วารสารจิตวิทยา ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - ธันวาคม 2556 ISSN 2286-6663

Page 1








วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

1

กลยุทธ์ร่วมสมัยในการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ Contemporary Strategies for Developing Children with Special Needs ศรียา นิยมธรรม * บทคัดย่อ บทความนี้นําเสนอแนวคิดในเรื่องหลักการ วิธีการ รูปแบบและกลยุทธ์ร่วมสมัยในการพัฒนาเด็ก ที่มีความต้องการพิเศษตามกระแสสังคมที่เอื้อโอกาสให้กับเด็กทุกคน และเสนอแนวคิดจากการบูรณาการ องค์ความรู้ทางจิตวิทยาและการศึกษาพิเศษที่ชี้ให้เห็นถึงประเด็นสําคัญที่ต้องพัฒนาในแต่ละช่วงวัย เพื่อให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้พัฒนาตนตามศักยภาพ สามารถดํารงชีวิตอย่างอิสระและมีความสุข คาสาคัญ: กลยุทธ์ร่วมสมัย เด็กที่มีความต้องการพิเศษ Abstract This article presents principles, methodology, models and contemporary strategies for developing children with special needs. The main idea from psychological and special education theory, integrated and restructured according to the concept of “No Child Left Behind”, Guidelines for developing the children with special needs in each period of age are presented. The ultimate goal is to enhance the children with special needs to reach their potential and to have an independent living with happiness. Key words: Contemporary Strategies, Children with Special Needs

____________________________ * ศาสตราจารย์, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


2

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

สภาพสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุข นอกจากจะมีการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการกับความ สะดวกสบายในการดําเนินชีวิตโดยใช้เ ทคโนโลยีในรูป แบบต่างๆ แล้ว ยัง มีองค์ป ระกอบหลัก คือ คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ในสังคมนั้นเอง มนุษย์ในแต่ละสังคมต่างพัฒนาองค์ความรู้ด้านต่างๆ ผ่านระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลในสังคม ความก้าวหน้าด้านการสื่ อสารช่วย อํานวยความสะดวกในการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนชาวโลกได้ตระหนักถึงความจําเป็นที่จะต้องร่วมมือกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูสภาพสังคมและสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ระบบการศึกษาของประเทศต่างๆ จึงมุ่งเน้นการเตรียมผู้เรียนสู่อนาคตที่มีความซับซ้อนและขยายตัวมากกว่าในอดีต โดยพิจารณาให้ทุกคน มีพื้นฐานเป็นพลโลก (world citizen) มากกว่าการเป็นพลเมื องของแต่ล ะประเทศ และระบบ การศึกษามุ่งเน้นความสามารถของผู้เรียนมากกว่าความรู้ในเนื้อหา ทั้งให้มีความเมตตา กรุณา ต่อบุคคล ที่มีความหลากหลาย ที่มีทั้งความแตกต่างและความคล้ายคลึงกัน บุคคลที่มีความต้องการพิเ ศษคือ ทรัพยากรมนุษย์ที่ สามารถพัฒ นาได้เช่นกั น แม้ว่าบุคคล กลุ่ม นี้จ ะมี ข้อ จํา กั ด ความเสียเปรียบ ความแตกต่างจากคนกลุ่ ม ใหญ่ แต่ก ารเอื้ อโอกาสในการ ช่วยเหลือและพัฒนา จะสามารถทําให้บุคคลกลุ่มนี้สามารถดํารงชีวิตในสังคมตามศักยภาพและเป็น ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ายิ่งเช่นกัน ใครคือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ? เด็กที่มีความต้องการพิเศษหมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการแตกต่างไปจากเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน ความแตกต่างนีอ้ าจเป็นลักษณะของความเบี่ยงเบนหรือความล่าช้ากว่าวัยด้วยข้อจํากัดต่างๆ ทางร่างกาย ประสาทสัมผัส สติปัญญา ภาษา อารมณ์และสังคม จนเป็นเหตุให้เกิดความพิการหรือมีความบกพร่อง ในรูปแบบต่างๆ หรืออาจเป็นความแตกต่างที่โดดเด่นจากการพัฒนาที่เร็วกว่าวัย และได้ชื่อว่าเป็นเด็ก ปัญญาเลิศหรือเป็นเด็กที่มีความสามารถพิเศษ แล้วแต่กรณี ในระบบของการจัดการศึก ษา เด็ ก ที่ มี ค วามต้ องการพิเ ศษหมายถึง เด็ก ที่ ไม่ อาจได้รั บ ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการเรียนการสอนที่ดําเนินไปตามหลักสูตรปกติ เนื่องจากความแตกต่าง ดังกล่าวข้างต้น ดัง นั้นการจัดการศึกษาพิเศษคือทางออกที่ เหมาะสมของเด็กกลุ่มนี้ เพราะการจัด การศึกษาพิเศษ จะคํานึงถึงความต้องการพิเศษของเด็กที่มคี วามแตกต่างหรือมีข้อจํากัดและจะจัดการ เรียนการสอนเพื่ออํานวยความสะดวกในการเรียนรู้ ปรับวิธีสอน สื่อการสอน เวลาที่ใช้ ตลอดจนการ ประเมินผลตามความเหมาะสมของผู้เรียน สําหรับประเทศไทย ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2541 และ พ.ศ. 2542 ในยุครัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิ สิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ได้ประกาศปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ.2552-2561) เน้นสร้างคนไทยให้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ คุณธรรมและให้หาความรู้ อยู่เสมอ (สภาการศึกษา, 2009 หน้า 35) ดังนั้นการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จึงเป็นประเด็นที่รัฐให้ความใส่ใจอย่างจริงจัง มากขึ้น การดําเนินงานด้านนี้อาศัยการบูรณาการองค์ความรู้จากนักวิชาการสาขาต่างๆ ผสมผสานกัน อย่างเป็นระบบ เช่น ด้านการแพทย์ จิตวิทยา การศึกษาและบุคคลากรข้างเคียงแพทย์ตามความจําเป็น ซึ่งอาจสรุปการดําเนินงานโดยพิจารณาการดําเนินงานตามช่วงวัยได้ดังนี้


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

3

การพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 1. ช่วงปฐมวัย Early Intervention - Early Prevention - Early Detection - Early Stimulation 2. ช่วงวัยเรียน Diversity Concern (IEP & IIP) - Special Needs Concern - Style of Learning - Style of Teaching Classroom Management Assistive Technology Test & Evaluation 3. Reaching Potential - Remedial Teaching - FLASH Model 4. To Excellency 1. ช่วงปฐมวัย ในระยะ 6 ขวบแรกของชีวิต การพัฒนาเด็กจะเน้นความสําคัญในเรื่องของ การช่วยเหลือในระยะแรกเริ่ม (intervention) ประเด็นหลักของการดําเนินงานในขั้นนีค้ ือ 1.1 การปูองกันแต่เนิ่นๆ (Early Prevention) 1.2 การค้นหาโดยเร็ว (Early Detection) 1.3 การกระตุ้นในทันที (Early Stimulation) 1.1 การปูองกันแต่เนิ่นๆ (Early Prevention) ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหามีหลายรูปแบบ ทางด้านร่างกายจุดสําคัญคือ การปูองกันการเกิดปัญหาด้านสุขภาพเป็นสําคัญ เช่น การตรวจทารก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ว่ามีความเสี่ยงต่อการผิดปกติอย่างไรหรือไม่ บางกรณีก็มีท างปูองกัน บางกรณี แม้ปูองกันไม่ได้แต่ก็เตรียมรับปัญหาได้เร็วขึ้น เช่น การตรวจพบความผิดปกติของโครโมโซมบางคู่ที่ ทําให้เด็กมีความบกพร่องทางสติปัญญา ในกรณีเด็กที่คลอดมาแล้ว การเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดด้วยความเข้าใจ จะทําให้การเฝูา ระวังมีประสิทธิภาพขึ้น เช่น การสังเกตความล่าช้าของพัฒนาการทางการพูดหรือการตรวจหาภาวะเสี่ยง ต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ เป็นต้น 1.2 การค้นหาโดยเร็ว (Early Detection) การค้นหาก็คือการคัดกรองความผิดปกติต่างๆ เด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่สามารถรับความช่วยเหลือจนกว่าจะถูกคัดกรองหรือ คัดแยกออกมาได้ อย่างเหมาะสมและสามารถวินิจฉัยปัญหาได้แต่เนิ่นๆ


4

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

1.3 การกระตุ้นในทันที (Early Stimulation) เด็กที่ผ่านการคัดกรองและวินิจฉัยถึงปัญหาได้เร็ว ย่อมมีโอกาสรับความช่วยเหลือในการกระตุ้นพัฒนาการได้เร็ว เช่น การตรวจพบปัญหาหรือความ บกพร่อ งทางการได้ ยิน เด็ก อาจได้รั บ ความช่ว ยเหลื อด้ วยการผ่ า ตัด ใส่ ป ระสาทหู เ ที ยมหรื อใช้ เครื่องช่วยฟัง เพื่อพัฒนาความสามารถทางการพูดและการสื่อสารได้โดยเร็ว 2. ช่วงวัยเรียน เป็นช่วงของการให้ความสําคัญถึงความแตกต่างและความหลากหลายของ เด็กแต่ละคน (Diversity Concern) ความหลากหลายในทีน่ ี้ มิได้จํากัดเฉพาะเรือ่ งของหน้าตา ผิวพรรณ เชื้อชาติ ศาสนา ค่านิยมตามขนบธรรมเนียมประเพณี หากมุ่งเน้นในเรื่องความต้องการพิเศษของเด็กแต่ละคน เด็กที่มีความต้องการพิเศษมีหลายประเภท ปัญหาข้อจํากัดและความต้องการพิเศษก็แตกต่างกันไป เช่น ปัญหาของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก็คือ ความล่าช้าของพัฒนาการด้านต่างๆ แทบทุกด้าน ไม่ว่าเป็นด้านร่างกาย ภาษา สติปัญญา สังคม อารมณ์ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินปัญหาหลัก คือ การสื่อสาร ความต้องการพิเศษจึงเป็นเรื่องของวิธีการที่จะช่วยให้เด็กกลุม่ นี้เข้าใจภาษาและสามารถสือ่ ให้ผู้อื่นรับรู้ถึงความต้องการของตนได้ ไม่ว่าจะด้วยภาษาพูด ภาษามือ ภาษาท่าทาง ฯลฯ เป็นต้น ครู ต้องเข้าใจประเด็นสําคัญของปัญหาและความต้องการพิเศษของเด็กแต่ละประเภท นอกจากนี้ เด็กแต่ละคนยังมีลีลาการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เด็กบางคนเรียนรู้ได้ดีจากการฟัง บางคนก็เรียนรู้ได้ดีจากการมองเห็น บ้างก็ต้องอาศัยทั้งการฟังและการมองเห็น บางคนอาจต้องให้ ลงมือทําจึงจะเข้าใจและจําได้ ความถนัดหรือลีลาการเรียนรู้ ยังต้องสัมพันธ์กับลีลาการสอนของครู ครูที่ใช้สมองซีกซ้ายมาก มักใช้การอธิบาย แต่อาจทําให้เด็กที่ใช้สมองซีกขวาซึ่ งเรียนรู้ได้จากการมี ภาพประกอบหรือการปฏิบัติไม่เข้าใจเท่าที่ควร ครูจึงต้องสังเกตลีลาการเรียนรู้ของเด็กเพื่อนํามาปรับใช้ กับลีลาการสอนของครูอย่างเหมาะสมกันด้วย การจัดและบริหารชั้นเรียน เมื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กแล้ว ครูก็ต้องวางแผนการพัฒนา โดยจัดโปรแกรมการสอนเฉพาะบุคคล ที่รู้จักกันแพร่หลายในวงการการศึกษาพิเศษคือ การทํา IEP (Individual Education Program) ซึ่ง เกิ ดจากการทํางานร่วมกั บ ของครู ผู้ป กครอง ครูผู้ส อน ผู้บริ หารและนัก วิชาชี พอื่ นที่ เ กี่ ยวข้ องตามความจําเป็ น เช่ น นัก กิ จ กรรมบํ าบั ด นัก แก้ ไขการพู ด นักกายภาพบําบัด นักจิตวิทยา ฯลฯ เป็นต้น หลังจากนั้นจึงดําเนินการสอนตามที่ระบุใน IEP ที่เรียกกันว่า IIP (Individual Instruction Program) การจัดการศึกษาพิเศษสําหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้น อาจทําในลักษณะของโรงเรียนเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนรวมหรือเรียนร่วมแล้วแต่กรณี การบริ หารชั้นเรียนที่ มี นัก เรี ยนเรียนร่ วมหรือเรียนรวมนั้ น ครู อาจสอนไปด้วยกั น ใช้สื่ อ หลากหลาย แต่ความยากง่ายของแบบฝึกหัดและแบบทดสอบเพื่อวัดผลการเรียนรู้อาจมีความยากง่าย แตกต่างกันตามระดับความสามารถของเด็ก เช่น เด็กที่มีความสามารถพิเศษ ระดับคําถามอาจเป็นไป ในการประเมินความคิดระดับสูง แต่เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อาจเป็นคําถามที่มีความยาก น้อยกว่าคือ อยู่ในระดับของความจํา ความเข้าใจหรือการนําไปใช้ที่ไม่ซับซ้อนนัก การทําเช่นนี้ ทําให้ เด็กทุกคนมีโอกาสประสบความสําเร็จตามระดับความสามารถ ทําให้เด็กมีกําลังใจ มีความมั่นใจและ มีความสุขกับการเรียน เทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวก เป็นองค์ประกอบสําคัญยิ่งอีกประการหนึ่งที่จะอํานวยให้เด็ก ซึ่งมีความต้องการพิเศษได้เรียนรู้อย่างสะดวกสบายขึ้น เทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกมีหลายประเภท ตั้งแต่เทคโนโลยีที่ใช้กับร่างกายเพื่ออํานวยความสะดวกในการเคลื่อนไหวของผู้พิการ เช่น ไม้ค้ํายัน


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

5

เก้าอี้รถเข็น ไม้เท้าขาว ฯลฯ เทคโนโลยีด้านสถาปัตยกรรม เช่น ทางลาด สัญญาณเสียงในลิฟ ท์ หรือ สัญญาณไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมี เทคโนโลยีด้านสารสนเทศ เช่น อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ สําหรับคนหูหนวก เทคโนโลยีด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพและการศึกษา เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนในชั้นเรียนและ การเข้า ร่วมกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน ดังนั้นผู้ที่ทําหน้าที่เป็นครูหรือผู้ดูแลเด็ก ต้องเข้าใจและฝึกทําความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีประเภท ต่างๆ เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในการอํานวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ 3. การเติมเต็มศักยภาพ (Reaching Potential) วัยเรียนในระดับมัธยมศึกษาถึงอุดมศึกษา ประเด็นสําคัญในการพัฒนาเด็กวัยนี้ แม้จะไม่ได้แบ่งโดยแยกจากกันจากวัยเรียนช่วงประถมศึกษา แต่วัยนี้ เปูาหมายคือ การก้าวสู้การเติมเต็มตามศักยภาพ (Reaching Potential) การพัฒนาความสามารถในช่วงนี้ แต่เดิมเป็นการสอนซ่อมเสริม (Remedial Teaching) ซึ่งจะช่วยเติมเต็มการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา และยังไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่ควร ต่อมาได้มีการคิดรูปแบบใหม่ที่หลอมรวมแนวคิดทางการศึกษา พิเศษและจิตวิทยาเข้าด้วยกัน นัน่ คือ รูปแบบการพัฒนาที่ใช้ FLASH MODEL FLASH MODEL หมายถึง รูปแบบการพัฒนาบุคคลที่มีความต้องการพิเศษสู่ ความหวังและ ความสุขในการดําเนินชีวิต ปกติเปูาหมายหลักของการพัฒ นาเด็ก โดยเฉพาะในวัยเรียนนั้น ทางโรงเรียนมุ่งเน้นเรื่อง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นสิ่งสําคัญประหนึ่งว่า ความสําเร็จทางการเรียนคือ ดัชนีบ่งชี้ถึงความสุข ความสําเร็จของการดําเนินชีวิตในอนาคต แต่กาลเวลาที่ผ่านมา ทํ าให้เราต่างประจัก ษ์กั นแล้วว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ใช่คําตอบสุดท้ายของชีวิต โดยเฉพาะนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ที่แม้ จะสําเร็จการศึกษาออกมาแล้วก็ยังขาดทักษะในการดํารงชีวิต ทําให้ต้องเป็นภาระของผู้ปกครองและ สังคมต่อไป ทั้งๆ ที่ บางกรณีไม่ได้มีความพิการหรือ มีข้อจํากัดที่มีความเสียเปรียบอย่างรุนแรงทาง ร่างกาย ด้วยเหตุนี้แนวคิดที่เกิดจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ขององค์ความรู้จากทฤษฎี งานวิจัย และ ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานด้านจิตวิทยา ด้านการศึกษาพิเศษ จึงเกิดรูป แบบที่เ รียกย่อๆ ว่า “FLASH MODEL” ซึ่งสรุปองค์ประกอบหลักไว้ 5 ประการ คือ 1. ครอบครัว (Family: F) บทบาทของครอบครัวเป็นพื้นฐานสําคัญของชีวิตที่ต้องคํานึง 2. ภาษาและการสื่อสาร (Language: L) ภาษาและวิธีการสื่อสารคือกุญแจสําคัญสู่การ พัฒนาด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความฉลาดทางสติปัญญา อารมณ์ ความคิด ความหวังและการปรับตัว เข้ากับสังคม 3. การบําบัดทางเลือกหรือวิธีสอนทางเลือก (Alternative: A) การพัฒนาเด็กที่มีความต้องการ พิเศษนั้น นอกจากการให้เด็กเรียนรู้เพื่อการพัฒนาโดยวิธีสอนแบบต่างๆ ที่ใช้กันทั่วไปในโรงเรียนแล้ว ยังมีกลยุทธ์อื่นๆ ที่เสริมการเรียนรู้และการพัฒนาเด็ก เช่น การใช้กิจกรรมบําบัด ในรูปแบบต่างๆ เช่น พัฒนาการบําบัด การบําบัดด้วยการเล่น ศิลปะบําบัด ดนตรีบําบัด การบําบัดด้วยสัตว์เลี้ยง ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีสอนที่หลากหลายตามความต้องการพิเศษของเด็กกลุ่มนี้ โดยคํานึงถึงความต้องการ พิเศษเป็นหลัก วิธีสอนเหล่านี้ผ่านงานวิจัยที่นํามาใช้กับเด็กกลุ่มนี้แล้ว เช่น วิธีสอนแบบโฟนิกส์ วิธี VAKT คือ การใช้ประสาทสัมผัสหลายๆ อย่าง สําหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ด้านภาษา วิธี AVT สําหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่ใช้ประสาทหูเทียมหรือวิธี PECS คือ การสื่อสารโดยการ


6

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

แลกเปลี่ยนภาพสําหรับเด็กออทิสติก เป็นต้น การเลือกใช้วิธีสอนและการบําบัดที่เหมาะสม จะทําให้ เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น 4. การพัฒนาทักษะทีจ่ ําเป็น (Skills: S) การดําเนินชีวิตของบุคคลจะทําได้ดีเพียงใดจะขึ้นอยู่กับ ทักษะต่างๆ ที่จําเป็นในการดํารงชีวิต เช่น ทักษะพื้นฐานคือ ความสามารถเบื้องต้นที่บุคคลพึงมี เช่น การปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ตั้งแต่ พ่อ แม่ บุคคลในครอบครัว เพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีทักษะ การสื่อความหมาย ทักษะด้านการศึกษา ที่นักเรียนต้องเรียนรู้และปรับตัวตามกติกาของโรงเรียน ไม่ว่าจะ เป็นการเรียนในโรงเรียนเฉพาะหรือโรงเรียนที่เรียนร่วม ทั้งยังต้องเรียนรู้การบริหารเวลาของตนเองใน การเรียน นัน่ คือ การมีวินัยในตนเองโดยไม่ใช้ความพิการหรือความแตกต่างที่มีเป็นข้อต่อรอง 5. ความหวังและความสุข (Hope and Happiness: H) ในการดําเนินชีวิตด้วยการทํากิจกรรมต่างๆ ผู้เรียนควรรู้จุดมุ่งหมายว่าทําไปทําไม เรียนเพื่ออะไร เพราะทําให้เกิดความหวังและมีความสุขในการ เรียนรู้ การพัฒนาสิ่งดีๆ ที่มีในตัว ไม่มองเฉพาะสิ่งที่เป็นข้อจํากัดหรือปัญหา จะช่วยให้คนพัฒนาตนสู่ ศักยภาพได้ดีขึ้นตามแนวคิดของจิตวิทยานิมาน การพัฒนาบุคคลที่มีความต้องการพิเศษโดยใช้ FLASH MODEL นี้ ครู-ผู้ปกครอง ผู้ที่ทํางาน เกี่ยวกับบุคคลกลุ่มนี้จะต้องออกแบบกิจกรรมที่จะนํามาใช้ในการพัฒนา โดยคํานึงถึงองค์ ประกอบ ทั้ง 5 ที่กล่าวแล้ว ทั้งนี้การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ได้สังเคราะห์ มานี้ จะทําให้ผู้เรียนได้พัฒนาทั้งด้าน สติปัญญา (IQ.) ความคิดสร้างสรรค์ (CQ.) ความฉลาดทางอารมณ์สังคม (EQ. & SQ.) ความมีมานะ อดทน มีพลังสู้ชีวิต (AQ. & RQ.) โดยสอดใส่เรื่องของคุณธรรมจริยธรรมไว้ในกิจกรรมด้วยเสมอ ผู้ผ่าน การพัฒนาตามรูปแบบนี้ จะทําให้พัฒนาตนในด้านความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตน (Self Efficacy) การมองเห็นคุณค่าแห่งตน (Self Esteem) ความมีวินัยแห่งตน (Self Discipline) และความพอเพียง แห่งตน (Self Sufficiency) ซึ่งล้วนเป็นหลักประกันที่มั่นคงของความสุขอย่างยั่งยืน 4. ก้าวสู้ความเป็นเลิศ (To Excellency) การก้าวสู่ความเป็นเลิศในที่นี้หมายถึง การที่เด็ก ซึ่งมีความต้องการพิเศษ ได้ผ่านกระบวนการพัฒนาในแต่ละขั้นตอนจนบรรลุผลตามศักยภาพของ ผู้เรียน การประเมินว่าผู้ใดก้ าวสู่ ความเป็นเลิศแล้วหรือไม่ จะอาศัยวิธีก ารประเมินตามระดับ ของ ผู้เรียน (ability standard scale) คือ การพิจารณาตัดสินความสามารถของผู้เรียนเทียบกับความสามารถ ในการใช้สมองด้านต่างๆ ตามโครงสร้างการเรียนรู้ของสมองตามลําดับคือ การรับรู้ การเปรียบเทียบ การสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง การจัดกระทํา ลงมือปฏิบัติ การสร้างสังคมและ การสร้างความยั่งยืน การประเมินทํานองนี้มุ่งตอบคําถามให้สังคมที่มุ่งพัฒนาให้เยาวชนมีความสามารถพื้นฐาน พร้อมที่จะ ดูแลปรับปรุงตนเองหลังจากที่ผ่านการฝึกฝน อบรม เพื่อการพัฒนามาตามลําดับแล้ว การประเมินตาม ระดับความสามารถของผู้เรียนเทียบกับระดับความรู้นี้ มิได้เน้นเนื้อหาวิชาเป็นสําคัญดังที่เคยทํากันมา หากแต่เน้นการให้ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหาได้เอง ปฏิบัติตามสภาพแวดล้อมของตนเอง เน้นการคิด การใช้ชีวิตตามสภาพจริง สามารถวางแผนและจัดการทํ าได้เ อง มิ ใช่ต้องรอคําตอบจากการที่ มี ผู้ กําหนดให้เท่านั้น เด็กที่มีความต้องการพิเศษเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่พ้นวัยเรียน แต่ยังไม่อาจดําเนินชีวิตอย่างอิสระได้ ก็ไม่ถือว่าได้ก้าวสู่จุดของความเป็นเลิศจากกระบวนการพัฒนา เด็กกลุ่มนี้อาจต้องได้รับการประเมิน อีกครั้งว่ามีทักษะอะไรที่ขาดหายและจําเป็นต้องได้รับการพัฒนา


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

7

การก้าวสู่ความเป็นเลิศ จึงมีความหมายเพียงว่า เด็กแต่ละคนได้พัฒนาถึงระดับสูงสุดของ ศักยภาพที่มีหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่การเปรียบเทียบระหว่างบุคคล เพราะแต่ละคนมีศักยภาพที่แตกต่างกัน บทสรุป กลยุทธ์ร่วมสมั ยในการพัฒนาเด็กที่มี ความต้องการพิเศษเป็นวิธีการจัดการศึกษาพิเศษ เพื่อ พัฒนาเด็กในยุคปัจจุบันที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงและซับซ้อนกว่าเดิม การหลอมรวมองค์ความรู้จาก สาขาต่างๆ การเปิดรับ แนวคิดใหม่ ในการพัฒ นาเด็ ก ซึ่ง เปูาหมายคือ การพัฒ นาให้เ ด็ กมี ชีวิตที่ มี คุณภาพและเป็นสุขเต็มตามศักยภาพ ที่มิไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เคยเชื่อกันว่า เป็นการเตรียมตัวเด็กให้ดํารงชีวิตอย่า งเป็นสุขในอนาคต เพราะชีวิตดําเนินไปตลอดเวลาและการ เรียนรู้ในแต่ละช่วงวัย ล้วนเป็นพื้นฐานสําคัญต่อทักษะการดํารงชีวิตที่เป็นสุขอย่างยั่งยืน เอกสารอ้างอิง จรรจา สุวรรณทัต. (2554). การศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ที่ยั่งยืน. ใน สารานุกรมศึกษาศาสตร์ ฉบับพิเศษ ๖๐ ปี ๖๐ คา ศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : สหมิตรพรินท์ติ้ง แอนด์พับลิสซิ่ง .จิตวิทยาเชิงบวกกับการประยุกต์ใช้ทางการศึกษา. ใน สารานุกรมศึกษาศาสตร์ ฉบับพิเศษ ๖๐ ปี ๖๐ คา ศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : สหมิตรพรินท์ติ้ง แอนด์พับลิสซิ่ง. ศรียา นิยมธรรม. (2554). กลยุทธ์ในการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ. FLASH MODEL. กรุงเทพฯ : ไอ.คิว.บุ๊ค เซ็นเตอร์. ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์. (2554). การประเมินตามระดับของผู้เรียน. ใน สารานุกรมศึกษาศาสตร์ ฉบับพิเศษ ๖๐ ปี ๖๐ คา ศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : สหมิตรพรินท์ติ้ง แอนด์พับลิสซิ่ง. อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. (2555). ทักษะความคิด พัฒนาอย่างไร. กรุงเทพฯ : อินทร์ณน ผู้จัดทําหนังสือ. สภาการศึกษา. (2552). วารสารการศึกษาไทย, 6, 59. American Speech-Hearing Association. (2011). Augmentative and Alternative Communication. Retrieverd March 17, 2011, from http//www.asha.org/public/disorders, AAC.htm. (online). Proyer, M. & Sriwanyoing, S. (2556). International Perspective on Barriers for Children with Disabilities Educational Environments in Great Bangkok, BKK. Journal of Research and Development in Special Education, January-June. (1), 46-57. ………………………………………………..


8

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

การพัฒนาแบบวัดภูมิคุ้มกันตน The Development of A Self-Immunity Scale อรพินทร์ ชูชม * บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบวัดภูมิคุ้มกันตนที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ ตลอดจนตรวจสอบโครงสร้างของภูมิคุ้มกันตน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิต นักศึกษา ในระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จํานวน 800 คน เครื่องมือหลักที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัด ภูมิคุ้มกันตนจํานวน 30 ข้อ แต่ละข้อประกอบด้วยมาตรประเมินค่า 5 ระดับ 1) ไม่จริงเลย 2) ค่อนข้าง ไม่จริง 3) ไม่แน่ใจ 4) ค่อนข้างจริง และ 5) จริงที่สุด รวมทั้งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดอื่นๆ ที่วัดโครงสร้างที่คล้ายคลึงและแตกต่างจากแบบวัดภูมิคุ้มกันตน ได้แก่ แบบวัดการควบคุมตน แบบวัด ความเชื่ออํานาจในตน แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนและ แบบวัดการมองโลกในแง่ดี แบบวัดที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ทุกฉบับมีคุณภาพในเรื่องอํานาจจําแนก ความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดภูมิคุ้มกันตนมีคุณสมบัติทางการวัดที่ดี สามารถจําแนกนิสิตที่มีภูมิคุ้มกันตนสูงและต่ําออกจาก กันได้ และมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นชนิดความสอดคล้องภายในเท่ากับ 0.92 ผลจากการวิเคราะห์ องค์ป ระกอบพบว่า ภูมิคุ้มกันตนประกอบด้วยคุณลักษณะทางจิต 5 ด้าน ได้แก่ การพึ่ง พาตนเอง สติสัม ปชัญ ญะ ความหวัง การเผชิญ ปัญ หา และความยืดหยุ่น และผลจากการตรวจสอบความ เที่ยงตรงเชิงเอกนัยพบว่า ภูมิคุ้มกันตนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ การควบคุม ตน ความเชื่ ออํานาจ ในตน การเห็นคุณค่าในตน และ การมองโลกในแง่ดี แบบวัดภูมิคุ้มกันตนสามารถนําไปประยุกต์ใช้ ในทางปฏิบัติ รวมทั้งใช้ทดสอบและพัฒนาทฤษฎี คาสาคัญ: ภูมิคุ้มกันตน ความยืดหยุ่น การพึ่งพาตนเอง การเผชิญปัญหา คุณสมบัติทางการวัด Abstract The purposes of this study were to develop a valid and reliable self-immunity scale and verify dimensions of self-immunity. The sample consisted of 800 undergraduate students from Kasetsart university, Ramkhamhang univeristy, Thammasat university, and Srinakharinwirot university. The major instrument was self-immunity scale that contained 30 items. Each item was rated on a five-point rating scale, from 1) never true of me, 2) almost never true of me, 3) undecided, 4) almost true of me, and 5) ______________________ * รองศาสตราจารย์ ดร., ประจําสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

9

always true of me. Besides, there were other measures of similar and different constructs from the self-immunity scale such as self-control scale, locus of control scale, self-esteem scale and optimism scale. All measures were acceptable in terms of discrimination power, validity, and reliability. The results indicated that the selfimmunity scale had good psychometric properties and distinguished between those with greater and lesser self-immunity. The self-immunity scale's internal consistency reliability coefficient was .92. Based on a factor analysis, five dimensions of selfimmunity were identified. There were the factors of mindfulness, self-reliance, hope, coping, and resilience. Self-immunity was positively correlated with self-control, locus of control, self-esteem and optimism. In fact, the positive correlations among these dispositional constructs support convergent validity of self-immunity. The selfimmunity scale has the potential for significant usage in the development and testing of theory, as well as practical implications. Keywords: Self-immunity, resilience, self-reliance, coping, psychometric properties Introduction The philosophy of sufficiency economy has been developed by His Majesty King Bhumipol Adulyadej and has been used as the core principle in 10th and the Current 11th National Economic and Social Development Plan (Office of National Economic and Social Development Board, 2010). The philosophy provides guidance on appropriate conduct covering numerous aspects of life that will lead to a better quality of life and be able to cope appropriately with challenges arising from globalization and other changes. Sufficiency economy is a philosophy that stresses the three principles (moderation, reasonable, and self-immunity) and requires two conditions: knowledge and morality. Such a way of life based on three principles with the two conditions, Thai people would be able to live securely in harmony amongst rapid socioeconomic, environmental, and cultural changes in the world. According to the philosophy of sufficiency economy, self-immunity refers to the ability of an individual to protect oneself from helplessness and insecurity risks and to cope appropriately with events that are unpredictable or uncontrollable. In other words, self-immunity reflects self-reliance (the ability to tolerate and deal with all kinds of problems by oneself). As a result, self-immunity is an important characteristic that is necessary to be instilled and developed in Thai people. Although self-immunity has been identified as a buffer for preventing various risks that individual may encounter in one's life, there are few studies investigating


10

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

the structure of self-immunity. Specifically, a standardized measure of self-immunity is needed. Consequently, this study aimed to develop a reliable and valid selfimmunity scale and verify dimensions of self-immunity. The development and validation of self-immunity scale is a necessary step that will facilitate and extend the body of knowledge in psychological characteristics. These benefits should have positive effects on individual well-being. Conceptual and Theoretical Perspectives on Self-Immunity According to the philosophy of sufficiency economy, self-immunity is an important protective factor against behavioral problems and adversity such as helplessness and anxiety (Office of National Economic and Social Development Board, 2010). It is suggested that individuals with high self-immunity adopt adaptive strategies that can deal with problems such as spending more time and effort solving problems. In addition, self-immunity serves as an essential role in helping individuals to adapt functionally in the midst of challenges and difficulties. Based on theoretical perspectives of sufficiency economy (Office of National Economic and Social Development Board, 2010), personal resources (Van den Heuvel et al., 2010), and positive psychology (Snyder & Lopez, 2002), self-immunity is a psychological construct and the dimensions of self-immunity may relate to resilience, mindfulness, coping, hope, and self-reliance. Self-reliance According to the American Heritage Dictionary of the English Language (2000), self-reliance is being independent, which is being to depend on one’s own capabilities, judgment, or resource. The concept of living in a state of selfreliant sustainability involves a natural simple lifestyle with enough for basic needs (Marinova & Hossain, 2006; Office of National Economic and Social Development Board, 2010). It does not encourage ill health, famine, illiteracy or inadequate living standards. Self-reliant living is a viable means of caring for nature and other human beings, and hence, for sustainability. Thus, self-reliance in terms of sustainability consisted of five characteristics: simplicity, responsibility, respect, commitment, and creativity (Marinova & Hossain, 2006). Self-reliance is promoted as a coping strategy to reduce service use and increase client’s resources (Ortega & Alegria, 2002). Moreover, self reliance is positively related to self-esteem that has often been used as an indicator of well-being (e.g., Snyder & Lopez, 2002). Thus, self-reliance is selfworth. People with high self-reliance perceive themselves as successful and effective. Mindfulness Originating in contemplative traditions such as Buddhism, mindfulness is defined as a state of enhanced attention to and awareness of, what is


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

11

taking place in the present (Brown, Ryan & Creswell, 2007). Researchers have viewed mindfulness as a self-regulation, and a meta-cognitive skill (Brown, Ryan & Creswell, 2007). Many studies of mindfulness have reported on positive correlations between mindfulness and psychological health, life satisfaction, conscientiousness selfesteem, empathy, sense of autonomy, competence, optimism, and pleasant affect. Studies have also demonstrated significant negative correlations between mindfulness and depression, difficulties in emotion regulation, and general psychological symptoms (Brown, Ryan & Creswell, 2007). Coping The construct of coping has been defined as the behavioral and cognitive efforts of an individual to manage the internal and external demands encountered during a specific stressful situation (Lazarus & Folkman, 1984). According to the coping trait paradigm, coping represents the actions that people usually perform under stressful circumstances. Several coping strategies such as taskoriented coping, emotion-oriented coping, avoidance-oriented coping, and approachoriented coping have been studied. Coping is positively associated with the use of more approach than avoidance strategies, which generally results in more positive affective experiences (Connor-Smith & Flachsbart, 2007). Higher coping is associated with the use of problem solving, cognitive restructuring, emotional social support, instrumental social support, and emotion regulation (Connor-Smith & Flachsbart, 2007). In sum, individuals high in coping tend to use more problem-focused coping strategies, which appear effective when used in situations over which the individuals perceive they have some control (O’Brien & DeLongis, 1996). Hope Based on a synthesis of theoretical works on hope, hope is necessary to overcome obstacles and involve both wishing and planning. In addition, hope is positively connected with human well-being or betterment. Hope as a psychological construct encompassing affirmative beliefs about one’s ability to accomplish personal goals (Snyder, 2002). Snyder’s formulation of hope comprises two related constructs namely Pathways and Agency. The Pathways component refers to an individual’s perceived means or routes available to achieve goals. Agency is described as the belief in one’s ability to succeed in using pathways to realize desired aims. High Agency is characterized by determination, motivation and energy directed toward meeting one’s goals. Studies have found that higher hope is related to better adjustment, life satisfaction, well-being, academic achievement, and higher job performance (Snyder & Lopez, 2002). Resilience Resilience has been defined as the ability to bounce back from adverse events, or cope successfully (Rotter, 1985). Resilience or stress resistant is


12

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

related to process of adaption under stress, or the capacity to maintain positive outcomes in the face of negative life events. Several studies have shown that at-risk adolescents with lower levels of resilience are more likely to report mental health problems (e.g., depression, hopelessness, and loneliness), interpersonal conflicts (e.g., disconnection with others), behavioral disorders (e.g., violent behaviors, smoking and drug abuse, and sexual activity), and poor academic performance than those with higher levels of resilience (Van den Heuvel et al., 2010). Method Sample Subjects were 800 undergraduate students from Kasetsart university, Ramkhamhaneng university, Srinakharinwirot university, and Thammasat university. Two hundred students from 1st, 2nd, 3rd, and 4th year were randomly selected in each university. Sixty-two percent of the sample were female, and 38% were male. The average age for participants was 21 with the range between 18-25 years old. Measure Scale Development of Self-Immunity To develop the reliable and valid self-immunity scale, the operational definition and content of the scale were drawn from philosophy of sufficiency economy (National Economic and Social Development Board, 2010), personal resources (Van den Heuvel et al., 2010), and positive psychology (Snyder & Lopez, 2002). An initial pool of 50 items with five-point Likert scales, ranging from 1) never true of me , 2) almost never true of me, 3) undecided, 4) almost true of me , and 5) always true of me, was constructed according to operational definition of self-immunity. Some items were positively worded and some items were negatively worded. At a preliminary examination for psychometric properties, the 50 items of self-immunity scale were administered to 100 undergraduate students to estimate an initial internal consistency reliability. Moreover, the Pearson product moment correlation coefficients between each item and total score were also calculated. Items which were not significantly related to the total score were removed from the scale. Thirty items remained in the final version of the scale. The total score ranges from 30-150, with higher scores reflecting greater self-immunity. The self-immunity scale consists of five domains. The domains are described as follows: Mindfulness refers to self-awareness in thinking, talking, and acting appropriately. Self-reliance refers to one's ability to do things by oneself.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

13

Hope is defined as the ability to plan pathways to desired goals despite obstacles. Resilience refers to the ability to adapt and bounce back from adverse events and cope with difficulties. Coping is defined as the conscious approach efforts to manage or solve problems and demands. Additional Measures The Self-report inventories with five-point Likert scales ranging from 1) never true of me to 5 (always true of me) were additional measures to seek evidence of convergent and discriminant validity of self-immunity. The inventories measuring self-control, self-esteem, and locus of control were adopted from self survey developed by Choochom (2012). Each scale was described below. Optimism Scale consisted of eight items assessing an individual's disposition in positive way of life and having hope. The optimism items were adapted from optimism subscale (Bar-On, 1997). The internal consistency reliability for this optimism scale was .71. Self-control scale with eight items assessed an individual's ability to control his/her own emotion, desires, and impulses, as well as to refrain undesirable acts. The internal consistency reliability of this scale was .76. Self-esteem scale with eight items measured the general approval of the self. The internal consistency reliability of this scale was .80. Locus of control scale with eight items measured the perception of an individual’s ability to control over his or her environment. The internal consistency reliability of this scale was .74. Data Analysis Data were analyzed in three stages. The preliminarily stage (n = 100) was to examine item analysis (intercorrelation items and item-total correlations) with the 50 initial self-immunity items. The internal consistency reliability with Cronbach's Alpha coefficient was also estimated. The second stage (n = 100) was to explore the underlying factor structure of the 30 self-immunity items using exploratory factor analysis. Principle component with varimax rotation was used to extract factors. Eigenvalues ( > 1) and the scree plot were used to determine the number of factors. The last stage (n = 800) was to confirm the factorial structure of 30 selfimmunity items derived from the exploratory factor analysis by using confirmatory


14

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

factor analysis. This data set was also used to replicate the reliability. In addition, a correlation analysis of convergent and discriminant validity was conducted by correlating with similar and dissimilar constructs. Sample items from the self-immunity scale Resilience I am able to get through the difficult times. I accept any changes if the change turns to be better. I am discouraged to handle with obstacles. Self-reliance, When working with others, I tend to rely on their ideas more than my own. I am confident in myself to get through difficult times. I can control my own lives. Hope I energetically pursue my goals. My life has meaning. I can find a way to solve the problem. Coping I think about what I need to know to solve the problem. I withdraw problems because I can not change anything. I get upset when facing problems and let my emotions out. Mindfulness I find myself doing something without paying attention. I often lose my mind. I find it is difficult to stay focused on what is happening in the present. Results Reliability The internal consistency reliability coefficient for the full scale of self-immunity was high (Cronbach's alpha =.92) and item-total correlations ranged from .31 to .64. The Cronbach's alphas assessing the internal consistency of subscales on mindfulness, self-reliance, hope, resilience, and coping were .65, .72, .79, .83, and .67 respectively.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

15

Exploratory Factor Analysis Factor analysis was conducted on 30 items. Principle component analysis with varimax rotation was used to extract factors. The result from factor analysis revealed a five-factor solution, which accounted for 57% of variance. The first factor had 10 items and it accounted for 30% of variance. This factor was labeled “resilience” because the variables in this factor were all related to adapting and bouncing back from adversity (e.g., I am able to get through the difficult times). The second factor contained 7 items that pertained to self-reliance, autonomy, and independence (e.g., when working with others, I tend to rely on their ideas more than my own). This factor was called “self-reliance” and it accounted for 11% of variance. The third factor was named “hope” and it accounted for 7% of variance. The 6 items of the third factor reflected the ability to plan pathways to desired goals despite of obstacles (e.g., I energetically pursue my goals”). The fourth factor was called “coping” and it accounted for 5% of variance. This factor contained 4 items concerning approach coping strategy (e.g., I think about what I need to know to solve the problem). The last factor (3 items) was named “mindfulness” because the items in this factor were all related to awareness of thinking, feeling, and acting (e.g., I find myself doing something without paying attention) and it accounted for 3% of variance. Inter-factor correlations among self-immunity factors ranging from .41 to .65 are presented in Table 1. The factors were correlated to each other suggesting that these are all dimensions of the same trait. Table 1 Inter-factor Correlations among Self-immunity Factors SelfMindfulness Hope Coping reliance Self-reliance 1 Mindfulness .41** 1 Hope .60** .28** 1 Coping .65** .48** .42** 1 Resilience .63** .43** .49** .59** ** Significance at .01 level

Resilience

1

Confirmatory Factor Analysis The result from exploratory factor analysis revealed that self-immunity was a unidimensional scale comprising five factors. As a result, a confirmatory factor analysis using AMOS was conducted on self-immunity scale to determine whether the factorial structure of the self-immunity scale was


16

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

five-factor model as hypothesized. The goodness of fit of the five factor model, as evidenced by a variety of indices, was acceptable: Chi-square statistics (2 = 4.798, p = .091), goodness of fit (GFI = .997) , adjusted goodness of fit index (AGFI = .982), comparative fit index (CFI = .998), root mean square error of approximation (RMSEA = .042). The results of fit indices indicated that the data fitted the model very well. The model is shown in Figure 1. Each of the hypothesized factor loadings was statistically significant at the .01 level, and all of the standardized factor loadings were higher than .40. Five factors shown in Table 2 were mindfulness ( = .49), self-reliance ( = .85), hope ( = .69), resilience ( = .75), and coping ( = .78). In other words, the self-immunity scale was consistent with its theoretical framework indicating the

construct validity. Figure 1 Confirmatory Factor Analysis of Self-Immunity Convergent Validity Convergent validity was tested by using related constructs that self-immunity has been theoretically and empirically associated with in previous studies (Van den Heuvel, et al., 2010). The self-immunity scale was positively correlated with optimism (r = .76, p < .001), self-control (.71, p < .001), selfesteem (.75, p < .001), and locus of control (.62, p < .001). In fact, the positive correlations among these dispositional constructs support convergent validity of selfimmunity. It was also found that there were high correlations among self-immunity subscales, ranging from .41 to .65.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

17

Table 2 Factor Loadings of Self-Immunity for the Five-Factor Model Confirmatory Factor Analysis Self-immunity Factor loadings R2 Self-reliance .850** .722 Mindfulness .491** .241 Hope .690** .476 Coping .780** .608 Resilience .745** .555 2  = 4.798, p = .091; AGFI = .982; CFI = .998; RMSEA = .042 ** Significance at .01 level Discriminant Validity According to discriminant validity, dissimilar constructs of self-immunity should not be related to each other. In this study, self-immunity was not correlated with grade (r = .07) and knowledge concerning sufficiency economy philosophy (r = .05). Discussion In accordance with the research objectives of this study, the development and validation process undertaken for the self-immunity scale result in five factors scale that shows acceptable levels of reliability, convergent and discriminant validity. In addition, it was found that items were positively correlated with total scores of self-immunity at .01 significant level, indicating that self-immunity scale measures the same psychological trait or construct. Similarly, the results from exploratory and confirmatory analyses showed that the self-immunity scale was consisted of five factors that the self-immunity scale was consistent with its theoretical framework indicating the construct validity. Moreover, the five factors of the self-immunity scale were also positively related to each other. It is implied that the self-immunity scale can be assessed as a general self-immunity or an individual factor of self-immunity. However, there were not equal numbers of items in factors. Consequently, future research may develop a self-immunity scale that has the same numbers of items in factors. Although the results of this study indicated that the self-immunity had convergent validity, one should be aware of all related constructs using the same type of Likert scale. As a result, it may appear mono-method bias and affect convergent validity. Recommendations for Future Research In closing, at least three important recommendations are based on the above results and discussion. First, it may be useful to validate self-immunity scale in terms


18

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

of antecedents and consequences of self-immunity model. This kind of the model could help clarify the conditions under which self-immunity scale correlates more or less with each other. In addition, the causal model also facilitates understanding of individuals' self-immunity. Second, future research should not only continue to focus on the refinement of self-immunity scale, but also on the development of alternative methods to measure self-immunity other than a self-report measure in order to establish convergent validity. Lastly, the results of this research need to be reexamined to determine if they can be replicated with other students and different population. Furthermore, other reliability estimates such as test-retest reliability should be conducted in future studies to assess the stability of individuals' selfimmunity overtime. Implications for Practice Two areas can be identified where the self-immunity scale might be applied. The first application is to use the self-immunity scale for research studies so as to gain body of knowledge concerning psychological characteristics and well-being. The second application of the scale is that the self-immunity scale can be used as a tool to assist in screening university students to find out students’ level of self-immunity. In practice scores on these sub scales may guide the development of interventions for at risk individuals who have low self-immunity. References Bar-On, R. (1997). BarOn emotional quotient inventory: Technical manual. Toronto: Multi- Health System. Brown, K. W., Ryan, R. M., & Creswell, J. D. (2007). Mindfulness: Theoretical foundations and evidence for its salutary effects. Psychological Inquiry, 18(4), 211-237. Connor-Smith, J. K., & Flachsbart, C. (2007). Relations between personality and coping: A meta- analysis. Journal of Personality and Social Psychology, 93(6), 1080-1107. Choochom, O. (2012). Antecedents and consequences of youths’ psychological immunity. Journal of Behavioral Sciences,18(2), 1-15. Lazarus, R.S. & Flokman, S. (1984). Stress,appraisal, and coping. New York: Springer Publishing Co. Marinova, D. & Hossain, A. (2006). Principles for self reliance and sustainability: Case study of Bangladesh. Institute for Sustainability and Technology Policy. Murdoch University, Australia. Office of National Economic and Social Development Board. (2010). Sufficiency economy. Available at http://www.sufficiencyeconomy.org/old/en/files/4.pdf. (15 August 2012).


