วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เจ้าของ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่ปรึกษา 1. ดร.วัลลภ สุวรรณดี 2. ดร.เสนีย์ สุวรรณดี 3. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา กองบรรณาธิการบริหาร 1. ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 2. ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม 3. รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี 4. รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ 5. รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ กองบรรณาธิการวิชาการ 1. ศาสตราจารย์ ดร.จรรจา สุวรรณทัต 2. ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 3. ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม 4. รองศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต 5. รองศาสตราจารย์ ดร.วรนุช แหยมแสง 6. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา สู้รักษา 7. รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิโชค วรานุสันติกูล 8. รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ นนทะสร 9. รองศาสตราจารย์ ดร.อรพินทร์ ชูชม 10. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา 11. รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี 12. รองศาสตราจารย์ ดร.รัญจวน คาวชิรพิทักษ์ 13. รองศาสตราจารย์มุกดา ศรียงค์ 14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง 15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เย็นใจ เลาหวณิช 16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระวัฒน์ ปันนิตามัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคาแหง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคาแหง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
กองบรรณาธิการ 1. รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ บรรณาธิการ 2. นางสาวรัศมีดารา ดารากร ณ อยุธยา ผู้ช่วยบรรณาธิการ คณะกรรมการจัดทาวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 1. รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ ประธานกรรมการ 2. รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ กรรมการ 3. นางสาวรัศมีดารา ดารากร ณ อยุธยา กรรมการและเลขานุการ ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ 1. ศาสตราจารย์ ดร.อารี สัณหฉวี 2. ศาสตราจารย์ ดร. ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 3. ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม 4. รองศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต 5. รองศาสตราจารย์ ดร.อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์ 6. รองศาสตราจารย์ ดร.สมสรรญก์ วงศ์อยู่น้อย 7. รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ นนทะสร 8. รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิโชค วรานุสันติกูล 9. รองศาสตราจารย์ ดร.วรนุช แหยมแสง 10. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา 11. รองศาสตราจารย์ ดร.รัญจวน คาวชิรพิทักษ์ 12. รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี 13. รองศาสตราจารย์ชูศรี วงศ์รัตนะ 14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระวัฒน์ ปันนิตามัย 15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เย็นใจ เลาหวณิช 16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พาสนา จุลรัตน์ 17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิริอรรถ
นักวิชาการอิสสระ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
กาหนดวันออกวารสาร ปีละ 2 ฉบับ - ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน กาหนดออกวารสาร เดือนมิถุนายน - ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม กาหนดออกวารสาร เดือนธันวาคม
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาค้นคว้า สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการด้านจิตวิทยา ของคณาจารย์ นักวิชาการและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางจิตวิทยาสู่สาธารณชน 3. เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านจิตวิทยา ระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานทางวิชาการ หน่วยงานปฏิบัติการและนักวิชาการอิสระทางด้านจิตวิทยา พิมพ์ที่ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เลขที่ 1761 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ 0-2320-2777 โทรสาร 0-2720-4677 ISSN 2286-6663 สานักงาน หลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา (ชั้น 3 อาคารเกษมพัฒน์) มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ โทรศัพท์/โทรสาร 0-2320-2777 ต่อ 1134, 1163 e-mail: journal.psy.kbu@gmail.com ปีที่พิมพ์ 2557
คานิยม วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ฉบับนี้เป็นฉบับที่สองของปี พ.ศ. 2557 นับเป็นครั้งแรกที่คณะผู้จัดทาวารสารได้ประสบความสาเร็จในการผลิตวารสารครบปีละสองฉบับตาม เกณฑ์ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ( Thai Journal Citation Index – TCI ) ดิฉันจึงขอแสดง ความยินดีเป็นอย่างยิ่งต่อรองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ บรรณาธิ ก ารและประธานคณะกรรมการจั ด ท าวารสารฯ พร้ อ มทั้ ง ขอแสดงความชื่ น ชมและ ขอบพระคุณคณะกองบรรณาธิการ รวมทั้งท่านผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ ซึ่งเป็นพลังสาคัญใน การพัฒนาคุณภาพของวารสารถึงมาตรฐานตามเกณฑ์กาหนดของ TCI ได้ ในฐานะผู้อานวยการหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ดิฉันขอตั้งเป้าหมายที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้วารสารจิตวิทยามีความเจริญก้าวหน้า สามารถเสนอผลงาน ทางวิชาการและงานวิจัยที่มีคุณค่า เป็นประโยชน์ในการเป็นแหล่งความรู้และแหล่งอ้างอิงทางศาสตร์และ วิชาชีพจิตวิทยาสาหรับสังคมได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนตลอดไป
ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจและใฝ่พัฒนา
(รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อานวยการหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
บรรณาธิการแถลง วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ฉบับนี้ ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2557) เนื้อหาตีพิมพ์เผยแพร่บทความและผลงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาของ นักวิจัย อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ และนิสิต นักศึกษาในสาขาวิชาจิตวิทยา และพฤติกรรมศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยรามคาแหง และมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ซึ่งบทความ ทุกฉบับได้รับการพิจารณากลั่นกรอง จากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านจิตวิทยา ด้านสถิ ติและด้านวิจัย ทาให้ เนื้อหาทุกคอลัมน์ของวารสารมีคุณภาพ เพื่อท่านผู้อ่านจะได้รับความรู้ทางวิชาการ และสามารถนาไป เป็นประโยชน์ในการอ้างอิงและประยุกต์ใช้ในทางวิชาการได้ กองบรรณาธิการ ขอขอบพระคุณผู้เขียนบทความทุกท่านที่ส่งบทความมาให้พิจารณา ตีพิมพ์ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ (Peer Review) ที่กรุณาพิจารณาให้ข้อคิดเห็นในการ ปรับปรุงแก้ไขบทความให้มีความถูกต้องทันสมัย ตรงตามหลักวิชาการ และขอขอบคุณมหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิต ที่ให้การสนับสนุนในการจัดทาวารสารจนสาเร็จลุล่วงด้วยดี ซึ่งกองบรรณาธิการหวังเป็น อย่างยิ่งว่า วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ฉบับนี้ จะเกิดประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน ในการ นาไปประยุกต์ใช้และสร้างสรรค์ผลงาน วิชาการทางจิตวิทยาต่อไป หากมีข้อผิดพลาดประการใดคณะ ผู้จัดทาขอน้อมรับไว้เพื่อการปรับปรุงแก้ไขต่อไป
(รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์) บรรณาธิการ
สารบัญ การทาวิจัยทางจิตวิทยา ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ การศึกษาปัจจัยจิตลักษณ์ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ
หน้า 1 7
ภาวะผู้นาด้านคุณธรรมจริยธรรมและการบริหารจัดการตามแนวพระราชดาริ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรีรตั น์ แสงวารี นายนพรัตน์ อภิวิมลลักษณ์
18
การพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นโดยใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม พันตารวจเอก ดร.รัฐศักดิ์ รักสลาม ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา
28
การคัดแยกเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ของโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) จังหวัดนครนายก รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี ศักดิ์ศิริผล
47
การให้คาปรึกษาครอบครัวสาหรับช่วยเหลือมารดาวัยรุ่น รองศาสตราจารย์มณฑิรา จารุเพ็ง
57
การศึกษาเชิงวิเคราะห์ความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมด้านจริยธรรมของบุคลากรโรงเรียน ในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ นายบรรทม ชยาพัฒน์ รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์
73
บทวิจารณ์หนังสือ (Book review): จิตวิทยาการรู้ คิด และปัญญา รองศาสตราจารย์มุกดา ศรียงค์
85
คาแนะนาสาหรับผู้ส่งบทความวิชาการและบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
90
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
1
การทาวิจัยทางจิตวิทยา Doing Psychological Research ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 1
บทคัดย่อ การทําวิจัยทางจิตวิทยา เป็นการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล การแสวงหาความรู้ความเข้าใจ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ สมรรถนะ ในการพัฒนาชีวิต การปูองกันปัญหาและแก้ปัญหา การทําวิจัย ทางจิตวิทยาต้องดําเนินการอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย การเลือกหัวข้อปัญหาวิจัย ลักษณะของ ปัญหาวิจัย การตั้งชื่อหัวข้อปัญหาวิจัย การศึกษาวรรณกรรมเพื่อการวิจัยและการวางแผนวิจัย Abstract This article is written for intending to carry out research and for researchers who read research in the hope of finding knowledge and understanding that will help them to improve their knowledge, practice and also experiences. This article should be of value to those engaged in psychological research, and those engaged in counseling practice who wish to use research to inform that practice. This article introduces some of methods that have been used in studies of psychology. Each part of this article examines the ways that research methods have been applied in areas of inquiry and explores the main methodological themes and issues in psychological research.
________________________ 1 ศาสตราจารย์ ดร., หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
2
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
การทําวิจัยทางจิตวิทยา เป็นการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล การแสวงหาความรู้ ความเข้าใจ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ สมรรถนะ ในการพัฒนาชีวิต การปูองกันปัญหาและแก้ปัญหา การทําวิจัย ทางจิตวิทยาต้องดําเนินการอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย การเลื อกหัวข้อปัญหาวิจัย ลักษณะของ ปัญหาวิจัย การตั้งชื่อหัวข้อปัญหาวิจัย การศึกษาวรรณกรรม เพื่อการวิจัยและการวางแผนการวิจัย ดังสาระสําคัญ ต่อไปนี้ 1. การเลือกหัวข้อปัญหาวิจัย (Selection of a research problem) หรือการเลือก ประเด็นที่ต้องทําวิจัย มีเกณฑ์การเลือก ดังนี้ 1.1 เลื อ กหั ว ข้ อ ปั ญหาวิ จั ย หรื อ ประเด็น ที่ ต้ อ งการวิจั ย ให้ ส อดคล้ อ งกั บความรู้ ความสามารถและความชํานาญในสาขานั้นๆ ของผู้วิจัย และจะต้องสอดคล้องกับความสนใจของ ผู้วิจัย เพื่อจะได้เป็นแรงกระตุ้นให้ผู้วิจัยพยายามแสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ โดยหัวข้อ ปัญหาวิจัยที่เลือกในเบื้องต้นนี้ ควรเป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับปัญหาทางจิตวิทยา 1.2 เลือกหัวข้อปัญหาวิจัยหรือประเด็นที่ต้องการวิจัยให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น หาก หัวข้อปัญหาวิจัยที่เป็นปัญหาทั่วๆ ไป และทราบอยู่แล้วว่า มีสาเหตุมาจากอะไร และมีแนวทางแก้ไข ที่ชัดเจนอยู่แล้ว ก็ไม่จําเป็นต้องไปทําการวิจัย หรือหัวข้อปัญหาวิจัยที่กว้างมาก ไม่มีขอบเขตจํากัด ซึ่ง ผู้วิจัยอาจทําไม่สําเร็จภายในเวลาจํากัด ด้วยเหตุผล ดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยควรจํากัดขอบเขตของปัญหาวิจัยให้แคบลงแต่ลึกซึ้ง และเฉพาะเจาะจงมากขึ้น โดยหั ว ข้อปั ญหาวิจั ยจะต้อ งเป็นประเด็นที่ ส อดคล้ อ งกั บสภาพสั งคม ปัจจุบัน หรือเป็นปัญหาวิกฤตที่จะต้องได้รับการแก้ไข หรือเป็นประเด็นปัญหาที่ควรได้รับการปูองกัน ก่อนที่จะมีปัญหาอื่นๆ เกิดขึ้นตามมา หรือเป็นประเด็นที่สมควรจะได้รับการส่งเสริมและพัฒนา นอกจากนี้ หัวข้อวิจัยที่เลือกจะต้องก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ มีประโยชน์ และมีคุณค่าแก่ วงการทางจิตวิทยา ตลอดทั้งผู้วิจัยได้องค์ความรู้และกลยุทธ์ที่ส ร้างสรรค์ ได้พัฒนานวัตกรรมที่มี ประโยชน์เพื่อปูองกันปัญหา แก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพชีวิตมนุษย์และสังคม 1.3 เลือกหัวข้อปัญหาวิจัยให้คุ้มค่าแก่เวลาและความพยายามที่ต้องทุ่มเทลงไปและ ที่ก่อให้ เ กิดความก้าวหน้ าทางวิช าการ รวมทั้งต้องสามารถจัดหา วัส ดุ ครุภัณฑ์ เครื่องมือ หรื อ อุปกรณ์ที่จําเป็นในการทําวิจัย และที่สําคัญอย่างยิ่ง คือ จะต้องได้รับอนุมัติ หรือได้รับอนุญาต ให้ไป ทําวิจัยในหน่วยงาน หรือสถาบันนั้นๆ และได้รับความร่วมมือจากประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. แหล่งที่มาของปัญหาวิจัย (Source of research problem) ปัญหาวิจัยสามารถศึกษา ค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ ต่อไปนี้ 2.1 แหล่งที่มาของปัญหาวิจัย โดยทั่วไปจะมาจากปัญหาที่ผู้วิจัยประสบ อาจจะเป็น ปัญหาของเด็ก เยาวชน วัยรุ่ น ผู้ ใหญ่ ผู้ สูงอายุ ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคม หรือของ หน่วยงานต่างๆ ตลอดทั้งสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยผู้วิจัยจะต้องศึกษาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ความผันแปรของเหตุการณ์นั้นๆ และแนวโน้มของเหตุการณ์นั้นๆ ให้สอดคล้องกับสภาพ บุ คคล สภาพครอบครั ว สภาพองค์ กร สภาพสั งคม และสภาพวัฒ นธรรม ตลอดทั้ง สภาพเวลา ประกอบด้วย ซึ่งอาจทําให้ได้หัวข้อปัญหาวิจัยได้
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
3
2.2 แหล่งที่มาของปัญหาวิจัยที่มีคุณค่าและมีความหมายมากที่สุดสําหรับการวิจัยทาง จิตวิทยา คือ การศึกษาค้นคว้าจากทฤษฎี เพราะทฤษฎีต่างๆ จะช่วยชี้นําว่ามีสิ่งใดหรือเรื่องใดที่ควรทํา วิจัย หรือเพื่อตรวจสอบผลว่าทฤษฎีทางจิตวิทยานั้นๆ สามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้มากน้อยเพียงใด 2.3 แหล่งที่มาของปัญหาวิจัยสามารถศึกษาจากเอกสาร ตํารา บทความวิจัย รายงาน วิจัย ตลอดจนข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัยต่างๆ นั้น จะให้ข้อคิดว่าควรจะศึกษาหรือทําวิจัยอะไรต่อไป 3. ลักษณะของปัญหาวิจัยที่ดี (Characteristics of good research problem) มีดังนี้ 3.1 มีความสําคัญทางทฤษฎีหรือภาคปฏิบัติ (Theoretical or practical significance) แม้ว่าปัญหาวิจัยอาจจะเป็นปัญหาทางวิชาการ หรือเป็นปัญหาทางปฏิบัติ ซึ่งเป็ นเรื่องที่ผู้วิจัยต้องการ พิสูจน์ หรือต้องการตรวจสอบว่า สามารถนําแนวคิดทฤษฎีทางจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา ปูองกันปัญหาหรือพัฒนาเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฏีนั้นๆ ได้เพียงใด ดังนั้น ปัญหาวิจัยที่ดีจึงต้อง เป็นปัญหาที่มีความสําคัญ มีประโยชน์ สามารถนําไปปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ และก่อให้เกิดองค์ ความรู้ใหม่ๆ ทางจิตวิทยา 3.2 เป็นปัญหาที่สามารถหาคําตอบได้โดยวิธีการวิจัย สามารถตรวจสอบสมมติฐาน เพื่อหาข้อสรุป หรือข้อยุติของปัญหานั้นได้ 3.3 เป็นปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ มีความรู้ ทักษะและเวลา รวมทั้ง งบประมาณเพียง พอที่จะดําเนินการวิจัยให้สําเร็จ 4. การตั้ งชื่อหั วข้อปั ญหาวิจัย การตั้ งชื่อ หั ว ข้อ ปัญหาวิจัยที่ ดี ต้ องมีค วามชั ดเจน กะทัดรัด โดยระบุประเด็นสําคัญว่า ศึกษาเรื่องอะไร ศึกษากับใคร ใช้วิธีการวิธีใด ตัวแปรที่ต้องการ ศึกษาคืออะไร และภาษาที่นําเสนอในชื่อเรื่องต้องชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย หากมีศัพท์เทคนิคจะต้อง เป็นคําศัพท์ที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาทางจิตวิทยา 5. การศึกษาค้นคว้าวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of related literature) จะ ให้ประโยชน์อย่างมากแก่ผู้วิจัย ดังนี้ 5.1 ในกรณีที่ผู้วิจัยยังไม่ได้หัวข้อปัญหาวิจัย เมื่อผู้วิจัยได้อ่านเอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องแล้ว จะทําให้ผู้วิจัยได้แนวคิดที่จะทําวิจัยในสิ่งที่ตนเองสนใจ มีความรู้ ความสามารถ และ สามารถเลือกหัวข้อปัญหาวิจัยได้ 5.2 ในกรณี ที่ ผู้ วิ จั ย ได้ หั ว ข้ อ ปั ญ หาวิ จั ย แล้ ว การศึ ก ษาค้ น คว้ า วรรณกรรมจาก เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้ผู้วิจัยเข้าใจกรอบแนวคิด ทฤษฎี และความเป็นมาของ ปัญหาที่กําลังจะทําวิจัยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ช่วยให้มองปัญหาที่จะวิจัยได้กระจ่างขึ้น ช่วยให้ได้แนวคิด และความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่จะศึกษา ช่วยให้เห็นแนวทางที่จะวาง แผนการวิจัยต่อไป โดยหลีกเลี่ยงการทําวิจัยซ้ํา หรือหลีกเลี่ยงการทําวิจัยในหัวข้อวิจัยที่พิสูจน์แล้วว่า ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องทําวิจัยซ้ําอีก 6. การวางแผนการวิจัย (Research plans) ทางจิตวิทยา การวางแผนการวิจัยเป็น สิ่งที่จําเป็น และมีความสําคัญในการดําเนินการวิจัยให้เป็นไปตามลําดับขั้นตอนตั้งแต่ การเลือกหัวข้อ ปัญหาวิจัย การศึกษาค้นคว้าวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การกําหนดรูปแบบการวิจัย วิธีดําเนินการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล ตารางปฏิบัติงานวิจัย และงบประมาณค่าใช้จ่ายในการทําวิจัย สําหรับขั้นตอนใน การดําเนินงานให้เป็นไปตามแผนการทําวิจัยทางจิตวิทยาประกอบด้วย
4
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
6.1 บทนํา ประกอบด้วย 6.1.1 ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา ผู้วิจัยต้องอธิบายที่มาของ ปัญหาวิจัยว่าเป็นมาอย่างไร มีภูมิหลังอย่างไร ผู้วิจัยมีแนวคิดอย่างไร จึงศึกษาปัญหาหรือเรื่องนั้นๆ 6.1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย จะทําให้ ทราบเปูาหมายของผู้วิจัยว่าต้องการศึกษาอะไร ศึกษากับใคร ศึกษาในแง่มุมใด ศึกษาอย่างไร ตัวแปร ที่จ ะศึกษาคืออะไร และรู ปแบบของการวิจัยเป็นอย่างไร ดังนั้น การเขียน วัตถุประสงค์การวิจัย จะต้องเขียนให้สอดคล้องกับชื่อเรื่องวิจัย (Research topic) และจะต้องเขียนให้กระชับและชัดเจน 6.1.3 ขอบเขตการวิจัย เนื่องจากปัญหาวิจัยบางปัญหาไม่สามารถศึกษาได้ ครบถ้วนทุกแง่มุม หรือครอบคลุมประชากรทั้งหมดได้ จึงจําเป็นต้องกําหนดขอบเขตของการวิจัยว่า จะศึก ษากั บ ประชากรกลุ่ ม ใด หรื อกลุ่ มตั ว อย่า งที่จ ะศึ กษานั้น มีลั ก ษณะอย่า งไร มี เกณฑ์ใ นการ คัดเลื อ กกลุ่ มตั ว อย่ างอย่ างไร กลุ่ มตั ว อย่ างควรมีข นาดเท่ าใด นอกจากนี้ จะต้ องกํา หนดตัว แปร (Variable) ที่จะศึกษาให้สอดคล้องกับหัวข้อปัญหาวิจัยด้วย 6.1.4 นิยามศัพท์เฉพาะ ผู้วิจัยจะต้องกําหนดความหมายของคํา กลุ่มคํา และตัวแปรต่างๆ ให้ครบตามชื่อเรื่องที่จะทําการวิ จัย นอกจากนี้ การนิยามคําศัพท์ของตัวแปรที่จะ วิจัยนั้น จะต้องนิยามในลักษณะของนิยามปฏิบัติการ 6.1.5 สมมติฐานของการวิจัย สมมติฐาน หมายถึง คําตอบที่คาดการณ์ล่วงหน้า อย่างสมเหตุสมผลต่อปัญหาที่ศึกษา สมมติฐานการวิจัย (Research hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เขียนใน รูปของข้อความที่อธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา ในการกําหนดสมติฐานการวิจัย สําหรับการวิจัย ทางจิตวิทยาควรเขียนสมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis) เช่นระบุทิศทางของความสัมพันธ์ ของตัวแปรว่าสัมพันธ์ในทางใด (ทางบวกหรือทางลบ) ในกรณีที่หาความสัมพันธ์ของตัวแปร แต่ถ้าเป็นการ เปรียบเทียบก็ระบุถึงทิศทางของความแตกต่าง เช่น ดีกว่า-เลวกว่า หรือ สูงกว่า-ต่ํากว่า หรือ มากกว่า-น้อยกว่า เป็นต้น ซึ่งการตั้งสมมติฐานแบบมีทิศทางจะชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในการตั้งสมมติฐาน 6.1.6 ประโยชน์ ที่ค าดว่า จะได้ รั บ ให้ ร ะบุ ว่า หั ว ข้อ ปัญ หาวิจั ยที่ ศึก ษามี ประโยชน์และมีคุณค่าอย่างไร มีคุณค่าในการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ๆ หรือ ยืนยันความถูกต้องของ ทฤษฎีจิตวิทยาหรือมีคุณค่าในทางปฏิบัติ ที่สามารถนําผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเรื่อง ใดบ้าง หรือได้สร้างนวัตกรรมอะไรบ้าง และนวัตกรรมนั้นๆ สามารถนําไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ กับบุคคลใดบ้าง 6.2 วรรณกรรมที่เกี่ย วข้อง ในการศึกษาค้นคว้าวรรณกรรม หรือ เอกสาร และ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยต้องศึกษาค้นคว้า 6.2.1 จากเอกสารตําราสิ่งพิมพ์และจากสื่อต่างๆ 6.2.2 จากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาวิจัย ภายหลังการศึกษา ค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วผู้วิจัยต้องนํามาสรุป โดยสรุปให้ครอบคลุมทุกตัว แปรตามที่ระบุในนิยามศัพท์เฉพาะ 6.2.3 ผู้ทําวิจัยต้องกําหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยให้สอดคล้องกับชื่อเรื่อง วิจัยและวัตถุประสงค์ของการวิจัย บางสถาบันจะให้นํา เสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยไว้ตอนท้ายของ “บทนํา” บางสถาบันก็ให้นําเสนอไว้ตอนท้ายของ “วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง”
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
5
6.3 วิธีดําเนินการวิจัย 6.3.1 ผู้วิจัยต้องพิจารณาและนําเสนอประเภทของการวิจัยว่า งานวิจัยที่ กําลังศึกษานั้น เป็น 1) การวิจัยเชิงพรรณนา ซึ่งประกอบด้วย การวิจัยเชิงสํารวจ การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยเชิงพัฒนาการ และ การศึกษารายกรณี หรือ 2) การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง หรือ 3) การวิจัยเชิง คุณภาพ หรือ 4) การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods) 6.3.2 ผู้ทําวิจัยต้องกําหนดแบบแผนการวิจัย (Research design) ให้สอดคล้อง กับประเภทของการวิจัยที่ได้กําหนดใน ข้อ 6.3.1 6.3.3 เมื่อผู้วิจัยกําหนดประเภทของการวิจัยและแบบแผนการวิจัยแล้ ว ขั้นตอนต่อไปที่จะต้องดําเนินการ คือ ขั้นดําเนินการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย ขั้นนําเสนอ 1) ประชากร และกลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยจะต้องระบุลักษณะของประชากร รายละเอียดของขั้นตอนในการคัดเลือกกลุ่ม ตัวอย่าง กําหนดเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จะต้องมีจํานวนมากพอที่จะต้องเป็นตัวแทนของ ประชากร 2) เครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้อง (1) เลือกใช้เครื่องมือวิจัยให้สอดคล้องกับเรื่องที่วิจัย (2) สร้าง เครื่องมือให้สอดคล้องกับเรื่องที่วิจัย (3) ทดลองใช้เครื่องมือวิจัย และตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิจัยที่สร้างขึ้น โดยใช้วิธีการทางสถิติ 3) การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยนําเครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบ คุณภาพแล้วไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 6.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูล 6.4.1 ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ผู้ วิจัยจะต้องระบุส ถิติที่จะนํามาใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูล และให้สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัย 6.4.2 ภายหลั ง การวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล แล้ ว ผู้ วิ จั ย จะต้ อ งนํ า เสนอผลการ วิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบ ตาราง เส้นภาพ (Profile) หรือ กราฟ รวมทั้ง อ่านและแปลผลตาราง หรือ เส้นภาพ หรือ กราฟที่นําเสนอด้วย 6.5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ในการสรุ ป ผลวิ จั ย ผู้ วิ จั ยจะต้ อ งสรุ ป ผลวิ จั ยให้ ส อดคล้ อ งกั บ วั ต ถุป ระสงค์ แ ละ สมมติฐานของการวิจัย รวมทั้ง อภิปรายผล และเขียนข้อเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช้ และ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป นอกจากการกําหนดขั้นตอนในการดําเนินการให้เป็นไปตามแผนการวิจัยแล้ว ผู้วิจัย จะต้องกําหนดตารางเวลาในการปฏิบัติงานวิจัย รวมทั้ง งบประมาณค่าใช้จ่าย ในการทําวิจัยด้วย กล่าวโดยสรุป แนวทางการทําวิจัยทางจิตวิทยา ประกอบด้วย การเลือกหัวข้อปัญหา วิจัย แหล่งที่มาของปัญหาวิจัย ลักษณะของปัญหาวิจัยที่ดี การตั้งชื่อหัวข้อวิจัย การศึกษาค้นคว้า วรรณกรรมเพื่อการวิจัยทางจิตวิทยา และ การวางแผนการวิจัย
6
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
เอกสารอ้างอิง ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ. 2525). กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์. วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุภางค์ จันทวานิช (2543). การวิเ คราะห์ข้อมูลในการวิจั ยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อุทุมพร (ทองอุไทย) จามรมาน. (2537). การทาวิจัยเชิงสารวจ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ฟันนี่ Ary, D., Jacob, L.C., Razavich, A. (1985). Introduction to Research in Education. New York: Holt Rinehart and Winston. Best. John W. and Kahn, James V. (2003). Research in Education. MA: A Pearson Education. Corey, Gerald. (1990). Theory and Practice of Counseling and Psychotherapy. California: Thomson Higher Education. Gay, L.R. (1987). Education Research: Competencies for Analysis and Application. Ohio: Merrill Publishing. Hadley, Robert G. and Mitchell, Lynda K. (1995). Counseling Research and Program Evaluation. New York: Brooks/Cole Publishing. Keat, D. (1990 a). Change in Child Multimodal Counseling. Elementary School Guidance and Counseling. 24, 248-262. . (1990 b) Child Multimodal Therapy. Norwood, NJ: Ablex. Lazarus, A.A. (2000). Multimodal Therapy. In R.J. Corsini & D. Wedding (Eds.), Current Psychotherapies. Itaca, IL: Peacock. Thomson, Charles L. and Henderson, Doma A. (2007). Counseling Children. California: Thomson Higher Education.
…………………………………………………..
