เม็ดเลือดเเดง ฉบับเเรก ปีการศึกษา 2555

Page 1





Medleuddang

เสรีภาพกับการรับน้อง :

อีกด้านหนึ่งของเสรีภาพที่เราหลงลืม ธรรมชาติ กรีอักษร

“เสรีภาพ” คนมักมองคำ�คำ�นี้เป็นสิ่งสวยงาม นั่นคงเป็นเพราะเสรีภาพคืออิสระในการทำ�อะไรก็ได้ ตามที่ตัวเองต้องการ แน่นอนว่าบนโลกนี้ไม่มีใครแม้แต่คนเดียวที่ชอบโดนบังคับขู่เข็ญ นั่นเป็น ธรรมชาติของมนุษย์ที่เราไม่อาจปฏิเสธ อย่างไรก็ตาม เรากลับลืมมองอีกด้านหนึ่งของเสรีภาพที่ไม่ สวยงาม หากใครสามารถทำ�อะไรก็ได้ตามที่เขาต้องการ หมายความว่า การใช้เสรีภาพของตนเองใน การกดขี่และลิดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นย่อมเรียกว่าเป็นเสรีภาพเช่นเดียวกัน “เสรีภาพ” เรามักเลือกมองคำ�คำ�นี้แต่ด้านดี แต่กลับเพิกเฉยต่อ ด้านมืดของมันที่สามารถเห็นได้เกลื่อนกลาด ในมหาวิทยาลัย เราเห็นรุ่นพี่ใช้เสรีภาพของเขาเป็นอุปกรณ์ในการกดขี่ข่มเหง รุ่นน้องผู้มาทีหลังผ่านสิ่งที่เรียกว่า “กิจกรรมรับน้อง” ซึ่งมัก มาพร้อมกับ “การว้าก” การตะโกนโหวกเหวกโวยวาย รุ่นพี่ ทำ�ตัวประหนึ่งเป็นครูฝึกทหาร สั่งทำ�โทษ ก่นด่า ทำ�ลายสิทธิ เสรีภาพของรุ่นน้องตามอำ�เภอใจ “เสรีภาพ” ในขณะที่ รุ่ น พี่ ใช้ สิ่ ง นี้ ก ระทำ � การว้ า กมนุ ษ ย์ ผู้ ม าที ห ลั ง อย่างอุกอาจ ทั้งที่มีเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน รุ่นน้องกลับ ใช้เสรีภาพเหล่านั้นไปกับการสมยอม ระบบว้ากนั้นยืนอยู่ ได้เพราะมีขาหนึ่งเป็นรุ่นพี่ และอีกขาหนึ่งเป็นรุ่นน้องที่ทำ�การสืบทอด แทนที่จะต่อว่าต่อความอ ยุติธรรม รุ่นน้องผู้เป็นความหวังใหม่กลับเลือกจะยอมถูกกระทำ�อย่างทารุณ เลือกจะใช้เสรีภาพของ ตัวเองอย่างผิด ๆ ในแบบเดิม ๆ ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้จึงไม่ใช่สิ่งที่ตรงข้ามกับเสรีภาพ แต่เป็นการใช้ เสรีภาพอย่างผิด ๆ ไม่มีใครเอาเสรีภาพไปจากเราได้ ยกเว้นว่าเราจะเป็นคนยอมเสียเอง

สู่ เ ส รี ภ า พ

Information and Journal Group Faculty of Political Science

3


4

เม็ดเลือดแดง

“เสรีภาพ” แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาหากเรามองตามหลักสิทธิมนุษยชน บนโลกนี้ เป็น ธรรมดาอยู่นั่นเองที่ต้องมีมนุษย์ผู้เกิดก่อน และมนุษย์ผู้เกิดหลัง มนุษยชาติรับรู้ถึงสิ่งนี้ร่วมกัน นี่ จึงเป็นเหตุให้ทุกภาษามีคำ�ศัพท์ที่มีความหมายว่า “พี่” และ “น้อง” เมื่อมนุษย์ทุกคนไม่ได้เกิด พร้อมกันและตายไปพร้อมกัน หากแต่ว่ามีอายุบนโลกนี้ลดหลั่นกันไป เราจึงรับรู้ถึงความเป็น “พี่” และ เป็น “น้อง” ทั่วไปในสังคม จากความแตกต่างนี้ มนุษย์ผู้เกิดก่อนได้อ้างสิทธิพิเศษของ ความเป็น “พี่” ในการทำ�ร้ายมนุษย์ผู้น้องอย่างสะใจ หากแต่พวกเขาหลงลืมไปแล้วว่า... ไม่ว่าจะเป็นพี่หรือเป็นน้อง พวกเขาล้วนมีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน พวกเขาหลงลืมไปแล้วว่า... หากใช้เวลาไปกับการพัฒนา สร้างผลงานให้ตัวเอง รุ่นน้องก็จะเคารพพวกเขาได้โดยไม่ จำ�เป็นต้องว้าก พวกเขาหลงลืมไปแล้วว่า... รุ่นน้องก็มีสมอง และหัวใจ สามารถสร้างความรักและความสุขได้ด้วยตัวของเขาเอง โดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ พวกเขาหลงลืมไปแล้วว่า... การว้ากทำ�ให้เจ็บคอ พวกเขาหลงลืมไปแล้วว่า... การกระทำ�ผู้อื่นเสมือนว่าพวกเขาไม่ได้เป็นมนุษย์ ก็เท่ากับการไม่เห็นความเป็นมนุษย์ในตัว เองเช่นเดียวกัน “เสรีภาพ” หลังจากผ่านระบบการสอบเข้าอันโหดร้ายมาหมาด ๆ ไม่ว่าจะได้เข้ามหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝัน ไว้หรือไม่ นักศึกษาใหม่ได้จะรับเสรีภาพนี้ในการใช้ชีวิตที่มากขึ้น พวกเขาได้เดินทางมาถึง ชานชาลาชีวิตที่จะนำ�พวกเขาไปสู่เส้นทางชีวิตที่ตั้งใจไว้ พวกเขาจะได้รับเสรีภาพในการกระทำ� สิ่งทีต้องการและความรับผิดชอบต่อการกระทำ�เหล่านั้นที่ขยายตัวขึ้น คำ�ถามก็คือ...

“พวกเขาจะใช้เสรีภาพนั้นไปในทิศทางใด” สู่ เ ส รี ภ า พ


Medleuddang

เสรีอันไร้เสรี บนกรอบคิด ของความพยายามเปลี่ยน ประเทศเป็นเสรี รุเธียร

ถ้า พูดถึงกระแสคิดของยุคสมัยปัจจุบันในประเทศไทยที่พวกเราดำ�รงอยู่

นัก วิชาการ และ นักศึกษาในหลายกลุ่มมักจะมุ่งเน้นไปที่คำ�ว่า ‘เสรี’ โดยเริ่มจากการรื้อถอน สิ่งต่างๆ ที่ดำ�รงอยู่ก่อนในสังคม และประกาศตนชัดเจนว่า “เราควรมีเสรี” หรือไม่เช่นนั้นก็ กล่าวว่า “เรามีเสรี” เปล่าเลย ผู้เขียนมิได้จะกล่าวหา หรือกล่าวว่าแนวคิดเชิงเสรีนิยมแต่อย่าง ใด แต่กำ�ลังพยายามจะชี้ช่องความบกพร่องของกรอบคิดของกลุ่มคนจำ�นวนหนึ่งที่เรียกตนว่า เหล่าเสรีนิยมในเมืองไทย ทว่ากลับมีอะไรย้อนแยงในความเสรีเหล่านั้น หากจะพูดถึงกระแสคิดของการต่อสู้ทางแนวคิดให้เข้าใจโดยง่ายแล้ว กล่าวคือในสมัยปัจจุบัน (ของผู้เขียน) ได้มีกลุ่มคนที่ออกมาประกาศตน (อาจจะเบาๆ หรืออาจร้องปาวๆ) ว่าเราเป็น มนุษย์ผู้เสรี เราควรมีสิทธิ์เลือกที่จะเชื่อได้ พร้อมๆ กันนั้นจึงเกิดการต่อต้านขนบธรรมเนียม และ ค่านิยมเก่าหลายประการ เช่น การไม่นับถือศาสนาพุทธ การประกาศตนว่าไม่เอาระบบกษัตริย์ และเรียกร้องการปกครองแบบเสรีนิยม เป็นต้น ซึ่งแน่น นอนว่าไม่ใช่แนวคิดที่ผิด ในทางกลับกันผู้เขียนมองว่า เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่ายกย่องกับความอาจหาญในการ แสดงออกโดยไม่กลัวเกรงต่อการปะทะของค่านิยมสังคม เก่าของประเทศที่พร้อมจะกดบีบทุกความเชื่อใหม่แบบ ตั้งคำ�ถามให้ตกหล่นหายไปตามซอกประวัติศาสตร์ แต่กระนั้นในหลายๆทัศนะของกลุ่มคนที่เรียก ตนเองว่าเป็นเสรีนิยม (บางกลุ่ม บางคน) ผมกลับไม่เห็น ด้วย เนื่องด้วยความแปลกประหลาดในแนวคิดและคำ�

สู่ เ ส รี ภ า พ

Information and Journal Group Faculty of Political Science

5


6

เม็ดเลือดแดง

จำ�กัดความของเสรีของพวกเขา เช่น การเชื่อในสื่อและประวัติศาสตร์กระแสรอง และยึดมั่น ว่านี่ล่ะคือความถูกต้อง ในขณะเดียวกันกลับไปย้อนแยงแนวคิดบางประการในส่วนของคำ�ว่า ‘เสรี’ ซึ่งหากตีความแล้ว จะหมายความว่า การที่เราสามารถเลือกที่จะคิด เชื่อ และ ทำ�ได้ตาม แต่ความเป็นปัจเจกชนในตนจะเอื้ออำ�นวย และ จากกรอบคิดของแนวคิดแบบมนุษย์นิยม มนุษย์ทุกคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะให้แต่ละผู้นามมามีอะไร ทุกอย่างที่เหมือนกันไปหมดเหมือนหุ่นยนต์ แม้กระทั่งการเลือกที่จะเชื่อ และมองในสิ่งต่างๆ ที่ต่างกัน แต่ปรากฏว่าในกลุ่มคนที่เรียกว่าตนเป็นเสรีนิยมหลายๆ กลุ่มนั้น (มิใช่ทุกคน) กลับ หลงไปในคำ�ว่าเสรีนิยม โดยคิดถึงเพียงแต่ว่าเราควรจะมีเสรีในทุกแง่มุม แต่กลับคิดจำ�กัด ‘เสรี’ ว่าต้องเป็นไปในทางพวกเขา เช่น จะต้องไม่งมงายในระบอบคิดเก่าของสังคม ซึ่งหากพิจารณา ดูแล้วจะเกิดความรู้สึกแปลกแปร่ง กล่าวคือ การเป็นเสรีของพวกเขานั้นคือการที่ทุกคนต้องหัน มานิยมในแบบฉบับ ‘เสรี’ แบบเขาด้วย ในทัศนะของผู้เขียนการเป็นเสรีนิยมที่แท้ดี (ในสายตาของผู้เขียน)นั้นคือการหลุด ออกจากกรอบของคำ�ว่า ‘เสรี’และปล่อยให้แนวคิดเป็นไปตาม แต่ละบุคคล ดังที่อาจารย์ธเนศ วงศ์ยานนาวา กล่าวไว้ในหนังสือ ความไม่หลากหลาย ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในช่วง บทความไม่อดกลั้นของเสรีนิยม ผ่านการตั้งคำ�ถามว่าข้อจำ�กัด ของความเสรีในเสรีนิยมคืออะไร แล้วเสรีนิยมจะเปิดโอกาสให้ แนวคิดเชิงเผด็จการ หรือแนวคิดที่แตกต่างออกไป ซึ่งมีแนวคิดที่ ‘ไม่เสรี’ มี ‘เสรี’ ในการคิด และดำ�รงอยู่ในสังคมได้หรือไม่ กล่าว คือในความเสรีนี้ ขีดจำ�กัดของการดำ�รงอยู่ร่วมกันคืออะไรกันแน่ กล่าวโดยสรุปบทความนี้ไม่มีเจตนาจะโจมตีหรือยกยอ แนวคิดใด แต่เป็นเพียงการตั้งคำ�ถามของผู้เขียนผ่านการมองแนวคิดบางแนวคิดในสายตาของ คนบางกลุ่ม เพื่อถามหาความเสรีที่สามารถดำ�รงอยู่ในสังคมได้อย่างกลมกลืนกับแนวคิดอื่น โดยมิไปหักล้าง หรือทำ�ลายแนวคิดอื่น ซึ่งจะทำ�ให้ความ ‘เสรี’ กลายเป็นความ ‘ไร้เสรี’ ในขณะที่ปากพร่ำ�ความเสรี หรือหากพูดในอีกภาษาหนึ่งคือ ‘กูมีเสรี แต่มึงต้องเสรีตามกู’

สู่ เ ส รี ภ า พ


สู่ เ ส รี ภ า พ

Information and Journal Group Faculty of Political Science

BY เด็กหญิงอุ่นใจ ณ จ๊ะ

7 Medleuddang


8

เม็ดเลือดแดง

การเมือง อำ�นาจ ความดี และธรรมชาติ

กับกรณีศึกษา โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ฐิศิษพ์ สังข์ภิรมย์