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

19

O' Brien, T. B. & DeLongis, A. (1996) The interactional context of problem-, emotion-, and relationship-focused coping: the role of the big five personality factors. Journal of Personality, 64 (4), 775-813. Ortega, A. N. & Alegria, M. (2002). Self-reliance, mental health need, and the use of mental health care among Island Puerto Rican. Mental Health Services Research, 4(3), 131-140. Editors of The American Heritage Dictionaries of the English Language. (2000). The American Heritage Dictionary of the English Language. Boston: Houghton Miffin Company Snyder, C. R., & Lopez, S. J. (2002). Handbook of positive psychology. New York: Oxford University Press. Van den Heuvel, et al. (2010). Personal resources and work engagement in the face of change. In J. Houdmont & S. Leka (Eds.), Contemporary occupational health psychology, Vol. 1, Oxford: Wiley-Blackwell. ………………………………………………..


20

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

การระบุ ตั ว แปรและความสั ม พั น ธ์ ข องตั ว แปรในโมเดล ทางจิ ต วิ ท ยา Determining Psychological Variables and Their Relationships in a Research Model: A Cautionary Note สักกพัฒน์ งามเอก 1 และ สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต 2

บทคัดย่อ สําหรับการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างที่มีการเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียวนั้น การระบุตัว แปรและความสัมพันธ์ร ะหว่างตัวแปรเป็นเรื่องที่สําคัญยิ่ง นักจิตวิท ยาต้องออกแบบโมเดลให้เป็น แบบจําลองที่ดีของปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาหรือทางสังคมที่ต้องการศึกษา นักจิตวิทยานอกจาก จะต้องมีความรู้ที่มากพอเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆแล้ว ยังต้องรู้จักธรรมชาติของตัวแปร (เช่น ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรส่งผ่าน ตัวแปรกํากับ) ที่มีบทบาทแตกต่างกันออกไปด้วย รวมทั้งข้อตกลงเบื้องต้น ทางสถิติและการวิจัยที่จะช่วยให้โมเดลการวิจัยนั้นมี ความสอดคล้องกับปรากฏการณ์และมี ความ เหมาะสมมากขึ้นสําหรับการอนุมานสาเหตุ ในบทความฉบับนี้ผู้เขียนได้อภิปรายเกี่ยวกับแนวคิดและ มุมมองต่างๆ ในการออกแบบโมเดลการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นสําหรับการสร้าง โมเดลทางจิตวิทยา คาสาคัญ: การวิจัยทางจิตวิทยา โมเดลสมการโครงสร้าง ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรส่งผ่าน ตัวแปรกํากับ Abstract In order for a research model to be useful as a basis for planning psychological interventions or designing future, more sophisticated (e.g., longitudinal) studies, it has to properly and meaningfully represent the psychological phenomenon under study. This is especially true when psychologists design a correlational study (i.e., collecting data at one time) with a structural equation modeling approach because causal inferences could not be empirically drawn from this kind of work. To this end, knowledge about psychological theories and the nature of psychological constructs is necessary but may not be sufficient. __________________________ 1 อาจารย์ประจําคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 รองศาสตราจารย์ ดร., วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

21

The authors discussed different roles of variables (i.e., independent and dependent variables, mediators, and moderators) as well as some statistical assumptions and conceptual frameworks as an initial guideline when determining a research model in psychology. Keywords: Psychological research, structural equation model, independent and dependent variables, mediator, moderator การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (structural equation modeling) เป็นที่นิยมอย่าง แพร่หลายในการวิจัยทางจิตวิทยาและสัง คมศาสตร์ ทั้ง นี้ด้วยการวิเคราะห์ดัง กล่าวสามารถตอบ คําถามการวิจัยได้หลากหลายและลึก ซึ้ง รวมทั้งเป็นการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝง (latent variable) ที่ถือว่าไม่มีความคลาดเคลื่อนในการวัด ซึ่งเหมาะสมกับตัวแปรทางจิตวิทยาที่ส่วน ใหญ่เป็นภาวะสันนิษฐาน (hypothetical construct) และไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง เช่น ความคิด อารมณ์หรือบุคลิกภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้งานวิจัยจํานวนหนึ่งได้ระบุความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรในโมเดลสมการโครงสร้างโดยไม่สอดคล้องกับปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาและสังคม อาจเนื่อง ด้วยสาเหตุหลายประการ ตั้งแต่ความไม่เข้าใจธรรมชาติของตัวแปรและทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์ อย่างแจ่มแจ้ง ไปจนถึงความไม่สันทั ดในเรื่องระเบียบวิธีการวิจัยและสถิติ เป็นผลให้ง านวิจัยทาง จิตวิทยาไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร บทความที่อธิบายและสาธิตเทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างมีอยู่หลายบทความ (Anderson & Gerbing, 1988; Buhi, Goodson, & Neilands, 2007; Violato & Hecker, 2007) รวมทั้งบทความที่นําเสนอเกณฑ์การแปลผล (Hu & Bentler, 1999) แต่บทความที่กล่าวถึงมุมมอง เกี่ยวกับการกําหนดตัวแปรและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในโมเดลยังมีอยู่น้อย (Holmbeck, 1997 ในกรณีของโมเดลอิ ท ธิพ ลส่ง ผ่านและอิท ธิพลกํ ากั บ ) ดัง นั้นวัตถุป ระสงค์ของบทความนี้คือ การ นําเสนอแนวคิดและมุมมองต่างๆ ที่อาจจะช่วยให้นักจิตวิทยาและนักวิจัยสามารถสร้างโมเดลศึกษา ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น โดยจะเน้นไปที่ประเด็นของการอนุมานสาเหตุและ งานวิจัยที่มีการเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียวหรือเป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (correlational study) ความเห็นเกี่ยวกับการอนุมานสาเหตุในการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างมีหลากหลาย แต่ คําตอบที่ดูเหมือนจะชัดเจนมากที่สุดมาจาก Hoyle และ Smith (1994) ที่กล่าวว่า ในการอนุมาน ความเป็นสาเหตุระหว่างตัวแปรนั้น แท้จริงแล้วจะต้องคํานึงถึงกระบวนการออกแบบงานวิจัยเป็นหลัก มิใช่เทคนิคการวิเคราะห์ข้อ มูลแต่อย่างใด ซึ่งประเด็นนี้สอดคล้องกับคํากล่าวของ Wright (1934) ที่ว่า การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์เส้นอิทธิพล (path coefficient) ไม่ได้เป็น “การพิสูจน์” ความเป็น สาเหตุระหว่างตัวแปร แต่เป็นการคํานวณหา “ขนาดอิทธิพล” ของความเป็นสาเหตุนั้นต่างหาก เป็น การอธิบายปรากฏการณ์เชิงปริมาณที่ต้องทําควบคู่กับผลที่ได้จากการวิจัยประเภทอื่นๆ เช่น การวิจัย เชิงทดลอง การวิจัยระยะยาว หรือแม้แต่การวิจัยเชิงคุณภาพ ส่วนการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ที่มีการเก็บ ข้อมูลเพียงแค่ครั้งเดียวนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่นักวิจัยจะสามารถอนุมานความเป็นสาเหตุและ ผลลัพธ์ระหว่างตัวแปรได้ ไม่ว่าจะใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบใดก็ตาม ดังนั้น นักจิตวิทยาไม่


22

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

ควรที่ จะด่วนสรุปความเป็นสาเหตุจ ากผลการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ แต่ควรที่ จะใช้ผลการวิจัยนี้ เป็น หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นให้นักจิตวิทยาได้มีโอกาสที่จะต่อยอดสร้างงานวิจัยระยะ ยาวหรืองานวิจัยเชิงทดลองต่อไป1 หลักเกณฑ์กว้างๆ ในการสร้างโมเดลสมการโครงสร้างคือ โมเดลที่ดีนั้นต้องสามารถจําลอง ปรากฏการณ์ที่นักจิตวิทยาต้องการศึกษาได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้นักจิตวิทยาจะสามารถนําเอาข้อมูล จากโมเดลนั้นมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบการจัดกระทํา (intervention) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ของบุคคลและสังคม หรือการออกแบบระเบียบวิธีวิจัยที่มี ความซับซ้อนมากขึ้น จากหลักเกณฑ์ นี้ ผู้เ ขียนจะนําเสนอมุ มมองต่างๆ เกี่ ยวกับ การสร้ างโมเดลทางจิตวิท ยา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งโมเดล สมการโครงสร้าง) โดยแบ่งเนื้อหาในบทความออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ การอภิปรายเกี่ยวกับ ตัวแปรเชิงบุคลิกภาพ ตัวแปรตามและตัวแปรต้น ตัวแปรส่งผ่านและ ตัวแปรกํากับ การใช้โมเดลการ วัดตัวแปรแฝงบุคลิกภาพและสภาวะ และการกําหนดกรอบตัวแปรที่อาจมีความคล้ายคลึงกัน โดยใน แต่ละส่วนผู้เขียนจะนําเสนอปัญหาพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ ที่อาจจะช่วยให้นักจิตวิทยาสามารถ กําหนดโมเดลสําหรับการอนุมานสาเหตุได้แม่นตรงยิ่งขึ้น บุคลิกภาพ โดยทั่ วไปแล้วบุคลิก ภาพ (personality) ของบุคคลนั้นถือเป็นสิ่ง ที่ ค่อนข้างคงที่ มี ความ สม่ําเสมอตลอดเวลาภายใต้สถานการณ์ที่แตกต่างกัน และเปลี่ยนแปลงได้ยาก คําถามที่เกี่ยวข้องกับ โมเดลสมการโครงสร้างคือ อะไรคือบทบาทที่เ หมาะสมของตัวแปรเชิง บุคลิก ภาพในการอธิบ าย ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่า บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก ตัวแปรเชิง บุคลิกภาพจึงไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นตัวแปรต้นหรือตัวแปรตามในโมเดล ลองนึกถึงโมเดลที่แสดง ความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างตัวแปรต้น (x) และตัวแปรตาม (y) ถ้านักจิตวิทยาต้องการออกแบบการ จัดกระทําตามโมเดลสมการโครงสร้างเพื่อเพิ่มระดับของตัวแปร y ในกลุ่มประชากร นั่นหมายความว่า นักจิตวิทยาจะต้องหาทางเพิ่ มระดับของตัวแปร x เสียก่ อน แต่เนื่องจากตัวแปร x เป็นตัวแปรเชิง บุคลิกภาพของบุคคล การเปลี่ยนแปลงจึงทําได้ยาก ทําให้คุณค่าของโมเดลในการนําไปประยุกต์ใช้ลดลง ด้วยเหตุผลเดียวกัน ตัวแปรเชิง บุ คลิกภาพอาจจะไม่เหมาะสมที่จ ะเป็นตัวแปรตามเพราะ ความคงที่ของมัน ถึงแม้ว่านักจิตวิทยาสามารถออกแบบโมเดลที่ “ทํานาย” ความแปรปรวนของตัวแปร เชิงบุคลิกภาพได้ค่อนข้างมาก กล่าวคือสัมประสิทธิ์การอธิบาย (coefficient of determination) มี ค่ า ค่อนข้างสูง การนําโมเดลนี้ไปใช้เพื่อเพิ่มหรือลดระดับของบุคลิกภาพนั้นเป็นสิ่งที่ทําได้ลําบาก เพราะ นอกจากเป็นตัวแปรที่มี ความคงที่สูงแล้ว บุคลิก ภาพของบุคคลยัง ถูก หล่อหลอมด้วยอิท ธิพลจาก หลากหลายปัจจัย มันจึงไม่สมเหตุสมผลสักเท่าใดที่จะบอกว่า การเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพนั้น สามารถจัดกระทําได้จากการเปลี่ยนแปลงตัวแปรเพียงไม่กี่ตัวแปรในโมเดล ยิ่งไปกว่านั้นการกําหนดตัว แปรต้นจํานวนมาก ยังทําให้โมเดลขาดความประหยัด (parsimonious) และทํ าให้นัก จิตวิทยาไม่ สามารถให้ความสนใจกั บ ตัวแปรต้นทุ ก ตัวแปรในโมเดลได้เ มื่ อต้องออกแบบการจัดกระทํ าเพื่ อ เปลี่ยนแปลงระดับบุคลิกภาพของบุคคล บุคลิกภาพอาจจะเป็นตัวแปรที่เหมาะสมที่จะช่วยในการอนุมานสาเหตุระหว่างตัวแปรต้น และตั วแปรตามในโมเดลสมการโครงสร้าง [ถึง แม้ ว่านั ก จิตวิ ท ยาบางคนนิยามความหมายของ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

23

“บุคลิกภาพ” แตกต่างออกไปจากความหมายของ “บุคลิกลักษณะ” (trait; Mayer, 2003) สําหรับ บทความฉบับนี้ผู้เขียนขอรวมสองสิ่งนี้อยู่ภายใต้หมวดหมู่เดียวกัน ] ข้อตกลงเบื้องต้นหนึ่งข้อสําหรับ การอนุมานสาเหตุในโมเดลสมการโครงสร้างคือการแยกอิทธิพล (isolation; Hoyle & Smith, 1994; Kline, 2012) กล่าวคือ ในการอนุม านสาเหตุร ะหว่างตัวแปรต้น (x) และตัวแปรตาม (y) นัก วิจัย จะต้องแยกอิทธิพลของตัวแปร x ออกจากตัวแปรอื่นๆ ที่สามารถเป็นสาเหตุของตัวแปร y ได้ หรือ ออกจากตัวแปรที่อาจจะเป็นสาเหตุร่วมของทั้งตัวแปร x และ y ซึ่งสําหรับการวิจัยเชิงทดลองแล้ว นักวิจัยสามารถคงข้อตกลงเบื้องต้นนี้ไว้ได้จากการสุ่มผู้เข้าร่วมการวิจัยเข้าสู่เงื่อนไขที่แตกต่างกันของ ตัวแปรต้น แต่สําหรับการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ที่มีการเก็บข้อมูลเพียงแค่ครั้งเดียวนั้น นักวิจัยสามารถทํา ได้แค่ควบคุมอิ ทธิพ ลของตั วแปรควบคุม หรือตัวแปรแทรกซ้อนที่ นัก วิจัยไม่ ได้ต้องการที่จ ะศึกษา เท่านั้น ซึ่งในการออกแบบงานวิจัยนั้น นักวิจัยไม่สามารถเก็บข้อมูลตัวแปรควบคุมทุกตัวแปรที่น่าจะมี อิทธิพลต่อตัวแปรตามได้ จึงไม่สามารถทําการแยกอิทธิพลได้อย่างสมบูรณ์ สิ่งที่ดีที่สุดที่นักวิจัยพอจะ ทําได้คือ เลือกเก็บข้อมูลตัวแปรบางตัวที่เห็นว่ามีอิทธิพลต่อตัวแปรตามแต่ไม่ได้ต้องการที่จะศึกษามา ควบคุม สิ่งนี้เรียกว่า การแยกอิทธิพลบางส่วน (partial isolation) นอกจากตัวแปรเชิง ลักษณะประชากร (เช่น อายุและเพศ) แล้ว ในบางกรณีตัวแปรเชิง บุคลิกภาพอาจจะเป็นตัวแปรที่เหมาะสมที่นักวิจัยเลือกมาควบคุมอิทธิพล เพื่อที่การอนุมานสาเหตุ ระหว่างตัวแปร x และ y จะมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะตัวแปรเชิงบุคลิกภาพนั้นถือ เป็นตัวแปรทํานายที่ค่อนข้างกว้าง สามารถทํานายตัวแปรผลลัพธ์ได้หลากหลาย (Ozer & BenetMartínez, 2006) การทดสอบว่าตัวแปรต้นที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น ความคิด อารมณ์ ทัศนคติ และการรับรู้ต่างๆ สามารถทํานายตัวแปรตามได้เมื่อควบคุมอิทธิพลของบุคลิกภาพแล้วนั้น ทําให้ นักจิตวิทยามีความมั่นใจมากขึ้นในการอนุมานสาเหตุอิทธิพลจากตัวแปรต้นสู่ตัวแปรตาม ดังนั้น เมื่อ นักจิตวิทยาต้องการที่จะใช้ตัวแปรเชิงบุคลิกภาพในบทบาทของตัวแปรควบคุมเพื่อแยกอิทธิพลของตัว แปรต้นที่มีต่อตัวแปรตามนั้น นักจิตวิทยาจะต้องตั้งสมมติฐานและรายงานให้ชัดเจนว่า ตัวแปรเชิง บุคลิกภาพมีบทบาทอะไร และตัวแปรใดเป็นตัวแปรต้นที่นักจิตวิทยาสนใจศึกษา บทบาทที่เหมาะสมอีกประการหนึ่งของบุคลิกภาพคือ การเป็นตัวแปรกํากับอิทธิพลของตัว แปรต้นที่มีต่อตัวแปรตาม ในการวิเคราะห์อิทธิพลกํากับ นักจิตวิทยามักจะตั้งคําถามว่า ความสัมพันธ์ ระหว่ างตัว แปรต้ นและตัว แปรตามนั้น เหมื อ นหรือ ต่า งกั นอย่า งไรระหว่า ง “กลุ่ ม บุ คคล” หรื อ “เงื่อนไข” ที่แตกต่างกัน เช่น Robinson และคณะ (2005) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทาง จิตวิทยาและการรับรู้ความเจ็บปวดในกลุ่มผู้ปุวยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง และพบว่าในกลุ่มผู้ชาย ความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลและการรับรู้ความเจ็บปวดมีระดับสูงกว่าในกลุ่มผู้หญิง แน่นอน ว่ า เราสามารถวิ เ คราะห์ ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งตั ว แปรต้ น และตั ว แปรตาม และเปรี ย บเที ย บ ความสัมพันธ์นั้นระหว่างบุคคลที่มีระดับบุคลิกภาพแตกต่างกันได้ด้วย (อ่านในส่วน “ตัวแปรส่งผ่าน และตัวแปรกํากับ”) ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม การกําหนดตัวแปรตามและตัวแปรต้นนั้นไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและตายตัว เหตุผลหนึ่งคือ เนื่องจากปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาส่วนมากจะแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลสองทางระหว่างตัวแปรอยู่เสมอ


24

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

ด้วยเหตุนี้ ตัวแปรที่เป็นตัวแปรตามของงานวิจัยชิ้นหนึ่ง อาจจะเป็นตัวแปรต้นของงานวิจัยอีก ชิ้นย่อม เป็นไปได้ ดังนั้น การกําหนดตัวแปรต่างๆ ในโมเดลสมการโครงสร้างจึงตั้งอยู่บนแนวคิดและทฤษฎี รวมทั้งการให้ความสําคัญตามสาขาวิชาต่างๆ ในศาสตร์จิตวิทยา คําว่า “ความสําคัญ” ข้างต้นนั้น นักจิตวิทยาจะต้องคํานึงถึงการนําผลการวิเคราะห์โมเดล สมการโครงสร้างไปใช้ต่อไป ไม่ว่าจะนําไปเป็นพื้นฐานในการออกแบบการวิจัยที่มีความซับซ้อนและ น่าเชื่อถือมากขึ้น หรือจะนําไปเป็นพื้นฐานในการออกแบบโปรแกรมการจัดกระทําเพื่อปรับเปลี่ยน ผลลัพธ์ต่างๆ ที่มีความสําคัญต่อชีวิตมนุษย์ เพราะฉะนั้นแล้ว ตัวแปรตามจึงถือเป็น “เปูาหมาย” ที่ นักจิตวิทยาเพียรพยายามอธิบาย ทํานาย หรือควบคุมการเปลีย่ นแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์แก่ กลุ่มบุคคลเปูาหมายและสังคมโดยรวม ไม่ว่าจะยึดตามแนวคิดใดก็ตาม สิ่งที่สําคัญที่สุดคือ นักจิตวิทยาต้องมีภาพ “ปรากฏการณ์” ที่จะศึกษาอย่างชัดเจน และเข้าใจ “วัตถุประสงค์” ของการนําผลการวิจัยไปใช้ในอนาคต ซึ่งความ เข้าใจในส่วนนี้มี ผ ลต่อ การเลือ กตัวแปรตามที่ จ ะศึก ษาด้วยเช่นกั น ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยของ Watakakosol และคณะ (2013) ที่วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาวะการ มีสติ ความสัมพันธ์และหน้าที่ในครอบครัว และการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ต่อการเป็นผู้สูงอายุที่ ประสบความสําเร็จ (successful aging) โดยที่ตัวแปรตามประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 5 ด้านคือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านปัญญา (cognition) ด้านสังคม และด้านภูมิปัญญาชีวิต (life wisdom) ถ้านักจิตวิทยาต้องการศึกษาปรากฏการณ์การสูงอายุอย่างประสบความสําเร็จ โดยที่ตัว แปรตามครอบคลุมทุกด้านนั้น จะต้องเข้าใจเสียก่อนว่านี่เป็นปรากฏการณ์ที่มีระยะเวลาค่อนข้างนาน เป็นหลายเดือนหรือกระทั่งเป็นปี ตัวแปรต้นที่นํามารวมเข้าในโมเดลอาจจะต้องเป็นตัวแปรที่สามารถ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การสู ง อายุอ ย่ า งประสบความสํ า เร็ จ ทั้ ง 5 ด้ า นไม่ ม ากก็ น้อ ย ในทางกลั บ กั น ถ้ า นักจิตวิทยาวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยกําหนดให้ตัวแปรตามคือ การเป็นผู้สูงอายุที่ประสบ ความสําเร็จด้านอารมณ์และจิตใจเพียงด้านเดียว ภาพปรากฏการณ์ที่นักจิตวิทยาศึกษาจะเปลี่ยนไป โดยที่กระบวนการการเปลี่ยนแปลงตัวแปรตามอาจจะเกิดขึ้นได้เร็วกว่า และแนวทางในการเลือก ตัวแปรต้น จะมุ่งไปที่ตัวแปรที่ มีอิทธิพลต่อระดับอารมณ์ของบุคคลเป็นหลัก นอกจากนั้น การออกแบบเทคนิคการ พัฒนาบุคคลให้เป็นผู้สูงวัยที่ประสบความสําเร็จโดยใช้โมเดลที่แตกต่างกันเป็นต้นแบบจะต้องสอดคล้องกับ ภาพปรากฏการณ์ที่มีอยู่ เนื่องจากตัวแปรตามมักจะเป็นตัวแปรผลลัพธ์ที่เป็นเปูาหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ มนุษย์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง กรอบแนวคิดที่ดีอาจจะเกิดขึ้นจากการที่นักวิจัยยืมกรอบตัวแปรตามจาก งานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล ดังเช่นตัวอย่างการทบทวนการพัฒนาดัชนี ชี้วัดคุณภาพชีวิต Hagerty และคณะ (2001) พบว่า ดัชนีชี้วัดด้านที่พบบ่อยที่สุดคือ ความสัมพันธ์กับ คนในครอบครัวและเพื่อน รองลงมาตามลําดับคือ สุขภาวะทางอารมณ์ (emotional well-being) สุขภาวะทางวัตถุ (material well-being) สุขภาพกาย การทํางานและกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ต่างๆ ความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และความปลอดภัยในชีวิต ซึ่ง กลุ่มด้านคุณภาพชีวิต เหล่านี้สามารถแบ่งย่อยได้อีก [ตารางที่ 5 ใน Hagerty และคณะ (2001)] และมีตัวแปรทางจิตวิทยา ที่น่าสนใจเกี่ยวข้องมากมาย


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

25

ส่วนในการกําหนดตัวแปรต้ นนั้น หลักเกณฑ์ที่สําคัญที่สุดคือ ตัวแปรต้นต้องเป็นตัวแปรที่ นักจิตวิทยาสามารถจัดกระทําได้ตามกรอบเวลาที่สอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษา และ นอกจากจะสามารถกําหนดได้ตามทฤษฎีแล้ว การกําหนดตัวแปรต้นยังสามารถพอจะทดสอบได้จาก การวิเ คราะห์ทางสถิติ ตามแนวคิดความเป็นนอกระบบ [exogeneity; สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Kaplan (2004) และ Kline (2012)] ในการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (หรือสมการถดถอยพหุ ก็ตาม) ที่ มีการเก็ บข้อมูลเพียงครั้ง เดียวนั้น Kaplan (2004) เสนอแนวทางในการทดสอบข้อตกลง เบื้องต้นเกี่ ยวกั บ ความเป็น นอกระบบสํา หรับ การอนุม านสาเหตุ (weak exogeneity) ด้ว ยการ ทดสอบ 3 ประการ ประการแรกคือ การแจกแจงร่วมของตัวแปรภายนอกและตัวแปรภายในที่เป็นตัว แปรต่ อ เนื่ อ ง (continuous variable) จะต้ อ งเป็ น การแจกแจงปกติ ข องตั ว แปรห ลายตั ว (multivariate normal distribution) ประการที่ ส องคือ ความสัม พั นธ์ร ะหว่างตัวแปรในโมเดล จะต้องเป็นความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง (linearity) และประการสุดท้ายคือ ความแปรปรวนของค่าความ คลาดเคลื่อนจากการทํานายจะต้องมีความคงที่สําหรับทุกค่าการทํานาย (homoscedasticity) ซึ่ง เงื่อนไขเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่เพิ่มเติมมาจากข้อตกลงเบื้องต้นของการประมาณค่าพารามิเตอร์แบบ ความน่ า จะเป็ น สู ง สุ ด (maximum likelihood estimation) ของการวิ เ คราะห์ โ มเดลสมการ โครงสร้างเท่ านั้น (Kline, 2012) กล่าวคือ ข้อตกลงเบื้องต้นของการประมาณค่าพารามิเตอร์แบบ ความน่าจะเป็นสูงสุดสนใจที่ตัวแปรภายในที่เป็นตัวแปรต่อเนื่องเท่านั้น ส่วนการทดสอบความเป็น นอกระบบจะทดสอบข้อตกลงเบื้อ งต้นต่างๆ กั บตัวแปรภายนอกและตัวแปรภายในที่เป็นตัวแปร ต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันโปรแกรมวิเ คราะห์ข้อมูล ทางสถิติมีอยู่ม ากมายที่ สามารถ ทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นเหล่านี้ได้ ตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกากับ การกําหนดตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกํากับ เริ่มที่การตั้งคําถามการวิจัยให้สอดคล้องกั บ บทบาทของตัวแปร 2 ประเภทนี้ การศึกษาตัวแปรส่งผ่านตั้งอยู่บนคําถามที่ว่า อะไรเป็น “กลไก” หรือ ตัวแปรที่อธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามได้ เช่น Braithwaite, Selby และ Fincham (2011) ศึกษาว่าอะไรเป็นตัวแปรที่ อธิบายอิทธิพลของการให้อภัยที่มีต่อความพึง พอใจใน ความสัม พันธ์ของคู่รัก โดยตั้งสมมติฐานว่า การให้อภัยน่าจะเพิ่ม การกํ ากั บ พฤติก รรมของตั วเอง เพื่อที่จะรักษาความสัมพันธ์ของบุคคล และลดการใช้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ซึ่งการ เปลี่ยนแปลงของทั้ง 2 ตัวแปรนี้ส่งผลให้บุคคลมีความพึงพอใจในความสัมพันธ์เชิงคู่รักมากขึ้น ส่วนการศึกษาตัวแปรกํากับตั้งอยู่บนคําถามที่ว่า “สําหรับใคร” หรือ “ภายใต้เงื่อนไขใด” ที่ ตัวแปรต้นมีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม (MacKinnon & Luecken, 2008) จากคําถามเช่นนี้นักจิตวิทยา มักจะมีคําถามการวิจัยว่า ระหว่างกลุ่มบุคคลที่มรี ะดับบุคลิกภาพแตกต่างกัน อิทธิพลของตัวแปรต้นที่ มี ต่ อ ตั ว แปรตามนั้ น เหมื อ นหรื อ ต่ า งกั น อย่ า งไร เช่ น Kinnunen และคณะ (2003) ศึ ก ษาว่ า ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งระหว่างงานกั บครอบครัวและสุขภาวะจะเป็นอย่างไรเมื่อศึกษา เปรียบเทียบบุคคลที่มีระดับบุคลิกภาพ 5 ด้านแตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งคือ บุคลิกภาพแต่ละด้านมี ผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวและสุขภาวะอย่ างไร ซึ่งในกรณีนี้


26

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

ระดับ บุคลิกภาพของบุคคลจะถูก มองว่าค่อนข้างคงที่ เมื่ อเทียบกับ ช่วงระยะเวลาที่ ความขัดแย้ง ระหว่างงานกับครอบครัวจะมีอิทธิพลต่อสุขภาวะ สําหรับกรอบแนวคิดการวิจัย การศึกษาตัวแปรกํ ากั บแตกต่างจากการศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ (interaction effect) ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ถึงแม้ ว่ากระบวนการการวิเคราะห์ข้อมูลจะเหมือนกั นก็ ตาม ใน การศึกษาตัวแปรกํากับ นักจิตวิทยาจะต้องระบุอย่างชัดเจนล่วงหน้าว่า ตัวแปรใดเป็นตัวแปรต้นและ ตัวแปรใดเป็นตัวแปรกํากับให้สอดคล้องกับคําถามการวิจัยข้างต้น ส่วนการศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต้นนั้น นักจิตวิทยาไม่จําเป็นจะต้องระบุ “บทบาท” ของตัวแปรต้นแต่ละตัว กรณีศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับอิทธิพลส่งผ่านและอิทธิพลกํากับคือ การจัดการกับปัญหา (coping) การจัดการกับปัญหาสามารถเป็นได้ทั้งตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกํากับ [ตัวอย่างเช่น Hatzenbuehler (2009) เสนอว่าการจัดการกับปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่านอิทธิพลของการรับรู้การถูกแบ่งแยกที่ มีต่อสุขภาพจิต และ Meyer (2003) บอกว่าการจัดการกับปัญหาและการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวแปรกํากับที่ช่วย ลดอิทธิพลของการรับรู้การถูกแบ่งแยกที่มีต่อสุขภาพจิตในกลุ่มประชากรที่รักเพศเดียวกัน] ขึ้นอยู่กับ ประเภทหรือกลวิธีการจัดการกับปัญหาและกรอบแนวคิดการวิจัย นักจิตวิทยามักจะกําหนดให้การ จัดการกับปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่านอิทธิพลจากแหล่งความเครียด (stressor) ส่งไปยังตัวแปรผลลัพธ์ ต่า งๆ ไม่ ว่ า จะเป็ น สุ ข ภาพจิ ต หรื อ สุ ข ภาพกาย ซึ่ ง การกํ า หนดเช่ นนี้ จ ะสมเหตุ ส มผลก็ ต่ อ เมื่ อ นักจิตวิทยามีแนวคิดหรือทฤษฎีที่ชัดเจนว่า ปริมาณหรือความถี่ที่บุคคลใช้กลวิธีการจัดการกับปัญหา เป็นผลจากระดับ การรับ รู้ความคุกคามจากแหล่ง ความเครียดนั้นๆ ในมุ ม กลับ กันบุคคลสามารถ ดําเนินการใช้กลวิธีก ารจัดการกับ ปัญหา “ล่วงหน้า ” ก่อนที่บุคคลนั้นจะเผชิญกั บปัญ หาจริงๆ ได้ เช่นกัน (Folkman & Moskowitz, 2004) ซึ่งกลวิธีเช่นนี้เป็นการช่วยให้บุคคลรวบรวมทรัพยากรเพื่อ เตรียมตัวเผชิญกับแหล่งความเครียด ในกรณีที่สองนี้ การจัดการกับปัญหาจะเป็นตัวแปรกํากับที่ช่วย ผ่อนอิทธิพลของแหล่งความเครียดที่มีต่อตัวแปรผลลัพธ์ สรุปคือ ไม่ว่าจะเป็นการกําหนดตัวแปรใดๆ ก็ตามในโมเดลสมการโครงสร้าง (ตัวแปรต้น ตัว แปรตาม ตัวแปรส่งผ่าน หรือตัวแปรกํากับ) นักจิตวิทยาจะต้องยึดแนวคิดหรือทฤษฎีอ้างอิงบางส่วน เป็นอย่างน้อย นอกจากนั้นนักจิตวิทยาจะต้องเข้าใจปรากฏการณ์ (เช่น ระยะเวลาที่การเปลี่ยนแปลง ของตัวแปรต้นจะมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การเปลี่ย นแปลงของตัว แปรตาม) และวั ตถุ ป ระสงค์ ของการนํ า ผลการวิจัยไปใช้เป็นอย่างดี โมเดลการวัดตัวแปรแฝงบุคลิกภาพและสภาวะ Mac Callum และ Austin (2000) เสนอแนะเกี่ ยวกั บการอนุมานสาเหตุในกรณีที่ นักจิตวิทยาเก็ บ ข้อมูลการวิจัยเพียงแค่ครั้งเดียวว่า การทําเช่นนั้นได้จะต้องตั้งอยู่บนสมมติฐานข้อใดข้อหนึ่งจากสองข้อต่อไปนี้ ข้อแรก อิทธิพลของตัวแปรต้นที่มีต่อตัวแปรตามเป็นแบบ “ทันที” หรือใช้ระยะเวลาสั้นมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ ชัดคือความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อในความสามารถของตนและผลงาน กล่าวคือ ระดับของความ เชื่อในความสามารถของบุคคล ณ ขณะที่ตอบมาตรวัดมีผลต่อผลงานของบุคคลหลังจากนั้นทันที ข้อ ที่สอง นักจิตวิทยาต้องกําหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า ระดับของตัวแปรต้นในเวลาที่ “ส่งผล” ต่อตัวแปร ตามนั้นค่อนข้างคงที่ (stable)2 เมื่อเทียบกับระดับเมื่อการวัดเกิดขึ้น ซึ่งประเด็นนี้นักจิตวิทยาอาจจะทดสอบ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

27

ได้ผ่านโมเดลการวัดตัวแปรแฝงบุคลิกภาพและสภาวะ (latent trait-state model) หรือถ้าเป็นแบบอย่าง ง่ายคือ การวัดซ้ําและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการวัดครั้งที่ 1 และ 2 (test-retest method) โมเดลการวัดตัวแปรแฝงบุคลิกภาพและสภาวะเริ่มต้นจากแนวคิดที่ว่า (Cole, 2012) ความ แปรปรวนของคะแนนของตัวแปรสังเกตได้จะถูกอธิบายจากแหล่งความแปรปรวน 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่ ไม่ แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา (time-invariant) หรือที่ นั ก จิตวิท ยาบางคนเรียกส่วนนี้ว่ า บุคลิก ลัก ษณะ และส่วนที่แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา (time-varying) หรือที่นักจิตวิทยาบางคน เรียกว่าสภาวะ ตัวแปรจะมีลักษณะค่อนข้างคงที่ ถ้าความแปรปรวนของตัวแปรสังเกตได้ เมื่อมีการวัด ซ้ําหลายๆ ครั้ง ถูกอธิบายได้ด้วยแหล่งความแปรปรวนส่วนที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามเวลาในสัดส่วนที่ มาก ในทางกลับกันถ้าความแปรปรวนของตัวแปรสังเกตได้ถูกอธิบายได้ด้วยแหล่งความแปรปรวน ส่วนที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามเวลาในสัดส่วนที่น้อย ตัวแปรนั้นจะมีลักษณะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ซึ่งจาก แนวคิดนี้เราสามารถตั้งข้อสังเกตได้ว่า นักจิตวิทยาอาจจะไม่สามารถแยกประเภทของตัวแปรออกเป็น บุคลิกลัก ษณะและสภาวะจากกั นได้อย่างชัดเจน นัก จิตวิทยาสามารถบอกได้แค่ว่า ตัวแปรหนึ่ง มี ลักษณะโน้มเอียงไปทางบุคลิกลักษณะหรือสภาวะมากกว่ากัน สัดส่วนนี้แปรผันไปตามธรรมชาติของ ตัวแปร ลักษณะของประชากรที่ศึกษา และระยะเวลาในการวัด [ผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โมเดลการวัดตัวแปรแฝงบุคลิกภาพและสภาวะได้ที่ Cole(2012); Hertzog & Nesselroade (1987); Steyer, Schmitt, & Eid (1999)] นักจิตวิทยาสามารถใช้ข้อมูลจากโมเดลการวัดนี้เป็นข้อตกลงเบื้องต้นได้ ลองดูตัวอย่างทฤษฎี พฤติ ก รรมตามแผน (theory of planned behavior; Ajzen, 1991) ถ้า นั ก จิต วิ ท ยาจะทดสอบ โมเดลสมการโครงสร้างเพื่ออธิบายกระบวนการการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมตามทฤษฎีพฤติกรรม ตามแผน การเก็บข้อมูลเพียงแค่ครั้งเดียวเป็นสิ่งที่ทําไม่ได้ เพราะทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนระบุว่า ความเชื่อจะมีผลต่อพฤติกรรมต่างๆ ในรูปแบบของทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรมนั้น อิทธิพลของบุคคล รอบข้าง และการรับรู้ความยากง่ายในการทําพฤติกรรม (perceived behavioral control) อิทธิพล จากตัวแปรทั้ง 3 ตัวแปรนี้จะส่งผลต่อพฤติกรรมผ่านการเปลี่ยนแปลงความตั้งใจ (intention) ในการ เก็บ ข้อมู ลเพี ยงครั้ง เดียวนั้น นักจิตวิทยามั กจะหลีก เลี่ยงการวัดพฤติก รรม เพราะถ้าถามเกี่ยวกั บ พฤติก รรม “ในอดีต ” (เช่น ในช่วง 3 เดือนที่ ผ่านมาผู้เ ข้าร่วมการวิจัยได้ทํ าพฤติกรรมเปูาหมาย บ่อยครั้งเท่าใด) จะไม่สมเหตุสมผลเนื่องจากนักจิตวิทยาวัดระดับของตัวแปรต้นที่ปัจจุบัน แต่กลับถาม ถึงตัวแปรตามย้อนไปในอดีต แต่ถ้านักจิตวิทยามีข้อตกลงเบื้องต้นว่า ทัศนคติ (และตัวแปรต้นอื่นๆ) ของกลุ่มประชากรที่ต้องการจะศึกษามีระดับค่อนข้างคงที่ภายในระยะเวลาประมาณ 3 เดือนแล้ว การวัดพฤติกรรมช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาย่อมมีความสมเหตุสมผลมากขึ้น เพราะระดับของตัวแปรต้น ในช่วงที่ “มีอิทธิพล” ต่อพฤติกรรมนั้นค่อนข้างคงที่เมื่อเทียบกับระดับที่วัดในช่วง 3 เดือนถัดมา อย่างไรก็ตาม นัก จิตวิท ยาต้องทําความเข้าใจกั บข้อจํากัดในการกําหนดข้อตกลงเบื้องต้น เช่นนี้ ข้อจํากัดประการแรกคือ ระดับความคงที่ของตัวแปรนั้นนอกจากจะแปรผันไปตามธรรมชาติ ของตัวแปรนั้นๆ แล้ว ยังแปรผันไปตามลักษณะของประชากรที่ศึกษาและระยะเวลาในการเก็บข้อมูล ด้วย (Cole, 2012) การใช้ข้อมูลความคงที่ของตัวแปรจากกลุ่มประชากรหนึ่งไปเป็นข้อตกลงเบื้องต้น ของการวิจัยในอีกกลุ่มประชากรนั้นอาจจะเป็นสิง่ ที่ไม่สมควร ประการที่สอง นักจิตวิทยาจําเป็นต้องมี ข้อมูลความคงที่ของตัวแปร ซึ่งมาจากโมเดลการวัดตัวแปรแฝงบุคลิกภาพและสภาวะ หรืออย่างน้อย