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
7
การศึกษาปัจจัยจิตลักษณ์ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู A Study of Psychological Factors Related to Lifelong Learning in Graduate Diploma Program in Teaching Profession Students ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ 1
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจั ยจิตลักษณ์กับ การเรี ยนรู้ ตลอดชีวิต และทํานายการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยใช้ปัจจัยจิตลั กษณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จํานวน 112 คน งานวิจัยนี้ ใช้ ส ถิ ติ พื้ น ฐาน การหาค่ า สหสั ม พั น ธ์ และการถดถอยพหุ คู ณ เป็ น สถิ ติ ใ นการวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ผลการวิจัยสรุปว่า ครูที่กําลังเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มีระดับการเรียนรู้ ตลอดชีวิตค่อนข้างสูง การเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเรียนรู้ด้วยการนําตนเอง แรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์ การเห็นคุณค่าในตนเอง และความเชื่ออํานาจภายในตนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ปัจจัยจิตลักษณ์ ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยการนําตนเอง ประกอบด้วย การจัดการตนเอง การตรวจสอบ ตนเอง และการเปลี่ยนแปลงตนเอง แรงจูงใจใฝุ สัมฤทธิ์ การเห็นคุณค่าในตนเอง ความฉลาดทาง อารมณ์ และความเชื่ออํานาจภายในตน สามารถร่วมกันทํานายการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ร้อยละ 47.2 ผลการวิจัยในกลุ่มรวม พบว่า แรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์เป็นตัวแปรทํานายอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ การ เรียนรู้ด้วยการนําตนเองด้านการเปลี่ยนแปลงตนเอง คาสาคัญ: การเรียนรู้ตลอดชีวิต ปัจจัยจิตลักษณ์ วิชาชีพครู
1
รองศาสตราจารย์ ดร., ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
8
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
Abstract This research aimed at studying the level of lifelong learning, investigating the relationship between psychological factors and lifelong learning, and pinpointing the important predictors in terms of psychological factors, as well as their predictive percentage, on lifelong learning. Descriptive statistics, pearson’s product moment correlation coefficient, and multiple regression were used to analyze the data. The sample consisted of 112 graduate diploma program in teaching profession students. Results of the research found that graduate diploma program in teaching profession students were a nearly high level of a lifelong learning. Lifelong learning were positive correlation coefficients to psychological factors. Psychological factors, such as self-directed learning comprises three indicators: self-managing, self-monitoring, and self-modifying, achievement motivation, self-esteem, emotional quotient, and belief in internal locus of control. All psychological factors were the co-variance explanation of the lifelong learning at 47.2.3 percent. Results of the total sample indicated that achievement motivation was the first important predictor of this behavior, followed by self-directed learning in dimension of self-modifying. Key words: Lifelong Learning, Psychological Factors, Teaching Profession Students บทนา ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 46 กําหนด ห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิ หรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับ ใบอนุญาตจากคุรุสภาและห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมใน สถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา (พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา, 2546) ดังนั้นผู้ที่ประกอบวิชาชีพครูแต่ยังไม่มีใบประกอบวิชาชีพจึงจําเป็นต้องรับการศึกษาอบรม เพิ่มเติมในหลักสูตรหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูในสถาบันที่คุรุสภาให้การรับรอง ซึ่งใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสัง คมแห่ง ชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) จนถึงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาคุณภาพ คน โดยมีเปูาหมายให้คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความรู้ ความสามารถ และ ทักษะการประกอบอาชีพ จึงมีการกําหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนเปูาหมายดังกล่าวโดยการ พัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ รวมทั้งให้ความสําคัญกับการ พัฒนาคนให้มีคุณธรรมนําความรู้ เกิดภูมิคุ้มกัน ด้วยการพัฒนาจิตใจควบคู่กับการพัฒนาการเรียนรู้ ของคนทุกกลุ่มทุกวัย ตลอดชีวิต เริ่ มตั้งแต่วัยเด็กให้มีความรู้พื้นฐานเข้มแข็ง มีทักษะชี วิต พัฒนา สมรรถนะทักษะของกําลังแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการ พร้อมก้าวสู่โลกของการทํางานและ
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
9
การแข่งขันอย่างมีคุณภาพ สร้างและพัฒนากําลังคนที่เป็นเลิศโดยเฉพาะในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และองค์ความรู้ และให้ความสําคัญอย่างยิ่งกับการส่งเสริมให้คนไทยเกิดการเรียนรู้อย่ างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2550, 2555) เมสซิโรว์ (Mezirow, 1981: 21) เสนอว่าการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษานั้น ผู้เรียนทุกคนควรได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความรู้ ความสามารถ และทักษะการประกอบ อาชีพ โดยเฉพาะทักษะการเรียนรู้เพื่อการศึกษาและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong learning) ซึ่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการริเริ่มและตั้งใจของผู้เรียนเอง ดังนั้น บุคคลจะวางแผนการแสวงหาความรู้ตามความต้องการ ตามความสนใจ ให้ตนเองมีการเปลี่ยนแปลงที่ดี ขึ้น โดยพยายามพัฒนา ปรับปรุง ความรู้ ความสามารถของตนอย่างต่อเนื่อง และมีทักษะการเรียนรู้ ของตนเอง (ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ, 2552) สําหรับตัวแปรที่มีความเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้น แคนดี้ Candy (1991) เสนอแนะว่าการเรียนรู้ด้วยการนําตนเองจะส่งผลทางบวกต่อการเรียนรู้ตลอด ชี วิ ต เมื่ อผู้ เรี ย นมี การเรี ย นรู้ ตลอดชี วิ ตก็ จะมี การเรี ยนรู้ ด้ ว ยการนํ าตนเองเพิ่ ม ขึ้ นด้ ว ย และจาก ผลงานวิจัยของ ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ (2552) พบว่า จิตลักษณ์ เป็นหนึ่งใน ตัวแปรที่สามารถร่วมอธิบาย ความแปรปรวนของการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาปัจจัยจิตลักษณ์ที่ส่งผลโดยตรง ต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อได้ข้อมูลที่สามารถนําไปใช้กําหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาครูให้มีทักษะการ เรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนสามารถพัฒนาผู้เรียนในความรับผิดชอบให้เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะของการ เรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเช่นเดียวกัน วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจิตลักษณ์ ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยการนําตนเอง แรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์ การเห็นคุณค่าในตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์ ความเชื่ออํานาจภายในตน กับ การเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู 3. เพื่อทํ านายการเรียนรู้ ตลอดชีวิตของนัก ศึกษาหลั กสู ตรประกาศนียบัต รบัณฑิ ต วิชาชีพครู โดยใช้ปัจจัยจิตลักษณ์ ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยการนําตนเอง แรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์ การเห็น คุณค่าในตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์ และความเชื่ออํานาจภายในตน สมมติฐานการวิจัย 1. ปัจ จัย จิตลักษณ์ ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยการนําตนเอง แรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์ การเห็น คุณค่าในตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์ และความเชื่ออํานาจภายในตน มีค วามสัมพัน ธ์กับการ เรียนรู้ตลอดชีวิต 2. ปัจ จัย จิตลักษณ์ ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยการนําตนเอง แรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์ การเห็น คุณค่าในตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์ และความเชื่ออํานาจภายในตน สามารถทานายการเรียนรู้ ตลอดชีวิตได้
10
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
นิยามศัพท์ปฎิบัติการ การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการริเริ่มและตั้งใจของผู้เรียนเอง บุคคลจะ วางแผนการแสวงหาความรู้ ตามความต้องการ ความสนใจ ให้ ตนเองมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น โดย พยายามพัฒนา ปรับปรุง ความรู้ ความสามารถของตนอย่างต่อเนื่อง และมีทักษะการเรียนรู้ของ ตนเอง การเรียนรู้ตลอดชีวิตวัดได้จากทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียน การวิจัยนี้วัดตัว แปรการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยใช้มาตรวัดที่ปรับปรุงมาจากของ เรวดี ทรงเที่ยง และ อนุ เจริญวงศ์ ระยับ (2550) มาตรวัดมีลักษณะเป็นมาตรประเมินค่า 6 ระดับ ตั้งแต่ “เป็นประจํา” ถึง “ไม่เคยเลย” ผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าแสดงว่ามีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตสูงกว่าผู้ที่ได้คะแนนต่ํากว่า การเรียนรู้ด้วยการนาตนเอง หมายถึง ระดับการปฏิบัติของบุคคลใน 3 ด้าน คือ การ จัดการตนเอง การตรวจสอบตนเอง และการเปลี่ยนแปลงตนเอง 1. การจัดการตนเอง (Self-managing) หมายถึง ระดับการรับรู้ถึงความสามารถในการ ปฏิบัติของตนเองในการกระตุ้นตนเองให้มีการวางแผนการปฏิบัติ พัฒนากลยุทธ์ในการปฏิบัติ โดย การแสวงหาข้อมูลจากแหล่ งต่างๆ สามารถเปลี่ ยนแปลงความคิดของตนเองได้เมื่อได้รับข่าวสาร เพิ่มเติม รู้จักตั้งคําถามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตนเองไม่รู้ได้ สามารถนําประสบการณ์เดิมมาใช้ในการแก้ไข ปัญหาใหม่ๆ ได้ เปิ ดรั บข้อมูล ที่เกี่ย วข้องกับการแก้ ไขปัญหาและมีความพยายามในการคิดแก้ไข ปัญหาที่แตกต่างออกไป 2. การตรวจสอบตนเอง (Self-monitoring) หมายถึง ระดับการรับรู้ถึงความสามารถ ในการปฏิบัติของตนเองในการตระหนักถึงความคิดของตนเองเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองรู้และตนเองไม่รู้ มีความเพีย รไม่ล ะทิ้งงานง่ายๆ มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของตนให้ ชัดเจนและ ถูกต้อง มีความเข้าใจมุมมองที่แตกต่างของบุคคลอื่น 3. การเปลี่ยนแปลงตนเอง (Self-modifying) หมายถึง ระดับการรับรู้ถึงความสามารถ ในปรับปรุงตนเองได้อย่างเหมาะสม ทั้งการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมต่างๆ เป็นการแสดงออกถึงความ สนุกในการสร้างสรรค์งานของตนเอง และเป็นบุคคลที่มีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเองในทาง ที่ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา ตัวแปรนี้วัดโดยใช้มาตรวัด “การเรียนรู้ด้วยการนําตนเอง” ของ เรวดี ทรงเที่ยง และ อนุ เจริญวงศ์ระยับ (2550) มาตรวัดมีลักษณะเป็นมาตรประเมินค่า 6 ระดับ ตั้งแต่ “จริงที่สุด” ถึง “ไม่จริงเลย” ผู้ที่ได้คะแนนสูงกว่าแสดงว่ามีการเรียนรู้ด้วยการนําตนเองมากกว่าผู้ที่ได้คะแนนต่ํากว่า แรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์ หมายถึง ความพยายามที่จะกระทําสิ่งต่างๆ ด้วยความมานะ บากบั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่ขัดขวาง พยายามหาวิธีการแก้ปัญหา ต้องการชัยชนะในการแข่งขัน มุ่งมั่นที่จะทํา ทุกสิ่งให้ประสบผลสําเร็จและบรรลุเปูาหมาย การวัดแรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์ ใช้มาตรวัดที่ผู้วิจัยปรับปรุงมาจากแบบวัดแรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์ ของ งามตา วนินทานนท์ (2545) มาตรวัดมีลักษณะเป็นมาตรประเมินค่า 5 ระดับคือ “จริงที่สุด” ถึง “ไม่จริงเลย” ผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าแสดงว่ามีแรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์สูงกว่าผู้ที่ได้คะแนนต่ํากว่า การเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง ความรู้สึกที่บุคคลมีต่อตนเองจากการประเมินตนเอง แสดงออกด้วยการมีความเชื่อมั่นในตนเอง นับถือตนเอง มีความภาคภูมิใจในตนเอง รู้สึกว่าตนเองมี คุณค่า และสามารถกระทําสิ่งต่างๆ ให้สําเร็จได้ โดยไม่นําตนเองไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
11
การวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง ใช้มาตรวัดที่ผู้วิจัยปรับปรุงมาจากแบบวัดการเห็นคุณค่า ในตนเองของ สุดธิดา มีสวัสดิ์ และ ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ (2547: 92-96) มาตรวัดมีลักษณะเป็นมาตร ประเมินค่า 5 ระดับ คือ “จริงที่สุด” ถึง “ไม่จริงเลย” ผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าแสดงว่ามีการเห็นคุณค่า ในตนเองสูงกว่าผู้ที่ได้คะแนนต่ํากว่า ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง และผู้อื่น มีการตอบสนองความต้องการได้อย่างถูกกาลเทศะ มีการให้กําลังใจตนเองในการเผชิญ อุปสรรค และข้อขัดแย้งต่างๆ การรู้จักขจัดความเครียด และสามารถควบคุมอารมณ์ได้ การวัดความฉลาดทางอารมณ์ ใช้มาตรวัดที่ปรับปรุงมาจากแบบวัดเชาวน์อารมณ์ของ อติพร หงษ์ทอง (2547: 93-99) มีลักษณะเป็นมาตรประเมินค่า 5 ระดับ คือ “จริงที่สุด” ถึง “ไม่จริง เลย” ผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าแสดงว่ามีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าผู้ที่ได้คะแนนต่ํากว่า ความเชื่ออานาจภายในตน หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่เชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมี สาเหตุมาจากการกระทําของตนเอง โดยเป็นผู้ที่ควบคุมการกระทําและยอมรับผลที่เกิดขึ้นกับตนได้ไม่ ว่าจะเป็นผลร้ายหรือผลดี การวัดความเชื่ออํานาจภายในตน ใช้มาตรวัดที่ผู้วิจัยปรับปรุงมาจากแบบวัดความเชื่อ อํานาจภายในตนของ เรวดี ทรงเที่ยง (2548 : 119-120) มาตรวัดนี้มีลักษณะเป็นมาตราประเมินค่า 6 ระดับ คือ “จริงที่สุด” ถึง “ไม่จริงเลย” ผู้ที่ได้คะแนนจากมาตรวัดมากกว่าแสดงว่าเป็นผู้ที่มีความ เชื่ออํานาจภายในตนสูงกว่าผู้ที่ได้คะแนนต่ํากว่า วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง มโนทัศน์เกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นกระบวนการที่บุคคลแต่ละคนใช้เวลาทั้งชีวิตในการแสวงหา ความรู้ตามความต้องการ ความสนใจ และทักษะการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล (Hiemstra, 1976 : 16) การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงเป็นการเรียนรู้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนรู้เอง เห็นการเรียนรู้สิ่ง ใหม่เป็นวิธีการที่จะจัดการกับปัญหาได้โดยใช้เหตุผล มีแรงจูงใจสูงในการเรียนรู้ทุกช่วงอายุ รับการ เปลี่ยนแปลงและสิ่งท้าทายที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต จึงจัดโอกาสให้กับตนเองในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่มิใช่ การเรียนรู้ในชีวิตที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Cropley, 1978 : 49-50) จากการศึกษาแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต สรุปได้ว่า การเรียนรู้ตลอด ชีวิต เป็นกระบวนการที่เกิดจากการริเริ่มอย่างตั้งใจของผู้เรียนเอง บุคคลจะพยายามปรับปรุงความรู้ ทักษะ และสมรรถภาพ โดยแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ทําจนเป็นนิสัยและกระทําอย่างต่อเนื่องตลอด ชีวิตด้วยความตั้งใจและมีการวางแผนในการแสวงหาความรู้ตามความต้องการ ความสนใจ เพื่อให้ ตนเองเกิดการพัฒนา การปรับตัว หรือการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น จนกลายเป็นทักษะการเรียนรู้ของแต่ ละบุคคล (Maehl, 2000 : 4 citing Peterson & Associates, 1979 ; Maehl, 2000 : 4 citing Delor & Associates, 1997 ; Smith & Spurling, 1999 : 9-11 : 213 ; Ironside, 1989 : 14-15 ; นิตยา สําเร็จผล. 2547 : 22) จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีเครื่องมือที่สําคัญในการ ดํารงชีวิตในโลกอย่างมีความสุขและสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อสร้างสังคมแห่งการ
12
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
เรียนรู้ ได้แก่ ความรู้ ทักษะ และคุณสมบัติหรือสมรรถภาพในการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาตนและสังคมโดยรวมจากผลการเรียนรู้ที่เพิ่มพูนขึ้น (นิตยา สําเร็จผล. 2547 : 18) บุคคลที่มีคุณลักษณะของการเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงมุ่งสร้างตนให้เป็นผู้ที่ใฝุรู้ใฝุเรียนพัฒนาสมรรถภาพ เฉพาะอย่างของตนให้ตรงกับความสนใจและความต้องการ และสามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่าง มีความสุข (อุดม เชยกีวงศ์, 2544 : 28) การเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสําคัญที่ทําให้บุคคลประสบความสําเร็จในชีวิต ซึ่งทุกคนควร ตระหนักว่าบุคคลที่ปรารถนาความสําเร็จ จะมีนิสัยรักการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรีย น เพราะในขณะที่โลกหมุนไปข้างหน้า คนที่ยังย่ําอยู่กับที่จะกลายเป็นคนล้าหลังในทันที กล่าวได้ว่าการ เรียนรู้ตลอดชีวิตทําให้เกิดผลดี คือ ประการแรกการเรียนรู้ช่วยให้บุคคลพัฒนาตนเองตลอดเวลา ผู้ เ รี ย นรู้ ต ลอดชีวิ ต จะเป็ น คนที่พั ฒ นาตนเองเสมอ และประการที่ ส อง การเรี ย นรู้ ช่ ว ยให้ บุ ค คล ปลอดภัยและมีสติปั ญญา การเรียนรู้ ทําให้ บุคคลมีสติปัญญา คือ การประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีอยู่ใน สถานการณ์ที่ถูกต้อง สามารถปูองกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นไม่ให้เกิดได้ (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ . 2539 : 12) สําหรับ ฮัสซัน (Hasan, 1996: 35) ได้อธิบายความสําคัญของรากฐานการเรียนรู้ตลอด ชีวิตว่า ผู้ที่ประสบความสําเร็จในการศึกษาช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่มสาวจะมีศักยภาพและแรงจูงใจที่จะ เรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งชีวิต สําหรับ แคนดี้ (Candy, 1991) มีแนวคิดว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับการที่ผเู้ รียนสามารถเรียนรู้ด้วยการนําตนเอง เมื่อผู้เรียนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิตแล้วผู้เรียน จะมีการเรียนรู้ด้วยการนําตนเองเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งในงานวิจัยของ ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ (2552) ก็พบผล การศึกษาในลักษณะเดียวกัน แต่ยังไม่พบคําตอบว่าปัจจัยจิตลักษณ์ใดที่ส่งผลโดยตรงต่ อการเรียนรู้ ตลอดชีวิต งานวิจัยฉบับนี้จึงสนใจจะหาคําตอบดังภาพกรอบแนวคิดของงานวิจัยต่อไปนี้
ตัวแปรจิตลักษณ์
• การเรียนรู้ด้วยการนําตนเอง • แรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์ • การเห็นคุณค่าในตนเอง • ความฉลาดทางอารมณ์ • ความเชื่ออํานาจในตน
การเรียนรู้ตลอดชีวิต
ตัวแปรภูมิหลัง เพศ / ระดับการศึกษา / ระดับชั้นที่สอน
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
13
ระเบียบวิธีวิจัย ประชากร ประชากรเป็นนักศึกษาที่กําลังเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่กําลังเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูของ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ซึ่งได้รับการรับรองจากครุสภาให้เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา ในปีการศึกษา 2557 จํานวน 120 คน ผู้วิจัยได้กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาที่เป็นครูแต่ยังไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู จึงสมัครเข้าเรียน ในหลักสูตรดังกล่าวโดยผ่านเกณฑ์ของครุสภา จํานวน 112 คน เป็นชาย จํานวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 32.1 หญิง จํานวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 67.9 สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จํานวน 98 คน คิดเป็น ร้อยละ 87.5 สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จํานวน 14 คิดเป็นร้อยละ 12.5 สอนระดับอนุบาลและ เตรียมอนุบาล จํานวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 13.4 สอนระดับประถมศึกษา จํานวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 30.4 สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จํานวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 27.7 สอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จํานวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 28.1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และตอนที่ 2 ประกอบด้วย แบบวัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต แบบวัดการเรียนรู้ด้วยการนําตนเอง แบบวัด แรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์ แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง และแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ แบบวัดทุกฉบับ เป็นแบบมาตราประเมินค่า 6 ระดับ มีค่าอํานาจจําแนกรายข้อ (Item-total correlation) อยู่ระหว่าง .260-.815 และค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s Alpha Coefficient) ของแบบวัดอยู่ระหว่าง .745-.920 การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) เพื่อตอบคําถามการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อ 1 ใช้การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ตอบคําถามการ วิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อ 2 และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ทั้ง ชนิดโดยรวม (Enter) และเป็นขั้น (Stepwise) เพื่อตอบคําถามการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อ 3 ผลการวิจัยและการอภิปรายผล 1. นั กศึกษาที่กําลั งเรียนในหลั กสู ตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิช าชีพ ครู มีระดับการ เรียนรู้ตลอดชีวิตค่อนข้างสูง (M = 4.58, SD = 0.46) งานวิจัยนี้แบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 4 ระดับ คือ ต่ํา (1.00 - 2.25) ค่อนข้างต่ํา (2.26 - 3.50) ค่อนข้างสูง (3.51 - 4.75) สูง (4.76 - 6.00) การที่นักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพครูมีการเรียนรู้ตลอดชีวิตอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ นักศึกษาเหล่านี้เป็นครู เมื่อได้เข้าเรียนในหลักสูตรที่ตรงกับทักษะ ทั้งยังช่วยส่งเสริมความเชี่ยวชาญ ในวิชาชีพ จึงเป็นการเรีย นรู้ที่ตอบสนองและตรงกับความต้องการของผู้เรียนรู้ ดังที่ เฮมสตาร์ (Hiemstra, 1976 : 16) และ ครอปเลย์ (Cropley, 1978 : 49-50) ได้อธิบายไว้ว่าเป็นคุณลักษณะ ของผู้ที่มีพฤติกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
14
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
2. ผลการวิจัยพบว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ การเรียนรู้ด้วย การนําตนเองทั้ง 3 ด้าน คือ การจัดการตนเอง การตรวจสอบตนเอง และการเปลี่ยนแปลงตนเอง แรงจู งใจใฝุ สั มฤทธิ์ และการเห็ นคุณค่าในตนเอง อย่างมีนัยสํ าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมี ความสัมพันธ์ทางบวกกับความเชื่ออํานาจภายในตน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้อาจ เป็ น เพราะบุ ค คลที่ มีก ารเรี ย นรู้ ต ลอดชีวิ ต จะมุ่ ง สร้ า งตนให้ เ ป็ น ผู้ ที่ ใ ฝุ รู้ ใ ฝุ เ รีย น พร้ อ มจะพั ฒ นา สมรรถภาพเฉพาะอย่างของตนให้ตรงกับความสนใจและความต้องการ คุณลักษณะสําคัญดังกล่าวจะ ทําให้บุคคลประสบความสําเร็จในชีวิต เพราะสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกต้อง รวมทั้งสามารถปูองกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นไม่ให้เกิดได้ (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2539 : 12 ; อุดม เชยกีวงศ์, 2544 : 28) 3. ปัจจัยจิตลักษณ์ ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยการนําตนเองทั้ง 3 ด้าน คือ การจัดการตนเอง การตรวจสอบตนเอง และการเปลี่ยนแปลงตนเอง แรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์ การเห็นคุณค่าในตนเอง ความ ฉลาดทางอารมณ์ และความเชื่ออํานาจภายในตน สามารถร่วมกันทํานายการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ นักศึกษาที่กําลั งเรี ย นอยู่ ในหลั กสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิช าชีพครูได้ร้อยละ 47.2 อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สําหรั บ ผลการทํานายการเรีย นรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาที่ กําลั งเรียนอยู่ในหลั กสู ตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู โดยใช้ปัจจัยจิตลักษณ์ เมื่อจําแนกตามเพศ ระดับการศึกษาสูงสุด และระดับชั้นที่สอน พบผลการวิจัยดังตารางต่อไปนี้ จํานวน (คน) รวม 112 ชาย 36 หญิง 76 ปริญญาตรี 98 ปริญญาโท 14 อนุบาลและเตรียมอนุบาล 15 ประถม 34 มัธยมต้น 31 มัธยมปลาย 32 ตัวแปรภูมิหลัง
ปัจจัยจิตลักษณ์ R2 % 44.8 46.8 50.1 45.6 37.2 58.9 20.5 47.6 48.3
หมายเหตุ : 1 = การเรียนรู้ด้วยการนําตนเองด้านการจัดการตนเอง 2 = การเรียนรู้ด้วยการนําตนเองด้านการตรวจสอบตนเอง 3 = การเรียนรู้ด้วยการนําตนเองด้านการเปลี่ยนแปลงตนเอง
ตัวทํานาย 4, 3 4 1, 4, 3 4, 3 2 4 4 2 4
β .471, .312 .684 .322, .304, .273 .460, .338 .648 .767 .453 .690 .695
4 = แรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์ 5 = การเห็นคุณค่าในตนเอง 6 = ความฉลาดทางอารมณ์ 7 = ความเชื่ออํานาจภายในตน
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
15
เมื่อแยกวิเคราะห์ตามตัวแปรภูมิหลัง ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา และระดับชั้นที่สอน พบว่า ตัวแปรที่ทํานายการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้เป็นลําดับแรกในกลุ่มรวม และเกือบทุกกลุ่มย่อย คือ แรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะ แรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์ เป็นความพยายามที่จะกระทําสิ่งต่างๆ ด้วยความมานะ บากบั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่ขัดขวาง พยายามหาวิธีการแก้ปัญหา ต้องการชัยชนะ ในการแข่งขัน มุ่งมั่นที่จะทําทุกสิ่งให้ประสบผลสําเร็จและบรรลุเปูาหมาย ส่งผลให้นักศึกษาที่กําลัง เรียนอยู่ในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูมีความมุ่งมั่นตั้งใจเรียน โดยรับผิดชอบต่องานที่ ได้รับมอบหมาย มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ส่งงานหรือการบ้านตรงตามกําหนด มีการวางแผนและ ให้ความ สําคัญต่อการเรียนซึ่งผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของ พิษณุ ลิมพะสูตร (2555) ส่ ว นตัว แปรที่ ส ามารถทํ านายการเรี ย นรู้ ต ลอดชีวิ ต ของนั กศึ ก ษาที่ กํ าลั ง เรี ย นอยู่ ใ น หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูในกลุ่มรวม ในนักศึกษาเพศหญิง และนักศึกษาที่สําเร็จ การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาโท เป็ น ลํ า ดั บ รองลงมา ได้ แ ก่ การเรี ย นรู้ ด้ ว ยการนํ า ตนเองด้ า นการ เปลี่ยนแปลงตนเอง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ การเปลี่ยนแปลงตนเอง เป็นการรับรู้ถึงความสามารถใน ปรับปรุงตนเองได้อย่างเหมาะสม ทั้งการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมต่างๆ เป็นการแสดงออกถึงความ สนุกในการสร้างสรรค์งานของตนเอง และเป็นบุคคลที่มีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเองในทาง ที่ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของ เรวดี ทรงเที่ยง และอนุ เจริญวงศ์ระยับ (2550 : 49) ที่พบว่านักศึกษาหญิงมีการเรียนรู้ด้วยการนําตนเองด้านการเปลี่ยนแปลงตนเองสูงกว่า นั ก ศึ ก ษาชาย และพบว่ า นั ก ศึ ก ษาที่ เ รี ย นชั้ น ปี สู ง กว่ า มี ก ารเรี ย นรู้ ด้ ว ยการนํ า ตนเองด้ า นการ เปลี่ยนแปลงตนเองสูงกว่านักศึกษาชั้นปีต่ํากว่า โดยเฉพาะในกลุ่มนิสิตหญิง ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย เนื่องจากแรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์เป็นตัวทํานายที่สําคัญของเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นลําดับแรก ในกลุ่มรวม และเกือบทุกกลุ่มย่อย ยกเว้นนักศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูที่จบ การศึกษาระดับปริญญาโท หรือสอนระดับมัธยมปลาย จากผลการวิจัยนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริห าร หลักสูตรดังกล่าว สามารถนําไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อการจัดการเรียนการสอน และ/หรือจัดกิจกรรมเสริม หลักสูตรที่จะช่วยกระตุ้นแรงจูงใจของผู้เรียนให้เพิ่มมากขึ้น ข้อเสนอแนะสาหรับทาการวิจัยครั้งต่อไป ควรทําวิจัยเปรียบเทียบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาที่เป็นครูแต่ยังไม่มีใบประกอบ วิชาชีพ กับครูที่มีใบประกอบวิชาชีพแล้ว เนื่องจากครูเป็น บุคคลที่ควรวางแผนการแสวงหาความรู้ให้ ตนเองมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และควรพัฒนา ปรับปรุง ความรู้ ความสามารถของตนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีทักษะการเรียนรู้ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นครูซึ่งมีใบประกอบวิชาชีพแล้ว หรือครูที่ยังไม่มีใบ ประกอบวิชาชีพ เพื่อค้นหาคําตอบว่าครูทั้ง 2 กลุ่มจะมีการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เหมือนหรือแตกต่างกัน หรือไม่ อย่างไร
16
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
เอกสารอ้างอิง Candy, P. C. (1991). Self-direction for Lifelong Learning. San Francisco: Jossey-Bass. Cropley, A.J. (1978). Lifelong Education. A Psychological Analysis. UNESCO Institute For Education. Hamburg. Hasan, A. (1996). “Lifelong Learning.” International Encyclopedia of Adult Education and Training. Edited by Albert C Tuijnman. 2nd ed. Oxford : Pergamon. Hiemstra, R. (1976). Life Long Learning. Nebraska : Professional Educators. Ironside, D.J. (1989). “The Field of Adult Education.” Lifelong Learning Education for Adults: An Internation. Mezirow, J.D. (1981, January). “A Critical Theory of Adult Learning and Education.” Adult Education. 31 : 3-24. Maehl, W.H. (2000). Lifelong Learning at it Best: Innovative Practices in Adult Credit Program. Sanfrancisco : Jossey – Bass. Smith, J., & Spurling, A. (1999). Lifelong Learning Riding the Tiger. London : Cassell. al Handbook. Edited by Colin J. Titmus. Oxford : Pergamon Press : 14-15. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2539, 31 สิงหาคม). “การเรียนรู้ตลอดชีวิต ศักยภาพสู่ความสาเร็จ .” สยามโพสต์. หน้า 12. งามตา วนินทา. (2545). รายงานการวิจัยฉบับที่ 82 เรื่อง การวิเคราะห์ดัชนีเหตุผลของคุณภาพชีวิตสมรส ในครอบครัวไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ. (2552). รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยเชิงเหตุและผลของการเรียนรู้ด้วยการนาตนเอง ของนิสิตมหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. นิตยา สําเร็จผล. (2547). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เรวดี ทรงเที่ยง. (2548). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจภายในเพื่อสร้างสัมพันธภาพในการทางาน ของหัวหน้าช่างในศูนย์บริการรถยนต์. ปริญญานิพนธ์ วท.ด. (พฤติกรรมศาสตร์). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เรวดี ทรงเที่ยง และ อนุ เจริญวงศ์ระยับ. (2550). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วย การนาตนเองของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2546). สรุปสาระสําคัญ พระราชบัญญัติสภา ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2557, จาก http://www.kofmhai.com/m4-19/New/N1.html. พิษณุ ลิมพะสูตร. (2555). พฤติกรรมการตั้งใจเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคพิเศษ มหาวิ ทยาลั ย ราชภัฏราชนครินทร์. สารนิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒนาการ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
17
สุดธิดา มีสวัสดิ์ และชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ. (2547). ความพร้อมในการเรียนรู้โดยการชี้นาตนเอง การเห็น คุณค่าในตนเองและความเชื่ออานาจภายใน-ภายนอกตนของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการอบรม วิชาชีพสาหรับประชาชน สานักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่). กรุงเทพมหานคร. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). สรุปสาระสาคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2557, จาก http://www.nesdb.go.th. _______ . (2550). สรุปสาระสาคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10. สืบค้น เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2557, จาก http://www.nesdb.go.th. อติพร หงส์ทอง. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมของการเรียนรู้โดยการชี้นาตนเองกับ เชาวน์อารมณ์และคุณสมบัติบางประการของครูประจาศูนย์การเรียนชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. อุดม เชยกีวงศ์. (2544). แนวทางการบริหารและการจัดการ: การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์บรรณกิจ.
…………………………………………………..
18
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
ภาวะผู้นาด้านคุณธรรมจริยธรรมและการบริหารจัดการ ตามแนวพระราชดาริ Moral and Ethical Leadership and Management Under the Royal Initiative of His Majesty the King จักรีรัตน์ แสงวารี 1 นพรัตน์ อภิวิมลลักษณ์ 2
บทคัดย่อ บทความนี้เป็นการนําเสนอเกี่ยวกับ ภาวะผู้นําด้านคุณธรรมจริยธรรมและการบริหาร จั ด การตามแนวพระราชดํ า ริ โดยอาศั ย การบริ ห าร คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมของภาวะผู้ นํ า ตามแนว พระราชดําริ ที่จะนําไปสู่การพัฒนาการดํารงชีวิตอย่างมีความสุขจะทําให้การดําเนินชีวิตเป็นไปอย่าง ราบรื่นเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคเศรษฐกิจพอเพียง คาสาคัญ: ภาวะผู้นําด้านคุณธรรมจริยธรรม การบริหารจัดการตามแนวพระราชดําริ Abstract The article presents the study of Moral and Ethical Leadership, Management, Under the Royal Initiative of His Majesty the King for Management and Moral and Ethical of Leadership Under the Royal Initiative of His Majesty the King to the development to have happiness, one will attain a peaceful life for lifelong learning in Sufficiency Economy age. Key words: Moral and Ethical Leadership, Management Under the Royal Initiative of His Majesty the King.
1 2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจําสาขาวิชาวิทยุและโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดสกลนคร
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
19
บทนา ภาวะผู้นําด้านคุณธรรมจริยธรรม (Moral and Ethical Leadership) ถือเป็นปัจจัยที่มี ความสําคัญต่อความสําเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร หากองค์กรใดมีผู้นํา (Leader) ที่มีภาวะผู้นํา ด้านคุณธรรมจริยธรรมสูงและมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรได้ดี องค์กรนั้นก็จะ สามารถแข่งขันกับองค์กรอื่นได้และประสบความสําเร็จตามเปูาหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี ท่ามกลาง ความเจริญทางด้านวัตถุและเทคโนโลยีที่รุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ความเจริญทางด้านจิตใจของ คนในสั งคมไทยกํา ลั งเสื่ อ มถอย สั งคมไทยกลายเป็น สั ง คมที่ ตามใจตนเองอย่า งไม่มี ขอบเขต (A Permissive Society) มักง่าย ไร้ระเบียบวินัย และไม่นําพาต่อกฎหมายบ้านเมือง จะเห็นได้จากข่าว อาชญากรรมที่ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ไม่เว้นแต่ละวัน ผู้คนในสังคมใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหา มากขึ้น ตั้งแต่ปัญหาเล็กๆ ในครอบครัวไปถึงปัญหาใหญ่ระดับชาติ โดยไม่คํานึงถึงความถูกต้องชอบ ธรรมและยังมีปัญหาการฉ้อราษฏร์บังหลวงที่เกิดขึ้นในทุกระดับทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการซื้อ สิทธิขายเสียงในการเลือกตั้งทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ปัญหาระบบอุปถัมภ์ในวงราชการ มีการ วิ่งเต้นให้ได้มาซึ่งตําแหน่งหน้าที่ที่สูงขึ้น และยังมีปัญหาเจ้าพนักงานลุแก่อํานาจ ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ที่ น่ากลัวยิ่งกว่าการฉ้อราษฏร์บังหลวงเสียอีก เพราะสร้างความไม่ไว้วางใจและความแตกแยกระหว่าง ประชาชนกับเจ้าพนักงานของรัฐ ทําให้ รัฐ ไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน ปัญหาเหล่ านี้เป็น ปัญหาเรื้ อรั งเสมือนเนื้ อร้ ายที่ฝั งรากลึ กคอยกัดกินและบ่อนทําลายบ้านเมืองตลอดมา ทั้งที่ เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องที่พวกเราทุกคนได้รับการอบรมสั่งสอนมาตั้งแต่เยาว์วัย หากถามว่าอะไร คือสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม สิ่งใดควรทําหรือไม่ควรทํา ทุกคนก็คงจะตอบคําถามพร้อมกับอธิบายเหตุ ผลได้ เ ป็ น อย่ า งดี แต่ สิ่ ง ที่เ ป็ น ต้ น เหตุแ ห่ ง ปั ญหาความเสื่ อ มโทรมของคุ ณ ธรรมและจริ ย ธรรมใน สังคมไทยทุกวันนี้ก็คือ แม้ประชาชนจะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมอยู่แล้ว บางส่วนก็ตาม แต่ความเข้าใจนั้นหาได้เข้าถึงส่วนลึกในจิตใจของประชาชนไม่ คนส่วนใหญ่ยังไม่ ตระหนักถึงความสําคัญและไม่นําไปปรับใช้ในชีวิตจริง เป็นเหตุให้สังคมไทยตกอยู่ ในภาวะอันตราย ดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ (ธานินทร์ กรัยวิเชียร, 2553: 1-3) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดําริเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2522 ความ ตอนหนึ่ง ว่า "...คนที่ไม่มี ความสุจริต คนที่ไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่าย ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ ประโยชน์ส่วนรวมที่สําคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทํางานสําคัญยิ่งใหญ่ ที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์แท้จริงได้สําเร็จ..." และทรงมีพระราชดําริเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 ความ ตอนหนึ่งว่า "...ผู้ที่มี ความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทําประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ได้ มากกว่าผู้มีความรู้มากแต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ..." อีกทั้งยังมีพระราชดําริเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2556 ความตอนหนึ่งว่า "...ผู้ว่า CEO ต้องเป็นคนที่สุจริต ทุจริตไม่ได้ ถ้าทุจริตแม้แต่นิด เดียวก็ขอแช่งให้มีอันเป็นไป..ข้าราชการหรือประชาชนมีการทุจริต ถ้ามีทุจริตแล้วบ้านเมืองพัง ที่ เมืองไทยพังมากเพราะมีการทุจริต..." นอกจากนั้นพระองค์ท่านยังทรงให้หลักการบริหารจัดการไว้ใน หลั ก การทรงงานและการบริ ห ารจั ด การตามแนวพระราชดํ า ริ ไ ว้ ห ลายประการที่ ส อดคล้ อ งกั บ คุณลักษณะของภาวะผู้นําด้านคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
20
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
ความหมายของภาวะผู้นา คําว่ า “ภาวะผู้ นํ า ” มีนั กวิชาการให้ ความหมายไว้หลากหลาย อาทิ เฮมฟิล และคูนส์ (Hemphill & Coons, 1957 : 7) กล่าวว่า ภาวะผู้นํา เป็นพฤติกรรมของแต่ละบุคคลเพื่อสั่งการให้กลุ่ม ทํากิจกรรมเพื่อบรรลุเปูาหมายที่ได้ตกลงกันไว้ จาคอบส์ และจักส์ (Jacobs & Jaques, 1990 : 281) กล่าวว่า ภาวะผู้นํา คือ กระบวนการในการมอบหมายข้อเสนออันเป็นคําสั่งที่มีความหมายโดยก่อให้เกิด ความพยายามในการบรรลุผลสําเร็จตามข้อเสนอนั้น ดูบริน (DuBrin, 1998 : 2) กล่าวว่า ภาวะผู้นํา หมายถึง ความสามารถที่จะสร้ างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนบุคคลเพื่อให้ บรรลุ เ ปูาหมาย องค์การ ดาฟท์ (Daft, 1999 : 5) กล่าวว่า ภาวะผู้นํา หมายถึง ความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลระหว่างผู้นํา และผู้ตาม ซึ่งทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน ไชยา ภาวะบุตร (2546 : 310) กล่าวว่า ภาวะผู้นํา หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการหลอมความแตกต่างทางด้านความคิด ความสนใจ ความต้องการหรื อพฤติกรรมของบุคคลหรื อกลุ่ มบุคคลในองค์ การให้ หั นไปในทิ ศทาง เดียวกันอย่างมีศิลปะ ไม่มีความขัดแย้งในองค์การอีกต่อไปในขณะใดขณะหนึ่ง หรือในสถานการณ์ ต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเปูาหมายที่กําหนดไว้ ในความคิดเห็นของผู้เขียน ภาวะผู้นํา หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลที่มีทั้งศาสตร์และศิลปะในการจูงใจคนอื่นให้กระทําตาม เป็นมติร่วมกัน ระหว่างผู้นําและผู้ตาม โดยที่ผู้ตามเต็มใจ สมัครใจและมีความสุขในการปฏิบัติตาม เพื่อนําไปสู่ การ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถและทําให้กิจกรรมต่าง ๆ สําเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ สําหรับ นอรทเฮาส (Northouse , 2009) ในปี 2009 (สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และสรายุทธ กันหลง, 2557: ออนไลน์) กล่าวว่าภาวะผูนําเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะ (trait) ความสามารถ (ability) ทักษะ (skill) พฤติกรรม (behavior) และความสัมพันธ (relationship) และความหมายของผู้นําเชิงจริยธรรมของ แกรี่ ยุคล์ (Gary Yukl) ในปี 2001 (สุเทพ ปาลสาร, 2554: ออนไลน์) กล่าวในภาพรวมไว้ว่าภาวะ ผู้ นํ า เชิ ง จริ ย ธรรมมี ก ารใช้ เ กณฑ์ เ ป็ น ตั ว กํ า หนดถึ ง พฤติ ก รรมที่ แ สดงออกเป็ น ตั ว ชี้ วั ด โดยให้ ความสําคัญในการใช้อํานาจและการใช้อิทธิพลของผู้นํา จึงมองว่าผู้นําที่มีภาวะเชิงจริยธรรมจะไม่ค่อย ใช้อํานาจแต่จะใช้หลักการบริการผู้ตามในองค์กร แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้นําที่ไร้จริยธรรมมักจะใช้ ความพึงพอใจในระดับบุคคลที่เป็นตัวชี้วัดเป็นต้น ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของคําว่า “คุณธรรม” ว่า “สภาพคุณงามความดี ” (พจนานุกรม, 2546: 253) อาจกล่ าวได้ว่าการที่จะวินิจฉัยว่า บุคคลใดมี คุณธรรมดีเด่นมากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมต้องพิจารณาโดยรวมว่าบุคคลนั้นมีอุปนิสัยและประพฤติปฏิบัติ ตนอย่างไร ดํารงตนอยู่ในกรอบของกฎหมายและศีลธรรมเพียงใด เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การ งานและต่อสังคมอย่างไร และเป็นผู้ที่ยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมเพียงใด ส่วนความหมายของคําว่า “จริยธรรม” เป็น “ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ” “ศีลธรรม” และ “กฎศีลธรรม” (พจนานุกรม, 2546: 291) ดังนั้น “คุณธรรมและจริยธรรม” จึงเป็นเรื่องที่ว่าด้วย การปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลอย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุดตามสถานะของตน เช่น การเป็นลูกที่ดี เป็นพลเมืองดี และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่ดี (ธานินทร์ กรัยวิเชียร, 2550 : 7)