การช่วงชิง”ความชอบธรรม”ในการดำ�เนินกิจกรรมการเมืองใดๆในสังคม ผู้ที่น่าเห็นใจ

ก็คือ “เหยื่อ” ที่อาจถูกหลอกล่อมาด้วย”มายาคติ”ที่มักจะมีวาระแอบแฝง(hidden agenda) อันเป็นประโยชน์ของ“ผู้คุม”ผู้สร้าง”และใช้มายาคตินั้น (“สิ่ง”ดีงามยังจะคงจริงอยู่ แต่อาจถูก ปั่นแต่งให้กลายเป็น”ความ”ดีงามที่แสนลวง) มันจะอันตรายอย่างยิ่งเมื่อ มายาคตินั้นสร้างให้เขา เชื่อว่าสิ่งที่เขาหรือเธอกำ�ลังทำ�นั้นคือ “ความดีเพียงหนึ่งเดียว ความถูกต้องเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น! เพราะเขาจะทุ่มทุกวิถีทาง ทุกรูปแบบ ทุกระดับ ทุกการกระทำ� ที่อาจกระทบในหลายๆด้านอย่างไร กับใครก็ได้เพื่อบรรลุเป้าหมายของเขา ด้วยเหตุที่ว่าเขามีแล้วซึ่ง “ความชอบธรรม”

โดยวิธีการต่างๆที่เขาได้กระทำ�นั้น อาจหลงลืมหรือเลือกปิดมุมมองอื่นๆที่มีอยู่รอบตัวตามสภาพจริง ที่ปรากฏเป็น”ภววิสัย” โดยอาจเพียงกระทำ�ตาม” อัตวิสัย” ประหนึ่งถูกสวมใส่ด้วยเลนส์สีต่างๆ สวมเลนส์สีดำ� ก็จะมองเห็นภาพเป็นสีดำ�เท่านั้น สวมเลนส์สีขาวก็มองเห็นภาพเป็นสีขาวเท่านั้น โดยห่างไกลจากสีและภาพจริง ที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า เพราะได้มองผ่านสีของเลนส์นั้นไปเสียแล้ว และทั้งนี้ ก็อาจยึดมั่นเพียงเลนส์ที่ตนสวมอยู่ ด้วยเชื่อว่าคือสิ่งถูกต้องที่สุด ทั้งที่โดยแท้จริงแล้วเลนส์นี้อาจจะถูกสวมให้โดยน้ำ�มือของผู้ที่ใช้ประโยชน์ ควบคุม ผ่านการมองเห็นของ (เรา) ผู้ที่ถูกสวมเลนส์ หรือแม้กระทั้ง เราก็อาจจะได้สวมเลนส์นี้ด้วยตัวเองไปโดยไม่รู้ตัว การที่เราได้สวมใส่โดยไม่รู้ตัว หมายถึง เราอาจคิดว่าได้มองเอง อาจคิดว่าได้คิดเอง อาจคิดว่าได้สำ�นึกเองโดย อิสระแล้วจากการเลือกของตน โดยเนื้อแท้แล้ว ตัวเลือกที่มีอยู่ให้เรา เลือกเดิน เลือกเป็น เลือกทำ�นั้น ก็อาจถูก จัดแจงกำ�หนดวาง หรือจำ�กัดให้เห็นไว้แล้วทั้งสิ้น แท้ที่จริงก็คือการเลือกภายใต้ตัวเลือกที่เราไม่อาจควบคุมโดย อิสระนั้นเอง ด้วยผู้หนึ่งผู้ใด กลุ่มคนหนึ่งคนใดก็ตาม ที่ใช้ประโยชน์ผ่านวาระซ่อนเร้น ก็มักจะแฝงเนื้อหาความ ต้องการในผลประโยชน์ส่วนตนไปพร้อมกับ “ความดีที่แสนลวง” “มายาคติอันหอมหวน” ทำ�ให้เราไม่ได้รู้สึกถึง ความอันตราย ความเลวร้าย ความเสียหาย กับใครแต่อย่างใด เพราะเราได้เชื่อโดยสนิทใจ อย่างสุดจิตสุดใจ แล้ว ว่ามัน “ดี ถูกต้อง และ ชอบธรรม”ซึ่งมักจะเป็นปกติวิสัยที่บางครั้งเราก็อาจพลาดไปโดย “รู้ตัว แบบไม่รู้ตัว” ตรง นี้คือ “ความน่าเห็นใจ”

สู่ เ ส รี ภ า พ


Medleuddang

“การศึกษาไทยไม่ได้สอนให้คนเลือกอุดมการณ์เพื่อไปสร้างวิธีการแต่สอนให้คนมีวิธี การเพื่อรองรับอุดมการณ์ที่ถูกเลือกแล้ว”

สวัสดี

สู่ เ ส รี ภ า พ

Information and Journal Group Faculty of Political Science

ปัญหาคือ 1.ความ “ถูกต้อง” คืออะไร? ถูกต้องของใคร? มันมีความถูกต้องแบบเป็นสากลสำ�นึกโดยมนุษย์ทุกชาติ ทุกวัฒนธรรมเห็นตรง เห็นชอบเหมือนกันหรือไม่? ถ้ามีเราจะพิสูจน์ว่ามันจริงกันอย่างไร มันมีวีธีพิสูจน์จริงหรือไม่? หรือ ถ้าไม่ อะไรคือผลของการเชื่อใน “ความถูกต้อง” ที่ถูกแอบอ้าง สรรสร้างปั่นแต่งขึ้นตามจินตนาการของผู้ที่จะใช้ ประโยชน์จากการ “เชื่อ” นั้น? 2.สภาพจริงคืออะไร เราจะค้นหาสภาพจริงกันได้อย่างไร จะมองเห็นได้อย่างไรเมื่อเรายังสวมอยู่ในเลนส์ ใดเลนส์หนึ่งแล้วคิดว่าตนไม่เคยมีใครจะสามารถมาสวมเลนส์ให้ได้ 3. “ความชอบธรรม” คือ “เครื่องมือ” ของใคร? มันกำ�ลังทำ�งานอย่างไร ให้กับใคร ผลกระทบเกิดกับ ใครบ้าง?มันดีงามไหม มันชอบไหม มันมีประโยชน์ไหม กับใคร ? จากการที่ผู้เขียนได้ไปติดตามสถานการณ์ ณ ทำ�เนียบ รัฐบาล ระหว่างเวลา 22.00น.-03.00น. ในคืนวันที่มีการอด อาหารประท้วงของเด็กนักเรียนบดินทรเดชาฯนั้น ผู้เขียนเข้าใจ ความรู้สึกของ”ทุกฝ่ าย”ที่กำ�ลังได้รับผลกระทบและพยายาม อย่างที่สุดในการรักษาผลประโยชน์อันพึงมี กระทั้งผลประโยชน์ เฉพาะของตน ผลประโยชน์ทางจินตนาการ ผลประโยชน์ทาง มายาคติ ผลประโยชน์แห่งสิ่งสะท้อนตัวตนที่แสนลวงของ แต่ละคน และได้เห็นภาพปรากฏการณ์ความเป็นธรรมชาติของ การเมือง การช่วงชิงความชอบธรรมโดยใช้”เยาวชน 4 คน” เป็น ประเด็นทางการเมือง ในพื้นที่ภายหลังได้นั่งแลกเปลี่ยนความเห็นกับ น้องๆ ที่มาประท้วง พบว่าเด็กๆไม่ได้ไม่ฉลาดที่ไปเคลื่อนไหว น้องๆ แต่ละคนเป็นคนมีอุดมการณ์ เชื่อมั่นในความดี ความจริง และความ งาม เพียงแต่น้องๆอาจไม่ทันต่อ”คนการเมือง”ที่กำ�ลังใช้เด็กเป็นเครื่อง สังเวย เท่านั้นเอง “เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป คือธรรมชาติของการเมือง มีผู้กระทำ� และผู้ ถูกกระทำ� สลับเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นธรรมชาติ การที่จะรักษาสภาพ ธรรมชาติของการเมือง ให้เป็นคุณมากกว่าโทษกับทุกฝ่าย จึงเป็นเรื่อง ท้าทายที่ยังคงเฝ้ารอ”คนการเมือง” จะมาบริหารจัดการอำ�นาจอันพึ่งมี ของตน ให้เกิดประโยชน์กับอาณาบริเวณสาธารณะอย่างสูงสุดต่อไป” สุดท้ายหากจะให้มองปัญหาระบบการศึกษา ไทยกับกรณีศึกษา โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) นั้น ด้วยประสบการณ์อันน้อยนิดของผู้เขียน ซึ่งก็ได้อาศัยอยู่ ภายใต้โครงสร้างระบบการศึกษาไทยมาเป็นเวลา 19 ขวบปี ก็อาจะพอมีความเห็นว่า

9


10

เม็ดเลือดแดง

BESTIALITY ทำ�ไมไม่เอากับสัตว์?

ลีลา วรวุฒิสุนทร

นปีค.ศ.1814 คัตสึชิกะ โฮกุไซ ( K a t s u s h i k a Hokusai) ศิลปินเอโดะ ผู้มีชื่อเสียงจากศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้ ได้ ตีพิมพ์ผลงานชิ้นหนึ่งของเขาลงในหนังสือรวมภาพอีโรติก (Shunga) ชื่อ Kinoe no Komatsu (สนอ่อน) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภาพ พิมพ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดภาพหนึ่งของโฮกุไซ ภาพนี้แสดงฉากอีโรติกระหว่างหญิงสาวกับปลาหมึก สองตัวที่วุ่นอยู่กับการปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศของเธอ ไม่น่า แปลกใจเลยว่าทำ�ไมนักวิจารณ์ยุคใหม่หลายคน จะเรียกภาพนี้ ว่าเป็น ฉากอนาจารและทารุณกรรมทางเพศ แต่นักวิจารณ์บาง คนก็แย้งว่า คำ�วิพากษ์ดังกล่าวไม่ได้คำ�นึงถึง บริบทของสังคม ที่ศิลปะชิ้นนี้ถูกผลิตขึ้น ผู้เชี่ยวชาญศิลปะตีความว่า โฮกุไซ น่าจะ สร้างสรรค์ภาพนี้ขึ้นมา โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก ตำ�นานทามา ภาพ : The dream of the Fisherman’s wife โทริ เจ้าสาวของเจ้าตระกูลฟูจิวาระ ผู้ดำ�ลงไปยัง วังบาดาลเพื่อ เก็บหอยมุก ข้อสันนิษฐานนี้ได้รับการสนับสนุนจากศิลปะร่วมสมัยของโฮกุไซจำ�นวนมาก ที่ปรากฏภาพหญิงสาวกับ กองทัพจ้าวทะเล (ที่มีปลาหมึกรวมอยู่ด้วย) อย่างไรก็ดี มีข้อแย้งว่าหญิงสาวของโฮกุไซไม่ได้เหมือน ทามาโทริ เสียทีเดียว เพราะทามาโทริต้อง ผ่า ทรวงอกและฝังหอยมุกไว้ในนั้น เพื่อให้เธอว่ายหนีพวกจ้าวทะเลที่ติดตามมาได้เร็วขึ้น และหลังจากขึ้นมายังฝั่งได้ สำ�เร็จไม่นาน ทามาโทริก็ตายลงจากความอ่อนล้าและความเจ็บปวด แต่ฉากร่วมรักระหว่างหญิงสาวของโฮกุไซกับ ปลาหมึก กลับไม่ปรากฏความรุนแรงหรือความเจ็บปวดเลย ตรงกันข้าม ภาพกลับแสดงแต่ความสงบ และสุขสม ที่ มนุษย์กับธรรมชาติหลอมรวมกันเป็นหนึ่ง หลายคนจึงเชื่อว่าภาพมีเจตนารมณ์แสดงถึงความศรัทธาของโฮกุไซที่มีต่อ ลัทธิชินโต ศาสนาดั้งเดิมของญี่ปุ่นก่อนการเข้ามาของพุทธศาสนาที่เชื่อในจิตวิญญาณธรรมชาติ โดยฉากเพศสัมพันธ์ เป็นเพียงแค่เปลือกนอกเท่านั้น แต่เปลือกนอกนี้ก็สามารถสร้างข้อถกเถียงวุ่นวายไม่รู้จบในสังคมที่การร่วมเพศกับ สัตว์ถือเป็นเรื่องต้องห้าม

