e-news_5-6_38

Page 1

รายงานผลการสารวจ ความคิดเห็นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการคาดการณ์ ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในครึ่งปีแรกของปี 2556 และตลอดทั้งปี 2556 สานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ดาเนินการสารวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ เกี่ยวกับการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ในครึ่ง ปีแรก และตลอดทั้งปี 2556 ตั้งแต่ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 ถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2555 จานวนผู้ตอบแบบสอบถาม ทั้งหมด 331 ราย ครอบคลุม 7 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย จาแนกเป็น 1. กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น 2. กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง 3. กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักรกล 4. กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 5. กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร 6. กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน 7. กลุ่มอุตสาหกรรมสนับสนุน สัดส่วนจานวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด จาแนกเป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรม ข้างต้น คิดเป็นร้อยละ 9.1 22.1 14.8 5 .4 18 .1 3 .9 และ ร้อยละ 26.6 ของผู้ตอบ แบบสอบถามทั้งหมด ตามลาดับ (ภาพที่ 1)

หากจาแนกตามขนาดกิจการ คือ กิจการขนาดเล็ก (มีการจ้างงานน้อยกว่า 50 คน) กิจการขนาดกลาง (มีการ จ้างงานอยู่ระหว่าง 50 ถึง 199 คน) และกิจการขนาดใหญ่ (มีการจ้างงานตั้งแต่ 200 คน ขึ้นไป) คิดเป็นร้อยละ 30.21 35.65 และร้อยละ 34.14 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ตามลาดับ (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 1 สัดส่วนจานวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด จาแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม

ผู้ตอบแบบสอบถามมีการกระจายตัวอยู่ใน 5 ภูมิภาคของประเทศ ภาคกลางมีสัดส่วนผู้ตอบ แบบสอบถามมากที่สุดคือคิดเป็นร้อยละ 50.15 ของผู้ตอบ แบบสอบถามทั้งหมด รองลงมาคือ ภาคใต้ ร้อยละ 14.50 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 12.99 ภาคเหนือ ร้อยละ 12 .08 และภาคตะวันออก ร้อยละ 10 .27 ของผู้ตอบ แบบสอบถามทั้งหมด ตามลาดับ นอกจากนี้ร้อยละ 58.91 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ทั้งหมดมีการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ และร้อยละ 56.50 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมีการนาเข้าวัตถุดิบ ในการผลิตสินค้าจากต่างประเทศ ผลการสารวจมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย

ภาพที่ 2 สัดส่วนจานวนผู้ตอบแบบสอบถาม จาแนก ตามขนาดกิจการ

ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย

1


1. การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกของปี 2556 และตลอดทั้งปี 2556 ภาวะเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกของปี 2556 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 40.48 ของผู้ตอบ แบบสอบถามทั้งหมด คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะทรงตัว ใกล้เคียงกับ ครึ่งปีหลังของปี 2555 รองลงมา คือ ร้อยละ 32.02 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด มีการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น มีเพียงร้อยละ 27.49 ที่คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกของปี 2556 จะแย่ลง เมื่อเทียบ กับครึ่งปีหลังของปี 2555 ตามลาดับ (ภาพที่ 3) ทั้งนี้สาเหตุที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกของปี 2556 จะทรงตัวใกล้เคียง กับครึ่งปีหลังของปี 2555 นั้น เนื่องมาจากการบริโภคของ ภาคเอกชนที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง จากการสิ้นสุดลงของ มาตรการกระตุ้นการบริโภคจากภาค รัฐ เช่น โครงการคืน ภาษีรถยนต์คันแรกที่สิ้นสุดลงในปี 2555 และโครงการบ้าน หลังแรกที่จะสิ้นสุดลงในไตรมาสแรกของปี 2556 อีกทั้ง การลงทุนของภาคเอกชนมีแนวโน้มที่จะกลับเข้าสู่ภาวะ ปกติเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2555 ที่การลงทุนของ ภาคเอกชนขยายตัวสูง อันเนื่องมาจากการลงทุนเพื่อฟื้นฟู ความเสียหายของที่อยู่อาศัย อาคารโรงงาน เครื่องมือ เครื่องจักร จากมหาอุทกภัยช่วงปลายปี 2554 นอกจากนี้ ยังมีข้อจากัดในการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน สูง เนื่องจากต้นทุนค่าจ้างที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม จากนโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นต่า 300 บาท/วัน ทั่วประเทศ น่าจะเป็นตัวช่วยสร้างอุปสงค์ให้กับผู้บริโภคภายในประเทศ ได้บ้าง แต่ทั้งนี้ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่มี ความไม่แน่นอน โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศหลักอย่าง สหรัฐอเมริกา และยุโรปที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะดาเนินการ แก้ปัญหา Fiscal Cliff และปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของ ยูโรโซนต่อไปอย่างไร

ส่วน ภาวะเศรษฐกิจไทยตลอดทั้งปี 2556 นั้น ผู้ประกอบการที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.27 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2555 รองลงมา คือ ร้อยละ 34.14 คาดการณ์ว่าจะ ทรงตัว และ สุดท้ายร้อยละ 26.59 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยตลอดทั้งปี 2556 จะแย่ลง เมื่อเทียบกับปี 2555 ตามลาดับ (ภาพที่ 4 ) ทั้งนี้สาเหตุที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยตลอดทั้งปี 2556 จะดีขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2555 นั้น เนื่องมาจากการลงทุนของภาครัฐ ที่คาดว่าจะเริ่ม ทยอยลงทุนมากขึ้นในปี 2556 ในการเบิกจ่ายของงบบริหาร จัดการน้ามูลค่า 3.5 แสนล้านบาท และงบการลงทุนใน โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาประเทศวงเงิน 2.27 ล้าน ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการระยะยาวที่น่าจะเป็นกลไกสาคัญ ในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย กระตุ้นการผลิตและการ บริโภคทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือน นอกจากนี้คาดว่าน่าจะมี ความคืบหน้าของการแก้ ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในประเทศ สาคัญ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของ ยูโรโซน และการเร่งแก้ไขปัญหา Fiscal Cliff ของสหรัฐ อเมริกา ซึ่งส่งผลให้การลงทุนและการส่งออกของไทย ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการฟื้นตัวขึ้นของ เศรษฐกิจจีนที่ได้รับ ผล จากนโยบาย ของ ภาครัฐที่ได้ ดาเนินการบ้างแล้ว และคาดว่าจะเห็นผลชัดเจนมากขึ้นในปี 2556 รวมทั้งในภายหลังที่ มี การเปลี่ยนผ่านผู้นาทาง การเมืองของจี นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ยิ่ง จะ ทา ให้การ ดาเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนเห็นผล ที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่ง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่แข็งแกร่ง จะส่งผลในทางบวก ต่อการส่งออกของไทย เนื่ องจากจีนเป็นประเทศคู่ค้า ที่ สาคัญรายหนึ่งของไทย

