วารสารจิตวิทยา ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 มกราคม - มิถุนายน 2558 ISSN 2286-6663

Page 1


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เจ้าของ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่ปรึกษา 1. ดร.วัลลภ สุวรรณดี 2. ดร.เสนีย์ สุวรรณดี 3. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา กองบรรณาธิการบริหาร 1. ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 2. ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม 3. รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี 4. รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ 5. รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ กองบรรณาธิการวิชาการ 1. ศาสตราจารย์ ดร.จรรจา สุวรรณทัต 2. ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 3. ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม 4. รองศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต 5. รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิโชค วรานุสันติกูล 6. รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ นนทะสร 7. รองศาสตราจารย์ ดร.วรนุช แหยมแสง 8. รองศาสตราจารย์ ดร.อรพินทร์ ชูชม 9. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา สู้รักษา 10. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา 11. รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี 12. รองศาสตราจารย์ ดร.รัญจวน คาวชิรพิทักษ์ 13. รองศาสตราจารย์มุกดา ศรียงค์ 14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง 15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เย็นใจ เลาหวณิช 16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระวัฒน์ ปันนิตามัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคาแหง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคาแหง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


กองบรรณาธิการ 1. รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ 2. นางสาวรัศมีดารา ดารากร ณ อยุธยา

บรรณาธิการ ผู้ช่วยบรรณาธิการ

คณะกรรมการจัดทาวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 1. รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ 2. รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ 3. นางสาวรัศมีดารา ดารากร ณ อยุธยา

ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ

ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ 1. ศาสตราจารย์ ดร.อารี สัณหฉวี 2. ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 3. ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม 4. รองศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต 5. รองศาสตราจารย์ ดร.อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์ 6. รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิโชค วรานุสันติกูล 7. รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ นนทะสร 8. รองศาสตราจารย์ ดร.สมสรรญก์ วงษ์อยู่น้อย 9. รองศาสตราจารย์ ดร.อรพินทร์ ชูชม 10. รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ 11. รองศาสตราจารย์ ดร.วรนุช แหยมแสง 12. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา 13. รองศาสตราจารย์ ดร.รัญจวน คาวชิรพิทักษ์ 14. รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี 15. รองศาสตราจารย์ชูศรี วงศ์รัตนะ 16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระวัฒน์ ปันนิตามัย 17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เย็นใจ เลาหวณิช 18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พาสนา จุลรัตน์ 19. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุสาห์ภรณ์ สุขารมณ์ 20. ว่าที่ร้อยตรี ดร.มนัส บุญประกอบ

นักวิชาการอิสสระ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มหาวิทยาลัยรามคาแหง มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ

กาหนดวันออกวารสาร ปีละ 2 ฉบับ - ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน กาหนดออกวารสาร เดือนมิถุนายน - ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม กาหนดออกวารสาร เดือนธันวาคม


วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาค้นคว้า สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการด้านจิตวิทยา ของคณาจารย์ นักวิชาการและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางจิตวิทยาสู่สาธารณชน 3. เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านจิตวิทยา ระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานทางวิชาการ หน่วยงานปฏิบัติการและนักวิชาการอิสระทางด้านจิตวิทยา พิมพ์ที่ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เลขที่ 1761 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ 0-2320-2777 โทรสาร 0-2720-4677 ISSN 2286-6663 สานักงาน หลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา (ชั้น 3 อาคารเกษมพัฒน์) มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ โทรศัพท์/โทรสาร 0-2320-2777 ต่อ 1134, 1163 e-mail: journal.psy.kbu@gmail.com http://journal.psy.kbu.ac.th ปีที่พิมพ์ 2558


คานิยม การทาวารสารทางวิชาการให้มีคุณภาพสูงระดับประเทศและระดับสากลนับเป็นการใช้ความ พยายามและความตั้งใจมุ่งมั่นเป็นอย่างสูง รวมทั้งต้องมีวินัยอย่างเคร่งครัดในการรักษาคุณภาพตาม ระเบียบกฎเกณฑ์ของ TCI ในฐานะผู้ อ านวยการหลั ก สู ตรสาขาวิช าจิ ตวิท ยา ระดับ บัณฑิต ศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จึงขอแสดงความชื่นชมและขอเป็นกาลังใจให้รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ บรรณาธิการและประธานคณะกรรมการจัดทาวารสารฯ ให้ได้มีพลังเข็มแข็งสามารถดาเนินการพัฒนาวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตต่อไปจน บรรลุเป้าหมายถึงมาตรฐานระดับสูงสุดได้ พร้อมนี้ ขอแสดงความชื่นชมและขอบพระคุณกองบรรณาธิการและท่านผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา บทความ รวมทั้งท่านนักวิชาการผู้กรุณาส่งบทความที่มีคุณค่ามาลงในวารสาร ทุกท่านนับเป็นกาลัง สาคัญในการร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาศาสตร์และวิชาชีพจิตวิทยาของเราให้เจริ ญก้าวหน้าและเป็น ประโยชน์ต่อมนุษย์และสังคมอย่างยั่งยืนตลอดไป

(รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อานวยการหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


บรรณาธิการแถลง วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน 2558 เป็นฉบับแรกของปีในการนาเสนอเนื้อหาการตีพิมพ์เผยแพร่บทความทางวิชาการ และบทความวิจัย ทางด้านจิตวิทยาของอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาจิตวิทยาและพุทธศาสนา จากมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลั ยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ซึ่ง บทความทุกฉบับได้รับการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านจิตวิทยา ด้านพุทธศาสนา ด้านสถิติ และวิจัย ทาให้เนื้อหาทุกคอลัมน์ของวารสารมีคุณภาพ เพื่อท่านผู้อ่านจะได้รับความรู้ทาง วิชาการและสามารถนาไปเป็นประโยชน์ในการอ้างอิงและประยุกต์ใช้ในทางวิชาการได้ กองบรรณาธิการ ขอขอบพระคุณผู้เขียนบทความทุกท่านที่ส่งบทความมาให้พิจารณาตีพิมพ์ รวมทั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ (Peer Review) ที่กรุณาพิจารณาให้ข้อคิดเห็นในการปรับปรุง แก้ไขบทความให้มีความถูกต้องทันสมัยตามหลักวิ ชาการ และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตที่ ให้การสนับสนุนในการจั ดทาวารสารจนสาเร็จลุ ล่วงด้วยดี ซึ่งกองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ฉบับนี้ จะเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านในการนาไปประยุกต์ใช้ และสร้างสรรค์ผลงานวิชาการทางจิตวิทยาต่อไป หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขอน้อมรับไว้เพื่อนาไป ปรับปรุงแก้ไขต่อไป

(รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์) บรรณาธิการ


สารบัญ พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 อาจารย์ ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

หน้า 1-15

กระบวนการพัฒนาศรัทธาและปัญญาของพระนวกะด้วยหลักสูตรการอบรมพระนวกะ ของคณะสงฆ์ไทย พระมหาภูมิชาย อคฺคปญฺโญ (มกรพันธ์)

16-26

ปัจจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวที่ส่งผลต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุศูนย์บริการสาธารณสุข 37 รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี

27-44

รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ พระปลัดสมชาย ปโยโค (ดาเนิน) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พระสุธีธรรมานุวัตร (เทียบ สิริญาโณ) ดร.พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) นายแพทย์ ดร.อุทัย สุดสุข

45-58

ความสาเร็จของศิลปินผู้หลงตัวเองในสังคมออนไลน์ศิลปะ อาจารย์พราว อรุณรังสีเวช

59-75

พฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในสถานประกอบการซาวน่า : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทางจิตวิทยา นายธเนศว์ กาญธีรานนท์ รองศาสตราจารย์ ดร.รัญจวน คาวชิรพิทักษ์

76-100

เด็กปัญญาเลิศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่า ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม

101-105

บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review): Raising Resilient Children with Autism Spectrum Disorders นายประเสริฐ ตันสกุล

106-107

คาแนะนาสาหรับผู้ส่งบทความวิชาการและบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

108-109


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

1

พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 Buddhist Method for Creating Motivation To Observe the Five Precepts 1 ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพุทธวิธีสร้างแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 ด้วยการถอด บทเรียนในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ซึ่งทาให้เห็นถึงเหตุที่พระพุทธเจ้าสามารถสร้างแรงจูงใจในการรักษา ศีล 5 ได้นั้น เพราะพระองค์ทรงเข้าใจแรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ ลักษณะของแรงจูงใจที่ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์พระพุทธศาสนามีทั้งที่เป็นแรงจูงใจภายนอก ได้แก่ แรงจูงใจจากความศรัทธาในพระพุทธเจ้า และแรงจูงใจภายใน ได้แก่ แรงจูงใจที่เกิดจากความกลัว, แรงจูงใจที่เกิดจากตัณหา มานะ และทิฏฐิ, แรงจูงใจที่เกิดจากกฎแห่งกรรม พระพุทธเจ้าทรงใช้ประโยชน์จากแรงจูงใจเหล่ านี้นามาสร้างแรงจูงใจ ในการรักษาศีล 5 พุทธวิธีที่พระองค์ใช้ในการสร้างแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 คือ ทรงใช้อภิญญา การาบผู้ดื้อรั้นและเอื้อประโยชน์แก่ผู้ฟ๎ง, ทรงนาประโยชน์ที่เกิดจากความปรารถนาความสุขของมนุษย์ มาสร้างแรงจูงใจที่มุ่งสาเร็จในสิ่งที่ปรารถนาเป็นความสุข ที่แท้จริง, ทรงใช้ประโยชน์จากความกลัว นามาสร้างแรงจูงใจให้เห็นโทษและภัยของการละเมิดศีล และทรงใช้ประโยชน์จากความเชื่อเรื่องกรรม นามาสร้างแรงจูงใจโดยจุดมุ่งหมายเพื่อนาไปสู่การบรรลุธรรม แรงจูงใจภายนอกที่เกิดขึ้นจากกัลยาณมิตรมีบทบาทที่สาคัญในการสร้างแรงจูงใจในการ ปฏิบัติตาม ศีล 5 คุณสมบัติที่สาคัญของกัลยาณมิตรก็คือ การทาหน้าที่เป็นแบบอย่างของผู้ที่ปฏิบัติ ตามหลักศีล 5 และจาเป็นที่ต้องรู้วิธีการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เหมาะกับความเชื่อพื้นฐานของแต่ละ บุคคล หมู่บ้านรักษาศีล 5 จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อหมู่คนผู้รักษาศีล 5 รวมพลังในการชักชวนให้สมาชิกที่ อยู่ร่วมด้วยโดยเริ่มจากคนในครอบครัว สร้างครอบครัวให้เป็นครอบครัวสัมมาทิฏฐิ โดยมีศีล 5 เป็น หลักพื้นฐานในการดาเนินชีวิต ขยายผลไปสู่ชุมชนเป็นสังคมที่มีความสุข คาสาคัญ : พุทธวิธี, การสร้างแรงจูงใจ, ศีล 5

____________________________ 1

อาจารย์ประจาหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสันติศึกษา บันฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


2

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

Abstract The objectives of this article is to study the Buddhist methods for creating motivation to observe the five precepts. With learned in the scriptures of Buddhism which show the reason that the Buddha can create motivation to observe the five precepts, because he understood the human basic motivation. The nature of the motivations that existed in the Buddhist scriptures. With external motivation it is the motivated by faith in the Buddha and intrinsic motivation are the motivation of fear, motivation by Tanฺhã, Mãna, Ditฺtฺhi and the motivation by the rules of Karma. The Buddha use of the different motivation by each person for creating motivation to observe the five precepts, Buddhist motivation to five precepts are: Higher Knowledge of the Buddha used to vanquish stubborn and benefit to Audience. The Buddha used motivation by each person for creating motivation to observe the five precepts, He showed the merit of the five precepts brings happiness to human that who desire, pointing out the results of bad action and the violation of the five precepts, and he showed the ultimate aim of the five precepts of Buddhism is to lead to enlightenment. External motivation arising from Kanlayanamit who is the important role to creating motivation to observe the five precepts. The key features of Kanlayanamit it is to act as role models who observe the five precepts. And it is necessary to know how to the motivation to suit the basic beliefs of the individual. The village five precepts will occur when, the power of among whom observe the five precepts have starting persuade the family observe the five precepts. Create a family with the Right view observe the five precepts that based on lifestyle. An extension to the community as a peace societies. Keywords: Buddhist Methods , Creating Motivation, Five precepts


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

3

บทนา ในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมที่สงบสุขได้นั้น จาเป็นต้องมีกฎ กติกา หรือข้อกาหนดกฎหมายเพื่อ ควบคุมกากับความประพฤติของคนในสังคมให้มีแนวทางปฏิบัติที่ดีงามและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน สาหรับสังคมชาวพุทธ เรียก หลักหรือระเบียบที่ควบคุมความประพฤติของคน และกิจการของชุมชนให้เรียบร้อยดีงามนั้นว่า ศีล (พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต, 2551: 419-420) จุดมุ่งหมายก็เพื่อ การฝึกให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่แท้ คือ การไม่เบียดเบียนกัน การอยู่ร่วมกันอย่างเป็น ปกติสุข (ศีลปาโล, 2548: 1) และศีลขั้นต่าสุดที่อุบาสกอุบาสิกาควรมีคือ ศีล 5 (พระไตรปิฎก, เล่ม19: 445) ซึ่งสังคมไทยในอดีตมีความสงบสุขน่าอยู่ก็เพราะคนส่วนใหญ่รักษาศีล จากบันทึกของสังฆราช ปาล เลกัวซ์ ได้กล่าวยกย่องถึงเมืองไทยว่า “มีความสงบร่มเย็น เพราะผู้คนต่างก็อยู่ในศีลในธรรม” (อ้างถึงใน พระไพศาล วิสาโล, 2556) แต่ป๎จจุบันศีลธรรมของคนในสังคมไทยกลับเสื่อมถอยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละเมิดศีล 5 ที่ปรากฏให้เห็นเป็นข่าวตามสื่อต่างๆ การที่สังคมไทยป๎จจุบันมีความวุ่นวาย ไม่ค่อยสงบสุขและมีป๎ญหาการใช้ความรุนแรงมากขึ้นขึ้น หากพิจารณามองถึงต้นเหตุของป๎ญหาจะพบว่า สาเหตุส่วนใหญ่แล้วมาจากการละเมิดศีล 5 แทบทั้งสิ้น ผลการสารวจชี้ให้เห็นถึงจานวนผู้ติดสุราของคนไทยมีถึง 4.3 ล้านคน (กระทรวงสาธารณสุข, 2556) และ อัตราหย่าร้างที่นับวันก็จะสูงขึ้น อันมีสาเหตุจาก ป๎ญหาการประพฤตินอกใจกัน (ผู้จัดการ, 2556) ที่น่า เศร้าสลดใจที่สุดคือ สถิติคดี “ข่มขืน” ในประเทศไทยติดอันดับโลก (ไทยรัฐ, 2555) และยังพบว่าเป็น ประเทศที่มีป๎ญหาคอร์รัปชั่นอันดับที่ 2 ของเอเชีย (เดลินิวส์, 2556) ทั้งๆ ที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือ พระพุทธศาสนา พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้กล่าวว่า “ป๎จจุบันประเทศไทยมีการล่วงละเมิด ศีล 5 มากแทบจะเรียกได้ว่าไร้ศีล” ป๎ญหาเรื่องการละเมิดศีล 5 นี้ควรหาแนวทางแก้ไข (2539: 485) แม้ว่า ป๎จจุบันมีผู้เข้าวัดปฏิบัติศาสนกิจจานวนมากขึ้น แต่มีเพียง ร้อยละ 5.4 เท่านั้นของจานวน ผู้เข้าวัดที่รั กษาศีล 5 เป็ นประจาทุกวัน (สานักงานสถิติแห่งชาติ : 2555) จากการรวบรวมผลงานวิจัย สามารถสรุปสาเหตุที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาศีล 5 ได้นั้นเป็นเพราะ (1) มองว่าศีล 5 เป็นเรื่องอุดมคติ ยากที่จะใช้ได้จริงในชีวิตประจาวัน (พระมหาพิชิตชัย ยมพาลไพ่, 2542) (2) การไม่สามารถเอาชนะใจต่อสิ่ง ยั่วยุได้ (พระมหาพิชิตชัย ยมพาลไพ่, 2545) (3) การตกอยู่ใต้อิทธิพลของลัทธิบริโภคนิยม เห็นความสุขทาง กายเป็นสิ่งสาคัญในชีวิต (พระมหาป๎ญญา ชยปํฺโญ, 2542) (4) มีทัศนคติว่า หากรักษาศีลแล้วเสีย ประโยชน์ก็ไม่อยากทา (พระสมพงษ์ ติกฺขธมฺโม, 2541) (5) การตั้งอยู่บนความประมาททาให้ขาดสติ และ ขาดความละอายเกรงกลัวต่อการทาชั่ว (พระมหาสารวย ญาณสวโร, 2542) ด้วยทัศนคติดังกล่าวนี้ จึงทาให้ แรงจูงใจในการรักษาศีล 5 ของคนไทยน้อยลง แม้ว่าจะมีการเข้าวัดปฏิบัติศาสนกิจมากขึ้น ดังนั้ น การใช้แรงจู งใจด้วยการสมาทานรักษาศีลไม่น่าจะเพียงพอที่จะชักจูงให้ อยากนามา ปฏิบัติเพราะยังไม่เข้าใจถึงความสาคัญของศีล 5 อย่างแท้จริง การไม่เข้าใจแก่นแท้ของคาสอน จึงเป็น เรื่องที่ควรจะให้ ความส าคัญเป็นอันดับแรก (ศีลปาโล, 2548: 1) จะเห็นได้จากในสมัยพุทธกาล เมื่อ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ทาให้ผู้ฟ๎งธรรมเกิดศรัทธาน้อมนาไปปฏิบัติ และมีอุบาสกอุบาสิกาจานวน มาก แม้แต่เพียงรักษาศีล 5 ก็นาพาไปสู่เส้นทางแห่งอริยธรรมได้ ด้วยเหตุนี้ การทาให้สังคมไทยหันมา ปฏิบัติรักษาศีล 5 สมดั่งที่สมเด็จพระราชมังคลาจารย์วัดปากน้าทรงอยากเห็นหมู่บ้านศีล 5 ปรากฏใน สังคมไทย ควรศึกษาคัมภีร์พระพุทธศาสนาและถอดบทเรียนพุทธวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สร้างแรงจูงใจ


4

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

ให้คนหันมารักษาศีล 5 อย่างตั้งใจ ทั้งนี้ เพื่อนามาเป็นแนวทางในการสร้างจูงใจให้คนไทยหันมารักษา ศีล 5 อย่างจริงจัง อันจะเป็นหนทางที่จะนาสันติสุขกลับคืนสู่ประเทศไทยได้อย่างแท้จริง ความสาคัญของศีลในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ศีล หมายถึง ความประพฤติที่ดีงาม สะอาด ทั้งกาย และวาจา อันมาจากใจที่สูงเป็นกุศล ศีล เป็นวินัยในสังคม ให้รู้จักยับยั้งชั่งใจในการที่จะควบคุมตนทั้ง กาย วาจา ใจ ไม่ให้เบียดเบียนกัน และ รู้จักละอายต่อความชั่วที่นาความเดือดร้อนมาให้กับตนเองและผู้อื่น ทาให้เกิดชีวิตที่สงบเรียบร้อยอยู่ใน สังคมด้วยดี ทาให้สังคมสันติสุข เป็นศีลที่เจริญด้วยป๎ญญาทาให้เป็นการพัฒนาตนทั้งด้านกายและใจให้ ดียิ่งๆ ขึ้น จนไปสู่จุดหมายสูงสุดในชีวิต ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา สะท้อนให้เห็นถึงความสาคัญของศีล ไว้หลายประเด็นหลายแง่มุม ดังนี้ ศีลในแง่ของปฏิปทาในการประพฤติพรหมจรรย์ ศีล ตามความเชื่อลั ทธิต่างๆ ของสั งคม อินเดียโบราณนั้น พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าเป็นมิจฉาทิฎฐิศีล เป็นศีลที่ไม่ประกอบด้วยป๎ญญาที่ทาให้หลุ ด พ้นจากทุกข์ ศีลที่พระพุทธเจ้ายกย่องสรรเสริญ คือ อริยสีลขันธ์ (พระไตรปิฎก, เล่ม 9: 198-200) เพราะเป็นการเพียรพยายามประพฤติปฏิบัติศีลที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ เพื่อขัดเกลาตนและสลัดตน ออกจากความทุกข์ จากอานาจกิเลส ตัณหา ทรงส่งเสริมทั้งหมู่สงฆ์สาวกและประชาชนควรสมาทาน ตั้งอยู่ ในศีล คือ การประพฤติ ทางกาย วาจา และการประกอบอาชี วให้ บริ สุ ทธิ์ ให้ สมบูรณ์ด้วยศี ล (พระไตรปิฎก, เล่ม 9: 65-72) ศีลจึงไม่ใช่เป็นเพียงการฝึกหัดความประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงามและทา ให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความเลื่อมใสศรัทธาเท่านั้น แต่มีจุดหมายสูงสุด คื อ เพื่อมุ่งเน้นขัดเกลากิเลสในใจตน เพื่อเป็นฐานให้เกิดสมาธิที่มั่นคงและมีป๎ญญาเห็นสัจจะหรือความจริงในอริยสัจ 4 ในที่สุด ศีลจึงเป็น ปฏิปทาเพื่อการประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งของหมู่สงฆ์สาวก และ คฤหัสถ์ผู้ที่เป็นอุบาสก อุบาสิกา ใน พระพุทธศาสนา ศีลในแง่ของเครื่องมือตรวจสอบตนเองของผู้เป็นอริยะ มีหลักธรรมหนึ่ง ชื่อว่า “แว่นธรรม” ซึ่ง พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ให้อริยสาวก ได้ตรวจสอบและพยากรณ์ตนเองในการเป็นพระโสดาบันโดยมีเกณฑ์ ตรวจสอบ 2 หลักใหญ่ คือ เป็นผู้ที่มีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย และเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะ ชอบใจ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงา เป็นไปเพื่อสมาธิ ศีล เป็นทางให้ พ้นจากอบายภูมิ หากมีเกณฑ์ทั้งสองตามที่กล่าว ย่อมมีความแน่นอนในอนาคตที่จะสาเร็จสัมโพธิญาณ (พระไตรปิฎก, เล่ม10: 103-104) หลักธรรมนี้เมื่อตรัสแก่คฤหัสถ์ หมายความถึง ศีล 5 หรือศีลอุโบสถที่ คฤหัสถ์พึงปฏิบัติ และ เมื่อตรัสแก่หมู่สงฆ์จะหมายถึง ศีลสาหรับพระภิกษุสงฆ์ ดังนั้น ศีลสามารถใช้เป็น เครื่องมือในการตรวจสอบตนเอง ทั้งที่เป็นพฤติกรรมภายนอกที่ไม่ล่วงละเมิด และเจตนาของศีลในใจตนของ ผู้เป็นอริยะ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการรักษาศีล ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ หรือความเห็นถูก หมายถึง ศีล ที่พามาซึ่ง ความสุข หลุดพ้นอานาจกิเลศ ตัณหา อุปาทาน ทั้งปวง ดังนั้น การรักษาศีลไม่ใช่เป็นการกระทาตามกฎข้อบังคับ เพราะไม่เช่นนั้นคนส่วนใหญ่จะคอย หาทางหลบเลี่ยงไม่ให้ผิดกฎข้อบังคับ ไม่ได้เห็นความสาคัญที่แท้จริงในการปฏิบัติตามกฎ หรือ ศีล นั้น ในทางตรงข้าม ศีล ที่มีเป็นฐานของสมาธิ และใช้ป๎ญญาประกอบพิจารณาคุณของศีลในแต่ละข้อ รู้ว่า จุดมุ่งหมายที่แท้จริงคืออะไร อย่างเช่น การรักษาศีล 5 จุดมุ่งหมายสาคัญ คือ ทาให้ละเว้นจากการ เบียดเบียนผู้อื่น ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดโกหก และ ละเว้นที่


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

5

จะเบียดเบียนตนเอง ด้วยการไม่ดื่มสุราเมรัย อันเป็นยาพิษต่อร่างกาย และยังทาให้ขาดสติสัมปชัญญะ ดังนั้นเมื่อตระหนักถึงความสาคัญของศีล 5 แล้วนามาปฏิบัติด้วยความตั้งใจ สารวมระวัง ศีล 5 นี้จึงจะ ก้าวสู่บันไดเบื้องต้นของการเป็นอริยะสาหรับมนุษย์ปุถุชนทั่วไป ดังพระสีลวเถระ ประพันธ์ ได้ประพันธ์ คาถาสรรเสริญศีลไว้ดังนี้ “ ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้งเป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย เป็นประธาน แห่งธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น พึงชาระศีลให้บริสุทธิ์” (พระไตรปิฎก, เล่ม 36: 445) จุดกาเนิดของศีล 5 กับพัฒนาการทางสังคม ต้นกาเนิดคาสอนเรื่องศีลปรากฏในอัคคัญญสูตร แสดงเรื่องเล่าเกี่ยวกับมนุษย์ในยุคต้นๆ สังคม มีความสงบเรียบร้อย เมื่อความไม่รู้จักพอของมนุษย์ประกอบกับอาหารที่ใช้ดารงชีพเริ่มหายาก ทาให้ เริ่มมีการกักตุนเสบียงอาหาร ป๎ญหาการเบียดเบียนกันของมนุษย์จึงเริ่มขึ้นจากพฤติกรรมการถือเอา สิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เป็นเหตุให้เกิดการครหาต่อว่า และมีการพูดเท็จเกิดขึ้น ในที่สุดถึงขั้นอาวุธ ท าร้ ายกั น ป๎ ญหาการเบี ยดเบี ย นกั นของมนุ ษย์ ท าให้ สั งคมเดื อดร้ อนและวุ่ นวาย มนุ ษย์ จึ งได้ เริ่ ม แก้ป๎ญหาด้วยการหาผู้นาที่มีความประพฤติน่ายกย่อง คอยติเตียนผู้ที่ประพฤติบาป กรรมชั่ว และทาการ ขับไล่ออกจากกลุ่ม ศีล จึงถูกนามาเป็นเครื่องกาหนดกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อให้สังคมนั้น เกิดความสงบสุขเรียบร้อย วรรณะกษัตริย์กาเนิดขึ้นเป็นวรรณะแรก จากนั้นวรรณะอื่นๆ เริ่มตามมา (พระไตรปิฎก,เล่ม 11: 89-97) ข้อความในพระสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงมุ่งเน้นให้มนุษย์ตระหนักถึงคุณค่า ของความเป็นมนุษย์มิได้อยู่ที่กาเนิดตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ แต่คุณค่าของมนุษย์นั้นอยู่ที่การ กระทาของตนที่จะไม่เบียดเบียนทาร้ายผู้อื่น ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นการจัดระเบียบสังคมให้ไม่ เบียดเบียนกันสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข นอกจากนี้ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ศีล 5 เป็นหนึ่งในหลักการปกครองโดยธรรมของผู้นา ใน จักกวัตติสูตร มีเรื่องเล่าถึง พระเจ้าจักรพรรดิ นอกจากจะเป็นผู้มีศีลแล้ว ยังอาศัยศีลเป็นหลักปกครอง โดยมีจักรแก้วที่เป็นทิพย์ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแสดงอานาจของผู้มีบารมี เมื่อจักรแก้วโคจรไปหยุดที่เมือง ใด แทนที่จะยึดครองทรั พย์ของเจ้าเมืองเหล่านั้น แต่กลับพระราชทานคาสอน ให้เจ้าเมืองเหล่านั้น รักษาศีล 5 ดังความปรากฏในพระสูตรดังนี้ “พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา ไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดคาเท็จ ไม่พึงดื่มน้าเมา และจงครองราชย์สมบัติไปตามเดิม เถิด” (พระไตรปิฎก, เล่ม 11: 63-64) ด้วยเหตุนี้เมืองที่ตกอยู่ใต้การปกครองต่างก็รู้สึกนอบน้อมในธรรม ที่กล่าว ไม่กระด้างกระเดื่องในการปกครองของพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นั้น ศีล 5 จึงมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับระบบสังคม การปกครองด้วยธรรม โดยปราศจากการใช้อาวุธทาร้ายห้าหั่นกัน กล่ าวได้ ว่ า มู ล เหตุ ที่ มาของการน าหลั ก ศี ล 5 มาสอนนั้ น ก็ เ พื่ อให้ สั ง คมได้ ต ระหนั ก ถึ ง ความสาคัญของศีล 5 มิใช่แต่เป็นเพียงความประพฤติที่ดีงาม เป็นกุศลธรรมในระดับบุคคลเท่านั้น แต่ ยังสัมพันธ์ไปถึงความประพฤติในระดับสังคมด้วย หากว่าสังคมหมู่ใดก็ตามมีผู้ที่ผิดศีล ไม่ว่าจะเป็นข้อ ใดก็ตามย่อมสร้างความเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคมให้ขยายออกไปได้มากขึ้น ประเด็นที่ผู้วิจัยตั้ง ข้อสังเกตคือ ศีล 5 ในระดับบุคคลนั้น ข้ออทินนาทาน เป็นจุดเริ่มต้นของการผิ ดศีล นาให้เกิดการ ละเมิดศีลข้ออื่นตามมา เป็นเหตุเพราะการบริโภคที่ไม่รู้จักพอของมนุษย์ ประกอบกับเมื่อทรัพยากรใน โลกมีอยู่จากัด ไม่เพียงพอ หรือ ขาดแคลน การลักขโมยย่อมปรากฏให้เห็นจากการเห็ นแก่ตัวและ สัญชาติญาณในการเอาตัวรอดของมนุษย์ที่ยังตกอยู่ภายใต้กิเลสและตัณหา ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของ


6

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

ผู้นาในสังคมที่ควรนาเรื่องนี้มาตระหนักและวางแผนเพื่อให้ประชาชนสามารถกินดี อยู่ดี แก้ป๎ญหาปาก ท้องให้ได้เสียก่อน ศีล 5 จึงนามาซึ่งความสงบสันติสุขให้กับผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ และยังนาความสันติมา สู่สังคมนั้นๆ ให้ปราศจากการเบียดซึ่งกันและกัน ไม่ว่าทางกาย ทางวาจา หรือ ทางใจ เป็นสันติวิธีที่ เริ่มต้นได้จากที่ตัวเรา สังคมที่สันติสุขด้วยศีล 5 นั้นมิใช่สังคมแห่งความฝ๎นแต่เป็นสังคมที่สามารถเป็น จริงได้หากว่าเริ่มต้นที่ผู้นาในสังคมต่างๆ นาศีล 5 มาใช้กับชีวิตตนและส่งเสริมคนรอบข้างให้มีศีลด้วย ในคิหิสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงสั่งสอนคฤหัสถ์ให้ปฏิบัติตามหลักสิกขาบท 5 ประการ (ศีล 5) ได้แก่ (1) เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ (2) เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ (3) เป็นผู้เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกาม (4) เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ (5) เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุรา และเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ทรงเน้นย้าคฤหัสถ์ให้รักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ และมี ศรัทธามั่นคงต่อพระรัตนตรัย เมื่อตายไปจะไม่ตกไปในอบายภูมิ เป็นโสดาบันและมีความแน่นอนในการ บรรลุโพธิญาณในวันข้างหน้า (พระไตรปิฎก, เล่ม 22: 300-302) ทั้งนี้ การรักษาศีล 5 ในป๎ญจสิกขาปทสูตร ได้แสดงให้เห็นว่า ศีล 5 จะดารงอยู่ดีหรือไม่ขึ้นอยู่ กับการคบมิตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงภาษิตว่า ผู้เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ การลั กทรัพย์ การประพฤติ ผิดในกาม การพูดเท็จ และการดื่มสุราเมรัย เป็นผู้ที่มีศีล 5 ก็จะคบค้ากับผู้มีศีล 5 และผู้ที่ไม่มีศีล 5 ก็ มักคบหากับผู้ที่ไม่มีศีล 5 เช่นกัน ทรงสอนว่าคนที่คบค้าสมาคมกันนั้นมักจะมีศีลที่ตรงกัน ผู้ที่ผิดศีล ข้อใดก็จะคบหาเพื่อนที่ผิดศีลข้อเดีย วกับตน (พระไตรปิฎก, เล่ม16: น.201-202) ดังนั้นหากตัวเรา ปรารถนาความสุข สงบ ก็ต้องรู้จักเลือกคบค้าสมาคม กับผู้มีศีล ศีลจึงมีความสาคัญในระดับสังคม สามารถสร้างเสริมสังคมให้สันติสุขได้ด้วยศีลของคนในสังคมนั้น ในป๎ญจเวรสูตร ได้ระบุเรียกศีล 5 ว่า ภัยเวร 5 ประการ สาหรับผู้ที่ล่วงละเมิดภัยเวร 5 ประการ จะเป็นเหตุให้เกิดในอบายภูมิ “บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง ชาติหน้าบ้าง เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการฆ่าสัตว์เป็นป๎จจัย ภัยเวร” (พระไตรปิฎก, เล่ม18: 321) กล่าวได้ ว่า โทษของผู้ละเมิดศีล 5 ย่อมก่อให้เกิดทุกข์ทั้งทางกาย ทางใจ และมีผลในชาติป๎จจุบัน ได้รับความ ลาบากในชาติหน้า และไม่สามารถบรรลุธรรมขั้นสูงตามหลักพระพุทธศาสนาได้ ศีล 5 จึงนับว่าเป็นเรื่อง สาคัญที่ชาวพุทธต้องพึงสังวรระวังให้มาก ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ยากยิ่งต้องอาศัยแรงจูงใจที่อยู่ด้านในจิตใจ เป็นเครื่องควบคุมกากับพฤติกรรมให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงามและเป็นกุศล แนวคิดแรงจูงใจตามหลักพระพุทธศาสนา สาเหตุของพฤติกรรมมนุษย์ ในทางจิตวิทยาพยายามอธิบายบนสมมุติฐานว่าเบื้องหลังพฤติกรรม ของมนุษย์ มีแรงจูงใจ เป็นตัวผลักดันและกาหนดทิศทางในการแสดงออก ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจมีหลาย แนวคิดตามฐานคิดที่แตกต่างกัน แนวคิดนักจิตวิทยายุคหลังเริ่มเห็นว่าความต้องการทางจิตมีอิทธิพลต่อ พฤติกรรมการแสดงออกของมนุษย์ แนวคิดกลุ่มนี้ ได้แก่ ซิกมัน ฟรอยด์ (Freud) เชื่อว่าพฤติกรรมที่มนุษย์ แสดงออก มาจากอิทธิ พลของจิ ต ซึ่ งมี 3 ส่วน คือ จิตใต้ส านึก (ID) เป็นจิ ตที่อยู่ภายใต้อิทธิ พลของ สัญชาตญาณชีวิตและความตาย, จิตสานึก (Ego) เป็นจิตสานึก ที่มีเหตุผล และมโนธรรมประจาใจ (Super Ego) ซึ่งได้รับจากการอบรมมาจากสังคม ในขณะที่แมคเคลแลนด์ (McClelland) สรุปรวมว่า มนุษย์มีความ ต้องการทางจิตหลักๆ 3 อย่าง คือ (1) ความต้องการทางอานาจ (Power Need), (2) ความต้องการเป็นที่ชอบ พอ (Affiliation Need) และ (3), ความต้องการสาเร็จ (Achievement Need) แต่สาหรับอับราฮัม มาสโลว์


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

7

(Abraham Maslow) เชื่อว่า มนุษย์มีความต้องการ 5 ขั้น เรียงจากลาดับขั้นต่าสุดไปหาขั้นสูงสุด มนุษย์ต้อง ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นต่าสุดก่อนจึงจะเกิดความต้องการในขั้นสูงต่อไป ความต้องการ 5 ขั้น ของมาสโลว์ ได้แก่ ขั้นที่ (1) ความต้องการด้านสรีระ (Physiological needs), (2) ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย( Safety Needs), (3) ความต้องการความรักหรือสังคม (Belongingness or Social Needs), (4) ความต้องการความนิยมนับถือในตนเอง (Esteem Needs), (5) ความต้องพัฒนาศักยภาพของตน (SelfActualization) แนวคิดนี้เป็นที่รู้จักและแพร่หลายในวงการศึกษา ซึ่งในความเห็นของสกินเนอร์ (Skinner) เชื่ อว่ า แรงจู งใจที่ ส่ งผลต่ อพฤติ กรรมมนุ ษย์ ต้ องมี ตั วเสริ มแรง (Reinforcer) และการเสริ มแรง (Reinforcement) (อ้างถึงใน สิริอร วิชชาวุธ และคณะ, 2547: 248-255) แรงจูงใจในทัศนะนักจิตวิทยา ตะวันตกนั้น กล่าวได้ว่า มีทั้งแรงจูงใจที่มาจากป๎จจัยภายใน และแรงจูงใจที่มาจากป๎จจัยภายนอก ที่ สะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์ยังตกอยู่ใต้อานาจของแรงจูงใจนั้น ซึ่งต่างจากแนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่เชื่อว่า มนุษย์สามารถเป็นอิสระจากอานาจใดๆ ไม่เว้นแต่อานาจความต้องการของจิตตนเอง ด้วยศักยภาพและ ป๎ญญาของมนุษย์เอง หากวิเคราะห์ในมุมมองความเชื่อทางศาสนา จะเห็นว่าแรงจูงใจเป็นธรรมชาติที่ติดตัวมนุษย์ มาแต่กาเนิด กล่าวคือ การรักชีวิต กลัวตาย กลัวสิ่งที่จะทาอันตรายให้แก่ตน เห็นได้จากสมัยโบราณ ก่อนจะมีศาสนา พลังของภัยจากธรรมชาติที่มนุษย์พบเจอนั้นยิ่งใหญ่เกินกว่าจะต้านทาน ทาให้มนุษย์ เกิดความกลัว อานาจลึกลับของธรรมชาตินั้น จึงเป็นแรงขับให้ต้องมีการกราบไหว้บูชา ฟูา ดิน แม่น้า ภูเขา ดวงอาทิตย์ ไม่ให้ทาร้าย และคอยช่วยเหลืออานวยประโยชน์ต่อตนด้วยการนาเครื่องเซ่นสังเวย มาตอบแทน เป็นต้น ต่อเมื่อมีศาสนากาเนิดขึ้น ความกลัวของมนุษย์ ถู กพัฒนาให้เป็นความกลัวต่อ การลงโทษของเทพเจ้ าที่มีอานาจเหนือมนุษย์และสามารถดลบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ เป็น แรงจูงใจที่ผลักดันพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีตซึ่งมักจะมาจาก ความกลัวการลงโทษ หรือ ความอยาก ได้รางวัล จากพระเจ้าตามศรัทธาหรือความเชื่อนั้นๆ นั่นเอง พระพุทธศาสนาได้ปฏิวัติความเชื่อในพระเจ้าเหล่านั้น ด้วยการนาหลักคาสอนที่ช่วยเปิดโลก ทัศน์มุมมองใหม่ให้แก่มวลมนุษย์ โดยให้มนุษย์เกิดศรัทธาและมีความเชื่อในศักยภาพและป๎ญญาของ มนุษย์เอง ในการที่จะหลุดพ้นจากความกลัวและการอ้อนวอน ขอจากเทพเจ้า ความปรารถนาที่จะ ปลดปล่อยตัวเองจาก ความกลัว อิสระจากอานาจกิเลสและตัณหาที่คอยจูงใจให้กระทาพฤติกรรม ต่างๆ แรงจูงใจตามแนวพระพุทธศาสนาจึง มีปลายทางคือ การนามนุษย์ไปสู่อิสรภาพ ความสุขสงบ เย็ น เกิ ด ประโยชน์ ต นและสั ง คมที่ อ ยู่ ร่ ว มกั น ท าให้ ม นุ ษ ย์ เ กิ ด สั ม มาทิ ฏ ฐิ ป๎ จ จั ย ที่ ท าให้ เ กิ ด การ เปลี่ยนแปลงความเห็นจากผู้ที่มีความเห็นผิดไปสู่ความเห็นถูก พระพุทธเจ้าใช้ประโยชน์จากแรงจูงใจ 2 ประเภทคือ 1. แรงจูงใจภายนอก พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึง บุคคลในโลกนี้มีอยู่ 4 ประเภท อาศัยรูปหรือ คุณสมบัติ 4 ทาให้เกิดแรงจูงใจหรือสร้างศรัทธาทาให้เลื่อมใส ได้แก่ (1) บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป (2) บุคคลผู้ถือเสียงเป็นประมาณ เลื่อมใสในเสียง (3) บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็น ประมาณ เลื่อมใสในความเศร้าหมอง (4) บุคคลผู้ถือธรรมเป็นประมาณ เลื่อมใสในธรรม (พระไตรปิฎก, เล่ม 21: 108-109) ซึ่งพระพุทธองค์ทรงเห็นว่า ทั้งรูปลักษณ์ เสียง และท่าทางภายนอกสามารถทาให้ เกิดแรงจูงใจในการเลื่อมใสศรัทธาได้ แต่เป็นแรงจูงใจที่ปราศจากป๎ญญาเพราะตกอยู่ภายใต้อานาจแห่ง ตัณหาที่พาไป แต่สาหรับผู้ที่มองเห็นคุณค่าภายใน คือ การมีศีล และมีวัตรปฏิบัติภายนอกเป็นเครื่อง


8

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

ยืนยัน ทาให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นแรงจูงใจที่ถูกต้องตามแนวพระพุทธศาสนา เพราะปราศจาก ตัณหา เป็นตัวชักจูง ดังนั้น ผู้ที่มีศีลและมีธรรมสามารถสร้างแรงจูงใจให้กับผู้อื่นได้ เพราะอาศัยความดี แห่งศีลที่อยู่ภายใน สร้างแรงจูงใจให้เกิดศรัทธาและความเลื่อมใส ไม่ใช้รูปลักษณ์ เสียง ท่าทางภายนอก เพื่อให้คนลุ่มหลง ดังตัวอย่างของ อุปติสสปริพาชก เมื่อเห็นพระอัสสชิ แล้วเกิดความเลื่อมใสในรูปงาม เลื่อมใสกริยาท่าทางสารวมมีความสงบเย็น ทาให้ตนอยากเข้าไปพูดคุยสนทนาธรรมด้วย พระอัสสชิได้ ตอบคาถามอุปติสสปริพาชกถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนสาวก “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคต ตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสสอนอย่างนี้” เมื่อ อุปติสสปริพาชกได้ฟ๎งธรรมของพระพุทธเจ้าจากพระอัสสชิแล้วได้มรรคผลที่หนึ่ง บรรลุโสดาบัน ต่อมา ได้บวชเป็นบรรพชิตมีนามว่าพระสารีบุตร (พระไตรปิฎก, เล่ม 32: 45-46) ความสนใจรูป กริยาท่าทางที่ มีต่อพระอัสสชิ นับว่าเป็นแรงจูงใจภายนอก เป็นเหตุจูงใจให้นาไปสู่ความสนใจ อยากเข้าใกล้และรับฟ๎ง ในสิ่งที่บุคคลคนนั้นพึงแสดง ทาให้ได้ยินได้รู้ในสิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อตน นอกจากรูปลักษณ์ ภายนอกแล้ว คุณสมบัติภายใน หรือ ความรู้ความสามารถเฉพาะตน ยังเป็นป๎จจัยหนึ่งที่พระพุทธศาสนา นามาใช้สร้างแรงจูงใจให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในผู้สอน และเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจให้ เกิดการเรียนรู้ ภายในตน เป็นเครื่องยื นยันให้ เห็นว่า พระพุทธศาสนานาไม่ปฏิเสธแรงจูงใจภายนอก เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่กระตุ้นทาให้เกิดความสนใจและเกิดศรัทธาภาพลักษณ์ภายนอก ได้แก่ รูปลักษณะ กิริยาท่าทาง อันเป็นต้นเหตุแห่งศรัทธาที่เกิดจากคุณสมบัติภายในบุคคล คือ ความรู้อันยิ่งยวดของบุคคล นั้นสามารถเป็นเครื่องมือให้คนสนใจ เมื่อคนสนใจ ทาให้เกิดการฟ๎งเรื่องราวที่ดีเป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อ การพาตนออกจากทุกข์ เกิดศรัทธาเห็นชอบในธรรมนั้นแล้วนาไปปฏิบัติ ดังนั้นแรงจูงใจภายนอก ใน พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นเหตุให้เกิดแรงจูงใจภายในเป็นไปเพื่อกุศล เพื่อความสุข 2. แรงจูงใจภายใน เป็นความปรารถนาที่อยู่ในใจของมนุษย์ คือ ความอยาก หรือ ความ ต้องการ ประเด็นนี้มีความน่าสนใจ พระพุทธศาสนาเห็นว่า ความปรารถนา หรือว่า ความอยากนั้นมี 2 ประเภท คือ ความปรารถนาที่เป็น ตัณหา ซึ่งเป็นความอยากที่ชั่วร้าย และความปรารถนาที่เป็น ฉันทะ ซึ่งเป็นความอยากฝุายดี (พระพรมหคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต, 2551: 485-486) กล่าวได้ว่าแรงจูงใจภายใน มีทั้งที่เป็นแรงจูงใจทางบวกและทางบวก สาหรับแรงจูงใจภายในทางบวก คือ แรงจูงใจที่เป็นไปเพื่อการ มีอานาจเหนื อกิเลสในใจตน ทาให้ เกิดความรักในสิ่ งที่ทาและมีความสุ ขเมื่อได้ลงมือทาเป็นไปเพื่ อ ประโยชน์ ท าให้ จิ ตเป็ นกุ ศลเกิด ธรรมฉั นทะ หรื อศรั ทธาที่ใฝุ รู้แสวงหาความจริง ซึ่ง เป็นศรัทธาที่ ประกอบด้วยป๎ญญา และมีความเมตตากรุณาปรารถนาดีต่อผู้อื่น เป็นแรงจูงใจที่นาไปสู่จุดหมาย คือ ความใฝุเป็นเลิศสูงสุดของมนุษย์ เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือความสุขเย็น ในขณะที่แรงจูงใจภายในทางลบ มีลักษณะที่ตรงกันข้าม เป็นความปรารถนาที่เต็มไปด้วยความต้องการของตนเอง เกิดตัณหา ซึ่งเป็น แรงจูงใจที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์และเกื้อกูล อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาใช้ประโยชน์จากแรงจูงใจ ฝุายลบที่อยู่ในจิตใจมนุษย์ มาสร้างแรงจูงใจให้เป็นแรงจูงใจภายในที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่ง ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา มี 3 ลักษณะ คือ (1) แรงจูงใจที่เกิดจากความกลัว (2) แรงจูงใจที่ เกิดจากตัณหา มานะ และทิฏฐิ และ (3) แรงจูงใจที่เกิดจากกฎแห่งกรรม สรุปได้ดังนี้ 2.1 แรงจูงใจที่เกิดจากความกลัว ภัย หรือความกลัว มีทั้งที่เป็นความกลัวที่เกิดจาก การปรุงแต่งภายในจิตใจ ได้แก่ ชราภัย (กลัวความแก่) พยาธิภัย (กลัวความเจ็บปุวย) และ มรณภัย (กลัวความตาย) (พระไตรปิฎก, เล่ม 20: 244-256) และความกลัวที่เกิดจากเหตุภายนอก ได้แก่ ความ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

9

กลัวต่อการถูกทาร้ายจากสัตว์มีพิษ สัตว์ที่ดุร้าย โรคภัยไข้เจ็บ อุบัติเหตุ หรือการถูกคนไม่ดีหรืออมนุษย์ ทาร้าย (พระไตรปิฎก, เล่ม 22: 138-140) สาเหตุเบื้องลึกของความกลัวเหล่านี้เกิดจากการกระทาทาง กาย วาจา ใจ ที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นความกลัวที่เกิดจากป๎จจัยพื้นฐานจิตใจมนุษย์ทุกคน บางศาสนาอาศัย ความกลัวเป็นแรงจูงใจเกิดพฤติกรรม และ ควบคุมพฤติกรรม ตามความประสงค์ของพระเจ้า สาหรับ ศาสนาพุทธไม่ได้ใช้ความกลัวการถูกลงโทษมาเป็นแรงจูงใจไม่ให้ทาพฤติกรรมที่ชั่วร้าย แต่สอนให้เห็น ความสาคัญการก้าวพ้นความกลัวที่เกิดขึ้นภายในจิตใจมนุษย์เป็นเรื่องสาคัญ 2.2 แรงจูงใจที่เกิดจากตัณหา มานะ และทิฏฐิ หรือ ปป๎ญจธรรม หมายถึง กิเลสธรรมที่ ทาให้เนิ่นช้า (พระไตรปิฎก, เล่ม 7: 37) ตัณหา แบ่งออกเป็น 3 หมวด ได้แก่ (1) กามตัณหา (ความ ทะยานอยากในกาม) (2) ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ) (3) วิภวตัณหา (ความทะยานอยากใน วิภพ) แม้ว่าตัณหาจะเป็นแรงจูงใจที่ไม่ดี ไม่มีประโยชน์มีแต่นาโทษมาให้ แต่หากว่าพัฒนาให้ถูกทางก็ อาจจะนาไปสู่แรงจูงใจที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนาได้ มานะ คือ ความถือตัว มานะ มี 3 ประการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรละ ได้แก่ (1) มานะ ความถือตัวว่าเสมอเขา (2) โอมานะ ความถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (3) อติมานะ ความถือตัวว่าดีกว่าเขา พระไตรปิฎก, เล่ม 11: 32) มานะ เป็นต้นเหตุแห่งป๎ญหาของ มนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณกาล เพราะความพึงพอใจในรูปกายของตน จนทาให้เกิดความถือตัว (มานะ) ว่า ตนมีผิวพรรณงามกว่าสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นมีผิวพรรณทรามกว่าตน ด้วยตัณหาและมานะเป็นเหตุ จึงมีการเสพเมถุน ทาร้ายกัน ป๎ญหาการเบียดเบียนก็ตามมาสังคมมนุษย์ก็เกิดความวุ่นวายไม่สงบสุ ข เพราะการทาบาปกรรม เป็นอกุศล การละเมิดศีล 5 ก็เริ่มมาจากจุดนี้ การละตัณหา และ มานะ ในตน นั้น ทาให้เกิดความเห็นถูกหรือสัมมาทิฏฐิ นั้น สามารถกระทากุศลได้ต่อเนื่อง เป็นเพราะว่าเมื่อเราไม่ ถือดี ไม่มีการเปรียบเทียบเราก็ผู้อื่น จึงไม่สร้างความขัดแย้ง ไม่มีคาว่าพวกเขา พวกเรา เมื่ออยู่ร่วมกัน เป็นหมู่คณะ ทาให้เกิดความเคารพกันและกัน ป๎ญหา การวิวาท ทาร้ายกัน การฆ่า และ การว่ากล่าว กัน การพูดเท็จ ก็จะไม่มี การละตัณหาหรือความอยากทาให้เราเกิดความอยากได้ในสิ่งที่เจ้าของหวง แหน หรือ การลักขโมย และยังรวมไปถึง การประพฤติผิดในกาม หรือ การล่วงละเมิดในบุคคลที่เป็นที่ รักที่ห่วงแหนของผู้อื่น เมื่อเกิดสัมมาทิฏฐิ ทาให้ไม่ปรารถนาที่จะนาภัยมาให้แก่ตัวเองด้วยสุราและยา พิษทั้งหลาย ที่เป็นเหตุทาให้ นาไปสู่การละเมิดศีลข้ออื่นๆ เพราะขาดสติสัมปชัญญะ 2.3 แรงจูงใจที่เกิดจากกฎแห่งกรรม ตัวอย่างของการนาเรื่องกรรมมาแสดงให้เห็น ผลของ กรรมชั่วจากการละเมิดศีล ใน จูฬกัมมวิภังคสูตร สุภมาณพโตเทยยบุตร ได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงสาเหตุ ที่มนุษย์เกิดมาแล้ว มีสภาพที่ดีหรือเลว แตกต่างกันในเรื่อง อายุสั้น-อายุยืน, มีโรคมาก-มีโรคน้อย, มี ผิวพรรณทราม-มีผิ วพรรณดี, มีอานาจวาสนา-ไม่มีอานาจวาสนา, มีสมบัติมาก-มีสมบัติน้อย, อยู่ใน ตระกูลต่า-อยู่ในตระกูลสูง, มีป๎ญญามาก-มีป๎ญญาน้อย เป็นต้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “สัตว์ทั้งหลายมี กรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นกาเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจาแนกสัตว์ทั้งหลายให้เลวและดีต่างกัน” (พระไตรปิฎก, เล่ม 14: 349-350) จากนั้นทรงแสดง ให้เห็นว่า กรรมเป็นป๎จจัยที่ส่งผลให้การเกิดในชาติต่อไปจะเป็น นรกภูมิ หรือ อบายภูมิ, สวรรค์ หรือได้ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ แม้กระทั่งได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์แต่ก็ดี เลว แตกต่างกัน ทั้งหลายทั้งปวงก็ไม่พ้น เรื่องของกรรมหนุนนานั่นเอง ในมหากัมมวิภังคสูตร มีข้อความที่ระบุถึง เรื่องของผลของการตายแล้วไปสู่นรกหรือสวรรค์นั้น นอกจากเป็นผลของวิปากกรรมที่ทาไว้แล้ว ยังอยู่ที่ป๎จจุบันขณะ วาระจิตก่อนตาย จิตเป็นสัมมาทิฏฐิ