28

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

มาจากค่าความสัมพันธ์ที่มีการวัดซ้ําอย่างน้อย 2 ครั้ง ประการสุดท้าย ในการตั้งข้อคําถามเกี่ยวกับ พฤติกรรม (ตามตัวอย่างทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน) หรือตัวแปรตามอื่นๆ นัก จิตวิทยาจะต้องระบุ ขอบเขตของระยะเวลาให้ตรงกับ ระยะเวลาที่ ตัวแปรต้นมีความคงที่ ค่อนข้างสูง สมมติถ้าตัวแปร ทัศนคติมีความคงที่ต่ําลงมากเมื่อระยะเวลาผ่านไป 6 เดือน การถามความถี่ของพฤติกรรมย้อนไป มากกว่า 6 เดือนนั้นอาจจะทําให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ ด้วยข้อ จํากัดข้างต้น นัก จิตวิท ยาควร (1) รายงานถึงข้อตกลงเบื้องต้นที่ กําหนดพร้อมทั้ ง อ้างอิงงานวิจัยที่เสนอข้อ มูลความคงที่ของตัวแปรให้ชัดเจน (2) ตระหนักถึงข้อจํากัดของการเก็ บ ข้อมูลเพียงครั้งเดียว และพยายามใช้ข้อมูลโมเดลสมการโครงสร้างนี้เป็นพื้นฐานสําหรับงานวิจัยที่ ออกแบบให้มีการเก็บข้อมูลระยะยาว เพราะเจตนาของผู้เขียนคือเสนอแนวคิดสําหรับการระบุโมเดล สมการโครงสร้างที่มีการเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียว ให้มีความสมเหตุสมผลของการอนุมานสาเหตุมาก ที่สุด เพื่อเป็นข้อ มู ลพื้ นฐานในการออกแบบงานวิจัยที่มี ก ารเก็บ ข้อมู ลระยะยาว ที่ ใช้เ งินทุ นและ ทรัพยากรมากกว่า การกาหนดกรอบตัวแปร ถึงแม้ว่าจะมีนิยามที่ค่อนข้างชัดเจน การแยกตัวแปรทางจิตวิทยาออกจากกันบางครั้งอาจ เป็นสิ่งที่ทําได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโมเดลสมการโครงสร้างที่ตัวแปรแฝงเป็นองค์ประกอบร่วม ของตัวแปรสังเกตได้หลายๆ ตัวแปร ทั้งนี้เนื่องจากตัวแปรทางจิตวิทยาบางตัวแปรมีความใกล้เคียงกัน เช่น ระหว่างความเชื่อ ในความสามารถของตน (self-efficacy) และความภูมิ ใจในตั วเอง (selfesteem) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเครื่องมือที่ใช้วัดไม่มีคุณภาพ (Chen, Gully, & Eden, 2001) หรือตัว แปรบางตัวแปรอาจเป็นได้ทั้ง “ปัจจัย” หรือ “ดัชนีชี้วัด” ของตัวแปรอื่น เช่น การมีส่วนร่วมในชุมชน ที่บุคคลอาศัยอยู่อาจถูกจัดให้เป็นปัจจัยที่ทําให้บุคคลสูงอายุอย่างประสบความสําเร็จ หรือเป็นดัชนีชี้ วัดการสูงอายุอย่างประสบความสําเร็จของบุคคลก็ได้ ขึ้นอยู่กับทฤษฎีและกรอบการวิจัยที่นักจิตวิทยา กําหนด ซึ่งเส้นแบ่งหรือกรอบของตัวแปรเหล่านี้ยากที่จะกําหนดได้อย่างชัดเจนด้วยการวิเคราะห์ทาง สถิติ [การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis) ที่เปรียบเทียบโมเดล การวัดมิติเดียวกับโมเดลการวัดหลายมิติอาจจะช่วยให้นักจิตวิทยาเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น แต่ไม่ เสมอไป] นักจิตวิทยาต้องกําหนดทฤษฎีและบริบทที่อธิบายปรากฏการณ์ที่จะศึกษาอย่างชัดเจน ถ้า ไม่เช่นนั้น ความใกล้เคียงกันของตัวแปรอาจจะก่อให้เกิดความสับสนในการระบุความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรในโมเดลสมการโครงสร้าง ความสับสนนี้อาจจะแสดงออกมาในรูปค่าประมาณพารามิเตอร์ ขนาดอิทธิพลที่มากเกินไป หรือในรูปความสัมพันธ์ระหว่างความคลาดเคลื่อนจากการวัด (residuals) ของตัวแปรสังเกตได้ที่เป็นองค์ประกอบของตัวแปรแฝงที่มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน บทความฉบับนี้เสนอ 2 แนวทางที่อาจจะช่วยให้นักจิตวิทยาสามารถกําหนดกรอบตัวแปรในโมเดลได้ อย่างชัดเจนมากขึ้น แนวทางแรกเป็นกลุ่มระบบทางจิตต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นตัวบุคคล (Mayer, 2003, 2005) ส่วนแนวทางที่สองเป็นแนวคิดเรื่องการทําหน้าที่ของตัวแปร (Jayawickreme, Forgeard, & Seligman, 2012) สําหรับ แนวทางแรก Mayer (2003, 2005) ได้เ สนอมุ ม มองใหม่ เ กี่ ยวกั บ บุคลิก ภาพของ บุคคล เป็นการมองบุคคลออกเป็นระบบย่อยที่มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน ระบบย่อยหลายๆ ระบบถูก จัดแบ่งออกเป็น 4 หมวดหมู่ใหญ่ๆ ได้แก่ ด้านอารมณ์และแรงจูงใจ ด้านความรู้และความเข้าใจตัวตน


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

29

และโลก ด้านการแสดงออกทางสังคม และด้านการตระหนักรู้ โดยที่ระบบย่อยเหล่านี้ Mayer (2005 แผนภาพที่ 2) เรียงลําดับตั้งแต่ระบบที่มีความซับซ้อนน้อยไปจนถึงระบบที่มีความซับซ้อนมาก และ เรียงตั้งแต่ระบบที่อยู่ใกล้กับสิ่งแวดล้อมไปจนถึงระบบที่ประมวลผลลึกอยู่ในตัวบุคคล และระบบที่มี อิทธิพลซึ่งกันและกันมากจะถูกจัดให้อยู่ใกล้เคียงกัน การที่ผู้เขียนอ้างถึงการจัดเรียงระบบต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นบุคลิกภาพของบุคคลนั้น ไม่ได้ หมายความว่าผู้เขียนเห็นด้วยกับ Mayer (2005) ว่าการจัดเรียงระบบเช่นนี้ถูกต้องเหมาะสมแล้ว แต่ ผู้เขียนเห็นว่าการทําความเข้าใจระบบทางจิตเหล่านี้น่าจะช่วยให้นักจิตวิทยาออกแบบโมเดลสมการ โครงสร้างเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้า นักจิตวิทยาต้องการศึกษาปรากฏการณ์ทอี่ ยู่ภายในระบบใดระบบหนึ่ง (เช่น ระบบอารมณ์) ตัวแปรใน โมเดลอาจจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้อารมณ์ การตอบสนองทางสรีระ และการแสดงออก ทางอารมณ์ ถ้านักจิตวิทยาต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบที่อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน เช่น ระบบอารมณ์และระบบแรงจูงใจ ตัวแปรในโมเดลอาจจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองทาง อารมณ์ต่อสิ่งเร้าและแรงจูงใจที่มีต่อพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง และถ้านักจิตวิทยาต้องการศึกษา ปรากฏการณ์ที่ เ กิ ดขึ้นระหว่ างหมวดหมู่ นัก จิตวิท ยาอาจจะตั้ง คําถามการวิจัยเกี่ ยวกั บ อิท ธิพ ล ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์และแรงจูงใจที่มีต่อทักษะทางสังคมของบุคคล ซึ่งตัวแปรที่อยู่ในระบบ ใกล้เคียงกันน่าจะมีอิทธิพลต่อกันได้รวดเร็วและชัดเจนกว่าตัวแปรที่อยู่ต่างหมวดหมู่กัน และถ้าตัว แปรแต่ละตัวอยู่ในระบบเดียวกันหรือใกล้เคียงกันแล้ว นักจิตวิทยาอาจจะต้องระวังให้มากเกี่ยวกับ การใช้เครื่องมือวัดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในการกําหนดโมเดล นอกจากแนวคิดของ Mayer (2003, 2005) ข้างต้นแล้ว ยัง มีแนวคิดที่ สองที่น่าสนใจและ น่าจะเป็นประโยชน์สําหรับนักจิตวิทยา แนวคิดที่ว่าคือ แนวคิดเรื่องการทําหน้าที่ของตัวแปร (engine approach) Jayawickreme, Forgeard และ Seligman (2012) เสนอแนวคิดเรื่องการทําหน้าที่ของ ตัว แปรในการศึก ษาสุ ขภาวะ โดยพั ฒ นาจากกระบวนการการศึก ษาเกี่ ยวกั บ คุ ณภาพชีวิ ตของ Hagerty และคณะ (2001) โดย Jayawickreme และคณะแบ่งตัวแปรออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ตัว แปรนํ า เข้ า (input variable) ตั ว แปรกระบวนการ (process variable) และตั ว แปรผลลั พ ธ์ (outcome variable) ตัวแปรนําเข้าเปรียบเสมือนทรัพยากรทั้งภายนอก เช่น สถานะทางเศรษฐกิจ และสังคม และสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และภายในตัวบุคคล เช่น บุคลิกลักษณะต่างๆ สําหรับตัว แปรกระบวนการเป็น สภาวะภายในของบุ คคลที่ ส่ง ผลต่อการตัด สินใจต่างๆ (เช่ น การเลื อกใช้ ทรัพยากร การเลือกทํากิจกรรม) ที่มีผลต่อระดับสุขภาวะ กระบวนการทางปัญญาและอารมณ์เป็น องค์ประกอบหลักของตัวแปรประเภทนี้ ส่วนตัวแปรผลลัพธ์เป็นพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่บุคคลเลือก ทําเพื่อบรรลุเปูาหมายต่างๆ ในชีวิต เช่น การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลรอบข้าง การได้ทํางานอย่าง เต็มความสามารถ และการได้ทํากิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมวลมนุษย์ นักจิตวิทยาสามารถใช้แนวคิดนี้เป็นกรอบในการระบุตัวแปรและความสัมพันธ์ระหว่างตัว แปรในโมเดลสมการโครงสร้างได้ ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวคิดนี้คือ ตัวแปรผลลัพธ์ส่วนมากจะ เป็นตัวแปรพฤติกรรม (Jayawickreme และคณะ, 2012) ที่ บุคคลเลือกกระทําเพื่อรักษาหรือเพิ่ม ระดับ สุขภาวะของตัวเอง นักจิตวิท ยาสามารถแบ่ง องค์ประกอบของปรากฏการณ์ต่างๆ ออกเป็น ทรัพยากรที่บุคคลมี กระบวนการภายในที่เกิดขึ้น และพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่บุคคลกระทํา


30

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

สรุป ในบทความฉบั บ นี้ ผู้เ ขีย นเสนอแนวคิด และมุ ม มองต่า งๆ ที่ อ าจจะช่วยให้ นัก จิ ตวิ ท ยา ออกแบบการวิจัยที่ ใช้ก ารวิเ คราะห์ โ มเดลสมการโครงสร้า งได้เ หมาะสมกั บ การอนุม านสาเหตุ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมากขึ้น โดยมีข้อจํากัดอยู่ที่นักจิตวิท ยาสามารถเก็บข้อมูลได้ครั้งเดียว เท่านั้น ไม่ว่าเนื่องด้วยเหตุผ ลของทุนวิจัยหรือความขาดแคลนทรัพยากรด้านต่างๆ อย่างไรก็ ตาม ผู้เขียนใคร่ขอเชิญชวนให้นักจิตวิทยาใช้ประโยชน์จากมุมมองเหล่านี้สําหรับงานวิจัยที่เป็นบันไดขั้น แรกของการออกแบบงานวิจัยที่ลึกซึ้งและซับซ้อนมากขึ้นในอนาคต (เช่น การวิจัยที่มีการเก็บข้อมูล ระยะยาวโดยมีผู้เข้าร่วมการวิจัยจํานวนมาก) เพื่อความก้าวหน้าของศาสตร์จิตวิทยาในประเทศไทย หมายเหตุ 1. แหล่งทุนอาจจะไม่อยากอนุมัติเงินทุนให้กบั งานวิจัยเชิงสํารวจ (exploratory) สําหรับการ ทดสอบสมมติฐานและแนวคิดใหม่ๆ ที่ยังมีข้อมูลสนับสนุนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยใน ประเทศไทย ที่นักจิตวิทยาและนักวิจัยมีแหล่งทุนจํากัด รวมทั้งขาดแคลนเครื่องมือ 2. ความหมายของ “ความคงที่ ” ในที่ นี้ไม่ได้หมายถึงระดับที่ ไม่เปลี่ยนแปลง แต่หมายถึง ความคงที่ของความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเปลี่ยนแปลงนั้น (Kenny & Zautra, 2001) เอกสารอ้างอิง Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50, 179-211. Anderson, J. C., & Gerbing, D. W. (1988). Structural equation modeling in practice: A review and recommended two-step approach. Psychological Bulletin, 103, 411423. Braithwaite, S. R., Selby, E. A., & Fincham, F. D. (2011). Forgiveness and relationship satisfaction: Mediating mechanisms. Journal of Family Psychology, 25, 551-559. Buhi, E., Goodson, P., & Neilands, T. (2007). Structural equation modeling: A primer for health behavior researchers. American Journal of Health Behavior, 31, 74-85. Chen, G., Gully, S., & Eden, D. (2001). Validation of a new general self-efficacy scale. Organizational Research Methods, 4, 62-83. Cole, D. A. (2012). Latent trait-state models. In R. H. Hoyle (Ed.), Handbook of structural equation modeling (pp. 585-600). New York, NY: The Guilford Press. Folkman, S., & Moskowitz, J. (2004). Coping: Pitfalls and promise. Annual Review of Psychology, 55, 745-774. Hagerty, M., Cummins, R., Ferriss, A., Land, K., Michalos, A., Peterson, M., Sharpe, A., Sirgy, J., & Vogel, J. (2001). Quality of life indexes for national policy: Review and agenda for research. Social Indicators Research, 55, 1-96.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

31

Hatzenbuehler, M. L. (2009). How does sexual minority stigma “get under the skin”? A psychological mediation framework. Psychological Bulletin, 135, 707-730. Hertzog, C., & Nesselroade, J. (1987). Beyond autoregressive models: Some implications of the trait-state distinction for the structural modeling of developmental change. Child Development, 58, 93-109. Holmbeck, G. N. (1997). Toward terminological, conceptual, and statistical clarity in the study of mediators and moderators: Examples from the child-clinical and pediatric psychology literatures. Journal of Consulting and Clinical Psychology, 65, 599-610. Hoyle, R. H., & Smith, G. T. (1994). Formulating clinical research hypotheses as structural equation models: A conceptual overview. Journal of Consulting and Clinical Psychology, 62, 429-440. Hu, L., & Bentler, P. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling, 6, 1-55. Jayawickreme, E., & Forgeard, M., & Seligman, M. (2012). The engine of well-being. Review of General Psychology, 16, 327-342. Kaplan, D. (2004). On exogeneity. In D. Kaplan (Ed.), The Sage handbook of quantitative methodology for the social sciences (pp. 409-423). Thousand Oaks, CA: Sage. Kenny, D., & Zautra, A. (2001). Trait-state models for longitudinal data. In L. M. Collins & A. G. Sayer (Eds.), New methods for the analysis of change (pp. 243-263). Washington, DC: American Psychological Association. Kinnunen, U., Vermulst, A., Gerris, J., & Mäkikangas, A. (2003). Work-family conflict and its relations to well-being: The role of personality as a moderating factor. Personality and Individual Differences, 35, 1669-1683. Kline, R. B. (2012). Assumptions in structural equation modeling. In R. H. Hoyle (Ed.), Handbook of structural equation modeling (pp. 111-125). New York, NY: The Guilford Press. MacCallum, R. C., & Austin, J. T. (2000). Applications of structural equation modeling in psychological research. Annual Review of Psychology, 51, 201-226. MacKinnon, D. P., & Luecken, L. J. (2008). How and for whom? Mediation and moderation in health psychology. Health Psychology, 27, s99-s100. Mayer, J. D. (2003). Structural divisions of personality and the classification of traits. Review of General Psychology, 7, 381-401.


32

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

Mayer, J. D. (2005). A tale of two visions: Can a new view of personality help integrate psychology? American Psychologist, 60, 294-307. Meyer, I. H. (2003). Prejudice, social stress, and mental health in lesbian, gay, and bisexual populations: Conceptual issues and research evidence. Psychological Bulletin, 129, 674-697. Ozer, D., & Benet-Martínez, V. (2006). Personality and the prediction of consequential outcomes. Annual Review of Psychology, 57, 401-421. Robinson, M., Dannecker, E., George, S., Otis, J., Atchison, J., & Fillingim, R. (2005). Sex differences in the associations among psychological factors and pain report: A novel psychophysical study of patients with chronic low back pain. The Journal of Pain, 6, 463-470. Steyer, R., Schmitt, M., & Eid, M. (1999). Latent state-trait theory and research in personality and individual differences. European Journal of Personality, 13, 389408. Violato, C., & Hecker, K. (2007). How to use structural equation modeling in medical education research: A brief guide. Teaching and Learning in Medicine, 19, 362371. Watakakosol, R., Ngamake, S., Suttiwan, P., Tuicomepee, A., Lawpoonpat, C., & Iamsupasit, S. (2013). Factors related to successful aging in Thai elderly: A preliminary study. Journal of Health Research, 27, 51-56. Wright, S. (1934). The method of path coefficients. The Annals of Mathematical Statistics, 5, 161-215. ………………………………………………..


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

33

เด็กไทยอ่านหนังสือลดลง: สาเหตุและแนวทางแก้ไข Factors influencing the decrease of the reading of books and solution for the Thai population ชนนิกานต์ จอมวงค์ 1 ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ 2

บทคัดย่อ การอ่านเป็นเครื่องมือสําคัญในการเรียนรู้และเป็นรากฐานของการศึกษา แต่เด็กไทยกําลัง ประสบปัญหาการอ่าน จากผลการทดสอบโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติพบว่าเด็กไทยมีผล คะแนนเฉลี่ยการอ่านต่ํากว่ามาตรฐาน และต่ํากว่าคะแนนเฉลี่ยของเด็กจากประเทศอื่นๆ เด็กไทย บางส่วนยัง อ่านหนังสือไม่ออกและพฤติกรรมการอ่านของเด็กไทยมีแนวโน้ม ลดลงเรื่อยๆ ซึ่ง เป็น ปัญหาระดับชาติที่หลายฝุายควรร่วมกันแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้สาเหตุของปัญหาอาจเกิดขึ้นจากหลาย ปัจจัยทั้งจากตัวเด็กเอง และสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน สังคมหรือวัฒนธรรม ซึ่ง บทความนี้จะวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาพร้อมกับเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาจากการศึกษา ค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คาสาคัญ การอ่าน สาเหตุ แนวทางการแก้ไข Abstract Reading is essential for learning and is the foundation of education. Currently Thai student has difficulties with reading. The result from PISA found that reading literacy score of Thai students are below standard and less than other countries. Some Thai students are unable to read and the time devoted to reading is minimal. Hence, this dilemma is highly worrisome. There are many factors of this problem caused by the students themselves and the social environment. This article will discuss the analysis of cause and solution to the reading problem. Key words: reading, cause, solution 1 2

นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อาจารย์ที่ปรึกษา


34

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

บทนา ประเทศไทยประสบปัญหาในเรื่องการอ่านหนังสือของประชากรไทย ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพของ การอ่ าน ปัญ หานี ้ส ะท้อ นได้จ ากพฤติก รรมในการอ่า น และความสามารถในการอ่า นโดย ผลการวิจัยปีล่าสุดเกี่ยวกับพฤติกรรมการอ่านของประชากรไทยพบว่า คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย ปีละ 5 เล่ม ในขณะที่คนเวียดนามอ่านปีละ 60 เล่ม คนญี่ปุน 50 เล่ม คนสิงคโปร์ 45 เล่ม คนมาเลเซีย 40 เล่ม (เอกสารเผยแพร่ออนไลน์ของสํานักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน, 2556) และใช้เวลาในการอ่านหนังสือลดลง จากในปี พ.ศ. 2548 การอ่านเฉลี่ยอยู่ที่ 51 นาทีต่อวัน ในปี พ.ศ. 2551 อยู่ที่ 39 นาทีต่อวัน และปี พ.ศ.2554 อยู่ที่ 35 นาทีต่อวัน (สํานักงานสถิติแห่งชาติ, 2554) และ ผลจากการทดสอบความสามารถในการอ่านของเด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ในโรงเรียน สังกัดสพฐ.ทั่วประเทศ ประจําปีการศึกษา 2556 โดยสํานักทดสอบทางการศึกษา สังกัดสํานักงาน การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อ่านไม่ได้ 27,000 คน (ร้อยละ 6.27) อ่านได้ในระดับควรปรับปรุง 23,700 คน (ร้อยละ 5.32) และยังมีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่อ่านไม่ได้ 7,880 คน (ร้อยละ 1.77) และอ่านได้ในระดับควรปรับปรุงอีก 6,750 คน (ร้อยละ1.52) (สํานักงานรัฐมนตรี, 2556) ซึ่งความสามารถในการอ่านในที่นี้ หมายถึง การอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง ตามหลัก การอ่ าน ภายในเวลาที่ กํ าหนด และเข้า ใจเรื่ องที่ อ่ าน (สํา นัก ทดสอบทางการศึ ก ษา, สํานักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2556) ส่วนความสามารถในการอ่านอีกประเภทหนึ่งซึ่งไม่ใช่แค่การ อ่านออกเสียง และเข้าใจในสิ่งที่อ่าน นั่นคือ การรู้เรื่องการอ่าน (reading literacy) ซึ่งเด็กไทยยังมี ความสามารถในด้านนี้อ ยู่ในระดับ ต่ํา ในปี พ.ศ. 2550 โครงการประเมิ นผลนัก เรียนนานาชาติ (Programmer for International Student Assessment หรือ PISA) ได้ทําการทดสอบการอ่านใน เด็กไทยอายุ 15 ปีจากทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2550 พบว่า นักเรียนไทยมีคะแนนการรู้เรื่องการอ่าน เฉลี่ยต่ํากว่าค่าเฉลี่ยของนักเรียนชาติอื่นและจัดอยู่ในช่วงอันดับที่ 47 – 51 จากทั้งหมด 65 ประเทศ ในกลุ่ ม ประเทศสมาชิ ก OECD นั ก เรี ย นส่ ว นใหญ่ ป ระมาณร้ อ ยละ 43 รู้ เ รื่ อ งการอ่ า นต่ํ า กว่ า ระดับพื้นฐาน อีกประมาณ ร้อยละ 37 รู้เรื่องการอ่านที่ระดับพื้นฐาน และมีนักเรียนเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีความรู้และทักษะการอ่านสูงกว่าระดับพื้นฐานและเกือบจะไม่มีนักเรียนที่รู้เรื่องการอ่านที่ ระดั บ สู ง มากเลย ทั้ ง นี้ ก ารรู้ เ รื่ อ งการอ่ า น (reading literacy) นั้ น หมายถึ ง ความเข้ า ใจ (understanding) การใช้ (using) การสะท้ อน (reflecting) และความรักและผูก พันกั บการอ่าน (engaging) ในถ้อยความที่เป็นข้อเขียน (written texts) ที่ได้อ่าน เพื่อไปบรรลุเปูาหมายของแต่ละ คน เพื่อพัฒนาความรู้และศัก ยภาพของตน และเพื่อมีส่วนร่วมในกระบวนการของสังคม (สถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2554) นอกจากนี้ ในปีพ.ศ. 2554 สํานักงานสถิติ แห่งชาติได้ทําการสํารวจการอ่านหนังสือของเด็กเล็ก (อายุต่ํากว่า6 ปี) ในครัวเรือน พบว่า เด็กอายุต่ํา กว่า 6 ปีที่อ่านหนังสือมีจํานวน 2,674,367 คน จากทั้งหมด 5,001,177 คน (ร้อยละ 53.5) จําแนก เป็นเด็กที่อ่านเอง 86,480 คน (ร้อยละ 1.7) ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง 1,985,166 (ร้อยละ 39.7) เด็กอ่านเอง และผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง 602,722 คน (ร้อยละ 12.1) และเด็กที่ไม่อ่านและไม่มีผู้ใหญ่อ่า นให้ฟังจํานวน 2,326,810 (ร้อยละ 46.5) สําหรับการอ่านหนังสือของเด็กเล็กนั้นหมายถึง การอ่านหนังสือในช่วง นอกเวลาเรียน ซึ่งเด็กเล็กอ่านด้วยตนเอง รวมทั้งการที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้ฟังด้วย เมื่อเปรียบเทียบ อัตราการอ่านหนังสือของประชากร ซึ่งสํารวจไว้ในปี 2551 พบว่า ประชากรมีอัตราการอ่านหนังสือ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

35

เพิ่มขึ้น จะเห็นได้ชัดในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ํากว่า 6 ปีที่มีอัตราการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36 เป็นร้อยละ 53.5 ทั้งนี้อาจเนื่องจากมีการรณรงค์ส่งเสริมการอ่านร่วมกันหลายภาคส่วน (สํานักงาน สถิติแห่งชาติ, 2554) โดยในปี พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมการอ่าน อย่างจริงจังอีกครั้ง โดยประกาศให้การส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างสังคมแห่งการ เรียนรู้ตลอดชีวิต โดยกําหนดไว้ดังนี้ 1) กําหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ 2) กําหนดให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี เป็นวันรักการอ่าน 3) กําหนดให้ปี 2552 - 2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่านของประเทศ 4) กําหนดให้มคี ณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึก ษาธิก ารเป็นประธาน เป็นกลไกขับเคลื่อนการส่ง เสริม การอ่านให้เ กิ ดขึ้นอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ได้กําหนดคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ของผู้เรียน ในข้อที่ 4 ใฝุเรียนรู้ และได้กําหนดไว้ในสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่ม สาระการเรียนรู้ภาษาไทย วาระที่ 1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และ ความคิด เพื่อนําไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดําเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน และได้กําหนดให้ ผู้เ รียนมี ผ ลการประเมิ นตามที่ สถานศึก ษากํ าหนดจึง จะจบการศึก ษา (สํานัก งานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2551) ในด้านของภาคเอกชน สมาคมผู้จัดพิม พ์และผู้จําหน่ายหนังสือแห่ง ประเทศไทย ได้ดําเนินการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติขึ้น เพื่อเป็นการรณรงค์ให้คนไทยได้เล็งเห็น ถึง ความสําคัญของการอ่ าน และส่งเสริม ให้อ่านหนังสืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงการช่วยเหลือ บิดา มารดา ผู้ปกครอง ครู และ บรรณารักษ์ ได้เรียนรู้ และทําความเข้าใจเทคนิควิธีการส่งเสริมการอ่าน แก่เด็กและเยาวชนอย่างเหมาะสม (ปัญชลี ด้วงเอียด, 2552) และล่าสุด คณะวิจัยจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้พัฒนาโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาสถานการณ์การอ่านและดัชนีการ อ่านของไทย ปี 2553: การพัฒนาดัชนีการอ่านและการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีการอ่าน” ซึ่งได้รับ รางวัลจากสภาวิจัยแห่งชาติ และยังช่วยสะท้อนสภาพการอ่านที่เป็นอยู่ รวมทั้งสามารถให้ข้อมูลที่ นําไปสู่การติดตามสถานการณ์การอ่าน เพื่อนําไปสู่การพัฒนาส่งเสริมการอ่านอย่างเป็นรู ปธรรมได้ การอ่านสาคัญอย่างไร การที่หลายฝุายมุ่งเน้นส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้นนั้น เนื่องจากการอ่านมีความสําคัญ ดังที่มี นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายและความสําคัญของการอ่าน ได้แก่ ดร.รุ่ง แก้วแดง (2547) กล่าวว่า การอ่านเป็นกระบวนการทํางานของสมองต่อการรับรู้และเรียนรู้เรื่องราวและข้อมูลต่างๆ ที่ บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร สัญลักษณ์ และรหัส เพื่อการสื่อสารให้ตนเองและผู้อื่นเข้าใจ การอ่าน จึง ถื อ เป็นกุ ญ แจสําคัญ ในการสร้างเสริมภูมิ ปัญ ญาของคน นําไปสู่การพัฒ นาศัก ยภาพชีวิต และ สติปัญญา และไพพรรณ อินทนิล (2546 อ้างถึงใน วราภรณ์ จารุเมธีชน, 2555) ได้ให้ความหมายว่า การ อ่าน หมายถึง ทักษะที่สืบเนื่องมาจากการฟังและการพูด การอ่านเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อนและ ต้องการความมี ส มาธิ สูง ผู้อ่ านต้องสามารถตี ความของสิ่ง ที่ อ่า นได้ ขณะเดี ยวกั นต้ องสามารถ ประเมินผลสิง่ ที่อ่านโดยนําประสบการณ์เดิมทีม่ ีอยู่มาใช้เป็นเครื่องตัดสิน สอดคล้องกับวรรณี แกมเกตุ (2553) ที่กล่าวว่า การอ่านคือ กระบวนการทางความคิดที่สามารถแปลความ ตีความ ขยายความ และสร้างความเข้าใจถึงความหมายของสิ่งที่อ่านได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนสามารถจับใจความสําคัญ


36

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

และรายละเอียดต่างๆ ได้ รวมทั้งสามารถจําเรื่องได้ตามความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของ ตนเอง สรุปได้ว่า การอ่านหมายถึง กระบวนการที่ต้องอาศัยความสามารถทางสติปัญญาในการแปลความ ตีความ และเข้าใจความหมายของคํารวมไปถึงสัญลักษณ์ ตลอดจนประเมินผลสิ่งที่อ่านได้โดยอาศัย ประสบการณ์ของตนเอง การอ่านเป็นเครื่องมือสําคัญในการเรียนรู้และเป็นรากฐานสําคัญของการศึกษา (ไพพรรณ อินทนิล, 2546) และการอ่านยังจัดว่าเป็นเครื่องมือทางการศึกษาชนิดหนึ่ง ดังที่สํานักวิชาการและ มาตรฐานการศึกษา (2546) ได้กล่าวถึงความสําคัญของการอ่านไว้ว่า การอ่านเป็นเครื่องมือในการ แสวงหาความรู้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนจําเป็นต้องอ่านหนังสือ เพื่อการศึกษาหาความรู้ ด้านต่างๆ การอ่านยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ทําให้เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งด้านจิตใจ และบุคลิกภาพ เพราะเมื่ ออ่านมากย่อมรู้มาก สามารถนําความรู้ไปใช้ในการดํารงชีวิตได้อย่างมี ความสุขรวมทั้ ง สามารถนําความรู้จากการอ่านไปพัฒนาตนและงาน ทําให้ประสบความสําเร็จในการประกอบอาชีพได้ (วรรณี แกมเกตุ, 2553) สอดคล้องกับที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (จินตนา ใบกาซูยี , 2534 อ้างถึง ใน อนันต์ เฮงสุวรรณ, 2555) ได้ทรงบรรยายถึง ความสําคัญของการอ่าน หนังสือ ในการประชุมใหญ่สามัญประจําปี พ.ศ. 2530 ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย สรุป ความว่า การอ่านส่งเสริมให้สมองดี มีสมาธินานกว่าและมากกว่าสื่ออย่างอื่น ทั้งนี้เพราะขณะอ่าน จิตใจจะมุ่งมั่นอยู่กับข้อความ พินิจพิเคราะห์ข้อความ ผู้อ่านสามารถฝึกการคิด และสร้างจินตนาการ ได้เอง ในขณะอ่านผู้อ่านเกิดความคิดเห็นได้ด้วยตนเอง วินิจ ฉัยเนื้อหาสาระได้ด้วยตนเอง รวมทั้ ง หนังสือบางเล่มสามารถนําไปปฏิบัติได้ด้วย เมื่อปฏิบัติแล้วเกิดผลดีและการอ่านหนังสือยังทําให้ได้รับ เนื้อหาสาระความรู้มากกว่าการรับความรู้จากช่องทางอื่นๆ เช่น การฟัง นอกจากนี้ก ารอ่านยัง มี ความสําคัญต่อพัฒนาการเด็กในหลายๆ ด้าน (อรสา กุมารีปุกหุต, 2524 อ้างใน คณินนุช พิจิตรนรการ, 2550) ได้แก่ 1. พัฒนาการด้า นภาษา การอ่ านจะช่วยให้เ ด็กเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ สามารถสื่อ ความหมายด้วยวิธีก ารพูดได้ ช่วยให้เ ด็ก มี ทั ก ษะในการพูดและการฟัง ที่ ดี รวมทั้ง สามารถเข้าใจ ความคิดของผู้อื่นได้กว้างขวางซึ่งเด็กจะทบทวนหรืออ่านซ้ําเองได้ 2. พัฒนาการด้านสังคม การอ่านจะช่วยให้เด็กรู้จักการปรับตัวในสังคม ได้เห็นคุณลักษณะ หรือแบบอย่างที่ดี ให้เด็กเกิดความคิดและตัดสินใจในการเลือกปฏิบัติต่อผู้อื่น และให้เด็กแสดงออกได้ อย่างเหมาะสมผ่านการเรียนรู้จากตัวละครในเรื่องที่อ่าน 3. พัฒนาการด้านอารมณ์ หนังสือที่มีเนื้อหาเหมาะสม และเกี่ยวข้องกับ ความรักภายใน ครอบครัว ความเมตตาของบิดามารดาจะช่วยให้เด็ก มีพั ฒ นาการด้านอารมณ์เกี่ ยวกั บ ความรักใน ครอบครัว หรือหนังสือประเภทเทพนิยายหรือนิทาน จะช่วยให้เ ด็กเกิดจินตนาการและสนุกสนาน เพลิดเพลิน 4. พัฒนาการด้า นสติปัญญา หนังสือช่วยเพิ่มพูนความรู้และความสามารถในการพัฒนา สติปัญญา หนังสือจัดเป็นประสบการณ์ที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กจะได้รับความรู้ ข้อคิดเห็น วิธีการ ได้รู้จักความจริง สภาพปัญหาจากการอ่านหนังสือแต่ละประเภท ตัวอย่างเช่น หนังสือสารคดีท่องเที่ยว จะให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นอยู่และวัฒ นธรรมของมนุษย์ในสภาพทาง


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

37

ภูมิศาสตร์ต่างๆ หนังสือด้านวรรณคดีช่วยให้ทราบถึงความงดงามของภาษา สภาพความเป็นอยู่ ความ เชื่อและวิธีแก้ปัญหาของคนในยุคนั้นๆ การตั้งสมมติฐาน การวิเคราะห์ปัญหา การสรุปปัญหา เป็นต้น เนื่องจากการอ่านเป็นกระบวนการทางความคิดที่ต้องอาศัยการแปลความ ตีความ ขยายความจาก ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ที่อ่าน ดังนั้นการอ่านจึงมีความเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาและความคิดหรือ สติปัญญานั่นเอง ซึ่งไวกอตสกี (Vygotsky, 1962) กล่าวว่า ความคิดและภาษาของเด็ก เริ่มต้นโดยมี หน้าที่แยกกัน และไม่จําเป็นต้องมีอะไรมาเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เปรียบได้กับวงกลม 2 วงที่ไม่สัมผัส กันเลย วงกลมวงหนึ่งแทนด้วยความคิดที่ไม่เกี่ยวกับภาษา (nonverbal thought) และวงกลมอีกวง หนึ่งแทนภาษาที่ไม่เกี่ยวกับสังกัป (nonconceptual speech) แต่ในขณะที่เด็กเติบโตขึ้น วงกลม 2 วง นั้นจะพบกันและซ้อนกัน ซึ่งหมายความว่า เด็กจะเริ่มมีสังกัปโดยมีคํากําหนดสังกัปที่เป็นนามธรรม เป็ น ความคิ ด ซึ่ ง ไม่ ใ ช่ ตั ว แทนของวั ต ถุ อ ย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง แต่ เ ป็ น ลั ก ษณะที่ ร วมกั น อยู่ ห รื อ มี ความสัมพันธ์กับวัตถุอื่นๆ เพราะฉะนั้นการพัฒนาทางภาษาส่งผลให้เด็กพัฒนาความคิดเชิงนามธรรม ได้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันพัฒนาการทางภาษาก็เป็นทักษะที่ต้องอาศัยพัฒนาการทางสติปัญญาด้วย ดังที่เพียเจต์ (Piaget, 1969) กล่าวว่า ภาษามีบทบาทอยู่ 3 ประการ ดังนี้ 1) เด็กสามารถที่จะใช้ ภาษาติดต่อกั บบุคคลอื่ น ดังนั้นจึงเป็นการเปิดโอกาสให้เกิ ดกระบวนการ socialization 2) เด็ก สามารถใช้ ภ าษาเป็น คํ า พู ดที่ เ กิ ดขึ้ น ภายใน ในรู ป แบบของการคิ ดและการใช้ สัญ ลั ก ษณ์ ซึ่ ง มี ความสําคัญ มาก 3) ภาษาเป็นการกระทําที่เกิดขึ้นภายในตัวเด็ก ดังนั้นเด็กจึงไม่ต้องอาศัยการจัด กระทํากับวัตถุจริงๆ เพื่อแก้ปัญหา เด็กสามารถที่จะสร้างจินตนาการในสมอง ดังนั้นตัวอักษรที่เด็กได้ อ่านจากหนังสือจึงเป็นประสบการณ์ที่เด็กได้รับ ทําให้เกิดกระบวนการคิด ซึ่งส่งผลต่อความสามารถ ทางสติปัญญาที่ดีขึ้น (ดวงเดือน ศาสตรภัทร, 2526) นอกจากนี้เราจะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆ ที่มีความเจริญ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการทีป่ ระชากรมี นิสัยรักการอ่านทั้งสิ้น เช่น ในประเทศญี่ปุนซึ่งมีความเจริญในด้านต่างๆ ทัดเทียมกับชาติตะวันตก หน่วยงานต่างๆ ให้ความสําคัญกับการส่งเสริมการอ่าน จนทําให้ชาวญี่ปุนมีนิสัยรักการอ่าน จากผล การสํารวจในปี 2537 ชาวญี่ปุนมีอัตราการอ่านหนังสือเฉลี่ยถึงเดือนละ 3.9 เล่ม นิตยสาร 4.9 ฉบับ และหนังสือการ์ตูน 2.7 ฉบับ (สุพรรณี วราทร, 2538 อ้างถึงใน สุปราณี ประคําผอง, 2547) และใน ประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศมีความเจริญก้าวหน้า ได้มีการส่งเสริมการอ่านอย่างจริงจัง โดยจัดตั้ง โครงการต่างๆ อาทิ โครงการ READ! Singapore, kidsREAD และ 10,000 & More Fathers Reading ซึ่งสนับสนุนให้คุณพ่อจากทุกสาขาอาชีพอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และสร้างความผูกพันระหว่างพ่อกับลูก ส่วนในประเทศไทยนั้น แม้ว่ารัฐบาลจะผลักดันโครงการที่ เกี่ยวข้องกับการอ่านจนทําให้กรุงเทพมหานครได้รับการคัดเลือกเป็น World Book Capital ประจําปี ค.ศ.2013 (สํานักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว, 2556) แต่อย่างไรก็ตาม โครงการต่างๆ อาจยัง ไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่ควร ดังนั้นบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรให้ความสําคัญถึงสาเหตุของปัญหาที่ แท้จริง อันจะนําไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป เพราะเหตุใดเด็กไทยจึงอ่านหนังสือลดลง ดังที่กล่าวมาแล้วว่าการอ่านนั้นมีความสําคัญ เป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ และช่วย พัฒนาความสามารถทางสติปัญญาได้ แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์การอ่านในประเทศไทยยังคงมี


