e-news_5-7_44

Page 1

1 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554

คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในชีวิตของคนไทยวัยทางานในเขต

กรุงเทพมหานคร Quality of Life and Factors Affecting Life Satisfaction of Working Age Thai People in Bangkok ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล1

บทคัดย่อ

ริ กษา การเมืองและศาสนา ซึ่งเป็นค่า คุณภาพชีวิต หมายถึงคุณภาพในด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ การศึ เทียบเคียงไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวแน่นอน โดยแต่ละประเทศจะกาหนดมาตรฐานคุเณภาพชีวิตของประชาชนตามวัฒนธรรม และค่านิยมทางสังคมของประเทศนั้นๆ คุณภาพชีวิตจึงสามารถเปลี่ยน แปลงได้ตามกาลเวลา การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย รื เพื่อศึกษา ระดับคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจในชีวิตของคนไท ยวัยทางานในเขต กรุงเทพมหานคร ก่อนเกิดรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 กลุ่มอตัวอย่างคือคนไทยวัยทางานในเขต กรุงเทพมหานครอายุระหว่าง 25-60 ปีจานวน 1,000 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็งบรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามจานวน 94 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น .8747 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติวิเคราะห์การผันแปรและการวิเคราะห์ ร จาแนกพหุ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตด้านครอบครัว ด้านการท อ างาน และด้านสังคม อยู่ในระดับ ค่อนข้างสูง ด้านสภาพแวดล้อมในชุมชน ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพงย์สิน ด้านการพักผ่ อนหย่อนใจ และ ความพึงพอใจในชีวิต พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจในชีวิตพบว่าประกอบด้วย 12 ตัวแปร ได้แก่ สถานภาพการสมรส สภาพที่อยู่อาศัย อาชีพ รายได้ การมีเงินออม ภาวะสุขภาพ สภาพชีวิตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ระดับคุณภาพ ชีวิต ด้านสภาพแวดล้อมในชุมชน ชีวิตครอบครัว รั ชีวิตการทางาน สถานภาพทางสังคม และการพักผ่อน หย่อนใจ โดยตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายระดับความพึงพอใจในชีวิตของกลุ่มตัวอย่างได้ประมาณ ต ร้อยละ 40.2 น

คาสาคัญ : คุณภาพชีวิต, ความพึงพอใจในชีวิต, คนไทยวัยทางาน

วิ ไ ล

1

ปร.ด. (สังคมวิทยา) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจาสายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 1 January - June 2011

Riruengrong Ratanavilaisakul

Abstract Quality of life refers to quality of health, social life, education, economic conditions, political situation, and religion, with no fixed rules. Each country would set the standard quality of life of people according to cultural and social values of the country. Quality of life could change over time. This research aimed to study the quality of life and factors affecting life satisfaction of working age Thai people in Bangkok before the revolution on September 19, 2549. The samples were 1000 people who lived in Bangkok, between 25-60 years old. Tool used to collect data was questionnaire with the reliability of 0.8747. Data were analysed using percentage, mean, analysis of variance and multiple classification analysis. The results showed that the quality of life concerning family, work and social life were quite high. The environment in the community, safety of life and property, recreation and life satisfaction were found to be moderate. Factors affecting life satisfaction were marital status, housing conditions, occupation, income, saving, health status, life experience in the past 5 years, quality of life concerning environment in the community, family life, working life. social status and recreation. These variables could explain life satisfaction for approximately 40.2 percent. Key words : Quality of life, Life satisfaction, Working age Thai people


3 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554

บทนา การสร้างชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนถือเป็นนโยบายหลัก ประการหนึ่ง ของประเทศต่างๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และความมั่นคงให้แก่ประเทศชาติ อย่างไรก็ตามสถาน การณ์การเมือง เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร และปัจจัยแวด ล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นปัญหา เรื่องราคาน้ามัน ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค อาชญากรรม และปัญหาทางสังคมอื่นๆ ซึ่งนับวันก็จะมีแต่เพิ่มมากขึ้น ปัญหาเหล่านี้ล้วนทาให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมโดย เฉพาะคนวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานคร (กลุ่ม อายุ 1560 ปี) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ความสาคัญต่อการพัฒนาครอบครัว สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ต้องประสบกับภาวะ ความเครียดและการแข่งขันมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการมีชีวิต ทีด่ ีและเป็นสุขนั้น ต้องมาจากองค์ประกอบหลายประการ อาทิ การมีครอบครัวที่อบอุ่น การมีเพื่อนฝูงที่พึ่งพาได้ การสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม การมี รายได้เพียงพอที่จะดูแลตนเองและเลี้ยงดูครอบครัว การมี บ้านเป็นของตนเอง การมีความเสมอภาค และการได้รับ โอกาสเท่าเทียมกัน การได้รับการศึกษาที่ดี การมีภาวะ สุขภาพที่แข็งแรง และการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี แต่ผล การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนไทยในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา พบว่าคนไทยมีคุณภาพชีวิตด้านชีวิตครอบครัว การทา งาน และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอยู่ ในระดับ ไม่ดีนัก ส่วนด้านสังคม การศึกษา และภาวะสุขภาพ พบ ว่ายังอยู่ในระดับค่อนข้างดี (สมชาย สุขสิริเสรีกุล , 2545) และจากการศึกษาคุณภาพชีวิตของคนไทยในเขตเมืองภาค กลางของสานักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อปี 2542 เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของคนไทย ในเขตเมือง ภาคกลางด้านการพักผ่อนหย่อนใจ พบว่า คนไทยนิยมดู โทรทัศน์มากที่สุด รองลงมาคือ การนอนเล่น ฟังวิทยุ อ่าน หนังสือ เล่นกับลูก เดินดูสินค้า ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อคุณภาพชีวิตคนในเขตเมืองภาคกลางมากที่สุด

