี่ยนราง แล้วออกวิง่ ต่อไปด้วยความเร็วเช่นเดิม เชื้อเพลิงที่ทำ�ให้รถไฟแล่นไปได้โดยไม่หยุดนี้ ได้แก่ กระแส แห่งกรรม ซึ่งบุคคลแต่ละคนได้ประกอบไว้ในอดีตชาติทับถม กันมา ทำ�ให้เกิดการเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด การเปลีย่ นรางเดินของรถไฟนีเ้ ป็นไปโดยอัตโนมัติ ประดุจ ดังการที่น�้ำแข็งละลายเป็นน�้ำ หรือน�้ำกลายเป็นน�้ำแข็ง อัน เป็นไปตามกฎธรรมชาติ การถ่ายเทจากชีวติ หนึง่ ไปสูอ่ กี ชีวติ หนึ่งก็เป็นไปตามกฎธรรมชาติเช่นกัน รถไฟแห่งชีวิตไม่เพียง แต่จะเปลีย่ นรางได้เอง แต่ยงั สามารถก�ำหนดรางทีจ่ ะวิง่ ต่อไป เองด้วย ส�ำหรับรถไฟแห่งการเกิดนั้น สถานีแห่งความตาย ซึง่ เป็นชุมทางทีร่ ถไฟจะต้องเปลีย่ นเส้นทางนีม้ คี วามส�ำคัญยิง่ ในขณะทีช่ วี ติ ปัจจุบนั ก�ำลังจะสิน้ สุดลง และร่างกายก�ำลังจะถูก ละทิ้งไปนั้น ชีวิตใหม่ก็ใกล้จะอุบัติขึ้น การเกิดจึงเป็นผลของ
๑๙ H ความตาย หรืออีกนัยหนึง่ ความตายเป็นสิง่ ทีก่ �ำหนดการเกิด ครั้งต่อไป ฉะนั้น ความตายจึงมิใช่เป็นเพียงความตาย หาก แต่เป็นการเกิดด้วย ณ สถานีชุมทางนี้เองที่ชีวิตเปลี่ยนไปสู่ ความตาย และความตายเปลี่ยนไปสู่การเกิด เราจึงควรระลึกว่า ทุกๆ ชีวิตเป็นการเตรียมตัวเพื่อที่จะ ตาย ถ้าเราฉลาดพอ ก็จะต้องพยายามดำ�เนินชีวติ ในปัจจุบนั ให้ดีที่สุด เพื่อเตรียมตัวตายให้ดีที่สุด และการตายที่ดีที่สุด ก็คือการที่ไม่กลับมาเกิดอีก ซึง่ ได้แก่การตายของพระอรหันต์ อันเป็นการไปถึงจุดหมายปลายทางอย่างแท้จริง เพราะไม่มี รางให้รถไฟวิ่งอีกต่อไปแล้ว เราจึงควรทีจ่ ะพยายามกำ�หนด การอุบตั ขิ น้ึ ของชีวติ ใหม่ให้ดีที่สุด เพื่อวันหนึ่งเราจะได้บรรลุ ถึงจุดหมายปลายทางที่แท้จริงเช่นนั้นบ้าง ทุกสิ่งขึ้นอยู่กับ ตัวเราเอง เราเป็นผู้กำ�หนดอนาคตของเรา เราเป็นผูก้ �ำ หนด ความสุขและความทุกข์ ตลอดจนความหลุดพ้นของเราเอง ท�ำอย่างไรเราจึงจะสามารถจัดวางรางเพือ่ รองรับรถไฟที่ วิ่งมาอย่างเร็วได้ การที่จะตอบค�ำถามนี้ได้ เราต้องมีความ เข้าใจในเรือ่ งของ "กรรม" เสียก่อน กรรมหรือการกระท�ำ ของเราเกิดจากเจตนาทีเ่ ป็นกุศลหรืออกุศล เจตนาทีบ่ ริสทุ ธิ์ หรือไม่บริสทุ ธิใ์ นใจของเราเป็นรากฐานของการกระท�ำ ไม่วา่ จะด้วยทางกาย วาจา หรือใจ โดยเริม่ จากการมีผสั สะ คือ