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
21
คุณลักษณะของภาวะผู้นาด้านคุณธรรมจริยธรรม ผู้นําที่มีคุณธรรมจริยธรรม ควรจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ดาเนินชีวิตตามหลักธรรมของศาสนา โดยใช้หลักธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าใน การดําเนินชีวิตและปฏิบัติงาน ได้แก่ อริยสัจ 4 กฎแห่งไตรลักษณ์ คือ สัจธรรมของ สรรพสิ่งทั้งหลาย หลักสัปปุริสธรรม 7 คือ ธรรมที่ทําให้เป็นคนดีสมบูรณ์แบบ หลักอิทธิบาท 4 คือ ธรรมที่ช่วยให้ประสบความสําเร็จ หลักพรหมวิหาร 4 คือ ธรรมอันประเสริฐ หลักสังคหวัตถุ 4 คือ ธรรมยึดเหนี่ยวจิตใจ หลักฆราวาสธรรม 4 คือ ธรรมสําหรับผู้ครองเรือน และหลักทศพิธราชธรรม เป็นต้น 2. ดาเนินชีวิตในทางสายกลาง โดยใช้หลักมรรค 8 คือ ทางที่นําไปสู่การพ้นทุกข์ ได้แก่ สัมมาทิฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา สัมมาสังกัปปะ คือ ดําริ ชอบ หมายถึงการใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม สัมมาวาจา คือ เจรจา ชอบ หมายถึงการพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงามสัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทาง กายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง สัมมาอาชีวะ คือ การทํามาหากินอย่างสุจริตชน สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะ พยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความ พลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดํารงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ 3. ด าเนิน ชีวิต ตามครรลองของวัฒนธรรม โดยผู้ นําที่มีคุณธรรมจริยธรรมจะต้อง ดําเนินชีวิตไปตามครรลองจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษเคยประพฤติปฏิบัติมา 4. มีคุณธรรมจริยธรรมต่อผู้อื่นและสังคม เป็นแบบอย่างในการดําเนินชีวิตและการ ทํางานรู้จักใช้คนให้เหมาะสมกับงาน รู้จักใช้หลักมนุษยสัมพันธ์เป็นแนวทางในการครองใจคน สร้าง น้ําใจในการทํางาน ตระหนักในการนําความคิดและการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนา 5. มีความรับผิดชอบต่อสังคมและเสียสละต่อส่วนรวม โดยมีความมุ่งมั่นในการบริหาร และในการทํางาน โดยการบริหารดังกล่าวจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม และเสียสละต่อส่วนรวม นอกจากคุณลั กษณะดังกล่ าวมาแล้ วข้างต้น ธานินทร์ กรั ยวิเชียร (2551:27-28) ยังให้ ความเห็นไว้ว่า ผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมนั้นจะต้องมีคติธรรมตามที่ชาวอังกฤษอบรมลูกหลานเพื่อให้เป็น “เด็กดี” โดยจะฝึกอบรมเด็กตั้งแต่เข้าใจความ ด้วยคติธรรมง่ายๆ 7 ประการ คือ (1) สัจจะ พูดความจริง (Truth) (2) ความซื่อสัตย์ (Honesty) (3) ความระลึกในหน้าที่ (Sense of Duty) (4) ความอดกลั้น (Patience) (5) ความเป็นธรรม (Fair Play) (6) ความเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Consideration of Others) และ (7) เมตตาธรรม (Kindness) ดังนั้นชาวอังกฤษจึงได้รับการอบรมปลูกฝังคติธรรมดังกล่าวนี้มาตั้งแต่ เด็ก จนกระทั่งเป็นอุปนิสัยประจําชาติ เมื่อบุคคลใดมีคติธรรม 7 ประการครบถ้วนก็ถือได้ว่าเป็นผู้ที่มี “Integrity” ซึ่งหมายถึง ความหนักแน่น ความน่าเชื่อถือ ความยึดมั่นในหลักการและความถูกต้อง ดังนั้น คําว่า “Integrity” จึงมีความว่า “การยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม” อันเป็นคุณธรรมที่สูงส่งซึ่งถือเป็น หัวใจของคุณธรรมและจริยธรรมทั้งปวง สําหรับในประเทศไทยเรานอกจากคติธรรมดังกล่าวแล้วควรมี การฝึกอบรมเด็กไทยให้มีคุณธรรมจริยธรรม ควรจะต้องเพิ่มคติธรรมอีก 5 ประการ เพื่อให้เหมาะสมกับ วัฒนธรรมอันดีและสภาพของสังคมไทย คือ (1) ความกตัญญูกตเวที (Gratitude) (2) ความสุภาพนุ่มนวล (Politeness) (3) ความคารวะต่อผู้มีอาวุโส (Respect for Elders) (4) รักษาคําพูด (Promise) และ (5)
22
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
จิตสํานึกสาธารณะ เสียสละเพื่อส่วนร่วม (Public Conscience) โดยถ้ามีการฝึกอบรมกันตั้งแต่เด็ก ทีละ เล็กทีละน้อย ให้ฝังเข้าไปในจิตใจ ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ไม่ใช่เรื่องยาก และเป็นเรื่องที่ต้องทําด้วย การบริหารจัดการตามแนวพระราชดาริ ตามที่ทราบกันดีแล้วว่าตลอดระยะเวลากว่าหกทศวรรษแห่งการครองราชย์ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนทั้งชาติ ด้วยพระราชปณิธานอันแน่ว แน่ที่จะทรงเสียสละประโยชน์สุขส่วนพระองค์เพื่อพสกนิกรชาวไทย พระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรง ปฏิบัติ นับตั้งแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติในปี 2489 แสดงให้เห็นถึงพระเมตตาและพระมหา กรุณาธิคุณ ในการบําบัดทุกข์บํารุงสุขให้แก่พสกนิกรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทรงทุ่มเทพระ วรกายตรากตรําและมุ่งมั่น เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่พสกนิกร ไม่ว่าจะเชื้อชาติและ ศาสนาใด หรืออยู่ห่างไกลสักเพียงใด ก็มิทรงย่อท้อ ทรงเข้าไปช่วยเหลือราษฎรทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การเกษตร การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งดิน น้ํา ปุาไม้ และพลังงาน หรือแม้กระทั่งการจราจร ทรงคิดค้นแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างแยบยล การ ทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการดําเนินงานในลักษณะทางสายกลางที่สอดคล้องกับ วิถีชีวิตของสังคมไทย และสามารถปฏิบัติได้จริง โดยทรงเน้น “การพัฒนาคน” เป็นตัวตั้ง และยึดหลัก ผลประโยชน์ของปวงชน และการมีส่วนร่วมตัดสินใจของประชาชน ตลอดจนภูมิสังคมที่คํานึงถึงความ แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และการพึ่งตนเอง โดยรู้จักประมาณตน และดําเนินการด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และ “ทําตามลําดับขั้น” อย่างบูรณาการ ซึ่งอาศัยความ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และการ “รู้ รัก สามัคคี” ของทุกฝุาย ส่งผลให้ประชาชนและชุมชนในชนบทที่ได้ดําเนินการตามแนว พระราชดําริมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม มีเทคโนโลยีที่ เหมาะสม ดําเนินการได้อย่างประหยัด และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน อันนําไปสู่ชุมชนและ สังคมที่เข้มแข็งและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ดังพระปฐมบรมราชโองการที่ทรงตรัสไว้ 50 ปีที่แล้วว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” (5 พฤษภาคม 2493) เป็นคํา ที่มีความหมายมาก ก็คือ พระองค์ท่านจะครองแผ่นดินโดยธรรม ธรรมของท่านคือ ทศพิธราชธรรม ความถูกต้อง ความชอบธรรม ซึ่งมีศัพท์คําว่า “ธรรมาภิบาล” เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนคนไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนในพื้นที่ทั่ วทุกภูมิภาคตั้งแต่ปี 2495 เพื่อ ทรงศึกษาถึงวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของพี่น้องประชาชน จนกระทั่งปัจจุบันมีโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริเกิดขึ้นมากมายสามพันกว่าโครงการ ซึ่งแต่ละโครงการล้วนแต่เป็นประโยชน์ แก่ประชาชนชาวไทยทั้งสิ้น เกษม วัฒนชัย (2557) ได้สรุปหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ โดย แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลักกล่าวคือ 1. หลักคิด ประกอบด้วย 1.1 ปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดําเนินชีวิต เพื่อสร้างความ เข้มแข็งหรือภูมิคุ้มกันทุกด้าน 1.2 ภูมิสังคม ต้องคํานึงถึงภูมิประเทศของบริเวณนั้น และสังคมวิทยาของคนที่นั่น
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
23
1.3 องค์รวม มีวิธีคิดอย่างองค์รวม มองอย่างครบวงจร และมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง 1.4 ยึดประโยชน์ส่วนรวม การทําเพื่อส่วนรวม ไม่ใช่เป็นการทําให้แต่เพียงผู้อื่น เท่านั้นแต่เป็นการทําเพื่อตนเองให้สามารถอยู่ร่วมกับสังคมที่อาศัยอยู่ได้ 1.5 การมีส่วนร่วม รู้จักเปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น แม้กระทั่งคํา วิพากษ์วิจารณ์และนํามาปรับใช้อย่างฉลาด 1.6 เข้าใจความต้องการของประชาชน การให้ความช่วยเหลือประชาชน ต้อง ช่วยเขาเพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ 1.7 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและเคารพความคิดที่แตกต่าง ใช้วิธีที่เรียบง่าย และตรงไปตรงมา ในการทํางาน รับฟังความคิดเห็นและความต้องการของผู้ที่จะได้รับประโยชน์และ ผู้ที่ต้องเสียประโยชน์ 1.8 การพึ่งตนเอง ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้แข็งแรงพอที่จะดํารงชีวิตได้ ต่อไปและพัฒนาให้สามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อม และพึ่งตนเองได้ในที่สุด 1.9 พออยู่พอกิน ต้องทําให้ตนเอง “พออยู่พอกิน” เสียก่อน แล้วจึงค่อยขยับ ขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป 1.10 ปลูกปุาในใจคน การที่จะฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนมาจะต้องปลูก จิตให้คนรักธรรมชาติเสียก่อน 1.11 รู้-รัก-สามัคคี เพื่อทํางานให้สําเร็จและเพื่อการคบหาสมาคมกัน 1.12 การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน สังคมใดก็ตามถ้ามีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันด้วย ความมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน สังคมนั้นย่อมเต็มไปด้วยไมตรีจิต มิตรภาพ มีความร่มเย็นเป็นสุขน่าอยู่ 1.13 ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมี ความรู้น้อยก็ย่อมทําประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้ มากกว่าผู้ที่มีความรู้มากแต่ไม่มีความสุจริต ไม่มี ความบริสุทธิ์ใจ 1.14 ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง ควรให้การสนับสนุนส่งเสริมผู้ปฏิบัติงาน เพราะคนดี คนเก่ง จะเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาความเจริญในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 2. หลักวิชา ประกอบด้วย 2.1 ทางานอย่างผู้รู้จริง ศึกษางานที่จะทําให้ดี อย่าผลีผลาม ความรู้จะหยุดนิ่ง ไม่ได้ต้องขวนขวาย ต้องเก็บ บันทึกไว้ แล้วนํากลับมาใช้ประโยชน์ “ความรู้” ต้องพัฒนาอยู่เรื่อยๆ ต้องรู้หมดและ รู้อย่างแท้จริง 2.2 ไม่ติดตารา ไม่ผูกมัดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่แท้จริง 2.3 ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ในบางครั้งหากต้องการแก้ไขธรรมชาติ อาจใช้ ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ โดยให้ธรรมชาติเป็นผู้แก้ไขและฟื้นเองตามกาลเวลา 2.4 ใช้อธรรมปราบอธรรม นําความจริงในเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติและ กฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการ และแนวปฏิบัติที่สําคัญในการแก้ปัญหาและปรับปรุง
24
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
เปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติเข้าสู่ระบบที่เป็นปกติ เช่น การใช้ผักตบชวาบําบัดน้ําเสียโดยดูดซึมสิ่ง สกปรกปนเปื้อนในน้ํา 3. หลักปฏิบัติ ประกอบด้วย 3.1 เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา การพัฒนาในด้านต่างๆ ต้องเข้าใจภูมิประเทศ เข้าใจ คนเข้าใจหลักปฏิบัติ และที่สําคัญ เราเข้าใจเขาและจะต้องทําอย่างไรให้เขาเข้าใจเราด้วย 3.2 ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด การแก้ไขปัญหาให้ยึดหลักความเรียบ ง่ายและประหยัด ทําได้เอง หาได้ในท้องถิ่น และประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในชุมชนนั้นๆ มาแก้ไขปัญหา โดยไม่ต้องลงทุนสูง หรือใช้เทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากนัก 3.3 อ่อนน้อม ถ่อมตน และประหยัด มีความอ่อนน้อม ถ่อมตนรู้จักใช้ของให้ คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด 3.4 ทาให้ง่าย ทําสิ่งยากให้กลายเป็นง่าย ทําสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย 3.5 พิจารณาตามลาดับ การพัฒนาต้องเริ่มจากพัฒนาในสิ่งที่มีความจําเป็นสูงสุด ก่อนแล้วค่อยพิจารณาเรื่องอื่นตามมาเป็นลําดับ 3.6 บริการที่จุดเดียว“ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ” ทั้ง 6 แห่ง เป็นต้นแบบในการบริหารรวมที่จุดเดียว เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนที่จะมาใช้บริ การ จะได้ ประหยั ดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยมีหน่ ว ยงานราชการต่างๆ มาร่ว มดําเนินการและให้ บริการ ประชาชน ณ ที่แห่งเดียว 3.7 แก้ปัญหาที่จุดเล็ก มองปัญหาในภาพรวมก่อนเสมอ แต่การแก้ปัญหาจะเริ่ม จากจุดเล็กๆ คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะมองข้ามก่อน 3.8 กาแฟต้นเดียว : ก้าวแรกที่กล้าก้าว เป็นตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาชาวเขา เพราะเมื่อมีการปลูกกาแฟแทนการปลูกฝิ่น มีเพียงกาแฟต้นเดียวเท่านั้นที่รอด แต่ถือว่าเป็นสิ่งดี ที่ อย่างน้อยก็มี 1 ต้นที่รอด ซึ่งสิ่งที่ต้องทําต่อไป คือ ทําอย่างไรให้กาแฟรอดมากกว่า 1 ต้น คือ ต้องมี ความมานะพยายามจนผลสุดท้ายความเพียรสามารถปลูกกาแฟขายได้เงินจํานวนมาก 3.9 ขาดทุนคือกาไร หลักการคือ “การให้” และ “การเสียสละ” เป็นการกระทํา อันมีผลเป็นกําไรคือ ความอยู่ดีมีสุข 3.10 ความเพียร มีความมุ่งมั่นและมีความตั้งใจในการทํางาน 3.11 อดทน-มุ่งมั่น ให้รู้จักการอดทน ทําจนเป็นนิสัย ไม่ว่าสิ่งดีๆ ที่เข้ามา ทุกข์ที่เข้ามา สุขที่เข้ามา เราก็รับด้วยใจสงบ ไม่ตื่นเต้นหรือกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรา 3.12 ความตั้งใจจริงและมีความเพียร ทํางานต้องมีความตั้งใจ อย่าทํางานไปวันๆ ตั้งใจทํางานจะทําให้มีแรง มีกําลังใจ และต้องขยันหมั่นเพียร งานบางอย่างยาก แต่ก็ต้องฟันฝุาไปให้ได้ 3.13 ทางานอย่างมีความสุข การทํางานให้มีความสุข ควรเริ่มจากตนเองที่จะต้อง มีความสุขกับงานที่ทํา และจะทําให้ผู้อื่นรู้สึกมีความสุขไปด้วยที่ได้ทํางานร่วมกับเรา
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
25
ความเกี่ยวพันระหว่างภาวะผู้นาด้านคุณธรรมจริยธรรมและการบริหารจัดการตามแนวพระราชดาริ จากการศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นําด้านคุณธรรมจริยธรรมและหลักการบริหารจัดการตาม แนวพระราชดําริมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าคุณลักษณะภาวะผู้นําด้านดังกล่าวสอดคล้องและคล้ายคลึง กับการบริหารจัดการตามแนวพระราชดําริอยู่หลายประการ ดังนี้ 1. คุณลักษณะภาวะผู้นําด้านคุณธรรมจริยธรรมเกี่ยวกับหลักการในการดําเนินชีวิตที่ให้ ต้องยึดหลักการดําเนินชีวิตในทางสายกลาง สอดคล้องกับการบริหารจัดการตามแนวพระราชดําริที่ทรง ให้ยึดตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประหยัด เรียบง่าย และได้ประโยชน์สูงสุด 2. คุณลักษณะภาวะผู้นําด้านคุณธรรมจริยธรรมที่ต้องเป็นคนมีสัจจะ พูดความจริงรักษา คํ า พู ด ความซื่ อ สั ต ย์ และความเอาใจเขามาใส่ ใ จเรา สอดคล้ อ งกั บ การบริ ห ารจั ดการตามแนว พระราชดําริที่ทรงให้ยึดความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การมีส่วนร่วม รู้ รักสามัคคี เคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง และเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน 3. คุณลักษณะภาวะผู้นําด้านคุณธรรมจริยธรรมที่ต้องเป็นคนมีความรั บผิดชอบต่อสังคม เสียสละต่อส่วนรวม และจิตสํานึกสาธารณะ สอดคล้องกับการบริหารจัดการตามแนวพระราชดําริที่ทรง ให้ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นสําคัญ 4. คุณลักษณะภาวะผู้นําด้านคุณธรรมจริยธรรมที่ให้เป็นคนมีความอดกลั้นสอด คล้องกับ การบริหารจัดการตามแนวพระราชดําริที่ทรงให้มีความอดทน-มุ่งมั่น ความตั้งใจจริงและมีความเพียร 5. คุณลักษณะภาวะผู้นําด้านคุณธรรมจริยธรรมที่ให้เป็นคนสุภาพนุ่มนวล สอด คล้องกับ การบริหารจัดการตามแนวพระราชดําริที่ทรงให้มีความความอ่อนน้อม ถ่อมตน การนาความเป็นภาวะผู้นาด้านคุณธรรมจริยธรรมและการบริหารจัดการตามแนวพระราชดาริ ไปปรับใช้ในการดาเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน เมื่อเราทราบถึงคุณลักษณะภาวะผู้นําด้านคุณธรรมจริยธรรมและการบริหารจัดการ ตามแนวพระราชดําริ แล้ ว เราสามารถนําความเป็นภาวะผู้ นําและแนวทางการบริหารจัดการ ดังกล่าวไปปรับใช้ในการดําเนินชีวิตและในการปฏิบัติงานได้ ดังนี้ 1. สามารถนําความเป็นภาวะผู้นําด้านคุณธรรมจริยธรรมหลักการดําเนินชีวิตในทาง สายกลางและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประหยัด เรียบง่าย และได้ประโยชน์สูงสุด มาปรับ ใช้ในการดํารงชีวิตประจําวันทั้งในครอบครอบครัวและในการปฏิบัติงาน โดยยึดความประหยัด ลด ความฟุุมเฟือย ตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็นออกไป ให้รู้จักคําว่า “พอ” โดยไม่เบียดเบียนคนอื่น ก็จะ ทําให้ตนเองไม่เดือดร้อน และสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข 2. สามารถนําความเป็นภาวะผู้นําด้านคุณธรรมจริยธรรมที่ต้องเป็นคนมีสัจจะ พูดความ จริ ง รั กษาคําพูด ความซื่อสั ตย์ และความเอาใจเขามาใส่ ใจเรา กับหลั กการบริหารจัดการตามแนว พระราชดําริที่ให้ยึดความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การมีส่วนร่วม รู้ -รักสามัคคี เคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง และเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน มาปรับใช้ในการดํารงตนและการ ปฏิบัติงาน ก็จะทําให้เราเป็นบุคคลที่น่าเคารพนับถือ และไว้วางใจ สามารถครองใจของเพื่อนร่วมงานทั้ง บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งบุคคลทั่วไป เป็นไปตามหลักการครองตน ครองคน ครองงาน
26
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
3. สามารถนํ า ความเป็ น ภาวะผู้ นํ า ด้ า นคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมที่ ต้ อ งเป็ น คนมี ค วาม รับผิ ดชอบต่อสังคม เสียสละต่อส่ว นรวม และจิตสํ านึก สาธารณะ กับการบริห ารจัดการตามแนว พระราชดําริที่ทรงให้ยึดประโยชน์ส่วนรวม มาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน ก็จะทําให้เราไม่เป็นคนเห็นแก่ ตัว เสียสละเพื่อส่วนรวม ผลตามมาก็จะทําเราให้เป็นที่รักของคนในสังคม ใช้ชีวิตและทํางานร่วมกับ สังคมได้อย่างมีความสุข 4. สามารถนําความเป็นภาวะผู้นําด้านคุณธรรมจริยธรรมที่ให้เป็นคนที่มีความอดกลั้น กับ หลักการบริหารจัดการตามแนวพระราชดําริที่ทรงให้มีความอดทน-มุ่งมั่น ความตั้งใจจริงและมีความ เพียร มาปรับใช้ในการดําเนิ นชีวิตและการปฏิบัติงานจะทําให้เราเป็นคนสู้ ชีวิต ไม่ย่อท้อต่อความ ยากลํ าบากและปั ญหาอุปสรรคต่างๆ และทําให้ เราสามารถประสบความสําเร็จในชีวิตและผ่ านพ้น วิกฤติการณ์ต่างๆ ไปได้ด้วยดีเสมอ 5. สามารถนํ าความเป็ นภาวะผู้ นํ าด้ านคุ ณธรรมจริ ยธรรมที่ ให้ เป็ นคนมี ความสุ ภาพ นุ่มนวล กับหลักการบริหารจัดการตามแนวพระราชดําริที่ทรงให้มีความความอ่อนน้อม ถ่อมตน มาปรับ ใช้ในการดําเนิ นชีวิต ย่อมจะทําให้เราเป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั่วไปที่พบเห็น พูดคุย และทํางานด้วย ผู้ใหญ่ให้ความเมตตา และมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน บทสรุป จากการศึ ก ษาภาวะผู้ นํ า ด้ า นคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม และการบริ ห ารจั ด การตามแนว พระราชดําริ ย่อมเป็นที่เห็นประจักษ์แน่ชัดแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปณิธานอัน แน่วแน่ในการขจัดทุกข์บํารุงสุขแก่ประชาชน โดยเสด็จพระราชดําเนินไปทรงเยี่ยมเยียนพสกนิกรทั่ว ประเทศ ต้องทรงพระดําเนินลุยน้ํา หรือทรงขับรถยนต์พระที่นั่งด้วยพระองค์เองลุยน้ําข้ามลําธาร รวมถึงทรงพระดําเนินในปุาที่เต็มไปด้วยทาก ก็มิได้ทรงหวาดหวั่นกับความยากลําบาก ด้วยมีพระราช ประสงค์ที่จะทรงรับทราบปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชน เพื่อช่วยเหลือให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้น ทรงริเริ่มโครงการพัฒนาในทุกภูมิภาคตลอดจนพระราชทานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็น แนวทางปฏิบัติในการดํารงชีวิตของปวงชนชาวไทย เพื่อนําสู่ความก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน ตลอดไปตลอดช่วงเวลา 65 ปี ผลสําเร็จของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ และการน้อมนําแนว พระราชดําริไปปฏิบัติ รวมถึงการสงเคราะห์ประชาชนผู้ยากไร้ ได้ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้าง ความผาสุกให้แก่ประชาชนอย่างยั่งยืน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวง ชนชาวไทย หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ จึงพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญานามแด่พระองค์ เพื่อ เทิดพระเกียรติ และถวายความจงรักภักดี อันแสดงถึงพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในศาสตร์ ด้านต่างๆ อาทิ พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย พระบิดาแห่งฝนหลวง พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย พระบิดาแห่งการวิจัยไทย และพระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดินมิได้มีแต่เพียงชาวไทยเท่านั้นที่ซาบซึ้งใน พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่เปรียบมิได้ แต่ยังเป็นที่ประจักษ์แก่นานาประเทศทั่ วโลก ต่างยกย่อง สรรเสริญพระเกียรติคุณและได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล เกียรติคุณแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมากมายเช่นกัน ทั้งด้านการพัฒนาประเทศ การพัฒนา ชนบท การพัฒนาการเกษตร การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี การประดิษฐ์ การพัฒนาสังคม การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ และสาธารณสุข
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
27
โดยหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงยึดการดําเนินงานใน ลักษณะทางสายกลางที่สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัว และสามารถปฏิบัติได้จริง ทรงมีความละเอียด รอบคอบและทรงคิดค้นหาแนวทางพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด มีคุณค่าและควรยึด เป็นแบบอย่างในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ด้วยเหตุดังกล่าวเมื่อนําความเป็นภาวะผู้นํา ด้านคุณธรรมจริยธรรมและหลักการบริหารจัดการตามแนวพระราชดําริมาประกอบเป็น แนวทาง ทุก ภาคส่วนจึงจําเป็นต้องน้อมนําพระราชดําริของพระองค์มาปฏิบัติและช่วยกันผลักดันให้คนไทยส่วน ใหญ่มีความตระหนักในเรื่องดังกล่าว โดยให้มีการนําความเป็นภาวะผู้นําด้านคุณธรรมจริยธรรมกับ หลักการบริหารจัดการตามแนวพระราชดําริไปปรับใช้ในการดําเนินชีวิต การปฏิบัติงานในชีวิตจริง และการบริหารจัดการองค์กรให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้บังเกิดผลต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ ก็จะทํา ให้สังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่ตลอดไป เอกสารอ้างอิง เกษม วัฒนชัย. (2557). หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2557 จาก http://www.stabundamrong.go.th/web/book/55/b5_55.PDF. ไชยา ภาวะบุตร. (2546). หลักทฤษฎีและปฏิบัติทางการบริหารการศึกษา. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2550). คุณธรรม จริยธรรม กับปัญหาเยาวชนในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : พิฆเนศพริ้นท์ติ้งเซ็นเตอร์. _______. (2551). จริยธรรมของผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. _______. (2553). การยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์. สุเทพ ปาลสาร. (2554). ภาวะผู้นาเชิงจริยธรรม (Ethical Leadership). สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2557 จาก http://el-suthep.blogspot.com/2011/07/blog-post.html. สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และสรายุทธ กันหลง. (2557). ภาวะผูนาใฝุบริการในองค์กร : แนวคิด หลักการทฤษฎีและ งานวิจัย Servant Leadership in Organization: Concept, Principle, Theory, and Research. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2557 จาก http://library.hu.ac.th/BackUp_library/bkgeneral/leadership.pdf. Daft, Richard. L. (1999). Leadership Theory and Practice. New York : The Dryden Press. Dubrin J. Andrew. (1998). Leadership : Research Findings Practice and Skill. Houghton : Miffin. Hemphill, J. K. & Coons, A. E. (1957). Development of the Leader Behavior Description Questionnaire. In Stogdill, R. M. & Coons, A. E. (Eds.), Leader Behavior: It’s Description & Measurement (Research Monograph No. 88).
Jacobs, T. O., & Jaques, E. (1990). Military executive leadership. In K. E. Clark & M. B. Clark (Eds.), Measures of leadership. Greensboro, NC: Center for Creative Leadership.
…………………………………………………..
28
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
การพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นโดยใช้รูปแบบ การให้การปรึกษากลุ่ม The Development of Future Orientation of Adolescent Students through Group Counseling Model รัฐศักดิ์ รักสลาม 1 ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 2 และประสาร มาลากุล ณ อยุธยา 3 บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่น 2) เพื่อพัฒนา รู ป แบบการให้ การปรึ กษากลุ่ มเพื่ อพั ฒ นาลั กษณะมุ่ งอนาคตของนั กเรี ยนวั ยรุ่ น 3) เพื่ อประเมิ น ประสิทธิผลของการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ที่ใช้ในการศึกษาลักษณะมุ่งอนาคตเป็นนักเรียนวัยรุ่นใน เขตกรุงเทพมหานครที่กําลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ของ โรงเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตพื้นที่การศึกษา 2 จํานวน 332 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากประชากร กลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนวัยรุ่นของ โรงเรียนปทุมคงคา ที่ได้จากสุ่มอย่างง่ายจากกลุ่มที่ 1 ที่มีคะแนนพลังทางบวกตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 ลงมา จํานวน 24 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลอง ได้ รั บ การให้ การปรึ กษากลุ่ ม ส่ ว นกลุ่ มควบคุ มไม่ได้ รั บการปรึ กษาใดๆ เครื่ องมื อที่ ใช้ ในการวิ จั ย ประกอบด้วย 1) แบบวัดลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่น มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .97 และ วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและโมเดลการวัด องค์ ป ระกอบของลั ก ษณะมุ่ ง อนาคตมี ค วามเหมาะสมพอดี กั บข้ อมู ล เชิ งประจั ก ษ์ โดยมี ค่ า Chisquare=48.33, df=36, P=.082, GFI=.98 และ RMSEA=.032 และ 2) รูแบบการให้การปรึกษากลุ่ม เพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่น มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .66-1.00
1
นักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา กลุ่มวิชาจิตวิทยาการให้คําปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร., หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 3 รองศาสตราจารย์ ดร., รองอธิการบดีฝุายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ผู้อํานวยการหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
29
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยลักษณะมุ่งอนาคตโดยรวมและรายด้านของนักเรียน วัยรุ่นอยู่ในระดับมากลักษณะมุ่งอนาคตรายด้าน ประกอบด้วย ลักษณะมุ่งอนาคตด้านการเรียน ด้าน อาชีพ และด้านการดําเนินชีวิต 2) การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาลักษณะมุ่ง อนาคตของนักเรียนวัยรุ่น พัฒนาจากแนวคิด ทฤษฎี และเทคนิคต่างๆ ของการให้การปรึกษากลุ่ม ประกอบด้วย ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ทฤษฎีการให้การปรึกษา กลุ่มแบบพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริง ทฤษฎีการให้การปรึกษา กลุ่มแบบการรู้คิดและพฤติกรรม และการให้การปรึกษาแบบเล่าเรื่อง โดยมีขั้นตอนในการให้การ ปรึกษากลุ่ม 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเริ่มต้น ขั้นดําเนินการ และขั้นยุติในการให้การปรึกษากลุ่ม 3) ลักษณะ มุ่งอนาคตของนั กเรีย นวัย รุ่น กลุ่ มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม หลั งการทดลองและหลั ง ติดตามผลเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนได้รับการการให้การปรึกษากลุ่ม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลองที่ ได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม หลังการทดลอง และหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นมากกว่าลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการให้ การปรึกษากลุ่ม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) ผลการสนทนากลุ่มเฉพาะ พบว่านักเรียน วัยรุ่นกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึ กษากลุ่ม มีความพึงพอใจรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม ได้ เรียนรู้ และมีประสบการณ์ในการเสริมสร้างลักษณะมุ่งอนาคต คาสาคัญ: ลักษณะมุ่งอนาคต การให้การปรึกษากลุ่ม Abstract The purposes of this research were 1) to study future orientation of adolescent students, 2) to develop the group counseling model for developing future orientation of the adolescent students, and 3) to study the effectiveness of the group counseling model for developing future orientation of the adolescent students. The sample of the study included 2 groups. The first group of future orientation study consisted of 332 Mathayomsuaksa IV students of schools under the Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. This sample group was selected by multi-stage random sampling from the population. The second group of the study was 24 adolescent students of Pathumkongka school whose future orientation scores were lower than fiftieth percentile. They were then randomly selected into two groups, classified as an experiment group and a control group. Each group consisted of 12 adolescent students. The experimental group participated in the group counseling model while the control group did not receive any counseling. The research instruments were 1) the future orientation scale with reliability coefficient (alpha) of .97 and its construct validity was confirmed through factor analysis and the future-orientation measurement model was fitted to the
30
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
empirical data with Chi-square of 48.33,df=36,P=.082,GFI=.98 and RMSEA=.032 and 2) the group counseling model for developing future orientation of the adolescent students with IOC ranged from .66-1.00. The research results were as follows: 1) The total mean score and each dimension score of future orientation were high. The dimensions of the future orientation included the dimensions of studying, career, and life style, 2) The group counseling model for developing future orientation of the adolescent students included concepts and techniques of the group counseling theories: the personcentered group counseling, reality counseling in groups, behavioral group counseling, cognitive behavioral counseling to groups, and narrative counseling. The Model included initial stage, working stage, and termination stage. 3) The future orientation of the experimental group after participating in the group counseling model and after the follow up were significantly higher than before participating in the group counseling model at .01 level. 4) The future orientation of the experimental group after participating in the group counseling and after the follow up were significantly higher than that of the control group at .01 level. 5) Focus group report of the adolescent students in the experimental group showed that they were satisfied with the group counseling model. They also gained more knowledge and experiences in future oriented development. Keywords: Future Orientation, group counseling intervention ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา นักเรียนวัยรุ่นเป็นวัยแห่งหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต ทั้งด้านการเรียน การทํางาน การใช้ชีวิต เป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลง เกิดภาวะความว้าวุ่นใจไม่สบายตัว ไม่สบายใจ ทําให้เกิดความหงุดหงิด วิตก กังวล อารมณ์เสียง่าย เกิดเป็นปัญหาทางอารมณ์ และปัญหาทางสังคม เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ความเป็น ตัวของตัวเอง และเป็นช่วงวัยแห่งจินตนาการ จินตนาการตนเองเป็นสิ่งต่างๆ ที่ตนเองชอบ และมองถึง อนาคตของตนเอง นักเรียนวัยรุ่นส่วนมากยังไม่มีความคาดหวังว่าตนเองว่าต้องการสิ่งใดในอนาคต ทั้ง ด้านการดําเนินชีวิต ด้านการเรียน และด้านอาชีพ โดยสรุปปั ญหาของนักเรียนวัยรุ่นเกี่ยวข้องกับ 1) ปัญหาเกี่ยวกับการศึกษา มักจะเป็นการขาดทักษะในการเรียน นักเรียนวัยรุ่นยังไม่มีการวางแผนเลือก เรียนสาขาวิชาที่ตนเองชอบ ยังไม่สามารถกําหนดเปูาหมายในการเรียน ไม่มีความเพียรพยายามปฏิบัติ ตามแผนที่ได้วางไว้ และไม่สามารถอดได้รอได้ในเรื่องการเรียน นักเรียนยังไม่เห็นประโยชน์และคุณค่า ในอนาคตในด้านการเรียน ไม่สามารถวางโครงการด้านการเรียนในอนาคต ไม่รู้ว่าตนเองมีความถนัดใน ด้านใด จึงไม่สามารถบ่งบอกว่าตนเองนั้นเหมาะกับการเรียนในสาขาใด ยังไม่มีทักษะในด้านการเรียนที่ ดีพอ ก็อาจจะประสบปัญหาในเรื่องการเรียนได้ เช่น การแบ่งเวลาทํางาน การจดคําบรรยาย ขาดสมาธิ ในการเรียน วิตกกังวลในการสอบ เป็นต้น 2) ปัญหาที่เกี่ยวกับการเลือกอาชีพ คือไม่มีแผนการศึกษา จึง
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
31
ไม่มีแผนในการประกอบอาชีพ อาจเนื่องมาจากเลือกสอบเข้าศึกษาในสาขาที่ใม่สอดคล้องกับความถนัด ความสามารถและค่านิยมของตนเอง ไม่ชอบสาขาวิชาที่กําลังเรียนอยู่ และไม่อยากทํางานในสาขาวิขานี้ เป็นต้น 3) ปัญหาในการดําเนินชีวิต ได้แก่ ปัญหาด้านบุคลิกภาพของตนเอง เช่น อาจจะเชื่อมั่นตนเอง มากหรือน้อยเกินไป ปัญหาด้านอารมณ์ อาจจะคิดมาก วิตกกังวลและสะเทือนใจง่าย ปัญหาด้าน ครอบครัวคือสูญเสียบิดาหรือมารดา บิดามารดาขัดแย้งกัน หย่าร้างกัน ไม่ให้ความยุติธรรมแก่นักเรียน วัยรุ่น มุ่งหวังในตัวนักเรียนวัยรุ่นมากเกินไปและผิดหวัง ปัญหาด้านเศรษฐกิจคือไม่มีเงินพอที่จะศึกษา เล่าเรียน นอกจากนั้นยังมีปัญหาด้านการปรับตัว การคบเพื่อน ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ของโรงเรียน ขาดเพื่อน เพื่อนไม่สนใจ เป็นต้น ซึ่งนักเรียนวัยรุ่นส่วนมากยังไม่มีความคาดหวังว่าตนเอง ว่าต้องการสิ่งใดในอนาคต ทั้งด้านการเรียน ด้านอาชีพ และด้านการดําเนินชีวิต ดังนั้นจึงทําให้เกิด ปัญหาอุปสรรคในด้านการศึกษาเล่าเรียน การเลือกอาชีพ และการดําเนินชีวิต (กรรณิกา พิริยะจิตรา, 2547: 82) ลักษณะมุ่งอนาคต (Future-Orientation) เป็นความสามารถในการมองการณ์ไกล และ เล็งเห็นผลดี ผลเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สามารถวางแผนปฏิบัติรองรับได้ผลดี หรือปูองกันผลเสียที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต (ดวงเดือน พันธุมนาวิน, 2550 :20) ลักษณะมุ่งอนาคต เป็นจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับ การคิดและการรับรู้ของบุคคลที่สามารถคาดการณ์ไกลว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต (ManZi, Vignole & Regalia, 2010:970) บุคคลที่มีลักษณะมุ่งอนาคตจะสามารถกําหนดเปูาหมายในชีวิต พฤติกรรมและการ วางแผนอนาคต (Masten, Obradovic & Burt, 2006 ; Beal & Crockett, 2010:3) และ Nurmi (2004:5) กล่าวว่าลักษณะมุ่งอนาคตจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่บุคคลคาดหวังเกี่ยวกับอนาคต และโอกาส ความเป็นไปได้ที่จะบรรลุสิ่งที่คาดหวังนั้นๆ ลักษณะมุ่งอนาคตของวัยรุ่นนั้น ประกอบด้วยคุณลักษณะต่างๆ ต่อไปนี้ 1) การควบคุม ตนเองหรื อการกําหนดตนอง (Self-Regulation) 2) การมองโลกในแง่ดี (Optimism) 3) ความเชื่อใน ความสามารถของตนเอง (Self-Efficacy) 4) การมีแรงจูงใจ (Motivation) 5) ความสามารถในการบริหาร ตนเอง (Executive Function) และการมีชีวิตอนาคตที่เจริญรุ่งเรือง(Prospective Life) (Robbins & Bryan, 2004; Seginer, 2000; Pulkkinen & Ronka, 1994; Blackmore & Choudhury, 2006; อ้าง ถึงใน Beal, 2011:3, 42) ผลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประกอบด้วย อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิ ราช กรุงเทพมหานคร และอาจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานครรวมทั้งสิ้น 7 ท่าน พบว่าลักษณะมุ่งอนาคต หมายถึงสิ่งที่ บุคคลคาดหวังเกี่ยวกับอนาคต โดยจะต้องมีการวางแผน มีความมุ่งมั่นเพื่อให้บรรลุถึง เปูาหมายในอนาคต และมีแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ส่วนลักษณะมุ่งอนาคตที่ควร พัฒนาให้แก่นักเรียนวัยรุ่น ประกอบด้วย การมีความหวัง มีเปูาหมาย มีการวางแผนเพื่อให้บรรลุ เปูาหมาย การมีเจตคติที่ดีต่อชีวิตอนาคต การตรวจสอบและประเมินผลว่าสอดคล้องกับเปูาหมายและ สิ่งที่ตนเองคาดหวังและการปฏิบัติตามแผน ผู้วิจัยได้สํารวจข้อมูลเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมคงคา จํานวน 145 คน พบว่า ลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมคงคาประกอบด้วยการ มีความหวัง การมีเปูาหมาย การวางแผน การรู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถความถนัดและ
32
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
ความเข้าใจของตนเอง ความสามารถควบคุมและกํากับตนเองให้เป็นไปตามแผน ความสามารถจัดการ แก้ปัญหาอุปสรรคได้ ความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะปฏิบัติตามแผนให้สําเร็จ และการมีเจตคติที่ดีต่อตนเอง ต่อ การเรียน อาชีพ และการดําเนินชีวิต ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตด้านการเรียน ด้านอาชีพ และด้านการดําเนินชีวิตของนักเรีย นวัยรุ่น เพื่อให้นักเรียนวัย รุ่นสามารถคาดการณ์ไกล สามารถ ตัดสินใจเลือกกระทําได้อย่างเหมาะสม สามารถแก้ปัญหาและวางแผนดําเนินการเพื่อเปูาหมายของ ตนเอง รู้ จั ก รอคอยผลที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ในอนาคต และมี ค วามเพี ย รพยายามในปั จ จุ บั น เพื่ อ ประสบ ความสําเร็จในอนาคต การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม โดยประยุกต์ใช้ทฤษฏีต่างๆใน การให้การปรึกษากลุ่มซึ่งมีแนวคิดและวิธีการที่เปิดโอกาสให้นักเรียนวัยรุ่นได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมทั้งการให้ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา ภายใต้บรรยากาศที่มีความ อบอุ่น ปลอดภัย และไว้วางใจซึ่งกันและกัน ได้เรียนรู้ที่จะวางแผนชีวิตตามที่ตนเองต้องการ ได้เรียนรู้ ในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น สามารถรับผิดชอบและควบคุมชีวิตของตนเองให้บรรลุเปูาหมาย ที่ต้องการ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่น 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียน วัยรุ่น 3. เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาลักษณะมุ่ง อนาคตของนักเรียนวัยรุ่น สมมติฐานการวิจัย 1. ลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม หลัง การทดลองและหลังติดตามผลเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม 2. ลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม หลัง การทดลองและหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นมากกว่าลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ รับการให้การปรึกษากลุ่ม ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนวัยรุ่น ที่กําลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปี การศึกษา พ.ศ.2557 ของสั ง กัดสํ านั กงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ จํานวนทั้งสิ้น 43,630 คน (สํานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2556)
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
33