คือสภาพเศรษฐกิจ และความพึงพอใจในชีวิต ตามลาดับ บทความเรื่องนี้เป็นการนาเสนอผลการวิจัยคุณภาพ ชีวิต และปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจในชีวิตของ คนไทยวัยทางานในเขต กรุงเทพมหานคร ก่อนเกิดรัฐ ประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยผู้วิจัยได้กาหนด ตัวแปรที่ต้องการศึกษาจากการทบทว นวรรณกรรม และ แนวคิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 16 ตัว ประกอบด้วยตัว แปรด้านส่วนบุคคล 10 ตัวแปร ได้แก่ อายุ อาชีพ ระดับ การศึกษา สถานภาพการสมรส สภาพที่อยู่อาศัย รายได้ รายจ่ายในครอบครัว เงินออม ภาวะสุขภาพ และสภาพ ชีวิตช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ส่วนตัวแปรด้านคุณภาพชีวิตเป็น การศึกษาใน 6 มิติ ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมในชุมชน ด้านชีวิตครอบครัว ด้านชีวิตการทางาน ด้านสถานภาพ ทางสังคม ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และ ด้านการพักผ่อนหย่อนใจ ทั้งนี้เพื่อให้ผลการศึกษานี้ช่วย สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ขอ งคนไทยวัยทางาน ในเขต กรุงเทพมหานครได้ชัดเจนและถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้หน่วย งานที่เกี่ยวข้องได้ข้อมูลพื้นฐาน ในการนาไปใช้เป็นแนว ทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของค นวัยทางานในเขตกรุง เทพมหานครให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยวัยทา งานเขตกรุงเทพมหานครใน 6 มิติ คือด้านสภาพแวดล้อม ในชุมชน ด้านชีวิตครอบครัว ด้านชีวิตการทางาน ด้าน สถานภาพทางสังคม ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์ สิน และด้านการพักผ่อนหย่อนใจ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในชีวิต ของคนไทยวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานคร


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 1 January - June 2011

กรอบแนวคิดการวิจัย จากการทบทวนวรรณกรรม แนวคิดและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต และปัจจัยที่มีผลต่อระดับความ พึงพอใจในชีวิต พบว่าคุณภาพชีวิตเป็นตัวแปรร่วมที่ สามารถอธิบายระดับค วามพึงพอใจในชีวิตของบุคคลได้ เป็นอย่างดี โดยพบว่าคนในสังคมจะมีความพึงพอใจใน ชีวิตหรือไม่และระดับมากน้อยพียงใด เป็นผลลัพธ์มาจาก ระดับคุณภาพชีวิตทางด้านสังคม ด้านการงาน ด้านชีวิต ครอบครัว ด้านสภาพแวดล้อม ด้านภาวะสุขภาพ รายได้ เวลาของการพักผ่อน และสภาพที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ยัง พบว่าตัวแปรด้านอายุ การศึกษา อาชีพ การมีเงินออมและ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีความเกี่ยวข้องกับ ระดับความพึงพอใจในชีวิตของคนในสังคมเช่นกัน ผู้วิจัย จึงได้กาหนดกรอบแนวคิดปัจจัยชี้วัดระดับความ พึงพอใจ ในชีวิตของคนไทยวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานคร ดังนี้ 1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ อายุ อาชีพ ระดับการ ศึกษา สถานภาพการสมรส สภาพที่อยู่อาศัย รายได้ต่อ เดือน รายจ่ายในครัวเรือนต่อเดือน เงินออม ภาวะสุขภาพ สภาพชีวิตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คุณภาพชีวิตด้านสภาพ แวดล้อมในชุมชน ด้านชี วิตครอบครัว ด้านชีวิตการทา งาน ด้านชีวิตทางสังคม ด้านความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน และด้านการพักผ่อนหย่อนใจ 2. ตัวแปรตาม คือความพึงพอใจในชีวิตของคน ไทยวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานคร

สมมุติฐานการวิจัย ระดับความพึงพอใจในชีวิตของคนไทยวัยทางานใน เขตกรุงเทพมหานครขึ้นอยู่กับอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพการสมรส รายได้ รายจ่าย สภาพที่อยู่อาศัย เงินออม ภาวะสุขภาพ สภาพชีวิตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ระดับคุณภาพชีวิตด้านสภาพแวดล้อมในชุมชน ด้านชีวิต ครอบครัว ด้านชีวิตการทางาน ด้านสถานภาพทางสังคม

ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และด้านการพัก ผ่อนหย่อนใจ

วิธีการศึกษา 1. ประชากรเป้าหมาย คือคนไทยวัยทางานในเขต กรุงเทพฯ ที่มีอายุระหว่าง 25-60 ปีจานวน 3,093,758 คน (สถิติจานวนประชากรในกรุงเทพฯ กระทรวงมหาดไทย ณ เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2549) 2. กลุ่มตัวอย่างคือคนไทยที่มีรายได้จากการทางาน ประจาและมีอายุระหว่าง 25-60 ปีอาศัยอยู่ในเขตปกครอง ของกรุงเทพมหานคร จานวน 1,000 คนได้มาโดยวิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยแบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็นเขตชั้นใน ชั้น กลาง และชั้นนอก จากนั้นทาการสุ่มเขตปกครองในแต่ละ ชั้นมาจานวน 25 เขตจาก 50 เขตปกครอง ด้วยวิธีการ จับสลาก ได้เขตต่างๆ ดังนี้พระนคร สัมพันธวงศ์ ปทุมวัน บางรัก ดุสิต บางซื่อ พญาไท ราชเทวี จตุจักร คลองสาน ดินแดง พระโขนง บางกะปิ ลาดพร้าว ภาษีเจริญ ทุ่งครุ สะพานสูง หลักสี่ ราษฎร์บูรณะ วังทองหลาง ดอนเมือง ลาดกระบัง บางขุนเทียน บางเขน และบางบอนโดยแต่ละ เขตกาหนดจานวนตัวอย่างเขตละ 40 คน 3. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถาม จานวน 94 ข้อ ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 : เป็นคาถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา การนับถือศาสนา สถานภาพการสมรส อาชีพ สภาพ ที่อยู่อาศัย รายได้และรายจ่ายของครอบครัว การคิดย้าย ถิ่นที่อยู่ เงินออม หนี้สิน และภาวะสุขภาพจานวนทั้งหมด 20 ข้อ และคาถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในชีวิตจานวน 6 ข้อ โดยให้กลุ่มตัวอย่างบอกความรู้สึกหรือความพึงพอ ใจในชีวิตความเป็นอยู่ออกมาเป็นคะแนนตั้งแต่ 0-10 โดย เริ่มตั้งแต่ความรู้สึกไม่พึงพอใจเลยเป็น 0 จนถึงพึงพอใจ มากที่สุดเป็น 10 คะแนน


5 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554

ส่วนที่ 2 : เป็นคาถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของ คนไทยวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานครใน 6 มิติ จานวนทั้งหมด 68 ข้อ โดยให้กลุ่มตัวอย่างแสดง ความรู้สึกหรือความคิดเห็นออกมาเป็นคะแนนตั้งแต่ 0-10 โดยเริ่มตั้งแต่ไม่ดีเลยเป็น 0 จนถึ งดีมากที่สุดเป็น 10 คะแนน จากนัน้ ได้นาไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง จานวน 100 คน เพื่อตรวจ สอบคุณภาพของเครื่องมือ พบว่า มาตรวัดคุณภาพชีวิตของคนไทยวัยทางานฉบับ นี้ มีค่า สัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ตั้งแต่ .7532 -.9207 ดังนี้ มาตรวัดคุณภาพชีวิต

จานวนข้อ สัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้

โดยใช้สถิติวิเคราะห์การผันแปร (Analysis of Variance : ANOVA) และนาเทคนิคการวิเคราะห์จาแนกพหุ (Multiple Classification Analysis : MCA) มาร่วมวิเคราะห์เพื่อดู ว่าตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายตัวแปรตามได้มาก น้อยเพียงใด 6. เกณฑ์การแปลความหมายของข้อมูล ผู้วิจัยได้ ใช้เกณฑ์การแบ่งช่วงคะแนนเฉลี่ยต่อไปนี้ (กนกกาณจน์ อนุแก่นทราย และคณะ, 2543) ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง

1.00–2.80 หมายถึงระดับน้อย 2.81–4.60 หมายถึงระดับค่อนข้างน้อย 4.61– 6.40 หมายถึงระดับปานกลาง 6.41– 8.20 หมายถึงระดับค่อนข้างมาก 8.21–10.00 หมายถึงระดับมาก

ด้านสภาพแวดล้อมในชุมชน

10

.8112

ด้านชีวิตครอบครัว

12

.9207

ด้านชีวิตการทางาน

12

.8589

ด้านสถานภาพทางสังคม

9

.8525

ด้านความปลอดภัยในชีวิตฯ

9

.7732

ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง

ด้านการพักผ่อนหย่อนใจ

16

.7532

แบบสอบถามทั้งหมด

68

.8747

กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.4 เป็นเพศชาย โดยร้อยละ 53.2 อยู่ในกลุ่มอายุ 25-35 ปี รองลงมาร้อยละ 26.4 อยู่ ในกลุ่มอายุ 36-45 ปี ร้อยละ13.9 อยู่ในกลุ่มอายุ 46-55 ปี มีเพียงร้อยละ 6.5 ที่อยู่ในกลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไป ส่วน จานวนสมาชิกในครัวเรือนพบว่าโดยเฉลี่ยมี 4 คน ด้าน การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.1 จบการศึกษา ระดับปริญญาตรี รองลงมาร้อยละ 29.1 จบการศึกษาต่า กว่าปริญญาตรี ร้อยละ11.2 จบการศึกษาระดับปริญญาโท มีเพียงร้อยละ 0.6 ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 84.8 นับถือศาสนาพุทธ รองลง มาร้อยละ 13.2 นับถือศาสนาอิสลาม โดยมีเพียงร้อยละ 2 ที่นับถือศาสนาคริสติ์ ด้านสถานภาพการสมรสพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.2 เป็นโสด รองลงมาสมรสและอยู่ ด้วยกัน สมรสแต่แยกกันอยู่ เป็นหม้าย และหย่าร้าง คิด เป็นร้อยละ 28.7, 28.0, 2.3 และ 2.0 ตามลาดับ โดย กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 43.1 พบว่า ทางานในบริษัทเอกชน รองลงมาคือค้าขาย ทางานในรัฐวิสาหกิจ รับราชการ

