วารสารจิตวิทยา ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2557 ISSN 2286-6663

Page 1



วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เจ้าของ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่ปรึกษา 1. ดร.วัลลภ สุวรรณดี 2. ดร.เสนีย์ สุวรรณดี 3. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา กองบรรณาธิการบริหาร 1. ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 2. ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม 3. รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี 4. รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ 5. รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ กองบรรณาธิการวิชาการ 1. ศาสตราจารย์ ดร.จรรจา สุวรรณทัต 2. ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 3. ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม 4. รองศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต 5. รองศาสตราจารย์ ดร.วรนุช แหยมแสง 6. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา สู้รักษา 7. รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิโชค วรานุสันติกูล 8. รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ นนทะสร 9. รองศาสตราจารย์ ดร.อรพินทร์ ชูชม 10. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา 11. รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี 12. รองศาสตราจารย์ ดร.รัญจวน คาวชิรพิทักษ์ 13. รองศาสตราจารย์มุกดา ศรียงค์ 14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง 15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เย็นใจ เลาหวณิช 16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระวัฒน์ ปันนิตามัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคาแหง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคาแหง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


กองบรรณาธิการ 1. รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ บรรณาธิการ 2. นางสาวรัศมีดารา ดารากร ณ อยุธยา ผู้ช่วยบรรณาธิการ คณะกรรมการจัดทาวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 1. รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ ประธานกรรมการ 2. รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ กรรมการ 3. นางสาวรัศมีดารา ดารากร ณ อยุธยา กรรมการและเลขานุการ ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ 1. ศาสตราจารย์ ดร.อารี สัณหฉวี 2. ศาสตราจารย์ ดร. ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 3. ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม 4. รองศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต 5. รองศาสตราจารย์ ดร.อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์ 6. รองศาสตราจารย์ ดร.สมสรรญก์ วงศ์อยู่น้อย 7. รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ นนทะสร 8. รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิโชค วรานุสันติกูล 9. รองศาสตราจารย์ ดร.วรนุช แหยมแสง 10. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา 11. รองศาสตราจารย์ ดร.รัญจวน คาวชิรพิทักษ์ 12. รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี 13. รองศาสตราจารย์ชูศรี วงศ์รัตนะ 14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระวัฒน์ ปันนิตามัย 15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เย็นใจ เลาหวณิช 16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พาสนา จุลรัตน์ 17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิริอรรถ

นักวิชาการอิสสระ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ

กาหนดวันออกวารสาร ปีละ 2 ฉบับ - ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน กาหนดออกวารสาร เดือนมิถุนายน - ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม กาหนดออกวารสาร เดือนธันวาคม


วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาค้นคว้า สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการด้านจิตวิทยา ของคณาจารย์ นักวิชาการและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางจิตวิทยาสู่สาธารณชน 3. เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านจิตวิทยา ระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานทางวิชาการ หน่วยงานปฏิบัติการและนักวิชาการอิสระทางด้านจิตวิทยา พิมพ์ที่ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เลขที่ 1761 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ 0-2320-2777 โทรสาร 0-2720-4677 ISSN 2286-6663 สานักงาน หลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา (ชั้น 3 อาคารเกษมพัฒน์) มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ โทรศัพท์/โทรสาร 0-2320-2777 ต่อ 1134, 1163 e-mail: journal.psy.kbu@gmail.com ปีที่พิมพ์ 2557


คานิยม วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตฉบับที่สี (มกราคม-มิถุนายน 2557) นี้ นับเป็นฉบับ เริ่มต้นของการได้รับการรับรองจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index-TCI) จึง นับว่า วารสารประสบความสาเร็จตามที่ได้ตั้งความคาดหวังไว้ให้ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นวารสารใน ฐานข้อมูลระดับชาติของประเทศไทย ในโอกาสนี้ ดิฉันจึงขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ต่อรองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ทั้งด้านบริหารและด้านวิชาการ ขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งท่าน ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกัลยาณมิตรช่วยพิจารณาบทความ ทาให้วารสารมีคุณภาพถึงเกณฑ์กาหนดของ TCI คณาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ขอปวารณาตัวที่จะ มุ่งมั่นพัฒนาวารสาร เพื่อเสนอผลงานทางวิชาการและงานวิจัยสู่สาธรณชนให้ได้ใช้ประโยชน์จากศาสตร์และ วิชาชีพจิตวิทยาได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืนตลอดไป ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจและใฝ่พัฒนา

(รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อานวยการหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


บรรณาธิการแถลง วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ฉบับนี้ ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2557) เนื้อหาตีพิมพ์เผยแพร่บทความและผลงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาของนักวิจัย อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ และนิสิต นักศึกษาในสาขาวิชาจิตวิทยา และพฤติกรรมศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยรามคาแหง ซึ่งบทความทุกฉบับได้รับการ พิจารณากลั่นกรอง จากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านจิตวิทยา ด้านสถิติและด้านวิจัย ทาให้เนื้อหาทุกคอลัมน์ของ วารสารมี คุณภาพ เพื่อท่านผู้อ่านจะได้รับความรู้ทางวิชาการ และสามารถนาไปเป็นประโยชน์ในการ อ้างอิงและประยุกต์ใช้ในทางวิชาการได้ กองบรรณาธิการ ขอขอบพระคุณผู้เขียนบทความทุกท่านที่ส่งบทความมาให้พิจารณาตีพิมพ์ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ (Peer Review) ที่กรุณาพิจารณาให้ข้อคิดเห็นในการปรับปรุงแก้ไข บทความให้มีความถูกต้องทันสมัย ตรงตามหลักวิชาการ และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่ให้การ สนับสนุนในการจัดทาวารสารจนสาเร็จลุล่วงด้วยดี ซึ่งกองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ฉบับนี้ จะเกิดประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน ในการนาไปประยุกต์ใช้และสร้างสรรค์ ผลงาน วิชาการทางจิตวิทยาต่อไป หากมีข้อผิดพลาดประการใดคณะผู้จัดทาขอน้อมรับไว้เพื่อการปรับปรุง แก้ไขต่อไป

(รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์) บรรณาธิการ


สารบัญ รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์

หน้า 1

ความสมบูรณ์แบบ ศาตราจารย์ศรียา นิยมธรรม

14

การประยุกต์ใช้แบบผสานวิธีตามลาดับขั้นในการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ นายนันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์

19

ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กรที่ทานายพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากร สานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ นางณัฐชา ทาวรมย์

29

การศึกษาปัจจัยทางจิตสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดาที่มารับ บริการในโรงพยาบาล นางสาวทัศนันท์ มีภักดิ์สม

38

การศึกษาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลายโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคมจังหวัดสระแก้ว นางสาวฤทัยรัตน์ วิเศษศักดิ์

48

การรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พฤติกรรมการดาเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ค่านิยมในการทางานกับความผูกพันต่อองค์การ : กรณีศึกษา โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา นางสาวสุกันยา แก้วสุวรรณ์

59

บทวิจารณ์หนังสือ (Book review): True North: Discover Your Authentic Leadership. Bill George with Peter Sims. San Francisco, CA: John Wiley & Sons, Inc, 2007, 251 pp. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา

72

แนะนาสาหรับผู้ส่งบทความวิชาการและบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

77


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

1

รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัว ที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด A Psychological Training Model for Developing Family Life Strengths of Drug Addicts ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ *

บทคัดย่อ การวิจัย เรื่อง รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ ติดยาเสพติด มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด 2) สร้างรูปแบบ การฝึ ก อบรมทางจิ ตวิ ท ยาเพื่ อพั ฒ นาชี วิ ตครอบครั ว ที่ เ ข้ ม แข็ งของผู้ ติ ดยาเสพติ ด 3) ประเมิ น ความสามารถของครูฝึกในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็ง ของผู้ติดยาเสพติด หลังจากครูฝึกได้รับการฝึกอบรมการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาจากผู้วิจัย และ 4) ประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาของครูฝึกในการพัฒนาชีวิต ครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาชีวิต ครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติดเป็นนักเรียน (ผู้ติดยาเสพติด) ศูนย์วิวัฒน์พลเมืองจังหวัดทหารบก สระแก้ว จ านวน 94 คน 2) กลุ่ มตัวอย่างที่เป็นครูฝึ กศูนย์วิวัฒน์พลเมืองจังหวัดทหารบกสระแก้ว จานวน 10 คน ที่มีคะแนนความสามารถในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาตั้งแต่เปอร์เซนไทล์ ที่ 50 ลงมา ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายจากประชากรที่เป็นครูฝึก และ 3) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน (ผู้ติดยาเสพติด) ศูนย์วิวัฒน์พลเมืองจังหวัดทหารบกสระแก้ว จานวน 12 คน ที่มีคะแนนชีวิตครอบครัว ที่เข้มแข็ง ตั้งแต่เปอร์เซนไทล์ที่ 25 ลงมา ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่ายจากประชากรที่เป็นผู้ติดยาเสพติด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความสามารถของครูฝึกในการใช้ รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 2) แบบวัดชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ ติดยาเสพติด มีค่าอานาจจาแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .25 - .35 และ มีค่าความเที่ยงของแบบวัดทั้งฉบับ เท่ากับ .87 และ 3) รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด มีค่า ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง .08 – 1.00

__________________________ * ศาสตราจารย์ ดร., หัวหน้าสาขาวิชาจิตวิทยา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


2

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ใน ระดับปานกลาง โดยชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งรายด้าน ได้แก่ ด้านความรัก ความเข้าใจ และความ ผูกพัน ด้านการสื่อสารทางบวก ด้านการมีกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหา ด้านการใช้ชีวิตร่วมกัน และด้าน การเห็นคุณค่าของกันและกัน 2. รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิต ชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติด ยาเสพติดที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย การประยุกต์แนวคิด และเทคนิคของทฤษฎีต่างๆ ทางจิตวิทยา ได้แก่ ทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง ทฤษฎีการให้การปรึกษาครอบครัวแบบ เชื่อมโยงระหว่างรุ่น ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทฤษฎีการให้การปรึกษา ครอบครัวแบบประสบการณ์นิยมและมนุษยนิ ยม และทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบภวนิยม โดยมี ขั้นตอนการฝึกอบรมดังนี้ 1) ขั้นนา 2) ขั้นดาเนินการฝึกอบรม 3) ขั้นสรุป และ 4) ขั้นประเมินผล การฝึกอบรม 3. ครูฝึ กมีความสามารถในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิต ครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติดเพิ่ มมากขึ้น อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หลังจาก ได้รับการฝึกอบรมการใช้รูปแบบการฝึกอบรมจากผู้วิจัย 4. ผู้ติดยาเสพติดมีชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หลังจากได้รับการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาจากครูฝึก นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์รายงานที่ได้จากการสนทนาเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) ของ ผู้ติดยาเสพติด ผู้ติดยาเสพติดรายงานว่า รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยา มีประสิทธิผลอย่างยิ่งที่ 1) ช่วยส่งเสริมให้เข้าใจครอบครัวมากยิ่งขึ้น 2) ช่วยเสริมสร้างความรู้ ความสามารถ และทักษะในด้าน การสื่อสารกับครอบครัว การแก้ปัญหาและการแก้ไขความขัดแย้งในครอบครัว และ 3) ช่วยสนับสนุน ส่งเสริมให้ตั้งใจมั่นที่จะพัฒนาตนเองและครอบครัวให้เจริญงอกงามและเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางบวก คาสาคัญ: รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยา ชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด Abstract The purposes of this research topic “A psychological training model for developing family life strengths of drug addicts” were 1) to study the family life strengths of the drug addicts, 2) to construct the psychological training model for developing family life strengths of the drug addicts, 3) to evaluate the trainers’ abilities in utilizing the psychological training model after receiving the psychological training model from the researcher, and 4) to evaluate the effectiveness of the trainers’ psychological training model utilization in developing family life strengths of the drug addicts.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

3

The subjects of the study included 3 groups. The first group of the family life strengths study consisted of 94 drug addicts. The second group of the study of the trainers’ abilities in utilizing the psychological training model consisted of 10 trainers whose abilities in utilizing the psychological model were lower than fiftieth percentile. The third group of the developing family life strengths study consisted of 12 drug addicts whose family life strengths scores were lower than twenty-fifth percentile. The research instruments were 1) the assessment scale of the trainers’ abilities in utilizing the psychological training model with reliability coefficient of .83, 2) the drug addicts family life strengths scale with the item difficulties ranged from .25 - .35 and with reliability coefficient of .87, and 3) the psychological training model for developing the drug addicts’ family life strengths with Item Objective Congruence (IOC) ranged from .80 – 1.00. The research results were as follow 1. The total mean score and each dimension mean score of the drug addicts family life strengths were average. The family life strengths comprised of six dimensions: affection and affiliation, positive communication, problem-coping strategies, togetherness, and valuing each other. 2. The psychological training model for developing the family life strengths of the drug addicts included concepts and techniques of psychological theories. These psychological theories were Person-Centered Counseling, Transgenerational Family Theory, Transactional Analysis, Experiential and Humanistic model, and Existential Counseling. The model composed of 1) the initial stage, 2) the working stage, 3) the terminal stage, and 4) the evaluation stage. 3. The abilities in utilizing the psychological training model of the trainers significantly increased at .01 level after receiving the psychological training model from the researcher. 4. The family life strengths of the drug addicts significantly increased at .01 level after receiving the psychological training model from the trainers. Besides, the analysis of focus group report of the drug addicts attended the psychological training model for developing their family life strengths were as follows : the model efficacy could be greatly 1) promoted new understanding and insight about the family, 2) enhanced knowledge, abilities and skills in areas such as family communication, family problem-solving and conflict resolution, and 3) encouraged commitment to ongoing growth and positive change. Key words: A psychological training model, family life strengths of drug addicts


4

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับการเสพยาเสพติด คือ สภาพชีวิตครอบครัวของผู้ติดยา เสพติดที่ขาดความเข้มแข็ง สมาชิกครอบครัวไม่มีโอกาสที่จะใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่มีความ อบอุ่นในครอบครัว มีความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในครอบครัว สมาชิกครอบครัวค่อนข้างห่างเหินกัน ไม่ค่อยผูกพันกัน นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้ทาการสารวจเบื้องต้นพบว่าปัจจัยทางสังคมบางประการที่เกี่ยวข้องกับ การเสพยาเสพติดของผู้ติดยาเสพติด ได้แก่ บุคลิกภาพส่วนบุคคลของผู้ติดยาเสพติด ความเชื่อเกี่ยวกับ ยาเสพติดโอกาสในการอยู่ใกล้สิ่งเสพติด สภาพแวดล้อม ชีวิตครอบครัว ความผูกพันกับบิดามารดา ความ ผูกพันกับเพื่อน ซึ่งผลการสารวจเบื้องต้นนี้ ทาให้ได้ข้อมูลที่พบว่า การเสพยาเสพติดของผู้ติดยาเสพติดมี ความเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านชีวิตครอบครัวความผูกพันกับบิดามารดา โดยผู้ติดยาเสพติดระบุว่า รู้สึก ห่างเหินกับบิดามารดา ไม่ค่อยเข้าใจบิดามารดา มีปัญหาเวลาพูดคุยกัน ไม่มีโอกาสใช้ชีวิตร่วมกัน รู้สึก ว่าครอบครัวไม่อบอุ่น สมาชิกครอบครัวขาดความเข้มแข็งและขาดชีวิตชีวา จากประเด็นปัญหาเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวของผู้ติดยาเสพติดข้างต้น ทาให้ผู้วิจัยและครูฝึก ศูนย์ วิวัฒน์ พลเมือง จั งหวัดทหารบกสระแก้ว ซึ่งเคยมีประสบการณ์ในการทาวิจั ยร่วมกันเกี่ยวกั บ “การศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการบาบัดฟื้นฟูเพื่อพัฒนาสมรรถภาพของผู้ติดยาเสพติดเมื่อ ปี พ.ศ.2555” เห็ นความส าคั ญในการพั ฒ นาชี วิ ตครอบครั ว ของผู้ ติ ดยาเสพติ ดให้ เข้ มแข็ งโดยจะ ดาเนินการ 1) ศึกษาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด 2) สร้างรูปแบบการฝึกอบรมทาง จิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด 3) ผู้วิจัยจัดฝึกอบรม การใช้รูปแบบการ ฝึ กอบรมทางจิ ตวิ ทยาให้ แก่ครู ฝึ ก เพื่ อให้ ครูฝึ กมีความสามารถในการใช้ รูปแบบการฝึ กอบรมทาง จิตวิทยาดังกล่าว และ 4) เมื่อครูฝึกได้รับการฝึกอบรมการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาจาก ผู้วิจัย และมีความสามารถในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็ง ของผู้ติดยาเสพติดดังกล่าวแล้ว ครูฝึกจะนารูปแบบการฝึกอบรมดังกล่าวไปดาเนินการฝึกอบรมให้แก่ผู้ ติดยาเสพติดเพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดมีชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งต่อไป คาถามการวิจัย 1. ชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติดครอบคลุมในเรื่องใดบ้าง 2. รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาที่ครูฝึกจะนาไปใช้พัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็ง ของผู้ติดยาเสพติดควรเป็นอย่างไร 3. ภายหลังที่ครูฝึกได้รับการฝึกอบรมการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาจากผู้วิจัย ครูฝึกจะมีความสามารถในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาได้มากน้อยเพียงใด 4. ภายหลังที่ผู้ติดยาเสพติดได้รับการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาจากครูฝึก ผู้ ติดยาเสพติดจะมีชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

5

วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัย เรื่อง “รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็ง ของผู้ติดยาเสพติด” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด 2. เพื่อสร้างรูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด 3. เพื่อศึกษาความสามารถของครูฝึก ในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยา เพื่อ พัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ ติดยาเสพติด หลังจากครูฝึกได้รับการฝึกอบรมการใช้รูปแบบ การฝึกอบรมทางจิตวิทยาจากผู้วิจัย 4. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการฝึกอบรม การใช้รูปแบบการฝึกอบรม ทางจิตวิทยาของครูฝึก ในการพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด สมมติฐานของการวิจัย 1. ครูฝึ กมีความสามารถในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิต ครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติดเพิ่มขึ้น หลังจากครูฝึกได้รับการฝึกอบรมการใช้รูปแบบ การ ฝึกอบรมทางจิตวิทยาจากผู้วิจัย 2. ผู้ติดยาเสพติดมีชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งเพิ่มขึ้น หลังจากได้รับการใช้รูปแบบการ ฝึกอบรมทางจิตวิทยาจากครูฝึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. กลุ่ มตั ว อย่ างที่ใ ช้ใ นการศึ กษาชีวิ ตครอบครั ว ที่ เข้ ม แข็ งของผู้ ติด ยาเสพติด เป็ น นักเรียน (ผู้ติดยาเสพติด) ศูนย์วิวัฒน์พลเมือง จังหวัดทหารบกสระแก้ว จานวน 94 คน 2. กลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูฝึก ศูนย์วิวัฒน์พลเมือง จังหวัดทหารบกสระแก้ว จานวน 10 คน ที่มีคะแนนความสามารถในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยา ตั้งแต่เปอร์เซนไทล์ที่ 50 ลงมา ที่ ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายจากประชากรที่เป็นครูฝึก 3. กลุ่มตัวอย่ างที่เป็นนักเรียน (ผู้ติดยาเสพติด) ศูนย์วิวัฒน์พลเมือง จังหวัดทหารบก สระแก้ว จานวน 12 คน ที่มีคะแนนชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็ง ตั้งแต่เปอร์เซนไทล์ 25 ลงมา ที่ได้มาจาก การสุ่มอย่างง่าย จากประชากรที่เป็นผู้ติดยาเสพติด กรอบแนวคิดการวิจัย การวิจัย เรื่อง รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยา เพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ ติดยาเสพติด กาหนดกรอบแนวคิดการวิจัยดังนี้


6

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

1. กรอบแนวคิดการวิจัย เพื่อศึกษาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด ดังนี้ ความรัก ความเข้าใจ และความผูกพัน การสื่อสารทางบวก ชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็ง ของผู้ติดยาเสพติด

การมีกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหา การใช้ชีวิตร่วมกัน การเห็นคุณค่าของกันและกัน

แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการศึกษาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด

ความรัก ความเข้าใจ และความผูกพัน การสื่อสารทางบวก การมีกลยุทธ์ในการ เผชิญปัญหา การใช้ชีวิตร่วมกัน การเห็นคุณค่า ของกันและกัน ข้อคาถาม องค์ประกอบของชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็ง แผนภาพที่ 2 โมเดลการวัดชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็ง

ชีวิตครอบครัว ที่เข้มแข็งของ ผู้ติดยาเสพติด


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

7

2. กรอบแนวคิดการวิจัย เพื่อศึกษาความสามารถของครูฝึก ในการใช้รูปแบบการ ฝึกอบรมทางจิตวิทยา เพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด มีดังนี้ ความสามารถในการปฐมนิเทศ การสร้างสัมพันธภาพ และการศึกษา ลักษณะชีวิตครอบครัวของผู้ติดยาเสพติด

ความสามารถของครูฝึกในการใช้รูปแบบ การฝึกอบรมทางจิตวิทยา โดยกาหนดวัตถุประสงค์ดาเนินการฝึกอบรม และประเมินผลการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็ง ของผู้ติดยาเสพติด

ความสามารถในการเสริมสร้างความรัก ความเข้าใจ และความผูกพันระหว่าง สมาชิกในครอบครัว ความสามารถ ในการเสริมสร้าง การสื่อสารทางบวก ความสามารถในการเสริมสร้างกลยุทธ์ใน การเผชิญปัญหาด้านสัมพันธภาพ

ความสามารถในการเสริมสร้างการใช้ชีวิต ร่วมกัน และการเห็นคุณค่าของกันและกัน

แผนภาพที่ 3 กรอบแนวคิดในการศึกษาความสามารถของครูฝึกในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทาง จิตวิทยา เพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด


8

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

3. กรอบแนวคิ ด เกี่ ย วกั บ รู ป แบบการฝึ ก อบรมทางจิ ต วิ ท ยาเพื่ อ พั ฒ นาชี วิ ต ครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด 1. ขั้นนา

รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยา เพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่ เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด

2. ขั้นดาเนินการฝึกอบรม 2.1 การปฐมนิเทศ การสร้างสัมพันธภาพ และ การศึกษาลักษณะชีวิตครอบครัวของผู้ติดยาเสพติด โดยใช้ทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบบุคคลเป็น ศูนย์กลาง 2.2 การเสริมสร้าง ความรัก ความเข้าใจ และ ความผูกพัน โดยใช้ทฤษฎีการให้การปรึกษา ครอบครัวแบบการเชื่อมโยงระหว่างรุ่น 2.3 การเสริมสร้างการสื่อสารทางบวก โดยใช้ ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธภาพระหว่าง บุคคล และทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวแบบ ประสบการณ์นิยม และมนุษยนิยม 2.4 การเสริมสร้างกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหา ด้านสัมพันธภาพ โดยใช้ทฤษฎีการให้การปรึกษา ครอบครัวแบบการเชื่อมโยงระหว่างรุ่น 2.5 การเสริมสร้างการใช้ชีวิตและการเห็น คุณค่าของกันและกัน โดยใช้ทฤษฎีการให้การ ปรึกษาแบบภวนิยม 3. ขั้นสรุป 4. การประเมินผลการฝึกอบรม

แผนภาพที่ 4 รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

9

4. กรอบแนวคิดในการฝึกอบรมการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาให้แก่ครูฝึก โดยผู้วิจัยเพื่อพัฒนาความสามารถของครูฝึกในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยา ตัวแปรต้น

ตัวแปรตาม

การฝึกอบรมการใช้รูปแบบการฝึกอบรม ทางจิตวิทยาให้แก่ครูฝึก โดยผู้วิจัย

ความสามารถของครูฝึกในการใช้รูปแบบ การฝึกอบรมทางจิตวิทยา

แผนภาพที่ 5 การฝึกอบรมการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาความสามารถของครูฝึก ในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยา

5. กรอบแนวคิดในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัว ที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติดโดยครูฝึก ตัวแปรต้น การใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยา เพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็ง ของผู้ติดยาเสพติดโดยครูฝึก

ตัวแปรตาม ชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด

แผนภาพที่ 6 การใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวของผู้ติดยาเสพติด


10

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แบบประเมินความสามารถของครูฝึกในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยา มีค่า ความเที่ยงเท่ากับ .83 2. แบบวัดชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด มีค่าอานาจจาแนกรายข้อตั้งแต่ .25 - .35 และมีความเที่ยงของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ .87 3. รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพ ติดมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง .80 – 1.00 วิธีดาเนินการวิจัย 1. ศึกษาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด โดยให้ผู้ติดยาเสพติดตอบแบบวัด ชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด 2. สร้างรูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยา เสพติด 3. ผู้วิจัยจัดฝึกอบรมการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่ เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติดให้แก่ครูฝึก เพื่อให้ครูฝึกมีความสามารถในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทาง จิตวิทยา 4. ให้ ค รู ฝึ ก ที่ ไ ด้ รั บ การฝึ ก อบรมการใช้ รู ป แบบการฝึ ก อบรมทางจิ ต วิ ท ยา และมี ความสามารถในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยา เสพติด นารูปแบบการฝึกอบรม ดังกล่าว ไปจัดฝึกอบรมให้แก่ผู้ติดยาเสพติดเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัว ที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ วิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ 2.1 การวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ระหว่างข้อความกับ นิยามปฏิบัติการ โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item Objective Congruence=IOC) (วรรณี แกมเกตุ, 2549 : 216-217) 2.2 การวิเคราะห์ค่าอานาจจาแนกของแบบวัดโดยใช้ Pearson Product Moment Correlation (Shaughnessy, Zechmeister, & Zechmeister, 2000 : 175) 2.3 การวิเคราะห์ความเที่ยง (Reliability) ของแบบวัดและแบบประเมินโดยใช้ Alphacoefficient ของ Cronbach (kerlinger & Lee, 2000 : 654) 3. สถิติสาหรับการทดสอบสมมุติฐาน 3.1 การวิเคราะห์การเปรียบเทียบความสามารถของครูฝึก ในการใช้รูปแบบการ ฝึกอบรมทางจิตวิทยาก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้ t-test for dependent samples


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

11

3.2 การวิเคราะห์การเปรียบเทียบชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติดก่อน และหลังการทดลองโดยใช้ t-test for dependent samples สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย เรื่อง “รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็ง ของผู้ติดยาเสพติด สรุปได้ดังนี้ 1. ชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติดมีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งรายด้าน ได้แก่ ด้านความรัก ความเข้าใจ และความผูกพัน ด้าน การสื่อสารทางบวก ด้านการมีกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหา ด้านการใช้ชีวิตร่วมกัน และด้านการเห็น คุณค่าของกันและกัน ต่างมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2. รู ป แบบการฝึ กอบรมทางจิ ตวิ ทยาเพื่ อพั ฒ นาชี วิ ตที่ เข้ มแข็ งของผู้ ติ ดยาเสพติ ด ประกอบด้วย การประยุกต์แนวคิด ทฤษฎี และเทคนิคต่างๆ ทางจิตวิทยามาใช้ในการพัฒนาชีวิตครอบครัว ของผู้ติดยาเสพติดให้เข้มแข็ง 3. ครู ฝึ กมี ความสามารในการใช้ รู ป แบบการฝึ ก อบรมทางจิ ตวิ ทยาเพื่ อพั ฒ นาชี วิ ต ครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หลังจากที่ ได้รับการฝึกอบรมการใช้รูปแบบการฝึกอบรมจากผู้วิจัย 4. ผู้ติดยาเสพติดมีชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หลังจากได้รับการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาจากครูฝึก การอภิปรายผล การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษารูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวที่ เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด อภิปรายผล ได้ดังนี้ 1. ผลการวิจัย พบว่า ผู้ติดยาเสพติด จานวน 94 คน มีชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็ง ด้าน ความรัก ความเข้าใจ และความผูกพัน ด้านการสื่อสารทางบวก ด้านการมีกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหา ด้านการใช้ชีวิตร่วมกัน ด้ านการเห็นคุณค่าของกันและกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง แต่ผู้ติดยา เสพติดต่างปรารถนาที่จะมีชีวิตครอบครัวด้านต่างๆ ให้เข้มแข็งมากขึ้น และต้องการให้สภาพความ เป็นอยู่ของสมาชิกครอบครัวมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมากขึ้น และต้องการให้สภาพความเป็นอยู่ของ สมาชิกครอบครัวมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มีความรัก และความเข้าใจอันดีต่อกันและกัน เพื่อสร้าง ครอบครัวให้สามารถดารงอยู่อย่างเป็นสุข สอดคล้องกับ Lamanna & Riedmann (2012) ที่ระบุว่า ครอบครั ว ที่ แข็ งแรงเข้ มแข็ งจะต้ องมี ความรั กเป็ นพื้ นฐานที่ ส าคั ญพ่ อแม่ ลู กจะต้ องอยู่ ด้ ว ยกั น มี สัมพันธภาพที่ดีต่อกัน พ่อแม่ต้องอบรมเลี้ยงดูลูกให้มีวินัย มีคุณธรรม และจริยธรรม ปฏิบัติตามหลัก ศาสนาที่นับถือและมีความผูกพันกันอย่างแน่นแฟูน 2. เนื่ องจากครู ฝึ กศูนย์วิวั ฒน์ พลเมือง จั งหวั ดทหารบกสระแก้ว เป็นผู้ ควบคุมดูแล รับผิดชอบในการบาบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติ ด และพัฒนาสมรรถภาพด้านต่างๆ ของผู้ติดยาเสพติดทา หน้าที่ให้ความช่วยเหลือและพัฒนาความเข้มแข็งทางร่างกายและจิตใจ พัฒนาการรู้จักคิดและตัดสินใจ อย่างมีเหตุผล สร้างความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ในการวิจัยครั้งนี้เป็นความต้องการ