ภาพที่ 3 การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทย ในครึ่งปีแรกของปี 2556

ภาพที่ 4 การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทย ตลอดทั้งปี 2556

ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย

ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย

2


กล่าวโดยสรุปคือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จากจานวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยใน ครึ่งปีแรกของปี 2556 จะมีแนวโน้มขยายตัวอย่างช้าๆ ค่อนข้างที่จะทรงตัวใกล้เคียงกับ ครึ่งปีหลังของปี 2555 ส่วนภาวะ เศรษฐกิจไทยตลอดทั้งปี 2556 มีแนวโน้มขยายตัวหรือดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2555 โดยได้รับแรงส่งจาก อุปสงค์ภายในประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะการลงทุนของภาครัฐที่คาดว่าจะเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมทาง เศรษฐกิจของไทย นอกจากนี้ น่าจะยังมีแ รงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ ของต่างประเทศ ที่แม้ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะ ยังคงมีความเสี่ยง แต่กม็ ีแนวโน้มว่าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นได้ในช่วงปลายปี 2556

2. การคาดการณ์ภาพรวมในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ในครึ่งปีแรกของปี 2556 และ ตลอดทั้งปี 2556 ผลจากการสารวจพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 38.07 ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์ว่า ภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรมของตน ในครึ่งปีแรก ของปี 2556 จะทรงตัวใกล้เคียงกับครึ่งปีหลังของปี 2555 รองลงมา คือ ร้อยละ 33.23 มีการคาดการณ์ว่าจะดีขึ้น มี เพียงร้อยละ 28.70 ที่คาดการณ์ว่าภาพรวมของ กลุ่ม อุตสาหกรรมของตน ในครึ่งปีแรกของปี 2556 จะแย่ลง เมื่อ เทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2555 ตามลาดับ (ภาพที่ 5)

การคาดการณ์ภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม ตลอดทั้งปี 2556 ผู้ประกอบการที่ตอบแบบสอบถามส่วน ใหญ่ ร้อยละ 38.37 คาดการณ์ว่าจะดีขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2555 รองลงมา คือ ร้อยละ 33.84 คาดการณ์ว่าจะทรงตัว และสุดท้ายร้อยละ 27.79 คาดการณ์ว่าภาพรวมของกลุ่ม อุตสาหกรรมของตน ตลอดทั้งปี 2556 จะแย่ลง เมื่อเทียบ กับปี 2555 ตามลาดับ (ภาพที่ 6)

ภาพที่ 5 การคาดการณ์ภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม ในครึ่งปีแรกของปี 2556

ภาพที่ 6 การคาดการณ์ภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม ในครึ่งปีแรกของปี 2556

ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย

ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย

กล่าวโดยสรุปคือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จากจานวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด คาดการณ์ว่าภาพรวมของกลุ่ม อุตสาหกรรมของตนในครึ่งปีแรกของปี 2556 จะทรงตัวใกล้เคียงกับ ครึ่งปีหลังของปี 2555 ส่วนภาพรวมของกลุ่ม อุตสาหกรรมของตนตลอดทั้งปี 2556 คาดการณ์ว่าจะดีขึ้น ซึ่งผลการสารว จนี้เป็นไปในลักษณะหรือทิศทางเดียวกันกับ การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทยข้างต้น ซึ่งเป็นตัวสะท้อนได้ว่าผู้ประกอบการมองภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรมของตน จากพื้นฐานการคาดการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก หากพิจารณาเป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรม ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม อุตสาหกรรมแฟชั่น กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักรกล กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทร อนิกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน และกลุ่มอุตสาหกรรมส นับสนุน สามารถสรุป สถานการณ์ภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ จากผลการสารวจได้ดังนี้

3


กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น

สถานการณ์กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นในครึ่งปีแรก ของปี 2556  ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นที่ตอบ แบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 50.00 มีการคาดการณ์ ว่าในภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นอาจจะแย่ลง เมื่อ เทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2555 รองลงมาคือ ร้อยละ 30.00 คาดว่าภาพรวมจะทรงตัว และอีกร้อยละ 20.00 คาดการณ์ ว่าภาพรวมกลุ่มอุต สาหกรรมแฟชั่นจะดีขึ้น เมื่อเทียบกับ ครึ่งปีหลังของปี 2555 (ภาพที่ 7)  ภาพรวมของการดาเนินกิจการ ผู้ประกอบการใน กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 46.67 คาดการณ์ว่า ผลของการดาเนินกิจการของ ตนจะแย่ลงเมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2555 ซึ่งมีสาเหตุ มาจากต้นทุนการผลิตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ทั้งจากราคา วัตถุดิบ ค่าไฟฟ้า และค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น รวมทั้ง ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ประกอบกับยอดขายและ ยอดรับคาสั่งซื้อโดยรวมที่คาดว่าในครึ่งปีแรกของปี 2556 จะลดลง โดยเฉพาะยอดขายและยอดรับคาสั่งซื้อจาก ต่างประเทศที่ คาดว่าอาจลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 7.10 และ 7.27 ตามลาดับ แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีการคาดการณ์ว่า ยอดขายและยอดรับคาสั่งซื้อภายในประเทศจะยังคงไม่ เปลี่ยนแปลงมากนัก เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2555 ซึ่ง หากพิจารณาผลของการดาเนินกิจการ โดยแบ่งเป็น ประเภทอุตสา หกรรม จะพบว่า ยอดขายโดยรวมของ อุตสาหกรรมเครื่องประดับอาจมีแนวโน้มลดลงสูง สุดในกลุ่ม อุตสาหกรรมแฟชั่น รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม  ด้านของการจ้างแรงงานภายในกลุ่มอุตสาหกรรม แฟชั่น หลังจากที่มีการประกาศใช้อัตราค่าจ้างแรงงานขั้น ต่า 300 บาท/วัน ทั่วประเทศ ในวันที่ 1 มกราคม 2556 นั้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ 50 .00 ของผู้ตอบ แบบสอบถาม คาดการณ์ว่าอาจจะมีการลดการจ้างแรงงาน ลง โดยเฉลี่ยร้อยละ 7.93 จากจานวนแรงงานเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น (labour intensive)