๒๐ H มีสิ่งมากระทบทวารใดทวารหนึ่งของเรา ท�ำให้เกิดวิญญาณ หรือการรับรู้ขึ้น แล้วสัญญาจะเป็นผู้ประเมินผลของผัสสะนั้น จากนั้นเวทนาหรือความรู้สึกทางกายก็จะเกิดขึ้น ตามมาด้วย สังขาร คือสภาพที่ปรุงแต่งการกระท�ำของเรา อันเกิดจาก เจตนาซึง่ ปรุงแต่งโต้ตอบต่อความรูส้ กึ ทางกาย เจตนาในการ กระท�ำนี้มีหลายแบบหลายชนิด เจตนาบางอย่างก็เปรียบ เสมือนรอยขีดลงบนน�ำ้ บางอย่างก็เป็นดังรอยขีดบนพืน้ ทราย บางอย่างเป็นเสมือนรอยขีดบนหิน ถ้าเจตนาเป็นกุศล การ กระท�ำก็จะเป็นกุศล ซึ่งจะยังให้เกิดผลที่เป็นกุศลด้วย หาก เจตนาไม่บริสุทธิ์ การกระท�ำก็ย่อมจะเป็นไปในทางไม่ดี และ ก่อให้เกิดผลคือความทุกข์ความเดือดร้อน ทัง้ นีม้ ไิ ด้หมายความว่า สังขารหรือการปรุงแต่งทัง้ หลาย นีจ้ ะมีผลให้เกิดชีวติ ใหม่เสมอไป การกระทำ�บางอย่างอาจจะ บางเบาเกินกว่าที่จะก่อผลใดๆ การกระทำ�บางอย่างอาจจะ หนักหรือรุนแรงกว่านัน้ เล็กน้อย ซึง่ จะส่งผลในปัจจุบนั ชาติโดย ไม่ตอ้ งรอถึงชาติหน้า กรรมบางชนิดก็ให้ผลทัง้ ในปัจจุบนั และ ยืดเยือ้ ไปจนชาติหน้า แม้จะไม่ถงึ กับเป็นแรงส่งทีท่ �ำ ให้ไปเกิด ใหม่ แต่กม็ กี รรมหลายชนิดทีเ่ รียกว่า กรรมภพ หรือ สังขารภพ ซึ่งเป็นตัวนำ�ให้ไปเกิด กรรมประเภทนี้เองที่เป็นสาเหตุให้มี กระบวนการเกิดใหม่ขึ้นมา โดยพลังแม่เหล็กในตัวของมันจะ
๒๑ H ถูกดึงดูดให้เข้าไปร่วมกับกระแสสัน่ สะเทือนของโลกภพทีม่ คี ลืน่ ความถี่ขนาดเดียวกัน พลังความสั่นสะเทือนของภพทั้งสอง จะดึงดูดเข้าหากันและกัน อันเป็นไปตามกฎแห่งกรรม ในทันทีที่กรรมภพบังเกิดขึ้น รถไฟแห่งการอุบัติขึ้นก็จะ ถูกดึงดูดจากรางใดรางหนึ่งใน ๓๑ ราง ณ สถานีชุมทาง ดังกล่าว ราง ๓๑ รางนี้ก็คือภพทั้ง ๓๑ นั่นเอง ซึ่งประกอบ ไปด้วยกามภพ ๑๑ ภพ อันได้แก่ อบาย ๔ มนุษยโลก ๑ และ กามาวจรสวรรค์อกี ๖ ภพของรูปพรหม ๑๖ (ซึง่ เป็นภพของ พวกกายละเอียด ผูเ้ ข้าถึงรูปฌาน) และภพของอรูปพรหมอีก ๔ (ซึง่ เป็นภพทีม่ แี ต่จติ ไม่มีรูป เป็นภพของผู้ถึงอรูปฌาน) ในวาระสุดท้ายของชีวติ เมือ่ กรรมภพหรือสังขารภพอุบตั ิ ขึน้ สังขารหรือกรรมนีเ้ องทีท่ �ำ ให้เกิดชาติใหม่ โดยพลังกรรม นี้จะเชื่อมโยงเข้ากับพลังความสั่นสะเทือนของภพที่จะไปเกิด ในขณะทีค่ วามตายมาถึงนัน้ ภพทัง้ ๓๑ ภพจะเปิดออก สังขาร หรือการปรุงแต่งในขณะนัน้ จะเป็นผูก้ �ำ หนดว่า รถไฟจะแล่นไป ตามรางไหนต่อไป โดยพลังแห่งกรรมจะผลักดันวิญญาณให้ เข้าไปสูก่ ระแสชีวติ ใหม่ ตัวอย่างเช่น ถ้าหากก่อนตาย มีความ โกรธหรือความมุง่ ร้ายต่างๆ ซึง่ เป็นลักษณะทีร่ มุ่ ร้อน กระวนกระวาย กระแสกรรมก็จะถูกดึงดูดให้เข้าไปอยู่ในอบายภูมิ ทำ�นองเดียวกัน บุคคลทีม่ คี วามเมตตาเป็นอุปนิสยั ก็จะมีพลัง