10

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

หรื อมิจ ฉาทิฎ ฐิ ส่ งผลให้ ต่อแดนเกิดในชาติต่อไป (พระไตรปิฎ ก, เล่ ม14: 357-367) กล่ าวได้ว่ า พระพุทธศาสนาเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมและอานาจแห่งกรรม ไม่มีอานาจใดยิ่งใหญ่เหนือกรรม หากผู้ใด กระทาใดที่บาปเป็นอกุศล ผลก็คือไปเกิดในนรกภูมิ ทุคติภูมิ อบายภูมิ ในทางตรงข้ามผู้ที่กระทาดี (กาย วาจา ใจ ที่บริสุทธิ์ เป็นเรื่องของศีล) ที่ยังจิตเป็นกุศล ย่อมได้รับผลดีคือการไปเกิดในสวรรค์ แต่ ถึงกระนั้นก็ตามทั้งนรกและสวรรค์ยังเป็นเรื่องของสัตว์โลกที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่ใช่ทางที่นาไปสู่ การตัดภพตัดชาติ ทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏยังเกิดขึ้ นได้ต่อไป พระพุทธศาสนานา แรงจูงใจที่เกิดจากกฎแห่งกรรม เป็นเครื่องมือนาทางให้เกิดแรงจูงใจที่ดีถูกต้องเป็นกุศลตามหลัก พระพุทธศาสนา โดยมีจุดหมายสูงสุดคือ การนาคนออกจากทุกข์อย่างถาวร ไม่กลับมาเวียนว่ายตาย เกิดให้พบกับความทุกข์ในสังสารวัฏอีกต่อไป สรุ ป พระพุทธศาสนามองว่า แรงจูงใจ เป็นเรื่องธรรมชาติของจิตมนุษย์ ที่มีความรักสุ ข เกลียดทุกข์ อันเป็นจุดหมายระยะต้นของปุถุชนคนธรรมดา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงนาประเด็นเหล่านี้ มา ใช้ให้เป็นประโยชน์ เรียกว่า หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง เพราะหากปุถุชนนั้นรู้ซึ่งผลจากการกระทา ชั่ว ของตนและเกรงกลั ว ผลนั้ น ย่ อ มไม่ ป รารถนาที่ จะกระทาตนให้ เกิ ดทุ กข์ แต่ ห ากยั งปรารถนา ความสุขให้ตนเอง การสร้างความดีโดยมีปลายทาง คือ สุคติภูมิเป็นเปูาหมายในชาติต่อไป นอกจากนี้ ความเชื่อเรื่องกรรม และผลของกรรม เป็น แรงจูงใจอีกประเภทหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงใช้แสดง ซึ่ง เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากความกลัว คือ กลัวตัวเองต้องลาบาก ตกนรก เป็นต้น และ ยังเป็นแรงจูงใจที่ เกิดจากตัณหา ความปรารถนาสุข ทาดีแล้วยังหวังความสุขในภพต่อไป ความเชื่อเรื่องกรรมและผล ของกรรมนั้น เป็นแรงจูงใจที่มีผลอย่างมากต่อการรักษาศีลในระดับศีล 5 ซึ่งเป็นบันไดก้าวแรกของ ปุ ถุ ช น แต่ ทั้ ง สองทางเป็ น เพี ย งก้ า วแรกของการจะเดิ น ไปสู่ แรงจู ง ใจตามแนวพุ ท ธศาสนาที่ มี เปู า หมายคือ หลุ ดพ้น จากอานาจกิเลสและตัณ หา การหลุ ด พ้นจากการเวีย นว่า ยตายเกิ ด เข้า สู่ ความสุขที่แท้จริง เป็นการสร้างแรงจูงใจด้านบวกให้เกิดขึ้นในจิตใจมนุษย์ ด้วยการปรับเปลี่ยนมุมมอง การให้แนวคิดเพื่อใช้พิจารณาไตร่ตรองด้วยตนเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงมีพุทธวิธีในการจูงใจที่ทาให้คน ตระหนักถึงความสาคัญของศีลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศีล 5 ซึ่งเป็นพื้นฐานต่าที่สุดของมนุษย์ เมื่อได้ฟ๎ง แล้วนามาปฏิบัติตาม พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 จากแนวคิ ด เรื่ อ งศี ล 5 และแรงจู ง ใจตามแนวพระพุ ทธศาสนา สะท้ อ นให้ เห็ น วิ ธี ก ารที่ พระพุทธเจ้ าทรงใช้เป็ น แรงจู งใจให้ คนอยากรักษาและปฏิบัติศีล 5 นอกจากพระพุทธองค์ทรงมี อัจฉริยภาพในการสอน อันเป็นคุณลักษณะส่วนพระองค์ ความเป็นครูผู้เกื้อการุณย์ อีกทั้งทรงเข้าใจ ธรรมชาติของแรงจูงใจทีแ่ ฝงอยู่ในมนุษย์มีความแตกต่างกัน พระองค์จึงทรงเลือกวิธีการต่างๆ มาปรับ ใช้ให้เหมาะกับพื้นฐานแรงจูงใจของผู้ฟ๎ง พุทธวิธีที่พระพุทธเจ้านามาใช้สร้างแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 มี 4 พุทธวิธี แบ่งเป็นพุทธวิธีสร้างแรงจูงใจภายนอก 1 และ พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจภายใน 3 ได้แก่ พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจภายนอก โดยใช้อภิญญา หนึ่งพุทธวิธีที่สาคัญและเป็นคุณสมบัติส่วน พระองค์ คือ ก่อนที่จะเทศนาสั่งสอน พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงความแตกต่าง หรือ คุณสมบัติของ ผู้ฟ๎ง ว่ามีความโน้มเอียงไปในด้านใด เป็นการใช้หลักความรู้ชั้นสูงซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เกิดจากการปฏิบัติ ธรรม เรียกว่า อภิญญา 6 เป็นความรู้อันยิ่งยวด ได้แก่ (1) อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้) (2) ทิพพโสต


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

11

(หูทิพย์) (3) เจโตปริยญาณ (ทายใจคนอื่นได้) (4) ปุพเพนิวา (5) สานุสติ (ระลึกชาติได้) (6) อาส วักขยญาณ (ทาให้ อาสวะสิ้ นไป) (พระไตรปิฎก, เล่ ม 13: 235-237) นับว่าเป็นแนวทางการสร้าง แรงจูงใจหนึ่ง เรียกว่า เป็นพุทธวิธีที่ใช้ปาฏิหาริย์ในการการาบผู้ที่มีทิฏฐิ มานะ ให้เกิดความเลื่อมใส ศรัทธา แล้วดึงเข้ามาสนใจรับฟ๎งพระธรรมคาสอน ตัวอย่างเช่น มานัตถัทธพราหมณ์ ซึ่งเป็นผู้มี ทิฎฐิ มีความมานะถือตัว เป็นคนกระด้าง พระพุทธเจ้าทรงใช้เจโตปริยญาณ คือ รู้ถึงจิตใจผู้อื่น การาบความ มีมานะ นั้นแล้วทรงแสดงธรรม ในท้ายสุดมานัตถัทธพราหมณ์ มีดวงตาเห็นธรรม ได้ขอเป็นอุบาสกผู้ถึง สรณะ ในพระศาสนาของพระศาสดา เป็นผู้รักษาศีล 5 ตลอดชีวิต (พระไตรปิฎก, เล่ม 15: 241-242) อย่างไรก็ตาม พุทธวิธีที่ทรงใช้สร้างแรงจูงใจด้วยอภิญญาของพระองค์นั้น เป็นเพียงแรงจูงใจ ภายนอกที่ทาให้ผู้ฟ๎งเกิดความสนใจ ใคร่ฟ๎งในสิ่งที่ธรรมที่พระองค์จักแสดง แต่สิ่งที่เป็นพุทธวิธีที่สาคัญ และเปลี่ยนความเห็นของคนได้แก่ การเทศนาหรือการสอนซึ่งเป็นอีกหนึ่งพุทธวิธีสร้างแรงจูงใจในการ รักษาศีล 5 โดยพระพุทธเจ้าทรงสร้างแรงจูงใจให้สอดคล้องกับความเห็นเดิมของผู้ฟ๎ง บางกรณีทรงใช้ ความกลัวให้เกิดประโยชน์นาไปสู่แรงจูงใจที่ดีในทางพระพุทธศาสนา คือ การสร้างฉันทะในการปฏิบัติ เพื่อขจัดความกลัวที่ซ่อนหรือปรุงแต่งในใจตน บางกรณีทรงนาตัณหาหรือความอยาก ที่ผู้ฟ๎งปรารถนามา เป็นตัวจูงใจนาเข้าสู่ จุดหมายที่สูงสุดเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง และเป็นการเกื้อกูลประโยชน์ต่อ ผู้อื่น ซึ่งเป็นแรงจูงใจใฝุดี เป็นกุศลธรรมฉันทะ พระพุทธเจ้าทรงสร้างแรงจูงใจภายในให้ผู้ฟ๎งอยากนาไป ปฏิบัติตาม ดังนี้ พุทธวิธีสร้างแรงงจูงใจ โดยมุ่งสาเร็จในสิ่งที่ปรารถนา ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปยัง แคว้นโกศล ผ่านหมู่บ้านชื่อเวฬุทวาระ ชาวบ้านและหมู่พราหมณ์ต่างก็เคยได้ยินกิตติศัพท์ของพระองค์ เกิดศรัทธาจึงพากันเข้าเฝูาพร้อมทูลถามป๎ญหาต่อพระองค์ ท่าทีของชาวเมืองนี้ต่างก็มีความปรารถนา ในการไปเกิดแดนสวรรค์ ทั้งที่ตนเป็นคฤหัสถ์ยังข้องเกี่ยวในกามคุณทั้ง 5 และรักความสุขสบาย แต่ไม่รู้ วิธีการที่จะทาให้ตนบรรลุวัตถุประสงค์ เข้าประเด็นที่ว่ารู้จุดมุ่งหมายแต่ไม่รู้วิธีการ พระพุทธเจ้าทรง แสดงถึงธรรมที่ควรน้อมมาใส่ตัว (พระไตรปิฎก, เล่ม19: 502-505) อันได้แก่ (1) สัทธรรม 7 คือ การ เว้นจากการฆ่าทาร้ายกัน เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคาหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ (ส่วนใหญ่อยู่ในหลักของศีล 5) (2) มีความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ พระพุทธองค์ทรงจูงใจชาวบ้าน ด้วยการตอบสนองความต้องการชีวิตหลังความตายการจะได้ไปเกิดในแดนสวรรค์ควรทาอย่างไร ซึ่ง การได้เกิดในแดนสวรรค์ตามความเชื่อของชาวบ้านนั้น เป็นแรงจูงใจที่ประกอบด้วยตัณหาคือ ความ อยาก แม้จะเป็นความอยากใฝุดี แต่ก็ยังเคลือบแฝงไปด้วยการต้องการผลตอบแทน ท่าทีที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมนี้เป็นดังเหมือนสนับสนุนในความปรารถนานั้น ไม่ทรงคัดค้านว่าเป็นความอยากที่ไม่ดี แต่ทรงสอนหนทางที่จะนาไปสู่สิ่งที่ปรารถนา คือ ความประพฤติหรือการกระทาที่ควรละเว้นในการล่วง ละเมิดศีล พระพุทธองค์ทรงเริ่มจากการแสดงให้เห็นความต้องการของตนเองหรือสิ่งที่ตนเองปรารถนา และไม่ปรารถนา ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่มีในตนแล้วผู้อื่นก็มีเช่นกัน เขาเองก็คิดไม่ต่างจากเรา ดังนั้น จึงไม่ ควรกระทาในสิ่ งที่ทาให้ ผู้ อื่น เดื อดร้อนเป็ นทุกข์ ไม่ มีความสุ ข นั้นหมายถึ งการกระทาต่างๆ ควร ปรารถนาในสิ่งที่ดีงาม ที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังทรงแสดงให้เห็นว่ าแม้จะเว้นจากการกระทาที่ไม่น่าใคร่ ปรารถนาทั้งตนและผู้อื่นแล้ว พระองค์ยังยกระดับการกระทาที่เป็นกุศลและเป็นการกระทาที่ให้บริสุทธิ์ ยิ่งขึ้น ด้วยการสร้างพลังความเชื่อจากการให้ชักชวนผู้อื่นงดเว้นจากการกระทาชั่วทั้งหลายนั้น การ


12

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

สรรเสริญคุณของการเว้นการกระทาชั่วนั้ น ยิ่งเป็นการตอกย้าศรัทธาและความเชื่อของตนในการไม่ ล่วงละเมิดศีล 5 และการชักชวนให้ ผู้อื่นเห็นความสาคัญและอยากปฏิบัติตาม รวมไปถึงการกล่าว สรรเสริญการละเว้นจากการกระทาชั่วเหล่านั้น ซึ่งทั้ง 3 ส่วน นี้เป็นกระบวนการที่จูงใจที่ทาให้กาย วาจา ของผู้นั้นบริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้น นอกจากนี้ในคัมภีร์พระพุทธศาสนายังปรากฏเรื่องเล่าที่ยืนยันพุทธวิธีที่ พระพุทธเจ้ าทรงแสดงอานิ สงส์ เมื่อรั กษาศีล 5 แล้ ว นาส่ งไปสู่ โลกสวรรค์ตามที่คนในสั งคมยุคนั้ น ปรารถนา เช่น เรื่องของ ฉัตตมาณวกวิมาณ ได้เข้าเฝูาพระพุทธเจ้า และพระองค์ได้ตรัสถามเหตุที่มา วิมานของเทพบุตรนั้น ซึ่งเทพบุตรทูลตอบพระองค์ว่า เป็นเพราะคาสั่งสอนของพระองค์ให้ละเว้นจา การละเมิดสิกขา 5 หรือศีล 5 ตนได้ระลึกถึงคาสอน สุจริตกรรมที่กระทา ส่งผลให้เกิดในแดนสวรรค์ และได้ครอบครองวิมานแห่งนี้ (พระไตรปิฎก, เล่ม 26: 105-109) พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจ โดยแสดงให้เห็นโทษการละเมิดศีล พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ตระหนัก และเห็นภัยจากการทาบาป อันเป็นเหตุให้ตกนรก ใน ราชสูตร (พระไตรปิฎก, เล่ม 22: 302) พระพุทธเจ้า ทรงแสดงให้เห็นถึงภัยของการละเมิดศีล 5 ซึ่งบัณฑิตไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตไม่ควรข้องเกี่ยว ด้วยเหตุเพราะจะนาพาไปสู่นรกภูมิ กาเนิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน กาเนิดเป็นเปรต อยู่ในอบายภูมิและทุคติภูมิ พระพุทธเจ้าทรงใช้ความกลัวของมนุษย์ที่ไม่ต้องการให้ตนเดือดร้อน ด้วยการตกนรก ทาให้เว้นจากการทา ความชั่วทั้ง 5 ข้อ แม้ว่าจะเป็นความกลัวต่อภัยที่ยังมาไม่ถึงเป็นอนาคตกาลก็ดี แต่ผู้คนในสมัยนั้นมีความ เชื่อในเรื่องนรกสวรรค์ จึงทรงเลือกเรื่องเหตุที่ทาให้ไปสู่นรก ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อของผู้คนในยุคนั้น ทรงใช้คาว่า “พึงเว้นบาป” ซึ่งหมายถึง การละเมิดศีล 5 นอกจากการเว้นแล้ว ยังต้องอาศัยความพยายาม หรือความเพียร ที่จะเว้นนั่นเอง ดังนั้นการไม่ละเมิดศีล 5 นี้ต้องอาศัยความเพียรพยายาม เป็นเครื่องนา หนุน นอกจากนี้ในในป๎ญจเวรภยสูตร ยังชี้ให้เห็นถึงการละเมิดศีล 5 ทาให้ประสบภัยเวรทั้งในชาตินี้ ชาติ หน้า และเกิดความทุกข์ทางใจ (พระไตรปิฎก, เล่ม 16: 83-84) พุทธวิธีนี้ทรงชี้ให้เห็นโทษของการประพฤติ ผิดศีล 5 นั้น มิใช่มีแต่เฉพาะในชาติหน้า คือ การตกนรก ไปเกิดในอบายภูมิ เป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต และ หากแม้นได้เกิดเป็นมนุษย์แล้วก็จะทาให้พบกับความเสื่อมในทรัพย์ และชื่อเสียง ไม่มีความมั่นใจหรือ มั่นคงในจิตใจ ขาดความกล้าหาญเมื่อเข้าสู่สังคม เพราะตัวเองละเมิดศีล ทาให้เกิดการหลงลืมตนขาดสติ ผลที่ได้รับจากกรรมหรือการกระทาเมื่อตายไปแล้ว เป็นเครื่องนาส่งให้เกิดในแดนที่ตนได้สร้างไว้ โทษของ การละเมิดศีลในแต่ละข้อและผลที่ตามมานั้นในคัมภีร์พระพุทธศาสนาระบุว่า ผู้ที่ทาปาณาติบาตย่อมเป็น เหตุให้เมื่อเกิดมาเป็นผู้มีอายุสั้น ผู้ที่ลักขโมยของผู้อื่นย่อมเป็นเหตุให้เมื่อเกิดมาก็จะพบแต่ความเสื่อมใน ทรัพย์ ผู้ที่ละเมิดสามีภรรยาผู้อื่นย่อมเป็นเหตุให้ ถูกผู้อื่นจ้องทาร้าย ผู้ที่โกหกมดเท็จย่อมเป็นเหตุให้เกิด มาพบแต่คาพูดที่หลอกลวง และผู้ที่ดื่มสุราย่อมเป็นเหตุให้เมื่อเกิดมาเป็นคนบ้า สติไม่ดี เป็นต้น ในท้าย พระธรรมเทศนามีข้อน่าสังเกตว่า พุทธวิธีที่ชี้ให้เห็ นโทษอันน่ ากลัวของการล่วงละเมิดศีล เป็นการใช้ แรงจูงใจด้านลบหรือความกลัว เพราะพื้นฐานจิตใจมนุษย์ไม่ต้องการให้ตนได้รับความเดือดร้อน การไป เกิดนรกก็จะได้รับการทรมาน การไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ต้องถูกมนุษย์หรือสัตว์รังแก การเป็นเปรตก็ ต้องอดอยากคอยส่วนบุญที่ผู้อื่นจะส่งไปให้ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีมนุษย์ผู้ใดปรารถนา เพราะสาหรั บ บางคนการได้เกิดในสวรรค์ซึ่งเป็นแรงจูงใจด้านบวกอาจมองเห็นว่าได้ก็ดีไม่ได้ก็ดี เนื่องจากแรงปรารถนา อาจไม่มากพอ แต่ถ้าหากทาเพราะความกลัวผลจากภัยนั้นนาไปสู่แดนเกิดที่พบแต่ความทุกข์ อาจเป็นแรง ขับได้ง่ายกว่า แต่อย่างไรก็ตามพระพุทธเจ้ามิได้วางเปูาหมายต่อไปที่เป็นแรงจูงใจในขั้นต่อไป คือ การ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

13

สาเร็จสัมโพธิที่จะเกิดในอนาคตข้างหน้า แสดงให้เห็นว่าเปูาหมายนี้ยังไม่ใช่ที่สุดของจุดมุ่งหมายที่แท้จริง คือ การหมดสิ้นกิเลสเข้าสู่แดนพระนิพพาน อันถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดแห่งความทุกข์ทั้งปวง พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจ โดยมุ่งการบรรลุธรรม ใน ธัมมทินนสูตร มีเรื่องราวเกี่ยวกับแรงจูงใจ ในการรักษาศีล 5 ของนายธัมมทินนะ พร้อมด้วยบริวาร 500 คน เป็นคฤหัสถ์ผู้รักษาศีล 5 แต่ก็ยังข้อง เกี่ยวกับการครองเรือน เบียดเสียดบุตร และยังพอใจในเครื่องประทินผิว ทัดทรงดอกไม้ ยินดีในเงินทอง เกิดความสงสัยในการปฏิบัติของตน จึงได้ตั้งคาถามเชิงปรารภกับพระพุทธเจ้าถึงหนทางในการก้าวสู่การ หลุดพ้นหรือโลกกุตตระของตนเป็นเรื่องยาก ประเด็นนี้พระพุทธองค์เจ้าทรงให้การรับรองว่า หากผู้ใดมิได้ ประพฤติล่วงละเมิดศีล 5 ย่อมเป็นเห็นได้เข้าสู่โลกกุตตรธรรม การรักษาศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นเครื่อง รับรองคฤหั สถ์นั้ นในการเข้าสู่ กระแสพระโสดาบัน สาหรับการบรรลุ พระโสดาบันนั้นถือว่าเป็นผู้ เห็ น นิพพานครั้งแรก เรียกว่า ปฐมนิพพาน สามารถทาลายความทุกข์ที่มีอยู่ในชั้นเหฏฐิมสังสารให้ขาดลงได้ โดยสิ้นเชิง (พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ,2513: 140) การบรรลุโสดาบันนั้นจะต้องมีคุณลักษณะคือต้อง ยึดหมั่นศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรมคาสอน และพระอริยสงฆ์สาวก ประพฤติตนอยู่ในศีลสาหรับตน เป็นที่พอใจของอริยชน คือไม่เป็นทาสของตัณหา ประพฤติตรงตามหลักการ ตามความหมายที่แท้ เพื่อ ความดี ความงาม ความเป็ นระเบี ยบเรียบร้อย ความขัดเกลากิเลส ความสงบใจ เป็นไปเพื่อสมาธิ โดยทั่วไปหมายถึงศีล 5 ที่ประพฤติอย่างถูกต้อง เป็นขั้นที่บาเพ็ญศีลได้บริบูรณ์ แม้เพียงศีล 5 ก็เป็น ปฏิปทาของพระโสดาบัน ศีลมีอุปการคุณแก่ป๎ญญา ดังข้อความว่า “ศีลมีในบุคคลใด ป๎ญญาก็มีในบุคคล นั้น ป๎ญญามีในบุคคลใด ศีลก็มีในบุคคลนั้น ป๎ญญาเป็นของบุคคลผู้มีศีล ศีลเป็นของบุคคลผู้มีป๎ญญา” ศีล 5 ที่เพียรรักษาดีแล้วจึงเป็นไปเพื่อสมาธิ และทาให้เกิดป๎ญญา เห็นความจริงของชีวิต และจุดมุ่งหมายของการเกิดมาก็เพื่อเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้หลุดจากบ่วงกิเลส ตัณหาที่ร้อยรัด หน่วงเหนี่ยวให้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ซึ่งเป็นหัวใจสาคัญของแรงจูงใจในพระพุทธศาสนา และ พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจจุดหมายก็เพื่อชี้ทางจากผู้ที่อยู่ในที่มืดไปสู่ที่สว่าง, ทาผู้ที่ไม่รู้ให้ได้รู้,ช่วยผู้ที่ทุกข์ ให้รู้จักความสุขที่แท้จริง นาประโยชน์สุขมาสู่ตนเองและเป็นประโยชน์สุขต่อ ผู้อื่น ทาให้เกิดความ สามัคคี ไว้วางใจกัน สร้างสังคมมีความสงบสันติสุข อยู่อย่างสันติภาพ บทสรุป พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 มีทั้ง ป๎จจัยภายนอก และ ป๎จจัยภายใน ป๎จจัย ภายนอก ได้แก่ พระพุทธเจ้าและคุณสมบัติอภิญญาส่วนพระองค์ ทรงใช้อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์ใน กรณี ที่ ต้ องก าราบผู้ ที่ ดื้ อรั้ น ด้ ว ยอาศั ยฤทธิ์ อย่ างกรณี องคุ ลิ มาลเป็ นต้ น บางกรณี ทรงใช้ ฤทธิ์ เพื่ อ ประโยชน์สูงสุดของผู้ฟ๎ง เช่น ทรงดลบันดาลบดบังพระยส ไม่ให้เศรษฐีบิดาได้เห็น เป็นต้น บางครั้งทรง ใช้ประโยชน์จากอิทธิฤทธิ์ของสาวกทาให้ฝูงชนเกิดศรัทธาเลื่อมใสและตั้งใจรับฟ๎งธรรม นอกจากนี้ พระพุทธเจ้าทรงเป็นยอดของครูของโลก ทรงทราบวาระจิตของผู้ฟ๎ง จึงเลือกธรรมที่เหมาะสมมาแสดง โดยลาดับ โดยเฉพาะอย่ างยิ่งทรงนาแรงจูงใจที่เป็นฝุายลบและฝ๎งอยู่ในจิตใจมนุษย์มาสร้างแรงจูงใจ ในทางที่ดีเป็นกุศลที่พระองค์สรรเสริญ ด้วยคุณสมบัติส่วนพระองค์เหล่านี้ พุทธวิธีสร้างแรงใจในการรักษาศีล 5 สรุปเป็นลาดับได้ดังนี้ คือ การสร้างแรงจูงใจภายนอกด้วย การ ทาให้เกิดความศรัทธาและเลื่อมใสพระองค์ สร้างแรงจูงใจให้ผู้ฟ๎ง สนใจ ใคร่รู้ เกิดการรับฟ๎งคาสอน ของพระองค์ เกิดศรัทธาในคาสอนเป็นแรงจูงใจภายในที่ทาให้เกิดการน้อมนาไปปฏิบัติด้วยความตั้งใจ


14

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

พระพุทธเจ้าทรงสร้างแรงจูงใจที่ถูกต้องดีงาม เป็นกุศล เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่ทรงสอน เรียกว่า เป็น กุศลธรรมฉันทะ ซึ่งเป็นแรงจูงใจตามแนวพระพุทธศาสนา คือ การปรารถนาที่ดีงาม ที่เกื้อกูลก่อเกิด ประโยชน์ นาไปสู่การพัฒนาตนเอง แรงจูงใจที่พระองค์ทรงสร้างให้เกิดแก่ผู้ฟ๎งนั้นส่งผลให้ (1) ทาให้ ผู้ฟ๎งเกิดพลัง หรือ อาจเรียกว่า ความหวัง เปูาหมาย เพราะการที่มนุษย์มีเปูาหมายจึงทาให้เกิดพลังการ ทุ่มเทตนทั้งกายและใจให้เปูาหมายนั้นสาเร็จผล แต่เปูาหมายที่ทรงชี้ให้เห็นนั้น เป็นเพียงแนวทางที่ทรง แนะน า พระองค์ทาหน้ าที่เป็ นเพียงผู้ บอกทาง หรือเป็นกัลยาณมิตร ผู้ ฟ๎งต้องคิดเห็ นได้ด้วยตนเอง เรียกว่า เกิดโยนิโสมนสิการ (2) ทาให้ผู้ฟ๎งเกิดความพยายาม เมื่อมีเปูาหมายแล้วอุปสรรคย่อมต้องมา พร้อมกับเปูาหมาย พระพุทธเจ้าทรงเป็นตัวอย่างและสร้างแรงใจให้กับผู้ที่พร้อมจะเดินตามเส้นทางที่ พระองค์ชี้ด้วยความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อ ในการปฏิบัติฝึกฝนตนให้บรรลุธรรมในที่สุด (3) ทาให้ผู้ฟ๎งสามารถ เปลี่ยนแปลงตัวเอง มีหลายบุคคลจากเดิมเป็นผู้ที่ยังเห็นผิดเป็นผู้มีมิจฉาทิฎฐิ มีมานะที่แรงกล้า มีตัณหา เป็นตัวเหนี่ยว พระธรรมเทศนาของพระองค์สร้างแรงจูงใจให้บุคคลเหล่านั้น เปลี่ยนแปลงตนเองในทางที่ ดีงามด้วยความเต็มใจ การสร้างแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 โดยนาหลักพุทธวิธีเป็นแนวทางนั้น แรงจูงใจภายนอกอัน เกิดจากบุคคลที่เรียกว่ากัลยาณมิตร นับว่ามีบทบาทสาคัญ คุณสมบัติสาคัญของผู้สร้างแรงจูงใจหรือ กัลยาณมิตรคือการประพฤติตนเป็ นแบบอย่างในการรักษาศีล 5 ซึ่ งสะท้อนให้ เห็ นจากคุณสมบั ติ ภายนอก คือ รูปลักษณ์ น้าเสียง กริยาท่าทาง เรียกว่า มีความสะอาดกาย วาจา ชวนให้ผู้อื่นอยากรู้จัก เข้ าใกล้ และคุ ณสมบั ติ ภ ายใน ทั้ งด้ านป๎ ญญา ด้ านความบริ สุ ทธิ์ ด้ า นเมตตากรุ ณ า และผู้ ที่ เป็ น กัล ยาณมิ ตรที่ สามารถสร้ างแรงจู งใจให้ ผู้ อื่นรั กษาศี ล 5 ได้ นั้ น จ าเป็นต้ องรู้จั กสร้ างแรงจูงใจให้ เหมาะสมกับความเชื่อพื้นฐานของแต่ละบุคคล ซึ่ง ต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่มีการตอกย้าให้เกิด ความเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรมหรือการกระทา อันจะเป็นแรงจูงใจที่ทาให้คนรักษาศีล 5 เพราะมี จุดมุ่งหมายในชีวิต ซึ่งเป็นไปในทางที่ถูกต้องดีงาม ความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์เป็นแรงจูงใจภายในที่มีผล สาหรับผู้ที่มีความเชื่อ ในขณะที่ยุคสมัยใหม่ การสร้างแรงจูงใจโดยชี้ให้เห็นผลของการกระทาที่เป็นเหตุ เป็นผล นรกและสวรรค์เกิดขึ้นได้ในป๎จจุบันขณะ อันเป็นผลจากการกระทาของตนจะได้รับการยอมรับ และสร้างแรงจูงใจสาหรับผู้ที่มีหัวคิดสมัยใหม่มากกว่า การสร้างสังคม ชุมชน หรือหมู่บ้านรักษาศีล 5 จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อหมู่คนผู้รักษาศีล 5 รวม พลังในการชักชวนให้สมาชิกที่อยู่ร่วมด้วยโดยเริ่มจากคนในครอบครัว สร้างครอบครัวของตนให้เป็น ครอบครัวสัมมาทิฏฐิ โดยมีศีล 5 เป็นหลักพื้นฐานในการดาเนินชีวิต และพยายามที่จะชักชวนหรือจูง ใจผู้อื่นให้เห็นความสาคัญของการรักษาศีล 5 ด้วยความรักเมตตาในเพื่อนมนุษย์ อันเป็นการดาเนิน ชีวิตตามหลักคาสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนให้เห็นถึงจุดหมายปลายทางสูงสุดในชีวิตมนุษย์คือ การเข้าถึงความสุข สงบเย็น หรือพระนิพพาน ด้วยบันไดขั้นแรกคือ การรักษาศีล 5 และการมีศรัทธา ที่มั่นคงต่อพระรัตนตรัย


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

15

เอกสารอ้างอิง มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ผู้จัดทา. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระราชญาณวิสิฐ. (2548). หลักธรรมาภิบาลและประมุขศิลป์. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มงคล ชัยพริ้นติ้ง. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). ( 2551). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก จากัด. ศีลปาโล. (2548). ศีลห้า ฉบับคู่มือรักษาใจ. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์อมรินทร์. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช. (2533). มนุษยธรรม. กรุงเทพมหานคร: ชวนการพิมพ์. สิริอร วิชชาวุธ และคณะ. (2547). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัย พระครูสุมณฑธรรมธาดา. (2553). ศึกษาปัญหาและทางออกของการดื่มสุราที่มีผลกระทบต่อสังคมไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระมหาพิชิตชัย ยมพาลไพ่. (2542). การศึกษาทัศนะเรื่องศีล 5 ของชาวพุทธไทยปัจจุบัน ศึกษาเฉพาะกรณี การฆ่าสัตว์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล. พระมหาป๎ญญา ชยปํฺโญ. (2542). กาเมสุมิจฉาจารกับปัญหาจริยธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระมหาสารวย ญาณสวโร. (2542). การศึกษาเรื่องผลกระทบจากการล่วงละเมิดศีลข้อที่ 5 ที่มีต่อ สังคมไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระมหาอิสระ สันเปี๊ย. (2545). การวิเคราะห์ปัญหาอทินนาทานตามพุทธจริยศาสตร์ เถรวาทใน บริบทสังคมไทย. วิทยานิพนธ์อักษรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล. พระสมพงษ์ ติ กฺขธมฺ โม. (2551). ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่ องมุสาวาทในพุ ทธปรั ชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธ ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไพศาล วิสาโล. การเสริมสร้างพลังทางศีลธรรมในสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2555, จาก http://www.visalo.org/article/budKarnsermsang.htm. วอยส์ทีวี. เผย! คนไทยติดสุรา 4.3 ล้าน 1 ใน 4 เป็นเยาวชน. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://news.voicetv. co.th/Thailand /13426.html. ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์: “กิ๊ก” ต้นเหตุหลัก “รักร้าง” วอนเร่งแก้ – ก่อนเพิ่มเด็กมีปัญหา. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http: // www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews. aspx?NewsID =9520000028321. ไทยรัฐ. ไทยฉาวสถิติคดี "ข่มขืน" พุ่งติดอันดับโลก. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.dmh.go.th/ stydepression/news/view.asp?id=411. เดลินิวส์. ไทยติดอันดับคอร์รัปชั่นที่ 2 ของเอเชีย อิเหนาแชมป์. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2556.

…………………………………………………..


16

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

กระบวนการพัฒนาศรัทธาและปัญญาของพระนวกะ ด้วยหลักสูตรการอบรมพระนวกะของคณะสงฆ์ไทย The Process of Faith and Wisdom Development for the Navakabhikkhus with the Navakabhikkhus Training Curriculum in the Thai Sangha พระมหาภูมิชาย อคฺคปญฺโญ (มกรพันธ์)1

บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบวิธีผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิง ปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาหลักการและกระบวนการพัฒนาศรัทธาและ ป๎ญญาของพระนวกะในพระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษากระบวนการอบรมและพัฒนาศรัทธาและ ป๎ญญาของพระนวกะในสังคมไทย (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้หลักสูตรการฝึกอบรมพระนวกะของ คณะสงฆ์ไทยเพื่อพัฒนาศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะในสังคมไทย ผลการวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ พบว่ า หลั ก การพั ฒ นาศรั ท ธาและป๎ ญ ญาของพระนวกะใน พระพุทธศาสนา เถรวาทเน้นหลักไตรสิกขา และกระบวนการพัฒนาศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะนั้น มีขั้นตอนการอุปสมบท 3 ขั้นตอนมีการปลูกศรัทธาด้วยไตรสรณคมน์เป็นต้น และลาดับขั้นการพัฒนา ศรัทธา 7 ประการ มีการรักษาศีลให้บริสุทธิ์เป็นต้น อนึ่ง การพัฒนาศรัทธาที่ประกอบด้วยป๎ญญานั้นต้อง อาศัยองค์ประกอบภายนอก คือ ปรโตโฆสะ (กัลยาณมิตร) สดับธรรมส่งผลให้เกิดศรัทธา และต้องอาศัย โยนิโสมนสิการ จึงจะสามารถนาไปสู่โลกุตรสัมมาทิฏฐิ บรรลุจุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนาได้ กระบวนการอบรมและพัฒนาศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะในสังคมไทย นับตั้งแต่สมัย สุโขทัยจวบจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์มีการอบรมพระนวกะด้วยคันถธุระและวิป๎สสนาธุระ อนึ่งหลักสูตร การฝึ กอบรมของคณะสงฆ์ไทยส าหรั บพระนวกะที่บวชระยะสั้ น มี 4 หลั กสู ตร ได้แก่ (1) หลั กสู ตร นักธรรมชั้นตรี (2) หลักสูตรวัดญาณเวศกวัน (3) หลักสูตรวัดชลประทานรังสฤษดิ์ (4) หลั กสูตรการ ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่ง ทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นพระนวกะที่บวชระยะสั้นจานวน 62 รูป โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่งเข้ า หลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศรัทธาและป๎ญญาจานวน 12 วัน ประกอบด้วยภาคทฤษฎี 5 วันและ ภาคปฏิบัติ 7 วัน จานวน 31 รูป และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าหลักสูตรการฝึกอบรมจานวน 31 รูป กลุ่ม ตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มนี้จะได้รับการวัดก่อนการฝึกอบรม และวัดหลังการฝึกอบรมทันที จากนั้นเมื่อเวลา ผ่านไป 6 สัปดาห์ ได้มีการวัดเฉพาะในกลุ่มทดลองอีกครั้งหนึ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย หลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบ 1

นิสิตปริญญาเอก สาขาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

17

วัดศรัทธาของพระนวกะ แบบสอบถามการพัฒนาสติ แบบประเมินการเจริญเมตตาภาวนา แบบสังเกต พฤติกรรมของการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์การฝึกอบรม แบบสอบถามความเหมาะสมของ การใช้หลักสูตรฝึกอบรม นามาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า (1) พระนวกะกลุ่มทดลองหลังเข้าหลักสูตรการฝึกอบรมพระ นวกะมีศรัทธาที่ประกอบด้วยป๎ญญามากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) พระนวกะกลุ่มทดลองหลังเข้าหลักสูตรการฝึกอบรมพระนวกะมีศรัทธาที่ประกอบด้ วยป๎ญญามากกว่า พระนวกะกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) พระนวกะกลุ่มทดลองวัดหลังจากการ ฝึกอบรม 6 สัปดาห์มีคะแนนศรัทธาที่ประกอบด้วยป๎ญญามากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 โดยสรุป หลักสูตรการฝึกอบรมพระนวกะที่ผู้วิจัยพัฒ นาขึ้น สามารถนาไปพัฒนาศรัทธาและ ป๎ญญาของพระนวกะได้จริง คาสาคัญ: ศรัทธาและป๎ญญา, หลักสูตรการอบรมพระนวกะ Abstract This research is of a mixed methodology consisting of a qualitative and a quantitative one in order to achieve 3 objectives, namely: (1) to study the principles and the processes in the development of faith and wisdom in Navakabhikkhus (Newly ordained monks) in Theravada Buddhism; (2) to study the training procedures and the development of Navakabhikkhus’s faith and wisdom in Thai societies; and (3) to study and analyze the results of the training curriculum for Navakabhikkhus in order to develop the faith and the wisdom of Navakabhikkhus in Thai societies. From the qualitative research results, it is found that the principles to develop the faith and the wisdom in Navakabhikkhus in Theravada Buddhism emphasizing the Three Studies, of 3 steps in the ordination procedure (Upasampada) to cultivate the faith with the Three Refuges (Tisarana), for example, such as the sequency of steps in the development of the faith to the 7 stages of purification and other. On the other hand, the development of faith consisting of wisdom depends on external ingredients such as Paratoghosa (good friends) in order to listen to the teachings affecting the creation of faith, and it depends on Yonisomanasikara (critical introspection) in order one to bring about the transcendent Right View so as to attain the highest goals in Buddhism. The process of training and faith and wisdom development for the Navakabhikkhus in Thai societies from Sukhothai Period to Rattanakosin one. At that


18

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

time, there was the training Navakabhikkhus through the tasks of studying the Scriptures and Vipassana Meditation. In addition, the Thai Sangha's training curriculum for Navakabhikkhus who have been ordained for a short time there are four syllabi:(1) a Master of Divinity course; (2) a course at Wat Nyanavesakavan; (3) a course at Wat Chonlapratan Rangsarit; and (4) a training curriculum to develop the faith and the wisdom in Navakabhikkhus that the fact of which the researcher developed. This research was half experimental: the exemplary group consisted of 62 short-term newly ordained monks divided into a group of 31 monks taking a 12-day training course consisting of 5 days of theory and 7 days of practical training, and the control group of 31 monks who did not participate in the training curriculum. Both groups were tested before and immediately after the training, and then, after a period of six weeks, the exemplary group was measured again. The tools used in the study consist of the training curriculum to develop the faith and the wisdom in newly ordained monks, the personal questionnaires, the tests to measure of the newly ordained monks’ faith, the consciousness development questionnaires, the evaluations of the growth of loving-kindness, the behavioral observations the training, the interviews, and the questionnaires regarding the appropriateness of the training curriculum all which are collected together for statistical analysis by using the mean, the standard deviation, the percentages and the t-tests. From the quantitative research, it is found that: (1) the group of ordained monks tested after participating in the training curriculum for ordained monks tended to show greater faith consisting of wisdom than prior to the training, to a statistical significance level of .05; (2) ordained monks tested after participating in the training curriculum for ordained monks tended the minds to show greater faith consisting of wisdom than the ordained monks in the control group, to a statistical significance of the level of .05; and (3) the experimental group of ordained monks, measured for 6 weeks after the training, showed the greater development of faith consisting of wisdom than before the training, with a statistical significance level of .05. In conclusion, the training curriculum that the researcher has developed to cultivate the faith and the wisdom in the newly ordained monks can be able to be really carried out. Key words: faith and wisdom, Navakabhikkhus training curriculum


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

19

ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ในสภาวะสังคมป๎จจุบัน เทคโนโลยีและวิทยาการต่างๆ ได้เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วตลอดจน การหลั่ งไหลของอารยธรรมตะวั นตกเข้าสู่ สั งคมไทย โดยขาดการเน้นการพั ฒนาและผสมผสานให้ สอดคล้องกับวัฒนธรรมเดิมอย่างเหมาะสม สังคมยอมรับและเน้นความสาคัญด้านวัตถุนิยมที่สามารถ สนองความต้องการของมนุษย์ได้อย่า งป๎จจุบัน ทาให้ความเชื่อมั่นและศรัทธาในศาสนาเริ่มสั่นคลอน พุทธศาสนิกชนจานวนมากไม่เข้าวัด ไม่สนใจพระสงฆ์ เป็นชาวพุทธเพียงในนาม ไม่สนใจศึกษาปฏิบัติ ธรรม เข้าวัดเพื่อโชคลาภประโยชน์ส่วนตัว หรือหมกมุ่นในไสยศาสตร์ ขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการ ของพระพุทธศาสนา (พระธรรมปิฎก, 2540: 29-30) จึงเกิดป๎ญหาวิกฤติศรัทธาในป๎จจุบัน ศรัทธาเป็นธรรมขั้นต้นที่สาคัญยิ่ง เป็นอุปกรณ์ชักนาให้เดินหน้าต่อไป เมื่อใช้ถูกต้องจึงเป็น การเริ่มต้นที่ดี ทาให้การก้าวหน้าไปสู่จุดหมายได้ผลรวดเร็วขึ้น ส่วนการขาดศรัทธามีความสงสัย แคลง ใจ ไม่เชื่อมั่น เป็นอุปสรรคสาคัญในการพัฒนาป๎ญญาและการก้าวหน้าไปสู่จุดหมาย สิ่งที่ต้องทาคือต้อง ปลูกศรัทธาและกาจัดความสงสัยแคลงใจ แต่การปลูกศรัทธาในที่นี้มิได้หมายถึงการยอมรับและมอบ ความไว้ วางใจให้ โดยไม่เคารพในคุณค่าแห่ งป๎ญญาของตน แต่หมายถึงการคิดพิสู จน์ทดสอบด้วย ป๎ญญาของตนให้เห็นเหตุผลชัดเจน จนมั่นใจ หมดความลังเลสงสัย (พระพรหมคุณาภรณ์, 2552: 656) ศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงเป็นศรัทธาที่ประกอบ ด้วยป๎ญญา อนึ่ง ป๎ญญาเป็นหลักธรรมที่สาคัญอย่างยิ่งในการดาเนินชีวิต เพราะคนที่มีป๎ญญาจะมีความรู้ เข้าใจชัดเจน รู้เหตุผล คือแยกแยะวินิจฉัยได้ว่า จริง เท็จ ดี ชั่ว ถูก ผิด ควร ไม่ควร คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ รู้ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล หรือป๎จจัยต่างๆ รู้สภาวะตามเป็นจริงของสิ่งต่างๆ รู้ ว่าจะนาไปใช้หรือปฏิบัติอย่างไร จึงจะแก้ป๎ญหาได้ (พระพรหมคุณาภรณ์, 2552: 422-423) กระบวนการพั ฒ นาศรั ท ธาและป๎ ญ ญา อาศั ย องค์ ป ระกอบภายนอก คื อ ปรโตโฆสะ (กัลยาณมิตร) ส่งผลให้เกิดศรัทธา จบลงเพียงแค่โลกียสัมมาทิฏฐิเท่านั้น ยังไม่ตลอดกระบวนการศึกษา อบรม ไม่ถึงจุดสูงสุดของพระพุทธศาสนา ต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ จึงจะสามารถนาไปสู่ โลกุตตร สัมมาทิฏฐิ บรรลุจุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนาหรือการศึกษาที่แท้ได้ (พระพรหมคุณาภรณ์, 2552: 644-645) พระนวกะนั้นคือภิกษุผู้บวชใหม่ (สุชีพ ปุญญานุภาพ, 2541: 103) เป็นภิกษุที่มีพรรษาต่ากว่า 5 แม้เป็นผู้มีความรู้ทรงธรรมทรงวินัย จะต้องถือนิสัยอยู่ในปกครองของพระอุป๎ชฌาย์หรือของอาจารย์ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, 2543: 49) ศึกษาในหลักธรรมวินัยให้เข้าใจ ถ่องแท้ ดังนั้นพระอุป๎ชฌาย์หรืออาจารย์จาเป็นจะต้องแนะนาพร่าสอนในหลักธรรมวินัยให้แก่พระผู้ บวชใหม่ จึงจะทาให้มีการสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไปและหากมีศรัทธาก็สามารถจะบวชนานขึ้น เป็นกาลังของพระศาสนาได้ จากรายงานการวิจัยแนวโน้มจานวนพระภิกษุสามเณรของประเทศไทยในทศวรรษหน้าพบว่า แนวโน้มจานวนพระภิกษุสามเณรลดลง เป็นการบวชนอกพรรษา หรือการบวชระยะสั้นตามค่านิยมการ บวชและศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา (พระมหาสหัส, 2547: 63) อนึ่งข้อมูลการวิจัยระบุว่าในช่วงปี 2545-2547 ชาวพุทธที่บวชระยะสั้นตั้งแต่ 7 วันถึง 1 เดือนในเขตกรุงเทพมหานครและราชบุรีมีเกือบ ร้อยละ 70 ของผู้บวชทั้งหมด (พระมหากิตติพัฒน์, 2550: 77-78) มีสาเหตุมาจาก (1) นโยบาย การศึกษาภาคบังคับของรัฐ (2) เงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจ (3) ความรู้ที่ได้จากการบวชไม่สอดคล้อง


20

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

กับชีวิตของคนในป๎จจุบัน (4) วัดขาดผู้ให้การศึกษาหรือแนะนาสั่งสอน (5) ความศรัทธาในภิกษุ (6) พระในชนบทย้ ายมาสู่ เมืองเพื่อโอกาสทางการศึกษา (7) วัดขาดระบบการศึกษาที่ได้ผลและอ่อน ประสิทธิภาพในการศึกษาทางธรรม (ชาญณรงค์, 2551: 63-66) งานวิจัยดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ศรัทธา ของพุทธศาสนิกชน และความรู้ที่ได้จากการบวชมีความสาคัญต่อการบวชของพระนวกะที่บวชใหม่ หากสามารถพั ฒ นาศรั ท ธาและป๎ ญ ญาของพระนวกะให้ ม ากขึ้ น แล้ ว ก็ จ ะเป็ น การสื บ ทอดอายุ พระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน ผู้วิจัยได้สารวจพระนวกะในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 ได้แก่ จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสงคราม และประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 14–17 กรกฎาคม 2555 โดยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบสุ่มอย่างง่าย จานวน 253 รูป โดยใช้แบบสอบถาม พบว่า พระนวกะบวช 7-30 วัน มีจานวน 170 รูป คิดเป็นร้อยละ 67.2 มีผู้บวชเพื่อสนองคุณบิดามารดาจานวน 162 รูป คิดเป็นร้อยละ 64 แต่ ผู้บวชด้วยศรัทธานั้นมีเพียงร้อยละ 4.8 เท่านั้น ทั้งพระสังฆาธิการและพระนวกะมีความต้องการให้ คณะสงฆ์มีหลักสูตรอบรมระยะสั้นเพื่อพัฒนาศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะ อันจะเป็นประโยชน์ แก่คณะสงฆ์ต่อไป เนื่องจากการบวชระยะสั้นกาลังเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในป๎จจุบัน ดังนั้น จึงมีหลักสูตรอบรม เพื่อให้เป็นประโยชน์กับพระนวกะ เช่น หลักสูตรอบรมพระนวกะวัดญาณเวศกวัน และหลักสูตรอบรม พระนวกะวัดชลประทานรังสฤษดิ์ เป็นต้น แต่หลักสูตรดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของพระ นวกะและระยะเวลาที่บวชน้อยกว่า 15 วัน จากเหตุผลดังกล่าวมา ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษากระบวนการพัฒนา ศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะด้วยหลักสูตรการอบรมพระนวกะของคณะสงฆ์ไทยต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่ อ ศึ ก ษาหลั ก และกระบวนการพั ฒ นาศรั ท ธาและป๎ ญ ญาของพระนวกะใน พระพุทธศาสนาเถรวาท 2. เพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะในสังคมไทย 3. เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรการฝึกอบรมพระนวกะของคณะสงฆ์ไทยเพื่อพัฒนาศรัทธา และป๎ญญาของพระนวกะในสังคมไทย สมมติฐานการวิจัย 1. พระนวกะกลุ่มทดลองหลังเข้าหลักสูตรการฝึกอบรมพระนวกะจะมีศรัทธาและป๎ญญา มากกว่าก่อนการทดลอง 2. พระนวกะกลุ่มทดลองหลังเข้าหลักสูตรการฝึกอบรมพระนวกะจะมีศรัทธาและป๎ญญา มากกว่าพระนวกะกลุ่มควบคุม 3. พระนวกะกลุ่มทดลองที่เข้าหลักสูตรการฝึกอบรมพระนวกะ หลังการฝึกอบรม 6 สัปดาห์ จะมีศรัทธาและป๎ญญามากกว่าก่อนการทดลอง