สู่ เ ส รี ภ า พ


Medleuddang

สู่ เ ส รี ภ า พ

Information and Journal Group Faculty of Political Science

ทำ�ไมมนุษย์จึงห้ามเอากับสัตว์ล่ะ? อย่างไรก็ดี การลุกขึ้นตั้งคำ�ถามกับ เสรีภาพในการร่วมเพศกับสัตว์ ดูจะเป็นเรื่องยากเย็นยิ่งกว่า การตั้งคำ�ถามต่อเสรีภาพในการวิจารณ์รัฐ ศาสนาหรือชนชั้นเสียอีก เพราะนอกจากผู้ตั้งคำ�ถามจะไม่ได้รับการ ยกย่องให้เป็นฮีโร่ผู้วิพากษ์สังคมอย่างที่อาจได้เป็นในการตั้งคำ�ถามแบบหลังแล้ว ยังอาจถูกประณามดูหมิ่น เหยียดหยามอีกต่างหาก มีการบัญญัติศัพท์แสงไว้มากมายเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์การเอากับสัตว์ เช่น Bestiality, Zoosadism, Sodomy ฯลฯ ในงานศึกษาของ Krafft-Ebing (1886) เขาเรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า Zoophilia ซึ่ง อีบิง หมายความถึง บุคคลผู้ซึ่งมีกระทำ�สมสู่ร่วมกับสัตว์ และรวมไปถึงผู้ซึ่งมีความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศต่อสัตว์ (Zoophilia erotica) ด้วย เช่น บรรดาผู้ที่คลั่งไคล้หนังและขนสัตว์ เป็นต้น ครูเอล่า เดอวิล ยายแก่โรคจิตจอมถลก หนังหมา จากภาพยนตร์การ์ตูน 101 ดัลเมเชียน ถือเป็นตัวอย่างที่ดีสำ�หรับกรณีดังกล่าว ในงานเขียนรุ่นหลัง มีพยายามแยกแยะ ความแตกต่างระหว่างการกระทำ�ของพวก Zoophilias และ Bestialists เช่น งานของ Masters(1962) ได้ให้คำ�จำ�กัดความว่า Bestiality คือ การกระทำ�ความรุนแรงทางเพศ ต่อสัตว์ Stephanie LaFarge จิตแพทย์จากนิวเจอร์ซีสคูล มีความเห็นคล้ายคลึงกับ มาสเตอร์ส โดยเธอเห็นว่า Bestiality คือ การกระทำ�ชำ�เราและกระทำ�ความรุนแรงต่อสัตว์ เพื่อสนองความต้องการทางเพศของมนุษย์ ขณะ ที่ Zoophilia หมายถึง ผู้ที่มีความรักใคร่ต่อสัตว์ (ตั้งแต่ระดับธรรมจนถึงระดับความใคร่ทางเพศ) งานของ Williams และ Weinberg ได้ใช้การสัมภาษณ์ทางอินเตอร์เน็ต กับผู้ที่แสดงตนเป็น Zoophilia ตอกย้ำ�ความ เข้าใจดังกล่าวว่าพวกผู้รักสัตว์ (Zoophilias) เองก็มองว่า พวกเขาแตกต่างจาก พวกเอากับสัตว์(Bestialists) พวก ผู้รักสัตว์เชื่อว่า พวกเอากับสัตว์ สนใจแต่การสนองความใคร่ของตนเองเท่านั้น แต่พวกผู้รักสัตว์ จะสนใจความสุข และ สวัสดิภาพ ของสัตว์ด้วย กระนั้น ไม่ว่าพวกเขาจะนิยามตัวเองว่าอย่างไรก็ตาม ในสายตาของสังคม ก็มองว่า คนกลุ่มดังกล่าวไม่ได้มีความแตกต่างกันนัก หนังสือพิมพ์อังกฤษกล่าวว่า Zoophila ก็เป็นแค่ การสร้างภาพลักษณ์ ให้การกระทำ�ชำ�เราสัตว์ดูดีขึ้นเท่านั้น ความเป็นจริงคงมีอยู่ว่าสังคมสมัยใหม่และรัฐไม่ยอมรับการร่วมเพศหรือความปรารถนาต่อสัตว์ในทาง กามราคะ ในหลายประเทศการร่วมเพศกับสัตว์มีบทลงโทษทางกฎหมาย เช่น กฎหมายทารุณกรรมสัตว์ เป็นต้น ความปรารถนาต่อสัตว์ ถูกอธิบายด้วยความรู้ทางการแพทย์ ว่าเป็นความเจ็บป่วยทางจิตใจและการมีเพศสัมพันธ์ กับสัตว์ ก็ยังนำ�มาซึ่งความเจ็บป่วย มุมมองที่มีอิทธิพลต่อชีวิตทางสังคมของมนุษย์อย่างศีลธรรมและศาสนา (ส่วนใหญ่) ถือว่าการร่วมเพศกับสัตว์ เป็นอาชญากรรม ที่ฝืนธรรมชาติ ลบหลู่พระเจ้า เป็นปรากฏการณ์ที่แสดงถึง ความตกต่ำ�ทางศีลธรรมของมนุษย์ที่ตกต่ำ�ถึงขั้นไปสมสู่ร่วมกับสัตว์ กระนั้น การเอากับสัตว์ก็ไม่ใช่ปรากฏการณ์ (แสดงความเสื่อมทรามทางศีลธรรม) ของสังคมสมัยใหม่ อย่างที่มนุษย์หลายคนในสังคมรับรู้และมักสะเทือนใจเมื่อมีข่าวเกี่ยวกับการเอากับสัตว์โผล่มาเป็นระยะๆ ตามหน้า หนังสือพิมพ์ ที่จริงแล้ว มนุษย์นั้นเอากับสัตว์มาตั้งแต่สมัยบุพกาล ศิลปะสมัยยุคหินเก่า (Paleolithic) ที่ค้นพบ ในถ้ำ�ประเทศโปรตุเกส แสดงถึงบรรพบุรุษยุคหินและลึงค์มหึมาของเขากับแพะ นอกจากนี้ ภาพวาดที่พบในอิตาลี ช่วงยุคหินใหม่ (Neolithic) ก็แสดงฉากมนุษย์กำ�ลังเอากับม้าเช่นกัน ศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์เหล่านี้บ่งบอก ว่าการเอากับสัตว์ถือเป็นเรื่องธรรมดาอยู่คู่กับสังคมมนุษย์มาช้านาน

11


12

เม็ดเลือดแดง

แม้เมื่อมนุษย์เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์แล้วก็ตาม ในสังคมโบราณหลายแห่ง การสมสู่หรืออยู่กินกับสัตว์ ฉันสามีภรรยายังถือเป็นเรื่องปรกติ การเอากับสัตว์เป็นพิธีกรรมในการต่อรองแลกเปลี่ยนระหว่างมนุษย์กับทวย เทพ สร้างความสมดุลระหว่างโลกและเพื่อให้เทพเจ้าพอพระทัย ตามประเพณีและความเชื่อของชาว Celt กษัตริย์ ไอร์แลนด์ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าข้าว (Sacred King) จะต้องรับ เทพีท้องถิ่น ซึ่งมักปรากฏในรูปลักษณ์ของสัตว์ เป็นภรรยา เพื่อให้อาณาจักรของพระองค์อุดมสมบูรณ์และร่มเย็น กษัตริย์พระองค์หนึ่งจึงถูกนักบวชดรูอิด จับแต่งงานกับนางม้า เป็นต้น นักประวัติศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงหลายคนทั้งเฮโรโดตัส (Herodotus) พินดาร์(Pindar) สตาร์โบ(Strabo) และพลู ตัส(Plutarch) ต่างเชื่อว่า ชาวอียิปต์สมสู่กับแพะในพิธีกรรมทางศาสนา (แม้จะไม่มีหลักฐานยืนยันก็ตาม) นอกจาก นี้ พลูตัส และ เวอร์จิล (Vergil) ยังกล่าวหาพวกผู้ชายกรีกด้วยว่า ได้กระทำ�การฝ่าฝืนธรรมชาติโดยการร่วมรักกับแพะ หมู และลา อีกด้วย แต่ชาวโรมันและอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา มีวิธีหาความสนุกบันเทิงใจที่ละเอียดอ่อนกว่า นั้น โดยการเข้าไปชมโคลอสเซียม และโรงละครสัตว์เพื่อดูมนุษย์และสัตว์ถูกทรมานและข่มขืน ในงานศึกษาของมาส เตอร์ส สัตว์เหล่านั้น จะถูกฝึกสอนให้ร่วมรักทั้ง ทางช่องคลอด และทวารหนักกับหญิงสาว เพื่อแสดงฉากร่วมรักยอด นิยมของเพซิเปียกับวัวในเทพปกรณัมกรีก(นางเพซิเปียคือผู้ให้กำ�เนิดอสูรอย่างมิโนธอร์) บ่อยครั้งการแสดงจบลงที่ การบาดเจ็บหรือความตาย บ่อยครั้งสัตว์ที่ถูกฝึกยังได้รับอนุญาตให้ฆ่ามนุษย์และกินหลังจากนั้นด้วย ข้ามมายังฝั่งตะวันออก อู่อารยธรรมอย่างอินเดียเองก็ขึ้นชื่อในเรื่องการเอากับสัตว์เช่นกัน วัฒนธรรมฮินดู มีกฎ ห้ามการร่วมเพศกับมนุษย์ต่างวรรณะอย่างเคร่งครัด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพวกจัณฑาล) แต่วัฒนธรรมฮินดูเช่น กัน ที่ให้การยอมรับการร่วมเพศกับสัตว์ได้ เช่น การร่วมเพศกับวัวศักดิ์สิทธิ์จะนำ�สิริมงคลมาสู่ชีวิต เป็นต้น ลัทธิบูชา พระวิษณุเชื่อว่า การร่วมเพศกับสัตว์สามารถกระทำ�ได้หากปัจจัยเกื้อหนุนมาพบกัน ในคัมภีร์มนูสัมฤติ ก็อนุญาตให้ มนุษย์สมสู่กับสัตว์ได้โดยอ้างอิงว่า ฤาษีผู้ยิ่งใหญ่อย่างกาไลโกฏิ ยังมีแม่เป็นนางกวาง นอกจากนี้ในมหากาพย์มหา ภารตะกษัตริย์ปาณฑุ บิดาของเหล่าเจ้าชายปาณฑพ ก็เคยบังเอิญสังหารฤาษีจำ�แลงคนหนึ่งที่กำ�ลังร่วมเพศกับกวาง ด้วย การร่วมเพศกับสัตว์ยังปรากฏในวรรณกรรมและเทพปกรณัมของวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลก เช่น อาหรับ, กรีกโรมัน ฯลฯ รวมถึงอยู่ในสถาปัตยกรรมอีกด้วย เช่น วัด Khajuraho ของอินเดียซึ่งมีจุดเด่นตรงเสาที่ประดับประดาไป ด้วยฉากรักพิสดารของทั้งคนและสัตว์ อย่างไรก็ตามใช่ว่าทุกวัฒนธรรมจะเห็นดีเห็นงามกับการเอากับสัตว์เสมอไป ในหลายสังคมการเอากับสัตว์ ถือเป็นข้อห้าม ผู้ที่ฝ่าฝืนทั้งคนและสัตว์จะต้องได้รับการพิพากษาโทษอย่างเด็ดขาด ในศาสนาตระกูลยิว คริสต์และ อิสลาม การเอากับสัตว์ถือเป็นการฝ่าฝืนพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ในยุคกลางผู้ที่มีพฤติกรรมร่วมเพศกับสัตว์จะ ถูกจับเผา ด้วยข้อหาการร่วมเพศทางทวารหนัก(Sodomy) ส่วนสัตว์ที่ชุมชนสงสัยว่ามีพฤติกรรมสมสู่กับมนุษย์ จะ ถูกจับมาสอบสวนและเผาทั้งเป็น สัตว์เคราะห์ร้ายส่วนใหญ่คือสัตว์เลี้ยงตามฟาร์ม เช่น หมู วัว และม้า เป็นต้น แม้ ในสังคมโบราณแถบตะวันออกกลางอย่าง อัคเคเดียน หรือ ฮิตไทต์เอง ก็ไม่ได้ยอมรับการสมสู่ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ เช่นกัน