๒๒ H สั่นสะเทือนของพรหมโลก เป็นต้น นี่เป็นกฎธรรมชาติ และ กฎเหล่านี้จะจัดตัวเองอย่างมีร ะเบี ย บโดยไม่ ผิ ด พลาดเลย ฉะนัน้ เราจึงต้องเข้าใจว่ารถไฟดังกล่าวไม่มผี โู้ ดยสาร แต่แล่น ไปด้วยพลังของสังขาร คือกรรม หรือการปรุงแต่งที่สะสมไว้ ในขณะที่ความตายมาถึง กรรมที่แรงมักปรากฏขึ้น ซึ่ง อาจจะเป็นกุศลหรืออกุศลกรรมก็ได้ ตัวอย่างเช่น หากบุคคล ใดเคยฆ่าบิดามารดาหรือผู้ทรงศีลมาแล้ว ความจำ�เกี่ยวกับ การกระทำ�ดังกล่าวจะมาปรากฏขึน้ อีกเมือ่ ใกล้สน้ิ ใจ ในทำ�นอง เดียวกัน สำ�หรับผูท้ ปี่ ฏิบตั วิ ปิ สั สนาอยูเ่ สมอ จิตสุดท้ายจะสงบ เยือกเย็นเช่นเดียวกับในขณะที่เคยปฏิบัติวิปัสสนา หากไม่มกี รรมภพทีห่ นักหน่วงรุนแรงปรากฏขึน้ ก็จะเกิด กรรมภพอย่างอืน่ ความจำ�ใดๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในขณะนัน้ จะปรากฏ ออกมา ตัวอย่างเช่น บางคนอาจจะนึกได้ถึงกรรมดีที่เคย ถวายอาหารพระ หรือบางคนอาจนึกได้วา่ เคยฆ่าคน ความจำ� เกี่ยวกับพฤติกรรมในอดีตจะปรากฏขึ้นเสมอ บางคนอาจจะ มองเห็นอาหารเต็มจานทีเ่ คยใส่บาตร บางคนจะเห็นปืนทีต่ น เคยใช้สงั หารผู้อื่น สิ่งเหล่านี้คือ กรรมนิมิต บางครัง้ ก็อาจมีนมิ ิตของชีวิตที่ก�ำ ลังจะอุบตั ิขนึ้ ในอนาคต หรือที่เรียกว่า คตินิมิต (เครื่องหมายแสดงที่ไปเกิด) นิมิต เหล่านี้มีส่วนเกี่ยวโยงกับโลกภพ ซึ่งมีกระแสดึงดูดให้ไปเกิด
๒๓ H เช่น อาจมีนิมิตเห็นสวรรค์ หรือเดรัจฉานภพก็ได้ บุคคลที่ กำ�ลังจะตายมักมีนิมิตเหล่านี้เหมือนเป็นการเตือนล่วงหน้า ทำ�นองเดียวกับรถไฟ ซึ่งจะมีไฟส่องให้เห็นทางอยู่ที่หัวรถ พลังสั่นสะเทือนของนิมิตดังกล่าว ย่อมจะเชื่อมโยงเข้ากับพลัง สั่นสะเทือนของโลกภพที่ชีวิตใหม่กำ�ลังจะอุบัติขึ้น นักวิปสั สนาทีด่ ยี อ่ มสามารถหลบหลีกรางรถไฟทีจ่ ะพาไป สู่ภพภูมิที่ต�่ำกว่า ฉะนั้น เราจึงจะต้องเข้าใจกฎธรรมชาตินี้ ให้ดี และหมัน่ ปฏิบตั เิ พือ่ เตรียมตัวเผชิญกับความตายอยูต่ ลอด เวลา ยิ่งผู้สูงอายุยิ่งมีเหตุผลทุกประการที่จะต้องมีสติอยู่ทุก ขณะ ถ้าเช่นนัน้ เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร เราจะต้องปฏิบตั ิ วิปสั สนา ฝึกความมีอเุ บกขา ไม่วา่ จะมีความรูส้ กึ ทางกายอะไร เกิดขึน้ ก็ตอ้ งไม่มปี ฏิกริ ยิ าโต้ตอบใดๆ มีเพียงการปฏิบตั เิ ช่นนี้ เท่านั้นที่สามารถขจัดนิสยั เก่าๆ เปลีย่ นแปลงสภาพจิตใจทีเ่ คย แต่จะก่อให้เกิดสังขารใหม่ๆ พัฒนาไปเป็นการรักษาใจให้เป็น อุเบกขาอยู่เสมอ ขณะใกล้ตาย คนส่วนมากจะมีความรูส้ กึ ทีไ่ ม่สบาย ความ ชรา โรคภัย และความตายเป็นทุกข์ ก่อให้เกิดความรู้สึกที่ รุนแรง ถ้าบุคคลใดไม่เคยฝึกให้รจู้ กั สังเกตเวทนา หรือความ รู้สึกทางกาย และฝึกทำ�ใจให้เป็นอุเบกขาแล้ว ก็อาจจะมี ความรูส้ กึ ขุน่ เคือง โกรธแค้น หรือพยาบาทมาดร้าย อันเป็น
๒๔ H โอกาสให้สังขารภพที่มีกระแสดึงดูดชนิดเดียวกันเกิดขึ้นได้ ส่วนผูท้ เี่ คยฝึกปฏิบตั วิ ปิ สั สนาจะสามารถเผชิญกับความรูส้ กึ ที่ ปวดร้าวรุนแรง โดยการวางใจให้มีอุเบกขาเมื่อใกล้ตาย จน แม้แต่สงั ขารภพทีฝ่ งั แฝงอยูภ่ ายในจิตไร้ส�ำ นึกก็ไม่อาจครอบงำ� ได้ สำ�หรับบุคคลธรรมดาทัว่ ไปนัน้ มักจะกลัวความตายอย่าง ทีส่ ดุ ซึง่ เป็นการเปิดโอกาสให้สงั ขารภพแห่งความกลัวปรากฏ ขึน้ มา ความทุกข์ ความเศร้าโศกเสียใจที่ต้องพลัดพรากจาก บุคคลที่ตนรักจะประดังกันขึ้นมา สังขารภพที่สะสมไว้ใน ก้นบึ้งของจิตใจ ก็จะผุดโผล่ขึ้นมาครอบงำ�จิตใจ ในขณะที่ นักวิปัสสนาจะสามารถจับความรู้สึกเหล่านั้นได้ แล้ววางใจ ให้เป็นอุเบกขา ทำ�ให้สงั ขารทัง้ หลายไม่มโี อกาสรบกวนจิตใจ เมือ่ ใกล้ตาย ฉะนัน้ เราจะเตรียมตัวตายได้ ก็ดว้ ยการพยายาม เจริญนิสยั ให้รจู้ กั สังเกตความรูส้ กึ (เวทนา) ทีเ่ กิดขึน้ กับร่างกาย และฝึกวางใจให้เป็นอุเบกขา โดยมีความเข้าใจในอนิจจังอย่าง แท้จริง ในขณะที่ใกล้สิ้นใจ จิตที่ได้รับการฝึกให้มีอุเบกขาอย่าง มั่นคงแล้ว จะปล่อยวางได้โดยอัตโนมัติ รถไฟแห่งการอุบัติ ขึ้นก็จะแล่นเข้าสู่รางที่จะอ�ำนวยโอกาสให้บุคคลนั้นได้ปฏิบัติ วิปัสสนาสืบต่อไปในชีวิตใหม่ ท�ำให้ปลอดภัยจากการต้องไป เกิดในภพที่ต�่ำกว่า ข้อนี้ส�ำคัญมาก เพราะในอบายภูมิหรือ
๒๕ H ภพที่ต�่ำลงไปนั้น เราจะไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติวิปัสสนาเลย นักวิปัสสนาที่มีญาติมิตรนั่งปฏิบัติอยู่ด้วยใกล้ๆ ในยามที่ ใกล้จะตายนั้น นับว่าโชคดี เพราะจะได้รับพลังสั่นสะเทือน ของเมตตา อันจะช่วยให้ตายไปด้วยความสงบสุข ท่ามกลาง บรรยากาศแห่งธรรมะที่ปราศจากความเศร้าโศกคร�่ำครวญ สำ�หรับผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติวิปัสสนานั้น บางครั้งก็อาจจะได้ ประสบกับชีวติ ใหม่ทนี่ า่ พอใจจากผลของกรรมดีทไี่ ด้กระทำ�มา เช่น ความทีเ่ ป็นผูม้ จี ติ ใจเอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ มีศลี ธรรม มีคณ ุ ธรรม แต่นักวิปัสสนาที่ปฏิบัติอย่างมั่นคงแล้วจะได้รับผลพิเศษกว่า นั้น เพราะจะมีโอกาสได้ปฏิบัติวิปัสสนาอีกในชาติต่อไป อัน จะทำ�ให้การเวียนว่ายในสังสารวัฏฏ์ของเขาสั้นลง และทำ�ให้ สามารถบรรลุถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วขึ้น การที่เราได้มีโอกาสสัมผัสกับธรรมะในชาตินี้นั้น เป็น เพราะผลของกุศลกรรมทีไ่ ด้กระทำ�ไว้ในอดีตชาติ ฉะนัน้ เรา จึงต้องทำ�ชีวติ ปัจจุบนั ให้สมบูรณ์ดว้ ยการปฏิบตั วิ ปิ สั สนา เพือ่ ว่าเมื่อความตายมาเยือน เราจะได้สามารถเผชิญหน้ากับมัน ด้วยจิตที่เป็นอุเบกขา อันจะนำ�มาซึ่งความสุขในชีวิตภายหน้า ต่อไป
v ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน
ในแนวทางของท่านอาจารย์อูบาขิ่น-สอนโดยท่านอาจารย์โกเอ็นก้า
ที่เปิดดำ�เนินการอบรมในปัจจุบัน ศูนย์ธรรมกมลา 200 หมู่ 13 บ้านเนินผาสุก ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 25000 โทร. 0-3740-3185 หรือ 08-9782-9180 โทรสาร 0-3740-3875
ศูนย์ธรรมอาภา 138 หมู่ 3 บ้านห้วยพลู ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก 65220 โทร. 08-1605-5576 หรือ 08-7135-2128 โทรสาร 0-2903-0080 ต่อ 2213
ศูนย์ธรรมธานี 42/660 หมูบ่ า้ นเค.ซี.การ์เด้นโฮม ถ.นิมติ ใหม่ เขตคลองสามวา กทม. 10510 โทร. 0-2993-2744 หรือ 08-7314-0606 โทรสาร 0-2993-2799
ศูนย์ธรรมสุวรรณา 112 หมู่ 1 ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น 40240 โทร. 08-6713-5617 โทรสาร 0-4347-0246
x ศูนย์ธรรมกาญจนา 20/6 หมู่ 2 บ้านวังขยาย ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี 71240 โทร. 08-1811-6196, 08-1811-6447 หรือ 0-3468-3065 โทรสาร 0-3468-3066
ศูนย์ธรรมสีมันตะ 200 หมู่ 1 บ้านหนองสร้อย ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำ�พูน 51120 โทร. 08-6431-0417 หรือ 08-6423-4938
ศูนย์ธรรมโปราโณ 271 หมู่ 4 ต.เขาแก้ว อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช 80230 โทร. 08-1535-8207 หรือ 0-7530-0479 โทรสาร 0-7530-0480
ศูนย์ธรรมจันทปภา 51 หมู่ 1 ต.ทับไทร อ.โป่งน�้ำร้อน จ.จันทบุรี 22140 โทร. 0-3946-0935, 0-3946-0936 หรือ 08-8253-6605