วารสารจิตวิทยา ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2559 ISSN 2286-6663

Page 1


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เจ้าของ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่ปรึกษา 1. ดร.วัลลภ สุวรรณดี 2. ดร.เสนีย์ สุวรรณดี 3. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา กองบรรณาธิการบริหาร 1. ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 2. ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม 3. รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี 4. รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ 5. รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ กองบรรณาธิการวิชาการ 1. ศาสตราจารย์ ดร.จรรจา สุวรรณทัต 2. ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 3. ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม 4. รองศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต 5. รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิโชค วรานุสันติกูล 6. รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ นนทะสร 7. รองศาสตราจารย์ ดร.วรนุช แหยมแสง 8. รองศาสตราจารย์ ดร.อรพินทร์ ชูชม 9. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา สู้รักษา 10. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา 11. รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี 12. รองศาสตราจารย์ ดร.รัญจวน คาวชิรพิทักษ์ 13. รองศาสตราจารย์มุกดา ศรียงค์ 14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง 15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เย็นใจ เลาหวณิช 16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระวัฒน์ ปันนิตามัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคาแหง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคาแหง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


กองบรรณาธิการ 1. รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ 2. นางสาวรัศมีดารา ดารากร ณ อยุธยา

บรรณาธิการ ผู้ช่วยบรรณาธิการ

คณะกรรมการจัดทาวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 1. รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ 2. รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ 3. นางสาวรัศมีดารา ดารากร ณ อยุธยา

ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ

ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ 1. ศาสตราจารย์ ดร.จรรจา สุวรรณทัต 2. ศาสตราจารย์ ดร.อารี สัณหฉวี 3. ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ 4. ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม 5. รองศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต 6. รองศาสตราจารย์ ดร.อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์ 7. รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิโชค วรานุสันติกูล 8. รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ นนทะสร 9. รองศาสตราจารย์ ดร.สมสรรญก์ วงษ์อยู่น้อย 10. รองศาสตราจารย์ ดร.อรพินทร์ ชูชม 11. รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ 12. รองศาสตราจารย์ ดร.วรนุช แหยมแสง 13. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา 14. รองศาสตราจารย์ ดร.รัญจวน คาวชิรพิทักษ์ 15. รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี 16. รองศาสตราจารย์ชูศรี วงศ์รัตนะ 17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระวัฒน์ ปันนิตามัย 18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เย็นใจ เลาหวณิช 19. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พาสนา จุลรัตน์ 20. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุสาห์ภรณ์ สุขารมณ์ 21. ว่าที่ร้อยตรี ดร.มนัส บุญประกอบ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นักวิชาการอิสสระ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มหาวิทยาลัยรามคาแหง มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ

กาหนดวันออกวารสาร ปีละ 2 ฉบับ - ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน กาหนดออกวารสาร เดือนมิถุนายน - ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม กาหนดออกวารสาร เดือนธันวาคม


วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาค้นคว้า สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการด้านจิตวิทยา ของคณาจารย์ นักวิชาการและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางจิตวิทยาสู่สาธารณชน 3. เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านจิตวิทยา ระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานทางวิชาการ หน่วยงานปฏิบัติการและนักวิชาการอิสระทางด้านจิตวิทยา พิมพ์ที่ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เลขที่ 1761 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ 0-2320-2777 โทรสาร 0-2720-4677 ISSN 2286-6663 สานักงาน หลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา (ชั้น 3 อาคารเกษมพัฒน์) มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ โทรศัพท์/โทรสาร 0-2320-2777 ต่อ 1134, 1163 e-mail: journal.psy.kbu@gmail.com http://journal.psy.kbu.ac.th ปีที่พิมพ์ 2559


คานิยม วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตได้เดินทางมาถึงฉบับครบรอบปีที่ 6 แล้ว นับเป็น ประจักษ์พยานแห่งความมุ่งมั่นตั้งใจของคณะบรรณาธิการและผู้จัดทาที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันอย่าง เข้มแข็งเพื่อมุ่งส่งเสริมให้ศาสตร์และวิชาชีพจิตวิทยาได้ขยายขอบข่ายของการศึกษาวิจัยและพั ฒนา องค์ความรู้ในการวิเคราะห์ อธิบาย ทานาย และเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงให้พร้อมเผชิญกับ สภาวะความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและหลากหลายที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ในนามของหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ขอแสดง ความชื่นชมและขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ ผู้ เป็นบรรณาธิการและประธานคณะกรรมการจัดทาวารสาร รวมทั้งท่านผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ และท่ านนั กวิ ชาการผู้ กรุ ณาส่ งบทความที่ มี คุ ณภาพ ขอเป็ นก าลั งใจให้ ทุ กท่ านได้ ผสานก าลั งเป็ น กัลยาณมิตรในด้านจิตวิทยาให้มนุษย์และสังคมได้มีพัฒนาการอย่างยั่งยืนต่อไป

ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจและใฝ่พัฒนา

(รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อานวยการหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


บรรณาธิการแถลง วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2559 ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นฉบับที่ 2 ของปี ในการนาเสนอบทความทางวิชาการและบทความวิจัยทางด้าน จิ ตวิ ทยาของอาจารย์ ผู้ ทรงคุ ณวุฒิ และนั กวิ ช าการในสาขาวิช าจิตวิ ทยา จากมหาวิ ทยาลั ยมหิ ดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยรามคาแหง และมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ซึ่งบทความทุก ฉบับได้รับการพิจารณากลั่ นกรองจากผู้ ทรงคุณวุฒิทางด้านจิตวิทยา ด้านสถิติ และการวิจัย ทาให้ เนื้อหาทุกคอลัมน์ของวารสารมีคุณภาพ เพื่อท่านผู้อ่านจะได้รับความรู้ทางวิ ชาการและสามารถนาไป เป็นประโยชน์ในการอ้างอิง และประยุกต์ใช้ในทางวิชาการได้ กองบรรณาธิ การ ขอขอบคุณผู้ เขียนบทความทุกท่ านที่ส่ งบทความมาให้ พิ จารณาตีพิมพ์ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความที่กรุณาพิจารณาให้ข้อคิดเห็นในการปรับปรุงแก้ไขบทความให้มี ความถูกต้องทันสมัยตามหลักเกณฑ์ และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตที่ให้การสนับสนุนในการ จั ด ท าวารสารจนส าเร็ จ ลุ ล่ ว งด้ ว ยดี ซึ่ ง กองบรรณาธิ ก ารหวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า วารสารจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตฉบับนี้จะเกิดประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านในการนาไปประยุกต์ใช้และสร้างสรรค์ ผลงานวิชาการทางจิตวิทยาต่อไป หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขอน้อมรับไว้เพื่อการนาไปปรับปรุง แก้ไขต่อไป

(รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์) บรรณาธิการ


สารบัญ หน้า โครงสร้างของความสุขและสุขภาวะในจิตวิทยาเชิงบวก รองศาสตราจารย์ ดร.อรพินทร์ ชูชม ผลของการใช้โปรแกรมการสอนงานเชิงจิตวิทยาแนวการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหา เป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคการทางานของ นักกายภาพบาบัดโรงพยาบาลปิยะเวท นางสาวนงค์นุช พลรัตนศักดิ์ รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี

1-7 8-18

ละครบาบัดสาหรับเด็กออทิสติก นายมิตร ศราชัยนันทกุล

19-28

การเสริมสร้างการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศในสถานศึกษาจังหวัด นครราชสีมาโดยใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ นายศิวะยุทธ สิงห์ปรุ ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ รองศาสตราจารย์ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา

29-42

การเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผล ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์

43-48

สมรรถนะของบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในมุมมองของผู้บังคับบัญชา รองศาสตราจารย์ ดร.สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์ อาจารย์ธนยศ สุมาลย์โรจน์ อาจารย์สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์ อาจารย์ณัชพล อ่วมประดิษฐ์

49-59


สารบัญ (ต่อ) หน้า การแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณค่าแห่งตนของวัยรุ่นในศตวรรษที่ 21 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑิรา จารุเพ็ง

60-77

การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์ แอ๊ดเวนตีสของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก นายประไพ เนตรแก้ว รองศาสตราจารย์ ดร.อรพินทร์ ชูชม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา กิจธรธรรม

78-95

การพัฒนาคู่มือการใช้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์และการวิเคราะห์เกณฑ์ปกติของ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยรูปภาพ แบบ ข. ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณี อาจารย์ ดร.เจษฎา อังกาบสี

96-103

104-128 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อ เสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาตอนปลาย โรงเรียนกลุ่มปฐมนคร พระมหาอดิเรก สีตวรานุกูล รองศาสตราจารย์ ดร.รัญจวน คาวชิรพิทักษ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา คาแนะนาสาหรับผู้ส่งบทความวิชาการและบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ใน วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

129-130


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

1

โครงสร้างของความสุขและสุขภาวะในจิตวิทยาเชิงบวก The structure of happiness and well-being in positive psychology อรพินทร์ ชูชม บทคัดย่อ จิตวิทยาเชิงบวกเป็นศาสตร์ที่ศึกษาความสุขและสุขภาวะอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยระยะแรก ของศาสตร์นี้สนใจศึกษาความสุข และต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนมาสนใจศึกษาสุขภาวะ โดยที่การ กาหนดนิยาม โครงสร้าง และการวัดความสุขและสุขภาวะในจิตวิทยาเชิงบวกมีรากฐานมาจากปรัชญา ที่แตกต่างกัน 2 มุมมองได้แก่ มุมมองแบบเฮโดนิกส์ (Hedonic perspectives) ที่เน้นความสุข และ มุมมองแบบยูไดโมนิกส์ (Eudaimonic perspectives) ที่เน้นความเจริญรุ่งเรือง คาสาคัญ: จิตวิทยาเชิงบวก ความสุข สุขภาวะ โครงสร้าง ความเจริญรุ่งเรือง Abstract Positive psychology is the scientific study of happiness and well-being. The early period of positive psychology concerned happiness. At present, positive psychology emphasizes well-being. Definition, structure, and measurement of happiness and wellbeing have been derived from two different perspectives: Hedonic approach and eudaimonic approach. The hedonic approach focuses on happiness and the eudaimonic approach focuses on flourishing. Keywords: positive psychology, happiness, well-being, structure, flourishing

รองศาสตราจารย์ ดร., ประจาสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสาตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


2

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

จิตวิทยาเชิงบวกเป็นศาสตร์ที่ ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาสิ่งที่ทาให้ชีวิตมนุษย์มี คุณค่า มีความสุข และมีความ เจริญรุ่งเรืองให้ความสาคัญกับจุดแข็ง คุณลักษณะด้านบวกของมนุษย์ เน้นการสร้างเสริมความแข็งแกร่ง ในขณะเดียวกันไม่ได้ละเลยจุดอ่อนของมนุษย์ โดยนาจุดแข็งของ มนุษย์มาเป็นหลักในการปูองกันรักษา ปรับเปลี่ยนและแก้ไข้ข้อบกพร่อง (Seligman, 2011) ความสุข จึงเป็นองค์ความรู้หนึ่งที่ได้รับการศึกษาวิจัยจานวนมากเนื่องจากพบว่าความสุขส่งผลทางบวกไม่ว่าจะ เป็น สุขภาพทางกาย สุขภาพจิต และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ในระยะแรกนักจิตวิทยาเชิงบวกจึงสนใจ ศึกษาความสุขที่เป็นความสุขเชิงอัตวิสัย และระยะต่อมาได้มีการพัฒนาทฤษฎีสุขภาวะ ทาให้เปูาหมาย จิตวิทยาเชิงบวกได้รับการปรับเปลี่ยน มาสนใจศึกษาสุขภาวะแทน โดยทั่ว ไปคาว่าความสุขและสุข ภาวะมักถูกใช้สลับกันมีความหมายที่คล้ายกัน แต่จิตวิทยาเชิงบวกได้มีการกาหนดนิยาม โครงสร้างของ ความสุ ขและสุ ขภาวะไว้ แตกต่างกัน บทความนี้จึ งได้ นาเสนอความหมาย โครงสร้าง และการวั ด ความสุขและสุขภาวะในจิตวิทยาเชิงบวกตามมุมมองแบบเฮโดนิกส์ที่เน้นความสุข และมุมมองแบบยูได โมนิกส์ที่เน้นความเจริญรุ่งเรือง จากความสุขมาสู่สุขภาวะ Dr. Martin Seligman ซึ่งเปฺ นผู้นาทางจิตวิทยาเชิงบวกได้เสนอทฤษฎี ความสุขที่แท้จริง (Authentic Happiness) ในปี ค.ศ. 2002 เกี่ยวกับชีวิตที่ดี ความรู้สึกที่ดีและวิธีการที่บุคคลเลือกชี วิตที่ พยายามให้มีความสุขมากที่สุด โดยความสุขมีสามองค์ประกอบหลัก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าชีวิตที่มี ความสุขมีสามแบบที่สามารถสร้างได้ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ได้แก่ 1) องค์ประกอบอารมณ์ทางบวก (Positive Emotion) หรือ ชีวิตที่พึงพอใจ (Pleasant Life) หมายถึงการที่บุคคลมีความรู้สึกที่พึงพอใจในขี วิต ชีวิตได้รับการตอบสนองความต้องการและมีประสบการณ์อารมณ์ทางบวกทั้งในอดีต (เช่น การให้อภัย) อนาคต (เช่น ความหวัง) และปัจจุบัน (เช่น ความสนุกสนานรื่นรมย์) ความสุขประเภทนี้จะเป็นความสุข ชั่วคราว สามารถทาให้เกิดได้โดยชีวิตได้รับการตอบสนองความต้องการ 2) องค์ประกอบความยึดมั่น ผูกพัน (Engagement) หรือ ชีวิตที่มีความยึดมั่นผูกพัน (Engaged Life) หมายถึงการที่บุคคลมีชีวิตที่ มุ่งมั่นทุ่มเท เอาใจใส่ จดจ่ ออยู่ กับสิ่ งใดสิ่ งหนึ่ ง มีความรู้ สึ กเป็นหนึ่ งเดียวกับสิ่ งนั้น เกิดภาวะลื่ นไหล (Flow) ในกิจกรรม/งานที่ทา มีความกระตือรือร้น ไม่เบิ่อหน่าย การทาให้เกิดภาวะลื่นไหล สามารถสร้าง ได้โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็ง (Character Strengths) และคุณธรรม (Virtues) ของบุคคลในการทา กิจกรรมที่ชอบ ดังนั้นความสุขในองค์ประกอบนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าชีวิตที่ดี(Good Life) และ 3) องค์ประกอบความหมาย (Meaning) หรือ ชีวิตที่มีความหมาย (Meaningful Life) หมายถึงการที่บุคคลใช้ จุดแข็งและคุณธรรมของบุคคลเพื่อทาอะไรบางอย่างที่ยิ่งใหญ่กว่าตนเอง เอื้ออานวยประโยชน์ต่อสังคม ความสุขแบบนี้ถือว่ามีคุณค่าสูงสุด เป็นความสุขที่ถาวร และมีความงอกงามทางจิตใจ (Seligman, 2002) โดยมีคุณธรรม 6 กลุ่ม-คุณธรรมด้านปัญญาและความรู้ ด้านความกล้าหาญ ด้านมนุษยธรรม ด้านความ ยุติธรรม ด้านความยับยั้งชั่งใจ และด้านการก้าวเหนือตัวตน-ซึ่งเป็นฐานจุดแข็ง 24 คุณลักษณะทางบวก ของบุคคล คุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งเหล่านี้มีส่วนช่วยทาให้เกิดความสุข (Peterson & Seligman, 2004) ต่อมา Seligman (2011) ได้มีการเคลื่อนไหวในศาสตร์จิตวิทยาเชิงบวกและมีการเลิกใช้คาว่าความสุข เนื่องจากเห็นว่า 1) คาว่าความสุขถูกใช้มากเกินไปทาให้ความหมายทั้งหลายสูญหายไป 2) คาว่าความสุข เกี่ยวข้องกับสภาวะอารมณ์รื่นเริงยิ้มแย้มแจ่มใสก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนว่าคนที่เก็บตัว หรือคนที่มี


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

3

การแสดงออกน้อย ไม่มีความสุข และ 3) แนวคิดความสุขเป็นเพียงสิ่งเดียวที่มนุษย์แสวงหา นอกจากนี้ใน ทฤษฎีความสุขที่แท้จริงยังมีช่องว่างละเลย เรื่องความสาเร็จและความรอบรู้ Seligman จึงเห็นว่าคาว่าสุข ภาวะ (Well-being) เหมาะสมกว่ า และน าเสนอทฤษฎี สุ ขภาวะซึ่ งท าให้ จิ ตวิ ทยาเชิ งบวกมี การ เปลี่ยนแปลงจาก ทฤษฎีความสุขที่แท้จริง (2002) มาเป็น ทฤษฎีสุขภาวะ (2011) ในประเด็นต่างๆ ดังที่ นาเสนอใน ตาราง 1 ตาราง 1 การเปรียบเทียบทฤษฎีความสุขที่แท้จริงและทฤษฎีสุขภาวะในจิตวิทยาเชิงบวกของ Seligman (2011) จิตวิทยาเชิงบวก ทฤษฎีความสุขที่แท้จริง ทฤษฎีสุขภาวะ (Seligman, 2002) (Seligman, 2011) หัวเรื่อง ความสุข สุขภาวะ การวัด ความพึงพอใจ ในชีวิต อารมณ์เชิงบวก ความยึดมั่นผูกพัน สัมพันธภาพ ความหมาย และความสาเร็จ เปูาหมาย เพิ่มความพึงพอใจ ในชีวิต เพิ่มความเจริญรุ่งเรืองด้วยการเพิ่มอารมณ์ เชิงบวก ความยึดมั่นผูกพัน สัมพันธภาพ ความหมาย และความสาเร็จ โดยทั่วไปนักจิตวิทยาเชิงบวกมักใช้คาว่าความสุขและสุขภาวะสลับกัน เเต่อย่างไรก็ตามนิยาม โครงสร้าง และการวัดความสุขและสุขภาวะมาจากรากฐานและแนวคิดที่แตกต่างกัน สุขภาวะสามารถ แบ่งเป็นสองมุมมองได้แก่ มุมมองแบบเฮโดนิกส์ (Hedonic Perspectives) ที่เน้นความสุข (Happiness) และมุมมองแบบยูไดโมนิกส์ (Eudaimonic Perspectives) ที่เน้นความเจริญรุ่งเรือง (Flourishing) สุขภาวะตามมุมมองแบบเฮโดนิกส์ที่เน้นความสุข สุขภาวะตามมุมมองที่เน้นความสุขมีรากฐานมาจากปรัชญาเฮโดนิกส์ทึ่มีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ได้กล่าวถึงเปูาหมายชีวิตของมนุษย์ โดยเชื่อว่ามนุษย์ต้องการได้รับความพึงพอใจมากที่สุด (ความรู้สึ ก ทางบวก) และลดความเจ็บปวดให้เหลือน้อยทีสุด (ความรู้สึกทางลบ) โดยที่ความรู้สึกพึงพอใจสูงสุดเป็น หนทางนาไปสู่ความสุข ดังนั้นนักจิตวิทยาเชิงบวกได้นาปรัชญานี้มาใช้ศึกษา และเทียบเคียงสุขภาวะคือ ความสุข โดยที่แต่ละบุคคลอาจมีเกณฑ์ในการประเมินที่แตกต่างกัน การระบุว่าคุณภาพชีวิตของตนดี หรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละบุคคลตามความรู้สึกนึกคิดของตน เป็นการประเมินเชิงอัตวิสัย เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของบุคคล (Henderson & Knight, 2012) จากแนวคิดดังกล่าวสุขภาวะจึงเป็นสภาวะ ภายในที่ถูกแปลงมาเป็นโครงสร้างสุขภาวะเชิงอัตวิสัย โดยนิยามสุขภาวะเชิงอัตวิสัย (Subjective WellBeing or Hedonic Well-Being) ว่าเป็นการประเมินความรู้สึก(Affective) และความคิด (Cognitive) ชีวิต ของบุคคล โครงสร้างสุขภาวะเชิงเชิงอัตวิสัย จึงเป็นความสุขที่ประกอบด้วยสามองค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) องค์ประกอบการรู้คิด (Cognitive) หรือความพึงพอใจ ในชีวิต (Life Satisfaction) เป็นสิ่งที่บุคคลคิด เกี่ยวกับความพึงพอใจในชีวิตตนเองในภาพรวม และในมิติที่เฉพาะ เช่น ชีวิตการงาน และครอบครัว 2) อารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก (Positive Affects) และ 3) อารมณ์ความรู้สึกเชิงลบ (Negative Affects) โดย


4

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

บุคคลที่รู้สึกพึงพอใจในชีวิตสูง มีอารมณ์เชิงบวกเกิดขึ้น บ่อยครั้ง ในขณะที่มีอารมณ์เชิงลบเกิดขึ้นน้อยครั้ง หรือแทบไม่มีเลย จะเป็นบุคคลที่มีสุขภาวะเชิงอัตวิสัยมาก หรือ อาจกล่าวได้ว่ามีความสุขมาก (Diener, 2009) นอกจากนี้จิตวิทยาเชิงบวกยังกาหนดให้อารมณ์ทางบวกและทางลบเติมเต็มชีวิตในบทบาทที่แตกต่าง อารมณ์ ทางลบสามารถใช้ เป็ นเครื่ องมื อเพื่ อความอยู่ รอด ในขณะที่ อารมณ์ ทางบวกมี แนวโน้ มที่ จะ เกี่ยวข้องกับความเติบโตงอกงามและความเจริญรุ่งเรือง (Seligman, 2002) ดังนั้นการวัดสุขภาวะเชิงอัตวิสัย จึงเป็นการวัดว่าบุคคลคิดและรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับชีวิตโดยที่ องค์ประกอบทั้งสามองค์ประกอบต่างเป็นอิสระต่อกัน ได้มีการพัฒนาแบบวัดสุขภาวะเชิงอัตวิสัยในแต่ละ องค์ประกอบ เช่น Diener, Emmons, Larsen, and Griffin (1985) ได้พัฒนามาตราวัด Satisfaction with Life Scale (SWLS) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อชีวิตของบุคคลในภาพรวม Watson, Clark, and Tellegen (1988) ได้พัฒนามาตรวัด The Positive and Negative Affect Schedule (PANAS) ซึ่งเป็นมาตรวัดอารมณ์ ความรู้สึกเชิงบวกและเชิงลบ โดยเครื่องมือวัดเหล่านี้ใช้มาตราประเมินค่า แบบให้รายงานตนเอง กล่าวโดยสรุปสุขภาวะตามมุมมองแบบเฮโดนิกส์หมายถึงความสุข อารมณ์ความรู้สึกทางบวก ต่อชีวิตประกอบด้วยโครงสร้างความพึงพอใจในชืวิต อารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก และอารมณ์ความรู้สึก เชิงลบ ส่วนใหญ่เป็นการวัดการวัดสุขภาวะเชิงอัตวิสัยใช้มาตราประเมินค่า แบบให้รายงานตนเอง สุขภาวะตามมุมมองแบบยูไดโมนิกส์ที่เน้นความเจริญรุ่งเรือง สุขภาวะตามมุมมองแบบยูไดโมนิกส์ (Eudaimonic Perspectives) ที่เน้นความเจริญรุ่งเรืองมี รากฐานมาจากปรัชญายูไดโมนิกส์ ที่กล่าวว่าจุดหมายแรกของชีวิตมนุษย์คือเป็ นคนดี ความสุขที่แท้จริง แสดงออกด้วยคุณธรรมกล่าวคือการทาสิ่งที่มีคุณค่า ก่อให้เกิดความเจริญงอกงามเติบโตทางจิตวิญญาณ แนวคิดนี้ต่างจากแนวคิดเฮโดนิกส์ที่ทาให้คนตกเป็นทาสของความต้องการ ซึ่งเป็นเพียงความรู้สึกเชิงอัต วิสัยและความพึงพอใจนั้นนาไปสู่ความสุขชั่วคราวไม่สามารถเทียบเคียงเท่ากับ สุขภาวะตามมุมมองแบบ ยูไดโมนิกส์ (Ryan & Deci, 2008) สุขภาวะตามมุมมองแบบยูไดโมนิกส์ (Eudaimonic Well-Being) ที่ นักจิตวิทยาเชิงบวกนามาศึกษาได้มีการนิยามสุขภาวะว่าหมายถึงการที่บุคคลมีความเจริญรุ่งเรือง มีการ ตระหนักรู้ถึงตัวตนที่แท้จริง เข้าถึงศักยภาพสูงสุดในตนเอง (Self-Actualization) ทาหน้าที่ต่างๆในชีวิต อย่างเต็มศักยภาพ (Fully Functioning) และ/หรือมีความเจริญเติบโตทางจิตวิญญาณ (Ryan & Deci, 2008; Seligman, 2011) ภายใต้ แนวปรั ชญานี้ ได้ น ามาสู่ การก าหนดโครงสร้ างสุ ขภาวะที่ เน้ นความเจริ ญรุ่ งเรื องที่ หลากหลายรูปแบบ เช่น รูปแแบบสุขภาวะทางจิต (Psychological Well-being) ของ Ryff (1989) ทฤษฎี สุขภาวะ (Well-Being Theory) ของ Seligman (2011) และทฤษฎีอัตลิขิต (Self-determination Theory) ของ Deci และ Ryan (2008) รูปแแบบสุขภาวะทางจิต (Psychological Well-Being) ของ Ryff (1989) เป็นรูปแบบหนึ่งของสุข ภาวะที่กาหนดให้โครงสร้างสุขภาวะทางจิตประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่การยอมรับตนเอง (SelfAcceptance เป็นการประเมินทางบวกเกี่ยวกับตนเองและชีวิต) การเติบโตส่วนบุคคล (Personal Growth) การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต (Purpose in Life) การมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น (Positive Relations with Others) ความรอบรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Mastery) และความเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy) วัดได้โดยใช้มาตราวัดสุขภาวะทางจิตที่ Ryff ได้สร้างขึ้น ซึ่งมี 3 ชุด ได้แก่ ชุดละ 84, 54, และ 18 ข้อ เป็น


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

5

มาตราเชิงประเมินค่าแบบให้รายงานตนเอง ได้มีการศึกษาจานวนมากสนับสนุนรูปแบบนี้ระบุว่าโครงสร้าง สุขภาวะทางจิตประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ (Ryff & Keyes, 1995) แต่มีการศึกษาจานวนหนึ่งที่พบว่าทั้ง 6 องค์ประกอบสามารถอธิบายได้เพียงสองมิติ มิติหนึ่งสอดคล้องแนวคิดเฮโดนิกส์ ส่วนอีกมิติสอดคล้อง แนวคิดแบบยูไดโมนิกส์ (Boniwell, 2016) Seligman (2011) ผู้นาในการพัฒนาแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก ในระยะเริ่มต้นได้เสนอรูปแบบ ความสุขที่แท้จริงมี 3 แบบได้แก่ ชีวิตที่พึงพอใจ ชีวิตที่มีความยึดมั่นผูกพัน และชีวิตที่มีความหมาย โดย เชื่อว่าการแสวงหาความยึดมั่นผูกพันและความหมายสามารถพิจารณาว่ามาจากมุมมองแบบยูไดโมนิกส์ ในขณะที่ชีวิตที่พึงพอใจมาจากมุมมองแบบเฮโดนิกส์ ต่อมาภายหลังได้เสนอทฤษฎีใหม่มีชื่อว่า ทฤษฎีสุข ภาวะที่เสนอว่าเปูาหมายของจิตวิทยาเชิงบวก คือ ยกระดับความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์และโลก การวัด สุขภาวะเป็นการวัดความเจริญรุ่งเรือง สุขภาวะหรือความเจริญรุ่งเรืองจึงเป็นโครงสร้างหนึ่งที่สามารถ อ้างอิงได้จากองค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบได้แก่อารมณ์เชิงบวก (Positive Emotion) ความยึดมั่น ผูกพัน (Engagement) สัมพันธภาพ (Relationships) ความหมาย (Meaning) และความสาเร็จ (Accomplishment) โดยใช้ตัวย่อแทนองค์ประกอบทั้งหมดว่า PERMA การกาหนดองค์ประกอบใช้เกณฑ์ 3 ประการ คือ 1) มีส่วนช่วยสร้างเสริมสุขภาวะ 2) เป็นสิ่งที่บุคคลพยายามเสาะแสวงหาด้วยตนเอง และ3) สามารถนิยามและวัดได้อย่างเป็นอิสระ โดยเชื่อว่าถ้าบุคคลใช้จุ ดแข็งของตนจะนาไปสู่ อารมณ์เชิงบวก ความยึดมั่นผูกพัน สัมพันธภาพ ความหมาย และความสาเร็จที่มากขึ้น Butler & Kern (2014) ได้สร้าง เครื่อมือวัดองค์ประกอบทั้ง 5 มิติของ PERMA ชื่อ PERMA-Profiler ประกอบด้วยข้อคาถามทั้งหมด 16 ข้อในแต่ละองค์ประกอบมี 3 ข้อ และมีข้อคาถาม 1 ข้อที่ถามภาพรวมของสุขภาวะ ทฤษฎีอัตลิขิต (Self-Determination Theory) (Ryan & Deci, 2001) เป็นอีกมุมมองหนึ่งที่ เสนอว่าความต้องการพื้นฐานทางจิตสามประการ ได้แก่ ความต้องการเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy) ความต้องการมีความสามารถ (Competence) และความต้องการมีความสัมพันธ์ (Relatedness) ถ้า บุคคลได้รับการตอบสนองความต้องการทั้งสามด้านนี้สามารถส่งผลต่อสุขภาวะเชิงอัตวิสัย และสุข ภาวะตามแนวคิดยูไดโมนิกค์ ทฤษฎีอัตลิขิตยังได้กล่าวถึงเงื่อนไขที่จะส่งเสริมหรือทาลายสุขภาวะ หรือ อาจกล่าวได้ว่าเนื้อหาของยูไดโมนิกค์ - การเป็นตั วของตัวเอง (Autonomy) การมีความสามารถ (Competence) และการมีความสัมพันธ์ - เป็นองค์ประกอบหลักที่ส่งเสริมสุขภาวะ ที่ต่างจากแนวคิด ของ Ryff และ Seligman ใช้องค์ประกอบเป็นการนิยามสุขภาวะ จะเห็นได้ว่าโครงสร้างสุขภาวะตามมุมมองแบบยูไดโมนิกส์นั้นประกอบด้วยองค์ประกอบ หลายองค์ประกอบที่แสดงคุณลักษณะทางบวกที่แสดงความเจริญงอกงามและมีองค์ประกอบหนึ่งที่ ยังคงเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกทางบวกตามมุมมองแบบเฮโดนิกส์ กล่าวโดยสรุปสุขภาวะตามมุมมองแบบยูไดโมนิกส์ หมายถึง ความผาสุขและความเจริญรุ่งเรือง งอกงามทางจิตใจอาจเรียกว่าเป็นสุ ขภาวะทางจิต มีโครงสร้างที่ครอบคลุมอารมณ์ความรู้สึกทางบวก และความเจริญรุ่งเรือง ส่วนใหญ่การวัดสุขภาวะตามมุมมองแบบยูไดโมนิกส์ใช้มาตราประเมินค่า


6

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

บทสรุป จิตวิทยาเชิงบวกมีเปูาหมายหนึ่งในการเพิ่มพูนระดับความสุข/สุขภาวะ แนวคิดความสุขจึง เป็นประเด็นสาคัญที่ได้รับการศึกษา โดยเฉพาะโครงสร้างสุขภาวะมีความซับซ้อนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึกและศักยภาพมนุษย์ การนิยามและกาหนดโครงสร้างความสุขและสุขภาวะอิงรากฐานจาก มุมองแบบเฮโดนิกส์ และมุมมองแบบยูไดโมนิกส์ มุมมองทั้งสองแบบมีแนวคิดที่แตกต่างกัน อาจกล่าว ได้ว่าการศึกษาเรื่องความสุขในจิตวิทยาเชิงบวกในระยะแรกอิงมุมองแบบเฮโดนิกส์ที่เน้นความสุขเป็น สุขภาวะเชิงอัตวิสัยใช้การวัดอารมณ์ความรู้สึก และความพึงพอใจในชีวิต ถ้าบุคคลมีอารมณ์ความรู้ สึทางบวกมาก มีอารมณ์ความรู้สึ กทางลบน้อย และมีความพึงพอใจในชีวิตมาก แสดงว่าบุคคลมี ความสุขมาก ในขณะที่ยูไดโมนิกส์เป็นมุมมองที่เน้นศักยภาพและความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์เป็นสุข ภาวะที่มีนักทฤษฎีจิตวิทยาเชิงบวกในยุคปัจจุบันให้ความสนใจศึกษา จึงมีกาหนดโครงสร้างสุขภาวะ ไว้หลากหลายรูปแบบ เช่น PERMA สุขภาวะทางจิต แต่อย่างไรก็ตามการวัดความสุข/สุขภาวะส่วน ใหญ่ได้มีการสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดในรูปแบบการให้รายงานตนเอง และใช้มาตราประเมินค่า การวัดสุขภาวะตามมุมมองยูไดโมนิกส์นั้นเครื่องมือวัดที่สร้างขึ้นในบางมิติยังอิงมุมมองแบบเฮโดนิกส์ นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่าสุขภาวะเชิงอัตวิสัยมีความสัมพันธ์กับสุขภาวะทางจิตดั งนั้น การศึกษาความสุข/สุขภาวะ ในเรื่องความหมาย โครงสร้างและการวัด ยังคงต้องการการศึกษาและ วิจัยต่อไป เพื่อความเข้าใจองค์ความรู้สุขภาวะอย่างท่องแท้ เอกสารอ้างอิง Boniwell, I. (2016). The concept of eudaimonia well-being. Available from http://positivepsychology.org.uk/pp-theory/eudaimonia/34-the-concept-of eudaimonic-well-being.html Butler, J., & Kern, M. L. (2015). The PERMA-Profiler: A brief multidimensional measure of flourishing. Available from http://www.peggykern.org/questionnaires.html. Deci, E. L., & Ryan, R. M. (2008). Hedonia, eudainia, and well-being: An introduction. Journal of Happiness Studies, 9, 1-11. Diener, E. (1984). Subjective well-being. Psychological Bulletin, 95(3), 542-575. Diener, E. (2000). Subjective well-being: The science of happiness and a proposal for a national index. American Psychologist, 55(1), 34-43. Diener, E., & Emmons, R. A. (1985). The independence of positive and negative affect. Journal of Personality and Social Psychology, 47(5), 1105-1117. Henderson, L. W., & Knight, T. (2012). Integrating the hedonic and eudaimonic perspectives to more comprehensively understand wellbeing and psthways to wellbeing. International Journal of Wellbeing, 2(3), 196-221.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

7

Hone, L. C., Jarden, A., Schofield, G. M., & Scott, D. (2014). Measuring flourishing: The impact of operational definitions on the prevalence of high levels of wellbeing, International Journal of Wellbeing, 4(1), 62-90. Larsen, R.J., & Griffin, S. (1985). Satisfaction with Life Scale (SWLS). Journal of Personality Assessment, 49, 71-75. Peterson, C., & Seligman, M. E. (2004). Character strengths and virtues: A handbook and Classification. NY: Oxford University Press. Ryan, R. M., & Deci, E. L. (2001) On happiness and human potentials: A review of research on hedonic and eudaimonic well-being. Annual Review of Psychology, 52, 141-166. Ryff, C. D. (1989). Happiness Is Everything, or Is It? Explorations on the Meaning of Psychological Well-Being. Journal of Personality and Social Psychology, 57(6), 1069-1081 Ryff, C. D. & Keyes, C. L. M. (1995). The structure of psychological well-being revisited. Journal of Personality and Social Psychology, 69(4), 719-727. Seligman, M. E. P. (2002). Authentic happiness. New York: Free Press. Seligman, M. E. P. (2011). Flourish: A visionary new understanding of happiness and well-being. New York: Free Press. Watson, D., Clark, L. A., & Tellegen, A. (1988). Development and validation of brief measures of positive and negative affect: The PANAS Scales. Journal of Personality and Social Psychology, 47, 1063–1070. ……………………………………………………………………


8

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ผลของการใช้โปรแกรมการสอนงานเชิงจิตวิทยาแนวการเรียน การสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการเผชิญ ปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคการทางานของนักกายภาพบาบัด โรงพยาบาลปิยะเวท The Effects of Using Psychological Coaching Program with Problem- Based Learning on Adversity Quotient of Physical Therapists, The Piyavate Hospital นงค์นุช พลรัตนศักดิ์1 อารี พันธ์มณี2

บทคัดย่อ การวิจัยนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการสอนงานเชิงจิตวิทยาแนวการเรียน การสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคการทางานของ นักกายภาพบาบัด โรงพยาบาลปิยะเวทและ 2) ศึกษาผลของการใช้โ ปรแกรมการสอนงานเชิง จิตวิทยาแนวการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุา อุปสรรคการทางานของนักกายภาพบาบัด โรงพยาบาลปิยะเวท โดยเปรียบเทียบความสามารถในการ เผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคการทางานของนักกายภาพบาบัดก่อน-หลังและระยะติดตามผล 1 เดือน หลังได้เข้าร่วมการใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างคือ นักกายภาพบาบัดของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาลปิยะเวท จานวน 15 คน โดยคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กาหนดคือ 1) มีประสบการณ์การทางาน 1-5 ปี 2) เป็นนักกายภาพบาบัด เฉพาะทางด้านระบบประสาท กระดูก และกล้ามเนื้อ 3) สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมการสอนงานเชิง จิตวิทยาแนวการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ จานวนร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และOne-Way ANOVA with Repeated Measure

1

มหาบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รองศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

2


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

9

ผลการวิจัยพบว่า 1. นักกายภาพบาบัดมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคการทางาน โดย ก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมการสอนงานเชิงจิตวิทยาแนวการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับ ปานกลาง หลังการทดลองนักกายภาพบาบัดมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคการ ทางานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และในระยะติดตามผล 1 เดือน นักกายภาพบาบัดมีความสามารถในการ เผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคการทางานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง 2. นักกายภาพบาบัดมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคการทางาน โดยรวม ก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล 1 เดือน สูงขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คาสาคัญ: ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรค โปรแกรมการสอนงานเชิงจิตวิทยา Abstract The purposes of this experimental research were 1) to develop a Psychological Coaching Program with Problem- Based Learning on Adversity Quotient of Physical Therapists, The purposes of this experimental research were 1) to develop a Psychological Coaching Program with Problem- Based Learning on Adversity Quotient of Physical Therapists, Piyavate Hospital, and 2) to study the effects of using the Psychological Coaching Program with Problem- Based Learning on Adversity Quotient of Physical Therapists, Piyavate Hospital by comparing Adversity Quotient of physical therapists, before, after and follow up the experiment after 1 month. A sampling of 15 physical therapists from rehabilitation center at Piyavate hospital, was selected by the criteria including 1-5 years experiences, specializing in the nervous system, bones and muscles system and the volunteer to join the Psychological Coaching Program with Problem- Based Learning. The research instruments comprised the Psychological Coaching Program with Problem-Based Learning and an Adversity Quotient scale for the situation in the workplace. The data was analyzed by percentage, mean, standard deviation and One-Way ANOVA with Repeated Measure. The research results were as follows: 1. The physical therapists had an Adversity Quotient of moderate level after treatment, result to high level and in follow up after 1 month physical therapists ability to higher level. 2. The physical therapists had high Adversity Quotient at the .01 level of statistical significance, Key Words: Adversity Quotient, Psychological Coaching Program


10

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

บทนา การบริหารงานในองค์กรทุกองค์กรต่างมุ่งหวังในผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่ดีเยี่ยมและ เสริมสร้างผลประโยชน์ให้กับองค์กรมากที่สุดด้วยความคาดหวังในผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่มาก เกินไป อีกทั้งปัจจัยอื่นๆ เช่น ปัจจัยด้านพฤติกรรม ปฏิกิริยาเชิงจิตวิทยา ด้านความสามารถในการฟัน ฝุ าอุ ปสรรคที่ อาจจะส่ งผลต่อผลการปฏิบั ติ งานของพนั กงานได้ เช่นกัน หน่ วยงานกายภาพบ าบั ด โรงพยาบาลปิยะเวทเป็นองค์กรที่มุ่งหวังในผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ที่ดีเยี่ยมและเสริมสร้าง ผลประโยชน์ให้กับองค์กรสอดคล้องกับ Stoltz (1997, 39-43) ได้กล่าวถึง อุปสรรค 3 ประการในชีวิต ที่คนเราจะต้องเผชิญ ประการแรกคือ อุปสรรคทางสังคม (Societal Adversity) ประการที่สองคือ อุปสรรคทางอาชีพ (Workplace Adversity) ประการที่สามคือ อุปสรรคในระดับบุคคล (Individual Adversity) ส่ ง ผลให้ พนั ก งานต้ องประสบกั บความรู้ สึ ก เหนื่ อ ยล้ า เบื่ อ งานจนกระทั่ ง ไม่ มี แ รงใจ แรงกายที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่ดีและฟันฝุาอุปสรรคในการทางานได้ (นวลพรรณ ชื่นประโยชน์, 2554) นักกายภาพบาบัดถือเป็นวิชาชีพที่มี อุปสรรคต้องเผชิญอุปสรรคทางอาชีพ (Workplace Adversity) เนื่องจากนักกายภาพบาบัดนั้น มีหน้าที่ในการให้การตรวจประเมิน การวิเคราะห์หาสาเหตุของโรค รวมถึงการตั้งเปูาหมายในการรักษา คาดการณ์ถึงการฟื้นตัว และให้การรักษา แนะนาการดูแลรักษา ตนเองของผู้ปุวย ซึ่งเป็นภาระงานที่ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคกับผู้ปุวยและอาการโรคของผู้ปุวย ที่หลากหลาย เผชิญความไม่คงที่ของสภาวะทางอารมณ์ ของผู้ปุวย ญาติ หรือแม้แต่บุคคลในวิชาชีพ เดียวกันหรือบุคลากรทางการแพทย์สาขาอื่นๆ มีปัญหาในการติดต่อประสานงาน การสื่อสาร หรือใน บางสถานการณ์ของการปฏิบัติงานที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ อาจต้องเผชิญกับความเร่งรีบ เกิดภาวะ วิกฤต สภาพการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่นักกายภาพบาบัดต้องเผชิญตั้งแต่เริ่มเข้าปฏิบัติงานประกอบกับการ ได้รับมอบหมายงานและกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายขององค์กร เช่น การจัดทาเอกสาร การเข้าร่วมประชุม ร่วมแสดงความคิดเห็น การปฏิบัติงานเกินเวลา ซึ่งภาระหน้าที่ เหล่านี้ สิ่งที่ทาให้นักกายภาพบาบัดต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคการทางานตลอดระยะเวลาการ ปฏิบัติงาน ทาให้เกิดความเหนื่อยล้า ไม่มีแรงใจในการปฏิบัติงานและสร้างสรรค์ผลงานที่ดี และความ ทุกข์ยากในการดารงค์ชีวิต ทาให้ประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ปุวยที่มารับบริการลดลง ตามแนวคิดของ Stoltz (1997: 6-7) Adversity Quotient หรือ AQ คือ ความสามารถใน การเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคของบุคคลในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ในยามที่ต้องเผชิญกับ ความทุกข์ยากหรือความยากลาบาก คนที่มีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคสูงจะ มีจิตใจเข็มแข็ง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ แม้แต่ความพ่ายแพ้หรือล้มเหลวก็สามารถต่อสู้หรือเอาชนะ ได้ และอดทนและไม่ย่อท้อกับปัญหาที่เกิดขึ้น มีความพยายามในการควบคุมสถานการณ์ และตั้งใจ แก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นเพื่อมุ่งสู่ความสาเร็จ จากหลักการและองค์ประกอบ AQ 4 ด้านของ Stoltz (1997: 104) สามารถสรุปได้ว่า บุคคลที่มีระดับความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรค สูง คือ ผู้ที่รับรู้ว่า ต้องมีหนทางที่ จะควบคุมสถานการณ์และสามารถหาหนทางของปัญหาที่เกิดขึ้นให้ดีขึ้นได้ (Control) มีความเต็มใจ ในการรับผิดชอบต่อปัญหาว่าเป็นปัญหาของตนเอง ทั้ง เพื่อที่จะหาทางแก้ไขปรับปรุง (Origin and Ownership) รวมทั้งรับรู้ว่าปัญหาจะไม่ขยายตัวออกไป อย่างมีสติ (Reach) และปัญหาที่เกิดขึ้น


