วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เจ้าของ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่ปรึกษา 1. ดร.วัลลภ สุวรรณดี 2. ดร.เสนีย์ สุวรรณดี 3. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา กองบรรณาธิการบริหาร 1. ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 2. ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม 3. รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี 4. รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ 5. รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ กองบรรณาธิการวิชาการ 1. ศาสตราจารย์ ดร.จรรจา สุวรรณทัต 2. ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 3. ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม 4. รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ นนทะสร 5. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา สู้รกั ษา 6. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา 7. รองศาสตราจารย์ ดร.รัญจวน คําวชิรพิทักษ์ 8. รองศาสตราจารย์ ดร.วรนุช แหยมแสง 9. รองศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต 10. รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิโชค วรานุสันติกูล 11. รองศาสตราจารย์ ดร.อรพินทร์ ชูชม 12. รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี 13. รองศาสตราจารย์มุกดา ศรียงค์ 14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เย็นใจ เลาหวณิช 15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระวัฒน์ ปันนิตามัย 16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
กองบรรณาธิการ 1. รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ 2. อาจารย์สุจิตรา แดงอินทวัฒน์
บรรณาธิการ ผู้ช่วยบรรณาธิการ
คณะกรรมการจัดทําวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 1. รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ ประธานกรรมการ 2. รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ กรรมการ 3. อาจารย์สุจิตรา แดงอินทวัฒน์ กรรมการและเลขานุการ 4. อาจารย์อทิติยาภรณ์ บุญรอด กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ 1. ศาสตราจารย์ ดร.จรรจา สุวรรณทัต 2. ศาสตราจารย์ ดร. ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 3. ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม 4. รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ นนทะสร 5. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา 6. รองศาสตราจารย์ ดร.รัญจวน คําวชิรพิทักษ์ 7. รองศาสตราจารย์ ดร.วรนุช แหยมแสง 8. รองศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต 9. รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิโชค วรานุสันติกูล 10. รองศาสตราจารย์ ดร.อรพินทร์ ชูชม 11. รองศาสตราจารย์ ดร.อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์ 12. รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี 13. รองศาสตราจารย์ชูศรี วงศ์รัตนะ 14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เย็นใจ เลาหวณิช 15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระวัฒน์ ปันนิตามัย 16. ว่าที่ร้อยตรี ดร.มนัส บุญประกอบ กําหนดวันออกวารสาร ปีละ 1 ฉบับ เดือนมกราคม-ธันวาคม กําหนดออกวารสาร เดือนพฤษภาคม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาค้นคว้า สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการด้านจิตวิทยา ของคณาจารย์ นักวิชาการและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางจิตวิทยาสู่สาธารณะชน
3. เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านจิตวิทยา ระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานทางวิชาการ หน่วยงานปฏิบัติการและนักวิชาการอิสระทางด้านจิตวิทยา พิมพ์ที่ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เลขที่ 1761 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ 0-2320-2777 โทรสาร 0-2720-4677 ISSN 2286-6663 สํานักงาน หลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา (ชั้น 3 อาคาร 1) มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ โทรศัพท์/โทรสาร 0-2320-2777 ต่อ 1134, 1163 e-mail: journalofpsycho_kbu@hotmail.com ปีที่พิมพ์ 2555
สารบัญ คุณธรรมตามแนวศาสนาหลักของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ นนทะสร และคณะ
หน้าที่ 1
วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการและการมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตรที่มีความสัมพันธ์ กับการเป็นพนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรมการบริหารที่เป็นเลิศ บริษัท โรงพยาบาล บํารุงราษฎร์ จํากัด (มหาชน) รองศาสตราจารย์มุกดา ศรียงค์ และคณะ
15
ปัจจัยทางจิตวิทยาของความสําเร็จในการประกอบธุรกิจโรงแรมอิสระของ SMEs ไทย ในกรุงเทพมหานครช่วงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ปี พ.ศ.2551-2554 อาจารย์ ดร.อุบลวรรณา ภวกานันท์
25
แนวโน้มการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพมนุษย์และองค์การ รองศาสตราจารย์ ดร.รัญจวน คําวชิรพิทักษ์
44
แรงจูงใจในการทํางาน: ทฤษฎีและการประยุกต์ รองศาสตราจารย์ ดร.อรพินทร์ ชูชม
52
ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล: ทําไมคนเราบางคนไม่รู้จักคิด รองศาสตราจารย์สิริอร วิชชาวุธ
62
การคิดเชิงระบบแบบบูรณาการ: ผสานสองวิธี วิถีตะวันออกกับตะวันตก ว่าที่ร้อยตรี ดร.มนัส บุญประกอบ
72
บทความปริทรรศน์ (Review article) เรื่อง ทิศทางการดําเนินงานทางการศึกษา พิเศษสู่ประชาคมอาเซียน ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม
88
บทวิจารณ์หนังสือ (Book review): Theory and Practice of Counseling and Psychotherapy ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์
94
คําแนะนําสําหรับผู้ส่งบทความวิชาการและบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
100
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 1
คุณธรรมตามแนวศาสนาหลักของนักศึกษามหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิต The Main Religions’ Virtues of Undergraduate Students, Kasem Bundit University ทัศนีย์ นนทะสร และคณะ * บทคัดย่อ การวิ จั ย เรื่ อ ง คุ ณ ธรรมตามแนวศาสนาหลั ก ของนั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย เกษมบั ณ ฑิ ต มี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณธรรมร่วมของคุณธรรมตามแนวศาสนาหลัก คือ พุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ 2) เพื่อศึกษาคุณธรรมของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 3) เพื่อ บูรณาการคุณธรรมตามแนวศาสนาหลักในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัย เกษมบัณ ฑิต กลุ่ ม ตั วอย่าง คื อ อาจารย์ ผู้ สอนระดับปริญญาตรี มหาวิ ทยาลัยเกษมบัณฑิต ในปี การศึกษา 2552 จํานวน 103 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในปีการศึกษา 2552 จํานวน 500 คน กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นจากประชากร โดยสุ่มตามกลุ่มสาขาและ คณะวิชาต่างๆ คือ 1) กลุ่มบริหารธุรกิจ จากคณะบริหารธุรกิจและหลักสูตรบริหารธุรกิจ ภาค ภาษาอังกฤษ 2) กลุ่มสังคมศาสตร์ จากคณะนิติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และสํานักศึกษาทั่วไป 3) กลุ่มวิทยาศาสตร์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4) กลุ่มประยุกต์ ศิลป์ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะนิเทศศาสตร์ เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้างเรื่อง “คุณธรรมตามแนว ศาสนาหลักของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต” 2) แบบวัด “คุณธรรมตามแนว ศาสนาหลักของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ตามการรับรู้ของนักศึกษา” มีค่า ความเที่ ย งเท่ า กั บ .91 3) แบบวั ด “คุ ณ ธรรมตามแนวศาสนาหลั ก ของนั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตตามการรับรู้ของอาจารย์ผู้สอน” มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 และ 3) แบบ บันทึกข้อมูลในการสนทนากลุ่มเฉพาะเรื่อง “คุณธรรมตามแนวศาสนาหลักของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต” และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และ วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และสถิติวิเคราะห์ (Analytical statistics)
__________________________ * รองศาสตราจารย์ ดร., หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ศึกษาวิจัยสําเร็จในปี พ.ศ.2554
2
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. คุณธรรมร่วมของคุณธรรมตามแนวศาสนาหลัก คื อ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิ สลามและ ศาสนาคริสต์ จากผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า มีคุณธรรมร่วม 19 ด้าน ประกอบด้วย 1) ศรัทธา 2) สติ รอบคอบ 3) จิตสงบ 4) ปัญญา 5) ความหวัง 6) สะอาด บริสุทธิ์ 7) ระเบียบวินัย 8) ความรัก 9) เสียสละ 10) เป็นมิตร 11) สามัคคี 12) กตัญญูกตเวที 13) รักษาศีล 14) สุภาพ 15) ซื่อสัตย์สุจริต 16) ความอดทน 17) ขยันหมั่นเพียร 18) ประหยัด และ 19) เห็นคุณค่าและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2. คุณธรรมของนักศึกษา 1) คุณธรรมโดยรวมของนักศึกษาตามการรับรู้ของอาจารย์ อยู่ในระดับค่อนข้างมาก โดย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68 และ S.D. เท่ากับ 0.51 2) คุณธรรมโดยรวมของนักศึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษา อยู่ในระดับค่อนข้างมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 และ S.D. เท่ากับ 0.41 3) ผลการเปรียบเทียบคุณธรรมของนักศึกษาตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษา พบว่า คุณธรรมโดยรวมของนักศึกษาตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษา แตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนคุณธรรมร่วมที่มีจํานวน 19 ด้าน นั้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ จํานวน 17 ด้าน ยกเว้น ด้านสติรอบคอบ และด้านเป็นมิตร 3. การบูรณาการคุณธรรมตามแนวศาสนาหลักในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มีหลักการและแนวปฏิบัติเสนอได้ดังนี้ 1) ควรมีนโยบายและคณะกรรมการด้านคุณธรรม 2) ใช้วิธีสอดแทรกคุณธรรมผ่านการเรียนการสอน 3) การทําโครงการ/กิจกรรมร่วมกัน 4) อาจารย์ต้องเป็นแม่แบบ 5) การทําสมุดบันทึกคุณธรรมของนักศึกษา 6) โครงการฝึกจัดอบรมคุณธรรมตามแนวศาสนาหลัก 7) โครงการสร้างจิตสํานึกในการเห็นคุณค่าและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 8) ข้อควรคํานึงถึง คือ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มีนักศึกษาที่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนา อิสลามและศาสนาคริสต์ ดังนั้น การบูรณาการคุณธรรมตามแนวศาสนาหลักในการจัดการเรียนการ สอน จึงควรพิจารณาให้ครอบคลุมทั้ง 3 ศาสนาด้วย จากผลการวิจัย จึงมีข้อเสนอแนะต่อมหาวิทยาลัยว่า ควรให้ความสําคัญกับการปลูกฝัง สร้าง เสริมคุณธรรมให้กับนักศึกษาอย่างชัดเจนเป็นระบบ โดยควรดําเนินการทั้งระดับองค์กร คือ ระดับ มหาวิทยาลัย ระดับกลุ่ม คือ เครือข่ายการจัดการเรียนการสอนและระดับบุคคล คือ นักศึกษาและ อาจารย์ คําสําคัญ: คุณธรรม, คุณธรรมร่วม, ศาสนาหลัก, นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 3
Abstract The purposes of this research topic “the main religions’ virtues of undergraduate students, Kasem Bundit University “ were 1) to study the common virtues of the virtues of the main religions namely Buddhism, Islam and Christianity, 2) to study the virtues level of undergraduate students, Kasem Bundit University, and 3) to integrate the virtues in the teaching processes of undergraduate courses. The subjects of this study were 103 undergraduate instructors and 500 undergraduate students who enrolled in 2009 academic year. These subjects were selected by using stratified random sampling. The subjects were classified into 4 groups namely 1) Business Adiministration group (Business Administration English Program for the Faculty of Business Administration), 2) Social Sciences group (Faculty of Law, Faculty of Liberal Arts, and Office of the General Education), 3) Sciences group (Faculty of Sciences, Faculty of Engineering, and Faculty of Sciences and Technology), and 4) Applied Arts group (Faculty of Architecture, and Faculty of Communication Arts). The research instruments included structured interviews on “Virtues of undergraduate students, Kasem Bundit University based on Buddhism, Islam, and Christianity”, “Virtues of Undergraduate students, Kasem Bundit University based on Buddhism, Islam, and Christianity scales” with a reliability coefficient of .91 for the student version, and .89 for the instructor version, and a focus group record form on “Virtues of undergraduate students, Kasem Bundit University based on Buddhism, Islam, and Christianity”. The data were analyzed by using content analysis, descriptive statistics, and analytical statistics. The results were as follows: 1. The common virtues of Buddhism, Islam, and Christianity: There were 19 common virtues of the virtues of the main religions of Buddhism, Islam, and Christianity: 1) belief or confidence, 2) mindfulness, 3) concentration, 4) wisdom, 5) hope, 6) purity, 7) discipline, 8) love, 9) charity, 10) friendliness, 11) concord, 12) gratitude, 13) morality, 14) politeness, 15) honesty, 16) tolerance, 17) diligence, 18) thriftiness, and 19) environmental awareness and conservation 2. The virtue of the undergraduate students, Kasem Bundit University revealed as follows: 1) The total mean scores of the students’ virtues as perceived by the instructors were almost high ( x =3.68 and S.D.=0.51).
4
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
2) The total mean scores of the students’ virtues as perceived by the students themselves were almost high ( x =4.31 and S.D.=0.41). 3) There were statistically significant differences between the instructors’ perception and the students’ perception on the total mean scores of the students’ virtues at .01 level. The students assessed their 17 common virtues higher than that of the instructors except the common virtues of mindfulness and friendliness. 3. The implications for virtue integration in the teaching processes of undergraduate courses at Kasem Bundit University included: 1) Virtue policy and Virtue Committee should be set at the university level. 2) Virtue concepts should be integrated in the teaching processes. 3) Projects and activities on virtues should be organized in the university. 4) Instructors should be role model on virtue action. 5) Students’ note books for virtue recording should be distributed to all students. 6) The main religions’ virtues training project should be organized for the students. 7) Environmental awareness and conservation project should be created in the university community. 8) Teaching processes at Kasem Bundit University should integrate the main religions’ virtues from Buddhism, Islam, and Christianity. From the research finding, it is suggested that students’ main religions’ virtues should be enhanced and should be supported at all levels in terms of organizational level: university, group level: teaching and learning network, and individual level: instructors and students. Key words: Virtue, Common virtues, Main Religions, Kasem Bundit University students ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา คุณธรรมเป็นหลักในการดําเนินชีวิตเพื่อให้ชีวิตมีคุณค่า เป็นชีวิตที่ดีงาม มีสันติ มีดุลยภาพ และมีความสงบสุข นโยบายของชาติมุ่งสร้างเสริมให้คนในชาติมีคุณธรรม ให้ทําความดี ให้ช่วยกัน สร้ า งคุ ณ ธรรมในจิต ใจ เพื่ อให้ สั ง คมไทยเข้ ม เข็ ง มี ค วามสมานฉั น ท์ ให้ รู้จั ก สามั ค คี ใช้ คุ ณ ธรรม กําลังคน และแก้วิกฤตของชาติ ส่วนนโยบายการศึกษาของชาตินั้น มุ่งเน้นให้คุณธรรมนําความรู้จาก เดิมที่ให้ความสําคัญกับความรู้เป็นลําดับแรก การศึกษาจึงมุ่งเน้นการแข่งขันกันด้านความรู้ ด้าน วิชาการมากกว่าการส่งเสริมให้คนมีคุณธรรมและเป็นคนดีของสังคม
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 5
คุณธรรม หมายถึง คุณงามความดี สภาวะจิตใจที่เป็นไปในทางที่ถูกต้องดีงาม เป็นคุณภาพ ของจิตใจ มีลักษณะแห่งความรู้สึกผิดชอบชั่วดี เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งควบคุมพฤติกรรมให้แสดงออก ในทางที่ดี ที่ถูกต้อง จึงประกอบด้วย ส่วนที่เป็นภาวะภายในจิตใจ เป็นสภาวะภายในและส่วนที่ แสดงออกมาภายนอกเป็นพฤติกรรมที่แสดงออก การสร้างเสริมคุณธรรมสามารถทําได้จากครอบครัว โดยการอบรมเลี้ยงดู จากสถาบันการศึกษาโดยการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมต่างๆ ของ หลักการ จากศาสนาโดยคําสอนทางศาสนาหรือโดยหลักปฏิบัติทางศาสนา จากสังคมโดยสภาพสังคม วิถีปฏิบัติของบุคคลในสังคมหรือจากสื่อประเภทต่างๆ ในสังคม ทําให้บุคคลเห็นเป็นแบบอย่าง เกิด การเรียนรู้ เกิดการปฏิบัติตาม สําหรับคุณธรรมของนักศึกษา จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการ สอนและกิจกรรมในหลักการ จากศาสนาที่นักศึกษานับถือ จากกลุ่มบุคคลรอบข้าง ทั้งอาจารย์ เพื่อน และบุคคลอื่นๆ รวมทั้ง สื่อต่างๆ ในลําดับ สําหรับคุณธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนานั้น กีรติ บุญเจือ (2551) ได้วิเคราะห์ ศาสนาหลักใน ประเทศไทย 3 ศาสนา คือ พุทธ อิสลาม คริสต์ พบว่า มีหลักการร่วมกันอยู่หลายประการในเรื่อง คุณธรรม เช่น เรื่องการส่งเสริมสันติภาพ โดยศาสนาพุทธมีการ “แผ่เมตตา” เป็นประจํา ศาสนา อิสลามมีคําทักทายเมื่อพบกันที่แปลว่า “จงมีสันติสุขเถิด” ส่วนศาสนาคริสต์เน้นในเรื่อง “ให้รักเพื่อน มนุษย์เหมือนรักตนเอง” ซึ่งถือได้ว่ามีลักษณะคุณธรรมร่วมกันอยู่ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มี ความสมหวัง ทั้งด้านคุณธรรม ความรู้ ความสามารถ ก่อประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ดังปณิธาน ของมหาวิ ท ยาลั ย ที่ กํ า หนดจะผลิ ต บั ณ ฑิ ต ที่ มี คุ ณ ภาพเพี ย บพร้ อ มด้ ว ยคุ ณ ค่ า คุ ณ ธรรมและ คุณประโยชน์ นอกจากนี้ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มีความหลากหลายของศาสนาที่ นักศึกษานับถือ คือ มีนักศึกษานับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ โดยมีนักศึกษาอีก จํานวนหนึ่งนับถือศาสนาคริสต์ คณะวิ จัยสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกั บคุณธรรมในเรื่อง “คุณธรรมตามแนวศาสนาหลั กของ นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต” โดยจะศึกษาคุณธรรมร่วมของคุณธรรมตามแนว ศาสนาหลักที่นั กศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตยึ ดถื อปฏิบัติ เพื่อเป็ นประโยชน์ในการรู้ถึง คุณธรรมของนักศึกษาและแนวทางการบูรณาการตามแนวศาสนาหลักในการจัดการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนานักศึกษาให้สามารถนําชีวิตสู่ดุลยภาพและความดีงาม ก่อให้เกิดการสมานฉันท์และ สันติภาพต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาคุณธรรมร่วมของคุณธรรมตามแนวศาสนาหลัก ซึ่งได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนา อิสลามและศาสนาคริสต์ 2. เพื่อศึกษาคุณธรรมของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ตามแนวศาสนา หลัก 3. เพื่อบูรณาการคุณธรรมตามแนวศาสนาหลักในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาปริญญา ตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
6
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
สมมุติฐานของการวิจัย คุณธรรมของนักศึกษาตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษาแตกต่างกัน ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.1 อาจารย์ผู้สอนระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ในปีการศึกษา 2552 ที่ ปฏิบัติงานจริงไม่รวมลาศึกษาต่อ จํานวน 311 คน 1.2 นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ในปีการศึกษา 2552 จํานวน 10,102 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยผู้วิจัยดําเนินการ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ได้ อาจารย์ผู้สอน ระดั บ ปริ ญ ญาตรี มหาวิ ท ยาลั ย เกษมบั ณ ฑิ ต จํ า นวน 103 คน และนั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จํานวน 500 คน 3. นิยามศัพท์เฉพาะ 3.1 คุณธรรม (Virtue) หมายถึง สภาพคุณงามความดี อันเป็นหลักความดีงามภายใน ซึ่ง ทําให้เกิดการปฏิบัติดีเป็นจริยธรรมที่ถูกต้องดีงามต่อไป 3.2 คุณธรรมร่วมตามแนวศาสนาหลัก หมายถึง คุณธรรมร่วมที่มีอยู่อย่างสอดคล้องกัน ตามคุณธรรมหลักที่มีในศาสนาหลักทั้ง 3 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ 3.3 ศาสนาหลัก หมายถึง ศาสนาที่บุคคลในโลกนับถือเป็นจํานวนมาก คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ 3.4 นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต หมายถึง นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 ที่ศึกษาอยู่ในคณะวิชาต่างๆ ในปีการศึกษา 2552 การดําเนินการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ดังนี้ ชุดที่ 1 แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง (Structured interview) เพื่อสัมภาษณ์บุคคล สําคัญ (Key persons) ที่นับถือและปฏิบัติตามหลักศาสนาหลัก คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลามและ ศาสนาคริสต์ ชุดที่ 2 แบบวัด “คุณธรรมตามแนวศาสนาหลักของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิต ตามการรับรู้ของนักศึกษา” จํานวน 76 ข้อ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .91 ชุดที่ 3 แบบวัด “คุณธรรมตามแนวศาสนาหลักของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิต ตามการรับรู้ของอาจารย์” จํานวน 44 ข้อ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 ชุดที่ 4 แบบบันทึกการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus group) เพื่อรวบรวมข้อมูลจากการ ประชุมกลุ่มอาจารย์และนักศึกษาที่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 7
การวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์จากบุคคลสําคัญ (Key persons) และข้อมูลจากการสนทนา กลุ่มเฉพาะอาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลามและ ศาสนาคริสต์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) 2. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบวัดคุณธรรมตามแนวศาสนาหลักของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษม บัณฑิต โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และสถิติวิเคราะห์ (Analytical statistics) ผลการวิจัย 1. คุณธรรมร่วมของคุณธรรมตามแนวศาสนาหลัก คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลามและ ศาสนาคริสต์ประกอบด้วย คุณธรรมร่วม 19 ด้าน คือ 1.1 ศรัทธา: เชื่อต่อพระศาสดาของศาสนาที่ตนนับถือ ยึดมั่นในสิ่งที่ดีงาม นํามาเป็นหลัก ยึดในการดําเนินชีวิต 1.2 สติ รอบคอบ: มีสติรอบคอบ ระลึกได้ 1.3 จิตสงบ: มีจิตสงบ เบิกบาน มีสมาธิ 1.4 ปัญญา: แสวงหาความรู้ มีความคิด มีเหตุผล เห็นตามความเป็นจริง 1.5 ความหวัง: การมุ่งมั่นพัฒนาตน ไม่ย่อท้อ 1.6 สะอาด บริสุทธิ:์ การมีความสะอาดทั้งกายและการมีจิตใจที่บริสทุ ธิ์ 1.7 ระเบียบวินัย: การมีวินัยในตนเอง การควบคุมตนเอง การปฏิบัติตามกฎระเบียบของ สังคม 1.8 ความรัก: ความเมตตากรุณา การให้อภัย การไม่ทําร้ายกัน 1.9 เสียสละ: การแบ่งปัน เห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น การเห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าตนเอง 1.10 เป็นมิตร: การมีไมตรีต่อกัน การยอมรับกัน การเคารพกัน การเป็นที่พึ่งได้ 1.11 สามัคคี: การร่วมมือกันทําความดี การประสานกัน 1.12 กตัญญูกตเวที: การนับถือเชื่อฟัง การสํานึกตอบแทนพระคุณพ่อแม่ ครูอาจารย์ 1.13 รักษาศีล: มีศีลธรรม มีความประพฤติดีงาม 1.14 สุภาพ: ความสุภาพอ่อนน้อม ทั้งกาย วาจา มีสัมมาคารวะ 1.15 ซื่อสัตย์สจุ ริต: การมีความสุจริตทางกาย วาจา ใจ 1.16 ความอดทน: ความอดทน อดกลั้น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค 1.17 ขยันหมัน่ เพียร: รักในสิ่งที่กระทํา กระตือรือร้น มีความเพียรพยายาม มีความ รับผิดชอบ 1.18 ประหยัด: การมีสมถะ เรียบง่าย มีความพอเพียง รู้จักเก็บออม 1.19 การเห็นคุณค่าและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม: การเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ดูแลรักษา สิ่งแวดล้อม ไม่ทําลาย
8
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
2. คุณธรรมของนักศึกษา 2.1 ค่าเฉลี่ยของคุณธรรมโดยรวมตามแนวศาสนาหลักของนักศึกษา จําแนกตามชั้นปี ตามการรับรู้ของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาในชั้นปีที่ 1 และ 3 มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.33 รองลงมา คือ ชั้นปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 และชั้นปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 และวิเคราะห์เปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยของคุณธรรมโดยรวมตามการรับรู้ของนักศึกษา ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) พบว่า คุณธรรมของนักศึกษาทุกชั้นปีไม่แตกต่างกัน 2.2 ค่าเฉลี่ยของคุณธรรมโดยรวมตามแนวศาสนาหลักของนักศึกษา จําแนกตามกลุ่ม สาขาวิชา ตามการรับรู้ของอาจารย์ พบว่า นักศึกษาทุกกลุ่มสาขาวิชามีค่าเฉลี่ยของคุณธรรมโดยรวม อยู่ในระดับค่อนข้างมาก โดยกลุ่มวิทยาศาสตร์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 3.82 และได้วิเคราะห์ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคุณธรรมโดยรวม ตามการรับรู้ของอาจารย์ จําแนกตามกลุ่มสาขาวิชา ด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) สรุปได้ว่า ค่าเฉลี่ยของคุณธรรมโดยรวม ของนักศึกษาตามการรับรู้ของอาจารย์ในทุกกลุ่มสาขาวิชาไม่แตกต่างกัน 2.3 ค่าเฉลี่ยของคุณธรรมโดยรวมตามแนวศาสนาหลักของนักศึกษา จําแนกตามกลุ่ม สาขาวิชา ตามการรับรู้ของนักศึกษา พบว่า กลุ่มบริหารธุรกิจและกลุ่มสังคมศาสตร์อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มวิทยาศาสตร์ และกลุ่มประยุกต์ศิลป์อยู่ในระดับค่อนข้างมาก โดยมีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของ Scheffe/ สรุปได้ว่า ค่าเฉลี่ยของ คุณธรรมโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จํานวน 1 คู่ คือ กลุ่มบริหารธุรกิจ มีค่าเฉลี่ยของคุณธรรมโดยรวมสูงกว่ากลุ่มประยุกต์ศิลป์ 2.4 คุณธรรมและผลการเปรียบเทียบคุณธรรมของนักศึกษา ตามการรับรู้ของอาจารย์ และนักศึกษา ข้อมูลแสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยของคุณธรรมคุณธรรมของนักศึกษาและผลการเปรียบเทียบคุณธรรมของนักศึกษา ตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษา คุณธรรม 1. ศรัทธา - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง 2. สติ รอบคอบ - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง 3. จิตสงบ - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง
x
S.D.
แปลผล
3.99 4.18
0.80 0.68
ค่อนข้างมาก ค่อนข้างมาก
3.85 3.88 4.22 3.87
0.86 0.62 0.89 0.70
t -2.462
p .014*
-.297
.767
3.719
.000**
ค่อนข้างมาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างมาก
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 9
ตารางที่ 1 (ต่อ) คุณธรรม 4. ปัญญา - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง 5. ความหวัง - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง 6. สะอาด บริสุทธิ์ - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง 7. ระเบียบวินัย - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง 8. ความรัก - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง 9. เสียสละ - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง 10. เป็นมิตร - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง 11. สามัคคี - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง 12. กตัญญูกตเวที - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง 13. รักษาศีล - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง
x
S.D.
แปลผล
3.53 4.41
0.91 0.64
ค่อนข้างมาก มาก
3.34 4.48 4.10 4.76 3.63 4.31 3.90 4.07 3.53 4.58 4.19 4.26 4.13 4.28 3.77 4.95 4.09 3.88
0.93 0.72 0.94 0.68 1.09 0.65 0.96 0.46 1.10 0.76 0.85 0.69 1.03 0.77 1.00 0.72 1.04 0.86
t -3.719
p .000**
-6.731
.000**
-8.301
.000**
-6.128
.000**
-6.731
.000**
-9.189
.000**
-.891
.374
-11.366
.000**
-11.366
.000**
2.217
.027*
ค่อนข้างน้อย มาก ค่อนข้างมาก มาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างมาก มาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างมาก มาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างมาก
10
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
ตารางที่ 1 (ต่อ) คุณธรรม 14. สุภาพ - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง 15. ซื่อสัตย์ สุจริต - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง 16. ความอดทน - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง 17. ขยันหมั่นเพียร - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง 18. ประหยัด - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง 19. เห็นคุณค่าและอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง คุณธรรมโดยรวม (19 ด้าน) - อาจารย์ประเมินนักศึกษา - นักศึกษาประเมินตนเอง ** p < .01, *p < .05
x
S.D.
แปลผล
3.15 4.36
0.94 0.75
ค่อนข้างน้อย มาก
3.95 4.38 3.50 4.19 3.28 4.27 3.33 4.33 2.98 4.41 3.68 4.31
0.82 0.72 1.11 0.61 0.94 0.76 1.15 0.87 1.11 0.80 0.51 0.41
t -12.233
p .000**
-4.959
.000**
-6.076
.000**
-10.091
.000**
-8.333
.000**
-12.419
.000**
-11.640
.000**
ค่อนข้างมาก มาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างน้อย ค่อนข้างมาก ค่อนข้างน้อย มาก ค่อนข้างน้อย มาก ค่อนข้างมาก ค่อนข้างมาก
จากตารางที่ 1 แสดงค่ า เฉลี่ ย ของคุ ณ ธรรมของนั ก ศึ ก ษาตามการรั บ รู้ ข องอาจารย์ แ ละ นักศึกษา และผลการเปรียบเทียบคุณธรรมของนักศึกษาตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษา สรุป ได้ดังนี้ 1. คุณธรรมของนักศึกษาตามการรับรู้ของอาจารย์ มีดังนี้ 1.1 อาจารย์รับรู้ว่านักศึกษามีคุณธรรมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก ( x =3.50-4.22) จํานวน 14 ด้าน คือ 1) ศรัทธา 2) สติ รอบคอบ 3) จิตสงบ 4) ปัญญา 5) สะอาด บริสุทธิ์ 6) ระเบียบวินัย 7) ความรัก 8) เสียสละ 9) เป็นมิตร 10) สามัคคี 11) กตัญญูกตเวที 12) รักษาศีล 13) ซื่อสัตย์สุจริต และ 14) ความอดทน
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 11
1.2 อาจารย์ รั บ รู้ ว่ า นั ก ศึ ก ษามี คุ ณ ธรรมอยู่ ใ นระดั บ ค่ อ นข้ า งน้ อ ย ( x =2.98-3.34) จํานวน 5 ด้าน คือ 1) ความหวัง 2) สุภาพ 3) ขยันหมั่นเพียร 4) ประหยัด และ 5) เห็นคุณค่าและ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้ง 6) ระเบียบวินัย ซึ่งเป็นข้อสรุปจากการสนทนากลุ่ม (กลุ่มนักศึกษา) ดังนั้นจึงควรได้สนับสนุนการทําวิจัยด้านคุณธรรมต่อไป 1.3 คุณธรรมโดยรวมของนักศึกษาตามการรับรู้ของอาจารย์ อยู่ในระดับค่อนข้างมาก ( x =3.68) 2. คุณธรรมของนักศึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษา มีดังนี้ 2.1 นักศึกษารับรู้ว่านักศึกษามีคุณธรรมอยู่ในระดับมาก ( x =4.33-4.95) จํานวน 9 ด้าน คือ 1) ปัญญา 2) ความหวัง 3) สะอาด บริสุทธิ์ 4) เสียสละ 5) กตัญญูกตเวที 6) สุภาพ 7) ซื่อสัตย์ สุจริต 8) ประหยัด และ 9) เห็นคุณค่าและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2.2 นั ก ศึ ก ษารั บ รู้ ว่ า นั ก ศึ ก ษามี คุ ณ ธรรมอยู่ ใ นระดั บ ค่ อ นข้ า งมาก ( x =3.87-4.27) จํานวน 10 ด้าน คือ 1) ศรัทธา 2) สติ รอบคอบ 3) จิตสงบ 4) ระเบียบวินัย 5) ความรัก 6) เป็นมิตร 7) สามัคคี 8) รักษาศีล 9) ความอดทน และ 10) ขยันหมั่นเพียร 2.3 คุณธรรมโดยรวมตามการรับรู้ของนักศึกษา อยู่ในระดับค่อนข้างมาก ( x =4.31) 3. ผลการเปรียบเทียบคุณธรรมของนักศึกษาตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษา สรุป ได้ดังนี้ 3.1 คุณธรรมของนักศึกษาตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษา แตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จํานวน 15 ด้าน ได้แก่ 1) จิตสงบ 2) ปัญญา 3) ความหวัง 4) สะอาด บริสุทธิ์ 5) ระเบียบวินัย 6) ความรัก 7) เสียสละ 8) สามัคคี 9) กตัญญูกตเวที 10) สุภาพ 11) ซื่อสัตย์ สุจริต 12) อดทน 13) ขยันหมั่นเพียร 14) ประหยัด และ 15) ด้านเห็นคุณค่าและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 3.2 คุณธรรมตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 จํานวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ศรัทธา 2) รักษาศีล 3.3 คุณธรรมตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษา ที่ไม่แตกต่างกัน จํานวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) สติ รอบคอบ และ 2) เป็นมิตร 3.4 ค่าเฉลี่ยของคุณธรรมโดยรวม ตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.5 กราฟแสดงค่าเฉลี่ยของคุณธรรมร่วมของคุณธรรมตามแนวศาสนาหลักของนักศึกษา ตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษา แสดงในภาพประกอบที่ 1
12
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
ภาพประกอบที่ 1 ค่าเฉลี่ยของคุณธรรมร่วมของคุณธรรมตามแนวศาสนาหลักของนักศึกษา 4. การบูรณาการคุณธรรมตามแนวศาสนาหลักในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มีหลักการและแนวปฏิบัติเสนอดังนี้ 4.1 ควรมีนโยบายด้านคุณธรรมและมีคณะกรรมการคุณธรรมของมหาวิทยาลัย 4.2 บูรณาการคุณธรรมตามแนวศาสนาหลักผ่านการเรียนการสอน โดยประยุกต์รูปแบบ การเรียนการสอนที่หลากหลาย รวมทั้งให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ความ เข้าใจในคุณธรรม และมีจิตสํานึกที่ดีงามเพื่อสรรค์สร้างชีวิตของตนเอง 4.3 จัดทําโครงการ/กิจกรรมหลากหลายรูปแบบโดยให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อ ปลูกฝังคุณธรรมก่อนจะสําเร็จการศึกษา 4.4 อาจารย์ต้องเป็นแม่แบบ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักศึกษา 4.5 ให้นักศึกษาทําสมุดบันทึกคุณธรรม เพื่อให้ได้ตรวจสอบตนเอง ย้ําเตือนตนเองและ กํากับตนเอง 4.6 จัดโครงการอบรมคุณธรรมตามศาสนาหลัก 4.7 จัดโครงการสร้างจิตสํานึกในการเห็นคุณค่าและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 4.8 ข้อควรคํ านึง ถึ ง คือ มหาวิท ยาลัย เกษมบัณฑิ ต มี นั กศึก ษาที่นับถื อศาสนาพุ ท ธ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ ดังนั้น คุณธรรมที่จะสอดแทรกเข้าไปในการสอน จึงควรพิจารณาให้ ครอบคลุมทุกศาสนาด้วย การอภิปรายผล 1. ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของคุณธรรมโดยรวม ตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักศึกษาประเมินตนเองว่ามีคุณธรรมสูงกว่าที่ อาจารย์ ป ระเมิ น จํ า นวน 17 ด้ า น ยกเว้ น ด้ า นสติ ร อบคอบ และด้ า นเป็ น มิ ต ร แสดงให้ เ ห็ น ว่ า นักศึกษารับรู้ว่า ตนเองมีความศรัทธา มีความเชื่อต่อศาสนาที่ตนนับถือ มีสติรอบคอบ มีจิตสงบ เบิก
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 13
บาน มีสมาธิ มีปัญญาโดยการแสวงหาความรู้ มีเหตุผล มีสติและปัญญา มีความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อ อุปสรรค มีจิตใจที่สะอาด บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส มีระเบียบวินัย สามารถควบคุมตนเอง ปฏิบัติตาม กฎระเบียบของสังคม มีความรัก ความเมตตา กรุณา ให้อภัย การไม่ทําร้ายกันและให้เกียรติกัน เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือ เห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น ไม่เห็นแก่ตัว มีความเป็นมิตร มีไมตรีจิตและทําดี ต่อคนทั้งปวง มีความสามัคคี ร่วมมือกันทําความดี มีความกตัญญูกตเวที รู้คุณ สนองคุณผู้มีพระคุณ มี ศีลธรรมและความประพฤติดีงาม มีความสุภาพอ่อนน้อม มีมารยาทและมีปิยะวาจา มีความซื่อสัตย์ สุจริต รักษาคําพูด ยุติธรรม ซื่อตรง ไม่คดโกงและมีสัจจะ มีความอดทน อดกลั้น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค มีความเพี ยรพยายาม กระตือรือร้นและรับผิดชอบ เป็นผู้รู้จักประมาณ ใช้ชีวิตเรียบง่าย มีความ พอเพียง รวมทั้ง เห็นคุณค่าและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักศึกษาและอาจารย์ต่างรับรู้ว่า คุณธรรมของนักศึกษา อยู่ในระดับ ค่อนข้างมาก แต่สิ่งสําคัญที่ยังเป็นจุดอ่อนที่ควรได้รับการพัฒนา คือ การนําคุณธรรมไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งการปฏิบัติใดๆ จะบรรลุผลได้ หากผู้ปฏิบัติหรือนักศึกษามีศรัทธา มีความเชื่อ มีวิริยะ มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ มีสติ มีสมาธิและปัญญาที่จะนําคุณธรรมตามแนวศาสนาหลักที่ตนนับถือไปปฏิบัติให้ซึมซาบสู่ จิตใจ เพื่อก่อให้เกิดพลานุภาพคุ้มครองตนเองได้อย่างปลอดภัยและมั่นคง และผลแห่งการทําความดี ปฏิบัติชอบจะทําให้ทั้งตนเอง ครอบครัวและสังคมเป็นสุข 2. การบูรณาการคุณธรรมตามแนวศาสนาหลักในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จากผลการวิจัยระบุชัดเจนว่า การนําหลักคุณธรรมมาประยุกต์ ในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต นั้น มหาวิทยาลัย ควรกําหนดนโยบายและแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงานด้านคุณธรรม ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะสําหรับการปฏิบัติ มหาวิทยาลัยควรให้ความสําคัญกับการปลูกฝัง สร้างเสริมคุณธรรมให้กับนักศึกษาอย่าง ชั ด เจน เป็ น ระบบ โดยควรดํ า เนิ น การทั้ ง ระดั บ องค์ ก ร คื อ ระดั บ มหาวิ ท ยาลั ย ระดั บ กลุ่ ม คื อ เครือข่ายการจัดการเรียนการสอน และระดับบุคคล คือ ตัวนักศึกษา ดังนี้ 1.1 ระดับมหาวิทยาลัย ควรกําหนดนโยบายและคณะกรรมการคุณธรรม การพัฒนา สร้างเสริมคุณธรรมให้กับนักศึกษา ควรคํานึงถึงการให้ความสําคัญกับนักศึกษา ให้สอดคล้องกับ นักศึกษาที่นับถือศาสนาหลักทั้ง 3 มหาวิทยาลัยจึงควรให้นักศึกษาได้เรียนรู้เรื่องคุณธรรมร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เกิดการยอมรับ เกิดความรักสามัคคีต่อกัน นําไปสู่การสมานฉันท์ เกิดสันติภาพ ต่อไป 1.2 ระดับกลุ่ม ควรสอดแทรกคุณธรรมในการจัดการเรียนการสอนตลอดหลักสูตร โดย ให้มีเครือข่ายคณะอาจารย์ เครือข่ายนักศึกษา ซึ่งมีทั้งในการเรียนการสอนในชั้นเรียน การจัดกิจกรรม ภายนอกมหาวิทยาลัย และควรมีระบบการยกย่องประกาศเกียรติคุณให้แก่นักศึกษาที่กระทําคุณ ความดีเพื่อสังคม
14
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
1.3 ระดับบุคคล 1.3.1 นักศึกษาต้องตรวจสอบ กํากับตนเองด้านคุณธรรม ให้มีสมุดบันทึกคุณธรรม ตลอดหลักสูตรที่มีผลต่อการสําเร็จการศึกษา 1.3.2 อาจารย์จะต้องเป็นแบบอย่างทางคุณธรรมให้กับนักศึกษา 2. ข้อเสนอแนะสําหรับการวิจัยต่อไป ควรทําการวิจัยเกี่ยวกับคุณธรรมและการพัฒนาสร้างเสริมคุณธรรมให้กับนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ต่อไป ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เอกสารอ้างอิง กีรติ บุญเจือ. (2551). คู่มือจริยศาสตร์ตามหลักวิชาการสากล. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนา พลังแผ่นดิน. จุมพล พูลภัทรชีวิน และคณะ. (2549). รายงานการวิจัยเรื่อง การวิจัยและพัฒนากระบวนการสร้าง ความดี มีคุณธรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม. สํานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). ณั ฐ พร ปุ๋ ย รั ก ษา. (2553). สภาพและปั ญ หาการจั ด การเรี ย นการสอนอิ ส ลามศึ ก ษาในโรงเรี ย น มัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสอนสังคม ศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิศนา แขมมณี. (2546). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์ จํากัด. นงลักษณ์ วิรัชชัย, ศจีมาศ ณ วิเชียร และ พิศสมัย อรทัย. (2551). รายงานการวิจัยเรื่องการวิจัยและ พัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดิน (ศูนย์คุณธรรม). ปรีชา เมธาวัสรภาคย์. (2544). งานวิจัยชื่อ สถาบันศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกกับภารกิจ ทางการศึ ก ษาในประเทศไทย. หน่ ว ยงานศู น ย์ วิ จั ย ทางสั ง คมศาสตร์ สถาบั น วิ จั ย มหาวิ ท ยาลั ย อั ส สั ม ชั ญ . แหล่ ง ทุ น สํ า นั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ สํ า นั ก นายกรัฐมนตรี. แหล่งข้อมูล http://www.riau.au.edu/index.php?option. พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ______. (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมส โปร ดักส์ จํากัด. พระเมธีธรรมาภรณ์. (2537). อยู่อย่างไรให้เป็นสุข. กรุงเทพมหานคร: สยาม. พุทธทาสภิกขุ. (2501). คู่มือมนุษย์. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา. ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: นามมีบุ๊คส์. Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. ……………………………………………
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 15
วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการและการมีเพื่อนร่วมงานที่เป็น กัลยาณมิตร มีสัมพันธ์กับการเป็นพนักงานดาวเด่นที่มี พฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศ บริษัท โรงพยาบาลบํารุง ราษฎร์ จํากัด (มหาชน) “Yoniso-manasikāra” and Kalyāņamitte being Related to the “Star” Employees Evincing Excellent Service Behaviors at Bumrungrad Hospital Public Co., Ltd. มุกดา ศรียงค์ 1 นําชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล 2 และ นวชมล สังข์แก้ว 3 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการและการมี เพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตร ระหว่างพนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศกับ พนักงานบริการทั่วไป 2) ศึกษาอิทธิพลของการมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการที่มีต่อการเป็นพนัก งาน ดาวเด่นที่มีพฤติกรรมบริการที่เป็นเลิศ 3) ศึกษาอิทธิพลของการมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตรที่มี ต่อการเป็นพนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรมบริการที่เป็นเลิศ 4) ศึกษาผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างการมีวิธีคิด แบบโยนิโสมนสิการและการมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตร ที่มีต่อการเป็นพนักงานดาวเด่นที่มี พฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศ และ 5) ศึกษาอํานาจในการทํานายการเป็นพนักงานดาวเด่นที่มี พฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศโดยใช้ตัวแปรการมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการและการมีเพื่อนร่วมงานที่
_____________________________________________________________________ 1 รองศาสตราจารย์ สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชา จิตวิทยา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ประธานกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 2 อาจารย์ ดร.นําชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 3 นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชา จิตวิทยา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
16
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
เป็นกัลยาณมิตรกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย ได้แก่ พนักงานที่ได้รับรางวัลดาวเด่นประจําปี 2522 จํานวน 180 คน และพนั ก งานทั่ ว ไป จํ า นวน 180 คน รวม 360 คน กํ า ลั ง ปฏิ บั ติ ง านอยู่ ณ บริ ษั ท โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ จํากัด (มหาชน) โดยใช้แบบวัดประกอบด้วย 3 ส่วน คือ แบบสอบถามปัจจัย ส่วนบุคคล แบบวัดการมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ และ แบบวัดการมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติแบบพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันพันธ์แบบเพียร์สัน และทดสอบสมมติ ฐ าน ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบพหุและการวิ เคราะห์การถดถอย โลจิสติค ผลการวิจัย พบว่า 1) พนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศ มีวิธีคิดแบบ โยนิโสมนสิการและการมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตรอยู่ในระดับสูงกว่าพนักงานทั่วไปอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05, 2) พนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศมีวิธีคิดแบบ โยนิโสมนสิการและสูงกว่าพนักงานทั่วไปอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .05, 3) พนักงานดาวเด่นที่ มีพฤติกรรมการบริ การที่เป็นเลิ ศ มีเพื่ อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิ ตรสูงกว่าพนักงานทั่วไปอย่ างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05, 4) ไม่พบผลปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างการมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ และการมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตรที่มีผลต่อการเป็นพนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรมการบริการ ที่เป็นเลิศ, และ 5) การมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการและการมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตรสามารถ ร่วมกันทํานายการเป็นพนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศได้ โดยสามารถใช้ทํานายได้ กับกลุ่มพนักงานดาวเด่นและกลุ่มพนักงานทั่วไป โดยมีอํานาจในการทํานายที่เท่ากัน คือ ร้อยละ 97.2 คําสําคัญ: โยนิโสมนสิการ, กัลยาณมิตร, พฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศ Abstract This research aims to 1) compare “star” employees who hold correct beliefs concerning the conditionality of all phenomena through applications of “yonisomanasikāra” or reasoned attention and kalyāņamitte or “spiritually-minded” colleagues and who also manifest excellent service behaviors in contrast to other employees who do not share these “spiritual,” cognitive and behavioral attributes. Furthermore, the researcher examines, 2) study the influence of yoniso-manasikāra on the excellent service behaviors of these “star” employees in addition to considering, 3) study the influence of kalyāņamitte on the aforesaid employees, 4) study the results of interaction between manifesting yoniso-manasikāra and enjoying the companionship of kalyāņamitte. Finally, the researcher determines, and 5) study the degree of predictive power of variables involving yoniso-manasikāra and enjoying the companionship of kalyāņamitte vis-à-vis being a “star” employee evincing excellent services behaviors.