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 2.1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในการศึกษาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่น เป็น นักเรียนวัยรุ่นที่กําลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2557 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการจํานวน 5 โรงเรียน จํานวน 332 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มเลือกแบบหลายขั้นตอน (Multi stage random sampling method) จากประชากร ได้แก่ โรงเรียนปทุมคงคา โรงเรียนมัธยมบึงทองหลาง โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย และโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง 2.2 กลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ ใ ช้ ใ นการพั ฒ นาลั ก ษณะมุ่ ง อนาคตของนั ก เรี ย นวั ย รุ่ น เป็ น นักเรียนวัยรุ่นที่กําลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมคงคา ปีการศึกษา 2557 ที่มีคะแนน ลักษณะมุ่งอนาคตตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 ลงมา จํานวน 24 คน จากนั้นจึงสุ่มอย่างง่ายเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนา ลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่น ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการปรึกษาใดๆ 3. ตัวแปรที่ศึกษา ลักษณะมุ่งอนาคตประกอบด้วย 3.1 ลักษณะมุ่งอนาคตด้านการเรียน 3.2 ลักษณะมุ่งอนาคตด้านอาชีพ 3.3 ลักษณะมุ่งอนาคตด้านการดําเนินชีวิต 4. การพั ฒ นารู ปแบบการให้ การปรึ ก ษากลุ่ ม เพื่ อ พัฒ นาลั ก ษณะมุ่ง อนาคตของ นักเรียนวันรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวแปรที่ศึกษาคือ 4.1 ตัวแปรต้นคือ การให้การปรึกษากลุ่ม 4.2 ตัวแปรตามคือ ลักษณะมุ่งอนาคต นิยามศัพท์ปฏิบัติการ 1. ลักษณะมุ่งอนาคต (Future-Orientation) ของนักเรียนวัยรุ่น หมายถึง ลักษณะการ มองสู่อนาคตข้างหน้าที่ครอบคลุมวิสัยทัศน์เกี่ยวกับชีวิตอนาคตของนักเรียนวัยรุ่น โดยแบ่งลักษณะมุ่ง อนาคตด้านการเรียน ด้านอาชีพ และด้านการดําเนินชีวิต 1.1 ลักษณะมุ่งอนาคตด้านการเรียน ได้แก่ ความมุ่งหวังเกี่ยวกับอนาคตด้านการ เรียน เปูาหมายและการวางแผนอนาคตด้านการเรียน การกํากับตนเองด้านการเรียน และการบริหาร จัดการปัญหาด้านการเรียน 1.2 ลักษณะมุ่งอนาคตด้านอาชีพ ได้แก่ ความมุ่งหวังเกี่ยวกับอนาคตด้านอาชีพ เปูาหมายและการวางแผนอนาคตด้านอาชีพ การกํากับตนเองด้านอาชีพ และการบริหารจัดการ ปัญหาด้านอาชีพ 1.3 ลักษณะมุ่งอนาคตด้านการดําเนินชีวิต ได้แก่ ความมุ่งหวังเกี่ยวกับอนาคตด้าน การดําเนินชีวิต เปูาหมายและการวางแผนอนาคตด้านการดําเนินชีวิต การกํากับตนเองด้านชีวิตใน อนาคต และการบริหารจัดการปัญหาด้านการดําเนินชีวิต
34
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
2. การให้การปรึกษากลุ่ม หมายถึง กระบวนการช่วยเหลือผู้รับบริการเป็นกลุ่ม โดยมีผู้ ให้บริการเป็นผู้อํานวยความสะดวก และเปิดโอกาสให้สมาชิกแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อช่วยเหลือ ซึ่ ง กั น และกั น ในการให้ ข้ อ เสนอแนะแนวทางการแก้ ปั ญ หา ภายใต้ บ รรยากาศที่ มี ค วามอบอุ่ น ปลอดภัย และไว้วางใจซึ่งกันและกัน 3. รูปแบบ หมายถึง แบบแผนการจัดการที่ผ่านขั้นตอนดําเนินการพัฒนาขึ้นอย่างเป็น ระบบ และมีจุดมุ่งหมายเฉพาะ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด ทฤษฏีหรือหลักการ มีองค์ประกอบ ในการจัดการที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ได้รับการพิสูจน์ทดสอบหรือยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ สามารถใช้ เป็นแนวทางจัดการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กําหนดไว้ 4. รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม หมายถึงกรอบการให้การปรึกษากลุ่มที่ประกอบด้วย แนวคิด และเทคนิค และวิธีดําเนินการของทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริ ง ทฤษฏี การให้การปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรมนิยม ทฤษฏีการให้การปรึกษา กลุ่มแบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบการรู้คิดและพฤติกรรม และการให้การปรึกษากลุ่มเล่าเรื่อง เพื่อ พัฒ นาลั กษณะมุ่ งอนาคตด้านการเรี ย น ด้ านอาชีพ และด้านการดําเนินชี วิต โดยมีแบบแผนการ ดําเนินการอย่างมีระบบ
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
35
กรอบแนวคิดในการวิจัย การศึกษาเรื่องการพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นโดยใช้รูปแบบการให้การ ปรึกษากลุ่ม มีกรอบแนวคิดในการวิจัยดังนี้ ตัวแปรต้น รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม ประกอบด้วยทฤษฎี และเทคนิค ต่างๆ ในการพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นดังนี้ 1.ขั้นเริ่มต้นการให้การปรึกษากลุ่ม ผู้วิจัยสร้างสัมพันธภาพและ ชี้แจงวัตถุประสงค์ กฎระเบียบ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการ ให้ ก ารปรึก ษากลุ่มเพื่อ พัฒนาลัก ษณะมุ่งอนาคตของนัก เรีย น วัยรุ่น โดยผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้ทฤษฏีการให้การปรึกษากลุ่มแบบ ยึดบุคคลเป็นศูนย์กลางโดยใช้เทคนิคการฟัง การยอมรับอย่างไม่ มีเงื่อนไข การสะท้อนความรู้สึก การอภิปรายกลุ่ม และการให้ ข้อเสนอแนะ 2.ขั้นดาเนินการในการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒ นาลักษณะ มุ่งอนาคตของนักเรีย นวั ยรุ่น ผู้วิจัย ดาเนินการโดยใช้ท ฤษฏี และเทคนิคต่างๆต่อไปนี้ 2.1 ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรมนิย ม ทฤษฎี การให้การปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริง โดยใช้เทคนิค การ อภิปรายกลุ่ม การวางแผนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยการ ใช้ WDEP และแผนผังก้างปลาเพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตด้าน การเรียนของนักเรียนวัยรุ่น 2.2 ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริง ทฤษฎี การให้การปรึกษากลุ่มแบบการรู้คิดและพฤติกรรม(CBT) โดยใช้ เทคนิคแผนผังความคิด (Mind map) เทคนิคการแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตด้านอาชีพของนักเรียน วัยรุ่น 2.3 ทฤษฎี ก ารให้ ก ารปรึก ษากลุ่มแบบพฤติก รรมนิย มโดยใช้ เทคนิคการอภิปรายกลุ่ม การเรีย นรู้จ ากตัว แบบ และแผนผัง ความคิด(Mind map)เพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตด้านการ ดําเนินชีวิตของนักเรียนวัยรุ่น
ตัวแปรตาม ลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่น
1. ลักษณะมุ่งอนาคตด้านการเรียน 1.1 ความมุ่งหวังเกีย่ วกับอนาคตด้านการเรียน 1.2 เปูาหมายและการวางแผนอนาคตด้านการเรียน 1.3 การกํากับตนเองด้านการเรียน 1.4 การบริหารจัดการปัญหาด้านการเรียน 2. ลักษณะมุ่งอนาคตด้านอาชีพ 2.1 ความมุ่งหวังเกีย่ วกับอนาคตด้านอาชีพ 2.2 เปูาหมายและการวางแผนอนาคตด้านอาชีพ 2.3 การกํากับตนเองด้านอาชีพ 2.4 การบริหารจัดการปัญหาด้านอาชีพ 3.ลักษณะมุ่งอนาคตด้านการดาเนินชีวิต 3.1 ความมุ่งหวังเกีย่ วกับอนาคตด้านการดําเนินชีวิต 3.2 เปูาหมายและการวางแผนอนาคตด้านการดําเนินชีวิต
3.3 การกํากับตนเองด้านการดําเนินชีวิต 3.4 การบริหารจัดการปัญหาด้านการดําเนินชีวิต
2.4 ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบการรู้คิดและพฤติกรรมโดย ใช้เทคนิคเทคนิคพยากรณ์ และ สถานการณ์จําลองเพื่อพัฒนา ลักษณะมุ่งอนาคตด้านการเรียน ด้านอาชีพ และด้านการดําเนิน ชีวิตของนักเรียนวัยรุ่น 2.5 ทฤษฎีการให้ การปรึก ษาแบบเล่าเรื่อ งโดยใช้เทคนิค การ เขียนบทสรุป และการสนทนากลุ่ม เฉพาะเพื่อพัฒนาลักษณะมุ่ง อนาคตด้านการเรียน ด้านอาชีพ และด้านการดําเนินชีวิต 3. ขั้นยุติการให้การปรึกษา และประเมินการให้การปรึกษากลุ่ม
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียน วัยรุ่น
36
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
วิธีการดาเนินวิจัย การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นโดยการให้การปรึกษา กลุ่ม” เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Research) โดยนําวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) ได้แก่ การสํารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่น การวิเคราะห์ทางสถิติ เกี่ยวกับผลการสํารวจความคิดเห็นและผลการตอบแบบวัดลักษณะมุ่งอนาคต กับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) ได้แก่ การใช้การสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group) โดยการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อ พัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่น มาผสมผสานใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบวั ด ลั ก ษณะมุ่ ง อนาคตของนั ก เรี ย นวั ย รุ่ น จํ า นวน 50 ข้ อ ที่ ไ ด้ ป รั บ ปรุ ง ตาม ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จํานวน 100 คนเพื่อหา คุณภาพของแบบวัด ซึ่งผลการหาคุณภาพของแบบวัดมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 ต่อจากนั้นจึงนํา แบบวัดลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นที่ได้หาคุณภาพแล้วนําไปใช้ในการวิจัยต่อไป 2. การให้การปรึกษากลุ่มเพื่อการพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่ นโดยผู้วิจัยได้ พัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มโดยใช้ทฤษฏีการให้การปรึกษากลุ่ม 5ทฤษฏีได้แก่ทฤษฏีการให้ การปรึ กษากลุ่ มแบบยึ ดบุ คคลเป็ นศูน ย์ กลาง ทฤษฏีการให้ การปรึกษากลุ่ มแบบพฤติกรรมนิยม ทฤษฏีการให้การปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริง ทฤษฏีการให้การปรึกษากลุ่มแบบการรู้คิดและ พฤติกรรม และทฤษฏีการให้การปรึกษาแบบเล่าเรื่อง มาพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อ พัฒ นาลั ก ษณะมุ่ ง อนาคตของนั ก เรี ย นวั ย รุ่น ซึ่ งผลการวิ เคราะห์ ค่ า ดัช นี ค วามสอดคล้ อง (Item Objective Congruence: IOC) พบว่ามีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.66-1.00 และผู้วิจัยได้ ปรับปรุงรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตตามคําแนะนําของผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนําไปใช้กับกลุ่มทดลองที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จํานวน 12คน และทําการสนทนากลุ่ม เฉพาะ (Focus Group) ภายหลังการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ 1. วิเคราะห์เปรีย บเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียน วัยรุ่นในกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังติดตามผล โดยพิจารณาจากค่า Ftest ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบซ้ําชนิดทางเดียว (One-Way Repeated ANOVA Measurement) (Gavin, 2008: 190-203) 2. วิเคราะห์เปรีย บเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียน วัยรุ่นระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมในระยะก่อนการทดลอง ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังติดตามผล ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบซ้ําชนิดสองทาง (Two-Way Repeated ANOVA Measurement) (Gavin, 2008: 190-203)
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
37
ผลการวิจัย 1. การศึกษาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่น การศึกษาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่น ผู้วิจัยนําคะแนนลักษณะมุ่งอนาคตของ นั ก เรี ย นวั ย รุ่ น ของกลุ่ ม ตั ว อย่ า ง จํ านวน 332 คน มาหาค่ า สถิ ติพื้ น ฐาน ได้แ ก่ ค่ าเฉลี่ ย และค่ า เบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่าลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนลักษณะ มุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นรายด้าน พบว่าลักษณะมุ่งอนาคตด้านการเรียน ด้านอาชีพ และด้านการ ดําเนินชีวิต อยู่ในระดับมาก ดังแสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของลักษณะมุ่งอนาคตโดยรวมและรายด้านของ นักเรียนวัยรุ่น (n=332) ลักษณะมุ่งอนาคต SD แปลผล X ด้านการเรียน 3.88 .54 มาก ด้านอาชีพ 3.77 .57 มาก ด้านการดําเนินชีวิต 3.89 .49 มาก รวม 3.85 .49 มาก 2. การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียน วัยรุ่น ผู้วิจัยได้นําแนวคิด ทฤษฎี และเทคนิคการให้การปรึกษากลุ่ม จากทฤษฎีต่างๆ 5 ทฤษฎี ได้แก่ 1) ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง ซึ่งมุ่งเน้นความไว้วางใจในความสามารถ ของผู้รับการปรึกษาในการพัฒนาตนเอง และใช้พลังของตนเองในการแสวงหาหนทางในการบรรลุถึง เปูาหมาย และบรรลุถึงศักยภาพที่แท้จริง 2) ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรมนิยม เพื่อ ช่วยให้นักเรียนกระจ่างในปัญหาของเขาว่ามีปัญหาอะไรบ้างและเขาต้องการจะแก้ไขในเรื่องใด และ สามารถนํ าวิธีการแก้ไขปั ญหาไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่าต่อตนเองในอนาคต 3) ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบรู้คิดและพฤติกรรม ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนรู้จักประมวลข้อมูลด้วย ตนเอง สามารถจั ด การปั ญ หาด้ า นอาชี พ ในอนาคตได้ ด้ ว ยตนเอง รวมถึ ง เทคนิ ค พยากรณ์ และ สถานการณ์จําลอง โดยผู้วิจัยได้กําหนดสถานการณ์จําลองเกี่ยวกับลักษณะอนาคตด้านการเรียน ด้านอาชีพ และด้านการดําเนินชีวิตในอนาคต เรื่อง “ความหวังและความสําเร็จของประยุทธ์ ” ที่ เกี่ยวข้องกับลักษณะมุ่งอนาคตด้านการเรียน ด้านอาชีพและด้านการดําเนินชีวิตอนาคต 4) ทฤษฎีการ ให้การปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริง ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อการเลือกและการ กระทําของตนเอง เห็นคุณค่าของตนเองและมีความหวังในการดําเนินชีวิตที่ดีกว่า 5) การให้การ ปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้น การเล่าเรื่อง (Narrative) เพื่อให้นักเรียนวัยรุ่นได้เชื่อมโยงเรื่องราวในชีวิ ตที่ เกี่ยวข้องกับลักษณะมุ่งอนาคตด้านการเรียน ด้านอาชีพ และด้านการดําเนินชีวิต ผ่านการเล่าเรื่อง เพื่อให้นักเรียนวัยรุ่น เข้าใจตนเองและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องดีขึ้น ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือขั้น เริ่มต้น ขั้นดําเนินการ และขั้นยุติการให้การปรึกษากลุ่ม
38
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
3. การศึกษาประสิทธิผลของการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของ นักเรียนวัยรุ่น ผู้วิจัยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 3.1 ค่าสถิติพื้นฐานลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยรวมและรายด้าน ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล ผู้วิจัยนําเสนอผลการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติพื้นฐานลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยรวมและรายด้าน ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล ดังแสดงในตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการแปลผลค่าเฉลี่ยลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียน วัยรุ่นในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล (n=12) ลักษณะ มุ่งอนาคต ด้านการ เรียน ด้าน อาชีพ ด้านการ ดําเนิน ชีวิต รวม
ก่อนการทดลอง S.D แปล X ผล 3.75 .09 มาก
นักเรียนกลุ่มทดลอง (n=12) หลังทดลอง หลังการติดตามผล S.D แปล SD แปล X X ผล ผล 4.09 .36 มาก 4.21 .35 มาก
ก่อนการทดลอง SD แปล X ผล 3.64 .20 มาก
นักเรียนกลุ่มควบคุม (n=12) หลังทดลอง หลังการติดตามผล SD แปล X X SD แปล ผล ผล 3.83 .34 มาก 3.83 .41 มาก
3.72
.25
มาก
4.20
.38
มาก
4.36
.36
มาก
3.66
.27
มาก
3.60
.40
มาก
3.85
.34
มาก
3.71
.22
มาก
4.38
.30
มาก
4.53
.22
มาก ที่สุด
3.60
.39
มาก
3.71
.36
มาก
4.06
.52
มาก
3.73
.13
มาก
4.15
.39
มาก
4.34
.28
มาก
3.63
.14
มาก
3.80
.17
มาก
3.91
.31
มาก
ผลจากตารางที่ 2 พบว่าลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล อยู่ในระดับมาก ส่วนลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่ม ควบคุม โดยรวม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล พบว่าลักษณะมุ่งอนาคตของ นักเรียนวัยรุ่นกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล อยู่ในระดับมาก 3.2 การเปรี ย บเที ย บค่ าเฉลี่ ย ลั กษณะมุ่ ง อนาคตของนัก เรีย นวั ย รุ่น กลุ่ ม ทดลอง โดยรวม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล พบว่าลักษณะมุ่งอนาคตของ นักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม ก่อนการทดลอง หลังการทดลองและหลัง ติดตามผล เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญ .01 แสดงดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 การวิ เ คราะห์ ความแปรปรวนของลั ก ษณะมุ่ งอนาคตของนัก เรี ย นวั ย รุ่น กลุ่ ม ทดลอง โดยรวม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล (n= 12) ตัวแปร ลักษณะมุ่งอนาคต โดยรวม **มีนัยสําคัญทีร่ ะดับ .01
แหล่งความแปรปรวน การวัด ก่อน หลัง และการ ติดตามผล ความคลาดเคลื่อน รวม
SS 2.34
df 2
MS 1.17
2.82 5.16
33 35
.08
F 13.71**
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
39
3.3 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม โดยรวม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล พบว่าลักษณะมุ่ง อนาคตของนักเรียนวัยรุ่น กลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มหลังการทดลองและหลังการ ติดตามผลเพิ่มขึ้นมากกว่าลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงดังตารางที่ 4 3.4 ผลการสนทนากลุ่มเฉพาะ พบว่านักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การ ปรึกษากลุ่ม มีความพึงพอใจรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม ได้เรียนรู้ และมีประสบการณ์ในการ เสริมสร้างลักษณะมุ่งอนาคต ตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล แหล่งความแปรปรวน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ความคลาดเคลื่อน ภายในกลุ่ม วัดก่อนทดลอง หลังทดลอง และหลังการติดตามผล ความคลาดเคลื่อน ปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มกับผลการวัดก่อนทดลอง หลังทดลอง และหลังการติดตามผล รวม **มีนัยสําคัญทีร่ ะดับ .01
SS 1.11 .44
Df 1 11
MS 1.11 .04
F 27.38**
.51 1.49
2 33
.25 .04
5.67**
13.96 2.00
2 35
6.98
160.54**
40
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
ตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยลักษณะมุ่งอนาคตรายด้านของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล ลักษณะมุ่งอนาคต ด้านการเรียน
ด้านอาชีพ
ด้านการดําเนินชีวิต
แหล่งความแปรปรวน SS ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุม 77.68 ความคลาดเคลื่อน .26 ภายในกลุ่ม วั ด ก่ อ นทดลอง หลั ง ทดลอง และหลังการติดตามผล 1.21 ปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มกับผลการ วั ด ก่ อ นทดลอง หลั ง ทดลอง และหลังการติดตามผล 13.97 ความคลาดเคลื่อน 3.82 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุม 2.77 ความคลาดเคลื่อน 1.62 ภายในกลุ่ม วั ด ก่ อ นทดลอง หลั ง ทดลอง และหลังการติดตามผล 2.65 ปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มกับผลการ วั ด ก่ อ นทดลอง หลั ง ทดลอง และหลังการติดตามผล .99 ความคลาดเคลื่อน 3.82 ระหว่ า งกลุ่ ม ทดลองและกลุ่ ม ควบคุม 3.12 ความคลาดเคลื่อน 1.05 ภายในกลุ่ม วั ด ก่ อ นทดลอง หลั ง ทดลอง และหลังการติดตามผล 4.09 ปฏิสัมพันธ์ของกลุ่ มกับผลการ วั ด ก่ อ นทดลอง หลั ง ทดลอง และหลังการติดตามผล .98 ความคลาดเคลื่อน 5.06
**มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 *มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Df
MS
F
1 11
77.68 .02
3186.29**
2
.60
5.22**
2 33
6.98 .11
160.54**
1 11
2.77 .14
18.77**
2
1.32
11.44**
2 33
.49 .11
3.96*
1 11
3.12 .09
32.53**
2
2.04
13.35**
2 33
.49 .15
3.33*
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
41
การอภิปรายผล 1. ลั ก ษณะมุ่ ง อนาคตของนั ก เรี ย นวั ย รุ่ น โดยรวมอยู่ ใ นระดั บ มาก แสดงให้ เ ห็ น ว่ า นักเรียนวัยรุ่นส่วนมากมีความเชื่อและมีความคาดหวังว่าตนเองต้องการสิ่งใดในอนาคต ทั้งด้านการ ดําเนินชีวิต ด้านการเรียน และด้านอาชีพ นักเรียนที่เรียนต่อมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก็มีการเลือกเรียน สาขาวิชาที่ตนเองชอบแล้ว นั่นหมายถึงว่านักเรียนได้เลือกถึงอนาคตที่นักเรียนต้องการเอาไว้แล้ว ที่ เป็นเช่นนี้เพราะว่านักเรียนวัยรุ่นสามารถกําหนดเปูาหมายในชีวิต พฤติกรรมและการวางแผนอนาคต ได้ (Masten, Obradovic & Burt, 2006 ; Beal & Crockett, 2010: 3) และสอดคล้องกับแนวคิด ของ Eccles & Wigfield (2002:21) ที่ได้สรุปถึงความคาดหวังเป็นความเชื่อ ประกอบด้วย ความเชื่อ ในความสามารถ ความคาดหวังในความสําเร็จ และเล็งเห็นถึงคุณค่าของสิ่งที่กระทํา ประกอบด้วย คุณค่าของด้านการดําเนินชีวิต ด้านการเรียน และด้านอาชีพในความคิดของแต่ละบุคคล คุณค่าและ ความสําคัญของความสําเร็จ คุณค่าความพอใจและประโยชน์ที่ได้รับ และเปูาหมายของความสําเร็จ และนอกจากนี้ ลั ก ษณะมุ่ ง อนาคตของนั ก เรี ย นวั ย รุ่ น นั้ น เป็ น การเตรี ย มความพร้ อ มสู่ อ นาคต เสริมสร้างวิสัยทัศน์หรือภาพอนาคตให้แก่วัยรุ่น โดยให้วัยรุ่นได้สํ ารวจตนเอง แสวงหาข้อมูล ในที่ จําเป็นสําหรับอนาคต เรียนรู้การกําหนดเปูาหมาย วิถีทางที่จะนําไปสู่เปูาหมาย เปิดรับประสบการณ์ ใหม่ พร้อมที่แก้ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเปูาหมายและสิ่งที่คาดหวังในอนาคต โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ลักษณะมุ่งอนาคตมุ่งด้านการเรียน ด้านอาชีพ และการดําเนินชีวิตหรือการใช้ชีวิตของวัยรุ่น (วันทนา เมืองจันทร์, 2542 : 9; Louise & Craig, 2007) 2. การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่น การให้การปรึกษากลุ่มเป็นวิธีหนึ่งมีความสําคัญต่อการพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต สมาชิก กลุ่มทุกคนกําลังอยู่ในช่วงวัยรุ่น โดยมีอายุระหว่าง 15-17 ปี ซึ่งด้วยช่วงวัยและประสบการณ์ที่ใกล้เคียง กันของสมาชิกกลุ่ม ทําให้การปรึกษากลุ่มมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น Corey (2004:5) ได้กล่าวว่าในการปรึกษา กลุ่ม สมาชิกกลุ่มจะได้ประโยชน์จากข้อคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นๆ และข้อคิดจากผู้นํากลุ่ม สมาชิกจะได้ เรียนรู้วิธีเผชิญปัญหาจากสมาชิกคนอื่นๆ ที่อาจมีปัญหาคล้ายคลึงกัน อนงค์ วิเศษสุวรรณ์ (2554:65) กล่าวว่าวิธีการให้ การปรึ กษากลุ่ ม มีความเหมาะสมที่จะนํามาใช้กับเด็กวัยนี้ เพราะการเข้าร่วมกลุ่ ม เกี่ยวกับตนเอง เพราะกลุ่มเป็นสถานที่ๆเขาจะรับรู้ว่ามีกลุ่มเพื่อนที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราว ซึ่งกลุ่ม จะช่วยในการเปิดเผยทัศนคติ ความเชื่อ และปรับเปลี่ยนบางอย่างในทางที่ดีขึ้น นอกจากนั้น สมาชิกยังได้ เรียนรู้ต้นแบบจากผู้นํากลุ่ม รวมทั้งการได้รับการสนับสนุนให้กําลังใจและได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่าง กัน ซึ่งการที่ผู้นํากลุ่มและสมาชิกมีการให้กําลังใจซึ่งกันและกันจะนําไปสู่การเข้าใจตนเองและการยอมรับ ตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาเปรียบเทียบผลของการให้การปรึกษากลุ่มและกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อความ มุ่งหวังในชีวิตของนักเรียนวัยรุ่น กสิณา บุญแสง (2544:9) กล่าวว่าเมื่อนักเรียนวัยรุ่นได้มีโอกาสในการ ปรึกษากลุ่ม กระบวนการให้การปรึกษากลุ่มทําให้ผู้ที่เข้าร่วมกลุ่มมีความมุ่งหวังและมีเปูาหมายในชีวิต มากขึ้น และการให้การปรึกษากลุ่มก็ยังสอดคล้องกับพัฒนาการของวัยรุ่น คือเป็นวัยที่ต้องการรู้จักตนเอง ต้องการได้รับการยอมรับ และมีความต้องการในการวางแผนการของอนาคตด้วยตนเอง และการให้การ ปรึกษากลุ่มเป็นการช่วยให้สมาชิกกลุ่มแต่ละคน รับรู้และเข้าใจตนเองอย่างมีกระบวนการ การเข้าใจ ตนเองของสมาชิกกลุ่ม เป็นการเพิ่มการยอมรับตนเอง และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ทั้งยังสามารถพัฒนา ทักษะความสามารถทางสังคมระหว่างบุคคล เป็นการเพิ่มความสามารถในการกํากับตนเอง และการ
42
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
ตัดสินใจในการแก้ปัญหา (Dink; Meyer; & Muyo. 1971; อ้างใน กาญจนา ไชยพันธุ์. 2549: 5) ผู้วิจัยได้ นําแนวคิด ทฤษฎี และเทคนิคมาใช้ในการให้การปรึกษากลุ่ม ตามกรอบแนวคิดจากการทบทวนทฤษฎี ต่างๆ 5 ทฤษฎี ได้แก่ 1) ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง 2) ทฤษฎีการให้ การปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรมนิยม 3) ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริง 4) ทฤษฎีการให้ การปรึกษากลุ่มแบบการรู้คิดและพฤติกรรม และ 5) ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการเล่าเรื่อง ที่ มีความสอดคล้องกับพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นของนักเรียนวัยรุ่น คือ 1) ทฤษฎีการให้ การปรึกษากลุ่มแบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง ซึ่งมุ่งเน้นความไว้วางใจในความสามารถของผู้รับการ ปรึกษาในการพัฒนาตนเอง และใช้พลังของตนเองในการแสวงหาหนทางในการบรรลุถึงเปูาหมาย และ บรรลุถึงศักยภาพที่แท้จริง โดยใช้เทคนิคการฟัง การยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข การสะท้อนความรู้สึก การ อภิปรายกลุ่ ม การให้ข้อเสนอแนะ 2) ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรมนิยม เพื่อช่วยให้ นักเรียนกระจ่างในปัญหาของเขาว่ามีปัญหาอะไรบ้างและเขาต้องการจะแก้ไขในเรื่องใด และสามารถนํา วิธีการแก้ไขปัญหาไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่าต่อตนเองในอนาคต เทคนิคที่ใช้ คือ การ อภิปรายกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดความรู้สึกเกี่ยวกับลักษณะมุ่งอนาคตด้านการ เรียน และให้นักเรียนวัยรุ่นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 3) ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบ เผชิญความจริง ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อการเลือกและการกระทําของตนเอง เห็นคุณค่า ของตนเองและมีความหวังในการดํ าเนินชีวิตที่ ดีกว่า เทคนิคที่ใช้ คือ การวางแผนในการปรับเปลี่ ยน พฤติกรรมด้วยแผนผังความคิด (Mind Map) โดยระบุ “เปูาหมายเกี่ยวกับอาชีพที่ต้องการในอนาคต” และ “จะวางแผนอาชีพในอนาคตอย่างไร” และให้นักเรียนได้พิจารณาจากความรู้ความสามารถในการ เรียนของแต่ละรายวิชาโดยพิจารณาจากผลการเรียนของแต่ละรายวิชา ทําแบบวัดความถนัดทางการเรียน ประกอบด้วย ข้อสอบวัดความถนั ดทางด้านภาษา นอกจากนี้ยังให้นักเรียนได้ทําแบบวัดบุคลิกภาพที่ สัมพันธ์กับอาชีพ และความสนใจในอาชีพ เพื่อให้นักเรียนได้ทราบถึงความรู้ ความสามารถ ความถนัด และความสนใจในอาชีพของตน เพื่อการตัดสินใจด้านอาชีพในอนาคต และเพื่อให้นักเรียนสามารถนําไป วางแผนในการเรี ยน และนํ าไปสู่ อาชี พที่ ต้ องการในอนาคตได้ เทคนิ คที่ ใช้ คื อ การวางแผนในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วย เทคนิค WDEP (ดับเบิลยู ดี อี พี) แผนผังก้างปลา และแผนผังความคิด (Mind map) 4) ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มแบบรู้คิดและพฤติกรรม ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนรู้จักประมวลข้อมูล ด้วยตนเอง สามารถจัดการปัญหาด้านอาชีพในอนาคตได้ด้วยตนเอง เทคนิคที่ใช้ คือ การแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ เพื่อให้นักเรียนหาแนวทางในการแก้ปัญหา และหากไม่มีปัญหาอุปสรรคในการเลือกอาชีพใน อนาคต นั กเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไรที่เป็นการกํากับตนเอง รวมถึงเทคนิคพยากรณ์ และสถานการณ์ จําลอง โดยผู้วิจัยได้กําหนดสถานการณ์จําลองเกี่ยวกับลักษณะอนาคตด้านการเรียน ด้านอาชีพ และด้าน การดําเนินชีวิตในอนาคต เรื่อง “ความหวังและความสําเร็จของประยุทธ์ ” ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะมุ่ง อนาคตด้านการเรียน ด้านอาชีพและด้านการดําเนินชีวิตอนาคต 5) การให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการ เล่าเรื่อง (Narrative) เพื่อให้นักเรียนวัยรุ่นได้เชื่อมโยงเรื่องราวในชีวิตที่เกี่ยวข้องกับลักษณะมุ่งอนาคต ด้านการเรียน ด้านอาชีพ และด้านการดําเนินชีวิต ผ่านการเล่ าเรื่อง เพื่อให้นักเรียนวัยรุ่น เข้าใจตนเอง และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องดีขึ้น เทคนิคที่ใช้ คือ การเขียนบทสรุป ซึ่งการให้การปรึกษากลุ่มดังกล่าว สอดคล้องกับที่ ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ (2545:167) กาญจนา ไชยพันธุ์ (2549:2) และ Corey (2004:5)
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
43
กล่าวว่า ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นในการพึ่งพาตนเอง การกํากับตนเอง การ กําหนดตนเอง โดยกล้าตัดสินใจเลือกและรับผิดชอบที่จะดําเนินชีวิตตามทางเลือกของตน 3. ลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม ก่อน การทดลอง หลังการทดลองและหลังติดตามผล เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนได้รับการให้การปรึกษากลุ่มอย่าง มีนัยสําคัญ .01 ในทุกด้าน ได้แก่ ด้านการเรียน ด้านอาชีพ และด้านการดําเนินชีวิต ที่เป็นเช่นนี้ เพราะการให้การปรึกษากลุ่มทําให้นักเรียนกลุ่มทดลองมีลักษณะมุ่งอนาคตใน 1) ลักษณะมุ่งอนาคต ด้านการเรียน ทําให้นักเรียนมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับอนาคตด้านการเรียน เป็นผลให้ นักเรียนได้เห็นประโยชน์และคุณค่าในอนาคตในด้านการเรียน สามารถวางโครงการด้านการเรียนใน อนาคต นักเรียนมีการประเมินสิ่งที่ได้เรียนมา มีการเตรียมตัว และมีความตั้งใจที่จะไปประกอบอาชีพ ในอนาคต นั ก เรี ย นทุ ก คนมี ค วามชั ด เจนและตั้ ง ใจจะเรี ย นให้ จ บ เป็ น ผลทํ า ให้ นั ก เรี ย นประสบ ความสําเร็จในด้านการเรียน 2) ลักษณะมุ่งอนาคตด้านอาชีพ นักเรียนเขียนถึงเปูาหมายอาชีพใน อนาคต นักเรียนมีความตั้งใจเรียนในวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทบทวนในวิชาต่างๆ ค้นคว้าหาความรู้ใน อาชีพที่ต้องการ มีการเตรียมข้อมูลในการฝึกงานอาชีพ 3) ลักษณะมุ่งอนาคตด้านการดาเนินชีวิต นักเรียนได้อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับตัวแบบที่เกี่ยวกับบุคคลที่ประสบความสําเร็จในการดําเนินชีวิตว่า คุณลักษณะอะไรในการดําเนินชีวิตจึงทําให้ชีวิตประสบความสําเร็จ และให้นักเรียนแต่ละคนกําหนด อนาคตที่เป็นไปได้ โดยเขียนแผนผังความคิด (Mind map) ให้การกําหนดเปูาหมายในอนาคตด้าน การดําเนินชีวิต การดําเนินชีวิตนั้นรวมถึงชีวิต ส่วนตัวและสังคม เพื่อช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อให้นักเรียนมีการดําเนินชีวิตที่ดีในอนาคต นักเรียนได้วางแผนเปูาหมายในอนาคตด้านการดําเนิน ชีวิตได้เป็นอย่างดี ได้แก่ ประวัติของนักเรียน การเรียนในระดับที่สู งขึ้น อาชีพที่อยากเป็น ความ ภาคภูมิใจ และมีผลงานที่ดี รวมถึงการดําเนินชีวิตที่ดี และนักเรียนได้มีหลักการการวางแผนในการ ดําเนิ น ชีวิตที่ดี 4) ลักษณะมุ่งอนาคตด้า นการเรี ยน ด้า นอาชีพ และด้า นการดาเนิน ชีวิต ของ นักเรียน นักเรียนสามารถมองสู่อนาคตที่ครอบคลุมวิสัยทัศน์เ กี่ยวกับชีวิตอนาคตในมิติด้านการเรียน ด้านอาชีพ ด้านการดําเนินชีวิต ทําให้นักเรียนได้เข้าใจถึงการมองการณ์ไกลถึงด้านการเรียน ด้าน อาชีพ และด้านการดําเนินชีวิต ทําให้นักเรียนมีความคาดหวังและแนวทางหรือกลยุทธ์ที่นําไปปฏิบัติ ว่าบรรลุในสิ่งที่คาดหวัง และสามารถจัดการกับปัญหาอุปสรรคในอนาคตได้เป็นอย่างดี โดยผู้วิจัยได้ให้การปรึกษากลุ่ม 5 ทฤษฎีที่มีความสอดคล้องกับการพัฒนาลักษณะมุ่ง อนาคตของนักเรียนวัยรุ่น เป็นผลทําให้นักเรียนในกลุ่มทดลองมีการพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตดังนี้ 3.1 การพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่น ด้านการเรียน ที่ประกอบด้วย ความมุ่งหวังเกี่ยวกับอนาคตด้านการเรียน เปูาหมายและการวางแผนอนาคตด้านการเรียน การกํากับ ตนเองด้านการเรียน การบริหารจัดการปัญหาด้านการเรียน โดยผู้วิจัยให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นเกี่ยวกับอนาคตด้านการเรียน ตามเทคนิค WDEP (ดับเบิลยู) ที่ประกอบด้วย สิ่งที่ต้องการ ทิศ ทางการปฏิบัติ การประเมิน และการวางแผน ซึ่งมีแนวคิดที่จะปฏิบัติตามแผนเพื่อให้นักเรียนวัยรุ่น ตัดสินใจเลือกในเรื่องความมุ่งหวังเกี่ยวกับอนาคตด้านการเรียน เป็นผลทําให้นักเรียนได้เห็นประโยชน์ และคุณค่าในอนาคตในด้านการเรียนสามารถวางโครงการด้านการเรียนในอนาคต 3.2 การพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นด้านอาชีพ โดยผู้วิจัยให้นักเรียน เขียนแผนผังความคิด (Mind map) เกี่ยวกับเปูาหมายอาชีพในอนาคต และให้นักเรียนพิจารณาถึงผล
44
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
การเรีย น การวัด ความถนัด ทั่ว ไป และความสนใจในอาชีพ พบว่าผลการเรียน การวัดความถนัด ทัว่ ไป และความสนใจในอาชีพสอดคล้องกับแผนผังความคิดได้อย่างเหมาะสม 3.3 การพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นด้านการดําเนินชีวิต เป็นการให้ นักเรียนได้อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับตัวแบบที่เกี่ยวกับบุคคลที่ประสบความสําเร็จชีวิต และให้นักเรียน กําหนดเปูาหมายในอนาคตด้านการดําเนินชีวิต รวมถึงชีวิต ส่วนตัวและสังคม ทําให้นักเรียนสามารถ สรุปผลการพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตด้านการเรียน ด้านอาชีพ ด้านการดําเนินชีวิตในอนาคต และมี ความคาดหวังและแนวทางหรือกลยุ ทธ์ที่นํา ไปปฏิบัติว่า บรรลุใ นสิ่ง ที่ค าดหวัง และสามารถจัดการ กับปัญหาอุปสรรคในอนาคตได้เป็นอย่างดี 4. ลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม หลัง การทดลองและหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นมากกว่าลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ รับการให้การปรึกษากลุ่มอย่างมีนัยสําคัญ .01 ที่เป็นเช่นนี้เพราะกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมการให้ การปรึกษากลุ่ม ยังไม่มีการคาดการณ์ไกลถึงอนาคตทั้งในด้านการเรียนด้านอาชีพ และการดําเนิน ชีวิต ที่ทําให้นักเรียนในกลุ่มควบคุมต้องปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่ นักเรียนวัยรุ่นจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ทั้งความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่เป็นการพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต เมื่อพิจารณาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นเป็นรายด้านจะพบว่านักเรียนวัยรุ่น กลุ่มทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล มีคะแนนลักษณะมุ่งอนาคตเพิ่มขึ้นมากกว่า กลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ในทุกด้าน ทีเ่ ป็นเช่นนี้เพราะ 4.1 ด้านการเรียน พบว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล มีคะแนนลักษณะมุ่งอนาคตด้านการเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ เข้าร่ ว มการให้ การปรึ กษากลุ่ ม อย่ างมีนั ย สํ าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ที่เป็นเช่นนี้ อาจเป็นเพราะ นักเรียนกลุ่มควบคุมยังไม่มีความพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อตนเองดีพอ หรือยังไม่มีทักษะในด้านการ เรียนที่ดีพอก็อาจจะประสบปัญหาในเรื่องการเรียนได้ 4.2 ด้านอาชีพ พบว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม หลังการทดลองและ หลังการ ติดตามผล มีคะแนนลักษณะมุ่งอนาคตด้านอาชีพเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วม การให้การปรึกษากลุ่มอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะนักเรียนกลุ่ม ควบคุมยังไม่มีความเข้าใจพัฒนาการด้านอาชีพในอนาคต ไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ด้า นการ เรี ยน กับการวางแผนอาชีพ ขาดทักษะในการแสวงหาในเรื่องการประกอบอาชีพ ขาดทักษะในการ ตัดสินใจเลือกอาชีพ ไม่มีการสํ ารวจอาชีพและการวางแผนอาชีพ ทําให้ นักเรียนกลุ่ มควบคุมไม่ได้มี พัฒนาตนเองให้มีลักษณะมุ่งอนาคตด้านอาชีพ 4.3 ด้านการดําเนินชีวิต พบว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม หลังการ ทดลอง และหลังการติดตามผล มีคะแนนลักษณะมุ่งอนาคตด้านการดําเนินชีวิต เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่ม ควบคุ ม ที่ไ ม่ได้ เข้าร่ ว มการให้ การปรึ ก ษากลุ่ ม อย่างมี นัยสํ าคัญ ทางสถิติที่ ระดั บ .01 ที่ เป็น เช่น นี้ เนื่องจากนักเรียนกลุ่มควบคุมอาจมีปัญหาจากการศึกษาเล่าเรียนอยู่แล้ว จึงนับว่ามีปัญหาทางด้าน สุขภาพจิตมาก ปัญหาโดยทั่วไปของนักเรียน ได้แก่ ความวิตกกังวล ความเครียด เป็นต้น เมื่อนักเรียน มีปัญหาทางด้านจิตใจหรือขาดสมาธิในการศึกษาเล่าเรียน นักเรียนก็จะไม่สามารถศึกษาเล่าเรียนได้ อย่างมีประสิทธิภาพจึงไม่สามารถที่จะไปวางแผนในการดําเนินชีวิตอนาคตได้
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
45
ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้ 1.1 ควรมีการนําผลการศึกษาครั้งนี้ไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษา โดยให้โรงเรียนนํารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตใน ด้านการเรียน ด้านอาชีพและด้านการดําเนินชีวิตไปใช้แนะแนวนักเรียน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการ พัฒนานักเรียนให้มีลักษณะมุ่งอนาคตมากขึ้น 1.2 ในการนําแบบวัดลักษณะมุ่งอนาคตไปใช้ควรคํานึงถึงตัวแปรและระดับชั้นที่จะ นํ าไปใช้เช่ น ระดับ มั ธ ยมศึกษาตอนต้น หรื อระดับอุด มศึกษา โดยก่อนจะนําไปใช้ค วรศึกษาใน รายละเอียดของแบบวัด และการแปลความหมายของแบบวัด 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรอื่นที่เกี่ยวกับลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่น เช่น การวางแผนอนาคตในการทํางาน การวางแผนอนาคตทางการเงิน เป็นต้น 2.2 ควรพั ฒ นารู ปแบบการพั ฒ นาลั กษณะมุ่งอนาคตโดยใช้วิธีอื่ นๆ เช่น การใช้ กิจกรรมกลุ่ม กลุ่มสัมพันธ์ การให้การปรึกษารายบุคคล 2.3 ควรมีการติดตามผลการนําไปปรับใช้ในชีวิตของนักเรียน หลังจากที่นักเรียนได้รับ การพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตไปแล้วในช่วงเวลาที่ยาวนานกว่าในการวิจัยครั้งนี้ เช่น 6 เดือน หรือ 1 ปี เอกสารอ้างอิง กสิณา บุญแสง. (2544). การเปรียบเทียบผลของการให้คาปรึกษากลุ่มและกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อ ความมุ่งหวังในชีวิตของนักเรียนวัยรุ่น ศูนย์เมอร์ซี่ . วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กาญจนา ไชยพันธุ์. (2549). การให้คาปรึกษากลุ่ม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2550). กฎหมายกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม. วารสารพัฒนาสังคม, 1-29. ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2544). ทฤษฎีต นไมจริ ยธรรม : การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: สํานักงานกิจการโรงพิมพ องคการสงเคราะหทหารผานศึก. ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2545). การเปรียบเทียบทฤษฎีในการปรึกษาและการพัฒนาแนวปฏิบัติ ในการให้การปรึกษา. ในประมวลสาระชุดวิชา ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้คาปรึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ปียานุช เสือสีนวล. (2545). ผลการใช้เทคนิคแม่แบบกับการให้คาปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล และอารมณ์ เพื่อพัฒนาลักษณะการมุ่งอนาคตของนักเรี ยนที่มาจากครอบครั วแตกแยก. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คําปรึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. สํานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). จานวนนักเรียนและโรงเรียนสานักเขตพื้นที่ การศึกษากรุงเทพมหานคร. สืบค้นวันที่ 10 กรกฏาคม 2557, จาก www.obec.go. อนงค์ วิเศษสุวรรณ์. (2554). การปรึกษากลุ่ม (เอกสารประกอบการเรียนการสอนการปรึกษากลุ่ม). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
46
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
Beal, S.J. (2011). The Development of Future Orientation: Underpinnings and Related Constructs.University of Nebraska-Lincoln. Digital Common@ University of NebraskaLincoln.Thesis, Dissertations, and student Research: Department of Psychology. Beal, S. J., & Crockett, L. J. (2010). Adolescents’ occupational and Educational aspirations and expectations: Links to high school activities and adult educational attainment. Developmental Psychology,46(1), 258-265. Eccles, J. S., & Wigfield, A. (2002). Motivational beliefs, values, and goals. Annual Review of Psychology, 53(1), 109-132. Gavin, H. (2008). Understanding Research Method and Statistic in Psychology. California: Prentice-Hall. Louise, H., & Craig, Z. (2007). Future time orientation predicts academic engagement among first-year university students. British Journal of Educational Psychology, 77(3):703-18. Manzi, C., Vignoles, V. L., & Regalia, C. (2010). Accommodating a new identity: Possible selves, identity change and wellbeing across two life transitions. European Journal of Social Psychology, 40(6), 970-984. Masten, A., Obradović, J., & Burt, K. (2006). Resilience in Emerging Adulthood: Developmental Perspectives on Continuity and Transformation. Emerging adults in America: Coming of age in the 21st century (pp. 173-190). Washington, DC US: American Psychological Association. Nurmi J.E.(2004). Socialization and Self development: Channeling, Selection, adjustment, and reflection. In R.Learner & L. Steinberg (Eds). Handbook of Adolescent Psychology. New Jersy: Wiley. Trommsdorff, G. (1986). Future time orientation and its relevance for development action first publ. in Development as action in context: Problem behavior and normal youth development/ ed. by R. K. Silbereisen. Berlin Springer.121-136
…………………………………………………..