สถานการณ์กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นตลอดทั้งปี 2556  ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น ที่ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์ในลักษณะเดียวกันกับ ช่วง ครึ่งปีแรกของปี 2556 คือ ส่วนใหญ่คาดว่า ภาพรวมกลุ่ม อุตสาหกรรมแฟชั่น และภาพรวมของการดาเนินกิจการของ ตนอาจจะแย่ลงเมื่อเทียบกับปี 2555 เนื่องมาจากต้นทุนการ ผลิตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ประกอบกับยอดขายและยอดรับคา สั่งซื้อโดยรวมที่คาดว่า เฉลี่ย ตลอดทั้งปี 2556 จะลดลงเมื่อ เทียบกับปี 2555 จากความไม่แน่นอนในภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจและกลุ่มผู้บริโภค  ส่วนในด้านของการจ้างแรงงานภายในกลุ่ม อุตสาหกรรมแฟชั่น หลังจากที่มีการประกาศใช้อัตราค่าจ้าง แรงงานขั้นต่า 300 บาท/วัน ทั่วประเทศ ผู้ประกอบการส่วน ใหญ่คาดการณ์ว่าตลอดทั้งปี 2556 อาจจะมีการลดการจ้า ง แรงงานลง โดยเฉลี่ยร้อยละ 7.83 จากจานวนแรงงานเดิม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งไม่ เพียงแต่เป็นอุ ตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจานวนมาก ยังเป็น อุตสาหกรรมที่พึ่งพาการส่งออกเป็นส่ วนใหญ่ด้วย ดังนั้น หากภาวะเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว คาดว่าอาจจะเติบโตได้ ยาก ผู้ประกอบกา รขนาดเล็กอาจทยอยปิดกิจการ ลง ส่วน ผู้ประกอบการขนาดใหญ่อาจมีการย้ายฐานการผลิตไปยัง ประเทศเพื่อนบ้านที่มีต้นทุนต่ากว่า เช่น เวียดนาม ลาว ภาพที่ 7 การคาดการณ์ภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม แฟชั่น

ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย

4


กลุ่มอุตสาหกรรม ก่อสร้างและเครื่องใช้ในบ้าน

สถานการณ์กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและเครื่องใช้ ในบ้านในครึ่งปีแรกของปี 2556  ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ที่ ตอบแบบสอบถาม คือ ร้อยละ 43.84 มีการคาดการณ์ว่าใน ภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและเครื่องใช้ในบ้าน จะ ทรงตัวใกล้เคียงกับครึ่งปีหลังของปี2555 รองลงมาคือ ร้อยละ 31.51 คาดว่าภาพรวมอาจจะแย่ลง และอีกร้อยละ 24.86 คาดการณ์ว่ าภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและ เครื่องใช้ในบ้านจะดีขึ้น เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2555 (ภาพที่ 8) ภาพที่ 8 การคาดการณ์ภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม ก่อสร้างและเครื่องใช้ในบ้าน

ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย  ภาพรวมของการดาเนินกิจการ ผู้ประกอบการที่ ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 41.10 คาดการณ์ว่า ผลของการดาเนินกิจการของตนจะทรงตัวใกล้เคียงกับครึ่งปี หลังของปี 2555 ทั้งยอดขายและยอดรับคาสั่งซื้อสินค้าทั้ง ในประเทศและต่างประเทศที่ส่วนใหญ่คาดว่าในครึ่งปีแรก ของปี 2556 จะค่อนข้างคงที่ เช่น  อุตสาหกรรมเหล็ก  อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ แต่ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรม เซรามิกส์ มี แนวโน้มว่ายอดขายโดยรวมปี 2556 จะเพิ่มขึ้นจากการ ขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศและจากการ ขยายตัวของตลาดอาเซียนเป็นสาคัญ แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยง จากภาวะเศรษฐกิจโลก

 นอกจากนี้ในด้านของการจ้างแรงงานภายในกลุ่ม อุตสาหกรรมก่อสร้างและเครื่องใช้ในบ้าน หลังจาก ที่มีการ ประกาศใช้อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่า 300 บาท/วัน ทั่ว ประเทศ ในวันที่ 1 มกราคม 2556 นั้น ผู้ประกอบการส่วน ใหญ่ ร้อยละ 45.21 ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์ว่า อาจจะมีการจ้างแรงงานเท่าเดิม แต่หากพิจารณาการจ้าง งาน โดยแบ่งเป็นประเภทอุตสาหกรรม จะพบว่า อุตสาหกรร มโรงเลื่อยและโรงอบไม้ และอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์มีความเป็นไปได้ใน การลดการจ้างงานลง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ที่ได้รับผลกระทบมาก ทั้ง ค่าพลังงานและค่าแรง ใน ขณะที่อุตสาหกรรมเหล็ก , ปูนซีเมนต์, หลังคาและอุปกรณ์, แก้วและกระจก , ไม้อัด ไม้ บางและวัสดุแผ่นมีแนวโน้มที่จะจ้างแรงงานเท่าเดิม สถานการณ์กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและเครื่องใช้ ในบ้านตลอดทั้งปี 2556  ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรม นี้ ที่ ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์ในลักษณะเดียวกันกับช่วงครึ่ง ปีแรกของปี 2556 คือ ส่วนใหญ่คาดว่าภาพรวมกลุ่ม อุตสาหกรรมก่อสร้างและเครื่องใช้ในบ้าน และภาพรวมของ การดาเนินกิจการของตนจะทรงตัวใกล้เคียงกับปี 2555 ทั้งนี้เนื่องมาจากแม้ว่ารัฐบาลจะมีโครงการก่อสร้าง ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ออกมาก็ตาม แต่การลงทุน ก่อสร้างของภาคเอกชนในการฟื้นฟูความเสียหายจากภาวะ มหาอุทกภัยช่วงปลายปี 2554 ได้เริ่มทยอยหมดลงแล้วในปี 2555 อีกทั้งยังต้องปรับตัวในการขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่า 300 บาท/วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556