4. การเก็บรวบรวมข้อมูล : ผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย ทาการแจกแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างโดยตรง และรอ เก็บแบบสอบถามคืนในวันเดียวกันโดยเริ่มทาการเก็บรวบ รวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2549 5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 5.1 ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ โดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย 5.2 ข้อมูลความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตใน 6 มิติ ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมในชุมชน ด้านชีวิตครอบครัว ด้านชีวิตการทางาน ด้านสถานภาพทางสังคม ด้านความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และด้านการพักผ่อนหย่อน ใจ วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.3 ข้อมูลด้านปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ในชีวิตของคนไทยวัยทางานในเขตกรุงเทพฯ วิเคราะห์

ผลการวิจัย


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 1 January - June 2011

และเป็นเจ้าของธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 30.4, 11.7, 9.2 และ 5.8 ตามลาดับ ด้านสภาพที่อยู่อาศัย พบว่าร้อยละ 38.9 เป็นตึก แถว นอกนั้นเป็นเทาวน์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม/แฟลต ห้อง แถว และบ้านเดี่ยว คิดเป็นร้อยละ 19, 17.3, 12.6 และ 12.2 ตามลาดับ โดยพบว่าบ้านที่อยู่อาศัยปัจจุบัน ร้อยละ 32.3 เป็นของพ่อแม่ ร้อยละ 29 เป็นของตนเอง นอกนั้นเป็น บ้านเช่า เป็นบ้านของญาติ และเป็นบ้านพักของราชการ คิดเป็นร้อยละ 28.2, 6.6 และ 3.9 ตามลาดับ โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 45.7 พอใจที่จะสร้างฐานะอยู่ในกรุง เทพฯ โดยไม่คิดย้ายไปอยู่จังหวัดอื่นขณะที่ร้อยละ 27.2 ตอบไม่แน่ใจ และร้อยละ 27.1 มีความคิดที่จะย้ายไปอยู่ จังหวัดอื่นถ้ามีโอกาส ด้านเศรษฐกิจ พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.8 มี รายได้เพียงพอต่อการดารงชีพ เนื่องจากสมาชิกในครอบ ครัวทางานมากกว่า 1 คนโดยพบว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ ประมาณ 27,769 บาท ขณะที่รายจ่ายของครอบครัวเฉลี่ย ต่อเดือนอยู่ประมาณ 21,550 บาท และพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 54.3 มีเงินออม ร้อยละ 54.4 มีหนี้สินเนื่องจาก กู้เงินไปผ่อนบ้าน ซื้อรถยนต์ เป็นต้น ด้านภาวะสุขภาพในรอบปีที่ผ่านมา พบว่ากลุ่ม ตัวอย่างร้อยละ 59.3 มีการเจ็บป่วยต้องไปโรงพยาบาล รักษา 1-2 ครั้ง โดยส่วนใหญ่เป็นอาการท้องผูก อาหาร เป็นพิษ เป็นไข้หวัด และพบว่ามีเพียงร้อยละ 23.1 ที่มี สุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บป่วยเลย และร้อยละ 17.6 มีโรค ประจาตัว อาทิ โรคภูมิแพ้ ความดันโลหิตสูง และไขมัน ในเลือดสูง เป็นต้น ด้านการได้รับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับบ้านเมือง พบ ว่าร้อยละ 86.4 รับข่าวสารจากโทรทัศน์ รองลงมารับจาก หนังสือพิมพ์ ตัวบุคคล วิทยุ อินเตอร์เนต และนิตยสาร ต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 52.6, 50.5, 36.3, 25.7 และ 10 ตามลาดับ

ด้านความคิดเห็นต่อสภาพชีวิตในช่วง 5 ปีที่ผ่าน มา พบว่าร้อยละ 63.6 เห็นว่าสภาพชีวิตเหมือนเดิมไม่ เปลี่ยนแปลง ร้อยละ 25.7 เห็นว่าสภาพชีวิตดีขึ้นกว่าเดิม มีเพียงร้อยละ 10.7 ที่เห็นว่าสภาพชีวิตในช่วง 5 ปีที่ผ่าน มาแย่กว่าเดิม ส่วนความพึงพอใจในชีวิตโดยภาพรวมพบ ว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในชีวิต อยู่ในระดับ ปาน กลาง (ค่าเฉลี่ย 6.389 จาก 10 คะแนน)

คุณภาพชีวิตด้านสภาพแวดล้อมในชุมชน ผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิต ด้านสภาพแวดล้อมในชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 6.337) โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเห็นว่าสภาพ แวดล้อมภายในชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ มีเสียงรบกวนจาก วิทยุ/โทรทัศน์/เครื่องจักร เสียงการทะเลาะเบาะแว้งจาก คนละแวกบ้าน กลิ่นเหม็นของน้าเน่าจากคูคลองต่างๆ การมีสถานเริงรมย์ใกล้ที่อยู่อาศัย การเล่นหวยใต้ดินและ การเล่นการพนันของคนในชุมชน อยู่ในระดับค่อนข้าง น้อย (ค่าเฉลี่ย = 3.424, 3.211, 3.345, 3.840, 3.850 และ 3.521) และเห็นว่ามีเสียงรบกวนจากยานพาหนะ กลิ่น เหม็นจากกองขยะ ฝุ่นละอองและควันดาจากรถยนต์ หรือ เครื่องจักรอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 5.271, 4.750 และ 5.602 )