สู่ เ ส รี ภ า พ


Medleuddang

สู่ เ ส รี ภ า พ

Information and Journal Group Faculty of Political Science

ในกฎหมายของฮิตไทต์ระบุว่า หากมีการพบเห็นการร่วมเพศระหว่างมนุษย์กับสัตว์ ผู้กระทำ�ผิด ทั้งคนและสัตว์ จะต้องถูกพาตัวมายังบริเวณประตูวังเพื่อให้ประเจ้าแผ่นดินตัดสินว่าจะไว้ชีวิตหรือประหาร สัตว์ส่วนใหญ่จะถูกสังหาร แต่บ่อยครั้งมนุษย์อาจได้รับการละเว้นชีวิต โดยการเชือดแกะเป็นตัวตายตัวแทน อย่างไรก็ดี กฎหมายฮิตไทต์กลับระบุว่าการมีเพศสัมพันธ์กับม้าหรือล่อ ไม่ถือว่าผิดกฎหมายแต่คนผู้นั้นไม่ได้รับ อนุญาตให้เข้าใกล้พระเจ้าแผ่นดินและไม่สามารถเป็นนักบวชได้เท่านั้น ในปัจจุบันไม่มีประเทศไหนในโลกที่มีกฎหมายให้การรับรองการสมสู่กับสัตว์ อย่างไรก็ตามในสังคม บางวัฒนธรรมท้องถิ่นก็ยังยอมรับการอยู่กินกับสัตว์ เช่น ประเทศในแถบเอเชีย แอฟริกา เป็นต้น ในอินเดีย สถาที่ที่ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้ เราจะยังสามารถได้ยินข่าวของ หญิง ชาย ชาวอินเดียเข้าพิธีแต่งงาน กับงู สุนัข วัว ฯลฯ เด็กหญิงวัยเก้าขวบคนหนึ่งถูกจับแต่งงานกับสุนัข เพื่อแก้เคล็ดความอัปมงคลและขจัดปัด เป่าสิ่งชั่วร้าย ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อตะวันตกว่า เธอไม่เคยนึกเสียใจ ที่ต้องมาแต่งงานกับสุนัขเพราะเธอรักมัน (อย่างไรก็ตามผู้อาวุโสของเผ่ากล่าวว่า เด็กหญิงยังจะสามารถแต่งงานใหม่กับมนุษย์ได้ในอนาคต) แม้ในหมู่ประเทศฝั่ งตะวันตกเองก็ยังคงมีข่ า วการเอากับสัตว์โ ผล่ม าตามหน้ าหนั งสือพิ มพ์แ ละ โทรทัศน์เป็นระยะ Kinsey Reports หนังสือสองเล่มที่ว่าด้วยพฤติกรรมทางเพศของ ชาย และหญิง (ตีพิมพ์ ในปีค.ศ. 1948 และ 1953 ตามลำ�ดับ) ได้ทำ�การคำ�นวณว่า ผู้ชายมีเปอร์เซ็นต์ที่จะสมสู่กับสัตว์ประมาณ 8% ในชีวิต ขณะที่ผู้หญิงอยู่ที่ 3.6% โดยที่ผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในไร่ปศุสัตว์ มีความเป็นไปได้ที่จะร่วมเพศกับสัตว์มากถึง 40-50% แต่เมื่อรูปแบบการทำ�ปศุสัตว์ของอเมริกาเปลี่ยนไปในช่วงทศวรรษที่ 1970 การลดลงของการทำ� เกษตรกรรมแบบดั้งเดิมของชาวอเมริกัน มีส่วนสัมพันธ์กับอัตราการก่อเหตุเอากับสัตว์ที่ลดลง งานศึกษาของ Hunts(1974) ชี้ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับงานของ Kinsey(1953) ผู้ชายมีอัตราเอากับสัตว์ลดลงเหลือเพียง 4.9% ขณะที่ผู้หญิงเหลือเพียง 1.9% กระนั้น Milenski ผู้เชี่ยวชาญด้านเพศศาสตร์(Sexologist) ก็กล่าวว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าว ไม่ได้หมายความว่าความใคร่ในสัตว์ของเราหดหาย เพียงแต่โอกาสได้กระทำ�มันลดลงต่างหาก แม้ความปรารถนาต่อสัตว์ในเชิงกำ�หนัดจะเป็นเรื่องต้องห้ามของสังคม แต่มันก็ยังไม่ได้หายสาบสูญ ไปจากจิตใจของมนุษย์แต่อย่างใด ยังคงปรากฏออกมาให้เห็นผ่านสื่อกระตุ้นเร้าอารมณ์ทางเพศชนิดต่างๆ หนังสือเรื่อง My Secret Garden(1973) ของ Nancy Friday ซึ่งรวบรวมวิถีชีวิต ความคิด จินตนาการเกี่ยวกับ กิจกรรมทางเพศของผู้หญิงผ่านการสัมภาษณ์หญิงสาวมากหน้าหลายตา ในบทเกี่ ย วกั บ จิ น ตนาการ ทางเพศ(Sexual fantasies) ของผู้หญิงทั้ง 190 เรื่อง 23 เรื่องในนั้นเกี่ยวข้องกับการมีสัมพันธ์ทางเพศกับสัตว์ งานศึกษาทางจิตวิทยาและการแพทย์หลายชิ้น ก็สนับสนุนว่าทั้งชายและหญิงล้วนมีสักครั้งหนึ่งที่มีจินตนาการ ทางเพศเกี่ยวกับสัตว์ กระนั้นใช้ว่าผู้ที่มีจินตนาการจะต้องการมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ในชีวิตจริง เมื่อความเป็นไป ได้ที่สถานะทางสังคม เศรษฐกิจ ทุกอย่างที่อุตส่าห์สร้างสม อาจต้องพังทลาย หายวับไปเพียงแค่ไปเอากับสัตว์

13


14

เม็ดเลือดแดง

แล้วจริงๆ มนุษย์เราสมควรเอากับสัตว์หรือไม่? ข้อกล่าวหาหนึ่งที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการร่วมเพศกับสัตว์ คือ ความเชื่อที่ว่า การร่วมเพศกับสัตว์เป็นการทารุณกรรมสัตว์ Andrea Beetz กล่าวว่า สัตว์มักจะถูกบังคับใช้ความ รุนแรงในการร่วมเพศกับมนุษย์ และแม้ในกรณีที่ไม่มีการใช้ความรุนแรงก็ตาม สัตว์ก็ยังมีแนวโน้มสูงที่จะได้รับ บาดเจ็บจากการร่วมเพศกับมนุษย์ หนึ่งในข้ออ้างอันแข็งแกร่งที่ ฝ่ายต่อต้านการร่วมเพศกับสัตว์ใช้นำ�เสนอความ คิดตนคือ ความเชื่อที่ว่ามนุษย์นั้นเป็น สิ่งมีชีวิตที่ มีศีลธรรมและ มีความ ‘ประเสริฐ’เหนือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ (Anthropocentism) The Humane Society of the United States (หรือ HSUS) กล่าวว่า สัตว์นั้นไม่มีความ สามารถใช้เหตุผลเท่ามนุษย์และ ไม่มีความสามารถที่แสดงความยินยอมพร้อมใจกับการมีเซ็กซ์กับมนุษย์ ดังนั้นการร่วมเพศใดๆระหว่างมนุษย์กับสัตว์ ไม่ว่าจะใช้ความรุนแรงหรือไม่จึงถือเป็นการทารุณ กรรมเสมอ เมื่อมีผู้เห็นแย้งก็ต้องมีผู้เห็นด้วย ฝ่ายที่สนับสนุนการร่วมเพศกับสัตว์คัดค้านการตีความเรื่องที่ว่าสัตว์ ไม่สามารถแสดงความยินยอมพร้อมใจได้ โดยโต้แย้งว่าการกล่าวอ้างว่ามี ‘ความยินยอมพร้อมใจ’ นั้นเป็นการ นิยามมาจากมุมมองของมนุษย์ไม่ใช่ของสัตว์ Milenski เชื่อว่า สัตว์มีความสามารถที่จะมีความยินยอมพร้อมใจ ได้ ยิ่งไปกว่านั้นมันสามารถเป็นฝ่ายเริ่มต้นเองได้ด้วยซ้ำ� เช่น กิริยาอาการที่สุนัขฮัมขาของมนุษย์ และการแสดง กิริยาอาการของสัตว์เลี้ยง ก็สามารถบ่งบอกได้ความสุขกับการมีเพศสัมพันธ์กับมนุษย์หรือไม่ เช่น สุนัขจะแกว่ง หาง เป็นต้น นักปรัชญาแนวประโยชน์นิยม(Utilitarian) อย่าง ปีเตอร์ ซิงเกอร์(Peter Singer) เป็นหนึ่งในผู้ สนับสนุนการร่วมเพศกล่าวว่า การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ไม่เป็นการขัดศีลธรรมตราบใดที่ไม่เป็นการทารุณสัตว์ นอกจากนี้ เขายังตอบโต้ ผู้ที่คัดค้านการร่วมเพศกับสัตว์ว่าเป็นพวกเหยียดเผ่าพันธุ์(Speciesism) ในธรรมชาติ เองก็มีกรณีของการร่วมเพศข้ามเผ่าพันธุ์เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง(งานวิจัยระยะหลังยังแสดงให้เห็นว่าสัตว์นั้นร่วมเพศ กันโดยไม่จำ�เป็นต้องมีแรงขับดันเพื่อการสืบพันธุ์เสมอไป) มนุษย์เองก็เป็น ‘สัตว์’ ดังนั้นจึงไม่มีอะไรที่เป็นการฝืน ธรรมชาติ ผู้ที่สนับสนุนการร่วมเพศกับสัตว์บางคนไปไกลยิ่งกว่านั้น พวกเขากล่าวว่าการเอากับสัตว์จะเป็นหนึ่ง ในขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเท่าเทียมกันทางเพศ(Sexual rights movement) ในอนาคต การห้ามเอากับสัตว์เป็นหนึ่งในกฎระเบียบหลายข้อที่สังคมบัญญัติขึ้น(ทั้งเป็นทางการและไม่เป็น ทางการ) และมันจำ�กัดเสรีภาพของมนุษย์ไม่ต่างอะไรข้อห้ามวิจารณ์ผู้นำ�ประเทศหรือประมุขของรัฐ ข้อห้าม ขึ้นไปนั่งตักรูปปั้น ข้อห้ามการกินเนื้อหมา ฯลฯ เมื่อย้อนกลับไปมองภาพพิมพ์หญิงสาวผู้สุขสมกับปลาหมึก สิ่งสำ�คัญที่ภาพของโฮกุไซนำ�เสนอจึงไม่ใช่เพียงฉากกระตุ้นกำ�หนัดแต่เป็นการตั้งคำ�ถามต่อปทัสถานและ ศีลธรรมที่ดำ�รงอยู่ในสังคม เป็นการตั้งคำ�ถามต่ออำ�นาจที่บงการชีวิตจิตใจของมนุษย์ มนุษย์ผู้มีเสรีจึงไม่ใช่ ผู้ที่แตกหักจารีตและระเบียบเดิมเสมอไป(บทความนี้จึงไม่ได้ยุให้คุณไปเอากับหมา จะทำ�ก็ไม่ว่าแต่อย่าลืม ว่าการแตกหักกับระเบียบสังคมมีราคาค่างวดที่ต้องจ่ายเสมอ) แต่เขาควรจะตั้งคำ�ถามต่อสิ่งที่เขาเป็นและ เขาเชื่อรวมถึงยอมรับเสรีภาพในการตั้งคำ�ถามและความเห็นต่างของคนอื่น ไม่ใช่สักแต่ทำ�และเชื่อฟัง อ้างอิงรูปภาพ จาก http://en.wikipedia.org/wiki/The_Dream_of_the_Fisherman's_Wife

สู่ เ ส รี ภ า พ


Medleuddang

แด่เธอที่รัก

โดย : ภาคิน นิมมานรวงศ์

สู่ เ ส รี ภ า พ

Information and Journal Group Faculty of Political Science

Pour toi mon amour

15


16

เม็ดเลือดแดง

“ เสรีภาพ สถาบัน และ ความเป็นตัวกู - ของกู ” อัศวิน รัตติกาล

ในต้นปีการศึกษา 2555 นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หลายคน ต้องตกตะลึงกับรูปภาพของ น้อง อั้ม กับรูปปั้นอ.ปรีดี ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในสังคมออนไลน์ในขณะนั้น ประเด็นเรื่องน้องอั้มทำ�ให้มีการ ถกเถียงกันถึงเรื่อง “เสรีภาพ” ว่าในฐานะมนุษย์แล้ว เขามีเสรีภาพที่จะวางท่าถ่ายรูปอย่างไรก็ย่อมได้ แต่มุมหนึ่งก็ มองว่าการกระทำ�นั้นไม่เหมาะสมเป็นการไม่ให้เกียรติ “สถาบัน” แล้วอะไรคือความเหมาะสม? ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยนั้นจะรับได้หรือไม่ได้ก็เป็นเรื่องของปัจเจกที่จะต้องใช้ความสามารถในการให้ เหตุผลของปัจเจกเองพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่อย่างไร จากกรณีน้องอั้มนำ�ไปสู่การกล่าวถึงเรื่องเสรีภาพอย่างกว้างขวาง มีการพูดถึงเสรีภาพในลักษณะที่ว่าบาง คนเวลาเรียนที่นี่มักจะอ้างเสรีภาพและยกคำ�ว่า “ตัวกู – ของกู” มากล่าวใช้กับเสรีภาพ ซึ่งก็บอกว่าเสรีภาพหรือที่ เรียกว่าการเป็นตัวกู – ของกูนั้นมักจะกระทำ�สิ่งต่างๆโดยไม่คำ�นึงถึงผล ที่จะเกิดขึ้นกับสถาบันและยังกล่าวอีกว่าเสรีภาพไม่สามารถใช้ได้จริงใน สังคม มนุษย์ต้องยอมสละเสรีภาพบางอย่างเพื่อดำ�รงตนอยู่ได้ในสังคม ผม จะไม่พูดถึงหรือวิเคราะห์วิจารณ์ใดๆในกรณีน้องอั้มเพราะสังคมวิจารณ์ไว้ เยอะแล้วคงจะตกผลึกทางความคิดกันไปบ้างแล้ว แต่คราวนี้จะวิเคราะห์ คนที่วิจารณ์กรณีน้องอั้มจากลักษณะที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นเกี่ยวกับ ประเด็นเรื่องเสรีภาพ สถาบัน และ ความเป็นตัวกู – ของกู เสรีภาพกับความเป็นตัวกู – ของกูหรือที่เรียกว่า “อัตตา” นั้น มีประเด็นให้วิเคราะห์ว่า เสรีภาพใช่การยึดมั่นในอัตตา หรือไม่ ก็นำ�ไปสู่การมองในกรอบศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธ ซึ่งเป็น ศาสนาที่ไม่เน้นการยึดมั่นในอัตตา ในขณะเดียวกันก็ให้เสรีภาพในการ เลือกนับถือศาสนา แม้แต่คำ�สอนของพระพุทธเจ้าเองก็ยังเปิดเสรี ให้พุทธศาสนิกชนเลือกที่เชื่อก็ได้ โดยใช้สติและเหตุผลประกอบการ ภาพของน้องอั้มกับรูปปั้น อาจารย์ปรีดีที่เป็นที่ พิจารณาหลักนั้นเรียกว่า “กาลามสูตร” ก็พอจะเห็นได้ว่าเสรีภาพกับ วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในช่วงวันแรกพบ การยึดมั่นในอัตตานั้นต่างกัน หากบอกว่าเสรีภาพคือการคือการเป็นตัว กู – ของกูแล้ว ก็แปลว่า เราสับสนระหว่างความเป็นเสรีนิยม กับ อัตตาประชาธิปไตยไปเสียแล้ว เพราะอันที่จริงแล้ว

สู่ เ ส รี ภ า พ


Medleuddang

“เมฆสามารถบดบังแสงจันทร์ในวันเพ็ญได้ฉันใด

การยึดมั่นในอัตตาหรือตัวกู – ของกู ย่อมบดบังทัศนคติในการมองโลก ฉันนั้น”