 ด้าน การจ้างแรงงานภายในกลุ่มอุตสาหกรรม ก่อสร้างและเครื่องใช้ในบ้าน หลังจากที่มีการประกาศใช้ อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่า 300 บาท /วัน ทั่วประเทศ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ 43 .84 ของผู้ตอบ แบบสอบถาม คาดการณ์ว่าอาจจะมีการจ้างแรงงานลดลง เล็กน้อยจากจานวนแรงงานเดิมเมื่อเทียบกับปี 2555

5


กลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์และเครื่องจักรกล

สถานการณ์กลุ่ มอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่อง จักรกลในครึ่งปีแรกของปี 2556  ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ที่ ตอบแบบสอบถาม คือ ร้อยละ 55.10 มีการคาดการณ์ว่าใน ภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักรกลจะดี ขึ้น เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2555 รองลงมาคือ ร้อยละ 38.78 คาดว่าภาพรวมจะทรงตัว มีเพียงเล็กน้อยคือร้อยละ 6.12 ทีค่ าดการณ์ว่าภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม ยานยนต์และเครื่องจักรกลอาจจะแย่ลง เมื่อเทียบกับครึ่งปี หลังของปี 2555 (ภาพที่ 9)  ส่วนภาพรวมของการดาเนินกิจการ ผู้ประกอบการ ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 53.06 คาดการณ์ ว่า ผลของการดาเนินกิจการของตนจะดีขึ้น เมื่อ เทียบกับ ครึ่งปีหลังของปี 2555 ซึ่งได้แก่  อุตสาหกรรมยานยนต์  อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์  อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ  อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร มีเพีย งอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือที่คาดว่า แนวโน้มผล ของการดาเนินกิจการจะลดลง  ด้านของการจ้างแรงงานภายในกลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์และเครื่องจักรกล หลังจากที่มีการประกาศใช้อัตรา ค่าจ้างแรงงานขั้นต่า 300 บาท/วัน ทั่วประเทศ ในวันที่ 1 มกราคม 2556 นั้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.02 ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์ว่าจะมีการจ้างแรงงาน เท่าเดิมไม่ เปลี่ยนแปลง เนื่องจากการจ้างแรงงานเดิมใน อุตสาหกรรมยานยนต์นั้นส่วนใหญ่มีอัตราค่าจ้างที่มากกว่า 300 บาท/วัน ประกอบกับมียอดรับคาสั่งซื้อที่จะต้องผลิตให้ ทันตามกาหนด จึงทาให้ไม่ได้รับผลกระทบจากการขึ้น ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ามากนัก และพอที่จะปรับตัวได้ ยกเว้น อุตสาหกรรมอู่ต่อเรือที่อาจมีการลดการจ้างงานลงตามผล ของการดาเนินกิจการ

สถานการณ์กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่อง จักรกลตลอดทั้งปี 2556  ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมยาน ยนต์และเครื่องจักรกลที่ตอบแบบสอบถาม มีการคาดการณ์ ในลักษณะเดียวกันกับในช่วงครึ่งปีแรกของ ปี 2556 กล่าวคือ ส่วนใหญ่คาดว่าภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์และเครื่องจักรกล และภาพรวมของการดาเนิน กิจการของตนจะดีขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2555 โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ ยานยนต์ที่ ได้รับปัจจัยบวกโดยตรงจากนโยบายคืนภาษี รถยนต์คันแรกที่ไม่สามารถผลิตได้ทันเป็นจานวนมากในปี 2555 ซึ่งมีการคาดการณ์ว่ายอดการผลิตรถยนต์ในปี 2556 จะอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านคัน โดยจะเป็นการผลิตเพื่อ จาหน่ายภายในประเทศประมาณ 1.4 ล้านคัน และการผลิต เพื่อการส่งออกประมาณ 1.1 ล้านคัน  นอกจากนี้ในด้านของการจ้างแรงงานภายในกลุ่ม อุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักรกล หลังจากที่มีการ ประกาศใช้อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่า 300 บาท/วัน ทั่ว ประเทศ ในวันที่ 1 มกราคม 2556 นั้น ผู้ประกอบการส่วน ใหญ่ ร้อยละ 46.93 ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์ว่า จะมีการจ้างแรงงานเท่าเดิมเมื่อเทียบกับปี 2555 ภาพที่ 9 การคาดการณ์ภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์และเครื่องจักรกล

ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย

6


กลุ่มอุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

สถานการณ์กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ในครึ่งปีแรกของปี 2556  ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ที่ ตอบแบบสอบถาม คือ ร้อยละ 44.44 มีการคาดการณ์ว่าใน ภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะดีขึ้น เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2555 อีกส่วนหนึ่ง คาดว่าภาพรวมของกลุ่มอาจจะทรงตัว หรือ แย่ลง เมื่อเทียบ กับครึ่งปีหลังของปี 2555 โดยคิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 27.78 เท่ากัน (ภาพที่ 10) ภาพที่ 10 การคาดการณ์ภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย  ภาพรวมของการดาเนินกิจการ ผู้ประกอบการที่ ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 55.55 คาดการณ์ ว่า ผลของการดาเนินกิจการของตนจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับครึ่ง ปีหลังของปี 2555 ทั้งยอดขาย ภายในประเทศ ยอดขาย ต่างประเทศ และยอดรับคาสั่งซื้อจาก ต่างประเทศ มีเพียง ยอดรับคาสั่งซื้อภายในประเทศที่อาจจะลดลง เล็กน้อย ส่วน ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ การดาเนินกิจการ เช่น ต้นทุนการ ผลิตที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากราคาวัตถุดิบและอัตราค่าจ้างแรงงาน , สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ และเศรษฐกิจโลก รวมถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานภายในอุตสาหกรรม  ด้านของการจ้างแรงงานภา ยในกลุ่มอุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากที่มีการ ประกาศใช้อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่า 300 บาท/วัน ทั่ว ประเทศ ในวันที่ 1 มกราคม 2556 นั้น ผู้ประกอบการส่วน ใหญ่ ร้อยละ 38.89 ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์ว่า

