เม็ดเลือดแดงฉบับที่ 20 มิถุนายน - กรกฎาคม 2554

Page 1

cover cover cover



Create by Jc-singhadang Supported by the facalty of political science

Editor Talk

“วัยเรียนสิ้นสุดช่วงไหน เวลาไหนเราจึงจะไม่ต้องเรียนแล้ว? ” คำ�ถามนี้อาจตอบได้ว่า การเรียนเป็นสิ่งไม่จบสิ้น ตลอดช่วงชีวิตของคนเราจึงมีการเรียนมากมายหลายครั้งที่แทบไม่เหมือน กันเลยสักครั้ง การเตรียมพร้อมเพื่อต้อนรับประสบการณ์ ใหม่ที่จะเข้ามาในการเรียนแต่ละครั้งจึง จำ�เป็นอย่างยิ่ง ทั้งการเตรียมตัวเตรียมใจจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ขอให้ทุกคนจงพร้อมเสมอจะได้ไม่ พลาดโอกาสใหม่ๆ ที่จะเข้ามาต่อจากนี้ที่นี่ สุดท้ายนี้ขออวยพรน้องๆ สิงห์แดง 63 ให้มีความสุขกับการเรียนการใช้ช ีวิตในรั้วเหลือง แดงจนจบการศึกษาโดยสวัสดิภาพทุกคนนะครับ Stay safe & Peaceful กองบรรณาธิการและพี่ๆกลุ่ม JC ทุกคน


ฉบับที่ 20 : ก่อนเรียน (มิถุนายน - กรกฎาคม 2554) young blood : ก่อนเรียน

:2

young blood : การเรียนรู้ชีวิตที่ดีวิธีหนึ่ง คือการเรียนรู้ด้วยตัวเอง :5 ตำ�นานแม่สิงห์

:7 เทียนธวัช ศรีใจงาม (เทียน)

100 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสิงห์แดง

:9

young blood : รอยยิ้มและคราบน้ำ�ตา : 12 ไส้ติ่ง : เดินป่า เติมหัวใจไปรอบโลก

: 14 : 16

young blood : เล่าประสบการณ์ : 23 ประวัติโต๊ะคณะรัฐศาสตร์

: 26

แนะนำ�กลุ่มกิจกรรมนักศึกษา

: 28

ประกันคุณภาพการศึกษา

: 43

สิงห์หนังสือ

: 51

สิริพงศ์ นฤดีสมบัติ (ป้อก)

เทียนธวัช ศรีใจงาม (เทียน)

วริษา อินทรัตน์ (พัศร)

เทียนธวัช ศรีใจงาม (เทียน) 089-056-4402


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

2

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

ก่อนเรียน

นางสาวกุสุมา สารีบุญฤทธิ์ คณะรัฐศาสตร์ สาขาการระหว่างประเทศ “แน่ ใจได้ว่าการศึกษาเป็นสิ่งไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง หากมันมิได้ช่วยให้เธอเข้าใจ ถึงความลึกซึ้งกว้างขวางของชีวิต เข้าใจถึงแก่นแท้ของชีวิต พร้อมทั้งสุนทรียภาพ ความ ทุกข์และความสุข”

(หนังสือแด่หนุ่มสาว. กฤษณมูรติ เขียน พจนา แปล)

วาทะข้างต้นสวยงาม และประทับ ที่ ใจข้าพเจ้าทันทีเมื่อแรกอ่าน เพราะ กล่าวถึงการศึกษาได้ตรงจุดและตรงใจใน ประเด็นคำ�ถามว่า “การศึกษาคืออะไร” ซึ่งถือเป็นหน้าที่สำ�หรับคนที่กำ�ลังจะได้รับ การศึกษาทุกคน หรือกล่าวอย่างง่ายคือ กำ�ลังจะได้เรียน ต้องถามตนเองและหา คำ�ตอบ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ มหาวิทยาลัยที่เมื่อจบออกไปจะได้ขึ้นชื่อว่า เป็น บัณฑิต ที่แปลว่า ผู้รู้ ซึ่งคงเป็นเรื่อง น่าเศร้าและน่าอายมากหากเราไม่ได้เตรียม พร้อมตนเองให้คู่ควรกับคำ�นั้น แน่ น อนว่ า การเป็ น ผู้ รู้ ไ ม่ ไ ด้ มี ใบ ปริญญาเป็นเครื่องชี้วัด หากแต่คือการ ศึกษาของคนผู้นั้นต่างหาก ซึ่งน่าเศร้าที่การ ศึกษาแบบไทยไม่ ไ ด้สอนให้ผู้เรียนได้รู้จ ัก กับธรรมชาติที่งดงาม ล้ำ�ลึก ประณีต กว้าง ขวาง และเบิกบานของการศึกษา เพราะการ ศึกษาที่แท้จริงนั้นต้องขัดเกลาจิตใจ สติ

ปัญญา รวมไปถึงความประพฤติของผู้ที่ ได้ รับการศึกษาให้ด ีงาม รู้จ ักอ่อนน้อมถ่อม ตน เผื่อแผ่พื้นที่ ให้กับผู้อื่นได้เป็นตัวของตัว เอง ไม่เอารัดเอาเปรียบไม่ว่าจะทางตรงหรือ ทางอ้อม ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าคนในสังคมไทย ปัจจุบันล้มเหลวในประเด็นนี้ เรามีคนคดโกง พร้อมเหยียบย่ำ�ผู้ที่เขาคิดว่ามีสถานะต่ำ�กว่า อยู่ทุกวงการ ซึ่งนั่นเป็นการเอารัดเอาเปรียบ ทางตรง ส่วนการเอารัด เอาเปรียบทางอ้อมนั้น เห็นได้จากการใช้ช ีว ิต แบบที่ ในหมู่นักศึกษาเรียกว่า “ไฮโซ” ซึ่ง ข้ า พเจ้ า เข้ า ใจว่ า มาจากคำ � ภาษาอั ง กฤษว่ า “High Society” โดยนิยมใช้ข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้า เครื่องสำ�อางราคาแพง พ่วงด้วยการ เอาตัวออกห่างจากสังคมแบบ “ชาวบ้าน” ซึ่ง นั่ นถือเป็นการเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์แบบ หนึ่ง เพราะขณะที่คนนับพันล้านกำ�ลังดิ้นรน อย่างสาหัส ขาดแคลนแม้กระทั่งปัจจัยพื้น ฐานเพื่อดำ�รงชีว ิต คนที่ ได้ช ื่อว่ามีการศึกษา

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

รู้ เพราะความรู้คือเสน่ห์อย่างหนึ่งของการ ศึกษาที่จะสร้างความเบิกบาน ความตื่น เต้นและยินดี เมื่อได้เรียนรู้สิ่งใหม่ น่าพิศวง ชวนตั้งคำ�ถามต่อไปไม่สิ้นสุด และสำ�คัญ ที่สุดคือ มีความเบิกบานอันเกิดจากการได้ เรียนในสิ่งที่อยากเรียน ไม่ ใช่เรียนเพราะ บังเอิญสอบติด หรือเพราะสถาบันที่เรียน มีช ื่อเสียง เพราะหากเป็นไปตามเหตุผล ประการเหล่านี้แล้ว ข้าพเจ้าอยากแสดง ความเสียใจและแนะนำ�ให้รอสอบเข้าคณะ ที่อยากเรียนปีต่อไปเสียดีกว่า อย่าเลือก ทางเดินที่ผ ิดพลาดเพราะความหลงเหล่านี้ เลย เพราะหลายต่อหลายครั้งข้าพเจ้ามอง ไปเบื้องหน้าและแลเห็นชีว ิตในบั้นปลายที่ ความร่วงโรย ความหดหู่ ความเงียบเหงา เดินทางเข้ามาเป็นมิตรแท้ของชีว ิต ในวัน นั้นจะเหลือสิ่งใดที่เป็นสุขให้จดจำ� หากใน ช่ ว งเยาว์ วั ย ข้ า พเจ้ า ไม่ เ คยยื น หยั ด เพื่ อ สิ่ ง ที่รักและใฝ่ฝันอยากเรียนรู้ อยากเป็น ไม่ เคยปล่ อ ยให้ ต นเองได้ ใช้ จ ิ น ตนาการเพื่ อ เป็นอิสระจากสังคม ไม่เคยมีความเบิกบาน ยินดีกับสิ่งที่ตนได้เรียนรู้มา ไม่เคยหลุดพ้น จากความกลัวเพราะไร้ซึ่งปัญญาซึ่งสภาพดัง กล่าวมานี้เชื่อว่าไม่มี ใครอยากพบพาน จนถึ ง บรรทั ด นี้ ข้ า พเจ้ า ยั ง ไม่ ไ ด้ แสดงความยินดีกับสิงห์แดงรุ่น 63 เลย ยินดีด้วยสำ�หรับคนที่ฝ่าฝันอุปสรรค ความ ท้อแท้ รวมถึงเพื่อน ๆ ที่เข้าสอบอีกนับ พันคนเข้ามาเรียนในคณะนี้ตามความฝันได้ สำ�เร็จ มีสิ่งหนึ่งที่อยากให้พึงระลึกไว้เสมอ คือ เป้าหมายที่แท้จริงของชีว ิต ซึ่งอาจไม่ได้

ก่อนเรียน

3 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

หลายคนกลับไม่ไยดี และคิดเพียงแต่จะทำ� ตนให้เหนือกว่าเพื่อนมนุษย์เหล่านั้น ความน่า เสียดายอีกประการหนึ่ง คือ ข้าพเจ้าเห็นว่าการศึกษาแบบไทยได้แยก ความรู้ออกจากการใช้ช ีว ิต ทำ�ให้ท ัศนคติ การกระทำ� รวมไปถึงคำ�พูดของหลายคน หยาบกระด้าง ประหนึ่งว่าไร้การศึกษา จุด ประสงค์หลักของการศึกษาควรเป็นไปเพื่อ เป็ น เครื่ อ งมื อ ในการทำ � ความเข้ า ใจชี ว ิ ต ชีว ิตซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ กว้างขวาง ลึกล้ำ� ไร้ขอบเขต เป็นเสมือนอาณาจักรแห่งความ ลั บ ที่ ต้ อ งใช้ ปั ญ ญาอั น เกิ ด จากการศึ ก ษา เข้าไปค้นพบ ชีว ิต คือ ดอกไม้ ปลาในน้ำ� นกใต้ฟ้า คนจน คนรวย ศาสนา อุดมการณ์ ความกลัว ความหวัง ความทะเยอทะยาน ความเมตตา ความงดงาม ความเบิกบาน ฯลฯ แต่การศึกษาในปัจจุบันเป็นไปเพียง เพื่อใบปริญญาที่จะใช้ประกอบอาชีพ มีหน้า ที่การงานที่เสนอเงินเดือนพอดีหรือล้นเกิน ความต้องการของปากท้องเท่านั้น ผู้ที่จบ การศึกษาตามหลักสูตรหลายคนขาดความ คิด จินตนาการ การนับถือตนเองที่จะใช้ สำ�หรับจุดไฟฝันให้กับชีว ิต ซึ่งทำ�ให้พวกเขา เหล่านั้นน้อมรับการเดินตามคลื่นของสังคม ไม่กล้าฝันใฝ่ที่จะสร้างความแตกต่างหรือ มิติ ใหม่ ๆ อันเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อ ส่วนรวม ความรู้ไม่ ใช่การศึกษา แต่เป็น เพียงส่วนหนึ่ง ฉะนั้นผู้ที่จบปริญญาเอก ก็อาจได้ช ื่อว่าไร้การศึกษา ซึ่งประเด็นนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่านักศึกษาทุกคนต้องประจักษ์


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

4

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

หมายถึงอาชีพที่ ใฝ่ฝันแบบรัฐศาสตร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมีช ีว ิตที่เต็มบริบูรณ์ มีโอกาส ได้ ใช้ความรู้ความสามารถที่จะได้รับจากการศึกษาที่คณะนี้ทำ�ประโยชน์ ให้กับสังคม ประเทศ ชาติ หรือโลกใบเดียวนี้ของเราทุกคน ข้าพเจ้าเชื่อว่าหลายคนฝันถึงบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งอาจ จะยิ่งใหญ่เกินกว่าคนรอบข้างจะเข้าใจ แต่ขอให้เชื่อมั่นในตนเองและยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง ลงมือกระทำ� ความฝันนั้นจะเป็นจริงสักวัน ประการสุดท้ายที่อยากกล่าวถึงซึ่งเกี่ยวข้องกับคณะรัฐศาสตร์ โดยตรง คือ การ ศึกษารัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ “อำ�นาจ” ซึ่งจะว่าน่าสนใจก็ ไม่ผ ิด แต่ ขณะเดียวกันก็น่ากลัว หากเราเอาตัวไปผูกติดหรือยึดมั่นถือมั่นเป็นส่วนหนึ่งของตัวตน เพราะ อำ�นาจสร้างพลังมหาศาล อาจนำ�มาซึ่งความรุ่งโรจน์ ความปรารถนา ความพึงพอใจ แต่ ใน ขณะเดียวกันก็อาจนำ�มาซึ่งหายนะใหญ่หลวงได้ ทั้งยังเป็นอุปสรรคสำ�คัญที่คอยขัดขวางการ ศึกษา เนื่องด้วยไม่ก่อให้เกิดจิตใจที่แจ่มใส เรียบง่าย ซื่อตรง และเต็มไปด้วยปัญญา อันเป็น คุณสมบัติสำ�คัญที่ควรมีเพื่อการศึกษาที่แท้จริง ฉะนั้นการศึกษาเรื่องอำ�นาจจึงควรศึกษา เพื่อให้รู้ เข้าใจ และนำ�มาใช้สร้างประโยชน์ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมอย่าง เคร่งครัด เหล่านี้คือสิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นว่าผู้ที่ ได้รับการศึกษาควรมีและควรเป็น .

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

การเรียนรู้ชีวิตที่ดีวิธีหนึ่งคือการ เรียนรู้ด้วยตัวเอง! By Jen K. Siangrungrueang

การเรียนรัฐศาสตร์พูดได้เลยว่าไม่ ยากและไม่ง่ายอย่างที่คิด รัฐศาสตร์เปรียบ เสมือนท้องทะเลที่กว้างใหญ่ ที่เมื่อมองออก ไปจากชายฝั่งแล้วไม่รู้ว่ามันจะไปสิ้นสุด ตรง ไหน แต่นั่นก็ ใช่ว่าท้องทะเลแห่งนี้จะไม่มี ขอบเขต บนผิวน้ำ�ที่ดูสงบ แต่ก็ยังมีคลื่นพัด ผ่านอยู่ ตลอดเวลา ส่วนเราก็เปรียบเสมือนปลาใน ท้ องสมุ ท รที่ ต้ องแหวกว่ า ยหาความรู้ แ ละ ทำ�ความรู้จ ักกับปลาตัวอื่นๆ อาหารที่เรา ว่ า ยไปกิ น ก็ เ สมื อ นกั บ วิ ชาความรู้ ที่ ผู้ เขี ย น มากมายได้ ถ่ า ยทอดประสบการณ์ ทิ้ ง ไว้ ให้เราได้ศึกษา การรู้จ ักการวิเคราะห์และ สังเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น (ไม่ ใช่อ่านแล้วจำ� เพียงอย่างเดียว)ก็เสมือนกับการย่อยอาหาร ที่กินเข้าไป สิ่งที่สำ�คัญคือทัศนคติ ต่างคน ต่างที่มาย่อมต่างมีความคิดที่หลากหลาย จงอย่ า ปิ ด กั้ นที่ จ ะเรี ย นรู้ ผู้ อื่ น และเรี ย นรู้ ตนเองให้มากกว่าที่เคยเป็น จงแหวกว่าย ออกไปหาประสบการณ์แต่ก็จงอย่าลืมตัวตน และพื้นที่ที่ตนจากมา พฤษาคม 2554 ฉันตั้งคำ�ถาม กับตัวเองอีกครั้งว่า “ผ่านมาหนึ่งปีแล้ว หรือ?” คำ�ถามที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกับความ รู้สึก เสมือนว่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นใน

ก่อนเรียน

5 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

พฤษภาคม 2553 ฉันก้าวเข้ามาใน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้ ว ยความรู้ สึ ก ลั ง เลใจว่ าคณะนี้ ใช่ ฉั น หรื อ ไม่ ก้าวเข้ามาพร้อมกับความสงสัยในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะคืออะไร? มีไว้ทำ�ไม? ระหว่ างเพื่ อ นใหม่ กั บ ผู้ ที่ มาถึ ง ก่ อ นและรุ่ น พี่กับรุ่นน้องต่างกันตรงไหน? แล้วเสรีภาพ ทุกตารางนิ้วน่ะมีจริงหรือ? ฯลฯ ฉันเลือกที่ จะไม่เข้าร่วมในบางกิจกรรม จะมาก็เพียงแต่ วันปฐมนิเทศมหาวิทยาลัยที่จำ� เป็นต้องมา ซึ่งเป็นวันแรกที่ทำ�ให้ฉันได้รู้จ ักเพื่อน รู้จ ักผู้ ที่มาถึงก่อน และรู้จ ักครอบครัวสิงห์แดง หลังจากวันนั้นก็เข้าสู่ช่วงเปิดภาค เรียน ความรู้สึกฉันยังเหมือนยึดติดกับชีว ิต และแนวคิดในสมัยมัธยมปลายอยู่ ฉันเริ่ม ที่จะได้รู้จ ักเพี่อนและรุ่นพี่ ในคณะมากขึ้น ที่ สำ�คัญคือได้เข้าโต๊ะที่เปรียบเสมือนกับครอบ ครัวเล็กๆในคณะรัฐศาสตร์ ที่นี่มีพ ี่ Take พี่ สาย และพี่ๆในคณะคอยให้คำ�ปรึกษา แม้ที่ มหาวิทยาลัยแห่งนี้จะไม่มีคำ�ว่ารุ่นพี่รุ่นน้อง แต่ที่คณะรัฐศาสตร์แห่งนี้ มีบุคคลที่มีส าย สัมพันธ์ที่เป็นพี่เป็นน้องกันเสมอ ซึ่งทำ�ให้ ฉันได้เข้าใจในความหมายของคำ�ขวัญคณะที่ ว่า “สามัคคี ประเพณี เป็นพี่น้อง” มากขึ้น


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

รั้วธรรมศาสตร์พึ่งจะ ผ่านพ้นไปได้ไม่นาน อนึ่งก็เหมือนกับว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่เราพลาดที่ จะลงมือทำ� แต่อย่างไรก็ตามฉันก็ ได้คำ�ตอบในคำ�ถามที่ฉันสงสัยในตอนต้นพอควร แม้วัน เวลาจะเดินต่อไปข้างหน้าเรื่อยๆแต่บางเหตุการณ์ก็ยังหวนกลับมาให้ได้รำ�ลึกถึง ไม่ว่าจะเป็น วันแรกพบ วันรับ เพื่อนใหม่ หรือวันปฐมนิเทศมหาวิทยาลัย เพียงแต่เปลี่ยนตัวแสดง เปลี่ยน บทบาท และผู้ชมตามสมควร ในวันนี้ฉันได้เรียนรู้การเป็นสิงห์มากขึ้น และพร้อมที่จะต้อนรับ น้องๆรุ่น 63 ทุกคนเข้ามาเป็นครอบครัวเดียวกัน ขอให้พวกเธอจงจำ�และเรียนรู้ที่จะเป็นสิงห์ และจงเป็นสิงห์แดงที่ด ี ในสังคม 

6

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

ตำ�นานแม่สิงห์

By P’ Pok

แม่สิงห์เป็นสิ่งที่ชาวสิงห์แดงควรรู้จักเพราะถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่คณะรัฐศาสตร์ ว่า

คอยคุ้มครองใคนในคณะเราเสมอ ไม่ว่าจะเรื่องการเรียน การงานหรือเรื่องใดๆก็ตาม และแน่นอนเมื่อถึง เวลารับน้อง สิ่งแรกที่รุ่นพี่จะทำ�ก่อนออกเดินทาง ก็คือ ถือธูป เทียนและของบูชามาเซ่นไหว้แม่สิงห์เพื่อ ความเป็นสิริมงคลนั้นเอง และบางค่ำ�คืนมีผู้เคยเห็นแสงไฟคู่หนึ่งพุ่งออกมาจาก กลางแม่น้ำ�ใกล้บริเวณที่พ่อสิงห์ตกลงไปส่องมายัง ทางแม่สิงห์ นัยยะที่ถูกกล่าวถึงก็คือการเปรียบแสง นั้นเป็นสัญลักษณ์การส่งความรักจากดวงตาของทั้ง สองสิงห์ยามถวิลหากันและกัน จากคำ � บอกเล่ า ของคุ ณ ยายคนหนึ่ ง ซึ่ ง อาศัยอยู่ในละแวกนี้มากว่า 60 ปี มีเหตุการณ์แปลก ที่มักจะเกิดขึ้นที่นี่ว่า บางคืนคนที่นี่มักจะได้ยินเสียง คร่ำ � ครวญของแม่ สิ ง ห์ ที่ ร้ อ งเรี ย กหาพ่ อ สิ ง ห์ ด้ ว ย ค ว า ม คิ ด ถึ ง แ ล ะ เศร้าใจในความรัก ที่ ต้ อ งพลั ด พราก จากกันไป แต่ถ้า เป็นคืนวันเพ็ญบาง คนก็ จ ะเห็ น ลำ � แสง คู่สีแดงส่องขึ้นมาจากแม่น้ำ� ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นแสงจาก ตาของพ่อสิงห์นั่นเองที่เฝ้าคอยมองหาตัวเมียที่อยู่ บนฝั่ง จึงทำ�ให้รูปปั้นของสิงโตตัวเมีย จึงต้องหันหน้า มาเข้าหาฝั่งแม่น้ำ�เพื่อมองหาคู่ของมัน แอน นักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์คนหนึ่ง เล่ า ถึ ง ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข องเจ้ า แม่ สิ ง ห์ โ ตให้ ฟั ง ว่ า “ครั้งแรกที่มาบน เพราะมีรุ่นพี่ที่รู้จักกันเรียนอยู่ที่นี่ แนะนำ� ตอนนั้นเป็นช่วงสอบเอ็นพอดี แล้วเขาก็บอก ว่าถ้าอยากสอบติดที่ธรรมศาสตร์ให้เอาลูกแก้วมาบ

ก่อนเรียน

7 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

สิงโตริมน้ำ�เจ้าพระยานี้มีที่มาอย่างไร นั้นน้อยคนนักที่จะทราบ แต่ชาวสิงห์แดงก็มักได้ รับเรื่องเล่าต่อจากรุ่นพี่ว่า สิงโตตัวนี้ถูกนำ�มา จากเมืองจีนกับเรือสำ�เภาที่เข้ามาค้าขายกับสยาม ประเทศ ซึ่งสมัยนั้นการเดินทางค้าขายกว่าจะ ถึงที่หมาย ต้องใช้เวลารอนแรมเป็นเดือนๆ สินค้า ที่ นิ ย มซื้ อ ขายก็ เ ป็ น พวกเครื่ อ งปั้ น ลายครามที่ เรียกว่า “เครื่องกังไส” เช่น ถ้วย จาน ชาม ถ้วยชา กาน้ำ� แต่สินค้าเหล่านี้เป็นของเบา ต่อให้บรรทุก จนเต็ม เรือก็อาจโคลงเคลงและจมได้ง่าย พ่อค้า จึงต้องหาสินค้าที่มีน้ำ�หนักมากๆ เพื่อไม่ให้เสีย เที่ยว โดยเลือกซื้อรูปปั้นหินสลักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ หรือรูปปั้นเซียน ซึ่งก็นิยมซื้อมาเป็นคู่ๆ ดังนั้น ระหว่างการเดินทางข้ามน้ำ�ข้ามทะเล ในบรรดา อั บ เฉา(ตั ว ถ่ ว งเรื อ )ทั้ ง หลายก็ มี สิ ง โตหิ น คู่ ห นึ่ ง ตัวผู้และตัวเมียอยู่ด้วยเมื่อมาถึงปากอ่าวแม่น้ำ� เจ้าพระยา บริเวณทางสามแพร่ง สถานีรถไฟ ธนบุรี ลูกเรือก็เผลอทำ�สิงโตตัวผู้หล่นลงไปใน น้ำ�ในระหว่างการขนย้ายขึ้นฝั่งและไม่สามารถงม หาเจอ บางคนก็บอกว่าเมืองไทยอากาศร้อนพ่อ สิงโตอาจอยากไปลงเล่นน้ำ�ก็ได้ เมื่อสิงโตไม่ครบ คู่ สิงโตตัวเมียจึงถูกทิ้งร้างไว้ที่อีกฝั่งโดยหันหน้า เข้าฝั่งพระนคร เรื่องลึกลับก็มีอยู่ว่า!!! วันดีคืนดี สิงโตก็หันหน้ากลับมายัง แม่น้ำ�เจ้าพระยาคล้าย กั บ ว่ า อยากจะตามหาพ่ อ สิ ง ห์ ที่ จ มอยู่ แ ต่ ใ นน้ำ �


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

8

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011 นขอกับเจ้าแม่ เราก็อยากสอบติดด้วยเขาว่า อย่างไรก็ทำ�ตาม ถึงแม้ว่าตอนนั้นจะตอนนี้แอน จะไม่ได้ไปบนขออะไรจากท่านอีก แต่เมื่อมีเวลา ว่างแอนก็จะแวะเอาพวงมาลัยดอกไม้ มากราบ ไหว้สักการะท่านอยู่ เสมอๆ” เรื่ อ งของแม่ สิ ง ห์ ยั ง ไม่ ห มดเท่ า นั้ น แอร์ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ คนหนึ่ง เล่าถึง เรื่ อ งความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ นเรื่ อ งของความรั ก ว่ า “แอร์เคยเห็นเพื่อนมาขอพรกับเจ้าแม่ เรื่อง ความรัก ก็ได้ผลนะ ตอนนั้นเขาบนว่าถ้าได้คน นี้เป็นแฟน เขาจะเอาสิงโตมาถวาย 1 คู่ และ ตอนนี้ เ ขาก็ ค บกั น อยู่ กั บ แฟนคนที่ ข อจากเจ้ า แม่มา ซึ่งเพื่อนแอร์เขานับถือท่านมา ถ้าวันไห นว่างๆ ก็จะชวนแอร์เอาพวกมาลัยมาถวาย ท่าน แต่สำ�หรับแอร์แล้วยังไม่เคยขออะไรท่าน เลย ก็คิดอยู่เหมือนกันวันหลังจะลงมาขอแฟน ใหม่กับท่านบ้าง เพราะแฟนคนนี้เริ่มงี่เง่าแล้ว (หัวเราะ)” แต่บางกระแสก็เล่าขานว่าแม่สิงห์ได้ ส่งผลให้นักศึกษาหญิงของคณะรัฐศาสตร์นั้นไร้ คู่ เหมือนดั่งแม่สิงห์ที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว ซึ่ง ในเรื่องนี้ก็แล้วแต่ความคิดของแต่ละคนว่าจะ เลือกเชื่อด้านไหน น อ ก จ า ก นั้ น แ ล้ ว นั ก ศึ ก ษ า ธรรมศาสตร์บางคนก็เชื่อว่า ช่วงสอบ ถ้าใคร อ่านหนังสือไม่ทัน ให้อธิษฐานขอเจ้าแม่แล้ว ปักธูปไว้ที่หนังสือหน้าใดก็ได้ แล้วหน้านั้นก็จะ ออกสอบ ซึ่งถึงอย่างไรก็ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้ ว่าหนังสือหน้านั้นออกเป็นข้อสอบจริง หรือ ไม่ เรื่องนี้ก็ยังเป็นเพียงเรื่องเล่าขานกันปากต่อ ปากเท่านั้น แต่ไม่ใช่แค่นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ และคณะอื่นในธรรมศาสตร์เท่านั้นที่ศรัทธาใน เจ้าแม่สิงห์โต คนทั่วไปที่มีเรื่องทุกข์ใจก็มักแวะ เวียนมาขอพระจากท่านไม่ขาดสาย สำ�หรับ ของที่ใช้ในการบนกับเข้าแม่สิงโต ส่วนใหญ่จะ เป็น “ลูกแก้ว” เพราะว่ากันว่าท่านชอบเล่นลูก

แก้วมาก แต่ก็ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องเป็นจำ�นวนกี่ลูก นอกจากนั้นก็ยังมีพวกผลไม้และดอกไม้ พวงมาลัย ทั่วไป ซึ่งก็อยู่ที่สะดวกของผู้มาขอมากกว่าว่าจะบน อะไร แต่ถ้าดูจากจำ�นวนของที่นำ�มาถวายให้เจ้าแม่ สิงโต ก็แสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ ความเคารพ และศรัทธาของคนในละแวกนี้ได้เช่นกัน และเนื่องจากศาลสิงห์โตทองนี้ ตั้งอยู่ติดกันริมแม่น้ำ� เจ้าพระยา ทำ�ให้มีบรรยากาศที่เย็นสบายและเงียบ สงบ ถ้าสิงห์แดงคนไหนว่างๆก็อย่าลืมแวะไปที่ศาล สิงโตทองนะครับ ส่วนใครบนบานได้ผลยังไง ก็อย่าลืม แจ้งให้ทราบด้วยนะครับ [อ้างอิง : เนื้อหาส่วนใหญ่นำ�มาจาก “บอกกล่าว เล่าขานตำ�นานแม่สิงห์” : หนังสือรุ่นคณะรัฐศาสตร์ฉบับเก่าๆ ใน ห้อง กน. จ้า]

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

100 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสิงห์แดง 19. Website คณะคือ http://www.polsci.tu.ac.t 20. ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนแรกเป็นสิงห์แดงนั้นคือ คุณ เชาวน์ สายเชื้อ สิงห์แดงรุ่น 1 21. คุณอนันต์ อนันตกูล สิงห์แดงรุ่นที่ 2 อดีตเลขาธิการคณะ รัฐมนตรี และยังเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทยคนแรกของสิงห์ แดงอีกด้วย 22. สิงห์แดงรุ่น 6 เช่น พล.ต.อ. ประทิน สันติประภพ อดีตอธิบดี กรมตำ�รวจที่ไม่ได้เรียนโรงเรียนนายร้อยตำ�รวจ แต่จบจากรั้ว สิงห์แดง 23. สิงห์แดงที่เคยเป็นปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่า พร้อมกันถึง 4 คน คือ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ และปลัดกรุงเทพมหานคร 24. สิงห์แดงที่เคยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คือ รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร และ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 25. สิงห์แดงที่เคยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำ�แหงคือ รศ.สุขุม นวลสกุล 26. สิงห์แดงที่เคยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และประธานที่ประชุม ทปอ.คือ ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์ 27. ปัจจุบัน (2554) คณะรัฐศาสตร์มีศาสตราจารย์ 3 ท่าน คือ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ สาขาการเมืองการปกครอง ศ.ดร.สุร ชัย ศิริไกร สาขาการระหว่างประเทศ และ ศ.สร้อยตระกูล อรรถ มานะ สาขาบริหารรัฐกิจ 28. สิงห์แดงได้เป็นเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เช่น คุณผัน จันทรปาน คุณอภัย จันทนะจุลกะ คุณนพดล เฮงเจริญ 29. สิงห์แดงได้เป็นเลขาธิการสำ�นักงานศาลรัฐธรรมนูญคนแรก ตามรัฐธรรมนูญ 2540 คือ คุณนพดล เฮงเจริญ สิงห์แดงรุ่น 19 30. สิงห์แดงที่เคยเป็นปลัดกระทรวงหลายกระทรวงคือ คุณ อภัย จันทนะจุลกะ สิงห์แดงรุ่น 13 เคยเป็นปลัดกระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม และปลัดกระทรวงแรงงาน (ภายหลังการ เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง) 31. ผู้นำ�นักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 คือ ดร.เสก สรรค์ ประเสริฐกุล สิงห์แดงรุ่น 20 อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ และเคยเป็นอาจารย์สอนสาขาการเมืองการปกครอง 32. สิงห์แดงที่เคยเป็นทั้งรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี และผู้ว่า ราชการจังหวัด เช่น คุณเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช สิงห์แดงรุ่น 18 33. สิงห์แดงรุ่น 18 ได้เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ถึง 2 คน คือ คุณเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช และคุณสุจริต ปัจฉิมนันท์

ก่อนเรียน

9 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

1. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 2. ก่อนหน้านี้แม้จะไม่ได้เป็นคณะอย่างเป็นทางการแต่ ก็มีการ เรียนการสอนในระดับปริญญาโททางรัฐศาสตร์ และทางการทูต และมีเนื้อหาเกี่ยวกับรัฐศาสตร์อยู่ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่ เรียกว่า “ธรรมศาสตร์บัณฑิต” 3. คณบดีคณะรัฐศาสตร์ คนแรก คือ ศาสตร์จารย์ดิเรก ชัยนาม 4. คณบดีคณะรัฐศาสตร์คนปัจจุบันคือ รองศาสตราจารย ดร.ศิริ พร วัชชวัลคุ 5. สัญลักษณ์ประจำ�คณะคือ สิงห์แดง 6. ถึงสัญลักษณ์ประจำ�คณะจะเป็นสิงห์แดง แต่สีประจำ�คณะคือสี ดำ� ซึ่งหมายถึงอำ�นาจ 7. ต้นไม้ประจำ�คณะคือ ต้นจำ�ปี 8. คณะรัฐศาสตร์เคยมีสาขาหนึ่งที่หายไป นั้นคือ รัฐศาสตร์ศึกษา 9. คำ�ขวัญประจำ�คณะคือ สามัคคี ประเพณี เป็นพี่น้อง 10. เพลงประจำ�คณะคือ มาร์ชรัฐศาสตร์ 11. เพลงที่ชาวสิงห์แดงร้องกันได้เกือบทุกคนคือ สิงห์คำ�ราม 12. ปัจจุบันมีการเรียนการสอนตั้งแต่ปริญญาตรีจนถึงปริญญา 13. ระดับปริญญาตรีมีเปิดสอน3สาขาคือ 1.การเมืองการ ปกครอง 2.การระหว่างประเทศ 3.บริหารรัฐกิจ เปิดการสอนที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 14. ระดับปริญญาตรีควบปริญญาโทมีเปิดสอน 1 สาขา คือ สาขาการเมืองและการระหว่างประเทศภาคภาษาอังกฤษ (BMIR) เปิดการสอนที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 15. ระดับปริญญาโท ภาคค่ำ� มีเปิดสอน3 สาขาคือ 1.การเมือง ปกครอง 2.การระหว่างประเทศและการทูต 3.บริหารรัฐกิจ เปิด สอนที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 16. ระดับปริญญาโท ภาคพิเศษ มีเปิดสอน3 สาขาคือ 1.โครงการ ปริญญาโท สำ�หรับนักบริหาร สาขาบริหารจัดการสาธารณะ(EPA) ทำ�การเรียนการสอนที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 2.โครงการปริญญาโท ภาคภาษาอังกฤษ สาขาความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ(MIR) ทำ�การเรียนการสอนที่ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 3.โครงการปริญญาโท สาขาวิชาการ เมืองการปกครอง สำ�หรับนักบริหาร หรือ MPE ทำ�การเรียนการ สอนที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 17. ระดับปริญญาเอก ทำ�การเรียนการสอนที่ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 18. ไม่ว่าจะเรียนที่ศูนย์ไหน ต่างก็เป็นสิงห์แดงเหมือนกัน ทำ� กิจกรรมด้วยกันหมด ไม่แบ่งแยก


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

10

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011 34. ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนแรกคือ คุณจเด็จ อิน สว่าง สิงห์แดงรุ่น 17 35. ปลัดกรุงเทพมหานคร ที่เป็นสิงห์แดงมีหลายท่าน ที่รู้จักกันดีคือ คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน สิงห์แดงรุ่น 16 36. สิงห์แดงเคยมีผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ มากที่สุดถึง 31 คน ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน พ.ศ.2549 37. ปัจจุบัน (2554) มีผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศที่เป็นสิงห์ แดง 20 คน 38. สิงห์แดงที่เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คือ คุณสุรินทร์ พิศสุวรรณ สิงห์แดงรุ่น 20 และเคยเป็นอาจารย์ที่ คณะด้วย 39. ปลัดกระทรวงมหาดไทย คนปัจจุบัน (2554) คือ คุณวิเชียร ชวลิต สิงห์แดง 25 40. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ คนปัจจุบัน (2554) คือ คุณธีร กุล นิยม สิงห์แดง 26 41. สิงห์แดงมีนักฟุตบอลทีมชาติ มากมาย เช่น คุณโชคทวี พรหม รัตน์ สิงห์แดงรุ่น 45 คุณอัมรินทร์ เยาดำ� สิงห์แดงรุ่น 52 และคุณ พิชิตพงษ์ เฉยฉิว สิงห์แดงรุ่น 53 เป็นต้น 42. คุณสุวิมล ภูมิสิงหราช เลขาธิการวุฒิสภา และเลขาธิการสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้หญิงเก่งอีกคนจากรั้วสิงห์แดง 43. คุณระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัด ขอนแก่น ที่หลายคนรู้จักกันดีในฐานะผู้ทำ�หน้าที่จัดระเบียบสังคม ฝ่ายหญิง ก็เป็นศิษย์เก่าสิงห์แดงเช่นกัน 44. มีสิงห์แดงที่เป็นดารามากมาย เช่น พี่จุ๋ย วรัทยา , พี่กวาง กมลชนก 45. คุณชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ และ พี่ติ๊ก ชิโร่ จบปริญญาโทรัฐศาสตร์ มหาบัณฑิต 46. วัชระ สัจจะสารสิน นักเขียนรางวัลซีไรซ์ เจ้าของผลงาน “เรา หลงลืมอะไรบางอย่าง” เป็นศิษย์เก่าสิงห์แดง 47. กลุ่มเชียร์ในอดีตเคยมีสโลแกนหนึ่งว่า “รับเชียร์ทั่วราช อาณาจักร” 48. เซอร์เวย์ เป็นชื่อเรียก กลุ่มบุรุษชุดดำ� ที่ทำ�หน้าที่เตรียมงาน สิงห์แดงสัมพันธ์ หรืองานรับน้องคณะของทุกปี 49. สิงห์แดงสัมพันธ์ เป็นชื่องานรับน้องคณะของพวกเราชาวสิงห์ แดง 50. หากใครไปงานสิงห์แดงสัมพันธ์จะมีการแจกสร้อยสิงห์ เมื่อได้ มาแล้วหลายๆคนจะพยายามทำ�ให้สีลอก เพราะสีข้างในมีความ หมายกับเนื้อคู่ (ใครอยากรู้ถามพี่ๆเอาเอง) 51. สถานที่ที่จัดสิงห์แดงสัมพันธ์ จะพิจารณาขั้นแรกจากจังหวัดที่มี รุ่นพี่เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด 52. วันแรกพบ เป็นวันแรกที่น้องๆปี 1 เข้ามาทำ�ความรู้จักกับพี่ๆ เพื่อนๆที่คณะ โดยปกติ เป็นวันที่ 11 พฤษภาคม 53. Leo Song เป็นวันที่กลุ่มเชียร์สอนน้องๆสิงห์แดงร้องเพลง โดย

ปกติ จะเป็นกลางเดือนพฤษภาคม 54. Leo Night ในอดีตคืองานเลี้ยงอำ�ลารังสิตของน้องๆปี 1 แต่ปัจจุบันเนื่องจากอยู่รังสิตทั้ง 4 ปี งานนี้จึงกลายเป็นงานที่ น้องปี 1 จัดขอบคุณพี่ๆที่ดูแลมาทั้งปีแทน 55. เพลงคณะ ของสิงห์แดงมีมากที่สุดกว่า 40 เพลง 56. กลุ่มเชียร์ เคยชนะเลิศประกวดเชียร์ติดต่อกันถึง 3 ปีซ้อน แม้ว่าบางปีจะไม่ชนะเลิศ หรือไม่ได้รางวัล แต่เชียร์ ก็เป็นที่ หนึ่งในใจของสิงห์แดงเสมอ 57. สิงห์แดงในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 23 โต๊ะ และมีโต๊ะที่จับคู่ กันนั้นคือ ขาวควัน – จำ�ปีเหนือ และ Appeal – สายรุ้ง 58. โต๊ะคณะของรัฐศาสตร์ ตั้งอยู่ใต้ตึกบรรยายรวม 1 ที่ศูนย์ รังสิต 59. ค่ายของคณะรัฐศาสตร์มี 2 ค่าย คือ ค่ายรัฐฯ และค่ายนัก รัฐศาสตร์รุ่นเยาว์ 60. สิงห์คืนถ้ำ� คือ ชื่องานพบปะสังสรรค์ของพวกเราชาวสิงห์ แดง มีพี่ๆรุ่นก่อนๆกลับมากันมากมาย โดยมาแล้วจะจัดขึ้นปี ละ 1 ครั้ง ช่วงกลางเดือนธันวาคม 61. สิงห์แดง-สิงห์ดำ� คือ การแข่งขันกีฬาประเพณีระหว่าง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ้าปีใดที่สถาบันใดเป็นเจ้าภาพ จะใช้ ชื่อสถาบันตนไว้ก่อน 62. สิงห์สัมพันธ์ เป็นชื่องานเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องสิงห์ หลายสถาบันทั่วประเทศ ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 6 สิงห์ คือ สิงห์ดำ� – จุฬาฯ, สิงห์แดง – ธรรมศาสตร์, สิงห์เขียว – เกษตร, สิงห์ขาว – เชียงใหม่, สิงห์เงิน – มศว , สิงห์คราม – บูรพา และ อาจจะมีเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต 63. พี่นิน สิงห์แดง 61 ประธาน กนศ.ร ปัจจุบัน เคยเป็นถึง รองเดือนมหาวิทยาลัยและเดือนงานสิงห์สัมพันธ์ 2552 64. สิงห์แดงเคยเป็นเจ้าภาพงานสิงห์สัมพันธ์ ถึง 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 7 (ล่าสุด 2553) 65. งานสิงห์สัมพันธ์ครั้งที่ 7 ได้ก่อให้เกิดการรวมตัวของ ช่างภาพชาวสิงห์จำ�นวนมาก ภายใต้ชื่อ เครือข่ายช่างภาพ รัฐศาสตร์หรือสิงห์สร้างภาพ 66. บอลชั้นปี เป็นการแข่งขันกีฬาฟุตบอลเชื่อมสัมพันธ์ ระหว่างพี่น้องสิงห์แดงทั้ง 4 ชั้นปี โดยมากจัดขึ้นช่วงเทอม 2 ของทุกปี 67. สิงห์แดง 60 เป็นแชมป์ฟุตบอลชั้นปี มา 2 ปีติดแล้ว 68. งานบายเนียร์ เป็นงานเลี้ยงอำ�ลาของแต่ละโต๊ะให้กับพี่ๆ ปี 4 ที่กำ�ลังจะสำ�เร็จการศึกษาจากรั้วสิงห์แดง โดยมากจะจัด ขึ้นในช่วงเทอม 2 69. ปัจจุบัน กำ�ลังจะมีการจัดละครเวทีของคณะรัฐศาสตร์ขึ้น อีกครั้งหลังจากไม่ได้จัดมานาน ในปีการศึกษา 2554 70. งานเปิดถ้ำ�สิงห์คืองานที่พี่ๆจัดติวให้น้องๆมัธยม ให้รู้เกี่ยว

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

ก่อนเรียน

11 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

กับการสอบเข้าคณะรัฐศาสตร์ จัดขึ้นในช่วงปิดเทอม 1 ของทุกปี 71. งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬา มีชาวสิงห์แดงไปเป็นลีดเดอร์งานบอลกันหลายคนตั้งแต่อดีต เช่น พี่จุ๋ย และที่เพิ่งผ่านมาคือ พี่จีน สิงห์แดง 60 และ พี่จ้า สิงห์แดง 59 72. รัฐศาสตรประกาศเกียรติของคณบดี (Dean’s List) เป็นรางวัลที่ให้แก่นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่น 3 ลำ�ดับแรกของแต่ละสาขา และนักศึกษาที่ทำ�กิจกรรมดีเด่นให้กับคณะ 73. กนศ.ร. คือ คณะกรรมการนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ 74. คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ มีกลุ่มกิจกรรมต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มบาสเกตบอล, กลุ่มฟุตบอล, กลุ่มข้อมูล ข่าวสารและ วารสาร, กลุ่มอเมริกันศึกษา, ค่ายรัฐฯ, ค่ายนักรัฐศาสตร์รุ่นเยาว์, กลุ่มเชียร์, กลุ่มดนตรี, กลุ่ม Singha-Daylight 75. สอบตรง คณะรัฐศาสตร์ เริ่มปีแรกคือ ปี พ.ศ.2543 76. เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จะต้องได้เกรดเฉลี่ยสะสม 3.5 ขึ้นไป และไม่ต่ำ�กว่า C ในทุกรายวิชา มี อาจารย์หลายท่านในคณะที่ทำ�ได้ เช่น ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ รศ.ดร.อัมพร ธำ�รงลักษณ์ รศ.ดร.โสภารัตน์ จารุสมบัติ และ ผศ.ดร.อรทัย ก๊กผล เป็นต้น 77. ศาลเจ้าแม่สิงห์โตทอง หรือแม่สิงห์ ที่เคารพของพี่น้องสิงห์แดง ตั้งอยู่ริมน้ำ�เจ้าพระยา บริเวณโรงอาหาร ตรงข้ามคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แนะนำ�ว่าให้บนด้วยลูกแก้ว ด้วยเหตุนี้บริเวณศาลแม่สิงห์จะมีลูกแก้วเยอะมากมาย 78. บูมรัฐฯ เป็นบูมของคณะรัฐศาสตร์ จะใช้ในกิจกรรมต่างๆของคณะ เช่น งานสิงห์แดงสัมพันธ์ งานกีฬาประเพณีต่างๆ งานประกวด เชียร์ งานรับปริญญา เป็นต้น 79. บูมรัฐฯมี 2 แบบคือบูมยาวใช้กับการประกวด และบูมสั้นใช้กับงานทั่วไป 80. โต๊ะ คือ การแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ โดยกิจกรรมที่สำ�คัญของโต๊ะ เช่น รับน้องโต๊ะ เลี้ยงน้องโต๊ะ รับปริญญา บายเนียร์ เป็นต้น การจัดแบ่งนักศึกษาเป็นโต๊ะต่างๆ เพื่อให้รุ่นพี่สามารถดูแลรุ่นน้องได้อย่างทั่วถึงแต่ไม่ได้จำ�กัดความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องต่างโต๊ะกัน เพราะทุกคนเป็นสิงห์แดง 81. โต๊ะแรกของคณะรัฐศาสตร์คือ โต๊ะแสงจันทร์ หรือกลุ่มแสงจันทร์ 82. Freshy Night คืองานที่พี่ๆตั้งใจจะจัดให้น้องๆปี 1 ในงานจะมีการประกวดดาว เดือน และดาวเทียมอีกด้วย 83. ประกวดโต๊ะ จะเป็นงานที่ให้น้องๆปี 1 ในแต่ละโต๊ะมีกิจกรรมทำ�ร่วมกัน นอกจากนี้จะมีพี่ๆโต๊ะมาคอยให้กำ�ลังใจเป็นอย่างมาก รวม ถึงของกินต่างๆ 84. โดยมากประกวดโต๊ะจะจัดวันเดียวกับ Freshy Night คือ ประกวดโต๊ะตอนบ่ายและ Freshy Night ตอนเย็น 85. ปี 2553 ไม่มีการประกวดโต๊ะ แต่ประกวดผ้าปูโต๊ะแทน เพราะอาคารบรรยายรวม 1 ปิดปรับปรุง 86. บอลเฟรชชี่ เป็นการแข่งขันฟุตบอลรายการแรก ของน้องปี 1 87. กีฬาเฟรชชี่เกม เป็นการแข่งขันกีฬาหลายประเภทของน้องๆปี 1 โดยมีการจับคู่คณะต่างๆเป็นทีมเดียวกัน 88. สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ได้แยกตัวออกไปเป็นสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) 89. บัญชี รัฐศาสตร์ ศิลปศาสตร์ เป็นคณะรวมสาวสวยของธรรมศาสตร์ 90. อาคารเรียนของคณะ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นอาคารร่วมระหว่างคณะรัฐศาสตร์กับคณะนิติศาสตร์และคณะ สังคมสงเคราะห์ 91. ชั้นที่ 8-10 ของตึกคณะรัฐศาสตร์ที่รังสิต เป็นของคณะนิติศาสตร์ เพราะในตอนแรกที่ย้ายมารังสิต คณะเราเลือกตึกช้า อีกทั้ง นิติศาสตร์ยังมีจำ�นวนคนเยอะกว่า 92. ห้องคอมของคณะรัฐศาสตร์ที่รังสิต ไฮโซมาก คิดค่าปริ้นงานใบละ 2 บาทเอง 93. Common Room ของคณะรัฐศาสตร์ที่รังสิต ติดแอร์เย็นฉ่ำ� โซฟาก็นุ่มสบายจึงกลายเป็นที่นอนของใครหลายๆคน และยังมีคนต่าง คณะอยากเข้ามาใช้อีกด้วย 94. ร้านพี่ฝน ตั้งอยู่ชั้น 1 ของตึกคณะรัฐศาสตร์ มีขายหนังสือของคณะ ร้านถ่ายเอกสาร และชีทต่างๆ 95. ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำ�ปี 2549 สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ 96. นักศึกษารัฐศาสตร์ชอบที่จะโทภายในคณะ หรือไม่ก็โทบริหารมนุษย์หรือประวัติศาสตร์หรือการตลาดหรือภาษา 97. แต่ในช่วงท้ายๆ จะกลายเป็นเสรีกันเกือบหมด T^T เพราะปัญหาตารางเรียนชนหรือวิชาไม่เปิดสอน 98. ที่ซ้อมร้องเพลงของกลุ่มเชียร์คือหน้าอนุสาวรีย์ อ.สัญญา จนเกิดคำ�พูด “ร้องเพลงให้ อ.สัญญาฟัง” 99. แหวนรุ่นของคณะเรามีความสามารถพิเศษบางอย่าง เวลาติดต่อราชการบางครั้งจะช่วยให้เจอรุ่นพี่แล้วจะดำ�เนินเรื่องไวยิ่งขึ้น 100. ไม่ว่าคุณจะมาจากไหน ขอให้จำ�ไว้ว่า สิงห์แดงรักกัน และไม่ทิ้งกัน