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 17
Findings are as follows: 1. The “star” employees under study with excellent service behaviors gave evidence of cognizing through the projection of “correct beliefs concerning the conditionality of all phenomena through applications of yoniso-manasikāra (reasoned attention) in addition to having kalyāņamitte (virtuous or spiritually-minded colleagues) at a higher level than the other employees at the statistically significant level of .05. 2. The aforementioned “star” employees cognized after the fashion of yoniso-manasikāra (reasoned attention) at a higher level than the other employees considered at the statistically significant level of .05. 3. These “star” employees additionally enjoyed at a higher level the companionship of kalyāņamitte (virtuous or “spiritually-minded” colleagues) than the other employees considered at the statistically significant level of .05. 4. The researcher could not determine whether or not there were mutual interactions between cognizing after the fashion of yoniso-manasikāra (reasoned attention) and enjoying the companionship of kalyāņamitte (virtuous or “spirituallyminded” colleagues) affected the excellent behaviors of these “star” employees. 5. Nevertheless, the researcher determined that cognizing after the fashion of yoniso-manasikāra (reasoned attention) and enjoying the companionship of kalyāņamitte (virtuous or “spiritually-minded” colleagues) were mutually predictive of employees being “star” employees with excellent service behaviors. The variables were the aspects of cognizing in terms of “correct beliefs concerning the conditionality of all phenomena through applications of yoniso-manasikāra, and having kalyāņamitte were found to be conjointly predictive of being a “star” employee or-conversely-not being a “star” employee. The degree of predictive power was determined to be equal to 97.2 percent. Key words: Yoniso-manasikāra, Kalyāņamitte, Excellent service behaviors ความสําคัญของปัญหา ในปั จ จุ บั น ทุ ก หน่ ว ยงาน ทั้ ง ภาครั ฐ และเอกชนจํ า เป็ น จะต้ อ งก้ า วไปสู่ ค วามเป็ น สากล (Internationalization) เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคมได้เจริญ รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว การได้พบได้เห็นหรือได้รับการบริการในประเทศต่าง ๆ ทําให้เกิดการประเมิน เชิงเปรียบเทียบ (Benchmarking) การแข่งขันกันในการให้บริการจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และจากนี้ต่อไป การให้บริการของหน่วยงานต่างๆ จะต้องสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก (World class competitiveness) มิฉะนั้นก็จะถูกจัดอยู่ในระดับบริการที่ด้อยคุณภาพ ดังนั้นธุรกิจในการ
18
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
ให้บริการประเภทต่างๆ ในประเทศไทยจึงจําเป็นต้องมีการพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถแข่งขัน ในตลาดโลกได้ (สมิต สัชฌุกร, 2550ก: 11) จากการศึกษาของ วนิดา แพร่ภาษา (2551: 3) เรื่องการ พั ฒ นาคุ ณ ภาพโรงพยาบาลเพื่ อ การรั บ รองคุ ณ ภาพโรงพยาบาลระดั บ สากล พบว่ า มู ล ค่ า ธุ ร กิ จ ทางด้านโรงพยาบาลเอกชนของไทยมีแนวโน้มที่จะมีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากชาวต่างชาตินิยม เลือกใช้บริการการรักษาพยาบาลในประเทศไทยมากขึ้น ด้วยปัจจัยเกื้อหนุนด้านราคาค่าบริการที่ต่ํา กว่าประเทศอื่นๆ เมื่อเทียบกับคุณภาพการบริการ หากมองธุรกิจในเชิงพุทธ การร่วมมือจะมาแทนที่ การแข่งขัน ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดตั้งสมาคมโรงพยาบาลเอกชนในเรื่องของการส่งเสริม และสร้างความร่วมมืออันดีระหว่างกัน (สมาคมโรงพยาบาลเอกชน, 2553: 1) นํามาซึ่งการร่วมกัน ศึกษาคุณลักษณะที่โดดเด่นของต้นแบบการบริการที่เป็นเลิศและนําคุณลักษณะของต้นแบบ มา ผสมผสานกับวัฒนธรรมองค์การหรือความโดดเด่นในด้านอื่นๆ ของแต่ละโรงพยาบาลจนสามารถ กําหนดเป็นรูปแบบการให้บริการที่เป็นเลิศ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้มารับบริการทั้งชาวไทยและ ชาวต่างชาติ และยังมีความสอดคล้องกับนโยบายการเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพ (Medical hub) ของ รัฐบาลไทยที่ผลักดันให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ โดยให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามารับ บริการด้านสุขภาพในประเทศไทยให้มากขึ้น ถือเป็นการเพิ่มช่องทางการหารายได้เข้าสู่ประเทศอีก หนึ่งช่องทาง รวมถึงธุรกิจด้านสุขภาพ ยังสามารถช่วยขับเคลื่อนธุรกิจด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้เป็น อย่างดีอีกด้วย (วนิดา แพร่ภาษา, 2551: 16) การเล็งเห็นถึงความสําคัญของการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพของพนักงาน จึงเป็นที่มา ของโครงการดาวเด่น (Star of Bumrungrad) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการแรงงานสัมพันธ์ แผนกบริหาร ทรัพยากรบุคคล บริษัท โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ จํากัด (มหาชน) ซึ่งดําเนินการโครงการมาตั้งแต่ พ.ศ.2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขวัญกําลังใจและเชิดชูเกียรติพนักงานในการบริการที่เป็น เลิศจนได้รับการชื่นชมจากลูกค้าภายในหรือลูกค้าภายนอก โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ ดาวเด่นตามหลักเกณฑ์วิถีแห่งบํารุงราษฎร์ รวมถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับพนักงานคนอื่นๆ ใน โรงพยาบาลต่อไป การที่พนักงานจะสามารถแสดงออกถึงพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศได้นั้นจะต้องประกอบ ไปด้วย วิธีการคิดของตัวพนักงาน รวมถึงการสนับสนุนของคนรอบข้าง สอดคล้องกับวิธีคิดตามหลัก พุทธธรรมโดย พระเทพเวที (ประยุทธ์-ปยุตฺโต) (2537: 15-18) ซึ่งสรุปว่า ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ เป็น แกน เป็นต้นทางและเป็นตัวยืนของกระบวนการแห่งการศึกษาและเข้าใจในสิ่งต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย 1) ปรโตโฆสะ แปลว่า เสียงจากที่อื่นหรือการกระตุ้นชักจูงจากภายนอก ได้แก่ คําสั่งสอน แนะนํา การ ถ่ายทอด เป็นต้น แหล่งสําคัญของการเรียนรู้ประเภทนี้ เช่น พ่อแม่ ครู อาจารย์ เพื่อน คนแวดล้อม ใกล้ชิด ผู้ร่วมงานหรืออาจเรียกว่า ปัจจัยทางสังคม บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถทําหน้าที่ เป็นปรโตโฆสะที่ดีมีคุณภาพ มีคําเรียกเฉพาะว่า กัลยาณมิตร และ 2) โยนิโสมนสิการ แปลว่า การทํา ในใจโดยแยบคายหรือคิดถูกวิธี หรือความรู้จักคิด หรือคิดเป็น หมายถึง การคิดอย่างมีระเบียบหรือ คิดตามแนวของปั ญญา โดยสัมมาทิฏฐินี้ ถือเป็นแกนนําของชีวิตที่ ดีงามทั้งหมด และการพัฒนา สัมมาทิฏฐิ คือ สาระสําคัญของการพัฒนาปัญญา ซึ่งถือว่า เป็นการพัฒนาและการศึกษาอย่างยั่งยืน โดยยึดเรื่องของ ระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) (2545: 29) โดยระบบแกนกลางที่สําคัญ คือ ระบบการพัฒนาคน ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบ
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 19
การดํ า เนิ น ชี วิ ต ทั้ ง สามด้ า น คื อ พฤติ ก รรม จิ ต ใจและปั ญ ญา ส่ ว นในแง่ ข องการทํ า งานนั้ น พระพุทธศาสนาถือเป็นการทําเพื่อสนองความต้องการคุณภาพชีวิต จะทําให้เกิดความพึงพอใจได้ ตลอดเวลาและทําให้คนทํางานด้วยความสุข พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) (2539: 195-196) ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงศึกษาปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ (การมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการและ การมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตร) ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นพนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรมการ บริการที่เป็นเลิศของ บริษัท โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ จํากัด (มหาชน) เพื่อผลการวิจัยครั้งนี้ จะเป็น ข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมและพัฒนาวิธีคิดของพนักงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการ สนับสนุนให้เพื่อนร่วมงานมีความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน เพื่อให้องค์การเต็มไปด้วยพนักงานดาวเด่นที่ มีพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและหลักการปฏิบัติขององค์การ ส่งผลต่อการพัฒนาโดยการมีส่วนร่วมจากการร่วมมือของพนักงาน ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุด เพื่อให้องค์การมีความเจริญ ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนสืบไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อเปรียบเทียบการมีปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ (การมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการและการมี เพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตร) ระหว่างพนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศกับ พนักงานทั่วไป 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการที่มีต่อการเป็นพนักงานดาวเด่นที่มี พฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตรที่มีต่อการเป็นพนักงานดาว เด่นที่มีพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศ 4) เพื่อศึกษาผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างการมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการและการมีเพื่อนร่วมงานที่ เป็นกัลยาณมิตร ที่มีต่อการเป็นพนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศ 5) เพื่อศึกษาอํานาจในการทํานายการเป็นพนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรมการบริการที่เป็น เลิศโดยใช้ตัวแปรการมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการและการมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตร วรรณกรรมทีเ่ กี่ยวข้อง ความหมายของพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศ ผู้ วิ จั ย นิ ย ามความหมายของพนั ก งานดาวเด่ น ที่ มี พ ฤติ ก รรมการบริ ก ารที่ เ ป็ น เลิ ศ ว่ า คื อ พนักงานที่มีพฤติกรรม ซึ่งแสดงออกมาโดยเป็นผลจากการสะท้อนทางความคิด ความรู้สึกในฐานะ ของการเป็นผู้ให้บริการที่สามารถรับรู้ในกระบวนการการให้บริการของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการให้สามารถตอบ สนองความต้องการแก่ผู้รับบริการแต่ละบุคคล หรือแต่ละสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับประสบการณ์การบริการที่ดี ที่ทําให้ เกิดความรู้สึกปิติยินดีในระดับที่อยู่เหนือความคาดหวัง ทั้งนี้พนักงานต้องคํานึงถึงความถูกต้องและ เหมาะสมตามบรรทัดฐานขององค์การภายใต้จิตสํานึกที่ดีที่มีต่อส่วนรวมด้วย
20
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
โยนิโสมนสิการและกัลยาณมิตร พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) (2551: 69) ได้สรุปเกี่ยวกับปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ (Sammaditthi-paccaya: sources or conditions for the arising of right view) หมายถึง ทาง เกิดแห่งแนวคิดที่ถูกต้องหรือต้นทางของปัญญาและความดีงามทั้งปวง ประกอบด้วย ปัจจัยภายนอก คือ ปรโตโฆสะ (Paratoghosa: another’s utterance; inducement by others; hearing or learning from others) แปลว่า เสียงจากผู้อื่นหรือเสียงบอกจากผู้อื่น ได้แก่ การถ่ายทอดหรือ อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กัลยาณมิตร (Kalyanamitta: influence from a good social environment and good social relationships) (Bhikkhu P.A. Payutto, 2008: 42) และปัจจัยภายใน คือ โยนิโสมนสิการ (Yonisomanasikara: reasoned attention; systematic attention; genetical reflection; analytical reflection) แปลว่า การทําใจโดยแยบ คาย หมายถึง การคิดอย่างมีระเบียบหรือแนวคิดตามแนวทางของปัญญา คือ การรู้จักมอง รู้จัก พิจารณาสิ่งทั้งหลายตามสภาวะ เช่น ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน โดยวิธีคิดหาเหตุปัจจัย สืบค้นถึง ต้นเค้า สืบสาวให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ ออกให้เห็นตามสภาวะ และตามความสัมพันธ์สืบทอด แห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเองเข้าไปจับ ทําให้เกิดความดีงามและ แก้ปัญหาได้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายในหรือปัจจัยในตัวบุคคล และอาจเรียกตามองค์ธรรมที่ใช้งาน ว่า วิธีการแห่งปัญญา (พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), 2549: 17) การมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) (2552: 667-727) สรุปว่า โยนิโสมนสิการเป็นการใช้ ความคิดอย่างถูกวิธี เมื่อเทียบในกระบวนการพัฒนาปัญญา โยนิโสมนสิการอยู่ในระดับที่เหนือศรัทธา เพราะเป็นขั้นที่เริ่มใช้ความคิดของตนเองเป็นอิสระ เป็นการฝึกใช้ความคิดให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิด อย่างมีระเบียบ รู้จักคิดวิเคราะห์ ไม่มองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างตื้นๆ ผิวเผิน เป็นขั้นสําคัญในการสร้าง ปัญญาที่บริสุทธ์ เป็นอิสระทําให้ทุกคนช่วยตนเองได้และนําไปสู่จุดหมายของพุทธธรรมอย่างแท้จริง โยนิโสมนิการ ประกอบด้วย คําว่า “โยนิโส” กับ “มนสิการ” โดย “โยนิ” แปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่ง เกิด ปัญญา อุบาย วิถีทาง ส่วน “มนสิการ” แปลว่า การกระทําในใจ การคิด คํานึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา เมื่อรวมเข้าเป็นโยนิโสมนสิการ แปลว่า การทําในใจโดยแยบคาย การทําหน้าที่ของโยนิโสมนสิการสามารถสรุปได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 1) โยนิโส มนสิการแบบสร้างเสริมคุณภาพจิต มุ่งปลุกเร้ากุศลธรรมอื่นๆ เน้นที่การสกัดหรือข่มตัณหา เป็นฝ่าย สมถะ เป็นเครื่องตระเตรียมหนุนเสริมและสร้างนิสัย เน้นที่การสกัดหรือข่มตัณหา เป็นเครื่องนําไปสู่ โลกียสัมมาทิฏฐิหรือโยนิโสมนสิการระดับจริยธรรม 2) โยนิโสมนสิการแบบปลุกปัญญา มุ่งให้เกิด ความรู้แจ้งตามสภาวะ เน้นที่การขจัดอวิชชา เป็นฝ่ายวิปัสสนา เป็นเครื่องนําไปสู่โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ หรืออาจเรียกว่า โยนิโสมนสิการระดับสัจธรรม จุดสําคัญที่โยนิโสมนสิการเข้ามามีบทบาท ก็คือ การตัดตอนไม่ให้เวทนามีอิทธิพลเป็นปัจจัย ก่อให้เกิดปัญหา คือ ให้มีแต่การเสวยเวทนาแต่ไม่ให้เกิดตัณหา เมื่อไม่เกิดตัณหา ก็ไม่มีความคิดปรุง แต่งตามอํานาจของตัณหานั้น เมื่อตัดตอนกระบวนการคิดสนองตัณหาแล้ว โยนิโสมนสิการก็จะนํา
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 21
ความคิดไปสู่แนวทางของการก่อให้เกิดปัญญาในการแก้ปัญหา เพื่อเป็นหนทางสู่การดับทุกข์ต่อไป พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตฺโต (2543: 19-21) แสดงโดยสรุปดังภาพ 1
ภาพที่ 1 บทบาทของโยนิโสมนสิการ ที่มา: ความคิด แหล่งสําคัญของการศึกษา (พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตฺโต (2543: 19)) การมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ประกอบไปด้วยวิธีคิด 10 แบบ ได้แก่ 1) แบบสืบสาวหา ปัจจัย 2) แบบแยกแยะส่วนประกอบ 3) แบบสามัญลักษณ์ 4) แบบอริยสัจจ์ 5) แบบอรรถธรรม สัมพันธ์ 6) แบบคุณโทษและทางออก 7) แบบคุณค่าแท้คุณค่าเทียม 8) แบบปลุกเร้าคุณธรรม 9) แบบเป็นอยู่กับปัจจุบัน และ 10) แบบวิภัชชวาท การมีเพื่อนร่วมงานทีเ่ ป็นกัลยาณมิตร พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (2551: 57) สรุปว่า การมีกัลยาณมิตร คือ มีผู้แนะนํา สั่ง สอน ที่ปรึกษา เพื่อนที่คบหาและบุคคลผู้แวดล้อมที่ดี รู้จักเลือกเสวนาบุคคลหรือเข้าร่วมหมู่กับท่านผู้ ทรงคุณทรงปัญญา มีความสามารถที่จะช่วยแวดล้อม สนับสนุน ชักจูง ชี้ช่องทาง เป็นแบบอย่าง ตลอดจนเป็นเครื่องอุดหนุนเกื้อกูลกัน ให้ดําเนินก้าวหน้าไปด้วยดี ในการศึกษาอบรม การครองชีวิต การประกอบกิจการและธรรมปฏิบัติ หรือหมายถึง สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดี กั ล ยาณมิ ต รในแง่ ข องการทํ า หน้ า ที่ ต่ อ ผู้ อื่ น มี คุ ณ สมบั ติ จํ า เพาะสํ า หรั บ การทํ า หน้ า ที่ โดยเฉพาะคุณสมบัติพื้นฐาน ที่เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม 7 ประการ มีดังนี้ 1) ปิโย หรือน่ารัก 2) ครุ หรือน่าเคารพ 3) ภาวนีโย หรือน่าเจริญใจ 4) วัตตา หรือรู้จักพูดให้ได้ผล 5) วจนักขโม หรือทนต่อ ถ้อยคํา 6) คัมภีรัญจะ กะถัง กัตตา หรือแถลงเรื่องล้ําลึกได้ และ 7) โน จัฎฐาเน นิโยชะเย หรือไม่ชัก นําในอฐาน กรอบแนวคิดในการวิจัย
22
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ในการวิจัย คือพนักงานประจําชาวไทย ระดับปฏิบัติการ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริษัท โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ จํากัด (มหาชน) จํานวน 3,284 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2554) สําหรับกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีจํานวนทั้งสิ้น 360 คน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่ม ตัวอย่างแบบแบ่งชั้นหรือตามลําดับชั้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มพนักงานดาวเด่น ประจําปี พ.ศ. 2552 จํานวน 180 คน และ 2) กลุ่มพนักงานทั่วไป จํานวน 180 คน โดยใช้ปัจจัยส่วนบุคคล (ได้แก่ เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, สถานภาพการสมรส และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน) ที่มีความ ใกล้เคียงกับพนักงานดาวเด่นมากที่สุด มีหน้าที่และปฏิบัติงานอยู่ในแผนกเดียวกันกับพนักงานดาว เด่น แต่ไม่เคยได้รับรางวัลเข็มดาวเด่นหรือบัตรคําชมใดๆ จากลูกค้าภายในหรือลูกค้าภายนอก เครื่องมือทีใ่ ช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เป็นผู้ได้รับรางวัลรางวัลเข็มดาวเด่นประจําปี 2552 เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ การสมรส และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน จํานวน 6 ข้อ 2) แบบสอบถามการมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ จํานวน 50 ข้อ แบ่งเป็นคําถามเชิงบวกจํานวน 40 ข้อ และคําถามเชิงลบจํานวน 10 ข้อ และ 3) แบบสอบถามการมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตร จํานวน 35 ข้อ แบ่งเป็นคําถามเชิงบวกจํานวน 28 ข้อ และคําถามเชิงลบ จํานวน 7 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย 1) สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การหาความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และ 2) สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ประกอบด้วย สถิติ วิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร (MANOVA) และสถิติวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค (Logistic regression) สรุปผลการวิจยั 1. ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า 1.1 กลุ่มพนักงานดาวเด่น จํานวน 180 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.8 อายุ 25-35 ปี ร้อยละ 59.4 ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 67.2 สถานภาพสมรส ร้อย ละ 49.4 และมีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 7 ปีขึ้นไป ร้อยละ 48.3 1.2 กลุ่มพนักงานทั่วไป จํานวน 180 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.3 อายุ 2535 ปี ร้อยละ 60.6 ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 72.8 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.9 และมีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 4-7 ปี ร้อยละ 33.0 2. การมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการกับการมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตรมีความสัมพันธ์ กันในระดับค่อนข้างสูง (.72) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเป็นความสัมพันธ์ทางบวกคือ มีทิศทางไปทางเดียวกัน 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน แสดงดังตารางที่ 1
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 23
ตารางที่ 1 ผลการทดสอบสมมติฐาน ข้อ 1 2 3 4 5
สมมติฐาน พนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศ มีปัจจัยแห่ง สัมมาทิฏฐิ (การมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการและการมีเพื่อนร่วมงานที่ เป็นกัลยาณมิตร) สูงกว่าพนักงานทั่วไป พนั ก งานดาวเด่ น ที่ มี พ ฤติ ก รรมการบริ ก ารที่ เ ป็ น เลิ ศ มี วิ ธี คิ ด แบบ โยนิโสมนสิการสูงกว่าพนักงานทั่วไป พนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศ มีเพื่อนร่วมงานที่ เป็นกัลยาณมิตรสูงกว่าพนักงานทั่วไป การมี วิ ธี คิ ด แบบโยนิ โ สมนสิ ก ารและการมี เ พื่ อ นร่ ว มงานที่ เ ป็ น กัลยาณมิตร มีผลปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อการเป็นพนักงานดาวเด่นที่มี พฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศ การมี วิ ธี คิ ด แบบโยนิ โ สมนสิ ก ารและการมี เ พื่ อ นร่ ว มงานที่ เ ป็ น กัลยาณมิตร สามารถทํานายการเป็นพนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรม การบริการที่เป็นเลิศของพนักงานได้
ผลการทดสอบ สนับสนุน สมมติฐาน สนับสนุน สมมติฐาน สนับสนุน สมมติฐาน ไม่สนับสนุน สมมติฐาน สนับสนุน สมมติฐาน
ตั ว แปรรายด้ า นของการมี วิ ธี คิ ด แบบโยนิ โ สมนสิ ก าร ที่ มี อํ า นาจในการทํ า นายการเป็ น พนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศสูงสุด คือ วิธีคิดแบบคุณค่าแท้คุณค่าเทียม (ค่า อัตราส่วน odd = 588.69) รองลงมา คือ วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ (ค่าอัตราส่วน odd = 41.68) และ ตัวแปรรายด้านของการมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตรที่มีอํานาจในการทํานายการเป็นพนักงาน ดาวเด่นที่มีพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศสูงสุด คือ คุณลักษณะอดทนต่อถ้อยคํา (ค่าอัตราส่วน odd = 17.61) รองลงมา คือ คุณลักษณะไม่ชักนําในอฐาน (ค่าอัตราส่วน odd = 5.18) โดยตัวแปรราย ด้านทั้งหมด สามารถร่วมกันทํานายการเป็นพนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศได้ ทั้ง กับพนักงานดาวเด่นและพนักงานทั่วไป โดยมีอํานาจในการทํานายที่เท่ากัน คือ ร้อยละ 97.2 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปร การมีวิธีคิดแบบ โยนิโสมนสิการและการมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตร ซึ่งไม่ได้มีการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน ดังนั้นในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไปในอนาคต ควรขยายเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ในลักษณะของการจัด ฝึกอบรม หรือสร้างโปรแกรมพัฒนาการมีวิธีคิดแบบโยนิโสนสิการและการมีเพื่อนร่วมงานที่เป็น กัลยาณมิตร เพื่อดูว่าผลที่ได้จะสามารถอธิบายหรือทํานายการเป็นพนักงานดาวเด่นได้หรือไม่ 2. ผลที่ได้จากการวิจัยนี้ พบเพียงว่า การมีวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการและการมีเพื่อนร่วมงาน ที่เป็นกัลยาณมิตรสามารถทํานายการเป็นพนักงานดาวเด่นที่มีพฤติกรรมการบริการที่เป็นเลิศได้ โดย เป็นการระบุถึงเหตุผลในเชิงปริมาณ ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลในเบื้องต้นเท่านั้น แต่ยังไม่ได้ระบุเหตุผลใน
24
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
เชิงลึก ดังนั้นในการศึ กษาวิ จัยในอนาคต จึงควรมีการทําการวิ จัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาเหตุผ ล เพิ่มเติม 3. ควรขยายผลการศึกษานี้ไปยังหน่วยงานทางภาครัฐ เช่น โรงพยาบาลของรัฐ หรือศึกษาใน กลุ่มบุคคลที่ประกอบอาชีพการบริการในธุรกิจอื่น ที่มีลักษณะของการดําเนินธุรกิจที่แตกต่างจากกลุ่ม ตัวอย่างที่ผู้วิจัยทําการศึกษาในครั้งนี้ บรรณานุกรม วนิดา แพร่ภาษา. (2551). การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลเพื่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลระดับ สากล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สหธรรมมิก. ______. (2543). ความคิด แหล่งสําคัญของการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สหธรรม มิก. ______. (2545). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เม็ดทราย. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ______. (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. พระเทพเวที. (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2537). วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ปัญญา. สมาคมโรงพยาบาลเอกชน. (2553). ประวัติความเป็นมา. ค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2553, จาก http://www.thaiph.org/body/purpose.html สมิต สัชฌุกร. (2550ก). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ. (พิมพ์ครั้งที่ 5, ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา. Bhikkhu P.A. Payutto. (2008). Vision of the Dhamma. (2nd ed.) n.p. …………………………………………
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 25
ปัจจัยทางจิตวิทยาของความสําเร็จในการประกอบธุรกิจ โรงแรมอิสระของ SMEs ไทยในกรุงเทพมหานครช่วง สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ปี พ.ศ.2551-2554 อุบลวรรณา ภวกานันท์ * การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักในการสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นอันดับ 1 ใน 3 ของ รายได้สูงสุดนอกเหนือจากอุตสาหกรรมการส่งออก (ไทยรัฐ, ออนไลน์: 2554) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยตลอด ซึ่งธุรกิจการท่องเที่ยวยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลิตและนําทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ก่อให้เกิดการจ้างงานและการกระจายรายได้ รวมทั้ง ส่งเสริมให้เกิดธุรกิจต่อเนื่องอีกหลายประเภท (สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), 2552: ย่อหน้าที่ 1) โดยเฉพาะธุรกิจ การโรงแรมหรือที่พักที่สามารถสร้างรายได้เข้ามาเป็นอันดับ 1 ใน 5 ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, 2549: 2-3) อย่างไรก็ดีในช่วงระยะ 3-4 ปีนี้เศรษฐกิจของประเทศไทยมี ปัญหาจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น วิกฤตการเงินทั่วโลก วิกฤติทางการเมืองไทยที่รุนแรงจากปลายปี พ.ศ.2551 จนถึงขีดสุดกลางกรุงเทพฯ ใน เม.ย.-พ.ค.2553 (บ้านเมือง, ออนไลน์: 2553) การแพร่ ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นต้น ซึ่งทําให้สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยผันผวนและ ตกต่ําลง โดยเฉพาะในกิจการท่องเที่ยวที่พบว่า ในปี พ.ศ.2552 มีตัวเลขนักท่องเที่ยวเพียง 14.24 ล้านคน ลดลงจากปี พ.ศ.2551 ราว 1.5% มีรายได้ราว 5.32 ล้านบาท ลดลง 2.86% (กรุงเทพธุรกิจ, ออนไลน์: 31/01/2552) ซึ่งในช่วงวันที่ 1-30 เมษายน 2553 จํานวนนักท่องเที่ยวที่ผ่านเข้าประเทศ ไทยมีเพียง 6.8 แสนคน เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2551 ที่มีราว 8.6 แสนคนเท่ากับลดลงถึง 21% คิดเป็น การเสียโอกาสของรายได้จากการท่องเที่ยวราว 5 พันล้านบาท การที่ต้องเปรียบกับปี พ.ศ.2551 เพราะเป็นปีที่ถือว่าเหตุการณ์ค่อนข้างปกติ ปัญหาจากภายในและนอกประเทศไม่รุนแรง ยังไม่มี ผลกระทบจากปัญหาการปิดสนามบินหรือจลาจลทางการเมืองหรือโรคระบาดเหมือนในปี พ.ศ.2552 และ 2553 (ฐานเศรษฐกิจ, 2553: ย่อหน้าที่ 4) จึงเห็นได้ว่า ธุรกิจท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะธุ ร กิ จ โรงแรมที่ จํ า นวนนั ก ท่ อ งเที่ ย วเป็ น ปั จ จั ย สํ า คั ญ ต่ อ การดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ แต่ ต้ อ งรั บ ผลกระทบโดยตรงจากปริมาณนักท่องเที่ยวที่ลดลงเกือบ 90% โดยเฉพาะโรงแรมประเภทไม่มี เครือข่ายที่เรียกว่า โรงแรมแบบอิสระ จะได้รับผลกระทบมากที่สุด (เดลินิวส์ออนไลน์, 2553: ย่อ ____________________________ * อาจารย์ ดร., ผู้อํานวยการโครงการปริญญาโทจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บทความนี้เป็นผลวิจัยส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง ปัจจัยทางจิตวิทยาของความสําเร็จในการ ประกอบการของผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมธุรกิจการท่องเที่ยวและที่พัก: ซึ่งได้รับทุน สนั บ สนุ น จากสภาวิ จั ย แห่ ง ชาติ ด้ ว ยสถาบั น ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ใน ปีงบประมาณ 2551-2553)
26
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
หน้าที่ 1-2) ซึ่งโรงแรมแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจแบบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and medium enterprise=SME) โดยสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (2552: ย่อหน้าที่ 2, 5) ให้ข้อมูลว่า ในปัจจุบันปริมาณ SMEs มีจํานวนถึง 2,884,041 ราย คิดเป็น 99.8% ของวิสาหกิจทั้งหมดในประเทศไทย SMEs จึงมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของ ประเทศและยังสามารถพัฒนากลายเป็นกิจการขนาดใหญ่หรือเป็นจุดเชื่อมโยงกับภาคการผลิตอื่นๆ ที่ ช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ด้วย รวมทั้งเป็นตัวแทนของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้าง งาน (Birch, 1987: 12-4) ดังนั้น การศึกษาในประชากร SMEs โดย เฉพาะในกลุ่มธุรกิจโรงแรมแบบ อิสระเพื่อหาข้อมูลและวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยในการพัฒนา ปรับปรุงศักยภาพของการประกอบการให้ ประสบความสําเร็จ มีประสิทธิภาพและยั่งยืนจึงเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งต่อประเทศไทย โดยเฉพาะใน แหล่งท่องเที่ยวแบบ กรุงเทพมหานคร ที่ถือว่า ประสบความสําเร็จสูงสุดของประเทศทั้งในจํานวน นักท่องเที่ยว (มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ > 200,000 คน/ปี และนักท่องเที่ยวไทย > 1 ล้านคน/ปี) และ รายได้ (จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ > 1พันล้านบาท/ปี และนักท่องเที่ยวไทย > 5 พันล้านบาท/ปี) จาก สถิติในปี พ.ศ. 2551พบว่า ระยะเวลาพํานักของนักท่องเที่ยวเฉลี่ยประมาณ 3.54 วัน/ครั้ง ทําให้เกิด รายได้หมุนเวียนในกรุงเทพฯ จํานวน 316,622.68 ล้านบาท ซึ่งการพักค้างมีการใช้จ่ายต่อคนต่อวัน 3,324.95 บาท ส่วนนักทัศนาจรมีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวัน 1,852.92 บาท ทําให้เกิดรายได้ จํานวน 6,789.01 ล้านบาท รวมเป็นรายได้จากการท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ 333,411.69 ล้านบาท/วัน โดย ห้องพักในกรุงเทพฯ มีจํานวน 60,593 ห้องและมีอัตราการพักเฉลี่ย 67.96% เพิ่มขึ้นจากเดิมในปี พ.ศ.2550 คิดเป็น 0.33% (ททท., ออนไลน์: 2008, 2009, 2010, 2011) แต่ในระยะช่วง 3-4 ปีมานี้ ธุรกิจต่างๆ ในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวและการโรงแรมได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นมากที่สุด เพราะการเป็นศูนย์กลางคมนาคม การเงิน แหล่งธุรกิจต่างๆ และเป็น ประตูหลักของประเทศ จึงทําให้เป็นเขตพื้นที่แรกที่รับภัยจากการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ หรือเป็น เขตชุมนุมประท้วงและศูนย์กลางของการจลาจลทางการเมืองทั้งหมดตลอดทุกครั้งโดยเฉพาะในช่วง 3-4 ปีนี้ ซึ่งพบว่า ในการจลาจลรุนแรงช่วงปี พ.ศ. 2552-3 โรงแรมที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงที่ชุมนุมที่ เปิดให้บริการนั้น มีอัตราเข้าพักไม่ถึง 10% ส่วนโรงแรมในพื้นที่ห่างที่ชุมนุมมีอัตราเข้าพักราว 20% และโรงแรมแถวริมแม่น้ําเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี มีอัตราเข้าพักสูงสุดอยู่เพียงที่ 30-40% (พัทยาเดลินิวส์, 14 พ.ค.2553) อย่ า งไรก็ ต าม ในการที่ จ ะดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ ให้ ป ระสบความสํ า เร็ จ หรื อ ล้ ม เหลวนั้ น “ผู้ประกอบการ” ก็คือ หัวใจสําคัญ ซึ่งจากการวิจัย Gelderen and Frese (1998) พบว่า ความ ล้มเหลวของธุรกิจส่วนใหญ่ เกิดมาจากผู้ประกอบการบริหารงานผิดพลาด ขาดประสบการณ์และ ความสามารถในการบริหารงานถึ ง 90% ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของ ผู้ประกอบการ เช่น ผลกระทบจากสภาพแวดล้อม ผู้ประกอบการที่มีทักษะก็สามารถช่วยลดความ รุ น แรงลงได้ จึ ง เห็ น ได้ ว่ า ผู้ ป ระกอบการถื อ เป็ น ปั จ จั ย สํ า คั ญ และจํ า เป็ น ต่ อ ความสํ า เร็ จ ในการ ประกอบการ จากการค้นคว้างานวิจัยต่างๆ ไม่พบข้อตกลงที่ชัดเจนของการนิยาม “ผู้ประกอบการ” หรือ “การประกอบการ” วิธีที่นิยมที่สุด คือ การใช้ พฤติกรรม ที่สร้างบนพื้นฐานของความสําเร็จ หรือความล้มเหลวของธุรกิจเป็นหลัก (Hisrich, 2002) ซึ่งมีปัจจัยที่ทําให้ผู้ประกอบการผันแปรไปจาก กัน ก็คือ ประเภทของธุรกิจ นั่นคือ ธุรกิจแต่ละประเภทมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบในการดําเนินงาน
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 27
และบริหารงานที่แตกต่างกัน บางประเภทมีกระบวนการที่ซับซ้อนต้อง การแรงงานสูง (เช่น การผลิต) แต่บางประเภทเน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การสื่อสาร (เช่น การบริการ) ดังนั้นผู้ประกอบการแต่ ละประเภท ต้องมีกระบวนการรู้คิดและการใช้ปัญญาในการกระทํา (Cognitive process for action) เพื่อการดําเนินกิจการที่เรียกว่า กลยุทธ์ในการดําเนินการ (Strategy process) ที่แตกต่างกันไป ซึ่ง สิ่งเหล่านี้เป็นคุณสมบัติเฉพาะที่จําเป็นสําหรับธุรกิจนั้นๆ ทําให้ผู้ที่ก้าวเข้าสู่ธุรกิจนั้นๆ จะถูกปรับ บุคลิกลักษณะ ความคิด ความประพฤติ นิสัยเฉพาะตนให้เปลี่ยนไปตามสภาพของธุรกิจนั้นๆ ซึ่งเรียก คุณลักษณะบุคลิกที่ผั นแปรไปตามสภาพอาชีพของการเป็นผู้ ประกอบการนี้ว่า บุค ลิกการเป็นผู้ ประกอบการ (Entrepreneurial orientation) (Frese, 2000: 12-16) จากการค้นคว้างานวิจัย ต่างๆ พบว่า ไม่มีการวิจัยตัวแปรทั้งสองกับความสําเร็จในการประกอบการโดยเฉพาะในประเทศไทย ยกเว้น โครงการวิจัยเรื่อง ปัจจัยทางจิตวิทยาของความสําเร็จในการประกอบการโดย Frese, et. al. (2000) ที่ทําการศึกษาในประเทศเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ จีนและประเทศที่กําลังพัฒนาใน ทวี ป อั ฟ ริ ก า เช่ น นามี เ บี ย อั ฟ ริ ก าใต้ เป็ น ต้ น โครงการนี้ ไ ด้ เ สนอแบบจํ า ลองโครงสร้ า งของ ความสําเร็จในการประกอบการกีเซน-อัมสเตอร์ดัม (Geissen-Amsterdam Model of Entrepreneurial Success) ดังภาพข้างล่าง
ที่มา: Geissen-Amsterdam Model of Entrepreneurial Success (Gelderen & Frese, 1998: 234-247 แบบจําลองนี้เสนอว่า ความสําเร็จจะเกิดได้ต้องมีการกระทํา (Action) ซึ่งจะวัดได้จาก เป้าหมาย (Goal) และวัดโดยตรงจากกลยุทธ์ (Strategy) ดังนั้นกลยุทธ์จะเป็นคอคอดที่จะทําให้เกิด หรือไม่เกิดความสําเร็จในการประกอบการก็ได้ ซึ่งกลยุทธ์จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระทําที่ผันแปร ไปตามเป้าหมาย โดยกลยุทธ์จะแบ่งเป็น 3 มิติที่สลับกันไปมาได้ ซึ่งทั้ง 3 มิติ นั้นคือ เนื้อหา ที่ เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทางธุรกิจ ได้แก่ ลูกค้า ผู้จัดจําหน่าย พนักงาน สินค้า การตลาด ต้นทุน ปัจจัยของผลผลิต คู่แข่งขัน ซึ่งจะศึกษาโดยนักเศรษฐศาสตร์ (Porter, 1980) ตัวอย่างคือ การทําให้ ธนาคารเชื่อถือเพื่อให้กู้เงินหรือนักจิตวิทยาผู้บริโภคหรือจิตวิทยาธุรกิจ ส่วนมิติที่สองคือ กระบวนการ ที่เกี่ยวกับการกําหนดวิธีการดําเนินธุรกิจ การวางรูปแบบและการปลูกฝัง การบริหารงาน ทฤษฎีการรู้ คิดและปัญญาและการกระทํา (Cognitive and action theory; Gelderen & Frese, 1998: 234-
28
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
248) และกลยุทธ์ในการตัดสินใจ (Olson & Bokor, 1995: 34-44) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะแตกต่าง กันไปตามเป้าหมาย ระยะของแผน พื้นฐานความรู้ ความกระตือรือร้นและการตอบสนองต่อ สถานการณ์ ซึ่งแบ่งกลยุทธ์ในการดําเนินงานเป็น 4 แบบ คือ การวางแผนล่วงหน้าอย่างสมบูรณ์ การ วางแผนเฉพาะสิ่ ง สํ า คั ญ การแสวงหาโอกาสและการตั้ ง รั บ และมิ ติ ที่ ส าม คื อ บุ ค ลิ ก การเป็ น ผู้ประกอบการ เป็นการพิจารณาถึงกระบวนการที่อยู่เบื้องหลังว่า ทําไมผู้ประกอบการ จึงมีรูปแบบ การกระทําที่แน่นอน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับค่านิยม ความเชื่อและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งเป็น 6 ด้าน คือ ความเป็นตัวของตัวเอง ความมีนวัตกรรม ความกล้าเสี่ยง ความก้าวร้าว/ แกร่งในการแข่งขัน ความสม่ําเสมอและความใฝ่ใจเรียนรู้ และความใฝ่ใจในความสําเร็จ นอกจากนั้น แบบจําลองโครงสร้างความสําเร็จกีเซน-อัมสเตอร์ดัม ยังเสนอว่า แม้ว่าบุคลิก การเป็นผู้ประกอบการจะเกี่ยวข้องกับความสําเร็จทางธุรกิจ แต่ก็ไม่ใช่คุณลักษณะที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่เป็นผลมาจากการหล่อหลอมของประสบการณ์ การศึกษา ทักษะและการฝึกฝน ซึ่งเรียกว่า “ทุน มนุษย์” หรือ “ภูมิความรู้ความชํานาญ” (Human capital) (Ucbasaran, Westhead & Wright, online: 2006) ที่ผู้ประกอบการต้องลงทุนสร้างให้เกิด เพื่อนํามาใช้ในการบริหารกิจการให้ ประสบความสําเร็จ (Marshall & Oliver, 2004: 17) แต่ภูมิความรู้ความชํานาญนี้ ได้มาจากการสั่ง สมเพิ่มพูนประสบการณ์ในอดีตของผู้ประกอบการแต่ละคน ไม่มีใครสามารถลอกเลียนได้ ถือเป็น ปัจจัยช่วยเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของธุรกิจให้สูงขึ้น เป็นทรัพยากรจําเป็น (Critical resource) ที่ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดําเนินธุรกิจ (Frese & Rauch, 2001: 4554; Rauch, Frese & Utsch: 682) เกณฑ์การวัดภูมิความรู้ความชํานาญตามแบบจําลองโครงสร้างความสําเร็จกีเซน-อัมสเตอร์ดัม นั้น ประกอบด้วย จํานวนปีที่ใช้ในการศึกษา ความชํานาญในวิชาชีพและประสบการณ์ในการบริหาร ซึ่งได้รับความนิยมนําไปใช้เป็นแนวทางในการวิจัย (เช่น Koop, Reu, & Frese, 2000) เพื่อค้นหาว่า ภูมิความรู้ความชํานาญควรลงทุนอย่างไรที่จะเอื้อต่อการประสบความสําเร็จในการประกอบการ ยิ่ ง กว่ า นั้ น ในแบบจํ า ลองโครงสร้ า งความสํ า เร็ จ กี เ ซน-อั ม สเตอร์ ดั ม ยั ง มี ส มมติ ฐ านว่ า ผู้ประกอบการแต่ละคนจะเผชิญกับปัจจัยจากสภาพแวดล้อมในแต่ละธุรกิจอีกด้วย (Davis & Powell, 1992) ซึ่งมีอิทธิพลต่อความสําเร็จหรือสามารถสร้างความผันแปรในการประกอบการให้ ต่างกัน ถึงแม้จะเป็นธุรกิจประเภทเดียวกันก็ตาม ซึ่ง สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ที่ใช้เป็นเงื่อนไขใน การศึกษา (Frese, 2000) ได้แก่ ความแน่นอนของสภาพแวดล้อม (Miller & Friesen, 1983) ความ ซับซ้อนและคุณสมบัติตามธรรมชาติของสภาพแวดล้อมนั้นๆ(Mintzberg, 1983) เช่น สภาพแวดล้อม เป็ น ปรปั ก ษ์ เมื่ อ มี ค วามกดดั น จากคู่ แ ข่ ง มาก/สู ง หรื อ มี บ รรยากาศทางธุ ร กิ จ ในเชิ ง ลบ รวมทั้ ง เกี่ยวเนื่องไปถึงการขาดโอกาสในการสร้างประโยชน์หรือแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้าได้ (Covin & Slevin, 1989) ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้ รวมกันเป็นสภาพแวดล้อมที่ถูกระบุว่า “ยุ่งยาก” เมื่อมีความไม่ แน่นอนสูง เป็นปรปักษ์ มีความซับซ้อนหรือเป็นสภาพที่รับรู้ว่า “ง่าย” เมื่อมีระดับของทั้ง 3 สิ่งนี้ใน ระดับต่ํา โดยเงื่อนไขสภาพแวดล้อมเหล่านี้ จะมีอิทธิพลกับกลยุทธ์ในการดําเนินกิจการและบุคลิกการ เป็ น ผู้ ป ระกอบการอย่ า งชั ด เจน เช่ น เมื่ อ เกิ ด ภั ย พิ บั ติ ไ ด้ ง่ า ยหรื อ มี ค วามเป็ น ปรปั ก ษ์ สู ง หรื อ ใน สถานการณ์วิกฤตการเมือง หรือมีโรคระบาด ผู้ประกอบการควรมีบุคลิกการเป็นผู้ประกอบการสูง จึง จะมี แ นวโน้ ม ที่ จ ะประสบความสํ า เร็ จ ในสภาพแวดล้ อมที่ ยุ่ง ยาก เพราะเขาต้อ งมี ลั ก ษณะการมี นวั ต กรรม กล้ า แข่ ง ขั น และเสี่ ย ง ซึ่ ง ลั ก ษณะเหล่ า นี้ จ ะลดต่ํ า มากหรื อ ไม่ ค่ อ ยมี ค วามสํ า คั ญ ใน
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 29