12

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

ของครูฝึกที่ปรารถนาจะพัฒนาชี วิตครอบครัวของผู้ติดยาเสพติดให้เข้มแข็ง และได้ประสานงานกับ ผู้วิจัยให้สร้างรูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวของผู้ติดยาเสพติดให้เข้มแข็ง และขอความร่วมมือให้ผู้วิจัยสร้างและจัดฝึกอบรมการใช้รูปแบบการฝึกอบรมดังกล่าวให้กี่ครูฝึก ก่อนที่ ครูฝึกจะนารูปแบบการฝึกอบรมดังกล่าวไปพัฒนาชีวิตครอบครัวของผู้ติดยาเสพติดให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ผลการฝึกอบรมการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยา ทาให้ครูฝึกมีความสามารถในการใช้รูปแบบ ดังกล่าว และในที่สุดครูฝึกก็สามารถนารูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาไปพัฒนาชีวิตครอบครัวที่ เข้มแข็งให้แก่ผู้ติดยาเสพติดได้ 3. ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังที่ผู้ติดยาเสพติดได้รับการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทาง จิตวิทยาจากครูฝึก ผู้ติดยาเสพติดมีชีวิตครอบครัวในด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งได้แก่ ด้านความรัก ความเข้าใจ และความผูกพัน ด้านการสื่อสารทางบวก ด้านการมีกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหา ด้านการใช้ ชีวิตร่วมกัน และด้านการเห็นคุณค่าของกันและกันสอดคล้องกับ Geggie et.al.(2000) ที่วิเคราะห์ โครงสร้างของครอบครั ว และพบว่าครอบครัวที่เข้มแข็งจะต้องมีการใช้ชีวิตร่วมกันมีความเป็นอยู่ ร่วมกัน สื่อสารด้วยความเคารพนับถือ มีค่านิยมร่วมกัน และมีความสานึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของ ครอบครั ว นอกจากนี้ จากการสนทนากลุ่ มเฉพาะ และการเขียนรายงานสรุปเกี่ยวกับการประเมิน ประสิ ทธิผลของการใช้ รู ปแบบการฝึ กอบรมทางจิตวิทยาของครูฝึ กในการพัฒนาชีวิตครอบครัว ที่ เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติด ผู้ติดยาเสพติดรายงานว่ารูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยามีประสิทธิผล อย่างที่ 1) ช่วยส่งเสริมให้เข้าใจครอบครัวมากยิ่งขึ้น 2) ช่วยเสริมสร้างความรู้ความสามารถและทักษะ ในด้านการสื่ อสารกับครอบครั ว การแก้ปั ญหาและแก้ไขความขัดแย้ งในครอบครั ว และ 3) ช่ว ย สนับสนุนส่งเสริมให้ตั้งใจมั่นที่จะพัฒนาตนเอง และครอบครัวให้เจริญงอกงาม และเปลี่ยนแปลงไปใน ทิศทางบวก ผลการวิจัย ครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาสามารถพัฒนาชีวิต ครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิผล ข้อเสนอแนะ 1. ผลการวิจัยครั้งนี้ ได้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพั ฒนาชีวิตครอบครัวที่ เข้มแข็ง และแบบวัดชีวิตครอบครั วที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติดที่สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการ พัฒนาชีวิตครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติดที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง 2. ควรมีการติดตามผลของการใช้รูปแบบการฝึ กอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาชีวิ ต ครอบครัวที่เข้มแข็งของผู้ติดยาเสพติดทุก 3 เดือน และ 6 เดือน เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชีวิต ครอบครัวที่เข้มแข็งว่าเปลี่ยนแปลงไปในทางทิศใด เพื่อพัฒนาชีวิตครอบครัวให้เข้มแข็ง และเป็นไปใน ทิศทางที่พึงประสงค์ยิ่งขึ้น กิตติกรรมประกาศ ขอขอบพระคุณ ดร.วัลลภ สุ วรรณดี อธิการบดี มหาวิทยาลั ยเกษมบัณฑิต ที่ให้ การ สนับสนุนทุนวิจัย ประจาปีการศึกษา 2556


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

13

เอกสารอ้างอิง ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2554). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษาครอบครัว . นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วรรณี แกมเกตุ. (2549). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. Corey, Gerald. (2009). Theory and of counseling and psychology. California: Brooks/Cole Publishing Company. Geggie, J., Defrain, J., Hickcock, S. & Simone, S. (2000). Family strength research project. The Family Action Center, University of Newcasle, Australia. Glodenberg, H. & Glodenberg. I. (2008). Family therapy: An overview. California: Thomson Higher Education. Kerlinger, R. & Lee, I. (2000). Foundations of behavioral research (4th ed.) California: Thomson Learning, Inc. Lamanna, M. A. & Riedmann, A. (2012). Marriage, families and relationships: Making choices in a diverse society. Belmont, CA: Wadsworth. Shaughnessy, J. J., Zechmeister, E. B. & Zechmeister, J. S. (2000). Research methods in psychology. Singapore: Mc Graw – Hill.

…………………………………………………..


14

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

ความสมบูรณ์แบบ Perfectionism ศรียา นิยมธรรม *

บทคัดย่อ บทความนี้ กล่าวถึงความหมายของคาว่า “ความสมบูรณ์แบบ” และพิจารณาถึงความ เชื่อมโยงกันระหว่างความเป็นปัญญาเลิศ (Giftedness) กับความสมบูรณ์แบบ การค้นหา การบรรลุ ศักยภาพแห่งตน และการจัดการกับความสมบูรณ์แบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะอิงกับแนวคิดและผลงานของ ซิลเวอร์แมน (Silverman : 1995) ที่เชื่อว่า ความสมบูรณ์แบบมีความโยงอยู่กับเรื่องของความเป็น ปัญญาเลิศ และพลังที่ก่อให้เกิดผลดี ในการจะก้าวไปสู่ความสาเร็จ และถือเป็นจุดแข็งของการก้าวสู่ ศักยภาพที่ประสบความสาเร็จอย่างยอดเยี่ยม อย่างไรก็ดี ความสมบูรณ์แบบที่มีมากเกินไปก็ใช่จะดี อาจส่งผลเสียได้เช่นกัน จึงต้องมีการจัดการที่เหมาะสมกับความสมบูรณ์แบบ คาสาคัญ: ความสมบูรณ์แบบ Abstract This article presents an overview of definition of perfectionism and considers the link between giftedness and perfectionism. The quest for sell-actualization and the management of perfectionism. Much of the ideas is based on a work of Silverman 1995 who believes that perfectionism is an inevitable part of being good and can be positively strength in those who have the potential to achieve excellent how even being too good is also harmful. The coping with perfectionism is necessary. Key words: Perfectionism ความหมาย ความสมบูร ณ์แบบ (Perfectionism) ตามความเห็นของนักจิตวิทยาและนักการศึกษามอง จุดเน้นที่แตกต่างกัน ความหมายแบบแรก ความสมบูรณ์แบบตามปกติ หมายถึง การที่บุคคลต้องการจะ ทาสิ่งต่างๆ ให้ดีที่สุด และจะชื่นชมกับผลสาเร็จที่ได้ทา ส่วนความหมายอีกแบบนั้น มองเรื่องของความ สมบูรณ์แบบเป็นปมบางอย่างในใจที่ต้องการทาให้ตนดีเด่นที่สุด และจะไม่ค่อยพอใจง่ายๆ จะมองเห็น ข้อบกพร่ องอยู่ ร่ าไป ทั้งจะพยายามใช้วิธีการต่างๆ เพื่อให้ ได้มาซึ่งสิ่ งที่ตนคิดว่าดีเด่นยอดเยี่ยมที่สุ ด (Roedell : 1994) ____________________________ * ศาสตราจารย์, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

15

ซิลเวอร์แมน (1995) เคยนาเสนอผลงานและแนวคิดของเขาในการประชุมระดับโลกเรื่องเด็ก ปัญญาเลิศและเด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะทางครั้งที่ 11 ที่ฮ่องกง (11th World Conferences on Gifted and Talented Children) ว่า คุณค่าของความสมบูรณ์แบบนั้น ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม การที่คนมี แรงขับให้ ก้าวสู่ ความสมบู รณ์แบบนั้น เขาจะต้ องแข่งขั นและใช้ ความสามารถพิเศษเฉพาะตนในการ เอาชนะเหนือคนอื่นๆ เขาจะถูกกระตุ้นให้ใช้ความพยายาม ความอดทน มุมานะ เพื่อก้าวสู่ชัยชนะที่สังคม นั้นๆ พึงประสงค์ ความพยายามในลักษณะนี้ ซิลเวอร์แมนมองว่า ความสมบูรณ์แบบที่จะเกิดนั้น บุคคล ต้องมองเห็นความเป็นไปได้ที่ท้าทาย และตัดสินใจทุ่มความพยายามที่จะพัฒนาความสามารถของตนใน เรื่องนั้นๆ ให้ก้าวสู่ขีดสูงสุด เมื่อทาได้สาเร็จ เด็กปัญญาเลิศก็จะมีความมั่นใจ แต่ถ้าไปไม่ถึงก็จะรู้สึกพ่าย แพ้ที่ก้าวไม่ถึงมาตรฐานขั้นสูง เขาก็จะหาหนทางปรับปรุงต่อไป การมองเรื่องความสมบูรณ์แบบในเชิงลบนั้น ปาร์กเกอร์และแอดคินสัน (Parker Adkins, 1994 P.173) ได้นิยามความหมายของความสมบูรณ์แบบว่า “บุคคลที่มีความคิดซ้าๆ อย่างเคร่งเครียด และไม่ หยุ ดคิ ดที่ จะก้ าวสู่ เปู าหมาย แม้ จะเป็ นเปู าหมายที่ เป็ นไปไม่ ได้ และประเมิ นตนว่ าเป็ นผู้ มี ความสามารถและจะบรรลุ เปู าหมายได้ นั กจิ ตวิ ทยากลุ่ มนี้ บางคนก็ อธิ บายว่ า เป็นการต่ อสู้ สู่ ความ เพียบพร้อมที่ไม่มีอยู่จริง จนเกิดปัญหาทางจิตใจขึ้น มีงานวิจัยหลายเรื่องที่ศึกษาถึงความเกี่ยวข้องของ ความสมบูรณ์แบบกับความรู้สึกเก็บกด เช่น คิดว่าตัวเองอ้วน จึงอดอาหารจนปวดศีรษะเป็นไมเกรน มี บุคลิกภาพแปรปรวน เรื่องทานองนี้มักเกิดกับผู้หญิงวัยรุ่นที่อยากเป็นคนสวยที่สุด จนเครียดมากถึงขั้นฆ่า ตัวตายได้ ซิลเวอร์แมน ยังได้แบ่งลักษณะความสมบูรณ์แบบเป็นสองแบบ แบบแรก คือการหมกมุ่นกับ ตนเอง ตั้งเกณฑ์ที่ไม่เป็นจริงกับตนเอง แบบสอง เอามาตรฐานของคนอื่นเป็นเกณฑ์ และยึดค่านิยมของ สั งคมเป็ นเกณฑ์ โดยเชื่อว่าคนอื่ นๆ คาดหวังว่าความเพียบพร้ อมสมบู รณ์ แบบนั้ นเป็ นอย่างไร และ พยายามทาให้ได้ตามนั้น ผลการวิจัยที่โยงกับ ความเก็บกดของพวกที่ยึดตนเองเป็นหลักและต่อต้านสังคม มักมีบุคลิกภาพบกพร่องทานองโรคประสาทพอๆ กับพวกที่ยึดคนอื่นเป็นเกณฑ์ ทฤษฎีนี้ มองเรื่องของ ความสมบูรณ์แบบหลายแง่มุม และยังคงเน้นถึงลักษณะเชิงลบที่เกิดขึ้นมากเกินไปตามมาด้วย แอดเดอร์โฮลท์ -อีเลี ยน (Adderholt-elliot 1982) อธิบายถึงลักษณะ 5 ประการของ นั กศึกษาและครู ที่ยึ ดเรื่ อง ความสมบูรณ์แบบที่ มี ส่ วนเกี่ ยวข้ องกั บเรื่ องของการมีผลสั มฤทธิ์ ต่ ากว่ า ความสามารถที่แท้ จริ งคื อ ลั กษณะการผั ดวั นประกั นพรุ่ ง คนกลั วความผิ ดหวัง การยึ ดติ ดกั บความ เพียบพร้อม การมุ่งทางานอย่างเอาเป็นเอาตาย และการที่จะต้องทาอะไรให้ดียอดเยี่ยมที่สุดหรือไม่ก็จะไม่ ทาเลย ลักษณะเหล่านี้ทาให้คนต้องพยายามหาทางออก เพื่อให้บรรลุเปูาหมายให้จนได้ด้วยวิธีการต่างๆ ความสมบูรณ์แบบกับความเป็นปัญญาเลิศ มีคาที่ใช้เรียกผู้ที่ประสบความสาเร็จอยู่หลายคา เช่น คาว่า คนเก่ง-คนที่มีผลสัมฤทธิ์สูง คน ยอดเยี่ยม (Excellency) และคนที่มีความอุตสาหะพากเพียร (Perseverance) เราก็จะมองลักษณะของ ความสมบูรณ์แบบในแง่บวก (Silverman : 1995 P.1) ซิลเวอร์แมน อธิบายว่า ความยอดเยี่ยมนั้น เป็น เปูาหมายสาหรับคนกลุ่มเล็กที่เลือกจะนาตนไปสู่ความเป็นเลิศ หรือสมบูรณ์แบบ สาคัญที่ว่าใครจะมี ศักยภาพพอที่จะประสบความส าเร็ จขั้นยอดเยี่ยม เขายังชี้ให้ เห็ นถึงความเชื่อมโยงระหว่างความเป็น ปัญญาเลิศ และความสมบูรณ์แบบว่ามีเหตุผลหลายอย่าง ดังนี้


16

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

 ระดับสติปัญญาเป็นวิสัยสามารถของบุคคลในการคิดหาเหตุผลเชิงนามธรรม และความ สมบูรณ์แบบก็เป็นเรื่องนามธรรม ดังนั้น ความสมบูรณ์แบบมักจะแฝงอยู่ในบุคคลที่มีลักษณะปัญญาเลิศ  ความสมบู รณ์แบบไม่ จ าเป็ นต้องเป็ นเรื่องของความเป็ นปัญญาเลิ ศ เด็กปัญญาเลิ ศ กาหนดมาตรฐานของตนตามอายุสมองมากกว่าตามอายุทางปฏิทิน  เด็กปัญญาเลิศหลายคนที่ชอบเล่นกับเพื่อนที่อายุมากกว่าและตั้งมาตรฐานของตนใน เรื่องต่างๆ เท่ากับเด็กรุ่นโตเหล่านั้น  เด็กปัญญาเลิศหลายคนเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้เร็ว ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้เรียน และสามารถ จะมีทักษะอย่างดีในเรื่องนั้น จนสามารถแสดงออกให้เป็นที่ประจักษ์กับความสาเร็จ และกลัวที่จะพ่าย แพ้ผิดพลาดเพราะมีประสบการณ์น้อยกว่าคนอื่น  เมื่องานที่ได้รับมอบหมายจากทางโรงเรียนง่ายไป เด็กปัญญาเลิศที่ชอบงานท้าทายก็ สามารถสร้างงานอื่นที่สมบูรณ์แบบได้  ความสมบูรณ์แบบเป็นเรื่องที่ทาให้เด็กซึ่งต้องการจะเป็นคนสมบูรณ์แบบไม่ท้อถอย จึงทาให้เกิดแรงขับที่จะพยายามทาดีให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ควรจะเป็น โดยพยายามหาว่าอะไรที่จะทาให้ ได้ผลลัพธ์ เช่นนั้น ความรู้สึกภายในนี้ถ้า ทาให้เกิดความปรารถนาที่มุ่งมั่นในชีวิตที่จะเป็น คนดีที่สุด มี ผลงานที่โดดเด่นที่สุด การบรรลุศักยภาพแห่งตน (Self-Actualization) แนวคิดของมาสโลว์ (Maslow) ในเรื่องการใช้การแสวงหาประโยชน์ของความสามารถ พิเศษ และศักยภาพแห่งตน ได้จุดประกายให้มีผู้ศึกษาต่ออีกหลายคน เช่น เดโบรสกี้ (Debrowski 1964, 1972) ซิลเวอร์แมน ได้ช่วยตีความ และอธิบายทฤษฎีของเดอโบรสกี้ว่า ครั้งแรกแต่ละคนมีแรงจูงใจที่จะใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่ ในการจะทาเรื่อง ต่างๆ ให้ดีที่สุด และอาจทาได้ตามความพยายาม กระบวนการพัฒนาจะเริ่มมุ่งไปที่ความสมบูรณ์แบบ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่จะพัฒนาสิ่งที่เ พียบพร้อมดีเยี่ยมในตนขึ้น ด้วยจุดมุ่งหมายต่างๆ นั้น จากจุดนี้ความสมบูรณ์แบบก็กลายเป็นเรื่องของคนทาเพื่อให้บรรลุศักยภาพแห่งตน ความสมบู ร ณ์แบบทาให้ คนกาหนดเกณฑ์ที่ สู งขึ้นส าหรับตน และเฝู าต่อสู้ เพื่อบรรลุ เปูาหมาย จนบางครั้งก็มากเกินไป ทั้งยังปรารถนาที่จะพึงพอใจจากการได้รับข้อวิพากษ์วิจารณ์ชมเชย ที่ท้าทาย และดูว่าเป็นไปได้ยากหรือไม่น่าจะเป็นไปได้ ซิลเวอร์แมนชี้ให้เห็นว่า กระบวนการที่จะถึง เปูาหมายให้คนได้มีความสามารถดีที่สุด อาจเป็นรางวัลของชีวิตที่จะก้าวสู่จุดมุ่งหมายรองลงมา ความสมบูรณ์แบบเป็นความต้องการจาเป็นภายในของบุคคลที่จะเติมเต็มความคาดหวัง ของตน แม้จะไม่มีใครเห็น หากแต่บ รรลุ มาตรฐานของตน และเป็นไปตามความคาดหวังจากโลก ภายนอก และบุคคลจะรู้สึกผิดหวัง ถ้าเขาไม่สามารถบรรลุเปูาตามที่คาดหวังได้ด้วยตนเอง หลายคน ทนไม่ได้รู้สึกปวดร้าวขมขืน่ ที่จะสู้กับความเชื่อที่เขามี ความรู้สึกเรื่องความยุติธรรม การมองทะลุ และ ความปรารถนาสาหรับความจริง เป็นเรื่องดี สาหรับคนที่พัฒนาได้สูงในเด็กปัญญาเลิศ ที่แสวงหา ความหมายทั้งจากโลกภายใน ภายนอก โรเจอร์ส (Rogers : 1991) อธิบายว่า ความรู้สึกสับสนภายใน ใจยิ่งมีระดับสูงมักจะเกิดได้ในภาวะที่คนก้าวสู่ความสมบูรณ์แบบและในเด็กปัญญาเลิศ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

17

ความสับสนมักเกี่ยวกับความรู้สึกผิดที่ไม่อาจดาเนินชีวิตอยู่ได้ตามที่ตนคาดหวัง และรู้สึก ผิดหวัง หวาดกลัว ขาดพลัง และนาความคิดสร้างสรรค์ที่มีไปใช้ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง เช่น การพยายาม สร้างภาพ ความรู้สึกเหล่านี้อาจงอกเงยขึ้น และไม่สามารถควบคุมตนเองได้ คนที่มีค วามสามารถที่จะก้ าวสู่ ค วามเป็นเลิ ศ เพื่อบรรลุ ศั กยภาพแห่ งตน และค้นหา ความหมายในชีวิตมักจะมีความสามารถสูงที่จะรับฟังตนเอง ทางานแก้ปัญหาและหาทางเยียวยา ตนเองแม้จะยากลาบากหรือต้องเจ็บปวด แต่ก็จะเอาชนะตนเองได้เพื่อความสาเร็จ ทั้งทาให้เขาค้นพบ ตนเองและแสดงออกมาได้มากมาย ถึงความต้องการเหล่านั้น คาแนะนาในการช่วยให้เด็กและเยาวชนควบคุมจัดการกับความสมบูรณ์แบบ  เห็นคุณค่าของลักษณะความสมบูรณ์แบบไม่ต้องละอายที่เป็นคนสมบูรณ์แบบ ช่วย ให้เด็กยอมรับความคับข้องใจที่เกิดขึ้น มีส่วนร่วมกับเด็กว่ าคุณก็เคยรู้สึก แบบนั้นบ่อยๆ เหมือนกัน และเล่าให้ฟังว่าคุณจัดการกับความรู้สึกนั้นอย่างไร  เข้าใจว่าเรื่ องนี้ มีประโยชน์ที่จะช่ว ยให้ บรรลุ จุดมุ่งหมายได้ ช่ว ยให้ เด็กเข้าใจว่า ความรู้สึกเช่นนั้นของเขาเป็นเรื่องดีกับตัวเขา การมีแนวคิดและมาตรฐานสูง เป็นสิ่งที่ดี แม้จะทาให้ เราไม่สบายใจบ้าง เมื่อเราก้าวไปไม่ถึงเปูาหมาย  กาหนดตัว เองให้เป็นคนแรก กาหนดให้ ตนเองก้าวสู่ ความเพียบพร้อมในการทา กิจ กรรมที่มีความหมายจริ งๆ กับ คุณมากกว่าที่จะทาในทุกๆ เรื่องพร้อมกัน ช่ว ยให้ เด็กจัดลาดับ ความสาคัญของสิ่งที่จะทา อาจทาอะไรได้ดีสมบูรณ์แบบในทุกเรื่อง แต่อาจไม่พร้อมกัน และทุกคนก็ อาจเจ็บปวดบ้างในบางเรื่องยามที่พลาดเปูาไปบ้าง  คงมาตรฐานสูงของตนเองไว้ แต่อย่าไปกาหนดเรียกร้องให้คนอื่น ทาตาม ไม่เช่นนั้น จะเป็นการเกรี้ยวกราดกดขี่คนอื่น ช่วยเด็กให้แยกแยะระหว่าง ทัศนคติ เรื่องความเพียบพร้อมที่มีต่อ ตนเอง และที่มีต่อผู้อื่น การมีมาตรฐานสูงสาหรับคนเป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่ยุติธรรมที่จะไปคาดหวังให้คน อื่นเขาทาตามมาตรฐานของตัว  จงสู้ ต่อไปแม้เมื่อคุณพลาดหวังจากการกระทาครั้งแรก กระตุ้นเด็กไม่ให้ ยกเลิ ก เตือนให้เขามุ่งฝึกต่อเพราะเขาก้าวใกล้เข้าสู่เส้นชัยแล้ว เขาต้องใช้เวลาและความพยายามในการก้าวสู่ ความสาเร็จขั้นสูง  อย่าหยุดเมื่อสิ่งที่ดาเนินไปยังไม่เรียบร้อย ยอมให้ตัวเองหยุดเมื่อได้ชัยชนะแล้ว ให้ เด็กมองตัวอย่างคนอื่นๆ ที่เขาต้องต่อสู้กับความคับข้องใจในการพยายามเอาชนะ เพื่อก้าวสู่เปูาหมาย  อย่าลงโทษตนเองเมื่อพ่ายแพ้ มุ่งหาหนทางสู่ความสาเร็จพยายามที่จะปรับตน การ ยอมรับตน และตั้งใจหาจุดอ่อนยอมรับในสิ่งที่พลาด รับแนวคิดปรัชญา ที่ว่าไม่มีใครไม่เคยผิดพลาด มันเป็นประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ ช่วยให้ เด็กบรรลุกระบวนการการเรียนรู้ของความผิดพลาด ผู้ให้ ที่ประสบความสาเร็จไม่คาดหวังว่าจะมีใครทาอะไรสาเร็จได้ในทันที  ยึดถือแนวคิดและความเชื่อในความสามารถของคุณเพื่อก้าวสู่เปูาหมาย สนับสนุน เด็กให้เดินก้าวสู่ความฝันของเขา


18

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

 จาไว้ว่าความสมบูรณ์แบบนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียแล้วแต่เราจะนามันมาใช้อย่างไร มันอาจทาให้เราไม่กล้าเพราะกลัวความผิดหวัง หรือเราจะใช้เป็นแรงขับให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศ เรา สามารถใช้แรงขับให้ช่วยสร้างโลกที่ดีกว่า  มีความเจ็บปวดในความเพียบพร้อม ความกลัวจะยับยั้งความพยายามของคุณจน เลิกทา สอนเด็กให้รับมือกับความปวดร้าว เพราะมันเป็นเรื่องดีที่ให้ได้รู้ความเป็นจริงว่าจะแก้ปัญหา อย่างไร ต้องมุมานะอีกแค่ไหนและต้องมีความแข็งแกร่งในอารมณ์อย่างไร เราอาจเลี่ยงความเจ็บปวด ไม่ได้แต่มันก็อยู่รอบๆ ตัวเราได้ ความสมบูรณ์แบบ เป็นพลังงานที่อาจนามาใช้ในทางบวกหรือลบก็ได้ หากมันก่อเกิดมา จากภายในก็ จ ะเป็ น แรงผลั กให้ คนพยายามบรรลุ ศั กยภาพแห่ งตน มีผ ลสั มฤทธิ์สู ง ตามที่ตั้ งไว้ มี พัฒนาการทางด้านศีลธรรมและจิตวิญญาณ แต่ตรงข้ามหากมีข้อสงสัยสับสนในตนและขาดความ ซื่อสัตย์ หรือพยายามตอบสนองตามสิ่งเร้าภายนอก อาจเป็นเรื่องเศร้าและทาให้เกิดความอ่อนล้า ท้อแท้ได้ ขอย้าว่าความเป็นปัญญาเลิศที่มีเรื่องของความสมบูรณ์แบบมาเป็นส่วนหนึ่ งนั้น มักมี ความเจ็บปวดอย่างเลี่ยงไม่ได้ ความเป็นปัญญาเลิศจะย้าถึง ความสามารถสูงของเขาเพื่อจะทาอะไรก็ ตามจากแรงขับภายในให้ก้าวสู่มาตรฐานขั้นสูงและมีศีลธรรมด้วย เอกสารอ้างอิง Adderholt-Elliott, M. (1999). Perfectionism: What’s bad about being too good: Minneapolis: Free Spirit Publishing. Inc. Adderholt-Elliott, M. (1989). Perfectionism and Underachievement. Gifted Child Today, 12 (1), 19-21. Adderholt-Elliott, M. (1990). A Comparison 7th Stress seeker and the perfectionist. Gifted Child Today, 13 (3), 50-51. Parker, W.D., & Adkins, K.K. (1994) Perfectionism and the gifted. Roeper. Review, 17 (3), 173-176. Roedell, W.C. (1984). Vulnerabilities of highly gifted children. Roeper Review, 6 (8), 127-130. Silverman, L. (1995). Perfectionism. Paper presented at the 11th World. Conference on Gifted and Talented Children, Hong Kong.