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

21

นิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย ศรัทธาและป๎ญญา หมายถึง ความเชื่อที่ประกอบด้วยป๎ญญา มีความเชื่อและเลื่อมใสในพระ รัตนตรัย กัมมัสสกตาญาณ วิป๎สสนาญาณและนิพพาน กระบวนการพัฒนาศรัทธาและป๎ญญา หมายถึง วิธีดาเนินการอบรมทั้งภาคปริยัติเพื่อให้เกิด ความรู้และภาคปฏิบัติเพื่อทาให้จิตเกิดความเชื่อประกอบด้วยป๎ญญามากขึ้น พระนวกะ หมายถึง พระใหม่ที่บวชระยะสั้น 10-30 วัน หลักสูตรการฝึกอบรมพระนวกะ หมายถึง รายละเอียดของแนวทางการจัดอบรม ผู้วิจัยพัฒนา ขึ้นโดยบูรณาการหลักสูตรการอบรมพระนวกะสมัยพุทธกาล หลักสูตรการฝึกอบรมพระนวกะของคณะ สงฆ์ไทย หลักสู ตรการฝึ กอบรมพระนวกะที่บวชระยะสั้นของวัดญาณเวศกวัน และวัดชลประทาน รังสฤษดิ์ ประกอบด้วย คู่มือ เนื้อหา กิจกรรมย่อย สื่อ และการประเมินผล เพื่อพัฒนาศรัทธาและ ป๎ญญาของพระนวกะที่บวชระยะสั้น คณะสงฆ์ไทย หมายถึง คณะสงฆ์ที่อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 มี 4 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบวิธีผสมผสาน (Mixed Method Research) ประกอบด้วยการ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) การวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเรื่องสติป๎ฏฐาน 4 ศรัทธา ป๎ญญา และกระบวนการอบรมพระ นวกะ แนวคิดระบบการสอนตามแนวพุทธวิธี กระบวนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ, ไตรสิกขา ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theories of Learning) ทฤษฎีแรงจูงใจ จากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปกรณวิเสส เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สารวจวัดและสานักปฏิบัติที่มีการพัฒนาศรัทธา และป๎ญญาของพระนวกะได้แก่ วัดญาณเวศกวัน และวัดชลประทานรังสฤษดิ์ สัมภาษณ์พระสังฆาธิการ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 นาข้อมูลที่ได้มาสรุปวิเคราะห์ และสั งเคราะห์ นาเสนอเป็น หลักสูตรการอบรมพระนวกะต่อไป การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ผู้วิจัยได้กาหนดวิธีการดังนี้ รูปแบบการวิจัยที่ใช้ในการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experiment research design) ครั้งนี้ คือ Non-equivalent Control Group Design (Prettest-Posttest Non-randomized Design) รูปแบบการวิจัยประกอบด้วยกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่มโดยกลุ่มทดลองได้รับการ ฝึกอบรมตามหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะ กลุ่มควบคุมไม่ ได้รับ การฝึกอบรม ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจะได้รับการวัดครั้งแรกก่อนการฝึกอบรม และวัดครั้งหลัง ภายหลังการสิ้นสุดการฝึกอบรมทันที นอกจากนี้มีการวัดภายหลังการฝึกอบรมผ่านไป 6 สัปดาห์อีกครั้ง เฉพาะในกลุ่มทดลอง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการศึกษาในการวิจัยนี้ คือ พระนวกะที่บวชระยะ สั้นในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 ในโครงการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว จานวน 80 รูป อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และไม่เกิน 65 ปี เป็นผู้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มี สุขภาพจิตปกติ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดหลักสูตร


22

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

กลุ่มตัวอย่าง คือ พระนวกะที่บวชระยะสั้นจานวน 66 รูป จากการเปรียบเทียบตารางแสดง จานวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) มีผู้สมัครใจเข้าร่วม อบรม 62 รู ป แบ่ งเป็ นกลุ่ มทดลอง 31 รู ป กลุ่ มควบคุ ม 31 รูป มีเกณฑ์ใ นการคัดเข้า (Inclusion Criteria) ดังนี้ คือ (1) มีความสมัครใจที่จะเข้าร่วมในการวิจัย (2) สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอด หลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย (1) คู่มือดาเนินการฝึกอบรมพระนวกะ เพื่อพัฒนาศรัทธาและป๎ญญา (สาหรับวิทยากร) (2) เอกสารประกอบหลักสูตรการฝึกอบรมพระนวกะ เพื่อการพัฒนาศรัทธาและป๎ญญา (สาหรับพระนวกะ) ส่วนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบวัดรวม 7 ฉบับ ดังนี้ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ภูมิหลังการบวช และประสบการณ์การใฝุทางธรรม เช่น สวดมนต์ไหว้พระ หรือนั่งสมาธิในชีวิตประจาวันเป็นต้น 2) แบบวัดศรัทธาและปัญญาของพระนวกะ ผู้วิจัยได้แนวคิดมาจากแบบวัดความเชื่อและ การปฏิบัติของคนไทยของดวงเดือน พันธุมนาวิน (งามตา วนินทานนท์, 2536: 260-264) โดยพัฒนา เป็นแบบวัดศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะที่สร้างขึ้น จานวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัด เท่ากับ 0.895 3) แบบสอบถามการพัฒนาสติ ผู้วิจัยได้แนวคิดมาจากแบบสัมภาษณ์การปฏิบัติวิป๎สสนา กัมมัฏฐานของพระมหาไสว คายสูงเนิน (พระมหาไสว, 2547: 175-178) 4) แบบประเมินการเจริญเมตตาภาวนา ผู้วิจัยได้แนวคิดมาจากแบบวัดการเจริญเมตตา ภาวนาของพระมหาภูมิชาย อคฺคปํฺโญ (พระมหาภูมิชาย, 2552: 259) 5) แบบสังเกตพฤติกรรมของการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ โดยประเมิน 5 ด้าน คือ (1) การ กราบพระ (2) การเดินจงกรม (3) การนั่งสมาธิ (4) การกาหนดอิริยาบถย่อย (5) การตรงต่อเวลา 6) แบบสัม ภาษณ์ก ารฝึก อบรม ผู ้ว ิจ ัย พัฒ นามาจากแบบสัง เกตพฤติก รรมของสุม าลี อินทรวนิช (สุมาลี, 2531: 222-248) ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับ การเดินจงกรม การนั่งสมาธิ การ กาหนดสติทางทวารทั้ง 6 การกาหนดอิริยาบถทั้ง 4 การกาหนดอิริยาบถย่อย และสภาวธรรมต่างๆ ที่ปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติ 7) แบบสอบถามความเหมาะสมของการใช้หลักสูตรการฝึกอบรมพระนวกะ ประกอบด้วย ข้อคาถามจ านวน 7 ข้อ และเป็ นแบบสอบถามชนิดปลายเปิด (Open-ended Questionnaire) จานวน 2 ข้อ เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ การสร้างเครื่องมือในการวิจัย การสร้างเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ (1) การศึกษาข้อมูลขั้นพื้นฐาน (2) กระบวนการวางแผน แบบ Future Search Conference (อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์, 2555: 2) (3) การพัฒนาหลักสูตรการ ฝึกอบรม (4) ตรวจสอบคุณภาพด้วยผู้ เชี่ยวชาญ 5 ท่าน (5) การทดลองใช้ (6) การประเมินผลและ ปรับปรุงหลักสูตรอบรมพระนวกะ มีรายละเอียดดังนี้


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

23

1) ศึกษาเรื่องการพัฒนาศรัทธาและป๎ญญา กระบวนการอบรมพระนวกะจากเอกสารทาง พระพุทธศาสนา ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา ปกรณวิเสส และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับหลักสูตรการฝึกอบรม ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นต้น 3) กระบวนการระดมสมองเพื่อการค้นหาอนาคต Future Search Conference (FSC) โดยใช้ วิธีการแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการที่มีผู้ร่วมประชุม 50 คน นาผลการประชุมเชิงปฏิบัติ การไปใช้ วางแผนงานทากิจกรรมเพื่อพัฒนาศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะต่อไป 4) พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมพร้อมทั้งแบบวัดศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะ 5) นาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศรัทธาและป๎ญญา พร้อมทั้งแบบวัดศรัทธาและป๎ญญา ของพระนวกะให้ คณะกรรมการที่ปรึ กษาตรวจสอบ แล้ วน ามาปรับปรุ งแก้ ไข เสร็ จแล้ วน าไปให้ ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านประเมินความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาความสอดคล้องกับนิยามศัพท์ 6) บันทึกผลการพิจารณาความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละข้อ แล้ วนาไปหาค่าดัชนีความ เที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้วิจัยจะเลือกข้อที่มีเนื้อหาค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.5 หรือมากกว่ามา ปรั บปรุ งแก้ไข แล้ วน าเสนอคณะกรรมการควบคุมวิ ทยานิพนธ์ ตรวจก่อนนาไปทดลองใช้กั บกลุ่ ม ตัวอย่าง 7) นาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศรัทธาและป๎ญญาไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่ กลุ่มตัวอย่างจริง ในโครงการหลักสูตรฝึกอบรมพระนวกะด้านการสร้างศรัทธา โดยดาเนินการฝึกอบรม ระหว่างวันที่ 2-14 พฤศจิกายน 2556 ณ วัดเขาวัง จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นพระนวกะ 10 รูป 8) ปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมพร้อมทั้งแบบวัดศรัทธาและป๎ญญาให้มีความสมบูรณ์ 9) นาไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจั ยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยแจกใบแสดงเจตนายินยอมเข้าร่วมหลักสู ตรการ ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศรัทธาและป๎ญญา แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดศรัทธาและป๎ญญาของ พระนวกะ (Pre-test) ให้กับกลุ่มตัวอย่าง ในระหว่างหลักสูตรมีการประเมินผลกลุ่มทดลองด้วยแบบ ประเมินการเจริญเมตตาภาวนา แบบสอบถามการพัฒนาสติ แบบสังเกตพฤติกรรมของการฝึกอบรม และแบบสัมภาษณ์การฝึกอบรม หลังจากเสร็จสิ้นหลักสูตรการฝึกอบรม ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยแบบวัด ศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะ (Post-test) และแบบสอบถามความเหมาะสมของการใช้หลักสูตร การฝึกอบรมกับกลุ่มตัวอย่ างอีกครั้ง และหลั งจากการฝึ กอบรม 6 สั ปดาห์ เก็บข้อมูลด้วยแบบวัด ศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะอีกครั้งเฉพาะกลุ่มทดลอง การดาเนินการทดลอง การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยดาเนินการทดลองโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1. ระยะเตรียมการ โดยผู้วิจัยทาหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลั ย เพื่อติดต่อขอเก็บ ข้อมูล จากกลุ่ มตัวอย่าง โดยขออนุญาตเจ้าคณะภาค 15 เจ้าคณะ จังหวัด เป็นต้น เตรียมสถานที่ฝึกอบรม คือสถาบันพระสังฆาธิการ ตาบลดอนทราย อาเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี และเตรียมคู่มือการพัฒนาศรัทธาและป๎ญญาสาหรับพระนวกะ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ


24

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

2. ระยะทาการฝึก ผู้วิจัยดาเนินการฝึกตามหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศรัทธาและ ป๎ญญาของพระนวกะที่บวชระยะสั้ น ระหว่างวันที่ 2-13 ธันวาคม 2557 ที่สถาบันพระสั งฆาธิการ จังหวัดราชบุรี 3. ระยะประเมินผล ผู้วิจั ยประเมินกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยแบบวัดศรัทธาและ ป๎ญญาของพระนวกะ ก่อนการทดลอง หลั งการทดลอง และหลังการทดลอง 6 สัปดาห์เฉพาะกลุ่ ม ทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูล 1. เปรียบเทียบความแตกต่างศรัทธาและป๎ญญาของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง และหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ 2. เปรียบเทียบความแตกต่างศรัทธาและป๎ญญาของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิเคราะห์ความแตกต่างศรัทธาและป๎ญญาของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้ สถิติ dependent t-test 2. วิเคราะห์ความแตกต่างศรัทธาและป๎ญญาของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ independent t-test ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น ได้แก่ หลักสูตรการฝึกอบรมพระนวกะ ตัวแปรตาม ได้แก่ศรัทธาและป๎ญญา สรุปผลการวิจัย หลักการพัฒนาศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะในพระพุทธศาสนาเถรวาทเน้นหลักไตรสิกขา ส่วนกระบวนการพัฒนาศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะนั้น มีขั้นตอนการอุปสมบท 3 ขั้นตอน คือ (1) การปลูกศรัทธาด้วยไตรสรณคมน์ (2) การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม (3) กิจที่ควรทาหลังการ อุปสมบท และลาดับขั้นการพัฒนาศรัทธา 7 ประการ คือ (1) การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ (2) การสารวม อินทรีย์ (3) การรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร (4) การประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ (5) การประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ (6) การอยู่ในเสนาสนะอันสงัด เพื่อกาจัดนิวรณ์ 5 (7) การบรรลุ ฌานที่ 1-4 ส่วนการพัฒนาศรัทธาและป๎ญญานั้นต้องอาศัยกัลยาณมิตร สดับธรรมส่งผลให้เกิดศรัทธา และต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ จึงจะนาไปสู่โลกุตร-สัมมาทิฏฐิ บรรลุจุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนาได้ กระบวนการอบรมและพัฒนาศรัทธาและป๎ญญาของพระนวกะในสังคมไทย นับตั้งแต่สมัย สุโขทัยจวบจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์มีการอบรมพระนวกะด้วยคันถธุระและวิป๎สสนาธุระ อนึ่งหลักสูตร การฝึกอบรมพระนวกะที่บวชระยะสั้น มี 4 หลักสูตร ได้แก่ (1) หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี (2) หลักสูตร วัดญาณเวศกวัน (3) หลักสูตรวัดชลประทานรังสฤษดิ์ (4) หลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศรัทธา และป๎ญญาของพระนวกะที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า (1) พระนวกะกลุ่มทดลองหลังเข้าหลักสูตรการฝึกอบรมพระ นวกะมีศรัทธาและป๎ญญามากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) พระ นวกะกลุ่มทดลองหลังเข้าหลักสูตรการฝึกอบรมพระนวกะมีศรัทธาและป๎ญญามากกว่าพระนวกะกลุ่ม ควบคุม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) พระนวกะกลุ่มทดลองวัดหลังจากการฝึกอบรม 6 สัปดาห์มีคะแนนศรัทธาและป๎ญญามากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

25

คะแนนรวมเฉลี่ ย ของแบบสอบถามการพั ฒ นาสติ เท่ า กั บ 2.99 คะแนนมี ค่า สู ง ขึ้น อย่ า ง ต่อเนื่อง คะแนนเฉลี่ยของแบบประเมินการเจริญเมตตาภาวนาเท่ากับ 3.77 มีค่าสูงขึ้น คะแนนเฉลี่ย ของแบบสังเกตพฤติกรรมของการฝึกอบรมภาคปฏิบัติเท่ากับ 4.06 อยู่ในเกณฑ์ดี และดีมาก ส่วน คะแนนเฉลี่ยของความเหมาะสมของการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเท่ากับ 4.46 อยู่ในระดับมาก สูงกว่า เกณฑ์ที่กาหนด 3.50 อภิปรายผลการวิจัย ผลการทดสอบมติฐานการวิจัย มีความสอดคล้องในทุกประเด็น อันเนื่องมาจาก (1) หลักสูตร การฝึกอบรมมีความสอดคล้องกั บความต้องการของพระนวกะ เพราะมีการประชุมระดมสมอง (FSC) ก่อนการจัดทาหลักสูตร (2) ด้านคาสอน ใช้หลักไตรสิกขา เป็นต้น สอดคล้องกับงานวิจัยของอุบล เลี้ยงวาริณ การฝึกอบรมตามแนวพุทธในหลักไตรสิกขา สามารถทาให้กลุ่มทดลองที่เข้ารับการอบรมมี ความเชื่อทางพุทธและความเชื่อทางพุทธในแนวกรรมแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (อุบล, 2541: 124) (3) ด้านกัลยาณมิตร (4) ด้านวิธีการสอน (5) ด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นต้น (6) พระนวกะมีฉันทะ ความพอใจในการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ สอดคล้องกับแรงจูงใจภายใน ตามทฤษฎีของมาสโลว์ (สิริอร, 2550: 253, เรวดี, 2548: บทคัดย่อ, ฟิช เชอร์, 1978: 273-288) จากข้อค้นพบของงานวิจัยอื่นๆ และงานวิจัยนี้ ทาให้เห็นว่า ศรัทธาที่ประกอบด้วยป๎ญญา ในทางพระพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาส่งเสริมให้มีมากขึ้นในบุคคลได้ โดยผ่านหลักสูตรการ ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศรัทธาและป๎ญญา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยใช้หลักไตรสิกขา สามารถ พัฒนาพระนวกะให้เกิดศรัทธาที่ประกอบด้วยป๎ญญาได้อย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. ควรมีโครงการฝึกอบรมวิทยากร ผู้ที่ต้องการนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศรัท ธา และป๎ ญญาของพระนวกะ อันจะนาไปสู่ การพั ฒนาศรั ทธาและป๎ญญาของพระนวกะได้ อย่างมี ประสิทธิภาพโดยสานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติหรือกระทรวงวัฒนธรรม 2. ควรมีการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้ผู้เข้ามาอุปสมบทได้มี เวลาศึกษาและปฏิบัติอย่างจริงจัง และสามารถนาไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของตนต่อไป ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติ 1. หน่วยงานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ได้แก่ สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือมหาเถร สมาคม ตลอดถึงเจ้าคณะผู้ปกครองในระดับต่างๆ ควรนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศรัทธาและ ป๎ญญาของพระนวกะไปใช้ เพื่อให้เกิดความศรัทธาที่ประกอบด้วยป๎ญญาในทางพระพุทธศาสนาอย่าง แท้จริง และจะทาให้เกิดประโยชน์กับพระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืนในอนาคต 2. หลักสูตรนี้ สามารถนาไปประยุกต์ใช้สอนในการอบรมพระที่บวชระยะสั้น และระยะยาว ได้โดยปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการบวชก็จะเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด 3. ควรมีการนาหลักสูตรไปปรับใช้ในการฝึกอบรมพุทธบริษัทอื่นๆ ได้แก่ อุบาสก อุบาสิกา หรือประชาชนทั่วไปเพื่อเป็นการพัฒนาศรัทธาและป๎ญญาให้มั่นคงยิ่งขึ้น


26

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

เอกสารอ้างอิง พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2541). พจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2543). วินัยมุข เล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระมหาสหัส ฐิตสาโรและคณะ. (2547). แนวโน้มของจานวนพระภิกษุสามเณรในทศวรรษหน้า ของสังคมไทย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระมหากิตติพัฒน์ ศรี นาค. (2550). แนวโน้มวิกฤติพระสงฆ์ศาสนทายาทเนื่องด้วยการบวชใน สังคมไทยปัจจุบันศึกษาเฉพาะกรณีการบวชของพระสงฆ์ในกรุงเทพมหานครและจั งหวัด ราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล. ชาญณรงค์ บุญหนุน. (2551). พระสงฆ์ไทยในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. งามตา วนินทานนท์. (2536). ลักษณะทางพุทธศาสนาและพฤติกรรมของบิดามารดาที่เกี่ยวข้อง กับการอบรมเลี้ ยงดู บุ ต ร. รายงานการวิ จัยฉบั บที่ 50. สถาบั นวิ จั ยพฤติ กรรมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวโรฒ ประสานมิตร. พระมหาไสว คายสูงเนิน. (2547). ผลของการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานที่มีต่อการควบคุมอารมณ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล. พระมหาภูมิชาย อคฺคปํฺโญ. (2552). ผลการใช้โปรแกรมการเจริญเมตตาภาวนาที่มีต่อคุณภาพ การนอนหลั บ ของพยาบาลวิ ช าชี พ โรงพยาบาลราชบุ รี . วิ ท ยานิ พ นธ์ พุ ท ธศาสตร มหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์. (2555) เทคนิคการระดมสมองเพื่อค้นหาอนาคต (Future Search Conference). สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. อุบล เลี้ยววาริณ. (2541). ผลของการฝึกอบรมตามแนวพุทธต่อจิตลักษณะและลักษณะทางพุทธ ของบุคคลในวัยผู้ใหญ่. รายงานการวิจัย. คณะครุศาสตร์: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา. สิริอร วิชชาวุธ และคณะ. (2550). แรงจูงใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เรวดี ทรงเที่ยง. (2548). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจภายในเพื่อสร้างสัมพันธภาพในการ ทางานของหัวหน้าช่างในศูนย์บริ การรถยนต์. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Fisher, C.D. (1978). The Effect of Personal Control, Competence and Extrinsic Rewards and Subjects’ Locus of Control. Organizational Behavior and Human Performance.

…………………………………………………..


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

27

ปัจจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว ที่ส่งผลต่อความผาสุก ทางใจของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุศูนย์บริการสาธารณสุข 37 Perception of Family Support Factors Affecting Psychological Well-Being of Elders from Elderly Club in Public Health Center 37 อัจฉรา สุขารมณ์1 ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์2 อารี พันธ์มณี3 บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวและความ ผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุศูนย์บริการสาธารณสุข 37 (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว กับความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุศูนย์บริการ สาธารณสุข 37 และ (3) เพื่อศึกษาอานาจในการทานายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุจากป๎จจัยด้านการ รับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ชนิด การวิจัยเชิงคุณภาพนาการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ กลุ่มตัวอย่างการ วิ จั ยเชิ งคุ ณภาพ แบ่ งเป็ น 1) กลุ่ มผู้ สู งอายุ ทั่ วไป คื อ ผู้ สู งอายุ ที่ มารั บบริ การรั กษาที่ ศู นย์ บริ การ สาธารณสุ ข 37 ในเดื อน พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และไม่ ได้ เป็ นสมาชิ กชมรมผู้ สู งอายุ ศู นย์ บริ การ สาธารณสุข 37 จานวน 60 คน จากนั้นสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงได้ผู้สูงอายุ จานวน 10 คน เพื่อ นามาสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group) 2) กลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุศูนย์บริการ สาธารณสุข 37 ใน เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นับจ านวนได้ 150 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ เฉพาะเจาะจง จากจานวนผู้สูงอายุ ทั้งหมด 200 คน จากนั้นสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายมา 10 คน เพื่อนามา สนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group) กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ จากชมรมผู้สูงอายุศูนย์บริการสาธารณสุข 37 ที่คงเหลืออยู่จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเพื่อนาไปสนทนา กลุ่ม 10 คน จากจานวน 150 คน และคงเหลือเพื่อทาการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ จานวน 140 คน

_________________________________________ 1

รองศาสตราจารย์ อาจารย์ประจาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2 ศาสตราจารย์ ดร., หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 3 รองศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


28

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุด ชุดที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ชุดที่ 2 แบบสอบถาม ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ และ ชุดที่ 3 แบบสอบถามการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว และความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในภาพรวมและรายด้านมี ความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวด้านจิตใจ และอารมณ์ ด้านการได้รับการ ยอมรับยกย่องและเห็นคุณค่า ด้านการมีส่วนร่วมในสังคม ด้านวัสดุสิ่งของ และด้านข้อมูลข่าวสารและ 3) ป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวทั้ง 5 ด้านร่วมกันทานาย ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุใน ภาพรวม ได้ร้อยละ 14.2 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ความสาคัญ : การรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ Abstract The study aimed to (a) study the perception of family support and psychological well-being from Elderly Club in Public Health Center 37, (b) examine the relationship between the perception of family support and psychological well-being from Elderly Club in Public Health Center 37, and (c) explore the regression for predicting psychological well-being from perception of family support factors. This study applied the mixed-method approach by including both qualitative and quantitative research methods. There are two groups of participants in this study. First, participants for the qualitative data collection will be divided into two sub groups: (a) ten out of 60 general elders who are non-members of the Elderly Club in Public Health Center 37 using purposive sampling during May 2014, and (b) ten out of 150 elders who are the membership of the Elderly Club in Public Health Center 37 by using purposive sampling during May 2014. Second, participants for the quantitative data collection include the other 140 elders who are the members of the Elderly Club in Public Health Center 37. The instrument included (a) personal information questionnaire, (b) psychological well-being of elders questionnaire, and (c) perception of family support questionnaire. The statistic analysis included mean, correlation, and multiple regressions. The result showed that (a) the elders had high positive perception of family support and psychological wellbeing, (b) psychological well-being in general and in each factor had positive relationship with the perception of family support, with emotional, self-esteem, social participation in objects and information, (c) all five factors of family support can predict the overall the psychological well-being with the percentage of 14.2, with the significance of .001. Key Words: Perception of Family Support Factor, Psychological Well-Being of Elders


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

29

ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ส่งผลให้อัตราการตาย ลดลง ตลอดจนการมีโครงการวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิภาพสามารถลดอัตราการเกิดของประชากรได้ สิ่งเหล่านี้มีส่วนในการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุทั้งปริมาณและสัดส่วนต่อประชากรทั้งหมดโดยพบว่า ในปี พ.ศ. 2550 มีจานวนประชากรโลกทั้งหมด 6,605 ล้านคน เป็นประชากรผู้สูงอายุ 440 ล้านคน และ คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2568 จะมีประชากรโลกทั้งสิ้น 8,200 ล้านคน และในจานวนนี้จะเป็นประชากร ผู้สูงอายุจานวน 1,100 ล้านคน (สานักงานสถิติแห่งชาติ , 2550: 23) และจากการคาดการณ์จานวน ประชากรของประเทศไทยปี พ.ศ. 2533-2563 ของกองวางแผนทรัพยากรมนุษย์ สานักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อพิจารณาเฉพาะจานวนผู้สูงอายุในประเทศไทยพิจารณาตาม สัดส่วนประชากร พบว่า ประชากรสูงอายุเพิ่มจากร้อยละ 5.0 ในปี พ.ศ. 2493 เป็น 2 เท่า เป็นร้อยละ 10.1 ในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งใช้เวลา 50 ปี และคาดการณ์ว่า ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็น 3 เท่า คือ ร้อยละ 15.6 ในปี พ.ศ. 2558 และเพิ่มเป็น 4 เท่า คือ ร้อยละ 21.5 ในปี พ.ศ. 2568 (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้สูงอายุไทย, 2549) โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร จากการสืบค้นข้อมูลของส านักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่าในปี 2549 ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครมีจานวน 581,848 คน จากประชากรของกรุงเทพมหานคร จานวน 5,695,956 คน คิดเป็นร้อยละ 10.2 และคาด ประมาณว่า ปี พ.ศ. 2567 หรือประมาณเกือบ 10 ปีข้างหน้า ประชากรสูงอายุของกรุงเทพมหานคร จะเพิ่ม อีกเป็น 2.5 เท่า (จิราพร เกศพิชญวัฒนา และ สุวิณี วิวัฒวานิช, 2547) เมื่อเทียบจานวนผู้สูงอายุในไทยนับว่าสูงเป็นอันดับที่ 5 ในทวีปเอเชีย การให้ความสนใจใน ผู้สูงอายุที่มีจานวนเพิ่มสูงขึ้นจึงเป็นสิ่งจาเป็นอย่างมากสาหรับสังคมไทยเพราะสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อการ ด าเนิ นนโยบายในการดู แลผู้ สู งอายุ ที่ ก าลั งเพิ่ มขึ้ นในทุ กๆปี ประชากรผู้ สู งอายุ ต้ องเผชิ ญกั บการ เปลี่ยนแปลง ด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายนั้น เป็นกระบวนการที่เกิด ต่อเนื่องกันไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้น เกิดจากการลดลงของบทบาททาง สั งคม และสมรรถภาพทางร่ างกาย ทาให้ ปฏิสั มพันธ์ระหว่างผู้ สู งอายุกับสั งคมเปลี่ ยนไป ทั้ งนี้การ เปลี่ยนแปลงของสังคมมีผลกระทบโดยตรงต่อสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ (ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์ และคณะ, 2537) ประกอบกั บการเปลี่ ยนแปลงโครงสร้ างของสั งคมไทยในป๎จจุ บัน ท าให้ สมาชิ กแต่ ละคนใน ครอบครัวต่างมีบทบาทและภาระทางสังคมมากขึ้น มีความจาเป็นในชีวิตไม่อาจทาให้ทุกคนอยู่รวมกัน เป็นครอบครัวใหญ่ได้ ผู้สูงอายุมักถูกทอดทิ้งให้อยู่บ้านตามลาพัง เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวต้อง ออกไปทางานนอกบ้านมากขึ้น (ดารณี คาเจริญ, 2541) จากข้อมูลของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2549 พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนมีอัตราอาศัยอยู่คนเดียวเพิ่มมากขึ้น โดยในช่วง 3 ปี คือ พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2549 มีผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียวคิดเป็นร้อยละ 6.5, 7.1, 7.8 ตามลาดับ ซึ่งมีแนวโน้มว่าผู้สูงอายุต้องอาศัยอยู่คนเดียวเพิ่มสูงขึ้นซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจ ส่งผลต่อความผาสุกของผู้สูงอายุได้


30

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

การที่ผู้สูงอายุจะดารงชีวิตได้อย่างผาสุกนั้น สิ่งหนึ่งที่มีความสาคัญยิ่ง คือ การมีความสุขกาย สุขใจ หรือการมีสุขภาวะ (ประเวศ วะสี, 2537) โดย Ryff (1989) ได้ทาการศึกษาในประชากรกลุ่ม ประเทศตะวันตก พบว่าความผาสุกทางใจหรือความสุขใจนั้น จะเกิดขึ้นได้เมื่อบุคคลมีการยอมรับสิ่ง ต่างๆในชีวิตในทางบวก ซึ่งนาไปสู่ความผาสุกในอนาคต และรู้สึกถึงสิ่งที่นาไปสู่ความผาสุกทางใจ ซึ่ง ประกอบด้วย 6 มิติได้แก่ (1) ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy) (2) ความสามารถในการจัดการ สถานการณ์ต่างๆ (Environmental mastery) (3) การพัฒนาตนเอง (Personal growth) (4) การมีสัมพันธภาพ ที่ดกี ับบุคคลอื่น (Positive relationship with other) (5) การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต (Purpose in life) และ (6) การยอมรับตนเอง (Self-acceptance) (Keyes, Shmotkin & Ryff, 2002) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความผาสุกทางใจเป็นแนวคิดที่มี ความแตกต่างของความเป็นอยู่และ วัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องดังที่ จิราพร เกศพิชญวัฒนา และคณะ (2543) ได้ทาการศึกษาความผาสุก ทางใจในผู้สูงอายุไทย พบว่า ความผาสุกทางใจในผู้สูงอายุไทยนั้น มีความแตกต่างกับของ Ryff โดย ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุไทย ประกอบด้วย 5 มิติ ได้แก่ (1) ความสามัคคีปรองดอง (Harmony) (2) ความสงบสุขและการได้รับการยอมรับ (Acceptance and calmness) (3) การได้รับการเคารพ นับถือ (Respect) (4) การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน(Interdependence) และ (5) ความเบิกบานใจ (Enjoyment) ทั้งนี้แนวคิดความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุไทย สะท้อนให้เห็นถึงการรับรู้ของผู้สูงอายุ ในลักษณะที่คานึงถึงความเกี่ยวข้องระหว่างบุคคล ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดของ Ryff ที่คานึงถึงมิติในแง่ ของป๎จเจกบุคคล นอกจากนั้นการที่ผู้สูงอายุ จะดารงชีวิตได้อย่างผาสุ กอาจต้องประกอบด้วยป๎จจัยชีวิตหลาย ประการ ได้แก่ ป๎จจัยชีวิตส่วนบุคคล ป๎จจัยด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพ (Heidrich, 1993) ป๎จจัยด้านการ ได้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วย การเข้าร่วมกิจกรรมในสังคม (ป๎ญญภัทร ภัทรกัณทากุล, 2544) การ มีกิจกรรมทางกายที่สม่าเสมอและเหมาะสม (McCauley et al., 2005 อ้างใน พนิตนันท์ โชติกเจริญสุข, 2545) และป๎จจัยชีวิตด้านการสนับสนุนจากครอบครัว ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเกื้อหนุนกันระหว่างบุคคล ในครอบครัว การอาศัยอยู่ กับบุ ตร หรื ออยู่ ใกล้ ชิดบุตร นับว่าเป็นลักษณะเด่นของแผนการอยู่อาศัยของ ผู้สูงอายุไทย (สานักงานสถิติแห่งชาติ, 2545) จากการศึกษาความต้องการที่จะให้บุคคลในครอบครัว ลูกหลานปฏิบัติต่อตนเอง ทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และในกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้สูงอายุต้องการ ให้บุคคลในครอบครัว ลูก หลาน พูดจาไถ่ถามทุกข์สุข มาเยี่ยมเยียนในโอกาสสาคัญ ส่งเสียค่าใช้จ่าย รวมถึงการพาไปทากิจกรรมนอกบ้านและให้อยู่ด้วยกัน ข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับมิติความผาสุกทางใจ ของผู้ สู งอายุ ไทย กับการดาเนิ นชีวิตของผู้ สู งอายุ พบว่าความผาสุกทางใจของผู้ สูงอายุไทย มีความ เกี่ยวข้องกับ การช่วยเหลือเกื้อหนุนกันกับลูกหลานสมาชิกในครอบครัว (Family Support) (จันทร์เพ็ญ แสงเทียนฉาย และคณะ, 2544) การสนับสนุนจากครอบครัวจึงเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนทางสังคม ให้ผู้สูงอายุมีความผาสุกทางใจ และจากแนวคิดของ Cobb (1976) ที่ได้กล่าวว่า บุคคลที่รับรู้ว่าตนมีคน


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

31

รัก สนใจ ยกย่อง และมองเห็นคุณค่าในตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีความผูกพันซึ่งกันและกัน ทาให้ บุคคลรับรู้ในทางบวก และส่งผลต่อความผาสุกทางใจซึ่งจากการศึกษาของ จันทร์เพ็ญ แสงเทียนฉาย และคณะ (2544) พบว่า การช่วยเหลือสนับสนุนกันในครอบครั ว ส่งผลให้เกิดความผาสุกทางใจของ ผู้สูงอายุ ประกอบด้วยการสนับสนุนกัน 9 ด้านคือ การให้เงิน การให้สิ่งของหรือสิ่งอื่นที่ไม่ใช่เงิน การ ดูแลยามเจ็บปุวย การทางานบ้าน การเลี้ยงหลาน การให้บริการพาไปร่วมกิจกรรม การติดต่อเยี่ยมเยียน การให้ความรักสนใจเอาใจใส่ และการยอมรับฟ๎ง การอบรมสั่งสอน การเกื้อหนุนกันในครอบครัวไม่ว่าอยู่ ในรูปแบบใด ต่างมีผลต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของอารีย์ ฟองเพชร ที่ พบว่า ป๎ จ จั ย ด้านการรั บ รู้ การช่ว ยเหลื อ จากครอบครัวนั้นส่ งผลต่ อความผาสุ กทางใจของผู้ สู งอายุ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ การสนับสนุนด้านจิตใจและอารมณ์การยอมรับ ยกย่อง และเห็นคุณค่าการ สนับสนุนด้านการมีส่ว นร่วมในสั งคม การสนับสนุนด้านวัสดุสิ่งของ และการสนับสนุนด้านข้อมูล ข่าวสาร โดยผู้สูงอายุจะรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า และเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ได้ทาประโยชน์ต่อ ลูกหลาน ลูกหลานยอมรับความสาคัญ ขณะเดียวกันเกิดความมั่นคงในใจว่าจะมีที่พึ่งในยามที่ต้องการ ความช่วยเหลือ เป็นความผาสุกทางใจที่เกิดจากความภูมิใจที่ตนเองอยู่ในฐานะเป็นผู้ให้และผู้รับ จากการประมวลข้อมูลดังกล่าว หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาและหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา เพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตได้ ตระหนักถึงความสาคัญของการศึกษากลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในปริมณฑลใกล้กับมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งใน นโยบายของมหาวิทยาลัย ในการให้บริการแก่ชุมชน และสังคม จึงได้จัดกิจกรรมสาหรับผู้สูงอายุในชมรม ผู้ สู งอายุ ศู นย์ บ ริ การสาธารณสุ ข 37 ขึ้ นเป็ นการเสวนาเชิ งวิ ชาการในหั วข้ อ โครงการเชื่ อมโยง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิต: ความสาเร็จและป๎ญหาอุปสรรค ในวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2556 ผลการเสวนาเชิงวิชาการพบว่ามีข้อมูลเบื้องต้นที่สอดคล้องกับผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวที่ได้ประมวล สรุ ปไว้ ข้ างต้ น คื อได้ พบว่ า ความผาสุ กทางใจของผู้ สู งอายุ ขึ้ นอยู่ กั บ การรั บ รู้ ก ารช่ ว ยเหลื อ จาก ครอบครัวเป็นหลักสาคัญ แต่เนื่องจากความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุและการสนับสนุนจากครอบครัวมี ลักษณะที่หลากหลายและมีความซับซ้อนอยู่มากผู้ วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาป๎จจั ยการรับรู้การ ช่วยเหลือจากครอบครัวที่ส่งผลต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุกลุ่มนี้ให้ลึกซึ้งขึ้น และประสงค์ที่จะ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว กับความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุให้ ชัดเจนเกี่ยวกับป๎ จจั ยที่เกี่ยวข้อง และลั กษณะของความสั มพัน ธ์ในแง่ต่างๆของผู้สู งอายุ โดยที่กลุ่ ม ผู้สูงอายุที่จะศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นผู้สูงอายุที่มีลักษณะเป็นตัวแทนผู้สูงอายุโดยทั่วไป และอยู่ในเขต ชุมชนที่อยู่ในปริมณฑลใกล้กับมหาวิทยาลัยเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเป็น แนวทางในการให้ บริ การแก่ชุมชน สั งคม สนองนโยบายของมหาวิทยาลั ยและเป็นข้อความรู้ที่ เป็ น ประโยชน์ แก่ บุ คลากรในทีม สุ ขภาพด้ านสาธารณสุ ข ซึ่ ง เป็ นผู้ ดู แลและให้ ค าแนะน าแก่ผู้ สู งอายุ ตลอดจน ครอบครัวของผู้สูงอายุ สามารถใช้เป็นแนวทางประเมินความผาสุกทางใจ และวางแผนใน การดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ชีวิต เป็นที่พึ่งทางใจของครอบครัว และเป็นภูมิป๎ญญา ของชาติ ได้มีความสุขสมบูรณ์ในชีวิตบั้นปลายต่อไป


32

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุใน ชมรมผู้สูงอายุศูนย์บริการสาธารณสุข 37 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวกับความผาสุก ทางใจของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุศูนย์บริการสาธารณสุข 3 3. เพื่อศึกษาอานาจในการทานายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุจากป๎จจัยด้านการรับรู้การ ช่วยเหลือจากครอบครัว สมมติฐาน 1. ป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผาสุกทางใจ ของผู้สูงอาย 2. ป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวสามารถร่วมกันทานายความผาสุกทางใจของ ผู้สูงอายุ ขอบเขตของการวิจัย ประชากร ผู้ สู งอายุ ที่มีภูมิล าเนาอยู่ในเขตชุมชนในปริมณฑลใกล้ กับมหาวิทยาลั ยเกษม บัณฑิต และเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุศูนย์บริการสาธารณสุข 37 จานวนนับได้ในเดือน พฤษภาคม 2557 จานวน 200 คน และผู้สูงอายุทั่วไปที่มารับบริการรักษา ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข37 แต่ไม่ได้ เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุศูนย์บริการสาธารณสุข 37 จานวน 60 คน กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ มีเกณฑ์ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างดังนี้ 1) เป็นผู้ที่ มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 2) เป็นผู้ที่เต็มใจในการให้ข้อมูล 3) มีความหลากหลายทั้งเพศและสถานภาพสมรส โดยแบ่งเป็น 1.1 กลุ่มตัวอย่างที่ 1 กลุ่มผู้สูงอายุทั่วไป คือ ผู้สูงอายุที่มารับบริการรักษาที่ศูนย์บริการ สาธารณสุ ข37 ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และไม่ได้เป็นสมาชิกชมรมผู้ สูงอายุศูนย์บริการ สาธารณสุข 37 จานวน 10 คนโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง มาจากจานวนผู้สูงอายุ ทั้งหมด 60 คน 1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ 2 กลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุศูนย์บริการสาธารณสุข 37 ใน เดือ น พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นั บ จ านวนได้ 150 คน โดยวิ ธีก ารสุ่ ม กลุ่ มตั ว อย่า งแบบ เฉพาะเจาะจง จากจานวนผู้สูงอายุ ทั้งหมด 200 คน จากนั้นสุ่มกลุ่มตัวอย่าง อย่างง่ายมา 10 คน เพื่อนามาสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group) 2. กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณแบบสารวจ คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกในชมรม ผู้สูงอายุศูนย์บริการสาธารณสุข 37 ที่คงเหลืออยู่จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จานวน 140 คน


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

33

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา มีดังนี้ ตัวแปรทานาย ป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 1. ด้านจิตใจและอารมณ์ 2. ด้านการยอมรับยกย่องและเห็นคุณค่า 3. ด้านการมีส่วนร่วมในสังคม 4. ด้านวัสดุสิ่งของ 5. ด้านข้อมูลข่าวสาร ตัวแปรเกณฑ์ ความผาสุกทางใจ ประกอบด้วย 5 ด้าน 1. ความสามัคคีปรองดอง 2. ความสงบสุข 3. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน 4. ความเบิกบานใจ 5. การได้รับการยอมรับและ การเคารพนับถือ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้ข้อความรู้เชิงประจักษ์เกี่ยวกับลักษณะและระดับความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เข้า ร่วมชมรมผู้สูงอายุศูนย์สาธารณสุข 37 2. ทราบถึงป๎จจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางใจของผู้สู งอายุ ในแง่ต่างๆซึ่งสามารถ นาไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความผาสุกทางใจของผู้สู งอายุไทยและเป็น แนวทางในการศึกษาและวิจัยเรื่องความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุต่อไป รวมทั้งทราบถึงอานาจการทานาย ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุจากป๎จจัยทั้ง 5 ด้าน ของการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว 3. ผลการวิจัยทาให้ได้ข้อความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับป๎จจัยทั้ง 5 ด้าน ของการรับรู้การช่วยเหลือ จากครอบครัวที่สามารถทานายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุซึ่งจะเป็นประโยชน์สาหรับบุ คลากรทีม สุขภาพด้านสาธารณสุขสามารถนามาใช้ในการวางแผน การให้การดูแลผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมความผาสุก ทางใจของผู้สูงอายุได้ตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุต่อไป นิยามศัพท์เฉพาะและนิยามปฏิบัติการ 1. การรับรู้ หมายถึง การแปลความหมายจากการสัมผัส โดยเริ่มตั้งแต่ การมีสิ่งเร้ามากระทบ กับอวัยวะสัมผัส ทั้ง 5 และส่งกระแสประสาท ไปยังสมอง เพื่อการแปลความ 2. ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีสภาพร่างกายและจิตใจเปลี่ยนแปลง ไปในทางที่เสื่อมถอย มีโอกาสเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย สมควรที่จะได้รับการดูแลช่วยเหลือ และถือว่า เป็นวัยที่ปลดเกษียณจากการทางาน สาหรับในการวิจัยครั้งนี้ผู้สูงอายุหมายถึง ผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และเป็นผู้ที่เต็มใจให้ข้อมูลและทาการวิจัย มีความหลากหลายทั้งเพศ และ สถานะภาพสมรส และมี ภูมิลาเนาอยู่ในเขตชุมชนที่อยู่ในปริมณฑลใกล้กับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต โดยแบ่งผู้สูงอายุในการทา การวิจัยเป็น 2 กลุ่ม


34

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ทั่วไปที่มารับการรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 37 ในช่วงเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และไม่ได้เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุศูนย์บริการสาธารณสุข 37 กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 37 และมีการ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชมรมอย่างสม่าเสมอ 3. ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ หมายถึง ความรู้สึกของผู้สูงอายุที่แสดงถึงการมีความสุข และสบายใจ โดยประเมินตามการรับรู้ของผู้สูงอายุ ซึ่งในที่นี้จะเป็นความรู้สึกที่ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ 3.1 ความสามัคคีปรองดอง (Harmony) หมายถึง การรับรู้ของผู้สูงอายุ ถึงความสุข และสบายใจ อันเกิดจาก ความกลมเกลียวรักใคร่ ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกันของคนในครอบครัว สังคม รวมถึงการที่ผู้สูงอายุ มีสัมพันธภาพที่ดีกับลูกหลาน การที่ลูกหลานใกล้ชิดพร้อมหน้าพร้อมตา และ ความสาเร็จ ความก้าวหน้าของลูกหลาน บุคคลในครอบครัวหรือการมีลูกหลานเป็นคนดี มีการงาน เป็นหลักเป็นฐานที่ดี 3.2 ความสงบสุข (Acceptance and Calmness) หมายถึง ความรู้สึกสุขสบายใจ จากการรับรู้ที่ผู้สูงอายุ ทาใจให้ยอมรับ และหาความสงบในจิตใจจากการปล่อยวางความคิดที่ทาให้ ไม่สบายใจ ทาใจให้ยอมรับ หรือบางครั้งปลง กับสิ่งที่ตนเองไม่สามารถขัดขวางหรือควบคุมได้ 3.3 การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Interdependence) หมายถึง การที่ผู้สูงอายุได้ทาตน ให้ เป็ นประโยชน์ ได้ช่วยเหลื อลู กหลาน บุ คคลในครอบครัวในขณะเดียวกันบุคคลในครอบครัว หรื อ ลูกหลานตอบแทนด้วยการเลี้ยงดู ช่วยเหลือผู้สูงอายุโดยเฉพาะยามเจ็บปุวย ความรู้สึกสบายใจเกิดจาก ความรู้สึกที่ผู้สูงอายุรับรู้ว่าตนยังมีคุณค่า สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และตนยังมีคุณค่าเป็นที่พึ่ง เป็น ประโยชน์แก่ลูกหลานได้ 3.4 ความเบิกบานใจ(Enjoyment) หมายถึง ความรู้สึกสุขสบายใจจากการที่ผู้สูงอายุ รับรู้ความรู้สึกสดชื่นมีชีวิตชีวา และสนุกสนานรื่นรมย์แก่สิ่งรอบตัว ความเบิกบานอาจเกิดจากการทา กิจกรรมกับเพื่อน หรือกลุ่มผู้สูงอายุในวัยเดียวกัน 3.5 การได้รับการยอมรับและการเคารพนับถือ (Respect) หมายถึง ความรู้สึกสุข สบายใจจากการที่ผู้สูงอายุรับรู้ถึงความรู้สึกจากการได้รับการเคารพนับถือให้เกียรติ จากลูกหลาน และจากผู้อาวุโสน้อยกว่า มีผู้รับฟ๎งหรือปฏิบัติตามคาแนะนา การเคารพนับถือที่ผู้สูงอายุได้รับจาก บุคคลอื่นๆ แสดงให้เห็นถึงความสาเร็จในชีวิตของผู้สูงอายุ ดาเนินชีวิตที่ดีเป็นที่เคารพนับถือของ บุคคลในสังคม ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุวัดได้จากแบบสอบถามความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่ได้ สร้ างขึ้น จากข้อมูล เชิงคุณภาพด้ว ยการสั มภาษณ์เชิงลึ กแบบสอบถามมีลั กษณะเป็นมาตราส่ ว น ประเมินค่า 4 ระดับ ตั้งแต่ มากที่สุด ถึง น้อยหรือไม่ได้รับเลย ผู้สูงอายุที่มีความผาสุกทางใจมากที่สุด จะได้คะแนนสูงสุด (4 คะแนน) ผู้สูงอายุที่มีความผาสุกทางใจน้อย หรือ ไม่ได้รับเลย จะได้คะแนนน้อยที่สุด (1 คะแนน)