38

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

แนวโน้ม ลดลงเรื่อยๆ ทั้ งนี้สาเหตุอ าจเกิดขึ้ นจากตัวเด็ก และสภาพแวดล้อมที่ส่งผลทางตรงและ ทางอ้อมต่อตัวเด็กเอง อธิบายได้จากทฤษฎีระบบของบรอนเฟนเบนเนอร์ (Bronfenbenner’s Ecological System Theory) (1979) ซึ่งกล่าวถึงอิทธิพลของระบบต่างๆ หรือปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อตัวบุคคล แบ่งเป็น 4 ระบบใหญ่ เรียงจากระบบที่อยู่ไกลจากตัวบุคคลที่สุดไปยังระบบที่ใกล้ตัวบุคคลมากที่สุด ได้ แ ก่ 1) Macrosystem คื อ ระบบที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ได้ แ ก่ วั ฒ นธรรม 2) Exosystem เป็ น ระบบที่ ประกอบด้วย สื่อ เพื่อนของครอบครัว เพื่อนบ้าน กฎหมายและระบบสวัสดิการสังคม 3) Mesosystem คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบใน Microsystem และ 4)Microsystem ประกอบไปด้วย ครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่ อน วัด สถานพยาบาล สนามเด็กเล่น และแสดงให้เ ห็นถึงปัจ จัยภายในตัวบุคคล (individual) เช่น เพศ อายุ สุขภาพ เป็นต้น ที่มีอิทธิพลต่อตัวบุคคล โดยสาเหตุที่เด็กไทยอ่านหนังสือ ลดลงอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้ 1. ปัจจัยด้านวัฒนธรรม วัฒนธรรมการอ่านคือ พฤติกรรมการอ่านอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัย ของบุคคลในทุกพื้นที่ของวิถีการดํารงชีวิต โดยผู้อ่านรู้สึกเห็นคุณค่าและเห็นคุณประโยชน์จากการ อ่านจนเกิดการถ่ายทอด ส่งเสริม สนับสนุนการอ่านไปสู่ผู้อื่น (แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน, 2553) แต่นักวิชาการให้ความเห็นว่า วัฒนธรรมไทยไม่ใช่วัฒนธรรมการอ่าน ดังที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวว่า คนไทยไม่ใช่ชาตินักอ่านมาแต่โบราณ แม้จะมีอักษรใช้เขียนมาหลายร้อยปีแล้ว การบริหาร บ้านเมืองใช้เอกสารตัวเขียนน้อยมาก วรรณกรรมส่วนใหญ่ก็มีไว้ฟังหรือสวดหรือขับหรือแสดง ไม่ได้มี ไว้อ่าน แม้แต่การค้า ซึ่งจะว่าไปก็เป็นต้นกําเนิดของตัวอักษรทั้งโลก ก็กระทําผ่านตัวอักษรน้อยมาก ในสมัยก่อนครูสอนให้อ่านตั้งแต่คํานําของกรมวิชาการกระทรวงศึกษาฯ เป็นต้นไป และเมื่อลงมืออ่าน เนื้อหา (ในชั้นเรียน) ก็ให้นักเรียนเอาไม้บรรทัดมาขีดใต้ข้อความที่ท่านเห็นว่าสําคัญพร้อมกัน ทําให้ การอ่านเป็นเรือ่ งที่น่าเบือ่ และไม่มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน อีกทั้งคนไทยนิยมการเล่าเรื่องสืบต่อกันมา มากกว่าที่จะอ่านจากตัวอักษร (วัฒนธรรมการอ่าน, 2554: ออนไลน์) สอดคล้องกับวิชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ (2551 อ้างในวรรณี แกมเกตุ, 2551) ซึ่งกล่าวว่า เป็นเพราะสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการฟังและการ เล่าต่อ วัฒนธรรมด้านการอ่านจึงไม่มีความเข้มแข็งพอ ดังนั้นเด็กไทยจึงไม่เป็นเด็กที่รักหรือแสวงหา การอ่านมากเท่าที่ควร 2. ปัจจัยด้านสื่อ ปัจจุบันสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อตัวเด็กอย่างมาก เนื่องจาก แทบทุกบ้านมีสื่อที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย เช่น โทรทัศน์ วิทยุ และอินเตอร์เนท โดยมีผลการวิจัยว่า กลุ่มวัย เด็ก อายุ 6-14 ปีและกลุ่ม เยาวชนอายุ 15-24 ปี ใช้เวลาไปกั บ การดูโ ทรทัศน์ม ากเป็นอั นดับ หนึ่ง (สํานักงานสถิติแห่งชาติ, 2553: ออนไลน์) ข้อมูลนี้สะท้อนว่า ปัจจัยสําคัญที่ทําให้เด็กไทยไม่รักการ อ่านมาจากพฤติกรรมติดโทรทัศน์ นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กใช้เวลาไปกับการเล่นอินเตอร์เนท หรือ คุย กั บเพื่อนมากกว่าอ่ านหนังสื อ ทั้ งนี้อาจเนื่องมาจากโทรศัพท์ หรือแท็ บเล็ตกลายเป็นเครื่องมื อ ติดต่อสื่อสารทีเ่ ด็กหลายคนขาดไม่ได้ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลได้มกี ารส่งเสริมให้เด็กชั้นประถมปีที่ 1 เรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตแทนการอ่านหนังสือ ทําให้ปัจจุบันแท็บเล็ตเป็นสื่อที่เด็กเข้าถึงได้ง่ายมาก และ เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กไปจากการอ่านหนังสือ ในทางกลับกันหนังสือเองก็อาจเป็นสาเหตุที่เด็ก อ่านลดลงได้นั่นคือ หนังสือไม่ชวนอ่าน โดยเฉพาะแบบเรียนที่ใช้ก ระดาษไม่ ดี พิม พ์ไม่ สวย ขนาด ตัวหนังสือเล็กทําให้อ่านยาก รวมทั้งหนังสือมีเนื้อหาไม่น่าอ่าน ภาษาไม่สื่อสาร ไม่ สนุก มีหนังสือแปล มากกว่าที่แต่งเอง ทําให้ผู้อ่านไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้จักบ้านเมือง ตลอดจนวัฒนธรรมของตนเอง อีกทั้ง


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

39

หนังสือขาดคุณภาพ หนังสือที่มีคุณภาพก็มีราคาแพงเกินไป (ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์ , 2538) ทําให้ เด็กๆ ในชนบทขาดโอกาสในการเข้าถึงหนังสือดีๆ และไม่เกิดนิสัยรักการอ่าน 3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและโรงเรียน การทําให้เกิดสภาพแวดล้อมทางครอบครัว โรงเรียน และชุมชน เป็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่ ส่งผลให้เกิดความพร้อมในการอ่าน เกิดทัศนคติที่ ดีต่อการอ่าน และเกิดแรงจูงใจในการอ่าน (วรรณี แกมเกตุ, 2553) ดังนั้น ครอบครัว และโรงเรียนจึงมีส่วนช่วย สนับสนุนและส่งเสริมการอ่านในเด็ก แต่จากการศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2544) พบว่า พ่อแม่ไม่มีโอกาสเรียนรู้วิธีการเป็นพ่อแม่ ที่ดี และวิธีรักลูกในทางที่ถูกที่ควร พ่อแม่จํานวนหนึ่งยังมีความเข้าใจผิดในเรื่องการเลี้ยงดูลูก ขาด ความเข้าใจปรัชญาพื้นฐานที่มีต่อมนุษย์และช่วงปฐมวัยของชีวิต จึงทําให้ไม่มีความเข้าใจสาเหตุที่ต้อง จัดสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์สําหรับเด็ก การเลี้ยงดูบุตรหลานยังไม่เหมาะสมและไม่ ได้ให้ความ ร่วมมื อ ในกิ จ กรรมต่า งๆ แก่ โ รงเรีย นที่ บุ ตรหลานของตนกํ าลัง เรี ยนอยู่ สาเหตุเ หล่านี้ เ กิ ด จาก ผู้ปกครองไม่เห็นคุณค่าทางการศึกษา ไม่รู้ ไม่เข้าใจพัฒนาการของเด็ก และผู้ปกครองไม่มีโอกาสได้ เข้าถึงโรงเรียนอย่างเต็มที่ (อภิญญา เวชยชัย , 2544) และดูเหมือนว่าครอบครัวและโรงเรียนจะถูก กําหนดความรับผิดชอบของแต่ละฝุายแยกกัน ดังที่นักวิชาการหลายท่านตั้งข้อโต้แย้งว่า การปลูกนิสัย รักการอ่านในเด็ก นั้น ควรเริ่ม ต้นที่บ้านหรือโรงเรียน บางท่านเชื่อว่าต้องเริ่มต้นที่ บ้าน เนื่องจาก ครอบครัวควรเป็นผู้สอนอ่านให้แก่เด็ก ความเชื่อนี้มีที่มาจากข้อสรุปของเวทีสัมมนาเรื่องยุท ธศาสตร์ เส้นทางหนังสือถึงมือเด็กที่ระบุว่า ครอบครัวเป็นส่วนสําคัญที่สุดที่จะเพาะนิสัยรักการอ่านแก่เด็ก โดย พ่อแม่จะต้องปลูกฝังให้ลูกรักการอ่านตั้งแต่เยาว์วัย พ่อแม่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนัก ถึงความสําคัญของการอ่านหนังสือ ในขณะที่บางท่านมองถึงสภาพสังคมในปัจจุบัน และโต้แย้งว่าเด็ก ใช้เวลาอยู่ที่โรงเรียนมากกว่าทีบ่ ้านและครูก็รวู้ ิธีที่จะสอนอ่านให้แก่เด็ก ดังนั้นการปลูกนิสัยรักการอ่าน ควรเริ่มต้นที่โรงเรียน ดังที่ มกุฏ อรฤดี เห็นว่า การสอนอ่านโดยเริ่มจากครอบครัว เป็นความผิดพลาดที่ จะนําแนวคิดแบบชาติตะวันตกเช่นนี้เ ข้ามาใช้ กับ สังคมไทย เนื่องจากครอบครัวไทยส่วนมากเป็น ครอบครัวเกษตรกรรม ซึ่งพ่อแม่ไม่ค่อยมีความรู้ ไม่ค่อยรู้หนังสือหรือรู้แต่ไม่ใส่ใจ อีกกลุ่มหนึ่งคือ ผู้ที่ หาเช้ากินค่ําซึ่งต้องออกจากบ้านตั้งแต่เช้าตรู่และกลับมาเมื่อลูกๆ นอนหมดแล้ว คนเหล่านี้มีรายได้ต่ํา ขณะที่หนังสือสําหรับเด็กมีราคาสูง การเริ่มต้นการอ่านทีค่ รอบครัวจึงเป็นได้ยากมากที่จะรับผิดชอบได้ แม้แต่ครอบครัวที่ไม่มีปัญหาทางเศรษฐกิจก็ยังยากที่จะซื้อหนังสือให้ลูกและชวนลูกมาอ่านหนังสือ ดัง นั้นการเริ่ม ต้นการอ่ านต้อ งเริ่ม ที่ โ รงเรียน เพราะเด็กๆ อยู่โ รงเรียนมากกว่าอยู่กั บพ่อแม่ และ ธรรมชาติของเด็กนั้นจะเชื่อครูมากกว่าพ่อแม่ ความเห็นที่ต่างดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า หน้าที่ที่จะ ส่งเสริมให้เด็กรักการอ่าน จะต้องเริ่มต้นที่จุดใดจุดหนึ่ง เช่น ครูหรือพ่อแม่ หรือโรงเรียน แต่ยังไม่มี ความร่ วมมื อ ระหว่ างกั น และกั น ต่า งฝุ ายต่า งโยนความรับ ผิด ชอบให้อี ก ฝุ าย โดยที่ ไ ม่ ไ ด้มี ก าร ประสานงานกัน เมื่อเป็นดังนี้แล้วเด็กไทยจึงไม่ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมให้รักการอ่านอย่าง เพียงพอ (วรรณี แกมเกตุ, 2553) 4. ปัจจัยด้านครอบครัว สภาพแวดล้อมทางครอบครัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอ่าน ความสามารถในการอ่าน ทัศนคติต่อการอ่าน รวมทั้งความสนใจในการอ่าน โดยพบว่า สิ่งแวดล้อม ทางบ้านส่งผลต่อความสนใจในการอ่านของเด็ก ผู้ปกครองที่อ่านหนังสือให้บุตรฟังในวัยก่อนเรียนจะ สามารถกระตุ้นพั ฒ นาการทางภาษาของเด็ก และทํ าให้เ ด็ก เกิ ดความสนใจในด้านภาษาซึ่ง เป็น


40

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

จุดเริ่มต้นของความสนใจในการอ่าน (Well, 1985 cited in Johnsson-Smaragdi and Jönsson, 2006 อ้างใน วรรณี แกมเกตุ , 2553) แต่พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่ได้ส่งเสริมให้เด็กรักการอ่าน ตั้งแต่เด็กเล็ก เนื่องด้วยปัจจัยทางภูมิหลังทีแ่ ตกต่างกัน เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา และ ภูมิลําเนาที่อาศัยอยู่ รวมทั้งพ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาให้กับลูก ดังรายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับการใช้เวลา ร่วมกันระหว่างครอบครัวที่เกี่ ยวกับ การศึกษาประจําปี พ.ศ. 2551 โดยสํานักงานกิจ การสตรีและ สถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งพบว่า กิจกรรมการอ่าน หนังสือ สอนการบ้านและเล่านิทานให้ลูกฟังมีเพียงร้อยละ 4.1 หรือ 152 คน จากประชากรทั้งหมด 3,136 คน อีกทั้งการที่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีนิสัยรักการอ่าน การรณรงค์ให้เด็กไทยมีนิสัย รักการอ่านจึงพัฒนาไปได้ช้ามาก เนื่องจากขาดความร่วมมือจากผู้ปกครองในการรณรงค์ให้ลกู หลานมี นิสัยรักการอ่าน (ดารกา ต้นครองจันทร์, 2547 อ้างถึงใน วราภรณ์ จารุเมธีชน, 2555) พ่อแม่มักคิดว่า การอ่านเป็นเรื่องของทางโรงเรียน จึงรอไว้ให้เข้าโรงเรียนเสียก่อนค่อยเริ่มอ่านหนังสือ นอกจากนี้ บางคนยังเข้าใจผิดว่า การที่เด็กจะชอบอ่านหนังสือหรือไม่ชอบนั้นเป็นเรือ่ งธรรมชาติของเด็กแต่ละคน ไม่สามารถปลูกฝังได้ จึงปล่อยไปตามธรรมชาติ สอดคล้องกับที่ฉวีวรรณ คูหาภินันท์ (2542 อ้างถึงใน วราภรณ์ จารุเมธีชน, 2555) ที่กล่าวถึงปัญหาสําคัญของการอ่านว่า เกิดจากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่เห็น ความสําคัญของการอ่านนั่นเอง 5. ปัจจัยภายใน สาเหตุทสี่ ําคัญทีท่ ําให้เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลงคือ การที่เด็กขาดแรงจูงใจ ในการอ่าน (วรรณี แกมเกตุ, 2553) สาเหตุอีกประการหนึ่งคือ การอ่านหนังสือไม่ออก ซึ่งในกลุ่มเด็ก อายุ 6-14 ปี มีมากถึงร้อยละ 12.4 ซึ่งถือเป็นอุปสรรคขั้นพื้นฐานที่สําคัญในการพัฒนาไปสู่การอ่าน และความสนใจในการอ่าน ถึงแม้ว่ากลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี มีอัตราการอ่านมากที่สุดถึงร้อยละ 81 ตาม ด้วยกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี ร้อยละ 78.6 แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ เนื้อหาที่เด็กอ่าน เพราะเป็นสิง่ ที่สะท้อนถึงคุณภาพการอ่านหนังสือของเด็กไทย ซึ่งหนังสือที่ทั้งกลุ่มเด็กและเยาวชนนิยมอ่านเป็น อันดับหนึ่งคือ บันเทิง รองลงมาคือ ความรู้วิชาการ และสารคดี/ความรู้ทั่ วไป ในขณะที่ เนื้อหา ประเภทข่าว ความคิดเห็น/วิเคราะห์ มีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ10 ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นว่า เด็กสนใจที่ จะอ่านความบันเทิงมากกว่าความรู้ ซึ่งหนังสือบางประเภทไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ เช่น หนังสือซุบซิบดารา หรือการ์ตูนที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าสาเหตุยังเกิดจากความบกพร่องทางร่างกายของเด็ก เช่น ปัญ หาเรื่อง สายตา บกพร่องทางการได้ยิน และสุขภาพไม่ดี รวมทั้งศักยภาพทางสมองที่จําเป็นต่อการอ่าน เช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning disability) จะมี ปัญหาด้านการอ่าน และที่สําคัญคือความพร้อมที่จะเรียนอ่าน หากเด็กไม่มีความพร้อมที่จะเรียนอ่าน ถึงแม้ว่าครูจะพยายามสอนให้อ่าน แต่เด็กจะรู้สึกว่าการอ่านเป็นเรื่องยาก การเรียนอ่านจะล้มเหลว เด็กจะอ่านหนังสือไม่ออก เกลียดกลัวการอ่าน และในที่สุดก็ไม่อยากเรียนชั่วโมงที่มีการอ่าน จึงไม่เกิด นิสัยรักการอ่านขึ้นมาได้ (ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์, 2538) จะสร้างนิสัยรักการอ่านและส่งเสริมการอ่านอย่างไร จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับ การอ่าน ผู้เ ขียนจึง ได้เสนอแนว ทางการแก้ไขปัญหาเด็กไทยอ่านหนังสือลดลง โดยการสร้างนิสัยรักการอ่านและส่งเสริมการอ่าน ดังนี้


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

41

1. สร้างวัฒนธรรมการอ่าน ปัจจัยที่ช่วยสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ประกอบไปด้วย โครงสร้างทางกายภาพและโครงสร้างทางสังคมที่รองรับวัฒนธรรมการอ่าน จํานวนทรัพยากรรองรับ ที่เอื้อให้เกิดการอ่านได้อย่างต่อเนื่องและกลไกสนับสนุนกระตุ้นการอ่านและสร้างเสริมคุณค่าการอ่าน ดังนั้นประเทศไทยจะต้องมีห้องสมุดที่อ่านหนังสือ มุมหนังสือ มีบริการอินเทอร์เนทให้สืบค้นข้อมูล อย่างเพียงพอ มีโครงสร้างทางสังคมที่จะช่วยหนุนให้เกิดวัฒนธรรมการอ่าน โดยหนังสือจะเป็นสื่อ กระตุ้นให้พ่อแม่ลูกได้คุยกันว่าพฤติกรรมที่พบจากในหนังสือดีหรือไม่ดี อย่างไร เกิดการเรียนรู้และ แลกเปลี่ยนอย่างมีปฏิสัมพันธ์ซงึ่ กันและกัน จะต้องมีสื่อเพื่อการอ่าน มีกิจกรรมกระตุ้นการอ่าน และมี การคิดค้นนวัตกรรมการอ่านที่ต่างจากรูปแบบทางการทั่วไป เช่น การสร้างสื่อการอ่านที่มีความน่าอ่าน ร่วมสมัย หรือมีช่องทางใหม่ที่ขยายพื้นที่ของการอ่านในชีวิตประจําวันของกลุ่มเปู าหมายที่จะเอื้อต่อ การอ่ านอย่างต่อเนื่องมากที่สุด ที่ สําคัญคือ จะต้องมี หน่วยงานหรือองค์กรที่ทํ าหน้าที่ด้านการอ่าน โดยเฉพาะ ซึ่งมีหน้าที่สร้างกิจกรรมสนับสนุน กระตุ้นและส่งเสริมการอ่าน และจะต้องมีความรู้ ความ เข้าใจในเรื่องกระบวนการเรียนรู้ ทั ก ษะการสื่อสาร และการออกแบบกิจ กรรม เพื่อจัดกิ จกรรม ส่งเสริมการอ่านจนทําให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมซึมซับและเห็นคุณค่าของการอ่าน เกิดการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการอ่านจากผู้ไม่อ่านหรืออ่านน้อยมาเป็นผู้อ่านจนเป็นนิสัย (แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรม การอ่าน, 2553) 2. สร้างสรรค์สื่อส่งเสริมการอ่าน จากการวิจัยเชิงคุณภาพถึงปัจจัยหรือเงื่อนไขที่หล่อ หลอมสู่การสร้างนิสัยการอ่านของคนไทยของวรรณี แกมเกตุ (2553) พบว่า การปลูกฝังหรือสร้าง นิสัยให้คนไทยรักการอ่านนั้น จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งเป็นวัยที่กําลังอยากรู้ อยากเห็น เป็นวัยที่กําลังแสวงหาความรู้และเป็นวัยที่จะปลูกฝังลักษณะนิสัยต่างๆ ได้ง่าย จากทัศนะ ดังกล่าว การปลูกฝังนิสัยการอ่านจึงเป็นหน้าที่ร่วมกันของทั้งครอบครัว โรงเรียนและองค์กรวิชาการ อื่นที่ จ ะเข้ามาสนับ สนุน โดยในส่วนของสื่อสิ่ง พิ ม พ์ควรที่ จ ะสร้างสรรค์สื่อนิท าน หรือหนัง สือ ที่ น่าสนใจ และกระตุ้นให้เ ด็ก อยากอ่าน รวมทั้ งมี การกระจายหนัง สือไปยัง ชุม ชนต่างๆ เพื่อให้เด็ก สามารถเข้าถึงหนังสือได้อย่างทั่วถึง หนังสือที่ดีควรมีราคาถูกลง และมีเนื้อหาที่เหมาะสมกับเด็กใน แต่ละช่วงวัย เช่น หนังสือสําหรับเด็กเล็กนั้น ควรเป็นหนังสือที่จัดทําขึ้นเพื่อให้เด็กใช้ในการฟัง การอ่าน และการเรียนรู้ เนื้อหาสาระมุ่งให้ความรู้และความเพลิดเพลิน โดยใช้วิธีเขียน การจัดทํา และรูปเล่มที่ เหมาะสมกับวัย ความสนใจ และความสามารถในการอ่านของผู้อ่าน นักเขียนหนังสือเด็กจะต้องเขียน ให้อ่านง่าย สนุกสนาน ดําเนินเรื่องเร็ว เนื้อหาน่ารักจนกระทั่งเด็กติดใจในหนังสือเล่มนั้น ซึ่งจะทําให้ เด็กอยากอ่านหนังสือเล่มอืน่ ไปด้วย (สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2550) 3. สร้างความร่วมมือระหว่างครอบครั วและโรงเรียน ครอบครัวและโรงเรียนที่มีความ ร่วมมือกัน จะช่วยสร้างนิสัยรักการอ่านให้อยู่กับเด็กได้นานและต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อบ้านหรือ ครอบครัวทําหน้าที่ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้นในตัวเด็กแล้ว เมื่อถึงวัยเรียน โรงเรียนก็จะทํา หน้าที่ส่งเสริมและรักษานิสยั รักการอ่านให้คงอยู่กับเด็กด้วยการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่เอื้อ ต่อการส่งเสริม การอ่าน รวมทั้ งมีกิ จกรรมส่งเสริม การอ่านอย่างต่อเนื่องและครูผู้สอนเองก็มี ส่วน ผลักดันให้เด็กอ่านหนังสืออย่างมาก ครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ห้องสมุดได้ ทุกวิชา โดยร่วมมือกับครูบรรณารักษ์ กําหนดให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเรื่องต่างๆ จากห้องสมุด เมื่อ ทุกวิชาทําเช่นนี้ เด็กต้องอ่านหนังสือมากขึ้น จนกระทั่งเคยชินกับการอ่านและการศึกษาค้นคว้าด้วย


42

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

ตนเอง หากครูผู้สอนสอนโดยมิได้มุ่งเน้นให้นักเรียนอ่านและศึกษาค้นคว้า ไม่นานนิสัยรักการอ่านที่ ปลูกฝังมาจากครอบครัวก็จะหมดไป สิ่งที่พ่อแม่จะให้ความร่วมมือกับโรงเรียนได้ คือ 1) ช่วยเหลือเมื่อเด็กอ่านหนังสือไม่ได้ หรือมี ปัญหาในการประสมคํา พ่อแม่ควรสอนอ่านอย่างถูกต้อง และจัดหาหนังสือคู่มือหรือพจนานุกรมไว้ที่ บ้าน 2) รายงานผลการอ่านของเด็กให้ทางโรงเรียนทราบ เพื่อทางโรงเรียนจะได้แก้ไขปรับปรุง หาก เด็กอ่านได้ดีก็ควรจะจัดหาหนังสือดีๆ ให้อ่านอย่างต่อเนื่อง 3) บริจาคหนังสือแก่โรงเรียน หรือจะ บริจาคเป็นเงิน หรือบอกรับวารสาร หนังสือพิมพ์ให้โรงเรียนก็จะเป็นประโยชน์แก่เด็กเป็นจํานวนมาก และ 4) อ่านหนังสือทุกเล่มที่ทางโรงเรียนกําหนดให้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลา แล้วหาโอกาสสนทนา ถึงหนังสือนั้นๆ กับเด็ก เด็กจะรู้สึกสนุกสนานกับการอ่านหนังสือที่ครูมอบหมายให้อ่าน เนื่องจากพ่อ แม่หรือคนอื่นๆ ก็อ่านด้วย (ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์, 2538) 4. สร้างและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดูเด็ก ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์ (2538) กล่าวว่า นิสัยรักการอ่านหมายถึง การใฝุมุ่งมั่นแต่การอ่านและอ่านจนเคยชิน อ่านจนเป็น นิสัย คนที่มีนิสัยรักการอ่านย่อมอ่านทุกอย่างที่เป็นวัสดุสําหรับอ่าน และอ่านได้ทุกสถานที่ ทุกโอกาส แต่นิสัยรักการอ่านนี้ไม่อาจเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติจําเป็นจะต้องสร้างขึ้นมา การปลูกฝังนิสัยรักการ อ่านต้องเริ่มต้นตั้งแต่อายุยังน้อยๆ โดยการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ และความพร้อมในการอ่านให้ เด็กเสียก่อน ด้วยการให้ความรักความอบอุ่นอย่างเพียงพอ ส่งเสริมให้ร่างกายและสติปัญญาพัฒนาไป ตามลําดับขั้น พร้อมกับการจัดกิจกรรมที่ทําให้เด็กมีความสนใจกระหายใคร่อ่าน และเมื่อเด็กพร้อมที่ จะเรียนอ่าน จึงสอนอ่านจนสามารถอ่านเองได้ ซึ่งการสอนอ่านจะเริ่มตั้งแต่เด็กอายุประมาณ 4 ปี ไปจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ประเทิน มหาขันธ์, 2530 อ้างถึงใน ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์ , 2538) โดยการที่เด็กจะอ่านหนังสือออกได้ หรือฟังผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้ฟังได้นั้น เด็กต้องมีพัฒนาการด้าน ภาษาที่เหมาะสม กล่าวคือ มีทักษะด้านการรับรู้ภาษาและแสดงออกทางภาษาได้ดี (receptive and expressive language) แนวคิดของนั กจิตวิทยาพัฒนาการเห็ นว่า พัฒนาการด้านภาษาส่ง ผลถึ ง พัฒนาการด้านสติปัญญา ดังนั้นการที่ผู้ปกครองอ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่ยังเล็ก จึงเป็นการปลูกฝัง นิสัยการรักการอ่ าน และช่วยพัฒ นาทั กษะด้านภาษา รวมไปถึง สติปัญ ญาให้แก่เ ด็ก อีกด้วย ซึ่งใน ต่างประเทศนั้นได้มีการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าวไว้มากมาย ดังเช่น Fletcher และ Reese (2004) ได้ ทําการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ ยวกับ การอ่ านหนังสือร่วมกับ เด็กเล็ก (0-3 ปี) Sonnenschein และ Munsterman (2002) ได้ศึกษาอิทธิพลของการอ่านหนังสือร่วมกับเด็กเล็กในบ้านต่อพัฒนาการด้าน การอ่านและเขียน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ความถี่ในการอ่านหนังสือมีความสัมพันธ์กับทักษะที่เกี่ยวข้อง กับการอ่านและเขียนในเด็กเล็ก และปฏิสัมพันธ์กั นระหว่างการอ่านนั้นเป็นตัวทํานายที่ดีที่ สุดต่อ แรงจูงใจในการอ่านของเด็ก กล่าวคือ พ่ อแม่ ไม่เ พียงแต่อ่านหนังสือให้ลูกฟังเท่ านั้ น จะต้องสร้าง ปฏิสัมพันธ์ กระตุ้นให้เด็กสนใจในเนื้อเรื่องที่อ่านด้วย ส่วน Hoff (2006) ได้ศึกษาว่า บริบททางสังคม นั้นจะช่วยสนับสนุนหรือปรับแต่งพัฒนาการด้านภาษาของเด็กได้อย่างไร เขาสรุปว่า สิ่งแวดล้อมนั้น ช่วยให้เด็กได้รับโอกาสที่จะได้ใช้ภาษาในการสื่อสาร และได้รับฟังตัวอย่างของการออกเสียง ซึ่งกลไก ความสามารถในการใช้ภาษาของมนุษย์ ย่อมต้องอาศัยประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวกับการอ่านในเด็กเล็ก พบว่า การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง ตั้งแต่ยังเล็กจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีขึ้น โดยมีเทคนิคหนึ่งในการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

43

ที่ไม่ใช่เพียงแค่การอ่านโดยมีผู้ปกครองอ่าน แล้วเด็กฟังเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เด็ก และผู้ปกครองมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น เรียกว่า “dialogic reading” ซึ่ง Whitehurst (1988) กล่าวว่า dialogic reading นั้นถูกออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนบทบาทระหว่างแม่และเด็ก นั่นคือ เด็กจะ ค่อยๆ กลายมาเป็นผู้เล่าเรื่อง ในขณะที่แม่หรือผู้ปกครองจะกลายเป็นผู้ฟัง ผู้ชี้นํา ผู้ให้รางวัล และ ผู้ช่วยให้เด็กมีความต้องการที่จะพูดมากขึ้น โดยมีงานวิจัยที่สนับสนุนแนวคิดนี้ ได้แก่ งานวิจัยของ Hargrave และ Senechal (2000) ที่พบว่า เด็กที่มีความจํากัดด้านคําศัพท์สามารถเรียนรู้คําศัพท์ ใหม่ๆ จากการอ่านหนังสือแบบปกติ แต่เด็กที่อ่านด้วยวิธี dialogic reading นั้นสามารถสร้างคําศัพท์ และมีผลทดสอบการใช้คําศัพท์ที่มากกว่าเด็กที่ได้รับการอ่านแบบปกติ สอดคล้องกับ งานวิจัยของ Huebner และ Meltzoff (2005) ซึ่งได้ศึกษาเปรียบเทียบวิธีการที่แตกต่างกัน 3 วิธี ในการสอนให้ พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังด้วยวิธี dialogic reading โดยพบว่า พ่อแม่ที่ได้รับการฝึกสอนจากผู้วิจัย โดยตรงให้อ่านหนังสือกับลูกด้วยวิธี dialogic reading นั้นส่งผลต่อความสามารถในการใช้ภาษาของ เด็กมากที่สุดเมื่อเทียบกับการสอนของผู้ปกครองผ่านวิดีโอเทปและทางโทรศัพท์ งานวิจัยถัดมาของ Huebner และ Payne (2010) พบว่า พฤติกรรมการอ่านด้วยวิธี dialogic reading นั้นเกี่ยวข้องกับ การมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นของเด็กในขณะอ่านหนั งสือคือ ช่วยให้เด็กสนุกไปกับการอ่านและ สนใจอ่านมากขึ้น นอกจากนี้ในด้านการส่งเสริมการอ่านจากพ่อ พบว่า พ่อเป็นบุคคลสําคัญที่จะช่วย พัฒนาภาษาให้แก่ลูก พ่อควรเข้าใจถึงพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสารในระยะเริ่มแรกของลูก และพบว่า การใช้คําศัพท์ระหว่างอ่านหนังสือภาพให้ลูกฟังนั้นส่งผลถึงพัฒนาการทางภาษาที่เพิ่มขึ้น ในช่วง 15 และ 36 เดือนแรกของลูก (Panscofar et al, 2010) ส่วนของงานวิจัยในประเทศไทยนั้น พบว่า พัฒนาการทางภาษาที่ดีขึ้นของเด็ก เกิดจากการที่ผู้ปกครองมีสว่ นร่วมในกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับ ครู และโรงเรียน เช่น การใช้ชุดกิจกรรม “เล่นกับลูกปลูกภาษา” (อารีย์ คําสังฆะ, 2554) กิจกรรม เล่านิทานประกอบการวาดภาพที่โรงเรียน (จีรวรรณ นนทะชัย , 2555) กิจกรรม “ครอบครัวสุขสันต์ ร่วมกันพัฒนาเด็ก ” (ธีร นุช เชยกลิ่นเทศ, 2549) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโ ครงการวิจั ยรูปแบบการ ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในเด็กอายุ 1-3 ปี โดยพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็ก โดยมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่ง ได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ผลการวิจัยพบว่า จากการที่เด็กได้สัมผัสหนังสือเล่มแรกที่พ่อแม่อ่านให้ฟังอย่างอบอุ่น ทําให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่แสดง ถึงความผูกพันและความต้องการหนังสืออย่างเด่นชัด เด็กสามารถนั่งฟังได้นิ่งและบ่อย โดยไม่รู้เบื่อ พัฒนาสู่การเลียนเสียง หัดพูดคําต่างๆ และเด็กยังได้รับสิ่งต่างๆ เช่น ความรักความอบอุ่น คําศัพท์ ต่างๆ ภาพที่ก่อให้เกิดจินตนาการ การอบรมบ่มสอนผ่านเรื่องราวในหนังสือ ความรับผิดชอบและ ระเบียบวินัยจากการเก็บหนังสือ เป็นต้น (สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2550) 5. สร้างเสริมแรงจูงใจในการอ่าน วรรณี แกมเกตุ (2553) ได้วิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์ เชิง สาเหตุของดัชนีก ารอ่านว่า ปัจ จัยที่ ส่งผลต่อการอ่านโดยตรงคือ แรงจูง ใจในการอ่าน ดัง นั้น ผู้เกี่ยวข้องควรดําเนินการเพื่อสร้างแรงจูงใจในการอ่านให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล และสร้างความพร้อมใน การอ่าน ทั้งความพร้อมด้านเวลา และด้านหนังสือ/วัสดุการอ่าน ซึ่งอาจทําได้โดยปลูกฝังทัศนคติที่ดี ต่อการอ่านและการจัดสภาพแวดล้อมที่ สนับสนุนการอ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพแวดล้อมด้าน ครอบครัว สภาพแวดล้อมทีโ่ รงเรียน และสภาพแวดล้อมของชุมชนที่อยู่อาศัย เนื่องจากสภาพแวดล้อม


44

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

ดังกล่าวจะเป็นตัวที่ส่งผลให้เกิดความพร้อมในการอ่าน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน และเกิดแรงจูงใจ ในการอ่านตามมา ซึ่งการจะสร้างให้เกิดแรงจูงใจภายในตัวบุคคลให้เกิดขึ้นและคงอยู่จะต้องอาศัยการ สนับสนุนส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ดังที่ ทฤษฎีการกําหนดการกระทําด้วยตนเอง (self-determination theory) ของ Ryan และ Deci (2000) ได้อธิบายว่า ธรรมชาติของมนุษย์มคี วามกระตือรือร้นและริเริ่ม ลงมือกระทํา (Active) มากกว่าที่จะเป็นฝุายถูกกระทํา มนุษย์มีความต้องการพื้นฐานทางจิตใจ 3 ประการ คือ มีความต้องการมีความสามารถ (Need for competence) ความต้องการมีอิสระกําหนดได้ด้วย ตนเอง (Need for autonomy) และความต้องการมีสัมพันธ์กับผู้อื่น (Need for relatedness) ซึ่ง ความต้องการเหล่านี้เป็นสิ่งจําเป็นต่อการส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ดีที่สุดของแรงจูงใจภายใน ธรรมชาติของแรงจูงใจจะเป็นพลัง หรือแรงที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติก รรมที่ มีทิศทาง สําหรับ แรงจูงใจภายใน (Intrinsic motivation) ตามทฤษฎีนี้เห็นว่าเป็นแนวโน้มภายในโดยธรรมชาติของ มนุษย์ที่จะแสวงหาสิ่งแปลกใหม่และท้าทาย เป็นแนวโน้มที่จะเพิ่มพูนความสามารถของตนและเป็น แนวโน้มที่จะสํารวจการเรียนรู้ รางวัลในเบื้องต้นของการทําพฤติกรรมที่เกิดจากแรงจูงใจภายในคือ การรู้ สึ ก ถึ ง ความสามารถของตนและความมี อิ ส ระกํ าหนดได้ ด้ ว ยตนเอง แรงจูง ใจภายในนี้ มี ความสําคัญต่อพัฒนาการทางการรู้คิดและทางสังคมของมนุษย์ บุคคลมีแรงจูงใจภายในเพราะการ เห็นคุณค่าในการทํากิจกรรมนั้น มีความสนใจ ความตื่นเต้นและมีความมั่นใจ ซึ่งต่อมาจะแสดงออกใน แง่ของการเพิ่มผลการปฏิบัติงาน ความเพียรพยายาม ความคิดสร้างสรรค์และการเห็นคุณค่าในตนเอง ซึ่งต่างจากการทําเพราะมีแรงภายนอกมากดดัน หรือแรงจูงใจภายนอก (Extrinsic motivation) มีการ วิจัยพบว่า การรักษาและการเพิ่ มแรงจูงใจภายใน ต้องอาศัยสิ่ง แวดล้อมที่ สนับสนุนและแรงจูงใจ ภายในสามารถถูกทําลายได้โดยสภาพแวดล้อมที่ไม่สนับสนุน (Ryan & Deci, 2000: 69 อ้างใน เรวดี ทรงเที่ยง, 2548) เมื่อบุคคลมีแรงจูงใจในการอ่านก็จะส่งผลให้มีพฤติกรรมการอ่าน เกิดความสามารถ ในการอ่าน และเกิดผลลัพธ์จากการอ่านตามมา จากแนวทางการแก้ไขทั้งหมดที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การแก้ไขปัญหาย่อมต้องอาศัยความ ร่วมมือจากทุก ฝุายตั้ง แต่หน่วยงานใหญ่อย่างภาครัฐและภาคเอกชน สื่อมวลชน ผู้ผลิตสื่อสิ่งพิม พ์ ทั้งหลาย โรงเรียน ครู และที่สําคัญที่สุดคือพ่อแม่ผู้ปกครองที่ใกล้ชิดเด็กที่สุด และผู้เขียนฐานะของ นิสิตสาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการเห็นว่า จิตวิทยาพัฒนาการเป็นศาสตร์ที่ช่วยให้เข้าใจถึงพัฒนาการใน เด็ก และจะนําไปสู่การให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาการได้อย่างเหมาะสมต่อไป ในเรื่องการ อ่านนั้นเกี่ยวข้องกับพัฒนาการหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการด้านสติปัญญา ภาษา อารมณ์และ สังคม นักจิตวิทยาพัฒ นาการ จึงมี หน้าที่ที่จ ะต้องให้ความรู้แก่ผู้ป กครองและบุคลากรที่ เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการดังกล่าว และมีส่วนช่วยในการคิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะช่วยกระตุ้น พัฒนาการ สร้างนิสัยรักการอ่าน และสร้างความร่วมมือให้เกิดระหว่างครอบครัว ครู และโรงเรียน อันจะนํามาซึ่งนิสัยรักการอ่านในเด็กที่ติดตัวตลอดไป เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2554, จาก www.debsirin.ac.th/.../5cc44c5d74c0e6a839969dc5cd3ec9b5.doc.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

45

คณินนุช พิจิตรนรการ. (2550). การประเมินโครงการรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนพรประสาทวิทยา. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ผลการประเมิน PISA 2009 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. จีรวรรณ นนทะชัย. (2555). ความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รบั การจัดประสบการณ์ เล่านิทานประกอบการวาดภาพ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. ธีรนุช เชยกลิ่นเทศ. (2549). ผลของการจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อการพัฒนา ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษา ปฐมวัย) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. ปัญชลี ด้วงเอียด. (2553). ส่งเสริมการอ่านจากงานหนังสือแห่งชาติ. สารศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. 8 (1), 14-15. แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน. (2553). ปักธงร่วมฝัน สรรสร้างวัฒนธรรมการอ่าน. กรุงเทพฯ : แปลนพรินท์ติ้ง. สํานักงานรัฐมนตรี. (2556). ผลการสแกนเด็กอ่านออกเขียนได้ – การสอบคัดเลือกระบบรับตรง. ค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2556, จาก http://www.moe.go.th/websm/2013/sep/316.html. ภัทรินทร์ วิศิษฏศักดิ.์ (2539). การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านหน่วยศึกษานิเทศก์ สานักการศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (บรรณารักษ์ศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. เรวดี ทรงเที่ยง. (2548). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจภายในเพื่อสร้างสัมพันธภาพในการ ทางานของหัวหน้าช่างในศูนย์บริการรถยนต์. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. วราภรณ์ จารุเมธีชน. (2555). บทบาทของผูป้ กครองในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพืน้ ที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จังหวัดขอนแก่น. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (บรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. วรรณี แกมเกตุ และคณะ. (2553). การศึกษาสถานการณ์การอ่านและดัชนีการอ่านของไทย ปี 2553.: การพัฒนาดัชนีการอ่านและการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีการอ่าน. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2556, จาก http://knowledge.tkpark.or.th/tha/tkresearch/12. สุปราณี ประคําผอง. (2547). ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีนสิ ัยรักการอ่าน โดยผู้ปกครอง. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). รูปแบบการให้ความรู้พ่อแม่ใน การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย โดยผ่านกระบวนการส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). รูปแบบการส่งเสริมนิสัยรักการ อ่านในเด็กอายุ 1-3 ปี โดยพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดูเด็ก. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค


46

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). การสารวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2554. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2556. จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/theme_2-3-1.html. สํานักทดสอบทางการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวปฏิบัติใน การสอบวัดความสามารถในการอ่าน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2556. จาก www.nan2.go.th/UserFiles/File/HandBP3.pdf. ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์. (2538). การอ่านและการสร้างนิสยั รักการอ่าน. (พิมพ์ครั้งที3่ ). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. อนันต์ เฮงสุวรรณ. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริมพฤติกรรมการอ่านของ นักเรียนระดับการศึกษาขัน้ พื้นฐาน. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. อภิฤดี จิตต์เจนการ. (2554). ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมการอ่านนิทานร่วมกับลูกตามแนวการสอนภาษาธรรมชาติ ที่มีต่อความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เจตคติต่อการอ่านนิทานร่วมกับลูก และพฤติกรรมการอ่านนิทานร่วมกับลูกของผู้ปกครอง. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. อารีย์ คําสังฆะ. (2554). การส่งเสริมความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผูป้ กครองใช้ชุดกิจกรรม “เล่นกับลูกปลูกภาษา”. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. อาร์ เมอเร โทมัส. (2526). การเปรียบเทียบทฤษฎีพัฒนาการเด็ก. แปลโดย ดวงเดือน ศาสตรภัทร. กรุงเทพ Fletcher, K.L. & Reese, E. (2005). Picture book reading with young children: A conceptual framework. The Journal of Developmental review, 57; 64-103. Grover J. (Russ) Whitehurst. (n.d.). Dialogic Reading: An Effective Way to Read to Preschoolers. Retrieved August 28, 2013, from Website: http://www.readingrockets.org/article/400/ Hargrave, A.C.& Senechal, M. (2000). A book reading intervention with preschool children who have limited vocaburaries: The benefits of regular reading and dialogic reading.The Journal of Early Childhood Research Quarterly, 15; 75-90. Hoff, E. (2006). How social contexts support and shape language development.The Journal of Developmental review, 26; 55-88. Huebner, C.E. (2000). Promoting Toddlers’ Language Development Through Communitybased Intervention. The Journal Applied Developmental Psychology, 21(5); 513-535. Huebner, C.E.& Meltzoff, A.N. (2005). Intervention to change parent-child reading style: A comparison of instruction methods. The Journal Applied Developmental Psychology, 26; 296-313. Huebner, C.E.& Payne, K. (2010). Home support for emergent literacy: Follow-up of a community-based implementation of dialogic reading. The Journal Applied Developmental Psychology, 31; 195-201.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

47

Maccoby, E.E (1992). The role of parents in the socialization of children: A historical overview.The Journal of Developmental Psychology, 28; 1006-1017. Pancsofar, N., et al. (2010). Father’s early contributions to children’s language development in families from low-income rural communities.The Journal of Early Childhood Research Quarterly, 25; 450-463. Sonnenschein, S.& Munsterman, K. (2002). The influence of home –based reading interactions on 5 year-olds’ reading motivations and early literacy development.The Journal of Early Childhood Research Quarterly, 17; 318-337. Whitehurst, G.J.& Valdez-Menchaca, M.C. (1992). Accelerating language development through picture book reading: A systematic extension to Mexican day care. The Journal of Developmental Psychology, 28; 1106-1114. ………………………………………………..