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

11

เพียงชั่วคราวไม่นานก็จะผ่านพ้นไปได้ (Endurance) และ AQ 4 ด้านต่างก็มีปฏิสัมพันธ์กัน และ ทางานร่วมกันอย่างชัดเจน คนที่มีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟั นฝุาอุปสรรคสูงจะเป็นคนที่ มองเห็นโอกาสในทุก ๆ ครั้งที่มีปัญหา และรู้จักใช้โอกาสนั้นอย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างความสาเร็จ ให้เกิดขึ้น ลักษณะของผู้ที่จะประสบความสาเร็จ ดังนั้นผู้วิจัยในฐานะที่เป็นนักกายภาพบาบัดของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาลปิยะเวทได้ ทาหน้าที่ให้บริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ปุวยเฉพาะทางด้านระบบประสาท กระดูก และ กล้ามเนื้อเป็นเวลา 12 ปี จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่านักกายภาพบาบัดต้องเผชิญกับปัญหาและ อุปสรรคการทางานตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน ต้องมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุา อุปสรรค ที่ค่อนข้างจะสูงจึงจะทาให้การทางานมีประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยม ดังนั้นจึงต้องการถ่ายทอดองค์ ความรู้ที่ได้รับมาถ่ายทอดให้ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยได้ศึกษารูปแบบการถ่ายทอดต่าง ๆ และเล็งเห็นว่า การสอนงาน (Coaching) เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สามารถเพิ่มระดับความสามารถในการเผชิญ ปัญหา และฟันฝุาอุปสรรค (Adversity Quotient :AQ) ได้ เนื่องจากกระบวนการถ่ายทอดวิธีการทางาน วิธี รับมือกับปัญหา และวิธีการแก้ไข้ปัญหาได้ที่สุดให้แก่ผู้ปฎิบัติเพื่อจะได้ไม่มีการลองผิดลองถูก โดยมี หัวหน้างานหรือมีการมอบหมายให้คนงผู้ปฎิบัติงานที่มีความชานาญงานอยู่ แล้วเป็นผู้สอนงานแทนก็ ได้เพื่อประสิทธิภาพของผลการปฏิบัติงาน ซึ่งจะทาให้บุคคลประสบความสาเร็จในชีวิตและการทางาน เนื่องจากการสอนงานนั้น เป็นกิจกรรมที่หัวหน้างานทุ่มเทให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อสนับสนุนให้เกิด ทักษะ แบ่งปันความรู้ ตลอดจนถ่ายทอดค่านิยมและพฤติกรรมที่จะช่วยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถ ทางานให้บรรลุเปูาหมายขององค์กร และพร้อมที่จะได้รับมอบหมายงานที่ท้าทายขึ้นต่อไป การสอนงานโดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากผลของการปฏิบัติงานและระหว่างการทางานประจาวัน (กมลวรรณ รามเดชะ, 2554: 4) อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีแรงจูงใจขึ้นจุดประกายกระตุ้นให้เกิด ความพยายามเพื่อไปสู่ เปู าหมาย ช่วยเพิ่ มความมั่ นใจในการท างาน เพิ่มความพอใจในงานเพิ่ ม ประสิ ทธิภาพให้แก่ทีมงานและองค์กร สามารถสื่ อสารกับผู้ อื่นได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ และสามารถ ทางานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้น รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถของความรับผิดชอบ และความรอบคอบใน การตัดสินใจส่งผลให้มีความสามารถแก้ปัญหาและบรรลุผลการปฏิบัติงานไปได้ พร้อมทั้งมีการพัฒนาจุด แข็งและทักษะใหม่ๆ รวมทั้งเตรียมตนเองที่จะรับผิดชอบงานในระดับที่สูงขึ้นไป และผู้วิจัยได้ศึกษาว่า การเรียนรู้ โดยใช้ปั ญหาเป็ นฐาน โดยการกาหนดสถานการณ์ที่เป็นปัญหาจริงที่ประสบในหน่วยงาน กายภาพบาบัดมาสอน ซึ่งมัณฑรา ธรรมบุศย์ (2545: 11-17) ได้กล่าวว่าการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based Learning (PBL)) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตามแนวคิดตามทฤษฎีการ เรียนรู้ แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญหาที่เกิด ขึ้นในโลก แห่งความเป็นจริงเป็นบริบท (Context) ของการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิด วิเคราะห์และ การแก้ปัญหา รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาระที่ตนศึกษาด้วยการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็ นฐาน จึง เป็นผลมาจากกระบวนการทางานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก จากความเป็นมาและความสาคัญของปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยในฐานะนักกายภาพบาบัดและ ดารงตาแหน่งหัวหน้างาน ซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร จึงมีแนวคิดที่จะแก้ปัญหาและ อุ ปสรรคดั งกล่ าวด้ วยการ การสอนงานจากองค์ ค วามรู้ แ ละประสบการณ์ ที่ ไ ด้ รั บ มา ให้ แ ก่ นั ก กายภาพบาบัดที่อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อพัฒนาความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคการ


12

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ทางานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้โปรแกรมการสอนงานเชิงจิตวิทยาแนวการเรียน การสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาโปรแกรมการสอนงานเชิงจิตวิทยาแนวการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐานที่ มี ต่ อ ความสามารถในการเผชิ ญ ปั ญ หาและฟั น ฝุ า อุ ป สรรคการท างานของนั ก กายภาพบ าบั ด โรงพยาบาลปิยะเวท 2. เพื่อศึกษาผลของการใช้ โปรแกรมการสอนงานเชิงจิตวิทยาแนวการเรียนการสอนที่ใช้ ปั ญ หาเป็ น ฐานที่ มี ต่ อ ความสามารถในการเผชิ ญ ปั ญ หาและฟั น ฝุ า อุ ป สรรคการท างานของ นักกายภาพบาบัด โรงพยาบาลปิยะเวท โดยเปรียบเทียบความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุา อุป สรรคการทางานของนั กกายภาพบ าบั ด ก่ อน-หลั งและระยะติ ดตามผลหลั งได้เข้ าร่ว มการใช้ โปรแกรม สมมุติฐานการวิจัย ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการสอนงานเชิงจิตวิทยาแนวการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็น ฐาน และระยะติดตามผล นักกายภาพบาบัดมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรค การทางานสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม นิยามศัพท์และนิยามปฎิบัติการ 1. ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรค หมายถึง ความพยายามในการ อดทนไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นของนักกายภาพบาบัด โรงพยาบาลปิยะเวท มีความ พยายามในการควบคุมสถานการณ์ในการทางานและตั้งใจแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นเพื่อมุ่งสู่ ความสาเร็จ ได้แก่ การสื่อสารกับผู้ปุวยและญาติที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ และศาสนา การให้ การรักษาผู้ปุวยผิดพลาดหรืออาการไม่ดีขึ้น จนไม่สามารถได้รับความไว้วางใจจากแพทย์เวชศาสตร์ ฟื้นฟูหรือผู้ปุวย แม้กระทั่งเพื่อนร่วมงาน ผลการรักษาผู้ปุวยไม่เป็นไปตามเปูาหมายที่กาหนดไว้ ต้อง ปฏิบัติงานเกินเวลาหรือในวันหยุด ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ 1.1 ด้านการควบคุม (Control) หมายถึง นักกายภาพบาบัด โรงพยาบาลปิยะเวทมี ความสามารถในการควบคุมตนเองควบคุมสถานการณ์ต่างๆ ที่เผชิญในการทางาน เพื่อให้สามารถ ผ่านพ้นปัญหาและอุปสรรคไปได้ 1.2 ด้ า นความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ปั ญ หา (Ownership)หมายถึ ง นั ก กายภาพบ าบั ด โรงพยาบาลปิยะเวทความรับ ผิดชอบในการแก้ไขปรับปรุงต่อปัญหาหรือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับนัก กายภาพบาบัด โรงพยาบาลปิยะเวท แล้วสามารถที่จะวิเคราะห์และค้นหาสาเหตุของปัญหาโดยที่ไม่ ผลักภาระความรับผิดชอบให้ผู้อื่น 1.3 ด้านการเข้าถึงปัญหา (Reach) หมายถึง นักกายภาพบาบัด โรงพยาบาลปิยะเวท รู้จักกับปัญหาและความยุ่งยากในชีวิต เป็นคนที่สามารถควบคุมอารมณ์ ผลกระทบและความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นในชีวิต เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในมาจะพร้อมรับกับความลาบากทุกสถานการณ์ ไม่หวั่นไหวไม่ จมอยู่กับความทุกข์ สามารถต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคได้อย่างมีสติ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

13

1.4 ด้านความอดทน (Endurance) หมายถึง นักกายภาพบาบัดโรงพยาบาลปิยะเวท ต้องใช้ ความสามารถในการรับมือกับความยืดเยื้อของปัญหา อุปสรรคในการทางาน และหาวิธีขจัด ปัญหาให้หมดไปอย่างถูกต้อง ต้องมีความอดทนกับปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทางาน 2. การสอนงานหมายถึง กระบวนการถ่ายทอดวิธีปฏิบัติงาน วิธีการรับมือกับปัญหาที่ เกิดขึ้น และวิธีการแก้ไข้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดโดย มีหัวหน้างานเป็นผู้สอน ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็น เรียน เพื่อประสิทธิภาพของผลการปฏิบัติงานที่ดีเยี่ยม 2.1 การสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน หมายถึง กระบวนการเรียนรู้มีหัวหน้างานเป็นผู้สอน และมีผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้เรียนโดยใช้สถานการณ์ปัญหาจริงเป็นหลักและมีการฝึกปฏิบัติตาม 3. โปรแกรมการสอนงานเชิงจิตวิทยาแนวการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อ ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุ า อุปสรรคการทางานของนักกายภาพบาบัด หมายถึง กระบวนการเรี ย น การสอนงานโดยใช้ โ ปรแกรมเชิ ง จิ ต วิ ท ยาการสอนได้ น าปั ญ หาเป็ น ฐานใน สถานการณ์จริงร่วมกับทฤษฎีจิตวิทยาการสอนงาน สอนเทคนิคการทางาน ทักษะในการวิเคราะห์ กระบวนการแก้ไขปัญหา และพฤติกรรมในการทางานที่เหมาะสมให้แก่นักกายภาพบาบัด 4. นักกายภาพบาบัด หมายถึง บุคคลากรทางการแพทย์ที่สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขากายภาพบาบัด ได้รับใบประกอบโรคศิลป์ มีประสบการณ์การทางานเป็น นักกายภาพบาบัด 1- 5 ปี ทางานเฉพาะด้านระบบประสาท กระดูก และกล้ามเนื้อ ของศูนย์ฟื้นฟู สมรรถภาพ โรงพยาบาลปิยะเวท และสมั ครใจเข้าร่วมโปรแกรมการสอนงานเชิงจิตวิทยาแนวการ เรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง สตอลทซ์ (Stoltz,1997, : 106-125) ได้เสนอถึงองค์ประกอบความสามารถในการเผชิญปัญหา และฟันฝุาอุปสรรค ว่าประกอบด้วย 4 ด้าน ที่รวมเรียกว่า CO2RE ซึ่งแสดงให้เห็นเกี่ยวกับ AQ ของบุคคล ได้ว่าอยู่ในระดับสูง ปานกลาง หรือ ต่า มิติทั้ง 4 ของ AQ นั้นได้แก่ 1. ด้านการควบคุม (C=Control) หมายถึ ง ระดับการรั บรู้ ในการควบคุ มตนเองของบุ คคลเพื่อผ่ านพ้ นอุ ปสรรคความยากล าบาก หรื อ เหตุการณ์ ที่ คับขั บ หรื อเป็ นความสามารถของบุ คคลในการควบคุมสถานการณ์ ให้ สามารถผ่ านพ้ น เหตุการณ์ที่ยากลาบากหรืออุปสรรคไปได้ผู้ที่มี AQ มิติด้านการควบคุมสูง ได้แก่ การมีระดับการรับรู้ถึง ความสามารถที่จะควบคุมตนเองให้ผ่านพ้นเหตุการณ์และความยากลาบากสูง เป็นผู้ที่มีความคิดเชิงรุกต่อ ปัญหา (Proactive Approach) ไม่ย่อท้อมีความหนักแน่น ไม่ลดละความตั้งใจ มีความกระฉับกระเฉงใน การเผชิญกับปัญหาและพยายามหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ด้านความรับผิดชอบต่อปัญหา (O2=Origin and Ownership) หมายถึง การที่ทุกๆคนในทีม คิดและถือเอาปัญหาขององค์การเป็นปัญหา ของตน พยายามช่ วยคิ ดแก้ ไขปั ญหา วิ เคราะห์ ค้ นหาสาเหตุ ของปั ญหา และตระหนั กว่ าเป็ นความ รับผิดชอบของตนต้องหาทางแก้ไขให้ได้ ไม่ผลักภาระความรับผิดชอบไปให้คนอื่น พิจารณาปัญหาจาก ตนเองและปัจจัยภายนอก เพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่เคยผิดพลาดในอดีต ตาหนิหรือโทษตนเอง อย่างสร้างสรรค์เพื่อนาไปสู่การเสียใจและสานึก ซึ่ง สตอลทซ์ (Stoltz,1997) ถือว่าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด พลัง (Powerful Motivator) และหากนามาใช้อย่างเหมาะสม จะนามาซึ่งการปรับปรุงแก้ไข การพิจารณา การรับรู้ต้นเหตุและรับผิดชอบต่อปัญหาของตนเองนั้น ด้านการเข้าถึงปัญหา (R=Reach) หมายถึง การ


14

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

วัดผลกระทบของปัญหาความยุ่งยากที่มีผลต่อการดาเนินชีวิตของแต่ละคนว่าปัญหาอุปสรรคมีมากน้อย เพียงใด พร้อมระวังและมีสติอยู่เสมอ ว่าอีกนานเท่าใดปัญหาหรืออุปสรรคจะเข้ามาในชีวิต ผู้ที่มี AQ มิติ ด้านนี้สูง คือ คนที่สามารถควบคุมอารมณ์ด้านลบ ควบคุมผลกระทบและความเสียหายต่อการดาเนินชีวิต เมื่อมีปัญหาความยุ่งยากเกิดขึ้น จะเป็นผู้ที่พร้อมรับความยากลาบากทุกสถานการณ์ไม่หวั่นไหว ไม่คิดมาก หรือจมอยู่กับความทุกข์ แต่คิดว่าอุปสรรคเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตและจะผ่านไป คน กลุ่มนี้จะตอบสนองต่อปัญหาด้วยความฉลาด เป็นผู้ที่สามารถสู้กับอุปสรรคได้อย่างเหนียวแน่น ทาให้ มองเห็นหนทางในการจัดการกับปัญหาอุปสรรค ด้านความอดทน (E=Endurance) หมายถึง การรับรู้ถึง ความคงทนของอุปสรรคและการรับมือกับความยืดเยื้อของปัญหา และพยายามขจัดไปให้หมดอย่างถูกวิธี มิตินี้จะมีการประเมินว่าปัญหาอุปสรรคและสาเหตุนั้นจะคงทนถาวรอยู่นานแค่ไหนผู้ที่มี AQ มิติด้าน ความอดทนสูง ได้แก่ผู้ที่ได้รับรู้ว่าอุปสรรคจะคงทนอยู่ชั่วคราวเท่านั้น เราสามารถแก้ไขด้วยการฝึกฝน ทักษะความรู้ความสามารถ และเป็นผู้ที่มีความหวังในชีวิตพยายามที่จะหาหนทางแก้ไขอุปสรรคให้ออกไป โดยเร็ ว และพยายามทาให้ ความส าเร็ จอยู่ กับตัวได้นาน แต่ ถ้าไม่สามารถรักษาให้ คงตัวได้นาน ก็จะ พิจารณาได้ว่าปัญหาและเหตุแห่งปัญหาเป็นเรื่องธรรมดา จะสามารถผ่านพ้นไปได้อย่างรวดเร็วและจะไม่ กลับมาอีก การสอนงานเป็นกระบวนการถ่ายทอดวิธีการทางาน วิธีปฎิบัติตัว วิธีรับมือกับปัญหา และวิธีการ แก้ไข้ปัญหาที่ได้ที่สุดให้แก่ผู้ปฎิบัติเพื่อจะได้ไม่มีการลองผิดลองถูก โดยมีหัวหน้างานหรือมีการมอบหมาย ให้คนงานที่มีความชานาญงานอยู่แล้วแป็นผู้สอนงานแทนก็ได้เพื่อประสิทธิภาพของผลการปฎิบัติงาน สอดคล้องกับ กมลวรรณ รามเดชะ (2554: 16) กล่าวว่า การสอนงาน (Coaching) คือ กระบวนการปฎิ สัมพันธ์ที่ผู้จัดการและหัวหน้างานต่างก็มุ่งหวังที่จะแก้ไขผลการปฎิบัติงานหรือพัฒนาความสามารถของ บุคลากร กระบวนการดังกล่าวขึ้นกับความร่วมมือร่วมใจภายใต้ส่วนประกอบ 3 ประการ ซึ่งได้แก่ ความ ช่วยเหลื อด้านเทคนิ คการทางาน แรงสนั บสนุนส่ วนตัว และความท้ าทายส่ วนบุคคล ซึ่งทั้ง 3 ส่ วนนี้ ประสานอยู่ด้วยกันได้ด้วยความเข้าใจระหว่างผู้จัดการหรือผู้สอนงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้เรียน เนื่องจากการสอนงานเป็นประสบการณ์ระหว่างบุคคล ความสาเร็จในการสอนงานจึงต้องอาศัยความเข้าใจ กันดีการสอนงานนี้ปกติการจะเกิดขึ้นต่อเมื่อต้องการรับพนักงานใหม่ มุ่งสอนงานกับพนักงานใหม่ เป็น สาคัญ เพื่อให้รู้งาน เข้าใจ สามารถทางานนั้นได้อย่างถูกต้องภายในระยะเวลาอันสั้น แต่ในบางกรณีก็อาจ มีความจาเป็นต้องสอนงานให้แก่พนักงานที่อยู่เดิมหรือพนักงานเก่าด้วย โดยเฉพาะพนักงานเก่าที่ยังมี ผลงานไม่ได้มาตรฐาน หรือเมื่อมีการเลื่อนตาแหน่ง โอนย้าย สับเปลี่ยนหน้าที่การงาน เป็นต้น นอกจากนี้ ถ้ามีการนาเครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ใหม่หรือนวัตกรรมใหม่ หรือเทคนิควิธีการใหม่ มาใช้ใน หน่วยงาน หัวหน้างาน กมลวรรณ รามเดชะ (2554: 76-77) ได้เสนอวิธีการที่เหมาะสมของการสอนงานมี อยู่ 2 วิธี คือ วิธีการสอนงานโดยตรง (Direct coaching) เป็นการแสดงหรือบอกบุคคลอื่นถึงสิ่งที่ต้องทา เป็นวิธีการที่เป็นประโยชน์เมื่อใช้สอนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไม่มีประสบการณ์ หรือผู้ที่ต้องการปรับปรุงผล การปฎิบัติงานในทันที ส่วนกรณีอื่นๆ จะใช้วิธีการ สอนงานแบบให้การสนับสนุน (Support coaching) ซึ่งเป็นวิธีที่ผู้ให้การสอนงานจะทาหน้าที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนหรือผู้ชี้แนะ การเรียนรู้การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem- Based Learning หรือ PBL) มัณฑรา ธรรมบุศย์ (2545: 11-17) กล่าวว่า เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตามแนวคิดตามทฤษฎีการ เรียนรู้ แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญหาที่เกิด ขึ้นในโลก


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

15

แห่งความเป็นจริงเป็นบริบท (Context) ของการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และ การแก้ปัญหา รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขากลุ่มสาระที่ตนศึกษาด้วยการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็น ฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทางานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลักซึ่งเป็นการ จัดการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้เป็นขั้นตอนโดยการใช้ประสบการณ์ตรงและสภาพการณ์จริงเพื่อ สร้างความพร้อมในการเรียนรู้ ทาให้ ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเหตุผลในการเรียนการสอนและสามารถ แก้ปัญหาได้ (ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา. 2551) ซึ่งในแต่ละขั้นตอนมีพื้นฐานจากทฤษฎีทางจิตวิทยา วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้แบบวิจัยกลุ่มเดียวและวัดก่ อนการทดลอง หลังการทดลองและ 1 เดือน (One Group Pre – Post-test and Follow up) ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักกายภาพบาบัดของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาลปิยะเวทจานวน 20 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักกายภาพบาบัดของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาลปิยะเวท จานวน 15 คน โดยคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กาหนดคือ 1) มีประสบการณ์การทางาน 1-5 ปี 2) เป็นนักกายภาพบาบัดเฉพาะทางด้านระบบประสาท กระดูก และกล้ามเนื้อ 3) สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมการสอนงานเชิงจิตวิทยาแนวการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็น ฐานมีต่อ ความสามารถในการเผชิ ญปัญหาและฟันฝุ าอุปสรรคการทางานของนักกายภาพบาบั ด โรงพยาบาลปิยะเวท เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ 1. โปรแกรมการสอนงานเชิงจิตวิทยาแนวการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อ ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคการทางานของนักกายภาพบาบัด โรงพยาบาลปิ ยะเวท โดยกาหนดให้มีความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 กาหนดปัญหา ขั้นการนาเสนอสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทางานตาม สถานการณ์จริงกระตุ้นให้นักกายภาพบาบัดเกิดความสนใจ กาหนดสิ่งที่เป็นปัญหาที่นักกายภาพบาบัด อยากรู้ อภิปรายปัญหาเพื่อให้เข้าใจและทาความกระจ่างกับปัญหา ขั้นที่ 2 ทาความเข้าใจกับปัญหา ขั้นการกาหนดวัตถุประสงค์แนวคิด ในการทาความ เข้าใจและแก้ไขปัญหาที่ได้รับ นักกายภาพบาบัดต้องสามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาได้ ขั้นที่ 3 ดาเนินการศึกษาค้นคว้า ขั้นการศึกษาเรียนรู้ ค้นคว้าด้วยวิธีจาลองสถานการณ์ และสรุป ข้อมูลให้ ตรงกัน เพื่อให้นักกายภาพบาบัดสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบของปัญหาที่ กาหนดให้รวมทั้งการอธิบายความเชื่อมโยงของข้อมูลหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องทุกส่วน ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ความรู้ นักกายภาพบาบัดนาความรู้ที่ได้ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันดาเนินการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลที่นามาร่วมกัน แล้วสังเคราะห์ ประยุกต์ความรู้ใหม่กับ ปัญหาพัฒนาประเด็นต่างๆ ที่ใกล้เคียงกัน


16

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ขั้นที่ 5 สรุปและประเมินค่าคาตอบนักกายภาพบาบัดช่วยกันสรุปองค์ความรู้ในภาพรวม ร่วมกันอภิปราย พัฒนาวิธีการแก้ปัญหาและนาเสนอเป็นผลงานในรูปแบบที่หลากหลาย ขั้นที่ 6 นาเสนอและประเมินผลงาน นักกายภาพบาบัด นาข้อมูลที่ได้มาจัดระบบองค์ ความรู้ ประเมินผลงาน ให้ผลย้อนกลับ (feed back) ถึงวิธีการแก้ปัญหาของตนเอง 2. แบบวั ด ความสามารถในการเผชิ ญ ปั ญ หาและฟั น ฝุ า อุ ป สรรคการท างานของนั ก กายภาพบาบัด ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการศึกษาทฤษฎี เอกสาร งานวิจัย และ The Adversity Response Profile (ARP)ของ Stoltz (1997: 88-89) เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบวัดความสามารถในการ เผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคการทางานของนักกายภาพบาบั ด มีจานวน 40 ข้อ ประกอบด้วย ความสามารถในการเผชิญอุปสรรค 4 ด้านๆ ละ 10 ข้อโดยการกาหนดเป็นสถานการณ์ 1 สถานการณ์มี 2 ข้อ ได้แก่ ด้านการควบคุมปัญหาอุปสรรค (Control) ด้านการรับผิดชอบปัญหา (Ownership) ด้าน การเข้าถึงปัญหา (Reach) และด้านความอดทน (Endurance) มีลักษณะเป็นคาถามสถานการณ์แล้วให้ เลือกตอบโดยครอบคลุมองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน การหาคุณภาพของเครื่องมืองานวิจัยได้นาไปทดสอบให้ตรงตาม วัตถุประสงค์ เนื้อหาและดัชนี ความสอดคล้อง (IOC)มีค่า IOCรายข้อ 0.66-1.00 ข้อที่ใช้ได้ (IOC≥.5) (ชุศรี วงศ์รัตนะ, 2553: 74) นา แบบวัดไปทดลองในกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจริง จานวน 30 คน แล้วนามาหา ค่าความเชื่อมั่น (reliability) สัมประสิทธิ์อัลฟุา (Cronbach’s alpha coeffieient) ได้ค่าความเชื่อมั่น ของแบบวัดความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคการทางานของนักกายภาพบาบัด .088 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1. นักกายภาพบาบัดมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคการทางานโดย ก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมการสอนงานเชิงจิตวิทยาแนวการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ใน ระดับปานกลาง หลังการทดลองนั กกายภาพบาบัด มี ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุ า อุปสรรคการทางานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และในระยะติดตามผล 1 เดือน นักกายภาพบาบัด มี ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคการทางานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง 2. นักกายภาพบาบัด มีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคการทางาน โดยรวมก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล 1เดือน สูงขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 อภิปรายผลการวิจัย ผลการวิจัยมาอภิปรายได้ดังนี้ 1. ข้อมูลลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง ลักษณะส่วนบุคคล ทางด้านเพศและอายุการทางานงาน ต่างไม่ส่ งผลต่อการเผชิญปั ญหาและฟันฝุ าอุปสรรค แต่ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุ า อุปสรรค สามารถพัฒนาได้ Slotz (2001) สอดคล้องกับการศึกษาของ นันทนุช ตั้งเสถียร (2546) ที่ ศึกษาบุคลิกภาพแบบ MBTI ความสามารถในการเผชิญละฟันฝุาอุปสรรค และครองคณา สีขาว (2549) ที่ศึกษาเชาวน์อารมณ์ ความสามารถในการเผชิญละฟันฝุาอุปสรรคและพฤติกรรมการเผชิญความเครียด ของพยาบาลที่พบว่า ถึงแม้ว่า ผู้ที่มีอายุการทางานมากจะมีประสบการณ์มาก แต่ผู้ที่มีอายุการทางาน น้อยกว่า จะสามารถฝึกฝนและเรียนรู้เพื่อเพิ่มความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรค


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

17

2. โปรแกรมการสอนงานเชิงจิตวิทยาแนวการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นโปรแกรม การสอนงาน (Coaching) ในรูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem- Based Learning : PBL) ได้ พัฒนามาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคการทางาน จากผลการวิจัย พบว่านักกายภาพบาบัดมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุาอุปสรรคต่ อการ ทางานเพิ่มขึ้นหลังจากใช้โปรแกรมการสอนงานเชิงจิตวิทยาแนวการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุเมธ กฤตยกุลชาติ (2551) ที่ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการเรียนแบบใช้ ปัญหาเป็นฐานในสถานการณ์จริงเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านเทคนิคเฉพาะงานของพนักงานฝุายเทคนิค พบว่า พนักงานฝุายเทคนิคมีความสามารถเพิ่มขึ้นภายหลังได้รับการสอนงานด้วยการใช้โปรแกรมการ เรี ยนรู้ แบบใช้ปั ญหาเป็ นฐานในสถานการณ์จริงที่มีต่อ ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝุ า อุปสรรคการทางาน ซึ่งการสอนงานจะสามารถเพิ่มศักยภาพการทางาน และสอดคล้องกับงานวิจัยของ วันเพ็ญวิวิธสิริ (2550) ที่ศึกษาการสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาความสามารถในการเผชิญ อุปสรรคในการทางานของพยาบาลวิชาชีพ พบว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีระดับการศึกษาและประสบการณ์ แตกต่ างกั น มี ความสามารถในการเผชิ ญอุ ปสรรคแตกต่ างกั น และหลั งเข้ าร่ ว มโปรแกรมพั ฒ นา ความสามารถในการเผชิญอุปสรรค ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรเพิ่มสถานการณ์ปัญหา เพื่อให้กลุ่มตัวอย่ างมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ เกิดขึ้นในสถานการณ์จริงของการทางานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นเพิ่มระยะเวลาในการทดลอง เพื่อให้ กลุ่มตัวอย่างมีเวลาในการเรียนรู้งาน และเพิ่มพูนทักษะในการทางานได้มากขึ้น 2. ควรมีผู้ช่วยผู้วิจัย เพื่ออานวยความสะดวกในการทดลอง เนื่องจากเป็นการสอนงานจาก สถานการณ์จริง ขณะทดลองอาจมีปัญหาเฉพาะหน้าอื่นๆ เกิดขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการสอน เอกสารอ้างอิง กมลวรรณ รามเดชะ. (2554). การสอนงาน ปรึกษาและดูแล. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จากัด. ครองคณา สีขาว. (2549). เชาวน์อารมณ์ ความสามารถในการเผชิญละฟันฝ่าอุปสรรคและ พฤติกรรมการเผชิญความเครียดของพยาบาล: ศึกษาเฉพาะกรณีโรงพยบาลสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม. งานวิจัยส่วนบุคคลมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์. คณะศิลปะศาตร์. สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ. ทัศนีย์ ทิศสุกใส. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่าง การเห็นคุณค่าในตัวเองความสามารถในการเผชิญ อุปสรรคและฝ่าฟันอุปสรรค กับการปฎิบัติงานของพยาบาล โรงพยาบาลบารุงราษฎร์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (จิตวิทยาคลินิกและชุมชน). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยรามคาแหง. นันทนุช ตั้งเสถียร. (2546). บุคลิกภาพแบบ MBTI ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค และ ความเครียดในการทางาน: กรณีศึกษาบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง . วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


18

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

นวลวรรณ ชื่นประโยชน์ . (2554). ความเหนื่อยหน่ายในการทางาน ความผูกพันในงานและ ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานสินค้าเกษตรส่งออก. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชาจิตวิทยา.คณะ ศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา. (2551). เอกสารประกอบการสอนวิชาจิตวทยาเพื่อการเรียนการ สอน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. มัณฑรา ธรรมบุศ. (2545กุมภาพันธ์). “การ คุณภาพ ก PBL”. วารสารวิชาการ. ปีที่ 5 (ฉบับที่ 2): หน้า 11-17 วันเพ็ญ วิวิธสิริ. (2550). การสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาความสามารถในการเผชิญ อุปสรรคในการทางานของพยาบาลวิชาชีพ . สารนิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สุ เ มธ กฤตยกุ ล ชาติ . (2551). ผลของการใช้ โ ปรแกรมการเรี ย นแบบใช้ ปั ญ หาเป็ น ฐานใน สถานการณ์จริงเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านเทคนิคเฉพาะงานของพนักงานฝ่ายเทคนิค . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. Paul G. Stoltz, PhD. (2552). AQ พลังแห่งความสาเร็จ. กรุงเทพมหานคร: บิสคิต. ……………………………………………………………………


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

19

ละครบาบัดสาหรับเด็กออทิสติก Dramatherapy for Autism Children มิตร ศราชัยนันทกุล บทคัดย่อ ละครบ าบัดเป็ นทักษะการละครมาเสริมสร้างความคิดสร้า งสรรค์จินตนาการ การเรียนรู้ ความเข้าใจที่ลึกซึ้งและการเจริญเติบโต เป็นอีกหนึ่งรูปแบบในการจัดทากิจกรรมบาบัดและฟื้นฟู โดย สามารถทาได้ทั้งบุคคลปกติและบุคคลที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาหรับเด็ก ออทิสติก เนื่องจากเด็กออทิสติกการมักจะขาดทักษะการคิ ดวางแผน, ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และ การจัดการตนเอง โดยประเภทของละครบาบัดนั้นมีมาก ขึ้นอยู่กับเด็กและดุลพินิจของผู้นากลุ่ม เช่น ละครสาหรับเยาวชน (theatre for young people), ละครการศึกษา (Educational Theatre), ละครเยาวชน (Young People’s Theatre YPT), ละครสร้างสรรค์ (Creative Drama), ละคร-ในการศึกษา (Drama-in-Education: DIE) และละครประเด็นศึกษา (Theater-in-Education: TIE) โดยมีกระบวนการ 5 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การเช็คอิน (Check in) ขั้นตอนที่ 2 การละลาย พฤติกรรม ขั้นตอนที่ 3 กิจกรรมหลัก ขั้นตอนที่ 4 การสรุป และขั้นตอนที่ 5 การเช็คเอ้าท์ (Check Out) โดยทั่วไปจะใช้เวลา 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ซึ่งจะได้ผลจากการฝึกมาก ที่สุด ละครบาบัดนี้มีส่วนช่วยในการพัฒนาสัมพันธภาพของเด็กออทิสติกให้เด็กนั้นมีศักยภาพในการ เรียน การเข้าสังคม การยอมรับและเข้าใจตนเองมากขึ้น คาสาคัญ: ละครบาบัด, เด็กออทิสติก

บัณฑิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง


20

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

Abstact Dramatherapy helps to enhance the imagination, learning, understanding and maturity. It is one of therapy activities which both common and special persons are able to participate. Autism Children always lack of planning, interrelationship, and self management. There are many types of Dramatherapy, especially for autism children and this depends on what children and leaders decide, such as theatre for young people, educational theatre, Young People’s Theatre, Creative Drama, Drama-inEducation and Theater-in-Education. There are 5 processes in this activity, (a) check in, (b) recreation, (c) main activities, (d) conclusion, and (e) check out. This activity takes about 1-2 times per week period twelve weeks. Takes the most effect for participants. The Dramatherapy helped improve autism children’s inter personal relationship, so learning ability, social communication, social acceptance, and intrapersonal ability will also be enhanced. Keyword: Dramatherapy, Autism เด็กออทิสติก ออทิสซึม (austim) เป็นกลุ่มอาการของความบกพร่องของการพัฒนาการที่เกิดจากความผิดปกติ ของระบบประสาท (neurodevelopmental disorder) มี ลั กษณะความบกพร่องส าคั ญคื อมี ความ บกพร่องในการมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคม ด้านภาษาและการสื่อสารความหมาย มีความสนใจที่จากัด และมี พฤติกรรมซ้าๆ โดยเริ่มแสดงอาการตั้งแต่อายุ 3 ปีแรก เป็นโรคที่มีความสาคัญและมีแนวโน้มสูงมากขึ้น แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาออทิสซึมให้หายขาดได้ แต่เป็นที่ยอมรับกันว่าถ้ามีการวินิจฉัยตั้งแต่ แรกเริ่ม และให้การรักษาตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้น (เบญจมาศ พระธานี, 2550) ในการวินิจฉัยออทิสซึมมีลักษณะทางคลินิกเป็นหลัก โดยใช้เกณฑ์การตรวจวินิจฉัยตามของ สมาคมจิตแพทย์ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder, 5th edition, DSM-5 2015) ซึ่งออทิสซึมนั้นจัดอยู่ในกลุ่ม Austism Spectrum Disorder (ASD) เนื่องจากลักษณะอาการแสดง และความรุนแรงของความผิดปกติในผู้ปุวยแต่ละรายมีความ แตกต่างกันมาก การใช้คาว่า “กลุ่มที่มีอาการออทิสซึม” จึงมีความหมายครอบคลุมมากกว่าการใช้คาว่า “โรคที่มีความผิดปกติทางด้านการพัฒนาการหลายอย่างร่วมกัน” โดยรวมแล้วผู้ปุวยที่มีความรุนแรงทุก ระดับสามารถจัดเข้าไว้ในกลุ่มที่มีอาการออทิสซึม รวมทั้งกลุ่มออทิสซึม (classic autistic disorder) และโรคที่มีความผิดปกติทางด้านการพัฒนาการหลายอย่างร่วมกัน โรคที่มีความผิดปกติทางด้านการ พัฒนาการ หลายอย่างร่วมกัน(persuasive-developmental disorder) โดยไม่จาเป็นต้องแยกหรือ จาแนกคลุมความผิดปกติ (มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์, 2558)


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

21

ปัญหาในการวินิจฉัยโรคนี้คือปัจจุบันยังไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจเพื่อ วินิจฉัยโรคออทิสซึมได้ ผู้ปุวยออทิสติกแต่ละคนก็แสดงอาการไม่เหมือนกัน นอกจากนั้นมีอาการหลาย อย่ างที่พบในออทิสซึมยั งพบในโรคอื่นด้วย ไม่มีอาการแสดงที่จาเพาะต่อโรคออทิสซึม นอกจากนี้ อาการแสดงยังขึ้นกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายุต่างๆ และขึ้นกับสติปัญญาของเด็กด้วย การ วินิจฉัยอาศัยจากพฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกเท่านั้น ในรายที่มีอาการรุนแรงชัดเจน มักไม่มีปัญหาใน การวินิจฉัย แต่รายที่อาการน้อยอาจมีความคิดเห็นแตกต่างกันได้ในระหว่างแพทย์ การวินิจฉัย ระบบ DSM-5 ได้วินิจฉัยโรคออทิสติกจัดอยู่ในกลุ่ม Intellectual disability (ID) เป็นภาวะ ที่ผู้ปุวยมีความบกพร่องในการทาหน้าที่ของตน ที่ควรจะทาได้ในเพศ อายุ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ที่ใกล้เคียงกันโดยมีการวินิจฉัยดังนี้ A. มีความบกพร่องทางเชาวน์ปัญญา โดยมีระดับเชาวน์ปัญญา (Intelligence Quotient) ต่ากว่า 70 ทั้งนี้จาเป็นต้องอาศัยการประเมินทางคลินิกร่วมด้วยในการแปลผลระดับ IQ B. มีความบกพร่องในการทาหน้าที่ของตน (adaptive functioning) หมายถึงผู้ปุวยมีความ บกพร่องในการจัดการสิ่งต่างๆในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ด้วยตนเองได้โดยไม่พึ่งพาผู้อื่น (personal independence) หรือการมีความรับผิดชอบต่อสังคม (social responsibility) ตามที่ควรจะทาได้ใน ระดับพัฒนาการ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน ความบกพร่องในการทาหน้าที่ของตนนี้ อาจจะเป็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งใน 3 ด้านดังต่อไปนี้ 1. Conceptual (academic) domain เกี่ยวกับความสามารถในการคิดวางแผน เข้าใจ แนวคิดที่ซับซ้อน ความจา ภาษา การอ่าน การเขียน การคิดคานวณ การแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจใน สถานการณ์ใหม่ๆ 2. Social Domain เกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น การรับรู้ถึงความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์ของผู้อื่น การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ทักษะในการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ 3. Practical Domain เกี่ยวกับการจัดการตนเองในหลายๆ ด้านของชีวิตเช่นการ ดูแลตนเอง ความรับผิดชอบต่องาน การจัดการเรื่องเงิน การควบคุมพฤติกรรม และการจัดการกับ งานที่ได้รับ เป็นต้น C. ความบกพร่องทางสติปัญญาและการทาหน้าที่ของตนนี้เกิดในช่วงเด็กและวัยรุ่น นอกจาก เกณฑ์การวินิจฉัยนี้ เด็กจะเป็ นออทิสติกหรือไม่นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับผู้เข้ารับการทดสอบ สิ่งแวดล้อม และการประเมินจากกุมารแพทย์ และนักจิตวิทยาพัฒนาการในการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมอีกด้วย การตรวจคัดกรอง การตรวจคัดกรองเด็กที่ภาวะเสี่ยงเป็นออทิสติก มักจะใช้แบบทดสอบต่างๆ ดังนี้ 1. Checklist for Autism in Toddlers (CHAT) เป็นแบบทดสอบที่สร้างขึ้นในประเทศ อังกฤษใช้สาหรับการคัดกรองเด็กอายุ 18 เดือนขึ้นไป ประกอบด้วยแบบสอบถามสาหรับผู้ปกครอง เกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านภาษาและสังคมของเด็ก 9 ข้อและแบบสังเกตพฤติกรรมสาหรับแพทย์ 5 ข้อ ข้อดีของ CHAT คือมีโอกาสในการวินิจฉัยสูง และมีความจาเพาะสูงถึง .94 แต่ข้อจากัดคือมีความ