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

35

4. การรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว หมายถึง การรับรู้การช่วยเหลือกันในครอบครัวที่ เป็ น ทั้งการช่ว ยเหลื อจากลู กหลานให้ กับผู้ สู งอายุ ความช่ว ยเหลือที่ผู้ สู งอายุให้ กับลู กหลาน แบ่ง ออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้ 4.1 ด้านจิตใจและอารมณ์ หมายถึง การได้รับความรักความสนใจ เอาใจใส่ ความเห็น อกเห็นใจความกลมเกลียวรักใคร่กันของบุคคลในครอบครัว มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน 4.2 ด้านการยอบรับยกย่อง และเห็นคุณค่า หมายถึง การได้รับความเชื่อถือ เห็นด้วย ในความคิดได้รับความเคารพนับถือยกย่องให้เป็นบุคคลสาคัญในครอบครัว รับฟ๎งการอบรม สั่งสอน 4.3 ด้านการมีส่วนร่วมในสังคม หมายถึง การได้รับการสนับสนุนให้ทากิจกรรมต่างๆ ร่วมกับบุคคลอื่นๆในครอบครัวและสังคม 4.4 ด้านวัสดุสิ่งของ หมายถึง การได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงินและแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การจัดอาหารการจัดที่พักอาศัยให้ 4.5 ด้านข้อมูลข่าวสาร หมายถึง การได้รับคาแนะนา คาปรึกษา ข้อเสนอแนะที่เป็น ประโยชน์ต่อการดารงชีวิตของผู้สูงอายุ การรั บ รู้ การช่ วยเหลื อจากครอบครั ว วั ดได้จากแบบสอบถามการรับรู้การช่วยเหลื อจาก ครอบครัวของผู้สูงอายุ ซึ่งสร้างขึ้นจากข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 4 ระดับ ตั้งแต่ มากที่สุด ถึง น้อยหรือไม่ได้รับเลย ตามการรับรู้ การช่วยเหลือจากครอบครัวผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่ได้รับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวมากที่สุด จะได้ คะแนนสูงสุด (4 คะแนน) สาหรับผู้สูงอายุที่รับรู้ถึงการได้รับการช่วยเหลือจากครอบครัวน้อ ย หรือ ไม่ได้รับเลย จะได้รับคะแนนน้อยที่สุด (1 คะแนน) วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยเรื่องนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ชนิดเชิง คุณภาพนาเชิงปริมาณ ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และ การวิจัยเชิง ปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการหาคุณภาพเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ 1. ผู้วิจัยเตรียมความพร้อมโดยการทบทวนเอกสาร ตารา งานวิจัยที่เกี่ยวกับการวิจัยเชิง คุณภาพและการวิจัยแบบสนทนากลุ่มเพื่อเป็นพื้นฐานของการดาเนินการวิจัยและการเป็นผู้นาการ สนทนากลุ่ม 2. ผู้จดบันทึกการสนทนา ได้แก่ ผู้ที่มีประสบการณ์และความรู้ด้านการสนทนากลุ่ มทา หน้าที่จดบันทึกความสาคัญ สีหน้าและพฤติกรรมของผู้พูดในกลุ่มเพื่อประโยชน์ในการถอดเทปและยัง ต้องจดบันทึกแผนผังการนั่งของผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม 3. ผู้อานวยความสะดวก ทาหน้าที่คอยดูแลและอานวยความสะดวกแก่การดาเนินการสนทนา กลุ่มทั้งในด้านการเตรียมของว่าง อาหารและคอยดูแลมิให้การสนทนากลุ่มถูกรบกวนจากบุคคลภายนอก 4. เครื่องบันทึกเสียงจานวน 2 เครื่อง 5. แนวคาถามการสนทนากลุ่ม ตามกรอบแนวคิดในการวิจัย


36

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

กรอบแนวคิดในการวิจัย การรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว ประกอบด้วย 5 ด้าน 1. ด้านจิตใจและอารมณ์ 2. ด้านการยอมรับยกย่องและเห็นคุณค่า 3. ด้านการมีส่วนร่วมในสังคม 4. ด้านวัสดุสิ่งของ 5. ด้านข้อมูลข่าวสาร

ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 5 ด้าน 1. ความสามัคคีปรองดอง 2. ความสงบสุข 3. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน 4. ความเบิกบานใจ 5. การได้รับการยอมรับและการเคารพนับถือ

การตรวจสอบและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ 1. น าข้อ มู ล ที่ ไ ด้จ ากการบั น ทึ กเสี ยงมาท าการถอดเทปโดยเป็น การถอดแบบค าต่อ ค า ออกมาเป็นบทสนทนาที่เป็นตัวอักษร และมีการตรวจสอบความถูกต้องด้วยการฟ๎งเทปบันทึก การ สัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด 2. ผู้วิจัยทาการถอดรหัส และจัดกลุ่ม นากลุ่มที่ถูกจัดไว้ รวบรวมเป็นประเด็นจากนั้นยืนยัน ความน่าเชื่อถือ โดยวิธีการตรวจสอบจากผู้เชี่ ยวชาญที่อยู่ในวัยผู้สูงอายุและอยู่ในสาขาวิชาจิตวิทยา จานวน 2 ท่าน เพื่อพิจารณาความถูกต้องในการจัดประเด็น 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สาหรับข้อมูลเชิงคุณภาพส่วนนี้ ผู้วิจัยได้นาความคิดเห็น ที่ได้จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) มาใช้ประกอบการนิยามและสร้างข้อคาถามสาหรับ เครื่องมือวัดป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวของผู้สูงอายุซึ่งมี 5 ป๎จจัย ได้แก่ 1) ป๎จจัยด้าน จิตใจและอารมณ์ 2) ป๎จจัยด้านการยอมรับ ยกย่องและเห็นคุณค่า 3) ป๎จจัยด้านการมีส่วนร่วมในสังคม 4) ป๎จจัยด้านวัสดุสิ่งของ และ 5) ป๎จจัยด้านข้อมูลข่าวสาร และเครื่องมือวัดความผาสุกทางใจของ ผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความสามัคคีปรองดอง 2) ด้านความสงบสุข 3) ด้านความ เบิกบานใจ 4) ด้านการได้รับการยอมรับและการเคารพนับถือ 5) ด้านการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ เมื่อได้ข้อคาถามแล้วจึงนามาสร้างเป็นแบบสอบถามและนามาหาคุณภาพเครื่องมือ เพื่อนามาใช้ในการ เก็บข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณต่อไป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามทั้งหมด 2 ชุด ชุดที่ 1 แบบสอบถามความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ ตาม กรอบแนวคิดการวิจัย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามัคคีปรองดอง ด้านความสงบสุข ด้านการพึ่งพาอาศัยซึ่ง กันและกัน ด้านความเบิกบานใจและ ด้านการได้รับการยอมรับและการเคารพนับถือ รวมทั้งหมด 25 ข้อ ลักษณะข้อคาถามจะมีคาตอบให้เลือกตอบในลักษณะมาตราส่วน ประเมินค่า 4 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย หรือไม่ได้รับ ชุดที่ 2 แบบสอบถามการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวตามกรอบแนวคิด การรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว 5 ด้าน ได้แก่ ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านการยอมรับยกย่องและเห็น คุณค่า ด้านการมีส่วนร่วมในสังคม ด้านวัสดุสิ่งของ และด้านข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งหมด 24 ข้อ ลักษณะ ของข้อคาถามส่วนนี้ จะมีคาตอบให้เลือกตอบในลักษณะมาตราส่วนประเมินค่า 4 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อยหรือไม่ได้รับ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

37

การหาคุณภาพเครื่องมือเชิงปริมาณ แบบสอบถามความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ และ แบบสอบถามการรับรู้การช่วยเหลือจาก ครอบครัว แล้วนามาหาค่าความเที่ยง (Reliability) โดยนาไปทดลองใช้กับผู้สูงอายุที่มีลักษณะเหมือน กลุ่มตัวอย่าง จานวน 30 คน และนาผลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาหาค่าอานาจจาแนกรายข้อ โดยหา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมและความเที่ยง (Reliability) โดยใช้ สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟุา (α ) ของ ครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเที่ยงทั้ง ภาพรวมและรายด้านของแบบสอบถามทั้ง 2 ชุด ดังตารางต่อไปนี้ ตาราง แสดงค่าอานาจจาแนกรายข้อ ( CITC) และค่าความเที่ยง (α ) ของแบบสอบถาม ความผาสุก ทางใจและการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว ตัวแปร CITC α ความผาสุกทางใจ .93 .26-.69 - ด้านความสามัคคีปรองดอง .86 .63-.82 - ด้านความสงบสุข .73 .62-.67 - ด้านการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน .82 .42-.73 - ด้านความเบิกบานใจ .76 .20-.72 - ด้านการได้รับการยอมรับและการเคารพนับถือ .83 .35-.71 การรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว -

ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านการยอมรับ ยกย่อง และเห็นคุณค่า ด้านการมีส่วนร่วมในสังคม ด้านวัสดุสิ่งของ ด้านข้อมูลข่าวสาร

.95

.55-.80

.91 .91 .81 .92

.68-.85 .73-.86 .58-.70 .72-.87

.89

.70-.82

การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล กระทาโดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย 2 คนก่อนดาเนินการเก็บรวบรวม ข้อมูลผู้วิจัยได้อธิบายรายละเอียดของแบบสอบถามทั้ง 2 ชุด และขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ วิธีการสัมภาษณ์ร่วมกับให้ผู้สูงอายุตอบแบบสอบถาม ตามหัวข้อในแบบสอบถาม เนื่องจากผู้สูงอายุ บางท่านไม่สามารถอ่านและเขียนได้ ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เวลา 6 สัปดาห์ โดยการ เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุทั้งหมด 140 คน ข้อมูลทั้งหมดสามารถนามาวิเคราะห์ได้คิดเป็นร้อยละ 100


38

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณแบบสารวจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ SPSS/ PC 1. หาค่าสถิติพื้นฐานเพื่ออธิบายระดับความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ 2. วิเคราะห์สถิติแบบ Pearson’s Correlation Coefficient เพื่อหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวกับความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ 3. หาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อทานายความ ผาสุกทางใจของผู้สูงอายุจากป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับความผาสุกทางใจและป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวของผู้สูงอายุ มี รายละเอียดดังนี้ 1.1 ผู้สูงอายุมีระดับความผาสุกทางใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก 1.2 ผู้สูงอายุมีระดับความผาสุกทางใจรายด้าน ได้แก่ ด้านความสามัคคีปรองดอง ด้าน ความสงบสุข ด้านการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ด้านความเบิกบานใจ และ ด้านการได้รับการยอมรับ และการเคารพนับถือ อยู่ในระดับมาก 1.3 ป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวที่ส่งผลต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ ได้แก่ ป๎จจัยด้านจิตใจ และอารมณ์ ด้านการยอมรับ ยกย่องและเห็นคุณค่า ด้านการมีส่วนร่วมใน สังคม ด้านวัสดุสิ่งของ และด้านข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับมาก 2. ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการ รับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวด้านจิตใจ และอารมณ์ ด้านการได้รับการยอมรับยกย่องและเห็น คุณค่า ด้านการมีส่วนร่วมในสังคม ด้านวัสดุสิ่งของ และด้านข้อมูลข่าวสาร 3. ป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวทั้ง 5 ด้านร่วมกันทานาย ความผาสุกทางใจ ของผู้สูงอายุในภาพรวม ได้ร้อยละ 14.2 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และได้สมการการ พยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ y´= 2.31 + .04x1 + .05x2 + .09x3 - .01x4 + .08x5 และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ z´= .07z1+ .09z2 + .16z3 - .03z4 + .18z5 การอภิปรายผล การศึ กษาป๎ จ จั ย การรั บ รู้ การช่ว ยเหลื อ จากครอบครัว ที่ส่ งผลต่ อความผาสุ กทางใจของ ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 37 มีข้อค้นพบและอภิปรายผลการวิจัย ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุมีการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว และมีความผาสุกทางใจทั้งภาพรวมและ รายด้านอยู่ในระดับมาก จากการสนทนากลุ่มผู้สูงอายุศูนย์บริการสาธารณสุข 37 ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 37 มีการรับรู้การช่ว ยเหลือจากครอบครัวใน ด้านจิตใจและอารมณ์ จากการแสดงออกของครอบครัว บุคคลใกล้ชิด ที่แสดงให้เห็นถึงความห่วงใย คอยสอบถามทั้งเรื่อง ชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพ ซึ่งทาให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีความสุข และมีความอบอุ่นใจ ด้านการยอมรับ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

39

ยกย่องเห็นคุณค่า พบว่า การแสดงออกของครอบครัว คนใกล้ชิด ด้วยการให้เกียรติมีความเคารพ รับ ฟ๎งความเห็นหรือข้อแนะนา ทาให้ผู้สูงอายุ เกิดการรับรู้ว่าตนเองมีคุณค่าและยังเป็นประโยชน์กับผู้อื่น ด้านการมีส่วนร่วมในสังคม พบว่า การที่ครอบครัว บุคคลใกล้ชิด ได้พยายามชักชวนหรือให้ผู้สูงอายุ ได้มี ส่ ว นร่ ว มกับ กิจ กรรมครอบครั ว และกิจ กรรมทางสั งคม หรือ การสนับ สนุ นให้ ผู้ สู ง อายุไ ด้ท า กิจกรรมที่ตนชอบ ทาให้ผู้สูงอายุรับรู้ว่า ตนเองได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมและครอบครัว ไม่ได้แยกอยู่ เพียงลาพังทาให้เกิดกาลังใจในการดาเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข สอดคล้องกับ Cobb (1976) และ Weiss (1974: 12) ที่กล่าวว่า การรับรู้การได้รับความเอาใจใส่ทาให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกปลอดภัย มั่นคง และมีความสุข การที่ผู้สูงอายุรับรู้ว่าตนมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับ จากครอบครัวที่ให้การสนับสนุน ด้านวัสดุสิ่งของ พบว่าผู้สูงอายุแม้ว่าไม่อยากที่จะต้องพึ่งพิงรายได้จากลูกหลาน แต่การแสดงออกถึง ความใส่ใจในเรื่องค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุ โดยไม่ต้องเอ่ยขอ ทั้งในเรื่องการกินอยู่และการรักษาโรคหรือ แม้กิจกรรมการท่องเที่ยว ทาให้ผู้สูงอายุรับรู้ได้ถึงการได้รับการสนับสนุนจากบุคคลใกล้ชิด ทาให้เกิด ความสบายใจลดความวิตกกังวลทั้งทางด้านร่างกายและทางด้านจิตใจ ซึ่งเป็นป๎จจัยหนึ่งที่สาคัญและ มีความจาเป็นที่ผู้สูงอายุต้องอาศัยการสนับสนุนจากสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร จากการที่ผู้สูงอายุได้รับ ความเอาใจใส่ในการให้ข้อมูลในการดูแลสุขภาพการติดตามอาการปุวยไข้จากบุคคลในครอบครัว ทา ให้ผู้สูงอายุรับรู้ได้ถึงการให้ความสาคัญกับตนเอง ทาให้เกิดความอบอุ่นใจและสามารถนาข้อมูลที่ ได้มาใช้แก้ป๎ญหาโรคภัยที่เผชิญอยู่ การรับรู้ความช่วยเหลือจากสังคมทั้งด้านวัสดุสิ่งของ ด้านข้อมูล ข่าวสาร สอดคล้องกับ House (1998 citing in Tiden, 1985: 9) กล่าวว่า การสนับสนุนทางสังคม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่ประกอบด้วยความรัก ความห่วงใย ความไว้วางใจ กล่าวได้ว่าการที่ ผู้สูงอายุเกิดการรับรู้การได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัวในด้านต่างๆ นั้นส่งผลทาให้ผู้สูงอายุเกิด ความผาสุกทางใจ จากการเอาใจใส่ของบุคคลในครอบครัวและบุคคลใกล้ชิด เมื่อสอบถามถึงป๎จจัยที่เกี่ยวข้องกับความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุรายงานว่า ความ สามัคคีปรองดองเป็นป๎จจัยสาคัญโดยระบุว่า การได้อยู่กับครอบครัวที่มีการให้เกียรติเคารพกันและการ ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว ก็เช่นเดียวกับป๎จจัยด้านความสงบสุขที่พบว่า การที่ผู้สู งอายุมี ความสุขได้นั้นเกิดจากการเป็นผู้รู้จักปล่อยวางป๎ญหาและไม่สร้างป๎ญหาให้เกิดขึ้น การมองโลกในด้านดี การมีเพื่อนให้คาปรึกษารับฟ๎ง การใช้หลักธรรมทางศาสนาสามารถช่วยทาให้ผู้สูงอายุสามารถละวาง ป๎ ญหาต่างๆ ได้และรู้ จั กวางใจตนให้ เป็นสุ ข สอดคล้ องกับงานวิจัยของ ป๎ ญญภัทร ภัทรกันทากุ ล (2544) กล่าวว่า ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุเกิดจากการปล่อยวางความคิดที่จะทาให้สบายใจ ทาใจ ให้ยอมรับกับสิ่งที่ตนไม่สามารถควบคุมได้ และรู้จักทาให้ตนเองรู้สึกสดชื่นมีชีวิตชีวาสาหรับป๎จจัย ด้าน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันที่ทาให้ผู้สูงอายุมี ความผาสุกทางใจนั้น พบว่า ผู้สูงอายุไม่ต้องการทาตน เป็นภาระต่อลูกหลานในเรื่องเงินทอง แต่หากลูกหลานเลี้ยงดูตอบแทน ผู้สูงอายุก็เกิดความผาสุกทางใจ ในขณะเดียวกันผู้สูงอายุนั้นก็ต้องทาตนให้เป็นประโยชน์ เป็นที่พึ่งให้คาปรึกษาในยามที่ลูกหลานเกิด ป๎ญหา หรือจากการได้แบ่งเบาภาระ ด้วยการเอาใจใส่ดูแลลูกหลานในเรื่องอาหารการกิน งานบ้าน ก็ ทาให้ผู้สูงอายุรู้สึกสุขใจในฐานะเป็นคนที่มีประโยชน์กับลูกหลาน สอดคล้องกับ ยุพิน อังสุโรจน์ (2542) กล่ าวว่ าการท าตนให้ เป็ น ประโยชน์ ต่อครอบครั ว ชุมชนสั งคม ส่ งผลให้ เกิดความผาสุ กทางใจกั บ ผู้สูงอายุ ด้านความเบิกบานใจ พบว่า ผู้สูงอายุเห็นว่าการมองโลกในแง่ดี การไม่ทาตนให้เครียด การได้ ช่วยเหลือสังคมและผู้ อยู่รอบข้างจากการเข้ากิจกรรมต่างๆ คาชมของคนเหล่ านี้ทาให้ผู้สูงอายุเกิด


40

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

กาลังใจและมีความสุข สอดคล้องกับทฤษฎีกิจกรรม กล่าวถึง การทากิจกรรมของผู้สูงอายุในสิ่งที่สนใจ ทาให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในชีวิตและมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ อ้างใน อาภากร ชัยสุริยา (2543) ส่วนด้านการได้รับการยอมรับและการเคารพนับถือที่ผู้สูงอายุเห็นว่าเกี่ยวข้องกับความผาสุกทางใจนั้น ผู้สูงอายุเห็นว่าความสัมพันธ์ในครอบครัว การปฏิบัติต่อผู้สูงอายุด้วยความเคารพอ่อนน้อม เชื่อฟ๎งและ ให้การนับถือ การเอาใจใส่ในวันสาคัญต่างๆ การชักชวนไปร่วมกิจกรรมกับครอบครัว ทาให้ผู้สูงอายุเกิด ความผาสุกทางใจอันเกิดจากความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า สอดคล้อง กับ Davis and Smith (2002) กล่าวว่าความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสามารถทานายความผาสุกทาง ใจของผู้สูงอายุได้ 2. ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการ รับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านได้รับการยอมรับยกย่องและเห็นคุณค่า ด้านการมีส่วนร่วมในสังคม ด้านวัสดุสิ่งของ และด้านข้อมูลข่าวสาร ในด้านต่างๆเหล่านี้ จากการที่ บุคคลในครอบครัวให้การสนับสนุนยอมรับ ยกย่องและเห็นคุณค่าโดยมีความเข้าใจยอมรับว่าผู้สูงอายุ แม้ว่าจะมีอายุมากขึ้นแต่ก็ยังมีคุณประโยชน์ต่อครอบครัวช่วยดูแลบุตรหลานหรือให้คาแนะนาต่างๆได้ การยอมรับฟ๎งเห็นด้วยในความคิดเห็นหรือการกระทาที่ถูกต้องโดยการให้ความเคารพและยกย่อง ซึ่ง จะทาให้ผู้สูงอายุเกิดความเชื่อมั่น และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าเป็นที่ต้องการของครอบครัวและสังคม เกิดความสุขใจในตนเอง และมีความหวังในชีวิตและก่อให้เกิดความผาสุกทางใจ การที่ให้ผู้สู งอายุได้มี กิจกรรมเป็นสิ่งจาเป็นและสาคัญสาหรับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมจะมีการปรับตัวได้ดีทั้งทาง ร่างกายและจิตใจ (Barrow and Smith, 1979: 53) ผู้สูงอายุที่ดารงชีวิตได้อย่างมีความสุข จะเป็นผู้ที่ สามารถด าเนิ น กิ จ กรรมในสั งคม ไม่ ตี ตั ว ออกห่ าง จากสั ง คม โดยที่ ผู้ สู ง อายุ ยั งคงมี บ ทบาทและ สถานภาพในสังคม รู้สึกตนเองยังมีคุณค่าและเป็นที่ยอมรับ (Ebersole Hess, 1994) ดังนั้นการที่ ครอบครัวให้การสนับสนุนผู้สูงอายุได้มีส่วนรวมในสังคมด้านทากิจกรรมร่วมกับผู้อื่น จะทาให้ผู้สูงอายุ รู้สึกว่าตนยังเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไม่ได้ถู กทอดทิ้ง ให้อยู่โดดเดี่ยวหรือถูกแยกออกจากสังคม จาก การเปลี่ยนแปลงรายได้ การไม่มีอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้ ทาให้ผู้สูงอายุต้องประสบกับป๎ญหาต่างๆ มากขึ้น ครอบครัวจะเป็นแหล่งสนับสนุนที่สาคัญที่จะช่วยเหลือในเรื่องวัสดุสิ่งของเครื่องใช้ที่จาเป็น ต่างๆ เงินทอง ค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมทั้งคอยดูแลเรื่องการรับประทานอาหารให้ถูกต้องเหมาะสม กับโรค การจัดการเรื่องที่พักให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีแบบแผนการดาเนินชีวิตได้เหมาะสมยิ่งขึ้น และช่วยเสริมกาลังใจให้ผู้สู งอายุมี เงินไว้ใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพการส่งเสริมสุขภาพ จะช่วยเสริมกาลังใจให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาว การ มีเงินเพียงพอที่จะหาซื้ออาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมารับประทาน เป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมี เสถียรภาพทางด้านร่างกาย มีกาลังใจ และมีอารมณ์มั่นคงซึ่ง ส่งผลให้ระบบประสาท และต่อมไร้ท่อ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทางานได้ดีขึ้นช่วยลดโอกาสของการเกิดภาวะวิกฤติที่เชื่อมโยงกับ ความเจ็บปุวย และนาไปสู่พฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดี (Cohen and Wills, 1985) การเป็นผู้สูงอายุ สภาพร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทสัมผัสต่า งๆ เสื่อมลง ได้แก่ การได้ยิน การมองเห็น ทาให้ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารลดลง บางครั้งผู้สูงอายุ อาจเกิดความเบื่อหน่ายที่จะปฏิบัติ เกิดความท้อแท้ ดังนี้การได้รับการสนับสนุน ด้านข้อมูลข่าวสาร จากสมาชิกในครอบครัว โดยได้รับความรู้และคาแนะนาต่างๆเกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติอย่างเพียงพอ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

41

และต่อเนื่ องทาให้ ผู้ สู งอายุ ได้รั บคาแนะนาตลอดจนหาแนวทางในการแก้ ป๎ญหาที่เกิดขึ้นได้จะทาให้ ผู้สูงอายุอุ่นใจมีความสุ ขและจะทาให้มีสุขภาพดี และมีชีวิตยืนยาวได้ ซึ่ งสอดคล้องกับการศึกษาของ Hubbard Muhlenkamp และ Brown (1984) ที่พบว่าการสนับสนุนจากครอบครัวมีความสัมพันธ์กับ การดูแลตนเองในด้านการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ สอดคล้องกับการศึกษา Muhlenkamp และ Salyes (1986) ที่พบว่าการสนับสนุนจากครอบครัวมีความสัมพันธ์กันกับแบบแผนการดาเนินชีวิตที่ ส่งเสริมให้มีสุขภาพดีในผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยที่กล่าวมาแล้วตอนต้นว่า ความผาสุกทางใจ ของผู้สูงอายุทั้งภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว 3. ป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวทั้ง 5 ด้านได้แก่ ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้าน การยอมรับยกย่องและเห็นคุณค่า ด้านการมีส่วนร่วมในสังคม ด้านวัสดุสิ่งของ และด้านข้อมูลข่าวสาร ร่วมกันทานายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในภาพรวม ได้ร้อยละ 14.2 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ .001 ผลการวิจัยนี้จะเห็นได้ว่าป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัว ทั้ง 5 ด้าน ซึ่งเป็นป๎จจัย ภายนอกทานายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุได้เพียง ร้อยละ 14.2 เท่านั้น ดังนั้นป๎จจัยที่สาคัญที่จะ ทาให้ผู้สูงอายุมีความผาสุกทางใจ อีกประการหนึ่งน่าจะเป็นป๎จจัยส่วนตัวบุคคลของผู้สูงอายุร่วมด้วย ดังเช่น ป๎ จจัยด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต และป๎จจัยด้านอารมณ์และสั งคมของผู้สูงอายุ ดังที่ ศศิพัฒน์ ยอดเพชร (2542) กล่าวถึง ผู้สูงอายุที่มีความผาสุกทางใจจะเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาว มีสุข ภาวะดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีการตระหนักในคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสามารถทางสังคม และเศรษฐกิจ ความสามารถในการควบคุมตนเอง และมีความพึงพอใจในชีวิต มีทัศนคติเชิงบวก มี ความมั่นคงทางรายได้ มีความสามารถในการดูแลตนเองให้เป็นผู้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิต การมีความ มั่นคงในชีวิต คือมี ความรู้สึกมั่นใจปลอดภัย การมีสุขภาวะที่ดี คือความสามารถในการดูแลตนเองให้มี สุขภาพกายใจสุขภาพจิตที่มีคุณภาพ การได้ร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมส่วนรวม การที่ผู้สูงอายุจะมีความผาสุกทางใจ ผู้สูงอายุต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุที่ ประสบความสาเร็จ ซึ่งผู้สูงอายุที่ประสบความสาเร็จต้องมีกระบวนการดูแลตนเองให้ถึงพร้อมในทุกด้าน โดยจะต้องมีภาวะด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้ มีการตระหนักถึงคุณภาพชีวิต ที่ดี เตรียมใจให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ มีความเชื่อและศรัทธาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการ ดาเนินชีวิต เป็นผู้มีประสบการณ์มีความรู้ความสามารถ เป็นผู้นาทางความคิดยึดถือ ในศีลธรรมอย่าง เคร่งครัด เอื้ออาทรแก่คนรอบข้าง ทางานเพื่อชุมชนหรือสังคม เป็นการทาคุณงามความดีและทาประโยชน์ ให้แก่ส่วนรวมสิ่งเหล่านี้ล้วนนาไปสู่ชีวิตที่มีคุณภาพในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ในบั้นปลายชีวิต ป๎จจัยที่ส่งผล ต่อการเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุขและประสบความสาเร็จตามทัศนะของผู้สูงอายุได้แก่ การมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี มีความมั่นคงในการดาเนินชีวิต การได้รับการยอมรับจากสังคม และการมีพื้นที่ทาง สังคมที่ส่งเสริมให้เกิดความมีตัวตนและความมีคุณค่าของผู้สูงอายุ และใช้กิจกรรมทางสังคมเป็นแหล่งที่ ทาให้เกิดความผูกพันของการมารวมกลุ่มกัน อันสะท้อนให้เห็นถึงการรับรู้ในศักยภาพของผู้สูงอายุเอง (เพื่อนใจ รัตตากร, 2549) ซึ่งสอดคล้องกับ SOC Model ของ Baltes ที่ใช้หลักพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติ ของผู้ สู งอายุ คื อ ผู้ สู งอายุ ในแต่ ละกลุ่ มมี ความแตกต่ างกั นมากตั้ งแต่ ผู้ สู งอายุ ที่ แข็ งแรงมี ศั กยภาพ (optimal) จนถึงกลุ่มที่เจ็บปุวย ผู้สูงอายุมีกาลังสารองแฝง (latent reserve) มากพอ ที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ และฝึกฝนทักษะถ้าได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม การสูญเสียหน้าที่ตามวัยอาจใกล้เคียงกับกาลังสารองที่มี


42

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

ควรเลือกทากิจกรรมให้น้อยลงแต่ทาให้เต็มที่ตราบใดถ้าไม่เหนื่อยล้าฝึกฝนความจาด้วยการใช้เทคนิควิธี ต่างๆ ในการช่วยจา ผู้สูงอายุมีความยืดหยุ่นในตนเอง สามารถปรับตัวกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ แม้ว่าความ สมดุลระหว่างสิ่ งที่ได้ (gains) และสิ่ งที่สู ญเสี ย (losses) อาจน้อยลง แต่ภูมิป๎ญญาและศักดิ์ศรีมักจะ ปรากฏให้เห็นและใช้การมองโลกอย่างยืดหยุ่นและเข้าใจโลกความหยุ่นตัวเป็นบุคลิกภาพด้านบวกที่ช่วย ดูดซับด้านลบของความเครียดและส่งเสริมให้บุคคลปรับตัวได้ดี Wagnald (2013) อ้างใน พรทิพย์ (2550) สรุปลักษณะแนวคิดของความหยุ่นตัวออกเป็น 5 ประการ คือ 1) ความสงบใจ (Equanimity) คือความ สมดุลของใจและทั ศนะในการมองชี วิต 2) การมีจุ ดมุ่ งหมายของชี วิ ต (Meaningfulness) 3) ความ อุตสาหะพากเพียร (Perseverance) คือ ความสามารถในการมุ่งกระทาสิ่งต่างๆไปข้างหน้า ทั้งๆที่อาจจะ เคยล้มเหลวมาก่อน 4) ดารงอยู่อย่างเอกเทศได้ (Existential aloneness) คือการยอมรับวิถีชีวิตที่เป็น เอกลั กษณ์ของแต่ละบุ คคล 5) พึ่งตนเองได้ (Self–reliance) คือเชื่อในความสามารถของตนเองและ พึ่งตนเองได้ การทานายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุนั้นมีได้หลายองค์ประกอบ การรับรู้การช่วยเหลือ จากครอบครัว เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งจากป๎จจัยภายนอก ซึ่งเป็นการรับรู้จากผู้สูงอายุแต่ยังมี องค์ประกอบที่สาคัญอีกประการหนึ่ง คือ ป๎จจัยภายใน ซึ่งอยู่ภายในตัวผู้สูงอายุ ได้แก่ การที่มีสุขภาพ กาย สุขภาพจิตดี ด้านอารมณ์สังคมดี มีการมองโลกในแง่บวกซึ่งอาจจะทาให้ผู้สูงอายุ มีความผาสุก ทางใจที่แท้จริง ถ้าได้มีครบทั้ งป๎จจัยภายนอกและป๎จจัยภายใน ก็จะทาให้ครบสมบูรณ์ที่จะทานาย ความผาสุ ก ทางใจของผู้ สู งอายุ ไ ด้ เ พิ่ ม มากขึ้ น ทั้ ง ที่ อ ยู่ ในศู น ย์ บ ริ ก ารสาธารณสุ ข และไม่ ไ ด้ อ ยู่ ใ น ศูนย์บริการสาธารณสุข ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้ 1. นาข้อมูลที่ได้จากป๎จจัยการรับรู้การช่วยเหลือจากครอบครัวที่ทาให้ผู้สูงอายุมีความผาสุก ทางใจไปเผยแพร่ให้ ศูน ย์ บริ การสาธารณสุ ขในกรุงเทพฯเพื่อการนาเสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ ที่ ทางานกับผู้สูงอายุด้วยวิธีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการบริการแก่ชุมชนและสังคม ต่อไป 2. ผลการวิจัยที่ได้ควรนาเสนอเป็นแนวทางให้กับบุคลากรทีมงานสุขภาพด้านสาธารณสุข ซึ่งเป็นผู้ดูแลและให้คาแนะนาแก่ผู้สูงอายุตลอดจนบุคคลในครอบครัวของผู้สูงอายุ เพื่อจะได้ ใช้เป็น แนวทางประเมินความผาสุกทางใจและวางแผนในการดูแลผู้สูงอายุต่อไป ข้อเสนอแนะในการทาวิจัยต่อไป 1. ในการทาวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาวิจัยทั้ง ป๎จจัยภายนอกและป๎จจัยภายใน เช่น สุขภาพจิต สุขภาพกาย การมองโลกในแง่ดี การเห็นคุณค่าในตนเอง ฯลฯ ของตัวผู้สูงอายุไปพร้อมๆ กันที่จะส่งผลต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ 2. ควรจะมีการทาการวิจัยกับผู้ สูงอายุในศูนย์บริการสาธารณสุข อื่นๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ในภูมิภาคทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคอีสาน เป็นต้น


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

43

3. ควรศึกษาถึงป๎จจัยที่เกี่ยวข้องกับความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ ในกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ ตามบ้านหรือกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน และในชนบทเพื่อได้แนวทางในการส่งเสริมให้เป็นผู้สูงอายุ ที่มี ความผาสุกทางใจต่อไป 4. ควรศึกษากลุ่มผู้สูงอายุแยกเฉพาะที่มีความผาสุกทางใจอยู่ในระดับสูง เพื่อศึกษาเป็นราย กรณี เน้นการทาวิจัยเชิงคุณภาพแบบเจาะลึกเพื่อศึกษาดูคุณลักษณะของการเป็นผู้สูงอายุที่มีความ ผาสุกทางใจแล้วใช้เป็นแนวทางในการวางแผนในการดูแลผู้สูงอายุต่อไป เอกสารอ้างอิง จิราพร เกศพิชญวัฒนา, และคณะ. (2543). ความผาสุขทางใจของผู้สูงอายุไทย. วารสารพฤฒาวิทยา และเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 1(3). 15-20. จันทร์ เพ็ญ แสงเทียนฉาย, จิ ราพร เกศพิชญวัฒนา และ ยุพิน อังสุ โรจน์. (2544). ความสัมพันธ์ ระหว่างการช่วยเหลือเกื้อหนุนในครอบครัวกับความสุขทางใจของผู้สูงอายุไทย. วารสาร ประชากรศาสตร์. ประเวศ วะสี. (2537). การพัฒนาการศึกษาในอนาคต ในแนวทางการพัฒนาการศึกษาในอนาคต. กรุงเทพฯ : สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. ป๎ญญภัทร ภัทรกัณทากุล. (2544). การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พรทิพย์ ราชภัณฑ์. (2550). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทาง สังคมพฤติ กรรมการออกกาลังกายของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจวาย/พรทิพย์ ราชภัณฑ์ . มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พนิตนันท์ โชติกเจริญสุข. (2545). กิจกรรมทางกายกับความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เพื่อนใจ รัตตากร. (2549). วิธีคิดของผู้สูงอายุและภาพลักษณ์ของการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสาเร็จ. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2555). รายงานประจาปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : ที คิว พี. ยุพิน อังสุโรจน์ และคณะ. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างการช่วยเหลือเกื้อหนุนในครอบครัวกับความสุขทาง ใจของผู้สูงอายุไทย. วารสารประชากรศาสตร์, 17(2), 1-18. ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์ และคณะ. (2537). ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมความพึง พอใจในชีวิตและภาวะสุขภาพกับสมรรถนะแห่งตนหลังเกษียณอายุ. วารสารพยาบาล, 4,50–60. วริศรา ใจเปี่ยม. (2556). รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการเป็น ผู้สูงอายุที่ประสบความสาเร็จในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล. ดุษฏีนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2544). สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สานักงานสถิติแห่งชาติ. (2550). ข้อมูลสถิติและประชากรไทย/งานวิเคราะห์และพยากรณ์สถิติเชิงสังคม. กรุงเทพฯ : สานักสถิติพยากรณ์ สานักงานสถิติแห่งชาติ.


44

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

อาภากร ชัยสุริยา. (2543). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพอใจของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา บ้านบางแค/อาภากร ชัยสุริยา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. อารีย์ ฟองเพชร. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การสนับสนุนจากครอบครัวกับ แบบแผนการดาเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คลินิกโรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Borrow and Smith. (1979). Aging and Ageism and Society. St. Paul : West Publishing, Company. Cohen, S., & Wills, T.A. (1985). Stress, social support, and the buffering hypothesis. Psychological Bulletin, 98, 310-357. Cobb, S. (1976). Social support as a moderation of life stress. Psychomatic Medicine 38 (September-October 1976) : 300-313. Davis, J. A., T. W. Smith, and P. V. Marsden. 2003. General Social Surveys: 1972–2002 Cumulative Codebook. Chicago: University of Chicago, National Opinion Research Center. Ebersole, P., & Hess, P. (1994). Mental health and cognition, in Toward healthy aging: Human needs and nursing response (4th ed.). Toronto: C.V. Mosby, pp. 622–629. Heidrich, S.M., & Ryff, C.D. (1993). The role of social comparison processes in the psychological adaptation of the elderly. Journal of Gerontology: Psychological Sciences, 48, 127-P136. Hubbard, P., Muhlenkamp, A. F., & Brown, N. (1984). The relationship between social support and self-care practices. Nursing Research, 33. Keyes Shmotkin & Ryff. (2002). Happiness in the Face of Adversity: Reformulating the Dynamic and Modular Bases of Subjective Well-Being. Muhlenkamp and Salyes (1986) Self esteem, social support and positive health practice. Nursing Research, 35(6), 334-386 Ryff, C. D. (1989). Happiness is everything, or is it? Explorations on the meaning of psychological well-being. Journal of Personality and Social Psychology, 57, 1069-1081. doi:10.1037/0022-3514.57.6.1069 Tilden, V. P. Issue of conceptualization and measurement of social support in the construction of nursing theory. Research in Nursing and Health 8 (June 1985): 199-206 Weiss, R. (1974). The provisions of social relationships. In Z. Rubin (Ed.), Doing unto others (pp. 17-26). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall. …………………………………………………..


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

45

รูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ A Model of Caring for Chronic Illness Patients by Buddhist Integration1 2 พระปลัดสมชาย ปโยโค (ดาเนิน) พระสุธีธรรมานุวัตร (เทียบ สิริ าโณ) พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น)3 อุทัย สุดสุข4 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและวิธีการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรัง ตามหลักการแพทย์แผนป๎จจุบันและสภาพป๎ญหาวิธีการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษา แนวคิดและวิธีการดูแลผู้ปุวยตามหลักพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่ อนาเสนอรูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรค เรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการที่มีผลต่อระดับคุณภาพชีวิต และระดับความซึมเศร้าของผู้ปุวย ใช้วิธีวิจัยแบบ ผสมวิธี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยที่วิธีการเชิงคุณภาพนั้น ศึกษา แนวคิดและวิธีปฏิบัติดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังจากคัมภีร์พระพุทธศาสนา และการแพทย์แผนป๎จจุบัน สาหรับ วิธีการเชิงปริมาณได้ใช้การวิจัยเชิงทดลองและได้กาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในศึกษาจากผู้ปุวยที่มีอายุ 18-70 ปี ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี จานวน 100 คนที่สมัครใจ เข้าร่วมโครงการบาบัดด้วยธรรมปฏิบัติ เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดธรรมปฏิบัติ 3 ส 3 อ 1 น แบบชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย และแบบประเมินสภาวะอารมณ์ สาหรับการวิเคราะห์ผลการวิจัย ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสาหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิง ปริมาณโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ ทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) โรคเรื้อรัง คือ โรคที่มีการดาเนินโรคยาวนานและค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงมากขึ้น เป็นความ บกพร่อง หรือเบี่ยงเบนจากปกติที่มีลักษณะของการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นไม่ สามารถกลับคืนสู่ปกติ แนวทางการรักษาผู้ปุวยโรคเรื้อรัง ได้แก่ การใช้ยาในการรักษา การใช้แพทย์ ทางเลือก และการควบคุมอาหาร และวิธีการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังในสังคมไทย คือการพัฒนาระบบการ ให้การบริการ ส่งเสริมการดูแลตนเอง การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ การส่งเสริมสุขบัญญัติในการดูแล ตนเอง การจัดการป๎ญหาภาวะความซึมเศร้าในผู้ปุวยโรคเรื้อรัง 2) แนวคิดและวิธีการดูแลผู้ปุวยตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ได้ใช้การรักษามีวิธีการที่แตกต่าง กันตามลักษณะต่างๆ มุ่งเน้นให้เกิดความสมดุลทางร่างกาย เช่น การรักษาโดยใช้ตัวยา การใช้ธรรมะใน การรักษาโรค การรักษาอาการปุวยด้วยการปฏิบัติกรรมฐาน การควบคุมการรับประทานอาหาร หมั่น เดินออกกาลังกาย และหมั่นประพฤติธรรม ซึ่งหลักการเหล่านี้สามารถควบคุมโรคได้ 1

นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., คณบดีคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 3 ดร., ผู้อานวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 4 นายแพทย์ ดร., ข้าราชการบานาญ กระทรวงสาธารณสุข 2


46

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

3) รูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ ประกอบด้วย C (Chanting) การสวดมนต์ M (Meditation) การปฏิบัติสมาธิ D (Dhamma Discussion) การสนทนาธรรม E (Eating) การรับประทาน อาหาร E (Exercise) การออกกาลังกาย E (Emotional Control) การควบคุมอารมณ์และ D (Daily Life Activity Around The Clock) การปฏิบัติตนตามวงรอบของชีวิตประจาวัน หรือ เรียกว่า “CMDEEED” ซึ่ง รูปแบบการดูแลรักษาที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นการบูรณาการเชิงพุทธร่วมกับวิธีการดูแลรักษาทางการแพทย์แผน ป๎จจุบัน และจะมุ่งเน้นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลัก และผลการนารูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรัง เชิงพุทธบูรณาการไปทดลองใช้ พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ปุวยโรคเรื้อรังของกลุ่มทดลองที่ได้รับการ ส่งเสริมสุขภาพด้วยธรรมปฏิบัติ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ โดยที่คุณภาพชีวิต โดยรวมมีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพชีวิตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และระดับความซึมเศร้าของกลุ่มตัวอย่างผู้ปุวยโรคเรื้อรังกลุ่มทดลองก่อนและหลังการศึกษา พบว่า หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยของภาวะความซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คาสาคัญ: การดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรัง พุทธบูรณาการ Abstract The purposes of this research were 1) to study concept and the method of caring for chronic illness patients following the medical current method and to study problem based method of caring chronic illness patients in Thai society, 2) to study concept and the method of caring chronic illness patients following Buddhist principles, 3) to propose a model of caring for chronic illness patients by Buddhism integrated that affects the quality of life and depression of the patient. Mixed methods research was used in this research by using quantitative method to extend qualitative results. Qualitative method was used to study concept and the method of chronic illness patients caring from Buddhist scripture and the medical current method. Experimental Research was used as a quantitative method and the sampling of this study was 18 to 70 years old people, who had attended the treatment at Makarak hospital, Kanchanaburi Province. Volunteering sampling was used and 100 patients who prefer to attend the program. The research instruments were Dhamma practice package, indicator form of World Health Organization in Thai version (WHOQOL-BREF–THAI), the Thai depression inventory. Content analysis was used for qualitative data and descriptive statistics and ttest using SPSS were used for quantitative analysis. The research results were found as follows. 1) Chronic illness was the disease that has long term effect and increase level of effect because it was the defectiveness or had permanent changing to the patient’s body. Methods of caring chronic illness patients were to use medicine, alternative medicine, and having dietetic food. In Thai context, the methods of caring chronic illness


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

47

patients were to develop health service system to encourage self-caring, to develop health behavior, to promote self-health care and to manage depression effect in chronic illness patients. 2) For the concept and Buddhist method of caring chronic illness patients, many different methods were used and focus on making their body balance by using medical treatment, Dhamma treatment, meditation treatment, having dietetic food, exercise regularly, and behave in Dhamma action. These methods were able to control the illness effects. 3) A model of caring chronic illness patients by using integrated Buddhism was consisted of C (Chanting), M (Meditation), D (Dhamma discussion), E (Eating), E (Exercise), E (Emotional control) and D (Daily life activity around the clock) and was called “CMDEEED”. This caring model was integrated by using Buddhist and medical current methods and was led by using Buddhist activities. The results of using the model indicated that experiment group and control group had shown significant difference in quality of life levels and experiment group had higher score than control group at .05 significant level. For the level of depression after experiment, the experiment group had shown decreasing of level of depression at .01 significant level. Keyword: Caring chronic illness, Buddhist integration ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา สถานการณ์ของโรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ป๎จจุบัน พบว่า สาเหตุการตายส่วนใหญ่ของ คนไทย เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มากถึงร้อยละ 60 เช่น เบาหวาน ความดันโลหิ ตสู ง โรคหั วใจ โรคมะเร็ง เป็นต้น และมีการรายงานถึงสาเหตุของการเสียชีวิตของประชาชนในโลก ร้อยละ 63 ของ ประชากร 57 ล้าน มีประชาชน 36 ล้านคนถูกบันทึกว่าเสียชีวิตจากโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจ และ โรคเบาหวาน มะเร็ง และโรคเรื้อรังทางเดินหายใจ เป็นต้น สาเหตุหลักของโรคส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เกิด จากพฤติกรรมจากขาดการออกกาลังกาย น้าหนักตัวเกิน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า รับประทานอาหารไม่ เหมาะสม เช่น อาหารหวาน มัน เค็ม กินผักน้อยลง (WHO, 2011: 5, สุพัตรา ศรีวณิชชากร, 2555: 5) นอกจากนี้ผู้ปุวยในบางพื้นที่ของประเทศยังขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการที่มีมาตรฐานที่ควรจะได้รับ ตามสิทธิ์ ทั้งนี้เนื่องมาจากการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะทีมบริการเฉพาะโรค การ ขาดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา การกระจุกตัวของแพทย์ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ การขาดอุปกรณ์ ในการตรวจคัดกรองหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจรักษา (ราม รังสินธุ์ และคณะ, 2554: 1) โรคเรื้อรัง กาลังเป็นภาพตัวแทนของความน่ากลัวที่เกิดขึ้นในโลกยุคใหม่ เนื่องจากป๎ญหาสุขภาพเรื้อรังต่างๆ มัก เกิดขึ้นร่วมกัน ซึ่งผู้ปุวยต้องมีบทบาทอย่างมากในการเรียนรู้และร่วมดูแลรักษาตนเอง ตลอดจนการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี ก่อให้เกิดป๎ญหาหลายประการตามมา (ทวี ตั้งเสรีและคณะ, 2551: 1, ประชาธิป กะทา, 2551: 129) นอกจากนี้ โรคเรื้อรังเป็นการเจ็บปุวยที่เป็นเงื่อนไขสาคัญที่ส่งผลต่อการรักษาที่ยาวยาวนาน หากได้รับ


48

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

การดูแลรักษา อย่างเหมาะสมต่อเนื่องจะทาให้ผู้ปุวยมีอาการทุเลาและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในทาง ตรงกันข้ามหากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ดีพอและผู้ปุวยไม่สามารถดูแลตนเองได้ อาการก็จะรุนแรง มี ภาวะแทรกซ้อน นาไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (Snoddon, J., 2010: 6, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2552: 3) พุทธศาสนาก็ให้ความสาคัญของการเจ็บปุวย โดยสอนให้เห็นความเกิดขึ้นของป๎ญหาโรคภัยต่างๆ ให้รู้จักตัวป๎ญหาที่เกิดจากอาการเจ็บปุวยนั้นคือป๎ญหาที่ต้องกาจัดออกไป (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539 เล่มที่ 4: 21) พิจารณาความเจ็บปุวยเป็นของธรรมดาทุกคน เมื่อเกิด การเจ็บปุวยขึ้นจะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ อย่ารังเกียจคนไข้ (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย, 2539 เล่มที่ 20: 200) หลักธรรมและพิธีกรรมต่างๆ ทางพระพุทธศาสนาได้รับความ สนใจและถูกนามาประยุกต์ใช้กับผู้ปุวยมากขึ้น หรือเกิดการช่วยเหลือผู้ปุวยด้วยวิธีพุทธแบบบูรณาการ เพราะไม่มีศาสตร์การแพทย์แผนใดๆ ในโลก ที่จะดูแลผู้ปุวยได้ทุกโรค แต่ละศาสตร์ทางการแพทย์นั้นยังมี จุดอ่อนที่ยังไม่สมบูรณ์ เพื่อเป็นการเชื่อมต่อระหว่างการรักษาดูแลผู้ปุวยกับผู้ปุวยที่ให้ทั้งการรักษาและ สุขสบายทางกายและทางใจ ดังจะเห็นได้จากที่กระทรวงสาธารณสุขได้ดาเนินการแนวทางการดูแลสุขภาพ ที่ส่งเสริมให้ผู้ปุวยได้ปฏิบัติในการดูแลตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ปูองกัน ควบคุมโรค และฟื้นฟู สมรรถภาพของผู้ปุวย โดยการบูรณาการหลักพุทธธรรม หลักการแพทย์ การสาธารณสุข เข้ากับวิถี ชีวิตประจาวันของประชาชน เพราะว่าการบูรณาการเป็นการผสมผสานหลายวิธี สามารถช่วยเหลือ ชาวบ้านให้รู้ทางเลือกในการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างมีสาระและคุ้มค่าอย่างมีคุณภาพ (อุทัย สุดสุข และคณะ, 2554: 34-37, นิวัฒน์ ศิตลักษณ์ และคณะ, 2554: 16) จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า “เวลาสวดมนต์จะทาให้รู้สึกชุ่มชื่นเบิกบานใจส่งผลให้จิตใจสงบ ผ่อนคลายความวิตกกังวล รู้สึกเป็นสุข สงบเป็นการทาสมาธิเบื้องต้นที่สามารถช่วยให้ผู้สวดนั้นมีจิตใจที่ผ่อนคลาย สงบลดความวิตกกังวลและใน ขณะที่กาลังสวดมนต์ไหว้พระจิตใจของผู้สวดมนต์จะแน่วแน่อยู่กับคาสวดมนต์จึงทาให้เกิดสมาธิขึ้นขณะที่ จิตมีสมาธิร่างกายจะหลั่งสารเอนดอร์ฟินออกมาในร่างกายมากขึ้นก่อให้เกิดความสุขซึมซาบทั่วไปใน ร่างกายหรือมีความสุขทั้งเนื้อทั้งตัวส่งผลช่วยลดความวิตกกังวล” (พรทิพย์ ปุกหุตและทิตยา พุฒิคามิน, 2555: 122-130) “ธรรมปฏิบัติ คือ การสวดมนต์ การทาสมาธิ หรือ การสวดมนต์ร่วมกับการทาสมาธิ สามารถลดอาการซึมเศร้าจากความเครียด และเพิ่มคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกายได้อย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติตามลาดับ” (จุฑามาศ วารีแสงทิพย์, 2552) “การใช้ธรรมโอสถในการดูแลสุขภาพ การใช้สมาธิบาบัด การฟ๎งและพิจารณาธรรม มีผลทาให้เกิดความสงบผ่อนคลายทางกายและใจส่งผลให้โรคหายได้ ธรรมโอสถ จึงมีผลต่อการรักษาโรค” (สิริรัตน์ จันทรมะโน และ เจนระวี สว่างอารีย์รักษ์, 2554: 57-58) จากการทบทวนวรรณกรรมแสดงให้เห็นว่า หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และหลักคาสอน ในพระพุทธศาสนาสามารถนามาบูรณาการในการดูแลผู้ปุวยได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่ จะศึกษาวิเคราะห์แนวคิดและวิธีการของพุทธศาสนา ที่จะช่วยสะท้อนมุมมองชีวิต การเจ็บปุวย ความ ตาย ตลอดถึงการแสดงบทบาท หน้าที่ในการดูแลผู้ปุวยเรื้อรังทั้งในสมัยพุทธกาลที่ปรากฏในคัมภีร์ พระไตรปิฎก เช่น กรณีพระพุทธองค์ทรงดูแลผู้ปุวยด้วยพระองค์เอง และการช่วยเหลือผู้ปุวยโรค เรื้อรังในบริบทสังคมไทยในอดีตและป๎จจุบัน โดยที่ผู้วิจัยมีความเชื่อว่าองค์ความรู้ในพระพุทธศาสนา จะช่วยเป็นฐานแนวคิดเชิงบูรณาการเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี สามารถนาไปใช้ในการดูแล ผู้ปุวยโรคเรื้อรังในสังคมไทยป๎จจุบันและในอนาคตต่อไป