สภาพแวดล้อมที่มีความแน่นอนหรือง่าย (Covin & Covin, 1990) ดังนั้นการศึกษาปัจจัยแวดล้อม จึง เป็ น เรื่ อ งที่ จํ า เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะช่ ว ยให้ ผู้ ที่ เ ริ่ ม ทํ า ธุ ร กิ จ รายใหม่ หรื อ ผู้ ป ระกอบการที่ ไ ม่ ส ามารถ ดําเนินการได้ดังเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือแม้แต่ผู้ประกอบการที่ประสบความสําเร็จแล้วในระดับหนึ่งได้มี โอกาสตรวจสอบลักษณะ คุณสมบัติ รูปแบบของปัจจัยแวดล้อมที่จะช่วยให้ดําเนินกิจการได้ประสบ ความสําเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งจะเป็นการป้องกันหรือลดความล้มเหลวของการดําเนินธุรกิจ รวมทั้ง การศึกษาสภาพแวดล้อมในหลายสภาพการณ์เปรียบเทียบกันจะทําให้ได้ความรู้และนําไปใช้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องชัดเจนมากขึ้น จากที่กล่าวแล้วทั้งหมด งานวิจัยนี้ จึงมุ่งศึกษาถึงลักษณะและความสัมพันธ์ของปัจจัยทาง จิตวิทยา คือ กลยุทธ์ในการดําเนินการ บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการและภูมิความรู้ความชํานาญที่มี ผลต่อความสําเร็จในการประกอบการในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ไม่เหมือนกันว่ามีความแตกต่างกัน ตามสมมติฐานของแบบจําลองโครงสร้างความสําเร็จกีเซน-อัมสเตอรดัม หรือไม่ โดยจะใช้ข้อมูลที่เก็บ ในช่ ว ง ต.ค.2550-ก.ย.2552 เป็ น ระยะที่ 1 ซึ่ ง ถื อ เป็ น สถานการณ์ “ง่ า ย” เพราะอยู่ ใ นช่ ว งที่ เหตุการณ์วิกฤตต่างๆ เพิ่งจะเริ่มหรือกําลังดําเนินการอยู่ผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจยังไม่ชัดเจน เท่ากับเหตุการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นในช่วง ต.ค.2552-เม.ย.2554 ที่ถือเป็น ระยะที่ 2 ที่เป็นสถานการณ์ แวดล้อมที่ “ยุ่งยาก” เพราะเป็นช่วงที่ผลของวิกฤตต่างๆ ปรากฏชัดเจนและสามารถแสดงให้เห็นว่า กิจการที่ยังอยู่รอดพ้นและดํารงความสําเร็จอยู่ได้นั้น ผู้ประกอบการได้ใช้กลยุทธ์ในการดําเนินงาน อย่างไรและมีการปรับเปลี่ยนบุคลิกการเป็นผู้ประกอบการและภูมิความรู้ความชํานาญไปอย่างไร โดย เฉพาะ กลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมอิสระในกรุงเทพมหานครที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดดังกล่าวแล้ว ข้างต้น การวิจัยนี้ได้ใช้แนวคิด วิธีการและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลตามโครงการวิจัยด้วย แบบจําลองโครงสร้างความสําเร็จในการประกอบการกีเซน-อัมสเตอรดัม ของไมเคิล เฟรเซอร์ และ คณะ (1997, 1999, 2000) วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาลักษณะความสัมพันธ์และสมการทํานายความสําเร็จในการประกอบการ ด้วย กลยุทธ์ในการดําเนินงาน บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ ภูมิความรู้ความชํานาญของผู้ประกอบการ SME โรงแรมอิสระไทยในกรุงเทพมหานครของช่วงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจปี พ.ศ.2551-2554 ที่ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ง่าย (ช่วง ต.ค.2550-ก.ย.2552) และระยะที่ยุ่งยาก (ช่วง ต.ค.2552เม.ย.2554) 2. เพื่ อ ทดสอบสมมติ ฐ านตามแนวคิ ด ของแบบจํ า ลองโครงสร้ า งความสํ า เร็ จ กี เ ซนอัมสเตอร์ดัมของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจกับปัจจัยทางจิตวิทยาและความสําเร็จในการประกอบการ 3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่แตกต่างกันที่มีต่อกลยุทธ์ในการ ดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ บุ ค ลิ ก การเป็ น ผู้ ป ระกอบการ ภู มิ ค วามรู้ ค วามชํ า นาญและความสํ า เร็ จ ในการ ประกอบการ นิยามคําศัพท์เฉพาะ 1. กลยุทธ์ในการดําเนินงาน (Strategic process) มี 4 แบบ ได้แก่
30
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
1.1 การวางแผนล่วงหน้าอย่างสมบูรณ์ (Complete planning) เป็นการวางแผน ล่วงหน้าระยะยาว กําหนดโครงสร้างของสถานการณ์ รวบรวมกระบวนการทํางานและความรู้เพื่อ แก้ไขข้อผิดพลาดและปรับตัวในการเตรียมปฏิบัติล่วงหน้า ข้อดีของกลยุทธ์นี้ คือ เป็นการเตรียมรับ สถานการณ์ได้ดี แต่ก็ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมาก รวมทั้ง มีการปรับเปลี่ยนแผนหรือเป้าหมายช้า 1.2 การวางแผนเฉพาะสิ่งสําคัญ (Critical point planning) เป็นการวางแผนเฉพาะสิ่ง ที่สําคัญหรือสนใจหรือเป็นปัญหามากที่สุด ข้อดีของกลยุทธ์นี้ คือ ใช้เวลาน้อยและใช้ค่าใช้จ่ายในการ วางแผนไม่สูงนัก แต่จะขาดการเตรียมรับสถานการณ์ในอนาคต 1.3 การแสวงหาโอกาส (Opportunistic strategy) เป็นกลยุทธ์ในเชิงรุก ผู้ที่ใช้จะคอย สอดส่องไปโดยรอบตลอดเวลา เพื่อหาโอกาสในการดําเนินธุรกิจ ข้อดีของกลยุทธ์นี้ คือ มักจะไม่ พลาดโอกาสในการทําธุรกิจและไม่ต้องวางแผนล่วงหน้า แต่ข้อเสีย คือ โอกาสที่เกิดขึ้นอาจไม่ตรงกับ เป้าหมายที่วางไว้และทําให้ไม่มีความพยายามในการที่จะนําธุรกิจไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ 1.4 การตั้งรับ (Reactive strategy) เป็นกลยุทธ์เชิงรับ ไม่มีการวางแผน ถูกขับจาก สถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยรอบ ผู้ประกอบ การที่ใช้กลยุทธ์นี้จะไม่มีการวางแผนในการดําเนินธุรกิจ ไม่มี เป้าหมาย แต่จะคอยตอบสนองต่อความต้องการจากภายนอก 2. บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial orientation) จําแนกได้เป็น 6 ด้าน คือ 2.1 ความเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy orientation) คือ ความสามารถและความ ตั้งใจที่จะหาหนทางสร้างโอกาสให้แก่ตน โดยสามารถทํางานได้ด้วยตัวเองและตัดสินใจได้ในภาวะ กดดัน 2.2 ความมีนวัตกรรม (Innovativeness orientation) คือ การมีแนวคิดเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ บริการหรือกรรมวิธีทางเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือการดําเนินการใหม่ๆ หรือดัดแปลงไปจากเดิม 2.3 ความกล้าเสี่ยง (Risk taking orientation) แบ่งเป็น 3 แบบ คือ กล้าเสี่ยงกับสิ่งที่ ตนไม่รู้ กล้านําทรัพย์สินจํานวนมากของตนเข้าผูกพันในการเริ่มกิจการและกล้ากู้ยืมจํานวนมาก 2.4 ความก้าวร้าว/ความแกร่งในการแข่งขัน (Competitive aggressiveness orientation) คือ ความต้องการแข่งขัน ทําให้คู่แข่งเข้าตลาดเดียวกันได้ลําบาก มีความมุ่งมั่นสูงใน ความพยายามล้ําหน้าและทําการต่างๆ ให้เหนือกว่าคู่แข่งในตลาด 2.5 ความสม่ําเสมอและใฝ่ใจในการเรียนรู้ (Stability and learning orientation) คือ การที่ผู้ประกอบการมีความมั่นคง ไม่เก็บสิ่งผิดพลาดมาเป็นอารมณ์หรือผิดหวังท้อแท้กับความ ผิดพลาด แต่จะนําประสบการณ์เหล่านั้นมาเรียนรู้ 2.6 ความใฝ่ใจในความสําเร็จ (Achievement orientation) คือ การที่ผู้ประกอบการ ค้นหาหนทางไปสู่ความสําเร็จ โดยมีความพยายามและมุ่งมั่นในการประสบความสําเร็จ 3. ภูมิความรู้ความชํานาญ (Human capital) แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 3.1 จํานวนปีที่ใช้ในการศึกษา (Education year) หมายถึง การสะสมความรู้พื้นฐาน ทางการศึกษา 3.2 ความชํานาญในวิชาชีพ (Skill) หมายถึง ความสามารถหรือประสบการณ์ในงาน อาชีพ โดยพิจารณาจากประเภทธุรกิจที่เคยทํามาหรือระยะเวลาที่เคยทํางานมาก่อน
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 31
3.3 ประสบการณ์ในการบริหาร (Experience in management) หมายถึง ความสามารถหรือประสบการณ์ในการบริหารจัดการ โดยพิจารณาจากประเภทธุรกิจที่เคยทํามาหรือ ระยะเวลาที่เคยทํางานมาก่อน 4. การรับรู้สภาพแวดล้อม หมายถึง การรับรู้ของผู้ประกอบการในสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ 3 ด้าน คือ 4.1 ความแน่นอนของสภาพแวดล้อม หมายถึง ระดับของการรับรู้ถึงสภาพแวดล้อมของ องค์ ก ารที่ อ ยู่ ว่ า สามารถที่ จ ะทํ า นายได้ ถึ ง การเปลี่ ย นแปลง หรื อ ความผั น แปรตามฤดู ก าล หรื อ ธรรมชาติ หรือสภาพสังคมการเมือง หรือความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อม 4.2 ความซั บ ซ้ อ นของสภาพแวดล้ อ ม หมายถึ ง ระดั บ ของการรั บ รู้ ถึ ง คุ ณ ภาพของ ธรรมชาติในสิ่งแวดล้อม 4.3 ความเป็นปรปักษ์ของสภาพแวดล้อม หมายถึง ระดับการรับรู้ถึงความกดดันของการ แข่งขัน บรรยากาศทางธุรกิจที่เป็นลบและการไม่เอื้อโอกาสในการทําหรือสร้างประโยชน์ทางธุรกิจได้ 5. ความสําเร็จ (Success) หมายถึง ความสามารถในการดําเนินธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายหรือ ได้ผลเป็นที่พึงพอใจ ซึ่งประเมินได้จาก 2 เกณฑ์ คือ 5.1 เกณฑ์ตามมาตรฐานอาชีพของกลุ่ม/สมาคม/ชมรมธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรม ประเทศไทยที่ตัดสินความสําเร็จของธุรกิจไว้ และ 5.2 เกณฑ์การแบ่งระดับความสําเร็จจากแนวโครงการวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.ไมเคิล เฟรเซอร์ ในหัวข้อ ดังนี้ 5.2.1 แนวโน้มของกําไร 5.2.2 แนวโน้มของจํานวนลูกค้า 5.2.3 แนวโน้มของยอดขาย 5.2.4 แนวโน้มของธุรกิจโดยรวม 5.2.5 การประเมินความสําเร็จโดยผู้อื่น 5.2.6 ความพึงพอใจในความสําเร็จเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง 5.2.7 ความพึงพอใจในฐานะเจ้าของกิจการ 5.2.8 ความพึงพอใจในรายได้ 5.2.9 จํานวนพนักงานในปัจจุบัน 5.2.10 มูลค่าของเครื่องจักรและอุปกรณ์หากมีการขายกิจการ 5.2.11 การประเมินโดยผู้สัมภาษณ์ สมมติฐานในการศึกษา 1. บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการจะสัมพันธ์เชิงบวกกับความสําเร็จในการประกอบธุรกิจใน สิ่งแวดล้อมที่ยุ่งยาก 2. ในสิ่งแวดล้อมที่ยุ่งยาก กลยุทธ์แบบการวางแผนล่วงหน้าอย่างสมบูรณ์และกลยุทธ์แบบ การวางแผนเฉพาะสิ่งสําคัญจะสัมพันธ์เชิงบวกกับบุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ
32
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
3. ในสภาพแวดล้ อมที่ยุ่งยาก กลยุทธ์แ บบการแสวงหาโอกาสมีค วามสั มพันธ์ทางลบกั บ ความสําเร็จในการประกอบธุรกิจ 4. ไม่พบอิทธิพลใดๆ ของสภาพแวดล้อมต่อความสัมพันธ์ ของกลยุทธ์แบบการตั้งรับกับ ความสําเร็จในการประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา แบบการสัมภาษณ์มีโครงสร้าง (Structured interview) เป็นรายบุคคล แบบสอบถาม ประเมินค่าด้วยตนเองของผู้ประกอบการ (ค่า reliablity = 0.884) และแบบสอบถามประเมินค่าโดย ผู้สัมภาษณ์ (ค่า reliablity = 0.884) ของ Frese และ ดร.อุบลวรรณา ภวกานันท์ เป็นผู้ฝึกหัดและ ทดสอบคัดเลือกผู้เก็บรวบรวมข้อมูล โดยงานวิจัยนี้ใช้ผู้เก็บข้อมูล 2 คนต่อ 1 ตัวอย่าง ซึ่งทั้งคู่จะต้อง มีค่าความสัมพันธ์ในการสัมภาษณ์ไม่ต่ํากว่า 0.9. จึงจะเป็นผู้เก็บข้อมูลได้ ผลพบว่า โดยเฉลี่ยค่า ความสัมพันธ์ในการสัมภาษณ์ของผู้เก็บข้อมูล(Inter-relation of interviewers) อยู่ที่ 0.98 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ประชากรศึกษาเป็นผู้ประกอบการ SMEs โรงแรมอิสระที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร เปิดกิจการ มาถึงปัจจุบันเกิน 5 ปี และเต็มใจให้ความร่วมมือ ซึ่งได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น ในระยะที่ 1 หรือระยะง่าย 132 คนและกลุ่มตัวอย่าง ในระยะที่ 2 ที่ถือว่าเป็นช่วงยุ่งยากมีทั้งหมด 136 คน ซึ่งรวมทั้งหมดมี 597 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสําเร็จรูปสําหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Statistical package for social science: SPSS) วิเคราะห์ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s coefficient of correlation) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบลําดับขั้น (Stepwise multiple regression analysis) การวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยสถิติ ANOVA และ Post-Hoc ผลการวิจัยและการอภิปรายผล 1. วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 ก. ผลในระยะที่ 1 ที่ถือว่า เป็นช่วงสภาพแวดล้อมที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก (ต.ค.2550-ก.ย.2552) 1. คุณลักษณะส่วนบุคคล ผู้ประกอบการส่วนมากเป็นชาย ทั้งนี้ เป็นไปตามสภาพวัฒนธรรม ไทยที่ชายมักจะเป็นผู้นําของครอบครัวซึ่งรวมไปถึงในการดําเนินกิจการด้วย (อุบลวรรณา ภวกานันท์, 2553: 65-82) มีอายุ ระหว่ าง 45-54 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยผู้ใ หญ่ ตอนกลางที่เป็นวั ยที่มีความรู้ ความสามารถ สั่งสมประสบการณ์ความชํานาญ มีความรับผิดชอบสูง ต้องการมุ่งสู่ความสําเร็จและ ความก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิม มีความมั่นคงทางอารมณ์และวุฒิภาวะสูง จึงเป็นช่วงวัยที่มี
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 33
โอกาสมากที่สุดที่จะประสบความสําเร็จหากดําเนินธุรกิจของตนเอง โดยผู้ประกอบการส่วนมากมี การศึก ษาในระดั บ ปริ ญ ญาตรี มี ภูมิลํ าเนาเดิ ม อยู่ใ นกรุง เทพฯ ซึ่งแสดงให้ เ ห็ น ว่ า บุค คลที่เ ป็น ผู้ ประกอบกิจการโรงแรมมักจะเป็นคนในท้องที่ที่รู้จักแหล่งท่องเที่ยวและภูมิประเทศเป็นอย่างดี รวมทั้ง เข้าใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและบุคคลในท้องถิ่นนั้นที่ช่วยให้การบริหารจัดการ กิ จ การได้ ดี ส อดคล้ อ งกั บ สภาพท้ อ งถิ่ น และสามารถพั ฒ นาแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วของตนให้ ยั่ ง ยื น โดย ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เคยฝึกอบรมวิชาชีพเพิ่มเติมหลังจากจบการศึกษามาแล้ว ทั้งนี้ในธุรกิจโรงแรม ส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบงานหลายด้าน โดยเฉพาะผู้ประกอบการในธุรกิจโรงแรม ประเภทอิสระที่ส่วนมากบริหารจัดการกิจการเอง ต้องทํางานไม่ว่าจะเป็นการบริหาร วางแผนการ ดําเนินงาน แสวงหาและติดต่อลูกค้า จัดหาวัตถุดิบ จัดสรรทรัพยากรและควบคุมการผลิต ตลอดจน เข้าร่วมกิจกรรมด้านการขายและการประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ส่งผลให้ผู้ประกอบการจําเป็นต้องหา ความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความชํานาญในการปฏิบัติงานเกือบทุกหน้าที่และให้ธุรกิจของตนประสบ ความสําเร็จและอยู่รอดก้าวหน้าต่อไปได้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ มีสมาชิกหลักในครอบครัวเป็น เจ้าของกิจการและเข้าร่วมดําเนินงาน ส่วนมากไม่เคยเป็นผู้ประกอบการมาก่อนโดยเฉพาะในธุรกิจ โรงแรม แต่เคยเป็นพนักงานโดยเฉพาะในธุรกิจการโรงแรม โดยรับช่วงธุรกิจโรงแรมมาจากครอบครัว และส่วนใหญ่เริ่มต้นดําเนินธุรกิจก่อนปี พ.ศ.2535 ด้วยเงินทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 1 ล้านบาท มี พนักงานในธุรกิจ 31 คนขึ้นไป มีแผนธุรกิจในการดําเนินการน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปีและมีชั่วโมง ทํางานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 ต่อสัปดาห์ โดยผลความสัมพันธ์ของความสําเร็จในการประกอบการ กับคุณลักษณะส่วนบุคคลนั้น ผลไม่พบกับด้านเพศ อายุ การมีสมาชิกหลักในครอบครัวเป็นเจ้าของ กิจการ การเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพเพิ่มเติมและการมีประสบการณ์เป็นผู้ประกอบการ 2. ผลลักษณะของตัวแปร พบว่า ผู้ประกอบการในสถานการณ์ที่ง่ายส่วนมากใช้กลยุทธ์ทั้ง 4 รูปแบบ อยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด คือ เป็นไปตามสถานการณ์ที่ตนคิดว่าเหมาะสมสลับกันไปมา ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการบริหารและความชํานาญในวิชาชีพ ระดับปานกลาง ส่วนมากมีบุคลิกแบบใฝ่ใจในความสําเร็จและความสม่ําเสมอและใฝ่ใจในการเรียน รู้อยู่ในระดับค่อนข้างสูงและมีบุคลิกแบบเป็นตัวของตัวเอง กล้าเสี่ยง มีนวัตกรรมและแกร่งในการ แข่งขันอยู่ในระดับปานกลางและมีความสําเร็จในการประกอบการอยู่ในระดับสูง โดยไม่มีระดับต่ํา ซึ่ง แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ง่าย จะต้องมีบุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ ตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป โดยเฉพาะต้องตั้งใจที่จะนําตนเองไปสู่ความสําเร็จ มั่นคงไม่หวั่นไหวกับ สถานการณ์ รู้จักนําข้อบกพร่องมาเป็นประสบการณ์ในการเรียนรู้ ชอบงานที่ท้าทายและมีแรงจูงใจที่ จะทํางานให้ดีกว่าเดิม 3. ความสัมพันธ์และสมการทํานายผล พบว่า ความสําเร็จในการประกอบการมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับกลยุทธ์แบบการวางแผนล่วงหน้าอย่างสมบูรณ์ (r = 0.179) บุคลิกความเป็น ผู้ประกอบการแบบความเป็นตัวของตัวเอง (r= 0.375) แบบความมีนวัตกรรม (r= 0.241) ภูมิความรู้ ความชํานาญด้านประสบการณ์ในการบริหาร (r= 0.30) ความชํานาญในวิชาชีพ (r = 0.259) และทาง ลบกับกลยุทธ์แบบการตั้งรับ (r = - 0.318) โดยกลยุทธ์แบบการตั้งรับในค่าลบร่วมกับบุคลิกการเป็น ผู้ประกอบการแบบความเป็นตัวของตัวเอง แบบความก้าวร้าวในการแข่งขันและภูมิความรู้ความ
34
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
ชํานาญในด้านประสบการณ์ในการบริหารในค่าบวกร่วมกันทํานายความผันแปรของความสําเร็จใน การประกอบการได้ 9.6% โดยมีค่าความคลาดเคลื่อน 6.4421 ข. ผลระยะที่ 2 ที่ถือว่า เป็นช่วงสภาพแวดล้อมที่ยุ่งยาก-ซับซ้อน (ต.ค.2552-เม.ย.2553) 1. คุณลักษณะส่วนบุคคล ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นชาย อายุอยู่ในช่วง 41-50 ปี ซึ่งเป็น ช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง มีพื้นเพเดิมเป็นคนกรุงเทพฯ เคยเข้าฝึกอบรมวิชาชีพเพิ่มเติม เช่นเดียวกับผล ในระยะที่ 1 ส่ วนใหญ่ผู้ ประกอบการไม่เคยประกอบธุรกิจเองมาก่อน แต่มีประสบการณ์ ทํางาน เกี่ยวกับธุรกิจโรงแรม ดําเนินธุรกิจโดยการรับช่วงกิจการมา โดยมีเงินทุนจดทะเบียนต่ํากว่า 10 ล้าน บาทและมี จํ า นวนพนั ก งานน้ อ ยกว่ า 50 คน ส่ ว นใหญ่ มี หุ้ น ส่ ว นเข้ า ร่ ว มในการดํ า เนิ น งาน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการวางแผนธุรกิจแบบไม่เกิน 1 ปี ซึ่งเป็นไปตามสภาพแวดล้อมของธุรกิจที่ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการทํางาน 15-49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยผลความสัมพันธ์ ของความสําเร็จในการประกอบการกับคุณลักษณะส่วนบุคคลนั้น เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ ระยะ ที่ 1 2. ผลลักษณะของตัวแปร ผลพบว่า ผู้ประกอบการมีการใช้กลยุทธ์การวางแผนอย่างสมบูรณ์ อยู่ในระดับสูงและแบบการวางแผนเฉพาะส่วนที่สําคัญในระดับปานกลาง โดยใช้แบบการแสวงหา โอกาสและแบบตั้งรับในระดับค่อนข้างต่ํา ผลนี้สอดคล้องกับผลของงานวิจัยหลายเรื่อง (เช่น Frese & Kruif, 2000; Rauch, 1998; Rauch & Frese, 1998) ที่พบว่า สภาพแวดล้อมที่ยุ่งยากจะสร้างความ ท้าทายทางธุรกิจและความพยายามต่างๆ ก็จะถูกมุ่งเน้นไปกับการวางแผนที่จะจัดการกับสิ่งที่ยุ่งยาก ต่างๆ เหล่านี้ ผู้ประกอบการจะประสบความสําเร็จด้วยวิธีการวางแผนอย่างดี เพราะการวางแผนจะ ช่วยให้เขาใช้ทรัพยากรที่จํากัดได้อย่างดี ส่วนการแสวงหาโอกาสนั้นจะมีประโยชน์ในสภาวะแวดล้อม ที่มีโอกาสเอื้ออํานวยอยู่ในระดับสูง เช่น ในช่วงความรุ่งเรืองหรือกําลังมีชื่อเสียงหรือกําลังอยู่ใน กระแสของความต้องการ ดังนั้นในสถานการณ์ที่ง่ายกลยุทธ์แบบแสวงหาโอกาสจะเหมาะสมมากกว่า ในสถานการณ์ที่ซับซ้อน ไม่สามารถคาดเดาได้ ส่วนการตั้งรับในสภาพแวดล้อมของธุรกิจที่มีการ เปลี่ยนแปลงรุนแรงและรวดเร็ว โดยไม่มีการวางแผนตอบสนองเฉพาะสถานการณ์ที่เกิดขึ้น วางแผน และปฏิบัติการมุ่งไปข้างหน้าน้อยมาก จะไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งอื่นๆ ได้หรือทําให้สูญเสียโอกาส ในการแข่งขันหรือถูกแย่งส่วนแบ่งการตลาดไป ส่วนผลของภูมิความรู้ความชํานาญพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จบปริญญาโท ทั้งนี้อาจ เป็นเพราะเหตุการณ์ที่ผันแปรสูง ทําให้จําเป็นต้องมีการศึกษาที่สูงและเฉพาะเชี่ยวชาญไปในด้านที่ ต้องการ มีงานวิจัยหลายเรื่องที่ ชี้ว่า บริษัทที่ประสบความสําเร็จมีเจ้าของและผู้จัดการที่มีระดับ การศึกษาที่ดีกว่าบริษัทที่ประสบความล้มเหลว (Hoad & Rosko, 1964: 203) ผลยังพบว่า ผู้ ประกอบการส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการบริหารและความชํานาญในวิชาชีพอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ซึ่ง Reuber, Dyke & Fischer (1990: online) ศึกษาพบว่า ประสบการณ์ของผู้ประกอบการหลาย คนมาจากครอบครัวที่เคยทํามาก่อน ดังนั้น การที่กล่าวถึงประสบการณ์นั้น อาจเกี่ยวข้องไปถึงการมา จากครอบครัวที่ทํากิจการมาก่อน โดยประสบการณ์ในงานนั้น จะเป็นความชํานาญเฉพาะอย่างและ การมีความสามารถเฉพาะทางหรือความชํานาญในอาชีพนั้น ก็น่าที่จะมาจากเหตุผลเดียวกันหรือด้วย ผู้ประกอบการบางส่วนไม่เคยมีธุรกิจเป็นของตนเองมาก่อน แต่เคยทํางานในสายธุรกิจโรงแรม จึงได้
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 35
สะสมประสบการณ์และความชํานาญจากระดับปฏิบัติการที่ไม่ใช่ระดับบริหาร ซึ่งเห็นได้ชัดในผลที่ได้ ในคุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนบุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนมากมีบุคลิกเป็นตัวของตัวเอง ใฝ่ใจในความสําเร็จและสม่ําเสมอและใฝ่ใจในการเรียนรู้ อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ส่วนบุคลิกแบบมี นวัตกรรม กล้าเสี่ยงและแกร่งในการแข่งขันมีอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด ไม่มีบุคลิกแบบใดในระดับ ต่ํา ส่วนผลการรับรู้สภาพแวดล้อมของธุรกิจพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่รู้สึกอยู่ในระดับต่ํา คือ เป็นสถานการณ์ที่ยุ่งยากในการบริหารจัดการ มีความไม่แน่นอน ไม่สามารถทํานายได้ชัดเจน ซึ่ง สอดคล้องกับสภาพวิกฤตที่เกิดขึ้น ส่วนมากเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ แทบทั้งสิ้น ส่วนผลของ ความสําเร็จในการประกอบธุรกิจพบว่า ส่วนมากอยู่ในระดับปานกลางและรองลงมา คือ ระดับต่ํา ซึ่ง ผลนี้สนับสนุนให้เห็นว่า สถานการณ์ในระยะที่ 2 ที่มีเหตุการณ์ผันแปรสูงนี้มีอิทธิพลต่อความสําเร็จใน การประกอบธุรกิจ 3. ความสั ม พั น ธ์ แ ละสมการทํ า นายผล พบว่ า ความสํ า เร็ จ ในการประกอบธุ ร กิ จ มี ความสัมพันธ์ทางบวกกับกลยุทธ์ในการดําเนินการแบบการวางแผนล่วงหน้าอย่างสมบูรณ์และทางลบ กั บแบบการวางแผนเฉพาะสิ่ ง สําคั ญ และแบบการตั้ง รับ ผลวิ จัยนี้ ชี้ว่า ในช่ ว งสถานการณ์วิ ก ฤต ผู้ประกอบการต้องเผชิญหน้ากับปัญหาอย่างหนัก เพราะอยู่ในพื้นที่เกิดความวุ่นวาย ผู้ประกอบการที่ รู้จักวางแผนล่วงหน้าให้ครอบคลุมสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้ง คาดการณ์ปัญหา โอกาสและข้อผิดพลาด ที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงจะเป็นผู้ที่ทําให้ธุรกิจอยู่รอดและประสบความสําเร็จได้ สอดคล้องกับผลการศึกษา ในประเทศนามิเบีย ของ Frese, Brantjes, and Hoorn (2002: 1) ที่พบว่า ผู้ประกอบการที่ประสบ ความสําเร็จในการประกอบธุรกิจใช้การวางแผนการล่วงหน้า ส่วนผู้ประกอบการที่เลือกทํางานที่ สําคัญที่สุดก่อนแล้วค่อยวางแผนขั้นต่อไปเหมือนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน จึงไม่มีการวางแผน จัดการกับปัญหาหรือโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้และการตั้งหน้ารอให้ลูกค้าเดินเข้ามาหาเองโดยขาดความ กระตือรือร้นวางแผนและจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ จะไม่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสําเร็จได้ ซึ่ง ความสัมพันธ์ทางลบของกลยุทธ์แบบตั้งรับนั้นสอดคล้องกับการศึกษาหลายเรื่อง เช่น ในประเทศ อัฟริกาใต้ (Steekelenburg, et. al., 2000: 77-101) ในประเทศเวียดนาม (Hiemstra, Kooy & Frese, 2006: 474) ในประเทศไทย (นวรัตน์ ชนาพรรณ, 2550: 99-100) เป็นต้น ผลไม่พบความสัมพันธ์ของความสําเร็จในการประกอบการกับภูมิความรู้ความชํานาญในทุก ปัจจัย แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับบุคลิกการเป็นผู้ประกอบการในทุกด้าน ซึงผลนี้สอดคล้องกับ สมมติฐานของแบบจําลองโครงสร้างความสําเร็จกีเซน-อัมสเตอรดัม ที่ว่า ธุรกิจจะประสบความสําเร็จ สูงถ้าผู้ประกอบการมีบุคลิกการเป็นผู้ประกอบการทุกด้านสูง นอกจากนี้ผลยังพบความสัมพันธ์ทางลบ ระหว่างสภาพแวดล้อมของธุรกิจกับความสําเร็จในการประกอบการ นั่นคือ ยิ่งมีสภาพแวดล้อมของ ธุรกิจถูกระบุว่า “ยุ่งยาก” มากเท่าใดความสําเร็จของธุรกิจก็จะลดระดับลงไปเท่านั้นหรือในทาง กลับกัน ผลยังพบว่า ความสําเร็จในการประกอบการสามารถถูกทํานายได้ด้วยบุคลิกด้านความใฝ่ใจใน ความสําเร็จ ความสม่ําเสมอและใฝ่ใจในการเรียนรู้ กลยุทธ์แบบการแสวงหาโอกาส แบบการวางแผน อย่างสมบูรณ์ บุคลิกความเป็นตัวของตัวเอง ความชํานาญในวิชาชีพและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ได้ สมการทํานายในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ ZSUCCESS = .153 ACH+.119 STAB+.177 OPPO +.132 COMP + .097 AUTO +.149 SKILL + .176 ENV
36
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
2. วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ผลการทดสอบสมมติฐานตามแนวคิดของแบบจําลองโครงสร้างความสําเร็จในการประกอบการกี เซน-อัมสเตอร์ดัม สมมติฐานที่ 1 ในสิ่งแวดล้อมที่ยุ่งยาก กลยุทธ์แบบวางแผนล่วงหน้าอย่างสมบูรณ์และกลยุทธ์แบบ การวางแผนเฉพาะสิ่ ง สํ า คั ญ จะสั ม พั น ธ์ เ ชิ ง บวกกั บ บุ ค ลิ ก การเป็ น ผู้ ป ระกอบการ (ยอมรับสมมติฐาน) ผลพบว่า กลยุทธ์แบบวางแผนล่วงหน้าอย่างสมบูรณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับบุคลิกการ เป็นผู้ประกอบการเพียง 5 ด้าน ยกเว้น ด้านความแกร่งในการแข่งขัน ส่วนผลของกลยุทธ์แบบการ วางแผนเฉพาะสิ่งสําคัญ ก็มีความสัมพันธ์ทางลบกับบุคลิกการเป็นผู้ประกอบการทั้ง 6 ด้าน ผลนี้ สนับสนุนว่า ในสถานการณ์ที่ยุ่งยากจะเกิดความท้าทายทางธุรกิจและความพยายามในการวางแผน จัดการกับสิ่งที่ยุ่งยากเหล่านั้น ผู้ประกอบการจึงต้องมีลักษณะความเป็นผู้ประกอบการสูง (Dess, Lumpkin & Covin, 1997; Pavakanun, et. al. 2008) และต้องใช้กลยุทธ์เชิงรุก มีการวางแผนเป็น อย่างดีเพราะจะช่วยให้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดให้คุ้มค่าที่สุด (Frese & Kruif, 2000) สมมติฐานที่ 2 ในสภาพแวดล้อมที่ยุ่งยาก กลยุทธ์แบบการแสวงหาโอกาสมีความสัมพันธ์ทางลบกับ ความสําเร็จในการประกอบธุรกิจ (ปฏิเสธสมมติฐาน) ผลพบว่ า กลยุ ท ธ์ แ บบการแสวงหาโอกาสไม่ มีค วามสั ม พั น ธ์ใ ดๆ กั บ ความสํ า เร็ จ ในการ ประกอบการ (r = -0.111) สมมติฐานที่ 3 ไม่พบอิทธิพลใดๆ ของสภาพแวดล้อมต่อความสัมพันธ์ของกลยุทธ์แบบการตั้งรับกับ ความสําเร็จในการประกอบการ (ยอมรับสมมติฐาน) ผลพบว่า กลยุทธ์แบบตั้งรับมีความสัมพันธ์ทางลบกับความสําเร็จในการประกอบการ ( r = 0.525, p<0.01) (ยอมรับสมมติฐาน) ผลวิจัยนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ไม่ว่าสภาพแวดล้อมจะเป็น อย่างไรผู้ประกอบการที่ใช้กลยุทธ์แบบตั้งรับมากเท่าใด ก็จะประสบความสําเร็จในการทําธุรกิจน้อยลง เท่านั้นหรือในทางกลับกัน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษา SME ในประเทศนามิเบีย (Frese, Brantjes & Hoorn, 2002: 259) ในประเทศเวียดนาม (Hiemstra, Kooy & Frese, 2006: 474) ในจังหวัด เชียงใหม่และเชียงรายของไทย (สุขุมาล ดําขํา, 2554: I) เป็นต้น สมมติฐานที่ 4 บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการจะสัมพันธ์เชิงบวกกับความสําเร็จในการประกอบธุรกิจใน สิ่งแวดล้อมที่ยุ่งยาก (ยอมรับสมมติฐาน) ผลพบว่ า บุ ค ลิ ก การเป็ น ผู้ ป ระกอบการมี ค วามสั ม พั น ธ์ ท างบวกกั บ ความสํ า เร็ จ ในการ ประกอบธุรกิจทุกด้าน ผลนี้สนับสนุนว่า ในสภาพแวดล้อมที่ยุ่งยาก เจ้าของกิจการควรมีลักษณะของ ความเป็นผู้ประกอบการสูง จึงจะทําให้ธุรกิจประสบความสําเร็จ ซึ่งผู้ประกอบการต้องรู้จักเลือกใช้
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 37
บุคลิกในลักษณะต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ก็จะส่งผลให้ประสบความสําเร็จในธุรกิจมาก ยิ่งขึ้น 3. วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 การศึกษาผลของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่แตกต่างกันที่มีต่อกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจ ภูมิ ความรู้ความชํานาญ บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการและความสําเร็จในการประกอบการ 1. การรับรู้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในสภาพแวดล้อมที่ง่าย (ระยะที่ 1)-สภาพแวดล้อมที่ ยุ่งยาก (ระยะที่ 2) ผลพบว่ า การรับ รู้ส ภาพแวดล้อมของผู้ ป ระกอบการในระยะที่ 1 กั บ ระยะที่ 2 มีค วาม แตกต่างกัน (t = 11.13, p < 0.01) โดยผู้ประกอบการในระยะที่ 1 รับรู้ว่าสภาพแวดล้อมง่าย ( x = 32.45) ในขณะที่ผู้ประกอบการในระยะที่ 2 รับรู้ว่าสภาพแวดล้อมนั้นยุ่งยาก( x = 28.81) ซึ่งผลนี้ สนับสนุนด้วยสภาพที่เป็นจริงของการที่กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สําคัญหรือศูนย์กลางของเหตุวิกฤตต่างๆ ของประเทศดังกล่าวแล้ว 2. กลยุทธ์ในการดําเนินงานในสภาพแวดล้อมที่ง่าย (ระยะที่ 1)-สภาพแวดล้อมที่ยุ่งยาก (ระยะที่ 2) ผลการเปรียบเทียบการใช้กลยุทธ์การวางแผนล่วงหน้าอย่างสมบรูณ์ในสภาพแวดล้อมที่ง่ายยุ่ ง ยาก พบว่ า ไม่ มี ค วามแตกต่ า งกั น แต่ จ ากผลในแต่ ล ะระยะ พบว่ า ในระยะที่ 2 ที่ ยุ่ ง ยาก ผู้ประกอบการจะใช้กลยุทธ์นี้อยู่ในระดับสูง ส่วนผลการใช้กลยุทธ์การวางแผนเฉพาะสิ่งสําคัญ พบว่า มีความแตกต่างกัน (t = 6.12, p < 0.01) โดยในสภาพแวดล้อมที่ง่าย ( x = 3.22) ใช้มากกว่าใน สภาพที่ยุ่งยาก ( x = 2.63) เพราะในสภาพแวดล้อมที่ง่ายสามารถทราบได้ชัดเจนว่า เป้าหมายใดที่ ต้องการหรือสําคัญที่สุด จึงทําให้วางแผนปรับไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าในสภาพที่ยุ่งยาก ส่วนผลการใช้กลยุทธ์การแสวงหาโอกาส (t = 7.197, p < 0.01) และแบบการตั้งรับ (t = 6.502, p < 0.01) ก็พบว่า มีความแตกต่างเช่นกัน โดยผู้ประกอบการในสภาพแวดล้อมที่ง่าย ( x = 3.17, 2.78 ตามลําดับ)ใช้น้อยกว่าผู้ประกอบการในสภาพที่ยุ่งยาก ( x = 2.49,1.99 ตามลําดับ) ซึ่งเป็นไปตาม แนวคิดของแบบจําลองโครงสร้างความสําเร็จกีเซน-อัมสเตอรดัมที่ว่า กลยุทธ์นี้จะเหมาะกับการใช้ใน สภาพแวดล้อมที่สามารถสอดส่องหาโอกาสหรือเป็นช่วงที่รุ่งเรืองค้นพบช่องทางต่างๆ ได้ง่าย 3. ภูมิความรู้ความชํานาญในสภาพแวดล้อมที่ง่าย (ระยะที่ 1)-สภาพแวดล้อมที่ยุ่งยาก (ระยะ ที่ 2) ผลพบว่า มีความแตกต่างกันของภูมิความรู้ความชํานาญในทุกด้านในสภาพแวดล้อมที่ง่ายยุ่งยาก โดยในสภาพแวดล้อมที่ง่ายจะมีภูมิความรู้ความชํานาญในระดับที่น้อยกว่าในสภาพที่ยุ่งยากที่ ผู้ประกอบการต้องการความรู้ต่างๆ เพิ่มขึ้น และต้องพัฒนาประสบการณ์ในการจัดการและความ ชํานาญในวิชาชีพ ให้มากขึ้นทั้งที่มีมาและฝึกหาเพิ่มเติมเพื่อมาช่วยในการแก้ไขสภาพแวดล้อมที่ ยุ่งยาก 4. บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการในสภาพแวดล้อมที่ง่าย (ระยะที่ 1 )-สภาพแวดล้อมที่ยุ่งยาก (ระยะที่ 2)
38
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
ผลพบว่า ความแตกต่างของบุคลิกความเป็นผู้ประกอบการแบบความเป็นตัวของตัวเอง (t = 2.065, p < 0.01) ในสภาพแวดล้อมที่ง่ายและยุ่งยาก โดยในสภาพที่ยุ่งยาก ( x = 3.52) จะมีบุคลิกนี้ สูงกว่าในสภาพแวดล้อมที่ง่าย ( x = 3.33) เพราะในสภาพการณ์ที่ยุ่งยากผู้ประกอบการต้องมุ่งมั่นบาก บั่น สามารถตัดสินใจ จัดการสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองมากกว่าในสภาพธุรกิจที่ง่าย ส่วนผลเปรียบเทียบ บุคลิกแบบความใฝ่ใจในความสําเร็จก็พบความแตกต่าง (t = 4.42, p < 0.01) ในสภาพแวดล้อมที่ ง่ายและยุ่งยาก โดยผู้ประกอบการในสภาพแวดล้อมที่ง่าย ( x = 3.85) จะมีบุคลิกนี้สูงกว่าในสภาพที่ ยุ่งยาก ( x = 3.59) เพราะในสภาพการณ์ที่ยุ่งยากผู้ประกอบการจะมุ่งมั่นเน้นหาความสําเร็จในการ ประกอบการได้น้อยกว่าในสภาพธุรกิจที่ง่าย ส่วนผลเปรียบเทียบบุคลิกความเป็นผู้ประกอบการแบบ อื่นๆไม่พบความแตกต่างใดๆ เพราะไม่ว่าในสถานการณ์ใดการพัฒนาบุคลิกความเป็นผู้ประกอบการ ให้มีมากเท่าใดก็จะช่วยให้ประสบความสําเร็จในการประกอบการมากเท่านั้น 5. ความสําเร็จในการประกอบการในสภาพแวดล้อมที่ง่าย (ระยะที่ 1)-สภาพแวดล้อมที่ ยุ่งยาก (ระยะที่ 2) ผลการเปรียบเทียบความสําเร็จในการประกอบการของผู้ประกอบการในสภาพแวดล้อมที่ ง่าย-ยุ่งยาก พบว่า มีความแตกต่างกัน (t = 8.74, p < 0.01) โดยผู้ประกอบการในสภาพแวดล้อมที่ ง่าย ( x = 31.79) จะมีความสําเร็จสูงกว่าในสภาพที่ยุ่งยาก ( x = 25.93) ทั้งนี้เนื่องจากใน สภาพแวดล้อมที่ง่ายผู้ประกอบการสามารถที่จะวางแผน คาดการณ์หรือควบคุมสิ่งต่างๆ ได้ง่ายกว่า สภาพแวดล้อมที่ยุ่งยาก ข้อเสนอแนะและการนําไปใช้ จากผลการศึ ก ษาครั้ ง นี้ สรุ ป ให้ เ ห็ น ว่ า ไม่ ว่ า สภาพการณ์ ท างธุ ร กิ จ จะเป็ น อย่ า งไร ผู้ประกอบการของกรุงเทพมหานครที่รู้จักใช้การกลยุทธ์วางแผนล่วงหน้าอย่างสมบรูณ์ พัฒนาบุคลิก การเป็นผู้ประกอบการในความเป็นตัวของตัวเองและใฝ่ความสําเร็จ รวมทั้ง มีประสบการณ์ในการ บริหารและความชํานาญในวิชาชีพให้อยู่ในระดับสูงจะช่วยให้ประสบความสําเร็จในการประกอบการ สูงขึ้น แต่ ถ้าผู้ประกอบการคนใดใช้กลยุทธ์แบบการตั้งรับก็จะมีผลทางลบกับความสําเร็จในการ ประกอบธุรกิจ รวมทั้ง การมีบุคลิกการเป็นผู้ประกอบการแบบความก้าวร้าวในการแข่งขันก็จะไม่ สัมพันธ์ใดๆ กับความสําเร็จในการประกอบการ ผลงานวิจัยครั้งนี้สามารถนําไปใช้ได้ดังนี้ 1. ใช้ผลการวิจัยที่ค้นพบนี้ไปพัฒนาหลักสูตรสําหรับผู้ประกอบธุรกิจ เช่น กลยุทธ์การ วางแผนล่ ว งหน้ า อย่ า งสมบู ร ณ์ ที่ พ บว่ า มี ค วามสั ม พั น ธ์ ท างบวกและสามารถเป็ น ตั ว ทํ า นาย ความสําเร็จในการประกอบการได้ แต่จากผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบใช้กลยุทธ์ดังกล่าวนี้ในระดับ ปานกลางเท่านั้นโดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ยุ่งยาก ดังนั้น หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาผู้ประกอบการ สามารถนําผลนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างหลักสูตรในการพัฒนาและ ฝึกอบรมการประกอบธุรกิจ โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเห็นถึงความสําคัญของวิธีการดําเนินธุรกิจ ให้ประสบความสําเร็จอย่างยั่งยืน โดยการสร้างโครงการชี้แนะความรู้ต่างๆ นี้ให้ผู้ประกอบธุรกิจ เช่น ให้ ต ระหนั ก ว่ า ถ้ า มี พื้ น ที่ ท่ อ งเที่ ย วแห่ ง อื่ น ที่ มี ศั ก ยภาพเกิ ด ขึ้ น มาใหม่ การแข่ ง ขั น ระหว่ า งพื้ น ที่ ท่องเที่ยวก็จะสูงขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงจําเป็นต้องมีการวางแผนครอบคลุมทุกด้าน เพื่อเตรียมรับกับ สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นและป้องกันการล้มเหลวในการดําเนินธุรกิจด้วย
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 39
2. ส่งเสริมความรู้ ทักษะและประสบการณ์ด้านธุรกิจประเภทโรงแรมอิสระให้กับผู้ประกอบ ธุรกิจ เช่น ผลการวิจัยภูมิความรู้ความชํานาญด้านความชํานาญในวิชาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ กลยุทธ์การวางแผนล่วงหน้าอย่างสมบูรณ์และการแสวงหาโอกาสและความสําเร็จในการประกอบการ ควรมีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจได้พัฒนาความชํานาญทางด้านธุรกิจโรงแรมมากขึ้น ซึ่งอาจ พั ฒ นาผ่ า นหน่ ว ยงานภาครั ฐ และเอกชน เช่ น สํ า นั ก งานพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย วหรื อ สมาคมธุ ร กิ จ ท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งมีผู้ประกอบการเป็นสมาชิกอยู่ โดยสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้ประกอบการได้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นกันมากขึ้น โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนถึงวิสัยทัศน์และ วิเคราะห์ถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นกับธุรกิจโรงแรมในอนาคตได้รอบด้าน 3. นําความรู้ที่ได้ไปสร้างเกณฑ์สําหรับการคัดเลือกผู้ประกอบการใหม่หรือสนับสนุนส่งเสริม ผู้ประกอบการเก่าในโครงการต่างๆ ของรัฐบาล รวมทั้ง เป็นแนวทางในการสร้างเกณฑ์การกู้ยืมหรือ การลงทุนทางธุรกิจ รวมทั้ง สามารถใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการลงทุนหรือวางระบบเศรษฐกิจ ต่างๆ ได้ด้วย 4. นําองค์ความรู้ทางวิชาการที่ได้ไปใช้ในงานและในรูปแบบต่างๆ สําหรับผู้ประกอบการใน แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ รวมทั้ง นําไปเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่จะใช้เป็นแนวทางในการค้นคว้าและ พัฒนาให้ลึกซึ้งและกว้างขวางต่อไปในอนาคต 5. นําผลการวิจัยและความรู้ไปสร้างโปรแกรมสําหรับการฝึกอบรม เพื่อปลูกฝังและพัฒนา คุณลักษณะและปัจจัยต่างๆ ที่จะเอื้อต่อความสําเร็จในการประกอบการไว้ใช้ในงานและในรูปแบบ ต่างๆ สําหรับธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรมในวัฒนธรรมและสังคมไทยที่ชัดเจน รวมทั้งยังเป็น โปรแกรมพื้นฐานไว้ให้ศึกษาและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เอกสารอ้างอิง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2549). คู่มือผูป้ ระกอบการอุตสาหกรรม Entrepreneur’s Handbook. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี.เอ็น.คอมพิวกราฟฟิค จํากัด. _______. (2551). โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551, จาก http://nec.dip.go.th/ เกี่ยวกับโครงการ/tabid/54/ Default.aspx การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2551). รายงานรายได้-รายจ่ายและดุลการท่องเที่ยว ปี พ.ศ.2550. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551, จาก http://thai.tourismthailand.org/ _______. (2552). แนวคิดเรือ่ งการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2552, จาก http://www 2.tat.or.th/stat/web/static_tst.php ชมรมที่ปรึกษาธุรกิจโรงแรม. (2550). ความเป็นมา. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2551, จาก http://www.hotelbizconsult.com/index.php ดาเวนพอร์ต, โทมัส. โอ. (2543). ทุนมนุษย์ (ศิระ โอภาสพงษ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จํากัด. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 2000)
40
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
เดลินิวส์. (7 มิถุนายน 2553). คืนชีพผู้ประกอบการดึงกลับนักท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2553, จาก http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm? page=content&categoryID=420&contentID=70326 ฐานเศรษฐกิจ. (2-5 พฤษภาคม 2553). ททท. วิเคราะห์ลึกนําธุรกิจท่องเที่ยวฝ่าวิกฤติ. สืบค้นเมื่อ วันที่ 27 มิถุนายน 2553, จาก http://www.thannews.th.com/index.php?Option= com_content&view=article&id=29455:2010-04-30-13-38-34&catid=85:2009-0208-11-22-45&Itemid=417 ผู้จัดการรายวัน. (2551). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว: “พระเอก-ททท.”. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2551, จาก http://www.citiservice.net/forum/index.php. พัทยาเดลินิวส์. (14 พฤษภาคม 2553). โรงแรมกรุงวิกฤติหนัก แขกพักไม่ถึง 10%. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2554, จาก http://www.pattayadailynews.com/th/2010/05/15/% มันนี่ แชนแนล. (12 ธันวาคม 2551). ทําใจก่อนเยียวยา...ผลกระทบจากการปิดสนามบิน. สืบค้นเมื่อ วันที่ 28 มิถุนายน 2554, จาก http://www.moneychannel.co.th/Menu6/ TradingHour/tabid/86/newsid480/74436/Default.aspx มูลนิธิพัฒนามาตรฐานและบุคลากรในอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว. (2550). มาตรฐาน โรงแรม (Hotel Standard). สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2553, จาก http://www.thaihotels.org/ tha/tha_hotel_rating.php สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2552). นิยาม SMEs. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2552, จาก http://www.ismed.or.th/SME/src/bin/controller.php? view=generalContents.GeneralContent&form=&rule=generalContents.FMGener alContent.bctrl_Id=273 สํานักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. สืบค้น เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2552, จาก http://tourism.net-com.co.th/2009/th/board/ view.php?id=45 สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2552). สสว. ศึกษาสถานภาพ SMEs ทั่ว ประเทศ หวังสร้างฐานข้อมูล SMEs ที่มีประสิทธิภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2552, จาก http://cms.sme.go.th/cms/c/ journal_articles/view_article_content? article_id=05-OSMEP-141209&article_version=1.0 อุบลวรรณา ภวกานันท์. (2552). โครงการวิจัยเรื่อง ปัจจัยทางจิตวิทยาของความสําเร็จในการ ประกอบการของผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดย่อมการท่องเที่ยวและที่พัก ระยะที่ 1: กลยุทธ์ใน การดําเนินการ ภูมิความรู้ความชํานาญและบทบาทกํากับของประเภทของการบริหารจัดการ (ความรู้และข้อมูลทางจิตวิทยาธุรกิจ/เศรษฐศาสตร์), รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันทรัพยากรมนุษย์. _______. (2553). ปัจจัยทางจิตวิทยาของความสําเร็จในการประกอบการของผู้ประกอบวิสาหกิจ ขนาดย่อมธุรกิจการท่องเที่ยวและที่พัก: ความรู้: ระยะที่ 2 บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ ภูมิ ความรู้ความชํานาญและคุณลักษณะเฉพาะบุคคล*. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันทรัพยากรมนุษย์.
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 41
_______. (2554). โครงการวิจัยเรื่อง ปัจจัยทางจิตวิทยาของความสําเร็จในการประกอบการของผู้ ประกอบวิสาหกิจขนาดย่อมการท่องเที่ยวและที่พัก ระยะที่ 3: สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ กล ยุทธ์ในการดําเนินการ ภูมิความรู้ความชํานาญ บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการและแบบจําลอง ความสําเร็จในการประกอบการ. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันทรัพยากรมนุษย์. Baum, J. R., Frese, M., & Baron, R. A. (2007). The psychology of entrepreneurship. Mahwah, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates. Becker, G. S. (1964). Human Capital: A Theoretical and Empirical Analysis, with Special Reference to Education. New York: National Bureau of Economic Research. Broom, H. N., & Longenecker, J. G. (1971). Small Business Management (3rded.). New York South-Western Publishing. Cooper, A. C., & Dunkelberg, W. C. (1981). A new look at business entry: experiences of 1805 entrepreneurs Frontiers of Entrepreneurship Research. Wellesley, MA.: Babson Center for Entrepreneurial Studies. Covin, J. G., & Covin, T. J. (1990). Competitive aggressiveness, environmental context and small firm performance. Entrepreneurship Theory and Practice, 35-50. Covin, J. G., & Slevin, D. P. (1989). Strategic management of small firms in hostile and benign environments. Strategic Management Journal, 10, 75-87. Davis, G., & Powell, W. (1992). Organization-Environment Relations. In M. Dunnette (Ed.), Handbook of Industrial and Organizational Psychology (Vol. 3): Consulting Psychologists Press. Frese, M. (2000). Success and failure of microbusiness owners in Africa: a psychological approach. U.S.A.: Greenwood Publishing Group. Frese, M., Brantjes, A., & Hoorn, R. (2002). Psychological Success Factors of Small Scale Business in Namibia : The Roles of Strategy Process, Entrepreneurial Orientation and the Environment. Journal of Developmental entrepreneurship, 7, 259-282. Frese, M., Krauss, S., & Friedrich, C. (2000). Microenterprises in Zimbabwe : The Function of Sociodemographic Factors, Psychological Strategies, Personel Initiative, and Goal Setting for Entrepreneurial Success. In M. Frese (Ed.), Success and Failure of Micro Business Owners in Africa (pp. 104-130). Westport Connecticut: Quorum Books.
42
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
Frese, M., & M. DeKruif. (2000). Psychological success factors of entrepreneurship in Africa: A selective literature review. In M. Frese (Ed.), Success and Failure of Microbusiness Owners in Africa: A Psychological Approach (pp. 1-30). Westport, Conn.: Quorum Books. Frese, M., & Rauch, A. (2001). Psychology of Entrepreneurship. In N. J. Smelser & P. B. Baltes (Eds.), International Encyclopedia of the Social and Behavioral Sciences (pp. 4552-4556). Oxford: Pergamon. Frese, M., Van Gelderen, M., & Ombach, M. (2000). How to plan as a small scale business owner: Psychological process characteristics of action strategies and success. Journal of Small Business Management, 38(2), 1-18. Gelderen, M. V., & Frese, M. (1998). Strategy Process as a characteristic of small scale business in a longitudinal study. In P. D. Reunalds, W. D. Bygrave, N. M. Carter, S. Manigart, C. M. Mason, G. D. Meger & D. G. S. Z (Eds.), Frontier of Entrepreneurship Research (pp. 234-248). Babson Park, MS: Babson College. Hisrich, R. D., & Peter, M. P. (2002). Entrepreneurship. Boston: Edition Boston. Keyser, M., De Kruit, M., & Frese, M. (2000). The Psychological Stategy Process and Sociodemographic Variables as Predictors of Success for Micro-and SmallScale Business Owner in Zambia. 31-53. Koop, S., De Reu, T., & Frese, M. (2000). Socio-demographic factors, entrepreneurial orientation, personel initiate, and environmental problems in Uganda Success and failure of microbusiness owner in Africa: A new psychological approach (pp. 55-76). Krauss, S., Frese, M., & Friedrich, C. (2006). Entrepreneurial orientation: A psychological model of success among southern African small business owners. Retrieved March 3, 2011, from http://www.ingentaconnect.com/ content/psych/pewo/2005/00000014/00000003/art 00005,2006 Lambing, P. A., & Kuehl, C. R. (2003). Entrepreneurship (3rd ed.). New Jersey: Pearson Education Inc. Miller, D. (1983). The correlates of entrepreneurship in three types of firms. Management Science. 29(7), 770-791. Mintzberg, H. (1973). Strategy-Making in Three Modes. California Management Review, 16(2), 44-53. Olson, P. D., & Boker, D. W. (1995). Strategy process-content interaction: Effects on growth performance in small, start up firms. Journal of Small business Management, 27(1), 34-44.
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 43
Pavakanun, U., & et. al. (2008). Strategic process, entrepreneurial orientation, human capital and success of accommodation business's entrepreneurs in 2004 Tsunami disaster area, Thailand from http://203.131.219. 162/handle/3517/5161 Rauch, A., & Frese, M. (2000). Psychological approach to entrepreneurial success : a general model and an overview of finding. In C. L. Cooper & I. T. Robertson (Eds.), International Review of Industrial & Organizational Psychology. Van Gelderen, M., & Frese, M. (1998). Strategy Process as a Characteristic of Small Business Owners: Relationships with Success in a Longitudinal Study. In P. D. Reynolds (Ed.), Frontiers of Entrepreneurship Research (pp. 234-247). Babson Park, MS: Babson Col. …………………………………………
44
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
แนวโน้มการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพมนุษย์และ องค์การ Trends in Knowledge Management for the Development of Human and Organizational Potential รัญจวน คําวชิรพิทักษ์ * บทคัดย่อ แนวโน้ ม การจั ด การเรีย นรู้เ พื่ อ พั ฒ นาศั ก ยภาพและองค์ก าร เป็ น การจั ด การเรี ย นรู้ ต าม ขั้นตอนของการจัดการความรู้ (Knowledge management) ที่ให้ความสําคัญกับความรู้ที่สร้างขึ้นมา โดยตัวบุคคลเอง แทนการเน้นความรู้ในกระดาษ มีการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่เป็นความรู้เฉพาะตัว (Tacit knowledge) ให้เป็นความรู้ที่ถ่ายทอดไปยังผู้อื่น (Explicit knowledge) เน้นการเรียนรู้ ร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการจับคู่ทํางาน ถกอภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากร เน้นการนําไป ปฏิบัติและการดํารงชีวิต สนับสนุนความร่วมมือระหว่างบุคลากรมากกว่าการแข่งขัน มีการยืดหยุ่น มากกว่ายึดติด ซึ่งเป็นการประยุกต์แนวคิดและหลักการของการจัดการความรู้มาใช้ในการพัฒนา ศักยภาพมนุษย์และองค์การนั่นเอง Abstract Knowledge management for the development of human and organizational potential focuses on knowledge which is created by individuals rather than documents. This is a change from a tacit form of knowledge to an explicit form that focuses on group work, debating, and the exchange of ideas amongst people. Moreover, explicit knowledge supports cooperation more than competition, and it is flexible. The application of the ideas and principles of knowledge management is currently important in the fields of human development and organizational potential.
______________________ * รองศาสตราจารย์ ดร., ผู้อํานวยการศูนย์พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 45
การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพและองค์การแบบดั้งเดิมที่ผ่านมา ใช้รูปแบบการจัดการ เรี ย นรู้ เ พื่ อ พั ฒ นาศั ก ยภาพมนุ ษ ย์ ที่ ใ ห้ ค วามสํ า คั ญ กั บ ผู้ เ ชี่ ย วชาญเป็ น ศู น ย์ ก ลางของการเรี ย นรู้ (Expert-based learning) มีบุคลากรฝ่ายต่างๆ ในองค์การที่ต้องการได้รับการพัฒนาเป็นผู้รับความรู้ หรือเนื้อหาสาระโดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญ (Learner as passive learner) บุคลากรขาดการมีส่วนร่วม หรือมีส่วนร่วมน้อยในกระบวนการจัดการเรียนรู้ เน้นความรู้ในกระดาษมากกว่าการนําความรู้ไปใช้ ประโยชน์โดยตรง ทําให้เกิดการแข่งขันมากกว่าความร่วมมือ ซึ่งเป็นรูปแบบของการจัดการเรียนรู้เพื่อ พัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์การที่ขัดกับลักษณะและธรรมชาติของการเรียนรู้ของบุคลากรใน องค์ ก าร ที่ เ ป็ น ผู้ ใ หญ่ ที่ มี ลั ก ษณะธรรมชาติ ข องการเรี ย นรู้ ที่ ต้ อ งการแสวงหาความรู้ ด้ ว ยตนเอง ต้องการทํางานเป็นกลุ่มและการนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีมากกว่า เมื่อจําแนกบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การทั่วไป จะพบว่า เป็นบุคคลวัยผู้ใหญ่ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก Baby Boomers มีอายุ 44-60 ปี เป็นระดับหัวหน้างานขึ้นไป บุคคลกลุ่มนี้มีโลกทัศน์ ต่อการทํางาน คือ “Live to work” อยู่เพื่องาน มีประสบการณ์กว้างขวางพอที่จะเป็นแหล่ง ทรัพยากรที่มีค่าในการเรียนรู้ให้กับกลุ่มบุคคลในช่วงเยาว์วัยกว่า คือ กลุ่ม Generation X ที่มีอายุ 30-43 ปี และกลุ่ม Generation Y ที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 29 ปีลงมา ซึ่งเป็นบุคคลส่วนใหญ่ขององค์การที่ มีคุณลักษณะการสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ชอบการสั่งการหรือการเรียนรู้ที่ ต้องพึ่งพาผู้อื่น รวมทั้ง มีลักษณะนิสัยชอบแสดงออก ชอบความมีชีวิตชีวา เมื่อหันกลับมาพิจารณา ลักษณะการเรียนรู้ตามหลักการของจิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ผนวกกับลักษณะแรงจูงใจและการ บรรลุเป้าหมายของบุคลากรกลุ่ม Generation X และ กลุ่ม Generation Y ซึ่งเป็นกลุ่มหลักของ องค์การในปัจจุบันแล้ว การจะใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบเดิมๆ ด้วยการจัดให้มีการถ่ายทอดความรู้ จากผู้ เ ชี่ ย วชาญ เน้ น ผู้ เ ชี่ ย วชาญเป็ น ศู น ย์ ก ลางการเรี ย นรู้ มุ่ ง เน้ น ที่ ก ารสอน ใช้ ม าตรฐานตาม กฎระเบียบ การเรียนรู้ส่วนใหญ่อยู่ในห้องเรียนเป็นการเรียนรู้เน้นทฤษฎีหลักการ จึงไม่เหมาะสมและ ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้โดยทั่วไปและ Working style-life style ของบุคลากรกลุ่ม Generation X และ Generation Y ที่เป็นบุคลากรหลักขององค์การ ผู้สอนหรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการให้ความรู้บุคลากรในองค์การ จําเป็นและต้องตระหนัก และให้ความสําคัญกับลักษณะธรรมชาติการเรียนรู้วัยผู้ใหญ่ ดังที่ Knowles, Holton และ Swanson ได้เสนอเป็นหลักการเรียนรู้สําหรับผู้ใหญ่ (Andragogy’s core adult learning principles) ไว้ดังนี้ (Knowles, Holton, and Swanson, 1998) 1. Learner’s need to know: why, what, how ผู้ใหญ่ต้องการรู้เหตุผลในการเรียนรู้ว่า ทําไมเขาต้องเรียนรู้ เขาจะได้อะไรและจะเรียนรู้ได้ อย่างไร 2. Self concept of the learner มโนทัศน์ของผู้เรียน ผู้ใหญ่นําตนเองได้ (Self directing) และมีความเป็นตัวของตัวเอง (Autonomous) 3. Prior experience of the learner ประสบการณ์ ข องผู้ ใ หญ่ แ ละรู ป แบบของความคิ ด เป็ น แหล่ ง ความรู้ ที่ มี คุ ณ ค่ า ที่ จ ะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน (Resource, mental models)
46
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
4. Readiness ผู้ใหญ่มีความพร้อมที่จะเรียน เมื่อการเรียนรู้นั้นเกี่ยวข้องกับชีวิตและการทํางาน (Life related, developmental task) 5. Orientation to learning ผู้ใหญ่มีแนวทางในการเรียนรู้โดยยึดปัญหาเป็นศูนย์กลางและมุ่งนําความรู้ไปใช้ในบริบทที่ เกี่ยวข้อง (Problem centered, contextual) 6. Motivation to learn ผู้ใหญ่ให้ความสําคัญกับแรงจูงใจภายใน และการมีโอกาสแสดงออก (Intrinsic value, personal pay off) สรุปได้ว่า รูปแบบแรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ มีความสัมพันธ์กับการบรรลุเป้าหมายใน การเรียนรู้ ซึ่งอาจแสดงได้ดังแผนภาพต่อไปนี้
แผนภาพที่ 1 รูปแบบแรงจูงใจในการเรียนรู้และการบรรลุเป้าหมายของผู้ใหญ่ จากแผนภาพที่ 1 รูปแบบแรงจูงใจในการเรียนรู้และการบรรลุเป้าหมายของผู้ใหญ่ข้างต้น ทํา ให้เกิดแนวโน้มการปรับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ที่เน้นผู้เชี่ยวชาญเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่ผู้เรียน ยอมรับข้อมูลความรู้ที่มีการเสนอถ่ายทอดให้โดยตรง ผู้เรียนมีส่วนร่วมน้อย พึ่งพาผู้อื่นและคาดหวัง คํ า ตอบจากผู้ อื่ น ไปเป็ น การจั ด การเรี ย นรู้ ที่ ส่ ง เสริ ม การจั ด การเรี ย นรู้ ผ่ า นการปฏิ บั ติ เช่ น จั ด สถานการณ์การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ที่มีการวิเคราะห์ปัญหาจากสถานการณ์จริง ผู้เรียนแสวงหาความรู้/ คําตอบด้วยตนเองจากการทํางานร่วมกับกลุ่มและทีมงาน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การประยุกต์ใช้ และสร้างความรู้ใหม่ในที่สุด แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติดังกล่าว มีความสอดคล้องกับ ทฤษฎีจิตวิทยา Constructivism ซึ่งเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้วัย ผู้ใหญ่มากที่สุด โดยมีหลักการของทฤษฎีว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล ซึ่ง พัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาของบทเรียนด้วยตนเองมากกว่าที่จะรับความรู้จากการ ถ่ายทอดจากผู้อื่นโดยตรง ผู้ใหญ่จะเก็บเกี่ยวเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้จากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจ โดย
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 47
การเชื่อมโยงกับประสบการณ์จริงของเขา การเรียนรู้ของผู้ใหญ่เกิดขึ้นได้จากบรรยากาศของการ ทํ า งานและปฏิ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งผู้ เ รี ย นที่ เ ป็ น ผู้ ใ หญ่ จ ากสภาพการณ์ ป ฏิ บั ติ ง านที่ เ ป็ น รู ป ธรรมใน สถานการณ์จริงที่ผู้ใหญ่ใช้เป็นแนวทางในการสร้างความรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานโดยตรง (Work-based learning) เป็นการเรียนรู้ตามขั้นตอน ของการจัดการความรู้ (Knowledge management) ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพมนุษย์และองค์การในยุคสมัยปัจจุบัน ตามความหมายของการจัดการความรู้ (Knowledge management) ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ที่กล่าวว่า การ จัดการความรู้ หมายถึง “การจัดการให้มีการค้นพบความรู้ ความชํานาญที่แฝงเร้นในตัวคน หาทางนํา ออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตกแต่งให้ง่ายต่อการใช้สอยและมีประโยชน์เพิ่มขึ้น มีการต่อยอดให้งดงาม และใช้ได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงและกาลเทศะยิ่งขึ้น มีความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมเกิดจาก การนําความรู้ที่ได้เหมือนกันมาเจอกัน” จากความหมายดังกล่าวจะเห็นว่าในกระบวนการจัดการ ความรู้ ประกอบด้ ว ย ความรู้ 2 ประเภท คื อ ความรู้ ที่ ถ่ า ยทอดไปยั ง บุ ค คลอื่ น (Explicit knowledge) และความรู้เฉพาะบุคคล (Tacit knowledge) ซึ่งแสดงเปรียบเทียบความรู้ ทั้ง 2 ประเภท ตามแผนภาพต่อไปนี้
-
ความรู้ที่ถ่ายทอดไปยังบุคคลอืน่ (Explicit knowledge) วิชาการ หลักวิชา ทฤษฎี (Theory) มาจากการสังเคราะห์วิจัย ใช้สมอง (Intellectual) เป็นกฎเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอน
-
ความรู้เฉพาะบุคคล (Tacit knowledge) ภูมิปัญญา เคล็ดวิชา ปฏิบัติ (Practice) ประสบการณ์ มาจากวิจารณญาณ ใช้ปฏิภาณ (Intelligence) เป็นเทคนิคเฉพาะตัว
แผนภาพที่ 2 ประเภทของความรู้จากตํารา V.S. ความรู้จากเคล็ดวิชา (ประพนธ์ ผาสุขยืด, 2550) จากแผนภาพที่ 2 การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความรู้ที่ถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่น (Explicit knowledge) และความรู้เฉพาะบุคคล (Tacit knowledge) อธิบายได้ว่า ความรู้ที่ถ่ายทอด ไปยังบุคคลอื่นได้ เป็นหลักวิชาการ ทฤษฎีที่ใช้การสังเคราะห์วิจัยมาเป็นกฎเกณฑ์ วิธีการที่ดีขึ้นที่ผ่าน การพิสูจน์ ในขณะที่ความรู้เฉพาะบุคคล เป็นภูมิปัญญา เคล็ดวิชาที่เกิดจากประสบการณ์ การปฏิบัติ ที่ใช้วิจารณญาณ ปฏิภาณ เป็นเทคนิคเฉพาะตัว เป็นลูกเล่นของแต่ละคน ดังที่กล่าวมาแล้วว่า การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ในอดีต มักเป็นการให้ ความรู้โดยเน้นความรู้ในกระดาษ เน้นความรู้ที่เป็นทฤษฎี หลักการ ปัจจุบันการพัฒนาศักยภาพ มนุษย์และองค์การที่เป็นบุคลากรวัยแรงงาน จึงควรหันมาให้ความสนใจกับความรู้และสมรรถนะที่ใช้ ประโยชน์ได้โดยตรง (Outcome oriented) ที่เน้นประสบการณ์ ปฏิบัติ วิจารณญาณและปฏิภาณ ดังแผนภาพ
48
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
แผนภาพที่ 3 การใช้การจัดการความรู้พัฒนาความรู้-สมรรถนะที่ใช้ประโยชน์ได้โดยตรง แทนการเน้น เฉพาะทฤษฎี หลักการหรือความรู้ในกระดาษ (กฤษณพงศ์ กีรติกร, 2555) จากแผนภาพที่ 3 การพัฒนาศักยภาพมนุษย์และองค์การที่เป็นบุคลากรวัยแรงงาน ควรหัน มาให้ความสนใจกับความรู้และสมรรถนะที่ใช้ประโยชน์ได้โดยตรง (Outcome oriented) มากกว่า การให้ความสําคัญเฉพาะความรู้ในกระดาษ (Output oriented) โดยใช้การจัดการความรู้เข้ามาเป็น กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพมนุษย์และองค์การ โดยการให้ความสําคัญกับความรู้ที่สร้างขึ้นมาโดยบุคคลหรือตัวบุคลากรเอง แทนการเน้น ความรู้ในกระดาษ มีการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่เป็นความรู้เฉพาะตัว (Tacit knowledge) ให้เป็น ความรู้ที่ถ่ายทอดไปยังผู้อื่น (Explicit knowledge) เน้นการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการจับคู่ทํางาน กลุ่มย่อย ถกอภิปรายหรือใช้เครือข่าย Electronics แลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างบุคลากร เน้นการ ปฏิบัติและการดํารงชีวิต สนับสนุนความร่วมมือระหว่างบุคลากรมากกว่าการแข่งขัน มีการยืดหยุ่น มากกว่ า การยึ ด ติ ด เป็ น การประยุ ก ต์ แ นวคิ ด และหลั ก การของการจั ด การความรู้ (Knowledge management) มาใช้ในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์และองค์การนั่นเอง เราสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบเดิม (Expert-based learning) กั บ การจั ด การเรี ย นรู้ แ นวใหม่ ด้ ว ยแนวทางของการจั ด การความรู้ (Knowledge management) ดังแผนภาพต่อไปนี้
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 49
ประเด็น 1. Types of knowledge 2. Interaction 3. Theory V.S. Work oriented 4. Behavior 5. Style
การจัดการเรียนรู้แบบเดิม เน้นความรู้ในกระดาษ เน้นการเรียนรู้ของปัจเจก เน้นทฤษฎี หลักการ
การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ เน้นความรู้ในตัวบุคคล เน้นการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม เน้นการปฏิบัติและการดํารงชีวิต
แข่งขัน การติดยึด
ร่วมมือ การยืดหยุ่น
แผนภาพที่ 4 แสดงความแตกต่างระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบเดิมกับการจัดการเรียนรู้แนวใหม่ (วิจารณ์ พานิช, 2552) จากแผนภาพที่ 4 การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ ให้ความสําคัญกับความรู้ในตัวบุคคล การเรียนรู้ ร่วมมือกัน การยืดหยุ่นและการนําไปปฏิบัติในชีวิตประจําวัน อนึ่งในขั้นตอนของการแปลง Tacit knowledge ให้เป็น Explicit knowledge นั้น Nonaka และ Takeuchi ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดความรู้ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ SECI model ที่น่าสนใจ ซึ่งอธิบายได้ด้วยแผนภาพ ดังนี้
แผนภาพที่ 5 SECI model ของ Nonako และ Takeuchi (สุรพงษ์ ศุภจรรยา, 2011) จากแผนภาพที่ 5 SECI model แสดงการสร้างความรู้ของบุคลากรในองค์การได้เป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ รูปแบบที่ 1 Socialization เป็นการสร้างความรู้แบบ Tacit Æ Tacit คือ การแบ่งปัน ความรู้ ประสบการณ์ในตัวบุคคลไปให้บุคคลอื่น เช่น การประชุมเพื่อการวางแผนดําเนินงาน การไป ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรภายนอก การพบปะพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการบนโต๊ะอาหาร ห้องกาแฟหรืองานเลี้ยงสร้างสรรค์
50
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
รูปแบบที่ 2 Externalization เป็นการสร้างความรู้แบบ Tacit Æ Explicit คือ การนํา ความรู้ในตัวบุคคลที่ได้พูดคุยกันถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น การนําความรู้จากการ แก้ปัญหาในการทํางานมาเขียนเป็นบทความ การถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อวีดีทัศน์ Work flow หรือ Work instruction รูปแบบที่ 3 Combination เป็นการสร้างความรู้แบบ Explicit Æ Explicit คือ การใช้ ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยจัดการข้อมูล เช่น การรวบรวมความรู้ที่เป็น Explicit จากหลาย หน่วยงานมาไว้ที่เดียวกัน ทําให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นภาพรวมในการบริหารจัดการองค์กรได้อย่าง ครบถ้วน รูปแบบที่ 4 Internalization เป็นการสร้างความรู้แบบ Explicit Æ Tacit คือ การนํา ความรู้ที่ได้ใหม่ไปใช้ปฏิบัติจริง ลงมือทําจริง ฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหาเพื่อต่อยอดความรู้นั้นๆ หรือพัฒนา ให้ดีขึ้น เช่น การนําความรู้จากสื่อ วีดีทัศน์ Work flow หรือ Work instruction ไปปฏิบัติจนเกิด ความชํานาญ การนํามาตรฐานกลาง 5 ส ไปใช้ปฏิบัติจริงในหน่วยงานของตน การขยายผลการทํางาน ไปยังบุคคลอื่นๆ ในหน่วยงานเดียวกัน จากความรู้เฉพาะตัวเกิดเป็นความรู้ของกลุ่ม เมื่อทําเช่นนี้ต่อเนื่องก็จะเกิดการขยายความรู้ เป็นความรู้ที่มีทั้งคุณภาพและปริมาณ นําไปสู่สังคมฐานความรู้ (Knowledge creation society) ที่ ประกอบด้วย การสร้างความรู้ (Knowledge creation) การบํารุงรักษาความรู้ (Knowledge maintenance) และการนําความรู้ไปใช้ (Knowledge exploitation) ที่เป็นผลมาจากการวาง แผนการเรียนรู้ร่วมกัน การทํางานเป็นทีม การมีพี่เลี้ยงช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สร้างชุมชนนักปฏิบัติที่ มีการยืดหยุ่นและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา บูรณาการความรู้ ใช้การจัดการความรู้เพื่อนําไปสู่องค์กร แห่งการเรียนรู้ (Learning organization) ได้ในที่สุด สรุปแนวโน้มการจัดการเรียนรู้แนวใหม่ เพื่อพัฒนาศักยภาพมนุษย์และองค์การ ด้วยแนวทาง ของการจัดการความรู้ สรุปได้ด้วยแผนผังความคิด (Mind map) ดังนี้
แผนภาพที่ 6 แนวโน้มการจัดการเรียนรู้แนวใหม่โดยใช้การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพมนุษย์ และองค์การ จากแผนภาพที่ 6 แนวโน้มการจัดการเรียนรู้แนวใหม่โดยใช้การจัดการความรู้มาพัฒนา ศักยภาพมนุษย์และองค์การ ปรับเปลี่ยนจากการจัดการเรียนรู้ที่มีผู้เชี่ยวชาญเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ที่ บุ ค ลากรผู้ ไ ด้ รั บ การพั ฒ นาเป็ น ผู้ รั บ การถ่ า ยทอดเนื้ อ หาสาระความรู้ โ ดยตรงจากผู้ เ ชี่ ย วชาญ
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 51
(Expert-based learning) ไปเป็นการจัดการความรู้ (Knowledge management) ที่ส่งเสริมการ เรียนรู้จากการปฏิบัติงาน (Work-based learning) การสร้างวัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้ (Knowledge sharing) สู่การสร้างความรู้ (Knowledge creation) การบํารุงรักษาความรู้ (Knowledge maintenance) และการนําความรู้ไปใช้ (Knowledge exploitation) ซึ่งนําไปสู่สังคม ฐานความรู้ (Knowledge creation society) ในที่สุด เอกสารอ้างอิง กฤษณพงศ์ กีรติกร. (2555). “การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษายุคใหม่.” เอกสาร ประกอบการประชุมปฏิบัติการเรื่อง “การเชื่อมโยงผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนการวัดและ การประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ”. ประพนธ์ ผาสุข ยื ด . (2550). การจั ด การความรู้ KM ฉบั บขั บ เคลื่ อน. พิม พ์ ค รั้ ง ที่ 6. กรุ ง เทพฯ: สํานักพิมพ์ใยไหม. ประเวศ วะสี. (2548). การจัดการความรู้: กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพและ ความสุข. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. วิจารณ์ พานิช. (2552). เคออร์คิด อลหม่าน สู่ระเบียบ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีโน พับลิชชิ่ง (ประเทศ ไทย) จํากัด. สุรพงษ์ ศุภจรรยา. (2011). “SECI Model และ Ba Concept.” เอกสารประกอบการเสวนาเรื่อง ถอดรหัส Nonaka: เพื่อการประเมินที่ใส่ใจในคนและสร้างประสิทธิผลในงาน. ถ่าย เอกสาร. Knowles, Malcolm S., Holton, Elwood F. & Swanson, Richard A. (2011). The Adult Learner: The Definitive Classic in Adult Education and Human Resource Development. (7thed). USA; Elsevier Inc. Oon Seng, Tan (2003). Problem-Based Learning Innovation: Using Problems to Power Learning in the 21th Contury. Singapore; Thomson Learning. …………………………………………
52
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
แรงจูงใจในการทํางาน: ทฤษฎีและการประยุกต์ Work Motivation: Theory and Application อรพินทร์ ชูชม * บทคัดย่อ บทความนี้นําเสนอทฤษฎีแรงจูงใจในการทํางาน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มทฤษฎีเนื้อหา และกลุ่มทฤษฎี กระบวนการ กลุ่มทฤษฎีเนื้ อหาครอบคลุมทฤษฎีลําดั บขั้ นความต้ องการ ทฤษฎี แรงจูงใจภายในและทฤษฎีแรงจูงใจภายนอก กลุ่มทฤษฎีกระบวนการรวมทฤษฎีการกําหนดเป้าหมาย ทฤษฎีความคาดหวังและทฤษฎีความเป็นธรรม รวมทั้งนําเสนอแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการ ทํางาน Abstract This article presents an overview of work motivation theories. Theories of work motivation are classified as content theories and process theories. The content theories cover needs hierarchical theory, intrinsic and extrinsic approaches. The process theories include goal-setting theory, equity theory, expectancy theory, and equity theory. Guidelines for improving work motivation are distilled from theories of work motivation. แรงจูงใจในการทํางาน หมายถึง แรงผลักดันหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่มีอยู่ภายในและภายนอกตัว บุคคลที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการทํางาน ทิศทางในการกระทํา ความเข้มข้นและระยะเวลาในการ กระทํา ดังนั้น แรงจูงใจจึงเป็นกระบวนการทางจิตใจที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ สภาพแวดล้อม (Pinder, 1998) ความสําคัญของแรงจูงใจในการทํางาน แรงจูงใจเป็นปัจจัยหนึ่งในหลายๆ ปัจจัยที่ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของคนในการทํางานว่า ทําไมคนจึงขยัน มานะพากเพียรและปฏิบัติงานได้ดี แรงจูงใจจึงมีบทบาทสําคัญดังต่อไปนี้
______________________ * รองศาสตราจารย์ ดร., ประจําสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 53
1. แรงจูงใจ สามารถช่วยอธิบายถึงสาเหตุของพฤติกรรมและพยากรณ์พฤติกรรมของบุคคล ได้ แรงจูงใจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้เข้าใจว่า ทําไมคนถึงมีพฤติกรรมเช่นนี้ อะไรเป็นสิ่งที่จูงใจทําให้คน มุ่งมั่นที่จะกระทําพฤติกรรมนั้น นอกจากนี้แรงจูงใจยังช่วยอธิบายถึงความมานะพากเพียรในการ กระทําพฤติกรรมและทําพฤติกรรมหรือกิจกรรมนั้นอย่างกระตือรือร้นเต็มกําลังความสามารถ ดังนั้น การทราบถึงสิ่งจูงใจหรือแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังของพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออก จะเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งในด้านการบริหารจัดการในการเสาะแสวงหาวิธีการที่จะทําให้บุคคลมีพฤติกรรมที่ต้องการ 2. แรงจูงใจ ช่วยอธิบายความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น ทําไมบางคนมีความเพียรพยายาม ที่จะทําพฤติกรรมหรือกิจกรรมต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมาย ในขณะที่บางคนไม่มีความเพียรพยายามที่จะ ฝ่าฟันอุปสรรคให้บรรลุเป้าหมาย ตลอดจนเข้าใจว่า ทําไมบางครั้งบุคคลถึงทําพฤติกรรมหรือกิจกรรมนี้ ในขณะที่บางเวลาพฤติกรรมนี้จะไม่เกิดขึ้นเลย นอกจากนี้ บุคคลแต่ละคนอาจทําพฤติกรรมเดียวกันด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน เนื่องจากบุคคล เหล่านั้นมีแรงจูงใจในการทําพฤติกรรมนั้นแตกต่างกัน เช่น จากการศึกษาวิจัยคนงานในโรงงานซึ่งเป็น พนักงานระดับล่าง พบว่า ความต้องการเงินและความมั่นคงในการทํางานเป็นสิ่งสําคัญในการทํางาน ดังนั้นในการจูงใจให้กลุ่มบุคคลนี้มีความขยันขันแข็งในการทํางาน ผู้บริหารอาจใช้มาตรการในเรื่อง เงินจูงใจพนักงานในการปฏิบัติงาน ในขณะที่พนักงานระดับสูง สิ่งจูงใจในการทํางานที่สําคัญ ได้แก่ ความสําเร็จและการได้รับการยกย่อง เพื่อที่พนักงานปฏิบัติงานได้ดีจะได้คงระดับความพยายามใน การทํางานต่อไป 3. แรงจูงใจช่วยให้บุคคล หน่วยงานหรือองค์การบริหารจัดการให้บุคคลหรือกลุ่มมีแรงจูงใจ ที่จะกระทําพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ โดยอาศัยแนวคิดแรงจูงใจ ซึ่งการจูงใจมีหลายประเภท อาจ อาศัยการจูงใจประเภทต่างๆ ผสมผสานประกอบกันหรือเลือกใช้วิธีการจูงใจวิธีการใดวิธีการหนึ่งให้ เหมาะสมกับบุคคล กลุ่มสถานการณ์และโอกาส เช่น สร้างกระบวนการจูงใจในการทํางานโดยการ ตอบสนองความต้องการของบุคคลได้อย่างเหมาะสม ใช้สิ่งจูงใจในทางบวกและทางลบในการจูงใจ บุคคล จูงใจบุคคลโดยการกําหนดเป้าหมาย ให้ความเป็นธรรม มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการทํา กิจกรรมต่าง ๆ การจูงใจมีความสําคัญในการที่จะช่วยกระตุ้นให้บุคคลกระทําพฤติกรรมต่างๆ ที่พึงประสงค์ ด้วยความเต็มใจและพอใจ เช่น หัวหน้างานอาจใช้วิธีการจูงใจลูกน้องให้ใช้สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ต่างๆ ในหน่วยงานของตนอย่างคุ้มค่าและไม่สิ้นเปลือง โดยอาจอาศัยแนวคิดเรื่องแรงจูงใจด้วยความ เป็นธรรมและความคาดหวังมาใช้ โดยลูกน้องรับรู้ว่าส่วนที่ตนเองช่วยประหยัดในการใช้สิ่งแวดล้อม และพลังงานในหน่วยงานของตนนั้น จะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาเป็นเงินบางส่วนที่จะร่วมแบ่งปัน กัน ถ้าทุกคนร่วมมือกันประหยัดการใช้พลังงานให้มาก ก็ยิ่งได้ผลตอบแทนกลับคืนมามากตามด้วย ใน ทํานองเดียวกันหัวหน้าหน่วยงานอาจใช้การจูงใจโดยการกําหนดเป้าหมายให้พนักงานร่วมกันกําหนด เป้าหมายที่เฉพาะร่วมกันในการนําวัสดุบางอย่างหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยเป้าหมายที่วางไว้เป็น เป้าหมายที่ไม่ยากหรือง่ายเกินไป เมื่อพนักงานสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ร่วมกันได้ พนักงานต่าง รับรู้ว่าตนเองมีความสามารถในการทําพฤติกรรม สิ่งเหล่านี้จะช่วยจูงใจให้พนักงานมีความเพียร พยายามที่จะกระทําพฤติกรรมนี้ต่อไป
54
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