คุณภาพชีวิตด้านชีวิตครอบครัว ผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิต ด้านครอบครัวอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ( ค่าเฉลี่ย = 8.431 ) โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าคนในครอบครัวมีความผูกพันและ ห่วงใยต่อกัน และมีความภาคภูมิใจในครอบครัวของตน เองอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 8.332 และ 8.580)นอกจาก นี้ยังเห็นว่าเวลาว่างที่คนในครอบครัวจะพูดคุยกัน การให้ ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเกื้อกูลกันทางการเงิน การมีส่วนร่วมในการตัดสินปัญหาของครอบครัว และการ มีความปรองดองกันภายในครอบครัวอยู่ในระดับค่อนข้าง


7 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554

มาก (ค่าเฉลี่ย = 6.761, 8.043, 7.910, 7.071 และ7.855) ส่วนความคิดเห็นในเรื่องที่ว่า คนในครอบครั วได้รับ ประทาน อาหารเย็นร่วมกันอย่างสม่าเสมอ การอยู่กัน พร้อมหน้าในครอบ ครัว และการทากิจกรรมทางสังคม ร่วมกันในครอบ ครัว พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 6.145, 6.086, 6.036) เท่านั้น

คุณภาพชีวิตด้านการทางาน ผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิต ด้านการทางานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ค่าเฉลี่ย = 7.451) โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นว่า งานที่ทาอยู่ในปัจจุบันมีความน่า สนใจและงานที่ทาก็ตรงกับความสามารถของตน มีความ ปลอดภัย สภาพแวดล้อมที่ทางานดี ตนเองสามารถทางาน เสร็จตามเป้าหมาย และรู้สึกภาคภูมิใจต่องานที่ทาอยู่ใน ปัจจุบันอยู่ในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย = 7.298,7.839, 7.686, 7.165, 7.643 และ 7.581) นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่ ม ตัวอย่างมีความพอใจต่อรายได้ ความเป็นธรรมของค่า ตอบแทนที่ได้รับ การมีอิสระในงานที่ทา และผลกระทบ ของงานต่อภาวะสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 6.222, 6.334, 6.071, 6.285 และ 5.193 ตามลาดับ)

คุณภาพชีวิตด้านสังคม ผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิต ด้านสังคมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ค่าเฉลี่ย = 7.390) โดย พบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีเพื่อนสนิทที่สามารถจะพูดคุยหรือ ปรับทุกข์ได้ และได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานอยู่ ในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย = 7.296 และ 7.270) นอก จากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีเพื่อนบ้านที่สามารถไปมาหา สู่พูดคุยกันได้ มีเวลาเข้าร่ วมทากิจกรรมชุมชนกับเพื่อน บ้าน มีเพื่อนร่วมงานที่สามารถปรับทุ กข์ได้และยินดี ปฏิบัติงานแทนเมื่อตนไม่อยู่ รวมทั้งการได้รับยอมรับจาก เพื่อนบ้าน จากหัวหน้างาน และจากลูกน้อง อยู่ในระดับ

ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 5.944, 5.170, 6.233, 6.324, 6.401 และ 6.070)

คุณภาพชีวิตด้านความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน ผลการวิเคราะห์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิต ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อยู่ในระดับปาน กลาง (ค่าเฉลี่ย = 6.336) โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความ รู้สึกห่วงใยต่อความปลอดภัยของลูกหลานที่ต้องเดินทาง กลับบ้านหลังเวลา 20.00 น. อยู่ในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย = 6.882 ) และมีความรู้สึกห่วงใยต่อทรัพย์สินใน บ้านเรือนเมื่อต้องออกไปทาธุระนอกบ้าน รวมทั้งรู้สึกไม่ ปลอดภัยขณะที่เดินตามตรอกซอยในชุมชน อยู่ในระดับ ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 5.108 และ4.729) และพบว่ากลุ่ม ตัวอย่างเคยถูกขโมยขึ้นบ้านเอาทรัพย์สินบางอย่างไปและ มีความรู้สึ กกังวลต่อความปลอดภัยเมื่อต้องขึ้นรถประจา ทาง รวมทั้งต้องระวังผู้คนที่เดินสวนทางไปมาขณะที่เดิน เข้าที่พักอาศัยอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย (ค่าเฉลี่ย = 2.859, 4.155 และ 4.402) ด้านประสบการณ์ในเรื่องการเคยถูกคน จี้เอาของมีค่าในตัวไป และการเคยพบเห็นเหตุการณ์ที่คน ถูกจี้เอาทรัพย์สินไปนั้น พบว่าอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย = 1.049 และ 1.162)

คุณภาพชีวิตด้านการพักผ่อนหย่อนใจ ผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิต ด้านการพักผ่อนหย่อนใจอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 6.061) โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างนิยมการพักผ่อนหย่อนใจ โดยการดูโทรทัศน์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 7.640) รองลงมา คือนอนเล่นอยู่ที่บ้าน (ค่าเฉลี่ย = 6.276) อ่านหนังสือ (ค่าเฉลี่ย =6.154) ฟังวิทยุ (ค่าเฉลี่ย = 5.738) เดินดูสินค้า ต่างๆ (ค่าเฉลี่ย = 4.836) การทานอาหารนอกบ้ าน (ค่าเฉลี่ย = 4.664) การออกกาลังกาย (ค่าเฉลี่ย = 3.520) เล่นเกมคอมพิวเตอร์ (ค่าเฉลี่ย = 3.426) ทาสวนหรือปลูก