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
47
การคัดแยกเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ของ โรงรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) จังหวัดนครนายก Identification of Children at Risk with Learning Disabilities in Anubanongkharak School in Nakhon Nayok Province ดารณี ศักดิ์ศิริผล 1
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อคัดแยกเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ ที่มีอายุระหว่าง 4.0 – 6.6 ปี ของโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) จังหวัดนครนายก และเพื่อวางแผนในการพัฒนาความสามารถทางการเรียนรู้ของเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหา ทางการเรียนรู้ต่อไป กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่มีอายุระหว่าง 4.0 – 6.6 ปี ของโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) จังหวัดนครนายก กําลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 เลือกโดยวิธี เจาะจง (Purposive Sampling) จํานวน 93 คน โดยใช้เครื่องมือคัดแยกเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ของศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ดัดแปลงมาจากเครื่องมือของแมคคาร์ธี มีเนื้อหาใน การทดสอบ 6 หมวด คือ การรู้จักซ้าย – ขวา การจําคํา การวาดรูปทรง การจําตัวเลข การจัดหมวดหมู่ และการใช้ขา โดยใช้เวลาทดสอบประมาณคนละ 20 นาที ผลการวิจัยพบว่า จากจํานวนเด็กชาย-หญิงที่ กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2 จํานวนทั้งหมด 93 คน เป็นเด็กชาย 47 คน และเด็กหญิง จํานวน 46 คน เด็กชายอยู่ในภาวะเสี่ยง จํานวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 23.40 เด็กหญิงอยู่ในภาวะเสี่ยง จํานวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 30.43 และมีเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จํานวน 25 คน จากจํานวนเด็กทั้งหมด จํานวน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 26.88 และเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า เด็กชาย–หญิงไม่ผ่านการทดสอบด้านการจําคํามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 88.00 รองลงมาคือด้านการจํา ตัวเลข คิดเป็นร้อยละ 56.00 ด้านซ้าย-ขวา คิดเป็นร้อยละ 52.00 ด้านการจัดหมวดหมู่ คิดเป็นร้อยละ 28.00 ด้านการวาดรูปทรง คิดเป็นร้อยละ 24.00 และด้านที่ไม่ผ่านการทดสอบน้อยที่สุดคือ ด้านการ ใช้ขา คิดเป็นร้อยละ 8.00 คาสาคัญ: เด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้
________________________ 1 รองศาสตราจารย์ ดร., ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
48
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
Abstract This study aimed at identifying children in Anuban Ongkarak School, Nakornnayok province, aged between 4.0-6.6 years old who were at risk of having learning disabilities. The purpose of the identification was to promote the ability to learn for the students who were at risk of learning disabilities. The samples of the study were children aged between 4.0-6.6 years old who were in Semester 2 of the academic year 2012 in Anubarn Ongkarak School, Nakornnayok province. The study used purposive sampling by assessing 93 students with a screening test of learning disabilities developed by Professor Sriya Niyomtham. The test was adapted from a screening test developed by McCarthy. There are six sections included in the test which are: left and right discrimination, word memory, shape drawing, number memorization, categorization, and leg control. The test took 20 minutes to administer for each student. The study found that there were 11 out of 47 boys in the second year of kindergarten who were at risk of having learning disabilities (23.40 %). There were 14 out of the 46 girls who were at risk of having learning disabilities (30.43%). Out of the total of 93 students (girls and boys), there were 25 students with learning disabilities (26.88%). When each test section was examined, it was found that the percentage of the students (girls and boys) who did not pass the word memorization test was the highest (88%), followed by the number memorization test (56%), the left-right discrimination test (52%), the categorization test (28%), and the shape drawing test (24%). The percentage of the students who did not pass the leg control test was the lowest (8%). Keyword: Children at Risk with Learning Disabilities บทนา การปฏิรูปประเทศไทยโดยสถาบันอุดมศึกษาร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ โดยการริเริ่ม โครงการหนึ่งมหาวิทยาลัยหนึ่งจังหวัด นับเป็นแนวทางที่สังคมมีความคาดหวังกับสถาบันอุดมศึกษาว่า จะเป็ น ศู น ย์ ร วมแห่ ง องค์ ค วามรู้ ใ นระดั บ สู ง ของประเทศที่ จ ะนํ า พาและชี้ นํ า สั ง คมให้ ไ ปสู่ ก าร เปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่ดีขึ้น แนวทางการดําเนินการโครงการหนึ่งมหาวิทยาลัยหนึ่งจังหวัดจึง เป็ น ยุ ทธศาสตร์ หนึ่ งที่ จะเชื่อมต่ อกั บสั งคมอย่างเป็ นระบบ โดยดําเนิ นการปรับเพิ่ มบทบาทของ สถาบันอุดมศึกษาให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสังคม (Engaged Higher Education) เพื่อให้ สถาบันอุดมศึกษาเข้าถึง เข้าใจ และสัมผัสกับความเป็นจริงของสังคมชุมชนในระดั บพื้นที่ได้มากขึ้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจึงได้จัดทําแผนยุทธศาสตร์ 15 ปี (พ.ศ. 2553 – 2567) โครงการ ยุทธศาสตร์ 1 มหาวิทยาลัย 1 จังหวัด มาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการพัฒนางานบริการวิ ชาการ เพื่อ
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
49
พัฒ นาชุ มชนและสั งคมอย่ างยั่ งยื น ทั้ งนี้ มหาวิทยาลั ยสนั บสนุ นให้ ทุกหน่ว ยงานได้ ดําเนินการจั ด กิจกรรมบริการวิชาการใน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระแก้ว สถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักรับผิดชอบการวิจัย และการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม พัฒนา และช่วยเหลือเด็กที่มี ความสามารถพิ เ ศษและเด็ ก ที่ มี ค วามต้ อ งการพิ เ ศษ ตามพระราชบั ญ ญั ติ ก ารศึ ก ษาแห่ ง ชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 10 ได้ระบุว่า การจัดการศึกษาต้อง จั ด ให้ บุ ค คคมี สิ ท ธิ แ ละโอกาสเท่ า เที ย มกั น ทั้ ง เด็ ก ปกติ เด็ ก ที่ มี ค วามต้ อ งการพิ เ ศษ เด็ ก ที่ มี ความสามารถพิเศษ และเด็กพิการ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคํานึงถึงความสามารถของ บุคคลนั้น รวมถึงต้องจัดการศึกษาให้ได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และแนวทางการปฏิรูปการศึกษาใน ทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2556) ที่เน้ นการปฏิรูปการเรียนรู้อย่างเป็นระบบตั้งแต่การพัฒนา คุณภาพการศึกษาและเรียนรู้ และเพิ่มโอกาสทางการศึกษารวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหาร และจั ดการศึกษา เพื่อพัฒ นาผู้ เรี ยนเป็นสําคัญ โดยเน้นให้ ผู้ เรียนทุกระดับ/ประเภทการศึกษามี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้สามารถ เรียนรู้ และมีพัฒนาการตามวัย มีความพร้อมศึกษาเรียนรู้ในระดับสูงขึ้น ผู้ด้อยโอกาส ยากไร้ พิการ หรือทุพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญาและชนต่างวัฒนธรรม ได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเสมอภาค เด็กที่มีความต้องการพิเศษมีห ลายประเภท บางประเภทจะเห็นได้ชัดเจนจากความ ผิดปกติทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เป็นเด็กที่มีความ ต้องการประเภทหนึ่ง ที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับกระบวนการทางจิตวิทยา ส่งผลให้เด็กมีปัญหาใน ด้านการฟัง การคิด การพูด การอ่าน การสะกดคํา หรือการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กที่ มีสติปัญญาปกติ หรือสูงกว่าปกติ ดูลักษณะภายนอกโดยทั่วไปก็จะมีลักษณะเหมือนกับ เด็กปกติ แต่ จะมีปั ญหาทางการเรี ย นในบางเรื่ อง ทั้ ง ที่ไ ม่ไ ด้มี ความบกพร่อ งทางการมองเห็ น ทางการได้ ยิ น ทางด้านสติปัญญา ไม่ได้เป็นเด็กด้อยโอกาส หรือเป็นเด็กที่มีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมแต่อย่าง ใด แต่การที่จะรู้ว่าเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้นั้น จะต้ องสังเกตและทดสอบด้วยแบบ คัดกรองหรือแบบคัดแยก ซึ่งสามารถคัดกรองได้ตั้งแต่เด็กระดับปฐมวัย การคัดกรองเด็กที่มีปัญหา ทางการเรี ยนรู้มีวัตถุป ระสงค์เพื่อที่จะจัดการศึกษาได้อย่างเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ซึ่งถ้าแก้ไข ปัญหาได้อย่างถูกต้องตรงจุดแล้ว เด็กเหล่านี้ก็สามารถจะพัฒนาการเรียนรู้ได้ อย่างไรก็ตาม เด็กที่มี ปัญหาทางการเรียนรู้บางคนอาจจะมีปัญหาอื่นร่วมด้วย เช่น สมาธิสั้น อยู่ไม่นิ่ง ซึ่งก็จะส่งผลให้การ ช่วยเหลืออาจต้องใช้เวลานาน และในบางกรณีอาจจะต้องได้รับการช่วยเหลือทางการแพทย์อีกด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการปูองกันความสูญเปล่าทางการศึกษา และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา จึงควรค้นหาเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อขจัด ปัญหาที่รุนแรงหรือลดปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ การคัดแยกเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้นั้นมีหลายวิธีทั้งอย่า งเป็นทางการและไม่เป็น ทางการ การคัดแยกอย่างไม่เป็นทางการนั้นจะใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน เช่น การฟัง การพูดโต้ตอบ การอ่าน การเขียน พฤติกรรมเมื่ออยู่ในชั้นเรียน การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เป็นต้น สําหรับการคัดแยกอย่างเป็นทางการนั้นจะใช้เครื่องมือที่ไ ด้มาตรฐานในการทดสอบ ในประเทศไทยมี
50
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
เครื่ องมื อ ที่ใ ช้ ใ นการทดสอบเด็ กที่ อ ยู่ ใ นภาวะเสี่ ย งต่อ การมี ปั ญ หาทางการเรี ย นรู้ ไ ม่ม ากนัก ซึ่ ง เครื่องมือชุดหนึ่งที่นิยมนํามาใช้ในการคัดแยกเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ คือ เครื่องมือที่ ศรียา นิยมธรรม ดัดแปลงมาจากเครื่องมือคัดแยกของ แมคคาร์ธี ซึ่งจะใช้ทดสอบเด็กได้ ตั้งแต่อายุ 4.0–6.6 ปี เป็นการทดสอบรายบุคคล โดยมีเนื้อหาในการทดสอบ 6 หมวดคือ ซ้าย–ขวา การจําคํา การวาดรูป การจําตัวเลข การจัดหมวดหมู่ และการใช้ขา แบบคัดแยกฉบับนี้มีค่าความ เชื่อมั่นของแบบทดสอบแต่ละฉบับในช่ วง .63-.85 และมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาผลของการคัด แยกจะทําให้ทราบว่าเด็กอยู่ในภาวะเสี่ยงหรือไม่ ถ้าเด็กอยู่ในภาวะเสี่ยงจะได้หาวิธีการช่วยเหลือเสีย ตั้งแต่ต้น ซึ่งจะทําให้เกิดผลดีกับเด็กเป็นอย่างยิ่ง ข้อจํากัดของเครื่องมือชุดนี้ คือ เด็กที่มีอายุ 5.0-6.6 ปีเท่านั้นจึงจะสามารถทดสอบได้ครบทั้ง 6 หมวด ถ้าอายุต่ํากว่า 5 ปี จะไม่สามารถทดสอบในหมวด ซ้าย-ขวาได้ (ศรี ย า นิ ย มธรรม. 2542: 1) และจากการลงพื้นที่ให้ บริการวิช าการแก่ชุมชนใน ปีงบประมาณ 2554 สถาบันได้จัดฝึกอบรมครูในการใช้เครื่องมือคัดกรองเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการ มีปัญหาทางการเรียนรู้ รวมทั้งการให้บริการคัดกรองเด็กระดับอนุบาล พบว่า จากจํานวนเด็กชายหญิงที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2 ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ จากจํานวนเด็กชายทั้งหมด 41 คน อยู่ในภาวะเสี่ยงจํานวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 17.07 เด็กหญิง ทั้งหมด 34 คน อยู่ในภาวะเสี่ยงจํานวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 20.59 และจากจํานวนเด็กทั้งหมด 75 คน มีเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จํานวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 18.67 และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านจะพบว่า เด็กชายมีร้อยละของการสอบไม่ผ่านสูงกว่าเด็กหญิงใน ด้านด้านซ้าย-ขวา และการใช้ขา ส่วนเด็กหญิงสอบไม่ผ่านสูงกว่าเด็กชายในด้านการจัดหมวดหมู่ และ การจําตัวเลข แต่จะพบว่าทั้งเด็กชายและเด็กหญิงมีร้อยละของการสอบไม่ผ่านที่เท่ากันคือด้าน การ จําคํา การวาดรูปทรง (ดารณี ศักดิ์ศิริผล และคณะ. 2555) ดั ง นั้ น สถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นาการศึ ก ษาพิ เ ศษ และภาควิ ช าการศึ ก ษาพิ เ ศษ คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้เห็นถึงความจําเป็นที่ต้องพัฒนาศักยภาพของเด็กที่มี ความต้องการพิเศษ ตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมของมหาวิทยาลัย จึงดําเนินโครงการคัดแยกเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ของโรงเรียนอนุบาล องครั ก ษ์ (ผดุง องครั ก ษ์ ป ระชา) ตํ า บลองครั ก ษ์ จั งหวั ด นครนายก ซึ่ ง เป็ น หน่ ว ยงานหนึ่ ง ที่ จั ด การศึกษาให้แก่เด็กตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร่วมกับคณะครูของโรงเรียน ทีผ่ ่านการฝึกอบรมเพื่อการใช้เครื่องมือในการคัดกรองอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว รวมทั้งการเรียนรู้ กระบวนการดําเนินการคัดกรอง การตรวจและการแปลผลจากการทดสอบ เพื่อนําข้อมูลดังกล่าวไป ใช้ในการวิเคราะห์และทําวิจัยต่อไป การคัดกรองจะคํานึงถึงการนําผลไปใช้ในการวางแผนพัฒนา ศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็กทุกคนที่จะต้องพัฒนาทักษะพื้นฐานทางการเรียนรู้ต่างๆ ให้พร้อม ซึ่ง ทักษะดังกล่าวเป็นพื้นฐานสําคัญในการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่างๆ ต่อไป นอกจากนี้ภาควิชาการศึกษาพิเศษคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีพันธกิจในการผลิตบัณ ฑิต ทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาต่างๆ ที่จะต้องศึกษารายวิชาที่เกี่ยวกับเด็กที่มีความ ต้องการพิเศษและเด็กที่มีความสามารถพิเศษรวมทั้งการลงฝึกปฏิบัติจริงเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ ในภาคสนาม ซึ่งในปีการศึกษา 2555 นี้ นิสิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เรียนในรายวิชา กศพ 872 การวางแผนการจั ดการศึกษาพิเศษ และ รายวิช า กศพ 879 การศึกษาค้นคว้าด้ว ยตนเอง
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
51
จะต้องศึกษาเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยให้นิสิตระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ภาควิชา การศึกษาพิเศษ ได้มีส่วนร่วมในจัดบริการวิชาการในการวางแผนการจัดบริการด้านการศึกษาพิเศษใน โรงเรียน ดังนั้นเพื่อบูรณาการการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนกับการจัดการเรียนการสอน และการ วิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ และภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ จึงจัด โครงการการคัดแยกเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ เพื่อค้นหาว่ามีเด็ก จํานวนมากน้อยเพียงใดและเด็กแต่ละคนมีปัญหาในด้านใดบ้าง เพื่อจะได้ดําเนินการวางแผนในการ ช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ต่อไป จุดมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อคัดแยกเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ ที่มีอายุระหว่าง 4.0-6.6 ปี ของโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) ตําบลองครักษ์ จังหวัดนครนายก 2. เพื่อวางแผนในการพัฒนาความสามารถทางการเรียนรู้ของเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อ การมีปัญหาทางการเรียนรู้ต่อไป ความสาคัญของการวิจัย เพื่อทราบจํ านวนและปัญหาในแต่ล ะด้านของเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ ยงต่อการมี ปัญหา ทางการเรียนรู้ ที่มีอายุระหว่าง 4.0-6.6 ปี วิธีดาเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรเป็นเด็กที่มีอายุระหว่าง 4.0-6.6 ปี ของโรงอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) ตําบลองครักษ์ อําเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่มีอายุระหว่าง 4.0-6.6 ปี กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2 ของโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) ตําบลองครักษ์ อําเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 เลือกโดยวิธีเจาะจง (Purposive Sampling) จํานวน 93 คน ตัวแปรที่ศึกษา เด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. เครื่องมือคัดแยกเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือที่ ศรียา นิยมธรรม ดัดแปลงมา จากเครื่องมือคัดแยกของแมคคาร์ธี ซึ่งจะใช้ทดสอบเด็กที่มีอายุระหว่าง 4.0-6.6 ปี เป็นการทดสอบรายบุคคล และมีเนื้อหาในการทดสอบ 6 หมวด คือ ซ้าย-ขวา การจําคํา การวาดรูปทรง การจําตัวเลข การจัดหมวดหมู่ และการใช้ขา 2. แบบบันทึกการคัดแยกเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ 3. คู่มือการใช้แบบคัดแยกเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้
52
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
การดาเนินการวิจัย ผู้วิจัยติดต่อผู้บ ริหารโรงเรีย นอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) เพื่อขออนุญาต ดําเนิ นการคัดแยกเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ ชั้นอนุบาล 2 และติดต่อ หัวหน้าภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อขออนุญาตให้ นิสิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เข้าร่วมดําเนินการคัดแยกเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหา ทางการเรียนรู้ แล้วดําเนินการทดสอบนักเรียนเป็นรายบุคคล เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 28 มกราคม 2556 เก็บรวมรวมข้อมูล และนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สรุปจัดทํารายงานการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ใช้สถิติร้อยละและเสนอผลในรูปของตารางและ ภาพประกอบโดยใช้แผนภูมิแท่ง สรุปผลการวิจัย จากการคัดแยกเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2 ของ โรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) ตําบลองครักษ์ อําเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ซึ่ง เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ พบว่า 1. เด็กชาย-หญิงไม่ ผ่ านการทดสอบด้านการจําคํามากที่สุ ด คิดเป็น ร้อยละ 32.26 รองลงมาคือ ด้านซ้าย-ขาว คิดเป็นร้อยละ 24.73 ด้านการจัดหมวดหมู่ คิดเป็น ร้อยละ 16.13 ด้าน การจําตัวเลข คิดเป็นร้อยละ 12.90 ด้านการวาดรูปทรง คิดเป็นร้อยละ 8.60 และด้านที่ไม่ผ่านการ ทดสอบน้อยที่สุดคือด้านการใช้ขา คิดเป็นร้อยละ 1.08 2. เด็กชาย-หญิงที่อยู่ ในภาวะเสี่ ยงต่อการเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จะเป็ น เด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย จากจํานวนเด็กหญิงทั้งหมด 46 คน จะอยู่ในภาวะเสี่ยงจํานวน 14 คน คิด เป็นร้อยละ 30.43 เด็กชายทั้งหมด 47 คน จะอยู่ในภาวะเสี่ยงจํานวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 23.40 และจากจํานวนเด็กทั้งหมด 93 คน จะมีเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ จํานวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 26.88 3. เด็กชาย-หญิงที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ไม่ผ่านการ ทดสอบด้านการจําคํามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 88.00 รองลงมา คือ ด้านการจําตัวเลข คิดเป็นร้อยละ 56.00 ด้านซ้าย-ขวา คิดเป็นร้อยละ 52.00 ด้านการจัดหมวดหมู่ คิดเป็นร้อยละ 28.00 ด้านการวาด รูปทาง คิดเป็นร้อยละ 24.00 และด้านที่ไม่ผ่านการทดสอบน้อยที่สุด คือ ด้านการใช้ขา คิดเป็นร้อย ละ 8.00
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
53
จํานวน (คน) 24 21 18 15 12 ชาย
9
หญิง
6 3
การใช้ขา
การจัดหมวดหมู่
การจําตัวเลข
การวาดรูปทรง
การจําคํา
การรู้จักซ้าย-ขวา
0
ด้านความสามารถของเด็ก
ภาพประกอบ 1 จํานวนร้อยละของเด็กชาย – หญิงที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2 ที่ไม่ผ่านการทดสอบในด้านต่างๆ ทั้ง 6 ด้าน
54
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
จํานวน (คน)
40 30
ชาย
20
หญิง 10 0 ชาย
เพศ
หญิง
ภาพประกอบ 2 จํานวนเด็กชาย – หญิงที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2 ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อ การเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ จํานวน (คน) 14 12 10 8
ชาย
6
หญิง
4 2 การใช้ขา
การจัดหมวดหมู่
การจาตัวเลข
การวาดรูปทรง
การจาคา
การรู้จักซ้าย-ขวา
0
ด้านความสามารถของเด็ก
ภาพประกอบ 3 จํานวนเด็กชาย – หญิงที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2 ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อ การเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่สอบไม่ผ่านในต่างๆ ทั้ง 6 ด้าน อภิปรายผล
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
55
อภิปรายผล จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า เมื่อทําการทดสอบเด็กที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2 มีจํานวนทั้งหมด 93 คน เป็นเด็กชาย 47 คน เด็กหญิง 46 คน จากผลการทดสอบมีเด็กชาย-หญิงไม่ ผ่านการทดสอบด้านการจําคํามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 32.26 รองลงมาคือด้านซ้าย-ขวา คิดเป็นร้อย ละ 24.73 ด้านการจัดหมวดหมู่ คิดเป็นร้อยละ 16.13 ด้านการจําตัวเลข คิดเป็นร้อยละ 12.90 ด้าน การวาดรูปทรง คิดเป็นร้อยละ 8.60 และด้านที่ไม่ผ่านการทดสอบน้อยที่สุด คือ ด้านการใช้ขา คิด เป็นร้อยละ 1.08 ซึ่งสอดคล้องงานวิจัยของ ดารณี ศักดิ์ศิริผล ที่ได้สํารวจเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อ การมีปัญหาทางการเรียนรู้ ของโรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) จังหวัดนครนายก ที่ พบว่า เด็กชาย-หญิงที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2 ไม่ผ่านการทดสอบด้านการจําคํามากที่สุด รองลงมาด้านซ้าย-ขวา และด้านการจัดหมวดหมู่ ตามลํ าดับ (ดารณี ศักดิ์ศิริผ ล. 2555) ข้อมู ล ดังกล่าวสอดคล้องกับลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่ ศรียา นิยมธรรม ได้กล่าวไว้ว่า เด็กที่ มีปัญหาทางการเรียนรู้ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในด้านพุทธพิสัยหรือการรู้คิด (Cognitive) ซึ่งเกี่ยวกับการ มีปัญหาเฉพาะด้าน เช่น ปัญหาในการอ่าน การคิดคํานวณ หรือในแง่ของวิธีคิด (ศรียา นิยมธรรม. 2540) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การจัดหมวดหมู่การจําคํานั้น เป็น เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการคิด เด็กที่มี ปัญหาทางการเรียนรู้หลายคนจะมีความสับสนยุ่งยากในแง่ของวิธีคิด นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่า เด็กชาย-หญิงที่อยู่ในภาวะเสี่ ยงต่อการเป็นเด็กที่มี ปัญหาทางการเรียนรู้จะเป็นเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย จากจํานวนเด็กหญิงทั้งหมด 46 คน จะอยู่ใน ภาวะเสี่ยงจํานวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 30.43 เด็กชายทั้งหมด 47 คน จะอยู่ในภาวะเสี่ยงจํานวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 23.40 และจากจํานวนเด็กทั้งหมด 93 คน จะมีเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็น เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จํานวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 26.88 จากข้อมูล ดังกล่าวสอดคล้องกับ การศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้ระบุจํานวนของเด็กเล็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ว่าพบระหว่าง ร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 48 (Lerner. 1993) นอกจากนี้ยังใกล้เคียงกับข้อมลของศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับเด็ก เอ็น วาย ยู (NYU Child Study Center. 2012. Online) ที่ระบุว่า เด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมี ปัญหาทางการเรียนรู้จะมีประมาณร้อยละ 10 ถึง 30 แต่พบว่าเป็นเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า เด็กชาย-หญิงที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเด็กที่มีปัญหา ทางการเรียนรู้ ที่สอบไม่ผ่านในด้านต่างๆ ทั้ง 6 ด้านนั้ น ด้านที่ไม่ผ่านการทดสอบมากที่สุด คือ ด้าน การจําคํามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 88.00 รองลงมา คือ ด้านการจําตัวเลข คิดเป็ นร้อยละ 56.00 ด้านซ้าย-ขวา คิดเป็นร้อยละ 52.00 ด้านการจัดหมวดหมู่ คิดเป็นร้อยละ 28.00 ด้านการวาดรูปทรง คิดเป็นร้อยละ 24.00 และด้านที่ไม่ผ่านการทดสอบน้อยที่สุด คือ ด้านการใช้ขา คิดเป็นร้อยละ 8.00 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของเด็กที่ไม่ผ่านการทดสอบที่จําแนกตามด้านต่างๆ ทั้ง 6 ด้านข้างต้น ข้อสังเกตจากการศึกษาครั้งนี้จะพบว่ามีเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการ เรียนรู้จํานวนมาก ทั้งนี้จากการสัมภาษณ์ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องพบว่า เด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงบางคนไม่ได้ รับดูแลเอาใจใส่จากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง เนื่องจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองบางคนมีฐานะ ยากจนต้องทํางานหนักไม่มีเวลาดู เอาใจใส่บุตรหลาน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ได้แก่ ครูผู้สอนไม่ เพียงพอ บางโรงเรียนครูต้องสอนหลายชั้นเรียนหลายวิชา จึงอาจไม่มีเวลาสอนเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยง อย่างใกล้ชิดเท่าที่ควร
56
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
ข้อเสนอแนะ 1. ควรจะศึก ษาว่ า มีอ งค์ ป ระกอบอะไรบ้ า งที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การที่ทํ า ให้ เ ด็ก มี ปั ญ หา ทางการเรียนรู้ เช่น วิธีสอนของครู วิธีการอบรมเลี้ยงดู การตั้งครรภ์ การคลอด ฐานะทางเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม เป็นต้น 2. ควรจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะในด้านที่เป็นปัญหา แล้วติดตามผล 3. ควรคิดพัฒนารูปแบบกิจกรรมต่างๆ แบบฝึก ชุดฝึกทักษะต่างๆ เพื่อให้การช่วยเหลือ เด็กอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ต่อไป 4. ควรศึกษาเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศในเรื่องนี้ เอกสารอ้างอิง ดารณี ศักดิ์ศิริผลและคณะ (2555). การสารวจเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ ของโรงเรี ยนอนุ บาลองครั กษ์ (ผดุ งองครั กษ์ ประชา) จั งหวั ดนครนายก. กรุ ง เทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ศรียา นิยมธรรม. (2540). ปัญหายุ่งยากทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. _______. (2542). LD เข้าใจ & ช่วยเหลือ. กรุงเทพฯ: P.A. ART & PRINTING. Lerner, Janet. (1993). Learning Disabilities : Theories, Diagnosis & Teaching Strategies. 6th ed. Boston : Houghton Mifflin Company. NYU Child Study Center. (2012). Learning Disorders: Children at Risk. Retrieved December 21, 2012, from.
…………………………………………………..