สู่ เ ส รี ภ า พ

Information and Journal Group Faculty of Political Science

เสรีนิยมเป็นแนวคิดที่เน้นเรื่องการมีเสรีภาพแต่ไม่ได้เน้นเรื่องตัวตนเลย และการเรียกร้องเสรีภาพของเหล่าเสรี ชนทั้งหลาย เขาเรียกร้องเพื่อทุกคนไม่ใช่ทำ�เพื่อตัวเขาเอง แสดงให้เห็นว่าเขาไม่ได้ยึดมั่นในตัวกู – ของกูเลย ในทางตรงกันข้ามเขากลับลดความเป็นตัวกู – ของกูลงไปด้วย ในขณะเดียวกันการกระทำ�ใดใดที่อ้างเสรีภาพ เป็นสิ่งที่ใครๆก็ทำ�ได้ถ้าคุณเห็นว่าไม่เหมาะสมคุณก็ไม่ต้องทำ� ในประเด็นเรื่องความเป็นสถาบันกับการใช้เสรีภาพนั้น ถ้าสังเกตให้ลึกมองให้หลายมิติก็จะพบ ว่าหากเราไม่ยึดมั่นถือมั่นในอัตตานั้น ก็จะไม่มีการยึดติดกับสถาบัน จะไม่มีคำ�ว่า สถาบัน “ของฉัน” หรือ สถาบัน “ของเธอ” เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นวาทกรรมที่หลอกให้เราหลงงมงายอยู่กับความเป็นตัวตน เราก็คิดแต่ว่า “สถาบันของฉัน” นั้นสูงส่งเลิศเลอกว่าของคนอื่น พยายามสร้าง “เอกอัตลักษณ์” ให้กับสถาบันของตัวเองว่า สถาบันของตัวเองนั้นมีดีที่ไม่มีใครเหมือน ซึ่งก็มีให้เห็นในสถาบันการศึกษาทุกแห่ง ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา เช่น ในกรณีนักเรียนสายอาชีพ ก็จะเห็นการยกพวกตีกันของสถาบันต่างๆอยู่เสมอ ความผิดเหล่านี้ต้องโทษผู้ที่ ปลูกฝังความเป็นสถาบันด้วย เพราะเป็นรากแก้วแห่งปัญหา เป็นผู้สร้างค่านิยมแบบไร้สาระให้รุ่นหลังๆ สร้าง วาทกรรมเพื่อสนองอัตตาของรุ่นพี่ที่ยิ่งเยอะเท่าไรยิ่งดี สุดท้ายความเป็นสถาบันก็จะไปลิดรอนเสรีภาพที่เรามี เช่น เราอ้างความเป็นสถาบันเพื่อสร้าง ความชอบธรรมในการใช้ระบบ SOTUS อันเป็นการละเมิดเสรีภาพของรุ่นน้องอย่างร้ายแรง การบังคับให้ เคารพรุ่นพี่ ก็เพราะรุ่นพี่คือผู้เจนจัดในความเป็นสถาบัน ถ้าคุณอยากเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันคุณต้องฟังรุ่น พี่ และอีกประการหนึ่งก็เป็นการไม่เชื่อมั่นในความคิดของรุ่นน้องอีกด้วย ระบบสถาบันนิยมนอกจากจะทำ�ลาย เสรีภาพและเสริมสร้างอัตตาแล้ว ยังสร้างระบบอาวุโสขึ้นมาอีกด้วย อันที่จริงรุ่นน้องควรมีเสรีภาพที่จะเลือกว่า ควรเคารพรุ่นพี่คนไหนไม่เคารพรุ่นพี่คนไหน ไม่ใช่ใช้คำ�ว่า “แก่”ไปบังคับให้คนมาเคารพ ถ้าเป็นเช่นนั้นระบบ คิดต่างๆเหล่านี้ก็ยังวนเวียนกับคำ�ว่าเสรีภาพ สถาบัน และความเป็นตัวกู – ของกูอยู่เรื่อยไป คนเราจำ�เป็นต้องสละเสรีภาพบางส่วนกระนั้นหรือ? เพื่ออะไร?? หรือเพื่อให้รุ่นพี่มาครอบงำ� ทางความคิด มาสร้างบรรทัดฐานเรื่องความดี – ความชั่วเสริมสร้างอัตตาให้รุ่นพี่ วาทกรรมที่ว่าต้องยอมสละ เสรีภาพเพื่อดำ�รงตนอยู่ได้ในสังคมนั้นจึงเป็นวาทกรรมที่ผู้มี่อำ�นาจในสังคมหรือในความเป็นสถาบัน คือรุ่นพี่ สร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างฐานอำ�นาจให้แก่ตน

17


18

เม็ดเลือดแดง

การต่างประเทศในอนาคต :

การเปลี่ยนผ่านสถาปัตยกรรมทางการเมือง ภาวะไร้พรมแดนและญาณวิทยา (1)

วริษา อินทรัตน์

สาขาการระหว่างประเทศ

บนพื้นฐานการประเมินอำ�นาจตัวแสดงของรัฐมหาอำ�นาจ ทศวรรษที่ผ่านมาได้มีสัญญาณบ่งบอกว่า ดุลอำ�นาจของโลกมีการเคลื่อนจากระบบเอกภาคีนิยมซึ่งสหรัฐอเมริกา รวมทั้งประเทศในซีกโลกตะวันตกได้ครอง บทบาทนำ� มาสู่การกระจายบทบาทไปยังต่างภูมิภาคยิ่งขึ้น ในเวลาเดียวกัน การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองโลก ดังกล่าว ไม่ใช่เพียงแต่การย้ายขั้วจากประเทศมหาอำ�นาจในซีกโลกหนึ่ง มายังอีกซีกโลก แต่ยังกินความไปถึงการ ตั้งคำ�ถามต่อระบอบ และสถาบันระหว่างประเทศที่ดำ�รงอยู่นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองภายใต้การควบคุม ของมหาอำ�นาจเดิมดังที่กล่าวมา โดยปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวเร่งคือความเคลื่อนไหวข้ามพรมแดนในกระแสโลกาภิ วัตน์ การเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของผู้คน สินค้า บริการ การเงิน รวมทั้งข้อมูลข่าวสารได้ตัดข้ามพรมแดนรัฐ โดยไม่ผูกพันต่ออำ�นาจอธิปไตยแห่งใดแห่งหนึ่ง ทำ�ให้นิยามของรัฐอธิปไตยของรัฐ ที่เชื่อว่ามีอำ�นาจในการควบคุม องคาพยพภายในดินแดนของตนนั้นจำ�ต้องถูกทบทวน แม้ว่าในด้านหนึ่ง เราคงไม่อาจปฏิเสธว่ารัฐยังคงมีพลวัตร ในการปรับตัวรับต่อการถูกริดรอนอำ�นาจเหล่านั้น ดังทีกระแสการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมพลิกกลับในหลายๆ ประเทศเพื่อทำ�การต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์ที่ทำ�ให้พลเมืองมีความรู้สึกไม่มั่นคง ไม่รวมถึงช่วงชิงความได้เปรียบ ในการปิดล้อมทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างมหาอำ�นาจก็ยังคงดำ�เนินโดยเฉพาะในภูมิภาคที่มหาอำ�นาจใหม่กำ�ลังผงาด ขึ้นท้าทายระบบความมั่นคงเดิมอย่างในปรากฏการณ์ Rising of China ที่ถูกมองว่าสามารถกระทบระบบความ มั่นคงโลกที่สถาปนาขึ้นนับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ตามในอีกด้านหนึ่งความเคลื่อนไหวข้ามพรมแดนที่ไร้การควบคุมนั้น มีส่วนเปลี่ยนแปลง ภูมิศาสตร์ของอำ�นาจระหว่างประเทศอย่างมีนัยยะสำ�คัญ เมื่ อ การผนวกเอากำ � ลั ง ทางเศรษฐกิ จ แรงงาน ที่รวมไปถึงความเชื่อมโยงต่อศักยภาพทางทหารนั้นไม่สามารถถูกควบคุมไว้ในบูรณภาพแห่งดินแดนรัฐได้อย่าง มั่นคงอีกต่อไป ระบบโลกที่มีการจัดแบ่งลำ�ดับชั้นความเป็นมหาอำ�นาจอย่างแน่ชัดจึงยากที่จะคงรูปอยู่ได้ การสัประยุทธ์เชิงภูมิรัฐศาสตร์ : ความรุ่งโรจน์และถดถอยของมหาอำ�นาจ i สหรัฐอเมริกาและยุโรปบางส่วนมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเนื่องมาจากการใช้จ่ายเพื่อ การทำ�สงครามต่อต้านการก่อการร้ายตั้งแต่ปี 2001 อีกด้านหนึ่ง การบริโภคภายในประเทศที่เกินค่า GDP นำ� ไปสู่การสะสมทุนที่ลดน้อยลงอยู่ระดับหนึ่ง นโยบายเสรีนิยมที่เปิดโอกาสให้มีการเก็งกำ�ไรธุรกิจฟองสบู่ พร้อมกับ i

เก็บความโดยอาศัยเค้าโครงจาก สรุปการการสัมมนา “Asia in the Next Decade Proceeding” ที่มูลนิธิ สถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ , กระทรวงการต่างประเทศ ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกันกับศูนย์วิจัยกฎหมายและ การพัฒนา , คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , สถาบันกฎหมายและนโยบายระดับโลก มหาวิทยาลัย ฮาร์วอร์ด และสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ในปี พ.ศ. 2551

สู่ เ ส รี ภ า พ


Medleuddang

กลไกใหม่ภายในกรอบสถาบันการเงินระหว่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดัน การเจรจาเเละศึกษาวิจัยในปัญหาต่างๆ ระหว่างประเทศ พัฒนาแล้ว และประเทศกำ�ลังพัฒนา รวมทั้งเเสวงหาความร่วมมือ, ส่งเสริมความมั่นคงทางการเงิน เเละการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจ โลก ความสำ�คัญของการประชุมดังกล่าวคือจะเป็นเวทีในการเสนอวาระทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยจะมีประเทศที่เข้าร่วมเป็นประเทศ กำ�ลังพัฒนาเข้าร่วมด้วย ซึ่งในอดีตที่มีเพียงการประชุม G8 จะมีแต่ประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและประเทศทางยุโรปเท่านั้น ที่มีบทบาทเช่นนี้ 1

สู่ เ ส รี ภ า พ

Information and Journal Group Faculty of Political Science

ความขาดแคลนสวัสดิการทางสังคมที่ทำ�ให้ผู้คนหันไปหาการซื้อหลักทรัพย์ราคาถูกหากแต่ไม่มีหลักค้ำ�ประกัน นำ�ไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งล่าสุดที่เริ่มจากภาคอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาก่อนจะขยายตัวไปในภาค การเงินของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะขณะนี้คือภาคการเงินในสหภาพยุโรป นอกจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวจะ ทำ�ให้ความเป็นอยู่ของผู้คนมีความระส่ำ�ระสาย บทบาทของทางการที่จะขยายปฏิสัมพันธ์ต่อรัฐอื่นๆ ไม่ว่าใน ทางเศรษฐกิจหรือความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือต่างๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคอื่นๆยังชะลอตัวตามไปด้วย ในทางกลับกัน ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ จีน ได้ทวีบทบาทใน กิจการโลก จีนไม่ได้รับความกระทบกระเทือนจากวิกฤติเศรษฐกิจนัก และการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อ เนื่องได้เป็นแรงผลักดันให้จีนขยายการเป็นหุ้นส่วนที่สำ�คัญในทุกมุมโลกเพื่อเข้าถึงทรัพยากร ตลอดจนเพิ่ม บทบาทในเวทีการเมืองโลกอย่างเป็นทางการพร้อมกับประเทศอื่นๆที่กำ�ลังเติบโต ดังเช่นในเวที G 201 ซึ่ง สมาชิกเป็นเอเชียถึง 6 - 7 ประเทศ ทั้งนี้ การที่จีนสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นโดยอยู่นอกระบบความมั่นคงของ จักรวรรดิอเมริกาและพันธมิตร นำ�ไปสู่ความรู้สึกหวาดระแวงว่า บทบาทของจีนจะสามารถท้าทายระบบโลก ที่ประเทศผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองในโลกตะวันตกได้สถาปนาขึ้น ระบบดังกล่าวจะรวมไปถึงการกำ�กับด้วย ค่านิยมที่ถูกทำ�ให้เป็นบรรทัดฐานสากล ซึ่งยังคงให้อำ�นาจแก่เจ้าของวัฒนธรรม(โดยเฉพาะโลกตะวันตก)ในการ จัดลำ�ดับชั้นความสัมพันธ์และความชอบธรรมในการกำ�หนดวาระทางการเมืองระหว่างประเทศ ไม่ว่าด้วยหลัก การของ ความเป็นประชาธิปไตย การบริการจัดการที่ดี ( Good Governance ) และอื่นๆอีกด้วย ความหวาดระแวงดังกล่าวยังแสดงตัวในรูปของการปิดล้อมทางยุทธศาสตร์โดยมหาอำ�นาจเดิม อย่างสหรัฐฯที่กระทำ�ต่ออำ�นาจใหม่ที่กำ�ลังรุ่งโรจน์อย่างจีน โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกซึ่งเป็นเขต อิทธิพลใกล้บ้าน ดังที่มีการเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีโดยเฉพาะเพื่อสร้างความร่วมมือทางการทหาร ตลอดจนวางแผนประจำ�การอาวุธระยะยาว หรืออีกด้านหนึ่งที่สหรัฐฯมีความผูกพันทางเศรษฐกิจต่อจีนสูง ด้วย การกู้ยืมเงินทุนและการนำ�เข้าสินค้า - บริการ จนกระทั่งอยู่ในสถานะขาดดุล ก็ยังใช้เวทีการเจรจาระหว่าง ประเทศโจมตีในเรื่องของการดำ�เนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนว่าไม่อยู่ในมาตรฐานอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ ไทย ในฐานะประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ในสนามการเมืองระหว่าง มหาอำ�นาจ ทั้งสองอย่างแนบแน่น ด้วยความที่เกี่ยวพันระบบความมั่นคงที่นำ�โดยสหรัฐอเมริกา และพึ่งพาต่อ จีนในทางเศรษฐกิจทั้งโดยการรับความช่วยเหลือทางการพัฒนาและการเป็นคู่ค้าสำ�คัญ จึงมีวาระหน้าที่ที่ต้อง รักษาระยะความสัมพันธ์กับแต่ละฝ่ายให้สมดุล ทั้งในระดับทวิภาคีและการวางสถาปัตยกรรมในภูมิภาค ซึ่งจะ เป็นการจัดวางกรอบความสัมพันธ์ว่าแต่ละประเทศภายในภูมิภาครวมทั้งมหาอำ�นาจใกล้เคียงจะสามารถเข้ามา มีส่วนร่วมในวาระทางการเมืองต่างๆได้มากน้อยเพียงไร .