22

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ไวต่าร้อยละ 38 เพราะฉะนั้นจะมีเด็กร้อยละ 60 ที่คัดกรองแล้วพบว่าเป็นเด็กปกติแล้วเป็นเด็กออทิ สติกที่หลังสูง (Robin D, Fein D, Barton M, Green J, 2001: 131-144) 2. Modified Checklist for Autism in Toolder (M-CHAT) เป็นแบบทดสองของประเทศ สหรัฐอเมริกาที่พัฒนามาจาก CHAT ประกอบด้วยแบบสอบถามสาหรับผู้ปกครองทั้งสิ้น 23 ข้อ (Robin D, Fein D, Barton M, Green J, 2001: 131-144) 3. แบบคัดกรองโรคออทิสซึมในเด็กอายุระหว่าง 1-6 ปี กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข มีข้อคาถามสาหรับผู้ปกครอง 10 ข้อ สาหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อค้นหาเด็กที่มีความเสี่ยงต่อ ออทิสติก (โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์: 2546) 4. แบบคัดกรอง Pervasive Developmental Disorders Screening Questionnaire (PDDSQ) พัฒนาโดย นพ.ชาญวิทย์ พรนภาดล ภาควิชาจิ ตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราช พยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นแบบสอบถามทั้งสิ้น 40 ข้อประกอบด้วยแบบสอบถาม 2 ฉบับคือ PDDSQ 1-4 สาหรับเด็กอายุ 12-47 เดือน มีค่าความไวร้อยละ 82 และค่าความจาเพาะร้อยละ 94 และ PDDSQ 4-18 สาหรับเด็กอายุ 4-18 ปี มีค่าความไวร้อยละ 77 และค่าความจาเพาะร้อยละ 94 (สงวนลิขสิทธิ์) (ชาญวิทย์ พรนพดล, 2545: 141) แบบทดสอบคัดกรองที่ช่วยในการวินิจฉัยออทิสติกโดยส่วนใหญ่มักจะทดสอบในเด็กอายุน้อย และจะใช้แบบทดสอบชนิดใดนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับช่วงอายุและการรับรู้ของเด็กที่จะทาการทดสอบ โดยจะมีแพทย์หรือนักจิตวิทยาเป็นผู้ประเมินและทดสอบ การรักษา โรคออทิสติกเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เปูาหมายของการรักษาอยู่ที่การกระตุ้น และการฟื้นฟูพัฒนาการในด้านต่างๆ เช่นการพูด การเข้าสังคม การรับรู้และการเรียน ให้ดีขึ้นจน ใกล้เคียงเด็กปกติมากที่สุดและลดหรือกาลัง พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการรักษาผลที่ดีที่สุดคือ การผสมผสานการรักษาในด้านต่างๆเข้าด้วยกัน การรักษาเหล่านั้นได้แก่ (เบญจมาศ พระธานี, 2550) 1. การปรับพฤติกรรมและการฝึกทักษะในสังคม โปรแกรมการปรั บ พฤติกรรมมีห ลายโปรแกรมแต่ที่ พิสู จน์ว่า มีประสิ ท ธิภ าพสู ง งที่สุ ดคื อ โปรแกรม Applied Behavioral Analysis (ABA) พัฒนาโดย Dr. Lovaas อาศัยทฤษฎีพฤติกรรม ศาสตร์และการเรียนรู้ และมีการดัดแปลงประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาผู้ปุวยโรคออทิสติก เช่นพฤติกรรม ที่ทาอะไรซ้าๆ พฤติกรรมก้าวร้าว ทาร้ายตนเอง และส่งเสริมผู้ปุวยทาพฤติกรรมที่ต้องการมากขึ้น 2. การฝึกพูด (Speech therapy) การฝึกพูดเป็ น หัว ใจสาคัญของการรักษาโดยเฉพาะในรายที่พัฒ นาการล่าช้าและมีความ บกพร่องทางการใช้ภาษา ควรผสมผสานการพูดร่วมไปกับการปรับพฤติกรรม และผู้ปุวยควรได้รับการ ฝึกสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งในช่วงแรกของการรักษา ถ้าสามารถเริ่มฝึ กได้เร็วเท่าไร โอกาสที่ผู้ปุวยจะ ตอบสนองได้อย่างดีและมีพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงกับเด็กปกติมากขึ้น 3. การกระตุ้ น พั ฒนาการ (Developmental Stimulation) และการฝึกอาชี พ (Vocational Training)


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

23

ในกลุ่มที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก ควรได้รับการกระตุ้นพัฒนาการและสร้างทักษะควบคู่ไปกับการรักษาด้านอื่นๆ เมื่อเติบโตขึ้นควรได้รับ การช่วยเหลือฝึกอาชีพตามความสามารถฝึกทักษะทางสังคม เพื่อให้ผู้ปุวยมีโอกาสและดาเนินชีวิตอย่างมี อิสระมากขึ้น 4. การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม การจัดการเรียนการสอนของเด็กออทิสติกอย่างถูกต้องและเหมาะสมมีความสาคัญอย่างมาก โดยจะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ภาษาและสังคมอย่างต่อเนื่อง ก้องเรียนควรเล็ก ไม่มีสิ่งเร้ามากนัก มีการ กาหนดกิจกรรมและการเรียนการสอนอย่างชัดเจน 5. การช่วยเหลือครอบครัว ควรหลีกเลี่ยงการใช้คาตาหนิ หรือใช้คาพูดที่รู้สึกว่าผิด ให้กาลังใจและกระตุ้นให้ครอบครัว เข้ามามีส่วนร่วมและช่วยเหลือผู้ปุวยที่รักษาให้มากที่สุด ควรให้ข้อมูลทางด้านโรคในแง่ของการรักษา และการพยากรณ์โรค และควรจะเป็นที่ปรึกษาในการดูแลผู้ปุวย 6. การรักษาด้วยยา กลุ่มโรคออทิสติก ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เปูาหมายของการรักษาคือการส่งเสริม พัฒนาการและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ใกล้เคียงเด็กปกติมากที่สุด การวินิจฉัยและได้รับการ รักษาตั้งแต่อายุยังน้อย และต่อเนื่องทาให้ผลการรักษาดี โดยวิธีการรักษาที่เหมาะสมคือ บูรณาการ การรักษาด้านต่างๆเข้าด้วยกันตามความจาเป็นของเด็กแต่ละคน ละครบาบัด ละครบาบัด (Dramatherapy) นั้นได้มีบุคคลให้ความหมายมากมาย อาทิ Jennings (1977 อ้างถึงในปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์, 2545: 1) ได้ให้ความหมายว่าเป็นรูปแบบงานศิลปะประเภทหนึ่งที่ ปรากฏเป็นกิจกรรมการทางการบาบัดรักษา และการศึกษาภายใน 30 ปีที่ผ่านมา (จนถึง ค.ศ.1990) และ British Association of Dramatherapists (อ้างถึงในปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์, 2545, หน้า 1) ได้ ให้คาอธิบายเพิ่มเติมว่า Dramatherapy มีเปูาหมายชัดเจนในการบาบัดรักษาด้วยการละครโดยเป็น วิธีการทางาน และเล่นที่ใช้ทักษะการละครมาเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์จินตนาการ การเรียนรู้ ความ เข้าใจที่ลึกซึ้งและการเจริญเติบโต สฤญรัตน์ ชนะชัยชน หนึ่งในนักละครบาบัดของไทย (Dramatherapists) เจ้าของศูนย์ละคร บาบัดเชนส์ เซ็นเตอร์ (Chance: Dramatherapy Centre) กล่าวถึงละครบาบัด คือผลลัพธ์ของการ ผสมผสานกันระหว่างละคร เรื่องราว จินตนาการ และการบาบัด เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสารวจ ตนเอง และระบายความรู้สึก เชื่อมโยงประสบการณ์ในชีวิต และสัมพันธภาพในรูปแบบต่างๆ ให้เกิด การส่งเสริมจิตใจ และเกิดการกระตุ้นให้ได้เรียนรู้ตนเอง โดยใช้เทคนิควิธีทางศิลปะที่มีอยู่หลากหลาย เช่นการใช้หุ่นมือ หน้ากาก การแต่งเรื่อง บทเพลง บทกวี และอื่นๆ ซึ่งผู้เข้ารับการบาบัดนั้นจะได้แสดง ความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีต ความหวาดกลัว หรือความคิด ความฝันของตนเอง ลงไปยังสื่อที่ใช้ ในละครบาบัดต่างๆ ซึ่งการนาเทคนิคทางศิลปะการละครมาใช้ จะทาให้ผู้เข้ารับการบาบัดนั้นแสดง เรื่ องราวต่ างๆออกมาได้ ง่ายขึ้น และเข้าถึ งเรื่ องราวที่ เป็ นปัญหาเพื่ อให้ เกิดการแก้ไขต่อไป ทั้ งนี้ คุณประโยชน์ของละครบาบัดยังช่วยให้เกิดความเข้าใจ และการยอมรับตัวเอง การยกย่องนับถือตนเอง


24

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

เกิดความมั่นใจ และเห็นคุณค่าในตนเอง อีกทั้งเกิดจากการเรียนรู้ทักษะในการรับมือแก้ปัญหาหรือการ เปลี่ยนแปลงในชีวิต ละครมีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งต่อสังคมด้วยเหตุผลที่ว่า ละครสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มนุษย์ได้ โดยมนุษย์มีกระบวนการเรียนรู้ผ่านสื่อละครที่ปลูกฝังระบบคิดต่างๆ ไปสู่การสร้างระบบ สังคมวัฒนธรรม ดังตัวอย่างเช่นประเทศเกาหลี ใช้ละครเป็นสื่อสร้างวัฒนธรรม การหลอมรวมความคิด ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือเพื่อการสร้างความภาคภูมิใจในประเทศและวัฒนธรรมของตนเอง ซึ่ง ในประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพลของละครเกาหลีเช่นกัน ในทางจิตวิทยาละครมีผลต่อการเปลี่ย นแปลง พฤติกรรมในลักษณะของการเรียนรู้ที่ผ่านการถ่ายทอดประสบการณ์โดยการเล่าเรื่อง เกิดการรับรู้ ซึม ซับ เข้าใจ ยอมรับและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยมีหลักสาคัญ 2 ประการคือ จง และ หย่า (สฤญรัตน์ ชนะชัยชน: 2554) สรุปได้ว่า ละครบาบัด หมายถึง การแสดงละคร โดยมีบทสนทนาและเรื่องราวที่เด็กร่วมกัน คิดและแสดงบทบาทในเรื่องนั้น โดยมีเนื้อหาสั้นๆ การแสดงละครจะเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้ กระบวนการคิด การใช้ภาษาและท่าทางที่แสดงออกมาตามจินตนาการ เน้นการเปิดโอกาสให้ผู้แสดง ใช้ความสามารถของตน เพื่อสื่อสารความคิดและความรู้สึกมายังผู้ชม ประเภทของละครบาบัด อัญมณี บูรณกานต์ และคนอื่นๆ (2552: 13-18) ได้รวบรวมประเภทของละครไว้ดังนี้ 1. ละครสาหรับเยาวชน (theatre for young people) เป็นศัพท์ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา ละคร สาหรับเยาวชนเป็นคาที่เรียก “กิจกรรมการละคร” สาหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งครอบคลุม “กิจกรรม” ทุกรูปแบบ ทั้งที่เป็น “ละครการศึกษา” อันหมายถึงการใช้กระบวนการทางการละครเพื่อพัฒนาผู้เรียน ในระบอบโรงเรียน และ “ละครเวทีสาหรับเด็ก” ที่เน้นสาระและความบันเทิงสาหรับผู้ชมวัยต่างๆ 2. ละครการศึกษา (Educational Theatre) หมายถึงละครทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ในทุกระดับ ตั้งแต่ในโรงเรียนจนถึงมหาวิทยาลัย รวมถึงการแสดงละครเวทีโดยเยาวชน การศึกษา ศิล ปะการละคร การสร้ า งละคร และการจัด เสนอละครในสถานศึก ษามี จุด มุ่ง หมายเพื่อ พัฒ นา ผู้ร่วมงานละครในสถานศึกษานั้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการวางหลักสูตรการเรียนการสอน ศิลปะการละครที่ชัดเจนไว้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนไปถึงชั้นมัธยมศึกษา (หลักสูตร AATE)โดยสมาคมการ ละครเยาวชนแห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้ทั้งนักศึกษาและนักการละครวางหลักสูตรร่วมกัน 3. ละครเยาวชน (Young People’s Theatre YPT) ละครเยาวชนเป็นศัพท์ที่มาจากประเทศ อังกฤษ ใช้เรียกกิจกรรมละครที่จัดเสนอแก่เยาวชน โดยคณะละครอาชีพโดยมีผู้กากับ และคณะผู้ ทางานอื่นๆเป็นบุคคลในสายงานอาชีพ นักแสดงจะเป็นผู้ใหญ่ คณะละครจะนาเสนอผลงานแก่ผู้ชมที่ เป็นเด็กและเยาวชน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้แต่ไม่จาเป็นต้องมีเนื้อหาสอดคล้องกับ หลักสูตรที่ใช้ในการเรี ยนการสอนในสถานศึกษาจะแสดงที่โรงละครหรือนอกโรงเรียนก็ได้ เรื่องที่ แสดงมีหลากหมายอาจแสดงได้ทั้งละครเชกสเปียร์ ละครวรรณกรรมเยาวชน หรือละครที่นาเสนอ ปัญหาที่เป็นประเด็นสาคัญในสังคม 4. ละครสร้างสรรค์ (Creative Drama) หมายถึงละครนอกรูปแบบที่นาองค์ประกอบของละครมา ใช้ในห้องเรียน ละครประเภทนี้ไม่ต้องการผู้ชม มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเด็กตามความถนัดของแต่ละคน


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

25

การพัฒนาเด็กผ่านกระบวนการของละครสร้างสรรค์นั้น นอกจากจะพัฒนาทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัว เด็กเองและทากิจกรรมร่ วมกันเป็นกลุ่ มแล้ ว เทคนิคของละครสร้างสรรค์ยังเป็นวิธีการทาให้เด็กได้ ทดลอง หาเหตุผล จดจา สร้างสรรค์ ต่อสู้ แก้ปัญหา โดยซึมซับจากสาเหตุต่างๆที่ตนได้ประสบพบเห็น ละครสร้างสรรค์เป็นสื่อการสอนที่เหมาะกับเด็กเล็กมากที่สุ ด ละครประเภทนี้มุ่งเน้นที่กระบวนการ (process) และพัฒนาการของผู้ที่ทากิจกรรมในกลุ่ม อย่างไรก็ตามละครสร้างสรรค์อาจพัฒนาไปเป็น ละครเต็มรูปแบบได้ แต่ทุกอย่างต้องมีการวางแผนระยะยาวเตรียมการอย่างมีขั้นตอน และตั้งเปูาหมาย ไว้ตั้งแต่เริ่ม 5. ละคร-ใน-การศึกษา (Drama-in-Education: DIE) ละคร-ใน-การศึกษา เป็นกระบวนการเรียน การสอนที่นากิจกรรมทางละครมาปรับใช้โดยนักการละครประเทศอังกฤษมี “ครู” เป็นผู้รับผิดชอบ วางแผนในการจัดกิจกรรมต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนแสวงหาแนวทาง ความคิดในการแก้ไข ปัญหาที่ผ่านจากบทบาทสมมุติ (Role play) หรือการเล่นละครสด (Improvisation) ซึ่งมุ่งเน้นที่การ พัฒนาการทางจินตนาการ การทางานของผู้เรียนผ่านการแสดงออก (Acting Out) เสริมสร้างความเชื่อมั่น 6. ละครประเด็นศึกษา (Threatre-in-Education: TIE) เหตุผลที่ใช้เรียกว่า ละครประเด็นศึกษา (TIE) เพราะในละคร TIE นั้นคณะละครนาเสนอ “การแสดง” ที่มีประเด็น (issue) ซึ่งนาไปสู่การพูดคุย เสวนาและปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรมของผู้ชมละคร TIE เป็นละครรูปแบบละครการศึกษาที่พัฒนา ในประเทศอังกฤษและนาไปใช้ในประเทศต่างๆ การแสดงจะใช้ครู /นักแสดง ซึ่งเป็นนักแสดงมืออาชีพ นาเสนอ “ละครที่มีประเด็นปัญหา” ในโรงเรียนในรูปแบบของละครฉากสั้นๆ หรือละครทั้งเรื่อง โดยมี จุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมได้คิดวิเคราะห์ และเปรียบเทียบประสบการณ์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เป็น “ประเด็นปัญหา” ที่ใช้ละครเป็นสื่อ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการนาเสนอความคิดหรือปฎิกิริยาอันนาไปสู่ การวิพากษ์วิจารณ์และหาข้อสรุปที่ดีซึ่งกันและกัน ลักษณะการจัดกิจกรรมละครบาบัด จากการศึกษาของชิดอนงค์ ประชุมชิด (2553) พบว่าละครบาบัดไม่ได้มีรูปแบบตายตัว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าผู้รับการบาบัดเป็นใคร อายุ เพศ ประเภทของความบกพร่องและจานวนเป็นอย่างไร นัก บาบัดหรือผู้ให้คาปรึกษาจะต้องพิจารณาปัจจัยดังกล่าวก่อนหรือจะเลือกกิจกรรมการแสดงมาใช้ อาทิ ละครใบ้ การแสดงบทบาทสมมุติ ละครหุ่นมือ เป็นต้น นอกจากนี้ Eran (1977 อ้างถึงในอัญมณี บูรณากานนท์ และคนอื่นๆ,2552 :40) กล่าวถึง กระบวนการละครบาบัดและลักษณะของบุคคลที่สามารถเข้ารับการบาบัดไว้ดังนี้ 1. กระบวนการทางละครบาบัดที่มีโครงสร้างชัดเจน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักดังนี้ 1.1 การอุ่นเครื่อง (Warm up) ผู้บาบัดและผู้รับการบาบัดเตรียมร่างกายและสมาธิ ให้พร้อมสาหรับกิจกรรมหลัก 1.2 กิจกรรมหลัก (Main Activity) ที่ผู้บาบัดนาผู้รับการบาบัดเข้าโลกสมมุติและ จินตนาการ โดยมากแล้วแก่นเรื่องจะเป็นสังคมของผู้รับการบาบัดเอง แต่เป็นไปทางที่สร้างสรรค์ ด้วย การเคลื่อนไหว เสียง การแสดงที่น่าตื่นเต้น หรือการกาหนดโครงเรื่อง 1.3 กิจกรรมปิดท้าย (Precess of closer) โดยมากจะเปิดโอกาสให้พูดหรือแสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับเวลาที่สาคัญที่เกิดขึ้นขณะที่ทากิจกรรมหลัก ระหว่างนั้นผู้รับการบาบัดจะค่อยๆ


26

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

กลับสู่โลกความจริงและชีวิตประจาวัน ช่วงนี้จะเป็นการปิดกิจกรรม ละทิ้งพื้นที่ส่วนของการบาบัดไว้ 2. กิจกรรมแบบตัวต่อตัว โดยมากแล้วละครบาบัดแบบตัวต่อตัว จะมีความเหมาะสมต่อเด็ก และเยาวชนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ ซึ่งผู้ปกครองต้องการเตรียมสภาพจิตใจของพวกเขาให้ เข้มแข็งด้วยการละครและละครสร้างสรรค์ กลุ่มบุคคลที่จะได้รับประโยชนจากละครบาบัดมีดังนี้ 2.1.1 บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ 2.1.2 บุคคลออทิสติก 2.1.3 บุคคลที่ปัญหาทางอารมณ์ พฤติกรรมหรือสังคม 2.1.4 บุคคลที่มีคุณค่าในตนเองต่า ไม่มีความเชื่อมั่น 2.1.5 บุคคลที่มีความผิดปกติทางร่างกาย 2.1.6 บุคคลที่ประสบอุบัติภัย บาดเจ็บร้ายแรง 2.2 ส่วนละครบาบัดแบบกลุ่มจะใช้เวลาอย่างต่าเป็นชั่วโมง ครึ่งวัน เต็มวัน หรืออาจจะรวม การบาบัดแบบตัวต่อตัวและแบบกลุ่มเข้าด้วยกัน การบาบัดแบบนี้จะเหมาะสมกับกลุ่มคนดังนี้ 2.2.1 โรงเรียน ทั้งนักเรียนปกติและนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ 2.2.2 โรงพยาบาล หรือสถาบันทางจิตเวชศาสตร์ 2.2.3 ศูนย์บาบัดยาเสพติด 2.2.4 ศูนย์ช่วยเหลือบุคคลอนาถา ไม่มีที่อยู่อาศัย 2.2.5 ศูนย์บาบัดสาหรับผู้ที่มีความพิการทางร่างกาย 2.2.6 สถาบันส่งเสริมบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 2.2.7 บ้านพักคนชรา กระบวนการจัดละครบาบัดสาหรับเด็กออทิสติก นอกจากกระบวนการละครบาบัด 3 ขั้นตอนที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว ในการจัดกิจกรรมละคร บาบัดจะต้องแบ่งกระบวนการย่อยๆได้ดังนี้ (สฤญรัตน์ ชนะชัยชน: 2554) ขั้นตอนที่ 1 การเช็คอิน (Check in) วัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กได้สารวจอารมณ์ความรู้สึกของ ตนเองก่อนการทากิจกรรม เป็นการฝึกการสื่อสารความรู้สึกผ่านภาษาพูดและภาษาท่าทางวิธีการคือ ให้ เ ด็ ก ยื น หรื อ นั่ ง เป็ น วงกลม ผู้ น ากลุ่ ม กล่ า วต้ อ งรั บ เด็ ก ๆก่ อ นเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรม จากนั้ น ให้ บ อก ความรู้สึกเป็นคาพูดหรือท่าทางจนครบทุกคน ผู้นากลุ่มอาจจะกระตุ้นให้เด็กได้ฝึกพูดก่อน แล้วค่อย เปลี่ยนเป็นท่าทางสลับกันไป ขั้นตอนที่ 2 การละลายพฤติกรรม เป็นขั้นตอนสาคัญที่ทาให้เด็กๆที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิด ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน อันจะส่งผลทาให้ประสิทธิภาพของการเข้าร่วมกิจกรรมหลักของเด็ก ขั้นตอนที่ 3 กิจกรรมหลัก ซึ่งผู้นากลุ่มจะออกแบบตามความเหมาะสมของเด็ก ขั้น ตอนที่ 4 การสรุ ป วั ตถุป ระสงค์ เพื่อ ประเมิน ผลสิ่ งที่ เด็ก ได้เ รียนรู้จ ากกิ จกรรม การ นาไปใช้ ตลอดจนความชอบหรือไม่ชอบกิจกรรมไหน เพื่อที่ผู้นากลุ่มจะได้ปรับกิจกรรมให้เหมาะสม กับเด็กยิ่งขึ้น วิธีการโดยทั่วไปมักจะใช้การถามตอบและแลกเปลี่ยนกันโดยตรง ขั้นตอนที่ 5 การเช็คเอ้าท์ (Check Out) เช่นเดียวกับการเช็คอิน คือให้เด็กบอกอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองหลังจากการทากิจกรรมร่วมกันด้วยคาพูดหรือภาษาท่าทาง ถ้าเป็นภาษาท่าทาง อาจจะเพิ่มรายละเอียดโดยให้เด็กทาท่าทางของอารมณ์ความรู้สึกแล้วนามาประกอบรูปนั้น


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

27

ในกระบวนการละครบาบั ดนั้น การจัดกลุ่ มควรจะจัดเป็นวางกลมมากว่าสี่ เหลี่ ยมผื นผ้ า เนื่องจากวงกลมทาให้สามารถมองเห็นทุกคนภายในวงกลมและเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียม กัน ไม่ มีล าดั บ ขั้ น เหมื อนรู ป แบบการจั ด กลุ่ มแบบอื่ นๆ ส าหรับ รูป แบบและระยะเวลาในการจั ด กิจกรรมนั้น สามารถจัดได้ทั้งแบบค่ายที่ให้เด็กได้ใช้ชีวิตร่วมกัน หรือจะจัดแบบเช้าไปเย็นกลับทั้งวัน หรือครึ่งวันก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัด โดยทั่วไปจะใช้เวลา 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์จะได้ผลในการใช้ละครบาบัดมากที่สุด ละครบาบัดสามารถกระตุ้นความคิด ความสร้างสรรค์ และจินตนาการ ให้เกิดความผ่อน คลายและเกิดความสุขได้ ละครบาบัดช่วยให้การสื่อสารกับตัวเองและผู้อื่นสนุกขึ้นและมีประสิทธิภาพ มากขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดประโยชน์กับทุกคน ละครบาบัดช่วยเหลือเด็กออทิสติกได้อย่างไร การที่เด็กออทิสติกได้มีโอกาสในการแนะนาตนเอง ทาความรู้จักโดยผ่านรูปแบบของการเล่น การทดลอง การเรียนรู้ภายใต้บรรยากาศของการยอมรับ ไม่มีการตัดสิน เด็กได้มีการฝึกทักษะต่างๆ ที่ เป็นพื้นฐานของการสื่อสาร เช่น การฟัง การสังเกต ผ่านเกม การเล่นการทางานโดยใช้ประสาทสัมผัส ผ่านกิจกรรมที่ให้เด็กได้ใช้จินตนาการ การสร้างความเชื่อด้านบวก กิจกรรมจะปิดท้ายด้วยการสะท้อน ภาพทางบวกที่เกิดขึ้นกับตนเอง เป็นการช่วยให้เด็กได้เห็นมุมมองด้านบวก การเปิดโอกาสให้เด็กได้ สื่อสารผ่านกิจกรรมที่กล่าวมาทาให้เด็กได้แสดงมุมมองของตน เกิดการยอมรับของกลุ่ม จะช่วยเด็กได้ เรียนรู้การสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น การพัฒนาสัมพันธภาพไม่สามารถทาผ่านการบอก การสอน แต่การ เรียนรู้จากการเป็นแบบอย่าง การได้ทดลอง เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงและทาในบรรยากาศที่เด็กรู้สึก ปลอดภัย จึงเป็นการช่วยพัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กออทิสติก นั้นมักจะไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสังคม ข้อดีข้อนี้จึงมีประโยชน์อย่างยิ่ง อย่างเช่นในช่วงการเช็คอิน (Check in) ก่อนที่จะทาการส ารวจอารมณ์ของตนเอง ผู้ นากิจกรรมจะให้ ผู้ เข้าร่วมแนะนาตัวเอง และสร้าง กิจกรรมเพื่อจาชื่อเพื่อนแต่ละคนได้ เด็กบางคนอาจจะไม่สามารถสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ กิจกรรมนี้เป็น การฝึกและสร้างความรู้จักกับเพื่อนและสามารถต่อยอดในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลภายนอกได้ โดยสรุปละครบาบัดเป็นการผสมผสานระหว่างเรื่องราว จินตนาการของตนเองเพื่อการสารวจ ตนเอง โดยเรียนรู้ในการใช้ละครที่สื่อกลาง ซึ่งไม่จาเป็นจะต้องมีประสบการณ์ในการแสดงมาก่อนก็ได้ สาหรับเด็กออทิสติกนั้นมีประโยชน์มากในด้านการเรียนรู้ การเข้าหาสังคม และการดารงชีวิตของตนเอง ความเข้าใจตนเอง การยอมรับตนเอง การยกย่องนับถือตนเอง เกิดความมั่นใจ และเห็นคุณค่าของตนเอง จากการเรียนการสอนในละครบาบัดนั้นเหมือนการเรียนรู้จิตวิทยาในการเข้าใจตนเองมากขึ้น และทาให้ เด็กออทิสติกนั้นสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และไม่เกิดข้อครหากับตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้ ผู้ ที่ สนใจในละครบ าบัดและต้ องการใช้ กิจกรรมบ าบัดในรู ปแบบนี้ ในปัจจุบั นนี้ได้ มี โรงพยาบาลและสถาบันต่างๆ ให้ผู้สนใจเข้าร่วมได้เช่น โรงพยาบาลมนารมย์ หรือ ศูนย์ละครบาบัด Chance Center ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและเข้าร่วมได้ที่ โรงพยาบาลมนารมย์ เบอร์โทรศัพท์ 02-725-9595 หรือ ศูนย์ละครบาบัด Chance Center เบอร์โทรศัพท์ 081-373-7523


28

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

เอกสารอ้างอิง ชาญวิทย์ พรนพดล. Autism and the Pervasive Developmental Disorders ในวินัดดา ปิยะศิลป์, พนมเกตุมาน (บรรณาธิการ). ตาราจิตเวชเด็กและวัยรุ่น. กรุงเทพ: บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จากัด, 2545: 141-66. เบญจมาศ พระธานี. (2550). ออทิสซึม: การสอนพูดและการรักษาบาบัดแบบสหสาขาวิทยาการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. แบบคัดกรองโรคออทิซึมในเด็กอายุ 1-4 ปี โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์ สงวนสิทธ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธ์ 2546 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2558). จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี Using DSM-5. พิมพ์ ครั้งที่ 4. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล. มูลนิธิพิทักษ์สิทธิเด็ก. (2547). “เด็กเล่นละคร” คู่มือการบาบัดเพื่อการพัฒนาสัมพันธภาพทาง สังคมของเด็กและการเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง. กรุงเทพมหานคร วินัดดา ปิยะศิลป์และพนม เกตุมาน. (2545). จิตเวชเด็กและวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: บียอนด์ เอนเทอร์ไพรซ์ จากัด. ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์. (2545). รายงานผลการวิจัยการใช้ละครสร้างสรรค์ในการพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. สฤญรัตน์ ชนะชัยชน. ศูนย์ละครบาบัด Chance. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2554, จาก http://www.artbangkok.com/detail_page.php?sub_id=2858 อัญมณี บูรกานนท์, ปานรัตน์ นิ่มตลุง, ชานนท์ โกมลมาตย์, ฆนิศา งานเสถียรและคทาวุธ ครั้งวิบูลย์. (2552). ละครกับการพัฒนาพฤตินิสัยของเยาวชน. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. Greenspan, S &Wieder, S. (2006). Engaging Autism: Helping children relate, communicate and think with the DIR Floortime Approach. NY: DeCapo Press. Parnell L. A therapist’s guide to EMDR tools and techniques for successful treatment. New-York: Norton & Company; 2006. P. 82-9 Perry, B. D. (2003). Applying principles of neurodevelopment to clinical work with maltreated and traumatized children. In N. B. Webb (Ed.), Working with traumatized youth in child welfare (pp. 27–52). New York: Guilford Press. Robin D, Fein D, Barton M, Green J. The Modified Checklist for Autism in Toddlers. J Autism Dev Disord 2001; 31: 131-144. ……………………………………………………………………


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

29

การเสริมสร้างการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศใน สถานศึกษาจังหวัดนครราชสีมาโดยใช้รูปแบบการให้การ ปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ The Enhancement of Self-Management of Male-to-Female Transgender Adolescents in Nakhonratchasima Province through Integrative Group Counseling Model ศิวะยุทธ สิงห์ปรุ1 ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์2 ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา3 บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศในสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้าม เพศในสถานศึกษา และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการใน การเสริมสร้างการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นวัยรุ่นชายข้ามเพศอายุระหว่าง 15-19 ปี ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดนครราชสีมา ที่ได้มาจากคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากประชากร จานวน 100 คน เป็นกลุ่มที่ใช้ ในการศึกษาการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศในสถานศึกษา กลุ่มที่ 2 เป็นวัยรุ่นชายข้ามเพศ จานวน 16 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากกลุ่มที่ 1 ที่มีคะแนนการจัดการตนเองตั้งแต่เปอร์เซน ไทล์ที่ 25 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง แล้วสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่ม ละ 8 คน กลุ่มทดลองได้รับการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการจัดการตนเอง ส่วนกลุ่ม ควบคุมไม่ได้รับการให้การปรึกษาใดๆ เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) แบบวัดการจัดการตนเองของวัยรุ่น ชายข้ามเพศในสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .86 2) รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบ บูรณาการเพื่อเสริมสร้างการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศในสถานศึกษา ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item Objective Congruence : IOC) อยู่ระหว่าง .80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ Wilcoxon’s matched pairs signed ranks test และ The Mann-Whitney U Test

1

นักศึกษาระดับดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา กลุ่มวิชาจิตวิทยาการให้คาปรึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 3 รองศาสตราจารย์ ดร., ผู้อานวยการหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2


30

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศในสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับสูง ( X = 3.85, SD=0.38) 2) รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อ การเสริมสร้างการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศในสถานศึกษาพัฒนาจากการบูรณาการแนวคิด ทฤษฎีและเทคนิคต่างๆของทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่ม 3) การจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่ม ทดลองที่ได้รับการให้การปรึ กษากลุ่มแบบบู รณาการ หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล เพิ่มขึ้น มากกว่าก่อนได้รับรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเพิ่มขึ้นกว่าวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ผลการ สนทนากลุ่มเฉพาะ พบว่า วัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม แบบบูรณาการที่ช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการจัดการตนเอง และช่วยสนับสนุน ส่งเสริมให้วัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองตั้งใจที่จะพัฒนาตนเองให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางบวก คาสาคัญ: การจัดการตนเอง, การให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ, วัยรุ่นชายข้ามเพศ Abstract The purposes of this research were 1) to study self-management of male-tofemale transgender adolescents in Nakhonratchasima Province, 2) to develop an integrative group counseling model for enhancing self-management of male-tofemale transgender adolescents in Nakhonratchasima Province, and 3) to evaluate the effectiveness of the integrative group counseling model for the enhancement of the self-management of male-to-female transgender adolescents. The research instruments were 1) a self-management scale with the reliability coefficient (alpha) of .86 and 2) the integrative group counseling model for enhancing self-management of male-to-female transgender adolescents with IOC ranged from .80-1.00. The research results were as follows: 1) The total mean score and each dimension score of the self-management of male-to-female transgender adolescents revealed high. 2) The integrative group counseling model for enhancing of selfmanagement of male-to-female transgender adolescents was developed by integrating the concepts and techniques of group counseling theories. 3) The selfmanagement of the experimental group after participating in the group counseling model and after the follow up were significantly higher than before participating in the integrative group counseling model at .05 level. 4) The self-management of the experimental group after participating in the integrative group counseling model and after the follow up were significantly higher than that of the control group at .01 level. Focus group discussion report of the experimental group who attended the integrative group counseling model for enhancing self-management after the follow-


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

31

up showed that they were satisfied with the integrative group counseling model. They had chance to express and share their feelings and ideas during the discussion in all counseling activities. They also gained more knowledge and skills in self-management. The integrative group counseling model could be greatly encouraged commitment to ongoing self-management growth and positive change. Keywords: Self-management, Integrative Group Counseling Model, male-to-female transgender Adolescents. ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา วัยรุ่นชายข้ามเพศ มักพบปัญหาในการดาเนินชีวิตได้มากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากเกิดความรู้สึก ขัดแย้ง และกดดันจากความรู้สึกที่แตกต่าง มีปัญหาในการปรับตัว บางรายใช้ฮอร์โมนเพศขาดข้อมูลที่ ถูกต้องเหมาะสม การใช้สารเสพติด รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ และมักถูกเพื่อนล้อเลียน หรือ รุ่นพี่ผู้ชายลวนลามทางเพศ และบางรายที่เปิดเผยตัว จะสร้างความไม่พึงพอใจให้กับคนในครอบครัว อาจถูกลงโทษ หรือไล่ออกจากบ้าน ซึ่งต้องประสบกับความรู้สึกกดดัน บีบบังคับ บีบคั้นทางจิตใจ อึดอัด เสียใจ ความเครียด เก็บกดอารมณ์ วิตกกังวล คิดฟุูงซ่าน และจากการดูถูกเหยียดหยามของสังคม ส่งผล ให้มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง หรือทาให้เป็นปัญหาด้านสุขภาพจิต (Williamson, 2000) หาก ปรับตัวไม่ได้และเผชิญปัญหาในทางที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มสุรา และเสพสารเสพติด(พรเทพ แพรขาวและเกษราวัลณ์ นิลวรางกูร, 2552 : 10-18) และมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม และมีความคิดอยาก ฆ่าตัวตายถึงร้อยละ 40 และการฆ่าตัวตายสูงกว่าเด็กปกติ (สมภพ เรืองตระกูล, 2551) จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการสารวจเพื่อคาดประมาณจานวนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย พบว่า มี จานวน ประมาณ 3,441-16,036 คน (มานพ คณะโต และคณะ, 2554) ในช่วงเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2555 สานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาได้สารวจข้อมูลนักเรียนชายของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัด นครราชสีมา จานวน 30 แห่ง ที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี และมีการแสดงกิริยาท่าทาง คาพูด การแต่งกาย หรือแต่งหน้าเลียนแบบเพศหญิง พบว่าจานวน 449 คน และระบุว่าตนเองเป็นสาวประเภทสอง หรือ เป็นวัยรุ่นชายข้ามเพศ รวมทั้งสิ้น 130 คน (สานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 2555) ในระหว่างเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ผู้วิจัยได้ทาสนทนากลุ่มเฉพาะกับวัยรุ่นชายข้ามเพศใน สถานศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ที่กาลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จานวน 6 ครั้งๆละ 10 คน รวม 60 คน เพื่อสารวจปัญหาของวัยรุ่นชายข้ามเพศ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม โดย การสร้างข้อสรุปและยืนยันผลสรุป พบว่า วัยรุ่นชายข้ามเพศประสบปัญหาเกี่ยวกับการขาดความรู้ใน การดูแลสุขภาพ และการปูองกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และไม่เข้ารับบริการตรวจรักษาโรค ในด้าน อารมณ์และจิตใจ มีความสับสน ขาดความมั่นใจ เก็บกด มีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องรูปร่างหน้าตา และ ผลข้างเคียงของการใช้ฮอร์โมน มีความเครียดเกี่ยวกับการเรียน รู้สึกน้อยใจจากการไม่ถูกยอมรับในการ เป็นชายข้ามเพศ และกังวลใจในการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น ขาดที่ปรึกษาให้คาแนะนา ด้านการเรียน ได้แก่ ไม่มีเปูาหมายเรื่ องการเรี ยน ไม่สนใจเรียน หรือไม่มาเรียน/เข้าเรี ยน ไม่ทาการบ้านที่ได้รับ มอบหมาย ไม่มีการบริหารเวลา ด้านการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ได้แก่ การไม่ได้รับการยอมรับ ไม่สามารถ


32

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

สื่อสารบอกความรู้ สึกและความต้องการของตนเอง การแยกตัว ถูกครู/อาจารย์ ล้อเลียน ว่ากล่าว ตาหนิ หรือถูกทาโทษ ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรีย น ส่วนวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่ เกิดขึ้น พบว่า วัยรุ่นชายข้ามเพศบางส่วนมีวิธีการจัดการที่เหมาะสมที่และสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น ได้ แต่ส่วนใหญ่ต้องการที่จะเรียนรู้และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการตนเองต่อสภาพปัญหาที่ เผชิญอยู่ให้ดีขึ้น (สานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 2556) Lorig, K. & Holman, H. (2003) ได้กล่าวถึงแนวคิดในการจัดการตนเอง (Self-Management) ไว้ว่าเป็ นการช่วยเหลื อตนเองให้มีความรู้ และความสามารถในการดูแลตนเอง เพื่อทาให้ เกิดภาวะ สุขภาพดี และเกิดความผาสุกในการดารงชีวิตอยู่กับปัญหาหรือสิ่งที่ตนเผชิญอยู่ในขณะนั้น และสามารถ เกิดขึ้นได้เมื่อบุคคลพิจารณาที่จะจัดการกับสิ่งที่ตนเองประสบอยู่ในขณะนั้น หาแนวทางในการจัดการ ประเมินและพยายามหาทางต่อสู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยตนด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้และการฝึกทักษะที่ จาเป็นที่จะดารงชีวิตในแต่ละวัน และอนาคต และเป็นความสามารถในการกากับดูแลความรู้สึก การ กระทา และการคิด ของตนเองให้บรรลุผลตามเปูาหมายที่กาหนดไว้ (O’Keefe & Berger, 1999: 1-7) และเป็นผลการประเมินความสามารถของตนเอง และการประเมินสถานการณ์ และผลที่เกิดขึ้น และการ ปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆได้ดี ตามสภาพความเป็นจริง รวมถึงการเตรียมการก่อนเกิดปัญหาและการ หาทางออกเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในชีวิตประจาวันได้ (ประเวช ตันติพิวัฒนกุล, 2551: 49) การพัฒนาการจัดการตนเองวัยรุ่นชายข้ามเพศ มีเปูาหมายคือ ช่วยให้วัยรุ่นชายข้ามเพศ เกิด การเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหาของตนเอง ใช้ศักยภาพของตนเองในการเลือก ตัดสินใจ และเผชิญปัญหา ด้านต่างๆได้ (นริสา วงศ์พนารักษ์ และสายสมร เฉลยกิตติ , 2557:127) ผู้วิจัยประยุกต์ใช้การให้การ ปรึ กษากลุ่ มแบบบู ร ณาการ เนื่ องจากการให้ การปรึ กษากลุ่ มเป็ นกระบวนการในการเสริ มสร้ าง สัมพันธภาพแห่งความเข้าใจ ความไว้วางใจ ความอบอุ่น การยอมรับนับถือ มีการสื่อสารที่ตรงไปตรงมา ที่เอื้อให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของสมาชิกกลุ่ม มีโอกาสแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึกต่างๆ ทั้งความรู้สึกทางบวกและทางลบ ภายใต้บรรยากาศแห่งการยอมรับ และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งนาไปสู่การเข้าใจและยอมรับตนเอง Corey (2004: 5-7) โดยบูรณาการแนวคิดและเทคนิคของทฤษฎี ต่างๆ ได้แก่ ทฤษฎีแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม ทฤษฎีแบบการรู้คิดและพฤติกรรม ทฤษฎีแบบเกสตัลท์ และทฤษฎีแบบเผชิญความจริง ในการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ กล่าวโดยสรุป วัยรุ่นชายข้ามเพศในสถานศึกษา บางส่วนมีวิธีการจัดการตนเองในด้านต่างๆ ที่ สอดคล้ องกับปั ญหาที่เกิดขึ้นได้ แต่วัยรุ่ นชายข้ามเพศ ส่ วนใหญ่ต้องการที่จะเรียนรู้และปรับปรุ ง เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการตนเองให้ดียิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการจัดการตนเองของวัยรุ่น ชายข้ามเพศในสถานศึ กษา และพัฒนารู ปแบบการให้ การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ มาใช้ในการ เสริมสร้างการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศในสถานศึกษา เพื่อนาไปเสริมสร้างให้วัยรุ่นชายข้าม เพศมีวิธีการจัดการตนเอง โดยมุ่งเม้นความเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหาของตนเอง ใช้ศักยภาพของตนเอง ในการเลือก ตัดสินใจ และมีทักษะในการเผชิญปัญหาด้านต่างๆที่ดีขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการจัดการตนเอง


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

33

ของวัยรุ่นชายข้ามเพศ 3. เพื่อประเมิน ประสิทธิผลของการให้การปรึกษากลุ่ม แบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการ จัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ โดย 3.1 เปรียบเทียบการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การ ปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล 3.2 เปรียบเทียบการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการ ให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม แบบบูรณาการ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล 3.3 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลองที่มีต่อการให้การปรึกษากลุ่มแบบ บูรณาการ หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล โดยใช้การสนทนากลุ่ม สมมติฐานการวิจัย 1. การจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองที่ได้รับ การให้การปรึกษากลุ่มแบบ บูรณาการ หลังการทดลอง และหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นกว่าก่อนได้รับการให้การปรึกษากลุ่มแบบ บูรณาการ 2. การจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มแบบ บูรณาการ หลังการทดลอง และหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นกว่าการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ ขอบเขตการวิจัย 1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ วัยรุ่นชายข้ามเพศที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี ที่กาลังศึกษาอยู่ใน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา ปี พ.ศ. 2556 จานวน 130 คน 2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 2.1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศเป็นกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศในสถานศึกษา เป็นวัยรุ่นชายข้ามเพศมีอายุ ระหว่าง 15-19 ปี ที่กาลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัด นครราชสีมา ปี พ.ศ. 2556 จานวน 100 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากประชากร 2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในการเสริมสร้างการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ เป็นวัยรุ่นชายข้ามเพศที่ได้จากการสุ่ มตัวอย่างอย่างง่าย จากกลุ่มตัวอย่างใน ข้อ 2.1 ที่มีคะแนนการ จัดการตนเองตั้งแต่เปอร์เซนไทล์ที่ 25 ลงมา จานวน 16 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่ม ละ 8 คน โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการจัดการตนเอง ของวัยรุ่นชายข้ามเพศในสถานศึกษา ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการให้การปรึกษาใดๆ 3. ตัวแปรที่ศึกษา 3.1 ตัวแปรต้น คือ รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ 3.2 ตัวแปรตาม คือ การจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพกาย


34

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านการเรียน และด้านการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยรวบรวมข้อมูล เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ตามลาดับขั้นตอน ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และปริมาณประกอบกันโดย 1.1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ และดาเนิน การสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group) เพื่อประมวลปัญหาและการจัดการตนเองของวัยรุ่น ชายข้ามเพศ กับนักเรียนชายที่กาลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดนครราชสีมาที่มี อายุระหว่าง 15-19 ปี และประเมินอัตลักษณ์ทางเพศว่าเป็น “สาวประเภทสอง”และสมัครใจที่จะเข้าร่วม การสนทนากลุ่ม จานวน 6 ครั้ง ครั้งละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จานวน 5 ท่าน เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศในสถานศึกษา แล้ วนาข้อมูล ที่ได้มา วิเคราะห์เพื่อกาหนดนิยามปฏิบัติการของการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ 1.2 สร้างแบบวัดการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศตามนิยามปฏิบัติการ พฤติกรรมการ แสดงออกของวั ยรุ่นชายข้ามเพศในการปรั บเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม ในการจัดการ ตนเองด้านสุขภาพกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านการเรียน และด้านการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม โดยใช้แบบวัดมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) ตามแบบของ Likert และวิเคราะห์ความตรงเชิง เนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญ จานวน 5 ท่าน พิจารณาความสอดคล้องระหว่างข้อความ และนิยามปฏิบัติการ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้อง คัดเลือกข้อคาถามทีมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.6 ขึ้นไป แล้ วน าไปใช้ กับวัยรุ่นชายข้ามเพศในจังหวัดนครราชสี มาที่ไม่ใช่กลุ่ มตัวอย่าง จานวน 100 คน วิเคราะห์หาค่าอานาจจาแนกรายข้อ ได้ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อและคะแนนรวม (Item-Total Correlation) อยู่ ระหว่าง 0.2-0.7 และวิเคราะห์ หาความเที่ยง (Reliability) ได้ค่าสั มประสิ ทธิ์แอลฟา ของครอนบาค เท่ากับ 0.86 ได้แบบวัดการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศในสถานศึกษา 4 ด้ าน ได้แก่ ด้านสุขภาพกาย 8 ข้อ ด้านอารมณ์และจิตใจ 17 ข้อด้านการเรียน 13 ข้อ และด้ านการอยู่ร่วมกับ บุคคลอื่นในสังคม 12 ข้อ รวมจานวน 50 ข้อ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการจัดการ ตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ โดยผู้วิจัยวิเคราะห์และสังเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎีการให้การ ปรึกษากลุ่ม 4 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม (Rational Emotive behavior counseling in groups) ทฤษฎีแบบการรู้คิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Group Counseling) ทฤษฎีแบบเกสตัลท์ (Gestalt Group Counseling) และทฤษฎีแบบเผชิญ ความจริง (Reality Group Counseling) จากนั้นบูรณาการแนวคิด เทคนิคทฤษฎีต่างๆของการให้ การปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ และดาเนินการสร้างรูปแบบ การให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการตามลาดับขั้น ดังนี้


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

35

2.1 ทบทวนวรรณกรรม แนวคิด ทฤษฎี การจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ และรูปแบบ การให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ 2.2 สร้างรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการจัดการตนเองของ วัยรุ่นชายข้ามเพศ 2.3 ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการ จัดการตนเองของวัย รุ่น ชายข้ามเพศ โดยผู้ เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้ ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC อยู่ ระหว่าง .80-1.00 2.4 นารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อการเสริมสร้างการจัดการตนเองของ วัย รุ่ นชายข้ามเพศ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ไปทดลองใช้กับวัยรุ่นชายข้ามเพศ ที่มีลักษณะ ใกล้เคียงกับวัยรุ่นชายข้ามเพศที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 2.5 นารูปแบบที่สร้างขึ้นของการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้าง การจัดการ ตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศไปใช้กับวัยรุ่นชายข้ามเพศที่เป็นกลุ่มทดลอง จานวน 8 คน โดยให้ การ ปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ สัปดาห์ละ 2 ครั้งๆ ละ 2 ชั่วโมง จานวน 9 ครั้ง และทา Focus Group กับกลุ่มทดลองภายหลังการทดลองและเมื่อสิ้นสุดการติดตามผล ระยะที่ 3 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อ เสริมสร้างการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ดังนี้ 3.1 วิ ธี ก ารวิ จั ย เชิ ง ปริ ม าณ ผู้ วิ จั ย ใช้ รู ป แบบการวิ จั ย กึ่ ง ทดลอง (Quasi-Experimental Research) และประยุกต์ใช้ Pretest-Posttest Control Group Design (วรรณี แกมเกตุ, 2549: 149-150) โดยวัดการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศในสถานศึกษาของกลุ่มทดลอง ก่อนการ ทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล และเปรียบเทียบคะแนนการจัดการตนเองของกลุ่ม ทดลองและการจัดการตนเองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล 3.2 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยทาการสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาความพึงพอใจของวัยรุ่นชาย ข้ามเพศที่มีต่อรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ เมื่อสิ้นสุดการให้การปรึกษากลุ่มแบบ บูรณาการ ครบ 9 ครั้ง และภายหลังการติดตามผลการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ 1 เดือน การเก็บรวบรวมข้อมูลและการพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยอธิบายให้กลุ่มตัวอย่างทราบเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการ วิจัย วิธีการดาเนินการวิจัย การรักษาความลับของกลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งประโยชน์และผลที่จะเกิดขึ้น จากการวิจั ย อย่ างละเอีย ด เมื่อกลุ่ มตัว อย่างมีความเข้าใจดีแล้ ว ผู้ วิจัยให้ กลุ่ มตัว อย่างลงนามใน แบบฟอร์มยินยอมด้วยความสมัครใจ จากนั้นจึงเก็บรวมรวมข้อมูลระหว่าง เดือน มกราคม 2557 ถึง มีนาคม 2557


36

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ผลการวิจัย 1. การศึกษาการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ ข้อมูลแสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ค่าต่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของการจัดการตนเองของ วัยรุ่นชายข้ามเพศ (n=100) การจัดการตนเอง ด้านสุขภาพกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านการเรียน ด้านการอยูร่ ่วมกับบุคลอื่นในสังคม รวม

จานวน (ข้อ) 8 17 13 12 50

Min

Max

X

SD

แปลผล

3.16 2.77 3.27 3.72 2.77

4.24 4.26 4.36 4.36 4.36

3.73 3.62 3.89 4.04 3.85

0.37 0.43 0.37 0.19 0.38

สูง สูง สูง สูง สูง

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามตารางที่ 1 พบว่า การจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศโดยรวมอยู่ ในระดับสูง (  =3.85, SD =0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การจัดการตนเองด้านการอยู่ร่วมกับ บุคคลอื่นในสังคมอยู่ในระดับสูง (  =4.04, SD = .19) รองลงมาคือ ด้านการเรียน ด้านสุขภาพกาย และ ด้านอารมณ์และจิตใจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (  = 3.89, SD = .37) (  =3.73, SD = 0.37) และ (  =3.62, SD = 0.43) ตามลาดับ 2. ผลการพัฒนารูปแบบการให้ การปรึกษากลุ่ มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการจัดการ ตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ ผู้วิจัยได้บูรณาการแนวคิด และเทคนิคการให้การปรึกษากลุ่มจากทฤษฎี ต่างๆ 4 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม ทฤษฎีแบบการรู้คิดและ พฤติกรรม ทฤษฎีแบบเกสตัลท์ และทฤษฎีแบบเผชิญความจริง ในการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณา การ ผู้วิจัยดาเนินการสัปดาห์ละ 2 ครั้งๆละ 2 ชั่วโมง จานวน 9 ครั้ง เพื่อให้ครอบคลุมกับการ เสริมสร้างการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศทั้ง 4 ด้าน โดยมีลาดับขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นเริ่มต้นเป็นขั้นปฐมนิเทศและสร้างสัมพันธภาพกับวัยรุ่นชายข้ามเพศ ขั้นที่ 2 ขั้นดาเนินการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการในการเสริมสร้างการจัดการตนเอง ของวัยรุ่นชายข้ามเพศประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างการจัดการตนเองด้านสุขภาพกาย ผู้วิจัยบูรณาการทฤษฎีการให้การ ปรึกษากลุ่มแบบเกสตัลท์ โดยใช้เทคนิคจินตนาการ และการฝึกซ้อมหรือทดลองทา ร่วมกับทฤษฏีแบบ การคิดและพฤติกรรม โดยใช้การเสนอตัวแบบ การให้ข้อมูล การสาธิต การให้ฝึกปฏิบัติ การให้การบ้าน การเสริมแรง 2) การเสริมสร้างการจัดการตนเองด้านอารมณ์และจิตใจ ผู้วิจัยบูรณาการแนวคิด และเทคนิคของทฤษฎีแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม โดยใช้เทคนิคการจินตนาการ แบบพิจารณาเหตุผลและอารมณ์ การแสดงบทบาทสมมติ กับทฤษฎีแบบเกสตัลท์ ใช้เทคนิคการพูด รอบวง การฝึกซ้อมหรือทดลองทา


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

37

3) การเสริ มสร้ า งการจั ดการตนเองด้านการเรี ยน ผู้ วิจัย บูร ณาการแนวคิดและ เทคนิคของทฤษฏีแบบเผชิญความจริง โดยใช้กระบวนการตามระบบ WDEP (The WDEP System) กับทฤษฎีแบบการคิดและพฤติกรรม ที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนความคิด และการกระทา ได้เรียนรู้ที่จะ นาไปสู่การปรับเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรมที่มีต่อเหตุการณ์หรือปัญหาต่างๆ ใช้เทคนิคการเสนอ ตัวแบบ การให้ข้อมูล การให้การบ้าน และการเสริมแรง 4) การเสริ มสร้างการจัดการตนเองด้านการอยู่ร่ว มกับบุคคลอื่นในสั งคม ผู้ วิจัย บูรณาการแนวคิดทฤษฏีแบบเกสตัลท์ โดยใช้เทคนิคการฝึ กซ้อมหรือทดลองทา กับทฤษฏีแบบเผชิญ ความจริง โดยใช้เทคนิคการปฏิบัติในทางตรงกันข้าม และทฤษฏีแบบการรู้คิดและพฤติกรรม ใช้ เทคนิคการเสนอตัวแบบ การฝึกการสื่อสาร การฝึกทักษะทางสังคม และการเสริมแรง ขั้นที่ 3 ขั้น สรุ ป โดยเปิดโอกาสให้ วัยรุ่นชายข้ามเพศ ได้ซักถามแลกเปลี่ ยนความคิด ความรู้สึกประสบการณ์ และอภิปรายถึงประโยชน์ของการเข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณา การเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลง และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่ม 3. ผลการประเมิน ประสิทธิผลการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการ จัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศแสดงในตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ กลุ่มทดลอง (n=8) ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล ก่อนการทดลอง SD แปลผล X ด้านสุขภาพกาย 3.14 0.54 ปานกลาง ด้านอารมณ์และจิตใจ 3.21 0.5 ปานกลาง ด้านการเรียน 3.23 0.74 ปานกลาง ด้านการอยูร่ ่วมกับ 2.9 0.93 ปานกลาง บุคคลอื่นในสังคม รวม 3.12 0.58 ปานกลาง การจัดการตนเอง

X

4.13 3.92 4.2 4.04 4.07

หลังทดลอง SD แปลผล 0.38 สูง 0.57 สูง 0.51 สูง 0.29 สูง 0.37

สูง

X

4.37 4.01 4.32 4.32 4.26

หลังการติดตามผล SD แปลผล 0.37 สูงมาก 0.5 สูง 0.36 สูงมาก 0.41 สูงมาก 0.35

สูงมาก

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามตารางที่ 2 พบว่า การจัดการตนเองโดยรวมของวัยรุ่นชายข้ามเพศ กลุ่มทดลอง ก่อนการทดลอง อยู่ในระดับปานกลาง หลังการทดลอง อยู่ในระดับสูง และหลังการ ติดตามผล อยู่ในระดับสูงมาก ผลการเปรียบเทียบคะแนนการจัดการตนเองโดยรวมของวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลอง หลัง การทดลองและก่อนการทดลอง หลังการทดลองและหลังการติดตามผล พบว่า คะแนนการจัดการ ตนเองโดยรวมและรายด้านของวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลอง หลังการทดลองเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการ ทดลอง และหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นกว่าหลังการทดลอง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05


38

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยรวมและรายด้าน การจัดการตนเองของ วัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลอง (n=8) และกลุ่มควบคุม (n=8) ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และ หลังการติดตามผล วัยรุ่นชายข้ามเพศกลุม่ ทดลอง (n = 8 คน) การจัดการ ตัวเองด้าน

ก่อนการทดลอง SD

สุขภาพกาย

3.14

0.54

อารมณ์และ จิตใจ

3.21

0.5

การเรียน

3.23

0.74

การอยู่ร่วมกับ บุคคลอื่นใน สังคม

2.90

0.93

รวม

3.12

0.58

หลังการทดลอง แปล ผล ปาน กลาง ปาน กลาง ปาน กลาง

SD

วัยรุ่นชายข้ามเพศกลุม่ ควบคุม (n = 8 คน) หลังการติดตามผล

แปล ผล

ก่อนการทดลอง

SD

แปลผล

SD

4.13

0.38

สูง

4.37

0.37

สูงมาก

2.87

0.5

3.92

0.57

สูง

4.01

0.5

สูง

2.78

0.84

4.20

0.51

สูง

4.32

0.36

สูงมาก

3.46

0.78

ปาน กลาง

4.04

0.29

สูง

4.32

0.41

สูงมาก

3.10

ปาน กลาง

4.07

0.37

สูง

4.26

0.35

สูงมาก

3.05

หลังการทดลอง แปล ผล ปาน กลาง ปาน กลาง

SD

หลังการติดตามผล

แปลผล ปาน กลาง ปาน กลาง

SD

แปลผล

2.92

0.51

ปานกลาง

2.79

0.85

ปานกลาง

3.01

0.57

2.92

0.79

สูง

3.56

0.78

สูง

3.46

0.78

สูง

0.45

ปาน กลาง

3.21

0.33

ปาน กลาง

3.12

0.45

ปานกลาง

0.42

ปาน กลาง

3.17

0.40

ปาน กลาง

3.07

0.42

ปานกลาง

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามตารางที่ 3 พบว่า การจัดการตนเองโดยรวมของวัยรุ่นชายข้ามเพศ กลุ่มทดลองก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล อยู่ในระดับสูง ส่วนกลุ่มควบคุม อยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบคะแนนการจัดการตนเองโดยรวมของวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองและ วัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลองพบว่า ไม่แตกต่างกัน แต่หลังการทดลอง คะแนนการ จัดการตนเองโดยรวมวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นกว่าวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มควบคุม อย่างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และหลังการติดตามผล คะแนนการจัดการตนเองโดยรวมวัยรุ่นชาย ข้ามเพศกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นกว่าวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 ผลการเปรียบเทียบคะแนนการจัดการตนเองรายด้าน พบว่า คะแนนการจัดการตนเองด้าน สุขภาพกายก่อนการทดลองระหว่างวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองกับวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน หลัการทดลอง และหลังการติดตามผล คะแนนการจัดการตนเองด้านสุขภาพกายของ วัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นกว่าวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 ผลการเปรียบเทียบคะแนนการจัดการตนเองด้านอารมณ์และจิตใจของวัยรุ่นชายข้ามเพศ กลุ่มทดลองและวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง ไม่แตกต่างกัน แต่หลังการทดลอง คะแนนการจัดการตนเองด้านอารมณ์และจิตใจของวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นกว่าวัยรุ่น ชายข้ามเพศกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการเปรียบเทียบคะแนนการจัดการตนเองด้านการเรียนของวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลอง และวัยรุ่น ชายข้ามเพศกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง ไม่แตกต่างกัน แต่หลั งการ ติดตามผล คะแนนการจัดการตนเองด้านการเรียนของวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นกว่าวัยรุ่น ชายข้ามเพศกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

39

ผลการเปรียบเทียบคะแนนการจัดการตนเองด้านการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมของวัยรุ่น ชายข้ามเพศกลุ่มทดลองและวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มควบคุมก่อนการทดลอง ไม่แตกต่างกัน แต่หลัง การทดลอง และหลังการติดตามผล คะแนนการจัดการตนเองด้านการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม ของวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นกว่าวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่มเฉพาะกับวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลอง เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการจัดการตนเองของ วัยรุ่นชายข้ามเพศ พบว่า วัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการให้การปรึกษากลุ่มแบบ บูรณาการ เมื่อสิ้นสุดการให้การให้การปรึกษากลุ่ม แบบบูรณาการและหลังการติดตามผลการให้การ ปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ อภิปรายผลการวิจัย 1. วัยรุ่นชายข้ามเพศในสถานศึกษา ส่วนใหญ่มีการจัดการตนเองในด้านสุขภาพกาย ด้านอารมณ์ และจิตใจ ด้านการเรียน และด้านการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม อยู่ในระดับสูง อาจเนื่องมาจากวัยรุ่น ชายข้ามเพศในสถานศึกษา ส่วนใหญ่ ต้องมีการปรับตัว และเรียนรู้ที่จะใช้วิธีการต่างๆ ในการจัดการ ตนเองให้เข้ากับสิ่งที่ตนเองประสบอยู่ ในชีวิตประจาวัน เพื่อให้เกิดผลดีต่อตนเอง ซึ่งบุคคลต้องการการ จั ดการตนเองตลอดชี วิต และเป็ นการเรียนรู้โดยตนเองเป็ นศูนย์กลาง และอาศั ยความรู้ที่สามารถ ผสมผสานเข้าสู่ทางเลือกของวิถีชีวิตได้ (Lorig & Holman, 2003: 1-7) 2. การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการจัดการตนเองของ วัยรุ่นชายข้ามเพศ โดยบูรณาการแนวคิดและเทคนิค ทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มที่สอดคล้องกับการ จัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ ทั้งด้านสุขภาพกาย อารมณ์และจิตใจ การเรียน และการอยู่ร่วมใน สังคม ดังนี้ 2.1 การให้การปรึกษากลุ่มมีเปูาหมายในการช่วยเหลือวั ยรุ่นชายข้ามเพศแก้ไขปัญหาหรือ พัฒนาตนเองในการดาเนินชีวิต การศึกษา สังคม สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และการปรับเปลี่ยน ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของวัยรุ่นชายข้ามเพศในการจัดการตนเองในชีวิตประจาวัน ให้ เหมาะสมยิ่งขึ้น 2.2 รูปแบบการให้ปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการจัดการตนเองของวัยรุ่น ชายข้ามเพศ ได้บูรณาการแนวคิด และเทคนิคของทฤษฎีการให้การปรึกษากลุ่มต่างๆ ที่จะช่วยให้วัยรุ่น ชายข้ามเพศในสถานศึกษาสามารถจัดการตนเองได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น เพราะแต่ละปัญหาต่างมีความ ซับซ้อนที่แตกต่างกัน และมุ่งเน้นการเสริมสร้างการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองให้ ครอบคลุมความต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการจัดการตนเองในด้านต่างๆ 3. การประเมิน ประสิ ทธิผ ลการใช้รู ปแบบการให้ ก ารปรึ กษากลุ่ มแบบบู รณาการในการ เสริมสร้างการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศในสถานศึกษา 3.1 การจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มแบบ บูรณาการ หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนได้รับการให้การปรึกษากลุ่มแบบ บูรณาการ อย่ างมีนั ยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ที่เป็นเช่นนี้ เพราะวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลอง มี


40

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

โอกาสค้ นพบตนเอง เข้ าใจความรู้ สึ ก ความปรารถนาของตนเองในการเป็นชายข้ ามเพศ และความ รับผิ ดชอบต่อการเปลี่ ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลสุ ขภาพ และการปูองกันโรค จากการแบ่งปัน และ แลกเปลี่ ยนความคิ ดเห็ น ความรู้ สึ ก และประสบการณ์ ในการดู แลสุ ขภาพซึ่ งกั นและกั นอย่ างเต็ มที่ สามารถระบุความคิด ความรู้สึก อารมณ์ และสามารถจัดการกับอารมณ์ และมีวิธีการผ่อนคลายความรู้สึก ได้อย่างเหมาะสม ตั้งเปูาหมายในการเรียนและอาชีพ ตามความถนัด และความสนใจ และความสามารถ ของตนเอง และมีทักษะใน การจัดตารางชีวิตประจาวัน และแนวทางในการควบคุมกากับ และให้กาลังใจ ตนเองเรื่ องการเรี ยน และการลดพฤติกรรมที่ไม่สนใจเรี ยน และเกิดความรู้สึ กดีต่อการเปลี่ ยนแปลง พฤติกรรมของตนเอง และมีวิธีการในการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นในเรื่องการเรียน เข้าใจความแตกต่าง ระหว่างบุคคล และการเคารพสิทธิของบุคคลอื่น มีทักษะการสื่อสารในการอยู่ร่วมกับบุคคลในครอบครัว และบุคคลอื่น สามารถจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวกฎระเบียบของ สังคม ตระหนักถึงการให้ความช่วยเหลือและการขอรับความช่วยเหลือและสนับสนุนจากบุคคลอื่น และ หลังการติดตามผล การจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้น เพราะรูปแบบการให้การ ปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ มุ่งเน้น ให้ วัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองแต่ละคน ได้ประเมินการจั ดการ ตนเองในปัจจุบัน ว่ามีพฤติกรรมใดที่ต้องการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งตั้งเปูาหมายของตนเอง และวางแผนที่จะนาไปปฏิบัติในการจัดการตนเองด้านต่ างๆ และลงมือปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ และ ประเมินผลการปฏิบัติ จะปรับปรุงหรือจะเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับเสริมแรง ตนเองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองได้สาเร็จ ได้แก่ การชมเชยตนเอง การให้กาลังตนเอง หรือ การมี ความสุ ขที่ ได้ รั บความพึ งพอใจ ความสุ ข หรื อความภาคภู มิ ใจ ในกรณี ที่ กลุ่ มทดลองประสบ ความสาเร็จในการจัดการตนเองเพื่อให้พฤติกรรมใหม่มีความยั่งยืน (Kanfer, 1991: 305-306) 3.2 การจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มแบบ บูรณาการ หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล เพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 ที่เป็ นเช่นนี้ เพราะว่า วัยรุ่ นชายข้ามเพศกลุ่ มทดลองมีโอกาสได้เรียนรู้ เข้าใจตนเอง และ พยายามแก้ปัญหาต่างๆ ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาที่รุนแรงและแก้ไขยากขึ้น ควบคู่ไปกับการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ ความรู้สึกนึกคิด ของสมาชิกกลุ่ม ซึ่งเป็นกระบวนการที่กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาหรือความ ต้องการคล้ายๆกัน ที่ปรึกษาหาหรือร่วมกัน สมาชิกกลุ่มมีอิสระที่จะแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก และ แนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันภายใต้บรรยากาศของการยอมรับซึ่งกันและกัน โดยมีผู้ให้การปรึกษา ซึ่งมีความรู้ความสามารถ และมีทักษะในการให้การปรึกษา ร่วมให้ความช่วยเหลือและร่วมให้การปรึกษา (ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์, 2546: 245) ช่วยให้บุคคลในกลุ่มเกิดการเรียนรู้ที่จะนาความคิดทั้งหลายที่ได้รับ จากกลุ่มไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ (Ohlsen, 1970: 31) และการนาแนวคิด และเทคนิคจาก หลายๆทฤษฎี มาใช้อย่างกลมกลืน โดยมีเปูาหมายเพื่อให้ สามารถแก้ไขปัญหาและเปลี่ยนแปลงตนเอง ไปในทิศทางที่พึงประสงค์ โดยเลือกใช้เฉพาะเทคนิคที่มีความเหมาะสมมาใช้เพื่อให้ครอบคลุมปัญหา (Theodoros, 2005: 161-168) นอกจากนั้นสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้การปรึกษาและผู้รับการปรึกษา ความเป็นกันเอง ทาให้วัยรุ่นชายข้ามเพศเกิดความอบอุ่นใจ กล้าเปิดเผยเรื่องราว ให้ทราบถึงความคิด ความรู้สึกที่ซ่อนเร้นอยู่ จะเป็นสิ่งที่จะส่งเสริมให้วัยรุ่นชายข้ามเพศสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่ แนวทางที่การแก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ 3. ผลวิเคราะห์ ข้อมูล เชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่ มกับวัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่ มทดลอง


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

41

เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการจัดการ ตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศ พบว่า หลังสิ้นสุดการให้การการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ วัยรุ่นชาย ข้ามเพศมีความพึงพอใจต่อการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ เพราะรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม แบบบูรณาการ ช่วยให้วัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่ มทดลองเกิดความรู้ ความเข้าใจตนเองมากขึ้น และมี ทักษะในการจัดการตนเองในด้านต่างๆ ในชีวิตประจาวัน และพบว่า หลังการติดตามผล วัยรุ่นชายข้าม เพศมีความพึงพอใจต่อการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ เพราะช่วยรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่ม แบบบูรณาการ ช่วยส่งเสริม สนับสนุนให้วัยรุ่นชายข้ามเพศกลุ่มทดลองมีเปูาหมาย และความตั้งใจที่จะ พัฒนาการจัดการตนเองในชีวิตประจาวันอย่างต่อเนื่องให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ข้อเสนอแนะ 1. ควรส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้ที่มีหน้าที่ให้บริการปรึกษากับวัยรุ่นชายข้ามเพศ นารูปแบบ การให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ ไปประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างการจัดการตนเองของวัยรุ่นชาย ข้ามเพศในสถานศึกษาที่มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มตัวอย่าง 2. ควรศึกษาเปรียบเทียบการจัดการตนเองของวัยรุ่นชายข้ามเพศในสถาบันศึกษาอื่นๆ ที่ อยู่ในวัยเดียวกันกับกุล่มตัวอย่าง เอกสารอ้างอิง นริสา วงศ์พนารักษ์ และสายสมร เฉลยกิตติ. (2557). การให้การปรึกษาทางสุขภาพกับชายรัก เพศเดียวกัน. วารสารพยาบาลทหารบก. 15 (2) : 127. ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2546). ความหมายและความสาคัญของการให้บริการปรึกษาเป็นกลุ่ม . ประมวลสาระวิชาประสบการณ์วิช าชีพมหาบัณฑิต หน่ว ยที่ 1-6. พิมพ์ครั้งที่1. นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. พรเทพ แพรขาว และเกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. (2552). ชีวิตและสุขภาพของกะเทยอีสานในคณะ หมอล า. ในรายงานการศึ ก ษาวิ จั ย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น . ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. มานพ คณะโต และ คณะ. (2554). การสารวจครัวเรือนเพื่อประมาณการจานวนประชากรกลุ่ม เสี่ยงต่อการติดและแพร่เชื้อเอชไอวี โดยวิธีการขยายเครือข่าย (Network Scale-up Method) จังหวัดนครราชสีมา 2554. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์. วรรณี แกมเกตุ. (2549). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาวิจัย และจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมภพ เรืองตระกูล. (2551). พฤติกรรมรักร่วมเพศและสุขภาพจิต. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์. ส านั ก งานสาธารณสุ ข จั ง หวั ด นครราชสี ม า. (2555). รายงานผลโครงการพั ฒ นารู ป แบบการ ดาเนินงานเพื่อส่งเสริมป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และการเข้าถึงบริการรักษาในกลุ่มชาย ที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดนครราชสีมา.


42

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

สานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2556). รายงานผลการสารวจพื้นที่ในการจัดทาแผนที่ ชุมชน (Mapping Target) ของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และสาวประเภทสอง จังหวัดนครราชสีมา. Corey, G. (2004). Theory and practice of group counseling. (6th ed.). Belmont: Thomson Brook/Cole Inc. Loring. K., and Holman, H. (2003). Self-management education: History, outcomes, definition and mechanism. Annuals of Behavior Medicine. 26, (1): 1-7. O’Keefe E. J. and Berger, D. S. (1999). Self-Management for College Student. New York: Partridge Hill Publishers. 1-2. Ohlsen, M. (1970). Group Counseling. New York: Rinehart and Winston. Williamson, R.I. (2000). Internalized homophobia and health Issues affecting lesbians and gay men. Health Education Research, 15(1): 97-107. Theodoros, G. (2005). Counseling Psychology and The integration of theory, research and practice: A personal account. Counseling Psychology Quarterly, 18(2), 161-168. ……………………………………………………………………


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

43

การเป็นพ่อแม่ที่มปี ระสิทธิผล Effective Parenting ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ บทคัดย่อ บทความทางวิชาการฉบับนี้ มุ่งเน้นความสาคัญของการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผล โดยทั่วไป หลักสาคัญของการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลจะเกี่ยวข้องกับการให้เวลา/ให้ความรักแก่บุตรธิดา ซึ่งมี ความสาคัญเช่นเดียวกับการให้การยกย่ องชมเชยผลการกระทาของบุตรธิดา รวมทั้งการให้กาลังใจ สนั บสนุ นส่ งเสริ มความพยายามของบุตรธิดา ผลการศึกษาปัญหาและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ครอบครัว ทาให้ผู้เขียนวางแผนที่จะ 1) ศึกษาคุณลักษณะของการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผล 2) ศึกษา ปัจจัยเชิงเหตุของการเป็นพ่อแม่ที่มี ประสิทธิผล และ 3) ศึกษาปัจจัยเชิงผลของการเป็นพ่อแม่ที่มี ประสิ ท ธิ ผ ลที่ ส่ ง ผลต่ อ ลั ก ษณะจิ ต ใจและพฤติ ก รรมของบุ ต รธิ ด า และผลของการวางแผนที่ จ ะ ศึกษาวิจัยดังกล่าวนี้ จะเป็นแนวทางที่จะทาให้ครอบครัวได้ทราบถึงดัชนีเชิงเหตุและผลของการเป็น พ่อแม่ที่มีประสิทธิผลในครอบครัวไทย คาสาคัญ: การเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผล Abstract This academic article emphasized the importance of effective parenting. Overall, the most important principles of effective parenting involved giving time/love to children as well as praising and encouraging them. Further evidence suggested that praise focused on other people’s judgments of a child’s action, whereas encouragement focused more of the child’s efforts. After examining the family’s problems and the family literature, the writer planned 1) to examine the effective parenting characteristics, 2) to find antecedent factors of Thai effective parenting, and 3) to find significant consequential factors of Thai effective parenting that related to their children’s psychological and behavioral characteristics. Finally, based on the examination of this study, the study should offer a deep understanding of an analysis of effective parenting path indicators in Thai families : antecedents and consequences. Keywords: Effective parenting ศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


44

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมแห่งแรกที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ทุกชีวิตใน ครอบครัวต่างปรารถนาชีวิตครอบครัวที่แสดงออกถึงความรัก ความอบอุ่น และความผูกพันต่อกันและกัน ได้แก่ การเอาใจใส่ดูแลและเอื้ออาทรกัน รู้จักและเข้าใจกัน เคารพกันและกัน มีความรับผิดชอบต่อกัน ให้ ความไว้วางใจกัน ให้กาลังใจกัน และให้อภัยกันและกัน มีวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม มีความใกล้ชิดสนิทสนม กัน ใช้เวลาด้วยกันอย่างมีคุณค่าและมีคุณภาพ รับผิดชอบต่อหน้าที่ในครอบครัว ช่วยเหลือกันและกัน มี ความใกล้ชิดสนิทสนมกัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความอดทน มีวินัย และสามารถปรับตัวตามภาวะที่ เปลี่ยนแปลงของบุคคลในครอบครัวและสังคม (Geggie and others, 2000; ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์, 2544) จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน อาจทาให้บางครอบครัวขาดความอบอุ่น ขาดความ ใกล้ชิด ต่างคนต่างอยู่ ทาให้เกิดความกดดันต่างๆ บางครอบครัวเกิดความบาดหมาง แตกแยก สมาชิก ครอบครัวต้องแยกกันอยู่ ห่างเหินกัน และอาจหย่าร้างในที่สุด สถานการณ์ต่างๆดังกล่าวนี้ อาจเป็น สาเหตุทาให้เกิดสภาวะวิกฤตในครอบครัว ความผูกพันระหว่างสมาชิกครอบครัวอาจลดน้อยลง การทา หน้าที่ตามบทบาทของพ่อ แม่ และลูกขาดทิศทาง ขาดการก้าวผ่านการบริหารจัดการปัญหาอุปสรรคที่ เกิดขึ้น และทาให้การทาหน้าที่ของพ่อแม่ไร้ประสิทธิผล (Olsen and Sipahimalani, 2003) แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉ บั บ ที่ สิ บ เอ็ ด พ.ศ.2555-2559 (ส านั ก งาน คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สานักนายกรัฐมนตรี, 2554: 39-50) ได้กาหนด 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมุ่งพัฒนาคน หรื อ ทุ น มนุ ษ ย์ ใ ห้ เ ข้ ม แข็ ง พร้ อ มรั บ การเปลี่ ย นแปลงโลกในยุ ค ศตวรรษที่ 21 และได้ ก าหนด วัตถุประสงค์และเปูาหมายที่สาคัญๆ คือ (1) เพื่อพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกกุล่มวัยให้มีความพร้อมทั้ง กาย ใจ สติปัญญา มีระเบียบวินัย มีจิตสานึกวัฒนธรรมที่ดีงามและรู้คุณค่าความเป็นไทย มีภูมิคุ้มกัน ต่ อ การเปลี่ ย นแปลงและเป็ น พลั ง ทางสั ง คมในการพั ฒ นาประเทศ และ (2) เพื่ อ เสริ ม สร้ า ง สภาพแวดล้อมทางครอบครัว ชุมชน และสังคมให้มั่นคง และเอื้อต่อการพัฒนาคนอย่างสอดคล้องกับ บริบทการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต และ 2. แนวทางพัฒนาโดยมุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวในการบ่มเพาะให้คน มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมในวิถีชีวิต ดังสาระสาคัญต่อไปนี้คือ ประการที่ 1 พัฒนาศักยภาพครอบครัวโดยส่งเสริมการมีอาชีพและรายได้ที่แน่นอน สามารถ ดารงชีวิตอย่างพอเพียง สนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับศักยภาพของครอบครัว มี การถ่ายทอดและแลกเปลี่ย นประสบการณ์การเรียนรู้ร่ว มกัน เพื่อให้ เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่าง สมาชิกในครอบครัวและเชื่อมโยงกับเครือข่ายครอบครัว ให้สิ่งจูงใจแก่ครอบครัวที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี รวมทั้ง พัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับพ่อแม่และผู้ปกครอง โดยสร้างโอกาสในการ เข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และรู้จักใช้ประโยชน์อย่างมีคุณค่าเพื่อลดช่องว่างระหว่างครอบครัว ประการที่ 2 ฟื้นฟูวัฒนธรรมที่ดีและนาคุณค่าอันดีงามของครอบครัวไทย อาทิ ความเอื้อ อาทรและการเป็นเครือญาติมาใช้ในวิถีชีวิตควบคู่กับการปลูกฝังศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้ สมาชิกในครอบครัวรู้จักใช้ปัญญาในทางที่ถูกต้อง และมีจิตสานึกในการเฝูาระวังทางวัฒนธรรมที่จะมี ผลกระทบต่อการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรม และ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

45

ประการที่ 3 ผลักดัน ให้ชุมชนเปิดพื้นที่สาธารณะในการจัดกิจกรรมสร้างสัมพันธ์อันดีต่อ ครอบครั ว และชุ ม ชน และภาคธุ ร กิ จจั ด กิ จกรรมทั้ ง ภายในและภายนอกองค์ กร เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ ครอบครัวมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม นอกจากนี้ แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉ บั บ ที่ สิ บ เอ็ ด พ.ศ.2555-2559 (2554:42) ได้ประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสถาบันครอบครัว กล่าวคือ 1) คุณภาพชีวิตของประชาชนมีความเสี่ยงจากความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการ แพร่ระบาดของยาเสพติดและ 2) ความเสื่อมถอยทางคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมไทย ส่งผลให้ สถาบันทางสังคม โดยเฉพาะครอบครัวมีแนวโน้มอ่อนแอ ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และขาดการมี ส่วนร่วมในสังคมครอบครัว มีการใช้ความรุนแรง เด็กและเยาวชนที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่ดี จะขาดการใช้ วิจารณญาณในการกลั่นกรอง ก่อให้เกิดปัญหาทาให้ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง สร้างพื้นที่ ส่วนตัวมากขึ้น นาไปสู่ความแตกแยกในครอบครัว และการมีส่วนร่วมในสังคมลดลง พ่อแม่ไม่ทา หน้าที่ตามบทบาทของตนเอง ทาให้การเป็นพ่อแม่ไร้ประสิทธิผล กล่าวโดยสรุป แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2555-2559 เห็น ความสาคัญในการกาหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน และ กาหนดแนวทางการพัฒนาคนทุกกลุ่มวัย ให้ความสาคัญกับคุณภาพชีวิตและสถาบันครอบครัว รวมทั้ง มุ่งพั ฒ นาศัก ยภาพของครอบครั ว การจัดกระบวนการเรี ยนรู้ที่เ หมาะสมกับ ศัก ยภาพของแต่ล ะ ครอบครัว การถ่ายทอดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิกครอบครัว การทา หน้าที่ของพ่อแม่ตามบทบาทของตนเอง และการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิภาพในสังคมไทย ตลอดทั้งได้ ตระหนักถึงปัจจัยภายในครอบครัว และปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัว จรรจา สุวรรณทัต (2547:13-14) กล่าวไว้ว่า ครอบครัวแม้จะเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสังคม แต่ ก็จัดเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลที่สุดในการสร้างและพัฒนาคน สามารถพิจารณาได้ว่า ครอบครัวเป็ นส่วน หนึ่งของระบบสภาพแวดล้อมเชิงนิเวศมนุษย์ ที่แสดงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างละเอียดอ่อน และ สลับซับซ้อนระหว่างบุคคลกับทุกส่วนของครอบครัว และระหว่างแต่ละส่วนของครอบครัวกับระบบ สาคัญอื่นๆของสังคม ซึ่งในที่สุดจะส่งผลรวมต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆของบุคคลทั้งในด้า นความคิด จิตใจ และลักษณะที่ปรากฏ ด้วยวิธีการศึกษาครอบครัวในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศมนุษย์ จะทาให้เข้าใจ “ครอบครัว” ทั้งของตนเองและของผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้งและแท้จริงได้ อีกทั้ง ยังจะช่วยให้ เกิดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล และครอบครัว ที่เชื่ อมโยงกันอย่างซับซ้อนกับระบบ ต่างๆของสังคมที่โยงใยเข้าด้วยกัน ในทุกช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมของชีวิต ครอบครัวด้วย สอดคล้องกับ Bronfenbrenner (1986) ที่ได้ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยทางสังคมภายนอกมี อิทธิพลสาคัญต่อการสร้างและกาหนดแผนการดาเนินชีวิตในครอบครัวในทุกๆ ขั้นวงจรชีวิต จากแนวคิดดังกล่าวข้างต้นนี้ สามารถสรุปได้ว่า ตัวแปรหรือปัจจัยทางสังคมมีความสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องกันเป็นระบบ สามารถส่งผลกระทบต่อระบบครอบครัว ทุกขั้นตอนของวงจรชีวิตครอบครัว และการส่งผลนั้นก็อาจเป็นไปได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม แม้ ว่ าจะมี ปั จ จั ย ส าคั ญหลายอย่ าง ที่ ส่ งผลกระทบกั บระบบครอบครั ว แต่ ปั จจั ยภายใน ครอบครัวที่พึงตระหนักถึงคือ หน้าที่ของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดูบุตรธิดา ดังผลงานวิจัยของ ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2524) และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับ จิตลักษณะ และพฤติกรรมของเด็ก