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน 17 12

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

รอยยิ้มและคราบน้ำ�ตา

ปรัชญา นงนุช คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง

จากนักเรียนโรงเรียนหลวงสวนกุหลาบวิทยาลัยมาสู่การเป็นนักศึกษาคณะ

รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ชีว ิตในมหาวิทยาลัยของพวกเรา ที่ผ ่านช่วงการเป็นน้องคนเล็กที่สุด เป็นชีว ิตที่ต้องปรับตัวเป็นอย่างมากในหลากหลาย เรื่อง เช่น สังคมที่กว้างขึ้น การเรียนในระดับที่สูงขึ้น เพื่อออกมาเป็นพลเมืองที่จะมาทำ� หน้าที่ขับ เคลื่อนรัฐต่อไป ถึงแม้จะมีเรื่องเลวร้ายและเรื่องดีได้ผ ่านเข้ามาในชีว ิตน้อง คนเล็ก แต่ก็มักจะผ่านพ้นไปด้วยดีด้วยกำ�ลังใจและการช่วยเหลือจากเพื่อนที่รักและ รุ่นพี่ที่เคารพ กิจกรรมของมหาวิทยาลัยและคณะหลายๆอย่างทำ�ให้น้องคนเล็กได้ รับประสบการณ์และทำ�ให้แกร่งมากขึ้นที่จะยืนเคียงข้างโดมเพื่อพิท ักษ์ธรรม คณะของ เรามีความอิสรภาพทั้งทางวาจาและพฤติกรรมตราบใดที่ ไม่ไปละเมิดผู้อื่นให้ได้รับความ เสียหาย ทุกคนพร้อมที่จะรับฟังเหตุผลทุกอย่างที่สมเหตุสมผล ดังคำ�ที่ว่า”เสรีภาพ ทุกตารางนิ้ว” คณะสอนให้พวกเรามีท ัศนคติ วิสัยทัศน์ต่างๆที่กว้างไกล มีแนวความ คิดที่ซับซ้อนเพื่อเข้าใจโลกมากขึ้น ไม่ ใช่ ให้โลกมาเข้าใจเรา แล้วเราก็จะอยู่ได้อย่างมี ความสุขเพราะเราเข้าใจว่าทุกคนและทุกสิ่งมีเหตุผลที่แฝงอยู่ภายใน โลกใบนี้ ไม่ได้มี แค่ดำ�-ขาว ดี-เลว การมองสิ่งต่างๆภายในรัฐเราไม่ควรลื่นไหลไปตามการวิเคราะห์ ของรัฐเพราะเราก็จะหลุมพรางที่รัฐขุดไว้ แต่สามารถที่จะเอาแนวความคิดของรัฐมาคิด ต่อเพื่อหากับดักที่รัฐวางไว้ ซึ่งจะทำ�ให้เราสามารถมองปัญหาต่างๆในรัฐได้เป็นอย่าง ดี ไม่มีรัฐใดในโลกที่จะเปิดเผยพลังมลดำ�หรือความผิดพลาดของตนเองให้คนอื่นได้รับ รู้และเปิดเผยในสิ่งที่ตนไม่อยากให้ ใครรู้ได้รับรู้ ถ้ารัฐไม่ปิดบังการอยู่ ในอำ�นาจก็มีการ สั่นสะเทือนจากผู้อยู่ ใต้อำ�นาจ ดังนั้นรัฐจึงต้องเลี้ยงพวกเราให้เชื่อง ซึ่งการจะเป็นนัก รัฐศาสตร์ที่ด ีได้สิ่งเหล่านี้ถือว่าสำ�คัญมาก ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาให้แก่ประชาชนได้ เพราะประชาชนรอพวกเราอยู่ ซึ่งพวกเรามีสถานภาพทางต้นทุนทางสังคมที่สูงในระดับ หนึ่ง สามารถไปท้าทายและต่อรองกับอำ�นาจรัฐได้ เพื่อเป็นแรงกระตุ้น แรงกดดันรัฐ ให้ทำ�งานสนองประชาชนในฐานะผู้แทนจากประชาชน ดังคำ�ที่ว่า ”ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน” ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นกับรัฐที่กำ�ลัง พัฒนาในทั่วโลก เป็นหน้าที่ที่สำ�คัญอย่างมากสำ�หรับปัญญาชนอย่างพวกเรา ดัง

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

คำ�ที่ว่า ”คุณค่าของบัณฑิตไม่ได้อยู่ที่ว่าคุณจะเก่งแค่ไหน แต่อยู่ที่ว่าคุณทำ�ประโยชน์ แก่สังคมมากน้อยเพียงใด” หวังว่าพวกเราคงไม่อยากให้ ใบปริญญาเป็นเพียงกระดาษ น้ำ�หมึกอันไร้ค่า มันจะต้องเป็นกระดาษแผนการที่จะปฏิรูปประเทศไปสู่สิ่งที่ด ีกว่า ณ เวลานี้ กิจกรรมต่างๆก็ต้องนำ�มาควบคู่กับการเรียนเพื่อลงสู่ภาคปฏิบัตินอกห้องเรียน หลังจากเรียนภาคทฤษฎี ในห้องเรียน เพื่อสัมผัสสภาพความเป็นจริง ให้รู้แจ้งถึงปัญหา ซึ่งทำ�ให้เรามีสังคมที่กว้างขึ้น มีการเรียนรู้ท ัศนะคติของผู้อื่นมากขึ้น ไม่ ใช่รู้จ ักกับ แค่ สิ่งที่ช ื่อว่า”หนังสือ” ได้สร้างสัมพันธภาพกับสังคมรอบข้างเพื่อสร้างสีสันให้แก่ช ีว ิตและ สังคม สร้างความสุขทางจิตใจให้กับชีว ิต เพื่อมีแรงที่จะก้าวต่อไปในการสร้างสังคมเพื่อ อนาคตของลูกหลานเรา เป็นการเสียสละที่ทรงพลังและมีคุณค่า จุดนี้เองที่ทำ�ให้มนุษย์ ก้าวไกลไปกว่าสัตว์ประเภทต่างๆ อาจด้วยเพราะเรามีว ิวัฒนาการที่ซับซ้อนและรวดเร็ว และเราก็ ใช้อำ�นาจจากการที่มีพลังเหนือกว่าครอบครองโลก ซึ่งความจริงมนุษย์เราก็มี ค่าไม่ต่างจากปลิง ถ้าไม่ทำ�อะไรเพื่อมนุษย์ด้วยกันและสัตว์ร่วมโลก ซึ่งเป็นหน้าที่ของ ปัญญาชนเพราะเรามีต้นทุนที่สูงเป็นส่วนใหญ่ เรื่องปากท้องของตนเองจึงเป็นประเด็น ที่เราก้าวข้ามไปแล้ว เมื่อเราสิ้นลมหายใจคุณค่าของเราก็จะยังอยู่ ในสังคม เป็นวีรบุรุษ วีรสตรีที่เป็นอมตะอย่างแท้จริง “ขอบคุณที่แห่งนี้ ที่ทำ�ให้พวกเรามีวันนี้ที่สง่างาม”

วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

ก่อนเรียน

13


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

14

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

เดินป่า

By HAO

แสง

แดดอ่อน ๆ ยามเช้าพยายามสาดส่องลงมาผ่านไอหมอกหนาของฤดู หนาว น้ำ�ค้างที่จับอยู่กับยอดหญ้าเริ่มสะท้อนแสงระยิบระยับเต็มท้องทุ่งราวกับมีดาวอยู่บน ผืนดินนั้น ไอหมอกค่อย ๆ จางไป เผยให้เห็นถึงภูเขาสูงใหญ่ท้ายหมู่บ้านลาง ๆ อันเป็น แหล่งต้นน้ำ�ลำ�ธารที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของผู้คนให้ดำ�เนินต่อไป เด็กชายวัยรุ่นคนหนึ่งกำ�ลังเดินดุ่ม ๆ ไปถาม ถนน ของในเป้สีดำ�ที่เขาสะพายไว้บนหลังกระทบกันเสียงดัง ก๊อง ๆ แก๊ง ๆ เขาเดินมาหยุดตรงหัวกระไดบ้านไม้ ใต้ถุน สูง ไอ้กานต์ เสร็จยังมึง” เด็กชายร้องถาม “แม่ ห่อข้าวเสร็จยัง ไอ้โจ้มันมารอแล้วนะแม่” กานต์เร่งแม่ ซึ่งกำ�ลังสาละวนอยู่กับการจัดห่อข้าวให้ลูกชาย “อะนี่” แม่ยื่นห่อข้าวให้กานต์ พร้อมกับสั่ง กำ�ชับทั้งสองคน “ อย่ากลับ เย็นมากนะลูก แล้วไปเดินป่าก็ ระวังงูเงี้ยวเขี้ยวขอไว้บ้าง แถวนั้นได้ข่าวว่ามันมีเยอะ” “คร้าบ..แม่ รู้แล้วน่า แล้วจะระวังนะ” กานต์ พูด พลางวิ่งลงบันไดไป “ไปละครับแม่พิมพ์ ไม่ต้องเป็นห่วงนะครับ” โจ้ พูด “ยังไงก็ระวังตัวกันด้วยนะโจ้” แม่สั่งทิ้งท้าย ด้วยความเป็นห่วงก่อนทั้งสองออกเดินทาง สองหนุ่มจากชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กำ�ลังพากันมุ่งหน้าเข้าไปยังเขาท้ายหมู่บ้าน เพื่อไปเก็บข้อมูล พรรณไม้และระบบนิเวศ มาทำ�รายงานส่งอาจารย์ พวกเขาเดินลัดเลาะไปตามไหล่เขา ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามีคนใช้เส้นทางนี้บ่อย ๆ เนื่องจากมี รอบเป็น ทางยาวเมื่อพวกเขามาถึงจุดที่ทางเดินตัดกับลำ�ห้วย เล็ก ๆ แม้ว่าน้ำ�จะมีไม่มากก็ตาม แต่ก็มีน้ำ�ไหล

ตลอดปี “ไอ้กานต์ กูว่าเราเดินเลาะห้วยขึ้นไป ดีกว่า อาจจะเจออะไรดี ๆ ก็ ได้ เพราะตามทาง เดิน กูว่ามันน่าจะถูกรบกวนไปเยอะแล้ว” โจ้ เสนอ “เออ กูก็ว่าอย่างนั้นแหละ ไปก็ ไป” กานต์ตอบอย่างเห็นด้วย พวกเขาตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทาง เดิน เลาะเลียบขึ้นไปตามลำ�ห้วยนั้น เมื่อเดินมาได้สักระยะหนึ่ง ความอุดม สมบูรณ์ของป่าแหล่งต้นน้ำ�เริ่มปรากฎให้เห็น มี ตาน้ำ�ผุดออกมาจากรูดินเล็ก ๆ มองดูแล้วคล้าย กับน้ำ�ในหม้อเวลาเราต้มด้วยไปอ่อน ๆ มันจะ เดือดอย่างช้า ๆ ค่อย ๆ ผุดขึ้นมา “เฮ้ย ไอ้โจ้ มึงดูตาน้ำ�นี่ ถ่ายรูปไว้ เร็ว เอาไปประกอบรายงาน” กานต์บอกเพื่อน “เออ กูกำ�ลังถ่ายเห็ดนี่อยู่ รอ เดี๋ยว” โจ้บอกเพื่อน ขณะกำ�ลังใช้กล้องจักภาพ กลุ่มเห็ด ดินสีแดง ที่ขึ้นอยู่ข้าง ๆ พุ่มไม้ ซึ่งมัน มีดอกใหญ่กว่าปกติ ตะวันขึ้นสูงเกือบตรงศีรษะ แต่ว่า แสงแดดที่ส่องลงมายังเบื้องล่างของผืนป่าก็ยังมี น้อย เห็นเพียงวับ ๆ แวม ๆ ตามกระแสลมที่ พัดใบไม้ไหวไปเท่านั้น เนื่องจากป่าแห่งนี้มีความ

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

“เฮ้ย ไอ้โจ้ เดินมาดูนี่เร็ว ๆ มีเศษ กระดูกกองอยู่ตรงนี้ มันเป็นอะไรวะ” กานต์ ถาม “ถ้าจำ�ไม่ผ ิดนะ พ่อกูเคยเล่าให้ฟัง ว่า มันน่าจะเป็นเศษกระดูกจากงูเหลือม เวลา มันกินอาหารอิ่มและย่อยหมดแล้ว ก็จะเหลือกระ ดูกบางส่วนที่มันย่อยไม่ได้ มันก็จะเลื้อยขึ้นไปบน ต้นไม้ แล้วห้อยหัวลง คายเอาเศษกระดูกออก มา” โจ้อธิบาย พร้อมกับ เงยหน้าขึ้นดูบนต้นไม้ กานต์เงยหน้าตามบ้าง ทันใดนั้น งูเหลือมตัวใหญ่ที่กำ�ลังรอ

เหยื่อมื้อต่อไปก็หล่นลงมาจากบนต้นมะค่า ลงไป กองอยู่ข้าง ๆ ขาของกานต์ ส่วนโจ้นั้นกระโดด หนีและล้มกลิ้งไปอีก งูเหลือมพันและรัดขากานต์ ไว้แน่น เขาพยายามดิ้นและสลัดให้งูหลุดไป แต่ ยิ่งสลัด งูก็ยิ่งรัดมากขึ้น กานต์ล้มลงไป เขา พยายามอีกครั้ง คราวนี้เขาดิ้นและสลัดอย่งแรง แต่งูก็ยังไม่หลุดมิหนำ�ซ้ำ�ยังพันรัดมาถึงลำ�ตัว และรัดแน่นขึ้นเรื่อย ๆ กานต์พยายามอย่างหนัก กลิ้งไปกลิ้งมาเพื่อให้งูหลุด จนกลิ้งตกเนินไปยัง ร่องห้วย หัวกระแทกกับต้นไม้ข้าง ๆ ห้วยอย่าง แรงจนเขาสะดุ้งตื่นขึ้น หายใจเฮือกใหญ่ และ พยายามมองไปรอบ ๆ ตัว เขาเห็นหมอนข้าง พาดอยู่ตรงขาขวา และรู้ว่าตัวเองกำ�ลังนอนอยู่ ข้าง ๆ เตียง เขาพาตัวอง ขึ้นไปนอนบน เตียงอีกครั้ง พร้อมกับหยิบนาฬิกาขึ้นมาดู แสง ไฟสลัว ส่องให้เห็นเข็มนาฬิกาที่ช ี้บอกเวลาตีสาม กว่า ๆ “ฝัน” เขาคิดในใจ “ โบราณว่าไว้ ถ้าฝันเห็นงูรัด เขาว่าจะเจอเนื้อคู่” เขายิ้มเล็ก ๆ ตรงมุมปาก ก่อนที่จะ หลับไปอีกครั้ง

ก่อนเรียน

15 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

อุดมสมบูรณ์มาก มีต้นไม้ขนาดใหญ่หลายคนโอบ หลายต้น ซึ่งเป็นผลจากการที่ชาวบ้านช่วยกันอนุรักษ์ และดูแลรักษากันเอง เพราะต่างรู้ด ีว่า ผืนป่าแห่งนี้ มีความสำ�คัญกับวิถีช ีว ิตของพวกเขา “กูว่าเราพักก่อนดีกว่า กี่ โมงแล้ววะ กูชักหิวข้าว แล้ว” กานต์บอกเพื่อน พลางสอดส่ายสายตาหาที่ นั่งพัก เที่ยงแล้ว กูก็หิวเหมือนกัน” โจ้บอก “นั่น เห็นแล้ว กูว่าเราไปนั่งใต้ต้น มะม่วงป่าต้นนั้นดีกว่า” กานต์เสนอ “ก็ด ี” โจ้เห็นด้วย ทั้งสองจัดแจงที่นั้งของตัวเองแล้ว ต่างก็ ลงมือแกะห่อข้าวที่แม่ของตนห่อให้มาแบ่งกันกินอย่าง อิ่มหนำ�สำ�ราญ หลังจากกินมื้อเที่ยงกลางป่าเสร็จ แล้ว ก็ ได้เวลาเดินทางต่อ พวกเขาเดินเลาะตามลำ�ห้วยไปได้สักระยะ ลำ�ห้วยก็เริ่มแคบลง แคบลง จนไม่เห็นเป็นลำ�ห้วยแล้ว มีเพียงตาน้ำ� เล็ก ๆ และป่าอันชุ่มชื้นที่พื้นปกคลุม ไปด้วยมอสเท่านั้น “กูว่าเราเดินมาถึงต้นน้ำ�แล้วว่ะ” โจ้บอก “เออ กูก็เพิ่งเคยเห็นนี่แหละ” กานต์ บอกเพื่อน “มึงถ่ายรูปเก็บไว้ร ึยัง” “กำ�ลังถ่ายอยู่เนี่ย” โจ้ตอบเพื่อน “ใช้กู จังเลยนะมึง ยังกะลูกเมียน้อย” แถมด้วยแอบบ่น สั้น ๆ “ปะ ไปต่ออีกนิด” กานต์เสนอ “ยังจะไปต่ออีกเหรอมึง จะสองโมงแล้ว เดี๋ยวก็ถึงบ้านค่ำ�หรอก พ่อแม่จะเป็นห่วงเอา” โจ้ คัดค้าน “ก็ ไปดูอีกนิดหนึ่ง ว่าถัดจากต้นน้ำ�ไป แล้วมันจะมีอะไร” กานต์พยายามโน้มน้าว “เออ ไปก็ ไป แต่เดี๋ยวมึงต้องกลับนะ” โจ้บอก “เออ ๆ” กานต์ตอบ แล้วก็เดินนำ�ขึ้นไป เมื่อเดินมาถึงต้นมะค่าใหญ่ต้นหนึ่ง


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

16

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

เติมหัวใจไปรอบโลก : ติดตามประเด็นน่าสนใจในสาขาการระหว่างประเทศ

มหา อำ�นาจในศตวรรษ ใหม่ : หลังสงครามเย็น ภาวะการ

ขับ เคี่ยวระหว่างโลกเสรีกับโซเวียต ด้วยการสั่งสมยุทโธปกรณ์นิวเคลียร์ และการขยายอิทธิพลในประเทศโลก ที่สามได้สิ้นสุดลงเนื่องจากการล่ม สลายของฝ่ายหลัง ดุลอำ�นาจทาง ทหารได้เทไปยังสหรัฐอเมริกาอย่าง สูงสุด ดังที่ ได้เห็นแสนยานุภาพใน ยุทธการตอบโต้อิรักต่อการบุกคูเวต ในปี 1991. สหรัฐฯยังมีบทบาท สำ � คั ญ ต่ อ โลกร่ ว มสมั ย ทั้ ง ในด้ า น การสร้างระเบียบโลกใหม่ ทั้งใน ด้านความมั่ นคงอย่างสหประชาชาติ ที่มุ่งให้นานาชาติส ามารถยุติความ ขี ด แย้ ง ระหว่ า งกั น โดยไม่ ใช้ กำ � ลั ง หรื อ ทางเศรษฐกิ จ ได้ ให้ มี การตั้ ง องค์กรการค้าโลก อย่างไรก็ด ีด้วย ความเชื่อมั่ นในภาวะความเป็นผู้นำ� โลก สหรัฐเมริกาได้นำ�พันธมิตรเข้า

สู่ส มรภูมิความขัดแย้งอีกหลาย ครั้งโดยเฉพาะสงครามต่อต้าน การก่ อ การร้ า ยหลั ง เหตุ การณ์ 11 กันยายน ปี 2001 อย่างไร ก็ตาม การละเมิดกฏบัตร สหประชาชาติ โ ดยการละเมิ ด อธิปไตยรัฐเป้าหมายทำ�ให้ความ ชอบธรรมทางการเมื อ งของ สหรัฐฯรวมถึงกติกาโลกที่ตั้งขึ้น สั่นคลอนตามไปด้วย นอกจาก

นี้ ว ิ ก ฤติ เ ศรษฐกิ จ ครั้ ง ล่ า สุ ด ที่ เริ่มขึ้นนับ แต่ปี 2008 ประกอบ กับการทุ่มงบประมาณเพื่อ

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

การสงครามยังส่งผลให้สหรัฐฯมีอำ�นาจต่อรองที่ลดลง ขณะ เดียวกันประเทศมหาอำ�นาจทางเศรษฐกิจใหม่ก็กำ�ลังผงาดขึ้น อย่างน่าติดตาม ว่าจะเป็น บราซิล รัสเซีย อินเดีย โดยเฉพาะจีน ความพยายามรักษาบทบาทเดิม ของสหรัฐฯและโลกตะวันตก ทำ�ให้มีความเป็นได้(และกำ�ลังเป็นไป)ที่ความขัดแย้งต่อประเทศ มหาอำ�นาจใหม่สามารถปะทุขึ้นได้ท ั้งระดับทวิภาคี หรือองค์การ ต่างๆซึ่งมีอำ�นาจกำ�หนดวาระทางการเมือง – เศรษฐกิจโลกต่อ ไป