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 1 January - June 2011

ต้นไม้ (ค่าเฉลี่ย = 3.392) ไปวัดหรือสวดมนต์ (ค่าเฉลี่ย = 3.270) คุยทางอินเตอร์เนท (ค่าเฉลี่ย = 2.864) ดู ภาพยนตร์นอกบ้าน (ค่าเฉลี่ย = 2.084)และไปเที่ยวสถาน เริงรมย์ (ค่าเฉลี่ย = 2.078)

ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจในชีวิตของคน ไทยวัยทางานเขตกรุงเทพฯ ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจในชีวิตของคน ไทยวัยทางานเขตกรุงเทพฯ จากการวิเคราะห์ตัวแปรอิสระ 16 ตัวด้วยสถิติวิเคราะห์การผันแปร (ANOVA) ร่วมกับ เทคนิคการวิเคราะห์จาแนกพหุ (MCA) พบว่า มีตัวแปร 12 ตัวที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจในชีวิตของคนไทย วัย ทางานเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 และ .05 ผลปรากฏตามตาราง 1 ตาราง 1 ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจในชีวิตของ คนไทยวัยทางานในเขตกรุงเทพฯ ตัวแปร

F

ระดับนัยสาคัญ

รายได้

6.056

.014**

สถานภาพการสมรส

7.721

.000**

อาชีพ

7.600

.000**

36.669

.000**

2.893

.050*

เงินออม

10.934

.001**

ชีวิตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

50.082

.000**

คุณภาพชีวิตด้านสภาพแวดล้อมชุมชน 21.064

.000**

คุณภาพชีวิตด้านชีวิตครอบครัว

24.279

.000**

คุณภาพชีวิตด้านการทางาน

39.510

.000**

คุณภาพชีวิตด้านสังคม

26.673

.000**

คุณภาพชีวิตด้านการพักผ่อนหย่อนใจ 16.805

.000**

สภาพที่อยู่อาศัย ภาวะสุขภาพ

** มีนัยสาคัญที่ระดับ .01 R = .634

2

R = .402

* มีนัยสาคัญที่ระดับ .05

จากตาราง 1 พบว่ามี 12 ตัวแปรที่มีผลต่อระดับ ความพึงพอใจในชีวิตของคนไทยวัยทางาน เขตกรุงเทพ มหานคร อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ได้แก่ รายได้ สถานภาพการสมรส อาชีพ สภาพที่อยู่ อาศัย ภาวะสุขภาพ เงินออม และสภาพชีวิตในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา ระดับคุณภาพชีวิตด้านสภาพแวดล้อมในชุมชน ด้านชีวิตครอบครัว ด้านชีวิตการทางาน ด้านสถานภาพ ทางสังคม และด้านการพักผ่อนหย่อนใจ โดยตัวแปรทั้ง หมดสาม ารถร่วมกันอธิบายระดับความพึงพอใจในชีวิต ของคนไทยวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ประมาณ ร้อยละ 40.2

สรุปและการอภิปรายผล 1. ผลการศึกษาคุณภาพชีวิตของคนไทยวัยทางาน ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า คุณภาพชีวิตด้านสภาพแวด ล้อมในชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากชุมชนที่อยู่ อาศัย มีปัญหามลพิษในเรื่องเสียงรบกวนจากยานพาหนะ กลิ่นเหม็นจากกองขยะ ปัญหาฝุ่นละอองหรือควันดาจาก รถยนต์หรือเครื่องจักรไม่มากนัก ส่วนคุณภาพชีวิตด้าน ชีวิตครอบครัว พบว่าอยู่ในระดับค่อนข้างสูงเนื่องจากคน ในครอบครัวมีความผูกพันและห่วงใยต่อกัน ให้การช่วย เหลือและเกื้อกูลทางการเงิน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการตัด สินปัญหาของครอบครัว ด้านคุณภาพชีวิตการทางาน พบ ว่าอยู่ในระดับค่อนข้างสูง เนื่องจากงานที่ทาอยู่ในปัจจุบัน มีความน่าสนใจและตรงกับความสามารถของตนเอง อีก ทั้งสภาพแวดล้อมดีมีความปลอดภัย และตนเองก็สามารถ ทางานเสร็จตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตามพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ส่วนหนึ่งยังไม่พอใจต่อรายได้และความเป็นอิสระในการ ปฏิบัติงาน ดังนั้นระดับคุณภาพชีวิตด้านการทางานจึงไม่ สูงนัก ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการ ทางานของ ริชาร์ด อี วอลตัน (Richard E. Walton, 1974 : 12 อ้างถึงในทิพวรรณ ศิริคูณ, 2542) ซึ่งอธิบายในหนังสือ Criteria for Quality of Working life ว่าองค์ประกอบที่