จะมีการจ้างแรงงานเท่าเดิม เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่มีการ จ่ายค่าจ้างให้กับแรงงานต่อวัน มากกว่า 300 บาทอยู่แล้ว โดยอยู่ในรูปของค่าล่วงเวลา โบนัส และสวัสดิการต่างๆ1 อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่า จ้างแรงงาน ดังกล่าว ได้ส่งผลใ ห้ภาระต้นทุน รวมของบริษัท เพิ่มสูงขึ้นประมาณ ร้อยละ 3.94-9.632 ซึ่ง อาจส่งผลทาให้บริษัทขนาด เล็กหรือ ธุรกิจ SMEs ขนาดย่อมต้อง ประสบปัญหา เนื่องจาก ปกติ แล้วบริษัทขนาดเล็กมีสัดส่วนของกาไรน้อยมาก สถานการณ์กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ตลอดทั้งปี 2556  ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการที่ตอบแบบสอบถาม มีการ คาดการณ์ในลักษณะเดียวกันกับในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2556 คือ คาดว่าในภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ และภาพรวมของการดาเนินกิจการของ ตนจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2555 ทั้งอุตสาหกรรมไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่อง ทาความเย็น โดยมีปัจจัยส่งเสริมมาจากความต้องการ ภายในประเทศ จากนโยบายของรัฐบาลในการ กระตุ้น เศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ ควรติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การผลิตในเรื่องของตัวน้ายา ที่ใช้ เนื่องจากหลายประเทศ อาจจะ นาจุดนี้มา ใช้ เป็นมาตร การกีดกันทางการค้าที่มิใช่ ภาษี (NTBs) เช่น อินโดนีเซีย อินเดีย ออสเตรเลีย เป็นต้น  แนวโน้ม ของการจ้างแรงงานภายในกลุ่ม อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดทั้งปี 2556 หลังจากที่มีการประกาศใช้อัตราค่าจ้างแรงงา นขั้นต่า 300 บาท /วัน ทั่วประเทศ นั้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ คาดการณ์ว่าอาจจะคงอัตราการจ้างงานเท่าเดิมหรืออาจจะ จ้างงานลดลงจากจานวนแรงงา นเดิม ซึ่งมีความเป็นไปได้ ในอัตราที่เท่าๆ กัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัวของกิจการใน ระยะยาว หากไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ 1 2

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (2554) สานักเศรษฐกิจการแรงงาน สานักงานปลัดกระทรวงแรงงาน (2556)

7


กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร

สถานการณ์กลุ่มอุตสาหกรรม อาหารในครึ่งปีแรก ของปี 2556  ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรม นี้ ที่ ตอบแบบสอบถาม คือ ร้อยละ 41.67 มีการคาดการณ์ว่าใน ภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารอาจจะแย่ลง เมื่อเทียบกับ ครึ่งปีหลังของปี 2555 รองลงมาคือ ร้อยละ 35.00 คาดว่า ภาพรวมจะทรงตัว อีกร้อยละ 23.34 คาดการณ์ว่าภาพรวม กลุ่มอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม อาหารจะดีขึ้น เมื่อเทียบกับ ครึ่งปีหลังของปี 2555 (ภาพที่ 11)  ภาพรวมของการดาเนินกิจการ ผู้ประกอบการที่ ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 36.67 คาดการณ์ว่า ผลของการดาเนินกิจการของตนอาจจะแย่ลงเมื่อเทียบกับ ครึ่งปีหลังของปี 2555 เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้น3 เช่น การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน และแนวโน้มการ ทยอยปรับโครงสร้างราคาพลังงาน รวมทั้งราคาวัตถุดิบที่สูง ประกอบกับ ความไม่แน่นอนในการฟื้นตัวขอ งเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจส่งผลต่อการส่งออก ขณะที่ยอดขายและยอดรับคา สั่งซื้อโดยรวมคาดว่าจะทรงตัว ทั้งอุตสาหกรรมอาหาร น้าตาล และน้ามันปาล์ม มีเพียงสมุนไพรที่อาจมียอดขาย และยอดรับคาสั่งซื้อโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่ หากพิจารณาเป็น รายสาขาในอุตสาหกรรมอาหาร พบว่า อาหารทะเลแช่แ ข็ง , ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป , อาหารทะเลอบแห้ง , ผลิตภัณฑ์ แป้งมันสาปะหลัง มีแนวโน้มยอดขายทรงตัวใกล้เคียงกับครึ่ง ปีหลังของปี 2555 ส่วนผักผลไม้แช่แข็ง เครื่องเทศ และ ผลิตภัณฑ์ข้าวโพด มีแนวโน้มยอดขายโดยรวม เพิ่มขึ้น เป็นต้น  ด้านการจ้างแรงงาน ภายหลังจากที่มีการประกาศ ใช้อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่า 300 บาท /วัน ทั่วประเทศ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ43.33 ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์ว่าอาจจะมีการจ้างแรงงานลดลง เช่น อุตสาหกรรม อาหาร และสมุนไพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ SMEs ใน อุตสาหกรรมสาขาอาหารทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม

3

รายงานแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารไทยโค้งสุดท้ายและในปี 2556 (กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, 2555)