…………………………………………………..


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

19

การประยุกต์ใช้แบบผสานวิธีตามลาดับขั้นในการวิจัยทาง พฤติกรรมศาสตร์ Applying the Sequential Mixed Methods Design in Behavioral Science Research นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์ *

บทคัดย่อ เป็ น เวลากว่าครึ่ งศตวรรษของสงครามกระบวนทัศน์ทางการวิจัยจากการโต้แย้งกัน ระหว่างนักวิจัยเชิงปริมาณและนักวิจัยเชิงคุณภาพ เนื่องจากการมีปรัชญาทางการวิจัยที่แตกต่างกัน แต่ทว่า ได้เกิดกลุ่มของนักวิจัยที่ผสานความแตกต่างกันของนักวิจัยสองกลุ่มนี้ โดยเกิดกระบวนทัศ น์ ใหม่ที่เรียกว่าว่า “ปฏิบัตินิยม” ซึ่งใช้วิธีการวิจัยผสานวิธี คือ ใช้ทั้งวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ร่วมกัน การวิจัยผสานวิธีจะทาการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและเชิง คุณภาพ ซึ่งนาไปสู่การสังเคราะห์ผลการวิจัยจากวิธีวิจัยทั้งสองแบบ แบบผสานวิธีตามลาดับขั้นเป็น การวิจัยผสานวิธีแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม โดยจะให้ความสาคัญกับวิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณ หรื อเชิงคุณภาพแบบใดแบบหนึ่ งมากกว่า ซึ่งจะทาการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ ข้อมูล จากวิ ธี วิทยาการวิจัยแบบใดแบบหนึ่งก่อน จากนั้นจะนาผลการวิจั ยจากวิธีวิทยาการวิจัยอีกแบบมาช่วย สนับสนุนผลการวิจัยของวิธีวิทยาการวิจัยในช่วงแรก ในบทความวิชาการนี้ ได้นาเสนอตัวอย่าง วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก 4 เรื่องในการเป็นตัวอย่างการผสานวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เข้าด้วยกันแบบตามลาดับขั้นพร้อมทั้งการวิพากษ์เ พื่อที่จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านที่มีความสนใจการ ออกแบบการวิจัย แนวนี้ ที่จะสามารถประยุกต์แนวคิดแบบผสานวิธีตามลาดับขั้นจากวิทยานิพนธ์ ตัวอย่างและนาไปสรรสร้างแนวทางแบบผสานวิธีตามลาดับขั้นในงานวิจัยของตนได้ คาสาคัญ: แบบผสานวิธีตามลาดับขั้น การวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์

* สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


20

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

Abstract There were controversies throughout half of the century about paradigm issues from both qualitative and quantitative researchers because of different research philosophies. However, compromising groups of researchers with pragmatic viewpoint emerged and used mixed methods research which included qualitative and quantitative method in their studies. The mixed methods research was described to be the research method which collects and analyze of quantitative and qualitative data together as well as includes the integrative result in a study. The sequential mixed methods is one of the basic and popular mixed methods used today. The sequential approach gives priority to each of the qualitative or quantitative strand and uses another data to support the first one. There were 4 dissertations about how to integrate the quantitative and qualitative methods in a sequential approach with the critical comments. The readers who interested in this design can apply concepts and mixed approach demonstrated in the dissertations to create their own way of mixing. Key words: sequential mixed method design behavioral science research Introduction For more than a century, there have been two paradigms of research, which led to quantitative and qualitative research design. Each raised different views of reality and found to answer research questions based on their belief of reality. The quantitative research design or positivist/ post-postivist paradigm claims that research methodology should be deductive and belief in cause-effect relationships. On the contrary, qualitative research design or constructivist/interpretivism paradigm attempts to understand a phenomenon using inductive logic. As a result, it produces a deeper, richer understanding of the phenomena (Creswell & Plano Clark, 2011). In the third wave of research era, mixed methods research holds both quantitative and qualitative research methods from the contrasting research philosophy or paradigm. The mixed methods provided comprehensiveness and deeper knowledge yield: ‘a whole greater than the sum of parts’ (Barbour, 1999; O’ Cathain, Murphy,& Nicholl, 2007). Moreover, mixed methods research can enable the researcher to view a phenomenon pramatically from both post-postivist or constructivist views depending on the objectives of research or research questions. Although mixed methods research started during 1960s, it has increased popuparity over the last 15 years in many discipline (Leech, & Onwuegbuzie. 2009) because it has combined the strengths of quantitative and qualitative approach within a mixed approach.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

21

Creswell and Plano Clark (2011) suggested the researcher about considering resources and questioning themselves before applied this method: (1) Do the researcher have enough time to collect and analyze both types of data? (2) Do the researchers have sufficient resources (i.e. money, research team) to collect both data? (3) Do the researcher have adequate skills in both quantitative and qualitative research? and (4) Do the researcher know about “Mix methods paradigm” which quite differ from quantitative and qualitative paradigm and know how to interpret on “integrated results”?. Greene (2007) brought up 5 purposes of mixes methods: First of all, triangulation; means using different methods to measure the same phenomena which seeks convergence and collaboration of conclusion. Second, complementarity that uses mixed methods to elaborate different aspects of the same dimensions/phenomena or broaden the interpretations of research data. Third, development which uses the results from one method to inform or develop other method such as the exploratory sequential design for developing psychological test. Fourth, initiation, which aims to assess different dimensions of the same phenomena by seeking the paradox and contradiction of data to increase new understanding. Lastly, expansion, that uses different methods to clarify different phenomena which expand the scope and the breadth of inquiry. Although the mixed methods research gains more popularity, the articles or textbooks which concentrated on the subtype of mixed methods were limited. Therefore, the objectives of writing this academic paper were to elaborate how to do the research with sequential design which was a simple way of mixing methodology and gained reputation among mixed methods researcher. In addition, there would be the examples of the sequential design from dissertations in various field of behavioral science which can help readers to apply and create new way of applicating sequential mixed methods design in their research field. Content Sequential mixed methods design Creswell and Plano Clark (2011) classified the sequential mixed methods design into 2 types. First is the explanatory sequential design and second is the exploratory sequential design. These two types differs in priority of collecting and analyzing data in quantitative or qualitative design within the same or different samples such as collecting and analyzing the quantitative methods first and following by qualitative method which found in the explanatory design or collecting and analyzing the qualitative methods first and following by quantitative method which


22

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

used in the exploratory design. The sequential design sets the inferences from both the quantitative and qualitative results and integrates to form meta-inferences. (Teddlie & Tashakkori, 2009) The author will show the detail as follow: The explanatory sequential design Researchers who use this method gain the quantitative data first and gather the qualitative data later to explain or identify data obtained through quantitative method. (see Diagram 1) Creswell and Plano Clark (2011) and Ivankova et al (2006) explained the rationale for using this approach: it helps the researcher to clarify and get more explanations of important results from quantitative data by using qualitative method and add more insight about the quantitative results by indepth exploration of participant’s views. It might be very helpful when the researchers need clarification from unexpected results arise in quantitative phase. (Morse, 1991) The philosophical assumption is relying on postpostivist orientation first when researchers collect and analyze the quantitative data and consider the constructivist assumption later when collect and analyze the qualitative results. The advantage of this design is quite easy to understand for the quantitative researcher because it relies on postpostivist orientation. However, the challenges is the decision making of researcher how key informants be chose in the qualitative phase according to the quantitative results and which the quantitative data need to be explained by qualitative phase. (Creswell, & Plano Clark, 2011,84-85) Quantitative (Quan) Design the Quan strand

Qualitative (Qual) Quan data collection

Qual data collection

Quan data analysis

Qual data analysis

Design the Qual strand

Interpret the connected results

Diagram 1 Flowchart of process in explanatory design


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

23

The Author will show a few examples of doctoral dissertation which used the explanatory design in the health science and psychology research as follow: 1. Campbell (2012) “Clinical Nurse Specialists’ Role in Promoting Evidence Based Practice in Saskatchewan’s Health Care Setting” a doctoral dissertation in nursing, University of Alberta The objective of this study was to gain more understanding of the current clinical nurse spectialist (CNS) role, as it pertains to promote evidence based practice (EBP). The researcher explained rationale for using mixed methods was to gain more understanding of complex phenomena because derived data from multiple sources. The research questions were used to guide in both quantitative and qualitative phases. In the first phase, the researcher collected data from a telephone survey (N = 23) about the role of evidence, context, and facilitation in promoting EBP in CNSs’ setting. Later, the researcher used participation selection model, based on master or PhD education, as well as working as a CNS and relying data from the first phase to identify the participants (N = 11) in the qualitative second phase. The semi-structured interviews were used to explain some of the result from the quantitative phase. The researcher used descriptive statistics in analysis the first phase and used techniques for interpretation data from the second phase such as: immersion in transcripts, comparing interview data, questioning, reflective techniques and critical examination. The quantitative data gave general understanding of the sources of evidence that CNSs access, the skills and characteristics which CNSs demand to promote EBP, including the facilitators or challenges in facilitate EBP. The qualitative phase helped to explain the quantitative result in more depth and clarify the participant’s views about their role in facilitating EBS in their settings which led to positive patient care. The results from qualitative analysis can be categorized into three themes and seven sub-themes. This research show the simple way of applying the explanatory design in health science research but the weakness of this study was limited participant (N = 23) in the quantitative phase from which the results can not be generalized to other settings. 2. Webb-Rea (2012) “Perceptions vs realities: how high school principals view and utilize professional school counselor” a doctoral dissertation in the field of counseling psychology, University of Capella. The conceptual framework from this study showed the controversies between what are the evident-based roles for counselors and the actual tasks and roles which were assigned. This study sought to answer three research questions “1) How do high school principals view the role of professional school counselors in raising


24

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

the academic achievement of low-income and minority students? 2) How does role of school counselors in raising student academic achievement as perceived by high school principals related to the best practices identified by professional school counseling organizations? 3) Is there a relationship between the tasks and duties identified by school principals as appropriate for professional school counselors and the actual tasks and duties to which the counselors are assigned?” The researcher brought the explanatory sequential design to gather the quantitative data first in order to determine principal perceptions and relationships between perceptions and actual roles. Then, the qualitative data was gathered by interviewing the school principals to explain more about the principal perceptions and role relationships that were determined by quantitative phase. In the first phase, the researcher distributed an online survey instruments to school principals and received 81 survey completed. The data analysis in the first phase used descriptive statistics (mean, standard deviation, and variance). In addition, the Pearson correlation was used to analyze the relationship between the appropriate roles and the actual assigned counselor roles. In the qualitative phase, 6 high school principals were interviewed by semi-structured guideline for further exploring in all 3 research questions with the permission to record the voice. The researcher adopted Nuance Dragon Naturally Speaking software to transcribe and used MAXQDA software in the data analysis process. To analyze the qualitative data, the five phases was implemented including compiling, disassembling, reassembling, arraying, interpreting and drawing conclusion from the data. The results showed both from the quantitative and qualitative data per each research question and also integrated the resulted in the conclusion. This research showed how to use mixed methods research in the field of school counseling. The strength is implementing mixed methods to answer all three research question obviously but the weakness is, the same as the first study, limited sample size in quantitative phase. If the researcher added more sample size, the multiple regression may be applied to clarify the causal relationship of variables. The exploratory sequential design The exploratory design starts with collection and analysis of qualitative data first and uses the results of the qualitative phase to indicate the quantitative phase which targets to test or generalized the qualitative findings. (see Diagram 2) In contrast to the explanatory design, the philosophical assumption relies on constructivist orientation first when researchers collect and analyze the qualitative data and consider the postpostivist assumption later when collect and analyze the


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

25

quantitative results. The researchers often use this design to develop an instruments. Therefore, this design has been called to be the instrument development design. (Creswell, Fetters, & Ivankova, 2004)

Qualitative (Qual) Design the Qual strand

Quantitative (Quan) Qual data collection

Quan data collection

Qual data analysis

Quan data analysis

Design the Quan strand

Interpret the connected results

Diagram 2 Flowchart of process in exploratory design The strength of this design is suitable for development the instruments which there were not enough guiding frameworks or theories to create instrument or to identify the unclear variables before starting collection of quantitative data. Also, the exploratory design is easy for qualitative researchers because it weights on constructivist paradigm. However, the challenges in using this design is not only it requires more resources but also the decision making of researcher which data from qualitative phase to generalize in the quantitative phase and how to use the qualitative data to confirm by quantitative method. (Creswell, & Plano Clark, 2011) There are a few examples of doctoral dissertation which used the exploratory design in the sport health education and medical education as follow: 1. Fulmore (2009) “Development of an instrument to assess the predisposing factors of sun protection with adolescent athletes: An exploratory mixed methods study” a doctoral dissertation in health education/health promotion, University of Birmingham The purpose of this study was to explore the participant views to develop new instrument from an original one to assess the predisposing factors of sun protection of adolescent athletes in Alabama. The researcher explored 14 adolescent athletes about the sun protection knowledge, attitudes, and behaviors by


26

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

using cognitive interviewing as a qualitative data collection. The results from the qualitative phase were used to improve the original instrument. Later, the 803 adolescent athletes were used to be the samples of quantitative phase to measure the reliability and validity of the instrument. In the qualitative phase, the researcher implemented three cognitive interviewing techniques as a qualitative data collection: retrospective think-aloud interviews, paraphrasing, and verbal probing. Firstly, the researcher asked and prompted the participants to verbalize their answer of the original instrument (retrospective think-aloud interviews) and repeated the items in their own words (paraphrasing). Finally, the researcher used follow-up questions (verbal probing) to determine the participant’s strategies for answering questions. The themes from this phase and social cognitive theory (Bandura, 1977; 1986) were used to revise the original instrument before using it in quantitative phase. The Cronbach’s alpha, exploratory factor analysis and descriptive statistics for each item were used in the second phase to estimate the psychometric properties of measurement. The 3 sections of the instrument: outcome expectation section, behavior section, and knowledge section explained 60%, 69%, and 54% of the variance in exploratory factor analysis. This study showed how to use the sequential design to develop original instrument to be the new one which was more appropriate for specific group. The qualitative data collection (cognitive interviewing) was interesting in applying to develop instrument. Also, the strength of this research is to integrate the qualitative results with the quantitative results clearly in the analyzing chapter of dissertation. However, the researcher can add the confirmatory factor analysis in addition to exploratory factor analysis by splitting the sample sizes (803 samples) into a half and use both exploratory and confirmatory factor analysis to increase the valid evidences of this instrument. 2. Jarecke (2011) “Teacher-learner relationships in medical education: A mixed methods study of the third-year experience” a doctoral dissertation in college of behavioral sciences and education, The Pennsylvania State University There were 3 research questions in this study: “1) How do third-year medical students view their relationships with clinical educators? Also, there were 2 more sub research questions following the first research question 1.1) What are the relationship between students’ perceptions of the quality of their teacher-learner relationship and growth-fostering relationship characteristics (authenticity, empowerment, empathy, mutual engagement, the ability to deal with difference or


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

27

conflict) 1.2) What is the relationship between growth-fostering relationship characteristics and students’ sense of belonging to the clinical setting? 2) How do teacher-learner relationships shape students’ perceptions about learning/teaching in the clinical environment? 3) How do teacher-learner relationships shape students’ perceptions about their future roles as educators?” This study started with qualitative research by using an in-depth interview with 13 third year medical students who studied the first year of clinic learning. The semi-structured individual interview lasted between 45-90 minutes and audio-recorded. A constant comparison analysis was used to analyze the qualitative data into theme and categories. Then, a survey was developed combined with relational cultural theory (Miller & Stiver, 1997) to assess 3 factors of growth-fostering relationships (authenticity, empowering, and engagement). A survey was used in the quantitative phase by distributing to 72 third year medical students and analyze data by general descriptive tests, t-tests, spearmen rho correlation coefficient analyses, and linear and multiple regressions. However, the survey in this study had not only the likert scale but also the checklist and open-ended questions. This study used mixed methods in a creative way because not only used the qualitative data to design survey in a likert scale but also used them to design checklist to answer research questions in a quantitative method. It showed the obvious integrative explanation from the qualitative and quantitative results in the discussion part of dissertation. However, this study did not show the psychometric property of the survey which is the important part to validate the quantitative results. Conclusion This academic paper reviewed the advantages and challenges of mixed methods research especially the sequential design. There were different ways of applying the sequential concept to develop a research or dissertation both the explanatory or exploratory design depends on the creativity of the researcher. Furthermore, this paper demonstrated 4 dissertations with the sequential mixed methods design as well as critical comments at the end of every study. The readers who interested in the mixed methods can use the ideas from those researches and create more innovative research in their own way.


28

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

เอกสารอ้างอิง Bandura, A. (1977). Social learning theory. Eaglewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: a social cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall. Barbour, R. S. (1999). The case for combining qualitative and quantitative approaches in health and services research. The Journal of Health Services Research & Policy, 4, 39-43. Campbell, T. D. (2012). Clinical Nurse Spectialists’ Role in Promoting Evidence Based Practice in Saskatchewan’s Health Care Setting. [dissertation]. Edmonton, Alberta: University of Alberta. Creswell, J. W., Fetters, M. D., & Ivankova, N. V. (2004). Designing a mixed methods study in primary care. Annals of Family Medicine, 2(1), 7-12. Creswell, J. W.; & Plano Clark, V. L. (2011). Designing and conducting mixed methods research (2nd eds.). Thousand Oaks, CA: Sage. Fulmore, J. S. (2009). Development of an instrument to assess the predisposing factors of sun protection with adolescent athletes: An exploratory mixed methods study. [dissertation]. Birmingham, Alabama: The University of Alabama at Birmingham. Greene, J. C. (2007). Mixed methods in social inquiry. San Francisco, CA: John Wiley & Sons. Ivankova, N. V., Creswell, J. W., & Stick, S. L. (2006). Using mixed-methods sequential explanatory design: from theory to practice. Field Methods, 18(1), 3-20. Jareke, J. L. T. (2011). Teacher-learner relationships in medical education: A mixed methods study of the third-year experience. [dissertation]. Pennsylvania: The Pennsylvania State University. Leech, N., & Onwuegbuzie, A. J. (2009). A typology of mixed methods research designs. Quality & Quantity, 43, 265-275. Miller, J. B., & Stiver, I. P. (1997). The healing connection: How women form relationships in therapy and in life. Boston: Beacon Press. Morse, J. M. (1991). Approaches to qualitative-quantitative methodological triangulation. Nursing Research, 8, 362-376. O’ Cathain, A., Murphy, E., & Nicholl, J. (2007). Why, and how, mixed methods research is undertaken in health services research in England: a mixed methods study. BMC Health Services Research, 7, 85. Teddlie, C. & Tashakkori, A. (2009). Foundations of mixed methods research: integrating quantitative and qualitative approaches in the social and behavioral sciences. Thousand Oaks, CA: Sage. Webb-Rea, J. S. (2012). Perceptions vs realities: how high school principals view and utilize professional school counselor. [dissertation]. Minneapolis: University of Capella.

…………………………………………………..


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

29

ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กรที่ ทานายพฤติกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพ และพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ Psychological Factors on the Organizational Values Predicting the Knowledge Sharing Behavior of Personnels, the Office of Promotion and Protection of Children, Youth, the Elderly and Vulnerable Groups ณัฐชา ทาวรมย์ 1 รัญจวน คาวชิรพิทักษ์ 2

บทคัดย่อ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรสานักงาน ส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กรกับพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรสานั กงานส่งเสริมสวัสดิภาพ และพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ 3) ศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กรที่ส่งผล ต่ อพฤติ กรรมแลกเปลี่ ยนเรี ยนรู้ ของบุ คลากรส านั กงานส่ งเสริ มสวั สดิ ภาพและพิ ทั กษ์ เด็ ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุและ 4) ศึกษาความสามารถในการร่วมกันทานายพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของบุคลากรสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ จานวน 171 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยม กับแบบวัดพฤติกรรมแลกเปลี่ยน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กร ได้แก่ ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมมุ่งผลสัมฤทธิ์ ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมการทางานเป็นทีม ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมสัมพันธภาพระหว่าง บุคคล และปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมการพัฒนาตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวแปรพฤติกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และ ผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมมุ่งผลสัมฤทธิ์ ปัจจัย ทางจิตวิทยาด้านค่านิยมสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมการพัฒนาตนเอง ส่งผลต่อพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสามารถร่วมกันทานายพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากร สานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 43.9 คาสาคัญ: ปัจจัยทางจิตวิทยา, ค่านิยมองค์กร, พฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ___________________________ 1 2

มหาบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รองศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจาสาขาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


30

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

Abstract The purposes of the research ware 1) to study on knowledge sharing behavior of Personnels 2) to study relationship between psychological factors on the organizational values and knowledge sharing behavior of Personnels3) to study capable living predicting on knowledge sharing behavior of Personnels, the Office of Promotion and Protection 4) to study Psychological Factors on the Organizational Values Predicting the Sharing Behavior of Personnels of Children, Youth, Elderly and Vulnerable Groups.171 samplings of the Office of Promotion and Protection of Children, Youth, Elderly and Vulnerable Groups were stratified randomly divided based on department agencies. Research instruments used in this research are measurable of Psychological Factors on Organizational Values and measurable of Knowledge Sharing Behavior. The research results showed that: Psychological Factors on Organizational Values such as psychological factors on achievement, psychological factors on teamwork, psychological factors on personnel relationship, and psychological factors on personnel development is positively variable impacted .01 of statistic level to knowledge sharing behavior of Personnels, the Office of Promotion and Protection of Children, Youth, the Elderly and Vulnerable Groups. Three Psychological Factors on Organizational Values such as Psychological factors on achievement, psychological factors on personnel relationship, and psychological factors on personnel development impacts .01 of statistic level to Knowledge Sharing Behavior of Personnels, Hence, predicting on Knowledge Sharing Behavior of Personnels, the Office of Promotion and Protection of Children, Youth, the Elderly and Vulnerable Groups is equal to 43.9 percent. Key words: Psychological Factors, Organizational Values, Knowledge Sharing Behavior. ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา หน่วยงานภาครัฐกาหนดความคาดหวังในการปฏิบัติงานให้บุคลากรได้รับรู้และมีส่วน ร่วมต่อการดาเนินการให้บรรลุเปูาหมายสาคัญตามวิสัยทัศน์พันธกิจเปูาประสงค์ขององค์กรซึ่งเป็นตัว สนับสนุนและชี้นาการตัดสินใจของสมาชิกทุกคนในองค์กรให้มีจิตวิญญาณในความสาเร็จร่วมกันซึ่ง เรียกว่าค่านิยมองค์กรซึ่งเป็นเกณฑ์สาคัญที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใช้ในการตัดสินว่าอะไร “ควรทา” และอะไร “ไม่ควรทา” เพื่อให้ได้รับผลอันพึงปรารถนาร่วมกันซึ่งค่านิยมเป็นสิ่งที่กาหนดถึงพฤติกรรม และผลที่ติดตามมา (เทียนชัยไชยเศรษฐ, 2552 : 19) สานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กล่าวว่า “ค่านิยม” เป็นความคิดหรือความเชื่อร่วมกันขององค์กรซึ่งได้รับการพิจารณา แล้วว่ามีคุณค่ามีประโยชน์ถูกต้องเหมาะสมดีงามสมควรประกาศไว้เพื่อกากับให้บุคลากรในองค์กร


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

31

ยึดถือและประพฤติปฏิบัติตามการสร้างความเชื่อถือศรัทธาและความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับบุคลากรใน องค์กรตลอดจนผู้รับบริการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสังคมโดยรวมได้จริงนั้นองค์กรจะต้องค้นหาค่านิยม มาเป็นแนวปฏิบัติและทาให้ค่านิยมองค์กรมีบทบาทสาคัญต่อการดาเนินงานขององค์กร การที่องค์กรจะประสบความสาเร็จในการดาเนินงานจาเป็นต้องอาศัยพลังความร่วมมือ ร่วมใจกันอย่ างเข้มแข็งของบุคลากรทุกคนในองค์กรหมายถึงการที่องค์กรมีค่านิยมของตนเองโดย มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์มีการทางานเป็นทีมมีสัมพันธภาพระหว่างกัน และบุคลากรได้รับการพัฒนา ซึ่ง ค่านิยมองค์กรเช่นนี้ย่อมทาให้องค์กรดาเนินไปได้อย่างราบรื่นหรือประสบความสาเร็จก้าวหน้าการที่ บุคลากรในองค์กรมีค่านิยมที่ชัดเจนและสามารถทาให้บุคลากรมีความคิด ความเชื่อมีเปูาหมายร่วมกัน และมีแนวทางการปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกันย่อมทาให้ปัญหาหรือกระบวนการตัดสินใจดาเนินไปใน ทิศทางหรือเปูาหมายเดียวกัน ปัญหาความขัดแย้งย่อมมีน้อยหรือปัญหาบางอย่างสามารถได้รับการ แก้ไขและจบลงด้วยดีในเวลาที่รวดเร็วและทันกับสถานการณ์ (เพ็ชรี รูปะวิเชตร์, 2554 : 25) สภาพการแข่งขันในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ถือเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร เป็นโลกไร้พรมแดน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจึงต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สินทรัพย์ทางปัญญาหรือความรู้ (Knowledge Asset) ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Assets) กลับกลายเป็นทรัพยากรที่สาคัญที่สุดในปัจจุบัน ฉะนั้นเมื่อองค์กร รวมทั้งสมาชิกขององค์กร ต่างต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อความสามารถในการ แข่ ง ขั น และปั จ จั ย ที่ น าไปสู่ ค วามสามารถในการสร้ า งความได้ เ ปรี ย บทางการแข่ ง ขั น จึ ง อยู่ ที่ ความสามารถของบุคลากรที่ต้องเรียนรู้ ปฏิบัติหน้าที่เพื่อตอบสนองต่อการดาเนินงานขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ยึดหลั กการบริหารจัดการแบบ มุ่งเน้นผลงาน บุคลากรจึงมีความสาคัญอย่างยิ่งที่จะนาพาองค์กรก้าวสู่ความสาเร็จ บุคลากรต้องมีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อความอยู่รอดและความก้าวหน้าอย่างมั่นคง จากความส าคั ญที่ไ ด้ก ล่ าวมาข้างต้น แล้ ว ผู้ วิจัย ได้รับ รู้แ ละเห็ น ถึงความส าคัญ ของ ค่านิ ยมองค์กรที่ทาให้ บุคลากรมีแบบอย่างหรือมาตรฐานในการประพฤติปฏิบัติเพื่อมุ่งให้ องค์กร ประสบความสาเร็จและสิ่งสาคัญไม่ได้อยู่ที่ค่านิยมองค์กรเพียงอย่างเดียว การที่องค์กรจะประสบ ความส าเร็ จ และปฏิบั ติงานได้อย่ างมีประสิ ทธิผ ล บุคลากรต้องมีการรับรู้ ถ่ายทอด แบ่งปันและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ปัจจุบันพบว่าบุคลากรในองค์กรมีงานประจาที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้น ซึ่ง บางครั้งเป็นเวลาเดียวกับการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทาให้บุคลากรจานวนหนึ่งไม่สามารถเข้า ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ ครบตามจานวนที่ลงทะเบียนไว้ จึงทาให้ผู้วิจัยเกิดความสนใจที่จะ ศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กร เพื่อนาไปสู่การคาดการณ์ต่อพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของบุคลากรสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ และ สามารถพัฒนาปรับปรุงเพื่อนาไปสู่ความสาเร็จขององค์กรได้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและ พิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ


32

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กรกับพฤติกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และ ผู้สูงอายุ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมแลกเปลี่ย น เรียนรู้ของบุคลากรสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ 4. เพื่อศึกษาความสามารถในการร่วมกันทานายพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ บุคลากรสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ จากตัวแปร ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กร นิยามศัพท์ 1. ค่านิยมองค์กร หมายถึงความคิด ความเชื่อและความรู้สึกที่องค์กรให้การยอมรับว่าดี มีคุณค่า ส่งเสริม สนับสนุน และยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันในองค์กร 2. ปัจจัยทางจิตวิทยา หมายถึง สื่อกลางในการรับรู้และตีความต่อสิ่งเร้าก่อนที่ร่างกาย จะแสดงพฤติกรรมต่างๆ 3. ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กร หมายถึง ความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก ของ บุคคลที่ ให้ การยอมรั บ ว่า ค่านิย มองค์กรดี มีคุณค่า ส่ งเสริม สนับสนุน และยึดถือเป็ นแนวปฏิบัติ ร่วมกันในองค์กร ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 3.1 ปั จ จั ย ทางจิ ต วิทยาด้ านค่ านิ ยมมุ่ งผลสั ม ฤทธิ์ หมายถึง ความคิด ความเชื่ อ ความรู้สึก และการยอมรับว่า ค่านิยมองค์กรการแสดงออกต่อการปฏิบัติหน้าที่ ของบุคคล โดยการ มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นหลัก คานึงถึงความคุ้มค่าคุ้มทุน มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ 3.2 ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมการทางานเป็นทีม หมายถึง ความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก และการยอมรับว่าความรู้สึกที่แสดงออกต่อการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างตั้งใจ โดยให้การ ส่งเสริม สนับสนุนเพื่อนร่วมทีมเพื่อให้งานประสบความสาเร็จ รวมทั้งมีความสามารถในการสร้างและ รักษาสัมพันธภาพกับสมาชิกในทีม 3.3 ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมสัมพันธภาพระหว่างบุคคล หมายถึง ความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก และการให้การยอมรับว่าการมีปฏิสัมพันธ์ของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มีความ ผูกพันหรือเกี่ยวข้องกันในระหว่างปฏิบัติงานร่วมกันอย่างเป็นมิตร มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน 3.4 ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมการพัฒนาตนเอง หมายถึง ความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก และการยอมรับว่าความรู้สึกที่แสดงออกถึงความสนใจใฝุรู้ สั่งสมประสบการณ์ เพื่อเพิ่มพูน ความรู้ความสามารถของตนเองในการพัฒนาศักยภาพด้วยการศึกษาค้นคว้า และพัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่อง จนสามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม 4. พฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมายถึง การแสดงออกที่เกิดขึ้นจากความคิด ความเชื่อ และทัศนคติของบุคคลที่จะแบ่งปันแลกเปลี่ยนหรือถ่ายทอดส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง และประสบการณ์ที่ ได้เรียนรู้มาระหว่างกันและกัน ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งผู้ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นได้ทั้งผู้ให้และ ผู้รับ ซึ่งครอบคลุมทั้งระดับบุคคลและระดับกลุ่มโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นจะแสดงออกในรูปของ พฤติกรรม 3 ด้าน ดังนี้


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

33

4.1 การรับรู้ หมายถึง กระบวนการที่บุคคลให้ความหมายกับสิ่งที่อยู่รอบตัว และมี การตีความหมายถึงสิ่งที่มากระตุ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิม ทาให้เกิดการรับรู้ และเข้าใจ ตลอดจน การตัดสินใจ และนาไปสู่การปฏิบัติ 4.2 การถ่ายทอดความรู้ หมายถึง การถ่ายทอดประสบการณ์จากการเข้าร่ว ม กิจ กรรมหรื อ การเรี ย นรู้ ใ ห้ กั บ บุ ค ลากรในหน่ ว ยงาน เพื่ อ ให้ ไ ด้ รั บ รู้ รั บ ทราบ จนสามารถน าไป ประยุกต์ใช้ได้ 4.3 การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมายถึ ง การที่บุคคลได้มีการแบ่งปันหรือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ระหว่างกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน จน เกิดเป็นความรู้ใหม่ ๆ ที่เปิดเผยในรูปการเล่าเรื่อง การเปรียบเทียบ หรือในรูปของเอกสารการประชุม และฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โดยเกิดประโยชน์ต่อการทางานและชีวิตประจาวัน วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง รวงผึ้ง ทาช้าง. (2551). ได้ศึกษาปัจจัยทานายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพยาบาลในโรงพยาบาล ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการจัดการความรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ใช้ทานายความตั้งใจในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ได้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ได้แก่การรับรู้ความสามารถในการควบคุม การแลกเปลี่ยน เรียนรู้บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง และเจตคติต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ r0.57, 0.21 และ 0.15 ตามลาดับ 2) ปัจจัย ที่ใช้ทานายพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ความตั้งใจในการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ r0.21 ผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถใช้ผลจากการศึกษาเป็น ข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนและกาหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมความตั้งใจและพฤติกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพยาบาลต่อไป บุษกานต์ สิกขชาติ (2551) ได้ทาการศึกษาวิจัยเรื่อง ความต้องการพัฒนาตนเองของพนักงาน องค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์ ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมมีความต้องการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความต้องการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยที่ ด้านการ อบรมเป็นอันดับ 1 รองลงมาด้านการพัฒนา / เรียนรู้ด้วยตนเอง และด้านการศึกษา ตามลาดับ พัชรา เกาตระกูล (2544) ได้ศึกษาเรื่อง “ค่านิยมในการทางานของพนักงานองค์การรัฐบาลและ เอกชนในเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่านิยมในการทางานทั้งค่านิยมการทางานภายใน และภายนอก ผลการศึกษา พบว่า 1) พนักงานที่ทางานในองค์การรัฐบาลและเอกชนมีค่านิยมในการทางานที่ ภายในแตกต่างกันอย่ างมีนั ยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีค่านิยมในการทางานภายนอกไม่แตกต่าง เนื่องจากข้าราชการได้รับเกียรติและศักดิ์ศรีรวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ นอกจากเงินเดือน จึงทาให้มีแรงจูงใจ ภายในสูง เน้ นค่านิยมในการทางานภายในสูงกว่าเอกชน 2) พนักงานในองค์การรัฐบาลที่มีลั กษณะทาง ประชากรต่างกันจะมีค่านิ ยมในการทางานที่แตกต่างกันเฉพาะอายุการทางาน ตาแหน่งงาน และรายได้ โดยเฉพาะข้าราชการที่มีอายุ การทางาน ตาแหน่งงาน และรายได้แตกต่างกันมีค่านิยมในการทางานด้าน ค่านิยมภายในแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) พนักงานในองค์การเอกชนที่มีลักษณะทาง ประชากรต่างกัน จะมีค่านิยมในการทางานที่แตกต่างกั นเฉพาะตาแหน่งและรายได้ นั่นคือ พนักงานที่มี ตาแหน่งงานและรายได้แตกต่างกันมีค่านิยมในการทางานทั้งค่านิยมภายในและภายนอกแตกต่างกัน


34

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

พิชญา ทองคาพงษ์ (2544) ได้ศึกษาคุณลักษณะงาน ค่านิยมองค์กร ความผูกพันต่อ องค์กร และพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของหัวหน้างานในธุรกิจอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เข้าร่วมโครงการ พั ฒ นาผู้ ป ระกอบการธุ ร กิ จ อุ ต สาหกรรมในเขตจั ง หวั ด สมุ ท รปราการ พบว่ า ค่ า นิ ย มองค์ ก รมี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสามารถพยากรณ์พฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ ขอบเขตในการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสานักงานส่งเสริมสวัสดิ ภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ รวม 295 คน 2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคลากรสังกัดสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและ พิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ จานวนทั้งสิ้น 171 คน การดาเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสารวจรายการ (Check list) ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กร ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมมุ่งผลสัมฤทธิ์ ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมการทางาน เป็ น ทีม ปั จ จั ยทางจิ ตวิทยาด้านค่านิ ย มสั มพันธภาพระหว่างบุคคล และปัจจัยทางจิตวิทยาด้าน ค่านิยมการพัฒนาตนเอง มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 4 ระดับ มี ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .826, .912, .878 และ .899 ตามลาดับ ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ การรับรู้การถ่ายทอดความรู้ และการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 4 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป SPSS for Windows (Statistical Package for the Social Sciences) ในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 2. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment Coefficient) และทดสอบความมีนัยสาคัญด้วยสถิติทดสอบที (t-test) 3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple correlation) ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กร ได้แก่ ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมมุ่งผลสัมฤทธิ์ ปัจจัย ทางจิตวิทยาด้านค่านิยมการทางานเป็นทีม ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และ ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมการพัฒนาตนเอง กับพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรสานักงาน


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

35

ส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหรือไม่ และสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด 4. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ใช้ในการวิเคราะห์ความสามารถ ในการร่วมกันทานายพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ จากตัวแปรปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กร ผลการวิจัย การวิจัยเรื่องปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กรที่ทานายพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ บุคลากรสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ สามารถสรุป ผลการวิจัย ได้ดังนี้ 1. บุคลากรสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ มีปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมมุ่งผลสัมฤทธิ์ ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมการทางานเป็นทีม และ ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมการพัฒนาตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56, 3.66 และ 3.58 ตามล าดับ) และมีปั จจั ยทางจิ ตวิทยาด้านค่านิยมสั มพันธภาพระหว่ างบุคคล อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.14) ส่วนพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.18) 2. กลุ่มตัวแปรทั้งหมดคือ พฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาพรวม และตัวแปรรายด้าน ได้แก่ การรับรู้ การถ่ายทอดความรู้ การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยม องค์กร มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ตัวแปรปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กร ได้แก่ ตัวแปรปัจจัยทางจิตวิทยาด้าน ค่านิยมมุ่งผลสัมฤทธิ์ ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และปัจจัยทางจิตวิทยา ด้านค่านิยมการพัฒนาตนเอง สามารถร่วมกันทานายพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรสานักงาน ส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถอธิบายพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากร ได้ร้อยละ 43.9 ทั้งนี้ยังพบว่ามีปัจจัย ทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กร จานวน 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมมุ่งผลสัมฤทธิ์ ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมการพัฒนา ตนเอง ที่ทานายพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ได้ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การอภิปรายผล 1. บุคลากรมีปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กร ได้แก่ ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยม มุ่งผลสัมฤทธิ์ ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมการทางานเป็นทีม และปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมการ พัฒนาตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่า บุคลากรให้ความสาคัญกับปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยม องค์กรทั้ง 3 ด้านเป็นอย่างมาก เพราะมีความคิด ความเชื่อ ความรู้สึกของบุคคล และให้การยอมรับว่า ค่านิยมองค์กรดี มีคุณค่า ส่งเสริม สนับสนุน และยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันในองค์กรส่วนปัจจัยทาง จิตวิทยาด้านค่านิยมสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับ มาก แสดงว่า บุคลากรมีพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากเช่นเดียวกับปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยม สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ที่อยู่ในระดับมากด้วย


36

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

2. ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมองค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกตัว โดยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับพฤติกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมการพัฒนาตนเอง รองลงมา คือ ปัจจัยทางจิตวิทยา ด้านค่านิยมสัมพันธภาพระหว่างบุ คคล ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมมุ่งผลสั มฤทธิ์ และปัจจัยทาง จิตวิทยาด้านค่านิยมการทางานเป็นทีม เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้ง สามารถนาไปสู่พฤติกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ของบุคลากรในองค์กรได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับงานวิจัยของ ไพบูลย์ อินทธิสัณห์ (2544) ได้ ศึกษาค่านิยมองค์กร พบว่า พนักงานที่มีค่านิยมองค์กรต่างกันจะมีพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างกัน โดยพนักงานที่มีค่านิยมองค์กรสูงจะมีพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดีกว่าพนักงานที่มีค่านิยมองค์กรต่า สอดคล้องกับงานวิจัยของ จารุมา ชูช่วง (2550) ได้ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมองค์กรและ บทบาทการบังคับบัญชาของหัวหน้ากับพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : กรณีศึกษาหน่วยงานภาครัฐแห่ง หนึ่ง” พบว่า ค่านิยมองค์กรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 3. ตัวแปรปั จจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมมุ่งผลสั มฤทธิ์ ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยม สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมการพัฒนาตนเอง ร่วมกันทานาย พฤติ กรรมแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ของบุ คลากรส านั ก งานส่ ง เสริ ม สวั ส ดิ ภ าพและพิ ทั กษ์ เด็ ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สู งอายุ ได้ร้ อยละ 43.9 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ กล่าวคือ หากบุคลากร สานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สู งอายุ มีปัจจัยทางจิตวิทยา ด้านค่านิยมสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมการพัฒนาตนเอง และปัจจัยทาง จิตวิทยาด้านค่านิยมมุ่งผลสัมฤทธิ์ เพิ่มขึ้นมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านต่างๆ ได้แก่ การรับรู้ การถ่ายทอด การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย ของวุฒิศักดิ์ รองเมือง (2544) พบว่า ค่านิยมองค์กรสามารถใช้ทานายพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ โดยมีค่าความเชื่อถือ ร้อยละ 20 สอดคล้องกับงานวิจัยของ ปริทัศน์ โชคไพบูลย์ (2550 : 10) ได้ ทาการศึ กษา การพั ฒนาตนเองที่ ส่ งผลต่ อประสิ ทธิ ผลของทีมงาน พบว่ า การพั ฒนาตนเอง มี ความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของทีมงาน ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้ จากผลการวิจัยนี้ หากองค์กรต้องการพัฒนาบุคลากรให้มีพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มมากขึ้น ควรคานึงถึงปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ปัจจัยทางจิตวิทยา ด้านค่านิยมการพัฒนาตนเอง และปัจจัยทางจิตวิทยาด้านค่านิยมมุ่งผลสัมฤทธิ์ของบุคลากรในการนี้ ด้วย โดยผู้วิจัยขอเสนอแนะแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้ 1.1 ผู้บริหารควรส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีความคิด ความเชื่อ ให้การ ยอมรับในค่านิยมองค์กร และยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน พร้อมทั้งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ บุคลากรอย่างจริงจัง 1.2 ผู้บริหารควรส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยให้ ความสาคัญและมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่จัดขึ้นในองค์กร


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

37

2. ข้อเสนอแนะสาหรับการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรขยายข้อความรู้จากผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ โดยการศึกษาเชิงลึกในรูปแบบ วิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับลักษณะของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพ และพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ 2.2 ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยด้านอื่นๆ ที่คาดว่าจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น แรงจูงใจ ภาวะผู้นา สภาพแวดล้อมในองค์กร เป็นต้น เอกสารอ้างอิง จารุมา ชูช่วง. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมในการทางานและบทบาทการบังคับบัญชาของหัวหน้า กับพฤติกรรมการทางาน: กรณีศึกษาหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่ง . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เทียนชัย ไชยเศรษฐ. (2552). ค่านิยมขององค์กร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2555 จาก http://www.medtechtoday.org/index.php?option=com_content&task=view&id=421&Itemid=45. บุษกานต์ สิกขชาติ. (2551). ความต้องการการพัฒนาตนเองของพนักงานองค์การคลังสินค้ากระทรวงพาณิชย์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. ปริทัศน์ โชคไพบูลย์. (2550). พฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งการพัฒนาตนเองที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของทีมงาน. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. พั ชรา เกาตระกู ล. (2544). ค่ านิ ยมในการท างานของพนั กงานองค์ การรั ฐบาลและเอกชนในเชี ยงใหม่ . การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. คณะมนุษยศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พิชญา ทองคาพงษ์. (2544). คุณลักษณะงาน ค่านิยมในการทางาน ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการ ทางาน ของหัวหน้าในธุรกิจอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2554). การเรียนรู้ลักษณะการจัดการ : การจัดการข้ามวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิชชิ่ง. ไพบูลย์ อินทธิสัณห์. (2544). ความฉลาดทางอารมณ์ ค่านิยมในการทางาน และลักษณะปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีผลต่อพฤติกรรมการทางานบนสายการบิน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา อุตสาหกรรมและองค์การ. มหาวิทยาลัยรามคาแหง. รวงผึ้ ง ทาช้ าง. (2551). ปัจ จั ยท านายการแลกเปลี่ย นเรี ยนรู้ ข องพยาบาลในโรงพยาบาลที่ เ ข้ า ร่ ว ม โครงการพัฒนาการจัดการความรู้. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพยาบาล). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วุฒิศักดิ์ รองเมือง. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติ ค่านิยมในวิถีปฏิบัติและพฤติกรรมการทางาน ของเจ้ า หน้า ที่ต ารวจสายตรวจ ในจั งหวัดขอนแก่น . วิทยานิพ นธ์ปริญญาศาสตรมหาบัณฑิ ต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

…………………………………………………..


38

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

การศึกษาปัจจัยทางจิตสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลี้ยงดู บุตรวัยทารกของบิดาที่มารับบริการในโรงพยาบาล A Study of Psychosocial Factors Related to Behaviors in Infant-Rearing Practices of Fathers Receiving Services in the Hospital ทัศนันท์ มีภักดิ์สม *

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตและปัจจัยทาง สังคมกับพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดา และเพื่อทานายพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารก ของบิ ดา จากปั จจั ยทางจิ ตและปั จจั ยทางสั งคม ในกลุ่ มรวมและกลุ่ มย่ อยเมื่อจ าแนกตามลั กษณะ ครอบครัว และประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตร กลุ่มตัวอย่างเป็นบิดาที่มีบุตรอายุระหว่างแรกเกิดถึง 2 ปี และพาบุตรมารับบริการตรวจในโรงพยาบาล จานวน 304 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการทดสอบค่าสั มประสิ ทธิ์สหสั มพันธ์ของเพียร์สั น (Pearson’s product moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางสังคมทุกตัวมีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดา อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนผลการทานาย พฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดาในกลุ่มรวมพบว่า การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัย ทารกด้านการดูแลร่างกาย เป็นตัวแปรทานายลาดับแรก รองลงมาคือ การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยง ดูบุตรวัยทารกด้านการส่งเสริมพัฒนาการ และความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตร โดยทั้ง 3 ตัวแปรร่วมกัน ทานายการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดาได้ 46.5% ผลการวิจัยในกลุ่มย่อยเมื่อจาแนกตามลักษณะ ครอบครัวและประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตร พบว่า การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกด้าน การดูแลร่างกาย เป็นตัวแปรทานายลาดับแรกเช่นเดียวกัน รองลงมาคือ ตัวแบบของการเป็นบิดา และ ความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตร คาสาคัญ: พฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดา, การรับรู้ความสามารถของตนเอง

__________________________ * นิสิตการศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

39

Abstract The objectives of this research were to investigate the relationship between psychological factors, situational factors and behavior in infant-rearing practices of fathers and to search for variables that could predict their behavior in total group and relation to family characteristics, experienced. The sample was randomly selected via purposive sampling and comprised 304 fathers with children under 2 years of age who were receiving hospital services. The collected data were analyzed by Pearson’s product moment correlation coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis. Results of the study were: the all of psychological factors, situational factors were found to correlate positively at the significance level of .01. Results of the total group from multiple regression analysis indicated that Percieved self-efficacy in physical care part infant-rearing practices was the first important predictor of this behavior, followed by Percieved self-efficacy in developmental part infant-rearing practices and Knowledge about infant care with accuracy of 46.5%. The first important predictor of family characteristics and experienced with the same important predictor as the total group, followed by Model’s father and Knowledge about infant care. Key words: Behavior in infant-rearing practices of fathers, Percieved self-efficacy ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมแรกเริ่มที่มีความสาคัญมากที่สุด เพราะเป็นสถาบันพื้นฐานที่ มีความสัมพันธ์ และผูกพันใกล้ชิดกับมนุษย์ทุกคน เป็นสถาบันแรกในการวางพื้นฐานการเจริญเติบโต ปลูกฝังความเชื่อ ถ่ายทอดค่านิยม สร้างทัศนคติ กาหนดบุคลิกภาพ รวมถึงวิธีการประพฤติปฏิบั ติตนให้ เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ขณะเดียวกัน ครอบครัวยังเป็นแหล่งสนับสนุน ให้ความช่วยเหลือ บาบัดและฟื้นฟูในเวลาที่สมาชิกในครอบครัวต้อง เผชิญกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า บุคคลจะไม่สามารถพัฒนาไปได้ด้ วยดี และใช้ชีวิต อย่างมีความสุขได้หากปราศจากครอบครัวที่ดี (อุมาพร ตรังคสมบัติ. 2544: 1) บุคคลในครอบครัวที่มี หน้าที่สาคัญในการวางพื้นฐานการเจริญเติบโตคือบิดามารดา โดยมีบทบาทหน้าที่ในการดูแลเลี้ยงดูบุตร ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาการ และการปูองกันภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับ บุตร โดยเฉพาะบุตรในวัยทารก ซึ่งเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็ว เป็นวัยที่ต้องการพึ่งพาผู้อื่นตลอดเวลา ดังนั้นการเลี้ยงดูบุตรในระยะนี้ ถือเป็นระยะที่มีความสาคัญที่สุด (Hurlock. 1968: 48; อ้างอิงจาก สุหรี หนุ่งอาหลี. 2547: 1) ในอดีตสังคมไทยมีการแบ่งแยกหน้าที่ใน การอบรมเลี้ยงดูบุตรไว้อย่างชัดเจนคือ ในวัยทารกและเด็กเล็ก มารดาจะเป็นผู้กระทาหน้าที่เลี้ยงดูอย่าง เต็มที่ แต่เมื่อเด็กเริ่มเติบโตบิดาจึงเข้ามามีบทบาทในการเลี้ยงดูมากขึ้น อีกทั้งการอบรมสั่งสอนในเรื่อง


40

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

บทบาททางเพศของลู กวัยรุ่ น ก็มีการแบ่ งแยกอย่างเห็ นได้ชัดคือ มารดาจะเป็นผู้ ดูแลอบรมบุตรสาว ในขณะที่บิดาจะเป็นผู้ดูแลอบรมบุตรชาย (จรรจา สุวรรณทัต. 2537: 63) นอกจากนี้วัฒนธรรมประเพณี และค่านิ ยมของสั งคมไทย ที่ก าหนดให้ บิ ดาเป็นหั วหน้ าหรื อผู้ น าครอบครั ว มี หน้าที่ ทางานหาเลี้ ยง ครอบครัว ส่วนหน้าที่ในการทางานบ้านและอบรมเลี้ยงดูบุตรเป็นหน้าที่ดูแลรับผิดชอบของมารดา แต่ เนื่องจากปัจจุ บันมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การเพิ่มขึ้นของจานวนประชากร ปัญหาค่าครองชีพสูง การเปลี่ยนแปลงของบทบาทสตรีและความเท่าเทียมกันทางเพศ ทาให้สมาชิกใน ครอบครั วต้ องมี การปรั บตั ว โดยผู้ หญิ งต้ องออกไปประกอบอาชี พนอกบ้ านเพื่ อหารายได้ มาจุ นเจื อ ครอบครัวด้วย ในขณะที่ผู้ชายก็เข้ามามีบทบาทในการดูแลงานต่างๆภายในบ้านและมีพฤติกรรมในการ เลี้ยงดูบุตรมากขึ้น การที่ บิ ดาเข้ ามามี พฤติ กรรมการเลี้ ย งดู บุ ตรนั บเป็ นบทบาทที่ มี ความส าคั ญอย่ างยิ่ ง เนื่องจากจะทาให้ครอบครัวมีสัมพันธภาพที่มั่นคง นอกจากนั้นทาให้บุตรเห็นว่าบิดาเป็นบุคคลสาคัญใน ชีวิตของตนเอง เช่นเดียวกับมารดา เกิดความไว้วางใจเป็นการสร้างความผูกพันอันดีระหว่างบิดาและบุตร อันเป็นพื้นฐานในการสร้างความมีบทบาทของบิดาในการเลี้ยงดูบุตรในทุกช่วงวัยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังพบว่า ในวัยทารกถ้าบิดามีส่วนช่วยในการเลี้ยงดูและเล่นกับบุตรมากขึ้น บุตรจะมีความสุขมากกว่าบุตร ที่บิดามีส่วนช่วยในการเลี้ยงดูน้อย (ดวงเดือน พันธุมนาวิน; และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก. 2524: 151) อีก ทั้งจากการศึกษาสาเหตุการเกิดพฤติกรรมรักร่วมเพศ พบว่ าสาเหตุส าคัญเกี่ยวข้องกับครอบครัว เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบิดามารดาไม่ดี ทาให้เด็กไม่สามารถลอกเลียนลักษณะและบทบาททางเพศที่ ถูกต้องได้ (สุวัทนา อารีพรรค. 2543: ออนไลน์) ซึ่งการที่บิดาจะมีพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรมากหรือน้อย แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ จากการรวบรวมเอกสาร ผู้วิจัยพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องหรือมีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมมีหลายปัจจัย แต่อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มตามแนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญา สังคมของแบนดูร่า (Banndura) คือ ปัจจัยส่วนบุคคล (Personal Factor) และปัจจัยสภาพแวดล้อม (Environment Factor) ซึ่งในงานวิจัยนี้คือ ปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางสังคม โดยที่ผู้วิจัยสนใจศึกษาปัจจัยทางจิต ได้แก่ การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัย ทารกทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการดูแลร่างกาย ด้านการส่งเสริมพัฒนาการ ด้านการปูองกันอันตราย และ ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ ความรู้กี่ยวกับการดูแลบุตร ความพึงพอใจในชีวิตสมรส และตัวแบบของการ เป็นบิดา ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดาหรือไม่ อย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลให้กับ บุคลากรที่ทางานเกี่ยวกับครอบครัว แพทย์ พยาบาลและผู้เกี่ยวข้อง ใช้ในการ วางแผนการปฏิบัติงาน รวมทั้งหาแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดาให้มากยิ่งขึ้นต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางสังคมกับพฤติกรรมการ เลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดา 2. เพื่อทานายพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดา จากปัจจัยทางจิตและปัจจัย ทางสังคม ในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยเมื่อจาแนกตามลักษณะครอบครัว และประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตร


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

41

สมมติฐานของการวิจัย 1. ปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารก ของบิดา 2. ปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางสังคม สามารถทานายพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารก ของบิดาได้ ในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยเมื่อจาแนกตามลักษณะครอบครัว และประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตร ขอบเขตในการวิจัย 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ บิดาที่พาบุตรมารับบริการตรวจ สุขภาพหรือรับวัคซีนตามแพทย์นัด ที่แผนกผู้ปุวยนอกของโรงพยาบาลในปี พ.ศ.2557 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ บิดาที่พาบุตรมารับบริการตรวจ สุ ขภาพหรื อ รั บ วัคซี น ตามแพทย์ นั ด ที่ แผนกผู้ ปุว ยนอกโรงพยาบาลในจังหวัด สระบุรี จานวน 4 โรงพยาบาล ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยกาหนดคุณสมบัติดังนี้ คือ เป็นบิดาที่มีบุตรอายุระหว่างแรกเกิดถึง 2 ปี และอาศัยอยู่ บ้านเดียวกันกับบุตร จานวน 304 คน นิยามศัพท์ 1. พฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดา หมายถึง การกระทาของบิดา เพื่อตอบสนอง ความต้องการของบุตรวัยทารก (แรกเกิด - 2 ปี) ทั้งทางด้านการดูแลร่างกาย ด้านการส่งเสริมพัฒนาการ และด้านการปูองกันอันตราย 2. การรั บ รู้ ความสามารถในการเลี้ ย งดู บุ ต รวั ยทารก หมายถึ ง ความเชื่อ ของบิ ด า เกี่ยวกับความสามารถของตนในการเลี้ยงดูบุตรวัยทารก แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ 2.1 ด้านการดูแลร่างกาย หมายถึง ความเชื่อของบิดาเกี่ยวกับความสามารถใน การดูแลให้บุตรได้รับสารอาหารต่างๆ การดูแลให้บุตรได้รับความสุขสบาย ได้แก่ การอุ้มบุตร การ พักผ่อนนอนหลับ การรักษาความสะอาดของร่างกาย การจัดเตรียมเครื่องใช้สาหรับบุตร และการดูแล ในขณะที่บุตรมีอาการไม่สุขสบายหรือเจ็บปุวยเล็กน้อย 2.2 ด้ า นการส่ ง เสริ ม พั ฒ นาการ หมายถึ ง ความเชื่ อ ของบิ ด าเกี่ ย วกั บ ความสามารถในการสัมผัส การสื่อสาร การเล่น และการจัดหาของเล่นให้กับบุตร 2.3 ด้านการปูองกันอันตราย หมายถึง ความเชื่อของบิดาเกี่ยวกับความสามารถ ในการจัดสถานที่ การตรวจสอบเครื่องใช้ภายในบ้าน และจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย 3. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรวัยทารก หมายถึง ความเข้าใจและสามารถจดจาเนื้อหา ความรู้ในการดูแลบุตรวัยทารก (แรกเกิดถึง 2 ปี) ได้แก่ การให้นมมารดา การเตรียมและการให้นม ผสม การให้อาหารเสริม การดูแลทาความสะอาดร่างกาย และการส่งเสริมพัฒนาการของบุตร 4. ความพึ ง พอใจในชี วิ ต สมรส หมายถึ ง ระดั บ ความรู้ สึ ก พอใจของบิ ด าที่ มี ต่ อ สถานการณ์ในชีวิตสมรสของตน ซึ่งความพึงพอใจในชีวิตสมรสเป็นเปูาหมายที่สาคัญของชีวิตสมรส และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดช่วงชีวิตของบุคคล