46

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

และเยาวชน ที่ถูกครอบครัวอบรมเลี้ยงดูมาแตกต่างกัน โดยผลการวิจัยประจักษ์ชัดถึงอิทธิพลที่สูงยิ่ง สถาบั นครอบครัว โดยเฉพาะความสาคัญของการอบรมเลี้ยงดูวิธีการที่บิดามารดาปฏิบัติต่อบุตรใน หลากหลายวิธี ทั้งการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน แบบใช้เหตุผล แบบลงโทษทางจิต แบบควบคุ ม และแบบให้พึ่งตนเอง ตลอดจนความสาคัญของสภาพแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกครอบครัว ที่ ส่งผลต่อการกาหนดวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กของบิดามารดาและทาหน้าที่ของบิดามารดาด้วย สาหรับครอบครัวนั้น บุคคลที่มีบทบาทสาคัญในครอบครัวที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของบุตรธิดา ในทุกๆด้าน คือ พ่อแม่ หากพ่อแม่สามารถทาหน้าที่ในครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมส่งผลให้ทุก ชีวิตในครอบครัวมีความสุข ดังที่ Goldenberg & Goldenberg (2013) กล่าวไว้ว่า พ่อแม่ที่จะทาหน้าที่ ได้อย่างประสบความสาเร็จ จะต้องสนับสนุนให้สมาชิกครอบครัวได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็ม ความสามารถ โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีอิสระในการสารวจและค้นพบสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ภายใต้การ ปกปูองดูแลของพ่อแม่ และทาให้สมาชิกรู้สึกปลอดภัย Krysan (1990: 2) เสนอว่า ครอบครัวที่ประสบความสาเร็จสามารถพิจารณาได้จากบุคลิกภาพ ของสมาชิกแต่ละคนของครอบครัว ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกครอบครัว ความรับผิดชอบในการปฏิบัติ หน้าที่ของสมาชิกครอบครัวและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการพัฒนาชีวิตของสมาชิกครอบครัว ส่วน Peterson & Green (1999) ได้ระบุถึง การทาหน้าที่ครอบครัวอย่างประสบความสาเร็จ ประกอบด้ วย การปฏิ บั ติ หน้ าที่ ของพ่ อแม่ อย่ างมี ประสิ ทธิ ภาพ พ่ อแม่ ต้ องมี ความสามารถในการ แก้ปัญหา มีความสามารถในการใช้กลยุทธ์ในการสื่อสาร มีบทบาทของความเป็นพ่อแม่ที่ชัดเจน มีความ รั กความผู กพั นและเห็ นคุ ณค่าของการกระทาของสมาชิกครอบครัว รวมทั้งพร้อมที่จะปรั บเปลี่ ยน พฤติกรรมของตนเองเพื่อความผาสุกของครอบครัว นอกจากนี้ อุ มาพร ตรั งคสมบั ติ (2544: 63) ได้ ให้ ความหมายของครอบครั วที่ ท าหน้ าที่ เหมาะสมว่า เป็นครอบครัวที่พ่อแม่สามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้อย่างเพียงพอ ทั้งทาง วัตถุ จิตใจ และจิตวิญญาณ สมาชิกแต่ละคนและครอบครัวสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน มีความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน มีความสมดุลระหว่างความเป็นตัวของตัวเอง และความเป็นครอบครัวเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ลักษณะความเหมาะสมของครอบครัว จะไม่คงที่แต่จะเปลี่ยนแปลงเสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลา สภาพ สังคม รวมทั้งปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกที่มากระทบครอบครัว กล่าวโดยสรุป ครอบครัวที่ประสบความสาเร็จ จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของพ่อ แม่และของสมาชิกครอบครัว พ่อแม่และสมาชิกครอบครัวต้องรับผิดชอบตามบทบาทและหน้าที่ มีการ สื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว พ่อแม่ต้องแสดงออกถึงความรักความผูกพันรวมทั้ง ให้ การดู แลและช่ วยเหลื อสมาชิ กครอบครั ว และสามารถมี กลยุ ทธ์ ในการแก้ ปั ญหาครอบครั ว ซึ่ ง คุณลักษณะต่างๆดังกล่าวนี้ บ่งบอกถึงการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผล จากเอกสารและผลงานวิจัยที่สาคัญดังกล่าวข้างต้น เป็นข้อมูลที่บ่งบอกให้เห็นว่า ตัวแปร หรือปั จจัยทางสั งคมภายนอกและปัจจั ยภายในครอบครัวล้ วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับระบบ ครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูบุตรธิดาในครอบครัว การทาหน้าที่ของพ่อแม่ และเพื่อยืนยันถึงปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับชีวิตครอบครัว การทาหน้าที่ที่เหมาะสมของพ่อแม่ และการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผล บทความวิชาการนี้ จึงมีความประสงค์ จะแสวงหาความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเชิงเหตุและ ปัจจัยเชิงผลที่จะมาร่วมทานายการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผล เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเสริมจิต


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

47

ลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์บางประการของผู้ที่เป็นบุตรธิดา เพื่อให้เป็นคนที่มีคุณค่าต่อไป โดยในโอกาสต่อไป ผู้เขียนจะแสวงหาคาตอบเพื่อทาวิจัย เรื่อง “การวิเคราะห์ดัชนีเชิงเหตุและผลของ การเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผล” โดยมุ่งหวังว่า จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัว ให้เข้มแข็ง มีคุณค่า และมีความสุขทั้งต่อตนเองและสังคม จากการทบทวนวรรณกรรมที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ดั ช นี เ ชิ ง เหตุ แ ละผลของการเป็ น พ่ อ แม่ ที่ มี ประสิทธิผล สรุปได้ว่า (Zhang and other, 2012; Whiston, Campbell, & Maffini, 2012, จรรจา สุวรรณทัต, 2547; Nichols and others, 2000) 1. ปัจจัยเชิงเหตุของการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลประกอบด้วย ปัจจัยทางสังคม ปัจจัย ภายในครอบครัว และจิตลักษณะของพ่อแม่ ที่เป็นปัจจัยด้านส่งเสริมและปัจจัยด้านที่เป็นอุปสรรค 2. ดัชนีการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผล จะเกี่ยวข้องกับ การทาหน้าที่ของพ่อแม่ สัมพันธภาพ ระหว่างพ่อแม่ ความสามารถในการบริหารจัดการปัญหาในครอบครัวระหว่างพ่อและแม่ 3. ปัจจัยเชิงผลของการเป็น พ่อแม่ที่มีประสิทธิผล ได้แก่ ผลทางตรงที่เกิดแก่ลักษณะจิตใจ และพฤติกรรมบางประการของบุตร อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาจากวรรณกรรมดังกล่าวข้างต้น พบว่า ปัจจัยเชิงเหตุของการเป็น พ่อแม่ที่มีประสิทธิผล ดัช นีการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผล และปัจจัยเชิงผลของการเป็นพ่อแม่ที่ มี ประสิทธิผล ต่างสัมพันธ์กับวัฒนธรรม ระบบและวงจรชีวิตครอบครัว และสภาพสังคมที่เกี่ยวข้อง ผลการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวข้างต้น ทาให้ผู้เขียนสนใจที่จะทาการวิจัยเกี่ยวกับ “การ วิเคราะห์ดัชนีเชิงเหตุและผลของการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลในครอบครัวไทย” โดยต้องการจะ แสวงหาคาตอบว่า 1. ตัวแปรใดในกลุ่มปัจจัยทางสังคมและปัจจัยภายในครอบครัวและกลุ่มจิตลักษณะของพ่อ แม่ที่ส่งผลทางตรงต่อตัวแปรการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผลในครอบครัวไทย 2. ตัวแปรใดในกลุ่มปัจจัยทางสังคมและปัจจัยภายในครอบครัว ที่ส่งผลทางตรงต่อการเป็น พ่อแม่ที่มีประสิทธิผล ด้า นการทาหน้าที่ของพ่อแม่ สัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่และความสามารถใน การบริหารจัดการปัญหาในครอบครัวระหว่างพ่อแม่ในครอบครัวไทย 3. ตัวแปรการเป็นพ่อแม่ที่มีประสิทธิผล ส่งผลทางตรงหรือส่งผลทางอ้อมต่อลักษณะจิตใจ และพฤติกรรมของบุตรมากน้อยเพียงใด กล่ าวโดยสรุ ป ผลการวิ เคราะห์ การเป็ น พ่ อแม่ ที่ มี ประสิ ทธิ ผ ลในครอบครั ว ไทย จะเป็ น ประโยชน์ในการกาหนดยุทธศาสตร์ในการวางแผนพัฒนาการทาหน้าที่ของพ่อแม่ พัฒนาศักยภาพด้าน ต่างๆให้แก่สมาชิกครอบครัว รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อครอบครัวและชุมชน


48

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

เอกสารอ้างอิง สานั กงานคณะกรรมการพั ฒ นาการเศรษฐกิจและสั งคมแห่ งชาติ ส านักนายกรัฐ มนตรี. (2544). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร: สานักนายกรัฐมนตรี จรรจา สุวรรณทัต. (2547). ระบบครอบครัวกับระบบสังคม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2524). รายงานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ภายใน ครอบครัวกับสุขภาพจิตและจริยธรรมของนักเรียนวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัย พฤติกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2555). การสร้างแบบวัดความเข้มแข็งของครอบครัว. วารสารเกษมบัณฑิต. Vol.13, No.2., กรกฎาคม – ธันวาคม 2555 อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2544). จิตบาบัดและการให้คาปรึกษาครอบครัว. กรุงเทพฯ: ซันต้าการพิมพ์ Bronfenbrenner, U. (1986). Ecology of the family as a context for human development: Research perspectives. Developmental Psychology, 22(6), 723-742. Goldenberg, H. & Goldenberg, I. (2013). Family Therapy: An overview. Singapore: Brooks/Cole. Nichols, W.C., Pace-Nichols, M.A., Becvar, D.S., & Napier, A.Y. (2000). Handbook of family development and intervention. New York: Wiley. Krysan, M. (1990). Identifying successful families: An overview of constructs and selected measure. CA: Department of Health and Human Services. Olsen, D. & Sipahimalani, A. (2003). Family strength. Retrieved Nov.16.2005, from http://www.medformation.com/ac/transelipt,nsf/al/topics/familystrength. Peterson, R. & Green, S. (1999). Family first. Virginia: Virginia Cooperative Extension Publication. Whiston, D.C., Campbell, W.L., & Miffini, L. (2012). Work-family balance: A Counseling Psychology Perspective. APA Handbook of Counseling Psychology, Vol.2. Zhang, H. & Others. (2012). Factor structure and psychometric properties of the workfamily balance scale in an urban Chinese sample. Social Science Research, 105: 409-418. …………………………………………………….


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

49

สมรรถนะของบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในมุมมองของผู้บังคับบัญชา Competencies of Graduates of Master of Science Program in Clinical Psychology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital from Superior Officers’ Viewpoint สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์1 ธนยศ สุมาลย์โรจน์2 สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์3 ณัชพล อ่วมประดิษฐ์4 บทคัดย่อ การวิจั ยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของบัณฑิ ตหลั กสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิ ชาจิ ตวิ ทยาคลิ นิ ก ในมุ มมองของผู้ บั งคั บบัญชาบั ณฑิ ต ใช้ วิธี การเก็ บรวบรวมข้ อมูลโดยส่ ง แบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้กับผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก ปีการศึกษา 25342555 จานวน 178 คน ได้รับการตอบกลับ 157 คน คิดเป็นร้อยละ 88.20 โดยเกณฑ์คัดเลือก ผู้บังคับบัญชา คือ ผู้ที่ดูแลการทางานและควบคุมบังคับบัญชาที่ใกล้ชิดที่สุดเป็นประจาอย่างน้อยเป็น เวลา 6 เดือน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ตอน ประกอบด้วยตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของ ผู้บังคับบัญชา ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษาสูงสุด หน่วยงาน ตาแหน่งงาน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ร่วมกับบั ณฑิต ตอนที่ 2 แบบประเมินสมรรถนะของบัณฑิตโดยผู้บังคับบัญชา แบ่งองค์ประกอบ สมรรถนะของบัณฑิตออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านความ รับผิดชอบ ด้านการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ และด้านบุคลิกภาพและจรรยาบรรณ และตอนที่ 3 เป็น ส่ ว นที่ ให้ ผู้ บั งคั บ บั ญชาแสดงข้ อคิ ดเห็ นและข้ อเสนอแนะอื่ นๆ เพิ่ มเติ ม ผลการศึ กษาปรากฏว่ า ผู้บังคับบัญชาบัณฑิตเห็นว่าสมรรถนะที่หลักสูตรกาหนดมีความจาเป็นในการนาไปใช้ปฏิบัติงานของ บัณฑิต หลักสูตรจั ดกระบวนการการเรียนรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาสมรรถนะต่างๆ ได้อย่าง เพียงพอ และมีความพึงพอใจต่อสมรรถนะของบัณฑิตในการปฏิบัติงานทั้งในตาแหน่งนักจิตวิทยาและ ตาแหน่ งอื่นๆ อยู่ ในระดั บมากถึ งมากที่ สุ ด สรุปได้ว่ าหลั กสู ตรวิ ทยาศาสตรมหาบัณฑิ ต สาขาวิ ชา จิตวิทยาคลินิก สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต คาสาคัญ: สมรรถนะ, บัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, มุมมองของผู้บังคับบัญชา

1

รองศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ประจาภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

234


50

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

Abstract The purpose of this student was to understand the Master of Science in Clinical Psychology program by considering the efficiency of the program in developing each graduate’s competencies: knowledge, operational skill, and personality and ethics in the viewpoint of the superior officers. The data was acquired from superior officers of graduated students of the Master of Science in Clinical Psychology program between the year 1991-2012. The data collection was conducted by post. Questionnaires were sent to 178 superior officers and the response rate was 157 (88.20%). The criterion to select the superior officers is the closest person who in charge or command graduates during the operation and also has been working with graduates at least 6 months. The data collecting tools composed with 3 parts: Part 1) a questionnaire of personal data such as gender, age, highest education, organization, working position and period of time working with graduates. Part 2) the evaluation graduate’s competency, it is the satisfying evaluation toward the competency of graduates which contains 5 elements: ability, operation, responsibility, communication and human relation, and personality and ethics. Part 3) for superior officers to express opinions and making suggestion. The results indicated that the superior officers were satisfied with the all competency of graduates with most and mostly; the competency which the program offered was necessary for operation at a high to extremely high level. In conclusions, the Master of Science in Clinical Psychology program can produce good quality graduates, which complies with demand of service receivers. Key words: Competency; Graduates of Master of Science Program in Clinical Psychology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital; Viewpoint of Superior Officers บทนา ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงาน ที่มีบทบาทสาคัญในการผลิตนักจิตวิทยาคลินิก โดยรับผิดชอบการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติของนักศึกษาปริญญาโท สาขาจิตวิทยาคลินิกแห่งแรก เริ่มเปิดสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2522 (ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555) ปัจจุบันมี บัณฑิตที่จ บการศึกษาทั้งหมด 28 รุ่ น ได้เข้าปฏิบัติงานเป็นบุ คลากรในองค์กรต่างๆ ทางด้าน สุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์ ทั้งภาครัฐ เอกชน กระจายอยู่ทั่วประเทศ สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความสาคัญกับการประกัน คุณภาพการศึกษาโดยมีการกาหนดบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในหมวด 6 ว่าด้วย


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

51

มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา (สานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ (องค์การ มหาชน) สานักนายกรัฐมนตรี, 2546) ซึ่งได้เข้ามามีบทบาทให้สถาบันการศึกษามีกลไกการประกัน คุณภาพ ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนได้มั่นใจว่าสถานศึกษานั้นๆ สามารถให้ผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพสอดคล้องกับนโยบายประกันคุณภาพหลักสูตรของบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้จัดทาระบบพัฒนาและประกันคุณภาพหลักสูตรบัณฑิตศึกษาขึ้น (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550) มีการกาหนดปัจจัยคุณภาพ 8 ปัจจัย โดยมีปัจจัยคุณภาพ คือสมรรถนะของบัณฑิตประกอบอยู่ด้วย จะเห็นได้ว่าสมรรถนะบัณฑิตซึ่งถือเป็นผลผลิตของหลักสูตร นับได้ว่ามีความสาคัญ เนื่องจากเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของหลักสูตร ดังนั้นในการศึกษา ครั้งนี้จึงมีเปูาหมายหลักเพื่อศึกษาและติดตามผลเกี่ยวกับมุมมองของผู้บังคั บบัญชาที่มีต่อสมรรถนะ ของบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามที่ถามจากผู้บังคับบัญชาที่ ดูแลการทางานและควบคุมบังคับบัญชาที่ใกล้ชิดที่สุดกับบัณฑิต อันเป็นวิธีการที่ทาให้ทราบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับสมรรถนะของบัณฑิตโดยตรง และสามารถนามาเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรจิตวิทยา คลินิกให้ทันสมัยและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและติดตามผลสมรรถนะของบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา จิตวิทยาคลินิกในมุมมองของผู้บังคับบัญชา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ทาให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคุณภาพและโอกาสพัฒนาของบัณฑิต และยังเป็นส่วนหนึ่งใน การพัฒนาหลักสูตรจิตวิทยาคลินิกให้ทันสมัยและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม วิธีดาเนินการวิจัย เป็นการศึกษาในลักษณะเชิงสารวจเพื่อติดตามคุณภาพและความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา ที่มีต่อสมรรถนะของบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก ประชากรและตัวอย่าง การกาหนดผู้ให้ข้อมูลในการประเมินครั้งนี้เป็นผู้บังคับบัญชา 178 คน ของบัณฑิตหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก ปีการศึกษา 2534-2555 โดยเกณฑ์คัดเลือก ผู้บังคับบัญชา คื อ ผู้ที่ดูแลการทางานและควบคุมบังคับบัญชาที่ใกล้ชิดที่สุดกับบัณฑิตเป็นประจา อย่างน้อยเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งมีจานวนการตอบกลับทั้งสิ้น 157 คน คิดเป็นร้อยละ 88.20 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลสาหรับผู้บังคับบัญชา ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษาสูงสุด หน่วยงาน ตาแหน่งงาน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานร่วมกับบัณฑิต ตอนที่ 2 แบบประเมินสมรรถนะของบัณฑิตสาหรับผู้บังคับบัญชา เป็นแบบประเมิน ในแง่ความจาเป็น ของสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ความเพียงพอของแต่ล ะสมรรถนะที่ได้รับจาก หลักสูตรและนาไปใช้ในการปฏิบัติงาน และสมรรถนะที่บัณฑิตมี แบ่งองค์ประกอบเป็น 5 ด้าน คือ


52

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ด้านความรู้ความสามารถ (4 ข้อ) ด้านการปฏิบัติงาน (3 ข้อ) ด้านความรับผิดชอบ (4 ข้อ) ด้านการ สื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ (5 ข้อ) และด้านบุคลิกภาพและจรรยาบรรณ (3 ข้อ) รวมจานวน 20 ข้อ ผู้ตอบประเมินจากมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับตั้งแต่น้อยที่สุด (1) จนถึงมากที่สุด (5) แปล ความหมายคะแนนการประเมินออกเป็น 5 ระดับโดยใช้การคานวณหาความกว้างของอันตรภาคชั้น ตอนที่ 3 แบบสอบถามลักษณะปลายเปิดที่ให้ผู้บังคับบัญชาแสดงข้อคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะอื่นๆ เพิ่มเติม การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ รวบรวมและตรวจสอบ ความสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนแล้วทาการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบ วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ 2) ข้อมูลการประเมิน สมรรถนะของบัณฑิต สถิติที่ใช้ คือ ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: SD) และค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน (Coefficient of Variation: CV) และ 3) ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม วิเคราะห์โดยการจัดเนื้อหาเป็นหมวดหมู่แล้วนาเสนอในลักษณะ การบรรยายความ ผลการวิจัย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้บังคับบัญชาบัณฑิต ผู้บังคับบัญชาบัณฑิตตอบกลับ 157 คน จาก 178 คน คิดเป็นร้อยละ 88.20 ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 64.97) มีอายุอยู่ในวัยทางานระหว่าง 25-40 ปี (ร้อยละ 75.80) มีการศึกษาระดับปริญญาโทมากที่สุด รองลงมาคือระดับปริญญาเอก/วุฒิบัตร และ ระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 40.76 ร้อยละ 32.47 และร้อยละ 26.76 ตามลาดับ) มีประสบการณ์ในการ ทางานสูง คือ 20 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 58.60) ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมากที่สุด (ร้อยละ 58.60) รองลงมาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ร้อยละ 24.20) และประมาณครึ่งหนึ่งมีระยะเวลา ทางานร่วมกับบัณฑิตเป็นระยะเวลามากกว่า 6 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 47.77) (ตารางที่ 1) แสดงว่าเป็นผู้ที่มี ระยะเวลาในการรู้จักและประเมินสมรรถนะของบัณฑิตได้อย่างเพียงพอและข้อมูลที่ได้มีความน่าเชื่อถือ ส่วนที่ 2 การประเมินสมรรถนะของบัณฑิต กาหนดสมรรถนะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ โดย แบ่งองค์ประกอบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้ ความสามารถ 2) ด้านการปฏิบัติงาน 3) ด้านความรับผิดชอบ 4) ด้านการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ และ 5) ด้านบุคลิกภาพและจรรยาบรรณ ให้ผู้บังคับบัญชาประเมินความจาเป็นของสมรรถนะในการ ปฏิบัติงาน ความเพียงพอของแต่ละสมรรถนะที่ได้รับจากหลักสูตรและนาไปใช้ในการปฏิบัติงาน และ สมรรถนะที่บัณฑิตมี แล้วทาการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตที่ ปฏิบัติงานในตาแหน่งนั กจิตวิทยา (ตารางที่ 2) และกลุ่ มผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตที่ปฏิบัติงานใน ตาแหน่งอื่นๆ (ตารางที่ 3) ผลการวิเคราะห์ พบว่าผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตทั้งที่ปฏิบัติงานในตาแหน่ง นักจิตวิทยาและในตาแหน่งอื่นๆ ประเมินในภาพรวมต่อสมรรถนะของบัณฑิตอยู่ในระดับมาก (Mจิตวิทยา= 4.11, SD = 0.76, CV = 18.55 และ Mตาแหน่งอื่นๆ = 4.15, SD = 0.80, CV = 19.30) และเมื่อพิจารณา ภาพรวมของการกระจายข้อมูล พบว่ามีการกระจายอยู่ในช่วงปกติสะท้อนให้เห็ นว่าผลการวิเคราะห์ ข้อมูลมีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับยอมรับได้


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

53

เมื่อพิจารณาแยกเป็นแต่ละสมรรถนะของบัณฑิตในตาแหน่งนักจิตวิทยาพบว่าผู้บังคับบัญชา ประเมินให้สมรรถนะด้านบุคลิกภาพและจรรยาบรรณอยู่ในระดับสูงมากที่สุด (Mจิตวิทยา= 4.21, SD = 0.82, CV = 19.61) ในขณะทีส่ มรรถนะด้านอื่นๆ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายสมรรถนะย่อย พบว่าผู้ บั งคับ บั ญชาประเมิน ให้ ในระดับมากที่สุ ดต่อสมรรถนะย่อยๆ ได้แก่ ความรู้ตรงกับงานที่ รับผิดชอบ, ความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่, การยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ , การมีน้าใจและ ช่วยเหลือผู้อื่น, การครองตนที่เหมาะสม และการมีวินัย สอดคล้องกันกับผลการประเมินจากผู้บังคับบัญชาที่มีต่อสมรรถนะของบัณฑิตที่ปฏิบัติงานใน ตาแหน่งอื่นๆ ที่พบว่าอยู่ในระดับสูงมากที่สุดในสมรรถนะด้านบุคลิกภาพและจรรยาบรรณ (Mตาแหน่งอื่นๆ = 4.36, SD = 0.78, CV = 17.95) และด้านความรับผิดชอบ (Mตาแหน่งอื่นๆ = 4.33, SD = 0.82, CV = 18.91) เมื่อพิจารณาในรายสมรรถนะย่อย พบว่าผู้บังคับบัญชาประเมินให้ในระดับมากที่สุดต่อสมรรถนะ ย่อยๆ ได้แก่ การมีน้าใจและช่วยเหลือผู้อื่น, ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ, ความ รับผิดชอบต่องานในหน้าที่, การยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ, การครองตนที่เหมาะสม, การมีวินัย, การทุ่ มเทในการปฏิ บั ติ งาน และการตรงต่ อเวลา อย่ างไรก็ ตามเมื่ อพิ จารณาถึ งสมรรถนะย่ อยที่ ผู้บังคับบัญชาประเมินให้คะแนนน้อยกว่าสมรรถนะย่อยอื่นๆ ของบัณฑิตที่ปฏิบัติในตาแหน่งอื่นๆ นั่น คือ การมีความรู้ตรงกับงานที่รับผิดชอบ (Mตาแหน่งอื่นๆ = 4.56, SD = 0.92, CV = 25.84) เมื่อดูการ กระจายข้อมูลพบว่ามีการกระจายค่อนข้างมากแสดงให้เห็นว่าผู้บังคับบัญชาแต่ละคนมีมุมมองที่แตกต่าง กันออกไปค่อนข้างมาก ซึ่งในประเด็นสมรรถนะย่อยนี้แตกต่างจากการประเมินจากผู้บังคับบัญชาที่มีต่อ บัณฑิตที่ปฏิบัติงานในตาแหน่งนั กจิตวิทยาที่ประเมินออกมาในระดับมากที่สุดและเป็นไปในทิศทาง เดียวกัน เนื่องจากข้อมูลกระจายตัวน้อย (Mจิตวิทยา= 4.34, SD = 0.55, CV = 12.67) จากผลการวิเคราะห์ดังกล่าวพอที่จะสะท้อนให้เห็นว่าทางหลักสูตรสามารถผลิตบัณฑิตได้ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อผลผลิตของหลักสูตร ทั้ง บัณฑิตที่ปฏิบัติงานในตาแหน่งนักจิตวิทยาและตาแหน่งอื่นๆ อย่างไรก็ตามแม้ว่าหลักสูตรจะสามารถ ผลิ ตบั ณฑิตให้ มีส มรรถนะที่เพีย งพอต่อความต้องการดังกล่าวแล้ ว แต่กลุ่ มผู้ ให้ ข้อมูล ยังได้เ สนอ ข้อเสนอแนะสาหรับการบริหารจัดการหลักสูตรดังต่อไปนี้ ด้านความรู้ความสามารถ เสนอว่าควรเน้นการฝึกปฏิบัติในการบาบัดทางจิตวิทยาคลินิก ด้วยเทคนิคต่างๆ ทั้งแบบกลุ่มและเดี่ยว รวมถึงการบาบัดทางเลือกรูปแบบต่างๆ และเพิ่มทักษะการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และควรเพิ่มทักษะและประสบการณ์การให้คาปรึกษาในสถานการณ์ต่างๆ หรือเฉพาะเจาะจงกลุ่มโรค นอกจากนี้ผู้บังคับบัญชาได้เสนอว่าควรเพิ่มเติมในส่วนการประยุกต์ความรู้ ทางจิตวิทยาคลินิกสู่การทางานชุมชน การปูองกัน และการทางานเชิงรุกเพื่อให้สอดคล้องกับเพื่อน ร่ว มงาน รวมถึงควรเพิ่มเติมในส่ ว นการสร้างและพัฒ นาเครื่องมือทางจิตวิทยา การทดสอบทาง จิตวิทยา และการแปลผลการทดสอบทางจิตวิทยา ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน ผู้บังคับบัญชาเสนอว่าควรฝึกทักษะการทางานเป็นทีมสห วิชาชีพ ให้มีส่วนร่วมมากขึ้นและแสดงบทบาทนักจิตวิทยาอย่างชัดเจน ด้านบุคลิกภาพและจรรยาบรรณ ผู้บังคับบัญชาเสนอว่าควรเตรียมความพร้อมในเรื่องการ ทางานร่วมกับผู้อื่น เน้นบุคลิกภาพและจรรยาบรรณเชิงประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และเน้นให้ นักศึกษากล้าแสดงความคิดใหม่ๆ กล้าคิด และกล้าตัดสินใจ ควรจัดบรรยากาศแห่งการอภิปราย


54

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

จากการศึกษาเรื่องสมรรถนะของบัณฑิตข้างต้น จะเห็นได้ว่าบัณฑิตมีสมรรถนะโดยรวมอยู่ใน ระดับมากและผู้ใช้บัณฑิตพึงพอใจต่อสมรรถนะของบัณฑิต อย่างไรก็การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษา สมรรถนะจากมุมมองจากผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตเพียงอย่างเดียว ดังนั้นควรมีการศึกษาเพิ่มเติมจาก ผลการประเมินตัวเองและจากเพื่อนร่วมงานประกอบกัน อันจะทาให้ได้ข้อมูลที่มีความครอบคลุม ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ตารางที่ 1 จานวนและร้อยละของลักษณะส่วนบุคคลของผู้บังคับบัญชา ตัวแปร เพศ อายุ

ระดับการศึกษาสูงสุดใน ปัจจุบนั ประสบการณ์ในการทางาน หน่วยงานที่สังกัด

ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ร่วมกับบัณฑิต

ชาย หญิง ต่ากว่า 25 ปี 25-30 ปี 31-40 ปี มากกว่า 40 ปี ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก/วุฒิบัตร 5-10 ปี 11-20 ปี 20 ปีขึ้นไป กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กรุงเทพมหานคร อื่นๆ ได้แก่ มูลนิธิห่วงใย เยาวชน(1), โรงพยาบาล เอกชน(1), บริษัทเอกชน(3) 1 ปี - 5 ปี 6 ปี - 10 ปี 10 ปีขึ้นไป

จานวน 55 102 6 62 57 32 42 64 51 11 54 92 38 92 4 4 11 3 5

ร้อยละ 35.03 64.97 3.82 39.49 36.31 20.38 26.76 40.76 32.47 7.01 34.39 58.60 24.20 58.60 2.55 2.55 7.01 1.91 3.18

82 56 19

52.23 35.67 12.10


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

55

ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์ความแปรผันของคะแนนจากการ ประเมินของผู้บังคับบัญชาต่อสมรรถนะของบัณฑิตที่ปฏิบัติงานในตาแหน่งจิตวิทยา สมรรถนะของบัณฑิต ด้านความรู้ความสามารถ 1. ความรูต้ รงกับงานที่รับผิดชอบ 2. ความสามารถในการใช้ความรูม้ าแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดจากการปฏิบัติงาน 3. ความสามารถในการเรียนรู้งานใหม่ๆเพื่อลงมือปฏิบัติ 4. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบตั ิงาน ด้านการปฏิบัติงาน 5. ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 6. คุณภาพของผลงานที่ปฏิบัติ 7. การทางานร่วมเป็นทีมสหวิชาชีพในหน่วยงาน ด้านความรับผิดชอบ 8. ความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ 9. ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ 10. ความทุ่มเทในการปฏิบัติงาน 11. ความกระตือรือร้น สนใจศึกษาหาความรู้ ด้านการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ 12. การชี้แจงหรือแสดงความคิดเห็นมีการนาความรู้ทฤษฎีมาใช้ประกอบ 13. การแสดงความคิดเห็นมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ 14. ความคิดเห็นที่เสนอเป็นประโยชน์ในที่ประชุม 15. ความสามารถในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่น 16. การมีน้าใจและช่วยเหลือผู้อื่น ด้านบุคลิกภาพและจรรยาบรรณ 17. การครองตนที่เหมาะสม 18. การมีวินัย 19. การตรงต่อเวลา 20. การยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ ภาพรวมสมรรถนะบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาคลินกิ

Mean

SD

CV*

4.09 4.34 3.88 3.97 4.16 4.17 4.19 4.19 4.13 4.10 4.34 4.16 4.03 3.88 4.01 3.88 3.97 3.88 4.09 4.25 4.21 4.25 4.25 4.00 4.34 4.11

0.70 0.55 0.75 0.74 0.77 0.77 0.78 0.78 0.75 0.82 0.83 0.85 0.90 0.71 0.69 0.71 0.53 0.71 0.69 0.80 0.82 0.72 0.80 0.98 0.79 0.76

17.28 12.67 19.32 18.63 18.50 18.45 18.61 18.61 18.15 20.22 19.12 20.43 22.33 18.99 17.43 18.29 14.86 18.29 16.87 18.82 19.61 16.94 18.82 24.50 18.20 18.55

ระดับ การประเมิน มาก มากที่สุด มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มากที่สุด มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มากที่สุด มากที่สุด มากที่สุด มากที่สุด มาก มากที่สุด มาก

* ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน (CV) เป็นการกระจายของคาตอบ หากน้อยกว่า 15 กระจายในช่วงแคบ, 15 - 20 การกระจายในช่วงปกติ และมากกว่า 20 กระจาย ในช่วงกว้าง


56

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์ความแปรผันของคะแนนจากการ ประเมินของผู้บังคับบัญชาต่อสมรรถนะของบัณฑิตที่ปฏิบัติงานในตาแหน่งอื่นๆ สมรรถนะของบัณฑิต ด้านความรู้ความสามารถ 1. ความรู้ตรงกับงานที่รับผิดชอบ 2. ความสามารถในการใช้ความรูม้ าแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดจากการปฏิบัติงาน 3. ความสามารถในการเรียนรู้งานใหม่ๆเพื่อลงมือปฏิบัติ 4. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบตั ิงาน ด้านการปฏิบัติงาน 5. ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 6. คุณภาพของผลงานที่ปฏิบัติ 7. การทางานร่วมเป็นทีมสหวิชาชีพในหน่วยงาน ด้านความรับผิดชอบ 8. ความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ 9. ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ 10. ความทุ่มเทในการปฏิบัติงาน 11. ความกระตือรือร้น สนใจศึกษาหาความรู้ ด้านการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ 12. การชี้แจงหรือแสดงความคิดเห็นมีการนาความรู้ทฤษฎีมาใช้ประกอบ 13. การแสดงความคิดเห็นมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ 14. ความคิดเห็นที่เสนอเป็นประโยชน์ในที่ประชุม 15. ความสามารถในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่น 16. การมีน้าใจและช่วยเหลือผู้อื่น ด้านบุคลิกภาพและจรรยาบรรณ 17. การครองตนที่เหมาะสม 18. การมีวินัย 19. การตรงต่อเวลา 20. การยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ ภาพรวมสมรรถนะบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาคลินกิ

Mean

SD

CV*

3.9 3.56 3.92 4.16 3.96 4.07 4.16 4.04 4.00 4.33 4.40 4.44 4.36 4.12 4.09 3.83 4.04 3.92 4.16 4.48 4.36 4.36 4.36 4.32 4.40 4.15

0.85 0.92 0.81 0.80 0.89 0.77 0.75 0.68 0.87 0.82 0.82 0.82 0.76 0.87 0.76 0.87 0.73 0.86 0.69 0.65 0.78 0.81 0.76 0.85 0.71 0.80

22.05 25.84 20.66 19.23 22.47 18.87 18.02 16.83 21.75 18.91 18.63 18.46 17.43 21.11 18.76 22.71 18.06 21.93 16.58 14.50 17.95 18.57 17.43 19.67 16.13 19.30

ระดับ การประเมิน มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มากที่สุด มากที่สุด มากที่สุด มากที่สุด มาก มาก มาก มาก มาก มาก มากที่สุด มากที่สุด มากที่สุด มากที่สุด มากที่สุด มากที่สุด มาก

* ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน (CV) เป็นการกระจายของคาตอบ หากน้อยกว่า 15 กระจายในช่วงแคบ, 15 - 20 การกระจายในช่วงปกติ และมากกว่า 20 กระจาย ในช่วงกว้าง อภิปรายผล การศึกษานี้กาหนดสมรรถนะของบัณฑิตที่พึงประสงค์จากการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของ หลักสูตรแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน ด้านความ รับผิดชอบ ด้านการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ และด้านบุคลิกภาพและจรรยาบรรณ ทาการวัดโดยให้


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

57

ผู้บังคับบัญชาบัณฑิตประเมินความจาเป็นของสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ความเพียงพอของแต่ละ สมรรถนะที่ได้รับจากหลั กสูตรและนาไปใช้ในการปฏิบัติงาน และสมรรถนะที่บัณฑิตมี โดยแบ่ง วิเคราะห์ข้อมูลเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้บังคับบัญชาของกลุ่มบัณฑิตที่ปฏิบั ติงานในตาแหน่งนักจิตวิทยา และผู้บังคับบัญชาของกลุ่มบัณฑิตที่ปฏิบัติงานในตาแหน่งอื่นๆ การประเมินบริบทนี้มุ่งศึกษาถึงวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โดยผู้บังคับบัญชาบัณฑิตเห็นว่า สมรรถนะที่หลักสูตรจัดให้และหล่อหลอมมีความจาเป็นในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากและมาก ที่ สุ ด แสดงให้ เ ห็ น ว่ า วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องหลั ก สู ต รได้ ก าหนดสมรรถนะที่ ส ามารถน าไปใช้ ใ นการ ปฏิบัติงานได้จริง ยังทรงคุณค่าและสามารถนาวัตถุประสงค์มาใช้ในการผลิตบัณฑิตได้อยู่ โดยเฉพาะ บัณฑิตที่ปฏิบัติงานในตาแหน่งนักจิตวิทยาคลินิก ที่ส่วนใหญ่เห็นว่ามีความรู้ความสามารถตรงกั บงาน ที่ปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยวัตถุประสงค์ของหลักสูตรคือเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านสุขภาพจิตให้ มีความสามารถและมีมาตรฐาน ซึ่งถือได้ว่าสอดคล้องกับค่านิยมหลัก กล่าวคือ วิชาชีพนักจิตวิทยา คลินิกมีความสาคัญต่องานทางสุขภาพจิต ต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน มีความรับผิดชอบ และเกี่ยวข้องกับบุคคล รวมทั้งเสริมสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตแก่คนในสังคม ไม่เพียงแต่บัณฑิตที่ปฏิบัติงานในตาแหน่งนักจิตวิทยาเท่านั้น ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตที่ ปฏิบัติงานในตาแหน่งอื่นๆ ก็เห็นว่าสมรรถนะที่ได้จากหลักสูตรมีความจาเป็นและเหมาะสมอยู่ ใน ระดับมากเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะสมรรถนะด้านบุคลิกภาพและจรรยาบรรณ และความรับผิดชอบที่ อยู่ในระดับที่สูงมากที่สุด แสดงให้เห็นว่าวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความเหมาะสมกับบัณฑิตในการ ปฏิ บั ติ ง านสาขาอื่ น ๆ ด้ ว ย ไม่ ว่ า จะเป็ น อาจารย์ ม หาวิ ท ยาลั ย พยาบาล พนั ก งานคุ ม ประพฤติ นักวิทยาศาสตร์ประจากองพิสูจน์หลักฐาน รวมถึงบุคลากรในบริษัทเอกชน จากการที่ผู้บังคับบัญชาเห็นว่าบัณฑิตมีสมรรถนะโดยรวมอยู่ในระดับมาก สะท้อนให้เห็นถึงการ บริ หารจั ดการหลั กสูตรที่มีความเหมาะสม สามารถผลิ ตบัณฑิตได้ตามวัตถุประสงค์ของหลั กสู ตร ซึ่ง สอดคล้องกับการศึกษาของสุชีรา ภัทรายุตวรรตน์และคณะที่ประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก ในส่วนปัจจัยด้านกระบวนการผลิต พบว่า กระบวนการบริหารมีความเหมาะสม ในระดับมาก (สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์ และกนกรัตน์ สุขะตุงคะ, มปป.) โดยบัณฑิตที่ปฏิบัติงานในตาแหน่ง นักจิตวิทยามีสมรรถนะส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก และมีด้านการยึดมั่นจรรยาบรรณอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับการศึกษาของสุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, กนกรัตน์ สุขะตุงคะ, จริยา จันตระ, กีรติ บรรณกุล โรจน์, และสร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์ (2546) ที่ทาการพัฒนาแบบประเมินตนเองตามบทบาทนักจิตวิทยา คลินิกไทย และนักศึกษาปริญญาโทจิตวิทยาคลินิก รุ่นที่ 17 (2546) ที่ศึกษาการรับรู้การปฏิบัติงานตาม บทบาทนักจิตวิทยาคลินิกไทย พบว่านักจิตวิทยาคลินิกรับรู้ว่าสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามเกณฑ์มาตรฐาน วิ ช าชี พในด้ านจรรยาบรรณอยู่ ในระดั บ มากที่ สุ ด อย่ า งไรก็ ต ามเมื่ อพิ จ ารณาข้ อ เสนอแนะของ ผู้ บั งคั บบั ญชาหรื อผู้ ใช้ บั ณฑิ ต พบว่ าบางรายเสนอว่ าควรส่ งเสริ มให้ บั ณฑิ ตกล้ าแสดงความคิ ดเห็ น อภิ ปรายความคิ ด มี ความมั่ นใจที่ จะร่ วมท างานกั บที มสหวิ ชาชี พให้ มากขึ้ นเนื่ องจากมี ความรู้ และ ความสามารถดี ดังนั้นหลักสูตรควรเน้นถึงวิธีการในการหล่อหลอมบุคลิกภาพหรือทักษะในการส่วนนี้ให้ เหมาะสมมากขึ้น เช่น ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (active learning) ให้มากขึ้น เน้นให้เกิด การมีส่วนร่วม นาเสนอ การทางานเป็นกลุ่ม และอภิปรายความคิดร่วมกับผู้อื่นในมากขึ้น นอกจากนี้ยัง พบว่าผู้บังคับบัญชาได้เสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะด้านความรู้ความสามารถบางด้านที่บัณฑิตที่ปฏิบัติงาน