9 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554

ทาให้เกิดคุณภาพชีวิตในการทางาน 3 อันดับแรกคือ (1) ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ (2) สิ่งแวดล้อมที่ถูก ลักษณะและปลอดภัย และ (3) การเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติ งานได้พัฒนาความรู้ความสามารถได้เป็นอย่างดี สาหรับ คุณภาพชีวิตด้านสังคม พบว่าอยู่ในระดับค่อนข้างสูงเช่น กัน เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีเพื่อนสนิทที่สามารถจะพูดคุย หรือปรับทุกข์กันได้ รวมทั้งได้รับการยอมรับจากเพื่อน ร่วมงานค่อนข้างมาก ส่วนด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ของชุมชน และการได้รับการยอมรับจากเพื่อนบ้านหรือ หัวหน้างานหรือลูกน้อง พบว่าอยู่ในระดับปานกลางเท่า นั้น จึงเป็นเหตุให้ระดับคุณภาพชีวิตทางด้านสังคมของ กลุ่มตัวอย่างไม่สูงเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดระดับ ขั้นความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์ ที่อธิบายว่าเมื่อ คนได้รับการตอบสนองความต้องการระดับต่า อาทิ ชีวิต ความเป็นอยู่ ครอบครัว และรายได้แล้ว ก็จะมองหาความ ต้องการระดับสูงขึ้นไปอีก เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมทาง สังคม และการได้รับการยอมรับจากคนในสังคม เป็นต้น และเมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการเหล่านี้แล้ว คน ก็จะมีความพึงพอใจในชีวิตมากขึ้น (Maslow, 1976) ส่วน คุณภาพชีวิตด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พบ ว่าอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมี ความรู้สึกห่วงใยต่อความปลอดภัยของลูกหลานที่ต้องเดิน ทางกลับบ้านหลังเวลา 20.00 น. และมีความรู้สึกห่วงใย ต่อทรัพย์สินในบ้านเรือน เมื่อต้องออกไปทาธุระนอกบ้าน รวมทั้งมีความรู้สึกไม่ปลอดภัยขณะที่เดินตามตรอก/ ซอย ในชุมชนแสดงให้เห็นว่าสภาพสังคมกรุงเทพฯ ปัจจุบันไม่ สู้จะปลอดภัยนักทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งปัญหา เหล่านี้รัฐบาลจะละเลยไม่ได้ สาหรับคุณภาพชีวิตด้าน การพักผ่อนหย่อนใจ พบว่าอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน เนื่องจากพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีโอกาสไปท่องเที่ยวหรือไป ทัศนาจรค่อนข้างน้อย แต่นิยมการพักผ่อนอยู่กับบ้าน อาทิ ดูโทรทัศน์ นอนเล่นอยู่ที่บ้าน อ่านหนังสือ ฟังวิทยุ เล่นเกมคอม พิวเตอร์ ทาสวนหรือปลูกต้นไม้ และคุยทาง

อินเตอร์เนท และถ้ามีการออกไปพักผ่อนนอกบ้านก็จะ ไปไม่ไกลจากบ้านที่พักมากนัก อาทิ ไปทานอาหารนอก บ้าน ไปวัด ไปดูภาพยนตร์ ไปออกกาลังกาย หรือเล่นกีฬา เดินดูสินค้าต่างๆ ไปเยี่ยมเพื่อนหรือญาติพี่น้อง และไป เที่ยวสถานเริงรมย์หรือคาราโอเกะบ้างนานๆ ครั้ง แสดง ให้เห็นว่าคนกรุงเทพฯ ที่ทางานและมีรายได้ประจามีแนว โน้มนิยมการพักผ่อนหย่อนใจภายในบริเวณที่พักอาศัย มากขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับ การทามาหากินตามวิถีการดาเนินชีวิตของคนในสังคม เมืองที่มีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจกันสูง การจราจร ติดขัด และมลพิษทางสิ่งแวดล้อมมีค่อนข้างมาก ดังนั้น รัฐควรเพิ่มสวัสดิการพื้นฐานชีวิตให้กับ ประชาชน โดยให้ประชาชนมีพื้นที่ที่สามารถพักผ่อน หย่อนใจในบริเวณที่พักอาศัยของตนเองได้มากขึ้น และมี ความปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้านการพัก ผ่อนหย่อนใจของคนวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานครให้ ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดภาวะความเครียดของคนวัยทางานใน เขตเมืองทั้งในด้านการทางานและปัญหาต่างๆ ในชีวิต ประจาวันได้มากขึ้น 2. ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจในชีวิตของ คนไทยวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่ามีตัวแปรอิสระ 12 ตัวที่มีผลต่อ ระดับความพึงพอใจในชีวิตของคนไทยวัยทางาน ในเขต กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ.05 ได้แก่ รายได้ อาชีพ สถานภาพการสมรส สภาพที่ อยู่อาศัย เงินออม ภาวะสุขภาพ และสภาพชีวิตในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา ระดับคุณภาพชีวิตด้านสภาพแวดล้อมในชุมชน ชีวิตครอบครัว สถานภาพทางสังคม ชีวิตการทางาน และ การพักผ่อนหย่อนใจ จึงเป็นการยอมรับสมมุติฐานการ วิจัยที่ตั้งไว้เฉพาะตัวแปรด้านรายได้ อาชีพ สถานภาพการ สมรส สภาพที่อยู่อาศัย ภาวะสุขภาพ การมีเงินออม สภาพ ชีวิตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คุณภาพชีวิตทางด้านสภาพแวด ล้อมในชุมชน ด้านชีวิตครอบครัว ด้านชีวิตการทางาน