สถานการณ์ กลุ่มอุตสาหกรรม อาหาร ตลอดทั้งปี 2556  ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการที่ตอบแบบสอบถาม คือ ร้อยละ 35 .00 มีการคาดการณ์ว่าในภาพรวมกลุ่ม อุตสาหกรรมอาหารจะทรงตัวใกล้เคียงกับปี 2555 รองลงมา คือ ร้อยละ 33.33 คาดว่าภาพรวมอาจจะแย่ลง และอีกร้อย ละ 31.67 คาดการณ์ว่าภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารจะ ดีขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2555  ภาพรวมของการดาเนินกิจการ ผู้ประกอบการที่ ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 36.67 คาดการณ์ ว่า ผลของการดาเนินกิจการของตนจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2555 กล่าวคือ โดยรวมแล้วผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่ า ในครึ่งปีหลังของปี 2556 ภาพรวมของกลุ่มและการดาเนิน กิจการจะปรับตัวดีขึ้นจาก ครึ่งปีแรก โดยมีปัจจัยสนับสนุน จากทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า เช่น อินเดีย จีน รวมทั้งอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังเข้มแข็ง แต่ ทั้งนี้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากความไม่แน่นอนในกา รฟื้นตัว ของเศรษฐกิจโลกและภัยธรรมชาติ รวมทั้งภาระต้นทุนการ ผลิตที่สูงขึ้น  ส่วนในด้านของการจ้างแรงงานภายในกลุ่ม อุตสาหกรรมอาหาร หลังจากที่มีการประกาศใช้อัตราค่าจ้าง แรงงานขั้นต่า 300 บาท/วัน ทั่วประเทศ ผู้ประกอบการส่วน ใหญ่ ร้อยละ 40.00 ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดกา รณ์ว่า อาจจะมีการจ้างแรงงานลดลงจากจานวนแรงงานเดิมเมื่อ เทียบกับปี 2555 ภาพที่ 11 การคาดการณ์ภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม อาหาร

ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย

8


กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน

สถานการณ์กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานในครึ่งปีแรก ของปี 2556  ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานที่ตอบ แบบสอบถาม ร้อยละ 38.46 มีการคาดการณ์ว่าในภาพรวม กลุ่มอุตสาหกรรม พลังงาน จะดีขึ้น เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลัง ของปี 2555 และอีก ร้อยละ 38.46 คาดว่าภาพรวมจะทรง ตัว ส่วนผู้ประกอบการที่เหลือ คิดเป็น ร้อยละ 23 .08 คาดการณ์ว่าภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม พลังงาน อาจจะแย่ลง เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2555 (ภาพที่ 13)  ภาพรวมของการดาเนินกิจการ ผู้ประกอบการที่ ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 53.84 คาดการณ์ ว่า ผลของการดาเนินกิจการของตนจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับครึ่ง ปีหลังของปี 2555 ทั้งยอดขายและยอดรับคาสั่งซื้อโดยรวม ซึ่งประกอบด้วยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่วนในด้าน ของต้นทุนการผลิต ภายหลังจากที่มีการประกาศใช้อัตรา ค่าจ้างแรงงานขั้นต่า 300 บาท/วัน ผู้ประกอบการในกลุ่ม อุตสาหกรรม พลังงานได้ประสบกับปัญหา ต้นทุนการผลิต ที่ สูงขึ้นเช่นเดียวกับกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่ มีเพียง บางส่วนเท่านั้นที่ อาจจะลดการจ้างงานลง ในทางกลับกัน ส่วนใหญ่ มีความเป็นไปได้ที่จะ คงการจ้างงานเท่าเดิมหรือ เพิ่มการจ้างแรงงาน (ภาพที่ 12) ภาพที่ 12 การคาดการณ์การจ้างแรงงานของกิจการต่างๆ ภายในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานในครึ่งปีแรก ของปี 2556

ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย

สถานการณ์กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน ตลอดทั้งปี 2556 ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการที่ตอบแบบสอบถาม มีการ คาดการณ์ในลักษณะที่คล้ายๆ กันกับในช่วงครึ่งปีแรกของ ปี 2556 คือ ส่วนใหญ่คาดว่าในภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรม พลังงานและภาพรวมของการดาเนินกิจการของตนจะดีขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2555 ยกตัวอย่างเช่น  อุตสาหกรรม พลังงานทดแทน ที่คาดว่าทั้ง ยอดขายและยอดรับคาสั่งซื้อโดยรวมตลอดทั้งปีจะ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2555 โดยเฉพาะ กลุ่ม พลังงานทดแทนจากพืช เช่น เอทานอลและไบโอ ดีเซล เนื่องจากราคาน้ามันดิบที่อยู่ในระดับสูง และ มีความผันผวนของราคาจากปัญห าสถานกา รณ์ ความไม่สงบในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ  อุตสาหกรรมก๊าซ คาดว่าทั้งยอดขายและยอด รับคาสั่งซื้อโดยรวมตลอดทั้งปีจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบ กับปี 2555 เช่นเดียวกัน ซึ่ง ส่วนหนึ่ง เป็นผลมา จากปริมาณการใช้รถ ยนต์ ที่มีมากขึ้น ผู้บริโภคที่ ต้องการ หลีก หนีราคาน้ามันแพง จึงหันมาใช้ก๊าซ แทนน้ามัน ซึ่ง คาดว่า ยอดใช้ก๊าซแอลพีจี ใน ปี 2556 จะเพิ่มขึ้นสูง อาจมีการ นาเข้า ทาลายสถิติ สูงสุดรวมกว่า 2 ล้านตัน  ขณะที่ ยอดขายและยอดรับคาสั่งซื้อโดยรวม ของกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ามันปิโตรเลียมมี แนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงกับปี 2555 ภาพที่ 13 การคาดการณ์ภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม พลังงาน

ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย

9


กลุ่มอุตสาหกรรมสนับสนุน

สถานการณ์กลุ่มอุตสาหกรรมสนับสนุนในครึ่งปี แรกของปี 2556  ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรม นี้ ที่ ตอบแบบสอบถาม คือ ร้อยละ 39.77 มีการคาดการณ์ว่าใน ภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรม สนับสนุน จะทรงตัวใกล้เคียงกับ ครึ่งปีหลังของปี 2555 รองลงมาคือ ร้อยละ 36.36 คาดว่า ภาพรวมจะ ดีขึ้น ส่วน อีกร้อยละ 23 .86 คาดการณ์ว่า ภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม สนับสนุนอาจจะแย่ ลง เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2555 (ภาพที่ 14)  ส่วนของ ภาพรวมของการดาเนินกิจการ ผู้ประกอบการที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 44.32 คาดการณ์ว่า ผลของการดาเนินกิจการของตนจะทรง ตัวใกล้เคียงกับครึ่งปีหลังของปี 2555 แต่หากพิจารณา การ คาดการณ์ยอดขายโดยรวม เป็นรายประเภทอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่คาดว่ายอดขายโดยรวมของกิจการจะเพิ่มขึ้น เช่น ปิโตรเคมี , เคมี , อลูมิเนียม , เยื่อและกระดาษ อุตสาหกรรมที่คาดว่ายอดขายโดยรวมของกิจการจะทรงตัว ได้แก่ พลาสติก และเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมที่คาด ว่ายอดขายโดยรวมของกิจการจะลดลง คือ การพิมพ์และ บรรจุภัณฑ์กระดาษ ส่วนอุตสาหกรรมการจัดการของเสีย และวัสดุเหลือใช้ และหัตถอุตสาหกรรมมีความเป็นไปได้ทั้ง เพิ่มขึ้นหรือลดลง ส่วนอุตสาหกรรมยางมีความเป็นไปได้ทั้ง อาจจะเพิ่มขึ้นหรือทรงตัว อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ประสบกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะ ต้นทุนที่มาจากค่าแรงขั้นต่า 300 บาท/วัน และราคาวัตถุดิบ  ด้านการจ้างแรงงาน ภายหลังจากที่มีการประกาศ ใช้อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่า 300 บาท/วัน ทั่วประเทศ ใน วันที่ 1 มกราคม 2556 นั้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.27 ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์ว่า จะมีการจ้าง แรงงานเท่าเดิม ยกตัวอย่าง เช่น ปิโตรเคมี, เคมี, พลาสติก, เยื่อและกระดาษ และการจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้ ส่วนอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะลดการจ้างงานลง คือ การ พิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ และหัตถอุตสาหกรรม มีเพียง อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางที่คาดว่าจะเพิ่มการจ้างงาน

สถานการณ์กลุ่มอุตสาหกรรมสนับสนุน ตลอดทั้งปี 2556  ผู้ประกอบการที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีการ คาดการณ์ภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรม สนับสนุนตลอดทั้งปี 2556 ในลักษณะเดียวกับในครึ่งปีแรก คือ คาดการณ์ว่าจะ ทรงตัวใกล้เคียงกับปี 2555 แต่ในส่วนของภาพรวมของการ ดาเนินกิจการของตน ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า จะดีขึ้นเมื่อ เทียบกับปี 2555 ทั้งยอดขายและยอดรับคาสั่งซื้อโดยรวม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ประเภทอุตสาหกรรมที่คาดว่ายอดขาย โดยรวมของกิจการจะเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปิโตร เคมี, เคมี และอลูมิเนียม  ประเภทอุตสาหกรรมที่คาดว่ายอดขาย โดยรวมของกิจการจะทรงตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง , พลาสติก , เยื่อและกระดาษ และเทคโนโลยีชีวภาพ  ในด้านการจ้างแรงงาน ของ กลุ่มอุตสาหกรรม สนับสนุน ตลอดทั้งปี 2556 ภายหลังจากที่มีการประกาศใช้ อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่า 300 บาท/วัน ทั่วประเทศ ใน วันที่ 1 มกราคม 2556 นั้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.94 ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์ว่า จะมีการจ้าง แรงงานเท่าเดิม นอกจากนี้จากการสารวจยังพบว่า กลุ่ม อุตสาหกรรม สนับสนุน ได้ประสบปัญหาการขาดแคลน แรงงานอีกด้วย ภาพที่ 14 การคาดการณ์ภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม พลังงาน

ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย

10


สรุปการคาดการณ์ภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม ตลอดทั้งปี 2556 สรุปการคาดการณ์ภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม ตลอดทั้งปี 2556 โดยแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรม แสดงได้ดังตาราง ที่ 1 และสรุปการคาดการณ์ภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม ตลอดทั้งปี 2556 โดยแบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม แสดงได้ดัง ตารางที่ 2 ตารางที่ 1 การคาดการณ์ภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม ตลอดทั้งปี 2556 โดยแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มที่คาดว่าภาพรวมจะดีขึ้น

กลุ่มที่คาดว่าภาพรวมจะคงที่

ยานยนต์และเครื่องจักรกล, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, พลังงาน

ก่อสร้างและเครื่องใช้ภายในบ้าน, อาหาร, สนับสนุน

กลุ่มที่คาดว่าภาพรวมจะแย่ลง แฟชั่น,

ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หมายเหตุ: สรุปจากร้อยละส่วนใหญ่ของผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ ที่ตอบแบบสอบถาม ตารางที่ 2 การคาดการณ์ภาพรวมในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ในครึ่งปีแรกของปี 2556 โดยแบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม คาดว่าภาพรวมของกลุ่ม จะดีขึ้น แก้วและกระจก, เซรามิกส์, ยานยนต์, ชิ้นส่วนและอะไหล่ยาน ยนต์, เครื่องจักรกลและโลหะการ, เครื่องปรับอากาศและเครื่องทา ความเย็น, พลังงานทดแทน, ปิโตรเคมี, เคมี, เยื่อและกระดาษ, อลูมิเนียม คาดว่าภาพรวมของกลุ่มอาจจะดี ขึ้นหรือคงที่ หนังและผลิตภัณฑ์หนัง, เหล็ก, สมุนไพร,

คาดว่าภาพรวมของกลุ่ม จะคงที่ ปูนซีเมนต์, หลังคาและอุปกรณ์, เครื่องจักรกลการเกษตร, ก๊าซ, ผู้ผลิตไฟฟ้า, พลาสติก, การจัดการ เพื่อสิ่งแวดล้อม, น้ามันปาล์ม

คาดว่าภาพรวมของกลุ่ม จะแย่ลง สิ่งทอ, เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องประดับ, หัตถอุตสาหกรรม

คาดว่าภาพรวมของกลุ่ม อาจจะคงที่หรือลดลง อาหาร, ผลิตภัณฑ์ยาง

คาดว่าภาพรวมของกลุ่ม อาจจะดีขึ้นหรือลดลง แกรนิตและหินอ่อน, เฟอร์นิเจอร์, ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์, น้าตาล, โรงกลั่นน้ามัน ปิโตรเลียม,