17 การ ปฏิวัติสี่ท ันสมัยในยุคการนำ�ของผู้นำ�รุ่นสอง จีนเร่งอัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจจนกระทั่งมีขนาดเศรษฐกิจ มูลค่าการลงทุนจากต่าง ประเทศ มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ และทุนสำ�รองติดอันดับหนึ่งใน สามของโลก ด้วยอำ�นาจต่อรองที่สูงขึ้นทัดเทียมและท้าทายมหาอำ�นาจ เดิมโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา นำ�ไปสู่ความหวาดระแวงทั้งในด้าน เศรษฐกิจเองและความมั่นคงในภูมิภาค ด้วยสาเหตุดังนี้ - เมื่อเศรษฐกิจขยายตัว ทำ�ให้มีต้นทุนที่จะนำ�มาพัฒนากองทัพและ ยุทโธปกรณ์ ได้มากขึ้น

ก่อนเรียน

วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

ความเปลี่ยนแปลงของจีน สู่สถานะมหาอำ�นาจ :


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

18

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

- มีความจำ�เป็นยิ่งขึ้นที่ต้องหาแหล่งทรัพยากรโดยเฉพาะพลังงานมาร องรับการขยายตัวทางอุตสาหกรรม - อำ�นาจต่อรองทางเศรษฐกิจ ทำ�ให้จีนมีความมั่นใจสูงขึ้นที่จะแสดง บทบาทแข็งกร้าวเพื่อปกป้องเขตอิทธิพล ตลอดจนขยายอำ�นาจต่อไปใน อนาคต ทั้งภายในประเทศและบริบทของภูมิภาค ดังที่ปรากฏในกรณี เช่น การอ้างสิทธิ ในหมู่เกาะแสปรตลีย์ แต่ก็เปิดให้มีความร่วมมือกับ ต่างชาติ ในหลายๆด้านด้วยเช่นกัน ไม่วาสการสนับสนุนการเจรจา 6 ฝ่าย เพื่อยุติปัญหานิวเคลียร์ของเกากลีเหนือ , การสร้างสัมพันธ์ทางทหาร ขยายการลงทุนในภูมิภาคอื่นๆ โดยในส่วนของไทยและอาเซียนเองก็ ได้ ขยายความร่วมมือกับจีนในหลายๆด้าน ไม่ว่าการเปิด FTA ประชุมสุดยอดร่วมกัน ปฏิญญาหุ้นส่วน ทางยุทธศาสตร์ และการพัฒนา ในกรอบ ASEAN+3 ฯลฯ

เ มื่ อ อ า เซี ย น จ ะ เป็ น ประชาคม

: นอกจากจะติดตาม แผนงานของเสาหลักทั้งสามคือ 1. เสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคง ของภูมิภาคอาเซียน เมื่อเป็นประชาคม อาเซียนแล้ว ได้แก่ สนับสนุนส่งเสริม สันติภาพ ความมั่นคง การปกครอง แบบประชาธิปไตย การปกครองแบบ ธรรมาภิบาล การส่งเสริมให้บรรลุ ความเจริญร่วมกันในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ 2. เสาหลักทางด้านเศรษฐกิจ

มี ก ารเน้ น มุ่ ง พั ฒ นาให้ เป็ น ตลาดร่ ว ม และเป็นฐานการผลิตอันเดียวกัน 3.เสา หลักทางสังคมและวัฒนธรรม ของประชาคมอาเซียน มุ่งการสร้าง สั ม พั น ธภาพระหว่ างประชากรของชาติ หนึ่งไปสู่อีกชาติ ภูมิภาค เศรษฐกิจโลก : นับ แต่หลังสงครามโลก ครั้ ง ที่ ส องเศรษฐกิ จ โลกมี ค วามเชื่ อ ม โยงกั น ยิ่ ง ด้ ว ยการขยายตั ว ของระบบ ทุนนิยม จากนโยบายสกัดกั้นการขยาย ตั ว ของลั ท ธิ ค อมมิ ว นิ ส ต์ ส หรั ฐ ฯและ พันธมิตรโลกตะวันตกรวมทั้งญี่ปุ่นผนึก

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

ก่อนเรียน

19 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

กำ�ลังผลักดันวาระดังกล่าวผ่านองค์การอย่าง IMF และธนาคารโลก เพื่อส่งผ่าน ทุนสนับสนุนรัฐบาลของกลุ่มประเทศโลกที่สามเพื่อนำ�ไปสร้างเสถียรภาพจากการ พัฒนาและสกัด กั้นลัทธิคอมมิวนิส ต์ที่อาจงอกงามจากความแร้นแค้นในสังคม ในทศวรรษที่ 1980 กระแสพลิกกลับด้วยนโยบายเสรีนิยมเข้มข้นที่ต้องการลด บทบาทของรัฐบาลเหล่านั้นลงและเพื่อฟื้นฟูประสิทธิภาพการจัดการทรัพ ยากร โดยเอกชน แนวทางดังกล่าวเป็นที่รู้จ ักในนามของฉันทามติวอชิงตัน โดยเมื่อ ประเทศที่มิว ิกฤติเศรษฐกิจต้องเข้าโครงการกู้กองทุนเพื่อปรับโครงสร้างจะถูก บังคับให้ ใช้มาตรการลดบทบาท – อำ�นาจการแทรกแซงเศรษฐกิจในประเทศ ตนเอง นอกจากจะทำ�ให้เกิดผลกระทบภายในประเทศอย่างรุนแรงก็ส่งผลให้มี อำ�นาจต่อรองทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ�ลง บรรดาประเทศโลกที่สามที่อยู่ ในอาณัติ ของโครงการจึงรวมตัวกันกดดันประเทศโลกที่หนึ่งเพื่อระเบียบเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศอันเป็นธรรมได้ยากขึ้น ในต้นทศวรรษที่1990ได้มีการตั้งองค์กรการค้า โลกเพื่อเป็นเวทีเจรจาการค้าแต่จนทุกวันนี้ก็ติดขัดอยู่ที่รอบโดฮา ขณะที่มีการตั้ง วาระสนับสนุนสินค้าส่งออกของประเทศกำ�ลังพัฒนา โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและ สิ่ ง ทอให้ มีโ อกาสมากยิ่ ง ขึ้ น ในเวที การค้าโลก ประเทศมหาอำ�นาจ ยั ง กลั บ หั น ไปมุ่ ง ให้ ค วามสนใจกั บ ประเด็ น การลงทุ น และมาตรการ แข่งขันทางการค้าเป็นหลัก อีก ด้ า นหนึ่ ง การล่ ม สลายของสหภาพ โซเวี ย ตซึ่ ง ทำ � ให้ ภั ย คุ ก คามเรื่ อ ง คอมมิวนิสต์ลดความสำ�คัญลง บรรดาประเทศมหาอำ�นาจที่เคยรวมตัวกัน สนับสนุนระเบียบทางเศรษฐกิจร่วมกันและประสบปัญหาภายในได้หันไปมีน โยบายเป็ น เอกเทศหรื อ ตั้ ง กลุ่ ม ในภู มิ ภาคเพื่ อ สร้ า งอำ � นาจต่ อ รองได้ มากขึ้ น แทน จนถึงทุกวันนี้ยังเห็นความพยายามเจรจาเพื่อเปิดเขตเสรีการค้าทวิภาคี – พหุภาคี ในที่ต่างๆซึ่งตั้งข้อสังเกตได้ว่าประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าจะมี อำ�นาจต่อรองที่สูงกว่าในการเจรจา ดังนั้นการเจรจาการค้าเสรีหลายๆครั้งจึง ไม่อาจปลอดจากวาระทางการเมือง อย่างในเอเชียแปซิฟิคขณะนี้สหรัฐฯกำ�ลังมี


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

20

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

ความพยายามให้เปิดเขตการค้าเสรี Trans-Pacific Partnershipเพื่อไม่ ให้เกิด การรวมกลุ่มของประเทศในเอเชียตะวันออกโดยปราศจากตน ขณะที่จีนกำ�ลังขึ้น สู่สถานะมหาอำ�นาจในภูมิภาค เป็นต้น อีกประการหนึ่งสภาพความเชื่อมโยง ของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายทุนอย่างเสรีของกิจการข้ามชาติขณะที่ นานาประเทศไม่อาจตกลงร่วมกันเพื่อระวังผลกระทบล่วงหน้า ได้แสดงถึงความ เปราะบางที่บังเกิดเป็นวิกฤติเศรษฐกิจหลายครั้งได้เป็นความท้าทายที่ต้องการ การรับมือทั้งความร่วมมือระหว่างชาติและท้องถิ่นต่อไป .

อาวุธนิวเคลียร์

: การครอบ ครองและแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์เพื่อ ความมั่ นคงระดับรัฐถือเป็นมรดกจาก ยุคสงครามเย็นประการหนึ่ง ปัจจุบัน มี ข้ อ ตกลงระหว่ า งประเทศที่ วางกฏ เกณฑ์ควบคุมอยู่หลายฉบับทั้งทวิ – พหุภาคีที่อาจแยกจากกันและมีความ ทับซ้อนกัน ไม่ว่า Strategic Arms Limitation Talks , Nuclear NonProliferation Treaty , Missile Technology Control Regime หรือ Comprehensive Nuclear-TestBan Treaty ฯลฯ โดยปัญหาหลัก ประการหนึ่งที่ทำ�ให้ระบอบกฏเกณฑ์ เหล่านี้ ไม่ประสบผลสำ�เร็จนักคือการ ที่ ป ระเทศมหาอำ � นาจส่ ว นใหญ่ ซึ่ ง มี อาวุธนิวเคลียร์ ไม่ ให้ความร่วมมือหรือ ไม่ยอมเข้าเป็นภาคี ทั้งยังสนับสนุน พั น ธมิ ต รตนเองให้ พ ั ฒ นานิ ว เคลี ยร์

อยู่ ในที การที่ประเทศเหล่านั้นมี อภิสิทธิ์ ในการรักษาสถานะเดิม ที่จะ ครอบครองอาวุธทำ�ให้หลายๆประเทศ ไม่เชื่อถือที่จะเข้าร่วมมือ และแนว โน้ม ที่ ส ามารถใช้ ส ถานะการถื อครอง นิวเคลียร์ ไว้เป็นอำ�นาจต่อรองทางการ เมืองได้ เช่น กรณีของเกาหลีเหนือ อิหร่าน ฯลฯ ซึ่งถูกชี้จากอเมริกา และโลกตะวันตกว่า เป็นรัฐที่ ไม่ย อม

เข้ากับกติกาโลกนัก ทั้งนี้ ในปัจจุบัน การพั ฒ นาอาวุ ธ นิ ว เคลี ย ร์ ส ามารถ เข้าถึงได้ง่ายขึ้น จากเดิมที่ผูกขาดอยู่ กับโครงการพัฒนาของรัฐอเมริกา – ยุโรปตะวันตกเป็นส่วนมาก ก็กระจาย

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

การผลิตชิ้นส่วนหรือปัจจัยไปในกลุ่มบริษัทต่างชาติมากขึ้น

“การก่อการร้าย ” สากล :

ก่อนเรียน

21 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

ลักษณะ – การนิยามว่าด้วยการใช้ความ รุ น แรงเพื่ อ สร้ างความหวาดกลั ว เพื่ อ ผล ทางการเมือง หรือที่ปรากฏในคำ�ว่าการ ก่อการร้ายได้มีขึ้นในหลายยุคสมัย แต่ การก่ อ การร้ า ยสากลอั น เป็ น ที่ เ ป็ น ที่ ศึกษานับ แต่หลังจากเหตุการณ์11กันยา เป็นต้นมานั้น ได้ผนวกเอาความซับซ้อน ของลั ก ษณะเทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ ที่ นำ � มา ประยุกต์ ใช้ต่อการสงครามนอกแบบ การ สร้างเครือข่ายทางสังคมข้ามพรมแดนรัฐ โดยมีมิติของอุดมการณ์ทางศาสนา หรือ ชาติพ ันธุ์นิยมมาเกี่ยวข้อง วาทกรรม ว่ า ด้ ว ยการก่ อ การร้ า ยนำ � มาสู่ ส งคราม ในตะวันออกกลาง ทั้งในอัฟกานิสถาน และอิ รั ก ซึ่ ง ความขั ด แย้ ง ยั ง ดำ � เนิ น มา ถึงปัจจุบัน ขณะเดียวกันขบวนการการ ก่ อ การร้ า ยที่ แ ฝงตั ว อยู่ ในแต่ ล ะพื้ นที่ ก็ ไม่ได้จำ�กัดแนวร่วมเพียงในรัฐที่ถูกเชื่อว่า เป็นเป็นผู้สนับสนุน แต่ยังมีเครือข่าย ทั้งในประเทศมุสลิมอื่นๆ หรือที่เกิดและ เติบโตท้องถิ่นของสหรัฐฯ - ยุโรปเอง ในข้อหลังนี้ การที่มีผู้อพยพชาวมุสลิมย้าย ถิ่นฐานไปในยุโรปและอเมริกาก็ทำ�ให้เกิด กระแสความหวาดระแวงทาง วัฒนธรรม

Islamophobia โดยเชื่อมโยงการ เป็ น มุ ส ลิ ม กั บ ความเป็ น ไปได้ ข อง การก่อการก่อการร้าย ประเด็น ที่น่าสนใจคือว่า การอพยพของชาว ต่างชาติจำ�นวนมากเข้าไปสู่ประเทศ โลกที่ ห นึ่ ง นั้ น เป็ น ผลจากความ ตกต่ำ�ของภาวะครองชีพหรืออย่างไร ความตกต่ำ�นั้นเกี่ยวข้องเป็นส่วนใด ของระบบทุนนิยมโลก แล้วในโลก ปัจจุบันเราจะเผชิญกับความหลาก หลายทางวัฒนธรรม – โลกทรรศน์ ทางการเมือง และเศรษฐกิจอย่างไร ?


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

22

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

ความ(ไม่)มั่นคงข้ามพรมแดน : จากยุคสงครามเย็น

ในภาพรวมแล้ว ที่การศึกษายุทธศาสตร์ – ความมั่นคงให้ความสนใจกับการป้องปรามด้วย นิวเคลียร์ระหว่างโลกเสรีกับโซเวียตหรือการรับมือกับกลุ่มจรยุทธ์ที่ก่อกวนใน แต่ละพื้นที่ อาจกล่าวได้ว่าเป็นแนวคิดทางความมั่นคงซึ่งให้ความสำ�คัญกับการ รักษาเสถียรภาพของรัฐจากภัยคุกคามจากภายนอก อย่างไรก็ตาม เมื่อความ เป็นโลกาภิวัฒน์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นได้ส่งเสริมการขยายตัวของระบบทุนนิยมโลก ทำ�ให้ทุน แรงงาน ทรัพยากร และสารสนเทศไหลเวียนระหว่างรัฐในบริบทที่เกิน การควบคุมดูแลของรัฐใดรัฐหนึ่ง ปรากฏการณ์ความไม่มั่นคงในแต่ละพื้นที่จึง อาจไม่ได้เกิดจากปัจจัยในจุดนั้นแต่อย่างเดียวหากแต่สามารถเชื่อมโยงได้อย่าง กว้างขวาง จากการเรียบเรียงของ UNDP ในปี 1994 ได้มีการบัญญัติกรอบความ คิดว่าด้วยความมั่นคงใหม่ขึ้นโดยให้ความคุ้มครองแก่มนุษย์ จำ�แนกขอบเขตได้ 7ประการคือ เศรษฐกิจ อาหาร สุขภาพ สิ่งแวดล้อม บุคคล ชุมชน และการเมือง ทั้งหมดเป็นประเด็นที่ต้องการความร่วมมือข้ามพรมแดน โดยอาจจะเป็นระหว่าง รัฐ องค์การ หรือประชาสังคมก็ตามที ความท้าทายอย่างหนึ่งของประเด็นนี้คือ เมื่อเกิดภัยพิบัติ ความรุนแรง หรือวิกฤติทางเศรษฐกิจ/การเมืองใดๆ การนิยาม ความมั่ น คงว่า เป็นของรัฐที่มีพรมแดนคงที่หรือเป็นของมนุษย์ที่ต้องได้รับการ ปกป้องนั้น เป็น จุดเริ่มที่จะกำ�หนดนโยบาย – การรับมือต่อสถานการณ์ที่มจี ุด เน้นต่างกันแทบจะโดยสิ้นเชิง

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

เล่าประสบการณ์

By พี่เก๋

ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีกับน้องๆสิงห์แดง 63 ทุกคน ที่สามารถ

ก่อนเรียน

23 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

ฝ่าฟันเข้ามาเรียนในคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เป็นผลสำ�เร็จนะ ค่ะ ฉบับนี้พ ี่ก็จะมาขอเม้าร์ประสบการณ์ ในรั้วธรรมศาสตร์แห่งนี้ ให้น้องๆฟังล่ะ กันเนอะ อย่าถามหาสาระนะเพราะมันจะไม่มี !! 55+ เอาล่ะเมื่อเข้ามาคณะนี้ วัน แรกที่เค้านัดน้องๆมาก็คือวันแรกพบ ได้มากันรึเปล่า พี่จำ�ได้ว่าหลักๆก็คือจับโต๊ะ อารมณ์มันเหมือนจับฉลากเข้าม.1 เลยอ่ะพี่ว่าตื่นเต้นมากกวันนั้น ไม่รู้จะมีน้องๆ คิดเหมือนพี่ร ึเปล่านะ^^ เสร็จแล้วก็จะมีพ ี่กลุ่มหนึ่งมาบอกว่าเป็นพี่ โต๊ะเรา...แล้ว ก็บอกจะพาเราไปกินข้าวโต๊ะ เอ้าไปก็ ไป พี่ โต๊ะก็ ไม่รู้จ ัก เพื่อนที่จ ับโต๊ะเข้ามาก็ ไม่รู้จ ัก ทุกคนก็พยายามยิ้มให้กันมากที่สุด ด้วยหวังว่าจะได้”เพื่อนสำ�เร็จรูป”ที่ คณะจัดให้ ไม่ผ ิดหวังๆเพราะพี่ ได้เพื่อนสำ�เร็จรูปติดมือมาเยอะเลย ด้วยความ ที่ยังใหม่พ ี่ๆถามอิ่มไหมค่ะ?? ก็ตอบไปอย่างมีมารยาทว่า อ่ออิ่มแล้วค่ะพี่ แต่ หลังๆประโยคนี้จะเริ่มเงียบๆไปแล้วจะมีแต่ประโยคที่ว่า “พี่...ยังไม่อิ่มเลย” “ขอเมนูหน่อยพี่ สั่งเพิ่มนะ” เพราะฉะนั้นขอแนะนำ�ว่าน้องควรกินให้เยอะตั้งแต่ มื้อแรกพบ พี่ๆจะได้มาไม่มาค่อนขอดเราว่ากินล้างกินผลาญนะ แซวๆนะค่ะพี่ โต๊ะ หลังจากนั้นก็จะมีกิจกรรมจิปาถะมากมายที่คณะให้น้องเข้าร่วมและหนึ่ง ในนั้นก็จะมีรับน้องโต๊ะ อันนี้ ไม่ขอเม้าร์เพราะแต่ละโต๊ะมีสไตล์ ไม่เหมือนกัน แต่ คงไปลองด้วยตัวเองแล้วมาเม้าร์ๆกับ เพื่อนดูเดี๋ยวไม่ตื่นเต้น...รับรองว่าเด็ด >< ต่อมาเป็นกิจกรรมรับน้องคณะที่เรียกว่า “สิงห์แดงสัมพันธ์” ตอนปีพ ี่เข้ามันจัด หลังเปิดเทอม 1 อาทิตย์ แต่ปีที่แล้วกับปีนี้รู้สึกจะจัดก่อนเปิดเทอมนะ ฮั่นแน่ๆ อยากรู้ละสิเราไม่บอกหรอกก อยากให้ไปสัมผัสด้วยตัวเองนะจ๊ะสิงห์แดงตัวน้อย ในที่สุดก็เปิดเทอมสักทีหลังจากมีกิจกรรมนู้นนี่นั้นมากมายเหลือเกิน ด้วยความที่ เห่อ วันแรกพี่ ใส่ช ุดนักศึกษาเต็มยศเลย มีรุ่นพี่แนะนำ�พี่ก่อนเข้าเรียนเหมือนกัน


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

24

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

นะว่า ชุดนักศึกษาอ่ะไม่ต้องซื้อเยอะก็ ได้ไม่ได้ ใส่หรอก มีแค่2 ชุดก็พอไว้ ใส่ตอน สอบ พี่ก็เถียงในใจจะบ้าเหรอ...อุตสาห์สอบติดยากนะเฟ้ย ว่าแล้วก็ซื้อจัดเต็มเลย ค่ะ เสื้อ 5 ตัว กระโปรง 5 ตัว ลองแล้วลองอีกว่าใส่แล้วเป็นยังไงน๊า หมุนอยู่นั้น แหละ55 เดินโชว์รอบบ้านและตั้งปณิธานไว้ว่าจะใส่ช ุดนักศึกษาไปเรียนทุกวัน !! อาทิตย์แรกก็ยังมีคนใส่ช ุดนักศึกษาเยอะอยู่ อาทิตย์ต่อมาก็เริ่มลดลง และลด ลงอีกเรื่อยๆ ปัจจุบันนี้ก็ ใส่เฉพาะตอนสอบจริงๆด้วยความที่มหาวิทยาลัยเราใส่ ชุดอะไรก็ ได้ ใช่ไหมอ่ะ แล้วเด็กก็อยู่หอด้วยแบบตื่นสายเดี๋ยวไปเรียนไม่ท ันอารมณ์ รีดชุดนักศึกษาก็น้อยลง ปัจจัยหลายๆอย่างทำ�ให้ข ี้เกียจมากขึ้นใส่ช ุดไปรเวทแล้ว มันสบายกว่าสวยกว่าอะไรอย่างงี้อ่ะ มันเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น แต่ถ้าให้พ ี่แนะนำ� นะ เวลาที่เราใส่ช ุดนักศึกษามีแค่ 4 ปีเอง น้องเรียนจบไปแล้วจะไปใส่มันก็ ไม่ได้ แล้วช่ายป่ะ มันดูเรียบร้อยและมีเกียรติมากกว่าแล้วที่สำ�คัญพี่ภูมิ ใจกับธรรมจัก รน้อยๆบนอกเสื้อมากๆด้วย ก็ขยันรีดขยันใส่กันหน่อยเนอะ แรกๆที่พ ี่เข้ามาจะ ได้ยินวลีนี้เสมอเลย “ธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว” แล้วคนก็ชอบอ้างวลี นี้กับการแต่งกายซึ่งพี่ว่าประวัติของวลีนี้น่าจะเป็นเสรีภาพในทางความคิดมากกว่า นะ แต่เอาเถอะจะใส่ช ุดอะไรก็แล้วแต่เอาให้เหมาะสมล่ะกันนะ ให้เกียรติตัวเองให้ เกียรติสถาบันให้สมกับที่คนภายนอกมองว่าเราเป็นปัญญาชนนะค่ะ บรรยากาศในการเรียนในความรู้สึกพี่ช่วงปี 1 มันเหมือนเราเรียนพิเศษ ตอนม.ปลายเลยอ่ะ คือยังไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์มากเท่าไหร่เรียนเลิก แล้วไปกับกลุ่มใครกลุ่มมัน หลังเลิกเรียนที่ที่ฮิตไปกันมากๆเลยคือ”ปาร์ค” ตอน แรกที่ ได้ยินเพื่อนชวนไปกินข้าวปาร์คกัน พี่ก็ถาม...ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิตเหรอ โชว์ ความโง่ไปเต็มๆเลย เพราะนั่นหมายถึงร้านอาหารหลังหออินเตอร์ปาร์คนะจ๊ะ คราวหลังมีคนชวนไปปาร์คเนี่ยอย่าหน้าแตกเหมือนพี่ ^^ ที่นั้นของกินเยอะสุด แล้วในมหา’ลัย กินข้าวร้องเกะ กันไปเรื่อยใช้ช ีว ิตปีหนึ่งให้คุ้มค่าสนุกสุดแล้วรับ ประกัน นอกจากนั้นในมหาวิทยาลัยเรายังมีตลาดนัดค่ะ มีทุกเย็นวันจันทร์กับ พฤหัสฯที่อินเตอร์ โซน ตลาดนัดของเราเป็นที่เลื่องชื่อมากเคยและออกทีวีด้วย นะ เด็กมหาวิทยาลัยอื่นยังมาเดินกันเยอะ ขอเม้าร์ว่าอาหารการกินและอาหารตา เพียบ พี่ก็ ไปเดินดูของบ้างดูคนบ้างก็สนุกไปอีกแบบดีค่ะ น้องจะเจอคนหน้าตา