19


20

เม็ดเลือดแดง

อิ ส ร ะ By Hao

“ไม่ไหว ไม่ไหว กูละอิดหนาระอาใจกับหลานกูจริง ๆ ใครบอกว่าได้หลานผู้ชายดี มาเจออย่างไอ้โอ หลานกูนี่ เฮ้อ กูละหนักใจ หวังพึ่งอะไรไม่ได้ ใช้งานนิดงานหน่อย ก็ไม่ได้ วัน ๆ เอาแต่เที่ยวเล่น กินเหล้าลูก เดียว” เสียงยายคำ�บ่นกับเพื่อนวัยไม้ใกล้ฝั่งของแก “หลานกูก็เหมือนกัน วันนี้มันก็เพิ่งเข้าบ้านมาตอนไก่ขัน” ยายมาบ่นบ้าง “เด็กวัยรุ่นมันก็อย่างนี้แหละ มันก็เที่ยวกินเหล้าเมายาตามประสามันเป็นธรรมดา” ยายมูลพูดปลอบใจ “ถ้าได้อย่างหลานอีออนบ้านเหนือกูจะไม่ว่าสักคำ� มันทั้งดี เรียนก็เก่ง ช่วยพ่อช่วยแม่ทำ�การทำ�งาน ไม่เที่ยวเล่นกินเหล้าเมายาเหมือนอย่างหลานกูกับมึง คิดแล้วก็หนักใจ” ยายมาระบายความอัดอั้น พลางถอน หายใจยาว ๆ “เฮ้อ” “ไอ้อาร์ม ไปเที่ยวโว้ย” “มึงจะไปไหนอีก ไอ้โอ” ยายคำ� ตวาดเสียงสวนออกไปทันทีที่เห็นหลานขึ้นคร่อมมอเตอร์ไซค์ “กำ�ลังกินข้าวเช้าเสร็จ ไม่ทันไรก็จะออกบ้านไปอีกแล้ว หัดอยู่บ้านทำ�งานบ้านบ้าง กูจะใช้จะสอยไปนั่นมานี ่ ก็ไม่ได้ใช้” “ไอ้อาร์ม เร็วสิวะ มึงจะไปไหม” ไอ้โอเร่ง “กูเบื่อคนแก่ขี้บ่น” ผมรีบกุลีกุจอคว้าเสื้อยืดได้ แล้วก็รับวิ่งลงบันไดไป เมื่อกระโดดขึ้นคร่อมท้ายมอเตอร์ไซค์ ไอ้โอได้ มันก็รีบบิดคันเร่งออกไปจากแนวรั้วบ้านโดยไม่ช้า ไอ้โอกับผมอายุไล่เลี่ยกัน แม้จะเกิดคนละปี แต่ก็ห่างกันแค่สองสามเดือน ตาผมเป็นน้องยายมัน ก็ เลยมีบ้านอยู่ใกล้ ๆ กัน ได้เป็นเพื่อนเล่นเพื่อนเที่ยวเพื่อนกินกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ “กูละเบื่อคนแก่ขี้บ่นจริง ๆ วัน ๆ ไม่รู้จะบ่นอะไรหนักหนา สรรหามาบ่นได้ทุกเรื่องตั้งแต่เช้ายันเย็น ไว้กูจบ ปวช.แล้ว กูจะสอบไปเรียนต่อที่อื่น” “มึงจะไปเรียนไหน” “ไม่รู้สิ แต่เป็นที่ไหนก็ได้ที่ได้อยู่ไกล ๆ บ้าน กรุงเทพ เชียงใหม่ ค่อยว่ากันอีกที” “แล้วใครจะอยู่ดูแลยายมึงหละ” “แกอยู่คนเดียวได้ น้าสม กับลุงมีก็อยู่หมู่บ้านถัดไปนี่เอง คงจะแวะมาดูยายกูได้อยู่มั้ง” “มึงไม่สงสารยายมึงเหรอ ทิ้งให้แกอยู่คนเดียวอย่างนั้น เขาเลี้ยงมึงมาตั้งแต่มึงอยู่อนุบาลนะ”

สู่ เ ส รี ภ า พ


21

Medleuddang

Information and Journal Group Faculty of Political Science

คู่สนทนาเงียบไป เป็นอันว่าบทสนทนาก็ยุติลงโดยปริยาย ไอ้โอมันอยู่กับตาและยายมาตั้งแต่อยู่อนุบาลหนึ่ง พอแม่มันตาย พ่อมันก็เอามันมาทิ้งไว้ให้ยายเลี้ยง แล้ว เข้าทำ�งานในกรุงเทพ ส่งเงินมาบ้าง และกลับมาเยี่ยมมันบ้างเป็นบางครั้ง แต่แล้ว ตามันก็ดันมาตายด้วยโรคมะเร็ง เมื่อ 5 ก่อน มันก็เลยต้องอยู่กับยายแค่สองคน ยายมันก็เริ่มขี้บ่นตั้งแต่นั้นมา อาจเพราะเป็นห่วงหลาน กลัวว่า หลานจะเป็นอะไรไปอีกคนหรือเปล่าไม่แน่ใจ ไอ้โอสอบติดคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชื่อยาว ๆ แห่งหนึ่งในกรุงเทพ มันค่อนข้างหัวดี ก็เลย สอบได้ดังที่ตั้งใจไว้ ส่วนผมหัวขี้เลื่อย พ่อเลยบอกว่าถ้าจะเรียนก็ต่อ ปวส.ที่วิทยาลัยเดิมแล้วกัน ส่งไปเรียนปริญญา กลัวไม่จบ เปลืองเงินเปล่า ๆ วันนี้ พ่ออนุญาตให้ขับรถไปส่งไอ้โอข้นรถในตัวเมืองได้ รถทัวร์ออกประมาณห้าโมงกว่า ๆ พ่อเกรงว่าผมจะเป็น อันตรายหากขับมอเตอร์ไซค์กลับคนเดียวกระมัง เพราะสองข้างทางที่กลับบ้านมีแต่ดอยกับป่า บ้านคนพอมีอยู่บ้าง ประปรายห่าง ๆ กัน สามโมงครึ่ง ผมกะระยะเวลาเดินทางเผื่อไว้สักยี่สิบนาที ก็เดินขึ้นไปบนเรียกไอ้โอ บนบ้านมัน เผื่อว่ามัน มีของจะให้ช่วยยก “เก็บของเสร็จรึยังวะ” “ใกล้ละ รอกูแป๊บ” “มึงมีของให้กูช่วยยกไหม” “ไม่เป็นไร กระเป๋าแค่ใบเดียว เดี๋ยวกูยกเอง” “กูไปรอข้างล่างนะ” พูดเสร็จผมก็ผละจากหน้าห้องมันมา พอจะลงบันได ผมก็เหลือบไปเห็นยายคำ�นั่งอยู่หน้าเตาไฟ ในมือถือดอกไม้ เทียน ข้าวเหนียวหนึ่งปั้น และ กล้วยน้ำ�ว้าสุกหนึ่งลูก แกยกมือพนมขึ้นจรดหน้าผาก แล้วก็บ่นพึมพำ� กับเตาไฟว่า “เออ นี่ละ ข้าแด่แม่ย่าหม้อนึ่ง วันนี้ลูกหลานมันก็จะลงไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพกรุงไทยแล้ว ขอแม่ย่า นี้ติดตามไปดูแลปกปักรักษา ให้มันอยู่ดีมีสุข เจ็บเป็นป่วยไข้ ภยันอันตรายอันใดก็อย่าให้เกิดกับมันเลย สาธุ” ผมนิ่งฟังอยู่พักหนึ่งพอที่จะจับใจความได้ แต่เสียงของยายคำ�ที่ผมได้ยินในวันนี้ ดูสั่นเครือเหมือนแก จะร้องไห้ญาติพี่น้องบ้านใกล้เรือนเคียง เมื่อรู้ว่าไอ้โอจะไปเรียนที่กรุงเทพ ก็พากันมายืนส่งมันอยู่ที่ลานบ้าน บ้างก็ อวยพรให้ได้เกรดดี ๆ บ้างก็บอกให้ดูแลรักษาตัวเอง ก่อนจะขึ้นรถ ยายคำ�จับมือไอ้โอไว้ แล้วยัดแบงค์ห้าร้อยใส่ไว้ใน อุ้งมือมัน “เอาไปไว้ซื้ออะไรกินนะ” เสียงแกยังคงสั่นเครือ แววตาแลดูเศร้าสร้อย “เอามาให้ทำ�ไม ยายเก็บไว้เถอะ” ไอ้โอมันพยายามปฏิเสธ “เอาไปเถอะ ยายมีใช้อยู่” แกพยายามยัดเงินใส่มือหลาน ไอ้โอรับเงินไว้ แล้วก็ขึ้นรถ พลันปิดประตูรถ ยายคำ�ก็เบือนหน้าหนี แล้วร้องไห้

สู่ เ ส รี ภ า พ


22

เม็ดเลือดแดง

เกือบสองอาทิตย์แล้ว ที่ไอ้โอไปเรียนที่กรุงเทพ ผมเองได้คุยโทรศัพท์กับมันแค่ครั้งเดียว แค่สองสาม นาทีไม่ทันรู้เรื่องอะไรมากมายมันก็ตัดสายไป มันบอกว่ากำ�ลังอยู่ในช่วงรับน้อง ต้องเข้าห้องเชียร์ทุกวัน ไม่เว้นเสาร์ อาทิตย์ ได้พักบ้างบางวันที่มีกิจกรรมของมหาวิทยาลัย “เฮ้ย มึงว่างคุยได้หรือเปล่า” ไอ้โอโทรหาผมเป็นครั้งที่สองตอนหกโมงเย็นวันหนึ่ง “เออ ได้ มีอะไรว่ามา” “มึงไปเอาสมุดกับหนังสือแคลคูลัสของไอ้ต้นตอนมันเรียน ม.ปลายให้กูหน่อยดิ กูเรียนไม่ค่อยทันเพื่อน มันวะ พวกมันจบสายสามัญกันมา กูกลัวจะสอบไม่ผ่าน” เสียงมันเหมือนปนความกังวลไว้นิด ๆ “ไอ้ต้นมันเรียนที่เชียงใหม่นี่ จะให้กูไปเอากับใครวะ” ผมถามมันกลับ “เออ กูโทรถามมันแล้ว มึงก็ไปบอกแม่มันค้นให้แล้วกัน มันบอกอยู่บนชั้นหนังสือในห้องมันนั่นแหละ” มันบอกผม เสียงคราวนี้เหมือนปนความหงุดหงิดในความไม่รู้เรื่องของผม “เออ เดี๋ยวกูได้แล้วจะส่งไปให้” ผมรับคำ� “ว่าแต่วันนี้มึงไม่มีรับน้องเหรอวะ” “วันนี้รุ่นพี่ให้พัก มันไม่ว่างกัน มีนำ�เสนองานกับอาจารย์ที่คณะ กูก็อยากนอนพักผ่อนเอาแรงบ้าง เหมือนกัน ตั้งแต่เปิดเทอมก็ได้แต่เรียนกับรับน้อง นอนวันละสามสี่ชั่วโมงเอง เวลาไปเรียนก็ง่วง ๆ อีก” “เออ ทนเอาหน่อยแล้วกัน คงไม่นานหรอกมั๊ง เดี๋ยวก็คงเสร็จ ไอ้รับนงรับน้องนั่นนะ” ผมพูดเชิงปลอบใจมัน “อาร์ม เอาแกงไก่ไปให้ยายคำ�หน่อย” เสียงแม่เรียกใช้แทรกสอดเข้ามาระหว่างการสนทนาทางโทรศัพท์ ของผม ให้เอาแกงไก่ไปให้ยายไอ้โอมัน เพราะแม่ก็เป็นห่วงแก ว่าอยู่คนเดียวแล้วไม่ค่อยจะได้ทำ�อาหาร ไม่ได้กิน อะไรดี ๆ ซึ่งแกมักจะกินข้าวกับกล้วยสุกบ้าง มะม่วงบ้างตามประสาคนแก่ “รอเดี๋ยวนะแม่ คุยโทรศัพท์อยู่” ผมตอบแม่ “แป๊บหนึ่ง” “เออ ไอ้โอ ตั้งแต่ไปเรียนที่กรุงเทพมึงเคยโทรหายายมึงบ้างหรือยังวะ” ผมหันมาถามคู่สนทนา ทางสายโทรศัพท์ “ไม่วะ เดี๋ยวยายกูก็บ่นนั่น บ่นนี่อีก กูรำ�คาญ” มันตอบ “จะคุยไหม แม่กูใช้ให้เอาแกงไก่ไปให้ยายมึงอยู่พอดี เดี๋ยวกูเอาโทรศัพท์กูไปให้แกคุยเลย” ผมพยายามเสนอ “ไม่ละ ขอบใจมึงนะเพื่อน” มันตอบแบบตัดบท “ตั้งแต่มึงไปเรียน ยายมึงร้องไห้ทุกวันเลยนะ กูถามก็บอกว่าคิดถึงมึง” ปลายสายเงียบไป

“อิสระของเรา บางครั้งก็แลกมาด้วยความเหงาของใครบางคน”

สู่ เ ส รี ภ า พ


Medleuddang

“เสรีไพร่”

โดย... ศ.ว.ภ.