48

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

เด็กไทยพูดไทยให้ชัด Thai Children Speaking Thai Correctly ดารณี ศักดิ์ศิริผล * บทคัดย่อ การพูดที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย แต่ปัจจัยหนึ่งที่มีความสําคัญก็คือผู้ พูด จะต้ อ งพู ด ด้ ว ยถ้ อ ยคํ าที่ ชั ด เจน หากผู้ พู ด ออกเสี ย งไม่ ชั ด เจนอาจส่ ง ผลให้ เ กิ ด ความเข้ า ใจที่ คลาดเคลื่อนได้ ดังนั้นการพูดให้ชัดเจนจึงมีความสําคัญที่ทุกคนจะต้องตระหนัก จากการสํารวจการพูด ของเด็กที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนออกเสียงไม่ชัดเจนร้อยละ 48.47 (ดารณี ศักดิ์ศิริผล และคณะ, 2555) ซึ่งการพูดไม่ชัดเจนอาจมีสาเหตุเนื่องมาจากโครงสร้างหรือการทํางาน ของอวัยวะเกี่ยวกับการพูดผิดปกติ หรือจากการเรียนรูก้ ารพูดที่ไม่ถูกต้อง โดยการพูดไม่ชัดมี 4 ลักษณะ คือ การใช้หน่วยเสียงแทนกัน การพูดไม่ครบทุกหน่วยเสียง การออกเสียงเพี้ยนไป และการพูดเพิ่มเสียง ซึ่งแต่ ละลักษณะจะมีความแตกต่างกัน การคัดกรองการพูดไม่ชัดของเด็กโดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาว่า เด็กคนใดพูดไม่ชัดเจนและมีก ารพูดไม่ชัดในลักษณะใด เพื่อเป็นข้อมูล ในการนําไปใช้วางแผนให้การ ช่วยเหลือเด็ก รวมทั้งการส่งต่อเด็กเพื่อรับการวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญต่อไป คาสาคัญ: การพูดไม่ชัดเจน การคัดกรองการพูด Abstract For one to speak effectively, that person has to be able to speak clearly which is one of many important factors. If that person does not have clear and understandable speech, this may lead to misunderstanding information. Therefore, it is essential for one to be aware of having clear speech. From a survey on speech articulation of students in grade 1, it was found that 48.47 percentage of those students had articulation problem (Daranee, et al., 2012). The possible causes of the articulation problem can be organic or functional causes. Articulation problems can be classified into 4 types, namely: substitution, deletion, distortion, and addition of phonemes. The main purpose of articulation screening in children is to identify who has articulation problems, and what type of articulation problems that person has. __________________________ * รองศาสตราจารย์ ดร., ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

49

The information obtained will be for proper intervention and referral for further diagnosis from expert clinicians. Key words: speech articulation problems, speech articulation screening test การพูดมีความสําคัญต่อมนุษย์ทุกคนเพราะเราใช้การพูดเพื่อติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน การ พูดที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย แต่ปัจจัยหนึ่งที่มีความสําคัญก็คือ ผู้พูดจะต้อง พูดด้วยถ้อยคําที่ชัดเจน หากผู้พูดออกเสียงไม่ชัดเจนอาจส่งผลให้เกิดความเข้าใจที่ คลาดเคลื่อนได้ ดังนั้นการพูดให้ชัดเจนจึงมีความสําคัญที่ทุกคนจะต้องตระหนัก โดยเฉพาะเด็กไทยในยุคปัจจุบันนี้ที่มี การพูดไม่ชัดเจนจํานวนมาก อาทิ การออกเสียงคํา ที่มีเสียง ร เรือ ส่วนใหญ่ออกเสียงเป็นเสียง ล ลิง หรือการพูดคําควบกล้ํา ที่เด็กมักจะไม่ออกเสียงพยัญชนะบางตัว เช่น กล้วย ออกเสียงเป็น ก้วย โดย ไม่ออกเสียง ล ลิง เป็นต้น ซึ่งการพูดไม่ชัดเจนนี้อาจจะเนื่องมาจากหลายปัจจัย เช่น การละเลยไม่ เห็นความสําคัญที่จะต้องพูดให้ชัดเจน การเลียนแบบผู้ที่พูดไม่ชัดซึ่งเป็นคนที่ตนเองชื่นชอบ มีทัศนคติ ที่ไม่ถูกต้องเห็นว่าการออกเสียงไม่ชัดเจนเป็นเรื่องที่ดีทําให้ตนเองดูโดดเด่น น่าสนใจ ทันสมัย เป็นต้น นอกจากนี้บางคนอาจจะออกเสียงเพี้ยนไปฟังแล้วไม่ค่อยชัดเจน แต่ก็ไม่ใช่จะไม่ชัดเจนเสียทีเดียว เช่น การออกเสียง ส เสือ หรือ ต เต่า ที่เด็กบางคนอาจจะวางลิ้นไม่ถูกต้องตามตําแหน่งที่เกิดของเสียง โดยจะแลบลิ้นออกมาวางไว้ระหว่างฟันบนกับฟันล่างในขณะออกเสียง ทั้งๆที่การออกเสียงพยัญชนะ ในภาษาไทยไม่มีเสียงใดที่จะต้องแลบลิ้นออกมา ดังนั้นเมื่อวางลิ้นไม่ถูกต้องตามตําแหน่งที่เกิดเสียง พยัญชนะนั้นๆ จึงทําให้คําที่พูดออกมาฟังแล้วเพี้ยนไปนั่นเอง จากการสํารวจการพูดของเด็กที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียน ออกเสียงไม่ชัดเจนร้อยละ 48.47 โดยพยัญชนะต้นออกเสียงไม่ชัดมากที่สุดคือ เสียง ร เรือ รองลงมา คือ เสียง ส เสือ ส่วนเสียงที่ออกไม่ชัดน้อยที่สุดคือ เสียง ฟ ฟัน เสียงพยัญชนะท้ายหรือตัวสะกดออก เสียงไม่ชัดเจนในมาตราแม่ กด กน มากที่สุด รองลงมา คือ มาตราแม่ กก และ กง ส่วนเสียงพยัญชนะ ควบกล้ําออกเสียง ตร ไม่ชัดมากที่สุด รองลงมา คือ เสียง ปร พร กร คร/ขร ปล พล กล คล/ขล ตามลําดับ (ดารณี ศักดิ์ศิริผล และคณะ, 2555) ความหมาย การพู ดไม่ ชัดเจน หมายถึง การออกเสียงพยัญชนะ สระ และ/หรือวรรณยุกต์ ไม่ ถูกต้องตาม หลักเกณฑ์หรือมาตรฐานการออกเสียงภาษาไทย ซึ่งการพูดไม่ชัดนี้เป็นความผิดปกติของการเปล่งเสียงพูด ความสาคัญของการพูด การพูดให้ถูกต้องและชัดเจนเป็นเรื่องที่มีความสําคัญที่ทุกฝุายจะต้องตระหนักและให้การ ส่งเสริม ดังจะเห็นได้จากการกําหนดให้มีวันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่รําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในด้าน ภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นให้ชาวไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงความสําคัญและคุณค่าของภาษาไทย และ ร่วมใจกันใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเพื่ออนุรักษ์ภาษาไทยให้เป็นเอกลักษณ์อยู่คู่ชาติไทยต่อไป ดังพระราช ดํารัสตอนหนึ่งความว่า


50

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

“...เรามีโชคดีที่ มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึง สมควรอย่างยิ่งที่ จะรักษาไว้ ปัญหา เฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออก เสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คามาประกอบ ประโยค นับเป็นปัญหาที่สาคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ารวยในคาของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ ร่ารวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ สาหรับคาใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจาเป็นในทางวิชาการไม่ น้อย แต่บางคาที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คาเก่าๆ ที่ เรามี อยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ ใหม่ให้ ยุ่งยาก…” นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัย และความ ห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส อย่างในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ที่ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คาออกจะฟุ่มเฟือยและไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้อง ตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเรา ใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษา ไว้ ฉะนั้นจึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริม ภาษาไทย ซึ่ งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ" (กระปุก ดอทคอม, 2556: ออนไลน์) จากพระราชดํารัส ข้างต้นจะเห็นได้ว่าการออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจนเป็นเรื่องสําคัญ มาก เพราะการออกเสียงคําแต่ล ะคําในภาษาไทยนั้นอาจมีความหมายที่แตกต่างกั นออกไป เช่น คําว่า “ร้าน” กับคําว่า “ล้าน” หรือ คําว่า “พริก” กับคําว่า “พลิก” ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเสียงของพยัญชนะ แต่ละตัวมีความแตกต่างกัน ผู้พูดจึงต้องระมัดระวังและฝึกฝนในการพูดให้ถูกต้องตามหลักการออก เสียงภาษาไทยเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการสื่อสาร สาเหตุของการพูดไม่ชัด การพูดไม่ชัดเจนเกิดจากสาเหตุใหญ่ๆ 2 ประการ ได้แก่ สาเหตุเนื่องมาจากโครงสร้างหรือ การทํางานของอวัยวะเกี่ยวกั บการพูดผิดปกติ และสาเหตุที่ เกิดจากการเรียนรู้การพู ดที่ไม่ถูกต้อง (รจนา ทรรทรานนท์, 2546 Sumana Jothi, 2013: Online). ซึ่งแต่ละสาเหตุมีรายละเอียด ดังนี้ 1. สาเหตุจากโครงสร้างหรือการทางานของอวัยวะเกี่ยวกับการพูดผิดปกติ ได้แก่ 1.1 ความบกพร่องในการทํ างานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่ควบคุม การ เคลื่อนไหวของอวัยวะที่เกี่ยวกับการพูด มีผลทําให้ลิ้นเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่อ่อนแรงหรือเป็นอัมพาต ส่งผลทําให้การทํางานของอวัยวะเหล่านี้บกพร่องไป 1.2 ปากแหว่ง เพดานโหว่ ทําให้พูดไม่ชัด ร่วมกับการพูดที่มีเสียงขึ้นจมูกผิดปกติ และการพูดไม่ชัดนี้อาจจะเกิดจากใช้อวัยวะในช่องปากไม่ถูกต้องอีกด้วย 1.3 เส้นยึดใต้ลิ้น (tongue tie) สั้นมาก ทําให้การเคลื่อนไหวลิ้นเพื่อแตะส่วนต่างๆ ภายในปากลําบาก สามารถสังเกตได้โดยแลบลิ้นออกมาให้ยาวที่สุดถ้าปลายลิ้นไม่พ้นริมฝีปากล่าง และปลายลิ้นมีลักษณะเป็นรูปหัวใจแสดงว่าเส้นยึดใต้ลิ้นสั้นมากผิดปกติจะทําให้พูดไม่ชัด 1.4 ความบกพร่อ งในการได้ยิน ทํ าให้พูดไม่ ชัดเพราะไม่ ได้ยินเสียงพูดที่ถูก ต้อง ชัดเจนของผู้อื่น หรือได้ยินแต่ไม่ชัด ผู้ที่มีความบกพร่องในการได้ยินจึงเลียนแบบคําพูดที่ไม่ถูกต้อง


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

51

นอกจากนั้นการที่จะพูดได้ชัดเจน ผู้พูดจะต้องได้ยินเสียงของตัวเองด้วย เพื่อเปรียบเทียบกับเสี ยงของ ผู้อื่นและเพื่อปรับการพูดของตัวเองให้ถูกต้องชัดเจน ผู้ที่มีความบกพร่องในการได้ยินทําให้พูดไม่ชัด เพราะขาดคุณสมบัติสองข้อดังกล่าว 1.5 ความบกพร่องทางสติปัญญา ผู้ที่มีเชาวน์ปัญญาต่ํากว่าเกณฑ์ปกติมากถึงขั้น บกพร่องทางสติปัญ ญาระดับ มากหรือรุนแรงมั กมีปัญ หาการพู ดไม่ ชัด ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากลิ้นไม่ แข็งแรง แต่คนที่พูดไม่ชัดไม่จําเป็นต้องเป็นคนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเสมอไป 2. สาเหตุจากการเรียนรู้การพูดไม่ถูกต้อง พบบ่อยมากในเด็กที่พูดไม่ชัด เด็กที่พูดไม่ชัดจาก สาเหตุนี้เป็นเด็กที่มีอวัยวะการพูดปกติ แต่มีการเรียนรู้การพูดอย่างไม่ถูกต้อง เช่น เลียนแบบการพูด ไม่ชัดจากคนใกล้ชิด ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กไม่ได้กระตุ้นให้เด็กพูดให้ถูกต้องชัดเจนตั้งแต่ เป็นภาษาพูด ทํา ให้เด็กเกิดความเคยชินต่อการพูดไม่ถูกต้องจนติดเป็นนิสัย การพูดไม่ถูกต้องบ่อยๆ นี้ทําให้เกิดการพูด ไม่ชดั เจนแบบถาวร การพูดไม่ชัดที่เกิดจากสาเหตุนี้ ส่วนมากเป็นเด็กวัยก่อนเรียนและวัยเรียนที่มีอายุต่ํากว่า 8 ปี เป็นจํานวนมาก โดยธรรมชาติแล้วเด็กในช่วงอายุนี้ยังไม่มีวุฒิภาวะและประสบการณ์ในการใช้อวัยวะ ในการพูดเพียงพอ ทําให้เด็กเปล่งเสียงพูดผิดไปจากมาตรฐานของผู้ใหญ่ ถ้าเด็กพูดผิดบ่อยๆ โดยไม่มี การกระตุ้นให้พูดได้ถูกต้อง ก็จะเกิดความเคยชินจนเป็นการพูดไม่ชัดแบบถาวร ลักษณะของการพูดไม่ชัด การพูดไม่ชัดแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ การใช้หน่วยเสียงแทนกัน การพูดไม่ครบทุกหน่วย เสียง การออกเสียงเพี้ยนไป และการพูดเพิ่ม เสียง ซึ่งแต่ล ะลัก ษณะจะมีความแตกต่างกัน (ดารณี ศักดิ์ศิริผล, 2555) ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. การใช้หน่วยเสียงแทนกัน (Substitution) เป็นการพูดออกเสียงโดยใช้เสียงหนึ่งแทน เสียงหนึ่ง อาจเป็นการใช้เ สียงพยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์อื่นมาแทนเสียงที่ ถูกต้อง ซึ่ง มีหลาย ลักษณะ ได้แก่ การใช้เสียงพยัญชนะต้นแทนกัน เช่น ใช้เสียง ซ.โซ่ แทนเสียง ช.ช้าง เมื่อพูดคําว่า ช้าง โดยออกเสียงเป็น ซ้าง เป็นต้น การใช้เสียงพยัญชนะควบกล้ําแทนกัน เช่น ใช้เสียง ฟ.ฟัน แทนเสียง คว เมื่อพูดคําว่า ควัน โดยออกเสียงเป็น ฟัน เป็นต้น การใช้เสียงสระแทนกัน เช่น ใช้เสียงสระโ- แทน เสียงสระ อัว เมื่อพูดคําว่า ตัว โดยออกเสียงเป็น โต เป็นต้น การใช้เสียงวรรณยุกต์แทนกัน เช่น ใช้ เสียงวรรณยุกต์จัตวา แทนเสียง สามัญ เมื่อพูดคําว่า ปา โดยออกเสียงเป็น ป๋า เป็นต้น การใช้เสียง มาตราตัวสะกดแทนกัน เช่น ใช้เสียงแม่กน แทนเสียง แม่กง เมื่อพูดคําว่า กาง โดยออกเสียงเป็น กาน เป็นต้น 2. การพูดไม่ครบทุกหน่วยเสียง (Omission) เป็นการพูดที่เว้นไม่ออกเสียงบางเสียง อาจ เป็นการเว้นไม่ออกเสียงพยัญชนะควบกล้ํา เสียงตัวสะกด เสียงพยางค์ที่อยู่หน้า กลาง ท้าย ซึ่งมีหลาย ลักษณะ ได้แก่ การเว้นไม่ออกเสียงพยัญชนะควบกล้ํา เช่น คําว่า กรง ออกเสียงเป็น กง โดยเว้นไม่ ออกเสียง ร.เรือ เป็นต้น การเว้นไม่ออกเสียงตัวสะกด เช่น คําว่า เสียง ออกเสียงเป็น เสีย โดยเว้นไม่ ออกเสียงตัวสะกดแม่กง เป็นต้น การเว้นไม่ออกเสียงพยางค์ที่อยู่หน้า กลาง ท้าย เป็นการเว้นไม่ออก เสียงพยางค์ที่อยู่ในตําแหน่งหน้า กลาง ท้าย ของคํา เช่น คําว่า สวัสดี ออกเสียงเป็น หวัดดี โดยเว้น


52

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

ไม่ออกเสียงพยางค์หน้า หรือคําว่า โรงพยาบาล ออกเสียงเป็น โรงพบาล โดยเว้นไม่ออกเสียงพยางค์ที่ อยู่ตรงกลาง หรือคําว่า สิงห์บุรี ออกเสียงเป็น สิงห์ โดยเว้นไม่ออกเสียงพยางค์ท้าย เป็นต้น 3. การออกเสียงเพี้ยนไป (Distortion) เป็นการออกเสียงบางเสียงไม่ชัดเจนหรือออกเสียง เพี้ยนไป ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเสียงอะไร จะพบได้ทงั้ การออกเสียงพยัญชนะต้นและมาตราตัวสะกด การออกเสียงเพี้ยนที่เป็นปัญหาส่วนมากจะเป็นการออกเสียงที่ใช้ฐานกรณ์ปลายลิ้น หรือลิ้นส่วนหน้า กับปุ​ุมเหงือก คือเสียง ด ต ท น ล ร และ ซ 4. การพูดเพิ่มเสียง (Addition) เป็นการออกเสียงบางเสียงเพิ่มหรือเติมเข้าไปโดยไม่จําเป็น อาจจะเป็นเสียงสระหรือพยัญชนะ เช่น คําว่า กลาง ออกเสียงเป็น กะลาง หรือ คําว่า ตกใจ ออกเสียง เป็น ตกกะใจ เป็นต้น เกณฑ์ในการพิจารณาการพูดไม่ชัด การที่จะระบุว่าเด็กคนใดพูดไม่ชัดเจนบ้างนั้น จะต้องพิจารณาจากเกณฑ์ต่างๆ ได้แก่ ช่วงอายุ ของเด็ก ความคงที่ ความถี่ ความรุนแรง และลักษณะของการพูดไม่ชัด ซึ่งในเบื้องต้นจะพิจารณาจาก ช่วงอายุของเด็กเปรียบเทียบกับเกณฑ์การออกเสียงสระและพยัญชนะของเด็กตามช่วงอายุต่างๆ (รจนา ทรรทรานนท์, 2535: 175 ดารณี ศักดิ์ศิริผล, 2542: 5) โดยเสียงพยัญชนะมีเกณฑ์การออกเสียง ดังนี้ อายุ (ปี – เดิอน) 2 ปี 1 เดือน – 2 2 ปี 7 เดือน – 3 3 ปี 1 เดือน – 3 3 ปี 7 เดือน – 4 4 ปี 1 เดือน – 4 4 ปี 7 เดือน – 5 5 ปี 1 เดือน – 5 อายุ 7 ปีขึ้นไป

ปี ปี ปี ปี ปี ปี ปี

6 เดือน 6 เดือน 6 เดือน 6 เดือน

เสียงที่พูดได้ชัดเจน เสียง ม น ห ย ค อ เพิ่มเสียง ว บ ก ป เพิ่มเสียง ท ต ล จ พ เพิ่มเสียง ง ด เพิ่มเสียง ฟ เพิ่มเสียง ช เพิ่มเสียง ส เพิ่มเสียง ร

การคัดกรองการพูดไม่ชัด การคัดกรองการพูดไม่ชัดของเด็กโดยทั่วไปจะใช้การคัดกรองใน 2 ลักษณะ คือ การคัดกรอง อย่างไม่เป็นทางการ และการคัดกรองอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. การคัดกรองอย่างไม่เป็นทางการ เป็นการประเมินการพูดเบื้องต้นด้วยการพูดคุยกับเด็ก เกี่ยวกับเรื่องทั่วๆ ไปที่ใกล้ตัวเด็ก อาทิ เรื่องครอบครัว โรงเรียน เพื่อน สิ่งที่ชอบ สิ่งที่ไม่ชอบ เป็นต้น โดยผู้คัดกรองจะต้องฟัง สังเกต และจดบันทึกลักษณะการพูดของเด็กไว้เป็นข้อมูลเบื้องต้น 2. การคัดกรองอย่างเป็นทางการ เป็นการประเมินการพูดโดยใช้เครื่องมือต่างๆ ซึ่งเครื่องมือที่ นํามาใช้ในการประเมินการพูดของเด็กคือ แบบทดสอบการพูด (Articulation Test) ซึ่งมีทั้งแบบทดสอบ สําหรั บ เด็ ก ปฐมวัย ประถมศึ กษา มั ธยมศึ กษา โดยแบบทดสอบการพูดสํ าหรั บเด็ กปฐมวั ย และ ประถมศึกษาตอนต้นจะมีลักษณะเป็นรูปภาพ ส่วนแบบทดสอบการพูดสําหรับเด็กประถมศึกษาตอนปลาย


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

53

และมัธยมศึกษาจะมีลักษณะเป็นข้อความหรือบทร้อยกรองให้แก่เด็กอ่าน สําหรับแบบทดสอบการพูดจะ มีเนื้อหาการทดสอบ 5 เรื่อง ได้แก่ 1) การออกเสียงพยัญชนะต้น 2) การออกเสียงพยัญชนะท้ายหรือ ตัวสะกด 3) การออกเสียงพยัญชนะควบกล้ํา 4) การออกเสียงวรรณยุกต์ และ 5) การออกเสียงสระ ซึ่ง รูปแบบของแบบทดสอบมีหลายรูปแบบ เช่น เป็นบัตรภาพ เป็นแบบแปูนหมุน เป็นแผ่นข้อความ นอกจากนี้ในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีการออกแบบโดยใช้โปรแกรมต่างๆ ที่สามารถ นําเสนอได้หลากหลายรูปแบบน่าสนใจ รวมทั้งสามารถประเมินผลจากการทดสอบได้อีกด้วย เช่น แบบทดสอบการพูดที่สามารถดาวน์โหลดจากแอปพลิเคชั่นต่างๆ (Heidi Hanks, 2013. Online) ขั้นตอนการคัดกรองการพูด การคัดกรองการพูดของเด็กมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาว่าเด็กคนใดพูดไม่ชัดเจน และมีลักษณะ การพูดไม่ชัดในลักษณะใด เพื่อเป็นข้อมูลในการนําไปใช้วางแผนให้การช่วยเหลือเด็กต่อไป รวมทั้ง การส่งต่อเด็กเพื่อรับการวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญต่อไป ซึ่งขั้นตอนการคัดกรอง (สุมาลี ดีจงกิจ, 2550), (ดารณี ศักดิ์ศิริผล, 2555) มีดังนี้ 1. การซักประวัติของเด็กจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือบุคคลใกล้ชิด 2. ตรวจโครงสร้างและการทํางานของอวัยวะที่ใช้ในการพูด ได้แก่ ริมฝีปาก การสบของฟัน เส้นยึดใต้ลิ้น ลิ้น เพดานปาก 3. ทดสอบการออกเสียงโดยใช้แบบทดสอบการพูด (Articulation Test) ทดสอบการออก เสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ในระดับ คํา วลี ประโยค และ/หรือระดับสนทนา แล้วบันทึกผลการ ออกเสียงในแบบบันทึกการออกเสียงพูด นอกจากนี้ในระหว่างการคัดกรองการพูด ผู้ที่ทําการคัดกรองจะต้องสังเกตพฤติกรรมของเด็ก หากพบว่าเด็กมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น การได้ยิน ควรแนะนําให้ผู้ปกครองพาเด็กไปพบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวินิจฉัยต่อไป การช่วยเหลือเด็กที่พูดไม่ชัด ผู้ปกครอง ครู หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นบุคคลที่มีความสําคัญที่จะช่วยเหลือเด็กให้พูดชัดเจนได้ หากพบว่าเด็กออกเสียงไม่ชัดเจนโดยมีลักษณะของการพูดโดยขยับปากเพียงเล็กน้อย หรือมีลักษณะ คล้ายกัดฟันในขณะที่พดู การแก้ไขจะใช้วิธีการฝึกบริหารรูปปาก โดยออกเสียง อา อู อี ในขณะออกเสียง อา ให้เด็กอ้าปากกว้าง การออกเสียง อู ให้เด็กห่อปากเข้ามา และการออกเสียง อี ให้เด็กเหยียดปาก คล้ายยิ้ม เมื่อเด็กออกเสียง อา อู อี ได้แล้ว ผู้ฝึกให้เด็กออกเสียง อา อู อี สลับกันไปมาจนสามารถแก้ เสียงทั้ง 3 เสียงได้อย่างคล่องแคล่วและทํารูปปากได้ถูกต้อง เสียงที่พูดชัดเจน หากเด็ก ออกเสียงไม่ ชัดเจนโดยมีลัก ษณะของลิ้นแบ ไม่ เ คลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวเพียง เล็ก น้อยในขณะพู ด หรือมี ลักษณะเหมื อนกั บลิ้นไม่แข็งแรง ไม่มี กําลังในการยกลิ้นแตะส่วนต่างๆ ภายในปาก การแก้ไขจะใช้วิธีการฝึกบริหารลิ้น โดยใช้ท่าต่างๆ เช่น แลบลิ้นออกมาให้ยาวที่สุดและ ดึง กลับ เข้าไปในปากให้มากที่สุด แลบลิ้นใช้ป ลายลิ้นแตะริมฝีป ากล่างและริม ฝีป ากบน แลบลิ้น ใช้ปลายลิ้นแตะริมฝีปากซ้ายและขวาสลับกัน และลิ้นเลียริมฝีปากล่างและริมฝีปากบน เกร็งลิ้นและ


54

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

แลบลิ้นออกมาและดึงกลับเข้าไปในปาก เป็นต้น ฝึกให้เด็กทําจนเกิดความคล่องแคล่ว จากนั้นจึงให้ เด็กฝึกยกลิ้นแตะส่วนต่างๆ หรือแตะฐานกรณ์ภายในปากในการออกเสียงพยัญชนะแต่ละเสียง เด็กที่ออกเสียงพยัญชนะที่มีลมโดยออกเป็นเสียงพยัญชนะที่ไม่มีลม เช่น เสียง พ พาน ออก เสียง เป็น ป ปลา การแก้ไขจะใช้วิธีการฝึกบริหารการหายใจ โดยการฝึกให้เด็กพ่นลมหรือเปุาเศษ วัสดุที่มีลักษณะเบา เช่น ฝึกเปุาสําลี กระดาษทิชชู ขนนก ฟองสบู่ หรือเปุาเทียน เป็นต้น สําหรับการออกเสียงพยัญชนะต้นไม่ถูกต้องนั้น ผู้ฝึกจะต้องฝึกให้เด็กวางตําแหน่งของลิ้นตาม ฐานกรณ์ที่เกิดของเสียงให้ถูกต้อง โดยคํานึงถึงลักษณะของเสียงพยัญชนะแต่ละตัวในการออกเสียง ด้วย เช่น เสียง /ฟ/ เด็กออกเสียงเป็น /ป/ หรือเด็กพูดคําว่า “ฟัน” เป็น “ปัน” ผู้ฝึกให้เด็กใช้ฟันบน แตะริมฝีปากล่างและค่อยๆ พ่นลมออกมาพร้อมกับออกเสียง เฟอะ เมื่อเด็กสามารถออกเสียง เฟอะ ได้จนคล่องแคล่วแล้ว จึงฝึกออกเสียง /ฟ/ ประสมกั บสระเดี่ยว สระประสม ออกเสียงเป็นคํา วลี ประโยค จนเด็กสามารถพูดคําที่มีเสียง /ฟ/ ได้อย่างชัดเจนและสามารถนําไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ การออกเสียงสระไม่ถูกต้อง ผู้ฝึกให้เด็กดูรูปปาก วางลิ้นในตําแหน่งต่างๆ ให้ถูกต้อง และฝึก ออกเสียง ทั้งนี้การแก้ไขจะต้องแก้ไขเสียงสระเดี่ยวให้ชัดเจนก่อนแก้ไขการออกเสียงสระประสมต่อไป การออกเสียงวรรณยุกต์ไม่ถูกต้องนั้น ส่วนใหญ่เด็กปกติจะออกเสียงได้ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หากเด็กออกเสียงไม่ชัดเจน ผู้ฝึกออกเสียงให้เด็กฟังและให้เด็กออกเสียงตาม โดยผู้ฝึกอาจจะใช้ท่าทาง ประกอบการออกเสียง เช่น การออกเสียงวรรณยุกต์สามัญ ผู้ฝึกแบมือแล้วคว่ํามือวางไว้ระดับเอว ออกเสียง อา พร้อมกับเคลื่อนมืออกจากลําตัว พร้อมทั้งให้เด็กออกเสียง อา ตามผู้ฝึก เป็นต้น การออกเสียงพยัญชนะตัวสะกดไม่ ถูกต้องนั้น ส่วนใหญ่จะออกเสียงไม่ชัดเจน 4 มาตรา ตัวสะกด คือ คําที่สะกดด้วยมาตราแม่ กด กน กก กง โดยเด็กมักจะออกเสียงไม่ถูกต้องเป็นคู่ๆ ได้แก่ มาตราแม่ กด กน ออกเสียงเป็นมาตราแม่ กก กง หรือ ออกเสียงมาตราแม่ กก กง เป็นมาตราแม่ กด กน การแก้ไขการออกเสียงมาตราตัวสะกด แม่กน ผู้ฝึกจะให้เด็กเริ่มจากการออกเสียง น หนู ประสมกับสระ อี แล้วออกเสียงคําว่า นี จากช้าไปเร็วจนกลายเป็นคําว่า นีน เมื่อเด็กออกเสียงได้อย่าง ชัดเจนและคล่องแคล่วแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสระ เอ แอ อา และสระอื่นๆ ก่อนที่จะเปลี่ยนพยัญชนะต้น เพื่อการออกเสียงคําที่มีพยัญชนะตัวสะกดมาตราแม่กนเป็นตัวสะกดต่อไป เป็นต้น การออกเสียงพยัญชนะควบกล้ําไม่ถูกต้อง เป็นการออกเสียงไม่ชัดเจนที่พบมากเช่นเดียวกัน การแก้ไขการพูดผู้ฝึกจะต้องพิจารณาว่าเด็กพูดเสียงพยัญชนะต้นชัดเจนหรือไม่ ถ้าเด็กยังพูดเสียง พยัญ ชนะต้นที่ เกี่ ยวข้องกั บพยัญชนะควบกล้ํายังไม่ชัดเจน ผู้ฝึกจะต้องแก้ไขเสียงพยัญชนะต้นให้ ชัดเจนก่อน เมื่อเด็กออกเสียงพยัญชนะต้นชัดเจนแล้วจึงแก้ไขเสียงพยัญชนะควบกล้ําต่อไป การแก้ไข เสียงพยัญชนะควบกล้ํา ผู้ฝึกให้เด็กออกเสียงแยกพยางค์และฝึกออกเสียงจากช้าไปเร็ว เช่น คําว่า “ปลา” ฝึกออกเสียง “ปะ – ลา” จากช้าไปเร็วจนกลายเป็นคําว่า “ปลา” เป็นต้น เอกสารอ้างอิง กระปุกดอทคอม. (2556) วันภาษาไทยแห่งชาติ (2556). สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2556 จาก http://hilight.kapook.com/view/26275.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

55

ดารณี ศักดิ์ศิริผล. (2555.) การจัดการศึกษาสาหรับผู้เรียนลักษณะพิเศษ การแก้ไขการพูดไม่ชัด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2555) การแก้ไขการพูด. เอกสารประกอบการสอนการแก้ไขการพูด. ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. (2555) การสารวจการพูดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม). ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. รจนา ทรรทรานนท์. (2546). การพูดไม่ชัด. ใน สารานุกรมศึกษาศาสตร์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ. วิสิทธิ์พัฒนา. กรุงเทพฯ. Heidi Hanks. (2013.) Articulation Screener - How to Determine What Sounds Your Child Needs Help. Retrieved September 1, 2013, from http://mommyspeechtherapy.com/?p=1991. Sumana Jothi. (2013.) Speech Disorders - Children. Retrieved October 1, 2013, from http://health.nytimes.com/health/guides/disease/speech-disorders/overview.html. ……………………………………………


56

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

ปัจจุบันขณะ The Now เจษฎา อังกาบสี * บทคัดย่อ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทําให้เกิดการ สื่อสารไร้พรมแดน และ ในปี พ.ศ. 2558 นี้ ประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนอย่างเต็มตัวซึ่งหมายถึงการเปิดรับการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นและหลากหลาย การดําเนินชีวิตจึง มีความซับซ้อนมากขึ้น อาจส่งผลให้ผู้คนเกิดความตึงเครียดในการดําเนินชีวิตประจําวัน หลักคิดการอยู่กับ “ปัจจุบันขณะ” เป็นหลักคิดหนึ่งที่ เหมือนกันของศาสตร์ทางจิตวิทยาและพุ ทธศาสนา ที่เน้นการทํ า ปัจจุบันให้ดีที่สุด ไม่โหยหาอดีต ไม่วิตกกังวลกับอนาคต และหากใช้หลักการนี้ร่วมกับการมีสติ จะทําให้ การดําเนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น คาสาคัญ: ปัจจุบันขณะ อานาปานสติ สติ Abstract Thailand is another country that being affected by the advance of technology in the form of borderless communication. In the year 2015, Thailand will become a full member of Asian Economics Community (AEC) which mean that Thailand will expose itself to a variety of changes as there will be more free flow of communication. As the result, life style of the people will become more complex than in the past. It is therefore, likely that people will become more stressful in their everyday life. The idea of “The Now” is both recognized in the science of Psychology and in Buddhism. The main focus of “The Now” is trying to do your best now, keeping oneself from being influenced by what happened in the past and; keeping oneself free from the future. When one combine this principle with the idea of “keeping oneself in the state of full conscientious”, one will attain a “peaceful life”. Key words: The Now, Mindfulness on Breathing, Consciousness ________________________ *ดร., ผู้อํานวยการสํานักบุคลากร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รองคณบดีฝุายบริหาร คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต อาจารย์ประจํา บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

57

โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างจากโลกในอดีตอย่างเห็นได้ชัดเจน ด้วยวิวัฒนาการ ด้านต่างๆ ด้วยภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การที่พัฒนาการเกิดขึ้นหลายอย่าง โดยเฉพาะด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งนําไปสู่สภาวะไร้พรมแดนของการติดต่อสื่อสาร การเดินทาง สําหรับประเทศ ไทยเป็นประเทศหนึ่งใน 10 ประเทศที่กําลังก้าวสู่การเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ใน ปี พ.ศ. 2558 จะพบปรากฏการณ์ของการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน และแรงงานฝีมือ ระหว่างกันได้อย่างเสรี การเคลื่อนย้ายดังกล่าวต้องมีคนเป็นองค์ประกอบของการเคลื่อนย้าย การ เคลื่อนย้ายคน 1 คน เท่ากับการนําความคิด องค์ความรู้ (Tacit Knowledge) อาชีพ ภาษา วัฒนธรรม ค่านิยม พันธุกรรม การแพร่กระจายเชื้อโรค ยาเสพติด และอาชญากรรมไปด้วย การดํารงชีวิตจึงมี ความละเอี ยดอ่อนและซับซ้อนมากขึ้น ผู้คนต้องเผชิญ กับการปรับตัวหลายด้าน การยอมรับความ แตกต่างระหว่างบุคคลทั้งระหว่างคนในประเทศเราเองและกับประเทศอื่น ภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ไปดังกล่าวข้างต้น ส่งผลทําให้คนเกิดภาวะตึงเครียดได้ จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีวิธีการที่จะดํารงอยู่ ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างมีความสุข และอย่างมีสติ ศาสตร์ด้านการให้การปรึกษาเป็นศาสตร์ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจําวันของผู้คน เป็นงานที่ ท้ าทายความสามารถในการช่วยเหลือบุคคลให้คลายความเครียดและช่ว ยให้ผ่า นพ้น วิก ฤตที่ เ กิ ดขึ้น ในชีวิตได้ หรือเพื่อพัฒนาวิถีทางการดําเนินชีวิตให้มีความหมายและมีประสิทธิภาพ มากขึ้น เกิดการตระหนักรู้ตนเอง พัฒนาตนเอง เพิ่มมุมมองในชีวิตให้กว้างขึ้น สร้างสัมพันธภาพกับ บุคคลอื่น สามารถรับมือกับความเครียด และสามารถแก้ปัญหาได้ การให้การปรึกษาเป็นศาสตร์ด้านจิตวิทยาที่มีทั้งจิตวิทยาตะวันตกและจิตวิทยาตะวันออก โดยจิตวิท ยาการให้ก ารปรึกษาตะวันตกได้แบ่ง กลุ่ม ตามแนวคิดพื้นฐาน การมองธรรมชาติม นุษย์ เปูาหมาย กระบวนการ และแนวปฏิบัติ ออกเป็นกลุ่มทฤษฎีหลักๆ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทฤษฎีที่เน้น ความคิดและเหตุผล กลุ่มทฤษฎีที่เน้นอารมณ์และความรู้สึก และกลุ่มทฤษฎีที่เน้นการปรับพฤติกรรม หากกล่าวถึง Sigmund Freud, Carls R.Rogers และ Frederick S.Perls คงจะเป็นชื่อที่คุ้นกัน และหากกล่าวถึง พระพรหมมั งคลาจารย์ หรือชื่อที่เราคุ้นเคยกันก็คื อ ท่านปัญญานันทภิกขุ และ ท่านติช นัท ฮันห์ ก็คาดว่าจะรู้จักเช่นเดียวกัน จิตวิทยาตะวันตกและจิตวิทยาตะวันออก มีวิธีการการ ให้การปรึกษาที่แตกต่างกัน แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การทําให้คนสามารถดํารงชีวิตได้อย่างมี ความสุข สงบ และสันติ ณ ปัจจุบันขณะ สําหรับคําว่า “ปัจจุบันขณะ” นั้น มีการกล่าวถึงกันอย่างแพร่หลาย และกล่าวในหลากหลายแง่มุม อาทิ เดี๋ยวนี้ ตอนนี้ เวลานี้ ขณะนี้ ซึ่งวัยรุ่นในปัจจุบันใช้คําว่า ณ But Now เป็นต้น จิตวิทยาการให้การ ปรึกษาเป็นศาสตร์หนึ่งที่มีการกล่าวถึงปัจจุบนั ขณะ โดย Frederick S.Perls หรือ Friz Perls นักจิตวิทยา ที่ริเริ่มและพัฒนาทฤษฎีจิตวิทยาการให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์ (Gestalt Therapy) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ อยู่ในกลุ่มทฤษฎีที่เน้นอารมณ์และความรู้สึก และมีทฤษฎีที่อยู่ในกลุ่มนี้อีกหลายทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎี การให้การปรึกษาแบบภวนิยม (Existential Therapy) ทฤษฎีเผชิญความจริง (Reality Therapy) และ ทฤษฎีเน้นบุคคลเป็นศูนย์กลาง (Person-Centered Therapy) ในขณะที่มีผู้รู้ทางพุทธศาสนาที่ ให้แนวคิดเรื่องนี้หลายท่าน ได้แก่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ท่านติช นัท ฮันห์ ท่านปัญญานันทภิกขุ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตตฺโต) ท่านว.วชิรเมธี แม่ชีศันสนีย์ โดยบทความนี้คัดเลือกมาเสนอ 2 ท่านคือ ท่านติช นัทฮันห์ และ ท่านปัญญานันทภิกขุ สําหรับท่าน


58

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

ติช นัท ฮันห์ นั้น ผู้เขียนได้อ่านงานเขียนเกี่ยวกับปัจจุบันขณะของท่านเป็นท่านแรก ข้อเขียนของท่าน ได้จุดประกายให้ผู้เขียนเกิดความสนใจที่จะศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม ประกอบกับเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาตรง กับเนื้อหาของทฤษฎีทางจิตวิทยาซึ่งผู้เขียนสําเร็จการศึกษามา สําหรับท่านปัญญานันทภิกขุ ท่านได้ กล่าวถึงปัจจุบันขณะที่ไม่ได้เน้นเฉพาะปัจจุบัน แต่ท่านให้เราสนใจอดีตและอนาคตด้วย ผู้เขียนจึงขอ นําแนวคิดของ 2 ท่านนี้ มากล่าวถึงในบทความครั้งนี้ ปัจจุบันขณะกับจิตวิทยาการให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์ Fritz Perls ได้ตั้งข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า คนเราทุกคนมีความสามารถที่จะรับรู้ ตระหนักรู้ ต่อสิ่งที่กําลังเกิดขึ้นกับตนเองทั้งที่เ กิดขึ้นภายในตนเองและภายนอกตนเอง สามารถกําหนดตนเอง (Self-regulation) ให้อยู่กับปัจจุบัน สามารถเรียนรู้ที่จะเผชิญกับปัจจุบันขณะของตนเอง แต่คนส่วน ใหญ่สามารถอยู่กั บปัจจุบันขณะได้ในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น และมีแนวโน้มไปในทางขัดขวางการ เป็นไปของปัจจุบันแทนการเผชิญกับความรู้สึก ณ ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ซึ่งสิ่งที่ขัดขวางปัจจุบันก็คือ อดีต และอนาคต หากลองย้อนนึกถึงตัวเรา จริงหรือไม่ที่ตัวเรามักนึกคิดถึงเรื่องราวในอดีต รําพึงรําพันเกี่ยวกับ ชีวิตที่ผ่านมา คร่ําครวญอยู่กับความผิดพลาดต่างๆ และยึดติดจนทําให้จมอยู่กับความทุกข์ เต็มไปด้วย ความเครียด ความโกรธแค้น หรือบางครั้งก็นึกย้อนอดีตถึงความสุข ความสนุกสนาน ความสําเร็จที่ ผ่านมา เพื่อชื่นชมหรือกลบเกลื่อนสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ในขณะที่คนบางคนให้ความสําคัญกับอนาคต ยึด ติดอยู่กับการแก้ปัญหาและการวางแผนสําหรับอนาคตอย่างไม่จบสิ้น ตั้งความหวัง คาดการณ์ถึงเรื่อ ง ที่ยังมาไม่ถึงทั้งเรื่องที่ดีและเรื่องที่ไม่ดี จนทําให้เกิดความวิตกกังวลล่วงหน้าไปก่อน การนึกย้อนอดีต และการมองไปข้างหน้า จนลืมมองปัจจุบัน ว่าขณะปัจจุบันมีอะไรบ้างที่ต้องทํา มีอะไรบ้างที่ต้องคิด การตั้งหน้าตั้งตาคิดย้อนกลับไปข้างหลังและคิดไปข้างหน้านี่เอง ที่ทําให้คนเราต้องสูญเสียพลังในตัว Fritz Perls อธิบายถึงเรื่องนี้ไว้ว่า การที่คนเราคิดถึงเรื่องราวที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งไม่สามารถหวนกลับไป แก้ไขหรือพบเจอได้อีก หรือการที่คิดถึงแต่เรื่องทีย่ ังมาไม่ถึงนั้น เป็นการใช้พลังงานในตัวเองให้หมดไป กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วและเรื่องราวที่ยังไม่เกิดขึ้น จนทําให้พลังที่จําเป็นต้องนํามาใช้ในปัจจุบันขณะ ลดน้อยลง นั่นคือ เมื่อพลังในตัวถูกแบ่งส่วนออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนของอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งพลังที่เราใช้ในแต่ละส่วนนั้น อาจเท่ากันหรือแตกต่างกัน สําหรับพลังเพียง 1 ส่วนที่ต้องใช้เ พื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสําหรับการดํารงชีวิตในปัจจุบันนั้น หากมีสัดส่วนที่น้อยกว่าสัดส่วนของ อดีตและอนาคตด้วยแล้ว พลังของส่วนที่เป็นปัจจุบันจึงยิ่งน้อยลงไปอีก เป็นความจริงที่ว่า ชีวิตคนเรา ไม่มีใครอยู่กับปัจจุบันขณะได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ การแบ่งสัดส่วนอดีต ปัจจุบัน และอนาคต จึงเป็นเรื่องที่ สํา คัญ และเป็น เรื่อ งเฉพาะบุ ค คล เพราะคนทุ ก คนมี อํ า นาจอยู่ ในมื อ ที่ จ ะสรรค์ส ร้า งความสุ ข ความสําเร็จให้แก่ตนเองได้ และอํานาจที่แท้จริงก็คือ การใช้พลังของตัวเองให้มากกับสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ขณะ หรือ ที่นี่ และ เดี๋ยวนี้ สําหรับ การให้ก ารปรึกษาแบบเกสตัลท์นั้น นักจิตวิทยาตระหนักเสมอว่า อดีตจะปรากฏ ขึ้นมาในปัจจุบันอยู่เสมอ เพราะอดีตมีความเกี่ยวข้องที่สําคัญต่อเจตคติหรือพฤติกรรมในปัจจุบันของ ผู้รับการปรึกษา นักจิตวิทยาการให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์จึงใช้เทคนิคหรือกิจกรรมที่ทําให้ผู้รับการ ปรึกษานําอดีตมาสู่ปัจจุบันให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ให้ความสําคัญต่อสิ่งที่ผู้รับการปรึกษากําลัง