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 1 January - June 2011

ด้านสถานภาพทางสังคม และด้านการพักผ่อนหย่อนใจ ผลการศึกษานี้พบว่า สอดคล้องกับผลการศึกษาของนัก วิชาการกลุ่มต่างๆ อาทิเสาวนีย์ ศรีติระกุลและคณะ (2542) วรวุฒิ พัฒนสัมพันธ์และคณะ (2546) เสาวนีย์ ตนะดุลย์ (2533) และพูลศักดิ์ อินทรโยธา (2547) ข้อค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่าระดับความพึงพอใจใน ชีวิตของคนวัยทางานในเขตกรุงเทพฯ เป็นผลลัพธ์ของ ระดับคุณภาพชีวิตด้านสภาพแวดล้อมในชุมชน ชีวิต ครอบครัว ชีวิตการทางาน สถานภาพทางสังคม และการ พักผ่อนหย่อนใจอย่างไรก็ตามตัวแปรด้านสภาพเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้ และการมีเงินออม ด้านสังคม ได้แก่ อาชีพ สภาพที่อยู่อาศัย และด้านภาวะสุขภาพ พบว่าเป็นปัจจัยที่ ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจในชีวิตของคนวัยทา งานใน เขตกรุงเทพนมหานครเช่นกัน ดังนั้นนโยบายทางสังคม ของรัฐ จึงต้องให้ความสาคัญด้านการมีอาชีพและค่าตอบ แทนการทางานที่เป็นธรรม และเพียงพอต่อการดารงชีพ ของคนวัยทางาน ขณะเดียวกันต้องให้ความสาคัญต่อการ เพิ่มสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และสถานที่ออกกาลังกายให้ มากยิ่งขึ้น เนื่องจากคนวัยทางานเป็นกลุ่มที่มีความสาคัญ ต่อการพัฒนาครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ นอกจากนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป จะมีการเปลี่ยน แปลงจานวนประชากรและโครงสร้างประชากรของไทย เกิดขึ้น โดยที่สัดส่วนประชากรวัยแรงงานจะเริ่มลดลง และประชากรวัยสูงอายุจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นรัฐจึงจาเป็นต้อง มีแผนรองรับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพแรงงานที่เน้นแรง งานที่มีประสิทธิภาพ และการใช้เทคโน โลยีเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องให้สวัสดิการทางสังคมแก่ประชาชน ทุกกลุ่มตามสมควร เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการดารงชีพ ประจาวัน และทาให้เขาสามารถดูแลตนเองและครอบครัว ได้ในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของ คนวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานครได้อย่างแท้จริง

ข้อเสนอแนะ การศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยวัยทางาน ในเขตกรุงเทพมหานครใน 6 มิติคือด้านสภาพแวดล้อม ในชุมชน ด้านชีวิตครอบครัว ด้านชีวิตการงาน ด้าน สถานภาพทา งสังคม ด้านความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน และด้านการพักผ่อนหย่อนใจในครั้งนี้ พบว่า คุณภาพชีวิตของคนไทยวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูงเท่านั้น ดังนั้นหน่วย งานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ จึง ต้องตระหนักต่อ การกาหนดแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของคนวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละมิติเพื่อจะได้สามารถพัฒนา คุณภาพชีวิตของคนวัยแรงงานให้สูงขึ้นได้ การศึกษาครั้งนี้ ได้ใช้ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของคน ไทยวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานคร 6 มิติคือด้านสภาพ แวดล้อมในชุมชน ด้านชีวิตครอบครัว ด้านชีวิตการทา งาน ด้านสถานภาพสังคม ด้านความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินและด้านการพักผ่อนหย่อนใจ มาร่วมวิเคราะห์ กับตัวแปรอื่นๆ ได้แก่ สถานภาพการสมรส อาชีพ รายได้ สภาพที่อยู่อาศัย ภาวะสุขภาพ เงินออม และสภาพชีวิต ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เพื่อดูว่ามีผลต่อระดับความพึงพอใจ ในชีวิตของคนไทยวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานครมาก น้อยเพียงใด ซึ่งพบว่าตัวแปรทั้งหมดสามารถร่วมกัน อธิบายระดับความพึงพอใจในชีวิตของคนไทยวัยทางาน ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ประมาณร้อยละ 40.2 เท่านั้น จึงน่าจะมีการศึกษาตัวแปรคุณภาพชีวิตในมิติอื่นๆ อาทิ ด้านสุขภาพจิต ด้านสาธารณูปโภค เป็นต้น เพื่อดูว่าจะ สามารถอธิบายระดับความพึงพอใจในชีวิตของคนไทยวัย ทางานในเขตเมืองได้เพิ่มมากขึ้นหรือไม่ เพียงใด ซึ่งจะ สร้างองค์ความรู้ในมิติที่กว้างขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อวง วิชาการต่อไป


11 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554

บรรณานุกรม กนกกาณจน์ อนุแก่นทรายและคณะ. (2543). รายงานการวิจัยการสร้างและพัฒนาตัวชี้วัดความเข้มแข็งขององค์กร ธุรกิจชุมชน. สมาคมพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (อัดสาเนา). ทิพวรรณ ศิริคูณ. (2542). คุณภาพชีวิตการทางานกับความผูกพันต่อองค์การ : ศึกษากรณีบริษัทบริหารสินทรัพย์ สถาบันการเงิน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พูลศักดิ์ อินทรโยธาและคณะ. (2547). รายงานคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยาง. ฝ่ายวิจัยและแผน สานักงาน กองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. วรวุฒิ พัฒนสัมพันธ์และคณะ. (2546). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทางานของลูกจ้างในสถานประกอบการในเขต อาเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. สาขาการจัดการอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สมชาย สุขสิริเสรีกุล. (2545). คุณภาพชีวิตของคนไทยในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา : ดีขึ้นหรือเลวลง. หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ, ฉบับวันที่ 13 มิถุนายน 2545. เสาวนีย์ ตนะตุลย์.(2533). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและ มานุษยวิทยามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เสาวนีย์ ศรีติระกุลและคณะ. (2542). การศึกษาภาวะสุขภาพและการปฏิบัติตนด้านสุขภาพของประชากรวัยแรงงาน ในชุมชนสวนผัก เขตจตุจักร, วารสารพยาบาล 2542; (4) : 214-223. Maslow, A.H. (1976). A Theory of Human Motivation, Psychological Review 50 (1976) : 370-96.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.