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
57
การให้คาปรึกษาครอบครัวสาหรับช่วยเหลือมารดาวัยรุ่น (Family Counseling for Helping Teenage Mother) มณฑิรา จารุเพ็ง 1
บทคัดย่อ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นภาวะวิกฤต โดยมารดาวัยรุ่นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ที่หลากหลาย มีภาวะอารมณ์ไม่มั่นคง เกิดความรู้สึกยอมรับและไม่ยอมรับการตั้งครรภ์ ดังนั้น การให้ คําปรึกษาครอบครัวสําหรับช่วยเหลือมารดาวัยรุ่นเป็นทางหนึ่งในการช่วยให้มารดาวัยรุ่นได้เข้าใจตนเอง มีมุมมองเชิงบวก มีพลังและกําลังใจสําหรับการเตรียมความพร้อมกับเหตุการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น โดยใช้ ทฤษฎี ก ารให้ คํ า ปรึ ก ษาครอบครั ว เชิ ง โครงสร้ า ง และทฤษฎี ก ารให้ คํ า ปรึ ก ษาครอบครั ว ที่ เ น้ น ประสบการณ์และมนุษยนิยม สิ่งสําคัญของจุดมุ่งหมายการให้คําปรึกษาครอบครัว คือ เพื่อให้สมาชิกใน ครอบครัวมารดาวัยรุ่นเกิดการเปลี่ยนแปลง เข้าใจตนเอง มีความรู้สึกที่ดีต่อครอบครัวอันจะนําไปสู่การ พัฒนาความเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ Abstract The pregnancy of a teenager is a period of crisis. The teenage mother changes to become temperamental, has unstable emotions, and may either accept or reject the pregnancy. Thus, family counseling is needed to help the teenage mother. It is one approach for helping and encouraging the teenage mother to understand oneself. Structural family counseling prepares the teenage mother for crisis events in the future through experiential and humanistic family counseling theory. The most important purpose of family counseling is to help make changes and promote self-understanding. The goal is for the teenage mother to have a positive attitude about the family and to bring about to healthy family. บทนาและความเป็นมา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (2014: ออนไลน์) ได้ให้คําจํากัดความหมายของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น คือ การตั้งครรภ์ที่เกิดในผู้หญิงที่มีอายุ น้อยกว่า 20 ปี เมื่อนับถึงวันสิ้นสุดการตั้งครรภ์ หรือ การตั้งครรภ์นั้นมีการคลอดเสร็จสิ้นก่อนอายุ 20 ปี และจากการรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่า ปัจจุบันมีวัยรุ่นระหว่าง 13-19 ปี ได้กลายเป็นมารดา วัยรุ่น โดยในแต่ละปีมีวัยรุ่นตั้งครรภ์ประมาณ 16 ล้านคน และคิดเป็นร้อยละ 11 ของการคลอดทั่วโลก 1
รองศาสตราจารย์ , อาจารย์ ป ระจํ า ภาควิ ช าการแนะแนวและจิ ต วิ ท ยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
58
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
สําหรับประเทศไทยสถานการณ์วัยรุ่นตั้งครรภ์ พบว่า มีจํานวนที่เพิ่มสูงขึ้น สถิติสาธารณสุข รายงานว่าทารกที่เกิดจากการตั้งครรภ์ของเด็กหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 10-19 ปี ซึ่งมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง โดยในพ.ศ. 2540 มีอัตราการคลอดบุตรของมารดาอายุต่ํากว่า 20 ปี ร้อยละ 11.40 ใน พ.ศ. 2550 อัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่นได้เพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 14.06 และ พ.ศ. 2554 มีอัตรา การคลอด บุตรของวัยรุ่นเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 16.30 (สํานักงานอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2557: 24) ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ทํางานเกี่ยวข้องกับวัยรุ่นได้ให้ ความสําคัญกับเรื่องมารดาวัยรุ่นและคิดหาแนวทางใหม่ๆ ที่จะให้ความช่วยเหลือกับวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่ไม่ พร้อม เพื่อปูองกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นให้ลดน้อยลง เนื่องจากการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการตั้งครรภ์ใน วัยรุ่นขององค์การอนามัยโลก พบว่า การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีความเสี่ยงหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อ มารดาวัยรุ่นและทารก เช่น การเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร และ ความเสี่ยงในชีวิตของทารกที่เกิดจากมารดาวัยรุ่น พบว่า มีความเสี่ยงที่สูงมากกว่าทารกที่เกิดจากมารดาที่ มีอายุระหว่าง 20-24 ปี (องค์การอนามัยโลก. 2014: ออนไลน์) และจากการศึกษาของมิตซูฮิโรและคณะ (Mitsuhiro; & et al. 2009: 750) พบว่า ช่วงที่วัยรุ่นตั้งครรภ์มีความชุกของปัญหาสุขภาพจิตร้อยละ 27.60 และยังมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นด้วย ซึ่งสอดคล้องกับผลการเปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้า ในวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่พบว่า วัยรุ่นตั้งครรภ์มีภาวะซึมเศร้าที่สูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ในวัยผู้ใหญ่ประมาณ 2 เท่า คิดเป็นร้อยละ 25.90 และ 11.10 ตามลําดับ (Piyasil. 1998: 125; Bennette; & et al. 2004: 706) จากปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยมุมมองสังคมไทยถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เป็น เรื่องที่เสื่อมเสียสร้างความอับอายให้กับตัวเองและครอบครัว อีกทั้งยังเป็นการสร้างภาระให้กับตัว วัย รุ่ น เอง แม้ก ระทั่ งกั บ วั ย รุ่ น ตั้ ง ครรภ์ ที่ ได้ เ ข้ า พิธี ก ารแต่ ง งานมาก่ อนแล้ ว ก็ ต าม เมื่ อ วั ยรุ่ น และ ครอบครัวประสบปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ต่างก็มีวิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันไป เช่น การทํา แท้ง การย้ายที่อยู่ การย้ายที่เรียน การย้ายออกจากชุมชนที่คุ้นเคย การอยู่ให้ห่างจากญาติพี่น้องและ คนรู้จักเพื่อปกปิดสภาพปัญหาหรือเลี่ยงความรู้สึกอับอาย และในบางกรณีการตั้งครรภ์ไม่พร้อมเป็น เรื่องที่รู้กันเฉพาะระหว่างแม่กับลูกสาวเท่านั้น ไม่สามารถให้สมาชิกคนอื่นในครอบครัวทราบเรื่องได้ (รัก ชุณหกาญจน์. 2556: 5) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะของแรงกดดันที่ทําให้มารดาวัยรุ่นเกิดความ คับข้องใจ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของกนกวรรณ ธราวรรณ และคณะ (2548: 3) พบว่า วัยรุ่นที่ ตั้งครรภ์ไม่พร้อม บางคนรังเกียจโกรธเด็กในครรภ์ โทษสถานการณ์ โกรธตนเองและโกรธผู้ที่กระทํา ดังนั้น การก้าวผ่านวิกฤติของการเป็นมารดาวัยรุ่นจึงเป็นเรื่องที่สําคัญที่จะต้องให้ความช่วยเหลือแก่ มารดาวัยรุ่นให้ได้มีแนวทางในการดําเนินชีวิตของตนเองได้อย่างเหมาะสมและตรงกับความต้องการ ของมารดาวัยรุ่น นอกจากนี้ การเปลี่ยนบทบาทอย่างรวดเร็วของวัยรุ่นจากบทบาทลูกหรือบทบาท นั ก เรี ย น กลายมาเป็ น บทบาทมารดาแบบไม่ ทั น ตั้ ง ตั ว มารดาวั ย รุ่ น จํ า เป็ น ต้ อ งเผชิ ญ หน้ า กั บ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะภาระหน้าที่และความรับผิดชอบในการดูแลบุตร แต่ด้วยข้อจํากัดและความไม่พร้อมทางวุฒิภาวะ ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆ มากมาย เช่น ปัญหาสุขภาพ ร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาการปรับตัว และปัญหาความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น ด้วยเหตุดังกล่าวจึงส่ งผลให้มารดาวัยรุ่นมีความรู้สึกเชิงลบที่ไม่ดีต่อตนเอง รวมทั้งขาดทักษะในการ เลี้ยงดูเด็ก ซึ่งอาจนําไปสู่ปัญหาการทอดทิ้งเด็กหลังคลอดและการทําร้ายทารุณเด็ก
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
59
จะเห็นได้ว่า เมื่อเกิดปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นย่อมส่งผลกระทบต่อวัยรุ่นและครอบครัว โดยตรง ซึ่งครอบครั วเป็ นหน่ วยพื้นฐานของสั งคม บุคคลไม่สามารถพัฒนาไปได้ดีและใช้ชีวิตอย่างมี ความสุขได้ หากปราศจากครอบครัวที่ดี ในอดีตมีการเพ่งเล็งไปที่ปัจเจกส่วนบุคคลมากกว่าจะมองไปที่ บุ คคลและครอบครั วร่ ว มกั น อย่ างไรก็ ตามมุ มมองดั งกล่ าวได้ เปลี่ ยนแปลงไป ปั จจุ บั นมี การเห็ น ความสําคัญของครอบครัวมากยิ่งขึ้น มีการมองบุคคลในบริบท (Individual in His Context) ไม่ใช่เพียง แค่มองที่บุคคลเพียงลําพัง ทั้งนี้เพราะเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ด้วยการมองบุคคลในบริบทเท่านั้น เราจึง จะเข้ าใจบุ คคลได้ อย่ างแท้ จริ ง เนื่ องจากบริ บทที่สํ าคั ญที่ สุ ดของบุ คคล คื อครอบครั ว ครอบครั วจึ ง กลายเป็นหน่วยสําคัญของการช่วยเหลือฟื้นฟู ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟูทางสังคมหรือทางการแพทย์ (อุมาพร ตรังคสมบัติ. 2557: 1) การดําเนินการให้ความช่วยเหลือครอบครัวจะต้องพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ ครอบคลุมแต่ละบุคคล เพื่อเป็นประโยชน์สําหรับการกําหนดแนวทางของการให้ ความช่วยเหลือครอบครัว อย่างเป็นระบบ เนื่องจากในแต่ละครอบครัวจะประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ มากมายที่มีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ต่อกันของสมาชิกในครอบครัว ความสัมพันธ์ของครอบครัวจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่สําคัญที่จะช่วยให้เกิด ประสิทธิผลจากการดําเนินการให้ความช่วยเหลือได้เป็นอย่างดี โดยมินูชิน (Dallos; & Draper. 2005: 11 cite Minuchin. 1974: 1) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบของโครงสร้างครอบครัวไว้ ว่า ปัญหาหรือความเครียดใดๆ ที่เกิดขึ้นในครอบครัว ครอบครัวจําเป็นจะต้องได้รับการจัดการปัญหา เหล่านั้นให้เข้าสู่สมดุล (Homeostasis) โดยเร็ว ถ้าหากครอบครัวเสียสมดุลก็จะเกิดปัญหาหรือพยาธิ สภาพได้ ด้วยเหตุดังกล่าวแต่ละครอบครัวที่เผชิญปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นต้องมีวิธีการปรับตัวที่ เหมาะสมด้วยการปรับตัวของครอบครัว (Family Adaptation) ที่มีประสิทธิภาพ สําหรั บการให้ความช่ วยเหลื อมารดาวัยรุ่นในเชิงจิตวิทยาสามารถกระทําได้หลากหลาย วิ ธี การ เช่ น การให้ ความรู้ เชิ งจิ ตวิ ทยา (Psycho-education) การปรั บพฤติ กรรรม (Behavior Modification) และการให้คําปรึกษา (Counseling) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้คําปรึกษาสามารถจัดแบ่ง ออกได้หลายประเภท โดยเมื่อจําแนกตามลักษณะของจํานวนผู้เข้ารับการให้คําปรึกษา สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆ คือ การให้คําปรึกษาแบบรายบุคคล (Individual Counseling) การให้คําปรึกษาแบบ กลุ่ม (Group Counseling) และการให้คําปรึกษาครอบครัว (Family Counseling) (Corey. 2012: 28) โดยในครั้ งนี้ผู้เขียนขอนําเสนอแนวทางการให้ความช่ วยเหลือด้วยการให้คําปรึกษาครอบครัวสํ าหรับ มารดาวัยรุ่น เพราะเมื่อเกิดปัญหาขึ้นครอบครัวจะเป็นส่วนหนึ่งที่สํ าคัญที่จะช่วยดูแลมารดาวัยรุ่ นใน เบื้องต้น และสามารถช่วยฟื้นฟูจิตใจให้กับมารดาวัยรุ่นที่มีความเครียด ความวิตกกังวลได้ การให้คําปรึกษาครอบครัวเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยให้แต่ละครอบครัวสามารถ จัดการปัญหาและทําหน้าที่ของครอบครัวได้อย่างสมบูรณ์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านครอบครัว หรือ ผู้ให้คําปรึกษาครอบครัวเป็นผู้ช่วยเหลือ เพื่อให้ครอบครัวสามารถพัฒนาและก้าวผ่านวิกฤติการณ์ ได้ อย่างปกติสุข โดยการให้คําปรึกษาครอบครัว (Family Counseling) หรือ จิตบําบัดครอบครัว (Family Therapy) เป็นการช่วยเหลือที่รวมเอาบุคคลที่มีความผูกพันกันในฐานะเป็นครอบครัวเข้า มาร่วมด้วย การให้คําปรึกษาครอบครัวไม่ใช่เฉพาะผู้ที่มีปัญหาเพียงคนเดียว หรือเป็นการช่ว ยเหลือว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งในครอบครัว โดยปัญหาที่เกิดขึ้นกับสมาชิกต่างๆ ในครอบครัว นั้น จะต้องให้ความสําคัญกับการมองภาพรวมทั้งระบบครอบครัว ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันและส่งผลซึ่ง กันและกัน มิใช่มุ่งแก้ไขที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น ครอบครัวในที่นี้หมายถึง บุคคลที่มีความสัมพันธ์
60
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
อย่างใกล้ชิด ได้แก่ พ่อแม่ สามี-ภรรยา ลูก ญาติพี่น้อง และบางครั้งอาจรวมไปถึงมิตรสหายด้วย การ ให้คําปรึกษาครอบครัวมองว่าปัญหาอยู่ที่ “ภายนอก” คือที่บริบท (Context) และต้องแก้ที่บริบท เพราะบริบทเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่แวดล้อมผู้ที่มีปัญหาไม่ว่าจะเป็นครอบครัว สังคม ค่านิยม วัฒนธรรม ความคาดหวัง เนื่องจากบริบทที่สําคัญที่สุดคือครอบครัว ดังนั้น การนําครอบครัวมาร่วม ในการให้คําปรึกษาจึงเป็นสิ่งสําคัญ (อุมาพร ตรังคสมบัติ. 2554: 87) โกลเดนเบอร์กและโกลเดนเบอร์ก (Goldenberg; & Goldenberg. 2008: 3) กล่าวว่า ในปัจ จุบันนี้ ครอบครัว มีรูปแบบหลากหลายปรากฏให้เห็นในหลายวัฒนธรรม ซึ่งไม่ใช่แค่เพียง ความสัมพันธ์กันทางกายภาพ (Physical) และทางด้านจิตใจ (Psychological) เท่านั้น แต่อาจกล่าว ได้ว่าครอบครัว คือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในด้านต่างๆ เช่น การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ได้รับ มอบหมายในครอบครัวด้วยความพึงพอใจ และสมาชิกในครอบครัวลงความเห็นว่าเขามีบทบาท อย่างไรในครอบครัว มีรูปแบบการสื่อสารกันในครอบครัวที่แตกต่างกัน ทั้งที่ปรากฏออกมาให้เห็นได้ ชัดเจน หรือการสื่อสารที่ซ่อนเร้น มีการสร้างแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน การมีความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในครอบครัวนั้นจะต้องลึกซึ้ง มีการดูแลซึ่งกันและกันในด้านอารมณ์ บางครั้งความ ซื่อสัตย์ก็อาจจะสั่นคลอนไปบ้างในช่วงระยะเวลาที่อยู่ร่วมกันของสมาชิก ดังนั้น จึงกล่าวสรุปได้ว่า การให้คําปรึกษาครอบครัว หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือสมาชิกครอบครัวตั้งแต่ 2 คนขึ้น ไป เมื่อเกิดปัญหาหรือต้องการได้รับแนวทางในการพัฒนาครอบครัวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทาง ที่ดี โดยมีผู้ ให้ คําปรึกษาครอบครัว เป็ นผู้ ให้ ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกให้ ส มาชิกใน ครอบครัวได้ร่วมแสดงออกทางความคิดและความรู้สึกของตนเองอย่างเปิดเผย ภายใต้บรรยากาศที่ดี ตามขั้นตอนและกระบวนการในการให้คําปรึกษาครอบครัว สําหรับจุดมุ่งหมายของการให้คําปรึกษาครอบครัวมารดาวัยรุ่น คือ การช่วยลดความตึง เครียดและช่วยเปลี่ยนแปลงระบบครอบครัว เพื่ อให้มารดาวัยรุ่นสามารถดําเนินชีวิตได้ราบรื่น โดย หลักการที่สําคัญสําหรับช่วยเหลือมารดาวัยรุ่น ได้แก่ 1) การลดความขัดแย้งภายในครอบครัว โดยเฉพาะความขัดแย้งเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ 2) ช่วยให้ครอบครัวสนับสนุนและสร้างทักษะทางสังคม ให้กับมารดาวัยรุ่น 3) ช่วยให้มารดาวัยรุ่นมีพัฒนาการที่เหมาะสมเป็นตัวของตัวเองและพึ่งพาตนเอง ได้ และเพื่อสร้างเครือข่ายในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนมารดาวัยรุ่น อีกทั้งแนวคิดของการ ให้ความช่วยเหลือวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยการพัฒนาครอบครัวอย่างเป็นระบบ (Family Development Project) ได้ระบุว่า มารดาวัยรุ่นมีความจําเป็นที่ต้องได้รับการสนับสนุนเพื่อให้มารดาวัยรุ่นที่อยู่ใน ภาวะคลุมเครือของช่วงวิกฤตในชีวิตครั้งยิ่งใหญ่ให้ผ่านพ้นไปด้วยดี ทั้งเรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐาน ของการเป็นมารดาที่เป็นมารดาวัยรุ่น ให้สามารถเรียนรู้วิธีการดูแลทารก ส่งเสริมสุขภาพของเด็ก และปูองกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพได้อย่างเต็มศักยภาพ (อุมาพร ตรังคสมบัติ. 2554: 210; Lewis; & et al. 2003: 105 cite Brodsky. 1999: 186) บทบาทหน้าที่สําคัญของผู้ให้คําปรึกษาครอบครัวมารดาวัยรุ่น ประกอบด้วย 1) สามารถ สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและเป็นมิตร ที่ก่อให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้รับคําปรึกษา ครอบครัวและผู้ให้คําปรึกษาครอบครัว 2) สามารถสื่อให้ผู้รับคําปรึกษาครอบครัวเข้าใจวัตถุประสงค์ ของการให้คําปรึกษาครอบครัว 3) ช่วยให้ผู้รับคําปรึกษาครอบครัวมีความเข้าใจตนเองและบริบท แวดล้อม 4) สนับสนุนให้กําลังใจ เอื้ออํานวยความสะดวก ที่จะช่วยให้ผู้รับคําปรึกษาครอบครัว
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
61
พยายามแก้ไขปัญหา และสามารถตัดสินใจด้วยตนเอง ตลอดจนสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเอง และปรับตัวได้เหมาะสมยิ่งขึ้น 5) ให้กําลังใจผู้รับคําปรึกษาครอบครัวในการแก้ไขปัญหา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตนเองตลอดทั้งวางแผนเพื่ออนาคต 6) สามารถประสานงานกับบุคลากรในหน่วยงาน อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ของผู้รับคําปรึกษาครอบครัว 7) ติดตามผลและประเมินผลของการให้ คําปรึกษาครอบครัว และสามารถพัฒนายุทธวิธีในการให้คําปรึกษาครอบครัวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. 2547: 7; Dallos; & Draper. 2005: 19) สําหรับกระบวนการให้คําปรึกษาครอบครัวมารดาวัยรุ่น โดยทั่วไป แกลดดิง (เมธินินทร์ ภิญญูชน. 2539: 51; อ้างอิงจาก Gladding. 1995) ได้กล่าวถึงกระบวนการในการให้คําปรึกษา ครอบครัวประกอบด้วย 3 ขั้นตอนที่สําคัญได้แก่ 1. ระยะแรก (Initial Phase) ในระยะแรกนี้ ภารกิจที่สําคัญที่ผู้ให้คําปรึกษาครอบครัว มารดาวัยรุ่นต้องกระทํา คือ การสร้างสายสัมพันธ์ และกําหนดโครงสร้างของการให้คําปรึกษา ตั้งสมมติฐานว่าอะไรกําลังเกิดขึ้นในครอบครัวมารดาวัยรุ่นนั้น สํารวจการรับรู้ที่มีต่อปัญหาจากสมาชิก ในครอบครัวมารดาวัยรุ่น สังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกของครอบครัว เช่น สมาชิกครอบครัวแต่ ละคนติดต่อสื่อสารกันอย่างไร ใครพูดกับใคร พูดอย่างไร ประเมินสิ่งที่ต้องดําเนินการ เช่น จะมีการส่ง ต่อหรือไม่ ต้องมีการทดสอบทางจิตวิทยาอะไรหรือไม่ ก่อนเสร็จสิ้นการพบกันครั้งแรกจะต้องมีการตก ลง นัดหมายสําหรับการพบกันครั้งต่อไป หากมีสิ่งที่มอบหมายให้ครอบครัวไปดําเนินการหรือลอง ปฏิบัติย่อมทําได้ ผู้ให้คําปรึกษาควรเขียนความประทับใจที่มีต่อครอบครัวทันทีที่การพบกันสิ้นสุดลง 2. ระยะกลาง (Middle Phase) ในระยะกลางของการให้ความช่วยเหลือ เป็นระยะที่ ผู้ให้คําปรึกษาครอบครัวใช้เทคนิคต่างๆ กับครอบครัวมารดาวัยรุ่น โดยกระตุ้นให้ครอบครัวได้กระทํา ในสิ่งต่างๆ เพื่อให้บรรลุเปูาหมายของการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งเอาไว้ และส่วนใหญ่แล้วการเปลี่ยนแปลง ต่างๆ ในกระบวนการแก้ปัญหามักเกิดขึ้นในระยะนี้ ผู้ให้คําปรึกษาครอบครัวควรชี้ให้ครอบครัวมารดา วัยรุ่น เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในครอบครัว ถึงแม้จะเล็กน้อยก็ตาม ส่งเสริมให้สมาชิกครอบครัว กล้าที่จะลองกระทําพฤติกรรมใหม่ๆ ผู้ให้คําปรึกษาจะต้องมีความกระตือรือร้น โดยให้การส่งเสริม ครอบครัวให้มีแหล่งที่จะให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนที่เหมาะสมแก่สมาชิกครอบครัว 3. ระยะสุดท้าย (Termination Phase) โดยก่อนจะสิ้นสุดระยะสุดท้าย ผู้ให้คําปรึกษา ครอบครัวต้องวางแผนร่วมกับสมาชิกครอบครัวมารดาวัยรุ่น ถึงการยุติการให้คําปรึกษา การเตรียมการที่ จะยุติการให้คําปรึกษา ซึ่งทําได้โดยการลดความถี่ของการพบกันลง และการยุติควรจะต้องประกอบด้วย กระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ การกล่าวถึงการยุติการให้คําปรึกษา การสรุปผลของการให้คําปรึกษา อภิปรายถึงเปูาหมายระยะยาว ทํานายและหาทางปูองกันแก้ไขที่จะไม่ให้ปัญหากลับคืนมาอีกในอนาคต และติดตามผลการให้คําปรึกษาครอบครัวเป็นระยะๆ ถึงแม้การให้คําปรึกษาครอบครัวจะยุติไปแล้ว อย่างไรก็ตาม การให้คําปรึกษาครอบครัวจะใช้ระยะเวลามากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสภาพ ปัญหาของแต่ละครอบครัว ซึ่งโกลเดนเบอร์กและโกลเดนเบอร์ก (Goldenberg; & Goldenberg. 2008: 284) ได้อธิบายว่า ความถี่และระยะเวลาในการให้คําปรึกษาของแต่ละครอบครัวแตกต่างกันไปตามการ ประเมินสภาพครอบครัว และความยุ่งยากที่เกิดขึ้นในครอบครัว ดังนั้น ผู้ให้คําปรึกษาครอบครัวมารดา วัยรุ่น สามารถเลือกใช้แนวคิดและรูปแบบในการให้คําปรึกษาที่แตกต่างกันไป เช่น การให้คําปรึกษา ครอบครัวในช่วงวิกฤติ (Family Crisis Counseling) ซึ่งใช้ระยะเวลาที่ไม่นานประมาณ 1 เดือน เพื่อช่วย
62
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
ให้ครอบครัวมีการปรับสมดุลดีขึ้น การให้คําปรึกษาแบบระยะสั้น (Brief Family Counseling) เป็นการ ให้ คําปรึ กษาครอบครัวที่ใช้ระยะเวลาสั้ นๆ เพียง 5-10 ครั้ง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเด็นปั ญหาของ ครอบครัว การให้คําปรึกษาแบบเล่าเรื่อง (Narrative Counseling) เป็นลักษณะที่มุ่งเน้นประสบการณ์ ของแต่ละบุคคลในครอบครัว ว่าประสบการณ์ทําให้สมาชิกแต่ละคนมีความหวังได้อย่างไร และความหวัง ที่เกิดขึ้นสามารถนํามาเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างไร และสุดท้ายการให้คําปรึกษา ครอบครัวระยะยาว เป็นการให้คําปรึกษาที่ใช้ระยะเวลายาวนานอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่ มีปัญหาที่ซับซ้อน หรือครอบครัวที่ขาดแรงจูงใจและไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ในระยะสั้น การให้คําปรึกษาครอบครัวสําหรับช่วยเหลือมารดาวัยรุ่นในครั้งนี้ ผู้เขียนได้ระบุแนวทางที่ ชัดเจนตามทฤษฎีการให้คําปรึกษาครอบครัว 2 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีการให้คําปรึกษาครอบครัวเชิง โครงสร้าง (Structural Family Counseling) และทฤษฎีการให้คําปรึกษาครอบครัวที่เน้นประสบการณ์ และมนุษยนิยม (Experiential and Humanistic Family Counseling) ซึ่งมีรายละเอียดของทฤษฎี เปูาหมายของการให้คําปรึกษา กระบวนการให้คําปรึกษา บทบาทของผู้ให้คําปรึกษา และเทคนิคการให้ คําปรึกษา ที่สามารถนําไปใช้ระหว่างการให้คําปรึกษาครอบครัวมารดาวัยรุ่น ดังนี้ ทฤษฎีการให้คาปรึกษาครอบครัวเชิงโครงสร้าง (Structural Family Counseling Theory) ผู้นาทฤษฎี มาใช้ในการให้คําปรึกษา คือ Salvador Minuchin ทฤษฎีการให้ คําปรึ กษาครอบครัว เชิงโครงสร้างนี้ อธิบายครอบครัว ในลั ก ษณะของ โครงสร้าง (Structural Model) โดยมองว่ามนุษย์แต่ละคนว่าได้รับผลกระทบจากโครงสร้างภายใน ครอบครัวที่หลอมรวมบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล โกลเดนเบอร์กและโกลเดนเบอร์ก (Goldenberg; & Goldenberg. 2008: 212) กล่าวไว้ว่า การให้คําปรึกษาครอบครัวเชิงโครงสร้างมุ่งเน้นที่ปัญหา และการแก้ ปั ญหาที่เป็ น บริ บ ทมากกว่ ามุ่งที่ปั ญหาและการแก้ปัญหาเป็นรายบุ คคล โดยมีข้ อ สันนิษฐานที่สําคัญที่ว่าอาการต่างๆ ของบุคคลจะได้รับ ความเข้าใจได้ดีที่สุดจากบริบทของรูปแบบ ต่างๆ ในการติดต่อสื่อสารของครอบครัว การเปลี่ยนแปลงในระบบหรือโครงสร้างครอบครัวจะต้อง เกิดขึ้นก่อนที่อาการต่างๆ จะบรรเทาลงและผู้ให้คําปรึกษาต้องมีบทบาทเป็นผู้นําที่ชี้แนวทางในการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือบริบท นักทฤษฎีเชิงโครงสร้างให้ความสําคัญกับความเป็นองค์รวมของ ครอบครัว อิทธิพลของการจัดระบบตามลําดับขั้นของครอบครัว และการทําหน้าที่ที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกัน และกันของระบบย่อยในครอบครัว โครงสร้างของครอบครัว (Family Structure) หมายถึง แบบแผนของปฏิสัมพันธ์ระหว่าง สมาชิกครอบครัว ที่เกิดขึ้นเป็นประจําซ้ําๆ และแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวจะบ่งบอกถึงรูปแบบ ของความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว โดยโครงสร้างครอบครัวจะเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบต่างๆ และ ข้อห้ามที่สมาชิกครอบครัวเป็นผู้กําหนดร่วมกัน และถือเป็นแนวปฏิบัติ อีกทั้งโครงสร้างครอบครัวยัง เกี่ยวกับบทบาทของสมาชิกในครอบครัวแต่ละคน และเกี่ยวข้องกับการผนึกกําลัง (Coalition) หรือ การ รวมกําลังระหว่างสมาชิกครอบครัว เพื่อจะได้มีความเหนียวแน่นหรือมีอํานาจเหนือคนอื่นในครอบครัว และส่งผลต่อการดําเนินชีวิตประจําวันของครอบครัว (Goldenberg; & Goldenberg. 2008: 213) การให้ คํ าปรึ กษาครอบครั วตามทฤษฎี นี้ จะมองครอบครั วของมารดาวั ยรุ่ นเป็ นระบบ (System) ซึ่งประกอบด้วยระบบย่อย (Subsystem) เช่น ระบบย่อยของสามี-ภรรยา พ่อ-แม่ พี่-น้อง ซึ่ง
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
63
แต่ละระบบย่ อยต่างมีหน้ าที่ ที่ต้องปฏิบั ติและรับผิ ดชอบ มีความใกล้ ชิดสนิทสนม หรื อ ห่ างเหิ นกั น ขอบเขตของระบบย่อยได้รับการสร้างขึ้นโดยกฎต่างๆ ที่กําหนดว่าใครที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในระบบ ย่อยนั้น และบุคคลนั้นจะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไร ธรรมชาติของขอบเขตนั้นมีความสําคัญที่ส่งผลต่อการ ปฏิบัติหน้าที่ของระบบย่อย เช่นเดียวกับหน่วยของครอบครัวทั้งหมด ขอบเขตมีลักษณะ 3 ประการ คือ 1) ขอบเขตที่เข้มงวด (Rigid Boundaries) หมายถึง ขอบเขตระหว่างระบบย่อยที่แบ่งแยกกันเด็ดขาด เข้มงวด ไม่มีความยืดหยุ่น ทําให้สมาชิกในครอบครัวมารดาวัยรุ่นมีความรู้สึกแยกจากกันและกัน ซึ่งใน ครอบครัวที่มีขอบเขตเข้มงวด ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวจะมีลักษณะอารมณ์ที่ขาดความ ผูกพันซึ่งเรียกว่าเป็นความห่างเหิน (Disengagement) 2) ขอบเขตที่ชัดเจน (Clear Boundaries) หมายถึง ขอบเขตระหว่างระบบย่อยที่มีกฎเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่มีความชัดเจน มั่นคง และมีความ ยืดหยุ่นพอประมาณ ที่จะช่วยให้สมาชิกในครอบครัวมารดาวัยรุ่น สามารถเป็นตัวของตัวเองได้โดยอิสระ และในขณะเดียวกันก็มีความผูกพัน ในระบบครอบครัวทั้งระบบ และ 3) ขอบเขตที่ไม่ชัดเจน (Diffuse Boundaries) หมายถึง ขอบเขตระหว่างระบบย่อยที่แบ่งกันไม่เด็ดขาด ไม่มีความชัดเจนในกฎเกณฑ์ และ แนวปฏิบัติระหว่างสมาชิกในครอบครัว โดยสมาชิกในระบบย่อยหนึ่งอาจเข้าไปก้าวก่ายอีกระบบย่อยหนึ่ง จนทําให้บุคคลขาดความเป็นส่วนตัว หรือได้รับความรัก ความอบอุ่นมากเกินความต้องการ ซึ่งลักษณะ เช่นนี้เรียกว่าการพัวพัน (Enmeshment) ในครอบครัวที่มีการปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ขอบเขตที่ ชัดเจนทําให้สมาชิกแต่ละคนมีความรู้สึกของ “ความเป็นฉัน” (I-ness) ประกอบกับความรู้สึก “เรา” (We) หรือ “ของเรา” (Us) กล่าวคือ สมาชิกครอบครัวมารดาวัยรุ่นแต่ละคนจะรักษาไว้ซึ่งความเป็นปัจเจก บุคคลของตนเอง แต่ไม่ได้สูญเสียความรู้สึกของความเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว (Goldenberg; & Goldenberg. 2008: 220) เปูาหมายของการให้คาปรึกษาตามทฤษฎีการให้คาปรึกษาครอบครัวเชิงโครงสร้าง 1. เพื่อจัดหรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างของครอบครัวมารดาวัยรุ่นเสียใหม่ และให้เหมาะสม กว่าเดิมทําให้เกิดบรรยากาศใหม่ ๆ ในครอบครัว หรือทําให้เกิดบริบทแวดล้อมใหม่ (New Context) โดย ให้สมาชิกแต่ละคนได้เรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติในการติดต่อเกี่ยวข้องกับสมาชิกคนอื่นๆ และเรียนรู้ ที่จะลดหรือขจัดความขัดแย้ง ความไม่ลงรอยกัน ความเครียด หรือความทุกข์ใจ ไม่สบายใจที่เกิดขึ้น 2. เพื่ อให้ สมาชิ กครอบครั วมารดาวั ยรุ่ นได้ เรี ยนรู้ ที่ จะสร้ างความสั มพั นธ์ กั บสมาชิ ก ครอบครัวคนอื่นๆ มองครอบครัวตามความเป็นจริง มีทัศนะทางบวกต่อครอบครัว ปรารถนาที่จะเข้าใจ และ เห็ น การเปลี่ ยนแปลงที่ จะเกิ ด ขึ้ นในครอบครั ว และมี ความเชื่ อมั่ นว่ าครอบครั วของตนนั้ นสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ 3. เพื่อให้สมาชิกครอบครัวมารดาวัยรุ่นได้เรียนรู้ว่าครอบครัวของตนปกครองกันอย่างไร มี กฎเกณฑ์อะไรบ้าง แต่ละคนมีบทบาทอย่างไร ปฏิบัติตนอย่างไร มีความผูกพันกันมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสิ่ง เหล่านี้จะบ่งบอกถึงรูปแบบหรือแบบแผน หรือลักษณะของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นซ้ําๆ หรือเกิดขึ้นเป็น ประจําของชีวิตครอบครัวมารดาวัยรุ่น ซึ่งสมาชิกแต่ละคนจะต้องปรับเปลี่ยนตนเอง ให้มี ความยืดหยุ่น และให้เหมาะสมกว่าเดิม เพื่อให้บรรยากาศของครอบครัวดีขึ้น
64
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
กระบวนการให้คาปรึกษาตามทฤษฎีการให้คาปรึกษาครอบครัวเชิงโครงสร้าง ทฤษฎี การให้คําปรึ กษาครอบครัวเชิงโครงสร้าง มองว่าการให้คําปรึ กษาครอบครัว เป็น การเปลี่ยนโครงสร้างโดยการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของสมาชิกครอบครัวมารดาวัยรุ่น สิ่งหนึ่งที่ผู้ให้ คําปรึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นอันดับแรก คือ กระบวนการใหม่ที่จะถูกทําให้ดํารงอยู่โดยกลไกการ ควบคุมตนเองของครอบครัว นับจากนั้นครอบครัวก็จะเป็นระบบที่ขับเคลื่อนไปอย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนของ กระบวนการให้คําปรึกษาอาจจะคาบเกี่ยวหรือเป็นวัฏจักร ดังนี้ โดย ขั้นตอนที่ 1 การเข้าไปมีส่วนร่วมและการทําให้เหมาะสม (Joining and Accommodation) เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้คําปรึกษากับมารดาวัยรุ่นและสมาชิกครอบครัวมารดาวัยรุ่น โดย ผู้ให้คําปรึกษาจะแสดงออกให้ผู้รับคําปรึกษาทราบว่าผู้ให้คําปรึกษารู้และเข้าใจปัญหาหรือเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น เข้าใจและยอมรับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกครอบครัวมารดาวัยรุ่น ขั้นตอนที่ 2 การ ดําเนินการกับปฏิสัมพันธ์ (Working with Interaction) ในชั่วโมงแรกของการให้คําปรึกษา จะเป็นการ สร้างสัมพันธภาพกับสมาชิกของครอบครัวมารดาวัยรุ่น โดยการแสดงความเข้าใจในปัญหา ความทุกข์ ความเจ็ บปวดที่ครอบครัวมารดาวัยรุ่นประสบอยู่ ผู้ให้คําปรึกษาต้องสามารถสร้างความสั มพันธ์กับ สมาชิกครอบครัวทุกคนได้เพื่อให้สมาชิกของครอบครัวมารดาวัยรุ่นมีความไว้วางใจ เปูาหมายของ ขั้นตอนนี้เป็นเพียงการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ ให้คําปรึกษากับสมาชิกของครอบครัวมารดาวัยรุ่น ขั้นตอนที่ 3 การวินิจฉัย (Diagnosis) เป็นกระบวนการที่ส่งผ่านมาอย่างต่อเนื่องจาก การสังเกตและการ ทดสอบสมมติฐาน และกําหนดกฎเกณฑ์ให้สัมพันธ์กับโครงสร้างของครอบครัวและการมีปฏิสัมพันธ์ใน ครอบครัว เปูาหมายของขั้นตอนนี้เป็นการสร้างกรอบของข้อมูลที่สัมพันธ์กับปัญหาในระบบครอบครัวที่ สอดคล้องกับการให้คําปรึกษาเชิงโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 4 กําหนดลักษณะสําคัญและการปรับเปลี่ยน ปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกของครอบครัวมารดาวัยรุ่น (Highlighting and Modifying Interactions) เป็น การกําหนดลักษณะปัญหาที่สําคัญร่วมกันกับสมาชิกของครอบครัวมารดาวัยรุ่น และร่วมกันปรับเปลี่ยน ปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกของครอบครัวมารดาวัยรุ่นให้ไปในทางที่เหมาะสม ขั้นตอนที่ 5 กําหนดขอบเขต (Boundary Making) เป็นการกําหนดขอบเขตของสมาชิกของครอบครัวมารดาวัยรุ่นว่ามีลักษณะเป็น อย่างไร ขั้นตอนที่ 6 การทําให้ขาดความสมดุล (Unbalancing) เป็นการศึกษาดูว่าสาเหตุที่ทําให้สมาชิก ของครอบครัวมารดาวัยรุ่นขาดความสมดุลเกิดจากอะไร และ ขั้นตอนที่ 7 การท้าทายสมมติฐานที่ไม่ได้ ประโยชน์ (Challenging Unproductive Assumptions) เป็นขั้นตอนของการปรับโครงสร้างใหม่ (Restructuring) ผู้ให้คําปรึกษาใช้กระบวนการให้คําปรึกษาที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผ่านทางการ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างในครอบครัว เปูาหมายในขั้นตอนนี้เป็นการพัฒนาให้ครอบครัวสามารถจัดการต่อ สถานการณ์ความตึงเครียดในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม บทบาทของผู้ให้คาปรึกษาตามทฤษฎีการให้คาปรึกษาครอบครัวเชิงโครงสร้าง ผู้ให้คําปรึ กษาจะมีบทบาทที่ชัดเจนคล้ายเป็นผู้กํากับการแสดงที่ต้องมีความคล่องแคล่ ว ว่องไว มีส่วนร่วมกับครอบครัว มีความสามารถในการสังเกต มีความเชี่ยวชาญในการเลือกใช้เทคนิคให้ เหมาะสมกับสถานการณ์เพื่อเข้าไปทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของครอบครัว เน้นที่ปัจจุบัน โดย บทบาทของผู้ให้คําปรึกษาจะเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะในชั่วโมงการให้คําปรึกษา ใน ระยะแรกผู้ให้คําปรึกษาอาจเริ่มด้วยลักษณะของการเป็นผู้นํา หากพบว่าครอบครัวมารดาวัยรุ่นคาดหวัง
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
65
ความเป็นผู้รู้ หรือผู้เชี่ยวชาญในการให้ความช่วยเหลือ หรือบางครั้งอาจปรับมาเป็นผู้เข้าร่วมเป็นพวก เดียวกันกับสมาชิกครอบครัวคนใดคนหนึ่งหรือทั้งครอบครัว และบางครั้งก็ลดบทบาทตนเองมาเป็นผู้ สังเกต เพื่อดูพลวัตที่เกิดขึ้นในครอบครัว และต่อมาอาจจะกลับมาสู่บทบาทของผู้กํากับ เพื่อปรับเปลี่ยน โครงสร้างในครอบครัวเสียใหม่เพื่อช่วยให้ครอบครัวเรียนรู้บทบาทหน้าที่ของตน รู้จักการสื่อสารอย่าง เหมาะสมเพื่อขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ให้คําปรึกษาครอบครัวเชิงโครงสร้างจะมีบทบาทที่มุ่งมั่น แสดงความกระตือรือร้นเพื่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในครอบครัวมารดาวัยรุ่นที่ทําหน้าที่บกพร่อง ซึ่งเป็นเปูาหมายเบื้องต้นหากเกิดการ เปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมส่วนบุคคลขึ้น สภาพปัญหาอาจบรรเทาลงโดยสังเกตจาก รูปแบบการติดต่อสื่อสารของครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป ผู้ให้คําปรึกษาเชิงโครงสร้างให้เหตุผลว่าเมื่อโครงสร้าง ของครอบครัวได้รับการเปลี่ยนแปลงแล้ว จุดยืนของสมาชิกของครอบครัวมารดาวัยรุ่นก็จะได้รับการ เปลี่ยนแปลงด้ วย โดยบทบาทเบื้ องต้นของผู้ ให้คํ าปรึ กษาเชิงโครงสร้างที่จะเป็ นเครื่องมือสํ าหรั บการ เปลี่ยนแปลง คือ การเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นกับครอบครัวโดยรวม เสนอสิ่งที่ท้าทายที่จะผลักดัน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น และสนับสนุนให้กําลังใจแก่สมาชิกครอบครัวที่มีความพยายามที่จะจัดการกับ ผลที่ตามมาด้วยความมั่นใจ (Goldenberg; & Goldenberg. 2008: 213; Citing Colapinto. 1991) เทคนิคการให้คาปรึกษาตามทฤษฎีการให้คาปรึกษาครอบครัวเชิงโครงสร้าง การนําเทคนิคการให้คําปรึกษาครอบครัวเชิงโครงสร้างมาใช้ในการให้คําปรึกษาครอบครัว มารดาวัยรุ่นนั้น ผู้ให้คําปรึกษาต้องเลือกวิธีการให้คําปรึกษาในแนวทางที่เหมาะสมกับรูปแบบส่วนบุคคล ของตนเอง เทคนิ คที่ใช้ ในการให้ คําปรึกษาครอบครัวเชิงโครงสร้างนี้เป็นเครื่องมือที่เป็นศิลปะที่ผู้ ให้ คําปรึกษาต้องค้นหาและสรรค์สร้างเทคนิคต่างๆ ที่เหมาะกับรูปแบบปฏิสัมพันธ์ของแต่ละครอบครัว มารดาวัยรุ่น และเหมาะกับบุคลิกภาพของผู้ให้คําปรึกษา เนื่องจากทุกช่วงของการให้คําปรึกษาจะมี ลักษณะเฉพาะ ไม่เหมือนกัน ผู้ให้คําปรึกษาสามารถเลือกสรรเทคนิคมาใช้ให้เหมาะสม ได้ดังต่อไปนี้ 1. เทคนิคการเข้าร่วม (Joining) เปูาหมายเบื้องต้นของเทคนิคการเข้าร่วมนี้ คือการสร้างสัมพันธภาพในการให้คําปรึกษา กับครอบครัว โดยมุ่งเน้นไปที่การใส่ใจกับภาวะอารมณ์ของครอบครัวในขณะนั้น บทบาทหน้าที่ที่ผู้ให้ คําปรึกษาต้องปฏิบัติขณะใช้เทคนิคการเข้าร่วมนี้มี 3 ประการคือ 1.1 การคงไว้ (Maintenance) เป็นการสนับสนุนพฤติกรรมบางอย่างและคําพูด บางอย่างทีช่วยเสริมความเข้มแข็ง และแสดงถึงความเป็นตัวของตัวเองในระบบย่อยของแต่ละบุคคล 1.2 การติดตามร่องรอย (Tracking) ใช้ความชัดเจน (Clarification) การขยายความ (Amplification) และการยอมรับ (Approval) เพื่อเป็นสิ่งกระตุ้นแต่ละบุคคลและระบบย่อยของการ สื่อสารในครอบครัว 1.3 การเลียนแบบ (Mimesis) เป็นการดัดแปลงรูปแบบการสื่อสาร และการเข้าถึง ความรู้สึกของครอบครัวมารดาวัยรุ่น ตัวอย่างเช่น ถ้าหากว่าครอบครัวใช้คําใดบ่อยๆ ผู้ให้คําปรึกษาก็จะ ดัดแปลงคําพูดเหล่านั้นมาใช้ในรูปแบบการพูดของผู้ให้คําปรึกษา ทั้งนี้เพื่อให้เป็นอันหนึ่งเดียวกันกับ สมาชิกครอบครัวมารดาวัยรุ่น
66
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