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

59

เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน มากกาว่าเนื้อหาที่ผู้รับการปรึกษาพูด เช่น ในขณะที่ผู้รับการปรึกษาพูดว่า “ฉัน รู้สึก สบายดี ” แต่ก ลับ มี สีห น้าเคร่ง เครียดนั้น นัก จิตวิท ยาการให้ก ารปรึก ษาแบบเกสตัล ท์ จ ะให้ ความสําคัญกับสีหน้าซึ่งมีความไม่สอดคล้องกันกับคําพูด เป็นต้น ลักษณะการให้การปรึกษารูปแบบนี้ ถือเป็นจุดเด่นของการให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์นั่นคือ เป็นการให้การปรึกษาโดยไม่มีการกําหนด เทคนิคใดๆ ล่วงหน้า แต่จะใช้วิธีการสังเกตสิ่งที่กําลังเกิดขึ้นตรงหน้า แล้วดึงเทคนิคหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมมาใช้ ดังนั้น นักจิตวิทยาการให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์จึงต้องเป็นผู้ที่ต้องรู้และเข้าใจ เทคนิคต่างๆ อย่างลึกซึ้ง เพื่อสามารถนํามาใช้ได้อย่างทันท่วงที อย่างเหมาะสม และถูกต้อง เป็นการ ย้ําถึงการให้ความสําคัญกับปัจจุบันขณะ นั่นเอง ตัวอย่างเทคนิคการให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์  เทคนิค “เก้าอี้ว่าง” นํามาใช้เพื่อให้ผรู้ ับการปรึกษาระบายเรื่องราวที่คั่งค้างอยู่ในใจซึ่งถือเป็น “ขยะอารมณ์” ออกมาสูภ่ ายนอก เป็นเทคนิคที่ Perls ใช้มาก เทคนิค “เก้าอี้ว่าง” เป็นเทคนิคการแสดงบทบาทสมมติ ซึ่งผู้รับการปรึกษาเป็นผู้เล่นเองในทุกบทบาท ด้วยวิธีการนี้ ทําให้สิ่งที่อยู่ภายในตัวผูร้ ับการปรึกษาปรากฏ ออกมาภายนอก โดยมีเปูาหมายเพื่อส่งเสริมการเพิ่มระดับความกลมกลืนระหว่างความขัดแย้งต่างๆ ที่ยังคงอยู่ในตัวบุคคล เทคนิค “เก้าอี้ว่าง” สามารถนํามาประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาอยู่กับปัจจุบันขณะได้ โดย การทําให้ผู้รับการปรึกษานําความรู้สึกที่เกิดขึ้นในอดีตให้ออกมาปรากฏในปัจจุบัน เป็นวิธีการที่ทําให้ ผู้รับการปรึกษาพูดถึงความรู้สึกของตัวเองในอดีตกับเก้าอี้ว่าง รับรู้ความรู้สึก เข้าใจและตระหนักถึง ความรู้สึกนั้นด้วยตัวเอง ณ ปัจจุบันขณะ และหลุดพ้นจากความรู้สึกนั้น เพื่อไม่ให้หวนกลับไปคิดถึง ความรู้สึกนั้นอีก และทําให้ตัวเองใช้พลังกับปัจจุบันขณะให้มากขึ้น  การใส่ใจต่อภาษาท่าทาง (Non Verbal) คุณสมบัติที่สําคัญของการเป็นผู้ให้การปรึกษาก็คือ การสังเกต ซึ่ง Fritz Pearls กล่าวว่า เมื่อเราสังเกตท่าทางหรือพฤติกรรมที่ผู้รับการปรึกษาแสดงออกมานั้น เราพบว่ามีอะไรที่เป็นภาพ เบื้องหน้า (Foreground) และมีสิ่งที่เป็นภาพเบื้องหลัง (Background) ผู้ให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์ จึงต้องกระตุ้นผู้รับการปรึกษาให้ใส่ใจต่อการตระหนักรู้เกี่ ยวกับการรับสัมผัสในขณะปัจจุบัน และ ตระหนักถึงความสําคัญของภาพเบื้องหน้าและภาพเบื้องหลัง ภาษาท่าทางจึงเป็นแหล่งข้อมูลที่สําคัญของการแสดงความรู้สึกของบุคคลที่ผู้ให้การปรึกษา ต้องใส่ใจ และต้องประเมินความสอดคล้องระหว่างคําพูดกับภาษาท่าทางที่แสดงออก ดังนั้นเมื่อผู้รับ การปรึกษาแสดงภาษาท่าทางที่ไม่สอดคล้องกับคําพูด เช่น พูดถึงเรื่องที่โกรธพร้อมกับการหัวเราะ หรือ พูดถึงความเจ็บปวดร่วมกับการโบกมือเพื่อแสดงว่าไม่เป็นอะไร เป็นต้น ผู้ให้การปรึกษาควรใช้คําถาม ที่ทําให้ผู้รับการปรึกษาตระหนักถึงความรู้สึกของตนเองในปัจจุบันขณะ จากตัวอย่างข้างต้น คําถามที่ ใช้คือ “ขณะนี้ดวงตาของคุณพูดอะไร” “หากมือของคุณพูดได้ในขณะนี้ มันจะพูดว่าอะไรในตอนนี้ ” ลักษณะการถามเช่นนี้ เป็นการนําผู้รับการปรึกษามาอยู่กับปัจจุบันขณะ ในการกล่าวถึงความหมาย ของท่าทางที่แสดงออกมา เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาตระหนักว่า เขาใช้การหัวเราะหรือการโบกมือเพื่อ กลบเกลื่อนความรู้สึกโกรธหรือเจ็บปวดของเขาอย่างไร ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาได้รับรู้ความรู้สึ ก ของตนเอง ณ ปัจจุบันขณะ


60

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

 ข้อความเกี่ยวกับคาพูด (I-statement) รูปแบบการใช้คําพู ดมัก จะเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึก ความคิด และเจตคติของ บุคคล เป็นได้ทั้งการเปิดเผยและการปกปิดตัวเอง ผู้ให้การปรึกษาจึงควรทําให้ผู้รับการปรึกษาเพิ่ม การตระหนักรู้ถึงความรู้สึกของตนเองที่อยู่ในขณะปัจจุบัน และรู้ว่าเขากําลังเลี่ยงการอยู่กับปัจจุบัน ขณะอย่างไร วิธีการใช้รูปแบบคําพูดเพื่อปกปิดตนเองจากปัจจุบัน หลีกเลี่ยงการตระหนักรู้การกระทําใน ปัจจุบันขณะ หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบของตนเอง คือ การใช้คําพูดว่า “มั น” (It) “คุณ” (You) ใน ประโยคที่พูด เช่น เมื่อบุคคลคิดว่าไม่สามารถทําเรือ่ งใดเรื่องหนึ่งได้ แต่ไม่กล้าเปิดเผยเนื่องจากสาเหตุ ใดก็ตาม มักพูดว่า “มันเป็นไปไม่ได้ที่จะทําเรื่องนี้” หรือ เมื่อบุคคลใดไม่มีเพื่อน มักพูดว่า “มันยากที่ จะมีเพื่อน” หรือ เมื่อไม่ได้รับการยอมรับ มักพูดว่า “คุณรู้สึกเจ็บปวดเหมือนกันใช่ไหม เมื่อมีใครไม่ ยอมรับคุณ” เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อหลีกเลีย่ งหรือกลบเกลือ่ นสิง่ ทีเ่ กิดขึ้นในปัจจุบัน ผู้ให้การปรึกษาจะขอให้ ผู้รับการปรึกษาเปลี่ยนการใช้คําว่า “ฉัน” (I) แทนคําว่า “มัน” (It) และ “คุณ” (You) เช่น “ฉันคิดว่า เป็นไปไม่ได้ทฉี่ ันจะทําเรือ่ งนี้” “ฉันคิดว่ามันยากสําหรับฉันที่จะมีเพื่อน” หรือ “ฉันรู้สึกเจ็บปวดเมือ่ ฉัน ไม่ได้รับการยอมรับ” เป็นต้น การกระทําดังกล่าวก็เพื่อทําให้ผู้รับการปรึกษายอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบัน และรับผิดชอบกับความรู้สึกของตนเอง  การถาม (Questioning) การถามเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่นํามาใช้ในการให้การปรึกษากันมาก การถามเป็นการช่วยให้ ผู้รับการปรึกษาได้สัมผัสและจดจ่ออยู่กับภาวะปัจจุบันขณะ และส่งเสริมการตระหนักรู้ “ที่นี่และ เดี๋ยวนี้” นักจิตวิทยาการให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์ จะกระตุ้นการสนทนาโดยการใช้ประโยคที่เป็น ปัจจุบันกาล (Present Tense) คือ การถามว่า “อะไร” (What) และ “อย่างไร” (How) และมักจะ ไม่ค่อยถามว่า “ทําไม” (Why) เช่น เมื่อต้องการทราบเหตุผลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยทั่วไปมักถามว่า “ทําไมจึงมาทํางานสาย” “ทําไมคุณจึงเกิดความกลัวขึ้นมาตอนนี้” “ทําไมคุณจึงพยายามที่จะหนี ” สําหรับการให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์แล้ว จะถามว่า “เกิดอะไรขึ้นจึงมาทํางานสาย” “ความรู้สึก กลัวของคุณขณะนี้เป็นอย่างไร” “อะไรที่ทําให้คุณพยายามที่จะหนีในขณะนี้” การที่นัก จิตวิทยาการให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์ไม่ถามว่า “ทํ าไม” เป็นเพราะว่า คําว่า “ทําไม” เป็นการถามที่ทําให้บุคคลย้อนคิดกลับไปสู่เรื่องราวในอดีต หรือทําให้บุคคลต้องพยายามคิด หาเหตุผลของการกระทําที่ตนเองได้กระทําไป ซึ่งอาจจะทําให้บุคคลใช้กลวิธานการปูองกันตนเอง (Defense Mechanism) มาใช้ในการตอบคําถามนั้น เพื่อให้ตนเองหลุดพ้ นจากความรับผิดชอบต่อ เรื่องนั้นหรือหลุดพ้นจากผลที่จะตามมาในอนาคต สิ่งที่อยากจะย้ําก็คือ นักจิตวิทยาการให้การปรึกษา แบบเกสตัลท์เน้นหรือให้ความสําคัญกับสิ่งที่บุคคลได้แสดงพฤติกรรมอย่างไรในปัจจุบันขณะ มากกว่า การเข้าใจว่าทําไมเขาต้องทําแบบนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มการตระหนักรู้ตนเองว่าเขากําลังทําอะไรและ เขากําลังทําอย่างไร กล่าวโดยสรุปคือ การให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์เน้นที่การให้ผู้รับการปรึกษากระทําหรือ ประสบกับสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ได้แก่ การมอง การสัมผัส การรู้สึก และการตีความ ณ ขณะปัจจุบัน เพื่อบรรลุถึงการตระหนักรู้ตนเอง ซึ่งประกอบด้วยการรู้จักตนเอง การรู้จักสิ่งแวดล้อม การยอมรับ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

61

ตนเอง การรับผิดชอบตนเอง และการสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและตนเอง ณ ปัจจุบันขณะของการดํารงชีวิต แทนการรอคอยอย่างเฉื่อยชาเพื่อให้ผู้ให้การปรึกษาเป็นผู้ให้คําตอบ ปัจจุบันขณะกับพุทธศาสนา ท่านติช นัท ฮันห์ พระเวียดนาม นิกายเซ็น ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เป็นผู้หนึ่งที่ให้ ความสําคัญกับการอยู่กับปัจจุบันขณะ ท่านใช้คําว่า การตื่นอยู่เสมอ (Being Awake) ท่านได้กล่าวไว้ ว่า ปัจจุบันขณะเป็นเวลาที่สาํ คัญที่สดุ เวลาเดียว และเป็นเวลาที่เราเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง การที่เรา จะสามารถอยู่กับปัจจุบันได้คือ การฝึกสติ วิธีการที่ท่านใช้คือ การใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือในการอยู่ กับปัจจุบันขณะ ระงับการคิดฟุูงซ่าน ทําให้ผู้นั้นอยู่กับปัจจุบันขณะทุกลมหายใจ ทําให้เป็นผู้รู้ตื่นอยู่ ตลอดเวลา ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกันกับการมีอานาปานสติ อานาปานสติคืออะไร อานะ คือ ลมหายใจที่เข้าข้างใน อปานะ คือ ลมหายใจที่ออกไปข้าง นอก สติ คือ การรับรู้ การรู้สึกตัว การรู้ตื่น อานาปานสติ จึงหมายถึง การรับรู้ถึงลมหายใจเข้าและลม หายใจออก ดังนั้น การที่คนเราจะมีอานาปานสติได้จึงต้องมีจิตที่สงบนิ่ง และอยู่กับปัจจุบันขณะที่ทํา ให้รับรู้ว่า ขณะที่เราหายใจ หากเราหายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น เมื่อทํา ได้ดังนั้น แปลว่าบุคคลผู้นั้นกําลังมีสติ การทําให้มีสติรู้ตื่นอยู่ตลอดเวลามีวิธีการหลากหลายวิธี วิธีหนึ่งที่ท่านติช นัท ฮันห์ ได้เขียน ไว้เป็นแบบฝึกหัดสําหรับการเจริญสติ ที่ทําให้คนเรารับรูห้ รือรู้สกึ ตัวหรือตื่นรูอ้ ยู่เสมอ แบบฝึกหัดนี้ทํา ได้ไม่ยาก แต่ละคนสามารถเลือกวิธีที่ชอบที่สดุ หรือเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุดมาใช้ตามความจําเป็น เฉพาะของแต่ละคนได้ดังนี้ 1. การยิ้ม การยิ้มในลักษณะของการยิ้มน้อยๆ ไม่ใช่ยิ้มกว้าง โดยให้ยิ้มตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า ก่อนลุกจากที่นอน ยิ้มเมื่อมี เวลาว่าง ยิ้มเมื่ อรู้สึกรื่นรมย์ และยิ้มแม้เมื่ อมีอารมณ์ขุ่นมัว การยิ้มใน แบบฝึกหัดนี้ ต้องยิ้มพร้อมกับสังเกตลมหายใจเข้าและลมหายใจออกด้วยจึงจะสมบูรณ์ 2. ปล่อยวาง – ผ่อนคลาย การปล่อยวาง – ผ่อนคลาย สามารถทําได้ทั้งท่านั่งและท่านอน สําหรับท่านั่ง ทําได้ทั้งนั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งเก้าอี้เท้าแตะพื้น ส่วนท่านอนคือ การนอนหงายราบ กับพื้นเรียบที่ปราศจากทีน่ อนและหมอน โดยทั้ง 2 ท่านี้ มีวิธีการเหมือนกันคือ ให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทุกส่วน ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่าง และใจจดจ่ออยู่กับลมหายใจพร้อมรอยยิ้มน้อยๆ 3. การหายใจ วิธีนี้สามารถทําได้ทั้งท่านอนหงายราบกับพื้นเรียบทีป่ ราศจากทีน่ อนและหมอน การเดิน การนั่ง ระหว่างการฟังดนตรี ระหว่างการสนทนา โดยการตามลมหายใจเข้า–ออก ให้มีสติรู้อยู่ ตลอดเวลา 4. เจริญสติด้วยอิริยาบถและการเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกาย วิธีนี้ฝึกที่ไหนเวลาใดก็ได้ เริ่มด้วยการเพ่งความสนใจไปที่ลมหายใจ มีสติรู้ถึงอิริยาบถของร่างกาย การทํากิจกรรมต่างๆ และรู้ จุดประสงค์ของอิริยาบถนั้น เช่น รู้ว่ากําลังเดิน นั่ง ยืน นอน รับประทานอาหาร อาบน้ํา ล้างจาน ซักผ้า เป็นต้น หากสามารถทําได้ ควรกําหนดวันแห่งสติสัปดาห์ละ 1 วัน โดยในวันดังกล่าว ไม่นัดและไม่รับ นัดใดๆ ทําแต่งานธรรมดา เช่น ทําอาหาร ซักผ้า เดินเล่น ฝึกลมหายใจ และให้จิตจดจ่ออยู่กับการ เคลื่อนไหวทุกอิริยาบถ


62

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

5. เพ่งพิจารณาสภาวะความเป็นเหตุเป็ นปัจจัยซึ่งกันและกันของสรรพสิ่ง วิธีนี้เป็นวิธีที่ ยากขึ้นมาอีกระดับ เป็นการเพ่งพิจารณาขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) โดยนึกย้อนถึง ตนเองในวัยเด็ก แล้วให้พิจารณาตนเองกลับมาที่ปัจจุบัน นอกจากนี้ยังให้เพ่งพินิจถึงโครงกระดูกของ ตนเอง การดํารงอยู่ การตาย ความว่างเปล่า โดยกําหนดลมหายใจและใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที 6. การแผ่ความรักความเมตตา (เจริญเมตตา กรุณานุสติ) วิธีการแผ่ความรักความเมตตานี้ สําหรับบางคนอาจทํายาก เพราะวิธีนี้เราต้องแผ่ความรักความเมตตาให้กับบุคคลที่เราเกลียดและชิงชัง ที่สุด จนกระทั่งหัวใจเอ่อล้นด้วยความรักและเมตตา ความโกรธและความขุ่นเคืองหายไป ซึ่งเป็นเรื่อง ที่ ยากสํา หรับ ผู้ที่ ยั ง ละกิ เ ลศไม่ ได้ และรวมถึง เพ่ ง พิจารณาความทุ ก ข์ยากที่ เกิ ดจากความโง่เขลา (อวิชชา) เพื่อหาต้นเหตุแห่งความทุกข์และความเจ็บปวด วิธีการนี้ใช้วิธีการตามลมหายใจเข้า–ออก แบบฝึกหัดการเจริญสติของท่านติช นัท ฮันห์ ทําไม่ยาก ทุก คนสามารถทําได้ทุก สถานที่ ทุกแห่งหน ทําได้ทุกเวลา ทําพร้อมกับกิจกรรมอื่นๆ ก็ได้ เป็นความชาญฉลาดและความลุ่มลึกของ ท่านที่หาวิธีการที่ทําให้บุคคลปฏิเสธได้ยากว่าไม่สามารถนําไปปฏิบัติได้ด้วยเหตุผลต่างๆ นานา ผู้ที่ สนใจฝึกสติ ลองนําไปฝึกปฏิบัติดู แล้วจะรู้ว่าเมื่อสติอยู่กับตัวตลอดเวลาผลจะเป็นเช่นไร นอกจากแบบฝึกหัดดังกล่ าวข้ างต้น ท่ านติช นั ท ฮันห์ ได้กล่าวถึ งคํ าถาม 3 ข้อ ที่ เน้ นย้ํ า ความสําคัญของ “ปัจจุบันขณะ” ได้แก่ 1. เวลาไหนเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการทํากิจแต่ละอย่าง 2. ใครคือคนสําคัญที่สุดที่ควรทํางานด้วย 3. อะไรคือสิ่งที่สําคัญที่สุดที่ควรทําตลอดเวลา คําตอบของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน คําตอบที่ท่านติช นัท ฮันห์ ให้ไว้ คือ 1. เวลาที่สําคัญเวลาเดียวคือ “ปัจจุบัน” ช่วงขณะปัจจุบันเท่านั้นที่เป็นเวลาที่เราเป็นเจ้าของ อย่างแท้จริง 2. บุคคลที่สําคัญที่สุดคือ คนที่กําลังติดต่ออยู่ คนที่อยู่ต่อหน้าเรา 3. ภารกิจที่สําคัญที่สุดคือ การทําให้คนที่อยู่กับเราขณะนั้นมีความสุข คําตอบดังกล่าวสะท้อนถึงการอยู่กับปัจจุบันขณะ อยู่กับคนรอบข้าง และอยู่กับการดํารงอยู่ อย่างมีความสุข โดยไม่ผัดวันประกันพรุ่ง โดยคํานึงเสมอว่า อดีต...ก็สายเกินไป อนาคต...ก็จะสายเกินแก้ ปัจจุบัน...คือวันที่ดีที่สุด เมื่อหันมามอง “ปัจจุบันขณะ” ในมุมมองของพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) พบว่า ท่านให้ความสําคัญกับปัจจุบันขณะโดยคํานึงถึงความสําคัญของอดีตและอนาคตด้วย ดังส่วนหนึ่งของ ปาฐกถาธรรมของท่าน ดังนี้ (ปัญญานันทภิกขุ, 2554: 58-64) “...อดีตนั้นเอามาเป็นเครื่องเตือนใจ... …ในขณะที่ทาอยูป่ ฏิบัติอยู่ในเรื่องนั้น อย่าเผลอ อย่าประมาทในตัวปัจจุบัน แล้วตัวปัจจุบันนี่ แหละสาคัญที่สุด เพราะปัจจุบนั มันสร้างอดีต ปัจจุบันมันสร้างอนาคต อดีตของเราสดใสรุ่งเรืองเป็นที่ น่าชื่นใจ ก็เพราะตัวปัจจุบัน ถ้าเราทาปัจจุบันดี มันล่วงไป มันก็เป็นอดีต อดีตมันก็ดี...


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

63

...สาหรับเรื่องอนาคตข้างหน้า เราก็ต้องวางแผนไว้...พรุ่งนี้ไม่แน่ว่าจะอยู่หรือไม่อยู่ ถ้าอยู่เรา จะอยู่อย่างไร...เราจะอยู่อย่างคนมีเกียรติมีชื่อเสียงไหม เราควรจะนึกอะไร ควรจะทาอะไรในทางที่เป็น คุณเป็นประโยชน์แก่อนาคต... ...เพราะฉะนั้น ในแง่ของการปฏิบัติธรรมะ เราจึงต้องคิดถึงอนาคตไว้บ้าง อย่าเอาแต่เรื่อง ปัจจุบัน... ...นี่คือประโยชน์ของการที่เราคิดถึงเรื่องอดีต อนาคต และปัจจุบัน เพื่อเอามาเป็นบทเรียน เครื่องเตือนจิตสะกิดใจ ให้เกิดความนึกคิดในทางที่ถูกที่ชอบ...” จากปาฐกถาธรรมข้างต้น ทําให้เราเห็นว่า ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต มีความสําคัญในนัยยะ ที่แตกต่างกัน แต่ในที่สุดแล้วอดีตหรืออนาคตก็คือปัจจุบันนั่นเอง ท่านสอนวิธีการในการดําเนินชีวิต โดยท่านกล่าวว่า อดีตเปรียบเหมือนการตักน้ําใส่กะโหลก แล้วชะโงกดูเงาตัวเองว่า การตักน้ําดูเงา ตัวเอง ทําให้คนเรารู้เพียงแค่ร่างกายภายนอก แต่หากต้องการรู้ถึงจิตใจ ต้องใช้แว่นธรรมมาส่องดูให้ ถึงจิตใจ โดยการส่องดูตัวเองทั้งร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กัน เพื่อสํารวจตัวเองตลอดเวลาว่าเรา ควรปรับปรุงเรื่องใดบ้าง อะไรบ้างที่ควรแก้ไข อะไรบ้างที่ควรทําให้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็ให้นึกถึง อนาคตไว้ด้วย เพราะหากเรามีชีวิตอยู่ถึงพรุ่งนี้ เราจะดําเนินชีวิตอย่างไร เราจึงต้องมีการวางแผนชีวิต ของเราไว้ด้วยเพื่ อ เตือ นใจว่าพรุ่ง นี้ยัง มีอยู่ สําหรับ ตัวปัจ จุบันนั้น ท่านเน้นให้อยู่กั บ ปัจ จุบันด้วย สติปัญญา ตัวปัจจุบันจึงหมายถึง การนําพระธรรมมาเป็นแผนที่ในการดําเนินชีวิต ให้เดินตามแผนที่ ไม่เดินผิดทาง และเดินด้วยความระมัดระวังที่จะไม่ทําให้เกิดทุกข์เกิดโทษทั้งแก่ตัวเองและผู้อื่น ด้วย การนึกเพียงว่า เราอยู่ ณ ปัจจุบันขณะนี้ เรามีอะไรที่ต้องทํา เราควรทําเรื่องนั้นอย่างไร เราควรคิดถึง เรื่องนั้นอย่างไร เราควรพูดอย่างไร เรื่องที่จะทําเป็นเรื่องถูกหรือผิด ดีหรือไม่ดี เป็นเรื่องที่ทําให้เกิด ความเจริญหรือความเสื่อม เราต้องตรวจสอบอยู่เสมอ อย่าเผลอ อย่าประมาท เพราะการทําเรื่องที่ดี ในวันนี้ ก็กลายเป็นอดีตที่ดี และจะเป็นอนาคตที่ดีต่อไปด้วย จากคําสอนดังกล่าว ท่านสอนให้เราไม่ให้มองแต่เพียงว่า อดีตคืออดีต ปัจจุบันคือปัจจุบัน อนาคตคือ อนาคต เท่านั้น แต่เ ป็น การมองปัจ จุบันที่จะกลายเป็นอดีตในอนาคต และอนาคตที่จ ะ กลายเป็นปัจจุบัน จึงดูเ สมือนว่าเราอยู่กั บปัจจุบันตลอดเวลา ดัง นั้นเมื่อใดก็ตามที่เราทั้ง หลายทํ า ปัจจุบันให้ดีแล้วมีสติ ไม่เผลอ ไม่ประมาท อดีตก็จะดีตามไปด้วย และอนาคตก็จะดีตามไปด้วยเช่นกัน ท้ายที่สุดแล้ว ผู้เขียนได้ข้อสรุปว่า การอยู่กับปัจจุบันขณะคือ การรับรู้ รู้สึกตัว รู้ตื่น ซึ่งทําให้ เราเห็นในสิ่ง ที่ กํ าลัง มอง ได้ยินในสิ่ง ที่ กํ าลัง ฟัง ได้ก ลิ่นในขณะที่ กํ าลัง ดม รับรู้ร สในขณะที่ กํ าลัง รับประทาน รับรู้การสัมผัสในขณะที่จับต้อง และรับรู้ความรู้สึกถึงสิ่งที่กําลังเข้ามากระทบจิตใจ การอยู่ กับปัจจุบันขณะ จึงต้องคํานึงถึงทุกด้านที่เกี่ยวเนื่องกับตัวเรา ในขณะที่การมีสติเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ทํา ให้เราเป็นนายของตัวเองได้ และรักษาใจตนเองได้ทุกสถานการณ์ การอยู่กับปัจจุบันขณะจึงควรอยู่ อย่างมีสติควบคู่ไปด้วย ดังที่ ท่านติช นัท ฮันห์ และท่านปัญญานันทภิกขุ ได้กล่าวเรื่องการมี สติดังคํา สอนข้างต้น นอกจากนี้ ท่านติช นัท ฮันห์ ได้แสดงปาฐกถาธรรมที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2553 ความว่า “การดํารงอยู่อย่างเป็นสุขในขณะปัจจุบันคือคํา สอนที่สําคัญมากในพุทธศาสนา เราไม่จําเป็นต้องวิ่งไปในอนาคตเพื่อแสวงหาความสุข เพียงแต่นํากาย และใจมาดํารงด้วยกันอย่างตั้งมั่น เราจะสามารถสัมผัสกับความสุขที่มีมากเพียงพออยู่ แล้ว นิพพาน ดินแดนสุขาวดี หรือความสุข ดํารงอยู่ตรงนั้นในขณะปัจจุบัน หากเราเดินในวิถีแห่งสติได้ เราจะสัมผัส


64

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

กับสิ่งเหล่านี้ได้ พวกเราหลายคนติดยึดกั บความเศร้าโศกในอดีต ความลัง เลสงสัยในอนาคต และ ความทุกข์ในปัจจุบัน เมื่อเรารู้วิธีฝึกปฏิบัติ เราจะปล่อยวางความทุกข์ ต่างๆ ได้ การเดินในวิถีแห่งสติ เป็นการฝึกปฏิบัติที่ประเสริฐมาก ทุกก้าวย่างนําเรากลับสู่ปัจจุบันขณะ ช่วยให้เราเป็นอิสระจากอดีต และอนาคต เพียงแต่ฝึกประสานลมหายใจกับทุกย่างก้าวเท่านั้น” อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะสามารถ อยู่กับปัจจุบันในวิถีแห่งสติ หรือเราจะอยู่กับปัจจุบันขณะโดยไม่สามารถดําเนินตามวิถีแห่งสติได้ก็ตาม แต่ชีวิตก็ยังต้องดําเนินต่อไป การอยู่กับปัจจุบันขณะเป็นโอกาสเดียวที่แสดงว่าเรายังมีชีวิตอยู่ ชีวิตที่ เปราะบาง ไม่สามารถกําหนดได้ว่า “จะตายวัน ตายพรุ่ง” ขอเพียงให้ทุกคน “ทําวันนี้ให้ดีที่สุด” ลงมือ กระทําสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่นํามาซึ่งความสุข ความสงบ แก่ชีวิต นับตั้งแต่ปัจจุบันขณะต่อแต่นี้ไป บทสรุป “ปัจจุบันขณะ” เกิดขึ้น มีขึ้นและเป็นแนวคิดสําคัญที่เหมือนกันของซีกโลกตะวันออกและ ซีกโลกตะวันตกที่ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้ง อารยธรรม วัฒนธรรม และความเจริญรุ่งเรือง เป็นเรื่องที่ บัง เอิ ญ หรื อไม่ ก็ ตาม แต่ ก็ ทํ า ให้เ รารู้ว่ าปัจ จุบัน ขณะเป็นเรื่องของคนทั้ ง โลก ไม่ ว่ าสัง คมโลกจะ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม หากเราอยู่กับปัจจุบันขณะโดยมีสติรู้ตื่นอยู่ตลอดเวลา ประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลในการดํารงชีวิตย่อมมีมาก โดยการนําพลังทั้งหลายทั้งปวงมาใช้กับปัจจุบันให้มากที่สุด ไม่โหยหาอดีต ไม่วิตกกังวลกับอนาคต และทําทุกขณะของปัจจุบันให้ดีที่สุด เอกสารอ้างอิง ปัญญานันทภิกขุ ปาฐกถาธรรม. (2554). ปัจจุบันขณะคือแสงสว่าง. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์. ติช นัท ฮันห์. (2549). ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง. (2539). สมเด็จประพุทธองค์ตรัสสอนอะไร. อุดมรัตน์ จิระชัยประวิตร รวบรวมต้นฉบับ. กรุงเทพฯ. Corey, G. (2005). Theory and Practice of Counseling and Psychotherapy. (7thed). U.S.A; Thompson Brooks/Cole. Sharf. R.S. (2008). Theories of Psychotherapy and Counseling Concepts and Cases. (4thed). U.S.A: Thompson Brooks/Cole. Retrieved November 25, 2013, from http://www.thaiplumvillage.org. ……………………………………………


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

65

จิตวิทยาประยุกต์ Applied Psychology พรรณราย ทรัพยะประภา * บทคัดย่อ จิตวิทยาประยุกต์คือ การนําทฤษฎี กฎเกณฑ์ และเทคนิควิธีการต่างๆ ของจิตวิทยาทั่วไป ไป ปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจําวัน นักจิตวิทยากลุ่มแรกผู้ริเริ่มนําทฤษฎี และหลักการทาง จิตวิทยาทั่วไปมาประยุกต์ในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมคือ วอลเตอร์ ดิลล์ สก๊อต, เฟรดเดอริก วินสโลว์ เทย์เลอร์, ฮิวโก มุนสเตอร์เบิร์ก รวมทั้ง แฟรงก์ และ ลิเลียน มอลเลอร์ กิลเบร็ธ ความเคลื่อนไหวทางจิตวิทยาประยุกต์ที่นํามาใช้เพื่อแก้ปัญหาของบุคลากรเป็นครั้งแรกคือ การ พัฒนาและการใช้แบบทดสอบเชาวน์ปญ ั ญาเป็นกลุม่ ขึ้นในกองทัพบกของประเทศสหรัฐอเมริกาในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่ง โรเบิร์ต เอ็ม.เยิร์กส์ และ หลุยส์ แอล. เธิร์สโตน ได้ร่วมกันพัฒนาแบบทดสอบ เชาวน์ปัญญา มีชื่อว่า The Army Alpha และ The Army Beta โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจําแนกและจัด บุคลากรพลเรือนให้เข้าไปปฏิบัติงานตามหมวดหมู่กรมกองต่างๆ ในกองทัพบก ต่อมาหลังสงครามโลก ครั้ง ที่ 1 ได้มี การพั ฒนาการทดสอบเป็นกลุ่ม การทดสอบอาชีพ มาตรประเมิ นค่า และแบบสํารวจ บุคลิกภาพขึ้นอีกหลายชุด ค.ศ. 1917 ได้มีการตีพิมพ์วารสารขึ้นเป็นเล่มแรกมีชื่อว่า “วารสารจิตวิทยาประยุกต์” และ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เปิดสอนวิชาจิตวิ ทยาประยุกต์ขึ้นเป็นครั้งแรกในมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชา จิตวิทยาอุตสาหกรรม จิตวิทยาบุคลากร จิตวิทยาอาชีพ และจิตวิทยาการโฆษณา ค.ศ. 1935 ได้เกิดวารสารทางวิชาการขึ้นฉบับหนึ่งมีชื่อว่า “บทคัดย่อทางจิตวิทยา” ซึ่งมีเนื้อหา เกี่ยวกับการสร้างแบบทดสอบและการคัดเลือกบุคลากรเข้าปฏิบัติงานในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม การคัดเลือกบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการฝึกอบรมพนักงาน ค.ศ. 1937 ได้มีการก่อตั้งสมาคมจิตวิทยาประยุกต์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่ง ต่อมาใน ค.ศ. 1944 สมาคมจิตวิทยาอเมริกั น ได้รับรองให้สมาคมนี้เป็นสาขาที่ 14 เรียกว่า จิตวิทยา อุตสาหกรรมและธุรกิจ แต่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ เมื่อ ค.ศ. 1970 ค.ศ. 1948 ได้มี การตีพิมพ์วารสารทางสาขาการวิจัยประยุกต์ขึ้น มี ชื่อว่า “วารสารจิตวิทยา บุคลากร ” เพื่อตีพิมพ์บทความต่างๆ ที่เกิดจากการวิจัย ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้เกิดองค์การ ทางวิชาชีพจิตวิทยาประยุกต์ขึ้น 2 องค์การ องค์การแรกมีชื่อว่า The Human Factor Society ใน ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งได้ออกวารสารของตนเองชื่อว่า “Human Factors” และเมื่อ ค.ศ. 1966 ได้ออก วารสารอีกหนึ่งฉบับมีชื่อว่า “Organizational Behavior and Human Performance” ส่วนองค์การที่ สองมีชื่อว่า The Ergonomic Society ในประเทศอังกฤษ และได้ออกวารสารของตนเอง 2 ฉบับเช่นเดียวกัน __________________________ * รองศาสตราจารย์ ดร., สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลเซ็นต์หลุยส์


66

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

คือ “Ergonomics” และ “Occupational Psychology” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์บทความต่างๆ ที่มีเนื้อหาทางด้านการพัฒนาทฤษฎีทางจิตวิทยาประยุกต์โดยเฉพาะ คาสาคัญ: จิตวิทยาประยุกต์ Abstract Applied Psychology is the application of the theories, principles and techniques of General Psychology to solve practical problems in daily life. Walter Dill Scott, Frederick Winslow Taylor, Hugo Munsterberg , as well as Frank and Lilian Moller Gilbreth were the first group of the American Psychologists who brought General Psychological principles to be applied into the business and industrial settings. The first movement of Applied Psychology was found from the development and use of the first Intelligence Group Tests, called the Army Alpha and the Army Beta , developed by Robert M. Yerks and Louis L.Thurstone, during the first World War, in order to classify and place the American civilians into the appropriate classes in the Army. Later, Group Testing , Vocational Testing, Rating Scales, and Personality Inventories were numerously developed. In 1917, the first Journal of Applied Psychology was published. After that time, Applied Psychology courses were firstly instructed in the American universities, especially in Industrial Psychology, Personnel Psychology, Vocational Psychology and Advertising Psychology. In 1935, the second Journal, “Psychological Abstracts” was also published, with mainly related to test constructions and personnel recruitment methods, personnel selection, performance appraisal, and personnel training. In 1937, the American Association of Applied Psychology was formally founded. It was accredited as Division 14 of the American Psychological Association in 1944. Later, It was changed into the Association of Industrial and Organization in 1970. In 1948, the Journal of Personnel Psychology was established to publish articles from research studies. After the second World War, two professional organizations in Applied Psychology were founded. The first one named “Human Factor Society “was founded in the United States, and published its own journal named “Human Factors”. In 1966, “Organizational Behavior and Human Performance” was also published. At the same time, the Ergonomic Society, was founded in England. Two journals were also published, namely “Ergonomics” and “Occupational Psychology” in order to print the articles especially on the development of theories in Applied Psychology. Key words: Applied Psychology


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

67

วิชาจิตวิทยาหรือ “วิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์” ซึ่งมีอายุประมาณ 129 ปี โดยนับตั้งแต่ ค.ศ.1884 ที่ J .McCosh ให้คําจํากัดความของคําว่า จิตวิทยา หมายถึง “วิทยาศาสตร์ที่ ศึกษาเกี่ยวกับจิตวิญญาณ” (Corsini, 2001: 784) นั้น แบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ได้ 2 หมวด คือ จิตวิทยา ทั่วไป (General Psychology) และจิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) กล่าวคือ จิตวิทยาทั่วไป ศึกษากฎเกณฑ์เบื้องต้น ปัญหาและวิธีการต่างๆ ที่เป็นพื้นฐานของพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) ได้แก่ สรีรวิทยา พัฒนาการและการเจริญเติบโตของมนุษย์ อารมณ์ การจูงใจ การเรียนรู้ การรับสัมผัส การรับรู้ กระบวนการคิด การจําและการลืม ทฤษฎีบุคลิกภาพ การทดสอบทางจิตวิทยา พฤติกรรม ผิดปกติ พฤติกรรมสังคมและสุขภาพจิต เป็นต้น (Corsini, 2001: 408) ส่วนจิตวิทยาประยุกต์คือ การนําทฤษฎี กฎเกณฑ์และเทคนิควิธีการต่างๆ ของจิตวิทยาทั่วไปตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ไปปรับใช้ อย่างกว้างขวางเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจําวัน ทั้งในชีวิตส่วนตัว การศึกษาเล่าเรียนและการทํางาน โดยเฉพาะอย่ างยิ่ง ในวงการธุร กิ จ และอุต สาหกรรม วิ ศวกรรม การโฆษณา กิ จ กรรมผู้ บ ริ โ ภค การทหาร การกีฬา การเมืองการปกครอง การแนะแนวอาชีพ รวมทั้ง ประเด็นต่างๆ ทางสิ่งแวดล้อม (Corsini, 2001: 61) เป็นต้น นักจิตวิทยาคนสําคัญ 5 คนในยุคแรกๆ ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ริเริ่มนําทฤษฎีและหลักการ ทางจิตวิทยาทั่ วไปมาประยุกต์ในวงการธุรกิ จและอุตสาหกรรม คือ 1) Walter Dill Scott (1869-1955) นั กจิ ตวิ ทยาชาวอเมริ กั น ผู้ ริ เริ่ มสาขาจิ ตวิ ทยาบุ คลากรและผู้ บริ โภค (Personnel and Consumer Psychology) 2) Frederick Winslow Taylor (1856-1915) วิศวกรชาวอเมริกันผู้สถาปนาหลักของการ จัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ในวงการอุตสาหกรรม 3) Hugo Munsterberg (1863-1961) ผู้ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สถาปนาสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ 4) Frank Gilbreth (1868-1924) วิศวกรชาวอเมริกัน และ 5) Lilian Moller Gilbreth (1878-1972) นักจิตวิทยา ชาวอเมริกันผู้เป็นภรรยาได้ร่วมกันศึกษาวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สถาปนาสาขาวิชาจิตวิทยาวิศวกรรม (Engineering Psychology) ขึ้น Scott นักจิตวิทยาชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัย Northwestern มลรัฐอิลลินอยส์ ได้บรรยาย เรื่อง การประยุกต์หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาทัว่ ไปไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพในสาขาวิชาการโฆษณา เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.1901 (Blum & Naylor, 1965: 16) หลังจากการบรรยายครั้งนี้แล้ว ได้เขียน บทความลงในวารสารต่างๆ รวม 12 เรื่องด้วยกันและได้รวบรวมพิมพ์เป็นเล่ม มี ชื่อว่ า “ทฤษฎีการ โฆษณา” (The Theory of Advertising) เมื่อ ค.ศ.1903 นับว่า เป็นหนังสือเล่มแรกที่ได้นําหลักการของ จิตวิทยาประยุกต์มาใช้ในโลกของธุรกิจ ต่อมา Scott ได้ดํารงตําแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยดังกล่าว และได้เขียนหนังสืออีก 1 เล่ม ซึ่งมีเนื้อหาคล้ายๆ กับเล่มแรกแต่ใช้ชื่อว่า “จิตวิทยาการโฆษณา” (The Psychology of Advertising) เมื่อ ค.ศ.1908 นอกจากนั้น Scott ยังได้ขยายความรู้ทางจิตวิทยาประยุกต์ ในวงการธุรกิจอย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งปรากฏในหนังสืออีก 2 เล่ม ที่เขียนขึ้นใน ค.ศ.1911 คือ “การ สร้างอิทธิพลของบุคคลในธุรกิจ” (Influencing Men in Business) และ “การเพิ่มประสิทธิภาพของมนุษย์ ในธุรกิจ” (Increasing Human Efficiency in Business) นอกจากนั้น Scott ยังได้นําจิตวิทยาประยุกต์ไป ปรับใช้ในวงการทหารในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 1 อีกด้วย แม้ว่า Scott จะมีประวัติว่า เป็นบุคคลแรกที่นํา จิตวิทยาประยุกต์มาปรับใช้ก็ตาม แต่ได้ถูกลืมเลือนไปในระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งภายหลัง จึงได้มีการนํา ผลงานของ Scott มายกย่องในเวลาต่อมา