58

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

พึงมีเพิ่มเติม ได้แก่ การบาบัดทางเลือก หรือการบาบัดกลุ่มโรคที่เฉพาะเจาะจงด้วยเทคนิคเฉพาะ หรือ ควรเพิ่มการประยุกต์ความรู้ทางคลินิกที่มีอยู่ไปสู่การทางานชุมชน การปูองกัน การวิจัย และการทางาน เชิงรุกเพื่อให้สอดคล้องกับเพื่อนร่วมงาน ซึ่งในประเด็นนี้ทางหลักสูตรตระหนักและทราบถึงจุดบกพร่อง ดังกล่าวเนื่องจากเนื้อหาเหล่ านี้ มีความหลากหลายซึ่งหลักสู ตรอาจจะจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้ไม่ลึ ก เท่าที่ควร ประกอบกับระยะเวลาเรียนที่จากัด อย่างไรก็ตามหลักสูตรได้นามาเป็นโอกาสในการพัฒนา ดัง จะเห็นได้จากรายวิชาการสัมมนาการศึกษาด้านจิตวิทยาคลินิกและการศึกษาดูงานนอกสถานที่ที่ออกแบบ ให้นักศึกษาผู้เรียนได้เลือกหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจและทันสมัยเอง จาก 3 ปีที่ผ่านมามีหัวข้อที่น่าสนใจ ที่จะช่วยส่งเสริมสมรรนะด้านความรู้ความสามารถ เช่น สติบาบัด เทคนิคการผ่อนคลายความเครียด การ ดูแลผู้ปุวยวาระสุดท้าย จิตวิทยาในการทางาน ทักษะการเจรจาต่อรองในภาวะวิกฤต เทคนิคการวิจัยทาง จิตวิทยาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือวัดทางจิตวิทยาด้วย Item Response Theory เป็นต้น รวมทั้งการศึกษาดูงานด้านชุมชน เช่น วิถีชีวิตชุมชนพุทธ-คริสต์-มุสลิม (กุฏิจีน) องค์กร ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนของคณะภคินีศรีชุมพบาล และโรงพยาบาลตุลาการเฉลิมพระเกียรติ เป็นต้น หรือปลูกฝังให้บัณฑิตเกิดการพัฒนาตนเองและเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learning) ดังจะเห็นได้ จากข้อมูลของบัณฑิตหลังจบการศึกษา บัณฑิตได้เข้าอบรมระยะสั้นหรือดูงานศึกษางานเพิ่มเติมในเนื้อหา ความรู้ที่หลากหลาย เช่น การทดสอบทางจิตวิทยาคลินิก การบาบัดด้วยเทคนิคต่างๆ กระบวนการกลุ่ม ยาเสพติด ภาษาอังกฤษ และสถิติวิจัย นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเพิ่มเติมในระดับปริญญาเอกเพื่ อเพิ่มพูน ความรู้ ในสาขาจิ ตวิทยา เช่น จิ ตวิทยาคลิ นิ ก จิตวิทยาการให้ คาปรึกษา นอกจากนี้ยังมีการวิจัยทาง พฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์อีกด้วย และบัณฑิตบางคนเพิ่มพูนความรู้ระดับปริญญาโทและปริญญา ตรีในสาขาอื่นๆ เช่น นิติศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยรวมผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อการใช้สมรรถนะต่างๆ เหล่านั้นในเกณฑ์ดีทั้งหมด โดย ผู้บังคับบัญชาพึงพอใจต่อบัณฑิตทั้งสองกลุ่มในระดับมากและมากที่สุดทุกรายการ และสอดคล้องกับ บัณฑิตวิทยาลัยที่ได้สารวจความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิตที่ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล ประจาปีการศึกษา 2548 ที่พบว่าผู้บังคับบัญชามีความพึงพอใจ ต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิกเกี่ยวกับการ ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพในระดับมากที่สุด (บัณฑิตวิทยาลัย, 2550) บทสรุป หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก มีปัจจัยด้านบริบทคือวัตถุประสงค์ ของหลักสูตรที่เหมาะสม ประกอบกับมีการบริหารจัดการหลักสูตรที่มีความเหมาะสม ส่งผลให้สามารถ ผลิตบัณฑิตได้ตามเปูาหมาย บัณฑิตมีสมรรถนะโดยรวมอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับความต้องการ ของตลาดกล่าวคือ ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อสมรรถนะของบัณฑิต ซึ่งถือเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้น ไม่เพียงแต่ตาแหน่ งนักจิ ตวิทยาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบัณฑิตที่ปฏิบัติงานในตาแหน่งอื่นๆ แสดงว่า สมรรถนะที่ได้รั บจากหลักสูตรสามารถนามาปฏิบัติงานได้หลายตาแหน่ง เป็นไปได้ว่าสมรรถนะที่ หลักสูตรพัฒนาให้กับบัณฑิตเป็นสมรรถนะหลักซึ่งสามารถนาไปประยุกต์และปรับใช้ในงานตาแหน่งอื่น ทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัย พยาบาล พนักงานคุมประพฤติ นักวิทยาศาสตร์ กองพิสูจน์หลักฐาน ยังรวม พนักงานในบริษัทเอกชน เช่น ผู้จัดการฝุายบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวบัณฑิตเองที่จะนาไปประยุกต์และ ปรับใช้กับงานด้วย


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

59

เอกสารอ้างอิง นักศึกษาปริญญาโทจิตวิทยาคลินิกรุ่นที่ 17 (2546). การรับรู้การปฏิบัติงานตามบทบาทนักจิตวิทยา คลินิกไทย. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 33(2), 15-27. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2550). การสารวจความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้าง ต่ อการปฏิ บั ติ งานของบั ณ ฑิ ตที่ ส าเร็ จการศึ กษาระดั บบั ณ ฑิ ตศึ กษา ทั้ งระดั บปริ ญญาโท ปริญญาเอกและระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ประจาปีการศึกษา 2548 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลั ย มหาวิทยาลัยมหิ ดล. (2550). ระบบพัฒนาและการประกันคุณภาพหลักสูตร บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการสัมมนาประธานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ประจาปี 2550; 18 พ.ค. 2550 ; อาคารบัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล: หลักสูตรวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาคลินิก. (2555). คู่มือนักศึกษาปริญญาโท ประจาปีการศึกษา 2555. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย. สานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ (องค์การมหาชน) สานักนายกรัฐมนตรี. (2546). ระบบ การประกันคุณภาพการศึกษา ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: พิมพ์ด.ี สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, กนกรัตน์ สุขะตุงคะ, จริยา จันตระ, กีรติ บรรณกุลโรจน์, และสร้อยสุดา อิ่ม อรุณรักษ์. (2546). การพัฒนาแบบประเมินตนเองตามบทบาทนักจิตวิทยาคลินิกไทย. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 34(1), 70-87. สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์ , และกนกรัตน์ สุขะตุงคะ. (มปป.) การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาคลินิก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานการวิจัย . กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. ……………………………………………………………………


60

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

การแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณค่าแห่งตนของวัยรุ่นในศตวรรษที่ 21 Guidance for self-esteem development of adolescents in the 21st century มณฑิรา จารุเพ็ง บทคัดย่อ การแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณค่าแห่งตนของวัยรุ่นในศตวรรษที่ 21 มีความสาคัญเกี่ยวข้องกับ การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยครูจะทาหน้าที่เป็นเพียงผู้อานวยความสะดวกในการจัดการ เรียนการสอนและการจัดกิจกรรม แต่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนการสอนและ ให้ผู้เรียนเข้ามามีบทบาทในการกาหนดรูปแบบวิธีการในการดาเนินการจัดกิจกรรมในกระบวนการ เรี ย นรู้ ด้ ว ยตนเอง อี กทั้ งการจั ด การเรี ย นการสอนให้ เกิ ด กระบวนการแห่ ง การเรี ยนรู้ที่ มากกว่ า การศึกษาเฉพาะในชั้นเรียน ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นภายนอกห้องเรียน ควบคู่ไปด้วย โดยใช้บ ริบทของชุมชนและสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริงที่ผู้ เรียนอาศัยอยู่เป็น พื้นฐานในการจัดการเรี ยนรู้ และมีการน าเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีเข้ามาช่ว ยในกระบวนการ จัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ สนุกสนาน และอยาก เรียนรู้ โดยการยึดตามหลักปรัชญาของการแนะแนว คือ การพิจารณาจากความแตกต่างระหว่าง บุคคล ซึ่งการพัฒนาคุณค่าแห่งตนของวัยรุ่นในศตวรรษที่ 21 จะเน้นให้วัยรุ่นได้ค้นพบศักยภาพแห่ง ตนตามความเป็นจริง เปิดโอกาสและประสบการณ์ให้วัยรุ่นได้แสดงความสามารถตามความถนัดและ ความสนใจ โดยครูแนะแนว พ่อแม่ผู้ปกครอง จะคอยให้กาลังใจและชื่นชมในความสามารถของวัยรุ่น อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ควรให้วัยรุ่นได้มีประสบการณ์ตรงในการพัฒนาคุณค่าแห่งตนด้วย การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ กิจกรรมการประกวด การแข่งขัน การออกค่ายอาสา กิจกรรมบาเพ็ญ ประโยชน์ ซึ่งเทคนิคที่นามาใช้ในการพัฒนาคุณค่าแห่งตนของวัยรุ่น ได้แก่ การจัดกิจกรรมกลุ่ม การ จัดประสบการณ์ตรง และการนาเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการพัฒนา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจาภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

61

Abstract Guidance for self-esteem development of adolescents in the 21st century involves the contemporary learning management where a teacher, as a classroom and activity facilitator, works with students who are put at the center of the learning experience. Students are encouraged to be more participative and establish their own learning activities as a part of the learning process. The approach aims to provide out-ofclassroom learning such as real-life experiences where the students’ actual surrounding context such as community and environment are used as the basis of the learning management. Additional tools and technologies are incorporated to the instruction management process to help diversify the teaching methods in order to stimulate students’ interest, enjoyment and eagerness to learn. By following the principle of guidance, individual differences are factored and considered. The self-esteem development of adolescent in the 21st century focuses on the individual’s search for his/her own potential. Based on practicality, such approach to self-exploration offers opportunities for adolescents to express the abilities that truly derive from their expertise and interest. The role of guidance teacher and parents is to appropriately support and compliment their competence. Adolescents should also be able to have direct experience in self-esteem development through participation in different activities such as competitions, races, volunteer or community service activities. The techniques employed in the development of the adolescents’ self-esteem are group activity, direct experiences and incorporation of technologies in the development process. บทนาและความเป็นมา การแนะแนวในศตวรรษที่ 21 มี ก ารเปลี่ ย นแปลงไปเพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ สภาพการณ์ เปลี่ ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ซึ่งในยุคนี้ประชากรของโลกถูกหลอมรวมกลายเป็น สั งคมเดียว ด้ วยกระบวนการอันเกิ ดจากอิ ทธิพลของความร่ วมมื อทางเศรษฐกิ จ เทคโนโลยี สั งคม วั ฒ นธรรม และการเมื อง โดยมี จุ ดมุ่ งหมายเพื่ อความเป็ นหนึ่ งทางด้ านเศรษฐกิ จและการเมื อ ง กระบวนการทางเทคโนโลยีต่าง ๆ จึงถูกนามาใช้เพื่อให้เกิดการรับส่งข้อมูลข่าวสารเป็นไปด้วยความ รวดเร็ว จนทั่วโลกเข้าสู่ยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน ประชากรสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทุกสถานที่ไม่ ว่าจะอยู่ในมุมไหนของโลก การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผล กระทบโดยตรงต่อวิถีการดาเนินชีวิตของประชากรทั่วโลก เกิดการหลั่งไหลของวัฒนธรรมข้ามชาติ ที่ทา ให้ประชากรในแต่ละประเทศต้องปรับตัวให้รู้เท่าทันกับ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ประเทศไทยก็เป็น ประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วทาให้ประชากรของประเทศเกิดการตื่นตัว


62

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

และต้องเรียนรู้วิธีการปรับตัวเพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 เพื่อมิให้เกิดปัญหาต่อการดาเนินชีวิต ซึ่งหากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของสังคม โลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้ อาจจะส่งผลกระทบต่อวิถีการดาเนินชีวิต การเข้าสังคม และอาจรวมไปถึง การเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิต โดยเฉพาะวัยเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ หากได้รับข้อมูล ข่าวสารอย่างไม่ถูกต้องอาจนาไปสู่การเกิดปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตจนเกิดผลกระทบเป็นปัญหาสังคมตามมา (สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2552: 3-5; สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2553: 2-5; สานักส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน. 2559: ออนไลน์) ดังนั้น เพื่อให้เยาวชนในช่วงวัยรุ่นมีคุณลักษณะที่เหมาะสมต่อการดารงชีพและการปรับตัวให้ เข้ากับศตวรรษที่ 21 จึงจ าเป็นที่จะค้นพบตัวตนที่แท้จริงโดยเฉพาะการเห็นคุณค่าแห่งตน ซึ่งเป็น ความรู้สึกนึกคิดที่บุคคลมีต่อตัวเอง รัก นับถือตนเอง ทาให้มีความมัน่ ใจในการกระทาสิ่งต่างๆ หากขาด การเห็นคุณค่าแห่งตนจะเกิดความคับข้องใจในการดาเนินชีวิต ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าคิด และไม่กล้าลงมือทา จึงทาให้ไม่ สามารถที่จะนาศักยภาพของตนเองออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่าง สูงสุด และไม่สามารถที่จะพัฒนาแนวทางการดาเนินชีวิตให้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ตนได้ตั้งเปูาหมายไว้ ได้การพัฒนาคุณลักษณะการเห็นคุณค่าแห่งตนจึงมีความจาเป็นเพื่อให้วัยรุ่นสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และเป็นการเตรียมความพร้อมสาหรับการอยู่ในสังคมแห่ง ศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีความสุข ด้วยการนา องค์ความรู้ทางด้านการแนะแนวเข้ามาพัฒนาคุณค่าแห่ง ตนของวัยรุ่น การศึกษาในศตวรรษที่ 21 มุ่งให้ความสาคัญใน 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน (Student outcomes) และส่วนที่ 2 ระบบสนับสนุนการจัดการศึกษา (Support system) (พีระ พนา สุภน. 2559: ออนไลน์; สานักส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน. 2559: ออนไลน์; สานักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. 2559: ออนไลน์) โดยมีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน (Student outcomes) มุ่งเปูาหมายไปที่ผู้เรียนโดยให้ผู้เรียน นาความรู้จากสาระวิชาหลักใน 9 รายวิชา (สาระวิชาหลักประกอบด้วย ภาษาอังกฤษ ภาษาสากล ศิลปะ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การปกครองและสิทธิหน้าที่พลเมือง ซึ่งการจัดการเรียนรู้ในสาระหลักทั้ง 9 รายวิชาจะต้องเกิดเป็นสมรรถนะ 3 ประการ หรือ 3 Rs คือ 1) รู้ อ่านเขียน คือ การเข้าใจความหมายของเรื่องราวต่างๆ และสามารถสื่อสารไปยังผู้อื่นได้ถูกต้องเหมาะสม 2) รู้คณิต คือ ความสามารถในการตีความหมายและเข้าใจสื่อสารออกมาในรูปคณิตศาสตร์ได้ และ 3) รู้ ICT คือ เข้าใจและสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ และคุณลักษณะที่จาเป็นใน 5 คุณลักษณะ (คุณลักษณะที่จาเป็นและต้องจัดไว้ในทุกสาระวิชา คือ 1) ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโลก 2) ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ 3) ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี 4) ความรู้ ด้านสุ ขภาพ และ 5) ความรู้ ด้านสิ่ งแวดล้ อม) ความรู้จาก 9 สาระวิชาหลั กประกอบด้วย คุณลักษณะทั้ง 5 ประการ จะต้องนาไปบูรณาการและสั่งสมประสบการณ์เพื่อให้เกิดเป็นทักษะ 3 ทักษะ ที่จาเป็นต่อการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 คือ 2. ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and innovation skill) เป็นการกาหนด ความพร้อมของผู้เรียนในการเข้าสู่การทางานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วยความสามารถ ในการปฏิบัติ 4 ทักษะ หรือ 4Cs หรือ 4 การ ได้แก่


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

63

1) การคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical thinking) คือ การรู้จักใช้เหตุผลในการทา ความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ และสามารถเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆ ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล แล้วสามารถนามาใช้ในการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจจากทางเลือกที่หลากหลาย 2) การสื่อสาร (Communication) คือ ความสามารถในการสื่อสารเพื่อให้บรรลุ จุดมุ่งหมาย โดยสามารถแสดงออกซึ่งความคิดเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งการพูดและการเขียน สามารถ เลือกใช้เทคโนโลยีและวิธีการทางจิตวิทยาในการสื่อสารให้ประสบความสาเร็จตรงตามเปูาหมาย 3) การทางานร่วมกัน (Collaboration) คือ ความสามารถในการทางานร่วมกับผู้อื่น และความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น เพื่อให้การทางานบรรลุเปูาหมายได้ 4) การสร้ า งสรรค์ (Creativity) คื อ การใช้ ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ ใ นการท างาน สามารถพัฒนา แนวความคิดใหม่ๆ อยู่เสมอ และเปิดรับมุมมองที่แตกต่าง 2. ทักษะด้า นข้อ มูล สารสนเทศ สื่ อ และเทคโนโลยี (Information, media and technology skills) เป็นความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารแล้วนามาปรับใช้ในการดาเนิน ชีวิตได้ประกอบด้วยความสามารถในการปฏิบัติ 3 ด้าน คือ 1) การรู้เท่าทันสารสนเทศ (Information literacy) คือ ความสามารถในการ ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับว่าเป็นข้อมูลเพียงความคิดเห็นหรือเป็นข้อมูลที่เ ป็น ข้อเท็จจริง แล้วเลือกที่จะนาไปใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ 2) การรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy) คือ ความสามารถในการเลือกรับข้อมูล ข่าวสาร โดยผ่านสื่อต่างๆ แล้วนามาวิเคราะห์ได้ว่าสื่อต้องการสื่อสารโดยมีวัตถุประสงค์ใด ค้นหา แหล่งอ้างอิงได้ และสามารถเลือกผลิตสื่อเพื่อนามาใช้ในการทางานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่ขัดต่อ กฎหมายและจริยธรรม 3) การรู้เท่าทันเทคโนโลยี (Information and communications technology literacy) คือ ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ได้อย่างเหมาะสมพอเพียง ไม่เกิดความ ฟุ​ุมเฟือย ซึ่งถ้าขาดความเท่าทันการใช้เทคโนโลยีจะกลายเป็นผู้ซื้อ แต่ไม่อยากจะเรียนรู้การเป็นผู้ผลิต ทาให้สูญเสียงบประมาณและขาดสมดุลทางเศรษฐกิจ จึงควรเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับความ ต้องการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้มากกว่าใช้เพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว โดยคานึงถึงหลักกฎหมายและ จริยธรรม 3. ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ (Life and career skills) เป็นความสามารถในการทางาน และการดาเนินชีวิตในยุคของการแข่งขัน เพื่อให้ประสบความสาเร็จและมีความสุขในโลกแห่งการ เปลี่ยนแปลง ประกอบด้วยความสามารถใน 4 ด้าน คือ 1) ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว (Flexibility and adaptability) เป็ นความสามารถในการปรั บ ตัว ให้ เข้า กับบทบาทและหน้าที่ความรั บผิ ดชอบที่แตกต่างกัน และ สามารถทางานภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ สามารถนาความเห็นและความเชื่อที่แตกต่างมา ทาความเข้าใจ ต่อรอง สร้างดุลยภาพ และทาให้งานลุล่วง 2) การริเริ่มและการกากับดูแลตัวเอง (Initiative and self-direction) เป็น ความสามารถในการพัฒนาตนเองเพื่อยกระดับความรู้ความชานาญ การมองเห็นโอกาสในการเรียนรู้


64

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

สิ่งใหม่ การทบทวนประสบการณ์ในอดีตเพื่อคิดหาทางพัฒนาในอนาคต และการวางเปูาหมายในการ จัดการภาระงานให้สาเร็จได้ด้วยตนเอง 3) ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม (Social and cross-cultural skills) เป็ น การปรั บ ตั ว เพื่ อ การท างานและด ารงชี วิ ต ให้ อ ยู่ ภ ายใต้ สั ง คมวั ฒ นธรรมที่ มี ค วามแตกต่ า ง หลากหลาย โดยสามารถมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นได้ดี ให้เคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพื่อ ยกระดับการทางานบน ความแตกต่างด้วยวิธีการ แนวคิด และวิธีการทางานเพื่อให้งานมีคุณภาพ 4) การเป็ น ผู้ สร้ างผลงานและความรั บผิ ดชอบเชื่ อถื อได้ (Productivity and accountability) เป็นความสามารถในการวางแผนกาหนดขั้นตอนในการดาเนินงานได้อย่างถูกต้องมี หลักการ ทฤษฎี แนวคิด ที่นามาอ้างอิงได้ และผลงานที่ทาขึ้นมานั้นจะต้องสร้างสรรค์เป็นประโยชน์ต่อ สังคม หากเกิดข้อผิดพลาดก็พร้อมที่จะรับผิดชอบดาเนินการแก้ไขปรับปรุงในความผิดพลาดนั้น 5) ภาวะผู้นาและความรับผิดชอบ (Leadership and responsibility) เป็น ความสามารถ ในการทางานร่วมกับผู้อื่น โดยสามารถชักจูง โน้มน้าว กระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเห็นความสาคัญของงานเป็นหลัก ในการที่จะดาเนินงานให้ถึงเปูาหมายร่วมกัน สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นได้ใช้ศักยภาพหรือความสามารถ สูงสุด โดยการไม่ถือผลประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง และไม่ใช้อานาจโดยขาดจริยธรรมและคุณธรรม ส่วนที่ 2 ระบบสนับสนุนการจัดการศึกษา (Support system) การสร้างให้ผู้เรียนเกิด คุณลักษณะที่ จาเป็นในศตวรรษที่ 21 จะต้องอาศัยระบบสนับสนุนใน 4 ระบบ คือ 1. ระบบมาตรฐานการเรียนรู้และมาตรฐานการวัดผล (Standards and assessments) มี จุดเน้นที่สาคัญใน 2 ระบบมาตรฐาน คือ 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วยจุดเน้น 4 ประการ คือ 1) มุ่งเน้นทักษะ ความรู้ และความเชี่ยวชาญให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน 2) มุ่งเน้นการสร้างความรู้ในเชิงสหวิทยาการระหว่างวิชาหลัก 3) มุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจในเชิงลึกมากกว่าความรู้ในระดับพื้นฐาน 4) มุ่งเน้นการยกระดับความสามารถของผู้เรียนด้วยการให้ข้อมูลที่เป็นจริง 1.2 มาตรฐานการประเมินผล ประกอบด้วยหลักวิธีการ 4 ประการ คือ 1) การสร้างความสมดุลในการประเมินผล 2) การนาผลการประเมินของผู้เรียนมาพัฒนา 3) การใช้เทคโนโลยีการในการวัดและประเมินผล 4) การประเมินตามสภาพความเป็นจริง 2. ระบบด้านหลักสูตรและวิธีการสอน (Curriculum and instruction) การออกแบบ กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 จะมุ่งเน้นให้ความสาคัญกับผู้เรียนเป็นสาคัญโดย ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้และกาหนดวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้มิใช่การจดจา เนื้อหาวิชาแต่จะเป็นการเรียนรู้ที่ลงมือปฏิบัติ ซึ่งมีครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนด้วยวิธีการบรรยายมา ทาหน้าที่เป็นผู้อานวยความสะดวกให้ผู้เรียนสืบค้น รวบรวมความรู้จากแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ และ สร้างกระบวนการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่ างกลุ่มเพื่อน กลุ่มสังคม เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ที่ เป็นประโยชน์ต่อการดารงชีวิต


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

65

3. ระบบการพัฒนาวิชาชีพให้แก่ครูและผู้บริหาร (Professional development) มุ่งเน้น พัฒนาครูดังนี้ 1) พัฒนาครูให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถเชิงบูรณาการ สามารถทาแผน เชิงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน 2) จัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลาย 3) สร้างครูให้เป็นผู้มีทักษะความสามารถในเชิงลึกในการแก้ปัญหา 4) สร้างครูให้เป็นต้นแบบสาหรับเป็นตัวอย่างในการพัฒนาไปสู่ผู้เรียน 5) สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ระหว่างครูในสาขาวิชาชีพเดียวกัน 6) สร้างให้ครูเป็นผู้ที่มีความสามารถวิเคราะห์ผู้เรียนได้ทั้งรูปแบบการเรียน สติปัญญา จุดอ่อน จุดแข็ง ในตัวผู้เรียน และสามารถวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน 4. ระบบสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ (Learning environments) ควรได้รับการออกแบบ ตามแนวทางดังนี้ 1) จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เหมาะสม โดยการได้รับแรงสนับสนุนจากบุคลากร ทุกฝุาย 2) สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงความรู้หรือแลกเปลี่ยนกับชุมชน 3) สร้างการเรียนรู้จากสิ่งที่ปฏิบัติจากบรรยากาศและบริบทที่เป็นจริง โดยการจัดการ เรียนรู้จากโครงงาน 4) สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าถึงสื่อและเทคโนโลยี เครื่องมือและแหล่งการเรียนรู้ที่มี คุณภาพ 5) ออกแบบระบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมทั้งการเรียนเป็นกลุ่มหรือการเรียนรายบุคคล นาไปสู่การพัฒนาและขยายผลสู่ชุมชนทั้งในรูปแบบการเผชิญหน้าหรือระบบออนไลน์ การแนะแนวในศตวรรษที่ 21 การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 นอกจากจะมุ่งเน้นในสาระรายวิชาหลั กแล้ว กิจกรรม พัฒนาผู้เรียนก็เป็นส่วนสาคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะและมีคุณลักษณะตรงตามเปูาหมายสาหรับ การดารงชีพในศตวรรษที่ 21 ซึ่งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2552-2561) ของการ ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 เป็นการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยเพื่อให้เกิดความสอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 กาหนดให้ มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ กิจกรรมแนะแนว กิ จ กรรมนั ก เรี ย น และกิ จ กรรมเพื่ อ สั ง คม และสาธารณประโยชน์ เป็ น กิ จ กรรมพั ฒ นาความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กิจกรรมแนะแนวจึงเป็นกิจกรรมที่เหมาะสม สาหรับการปลูกฝังเสริมสร้างคุณลักษณะที่จาเป็นต่างๆ ให้กับ ผู้เรียน ด้วยเหตุจากการแนะแนวเป็น กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สารวจตนเอง รู้จักตนเองและผู้อื่น ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ใน การปรั บตัวทั้งด้านอารมณ์และสังคม เกิดทักษะชีวิตที่เหมาะสมตามวัยฝึ กการแก้ปัญหาและการ ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้เป็นอย่างดี (สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2554ก: 3; สานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง. 2559: ออนไลน์)


66

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

การแนะแนวในศตวรรษที่ 21 จึงมีจุดเน้นให้ผู้เรียนรู้จักค้นหาตนเอง ได้ปฏิบัติกิจกรรมนอก สถานที่ เพื่อให้รู้จั กตนเองอย่างแท้จริ ง สามารถตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมกับ ความสามารถและศักยภาพ ของตน โดยมีครูทาหน้าเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดกระบวนการของการพัฒนา และการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรี ยนการสอนในลักษณะของ Active learning คือ วิธีการ ออกแบบการเรียนการสอนที่สะท้อนความต้องการของผู้เรียน และเน้นการนาไปใช้ประโยชน์ในชีวิต จริง มีการประเมินได้อย่างสอดคล้องกับเปูาหมายในการพัฒนาผู้เรียน และมีการสะท้อนผลการปฏิบัติ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการมี ส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน นอกจากนี้ งานแนะแนวจะต้อง ปฏิบัติงานในฐานะผู้นาทางด้านการสนับสนุนผู้เรียนให้เกิดทักษะที่จาเป็นต่อการดารงชีพในศตวรรษที่ 21 โดยต้องเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงานแนะแนวรูปแบบเดิมให้เป็นผู้นาในการสร้างกิจกรรม เป็นผู้ ประสานงานกับเครือข่ายของบุคลากรภายในสถานศึกษาและหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา เพื่อจัด กิจกรรมเสริมสร้างทักษะแทรกไว้ในทุกรายวิชาในสาระหลักของการเรียนรู้ และนาเทคโนโลยีเข้ามา ใช้ในการจัดบริการแนะแนวให้กับผู้เรียนในด้านต่างๆ ทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล การใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศในการนิเทศติดตามผู้เรียนทั้งการแนะแนวทางด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และ ด้านส่วนตัว -สังคม เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบตนเองและค้นพบแนวทางการดาเนินชีวิต โดยสามารถ วางเปูาหมายอนาคตและมองเห็นแนวทางในการประสบความสาเร็จในชีวิตได้ ดังนั้นจุดเปลี่ยนของ งานแนะแนวในสถานศึกษาจากรูปแบบเดิ ม คือ การปฏิบัติงานที่ต้องมีการวางแผนเชื่อมโยงงานแนะ แนวกับทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา การดาเนินงานไม่เน้นเฉพาะการช่วยเหลือ แก้ไข และปูองกันปัญหาให้ผู้เรียน แต่ต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่จาเป็นในการดารงชีวิต เกิดการ วางแผน และดาเนินชีวิตไปตามเปูาหมายที่วางไว้ได้อย่างสาเร็จ และสร้างเครือข่ายขององค์กรวิชาชีพ งานแนะแนวร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับงาน แนะแนวของแต่ละสถานศึกษาให้เป็ นระบบเดียวกัน (ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ระยอง. 2559: ออนไลน์; Noddings. 2013: 9-11; McCarty, Wallin & Boggan. 2014: 3; Mcmahon. 2016: Online; Stone & Dahir. 2016: 11-20) จากรูปแบบการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 จึงทาให้การแนะแนวในศตวรรษที่ 21 จะต้อง มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมโลกที่ เปลี่ยนไปดังที่ได้กล่าว มาแล้ ว ข้ า งต้ น ดั ง นั้ น การแนะแนวในศตวรรษที่ 21 จึ ง หมายถึ ง กระบวนการในการน าวิ ธี การ เครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีเข้ามาให้ความช่วยเหลือบุคคลทั้งในด้านการศึกษา อาชีพ และส่วนตัว-สังคม เพื่อให้บุคคลเกิดความเข้าใจในตนเอง สามารถวางแผนการดาเนิน ชีวิต ตัดสิ นใจ และแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือ บุ คคลกับหน่ วยงาน แล้ วสามารถน าทักษะประสบการณ์ที่ได้มาปรับใช้ ให้ เหมาะสมกับตนเอง โดย สามารถด าเนิ น ชี วิ ต ภายใต้ ก ารเปลี่ ย นแปลงได้ อ ย่ า งเป็ น ปกติ สุ ข และรู้ เ ท่ า ทั น สถานการณ์ โ ลก (Noddings. 2013: 9-11; Mcmahon. 2016: Online; Stone & Dahir. 2016: 11-20) ลักษณะการจัดบริการแนะแนวในศตวรรษที่ 21 จากแนวทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ดาเนิ นการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) เพื่อให้ เ กิดความสอดคล้ องกั บการเปลี่ ยนแปลงของโลกในปัจ จุบัน ดัง นั้น การจั ด กิจกรรมแนะแนวซึ่งเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนกิจกรรมหนึ่ง จึงควรมีแนวทางในการดาเนินงานแนะ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

67

แนวในรูปแบบดังนี้ (สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2553: 2; สานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน. 2555: 54, 61-62; Noddings. 2013: 9-11; Agbajor, Asamaigo & Anigala. 2014: 1; Mcmahon. 2016: Online; Stone & Dahir. 2016: 11-20) 1. การออกแบบจัดกิจกรรมแนะแนวจะต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะและประสบการณ์ใน การเรียนรู้สาหรับการดารงชีวิตตามแนวทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยส่งเสริมตามความ ถนัด ความสนใจ และศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล มีการจัดตารางการดาเนินการสอนแต่ละ ชั่วโมงในสัดส่วนที่เหมาะสมกับวัยและระดับการศึกษาอย่างชัดเจน มีครูแนะแนวเป็นผู้รับผิดชอบการ วางแผนการดาเนินงานแนะแนวโดยตรง 2. การจัดกิจกรรมแนะแนวจะต้องเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตที่อยู่ในสภาพตามความเป็นจริงของ ผู้เรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม โดยคานึงถึงบริบทของโรงเรียน ท้องถิ่น และชุมชน เน้นการปฏิบัติ จริงทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนาไปใช้ได้จริงในการดาเนินชีวิตประจาวัน 3. จัดทาและจัดเก็บระบบคัดกรองข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยการนาเทคโนโลยี สารสนเทศเข้ามาทาการจัดเก็บ การนาเสนอ และพัฒนาระบบการดาเนินงานแนะแนว เพื่อให้เกิด ความสะดวกรวดเร็วในการนามาใช้ 4. จัดบริการแนะแนวให้เป็นไปในเชิงรุกโดยเน้นกลุ่มผู้เรียนเป็นสาคัญ ด้วยการจัดกิจกรรม เพื่ อ มุ่ ง เน้ น ให้ ผู้ เ รี ย นสามารถก าหนดทิ ศ ทาง วางเปู า หมาย การด าเนิ น ชี วิ ต ได้ ด้ ว ยตนเอง นอกเหนือจากงานปูองกัน ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาในรูปแบบเดิมที่มุ่งเน้นการทางานในลักษณะของ การแก้ไขปัญหาแบบมองย้อนอดีต โดยไม่วางแผนเปูาหมายในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม 5. เน้นการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่หลากหลายในการจัดบริการแนะแนว เพื่อให้ผู้เรียนเกิด ความสนุกสนานกับการทากิจกรรม และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ มีการวัดผล การประเมินผลการ เรียนรู้ในการจัดกิจกรรมแนะแนวและการรับบริการแนะแนวอย่างเป็นระบบ 6. มี ก ารพั ฒ นาระบบข้ อ มู ล งานแนะแนวให้ มี ค วามทั น สมั ย น่ า ใช้ อ ยู่ เ สมอ ด้ ว ยการน า เทคโนโลยีเข้ามาดาเนินงาน เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วสาหรับผู้เรียนที่จะเข้ามาขอรับบริการ และเข้ามาดูข้อมูลบริการด้านต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา ด้วยการเปิดช่องทางการสื่อสารในหลากหลาย ช่องทาง 7. ครูแนะแนวจะต้องเป็นผู้ นาในการประสานงานและแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝุายทั้ง บุคคลและหน่วยงานภายในและภายนอกสถานศึกษา โดยเน้นบริบทชุมชน แหล่งเรียนรู้ และภูมิ ปัญญาท้องถิ่น มาร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เกิดการพัฒนากับผู้เรียนในทุกๆ ด้าน 8. เปลี่ ย นรู ป แบบวิธีการจัดกิจกรรมแนะแนวหรือการให้ บริการแนะแนวแบบใช้ครูเป็น ศูนย์กลาง มาเป็นจัดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะและ ประสบการณ์จากการเป็นผู้คิดและออกแบบกิจกรรมด้วยตนเอง ภายใต้ความร่วมมือระหว่างครูแนะ แนวกับผู้เรียน 9. ควรมีการจัดกิจกรรมแนะแนวให้บูรณาการกั บสาระการเรียนรู้หลัก ตามความเหมาะสม ทั้งโอกาสและเวลาในการจัดการเรียนรู้ โดยครูแนะแนวจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบดาเนินการวางแนว ทางการจัดกิจกรรมอย่างชัดเจน


68

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

10. มุ่งเน้นให้ครูแนะแนวต้องได้รับการศึกษา ฝึกฝน และมีประสบการณ์ทางด้านการแนะ แนวโดยตรงมาทาหน้าที่ดูแลรับผิ ดชอบงานแนะแนวในสถานศึกษา เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ตรงตามจุดมุ่งหมาย สามารถนานโยบายมาสู่ การปฏิบัติให้เกิดผลต่อผู้เรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ครูแนะแนวจะต้องได้รับการอบรม ฝึกฝนพัฒนาความรู้อย่ างต่ อเนื่อง สม่าเสมอ เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ทันสมัย ทันยุค ทัน เหตุการณ์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง วัยรุ่นในศตวรรษที่ 21 แนวทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาทักษะ 3 ทักษะ และ คุณลักษณะที่จาเป็น 5 ประการ คือ (สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2552: 12) 1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ประกอบด้วย 1) การคิดแบบมีวิจารณญาณ 2) การสื่อสาร 3) การทางานร่วมกัน และ 4) การสร้างสรรค์ 2. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ประกอบด้วย 1) การรู้เท่าทันสารสนเทศ 2) การ รู้เท่าทันสื่อ และ 3) การรู้เท่าทันเทคโนโลยี 3. ทักษะชีวิตและการทางาน ประกอบด้วย 1) ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว 2) การริเริ่มและการกากับดูแลตัวเอง 3) ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม 4) การเป็นผู้สร้าง ผลงานและความรับผิดชอบเชื่อถือได้ และ 5) ภาวะผู้นาและความรับผิดชอบ คุณลักษณะที่จาเป็น 5 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโลก 2) ความรู้ด้าน การเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็ นผู้ ประกอบการ 3) ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี 4) ความรู้ด้านสุขภาพ และ 5) ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม โดยรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับทักษะ 3 ทักษะ และคุณลักษณะที่จาเป็นในการดาเนินชีวิตใน ศตวรรษที่ 21 ดังได้กล่าวถึงไว้แล้วในหัวข้อข้างต้น เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการพัฒนาการศึกษา ของโลกประเทศไทยจึงได้จัดทาแนวทางปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552 -2561) โดย กาหนดคุณลักษณะของคนไทยยุคใหม่ ดังนี้ 1. สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และมีนิสัยใฝุเรียนใฝุรู้ตลอดชีวิต 2. มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3. มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม สามารถทางานเป็นกลุ่ม 4. มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสานึกและความภูมิใจในความเป็นไทย ยึดมั่น การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รังเกียจการทุจริต ต่อต้านการ ซื้อสิทธิ์ขายเสียง และสามารถก้าวทันโลก จากคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นจึงสรุปความหมายและคุณลักษณะของวัยรุ่นในศตวรรษที่ 21 ดังนี้ วัยรุ่นในศตวรรษที่ 21 หมายถึง ช่วงวัยที่มีอายุระหว่าง 12- 25 ปี ซึ่งในศตวรรษที่ 21 ได้มี การเปลี่ยนแปลงช่วงระยะเวลาของการเข้าสู่วัยรุ่น เนื่องจากระยะเวลาของการศึกษาและช่วงเวลาที่ อยู่ในสถานศึกษามีระยะเวลายาวนานมากกว่าระบบการศึกษาในอดีต จึงทาให้การก้าวข้ามพ้นช่วง วัยรุ่นเพื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่หรือวัยแห่งการพึ่งพาตนเองได้ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ความรับผิดชอบ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

69

และการประกอบอาชีพหน้าที่การงานต้องยืดระยะเวลาออกไป วัยรุ่นจึงเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสภาพจิตใจ เป็นวัยที่ต้องการได้รับคาแนะนาและการให้ความ ช่ว ยเหลื อ เพื่ อ การปรั บ ตั ว ได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งเหมาะสม ซึ่ ง ในศตวรรษที่ 21 การเปลี่ ย นแปลงด้ า น เทคโนโลยี สังคม วัฒนธรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว วัยรุ่นในศตวรรษที่ 21 จึงต้องเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการปรับตัวและสามารถดารงชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างเหมาะสม รู้เท่าทันเหตุการณ์ และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลกที่จะเกิดขึ้น โดยสามารถเลือกดาเนินชีวิตด้วยความรอบคอบและ เกิดความเป็นปกติสุข ดังนั้น คุณลักษณะที่จาเป็นสาหรับการดาเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของวัยรุ่น จึงควรประกอบไปด้วยคุณลักษณะดังนี้ (สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2552: 12; Delgado. 2012: 17-27; Spielhagen & Schwartz. 2013: 10-11; Milevsky. 2014: 1-15) 1. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและนาเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ 2. ความสามารถในการสื่อสาร คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3. ความสามารถในการตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง สังคม และโลก โดยเกิดเป็นความสานึก รับผิดชอบต่อตนเอง สังคมรอบตัว สังคมโลก และสิ่งแวดล้อมรอบตัวและสิ่งแวดล้อมของโลก ใน ฐานะพลเมืองที่ดี 4. ความสามารถในการปรับตัว การดารงชีพ โดยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจ การเงิน ความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ โอกาสในการประกอบอาชีพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ และ เป็นผู้ที่มีความสนใจใฝุเรียนใฝุรู้เกิดการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 5. การมีระเบียบวินัย การมีจิตสาธารณะ ความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การทางาน เป็นทีม และการยอมรับในความแตกต่างข้ามเชื้อชาติ วัฒนธรรม ประเพณี 6. การมีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในการปกครองแบบประชาธิปไตย มีความซื่อสัตย์สุจริต รังเกียจและต่อต้านต่อกลโกงและการทุจริตทุกรูปแบบ การแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณค่าแห่งตนของวัยรุ่นในศตวรรษที่ 21 การเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้เกิดการปรับตัวในทุกด้านของสังคมโลก โดยเฉพาะด้านการจัดการศึกษาซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นทรัพยากร สาคัญของโลก การเปลี่ยนรูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้จึงเปรียบเสมือนการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกให้เกิด ความเท่าเทียมของประชากรโลก เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์โลก ประเทศไทยจึงได้ จัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 โดยมุ่งเน้นให้เยาวชนเกิดทักษะที่จาเป็นในการดาเนินชีวิต ตามแนวทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เ รียน เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตสามารถเผชิญปัญหาต่างๆ รอบตัวได้อย่างเหมาะสมกับช่วงวัย ให้รู้จักสร้าง สัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล จัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม ปรับตัวให้ทันกับการ เปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม รู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อ ตนเองและผู้อื่น ปูองกันตนเองในภาวะคับขันและจัดการกับชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับ วัฒนธรรมและสั งคม โดยกาหนดเป็นองค์ประกอบทักษะที่จาเป็นของชีวิต 4 ทักษะ ได้แก่ 1) การ ตระหนั กรู้ และเห็ น คุ ณค่ าในตนเองและผู้ อื่ น 2) การคิ ดวิ เคราะห์ และตั ดสิ นใจแก้ ไขปั ญหาอย่ าง สร้างสรรค์ 3) การจัดการอารมณ์และความเครียด และ 4) การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น (สานัก