ประเภทของแรงจูงใจในการทํางาน ประเภทของแรงจูงใจในการทํางาน สามารถแบ่งได้ตามกลุ่มทฤษฎีแรงจูงใจในการทํางานได้ เป็น 2 ประเภท ได้แก่ กลุ่มทฤษฎีเนื้อหา (Content theories) และกลุ่มทฤษฎีกระบวนการ (Process theories) 1. กลุ่มทฤษฎีเนื้อหา เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระของแรงจูงใจ กล่าวคือ ความ ต้องการเฉพาะอย่างหรือความต้องการภายในเป็นสิ่งจูงใจและกํากับแนวทางการแสดงออกพฤติกรรม ของบุคคล ทฤษฎีนี้พยายามหาคําตอบว่า มีปัจจัยใดบ้างที่เป็นปัจจัยภายในบุคคลหรือสิ่งจูงใจที่มี อิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีแรงจูงใจในกลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะทฤษฎี ลําดับขั้นความต้องการ ทฤษฎีแรงจูงใจภายในและภายนอก 1.1 ทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการ (Needs hierarchy theory) อับบราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งจิตวิทยาทางด้านมนุษยนิยม ได้พัฒนาทฤษฎีลําดับขั้นความ ต้องการของแรงจูงใจ โดยความต้องการของมนุษย์ถูกจัดลําดับขั้นความสําคัญ มนุษย์มีความต้องการ อยู่ตลอดเวลาในสิ่งที่ยังไม่มีและเมื่อความต้องการได้รับการตอบสนองแล้ว จะไม่เป็นสิ่งจูงใจสําหรับ พฤติกรรมของบุคคลต่อไป ความต้องการใหม่ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจะเป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรม เมื่อความต้องการระดับต่ําได้รับการตอบสนองแล้ว บุคคลจะมีความต้องการในระดับสูงต่อไป ความต้องการของมนุษย์เริ่มจากระดับขั้นต่ําสุดไปถึงระดับขั้นสูงสุด 5 ระดับ ดังนี้ 1.1.1 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological needs) เป็นความต้องการขั้น พื้นฐานของมนุษย์ เช่น อาหาร อากาศ น้ํา ที่อยู่อาศัยและความต้องการทางเพศ 1.1.2 ความต้องการความปลอดภัย (Security needs) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้น หลังจากความต้องการทางกายภาพได้รับการตอบสนอง ความต้องการความปลอดภัยเป็นความ ต้องการทางสภาพแวดล้อมที่มั่นคงปลอดภัยเป็นอิสระจากภัยคุกคามทางกายภาพหรืออันตรายต่อ จิตใจ 1.1.3 ความต้องการทางสังคม (Social needs) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นหลังจาก ความต้องการความปลอดภัยได้รับการตอบสนอง ความต้องการทางสังคมเป็นความต้องการที่จะเป็น มิตรมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นที่รักใคร่และยอมรับจากผู้อื่น 1.1.4 ความต้องการความมีคุณค่า (Esteem needs) เป็นความต้องการของบุคคลที่ จะทําให้เห็นว่าตนเองมีคุณค่าหรือนับถือตนเองและได้รับความสําเร็จ การยกย่อง เกียรติยศชื่อเสียง และการเคารพนับถือจากผู้อื่น 1.1.5 ความต้องการความสําเร็จในชีวิต (Self-actualization needs) เป็นความ ต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์ เป็นความต้องการพัฒนาตนเองให้สําเร็จได้เต็มศักยภาพสูงสุดของตนเอง โดยตระหนักถึงขีดความสามารถของตนเองด้วย ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ แสดงให้เห็นว่า การตอบสนองความต้องการของมนุษย์เป็น สิ่งสําคัญในการที่จะจูงใจคนให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์นั้น ต้องเข้าใจถึงธรรมชาติความต้องการของ บุคคลด้วยจึงจะสามารถจูงใจบุคคลนั้นได้ ถึงแม้ว่าทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ได้รับการ วิพากษ์ถึงลําดับขั้นความต้องการที่เข้มงวดและมีหลักฐานการวิจัยบางส่วนที่พบว่า การเรียงลําดับขั้น ความต้องการไม่เป็นไปตามทฤษฎีที่ระบุไว้ (Wahba & Bridwell, 1973) แต่มีนักวิชาการหลายท่าน
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 55
ระบุว่า มาสโลว์ไม่ได้ต้องการให้ลําดับขั้นความต้องการ เป็นสิ่งที่ไม่ยืดหยุ่น ความต้องการบางอย่าง อาจมีความสําคัญมากกว่าความต้องการอย่างอื่น ในทํานองเดียวกันความต้องการไม่จําเป็นต้องได้รับ การตอบสนองในลําดับขั้นที่เข้มงวด (Barnes & Pressey, 2012) 1.2 ทฤษฎีแรงจูงใจภายในและภายนอก (Intrinsic and extrinsic motivation approaches) แรงจูงใจภายในสามารถใช้อธิบายพฤติกรรมบางอย่างที่บุคคลนํากิจกรรมหรืองานต่างๆ ทั้งๆ ที่บุคคลนั้นไม่ได้รับรางวัลหรือแรงเสริมใดๆ แรงจูงใจภายในให้ความสําคัญถึงคุณสมบัติของงาน หรือกิจกรรมของงาน โดยที่คุณลักษณะของงานเองเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลเกิดความอยากรู้อยากเห็น สนใจ อยากเรียนรู้ รับผิดชอบฯลฯ ลักษณะของงานหรือกิจกรรมเป็นเรื่องแปลกใหม่ น่าท้าทาย น่าสนใจ สิ่งเหล่านี้จะผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมต่างๆ (Gagne & Deci, 2005) ดังนั้น แรงจูงใจ ภายในเป็นความต้องการของบุคคลที่จะแสดงพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดจากการเสาะแสวงหาของตนเอง โดย ความต้องการมีความสามารถ ความต้องการลิขิตด้วยตนเองและปัจจัยภายในงาน เช่น ความท้าทาย น่าสนใจของงานเป็นแรงผลักดัน ไม่ต้องอาศัยรางวัลภายนอกหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับ (อรพินทร์ ชูชม, อัจฉรา สุขารมณ์ และ วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี, 2542) อารมณ์ยังเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องผสมผสานกับ แรงจูงใจภายใน โดยความสนใจมีบทบาทโดยตรงที่สําคัญต่อพฤติกรรมที่ถูกจูงใจภายใน ในขณะที่โดย ธรรมชาติบุคคลดําเนินกิจกรรมที่สนใจ ความสนใจจะเป็นองค์ประกอบอันใหญ่อันหนึ่งของสิ่งท้าทาย ที่เหมาะสม อารมณ์เพลิดเพลินและตื่นเต้นมาพร้อมกับประสบการณ์การมีความสามารถและอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ซึ่งเป็นรางวัลภายในตนเอง แรงจูงใจภายในจึงเป็นแรงจูงใจที่ไม่ต้องการแรงเสริม ภายนอก แรงจูงใจภายในจะให้ความสนใจในสิ่งจูงใจภายในงาน (Task intrinsic incentives) เช่น ความท้า ทาย ความรับผิดชอบและความแปลกใหม่ ที่จะทําให้คนมีพฤติกรรมที่ถูกจูงใจภายใน นอกจากนี้ จากการ ศึกษาวิจัยหลายเรื่องต่างยืนยันว่า แรงจูงใจภายในส่งผลทางบวกต่อผลลัพธ์การทํางาน เช่น ความคิด สร้างสรรค์ ประสิทธิผลในการทํางาน ความพึงพอใจในงาน ความผูกพันในงานและคุณภาพชีวิตการ ทํางาน (อรพินทร์ ชูชม, อัจฉรา สุขารมณ์ และ อังศินันท์ อินทรกําแหง, 2553; Gagne & Deci, 2005) แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic motivation) เป็นความต้องการของบุคคลที่จะแสดงพฤติกรรม ใดออกมาโดยต้องอาศัยสิ่งจูงใจภายนอก (Extrinsic incentives) รางวัล แรงเสริมหรือกฎข้อบังคับมา เป็นเงื่อนไขตัวกําหนดให้บุคคลแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ออกมา โดยสิ่งจูงใจภายนอกที่ใช้อาจ อาศัยสิ่งจูงใจภายนอกทางบวก เพื่อให้พฤติกรรมที่พึงประสงค์ดํารงอยู่และมีความเข้มข้นในการแสดง พฤติกรรมนั้น ได้แก่ การให้รางวัลหรือให้ได้รับผลลัพธ์ในทางบวก หลังจากได้กระทําพฤติกรรมนั้น เช่ น การแสดงความชื่ น ชมยกย่ อง การให้ ร างวั ล ของขวั ญ หรื อ เงิ น เป็ นต้ น หรื อ อาจให้สิ่ ง จู ง ใจ ภายนอกทางลบ เช่น เงื่อนไขข้อบังคับ กฎระเบียบ การกําหนดเวลา เป็นตัวจูงใจให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ตามที่ต้องการ แรงจูงใจภายนอกเกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องรางวัล แรงเสริมทางบวก แรงเสริมทางลบ การลงโทษและสิ่งจูงใจภายนอก แต่มีผลการวิจัยหลายเรื่องที่พบผลที่สอดคล้องกับแนวคิดแรงจูงใจ ภายในว่า สิ่งจูงใจภายนอกบางประเภท เป็นตัวบั่นทอนแรงจูงใจภายในและความคิดสร้างสรรค์ ในขณะที่สิ่งจูงใจภายนอกบางอย่างส่งผลทางบวกต่อผลการทํางาน เช่น ทํางานให้เสร็จทันเวลา สมบูรณ์และเป็นประโยชน์ นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยยังต้องการองค์ความรู้ถึงวิธีการผสมผสานกัน
56
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
ของแรงจูงภายในและภายนอก เพื่อให้เกิดพลังร่วมแรงจูงใจ (Amabile, 1993; Gagne & Deci, 2005) ในกลุ่มทฤษฎีเนื้อหา ได้มีการศึกษาวิจัยในประเทศไทยเป็นจํานวนมากที่สํารวจระดับ แรงจูงใจประเภทต่างๆ ของบุคลากรอาชีพต่างๆ และเปรียบเทียบแรงจูงใจที่จําแนกตามภูมิหลังและ ลักษณะทางชีวสังคม ผลจากการวิจัยยังคงยืนยันว่า มีความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องแรงจูงใจ และความต้องการ เช่น การศึกษาของ มณีวรรณ ฉัตรอุทัย (2554) พบว่า เพศชายมีความต้องการ อํานาจสูงกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05 และตําแหน่งหัวหน้างานและผู้บริหารมีความ ต้องการความสําเร็จ ความต้องการอํานาจ ความต้องการสัมพันธภาพและความเชื่อมั่นในพลังตนสูง กว่าผู้ปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05 2. กลุ่มทฤษฎีกระบวนการ เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรู้คิดในการตัดสินใจและ เลือกกระทําพฤติกรรม โดยพยายามอธิบายว่าแรงจูงใจเกิดขึ้นได้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับปัจจัย ต่างๆ ในรูปแบบใดมากกว่าจะบอกว่า ปัจจัยอะไรกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ ซึ่งความต้องการอาจเป็น ส่วนหนึ่งของกระบวนการจูงใจ ในที่นี้จะกล่าวถึง ทฤษฎีการกําหนดเป้าหมาย ทฤษฎีความคาดหวัง และทฤษฎีความเป็นธรรม 2.1 ทฤษฎีการกําหนดเป้าหมาย (Goal-setting theory) เป็นทฤษฎีแรงจูงใจที่มีการ พัฒนามาจากแนวคิดของ เอ็ดวิน ล๊อก (Edwin Locke) ว่าแรงจูงใจที่บุคคลจะแสดงพฤติกรรมนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการที่จะบรรลุเป้าหมาย เป้าหมายเป็นสิ่งที่บุคคลตั้งใจให้บรรลุในช่วงเวลาที่ กําหนดไว้ในอนาคต เป้าหมายช่วยส่งเสริมการกระทํา โดยมุ่งความใส่ใจของบุคคลไปยังเป้าหมายที่ ต้องการ มีความเพียรพยายามและหาวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมาย โดยการกําหนดเป้าหมายผลการ กระทําที่เฉพาะเจาะจงและท้าทาย สามารถจูงใจและเป็นแนวทางในการแสดงพฤติกรรมในทางที่มี ประสิทธิผลยิ่งขึ้น การกําหนดเป้าหมายเพื่อจูงใจบุคคลให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์นั้น จะต้องไม่ยาก หรือง่ายเกินไป ควรเป็นเป้าหมายที่เหมาะสมกับความสามารถของบุคคล งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการระบุ ลักษณะของการกําหนดเป้าหมายที่เฉพาะที่ประสบความสําเร็จ (Latham & Pinder, 2005) มีดังนี้ - กําหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง - เป้าหมายควรเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถ - บุคคลควรมีความสามารถและมีทรัพยากรทีจ่ ําเป็นที่จะทําให้บรรลุเป้าหมาย - บุคคลควรได้รับข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการทีจ่ ะบรรลุเป้าหมาย - จัดสรรรางวัลสําหรับบุคคลทีบ่ รรลุเป้าหมายที่วางไว้ - ผู้บริหารจําเป็นต้องสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการกําหนดเป้าหมาย - การกําหนดเป้าหมายจะมีประสิทธิผลมากที่สุดถ้าพนักงานยอมรับเป้าหมายที่กําหนด ไว้ ทฤษฎีการกําหนดเป้าหมายมีลักษณะที่สําคัญ คือ ความผูกพันกับเป้าหมายของบุคคล (Individual goal commitment) ซึ่งหมายถึง ความเข้มข้นในการที่จะมุ่งมั่นให้บรรลุเป้าหมาย ความ ผูกพันกับเป้าหมายได้รับอิทธิพลจากปัจจัย 3 ประเภท ได้แก่ ปัจจัยภายนอก ปัจจัยปฏิสัมพันธ์และปัจจัย การรู้คิดภายใน
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 57
- ปัจจัยภายนอก (External factors) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันกับเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ มีอํานาจ อิทธิพลของเพื่อนและรางวัลภายนอก - ปัจจัยปฏิสัมพันธ์ (Interactive factors) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อพันธะของบุคคลที่จะให้ บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ การแข่งขันและโอกาสการมีส่วนร่วมในการกําหนดเป้าหมาย - ปัจจัยการรู้คิดภายใน (Internal cognitive factors) เป็นสิ่งที่เอื้อต่อความผูกพันกับ เป้าหมาย ได้แก่ รางวัลภายในจิตใจของตนเองและความคาดหวังความสําเร็จ 2.2 ทฤษฎีความคาดหวัง (Expectancy theory) วิคเตอร์ วูม (Victor Vroom) เป็นผู้ ริเริ่มทฤษฎีแรงจูงใจตามความคาดหวังในการอธิบายการที่บุคคลถูกจูงใจให้ทํางานหรือกิจกรรม บางอย่าง เมื่อบุคคลคาดหวังว่าจะได้รับสิ่งที่ต้องการจากการทํากิจกรรมนั้น ทฤษฎีนี้ให้ความสําคัญว่า มนุษย์เป็นบุคคลที่มีเหตุผลที่คิดเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการทําเพื่อให้ได้รางวัลและรางวัลนั้นมีความหมาย สําหรับบุคคลนั้น ก่อนที่บุคคลจะกระทํางานหรือกิจกรรมนั้น โดยทั่วไปนักทฤษฎีความคาดหวัง เห็น สอดคล้องกันว่าแรงจูงใจเป็นผลมาจากความเชื่อที่แตกต่างกัน 3 ประเภทที่บุคคลมีอยู่ ได้แก่ ความ คาดหวัง (Expectancy) การกระทํากับผลลัพธ์ (Instrumentality) และการรับรู้คุณค่า (Valence) - ความคาดหวั ง เป็ น ความเชื่ อ ของบุ ค คลที่ ว่ า ความพยายามจะส่ ง ผลต่ อ ระดั บ ความสําเร็จของงาน - การกระทํากับผลลัพธ์ เป็นความเชื่อของบุคคลที่ว่าผลการกระทําจะได้รับรางวัล - การรับรู้คุณค่า เป็นการรับรู้ของบุคคลเกี่ยวกับคุณค่าของรางวัลที่ได้รับ แนวคิดนี้ถือว่า แรงจูงใจมาจากผลคูณขององค์ประกอบสามส่วนนี้ร่วมกัน บุคคลจะมี แรงจูงใจในการกระทําสูง ถ้าองค์ประกอบทั้งสามส่วนนี้มีคุณค่าสูงหมด ถ้าองค์ประกอบส่วนใดส่วน หนึ่งมีค่าเป็นศูนย์ ระดับแรงจูงใจรวมจะเป็นศูนย์เช่นเดียวกัน ทฤษฎีความคาดหวัง มองว่า แรงจูงใจ เป็นปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน โดยแรงจูงใจผสมผสานกับทักษะและ ความสามารถของบุคคล การรับรู้บทบาทและโอกาสในการทํางานมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงาน ทฤษฎีความคาดหวังได้ถูกนําไปประยุกต์ใช้ในองค์การที่หลากหลาย เช่น การใช้ทฤษฎีความคาดหวัง อธิบายพฤติกรรมการทํางานของตํารวจ พบว่า ทฤษฎีความคาดหวังสามารถอธิบายพฤติกรรมการ ทํางานของตํารวจที่มีลักษณะเด่นชัดที่ให้ผลลัพธ์ที่ง่ายต่อการตรวจสอบ เช่น การจับกุมการกระทํา ความผิด แต่ทฤษฎีนี้ไม่เหมาะที่จะอธิบายพฤติกรรมการทํางานของตํารวจที่ผลลัพธ์การทํางานยากต่อ การตรวจสอบ เช่น ปริมาณเวลาที่ใช้ทํากิจกรรมในการป้องกันอาชญากรรมด้วยการตรวจตราความ ปลอดภัยขององค์กรธุรกิจและที่อยู่อาศัย (Johnson, 2008) สําหรับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความ คาดหวังในการจูงใจการทํางานของพนักงานโรงแรม ได้รับการยืนยันว่า ทฤษฎีความคาดหวังที่ปรับ แล้ว ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความคาดหวัง ความเชื่อในการกระทําจะได้รับรางวัล ภายใน (Intrinsic instrumentality) ความเชื่อในการกระทําจะได้รับรางวัลภายนอก (Extrinsic instrumentality) การรับรู้คุณค่าภายในและการรับรู้คุณค่าภายนอก อธิบายกระบวนการจูงใจในการ ทํางานของพนักงานโรงแรมได้เป็นอย่างดี และยังพบว่าปัจจัยการจูงใจภายในมีอิทธิพลมากกว่าปัจจัย การจูงใจภายนอก (Chiang & Jang, 2008)
58
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
2.3 ทฤษฎีความเป็นธรรม (Equity theory) เจ สเตซีย์ อดัมส์ (J. Stacy Adams) ได้ พัฒนาทฤษฎีความเป็นธรรม โดยมีสาระสําคัญว่า การจูงใจได้รับอิทธิพลจากความเป็นธรรมหรือความ เสมอภาคที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน การรับรู้ของบุคคลถึงความเป็นธรรมเป็นการเปรียบเทียบตนเอง กับผู้อื่นโดยคํานึงถึงปัจจัยนําเข้า (Inputs) และผลลัพธ์ (Outcomes) ปัจจัยนําเข้า ได้แก่ สิ่งต่างๆ ที่ บุคคลมีส่วนเสริมสร้างในการทํางานหรือกิจกรรมที่ใช้ในการทํางาน เช่น เวลาที่ใช้ในการทํางาน ประสบการณ์ คุณสมบัติ ความพยายามและปริมาณงาน ส่วนผลลัพธ์เป็นสิ่งต่างๆ ได้จากการทํางาน หรือกิจกรรม เช่น ผลประโยชน์ ชื่อเสียงและค่าจ้าง โดยบุคคลจะเปรียบเทียบผลลัพธ์และปัจจัย นําเข้าของตนเองและผู้อื่นแล้วตัดสินว่ามีความเป็นธรรมหรือไม่ ในความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านี้ ในรูปของ สัดส่วน ถ้าบุคคลเชื่อว่า ได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นสอดคล้องกับ ความคาดหวังของบุคคลนั้นแล้ว บุคคลนั้นจะถูกจูงใจให้ดํารงหรือคงพฤติกรรมในการปฏิบัติงานไว้ ในทางตรงข้ามถ้าบุคคลคิดว่า ตนเองได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม บุคคลนั้นจะพยายามลดความ ไม่เสมอภาคนั้น โดยการลดการปฏิบัติงานหรือการกระทําและผลจากการศึกษาวิจัยหลายเรื่องต่าง พบว่า การรับรู้ความไม่เป็นธรรมส่งผลต่อผลลัพธ์การทํางานที่ไม่พึงประสงค์ เช่น พฤติกรรมต่อต้าน การผลิต การหยุดงาน ความท้อแท้เหนื่อยหน่ายและความตั้งใจจะออกจากงาน รวมทั้ง ส่งผลต่อ อารมณ์ทางลบ เช่น ความรู้สึกโกรธและความกลัว (Disley, Hatton & Dagnan, 2009; Roy, Bastounis & Minibas-Poussard, 2012) จากแนวคิดของ อดัมส์ ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ขยาย ขอบเขตศึกษาโครงสร้างไว้หลายลักษณะ เช่น ความเป็นธรรมด้านผลตอบแทน (Distributive Jjustice) ความเป็นธรรมด้านกระบวนการ (Procedural justice) ความเป็นธรรมด้านการมี ปฏิสัมพันธ์ (Interactional justice) ความเป็นธรรมด้านข้อมูลข่าวสาร (Informational justice) และความเป็นธรรมด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal justice) และผลการวิจัยของ ชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย, วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี, อรพินทร์ ชูชม และ นําชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล (2552) พบว่า การรับรู้ความเป็นธรรมของเจ้าหน้าที่เทศกิจ ประกอบด้วย ความเป็นธรรมด้านผลตอบแทน ความ เป็นธรรมด้านกระบวนการและความเป็นธรรมด้านการมีปฏิสัมพันธ์ มีอิทธิพลทางตรงต่อความพึง พอใจในการทํางานและมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการทํางาน ผ่านความพึงพอใจในการทํางาน แนวทางการจูงใจบุคลากรในการทํางาน การจูงใจบุคลากรให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้น เป็นทั้งศิลปะและศาสตร์อย่างหนึ่งที่ ผู้บริหารสามารถประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการทํางานมาใช้ให้เหมาะสมกับบุคคลและสถานการณ์ ต่างๆ ของหน่วยงาน วิธีการปฏิบัติที่สามารถส่งเสริมแรงจูงใจในการทํางานของบุคลากรในองค์การ ทํางานมีหลายแนวทางดังนี้ เช่น 1. คํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องต่างๆ เช่น แรงจูงใจ ความต้องการ ค่านิยม ความสามารถ ความสนใจและการเรียนรู้ ผู้บริหารต้องมั่นใจว่าแรงจูงใจและค่านิยมของพนักงาน เหมาะสมกั บ งานที่ ทํ า เช่ น พนั ก งานที่ มี แ รงจู งใจใฝ่สั ม ฤทธิ์ ต่ํา ควรจัด สรรงานที่ ง่ าย ไม่ซ้ํ าซ้ อ น ในขณะที่พนักงานที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง ควรจัดสรรงานที่ท้าทายความสามารถ การที่บุคคลได้ ปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับแรงจูงใจ ความต้องการหรือบุคลิกลักษณะของตนเองแล้ว บุคคลนั้นย่อม
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 59
เต็มใจใช้ความสามารถและพยายามในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่เช่นเดียวกับการให้ผลตอบแทนและ รางวัลในการจูงใจให้คนปฏิบัติงานนั้น ควรให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคคลด้วย 2. ทําให้งานที่ทํานั้นน่าดึงดูด น่าสนใจและสอดคล้องกับแรงจูงใจและค่านิยมของพนักงาน เช่น การเพิ่มคุณค่าของงาน (Job enrichment) สําหรับพนักงานที่มีแรงจูงใจภายใน โดยทําให้งาน น่าสนใจ ท้าทายความสามารถและให้อิสระในการเลือกวิธีการทํางาน แต่ถ้าพนักงานยังขาดทักษะ ความสามารถ ความพร้อมที่จะทําอะไรด้วยตนเอง งานที่ทําอาจจะออกแบบให้พนักงานทําตามความ ถนัด (Specialization) เชี่ยวชาญเฉพาะ เพื่อให้พนักงานรู้สึกประสบความสําเร็จในการทํางานหรือให้ พนักงานมีการหมุนเวียนเปลี่ยนงาน (Job rotation) ไปทําหน้าที่อื่นๆ โดยที่ระดับทักษะ ความสามารถ ตลอดจนลั ก ษณะงานยั ง คล้ า ยคลึ ง กั น เพื่ อ ลดความเบื่ อ หน่ า ยและขาดความ กระตือรือร้นในการที่ต้องทํางานแบบเดิม 3. ใช้สิ่งจูงใจ ผลตอบแทนและรางวัลในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตาม ความต้องการขององค์การ สิ่งจูงใจใดๆ นั้นเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลที่ดึงดูดหรือผลักดันให้มนุษย์แสดง พฤติกรรมตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่แสดงพฤติกรรม โดยสิ่งจูงใจเป็นสิ่งที่ใช้ดึงดูดก่อนที่จะแสดง พฤติกรรมหรือกิจกรรม ซึ่งต่างจากรางวัลเป็นสิ่งที่ดึงดูดที่เกิดขึ้นหลังจากสิ้นสุดพฤติกรรมและเพิ่ม โอกาสที่จะเกิดพฤติกรรมนั้นอีก โดยสิ่งจูงใจ ผลตอบแทนหรื อรางวัลต่ างๆ ที่ องค์การจั ดสรรให้ พนักงานนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น เงิน ความมั่นคงปลอดภัย การยอมรับ สถานภาพและตําแหน่ง พนั ก งานต้ อ งรั บ ทราบสิ่ ง จู ง ใจ ผลตอบแทนและรางวั ล สํ า หรั บ การปฏิ บั ติ ง านที่ พ นั ก งานมี ก าร ปฏิบัติงานอย่างไร จึงจะได้รับรางวัลแบบใดเป็นสิ่งตอบแทน โดยสิ่งจูงใจ ผลตอบแทนและรางวัลนั้น จะต้องตอบสนองความต้องการของพนักงาน พนักงานเห็นคุณค่าในสิ่งตอบแทนที่ได้รับ พนักงานจะมี ความพึงพอใจในการทํางานและมีพฤติกรรมการทํางานที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผลตอบแทนหรือ รางวัลต่างๆ ที่ได้รับพนักงานต้องรับรู้ว่ามีความยุติธรรม คุ้มค่ากับสิ่งที่พนักงานทุ่มเทให้กับองค์การ รางวัลที่จัดสรรให้มีความเป็นธรรม 4. มีการจัดเวลาในการทํางาน ให้พนักงานมีโอกาสเลือกเวลาในการทํางานที่ตนเองต้องการ สิ่งนี้อาจช่วยสนองตอบความต้องการของพนักงานบางคนที่มีภารกิจบางอย่างที่ต้องทําในระหว่างวัน เวลาการทํางานที่ตายตัว พนักงานจะได้เต็มใจปฏิบัติงานในเวลาที่ตนเลือกได้อย่างเต็มที่ ไม่เกิดความ คับข้องใจในการทํางาน เช่น จัดเวลาทํางานที่แปรเปลี่ยนได้ (Variable work schedules) หรือมีการ ยืดหยุ่นเวลาในการปฏิบัติงาน (Flextime work schedule) 5. จัดสรรทรัพยากรบุคคล วัสดุอุปกรณ์ในการทํางาน ตลอดจนเครื่องอํานวยความสะดวก ต่างๆ ให้แก่พนักงาน เพื่อที่พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้สภาพแวดล้อม การทํางานที่ดีไม่ว่าห้องทํางาน แสงสีและกลิ่นก็เป็นสิ่งที่อาจเอื้อต่องานและประสิทธิผลการทํางาน 6. เปิ ดโอกาสให้พนักงานมี ส่วนร่วมในการคิด วางแผนและการตัดสิ นใจในงานต่ างๆ ที่ พนักงานรับผิดชอบอยู่ พนักงานจะมีความรู้สึกผูกพันกับงาน เป็นส่วนหนึ่งของงาน เป็นเจ้าของงาน และเห็นว่าตนเองเป็นคนมีคุณค่า มีความสําคัญสําหรับหน่วยงาน ทําให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง งานและหน่วยงาน บุคคลจะมีแรงจูงใจในการทํางาน 7. กํ า หนดเป้ า หมายการทํ า งานให้ ชั ด เจนเฉพาะเจาะจง ท้ า ทาย น่ า สนใจและสามารถ บรรลุผลสําเร็จได้ การกําหนดเป้าหมาย เป็นวิธีการหนึ่งในการจูงใจพนักงานในการทํางาน โดยที่
60
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
เป้าหมายนั้น ควรได้มาจากการมีส่วนร่วมกันระหว่างผู้บริหารและพนักงานในการกําหนดเป้าหมาย การทํางาน เพื่ อที่จะทําให้ พนักงานมีความรู้สึกภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง ผูกพั นกั บ เป้าหมาย เต็มใจในการทํางาน รับผิดชอบงานและพยายามดําเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ ข้อมูลป้อนกลับหรือความรู้ผลลัพธ์ของความสําเร็จของเป้าหมาย มีส่วนสําคัญในการที่ พนักงานจะได้ทราบว่า ผลการปฏิบัติงานของตนเป็นอย่างไร เพื่อที่จะเป็นแรงผลักดันในการดํารง รักษาเป้าหมายไว้ได้ การจูงใจโดยวิธีการนี้อาจใช้การบริหารงานโดยยึดวัตถุประสงค์ที่เรียกว่า MBO (Management by objectives) เอกสารอ้างอิง ชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย, วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี, อรพินทร์ ชูชม และ นําชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. (2552). ปัจจัยที่ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทํางานของเจ้าหน้าที่เทศกิจสังกัดกรุงเทพมหานครภายใต้ระบบ การบริหารจัดการแนวใหม่ ตามหลักธรรมาภิบาล. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 15(1), 95111. มณีวรรณ ฉัตรอุทัย. (2554). การประยุกต์ใช้แนวคิดแรงจูงใจและปัจจัยส่วนบุคคลของผู้เรียนใน การออกแบบกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า, 9, 22-39. อรพินทร์ ชูชม, อัจฉรา สุขารมณ์ และ วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี. (2542). การพัฒนาแบบวัดแรงจูงใจ ภายใน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อรพินทร์ ชูชม, อัจฉรา สุขารมณ์ และ อังศินันท์ อินทรกําแหง. (2553). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างครอบครัว-งานกับคุณภาพชีวิต. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 16(2), 32-49. Amabile, T. M. (1993). Motivational synergy: Toward new conceptualization of intrinsic and extrinsic motivation in the workplace. Human Resource Management Review, 3(3), 185-201. Barnes, S. J., & Pressey, A. D. (2012). Who needs real-life? Examining needs in virtual worlds. Journal of Computer Information Systems. 52(4), 40-48. Chiang, C., & Jang, S. (2008). An expectancy theory model for hotel employee motivation. International Journal of Hospitality Management, 27(2), 313-322. Disley, P., Hatton, C., & Dagnan, D. (2009). Applying equity theory to staff working with individuals with intellectual disabilities. Journal of Intellectual & Development Disability, 34(1), 55-66. Gagne, M., & Deci, E. (2005). Self-determination theory and work motivation. Journal of Organizational Behavior. 26, 331-362. Johnson, R. R. (2009). Using expectancy theory to explain officer security check activity. International Journal of Police Science & Management, 11(3), 274284.
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 61
Latham, G. P., & Pinder, C. C. (2005). Work motivation theory and research at the dawn of the twenty-first century. Annual Review of Psychology, 56, 485-516. Pinder, C. (1998). Work Motivation in Organizational Behavior. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall. Porter, L. W., Bigley, G. A., & Steers, R. M. (2003). Motivation and Work Behavior. Burr Ridge, IL: Irwin/McGraw-Hill. Roy, J. L., Bastounis, M., & Minibas-Poussand, J. (2012). Interactional justice and counterproductive work behaviors: The mediating role of negative emotions. Social Behavior & Personality, 40(8), 1341-1356. Wahba, M. A., & Bridwell, L. G. (1973). Maslow reconsidered: A review of research on the need hierarchy theory. Academy of Management Proceedings. 514-520. …………………………………………
62
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล: ทําไมคนเราบางคนไม่รู้จักคิด Rational Thinking Skill: Why did Someone not Think? สิริอร วิชชาวุธ * บทคัดย่อ บทความนี้ แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ทุกคนมีการคิดก่อนการกระทํา เรารับข้อมูลต่างๆ ผ่าน ระบบการประมวลผลข้อมูลและมีการคิดโดยกระบวนการทํางานของเซลล์ประสาทในสมอง แอนเดอร์ สัน (Anderson, 2000) เสนอว่า นุษย์เรามีการเรียนรู้ทักษะทางกายและทักษะทางการคิดอย่างมี เหตุผล 3 ขั้น คือ (1) ขั้นการรู้คิด (2) ขั้นการสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง และ (3) ขั้นทําได้โดย อัตโนมัติ โดยการเรียนรู้ขั้นที่ (1) และ (2) เป็นขั้นที่ใช้การคิดและตัวการที่ทําให้เราใช้เวลาในการคิด คือ เซลล์ประสาทกลุ่มที่ชื่อว่า แอนทีเรียร์ ซินกูแลท์ด ไกรัส (Anterior cingulated gyrus) (Posner, 1994) ส่วนขั้นที่ (3) เป็นการฝึกปฏิบัติเมื่อประสบกับปัญหาเดิมๆ จนกลายเป็นความสามารถ ตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างอัตโนมัติ เมื่อใดที่เราสามารถแก้ปัญหาได้ถูกต้องอย่างเป็นอัตโนมัติ เมื่อนั้นเซลล์ประสาทกลุ่ม แอนที เรียร์ ซินกูแลท์ด ไกรัส จะหยุดทํางาน ทําให้เราใช้เวลาในการคิดน้อยลง เมื่อใดที่เราประสบปัญหา ใหม่ๆ เมื่อนั้นเซลล์ประสาทกลุ่ม แอนทีเรียร์ ซินกูแลท์ด ไกรัส จะทําหน้าที่ตรวจสอบและค้นหาข้อมูล ต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหานั้นๆ ทําให้เราใช้เวลาในการคิดนานขึ้น (Posner, 1994) แต่ถ้าเราประเมิน ปัญหาใหม่ว่า เป็นปัญหาแบบเดิมๆ เซลล์ประสาทกลุ่ม แอนทีเรียร์ ซินกูแลท์ด ไกรัส จะหยุดทํางาน เช่นกัน เราจะใช้เวลาในการคิดน้อยลงและจะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบเดิมๆ เมื่อใช้วิธีแก้ปัญหาแบบเดิม กับปัญหาใหม่ ย่อมทําให้เกิดผลลัพธ์ที่ผิดพลาดได้และดูคล้ายว่า เราไม่ได้คิด เพื่อให้เราสามารถ แก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและถูกต้องมากขึ้น เราควรคิดพิจารณาอยู่เสมอว่า ปัญหาที่เราประสบแต่ละ ครั้งนั้น อาจแตกต่างจากปัญหาเดิมและควรใช้คําถามกระตุ้นให้ เซลล์ประสาทกลุ่ม แอนทีเรียร์ ซินกู แลท์ด ไกรัส ทําหน้าที่ตรวจสอบ ค้นหาข้อมูลต่างๆ และพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ใน ทุกครั้งที่ประสบปัญหา จะช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาทุกปัญหาอย่างมีเหตุผลและถูกต้องมากขึ้น คําสําคัญ: ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล
______________________ * รองศาสตราจารย์ประจําหลักสูตรจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 63
Abstract This article aims to show that all human always think before making any action. We acquire information through information processing system and then thinking process will carry out by neurons in our brain. According to Anderson (2000), human acquire motor skills and rational thinking skill through 3 stages (1) The cognitive stage, (2) The associate stage and (3) the autonomous stage. Thinking process will occur in stage (1) and stage (2) which triggers anterior cingulated gyrus to work. When the anterior cingulated gyrus work, we will use more time to think than usual. (Posner, 1994). Once we can quickly solve problem and always get correct solution, we will use less time to think than usual because the anterior cingulated gyrus do not do their job. When we face with a new problem, anterior cingulated gyrus will do their job by checking and finding out various information (Posner, 1994). When we confront with a new problem and evaluate that it is the same problem as the old one, anterior cingulated gyrus will not acquire any new information, then we will quickly respond to the new problem as we usually did to the old one. This may result in mistakes and appear as if we did not think before acting. In order to solve the problem rationally and accurately, we should always carefully consider the problems that we face as they may be different from the old ones and ask questions to activate anterior cingulated gyrus to check, find out more information and cogitate the reasoning of all information. This will allow us to solve the problem more rationally and accurately. Key word: Rational thinking skill การคิดที่เป็นเหตุผล หมายถึง การคิดที่ผ่านกระบวนการคิด ด้วยหลักของตรรกะและเหตุผล โดยการนําข้อมูลด้านข้อเท็จจริงและหลักเหตุผลมาสร้างความสัมพันธ์กัน จนสามารถคิดคํานวณและ ค้นหาความเป็นจริงได้ การคิดที่เป็นเหตุผลจะช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ในการทํางานและ กิจกรรมต่างๆ รวมถึง ปัญหาที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ได้ตรงประเด็นและถูกต้องมากขึ้น การคิดเป็นเหตุผลจะมีการวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นปรนัย มีขั้นตอนการประมวลข้อมูล วิเคราะห์ ข้อมูลว่า เป็นข้อมูลประเภทใด ข้อเท็จจริง อารมณ์หรือข้อมูลที่คิดเอาเอง จากนั้น จึงใช้หลักของ เหตุผลในการพิจารณาว่า ข้อมูลใดตรงหรือไม่ตรงประเด็นสําหรับปัญหานั้นๆ และมีความสัมพันธ์กัน หรือไม่ หลังจากนั้น จึงทําการตัดสินใจเลือกทางออกที่ดีที่สุด การตัดสินใจเลือกทางออกที่ใช้หลักการ และเหตุผลนั้น นอกจากจะทําให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ แล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลที่ เกี่ยวข้องเข้าใจในเหตุผลของการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์อีกด้วย