2. การปรับโครงสร้างใหม่ (Restructuring) การปรับโครงสร้างใหม่นี้ เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของครอบครัว มารดาวัยรุ่น ซึ่งสามารถกระทําผ่านทางการแสดงบทบาท (Enactments) การวาดเส้นขอบเขต (Delineating the Boundaries) การทําให้เสียสมดุล (Unbalancing) เทคนิคการปรับโครงสร้างใหม่ ได้แก่ 2.1 การแสดงบทบาท (Enactments) เป็นการให้สมาชิกครอบครัวแสดงบทบาทใหม่ ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวอาจจะไม่สัมพันธ์กับปัญหาที่เกิดขึ้นเลย หรืออาจจะสัมพันธ์กับปัญหาโดยตรง การแสดงบทบาทจะทําเพื่อวินิจฉัยโครงสร้างของครอบครัวว่าเป็นอย่างไร โดยการแสดงบทบาทนั้นผู้ให้ คํ าปรึ กษาจะทํ าให้ พฤติ กรรมที่ กํ าลั งแสดงของสมาชิ กบางคนเข้ มข้ นขึ้ น และปรั บโครงสร้ างระบบ ครอบครัวนั้นเสียใหม่ 2.2 รู ปแบบปฏิสั มพันธ์ในครอบครัวที่ปรากฏขึ้นจริง (Actualizing Family Transactional Patterns) เป็นสิ่งที่ผู้ให้คําปรึกษาสังเกตได้จากรูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน หรือบางทีอาจจะได้รับจากการสนทนาโดยตรงกับครอบครัว หรืออาจจะได้จากการที่ผู้ให้คําปรึกษา ปฏิเสธที่จะตอบคําถาม 2.3 การกําหนดขอบเขต (Marking Boundaries) เทคนิคนี้จะช่วยให้สมาชิกใน ครอบครัวสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ ปรับเปลี่ยนการเจรจาต่ อรองกฎเกณฑ์เก่า และสร้างบทบาทที่ เฉพาะเจาะจงสําหรับระบบย่อยแต่ละระบบ 2.4 การเพิ่มความตึงเครียด (Escalating Stress) มุ่งเน้นไปที่ความตึงเครียดใน ครอบครัวมารดาวัยรุ่น เพื่อที่จะกระตุ้นสมาชิกในครอบครัวให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่ เทคนิคนี้จะประสบความสําเร็จได้โดยการสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้ง เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นผู้ให้ คําปรึกษาก็เข้าร่วมกับสมาชิกบางคนเพื่อต่อต้านสมาชิกคนอื่นๆ และขัดขวางบทบาทหน้าที่ของสมาชิก คนใดที่ทําบกพร่องจะช่วยให้ความตึงเครียดในระบบลดลง 2.5 การมอบหมายงาน (Assigning Tasks) เป็นการมอบหมายงานที่เฉพาะเจาะจง สําหรับแต่ละบุคคลหรือระบบย่อย เพื่อทําให้สําเร็จในชั่วโมงการให้คําปรึกษาและทําเป็นการบ้าน 3. การมองในมุมใหม่ (Reframing) เทคนิคการมองในมุมใหม่นี้เป็นการให้ความหมายในเชิงบวกแทนที่การให้ความหมายในเชิง ลบของพฤติกรรม เป็นการปรับเปลี่ยนการรับรู้ และให้ความหมายต่อพฤติกรรมหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ใน ด้านที่ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น มารดาวัยรุ่นที่บอกว่าพ่อแม่ชอบโวยวายให้ระมัดระวังดูแลสุขภาพ พฤติกรรมการ ที่พ่อแม่โวยวายนั้นจะถูกปรับเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ โดยให้มารดาวัยรุ่นมองใหม่ว่าพ่อแม่เป็นห่วงเขา 4. การให้คานิยามใหม่ (Relabeling) เทคนิคการให้คํานิยามใหม่ จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังเช่นถ้ามีการแสดงท่าทางให้ เห็นถึงการตําหนิติเตียนกันของครอบครัวมารดาวัยรุ่นในชั่วโมงการให้คําปรึกษา คําพูดในทางบวกจะถูก นํามาให้ความหมายแทนคําพูดในทางลบ ตัวอย่างเช่น มารดาวัยรุ่นบางคนอาจบอกว่า ตอนนี้พ่อแม่ชอบ ควบคุมฉัน ผู้ให้คําปรึกษาก็จะให้คํานิยามของคําว่า “ควบคุม” (Controlling) ใหม่ โดยพูดว่า “พ่อและ แม่ของหนูกําลังให้ความสําคัญ (Overburdened) กับหนูมากเกินไป”
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
67
ทฤษฎีการให้คาปรึกษาครอบครัวที่เน้นประสบการณ์และมนุษยนิยม (Experiential and Humanistic Family Counseling Theory) ผู้นาทฤษฎี มาใช้ในการให้คําปรึกษา คือ Carl Whitaker, Walter Kempler, Virginia Satir ทฤษฎีนี้ได้ให้ความสําคัญกับประสบการณ์มากกว่าความคิดเชิงเหตุผล โดยใช้กระบวนการที่ หลากหลายในการกระตุ้นเพื่อที่จะช่วยให้ผู้รับคําปรึกษา ได้สัมผัสกับความรู้สึก ความรู้สึกจากการสัมผัส การสร้างจินตนาการ และประสบการณ์ภายในตนเองได้อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ความรู้สึกไวต่อสภาวะที่นี่ และ เดี๋ยวนี้ซึ่งเป็นประสบการณ์ชีวิตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น จะได้รับการผลักดันตลอดช่วงของการให้ คําปรึกษาการปฏิเสธแรงผลักดันและการเก็บกดอารมณ์ไว้นั้นถูกมองว่า เป็นความบกพร่องในการทํา หน้าที่และการหน่วงเหนี่ยวความงอกงาม พฤติกรรมที่ผิดปกติ หรือมีความบกพร่องในการทําหน้าที่ถูก มองว่ามีผลมาจากความล้มเหลวของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความงอกงาม ซึ่งเป็นความบกพร่องในการ ที่จะบรรลุถึงศักยภาพและทางเลือกต่างๆ ของบุคคล เนื่องจากว่าแต่ละบุคคลและรวมไปถึงแต่ละ ครอบครัว มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ดังนั้น แต่ละบุคคลหรือครอบครัวจะต้องได้รับ การให้ความ ช่วยเหลือเพื่อให้เกิดการยอมรับและค้นพบศักยภาพของตนเอง ซึ่งเป็นการค้นหาด้วยกระบวนการในการ แก้ปัญหาที่เกิดในปัจจุบัน ผู้ให้คําปรึกษาและผู้รับคําปรึกษาจะเพียรพยายามเพื่อไปสู่ความเป็นจริงและ ความจริ งแท้ การเข้ าถึงความรู้ สึ กและการแสดงความรู้สึ กของตนเองและการเรียนรู้ที่จะมีความเป็ น ธรรมชาติและสร้างสรรค์มากขึ้น (Goldenberg; & Goldenberg. 2008: 153-155) เปูาหมายของการให้คาปรึกษาตามทฤษฎีการให้คาปรึกษาครอบครัวที่เน้นประสบการณ์และ มนุษยนิยม 1. เพื่อพัฒนาให้สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวมารดาวัยรุ่นมีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น มีความหวัง ในชีวิต เรียนรู้ พัฒนาทักษะและกระบวนการในการเผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งในขณะนี้ปัญหา คือ มีมารดา วัยรุ่นอยู่ในครอบครัว ให้ครอบครัวร่วมกันคิดตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสม และร่วมรับผิดชอบต่อสิ่ง ที่ตนเองเลือกและผลที่จะเกิดขึ้นตามมา 2. เพื่อช่วยให้สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวมารดาวัยรุ่นได้พัฒนาตนเอง มีเหตุผลเหนือ อารมณ์ ปรับปรุงและพัฒนาการสื่อสารที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา และสอดคล้องกับสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้น เรียนรู้วิธีการจัดการกับปัญหา มีความเป็นตัวของตัวเอง อดทน อดกลั้น รู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง เพิ่มขึ้น และรู้สึกว่าชีวิตนี้มีคุณค่า กระบวนการให้คาปรึกษาตามทฤษฎีการให้คาปรึกษาครอบครัวที่เน้นประสบการณ์และมนุษยนิยม ตลอดการให้คําปรึกษา ผู้ให้คําปรึกษาครอบครัวที่เน้นประสบการณ์นิยมและมนุษยนิยมจะ ฟังอย่างทุ่มเท ขณะให้คําปรึกษาควรใส่ใจกับความรู้สึกที่เป็นปัจจุบันในสิ่งที่ผู้รับคําปรึกษากําลังประสบ อยู่ และเข้าช่วยเหลื ออย่ างทั นท่ วงที เพื่ อแก้ ไขความไม่สบายใจนั้น โดยจะไม่สนใจว่าทําไมปั ญหา (Breakdown) จึงได้เกิดขึ้น ผู้ให้คําปรึกษาจะแก้ไขตรงพยาธิสภาพ (Depathologize) ที่ทําให้เกิดปัญหา จากประสบการณ์ของผู้รับคําปรึกษา ผู้ให้คําปรึกษาครอบครัวที่เน้นประสบการณ์นิยมและมนุษยนิยม จะ พยายามทําความเข้าใจ โลกของผู้รับคําปรึกษาที่เป็นเหตุกระตุ้นให้เกิดปัญหา และสัญลักษณ์บางอย่างที่ ซับซ้อนของครอบครัว โดยการมองหาและค้นหาพลังกระตุ้น และสัญลักษณ์ที่สําคัญคล้าย ๆ กันภายใน
68
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
ครอบครัว โดยไม่ต้องการพึ่งพาข้อมูลจากโลกแห่งความคิดและเหตุผลที่ผิวเผิน แต่พวกเขาจะสืบค้นเข้า ไปสู่โลกภายในที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังของคําพูดพื้นผิวนั้นด้วยความพยายามรู้สึกเข้าไปถึงความหมายที่ซ่อน เร้นอยู่ ที่ทําให้เกิดขึ้นระหว่างมารดาวัยรุ่นเองกับครอบครัวมารดาวัยรุ่นการแสดงออกอย่างสบายๆ ของ ผู้ให้คําปรึกษา จะช่วยให้สมาชิกครอบครัวของมารดาวัยรุ่นเกิดความรู้สึกสบายใจ และการยอมรับสิ่งต่างๆ ของตนเอง ตามทัศนะของผู้ให้คําปรึกษาครอบครัวที่เน้นประสบการณ์นิยมและมนุษยนิยม ความงอกงาม และเกิดการพัฒนาของสมาชิกแต่ละคน ถูกกระตุ้นเมื่อสมาชิกแต่ละคนรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกันและ กันในครอบครัว เมื่อสมาชิกประสบกับความรู้สึกปลอดภัยและความเป็นเจ้าของแล้ว ในที่สุดก็จะมี ความรู้สึกเป็นอิสระ “ไม่รู้สึกติดขัด” (Unstuck) พร้อมที่จะแยกจิตใจจากครอบครัวและพัฒนาความเป็น ตัวของตัวเองในฐานะบุคคลที่มีเอกลักษณ์ บทบาทของผู้ให้คาปรึกษาตามทฤษฎีการให้คาปรึกษาครอบครัวที่เน้นประสบการณ์และมนุษยนิยม ผู้ให้คําปรึกษาตามทฤษฎีการให้คําปรึกษาครอบครัวที่เน้นประสบการณ์และมนุษยนิยม จะมีบทบาทสําคัญทั้งทําหน้าที่ให้คําปรึกษา เป็นผู้ฝึกทําหน้าที่สอน ตลอดทั้งให้กําลังใจ เพื่อให้มารดา วัยรุ่นและสมาชิกในครอบครัว มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น เห็นคุณค่าของตนเอง และมี ความภาคภูมิใจในตนเองมากยิ่งขึ้น เทคนิคการให้คาปรึกษาครอบครัวตามทฤษฎีการให้คาปรึกษาครอบครัวที่เน้นประสบการณ์และ มนุษยนิยม ได้แก่ 1. การลาดับเหตุการณ์ในชีวิตครอบครัว (Family-Life Fact Chronology) เทคนิคนี้ ผู้ให้คําปรึกษาจะสัมภาษณ์เรื่องราวต่างๆ และเหตุการณ์สําคัญๆ ในชีวิตของ มารดาวัยรุ่น และสัมภาษณ์ประวัติครอบครัวตั้งแต่ รุ่น ปูุย่า ตายาย บิดามารดา จนถึงรุ่นปัจจุบันเพื่อ ทําความเข้าใจเรื่องราวของพัฒนาการครอบครัว ทบทวนลักษณะของรูปแบบครอบครัว และ แนวความคิดที่สําคัญที่ได้เป็นรากฐานของสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกครอบครัวมารดาวัยรุ่น ซึ่งจะ ช่วยให้มารดาวัยรุ่นและสมาชิกครอบครัว เข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้ดีขึ้นรวมทั้งได้รับรู้และเข้าใจถึง อิทธิพลในอดีตที่ส่งผลต่อตนเอง และครอบครัวในปัจจุบัน 2. การทาแผนที่ครอบครัว (Family Maps) การทําแผนที่ครอบครัวนี้มีลักษณะคล้ายกับแผนผังครอบครัว (Genogram) เป็นแผนที่ที่ ทําให้เห็นภาพโครงสร้างของครอบครัวมารดาวัยรุ่นอย่างน้อย 3 รุ่น คือ รุ่นปัจจุบันของมารดาวัยรุ่น รุ่นบิดามารดา รุ่นปูุย่า ตายายของมารดาวัยรุ่น โดยแผนที่ครอบครัวนี้ผู้ให้คําปรึกษาจะเป็นผู้เขียน โดยนําข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เกี่ยวกับประวัติและเรื่องราวของครอบครัวมารดาวัยรุ่น เช่น ชื่อ อายุ อาชีพ การศึกษา ศาสนา เชื้อชาติ จํานวนบุตร สัมพันธภาพในครอบครัวระหว่างสมาชิก เป็นต้น 3. การวาดภาพครอบครัว (Family Drawing) เทคนิคการวาดภาพครอบครัวมี 3 ลักษณะ ขึ้นอยู่กับว่าผู้รับคําปรึกษาจะเลือกใช้ในลักษณะ ใด ลักษณะแรก เป็นการรวมภาพวาดอย่างง่ายของครอบครัว (Join Family Scribble) วิธีนี้ผู้ให้คําปรึกษา จะให้สมาชิกครอบครัวมารดาวัยรุ่นแต่ละคนวาดภาพอย่างง่าย ๆ เกี่ยวกับครอบครัวจากนั้นก็เอาภาพวาด ของแต่ละคนมาเสนอรวมกันเป็นภาพรวมของครอบครัว ในกระบวนการนี้ สมาชิกจะได้ประสบการณ์และ
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
69
การเรียนรู้ที่จะทํางานของตัวเอง และทํางานร่วมกันฉันท์ครอบครัว แล้วนําเอาประสบการณ์และ ความรู้สึกดังกล่าวมาอภิปรายร่วมกัน ลักษณะที่สอง เป็นการให้สมาชิกครอบครัววาดภาพสิ่งที่เขาหรือเธอ รับรู้เกี่ยวกับตัวเองในครอบครัว แล้วนํามาอภิปรายร่วมกัน (Conjoint Family Drawing) การวาดภาพ ลักษณะนี้ ผู้ ให้ คําปรึ กษาจะเป็นผู้ บอกให้ สมาชิกแต่ละคนวาดภาพตามการรับรู้เกี่ยวกับตนเองใน ครอบครัว ลักษณะที่สาม เป็นการวาดภาพโดยการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อชี้ให้เห็นช่องว่างของ สัมพันธภาพในครอบครัว (Symbolic Drawing of Family Life Space) การวาดภาพแบบนี้มีลักษณะ เป็นเทคนิคการฉายภาพ (Projective Technique) อย่างหนึ่ง ที่ผู้ให้คําปรึกษาจะวาดวงกลมใหญ่วงหนึ่ง แล้วบอกให้สมาชิกครอบครัววาดทุกอย่างที่เป็นตัวแทนของครอบครัวเอาไว้ในวงกลมนั้น สําหรับบุคคล และสิ่งอื่นๆ ที่ไม่เป็นตัวแทนของครอบครัวหรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวให้วาดเอาไว้นอกวงกลม ใน กิจกรรมนี้ผู้ให้คําปรึกษาจะขอให้สมาชิกในครอบครัวมารดาวัยรุ่นวาดภาพสมาชิกของครอบครัวในวงกลม ใหญ่ และวางตําแหน่งความใกล้ชิดและความห่างไกลตามที่สมาชิกในครอบครัวรับรู้ หลังจากวาดเสร็จผู้ให้ คําปรึกษาจะให้ครอบครัวอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับภาพวาดนั้น จะเห็นว่าเทคนิคการวาดภาพทั้ง 3 ลักษณะนี้ เมื่อวาดภาพเสร็จแล้วจะต้องตามมาด้วยการอภิปรายว่าสมาชิกครอบครัววาดอะไรลงไปเป็น ภาพ และทําไมจึงวาดภาพนั้นระยะห่างและระยะใกล้ชิดระหว่างบุคคล และหรือวัตถุในภาพมีความหมาย อย่างไร จุดมุ่งหมายก็เพื่อที่จะให้ครอบครัวได้สํารวจพลวัต (Dynamics) ของชีวิตครอบครัวจากการรับรู้ ของสมาชิกแต่ละคน และจากครอบครัวโดยส่วนรวม 4. การปั้น (Sculpture) การปั้ นเป็ นเทคนิ คที่ จะช่ วยให้ ทราบถึ งเหตุการณ์ และความสั มพั นธ์ ระหว่ างสมาชิ กใน ครอบครัวของมารดาวัยรุ่น ความรู้สึกของสมาชิกแต่ละคนที่มีต่อกัน โดยการแสดงออกตามรูปปั้น ผู้ให้ คําปรึกษาจะให้ดินน้ํามันแก่มารดาวัยรุ่น หรือสมาชิกครอบครัวของมารดาวัยรุ่น โดยให้ผู้รับคําปรึกษาปั้น สมาชิกครอบครัวรวมทั้งผู้ให้คําปรึกษาด้วย ว่าแต่ละคนกําลังทําอะไร เมื่อผู้รับคําปรึกษาปั้นเสร็จ ผู้ให้ คําปรึกษาจะให้ผู้รับคําปรึกษาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับรูปที่ปั้น และผู้ให้คําปรึกษาจะแปลผลจากรูปที่ปั้น โดย พิจารณาจากรูปลักษณะที่ปั้น ระยะห่างระหว่างสมาชิก สีหน้า ท่าทาง สายตา และกิจกรรมที่แสดงออกซึ่ง จะบ่งบอกถึงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้รับคําปรึกษาที่มีต่อสมาชิกแต่ละคน สัมพันธภาพระหว่างสมาชิก ครอบครัว ความผูกพันใกล้ชิดสนิทสนมหรือห่างเหินระหว่างสมาชิก ตลอดทั้งการมีกิจกรรมร่วมกัน ระหว่างผู้รับคําปรึกษากับสมาชิกครอบครัวคนอื่น ๆ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้ให้คําปรึกษาได้จากการแปลผลรูปที่ ปั้นจะเป็นข้อมูลที่จะช่วยนําร่องในการสนทนากับผู้รับคําปรึกษา เพื่อจะได้ทราบรายละเอียดต่าง ๆ ที่จะ นํามาใช้ประกอบการให้คําปรึกษาต่อไป อย่างไรก็ตามผู้ให้คําปรึกษาจะไม่แปลผลจากรูปที่ปั้นให้ผู้รับ คําปรึกษาทราบ 5. การสอนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยการใช้สรรพนาม “ฉัน” (Modeling of Effective Communication Using “I” Messages) ผู้ให้คําปรึกษาครอบครัว ที่เน้นประสบการณ์และมนุษยนิยม กล่าวว่า ในครอบครัว ที่ หน้าที่ของครอบครัวมีประสิทธิภาพตํ่ามักจะมีการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนขาดประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ ครอบครัวมารดาวัยรุ่นมีการสื่อสารที่ดีขึ้น ผู้ให้คําปรึกษาจะสนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวใช้สรรพ นาม “ฉัน” นําหน้าประโยคในการแสดงความรู้สึก ประโยคที่ใช้สรรพนาม “ฉัน” กับการแสดง ความรู้สึกที่เป็นส่วนตัวและรับผิดชอบในสิ่งที่พูดนั้น จะช่วยทําให้เกิดการสื่อสารที่จริงใจ เป็นการ
70
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
เปิดเผยความรู้สึกและความต้องการที่แท้จริง ไม่เสแสร้ง ช่วยให้บุคคลเกิดความรู้สึกที่เห็นคุณค่าและ ภูมิใจในตนเอง (Self-worth) หากการสื่อสารของทั้งสองฝุายไม่มีความตรงไปตรงมา เสแสร้ง ไม่แสดง ความรู้สึกและความต้องการที่แท้จริงออกมา บุคคลก็มักจะมีบทบาท 4 บทบาทดังต่อไปนี้ คือ ผู้ตําหนิ (Blamer) ผู้ยอมตาม (Placator) ผู้เฉไฉ (Irrelevant) และผู้มากด้วยเหตุผล (Super-reasonable) คนทุกคนใช้บทบาททั้งสี่มากบ้างน้อยบ้างในบางโอกาส บทบาททั้งสี่นี้มีประโยชน์ในบางสถานการณ์ แต่หากบุคคลใช้บทบาทนั้นในการเกี่ยวข้องกับผู้อื่นจนเป็นนิสัยก็อาจทําให้เกิดปัญหาได้ บทบาทแต่ละบทบาทมีลักษณะดังนี้ ผู้ตาหนิ (Blamer) คือ บุคคลที่พยายามจะไม่ รั บ ผิ ด ชอบในสิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น แต่ จ ะโยนความรั บ ผิ ด ชอบหรื อ ความผิ ด นั้ น ไปให้ ผู้ อื่ น ผู้ ย อมตาม (Placator) คือ บุคคลที่พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและพยายามทําให้คนอื่นพอใจทั้ง ๆ ที่ บางครั้งไม่ตรงกับความรู้สึกและความต้องการของตนเอง ผู้เฉไฉ (Irrelevant) คือ บุคคลที่พูดหรือ กระทําในสิ่งที่ไม่ตรงกัน บุคคลลักษณะนี้ดูเหมือนว่าจะไม่ชอบเกี่ยวพันกับอะไรเลย เช่น ขณะที่ ครอบครัวมารดาวัยรุ่นกําลังคุยกันเรื่องเงิน และการประหยัด สมาชิกในครอบครัวคนใดที่เป็นผู้เฉไฉ อาจจะนําเรื่องตลกเข้ามาคุยท่ามกลางที่สมาชิกในครอบครัวกําลังสนทนากัน หรือเดินไปรอบห้องชวน สมาชิกคนอื่นให้ไปสนใจสิ่งอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่คุยอยู่ และ ผู้มากด้วยเหตุผล (Superreasonable) คือ บุคคลที่จะใช้เฉพาะสติปัญญาและพยายามหลีกเลี่ยงเรื่องอารมณ์และความรู้สึก เวลาถูกถามว่าเขารู้สึกอย่างไร แทนที่จะตอบออกมาเป็นความรู้สึกจริงๆ เขากลับตอบว่าเขาคิด อย่างไร โดยในการให้คําปรึกษาครอบครัวนั้น ผู้ให้คําปรึกษาจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้รับคําปรึกษาและ สมาชิกครอบครัวได้ฝึกและเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้คําพูด ท่าทาง การ แสดงออก และความรู้สึกที่สอดคล้องกันและสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทฤษฎีที่ใช้ในการให้คําปรึกษาครอบครัวมารดาวัยรุ่นทั้ง 2 ทฤษฎีข้างต้น จะเห็นได้ว่าทั้ง สองทฤษฎีต่างมีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับมารดาวัยรุ่น โดยไม่ตําหนิ หรือตีตราวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ว่าเป็นการ กระทําที่เลวร้ายหรือเป็นบุคคลที่ไม่ดี แต่จะพยายามทําความเข้าใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเข้าใจตาม สภาพจริง ตามการรับรู้ของมารดาวัยรุ่นและสมาชิกครอบครัว ซึ่งทั้งสองทฤษฎีมีความเชื่อเกี่ยวกับมนุษย์ ว่าสามารถกําหนดสิ่งที่ดีงามในชีวิตให้กับตนเองได้ ภายใต้บริบทครอบครัวที่มีความปกติสุข โดยทฤษฎี การให้คําปรึ กษาครอบครัวเชิงโครงสร้างที่มุ่งเน้นส่งเสริมให้ครอบครัวมีโครงสร้างที่ชัดเจนเหมาะสม เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในครอบครัว ซึ่ ง สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนี้ คือ “มีวัยรุ่นหญิงหนึ่งคนในครอบครัวกําลังมีบทบาทเป็นมารดาวัยรุ่น” และ ผู้ให้คําปรึกษาควรตอบสนองกับความต้องการของสมาชิกในครอบครัวให้เป็นที่น่าพึงพอใจตามที่สมาชิก ครอบครัวต้องการ ส่วนทฤษฎีการให้คําปรึกษาครอบครัวที่เน้นประสบการณ์และมนุษยนิยมจะมุ่งช่วยให้ ครอบครัวสามารถมีแนวทางในการสร้างความสมดุล เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ส่ งผลกระทบเชิงลบต่อ สมาชิกในครอบครัวมาเป็นพฤติกรรมที่เหมาะสม สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงกับความ ต้องการและความรู้สึกที่แท้จริงภายในจิตใจของสมาชิก แต่ละคนในครอบครัว โดยเฉพาะมารดาวัยรุ่น สามารถกําหนดชีวิตของตนเองด้วยการตระหนักรู้อย่างเข้าใจ ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเอง และค้นหาสิ่งที่ เป็นจุดเด่นหรือศักยภาพความดีภายในตน สร้างชีวิตในแบบที่ตนเองปรารถนาได้
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
71
บทสรุป การให้ คําปรึ กษาครอบครัวสํ าหรั บการช่วยเหลือมารดาวัยรุ่นที่ได้นําเสนอในครั้งนี้ เป็น แนวทางหนึ่ งที่ จะช่วยให้ มารดาวั ยรุ่ นเกิดการตระหนัก และทําความเข้ าใจในตนเอง ซึ่งจะส่ งผลต่ อ การเปลี่ ย นแปลงทางด้ า นความคิ ด ความรู้ สึ ก และพฤติ ก รรมของมารดาวั ย รุ่ น โดยเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของมารดาวัยรุ่นให้เกิดมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิมในเชิงบวก หรือ สร้ างสรรค์ ต่ อ สิ่ งที่ เกิ ด ขึ้ น กั บ ชี วิ ต เพื่ อเป็ นพลั งและมี กํ าลั ง ใจสํ าหรั บการเตรี ยมความพร้ อมใน การเลี้ ยงดูบุตรหลังคลอดได้เป็ นอย่างดี โดยเปู าหมายสําคัญของการให้คําปรึ กษาครอบครัว คือ ช่วย พัฒนาและเสริมสร้างครอบครัวให้เกิดความเข้มแข็งไปในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ทฤษฎีที่กล่าว ข้ า งต้ น เป็ น พื้ น ฐานสํ า คั ญ ของการให้ คํ า ปรึ ก ษาครอบครั ว ที่ จํ า เป็ น และมี ค วามเหมาะสมกั บ การช่วยเหลือบุคคลในครอบครัวโดยเฉพาะมารดาวัยรุ่น ซึ่งทั้ง 2 ทฤษฎีจะมีจุดเน้นและความมุ่งหมาย สําคัญที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของปัญหามารดาวัยรุ่น กล่าวคือ หากผู้ให้คําปรึกษาต้องการเพิ่ม บทบาทของการสื่อสารกันในครอบครัว อันเนื่องจากปัญหาหลักในครอบครัวเกิดจากความบกพร่องในการ สื่อสาร ควรจะใช้การให้คําปรึกษาแบบเน้นประสบการณ์และมนุษยนิยม ส่วนหากผู้ให้คําปรึกษาต้องการ เพิ่มบทบาทเชิงโครงสร้างอันได้แก่ กฎระเบียบ ข้อตกลงระหว่างสมาชิกในครอบครัวกับมารดาวัยรุ่น เนื่ องจากปัญหาของครอบครัวเกิดขึ้นเพราะครอบครัวของมารดาวั ยรุ่นเป็นผลจากความบกพร่องเชิง โครงสร้าง ผู้ให้คําปรึกษาครอบครัวก็สามารถใช้ทฤษฎีการให้คําปรึกษาเชิงโครงสร้าง อย่างไรก็ตามไม่ว่า จะใช้ทฤษฎีการให้คําปรึกษาครอบครัวทฤษฎีใด สิ่งสําคัญที่ได้จากการให้คําปรึกษาครอบครัวก็คือ สมาชิก ในครอบครัวมารดาวัยรุ่นมีความเข้าใจกันมากขึ้น สามารถดําเนินตามบทบาทและทําหน้าที่ของสมาชิกแต่ ละคนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเกิดความรู้สึกที่ดีต่อครอบครัวอันจะนําไปสู่การพัฒนาครอบครัวให้เกิดความ สมบูรณ์และงอกงาม เอกสารอ้างอิง กนกวรรณ ธราวรรณ; และคณะ. (2548). ทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม. กรุงเทพฯ: พีเอ็นพีกรุ๊ป. ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2547). คู่มือนักบาบัดครอบครัวในคลินิก. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการแนะแนว และจิตวิทยาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เมธินินทร์ ภิณญูชน. (2539). การให้คาปรึกษาครอบครัวเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการแนะแนว และจิตวิทยาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. รัก ชุณหกาญจน์. (2556). การศึกษาการให้อภัยในวัยรุ่น: กรณีศึกษาการให้ความช่วยเหลือด้วย การให้คาปรึกษาเพื่อพัฒนาการให้อภัยสาหรับวัยรุ่นและวัยรุ่นหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. สํานักงานอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น: นโยบาย แนวทางการดาเนินงาน และติดตามประเมินผล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. องค์การอนามัยโลก. (2014). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2557 จาก http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs364/en/.
72
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2554). จิตบาบัดและการให้คาปรึกษาครอบครัว. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ซันต้าการพิมพ์. ------------. (2557). การสร้างชีวิตใหม่. กรุงเทพฯ: ซันต้าการพิมพ์. Bennette, H. A.; & et al. (2004). Prevalance of depression during pregnancy: systemic review. The American College of Obstericians and Gynecologists. 103: 698-709. Corey, G. (2012). Theory and practice of group counseling. 8th ed. Belmont, CA: Brooks/cole. Dallos, R.; & Draper, R. (2005). An introduction to family therapy: Systemic theory and practice. 2nd ed. New York: Mcgraw-Hill. Goldenberg, Irene; & Goldenberg, Herbert. (2008). Family therapy: An overview. 7th ed. CA: Brook/Cole, a division of Thomson Learning, Inc. Lewis, A. J.; & et al. (2003). Community counseling: Empowerment strategies for a diverse society. 3th ed. CA: Brook/Cole, a division of Thomson Learning, Inc. Mitsuhiro ss. Chalem E.; & et al. (2009). Brief report: Prevalence of psychiatric disorders in pregnant teenagers. Journal Adolescent. 32: 745-752. Piyasil, V. (1998). Anxiety and depression in teenage mothers: a comparative study. Journal Med Assocthai. 81: 125-129. World Health Organization. (2013). World Health Organization 2013: Life expectancy at birth. Retrieved December 1, 2014, from http:// .www.who.int/gho/publications/world_ healt_statistics/EN_WHS2013_Full.pdf.
…………………………………………………..
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
73
การศึกษาเชิงวิเคราะห์ความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมด้าน จริยธรรมของบุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ An Analytical Study of Emotional Intelligence and Ethical Behavior of School Personnel in IP Networks Raya Nukhro Foundation บรรทม ชยาพัฒน์ 1 อัจฉรา สุขารมณ์ 2
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาเชิงวิเคราะห์ความฉลาดทางอารมณ์ ด้านดี ด้านเก่ง ด้านสุข กับพฤติกรรมด้านจริยธรรม ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และความเมตตา กรุณา ของบุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ และ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความ ฉลาดทางอารมณ์ กั บพฤติ กรรมด้ านจริ ยธรรม เมื่ อจํ าแนกตาม เพศ ตํ าแหน่ ง วุ ฒิ การศึ กษา และ ประสบการณ์ในการทํางาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุ เคราะห์มูลนิธิที่ปฏิบัติงานในส่วนกลาง และจังหวัดในเขตพื้นที่ในเครือข่าย ใน พ.ศ. 2557 จํานวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยา นุ เคราะห์ มูลนิ ธิ แบบวั ดความฉลาดทางอารมณ์ แบบวัดพฤติ กรรมด้านจริยธรรม สถิ ติที่ ใช้ ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสถิติแบบที (t-Distribution) ค่าสถิติแบบเอฟ (F-Distribution) ผลการวิจัย 1. ความฉลาดทางอารมณ์ของบุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ โดย ภาพรวมและรายด้านมีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ และพฤติกรรมด้านจริยธรรมโดย ภาพรวมและรายด้าน ด้านความรับผิดชอบ ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความยุ ติธรรม อยู่ในระดับสูง และ เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านความเมตตากรุณาอยู่ในระดับค่อนข้างสูง 2. บุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ เมื่อจําแนกตามเพศ ตําแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทํางาน มีความฉลาดทางอารมณ์และพฤติกรรมด้านจริยธรรมไม่ แตกต่างกัน ทั้งในภาพรวมและรายด้าน คาสาคัญ: ความฉลาดทางอารมณ์, ด้านดี ด้านเก่ง, ด้านสุข, พฤติกรรมด้านจริยธรรม, ความรับผิดชอบ, ความซื่อสัตย์, ความยุติธรรม, และความเมตตากรุณา ________________________ 1 มหาบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2 รองศาสตราจารย์ อาจารย์ประจําหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนา ศักยภาพมนุษย์ ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
74
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
Abstract This research aims at (a) examining the emotional intelligence in terms of virtue, competence, and happiness, and the moral behavior in terms of responsibility, honesty, justice, and benevolence of school personnel in Pirayanukrau Foundation Group, and (b) comparing their emotional intelligence and moral behavior in terms of gender, job position, educational background, and work experience. The participant in this research consists of 175 schools personnel who work for Pirayanukrau Foundation Group in the academic year 2014 in both central and provincial areas. Data were gathered from demographic information, emotional intelligence test, and moral behavior test. Statistical for data analysis includes percentage, mean, standard deviation, t-test, and ANOVA Research findings are as follows: 1. The overall and each factor of emotional intelligence among school personnel in Pirayanukrau Foundation Group are in an average level, however, the overall and each factor of moral behavior are in a high level. Particularly, responsibility, honesty, and justice are in the average high level, while benevolence is in the quite high level. 2. The overall and each factor of emotional intelligence and those of the moral behavior among school personnel in Pirayanukrau Foundation Group are not significantly different in terms of gender, job position, educational background, and work experience. Key words: Emotional intelligence, competence, happiness, moral behavior, Responsibility, honesty, justice, benevolence ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ปัจจุบันเป็นสังคมเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และ ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาในด้านต่างๆ ในสังคมโลก จึ งจําเป็นที่แต่ละประเทศต้องเรียนรู้ที่ จะปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับความท้า ทายจากกระแสกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประเทศไทยเล็งเห็นความสําคัญในการพัฒนาประเทศ จึงได้ เกิดการเร่งรัดพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้ าทางด้านต่างๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานความ เป็นอยู่ของคนในสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าเท่าเทียมกับอารยประเทศ ประเทศจึงได้มีการพัฒนา ทั้งทางด้านการศึกษา เทคโนโลยี การคมนาคม ผลของการพัฒนาประเทศดังกล่าว ทําให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของคนในสังคม ทําให้ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นกับคนใน สังคมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านจิตใจ ปัญหาการใช้ความ
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
75
รุนแรง ปัญหาความเครียด และปัญหาการละเลยคุณธรรม จริยธรรม ดังนั้นการศึกษามีส่วนสําคัญ อย่างยิ่งต่อการส่งเสริมให้บุคคลได้รับการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพในการดําเนินชีวิตได้ อย่างพอเพียง (วิโรจน์ สารรัตนะ, 2544 : 21) ผู้วิจัยประกอบอาชีพในสถานศึกษา ได้สังเกตพบว่า ปัญหาหลักที่เกิดขึ้นได้บ่อยภายใน สถานศึกษา ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการแสดงออกทางด้านอารมณ์และการควบคุมอารมณ์ และ มัก ปรากฏเป็ น ข่ า วตามหนั ง สื อ พิ ม พ์ ปั ญ หาที่ ถ กเถี ย งกั น มาก คื อ บุ ค ลากรที่ เ กี่ ย วข้อ งทางด้ า น การศึกษา ที่อบรมสั่งสอนเด็กเพื่อให้มีความรู้และเป็นคนดีของสั งคม แต่มีการกระทําความผิดให้ ปรากฏอยู่เสมอๆ ซึ่งเกิดจากการที่บุคลากรขาดสติและไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองแทบ ทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งที่ได้กล่าวมานั้นส่งผลต่อพฤติกรรมในการกระทําของบุคลากรทางด้านการศึกษา ซึ่งต้องมี ผลกระทบอื่นๆ ตามมา โดยเฉพาะในสถานศึกษา เมื่อบุคลากรทางการศึกษาเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี เด็ก อาจจะเกิดการซึมเศร้ามองบุคลากรทางการศึกษาในแง่ลบในที่ไม่สร้างสรรค์ เด็กเบื่อหน่ายไม่อยากมา โรงเรียน มีผลกระทบต่อการเรียนการสอนต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กเกิดความเครียดมีผลเสียต่อ บุคลิกภาพทําให้เด็กขาดความรู้ และเกิดการเรียนแบบจากตัวบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจะมีผลต่อไป ในอนาคต ทั้งนี้การจัดการกับอารมณ์นั้น บุคลากรทางการศึกษาควรต้องมีความเข้าใจ และรู้จั ก ควบคุมอารมณ์ห รือใช้ความฉลาดทางอารมณ์ในการแก้ไขปัญหากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และจาก การศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจิต ของผู้บริหาร ครูผู้สอน และเจ้าหน้าฝุายสนับสนุนกิจกรรมทางด้าน การศึกษา ได้สรุปพฤติกรรมของบุคลากรที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตและอารมณ์ พบว่าบุคลากรที่มี ปัญหาด้านสุขภาพจิตและอารมณ์มักแสดงอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียว โกรธง่าย ระงับอารมณ์ไม่อยู่ ชอบพูดเยาะเย้ยถากถาง ประชดประชันเด็ก ใช้ถ้อยคําหยาบคายกับเด็ก คอยจับผิดเด็กและผู้ร่วมงาน ขาดความรับผิดชอบ แสดงความขัดแย้งกับผู้บริหารอย่างไร้เหตุผล ประพฤติตนสวนทางกับนโยบาย ของโรงเรียนและหน่วยเหนืออยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ได้กล่าวเบื้องต้นมานั้นมีแต่แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นและมี ความรุนแรง ซึ่งการทําร้ายร่างกายหรือแม้แต่การแสดงพฤติกรรมที่เกิดจากอารมณ์ของบุคลการที่ เกี่ยวข้องทางด้านการศึกษา ทําให้หลายคนต้องหมดอนาคตทางการศึกษากลายเป็นปัญหาสังคมที่ ตามมา (อเนกกุล กริแสง, 2528 : 26) นอกจากนี้ ก ารศึ ก ษาความฉลาดทางอารมณ์ ข องบุ ค ลการที่ เ ป็ น ผู้ บ ริ ห าร ครู และ เจ้าหน้าที่ฝุายสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการศึกษา จะต้องมีการเรียนรู้และสํานึกในหน้าที่ของตนโดย มีการศึกษาทางด้านจริยธรรมควบคู่กันไป เนื่องจาก จริยธรรมเป็น สิ่งที่ช่วยให้คนอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างสันติสุข หากคนในสังคมไทยขาดจริยธรรมแล้วย่อมเกิดปัญหาจริยธรรมที่ตามมาหลายประการ ได้แก่ สังคมขาดระเบียบวินัย มีการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดอย่างผิดๆ ทําลายสิ่งแวดล้อม ระบบ การเคารพต่อผู้อาวุโสเปลี่ยนเป็นเพื่อประโยชน์แก่ ตน ความกตัญญูรู้คุณลดลง วิถีชีวิตและค่านิยมที่ดี งามของไทยจางหายและแปรเปลี่ยนไป กลายเป็นชีวิตที่มีแต่ความฟุูงเฟูอ ใฝุหาความสุขและความ บันเทิงในรูปแบบต่างๆ มีความเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ ยึดหลักตัวใครตัวมัน ผลกระทบของปัจจัย เหล่านี้ทําให้เกิดปัญหาสังคมที่ขาดคุณธรรมและจริยธรรมอย่างมาก ส่วนในวงการศึกษานั้น จาก ภาพลักษณ์ของบุคลากรทางด้านการศึกษาที่เปิดเผยออกมาทางสื่อแขนงต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์และ วิทยุโทรทัศน์ที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออาชีพในสถานศึกษาไม่น้อย โดยบุคลากรทาง การศึก ษาในทุก ระดับ ประพฤติ ตนผิ ด คุณ ธรรมจริย ธรรมอยู่ ห ลายประการ ซึ่ งบุ คลากรทางด้า น
76
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
การศึกษาบางคนไม่สามารถทําตนให้เป็นแบบอย่างในสังคมได้ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการกระทําที่ ผิ ด ดัง ตั ว อย่ า งที่ บุ ค ลากรทางด้า นการศึ กษา กระทํ าในสิ่ ง ที่ ไ ม่ถู ก ต้อ งกั บลู ก ศิ ษย์ เล่ น การพนั น ประพฤติชั่ว กระทําผิดทางวินัย และอื่น ๆอีกมากมาย ทั้งนี้มิได้หมายความว่า สังคมและสื่อมวลชน ลําเอียง เพราะบุคคลที่ประกอบอาชีพรับราชการอื่นอีกมากมายที่มีพฤติกรรมดังกล่าวเช่นกัน แต่เป็น เพราะสังคมตั้งความหวังเอาไว้สูงสําหรับบุคคลที่เป็นพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ของชาติ ทั้งนี้โรงเรียนพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ มีฐานะเป็นโรงเรียนเอกชนประเภทสงเคราะห์ ตาม ใบอนุญาตเลขที่ กส 116/2547 เป็นหน่วยงานที่มีความสําคัญหน่วยงานหนึ่งซึ่งมีบทบาทหน้าที่และ รับผิดชอบในการจัดการศึกษา ได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสําคัญของการอบรม บ่มนิสัยเพื่อเป็น การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ทางด้านการปลูกฝั งค่านิยมที่ดี การมีระเบียบวินัย การมีสํานึกใน หน้าที่ ตลอดจนการมีความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม ให้สอนคล้องกับปรัชญาของโรงเรียนที่ ความกตัญญู กตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี (วารสารพีระยานาวิน , 2554 : 16) และเพื่อที่จะให้ บรรลุถึงจุดหมายในการจัดการศึกษา โรงเรี ยนในเครือข่ายพีระยานาวินจึงได้เล็งเห็นถึงความสําคัญ และพร้อมที่จะส่งเสริมให้ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของ การใช้อารมณ์ หรือความฉลาดทางอารมณ์ ควบคู่ไปกับการมีจริยธรรมในการดําเนินงาน เนื่องจาก โดยภาพรวม สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทางการศึกษา ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาใน การใช้อารมณ์ที่ยังไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะกับ บุคลากรทางด้านการศึกษาโดยภาพรวม ซึ่งพบว่า จาก การสังเกตสามารถเห็นลักษณะของอารมณ์ที่แปรปรวน เช่น การพูดจาสนทนากับเด็ก พฤติกรรมใน การแสดงออก สับสน อ่อนไหวง่าย ไม่มั่นคงและสามารถที่จะเห็นอารมณ์ได้ทุกรูปแบบ ทั้งเบื่อหน่าย ท้อแท้ บ่น เหงา อิจฉา โกรธ บุคลากรที่เกี่ยวข้องทางการศึกษา ต้องมีความรู้ เข้าใจ และมีการแสดง ความฉลาดทางอารมณ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่อการปฏิบัติงาน และโดยเฉพาะความรัก ความเมตตากรุณาต่อเด็ กนักเรียนจึงต้องให้การดูแลและเอาใจใส่อยู่เสมอ บุคลากรทางการศึกษาจึง ต้องให้ความสําคัญกับการใช้อารมณ์ในทางสร้างสรรค์ รู้จักความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน รู้จัก อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเอง และรู้จักการสร้างแรงจูงใจให้กับ ตนเอง ซึ่งจะนําไปสู่การรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน จากที่กล่าวข้างต้นรวมทั้งประสบการณ์ของผู้วิจัยที่สนใจการศึกษาเชิงวิเคราะห์ความ ฉลาดทางอารมณ์กับ พฤติกรรมด้านจริยธรรม ของบุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์ มูลนิธิ ทําให้ผู้วิจัยตระหนักว่าบุคลากรในสถานศึกษาสามารถนําศักยภาพของตนออกมาใช้ได้ดีนั้น ต้องมีความรับผิดชอบและภาคภูมใจในตนเอง และความเข้าใจในการใช้ความฉลาดทางอารมณ์ที่ ถูกต้อง รวมถึงพฤติกรรมด้านจริยธรรมควบคู่กันไป จึงมีความประสงค์ที่จะศึกษาความฉลาดทาง อารมณ์กับพฤติก รรมด้านจริยธรรมของบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาความ ฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมด้านจริยธรรมต่อบุคลากรในสถานศึกษาต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี ด้านเก่ง ด้านสุข ของบุคลากรโรงเรียนใน เครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
77