70

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

วิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2553: 2-5; สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2554ก: 1-4; สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2554ข: 1-10) คุณค่าแห่งตนเป็นปัจจัยสาคัญทางจิตวิทยาในการดาเนินชีวิตของบุคคลเพื่อให้เกิดการพัฒนา ศักยภาพอย่ างสมบู รณ์ครบทุกด้าน โดยคาว่า “คุณค่าแห่ งตน” ตามความหมายในพจนานุกรมศัพท์ จิ ตวิทยา ฉบั บราชบั ณฑิ ตยสถาน พ.ศ. 2553 ได้ ให้ ความหมายตรงกั บคาในภาษาอังกฤษว่ า “Selfesteem” หมายถึง เจตคติในการยอมรับตนเอง การประเมินตนเองว่ามีคุณค่า เป็นความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ให้ความรัก ความนับถือตนเอง รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามีความสามารถ มีความภาคภูมิใจในตนเอง จึงทาให้ บุคคลมีความมั่นใจในการกระทาสิ่งต่างๆ ในชีวิตโดยไม่ต้องรอพึ่งพิงผู้อื่นหรือสิ่งอื่น (ราชบัณฑิตยสถาน. 2553: 359; สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2554ก: 49; Carlock. 2013: 3) องค์ประกอบของการเห็นคุณค่าแห่งตน คูเปอร์สมิธ (Coopersmith. 1981: 120-130) กล่าวถึงองค์ประกอบของการเห็นคุณค่าแห่งตนว่า เป็นสิ่งที่ทาให้บุคคลรู้สึกว่าประสบความสาเร็จ มี 4 ประการ คือ 1. การรั บ รู้ ว่ า ตนเองมี ค วามสามารถ (Competence) การที่ บุ ค คลได้ รั บ รู้ เ กี่ ย วกั บ ความสามารถของตนเองว่าสามารถทางานได้สาเร็จตามเปูาหมาย สามารถเผชิญปัญหาและสามารถ ผ่านอุปสรรคต่าง ๆ มาได้ จะทาให้บุคคลเกิดความมั่นใจและดาเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. การรั บ รู้ ว่า ตนเองมี ความส าคัญ (Significance) เมื่อ บุค คลได้ รับ รู้ว่ าตนเองได้ รับ การ ยอมรับจากครอบครัวและสังคม รู้ว่าตนเองเป็นที่รักของบุคคลอื่นก็จะทาให้รับรู้ถึงคุณค่าของตนเอง 3. การรับรู้ว่าตนเองมีอานาจ (Power) การที่บุคคลได้รับรู้ว่าตนเองมีอิทธิพลต่อการควบคุม การดาเนินชีวิตด้วยตนเอง และสามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตนเองได้ก็จะทาให้บุคคลเกิด ความเชื่อมั่นในตนเอง 4. การรับรู้ว่าตนเองมีความดี (Virtue) การปฏิบัติตนที่อยู่ภายใต้ค่านิยม วัฒนธรรมประเพณี การมีศีลธรรม จริยธรรม ความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ และการมองโลกในแง่ดีจะทาให้บุคคล เกิดการแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง ลักษณะของบุคคลที่มีการเห็นคุณค่าแห่งตน ซึ่งบุคคลที่มีการเห็นคุณค่าแห่งตนเป็นบุคคลที่ จะมีการรับรู้และประเมินคุณค่าแห่งตนได้ตามความเป็นจริง พิจารณาตนเองว่ามีคุณค่าและดาเนิน ชีวิตอย่างรู้คุณค่า ซึ่งบุคคลดังกล่าวจะมีลักษณะดังนี้ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2553: 257261; Carlock. 2013: 5-7; Zeigler-Hill. 2013: 3-4) 1. ด้านบุคลิกลักษณะ บุคคลที่มีการเห็นคุณค่าแห่งตนจะมีการแสดงออกของการกระทาด้วย ความร่าเริงแจ่มใส เป็นผู้มองโลกในแง่ดี สามารถกล่าวถึงความสาเร็จและข้อบกพร่อ งของตนเองได้ อย่างไม่มีอคติ สามารถแสดงออกด้วยวาจาและการกระทาเป็นไปด้วยความสอดคล้อง พูดไว้อย่างไรก็ ปฏิบัติได้อย่างนั้น สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีความเป็นตัวของตัวเอง สามารถตัดสินใจใน เรื่องต่างๆ ได้ด้วยตนเอง เชื่อมั่นในการกระทาแห่งตน แต่หากพบข้อผิดพลาดก็สามารถยอมรับใน ความผิดนั้น เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ชอบความท้าทาย แสวงหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ สามารถยอมรับและเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา 2. ด้านสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ผู้ ที่มีการเห็นคุณค่าแห่งตนจะมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น โดยสามารถเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทั้งคาตาหนิและคาชม รู้จักการชื่นชมผู้อื่น เห็น


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

71

คุณค่าของผู้อื่น ตระหนักถึงความสาคัญของคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม จึงทาให้เกิดความ เคารพในสิทธิของผู้อื่นและปฏิบัติต่อผู้อื่นเช่นเดียวกับการเคารพและให้ความสาคัญต่อตนเอง สาเหตุแห่งการเห็นคุณค่าแห่งตนต่า บุคคลมีการเห็นคุณค่าแห่งตนต่าจะทาให้เกิดความคับ ข้องใจในการดาเนินชีวิต ไม่สามารถประสบความสาเร็จในชีวิต มักมองตนเองในแง่ร้าย ซึ่งสาเหตุแห่ง การเห็นคุณค่าในตนเองต่าเกิดได้หลายสาเหตุ ดังนี้ (Coopersmith. 1981: 120-140; Denis. 1996: 27-34; Harter. 1999: 215-235; Carlock. 2013: 7-15; Zeigler-Hill. 2013: 5-6) 1. ขาดการเอาใจใส่ ดู แล และถู กทอดทิ้ งทางอารมณ์ โดยในวั ยเด็ กไม่ ได้ รั บความอบอุ่ น ปลอดภัยอย่างเพียงพอจึงทาให้ขาดความเชื่อมั่นต่อตนเอง กลายเป็นคนหวาดระแวงและวิตกกังวลง่าย 2. การพบเจอประสบการณ์ด้านลบในอดีต จะทาให้บุคคลที่มีสภาวะจิตใจไม่เข้มแข็งก็จะไม่ สามารถดาเนิ น ชีวิตได้ด้ว ยความเชื่อมั่นและเห็ นคุณค่าแห่ งตน เกิดความหวาดกลั ว ต่อการแสดง ความรู้สึกและการกระทาของตนเอง 3. ประสบความล้มเหลวในการค้นหาตัวตนที่แท้จริง การค้นพบตัวตนที่แท้จริงเริ่มมาจากการ พัฒนาตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยรุ่น โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการค้นพบเอกลักษณ์ของตัวเอง หาก ไม่สามารถนาศักยภาพของตนออกมาได้ หรือเลือกแนวทางที่ไม่ตรงกับความชอบ ความสามารถ และ ศักยภาพที่มีอยู่ หรือถูกปิดกั้น ก็จะทาให้บุคคลขาดความเชื่อมั่นในการดาเนินชีวิต ไม่สามารถประสบ ความสาเร็จ จึงทาให้ขาดความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าแห่งตนต่า 4. การใช้กลวิธานในการปูองกันตัวเองบ่อยครั้ง ในทางจิตวิทยาได้กล่าวถึงการใช้กลวิธานใน การปูองกันตัวเองเมื่อได้รับภัยคุกคามทางจิตใจ หากบุคคลเลือกใช้กลวิธานในการเผชิญปัญหาทุกครั้ ง จึงเหมือนเป็นการหลอกตัวเอง ทาให้ลดความเชื่อมั่นและความเคารพตนเอง จนในที่สุดไม่สามารถ เห็นคุณค่าแห่งตนได้ 5. การถูกบิดเบือนภาพลักษณ์แห่งตน บุคคลที่ได้รับการถูกล้อเลียนหรือตีตราในสิ่งที่ไม่ตรง กับความเป็นจริงตั้งแต่วัยเด็ก หรือถูกตาหนิซ้าๆ เดิมๆ ในทางลบ เมื่อเติบโตขึ้นจะทาให้เป็นบุคคลที่ สูญเสียความมั่นใจในตนเอง และกลายเป็นบุคคลที่ขาดการเห็นคุณค่าแห่งตนในที่สุด การแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณค่าแห่งตนของวัยรุ่นในศตวรรษที่ 21 โดยการจัดการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 ครูจะต้องทาหน้าที่เป็นเพียงผู้อานวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนและทา กิจกรรม โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนการสอน ด้วยการให้ผู้เรียนเข้ามามีบทบาทให้ การกาหนดรูปแบบวิธีการในการดาเนินการจัดกิจกรรมในกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งการ จัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ต้องเกิดกระบวนการแห่งการเรียนรู้ ที่มากกว่าการศึกษาเฉพาะ ในชั้ น เรี ย น ครู ผู้ ส อนจะต้ องจั ดให้ มี กระบวนการเรียนรู้จ ากประสบการณ์จริ งที่ เกิด ขึ้น ภายนอก ห้องเรียนควบคู่ไปด้วย โดยใช้บริบทของชุมชนและสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริงที่ผู้เรียนอาศัยอยู่ เป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ และมีการนาเครื่องมือ อุปกรณ์เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการ จัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเกิดความสนุกสนาน และอยากเรียนรู้ ดังนั้น ใน การจัดกิจกรรมแนะแนวจึงใช้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบเดียวกับวิธีการ จัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 การแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณค่าแห่ งตนของวัยรุ่นในศตวรรษที่ 21 จึงควรเป็นไปตามแนวทางการ ปฏิบัติตามหลักวิธีการของงานแนะแนว ดังนี้ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2553: 60-62; เกียรติ


72

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ยง ประวีณวรกุล. 2559: ออนไลน์; Coopersmith. 1981: 118-236; Carlock. 2013: 39-49; Mruk, 2013: 49-52) 1. ครูแนะแนวจะต้องยึดหลักการพิจารณาจากความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยครูแนะแนว จะต้องทาความรู้จักและมีข้อมูลของวัยรุ่นเป็นรายบุคคล เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณค่าแห่งตนได้ตรง ตามเปูาหมาย โดยครูแนะแนวจะต้องเข้าใจบริบทที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นที่ทาให้วัยรุ่นเกิดการเห็นคุณค่า แห่งตนต่า หรือเป็นการส่งเสริมวัยรุ่นที่มีการเห็นคุณค่าแห่งตนอยู่แล้วให้เกิดการพัฒนาในระดับที่ สูงขึ้นไป ครูแนะแนวจาเป็นจะต้องแสวงหาข้อมูลพื้นฐานของวัยรุ่นเป็นรายบุคคลให้ได้มากที่สุด เพื่อ จะได้จัดแนวทางในการพัฒนาคุณค่าแห่งตนของวัยรุ่นได้อย่างถูกวิธี 2. ครูแนะแนวจะต้องรู้จักพัฒนาการของวัยรุ่น เพื่อช่วยส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างวัยรุ่น ผู้ปกครอง และบุคคลที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณค่าแห่งตนให้กับวัยรุ่น ซึ่งวัยนี้เป็นวัย แห่งการค้นหาเอกลักษณ์ ของตนเอง (Identity) ต้องการค้นพบตัวเองว่ามีความสามารถ ความถนัด ความสนใจในด้านใด แล้วนาศักยภาพเหล่านั้นออกมา จึงจะทาให้วัยรุ่นเกิดความภาคภูมิใจและเห็น คุณค่าแห่งตน ครูแนะแนวจะต้องทาหน้าที่เป็นผู้ประสานงานเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับครูผู้สอน ภายในสถานศึกษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัยรุ่น และผู้ปกครอง ให้ดาเนินการตามวิธีการของการพัฒนา คุณค่ าแห่ งตน โดยขอความร่ ว มมือ ให้ ผู้ ที่เกี่ ยวข้ องได้ส่ ง เสริ มการดาเนิน งานตามขั้นตอนวิ ธีการ นอกจากนี้ การแนะแนวส่ งเสริ มให้ วัย รุ่ น ได้แสดงพฤติกรรมตามความชอบ ความถนัด และตาม ความสามารถที่มีอยู่ ด้วยการสนับสนุนในสิ่งที่ถูกต้องก็จะมีส่วนช่วยให้วัยรุ่นเกิดการพัฒนาคุณค่าแห่ง ตนได้ในระดับหนึ่ง ในทางตรงกันข้ามหากวัยรุ่นขาดการเอาใจใส่ดูแลอย่างถูกวิธีจะส่งผลทาให้วัยรุ่น เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมที่ตนเองคิดว่าถูกต้อง ก็จะทาให้ วัยรุ่นถูกชั กจูงไป ในทางที่ผิดและอาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ เช่น พฤติกรรมการขับรถแข่งบนท้องถนน พฤติกรรม การทะเลาะวิวาท พฤติกรรมการแต่งกายที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น หากวัยรุ่นประสบปัญหาการขาด ความมั่นคงปลอดภัย ขาดความรักความเข้าใจ และขาดการเอาใจใส่ดูแลจากบุคคลที่วัยรุ่นต้องการ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ก็จะทาให้วัยรุ่นหันไปหาความมั่นคงทางจิตใจจากกลุ่มเพื่อน จนอาจถูกชักจูงไปในทางที่ผิดได้ เนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในตนและการเห็นคุณค่าแห่งตน 3. จัดประสบการณ์ในการสนับสนุนให้วัยรุ่นประสบความสาเร็จ ซึ่งการสนับสนุนให้วัยรุ่นได้ รู้จักความสาเร็จด้วยตนเองเป็นการส่งเสริมพัฒนาคุณค่าแห่งตน ด้วยวิธีการกระตุ้นและเปิดโอกาสให้ วัยรุ่นได้รับผิดชอบในการกระทาของตน หรือได้เลือกทากิจกรรมตามความถนัดและความสนใจ จะ เป็นวิธีการที่ทาให้วัยรุ่นเกิดความเชื่อมั่นและยอมรับในการตัดสินใจได้ด้วยตนเอง เมื่อวัยรุ่นสามารถ กระทากิจกรรมที่ตนเลือกได้เป็นผลสาเร็จก็จะทาให้เกิดความเชื่อมั่นและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ส่งผลให้เกิดการเห็นคุณค่าแห่งตน 4. ฝึกพัฒนาทักษะการดาเนินชีวิต โดยครูแนะแนวจะต้องนาวิธีการกระบวนการทางการแนะ แนวเข้ามาสร้างความเข้าใจและช่วยเหลือวั ยรุ่น ด้วยการฝึกให้วัยรุ่นได้วางแผนการดาเนินชีวิตด้วย ตนเอง รู้จักวิธีการเผชิญปัญหา และแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี ทั้งปัญหาที่เกิดจากความคับข้องใจของ ตนและปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อมหรือบุคคลที่วัยรุ่นไม่สามารถควบคุมได้ เพื่อให้วัยรุ่นได้เรียนรู้ การยอมรับและเข้า ใจปัญหาได้ตรงตามความเป็นจริง โดยหลีกเลี่ยงการใช้กลวิธานในการปูองกัน ตนเองให้น้ อยที่สุ ด ซึ่งวิธีการพัฒ นาคุณค่าแห่งตน อาจกระทาได้หลายวิธี เช่น การเชิญผู้ประสบ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

73

ความสาเร็จในชีวิตที่มีร่างกายพิการมาพูดถึงประสบการณ์ต่างๆ การให้คาปรึกษาทั้งรายบุคคลและ กลุ่ม การจัดกิจกรรมบาเพ็ญประโยชน์ เป็นต้น 5. การพัฒนาสื่อนวัตกรรมในการจัดกิจกรรม และการนาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการดาเนิน กิจ กรรม รู ป แบบในการพั ฒ นาคุ ณค่ า แห่ งตนสามารถกระท าได้ ห ลายวิ ธี ด้ ว ยเทคนิ ค ต่ า งๆ ตาม กระบวนการทางการแนะแนว ดังจะกล่าวต่อไป โดยการนาเทคนิคต่าง ๆ มาใช้เพื่อให้เกิดความทันยุค ทันสมัยเข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน ครูแนะแนวจาเป็นจะต้องเรียนรู้การนาสื่อรูปแบบต่างๆ เข้ามา ดาเนินการจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและสนุกสนานในการทากิจกรรม เช่น การตอบ แบบสอบถามผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การสร้างแบบกิจกรรมผ่านคู่มือการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ การใช้เกมคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการพัฒนาทักษะต่างๆ การเก็บรวบรวมข้อมูลรายบุคคลด้วยไฟล์ คอมพิวเตอร์ เหล่านี้เป็นต้น เทคนิควิธีการทางการแนะแนวที่จะนามาใช้ในการพัฒนาคุณค่าแห่งตนของวัยรุ่นในศตวรรษ ที่ 21 จะต้องเป็น การนาเสนอรูปแบบวิธีการให้ เกิดความน่าสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้ ด้วยการนา เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนว ดังนี้ 1. การใช้แบบวัดหรือแบบสอบถาม (Inventory or questionnaire) เป็นเครื่องมือในการ ประเมิน วัย รุ่น เพื่อให้ ได้ข้อมูลเบื้องต้นของวัยรุ่นว่ามีการเห็ นคุณค่าแห่ งตนอยู่ ในระดับใด วิธีการ ดังกล่าวเป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวกในการนามาใช้ โดยแบบวัดการเห็นคุณค่าแห่งตนที่นิยมนามาใช้ ได้แก่ แบบวัดการเห็นคุณค่าแห่งตนของคูเปอร์สมิธ (The Coopersmith Self-Esteem Inventory School Form) แบบวัดของโรเซนเบอร์ก (Rosenberg) และแบบสอบถามของลอว์เซก (The Lawseq questionnaires) 2. การใช้เกมหรือกิจกรรมกลุ่ม (Game or group activities) เป็นเทคนิคทางจิตวิทยาที่ น ามาใช้เพื่อพั ฒ นา ส่ งเสริ ม สนั บ สนุน ต่อ วัยรุ่นที่ มีความต้องการรับบริ การแนะแนวในรูปแบบ เดียวกันหรือคล้ายกัน ซึ่งเป็นวิธีการในการฝึกทักษะบางประการตามจุดมุ่งหมาย และเป็นการพัฒนา ความสัมพันธ์ร ะหว่างบุ คคล ด้ว ยการเน้นการมีส่ วนร่วมในการดาเนินกิจกรรมโดยมีการให้ ข้อมูล ย้อนกลับจากการแสดงพฤติกรรม 3. การให้คาปรึกษา (Counseling) การพัฒนาคุณค่าแห่งตนด้วยวิธีการให้คาปรึกษาเป็น วิธีการของการให้คาปรึกษาที่มีลักษณะเฉพาะ ผู้ให้คาปรึกษาจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะ ในการให้คาปรึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเห็นคุณค่าแห่งตนเป็นอย่างดี โดยผู้ให้คาปรึกษาจะต้อง สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับวัยรุ่น โดยจาลองรูปแบบสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัวที่มีความอบอุ่น ความเอาใจใส่ดู แล และความเห็นอกเห็ นใจในชั่วโมงแรกของการให้คาปรึกษา หลังจากนั้นจึงให้ คาปรึกษาด้วยวิธีการให้วัยรุ่นได้ไตร่ตรองพฤติกรรมของตนเอง โดยผู้ให้คาปรึกษาจะต้องไม่ตัดสินและ ไม่มีเจตคติต่อการแสดงความคิดเห็นของวัยรุ่น หลังจากนั้นจึงดาเนินตามขั้นตอนในการฝึกเพื่อการ พัฒนาคุณค่าแห่งตนในครั้งต่อไป 4. การจัดประสบการณ์ ในการจัดประสบการณ์เพื่อให้วัยรุ่นได้เกิดการพัฒนาคุณค่าแห่งตน ครูแนะแนวกับวัยรุ่นจะต้องปรึกษาและให้ความร่วมมือซึ่งกันและกันในการดาเนินกิจกรรม โดยให้ วัยรุ่นเป็นผู้เลือกรูปแบบในการทากิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณค่าแห่งตน เช่น จัดกิจกรรมค่ายอาสา จัด กิจกรรมเชิญผู้ประสบความสาเร็จมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กิจกรรมบาเพ็ญประโยชน์


74

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

กิจกรรมแข่งขันประกวดต่าง ๆ กิจกรรมยกย่องความดีของวัยรุ่น เป็นต้น ภายหลังการจัดกิจกรรมฝึก ประสบการณ์เสร็จสิ้นแล้ว ครูแนะแนวจะต้องมีการวัดผลประเมินผลจากการดาเนินกิจกรรมอย่างเป็น รูปธรรม เพื่อให้วัยรุ่นได้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจแนวทางในการพัฒนาคุณค่าแห่งตน 5. การใช้สื่อเทคโนโลยีในการดาเนินกิจกรรมพัฒนาการเห็นคุณค่าแห่งตน เพื่อให้วัยรุ่นเกิด ความสนุกสนาน ไม่เบื่อหน่ายในการทากิจกรรม เกิดความตื่นเต้นท้าทาย เช่น การใช้เสียงเพลงในการ ดาเนินการจัดกิจกรรม ใช้สื่ออินเตอร์เน็ตในการตอบแบบสอบถาม และเข้าไปดูความคืบหน้าในการ พัฒนาคุณค่าแห่งตนผ่านเครือข่ายโซเชี่ยลต่าง ๆ เพื่อให้วัยรุ่นเกิดความสะดวก รวดเร็ว ในการรับ ข้อมูลข่าวสาร และเห็นความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยครูแนะแนวอาจ จัดทาเป็นกราฟแสดงพัฒนาการของวัยรุ่นที่ได้รับการพัฒนาคุณค่าแห่งตนให้วัยรุ่นได้รับทราบ จะทา ให้วัยรุ่นเกิดความสนใจและกระตือรือร้นในการทากิจกรรมพัฒนาคุณค่าแห่งตนเพิ่มมากขึ้น สรุปได้ว่าการแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณค่าแห่งตนของวัยรุ่นในศตวรรษที่ 21 นั้น ครูทาหน้าที่ เป็นเพียง ผู้อานวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณค่าแห่งตนให้แก่วัยรุ่น โดยเน้นวัยรุ่น เป็นศูนย์กลางที่สาคัญในการจัดกิจกรรมแนะแนว ให้วัยรุ่นเข้ามามีบทบาทให้การกาหนดรูปแบบวิธีการ ในการด าเนิ น การจั ด กิ จ กรรมแนะแนวเพื่ อ พั ฒ นาคุ ณ ค่ า แห่ ง ตนด้ ว ยตนเอง เน้ น ให้ วั ย รุ่ น เกิ ด กระบวนการพัฒนาคุณค่าแห่งตนในรูปแบบที่หลากหลายมากกว่าการศึกษาเฉพาะในชั้นเรียน ควรให้ วัยรุ่นได้รับการพัฒนาคุณค่าแห่งตนจากประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นภายนอกห้องเรียนควบคู่ไปด้วย และ ควรมีการนาเครื่องมือ อุปกรณ์เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการพัฒนาคุณค่าแห่งตนของวัยรุ่น เพื่อ สร้างความน่าสนใจให้แก่วัยรุ่น เกิดความสนุกสนาน และอยากเรียนรู้ที่จะพัฒนาคุณค่าแห่งตน ไม่เบื่อ หน่าย เกิดความตื่นเต้นท้าทาย เช่น การใช้สื่ออินเตอร์เน็ตในการตอบแบบวัดคุณค่าแห่งตนของวัยรุ่น เข้าไปดูความคืบหน้าในการพัฒนาคุณค่าแห่งตนผ่านเครือข่ายโซเชี่ยลต่าง ๆ เพื่อให้วัยรุ่นเกิดความ สะดวก รวดเร็ว ในการรับข้อมูลข่าวสาร และเห็นความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณค่าแห่งตนได้อย่างเป็น รูปธรรม บทสรุป การแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณค่าแห่งตนของวัยรุ่นในศตวรรษที่ 21 จะจัดให้สอดคล้องกับการ จัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้โดยแยกองค์ประกอบเป็น 2 ส่วนคือ ผล การเรียนรู้ของผู้เรียน และระบบสนับสนุนการจัดการศึกษา สิ่งสาคัญที่มุ่งให้เกิดผลต่อผู้เรียนคือการ เรียนรู้ในสาระรายวิชาหลัก 9 รายวิชา แล้วนาความรู้จากสาระวิชาหลักและคุณลักษณะ 5 ประการ ได้แก่ 1) ความตระหนักรู้เกี่ย วกับ โลก 2) ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็น ผู้ ป ระกอบการ 3) ความรู้ ด้า นการเป็ น พลเมื องที่ ดี 4) ความรู้ ด้า นสุ ข ภาพ และ 5) ความรู้ ด้ า น สิ่งแวดล้อม) มาบูรณาการให้เกิดเป็นทักษะ 3 ทักษะ คือ 1) ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม 2) ทักษะด้านข้อมูลสารสนเทศ และ 3) ทักษะด้านชีวิตและการประกอบอาชีพ โดยมีระบบสนับสนุนการ จัดการเรียนการสอนให้เกิดผล 4 ระบบ คือ 1) ระบบมาตรฐานการเรียนรู้และมาตรฐานการวัดผล 2) ระบบด้านหลักสูตรและวิธีการสอน 3) ระบบการพัฒนาวิชาชีพให้แก่ครูและผู้บริหาร และ 4) ระบบ สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมแนะแนวในศตวรรษที่ 21 จึงต้องออกแบบแนวทางใน การดาเนินกิจกรรมให้สอดรับกับแนวทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้วยวิธีการพัฒนาผู้เรียน


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

75

ให้รู้จักและค้นหาตัวตนที่แท้จริง จากการได้ปฏิบัติกิจกรรมนอกสถานที่ การฝึกประสบการณ์ในสภาพ ที่ใกล้เคียง ความเป็นจริงและการมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา ตนเอง โดยการใช้บริบทของโรงเรียนและชุมชนเป็นฐานของการเรียนรู้ มีวิธีการวัดผลและประเมินผล อย่างชัดเจน เพื่อเป็นการสะท้อนผลสาเร็จจากการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม จากแนวทางในการจัดการศึกษาและการจัดกิจกรรมแนะแนวในศตวรรษที่ 21 ทาให้พบว่า ส่วนสาคัญในการดาเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทิศทางการจัดการเรียนการสอน คือ การพัฒนา ทักษะที่จาเป็นให้เกิดกับวัยรุ่นเป็นสาคัญ ให้วัยรุ่นเกิดการเรียนรู้และปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ การ เปลี่ยนแปลงของโลกโดยสามารถดาเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น อายุระหว่าง 12-25 ปี เป็นช่วงวัยสาคัญของชีวิตหากได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสมก็จะเกิดการ ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และสภาพแวดล้อมของโลกได้อย่างเหมาะสม ซึ่ง คุณลั กษณะที่ส าคั ญของวัย รุ่ น ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวทางการจัด การศึ กษาของโลกและของ ประเทศไทย คือ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา การมี ความคิ ด ริ เ ริ่ ม สร้ า งสรรค์ มี ทั ก ษะในการสื่ อ สาร เกิ ด การตระหนั ก รั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมและ สภาพแวดล้อมของโลก มีความสามารถในการดารงชีพด้วยการมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ เศรษฐกิจ การเงิน มีความเข้าใจในการเลือกประกอบอาชีพ มีระเบียบวินัย มีจิตสาธารณะ สามารถทางานเป็น ทีมและยอมรับความแตกต่างข้ามวัฒนธรรม เชื้อชาติ มีคุณธรรม จริยธรรม ส่งเสริมระบอบ ประชาธิปไตย มีความซื่อสัตย์สุจริต และต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ นอกจากคุณลักษณะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 แล้ว ทักษะชีวิตก็เป็นส่วนสาคัญที่ต้องได้รับ การพัฒนาเพื่อให้วัยรุ่นมีความสามารถในการจัดการปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ในสังคมปั จจุ บั นและเตรี ย มความพร้ อมรับปัญหาในอนาคต ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาได้ กาหนดให้การพัฒ นาคุณค่าแห่งตนเป็นทักษะที่จาเป็นสาหรับผู้เรียนในทศวรรษที่ 2 ด้ว ยการนา หลักการแนะแนวและเทคนิควิธีการทางการแนะแนวมาช่วยพัฒนาคุณค่าแห่งตน คือ 1) ยึดหลักการ พัฒนาตามความแตกต่างระหว่างบุคคล 2) พัฒนาการเห็นคุณค่าแห่งตนในวัยรุ่นตามหลักพัฒนาการ โดยส่งเสริมให้วัยรุ่นได้แสดงศักยภาพแห่งตนตามความชอบ ความถนัด และความสนใจ เพื่อให้วัยรุ่น เกิดความภาคภูมิใจในความสาเร็จที่ตนได้กระทาขึ้น และครูแนะแนวจะต้องเป็นผู้ประสานทั้งบ้าน และโรงเรียน โดยให้แสดงความชื่นชมต่อวัยรุ่นในสิ่งที่แสดงออกได้อย่างเหมาะสม 3) จัดฝึกทักษะ และประสบการณ์ในการเรียนรู้โดยตรงให้วัยรุ่นได้สัมผัสกับประสบการณ์จริงที่จะเกิดขึ้นในการสร้าง ความภาคภูมิใจในตนเองให้เกิดในวัยรุ่นซึ่งเป็นการพัฒนาคุณค่าแห่งตน 4) มีการนาสื่อเทคโนโลยีที่ ทันสมัยเข้ามาช่วยในการดาเนินกิ จกรรม ซึ่งเทคนิคที่นามาใช้ในการพัฒนาคุณค่าแห่งตนในวัยรุ่น ได้แก่ การใช้แบบวัดหรือแบบสอบถาม การใช้เกมส์และกิจกรรมกลุ่ม การให้คาปรึกษา และการฝึก ประสบการณ์ตามสภาพความเป็นจริงในบริบทแวดล้อมของชุมชนที่วัยรุ่นอาศัยอยู่ เอกสารอ้างอิง เกียรติยง ประวีณวรกุล. (2559). การสร้าง Self-esteem ในเด็กและวัยรุ่น บนฐานความเข้าใจ ด้านพัฒนาการ. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2559 จาก http://floortimethailand.com.


76

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

พีระ พนาสุภน. (2559). การปฏิรูปการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2559 จาก http://www.peerapanasupon.com. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2553). เอกสารการสอนชุดวิชา ทักษะชีวิต หน่วยที่ 1-7. พิมพ์ ครั้งที่ 14. นนทบุรี: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง. (2559). จากจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนสู่ชั้นเรียน. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2559 จาก http://www.rayong2.go.th. สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวการจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้ นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย. สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ. 2552-2561. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. สานักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2559). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2559 จาก http://spbkk1.sesao1.go.th/year2558/Century21.pdf. สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการนาจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนสู่การปฏิบัติ . กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554ก). การเสริมสร้าง “ทักษะชีวิต” ตามจุดเน้นการ พัฒนาคุณภาพนักเรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย. สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554ข). แนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนวระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. สานักส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน. (2559). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2559 จาก http://www.QLF.or.th. Agbajor, H. T., Asamaigo, E. E., & Anigala, A. (2014). Counselling for Functional and Sustainable Education: A 21St Century Approach. Nigeria: Science and Education Development Institute. Carlock, J. C. (2013). Enhancing Self-esteem. 3rd ed. New York: Taylor & Francis. Coopersmith, S. (1981). The Antecedent of Self-esteem. 2th ed. California: Consulting Psychologist Press. Delgado, M. (2012). New Frontiers for Youth Development in the Twenty-First: Revitalizing and Broadening Youth Development. New York: Columbia University Press.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

77

Denis, L. (1996). Enhancing Self-esteem in the Classroom. แปลโดย สถาบันการแปล หนังสือกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สถาบันการแปลหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. Harter, S. (1999). The Construction of the Self: A Developmental Perspective. New York: Guilford Press. McCarty, D., Wallin, P., & Boggan, M. (2014). Shared Leadership Model for 21St Century School: Principal and Counselor Collaborative Leadership. National Forum of Educational Administration and Supervision Journal. Volume 32, Number 4, 2014. Mcmahon, G. H. (2016). “School Counselor Educator as Educational Leader Promoting Systemic Change” from ASCA, Professional School Counseling. Apr 26, 2016. Retrieved September 1, 2016, from http://www.researchgate.net. Milevsky, A. (2014). Understanding Adolescents for Helping Professionals. New York: Springer. Mruk, J. C. (2013). Self-esteem and Positive Psychology. 4th ed. New York: Springer. Noddings, N. (2013). Education and Democracy in the 21St Century. United States of America: Teacher College Press. Stone, B. C., & Dahir, A. C. (2016). The Transformed School Counselor. United States of America: Cengage Learning. Spielhagen, R. F., & Schwartz, D. P. (2013). Adolescence in the 21St Century: Constants and Challenges. New York: IAP. Zeigler-Hill, V. (2013). Self-esteem. New York: Psychology Press. ……………………………………………………………………


78

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนา ตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก The Causal Factors Affecting Religious Practices According to Seventh-day Adventist Principles of Undergraduate Students at Asia-Pacific International University ประไพ ปลายเนตร1 อรพินทร์ ชูชม2 วิชุดา กิจธรธรรม3

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์ แอ๊ดเวนตีสของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก 2) เพื่อสร้างและพัฒนา แบบจาลองโครงสร้างความสัมพันธ์ปัจจัยเชิงสาเหตุของการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวน ตีสของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาที่นับ ถื อศาสนาคริ สต์ นิ กายโปรเตสแตนต์ คณะเซเว่ นธ์ เดย์ แอ๊ ดเวนตี สที่ ศึ กษาในระดั บปริ ญญาตรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จานวน 567 คน ใช้วิธีการ สุ่มแบบเจาะจงหรือสุ่มแบบมีจุดมุ่งหมาย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจานวน 10 แบบวัด ผลการวิจัย พบว่า การปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสประกอบด้วยองค์ประกอบ การปฏิบัติต่อพระ เจ้า การปฏิบัติต่อสังคม การปฏิบัติต่อตนเอง การปฏิบัติพิธีกรรม และการปฏิบัติกิจกรรมโบสถ์ ตัวแปรที่ มีค่าน้าหนักองค์ประกอบมากที่สุดคือ การปฏิบัติต่อพระเจ้า รองลงมาคือการปฏิบัติพิธีกรรม การปฏิบัติ ต่อตนเอง การปฏิบัติกิจกรรมโบสถ์ และการปฏิบัติต่อสังคม มีค่าน้าหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.88, 0.87, 0.73, 0.82 และ 0.61 ตามลาดับ โดยแบบจาลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปฏิบัติทางศาสนา ตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ หลังจากการปรับโมเดล (2= 329.227, df=191, CFI=0.996, TLI=0.980, RMSEA=0.035) คาสาคัญ: การปฏิบัติทางศาสนา, การปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส, เซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส

1

นิสิตปริญญาเอก สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รองศาสตราจารย์ ดร., สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

79

Abstract The objectives of this research were 1) to analyze the factors of religious practices according to Seventh-Day Adventist principles of undergraduate students at Asia-Pacific International University 2) to construct and develop the structural relationship model of the causal factors of religious practices according to Seventh-Day Adventist principles of undergraduate students at Asia-Pacific International University. The sample comprised of 567 Protestant Christian students studying in the second semester of the academic year 2015 at the undergraduate level of the Seventh-day Adventist faculty at the Asia - Pacific International University. The members of the sample were selected by purposive sampling or judgmental sampling. The data were collected by using 10 forms of questionnaires. The research found that the factors of religious practices according to Seventh-Day Adventist principles were practices to God, practices to society, practices to self, practices to ceremony, and practices to church activities. The variable with highest factor loading was practices to God, followed by the variables of practices to ceremony, practices to self, practices to church activities and practices to society with factor loading score of 0.88, 0.87, 0.73, 0.82 and 0.61, respectively. The causal factors of religious practices according to Seventh-Day Adventist principles. The causal model of relationship of Seventh-Day Adventist religious practices were perfectly fitted with the empirical data after adjusting the model (2=329.227, df=191, CFI=0.996, TLI=0.980, RMSEA=0.035) Keywords: Religious Practices, Religious Practices According to Seventh-day Adventist Principles, Seventh-day Adventist. ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา แม้ประเทศไทยจะมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจาชาติแต่ก็เปิดกว้างเรื่องการนับถือศาสนากับ คนในชาติ ทาให้มีคนนับถือศาสนาต่างๆ มากมาย การให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการนับถือศาสนา ตามความเชื่อของตนเองทาให้มีศาสนาหลักที่คนนับถือรองจากศาสนาพุทธคือศาสนาอิสลาม และ ศาสนาคริสต์ การมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาได้รับการรับรองจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 หมวด 5 มาตรา 73 ที่ว่า “รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนา อื่น ส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุน การนาหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต (มานพ ศรีวรกุล. 2547:1) ศาสนาจึงนับเป็นสถาบันที่มีความสาคัญต่อความมั่นคงของชาติสถาบันหนึ่งเนื่องจากศาสนา เป็นแกนกลางในการหล่อหลอมบุคคลให้เกิดการพัฒนาเป็นคนดีมีคุณธรรม จริยธรรม และพัฒนาสังคม ให้เป็นสังคมที่มีคุณภาพ ดังนั้นรัฐบาลจึงให้ความสาคัญกับการส่งเสริมงานด้านศาสนา และการพัฒนา


80

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

คุณธรรม จริยธรรมแก่ประชาชนอย่างชัดเจน (กรมการศาสนา. 2548: 18) ประเทศไทยให้สิทธิเสรีภาพ แก่ประชาชนในการเลือกนับถือศาสนา โดยในปัจจุบันมีองค์การศาสนาที่ทางราชการไทยให้การรับรอง อยู่ 5 ศาสนา ประกอบด้วยศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และ ศาสนาสิกข์ (กรมการศาสนา. 2548: 27) ศาสนาคริ ส ต์ ได้ มี บ ทบาทส าคั ญต่ อการสนั บสนุ นสถาบั นการศึ กษาไทยหลายระดั บ โดย คริ สตจั กรได้ ให้ การสนั บ สนุ นการจั ดการศึ กษามาเป็ นเวลาช้ านานตั้ งแต่ สมั ย พระบาทสมเด็ จพระ จุลจอมเกล้ าเจ้ าอยู่หั ว ในส่ วนของสถาบั นอุดมศึกษามีจานวนสถาบันอุดมศึกษาที่คริสตจักรให้ การ สนับสนุนถึง 13 แห่ง การจั ดการศึกษาของคริสตจักรมุ่งเน้นเรื่องการประกาศศาสนาในสถานศึกษา คู่ขนานกับการจัดการศึกษา เช่น คริสตจักรเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีส (Seventh-day Adventist Church) เป็นองค์การทางศาสนาหนึ่งที่มีพันธกิจการประกาศศาสนาควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับ ปฐมวัยถึงระดับอุดมศึกษา โดยมีมหาวิทยาลั ยนานาชาติเอเชีย -แปซิฟิกเป็นสถาบันอุดมศึกษาของ คริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งจัดตั้งภายใต้มูลนิธิคริสเตียนเมดิ คอลเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย (Christian Medical Foundation of Seventh-day Adventists Church of Thailand) สังกัดสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตและปริญญามหาบัณฑิตในหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ มี 2 วิทยาเขตคือวิทยาเขตมวกเหล็ก อาเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และวิทยาเขตกรุงเทพฯ มหาวิทยาลัย จัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส โดยคริสตจักรจะมีแบบแผนหรือหลัก ทางศาสนาเพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้ผู้เรียนเป็นคนดีที่เก่งและมีสุข ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ อย่างไรก็ดีถึงแม้จะจัดการศึกษาโดยใช้หลักศาสนานา แต่ยังมีผู้เรียนบางส่วนละเลย การปฏิบัติทางศาสนา ถึงแม้นักศึกษาจะพักอยู่ภายในวิทยาเขตและมีแบบแผนการปฏิบัติตามหลักเซ เว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแล้วก็ตามซึ่งการกระทาดังกล่าวจะส่งผลทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางจริยธรรม ความประพฤติที่ดีงามซึ่งเป็นแบบแผนของการปฏิบัติตัวตามหลักเกณฑ์ ที่ยึ ดถือกันทางศาสนา การไม่ปฏิบั ติทางศาสนายังทาให้ ขาดความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ ความรู้ และคุณธรรมของนักศึกษา จากการประมวลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผล ต่อการปฏิบัติทางศาสนาของผู้นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ คณะเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส (Seventh-day Adventist) มีตัวแปรที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนาหลายตัวแปร ได้แก่ สุขภาวะ ความรู้ทางศาสนา บุคลิกภาพแบบอ่อนโยน การยึดมั่นในหลักศาสนา การดารงชีวิตแบบเซเว่นธ์เดย์ แอ๊ดเวนตีส การถ่ายทอดทางศาสนา การสนับสนุนจากคริสตจักร เจตคติต่อการปฏิบัติศาสนา และการ ประกาศศาสนาซึ่ งผู้ วิ จั ย ได้ น าหลั กการผสมผสานแนวคิ ด 2 ทฤษฎี คื อ หลั กการทางศาสนาของ คริสตจักรเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีส (Seventh-day Adventist Church Principles) และรูปแบบทฤษฎี ปฏิสัมพันธ์นิยม (Interactionism Model) มาเป็นกรอบเนื้อหาในการสร้างและพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ เก็บรวบรวมข้อมูล


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

81

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์ แอ๊ดเวนตีสของ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก 2. เพื่อสร้างและพัฒนาแบบจาลองโครงสร้างความสัมพันธ์ปัจจัยเชิงสาเหตุของการปฏิบัติ ทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนานาชาติ เอเชีย-แปซิฟิก 3. เพื่อเปรียบเทียบแบบจาลองโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อ การปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส ในแบบจาลองจาแนกตามเพศ และชั้น ปีที่ศึกษา นิยามศัพท์ 1. บัพติศมา (Baptism) หมายถึง การจุ่มร่างกายลงในน้าทั้งตัวอันเป็นการยืนยันความเชื่อที่ มีต่อพระเยซู ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ถือว่าการรับศีลบัพติศมาเป็นศาสนพิธีสาหรับการรับเข้าเป็น สมาชิกคริสตจักร การบัพติศมานี้ศาสนาจารย์ (Church Pastor) ของคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวน ตีสจะเป็นผู้ทาพิธีให้กับบุคคลที่ตัดสินใจมานับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ คณะเซเว่นธ์เดย์ แอ๊ดเวนตีส 2. พิธีมหาสนิท (Communion Service) หมายถึง พิธีที่แสดงถึงการเข้ามีส่วนร่วมใน สัญลักษณ์แห่งการรับเอาพระวรกายและพระโลหิตของพระเยซู เป็นการแสดงออกถึงความเชื่อที่มีต่อ พระองค์ ผู้ร่วมพิธีจะได้ทบทวนตนเองเพื่อกลับใจใหม่และสารภาพความผิดบาปของตนเอง ในพิธีจะมี การล้างเท้าให้กันและกันเพื่อแสดงให้เห็นถึงการชาระตัวใหม่ เพื่อแสดงออกถึงความยินดีรับใช้กันและ กันตามแบบอย่างการถ่อมตัวของพระคริสต์ 3. วันสะบาโต (Sabbath Day) หมายถึง วันที่เจ็ดหลังจากพระเจ้าได้ทรงสร้างโลกและทุก สิ่งในหกวันแล้ว พระเจ้าได้กาหนดวันสะบาโตเพื่อมวลมนุษย์จะได้ระลึกถึงการเนรมิตสร้างของ พระองค์ โดยกาหนดให้ถือรักษาวันสะบาโตเป็นวันบริสุทธิ์ (Sabbath as a holy day) นับตั้งแต่พระ อาทิตย์ตกดินในตอนเย็นวันศุกร์จนถึงพระอาทิตย์ตกดินในตอนเย็นวันเสาร์ โดยยึดตามคาสอนในพระ คริสตธรรมคัมภีร์อย่างเคร่งครัด 4. คริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส (Seventh-day Adventist Church) หมายถึง คริสตจักรนิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism Christian) ที่ถือรักษาวันที่เจ็ด (Seventh-day) ของ สัปดาห์เป็นวันบริสุทธิ์ และไปปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาที่โบสถ์ในวันที่เจ็ด (วันเสาร์) คริสตจักรเซ เว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสเน้นวันสุดท้ายของโลก และการเสด็จมาของพระเยซูในวันพิพากษา เพื่อทาให้โลก บริสุทธิ์อีกครั้ง 5. คริสเตียนเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส หมายถึงบุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตส แตนท์และปฏิบัติศาสนกิจในวันที่เจ็ด (Seventh-day) ของสัปดาห์