64
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
มนุษย์ทุกคนสามารถคิดอย่างมีเหตุผลได้ แต่ที่บางคนไม่สามารถคิดเป็นเหตุผล เพราะนํา ข้อมูลทางด้านอารมณ์หรือความมีอคติและหลงผิดของตนเข้ามาเกี่ยวข้อง และตัดสินใจแก้ปัญหาตาม อารมณ์และความนึกคิดของตน ทําให้เกิดความผิดพลาดในการแก้ปัญหา รวมทั้ง สร้างปัญหาและ ความขัดแย้งให้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องได้ นอกจากนั้น ยังมีบางส่วนที่เราเข้าใจว่า คนบางคนไม่รู้จักคิด และมักได้ยินการต่อว่ากันและกันเสมอว่า “ไม่รู้จักคิด ….. ก่อนพูดหรือไม่รู้จักคิด ..... ก่อนลงมือทํา” การไม่คิดหรือใช้เวลาในการคิดน้อย ย่อมคล้ายกับว่า บุคคลผู้นั้นยังไม่ทันได้ใช้เหตุผลในการคิดเลย ที่ จริงคนเราทุกคนมีการรู้คิดและคิดก่อนลงมือทําเสมอ แต่ในการคิดแต่ละครั้ง อาจมีความรอบคอบ และมีคุณภาพในการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือมีความหลากหลายมากน้อยแตกต่างกัน การคิด (Thinking) เป็นการปรุงแต่งต่อจากการรับข้อมูลการรู้สึก และเป็นกระบวนการ ทํางานของเซลล์ประสาทในช่วงความจําระยะสั้นที่จะประมวลและประสานข้อมูลการรู้สึกในขณะนั้น กับข้อมูลความรู้ความเชื่อและข้อมูลทางอารมณ์ที่มีอยู่ในความจําระยะยาว เพื่อค้นหาคําตอบไม่ว่าจะ เป็นการจัดประเภทคําจํากัดความ การวางแผน การประเมินหรือการตัดสินใจเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า ในขณะนั้น (Anderson, 2000; Matlin, 2005) จากคําจํากัดความดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามนุษย์ทุกคน มี ก ารคิ ด ซึ่ ง เป็ น ไปตามธรรมชาติ ข องการทํ า งานของสมอง ด้ ว ยระบบการประมวลผลข้ อ มู ล (Information processing system) ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 ระบบการประมวลข้อมูล (Information processing system) ปรับปรุงจากแบบจําลอง ความจําสองกระบวนการ (Some two process models for memory, Atkinson and Shiffrin, 1966) ในขั้นแรกของระบบการประมวลผลข้อมูล เซลล์รับการรู้สึกจะรับการรู้สึกข้อมูลคุณสมบัติ ของสิ่งเร้าและจะจําสิ่งที่รู้สึกเป็นการจําการรู้สึก (Sensory memory) แล้ว จึงแปลงคุณสมบัติ เหล่านั้น เป็นกระแสประสาทและส่งสัญญาณไปยังเซลล์ประสาทในสมอง เช่น ถ้าเป็นเสียงเซลล์รู้สึก ทางการได้ยินจะจําลักษณะของคลื่นเสียง แล้วเปลี่ยนเป็นกระแสประสาทส่งต่อไปยังเซลล์ประสาท บริเวณการได้ยิน (Auditory cortex) เพื่อตีความว่า สิ่งเร้าที่ได้ยินนั้นคืออะไร เนื่องจากสิ่งเร้ารอบตัว เรามีมากเกินที่เราจะสามารถรับรู้ได้หมดทุกสิ่ง สมองเราจึงมีระบบการเลือกรับรู้ (Selective attention) และรูปแบบที่สังเกตจําได้ (Pattern of recognition) เพื่อกลั่นกรองข้อมูลออกชั้นหนึ่ง ก่อน ดังนั้น เราจะรับรู้ข้อมูลได้เฉพาะบางสิ่งที่เลือกไว้เท่านั้น ส่วนข้อมูลที่ไม่ได้รับการเลือกรับรู้จะ สลายหายไป จากนั้น เซลล์ประสาทจะนําข้อมูลที่ได้เรียนรู้ในอดีตมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้รับใน
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 65
ปัจจุบัน เพื่อตีความว่า สิ่งเร้านั้นคืออะไรและจําไว้เพื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นๆ ที่จะได้รับในเวลาต่อมา การจําในขณะนี้ เป็นการจําข้อมูลเพียงชั่วคราวเรียกว่า ความจําระยะสั้น (Short term memory) กิจกรรมทางสมองในช่วงความจําระยะสั้นนี้ คือ การตีความว่าสิ่งเร้าที่เราประสบคืออะไร เราจะต้อง ตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นอย่างไร ดังนั้น ช่วงนี้คนเราจะมีการคํานวณ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การ วางแผนหรือการประเมิน ซึ่งเราเรียกกิจกรรมทั้งหมดนี้ได้ว่า คือ การคิด เช่น เราทําโจทย์เลข เรา สามารถคิดคํานวณจนได้คําตอบ เมื่อตอบเสร็จ คําตอบนั้นจะสลายลืมไป แต่ถ้าเราสรุปการคิดหา คําตอบนั้น ด้วยความเข้าใจและมีความหมาย จะทําให้เนื้อหานั้นได้รับการลงรหัสเข้าไปอยู่ในความจํา ระยะยาว (Long term memory) แต่ความจําระยะยาวนั้น ก็มิได้หมายความว่า จะเป็นความจําที่อยู่ คงทนได้นานเท่านาน ความจําระยะยาวเป็นความจําที่ยาวกว่าความจําระยะสั้น แต่ระยะเวลาในการ จํานั้นอาจจะจําได้เป็นนาที ชั่วโมง วันหรือเป็นปี ขึ้นอยู่กับการทบทวนและความเข้าใจในสิ่งที่เราจะ จําหรือเป็นเหตุการณ์ที่มีอารมณ์ที่ช่วยเน้นความสําคัญของสิ่งเร้านั้นให้มีต่อเรา ถ้าเวลาผ่านไป หาก เราไม่ได้ทบทวนหรือรื้อฟื้นสิ่งที่เราจะจดจําหรือไม่ได้เป็นเหตุการณ์ที่ประทับใจ เราก็จะลืมข้อมูล เหล่านั้นไปในที่สุด ถ้าคําจํากัดความของการคิดเป็นเช่นข้างต้น มนุษย์ทุกคนย่อมจะต้องมีการคิดก่อนจะกระทํา สิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอ แต่เราจะเห็นว่า บางคนตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็วทันทีทันใดคล้ายไม่ได้ใช้ ความคิดเลย เช่น การแก้ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวันหรือการทําทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะ เป็นการว่ายน้ํา ขี่จักรยาน การเล่นกีฬา การฝีมือ การทํากับข้าว เป็นต้น แม้กระทั่งกิจกรรมบางอย่าง ที่ควรใช้ความคิดในการตอบสนองสิ่งเร้า แต่เราก็สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็วและไม่รู้ตัว ว่าได้ใช้ความคิด เช่น บางครั้งที่เราขับรถยนต์เพื่อไปสถานที่ใดที่หนึ่งที่ต่างไปจากเดิม แต่เมื่อใช้ เส้นทางที่เคยใช้เป็นประจํา มักจะเผลอขับรถไปยังสถานที่ที่ตนเคยไป ทั้งที่สถานที่นั้นไม่ใช่เป้าหมาย ปลายทางของการเดินทางไปในครั้งนี้ ในการขับรถเส้นทางนี้ แท้จริงเราได้เคยผ่านการเรียนรู้และการ คิดมาก่อนแล้ว เมื่อใช้เส้นทางนี้เป็นประจํา เราจะพบข้อมูลและสิ่งเร้าเกือบเหมือนเดิมทุกครั้ง ทําให้ รูปแบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเหมือนเดิมและเป็นไปอย่างอัตโนมัตินั้น หมายความว่า เราไม่ได้คิด ก่อนที่จะทําใช่หรือไม่ หรือคิดไม่รอบคอบ หรือไม่มีสติระวังตนให้มีการคิดไตร่ตรอง โดยธรรมชาติคนเรามีขั้นตอนการเรียนรู้ทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะทางกาย เช่น การเล่น กีฬา การเล่นดนตรี การฝีมือ เป็นต้น หรือทักษะทางปัญญา เช่น การทําวิจัย การวิเคราะห์และการ แก้ปัญหาต่างๆ เป็นต้น หรือทักษะทางการควบคุมอารมณ์และการดําเนินชีวิตในสังคม เช่น ความใจ เย็น การอยู่ในความสงบ การเจรจาต่อรอง ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคม เป็นต้น การ เรียนรู้เพื่อให้ตนมีทักษะเหล่านี้ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาทั้งในระบบการศึกษาที่เป็นทางการและการ ดําเนินชีวิตประจําวันจากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ การเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมและธรรม เนียมปฏิบัติในสังคมและการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะจากภายในครอบครัว ชุมชนและ ในที่ทํางาน ขั้ น ตอนของการเรี ย นรู้ ทั ก ษะทางกายและทั ก ษะการคิ ด อย่ า งมี เ หตุ ผ ล แบ่ ง เป็ น 3 ขั้ น (Anderson, 2000) คือ 1. ขั้นการรู้คิด 2. ขั้นการสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง และ 3. ขั้นการทําอย่าง เป็นอัตโนมัติ
66
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
1. ขั้นการรู้คิด (The cognitive stage) ผู้เรียนจะเรียนรู้การทําพฤติกรรมต่างๆ หรือ ทักษะต่างๆ จากคําสอน ตัวอย่างหรือคู่มือ ว่างานนั้นๆ จะต้องทําอย่างไร เช่น การหายใจในขณะว่าย น้ําแบบฟรีสไตล์ต้องหายใจเต็มปอด กลั้นลมหายใจก้มหน้าลงไปในน้ํา พร้อมกับยกแขนขวาว่ายน้ําไป ข้างหน้า แขนซ้ายว่ายตาม เมื่อแขนขวาถอยมาด้านหลังและไหล่ขวายกขึ้นเหนือน้ํา ให้ตะแคงหน้าไป ทางไหล่ขวาให้พ้นน้ําพร้อมกับที่ไหล่ยกขึ้นพอดี เมื่อหน้าพ้นน้ําแล้วให้หายใจออกและหายใจเข้าทันที กลั้นลมหายใจและคว่ําหน้าลงไปในน้ําขณะที่แขนขวาว่ายออกไปด้านหน้า เป็นต้น แอนเดอร์สัน (Anderson, 2000) เสนอว่า ในขั้นตอนการรู้คิด (The cognitive stage) มนุษย์ทุกคนจะใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยทั่วไป (General problem solving method) โดยทักษะทุก อย่างเริ่มต้นจากการหาทางที่จะบรรลุเป้าหมายของตนหรือการหาข้อสรุปว่าจะแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่ตน ประสบอยู่ได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อผัก ปลาหรือผลไม้ การเล่นเปียโน การเล่นหมากเก็บ หรือการป้องกันน้ําท่วมบ้าน เป็นต้น เมื่อบุคคลต้องทําสิ่งใหม่ๆ ที่ตนไม่เคยทํามาก่อน เขาจะพยายาม จัดระเบียบข้อมูลและหาข้อสรุปสําหรับการแก้ปัญหา เริ่มด้วยการรับข้อมูลและเก็บข้อมูลบางอย่างที่ เกี่ ยวข้องกั บปั ญหานั้ นๆ เช่น การรับข้อมูล เกี่ยวกับปริ มาณของน้ําจากแหล่งข้ อมูลต่างๆ เช่น มี ผู้ทรงคุณวุฒิที่ตนเชื่อถือท่านหนึ่งให้ข้อมูลว่าน้ําจะท่วมเขตที่อยู่ของตน หลังจากได้รับข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาที่ตนเผชิญอยู่ บุคคลจะคิดและตัดสินใจว่าตนจะต้องทําอะไรและอย่างไร เช่น เจ้าของร้านค้า และบ้านที่พักบางแห่งในเขตที่เขาอยู่ จะสร้างกําแพงกั้นประตูร้านหรือบ้านของตนให้สูงขึ้น ประมาณ 1 เมตรบ้าง 50 เซนติเมตรบ้าง แต่ก็มีเจ้าของร้านหรือบ้านบางแห่งไม่เตรียมการกั้นกําแพงใดๆ ไว้เลย สิ่งที่น่าสนใจ คือ ประชาชนเหล่านี้ไม่ได้กั้นกําแพงทุกคน ทั้งความสูงและความแน่นหนาของกําแพงก็ ต่างกั น วิธี การก่ อปู น ก็ ต่างกัน ไม่ว่าจะต่า งกันหรื อ เหมือนกั น อย่างไร ทุ ก คนมีกระบวนการที่ จ ะ แก้ปัญหาป้องกันน้ําท่วมบ้านของตน การตัดสินใจแก้ปัญหาในครั้งนี้ขึ้นอยู่กับการมีทักษะในการคิด แก้ปัญหาและตัดสินใจ ทั้งการได้รับและการใช้ข้อมูลที่แตกต่างกัน การคิ ด เป็ น คุ ณ สมบั ติ ข องมนุ ษ ย์ แ ละมนุ ษ ย์ จ ะคิ ด ก่ อ นตั ด สิ น ใจว่ า จะตอบสนองหรื อ มี พฤติกรรมต่อสิ่งเร้าอย่างไร ยกเว้น การมีพฤติกรรมปฏิกิริยาตอบสนอง (Reflex) ที่เกิดจากระบบ ประสาทส่วนอัตโนมัติ (Autonomic nervous system) การคิดเป็นกระบวนการทํางานของเซลล์ ประสาทในบริเวณเนื้อสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) เซลล์ประสาทเหล่านี้ จะทํางานในช่วง ความจําระยะสั้น ดังนี้ 1) รับและใช้ข้อมูลที่ได้จากการรู้สึกสัมผัสในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นจากการมองเห็น จาก การได้ยิน ได้กลิ่น ได้รสหรือได้สัมผัส 2) นําข้อมูลที่ได้รับจากการรับรู้สึกในขณะนั้นและดึงเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากความจํา ระยะยาวที่คิดว่าเกี่ยวข้องมาใช้ เพื่อพิจารณาว่า จะตอบสนองต่อเป้าหมายในขณะนั้นอย่างไรและจํา ได้ว่าทําไปถึงไหน เช่น กําลังบวกเลขตามคําบอก ขณะนี้เลขในใจ คือ 10 คําบอกให้เอา 2 คูณ 9 มา บวกเพิ่ม บุคคลต้องดึงความจําในระยะยาวว่า 2 คูณ 9 ได้เท่าไรและนํามาบวกกับ 10 ขั้นตอนนี้ บุคคลจะทําได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความตั้งใจ สมาธิและความรู้เดิมของตน 3) สรุปข้อมูลที่ได้ไว้ในความจําระยะยาว
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 67
นิวเวลล์ และ ซิมมอน (Newell and Simon, 1972) เสนอว่า คนเราใช้การวิเคราะห์ เส้นทางสู่เป้าหมาย (Means-end analysis) เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตนต้องการ ขั้นตอนการวิเคราะห์ เส้นทางสู่เป้าหมายมี 2 ขั้น คือ 1) การชี้ชัดความแตกต่างระหว่างสถานการณ์ปัจจุบันกับเป้าหมายที่ตนต้องการให้สําเร็จ (End) กับเป้าหมาย เช่น เป้าหมาย คือ ต้องการมีฐานะทางเศรษฐกิจร่ํารวยมั่งคั่ง สถานการณ์ปัจจุบัน มีฐานะทางเศรษฐกิจยากจน เป็นต้น 2) การเลือกเส้นทางหรือการกระทําที่สามารถลดระยะความแตกต่างระหว่างเป้าหมาย กับสถานการณ์ปัจจุบันให้เหมาะสมและตรงประเด็น บางครั้งเป้าหมายที่ตั้งไว้กว้างเกินไปที่จะเลือก การกระทําได้ชัดเจน ดังนั้น จึงจําเป็นต้องแบ่งเป้าหมายที่ปรารถนาให้เป็นเป้าหมายที่เล็กและแคบลง มาเรื่อยๆ เรียกว่า เป้าหมายย่อย (Sub goal) และเชื่อว่า การทําให้เป้าหมายย่อยสําเร็จได้ จะช่วยให้ เป้าหมายที่ปรารถนาสําเร็จได้ด้วย คนเราทุกคนมีการตั้งเป้าหมายที่ปรารถนาสูงสุดและแบ่งเป้าหมาย ย่อยๆ ของตน จะแตกต่างกันที่ความหลากหลายและจํานวนของเป้าหมายย่อยและการเลือกทํา เป้าหมายย่อยใด ประสบการณ์ในการเรียนรู้ของบุคคลเป็นตัวกําหนดการเลือกเส้นทางเดินของตน เช่น เป้าหมาย คือ การมีความสุขในชีวิต ในปัจจุบันบุคคลคิดว่าตนมีความสุขตามเป้าหมายหรือยัง ถ้า ยังจะต้องหาทางที่จะทําให้ตนมีความสุขในชีวิต บุคคลคิดค้นหาคําตอบว่าตนจะมีความสุขในชีวิตได้ อย่างไร จากการมีฐานะทางเศรษฐกิจร่ํารวยมั่งคั่งหรือจากการมีฐานะทางเศรษฐกิจพอเพียง บุคคลจะ คิดว่าจะทําให้ตนร่ํารวยได้อย่างไร การมีอาชีพ การแต่งงานกับคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจร่ํารวย อาชีพ ที่ให้ร่ํารวยได้จะต้องทําอย่างไร เป็นนักธุรกิจ เป็นนักการเมือง เป็นนักแสดงหรือเป็นมืออาชีพในงาน ซึ่ ง การจะมี อ าชี พ เหล่ า นี้ ต้ อ งทํ า อย่ า งไร ทํ า การค้ า ขายจากประสบการณ์ ชี วิ ต การเข้ า ศึ ก ษาใน สถาบันการศึกษา เป็นต้น การแบ่งซอยเป้าหมายและเลือกเป้าหมายที่ตนคิดว่าจะทําให้เป้าหมาย สูงสุดสําเร็จได้ จะเป็นวิธีการกระทํา (Mean) ที่ชัดเจนขึ้น ถ้ามนุษย์ทุกคนมีการวิเคราะห์เส้นทางสู่เป้าหมาย ทําไมคนบางคนจึงมีการกระทําที่คล้ายกับ ไม่มีเป้าหมายในชีวิตหรือเลือกทางเดินที่คล้ายเป็นคนไม่รู้จักคิด เป้าหมายที่พึงปรารถนาของบุคคล หนึ่งอาจไม่เหมือนเป้าหมายของอีกคนหนึ่ง ทั้งการเลือกทางเดินก็ไม่เหมือนกัน ไวก๊อตสกี้ (Vygotsky, 1986) และ บรูเนอร์ (Bruner, 1996) ให้ข้อคิดไว้ว่า การคิดและเรียนรู้ในการแก้ปัญหาเป็นสิ่งที่ บุคคลได้เรียนรู้จากสังคมรอบด้าน โดยเฉพาะ ไวก๊อตสกี้ เสนอว่า เด็กจะเรียนรู้วิธีการคิดแก้ปัญหาได้ จากผู้ใหญ่และเด็กที่เก่งกว่าไม่ว่าจะเป็นสมาชิกในครอบครัว ในโรงเรียนและในสังคม ผู้ใหญ่ใช้วิธีการ คิดแก้ปัญหาอย่างไรมักจะสอนให้เด็กแก้ปัญหาแบบนั้น แบนดูร่า (Bandura, 1986) เน้นการ เลียนแบบพฤติกรรมทางสังคม ซึ่งเด็กมักจะเลียนแบบพฤติกรรมและวิธีการแก้ปัญหาตามที่ผู้ใหญ่หรือ ผู้คนในสังคมทํากัน เมื่อคนรอบข้างในสังคมมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรม คนใน สังคมมีการคิดและการแก้ปัญหาอย่างไร เด็กมักจะเลียนแบบวิธีคิดและแก้ปัญหาตามแบบคนในสังคม ที่ ใ กล้ ชิ ด ตน เช่ น ในสั ง คมที่ ผู้ ใ หญ่ มั ก จะใช้ แ ต่ ข้ อ มู ล ทางอารมณ์ ใ นการตั ด สิ น ใจและประสบ ความสําเร็จตามที่ต้องปรารถนา เด็กจะใช้แต่ข้อมูลทางอารมณ์ในการตัดสินใจ ในสังคมใดที่ผู้ใหญ่ใช้ ข้อมูลข้อเท็จจริงหรือใช้หลักการเหตุและผลมาใช้ในการตัดสินใจ เด็กจะใช้ข้อมูลในลักษณะเดียวกัน มาใช้ในการตัดสินใจ เป็นต้น
68
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
2. ขั้นสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง (The associative stage) ก่อนลงมือปฏิบัติ ผู้เรียนจะ นํ าเอาข้ อมูล ที่ ได้ ใ นขั้ น การรู้คิด มาสร้างความสัม พัน ธ์เชื่อมโยงประสานข้ อมูล และความรู้ ที่ ได้ว่ า ขั้นตอนการทําพฤติกรรมจะต้องทําอะไรและลําดับการกระทําเป็นอย่างไร อะไรควรทําก่อน อะไรควร ทําทีหลังและจะต้องทําอย่างไร จากนั้นจึงลงมือปฏิบัติซึ่งจะเริ่มต้นอย่างช้าๆ ไปก่อน หลังจากทํา พฤติกรรมแต่ละขั้น ก็จะสังเกตพฤติกรรมที่ตนทํา ถ้ายังไม่สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องนัก ก็จะแก้ไขการ กระทําของตนจากข้อมูลป้อนกลับ เช่น คิดว่าต้องหายใจให้เต็มปอดก่อนก้มหน้ากลั้นหายใจลงไปใน น้ํา เป็นต้น เมื่อผู้เรียนเริ่มปฏิบัติตามขั้นตอนได้สัมพันธ์กันดีและคล่องแคล่วว่องไว แสดงว่า มีการ ประสานงานระหว่างอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเป็นไปตามที่ต้องการดีขึ้น การใช้ความคิดจากข้อมูล คําแนะนํา คําสอนและข้อมูลป้อนกลับจะลดน้อยลง รูปแบบการกระทําจะเป็นวงจร เรียนรู้ข้อมูล วางแผน ลงมือปฏิบัติ ตรวจสอบ แก้ไขและเรียนรู้ผลสรุป ซึ่งการคิดจะเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของวงจร ในขณะทํามีพฤติกรรมเกิดขึ้น
ภาพที่ 2 วงจรการเรียนรู้ปรับปรุงและเพิ่มเติมจากวงจร เดมมิ่ง (Deming cycle อ้างจาก Latzko & Saunders, 1995) และวงจรการเรียนรู้โดย คอล์บ (Kolb’s learning cycle, Kolb, 1984) ในขั้นการสร้างความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันระหว่างข้อมูลที่เรียนรู้กับพฤติกรรม เป็นการหยุดใช้ วิธีการแก้ปัญหาโดยทั่วไป แต่จะเริ่มใช้วิธีการที่เฉพาะในการแก้ปัญหานั้น เป็นการนําความรู้ที่อยู่ใน ความจํ า มาเกี่ ย วสั ม พั น ธ์ กั น หรื อ สร้ า งกฎความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า สิ่ ง เร้ า ไว้ เพื่ อ นํ า มาใช้ ใ นภายหลั ง (Anderson, 2000) เช่น แม่บอกว่าให้ใช้เส้นทาง ก. เดินจากโรงเรียนกลับมาที่บ้าน เพราะเป็น เส้นทางที่ใกล้ที่สุด ทั้งนี้โดยใช้ข้อมูลทางเดินว่าจะต้องเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาที่จุดไหน เด็กก็จะพยายาม เชื่อมโยงข้อมูลที่แม่บอกกับสภาพแวดล้อมที่ปรากฏในเส้นทางเดินนั้น เมื่อเดินบ่อยๆ เด็กก็จะชํานาญ ในการใช้เส้นทางนั้น จนไม่ต้องคอยเปรียบเทียบข้อมูลกับสถานที่รอบข้างอีก เป็นต้น ในขณะเดียวกัน จะมีเส้นทางเดินกลับบ้านหลายเส้นทาง อาจมีเส้นทาง ข. และเส้นทาง ค. เด็กอาจจะลองเดินทั้งสาม
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 69
เส้นทางและเด็กจะเก็บข้อมูลจากเวลา จากความเหนื่อยล้าของร่างกายและอื่นๆ จนเรียนรู้ได้ว่า เส้นทางไหนใกล้ที่สุด คนเราจะใช้วิธีการแก้ปัญหาทั่วไปเมื่อประสบกับปัญหาใหม่ๆ หลังจากมีการฝึกปฏิบัติหรือฝึก แก้ปัญหานั้นๆ จนชํานาญ เราจะไม่ใช้วิธีการแก้ปัญหาทั่วไปอีกแล้ว ทําให้ช่วงเวลาในการคิดก็จะลด น้อยลงและเป็นสภาพที่เราทําพฤติกรรมไปตามความเคยชิน โพสเนอร์ (Posner, 1994) พิสูจน์ได้ว่า ตัวการที่ทําให้ช่วงเวลาในการคิดน้อยลงคือ Anterior cingulated gyrus ซึ่งอยู่ในบริเวณเนื้อสมอง ส่วนหน้า (Frontal cortex) ทําหน้าที่เป็นศูนย์การบริหารงาน (Central executive) จะทํางานเมื่อ ได้ประสบกับปัญหาใหม่ที่ตนไม่เคยประสบมาก่อนและจะหยุดบทบาทของตนหลังจากได้มีการฝึก ปฏิบัติไปแล้ว ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ให้รวดเร็ว สมองของเราจะมีการสร้างกฎของการแก้ปัญหาเก็บไว้ ในความจํา เมื่อพบปัญหาเดิมจะทําให้การใช้เวลาในการแสวงหาข้อมูลและข้อสรุปลดลง กฎที่ตั้งไว้มัก เป็นรูปแบบ ถ้า (If) .... จะ (then) …. การได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับกฎหรือหลักการโดยเฉพาะใน การศึกษา จะมาสองทาง คือ การท่องจําและการลงมือฝึกปฏิบัติ การท่องจําทําให้ได้คําตอบเร็ว แต่ Anterior cingulated gyrus ไม่ได้รับการกระตุ้นให้ทํางาน ถ้าลงมือปฏิบัติ Anterior cingulated gyrus จะถูกกระตุ้นให้ทํางานเพื่อแสวงหาคําตอบในการแก้ปัญหา จนเกิดความเข้าใจและหาข้อสรุป กฎและหลักการของตนเอง เมื่อใดที่พบปัญหาใหม่ๆ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎเดิมที่เคยตั้งไว้ก่อน Anterior cingulated gyrus จะแสวงข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาสรุปเป็นกฎเกณฑ์เพิ่มเติม จนกลายเป็นกฎ ที่ยืดหยุ่นในสถานการณ์ต่างๆ ได้ เช่น ถ้าในสถานการณ์ ก. จะต้องใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบ ข. ถ้าใน สถานการณ์ ค. จะต้องใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบ ง. จึงเห็นได้ว่า ผู้ที่ฝึกปฏิบัติการแก้ปัญหาต่างๆ จะ สามารถตอบสนองหาวิ ธี ก ารแก้ ปั ญ หาที่ ป ระสบได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว กว่ า บุ ค คลที่ ใ ช้ วิ ธี ก ารท่ อ งจํ า ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถตอบโจทย์ได้เร็วกว่าและได้ดีกว่าผู้ฝึกใหม่ เนื่องจากประสบการณ์ที่เขาได้ฝึก ปฏิบัติมาและรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหามากมายและหลายด้าน 3. ขั้นทําได้โดยอัตโนมัติ (The autonomous stage) เมื่อบุคคลสามารถทําพฤติกรรม ตามขั้นตอนได้ต่อเนื่องและรวดเร็วยิ่งขึ้น การใช้การคิดที่จะตัดสินใจว่าจะเลือกทําอะไรก่อนหลัง อย่างไรลดน้อยลงจนหมดไป ทักษะกลายเป็นความจําลึกซึ้งภายใน (Implicit memory) และสามารถ ปฏิบัติได้โดยอัตโนมัติ เช่น การหายใจในขณะที่ว่ายน้ําท่าฟรีสไตล์ เกิดขึ้นโดยไม่ต้องคิดว่าจะต้องเงย หน้าหายใจอย่างไร จะต้องยกแขนใดขึ้นก่อนเป็นต้น ผู้ว่ายดูคล้ายไม่ต้องคิดและทําได้อย่างเป็น อัตโนมัติ ในระยะแรกของการเรียนรู้เพื่อที่จะมีทักษะต่างๆ นั้น มักต้องอาศัยเวลาในการคิดพิจารณา ข้อมู ล ที่ จะใช้แ ละหาความสั ม พั นธ์ ร ะหว่า งข้ อมู ล กับ การปฏิ บัติ เมื่ อมี ก ารฝึก ปฏิบั ติบ่ อยๆ เซลล์ ประสาทส่วน Anterior cingulated gyrus จะทํางานลดลง มีความชํานาญในการเลือกและใช้ข้อมูล ที่จะนํามาตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว การกระทําต่อสิ่งเร้าจะมีลักษณะคล้ายเป็นไปโดยอัตโนมัติ แง่มุมด้านลบของการทํางานลดลงของ Anterior cingulated gyrus คือ ความเชื่อว่า ปัญหา ใหม่ที่ประสบอยู่ที่มีลักษณะคล้ายปั ญหาเดิม ทําให้เซลล์ประสาทส่วนนี้ไม่แสวงหาข้อมูล อื่นๆ ที่ แตกต่างไปจากเดิมทําให้ตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม ซึ่งถ้าเป็นวิธีที่สามารถแก้ปัญหานั้น ได้ด้วยแล้ว ทําให้ Anterior cingulated gyrus ไม่ถูกกระตุ้นให้ทํางาน บุคคลจะใช้เวลาในการคิด เท่ากับหรือเร็วกว่าการแก้ปัญหาแบบเดิม ถ้าเราฝึกให้สมองใช้ข้อมูลในจํานวนจํากัดและไม่คอยระวัง
70
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
ตัวว่า ขณะที่ตนกําลังตกอยู่ในสถานการณ์ใหม่ที่ต้องใช้ข้อมูลใหม่หรือข้อมูลจากหลายช่องทาง สมอง จะเข้าใจว่า เป็นสถานการณ์เหมือนในอดีต ส่งผลให้ข้ามขั้นตอนการนําข้อมูลใหม่มาร่วมคิดพิจารณา เวลาในการคิดย่อมน้อยลงจนบางครั้งคล้ายแทบไม่ได้คิดเลย ดังนั้น เพื่อให้เราสามารถคิดได้อย่างมี เหตุผลยิ่งขึ้น เราจําเป็นต้องควบคุมให้ตัวเรามีการคิดด้วยการใช้คําถามกระตุ้น (การสร้างสิ่งเร้า ทางการรู้สึก) “ถ้าหากว่า .....” ให้ Anterior cingulated gyrus ทําหน้าที่แสวงหาข้อมูลใหม่และ คําตอบใหม่ เราจะมีการคิดพิจารณาข้อมูลและวิธีการแก้ปัญหาได้รอบคอบขึ้นและสามารถสร้าง กฎเกณฑ์ได้ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น เมื่อใดที่ส่วนของ If หรือกฎเกณฑ์ครอบคลุม เมื่อนั้นส่วนของ then หรือการกระทําจะตอบสนองได้ถูกต้องตรงประเด็นมากขึ้น บทสรุป มนุษย์ทุกคนมีการคิด ซึ่งเป็นกระบวนการทํางานของเซลล์ประสาทในการประมวลข้อมูล เพื่อให้เกิดความเข้าใจและตัดสินใจว่า จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างไร การที่คนใช้เวลาในการคิด น้อยลง เนื่องจากการทํางานของกลุ่มเซลล์ประสาท Anterior cingulated gyrus คิดว่า ปัญหาหรือ ความรู้ใหม่นั้น เป็นความรู้เดิมหรือเป็นปัญหาเดิม จึงประมวลข้อมูลเฉพาะที่เคยใช้มาก่อนและสรุป เป็นการตอบสนองอย่างรวดเร็ว คล้ายไม่ทันได้คิดและกลายเป็นการคิดอย่างอัตโนมัติ มนุษย์ทุกคนมีการเรียนรู้ทักษะทั้งทางกายและการคิดที่เป็นเหตุผล เราจะใช้ความคิดในขั้น การรู้ คิ ด และขั้ น การสร้ า งความสั ม พั น ธ์ เ ชื่ อ มโยงระหว่ า งความคิ ด กั บ การกระทํ า ผ่ า นการตั้ ง วัตถุประสงค์ในการกระทําและใช้วงจรการเรียนรู้ในการวิเคราะห์ผลจากการกระทํา ในขั้นตอนทั้งสอง นี้ เป็นการกระตุ้นให้ Anterior cingulated gyrus คิดพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาตั้งแต่การ เปรียบเทียบความคล้ายและความแตกต่างของปัญหา จนถึงคําถามที่จะใช้วิธีการแก้ปัญหาให้มีความ หลากหลาย เมื่อสามารถแก้ปัญหาได้ในแต่ละครั้งและจะสะสมกระบวนการและเหตุการณ์เหล่านี้มา สร้างเป็นหลักการ If ..…, then ..… เพื่อตอบคําถามในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไปได้มากขึ้น ยิ่งมี สมการ If….., then…… ในการแก้ปัญหามากเท่าไร เราจะยิ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา และหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีเหตุผลและยืดหยุ่นได้มากขึ้นและส่งผลให้เกิดความชํานาญในการ แก้ปัญหาครอบคลุมถูกต้องได้มากขึ้นเช่นกัน เอกสารอ้างอิง Anderson, J.R. (2000). Learning and memory: an integrated approach. (2nded.). New York: Wiley. Atkinson, R.C., & Shiffrin, R.M. (1966). Some two process models for memory, technical report. No.107 September 1966. Institution for Mathematical Studies in the Social Sciences, Stanford University. Bandura, A. (1977). Social learning theory. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice Hall. ______. (1986). Social foundations of thought and action: a social cognitive theory. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice Hall.
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 71
______. (1989). “Social cognitive theory.” In: Vasta R. (Ed.) Annals of Child Development, 6, 1-60. Greenwich, CT: Jai Press. Bruner, J. (1960). The process of education. Cambridge, MA: Harvard University Press. ______. (1966). Toward a theory of instruction. Cambridge, MA: Harvard University Press. ______. (1986). Actual minds, possible worlds. Cambridge, MA: Harvard University Press. ______. (1996). The culture of education. Cambridge, MA: Harvard University Press. Kolb, D.A. (1984). Experiential learning. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. Latzko, W.J., & Saunders, D.M. (1995). Four days with Dr.Deming: a strategy for modern methods of management, MA: Addison-Wesley. Matlin, M.W. (2002). Cognition. (5thed.) Forth Worth: TX:Harcourt Brace. Newell, A., & Simon, H.A. (1972). Human problem solving. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. Posner, M. (1994). Attention: the mechanisms of consciousness. Proceeding of the National Academy of Science, USA, 91, 7398-7403. Vygotsky, L.S. (1986). Thought and language. Cambridge, MA: MIT Press (original work published in 1934). …………………………………………
72
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
การคิดเชิงระบบแบบบูรณาการ: ผสานสองวิธี วิถีตะวันออก กับตะวันตก มนัส บุญประกอบ * บทคัดย่อ บทความนี้นําเสนอการคิดเชิงระบบแบบบูรณาการ ผู้เขียนได้นําวิธีการ แนวคิดอย่างเป็น ระบบของทางตะวันออก (สุ. จิ. ปุ. ลิ.) กับของทางตะวันตก (แผนภูมิมโนทัศน์และองค์ประกอบหลัก ของระบบ) มาผสมผสานกั นเป็นโครงสร้างใหม่ได้ 2 รูปแบบ (แผนภาพและตาราง) ซึ่งมีการให้ ความหมาย แนวคิด หลักการ แนวทางการผสมผสานสองวิธี พร้อมทั้งตัวอย่างและการฝึกผู้เรียน คําสําคัญ: การคิดเชิงระบบแบบบูรณาการ การผสมผสานสองวิธี วิถีตะวันออกกับตะวันตก Abstract This article presents two models of integrated systematic thinking by mixing a systematic thinking of the East (Su. Chi. Pu. Li.) with two others of the west (Concept mapping and the three elements of the system). Two models with new structure created by the author (A new picture of concept mapping and a specific type of the table). Three technical terms are defined. Ideas, principles, and the way of combing two systematic thinking, examples and the process of training students are presented as well. Keywords: Integrated systematic thinking models, Two types of mixing two methods of systematic thinking, The East and the west ways.
____________________________ * ว่าที่ร้อยตรี ดร., ข้าราชการบํานาญ เป็นอาจารย์พิเศษและกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรกับสาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 73
บทนํา การคิด เป็นสิ่งที่ยอมรับกันว่ามีความสําคัญอันเป็นพื้นฐานในการพูดและการกระทําทั้งปวง ตลอดจนมีอิทธิพลต่อการดําเนินชีวิตของมนุษย์ด้วย ดังนั้นจึงปรากฏว่าการจัดการศึกษาของประเทศ ต่างๆ มักเน้นย้ําถึงความสําคัญของการคิดโดยกําหนดไว้ในจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและการจัดการ เรียนการสอน เดอ โบโน ผู้ซึ่งเป็นปรมาจารย์ทางด้านการคิด เคยให้ความเห็นว่า จุดประสงค์ข้อหนึ่ง ของการจัดศึกษาก็คือ มุ่งให้ผู้เรียนคิดเป็น เนื่องจากการคิดนั้น เป็นทักษะอย่างหนึ่งที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน อบรมและพัฒนาได้ (เดอ โบโน, 2551: 10, 13) ส่วนในประเทศไทยนั้นมีปรากฏตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (www.moe.go.th/main2/plan/p-r-b42-01.htm. 19 สิงหาคม 2542) ทั้งฉบับแก้ไข พ.ศ.2545 และ ฉบับ พ.ศ.2553 ได้มีการเน้นกับกําหนดให้ สถานศึกษาดําเนินการจัดฝึกทักษะแก่ผู้เรียน ให้คิดเป็น ทําเป็นและแก้ปัญหาได้ โดยเฉพาะ กระบวนการคิดที่เน้นย้ํากันมากนั้น ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์และการคิดวิจารณญาณ เป็นต้น ส่วนการคิดอย่างเป็นระบบหรือ การคิดเชิงระบบ ยังกล่าวถึงค่อนข้างน้อย ในบทความเรื่องนี้ จึงมุ่งเน้นไปที่การคิดเชิงระบบแบบบูรณาการ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีคุณประโยชน์แก่ผู้เรียน รวมทั้งท่าน ผู้อ่าน ทั้งในระยะใกล้และระยะไกลของการดําเนินชีวิตและการทํางาน ความหมาย 1. การคิดเชิงระบบ หมายถึง ลักษณะของการคิดที่มองเห็นเป็นภาพรวม ซึ่งแสดงถึง ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบย่อยๆ ลดหลั่นกันลงไป เช่น แผนภูมิมโนทัศน์หรือมีลําดับ ขั้นตอนครบตามองค์ประกอบหลักของระบบ ได้แก่ ปัจจัยป้อน กระบวนการและผลลัพธ์ เช่น การคิด ตามหลักหัวใจนักปราชญ์ (หรือ สุ. จิ. ปุ. ลิ.) 2. การคิดเชิงระบบแบบบูรณาการ หมายถึง ลักษณะการคิดตามรูปแบบผสมผสาน รูปแบบใหม่ อันเกิดจากการนําแนวคิดและวิธีการเขียนที่แตกต่างกันสองวิธีมาหลอมรวมเป็นรูปแบบ เดียวของการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งในที่นี้นําเสนอไว้ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการผสานวิธีการของ หลักหัวใจนักปราชญ์ (แนวคิดตะวันออก) กับแผนภูมิมโนทัศน์ (แนวคิดตะวันตก) 2) รูปแบบการ ผสานหลักหัวใจนักปราชญ์ (แนวคิดตะวันออก) กับองค์ประกอบของระบบ (แนวคิดตะวันตก) 3. การคิดสองวิธีวิถีตะวันออกกับตะวันตก หมายถึง กระบวนการคิดตามแนวคิดของคน ทางตะวันออกบนฐานคิดหลักการหัวใจนักปราชญ์กับแนวคิดตามหลักการของคนทางตะวันตก คือ หลักวิธีการคิดด้วยแผนภูมิมโนทัศน์และแนวคิดตามโครงสร้างสามส่วนหลักของระบบ แนวคิด หลักการ 1. หลักการคิดเชิงระบบแนวตะวันออก ในที่นี้เป็นรูปแบบของภูมิปัญญาตะวันออกโดยแท้ ดังที่ พระราชวิจิตรปฏิภาณ (2547: 27) ท่านกล่าวไว้ว่า “พระพุทธเจ้าทรงสอนการศึกษาไว้ 4 ประการ คือ สุ จิ ปุ ลิ” และผู้รู้จากอีกแหล่งหนึ่งกล่าวเสริมว่า “คาถาหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถังโส ปัณฑิโต ภเว แปลว่า ผู้ปราศจาก สุ จิ ปุ ลิ จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร” (www.tourwat.com/3618/. 2011)
74
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