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

 ก่อนเรียน

25 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

ดีอย่างไม่น่าเชื่อว่ามหาวิทยาลัยเราจะมีคนหน้าตาดีๆแบบนี้อยู่ด้วย โฮ๊ะๆ เด็ด จริงๆรับรอง (แต่ต้องเลือกช่วงเวลาดีๆนะจ๊ะ) เรียนไปเรื่อยๆก็จะมีกิจกรรมให้ทำ�อีกเยอะแยะไม่ว่าจะเป็น การระบาย สีโต๊ะ อันนี้พ ี่จำ�ได้ว่ามีแอบขโมยสีบ้างพู่กันบ้าง สนุกสนานมากแต่มันเป็นแบบ เบาๆไม่ได้จริงจังอะไรมากมายเห็นตั้งอยู่ก็หยิบมาใช้เท่านั้นเอง 55แต่ ใช้เสร็จก็เอา ไปคืนกันนะ ทุกโต๊ะหยิบมั่วไปหมดแต่ก็แบ่งกันใช้ไป ระบายไป 2 นาที เดินไป เม้าร์กับโต๊ะข้างๆ 10 นาที กลับไประบายอีก 3 นาที หิวแร๊ะเดินไปซื้อยำ�มาม่าท่า รถตู้กิน กินเสร็จเม้าร์ต่ออีก 20 นาทีเป็นอะไรที่สนุกมากก อย่างงี้กว่าจะระบาย สีโต๊ะเสร็จก็เป็นอาทิตย์เลยแต่พี่ว่าเป็นโอกาสดีนะเราได้สนิทกับ เพื่อนโต๊ะอื่นก็ ตอนนี้แหละ ทำ�กิจกรรมเยอะๆหาเพื่อนเยอะๆรับรองชีว ิตน้องไม่มีเหงาแน่ไม่งั้น เดี๋ยวเป็น home sick น๊า อยากฝากข้อคิดให้น้องๆนะ เมื่อพูดถึงว่า “ฉันรักธรรมศาสตร์เพราะ ธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน” พี่เชื่อว่าเด็กธรรมศาสตร์ยังศรัทธากับวลี นี้อยู่ แม้จะมีคนภายนอกมองว่าธรรมศาสตร์ยุคนี้เป็น”ยุคกินบุญเก่า”(รู้สึกแรง จังเลยกับประโยคนี้)TT แต่ส่วนตัวพี่อยากให้น้องๆระลึกไว้เสมอนะค่ะ ว่าตราบ ใดที่น้องๆยังทำ�ตัวมีคุณค่าทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น เมื่อนั้นจิตวิญญาณความเป็น ธรรมศาสตร์ ได้เกิดขึ้นกับน้องๆแล้วและมันจะคงอยู่กับน้องตลอดไป ฉะนั้นไย เราต้องกลัวเกรงกับคำ�ติฉินนินทา เราเป็นอย่างไรคนที่รู้ด ีที่สุดคือตัวเราเอง สิ่ง ที่สังคมคาดหวังดั่งเช่นในอดีต มันย่อมต้องแปรเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัยที่ เปลี่ยนแปลง แต่ไม่ว่าจะยุคใดสมัยใดพี่เชื่อว่าธรรมศาสตร์ก็ยังสอนให้เรารัก ประชาชนอยู่ด ี “เริ่มต้นทำ�สิ่งดีจากสังคมใกล้ตัวเป็นจุดเริ่มต้นของจิตวิญญาณ ความเป็น ”ธรรมศาสตร์” นะค่ะ


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

26

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

ประวัติโต๊ะคณะรัฐศาสตร์

โต๊ะ

คือ การแบ่งกลุ่มนักศึกษาในคณะออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ นักศึกษาในโต๊ะได้ทำ�กิจกรรมต่างๆร่วมกัน และสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน ใหม่ๆ เช่น รับน้องโต๊ะ เลี้ยงโต๊ะ ทาสีโต๊ะ บายเนียร์โต๊ะ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ก็มิได้ จำ�กัดมิตรภาพระหว่างโต๊ะ เพราะยังไงทุกคนก็เป็นสิงห์แดงเหมือนกัน 1. ขาวควัน +++ เดิมๆเป็นที่ที่รุ่นพี่สิงห์อมควันมารวมตัวกัน เนื่องจากถูก กีดกันจากสังคม สิ่งที่สูบก็มีตั้งแต่ “กรองทิพย์” ไปจนถึง “เนื้อ” นั่นเอง เวลาไป รวมๆกันจะเห็นควันขาวๆเลยเรียกว่า “ขาวควัน” ภายหลังกลายเป็นโต๊ะแฝด ไปเพราะไปจับคู่กับจำ�ปีเหนือ กลายเป็น ขาวควัน-จำ�ปีเหนือ เพราะมีคนใน สองโต๊ะนี้ปิ๊งกัน (ปัจจุบันคนในโต๊ะยังพยายามรักษาธรรมเนียมนี้อย่างเหนียว แน่น) กลายเป็นขาวควันจำ�ปีเหนือ 2. จำ�ปี +++ นั่งอยู่ใต้โต๊ะจำ�ปีเลยเอาชื่อมาตั้งเป็นชื่อโต๊ะ 3. จำ�ปีเหนือ +++ ตอนแรกต้นจำ�ปีที่คณะมีต้นเดียว แล้วมี 3 โต๊ะอยู่แถวนั้น เลยจับสลากแย่งกัน สรุปว่า แพ้... โต๊ะที่ชนะได้ชื่อ “จำ�ปี” ไป ส่วนโต๊ะนี้อยู่ทิศ เหนือเลยเรียก “จำ�ปีเหนือ” นั่นเอง ปัจจุบันเป็นโต๊ะแฝดคู่กับขาวควัน 4. เจ้าจำ�ปี +++ ก็คนมันเยอะแยะเลยแบ่งออกเป็นเจ้าจำ�ปีกะจำ�ปี 5. โซดาสิงห์ +++ เป็นโต๊ะที่กินเหล้าเก่ง แน่นอนมีเหล้าก็ต้องมีโซดาค 6. ถ้ำ�สิงห์ +++ ในสมัยก่อนตอนที่โต๊ะอยู่ที่ท่าพระจันทร์นั้น ที่ตั้งของโต๊ะถ้ำ� สิงห์จะอยู่บริเวณใต้บันไดของตึกคณะ (บริเวณร้านถ่ายเอกสารในปัจจุบัน) ซึ่ง บริเวณนั้นจะมืดๆหน่อยจึงตั้งชื่อโต๊ะว่า “ถ้ำ�สิงห์” 7. ภราดร +++ แปลว่าพี่น้องเลยเอามาตั้งเป็นชื่อโต๊ะ 8. มาสิค่ะ +++ เดิมมีชื่อว่ามาสิครับเป็นโต๊ะชายล้วน ในเวลาต่อมาสมาชิกใน โต๊ะอยากมีสมาชิกเป็นผู้หญิงบ้างจึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “มาสิค่ะ” 9. มุมตึก +++ ที่ตั้งเดิมของโต๊ะนี้อยู่ในบริเวณมุมตึก 10. เมษา +++ โต๊ะนี้จะมีนักบอลอยู่ในโต๊ะทุกปี และมักจะจับกลุ่มคุยกัน(เรียน) ช่วงซัมเมอร์เป็นโต๊ะที่หลายคนยกย่องว่ากินเหล้าดุและแข็งมากๆ 11. แมงโม้ +++ ตอนแรกชื่อ ถังขยะสีรุ้ง ต่อมาเปลี่ยนเป็น เบียร์สิงห์ แต่ต่อ มาอีกก็เห็นว่าดูเป็นอบายมุขเลยเปลี่ยนมาเป็น “แมงโม้”

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

ก่อนเรียน

27 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

12. ริมเสาไฟ +++ ที่ตั้งเดิมของโต๊ะนี้อยู่บริเวณริมเสาไฟ 13. สามปาล์ม +++ โต๊ะที่อายุน้อยที่สุดในบรรดา 23 โต๊ะของคณะรัฐศาสตร์ สมัยก่อนโต๊ะนี้จะตั้งอยู่บริเวณที่มีต้นปาล์มสามต้นนั่นเอง 14. สายรุ้ง +++ เดิมมีสมาชิก 7 คน จึงเปรียบเหมือนรุ้ง 7 สี เมื่อเอาทุกสีมา รวมกันจะได้สีขาวบริสุทธิ์ ภายหลังโต๊ะหาย จึงไปจับคู่กับโต๊ะ Appeal กลาย เป็น Appeal-สายรุ้ง 15. แสงจันทร์ +++ เดิมโต๊ะนี้อยู่ใต้ต้นแสงจันทร์ เขาว่ากันว่าโต๊ะนี้เป็นโต๊ะที่ เก่าแก่ที่สุดโต๊ะหนึ่งในคณะ ในสมัยก่อนขึ้นชื่อเรื่องสุราและบุหรี่เป็นอย่างยิ่ง 16. แสงจันทร์ล่าง +++ เนื่องจากบางคนในโต๊ะแสงจันทร์ทนกลิ่นบุหรี่ไม่ ไหวและออกจะเป็นเด็กเรียนซะงั้น ดังนั้นจึงแยกออกมาตั้งโต๊ะอยู่ข้างล่าง แสงจันทร์ จึงมานามว่า “แสงจันทร์ล่าง” นั่นเอง 17. สิงห์โต๊ะเล็ก +++ คำ�ว่า “โต๊ะเล็ก” นี้มาจากโต๊ะสนุกเกอร์นั้นเอง 18. สิงห์สนุก +++ ที่ได้ชื่อนี้ก็เป็นเพราะว่ารวบรวมบรรดาสมาชิกที่แสนจะมี แต่ความสนุกสนาน มีแต่รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ สมาชิกโต๊ะฝากกระซิบมา ว่า โต๊ะนี้มีแต่คนหน้าตาดี เอกลักษณ์ที่พิเศษของโต๊ะนี้ ก็คือ สิงห์เกาพุง 19. Appeal +++ เป็นโต๊ะคู่แฝดกับสายรุ้ง เนื่องจากโต๊ะสายรุ้งโดนขโมย Appeal ใจดีเลยให้มานั่งด้วย 20. Youngman +++ ในอดีตเป็นโต๊ะของสาวสวยไฮโซ (แล้วปัจจุบันละ...ก็ยัง สวยอยู่) ชื่อโต๊ะเอามาจากเพลง YMCA 21. OH-HO-HE +++ ชื่อนี้น้องๆเพิ่งมาเรียกกันเองทีหลัง เดิมทีมีพี่กน.ที่สนิท กันรวมตัวเหนียวแน่นทำ�งานช่วงยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน แต่ตอนนั้นยังไม่มี การเรียกชื่อโต๊ะ 22. Paradise +++ ก็โต๊ะนี้เปรียบเหมือนสวรรค์ไง 23. Unity +++ โต๊ะนี้เขาเป็นหนึ่งเดียวกัน


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

28

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

แนะนำ�กลุ่มกิจกรรมนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ กลุ่มเชียร์คณะรัฐศาสตร์ “เชียร์” คือที่พี่และน้อง มา ร่วมร้องเพลงขับขานสืบสาน เพลงตำ�นาน จิตวิญญาณชาว สิงห์แดง“เชียร์” คือแหล่งพิง พัก ร่วมพำ�นักยามอ่อนแรง มิตรภาพมิเหือดแห้ง เราสิงห์ แดงร่วมก้าวไป ขอต้อนรับน้องๆเข้าสู่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันสง่า งามแห่งนี้ พี่ๆเชื่อว่า กว่าจะได้มาเป็นลูกแม่ โดมน้องจะต้องฟันฝ่าความลำ�บากมา มากมายนัก แต่น้องจะเข้ามาเรียนเพียงอย่างเดียวหรือ ? เช้าตื่นมา ไปเรียน เสร็จ แล้วกินข้าว แล้วกลับหอ ตกเย็นเดินตลาดนัด... หาไรกิน นอน... ทำ�ยังงี้ทุกวัน ครบสี่ปีหรอ ? กิจกรรมมีมากมายรอน้องอยู่ เชียร์ ก็เป็นกลุ่มหนึ่งในนั้น เราไม่ ใช่แค่มา ร้องเพลงประสานเสียงแล้วขึ้นประกวด แต่เราเข้ามาทำ�กิจกรรม “ทั้งหมด” ใน คณะ มาสนุกสนานกัน และมีความสุขไปกับชีว ิต สิงห์แดง คุณหาได้ไหม กับกลุ่มกิจกรรมทุกกลุ่มในคณะที่ ไม่มีเชียร์อยู่เลยสักคนเดียว... เชียร์อยู่ทุกที่ หากคุณเข้ามาแล้วต้องการสนุกสนานไม่ ใช่แค่มาเอาปริญญา เข้ามา หาพวกเรา

 ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

คณะกรรมการนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ หรือ กนศ.ร. หรือที่เรียกกัน สั้นๆ ว่า “กอนอ” มีหน้าที่หลักในการติด ต่อประสานงานและทำ�งานควบคู่กับฝ่าย กิจการนักศึกษา กลุ่มกิจกรรม แกนทุกชั้นปี และทำ�งานร่วมกับส่วน ต่างๆทั้งภายในและภายนอกคณะ อีกทั้งเป็นผู้ดำ�เนินการจัดกิจกรรม หลักที่เกี่ยวข้องของคณะ แต่ถึงอย่างไร กนศ.ร.ก็มีสถานะเป็นเพียง “ตัวประสาน” มากกว่า “ผู้บริหาร” งานทั้งหมดของคณะ ดังนั้นจึง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การทำ�งานที่จะสำ�เร็จลุล่วงได้นั้น นอกจากการทำ�งานที่ มีประสิทธิภาพของคณะกรรมการนักศึกษาแล้วนั้น ยังคงต้องอาศัยการ ประสานความร่วมมือของกลุ่ม แกน และพี่น้องสิงห์แดงทุกคน รวมทั้ง เจ้าหน้าที่ บุคลากรต่างๆของคณะ รวมถึงบุคคลภายนอกอื่นๆอีกด้วย และในปีนี้เป็นปีแรกที่ กนศ.ร ได้เล็งเห็นว่า ภาระงานที่ผ ่านมา รวมทั้งในอนาคตนั้น คณะกรรมการเพียง 15 คนนั้นไม่เพียงพอต่อการ ทำ�งานที่มีประสิทธิภาพได้ อีกทั้งในปีการศึกษานี้สิงห์แดงยังต้องรับ หน้าที่เป็นเจ้าภาพงาน กีฬาประเพณีสิงห์แดง - สิงห์ดำ� ครั้งที่ 43 และ งานสิงห์สัมพันธ์ ครั้งที่ 7 จึงเป็นนโยบายสำ�คัญของ กนศ.ร.ชุดนี้ ในการ รับคนทำ�งานเพิ่มขึ้น จนในขณะนี้มีคณะกรรมการกว่า 40 คน เพิ่มเติม ในฝ่ายที่จำ�เป็นต่างๆ และจากการที่มจี ำ�นวนคนทำ�งานเพิ่มขึ้น ดังนั้น กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ อาทิ กิจกรรมบำ�เพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม และ กิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จะถูกเพิ่มเข้ามาหรือสอดแทรกให้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในคณะด้วยเช่นกัน

วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

ก่อนเรียน

29


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

ซึ่งสิ่งที่สำ�คัญที่สุด ที่พวกเราคาดหวัง คือพี่น้องสิงห์แดงทุกคน รวมถึง สิงห์แดง 63 ที่กำ�ลังก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะ และสอดคล้องกับนโยบาย หรือความคาดหวังของ “โบ้” ประธาน กนศ.ร.ในปีนี้ ที่มุ่งหวังอยากให้น้องๆ สิงห์ แดง 63 ได้เป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ความเป็นสิงห์แดงให้คงอยู่ ต่อไป เพราะถึงแม้คณะกรรมการ รวมทั้งกลุ่มต่างๆในคณะจะทำ�งานได้ด ีเพียง ใด หากไม่ได้รับความร่วมมือ รวมถึงการให้ความสนใจในการร่วมกิจกรรมต่างๆ จากน้องๆแล้วนั้น ความสำ�คัญที่ซ่อนอยู่ ในคำ�ขวัญคณะ “สามัคคี ประเพณี เป็น พี่น้อง” ก็คงจะไม่สามารถเป็นจริงได้อย่างแน่นอน

คณะกรรมการนักศึกษาคณะรัฐศาสตร 

30

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

ค่ายนักรัฐศาสตร์รุ่นเยาว์ : YPSC ใครไม่อ่านหน้านี้ เป็นหมัน !!!!

ก่อนเรียน

31 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

สวัสดีน้องๆทุกคนนะคร้าบ..ยินดี ต้อนรับ เป็นอย่างยิ่งสู่ครอบครัว สิงห์แดงนะจ้า สำ�หรับโครงการ ค่ายนักรัฐศาสตร์รุ่นเยาว์ ก็เป็น อีกกลุ่มกิจกรรมหนึ่งที่หวังจะจุด ประกายน้องๆมัธยมปลาย จาก ทั่วทั้งประเทศ ให้รู้จ ักว่าคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั้น เป็น อย่างไร ชีว ิตการเรียน การใช้ช ีว ิตอยู่ ในคณะเป็นยังไง และมีการให้ความรู้ด้าน รัฐศาสตร์กับน้องๆม.ปลายมากมาย แต่ที่สำ�คัญเราเน้นให้เขามามีความสุขกับ พวกเรา น้องๆคงจะเห็นแล้วว่า วันแรกพบนี้กลุ่มคนที่กรี๊ดกร๊าดเฮฮา สันทนาการ อย่างหมดเปลือก อยู่หน้าห้องนั้นก็คือคนจากค่ายเรานั่นเอง ดังนั้นน้องที่มาเข้า ร่วมโครงการก็จะได้รับความสนุกสนานกลับไปคู่ความรู้ด้วย ซึ่งพี่เชื่อว่าน้องๆสิงห์ แดง63 หลายๆคน ต้องเคยเข้าค่ายนี้มาแล้วด้วยอย่างแน่นอน ซึ่งเราจะคัดเลือกเด็ก ม.ปลาย เพียง 60 คนทั่วประเทศมาเข้าค่ายกับ เรา ใช้ช ีว ิต กินอยู่ หลับนอนร่วมกัน (เย้ย!) เป็นเวลา 3คืน4วัน โดยจัดกิจกรรมทั้งที่ ท่าพระจันทร์ และรังสิต โดยปีนี้เราจัดเป็นครั้งที่ 4 แล้ว ขอรับประกันว่าจะต้อง สนุก มันส์ และสุดยอดกว่า 3 ครั้งที่ผ ่านมาอย่างแน่นอน ดังนั้น พี่จึงขอเชิญน้องๆ สิงห์แดง 63 ทุกคนมาร่วมทำ�ค่ายกับ เราในครั้งนี้ โดยเรามี 5 ฝ่ายให้น้องเลือกทำ� ฝ่ายพี่เลี้ยง : ทุกคนจะได้ ใกล้ชิดกับน้องๆ ดูแลน้องๆเขาอย่างใกล้ชิด (วี๊ดวิ๊ว~) ซึ่งฝ่ายนี้ จะใกล้ชิดกับน้องมากที่สุด ดังนั้นเมื่อจบค่าย น้ำ�ตาแห่งความผูกพันก็มักจะไหลเอ่อออกมา


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

32

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

อยู่เสมอๆ น้องจะต้องรับพี่เลี้ยงมากมายแน่นอน ฝ่ายกิจกรรม : ฝ่ายนี้เน้นหนักเรื่องสันทนาการ ลัลล้า ปาจิงโกะ สนุกสนาน เฮฮาไปวันๆ จะต้องเป็นคนจัดกิจกรรมให้น้องทำ� แล้วก็สร้างสีสันให้กับค่าย พูด ง่ายๆคือ SMILE MAKER หรือผู้สร้างรอยยิ้ม นั่นเองจ้า ฝ่ายนี้ก็ต้องใกล้ชิดกับ น้องด้วยน้า ฝ่ายวิชาการ : แน่นอนว่าค่ายเราไม่ ใช่แค่พาน้องมาบ้าแล้วก็กลับ 5555บวก แต่ ค่ายเราก็จะนำ�เสนอความรู้ด้านรัฐศาสตร์ ให้น้องอย่างเต็มที่ โดยฝ่ายนี้หลักๆก็ คือจัดกิจกรรมวิชาการ เชิญอาจารย์มาพูด คิดหัวข้อ ทำ�ข้อสอบน้อง ตรวจข้อสอบ อะไรประมาณนั้นจ้า ไม่เครียดนะ เป็นฝ่ายที่ทำ�แล้วช่วยทบทวนบทเรียนตัวเองไป ด้วย ฝ่ายสวัสดิการ : ฝ่ายนี้เป็นกระดูกสันหลังของค่าย จัดหาข้าวหาปลา มาบำ�รุง บำ�เรอทุกคนในค่ายรวมทั้งจัดการเรื่องสถานที่ของการทำ�กิจกรรมทั้งหมดด้วย ฝ่ายนี้น้องๆจะได้ฝึกการทำ�งานอย่างเต็มที่พร้อมไปด้วยมิตรภาพจากเพื่อนร่วม งาน ถ้าขาดฝ่ายนี้ ไปคนในค่ายต้องอดตายแน่นอน ฝ่ายประสานงานกลาง : ฝ่ายนี้ทำ�หน้าที่ Run Script ค่ายวันจริงทุกอย่าง น้องๆจะได้ฝึกการทำ�งานในภาพรวมเพื่อนำ�ไปใช้ ในชีว ิตจริงในอนาคต พูดง่ายๆ ฝ่ายนี้คือตัวประสานงาน เพื่อให้ค่ายดำ�เนินไปได้ อู๊วววว สูงส่งจริงๆ นี่แหละจ้า คร่าวๆ ของค่ายเรา เดี๋ยวเรื่องวันรับสมัครอะไรยังงี้ เดี๋ยวจะ ทำ�การประชาสัมพันธ์ทีหลังนะคร้าบ ขอให้น้องๆทุกคนจงมีความสุขสวัสดี เปรียบดังดอกบุปผาชาติที่เบ่งบานในสวน ดอกไม้กลางสวรรค์ เจอกันเปิดเทอมจ้า สาธุ...(ตะลึงตึงโป๊ะ !!! อ๊างงง) พี่นัท โต๊ะโซดาสิงห์ (ประธานค่ายผู้น่ารัก ผู้พิท ักษ์ความรักและความยุติธรรม ^^)

 ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

กลุ่มบาสเกตบอล คณะรัฐศาสตร์ ยินดีต้อนรับน้องๆสิงห์แดงรุ่น 63 สู่ดินแดนแห่งเสรีภาพและ ครอบครัวสิงห์แดงจ้า!! กลุ่มบาสเกตบอลชื่อก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นกลุ่ม กิจกรรมที่ทุกๆคนมารวมตัวกันเพื่อเล่น และฝึกซ้อมกีฬาชนิดนี้ เรามี การแข่งขันตลอดปีท ั้งกับคณะต่างๆภายในมหาลัยของเรา และแข่งขัน กับคณะรัฐศาสตร์ของมหา’ลัยอื่นๆอย่างงานสิงห์แดง-สิงห์ดำ� และงาน สิงห์สัมพันธ์ สำ�หรับการเปิดรับสมาชิกใหม่นั้นเรายินดีต้อนรับทุกคนที่ มีความรัก ชื่นชอบและสนใจกีฬาบาสเกตบอล โดยไม่จำ�เป็นว่าจะเล่น เป็นหรือไม่ มีประสบการณ์หรือเปล่า ขอแค่ ให้ทุกคนเอา “ใจ” มาแล้ว เตรียมร่วมสนุกไปกับกีฬาบาสเกตบอลร่วมกับพวกเราได้เลย ^___^

ก่อนเรียน

วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

Email: singhadang_basket@hotmail.com Facebook group: Basketball-Singhadang

33


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

34

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

ง่ายๆ สบายๆ กับกลุ่มบอล วันนี้อดีตประธาน กน. มาเองเลย โบ้: เท่าที่ทราบมารู้สึกว่ากลุ่มฟุตบอลดูจะมีความผูกพันกับคณะนี้มาโดยตลอด อยากรู้ ว่ามีความผูกพันธ์ยังไงบ้าง? ทวย: ก็เท่าที่ทราบมาทีมของเราก่อตั้งขึ้นมานานมากซึ่งผมก็ ไม่กล้าจะยืนยันว่ามันกี่ปี มาแล้ว อาจจะพร้อมๆกับคณะเลยมั้ง? แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม ด้วยความเก่าแก่นี่แหละ กลุ่มกิจกรรมฟุตบอลจึงเป็นที่รวมของเหล่าชายฉกรรจ์ที่ ในสายตาของพวกผู้หญิงที่หา ว่าป่าเถื่อนมาทุกยุคสมัย(หัวเราะ) ซึ่งผู้คนเหล่านี้นั่นเองที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการ ดำ�เนินกิจการต่างๆในคณะและประสานคนทุกกลุ่มในคณะด้วยกีฬาฟุตบอล อันนำ�ไปสู่ คำ�ขวัญคณะว่า “สามัคคี ประเพณี เป็นพี่น้อง” โบ้: อยากรู้ว่ารู้จ ักกลุ่มบอลได้ยังไง แล้วเข้ามาแล้วทำ�อะไรกันบ้าง? ทวย: ก็รู้จ ักวันแรกพบนี่หล่ะ มีพ ี่มาชวนเล่น เราก็แบบเออเล่นก็เล่นวะ พอวันแรกก็ ไป เตะบอล (จะให้ทำ�อะไรอีกวะ??) เอาง่ายๆมากลุ่มบอลก็ต้องมาเตะบอลสิ! โบ้: ประทับใจอะไรในกลุ่มบอลบ้าง? ทวย: ประทับใจที่พ ี่ๆเชื่อใจและไว้ ใจเราเวลาเราอยู่ ในสนาม ไม่ว่าเราจะเล่นเป็นยังไง พวกพี่ๆก็ ไม่เคยว่าหรือด่าอะไรเรา ประทับใจเพื่อนๆในทีมที่ตลอดเวลาแข่งขันไม่เคย ยอมแพ้แก่ทีมตรงข้าม ประทับใจการเดินจับมือร้องเพลงจาก บร.1ถึงสนามทุกครั้งที่มี การแข่งขัน และประทับใจกองเชียร์ที่ตามเชียร์เราไปทุกที่ จำ�ได้ว่ามีเกมนึงฝนตกหนัก มากจนมองอะไรแทบไม่เห็น แต่กองเชียร์ก็ยังอยู่กันพร้อม ทุกอย่างนี้รวมกันก็กลาย เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของทีมเราโบ้: กลุ่มบอลรัฐศาสตร์ต่างจากพวกบอลคณะอื่นยังไง? ทวย: คิดว่าคงเป็นบรรยากาศภายในทีมที่เป็นส่วนที่สำ�คัญที่สุด เรามีจุดมุ่งหมายที่ว่า ให้ทุกๆคนได้มารู้จ ักกัน มาเล่นกีฬา มาสนุกด้วยกัน ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นนักฟุตบอล ของคณะเราได้ แม้ว่าจะเล่นไม่เก่งหรือยังไงก็ตามก็ยังมีโอกาสได้ลง ตรงนี้ทำ�ให้ทีม ฟุตบอลของเราต่างจากคณะอื่นๆที่มุ่งหวังถ้วยรางวัลเป็นหลัก แต่ถึงกระนั้นคณะเราก็

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

ไม่เคยเป็นรองในด้านผลงานการแข่งขัน เราเข้าชิงชนะเลิศมา 3 ปีติดต่อกัน และเป็น แชมป์ถึงสองสมัยและรองแชมป์หนึ่งสมัย(ยิ้ม) ดังนั้นสิ่งที่นักฟุตบอลคณะรัฐศาสตร์ จะได้รับมากกว่าถ้วยรางวัลก็คือ มิตรภาพระหว่างเพื่อน พี่ น้อง ที่อยู่ร่วมกันภายใน ทีม โบ้: กิจกรรมที่กลุ่มบอลทำ�ในแต่ละปีมีอะไรบ้าง? ทวย: อืมมม… (เกาหัว)...เปิดเทอมมาก็มีบอล TU Cup หลังจากนั้นก็มี Freshy Cup ที่ต้องรวมกับคณะอื่น สองรายการนี้เรามีผลงานที่ด ีมาโดยตลอด หลังจากนั้นก็ มีบอลสัมพันธ์กับสิงห์ดำ� ปีที่ผ ่านมาเราเล่นมากไปหน่อยเลยแพ้ซะเละเทะ ดังนั้นปีนี้ จึงเป็นโอกาสดี ในการแก้แค้น (ฮ่าๆๆ) และรายการใหญ่ ในงานสิงห์สัมพันธ์ที่เราจะ เป็นเจ้าภาพในปีนี้ รวมถึงเตะกระชับสัมพันธ์กับพี่ๆศิษย์เก่าเป็นประจำ�ทุกปี แต่ที่คิด ว่าจะเพิ่มมาในปีนี้น่าจะมีรายการกับคณะอื่นๆบ้างซัก 1-2 คณะ และตอนปลายปียังมี การแข่งขันฟุตซอลโต๊ะอีกด้วย

โบ้: มีไรฝากถึงน้องๆมั้ย? ทวย: ก็ขอเชิญชวนน้องๆทุกคนมาสนุก มาสร้างชื่อเสียงและประวัติศาสตร์ ให้กับคณะ ด้วยกัน ถ้าไม่สันทัดในกีฬาจริงๆก็อยากจะขอแรงใจน้องๆมาช่วยเชียร์เวลาทีมเราแข่ง หน่อย เพราะที่ผ ่านมาทุกปี กองเชียร์เราขึ้นชื่ออยู่แล้วว่าถึงไหนถึงกัน ฝนตกแดด ออกไปได้หมด ก็อยากให้บรรยากาศนั้นยังคงอยู่ต่อไป ก็ขอฝากน้องๆทุกคนด้วยครับ 

ก่อนเรียน

35 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

โบ้: นอกจากมาเตะบอลแล้วยังสามารถเข้ามาทำ�ไรได้อีกบ้าง? ทวย: กิจกรรมนอกเหนือจากฟุตบอลแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่นๆให้ทำ�อีกมากมาย ไม่ว่า จะเป็นกลุ่มเชียร์ กลุ่มบาสเกตบอล กลุ่มJC และค่ายต่างๆมากมาย ก็อยากจะให้ น้องๆทุกคนมาทำ�กิจกรรมกันเยอะๆ ชีว ิตในมหาวิทยาลัยมันสั้นมาก จะทำ�อะไรก็ รีบๆทำ�ซะ ก่อนจะไม่ได้ทำ�


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

36

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

“ค่ายรัฐฯ สร้างมาตั้งแต่รุ่นพ่อ” กลุ่มศึกษา- พัฒนาชนบทคณะรัฐศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นกลุ่ม กิจกรรมที่อยู่คู่กับคณะรัฐศาสตร์มาอย่างยาวนาน นับ เป็นกลุ่มกิจกรรม ที่เก่าแก่ที่สุดในคณะก็ว่าได้ ในปีการศึกษาหนึ่งค่ายรัฐฯมีกำ�หนดการ ออกค่ายทั้งหมดสองครั้ง

ครั้งแรก คือค่ายตุลา จะเริ่มออกค่ายในช่วงปิดเทอมหนึ่ง ครั้งที่สอง คือ ค่ายมีนาซึ่งจะออกช่วงปิดเทอมซัมเมอร์ ในแต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลาในการออก ค่ายประมาณ 10 วัน กิจกรรมในค่ายของเราแบ่งหลักได้เป็นสองงาน งานแรก คือ “งานสร้าง” ค่ายรัฐเราสร้างอะไร? พวกเราจะสร้างที่เป็นที่ความต้องการของชาว บ้านที่นั่นจริงๆ แล้วพวกเราชาวค่ายรู้ได้ยังไงว่าชาวบ้านต้องการอะไร? คำ�ตอบคือ เรารู้ได้จากการไปเซอร์เวย์หมู่บ้านที่เราจะไปออกค่าย และที่สำ�คัญที่ต้องคำ�นึงถึง นั้นคือสิ่งที่เราสร้างต้องเป็นประโยชน์ต่อชุมชนของพวกเขาด้วย นอกเหนือจาก งานสร้างของค่ายแล้ว ค่ายรัฐยังมี “งานศึกษา”วิถีช ุมชนควบคู่กันไปด้วย เพราะ ในฐานะนักรัฐศาสตร์ การศึกษาเกี่ยวกับสภาพทางสังคม ประเพณีวัฒนธรรม ของท้องถิ่น ตลอดจนเรื่องเกี่ยวกับอาชีพอและความเป็นอยู่ของชุมชนที่เราออก ค่ายนั้น เป็นประเด็นที่เราไม่สามารถมองข้ามไปได้ ค่ายรัฐจึงพยายามศึกษาและ ทำ�ความเข้าใจชุมชนที่พวกเราได้ออกค่ายให้มากที่สุดเท่าที่ระยะเวลา 10 วันที่มจี ะ ทำ�ได้ นอกจากนี้ค่ายรัฐของเรายังมีการชมความงามตามธรรมชาติ ฝึกทำ�อาหาร สนุกสนานกับ เด็กๆ และนั่งล้อมวงสนทนาภาษาเพลงค่าย สำ�หรับน้องๆสิงห์คน ไหนที่สนใจก็มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพวกเรากันนะจ๊ะ

 ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

กลุ่ม Singha-Daylight

ก่อนเรียน

37 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

ขอแสดงความยินดีกับน้องสิงห์แดงรุ่นที่ 62 ที่ ได้เข้ามาร่วมกัน เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวสิงห์แดง อันแสนจะอบอุ่นและเป็นกันเอง แห่งนี้ ซึ่งจากการตามข่าวทั้งหลาย ได้บอกให้พ ี่ๆรู้ว่า กว่าน้องจะผ่าน อุปสรรคการสอบอันแสนจะพิลึกมาได้นั้น ยากเย็นมากแค่ไหน แต่ อุปสรรคทั้งหลายได้พิสูจน์ ให้รู้แล้วว่า น้องคือสิงห์ตัวใหม่ที่มีคุณภาพ สำ�หรับกลุ่ม Singha-Daylight นี้หลายคนอาจจะสงสัยว่า กลุ่ม นี้คือกลุ่มอะไรกันแน่ กลุ่มนี้มีภารกิจการทำ�งานอะไรบ้าง แล้วหากสนใจ จะเข้าร่วมจะติดต่อได้อย่างไรบ้างนั้น พี่มีคำ�ตอบมาให้ กลุ่ม Singha-Daylight หรือชื่อเล่นภายในว่า กลุ่ม Photo , กลุ่มตากล้อง เป็นกลุ่มที่คอยบันทึกภาพความทรงจำ�จากกิจกรรมต่างๆ ของทางคณะ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่ทางคณะเป็นผู้จ ัดกันเอง หรือ กิจกรรมที่ทางคณะไปเข้าร่วมกับที่อื่น ซึ่งภายหลังจากการบันทึกภาพ ความทรงจำ�ทั้งหลายแล้ว จะนำ�มาเผยแพร่ ให้เป็นที่รู้กันไป ไม่ว่าจะเป็น ทาง Facebook หรือทางไหนๆ ตามแต่สะดวก นอกจากนี้ทางกลุ่มยังมีภารกิจเกี่ยวกับ Artwork ซึ่งคอย สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เช่น ใบปลิวประกาศของกิจกรรมทั้งหลาย หรือ แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์งาน หรือ VTR ประชาสัมพันธ์งานกิจกรรม หรือ VTR ประมวลภาพความทรงจำ�ของกิจกรรม ซึ่งได้นำ�ไปเผยแพร่ หลายที่ ไม่ว่าจะเป็น Youtube หรือ Facebook น้องหลายคนอาจจะตั้งคำ�ถามว่า ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีเครื่อง มือ สามารถเข้าร่วมกลุ่มนี้ ได้หรือไม่ พี่ก็ตอบได้เลยว่า ได้ครับ แม้จะ ไม่มีประสบการณ์มาก่อน พี่ๆในกลุ่มก็ยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้ได้เสมอ


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

38

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

ไม่ว่าจะเป็นเทคนิกการถ่ายรูป ความรู้ ในการเลือกซื้อกล้อง หรือความ รู้เกี่ยวกับการทำ� Artwork ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อรูปภาพ หรือ การตัดต่อ VTR ซึ่งน้องๆสามารถนำ�ไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ ได้ หรือว่าถ้า น้องๆไม่มีเครื่องมือจะเป็นอย่างไร สำ�หรับกลุ่ม Singha-Daylight นั้น ก็ ใช่ว่าจะมีแต่งานที่ต้องถ่ายทำ�เท่านั้น น้องสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของกลุ่มได้ เข้ามาร่วมด้วยช่วยกันในการเผยแพร่ความทรงจำ�ให้ผู้อื่นรับ ทราบก็ ได้ หากน้องๆคนไหนอยากชมภาพความทรงจำ�ทั้งหลายที่ ได้บันทึก ไว้ สามารถเข้าไปรับชมได้ที่ Facebook พิมพ์ค้นหาว่า Singha-Daylight ซึ่งทางกลุ่มจะมีการอัพเดทภาพให้รับชมอยู่เรื่อยๆ น้องสามารถติดต่อพี่ๆได้เสมอ เป้ สิงห์แดง 60 - 08-7689-4437 ป๊อก สิงห์แดง 60 - 08-6548-8329 “รูปภาพหนึ่งใบอาจแทนถ้อยคำ�บรรยายได้นับพัน”

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

กลุ่มข้อมูลข่าวสารและ วารสาร

ก่อนเรียน

39 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

สวัสดีครับน้องๆสิงห์แดงรุ่นที่ 63 ขอแสดงความยินดีสู่การได้เข้ามา เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวสิงห์แดง อันแสนจะอบอุ่นแห่งนี้ เคยมีคนกล่าวว่า ชีว ิตมหาวิทยาลัยใช่ว่าจะมีแต่การเรียนเพียงอย่างเดียว แต่ควรที่จะรู้จ ักการทำ� กิจกรรม เพราะการทำ�กิจกรรมนั้นนอกจากจะได้ความสามารถในการทำ�งานแล้ว ยังจะช่วยให้เรามีเพื่อนมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งในภายภาคหน้าน้องจะได้รู้เองว่า การที่มี เพื่อนมากๆนั้นดีอย่างไร ก่อนอื่นขอแนะนำ�ตัวเองก่อน พวกพี่คือกลุ่มข้อมูลข่าวสารและวารสาร คณะรัฐศาสตร์ หลายคนอาจจะงงกับชื่ออันแสนจะยาวของกลุ่ม แต่ไม่เป็นไร พี่ จะมาทำ�ให้น้องเข้าใจในภารกิจของกลุ่มนี้ เผื่อว่าจะมี ใครที่สนใจเข้ามาร่วมกันทำ� กิจกรรมอันแสนจะสนุกนี้ งานหลักของกลุ่มเรา คือ จัดทำ�วารสารประจำ�คณะขึ้น ผลงานของกลุ่มเรา ก็ ได้มาอยู่ ในมือน้องๆตอนนี้แล้วในชื่อน่ารักๆว่า “เม็ดเลือดแดง” ซึ่งก็ทำ�ให้กลุ่ม ของเรามีช ื่อที่เรียกกันภายในคณะจนติดปากว่ากลุ่ม “เม็ดเลือดแดง” ภายในเล่ม นั้นประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น วิเคราะห์สถานการณ์ บ้ า นเมื อ ง,สิ ง ห์ ล งพุ ง กั บ ร้ า นอาหารที่ แสนอร่ อ ยรอบๆมหาวิ ท ยาลั ย ,เรื่ อ ง สั้น,กลอน,บทความนักศึกษา,เกมประลองปัญญา.แนะนำ�หนังสือ ฯลฯ ซึ่งแต่ละ เล่มนั้นจะมีเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ Theme ของแต่ละเล่ม เรียก ได้ว่าเม็ดเลือดแดงของเรามีความหลากหลายของเนื้อหาไม่ซ้ำ�ซากจำ�เจ พวกพี่ๆ ทุกคนยังรอให้น้องๆได้เข้ามาสัมผัสความสนุกสนานในการทำ�งานของกลุ่มเรา ซึ่ง นอกจากจะได้ความบันเทิงสนองตัณหาของนักเขียนแล้ว ยังได้ความรู้เกี่ยวกับการ จัดทำ�หนังสือ ว่าแต่ละเล่มนั้นมีกระบวนการอย่างไรกว่าที่จะได้มาเป็นหนังสือให้ เราอ่านสักเล่ม


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

งานอีกอย่างของกลุ่มเม็ดเลือดแดง ก็คือการเสวนาหนัง เพราะว่าใน ภาพยนตร์ที่หลายคนมองว่าไร้สาระนั้น หากมองให้ด ีแล้วอาจจะมีประเด็นที่น่า สนใจก็เป็นได้ ทางกลุ่มของเราจึงได้จ ัดการเสวนาหนังขึ้นอย่างน้อยเทอมละครั้ง ในบางครั้งจะมีอาจารย์เข้ามาเป็นผู้เสวนา หรือในบางทีก็เป็นการเสวนากันเองของ นักศึกษา ซึ่งลักษณะการเสวนาทั้ง 2 แบบ ก็มีอรรถรสในการเสวนาที่แตกต่างกัน ไป แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือการที่เราได้ฉุกคิดถึงประเด็นที่เคยมองข้ามกันมาโดย ตลอด ตัวอย่างภาพยนตร์ที่เคยนำ�มาเสวนานั้น เช่น กังฟูแพนด้า Ratatouille อย่าแหย่ โซฮาน ฯลฯ สำ�หรับน้องๆที่มีความสนใจที่จะเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเม็ด เลือดแดงนั้นสามารถติดต่อพี่ๆได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นทาง facebook โดย พิมพ์คำ�ค้นหาว่า เม็ดเลือดแดง PolSci. TU ซึ่งพี่ๆจะคอยอัพเดทข่าวสาร ความ เคลื่อนไหวต่างๆอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นวันเวลาสถานที่สำ�หรับการออกหนังสือเล่ม ใหม่ๆ หรือรายละเอียดเกี่ยวกับการเสวนาภาพยนตร์

40 กลุ่มข้อมูลข่าวสารและวารสาร

เบอร์ติดต่อ เทียน สิงห์แดง 60 089-056-4402 พัตร สิงห์แดง 61 081-452-2053

“การทำ�กิจกรรมทำ�ให้เราสามารถสร้างพื้นที่เล็กๆของ ตัวเองได้ ท่ามกลางผู้คนมากมาย”

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

กลุ่มดนตรีคณะรัฐศาสตร์ “ เสียงเพลงสร้างแรงบันดาลใจและดนตรีทำ�ให้คนเป็นมนุษย์ที สมบูรณ์ ”

Ludwig van Beethoven

ก่อนเรียน

41 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

เสียงเพลงและเสียงดนตรี น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ ใครหลาย ๆ คน ได้เกิดความคิดสร้างสรรค์และเป็นพลังในขับ เคลื่อนช่วงเวลาต่าง ๆ ของชีว ิต เช่นนี้จึงเกิดกลุ่มดนตรี คณะรัฐศาสตร์ขึ้นมา ด้วยคำ�กล่าวที่ว่า “เราจะใช้ดนตรี เป็นเครื่องมือในการสร้างความสามัคคีของคนและเปลี่ยนแปลงสังคม” อันเป็น ปณิธานของคณะผู้ก่อตั้งกลุ่มดนตรีฯ ในเริ่มแรก จากนั้นมา กลุ่มดนตรีฯ ได้ รังสรรค์ความบันเทิงเริงใจและความหฤหรรษ์ ให้เกิดขึ้นแก่หมู่พ ี่น้องชาวสิงห์แดง มาโดยตลอดทั้งหกสิบกว่าปี และรวมทั้งได้ทำ�หน้าที่ ในการจัดกิจกรรมที่ ใช้ดนตรี และเสียงเพลง ทำ�คุณประโยชน์ ให้แก่สังคมมาอย่างยาวนาน ในความเข้าใจของใครหลายคน อาจคิดแค่ว่า กลุ่มดนตรีฯ หมาย ถึง กลุ่มของคนที่รวมตัวกันเพื่อเล่นดนตรีกันในโอกาสวาระต่าง ๆ ของคณะ รัฐศาสตร์เท่านั้น เมื่อเว้นว่างจากการเล่นดนตรี ในงานแล้ว ก็รวมตัวกันฝึกซ้อม อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูก(แล้ว) เอาจริง ๆ พอใกล้จะมีงานก็ โทร. เรียกกันไปกันมา บางทีก็ซ้อมกันก่อนเล่นจริงไม่กี่ชั่วโมง การเล่นกันสด ๆ แบบ ไม่ต้องซ้อมเลยก็เห็นได้อยู่ทุกงาน ตำ�แหน่งในวงที่เล่นกันก็ ไม่เคยเหมือนเดิมสัก ที สมาชิกของกลุ่มดนตรีจึงมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหว และล้มหายตายจากกัน อยู่ตลอดเวลา เนื่องด้วยเพราะต้องทุ่มเทเวลาให้กับการศึกษาเหล้าเรียนซึ่งเป็น เรื่องสำ�คัญมากที่สุดของชีว ิตมากกว่าสิ่งอื่นใด


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

ที่พูดให้ฟังก็เพราะจะสื่อว่า การเล่นดนตรีนั้นถือเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิด ประโยชน์ ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการเรียน (ซึ่งบางทีก็ผ ่อนกัน เยอะไป) นอกจากที่ดนตรีจะทำ�ให้ผู้ที่รับฟังได้เกิดความสนุกสนานและมันส์ ใน อารมณ์แล้ว ยังทำ�ให้ผู้เล่นดนตรีได้สร้างสรรค์เซลล์และซ่อมแซมสมองซีกขวาได้ ดียิ่งกว่าดื่มเครื่องดื่ม PEPTEIN เสียอีก จึงขอเชิญชวนชี้นำ�ชาวสิงห์แดงทั้งหญิง และชายที่มีศรัทธาหรือสนใจการเล่นดนตรีและคลั่งไคล้ไหลหลงในเสียงเพลงทั้ง หลายมาร่วมกับกลุ่มดนตรี คณะรัฐศาสตร์กันอีกครั้งเพื่อสานต่อเป้าหมายในการ ใช้เสียงเพลงเป็นสื่อในการก่อให้เกิดความสร้างสรรค์และการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อ ตัวท่านเองและต่อสังคม กลุ่มดนตรีฯ มีความต๊อด(ปิติ)ยินดีสุขสมอารมณ์หมาย และเป็นอ้อมกอดที่เปิดกว้างพื้นที่ ในห้วงแห่งดวงใจให้กับทุกคนเสมอ มาเล่น ดนตรีด้วยกันนะจ๊ะ