42

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

5. ตั ว แบบของการเป็ น บิ ด า หมายถึ ง การปฏิ บั ติ ตั ว เป็ น แบบอย่ า งของบิ ด า หรื อ สัญลักษณ์ที่แสดงเกี่ยวกับลักษณะของการเป็นบิดาในการเลี้ยงดูบุตร เพื่อตอบสนองความต้องการ ของบุตรวัยทารก (แรกเกิด – 2 ปี) ใน 3 ด้านคือ ด้านการดูแลร่างกาย ด้านการส่งเสริมพัฒนาการ และด้านการปูองกันอันตราย 6. ลักษณะครอบครัว หมายถึง ลักษณะของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ร่ วมกันในบ้านเดียวกับ บิดาและบุตร แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 6.1 ครอบครัวเดี่ยว หมายถึง ครอบครัวที่ประกอบไปด้วย บิดาและบุตร หรือ บิดา มารดา และบุตรเท่านั้น 6.2 ครอบครัวขยาย หมายถึง ครอบครัวที่ประกอบไปด้วย บิดา บุตร หรือบิดา มารดา บุตรและญาติทางฝุายบิดาหรือมารดา หรือญาติ ทั้งสองฝุายอยู่ร่วมกันในบ้านเดียวกัน และ อาจมีพี่เลี้ยงบุตรหรือไม่มีก็ได้ 7. ประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตร หมายถึง การที่บิดาเคยปฏิบัติกิจกรรมหรือบทบาท ของบิ ดาในการเลี้ยงดูบุตรเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของบุตรคนก่อนด้วยตนเอง โดยไม่นับ รวมถึ ง ประสบการณ์ ที่ เ คยเลี้ ย งเด็ ก คนอื่ น ๆ ซึ่ ง ไม่ ใ ช่ บุ ต รของตน แบ่ ง ออกเป็ น 2 ประเภทคื อ มีประสบการณ์และไม่มีประสบการณ์ การดาเนินการวิจัย การเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ประกอบด้วยแบบสอบถาม 6 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 แบบวัดพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดา ซึ่งปรับปรุงมาจากแบบวัด พฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดา ของบังอร ศุภวิฑิตพัฒนา (2536) จานวน 25 ข้อ มีค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมอยู่ระหว่าง 0.267 – 0.665 และมีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ .902 ส่วนที่ 3 แบบวัดการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัยทารก ซึ่งสร้างขึ้นเองโดย ศึก ษาจากแนวคิ ด 2 แนวคิ ด คื อ 1) การรับ รู้ ค วามสามารถของตนเอง (Self-efficacy) และ 2) แนวคิดของ ดูวาลล์ (Duvall 1971: 225; Duvall, cited in Duvall & Miller 1985: 160-161, 164-165) จานวน 25 ข้อ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมอยู่ ระหว่าง 0.357 – 0.703 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .909 ส่วนที่ 4 แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรวัยทารกของบิดา ซึ่งสร้างขึ้นเองโดยศึกษา จากเอกสารและตาราที่เกี่ยวข้อง จานวน 20 ข้อ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อ กับคะแนนรวมอยู่ระหว่าง 0.127 – 0.485 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .781 ส่วนที่ 5 แบบวัดความพึงพอใจในชีวิตสมรส ซึ่งปรับปรุงมาจากแบบสอบถามความพึง พอใจในชีวิตสมรสของ ชนธร มงคลพฤฒางกูร (2548) และแบบวัดความพึงพอใจในชีวิตสมรสของ รัตนา สิทธิโชคธนารักษ์ (2547) จานวน 20 ข้อ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับ คะแนนรวมอยู่ระหว่าง 0.348 – 0.713 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .890


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

43

ส่วนที่ 6 แบบวัดตัวแบบของการเป็นบิดา ซึ่งสร้างขึ้นเองโดยอาศัย ทฤษฎีการเรียนรู้ทาง ปัญญาสังคม (Social-Cognitive Theory) ของแบนดูรา (Bandura.1986) จานวน 10 ข้อ มีค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมอยู่ระหว่าง 0.453 – 0.641 และมีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ .832 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ ข้อ มูล โดยการทดสอบค่า สั มประสิ ทธิ์ส หสั ม พันธ์ ของเพีย ร์สั น (Pearson’s product moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย ในงานวิจัยฉบับนี้ กลุ่มตัวอย่างเป็นบิดาที่พาบุตรมารับบริการในโรงพยาบาล จานวน ทั้งหมด 304 คน ส่วนใหญ่อายุ 26 – 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 49.0 รองลงมาคืออายุ 36 – 45 ปี อายุ น้อยกว่า 26 ปี และอายุมากกว่า 46 ปี คิดเป็นร้อยละ 29.6 ร้อยละ 19.1 และร้อยละ 2.3 ตามลาดับ โดยเป็นบิดาที่อยู่ในครอบครัวขยาย คิดเป็นร้อยละ 56.6 อยู่ในครอบครัวเดี่ยว คิดเป็นร้อยละ 43.4 และบิดาส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงดูบุตร คิดเป็นร้อยละ 57.6 สาหรับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบสมมติฐานการวิจัย ผู้วิจัยแบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลวิเคราะห์ ความสั มพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางสั งคมกับ พฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารก บิดา ผลปรากฎดังตาราง 1 ตาราง 1 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางสังคมกับพฤติกรรมการเลี้ยงดู บุตรวัยทารกของบิดา ตัวแปร Beh sef1 sef2 sef3 Kn Sat Ex หมายเหตุ ;

Beh 1

beh sef1 sef2 sef3 kn sat ex

sef1 .663** 1

แทน แทน แทน แทน แทน แทน แทน

sef2 .560** .699** 1

sef3 .443** .533** .709** 1

kn .263** .215** .365** .292** 1

Sat .273** .290** .471** .464** .327** 1

ex .274** .274** .297** .258** .191** .274** 1

พฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดา การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกด้านร่างกาย การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกด้านการส่งเสริมพัฒนาการ การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกด้านการปูองกันอันตราย ความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรวัยทารก ความพึงพอใจในชีวิตสมรส ตัวแบบของการเป็นบิดา


44

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

จากตาราง 1 พบว่า ตัวแปรทุกตัว ได้แก่ การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัย ทารกด้านร่างกาย การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกด้านการส่งเสริมพัฒนาการ การ รับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกด้านการปูองกันอันตราย ความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรวัย ทารก ความพึงพอใจในชีวิตสมรส และตัวแบบของการเป็นบิดา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรม การเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดา อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตอนที่ 2 ผลวิเคราะห์ปัจจัยพยากรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการทานายพฤติกรรมการ เลี้ ย งดู บุ ต รวั ย ทารกของบิ ด า ในกลุ่ ม รวมและกลุ่ ม ย่ อ ยเมื่ อ จ าแนกตามลั ก ษณะครอบครั ว และ ประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตร โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลปรากฎดังตาราง 2 ตาราง 2 ผลการทานายพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดา ในกลุ่ มรวมและกลุ่มย่อยเมื่อ จาแนกตามลักษณะครอบครัว และประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตร จาแนกตามตัวแปรภูมิหลัง กลุ่มรวม ครอบครัวเดี่ยว ครอบครัวขยาย เคยมีประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตร ไม่เคยมีประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตร หมายเหตุ ; 1 2 3 4 5 6

แทน แทน แทน แทน แทน แทน

จานวนคน 304 132 172 129 175

R2 % 46.5% 38.4% 53.2% 47.0% 48.1%

ตัวทานาย 1, 2, 4 1 1, 6, 4 1, 4 1, 6, 5

Beta .539**, .149**, .093** .620** .618**, .155**, .146** .637**, .134* .583**, .137*, .130*

การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกด้านการดูแลร่างกาย การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกด้านการส่งเสริมพัฒนาการ การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกด้านการปูองกันอันตราย ความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรวัยทารก ความพึงพอใจในชีวิตสมรส ตัวแบบของการเป็นบิดา

จากตาราง 2 พบว่า ปัจจัยพยากรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการทานายพฤติกรรมการเลี้ยง ดูบุตรวัยทารกของบิดาในกลุ่มรวมคือ การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกด้านการดูแล ร่างกาย รองลงมาคือ การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกด้านการส่งเสริมพัฒนาการ และความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรวัยทารก ส่วนในกลุ่มย่อยเมื่อจาแนกตามลักษณะครอบครัวและ ประสบการณ์ ก ารเลี้ ย งดู บุ ต ร พบว่ า ตั ว แปรที่ ส ามารถท านายได้ เ ป็ น ล าดั บ แรกคื อ การรั บ รู้ ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกด้านการดูแลร่างกาย รองลงมาคือ ตัวแบบของการเป็นบิดา ซึ่งสามารถทานายได้เป็นลาดับ 2 ในกลุ่มครอบครัวขยายและกลุ่มที่ไม่เคยมีประสบการณ์การเลี้ยงดู บุตร ส่วนความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรวัยทารก สามารถทานายได้ในกลุ่มครอบครัวขยายและกลุ่มที่ เคยมีประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตร


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

45

การอภิปรายผล การทานายพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดา โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบเป็นขั้น (Stepwise Multiple Regression Analysis) เมื่อใช้ตัวแปรทางจิตคือ การรับรู้ ความสามารถในการเลี้ ย งดูบุ ต รวั ยทารกทั้ง 3 ด้ าน คือ ด้ า นการดู แลร่า งกาย ด้ านการส่ ง เสริ ม พัฒนาการ และด้านการปูองกันอันตราย ตัวแปรทางสังคมคือ ความรู้เกี่ ยวกับการดูแลบุตรวัยทารก ความพึงพอใจในชีวิตสมรส และตัวแบบของการเป็นบิดา พบว่าตัว แปรที่มีอานาจในการทานาย พฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดามากที่สุดคือ การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัย ทารกด้านร่างกาย รองลงมาคือตัวแบบของการเป็นบิดา และความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรวัยทารก ซึ่ง สามารถอธิบายได้ว่า หากบุคคลมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง ก็มีแนวโน้มที่จะกระทา พฤติกรรมนั้นตามการรับรู้ของตนเองเช่นกัน ดังนั้นหากบิดามีการรับรู้ถึงความสามารถของตนในการ ทาหน้าที่เลี้ยงดูบุตรให้มีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่เหมาะสม โดยเฉพาะด้านการดูแลร่างกาย จะทาให้ บิดามีพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรมากขึ้น สอดคล้ องกับงานวิจัยของ บังอร ศุภ วิทิตพัฒนา (2536: 92) ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้พัฒนกิจของบิดา การสนับสนุนจากคู่สมรสกับ พฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรของบิดา จากการศึกษาพบว่า การรับรู้พัฒนกิจของบิดาและการสนับสนุน จากคู่สมรส สามารถร่วมกันทานายพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรของบิดาได้ 16.40% ในขณะเดียวกัน การมีตัวแบบของการเป็นบิดาก็เป็นสิ่งสาคัญที่ส่งผลให้บิดามีพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกมากขึ้น โดยสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม (Social Cognitive Theory) ของแบนดูร่า (Bandura) ที่เชื่อว่าบุคคลมีการเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคมจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้อื่น และ บุคคลจะมีกระบวนการคิดที่จะเลือกทาพฤติกรรมบางพฤติกรรมจากตัวแบบบางคน ในโอกาสที่ เอื้ออานวยและขึ้นอยู่กับผลกรรมนั้นๆ (สิริอร วิชชาวุธ. 2554: 90) ดังเช่นอิทธิพลของตัวแบบของการ เป็นบิดา ที่เมื่อบุคคลจาต้องแสดงพฤติกรรมของการเป็นบิดา อาจทาให้บุคคลมองหาตัวแบบหรือ ต้นแบบของการเป็นบิดา จากการสังเกตพฤติกรรมของคนอื่น เช่น เพื่อน หรือคนที่เคารพนับถือ หรือ อาจเกิดจากการระลึกนึกถึงพฤติกรรมของบิดาของตน พี่น้อง รวมถึงญาติผู้ใหญ่ที่เคยได้เลี้ยงดูตนมา แล้วจึงเลือกปฎิบัติตามพฤติกรรมนั้น หรือนามาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันของตน ร่วมกับการศึกษาจากการอ่านหรือศึกษาผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ช่วยให้บิดามี การนาเอาสิ่งที่ได้รับ มาพัฒนาเป็นพฤติกรรมในการเลี้ยงดูบุตรครั้งนี้ได้มากขึ้น อีกทั้งตัวแบบยังมีอิทธิพลกระตุ้นให้เกิด แนวคิดและความรู้สึกคล้อยตามตัวแบบ ซึ่งส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของตนอันจะส่งผลเพิ่ม พฤติกรรมดังกล่าวด้วย รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรวั ยทารกก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สามารถร่วม ทานายพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดาได้เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากความรู้เป็นองค์ประกอบ พื้นฐานที่สาคัญ ที่นาไปสู่การมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม โดยหากบุคคลมีความรู้ในเรื่องใดเรื่อง หนึ่งเป็นอย่างดีอาจนาไปสู่การปฏิบัติหรือนาไปสู่การมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ก ารท านายพฤติ ก รรมการเลี้ ย งดู บุ ต รวั ย ทารกของบิ ด า เมื่ อ จ าแนกตาม ลักษณะครอบครัว และประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตร ยังพบผลในลักษณะเดียวกันกับกลุ่มรวม คือ ตัว แปรที่สามารถทานายพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของบิดาได้เป็นลาดับแรก ได้แก่ การรับรู้ ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกด้านการดูแลร่างกาย รองลงมา ได้แก่ ตัวแบบของการเป็น บิดา ซึ่งสามารถทานายได้ในกลุ่มครอบครัวขยายและกลุ่มที่ไม่เคยมีประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตร


46

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

อธิบายได้ว่า ในครอบครัวขยายที่มีสมาชิกในครอบครัวมากกว่าครอบครัวเดี่ยว โดยอาจมีพี่เลี้ยงที่มี ประสบการณ์การดูแลเด็ก หรือญาติที่ช่ว ยดูแลเด็ก จะทาให้บิดามองเห็นแบบอย่างต่างๆ รวมถึง สามารถปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในการดูแลบุตร และนามาปรับใช้ในการดูแลบุตรด้วยตนเองได้ ซึ่ง ส่ ง ผลให้ มี พ ฤติ ก รรมการเลี้ ย งดู บุ ต รวัย ทารกมากขึ้ น ด้ว ย ในลั ก ษณะเดี ย วกั นกั บ กลุ่ ม บิด าที่ไ ม่ มี ประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตร การที่บิดาได้รับอิทธิพลจากตัวแบบ ทั้งจากตัวแบบที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต อาจส่งผลให้บิดาได้รับประสบการณ์ทางอ้อมและส่งผลถึงพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรด้วย แต่อย่างไรก็ ตามตัวแปรความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรวัยทารก กลับสามารถทานายพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัย ทารกของบิดาได้ในกลุ่มครอบครัวขยายและกลุ่มที่เคยมีประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตร แสดงให้เห็นว่า ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเป็นตัวแปรที่มีความสาคัญ แม้แต่กับกลุ่มครอบครัวขยายที่มีพี่เลี้ยง หรือญาติ คอยช่วยเหลือ รวมถึงบิดาที่ถึงแม้จะมีประสบการณ์ แต่ก็ยังต้องการความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรเพื่อ ทาให้สามารถเลี้ยงดูแลบุตรได้ดีขึ้น ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนาผลวิจัยไปใช้ จากการวิจัยพบว่าตัวแปรที่มีอานาจในการทานายพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของ บิดาโดยรวมมากที่สุดในทุกกลุ่มตัวแปร คือ การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกด้าน ร่างกาย ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอว่า บุคลาการทางการแพทย์ควรเปิดโอกาสให้บิดาได้เข้าร่วมอบรมและฝึก ทักษะเกี่ยวกับการดูแลบุตรด้วยตนเองร่วมกับมารดา ได้แก่ การดูแลให้ได้รับสารอาหารต่างๆ เช่ น การชงนมและการให้อาหารเสริม การดูแลให้ได้รับความสุขสบาย เช่น การอาบน้าให้บุตร การเปลี่ยน ผ้าอ้อม การอุ้ม และการดูแลในขณะที่มีอาการเจ็บปุวย เช่น การสังเกตอาการผิดปกติ การเช็ดตัวลด ไข้ เพื่อช่วยให้บิดาเกิดความรู้สึกว่าได้รับประสบการณ์จากการเข้าร่วมอบรมและฝึกทั กษะเกี่ยวกับ การดูแลบุตรด้วยตนเอง และช่วยให้บิดาเห็นการปฏิบัติตัวจากตัวแบบซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์ หรือเพื่อนร่วมการอบรม รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ควรให้กาลังใจ และพูดชักจูงบิดาให้เกิดความ เชื่อมั่นว่าจะสามารถดูแลบุตรได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทาให้บิดามีการรับรู้ในความสามารถของตนมากขึ้น อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกเพิ่มมากขึ้นด้วย 2. ข้อเสนอแนะสาหรับการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรทาวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างอื่นๆ เช่น ญาติพี่น้องที่ทาหน้าที่ในการเลี้ยงดูเด็กวัย ทารกแทนบิดามารดาหรือกลุ่มพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว ว่ามีพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กวัยทารกเป็นอย่างไร 2.2 อาจทาวิจัยถึงตัวแปรอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของ บิดา เช่น ความพร้อมในการมีบุตร โดยอาจศึกษาความพร้อมในเรื่องความมั่นคงของรายได้หรือความ พร้อมด้านที่อยู่อาศัยและอาชีพ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

47

เอกสารอ้างอิง ชนธร มงคลพฤฒางกูร. (2548). บทบาทการเป็นบิดามารดาด้านการเลี้ยงดูบุตรและความพึงพอใจในชีวิต ของหญิงและชายในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒนาการ). กรุงเทพฯ: บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ดวงเดือน พันธุมนาวิน และ เพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2524). ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวกับ สุข ภาพจิ ต และจริ ย ธรรมของนั กเรี ย นวั ย รุ่ น . รายงานการวิจั ยฉบั บที่ 26. กรุ งเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรนครินทรวิโรฒ. บังอร ศุภวิฑิตพัฒนา. (2536). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้พัฒนกิจของบิดา การสนับสนุนจากคู่สมรส กับพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตร. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (การพยาบาลแม่และเด็ก). กรุงเทพฯ: บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. ประณต เค้าฉิม. (2549). เอกสารคาสอนวิชา จต221 : จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. รัตนา สิทธิโชคธนารักษ์. (2547). บทบาทในครอบครัวกับความพึงพอใจในชีวิตสมรสของสามีและ ภรรยาในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒนาการ). กรุงเทพฯ: บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สิริอร วิชชาวุธ. (2554). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี จากัด. สุวัทนา อารีพรรค. (2543). รักร่วมเพศ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2556, จาก http://www.elib- online.com /doctors2/gay_homeo01.html. สุวรรณี ศรีจันทรอาภา. (2527). ความพร้อมในการเป็นบิดามารดาของบิดามารดาในภาคเหนือของ ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ คศ.ม. (พยาบาลศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สุหรี หนุ่งอาหลี. (2547). ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อ พฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก. วิทยานิพนธ์ พย.ม. (พยาบาลศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2550). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2544). จิตบาบัดและการให้คาปรึกษาครอบครัว. พิมพ์ครัง้ ที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Bandura A. (1986a). Social Foundation of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. NewJersy: Prentice-Hall. Duvall, E.M., Miller B.C. (1985). Marriage and family development. (6 th ed.). New York: Harper & Row.Ericson E.H., Hall E. (1987). Growing and Changing. New York: Random Hiuse.

…………………………………………………..


48

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

การศึกษาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว Education Adversity Quotient Students High School Kaochkun Wittakhom School Sakaeo Province ฤทัยรัตน์ วิเศษศักดิ์ 1 อุมาภรณ์ สุขารมณ์ 2

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว และเปรียบเทียบความ ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียน จาแนกตาม เพศ และระดับการศึกษา กลุ่ม ตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จานวน 400 คน แบ่งเป็นเพศชาย 168 คน และเพศ หญิง 232 คน ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเขาฉกรรจ์ วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคอยู่ในระดับต่า นักเรียนที่มี เพศต่ า งกั น มี ความสามารถในการเผชิ ญและฟั น ฝุ าอุ ป สรรคแตกต่ างกั น โดยนั กเรี ยนเพศหญิ ง มี ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคมากกว่าเพศชาย นักเรียนที่อยู่ในระดับการศึกษาที่ แตกต่างกันมีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคแตกต่างกัน โดยนักเรียนที่มีความสามารถ ในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคมากที่สุดคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รองลงมาคือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามลาดับ คาสาคัญ: ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรค

1

นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คาปรึกษา ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง 2 อาจารย์ ดร., ประจาภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

49

Abstract This research aimed to study Adversity Quotient (AQ) of high school students at Kaochkun Wittakhom school Sakaeo province and to compare AQ of the students classify by gender and class. The samples were 400 high school students, 168 were male and 232 were female. The researcher found that the overall AQ of the high school students at, Kaochkun Wittakhom school, Sakaeo province is low. The students with different gender have different AQ, the female have higher AQ than male. The students in different classes have different AQ, those of grade 12 have the highest AQ, followed by grade 11, and grade 10, respectively. Keywords: Adversity Quotient ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา เปูาหมายที่สาคัญของการศึกษาคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสังคมให้เป็นคนที่มี คุณภาพที่สั งคมปรารถนา ระบบการศึกษาที่ดีจะต้องสร้างให้บุคคลประสบความส าเร็จ ตามที่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กล่าวว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคน ไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรม ในการดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขเห็นได้ว่าเปูาหมาย และแผนการศึกษาส่วน ใหญ่ให้ความ สาคัญในการพั ฒนาคนให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณภาพและมีความสุข (วนิดา กันทาแก้ว, 2550, หน้า 1) นอกจากนี้ กรอบนโยบายหลั กในการปฏิรูปการศึกษา ยังมุ่งการพัฒนาคนไทยให้ เป็น มนุ ษย์ ที่สมบู รณ์ทั้งร่ างกาย จิ ตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการ ดารงชีวิต สามารถอยู่ ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ด้วยสภาพสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง อย่ างรวดเร็ว การปรั บตัวเพื่อให้ ทันกับสภาพการ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สั งคม การเมือง การปกครอง รวมทั้งวิกฤตทางธรรมชาติ ล้วนทาให้เกิดภาวะตึงเครียด ธีระศักดิ์ กาบรรณารักษ์ (2546) พบว่า ผู้ที่ จะพบกับความสุขหรือประสบความสาเร็จได้ทั้งในหน้าที่การงาน ส่วนตัว หรือครอบครัวได้ จะต้องมี ความฉลาดหรือเชาวน์อย่างน้อย 6 ด้าน ที่เรียกว่า 6 Qs (Six Quotients) ได้แก่ IQ (เชาวน์ปัญญา) EQ (เชาวน์อารมณ์) AQ (เชาวน์แห่งความอึด) MQ (เชาวน์ทางคุณธรรมจริยธรรม) SQ (เชาวน์ทางด้าน จิตวิญญาณ) และ HQ (เชาวน์ทางด้านสุขภาพ) สาหรับระบบการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มุ่งเน้นด้านเชาวน์ปัญญาและ เชาวน์อารมณ์เป็นส่วนใหญ่ เพื่อสนองตอบความต้องการของสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ทาให้ เด็กไทยเก่งท่องจา แต่ไร้ความสุขในการดารงชีวิต ขาดความสามารถในการที่จะรับรู้ ถึงความรู้สึกของ ตนเองและของคนอื่น ทาให้ไม่สามารถปลูกฝังจิตใจที่ดี ให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การไม่สามารถปรับตัวในสังคมที่เปลี่ยนไป ไม่สามารถอดทนรอคอยเพื่อไปสู่เปูาหมาย เด็กเก่งบางคน อยู่ในสภาวะของความตึงเครียด หลายคนปรับตัวไม่ได้ มีความเครียดสูง ขาดสมาธิ ลุกลี้ลุกลน


50

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

ความสามารถที่เคยมีกลับถดถอยลง ประสบปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาการเรียน การปรับตัวในสังคม ในขณะที่เด็กบางคนไม่สามารถควบคุมตนเองจากสิ่งยั่วยุ ภายนอกได้ ทาให้ต้องเสียโอกาสทางการ ศึกษาไปอย่างน่าเสียดาย (วีระวัฒน์ ปันนิตามัย, 2545 หน้า 34) สอดคล้องกับแนวคิดของ สตอลทซ์ (Stoltz,1997) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ที่มีความเชื่อ ว่า การที่มนุษย์มีเพียงเชาวน์ปัญญาและเชาวน์อารมณ์อย่างเดียวไม่สามารถทาให้คนอยู่รอดอย่างผู้ ประสบความสาเร็จ มนุษย์จึงต้องมีความอึด ความอดทน ความเป็นนักสู้ และสามารถที่จะเปลี่ยนวิกฤติ ให้เป็นโอกาส สตอลทซ์เชื่อว่า บุคคลเมื่อเผชิญปัญหาของชีวิต จะมีรูปแบบการตอบสนองต่อปัญหาที่ แตกต่างกัน บุคคลที่สามารถจัดการกับความทุกข์ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะประสบความสาเร็จในชีวิต และการทางาน โดยการก้าวไปสู่ความสาเร็จอุปมาอุปไมยคล้ายดังคนปีนเขา ซึ่งสามารถแบ่งบุคคลได้ เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มคนไม่สู้ (The Quitter) กลุ่มนักตั้งแคมป์ (The Camper) และกลุ่มนักปีนเขา (The Chimber) โดยกลุ่ มคนไม่ สู้ จะเป็ นพวกถอนตั ว หลี กเลี่ ยงการปีนเขา ยอมแพ้ง่ ายๆ ไม่ มี จุดมุ่งหมายในชีวิต ไม่มีความกระตือรือร้น ชอบบ่นถึงความยากลาบาก ขี้เกียจเสมอ ไม่มีมนุษย์สัมพันธ์ เวลามีอุปสรรคจะยอมแพ้ง่ายมากเพราะใจไม่สู้ สาหรับกลุ่มนักตั้งแคมป์เป็นกลุ่มที่จากัดการปีนเขา เมื่อเริ่มปีนไปได้สักระยะ เจอที่ราบลุ่มกลุ่มนักตั้งแคมป์ก็ตั้งค่ายพักแล้วนั่งรอ ไม่ต้องการจะปีนไปสู่ จุดสู งสุ ดของภูเขา เป็ นกลุ่มที่ทางานตามหน้าที่รับผิดชอบได้ดีพอสมควร แต่ไม่พยายามก้าวต่อไป ข้างหน้าให้มีผลงานมากกว่าที่เป็นอยู่ และสาหรับกลุ่มนักปีนเขาเป็นกลุ่มที่ชอบความท้าทาย มีความ เพียรพยายามที่จะปีนไปให้ถึงยอดเขา ไม่ว่าจะพบกับอุปสรรคใดๆ ก็ตาม ยิ่ งมีความเสี่ยงและลาบาก มากเท่าไร ยิ่งรู้สึกท้าทาย และมุ่งหน้าต่อไปไม่ลดละ มีวิถีชีวิตที่กระตือรือร้น มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มี แรงบันดาลใจสูง กล้าและพร้อมที่จะเผชิญกับอุปสรรคโดยไม่ยอมแพ้ สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดี ได้กับคนทุกระดับและเป็นผู้นาที่ดี ชีวิตจึงมีผลงานมาก และประสบความสาเร็จสูง ด้วยเหตุนี้ นอกเหนือไปจากเชาวน์ปัญญาและเชาวน์อารมณ์แล้ว ความสามารถในการฟัน ฝุาอุปสรรค จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งและมีความสาคัญอย่างยิ่งต่อความสาเร็จ โดย เฉพาะในปัจจุบันพบว่า ถึงแม้จะมีเชาวน์ปัญญาดี มีเชาวน์ทางอารมณ์ที่สูง แต่หากไม่มีความสามารถในการฟันฝุาอุปสรรค ก็ ทาให้ประสบความสาเร็จได้ยาก เพราะความสามารถในการฟันฝุาอุปสรรคเป็นความสามารถของบุคคล ในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ในยามที่ต้องเผชิญกับปัญหาหรืออุปสรรคซึ่งเป็นตัวขัดขวางที่ทาให้ คนเราไม่สามารถก้าวขึ้นไปสู่ความสาเร็จตามที่ปรารถนาได้ (มัณฑรา ธรรมบุศย์, 2544, หน้า 17) ดังนั้น การเป็นผู้มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรค (Adversity Quotient : AQ) เพื่อให้บรรลุเปูาหมายที่วางไว้ โดยไม่ย่อท้อและยอมแพ้ต่ออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น เป็นปัจจัยอย่างห นี่งที่สาคัญที่จะช่วยให้บุคคลสาเร็จในชีวิต (ลดารัตน์ ศรรักษ์ : 2556 หน้า 19) จากความสาคัญที่กล่าว มาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรค เป็นตัวแปรที่น่าสนใจศึกษา ถึง ตัวแปรว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมของนักเรียนในด้านต่างๆ เพื่อจะได้นาผลที่ได้ไปใช้ ประโยชน์ในการเรียน การสอน และการดาเนินชีวิตประจาวันได้อย่างเหมาะสมต่อไป โรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ได้รับการยอมรับ และเชื่อถือในด้านคุณภาพของการเรียนการสอนและคุณภาพของนักเรียน แห่งหนึ่งของจังหวัดสระแก้ว แต่ด้วยปัจจุบันนักเรียนต้องปรับตัวในเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจาวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเรียน หรือการ ดาเนินชีวิตด้านต่างๆ ส่งผลต่อการดาเนินชีวิต ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษา


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

51

ในเรื่องการศึกษาความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว โดยจะนามาตรวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝุา อุปสรรคตามทฤษฎีของสตอลทซ์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งพัฒนาโดย กรรณิกา สุขสมัย มาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อดูความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียน และ นาผลที่ได้ไปศึกษาค้นคว้าเพื่อหาแนวทางการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคให้ เหมาะสมกับสภาพของแต่ละบุคคลต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลการศึกษาที่ได้รับจากการศึกษา ครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสาหรับครูอาจารย์ ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้องของโรงเรียนเขาฉกรรจ์ วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว จะนาผลการศึกษาไปปรับใช้เพื่อการส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์และ แก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเรียนของผู้เรียนให้ เป็นไปในทางที่เหมาะสมและสามารถนาไป พัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิผล โดยส่งเสริมนักเรี ยนให้ทากิจกรรม ฝึกทักษะ เรียนรู้ ที่ส่งเสริม ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรค ให้เข้มแข็งและเพิ่มมากขึ้น สามารถปรับตัวให้อยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุข เพื่อที่จะได้เป็นผู้ที่มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรค หรือ AQ (Adversity Quotient) ซึ่งเป็นคุณสมบัติสาคัญที่ทาให้บุคคลสามารถประสบความสาเร็จในด้านต่างๆ ทั้งการดารงชีวิตการเรียน และการทางานในปัจจุบันและอนาคตรวมทั้งยังส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้า ตนเองสังคม และประเทศชาติในอนาคต วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลายโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคมจังหวัดสระแก้ว และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล จาแนก ตาม เพศกับความความสามารถในการเผชิญและฟันฝุ าอุปสรรคของนั กเรียนที่จ าแนกตามระดั บ การศึกษา ขอบเขตของการวิจัย ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสารวจ (survey research) เพื่อศึกษาความสามารถ ในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียนโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว ที่กาลังศึกษาอยู่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เทอม 1 ปีการศึกษา 2557 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม ใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โดยมีรายละเอียดของแต่ละระดับการศึกษาดังต่อไปนี้ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 มีจานวนทั้งสิ้น 243 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีจานวนทั้งสิ้น 241 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มี จานวนทั้งสิ้น 171 คน รวมเป็นจานวนประชากรทั้งสิ้น 655 คน ตัวแปรอิสระ ได้แก่ เพศ และระดับ การศึกษา ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาและอุปสรรคของนักเรียน สมมติฐานของการวิจัย นักเรียนโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคมที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีความสามารถใน การเผชิญและฟันฝุาอุปสรรค ที่แตกต่างกัน


52

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ท าให้ ท ราบถึ งระดั บ ความสามารถในการเผชิ ญและฟั นฝุ าอุ ปสรรคของนั กเรี ย นชั้ น มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรี ยนเขาฉกรรจ์ วิทยาคมจั งหวัดสระแก้ว และทาให้ ทราบถึงผลการ เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียน เพื่อนาไป ปรับใช้ในการเรียนการสอน ของครู อาจารย์ และนักเรียนเอง ตลอดจนบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง ในการ นาไปพัฒนาในส่วนต่างๆในการดาเนินชีวิตของนักเรียน ให้เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการเผชิญและ ฟันฝุาอุปสรรคที่ดีต่อไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูล ทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ และระดับการศึกษา โดยลั กษณะของแบบสอบถามเป็น แบบสอบถามรายการ ตอนที่ 2 ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว โดยลักษณะของแบบสอบถามเป็น แบบมาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งได้ใช้มาตรวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรค ตามทฤษฎี ของสตอลทซ์ ส าหรั บนั กเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งพัฒนามาตรวัดโดย กรรณิกา สุขสมัย (2549, หน้า 179-215) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.92 การดาเนินการวิจัย ผู้ วิ จั ย ดาเนิ น การเก็บ รวบรวมข้ อมู ล ระหว่าง วั นที่ 1-31 กรกฎาคม 2557 โดยแจก แบบสอบถามให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว จานวน 400 คน ได้รับกลับคืนมา คิดเป็นร้อยละ 100 จากนั้นนาแบบสอบถามที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส าเร็ จรู ปทางสถิติ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ ย และส่ วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างด้วยการทดสอบ t test (กรณี 2 กลุ่ม) และ One-way ANOVA (กรณีมากกว่า 2 กลุ่ม) กาหนดระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดย น าเสนอในรู ปความถี่และร้ อยล่ ะปรากฎผลดังนี้ ข้ อมูลปั จจัยส่ วนบุคคลจาแนกตามเพศและระดั บ การศึกษาของนักเรียนโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว จานวน 400 คน ปรากฏผลดังนี้ ระดับการศึกษาพบว่า มากที่สุด เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จานวน 151 คน แยกเป็นนักเรียน ชาย 66 คน คิดเป็นร้อยละ 16.50 นักเรียนหญิง 85 คน คิดเป็นร้อยละ 21.25 รองลงมาคือนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 จานวน 146 คน แยกเป็นนักเรียนชาย 59 คน คิดเป็นร้อยละ 14.75 นักเรียนหญิง 87 คน คิดเป็นร้อยละ 36.50 คิดเป็นร้อยละ 21.75 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จานวน 103คน แยก เป็นนักเรียนชาย 43 คน คิดเป็นร้อยละ 10.75 นักเรียนหญิง 60 คน คิดเป็นร้อยละ 15.00 ตามลาดับ ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุ าอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว จาแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวม มากที่สุดอยู่ใน


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

53

กลุ่มคนไม่สู้ หมายถึง มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคในระดับต่า จานวน 266 คน คิด เป็นร้อยละ 66.5 โดยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จานวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 จานวน 94 คน คิดเป็นร้อยละ 23.50 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จานวน 92 คน คิด เป็นร้อยละ 23.00 รองลงมาคือ กลุ่มนักตั้งแคมป์ หมายถึง มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุา อุปสรรคในระดับปานกลาง จานวน 119 คน คิดเป็นร้อยละ 29.75 แยกเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จานวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 5.5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จานวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 10.75 และ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 6 จ านวน 54 คน คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 13.50 และกลุ่ ม นั ก ปี น เขา หมายถึ ง มี ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคในระดับสูง จานวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 3.75 โดยเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จานวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.25 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จานวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 2.25 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จานวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.25 ตามลาดับ ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุ าอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว อยู่ในกลุ่มคนไม่สู้ หมายถึง มีความสามารถในการเผชิญ และฟันฝุาอุปสรรคในระดับต่า เป็นเพศชาย จานวน 136 คน คิดเป็นร้อยละ 64.00 เพศหญิง 130 คน คิดเป็นร้อยละ 32.50 รองลงมาคือ กลุ่มนักตั้งแคมป์ หมายถึงมีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุา อุปสรรคในระดับปานกลาง จานวน 119 คน คิดเป็นร้อยละ 29.75 แยกเป็นเพศชาย จานวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 7.75 และเพศหญิง 88 คน คิดเป็นร้อยละ 22.00 และกลุ่มนักปีนเขาหมายถึง มีความ สามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคในระดับสูง จานวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 3.75 โดยเป็นเพศ ชาย 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.25 และเพศหญิง 14 คน คิดเป็นร้อยละ 3.75 ตามลาดับ ผลการศึกษาความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายโรงเรี ย นเขาฉกรรจ์ วิ ทยาคม จั งหวั ด สระแก้ ว เปรี ยบเที ยบรายด้ าน ด้ านการควบคุ ม สถานการณ์ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคมาก ที่สุด ( x =21.39) ด้านการรับรู้ต้นเหตุและรับผิดชอบต่อปัญหา พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มี ความสามารถในการเผชิ ญและฟันฝุ าอุ ปสรรคมากที่ สุ ด( x =18.37) ด้านการเข้ าถึงปัญหา พบว่ า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคมากที่สุด ( x =25.60) ด้านการอดทนต่อปัญหาพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุา อุปสรรคมากที่สุด ( x =23.45) นั กเรี ยนที่ อยู่ ในระดับ การศึกษาที่แตกต่างกันมีความสามารถในการเผชิ ญและฟันฝุ า อุปสรรคแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักเรียนที่มีความสามารถในการเผชิญ และฟันฝุาอุปสรรคสูงที่สุดคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการเผชิญและ ฟันฝุาอุปสรรคสูงที่สุด ( x =91.19,S.D=15.38) รองลงมาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ย ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุ าอุปสรรค ( x = 90.61, S.D= 16.07) และ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรค ( x = 83.66,S.D = 13.32) ตามลาดับ ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุ าอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว ที่มีเพศต่างกัน มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุ า


54

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

อุปสรรคต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ 0.05 โดยนักเรียนหญิง ( x = 93.03 , S.D= 15.44) มี ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคสูงกว่านักเรียนชาย ( x = 83.54,S.D= 13.69) การอภิปรายผล การวิจัยเรื่อง การศึกษาความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลายโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว สามารถสรุปผลได้ดังนี้ 1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า นักเรียนโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม ที่ตอบแบบสอบถามครั้งนี้ กาลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จานวน 103 คน เป็นเพศชาย 43 คน เพศหญิง 60 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จานวน 146 คน เพศชาย 59 คน เพศหญิง 87 คน และชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 จานวน 151 คน เป็นเพศชาย 66 คน เพศหญิง 85 รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การศึกษา ครั้งนี้ ทัง้ สิ้น 400 คน 2. ผลการศึกษาในส่วนของความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียน โรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว สรุปได้ดังนี้ 2.1 เมื่ อ พิ จ ารณาโดยภาพรวมจ าแนกตามระดั บ การศึ กษา นั ก เรี ยนส่ ว นใหญ่ มี ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคในระดับต่า จานวน 266 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 จานวน 80 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จานวน 94 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จานวน 92 คน 2.2 เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมนักเรียนส่วนใหญ่ มีความสามารถในการเผชิญและฟัน ฝุาอุปสรรคในระดับต่า จานวน 266 คน เป็นเพศชาย จานวน 136 คน เพศหญิง 130 คน 2.3 สาหรับความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว จาแนกตามระดับการศึกษา ด้านการควบคุม สถานการณ์ มากที่สุด มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคในระดับต่า จานวน 255 คน เป็ นนั กเรี ยนชั้นมัธยมศึก ษาปี ที่ 4 จ านวน 78 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จานวน 93 คน และชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 จานวน 84 คน 2.4 ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลายโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว ด้านการควบคุมสถานการณ์จาแนกตามเพศมาก ที่สุด มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคในระดับต่า จานวน 255 คน เป็นเพศชาย จานวน 124 คน เพศหญิง 131 คน 2.5 ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลายโรงเรี ยนเขาฉกรรจ์ วิทยาคม จั งหวัดสระแก้ว ด้านการรับรู้ต้นเหตุและรับผิ ดชอบต่อปัญหา จาแนกตามระดับการศึกษา มากที่สุ ด มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุ าอุปสรรคในระดับต่า จานวน 261 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จานวน 86 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จานวน 91 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จานวน 84 คน 2.6 ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียนชั้ นมัธยมศึกษาตอน ปลายโรงเรี ยนเขาฉกรรจ์ วิทยาคม จั งหวัดสระแก้ว ด้านการรับรู้ต้นเหตุและรับผิ ดชอบต่อปัญหา จาแนกตามเพศ พบว่า มากที่สุด มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคในระดับต่า จานวน 261 คน เป็นเพศชาย จานวน 127 คน เพศหญิง 134 คน


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

55

2.7 ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุ าอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลายโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว ด้านการเข้าถึงปัญหา จาแนกตามระดับการศึกษา มากที่สุด มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคในระดับต่า จานวน 303 คน เป็นนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 จานวน 93 คน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 จานวน 101 คน และชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 จานวน 109 คน 2.8 ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลายโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว ด้านการเข้าถึงปัญหา เมื่อนามาจาแนกตามเพศ พบว่า มากที่สุด มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคในระดับต่า จานวน 303 คน เป็นเพศ ชาย จานวน 145 คน เพศหญิง 158 คน 2.9 ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลายโรงเรี ย นเขาฉกรรจ์ วิ ทยาคม จั งหวั ดสระแก้ ว ด้ านการอดทนต่ อ ปั ญหา จ าแนกตามระดั บ การศึกษา มากที่สุด มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคในระดับต่า จานวน 258 คน เป็น นั ก เรี ย นชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 4 จ านวน 75 คน ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 5 จ านวน 87 คน และชั้ น มัธยมศึกษาปีที่ 6 จานวน 96 คน 2.10 ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลายโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว ด้านการอดทนต่อปัญหา เมื่อนามาจาแนกตามเพศ พบว่า มากที่สุดมีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคในระดับต่า จานวน 258 คน เป็นเพศ ชาย จานวน 134 คน เพศหญิง 124 คน 2.11 เมื่อพิจารณาผลการศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุา อุปสรรค ตามทฤษฎี ของสตอลทซ์ ซึ่ งแบ่งเป็น 4 ด้าน ผลการศึกษาพบว่า ด้านการควบคุ ม สถานการณ์ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคสูง ที่สุ ด ( x =21.39) ด้านการรั บรู้ ต้น เหตุและรับผิ ดชอบต่อปัญหา นั กเรียนชั้นมัธ ยมศึกษาปีที่ 6 มี ความสามารถในการเผชิ ญและฟันฝุ าอุปสรรคสู งที่สุ ด ( x =18.37) ด้ านการเข้าถึ งปัญหา พบว่ า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคสูงที่สุด ( x =25.60) ด้านการอดทนต่อปัญหา พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุา อุปสรรคสูงที่สุด ( x =23.45) 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน สรุปได้ดังนี้. 3.1 นักเรียนที่อยู่ในระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความสามารถในการเผชิญและฟัน ฝุาอุปสรรคแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิ ติที่ระดับ 0.05 โดยนักเรียนที่มีความสามารถในการ เผชิญและฟันฝุาอุปสรรคมากที่สุดคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3.2 นักเรียนที่มีเพศต่างกันมีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ 0.05 โดยนักเรียนเพศหญิงมีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุ าอุปสรรค มากกว่าเพศชาย ในการศึกษาเรื่อง การศึกษาความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว ในภาพรวมความสามารถในการ เผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม ยังอยู่ใน


56

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

ระดับต่า โดยกลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดคือกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อนักเรียนอยู่ในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น สอดคล้องกับการศึกษาของอนันต์ ดุลยพีรดิส (2547) ที่ ทาการศึกษาเรื่องความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค การรับรู้ ความสามารถของตนด้านการเรียนและ นิสัยในการเรียนของนิสิต นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน ที่พบว่า นิสิตชั้นปีที่ 3 มี ความสามารถในการฟันฝุาอุปสรรค ด้านการรับรู้ความคงทนสูงกว่านิสิตชั้นปีที่ 1 นิสิตหญิงชั้นปีที่ 1 มีความสามารถในการฟันฝุาอุปสรรค ด้านความรับผิดชอบสูงกว่านิสิตชายชั้นปีที่ 1 และสอดคล้องกับ แนวคิดของสตอทซ์ (Stoltz,1997) ที่มีความเชื่อว่า ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของ มนุษย์ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่คนเราอายุ 12 ปี และเริ่มเติบโตมีความมั่นคงมากขึ้นเมื่ออายุ 16 ปี รูปแบบการ พัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคภายในสมองนี้จะยังไม่มีวุฒิภาวะที่สมบูรณ์เต็มที่ จนกระทั่งบุคคลอายุ 23 ปี ซึ่งหมายความว่า ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของบุคคล จะเพิ่มมากขึ้น เมื่อบุคคลดังกล่าวเติบโตและมีอายุเพิ่มขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคมากกว่านักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้ 1. นาไปใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบกิจกรรมทักษะชีวิตสาหรับสอดแทรกให้เป็นส่วน หนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรค เพิ่มขึ้น สร้างแรงจูงใจเชิงบวก ให้นักเรียนมีเปูาหมายในชีวิตมากยิ่งขึ้น 2. จั ด แนะแนวการศึ ก ษาต่อ หรื อ การจั ด กิ จ กรรมบริ ก ารให้ ค าปรึ ก ษาส าหรั บ เด็ ก นักเรียน เพื่อให้เด็กที่มีปัญหาหรืออุปสรรคได้รับการชี้แนะแนวทางการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคไป ในทางที่ถูกต้องเหมาะสมมากยิ่งขึ้น อาทิ การจัดกิจกรรมกลุ่ม ในกรณีที่เด็ก ปัญหาคล้ายกัน ได้พูดคุย หรือช่วยเหลือกัน เพื่อนช่วยเพื่อน เชื่อมโยงไปสู่การใช้ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรค เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ได้มองปัญหาทุกมุม หรืออาจจะมีตัวแบบที่ประสบความสาเร็จแบบนี้มาช่วย กระตุ้นหรือเสริมกาลังใจอีกแรง 3. นาไปผลการศึกษาในครั้งนี้ไปพัฒนาต่อยอดด้านการศึกษาหรือการทาวิจัยต่อไป ข้อเสนอแนะในการทาวิจัยครั้งต่อไป 1. เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่สามารถนาไปใช้ในการพัฒนาหรือส่งเสริมความสามารถใน การเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียนได้อย่างครอบคลุมทุกด้านมากยิ่งขึ้น ในการศึกษาครั้งต่อไป ผู้ศึกษาขอเสนอให้ มีการเพิ่มตัวแปรในการศึกษา โดยให้ ทาการศึกษาครอบคลุ มไปถึงภู มิหลั งของ ครอบครัวของนักเรียน ได้แก่ อาชีพของผู้ปกครอง รายได้ของครอบครัว ภูมิหลังในการเลี้ยงดูบุตร เช่น การเลี้ยงดูบุตรอย่างเข้มงวด การเลี้ยงดูบุตรด้วยความเข้าใจ หรือการเลี้ยงดูบุตรอย่างปล่อยปละละเลย เป็ นต้น ตลอดจนศึกษาครอบคลุ มถึง ลาดับที่ของพี่น้อง ทัศนคติที่มีต่อชีวิต หรือความคาดหวังใน วิชาชีพในอนาคตของนักเรียนด้วย โดยตัวแปรต่างๆดังที่กล่าวมา จะสะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมใน การก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ของนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้ศึกษามีความเห็นว่า ตัวแปรที่แตกต่างกันเหล่านี้ ล้วนมีผลต่ อความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของนักเรียนที่ แตกต่างกันด้วย


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

57

2. ควรมีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคขึ้นมา ให้ สอดคล้ องกับยุ คสมัยของสั งคมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงหลักเกณฑ์การให้ คะแนน เพื่อให้ ได้ ผลการวิจัยที่สอดคล้องกับความเป็นจริงและเป็นปัจจุบันมากยิ่งขึ้น เอกสารอ้างอิง กรรณิกา สุ ขสมัย. (2549). การพัฒนามาตรวัดความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคตามทฤษฎีของ สตอลทซ์ สาหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา. เกษร ภูมิดี. (2546). การศึกษาความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค (AQ) ของนักเรียนที่มี บุคลิกภาพและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูต่างกัน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขา จิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ธีระศักดิ์ กาบรรณารักษ์. (2548). AQ อึดเกินพิกัด. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท. นพดล โชติกพานิชย์. (2549). การศึกษาและพัฒนาความสามารถในการเผชิญอุปสรรคด้านการ เรียนของนักเรียนวัยรุ่น. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการแนะแนว, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. นภดล คาเติม. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความสามารถในการเผชิญและฟัน ฝ่าอุปสรรค การสนับสนุนจากครอบครัวกับความสาเร็จในวิชาชีพ ของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์ . วิทยานิพนธ์พยาบาลมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2544). “AQ กับความสาเร็จของชีวิต.” วารสารวิชาการ. 4 (9): 17 ลดารั ตน์ ศรรั กษ์ . (2556). ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคกับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาสถิติธุรกิจและผสมผสานของนักศึกษาคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ . วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 17 ฉบับที่ 33. ภิเษก จันทร์ เอี่ยม. (2546). AQ องค์ประกอบของความสาเร็จในชีวิต. วารสารเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, ปีที่ 4 ฉบับที่1. วรวรรณ หงษ์กิตติยานนท์. (2548). เชาวน์อารมณ์ ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค การรั บ รู้ รู ป แบบการเรี ย นรู้ ข องพนั ก งาน ในโรงงานผลิ ต เครื่ อ งมื อ แพทย์ แ ห่ ง หนึ่ ง . วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วรรณนิภา ติวะนันทกร. (2548). ลักษณะบุคลิกภาพและปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความสามารถ ในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค : ศึกษากรณีเฉพาะนักธุรกิจองค์กรอิสระหนึ่งของบริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จากัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชา จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วรัญญพร ปานเสน. (2550). ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค ความผูกพันใจต่อ เป้าหมายและวิธีการสร้างอิทธิพลที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของนักธุรกิจอิสระในธุรกิจขาย ตรงหลายชั้น. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.


58

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

วนิดา กันทาแก้ว. ( 2550). ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค เชาวน์อารมณ์ และพฤติกรรมการเรียน ของนั กเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนนารี รัตน์จังหวัดแพร่. มหาวิทยาลั ยเกษตรศาสตร์ , กรุงเทพฯ. วีนัส ภักดิ์นรา. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางบุคลิกภาพกับเชาวอารมณ์ (EQ ) และความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุสรรค (AQ). วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยา การศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศิริมา รัชตารมย์. (2549). ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพตามทฤษฎี 5 องค์ประกอบ กับความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค : กรณีศึกษาพนักงานฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ บริ ษั ท ที เอ ออเร้ นท์ จ ากั ด. งานวิ จั ยส่ วนบุ คคลปริ ญญามหาบั ณฑิ ต คณะศิ ลปศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อรรถพล ระวิโรจน์. (2547). ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาคณะ สัตวแพทยศาสตร์ชั้นปีที่ 6 ในประเทศไทย. สาขาสุขภาพจิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อรสา จูภัทรธนากุล. (2551). บุคลิกภาพมิติสร้างสรรค์ พฤติกรรมการเผชิญปัญหากับผลการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลสังกัดรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. งานวิจัยส่วนบุคคลปริญญามหาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อนันต์ ดุลยพีรดิส. (2547). ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนด้าน การเรียนและนิสัยในการเรียนของนิสิตนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน . วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อารี พันธ์มณี. (2546). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ ใยไหม. Stoltz, Paul G. (1997). Adversity Quotient : Turning obstacles into opportunities. New York: John Wiley & Son Inc.

…………………………………………………..