ท่านผู้อ่านคงจะทราบดีว่า หลักการนี้ เป็นสิ่งที่คนไทยในฐานะพุทธศาสนิกชนล้วนได้ยินได้ ฟังกันมาช้านานแล้ว ด้วยปรากฏหลักฐานในแหล่งต่างๆ อีก เช่น โคลงโลกนิติ กล่าวไว้เป็นโคลงสี่ สุภาพหนึ่งบทเกี่ยวกับ “หัวใจนักปราชญ์ 4” (บันทึกสยาม, 2544: 35) และยังมีการเผยแพร่ของ ปราชญ์ ภาษาไทยผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่ งนามว่า อํ ามาตย์เอกพระยาอุปกิตศิ ลปสาร (นามเดิม นิ่ ม กาญจนาชีวะ) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2422-2484 ท่านได้กล่าวถึง “หลักหัวใจนักปราชญ์” ว่ามีคํา ย่อ ๔ คํา ก็คือ “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” ทั้งนี้เพื่อให้การจดจําและปฏิบัติ ซึ่งคําเหล่านี้ย่อมาจากคําเต็มว่า “สุตะ (การฟัง)” “จินตนะ (การคิด)” “ปุจฉา (การถาม)” และ “ลิขิต (การเขียน)” (อุปกิตศิลปสาร, 2524) ตามลําดับ ในระยะต่อมามีผู้กล่าวยืนยันหลายท่านอีกว่า “หลักหัวใจนักปราชญ์” หรือ “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” จัดได้ว่า เป็นกระบวนการหรือวิธีการของนักปราชญ์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่า สามารถที่จะใช้พัฒนาบุคคล ให้เป็นพหูสูตหรือทั้งฟังมากและอ่านมาก นําไปสู่การประสบความสําเร็จในการอ่าน การเรียนและมี ชื่อเสียงในอาชีพได้ เช่น ปองพล อดิเรกสาร (2548: 8) ซึ่งเป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรี หลายสมัยและยังเป็นนักเขียนผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง กล่าวว่าตัวของท่านเอง “ได้นําหลักการนี้มาปฏิบัติ ตลอดเวลา โดยพยายามฟังและ/หรืออ่านให้มากและถี่ถ้วนเสียก่อน แล้วจึงนํามาตริตรอง จึงจะพูด หรือเขียนหรือดําเนินการตามที่เห็นเหมาะสม” ส่วน อาจินต์ ปัญจพรรค์ (2548 และ 2550) ผู้ได้รับ การยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นนักเขียนเรื่องสั้นที่มีชื่อเสียง ก็ยอมรับว่า ตนเองได้ ใช้หลัก “สุ จิ ปุ ลิ” นี้จริงๆ ในการทํางาน นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่เรียนเก่งเป็นนักคิดและนักเขียน ต่างก็ใช้หลักการนี้ในการพัฒนาตนเอง ซึ่งต้องมีการอ่านเป็นพื้นฐาน แต่ทว่าคําถามที่ผู้เขียนเคยสนใจ ก็คือ หลัก “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” นี้ เขียนอย่างไรจึงจะถูกต้อง? (ข้อนี้พบว่า มีการเขียนเป็น 2 รูปแบบ กล่าวคือ มีจุดท้ายคําย่อทุกคํากับไม่มีจุดเลย แต่ในที่นี้ผู้เขียนถือตามหลักปรมาจารย์ภาษาไทย คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร ซึ่งท่านเขียนมีจุดท้ายคําย่อทุกคํา) ยังมีคําถามอื่นๆ อีก เช่น หลักคิดนี้มีความ เป็นระบบหรือไม่? อย่างไร? ผู้เขียนจึงได้ลองศึกษาและวิเคราะห์ด้วยตนเอง ปรากฏผลดังต่อไปนี้ ระบบโดยทั่วไปทั้งระบบตามธรรมชาติ เช่น ระบบร่างกายของสิ่งมีชีวิตและระบบที่มนุษย์ทํา ขึ้นมา เช่น ระบบเครื่องยนต์กลไกและระบบคอมพิวเตอร์ ล้วนแต่มีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่ 1) ปัจจัยป้อน (Input) 2) กระบวนการ (Process หรือ Throughput) และ 3) ผลลัพธ์ (Output) เมื่อนําหลักการนี้ไปวิเคราะห์ “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” ก็พบว่า มีความเป็นระบบ ดังภาพประกอบ 1 ทั้งนี้ ผู้เขียนได้เพิ่มเติมคําอธิบายในแต่ละข้อ (1. สุ. (สุตะ) 2. จิ. (จินตนะ) 3. ปุ. (ปุจฉา) และ 4. ลิ. (ลิขิต)) เพื่อให้ความกระจ่างชัดแก่ผู้เรียนที่จะต้องอ่านทําความเข้าใจและเพื่อความสะดวกใน การฝึกปฏิบัติด้วยตนเองในโอกาสต่อไปอีกด้วย
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 75
ปัจจัยป้อน (Input) 1. สุ . (สุ ต ะ) เป็ น การรั บ รู้ ข่าวสารข้ อมูลหรือความรู้จาก การอ่าน การดูหรือการฟัง (ซึ่ง เป็ น พื้ น ฐานของการเรี ย นรู้ ) และทั้ ง หมดนี้ ล้ ว นรั บ มาจาก แหล่ ง ภายนอกตั ว บุ ค คลหรื อ รับรู้มาจากผู้อื่นทั้งสิ้น
กระบวนการ (Process) 2. จิ . (จิ น ตนะ) เป็ น การคิ ด พิจารณาข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ที่ รับเข้ามา 3. ปุ. (ปุจฉา) ต่ อเนื่ องจากขั้นที่ สอง เมื่อคิดแล้วอาจสงสัยใคร่รู้ถึง ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ อาจมีการสืบค้น ซักถามเพื่อให้ได้ คําตอบที่ชัดเจน เชื่อถือต่อไป ทั้ง จิ . แ ล ะ ปุ . นี้ ต่ า ง ก็ เ ป็ น กระบวนการที่ เกิ ดขึ้ นตามลํ าดั บ ภายในตัวบุคคล
ผลลัพธ์ (Output) 4. ลิ. (ลิขิต) เป็นขั้นของการจด บัน ทึ ก หรือ เขี ย นเพื่ อ การรู้ ก าร จํ า ซึ่ ง จั ด ว่ า เป็ น ผลอั น สื บ เนื่ อ งมาจากกระบวนการสาม ขั้ น แรก เกิ ด เป็ น ผลผลิ ต ของ บุคคลที่อาจใช้สื่อสารกับตนเอง หรือผู้อื่นต่อไปได้
ภาพประกอบ 1 ตารางผลการวิเคราะห์ความเป็นระบบของหลัก สุ. จิ. ปุ. ลิ. (หมายเหตุ คําว่า “จิ” พระราชวิจิตรปฏิภาณ (2547) ใช้ว่า จิ. (จินตนะ-คิด)) จากตารางผลการวิเคราะห์นี้ จะเห็นได้ว่า หลัก “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” จัดเป็นระบบที่มีครบทั้งสาม องค์ประกอบ จึงอาจใช้เป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลได้รับการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใน ขั้นที่ 1-3 (สุ. จิ. และ ปุ.) เป็นการช่วยให้บุคคลได้รู้จักบริโภคข้อมูลข่าวสารความรู้และขั้นที่ 4 (ลิ.) เกิดการผลิตผลงานด้วยตนเอง ดังนั้น เมื่อนําไปใช้ฝึกฝนผู้เรียนจนครบกระบวนการทั้ง 4 ขั้น ผู้เรียนก็ จะได้รับทั้งการฝึกทักษะของการเป็นผู้รับข่าวสารความรู้หรือบริโภคด้วยปัญญา (เพราะต้องมีการ รับรู้ข้อมูล/ความรู้/ข่าวสาร แล้วคิดพิจารณา รวมทั้งหาเหตุผล) และเป็นผู้ผลิตผลงานหรือเป็นผู้ให้ ก็ คือ เขียน/บันทึกเพื่อให้ประโยชน์แก่ตนเองในการทบทวน จดจําหรือใช้สื่อสารให้ความรู้แก่ผู้อื่นต่อไป ได้ อย่างไรก็ตามเมื่อตัวผู้เขียนเองได้ริเริ่มวิเคราะห์ความเป็นระบบของหลักหัวใจนักปราชญ์และ นํ า ไปทดลองใช้ โดยทั้ ง ทํ า การวิ จั ย ในชั้ น เรี ย นระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาหลายรุ่ น สามสาขาวิ ช าที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและระดับบัณฑิตกับบัณฑิตศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ อีกสาม แห่ง ระหว่างปี พ.ศ.2551-ปัจจุบัน รวมทั้งในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นและตอนปลายที่โรงเรียน เอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร รวมสองปีที่ผ่านมาถึงในขณะนี้ พบว่า ตารางหลัก “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” นี้ใช้เป็นเครื่องมือช่วยฝึกผู้เรียนให้มีทักษะการคิดอย่างเป็นระบบและการคิดวิจารณญาณได้อีกด้วย หลักหัวใจนักปราชญ์ เป็นกระบวนการที่ฝึกผู้เรียนให้รู้จักการคิดวิจารณญาณได้ ก็เพราะว่า 1) ขั้นปัจจัยป้อน ผู้เรียนจะต้องคิดวิเคราะห์แยกแยะคําหลักออกมาเขียน 2) ขั้นกระบวนการ ผู้เรียน จะคิ ด ต่ อ ยอดออกไปจากที่ รั บ รู้ ม าในขั้ น แรก การใช้ “จิ . ” เพื่ อ จิ น ตนาการนั บ เป็ น การคิ ด ทาง สร้ า งสรรค์ นอกจากนี้ ผู้ เ รี ย นยั ง คิ ด เชิ ง ประเมิ น หรื อ ตรวจสอบในขั้ น “ปุ .” ซึ่ ง อาจมี ก ารค้ น หา หลักฐานอันมีเหตุผลมาตอบยืนยันคําถามที่ตนสงสัยใคร่รู้ และ 3) ขั้นผลลัพธ์ ผู้เขียนจะต้องเรียบ เรียงข้ อความโดยเชื่อมโยงสาระจาก 2 ขั้นแรกเข้ าด้ วยกั นเป็นข้ อเขียนของตนเองให้อ่า นแล้ วมี
76
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
ความหมายเข้าใจได้ จัดเป็นการเขียนเชิงสร้างสรรค์ที่อาศัยการคิดสังเคราะห์เข้าไปช่วยและเกิดเป็น ผลผลิตของตนเองโดยแท้ 2. หลักการคิดเชิงระบบแนวตะวันตก ในที่นี้ใช้แนวทางของศาสตราจารย์กิตติคุณ Joseph D. Novak (1984) ท่านเป็นนักการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา ท่านผู้เป็น ปรมาจารย์ เรื่อง แผนภูมิมโนทัศน์ (Concept maps or concepts mapping) ซึ่งได้ริเริ่มไว้เมื่อ ประมาณหลัง ปี ค.ศ.1960 แนวคิดหลักการเรื่องนี้มีพื้นฐานมาจาก ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมี ความหมาย (Meaningful learning theory) ของ David Ausubel (1968) ซึ่งทฤษฎีนี้เชื่อว่า โครงสร้างการรู้คิดของบุคคลมีลักษณะเป็นลําดับลดหลั่นกันลงมา (Heirachy) ความรู้ใหม่ที่ สอดคล้องกับมโนทัศน์(Concept) เดิมที่เคยมีมาก่อนของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้นั้นมีความหมาย แก่บุคคล แนวคิดนี้มีอิทธิพลอย่างชัดเจนต่อรูปแบบโครงสร้างของแผนภูมิมโนทัศน์ที่ Novak ได้เป็นผู้ คิดริเริ่ม บุกเบิก ทําวิจัย ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษาและเผยแพร่ผลงานอย่าง ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ.1973 มีผลให้เกิดการศึกษาวิจัยในหลายสาขาวิชาในระยะต่อมา อาทิ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ ศึกษาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น ส่วนในประเทศ ไทยเริ่มมีการศึกษาวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา เมื่อปี พ.ศ.2529 ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มนัส บุญประกอบ, 2548) แผนภูมิมโนทัศน์ เป็นแผนภาพที่แสดงถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างคํามโนทัศน์ระดับ ต่ า งๆ จากมโนทั ศ น์ ที่ ก ว้ า งที่ สุ ด ไปจนถึ ง มโนทั ศ น์ ที่ แ คบที่ สุ ด อั น ได้ แ ก่ คํ า มโนทั ศ น์ ห ลั ก (Main concept or key concept) มโนทัศน์รอง มโนทัศน์ย่อย มโนทัศน์เจาะจงและตัวอย่าง ดัง ภาพประกอบ 2
ภาพประกอบ 2 โครงสร้างและองค์ประกอบของแผนภูมิมโนทัศน์ การเขียนแผนภูมิมโนทัศน์ โดยทั่วไป ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ คํามโนทัศน์ เส้น เชื่อมโยงและคําเชื่อมโยง (คํานี้อาจจะมีการเขียนกํากับไว้บนเส้นเชื่อมหรือไม่มีก็ได้) คํามโนทัศน์หรือมโนทัศน์ของสิ่งใด หมายถึง แก่นหรือแนวคิดที่สรุปรวมเกี่ยวกับสิ่งนั้นและ ลักษณะประกอบย่ อยๆ ที่ทํา ให้ จําแนกชนิดของสิ่งนั้ นได้ มโนทัศ น์ มีทั้งชนิ ดที่เป็นรูปธรรมและ นามธรรม เช่น แมว หนู ปากกา ดินสอ ความเชื่อ แนวคิดและทฤษฎี เป็นต้น การเขียนคํามโนทัศน์
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 77
หรือมโนทัศน์ ใช้แทนด้วยคํานามทั่วไปหรือวลี เช่น คน พืช การนําไปใช้ประโยชน์ การวิจัยในชั้นเรียน เป็นต้น ประการสําคัญต้องเขียนเส้นล้อมกรอบคํามโนทัศน์เสมอ เช่น อาจเขียนเป็นวงรีหรือกรอบ สี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นการเน้นคําให้เห็นอย่างเด่นชัดและแตกต่างไปจากคําเชื่อมโยง ซึ่งไม่มีการล้อมกรอบ คํา (โปรดดูภาพประกอบ 2) คําเชื่อมโยง (Linking words) อาจเขียนแทนด้วย คํากริยาหรือวลี โดยเขียนกํากับไว้บนเส้น เชื่อมโยงระหว่าคํามโนทัศน์ บางครั้งก็ไม่จําเป็นต้องเขียนไว้หากเป็นที่เข้าใจตรงกันได้ระหว่างผู้เขียน กับผู้อ่านแผนภูมิฯ ตัวอย่างคําเชื่อมโยง เช่น ประกอบด้วย อาจมี โดยอาศัยหลัก นําไปสู่ เป็นต้น เส้นเชื่อมโยง แสดงถึงความเกี่ยวข้อง/เชื่อมโยงระหว่างคํามโนทัศน์ อาจเขียนเป็นเส้นตรง หรือเส้นโค้ง อาจมีหัวลูกศรกํากับทิศทาง เช่น การเขียนแสดงเกี่ยวข้องจากล่างขึ้นบนหรือไปทาง ด้านข้าง และในบางกรณีอาจเขียนแสดงการเชื่อมโยงข้ามกลุ่ม (Cross link) ได้ อย่างไรก็ตาม แผนภูมิมโนทัศน์นั้นมีลักษณะสําคัญ 2 ประการ กล่าวคือ 1) มีลักษณะสรุป ย่อสาระสําคัญของเรื่อง ทําให้อ่านและทําความเข้าใจเรื่องราวได้อย่างฉับไว 2) จากความสัมพันธ์ ระหว่างคํามโนทัศน์ในแผนภาพนําไปสู่การเขียนขยายความเป็นประโยคข้อความที่มีความหมายและ ทําให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ ดังภาพประกอบ 3
ภาพประกอบ 3 แผนภูมิมโนทัศน์ เรื่อง สารและประเภทของสาร ที่มา: มนัส บุญประกอบ (2548: 19) และเพิ่มเติมใหม่ จากภาพประกอบ 3 ทําให้อ่านความสัมพันธ์ระหว่างคํามโนทัศน์ในระดับต่างๆ รวม 4 ระดับ และเขียนเป็นประโยคข้อความที่มีความหมายในตัวเองได้ดังนี้ คํามโนทัศน์ ระดับที่ 3 มี 1 คํา ได้แก่ สาร คํามโนทัศน์ ระดับที่ 2 มี 2 คํา ได้แก่ สารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม คํามโนทัศน์ ระดับที่ 1 มี 4 คํา ได้แก่ ธาตุ สารประกอบ สารละลายและของผสม คํามโนทัศน์ ระดับที่ 0 (ระดับล่างสุด) แสดงตัวอย่างของคํามโนทัศน์แต่ละคําในระดับที่ 1 ดังนี้
78
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
- ทองแดงและออกซิเจน (ตัวอย่างของธาตุ) - กรดซัลฟูริกและแอมโมเนีย (ตัวอย่างของสารประกอบ) - น้ําเกลือและน้ําอัดลม (ตัวอย่างของสารละลาย) - ดินปนทรายและพริกกับเกลือ (ตัวอย่างของของผสม) จะเห็นได้ว่า จากข้อความที่อ่านมาจากแผนภาพนั้นหากนํามาเรียบเรียงใหม่ให้ต่อเนื่องกันก็ จะได้สาระของข้อความรวมเป็นหนึ่งย่อหน้าที่มีความหมายแก่ผู้อ่าน ดังต่อไปนี้ สาร จําแนกเป็น สารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม สารเนื้อเดียว ได้แก่ 1) ธาตุ เช่น ทองแดง และออกซิเจน 2) สารประกอบ เช่น กรดซัลฟูริกและแอมโมเนีย และ 3) สารละลาย เช่น น้ําเกลือ และน้ําอัดลม ส่วนสารเนื้อผสมนั้น ได้แก่ ของผสม เช่น ดินปนทรายและพริกกับเกลือ แนวทางการผสานสองวิธี เบื้องหลังและพัฒนาการของการผสมผสานสองวิธีเป็นผลมาจากการที่ผู้เขียนมีโอกาสได้ริเริ่ม การสอน รายวิชา การคิดถูกวิธี (วป 591) ให้แก่นิสิตปริญญาโทและเอก ที่สถาบันวิจัยพฤติกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ราวปี พ.ศ.2546 ทําให้เกิดแนวคิดในการศึกษานําร่อง ขยาย ผลการทดลองทําวิจัยในชั้นเรียนและทดลองมาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จึงบังเกิดผลเป็นการปรับปรุง และพัฒนารูปแบบการเขียนมาเป็นลําดับ จนกระทั่งได้เป็นรูปแบบการบูรณาการชนิดที่ 1 และ 2 ดังที่จะกล่าวต่อไป การผสมผสานแนวคิดและหลักการทั้งของทางตะวันออกและตะวันตก ทําให้ได้ผลเกิดเป็น การสังเคราะห์รูปแบบใหม่ทางการคิดเชิงระบบแบบบูรณาการ 2 ชนิด ได้แก่ 1) การผสานวิธีการของ หลักหัวใจนักปราชญ์หรือ สุ. จิ. ปุ. ลิ. วิธีการแผนภูมิมโนทัศน์ เข้าด้วยกันได้เป็นรูปแบบแผนภูมิมโน ทั ศ น์ ที่ มี โ ครงสร้ า งเฉพาะ และ 2) การผสมผสานหลั ก หั ว ใจนั ก ปราชญ์ ห รื อ สุ . จิ . ปุ . ลิ . กั บ องค์ประกอบของระบบ ได้เป็นรูปแบบตารางของ สุ. จิ. ปุ. ลิ. ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. การผสานวิธีการของหลักหัวใจนักปราชญ์หรือ สุ. จิ. ปุ. ลิ. กับหลักวิธีการแผนภูมิมโน ทั ศ น์ วิ ธี ก ารตามรู ป แบบนี้ อ าศั ย วิ ธี ก ารเขี ย นแผนภาพตามหลั ก การของแผนภู มิ ม โนทั ศ น์ โ ดยมี โครงสร้างหลัก 4 ส่วน ประกอบด้วย มโนทัศน์ สุ. จิ. ปุ. ลิ. (ดังภาพประกอบ 4)
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 79
ภาพประกอบ 4 แผนภูมิมโนทัศน์ของโครงสร้างการผสมผสานการเขียนแผนภูมิมโนทัศน์เข้ากับ คําหลัก สุ. จิ. ปุ. ลิ. ตามภาพประกอบ 4 นี้ มีคําอธิบายขยายความได้ดังนี้ การคิดเชิงระบบแบบบูรณาการ ใช้คําหลัก 4 คําเป็นมโนทัศน์หลัก (Main concepts หรือ Core concepts) ได้แก่ สุ. (สุตะ) จิ. (จินตนะ) ปุ. (ปุจฉา) และ ลิ. (ลิขิต) ซึ่งแต่ละคํานั้น อาจแจก แจงเป็นคํามโนทัศน์รอง (Sub concepts) และคํามโนทัศน์เจาะจง (Specific concepts) จนกระทั่ง ถึงตัวอย่าง (Examples) ได้ด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลและเจตนาของผู้ออกแบบหรือผู้เขียนแผนภูมิ มโนทัศน์เป็นสําคัญว่าต้องการแสดงรายละเอียดของข้อมูลมากน้อยเพียงใด แต่ตามภาพประกอบ 4 นี้ แจกแจงแต่ละคํามโนทัศน์รอง (สุ. จิ. ปุ) ออกเป็นแค่ (1) - (2) หรือ (1) - (3) คําเท่านั้น เส้นลูกศรที่ โยงมาจาก สุ. จิ. และ ปุ. ไปยัง ลิ. หมายถึง เป็นการคิดเชื่อมโยงเพื่อที่จะหลอมรวมเป็นเรื่องเดียวกัน ที่อ่านแล้วเข้าใจได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงการเขียนสรุปก็ตามที ส่วนวิธีการเขียนที่ สุ. จิ. และ ปุ. มี หลักการดังนี้ - สุ. (สุตะ) ให้เขียนแยกเป็นคํามโนทัศน์ย่อยลงไป โดยเขียนเฉพาะคําหลักที่อาจจะเป็น คําถามหรือข้อความสั้นๆ เช่น การผสมผสานและการคิดอย่างเป็นระบบ คําหลัก เหล่านี้ได้มากจากการอ่านหรือการฟัง คําที่เขียนนั้นให้เขียนเส้นล้อมกรอบไว้ด้วย - จิ. (จินตนะ) เป็นการคิดไตร่ตรองถึงสิ่งได้รับรู้มาจากขั้น สุ. (สุตะ) อันเป็นการคิดโดยอิสระ ที่อาจเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย ความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจ ความรู้สึกอื่นๆ แม้กระทั่ง การคิดต่อยอดออกไปจากคําหลักที่รับรู้และคัดเลือกมาเขียนนั้น วิธีการเขียนที่จุด นี้ ก็ให้เขียนเป็นข้อความหรือประโยคบอกเล่าสั้นๆ 1-2 ข้อความก็พอ แล้วเขียน เส้นรอบคํานั้นๆ
80
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
- ปุ. (ปุจฉา) เป็นการคิดสงสัย ใคร่รู้ (ที่อาจถึงขั้นต้องการที่จะหาคําตอบต่อไปอีกด้วย การ ค้นหาจากแหล่งต่างๆ เช่น ตํารา ข้อเขียนอื่นๆ หรือทําวิจัย) เกี่ยวกับคํานั้นๆ เป็น การเพิ่มเติม วิธีการเขียนก็ให้เขียนเป็นประโยคคําถามของตนอย่างสั้นๆ สัก 1-2 คําถาม แล้วเขียนเส้นล้อมกรอบแต่ละข้อความนั้น - เส้นเชื่อมโยงระหว่างคํา แสดงถึงความสัมพันธ์/เกี่ยวข้องของคําหรือข้อความนั้นกับคําหลัก (สุ./จิ./ปุ.) เหล่านั้น - การเชื่ อ มโยงคํ า จากคํ า สุ . /จิ ./ปุ . ไปยั ง คํ า ลิ . (ลิขิ ต ) ก็ เ พื่อ เป็ น การเน้ นว่ า จะต้อ งนํ า ส่วนย่อยของแต่ละคําหลักทั้งสามนั้นไปผสมรวมกันให้เป็นเรื่องเดียวกันด้วยภาษา ของตนเองและให้อ่านเข้าใจได้อย่างมีความหมาย โดยเขียนเพียง 2-4 บรรทัดก็ พอภายในกรอบสี่เหลี่ยมนั้น เพื่อให้วิธีการเขียนตามแนวทางที่อธิบายนั้นกระจ่างชัดยิ่งขึ้น โปรดดูตัวอย่างในภาพประกอบ 5
ภาพประกอบ 5 แผนภูมิมโนทัศน์ตามโครงสร้างหลัก สุ. จิ. ปุ. ลิ. 2. การผสมผสานหลักหัวใจนักปราชญ์หรือ สุ. จิ. ปุ. ลิ. กับองค์ประกอบของระบบ จาก หลักการ สุ. จิ. ปุ. ลิ. กับองค์ประกอบของระบบ 3 ส่วน อันได้แก่ ปัจจัยป้อน กระบวนการและ ผลลัพธ์ ผู้เขียนได้นําไปคิดออกแบบใหม่ ซึ่งเกิดเป็นการคิดอย่างเป็นระบบลักษณะหนึ่งในรูปแบบ ของตาราง เพื่อใช้เป็นเครื่องมืออย่างง่ายในการทํากิจกรรมฝึกทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ ตลอดจน การฝึกให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงการเป็นผู้บริโภคด้วยปัญญา/ผู้รับที่ดีและรู้จักเป็นผู้ให้ (ทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่น) ดังภาพประกอบ 6
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 81
ปัจจัยป้อน 1. สุ. (สุตะ) (จากการอ่าน/ดู/ฟัง) ให้เขียนเฉพาะ คําสําคัญหรือกลุ่มคํา ได้แก่ ชื่อเรื่อง (เช่ น ช้ า ง แมลงปี ก แข็ ง ) หรื อ ชื่ อ คําหลัก คํารอง สัก 2-4 คํา ________________________ ________________________ ________________________ ________________________
กระบวนการ 2. จิ. (จินตนะ) (เขี ย นเป็ น ข้ อ ความหรื อ ประโยค บอกเล่า ธรรมดา แสดงถึ ง การคิ ด คํานึง/การพิจารณาของตน (เมื่อได้ รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้นั้นแล้ว) สัก 1-2 ประโยค) _______________________ _______________________ 3. ปุ. (ปุจฉา) (เขียนข้อสงสัยหรือสิ่งที่อยากรู้ ต่อไปในรูปของประโยคคําถามสัก 1-2 ประโยค) _______________________ _______________________
ผลลัพธ์ 4. ลิ. (ลิขิต) (จดบันทึกข้อความโดยนําสิ่งที่เขียน ในข้อ 1-3 มาพิจารณาเขียน เชื่อมโยงให้ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน ที่อ่านแล้วเข้าใจได้ โดยเขียนมาสัก 1 ย่อหน้าหรือ 3-5 ประโยค) ________________________ ________________________ ________________________
ข้อเสนอแนะของครูผู้ตรวจ ___________________________________________________________________________________ ___________________________________________________________________________________
ภาพประกอบ 6 ภาพตารางการคิดอย่างเป็นระบบด้วยหลักหัวใจนักปราชญ์ “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” ที่มา: มนัส บุญประกอบ (2553) ตามภาพประกอบ 6 อธิบายขยายความได้ดังนี้ โครงสร้างหลักของตารางที่ออกแบบไว้นี้ ผู้เขียนใช้องค์ประกอบหลักสามส่วนของระบบเป็น ฐานคิด แล้วบรรจุคําหลัก 4 คํา อันได้แก่ 1) สุ. (สุตะ) 2) จิ. (จินตนะ) 3) ปุ. (ปุจฉา) และ 4) ลิ. (ลิขิต) ใส่แยกไว้ดังภาพประกอบ 6 ด้วยเหตุผลจากการวิเคราะห์ดังรายละเอียดในภาพประกอบ 1 ที่ แจกแจงไว้ แ ล้ ว วิ ธี ก ารเขี ย นในแต่ ล ะช่ ว งของตารางได้ อ ธิ บ ายไว้ ใ นตารางของภาพประกอบ 1 เรียบร้อยแล้ว โปรดดูตัวอย่างเพิ่มเติมจากตัวอย่างผลงานของผู้เรียนข้างล่างนี้ ตัวอย่างผลงานของผู้เรียน ผู้เขียนใคร่ขอนําเสนอผลงานของผู้เรียนสัก 3 ระดับ (ประถมศึกษา/บัณฑิต/บัณฑิตศึกษา) ในเรื่องตารางฝึกทักษะ สุ. จิ. ปุ. ลิ. เพื่อเสริมความเข้าใจและให้ท่านผู้อ่านได้เปรียบเทียบเป็นการ แถมท้าย ดังนี้
82
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
แบบฝึกทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วยหลัก “หัวใจนักปราชญ์” (วัตถุประสงค์ใช้ฝึกทักษะการคิดเชิงระบบแบบไทย)
หลักหัวใจนักปราชญ์ คํา/ข้อความ ข้อแนะนําการตรวจ (เขียนเฉพาะคํา ชื่อเรื่องหลัก หรือคําสําคัญที่ได้เรียนรู้ 1. สุ. (สุตะ) (ดู/อ่าน/ฟัง/อะไรบ้าง) จากการดู อ่าน หรือได้ยิน ได้ฟัง ในช่วงเวลานั้น สัก 35 คํา)
ชีพจร วิธีจับชีพจร 2. จิ. (จินตนะ) (คิด/พิจารณา/ข้อมูล ข่าวสาร หรือ ความรู้ที่ ได้รับมา)
(เขียนความคิดและข้อพิจารณาของตนเอง ที่คิดต่อเมื่อ ได้รับข้อมูล ข่าวสาร หรือความรู้ เป็นประโยคบอกเล่า หรือประโยคธรรมดา สัก 2-3 ครั้ง)
วิธีจับชีพจรมีหลายแบบ เช่น ที่ขมับ ที่ซอกคอ ข้อมือ จังหวะการเต้นของหัวใจแต่ละวัยต่างกัน
(เขียนความสงสัย/ใคร่รู้ที่ต้องการตรวจสอบ ความ 3. ปุ. (ปุจฉา) (สงสัย/ใคร่รู้อะไรต่อไป น่าเชือ่ ถือและความถูกต้องเป็นประโยชน์คําถาม สัก 2-3ประโยค) อีก) การที่เด็กทารกมีจังหวะการเต้นของหัวใจเร็ว เพราะเหตุใด? การที่วัยผู้ใหญ่จังหวะการเต้นของหัวใจช้ากว่า เด็กทารกเพราะเหตุใด? (นําคําและข้อความจาก 3 ช่องแรก มาพิจารณาถึง 4. ลิ. (ลิขิต) (บันทึก/เขียนข้อความ ความเกี่ยวข้อง แล้วเขียนเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องเดียวกัน ที่อ่านแล้วมีความหมายและเข้าใจได้โดยเขียนใหม่/ ไว้สําหรับสื่อสารกับ เรียบเรียงใหม่สัก 1 ย่อหน้า หรือ 4-5 ประโยค ตนเองหรือผู้อื่นได้) ธรรมดา)
วิธีจับชีพจรมีหลายแบบ เช่น ที่ขมับ ที่ซอกคอ ที่ข้อมือและจังหวะการเต้นของหัวใจแต่ละวัย จะต่างกันเช่นเด็กทารกมีจังหวะการเต้นของ หัวใจเร็วกว่าวัยอื่น ภาพประกอบ 7 ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2555
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 83
คําชี้แจง เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียน การนําเสนอโครงการของกลุ่มย่อย จบลงแล้วลองเขียน บันทึกลงตารางข้างล่างนี้ ปัจจัยป้อน กระบวนการ ผลลัพธ์ (Input) (Process/Throughput) (Output) 4. ลิ. (ลิขิต)/เขียน 1. สุ. (สุตะ) ดู/อ่าน/ฟัง 2. จิ. (จินตนะ)/คิด (จดบันทึกข้อความโดยนําสิ่ง (เขียนคํา/กลุ่มคําหลักที่ (เรียนรู้/รับรู้ขอ้ มูลมาแล้วท่านคิด ท่านได้เรียนรู้จากเรื่องนี้) อะไรต่อเขียนเป็นประโยคบอกเล่า 2- ที่เขียนในข้อ 1.-3 มา พิจารณาเขียนเชื่อมโยง 3 ประโยค) คิดอย่างอิสระ, หลักการ, - การคิดอย่างอิสระทําให้เรามีอิสระ ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกันที่ อ่านแล้วเข้าใจได้ โดยเขียน แบบจําลองสําเร็จรูป ในการคิดเป็นแนวทางของตัวเอง - การคิดตามแนวจําลองสําเร็จรูปทํา มาสัก 1 ย่อหน้า หรือ 3-5 ประโยค ให้เราคิดเป็นขั้นตอนอย่างรวดเร็ว การคิดแบบอิสระทําให้เราคิด 3. ปุ. (ปุจฉา)/ถาม (เขียนข้อสงสัยหรือสิ่งที่อยากรู้ต่อไป ได้ตามแนวทางของตัวเอง แต่ จะเหมาะกับนักคิดที่มี ในรูปของประโยคคําถามสัก 1-2 ประสบการณ์มากๆ ไม่เหมาะ ประโยค) - ถ้าเราไม่มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ กับนักคิดมือใหม่ และการคิด จะสามารถทําให้เราคิดเป็นขั้นตอนได้ ตามแบบจําลองสําเร็จรูป ทํา ให้เราคิดอย่างเป็นระบบและ หรือไม่ โดยอาศัยจากคําบอกเล่า - คิดตามแบบจําลองสําเร็จรูปดีกว่า รวดเร็วเพราะรู้ขั้นตอนในการ คิดต่อไปอย่างแน่นอน คิดแบบอิสระหรือไม่ ภาพประกอบ 8 ผลงานของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1/2555
84
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
คําชี้แจง เมื่อศึกษาบทเรียนเรื่อง การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือวิจัย จบลงแล้วลองเขียนบันทึก ลงตารางข้างล่างนี้ ปัจจัยป้อน กระบวนการ ผลลัพธ์ (Input) (Process/Throughput) (Output) 2. จิ. (จินตะนะ)/คิด 1. สุ. (สุตะ) ดู/อ่าน/ฟัง 4. ลิ. (ลิขิต)/เขียน (เขียนคํา/กลุ่มคําหลักที่ท่าน (เรียนรู้/รับรู้ขอ้ มูลมาแล้ว (จดบันทึกข้อความโดยนําสิ่งที่ ท่านคิดอะไรต่อ เขียนเป็น ได้เรียนรู้จากเรื่องนี้) เขียนในข้อ 1.-3 มาพิจารณา ประโยคบอกเล่า 2-3 1) การวิจัย เขียนเชื่อมโยงต่อเนื่องเป็นเรื่อง เดียวกันที่อ่านแล้วเข้าใจได้ โดย 2) การออกแบบการวิจัย ประโยค) การที่จะทําให้งานวิจัยมี เขียนมาสัก 1 ย่อหน้า หรือ 3-5 3) เครื่องมือวิจัย 4) การวิจัยด้าน คุณภาพน่าเชื่อถือ จะต้องทํา ประโยค การวิจัยคือ การตอบข้อสงสัย วิทยาศาสตร์ศึกษา การออกแบบการวิจัยให้ สอดคล้องกับจุดประสงค์ หรือแก้ปัญหาในสิ่งที่ผู้วิจัยสงสัย งานวิจัยและพัฒนาเครื่องมือ หรือต้องการศึกษา โดยอาศัย วิจัยให้มีประสิทธิภาพ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้ผลการวิจัยมีคุณภาพ 3. ปุ. (ปุจฉา)/ถาม (เขียนข้อสงสัยหรือสิ่งที่อยากรู้ และน่าเชื่อถือผู้วิจัยจะต้อง ต่อไปในรูปของประโยคคําถาม ออกแบบการวิจัยให้สอดคล้อง กับจุดประสงค์ของงานวิจัยเพื่อ สัก 1-2 ประโยค) การวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่ม เป็นแนวทางในการทําวิจัยให้ บรรลุตามจุดประสงค์ที่กําหนด ทดลอง กลุ่มเดียว วัดผล ไว้ได้ และสิ่งสําคัญจะต้องสร้าง เฉพาะหลักการทดลองโดย เปรียบเทียบกับเกณฑ์การวัด เครื่องมือวิจัยที่มีประสิทธิภาพ คกถามคือเกณฑ์การวัดถือว่า เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ศึกษาทีม่ ีความ น่าเชื่อถือ เป็นเครื่องมือวิจัยหรือไม่ ภาพประกอบ 9 ผลงานของนิสิตปริญญาเอก ชั้นปีที่ 1/2555 แนวทางการฝึกผู้เรียน กระบวนการฝึกผู้เรียนที่ผู้เขียนเคยใช้นั้น ในระยะแรกใช้รูปแบบการคิดเชิงระบบแบบบูรณา การ รูปแบบที่ 1 (ภาพประกอบ 4) เมื่อดําเนินการไปได้ 2-3 ปีเกิดมองเห็นช่องทางที่จะทําให้แตกต่าง ออกไปได้อีกลักษณะหนึ่ง จึงใช้รูปแบบที่ 2 (ภาพประกอบ 6) ขั้นตอนวิธีการฝึกกระทําเป็นลําดับดังนี้ 1. อธิบายชักจูงใจและชี้แจงถึงความสําคัญของการคิดอันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนทั้งใน ชีวิตการเรียนรู้และอนาคต โดยเฉพาะการคิดอย่างเป็นระบบ ด้วยพบว่า นักเรียนมักจะคิดเป็นส่วนๆ และไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นทางวาจาเมื่อมีการซักถาม การฝึกให้เขียนอย่างง่ายเป็นแผนภาพหรือ กรองลงตารางเป็นแนวทางที่ผู้เรียนพอจะคุ้นเคยและทําได้
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 85
2. ให้หลักการ พร้อมทั้งให้ตัวอย่างของการเขียนจากเนื้อหาสาระที่เรียนในชั้นเรียนขณะนั้น หรือตัวอย่างสาระที่ผู้เรียนคุ้นเคยในชีวิตประจําวัน 3. ผู้ เ รี ย นเริ่ ม ฝึ ก ด้ ว ยการทํ า งานเป็ น กลุ่ ม ย่ อ ย 3-4 คน หรื อ กลุ่ ม คู่ หู เมื่ อ พอที่ จ ะเข้ า ใจ แนวทางและมั่นใจขึ้น จึงฝึกให้ทํางานเดี่ยว 4. เวลาที่ใช้ฝึก ใช้เวลาท้ายชั่วโมงที่เรียนกับผู้สอน สัก 10-15 นาที เปิดโอกาสให้ซักถามและ ผู้สอนเดินตรวจดูการทํางานของทุกกลุ่ม เพื่อให้คําปรึกษาไปในตัว กรณีที่ผู้เรียนมีข้อสงสัยและ บางครั้งให้ทําเป็นการบ้าน 5. เนื้อหาสาระ อาจใช้สาระจากบทเรียนที่เรียนในขณะนั้นหรือคัดเลือกเรื่องราวสั้นที่เป็น ประโยชน์ เช่น ความรู้ทั่วไปที่ผู้เรียนไม่เคยอ่านมาก่อนหรือความรู้ทางคุณธรรม จริยธรรม 6. เมื่อผู้เรียนส่งงานแล้ว มีการให้ข้อเสนอแนะโดยรวมและรายบุคคล อาจเขียนเป็นคะแนน 1-5 หรือ ควรปรับปรุง-ดีมาก ทั้งนี้โดยตรวจดูว่า เขียนถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด/แนะนําไว้มาก น้อยเพียงใด 7. เมื่อฝึกไปได้ระยะหนึ่ง (ราว 4-5 ครั้ง) ผู้สอนแจ้งให้ทราบถึงความก้าวหน้าของการเขียน โดยรวมและให้ผู้เรียนแต่ละคนประเมินตนเอง เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป 8. สุดท้าย เมื่อฝึกไปรวม 10-12 ครั้ง จะมีการประเมินผลรวมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อดูผลลัพธ์ว่า ผู้เรียนพัฒนาเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด เพื่อนําข้อมูลที่ได้มาพิจารณาปรับปรุง ทั้งตัวผู้สอนเองและ ผู้เรียนกลุ่มใหม่ที่จะมีโอกาสได้รับการฝึกฝนและพัฒนาในระยะเวลาต่อไป บทสรุป การคิดเชิงระบบแบบบูรณาการ เป็นกระบวนการคิดรูปแบบใหม่ อันเกิดจากความพยายามที่ ผู้เขียนได้ลองนําหลักการวิธีการคิดของทางตะวันตก ได้แก่ แผนภูมิมโนทัศน์ (Concepts mapping) องค์ ป ระกอบหลั ก 3 ส่ ว นของระบบและหลั ก การวิ ธี ก ารคิ ด ของทางตะวั น ออก คื อ หลั ก หั ว ใจ นักปราชญ์ หรือย่อว่า สุ. จิ. ปุ. ลิ. มาพิจารณาและผสมผสานกันเป็นคู่ได้ 2 คู่ กล่าวคือ 1) การคิดเชิง ระบบแบบบูรณาการ รูปแบบที่ 1 เกิดจากการผสมผสานโครงสร้างวิธีการเขียนแผนภูมิมโนทัศน์ (ซึ่ง มีลักษณะการคิดอย่างเป็นระบบ อันดูได้จากแผนภาพที่เขียนแสดงออกมาเป็นลักษณะลดหลั่นกันลง มาเป็นลําดับจากคิดกว้างไปสู่แนวคิดที่แคบและเจาะจง) ผสมเข้ากับคําหลัก 4 คําของหลักหัวใจ นักปราชญ์ (ได้แก่ สุ. จิ. ปุ. ลิ. ซึ่งมีการพิจารณาจากจุดแรกเริ่มจนถึงจุดสุดท้าย จากการรับรู้สาระ คิดไตร่ตรอง จนถึงการผลิตผลงานของตนเองออกมา) รูปแบบการคิดนี้สะท้อนถึงกระบวนการคิด อย่างเป็นลําดับ เป็นขั้นตอนของผู้เรียน ซึ่งมีทั้งการรับรู้ การคิดวิเคราะห์ การคิดประเมิน จนกระทั่ง การคิดสังเคราะห์ ได้เป็นแผนภาพเฉพาะของผู้เรียน ที่อาจเขียนแตกต่างกันไปได้หลากหลาย 2) การ คิดเชิงระบบแบบบูรณาการ รูปแบบที่ 2 เกิดจากการผสมผสานโครงสร้างหลัก 3 ส่วนของระบบ (ได้แก่ ปัจจัยป้อน กระบวนการและผลลัพธ์) เข้ากับคําหลัก 4 คําของหัวใจนักปราชญ์ โดยออกแบบ เป็นตาราง 3 ช่อง ตามองค์ประกอบของระบบ แล้วบรรจุประเด็นหลัก 4 คํา สุ. จิ. ปุ. ลิ. ลงใน 3 ช่อง ตารางดังกล่าว ซึ่งช่องกลางของตาราง มีทั้ง จิ. และ ปุ. ด้วยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล ซึ่งเป็น ผู้เรียน/ผู้เขียนข้อความลงตาราง ส่วน สุ. เกิดขึ้นภายนอกตัวบุคคล และ ลิ. เป็นผลงานการเรียบเรียง ของตัวบุคคล/ผู้เรียน ผลที่ได้สะท้อนถึงความสามารถในการรับรู้ การคิดวิเคราะห์ แยกแยะคํา การคิด
86
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
ต่อและการตั้งคําถาม จนกระทั่งนํามาเขียนสังเคราะห์/เชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกัน ที่อ่านเข้าใจได้และ มีความหมาย ทั้งสองรูปแบบของการคิดเชิงระบบแบบบูรณาการนี้ เป็นเครื่องมือช่วยฝึกการคิดอย่าง เป็นระบบแก่ผู้เรียน ช่วยให้เป็นผู้บริโภคด้วยปัญญา มีเหตุมีผลและรู้จักที่จะผลิตผลงานของตนเอง อันจะก่อให้กล้าคิดและกล้าเขียนได้มากยิ่งขึ้นในโอกาสต่อๆ ไป นอกจากการพัฒนาการคิดอย่างเป็น ระบบจะเกิดขึ้นแก่ผู้เรียนแล้ว ผลพลอยได้ที่ตามมาก็คือ ครูผู้สอนอาจนําไปทําเป็นงานวิจัยในชั้นเรียน ของตนได้ด้วย อันอาจขยายผลไปสู่การทําวิจัยที่พัฒนายิ่งขี้นและขอตําแหน่งทางวิชาการได้ในโอกาส ต่อไป กิตติกรรมประกาศ ผู้เขียนรู้สึกซาบซึ้ง สถาบันการศึกษาที่เอ่ยนามมาข้างต้น ตลอดจนนิสิต นักศึกษา นักเรียน ผู้ มีส่วนอย่างสําคัญในการมีส่วนร่วมช่วยพัฒนางานครั้งนี้ รวมทั้ง ท่านผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ช่วยทําให้ บทความเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฉบับนี้ เอกสารอ้างอิง เดอ โบโน, เอ็ดเวิร์ด. (2551). วิธีเสริมสร้างทักษะการคิดของ เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน. มัทธนี พลัง เทพินทร์ ผู้แปล. กรุงเทพฯ: เดอะนิวกรุ๊ป. _______. (2553). คิด! ทลายกรอบคิดเดิม เพิ่มพลังคิดสร้างสรรค์. นุชนาฏ เนตรประเสริฐศรี ผูแ้ ปล. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์. บันทึกสยาม. (2544). โคลงโลกนิติ ฉบับถอดความร้อยแก้ว. กรุงเทพฯ: ไพลินบุ๊คเน็ต. ปองพล อดิเรกสาร. (2548). สุ. จิ. ปุ. ลิ. ของ ปองพล อดิเรกสาร. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น. พระราชวิจิตรปฏิภาณ. (2547). ยอดแห่งผู้นํา: ภาวะของความเป็นผู้นําหรือนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา. มนัส บุญประกอบ. (2548). ซี เอ็ม: แนวทางจัดระบบความคิด. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือ มศว. _______. (2553). ชุดเอกสารเสริมความรู้สาํ หรับครูวิทยาศาสตร์ 1 การคิดเชิงระบบด้วยหลัก “หัวใจนักปราชญ์.” ถ่ายเอกสาร. มนัส บุญประกอบ และคณะ. (2553). พลิกปัญหาให้เป็นปัญญา. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. โรเจอร์ มาร์ติน. (2553). คิดแบบบูรณาการ. ปวีณา แปลงประวัติ ผู้แปล. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์. วรรณี ลิมอักษร. (2554). จิตวิทยาการศึกษา Educational Psychology. (พิมพ์ครั้งที่ 5). สงขลา: นําศิลป์โฆษณา. อาจินต์ ปัญจพรรค์. (2550). “สุ, จิ, ปุ, ลิ” ใน วาบความคิด. หน้า 100-101. กรุงเทพมหานคร: มติ ชน. _______. (2548). คอลัมน์ “วาบความคิด” ใน มติชนรายสัปดาห์. หน้า 62.