2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านจริยธรรม ด้านความรับผิดชอบ ด้านความซื่อสัตย์ ด้าน ความยุติธรรม และด้านความเมตตากรุณา ของบุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ 3. เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข ของบุคลากร โรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ จําแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล เพศ ตําแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทํางาน 4. เพื่อเปรีย บเทีย บพฤติกรรมด้านจริยธรรม ความรับผิ ดชอบ ความซื่อสั ตย์ ความ ยุติธรรม และความเมตตากรุณา ของบุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ จําแนกตาม ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งได้แก่ เพศ ตําแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทํางาน สมมติฐานของการวิจัย 1. บุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ มีความฉลาดทางอารมณ์โดย ภาพรวมและรายด้าน ของความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ 2. บุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ มีพฤติกรรมด้านจริยธรรม โดยภาพรวมรายด้านอยู่ในระดับสูง 3. บุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มี ความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน 4. บุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิ ธิ ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มี พฤติกรรมด้านจริยธรรมแตกต่างกัน นิยามศัพท์เฉพาะ 1. ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถทางอารมณ์ที่จะช่วยให้การดําเนิน ชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข ประกอบด้วยปัจจัยสําคัญ 3 ประการ คือ ด้านดี ด้านเก่ง ด้านสุข 1.1 ด้านดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของ ตนเองให้เกิดประโยชน์ แสดงออกได้อย่างเหมาะสม รู้จักเห็นใจผู้อื่น เข้าใจและยอมรับผู้อื่นแสดง ความเห็นใจอย่างเหมาะสม และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม รู้จักให้รู้จักรับ รู้จักผิดรู้จักให้อภัยเห็น แก่ประโยชน์ส่วนรวม 1.2 ด้านเก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง รู้จักใช้ศักยภาพของตนเอง สร้างขวัญและกําลังใจให้ตนเองได้ มีความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงเปูาหมาย มีแรงจูงใจสามารถตัดสินใจ แก้ปั ญหา รั บ รู้ และเข้าใจปั ญหา มีขั้ นตอนในการแก้ไ ขปัญหาได้อ ย่างเหมาะสม มี ความยึดหยุ่ น แสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นแสดงความเห็นที่ขัดแย้งได้อย่าง สร้างสรรค์ 1.3 ด้านสุข หมายถึง ความสามารถในการดําเนินชีวิตอย่างเป็นสุขมีความภูมิใจใน ตนเอง เห็นคุณค่าในตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง รู้จักมองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ และมีความสุขสงบทางใจ มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข รู้จักผ่อนคลาย มีความสงบทางจิตใจ
78
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
2. พฤติกรรมด้านจริยธรรม หมายถึง การประพฤติและปฏิบัติ ทั้งกาย วาจา และใจ การ ทําหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ เว้นสิ่งที่ควรเว้น กระทําในสิ่งที่ควรกระทํา รู้เหตุ รู้ผล ประพฤติปฏิบัติ ในทางที่ดีต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและต่อสังคม สามารถตรวจวัดโดยใช้แบบสอบถาม 4 พฤติกรรม ได้แก่ 2.1 ด้านความรับผิดชอบ หมายถึง การทําชีวิตประจําวันให้ดีโดยปกติ ดีเสมอ ทุก เวลา และดีตลอด ยอมรับผลการกระทําในการปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุผลสําเร็จตามความมุ่งหมาย เพื่อให้ เหมาะสมกับฐานะทางสังคม โดยไม่ละเมิดสิทธิและหน้าที่ของผู้อื่น รวมทั้งแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดให้ถูกต้อง 2.2 ด้านความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมและตรงตาม ความเป็นจริง อันจะนําไปสู่ความคิด คําพูดที่ถูกต้อง และจะเป็นความเชื่อถือได้ มีความจริงใจ ทั้งทาง กาย วาจา ใจ ทั้งตนเองและผู้อื่น 2.3 ด้านความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรงสอดคล้องกับความ เป็นจริงและเหตุผล โดยสามารถรักษาสิทธิประโยชน์ส่วนตนและผู้อื่นอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เอารัด เอาเปรียบใส่ร้ายหรือลําเอียงผู้อื่น เพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง 2.4 ด้านความเมตตากรุณา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุขหรือคิดช่วยให้ ผู้อื่นพ้นทุกข์ เป็นการเสียสละสิ่งของ กําลังกาย กําลังความคิด เสียสละผลประโยชน์ส่วนตนให้กับ ผู้อื่น ให้ความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น รวมถึงการแสดงเป็นมิตรแท้ 3. โรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ หมายถึง สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน พีระยานาวิน เพื่อช่วยเหลือเด็กจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย จนกระทั้งปี พ.ศ.2544 จึงได้เปลี่ยนมา เป็นโรงเรียนอนุบาล เพื่อเป็นการรองรับเด็กของสถานรับเลี้ยงเด็กให้ได้มีสถานที่รองรับในระดับชั้น อนุ บ าลต่ อไป นอกจากนี้ พีร ะยานาวิน ในเครื อข่ายพีระยานุเคราะห์ มูล นิธิมี ทั้งหมด 10 แห่ ง ทั่ ว ประเทศ ได้แก่ ศูนย์พหลโยธิน 47, ศูนย์อยุธยา, ศูนย์ธาตุทอง, ศูนย์เลย, ศูนย์กาญจนบุรี, ศูนย์ลําปาง, ศูนย์ศรีสะเกษ, ศูนย์ขอนแก่น, ศูนย์ปัตตานี, ศูนย์สกลนคร, ทั้งนี้โรงเรียนพีระยานาวิน มีฐานะเป็น โรงเรียนเอกชนประเภทสงเคราะห์ 4. บุคลากร หมายถึง ผู้บ ริหาร ครูผู้ส อน เจ้าหน้าที่ฝุายสนับสนุนกิจกรรมทางด้าน การศึกษา โรงเรียนเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ 4.1 เพศ หมายถึง เพศชาย เพศหญิง ที่ปฏิบัติงานและส่งเสริมทางด้านการศึกษา โรงเรียนในเครือข่ายพีระยานาวิน 4.2 ตําแหน่งงาน หมายถึง ระดับการทํางาน ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และเจ้าหน้าที่ ฝุายสนับสนุนทางด้านการศึกษา 4.3 วุฒิการศึกษา หมายถึง วุฒิการศึกษาสูงสุดของบุคลากร จําแนกเป็น 2 ระดับ คื อ ตํ า กว่ า ปริ ญ ญาตรี หมายถึ ง วุ ฒิ บั ต รที่ บุ ค ลากรสถานศึ ก ษาได้ รั บ ในระดั บ ปริ ญ ญาตรี หรื อ เทียบเท่า ปริ ญญาตรีและสู งกว่าปริญญาตรี หมายถึง วุฒิบัตรที่บุคลากรสถานศึกษาได้รับสูงกว่า ปริญญาตรีขึ้นไป 4.4 ประสบการณ์การทํางาน หมายถึง ประสบการณ์ในการทํางานของบุคคลากร สถานศึกษา จําแนกเป็น 2 ระดับ คือ น้อยกว่า 5 ปี ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
79
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย กรมสุขภาพจิต (2543ก) ได้ทําการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการแบบประเมินความฉลาดทาง อารมณ์สําหรับประชาชนไทย อายุ 12-60 ปี ผลการศึกษาพบว่า แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ ประกอบด้วยข้อคําถามจํานวน 52 ข้อ โดยจําแนกออกเป็นความฉลาดทางอารมณ์ 3 ด้าน คือ ดี เก่ง และมีความสุข จากการศึกษาเปรียบเทียบระดับความฉลาดทางอารมณ์ในตัวแปรเพศ พบว่า ชายและ หญิงไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติของคะแนนเฉลี่ยภาพรวมและรายด้านทั้ง 3 ด้าน ใน ตัวแปรระดับอายุ พบว่า ช่วงอายุที่สูงขึ้นไปอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติในตัวแปรสถานภาพสมรส พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพสมรสคู่มีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ภาพรวม และคะแนนเฉลี่ย ด้านเก่งและสุขสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพสมรส โสด หม้าย หย่า หรือแยกกันอยู่ ส่วนตัวแปร ตําแหน่ งงาน พบว่า ผู้ มีตําแหน่ งบริห ารมีคะแนนเฉลี่ ยความฉลาดทางอารมณ์โ ดยภาพรวมและ คะแนนเฉลี่ยในด้านเก่งและด้านสุขสูงกว่าระดับผู้ปฏิบัติงานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ชัยสิทธิ์ สุวจสุวรรณ (2544 : 69-70) ได้ทําการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาด ทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนกับขวัญในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสํานักงาน การประถมศึกษาจังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร โรงเรียน ขวัญในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน และความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของ ผู้บริหารโรงเรียนกับขวัญในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสํานักงานการประถมศึกษา จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสํานักการประถมศึกษา จังหวัดจันทบุรี จํานวน 330 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริห ารโรงเรียนในโรงเรียนสังกัดสํานักงานการประถมศึกษา จังหวัดจันทบุรี มีความฉลาดทางอารมณ์ ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการ รู้จักสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น มาเป็นอันดับแรกอยู่ในระดับมาก การรู้จักตนเอง และ สามารถในการจูงใจตนเอง และการเข้าใจสภาวะทางอารมณ์ของผู้อื่นอยู่ระดับปานกลาง แต่มีเรื่องที่ ผู้บริหารโรงเรียนต้องปรับปรุง คือ การจัดการกับอารมณ์ของตนเอง อยู่ในระดับน้อย ขวัญในการ ปฏิบัติงานของครู ผู้สอน โดยรวมและรายด้านมีขวัญดีอยู่ในระดับมาก แต่เมื่อพิจาณาเป็นรายข้อ พบว่า ขวัญในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนเรื่องของการได้รับการพิจารณาความดีความชอบประจําปี โอกาสเจริญก้าวหน้าสู่ตําแหน่งที่สูงขึ้น และความคิดว่างานที่ทําอยู่ในโรงเรียนมีมาตรฐานในการวัด ความสําเร็จชัดเจนทั้ง 3 ประการ อยู่ในระดับปานกลาง และความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทาง อารมณ์ของผู้บริหารโรงเรี ยนกับขวัญในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสํานักงานการ ประถมศึกษาจังหวัดจันทบุรี มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ .05 สมมาตร ภักดีบําเพ็ญ (2538) ไดศึกษาระดับจริยธรรมของหัวหน้าการประถมศึกษา อําเภอสังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 12 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามวัด พฤติกรรมทางด้านจริยธรรม โดยอาศัยการวัดแบบสะท้อนภาพ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่บ่งชี้ จริยธรรม 4 คุณลักษณะได้แก่ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และความเมตตากรุณา ผลการศึกษา พบว่า ระดับพฤติกรรมทางด้านจริยธรรมของหัวหน้าการประถมศึกษาอําเภอทั้ง 4 พฤติกรรม โดย เฉลี่ยอยู่ในขั้นจริยธรรมระดับที่ 5 (4.882) โดยเรียงจากสูงไปต่ํา ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และความเมตตากรุณา แบ่งตามที่มีวุฒิระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี มีระดับ พฤติกรรมทางด้านจริยธรรมในเรื่อง ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และความเมตตา
80
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
กรุณาไม่แตกต่างกน และบ่งตามประสบการณ์ตําแหน่งไม่เกิน 10 ปี และเกิน 10 ปี ขึ้นไป มีระดับ พฤติกรรมทางด้านจริยธรรมในเรื่องความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และความเมตตา กรุณาไม่แตกต่างกัน ศักดิ์ชัย ณรงค์หนู (2543) ได้ทําการศึกษาการวิจัยพฤติกรรมด้านจริยธรรมของผู้บริหาร โรงเรียนสังกัดสํานักงานประถมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีพฤติกรรมด้าน จริยธรรมทั้ง 4 คุณลักษณะ คือ ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ ความเมตตากรุณา และความรับผิดชอบ ภาพรวม โดยเฉลี่ยอยู่ในขั้นที่ 4 ยึดหลักปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หรือกฎหมายของสังคม ระเบียบวิธีวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานโรงเรียนในเครือข่ายพีระยา นุเคราะห์มูลนิธิ ทั้งหมด 10 แห่ง 9 จังหวัด รวม 189 คน 2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์ มูลนิธิ จํานวนทั้งสิ้น 175 คน ซึ่งได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน เจ้าหน้าที่ฝุายสนับสนุนกิจกรรมทางด้าน การศึกษา ตัวแปรที่ศึกษา 1. ตัวแปรต้น ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ ตําแหน่ง วุฒิการศึกษา และ ประสบการณ์ในการทํางาน 2. ตัวแปรตาม ประกอบด้วย 2.1 ความฉลาดทางอารมณ์ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านดี ด้านเก่ง ด้านสุข 2.2 พฤติกรรมด้านจริยธรรม แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความยุติธรรม และด้านความเมตตากรุณา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ ได้แก่ เพศ ตําแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทํางาน ตอนที่ 2 แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ ของคณะทํางานพัฒ นาแบบประเมินความ ฉลาดทางอารมณ์ (กรมสุขภาพจิต, 2543) ได้ทําการพัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สําหรับประชาชนไทย อายุ 12 ถึง 60 โครงสร้างแบบประเมินที่ผ่านการทดสอบความเชื่อถือได้และ ความเที่ยงตรง ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 3 ด้าน คือ ด้านดี ด้านเก่ง ด้านสุข และมีองค์ประกอบ ย่อยด้านละ 3 องค์ประกอบ รวมเป็น 9 องค์ประกอบ โดยมีข้อถามทั้งหมด 52 ข้อ ตอนที่ 3 แบบวัดเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านจริยธรรม (ฉบับปรับปรุง) โดยผู้วิจัยได้ขอใช้ เครื่องมือของ (โอภาส ใบสูงเนิน , 2530) ซึ่งได้ทําการวิจัยเรื่อง ศึกษาพฤติกรรมด้านจริยธรรมของ ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 12 เป็นแบบวัดที่ใช้เชิง สถานการณ์ (Situation Tests) ซึ่งสถานการณ์ที่ บ่ง ชี้จริ ยธรรม 4 ลั ก ษณะ ได้แก่ ด้ านความ รับผิดชอบ ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความยุติธรรม และด้านความเมตตากรุณา รวม 16 ข้อ
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
81
การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ผู้วิจัยขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เพื่อประสานกับ ผู้บริหารพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ เพื่อขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูล 2. ผู้วิจัยดําเนินการติดต่อกับผู้ประสานงานวิจัยด้วยตนเอง พร้อมชี้แจงวัตถุประสงค์ ของการวิจัย และวิธีเก็บ รวบรวมข้อมูล รวมถึงการนัดรับแบบสอบถามและแบบวัดคืนภายใน 3 สัปดาห์ โดยผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามและแบบวัดกลับคืนมา จํานวนทั้งสิ้น 175 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ดังนี้ 1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. สถิติการทดสอบค่าที (t-test for independent samples) ในกรณีที่ตัวแปรที่ ศึกษาแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) ในกรณีตัวแปรที่ศึกษาแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มขึ้นไป สรุปผลการวิจัย 1. บุ คลากรโรงเรี ย นในเครือข่ ายพีร ะยานุ เคราะห์ มูล นิธิ มี ความฉลาดทางอารมณ์ โดยรวมและรายด้านของความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ 2. บุคลากรโรงเรีย นในเครือข่ายพีระยานเคราะห์ มูล นิธิ มีพฤติกรรมด้านจริยธรรม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านด้านความเมตตากรุณา อยู่ ในระดับค่อนข้างสูง 3. ผลการเปรียบเทียบฉลาดทางอารมณ์โดยรวมของบุคลากรของโรงเรียนในเครือข่าย พีระยานุเคราะห์มูลนิธิ จําแนกตามเพศ ตําแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทํางาน พบว่าไม่แตกต่างกัน 4. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมด้านจริยธรรมโดยรวมของบุ คลากรของโรงเรียนใน เครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ จําแนกตามเพศ ตําแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการ ทํางาน พบว่าไม่แตกต่างกัน อภิปรายผลการวิจัย สมมติฐานข้อที่ 1 บุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิที่มีความฉลาด ทางอารมณ์โดยรวมและรายด้านของความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ บุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิมีความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี ด้าน เก่ง ด้านสุข ของความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ จํานง ยินดี (2547: 52-55) ที่ศึกษาเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึ กษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเขต พื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2 พบว่าความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด เขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2 มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ
82
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
สมมติฐานข้อที่ 2 บุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิมีพฤติกรรม ด้านจริยธรรมโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง บุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิมีพฤติกรรมด้านจริยธรรมภาพรวม ได้ แ ก่ ความรั บ ผิ ด ชอบ ความซื่ อ สั ต ย์ ความยุ ติ ธ รรม และความเมตตากรุ ณ า อยู่ ใ นระ ดั บ สู ง สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ โอภาส ใบสูงเนิน (2530) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมด้านจริยธรรมของ ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสํานั กงานการประถมศึกษาจังหวัด ในเขตการศึกษา 12 พบว่า ผู้ บริหาร โรงเรียนมีพฤติกรรมด้านจริยธรรมทั้ง 4 คุณลักษณะจริยธรรม คือความยุติธรรม ความซื่ อสัตย์ ความ เมตตากรุณา และความรับผิดชอบ โดยเฉลี่ยอยู่ในขั้นที่ 5 อยู่ในระดับสูง สมมติฐานข้อที่ 3 บุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ ที่มีข้อมูลส่วน บุคคลต่างกัน มีความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน โดยภาพรวมของบุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ ที่มีเพศ ตําแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทํางานไม่แตกต่างกัน ไม่สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ กฤษฎิ์ ใจปล้ํา (2544: 130-131) ได้ทําการศึกษาเรื่อง ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานประถมศึกษาจังหวัดกําแพงเพชร พบว่าความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารรวมทุกด้าน อยู่ในระดับสูงและเมื่อพิจารณารายด้านประกอบด้วย การตระหนักรู้ถึงอารมณ์ของตนเอง การบริหาร จัดการอารมณ์ของตนเองและทักษะทางสั งคมอยู่ในระดับสู ง เปรียบเทียบตามวุฒิ การศึกษา เพศ ตําแหน่งประสบการณ์ในการบริหารงาน พบว่า แตกต่างกัน สมมติฐานข้อที่ 4 บุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ ที่มีข้อมูลส่วน บุคคลต่างกัน มีพฤติกรรมด้านจริยธรรมแตกต่างกัน โดยภาพรวมของบุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ ที่มีเพศ ตําแหน่ง วุฒิ การศึกษา ประสบการณ์ในการทํางานไม่แตกต่างกัน สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ สมมาตร ภักดีบําเพญ (2538) ได้ศึกษาเรื่อง ระดับพฤติกรรมทางด้านจริยธรรมของหัวหน้าการประถมศึกษา อําเภอในเขตการศึกษา 12 พบว่าระดับพฤติกรรมทางด้านจริยธรรมของหัวหน้าการประถมศึกษา อําเภอ ทั้ง 4 พฤติกรรม โดยเฉลี่ยอยู่ในขั้นจริยธรรม ระดับสูง และเมื่อทําการเปรียบเทียบจําแนก ตามเพศ ตําแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ พบว่าไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะในการวิจัย ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ เพื่ อ ให้ มี ค วามฉลาดทางอารมณ์ อั น นํ า ไปสู่ พ ฤติ ก รรมจริ ย ธรรมทั้ ง โดยรวมและรายด้ า น โดยมี รายละเอียดดังนี้ 1. จากผลการวิจัยที่ได้ทําการศึกษาเชิงวิเคราะห์ความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรม ด้านจริยธรรมของบุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ ซึ่งพบว่า ความฉลาดทาง อารมณ์ทั้งภาพรวมและรายด้านมีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้นบุคลากรควรให้ ความสํ าคัญเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้บุคลากรในสถานศึกษามีความรู้ บทบาทของตนเอง และสามารถที่จะจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและนําไปสู่
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
83
การบริ ห ารงานของโรงเรี ย นได้อย่ างมีประสิ ทธิ ภ าพและประสิ ทธิผ ลมากขึ้น ส่ ว นพฤติกรรมด้าน จริยธรรมโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านความเมตตา กรุณาอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ดังนั้น ผู้วิจัยเห็นว่าบุคลากร ควรสร้างความตระหนักเพื่อกระตุ้นให้เกิด พฤติกรรมจริยธรรมด้านความเมตตากรุณาในการทํางานที่เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน เพื่อเสริมสร้างให้ บุคลากรมีความรักและเอาใจใส่ต่อการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพ เช่น การจัดอบรม สัมมนา ประชาสัมพันธ์ แนะนําให้เห็นคุณประโยชน์ของการมีพฤติกรรมจริยธรรมด้านความเมตตากรุณาใน การทํางานที่เหมาะสม 2. จากผลงานวิจัย ซึ่งยังพบว่า ความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมด้านจริยธรรมของ บุ ค ลากรโรงเรี ย นในเครื อ ข่ า ยพี ร ะยานุ เ คราะห์ มู ล นิ ธิ จํ า แนกตามเพศ ตํ า แหน่ ง วุ ฒิ ก ารศึ ก ษา ประสบการณ์การในการทํางานไม่แตกต่างกัน ดังนั้นบุคลากรควรให้ความสําคัญเกี่ยวกับข้อมูลส่วน บุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นวุฒิภาวะของแต่ละบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือน้อย กว่ า หรื อ ผู้ ที่มี ป ระสบการณ์ ก ารทํา งานมากกว่า หรื อ น้อ ยกว่า และตํ า แหน่ง ต่ า งๆ ทั้ ง ผู้ บ ริ ห าร ครูผู้สอน และเจ้าหน้าที่ฝุายสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการศึกษา ต่างมีระดับของความฉลาดทาง อารมณ์กับพฤติกรรมด้านจริยธรรมที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งเห็นได้จากการปฏิบัติงาน ที่มีความสามารถใน การควบคุมอารมณ์ รู้จักเห็นใจ พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม รวมถึงความ ประพฤติและปฏิบัติในทางที่ดีต่อตนเองต่อผู้อื่นและต่อสังคม เป็นต้น ข้อเสนอแนะสาหรับการวิจัยครั้งต่อไป 1. การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยขอเสนอแนะให้มีการเก็บข้อมูลด้วยตนเองและมีการทําการ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงในการศึกษาเชิงวิเคราะห์ความฉลาด ทางอารมณ์กับพฤติกรรมด้านจริยธรรมของบุคลากรโรงเรียนในเครือข่ายพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ 2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเพียงบุคลากรในเครือข่ายพีระยุเคราะห์มูลนิธิ ทั้งส่วนกลางและต่างจังหวัด จึงควรมีการศึกษาทํานองเดียวกันนี้ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรที่มี ลักษณะเหมือนกัน เพื่อทําการเปรียบเทียบปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคล เอกสารอ้างอิง กรมสุขภาพจิต. (2543ก). การพัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์สาหรับประชากรไทย อายุ 12-60 ปี. กรุงเทพฯ : กรมสุขภาพจิต --------------. (2544). คู่มือความฉลาดทางอารมณ์ ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ. กฤษฏิ์อธิป ใจปล้ํา. (2544). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด สานักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎกําแพงเพชร. จํานง ยินดี. (2547). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษา. ชลบุ รี เขต 2. ปริ ญญานิ พนธ์ การศึ ก ษามหาบั ณฑิ ต. สาขาวิ ช าการบริ ห ารการศึ กษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
84
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
ชัยสิทธิ์ สุวจสุวรรณ. (2544). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร โรงเรียนกับขวัญในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสานักงานการประถมศึกษา จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี. โรงเรียนพีระยานาวิน. (2544). วารสารการศึกษา. กรุงเทพฯ. วิโรจน์ สารรัตนะ. (2544). โรงเรียนองค์การแห่งการเรียนรู้กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีทางการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธ์. ศักดิ์ชัย ณรงค์หนู. (2543). การศึกษาพฤติกรรมด้านจริยธรรมผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสานักงานการ ประถมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา. สมมาตร ภักดีบํ าเพ็ญ. (2538). ระดั บจริ ยธรรมของหัวหน้าการประถมศึกษา สังกัดสานักงานการ ประถมศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 12. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหาร การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยบูรพา. อเนกกุล กรีแสง. (2528). “จดหมายถึงเพื่อนครู” มิตรครู โอภาส ใบสูงเนิน. (2530). ศึกษาพฤติกรรมทางด้านจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสานักงานการ ประถมศึ กษาจั งหวั ด เขตการศึ กษา 12. ปริ ญญานิ พนธ์ ปริ ญญาการศึ กษามหาบั ณฑิ ต . มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
…………………………………………………..
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
85
บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) จิตวิทยาการรู้ คิด และปัญญา Cognitive Psychology 1 มุกดา ศรียงค์ นาเรื่อง ตําราเล่มนี้ เขียนโดย ดร.อุบลวรรณา ภวกานันท์ อาจารย์ประจําภาควิชาจิตวิทยา คณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดพิมพ์เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2555 และได้รับทุนสนับสนุน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้จัดพิมพ์หนังสือที่มีผู้ใช้เรียนจํานวนน้อย เพื่อเป็นประโยชน์การเรียน การสอนในมหาวิทยาลัย โดยจําหน่ายในราคาย่อมเยา จิตวิทยาการรู้ คิด และปัญญา ถือได้ว่าเป็น ตาราเล่มแรกของประเทศไทยที่ผู้เขียนได้สร้างขึ้นตามสากลของลักษณะรูปแบบการเป็น จิตวิทยา การรู้ คิด และปัญญา โดยประสบการณ์จากการศึกษาการสอนและการทําวิจัยในศาสตร์สาขานี้หรือ สาขาที่เกี่ยวข้องมาไม่ต่ํากว่า 20 ปี ดังที่ผู้เขียนตําราได้กล่าวไว้ในคํานําของตําราด้วยความมั่นใจว่าได้ นําเสนอโครงสร้างและเนื้อหาที่ถูกต้องตามศาสตร์ทางวิชาการที่ ควรจะเป็น จิตวิทยาการรู้ คิด และปัญญา (Cognitive Psychology) เป็นวิชาพื้นฐานที่ผู้เรียนทางด้าน จิตวิทยาจําเป็นต้องรู้ เข้าใจและนําไปใช้ได้ถูกต้องในเรื่องที่เกี่ยวกับการทํางานของ จิต(mind) ความรู้ใน สาขาวิชานี้ ได้จากการศึกษาทดลองขบวนการจัดการกับข้อมูลของระบบต่างๆ ทางสมองของมนุษย์ที่ บันทึกข้อมูลของโลกภายนอกจากประสบการณ์การรับรู้ของมนุษย์ และนําข้อมูลความรู้ที่ได้เหล่านั้นไป ใช้ในกระบวนการรู้คิดทั้งหลาย โดยเฉพาะในกิจกรรมทางปัญญาทางสมองขั้นสูง ได้แก่ การแก้ปัญหา การให้ เหตุผล การประเมินค่า การตัดสิ นใจ และการสร้างสรรค์ รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมต่างๆ ที่ถูก ปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามความรู้ที่ได้จากกระบวนการทางสมองเหล่านี้ โดย เนื้อหา เน้นศึกษาว่ามนุษย์ สามารถที่ จะรู้ (knowing) คิ ด (thinking) และสร้ างความฉลาด หรื อปั ญญา (intelligence) ในการ นําไปใช้อย่างไร สําหรับ เนื้อหาของตํารา จิตวิทยาการรู้ คิด และปัญญา เล่ มนี้ มีทั้งหมด 446 หน้า ประกอบด้วยเนื้อหา 12 บท และบรรณานุกรม โดยมีเค้าโครงย่อๆ ดังนี้ บทที่ 1 พื้นฐานความรู้จิตวิทยาการรู้ คิด และปัญญา แนวคิดพื้นฐานของจิตวิทยาการรู้ คิด และปัญญา สมมติฐานทั่วไปของจิตวิทยาการรู้ คิด และปัญญา วิธีการศึกษาในจิตวิทยาการรู้ คิด และปัญญา 1
รองศาสตราจารย์, สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ประธานกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
86
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
บทที่ 2 พื้นฐานทางชีวภาพของการรู้ คิด และปัญญา ระบบประสาท โครงสร้างและหน้าที่ของสมอง การทํางานของระบบประสาท บทที่ 3 การรับรู้ องค์ประกอบในการรับรู้ กระบวนในการรับรู้ วิธีการศึกษาการรับรู้ บทที่ 4 รูปแบบการจาได้ กระบวนการของการจําแนกและการจําได้ ทฤษฎีอธิบายกระบวนการการจําได้ บทที่ 5 ความตั้งใจ ปัจจัยของการตั้งใจ ทฤษฎีและแบบจําลองกระบวนการตั้งใจ ตัวอย่างการนําไปใช้ : พยากรณ์การเกิดอุบัติเหตุ กลุ่มแนวคิดทางประสาทวิทยาการรู้ คิด และปัญญาในความตั้งใจและสติสํานึก บทที่ 6 ระบบความจา : ความจาระยะส้นและความจาระหว่างการทางาน นิยามของความจํา โครงสร้างและกระบวนการความจํา การวัดความจํา การศึกษาความจํา ระบบความจําระยะสั้น การย้อนระงับ การตามระงับ ระบบความจําระหว่างการทํางาน แบบจําลองความจําระหว่างการทํางานของแบรดเดอเลย์ ข้อแตกต่างระหว่างความจําระยะสั้นและความจําระหว่างการทํางาน บทที่ 7 ความจาระยะยาว ความรู้ และการเรียนรู้ ความหมายของความจําระยะยาว กระบวนการทางสมองของ LTM ประเภทของความรู้และความจําใน LTM
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
การเรียกข้อมูลจากความจําระยะยาวมาใช้ ความสัมพันธ์ระหว่างการเข้ารหัส และการเรียกข้อมูลมาใช้ องค์ประกอบของความรู้ใน LTM LTM : การแสดงออกด้วยการพูดและจินตภาพ กระบวนการเรียนรู้และ LTM กระบวนการเก็บความรู้ใน LTM แนวคิดหรือทฤษฎีกระบวนการเรียนรู้ของ LTM การทดสอบความจํา ธรรมชาติของการเรียนรู้และความจํา การลืมในความจําระยะยาว สาเหตุของการลืม โรคที่เกี่ยวกับความล้มเหลวในการเรียกข้อมูลขึ้นมาใช้ บทที่ 8 การคิดและการแก้ปัญหา การแก้ปัญหา ลักษณะของความคิดในการแก้ปัญหา ประเภทของปัญหา วิธีการศึกษา ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหา ปัจจัยเสริมและตัวขัดขวางกระบวนการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาและความรู้ ความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหา การฝึกฝนความเชี่ยวชาญ การถ่ายโอนและการพัฒนาการแก้ปัญหา บทที่ 9 การให้เหตุผล ความหมายของความคิดเป็นเหตุผล ทักษะ-องค์ประกอบของการคิดเป็นเหตุผล การคิดเป็นเหตุผลและการให้เหตุผล โครงสร้างการให้เหตุผล กระบวนการให้เหตุผล การให้เหตุผลในชีวิตประจําวัน ความผิดพลาดทางจิตวิทยาในการให้เหตุผล สติปัญญากับการคิดเป็นเหตุผล การวางแผนการเรียนการสอนเพื่อสร้างทักษะการคิดเห็นเหตุผล
87
88
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
บทที่10 การประเมิน ความสําคัญและธรรมชาติของการประเมิน กระบวนการของการประเมิน บทที่ 11 การตัดสินใจ ธรรมชาติและลักษณะทั่วไปของการตัดสินใจ ตัวแปรในกระบวนการตัดสินใจ องค์ประกอบหลักในกระบวนการตัดสินใจ ปัจจัยที่ทําให้การตัดสินใจผิดพลาด บทที่ 12 ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ นิยามของความคิดสร้างสรรค์ ประเภทของความคิดสร้างสรรค์ ลักษณะของกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ แนวคิดในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ทฤษฏีพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ การคิดสร้างสรรค์และการประเมิน นวัตกรรม ความหมายของนวัตกรรม ขั้นตอนของนวัตกรรม ปัจจัยการเกิดนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรม ชนิดของนวัตกรรม แนวคิด แบบจําลอง และทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม องค์การนวัตกรรม คุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม การสนับสนุนเพื่อการสร้างนวัตกรรมในองค์การ การรับรู้การสนับสนุนจากอง๕การ บรรณานุกรม ต่างประเทศ 187 เล่ม ที่มา ดร.อุบลวรรณา ภวกานันท์. จิตวิทยาการรู้ คิด และปัญญา. สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2555.
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
89
สรุ ป โครงสร้ างเนื้ อหาอย่างย่อๆ จะเห็ นได้ว่า ตําราวิช าการทางจิตวิทยาเล่ มนี้ เป็ น หนังสือที่ ดร.อุบลวรรณา ภวกานันท์ ได้อุทิศเวลาในประมวลเนื้อหาจากทฤษฎีจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับ การรู้ คิด และปัญญาที่กําลังมีการศึกษาค้นคว้าอย่างไม่รู้จบในซีกโลกตะวันตกปัจจุบัน รวมทั้งการ นําเสนอความรู้จากประสบการณ์งานวิจัยและกิจกรรมในการสอน ทําให้นักศึกษาไทย และผู้สนใจ สามารถอ่านและทําความเข้าใจเนื้อหาสาระได้ง่าย พร้อมกันนี้ยังแนะนําหนังสือหรือตําราต่างประเทศ ที่ผู้สอนในวิชาจิตวิทยาการรู้ คิด และปัญญา ที่กําลังเป็นที่สนใจของนักจิตวิทยาในยุคสติปัญญาหุ่ น ยนตร์อัจฉริยะในต่างประเทศ สามารถติดตามอ่านได้จาก รายชื่อหนังสือที่อ้างไว้ในบรรณานุกรมท้าย เล่มอีกเป็นจํานวนมาก ขอขอบคุณอาจารย์ ดร.อุบลวรรณา ภวกานันท์ ที่ได้มอบหนังสือเล่มนี้ให้กับผู้วิจารณ์ ตั้งแต่พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2555 และทุกวันนี้ผู้วิจารณ์ ก็ยังใช้เป็นหนังสือประกอบการสอนวิชา การ พัฒนา การรู้ คิด และปัญญา ด้วยความมั่นใจความถูกต้องสมบูรณ์ในเนื้อหา และยังสามารถช่วย นักศึกษาที่มี ปั ญหาในการอ่านหนั งสื อภาษาต่างประเทศ ให้ ส ามารถทําความเข้าใจ และค้นคว้า เพิ่มเติมได้ในหัวข้อที่สนใจจะศึกษาโดยละเอียดต่อไป
…………………………………………………..
90
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
คาชี้แจงสาหรับผู้ส่งบทความวิชาการและบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เป็นวารสารเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การศึกษาค้นคว้าสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการด้านจิตวิทยา บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์จะต้องได้รับ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รายละเอียดมีดังนี้ 1. ลักษณะบทความที่ตีพิมพ์ 1.1 บทความทางวิชาการ/บทความทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา 1.2 บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา 2. ส่วนประกอบของบทความ 2.1 บทความทางวิชาการ ความยาวเรื่องละไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย 2.1.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.1.2 ชื่อผู้แต่ง 2.1.3 สถาบันที่ผู้เขียนสังกัด 2.1.4 บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.1.5 บทนํา เนื้อเรื่องและสรุปสาระสําคัญ 2.1.6 เอกสารอ้างอิง (ตามระบบ APA) 2.2 บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์ ความยาวเรื่องละไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย 2.2.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.2.2 ชื่อผู้แต่ง 2.2.3 สถาบันที่ผู้เขียนสังกัด 2.2.4 บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.2.5 คําสําคัญ (Key words) 2.2.6 เนื้อเรื่อง ประกอบด้วย 1) บทนํา 2) วัตถุประสงค์ 3) นิยามศัพท์ 4) วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 5) ระเบียบวิธีวิจัย ประกอบด้วย - ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - การวิเคราะห์ข้อมูล
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
91
6) ผลการวิจัย - บทสรุป - ข้อเสนอแนะ 7) เอกสารอ้างอิง (ตามระบบ APA) 3. การจัดพิมพ์ 3.1 พิมพ์ลงหน้ากระดาษขนาด A4 3.2 พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Office Word 2003 3.3 รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK 3.4 ลักษณะและขนาดตัวอักษร 3.4.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ตัวหนาขนาด 26 3.4.2 ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ตัวหนาขนาด 26 3.4.3 ชื่อผู้เขียน ตัวหนาขนาด 16 3.4.4 หัวข้อใหญ่ ตัวหนาขนาด 16 3.4.5 เนื้อหา ตัวปกติขนาด 16 4. การจัดส่งบทความ 4.1 จัดส่งเอกสาร ดังนี้ 4.1.1 ต้นฉบับบทความ จํานวน 3 ชุด 4.1.2 CD บันทึกบทความ จํานวน 1 แผ่น 4.1.3 แบบฟอร์มส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 4.2 จัดส่งบทความ ดังนี้ กองบรรณาธิการวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต หลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา ชั้น 3 อาคาร 1 เลขที่ 1761 ซอยพัฒนาการ 37 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 e-mail: journal.psy.kbu.ac.th 4.3 มีข้อสงสัยกรุณาติดต่อ รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ โทร.0-2320-2777 ต่อ 1163, 089-929-9705 รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ โทร.0-2320-2777 ต่อ 1134, 081-921-7903 5. เงื่อนไขการตีพิมพ์บทความ 5.1 เป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน 5.2 เป็ น บทความที่ ผ่ า นการพิ จ ารณาจาก ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ก ลั่ น กรองบทความ (Peer review) ของวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต บทความละ 2 คน เพื่อ ตรวจสอบความถูกต้องเชิงวิชาการ 5.3 เป็นบทความที่ได้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว
92
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 4 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
5.4 บทความที่ได้รั บ การตี พิมพ์เผยแพร่ใ นวารสารจิตวิ ทยา มหาวิทยาลั ยเกษมบัณฑิ ต เจ้าของบทความจะได้รับวารสารฉบับนั้น จํานวน 3 เล่ม
…………………………………………………..