42

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

ปฏิรูปการศึกษา : มุมมองกระบวนทัศน์และบริบทสังคมไทย รองศาสตราจารย์ ดร.อรศรี งามวิทยาพงศ์ สำ�นักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ก่อนเรียน

43 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

กระบวนทัศน์และวิธีคิดแบบแยกส่วน ลดส่วน ได้ทำ�ให้ “การศึกษาเรียนรู้” ใน หลายทศวรรษที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องของนักวิชาการด้านศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ หรือ เป็นเรื่องของโรงเรียน ครูอาจารย์ กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัยฯ มาอย่างต่อ เนื่องยาวนาน (เหมือนกับที่เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องของแพทย์และโรงพยาบาล) การจัดการ ศึกษาภายใต้กระบวนทัศน์และวิธีคิดแบบดังกล่าวของรัฐ ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์และตกเป็น จำ�เลยจากวิกฤตการณ์ทางสังคมมากมาย อันสะท้อนถึงความล้มเหลวของการจัดการ ศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ (ปัญหาศีลธรรมเสื่อมถอย ยาเสพติด การขาดจิตสำ�นึกทางสังคม ฯลฯ) ซึ่งสังคมร่วมกันสรุปว่า เกิดจากความล้มเหลวของระบบการศึกษาในกระบวนทัศน์ แบบแยกส่วน นำ�มาสู่การปฏิรูปการศึกษาที่กำ�ลังดำ�เนินการอยู่ในปัจจุบัน ด้วยเป้าหมาย เพื่อสร้างการเรียนรู้แบบองค์รวม ที่จะทำ�ให้”ผู้เรียนเก่ง-ดี-มีความสุข” คำ�ถามที่ผู้เขียนสนใจในการปฏิรูปการศึกษาที่ดำ�เนินการในปัจจุบัน คือ ๑.การปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบันดำ�เนินการภายใต้กระบวนทัศน์แบบบูรณาการ (องค์รวม) ตามที่ตั้งจุดประสงค์ไว้จริงหรือไม่ อย่างไร ๒.ในบริบทของสังคมไทยปัจจุบัน หากจะปฏิรูปการศึกษาเพื่อไปสู่การเรียนรู้ อย่า งบูรณาการจริงจะต้องปรับเปลี่ยนปัจจัยหรือเงื่อนไขอะไรอีกหรือไม่ อย่างไร ๑.กระบวนทัศน์การศึกษาไทย หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เป็นผู้นำ�ทางแนวคิดที่สำ�คัญ ในการพัฒนามนุษย์และสังคมทุกด้าน เป็นต้นแบบของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ฯลฯ วัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตแบบอเมริกันได้เป็นต้นแบบของสังคมที่พึงปรารถนา สำ�หรับประเทศอดีตอาณานิคมและประเทศเกิดใหม่หลังสงครามโลก แนวคิดการพัฒนา ของโลกตะวันตกที่มีสหรัฐเป็นผู้นำ�นั้น อยู่ภายใต้กระบวนทัศน์หรือฐานคิดของวิทยาศาสตร์ เชิงปริมาณ/วัตถุ ที่มองโลกแบบแยกส่วน ลดส่วน (reductionist) และแบบกลไก (mechanis-


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

44

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

tic) ที่ให้ความสำ�คัญและยอมรับ”ความรู้”เฉพาะกับสิ่งที่ชั่ง ตวง วัด คำ�นวณได้ และทดลอง ได้ด้วยหลักการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) เท่านั้น ความรู้อื่น ๆ ที่ ชั่ง ตวง วัด คำ�นวณไม่ได้อย่างชัดเจนแม่นยำ� หรือพิสูจน์ให้ประจักษ์ (Empirical) หรือเห็น แบบชัดเจน (Positivism ) ไม่ได้ เช่น ความเชื่อทางด้านศาสนา จิตวิญญาณ ความรู้สึกด้าน จิตใจ อารมณ์ เป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือ หากจะนับให้เป็นความรู้ จะต้องแสวงหาวิธีการชั่ง ตวง วัด คำ�นวณค่าออกมาจึงจะเชื่อถือได้ ดังนั้น ความรู้ดั้งเดิม ที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นซึ่ง อธิบายด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในแบบที่กำ�หนดไม่ได้ แม้จะใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิต ประจำ�วันของชาวบ้านก็ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็น “ความรู้” ในขณะที่ความรู้ในกระบวนทัศน์นี้ จะถูกแบ่งส่วนชัดเจน ให้ความสำ�คัญกับการ พัฒนาความชำ�นาญหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง (Expert , Specialist) เช่น เศรษฐศาสตร์ (จุลภาค มหภาค การเกษตร การคลัง ฯลฯ ) วิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี ฯลฯ) กฎหมาย (มหาชน ระหว่างประเทศ ฯลฯ) แพทย์ศาสตร์ ( หัวใจ ทางเดินอาหาร กระดูก ผิวหนัง ฯลฯ) ทำ� ให้การจัดการศึกษาเพื่อเรียนรู้ไปสู่ความรู้ในแนวคิดดังกล่าวมีลักษณะ แยกส่วน ลงลึกแต่ขาด ความเชื่อมโยงกับสภาวะจริงของโลกที่เป็นองค์รวม เช่น มุ่งการ เรียนรู้ไปที่การอาชีพ หรืออื่น ๆ ที่ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ อาทิ นโยบายขยายการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงแห่ง รัฐ การเข้าสู่โลกาภิวัตน์ ฯลฯ ผู้เรียนขาดโอกาส เรียนรู้ในส่วนที่ถูกกำ�หนดว่า”มิใช่ความรู้” หรือมิ ใช่สิ่งจำ�เป็นสำ�หรับชีวิตในสังคมทันสมัย เช่น การเรียนรู้ทางจิตวิญญาณ อุดมคติ ฯลฯ กระบวนทัศน์ดังกล่าวได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ซึ่ง เสนอว่า การศึกษาเรียนรู้เป็นเรื่องทางวัฒนธรรม คือเป็นเรื่องของวิถีชีวิต มิใช่เป็นเพียง เรื่องเฉพาะกิจ เฉพาะกาล เฉพาะใคร (ตนเอง ตลาดงาน รัฐ ฯลฯ) การศึกษาเป็นเครื่อง มือสำ�คัญที่จะสร้างการเรียนรู้โดยมีเป้าหมายเพื่อบูรณาการมนุษย์เข้าถึงสภาวะธรรมหรือ สภาพอันเป็นธรรมดาของโลก คือช่วยให้มนุษย์ตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งใน โลก เห็นถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงภายในระบบชีวิตตนเอง (กาย จิต ปัญญา) และความ สัมพันธ์ของระบบชีวิตตนเองกับระบบภายนอก (สังคม นิเวศ/ธรรมชาติ) กระทั่งมองเห็น ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน(องค์รวมหรือบูรณาการ) แล้วดำ�เนินชีวิตในด้านต่าง ๆ ไป อย่างสอดคล้องเหมาะสม เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น โลก ทั้งในเวลาปัจจุบันและ อนาคต โดยนัยนี้ การศึกษาเรียนรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่ จึงเป็นเรื่องของกระบวนการที่ เกี่ยวข้องกับเหตุปัจจัยมากมายในวิถีชีวิตของบุคคล สังคม และระบบนิเวศ การปฏิรูปการ

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

ก่อนเรียน

45 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

ศึกษาในกระบวนทัศน์แบบองค์รวมอย่างแท้จริง จะต้องมิใช่เรื่องของความเก่ง -ดี -มีสุข ที่ จำ�กัดอยู่ที่ระดับของปัจเจกบุคคล แม้ว่าความเก่งดีมีสุขจะหมายถึงการพัฒนาบุคคลอย่าง บริบูรณ์ทุกด้านเป็นองค์รวม มิได้ละเลยการพัฒนาส่วนใดส่วนหนึ่งของมนุษย์ไปดังเช่นที่ ผ่านมา ( เก่ง ไม่ดี มีทุกข์) แต่องค์รวมในระบบชีวิตของปัจเจกบุคคล ก็เป็นเพียงระบบย่อย ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงอยู่กับระบบใหญ่อีกมากมายหลายระบบ (ครอบครัว ชุมชน สังคม ระบบ การเมือง เศรษฐกิจ ระบบนิเวศฯลฯ) เป็นทั้งผู้สร้าง พัฒนา ระบบอื่นให้เปลี่ยนแปลง ในทาง กลับกันก็ถูกระบบอื่นส่งผลกระทบให้เปลี่ยนแปลงต่อเนื่องกลับไปกลับมา ความเก่ง -ดี -มีสุข ของบุคคลจึงมิได้เกิดจากเหตุปัจจัยเฉพาะบุคคลล้วน ๆ หากเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของระบบที่ใหญ่กว่าด้วย ดัง นั้น บริบททางสังคมและธรรมชาติจึงมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของบุคคลโดยตรง ความ เก่ง-ดี-มีสุข จึงไม่อาจเกิดขึ้นโดดๆจากการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ (ที่แม้จะยึดผู้ เรียนเป็นสำ�คัญ ให้พ่อแม่และชุมชนมีส่วนร่วม ฯลฯ) หรือบริหารการศึกษาแบบใหม่ (แบ่ง ส่วนงานใหม่ เขตการศึกษาใหม่ ตั้งกระทรวงใหม่ กระจายอำ�นาจ ฯลฯ) หากจะต้องเชื่อม โยงไปสู่บริบทหรือระบบของปัจจัยอื่นให้สอดคล้องกลมกลืน มีสมดุล ไปด้วยกันทุกระบบ ทุกระดับ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงการเรียนรู้เพื่อให้มนุษย์เข้าถึงความสัมพันธ์ระหว่าง”โลก มนุษย์”และ”โลกธรรมชาติ”ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาจึงเป็นการเปลี่ยนโลกทัศน์ วิธีคิด ในการมอง ชีวิต-สังคม(โลกมนุษย์) และโลกธรรมชาติ ( ธรรม ) ด้วยความสัมพันธ์ชุดใหม่ ที่นำ�ไปสู่ กระบวนการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต-วัฒนธรรม ที่แตกต่างไปจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่เป็น วิกฤตการณ์ในปัจจุบันด้วยเป็นสำ�คัญ ด้วยกรอบความคิดดังกล่าว ผู้เขียนจึงไม่แน่ใจเท่าใด นัก ว่าการปฏิรูปการศึกษาที่รัฐจัดการอยู่ในปัจจุบัน จะเป็นการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ จากแยกส่วนมาสู่องค์รวม ในความหมายขององค์รวมที่เชื่อมโยงองค์ประกอบทุกระบบ ทุกระดับเป็นหนึ่งเดียวกัน ๒.ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้ในบริบทของสังคมไทยปัจจุบัน การเรียนรู้เกิดขึ้นในวิถีชีวิตตลอดเวลา ตราบเท่าที่เรายังปฏิสัมพันธ์กับสิ่งอื่นรอบ ตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมหรือบริบทในทางการเมืองการปกครอง การ พัฒนาเศรษฐกิจ สังคมในด้านต่าง ๆ จึงมีผลกระทบต่อคุณภาพการเรียนรู้ของคนในสังคม ด้วยโดยตรง (แต่มิได้เห็นผลกันแบบชัดเจน) การปฏิรูปการศึกษาในกระบวนทัศน์แบบองค์ รวม จึงต้องให้ความสำ�คัญกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยในระบบใหญ่เหล่านี้ด้วย ตัวอย่าง ที่ชัดเจนและใกล้ตัวมากที่สุด คือ การพัฒนาประเทศด้วยกระบวนทัศน์แบบแยกส่วน ที่เกิด ขึ้นใหม่ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในรอบสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งก่อ


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

46

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

ผลกระทบต่อการเรียนรู้ของคนไทยอย่างสำ�คัญยิ่ง จากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ดัง ต่อไปนี้ ๒.๑ การเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครอง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ( แผนพัฒนา ฯ) ได้รวมศูนย์กำ�หนดการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจากส่วนกลาง ทั้งด้านนโยบาย การวางแผน และการดำ�เนินงาน โดยกลไกดำ�เนินการที่สำ�คัญที่สุดคือ ระบบราชการ ดังนั้น บทบาทหน้าที่และจำ�นวนของ ข้าราชการจึงแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางมากที่สุดในยุคนี้ ที่สำ�คัญยิ่งคือ บทบาทของ ข้าราชการมิได้จำ�กัดอยู่เพียงด้านการปกครองอีกต่อไป หากขยายไปสู่งานพัฒนาทุกด้าน ในทุกระดับท้องถิ่น ในฐานะกลไกขับเคลื่อนการพัฒนา เช่น เกษตร สาธารณสุข ศึกษาธิการ ทั้งระดับตำ�บล -อำ�เภอ-จังหวัด ฯลฯ โดยรับนโยบายและแผนปฏิบัติ การจากส่วนกลาง คือ กระทรวง กรม กอง จังหวัด อำ�เภอ ตำ�บล หมู่บ้าน ลงมาเป็นลำ�ดับ ก่อนเกิดแผนพัฒนาฯนั้น ระบบราชการในระดับท้องถิ่น จะมีบทบาทแบบหลวม ๆ และมุ่งที่การปกครอง เนื่องจากยังไม่มีการรวมศูนย์นโยบายการจัดการด้านอื่นอย่าง ชัดเจน ดังนั้น สาธารณกิจในระดับชุมชนยังดำ�เนินการโดยความร่วมมือของชุมชนเอง ใน ลักษณะพึ่งตนเองในระดับหนึ่ง มากน้อยขึ้นกับพื้นที่ใกล้หรือไกลศูนย์กลางการปกครอง อายุของชุมชนฯลฯ การพึ่งกันเองในสาธารณกิจดังกล่าว เป็นโอกาสอันสำ�คัญซึ่งทำ�ให้ บุคคลและสังคมระดับชุมชนได้ร่วมกันเรียนรู้ถึงความสำ�คัญของความเชื่อมโยงระดับบุคคล และชุมชน ไม่เกิดสภาวะ”ธุระไม่ใช่” หรือต่างคนต่างอยู่ บทบาทหน้าที่ของข้าราชการที่ ขยายขอบเขตไปอย่างกว้างขวางและลงลึก ในฐานะของผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาแบบใหม่ ตามแผนพัฒนา ฯ และเข้าไปบริหารสาธารณกิจทั้งหลายเกือบทุกด้าน ตั้งแต่การปกครอง การศึกษา สุขภาพอนามัย ศาสนา สาธารณูปโภค ฯลฯ ได้ทำ�ให้ประชาชนในสังคมอยู่ใน ฐานะของ”ผู้รับ” หรืออยู่นอกโครงสร้างการจัดการ ระบบดังกล่าว มีผลให้ประชาชนถูก ตัดขาดหรือถูกกันออกจากการเรียนรู้ในการจัดการชุมชนหรือสาธารณกิจด้วยตนเอง ไม่ เห็นความสำ�คัญของการรวมกลุ่มอย่างมีเป้าหมายเพื่อส่วนรวม การพัฒนาที่เกิดขึ้นมิได้เชื่อมต่อการเรียนรู้ของบุคคลต่อชุมชนไปสู่สังคมในระดับ ที่กว้างขึ้น(ประเทศ) มิหนำ�ซ้ำ�ยังทำ�ลายการเรียนรู้ของบุคคลและสังคมระดับชุมชนด้วย ดังที่ปรากฏอยู่เสมอว่า เมื่อการพัฒนาของรัฐเข้าไปถึงชุมชน ความร่วมมือกันในสาธารณ กิจ อันเป็นกิจกรรมสำ�คัญของกระบวนการเรียนรู้ของบุคคลในเรื่องสังคมได้ถูกทำ�ลายไป เนื่องจากรัฐมิให้ความสำ�คัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน และไม่เข้าใจประเด็นการเรียน รู้ที่จะเกิดขึ้นในบริบทนี้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ได้ก่อตัวกลายเป็นอุปสรรคสำ�คัญของ การปฏิรูปการปกครอง การเมือง การศึกษา ที่มุ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนและการก

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

ก่อนเรียน

47 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

ระจายอำ�นาจ แม้จะมีการปรับแผนในเวลาต่อมา ให้มุ่งพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมมากขึ้น แต่ โครงสร้างอำ�นาจ วิธีคิดของระบบราชการและข้าราชการยังไม่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมใน ระดับเกิดการเรียนรู้ เพราะขาดลักษณะหลากหลาย ไม่เชื่อมโยง และไม่มีพลวัต ผลกระทบอีกด้านหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ โครงสร้างการบริหาร บทบาทและอำ�นาจ ที่เพิ่มมากขึ้นของระบบราชการ ทำ�ให้หน่วยงานราชการและบุคลากรไม่เกิดการเรียนรู้ แบบบูรณาการ ระบบราชการจึงเป็นองค์การที่ไม่เรียนรู้ (Non - Learning Organization) เนื่องจากระบบการบริหารมีลักษณะขึ้นต่อเบื้องบนหรือส่วนกลางมากกว่าประชาชน แรง จูงใจที่จะเรียนรู้ ปรับปรุงการทำ�งาน ให้มีความสอดคล้องกับพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลาย จึงไม่เกิดขึ้น ระบบ”พิมพ์เขียว”ของการพัฒนา ที่กำ�หนดจากส่วนกลาง มีผลให้ภารกิจมี ลักษณะไม่หลากหลายไม่เชื่อมโยง ต่างคนต่างทำ� (หน่วยงานใคร หน่วยงานมัน) กิจกรรม เปลี่ยนแปลงตามคำ�สั่ง มิใช่เปลี่ยนแปลงปรับปรุงตามการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น โครงสร้าง การเมืองการปกครองดังกล่าว จึงทำ�ลายการเรียนรู้ทางสังคมทั้งของประชาชน และของ ฝ่ายผู้ปฏิบัติงานคือข้าราชการเองด้วย โดยเฉพาะในยุคที่ปราศจากการตรวจสอบจาก ประชาชน คือในยุคเผด็จการ ดังนั้น หากการปฏิรูประบบราชการไม่เปลี่ยนแปลงวิธีคิด ของบุคลากรในระบบแล้ว การเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของข้าราชการจากผู้ปฏิบัติการมาเป็น ผู้ประสานงานการพัฒนา ก็ไม่แน่ว่า ระบบราชการจะเอื้อไปสู่การเรียนรู้อย่างมีบูรณาการ ของผู้เกี่ยวข้องได้ ๒.๒ การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาแบบใหม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ จากระบบ เศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเองในระดับต่าง ๆ ในด้านการผลิต การบริโภค ที่ใช้ทรัพยากร ท้องถิ่นและความสัมพันธ์ของชุมชนในการผลิต มาเป็นการผลิตสินค้าเฉพาะอย่าง เพื่อ ขาย แล้วนำ�รายได้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากระบบธุรกิจ และซื้อบริการจากรัฐ เช่น การ แพทย์ การศึกษา ความปลอดภัย (ตำ�รวจ) ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้ทำ�ลายการ เรียนรู้แบบบูรณาการของระบบชุมชนไปเกือบหมดสิ้น เพราะแต่เดิมนั้น ระบบเศรษฐกิจ ของชุมชนทั้งภาคการผลิต การบริโภค และการจัดการส่วนเกิน(surplus) ของการผลิต คือ กิจกรรมสำ�คัญที่สร้างการเรียนรู้แบบมีบูรณาการแก่บุคคลในสังคมไทย เนื่องจากเป็น กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคล และกิจกรรมอื่น ๆ ในครอบครัวและชุมชน ฐานการเรียนรู้ และเนื้อหาการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจมีความหลากหลาย มิใช่เพียงการผลิต-การขายเท่านั้น หากแต่บุคคลได้เรียนรู้เทคนิควิธีการผลิตและต้องปรับปรุงเทคนิคการผลิตด้วยตนเองจาก การสังเกต สะสม แลกเปลี่ยนความรู้ เช่น ปรับปรุงคัดเลือกพันธุ์ การสร้างและพัฒนา เทคโนโลยีพื้นบ้าน เช่น หุ่นไล่กา กังหันลม การปราบศัตรูพืชแบบธรรมชาติ ฯลฯ ต้องเรียน


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

48

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

รู้การร่วมมือ การแบ่งปัน รวมทั้งเรียนรู้จากการสังเกตและทำ�งานโดยอาศัยธรรมชาติ บุคคลจึงได้เรียนรู้อิทธิพลของธรรมชาติที่มีเหนือมนุษย์ การเรียนรู้ดังกล่าวพัฒนาขึ้นเป็น ภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นที่มีความหลากหลายอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้อย่างบูรณา การในระดับชุมชน ในขณะที่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ที่มุ่งการผลิตเพื่อขาย มิได้พัฒนาขึ้นจาก ฐานการเรียนรู้เดิม มิหนำ�ซ้ำ�ยังทำ�ลายการเรียนรู้แบบบูรณาการด้วย เนื่องจากระบบการ ผลิตอาศัยเทคโนโลยีจากภายนอก ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง เครื่องจักร เป็นการแก้ไขปัญหา แบบสำ�เร็จรูป บุคคลไม่ต้องเรียนรู้ สังเกต ฝึกฝน หรือคิดค้นอะไร นอกจากการใช้ตาม คำ�แนะนำ�ของผู้ผลิตหรือเกษตรอำ�เภอ การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ และลักษณะของ เทคโนโลยีที่เลือกใช้ เช่น รถแทรกเตอร์ มอเตอร์สูบน้ำ� เครื่องตัดหญ้า ฯลฯ มีผลให้การร่วม แรงหรือการพึ่งพากันลดน้อยลง เกิดระบบการผลิตที่ต่างคนต่างทำ� ต่างรับผลซึ่งอยู่ในรูป ของเงินเพียงอย่างเดียว ลดการแลกเปลี่ยนผลผลิต ซึ่งเคยเป็นกลไกเชื่อมโยงความสัมพันธ์ และการเรียนรู้ ดังนั้น รูปแบบการผลิตแบบปัจเจกนี้ มีผลให้บุคคลไม่สัมพันธ์กับคนอื่น และ มีเวลาให้แก่ส่วนรวมน้อยลง เพราะต่างก็ต้องปากกัดตีนถีบ การเรียนรู้ปัญหา ภารกิจของ ส่วนรวมจึงลดน้อยลงไปด้วย เกิดปัญหาภายในชุมชนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การผลิตที่เข้าไปจัดการกับธรรมชาติ โดยใช้เทคโนโลยีการเกษตรแบบ ต่าง ๆ ทำ�ให้บุคคลไม่เรียนรู้ระบบนิเวศตามธรรมชาติ ไม่เข้าใจความเชื่อมโยงของอิทธิพล ธรรมชาติที่มีต่อการทำ�เกษตรกรรมแบบยั่งยืน มีผลให้การเกษตรแผนใหม่ขูดรีดธรรมชาติ ทำ�ลายคุณภาพดิน แหล่งน้ำ� พันธุ์พืชพื้นเมือง ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ ผลิต เกษตรกรรมในรอบ ๔ ทศวรรษที่ผ่านมาจึงทำ�ลายความอุดมสมบูรณ์และสมดุลของ ธรรมชาติ อันมีผลต่อความยั่งยืนของระบบนิเวศทั้งหมด ในขณะที่แต่เดิมนั้น เกษตรกรรม คือแหล่งเรียนรู้ระบบธรรมชาติที่สำ�คัญที่สุดของมนุษย์ ช่วยให้มนุษย์รู้ว่าจะต้องกินอยู่ อย่างไรจึงไม่ทำ�ลายธรรมชาติ การพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนพัฒนา ฯ จึงมิได้ก่อผลทางเศรษฐกิจ แต่กลับนำ�ไป สู่ความยากจน ล้มละลายจากหนี้สินดังที่ปรากฏอยู่ ไม่เพียงเท่านั้น มันยังได้ไปทำ�ลายการ เรียนรู้แบบบูรณาการที่เชื่อมโยงบุคคลไปสู่สังคม ธรรมชาติ กลายเป็นผู้บริโภคตามที่ธุรกิจ ผลิต กินอยู่ตามแรงกระตุ้นของการโฆษณา โดยขาดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา กลไกการตลาด ทำ�ให้ระบบธุรกิจเติบโตและมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยเกือบทุกด้าน และมีอำ�นาจ เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วควบคู่มากับระบบราชการ ในลักษณะเอื้อผลประโยชน์กันและกัน กลายเป็นภาคี”ธุรกิจการเมือง” ในปัจจุบัน ๒.๓ การเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