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 87
อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2524). “หัวใจนักปราชญ์” หนังสือเรียนภาษาไทยชุดวรรณวิจักษ์. (เล่ม 2 ท503 ท505) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. พิมพ์ครั้งที่ 2 (หน้า 91). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ. อุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ). (2507). “ปาฐกถาเรื่อง หัวใจนักปราชญ์.” ใน ชุมนุมนิพนธ์ของ อ.น.ก. (หน้า 25-45). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา. Ellis, Henry C. (1975). Fundamental of human learning and cognition. (7th ed). Dubuque, Iowa: WM. C. Brown Company Publishers. Merriam-Webster. (1992). The merriam-webster dictionary of quotations. Springfield, Massachusetts: Merriam-Webster www.moe.go.th/main2/plan/p-r-b42-01.htm. 19 สิงหาคม 2542 retrieved 14th December 2012. www.tourwat.com/3618/2011.retrieved 24th October 2012. …………………………………………
88
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
บทความปริทรรศน์ (Review article) เรื่อง ทิศทางการ ดําเนินงานทางการศึกษาพิเศษสู่ประชาคมอาเซียน ศรียา นิยมธรรม * ความตื่นตัวของการจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในประเทศไทย ได้รับการกระตุ้นจาก สื่อมวลชน ที่ร่วมกันเผยแพร่ข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน บ้างก็มีความเห็นว่า เรา เตรียมตัวช้าไปเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน บ้างก็วิตกกังวลว่า การเปิดเสรีต่างๆ อาจทําให้เราอยู่ในภาวะ เสียเปรียบหากไม่ศึกษาความเป็นไปต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น 1. การใช้ภาษาในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การก้ า วเข้ า สู่ ป ระชมคมอาเซี ย นจะมี ก ารเลื่ อ นไหลในเรื่ อ งของแรงงาน วั ฒ นธรรม ค่านิยมและความคิด ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนั้นการเชื่อมต่อกันจึงต้องมีการสื่อสารที่เข้าใจกัน ได้ เรื่องของภาษาจึงมีบทบาทสําคัญยิ่ง ภาษาที่ใช้เป็นภาษากลางเพื่อการสื่อสารในช่วงแรก ก็คงต้อง ใช้ ภ าษาอั ง กฤษ เป็ น สื่ อ กลางก่ อ น ความสามารถทางการใช้ ภ าษาอั ง กฤษ เพื่ อ การสื่ อ สาร (Communicable English) จึงเป็นเรื่องจําเป็น อย่างไรก็ดีข้อมูลจากการสํารวจความสามารถในการ ใช้ภาษาอังกฤษของประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ พบว่า เด็กไทยมีความสามารถในการ ใช้ภาษาอังกฤษเป็นลําดับที่ 55 ของโลกซึ่งต่ํากว่าอีกหลายประเทศ จึงจําต้องพัฒนาเด็กไทยให้รู้จักใช้ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ให้ได้อย่างน้อย 80% ส่วนภาษาอื่นๆ สามารถเลือกศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งนี้ขึ้นการความจําเป็นและความสนใจ เช่น ภาษจีน มาลาเซียฯลฯ 2. วิสัยทัศน์ สําหรับด้านการศึกษาพิเศษที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนคงต้องเริ่มจากการตอบ คําถามตนเองว่า “อยากจะให้เป็นอย่างไร นั้นคือ การกําหนดวิสัยทัศน์ (Vision)” วิสัยทัศน์ หมายถึง การมองไปในอนาคต (Future perspective) เป็นการมองถึงสิ่งที่ องค์กรอยากจะเป็นในอนาคต ลักษณะของวิสัยทัศน์ เป็นการกําหนดทิศทางความหวังของสิ่งที่อยาก ให้เป็น โดยมีโอกาสของความเป็นไปได้ ในการกําหนดอาจมีสมมุติฐาน ซึ่งไม่ใช่เรื่องของการจะบอกว่า ถูกหรือผิดและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามกาลเวลา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการกําหนดวิสัยทัศน์ มักจะมี ระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี การกําหนดวิสัยทัศน์ จะต้องสื่อสารได้ชัดเจนถึงภาพฝันในอนาคตที่มีโอกาสเป็นไปได้ ทั้ง มีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้และเป็นสิ่งที่น่าสนใจ การจัดทําวิสัยทัศน์ จึงเป็นการตอบคําถามว่า ขณะนี้เรามีอะไรอยู่แล้วและจะทําอย่างไร ถ้าสิ่งที่มีพร้อมกับคําถามที่ว่าก้าวต่อไปจะพัฒนาไปแบบไหนอย่างไร
____________________________ * ศาสตราจารย์, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 89
การกําหนดทิศทางและขอบเขตของความต้องการในระยะสั้นและระยะยาว ก็คือ การ จัดทําแผนกลยุทธ์ในการดําเนินงาน ทั้งนี้ เพื่อจัดสรรทรัพยากรให้สอดคล้องกับบริบท สภาพแวดล้อม ตามความคาดหวังของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและมาตรฐาน ซึ่งเป็นที่ยอมรับการจัดทําแผนกลยุทธ์นี้จะ สอดคล้องกับการกําหนดวิสัยทัศน์ในแง่ที่ว่า จะต้องเริ่มจากการสํารวจว่าเรามีอะไรอยู่แล้วและทํา อย่างไรกับสิ่งที่มี จึงกําหนดทิศทางว่าจะพัฒนาต่อไปอย่างไร การจัดทําวิสัยทัศน์การศึกษาพิเศษ ในบริบทของการจัดการศึกษาพิเศษ องค์ประกอบ สําคัญ คือ เรื่องของเจตคติ เจตคติส่งผลต่อพฤติกรรมและพฤติกรรมของคนเปลี่ยนแปลงได้ ภายใต้เงื่อนไขของ สิ่งแวดล้อมที่สร้างความมั่นใจให้ผู้กระทํา ดังนั้น การตอบคําถามแรก คือ เรามีเจตคติในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง ความเป็นมาของการจัด การศึกษาพิเศษในมุมนี้ ก็คือ การให้การเมตตาดูแล การศึกษาภาคบังคับจะยกเว้นให้เด็กพิการไม่ต้อง มาเรียนหนังสือในช่วงของการศึกษาภาคบังคับ เพราะเชื่อว่าการมาเรียนเป็นความลําบากและเป็นไป ได้ยาก ต่อมาเมื่อมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์ ด้านการสื่อสารและการมีเครื่อง อํานวยความสะดวกนานาชนิด การจัดการศึกษาพิเศษจึงเปลี่ยนไป ตั้งแต่ในรูปของการมีโรงเรียน เฉพาะการจัดการเรียนร่วมและการจัดการเรียนรวมตามลําดับ เพราะเจตคติในการมองคนพิการ เปลี่ยนไป จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่างๆ ทําให้คนพิการสามารถพัฒนาตนและอยู่ร่วมใน สังคมโดยไม่เป็นภาระ หากได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทางอย่างทันท่วงที เจตคติเช่นนี้ ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการอบรมเลี้ยงดู การเรียนการสอน การ ทํางาน และความคาดหวังจากสังคม ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน ก็มีความเปลี่ยนแปลงของเจตคติต่อผู้พิการคล้ายคลึงกัน แต่ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อที่แตกต่างกัน อาจส่งผลให้เกิดเจตคติและแนวคิดที่ต่อต้าน ได้เช่นกัน แม้แต่ชื่อที่เรียก บริการที่จัดก็สะท้อนถึงเจตคติของคนในสังคม เราคนไทยคงต้องทบทวน สิ่งที่มีว่าเหมาะสมกับโลกปัจจุบันหรือไม่ เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกาลเวลา 3. การทําและการใช้งานวิจยั บทบาทของมหาวิทยาลัยในกํากับของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กําหนดให้ การวิจัยเป็นภาระหลักควบคู่ไปกับการผลิตบุคลากรในสาขาต่างๆ บุคลากรด้านการศึกษาพิเศษในยุค ปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ทั้งในระดับการศึกษาและสาขาความชํานาญการที่แยกตามความ ต้องการพิเศษ ในด้านการวิจัย เริ่มจากการทําการวิจัยไปสู่การใช้งานวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัย ตามลําดับ 3.1 ความเป็ น มาและสภาพของการวิ จั ย ทางการศึ ก ษาพิ เ ศษในประเทศไทย จาก การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ พบว่า การวิจัยปัญหาทางการศึกษาพิเศษและปฏิบัติการต่างๆ นั้น มี หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักอยู่ 3 หน่วยงาน คือ งานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นการวิจัยใน หน่วยงาน ระดับนโยบายและแผนการศึกษา ส่วนการวิจัยระดับอุดมศึกษานั้น มีจํานวนแตกต่างกันไป ตามกลไกการดําเนินงานของสถานศึกษาและการสร้างองค์ความรู้ในศาสตร์ของสาขานั้นๆ เพื่อโยงใย กับการพัฒนาการเรียนการสอนโดยอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนการทําวิทยานิพนธ์ของ
90
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
นิสิต ส่วนการวิจัยแผนที่สาม คือ การวิจัยในหน่วยปฏิบัติการ การวิจัยแบบนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจและ ความจําเป็นของผู้ทําวิจัยด้วย เป็นการศึกษาปัญหาเชิงปฏิบัติการของหน่วยงานเป็นหลัก 3.2 ปัญหาที่เกีย่ วกับการวิจัยทางการศึกษาพิเศษ 3.2.1 เนื้อหาสาระของการวิจัย การทํางานด้านการศึกษาพิเศษ เป็นไปในลักษณะ บูรณาการองค์ความรู้จากบุคลากรจากหลายวิชาชีพ เช่น การแพทย์ จิตวิทยา การศึกษา เทคโนโลยี และยังแยกย่อยในสาขาของหน่วยงานที่ทําการสนับสนุนด้านการแพทย์ เช่น นักแก้ไขการพูด นัก กิจกรรมบําบัด นักกายภาพบําบัด นักศิลปะบําบัด นักดนตรีบําบัดฯลฯ ซึ่งเรียกว่า เป็นการทํางาน แบบสหวิชาการหรือสหวิชาชีพ ดังนั้นงานวิจัยจึงมีหลากหลายรูปแบบ สําหรับนักการศึกษาพิเศษนั้น การทํางานวิจัยมักคํานึงถึงเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอน การเลี้ยงดูและครอบครัว โดยมุ่งเน้นระดับการช่วยเหลือตั้งแต่ปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา โดยมีแนวโน้ม ในการศึกษาเด็กแต่ละประเภทต่างกันไป 3.2.2 วิธีการวิจัย แต่เดิมนั้นจะมุ่งการวิจัยเชิงทดลอง การสํารวจข้อมูลพื้นฐานและ พบว่า การวิจัยเชิงปริมาณ ยังมีข้อจํากัดตรงที่กลุ่มตัวอย่างมักมีไม่มาก จึงใช้รูปแบบของการวิจัย เชิงเดี่ยว อนึ่งผลการทดลองที่จะนําไปอ้างอิงใช้อยู่ในวงจํากัด เพราะเด็กที่มีความต้องการพิเศษมี ลักษณะเฉพาะซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายมากกว่าเด็กทั่วไป ข้อค้นพบจากการวิจัย มักไม่ใ ช้ ข้อสรุปที่จะนําไปใช้ได้ในทุกกรณี ปัจจุบันการวิจัยเชิงคุณภาพเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การวิจัยในเชิง ผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ จึงได้รับการสนใจมากขึ้น 3.2.3 ข้อจํากัดในการวิจัยทางการศึกษาพิเศษ ยังขึ้นอยู่กับผู้ทําการวิจัย มักเป็นการ วิจัยที่มุ่งเน้นให้มีผลงานออกมาและทําเพื่อประโยชน์ส่วนตนที่จะพัฒนาความก้าวหน้าในการทํางาน มากกว่า ที่จะทําเพื่อประโยชน์ส่วนรวมที่มุ่งเน้นคุณค่าประโยชน์จากการที่จะไปใช้ 3.2.4 ข้ อ จํ า กั ด ในการประสานการวิ จั ย ในแง่ ข องการนํ า ผลไปใช้ ป ระโยชน์ ต่ อ การศึกษาก็ดี การบูรณาการองค์ความรู้จากสาขาอื่นๆ ก็ดี ยังอยู่ในวงจํากัด แม้ว่าในปัจจุบันจะมุ่งเน้น การเผยแพร่ข่าวสารการวิจัยไปใช้ก็ยังอยู่ในวงจํากัดมาก การจั ดประชุ ม วิ ชาการระดั บนานาชาติที่ ทําให้ค นไทยได้ แ ลกเปลี่ยนเรีย นรู้งานวิจั ย ของ ประเทศอื่นๆ ก็ยังค่อนข้างจํากัด โดยเฉพาะในฐานะผู้นําเสนองานวิจัย ทั้งยังมีข้อจํากัดในการเข้าใจ จากการฟังและการอ่านงานวิจัยที่ต่างชาตินํามาเสนอ 4. ด้านศิลปวัฒนธรรม งานหลั ก ของมหาวิ ท ยาลั ย ในประเทศไทย อี ก เรื่ อ งหนึ่ ง คื อ การทะนุ บํ า รุ ง ศิ ล ปะ วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ การพัฒนางานการศึกษาพิเศษที่ทําอยู่ในปัจจุบันซึ่งสะท้อนถึงการทํานุบํารุงและการนํา ความรู้ทางด้านนี้มาใช้ เช่น ทัศนะในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การนําความรู้มาเป็นการบําบัดทางเลือก การเล่น ศิลปะในการประกอบอาหาร การเล่นกีฬาพื้นบ้านที่นํามาใช้เพื่อพัฒนาสมรรถภาพของเด็ก พิเศษ เป็นต้น อย่างไรก็ดีการทํางานยังกระจัดกระจาย หากมีการประมวลเป็นรูปแบบที่ชัดเจน ก็จะ สามารถขยายองค์ความรู้ สู่นานาชาติได้ เรามักได้เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ ของคนต่างชาติ ซึ่งปัจจุบัน
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 91
ถือว่า เป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้ทํา ผู้รวบรวม เราจึงน่าจะมีบทบาทของเจ้าของลิขสิทธิ์ แทนที่จะ เป็นเพียงผู้ใช้หรือผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว การประมวลความรู้ทางด้านนี้ อาจนําออกมาในรูปการผลิตเครื่องอ่าน ของเล่นที่ใช้ใน การพัฒนาเด็ก เกมส์การฝึกสมาธิและเกมส์การศึกษา จากองค์ความรู้ของการละเล่นแบบไทย สิ่ง เหล่านี้จะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และการมีรายได้ ในกลุ่มประเทศอาเซียน การฝึกอาชีพ เช่น งานฝีมือต่างๆ ตลอดจนการทําอาหาร การจัดดอกไม้ในแบบของภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ก็เป็นสิ่งที่ นํามาฝึกสอน ฝึกพัฒนาในกลุ่มบุคคลที่มีความต้องการพิเศษได้เป็นอย่างดี สรุปว่าในเรื่องศิลปวัฒนธรรมนั้น นอกจากจะประมวลเรื่องเกี่ยวกับ ความเชื่อ ประเพณี ในการดํารงชีวิตเป็นฐานแล้ว ยังนําประโยชน์มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การสร้างสื่อ สิ่งประดิษฐ์และเครื่องอํานวยความสะดวกในการดํารงชีวิตและการพัฒนาสมรรถภาพทางของผู้มี ความต้องการพิเศษในบริบทที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย 5. ด้านบริการสังคม กฎหมายและจริยธรรม 5.1 ด้านบริการสังคม การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนนั้น เป็นการก้าวสู่โลกภายนอกที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กันในด้าน ต่างๆ สังคมทุกแห่งมีคนดี คนชั่ว คนได้เปรียบ คนเอาเปรียบ การเสียเปรียบ คนมีจิตใจงดงาม มี ระเบียบวินัยและการเห็นแก่ตัว กฎเกณฑ์ของสังคมแต่ละแห่ง อาจมีความแตกต่างกันไป รวมถึง ค่านิยม เจตคติ การคิด การตัดสินใจ จึงจําเป็นที่ต้องเรียนรู้ จารีต ประเพณี วัฒนธรรมของคนชาติ อื่นๆ เท่าๆ กับการตระหนักรู้ในยุคสมัยของเราเอง เมื่ อ สั ง คมขยายตั ว ผลกระทบของการจั ด บริ ก ารทางการศึ ก ษาพิ เ ศษที่ มี ต่ อ สั ง คม กฎหมายและศี ล ธรรม ผลกระทบทั้ ง หลาย มั ก มี ร ากฐานมาจากเจตคติ แนวคิ ด ความเชื่ อ ขนบประเพณีและวัฒนธรรมของบุคคล ซึ่งมีทั้งส่วนที่เป็นความเหมือนและความแตกต่าง ดังกล่าวแล้วว่า การให้บริการทางการศึกษาพิเศษ เป็นเรื่องของสหวิทยาการที่มีการ เปลี่ยนแปลง ในแง่ขององค์ความรู้และเทคโนโลยี ฉะนั้นจะใช้อะไรควบคุมให้การจัดบริการเหล่านี้ เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร เป็นเรื่องที่ต้องคํานึงถึง 5.2 ด้านกฎหมาย ในแง่กฎหมาย จะยึดกฎหมายใดเป็นหลักหรือจะต้องอาศัยจริยธรรมมาร่วมด้วยมากน้อย แค่ไหน เมื่อพิจารณาถึงการให้บริการทางการศึกษาพิเศษ ที่คํานึงถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพและ การพัฒนาทักษะต่างๆ ในการดํารงชีวิตเป็นหลัก สิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรง ก็คือ เทคโนโลยีและสิ่งอํานวย ความสะดวกให้กับผู้คนกลุ่มนี้ รวมถึงเทคนิคต่างๆ ทางการแพทย์และการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ในโลกไซเบอร์ที่เป็นอยู่ในยุคปัจจุบัน การคิดค้น ประมวลองค์ความรู้ต่างๆ ที่จะนํามาใช้จะเกี่ยวข้อง กับผลประโยชน์ของผู้ผลิตและจริยธรรมในโลกไซเบอร์เป็นสําคัญ จึงจําเป็นที่ผู้ผลิตและผู้ใช้ผลผลิต จะต้องเรียนรู้และเข้าใจถึงเรื่องกฎหมาย สิทธิ์และจริยธรรมในโลกไซเบอร์
92
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
5.3 ด้านจริยธรรม จริยธรรม (Ethics) ก็คือ มาตรฐานของระเบียบการปฏิบัติหรือความประพฤติอย่างมี ศีลธรรม ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควร เพื่อนําพาชีวิตสู่จุดหมายสูงสุด สําหรับจริยธรรมในโลกไซเบอร์นั้น เป็นการคํานึงถึงการใช้คอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ อย่างมีศีลธรรม จริยธรรม นอกจากนี้ สําหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ก็จะต้องคํานึงถึงการ เข้าถึงข้อมูล ในรูปแบบต่างๆ ตามความต้องการพิเศษของบุคคล เช่น จะปรับให้คนตาบอด หรือสมอง พิการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ตามสภาพที่มีข้อจํากัดได้อย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น การเผยแพร่ข้อมูลหรือ องค์ความรู้ต่างๆ จะต้องมีความถูกต้อง (Accuracy) เท่าๆ กับการที่จะต้องเคารพความเป็นส่วนตัว ตลอดจน การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ปัจจุบันเรื่องลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในนานา ประเทศ ทรัพย์สินทางปัญญานั้น จะพิจารณาเป็น 2 ประเด็น คือ เรื่องของผลผลิตและสิทธิของผู้ผลิต เรื่องผลผลิตนั้น อาจเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ เช่น สิ่งประดิษฐ์ ซอฟแวร์ บทเพลง ส่วนผลผลิต อีกแบบเป็นเรื่องที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความคิด ทฤษฎี วิธีการ ผลผลิตเหล่านี้ล้วนเป็นทรัพย์สินทาง ปัญญาที่สามารถจดลิขสิทธิ์ได้ สําหรับสิทธิของผู้ผลิต จะเป็นเรื่องที่ผู้ผลิตพึงได้รับผลประโยชน์ จากผลงาน ความคิดที่ เป็นผลผลิตของตน ทั้งนี้ ผู้ผลิตอาจจดลิขสิทธิ์ เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของผลผลิตได้ 3 รูปแบบ คือ 5.3.1 ลิขสิทธิ์ (copy right) หรือ “All” Right reserved หมายถึง ลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้ เดียวที่กฎหมายรับรอง ให้ผู้สร้าง ผู้ผลิต กระทําการใดๆ เกี่ยวกับงานหรือผลผลิตที่ตนทําขึ้นได้ เช่น ลิขสิทธิ์ที่จะทําซ้ําหรือดัดแปลงหรือนําออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปแบบหรือลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้ง อนุญาตให้ผู้อื่นนํางานนั้นไปทําซ้ํา ลิขสิทธิ์แบบนี้เป็นลิขสิทธิ์ที่รัฐพึงให้กับเจ้าของผู้ผลิตผลงาน ใช้สัญลักษณ์ © 5.3.2 ลิขซ้าย (Copy left) ใช้สัญลักษณ์ แนวคิดตรงข้ามกับแนวคิดแรก แนวคิดนี้ให้ ความมั่นใจว่า ทุกคนสามารถทําซ้ําหรือสืบทอดผลงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งที่เขาทําได้และสามารถนําไปใช้ ดัดแปลง แก้ไข เผยแพร่ผลงานและสืบทอดฉบับต่างๆ ของผลงานนั้นได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้อง อยู่ภายใต้เงื่อนไขบางประการ จึงต้องประกาศว่า งานสิ่งนี้ใครเป็นเจ้าของต้นฉบับ เป็นต้น 5.3.3 ครีเอทีฟคอมมอน (Creative common) ใช้สัญลักษณ์ กลุ่มนี้มองว่า ลิขสิทธิ์ ยังต้องการเป็นเจ้าของในตัวชิ้นงาน แต่ยินดีอนุญาตให้นําไปใช้ได้ ถ้าผู้นําไปใช้ปฏิบัติตามเงื่อนไข บางอย่าง เช่น ไม่นําไปใช้เชิงการค้าหรือนําไปใช้ต้องให้เครดิตเจ้าของ ตามรูปแบบสัญญาอนุญาตที่ เรียกว่า “ครีเอทีฟคอมมอน” และรูปแบบสัญลักษณ์ เกิดจากการผสมกันของคุณสมบัติ 4 แบบ ดังนี้ 1) อนุญาตให้นําผลงานไปใช้ได้ แต่ต้องอ้างอิงที่มา 2) ไม่อนุญาตให้นําไปใช้ในเชิงการค้า 3) ต้องนําผลงานไปใช้ตรงๆ ไม่นําไปดัดแปลงหรือตัดออกมาบางส่วน 4) หลังจากนําไปใช้แล้ว ผลงานนั้นต้องมีสัญญาแบบเดียวกันกับผลงานด้วย ตามหลักการ “ทรัพย์สินทางปัญญา” กฎหมายให้สิทธิ์แก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานแต่เพียงผู้ เดียว ภายในช่วงระยะเวลาจํากัดและกําหนดให้ทรัพย์สินทางปัญญาตกเป็นสมบัติสาธารณะ (Public domain) หลังจากพ้นช่วงเวลาที่กําหนด ส่วนผลงานที่มีการสร้างก่อนกฎหมายลิขสิทธิ์ ถือว่า เป็น
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 93
สาธารณะสมบัติ ซึ่งหมายความว่า เจ้าของผลงานยินยอมให้ผู้อื่นสามารถคัดลอก นําไปใช้หรือแก้ไข และเผยแพร่ได้โดยไม่ผิดลิขสิทธิ์ สังคมไทยที่เป็นมายังไม่คุ้นเคยกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามากนัก ผลผลิตองค์ ความรู้ในภูมิปัญญาไทย ก็ไม่ค่อยได้มีการจดลิขสิทธิ์ แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไปภารกิจเข้าสู่ประชาคม อาเซี ย น ก็ เ ปิ ด ประตู ก ว้ า งขวางเต็ ม ที่ เราต้ อ งเรี ย นรู้ ใ นเรื่ อ งนี้ เพื่ อ ป้ อ งกั น ปั ญ หา จากความ รู้เท่าไม่ถึงการณ์และการเสียสิทธิ์ที่พึงมี สรุป
การเตรียมตัวด้านการศึกษาพิเศษ เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ต้องเริ่มจากการสํารวจ สถานการณ์ ที่เราเป็นอยู่ในอดีตและปัจจุบัน พร้อมกับมองไปข้างหน้าวาการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ส่งผลกระทบอะไรและต้องเตรียมตัวอย่างไร 1. การพัฒนาภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสาร เช่น ภาษาอังกฤษที่เป็นภาษากลางหรือภาษาอื่นที่ จําเป็น เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่นฯลฯ 2. กําหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์จากการศึกษาสภาพที่มีอยู่ ที่เป็นอยู่และที่จะก้าวต่อไป เช่น ชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มบุคคลที่รับบริการทางการศึกษาพิเศษจะครอบคลุมกี่ประเภท นอกจากนี้ประเภท ของการให้บริการ การจัดการศึกษาพิเศษ สิทธิและโอกาสในสังคม ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ รวมทั้ง การพั ฒ นาความสามารถของคณาจารย์ นิ สิ ต หรื อ นั ก ศึ ก ษาในโลกยุ ค ไซเบอร์ ไม่ ว่ า จะเป็ น ด้ า น การแพทย์ การเรียนการสอน การดําเนินชีวิตและการสื่อสาร 3. การทํา การเผยแพร่และการใช้งานวิจัยที่มีความถูกต้อง น่าสนใจ เป็นสากล 4. การนําจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) มาผสมผสานกับการจัดการศึกษาพิเศษ นั่นคือ การมองหาจุดเด่นและการพัฒนาศักยภาพของบุคคลที่มีความต้องการพิเศษสู่การเป็นบุคคลที่ มีความสามารถพิเศษ เอกสารอ้างอิง คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ, สํานักงาน. (2551). การบริหารจัดการเทคโนโลยีใน โรงเรียน: คู่มือสําหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีอีเลคโทรนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ. ไพทูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2549). สัตตศิลาประการสําหรับการเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุค เศรษฐกิจฐานความรู้. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมเกียรติ ตั้งนริม. (2551). สวนกระแสลิขสิทธิ์และเรื่องของลิขซ้าย โดยสังเขป จาก http//midnight Univ./midnzht /2545/document 9575.htm/สืบค้นเมื่อกุมภาพันธ์ 2551. ศรียา นิยมธรรม. (2555). โครงการพัฒนาศึกษาอาเซียนย้อนรําลึกโครงการศึกษาพิเศษในเอกสาร ประกอบคําบรรยาย เรื่อง “การศึกษาพิเศษแห่งพัฒนาศึกษาอาเซียน” ที่มหาวิทยาลัยศรีนค รินวิโรฒ. มิถุนายน 2555. …………………………………………
94
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) Theory and Practice of Counseling and Psychotherapy Gerald Corey Belmont, CA: Thomson Higher Education, 2009, 519 pp. ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ * สาระสํ า คั ญ ของหนั ง สื อ เรื่ อ ง “ทฤษฎี แ ละการปฏิ บัติ ใ นการปรึ ก ษาและจิ ตบํ า บั ด ” เป็ น หนังสือที่ Gerald Corey ได้เรียบเรียงเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 คือ ประเด็นพื้นฐานในการปฏิบัติการ การให้การปรึกษา ตอนที่ 2 คือ ทฤษฎีและเทคนิคในการให้การปรึกษา และตอนที่ 3 คือ การบูรณา การและการประยุกต์ใช้การให้การปรึกษา I ประเด็นพื้นฐานในการปฏิบัติการการให้การปรึกษา สาระสําคัญของการให้การปรึกษา มุ่งให้ความสําคัญเกี่ยวกับการประมวลความหมายของการ ให้การปรึกษา การเป็นผู้ให้การปรึกษา คุณลักษณะของการเป็นผู้ให้การปรึกษาที่มีประสิทธิภาพ กระบวนการในการให้การปรึกษาและจรรยาบรรณของการเป็นผู้ให้การปรึกษา และกรณีตัวอย่างของ การให้การปรึกษา II ทฤษฎีและเทคนิคในการให้การปรึกษา Corey เสนอว่า คําว่า การปรึกษา (Counseling) และคําว่า การบําบัด (Therapy) สามารถ ใช้แทนกันได้ ดังนั้น ทฤษฎีและเทคนิคในการให้การปรึกษาที่นําเสนอในตอนที่ II นี้ ประกอบด้วย การบําบัดแบบจิตวิเคราะห์ การบําบัดตามแนว Adler การบําบัดแบบภวนิยม การบําบัดที่เน้น ผู้รับบริการ/บุคคลเป็นศูนย์กลาง การบําบัดแบบเกสตัลท์ พฤติกรรมบําบัด การบําบัดความคิดพฤติกรรม การบําบัดแบบเผชิญความจริง การบําบัดสตรีเพศ แนวคิดล้ําสมัยและการบําบัดระบบ ครอบครัว โดยมีสาระสําคัญ ดังนี้ 1. การบําบัดแบบจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic therapy) Sigmund Freud เป็นผู้คิดค้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางจิตหรือจิตวิเคราะห์และแนว ทางการทําจิตบําบัด (Psychotherapy) ____________________________ * ศาสตราจารย์ ดร., หัวหน้าสาขาวิชาจิตวิทยา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 95
แนวคิดสําคัญของการบําบัดแบบจิตวิเคราะห์ตามแนวคิดของ Freud คือ การให้ ความสําคัญกับพฤติกรรมของมนุษย์ โดยระบุว่า พฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นนั้น จะไม่เกิดอย่างเสรี หรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่จะถูกกําหนดจากพลังทางจิตและประสบการณ์ในช่วง 6 ปีแรกของ ชีวิต อีกทั้งแรงขับพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นแรงขับความก้าวร้าวหรือแรงขับทางเพศ ตลอดทั้งจิตไร้สํานึก จิตสํานึกและคุณธรรมต่างเป็นสิ่งที่กําหนดพฤติกรรมของมนุษย์ เป้าหมายของการบําบัดแบบจิตวิเคราะห์ คือ เพื่อปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพหรือปรับแก้ไข บุคลิกภาพพื้นฐานของผู้รับบริการ เพื่อช่วยให้สภาพปัญหาลดน้อยลง โดยนําสิ่งที่เก็บกดไว้ในระดับจิต ไร้สํานึก ซึ่งได้แก่ ความคิด ความรู้สึกและความทรงจําที่ถูกเก็บกดเอาไว้นั้น ให้ขึ้นมาปรากฏในระดับ จิตสํานึก การเปิดเผยสิ่งที่เก็บกด จะทําให้พลังของการเก็บกดและความพยายามในการเก็บกดได้รับ การวิเคราะห์อย่างถูกต้อง สร้างความกลมกลืนกันใหม่ในเรื่องที่เก็บกดกับบุคลิกภาพโดยรวม ซึ่งจะ ช่วยให้ผู้ รับบริ การเข้ าใจพฤติกรรมและบุค ลิกภาพที่แ ท้จริงของตนเองดีขึ้น สามารถหลุ ดพ้นกับ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในอดีต สามารถเผชิญกับตนเองและผู้อื่นได้ในระดับจิตสํานึกอย่าง ถูกต้องและเหมาะสม โดยอาศัยหลักแห่งความเป็นจริง คือ รู้จักใช้หลักการและเหตุผลมากขึ้น รวมทั้ง สามารถบรรลุสิ่งที่ตนต้องการอย่างมีสติ ใช้ปัญญาและสามารถตระหนักรู้อารมณ์ของตนเอง นอกจากนี้ยังได้ระบุถึง กลุ่ม Neo-Freudian ซึ่งเป็นกลุ่มร่วมสมัย นักจิตวิทยากลุ่มนี้ จะ ให้ ค วามสํ า คั ญ กั บ อิ ท ธิ พ ลทางวั ฒ นธรรมและอิ ท ธิ พ ลทางสั ง คม โดยในการบํ า บั ด นั้ น จะเน้ น ถึ ง สัมพันธภาพระหว่างบุคคล พัฒนาการทางจิตสังคมตลอดช่วงชีวิตและการวิเคราะห์พลังของจิตไร้ สํานึกและจิตสํานึกที่ส่งผลต่อจิตใจของบุคคลนั้นหรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2. การบําบัดตามแนว Adler บุคคลสําคัญของการบําบัดตามแนว Adler คือ Alfred Adler และบุคคลสําคัญที่นํา แนวคิดตามแนว Adler ไปเผยแพร่ในประเทศสหรัฐอเมริกา คือ Rudolf Dreikurs แนวคิดสําคัญของการบัดบัดตามแนว Adler คือ การให้ความสําคัญกับ 2.1 เอกภาพของบุคลิกภาพ (The unity of personality) ซึ่งครอบคลุมมุมมองเกี่ยวกับ ตนเองตามความนึกคิดของตนเอง รวมทั้งความสําคัญของเป้าหมายชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่กําหนดทิศทางที่ จะนําไปสู่พฤติกรรมที่บุคคลนั้นมุ่งหวัง 2.2 ความสนใจทางสังคมเป็นสิ่งจูงใจให้มนุษย์กําหนดเป้าหมายในชีวิต เพื่อให้ชีวิตของตน มีความหมาย 2.3 การดิ้นรนต่อสู้เพื่อความสําคัญและจุดเด่น 2.4 การพัฒนารูปแบบชีวิตที่เป็นหนึ่งเดียวของตนเองและการทําความเข้าใจหมู่มวล สมาชิกครอบครัว 2.5 การให้กําลังใจและการให้การช่วยเหลือผู้รับบริการจะช่วยให้ผู้รับบริการมีทิศทางที่มุ่ง ไปสู่เป้าหมายที่ดีกว่า หลุดพ้นความรู้สึกมีปมด้อย ด้วยการเอาชนะความยุ่งยากที่เกิดขึ้น เพื่อนํา ตนเองไปสู่เป้าหมายของชีวิตที่ดีกว่า เพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความคิดและพฤติกรรม เพื่อ แสวงหาแนวทางใหม่ที่จะเป็นไปได้ เป้าหมายของการบําบัดตามแนว Adler นั้น มุ่งเน้น การเจริญเติบโตส่วนบุคคล โดย มุ่งเน้นให้แต่ละบุคคลมีความรับผิดชอบ เรียนรู้ที่จะกําหนดเป้าหมายในชีวิตที่ดีกว่า เจริญก้าวหน้า
96
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
และสมบูรณ์แบบที่สุด นอกจากนี้ยังเชื่อว่า พฤติกรรมทุกอย่างของมนุษย์ย่อมมีเป้าหมายและมีทิศทาง มุ่งไปสู่เป้าหมายที่ดีกว่า มนุษย์จึงต้องดิ้นรนต่อสู้ให้หลุดพ้นจากความรู้สึกมีปมด้อย เพื่อความสําคัญ และความสมบูรณ์แห่งชีวิต เอาชนะความอ่อนแอไปสู่ความเข้มแข็งและเอาชนะจุดด้อยเพื่อไปสู่ จุดเด่นของชีวิตของตนเอง 3. การบําบัดแบบภวนิยม (Existential therapy) ผู้นําคนสําคัญของการบําบัดแบบภวนิยม ประกอบด้วย Viktor Frankl, Rollo May และ Irvin Yalom แนวคิดและหลักการสําคัญของการบําบัดแบบภวนิยม คือ ในการมีชีวิตของมนุษย์นั้น มนุษย์เรียนรู้ที่จะแสวงหาความหมายของชีวิต ให้ความสําคัญและให้ความสนใจกับปัญหาในการ ดํารงชีวิต เรียนรู้ที่จะเผชิญและจัดการเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต มีอิสระที่จะตัดสินใจเลือกและ รับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองเลือกหรือสิ่งที่ตนกระทํา รวมทั้ง เป็นผู้กําหนดแนวทางชีวิตของตนเอง เป้าหมายที่สําคัญของการบําบัดแบบภวนิยม คือ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการให้ สามารถค้นหาและแสวงหาความหมายในชีวิต สามารถดํารงชีวิตอย่างมีเป้าหมาย มีชีวิตอยู่อย่างมี ความหมาย มีความรับผิดชอบและรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองตัดสินใจเลือกและกําหนดทิศทางใหม่ที่มี คุณค่าสําหรับชีวิตของตนเอง 4. การบําบัดที่เน้นผู้รับบริการ/บุคคลเป็นศูนย์กลาง (Person-centered therapy) ผู้วางรากฐานการบําบัดที่เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง คือ Carl Rogers และบุคคล สําคัญอีกคนหนึ่ง คือ Natalie Rogers แนวคิ ดที่ สําคัญของการบํ าบั ดที่เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์ กลาง คื อ การมีความเชื่อว่า ผู้รับบริการมีศักยภาพที่จะกําหนดชีวิตตนเอง นําตนเอง สามารถค้นหาทิศทางในการแก้ปัญหาของ ตนเอง โดยมีผู้บําบัดเป็นผู้เอื้ออํานวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือ ส่วนหลักการสําคัญของการ บําบัดที่เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง คือ การให้ความสําคัญกับความรับผิดชอบและความสามารถ ของผู้ รั บบริ ก ารในการที่ จะรู้ จั กตนเอง ค้ นหาหนทางที่จ ะเผชิญ กั บความจริง ค้ น หาพฤติก รรมที่ เหมาะสมแก่ตนเองและตระหนักถึงความงอกงามนั้นได้ด้วยตนเอง เป้ า หมายที่ สํ า คั ญ ของการบํ า บั ด ที่ เ น้ น ผู้ รั บ บริ ก ารเป็ น ศู น ย์ ก ลาง คื อ การมุ่ ง เน้ น ให้ ผู้รับบริการเกิดการเปลี่ยนแปลงและเจริญงอกงาม รวมทั้ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด 5. การบําบัดแบบเกสตัลท์ (Gestalt therapy) Fritz Perls และ Laura Perls เป็นผู้วางรากฐานการบําบัดแบบเกสตัลท์ ส่วนบุคคล สําคัญอีก 2 คน ได้แก่ Miriam Polster และ Erving Polster แนวคิดสําคัญของการบําบัดแบบเกสตัลท์ มีดังนี้ 5.1 ให้ความสําคัญกับความเป็นองค์รวม (Holism) ให้ความสนใจคนทั้งคน (The whole person) ดังนั้น ในการให้การบําบัดแบบเกสตัลท์ จึงให้ความใส่ใจกับความคิด ความรู้สึก พฤติกรรม ร่างกาย ความทรงจําและความฝันของผู้รับบริการ 5.2 ให้ความสําคัญกับปัจจุบันขณะ (The now) เพราะการคิดถึงแต่อดีตเป็นการหลีกหนี ปัจจุบัน การคิดถึงอนาคตเป็นการสร้างความวิตกกังวล ดังนั้นจึงต้องช่วยให้ผู้รับบริการปล่อยวางอดีต ไม่คาดหวังอนาคตและอยู่กับปัจจุบัน
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 97
5.3 ในการถาม Perls จะใช้ คํ า ถามว่ า “อะไร” และ “อย่ างไร” และไม่ ค่อ ยใช้ คํ าว่ า “ทําไม” ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้รับบริการสัมผัสกับปัจจุบันขณะ รวมทั้ง จะกระตุ้นให้ผู้รับบริการจดจ่ออยู่กับ ภาวะปัจจุบัน 5.4 การตระหนักรู้ (Awareness) เป็นสิ่งสําคัญยิ่ง การตระหนักรู้ของผู้รับบริการต่อสิ่งที่ เขากําลังประสบและกําลังกระทําหรือกําลังเผชิญอยู่นั้น จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการกระทํา รูปแบบใหม่ รวมทั้ง การค้นพบตนเองใหม่ เป้าหมายที่สําคัญของการบําบัดแบบเกสตัลท์ คือ เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการตระหนักถึง ความรู้สึกของตนเองในสภาวะปัจจุบัน รู้จักและเข้าใจจุดเด่นและจุดด้อยของตนเอง รับผิดชอบต่อ ชีวิตของตนเอง สามารถแสดงออกและปฏิบัติในสิ่งที่เป็นตัวของตัวเองที่แท้จริง ปล่อยวางอดีต ไม่ คาดหวังอนาคตและอยู่กับปัจจุบันอย่างมีความสุข 6. พฤติกรรมบําบัด (Behavior therapy) บุคคลสําคัญของพฤติกรรมบําบัด ได้แก่ B.F. Skinner, Arnold Lazarus และ Albert Bandura แนวคิดสําคัญของพฤติกรรมบําบัด พฤติกรรมบําบัด เป็นการบําบัดที่ได้ประยุกต์หลักของการเรียนรู้ (Principles of learning) มาใช้ในการบําบัด ประกอบด้วย ทฤษฎีการเรียนรู้ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioning) การวางเงื่อนไขการกระทํา (Operant conditioning) ทฤษฎีการเรียนรู้ ทางสังคม (Social learning theory) และการบําบัดความคิด-พฤติกรรม (Cognitive behavior therapy) โดยนําความรู้และหลักทางพฤติกรรมศาสตร์และทางจิตวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการ เรียนรู้และการจูงใจมาประยุกต์ใช้อย่างมีระบบและอย่างจริงจังในการสร้างสรรค์และเสริมสร้างให้เกิด พฤติกรรมที่พึงประสงค์ เป้าหมายของพฤติกรรมบําบัด คือ เพื่อช่วยให้บุคคลหรือผู้รับบริการหลุดพ้นจากปัญหา เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา การควบคุมตนเอง การนําตนเอง การประเมินความก้าวหน้าของพฤติกรรม ของตนเองและสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในที่สุด 7. การบําบัดความคิด-พฤติกรรม (Cognitive behavior therapy) การบําบัดความคิด-พฤติกรรม พัฒนามาจาก 1) การบําบัดที่เน้นเหตุผล อารมณ์และ พฤติกรรม (Rational emotive behavior therapy: REBT) ซึ่งบุคคลที่วางรากฐาน REBT คือ Albert Ellis และ 2) การบําบัดที่เน้นความคิด (Cognitive therapy) ที่เชื่อว่า ความคิดมีบทบาทและ มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรม โดยบุคคลที่เป็นผู้วางรากฐานการบําบัดที่เน้นความคิด คือ A.T. Beck แนวคิ ด ที่ สํ า คั ญ ของการบํ า บั ด ความคิ ด -พฤติ ก รรม คื อ การเน้ น ความสํ า คั ญ ของ กระบวนการคิด (Cognitive process) โดยกระบวนการคิดจะเป็นตัวกําหนดพฤติกรรม โดยความคิด อารมณ์และพฤติกรรม มีความเกี่ยวพันกันและมีปฏิกิริยาต่อกันอย่างเป็นเหตุเป็นผลกัน เป้าหมายที่สํ าคัญของการบําบัดความคิด-พฤติกรรม คื อ การมุ่งปรับเปลี่ยนความคิด ความเชื่ อ ให้ เ รี ย นรู้ วิ ธี ก ารคิ ด อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและสมเหตุ ส มผล แทนความคิ ด เก่ า ที่ ไ ม่ มี ประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และด้านพฤติกรรม
98
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
8. การบําบัดแบบเผชิญความจริง (Reality therapy) บุคคลที่วางรากฐานการบําบัดแบบเผชิญความจริง คือ William Glasser และบุคคลที่ สําคัญอีกคนหนึ่ง คือ Robert Wubbolding แนวคิ ด ที่ สํ า คั ญ ของการบํ า บั ด แบบเผชิ ญ ความจริ ง พั ฒ นามาจากทฤษฎี ท างเลื อ ก (Choice therapy) และเน้นว่า คนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเลือกที่จะทํา รวมทั้ง ต้องสามารถ ควบคุมวิถีชีวิตหรือการดําเนินชีวิตของตนเองตามที่บุคคลนั้นต้องการ เป้าหมายที่สําคัญของการบําบัดแบบเผชิญความจริง คือ เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการรู้จักและ เข้าใจตนเอง มีความเป็นตัวของตัวเอง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ช่วยเหลือตนเอง ค้นพบทางเลือก ที่จะนําไปสู่เป้าหมายชีวิตของตนเอง ตระหนักในคุณค่าของตนเอง รู้จักให้และรู้จักรับความรักและ ความผูกพันผู้อื่น เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่า ตนมีคุณค่า 9. การบําบัดสตรีเพศ (Feminist therapy) การบําบัดสตรีเพศ พัฒนามาจากแนวคิดของ Jean Baker Miller, Carolyn Zerbe Enns, Oliva Espin, & Laura Brown แนวคิดที่สําคัญของการบําบัดสตรีเพศ คือ เพื่อเสริมสร้างสตรีให้มีความเข้มแข็งที่จะ พัฒนาอัตลักษณ์ของตนเอง เป้าหมายและระดับความมุ่งหวังและความผาสุกในชีวิต เป้าหมายที่สําคัญของการบําบัดสตรีเพศ คือ เพื่อให้สตรีเพศสามารถปรับเปลี่ยนมุมมอง ในชีวิตของตนเอง สามารถใช้พลังส่วนบุคคลในการดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 10. แนวคิดล้ําสมัย (Postmodern approach) บุคคลสําคัญของแนวคิดล้ําสมัย ได้แก่ Steve de Shazer, Insoo Kim Berg, Michael White, & David Epston แนวคิดล้ําสมัย ตามแนวคิดของ Steve de Shazer & Insoo Kim Berg คือ การค้นหา คําตอบที่ถูกต้อง (Right solutions) หรือมุ่งเน้นไปที่หนทางที่พอจะเป็นไปได้ หรือมุ่งเน้นไปที่การหา คําตอบหรือทางออกของปัญหา ส่วน Michael White & David Epston จะให้ความสําคัญกับการบําบัดแบบเล่าเรื่องโดย เน้นเรื่องราวต่างๆ (Narrative therapy) และกระบวนการใช้ภาษา (ภาษาศาสตร์) ที่ปรากฏใน เรื่องราวนั้นๆ ซึ่งเป็นจุดเน้นหรือจัดรวม (focus) ที่จะช่วยให้เข้าใจบุคคลและช่วยเหลือบุคคลนั้น ให้ เปลี่ยนแปลงสิ่งที่พึงประสงค์อย่างสร้างสรรค์ เป้าหมายของแนวคิดล้ําสมัย คือ เพื่อเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นและแนวทาง ในการแก้ปัญหาหรือหาทางออกของปัญหา 11. การบําบัดระบบครอบครัว (Family systems therapy) บุคคลสําคัญของการบําบัดระบบครอบครัว ได้แก่ Alfred Adler, Murray Bowen, Virginia Satir, Carl Whitaker, Salvador Minuchin, Jay Haley, & Cloe/ Madanes แนวคิดที่สําคัญของการบําบัดระบบครอบครัว คือ 1) ครอบครัวเป็นหน่วยทางอารมณ์ที่ สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต่างมีความผูกพันกัน มีความเกี่ยวดองกันและติดต่อเกี่ยวข้องกัน และ 2) การเปลี่ยนแปลงเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบครอบครัว จะส่งผลต่อส่วนอื่นๆ ของครอบครัวและ ส่งผลกระทบต่อครอบครัวในภาพรวม
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 99
เป้าหมายที่สําคัญของการบําบัดระบบครอบครัว คือ เพื่อให้สมาชิกครอบครัวแต่ละคนมี การปรับตัวในทางที่เหมาะสมขึ้น โดยให้สามารถแยกแยะความคิด เหตุและผล ออกจากอารมณ์และ ความรู้สึก ให้สามารถตัดสินใจโดยใช้สติและปัญญา มีความเป็นอิสระจากการพัวพันทางอารมณ์กับ ผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสมาชิกครอบครัวและมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เข้าใจแบบแผน พฤติกรรมระหว่างรุ่นและกระบวนการสืบทอดจากบรรพบุรุษ สามารถสะสางสิ่งที่ทุกข์ใจ ค้างคาใจ อึดอัดใจ ลดความวิตกกังวล คลายความฉุนเฉียว ผ่อนคลายและบรรเทาอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ที่ เกิดขึ้นได้ III การบูรณาการและการประยุกต์ใช้การให้การปรึกษา Gerald Corey ได้บูรณาการทฤษฎีและเทคนิคในการให้การปรึกษา โดยได้นําเสนอเกี่ยวกับ แนวโน้มในการให้การปรึกษาหรือการบําบัดในอนาคต ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ บําบัด บทบาทและหน้าที่ของผู้บําบัด ประสบการณ์ของผู้รับการบําบัด สัมพันธภาพระหว่างผู้บําบัด และผู้รับการบําบัด และกรณีตัวอย่างในการบูรณาการการบําบัด กล่าวโดยสรุป หนังสือ Theory and Practice of Counseling and Psychotherapy เป็น หนังสือที่ประมวลแนวคิดของทฤษฎีและเทคนิคการให้การปรึกษาและจิตบําบัด การทําหน้าที่ของผู้ที่ ทําหน้าที่ให้การปรึกษาหรือผู้บําบัด จรรยาบรรณของผู้ให้การปรึกษาหรือผู้บําบัด และกรณีตัวอย่าง ในการบูรณาการทฤษฎีต่างๆ ในการให้การช่วยเหลือผู้รับบริการ เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการสามารถ ดําเนินชีวิตได้อย่างมีคุณค่า ดังนั้น จึงไม่ควรพลาดโอกาสที่จะศึกษาค้นคว้าจากหนังสือเล่มนี้ …………………………………………
100
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
คําแนะนําสําหรับผู้ส่งบทความวิชาการและบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เป็นวารสารเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้าสร้างสรรค์ผลงานทางวิ ชาการด้ านจิตวิทยา บทความทุกเรื่องที่ตีพิม พ์จะต้องได้ รับความ เห็นชอบจากคณะกรรมการวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รายละเอียดมีดังนี้ 1. ลักษณะบทความที่ตีพิมพ์ 1.1 บทความทางวิชาการ/บทความทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา 1.2 บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา 2. ส่วนประกอบของบทความ 2.1 บทความทางวิชาการ ความยาวเรื่องละไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย 1) ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) 2) ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) 3) ชื่อผู้แต่ง 4) สถาบันที่ผู้เขียนสังกัด 5) บทคัดย่อ (ภาษาไทย) 6) บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) 7) เนื้อเรื่อง ประกอบด้วย 7.1) บทนํา 7.2) เนื้อเรื่อง 7.3) สรุปสาระสําคัญ 8) เอกสารอ้างอิง (ตามระบบ APA) 2.2 บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์ ความยาวเรื่องละไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย 1) ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) 2) ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) 3) ชื่อผู้แต่ง 4) สถาบันที่ผู้เขียนสังกัด 5) บทคัดย่อ (ภาษาไทย) 6) คําสําคัญ 7) บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) 8) Key words
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555) 101
9) เนื้อเรื่อง ประกอบด้วย 9.1) บทนํา 9.2) วัตถุประสงค์ 9.3) นิยามศัพท์ 9.4) วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 9.5) ระเบียบวิธีวิจัย ประกอบด้วย - ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - การวิเคราะห์ข้อมูล 9.6) ผลการวิจัย - บทสรุป - ข้อเสนอแนะ 10) เอกสารอ้างอิง (ตามระบบ APA) 3. การจัดพิมพ์ 3.1 พิมพ์ลงหน้ากระดาษขนาด A4 3.2 พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft office word 2003 3.3 รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK 3.4 ลักษณะและขนาดตัวอักษร 3.4.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ตัวหนาขนาด 26 3.4.2 ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ตัวหนาขนาด 26 3.4.3 ชื่อผู้เขียน ตัวหนาขนาด 16 3.4.4 หัวข้อใหญ่ ตัวหนาขนาด 16 3.4.5 เนื้อหา ตัวปกติขนาด 16 4. การจัดส่งบทความ 4.1 จัดส่งเอกสาร ดังนี้ 4.1.1 ต้นฉบับบทความ จํานวน 3 ชุด 4.1.2 CD บันทึกบทความ จํานวน 1 แผ่น 4.1.3 แบบฟอร์มส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 4.2 จัดส่งบทความ ดังนี้ กองบรรณาธิการวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต หลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา ชั้น 3 อาคาร 1 เลขที่ 1761 ซอยพัฒนาการ 37 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 e-mail: journalofpsycho_kbu@hotmail.com 4.3 มีข้อสงสัยกรุณาติดต่อ
102
วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-ธันวาคม 2555)
รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ โทร.0-2320-2777 ต่อ 1163, 089-929-9705 รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ โทร.0-2320-2777 ต่อ 1134, 081-921-7903 5. เงื่อนไขการตีพิมพ์บทความ 5.1 เป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน 5.2 เป็นบทความที่ผ่านการพิจารณาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ (Peer review) ของวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต บทความละ 2 คน เพื่อตรวจสอบความ ถูกต้องเชิงวิชาการ 5.3 เป็นบทความที่ได้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว 5.4 บทความที่ ไ ด้ รั บ การตี พิ ม พ์ เ ผยแพร่ ใ นวารสารจิ ต วิ ท ยา มหาวิ ท ยาลั ย เกษมบั ณ ฑิ ต เจ้าของบทความจะได้รับวารสารฉบับนั้น จํานวน 3 เล่ม ...............................................