68

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

Taylor แม้ว่าจะเป็นวิศวกรชาวอเมริกันที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมหลายปีก็ตาม แต่สนใจ เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมด้วยและได้เขียนหนังสือชื่อ “หลักการของจัดการทางวิทยาศาสตร์” (Principles of Scientific Management) เมื่ อ ค.ศ.1911 ซึ่งมี สาระสําคัญคือ 1) การออกแบบวิธีการทํางานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน 2) การคัดเลือกคนงานที่มี คุณภาพดีที่ สุดและฝึกอบรมให้สามารถปฏิบัติงานตามวิธีการใหม่ๆ ที่ ออกแบบมานั้น 3) การพัฒนา ความรู้สึกผูกพันต่อองค์การระหว่างผู้บริหารและพนักงาน และ 4) การแบ่งความรับผิดชอบร่วมกันระหว่าง ผู้บริหารและพนักงานต่อวิธีการทํางานและพฤติกรรมในการทํางาน จากผลงานของ Taylor ทําให้ได้รับการ ยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งการจัดการทางวิทยาศาสตร์” (The Father of Scientific Management) ซึ่ง นับว่าเป็นแนวคิดที่ทันสมัยมากในยุคนั้น Munsterberg นักจิตวิทยาชาวเยอรมันได้รับเชิญจาก William James (1842-1940) นักจิตวิทยา ชาวอเมริกันให้มาสอนที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดและเป็นผู้ริเริ่มนําการวิจัยเชิงทดลองมาศึกษา เพื่อแก้ปัญหา ในการปฏิบัติ งานของพนักงานในโรงงานอุ ตสาหกรรม Munsterberg เขียนหนังสือชื่อ “จิตวิทยาและ ประสิทธิภาพในอุตสาหกรรม” (Psychology and Industrial Efficiency) เมื่อ ค.ศ.1913 ในบทแรกๆ ของ หนัง สือดัง กล่าวนั้ น Munsterberg ได้แยกให้เ ห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างวิธีก ารของ วิทยาศาสตร์บริสุท ธิ์ (Pure Science) และวิธีการของวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) ซึ่ง ประกอบด้วย สาระสําคัญ 3 ส่วน คือ 1) การคัดเลือกพนักงาน 2) การออกแบบสถานการณ์การทํางาน และ 3) การนําจิตวิ ทยาไปปรับใช้ ในการซื้อและการขาย Munsterberg ได้รั บการยกย่องว่ าเป็น “บิดาของ จิตวิทยาอุตสาหกรรม” (Father of Industrial Psychology) Frank and LiLian Gilbreth ได้นําแนวคิดของ Taylor มาขยายผลและร่วมกันศึกษาว่า คนเรา นั้นปฏิบัติงานกันอย่างไร ผลงานที่ มีชื่อเสียงของสามีภรรยาคู่นี้คือ การศึกษาเกี่ยวกั บเวลาและการ เคลื่อนไหว (time and motion) ซึ่งมีสาระสําคัญว่า ในการปฏิบัติงานแต่ละอย่างนั้น ผู้ปฏิบัติงานแต่ละ คนใช้เวลาเท่าไรและมีการเคลื่อนไหวอย่างไร จึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด (นักประวัติศาสตร์ทางจิตวิทยา กล่าวว่า LiLian Gilbreth เป็นบุคคลแรกที่ได้รับปริญญาเอก สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ เมื่อ ค.ศ.1915 แต่บางท่านกล่าวว่า ผู้ที่ได้รับปริญญาเอกสาขานี้เป็นคนแรก คือ Bruce V. Moore เมื่อ ค.ศ.1921 สามีภรรยา Gilbreth ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สถาปนาจิตวิทยาประยุกต์ในสาขาที่ปัจจุบันนี้ เรียกว่า “ปัจจัยมนุษย์” (Human Factor) หรือ “วิศวกรรมมนุษย์” (Human Engineering) หรือ “จิตวิทยาวิศวกรรม” (Engineering Psychology) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการนําเทคโนโลยีมาออกแบบ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทํางานของผู้ปฏิบัติงาน LiLian Gilbrethนั้น นอกจากจะเป็นนักจิตวิทยาแล้ว ยังมีความสามารถเชิงสร้างสรรค์อีกด้วย กล่าวคือ เป็นผู้ออกแบบถังขยะ แบบใช้เท้าเหยียบเพื่อเปิดถัง และชั้นวางของในตู้เย็นที่เราใช้กันอยู่จนทุกวันนี้ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างจิตวิทยาทั่วไปและจิตวิทยาประยุกต์ในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีรวมทั้งหมด 129 สาขาวิชาแล้วปรากฏว่า เป็นจิตวิทยาประยุกต์ถึง 128 สาขา (Corsini, 2003: 784) และนักจิตวิทยา ส่วนใหญ่ ประมาณสองในสามของนักจิตวิทยาทั้งหมด ประกอบอาชีพในสาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์ สาขาซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก เช่น จิตวิทยาอปกติ (Abnormal) จิตวิทยาการโฆษณา (Advertising) จิตวิทยาอวกาศ (Aerospace) จิตวิทยาธุรกิจ (Business) จิตวิทยาคลินิก (Clinical) จิตวิทยาการรู้คิด (Cognitive) จิตวิทยาผู้บริโภค (Consumer) จิตวิทยาการให้คําปรึกษาหารือ (Consulting) จิตวิทยาการ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

69

ปรึกษา (Counseling) จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental) จิตวิทยาการศึกษา (Educational) จิตวิทยา วิศวกรรม (Engineering) จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม (Environmental) จิตวิทยากฎหมาย (Forensic) จิตวิทยา อุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial and Organizational) จิตวิทยาการบริหาร/การจัดการ (Managerial) จิตวิทยาการทหาร (Military) จิตวิทยาบุคลากร (Personnel) จิตวิทยาศาสนา (Religion) จิตวิทยาโรงเรียน (School) จิตวิทยาสังคม (Social) จิตวิทยาการกีฬา (Sport) จิตวิทยาอาชีพ (Vocational) ฯลฯ ซึ่งอธิบาย ได้โดยย่อ ดังนี้ 1. จิตวิทยาอปกติ (Abnormal Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับคนที่มีพฤติกรรมผิดปรกติทางจิต และผู้ปุวยจิตเวช โดยศึกษาสาเหตุที่ทําให้คนมีอาการผิดปรกติดังกล่าว รวมทั้งการบําบัดรักษา เป็นต้น ตัวอย่างนักจิตวิทยาคนสําคัญทางด้านนี้ เช่น Emil Kraepelin (1856-1926) จิตแพทย์ชาวเยอรมันผู้จัด ประเภทอาการทางจิต เช่น อาการคุ้มดี -คุ้มร้าย (Manic-depressive Psychosis) และโรคสมองเสื่อม (Dementia) เป็นต้น 2. จิตวิทยาการโฆษณา (Advertising Psychology) ศึกษาเทคนิคและประสิทธิภาพของการ โฆษณา รวมทั้งแรงกระตุ้น (หรือแรงจูงใจ) ให้ผู้บริโภคมีความสนใจในสินค้าและตัดสินใจซื้อสินค้านั้นๆ รวมทั้งศึกษาคุณลักษณะต่างๆ ของการโฆษณาสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างนักจิตวิทยาผู้ริเริ่มทาง สาขานี้ เช่น Water Dill Scott (1869-1955) นักจิตวิทยาชาวออสเตรเลีย-อเมริกัน ผู้ริเริ่มนําหลักจิตวิทยา ไปประยุกต์ในการโฆษณา 3. จิตวิทยาอวกาศ (Aerospace Psychology) เป็นสาขาหนึ่งของจิตวิทยาวิศวกรรมหรือ Human-factor Engineering ที่ศึกษาตัวแปรต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ในการปฏิบัติงาน ในอวกาศ เช่น การอยู่ในที่แคบๆ การเมาอากาศ การเปลี่ยนระดับความดัน ความสูงและการปรับตัวใน สภาพการไร้น้ําหนัก เป็นต้น 4. จิตวิทยาธุรกิจ (Business Psychology) เป็นจิตวิทยาสาขาที่เป็นชื่อดั้งเดิมของจิตวิทยา อุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial-organizational Psychology หรือ I/O Psychology) ซึ่งนําหลักการ ทางจิตวิทยามาปรับใช้ในด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อทําความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้อง กับการผลิต การจําหน่ายและการบริโภค รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ การคัดเลือกบุคคล เข้าทํางาน การฝึกอบรมหรือการสอนงานคนงานให้ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตลอดจนแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทางด้านมนุษยสัมพันธ์ในการทํางานร่วมกัน การบํารุงขวัญและกําลังใจ คนงาน ตัวอย่างนักจิตวิทยาคนสําคัญทางด้านนี้ เช่น Elton George Mayo (1880-1949) นักจิตวิทยา ชาวออสเตรเลีย-อเมริกนั ผู้มชี ื่อเสียงทางด้านการวิจยั เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ในการทํางานในการศึกษา ชื่อว่า “Hawthorne Studies” ที่โรงงานของบริษัท Western Electronics เมื่อปี 1930 5. จิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology) ศึกษาเกี่ ยวกั บปัญหาการปรับตัวของมนุษย์โดย พยายามค้นหาว่า คนที่มีความยุ่งยากใจ เกิดความเบื่อหน่ายท้อแท้หรือเข้ากับใครไม่ได้นั้น มีสาเหตุมาจาก อะไร จิตวิทยาคลินิกใช้หลักทางจิตวิทยามาวิเคราะห์และบําบัดรักษาผู้ที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์และ พฤติกรรม เช่น การเจ็บปุวยทางด้านจิตใจ ได้แก่ อาการทางโรคจิต โรคประสาท ปัญหายุวอาชญากร (Juvenile Delinquency) พฤติกรรมด้านอาชญากรรม การติดยาเสพติด ความผิดปกติทางด้านสติปัญญา ความขัดแย้งในการสมรสและในครอบครัวและปัญหาการปรับตัวทางด้านอื่นๆ นักจิตวิทยาคลินิกหรือ จิตแพทย์เป็นผู้ที่ทํ างานในโรงพยาบาล ในศาลเยาวชนหรือสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก ในคลินิก ใน


70

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

สถาบันปัญญาอ่อนและในโรงเรียนแพทย์ ตัวอย่างนักจิตวิทยาคนสําคัญทางด้านนี้ คือ Sigmund Freud (1856-1939) จิตแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้ที่ได้รับสมญานามว่า “บิดาแห่งวงการจิตแพทย์” ผู้สถาปนาทฤษฎี จิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) 6. จิตวิทยาการรู้คิด (Cognitive Psychology) จิตวิทยาสาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการ ทางจิตและระบบประสาทวิทยา (Neuroscience) ที่ใช้ในการคิดและสํารวจการทําหน้าที่ต่างๆ ของระบบ ประสาทและสมอง เช่น การรับรู้ ความจํา การเรียนรู้ การคิดและการวางแผน ความตั้งใจ ความรู้ตัว การสังเกตรูปแบบต่างๆ การสร้างมโนทัศน์ จินตนาการ ภาษา ความฉลาดของมนุษย์และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และกระบวนการทางพัฒนาการของมนุษย์ ตัวอย่างนักจิตวิทยาทางด้านนี้ เช่น Robert J. Sternberg (1949-ปัจจุบัน) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้สถาปนา “ทฤษฎีสามองค์ประกอบของ เชาวน์ปัญญา” (Sternberg’s Triarchic Theory of Intelligence) 7. จิตวิทยาผู้บริโภค (Consumer Psychology) ศึกษาตัวแปรต่างๆ เช่น แรงจูงใจ การ ตอบสนองต่อการโฆษณาและคุณลักษณะต่างๆ ของผู้บริโภคกลุ่มเปูาหมาย 8. จิตวิทยาการให้คาปรึกษาหารือ (Consulting Psychology) การให้บริการทางด้าน จิตวิทยาแก่วงการธุรกิจและอุตสาหกรรม หน่วยงานของรัฐบาล กองทัพ วงการศึกษาและกลุ่มต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ กิจกรรมที่เป็นงานบริการหลักคือ การคัดเลือกบุคลากรในตําแหน่งสําคัญๆ การ ค้น หาสาเหตุข องความไม่ ล งรอยกั น ระหว่ างผู้ ป ฏิ บัติ ง านที่ ทํ า งานร่ วมกั น การป ระเมิ นผลการ ปฏิบัติงานของพนักงาน การให้คําปรึกษา (Counseling) แก่ผู้บริหารระดับสูง รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ตัวอย่างนักจิตวิทยาสาขานี้ เช่น R.M. Guion ผู้ริเริ่มนํามาตร ประเมินค่า (Rating Scale) มาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน 9. จิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology) นักจิตวิทยาประเภทนี้ ทํ าหน้าที่เหมื อน นักจิ ตวิทยาคลินิ ก แต่มั กจะทํ างานในโรงเรียนหรื อในสถาบั นการศึกษา แต่บางคนอาจจะทํ างานใน โรงพยาบาล ในสถาบันโรคจิต โรคประสาทหรือหน่วยงานอื่นๆ ได้ จิตวิทยาการปรึกษาจะให้คําปรึกษาปัญหา ทางด้านการปรับตัวทางสังคม รวมทั้งปัญหาทางด้านการศึกษาและอาชีพ ตัวอย่างนักจิตวิทยาการปรึกษาคน สําคัญ เช่น Carl R. Rogers (1902-1987) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้เป็นเจ้าของ “ทฤษฎีการปรึกษาที่มีผู้ มาขอปรึกษาเป็นศูนย์กลาง” (Client-centered) 10. จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ศึก ษาพัฒนาการและความ เจริญ เติบ โตของคนในวัยต่ างๆ พิ จ ารณาอิท ธิพลของพันธุก รรมและสิ่ง แวดล้อมที่ มี ผ ลต่อความ เจริญเติบโตและการปรับตัวของบุคคล ตัวอย่างนักจิตวิทยาพัฒนาการคนสําคัญ เช่น Jean Piaget (1896-1980) นักจิตวิทยาชาวสวิส 11. จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางการศึกษา การส่งเสริมประสิทธิภาพของการเรียนการสอน วิธีวัดและประเมินผลการเรียนการสอน ความสัมพันธ์ ระหว่างอารมณ์และการเรียนรู้ การใช้แบบทดสอบและการแปลผลแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา บุคลิกภาพ และสัมฤทธิผลในการศึกษา รวมทั้งการปรึกษาหารือกับผู้ปกครองเพื่อหาวิธีการช่วยเหลือเด็ก ทั้งใน โรงเรียนและในบ้าน ตัวอย่างนักจิตวิทยาการศึกษาคนสําคัญ เช่น John Dewey (1859-1952) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

71

12. จิตวิทยาวิศวกรรม (Engineering Psychology) จิตวิทยาสาขาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการ นํากฎเกณฑ์ทางจิตวิทยาไปใช้ในการวิจัย การพัฒนา การนําไปปรับใช้และการประเมินผลพฤติกรรม ของมนุษย์ทางด้านคุณลักษณะต่างๆ การออกแบบ การใช้สิ่งแวดล้อมและระบบต่างๆ ที่มนุษย์เข้ามา ใช้ชีวิตและทํางานร่วมกัน นักจิตวิทยาวิศวกรรมเป็นผู้ออกแบบแคปซูลอวกาศให้แก่นัก บินอวกาศ บางครั้งเรียกสาขานี้ว่า Human Engineering หรือ Safety Psychology ตัวอย่างนักจิตวิทยา ทางด้านนี้ เช่น Frank Gilbreth (1868-1924) วิศวกรชาวอเมริกั น ผู้ศึก ษาวิจัยร่วมกั บ Lillian ภรรยาของเขาเกี่ยวกับการออกแบบพื้นที่ปฏิบัติงานให้สามารถทํ างานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น 13. จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม (Environmental Psychology) สาขาของจิตวิทยาที่เน้นผลกระทบ ของอิทธิพลภายนอกที่มีต่อพฤติกรรมภายในและภายนอกของบุคคล บางครั้งรู้จักกันดีในชื่อว่า นิเวศน จิตวิทยา (Ecological Psychology) 14. จิตวิทยากฎหมาย (Forensic Psychology) การนํากฎเกณฑ์และเทคนิคทางจิตวิทยาไปปรับ ใช้ในกฎหมาย รวมทั้งการประเมิ นหน้าที่ของพยาน ผู้เชี่ยวชาญวิธีการสอบสวน การจับเท็ จ นโยบาย กฎหมาย รวมทั้ งการให้ความช่ วยเหลือทั่ วไปในปั ญหาต่ างๆ บางครั้งเป็นที่ รู้ จักกั นดีในชื่ อว่ า Legal Psychology, Correctional Psychology, Courtroom Psychology หรือ Criminal Psychology 15. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial and Organizational Psychology) ศึกษา เกี่ยวกับองค์ประกอบของบุคคลในวงการอุตสาหกรรม เช่น การคัดเลือกบุคลากร ขวัญและกําลังใจของ คนงาน การออกแบบเครื่ องมื อต่ างๆ เพื่อช่วยให้ คนทํ างานอย่ างมี ประสิ ทธิ ภาพและเพื่ อช่ วยลด ข้อบกพร่อ งในการทํ างานของคนงาน นอกจากนี้ยั งศึก ษาปั ญหาต่างๆ ที่ เ กี่ ยวกั บวิ วัฒนาการทาง อุตสาหกรรมและธุรกิจ รวมทั้งร่วมมือกับนักจิตวิทยาสังคมและนักวิ ทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ ในการที่จะ วางแผนในอนาคตเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ มลพิษของสิ่งแวดล้อม การเพิ่มอัตราประชากร และอิทธิพลของสิ่งอื่นๆ ที่มีต่อคุณภาพของชีวิต ตัวอย่างนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การคนสําคัญ เช่น Frederick Winslow Taylor วิศวกรชาวอเมริกัน ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งการจัดการทาง วิทยาศาสตร์” (Scientific Management) 16. จิตวิทยาการบริหาร/การจัดการ (Managerial Psychology) การศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างผู้นําและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งสนใจมากเป็นพิเศษในทัศนคติของ บุคคลทั้งสองฝุายและประสิทธิภาพของความเป็นผู้นํา ตัวอย่างนักจิตวิทยาคนสําคัญทางด้านนี้ คือ Victor H. Vroom นักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้ สถาปนาทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นําที่มีชื่อว่า “The Vroom-Yetton Contingency Model of Leadership Behavior” ร่วมกับ Phillip. W. Yetton เพื่อนร่วมงานของเขา 17. จิตวิทยาการทหาร (Military Psychology) จิตวิทยาสาขาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการนําหลักการ ทางด้านจิตวิทยาไปประยุกต์กับสิ่งแวดล้อมทางชีวิตทางการทหารหรือพฤติกรรมของบุคคลที่อยู่ในวงการ ทหาร รวมทั้งการประเมินผล การคัดเลือกบุคลากรทางการทหาร การมอบหมายงานและการฝึกอบรม การ ออกแบบเครื่องมือหรืออาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ การนําเทคนิคด้านจิตวิทยาคลินิกและจิตวิทยาการปรึกษาไป ปรับใช้ในการบํารุงขวัญและส่งเสริมสุขภาพจิต การประเมินผลการโฆษณาชวนเชื่อต่อฝุายตรงข้าม รวมทั้ง ต่อฝุายทหารและพลเรือนของฝุายตนเอง ตัวอย่างนักจิตวิทยาการทหารคนแรกๆ เช่น Robert M. Yerks


72

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

(1976-1956) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้ริเริ่มนําแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาที่มีชื่อว่า Army Alpha และ Army Beta ไปใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าทํางานเป็นทหารในกองทัพอเมริกัน เมื่อปี ค.ศ.1917 18. จิตวิทยาบุคลากร (Personnel Psychology) ศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ในการตัดสินใจว่าจ้าง บุคคลมาเข้าทํางานหรือการบริหารจัดการให้คนที่ทํางานด้วยกันสามารถทํางานร่วมกันได้ดี เพื่อให้เกิด การทํางานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพและการดําเนินการเกี่ยวกับแรงบันดาลใจ (Aspiration) และพัฒนาการของบุคคล บางครั้งเรียกว่า การจัดการทรัพยากรบุคคล นักจิตวิทยาคนสําคัญทางด้านนี้ เช่น Edwin Ghiselli (1907-1980) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้นําการทดสอบทางจิตวิทยาไปใช้ในการ คัดเลือกบุคคลเข้าทํางาน 19. จิตวิทยาศาสนา (Psychology of Religions) สาขาของวิชาจิตวิทยาที่ศึกษาค้นคว้า ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับศาสนาของเอกัตบุคคลหรือของกลุม่ บุคคลต่างๆ ที่มีความแตกต่างกัน ผู้เป็น ผู้นําของจิตวิทยาสาขานี้ คือ William James (1842-1910) นักฟิสิกส์และนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน 20. จิตวิทยาโรงเรียน (School Psychology) สาขาหนึ่งของจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทาง จิตวิทยาการศึกษาที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ตัวอย่างนักจิตวิทยา โรงเรียน เช่น Lev.S. Vygotski (1876-1934) นักจิตวิทยาชาวรัสเซียผู้สร้างทฤษฎีพัฒนาการทางภาษา ของเด็ก 21. จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ศึกษาเกี่ ยวกั บบุคคลในสังคมและความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มคน พฤติกรรมของกลุ่ม สนใจความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัว กลุ่มคน และสมาคม บทบาทของผู้นําและผู้ตาม การเกิดทัศนคติและการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ความคิดเห็นของ กลุ่มชน การจูงใจ การโฆษณาชวนเชื่อ การทําตาม ความขัดแย้งกันในระหว่างกลุม่ องค์ประกอบที่มีผลต่อ ความรู้สึกอคติทางด้านเชื้อชาติและความก้าวร้าวของกลุ่ม เป็นต้น ตัวอย่างนักจิตวิทยาสังคมคนสําคัญ เช่น Kurt Lewin (1890-1947) นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน-อเมริกัน ผู้สถาปนา“ทฤษฎีสนาม” (Field Theory) 22. จิตวิทยาการกีฬา (Sport Psychology) การศึกษาพฤติกรรม อารมณ์ความรู้สึกและความรู้ ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องวงการกีฬา บางครั้งรวมพฤติกรรมของผู้ชมกีฬาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในวงการกีฬา ด้วย การนําหลักสําคัญของจิตวิทยาไปใช้ในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันกีฬาและในความ เป็นอยู่ดีของนักกี ฬาด้วย จิตวิทยาการกี ฬาเป็นสาขาที่ นําเข้ามาใน Division 47 ของสมาคมจิตวิทยา อเมริกัน (American Psychological Association หรือ APA) เมื่อ ค.ศ.1987 ตัวอย่างนักจิตวิทยาการกีฬา คนสําคัญ เช่น Coleman R. Griffith ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งจิตวิทยาการกีฬาของอเมริกา” 23. จิตวิทยาอาชีพ (Vocational Psychology) ศึกษาพัฒนาการด้านอาชีพระดับต่างๆ การ เลือกอาชีพ การเตรียมตัวเข้าสูโ่ ลกของงานและอาชีพ การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมในการประกอบอาชีพ รวมทั้งการวางแผนชีวิตในวัยเกษียณอายุจากการทํางาน นักจิตวิทยาคนสําคัญทางด้านนี้ ได้แก่ Donald E. Super (1910-1964) นักจิตวิท ยาชาวอเมริกั น ผู้สถาปนา“ทฤษฎีพัฒนา”การทางอาชีพและ การปรับตัว (Theory of Vocational Development and Adjustment) นั ก จิ ต วิ ท ยาประยุ ก ต์ ส่ ว นมากนั้ น มั ก จะปฏิ บั ติ ง านในโรงเรี ย น ในสถาบั นการศึ ก ษา ระดับอุดมศึกษา ในโรงพยาบาลและคลินิกจิตเวช ในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม ในวงการทหาร ใน วงการกีฬาและในโครงการที่เกี่ยวกับอวกาศ เป็นต้น


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

73

ลําดับขั้นที่มีความสําคัญอีกประการหนึ่งในการนําเทคนิคของจิตวิทยาประยุกต์มาใช้ในปัญหา ของบุคลากรคือ การพัฒนาและการใช้แบบทดสอบเป็นครั้งแรกของกองทั พบกของสหรัฐอเมริกาใน ระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 1 นักจิตวิทยาในระยะนี้ ซึ่งนําโดย Robert M. Yerkes (1876-1956) ซึ่ง ทํางานร่วมกับ Edward L.Thorndike (1874-1949 ) มีความกระตือรือร้นมากที่จะเข้ามามีส่วนช่วยใน เรื่องการสงคราม จึงได้พัฒนาแบบทดสอบเป็นกลุ่มขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจําแนกและจัดบุคลากร ทางการทหารให้เข้าไปปฏิบัติงานตามหมวดหมู่ กรมกองต่างๆ แบบทดสอบเป็นกลุ่มดังกล่าว เป็น แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา 2 ชุด มีชื่อว่า Army Alpha และ Army Beta แบบทดสอบทั้งสองชุดนี้ นับว่า เป็นแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาชุดแรกที่ใช้สําหรับทดสอบบุคคลเป็นกลุ่ม เพื่อทดสอบความสามารถ เกี่ยวกับข้อมูล (Information) การใช้เหตุผล (Reasoning) และความสามารถเกี่ยวกับทิศทาง (Ability to follow direction) แต่มีลักษณะแตกต่างกัน Army Alpha เป็นชุดที่ใช้ทดสอบบุคคลที่อ่านออกเขียนได้ ส่วน Army Beta ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ Army Alpha ทุกประการ แต่ใช้ทดสอบบุคคลที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ รวมทั้งชาวต่างชาติที่เป็นพลเมืองอเมริกันแต่ไม่รู้หนังสือ (Corsini, 2002: 66) โดยแท้จริงแล้ว พัฒนาการด้านต่างๆ ของจิตวิทยาประยุกต์ ซึ่งเป็นด้านหลักๆ หลายประการที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลก ครั้งที่ 1 ทั้ งหลาย เช่ น การทดสอบเป็นกลุ่ ม การทดสอบอาชีพ มาตรประเมิ นค่าและแบบสํารวจ บุคลิกภาพชุดต่างๆ เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานจากกิจกรรมต่างๆ ของนักจิตวิทยาประยุกต์ในระยะ สงครามโลก ครั้งที่ 1 ทั้งสิ้น ค.ศ.1917 ได้มีการพิมพ์วารสารทางด้านจิตวิทยาประยุกต์ขึ้นเป็นเล่มแรก มีชื่อว่า “วารสาร จิตวิทยาประยุกต์” (The Journal of Applied Psychology) นอกจากนั้นในปีเดียวกันนี้มหาวิทยาลัย ต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกันได้เปิดสอนวิชาจิตวิทยาประยุกต์ขึ้นเป็นครั้งแรกและเมื่อสาขาวิชานี้ได้ พัฒนากว้างขวางออกไป ทําให้มีการเปิดสอนวิชาในสาขาเฉพาะของจิตวิทยาประยุกต์มากขึ้น เช่น วิชา จิตวิทยาอุตสาหกรรม จิตวิทยาบุคลากร จิตวิทยาอาชีพและจิตวิทยาการโฆษณา เป็นต้น ค.ศ.1935 ได้เกิดวารสารทางวิชาการขึ้นฉบับหนึ่งมีชื่อว่า “The Psychological Abstracts” ซึ่ง มีเนื้อหาเกี่ยวกั บการสร้างแบบทดสอบและการคัดเลือกบุคลากรเข้าปฏิบัติงานในวงการธุรกิจและ อุตสาหกรรม ซึ่งชี้ให้เห็นความเจริญก้าวหน้าทางสาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์ที่นํามาปรับใช้ในการคัดเลือก บุคลากร การประเมิ นผลการปฏิบัติงานของพนั กงานและการฝึ กอบรมพนักงานให้มี คุณภาพและ ประสิทธิภาพมากขึ้น ค.ศ.1937 ได้มีการก่ อตั้ง “สมาคมจิตวิทยาประยุกต์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา” (The American Association of Applied Psychology) ขึ้นเป็นองค์การอย่างเป็นทางการของจิตวิทยาประยุกต์ ซึ่งต่อมาใน ค.ศ.1944 สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ซึ่งเป็นที่ รู้จักกั นดีในชื่อย่อว่า APA ได้รับรองให้สมาคมนี้เป็นสาขาที่ 14 (Division 14) ของสมาคม เรียกว่า “Industrial and Business Psychology” แต่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Industrial and Organizational Psychology เมื่อ ค.ศ.1970 ค.ศ.1948 ได้มีการตีพิมพ์วารสารทางสาขาการวิจัยประยุกต์ (Applied Research) ขึ้น มีชื่อว่า “วารสารจิตวิทยาบุคลากร” (Journal of Personnel Psychology) เพื่อตีพิมพ์บทความต่างๆ ที่เกิดจาก การวิจัยประยุกต์ เช่น การฝึกอบรม การวิเคราะห์งาน การคัดเลือกพนักงาน การประเมิ นผลการ ปฏิบัติงาน การสร้างแรงจูงใจและขวัญกําลังใจในการทํางาน สภาพการณ์ต่างๆ ในการทํางาน รวมทั้งการ ออกแบบเครื่องมือต่างๆ เป็นต้น


74

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

ตั้งแต่หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ได้เกิดองค์การทางวิชาชีพจิตวิทยาประยุกต์ขึ้น 2 องค์การ องค์การแรก มีชื่อว่า The Human Factor Society ซึ่งเป็นองค์การของนักจิตวิทยา ประยุก ต์ในประเทศสหรัฐอเมริก าที่ มี ความสนใจเป็นพิเ ศษทางด้านปั ญ หาของวิศวกรรมมนุษ ย์ องค์การนี้ได้ออกวารสารของตนเองชื่อว่า “Human Factors” และเมื่อ ค.ศ.1966 ได้ออกวารสารอีก หนึ่งฉบับ มีชื่อว่า “Organizational Behavior and Human Performance” ส่วนองค์การที่สอง มี ชื่อว่า The Ergonomic Society ซึ่งเป็นองค์การของนักจิตวิทยาประยุกต์ในประเทศอังกฤษและได้ ออกวารสารของตนเอง 2 ฉบับ คือ “Ergonomics” และ “Occupational Psychology” โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อตีพิมพ์บทความต่างๆ ที่มีเนื้อหาทางด้านการพัฒนาทฤษฎีทางจิตวิทยาประยุก ต์ โดยเฉพาะ (Spector, 2003: 10) เอกสารอ้างอิง พรรณราย ทรัพยะประภา. (2529) . จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์. สมบัติ กาญจนกิจ และ สมหญิง จันทรุไทย. (2541). จิตวิทยาการกีฬา แนวคิดทฤษฎีสกู่ ารปฏิบัติ. (เอกสารอัดสําเนาเย็บเล่ม) กรุงเทพมหานคร : สํานักวิทยาศาสตร์การกีฬา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Blum, M. L. & Naylor, J. C. (1968). Psychology: Its Theoretical and Social Foundations. New York: Harper & Row Publishers. Corsini, R. J. (2002). The Dictionary of Psychology. New York: Brunner-Rout ledge. Muchinski, P. M. (1983). Psychology Applied to Work: An Introduction to Industrial and Organizational Psychology. Illinois: The Dorsey Press. Siegel, L. (1962). Industrial Psychology. Illinois: Richard D. Irwin, Inc., Spector, P. E. (2003). Industrial and Organizational Psychology: Research and Practice. (3rd ed). Florida: John Wiley & Sons, Inc. Strickland, B. (Executive editor). (2001). The Gale Encyclopedia of Psychology. (2nd ed). MI: Farmington Hills. ……………………………………………


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

75

แบบบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบที่ส่งผลต่อความสามารถใน การเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของพนักงานฝ่ายขาย บริษัทไทยประกันชีวิตเขตสมุทรปราการ The Big Five Personality Styles Affecting Adversity Quotient of Sales, Thailand Life Insurance Company limited, Samutprakan Area ธัญญลักษณ์ บวรพงศ์ปกรณ์ 1 ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา2 บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องแบบบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบทีส่ ่งผลต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและ ฟันฝุาอุปสรรคของพนักงานฝุายขายของบริษัทไทยประกันชีวิตเขตสมุทรปราการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแบบบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของพนักงาน ฝุายขายของบริษัทประกันชีวิต 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับความสามารถ ในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของพนักงานฝุายขายของบริษัทประกันชีวิต 3) ศึกษาแบบบุคลิกภาพ ห้าองค์ประกอบที่ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของพนักงานฝุายขายของ บริษัทประกันชีวิต กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานฝุายขายของบริษัท ไทยประกันชีวิต จํากัด มหาชน สาขา สมุทรปราการ จํานวน 200 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดลักษณะ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 2) แบบวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรค มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานขายของบริษัทประกันชีวิตมีบคุ ลิกภาพห้าองค์ประกอบ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ มีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคอยู่ในระดับสูง 2) แบบบุคลิกภาพของพนักงานฝุายขาย ของบริษัทประกันชีวิตมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของพนักงาน ฝุายขายบริษัทประกันชีวิตกันในทางบวกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.01 3) แบบบุคลิกภาพส่งผลต่อ ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) แบบบุคลิกภาพ 1

มหาบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2 รองศาสตราจารย์ ดร., รองอธิการบดีฝุายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ผู้อํานวยการหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


76

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

ของพนักงานฝุายขายของบริษัทประกันชีวิตสามารถทํานายความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุา อุปสรรคได้ร้อยละ 66.90 คาสาคัญ: แบบบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรค พนักงานขายประกันชีวิต Abstract The objectives of this research topic “The Big Five Personality Styles Affecting Adversity Quotient of Sales, Thailand Life Insurance Company limited, Samutprakan Area were 1) to study the big five factors of personality and adversity quotient of life insurance company sales persons 2) to study the relationship between the big five factors of personality and adversity quotient and 3) to study the effects of personality on adversity quotient of the subjects. The sample of this study consisted of 200 sales persons of life insurance company by simple random sampling. The research instruments included the big five factors personality styles rating scale with a reliability coefficient of 0.85 and the adversity quotient rating scale with a reliability coefficient of 0.82. The data were analyzed by using descriptive statistics and analytical statistics. The research findings were as follows : 1) Sales persons of insurance company obtained medium scores on the big five factors of personality and high scores on adversity quotient 2) The big five factors of personality styles correlated with adversity quotient at the statistically significant 0.01; and 3) The big five factors of personality styles affected adversity quotient at statistically significant at 0.05; and 4) The big five factors of personality could predict adversity quotient at 66.90 percent. Keywords: The Big Five Personality Styles, Adversity Quotient, Life insurance sales ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ในปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิต เป็นธุรกิจที่ช่วยเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงและช่วยบรรเทา ความเดือดร้อนและความเสียหายทางการเงินจากความเสี่ยงภัยต่างๆ ให้กับบุคคล ครอบครัวและองค์กร ธุรกิจการค้าและการลงทุนอื่นๆ ทุกสาขาวิชาชีพ รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือที่สําคัญและมีประสิทธิภาพใน การช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในด้านสวัสดิการและการสงเคราะห์ประชาชนและผู้ประสบภัยเมื่อเกิด อุบัติภัยต่างๆ ธุรกิจประกันชีวิตเป็นสถาบันที่ทําหน้าที่ระดมเงินออมในประเทศ ซึ่งเป็นเงินออมระยะยาว ที่เป็นระบบและเป็นการฝึ กวินัยที่ดีของผู้ออม ธุรกิ จประกันชีวิตสามารถนําเงินออมในระบบของการ ประกันชีวิตมาจัดสรรลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ได้อย่างกว้างขวาง


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

77

อาชีพตัวแทนประกันชีวิตเป็นการเสนอขายโครงการในอนาคตและสินค้าในธุรกิจประกันชีวิต หรือที่เรียกว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นลักษณะสินค้าที่ผู้ซื้ อไม่ได้เป็นผู้ใช้ และไม่ได้รับผลประโยชน์ อย่างเต็มที่ แต่ผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงกลับกลายเป็นบุคคลอื่นๆ ตามที่ผู้ซื้อระบุในแต่ละกรมธรรม์ จากสภาพสังคมที่ธุรกิจประกันชีวิตมีการแข่งขันสูง ตัวแทนประกันชีวิตจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ตนเอง เพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานเป็นการเรียนรู้และ พัฒนาตนเอง สามารถให้คําแนะนําได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าซึ่งจะทําให้เกิดการพัฒนาทางด้าน บุคลิกภาพ (สมชัย เลิศอนันต์ตระกูล, 2540: 3) พนักงานฝุายขายของบริษัทประกันชีวิตจึงจําเป็นต้องมีบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับอาชีพ มี บุคลิกภาพที่มีเสน่ห์ มีอํานาจที่ทําให้บุคคลอื่นเชื่อและคล้อยตาม จึงเป็นพลังอํานาจแห่งความสําเร็จ (วิจิตร อาวะกุล, 2545: 1) ดังนั้น ผู้ประกอบอาชีพพนักงานฝุายขายของบริษัทประกันชีวิตมีบุคลิกภาพ ที่เหมาะสมย่อ มนํามาซึ่งความสําเร็จ ในอาชีพ ผู้วิจัยเห็นว่า การศึก ษาบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ (The Big Five) ของ Costa and Mc Crae (2000) ซึ่งแบ่ง บุคลิกภาพออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) บุคลิกภาพแบบหวั่นไหว (Neuroticism) 2) บุคลิกภาพแบบแสดงตัว (Extraversion) 3) บุคลิกภาพ แบบเปิดรับประสบการณ์ (Openness to Experience) 4) บุคลิกภาพแบบประนีประนอม (Agreeableness) และ 5) บุคลิกภาพแบบจิตสํานึก (Conscientiousness) ลักษณะบุคลิกภาพที่แตกต่างกันของบุคคล ย่อมส่ง ผลต่อ การดําเนินงานจะทํ าให้เ ป็นไปด้วยความราบรื่น และเกิ ดประสิทธิผ ลในลัก ษณะที่ แตกต่างกั น ลักษณะบุคลิก ภาพแบบหนึ่ง อาจเหมาะกั บลัก ษณะงานแบบหนึ่ง ในขณะที่ ลัก ษณะ บุคลิกภาพแบบนั้นอาจไม่เหมาะกับลักษณะงานอีกรูปแบบหนึ่ง (กันยา สุวรรณแสง, 2530: 14) อย่างไรก็ตาม การมีลักษณะบุคลิกภาพหลายแบบจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามที่ตั้งไว้ได้ดี และเหมาะกับลักษณะงานหลากหลายลักษณะ ทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนตนเองไปตาม ลักษณะงานอื่นได้ง่าย อาทิ ลักษณะบุคลิกภาพที่มีการตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความคล่องตัวในการทํางานสูง ลักษณะบุคลิกภาพแบบเปิดเผย (Extrovert) และ ชอบพบปะติดต่อ เข้าสังคมกับบุคคลอื่นได้ง่ายมีไหวพริบ รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และมีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ, 2541: 33-35) นอกจากนี้บุคลิกภาพยังเป็นปัจจัยที่กําหนด วิธีการปรับตัว การเผชิญความเครียด และอาจส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรค ทําให้มีการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดภาวะเครียดในการทํางาน ซึ่งแต่ละบุคคลจะมี ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคที่แตกต่างกันและความสามารถในการเผชิญปัญหาและ ฝุาฟันอุปสรรคนั้นเป็นแนวคิดใหม่เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคคล ในการเพิ่มความเพียรพยายาม มุ่งมั่นฝุาฟันปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในชีวิตและการทํางานไปสู่จุดมุ่งหมายและมาตรฐานที่กําหนด ไว้ รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาและตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ จึงจะทําให้ทํางานได้ อย่างมีความสุขและประสบความสําเร็จในการทํางานและการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงทําให้ทุกคนต้องเผชิญกั บปัญหาสถานการณ์ที่ทําให้ต้องใช้ความมานะ อดทนด้วยกันทั้งสิ้น หากบุคคลนั้นมีความพากเพียรอดทนไม่ว่าจะเผชิญกับปัญหาหรือแรงกดดันใดๆ บุคคลนั้น ก็ย่อมประสบความสําเร็จได้ (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2538: 90) โดยที่เมื่อต้องพบกับปัญหา หรืออุปสรรค บุคคลต้องมีความสามารถที่จะฟันฝุาอุปสรรคไปได้อย่างคนที่มีกําลังใจและมีความหวังอยู่เสมอ