คาดว่าภาพรวมของกลุ่มมีความเป็นไปได้ทั้งดีขึ้น ลดลง หรือคงที่ โรงเลื่อยและโรงอบไม้, ไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่น, การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ, เทคโนโลยีชีวภาพ, อู่ต่อเรือ ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หมายเหตุ: สรุปจากร้อยละส่วนใหญ่ของผู้ประกอบการในประเภทอุตสาหกรรมนั้นๆ ที่ตอบแบบสอบถาม

11


3. การเตรียมความพร้อมในกิจการ สาหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community: AEC)

4. ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐบาล เพื่อช่วยส่งเสริม หรือสนับสนุนในการ ประกอบกิจการ

ผลการสารวจพบว่า กิจการในอุตสาหกรรมต่างๆ มี การเตรียมความพร้อม สาหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ Asean Economic Community: AEC ถึงร้อยละ 89.54 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด มีเพียงร้อยละ 10.46 ที่ยัง ไม่มีการเตรียมความพร้อมใดๆ การเตรียม ความ พร้อมที่พบมากที่สุด คือ การ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต คิดเป็นร้อยละ 32 .17 รองลงมา คือ การ ศึกษาตลาดหรือรสนิยมความต้องการ อาเซียน ร้อยละ 21.24 และการวางแผนสร้างความแตกต่าง หรือเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ร้อยละ 19.97 ตามลาดับ ส่วน การเตรียมความพร้อมในกิจการที่น้อยที่สุด คือ การ วางแผนการส่งออกไปสู่ตลาดอาเซียน ซึ่งมีเพียงร้อยละ 16.16 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด (ภาพที่ 15)

1. ลดกฎระเบียบ ขั้นตอน และระยะเวลาที่ดาเนินการ ในกระบวนการต่างๆ ที่จะต้องติดต่อกับส่วนราชการ เช่น การขออนุญาตผลิตอาหาร การ พิจารณาคืนภาษี มูลค่าเพิ่ม (VAT) แก่ผู้ประกอบการ เป็นต้น รวมถึงการเพิ่มเจ้าหน้าที่ ในหน่วยงานที่สาคัญ เช่น สานักงานคณะกรรมการอาหาร และยา กรมสรรพากร ทั้งนี้เพื่อให้เพียงพอในการบริการ และเป็นไปอย่างรวดเร็ว 2. ให้องค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจและ อุตสาหกรรม รวมทั้งประชาชนทั่ วไปที่สนใจเกี่ยวกับ กระบวนการส่งออกสินค้าตลอดจนชี้แนะแนวทางการ แสวงหาตลาดในต่างประเทศ รวมถึงกาหนดมาตรการ สนับสนุนธุรกิจและอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกไปยัง ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในอาเซียน เช่น จัดให้ผู้ประกอบการไทยทั้งรายเล็กและรายใหญ่เข้าร่วมงาน แสดงสินค้าในต่างประเทศ 3. ลดสิทธิประโยชน์กับผู้ประกอบการจาก ต่างประเทศที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หรือให้ สิทธิประโยชน์ในลักษณะเดียวกันนั้นแก่ผู้ประกอบการไทย ทั้งนี้เพื่อความเท่าเทียมกันในการประกอบธุรกิจของ บริษัทเอกชน 4. มีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เช่น 1) ส่งเสริมการพัฒนาด้านเทคโนโลยี การผลิตให้ ทันสมัยและรวดเร็ว เพื่อทดแทนแรงงาน 2) จัดตั้งศูนย์หรือหลักสูตรฝึกอบรมและพัฒนา ศักยภาพแรงงานไทยให้กับประชาชนที่สนใจอย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ สาขาการผลิตและการแปรรูป รวมถึงการบริหาร และการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากปั จจุบันมีการขาด แคลนแรงงานจานวนมากในทุกๆ อุตสาหกรรม ทั้งแรงงาน ที่มีฝีมือ (Skilled Labor) แรงงานกึ่งฝีมือ (Semi-skilled Labor) และแรงงานไร้ฝีมือ (Unskilled Labor) 3) จัดระบบหรือหลักสูตรการศึกษาให้กับ นักเรียนสายอาชีพให้สามารถทางานได้จริง กล่าวคือ เมื่อ นักเรีย นสายอาชีพจบการศึกษาหรือหลักสูตรดังกล่าวแล้ว สามารถทางานนั้นๆ ในสถานประกอบการได้ทันที

ภาพที่ 15 การเตรียมความพร้อมในกิจการ สาหรับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ที่มา: จากการสารวจโดยสานักวิชาการ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย

12


5. วางแผนนโยบายด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบใน ด้านลบต่อผู้ประกอบการไทย ล่วงหน้าเป็นระยะกลางหรือ ระยะยาว กล่าวคือ กาหนดนโยบายนั้นๆ ล่วงหน้าอย่าง น้อย 3-5 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการไ ทยโดยเฉพาะ ผู้ประกอบการขนาดเล็ก สามารถปรับตัวหรือวางแผนธุรกิจ ได้ทัน เช่น การกาหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต่าที่ควรกาหนด ออกมาล่วงหน้าตามที่ได้กล่าวในข้างต้นและเป็นระบบ ขั้นบันได 6. มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เช่น  ลดอากรขาเข้าสาหรับเครื่องจักรและวัตถุดิบ  มีแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่าพิเศษ  อุดหนุน (subsidies) ค่าใช้จ่ายในการทดสอบ มาตรฐานผลิตภัณฑ์  ลดการส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม  ลดค่าไฟฟ้าลง โดยเฉพาะค่า FT

Disclaimer รายงานฉบับนี้จัดทาเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทาขึ้นจากกา รสารวจและ รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยไม่สามารถรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์ เพื่อใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ ส.อ.ท. อาจมีการปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยมิได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้วิจารณญาณ และ ส .อ.ท. จะไม่รับผิดชอบ หรือมีภาระ ผูกพันใดๆ ในความเสียหายที่เกิดจากผู้ใช้ข้อมูล

13


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.