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

49

วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาแนวคิดและวิธีการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังตามหลักการแพทย์แผนป๎จจุบันและ สภาพป๎ญหาวิธีการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังในสังคมไทย 2. เพื่อศึกษาแนวคิดและวิธีการดูแลผู้ปุวยตามหลักพระพุทธศาสนา 3. เพื่อนาเสนอรูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการที่มีผลต่อระดับคุณภาพชีวิต และระดับความซึมเศร้าของผู้ปุวย นิยามศัพท์ปฏิบัติการ 1. รูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรัง หมายถึง วิธีการดูแลผู้ปุวยที่สร้างขึ้นมาเพื่อดูแลผู้ปุวย โรคเรื้อรัง โดยในการวิจัยครั้งนี้ หมายถึง การดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังด้วยเทคนิค 3 ส 3 อ 1 น ซึ่งเป็น การผสมผสานการดูแลผู้ปุวยระหว่างวิธีทางพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ 3 ส 3 อ 1 น หมายถึง กระบวนการในการดูแลผู้ปุวยที่บูรณาการการดูแลรักษาระหว่าง พระพุทธศาสนากับวิทยาการทางการแพทย์ 3 ส ประกอบด้วย การสวดมนต์ การปฏิบัติสมาธิ การ สนทนาธรรม 3 อ ประกอบด้วย การรับประทานอาหาร การออกกาลังกาย การควบคุมอารมณ์ 1 น การปฏิบัติกิจวัตรประจาวันตามนาฬิกาชีวิต 2. ผู้ปุวยโรคเรื้อรัง หมายถึง ผู้ปุวยที่ได้รับการดูแลรักษาติดต่อกันเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ 3 เดือน ขึ้นไป เช่น ผู้ปุวยโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง เป็ น ต้น ในการวิจั ย ครั้ ง นี้ หมายถึง ผู้ ที่ปุ ว ยด้ว ยกลุ่ ม โรคเรื้ อ รัง ที่ ต้ องเฝู าระวั งตามนโยบายของ กระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และ โรคหลอดเลือดสมอง 3. การดูแลรักษาผู้ปุวยโรคเรื้อรัง หมายถึง การให้การดูแลเอาใจใส่ โดยมีจุดมุ่งหมายในการ เพิ่มคุณภาพชีวิตและการลดความเครียดของผู้ปุวยซึ่งกาลังเผชิญหน้ากับป๎ญหาที่กาลังคุกคามต่อชีวิต โดยการประเมินอาการและวางแผนในการดูแลรักษาทั้งในแง่อาการปวดหรืออาการข้างเคียงอื่นๆ ใน มิติทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ 4. พุทธบูรณาการ หมายถึง การนาเอาแนวคิดหลักปฏิบัติและหลักธรรมคาสอนทาง พระพุทธศาสนา มาปรับประยุกต์ใช้เป็นฐานของแนวคิด กิจกรรมและวิถีปฏิบัติเพื่อเติมเต็มและช่วย แก้ไขป๎ญหาการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรัง ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ หมายถึง พุทธวิธีการดูแลผู้ปุวย คือ การสวด มนต์ การทาสมาธิ และ การสนทนาธรรม ผสมสานกับการดูแลทางการแพทย์ การบาบัด การควบคุม อาหาร การออกกาลังกาย การควบคุมอารมณ์ ทางจิต และการปฏิบัติตามวงรอบของชีวิตประจาวัน อย่างเหมาะสม


50

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

สมมติฐานการวิจัย 1. กลุ่มทดลองมีระดับคุณภาพชีวิตสูงขึ้นหลังจากได้ใช้กระบวนการรักษาแบบพุทธบูรณาการ 2. กลุ่มทดลองมีระดับความซึมเศร้าลดลงหลังจากได้ใช้กระบวนการรักษาแบบพุทธบูรณาการ วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิง ปริมาณเพื่อขยายผลวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งวิธีดาเนินการวิจัยออกเป็นเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ใช้แนวทางวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) ในการศึกษา 1) การดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังตาม หลักการแพทย์แผนป๎จจุบันและวิธีการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังในสังคมไทย 2) พุทธธรรมกับการบูรณาการ การดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรัง และ 3) สังเคราะห์เกี่ยวกับการบูรณาการการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังตามหลักการ แพทย์แผนป๎จจุบันและพระพุทธศาสนา โดยผลการวิจัยเชิงคุณภาพจะทาให้ได้กระบวนการรักษาแบบ พุทธบูรณาการ ที่ประกอบด้วย กิจกรรม 3 ส 3 อ 1 น และระยะที่ 2 ใช้แนวทางวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) ในการทดลองใช้รูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ โดยผล การศึกษาสามารถวัดได้จากระดับคุณภาพชีวิต และระดับความซึมเศร้าของกลุ่มตัวอย่างทั้งที่เป็นกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1) ประชากร ได้แก่ ผู้ปุวยที่เข้ารับการบริการในโรงพยาบาลมะการักษ์ อาเภอท่ามะกา จังหวัด กาญจนบุรี ในปี พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นข้อมูลการคัดกรองจากกลุ่มผู้ปุวยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคถุงลมโปุงพอง และโรคหัวใจ มีจานวนรวมทั้งสิ้น 8,202 คน 2) กลุ่มตัวอย่างเลือกจากคุณสมบัติผู้ปุวยตามกาหนดในขอบเขตเบื้องต้นที่อยู่ในการดูแลอย่าง ต่อเนื่องของโรงพยาบาลมะการักษ์ อาเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีคุณสมบัติ คือ ไม่มีข้อจากัด ในการสื่อสาร มีผู้ปุวยสมัครใจเข้าร่วมโครงการ จานวน 2 กลุ่ม ดังนี้ (1) กลุ่มควบคุม จานวน 50 คน เป็นผู้ปุวยที่เข้ารับการรักษาตามปกติที่โรงพยาบาล มะการักษ์ แต่ไม่สะดวกที่จะเข้ารับการอบรมนอกสถานที่ (2) กลุ่มทดลอง จานวน 50 คน เป็นผู้ปุวยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมะกา รักษ์ สมัครใจเข้ารับส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้วยรูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการที่ค่าย สุขภาพดี วิถีพุทธ สานักศึกษาและปฏิบัติธรรมพระพุทธิวงศมุนี ตาบลวังกระแจะ อาเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

51

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ชุดธรรมปฏิบัติ 3 ส 3 อ 1 น 2) แบบชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF–THAI) (ผู้วิจัยขออนุญาตจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข) 3) แบบประเมินสภาวะอารมณ์ (TDI) (ผู้วิจัยขออนุญาตจากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะ แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี) การวิเคราะห์ผลการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติการเจ็บปุวยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ เปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนการส่งเสริมสุขภาพด้วยรูปแบบ การดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการโดยใช้ Independent-sample t-test และเปรียบเทียบ ระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการส่งเสริมสุขภาพด้วยธรรมปฏิบัติโดยใช้ PairedSamples t-test การพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยนี้ ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัย โดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เลขที่ ว.01/2556 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2556 ผู้วิจัยได้พิทักษ์สิทธิกลุ่ม ตัวอย่าง โดยชี้แจงรายละเอียดของโครงการวิจัย กลุ่มตัวอย่างลงนามยินยอมเข้าร่วมโครงการด้วยความ สมัครใจและสามารถปฏิเสธการเข้าร่วมโครงการหรือจะยุติการเข้าร่วมโครงการเมื่อไรก็ได้ สรุปผลการวิจัย การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในตอนนี้ ผู้วิจัยนาเสนอสาระจากวิธีการเชิงคุณภาพและเชิง ปริมาณ แยกตามวัตถุประสงค์การวิจัยเป็น 3 ด้าน คือ 1) แนวคิดและวิธีการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบันและสภาพ ปัญหาวิธีการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังในสังคมไทย สรุปได้ว่า โรคเรื้อรัง คือ โรคที่มีการดาเนินโรคยาวนานและค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงมากขึ้นโรค เรื้อรังเป็นโรคที่ใช้ระยะเวลานานและความก้าวหน้าช้า โดยทั่วไปเป็นโรคที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการ ดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานติดต่อกันเกิน 3 เดือน เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุด โรคบางชนิดมีส่วนสัมพันธ์กันที่จะทาให้เกิดการเสียชีวิต ประกอบด้วย โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้ หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมได้ด้วยการใช้ยาและการรักษาอื่นๆ ผลกระทบของความเจ็บปุวยเรื้อรังที่ เกิดขึ้น นอกจากจะเกิดขึ้นโดยตรงที่ตัวผู้ปุวยแล้วยังส่งผลกระทบเจ็บปุวยเรื้อรังต่อครอบครัว จึงได้มีการ พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรัง ประกอบไปด้วย การพัฒนาระบบการให้การบริการ ส่งเสริมการ ดูแลตนเอง การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ การส่งเสริมสุขบัญญัติในการดูแลตนเอง การจัดการป๎ญหา 

ได้รับการอนุญาตตามหนังสือราชการที่ สธ 0810.103/3761 ลงวันที่ 24 กันยายน 2555. ได้รับการอนุญาตตามหนังสือราชการที่ สธ 0517.065/1313 ลงวันที่ 25 กันยายน 2555.




52

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

ภาวะความซึมเศร้าในผู้ปุวยโรคเรื้อรัง และการพัฒนาเครื่องมือในการดูแลรักษาผู้ปุวยโรคเรื้อรัง เพื่อส่ง ต่อผู้ปุวยสู่ครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดาเนินชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข 2) แนวคิดและวิธีการดูแลผู้ปุวยตามหลักพระพุทธศาสนา สรุปได้ว่า ผู้ปุวยในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง บุคคลที่เกิดความทุกข์จากการเจ็บปุวยเข้า ครอบงา ทาให้บุคคลนั้นเกิดความทุกข์กาย หรือทุกข์ใจ หรือทุกข์ทั้งร่างกายและจิตใจ ประกอบด้วย (1) โรคทางกาย หมายถึง การเจ็บปุวยทางกาย ได้แก่ โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่เกิดกับอวัยวะของร่างกาย หรือ เกิดจากบาดแผล เกิดจากความผิดปกติในร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง (แสง จันทร์งาม, 2544: 267) ตลอดจนทาให้อวัยวะที่สัมพันธ์กับอวัยวะที่เกิดโรคนั้นๆ ได้รับผลกระทบไปด้วย และ (2) โรคทางใจ หมายถึง โรคที่เกิดทางใจ เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความ อาลัยอาวรณ์ เป็นต้น โรคที่เกิดทางกายเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของมนุษย์ ทั้งที่เป็น อวัยวะภายใน และอวัยวะภายนอก ส่งผลให้ได้รับความลาบากในการดาเนินชีวิต ไม่สามารถดาเนินชีวิต ได้ตามปกติ มีความกังวลต่อการรักษาที่ใช้ระยะเวลาในการรักษา หรือ ความเบื่อหน่ายต่อโรคที่เกิดขึ้น ไม่อยากรักษาต่อไป ปล่อยให้โรคกาเริบและเสียชีวิตในที่สุด การรักษามีวิธีการที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะต่างๆ มุ่งเน้นให้เกิดความสมดุลทางร่างกาย เช่น การรักษาโดยใช้ตัวยา การใช้ธรรมะในการรักษาโรค การรักษาอาการปุวยด้วยการปฏิบัติกรรมฐาน การควบคุมการรับประทานอาหาร หมั่นเดินออกกาลังกาย และหมั่นประพฤติธรรม เป็นต้น ซึ่งหลักการ เหล่านี้สามารถควบคุมโรคได้ นอกจากนี้ถ้าหากไม่หมั่นประพฤติ โรคต่าง ๆ ก็จะสามารถกาเริบได้ 3) รูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ จากการศึกษาด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ พบว่า รูปแบบใหม่หรือองค์ความรู้ใหม่ที่ได้ เป็นวิธีการ เชิงพุทธผสมกับการแพทย์ป๎จจุบัน ในกระบวนการปูองกันการเกิดโรค กระบวนการในการเยียวยา และ กระบวนการในการแก้ไขเมื่อเกิดโรค คือ “CMDEEED” ดังนี้ :C (Chanting) การสวดมนต์บูรณาการกับการดูแลรักษาในทางการแพทย์ M (Meditation) การปฏิบัติสมาธิ บูรณาการกับการดูแลรักษาในทางการแพทย์ D (Dhamma discussion) การสนทนาธรรมบูรณาการกับการดูแลรักษาในทางการแพทย์ E (Eating) การรับประทานอาหารบูรณาการกับการดูแลรักษาในทางการแพทย์ E (Exercise) การออกกาลังกาย บูรณาการกับการดูแลรักษาในทางการแพทย์ E (Emotional control) การควบคุมอารมณ์บูรณาการกับการดูแลรักษาในทางการแพทย์ D (Daily life activity around the clock) การปฏิบัติตนตามวงรอบของชีวิตประจาวันบูรณา การกับการดูแลรักษาในทางการแพทย์ ทากิจวัตรประจาวัน ด้วย 3 ส 3 อ ผสมผสานการเรียนรู้ มีวินัย ประจาตนอย่างมีดลุยภาพกับการทางานของอวัยวะสาคัญของร่างกายทาให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ สมบูรณ์และยั่งยืน โดยมีกิจวัตรประจาวันหมุนเวียนกันไปตามนาฬิกาชีวิต


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

53

สามารถสรุปนาเสนอรูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการได้ดังแผนภาพที่ 1

1. Chanting

2. Meditation

การสวดมนต์

การปฏิบตั ิสมาธิ

7. Daily life activity around the clock การปฏิบตั ติ นตาม วงรอบของ ชีวิตประจาวัน

3. Dhamma discussion การสนทนาธรรม

รูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรค เรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ

4. Eating การรับประทานอาหาร

6. Emotional control การควบคุมอารมณ์

5. Exercise การออกกาลังกาย

แผนภาพที่ 1 รูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ “CMDEEED” ผลจากการทดลองใช้รูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ จากการศึกษาด้วย วิธีการเชิงปริมาณ สรุปได้ว่า ระดับคุณภาพชีวิตและระดับความซึมเศร้าของผู้ปุวยโรคเรื้อรังของกลุ่ม ทดลองที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยรูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการพบว่า มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ รายละเอียดดังตารางที่ 1 และ 2 ตารางที่ 1 คุณภาพชีวิตกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลองของผู้ปุวยโรคเรื้อรังที่ได้รับการส่งเสริม สุขภาพด้วยด้วยรูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ คุณภาพชีวิตด้านต่างๆ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตโดยรวม

*p<0.01 **p< 0.05

ก่อนการศึกษา SD X 19.16 2.61 16.08 2.10 8.46 1.62 21.84 2.71 71.54 8.06

หลังการศึกษา SD X 23.44 2.10 19.84 2.19 9.98 1.20 26.66 2.83 87.54 7.20

p-value 0.11 0.02* 0.64 0.04* 0.00*


54

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

จากตารางที่ 1 พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการศึกษา โดยรวมพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีระดับคุณภาพชีวิตปานกลาง ก่อนการศึกษา มีค่าเฉลี่ ยของคะแนน 71.54 หลั งการศึกษามีค่าเฉลี่ ยของคะแนน 87.44 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ และด้านสิ่งแวดล้อม แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านร่างกายและด้านความสัมพันธ์ทางสังคม พบว่าไม่แตกต่างกัน ตารางที่ 2 แสดงระดับความซึมเศร้าของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการศึกษา คะแนน X ± SD ความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า จานวน (ร้อยละ) -ไม่มีภาวะซึมเศร้า -ภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย -ภาวะซึมเศร้าขั้นปานกลาง -ภาวะซึมเศร้าขั้นรุนแรง -ภาวะซึมเศร้าขั้นรุนแรงมาก

ก่อนการศึกษา 28.88± 5.10

หลังการศึกษา 23.32 ± 4.47

2 (4) 12 (24) 30 (60) 6 (12) 0

8 (16) 32 (64) 10 (20) 0 0

p-value 0.000*

*p<0.01 จากตารางที่ 2 พบว่า ระดับระดับความซึมเศร้าของกลุ่มตัวอย่างผู้ปุวยโรคเรื้อรังกลุ่มทดลองก่อน และหลังการศึกษา ค่าเฉลี่ยของภาวะความซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อเทียบ เป็นความรุนแรงของความซึมเศร้า พบว่า ผู้ปุวยไม่มีความซึมเศร้าเพิ่มขึ้น จาก ร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 16 ภาวะความซึมเศร้าปานกลางลดลงจากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 20 ภาวะความซึมเศร้าขั้นรุนแรงลดลงจาก ร้อยละ 12 เป็น 0 และไม่พบผู้ปุวยมีภาวะความซึมเศร้าขั้นรุนแรงมาก ทั้งก่อนและหลังการศึกษา อภิปรายผล การเสนอผลการอภิปรายผลการวิจัยในตอนนี้ ผู้ วิจัยแยกนาเสนอรวม 4 ประเด็น ตาม วัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ และคุณค่าและข้อจากัดของการวิจัย เป็นประเด็นที่ 4 ดังต่อไปนี้ 1) การอภิปรายผลการวิจัยด้านแนวคิดและวิธีการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังตามหลักการแพทย์ แผนปัจจุบันและและสภาพปัญหาวิธีการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังในสังคมไทย จากผลการวิเคราะห์พบว่า โรคเรื้อรัง คือ โรคที่มีการดาเนินโรคยาวนานและค่อยๆ เพิ่มความ รุนแรงมากขึ้น ต้องใช้ระยะเวลาในการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบของความเจ็บปุวยเรื้อรังที่ เกิดขึ้น นอกจากจะเกิดขึ้นโดยตรงที่ตัวผู้ปุวยแล้วยังส่งผลกระทบเจ็บปุวยเรื้อรังต่อครอบครัว ในวงการ แพทย์ทางตะวันตกได้พัฒนาการดูแลผู้ ปุ วยโรคเรื้อรัง จนได้แนวทางในการดูแลรักษา และได้นาไป ประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นการดู แ ลผู้ ปุ ว ยตามลั ก ษณะท้ อ งถิ่ น โดยการผสมผสานจากส่ ว นต่ า งๆ ที่ อ ยู่ ใ น สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดูแลผู้ปุวย เป็นการกระตุ้นให้ผู้ปุวยและผู้ที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกั บผู้ปุวย


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

55

มีความรู้ความสามารถ มีความตั้งใจ เอาใจใส่ต่อสุขภาพของตนเอง สามารถดาเนินชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคล อื่นได้อย่างมีความสุข สอดคล้องกับคากล่าวของ พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต (2551: 81-82) ได้ กล่าวไว้ว่า “หมอและพยาบาลต้องช่วยให้คนไข้ได้รื้อฟื้นความทรงจาหรือประสบการณ์ คนไข้มีบทบาท ในการรักษาตนเองและช่วยให้หมอพยาบาล คนไข้ต้องให้ความร่วมมือแก่หมอ พยาบาลและคนใกล้ชิด ตั้งแต่ต้น ส่วนผู้ดูแลคือหมอ พยาบาลและญาติผู้ใกล้ชิดจะต้องเข้าใจและปฏิบัติอย่างถูกต้องดีงาม มี ความเอื้อเฟื้ออารี มีเมตตา ไมตรีที่จะช่วยเสริมสุขภาพทางจิตใจของคนไข้ด้วย” สอดคล้องกับสุวภรณ์ แนวจาปา (2554) ที่นาเสนอไว้ว่า “ผู้ทาหน้าที่ดูแลผู้ปุวยต้องมีเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน โดยส่วนตน ผู้ดูแลเองก็มีความเข้าใจโลกและชีวิต รู้เท่าทันชีวิตและความตาย ทาการดูแลอนุวัตตามหลักการแพทย์ แผนป๎จจุบัน ทางานดูแลแบบพหุวิชาชีพเพื่อให้การดูแลทั่วถึงทุกมิติ” 2) การอภิปรายผลการวิจัยด้านแนวคิดและวิธีการดูแลผู้ปุวยตามหลักพระพุทธศาสนา จากผลการวิเคราะห์ได้นาเสนอแนวทางการรักษาผู้ปุวยโรคเรื้อรังด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ออกไปตามลักษณะต่างๆ โดยการมุ่งเน้นให้เกิดความสมดุลทางร่างกาย เช่น การรักษาโดยใช้ตัวยา การ ใช้ธรรมะในการรักษาโรค การรักษาอาการปุวยด้วยการปฏิบัติกรรมฐาน การควบคุมการรับประทาน อาหาร หมั่นเดินออกกาลังกาย และหมั่นประพฤติธรรม ซึ่งหลักการเหล่านี้สามารถควบคุมโรคได้ ถ้าไม่ หมั่นประพฤติธรรมโรคต่างๆ ก็จะสามารถกาเริบได้ ดังนั้น หลักธรรมคาสอนของพระพุทธเจ้าเป็นคาสอน ที่มุ่งประโยชน์โดยตรง สามารถนาไปปฏิบัติในการดาเนินชีวิตประจาวัน และสอดคล้องกับงานวิจัยของ พระธรรมโมลี ทองอยู่ าณวิสุทฺโธ (2552) ที่พบว่า “โรควิถีชีวิต” หรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหาร การออกกาลังกายที่ถูกต้องและการฝึกจิตภาวนา 3) การอภิปรายผลการวิจัยด้านรูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ ประเด็นแรก จากผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธ บูรณาการ “CMDEEED” ประกอบด้วย C (Chanting) การสวดมนต์ M (Meditation) การปฏิบัติสมาธิ D (Dhamma Discussion) การสนทนาธรรม E (Eating) การรับประทานอาหาร E (Exercise) การ ออกกาลังกาย E (Emotional Control) การควบคุมอารมณ์และ D (Daily Life Activity Around The Clock) การปฏิบัติตนตามวงรอบของชีวิตประจาวัน ซึ่งรูปแบบการดูแลรักษาที่พัฒนาขึ้นนี้เป็น การบูรณาการเชิงพุทธร่วมกับวิธีการดูแลรักษาทางการแพทย์แผนป๎จจุบัน ซึ่งเป็นเป็นดูแลที่มุ่งเน้นให้ ครอบคลุมทั้ง 4 มิติที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล เป็นการสร้างเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์อยู่ เสมอการปูองกันโรคมิให้เกิดการเจ็บปุวย เช่น การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง การรักษาโรคให้ทันท่วงที และฟื้นฟูสมรรถภาพหลังเจ็บปุวย สามารถดาเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้เนื่องจากโรคที่ เกิดขึ้นส่วนมากเกิดจากการขาดความระมัดระวังในการดูแลตนเอง จนเกิดป๎จจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค ดังที่กรมควบคุมโรค (2556: 19) นาเสนอไว้ว่า “ป๎จจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคประการหนึ่ง คือ พฤติกรรม การบริโภคอาหารที่มีรสเค็ม หวาน มัน รับประทานผักและผลไม้น้อย” ประเด็นที่สอง จากผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ปุวยโรคเรื้อรัง ของกลุ่มทดลองที่ได้รับการส่งเสริมสุ ขภาพด้วยรูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการมี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ โดยที่คุณภาพชีวิตโดยรวมมีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพชีวิตหลัง การทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับความซึมเศร้าของกลุ่ม


56

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

ตัวอย่างผู้ปุวยโรคเรื้อรังกลุ่มทดลองก่อนและหลังการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยของภาวะความซึมเศร้าลดลง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมการดูแลรักษาผู้ปุวยตามรูปแบบ การดูแลผู้ ปุ วยโรคเรื้ อรั งเชิงพุทธบู รณาการ ส่ งผลให้ ผู้ ปุวยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้ น และมี ระดับความ ซึมเศร้ าลดลง ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับการแนะนาความรู้ในการดูแลตนเองจากการ ส่งเสริมสุขภาพ ที่บูรณาการจากหลักพุทธธรรม ร่วมหลักการแพทย์ การสาธารณสุข ประกอบด้วยการ สวดมนต์ การเจริญสมาธิ การสนทนาธรรม การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกาลังกาย การ ควบคุมอารมณ์ และการปฏิบัติกิจวัตรประจาวัน ส่งผลให้มีโอกาสในการรับรู้ประโยชน์ของการดูแล สุขภาพตัวเองได้มากขึ้น รวมทั้งได้รับการบริการสาธารณสุขด้านต่างๆ เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การเฝูา ระวังและปูองกันโรค ส่งผลให้ระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับที่ดี สอดคล้องกับการวิจัยจุฑามาศ วารีแสง ทิพย์ (2552) วิจัยเรื่อง “การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ปุวยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยธรรมปฏิบัติ ” ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ธรรมปฏิบัติ คือ การสวดมนต์ การทาสมาธิ หรือการสวดมนต์ร่วมกับการทาสมาธิ สามารถลดอาการซึมเศร้าจากความเครียด และเพิ่มคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกายได้อย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติ และสอดคล้องกับการวิจัยของเบญญาภา กุลศิริไชย (2556: 58-69) ซึ่งศึกษาเรื่อง “การลดภาวะ ซึมเศร้าในผู้ประสบภัยพิบัติด้วยการรับบทสวดโพชฌงคปริตรเข้าจิตใต้สานึก” พบว่า การบูรณาการ ร่วมกันระหว่างพระพุทธศาสนากับวิ ทยาการสมัยใหม่ สามารถเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อเป็นทางเลือก สาหรับการบาบัดแบบองค์รวมร่วมกับการรักษาทางการแพทย์แผนป๎จจุบันได้เป็นอย่างดี ซึ่งจากผลการ ทดลองและติดตามผล ค่าเฉลี่ยคะแนนของความซึมเศร้าลดลง สุขภาพจิตโดยรวมเพิ่มขึ้น จิตใจเข้มแข็ง เป็นมิตร ร่าเริง และมีความสุขมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ทั้งนี้ เนื่ องจากรู ปแบบของการจั ดกิจกรรมมุ่งเน้นการพัฒนาแบบองค์รวมให้ กับผู้ ปุวย โดย ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ สุขภาพกาย จิต ป๎ญญาหรือจิตวิญญาณ และสังคม เรียกว่า สุขภาพองค์รวม จึง จะทันยุคทันสมัย กล่าวคือ ต้องดูแ ลคนทั้งคน ไม่ใช่ดูแต่ส่วนที่เป็นโรคเท่านั้น แต่มุ่งเน้นการดูแลให้ ครอบคลุมทั้ง 4 มิติดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น และรูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นก็มีความสอดคล้องกับการพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวมเช่นกัน 4) การอภิปรายด้านคุณค่าและข้อจากัดในการวิจัย การวิจั ยครั้งนี้ มีคุณค่าและข้อจ ากัด เช่นเดียวกับการวิจัยทั่วไป ในด้านคุณค่าของการวิจัย ผู้วิจัยออกแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods Research) โดยใช้วิธีการเชิง ปริมาณเพื่อขยายผลจากวิธีการเชิงคุ ณภาพ แบบแผนการวิจัยครั้งนี้แตกต่างจากงานวิจัยเชิงทดลอง ทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากการกระบวนการในการทดลองได้ผ่านการศึกษาและสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง แล้วพัฒนาเป็นรูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการด้วยการผสมผสานวิธีการดูแลรักษา ผู้ปุวยตามแนวทางของการแพทย์แผนป๎จจุบันร่วมกับวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ความละเอียดอ่อนของกรอบแนวความคิดในการวิจัยที่ได้มาจากวิธีการเชิงคุณภาพในการวิจัย ครั้งนี้ ยังมีผลทาให้มีข้อจากัดในการวิจัย ดังนี้ 1) การวิจัยในครั้งนี้ขาดการคานวณขนาดกลุ่มตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่าง เนื่องจากใช้ความ สมัครใจของผู้เข้าร่วมโครงการ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

57

2) ระดับคะแนนที่เพิ่มขึ้นทางสถิติอาจไม่แตกต่างกันในการใช้ชีวิตจริง หรืออาจเกิดจากป๎จจัย แวดล้อมอื่นๆ ได้เช่น การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง การดูแลจากคนในครอบครัว และการปฏิบัติตนของ ผู้ปุวยโรคเรื้อรัง เป็นต้น 3) ผลการศึกษานี้ทาในกลุ่มคุณภาพชีวิตปานกลางขึ้นไปเท่านั้น ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนาผลวิจัยไปใช้ 1. จากผลการวิจั ยพบว่าคุณภาพชีวิตของผู้ ปุวยโรคเรื้อรังที่ได้รับการส่ งเสริมสุ ขภาพด้วย รูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ มีระดับคุณภาพชีวิตดีขึ้น ดังนั้น ควรขยายผลรูปแบบ การดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ “CMDEEED” ในการบาบัดในกลุ่มผู้ปุวยโรคอื่นๆ 2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของผู้ปุวยควรพิจารณานารูปแบบการดูแลผู้ปุวย โรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการนี้ไปปรับใช้เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลผู้ปุวยเพื่อให้ผู้ปุวยได้รับการดูแลรักษา สุขภาพแบบองค์รวมมีความครอบคลุมในทุกมิติทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ป๎ญญาหรือจิ ตวิญญาณ และ สังคม 3. ในระดับครอบครัวที่มีสมาชิกของครอบครัวปุวยเป็นโรคเรื้อรัง ศึกษาและนากระบวนการ ของรูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ “CMDEEED” ไปปรับใช้เพื่อการดูแลเกี่ยวกับ การดารงชีวิตประจาวันของผู้ปุวย ซึ่งในการนารูปแบบไปใช้ควรศึกษาและฝึกปฏิบัติให้ถูกต้อง แม่นยา ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. การวิจัยครั้งนี้ได้มีการติดตามผลการศึกษาเพียงระยะแรกหลังจากเสร็จสิ้นโครงการโดยการ ให้ผู้เข้าร่วมโครงการเขียนจดหมายสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้เข้าร่วมและความรู้สึกต่างๆ ซึ่งในการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการออกแบบการศึกษาระยะยาวที่มีการติดตามผลการนากระบวนการของ รูปแบบการดูแลผู้ปุวยโรคเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการไปปฏิบัติที่บ้านและได้ผลเป็นอย่างไร 2. ควรออกแบบการวิ จั ยโดยการน ารู ปแบบการดู แลผู้ ปุ วยโรคเรื้ อรั งเชิ งพุ ทธบู รณาการ “CMDEEED” ที่ พั ฒ นาขึ้ น ไปทดลองใช้ กั บ ผู้ ปุ ว ยโรคเรื้ อ รั ง ในบริ บ ทอื่ น ๆ และศึ ก ษาผลของการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้ปุ วยเพื่อเปรียบเทียบผลว่ามีความสอดคล้องกับการศึกษาในครั้งนี้หรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้เพื่อนาไปสู่การขยายผลของการนารูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปปรับใช้ในวงกว้างทั่วประเทศต่อไป เอกสารอ้างอิง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2552). แนวทางการปฏิบัติงานปูองกันและควบคุมโรคไม่ ติดต่อสาหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. _______. (2556). Health Start Here “แต่ละวัน แต่ละคา แต่ละมื้อ”. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ พระพุทธศาสนา. จุฑามาศ วารีแสงทิพย์. (2552). การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ปุวยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยธรรมปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.


58

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

ทวี ตั้งเสรีและคณะ. (2551). รายงานผลการวิจัย เรื่อง การพัฒนาแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและ ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. นิ วัฒน์ ศิตลั กษณ์ และคณะ. (2554). การแพทย์ บูรณาการ ฉบับหมอมวลชน. (พิมพ์ ครั้งที่ 2). นนทบุรี: หมอมวลชน. เบญญาภา กุล ศิริ ไชย. (2556). การลดภาวะซึมเศร้ า ในผู้ประสบภัยพิบัติด้วยการรั บบทสวด โพชฌงคปริตรเข้าจิตใต้สานึก. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 9(3): 58-69. ประชาธิป กะทา. (2551). มิติทางสังคมวัฒนธรรมของการเจ็บปุวยเรื่อรัง”. ใน วัฒนธรรมสุขภาพ กับการเยียวยาแนวคิดทางสังคมและมานุษยวิทยา. นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ บรรณาธิการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี : สานักงานวิจัยสังคมและสุขภาพ. พรทิพย์ ปุกหุตและทิตยา พุฒิคามิน. (2555). ผลของการสวดมนต์บาบัดต่อความวิตกกังวลและ ความผาสุ กทางจิ ตวิ ญญาณในผู้ ปุวยมะเร็ งเต้ านมระยะรั บการรั กษา. วารสารสมาคม พยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 30(2): 122-130. พระธรรมโมลี (ทองอยู่ าณวิสุทฺโธ). (2552). การศึกษาเชิงวิเคราะห์วิถีชีวิต พฤติกรรมสุขภาพ และ การดู แลสุขภาพแบบองค์รวมของพระสงฆ์ที่ ปรากฏในพระไตรปิฎก. วิ ทยานิพนธ์พุทธ ศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต. (2551). การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก. มหาจุ ฬาลงกรณราชวิ ทยาลั ย . (2539). พระไตรปิ ฎกฉบั บภาษาไทย ฉบั บมหาจุ ฬาลงกรณราช วิทยาลัย เล่ม 4, 20. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ราม รังสินธุ์ และคณะ. (2554). รายงานผลการวิจัยเรื่องการประเมินผลการดูแลผู้ปุวยโรคเบาหวาน ชนิ ดที่ 2 และความดั นโลหิตสูงของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและ โรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประจาปี 2553. สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. สิริรัตน์ จันทรมะโน และ เจนระวี สว่างอารีย์รักษ์. (2554). แบบแผนการดาเนินชีวิต และพฤติกรรม สุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่มีคุณภาพชีวิตดี. วารสารสภาการพยาบาล. 26(2): 57-68. สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2552). ปรับตัว ปรับระบบอย่างไร ให้สอดคล้องกับโรคเรื้อรัง. วารสารระบบ บริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. 2(6); 4-6. สุวภรณ์ แนวจาปา. (2554). การดูแลผู้ปุวยระยะสุดท้ายใกล้ตายเชิงพุทธบูรณาการ. วิทยานิพนธ์พุทธ ศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. แสง จันทร์งาม. (2544). พุทธศาสนาวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์. อุทัย สุดสุข และคณะ. (2554). แนวทางการดาเนินงานหมู่บ้านสุขภาพดี วิถีพุทธ. อุบลราชธานี : ศิริธรรมออฟเซ็ท. Snoddon, Janet. (2010). Case management of long-term conditions : principles and practice for nurses. Massachusetts: Blackwell. WHO. (2011). Noncommunicable diseases country profiles 2011. Geneva: WHO.

…………………………………………………..


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

59

ความสาเร็จของศิลปินผู้หลงตัวเองในสังคมออนไลน์ศิลปะ Echo Loves Art: The Achievement of Narcissistic Online Artists 1 พราว อรุณรังสีเวช

บทคัดย่อ งานวิจัยในอดีตเกี่ยวกับ "ความหลงตัวเอง" ได้แสดงให้เห็นว่า ความหลงตัวเองมีความสัมพันธ์ กับอุปนิสัยและพฤติกรรมในแง่ลบ รวมถึงความท้อ แต่ในทางตรงกันข้าม การทางานศิลปะมีผลในเชิง สร้ างสรรค์ รวมถึงสามารถเยี ยวยาผู้ มีความผิ ดปกติทางจิต ในงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบ ความสัมพันธ์ระหว่าง "ความหลงตัวเอง" และ ความสาเร็จของศิลปินในเว็บไซต์ deviantArt.com โดยใช้ แบบวัดความหลงตัวเองของศิลปินซึ่งได้รับการทดสอบความเที่ยงจากกลุ่มตัวอย่างในมหาวิทยาลัยแห่ง หนึ่งในสหรัฐอเมริกา ส่วนความสาเร็จของศิลปินนั้นได้มาจากค่าสถิติการเข้าชมของผู้ใช้เว็บไซต์แต่ละคน ข้อมูลดังกล่ าวถูกเก็บจากผู้ ใช้จ านวน ๑๑๙ คน ซึ่งถูกสุ่มจากเวลาการเข้าใช้งานในเว็บไซต์ดังกล่าว ผลของการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ได้ชี้ให้เห็นว่าความหลงตัวเองมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสาเร็จ ของศิลปิ นในเว็บไซต์นี้ กล่ าวคือ ความหลงตัวเองอาจไม่ทาให้ เกิดผลเสี ยแก่ศิลปินเหล่ านี้ หรืออาจ ส่ งเสริ มให้ เกิ ดความส าเร็ จ ในสั งคมออนไลน์ งานวิ จั ยในอนาคตควรศึ กษาหาสาเหตุ ที่ ท าให้ เกิ ด ความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสอง เช่น ความหลงตัวเองอาจทาให้งานศิลปะมีลักษณะที่โดดเด่น เป็นต้น คาสาคัญ: ความหลงตัวเอง, เดเวียนท์อาร์ต, ศิลปิน, ความสาเร็จ, เว็บไซต์สังคมออนไลน์

____________________________ 1 อาจารย์ประจาสาขาวิชาภาพเคลือ่ นไหวและสื่อผสม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา Instructor in Animation and Multimedia Program, Faculty of Management Science, Suan Sunandha Rajabhat University


60

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

Abstract Many previous studies have agreed that narcissism is associated with many negative traits, negative behaviors and depression. Creating artwork, in contrast, benefits life outcomes and heals mental illness. The objective of the current study is to examine the relationship between narcissism and the achievement of artists on deviantArt.com. To measure level of narcissism, Artist's Narcissism scale was tested with art and non-art students at a Midwestern university in the United States before using in this study. DeviantArt’s account statistics data were considered as online achievement. These data were collected from 119 deviantArt users, randomly selected by their online time. Correlation analysis showed a statistic significant relationship between narcissism and the achievement of artists. Although it seems that narcissism might not be harmful for these artists, future research should look for the reason behind this relationship, if narcissism might have an effect on the style of artwork. Key words: Narcissism, DeviantArt, Artist, Archievement, Social Networking Site Introduction Facebook, Myspace and other social networks have been mainly used by young adults over a decade (Boyd, 2006; Brenner, 2012), and many users on these social networks are narcissistic (Carpenter, 2012). This means those who are nonnarcissistic have to communicate with many narcissists (Carpenter, 2012). Since narcissists are self-centered and not able to maintain an intimate interpersonal relationship (Subramanian, Wise, Davis, Bhandari & Moris, 2014), their behaviors could increase a level of depression in other users, especially on young narcissists (Pauletti, Menon, Menon, Tobin & Perry, 2012). Depression in narcissists also cause a low level of self-esteem (Zeigler-Hill, 2011), and the boys with narcissism and low self-esteem are likely to be aggressive (Pauletti, Menon, Menon, Tobin & Perry, 2012). While social networks contain a high number of narcissists, other researchers found that social network can also reinforce self-esteem (Gonzales & Hancock, 2011). Similarly, in the school of art, Gocman (2012) found that most art and design students have a high level of self-esteem and low level of shyness. The purpose of present study was to examine the achievement of online artists based on their levels of narcissism. The selected website in this study is Deviantart.com, a largest social network for artists (Salah et al., 2012). Based on related studies, the researcher expected a negative relationship between the level of


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

61

narcissism and their achievement. Salimkhan et al. (2010) discussed that people were on social networking sites for self-marketing, so they might not communicate to maintain in a good relationship with others. DeviantArt artists might use this social networking site only to broadcast their artwork. If they do this, they may not go to comment on others’ artwork and thus they may not receive comments unless they have an original reputation. Social networking site would not be able to stand without communication. If everyone thought that he or she was a big artist, while on one commented on his/her artwork, they could experience a high level of depression. Although there is no research study explores the depression on artists, some famous artists’ biography can be used to describe this situation. For example, depression was destroy Vincent van Gogh’s life (Blumer, 2002), whose mother did not also admire his artwork, and similarly for William Morris who committed suicide (Pridmore, Walter & Friedland, 2012). Narcissism Most psychologists view narcissism as a negative personality trait. Some people with a high level of narcissism could be considered as having a narcissistic personality disorder (NPD) (Higgitt & Fonagy, 1992). On the other hand, in communication research, narcissists can live like general people, but they only extremely believe that they are more special and more important than others (Brunell, Staats, Barden & Hupp, 2011). The desires of narcissists are to gain a positive attention from others (Bogart, Benotsch & Pavlovic, 2004), to heighten their power, and to be admired, so they always have a shallow interpersonal relationship and a lack of empathy (Brunell, Staats, Barden & Hupp, 2011). Narcissists also use social networking sites for self-broadcasting (Subramanian, Wise, Davis, Bhandari & Moris, 2014), and they cannot stand to be overlooked (Carpenter, 2012). Narcissists can use their self-confidence to make others think that they are more creative than they actually are (Goncalo, Flynn & Kim, 2010). Narcissism has been explored in many areas, and it causes a negative outcome in most findings (Washburn, McMahon, King, Reinecke & Silver, 2004). For example, in the study of Campbell & Foster (2010), narcissism was the predictor of conflict in romantic relationship. It also has an effect on aggressiveness, especially in children and young adults (Pauletti, Menon, Menon, Tobin & Perry, 2013; Ojanen , Findley, & Fuller, 2012; Thomaes, Stegge, Bushman, Olthf & Denissen, 2008; Harter & McCarley, 2004). People with a high level of narcissism are overestimating their own skills as seen in the study of Farwell & Wohlwend-Lloyd (1998). They found that narcissistic students were overestimating their examination scores. Similarly, Goncalo, Flynn & Kim (2010) also


62

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

found that high narcissistic people perceive that they are more creative than they actually are. Overestimating could diminish the levels of self-esteem in high narcissistic people if they know that they are not as good as they expect. Narcissism is rarely viewed as a positive trait. It only yields a good outcome in short period for the narcissists, but it causes an unsatisfactory effect in long term for both narcissists and surrounding people (Campbell & Buffardi, n.d.). The findings of Alloway, Runac, Qureshi and Kemp (2014) show that narcissism is not associated with empathy, which is a positive trait, that one would be able to understand others' feeling. On the other hand, narcissism is associated with unpleasant behaviors such as white collar crime and cheating behavior. (Brunell, Staats, Barden & Hupp, 2011). Students' level of narcissism sub-dimension, ‘Grandiose Exhibitionism’ has a positive significant relationship with academic dishonesty, such as cheating in examination (Brunell, Staats, Barden & Hupp, 2011). A study in this topic also extends the understanding about aggressiveness. Normally, male are more likely to be aggressive than female (Dunn & Guadagno, 2012), but Pauletti, Menon, Menon, Tobin & Perry (2012) found that only narcissistic boys with low self-esteem are aggressive, while non-narcissistic boys with low self-esteem are not. Although there are many studies explored negative outcomes of narcissism, some studies show general results and only few studies show a positive outcome. Mehdizadeh (2010) examined the narcissists' amount of Facebook usage and she found that narcissists check their Facebook more often and spend more time on it than general people. In meta-analysis of Twenge, Konrath, Foster, Campbell & Bushman (2008), narcissism scores of Asian and Asian American students are significantly lower than Whites, Blacks, and Hispanic. Campbell and Foster (2002) explored narcissism in romantic relationship. Their results show that narcissists look for alternative love partners, but narcissism is not associated with the length of time that people maintain their relationship. Thus their suggestion is that self-report of narcissists might not be the same as actual behaviors (Campbell & Foster, 2002). In a mentioned study of Brunell, Staats, Barden & Hupp (2011), although narcissists are likely to cheat in examination, they do not prejudge that other students would cheat like them. There was still a gap in research on artists' narcissism. The previous studies, which related to narcissism, was investigated and generalized to many subpopulations, such as in preadolescence (Pauletti, Menon, Menon, Tobin & Perry, 2012), early adolescence (Ojanen , Findley, & Fuller, 2012), young adolescence (Washburn, McMahon, King, Reinecke & Silver, 2004), and Facebook users' activities (Alloway, Runac, Qureshi & Kemp, 2014; Subramanian, Wise, Davis, Bhandari & Morris, 2014).


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

63

Narcissism in artists should also be explored since to create artwork is important for many groups of people. Gocmen (2012) found that most students in the school of art and design in Ankara had a high level of self-esteem and a low level of shyness. Selfesteem could be considered as a positive trait in art students. However, the levels of self-esteem in the artists should not be diminished by their previous overestimating, which is caused by a high level of narcissism. Since the studies which examined about artists' narcissism are rarely found, the one study that comes closest to the current study is the study of Goncalo, Flynn & Kim (2010). The last part of this study also presents a positive perspective of how the narcissists were viewed. Normally, researchers view narcissism as a negative trait, but in a group context, this study reported that two narcissists could help to generate a more creative outcome. These researchers also used coders to rate the actual creativity of participants to avoid the narcissists' self-report problem in dependent variables, where Campbell & Foster (2002) suggested. In addition, they rejected a long-time belief that artistic people are narcissistic (Barron & Harrington, 1981; Raskin, 1980), and this belief was existed because previous researchers used the results from narcissists' self-report, that they viewed themselves as creative people. In the current study, a two-tailed test is used, because the past research studies found both positive and negative effects of narcissism, and the only positive effect is from the study which is related to creativity. Although the researcher does not expect a positive relationship between narcissism and online achievement, it is possible that narcissistic artists would be successful in online context. This is because their self-confidence might influence them to draw confident lines and paint contrast colors, which are outstanding for audiences. DeviantArt.com Many research studies explored the way people communicate in main social networks, and some explored the links between social network usages and personal traits, such as narcissism (Ryan & Xenos, 2011; Mehdizadeh, 2010; Carpenter, 2012), selfesteem (Ryan & Xenos, 2011; Mehdizadeh, 2010), empathy (Chan, 2014), and selfishness (Alloway, Runac, Quershi & Kemp, 2014). Only few studies focused into specific types of social networks such as Flickr group communication (Negoescu & Gatica-Perez, 2008), Flickr tourist photography (Donaire, Camprubí & Galí, 2014), Instragram, networking on deviantArt (Salah et al., 2012), and genre & artwork analysis on deviantArt (Salah et al., 2013). Although some researchers explored about deviantArt, their samples were limited


64

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

only in premium members, who have to pay about 30 USD per year. The current study included all types of deviantArt users to reduce this bias. Social networking usages of sub-population had been explored in past studies. These sub-populations were blind adults (Brady, Zhong, Morris & Bigham, 2013), autism spectrum people (Burke, Kraut & Williams, 2010), some ethnic groups (Chang, Rosenn, Backstrom & Marlow, 2010), and mothers with very young children (age of 0-3 year old) (Morris, 2014). The research study about artists in specific social network is missing (Salah et al., 2012). DeviantArt.com is the online biggest social network of artists and also one of the highest ranking websites, the 94th place in the United States and the 161st place in global rank (Alexa.com (a), 2014). Its number of unique visitors in September 2014 was 5,905,839 people (Complete: Millward Brown Digital, 2014). DeviantArt staff also reported on their website that they have 33 million registered members, and attracting 65 million unique visitors per month (DeviantArt, 2014). Members of this website can be both artists and their followers who sign up to view others’ artwork. The main functions of this website are to upload the artwork, sharing the ideas about others’ artwork, and selling the print of artwork. Elements on deviantArt which were related to data collection and analysis are followed. Point can be used to buy a print of artwork, to buy premium membership, to send as a gift, and to trade to get Llama badges. Eighty points cost 1 USD. Statistics are public in the default setting of all deviantArt users, but the users can also set them to be private. Statistics tell the numbers of profile views, artwork views, received comments, and received favorites (favorite is similar to “Like” in Facebook, and it is more like ‘Add Favorite’ on Youtube that the users can create catalogs/folders to keep others' artwork in their own systematic way). Group is a sub-community in deviantArt, which contains the users who are interested in the same topic. This study was also interesting in the numbers of the groups that participants were the administrators. Membership types Majorities of membership types on deviantArt are paid users (premium member) and unpaid users, and other types of membership are rare. An unpaid user can be administrator for only 3 groups, but a premium member can be administrator up to 10 groups. Hypothesis The main research question was, “what is the relationship between the level of artist's narcissism and achievement on deviantArt?” However, the researcher also


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

65

collected the data of other variables which might be mediator variables, or might cause the same effect to the dependent variable. All variables are presented as follows: Online achievement The achievements in this study are numbers of profile views, artwork views, received comments, and received favorites. These data were from 'statistics' page of each participant. These numbers are more accurate than selfreport, since narcissists always perceive that they perform better that they actually do. Artist's narcissism In the current study, the research expected that participants who scored high on Artist's narcissism scales would have a lower achievement than those who scored low in the same scales. Based on above mentioned content, if one has never commented on others’ artwork, one might not receive any comment. RQ1 What is the relationship between the level of narcissism and online achievement? H1 The level of narcissism is negatively correlated to the level of online achievement. Comment Types Alloway, Runac, Qureshi & Kemp (2014) found a positive significant relationship between both posting comments and viewing photos on Facebook, and the level of narcissism, while another study found no relationship between both self-esteem and narcissism, and time-spent on Facebook. However, Alloway, Runac, Qureshi & Kemp (2014) suggest that future studies should look at the types of comments and posts, if they are for oneself or for others. Subramanian, Wise, Davis, Bhandari & Morris (2014) also included types of Facebook profile posts as a variable. They categorized the types of posts as self-reference post and non-selfreference post. People who have more self-reference posts would be more narcissistic than those with non-self-reference posts (Subramanian, Wise, Davis, Bhandari & Morris, 2014). In the current study, the researcher hypothesized that the users who commented on others’ artwork would have a lower level of narcissism and a higher achievement. RQ2 How do the number of comments on other deviantArt users relate to narcissism and the online achievement? H2 The higher number of comments on others yields a higher achievement on deviantArt. H3 The number of comments on others is negatively associated with score on Artist's Narcissism scale. Group Admin Since a general narcissism scale, Narcissistic Personality Inventory (NPI-40) contains some items about leadership (Raskin & Terry, 1988), participants with high score in Artist's Narcissism scale might be administrators of one


66

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

or more groups. To be a group administrator, the users could earn more views and comments from group's members. This mean being a group administrator might also have an effect on the achievement of the user. RQ3 How does the number of group(s) being administered relate to the online achievement and the level of narcissism? H4 The number of group(s) being administered is positively correlated with the online achievement. H5 The level of narcissism is positively correlated with the number of group(s) being administered. Art Genre Although Salah et al. (2013) found that most frequency genre of artwork on deviantArt is photography, I argue that most artists might not upload photography, and they actually upload drawings and paintings. DeviantArt might have more painters, but they do not upload their artwork as much as photographers do. While painters spend more time to create their artwork than photographers, they should need more attention and admiration on their artwork. RQ4 What genre of artists scores higher in Artist's Narcissism Scale? H6 Painters would score higher than photographers on Artist's narcissism scale. Method Participants The samples were 336 users from deviantArt.com. Four online users were selected every two hours each day of the week. This means that 48 users were selected each day. This strategy was used because deviantArt contains the users around the world, and they are not online at the same time with the timezone difference. This selection method will increase the generalizability. The users with ages lower than 18 were not included in the study. Response rate of this study was 55 percent (N=185) with 35.4 percent (N=119) valid cases. Based on these respondents, a majority of them were from the United States (32%), Canada (8.5%), and 59.5 percent were from other countries. Respondents’ age ranged from 18 to 65 years (M=26, SD=9.58). Respondents used deviantArt for 1 months to 11 years (M=4.2 years, SD=2.8). Measure This study used Artist's Narcissism scale to measure the level of narcissism of deviantArt users. This scale contains 17 items (pretest Cronbach’s alpha=.851). Example items include “I am really proud of my artwork”, “I like when people admire my skill as an artist”, and “My artwork is better than most artists' in the same genre.” Overall scale was placed in the appendix of this paper. This scale was 4-point Likert-type scales ranged from 1 (strongly disagree) to 4 (strongly agree.).