78

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

ดังนั้นความสามารถในการเผชิญและฟั นฝุาอุป สรรคจึงถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ ทําให้พนัก งานประสบ ความสําเร็จในชีวิตและการงาน และมีผลงานได้มากกว่าสิ่งอื่น (วิทยา นาควัชระ, 2544: 91) ผู้วิจัยในฐานะพนักงานฝุายขายประกันชีวิตที่ได้มีโอกาสมาศึกษาทางด้านจิตวิทยาจึงมีความ สนใจที่ จ ะทําการศึก ษาผู้ประกอบอาชีพ พนัก งานขายของบริษัทประกั นชีวิตว่ามี แบบบุคลิก ภาพ รวมถึงความสามารถในการเผชิญและฟั นฝุาอุปสรรคเป็นอย่างไร และบุคลิก ภาพสามารถทํานาย ความสําเร็จในอาชีพพนักงานขายประกันได้มากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้มีผลการวิจัยเชิงประจักษ์และ สามารถนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการเลือกทีมงาน ตลอดจนใช้เป็นแนวทางนําเสนอฝุายบริหาร ให้ใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือกําหนดนโยบายต่างๆ เพื่อสนับสนุนและ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามความแตกต่างของบุคลากรต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่ อศึก ษาแบบบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและความสามารถในการเผชิญและฟันฝุา อุปสรรคของพนักงานฝุายขายบริษัทประกันชีวิต 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับความสามารถในการ เผชิญและฟันฝุาอุปสรรคของพนักงานฝุายขายของบริษัทประกันชีวิต 3. เพื่อศึกษาแบบบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบที่ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝุา อุปสรรคของพนักงานฝุายขายบริษัทประกันชีวิต ขอบเขตในการวิจัย 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ พนักงานฝุายขายของบริษัทไทยประกันชีวิต จํากัด มหาชน สาขาสมุทรปราการ จํานวน 398 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ พนักงานฝุายขายบริษัทไทยประกันชีวิต จํากัด มหาชน สาขาสมุทรปราการ จํานวน 200 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย 3. นิยามศัพท์และนิยามปฏิบัติการ 3.1 บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะเฉพาะของพนักงานฝุายขายของบริษัทประกันชีวิต ซึ่งมีแบบบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบตามแนวความคิดของ Costa and McCrae, (1992) ประกอบด้วย 3.1.1 บุคลิกภาพแบบหวั่นไหว (Neuroticism) หมายถึง บุคคลที่มีความวิตก กังวล (anxiety) มีความโกรธเคืองก้าวร้าว (angry hostility) มีความรู้สึกซึมเศร้า (depression) มีการคํานึงถึงตนเองเป็นหลัก (self-conciousness) มีแรงกระตุ้นในเองสูง (motivated violence) และมีอารมณ์เปราะบาง (vulnerability) 3.1.2 บุคลิกภาพแบบแสดงตัว (Extraversion) หมายถึง บุคคลที่เป็นผู้มีความ อบอุ่ น (warmth) ชอบอยู่ร่ ว มกั บ ผู้อื่ น (gregariousness) มี ก ารแสดงออกแบบตรงไปตรงมา (assertiveness) ชอบทํากิ จกรรม(activity) ชอบแสวงหาความตื่นเต้น (excitement seeking) และมีอารมณ์บวก ( positive emotions)


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

79

3.1.3 บุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ (Openness to experience) หมายถึง บุคคลที่มีความช่างฝัน (fantasy) มีความสุนทรีย์ (aesthetics) มีความเปิดเผยความรู้สึก (feeling) มีการปฏิบัติ (actions) มีความคิดหลากหลาย (ideas) และยอมรับค่านิยม (values) 3.1.4 บุคลิกภาพแบบประนีประนอม (Agreeableness) หมายถึง บุคคลที่มีความไว้วางใจ ผู้อื่น (trust) มีความตรงไปตรงมา (straightforwardness) มีความรู้สึกเอื้อเฟื้อ (altruism) ยอม ตามผู้อื่น (compliance) มีความสุภาพ (modesty) และมีจิตใจอ่อนโยน (tender-mindedness) 3.1.5 บุคลิกภาพแบบมีจิตสํานึก (Consciousness) หมายถึง บุคคลที่มีศักยภาพ (potential) มี ค วามเป็ น ระเบี ย บ (order) มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบในหน้ า ที่ (dutifulness) มี ค วาม ต้องการใฝุสมั ฤทธิ์ (achievement) มีวินัยในตนเอง (self-discipline) และมีความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (practical thinking) 3.2 ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรค (Adversity Quotient) หมายถึง ความสามารถของพนักงานฝุายขายของบริษัทประกันชีวิตในการจัดการกับปัญหาและความยากลําบาก ในชีวิต ด้วยความมุ่งมั่นพากเพียร อดทน ไม่ล้มเลิก ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบ 4 ด้าน 3.2.1 ด้านการควบคุมสถานการณ์ (Control) หมายถึง ความสามารถในการควบคุม ตนเอง ควบคุมสถานการณ์เพื่อให้สามารถผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ 3.2.2 ด้านความรับผิดชอบต่อปัญหา (Ownership) หมายถึง ความรับผิดชอบใน การแก้ไขปรับปรุงต่อปัญหาหรือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง สามารถที่จะวิเคราะห์และค้นหาสาเหตุ ของปัญหาโดยไม่ผลักภาระความรับผิดชอบให้ผู้อื่น 3.2.3 ด้านการเข้าถึงปัญหา (Reach) หมายถึง การที่รู้จักกับปัญหาและความยุ่งยาก ในชีวิต เป็นที่สามารถควบคุมอารมณ์ ผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในชีวิต เมื่อเกิดปัญหา ขึ้นมาจะพร้อมรับกับความลําบากทุกสถานการณ์ ไม่หวั่นไหว ไม่จมอยู่กับความทุกข์ สามารถต่อสู้กับ ปัญหาและอุปสรรคได้อย่างมีสติ 3.2.4 ด้านความอดทน (Endurance) หมายถึง ความคงทนของปัญหาและอุปสรรคที่ ต้องใช้ความสามารถในการรับมือกับความยืดเยื้อของปัญหา และหาวิธีขจัดปัญหาให้หมดไปอย่างถูกต้อง 3.3 พนักงานขายประกันชีวิต หมายถึง พนักงานขายประกันชีวิตที่เป็นตัวแทนฝุายขายของ บริษัทไทยประกันชีวิต จํากัด มหาชน สาขาสมุทรปราการ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ศิริพร ประโยค (2542) ทําการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง องค์ประกอบห้าประการของบุคลิกภาพ แรงจูงใจใฝุสมั ฤทธิ์ กับผลการปฏิบัติงานของหัวหน้างานระดับกลางในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพ NEO FFI ของคอสตา และแม็คเคร (Costa and Mc Crae) ที่วัลภาพ สบายยิ่ง ได้แปลและดัดแปลงเป็นภาษาไทยในปี 2542 พบว่า องค์ประกอบความหวั่นไหว มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก กั บ ผลการปฏิบั ติ ง านอย่ างมี นัย สํ าคั ญ ทางสถิ ติที่ ร ะดั บ 0.05 องค์ ป ระกอบการแสดงออก มี ความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผลการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 องค์ประกอบการ ยอมรับผู้อื่น และองค์ประกอบการมีสติมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผลการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสําคัญ


80

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนองค์ประกอบความเปิดกว้างไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ วรรณวิภา ติวะนันทกร (2548) ได้ทําการศึกษาเรื่องลักษณะบุคลิกภาพและปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีผลต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรค โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักธุรกิจ อิสระองค์กรหนึ่งของบริษัทแอมเวย์ (ประเทศไทย) จํากัด ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จํานวน 148 คน ผลการศึกษาพบว่า นักธุรกิ จอิ สระมี องค์ประกอบบุคลิกภาพที่ เด่นชัดที่ สุดคือ บุคลิกภาพแสดงตัว รองลงมาได้แก่ บุคลิกภาพแบบประนีประนอม บุคลิกภาพแบบมี จิตสํานึก บุคลิกภาพแบบเปิดรับ ประสบการณ์และบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว ตามลําดับการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลกับความสามารถในการ เผชิญและฟันฝุาอุปสรรค พบว่า นักธุรกิจอิสระที่มีระดับตําแหน่งตั้งแต่ระดับผู้จําหน่ายตรงขึ้นไปมี ความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคสูงกว่านักธุรกิจอิสระทั่วไป ส่วนนักธุรกิจที่มีปัจจัยส่วน บุคคลในด้านอื่นๆ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และอายุงานในการทําธุรกิจกับ บริษัทแอมเวย์ต่างกันมีความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรคไม่แตกต่างกัน ส่วนการศึ กษา บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับความสามารถในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรค พบว่า บุคลิกภาพแบบมี จิตสํานึก บุคลิกภาพแสดงตัวและบุคลิกภาพแบบประนีประนอมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถ ในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรค ส่วนบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวมีความสัมพันธ์ทางลบกับความสามารถ ในการเผชิญและฟันฝุาอุปสรรค การดาเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ประกอบด้วยข้อคําถาม 3 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบวัดลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ซึ่งพัฒนาจากแบบวัดลักษณะบุคลิกภาพ ห้าองค์ประกอบของวัลภา สบายยิ่ง (2542, 60) จํานวน 50 ข้อ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 ส่วนที่ 3 แบบวัดการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรค ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาจากแบบวัดการเผชิญ ปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคของวันวิสาข์ ฤทธิธาดา (2549, 96) จํานวน 40 ข้อ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบวัดลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และแบบวัดการเผชิญปัญหา และฟันฝุาอุปสรรค โดยใช้สถิติพื้นฐานคือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และสถิติอ้างอิง ได้แก่ 1) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Multiple correlation coefficient) ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคของพนักงานฝุายขาย ของบริษัทประกันชีวิต และ 2) ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) เพี่อทํานาย ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคของพนักงานฝุายขายของบริษัทประกันชีวิต ผลการวิจัย การวิจัยเรื่องแบบบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบที่ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝุา อุปสรรคของพนักงานฝุายขายของบริษัทประกันชีวิต สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยบุคลิกภาพของพนักงานฝุายขายของบริษัทประกันชีวิตตามแบบบุคลิกภาพห้า


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

81

องค์ประกอบพบว่า พนักงานฝุายขายของบริษัทประกันชีวิตมีค่าเฉลี่ยบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยบุคลิกภาพแบบมีจิตสํานึก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 37.42 รองลงมาคือ บุคลิกภาพแบบแสดงตัว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 35.76 และบุคลิกภาพแบบประนีประนอม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 33.98 ตามลําดับ 2. ความสัมพันธ์ของแบบบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุา อุปสรรคของพนักงานฝุายขายของบริษัทประกันชีวิต พบว่า แบบบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับความสามารถใน การเผชิญ ปัญ หาและฟั น ฝุาอุ ป สรรคของพนัก งานฝุายขายมี ความสัม พัน ธ์กั นในทางบวกอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ 0.01 3. ค่าเฉลี่ยความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคของพนักงานฝุายขายของบริษัท ประกั นชีวิตพบว่า พนักงานฝุายขายของบริษัทประกันชีวิต ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยส่วนใหญ่ มี ความสามารถในการเผชิญ ปัญ หาและฟันฝุาอุป สรรคด้านรับผิดชอบต่อปัญหามากที่สุดมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 40.14 รองลงมาด้านความอดทนมีค่าเฉลี่ย 39.48 และด้านการควบคุมสถานการณ์ มีค่าเฉลี่ย 38.42 ตามลําดับ 4. แบบบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบสามารถทํานายความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรค อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติทรี่ ะดับ 0.05 โดยบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบที่ทํานายความสามารถในการเผชิญปัญหา และฟันฝุาอุปสรรคได้ร้อยละ 66.90 การอภิปรายผล 1. แบบบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบในภาพรวมของพนักงานฝุายขายของบริษัทประกันชีวิต อยู่ในระดับปานกลาง แสดงว่าพนักงานฝุายขายของบริษัทประกันชีวิตต้องมีการพัฒนาบุคลิกภาพใน การดูแลลูกค้า จากข้อผิดพลาดที่ เกิดขึ้น เพิ่มมากขึ้น สามารถแก้ ไขปัญหาให้ลูกค้าได้ทุกเรื่องและ เปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับงานของตน ส่วนความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุา อุปสรรคอยู่ในระดับที่ดี ทําให้พนักงานฝุายขายของบริษัทประกันชีวิต สามารถควบคุมสถานการณ์ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานทีม่ ีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้ หากพัฒนา ให้ดมี ากขึ้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน 2. บุคลิกภาพกับความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคของพนักงานฝุายขาย ของบริษัทประกั นชีวิตมีความสัม พันธ์กั นในทางบวก โดยสรุป ว่าพนัก งานฝุายขายของบริษัทไทย ประกันชีวิต มีบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบที่ดี ทําให้มีความความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุา อุปสรรคที่ดีด้วยเช่นกัน 3. บุคลิกภาพของพนักงานฝุายขายบริษัทประกันชีวิตสามารถทํานายความสามารถในการ เผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรค ได้ร้อยละ 66.90 ทําให้พนักงานฝุายขายบริษัทประกันชีวิตพร้อมที่จะ เผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคเพื่อความสําเร็จในชีวิต


82

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะและการนาผลวิจัยไปใช้ 1.1 จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ พบว่า บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบในภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ดังนั้นควรมีกรอบการอบรมพนักงานขายประกันชีวิตด้านบุคลิกภาพในด้านต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรค และเพิ่มประสิทธิผลของการ ขายประกันชีวิตมากยิ่งขึ้น 1.2 จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ พบว่า ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุา อุปสรรคของพนักงานในภาพรวมอยู่ในระดับที่ดี ดังนั้นควรมีการรักษาและถ่ายทอดประสบการณ์ใน ความสามารถด้านนี้ให้แก่พนักงานขายรุ่นต่อไป เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ สร้างทัศนคติทางบวก และเป็นการคัดสรรบุคลากรทางด้านการขาย 2. ข้อเสนอแนะสาหรับการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการศึกษาในมุมมองของบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานขายบ้าง เช่น ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น เพื่อนําผลที่ได้มาเปรียบเทียบกัน และสังเกตความสอดคล้องกันของผลวิจัย 2.2 ควรมีการศึกษาตัวแปรอื่นๆ เช่น ความฉลาดทางอารมณ์ สุขภาพจิต แรงจูงใจ เป็นต้น ที่ ทํานายความสามารถในการเผชิญ และฟันฝุาอุปสรรคของพนักงานฝุายขายของบริษัท ประกันชีวิต 2.3 เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยที่ใช้จากแบบสอบถามเพียงอย่างเดียวควร จะมีการวัดพฤติกรรมโดยวิธีการอื่นๆ เพิ่ม เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต การสร้างสถานการณ์ เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เที่ยงตรง และมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด 2.4 ควรมี ก ารศึ ก ษาบริ ษั ท ในธุ ร กิ จ ประกั น ภั ย อื่ น ๆด้ ว ย เพื่ อ เปรี ย บเที ย บผล การศึกษาในแต่ละบริษัทว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ และแตกต่างกันในตัวแปรใด เพื่อนําผลที่ได้มา ใช้เป็นกรอบในการศึกษาผลฝึกอบรมพนักงานขายประกัน เอกสารอ้างอิง กันยา สุวรรณแสง. (2530). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : บํารุงศาสน์. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2538). การคิดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย. วิจิตร อาวะกุล. (2545). พัฒนาบุคลิกภาพ เทคนิคและวิธีการ. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ๊นติ้ง เฮ้าส์. วิทยา นาควัชระ. 2544. วิธีเลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี และมีสุข IQ EQ MQ AQ. (พิมพ์ครั้งที่ 3 ). กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พบั ลิชชิ่ง. วัลภา สบายยิ่ง. (2542). ปัจจัยด้านการตั้งเป้าหมาย. การรับรู้ความสามารถของตนเองและบุคลิกภาพที่ส่งผล ต่อการปฏิบัติงานของผู้จาหน่ายตรง. ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

83

วันวิสาข์ ฤทธิธาดา. (2549). ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคทีส่ ่งผลต่อความสาเร็จในอาชีพของ พนักงานขาย: กรณีศึกษาพนักงานขายเครื่องถ่ายเอกสาร บริษัท ไทยฟูจิซีร็อกซ์ จํากัด. งานวิจัยส่วนบุคคลศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วรรณวิภา ติวะนันทกร. (2548). ลักษณะบุคลิกภาพและปัจจัยส่วนบุคคลทีม่ ีผลต่อความสามารถใน การเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค: กรณีศึกษาเฉพาะนักธุรกิจอิสระองค์กรหนึ่งของบริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จํากัด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและ องค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิลม์และไซเท็กซ์ จํากัด. ศิริพร ประโยค. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบห้าประการของบุคลิกภาพแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับผลการ ปฏิบัติงานของหัวหน้างานระดับกลาง ในโรงงานอุสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. กรณีศึกษา : บริษัท รีท-์ ไรท์ (ประเทศไทย) จํากัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สมชัย เลิศอนันต์ตระกูล. (2540). การศึกษาความคิดเห็นของผูบ้ ริโภคทีม่ ีต่อการประกันชีวิต ในเขต อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ……………………………………………


84

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) Leadership : Theory and Practice, sixth edition. Peter G. Northouse. Thousand Oak, CA : Sage, 2013, 486 pp. ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา * นาเรื่อง Leadership : Theory and Practice ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 นี้ ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อม ช่องว่างระหว่างการอธิบายภาวะผู้นําแบบตลาดที่ผิวเผินเกินไปกับการเสนอที่อิงทฤษฎีและเนื้อหา วิชาการที่ยากต่อการทําความเข้าใจ โดยที่ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 นี้ ยังคงลักษณะเฉพาะของฉบับพิมพ์ครั้ง ก่อนๆไว้ กล่าวคือ มีการทบทวนและวิเคราะห์ท ฤษฎีภาวะผู้นําที่ เป็นหลักและเน้นการสรุปข้อเด่น ข้อจํากัด และการนําทฤษฎีเหล่านั้นไปปฏิบัติในสภาพการณ์จริง โดยที่ครอบคลุมตั้งแต่ทฤษฎีในยุค ต้นจนถึงทฤษฎียุคร่วมสมัย และที่เพิ่มเติมใหม่ในฉบับพิมพ์ที่ 6 นี้ คือเรื่องของ Servant Leadership รวมทั้งการเพิ่มเติมข้อค้นพบจากงานวิจัยใหม่ๆ ข้อมูลเชิงสถิติ และการใช้ประโยชน์จากทฤษฎีภาวะ ผู้นําร่วมสมัย ลักษณะการนําเสนอเนื้อเรื่อ งของหนังสือเล่มนี้ นับว่าทํ าให้ติดตามเรื่องได้ง่าย กะทั ดรัด ชัดเจน และน่าสนใจ โดยมีลักษณะสําคัญในการดําเนินเรื่องทุกบทดังนี้  ทุกบทจะเริ่มด้วยการอธิบายเนื้อหาของทฤษฎีแล้วตามด้วยการนําไปปฏิบัติ  ทุกบทมีการอภิปรายจุดแข็ง (Strengths) และข้อวิพากษ์ (Criticism) ต่อทฤษฎีนั้น  ทุกบทมีส่วนของการประยุกต์ใช้ประโยชน์ (Application) จากทฤษฎีนั้นในสถานการณ์ จริงของการบริหารจัดการองค์การ  ทุกบทมีตัวอย่างกรณีศึกษา (Case studies) 3 กรณี พร้อมทั้งมีคําถามกระตุ้นความคิ ด ประกอบเพื่อช่วยให้ผู้อ่านตีความหมายกรณีตัวอย่างได้ชัดเจนขึ้น  ทุก บทมี ตัวอย่างเครื่อ งมื อ แบบสอบถาม และแบบวัดให้ผู้อ่านได้ท ดลองตรวจสอบ ลักษณะภาวะผู้นําของตนเองหรือเป็นแนวทางในการนําไปทดลองใช้  มีแผนภาพและตารางประกอบการอธิบายเนื้อเรื่องอย่างเพียงพอและเหมาะสม ทั้งนี้ ผู้เขียนได้เสนอให้มีการใช้หนังสือนี้ในระดับที่เป็นตําราเรียนหรือหนังสืออ่านประกอบ สําหรับกลุ่มผู้อ่านอย่างกว้างขวางทั้งในระดับปริญญาและระดับบัณฑิตศึกษา ครอบคลุมสาขาวิชาทั้ง ด้านการบริหารจัดการ ธุรกิจศึกษา การศึกษา การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ กฎหมาย การทหาร และรัฐประศาสนศาสตร์ รวมทั้งการฝึกอบรมและการพัฒนาภาวะผู้นําในรูปแบบ ที่ห ลากหลาย นอกจากนั้นได้มีก ารอธิบ ายเกี่ยวกั บการติดต่อเครือข่ายเชิง อีเลคโทรนิคไว้สําหรับ อาจารย์ผู้สอนผู้ฝึกอบรม และผู้เรียนไว้อย่างครบถ้วน __________________________ * รองศาสตราจารย์ ดร., รองอธิการบดีฝุายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ผู้อํานวยการหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

85

เนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องของหนังสือมีทั้งหมด 16 บท จํานวน 485 หน้า โดยขอสรุปเนื้อเรื่องตามลําดับของ บทต่อไป บทที่ 1 เป็นบทนา อธิบายความหมายของภาวะผู้นําจากประวัติวิวัฒนาการของการศึกษาวิจัยเรื่องนี้จาก ค.ศ. 1900 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันที่ยอมรับความหมายนี้ว่า ภาวะผู้นําเป็นกระบวนการที่บุคคลหนึ่ง มี อิท ธิพ ลต่อ กลุ่ม คนเพื่ อ ให้ บ รรลุจุดหมายร่วมกั น โดยมี ความพยายามอธิบ ายแนวคิด ที่ แตกต่า ง หลากหลายของภาวะผู้นําในแง่ที่เป็นคุณลักษณะหรือกระบวนการเป็นภาระงานมอบหมายหรือ เป็น สิ่งที่เกิดขึ้นจากสภาพการณ์ ภาวะผู้นํากับการใช้อํานาจในรูปแบบต่างๆ และภาวะผู้นํากับการบริหาร จัดการ บทที่ 2 แนวคิดแบบลักษณะพิเศษหรือคุณลักษณะ (Trait Approach) เป็นแนวคิดแรกเริ่มแนวหนึ่งของการศึกษาวิจัยภาวะผู้นําตลอดช่วงศตวรรษที่ 20 โดยที่ คุณลักษณะพิเศษที่เด่นของภาวะผู้นําอยู่ในเรื่องของสติปัญญา ความเชื่อมั่นในตัวเอง ความมุ่งมั่ น ความซื่อสัตย์สุจริต และความสามารถทางสังคม ในช่วงต่อมาจนถึงปัจจุบันมีการอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่ า งภาวะผู้ นํ า กั บ รู ป แบบบุ ค ลิ ก ภาพ 5 องค์ ป ระกอบ ได้ แ ก่ ความชอบสนใจผู้ ค นและ สภาพแวดล้อม ความมีจิตสํานึก ความเปิดเผย อารมณ์มั่นคง และความน่าคบหา และล่าสุดคือ การ เน้นเรื่อ งของความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) ในปัจจุบันแนวคิดนี้ยัง ได้มีการ ยอมรับใช้กันโดยทั่วไป บทที่ 3 แนวคิดด้านทักษะ (Skill Approach) เป็นแนวคิดที่เน้นตัวผู้นําเป็นศูนย์กลาง โดยเริ่มอธิบายสมรรถนะความสามารถของผู้นําใน 3 ทักษะพื้นฐาน ได้แก่ ทักษะด้านเทคนิควิธีการ ทักษะด้านบุคคล และทักษะด้านความรู้ความคิด ซึ่ง จําเป็นต้องใช้ทักษะเหล่านี้ในระดับที่แตกต่างกันในการบริหารจัดการระดับต่างๆ ในช่วงต่อมามีการ ขยายการอธิ บ ายองค์ ป ระกอบของทั ก ษะภาวะผู้ นํ าเพิ่ ม อีก หลายองค์ป ระกอบที่ สํา คั ญ ได้ แ ก่ สมรรถนะคุณลักษณะเฉพาะตัวของผูน้ ํา ผลลัพธ์จากภาวะผู้นํา ประสบการณ์ทางวิชาชีพ และอิทธิพล จากสภาพแวดล้อม บทที่ 4 แนวคิดเชิงลีลาท่าที (Style Approach) เป็นแนวคิดที่แตกต่างจากรูปแบบแรก โดยมาเน้นการอธิบายพฤติกรรมของผู้นํา คือ การ กระทํ าและการแสดงออกของผู้นํา ไม่ใช่คุณ ลัก ษณะหรือทัก ษะความสามารถ จุดมุ่งหมายคือเพื่อ แสวงหารูปแบบพฤติกรรมของภาวะผู้นําที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลในทุกสภาวะการณ์ เป็นต้นว่า การ ผสมผสานความใส่ใจเรื่องผลงานกับความใส่ใจเรื่องคนให้เป็นพฤติกรรมที่มีลีลาท่าทีที่เหมาะสมใน รูปแบบต่างๆ บทที่ 5 แนวคิดเชิงสถานการณ์ (Situational Approach) เป็ น แนวคิ ด ที่ ไ ด้ รับ การยอมรั บ ใช้กั น มากแนวหนึ่ ง โดยอธิ บ ายภาวะผู้ นํ า ว่ า ขึ้ น อยู่ กั บ สถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ผู้นําที่ประสบความสําเร็จคือผู้ที่สามารถใช้และปรับภาวะผู้นําของตนให้ เหมาะสมกับกลุ่มผู้ตามหรือผู้ร่วมงาน ซึ่งมีการอธิบายรูปแบบของภาวะผู้นําแนวสถานการณ์ไว้ ใน 4 สถานการณ์หลัก ได้แก่ นําสูง-สนับสนุนต่ํา นําสูง-สนับสนุนสูง นําต่ํา-สนับสนุนสูง นําต่ํา-สนับสนุนต่ํา


86

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

บทที่ 6 ทฤษฎีความต่อเนื่องเชื่อมโยง (Contingency Theory) เป็นแนวคิดที่ก้าวผ่านการเน้นเฉพาะตัวผู้นํามาเน้นความสําคัญของการเทีย บลีลาการนํากับ ความต้องการจากสถานการณ์ (Leader-Match Theory) แนวคิดนี้ใช้เครื่องมือและแบบทดสอบในการ เก็บข้อมูลจากลีลาภาวะผู้นําและตัวแปรจากสถานการณ์มาวิเคราะห์สรุปเป็นผลการวิจัยจํานวนมาก บทที่ 7 ทฤษฎีเส้นทาง-เป้าหมาย (Path Goal Theory) แนวคิดกลุ่มนี้พัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายว่าทําอย่างไรผู้นําจะจูงใจผู้ตาม/ผู้ร่วมงานให้ทํางานได้ บรรลุเปูาหมายและพึ งพอใจได้โดยอาศัยหลักการพื้น ฐานจากทฤษฎีความคาดหวังและผลงานวิจัย เกี่ยวกับการจูงใจคนทํางาน จุดหลักจึงอยู่ที่วิธีการที่ผู้นําใช้ในการจูงใจ บทที่ 8 ทฤษฎี ก ารแลกเปลี่ ย นระหว่ า งผู้ นาและผู้ ต าม/สมาชิ ก (Leader-Member Exchange Theory) ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 30 ปี ที่ผ่านมา โดยเน้นว่าภาวะผู้นําเป็นกระบวนการที่ มีจุดหลัก อยู่ที่ป ฏิสัมพั นธ์ระหว่างผู้นําและผู้ตาม ซึ่ง การอธิบ ายในช่วงแรก เริ่ม จากความสัมพันธ์ ระหว่างผูน้ ําและผูต้ ามในแนวที่เป็นกลุ่มคนใน-กลุม่ คนนอก (In-Group/Out-Group) ในช่วงเวลาต่อมา การศึกษาวิจัยได้มุ่งไปที่คุณภาพของปฏิสัมพันธ์หรือการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นําและผู้ตาม และในช่วง ปัจจุบันเน้นที่คุณภาพการสร้างปฏิสัมพันธ์หรือการแลกเปลี่ยนของตัวผู้นําที่สามารถทําให้เกิดความ ไว้วางใจ ความนับถือและความรู้สึกผูกพัน ขึ้นได้ในตัวผู้ตาม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้ง ต่อตัวผู้ตามและ องค์การโดยรวม บทที่ 9 ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) ตามแนวคิดนี้ภาวะผู้นําคือ กระบวนการที่ ผู้นําสามารถโน้ม น้าวบันดาลใจให้ผู้ตามบรรลุ เปูาหมาย/ผลงานที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมได้ ผู้นําจึงนับเป็นตัวการหลักของความเปลี่ยนแปลง เป็นตัวแบบที่ ดีซึ่ง สามารถสร้างและสื่อ ความหมายภาพอนาคตสําหรับองค์การและสามารถบันดาลใจให้ผู้ตาม ไว้วางใจ ยอมรับและมุ่ งมั่นสู่ผลสัมฤทธิ์ที่สูง ส่งและมาตรฐานแห่งความเป็นเลิศได้มีการพัฒ นาชุด เครื่องมือแบบทดสอบขึ้นวัดพฤติกรรมของผู้นําการเปลี่ยนแปลงใน 7 แบบ ได้แก่ 1) การมีอิทธิพลแบบ บุญบารมี 2) การสร้างแรงบันดาลใจ 3) การกระตุ้นเร้าทางปัญญา 4) การคํานึงถึงปัจเจกบุคคล 5) การให้ รางวัลที่มีผล 6) การบริหารจัดการแบบมีข้อยกเว้น และ 7) การปล่อยตามสบาย โดยที่แบบที่ 4 และ แบบที่ 2 เป็นตัวชี้วัดสําคัญที่สุดของภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง บทที่ 10 ภาวะผู้นาแบบบริกร (Servant Leadership) เป็นแนวคิดที่กลับตาลปัตรจากภาวะผู้นําแบบเดิมๆ โดยที่ภาวะผู้นําแบบนี้มุ่งเน้นที่การบริการ ผู้อื่น คือ มุ่งที่ประโยชน์ของผู้ตามเหนือกว่าประโยชน์หรือความต้องการของตัวผู้นํา ผู้นําแบบบริกรให้ ความใส่ใจแก่ความต้องการของผู้ตาม มุ่งช่วยเหลือเกื้อหนุนและพัฒนาผู้ตามให้ได้มีความสามารถเต็มที่ ตามศักยภาพ เป็นภาวะผู้นําที่เน้นการสร้างความสัมพันธ์ การเข้าถึงจิตใจ การมีจริยธรรม และแสวงหา วิธีการให้บริการที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ตาม องค์การ ชุมชน และสังคมส่วนรวม โดยมีการศึกษาวิจัย ซึ่งสรุปว่ารูปแบบของภาวะผู้นําแบบบริกรจําเป็นต้องพิจารณาจากองค์ประกอบสําคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) สภาพความเป็นมาของตัวผู้นํา 2) ลักษณะพฤติกรรมเฉพาะตัว และ 3) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากภาวะผู้นํา


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

87

บทที่ 11 ภาวะผู้นาที่แท้จริง (Authentic Leadership) แนวคิดนี้เป็นเรื่องที่ใหม่ล่าสุดเรื่องหนึ่งของการศึกษาวิจัยทางภาวะผู้นํา และนับเป็นทฤษฎีที่ ยังอยู่ในขั้นของการพัฒนาต่อไป แต่สืบเนื่องจากปัญหาความล้มเหลวและหายนะต่างๆ จํานวนมากที่ เกิดขึ้นจากภาวะผู้นําแบบเดิมๆ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน สัง คมมีความต้องการจําเป็นที่ จะได้ ภาวะผู้นําที่มีความซื่อสัตย์สุจริตไว้ใจได้ มีคุณธรรมจริยธรรมและรับผิดชอบ จึงทําให้เกิดมีโจทย์และ ความมุ่งหวังที่จะแสวงหาภาวะผู้นําที่เป็นตัวจริง/ของจริง ไม่ใช่เป็นเพียงตัวปลอมๆ เหมือนในอดีตที่ ผ่านมา และถึงแม้แนวคิดนี้จ ะยัง ต้องการความกระจ่างชัดเจนจากการศึก ษาวิจัยต่อไป แต่ก็ได้มี ข้อความรู้จากหลายแหล่งสรุปการอธิบายความหมายและความเป็นมาของภาวะผู้นําที่แท้จริงไว้ว่า ต้องอธิบายจาก 3 มิติหลัก คือ ทางด้านภายในตัวบุคคล (ความรู้ การกํากับตนเอง และอัตมโนทัศน์) ทางด้านระหว่างบุคคล (เป็นกระบวนการสะสมประสบการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวผู้นําและผู้ตาม) และทางด้านพัฒนาการ (เป็นผลจากเหตุการณ์สําคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของผู้นํา) นอกจากนั้น มีข้อสรุปจากงานวิจัยที่เน้น 4 องค์ประกอบสําคัญของภาวะผู้นําที่แท้จริง ได้แก่ 1) ความตระหนักรู้ ตัวเอง 2) การมีจิตวิญญาณใฝุคุณธรรม 3) การมีสมดุล และ 4) การมีความโปร่งใสในสัมพันธภาพ อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ได้รับความคาดหวังเป็นอย่างมากว่าจะมีการศึกษาวิจัยได้ข้อความรู้ที่กระจ่าง ชัดเจนยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้ บทที่ 12 ภาวะผู้นาแบบทีม (Team Leadership) ภาวะผู้นําสําหรับทีมงานในองค์การเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจและมีการศึกษาวิจัยมากที่สุด เรื่องหนึ่ง ในปัจจุบัน รูป แบบภาวะผู้นําแบบทีมเสนอกรอบแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของผู้นําที่ต้อง จัดระบบต่างๆ เพื่อช่วยให้กลุ่มคนทํางาน/ทีมงานประสบความสําเร็จ ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์ วินิจฉัยกลุ่ม การกํากับดูแล การใช้กลยุทธ์เทคนิควิธีต่างๆ ที่จําเป็นและเหมาะสมต่อการแก้ปัญหา และการพัฒนาทีมงานให้บรรลุเปูาหมายอย่างมีประสิทธิผล บทที่ 13 ภาวะผู้นาแนวจิตวิทยาพลวัต (Psychodynamic Leadership) การอธิบายภาวะผู้นําแบบนี้มีพื้นฐานจากองค์ความรู้และการวัดประเมินบุคลิกภาพของผู้นํา และผู้ตามจากแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มต่างๆ โดยเน้นความสําคัญของแบบบุคลิกภาพที่เหมาะสม โดยเฉพาะกับภาวะผู้นําในบางสถานการณ์หรือในบางองค์การ จึงมีความจําเป็นที่ต้องตระหนักถึง ความสําคัญของการศึกษาทําความเข้าใจกับแบบบุคลิกภาพของตัวผู้นําและของผู้ ร่วมงาน เพื่อเป็น ประโยชน์ในการทํางานร่วมกันให้บรรลุผลสําเร็จ บทที่ 14 สตรีกับภาวะผู้นา (Woman and Leadership) ในช่วงทศวรรษที่ 1970 นักวิจัยได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศในเรื่องของ ภาวะผู้นํา และได้พบข้อความรู้ที่แสดงว่าสตรีมักใช้วิธีการแบบประชาธิปไตยและภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง มากกว่าบุรุษ ผลการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของภาวะผู้นําในช่วงนี้สรุปได้ว่า มีจุดแข็งจุดอ่อนของทั้ง สองเพศเกี่ยวกับภาวะผู้นํา และสตรีมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง และการใช้ รางวัลแบบเชื่อมโยงอย่างได้ผลมากกว่า อย่างไรก็ตามก็ ได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับสภาวะความไม่สมดุล ระหว่างเพศในภาวะผู้นําโดยที่สตรียังมีปัญหาอุปสรรคในเส้นทางภาวะผู้นําเป็นเสมือนกําแพงที่ใช้ ศัพท์ว่า “Leadership Labyrinth” ซึ่งเป็นเขาวงกตที่ประกอบด้วย 3 ส่วนสําคัญ ได้แก่ 1) การลงทุน สําหรับมนุษย์ (Human Capital) 2) ลักษณะความแตกต่างทางเพศ (Gender Differences) และ 3) อคติ


88

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

ของสังคม (Prejudices) ซึ่งในปัจจุบันกําลังมีความสนใจศึกษาวิจัยในเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจัง เพื่อมุ่ง พัฒนาประสิทธิผลของภาวะผู้นําสําหรับอนาคตต่อไป บทที่ 15 วัฒนธรรมและภาวะผู้นา (Culture and Leadership) ตั้งแต่หลังสงครามโลกครัง้ ที่ 2 เป็นต้นมา ได้มีสภาพการณ์โลกาภิวัฒน์เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ทั่วโลก สภาพการณ์นี้ก่อให้เกิดความจําเป็นต้องการภาวะผู้นําแนวใหม่ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความแตกต่างหลากหลายของวัฒนธรรมและสมรรถะทางการสื่อสารและการปฏิบัติในรูปแบบการ ข้ามหรือผสมผสานวัฒนธรรม (Cross-Cultural Practice) ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาได้มีการศึกษาวิจัยจํานวนมาก ที่เสนอข้อความรู้ในเรือ่ งดังกล่าว ตัวอย่างโครงการวิจัยชื่อ GLOBE เป็นโครงการที่ครอบคลุมกลุ่มตัวอย่าง จาก 62 ประเทศในทุกภูมิภาคของโลก และได้พบภาวะผู้นําที่มีความแตกต่างกันในหลายมิติ รวมทั้ง ได้สรุปรายการลักษณะภาวะผู้นําทีม่ ีอิทธิพลทั้งทางบวกและทางลบในระดับโลกาภิวัฒน์ ทางด้านบวก ได้แก่ภาวะผู้นําที่ประกอบด้วยความซือ่ สัตย์สจุ ริต (Integrity) บุญบารมี (Charisma) และทักษะการสร้าง สัมพันธภาพ (Interpersonal Skills) ส่วนทางด้านลบได้แก่ การไม่ชอบสังคม (Asocial) การมุ่งร้าย เจตอกุศล (Malevolent) การมุ่งแต่ตัวเอง (Self-focused) และการเป็นเผด็จการ (Authocratic) อย่างไรก็ตาม ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่าแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นําแบบโลกาภิวัฒน์จะได้รับการศึกษาวิจัย และมีข้อสรุปใหม่ๆเพิ่มเติมอย่างเข้มแข็งต่อไป บทที่ 16 จรรยาบรรณภาวะผู้นา (Leadership Ethics) ความสนใจในเรื่องจรรยาบรรณได้มีมาแล้วนับพันปี แต่การศึกษาวิจัยในเชิงวิชาการเกี่ยวกั บ จรรยาบรรณภาวะผู้นํายังมีน้อยมาก การนําแนวคิดเชิงทฤษฎีมาอธิบายทําความเข้าใจกับจรรยาบรรณ ของภาวะผู้นําจึงนับว่ามีความสําคัญมาก ทั้งนี้เพราะภาวะผู้นําสามารถมีอิทธิพลต่อทั้งผู้ตาม องค์ก าร และสังคมโดยรวม ข้อความรูท้ ี่สรุปไว้ในบทนี้เสนอว่าจรรยาบรรณภาวะผู้นําต้องมีพื้นฐานจากความนับถือ การมุ่ งช่ วยเหลื อ ความยุติธรรม ความซื่อ สัตย์ และการมุ่ งประโยชน์ ส่วนรวม ภาวะผู้นําต้องเป็ น กระบวนการของคุณธรรมจริยธรรม (Moral process) และสังคมควรคาดหวังที่จะได้มีภาวะผู้นําแบบ มีจรรยาบรรณ (Ethical Leadership) สําหรับโลกทั้งมวล สรุปเรื่อง หนังสือเรื่อง Leadership : Theory and Practice ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 ของ P.G. Northouse นับเป็นแหล่งความรู้เรื่องภาวะผู้นําที่กว้างขวางครอบคลุมและทันสมัย เป็นตําราที่ผู้สนใจเรื่องภาวะ ผู้นําควรได้ศึกษาเป็นแหล่งความรู้หลักก่อนที่จะไปศึกษาวิจัยในรายละเอียดที่ลึกซึ้งเฉพาะเรื่องต่อไป นับ เป็นหนัง สือ ที่ อ่ านทํ าความเข้ าใจได้ง่ ายและเสนอข้ อความรู้ อย่างเป็นระบบได้ครบถ้วนตาม เจตนารมณ์ที่ผู้เขียนได้เสนอไว้ ………………………………………………..


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

89

คาชี้แจงสาหรับผู้ส่งบทความวิชาการและบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เป็นวารสารเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้าสร้างสรรค์ผ ลงานทางวิชาการด้านจิตวิท ยา บทความทุก เรื่องที่ตีพิม พ์จ ะต้องได้รับ ความ เห็นชอบจากคณะกรรมการวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รายละเอียดมีดังนี้ 1. ลักษณะบทความที่ตีพิมพ์ 1.1 บทความทางวิชาการ/บทความทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา 1.2 บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา 2. ส่วนประกอบของบทความ 2.1 บทความทางวิชาการ ความยาวเรื่องละไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย 2.1.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.1.2 ชื่อผู้แต่ง 2.1.3 สถาบันที่ผู้เขียนสังกัด 2.1.4 บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.1.5 บทนํา เนื้อเรื่องและสรุปสาระสําคัญ 2.1.6 เอกสารอ้างอิง (ตามระบบ APA) 2.2 บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์ ความยาวเรื่องละไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย 2.2.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.2.2 ชื่อผู้แต่ง 2.2.3 สถาบันที่ผู้เขียนสังกัด 2.2.4 บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.2.5 คําสําคัญ (Key words) 2.2.6 เนื้อเรื่อง ประกอบด้วย 1) บทนํา 2) วัตถุประสงค์ 3) นิยามศัพท์ 4) วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 5) ระเบียบวิธีวิจัย ประกอบด้วย - ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - การวิเคราะห์ข้อมูล


90

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

6) ผลการวิจัย - บทสรุป - ข้อเสนอแนะ 7) เอกสารอ้างอิง (ตามระบบ APA) 3. การจัดพิมพ์ 3.1 พิมพ์ลงหน้ากระดาษขนาด A4 3.2 พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Office Word 2003 3.3 รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK 3.4 ลักษณะและขนาดตัวอักษร 3.4.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ตัวหนาขนาด 26 3.4.2 ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ตัวหนาขนาด 26 3.4.3 ชื่อผู้เขียน ตัวหนาขนาด 16 3.4.4 หัวข้อใหญ่ ตัวหนาขนาด 16 3.4.5 เนื้อหา ตัวปกติขนาด 16 4. การจัดส่งบทความ 4.1 จัดส่งเอกสาร ดังนี้ 4.1.1 ต้นฉบับบทความ จํานวน 3 ชุด 4.1.2 CD บันทึกบทความ จํานวน 1 แผ่น 4.1.3 แบบฟอร์มส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 4.2 จัดส่งบทความ ดังนี้ กองบรรณาธิการวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต หลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา ชั้น 3 อาคาร 1 เลขที่ 1761 ซอยพัฒนาการ 37 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 e-mail: journalofpsycho_kbu@hotmail.com 4.3 มีข้อสงสัยกรุณาติดต่อ รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ โทร.0-2320-2777 ต่อ 1163, 089-929-9705 รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ โทร.0-2320-2777 ต่อ 1134, 081-921-7903 5. เงื่อนไขการตีพิมพ์บทความ 5.1 เป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน 5.2 เป็ น บทความที่ ผ่ า นการพิ จ ารณาจาก ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิก ลั่ นกรองบทความ (Peer review) ของวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต บทความละ 2 คน เพื่อ ตรวจสอบความถูกต้องเชิงวิชาการ 5.3 เป็นบทความที่ได้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2556)

91

5.4 บทความที่ ได้รับ การตีพิม พ์เ ผยแพร่ในวารสารจิตวิท ยา มหาวิท ยาลัยเกษมบัณฑิ ต เจ้าของบทความจะได้รับวารสารฉบับนั้น จํานวน 3 เล่ม ...............................................



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.