ปัง! ปัง! ปืนลั่นร้อง โลหิตอาบขื่นขม ปลุกปั่นมุ่งหมายล้ม กองทัพไพร่เนืองแน่น ประกาศกลุ่มเสกสร้าง ปลดแอกพ้นกดขี่ ปรากฏภาพเวที หวังกำ�ชัยพลิกฟ้า แลเหตุการณ์เช่นนี้ มองเสรีไพร่ซึ่ง ไก่ได้พลอยดื้อดึง มิอาจคิดครวญใคร่ เสรีชนย่อมรู้ค่าล้ำ� เสรีไพร่ยกอำ�มาตย์ ฉุดตกต่ำ�หมายมาด มิเห็นเสรีภาพแรก วาทกรรมอำ�พรางเหตุล้วน อำ�มาตย์สวมหน้ากากไพร่ ผลประโยชน์จูงใจ ต้นเหตุรุกเข่นฆ่า อำ�มาตย์แลไพร่ล้วน ละทิฐิเลิกหยิบยก เปิดตาจึ่งเห็นนก จารจิตคลายปิดกั้น

ระดม พลไพร่ คับแค้น อำ�มาตย์ กลุ่มผู้ชุมนุม เสรี- ภาพเฮย ต่ำ�ช้า วาทะ ปราศรัย คว่ำ�แผ่นดินแฮ มุมหนึ่ง เปรียบได้ แสวงเพชร ค่าแท้อัญมณี อำ�นาจ แห่งตน แบ่งแยก เพียงไพร่ ผิดเพี้ยน บอดใบ้เลือนราง ซ่อนไว้ ฉากหน้า อำ�นาจ เงินสถิต พี่น้องผองไทย เป็นพสก แยกชั้น พิราบ- ขาวบิน สันติภาพเบ่งบาน

สู่ เ ส รี ภ า พ

Information and Journal Group Faculty of Political Science

23


24

เม็ดเลือดแดง

Quotation

สู่ เ ส รี ภ า พ

โดย เอมริส


Medleuddang

ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 เกิดกระแสการเคลื่อนไหวของกลุ่มวัยรุ่นใน อังกฤษผู้ต้องการหลุดพ้นจากสังคมประเพณีนิยมที่เต็มไปด้วยกฎเกณฑ์และวิ่งหนีจาก คุณค่าและรสนิยมกระแสหลักของสังคมในเวลานั้น ซึ่งในที่สุดพวกเขาก็ได้รวมตัวกันก่อ กบฏหนุ่มสาว(Youthful rebellion) อันนำ�มาสู่การเกิดขึ้นของอุดมการณ์พังก์(Punk Ideologies) ซึ่งแสดงออกผ่านดนตรีพังก์ การแต่งกายด้วยเสื้อที่ดูขาดวิ่นหรืออาจไม่ใส่ เลย รองเท้าบูทแบบทหาร รวมไปถึงการเจาะและสักตามร่างกาย การแสดงออกเหล่า นี้นับว่าเป็นการเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมใหม่ขึ้นเพื่อให้พวกเขามีที่ยืนในสังคม สำ�หรับวงดนตรีที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพ่อของวงการดนตรีพังก์ ก็คงหนีไม่พ้น วง Sex Pistols วงดนตรีพังก์จากประเทศอังกฤษที่ตั้งขึ้นในปี 1975 โดยมี John Rotten เป็นนัก ร้องนำ� กับมือกีต้าร์ Steve Jones มือกลอง Paul cook และมือเบส Glen Matlock (ภายหลังแทนที่โดย Sid vicious) ในประเทศไทยเองในช่วงทศวรรษที่ 70 วงที่เกิดขึ้น พร้อมๆกับ Sex pistols ก็คือวงคาราวานที่แต่งเพลงออกมาเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย จะว่าไปแล้วทั้ง Sex Pistols และคาราวานต่างก็มีความคล้ายคลึงกันอย่างหนึ่งก็คือไม่ ได้ผลิตผลงานเพลงเพื่อตลาดหรือเพื่อผลกำ�ไรแต่พวกเขาอาศัยเพลงในฐานะ สื่อ ที่จะ ส่ง สาร อันเป็นอุดมการณ์ของพวกเขาไปสู่สังคม Sex Pistolsได้สร้างผลงานเพลงที่เขย่าสังคมอนุรักษ์นิยมของอังกฤษในสมัยนั้น อย่างมากด้วยสตูดีโออัลบั้มชุดเดียวนั่นคือ Never Mind the Bellocks,Here is the Sex Pistols แค่ชื่ออัลบั้มก็ทำ�เอาชาวเมืองผู้ดีตระหนกกันทั้งเมืองเพราะคำ�ว่า Bellocks นั้น เป็น คำ�แสลง แปลว่า อัณฑะ ส่วนเพลงที่มีอยู่ในอัลบั้มชุดนี้ก็ซ่าไม่แพ้ชื่ออัลบั้ม อย่างเพลง เปิดตัว Anarchy in the U.K. ซึ่งเริ่มต้นเพลงด้วยประโยค I am the antichrist. I am an anarchist สารที่พวกเขาต้องการสื่อกับสังคมคือ พวกเขาไม่ต้องการถูกตีกรอบ จากศาสนาและสังคม พูดง่ายๆคือพวกเขาประกาศตนเป็นพวก อนาธิปัตย์นั่นเอง และ

สู่ เ ส รี ภ า พ

Information and Journal Group Faculty of Political Science

ls o t s i p BY นายลงพุง Sex

25


26

เม็ดเลือดแดง

เพลงถัดมาที่ถือได้ว่าเป็นเพลงที่สร้างแรงสั่น สะเทือนกับสังคมอังกฤษมากที่สุด เพลงหนึ่งคือ God Save the Queen ถูกปล่อยออกมาในเดือน พฤษภาคม ปี 1977 ซึ่งเป็นสัปดาห์เฉลิมฉลองพิธี รัชดาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 โดยเนื้อหาของเพลงได้มีประโยคที่ล่อแหลมอย่าง The fascist regime ,She ain’t no human being, There is no future ซึ่งกลายมาเป็นวลี อมตะของชาวพังก์ในอังกฤษ โดยสิ่งที่พวกเขาพยายามบอกกับสังคมในช่วงเวลานั้นคือ มนุษย์ สามารถปกครองตัวเองได้และดำ�รงอยู่ในสังคมที่พวกเขาเป็น”ผู้เลือก”มิใช่ผู้ที่ถูกเลือกให้ ทำ�สิ่งต่างๆ อย่างไรก็ตามเพลงนี้ถูกสั่งห้ามออกอากาศโดยสถานีวิทยุ BBC ถึงกระนั้น หลังจากที่ผลงานชุดนี้ออกสู่ตลาดก็ทำ�ให้วง Sex Pistols ดังเป็นพลุ แตกจนข้ามฟากไปถึงสหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี 1978 John Rotten ออกจากวง ระหว่าง การทัวร์ในอเมริกาส่งผลให้วงล้มเลิกไปจนกระทั่งปี 1996 ที่สมาชิกในวงกลับมารวมตัวกันอีก ครั้ง และล่าสุดพวกเขาได้รวมตัวกันในปี 2007 เพื่อฉลอง 30 ปีของอัลบั้ม Never Mind the Bellocks,Here is the Sex Pistols ของพวกเขานั่นเอง (ช่วงเดียวกับงานเฉลิมฉลอง 60 ปี การครองราชย์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ปีนี้ 2012 ในวงการเพลงถือเป็นการ ครบรอบ 35 ปีของเพลง God Save the Queen ผลงานสุดอื้อฉาวของ Sex Pistols วงพังก์ ที่ถูกจารึกเป็นกลุ่มศิลปินวงแรกที่ท้าทายอำ�นาจของราชวงค์วินเซอร์ผ่านบทเพลงที่กลายเป็น ตำ�นานของวงการดนตรีพังก์ในวันนี้ –กองบรรณาธิการ ) สำ�หรับชาวสิงห์แดงที่กำ�ลังเบื่อกับเพลงรักๆใคร่ๆ อกหัก รักสลายที่ถูกผลิตออกมา เพื่อหูแบบทุนนิยม นายลงพุงก็ขอแนะนำ�ให้ลองเปลี่ยนบรรยากาศมาฟังเพลงที่เสียดสีสังคม ของวง Sex Pistols หรือวงพังก์อื่นๆไม่ว่าจะเป็น the Ramones, Iggy Pop หรือ Richard Hell สุดท้ายนี้นายลงพุงก็ขอให้เพื่อนๆสนุกหรรษาไปกับเพลงซ่าๆท้าทายสังคมของศิลปินพัง ก์แห่งศตวรรษ วง Sex Pistols แล้วพบกันใหม่ครับ

สู่ เ ส รี ภ า พ


Medleuddang

BY : I AM NUMBER#4

สำ�หรับเล่มนี้ ‘ สิงห์ลงพุง ’ ขอต้อนรับเพื่อนใหม่และปีการศึกษาใหม่ด้วยการแนะนำ� ร้านอาหารบริเวณใกล้ๆกับรังสิตแคมปัสของเรานะคะ ‘ฟิเลย์ - มิยอง คิทเช่น’ อยู่ใกล้ๆกับหอพัก บีม เรสซิเดนซ์ เปิดบริการ ตั้งแต่ 11.00 น. บรรยากาศร้านสีเขียว รสชาติอาหารถูกปาก สะอาด รวดเร็ว ราคาเหมาะสม มีเมนูอาหารมากมายชวนให้ ลิ้มลอง ทั้งอาหารตะวันตก อย่างเช่น สเต็ก และ สปาเก็ตตี้ หรือ อาหารไทย ซึ่งสามารถสั่งเป็นอาหารจานเดียวหรือสั่งมา เป็นกับข้าวก็ได้เช่นกัน เมนู เ ด็ ด ของร้ า นนี้ ค ง ไม่พ้น ‘สเต็กเนื้อฟิเลย์ – มิ ยอง’ เสิร์ฟพร้อมกับขนมปัง หรือ มันบด เนื้อส่วนฟิเลย์ – มิยอง จะเป็นเนื้อส่วนที่นิ่มที่สุด และไม่ติดกระดูก มีรสชาติที่นุ่มลิ้น แทบจะละลายในปาก เมนู นี้ ต้ อ งเป็ น เมนู ที่ ถู ก ปากของ ผู้ ที่ ชื่ น ชอบรั บ ประทานเนื้ อ อย่างแน่นอน สำ�หรับผู้ที่ไม่รับ ประทานเนื้อ ร้านนี้ก็มีเมนูอื่นๆ ที่รสชาติอร่อยไม่แพ้กัน เช่น สเต็กหมูบาร์บีคิว สเต็กแฮมหมู สเต็กไก่ครีมไวท์ซอส สเต็ก ปลาย่าง ฯลฯ นอกจากเมนูสเต็กแล้ว ยังมีสปาเกตตี้ และ ซุปเห็ด ที่จะมีรสหวานนิดๆ คงเป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้ที่ชอบ อาหารรสหวานอยู่ไม่น้อย

สู่ เ ส รี ภ า พ

Information and Journal Group Faculty of Political Science

‘ฟิเลย์ - มิยอง คิทเช่น’ (Filet Mignon)

27


28

เม็ดเลือดแดง

สำ�หรับเมนูอาหารอาหารไทยที่จะแนะนำ�ก็คือ เนื้อผัดน้ำ�มันหอย เสิร์ฟพร้อมกับข้าว สวยร้อนๆ เนื้อมีความนุ่ม ไม่เหนียว หอมกลิ่นซอสหอยนางรม และอีกเมนูที่น่าลิ้มลองเช่นกันก็ คือ ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ หลังจากอิ่มท้องจากอาหารจานหลักแล้ว สามารถสั่งขนมหวานที่ขึ้นชื่ออย่าง ไอศกรีมทอด หรือ ขนมไทยอย่าง ขนมบัวลอยเผือก หรือ ขนมปลากริมไข่เต่า มาล้างปากได้อีกเช่นกัน เมนูอาหารของที่ร้านฟิเลย์ – มิยอง คิทเช่น นี้ ราคาไม่แพงอย่างที่คิด สำ�หรับมื้อสุดพิเศษที่มอบ ความเอร็ดอร่อย และความสุขให้แก่ผู้ที่ไปลิ้มลอง โดยมีราคาเฉลี่ยหัวละ 250-300 บาท คุณ สามารถชวน ก๊วนเพื่อนๆหรือจูงมือคนพิเศษไปชิมเมนูพิเศษเหล่านี้ได้ที่ร้านฟิเลย์ - มิยอง คิทเช่น ที่เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป สุดท้ายนี้ ขอให้ชาวสิงห์แดงทุกคน เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถูกหลัก โภชนาการ และควรออกกำ�ลังกายอย่างสม่ำ�เสมอนะคะ

Guten Appetit!

Bon appétit!

Enjoy your meal!