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

67

Respondents were also asked to report their account statistics. Account statistics were a chunk of the text that respondent could copy and paste into the online questionnaire form. To use this account statistics is similar to using coders' rating in previous research studies. According to previous studies, many researchers suggested that narcissists' self-report has less validity, because they always see themselves better than they are. Other questions were asked for their age, the number of groups that they were the administrators and the length of time that they have been deviantArt users (year). Analysis All results were analyzed using SPSS. T-test was used to compare the level of narcissism based on the majority of artwork categories (drawing and photograph). Correlation was used to determine the relationship among narcissism, the numbers of owned group, the numbers of given comments, received comments, received favorites, main page views, and gallery views (views on artwork). Increasing Response Rates Since social network users have a high awareness in online risk taking behavior (Fogel & Nehmad, 2009), before a data collection, the researcher needs to use strategies to increase a response rate. In this study, the researcher mainly looked at the study of Hirsch, Thompson and Every (2014). Some of their strategies were used in the current study. In the current study, the researcher was a 7-year user on deviantArt with 1319 pieces of artwork, which looked reliable than general new users who might be a spammer. The interviewer in the study of Hirsch, Thompson and Every (2014) was a paid user of Couchsurfing.org. After the interview, she asked her participants to write a reference on her profile to increate trust for her future studies in this website. This is another way to prove that she is not a spammers or hackers. Similarly in the current study, the researcher also received some extra llama badges and comments on profile saying, that thanks for the points. All Selected Users were active members. The most successful method of Hirsch, Thompson and Every (2014) to gain the highest number of participants was a group posting. People who saw the group posting in the study of Hirsch, Thompson and Every must be active users. Similarly in the current study, online users who were selected in a short period before the data collection would be also active users. Promising a reward, one of Compliance Gaining strategies (Littlejohn & Foss, 2010) was used in this study. After the researcher built a list of deviantArt active users, she sent them messages, which asked for the help. The messages also said that they would have 20 points after finishing filling the questionnaire. Twenty Point is 0.25 USD.


68

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

Results After using correlation analysis and t-test to determine the results, significant correlations were found among most variables, but there is no significant difference between traditional artists and photographers on the level of narcissism. The results will be presented along with research questions, as followed: Table 1 Correlation between the number of groups being admin, Artist’s narcissism, given comments per day and achievement Variables 1 2 3 4 5 6 1. Group being admin 2. Artist’s Narcissism .190* 3. Given comments per day .264** .108 4. Received comments per day .348** .114 .464** 5. Received favorites per day .329** .231* .109 .971** 6. Gallery views per day .321** .215* .109 .973** .984** 7. Page views per day .342** .248** .370** .973** .970** .974** Note: *p < .05, ** p < .01 RQ1 What is the relationship between the level of narcissism and online achievement? The researcher expected a negative relationship between artist’s narcissism and their online achievement (H1), but a correlation analysis reports a significant positive relationship between artist’s narcissism and three achievement values. Users with high level of narcissism are likely to have a high number of received favorites (r=.231; p=.011; p<0.05), gallery views (r=.215; p=.019; p<0.05), page views (r=.248; p=.006; p<0.01) and received comments (r=.114; p=.218). RQ2 How does the number of comments on other deviantArt users relate to narcissism and the online achievement? Although the researcher hypothesized that narcissist would not like to comment on others’ artwork (H3), there was a positive correlation between the number of given comments and the level of narcissism (r=.108; p=0.242), but no statistic significant were found. As expected, the number of given comments also had a significant positive relationship with the number of received comments (r=.464; p=.000; p<0.001) and page views (r=.370; p=.000; p<0.001). This result suggests that if a user gives their comments to others, he/she is likely to receive the comments


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

69

back. The number of given comments was also positively related to both the number of received favorites (r=.109; p=.237) and gallery views (r=.109; p=.239). This part of results supported the second hypothesis. RQ3 How does the number of group(s) being administered relate to the online achievement and the level of narcissism? Although the artist’s narcissism scale does not contain the trait of leadership as NPI (Narcissistic Personality Inventory) does, the number of group(s) that the users are administrators has a significant positive relationship with the level of narcissism (r=.190; p=0.039; p<0.05). This finding supported the fifth hypothesis. There were also significant positive correlations between the number of group(s) being administered and all achievement values, received comments (r=.348; p=.000; p<0.001), received favorites (r=.329; p=.000; p<0.001), gallery views (r=.321; p=.000; p<0.001), and page views (r=.342; p=000; p<0.001). Null hypothesis of H4 was rejected. Table 2 Difference between users who are administrators of one or more group, and users who are not administrator of any group. Administrator Non-administrator M SD M SD t-test Received comments per day 3.58 7.73 .80 1.46 2.533* Received favorites per day 5.92 12.77 1.92 5.30 2.109* Gallery views per day 119.64 240.40 22.12 38.96 2.869** Page views per day 41.68 79.48 12.85 21.11 2.524* Note: *p < .05, ** p < .01, N=119 An additional independent sample t-test was conducted to see if being the administrator of the group(s) is really a mediator variable of achievement of narcissistic artists. Since it was known from the correlation analysis that narcissist artists are likely to be the administrators, being the administrator also yields a significant difference in the independent sample t-test. Achievement of artists who are not the administrators of any group is significantly lower than those who are the administrators of one or more groups, received comments (t=2.533; p=.014), received favorites (t=2.109; p=.039), gallery views (t=2.869; p=.006), and page views per day (t=2.524; p=.015). RQ4 What genre of artists score higher in Artist's Narcissism Scale? There is no difference between both genres of artists, traditional artists and photographers (t=.000; p=1.000). Null hypothesis of H6 cannot be rejected.


70

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

Discussion Based on an unexpected result of the first research question, the narcissists gained more achievement on deviantArt.com than general artists because they might have a high level of endeavor. Goncalo, Flynn, & Kim (2010) reported their results that narcissists would show their eager and energy to convince people to believe in their ability of creativity. Although showing the eager and energy is hard to do in online context, the narcissists may find an alternative way to reach their goal. To be the administrator of the group(s) is a way to promote their artwork and to show their enthusiasm toward the community. Administrator is the leader of the group, who is known by most of the group members. In the other words, to be an administrator is the way to be famous in deviantArt. Future study should be conducted to confirm if this discussion is true. Content analysis should be used to evaluate the quality of narcissist artists’ work to see if they might be better than general artists’. This is to find out that their high level of achievement is really from being the group administrator, or from the quality of artwork itself. Another unexpected result is how the number of given comments is positively related to and the level of narcissism. Although this relationship is not significant, it was strange that narcissists visited others’ profiles and gave comments on others’ artwork. This seems like they were not as self-center as expectation. This could be because narcissists looked forward to see other artists gave comments back to them after they gave away their comments. In the other words, narcissists might have a purpose behind doing a good thing to others. While the results of this research can be generalized to deviantArt artists, it could not generalize to the offline artists, which are a larger proportion of the artist population. Future research should examine the relationship of narcissism and achievement in real-world artists, and also examine the difference of level of narcissism between successful and general artists. Because the data collection would be done with real people, qualitative approach can be included. The limitation of the current study is that the correlation analysis cannot explain a causal relationship. A qualitative interview could help explaining the causal relationship, if narcissism or achievement is the predicted variable. Another method which also yields the causal relationship is a longitudinal design, which may begin with the new deviantArt users.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

71

References Alexa.com (2014). Retrieved from http://www.alexa.com/siteinfo/deviantart.com Alloway, T., Runac, R., Qureshi, M. & Kemp G. (2014). "Is Facebook Linked to Selfishness? Investigating the Relationships among Social Media Use, Empathy, and Narcissism", Social Networking, 3, 150-158. Barron, F., & Harrington, D. (1981). Creativity, intelligence, and personality. In M. Rosenzweig & L. Porter (Eds.), Annual review of psychology, 32, 439-476. Palo Alto, CA: Annual Reviews. Blumer, D. (2002). The illness of Vincent van Gogh. American Journal of Psychiatry, 159(4), 519-526. Bogart, L.M., Benotsch, E.G., & Pavlovic, J.D. (2004). Feeling superior but threatened: The relation of narcissism to social comparison. Basic and Applied Social Psychology, 26(1), 35-44. Boyd, D. (2006, December 4). Friends, Friendsters, and MySpace Top 8: Writing Community Into Being on Social Network Sites. Retrieved from http://www.firstmonday.org/issues/issue11_12/boyd/index.html Brady, E., Zhong, Y., Morris, M. R. & Bigham (2013). Proceedings from CSCW 2013: Investigating the Appropriateness of Social Network Question Asking as a Resource for Blind Users. Brenner, J. (2012, November 13). Social Networking. Pew Internet & American Life Project. Retrieved from http://www.pewinternet.org Brunell, A. B., Staats, S., Barden, J., & Hupp, J. M. (2011). Narcissism and academic dishonesty: The exhibitionism dimension and the lack of guilt. Personality and Individual Differences, 50(3), 323-328. Burke, M., Kraut, R. & Williams, D. (2010). Proceedings from CSCW 2010: Social use of computer-mediated communication by adults on the autism spectrum. Campbell, W. K., & Buffardi, L. E. (in press). The lure of the noisy ego: Narcissism as a social trap. In J. Bauer & H. Wayment (Eds.), Quieting the ego: Psychological benefits of transcending egotism. Washington, DC: American Psychological Association. Campbell, W. K., & Foster, C. A. (2002). Narcissism and commitment in romantic relationships: An investment model analysis. Personality and Social Psychology Bulletin, 28(4), 484-495. Carpenter, C. J. (2012). Narcissism on Facebook: Self-promotional and anti-social behavior. Personality and individual differences, 52(4), 482-486.


72

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

Chan, T. H. (2014). Facebook and its Effects on Users’ Empathic Social Skills and Life Satisfaction: A Double-Edged Sword Effect, Cyberpsychology, Behavior, and Social Networking, 17(5), 276-280. Chang, J., Rosenn, I., Backstrom, L & Marlow, C. (2010). Proceedings from ICWSM 2010: Ethnicity on Social Networks. Complete: Millward Bran Digital (2014). Retrieved from https://siteanalytics.compete.com/deviantart.com/ DeviantArt (2014). Retrieved from http://about.deviantart.com/ Donaire, J. A., Camprubí, R., & Galí, N. (2014). Tourist clusters from Flickr travel photography. Tourism Management Perspectives, 11, 26-33. Dunn, R. A., & Guadagno, R. E. (2012). My avatar and me–Gender and personality predictors of avatar-self discrepancy. Computers in Human Behavior, 28(1), 97-106. Farwell, L. & Wohlwend-Lloyd R. (1998). Narcissistic processes: Optimistic expectations, favorable self-evaluations, and self-enhancing attributions, Journal of Personality, 66, pp. 65–83 Fogel, J., & Nehmad, E. (2009). Internet social network communities: Risk taking, trust, and privacy concerns. Computers in Human Behavior, 25(1), 153-160. Gocmen, P. O. (2012). Correlation Between Shyness and Self-esteem of Arts and Design Students. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 47, 1558-1561. Goncalo, J. A., Flynn, F. J., & Kim, S. H. (2010). Are two narcissists better than one? The link between narcissism, perceived creativity, and creative performance. Personality and Social Psychology Bulletin, 36(11), 1484-1495. Harter, S., & McCarley, K. (2004). Is there a dark side to high self-esteem leading to adolescent violence? Poster pre-sented at the American Psychological Association Con-vention, Honolulu, Hawaii. Higgitt, A. N. N. A., & Fonagy, P. (1992). Psychotherapy in borderline and narcissistic personality disorder. The British Journal of Psychiatry, 161(1), 23-43. Hirsch, L., Thompson, K. & Every, D. (2014). From Computer to Comuter: Considerations for the Use of Social Networking Sites for Participant Recruitment, The Qualitative Report, 19, 1-13. Littlejohn, S. W., & Foss, K. A. (2010). Theories of human communication. Waveland Press. Chicago Mehdizadeh, S. (2010). Self-presentation 2.0: Narcissism and self-esteem on Facebook. Cyberpsychology, Behavior, and Social Networking, 13(4), 357-364.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

73

Morris, M. R. (2014). "Social Networking Site Use by Mothers of Young Children", Microsoft Research, Retrieved from http://research.microft.com , Retrieved September 24, 2014. Negoescu, R. A., & Gatica-Perez, D. (2008, July). Analyzing flickr groups. In Proceedings of the 2008 international conference on Content-based image and video retrieval (pp. 417-426). ACM. Ojanen, T., Findley, D., & Fuller, S. (2012). Physical and relational aggression in early adolescence: Associations with narcissism, temperament, and social goals. Aggressive behavior, 38(2), 99-107. Pauletti, R. E., Menon, M., Menon, M., Tobin, D. D., & Perry, D. G. (2012). Narcissism and Adjustment in Preadolescence. Child development, 83(3), 831-837. Pridmore, S., Walter, G., & Friedland, P. (2012). Tinnitus and Suicide Recent Cases on the Public Record Give Cause for Reconsideration. Otolaryngology--Head and Neck Surgery, 147(2), 193-195. Raskin, R. (1980). Narcissism and creativity: Are they related?, Psychological Reports, 46, 55-60. Raskin, R., & Terry, H. (1988). A principal-components analysis of the Narcissistic Personality Inventory and further evidence of its construct validity. Journal of Personality and Social Psychology, 54, 890–902. Ryan, T., & Xenos, S. (2011). Who uses Facebook? An investigation into the relationship between the Big Five, shyness, narcissism, loneliness, and Facebook usage. Computers in Human Behavior, 27(5), 1658-1664. Salah et al. (2012). DeviantArt in spotlight: A network of artists. Leonardo, 45(5), 486-487. Salah, A. A., Manovich, L., Salah, A. A., & Chow, J. (2013). Combining Cultural Analytics and Networks Analysis: Studying a Social Network Site with User-Generated Content. Journal of Broadcasting & Electronic Media, 57(3), 409-426. Salimkhan, G., Manago, A. M., & Greenfield, P. M. (2010). The construction of the virtual self on MySpace. Cyberpsychology: Journal of Psychosocial Research on Cyberspace, 4(1), 1. Subramanian, R., Wise, K., Davis, D., Bhandari, M., & Morris, E. (2014). The relative contributions of implicit and explicit self-esteem to narcissistic use of Facebook. Computers in Human Behavior, 39, 306-311. Thomaes, S., Stegge, H., Bushman, B.J., Olthof, T. & Denissen J. (2008). Development and validation of the childhood narcissism scale, J Pers Assess, 90(4).


74

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

Twenge, J. M., Konrath, S., Foster, J. D., Campbell, W. K., & Bushman, B. J. (2008). Further evidence of an increase in narcissism among college students. Journal of Personality, 76(4), 919-928. Washburn, J.J., McMahon, S.D., King, C.A., Reinecke, M.A., & Silver, C. (2004). Narcissistic features in young adolescents: Relations to aggression and internalizing symptoms. Journal of Youth and Adolescence, 33(3), 247–260. Wright, S. K. (2003) [Wright, Susan Kay]. The arts, young children, and learning. Pearson College Division. Zeigler-Hill, V. (2006). Discrepancies between implicit and explicit self-esteem: Implications for narcissism and self-esteem instability, Journal of Personality, 74. Appendix Artist's Narcissism scale (ANS) was written based on two sub-dimensions of Narcissistic Personality Inventory (NPI), which are Grandiosity-Exhibitionism and Entitlement/Exploitativeness. The dimension of Leadership/Authority was dropped since the current study was to examine the level of narcissism of individual artists who created their artwork alone (not as group). Artists’ job is to create artwork, and they would become famous by their artwork, ANS was written concentrated in the role of artist and the value of one’s artwork. ANS was tested in a Midwestern university in the United States, after this research project was approved from institutional review board (IRB). Twenty four students were the samples in pretest. Half of them were students from the school of art, and the rest were from other majors in the same university. Cronbach's alpha is .851. ANS contains 17 items with 4point Likert scale, and the item #3, #4, #7, #8, #10, #12, and #14 are reversed items. 1. I am an excellent artist. 2. I am really proud of my artwork. 3. I feel embarrassed for being admired. 4. I do not like to show my artwork to anyone. 5. I am a special artist. 6. My artwork is unique. 7. I want to make my artwork similar to others'. 8. I am uncomfortable looking at my finished artwork. 9. If I put my artwork online, I expect people to look at it. 10. My artwork might not receive any comment from DeviantArt users. 11. If I put my artwork online, I expect people to "Add Favorite".


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

12. I do not want my artwork to be searched from Google. 13. I will be a famous artist. 14. If other people hate my artwork, that artwork should have some problem. 15. My artwork is better than most artists' in the same genre. 16. I will be sad, if no one care about my artwork. 17. I prefer people to look at my artwork, rather than I look at their artwork.

…………………………………………………..

75


76

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

พฤติ ก รรมเสี่ ย งในการติ ด เชื้ อ เอชไอวี ข องกลุ่ ม ชายที่ มี เพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า : การศึกษาเชิง วิเคราะห์ทางจิตวิทยา A Psychological Analytical Study on HIV Risk Behaviors of Men Who Have Sex with Men in Sauna Enterprise ธเนศว์ กาญธีรานนท์1 รัญจวน คาวชิรพิทักษ์2

บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในสถานประกอบการซาวน่า : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทางจิตวิทยา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ พฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่าตาม แนวคิดทฤษฎีจิตวิทยา ได้แก่ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Freud, ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการ เลียนแบบของ Bandura, ทฤษฎีลาดับขั้นความต้องการของ Maslow, ทฤษฎีบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ของ Costa and McCrae รูปแบบของการศึกษาใช้วิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) จาก การศึกษาข้อมูลเอกสาร (Documentary Study) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) และจาก การสังเกต (Observation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คัดเลือกชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่เข้าไปใช้ บริการในสถานประกอบการซาวน่า ใช้แบบประเมินความเสี่ ยงเพื่อการคัดกรองเบื้องต้น ได้กลุ่ ม ตัวอย่าง จานวน 30 คน ผู้วิจัยได้ทาการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างด้วยตนเองจากแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น จากนั้นนาข้อมูลที่ได้มาจากวิธีการสังเกต และเอกสารต่างๆ มาวิเคราะห์ตามแนวทฤษฎีจิตวิทยา และ นาเสนอผลการศึกษาในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ที่ศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1. บุคลิกภาพของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่ามีลักษณะ แบบหวั่น ไหว (Neuroticism) มีบุคลิกภาพด้านอารมณ์โกรธง่าย บุคลิกภาพด้านอารมณ์หงุดหงิด บุคลิกภาพด้านวิตกกังวล และบุคลิกภาพด้านคานึงถึงแต่ตนเอง 2. ผลการศึ ก ษาเชิ ง วิ เ คราะห์ พ ฤติ ก รรมเสี่ ย งในการติ ด เชื้ อ เอชไอวี ข องกลุ่ ม ชายที่ มี เพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า ตามแนวคิดทฤษฎีจิตวิทยา สามารถสรุปผลการศึกษาได้ 4 ประเด็น ดังนี้ ________________________ 1

มหาบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รองศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

2


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

77

2.1 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเกิดจาก ความต้องการที่ตอบสนองความพึง พอใจของตนเอง กล่าวคือ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายอาศัยหลักความพอใจเป็นที่ตั้ง ไม่มีเหตุผล และพฤติกรรมดังกล่าวจะทาต่อไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด ตามแนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Freud 2.2 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเกิดจาก ความต้องการความอยากรู้อยากเห็นและ การกระตุ้นความรู้สึกจากการสัมผัสซึ่งเกิดจากแรงขับทางเพศพื้นฐานเป็นแรงปรารถนาของตนเอง และ พยายามดิ้นรน แสวงหาสิ่งใหม่ๆหรือข้อเท็จจริงด้วยตนเอง ตามแนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Freud 2.3 พฤติกรรมเสี่ ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเกิดจาก การเรียนรู้ โดยการสั งเกตหรือการ เลียนแบบ กล่าวคือ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายกระทาพฤติกรรมเหมือนกับตัวแบบ จากตัวแบบที่ เป็นบุคคลจริง อันเนื่องมาจากตนเองมีความต้องการที่จะถูกยอมรับจากกลุ่ม และได้รับการเคารพจาก ผู้อื่น ตามทฤษฎีการเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการเลียนแบบของ Bandura 2.4 พฤติ ก รรมเสี่ ย งต่ อการติ ด เชื้ อ เอชไอวี เ กิ ด จาก การรวมกลุ่ ม กล่ า วคือ กลุ่ ม ที่ มี เพศสัมพันธ์กับชายได้รับอิทธิพลจากความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระ และแรงขับทางสังคม ต้องการที่จะอยู่ร่วมกับกลุ่มของตนเองที่มีความคล้ายคลึงกัน มีความมั่นคง ความปลอดภัย เนื่ องจาก บรรยากาศภายในสถานประกอบการซาวน่าเอื้อต่อ การพบปะ พูดคุย ผ่อนคลาย สังสรรค์ ปราศจาก การตีตรา การดูถูก การเหยียดหยาม และการดูหมิ่น ตลอดจนปราศจากบุคคลภายนอก ตามทฤษฎี ลาดับขั้นความต้องการของ Maslow และแนวความคิดทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของ Costa and McCrae คาสาคัญ: พฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี, กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า Abstract The research "A Psychological Analytical Study on HIV Risk Behaviors of Men Who Had Sex with Men in Sauna Enterprise " aimed to psychologically analyze HIV Behaviors among men who had sex with men in the Sauna Enterprise, The form of a study using qualitative methods by observation, In-depth interview in conjunction with analytical study according to Sigmund Freud’s Psychoanalytic Theory, Maslow’s Hierarchy of Needs, Bandura’s Social Cognitive Learning Theory, Five-Factor Theory of Costa & McCrae. The sample used in this study was chosen from a group of men who had sex with men in the Sauna Enterprise by purposive sampling. The researcher conducted interviews by himself in person. The data were analyzed with data from the observer and related documents. The results were presented in a descriptive analysis. The research results were as follows: 1. The personality of the men who had sex with men in the Sauna Enterprise looked shaken (Neuroticism), emotionally angry, easily worried and egoism.


78

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

2. The findings of psychological risk behavior in HIV infections among men who had sex with men in the Sauna Enterprise could be concluded as the followings : 2.1 Need to meet their satisfaction without end according to Sigmund Freud’s Psychoanalytic Theory 2.2 Demanding curiosity and stimulating the senses of touch by the motives of their own to satisfy the curiosity caused by sex drive from Psychoanalytic Theory 2.3 Learning by observation or imitation, that was, men who had sex with men committed acts like a model; the model of a real person. Due to their demands to be accepted by the group and be respected by others according to Bandura’s Social Cognitive Learning Theory 2.4 The integration of the group who had sex with men were influenced by the thrust of secondary or social movement; such as to live with a group of selfsimilarity, stability, security, since the atmosphere in the Sauna was a conducive place to relax, meet without the stigma of a cynical contempt as well as without third party according to Maslow’s Hierarchy of Needs and Five-Factor Theory of Costa & McCrae. Key words: HIV Risk Behaviors Men Who Have Sex with Men in Sauna Enterprise ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ในปี พ.ศ. 2554 มีรายงานสรุปผลเกี่ยวกับการค้นพบกลุ่มผู้ติดเชื้อระยะเฉียบพลัน (ติดเชื้อเอชไอวี มาไม่ เกิ น 30 วั น ) ในสถานประกอบการซาวน่ า พบว่ า กลุ่ มชายที่ มี เพศสั มพั นธ์ กั บชายในสถาน ประกอบการซาวน่ามีอัตราการติดเชื้อเอชไอวีในระยะเฉียบพลันสูงถึง 1 ต่อ 100 คน และในปี 2554 คลินิกสุขภาพเคลื่อนที่ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทยได้ลงพื้นที่ตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่ม ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่าเป็นจานวน 284 คน พบว่า เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งได้รับเชื้อมาแล้วไม่ต่ากว่า 30 วัน สูงถึง 57 คน และเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะเฉียบพลันสูงถึง 2 คน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาการที่จะค้นพบผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะเฉียบพลันนั้นมีเพียง 1: 25,000 คน เท่านั้น (คลินิกสุขภาพเคลื่อนที่ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย, 2554: 8) ในปี 2555 ได้มีการลงพื้นที่ตามสถานประกอบการซาวน่า สถานบันเทิง ผับ บาร์ และสถานประกอบการนวดสปาของ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ซึ่งถือเป็นแหล่งรวมกลุ่มของประชากรดังกล่ าว เพื่อสารวจอัตราการติด เชื้อเอชไอวีในลักษณะดังกล่ าวอีกครั้ง พบว่า กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมีอัตราการติดเชื้อสูงถึง 20.1% หรือ 1 ใน 5 เลยทีเดียว (ประพันธ์ ภานุภาค, 2555: 17) สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชาย ที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในป๎จจุบันไม่ใช่ป๎ญหาทางด้านสาธารณสุขอย่างเดียว แต่เป็นป๎ญหาทางสังคมด้วย กล่าวคือ เกิดการตีตราทางสังคม มีการแสดงความรังเกียจกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย กลุ่มชายที่มี เพศสัมพันธ์กับชายถูกสังคมภายนอกมองว่าตนเองเป็นพาหะของโรคเอดส์ จากประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น ทาให้ผู้วิจัยสนใจศึกษา วิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในสถานประกอบการซาวน่าตามแนวคิดทฤษฎีจิตวิทยา


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

79

วัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในสถานประกอบการซาวน่ า ตามแนวคิดทฤษฎี จิตวิทยาจากข้อ มูล ประเภทเอกสาร และข้อมู ล ภาคสนามด้วยการสังเกตและการสัมภาษณ์ ขอบเขตการวิจัย การศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายใน สถานประกอบการซาวน่า ผู้วิจัยลงพื้นที่พบกลุ่มตัวอย่างในสถานประกอบการซาวน่าเป็นระยะเวลา อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม–กรกฎาคม 2557 ผู้วิจัยใช้วิธีการคัดกรองกลุ่มตัวอย่างเบื้องต้น โดย วิธีการการแจกแบบประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี (นิตยา ภานุภาค พึ่งพาพงศ์ และธเนศว์ กาญธีรานนท์, 2550: 47) เพื่อเป็นการคัดกรองกลุ่มตัวอย่างเบื้องต้น โดยกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ที่เคยมีเพศสัมพันธ์ผู้ตอบแบบประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีนี้ ต้องเคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาสาหรับการคัดกรองเบื้องต้น ผู้วิจัยจะคัดเลือกเฉพาะ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเท่านั้น โดยไม่คานึงถึงปริมาณ ของข้อคาตอบ กล่าวคือ แม้มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเพียง 1 ข้อ ก็ถือว่า ผ่านหลักเกณฑ์ ในการคัดกรองเบื้องต้นแล้วภายหลังการคัดกรองกลุ่มตัวอย่างเบื้องต้น ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่เข้าไปใช้บริการใน สถานประกอบการซาวน่า จานวน 30 คน โดยมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกดังนี้ (1) กลุ่มชายที่มี เพศสัมพันธ์กับชายเข้าใช้บริการในช่วงเวลา 17.00 -24.00 น. ในวันศุกร์ เสาร์, อาทิตย์ (2) กลุ่มชายที่มี เพศสั มพันธ์กับชายจะต้องเป็นผู้มีอายุตั้งแต่ 18–35 ปี (3) กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่เคยมี เพศสั มพันธ์มาแล้ วอย่ างน้ อย 1 ครั้ง ในช่วง 3 เดือนที่ผ่ านมา (4) กลุ่มชายที่มีเพศสัมพั นธ์กับชายที่ ยินยอมให้สัมภาษณ์ และเปิดเผยข้อมูลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวิจัย (5) กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมี ความสนิท ให้ความเชื่อใจผู้วิจัยและยินยอมให้สัมภาษณ์ และเปิดเผยข้อมูลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ 1. พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี หมายถึง พฤติกรรมที่ทาให้ผู้ปฏิบัติพฤติกรรมนั้นๆ มีโอกาสสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี 2. บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะส่วนบุคคลที่แสดงออกถึงความเป็นตัวตนของบุคคลแต่ละคน ทั้งในส่ วนที่เป็ นพฤติ กรรมภายนอกที่ บุคคลอื่ นสามารถสั งเกตเห็ นได้ และพฤติ กรรมภายใน ได้แก่ อารมณ์ ความรู้ สึ ก ความเชื่ อ ค่ า นิ ย ม ทั ศ นคติ เจตคติ ในการวิ จั ย ครั้ ง นี้ บุ ค ลิ ก ภาพ หมายถึ ง ลักษณะเฉพาะของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า 3. การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทางจิตวิทยา หมายถึง การนากรอบแนวคิดทฤษฎีจิตวิทยาประกอบ ไปด้วย (1) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Freud (2) ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบของ Bandura (3) ทฤษฎีลาดับขั้นความต้องการของ Maslow (4) ทฤษฎีบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของ Costa and McCrae ที่นามาใช้ประกอบการศึกษาวิเคราะห์ทางจิตวิทยาถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติ ด เชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า


80

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

4. โรคเอดส์ หมายถึ ง กลุ่ ม อาการภู มิ คุ้ ม กั น บกพร่ อ ง ซึ่ ง มี ชื่ อ เรี ย กเต็ ม ว่ า Acquired Immune Deficiency Syndrome กล่าวคือ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทาร้าย ผู้ปุวยก็จะมี โอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บปุวยจากโรคฉกฉวยโอกาสอื่นๆ เช่น วัณโรค ปอดอักเสบ และมะเร็งชนิดต่างๆ เราจึงไม่สามารถวินิจฉัยโรคเอดส์จากอาการใดอาการหนึ่งได้ 4.1 เชื้ อ เอชไอวี หมายถึ ง เชื้ อ ไวรั ส เป็ น จุ ล ชี พ ชนิ ด หนึ่ ง ซึ่ ง มี ข นาดเล็ ก มี ชื่ อ เต็ ม ว่ า Human Immunodeficiency Virus ซึ่งทาให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง 4.2 ผู้ติดเชื้อ หมายถึง ผู้ที่มีผลการตรวจเลือดยืนยันได้ว่าติดเชื้อเอชไอวี โดยผู้ติดเชื้อ เอชไอวี อาจจะแสดงอาการหรือไม่ก็ตาม แต่ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อเอชไอวีไปสู่ผู้อื่นได้ 4.3 ผู้ปุวยเอดส์ หมายถึง ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เริ่มมีการแสดงอาการของโรคเอดส์ 4.4 ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หมายถึง ระบบคุ้มกันของร่างกายที่ทาหน้าที่ต่อต้านโรค และควบคุมโดยตัวของมันเอง ซึ่งมีส่วนประกอบอยู่หลายชนิด เช่น เม็ดเลือดขาวชนิดซีดีสี่ หรือ ซีดีโฟร์ (CD4) ซึ่งเชื้อเอชไอวีจะเข้าไปโจมตีระบบภูมิคุ้มกันโดยทาลาย CD4 5. ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (Men Who Have Sex with Men) หมายถึง ชายรักชายที่ จะมีรสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ หรือเพศวิถี มีความพึงพอใจเชิงความรักใคร่ผูกพันกับผู้อื่นที่มี เพศเดียวกัน รวมทั้งชายขายบริการทางเพศชายมีความจาเป็นที่จะต้องมีเพศสัมพันธ์กับชายด้วย กันเอง ซึ่งไม่ได้มีความรักใคร่ผูกพันกับผู้ที่มีเพศเดียวกัน 6. สถานประกอบการซาวน่า หมายถึง สถานที่ให้บริการเหมือนกับห้องอาบน้าสาธารณะ ซึ่ง ภายในซาวน่าจะต้องมีห้องอบซาวน่า (อบแห้งแบบถ่านไฟ) อบไอน้า (Stream) ห้องออกกาลังกาย (Fitness) ห้องพักผ่อน หรือสถานที่เอื้อต่อ การมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย แนวคิดและทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ของ Freud ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) ของนายแพทย์ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Dr. Sigmund Freud) ฟรอยด์ เป็นนักจิตวิเคราะห์ชื่อดังเชื้อสายยิว เกิดเมื่อ ค.ศ. 1856 ที่เมืองไฟรเบอร์กโมราเวีย (Freiburg Moravia) ประเทศออสเตรีย-ฮังการี (Austro-Hungary) การแบ่งโครงสร้างของบุคลิกภาพของมนุษย์ โครงสร้างของบุคลิกภาพตามแนวคิดเกี่ยวกับ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ของ Freud ได้แบ่ งโครงสร้างทางบุคลิกภาพของมนุษย์ออกเป็น 3 ส่ว น ประกอบด้วย อิด (Id) อีโก (Ego) และซุปเปอร์อีโก (Superego) (พัทยา สายหู, 2524: 20-23 อ้างถึงใน ลักขณา สริวัฒน์, 2544: 15) อิด (Id) เป็นส่วนประกอบพื้นฐานของบุคลิกภาพ ประกอบด้วยลักษณะ ทางจิตทุกอย่างที่มีมาแต่กาเนิด เป็นแหล่งพลังทางจิต (Psychic Energy) รวมถึงพลังทางเพศที่ ฟรอยด์ เรียกว่า ลิบิโด (libido) รวมทั้งสัญชาตญาณต่างๆด้วย อิดเป็นส่วนที่ไม่มีเหตุผล (Irrational) และทางานตามหลักความพอใจ (Pleasure Principle) เนื่องจากอิดจะไม่ทนทานต่อการเพิ่มพลังงาน ที่เกิดจากความกดดัน ดังนั้น เมื่อมีความเครียดอิดจาเป็นต้องขจัดความเครียดโดยใช้หลักแห่งความ พอใจ (Pleasure Principle) เพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด การทางานของอิดประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ ปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex Action) ซึ่งเกิดโดยอัตโนมัติและมีมาตั้งแต่เกิด เช่น การจาม การ กระพริบตาเป็นต้น ส่วนกระบวนการที่สอง คือ กระบวนการปฐมภูมิ (Primary Process) เป็นปฏิกิริยา


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

81

ทางจิตที่พยายามลดความตึงเครียด โดยการวาดมโนภาพของวัตถุ เป็นการเคลื่อนย้ายความตึงเครียด วิธีนี้เป็นการชะลอความตึงเครียดเท่านั้นไม่สามารถขจัดความ ตึงเครียดได้จริง อีโก (Ego) เป็นส่วนของ จิตที่เกิดจากความต้องการที่จะตอบสนองความต้องการตามโลกแห่งความเป็นจริง อีโกเป็นส่วนที่ทา หน้าที่ให้บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆอย่างมีเหตุผล และตามความเป็นจริงอีโกจึงทางานบนฐานแห่ง ความเป็นจริง (Reality Principle) ซึ่งเป็นกระบวนการทุติยภูมิ (Secondary Process) โดยพยายาม ควบคุม อิด (Id) ให้อยู่ในร่องในรอย ซุปเปอร์อีโก (Superego) เป็นความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นภายในใจ ของบุคคล เป็นมโนธรรมซึ่งประกอบด้วย ค่านิยม ศีลธรรม ประเพณี และอุดมคติของสังคม ที่บุคคล ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่ ซุปเปอร์อีโกจึงทาหน้าที่อยู่บนฐานของอุดมคติ มีเปูาหมายที่จะควบคุม หรือยับยั้งแรงกระตุ้นจากอิด และหว่านล้อมให้อีโกเปลี่ยนเปูาหมายแห่งความเป็นจริงเป็นคุณธรรม ตลอดจนพยายามเหนี่ยวนาให้เกิดความสมบูรณ์ในตนเอง ลิบิโด (Libido) แรงขับทางเพศพื้นฐาน (อุบลรัตน์ เพ็งสถิต, 2533: 8 อ้างถึงใน ลักขณา สริวัฒน์, 2544: 18, เจษฎา อังกาบสี, 2556: 8) ได้อธิบายถึงทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์มีมโนทัศน์ (Concepts) ที่สาคัญ ดังนี้ 1. หลักแห่งความพอใจ (Pleasure Principle) โดยฟรอยด์เห็นว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ แสวงหาความสุข (Pleasure-Seeking Animal) และหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด ไม่ค่อยมีเหตุผล 2. หลักแห่งความจริง (Reality Principle) สภาพความเป็นจริงเป็นสิ่งกาหนดขอบเขต ของพฤติกรรมมนุษย์ว่าอะไรควร และอะไรไม่ควรทา 3. หลักแห่งการระบายความตึงเครียด (Tension Reduction Principle) เมื่อเกิด ความขัดแย้งระหว่างความพอใจกับความเป็นจริงอย่างรุนแรง มนุษย์จะหาวิธีเพื่อลดความตึงเครียดที่ เกิดขึ้นนั้น 4. หลักการแบ่งขั้ว (Polarity or Duality Principle) ฟรอยด์เห็นว่าทุกๆ อย่างในชีวิตมี ลักษณะเป็นคู่ตรงข้ามกัน เช่น ชีวิต/ความตาย ดี/เลว บวก/ลบ และ ขาว/ดา เป็นต้น มนุษย์จะต้องเผชิญ ทางเลือกที่เป็นคู่ตรงข้ามดังกล่าวเพื่อต้องตัดสินใจ ฟรอยด์เชื่อว่าทุกๆ คนเกิดมาพร้อมกับแรงขับทางเพศ พื้นฐาน หรือพลังแห่งสัญชาตญาณ ซึ่งเรียกว่า ลิบิโด (Libido) ซึ่งมาจากภาษาละตินแปลว่า แรงปรารถนา (Desire) ฟรอยด์เห็นว่าลักษณะทางเพศของมนุษย์นั้นมีตั้งแต่กาเนิด ในเด็กแรกเกิดนั้น ลิบิโดเป็นแรงขับ อย่างหนึ่งที่จะจูงใจให้มนุษย์แสดงพฤติกรรม ส่วนแรงขับอีกอย่างหนึ่ง ฟรอยด์เรียกว่า ธานาโทส (Thanatos) ซึ่งเป็นสัญชาตญาณแห่งความตาย 5. หลักการทาซ้า (Repetition Compulsion Principle) มนุษย์มีนิสัยตามอย่าง เมื่อ ทาอะไรได้สาเร็จก็จะทาซ้า และเมื่อทาซ้านานๆ จะเกิดการคงที่ (Fixation) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการเลียนแบบ ตามทฤษฎีจิตวิทยาการ เรียนรู้ของ (Bandura, 1963: 86 อ้างถึงใน ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์, 2541: 18) มีความเชื่อว่าการ เรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ จึงเรียกการเรียนรู้จากการ สังเกตว่า “การเรียนรู้โดยการสังเกต” หรือ “การเลียนแบบ” และเนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวอยู่เสมอ (Bandura, 1969: 85-86 อ้างถึงใน สุรางค์ โค้วตระกูล, 2541: 37) อธิบายว่า การเรี ยนรู้ เกิ ดจากปฏิสั มพันธ์ระหว่างผู้ เรียนและสิ่ งแวดล้ อมในสั งคม ซึ่งทั้ งผู้ เรียนและ สิ่งแวดล้ อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน จึงเปลี่ ยนชื่อทฤษฎีการเรียนรู้ของท่านว่า การเรียนรู้ทางสั งคม


82

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

(Social Learning Theory) แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิป๎ญญา (Social Cognitive Learning Theory) อีกครั้งหนึ่ง (Bandura, 1983: 85-86 อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโณ, 2532: 21) สรุปว่า การเรียนรู้โดยการ สังเกตจึงเป็นกระบวนการทางการรู้คิดหรือพุทธิป๎ญญา (Cognitive Processes) การเรียนรู้โดยการ สังเกตหรือการเลียนแบบ (Observational Learning หรือ Modeling) บันดูร่า อธิบายว่า คนเรามี ปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเราอยู่เสมอ การเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้เรียนและสิ่ งแวดล้ อม ซึ่งทั้งผู้ เรียนและสิ่ งแวดล้ อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน พฤติกรรมของคนเรา ส่วนมากจะเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ (Modeling) สาหรับตัวแบบไม่จาเป็นต้องเป็นตัวแบบที่มีชีวิตเท่านั้น แต่อาจจะเป็นตัวสัญลักษณ์ เช่น ตัวแบบที่เห็นในโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ หรืออาจจะเป็นรูปภาพการ์ตูนหนังสือก็ได้ นอกจากนี้ คา บอกเล่าด้วยคาพูดหรือข้อมูลที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรก็เป็นตัวแบบได้ การเรียนรู้โดยการสังเกต ไม่ใช่การลอกแบบจากสิ่งที่สังเกตโดยผู้เรียนไม่คิด คุณสมบัติของผู้เรียนมีความสาคัญ เช่น ผู้เรี ยน จะต้องมีความสามารถที่จะรับรู้สิ่งเร้า และสามารถสร้างรหัสหรือกาหนดสัญลักษณ์ของสิ่งที่สังเกตเก็บ ไว้ในความจาระยะยาว และสามารถเรียกใช้ในขณะที่ผู้สังเกตต้องการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ ขั้นตอนการเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการเลียนแบบ (Bandura & Menlove, 1968: 87-86 อ้างถึงใน ยงยุทธ วงศ์ภิรมณ์ศานต์, 2547: 17), (ธีระพร อุวรรณโณ, 2532), (ขวัญดาว กล่ารัตน์, 2548) Bandura กล่าวว่า การเรียนรู้ทางสังคมด้วยการรู้คิดจากการเลียนแบบ มี 2 ขั้นดังนี้ ขั้นที่ 1 เป็นขั้นได้รับมาซึ่งการเรียนรู้ (Acquisition) ทาให้สามารถแสดงพฤติกรรมได้ ขั้นที่ 2 เรียกว่าขั้นการกระทา (Performance) ซึ่งอาจจะกระทาหรือไม่กระทาก็ได้ การ แบ่งขั้นของการเรียนรู้แบบนี้ทาให้ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bandura แตกต่างจากทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ชนิดอื่นๆ การเรียนรู้ที่แบ่งออก 2 ขั้น อาจจะแสดงด้วยแผนผังดังต่อไปนี้ แผนผังแสดงขั้นของการเรียนรู้โดยการเลียนแบบ สิ่งเร้า หรือ

บุคคล

การรับเข้า

พฤติกรรมสนองตอบ หรือการส่งออก

(Person)

(Input)

(Output)

ขั้นที่ 1 ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้ (Acquisition)

ขั้นที่ 2 ขั้นการกระทา (Performance)


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

83

ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้ ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สาคัญเป็นลาดับ 3 ลาดับ ดังแสดงใน แผนผังต่อไปนี้ ตัวแบบ (Model) (Input)

ความใส่ใจเลือกสิ่งเร้า

การเข้ารหัส

การจดจา

(Selective Attention)

(Coding)

(Retention)

จากแผนผั ง จะเห็ น ว่ า ส่ ว นประกอบทั้ ง สามอย่ า ง ของการรั บ มาซึ่ ง การเรี ย นรู้ เ ป็ น กระบวนการทางพุทธิป๎ญญา (Cognitive Process) ความใส่ใจที่เลือกสิ่งเร้ามีบทบาทสาคัญในการ เลือกตัวแบบ ประเภทของตัวแบบ (Bandura, 1989: 86 อ้างถึงใน ยงยุทธ วงศ์ภิรมณ์ศานต์, 2547: 19-21) กล่าวว่า การเรี ยนรู้ส่ วนใหญ่ของคนเรานั้นเกิดขึ้นจากการสั งเกต จากตัวแบบ ซึ่งแตกต่างจากการ เรียนรู้ประสบการณ์ตรงที่ต้องอาศัยการลองผิดลองถูก เพราะนอกจากจะสูญเสียเวลาแล้วยังอาจมี อันตรายได้ในบางพฤติกรรม (จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์ และคณะ, 2543: 38-39) ตัวแบบเพียงคนเดียว สามารถที่จะถ่ายทอดทั้งความคิดและการแสดงออกได้พร้อมๆกันเนื่องจากตัวคนเรานั้นใช้ชีวิตในแต่ละ วั น ในสภาพแวดล้ อมที่ แคบๆ ดั งนั้ น การรั บรู้ เ กี่ ยวกั บสภาพการณ์ ต่ างๆของสั งคมจึ งผ่ านมาจาก ประสบการณ์ของผู้อื่นโดยการได้ยิน และได้เห็นโดยไม่มีประสบการณ์ตรงมาเกี่ยวข้องคนส่วนมากรับรู้ เรื่องราวต่างๆผ่านสื่อแทบทั้งสิ้น ตัวแบบ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ ตัวแบบที่เป็นบุคคล จริง (Live Model) คือ ตัวแบบที่บุคคลได้มีโอกาสสังเกตและปฏิสัมพันธ์โดยตรงตัวแบบที่เป็นสื่อ สัญลักษณ์ (Symbolic Model) คือ ตัวแบบที่เสนอผ่านสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ การ์ตูน หรือ หนังสือนวนิยาย เป็นต้น กระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกต (Bandura, 1989: 89 อ้างถึงใน จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์ และคณะ, 2543: 44) การเรียนรู้จากการสังเกตตัวแบบนี้ ได้กล่าวถึงกระบวนการที่สาคัญในการเรียนรู้ โดยการสังเกตไว้ ดังนี้ กระบวนการตั้งใจ (Attentional Process) ความใส่ใจของผู้เรียนเป็นสิ่งสาคัญมาก ถ้าผู้เรียน ไม่มีความใส่ใจการเรียนรู้โดยการสังเกตการเลียนแบบก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการเรียนรู้แบบนี้ความใส่ ใจจึงเป็น สิ่งแรกที่ผู้เรียนจะต้องมี Bandura กล่าวว่า ผู้เรียนจะต้องรับรู้ส่วนประกอบที่สาคั ญของ พฤติกรรมของผู้ที่เป็นตัวแบบองค์ประกอบที่มีผลต่อกระบวนการตั้งใจแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบของตัวแบบเองที่จะทาให้บุคคลมีความสนใจ เกิดความพึงพอใจ ตั้งใจสังเกต และ องค์ประกอบของผู้สังเกต ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ ความสามารถ การรับรู้ ความสามารถในการรับรู้ ทางป๎ญญา ที่ความสัมพันธ์กับกระบวนการใส่ใจ กระบวนการจดจา (Retention Process) การที่ผู้เรียนหรือผู้สังเกตสามารถที่จะเลียนแบบ หรือแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบได้ก็เป็นเพราะผู้เรียนบันทึกสิ่งที่ตนสังเกตจากตัวแบบไว้ในความจา ระยะยาว Bandura พบว่า ผู้สังเกตที่สามารถอธิบายพฤติกรรม หรือการกระทาของตัวแบบด้วยคาพูด หรือสามารถมีภาพพจน์สิ่งที่ตนสังเกตไว้ในใจจะเป็นผู้ที่สามารถจดจาสิ่งที่เรียนรู้โดยการสังเกตได้ดีกว่าผู้