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

59

การรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พฤติกรรมการดาเนินชีวิต ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยมในการทางาน กับความผูกพันต่อองค์การ : กรณีศึกษา โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา Perception of the Philosophy of Sufficiency Economy, Way of Life Behaviors in Accordance with the Philosophy of Sufficiency Economy, Work Values and Organizational Commitment: A Case Study of the Royal Chitralada Project สุกันยา แก้วสุวรรณ์ 1 มุกดา ศรียงค์ 2 และ รังสิมา หอมเศรษฐี 3 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับ การรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พฤติกรรมการ ดาเนินชีวิตที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยมในการทางาน และความผูกพันต่อองค์การ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของบุคคลที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่าง การรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พฤติกรรมการดาเนินชีวิตที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ค่านิยมในการทางาน กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ตัวอย่าง ในการวิจัยคือ บุคลากรโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรมีการรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง พฤติกรรมการดาเนินชีวิตที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยมในการทางาน และ ความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับสูง 2) สถานภาพส่วนบุคลได้แก่ สถานภาพการสมรส และอายุงานต่างกันมีความ ผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคนที่สมรสแล้วมีความผูกพันต่อองค์การ มากกว่าคนโสด และคนที่มีอายุงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป มีความผูกพันต่อองค์การมากกว่าคนที่มีอายุงานน้อยกว่า 5 ปี 3) การรับรู้ปรั ชญาเศรษฐกิจพอเพียง พฤติกรรมการดาเนินชีวิตที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ค่านิยมในการทางาน มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1

นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชา จิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง 2 รองศาสตราจารย์ สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชา จิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง ประธานกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 3 อาจารย์ ดร., สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชา จิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง


60

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

คาสาคัญ: 1) การรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพี ยง 2) พฤติกรรมการดาเนินชีวิตที่สอดคล้องตาม แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) ค่านิยมในการทางาน 4) ความผูกพันต่อองค์การ Abstract The purposes of this research are to compare 1) the levels at which perceptions of the philosophy of sufficiency economy, way of life behaviors in accordance with the philosophy of sufficiency economy, work values, and organizational commitment are evinced by personnel of the Bureau of the Royal Household (BRH) involved in the Royal Chitralada Project. The researcher also compares 2) demographical factors and the organizational commitment of these personnel. The researcher additionally studies 3) the relationships between the perceptions of the philosophy sufficiency economy, way of life behaviors in accordance with the philosophy of sufficiency economy, work values, and organizational commitment as expressed by these personnel. The sample population consisted of employed at the Royal Chitralada Project. Findings are as follows: 1) Employees evinced perceptions of the sufficiency economy philosophy in an overall picture at a high level. Way of life behaviors in accordance with the sufficiency economy philosophy was displayed at a high level. They exhibited work values in the aspect of gratefulness to the organization at a higher level than any other aspect. Their levels of organizational commitment were expressed at a high level. 2) Differences in the demographical factors of gender, age and educational level were not paralleled by concomitant differences in organizational commitment. However, differences in organizational commitment at the statistically significant level of .o5. Those who were married displayed organizational commitment at a higher level than those who were unmarried. Those whose length of employment was ten years or more showed organizational commitment at a higher level than those with a length of employment of less than five years. 3) Perceptions of the philosophy of sufficiency economy, way of life behaviors in accordance with the philosophy of sufficiency economy, work values were found to be correlated with organizational commitment in accordance with the set hypotheses at the statistically significant level of 0.01. Keywords: 1) The perception of the philosophy of sufficiency economy 2) Way of life behaviors in accordance with the philosophy of sufficiency economy 3) Work values 4) Organizational commitment


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

61

ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ทุกองค์การ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเอกชน หรือองค์การของรัฐต่างยอมรับกันว่า “คน” เป็นปัจจัย ที่ส าคัญที่สุดต่อการบริ หารงาน เพราะคนเป็นผู้ กาหนดเปูาหมาย วางแผนงานและเป็นผู้ปฏิบัติงาน องค์การจะบรรลุเปูาหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องอาศัยปัจจัยหลายด้านของการบริหารงาน เช่น เงินทุน วิธีการ วัสดุอุปกรณ์ และที่สาคัญ คือ บุคลากร ซึ่งบุคลากรที่ทาให้องค์การประสบผลสาเร็จนั้น ต้องเป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพเหมาะสมกับงาน รู้จักทางานเป็นทีม มีความรักและ เข้าใจกัน จึงเกิดความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันในการปฏิบัติงานให้สาเร็จตามเปูาหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นสิ่ง สาคัญของการบริหารงานบุคคลก็คือการดารงและรักษาบุคลากรให้อยู่กับองค์การนานๆ ทาให้บุคลากร รู้สึ กพึงพอใจในงาน จนกระทั่งกลายเป็นความผูกพันต่อองค์การ เพราะความผูกพันต่อองค์การทาให้ บุคลากรปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อให้องค์การประสบความสาเร็จ ในภาวะเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนอย่างยากลาบาก ทุกองค์การก็ต่างอยากให้บุคลากรของตนเกิด ความมุ่งมั่นในการทางานให้อย่างเต็มที่ และมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจที่จะ เกิดขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ การ น้อมนาแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นปรัชญาที่ชี้แนะวิธีการดารงอยู่และปฏิบัติตนของ ประชาชนทุกระดับ โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ดังนั้นการศึกษาถึง การรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและพฤติกรรมการดารงชีวิตที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง จึงเป็นเรื่องที่องค์การควรให้ความสนใจเพื่อให้องค์การสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างยั่งยืน ตั วแปรที่ ส าคั ญในการพั ฒนาทรั พยากรมนุ ษย์ อี กประเด็ นก็ คื อ ค่ านิ ยมในการท างาน เนื่องจากค่านิยมในการทางานเป็นตัวกาหนดคุณลักษณะของคนในองค์การ อีกทั้งเป็นสิ่งสาคัญที่ชี้ถึง พฤติกรรมของบุคคลว่าจะปฏิบัติอย่างไร ซึ่งพฤติกรรมของคนจะขึ้นกับค่านิยมที่เขายึดถือด้วย ดังนั้นการ ดาเนินงานขององค์การให้ประสบผลสาเร็จจาเป็นต้องให้สมาชิกในองค์การเข้าใจค่านิยมหลักขององค์การ อย่างแท้จริง ยอมรับและปฏิบัติตามอย่างสม่าเสมอทุกสถานการณ์ หากทุกคนในองค์การมีค่านิยมในการ ทางานตรงกับเปูาหมายหลักขององค์การก็จะทาให้องค์การประสบผลสาเร็จ และเมื่อสมาชิกในองค์การรู้สึก พอใจกับผลลัพธ์ที่ได้จากงานก็ย่อมเกิดความรักความผู กพันในงานที่ทา ส่ งผลให้ เกิดความผูกพันต่อ องค์การในที่สุด จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นผู้วิจัยมีความเชื่อว่า หากผู้บริหารสามารถสร้างความผูกพันต่อ องค์การให้เกิดขึ้นได้องค์การก็จะประสบผลสาเร็จ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา การรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง พฤติกรรมการดาเนินชีวิตที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยมในการทางาน ว่ามีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การขององค์การหรือไม่ เพื่อจะได้นาผลการวิจัยในครั้งนี้ไปเป็น แนวทางในการบริหารระบบงานทางด้านการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อก่อให้เกิด การพัฒนาความสามารถและสร้างความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน ซึ่งจะส่งผลให้พนักงานสามารถ ปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพภายใต้สภาวะการที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่ อศึ กษาระดั บ การรั บรู้ ปรั ชญาเศรษฐกิ จพอเพี ยง พฤติ กรรมการด าเนิ นชี วิ ตที่ สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยมในการทางาน และความผูกพันต่อองค์การ


62

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

2. เพื่อศึกษาเปรี ยบเทียบปั จจัยส่ วนบุ คคล กั บความผู กพันต่อองค์การของบุ คคลากร โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พฤติกรรมการดาเนิน ชีวิตที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยมในการทางาน กับความผูกพันต่อองค์การของ บุคคลากรโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา สมมติฐานของการวิจัย 1. บุคคลากรสานักพระราชวัง โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ที่มีปัจจัยส่วนบุคคล แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษาและอายุงานแตกต่างกัน มีความผูกพัน ต่อองค์การต่างกัน 2. การรั บ รู้ ป รั ช ญาเศรษฐกิ จพอเพี ย ง พฤติ ก รรมการดาเนิ น ชี วิ ต ที่ ส อดคล้ อ งตาม แนวคิด ปรั ช ญาเศรษฐกิจ พอเพีย ง และค่ านิ ยมในการทางาน มีค วามสั ม พัน ธ์กั บความผู กพั นต่ อ องค์การของบุคคลากรสานักพระราชวัง โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา นิยามศัพท์ 1. ความผูกพันต่อองค์การ หมายถึง ความรู้สึ กที่บุคคลรู้สึกว่าตนเป็นส่ว นหนึ่งของ องค์การเต็มใจที่จะทางานเพื่อองค์การอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ เพื่อประโยชน์ขององค์การ และจงรักภักดีต่อองค์การไม่คิดจะละทิ้งไปจากองค์การ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1.1 ความผูกพันต่อองค์การด้านความต่อเนื่อง (Continuance Commitment) หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการคิดคานวณของบุคคลที่อยู่บนพื้นฐานของการลงทุนที่บุคคลให้กับ องค์การและผลตอบแทนที่บุคคลได้รับจากองค์การ 1.2 ความผูกพันต่อองค์การด้านความรู้สึก (Affective Commitment) หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากภายในตัวบุคคล เป็นความรู้สึกผูกพันและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์การ รู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ เต็มใจที่จะทุ่มเทและอุทิศตนให้กับองค์การ 1.3 ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารด้ า นบรรทั ด ฐานทางสั ง คม (Normative Commitment) หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากค่านิยมหรือบรรทัดฐานของสังคม เป็นความรู้สึกที่ เกิดขึ้นเพื่อตอบแทนสิ่งที่บุคคลได้รับจากองค์การ แสดงออกในรูปของความจงรักภักดีของบุคคลต่อ องค์การ 2. การรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความรู้และความเข้าใจของบุคคลากร เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในการวิจัยนี้เปูาหมายของการรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งออกเป็น 3 คุณลักษณะและ 2 เงื่อนไข ได้แก่ 2.1 ความพอประมาณ (moderation) หมายถึง ความพอดี (dynamic optimum) ที่ ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไปในมิติต่าง ๆ ของการกระทา 2.2 ความมีเหตุผล (reasonableness) หมายถึง การตั ดสิ นใจเกี่ ยวกั บระดั บของ ความพอประมาณในมิติต่างๆ นั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจาก เหตุ ปัจจัย และข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับการกระทานั้น ๆ (expected results) อย่างรอบคอบ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

63

2.3 การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร (self-immunity) หมายถึง การเตรียมตัวพร้อมรับ ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ จากความเป็นไปได้ของสถานการณ์ (scenerio) ที่ คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ไกลภายใต้ข้อจากัดของความรู้ที่มีอยู่ 2.4 เงื่อนไขกรอบความรู้ (set of knowledge) ที่จะนาไปสู่การตัดสินใจในการประกอบ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง 2.5 เงื่อนไขคุณธรรม (ethical qualification) ที่จะต้องเสริมสร้างใน 2 ด้าน ได้แก่ การมี ความรู้คู่คุณธรรม และการกระทาที่เน้นความอดทน ความเพียร สติ ปัญญาและความรอบคอบ 3. พฤติกรรมการดาเนินชีวิตที่สอดคล้ องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถในการดารงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตนตามฐานะ ตามอัตภาพ ที่ไม่ หลงไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด โดยหันกลับมายึดเส้นทางสาย กลางในการดารงชีวิต 5 ด้าน คือ 3.1 ด้านจิ ตใจ ท าตนให้ เป็นที่ พึ่งตนเอง มี จิตส านึกที่ดี สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติ โดยรวม มีจิตใจเอื้ออาทร ประนีประนอม เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง 3.2 ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายที่แข็งแรง เป็นอิสระ 3.3 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ใช้และจัดการอย่างฉลาดพร้อมทั้งหาทาง เพิ่มมูลค่าโดยให้ยึดอยู่บนหลักการของความยั่งยืน 3.4 ด้านเทคโนโลยี จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่มีทั้งดี และไม่ดี จึงต้องแยกแยะบนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้านและเลือกใช้เฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการ ตามสภาพแวดล้อมและควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง 3.5 ด้านเศรษฐกิจ คือต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อนเป็นสาคัญ โดยยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้ 4. ค่านิยมในการทางาน หมายถึง ความเชื่อพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อการทางานของพนักงาน สิ่ง ต่างๆ เหล่านี้เป็นความรู้สึกพอใจอันเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากงาน รวมทั้งใช้พิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ ทางานทั้งในการเลือกงานหรืออาชีพ รวมทั้งนี้ยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทางาน และครอบคลุมไปถึงสิ่งจูงใจ ต่างๆ ในองค์การอีกด้วย แบ่งออกเป็น 9 ด้าน ได้แก่ 4.1 ด้านเกี่ยวกับตัวเอง (Ego Orientation) เป็นค่านิยมเกี่ยวกับตัวเอง โดยจะเน้นความ เป็นตัวของตัวเอง การรักษาเกียรติและศักดิ์ศรี ไม่สามารถทนให้ใครดูหมิ่น ลบหลู่ตัวเอง หรือ ครอบครัวญาติพี่ น้องโดยเฉพาะบิดาและมารดา 4.2 ด้านความกตัญญูรู้คุณ (Grateful Relationship Orientation) เป็นค่านิยมเกี่ยวกับ บุญคุณหรือการรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณเป็นการผูกพันทางจิตใจระหว่างบุคคลคนหนึ่งที่เป็นผู้ให้กับบุคคลหนึ่งที่ เป็นผู้รับ และผู้รับจดจาความดีงามที่อีกฝุายได้ทาและพร้อมที่จะทดแทนบุญคุณบุคคลนั้นๆ เมื่อมีโอกาส 4.3 ด้านการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างราบรื่น (Smooth Interpersonal Relationship Orientation) คือ การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างราบรื่น เช่น ความสุภาพ อ่อนน้อม ถ่อมตน การมีอารมณ์สงบและความ การประมาณ และการมีความสัมพันธ์ในสังคม


64

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

4.4 ด้านความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Flexibility and Adjustment Orientation) คือ ลักษณะพร้อมที่จะปรับตัวตามสถานการณ์ (Situation-Oriented) มากว่าการทาตามหลักการกฎเกณฑ์ หรือ กฎหมาย (Principle, Ideologically-Oriented, System- Oriented, or Law- Oriented) 4.5 ด้านจิตวิญญาณและศาสนา (Religio-Psychical Orientation) เป็นค่านิยมที่เกี่ยวกับ จิตวิทยาและศาสนา 4.6 ด้านการศึกษากและความสามารถ (Education and Competence Orientation) เป็น ค่านิยมที่ให้ความสาคัญเกี่ยวกับการศึกษาและความสามารถ โดยมองว่า การศึกษาเป็นทางที่ช่วยให้บุคคล เลื่อนสถานภาพทางสังคมของบุคคล หรือเพื่อเพิ่มเกียรติยศ ศักดิ์ศรีของบุคคล 4.7 ด้านการพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependence Orientation) แนวทางการพึ่งพาอาศัย หมายถึง ความร่วมมือกันในชุมชน และจิตวิญญาณที่จะช่วยเหลือพึ่งพากัน 4.8 ด้านความสนุกสนาน และความพึงพอใจ (Fun-Pleasure Orientation) หมายถึง การใช้ ชีวิตอย่างมีความสุข โดยการเป็นคนง่ายๆ สบายๆ มีความสุข ไร้กังวล ไม่ปล่อยให้ปัญหาอะไรมากระทบจิตใจ ง่ายๆ และมองชีวิตเหมือนบางสิ่งบางอย่างเพื่อความสนุกไม่ใช่เพื่ออดกลั้น 4.9 ด้านการมุ่งความสาเร็จในงาน (Achievement-task Orientation) ค่านิยมเกี่ยวกับ แรงผลั กดั นภายในที่ จะตั้ งเปู าหมายความส าเร็ จในชี วิ ตอย่ างสู งและท างานอย่ างหนั กเพื่ อให้ บรรลุ ถึ ง จุดเปูาหมาย วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาเอกสารและงานวิ จัยที่เกี่ยวข้องพบว่ า ความผู กพั นต่ อองค์ การ หมายถึ ง ความรู้สึกที่บุคลากรรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ เต็มใจที่จะทางานเพื่อองค์การอย่างเต็มที่และเต็ม ความสามารถ เพื่อประโยชน์ขององค์การ และจงรักภักดีต่อองค์การไม่คิดจะละทิ้งไปจากองค์การ ในการ วิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกใช้ทฤษฎีของ Meyer and Allen (1997) กล่าวว่าองค์ประกอบของความผูกพันต่อ องค์การประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1) ความผูกพันต่อองค์การด้านความต่อเนื่อง 2) ความผูกพันต่อ องค์การด้านความรู้สึก 3) ความผูกพันต่อองค์การด้านบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งความผูกพันต่อองค์การมี ความส าคัญอย่ างยิ่ งต่อการพัฒนาและการเติบโตขององค์การ ตลอดจนทาให้ องค์การสามารถรักษา พนักงานที่มีความสามารถ มีศักยภาพให้อยู่กับองค์การตลอดไป กล่าวคือ ถ้าความผูกพันต่อองค์การของ พนักงานอยู่ในระดับที่สูง ก็จะส่งผลให้พนักงานทุ่มเทการทางานให้กับองค์การอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งมี ทัศนคติต่อองค์การทางบวก (อนันต์ชัย คงจันทร์, 2529, หน้า 7) อย่างไรก็ตามในภาวะเศรษฐกิจในยุค ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นองค์การควรที่จะสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงใน ทุกด้านๆ ทั้ งด้านองค์การต้ องสามารถดาเนิ นต่อไปได้อย่างสมดุล มั่นคงและยั่งยืน ด้านบุ คลากรต้อง สามารถดาเนินชีวิตได้อย่ างไม่เดือดร้อน อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุ ข ซึ่งการนาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะเป็นแนวทางการดาเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติ เพื่อเป็นการ สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ดังนั้นผู้วิจัยจึงนาแนวคิดการรับรู้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามนิยามและความหมายของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2550, หน้า 13-16) มาใช้ในการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ 2 เงื่อนไข ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร เงื่อนไขกรอบความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม และผู้วิจัย


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

65

นาแนวคิดการดาเนินชีวิตที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามที่สุนทร กุลวัฒนวรพงศ์ (2544, หน้า 55-57) ได้กล่าวไว้มาเป็นกรอบในการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านจิตใจ ด้าน สังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ตัวแปรที่สาคัญอีกประการ ที่เกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การคือ ค่านิยมในการทางาน เนื่องจากค่านิยมในการทางานเป็นตัวกาหนด คุณลักษณะของคนในองค์การ เป็นสิ่งสาคัญที่ชี้ถึงพฤติกรรมของบุคคลที่เขายึดถือ ดังนั้นการดาเนินงาน ขององค์การให้ ประสบผลส าเร็ จจาเป็นต้องให้สมาชิกในองค์การเข้าใจค่านิยมหลั กขององค์การอย่าง แท้จริง ยอมรับและปฏิบัติตามอย่างสม่าเสมอทุกสถานการณ์ หากทุกคนในองค์การมีค่านิยมในการทางาน ตรงกับเปูาหมายหลักขององค์การก็จะทาให้องค์การประสบผลส าเร็จ ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเลือก แนวคิดของสุนทรี โคมิน (2522) มาเป็นแนวคิด และสร้างเครื่องมือวัดค่านิยมในการทางาน ซึ่งจะแบ่ง ค่านิยมในการทางานออกเป็น 9 ด้าน ได้แก่ ด้านเกี่ยวกับตนเอง ด้านความกตัญญูรู้คุณ ด้านการรักษา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างราบรื่น ด้านความยืดหยุ่นและการปรับตัว ด้านจิตวิญญาณและศาสนา ด้านการศึกษาและความสามารถ ด้านการพึ่งพาอาศัยกัน ด้านความสนุกสนานและความพึงพอใจ และ ด้านการมุ่งความสาเร็จในงาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ ใ ช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้ เป็ น บุ ค ลากรโครงการส่ ว นพระองค์ ส วนจิ ต รลดา พระราชวังดุสิต จานวน 700 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557) โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จานวน 248 คน จากการเปรียบเทียบตารางแสดงจานวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และ มอร์แกน (Krejcie and Morgan) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อน 5% และ สุ่มกลุ่มตัวอย่างจากประชากรที่ใช้ในการวิจัย โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 จานวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง บุคลากรของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา แต่ละ สายงาน สายงาน สนับสนุน โรงงาน รวม

ประชากร (คน) 150 550 700

กลุ่มตัวอย่าง (คน) 53 195 248

ดังนั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จึงเท่ากับ 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ส ร้างขึ้น จากการศึกษาทฤษฎีแนวคิด และเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยข้อคาถามได้ครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ที่ ต้องการศึกษา และแบ่งออกเป็น 5 ตอน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้


66

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพี ยง แบบประเมินพฤติกรรมการดาเนินชีวิตที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง แบบประเมินค่านิยมในการทางาน และแบบประเมินความผูกพันต่อองค์การ การทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) ผู้วิจัยนาแบบประเมินมาวิเคราะห์ ความ เชื่อมั่น ของแบบวัด ด้วยสูตรสัมประสิทธิ์ แอลฟุาของครอนบาค โดยแบบประเมินการรับรู้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง เป็นลักษณะมาตรวัดประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย และไม่มีเลย มีข้อคาถาม 20 ข้อ ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .88 แบบประเมิน พฤติกรรมการดาเนินชีวิตที่สอดคล้อ งตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นลักษณะมาตรวัด ประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และไม่มีเลย มีข้อคาถาม 19 ข้อ ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 แบบประเมินค่านิยมในการทางาน เป็นลักษณะมาตรวัด ประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และไม่มีเลย มีข้อคาถาม 36 ข้อ ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 และแบบประเมินความผูกพันต่อองค์การ ทางาน เป็น ลักษณะมาตรวัดประเมินค่า (Rating Scale) 7 ระดับ คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วยปานกลาง เห็น ด้วยเล็กน้อย ตัดสินใจไม่ได้ ไม่เห็นด้วยเล็กน้อย ไม่เห็นด้วยปานกลาง และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีข้อ คาถาม 12 ข้อ ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .84 การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยนาข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติ โดยใช้โปรแกรม คอมพิ ว เตอร์ ส าเร็ จ รู ป ทางสถิ ติ ซึ่ ง ผู้ วิ จั ย ท าการตรวจสอบดู ค วามเรี ย บร้ อ ยของแบบสอบถาม หลังจากนั้นทาการลงรหัสตามคู่มือลงรหัสที่ทาไว้ และดาเนินการปูอนข้อมูล (data entry) จากนั้น ผู้วิจัยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป SPSS (statistical package for the social sciences) ในการ คานวณหาค่าสถิติต่างๆ โดยการคานวณหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ การหาค่าคะแนนเฉลี่ย ( X ) ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และค่าร้อยละ (percentage) เพื่อใช้ในการบรรยายลักษณะสถานภาพส่วน บุคคลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง การคานวณหาค่า t-test ใช้ในการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย คะแนนของสองกลุ่ม (สมมติฐานข้อ 1) คานวณหาค่า One way ANOVA สาหรับเปรียบเทียบตัวแปร ที่แตกต่างกัน 2 กลุ่มขึ้นไป (สมมติฐานข้อ 1) และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยการ วิเคราะห์ t- test กรณี 2 กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระจากกัน (two independent samples t-test) ใช้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของ สถานภาพส่วนบุคคลกับการรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรโครงการส่วนพระองค์สวน จิตรลดา การวิเคราะห์ศึกษาหาความสั มพันธ์ระหว่าง การรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับ ความ ผูกพันต่อองค์การ, พฤติกรรมการดาเนินชีวิตที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับ ความผู กพัน ต่อองค์การ และค่านิย มในการทางานกับความผูกพันต่อองค์การ ด้วยสถิติการหาค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient--rxy) โดย กาหนดระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

67

สรุปผลการวิจัย ผลการวิ จั ย เรื่ อ ง การรั บ รู้ ป รั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง พฤติ ก รรมการด าเนิ น ชี วิ ต ที่ สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยมในการทางาน กับความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษา : โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา สรุปผลได้ดังนี้ 1. บุคลากรโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ทั้งหมด 248 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 58.9 มีอายุอยู่ในช่วง 26-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 61.3 ส่วนใหญ่สมรสแล้ว คิดเป็นร้อยละ 54.0 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จะต่ากว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 58.5 และอายุงานอยู่ในช่วง 10 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 68.5 มีการรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีคะแนน เฉลี่ยเท่ากับ 3.86 มีพฤติกรรมการดาเนินชีวิตที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ใน ระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 และมีค่านิยมในการทางานด้านความกตัญญูต่อองค์การสูง กว่าด้านอื่น ๆ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 และมีความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับสูง โดยมี คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.40 2. สถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความผูกพันต่อ องค์การไม่แตกต่างกัน ส่ ว นสถานภาพการสมรส และอายุงานต่างกัน มีความผู กพันต่อองค์การ แตกต่างกัน อย่ างมีนั ยส าคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยคนที่ส มรสแล้ ว มีความผู กพันต่อองค์การ มากกว่าคนโสด และคนที่มีอายุงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไปมีความผูกพันต่อองค์การมากกว่าคนที่มีอายุ งานน้อยกว่า 5 ปี 3. การรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. พฤติ ก รรมการด าเนิ น ชี วิ ต ที่ ส อดคล้ อ งตามแนวคิ ด ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งมี ความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 5. ค่ า นิ ย มในการท างานมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารซึ่ ง เป็ น ไปตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การอภิปรายผล ผลการวิ จั ย เรื่ อ ง การรั บ รู้ ป รั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง พฤติ ก รรมการด าเนิ น ชี วิ ต ที่ สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยมในการทางาน กับความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษา : โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา มีประเด็นที่ควรนามาอภิปรายผล ดังต่อไปนี้ 1. ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา จากการวิจั ยพบว่า ความผู กพันต่อองค์การของบุคลากรอยู่ในระดับสู งทุกด้าน แต่เมื่อ พิจารณารายด้านพบว่า ด้านบรรทัดฐานทางสังคมอยู่ในระดับที่สูงที่สุด ดังนิยามและความหมายของ ความผูกพันต่อองค์การด้านบรรทัดฐานทางสังคมที่ให้ไว้ หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพื่อตอบแทนสิ่งที่ บุคคลได้รับจากองค์การ ซึ่งจะแสดงออกในรูปของความจงรักภักดีของบุคลากรต่อองค์การ ดังนั้นย่อม เป็นไปได้ว่าบุคลากรของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา มีความผูกพันต่อองค์การด้านบรรทัดฐาน ทางสังคมที่เด่นชัดที่สุด เนื่องจากบุคลากรกลุ่มนี้อาจรู้สึกจงรักภักดีต่อองค์การเป็นอย่างมาก เพราะ


68

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

องค์การนี้เป็นองค์การที่ผู้ก่อตั้งองค์การคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งแน่นอนว่าประชาชนคนไทย ทุกคนมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างที่สุด และบุคลากรของโครงการส่วน พระองค์สวนจิตรลดาเป็นคนไทย ดังนั้นบุคลากรในองค์การนี้จึงจงรักภักดีต่อพระองค์ท่านเป็นอย่างสูง เด่นชัดกว่าด้านใด ๆ ของความผูกพันต่อองค์การ สอดคล้องกับผลการวิจัยด้านค่านิยมในการทางานซึ่ง พบเช่นเดียวกันว่า บุคลากรให้คุณค่ากับความกตัญญูมาเป็นลาดับที่หนึ่ง หรือให้ความสาคัญกับความ กตัญญูรู้คุณเป็นอย่างมาก ดังคากล่าวของสุ นทรี โคมิน (2522) ที่กล่าวว่า คนไทยให้ความสาคัญกับ ความกตัญญูรู้คุณเป็นอย่างมาก ยิ่งผู้รับรู้สึกว่าผู้ให้ให้ด้วยความจริงใจมิได้หวังผลสิ่งใดตอบแทนยิ่งทาให้ ผู้รับเกิดความรู้สึกจดจาความดีงามที่อีกฝุายได้ทาให้ และพร้อมที่จะทดแทนบุญคุณบุคคลนั้นๆ เมื่อมี โอกาส ซึ่ งเป็ นไปได้ว่ าความรู้ สึ กที่จะทดแทนบุญคุ ณของบุคลากรนี้ แสดงออกในรูปแบบของความ จงรักภักดีต่อองค์การ ทุ่มเทแรงกาย แรงใจในการทางานอย่างเต็มความสามารถที่ตนมีอยู่พร้อมที่จะทา ทุกอย่างให้องค์การประสบผลสาเร็จตามเปูาหมายที่ตั้งไว้ และไม่คิดที่จะลาออกจากงาน ดูได้จากข้อมูล ผลการวิเคราะห์ด้านอายุงาน พบว่าบุคลากรในองค์การนี้มีอายุงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ถึงร้อยละ 68.5 2. ข้อมูลสถานภาพส่วนบุ คคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา และอายุงาน จากการวิจัยด้านสถานภาพส่วนบุคคล พบว่าสถานภาพส่วนบุคคล ด้าน การสมรส และ อายุงานที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย บุคลากรที่มีสถานภาพสมรสมีความผูกพันต่อองค์การมากกว่าบุคลากรที่เป็นโสด ทั้งนี้เป็นเพราะ บุคลากรที่สมรสแล้วต้องมีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นในด้านความเป็นอยู่ ค่าใช้จ่ายในการดารงชีพ หรือดารงชีวิตของสมาชิกในครอบครัว จึงเป็นสาเหตุให้มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกับ บุ ค ลากรที่ เ ป็ น โสด และจากสถานการณ์ ก ารเปลี่ ย นแปลงทางเศรษฐกิ จ ในยุ ค ปั จ จุ บั น มี ก าร เปลี่ยนแปลงทางสภาวะเศรษฐกิจตลอดเวลา ดัง นั้นคนที่มีครอบครัวยิ่งต้องตระหนักถึงความมั่นคง ของรายได้นั่นก็คือความมั่นคงของการอาชีพหรืองานที่ทา เพื่อให้รายได้คงที่ ไม่ถูกลดเงินเดือน และ ไม่ถูกไล่ออกจากงาน เพราะถ้าถูกออกจากงานหรือถูกลดรายได้นั่นหมายถึง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ ค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว ย่อมทาให้เกิดความเดือดร้อนในการดาเนินชีวิตซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องกัน ในระดับครอบครัว ชุมชน สังคมและสภาพเศรษฐกิจของประเทศ จากเหตุผลที่กล่าวมานี้แน่นอนว่า บุคลากรที่มีสถานภาพสมรสย่อมมีความผูกพันต่อองค์การมากกว่าบุคลากรที่โสด ผลการวิเคราะห์ด้านอายุงานพบว่า บุคลากรที่มีอายุงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป มีความ ผูกพันต่อองค์การมากกว่าบุคลากรที่มีอายุงานน้อยกว่า 5 ปี ทั้งนี้เนื่องมาจากบุคลากรที่ทางานใน องค์การนี้มานานย่อมเกิดปฏิสัมพันธ์กับสภาวะสิ่งแวดล้อมหรือสังคมในองค์การ จนเกิดเป็นความรู้สึก ว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในองค์การ เมื่อเวลาผ่านไปยาวนานความรู้สึกนั้นยิ่งเพิ่มพูนเหนียวแน่น ลึกซึ้งจนกลายเป็นความผูกพันต่อองค์การและเกิดความผูกพันกันในกลุ่มสมาชิก คือสมาชิกจะยึด เหนี่ยวซึ่งกันและกัน แตกต่างจากบุคลากรที่มีอายุงานน้อยกว่าย่อมมีการปฏิสัมพันธ์ในสังคมและ สภาพแวดล้ อมในองค์ การน้ อยกว่า ด้ว ยเหตุนี้จึงทาให้ บุคลากรที่มีอายุงานมากมีความผู กพันต่อ องค์การมากกว่าบุคลากรที่มีอายุงานน้อย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Hewitt Associates (2005) ที่กล่าวว่า ความสัมพันธ์ (Relationship) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงาน


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

69

3. การรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และด้านพฤติกรรมการดาเนินชีวิตที่สอดคล้อง ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิ จั ย พบว่ า การรั บ รู้ ป รั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งอยู่ ใ นระดั บ สู ง เมื่ อ พิ จ ารณา รายละเอียดพบว่า ด้านความพอประมาณ และด้านความมีเหตุผลอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจาก บุคลากรอาจรับรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่ยังไม่เข้าใจความหมายเศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางการปฏิบัติอย่างลึกซึ้ง จากการที่บุคลากรรับรู้แต่ไม่เข้าใจในความหมายที่แท้จริงของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอาจเป็นเพราะองค์การขาดการส่งเสริมประชาสัมพันธ์เผยแพร่ ให้บุคลากร รั บ รู้ แ ละเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ หลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งอย่ า งจริ ง จั ง บุ ค ลากรจึ ง ยั ง ไม่ เ ข้ า ใจใน ความหมายที่แท้จริงของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในทุกด้าน ผลการวิจัยในภาพรวมพบว่า ภาพรวมของบุคลากรขององค์การมีพฤติกรรมการดาเนิน ชีวิตที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับสูง และการรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดาเนินชีวิตที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างมีนั ยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าถ้ามีการรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน ระดับสูงก็จะมีพฤติกรรมการดาเนินชีวิตที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับสูง ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ เดชา กลิ่นจันทร์ (2549) ที่ศึกษาเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างการรับรู้และระดับการนาไปปฏิบัติตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรใน จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ระดับการรับรู้และระดับการนาไปปฏิบัติตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพีย ง โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน สรุปได้ว่า บุคลากรมีการรับรู้ ปรัชญา เศรษฐกิจ พอเพีย งและปฏิบั ติตามหลัก ปรัช ญาเศรษฐกิจพอเพียง จะทาให้ ดาเนินชีวิตได้อย่างไม่ เดือดร้อน แม้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ รวมทั้งพฤติกรรมที่แสดงออกของบุคลากรในองค์การ ก็จะมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีจิตใจเอื้ออาทร และเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง นั่นก็คือการเห็น ถึงประโยชน์ขององค์การเป็นที่ตั้ง ซึ่งถ้าบุคลากรมีความคิดและพฤติกรรมแบบนี้ย่อมส่งผลให้องค์การ ประสบผลสาเร็จได้ตามเปูาหมายที่ตั้งไว้ และเมื่อทุกส่วนทั้งองค์การและสมาชิกในองค์การมีความพึง พอใจกันก็ย่ อมเกิดความสุขกันทุกฝุ ายซึ่งจะส่ งผลให้เกิดเป็นความผู กพันต่อองค์การนั่นเอง ซึ่ง สอดคล้องกับแนวคิดของ Meyer and Allen (1997) ที่กล่าวว่า ความพึงพอใจในอาชีพเป็นปัจจัยที่ ก่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์การด้านความต่อเนื่อง 4. ค่านิยมในการทางานและความผูกพันต่อองค์การ ผลการวิจัยพบว่าค่านิยมในการทางานอยู่ในระดับสูงทุกด้าน เรียงลาดับจากมากไปหา น้อยคือ ด้านความกตัญญูรู้คุณ ด้านจิตวิญญาณและศาสนา ด้านการพึ่งพาอาศัยกัน ด้านเกี่ยวกับ ตัวเอง ด้านความสนุกสนานและความพึงพอใจ ด้านการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างราบรื่น ด้านความยืดหยุ่นและการปรับตัว ด้านการศึกษาและความสามารถ ด้านการมุ่งความสาเร็จในงาน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะเห็นว่าบุคลากรขององค์การมีความกตัญญูรู้คุณมาเป็นอันดับ หนึ่ ง ถือว่าเป็ นสิ่ งที่ดี เนื่องจากเป็ นเครื่องหมายของคนดี ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเป็นเรื่องที่ลึ กซึ้งไม่ สามารถทดแทนได้ด้วยวัตถุหรือสิ่งของแต่เป็นคุณค่าทางจิตใจ เป็นค่านิยมที่ทาให้องค์การเข้มแข็ง และค่านิยมด้านความกตัญญูนี้ยังเป็นค่านิยม 1 ใน 12 ค่านิยมหลักที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) (2557) และกระทรวงวัฒนธรรม กาลังรณรงค์และส่งเสริมให้คนไทยปฏิบัติเพื่อสร้างสรรค์


70

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

ประเทศไทยให้ เข้ ม แข็ ง และขับ เคลื่ อ นประเทศไทยอย่ างยั่ งยื น จะเห็ น ได้ ว่ าความกตัญ ญู รู้คุ ณ มี ประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งสร้างความเข้มแข็งให้องค์การและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันตั้งแต่ระดับ บุคคล องค์การ สังคม และประเทศชาติ เมื่อเกิดความสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ความรู้สึกที่ลึกซึ้งกว่านั้น ก็ตามมาจนเป็นความผูกพันต่อกัน จะเห็นได้ว่าค่านิยมในการทางานมีความสั มพันธ์กับการเกิดความ ผูกพันต่อองค์การ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ดารง พานทอง. (2543). ที่ได้ศึกษาเรื่อง การ เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของค่านิยมในการทางานกับความผูกพันต่อองค์การ ในระหว่างผู้บริหาร ระดับกลางกับผู้ปฏิบัติงานใหม่ของการไฟฟูาฝุายผลิตแห่งประเทศไทย ข้อเสนอแนะ องค์การควรส่งเสริม ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ ให้บุคลากรมีการรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในด้านความพอประมาณและด้านความมีเหตุผลให้มากขึ้น เนื่องจากการรับรู้ เข้าใจ เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการประพฤติปฏิบัติตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะทาให้ บุ คลากรอยู่ ร่ วมกั นได้ อย่ างสั นติ สุ ข และสามารถด ารงชี วิ ตอยู่ ได้ อย่ างสมดุ ลและยั่ งยื นภายใต้ การ เปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ อีกทั้งการรับรู้และปฏิบัติตามแนวแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะสร้าง ความผู กพันต่อองค์การในระดับสูง ซึ่ งจะทาให้ บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีประสิ ทธิ ภาพและส่ งผลต่อ ความสาเร็จขององค์การในภาพรวม ฝุายบริหารบุคลากรอาจสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรที่อยู่กับองค์การมา นาน โดยการตั้งรางวัลจูงใจให้บุคลากรที่มีอายุงานมากกว่า 10 ปี ทั้งนี้เพื่อเป็นการดารงและรักษาบุคลากร ที่มีคุณค่าไว้กับองค์การ และควรส่งเสริมให้บุคลากรรักษาค่านิยมในการทางานด้านความกตัญญูรู้คุณไว้ เป็นค่านิยมหลักขององค์การเพื่อที่จะทาให้องค์การเป็นองค์การที่เข้มแข็งและขับเคลื่อนองค์การได้อย่าง มั่นคง ในการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาวิจัยในมิติต่างๆ ของความผูกต่อองค์การเปรียบเทียบกับปัจจัยส่วน บุคคล การรั บรู้ ปรั ชญาเศรษฐกิจพอเพียง พฤติกรรมการดาเนินชีวิตที่สอดคล้ องตามแนวคิดปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง และค่านิยมในการทางาน เอกสารอ้างอิง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ. (2557). ค่านิยม 12 : เราจะสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็งคนต้องเข้มแข็งก่อน (Online). 25 ตุลาคม 2557 : http://www.naewan.com/politic/columnist/13422 เดชา กลิ่นจันทร์. (2549). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้กับระดับการนาไปปฏิบัติ ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ ดี. สุ นทรี โคมินทร์ และสนิ ท สมั ครการ. (2522). รายงานการวิ จั ยเรื่ องค่ านิ ยมและระบบค่ านิ ยมไทย: เครื่องมือในการสารวจวัด. กรุงเทพมหานคร: สานักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์. สุนทร กุลวัฒนวรพงศ์. (2544). ตามรอยพระราชดาริ เศรษฐกิจพอเพียง-ทฤษฎีใหม่. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ชมรมเด็ก.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

71

สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ 21 เซ็นจูรี. สานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ. (2555). เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดารงชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง. อนันต์ชัย คงจันทร์. (2529). ความผูกพันต่อองค์การ (Organizational Commitment). วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, ปีที่ 9 (ฉบับที่ 34), 34-41. Hewitt Associate. (2005). Employee Engagement (Online). Retrieved January 17, 2006 from http://www.hewitt.com. Meyer, J. P. and N. J. Allen. (1997). Commitment in the Workplace. California, Sage Publications.

…………………………………………………..


72

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) True North : Discover Your Authentic Leadership. Bill George with Peter Sims. San Francisco, CA : John Wiley & Sons, Inc, 2007, 251 pp. ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา * นาเรื่อง หนั งสื อเล่ มนี้ เป็ น ผลงานที่ มี ฐานจากการศึ กษาวิ จั ยเชิ งคุ ณภาพ โดยการสั มภาษณ์ ประสบการณ์ชีวิตของผู้นาจานวน 125 คน เป็นชายหญิงอายุระหว่าง 23 ถึง 93 ปี ซึ่งคัดสรรโดยใช้เกณฑ์ ประวัติเกียรติ คุณ ความสาเร็จในการบริหารงาน และจากการนาเสนอของผู้ ที่เกี่ยวข้อง ในจานวนนี้ ครึ่งหนึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์การ/บริษัท และอีกครึ่งหนึ่งเป็นผู้นาขององค์การ/หน่วยงาน ที่บาเพ็ญ ประโยชน์โดยไม่แสวงหาผลกาไร ผู้ เขี ยนและคณะวิ จั ยใช้ การสั มภาษณ์ รายบุ คคลโดยใช้ กรอบค าถามแบบมี โครงสร้ าง ประกอบด้วย 1) ประวัติชีวิต พัฒนาการและประสบการณ์ 2) การค้นพบภาวะผู้นาที่แท้จริงของตนเอง 3) การพัฒนาภาวะผู้นาของตน และ 4) จุดมุ่งหมายสูงสุดของการเป็นผู้นา และความคาดหวังที่ต้องการให้เป็น มรดกสืบทอดต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการเชิงคุณภาพ โดยการอ่าน ทาความเข้าใจ วิเคราะห์และสรุป โดยคณะผู้วิจัย ประกอบด้วย การประชุม อภิปราย และสัมมนา ใช้เวลาประมาณ 1 ปี ในการสรุปและเตรียม เนื้อหาที่นาเสนอในหนังสือเล่มนี้ เนื้อเรื่องที่นาเสนอ ประกอบด้วยบทนา เนื้อหาหลัก 3 ตอน และบทส่งท้าย คือ  บทนา เป็นการอธิบายความหมายของคาว่า True North รูปแบบและมิติของภาวะ ผู้นาที่แท้จริง  ตอนที่หนึ่ง : ภาวะผู้นาคือ การเดินทาง (Leadership Is a Journey) ประกอบด้วย บทย่อย 3 บท  ตอนที่สอง : การค้นพบภาวะผู้นาที่แท้จริงของตนเอง (Discover Your Authentic Leadership) ประกอบด้วยบทย่อย 5 บท  ตอนที่สาม : การเสริมสร้างภาวะผู้นาให้คนอื่น (Empowering People to Lead) ประกอบด้วยบทย่อย 3 บท  บทส่งท้าย (Epilogue) : สัมฤทธิผลของภาวะผู้นา (The Fulfillment of Leadership)

* รองศาสตราจารย์ ดร., รองอธิการบดีฝุายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ผู้อานวยการหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

73

ภาคผนวก มี 3 ภาค คือ  ภาค ก. การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้นาที่แท้จริง  ภาค ข. รายละเอียดของกลุ่มตัวอย่างผู้นา 125 คน ที่ให้สัมภาษณ์ในการศึกษาวิจัย  ภาค ค. แบบฝึกหัด (Exercise) สาหรับใช้ประกอบแนวคิดและการวิเคราะห์ตัวเองตาม เนื้อเรื่องของทุกบททั้งหมด 12 บท และสาหรับบทนา และบทส่งท้าย เนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องของหนังสือประกอบด้วยบทนา ตอนหลัก 3 ตอน ซึ่งมีบทย่อยทั้งหมด 11 บท และบทส่งท้าย มีภาคผนวกบรรณานุกรมและดรรชนีเรื่อง รวมทั้งหมด 251 หน้า บทนา ประกอบด้วยแนวคิดพื้นฐาน ความหมายและการค้นพบภาวะผู้นาที่แท้จริงของ ตนเอง แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับภาวะผู้นา : ผู้เขียนได้สรุปประเด็นสาคัญที่เป็นผลการวิเคราะห์การ สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้นาจานวน 125 คน ที่คัดสรรตามเกณฑ์ และเสนอแนวคิดพื้นฐานว่า  ผู้นาเป็นบุคคลที่มีลักษณะซับซ้อนอย่างยิ่ง เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวที่ไม่อาจ อธิบายได้โดยตรงหรือทั้งหมด จากรายการคุณลักษณะทั่วไป  ความเป็นผู้นาของแต่ละบุคคล อธิบายได้จากประวัติชีวิตและวิถีทางที่เขาใช้หล่อหลอม ประสบการณ์ชีวิตของเขาเพื่อนาไปสู่การตั้งจุดมุ่งหมายและแรงบันดาลใจในการพัฒนาภาวะผู้นาขึ้น ความหมายของผู้นาที่แท้จริง (The Authentic Leader) ผู้เขียนได้ให้นิยามว่า ผู้นาที่แท้จริงคือบุคคลที่ซื่อสัตย์สุจริตต่อตัวเองและต่อความเชื่อ ของเขา เป็นผู้ที่ไม่ปล่อยให้ความคาดหวังของผู้อื่นมามีอิทธิพล แต่เป็นคนที่เตรียมตัวพร้อมที่จะทา ตามหลักการและความเชื่อของตนเอง โดยมุ่งทาประโยชน์ให้กับผู้อื่นมากกว่าการคานึงถึงผลสาเร็จ หรือชื่อเสียงของตนเอง ผู้น าที่แท้จริงจะมุ่งแสวงหาวิถีทางพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เป็นผู้ที่ใฝุส ร้าง สัมพันธภาพและความไว้วางใจกับผู้อื่น และจากความไว้วางใจนั้น ผู้นาที่แท้จริงสามารถจูงใจคนให้ ก้าวหน้าสู่ผลสัมฤทธิ์ระดับที่สูงขึ้นได้ด้วยการเสริมสร้างอานาจความรับผิดชอบให้เขาเหล่านั้นมีโอกาส เป็นผู้นาได้ด้วย ผู้นาที่แท้จริงมีคุณลักษณะโดดเด่นในมิติ 5 ด้าน คือ  การมุ่งสู่จุดมุ่งหมายด้วยพลังใจรักที่แรงกล้า (Passion)  การปฏิบัติตามค่านิยมที่ยึดถืออย่างหนักแน่นมั่นคง (Value)  การนาด้วยหัวใจจิตวิญญาณ (Heart)  การสร้างเสริมสัมพันธภาพที่ยั่งยืน (Enduring Relationships)  ความมีวินัยอย่างสูงในตนเอง (Self-discipline) การค้นพบภาวะผู้นาที่แท้จริงของตนเอง เป็นกระบวนการที่ต้องเริ่มจากการรู้จักเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง เมื่อสามารถเข้าใจ ตัวเองแล้ว จึงจะนาผู้อื่นตามความเชื่อที่แท้จริงของตนเองได้ เป็นกระบวนการที่ผู้นาต้องรับผิดชอบใน การพัฒนาตนเอง และการพัฒนาภาวะผู้นาที่แท้จริงเปรียบเสมือนการเดินทางที่ต้องการเข็มทิศ เพื่อนา


74

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

ตัวเองให้มุ่งสู่จุดมุ่งหมายได้โดยไม่หลงทาง ซึ่งเป็นชื่อของหนังสือเล่มนี้ คือ True North หมายถึง การมี เข็มทิศนาทางการเดินทางมุ่งสู่จุดมุ่งหมายการสร้างคุณความดีที่สูงส่ง ตอนที่หนึ่ง ภาวะผู้นาคือการเดินทาง ตอนนี้ประกอบด้วยบทที่ 1 การเดินทางสู่ภาวะผู้นาที่แท้จริง บทที่ 2 ทาไมผู้นาจึงหลงทาง และ บทที่ 3 การเปลี่ยนจาก “ฉัน” เป็น “เรา” ผู้เขียนได้เสนอรูปแบบการเดินทางสู่ภาวะผู้นาที่แท้จริงไว้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะการเตรียม ตัวในช่วง 30 ปีแรกของชีวิต เป็นช่วงของการสร้างบุคลิกนิสัย และสะสมประสบการณ์ในโลกแห่งความ เป็นจริง ระยะที่สอง 30-60 ปี เป็นช่วงที่แสดงภาวะผู้นาอย่างเต็มที่ในรูปแบบการนาแบบต่างๆ ตามความ เหมาะสม โดยที่ผู้นาส่วนใหญ่มักขึ้นถึงขีดสูงสุดของภาวะผู้นา (Peak Leadership) ส่วนระยะที่สาม คือ หลังจากอายุ 60 ปี เป็นช่วงที่ผู้นาที่แท้จริงมุ่งบาเพ็ญประโยชน์โดยการใช้ภูมิปัญญาของตนช่วยเหลือ เกื้อหนุนผู้อื่นและสังคมโดยรวม ดังนั้นผู้นาที่แท้จริงจึงมีการเดินทางที่พัฒนาไปได้ตลอดช่วงชีวิต ส่วนสาเหตุสาคัญที่ทาให้ผู้นาหลงทาง เสียศูนย์และสูญเสียการมองเห็นเข็มทิศนาทาง True North ของตน ได้แก่ 1) การหลงหลุดจากความเป็นจริง ถูกครอบงา และทาให้หลงไปด้วยลาภยศ ชื่อเสียง บริวาร และการประจบสอพลอที่ทาลายความเป็นตัวของตัวเอง และความซื่อสัตย์สุจริตต่อผู้อื่น 2) การ กลัวความผิดพลาดล้มเหลว และคลั่งใคร้ความสาเร็จ 3) การแยกตัวโดดเดี่ยวไม่แสวงหาสัมพันธภาพที่ ยั่งยืน และ 4) การขาดพื้นฐานความสมดุลที่มั่นคงของชีวิต ทั้งนี้ ผู้ น าที่แท้จริ งจึงต้องระวังไม่หลงทางหรือตกขอบโดยต้องระวังวิเคราะห์ ตัวเองขจัด จุดอ่อน และมุ่งเน้นการพัฒนาสัมพันธภาพและช่วยเหลือเกื้อหนุนผู้ร่วมงานให้มีแรงจูงใจ เกิดแรงบันดาลใจ เพื่อสร้างเสริมความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ตอนที่สอง การค้นพบภาวะผู้นาที่แท้จริงของตนเอง การเดินทางดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องเผชิญกับความกดดันจากโลกภายนอก จาก รูปแบบความสาเร็จหรือตัวแบบของผู้อื่น รวมทั้งต้องระวังวิเคราะห์ค้นพบตัวตนที่แท้จริงของตนเองใน สภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในสภาพความเป็นจริง ไม่มีแผนที่หรือเส้นทางสายตรงไปสู่ ภาวะผู้นาดังกล่าว ผู้นาจึงจาเป็นต้องการเข็มทิศนาทางที่จะควบคุมตัวเองให้อยู่ในเส้นทางโดยไม่พลาด พลั้งหลงทาง หรือตกขอบ เนื่องจากกระแสความกดดันต่างๆ เข็มทิศนี้เป็นเครื่องมือพลวัต (Dynamic tool) คือ มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตาม ความจาเป็น โดยที่องค์ประกอบหลักของเข็มทิศนี้ คือหลักการวิเคราะห์ ทบทวน และพัฒนาตนเองใน รายการสาคัญ 5 เรื่อง (ซึ่งเป็นเนื้อหาของบทที่ 4 ถึง บทที่ 8)  การตระหนักรู้ตัวเอง (Self-Awareness) - บทที่ 4  ค่านิยม (Values) - บทที่ 5  แรงจูงใจ (Motivation) - บทที่ 6  ทีมงานสนับสนุน (Support team) - บทที่ 7  การมีชีวิตบูรณาการ (Integrated life) - บทที่ 8


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

75

ตอนที่สาม การเสริมสร้างภาวะผู้นาให้คนอื่น จากการที่ได้ค้นพบและแสดงภาวะผู้นาแล้ว ผู้นาที่แท้จริงมีบทบาทสาคัญที่แตกต่างจาก ผู้นาโดยทั่วไป คือ การเสริมสร้างภาวะผู้นาให้คนอื่นต่อไป โดยมีการปฏิบัติที่เป็นลักษณะวงจรแห่งคุณ งามความดี (Virtuous Circle) ดังรูปแบบที่เป็นเนื้อหาของบทที่ 9 ถึงบทที่ 11 ประสิทธิผลของการเป็นผู้นาที่แท้จริง (The Effectiveness of Authentic Leaders) Authentic Leadership Build Reputation and Gain Responsibility

Shared Purpose

Achieve Results

Empower Other Leaders Build Influence Through Style and Power

 ภาวะผู้ น าที่ แ ท้ จ ริ ง การน าด้ ว ยจุ ด มุ่ ง หมาย และพลั งใจที่ แ รงกล้ า (Authentic Leadership) - บทที่ 9  การแบ่งปัน และให้มีส่วนร่วมในจุดมุ่งหมาย (Shared Purpose) - บทที่ 9  เสริมสร้างและกระจายอานาจความรับผิดชอบให้ผู้อื่น (Empower Other Leaders) บทที่ 10  สร้างอิทธิพล โดยการใช้ลีลาท่าที และอานาจที่เหมาะสม (Build Influence Through Style and Power) - บทที่ 11  บรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวัง (Achieve Results) - บทที่ 11  สร้างความนับถือ และได้ความรับผิดชอบเพิ่มพูนขึ้น (Build Reputation and Gain Responsibility) - บทที่ 11


76

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

บทสรุปส่งท้าย (Epilogue) ผู้เขียนได้สรุปว่าสัมฤทธิผลของการเป็นผู้นาที่แท้จริงนั้น ไม่ใช่เพียงการแสดงภาวะผู้นา ของตนเอง หากต้องมีการส่งทอดมรดกการเป็นผู้นาที่แท้จริงให้กับผู้อื่นตามกระบวนการวงจรคุณความ ดีที่เสนอแล้ว เมื่อทาครบกระบวนการดังกล่าว ก็หมายถึงการได้บรรลุสัมฤทธิผลของการเป็นผู้นาที่ แท้จริง โดยในการนี้ผู้นาที่แท้จริงได้ดาเนินการตามเข็มทิศ True North ของตนเอง ได้ค้นพบภาวะ ผู้นาที่แท้จริง ได้แสดงภาวะผู้นา และส่งทอดมรดกการเป็นผู้นาที่แท้จริงให้ผู้สืบทอดต่อไป ด้วยการ ดาเนินงานดังกล่าวนับว่า ผู้นาที่แท้จริงได้มีบทบาทสาคัญในการทาให้โลกโดยรวมดีขึ้นกว่าเดิม จึงเป็น สัมฤทธิผลของการเป็นผู้นาที่แท้จริง สรุปเรื่อง หนังสือเรื่อง True North : Discover Your Authentic Leadership ของ Bill George with Peter Sims เป็นหนังสือที่อ่านได้สนุก มีอรรถรส เพราะผู้เขียนได้ใช้กรณีศึกษาจากกลุ่มผู้นาที่ สัมภาษณ์มาเป็นตัวอย่างชีวิตจริง แล้วสรุปประเด็นสาคัญเป็นข้อความรู้ที่เป็นเนื้อหาสาระของตอน และ บทต่างๆ ของหนังสือได้อย่างเห็นภาพ และทาความเข้าใจได้ชัดเจน การจัดลาดับดาเนินเรื่องมีความ ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ทาให้เข้าใจถึงความเป็นมา พัฒนาการและสัมฤทธิผลของภาวะผู้นาที่แท้จริงได้ใน สภาพความเป็นจริงของโลกแห่งการทางานและภาวะผู้นา นอกจากนั้นส่วนของหนังสือที่ผู้อ่านน่าจะ ได้รับประโยชน์มากคือ ในภาคผนวกส่วนที่เป็นแบบฝึกหัดที่ใช้วิเคราะห์ตัวเองและผู้อื่นได้ตามเนื้อเรื่อง ทุกบทของหนังสือ จึงนับว่าหนังสือเล่มนี้ ซึ่งแม้จะพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 2007 ก็นับว่าเป็นระดับ Classic ที่ เป็นมรดกตกทอดให้ผู้ที่ศึกษาและสนใจเกี่ยวข้องกับเรื่องภาวะผู้นาร่วมสมัยในโลกยุคปัจจุบันได้อ่านและ พิจารณาเป็นแนวคิดและการศึกษาวิจัยต่อไป

…………………………………………………..


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

77

คาชี้แจงสาหรับผู้ส่งบทความวิชาการและบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เป็นวารสารเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การศึกษาค้นคว้าสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการด้านจิตวิทยา บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์จะต้องได้รับ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รายละเอียดมีดังนี้ 1. ลักษณะบทความที่ตีพิมพ์ 1.1 บทความทางวิชาการ/บทความทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา 1.2 บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา 2. ส่วนประกอบของบทความ 2.1 บทความทางวิชาการ ความยาวเรื่องละไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย 2.1.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.1.2 ชื่อผู้แต่ง 2.1.3 สถาบันที่ผู้เขียนสังกัด 2.1.4 บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.1.5 บทนา เนื้อเรื่องและสรุปสาระสาคัญ 2.1.6 เอกสารอ้างอิง (ตามระบบ APA) 2.2 บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์ ความยาวเรื่องละไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย 2.2.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.2.2 ชื่อผู้แต่ง 2.2.3 สถาบันที่ผู้เขียนสังกัด 2.2.4 บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.2.5 คาสาคัญ (Key words) 2.2.6 เนื้อเรื่อง ประกอบด้วย 1) บทนา 2) วัตถุประสงค์ 3) นิยามศัพท์ 4) วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 5) ระเบียบวิธีวิจัย ประกอบด้วย - ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - การวิเคราะห์ข้อมูล


78

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

6) ผลการวิจัย - บทสรุป - ข้อเสนอแนะ 7) เอกสารอ้างอิง (ตามระบบ APA) 3. การจัดพิมพ์ 3.1 พิมพ์ลงหน้ากระดาษขนาด A4 3.2 พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Office Word 2003 3.3 รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK 3.4 ลักษณะและขนาดตัวอักษร 3.4.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ตัวหนาขนาด 26 3.4.2 ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ตัวหนาขนาด 26 3.4.3 ชื่อผู้เขียน ตัวหนาขนาด 16 3.4.4 หัวข้อใหญ่ ตัวหนาขนาด 16 3.4.5 เนื้อหา ตัวปกติขนาด 16 4. การจัดส่งบทความ 4.1 จัดส่งเอกสาร ดังนี้ 4.1.1 ต้นฉบับบทความ จานวน 3 ชุด 4.1.2 CD บันทึกบทความ จานวน 1 แผ่น 4.1.3 แบบฟอร์มส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 4.2 จัดส่งบทความ ดังนี้ กองบรรณาธิการวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต หลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา ชั้น 3 อาคาร 1 เลขที่ 1761 ซอยพัฒนาการ 37 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 e-mail: journal.psy.kbu.ac.th 4.3 มีข้อสงสัยกรุณาติดต่อ รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ โทร.0-2320-2777 ต่อ 1163, 089-929-9705 รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ โทร.0-2320-2777 ต่อ 1134, 081-921-7903 5. เงื่อนไขการตีพิมพ์บทความ 5.1 เป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน 5.2 เป็ น บทความที่ ผ่ า นการพิ จ ารณาจาก ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ก ลั่ น กรองบทความ (Peer review) ของวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต บทความละ 2 คน เพื่อ ตรวจสอบความถูกต้องเชิงวิชาการ 5.3 เป็นบทความที่ได้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (มกราคม-มิถุนายน 2557)

79

5.4 บทความที่ไ ด้รั บ การตีพิ มพ์เ ผยแพร่ ในวารสารจิตวิ ทยา มหาวิทยาลั ย เกษมบั ณฑิ ต เจ้าของบทความจะได้รับวารสารฉบับนั้น จานวน 3 เล่ม ...............................................


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.