ก่อนเรียน

49 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบ”ทันสมัย” รวมทั้งการ ผลิตกำ�ลังคนเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจตามแนวทางดังกล่าว จึงต้องมีการรวม ศูนย์จัดการศึกษาให้ตอบสนองต่อแผนพัฒนาฯ ที่รัฐกำ�หนดขึ้น การขยายการศึกษาภาค บังคับ การจัดตั้งโรงเรียนประชาบาล โรงเรียนเทคนิค(เพื่ออุตสาหกรรม) มหาวิทยาลัย ภูมิภาค จึงขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงแผนพัฒนา ฯ การที่นิยามของ”ความรู้”ถูกกำ�หนด ขึ้นใหม่โดยรัฐ ตามเกณฑ์กำ�หนดของแนวคิดตะวันตก หลักสูตรการศึกษาที่จัดขึ้นตามคำ� นิยามนั้น จึงมีความคับแคบ ไม่เชื่อมโยง เพราะ”ความรู้”ถูกระบุให้มีอยู่เฉพาะในโรงเรียน สถานศึกษา และผู้เป็นครูอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ทำ�ให้แหล่งความรู้และเนื้อหา ความรู้อื่น ๆ ที่มีอยู่เดิม มิใช่ความรู้อีกต่อไป การศึกษาที่รัฐจัดขึ้น จึงทำ�ลายความหลาก หลายของเนื้อหา ทำ�ลายความเชื่อมโยงทุกระดับ แยกชีวิตออกมาสู่มิติเดียว คือการศึกษา ให้มีความรู้ประกอบอาชีพ มิหนำ�ซ้ำ�ยังมุ่งที่อาชีพในตลาดงานจ้าง ( วิชาชีพ งานเทคนิค ฯลฯ) มิใช่งานเกษตรกรรม หัตถกรรมในฐานเก่าของสังคมไทย ระบบการศึกษาในรอบ ๔ ทศวรรษ จึงไม่เกี่ยวข้องกับสังคม ไม่สนใจธรรมชาติ การศึกษาในระบบโรงเรียนที่บังคับเรียนของรัฐ จึงเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีบูรณาการ ไม่ปรับ เข้ากับกระบวนเรียนรู้แบบบูรณาการที่มีอยู่เดิมในชุมชน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในวิถี ชีวิตของผู้เรียน ผ่านกิจกรรมในชีวิตประจำ�วันอันหลากหลายมากมาย ผ่านหน้าที่ของการ เป็นสมาชิกครอบครัว ชุมชน ศาสนิกชน ฯลฯ โดยมีแหล่งหรือฐานการเรียนรู้หลากหลาย เช่นเดียวกับเนื้อหา และมีพลวัตเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการอยู่ตลอดเวลา เป็นการเรียน รู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง สังคมจริง มิได้จำ�กัดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้เพื่อการอาชีพหรือเพื่อ เรียนต่อยอดสูงขึ้นไปเพียงอย่างเดียว การศึกษาในกระบวนทัศน์แบบแยกส่วน จึงไม่สามารถพัฒนาชีวิต สังคม ธรรมชาติ ได้ดังที่ถูกคาดหวัง ในทางตรงข้าม การศึกษาดังกล่าวได้สร้างการเรียนรู้แบบไม่ บูรณาการ ซึ่งทำ�ให้คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น( ยิ่งเรียนยิ่งเห็นแก่ตัว ) มีความเครียด ขาดความ คิดสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหาไม่เป็น ไม่สนใจการเมืองการปกครอง ขาดจิตสำ�นึกสาธารณะ ไม่อนุรักษ์ธรรมชาติ เพราะการเรียนรู้ถูกแยกส่วน ไม่เห็นความเชื่อมโยงของชีวิต สังคม และธรรมชาติ ๒.๔ การเปลี่ยนแปลงค่านิยม การพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามแผนพัฒนา ฯ จะเกิดขึ้นได้ จำ�เป็น จะต้องมีการส่งเสริมค่านิยมแบบใหม่และล้มล้างค่านิยมเดิมที่เป็นอุปสรรค แผนพัฒนา ฯ มุ่งขยายอัตราการเจริญเติบโตของรายได้ประชาชาติและผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ คำ�ขวัญสำ�คัญของยุคพัฒนาฯ คือ “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” โยงความสุขเข้า


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

50

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

กับเงิน โดยแยกส่วนมุ่งที่ความสุขทางร่างกาย คือการบริโภควัตถุเพิ่มขึ้น หารายได้มากขึ้น เพื่อใช้จ่ายได้มากขึ้น แต่เดิมนั้น แหล่งเรียนรู้ด้านค่านิยมของบุคคลมาจากฐานทางพระพุทธศาสนา โดยพระสงฆ์มีบทบาทสูงในการอบรมสั่งสอน ร่วมกับวิถีชีวิตที่พึ่งพาอาศัยกันในชุมชน เอื้อให้บุคคลได้เรียนรู้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความสุขทางจิตใจจากการช่วยเหลือเกื้อกูล กัน สังคมให้คุณค่ากับความดีและคนดี พิจารณาได้จากผู้นำ�ตามธรรมชาติในระบบชุมชน คือผู้มีความรู้และมีจริยธรรม ผู้นำ�ตามธรรมชาติเหล่านี้ลดบทบาทไปจากการแต่งตั้งผู้นำ� ทางการ (ผู้ใหญ่บ้าน กำ�นัน) และการเติบโตของการเมืองท้องถิ่น และสภาพเศรษฐกิจที่ ทำ�ลายการรวมกลุ่มและความร่วมมือในสาธารณกิจของชุมชน ค่านิยมใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น ผ่านสื่อมวลชน ระบบการศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจ คือ ค่านิยมของวัฒนธรรมบริโภค นิยม ปัจเจกนิยม ที่มีค่านิยม-ความเชื่อในความสุขจากการบริโภควัตถุ โดยละเลยการ พัฒนาจิตใจ บุคคลจึงแข่งขันกันสะสมและบริโภควัตถุ ความสำ�เร็จ อำ�นาจ บารมี ฯลฯ วัดด้วยวัตถุ วิถีชีวิตในค่านิยมแบบนี้ ทำ�ให้บุคคลมุ่งการแข่งขันมากกว่าความร่วมมือ เห็น ความสุขของตนเองมาก่อนคนอื่นและสังคม ไม่ได้เรียนรู้ความสุขทางด้านจิตใจจากการ สัมพันธ์ร่วมมือและเกื้อกูลผู้อื่น นอกจากนี้ ธรรมชาติยังถูกทำ�ลายเพื่อนำ�มาตอบสนองการบริโภคทางวัตถุของ มนุษย์อีกด้วย ระบบค่านิยมนี้ แยกบุคคลออกจากกัน เอาความสุขความพอใจของตนเอง เป็นศูนย์กลาง ลักษณะดังกล่าวปิดกั้นการเรียนรู้ของบุคคลในทุกระดับ เนื่องจากการ ปฏิสัมพันธ์(Interactive) เป็นเงื่อนไขสำ�คัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคคล การเรียน รู้ที่ขาดบูรณาการธรรมชาติกับบุคคล ทำ�ให้เกิดการบริโภคอย่างไม่เข้าใจขีดจำ�กัดของ ธรรมชาติ ไม่เข้าใจว่าพฤติกรรมในวิถีชีวิตของตนเอง คือรากเหง้าสำ�คัญของปัญหาสิ่ง แวดล้อม และความไม่ยุติธรรมทางสังคม ๒.๕ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี สัญลักษณ์สำ�คัญของความ”ทันสมัย”หรือ”ความก้าวหน้า” คือเทคโนโลยี และ ฐานสำ�คัญของการเพิ่มผลผลิตและอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม โดย เฉพาะในภาคอุตสาหกรรมใหม่คือเทคโนโลยี ดังนั้น การพัฒนาแบบใหม่จึงก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีทุกด้านของประเทศไทย ทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการ และวิถีชีวิตแบบเมืองที่ขยายตัวไปทั่วประเทศ ก่อให้เกิดการใช้เทคโนโลยีเพื่อ ความสะดวก สบาย รวดเร็ว มากขึ้นทั้งในแนวกว้าง และในแนวลึก หมายถึงปริมาณการ ใช้ขยายตัวมากขึ้น และก้าวหน้าอย่างเท่าเทียมกับต่างประเทศ เช่น เทคโนโลยีทางการ แพทย์ เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมหนัก เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ความบันเทิง ฯลฯ การ

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

เปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดังกล่าว นำ�เข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ การเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยีในการผลิตและการบริโภคนี้ มีผลกระทบ ต่อการเรียนรู้อย่างสำ�คัญของคนไทย และบ่มเพาะลักษณะนิสัยที่เป็นโทษต่อการพัฒนา ชีวิตและสังคมไทยหลายประการ เนื่องจากการนำ�เข้าเทคโนโลยี เพื่อนำ�มาใช้มาเสพ จะ ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งตรงข้ามกับผู้สร้างเทคโนโลยี ที่จะต้องอาศัยฐานความรู้ทาง ด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อมาประยุกต์เป็นเทคโนโลยี (Know - How) และอาศัยความคิด สร้างสรรค์ในการประดิษฐ์คิดค้น พัฒนา ดังนั้นผู้สร้างเทคโนโลยีจึงได้พัฒนาการเรียนรู้ ทั้งวิทยาศาสตร์ จินตนาการ การจัดการ ฯลฯ ในขณะที่ผู้เสพเทคโนโลยีอย่างเดียวจะไม่ได้ เรียนรู้และพัฒนาในเรื่องดังกล่าว มิหนำ�ซ้ำ� วิถีชีวิตของการเสพเทคโนโลยี ยังทำ�ลายการ เรียนรู้ของบุคคล ก่อให้เกิดความมักง่าย ติดความสะดวก สบาย ไม่เป็นผู้สร้าง ไม่คิดค้น ใฝ่รู้-แสวงหาเหตุผล นิยมของสำ�เร็จรูป ฯลฯ ลักษณะนิสัยดังกล่าวของบุคคลจากการเสพ เทคโนโลยี คืออุปสรรคสำ�คัญอย่างยิ่งของการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคคล ( สนใจอ่านราย ละเอียดได้ใน พระธรรมปิฏก : คนไทยสู่ยุคไอที ) ขอขอบคุณ: มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (Midnight University) แหล่งข้อมูล: http://www.reocities.com/midculture44/newpage4.html 

วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

ก่อนเรียน

51


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

52

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011

ใน

สิงห์หนังสือ

โอกาสเปิดเล่ม “ก่อนเรียน”ฉบับนี้ ทีมงานผู้เรียบเรียงได้คุยกันหลาย นานทีเดียวว่าจะพาหนังสือเล่มไหนมาทำ�ความรู้จักกับเพื่อนๆใหม่ดี การเรียนในระดับ มหาวิทยาลัยนี้เราจะได้ทำ�การค้นคว้าทางวิชาการนอกห้องเรียนมากขึ้นนับแต่วิชาแรก โดยเฉพาะวิชาทางรัฐศาสตร์ ที่อาจารย์ผู้สอนจะได้แนะนำ�หนังสืออ่านอ่านประกอบมาให้ เราอย่างตื่นตาตื่นใจพอสมควรเลย และก็มีบางเล่มที่น่าประทับใจหากจะได้อ่านเป็นพื้น ฐานเพื่อการศึกษาทางสังคมต่อไป เวลาอากาศดีๆ คงมีบ้างที่บางคนอาจได้ออกเดินเลียบฝั่งเจ้าพระยาท่าพระจันทร์ ขณะนี้ดูยากที่จะจินตนาการว่าครั้งหนึ่งที่เมืองนั้นยังเยาว์ เมื่ออกจากศูนย์ราชการและ ชุมชนย่านพระนครแล้วบ้านแต่ละหลังแทบจะอยู่ห่างคนละท่าน้ำ� มีสถานสังสรรค์ให้ฝัน ถึงเพียงไม่กี่แห่ง และในเวลาไม่ถึง 70 ปี ผู้คนแถบนั้นที่เติบโตในช่วงเวลาดังกล่าวอาจไม่รู้ จักส้มตำ� แกงไตปลา หรือน้ำ�พริกอ่อง หากไม่ได้เดินทางจากบ้านเกิด จนกระทั่งกระแสการพัฒนาสร้างถนนทุกสายมุ่งสู่เมืองพร้อมทั้งทรัพยากรที่ถูก นำ�มาหล่อเลี้ยง ผองชนจากหลากหลายวิถีชีวิตก็มีเหตุแห่งเส้นทางที่มาบรรจบกันในความ เคลื่อนไหวนี้ เมื่ อ พู ด ถึ ง จุ ด เปลี่ ย นผ่ า นครั้ ง สำ � คั ญ ของสั ง คมไทยที่ ไ ด้ มี ก ารวางแผนพั ฒ นา เศรษฐกิจอย่างเชัดเจน ก็คงต้องนึกถึงสมัยของรัฐบาลจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ หนังสือเล่ม แรกที่จะเล่าถึง คือ การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ โดยศ.ทักษ์ เฉลิมเตียรณ ได้อธิบายเกี่ยวกับบริบททางการเมืองของสมัยดังกล่าวไว้ในหลายๆด้าน การขึ้นสู่อำ�นาจ ของจอมพลสฤษฎิ์ บ่งบอกถึงสถานการณ์การเมืองหลังจากการปฏิวัติ 2475 ที่จะต้องขยาย พื้นที่ของระบอบประชาธิปไตยเพื่อให้รองรับพลังทางสังคมส่วนที่ไม่ใช่ชนชั้นนำ�เข้ามาเป็น องค์ประกอบเพิ่มเติม โดยมีความจำ�เป็นต้องเข้าใจถึงฐานะทางการเมืองของปัจเจกบุคคล ในแต่ละสังคมที่มโนทัศน์ของความเป็นปัจเจกภาพมีความต่างกันอีกด้วย คงมีเวลาสนทนาเกี่ยวกับสังคมของเราอีกหลายๆโอกาส แต่ในครั้งนี้ยังมีหนังสือ เกี่ยวกับวงการบริหารรัฐกิจมาทำ�ความรู้จัก การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย : กระแส ใหม่และสิ่งท้าทาย โดยศุภชัย ยาวะประภาษ หนังสือเล่มนี้จะสะท้อนถึงแนวคิด และ ความเปลี่ยนแปลงของการบริหารงานบุคคลภาครัฐโดยเฉพาะในช่วงประมาณ 10 กว่าปี ที่ผ่านมาเมื่อปัจจัยด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมส่งผลกระทบต่อลักษณะ การบริหารงานบุคคลภาครัฐอย่างค่อนข้างชัดเจน ไม่ว่าในระดับที่เป็นโยบายหรือหลัก เกณฑ์ วิธีการ ตั้งแต่กระบวนการกำ�หนดขนาดกำ�ลังคน การสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง พัฒนา ข้าราชการ ประเมินผลการปฏิบัติงาน จนถึงการกำ�หนดค่าตอบแทน วินัย การลงโทษและ การพ้นสภาพบุคลากร

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

ก่อนเรียน

53 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการบริหารเชิงปฏิบัติและการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้องอันจำ �เป็น อย่างยิ่งในอนาคตต่อการทำ�งาน ในอีกแง่มุมหนึ่งของหนังสือเล่มนี้คือ เราจะเห็นรูป แบบความสัมพันธ์ของรัฐต่อบุคคลที่เข้ามาทำ�งานให้เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่แบบแผน ความเป็นองค์กรชัดเจนยิ่งขึ้น จากนัยยะความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างผู้ใหญ่ – ผู้น้อยที่ อยู่ในวัฒนธรรมการปกครองไทยก็ได้มุ่งไปสู่การมองเรื่องศักยภาพของปัจเจกบุคคลที่ สามารถสร้างผลิตภาพแก่ระบบรัฐ หลักการบริหารยุคใหม่จะปรับตัวอยู่ในสังคมไทยได้ อย่างไรก็เป็นเรื่องที่น่าคิดคำ�นึง นับถึงวันนี้ องค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ได้ขยายตัวอย่างกว้างขวางโดยการเข้าไป ศึกษาพื้นที่ทางสังคมที่หลายหลายขึ้นเรื่อยๆ นอกจากการเข้าถึงความรู้จะไม่สามารถ ผูกขาดไว้กับตัวบุคคลหรือสถาบันใดสถาบันหนึ่ง ปัญหาท้าทายในยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีอยู่ อย่างแพร่หลายคือเราจะสัมพันธ์กับแต่ละสิ่งที่ได้รับรู้อย่างไรท่ามกลางความซับซ้อนของ สถานการณ์ต่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ซึ่งนั่นจะสืบเนื่องถึงการมี/เป็นอยู่ของ “ความจริง” ว่า เป็นอย่างไร คงอยู่โดยตัวเองหรือไม่ เป็นกลางหรือแฝงไปด้วยค่านิยมจากโลกทรรศน์ใด ฯลฯ การทำ�ความรู้จักญาณวิทยาหรือแนวทางการมอง ก่อร่าง จนถึงวิพากษ์ปรากฏการณ์ จึงอาจพอจะเป็นหลักศิลากลางน้ำ�เชี่ยวให้เราระดับหนึ่ง หากจะจัดสรรพื้นที่การรับรู้ความ เป็นไปในชีวิตที่ภาระรับผิดชอบสูงขึ้น ขอแนะนำ�รัฐศาสตร์แนววิพากษ์ โดยไชยรัตน์ เจริญ สินโอฬาร ที่จะพาเราไปรู้จักญาณวิทยาทางสังคมศาสตร์นานาสำ�นัก ตั้งแต่ประจักษ์นิยม วิเคราะห์ภาษา ปรากฏการณ์วิทยา มาร์กซิสม์ จนถึงหลังโครงสร้างนิยม รวมถึงการตั้งข้อ สังเกตต่อการศึกษารัฐศาสตร์ยุคร่วมสมัยอีกด้วย เล่มต่อมา การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทย โดย อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล จะให้ภาพกว้างของการก่อร่างรัฐชาติไทยนับแต่รัชกาลที่ 5 แห่งรัตนโกสินทร์ ในความเปลี่ยนเปลงเข้าสู่ความเป็นรัฐแบบตะวันตก สังคมไทยมีลักษณะการปรับตัวบาง อย่างที่เป็น “เฉพาะ” แม้ส่วนหนึ่งจะถูกกระทบด้วยกระแสการล่าอาณานิคมในอุษาคเนย์ ในยุคนั้นก็ตาม ผู้เขียนได้วิเคราะห์ถึงการคงความสัมพันธ์ที่มีการจัดลำ�ดับชั้นแบบผู้ใหญ่ผู้น้อยซึ่งต่างฝ่ายต่างมีพันธะต่อกัน (เห็นได้ว่าระบบอุปถัมภ์ได้ถูกสร้างขึ้นในรูปของสาย สัมพันธ์กับพรรคการเมือง โครงการพัฒนาต่างๆ และอำ�นาจทางราชการถึงในปัจจุบัน) การปรับโครงสร้างอำ�นาจให้มาเป็นกองทัพประจำ�การและระบบบริหาร ราชการแผ่นดินแบบรวมศูนย์ และการยกเลิกระบบไพร่นั้นหาได้โยงใยอยู่กับ แนวคิดประชาธิปไตย ยังให้เกิดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ�โดยโครงสร้างโดย เฉพาะ ทั้งระหว่างเมืองกับชนบทและระหว่างคนรวยกับคนจน การที่รัฐมีฐานะครอบงำ� ที่เด่นชัดและเมื่อปัญหาได้ส่งสม สถานการณ์ใหม่จากโลกาภิวัตน์ไม่เพียงกระทบต่อ ระบอบประชาธิปไตยแต่สั่นคลอนการดำ�รงอยู่ของรัฐไทยโดยตรง หากการพัฒนาโดยมีรัฐ เป็นผู้วางแผนทำ�ให้รัฐเป็นผู้ดูแลหน่วยส่วนรวมแต่ผลพวงคือเกิดการเหลื่อมล้ำ�ระหว่าง ศูนย์กลาง – ท้องถิ่น เมื่อเชื่อมกับเศรษฐกิจแบบไร้พรมแดน ก็ยิ่งตอกย้ำ�ความไร้บทบาท ของสังคมที่เสียเปรียบและถูกกีดกันออกจากฐานทรัพยากรของตนเองเมื่อทุนเป็นกลไก สำ�คัญในการจัดสรร แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เข้าถึง ผู้วิจัยยังเสนอแนะถึงจำ�เป็นที่มโนทัศน์ทางการ


วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 June-July 2011 เมืองไทยยังผูกพันอยู่กับบทบาทการนำ�แบบเดิม และปรากฏว่ากลไกรัฐที่ก่อตั้งและสั่งสม กำ�ลังมาก่อนอย่างกองทัพมีการจัดตั้งที่มั่นคงกว่า จนสามารถเข้ามามีบทบาททางการ เมืองได้อย่างยาวนาน ทั้งนี้ยังมีปัจจัยภายนอกอย่างสงครามเย็นที่สนับสนุนให้วาระความ มั่นคงสามารถให้อำ�นาจกับผู้นำ�อย่างเด็ดขาด ในเงื่อนไขนี้การพัฒนาประเทศซึ่งเป็นกระ แสโลกฝ่ายตะวันตก สามารถสร้างพื้นที่อยู่ในสังคมการเมืองไทยอย่างไรเป็นประเด็นที่น่า ติดตามประเด็นหนึ่ง

54

ก่อนเรียน


Create by Jc-sighadang Supported by the facalty of political science

การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ (THAILAND: THE POLITICS OF DESPOTIC PATERNALISM) ผู้แต่ง/ผู้แปล : ศ.ทักษ์ เฉลิมเตียรณ และคณะ/พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคณะ ISBN : 9786167202006 พิมพ์ : 3 / 2552 กรุงเทพฯ สำ�นักพิมพ์มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย : กระแสใหม่และสิ่งท้าทาย ผู้แต่ง : ศุภชัย ยาวะประภาษ ISBN: 9749321901 ปีที่พิมพ์ : 2548 กรุงเทพฯ ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัฐศาสตร์แนววิพากษ์ ผู้แต่ง/ผู้แปล : ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร ISBN : 9789749900253 ปีพิมพ์ : 2551 กรุงเทพฯ สำ�นักพิมพ์วิภาษา

ก่อนเรียน

55 วารสารเม็ดเลือดแดง : ก่อนเรียน

การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทย ผู้แต่ง : เสกสรรค์ประเสริฐกุล ISBN :742729808 ปีที่พิมพ์ : 2548 กรุงเทพฯ สำ�นักพิมพ์อมรินทร์


Speacial Thanks ขอบคุณพี่ๆ ที่คอยเป็นกำ�ลังใจเสมอ ขอบคุณพวกเธอสิงห์แดง #60 ขอบคุณน้อง #61 62 คอยเกื้อกูล ขอบคุณ น้องใหม่สดใส #63 ขอบคุณสต้าฟเม็ดเลือดคอยสร้างงานน่าติดตาม ขอบคุณหนังสือเล่มงานจากคณะรัฐศาสตร์ และห้ามพลาด!! ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ สามัคคี ประเพณี เป็นพี่น้อง สามัคคี ประเพณี เป็นพี่น้อง สามัคคี ประเพณี เป็นพี่น้อง by กองบรรณาธิการ



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.