84

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

ที่เพียงแต่ดูเฉยๆหรือทางานอื่นในขณะที่ดูตัวแบบไปด้วย สรุปได้ว่า ผู้สังเกตที่สามารถระลึ กถึงสิ่งที่ สังเกตเป็นภาพพจน์ในใจ และสามารถเข้ารหัสด้วยคาพูดหรือถ้อยคา จะเป็นผู้ที่สามารถแสดงพฤติกรรม เลียนแบบจากตัวแบบได้แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานๆ และนอกจากนี้ถ้าผู้สังเกตหรือผู้เรียนมีโอกาส ที่จะ ได้เห็นตัวแบบแสดงสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ซ้าก็จะเป็นการช่วยความจาให้ดีขึ้นกระบวนการกระทาพฤติกรรม เหมือนกับตัวแบบ (Reproduction Process) กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบเป็น กระบวนการที่ผู้เรียน แปลสภาพ (Transform) ภาพพจน์ (Visual Image) หรือสิ่งที่จาไว้เป็นการเข้ารหัส เป็นถ้อยคา (Verbal Coding) ในที่สุดแสดงออกมาเป็นการกระทาหรือแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ ป๎จจัยที่สาคัญของกระบวนการนี้ คือ ความพร้อมทางด้านร่างกาย และทักษะที่จาเป็นที่จะต้องใช้ในการ เลี ยนแบบของผู้ เรี ยน ถ้ าหากผู้ เรี ยนไม่ มี ความพร้ อมก็ จะไม่ สามารถแสดงพฤติ กรรมเลี ยนแบบได้ (Bandura, 1989: 89-90 อ้างถึงใน ยงยุทธ วงศ์ภิรมณ์ศานต์, 2547: 22-23) กล่าวว่า การเรียนรู้โดยการ สั งเกตหรื อการเลี ยนแบบไม่ ใช่พฤติ กรรมที่ ลอกแบบอย่างตรงไปตรงมา การเรี ยนรู้ โดยการสั งเกต ประกอบด้วยกระบวนการทางพุทธิป๎ญญา (Cognitive Process) และความพร้อมทางด้านร่างกายของ ผู้เรียน ฉะนั้น ขั้นการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ (Reproduction) ของแต่ละบุคคลจึงแตกต่างกันไป ผู้เรียนบางคนอาจจะทาได้ดีกว่าตัวแบบที่ตนสังเกต หรือบางคนก็สามารถเลียนแบบได้เหมือนมาก บางคนอาจจะทาได้ไม่เหมือนกับตัวแบบเพียงแต่คล้ายคลึงกับตัวแบบ มีบางส่วนเหมือนบางส่วนไม่ เหมือนกับตัวแบบ และผู้เรียนบางคนจะไม่สามารถแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ (Bandura, 1989: 86 อ้างถึงใน ลักขณา สริวัฒน์, 2544: 38) ผู้ที่มีหน้าที่เป็นตัวแบบ เช่น ผู้ปกครอง หรือ ครู ควรใช้ผล ย้อนกลับที่ต้องตรวจสอบแก้ไข (Correcting Feedback) เพราะจะเป็นการช่วยเหลือให้ผู้เรียนหรือผู้ สังเกตมีโอกาสทบทวนในใจว่าการแสดงพฤติกรรมของตัวแบบมีอะไรบ้างและพยายามแก้ไขให้ถูกต้อง กระบวนการจูงใจ (Motivation Process) (Bandura, 1982: 87 อ้างถึงใน จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์ และคณะ, 2543: 91) แรงจูงใจของผู้เรียนที่จะแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบที่ตนสังเกต เนื่องมาจาก ความคาดหวังว่า การเลียนแบบจะนาประโยชน์มาให้ เช่น การได้รับแรงเสริมหรือรางวัล หรือ อาจจะนา ประโยชน์ บางสิ่ งบางอย่ างมาให้ รวมทั้ งการคิ ดว่ าการแสดงพฤติ กรรมเหมื อนตั วแบบจะท าให้ ตน หลี กเลี่ ย งป๎ ญ หาได้ การที่ บุ คคลเกิ ดการเรี ยนรู้ แล้ ว จะแสดงพฤติ กรรมหรื อ ไม่ นั้ น ย่ อมขึ้ นอยู่ กั บ กระบวนการจูงใจ กระบวนการจูงใจจะต้องกระตุ้นการรับรู้และต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม อิทธิพลของตัวแบบต่อพฤติกรรมของบุคคล (Bandura, 1989: 90-93 อ้างถึงใน ลักขณา สริวัฒน์, 2544: 38-39) ตัวแบบนั้นมีผลต่อพฤติกรรมของบุคคล 4 ด้านคือ 1. ช่วยให้บุคคลเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ๆ หรือทักษะใหม่ๆ ทาให้เราสามารถนาเอาวิธีการ เสนอตัวแบบไปสร้างพฤติกรรมใหม่ๆให้กับบุคคลที่ไม่เคยแสดงพฤติกรรมดังกล่าวนั้นเพื่อที่ว่าจะได้ เป็นประโยชน์ต่อเขาทั้งในสภาพป๎จจุบันและอนาคต 2. มีผลทาให้เกิดการระงับ หรือการยุติการระงับการแสดงพฤติกรรมตามผู้ที่สังเกตตัวแบบ ได้ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับว่าเมื่อตัวแบบแสดงพฤติกรรมแล้วได้รับผลกรรมเช่นใด ถ้าได้รับผลกรรมเป็นที่ ไม่พึงพอใจแนวโน้มที่ผู้สังเกตตัวแบบจะไม่แสดงพฤติกรรมตายตัวแบบนั้นจะมีสูงมาก หรือถ้าแสดง แล้วได้รับผลกรรมทางบวกแนวโน้มที่ผู้สังเกตจะกระทาตามตัวแบบก็จะมีมากขึ้น


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

85

3. ช่ว ยให้ พฤติ กรรมที่เคยได้รั บการเรียนรู้มาแล้ ว มีโ อกาสแสดงออกผลของตัว แบบใน ลักษณะเช่นนี้จะทาหน้าที่เป็นสัญญาณกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมนั้นออกมา 4. การดูตัว แบบดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นมีประโยชน์ต่อการปรับพฤติกรรมหรือการสร้ าง พฤติกรรม หรือเป็นการเรียนรู้สิ่งใหม่ที่ไม่ สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ตรง แต่การศึกษาจาก ต้นแบบนั้นจะต้องมีกระบวนการตั้งใจเก็บความจา และเกิดแรงจูงใจที่ดีในการแสดงพฤติกรรมนั้น ซึ่ง ผู้วิจัยก็ได้นาทฤษฎีนี้มาเป็นส่วนหนึ่งในการวิจัย โดยการใช้สื่อรูปภาพเป็นตัวแบบพร้อมคาอธิบายใต้ ภาพมาเป็นตัวแบบในการปฏิบัติกิจวัตรประจาวัน สรุปได้ว่า การเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการเลียนแบบ (Observational Learning หรือ Modeling) มีผลต่อการแสดงออกต่อพฤติกรรมของบุคคล อิทธิพลของตัวแบบทาให้เกิดการเรียนรู้ ใหม่ๆ เกิดการสร้างพฤติกรรมใหม่ๆ ทาหน้าที่เป็นสัญญาณกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมนั้นออกมา เนื่องจากพฤติกรรมของคนเราส่วนมากจะเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ (Modeling) สาหรับตัวแบบไม่จาเป็นต้องเป็นตัวแบบที่มีชีวิตเท่านั้น แต่ อาจจะเป็นตัวสัญลักษณ์ เช่น ตัวแบบที่เห็นในโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์หรืออาจจะเป็นรูปภาพการ์ตูน หนังสือก็ได้ แนวความคิดเกี่ยวกับความต้องการตามลาดับขั้นของ Maslow (Maslow, 1943: 182 อ้างถึงใน ชาติวุฒ วังวล และคณะ, 2551: 75) มาสโลว์มีความเห็นบุคคล ควรจะได้รับการสนับสนุนให้ เกิดการจูงใจ เพื่อให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ จัดเป็นพลังอานาจที่ดีที่สุด และเป็นการจูงใจที่ จะต้องกระทาในทันที มาสโลว์มีความเห็นว่าถ้าตราบใดที่มนุษย์ยังมีความอดอยากหิวโหยอยู่ สิ่งที่มี ความสาคัญที่สุดสาหรับเขาก็คืออาหารนั่นเอง ลาดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ได้มีการเสนอแนะ ว่า เมื่อมนุษย์ได้รับความต้องการขั้นพื้นฐานจนเป็นที่พึงพอใจแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการในลาดับ ขั้นที่สูงต่อไป ตามทรรศนะของมาสโลว์มีความเชื่อว่าความต้องการตามลาดับขั้นทั้งหมดเป็นความ ต้องการของมนุษย์ที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด แต่มนุษย์ที่มีความต้องการตามลาดับขั้นในขั้นที่สูงขึ้น มนุษย์ จึงต้องการการชี้นาในการกระทา เมื่อมนุษย์ได้รับความพึงพอใจในลับดับขั้นความต้องการขั้นพื้นฐาน คือ ได้รับอาหารเพียงพอแล้ว และมีความปลอดภัยในชีวิตแล้ว ก็เป็นสิ่งที่เชื่อแน่ได้ว่ามนุษย์ก็จะถูกจูง ใจให้มีความต้องการทางสังคม หรือมีความต้องการการยอมรับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เมื่อได้รับ การยอมรับนับถือเป็นอย่างสูงเขาก็จะเป็นผู้ที่รู้จักและมีความเข้าใจโลกของเขา หรือจัดเป็นการสร้าง สุน ทรี ย ภาพแห่ งความพอใจที่บริ สุทธิ์ มนุษย์ส ามารถจะประสบผลสาเร็จได้ตามเปูาหมายเขาจะ กลายเป็นบุคคลที่มีความสามารถมากที่สุดตลอดไปและมีความสามารถหลายอย่าง หรือเป็นบุคคลที่ ประสบความสาเร็จชีวิต ดังนั้นแต่ละบุคคลจะมีความสามารถในการพัฒนาตนเองได้


86

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

(Maslow, 1943: 34 อ้างถึงใน ศรีเรือน แก้วกังวาน, 2553: 26-27) ได้กล่าวว่า มาสโลว์ได้ อธิบายเกี่ยวกับเรื่องลาดับขั้นความต้องการของมาสโลว์โดยรูปพีระมิดที่ความต้องการที่มากที่สุด พื้นฐาน ที่สุดจะอยู่ข้างล่าง และความต้องการรู้จัก และพัฒนาตนเอง (Self-Actualization) จะอยู่บนสุดพีระมิด แบ่งออกเป็น 5 ชั้น

ภาพ : ลาดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ความต้องการทางกายภาพ (Physiological) เป็นความต้องการเพื่อจะอยู่รอดของมนุษย์ถ้า ความต้องการพื้นฐานที่สุดนี้ไม่ได้รับการตอบสนอง ร่างกายของมนุษย์ก็ไม่สามารถทางานได้ หรือไม่ สามารถทางานได้ดี อากาศ น้า อาหาร เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการเพื่อใช้ในกระบวนการสร้างและสลาย เพื่อให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และที่พักจะให้การปกปูองที่จาเป็นกับมนุษย์ จากสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม สัญชาตญาณและความต้องการทางเพศ ถูกพัฒนามาจากการแข่งขัน เพื่อโอกาสในการผสมและสืบพันธุ์ ความต้ องการความมั่ น คงปลอดภั ย (Safety) เมื่ อความต้ องการทางกายภาพได้ รั บการ ตอบสนองในระดับที่พอเพียง ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยจะมีอิทธิพลกับพฤติกรรม ถ้าไม่มีความ ปลอดภัยทางกายภาพ (จากสาเหตุ เช่น อาชญากรรม สงคราม การก่อการร้าย ภัยพิบัติธรรม ชาติ หรือ ความรุนแรงในครอบครัว) คนอาจมีอาการของความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PostTraumatic Stress Disorder) และอาจมีการส่งผ่านความเครียดนี้ไปยังคนรุ่นหลังได้ ถ้าไม่มีความ ปลอดภัยมั่นคงทางเศรษฐกิจ (จากสาเหตุ เช่น วิกฤตเศรษฐกิจ หรือ การขาดโอกาสทางการงาน) ความ ต้องการความมั่นคงปลอดภัยนี้ อาจปรากฏออกมาในรูปของ การนิยมงานที่มีความมั่นคง กระบวนการร้อง ทุกข์เพื่อปกปูองบุคคลจากการกลั่นแกล้งของผู้บังคับบัญชาหรือปกปูองบัญชีเงินฝาก เรียกร้องนโยบาย ประกันภัย ประกันสุขภาพ ประกันชีวิตต่างๆ การเรียกร้องที่พักที่เหมาะสมสาหรับคนพิการ เป็นต้น ความต้องการความรักและเป็นเจ้าของ (Love/Belonging) เมื่อความต้องการทางกายภาพ และความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว ระดับขั้นที่สามของความต้องการมนุษย์คือ ความต้องการเป็น เจ้าของ ความต้องการนี้จะรุนแรงมากในวัยเด็ก และบางครั้งอาจจะชนะความต้องการความปลอดภัยได้ใน บางครั้ง ดังเห็นได้จากการที่เด็กติดพ่อแม่ที่เป็นอันตราย ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "Stockholm syndrome" การขาดความรั ก และความเป็ นเจ้ าของ อาจมาจากการขาดความผู กพันจากผู้ เลี้ ยงดู ขณะเป็นทารก (Hospitalism) การถูกทอดทิ้ง (Neglect) การถูกสังคมรังเกียจหรือกีดกัน (Shunning) การถูกขับออกจาก


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

87

กลุ่ม (Ostracism) เป็นต้น อาจมีผลทาให้บุคคลไม่สามารถพัฒนาหรือรักษาความสัมพันธ์ที่สาคัญ (เช่น มิตรภาพ ความรัก ครอบครัว) ไว้ได้ ความต้องการเป็นที่ยอมรับ (Esteem) (ศรีเรือน แก้วกังวาน, 2553: 14-16 อ้างถึงใน ชูยศ ศรีวรขันธ์, 2553: 26) ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า ในทุกระดับกลุ่ม สังคมเล็ก หรือใหญ่ เช่น สโมสร กลุ่มศาสนา องค์กรสายอาชีพ ทีมกีฬา แก็งส์ หรือ ความสัมพันธ์ทางสังคมเล็กๆ (สมาชิกในครอบครัว คู่ชีวิต พี่เลี้ยง เพื่อนสนิท) มนุษย์ต้องการที่จะรักและถูกรักจากคนอื่น ถ้าขาดความต้องการเรื่องนี้ไป หลายๆคนกลาย เป็นคนขี้เหงา มีป๎ญหาการเข้าสังคม และ เป็นโรคซึมเศร้า ความต้องการเป็นเจ้าของนี้ บ่อยครั้งที่ สามารถจะชนะความต้องการทางกายภาพและความมั่นคงปลอดภัยได้ ขึ้นกับแรงกดดันจากคนรอบข้าง (Peer Pressure) เช่น คนที่มีอาการเบื่ออาหาร อาจละเลยความต้องการอาหาร และความปลอดภัย เพียงเพื่อได้ความต้องการการยอมรับ ความต้องการรู้จักและพัฒนาตนเอง (Self-Actualization) มนุษย์ทุกคนต้องการที่จะได้รับ การนับถือและเคารพให้เกียรติ ความเคารพนับถือแสดงถึงความต้องการของมนุษย์ที่จะต้องการรู้จัก และ พัฒนาตนเอง คนต้องการที่จะทาอะไรจริงจังเพื่อจะได้รับการยอมรับนับถือและต้องการจะมีกิจกรรมที่ทา ให้รู้สึกว่าเขาได้มีส่วนทาประโยชน์ เพื่อจะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ หรือ งานอดิเรก ความ ไม่สมดุลในความเคารพนับถือ อาจส่งผลให้มีความภาคภูมิใจในตนเองต่าและรู้สึกต้อยต่า คนที่มีความ ภาคภูมิใจในตนเองต่า ความต้องการรู้จัก และพัฒนาตนเองเป็นความต้องการ เป็นความต้องการความ เคารพตัวเอง ความต้องการความแข็งแกร่ง ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ความมั่นใจในตัวเอง ความเป็น ตัวของตัวเอง และ อิสระ ที่ความต้องการเหล่านี้จัดเป็นระดับสูง ก็เพราะว่า มันขึ้นกับความสามารถภาย ในมากกว่า ซึ่งได้มาโดยผ่านประสบการณ์ แนวความคิดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของ Costa and McCrae บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ขององค์ประกอบของ Costa และ McCrae อธิบายว่า องค์ประกอบแต่ละด้านเปรียบเสมือนตะกร้าที่บรรจุ กลุ่มของคุณลักษณะประจาตัวย่อยๆ ของมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันไว้ด้วย ซึ่งการใช้คาจากัดทั้ง ห้าองค์ประกอบเป็นความพยายามที่จะอธิบายส่วนสาคัญร่วมกันของคุณลักษณะเหล่านี้ที่อยู่ในตะกร้า แต่ละใบ ซึ่งคาจากัดความกลุ่มของคุณลักษณะที่บรรจุในตะกร้าเหล่านี้เป็นที่ยอมรับ เป็นอย่างมาก (Costa and McCrae, 1992: 34 อ้างถึงใน ธัญญลักษณ์ บวรพงศ์ปรณ์, 2555: 14-22) โดยแต่ละองค์ประกอบมี ลักษณะสาคัญดังนี้ บุคลิกภาพแบบหวั่นไหว (Neuroticism) หมายถึง เป็นผู้มีความวิตกกังวล (Worry) เป็นคน โกรธง่าย (Anger) มีความท้อแท้ (Discouragement) การคานึงแต่ตนเอง (Self-consciousness) การมี ความกระตุ้นรุนแรง (Impulsiveness) และมีอารมณ์เปราะบาง (Vulnerability) (Costa and McCrae, 1992: 34 อ้างถึงใน กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์, 2552: 8) กล่าวว่า ความไม่มั่นคงทางอารมณ์ บางครั้งเรียกว่า ความหวั่นไหว เป็ นการพิจารณาป๎ จจัยด้านชีวภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง ลั กษณะของความไม่มั่นคงทาง อารมณ์ ได้แก่ ความวิตกกังวล ความโกรธ ความเศร้าซึม ความประหม่า ความหุนหัน และความอ่อนแอ คนที่มีความไม่มั่นคงทางอารมณ์ แนวโน้มจะเป็นพวกกลัว เศร้า โกรธ ขาดเหตุผล ควบคุมตนเองไม่ได้ จัดการกับความเครียดไม่ค่อยได้ มีโอกาสเจ็บปุวยทางจิตสูง และมีป๎ญหาในการปรับตัว


88

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

สรุปได้ว่า บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว (Neuroticism) มักจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดี มี ความเครียดสูง มักจะรู้สึกกังวลใจกับสิ่งเร้าที่มากระทบตลอดเวลา มีความหวั่นไหวมากกว่าคนทั่วไปมี ปฎิ กิ ริ ย าตอบโต้ ต่ อ สิ่ งเร้ า มากกว่ า มี ค วามพึ ง พอใจในชี วิ ต น้ อย ควบคุ ม ตนเองไม่ไ ด้ จั ดการกั บ ความเครียดไม่ค่อยได้ และมักคาดหวังต่อตัวเองมากอีกด้วย บุคลิกภาพแบบแสดงตัว (Extroversion) หมายถึง ความเป็นผู้ที่มีความอบอุ่น (Warmth) การชอบอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Gregariousness) การแสดงออกแบบตรงไปตรงมา (Assertiveness) การ ชอบกิจกรรม (Activity) การชอบแสวงหาความตื่นเต้น (Excitement seeking) การมีอารมณ์ด้านบวก (Positive emotions) (Costa and McCrae, 1992: 34 อ้างถึงใน กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์, 2552: 8-9) กล่าวว่า ผู้มีบุคลิกภาพแสดงตัวจะชอบเข้าสังคม กล้าแสดงออก แน่วแน่ รักการผจญภัย ว่องไว ร่าเริง กระตือรือร้น กระปรี้กระเปร่า ช่างคุย อบอุ่น เป็นธรรมชาติ สนุกสนาน อารมณ์แจ่มใส และมองโลก ในด้านดี สรุ ป ได้ว่ า บุ ค คลที่มี บุ ค ลิ กภาพแบบแสดงตั ว (Extroversion) มั ก เป็ น บุ คคลที่ มีลั ก ษณะ เกีย่ วข้องกับกลุ่มของสัมพันธ์ภาพที่มีต่อคนอื่นๆ ผู้มีบุคลิกภาพด้านการแสดงตัวสูง หมายถึง เป็นผู้ที่ มีสัมพันธ์กับคนจานวนมาก และมีสัดส่วนการใช้เวลาในการสังสรรค์กับบุคคลต่างๆ ชอบเข้าสังคม มองโลกในด้านดี มีแ นวโน้ มที่จ ะเป็ น ผู้ น า ชอบแสดงออก มี กิจกรรมทางกายภาพ และการพู ด มากกว่าคนส่วนใหญ่ มักจะมีบทบาทสาคัญทางการสังคม บุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ (Openness to experience) หมายถึง การเป็นคน ช่างฝ๎น (Fantasy) การซาบซึ้งในความงาม (Aesthetics) การเปิดเผยความรู้สึก (Feelinge) การปฎิบัติ (Actions) การมีความคิด (Ideas) และการยอมรับค่านิยม (Values) (Costa and McCrae, 1992: 34 อ้างถึงใน กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์, 2552: 9) กล่าวว่า บุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ องค์ประกอบด้านนี้เกี่ยวข้องกับเชาวน์ป๎ญญาของบุคคล อาทิ มี ความคิดสร้างสรรค์ มีจิตนาการ มีสุนทรียภาพ มีความอยากรู้อยากเห็น ทันคน มักจะเติมไปด้วยจิต นาการอยู่ ตลอดเวลา ชื่น ชนความสวยความงาม ชอบความหลากหลาย มีความสงสั ยใคร่รู้ และ ตัดสินใจด้วยตนเองโดยไม่อยู่ใต้อิทธิพลของผู้อื่น สรุปได้ว่า บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ (Openness to Experience) มัก เกี่ยวข้องกับกลุ่มของความสนใจในสิ่งที่ดึงดูดใจ และติดตามสิ่งที่สนใจนั้น จะเป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ค่อนข้าง ให้ความสนใจกับสิ่งรอบตัวมากกว่าแต่ไม่ละเอียด (รู้กว้าง) พร้อมจะเสี่ยง มีความอยากรู้อยากเห็น ทันคน มักจะเติมไปด้วยจิตนาการอยู่ตลอดเวลา ชื่นชนความสวยความงาม ชอบความหลากหลาย มีความสงสัย ใคร่รู้และตัดสินใจด้วยตนเองโดยไม่อยู่ใต้อิทธิพลของผู้อื่นต้องการการเปลี่ยนแปลงบ่อย หลงใหลไปกับ ประสบการณ์แปลกใหม่ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ มีลักษณะเสรีนิยม เป็นนักสารวจ บุคลิกภาพแบบประนีประนอม (Agreeableness) หมายถึง การเป็นผู้ไว้วางใจผู้อื่น (Trust) ความตรงไปตรงมา (Straightforwardness) ความรู้ สึ ก เอื้ อ เฟื้ อ (Altruism) การยอมตามผู้ อื่ น (Compliance) ความสุภาพ (Modesty) และการมีจิตใจอ่อนโยน (Tender-Mindedness) (Costa and McCrae, 1992: 34 อ้างถึงใน กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์, 2552: 9) กล่าวว่า บุคลิกภาพแบบประนีประนอม เป็นคนที่มีความเป็นมิตร จะเป็นคนที่ไว้วางใจผู้อื่น ตรงไปตรงมา เห็นใจช่วยเหลือผู้อื่น เห็นแก่ประโยชน์ ของผู้อื่นเป็นหลัก มีความสุภาพ อบอุ่น มีเมตตา อ่อนโยน ถ่อมตน ไว้วางใจได้ น่าคบ และให้ความร่วมมือ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

89

สรุปได้ว่า บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบประนีประนอม (Agreeableness) มักมีลักษณะเป็นนัก ปรับตัว มีความสุภาพ อบอุ่น มีเมตตา อ่อนโยน ถ่อมตน ไว้วางใจได้ น่าคบ และให้ความร่วมมือ เป็นผู้ ที่มีแนวโน้มทาตามความต้องการของกลุ่ม ยอมรับบรรทัดฐานของกลุ่มมากกว่ายืนกรานตามบรรทัด ฐานของตนเอง มีความกลมกลืน ในการปรับตัวมีแนวโน้มที่จะเก็บความคิดความต้องการไว้ ในตนเอง และไม่ชอบการเรียนรู้ บุคลิกภาพแบบมีจิตสานึก (Conscientiousness) หมายถึง การมีสมรรถนะ (Competence) ความเป็นระเบียบ (Order) การมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ (Dutifulness) การมีความต้องการสัมฤทธิ์ผล (Achievement striving) ความมี วิ นั ยในตนเอง (Self-Discipline) และความคิ ดที่ ใช้ ปฎิ บั ติ งาน (Deliberation) (Costa and McCrae, 1992: 34 อ้างถึงใน กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์, 2552: 9) กล่าวว่า บุ คลิ กภาพแบบมีจิ ตส านึ ก เป็ นลั กษณะของคนที่มีวิ นัยในตนเอง มีการวางแผน มี วินัย รอบคอบ รับผิดชอบ มีระเบียบ มีความทะเยอทะยาน มีจุดมุ่งหมาย มั่นคง และมุ่งสู่ความสาเร็จ คนที่มีลักษณะนี้สูง มักประสบความสาเร็จในการเรียน และการทางาน แต่ก็อาจจู้จี้จุกจิก อารมณ์สม่าเสมอไม่หวั่นไหวง่าย สรุปได้ว่า บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบมีจิตสานึก (Conscientiousness) จิตสานึก เป็นลักษณะ ของคนที่มีวินัยในตนเอง มีการวางแผน มีวินัย รอบคอบ รับผิดชอบ มีระเบียบ มีความทะเยอทะยาน มีจุดมุ่งหมาย มักมีลักษณะเป็นผู้ที่มุ่งไปยังเปูาหมาย (ที่มีจานวนน้อย) และมีการแสดงออกที่เกี่ยวข้อง กับความมีวินัยในตนเองเพื่อที่จะมุ่ งไปยังเปูาหมายนั้น อีกทั้งยังเป็นผู้มีความสามารถ รับผิดชอบต่อ หน้าที่ มีวินัยในตนเอง มีแนวโน้มที่จะกระทางานทุกอย่างเพื่อความเป็นเลิศ มีความทะเยอทะยานสูง ลักษณะทั่วไปเป็นผู้ที่ประสบความสาเร็จในอาชีพ มุ่งมั่นอยู่กับงานและสิ่งที่ตนเองตั้งใจกระทา วิธีการดาเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ทาการวิจัยตามวัตถุประสงค์ โดยแบ่งกรอบการวิจัย การศึกษาเชิงวิเคราะห์ตามแนวคิด ทฤษฎี จิ ตวิทยาต่อพฤติกรรมเสี่ ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่ มชายที่มีเพศสั มพันธ์กับชายในสถาน ประกอบการซาวน่า การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ การศึกษาข้อมูลเอกสาร (Documentary Research) เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลจาก เอกสาร วิชาการ บทความ วารสาร วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ท เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษาวิเคราะห์ตามแนวคิดจิตวิทยาต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์ กับชายในสถานประกอบการซาวน่า การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กลุ่มตัวอย่าง จานวน 30 คน จากกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า เพื่อตรวจสอบข้อค้นพบจากข้อมูลปฐม ภูมิการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต (Observation) โดยผู้วิจัยดาเนินการเองการได้มาของกลุ่มตัวอย่าง การศึกษาวิเคราะห์ พฤติกรรมเสี่ ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถาน ประกอบซาวน่า ผู้วิจัยลงพื้นที่เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างในสถานประกอบการซาวน่าเป็ น ระยะเวลาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม–กรกฎาคม 2557 ผู้วิจัย ใช้วิธีการคัดกรองกลุ่มตัวอย่าง เบื้องต้น โดยวิธีการการแจกแบบประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี (นิตยา ภานุภาค พึ่งพาพงศ์ และ ธเนศว์ กาญธีรานนท์, 2550: 47) เพื่อเป็นการคัดกรองกลุ่มตัวอย่างเบื้องต้น โดยกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์ กับชายที่เคยมีเพศสัมพันธ์ผู้ตอบแบบประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีนี้ ต้องมีเคยผ่านการมี เพศสัมพันธ์มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา


90

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ข้อ คาถาม 1. ฉันเคยใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกับผู้อื่น 2. 3. 4. 5. 6.

9. 10.

ฉันมีถุงยางอนามัย เมื่อต้องการใช้ทุกสถานการณ์

8.

ไม่ใช่

ไม่แน่ใจ

ฉันเคยมีเซ็กส์กับคนอื่นที่ไม่ใช่แฟนหรือคนรักโดยไม่ ใช้ถุงยางอนามัย ฉั น เคยมี เ ซ็ ก ส์ กั บ แฟนหรื อ คนรั ก โดยไม่ ใ ช้ ถุ ง ยาง อนามัย ฉันดูออกว่าคนที่ฉันมีเซ็กส์ด้วยเคยมีเซ็กส์กับคนอื่น มาก่อนหรือไม่ ฉันมั่นใจว่าฉันจะมีเซ็กส์กับคนๆเดียว ฉันมั่นใจได้ว่าหลังจากเราตกลงเป็นคู่กันแล้ว คู่ของฉันจะไม่มีเซ็กส์กับใครอีก ฉันมั่นใจได้ว่า ฉันปฏิเสธการมีเซ็กส์แบบไม่ปูองกัน ได้ทุกครั้ง ฉันมั่นใจว่าคู่ของฉันใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เมื่อมี เซ็กส์กับคนอื่น ฉันคุยกับคู่ของฉันอย่างจริงจัง เรื่องการปูองกันเอดส์

7.

ใช่

หมายเหตุ : การแปลผลการแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมีดังนี้ สีดา หมายถึง พฤติกรรมดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงมากที่จะติดเชื้อเอชไอวี สีเทา หมายถึง พฤติกรรมดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี สีขาว หมายถึง พฤติกรรมดังกล่าวไม่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ส าหรั บการคั ดกรองเบื้ องต้ น ผู้ วิ จั ยจะคัดเลื อกเฉพาะกลุ่ มชายที่ มี เพศสั มพั นธ์ กับชายที่ มี พฤติกรรมเสี่ ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเท่านั้ น โดยไม่คานึงถึงปริมาณของข้อคาตอบ กล่ าวคือ แม้ มี พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเพียง 1 ข้อ ก็ถือว่า ผ่านหลักเกณฑ์ในการคัดกรองเบื้องต้นแล้ว ภายหลังการคัดกรองกลุ่มตัวอย่างเบื้องต้น ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่เข้าไปใช้บริการในสถานประกอบการซาวน่า จานวน 30 โดยมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก ดังนี้


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

91

1. กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายจะต้องเป็นผู้มีอายุตั้งแต่ 18 – 35 ปี 2. กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วง 3 เดือน ที่ผ่านมา 3. กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเข้าใช้บริการในช่วงเวลา 17.00 -24.00 น. ในวันศุกร์ เสาร์, อาทิตย์ 4. กลุ่ ม ชายที่ มี เ พศสั ม พั น ธ์ กั บ ชายที่ ยิ น ยอมให้ สั ม ภาษณ์ และเปิ ด เผ ยข้ อ มู ล ซึ่ ง เป็ น ประโยชน์ต่อการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สาหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) โดยผู้วิจัยนาข้อมูลจากการรวบรวมเอกสาร และงานวิจัยเกี่ยวข้องมาสร้างเครื่องมือตามกรอบ แนวคิดในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก และผู้วิจัยจะใช้เทคนิคการ พูดคุย สอบถามกลุ่มตัวอย่าง แบบสัมภาษณ์ประกอบด้วยข้อคาถามทั้งหมด 3 ส่วนตามวัตถุประสงค์ของ การวิจัยดังนี้ ส่วนที่ 1 การศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนที่ 2 การศึกษาบุคลิกภาพ ของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเพื่อเป็นประโยชน์ในการอภิปรายผล และพฤติกรรมเสี่ยงในการติด เชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า ส่วนที่ 3 การศึกษาเชิง วิเคราะห์ตามแนวคิดจิตวิทยาต่อบุคลิกภาพของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และพฤติกรรมเสี่ยงต่อ การติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย การสร้างแบบสัมภาษณ์ซึ่งวิธีการสัมภาษณ์ที่ยืดหยุ่น และเปิดกว้างจะถามอะไรก่อนหลังก็ได้ ผู้วิจัยเตรียมประเด็นคาถามต่างๆที่กาหนดไว้เพื่อให้ได้คาตอบ ครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ผู้วิจัยทาการวิจัยเตรียมการในด้านความรู้เกี่ยวกับตามแนวทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Freud, ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการหรือการเลียนแบบของ Bandura, ทฤษฎีลาดับขั้นความต้องการของ Maslow, ทฤษฎีบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของ Costa and McCrae ตลอดจนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับ หัวข้อในการศึกษาเชิงวิเคราะห์ตามแนวคิดจิตวิทยาต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่ม ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า 2) ผู้วิจัยทาการวิจัยเตรียมความรู้ในเรื่องวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) จรรยาบรรณ ของนักวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากตารา และการขอคาปรึกษาจาก อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้เข้าใจในวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ อันนาไปสู่การศึกษาที่ถูกต้อง และครอบคลุม ประเด็นที่ต้องการจะศึกษาให้มากที่สุด 3) แนวคาถามในแบบสั มภาษณ์ เป็นเครื่องมือที่ผู้ วิจัยทาการสร้างขึ้นเองโดยการศึกษาใน ประเด็นคาถามของงานวิจัยครั้งนี้ จากการทบทวนวรรณกรรมและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง โดยสร้าง เป็นคาถามให้ครอบคลุมขอบเขตของการวิจัยอันเป็นสิ่งที่ต้องการศึกษาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้ง เอาไว้มีการเรียงลาดับคาถามการเตรียมเนื้อหาของคาถามปลายเปิด โครงสร้างคาถามในการสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 แนวคาถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ รสนิยมทางเพศ และข้อมูลเกี่ยวกับบุคลิกภาพของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนที่ 2


92

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

แนวคาถามที่เกี่ยวกับข้อมูลของผู้ให้ข้อมูล และมีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อการศึกษาเชิงวิเคราะห์ตาม แนวคิดจิตวิทยาต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถาน ประกอบการซาวน่า 4) สร้างแบบสัมภาษณ์ และพัฒนาปรับปรุง 5) นาแบบสัมภาษณ์ ที่ปรับปรุงแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรณรงค์ปูองกันการติดเชื้อ เอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เพื่อวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของแบบสัมภาษณ์ จานวน 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบตรวจสอบความถูกต้องสอดคล้องในข้อคาถาม และ วัตถุประสงค์ของการศึกษา 6) อุปกรณ์ที่ใช้ในการสัมภาษณ์ คือ สมุดจดบันทึก เครื่องบันทึกเสียง ปากกา กล้องถ่ายภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้แบ่งวิธีการเข้าถึงข้อมูล และเก็บรวบรวมข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้านเอกสาร (Documentary research) และการเก็บรวบรวมข้อมูล ภาคสนาม (Field Data) คือ 1. การรวบรวมข้อมูลประเภทเอกสาร (Documentary research) การรวบรวมข้อมูล จากการศึกษาข้อมูลเอกสารวิชาการต่างๆ ได้รวบรวมแห่งข้อมูล คือ ห้องสมุด สถานที่ราชการ องค์กร พัฒ นาเอกชนที่มีส่ ว นเกี่ย วข้อง และทางอิน เตอร์เน็ ต เพื่อรวบรวมข้ อมูล จากบทความ หนังสื อ วารสาร แผ่นพับ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาเชิงวิเคราะห์ตาม แนวคิดจิตวิทยาต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถาน ประกอบการซาวน่าซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิ 2. การรวบรวมข้อมูลภาคสนาม (Field Data) ซึ่งในการเก็บรวบข้อมูลภาคสนาม ดังนี้ 2.1 ข้อมูลการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง 2.1.1 ผู้ วิจั ยเก็บรวบรวมข้ อมู ลจากกลุ่ มตัวอย่ าง โดยการใช้ การสั มภาษณ์ แบบ เจาะลึก (In-depth Interview) แบบตัวต่อตัวเพื่อเปิดเผยสิ่ง จูงใจ ความเชื่อ ทัศนคติของผู้ตอบ โดย เตรียมคาถามจากแบบสัมภาษณ์ซึ่งใช้การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) 2.1.2 ข้อมูลการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างจะถูกนามาทาการบันทึก และถอด เทปรายวัน เพื่อทาการตรวจสอบข้อมูลที่ไม่ชัดเจน หรือไม่ครบถ้วน เพื่อนาไปศึกษาเพิ่มเติมในการ สัมภาษณ์ครั้งต่อไป และข้อมูล ที่ได้มาผู้ วิจั ยจะนามาถอดเทปคาต่อคา ประโยคต่อประโยค แล้ ว ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้งด้วยการ ฟ๎งเทปบันทึกเสียงซ้า 2.2 ข้อมูลจากการสังเกต (Observation) ผู้วิจัยเป็นผู้ดาเนินการเอง ในการรวบรวม ข้อมูลภาคสนาม (Field Data) โดยใช้วิธีการสังเกต โดยผู้ถูกสังเกตจะไม่รู้ตัวว่ากาลังถูกสังเกต จึงมี พฤติกรรมไปตามปกติ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

93

ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูลในการศึกษาวิจัย หลังจากที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว ได้นามา ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล (Trustworthiness) ดังนี้ ผู้วิจัยสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อผู้ให้ สัมภาษณ์ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจในตัวผู้วิจัย ซึ่งจะมีผลต่อความถูกต้อง และเป็นจริงของข้อมูลการ ยืนยันข้อมูลความถูกต้องของข้อมูล (Member Checking) โดยการนาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ที่ ได้จากการจดบันทึกอย่างละเอียด และอธิบายอย่างชัดเจนนากลับไปให้ผู้สัมภาษณ์ยืนยันความถูกต้อง ของข้อมูลว่าข้อมูลเป็นจริงตรงกับความรู้สึกของผู้ให้สัมภาษณ์หรือไม่ตรวจสอบความไว้วางใจได้ของ ข้ อ มู ล (Dependability) โดยน าข้ อ มู ล ไปตรวจสอบกั บ อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษางานวิ ท ยานิ พ นธ์ และ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อยืนยั นความถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษา ความสามารถในการนา ผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ (Transferability) โดยการเขียนระเบียบวิธีการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล และบริบทที่ต้องการศึกษาอย่างชัดเจน เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือของการศึกษาวิจัยในการที่จะ น าผลการวิจั ย ไปใช้ ใ นบริ บ ทที่ใ กล้ เ คีย งกัน การยื น ยั น ผลการวิจั ย (Conformability) โดยการที่ ผู้ทาการวิจัยจะเก็บเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยไว้เป็นอย่างดี พร้อมสาหรับการตรวจสอบ (Audit Trial) เพื่อยืนยันว่าข้อมูลที่ได้ไม่มีความลาเอียงหรือเกิดจากการคิดขึ้นเองของผู้วิจัย ระยะเวลาในการเก็บรวมรวมข้อมูล ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลโดยการศึกษา ข้อมูลและการสัมภาษณ์ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 16 กรกฎาคม 2557 โดยดาเนินการสัมภาษณ์กลุ่ม ตัวอย่างทั้ง 30 คน ในประเด็นดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 การศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนที่ 2 การศึกษาบุคลิกภาพของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และพฤติกรรมเสี่ยงต่อติดเชื้อเอชไอ วีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า ส่วนที่ 3 การศึกษาเชิงวิเคราะห์ตาม แนวคิดจิตวิทยาต่อบุคลิกภาพของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และพฤติกรรมเสี่ยงต่อ การติดเชื้อ เอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า การวิเคราะห์ข้อมูล การจาแนกข้อมูลในการศึกษาวิจัยเรื่องหัวข้อในการศึกษาวิจัย เรื่องการศึกษา เชิงวิเคราะห์ ตามแนวคิด ทฤษฎี จิตวิทยาต่อพฤติกรรมเสี่ ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มี เพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่านั้น ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลมาได้แล้วจึงนามาจาแนกและ จัดหมวดหมู่ โดยจาแนกตามประเภทของข้อมูลดังนี้ 1) การจาแนกข้อมูลประเภทเอกสาร 2) การจาแนก ข้อมูลบุคคล 3) การจาแนกข้อมูลจากการสังเกต การตรวจสอบความน่า เชื่อถือของข้อมูล การศึกษานี้ ผู้ วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้อง แม่นยา และความน่าเชื่อถือ โดยใช้เทคนิคสามเส้า (Data Triangulation) ด้วยวิธีการเก็บข้อมูลที่ แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้การตรวจสอบโดยใช้แหล่งข้อมูลที่ต่างกัน โดยมีการสัมภาษณ์กลุ่ม ตัวอย่างทั้งหมด 30 คน ซึ่งเป็นกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี ในสถานประกอบการซาวน่า โดยผู้วิจัยไม่ป๎กใจว่าแหล่งข้อมูลแหล่งใดแหล่งหนึ่งที่ได้มาตั้งแต่แรกเป็น แหล่งที่เชื่อถือได้ ผู้วิจัยจะตรวจสอบย้ายันด้วยข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลสาคัญมากกว่าสามคน ขึ้นไปเพื่อเป็นการยืนยันในสภาพความเป็นจริงที่สอดคล้องกัน ซึ่งจะมีการถามคาถามเพื่อเก็บข้อมูลใน ประเด็นเดียวกันกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสาคัญทั้งหมด โดยตรวจสอบข้อมูลที่ได้ในแต่ละประเด็นว่าตรงกัน หรือไม่ อย่างไร นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้นาข้อมูลประเภทเอกสาร (Documentary Research) ข้อมูล จากการสัมภาษณ์, และข้อมูลที่ได้จากการสังเกต (Observation) มาเปรียบเทียบกับแนวความคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่ามีความสอดคล้องกันอย่างไรบ้าง


94

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปตามแนวทางวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) คือ พรรณนาข้อมูลในปรากฎการณ์ หรือรูปธรรม และวิเคราะห์ตีความข้อมูลเพื่อสร้างข้อสรุปเกี่ยวกับ การศึกษาวิเคราะห์หัวข้อการศึกษาเชิงวิเคราะห์ตามแนวคิด ทฤษฎีจิตวิทยาต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการ ติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า ตรวจสอบความสมบูรณ์ และความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลจากบันทึกการสัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลหลายๆแห่ง และเอกสาร บันทึกสรุปข้อมูลทุติยภูมิ จากนั้นนาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร มาบันทึกความถี่ของข้อมูลที่ซ้ากัน สรุปข้อค้นพบที่ได้จากการสัมภาษณ์ และข้อมูลจากการวิเคราะห์ เอกสารทั้งนี้ผู้วิจัยได้กาหนดแนวทางในการศึกษาวิจัย และวิเคราะห์ออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 การศึ ก ษาข้ อ มู ล ทั่ ว ไปเกี่ ย วกั บ กลุ่ ม ตั ว อย่ า ง ส่ ว นที่ 2 การศึ ก ษาบุ ค ลิ ก ภาพของกลุ่ ม ชายที่ มี เพศสัมพันธ์กับชาย และพฤติกรรมเสี่ยงต่อติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถาน ประกอบการซาวน่า ส่วนที่ 3 การศึกษาเชิงวิเคราะห์ตามแนวคิด ทฤษฎีจิตวิทยาต่อบุคลิกภาพของ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์ กับชายในสถานประกอบการซาวน่า สรุปผลการวิจัย จากการศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาเชิงวิเคราะห์ตามแนวคิด ทฤษฎีจิตวิทยาต่อพฤติกรรมเสี่ยง ในการติดเชื้ อ เอชไอวีของกลุ่ มชายที่มีเพศสั มพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า สามารถ พิจารณาข้อสรุปได้ตามวัตถุประสงค์ดังนี้ ข้ อ สรุ ป ผลการวิ จั ย ส่ ว นที่ 1 การสรุ ป ผลการวิ เ คราะห์ บุ ค ลิ ก ภาพของกลุ่ ม ชายที่ มี เพศสัมพันธ์กับชาย จากการศึกษาในส่วนที่เป็นประเด็นเรื่อง การวิเคราะห์ตามแนวคิดทฤษฎีจิตวิทยา ต่อบุคลิกภาพของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่าพบว่า กลุ่มชายที่มี เพศสั ม พั น ธ์ กั บ ชายในสถานประกอบการซาวน่ า มี ก ารแสดงออกบุ ค ลิ ก ภาพแบบหวั่ น ไหว (Neuroticism) และผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว มักจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มีบุคลิกภาพ ด้านอารมณ์โกรธง่าย ขี้หงุดหงิด วิตกกังวล และคานึงถึงแต่ตนเอง มีความเครียดสูง มักจะรู้สึกกังวล ใจกับ สิ่ ง เร้ าที่ เข้ ามากระทบตลอดเวลา ไม่ มี ความหนั กแน่น มี ลั ก ษณะบุค ลิ ก ภาพด้ านอารมณ์ ที่ อ่อนไหวกว่าคนทั่วไป มีปฎิกิริยาสะท้อนตอบโต้ต่อสิ่งเร้าที่รุนแรง และมากกว่าปรกติ มีความพึงพอใจ ในตนเองต่า มีความพึงพอใจในชีวิตน้อย และมักคาดหวังต่อตนเองมาก ข้อสรุปผลการวิจัย ส่วนที่ 2 การสรุปผลวิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า จากการศึกษาในส่วนที่เป็นประเด็นเรื่ อง การศึกษาวิเคราะห์ตามแนวคิดทฤษฎีจิตวิทยาต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่ มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่าผู้วิจัยสามารถสรุปผลการศึกษาได้ 4 ประเด็นดังนี้ 1) ความต้องการที่ตอบสนองความพึงพอใจของตนเองเป็นแรงจูงใจที่ทาให้กลุ่มชายที่มี เพศสัมพันธ์กับชายมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีในสถานประกอบการซาวน่า กลุ่มชายที่มี เพศสั ม พั น ธ์ กั บ ชายมี ค วามพึ ง พอใจที่ จ ะตอบสนองความพึ ง พอใจของตนเองในเรื่ อ งเพศ และ ตอบสนองความต้องการทางกายภาพ (Physiological) ขั้นพื้นฐานของตนเอง และสิ่งใดๆ ที่ทาแล้วมี ตนเองมีความสุขก็จะทา โดยไม่คานึงผลกระทบภายหลังจากพฤติกรรมนั้น และหากผู้ใดมีพฤติกรรม


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

95

ซึ่งเกิดจากแรงจูงใจภายใน ที่อาศัยหลักความพอใจ (Pleasure Principle) เป็นเกณฑ์หลักในการ แสดงออก พฤติกรรมของบุคคลดังกล่าวจะเป็นผู้ที่แสวงหาความสุข แบบไม่สมเหตุผล การแสดงออก ของพฤติกรรมจะอาศัยหลักความพอใจเป็นที่ตั้ง ไม่มีเหตุผล และพฤติกรรมดังกล่าวจะทาต่อไปโดย ไม่ มี ที่ สิ้ น สุ ด และจากสาเหตุ ดั ง กล่ า วย่ อ มส่ ง ผลให้ ก ลุ่ ม ชายที่ มี เ พศสั ม พั น ธ์ กั บ ชายในสถาน ประกอบการซาวน่าขาดความตระหนักในการปูองกันตนเองจากเชื้อเอชไอวี และมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อ การติดเชื้อเอชไอวีในสถานประกอบการซาวน่า 2) เรื่องความอยากรู้อยากเห็นและการกระตุ้นความรู้สึกจากการสัมผัส (Curiosity and sensory stimulation) เนื่องจากสถานประกอบการซาวน่าจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆตามเทศกาลอยู่ สม่าเสมอ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสิ่งล่อใจ เป็นสิ่งที่ชักนาให้กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เข้ามาใช้ บริการ ซึ่งการกระทาดังกล่าวส่งผลต่อแรงขับทางเพศพื้นฐาน ลิบิโด (Libido) เป็นแรงปรารถนา (desire) ของกลุ่ มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเรื่องของความอยากรู้อยากเห็น และการกระตุ้น ความรู้สึกจากการสัมผัส อยากแสวงหาสิ่งใหม่ๆ หรือข้อเท็จจริงด้วยตนเอง และความต้องการดังกล่าว กลายเป็นแรงขับที่ทาให้กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายนั้นแสดงพฤติกรรมโดยไม่หวังรางวัล แต่กลุ่ม ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายต้องการที่จะมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายในสถานประกอบการซาวน่า 3) การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ (Observation Learning หรือ Modeling) เป็นแรงจูงใจที่ทาให้กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีในสถาน ประกอบการซาวน่าสืบเนื่องจากกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่านั้นที่มี ความภาคภูมิใจในตนเองในระดับที่ต่า และส่งผลให้กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายยิ่งมีมีต้องการ ได้รับการเคารพจากคนอื่นๆ มากขึ้นกว่าปรกติประกอบกับ ต้องการให้ตนเองเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Esteem) ต้องการรู้จัก และพัฒนาตนเอง (Self-Actualization) สิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ ซาวน่าและกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่ามีอิทธิพลต่อกันและกัน ส่งผล ให้ พฤติกรรมของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่าเกิดการเรียนรู้โดยการ สังเกต (Obervational Learning) หรือเลียนแบบจากตัวแบบ (Modeling) โดยลักษณะของการ เรียนรู้ดังกล่าวเกิดจากการเลียนตัวแบบที่เป็นบุคคลจริง (Live Model) ได้แก่ เลียนแบบเพื่อน และ รุ่นพี่ โดยมีกระบวนการกระทาพฤติกรรมเหมือนกับตัวแบบ (Reproduction Process) จากตัวแบบ ที่เป็นบุคคลจริง (Live Model) มีพฤติกรรมด้านลบที่ก่อให้เกิดป๎ญหาสุขภาพ และมี พฤติกรรมเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย 4) การรวมกลุ่ม (Gregariousness) กลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์กับชายได้รับอิทธิพลความต้องการขั้น พื้นฐานทางด้านสรีระที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ ตามแนวทฤษฎีมานุษยนิยม ของมาสโลว์ (Humanistic View of Motivation) เป็นแรงขับทุติยภูมิ หรือ “แรงขับทางสังคม” กล่าวคือ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์ กับชายมีความปราถนาที่จะรักคนอื่น ต้องการที่จะอยู่ร่วมกันกับกลุ่มสังคมในชุมชนของตนเองที่มีความ คล้ายคลึงกัน เกื้อหนุน และหนุนเสริมกันและกันตลอดจนมีการตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันใน รู ปแบบต่ างๆ เช่ น การช่ วยเหลื อเกื้ อกูลกันในเรื่ องการให้ คาปรึ กษาแนวทางการดาเนินชี วิตสั งคม ภายนอก การช่วยเหลือหนุนเสริมกันในการดาเนินธุรกิจ การหนุนเสริมกันในเรื่องการเข้าถึงบริการด้าน สุ ขภาพ และขณะเดียวกันกลุ่ มชายที่มี เพศสั มพั นธ์กับชายยังรั บรู้ว่ าการรวมกลุ่ มของกลุ่ มชายที่ มี เพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่านั้นสามารถตอบสนองความต้องการในลาดับขั้น ความ