สู่ เ ส รี ภ า พ


Medleuddang

คำ�ถามที่พบบ่อยในการประเมินคุณภาพภายนอก (1)

1. ใครได้รับประโยชน์จากการประเมินคุณภาพภายนอก ? ประชาชนทุกคน ตั้งแต่นักเรียน นิสิตนักศึกษา ครู อาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ตลอดจนองค์กรหน่วยงานของรัฐ และเอกชน จะได้รับผลประโยชน์จากการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ มีกระบวนการที่จะรักษาคุณภาพไว้ และปรับปรุงให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นกระบวนการที่ สำ�คัญในการสร้าง “คน” ที่มีคุณภาพให้แก่ประเทศชาติ 2. ชุมชนและผู้ปกครองมีส่วนช่วยประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาได้อย่างไร ? ในกระบวนการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ถูกต้อง จำ�เป็นต้องได้รับความร่วมมือ จากชุมชน ผู้ปกครอง คณะกรรมการโรงเรียน องค์กรต่าง ๆ ในเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเข้ามาร่วมคิด ร่วมทำ� ร่วมผลักดันให้สถานศึกษามีคุณภาพ รวมทั้งยังเป็นแหล่งข้อมูลให้กับคณะผู้ประเมินภายนอกสถานศึกษาได้ อีกด้วย 3. หากรู้สึกกลัวและไม่มั่นใจกับการถูกประเมินภายนอก ควรทำ�อย่างไร ? เจ้าหน้าที่ของ สมศ.ทุกคนยินดีให้คำ�ปรึกษาอยู่เสมอ 4. โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานศึกษาจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ผู้ประเมินภายนอกที่ สมศ. ส่งมา เป็นผู้เชื่อถือได้ ? สมศ. ได้กำ�หนดกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติต่าง ๆ ของผู้สมัครเข้าเป็นผู้ประเมินภายนอก ทำ�การฝึกอบรมให้ความรู้ ฝึกทักษะกระบวนการประเมินคุณภาพสถานศึกษา เน้นการคัดเลือกผู้ที่มีจรรยา บรรณ และมีคุณสมบัติเหมาะสม แล้วจึงออกใบรับรองให้เป็นผู้ประเมินภายนอกได้ นอกจากนี้ สมศ. ยังมี กระบวนการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ประเมินภายนอกทุกคนเพื่อรักษาคุณภาพและมาตรฐานไว้อย่าง สม่ำ�เสมอ

สู่ เ ส รี ภ า พ

Information and Journal Group Faculty of Political Science

การประกันคุณภาพการศึกษา

29


30

เม็ดเลือดแดง

5. โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานศึกษา ต้องเตรียมตัวอย่างไรในการต้อนรับคณะผู้ประเมินภายนอกของ สมศ. ? บุคลากรของโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษาใด ๆ ไม่ต้องต้อนรับหรือดูแลคณะผู้ประเมินเป็น พิเศษ ทุกคนทำ�งานไปตามปกติ ผลจากการประเมินในระหว่างการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา จะรายงานให้ทราบด้วย วาจาก่อน กรณีสถานศึกษามีข้อทักท้วง ขอให้นำ� หลักฐานข้อมูลมายืนยันด้วย เพื่อประกอบการจัดทำ�รายงานของ คณะผู้ประเมินภายหลังการตรวจเยี่ยม 6. สมศ. ติดตามการรักษาคุณภาพและจรรยาบรรณของผู้ประเมินภายนอกได้อย่างไร ? ในกระบวนการประเมินคุณภาพการดำ�เนินงานของ สมศ. จะมีขั้นตอน วิธีการประเมินคุณภาพงาน ของทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ทั้งสถานศึกษา หน่วยงานประเมินภายนอก ผู้ประเมินภายนอก ตลอดจนสำ�นักงานและ คณะกรรมการต่าง ๆ ของ สมศ. เองด้วย 7. สถานศึกษาที่มีชื่อเสียงมานานแล้ว จะได้รับการประเมินภายใต้มาตรฐานเดียวกันกับสถานศึกษาที่เพิ่งจัด ตั้งขึ้นใหม่หรือไม่ ? การประเมินภายนอกระดับพื้นฐานในรอบ 5 ปีแรกนี้ เป็นเพียงการตรวจสอบเพื่อยืนยันสภาพจริงใน การดำ�เนินงานของสถานศึกษาและให้ข้อมูลเพื่อช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น จุดด้อยของสถานศึกษา เพื่อพัฒนา ปรับปรุงคุณภาพให้ตรงจุดเป้าหมาย ไม่มีการตัดสิน จัดลำ�ดับ หรือให้คุณ ให้โทษใด ๆ สถานศึกษาจะได้รับการ ประเมินด้วยวิธีการเดียวกันและภายใต้มาตรฐานและเกณฑ์ชนิดเดียวกันทุกแห่ง 8. สถานศึกษามีสิทธิเลือกคณะผู้ประเมินภายนอกเองหรือไม่ ? สมศ. จะแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้ประเมินภายนอกและสถานศึกษาต่าง ๆ เพื่อความ เหมาะสมในด้านแผนการปฏิบัติงาน พื้นที่ความรับผิดชอบ จำ�นวนคณะผู้ประเมินต่อสถานศึกษา ความสะดวก รวดเร็วและประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย 9. หน่วยงานประเมินภายนอกมีอำ�นาจหน้าที่อะไรบ้าง ? 1. ทำ�สัญญากับ สมศ. เพื่อทำ�การประเมินภายนอก 2. จัดคณะผู้ประเมินภายนอกตามหลักเกณฑ์ สมศ. 3. กำ�กับ ติดตาม ตรวจสอบ การทำ�การประเมินคุณภาพภายนอกของคณะผู้ประเมิน 10. ผู้ประสงค์จะจัดตั้งหน่วยงานประเมินภายนอก ต้องทำ�อย่างไรบ้าง ? 1. จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพการศึกษาโดยเฉพาะ 2. มีบุคคลที่ได้รับการรับรองจาก สมศ.ให้เป็นผู้ประเมินภายนอก ตามที่กำ�หนด ติดตามต่อฉบับหน้า... แหล่งที่มา สำ�นักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/faq/index.php

สู่ เ ส รี ภ า พ


Medleuddang

By Iki Moonlit เมื่อคุณก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย คุณจะพบว่า การเรียน การสอนแตกต่างไปจากที่เคยประสบพบ เจอ เมื่อครั้งยังเรียนในระดับมัธยมศึกษา นอกจากการนั่งจดคำ�บรรยายในห้องเรียนแล้ว ยังมีหนังสืออ่าน ประกอบ ที่มักปรากฏให้เห็น ในเค้าโครงการบรรยาย (outline) ให้คุณได้ตกตะลึงในจำ�นวนที่มากมายของ มัน โดยเฉพาะวิชาทางรัฐศาสตร์ ที่ผู้เรียนหลายคน ถึงขั้นรำ�พึงไปกับสายลมเลยว่า เราเรียนรัฐศาสตร์หรือ เรียนอักษรศาสตร์กันแน่? หนังสือที่จะแนะนำ�ให้เพื่อนใหม่ ได้รู้จักกันในเล่มนี้ บางเล่มก็เป็นหนังสือสามัญประจำ�วิชา คือ คุณจะพบเห็นหนังสือบางเล่ม ไปปรากฏตัวอยู่ใน outline ของวิชามหาวิทยาลัยและวิชาคณะ หนังสือใน เค้าโครงการบรรยายหลายเล่ม นอกจากจะช่วยปูพื้นฐานความรู้ทางสังคมศาสตร์แล้ว บางเล่ม อาจเป็น น้ำ�ยาล้างแว่น ที่ช่วยให้คุณมองโลกแห่งความเป็นจริงด้วยสายตาที่แปลกไปจากที่คุ้นเคยก็เป็นได้ เผชิญภัยคุกคามโลก ศตวรรษที่21 กับความมั่นคงที่ยั่งยืน (Global Responses to Global Threats : Sustainable security for the 21 Century) เป็นหนังสือที่ผู้ศึกษาการระหว่างประเทศหรือ ผู้ที่สนใจการระหว่างประเทศ ต้องอ่าน ยิ่งไม่ได้เรียนการระหว่างประเทศยิ่ง ต้องอ่าน เพื่อเข้าใจถึง วาทกรรม กระแสหลักเรื่องความมั่นคงในช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11 คณะผู้เขียนกลุ่มวิจัยอ็อกฟอร์ด อันประกอบไปด้วย คริส แอ็บบอต (Chris Abbott) ,พอล โรเจอร์ (Paul Rogers) และ จอห์น สโลโบดา (John Sloboda) ได้ร่วม กันวิเคราะห์ภัยที่คุกคามสันติภาพและความมั่นคงของโลก ว่าแท้จริงแล้ว หาใช่เพียงภัยก่อการร้ายอย่าง เดียวที่เราต้องกังวล ยังมีเรื่องของ ความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ,การแย่งชิงทรัพยากร,การเบียดขับ โลกส่วนใหญ่ให้อยู่ชายขอบ และ การแผ่ขยายการทหารทั่วโลก ปัญหาเหล่านี้คือปัญหาที่เราก็ต้องวิตก กังวลถึงมันเหมือนกัน ซึ่งผู้เขียนชี้ว่าเป็นสาเหตุ รากเหง้าของความขัดแย้งและความไม่มั่นคงในโลกทุกวันนี้ และมีแนวโน้มว่าทั้ง 4 สาเหตุจะเป็นตัวกำ�หนดความขัดแย้งอันจะก่อตัวขึ้นในอนาคตอีกด้วย ใช่ ว่ า หนั ง สื อ เล่ ม นี้ จ ะฉายให้ เ ห็ น ภาพที่ ช วนหดหู่ ข องโลกในยุ ค ปั จ จุ บั น และโลกอนาคต เพี ย งอย่ า งเดี ย วภายในเล่ ม ยั ง ได้ เ สนอแนวทางในการเตรี ย มพร้ อ มรั บ มื อ และหนทางหลี ก เลี่ ย ง ความไม่ มั่ น คงที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น โดยยึ ด หลั ก การการสร้ า งโลกแห่ ง ความมั่ น คงที่ ยั่ ง ยื น สำ � หรั บ ทุ ก คนขึ้ น มา

สู่ เ ส รี ภ า พ

Information and Journal Group Faculty of Political Science

Outline

31


32

เม็ดเลือดแดง

โลกของโซฟี : เส้นทางจินตนาการสู่ประวัติศาสตร์ปรัชญา นวนิยายประวัติศาสตร์ปรัชญา ของ ของโยสไตน์ กอร์เดอร์ นักเขียนชาวนอร์เวย์ ด้วยความมุ่งหวังที่จะให้การศึกษาปรัชญา เป็น ปรัชญา สำ�หรับทุกคน เขาจึงเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา เพี่อให้เป็นหนังสือปรัชญาที่เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี โลก ของโซฟี เริ่มต้นขึ้นเมื่อตัวเอกของเรื่อง โซฟี อามุนด์เซน ได้รับจดหมายลึกลับจากบุคคลนิรนาม เนื้อหา ภายในจดหมาย จะตั้งคำ�ถามเชิงปรัชญา เช่น เธอคือใคร? โลกมาจากไหน? เป็นต้น ซึ่งตัวผู้อ่านจะได้ ขบคิดไปพร้อมๆกับ โซฟี ด้วย ภายหลังจากที่โซฟีได้รับจดหมายลึกลับ เหตุการณ์เหลือเชื่อก็จะทยอยเกิด ขึ้นกับตัวเธอเรื่อยๆ พร้อมๆกับที่ตัวเนื้อเรื่องจะค่อยๆเปิดเผยตัว อัลแบร์โต น็อค์ซ เจ้าของจดหมายและ ครูสอนปรัชญาที่แสนจะลึกลับ เมื่อครูและลูกศิษย์ ได้พบกัน การผจญภัยทาง จินตนาการและปรัชญา ก็ได้ถือกำ�เนิดขึ้น โดยที่การผจญภัยในรอบนี้จะทำ�ให้พวกเขาค้นพบว่า การมีอยู่ของโซฟีและอัลแบร์โต เกี่ยวข้องกับ นายพันตรีอัลเบิร์ต น้าค ผู้สังเกตการณ์สังกัดองค์การสหประชาชาติในเลบานอนผู้ซึ่งกำ�ลัง เขียน หนังสือปรัชญาเป็นของขวัญวันเกิดให้กับ ฮิลเด ลูกสาวเพียงคนเดียวของเขา อย่างน่าอัศจรรย์ใจ

ข้อมูลหนังสือ

ชื่อหนังสือ : เผชิญภัยคุกคามโลก ศตวรรษที่ 21 กับความมั่นคงที่ยั่งยืน เขียนโดย คริส แอ็บบอท, พลอ โรเจอร์ส และจอห์น สโลโบดา ผู้แปล สุนทรี เกียรติประจักษ์ พิมพ์ครั้งที ่ 1 จัดพิมพ์โดย โครงการจัดพิมพ์คบไฟ และ คณะทำ�งานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์ ISBN 987-974-7669-96-1 ราคา 110 บาท

ข้อมูลหนังสือ

ชื่อหนังสือ : โลกของโซฟี : เส้นทางจินตนาการสู่ประวัติศาสตร์ปรัชญา เขียนโดย โยสไตน์ กอร์เดอร์ ผู้แปล สายพิณ ศุพุทธมงคล พิมพ์ครั้งที่ 10 จัดพิมพ์โดย โครงการจัดพิมพ์คบไฟ ISBN 978-974-576-776-8 ราคา 300 บาท

สู่ เ ส รี ภ า พ




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.