96

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

มั่นคง ความปลอดภัย เนื่องจากบรรยากาศภายในสถานประกอบการซาวน่าเอื้อต่อ การพบปะ พูดคุย ผ่อนคลาย สังสรรค์ ปราศจากการตีตรา การดูถูก การเหยียดหยาม และการดูหมิ่น ตลอดจนปราศจาก บุคคลภายนอก มีอาจมีรสนิยมทางเพศที่มีความแตกต่าง และมุมมองที่แตกต่างเข้ามารบกวน อภิปรายผล การศึกษาเชิงวิเคราะห์ตามแนวคิดจิตวิทยาต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชาย ที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า มีดังนี้ 1. บุคลิกภาพของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่ามี บุคลิกภาพ แบบหวั่นไหว (Neuroticism) มักจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดี มีความเครียดสูง มักจะรู้สึกกังวลใจกับสิ่งเร้า ที่มากระทบตลอดเวลา มีความหวั่นไหวมากกว่าคนทั่วไปมีปฎิกิริยาตอบโต้ต่อสิ่งเร้ามากกว่า มีความพึง พอใจในชีวิตน้อย และมักคาดหวังต่อตัวเอง และในขณะเดียวกันไม่กล้าแสดงออกถึงเรื่องรสนิยมทางเพศ ของตนเองให้ใครรู้ เพราะความวิตกกังวล มีลักษณะนิสัยเป็นคนโกธรง่าย หายเร็ว ตลอดจนเกรงกลัว เพราะจะต้องปกปิด และในขณะเดียวกันต้องการรักษาสถานะภาพทางสังคมของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับ (พีระ อินทรโฆษิต, 2542: อ้างถึงใน ธัญญาลักษณ์ บวรพงศ์ปกรณ์, 2555: 87) กล่าวว่า บุคลิกภาพที่ดี นั้นไม่มีสูตรสาเร็จอย่างเดียว คนที่มีขอบเขตบุคลิกภาพอย่างกว้างๆจะมีโอกาสที่จะประสบความสาเร็จ จึงไม่มีความจาเป็นที่จะต้องบังคับตนเองเข้าสู่แม่พิมพ์เดียวกัน อย่างก็ตามลักษณะเฉพาะบางอย่างที่จะ ช่วยให้มีโอกาสที่จะประสบความสาเร็จในชีวิตมากขึ้น เช่นเดียวกัน กาญจนา คาสุวรรณ (2524: 194195) ได้กล่าวว่าลักษณะบุคลิกภาพของแต่ละคนได้รับการหล่อหลอมบุคลิกภาพมาไม่เหมือนกัน ผู้ที่ ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีการพัฒนาบุคลิกภาพจะไปในทิศทางที่เหมาะสม มีความเชื่อมั่นในตนเอง มี เหตุผล และมองโลกในแง่ดี ในขณะที่ผู้ที่ได้รับการปล่อยปละละเลย หรือเข้มงวด จะมีบุคลิกภาพไปใน ทิศทางตรงกันข้ามมีความก้าวร้าว ไม่ไว้วางใจคน หวาดระแวง และมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสังคม 2. ความต้องการที่ตอบสนองความพึงพอใจของตนเองส่งผลให้บุคลิกภาพของบุคคลดังกล่าว จะเป็นผู้ที่แสวงหาความสุข แบบไม่สมเหตุผล การแสดงออกของพฤติกรรมจะอาศัยหลักความพอใจ เป็นที่ตั้ง และพฤติกรรมดังกล่าวจะทาต่อไปโดยไม่มีที่สิ้นสุดเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องงานวิจัยของ วรศินันท์ ตันติรัตนวงศ์ และคณะ (2554: 73-74) ผลการศึกษาวิจัยพบว่า พฤติกรรมทางเพศของชายที่มี เพศสัมพันธ์ชายที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยพร้อมสารหล่อลื่นอย่างสม่าเสมอด้วยเหตุผล คือ ความไว้วางใจต่อ กันโดยเฉพาะกับคู่รัก เพราะนาความหมายของถุงยางอนามัยผูกโยงกับความรู้สึกทางใจ เช่น ความรัก ความซื่อสัตย์ความไว้วางใจต่อกัน มองเรื่องเพศเป็นเรื่องของจิตใจ จะเลือกคู่นอนที่หน้าตาดี ความ พอใจเป็นอันดับแรก สิ่งที่ทาแล้วเป็นความสุขก็จะทา เช่นกันกับงานวิจัยเกี่ยวกับ การสารวจอัตราการ ติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานครของสานักระบาดวิทยา สังกัด กรมควบคุมโรค (2555: 18) ผลการศึกษาวิจัยพบว่า พฤติกรรมทางเพศของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย และสารหล่อลื่นอย่างสม่าเสมอด้วยเหตุผล คือ ความไว้วางใจต่อกัน ความซื่อสัตย์ ไม่จ าเป็ นต้ องใช้ถุ งยางอนามัย มีความเชื่ อมั่นว่าตนเองสามารถปู องกั นตนจากเชื้อเอชไอวี ได้ ให้ ความสาคัญ คู่นอนที่หน้าตาดี ความพอใจเป็นอันดับแรก สิ่งที่ทาแล้วเป็นความสุขก็จะทา 3. ความอยากรู้อยากเห็นและการกระตุ้นความรู้สึกจากการสัมผัส (Curiosity and sensory stimulation) ของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายจะเกิดจาก ความรู้ อยากเห็น อยากสัมผัส ทิวทัศน์


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

97

และจุดสนใจอื่นๆ เช่น สถานที่ภายใน การตกแต่งสถานที่ภายในซาวน่า และวิถีชีวิตแนวทางการปฎิบัติ ของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า เป็นผลของสัญชาตญาณในเรื่องของ ความอยากรู้อยากเห็น และในขณะเดียวกัน (ณัฐวรรณ จันทนาคา, 2552: 11) การศึกษาพฤติกรรมเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเอชไอวีของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดพิจิตร พ.ศ. 2548 -2551 พบว่า นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นอกจากมีเพศสัมพันธ์กับหญิงขายบริการ แฟน/คนรักแล้ว นักเรียน ชายยังมีเพศสัมพันธ์กับชายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.4 เป็นร้อยละ 20.2 ซึ่งวัยรุ่นตอนกลางคืนมักอยู่ ร่วมกันเป็นกลุ่ม ทากิจกรรมร่วมกัน ให้ความสนใจการมีพฤติกรรมทางเพศมากขึ้น เพราะอยากรู้อยาก ลอง การอ่านหนังสือปกขาว ดูภาพยนตร์เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมดา คือ สุดยอดของเล่นที่ทุกคนอยากเล่น เกิดมาต้องใช้ชีวิตให้คุ้ม ต้องสั่งสมเป็นประสบการณ์การชีวิต การ มีเพศสัมพันธ์ช่วยเพิ่มความภาคภูมิใจได้ว่าได้ใช้สิ่งที่มีอยู่สมบูรณ์ 4. การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ (Observation Learning หรือ Modeling) กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย มีการเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆ จากการเลียนตัวแบบที่เป็นบุคคลจริง (Live Model) ได้แก่ เลี ยนแบบเพื่อน และรุ่นพี่ โดยมีกระบวนการกระทาพฤติกรรมเหมือนกับตัวแบบ (Reproduction Process) จากตัวแบบที่เป็นบุคคลจริง (Live Model) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ กลุ่มยุทธศาสตร์ และ เฝูาระวังทางวัฒนธรรม (2554: 3) เรื่องป๎จจัยส่งเสริมพฤติกรรมทางเพศที่มีผลต่อ การเป็นกามโรคของเด็กวัยรุ่นชาย พบว่า กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อการปฎิบัติพฤติกรรมทางเพศเป็นอันดับ แรก เช่นเดียวกันกับงานวิจัยของ สุชา จันทร์เอม (2542: 153-154) ได้กล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่าง เพื่อนไว้ว่าวัยรุ่นพยายามที่จะหาเพื่อนที่อยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกัน มีรสนิยมเหมือนกัน เพื่อจะได้เอาไว้ คบหาสมาคมพูดคุยสังสรรค์กัน กลุ่มของเด็กวัยรุ่นที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อความประพฤติ การแต่งกาย กิ ริ ยาท่ าทาง มี การพยายามเลี่ ยนแบบกั น เพื่ อให้ เกิ ดสั ญลั กษณ์ ประจ ากลุ่ มขึ้ น แม้ ว่ าการกระท า บางอย่างนั้น จะทาเพื่อความโก้เก๋ และเพื่อให้เกิดจุดเด่นขึ้นนั้น จะขัดต่อสายตาของผู้ใหญ่ก็ตาม ดังนั้น การคบเพื่อนที่มีอิทธิพลต่อการชักจูงนักเรียนไปสู่การมีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งมี งานวิจัยของ Lewis and Lewis (1984: 89 อ้างถึงใน สกล วรเจริญศรี, 2545: 194-195 และ นิรมล สาดศรี, 2550: 16) ได้ศึกษาในเรื่องความกดดันของกลุ่มเพื่อนและพฤติกรรมเสี่ยง จากการศึกษาพบว่า วัยรุ่นส่วนใหญ่ ได้รับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเพศจากกลุ่มเพื่อนซึ่งนาไปสู่การตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเพศ และวัยรุ่น ส่วนใหญ่ยอมรับในทัศนคติของเพื่อนเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งผลกระทบจากกลุ่มเพื่อนส่งผลให้เป็น แบบอย่างในพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น 5. การรวมกลุ่ม (Gregariousness) กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย มีความต้องการความ ผูกพัน (Need for Affiliation) ซึ่งเป็นความต้องการที่จะพยายามสร้าง และรักษาสัมพันธภาพ และ มิตรภาพให้ยั่งยืน อยากให้บุคคลอื่นชื่นชอบตัวเอง สนุกสนานกับงานเลี้ยง กิจกรรมทางสังคม และการ พบปะสังสรรค์ แสวงหาการมีส่วนร่วม ด้วยการร่วมกิจกรรมกับกลุ่ม ในขณะเดียวกันอิทธิพลของการ รวมกลุ่ม (Gregariousness) ของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ (2554: 17) สาเหตุของการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ใน กลุ่มประชากรภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย พบว่า กลุ่มประชากรเกือบทั้งหมด มาจากสาเหตุการมี เพศสัมพันธ์ ชั่วคราวฉาบฉวย การมีเพศสัมพันธ์ช่วยเพิ่มความภาคภูมิใจ พฤติกรรมวัยรุ่นตอนกลางคืนมัก อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทากิจกรรมร่วมกัน ให้ความสนใจการมีพฤติกรรมทางเพศมาก ใครๆก็มีทาให้อยากเอา


98

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

อย่างเพื่อน ต้องการการยอมรับจากกลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับ วิภากรณ์ ป๎ญญาดี (2535: 15) ศึกษาเรื่องความ ตั้งใจในการปฎิบัติตนในการปูองกันโรคเอดส์ของนักเรียนมัธยมปลายในจังหวัดเชียงรายพบว่า กลุ่มเพื่อน และการคล้ อยตามกลุ่ มเพื่อนมีอิทธิพลโดยตรงต่อความตั้งใจการปฎิบัติตนเพื่อปูองกันโรคเอดส์ ของ นักเรียนมากที่สุด โดยพบว่า นักเรียนตอนปลายมีการปรึกษาป๎ญหาในการปฎิบัติตนเพื่อปูองกันโรคเอดส์ กับเพื่อนร้อยละ 70 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะทั่วไป ผลการจาการศึกษาวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางในการนาไปสู่การปฎิบัติรูปแบบการพัฒนา ศักยภาพของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย 1. ผู้บริหารของหน่วยงานที่ มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพด้าน บุคลิกภาพที่ครบทุกด้านให้แก่กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เพื่อลดสภาวะแรงกดดันจากสังคม ภายนอกที่มีต่อกลุ่มชายที่มีเพศสั มพันธ์กับชาย ตลอดจนเป็นการเสริมสร้าง และการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น 2. เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีการรวบรวม การศึกษาเชิงวิเคราะห์ตามแนวคิด ทฤษฎีจิตวิทยา ต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาว น่า ซึ่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการรวบรวมถึงสาเหตุแรงจูงใจของพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอ วีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ซึ่งสามารถจะนาแนวทางดังกล่าวมาขยายผลเพื่อเกิดประโยชน์ ต่อองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆที่ดาเนินงานเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มี เพศสัมพันธ์กับชายในประเทศไทยได้ 3. จากการศึกษาเรื่อง “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ตามแนวคิดจิตวิทยาต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการติด เชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า” สะท้อนให้เห็นถึงภาพวิถี การดาเนินชีวิต ตลอดจนสาเหตุของพฤติกรรมเสี่ยงตามแนวคิดจิตวิทยาต่อพฤติ กรรมเสี่ยงในการ ติด เชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า ซึ่งเป็นประโยชน์สาหรับ ผู้ปฏิบัติงานเพื่อเป็นแนวทางการลดพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้เหมาะสมกับกลุ่มเปูาหมายต่อไป รวมทั้งนาข้อความรู้ที่ได้ไปเป็นแนวทางใน การปรับปรุงพัฒนากิจกรรมที่ดาเนินงานอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะในการทาวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาป๎จจัยที่มีอิทธิตามแนวคิดทฤษฎีจิตวิทยาต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อ เอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า ในด้านต่างๆเพื่อให้การศึกษา เชิงวิเคราะห์ตามแนวคิดจิตวิทยาต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์ กับชายในสถานประกอบการซาวน่า ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น 2. ควรศึกษาเชิงวิเคราะห์ตามแนวคิดจิตวิทยาต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี ของกลุ่ม ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในสถานประกอบการซาวน่า ในสถานบันเทิงอื่นๆของกลุ่มชายที่มี เพศสัมพันธ์ กับชาย เพื่อเปรียบเทียบว่ามีผลการวิจัยแตกต่างกับสถานประกอบการซาวน่าหรือไม่อย่างไร


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

99

เอกสารอ้างอิง กาญจนา คาสุวรรณ. (2524). ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยกับบุคลิกภาพ ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. รายงานการวิจัย. สถาน บันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. กลุ่มยุทธศาสตร์ และเฝูาระวังทางวัฒนธรรม. (2554). การศึกษาปัจจัยด้านการปูองกันพฤติก รรม เสี่ยงทางเพศของนักเรี ยนระดับมัยธมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มยุทธศาสตร์ แ ละเฝูา ระวังทาง วัฒนธรรม. กระทรวงวัฒนธรรม. คลินิกสุขภาพเคลื่อนที่ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย. (2554). สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวี ในระยะเฉียบพลันของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย. บทความวิชาการ. กลุ่มงานสังคม และพฤติกรรม. ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาด. เชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ. (2554). ช่อง สาเหตุ และประชากรที่มีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ภาคคเหนือตอนล่างของประเทศไทย สานักงานปูองกัน ควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ณัฐวรรณ จันทนาคา. (2552). การศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของนักเรียนชายชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดพิจิตร พ.ศ. 2548 -2551 ธัญญาลักษณ์ บวรพงศ์ปกรณ์. (2555). แบบบุคลิกภาพองค์ประกอบที่ส่งผลต่อความสามารถใน การเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคของพนักงานฝุายขาย ของบริษัทไทยประกันชีวิต เขตสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตทยา เพื่อการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2541). MQ เด็กกับสติป๎ญญาทางศีลธรรมทางรอดของมนุษยชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันการศึกษาสัตยาไส. ม.ป.ป. นิ ร มล สาดศรี . (2550). การศึ ก ษาปั จจั ย ที่เ กี่ย วข้อ งกับ การมี เ พศสัม พัน ธ์ ก่อ นการสมรสของ พนักงานบริษัทในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตทยาเพื่อการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. นิตยา ภานุภาค พึ่งพาพงศ์ และธเนศว์ กาญธีรานนท์. (2550). คู่มือมาตรฐานการดาเนินงานคลินิก สุขภาพเคลื่อนที่ (Standard Operating Procedures for the Mobile Health Clinc) สาหรั บเจ้ า หน้า ที่ค ลินิ ก สุข ภาพเคลื่ อ นที่ และแกนน าในการด าเนิ น กิ จกรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย. ประพันธ์ ภานุภาค. (2550). การสารวจอัตราการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย. ศูน ย์ วิ จั ย โรคเอดส์ สภากาชาดไทย. ร่ ว มกับ ส านัก ระบาดวิท ยา สั งกั ดกรมควบคุ มโรค กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข. พีระ อินทรโฆษิต. (2542). สิ่งจูงใจสาหรับตัวแทนประกันชีวิตที่ประสบความสาเร็จของบริษัท ประกันชีวิตศรีอยุธยา ซี เอ็ม จี . วิทยานิพนธ์. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา สถิติประยุกต์.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.


100

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

ระพีพันธ์ จอมมะเริง. (2556). บทความวิชาการ อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนในวัยเดียวกันของชาย ที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย กรุงเทพฯ : มูลนิธิเพื่อเครือข่ายฟูาสีม่วง. ลักขณา สริวัฒน์. (2544). จิตวิทยาการใช้ชีวิต. กรุงเทพ : โอเดียนสโตร์ , 2544 วิภากรณ์ ป๎ญญาดี. (2535). ความตั้งใจในการปฎิบัติตนเพื่อปูองกันโรคเอดส์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต. (สังคมศาสตร์การแพทย์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. วรศินันท์ ตันติรัตนวงศ์ และคณะ. (2554). การศึกษาพฤติกรรมทางเพศของชายรักชาย ชายขาย บริการทางเพศที่ส่งผลต่อสุขภาพทางเพศ และอนามัยเจริญพันธ์ชาย. สานักโรคเอดส์ วัณ โรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์.กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข. ศรี เ รื อ น แก้ ว กั ง วาน. (2553). จิ ต วิ ท ยาพั ฒ นาการชี วิ ต ทุ ก ช่ ว งชี วิ ต แนวคิ ด เชิ ง ทฤษฎี -วั ย เด็ ก ตอนกลาง เล่มที่1 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สานักระบาดวิทยา สังกัดกรมควบคุมโรค. (2555). การสารวจอัตราการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชาย ที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย. สานักระบาดวิทยา สังกัดกรมควบคุมโรค กรุงเทพฯ: กระทรวง สาธารณสุข. สกล วรเจริญศรี. (2545). การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนวัยรุ่น . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยาการแนะแนว. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สุชา จันทร์เอม. (2542). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 9 .กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช. อุบลรัตน์ เพ็งสถิต. (2533). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคาแหง. ...............................................


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

101

เด็กปัญญาเลิศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่า Gifted Academic Underachiever ศรียา นิยมธรรม1

บทคัดย่อ บทความนี้นาเสนอเรื่องของเด็กป๎ญญาเลิศที่ไม่ประสบความสาเร็จในการเรียนเท่าที่ควร หรือที่ เรียกว่า เด็กฉลาดที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ากว่าความสามารถที่แท้จริง หรือ ฉลาดแต่ไม่เก่ง พ่อแม่ ของเด็ กป๎ ญญาเลิ ศ มั กประหลาดใจและหงุ ดหงิ ดกั บเด็ กกลุ่ มนี้ การจะช่ ว ยให้ เด็ กกลุ่ มนี้ ป ระสบ ความสาเร็จก็ต้องเข้าใจถึงสาเหตุ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์หาสาเหตุของการมีผลสัมฤทธิ์ต่ากว่าที่ควร และเข้าใจถึงลักษณะด้านอารมณ์ ความเครียดของเด็กด้วย นอกจากนี้ยังมีเด็กป๎ญญาเลิศจานวนหนึ่งที่มี ลักษณะความต้องการพิเศษอื่นๆ ร่วมด้วย ที่เรียกกันว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สองอย่างซึ่งทาให้ ยากต่อการคัดกรองวินิจฉัยเพิ่มขึ้น เพราะเด็กเหล่านี้สามารถแสดงให้เห็นถึงความเป็นปกติและมีผลการ สอบที่ผ่านไปได้ทั้งๆ ที่ผลการสอบต่ากว่าศักยภาพที่เขาจะทาได้ เด็กที่ถูกมองข้ามไปจึงเป็นเด็กป๎ญญา เลิศที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการมีป๎ญหาเรื่องการมีผลสัมฤทธิ์ต่ากว่าที่ควร บทความนี้ยังได้รวบรวมแนวคิดจากผลการวิจัยต่างๆ เพื่อนามาใช้ในการทางานร่วมกันของพ่อ แม่ ครูและตัวเด็กเพื่อช่วยให้เด็กกลุ่มนี้ก้าวสู่ความสาเร็จ คาสาคัญ: เด็กป๎ญญาเลิศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่า Abstract This article presents an overview of academic underachievement gifted children. Parents of gifted children are often surprise and dismayed when their children underachiever in school. The key to helping an underachiever success is understanding the cause of underachievement. An analysis of the etiology of underachievement as well as emotional stress in gifted children are needed. Some gifted children have dual exceptionalities and are sometimes called “twice - exceptional children”. They are difficult to identify because they look like an average learners: they are bright enough to compensate for their disability; even though they are passing, they are working below their potential, which means they are underachieving. This article also review the researches finding of how teachers, students and parents can work together to promote student success. Keywords: gifted, academic underachiever ____________________________ 1

ศาสตราจารย์, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


102

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

บทนา สังคมทั่วไปมักเข้าใจว่าเด็กป๎ญญาเลิศหรือเด็กที่มีความสามารถพิเศษนั้น เป็นเด็กเก่งที่ช่วย ตนเองได้โดยไม่ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากใคร แต่เมื่อครู ผู้ปกครองพบว่า ยังมีเด็กป๎ญญาเลิศ จานวนหนึ่ งที่ไม่ประสบความสาเร็จในการเรียนเท่าที่ควรก็รู้สึกกังวล หงุดหงิด กับการมีผลสั มฤทธิ์ ทางการเรี ย นต่ ากว่ าที่ควรจะเป็ น เพราะป๎ ญหานี้ยั งส่ งผลกระทบถึ งการเรียนรู้ การปรับตัว และ บุคลิกภาพของเด็กด้วย นักจิตวิทยาและนักการศึกษาจึงให้ความสนใจที่จะค้นคว้าหาคาตอบด้วยการ ทาวิจัยในแง่มุมต่างๆ เพื่อเข้าใจถึงลักษณะ สาเหตุ ตลอดจนการปูองกันและการช่วยเหลือให้เด็กไม่ ประสบกับป๎ญหาของการมีผลสัมฤทธิ์ต่ากว่าความสามารถที่แท้จริง นิยามศัพท์ เพื่อให้ผู้อ่านบทความนี้เข้าใจถึงกรอบความคิดในการนาเสนอบทความนี้ร่วมกัน ผู้เขียน ขอ กาหนดนิยามศัพท์ที่ใช้ในบทความดังนี้ 1. เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child) หมายถึง เด็กที่มีสติป๎ญญาความสามารถในระดับ สูงกว่า บุคคลที่อยู่ในวัยเดียวกัน อาจวัดได้จากแบบทดสอบสติป๎ญญา (IQ) หรือ แบบทดสอบสติป๎ญญาด้านอื่น เช่น สติป๎ญญาทางอารมณ์ (EQ) สติป๎ญญาทางสังคม (SQ) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (CQ) ความมุมานะ ไม่ละเลิก (AQ) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการให้ความสาคัญตามแนวคิดของทฤษฎีใด เช่น อาจหมายถึงเด็กที่มี ความสามารถพิเศษเมื่อพิจารณาจากทฤษฎีพหุป๎ญญาของการ์ดเนอร์ เป็นต้น 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่ได้จากการวัดผลในการเรียนวิชาต่างๆ อาจ แสดงในรูปของเปอร์เซ็นต์หรือเกรดก็ได้ 3. ความสามารถที่แท้จริง หมายถึง ศักยภาพที่มีอยู่ในเด็กแต่ละคนซึ่งอาจถูกนาเอามาใช้ หรือพัฒนามากน้อยต่างกันไป ส่วนใหญ่มักประเมินจากคะแนนผลการทดสอบระดับสติป๎ญญา ด้วย แบบทดสอบสติป๎ญญาที่มีเกณฑ์มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เช่น แบบทดสอบ WISC-R, Binet หรือ Progressive Metrics 4. เด็กปัญญาเลิศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ากว่าความสามารถที่แท้จริง หมายถึง เด็กที่ มีระดับสติป๎ญญาในระดับสูงแต่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ากว่าที่ควร เช่น ถ้าเด็กอายุ 6 ขวบที่ เรียนชั้น ป.3 มี IQ. ปกติคือ IQ = 100 ก็ถือว่าเด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปกติ แต่ถ้าเขามี IQ. 130 ก็คือมีความสามารถที่แท้จริงเท่ากับเด็ก ป.5 ฉะนั้นหากเขาได้ผลสัมฤทธิ์เท่ากับเด็ก ป.3 ก็ยังถือว่าเป็นผู้ มีผลสัมฤทธิ์ต่ากว่าความสามารถที่แท้จริง เป็นต้น ลักษณะของเด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ากว่าความสามารถที่แท้จริง นักจิตวิทยาและนักการศึกษา ได้ตั้งข้อสังเกตจากประสบการณ์และผลงานวิจัยโดยภาพรวมไว้ ว่า เด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ากว่าความสามารถที่แท้จริงนั้นจะสังเกตได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตาม กาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลการเรียนหรือการทางาน เด็กกลุ่มนี้มักมีผลการเรียน ลดลงจากที่เคยเรียนได้ดีเมื่อเริ่มเข้าเรียน ทั้งที่ผลการทดสอบสติป๎ญญาไม่ว่าจะเป็นการสอบแบบกลุ่ม หรือเดี่ยวก็ยังคงได้คะแนนสูง แต่ผลการเรียนในวิชาต่างๆ กลับตกลง บางครั้งถึงกับต้องสอบซ่อม บาง รายคะแนนเฉลี่ยลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีรายงานอื่น ๆ ด้านกิจนิสัย เช่น ผลการทางานไม่


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

103

คงที่ ไม่ตั้งใจ เหม่อลอย หรือ ซุกซน ไม่อยู่นิ่ง ขาดความยับยั้งชั่งใจทานองเดียวกับเด็กสมาธิสั้น มีกิจ นิสัยในการเรียนไม่ดี เบื่อโรงเรียน ต้องการจะได้คะแนนดีๆ แต่ทางานไม่เสร็จ ไม่เรียบร้อย ในด้านสังคม การเข้ากับเพื่อนเปลี่ยนแปลงไปจากการเป็นเด็กดีที่เพื่อนรัก มีเพื่อนดี กลั บ กลายเป็นเด็กที่มีป๎ญหาทางพฤติกรรม ก้าวร้าว วิตกกังวล เก็บตัว ขาดเพื่อน บางครั้งถูกเพื่อนล้อเลียน ทาให้ขาดความมั่นใจ ไม่เห็นคุณค่าของตนเอง ส่งผลถึงการเรียนที่ลดต่าลงเรื่อยๆ เพราะรู้สึกล้มเหลว ทาอะไรก็ไม่สาเร็จ จึงปล่อยชีวิตให้ผ่านไปเรื่อยๆ ไม่กล้าเผชิญป๎ญหา ขาดวินัย และการควบคุมตนเอง (Rimm, S. 1984; Davis & Rimm 1994; Gross, G. 2012; Basu, A. 2015) สาเหตุของการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ากว่าที่ควร การศึกษาสาเหตุที่ทาให้เด็กมีผลสัมฤทธิ์ต่ากว่าที่ควรนั้น ทั้งนักการศึกษาและนักจิตวิทยา ได้ พยายามนาผลวิจัยมาใช้ประกอบการพัฒนาเด็ก อย่างไรก็ดีเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน วิธีการใด วิธีการหนึ่งจึงไม่อาจเป็นคาตอบที่สมบูรณ์ของทุกๆ คนได้ นักจิตวิทยาจะศึกษาตัวแปรทางการเลี้ยงดูของ พ่อแม่และครอบครัว ส่วนนักการศึกษาก็มุ่งเน้นเรื่องวิธีจัดการเรียนการสอน ประสิทธิภาพของครู สื่อการ เรียนการสอน ตลอดจนการวัดผล ข้อค้นพบเหล่านี้ล้วนเป็นองค์ความรู้ที่ทาให้เราเข้าใจเด็กได้ดีขึ้นทั้งสิ้น ฉะนั้นหากประมวลสรุปองค์ความรู้ทั้งทางด้านจิตวิทยาและการศึกษาเข้าด้วยกันก็พอจะสรุป สาเหตุได้ดังนี้ 1. การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว มีงานวิจัยหลายเรื่องที่บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า บรรยากาศในบ้าน กฎของบ้าน วิธีการอบรมเลี้ยง ดูเด็ก ส่งผลโดยตรงกับการพัฒนาบุคลิกภาพ การเห็นคุณค่าของตนเอง การมีวินัย ความเป็นผู้นา ความรับผิดชอบ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ค่านิยม เจตคติต่อ การเรียนและการดารงชีวิต ตลอดจน ความปรารถนาของการเป็นคนสมบูรณ์แบบ นักจิตวิทยาครอบครัว ดร.ริมม์ (Rimm: 1984) พบว่า เด็กป๎ญญาเลิศที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ากว่าที่ ควรนั้นไม่ได้มีสาเหตุจากพันธุกรรม แต่เป็นเรื่องของการเรียนรู้ เขาพบว่า บ้านเป็นจุดเริ่มต้นของการ ทาให้เด็กมีผลสัมฤทธิ์ต่ากว่าที่ควร ในการเลี้ยงดูนั้น เด็กมีแนวโน้มที่จะเลียนแบบและยึดพฤติกรรมของ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดเป็นแบบอย่าง หากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูไม่ให้ความสาคัญของผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ลูกก็จะรับเอาเจตคติทานองเดียวกันนั้นมาเป็นของตัว ในประเทศไทย อัจฉรา สุขารมณ์และอรพินทร์ ชูชม (2537) ได้ศึกษาเปรียบเทียบนักเรียนที่มี ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นต่ ากว่ า ที่ ค วรกั บ เด็ ก ที่ มี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นปกติ โดยศึ ก ษาจาก องค์ประกอบ 4 ด้านคือ ด้านป๎ญหาส่วนตัว ด้านการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา ด้านสภาพแวดล้อม ทางบ้าน และ ด้านแรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์ พบว่า ตัวพยากรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงคือ การอบรมเลี้ยงดูและ แรงจูงใจใฝุสัมฤทธิ์ ศรียา นิยมธรรม และดร.ซิลเวีย ริมม์ ได้ศึกษาเรื่องนี้ในปี พ.ศ. 2532 โดยการใช้แบบคัด แยกเด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ากว่าความสามารถที่แท้จริง (Achievement Identification Measure หรือ AIM) เพื่อศึกษาว่า เด็กที่อยู่ในข่ายของการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ากว่าที่ควรนั้น มีจุดอ่อนที่ส่งผล ต่อการมีผลสัมฤทธิ์ต่าอย่างไร เช่น ด้านการแข่งขัน ความรับผิดชอบ การปกปูองตนเอง และการ ยอมรับนับถือ เป็นต้น องค์ประกอบย่อยเหล่านี้ล้วนฉายภาพให้เห็นจุดอ่อนที่เด็กควรได้รับการพัฒนา


104

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

2. การตั้งความคาดหวังที่ไม่เป็นจริง เด็กป๎ญญาเลิศไม่ได้เก่งไปทุกอย่าง พฤติกรรมบางอย่างของเด็กอาจไม่เป็นไปตามที่ครูหรือ พ่อแม่คาดหวัง หรือ อาจแปลพฤติกรรมของเขาผิด เด็กบางคนอาจไม่แสดงพฤติกรรมให้เป็นตามความ คาดหวังของครู พ่อแม่ เด็กอาจมีพฤติกรรมก่อกวนในชั้นเรียน ขัดคาสั่ง ไม่ให้ความร่วมมือ หรือมี ความคิดแปลกใหม่ไปจากค่านิยมของครู พ่อแม่ ทาให้ผู้ใหญ่มองเห็นว่าเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จึงเกิดข้อขัดแย้ง ไม่เข้าใจกัน จนเป็นป๎ญหาให้เด็กเบื่อหน่ายและรู้สึกต่อต้านขัดขืนได้ 3. การมีความต้องการพิเศษอย่างอื่นควบคู่กับความเป็นปัญญาเลิศ เด็กป๎ญญาเลิศบางคนมีข้อจากัดบางประการของตัวเอง เช่น การมีสมาธิสั้น การมีป๎ญหา ทางอารมณ์ การมี ป๎ ญ หาทางการเรี ย นรู้ ฯลฯ ข้ อ จ ากั ด เหล่ า นี้ ล้ ว นเป็ น อุ ป สรรคต่ อการพั ฒ นา ความสามารถของเด็กจนไม่สามารถก้าวสู่ ศักยภาพที่มีอยู่ หากไม่ได้รับการช่วยเหลื อที่เหมาะสมได้ ทันท่วงที 4. บริการทางสังคม สังคมที่ให้โอกาสและเห็นความสาคัญหรือเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ ย่อมช่วยส่งผล ต่อการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ หรือมีแหล่งบริการทางการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ให้เด็กได้มี โอกาสเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ โดยเฉพาะในป๎จจุบันที่เป็นโลกดิจิตอล เด็กสามารถพัฒนาและเรียนรู้ ข้อมูลมากมายจากแหล่งต่างๆ ขอเพียงมีโอกาสและวิธีการเอื้ออานวยอย่างเหมาะสม เด็กก็จะสามารถ พัฒนาความสามารถได้เต็มที่ตามศักยภาพ การขาดโอกาสหรือได้รับโอกาสไม่เท่าเทียมกัน ที่เอื้ออานวย ต่อการเรียนรู้เป็นตัวแปรสาคัญประการหนึ่งที่ทาให้เด็กมีผลสัมฤทธิ์ต่ากว่าที่ควร การปูองกันและวิธีแก้ไข ปรัชญาของการจัดการศึกษาพิเศษจะเริ่มจากการเฝูาระวัง เพื่อหาทางปูองกันการเกิดป๎ญหา ขั้นต่อมาก็คือ การคัดกรองเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีป๎ญหาและการวินิจฉัยป๎ญหาเพื่อหาทางแก้ไข แต่ หากมี ป๎ ญหาแล้ ว ก็ต้ องหาทางแก้ ไขป๎ ญหานั้ น ตามลั กษณะการเกิดหรือสาเหตุ เรื่องของการมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ากว่าที่ควรก็เช่นเดียวกัน จากผลการวิจัยทางด้านการศึกษาพิเศษและด้านจิตวิทยา อาจประมวลสรุปแนวคิดของวิธี ปูองกันและแก้ไขป๎ญหานี้ได้ดังนี้ 1. การค้ น หาหรื อ คั ด กรองเด็ ก ที่ อ ยู่ ใ นภาวะเสี่ ย งต่ อ การมี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ต่ ากว่ า ที่ ค วร ตัวอย่างเช่น การใช้แบบคัดกรอง AIM (ศรียา นิยมธรรม และ Sylvia Rimm; 2532, 2542, 2552) เด็ก จะได้รับการช่วยเหลือก็ต่อเมื่อ ครู-ผู้ปกครองทราบว่าเขากาลังอยู่ในภาวะเสี่ยงในเรื่องใด 2. การค้ นหาลั กษณะความต้ องการพิเศษที่เกิดควบคู่กับการเป็นเด็ กปัญญาเลิศ เด็ ก ป๎ญญาเลิศไม่ได้หมายความเฉพาะเด็กที่มีสติป๎ญญาดี (IQ สูง) แต่ยังรวมถึงสติป๎ญญาทางอารมณ์ (EQ) สติป๎ญญาทางสังคม (SQ) ความคิดสร้างสรรค์ (CQ) การไม่ยอมแพ้ต่อป๎ญหา (AQ) ด้วย ขณะเดียวกัน เด็กป๎ญญาเลิศบางคนก็อาจมีลักษณะบางอย่างที่เป็นข้อจากัด ทาให้เป็นอุปสรรคต่อ การพัฒนาการ เรียนรู้ เช่น การมีสมาธิสั้น (ADD หรือ ADHD) การมีป๎ญหาการเรียนรู้ (LD) ในด้านต่างๆ เช่น การอ่าน การพูด การเขียน ทิศทาง คณิตศาสตร์ เป็นต้น การรู้จุดอ่อนของเด็กย่อมช่วยให้เด็กก้ าวพ้นจากภาวะ เสี่ยงต่อการเป็นเด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ากว่าที่ควร


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

105

3. การอบรมเลี้ยงดู จากครอบครั ว การอบรมเลี้ ยงดูจากครอบครัวเป็นพื้ นฐานส าคัญต่ อ บุคลิกภาพของเด็ก จากงานวิจัยของดร.ริมม์ (Rimm, S.1984, Davis & Rimm: 1994) ชี้ให้เห็นว่า องค์ประกอบสาคัญที่ทาให้เด็กอยู่ในภาวะเสี่ยง หรือเป็นเด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ากว่าที่ควร คือ เรื่องของการ แข่งขัน ความรับผิดชอบ การควบคุมตนเองและผู้อื่น การให้ความสาคัญในเรื่องของการเรียน ความนับ ถือที่มีต่อพ่อแม่ ผู้ใหญ่ และ คนอื่นๆ เด็กที่มีคะแนนต่าในเรื่องเหล่านี้มักเป็นเด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ ต่ากว่าที่ ควร พ่อแม่ ครู ผู้ปกครองจึงเป็นรูปแบบที่สาคัญในการพัฒนาเด็ก ผู้ใหญ่ต้องช่วยพัฒนาจุดอ่อนของลูก โดยไม่ละเลยจุดเด่นที่เขามีอยู่ 4. บริการทางสังคม สังคมที่เอื้อโอกาสจะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ดี ป๎จจุบันมีการเรียนรู้ วิธีการเรี ยนรู้ ในรู ปแบบต่างๆ ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การเข้าถึงแหล่ งเรียนรู้เป็นการลด ความเครียด และเสริมศักยภาพการเรียนรู้ตามแบบหรือลีลาการเรียนรู้ที่เหมาะกับเด็กแต่ละคน ผู้ใหญ่ ต้องช่วยดูความเหมาะสมของการให้โอกาส และการใช้โอกาส มีค่านิยมที่เหมาะสม แม้จะให้เสรีภาพใน การเรียนรู้ แต่การให้เสรีภาพไม่ใช่การตามใจ กฎระเบียบของบ้าน โรงเรียน และสังคมควรสอดคล้องกัน เพื่อให้เด็กไม่สับสนต่อการมีวินัยและค่านิยมที่ถูกต้อง เอกสารอ้างอิง Baum, S. (1990). Gifted but learning disabled: A puzzling paradox. ERIC Digest #479 Reston, VA: Council for Exceptional Children. Basu, A. (2015). The Gifted underachiever Deccan Herald. Davis & Rimm. (1994). Underachieving Gifted Students characteristic. www.pps.k12.or.us/schools/ Gross, G. (2012). Gifted Children who May Be Underachiever, www.Yotube.com/watch/ Halsted, J. W. (1988). Guiding Gifted Readers. Dayton: Ohio Psychology Press. Reis, S. M. (2013). Underachievement in Gifted and Talented Students with Special Needs, Department. Rimm, S. (1984, 1997). Underachievement Syndrome. Wisconsin, Good Apple. ศรียา นิยมธรรม. (2532, 2556). การสร้างแบบคัดแยกเด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ากว่า ความสามารถที่แท้จริง. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ศรียา นิยมธรรม. (2547, 2550, 2556). ฉลาดแต่ไม่เก่ง. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ไอคิวบุ๊ค.

…………………………………………………..


106

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) Raising Resilient Children with Autism Spectrum Disorders ประเสริฐ ตันสกุล1

หนังสือเล่มนี้ความหนาประมาณ ๒๘๐ หน้า เมื่อดูเผินๆจากชื่อภาษาอังกฤษที่อยู่บนปก บาง คนก็จะรู้สึกว่าน่ารักดี เพราะมีภาพน่ารักของเด็กสองคนกาลังเล่ นตบแปะๆๆกันอยู่ แต่บางคนก็จะ รู้สึกว่าน่ากลัวมากกว่าน่าสนุกถ้าจะหยิบมาอ่านให้จบเล่ม เพราะลักษณะของชื่อหนังสือบ่งชัดว่าเป็น วิชาการด้านจิตวิทยาการศึกษา เกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ ที่เป็นเรื่องราววิชาการและหลักวิชาที่เข้าใจ ยากสาหรับผู้อ่านธรรมดาๆที่ไม่ได้เป็นจิตแพทย์ ไม่ได้เป็นคนในวงการการศึกษาพิเศษ หรือไม่ใช่เป็น นักศึกษาวิชานี้โดยตรง ผู้วิจารณ์แนะนาหนังสือเล่มนี้เอง ตอนแรกๆที่ได้หนังสือนี้มาก็รู้สึกแบบนั้นเหมื อนกัน หยิบ มาอ่านแล้วก็วาง หยิบๆ วางๆ อยู่หลายครั้งมากกว่าจะรู้ว่าแท้ที่จริงเนื้อหาข้างในไม่ได้เป็นอย่างที่เห็น น่ากลัว แต่กลับอ่านสนุก ผู้แต่งมีวิธีเขียนเรื่องยากๆ ให้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย อย่างชาญฉลาดทีเดียว ที่สาคัญคือมีตัวอย่างแถมให้เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าใจเรื่องถูกต้องด้วย นับว่ารอบคอบจริงๆ ที่สาคัญกว่า นั้ น ดู เ หมื อ นว่ า ผู้ แ ต่ ง ตั้ ง ใจเขี ย นให้ ผู้ ป กครอง และครู ทั่ ว ไปอ่ า น เข้ า ใจน าไปใช้ ใ นทางปฏิ บั ติ ใ น ชีวิตประจาวัน และให้ครูอาจารย์นาไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์การสอนของตัวเองได้ด้วย สาระหลักของเรื่องก็ตรงกับชื่อ คือ ผู้แต่งจะแนะนาวิธีเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่ มีอาการไม่ปกติในเครือออทิสซึ่มให้ดาเนินชีวิตปกติได้ ซึ่งปกติออทิ สซึ่ม (Autism) จะเป็นลักษณะ ภายในตัวเด็กที่มีผลกระทบกับการพัฒนาทางด้านสังคม การสื่อสารปฏิสัมพันธ์ และพฤติกรรมการ แสดงออกของเด็ก ทาให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้เหมือนกับเด็กอื่นๆ แต่เดิมเราเข้าใจว่า อาการผิดปกติแบบนี้มาจากระบบและวิธีการเลี้ยงดูเด็กของพ่อ แม่ทางบ้านที่ไม่ถูกต้อง แต่มาวันนี้ผู้ แต่งเล่าว่ามีผลงานวิจัยยืนยันพอให้เชื่อได้แล้วว่า ความผิดปกติลักษณะนี้ มีเหตุมาจากพันธุกรรมด้วย จึงไม่ใช่ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นแล้วจะหายไปได้เอง แต่เราสามารถใช้วิธีการสร้างประสบการณ์จาก สิ่งแวดล้อมทางสังคม การฝึกฝน และการดูแลเอาใจใส่ ช่วยให้ลักษณะผิดปกติทางพันธุกรรม หรือ ลักษณะของยีนที่ผิดปกติส่วนนั้นๆ ปรากฏออกมาในรูปที่ต้องการได้ ผู้วิจารณ์แนะนาสงสัยว่า คาว่า Autism spectrum disorder ที่ผู้แต่งใช้นั้นหมายถึงอะไรกัน แน่ พยายามอ่านดูในบทแรกก็พอสรุปได้ว่า หมายถึงลักษณะผิด ปกติชนิดเดียว ที่แสดงออกในหลาย อาการ เช่น ออทิสซึ่ม หรือ แอสเพอเกอร์ ซินโดรม หรือ พัฒนาการโดยรวมผิดปกติ (Pervasive Developmental Disorder) เรียกย่อๆว่า ASD ซึ่งเป็นลักษณะผิดปกติที่ทาให้มีป๎ญหาอื่นอีกหลายอย่าง เกิดขึ้นตามมาด้วย ผู้แต่งอธิบายว่าที่ใช้คาว่า Spectrum ก็เพราะต้องการให้สะท้อนถึง เป็นลักษณะของ

____________________________ 1

นายประเสริฐ ตันสกุล นักวิชาการอิสระ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

107

เหล่าอาการที่แสดงออกในลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่ง กับอีกอย่างหนึ่งเพื่อชี้ให้เห็นว่าลักษณะอาการที่ แสดงออกให้เห็นจะมีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันแล้วแต่ว่าจะไปผสมผสานกับพยาธิสภาพอื่นใด ของเด็ก หรือสภาพประสบการณ์ที่ได้รับจากบ้านและโรงเรียน หรือสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่ลูกที่ เกิดขึ้นประจาวัน ซึ่งจะไปสร้างความแตกต่างให้กับชีวิตเด็กในป๎จจุบันและอนาคตได้ด้วย สาหรับคาว่า ออทิสซึ่ม Autism นั้นผู้แต่งอธิบายว่าเป็นคาที่จิตแพทย์ชาวสวิสท่านหนึ่งนามาใช้ เป็นครั้งแรก มีรากศัพท์มาจากคาภาษาเยอรมันว่า Autimus ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า Autos (Self) กับ Ismus ใช้เรียกลักษณะอาการของเด็กที่ ไม่มีอาการรับรู้ หมกมุ่นอยู่กับตัวเอง และจมอยู่ในความฝ๎น ที่น่าสนใจมากคือคาว่า Resilient Mindset ผู้แต่งได้อธิบายไว้อย่างน่าสนใจว่าประสบการณ์ ในทางสังคมของเด็ก ที่สามารถเข้าร่วมสังคม และเชื่อมสัมพันธ์กับคนอื่นๆได้ เป็นประสบการณ์สาคัญที่ ช่วยให้เขามี Resilient Mindset พร้อมที่จะจัดการกับป๎ญหาและภาวะกดดันในสังคมประจาวันของ เขาได้สาเร็จ ซึ่งต้องได้รับโอกาสในการฝึกฝน จะเรียก Resilient Mindset ว่าเป็น “พลังภายใน” หรือ “การประคองใจตนเอง” ก็น่าจะสื่อความได้ เพราะผู้แต่งได้อธิบายไว้ว่า พ่อแม่ทุกคนต่างก็ตระหนักดี ว่าการที่ลูกๆ จะมีความสุข สาเร็จ และสมปรารถนาในชีวิตได้พวกเขาจาเป็นต้องมีประสบการณ์ในทาง สังคม สามารถเข้าสังคมและเชื่อมสัมพันธ์กับคนอื่นๆได้ เพราะประสบการณ์เหล่านั้นจะช่วยให้เขามี ความหยุ่นตัวมากพอที่จะจัดการกับป๎ญหาและความกดดันในสังคมประจาวันของเขาได้สาเร็จ หนังสือ เล่มนี้ เราเรียกความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ ด้วยการหยุ่นตัว (Resilient) และเชื่อมั่นว่า “เอาอยู่” ว่า Resilient Mindset ซึ่งก็คือ “พลังภายใน” หรือ “ทักษะประคองใจตน” นั่นเอง ผู้ แต่งได้แนะน าหลั กเกณฑ์และวิธีการแปดประการ ในการสร้างพลั งภายใน หรือทักษะ ประคองใจตนเองให้กับเด็ก ASD โดยอธิบายรายละเอียดพร้อมตัวอย่าง ที่เน้นด้านการสื่อสาร การเอา ใจเขามาใส่ใจเรา และการยอมรับสภาพ ASD ของเด็ก ตลอดจนวิธีการพัฒนาความสามารถแฝง การ ฝึกตัดสินใจ การมีวินัย การรับผิดชอบต่อตนเอง และการนึกถึงคนอื่ น เอาไว้เป็นแปดบทด้วยกันให้ อ่านได้อย่างจุใจ หนังสือเล่มนี้นอกจากจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการการศึกษาพิเศษแล้ว ยังมีประโยชน์ มากสาหรับบิดามารดาโดยเฉพาะด้วย เพราะในระยะเวลาที่ผ่านมา ถ้าเราสังเกตเราก็จะเห็นว่าพ่อแม่ ที่ประสบป๎ญหาเด็ก ASD มีจานวนเพิ่มมากขึ้น และการที่เราตรวจพบอาการผิดปกติได้เร็วขึ้น ก็จะ ช่ ว ยให้ พ่ อ แม่ ไ ด้ ยื่ น มื อ เข้ า ช่ ว ยเหลื อ ให้ เ ด็ ก ด าเนิ น ชี วิ ต ในสั ง คมปกติ ไ ด้ เ ป็ น ปกติ ไ ด้ ม ากขึ้ น ด้ ว ย นอกจากนั้นแล้ว วิธีการที่ฝึกทักษะต่างๆ ในการเลี้ยงดูเด็ก ที่แนะนาไว้ในหนังสือเล่มนี้ เหมาะที่จะใช้ ส่งเสริมและพัฒนาเด็กปกติ ที่ไม่ได้มีความผิดปกติใดๆ ได้ด้วย

…………………………………………………..


108

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

คาชี้แจงสาหรับผู้ส่งบทความวิชาการและบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เป็นวารสารเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การศึกษาค้นคว้าสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการด้านจิตวิทยา บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์จะต้องได้รับ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รายละเอียดมีดังนี้ 1. ลักษณะบทความที่ตีพิมพ์ 1.1 บทความทางวิชาการ/บทความทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา 1.2 บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา 2. ส่วนประกอบของบทความ 2.1 บทความทางวิชาการ ความยาวเรื่องละไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย 2.1.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.1.2 ชื่อผู้แต่ง 2.1.3 สถาบันที่ผู้เขียนสังกัด 2.1.4 บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.1.5 บทนา เนื้อเรื่องและสรุปสาระสาคัญ 2.1.6 เอกสารอ้างอิง (ตามระบบ APA) 2.2 บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์ ความยาวเรื่องละไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย 2.2.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.2.2 ชื่อผู้แต่ง 2.2.3 สถาบันที่ผู้เขียนสังกัด 2.2.4 บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.2.5 คาสาคัญ (Key words) 2.2.6 เนื้อเรื่อง ประกอบด้วย 1) บทนา 2) วัตถุประสงค์ 3) นิยามศัพท์ 4) วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 5) ระเบียบวิธีวิจัย ประกอบด้วย - ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - การวิเคราะห์ข้อมูล


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2558)

109

6) ผลการวิจัย - บทสรุป - ข้อเสนอแนะ 7) เอกสารอ้างอิง (ตามระบบ APA) 3. การจัดพิมพ์ 3.1 พิมพ์ลงหน้ากระดาษขนาด A4 3.2 พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Office Word 2003 3.3 รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK 3.4 ลักษณะและขนาดตัวอักษร 3.4.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ตัวหนาขนาด 26 3.4.2 ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ตัวหนาขนาด 26 3.4.3 ชื่อผู้เขียน ตัวหนาขนาด 16 3.4.4 หัวข้อใหญ่ ตัวหนาขนาด 16 3.4.5 เนื้อหา ตัวปกติขนาด 16 4. การจัดส่งบทความ 4.1 จัดส่งเอกสาร ดังนี้ 4.1.1 ต้นฉบับบทความ จานวน 3 ชุด 4.1.2 CD บันทึกบทความ จานวน 1 แผ่น 4.1.3 แบบฟอร์มส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 4.2 จัดส่งบทความ ดังนี้ กองบรรณาธิการวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต หลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา ชั้น 3 อาคาร 1 เลขที่ 1761 ซอยพัฒนาการ 37 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 e-mail: journal.psy.kbu@gmail.com 4.3 มีข้อสงสัยกรุณาติดต่อ รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ โทร.0-2320-2777 ต่อ 1163, 089-929-9705 รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ โทร.0-2320-2777 ต่อ 1134, 081-921-7903 5. เงื่อนไขการตีพิมพ์บทความ 5.1 เป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน 5.2 เป็นบทความที่ผ่านการพิจารณาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ (Peer review) ของวารสาร จิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต บทความละ 2 คน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเชิงวิชาการ 5.3 เป็นบทความที่ได้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว 5.4 บทความที่ ไ ด้ รั บ การตี พิ ม พ์ เผยแพร่ ใ นวารสารจิ ต วิ ท ยา มหาวิ ท ยาลั ย เกษมบั ณ ฑิ ต เจ้าของบทความจะได้รับวารสารฉบับนั้น จานวน 3 เล่ม

…………………………………………………..



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.