82

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

นิยามเชิงปฏิบัติการ ก. กลุ่มตัวแปรตาม การปฏิ บัติ ทางศาสนาตามหลัก เซเว่น ธ์ เ ดย์แ อ๊ด เวนตีส หมายถึง การที่ นักศึ กษามี การ ประพฤติปฏิบัติตามคาสั่งสอนของศาสนาให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนแห่งศาสนานั้น สามารถนา หลักศาสนามายึดเป็นหลักในการดาเนินชีวิตประจาวันได้อย่างถูกต้อง และมีการปฏิบัติอย่างสม่าเสมอ จนเป็นกิจนิสัยตลอดจนเห็นคุณค่าของการปฏิบัติทางศาสนา ทั้งนี้การปฏิบัติทางศาสนายึดถือตาม หลักความเชื่อของคริสตจักรเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีส (Seventh-day Adventist Church Doctrines) วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การปฏิบัติต่อพระเจ้า การปฏิบัติต่อสังคม การปฏิบัติ ต่อตนเอง การปฏิบัติพิธีกรรม และการปฏิบัติกิจกรรมโบสถ์ ข. กลุ่มตัวแปรอิสระ 1. ด้านจิตลักษณะ มี 4 ตัวแปร ได้แก่ สุขภาวะ ความรู้ทางศาสนา บุคลิกภาพแบบอ่อนโยน และการยึดมั่นในหลักศาสนา 1.1 สุขภาวะ หมายถึง การรับรู้ การประเมินตนเองเกี่ยวกับลักษณะหรือสภาพแห่งความ สมบูรณ์ทางร่างกายและจิตใจของนักศึกษาซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ความปราศจากโรคหรือทุพพลภาพเท่านั้น ประกอบด้วย 1) สุขภาวะกาย หมายถึง ลักษณะหรือสภาพของร่างกายที่มีความสมบูรณ์ แข็งแรง เจริญเติบโตอย่างปกติ ระบบต่างๆ ของร่างกายสามารถทางานได้เป็นปกติ ร่างกายมีความต้านทาน โรคได้ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและความทุพพลภาพ 2) สุขภาวะจิต หมายถึง ลักษณะหรือสภาพ ของจิตใจที่มีความสมบูรณ์ มีความสดชื่น แจ่มใส สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ดี สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และปราศจากความขัดแย้ง หรือความสับสนภายในจิตใจ 1.2 ความรู้ทางศาสนา หมายถึง ข้อเท็จจริงทางศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ คณะเซ เว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสที่นักศึกษาได้รับ จากแหล่งสารสนเทศต่างๆ จนเกิดพฤติกรรมที่แสดงออกถึง ความรู้ ความเข้าใจด้านพุทธิพิสัย 1.3 บุคลิกภาพแบบอ่อนโยน หมายถึง สภาวการณ์ที่นักศึกษามี การแสดงออกถึงการ ผ่อนหนั กผ่ อนเบาให้แก่กัน ปรองดองกัน อะลุ้ มอล่ว ยกัน ตามแนวคิดบุคลิ กห้ าองค์ประกอบของ คอสตาและแมคเคร (Costa & McCrae. 1992) ได้แก่ การเชื่อใจผู้อื่น ความตรงไปตรงมา ความ เอื้อเฟื้อ การคล้อยตามผู้อื่น ความสุภาพ และการมีจิตใจอ่อนไหว 1.4 การยึ ด มั่ นในหลั กศาสนา หมายถึ ง การที่ นั ก ศึ กษามี ก ารแสดงออกถึ งความคิ ด ความรู้สึกศรัทธา ในการยึดถือหลักการคาสั่งสอนของเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสที่บัญญัติไว้ในพระคริสต ธรรมคัมภีร์อย่างมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 1) การรักพระเจ้า หมายถึง การที่นักศึกษามีการ แสดงออกถึงความคิด ความรู้สึกศรัทธาต่อพระเจ้า 2) การรักเพื่อนมนุษย์ หมายถึงการที่นักศึกษามี การแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึกรักและผูกพันต่อเพื่อนมนุษย์ 2. กลุ่มตัวแปรอิสระด้านสถานการณ์ มี 3 ตัวแปร ได้แก่ การดารงชีวิตแบบเซเว่นเดย์แอ๊ด เวนตีส การถ่ายทอดทางศาสนา และการสนับสนุนจากคริสตจักร 2.1 การดารงชีวิตแบบเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีส หมายถึง การที่นักศึกษามีการกระทาหรือ การแสดงออกถึงการดาเนินชีวิตหรือมีวิถีการใช้ชีวิตความเป็นอยู่แบบเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีส ตามความ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

83

เชื่อ เจตคติ ค่านิยม หรือแบบแผนพฤติกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมที่นักศึกษา เป็นสมาชิกอยู่ ประกอบด้วย 1) ชีวิตครอบครัว หมายถึง การที่นักศึกษาได้มีการกระทาหรือการ แสดงออกถึงการดาเนินชีวิตหรือมีวิถีการใช้ชีวิตความเป็นอยู่แบบเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสของครอบครัวใน แต่ละวันให้สามารถดาเนินต่อไปได้ 2) ด้านสุขภาพอนามัย หมายถึง การที่นักศึกษาได้มีการกระทาหรือ การแสดงออกถึงการดาเนินชีวิตหรือมีวิถีการใช้ชีวิตความเป็นอยู่แบบเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีส ในการดูแล สุขภาพของตนเองให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงและปราศจากการเจ็บปุวย 3) ด้านการพักผ่อน หมายถึง การที่นักศึกษาได้มีการกระทาหรือการแสดงออกถึงการดาเนินชีวิตหรือมีวิถีการใช้ชีวิตความ เป็นอยู่แบบเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสในด้านการหยุดทางานชั่วคราวให้คลายเหนื่อยและกิจกรรมที่ทาตาม สมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียดให้เกิดความ สาราญใจ 4) ด้านการประมาณตน หมายถึง การที่นักศึกษาได้มีการกระทาหรือการแสดงออกถึงการ ดาเนินชีวิตหรือมีวิถีการใช้ชีวิตความเป็นอยู่แบบเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีส โดยสานึกในฐานะของตนว่าอะไร ควรทาอะไรไม่ควรทาจนเกินฐานะของตนที่เป็นอยู่ 2.2 การถ่ายทอดทางศาสนา หมายถึง การแสดงออกของนักศึกษาถึงการสังเกตเห็นและ รับรู้ว่าตนได้รับการอบรมสั่งสอนในหลักการ วิธีการและ/หรือการกระทาเป็นตัวอย่างของบิดามารดา หรือผู้มีอาวุโสในบ้าน จากเพื่อน และสถาบันศาสนาในเรื่องศาสนา ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดทาง ศาสนาจากครอบครัว หมายถึง การที่นักศึกษาได้มี การแสดงออกถึงการสังเกตเห็นและรับรู้ว่าตน ได้รับการอบรมสั่งสอนในหลักการ วิธีการ และ/หรือการกระทาเป็นตัวอย่างจากครอบครัวในเรื่อง ศาสนา 2) การถ่ายทอดทางศาสนาจากเพื่อน หมายถึง การแสดงออกของนักศึกษาถึงการสังเกตเห็น และรับรู้ว่าตนได้รับหลักการ วิธีการ และ/หรือการกระทาที่มีเพื่อนเป็นตัวแบบในการปฏิบัติในเรื่อง ศาสนา 3) การถ่ายทอดทางศาสนาจากสถาบันศาสนา หมายถึง การแสดงออกของนักศึกษาถึงการ สังเกตเห็นและรับรู้ว่าตนได้รับการอบรมสั่งสอนในหลักการ วิธีการและ/หรือการกระทาเป็นตัวอย่าง จากสถาบันศาสนาในเรื่องศาสนา 2.3 การสนับสนุนจากคริสตจักร หมายถึง การแสดงออกของนักศึกษาถึงการได้รับการ ช่วยเหลือหรือการส่งเสริมจากคริสตจักร ประกอบด้วย 1) การให้คาปรึกษา หมายถึง การแสดงออก ของนักศึกษาถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ สมาชิกของคริสตจักร โดยการอาศัยสื่อแบบสองทาง เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 2) การแนะนาศีลธรรม หมายถึงการแสดงออกของนักศึกษา ถึงการได้รับคาชี้แนะสิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักของสังคม 3) ทุนการศึกษา หมายถึง การแสดงออกของนั ก ศึ ก ษาถึ ง ความช่ ว ยเหลื อ ในเรื่ องค่ า ใช้ จ่า ยที่ ไ ด้ รับ จากคริส ตจั ก รเพื่ อ ใช้ ใ น การศึกษา 4) การทางานขณะศึกษา หมายถึง การแสดงออกของนักศึกษาถึงความพอใจในการได้รับ การสนับสนุนในด้านการเงินในการทางานกับคริสตจักรขณะที่กาลังศึกษาในมหาวิทยาลัยนานาชาติ เอเชีย-แปซิฟิก 5) สาธารณูปโภค หมายถึงการแสดงออกของนักศึกษาถึงความพอใจในสิ่งอุปโภคที่ จาเป็นต่อการดาเนินชีวิตที่ได้รับขณะศึกษา เช่น หอพัก บ้านพักนักศึกษาที่มีครอบครัว เป็นต้น 3. กลุ่มตัวแปรอิสระด้านจิตลักษณะตามสถานการณ์ มี 2 ตัวแปร ได้แก่ เจตคติต่อการ ปฏิบัติศาสนา และการประกาศศาสนา 3.1 เจตคติต่อการปฏิบัติศาสนา หมายถึง การแสดงออกของนักศึกษาถึงความรู้เชิงประเมิน ค่า ความรู้สึก และแนวโน้มต่อการปฏิบัติศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ คณะเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส


84

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

3.2 การประกาศศาสนา หมายถึง การกระทาหรือการแสดงออกของนักศึกษาถึงการ ช่วยเหลือเพื่อเผยแพร่ศาสนาให้กับคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส ทาให้สาธารณชนได้รู้จักเรื่องราว คา สอนของพระเยซู เพื่อประโยชน์แห่งประชาชนและสั งคมโดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงินหรือสิ่งอื่นใด ประกอบด้วยการประกาศศาสนา 1) ด้านการพูด หมายถึง การกระทาหรือการแสดงออกถึงการช่วยเหลือ เพื่อเผยแพร่ศาสนาให้กับคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส โดยการใช้ถ้อยคา 2) ด้านการเขียน หมายถึง การกระทาหรือการแสดงออกถึงการช่วยเหลือเพื่อเผยแพร่ศาสนาให้กับคริสตจักรเซเว่นธ์ เดย์แอ๊ดเวนตีส โดยการใช้ข้อความหรือประโยค 3) การทาตัวอย่างให้เห็น หมายถึง การกระทาหรือการแสดงออกถึงการ ช่วยเหลือเพื่อเผยแพร่ศาสนาให้กับคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส โดยการปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์ เดย์แอ๊ดเวนตีสของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก ใช้แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างและพัฒนาแบบจาลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ มีผู้ให้ ความหมายการปฏิบัติทางศาสนาไว้ดังนี้ งามตา วนินทานนท์ (2536: 21) ให้ความหมายว่าเป็นการกระทาของบุคคลในชีวิตประจาวัน ตามคาสั่งสอนของศาสดาที่ตนนับถือ ตูวันอารง ยีกาบา (2549: 6) ให้ความหมายว่าเป็นการแสดงออกโดยประพฤติปฏิบัติที่แสดง ถึงความรู้ ความเข้าใจในหลักศรัทธา และหลักการปฏิบัติในอิสลาม คาลัมบา (Calamba. 1982) ให้ความหมายในแนวของศาสนาคริสต์ว่า หมายถึง พฤติกรรมที่ คาดหวังของคริสตชนที่เข้าร่วมประชุมชนกับคนหมู่มากเพื่อเข้าร่วมพิธีกรรมต่างๆ ได้แก่ การอธิษฐาน พิธีมหาสนิท การสารภาพบาป การขอคาปรึกษากับบาทหลวงหรือแม่ชีในการแก้ปัญหาส่วนบุคคล และการเข้าร่วมในการประชุมการสนับสนุนทางศาสนาหรือกิจกรรมต่างๆ ทางศาสนา เอกรินทร์ สี่มหาศาล; และคนอื่นๆ. (2552) ให้ความหมายในทางศาสนาคริสต์ว่า เป็น พฤติกรรมการรักผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ มีความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข เสียสละให้แก่กันเมื่อมี ความจาเป็นเกิดขึน้ และยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี เป็นความรักระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ฮูน วัน ฟุค (Huynh Van Phuc. 2011) ให้ความหมายว่าหมายถึงการกระทาต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับศาสนา ได้แก่ การประกอบพิธีกรรม การกระทาตามหลักศาสนา การนาหลักศาสนามา ตีความกับชีวิตประจาวัน สรุปได้ว่าการปฏิบัติทางศาสนาจึงเป็นการประพฤติปฏิบัติตามความเชื่อและคาสั่งสอนของ ศาสนาให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนแห่งศาสนานั้น สามารถนาหลักศาสนามายึดเป็นหลักในการ ดาเนินชีวิตประจาวันได้อย่างถูกต้อง และมีการปฏิบัติอย่างสม่าเสมอจนเป็นกิจนิสัยตลอดจนเห็น คุณค่าของการปฏิบัติทางศาสนา ตอนที่ 1 การปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส แนวคิดและทฤษฎีการปฏิบัติทางศาสนาในการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวน ตีสนั้น คริสเตียนเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสถือว่าพระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เป็นแหล่งความเชื่อ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

85

เพียงแหล่งเดียว และถือปฏิบัติตามบัญญัติความเชื่อพื้นฐาน (Seventh-day Adventist Doctrines) จาแนกหมวดหมู่ตามการปฏิบัติทางศาสนาไว้เป็น 5 หมวด ได้แก่ การปฏิบัติต่อพระเจ้า การปฏิบัติต่อ สังคม การปฏิบัติต่อตนเอง การปฏิบัติพิธีกรรม การปฏิบัติกิจกรรมโบสถ์ มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติทางศาสนา ได้แก่ เอลลิส (Ellis. 2012) งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางศาสนาความสัมพันธ์ระหว่างการ ปฏิบัติพิธีกรรมและจิตวิญญาณในคริสตจักรนาซาเรนซ์ (Nazarene) การเป็นคริสเตียนที่สมบูรณ์แบบ ตามหลักคาสอนของจอห์น เวสลีย์ (John Wesley's Doctrine) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical Research) ใช้วิธีสารวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการนมัสการ 2) เพื่อหาความสัมพันธ์ ของการปฏิบั ติพิธีกรรมและจิ ตวิญญาณในคริสตจักรนาซาเรนซ์ (Nazarene) ตามหลั กคาสอนของ จอห์น เวสลีย์ (John Wesley's Doctrine) และ 3) เพื่อพิจารณาการปฏิบัติพิธีกรรมของสมาชิกใน คริสตจักรนาซาเรนซ์ (Nazarene) และประเมินผลกับจิตวิญญาณ ผลการวิจัยพบว่า พิธีกรรมของโบสถ์ นี้มี 3 แบบขึ้นอยู่กับคู่มือการอธิษฐานที่มีอิทธิพลต่อศาสนาจารย์ (Church Pastor) ในโครงสร้างของ การนมัสการ ได้แก่ 1) การไม่ได้รับอิทธิพลจากคู่มืออธิษฐาน 2) มีอิทธิพลเล็กน้อยจากคู่มืออธิษฐาน 3) มีความแตกต่างชัดเจนจากสองแบบแรก สมาชิกโบสถ์นี้ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่ 1 สมาชิกคิดว่าการท่อง คาอธิษฐานที่เขียนไว้ในการนมัสการรวม มีคุณค่าน้อยต่อจิตวิญญาณของสมาชิกโบสถ์ สปิลกา และคนอื่นๆ Spilka; et al. 1985) แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของการนับถือศาสนาที่มี ส่วนช่วยยับยั้งการกระทาผิดหลักศีลธรรม เช่น ในการศึกษาพฤติกรรมทุจริตการสอบของนักศึกษา มหาวิทยาลัย พบว่า นักศึกษาที่ตระหนักถึงคุณค่าภายในของศาสนา (Intrinsic Religion Orientation) จะมีการกระทาทุจริตน้อย นอกจากนั้นคริสต์ศาสนาได้กาหนดบรรทัดฐานไว้อย่างชัดเจนเพื่อปรามมิให้ มีการกระทาผิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศ โดยเฉพาะการมีสัมพันธ์ทางเพศกับบุคลนอกสมรสพบว่า จานวนผู้หญิงที่ไม่นับถือศาสนามีความสัมพันธ์ทางเพศกับบุคคลที่ไม่ใช่สามีมากเป็น 4 เท่าของผู้หญิงที่ อ้างว่ามีความใกล้ชิดศาสนา นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างการนับถือศาสนากับการใช้ยา เสพติด พบว่าความเข้มแข็งของความเชื่อและพฤติกรรมทางศาสนามีความสัมพันธ์ทางลบกับการใช้ยา เสพติดทุกประเภท วัยรุ่นซึ่งเข้าร่วมพิธีทางศาสนาบ่อยครั้ง น้อยรายที่มีการใช้ยาเสพติดประเภทกัญชา และเฮโรอีน ผลการวิจัยยังมีข้อค้นพบอีกว่า ศาสนาเป็นส่วนสาคัญในชีวิตของเขามากเท่าใดก็ยิ่งมีการ ใช้ยาเสพติดน้อยลง (งามตา วนินทานนท์. 2536: 30) ผลการวิจัยของงานต่างประเทศที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าบุคคลผู้มีความเชื่อศรัทธาและมีการ ปฏิบัติทางศาสนาจะนาหลักธรรมทางศาสนามาประกอบในการเลือกตัดสินกระทาในสิ่งที่สอดคล้อง กับหลักความเชื่อและการปฏิบัติของศาสนิกชน ตอนที่ 2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส ก. ปัจจัยด้านจิตลักษณะกับการปฏิบัติทางศาสนา 1. สุขภาวะ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้ให้ความหมายของสุขภาพ (Health) ไว้ว่า “Health is a stage of complete physical, mental, social and spiritual wellbeing,not merely absence of diseases and infirmity” ซึ่งหมายถึง ภาวะแห่งความสมบูรณ์ของ ร่างกายและจิตใจ รวมถึงการดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข และมิได้หมายความเฉพาะเพียงแต่


86

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ความปราศจากโรคหรื อ ความพิ ก ารทุ พ ลภาพเมื่ อ ประมวลจากเอกสารดั ง ข้ า งต้ น สามารถสรุ ป ความสาคัญของสุขภาพ (Health) ได้ว่าสุขภาพหมายถึง สภาวะของร่างกายที่มีความสมบูรณ์ แข็งแรง เจริญเติบโตอย่างปกติ ระบบต่าง ๆ ของร่างกายสามารถทางานได้เป็นปกติและมีประสิทธิภาพ ร่างกาย มีความต้านทานโรคได้ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและความทุพพลภาพ โดยในการศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษา ด้านสุขภาพใน 2 ประเด็นคือ 1) สุขภาพกาย หมายถึง สภาวะของร่างกายที่มีความสมบูรณ์ แข็งแรง เจริญเติบโตอย่างปกติ ระบบต่างๆ ของร่างกายสามารถทางานได้เป็นปกติและมีประสิทธิภาพ ร่างกาย มีความต้านทานโรคได้ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและความทุพพลภาพ 2) สุขภาพจิต หมายถึง สภาวะ ของจิตใจที่มีความสดชื่น แจ่มใส สามารถควบคุมอารมณ์ให้มั่นคงเป็นปกติ สามารถปรับตัวให้เข้ากับ การเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ดี สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และ ปราศจากความขัดแย้งหรือความสับสน ภายในจิตใจ มาเซลโก และคับแซนสกี (Maselko; & Kubzansky. 2005) ซึ่งใช้แบบการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross Sectional) มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญ ญาณ (Spirituality) ความเลื่อมใสในศาสนา (Religiosity) และลักษณะของการมีสุขภาวะที่ดี และความสัมพันธ์ระหว่าง เพศที่แตกต่างกันผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมสาธารณะเกี่ยวกับศาสนามีนัยสาคัญทางสถิติต่อการ ปฏิบัติทางศาสนาในแต่ละสัปดาห์ และยังมีความเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 2. ความรู้ทางศาสนา ยามาซากิ (Hideo Yamazaki. 1992) นักวิชาการชาวญี่ปุนได้ให้นิยามของคาว่า “ความรู้” คือสารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดเป็นความเข้าใจและ นาไปใช้ประโยชน์ในการสรุป และตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ โดยไม่จากัดช่วงเวลา ความรู้ทางศาสนามีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางศาสนาดังงานวิจัยของชาร์ลล็อตเต (Charlotte. 1996) ได้ ศึ กษาเรื่ องแนวคิ ดของความรอดของคริ ส เตี ยนเซเว่ นเดย์ แอ๊ ดเวนตี ส ในรั ฐ อินเดียนา กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มคนหนุ่มสาวเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสในโบสถ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และไค-สแควร์ (Chi-squares) ผลการวิจัยพบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด การไถ่ให้รอดของพระเจ้ากับอายุ แนวคิดการไถ่ให้รอดของพระเจ้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ แรงจูงใจ ภายใน นอกจากนี้ แบรดลีย์ (Bradley. 1996) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาแนวคิดของการไถ่ให้รอดของ พระเจ้าของวัยรุ่นเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสที่ศึกษาในโรงเรียนรัฐบาล ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดของการไถ่ ให้รอดของพระเจ้ามีนัยสาคัญทางสถิติ การบัพติศมามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเข้าใจในเรื่องการ ไถ่ให้รอดของพระเจ้าของนักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลซึ่งบิดาของนักเรียนเป็นสมาชิกโบสถ์ และ นักเรียนที่เป็นคริสเตียนเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสแต่ศึกษาที่โรงเรียนรัฐบาลมีพัฒนาการด้านความเข้าใจใน เรื่องการไถ่ให้รอดของพระเจ้าน้อยกว่านักเรียนที่เรียนโรงเรียนโบสถ์ 3. บุคลิกภาพแบบอ่อนโยน บุคลิกภาพแบบอ่อนโยน (Agreeableness) เป็น 1 ใน 5 องค์ประกอบของบุคลิกภาพห้า องค์ประกอบ (Big Five) ของคอสตาและแมคเคร (Costa & McCrae. 1992) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ศึกษา กับการปฏิบัติทางศาสนา เป็นลักษณะบุคลิกภาพประกอบด้วยลักษณะย่อย 6 ด้าน ได้แก่ การเชื่อใจ ผู้อื่น (Trust) ความตรงไปตรงมา (Straightforwardness) ความเอื้อเฟื้อ (Altruism) การคล้อยตาม ผู้อื่น (Compliance) ความสุภาพ (Modesty) และการมีจิตใจอ่อนไหว (Tender-mindedness)


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

87

จากงานวิจัยเรื่องบุคลิกภาพแบบอ่อนโยนจากการศึกษาของซาโรโกล (Saroglou. 2000) พบว่า บุคลิกภาพแบบอ่อนโยนมีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางศาสนาทางตรง โดยมีความสัมพันธ์ กับความเลื่อมใสในศาสนา ลักษณะการเปิดเผย วุฒิภาวะทางศาสนา และจิตวิญญาณ 4. การยึดมั่นในหลักศาสนา การยึ ดมั่ นในหลั กศาสนาหมายถึ ง การยึ ดถื อในหลั กการค าสั่ งสอนของแต่ ละศาสนาที่ ประกอบด้วยหลักศีลธรรมทั้งที่เป็นข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติ โดยยึดถืออย่างมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงง่ายๆ อับดุลเลาะ การีนา และสมเจตน์ นาคเสวี (2551: 5) ได้ศึกษาเรื่องการยึดมั่นในหลักการ ศาสนาของชาวไทยมุสลิ มในสามจั งหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ ให้ ความหมายการยึดมั่นในหลั กศาสนา อิสลามว่า เป็นการถือเอาคัมภีร์อัลกุรอานและอัลหะดีษเป็นที่ตั้ง ผลการวิจัยสรุปได้ว่าการยึดมั่นในหลัก ศาสนามีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางศาสนาทางตรง กล่าวคือการได้รับความรู้และการแนะนาที่ เกี่ยวกับการศรัทธา การปฏิบัติศาสนกิจ การยึดมั่นในหลักการศรัทธา ส่งผลต่อการปฏิบัติในทางศาสนา ข. ปัจจัยด้านลักษณะตามสถานการณ์กบั การปฏิบัติทางศาสนา 1. การดารงชีวิตแบบเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส การด ารงชีวิตแบบเซเว่นธ์ เดย์ แอ๊ดเวนตีสเป็นการด าเนิ นชีวิ ตที่ยึ ดพระเจ้ าเป็ นที่หนึ่งใน ครอบครัว และมีการดาเนินชีวิตตามคาสอนในพระคัมภีร์ โดยบิดามารดาจะเป็นแบบอย่างที่ดีงามในการ ดาเนินชีวิตให้กับบุตรได้มีจิตใจที่สูงส่ง มีจริยธรรม คุณธรรม เป็นการดาเนินชีวิตที่เน้นความเรียบง่าย ใน ด้านสุขภาพอนามัยจะต้องรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง บริโภคสิ่งที่เป็นประโยชน์ปราศจาก อบายมุ ขต่ างๆ จากการศึ กษาของจู ดิ ธ (Judith. 2000) ได้ ศึ กษาเรื่ องความมุ่ งมั่ น ทางศาสนากั บ ความสัมพันธ์ของสุขภาพจิตและความพึงพอใจของชีวิตของครอบครัวของเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีส กลุ่ม ตัวอย่างที่ศึกษาเป็นครอบครัวของเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสที่เป็นชาวอเมริกันผิวดาในประเทศสหรัฐอเมริกา จานวน 236 ครอบครัว ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในชีวิตสูง และรู้สึกว่าใกล้ชิด กับพระเจ้า ความมุ่งมั่นทางศาสนามีความสัมพันธ์กับด้านต่างๆ ของสุขภาพจิต ลักษณะครอบครัวที่ เข้มแข็ง รวมถึงความลึกซึ้งในการทางานร่วมกันซึ่งล้วนเป็นผลจากการดาเนินชีวิตตามวัฒนธรรมของ เซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสต่างส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนา 2. การถ่ายทอดทางศาสนา งามตา วนินทานนท์ (2536: 36) กล่าวว่าการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization) คือ กระบวนการจัดประสบการณ์ทางสังคมแก่บุคคลผู้เป็นสมาชิกของสังคมซึ่งจะมีผลต่อความเชื่อ เจตคติ ค่านิยม แรงจูงใจ และบุคลิกภาพของบุคคลโดยรวม โดยผ่านกระบวนการนี้บุคคลแต่ละคนจะเรียนรู้เพื่อ ปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐาน จารีตประเพณี และวิถีปฏิบัติต่างๆ ของสังคมที่เขาอาศัยอยู่ การถ่ายทอดทาง สังคมจะหล่อหลอมให้บุคคลมีลักษณะทางจิตใจและพฤติกรรมสอดคล้องกับลักษณะที่สังคมปรารถนาและ เห็นว่าเหมาะสมกับบทบาทของบุคคล ทั้งบทบาทที่ดารงอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีมาในอนาคต บุคคลที่มีอิทธิพลอย่างสาคัญต่อการถ่ายทอดทางศาสนาสู่เด็กและเยาวชนจากการประมวล งานวิจัยซึ่งเน้นการศึกษาตัวแทนในการถ่ายทอดทางศาสนา ได้แก่ ครอบครัว สถาบันทางศาสนา และ กลุ่มเพื่อน ตัวแทนในการถ่ายทอดทางศาสนาดังที่งามตา วนินทานนท์ (2536: 35) ได้สรุปว่า ครอบครัว เป็นตัวแทนทางสังคมที่มีความสาคัญเป็นอันดับแรกในการถ่ายทอดทางศาสนาและสอดคล้องกับแนวคิด ดั้งเดิมเกี่ยวกับการถ่ายทอดทางสังคมของนักจิตวิทยาพัฒนาการที่มีชื่อเสียง เช่น อีริคสัน (Erickson)


88

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

และฟรอยด์ (Freud) ส่วนกลุ่มเพื่อนและสถาบันทางศาสนานั้นถือเป็นตัวแทนสังคมในอันดับรองลงมา ส่วนนาซีเราะห์ เจะมามะ (2554: 114-115) ได้สรุปว่าบ้านมีกระบวนการถ่ายทอดการปฏิบัติ ตามหลักคาสอนของศาสนาอิสลาม ด้วยการสอนให้เยาวชนรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีบิดามารดา ปฏิบัติตามหลักปฏิบัติและแบบอย่างให้เยาวชนปฏิบัติ ส่วนโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามมีกระบวนการ ถ่ายทอดการปฏิบัติตามหลักคาสอนของศาสนาอิสลาม โดยการสอนให้เด็กประพฤติตัวตาม การถ่ายทอดทางศาสนามีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางศาสนาทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือในการถ่ายทอดทางศาสนานั้นสถาบันครอบครัวซึ่งมีผู้ใ หญ่ในครอบครัว และบิดามารดาเป็น หลักที่มีบทบาทอย่างสาคัญยิ่งการถ่ายทอดความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม ตลอดจนพฤติกรรมทางศาสนา ให้แก่บุตรหลาน บิดามารดาเป็นแบบอย่างที่สาคัญในการปฏิบัติทางศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมารดา มีอิทธิพลต่อการถ่ายทอดเจตคติ ค่านิยมทางศาสนามากกว่าบิดา และระดับการมีส่วนร่วมทางศาสนา ของบิดามารดาสามารถทานายปริมาณความเชื่อและการปฏิบัติทางศาสนาของบุตรได้ นอกจากนี้ ชุมชนก็มีกระบวนการถ่ายทอดการปฏิบัติตามหลักคาสอนของศาสนาอีกด้วย การถ่ายทอดทางศาสนามีผลอย่างไรต่อการปฏิบัติทางศาสนาของเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสนั้น เอ็ดเกิล (Edgel. 1992) ซึ่งได้ศึกษาเรื่องการถ่ายทอดทางสังคมของความเชื่อทางศาสนาในคริสตจักร เซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีส กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นสมาชิกคริสตจักรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เลคยูเนี่ยนคอนเฟอ เรนซ์ของเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีส (Lake Union Conference of Seventh-day Adventists) จานวน 466 คน โดยใช้แบบสอบถาม พบว่ามีค่าความสั มพันธ์เท่ากับ .83 ผลการวิจัยแสดงให้ เห็ นว่า การ นมัสการของครอบครัวเป็นกิจกรรมร่วมของครอบครัวที่มีประสิทธิผลมากที่สุด การอธิษฐานควรมีการ อธิษฐานทั้งตอนเช้าและตอนเย็น ไซโซ (Seizou. 1987) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนากระบวนทัศน์ของพระ คัมภีร์ไบเบิลสาหรับเด็กเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสที่ยังไม่รับบัพติศมา ผลการวิจัยพบว่าแม้ว่าเด็กที่บิดา มารดาพาไปโบสถ์ยังไม่ได้รับบัพติศมา แต่ก็ได้รับการบันทึกชื่อเป็นสมาชิกโบสถ์เช่นเดียวกับบุคคลอื่นๆ นอกจากนี้ ดัดเลย์ (Dudley. 2000) ได้ศึกษาเรื่องทาไมเยาวชนจึงละทิ้งโบสถ์พบว่า อิทธิพลของ ครอบครัวสามารถพยากรณ์การดาเนินชีวิตคริสเตียนเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสว่าได้ดาเนินตามหรือได้ละทิ้ง แนวทางของคริสเตียน 3. การสนับสนุนจากคริสตจักร ไวท์ (White. 1827-1915: 317) ยังได้กล่าวถึงการสนับสนุนจากคริสตจักรไว้ในหนังสื อ คาแนะนาสาหรับคริสตจักร (Counsels for the Church) ว่าพระเจ้าปรารถนาจะให้พลไพร่ของพระองค์ แสดงให้ชาวโลกที่มีความผิดบาปเห็ นว่า พระองค์จะไม่ทอดทิ้งพลไพร่ของพระองค์ การสนับสนุนของ คริสตจักรต่อนักศึกษา สามารถสรุปได้ 2 ประเด็นคือ 1) การสนับสนุนจากมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นเดย์แอ๊ด เวนตีสแห่งประเทศไทย โดยการให้ทุนการศึกษา และเมื่อจบการศึกษาแล้ว คริสตจักรกลางก็จะจัดสรรงาน ให้ทา 2) การสนับสนุนนักศึกษามหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิกมีการให้คาปรึกษา การแนะนา ศีลธรรม ทุนการศึกษา การทางานขณะศึกษา สาธารณูปโภค เป็นต้น ดิกซัน (Dixon. 2001) ได้ศึกษา เรื่องการเตรียมสมาชิกคริสตจักรในชุมชน : กลยุทธ์ติดตามเพื่อจิตวิญญาณของการสร้างกลุ่มในคริสตจักร เซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสแบรนดอน ผลการวิจัยพบว่า การสนับสนุนและให้กาลังใจมีการเปลี่ยนไปในเชิงบวก ในการปฏิบัติทางศาสนา อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ใน 5 ด้านคือ 1) ด้านความสัมพันธ์กับ พระเจ้ า 2) ด้านบทบาทของศาสนาจารย์ และสมาชิ กในการเเผยแพร่ ศาสนา 3) ด้านชุมชน 4) ด้าน


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

89

ของขวัญทางจิตวิญญาณ 5) ด้านแนวคิดและกระบวนการที่ใช้ในการสร้างจิตวิญญาณที่มีประสิทธิภาพสูง และเป็นทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพที่จะได้รับประโยชน์อย่างมากในคริสตจักรท้องถิ่น ค. ปัจจัยเชิงเหตุด้านจิตลักษณะตามสถานการณ์กบั การปฏิบัติทางศาสนา 1. เจตคติต่อการปฏิบัติศาสนา หมายถึงความรู้สึก ความคิด หรือความเชื่อและแนวโน้มที่จะแสดงออกซึ่งพฤติกรรมของบุคคล ต่อศาสนาซึ่งก็คือหลักของกลุ่มเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสนั่นเอง การปฏิบัติศาสนายังเป็นพฤติกรรมการกระทา หรืออาการที่แสดงออกทางความคิดและความรู้สึก เพื่อตอบสนองสิ่งเร้าของการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับศาสนาหรือนิกายแห่งศาสนานั้นๆ และเป็นการกระทาของบุคคลในชีวิตประจาวันตามคาสั่ง สอนของศาสดาที่ตนนับถือ (งามตา วนินทานนท์. 2536 : 21) สุดเจน ฝุนเรือง (2533) ได้ศึกษาเจตคติต่อศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตาม ตัวแปรความเชื่อทางศาสนา เพศ และสภาพแวดล้อมทางศาสนาของโรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า ความ เชื่อที่แตกต่างกันมีเจตคติต่อศาสนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียน คริสต์มีเจตคติดีกว่านักเรียนพุทธและมุสลิม ส่วนนักเรียนพุทธกับนักเรียนมุสลิมมีเจตคติต่อศาสนาไม่ แตกต่างกัน ในด้านเพศกับเจตคติต่อศาสนานั้น นักเรียนเพศหญิงมีเจตคติต่อศาสนาดีกว่านักเรียน ชายอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบนักเรียนตามสภาพแวดล้อมทางศาสนา ของโรงเรียนจะเห็นว่า นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในสภาพแวดล้อมทางศาสนาของโรงเรียนตรงกับศาสนาที่ ตนนับถือกับนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในสภาพแวดล้อมทางศาสนาของโรงเรียนที่ตนนับถือพบว่า นักเรียนมี เจตคติต่อศาสนาไม่แตกต่างกัน คาลัมบา (Calamba. 1982) ได้ศึกษาเรื่องการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติทางศาสนาของ นักเรียนโรงเรียนเซนต์โยเซฟ การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนา ผลการวิจัยพบว่า เจตคติต่อศาสนากับการปฏิบัติทางศาสนามีนัยสาคัญทางสถิติ ส่วนพิลคิงตัน; พอพ เพิลตัน และโรเบิร์ตชอว์ (Pilkington; Poppleton & Robertshaw. 2011: Online) ได้ศึกษาเรื่อง การเปลี่ยนเจตคติต่อการปฏิบัติศาสนาของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยพบว่า ในปีที่สามของนักศึกษา จะลดลงอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ เมื่อคิดเป็นรายบุคคลพบว่า สี่ในเจ็ดคนจะละเลยการร่วมกิจกรรม ทางศาสนาหรือออกจากกลุ่มคริสเตียนไปอยู่กลุ่มใหม่ ในนักศึกษาหญิงจะมีมากกว่านักศึกษาชาย การ เปลี่ ย นแปลงที่ พ บในเจตคติ แ ละพฤติ ก รรมทางศาสนาของกลุ่ ม ตั ว อย่ า งนี้ เ ป็ น ผลโดยตรงจาก ประสบการณ์ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย จากการเปรียบเทียบการตอบสนองของนักศึกษาพบว่ า ลักษณะการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยไม่มีผลต่อเจตคติต่อการปฏิบัติศาสนาของนักศึกษาชายแต่จะ มีผลต่อนักศึกษาหญิง 2. การประกาศศาสนา วศิน อินทสระ และไชย ณ พล (2554: 5) ได้อธิบายว่า การเผยแพร่หรือประกาศศาสนาเป็น กระบวนการสาคัญที่เกี่ยวข้องกับการขยายตัวของศาสนาซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ในการเผยแพร่ ธรรมะนั้นสามารถทาได้ 3 วิธีคือ 1) การพูด 2) การเขียน 3) การทาตัวอย่างให้เห็น ไวท์ (White. 1827-1915) นักคริสต์ศาสนศึกษาซึ่งถือว่าเป็นผู้สื่อข่าวของพระเจ้า (God Messenger) ของคริสเตียนคณะเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสกล่าวว่า การประกาศศาสนาเป็นหน้าที่ของคริส


90

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

เตียน เป็นการประกาศข่าวประเสริฐของพระเจ้าให้ผู้ที่ยังไม่รู้เรื่องราวของพระเจ้าได้ทราบและเข้าใจ เรื่องราวของพระองค์ การประกาศศาสนาเป็นจิตอาสาทางศาสนา เพื่อช่วยเหลือทางด้านศาสนาด้วย ความสมัครใจ เป็นการนาคาสอนของเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสไปเผยแพร่ให้ปรากฏต่อการรับรู้ของบุคคล กลุ่มบุคคล และมวลชน อาจประกาศศาสนาผ่านสื่อต่างๆ ทั้งที่เป็นสื่อบุคคลและสื่อมวลชน โดยมุ่งหวัง ให้ผู้รับเข้าใจและนาไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ การประกาศศาสนาจะมีอาสาสมัคร (volunteer) ซึ่งหมายถึง ผู้ที่สมัครใจทางานเพื่อ ประโยชน์ของประชาชนและสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงินหรือสิ่งอื่นใด มหาวิทยาลัยนานาชาติ เอชีย-แปซิฟิกซึ่งผู้วิจัยศึกษา เน้นการจัดการศึกษาแบบพัฒนาคนให้มีความสมดุลในทุกมิติของชีวิต ให้ คุณธรรมน าความรู้ เพื่ อจะได้ ส ามารถน าความรู้ ทั กษะ และเทคโนโลยี มาใช้ อย่ างมี ปั ญญาและมี จิตสานึกในความรับผิดชอบต่อการรับใช้สังคม ปณิธานของมหาวิทยาลัยคือ “มุ่งคุณธรรม เสริมปัญญา พัฒนาคน” มีกิจกรรมประกาศศาสนา ได้แก่ การนมัสการ (Wednesday Chapel) พิธีทางศาสนาตอน เย็น (Friday Vespers ) เทศกาลแห่งศรัทธา (Festival of Faith) การประชุมอธิษฐาน (Pray Meeting) การนมัสการหอพัก (Dormitory Worship) การศึกษาพระคัมภีร์ (Personal Bible Studies) โครงการชุมชนสัมพันธ์ (Community Outreach Project) ยุวชนแอ๊ดเวนตีสกับชุมชน (Adventist Youth Community) โครงการผู้แสวงหา (The Seekers) เป็นการแสวงหาเพื่อการเรียนรู้ และแสวงหามิตรภาพในสภาพแวดล้อมของคริสเตียน โดยจะแบ่งปันข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ ให้กับนักศึกษาที่ไม่ใช่คริสเตียน เป็นต้น ฮอลล์ (Hall. 1999) ได้วิจัยเรื่องการพัฒนาโปรแกรมสาหรับการคงไว้ของสมาชิกใหม่ คริสตจักรเซเว่นเดย์แอ๊ดเวนตีสในกรุงเยรูซาเล็ม ผลการวิจัยพบว่า คริสตจักรมีความจาเป็นที่จะต้อง พิจารณาการประกาศศาสนาว่ามีความสัมพันธ์กับการเติบโตและความแน่วแน่ของคนที่เปลี่ยนศาสนา ใหม่ สิ่งเกิดขึ้นในชีวิตหลังการบัพติศมาของคนเหล่านั้นมีความสาคัญเท่ากับก่อนรับบัพติศมา ความรู้ ของคริสต์ศาสนิกชนและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตทั้งหมดได้รับการสอนก่อนการรับบัพติศมา แต่จากข้อ สมมุติฐานในการปฏิบัติพบว่า การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นหลังจากการรับบัพติศมาและการ เป็นสมาชิกคริสตจักรแล้ว ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ คณะเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย -แปซิฟิก ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ มิ ช ชั่ น มหาวิ ท ยาลั ย นานาชาติ เ อเชี ย -แปซิ ฟิ ก วิ ท ยาเขตกรุ ง เทพฯ และ มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก วิทยาเขตมวกเหล็ก รวมจานวนประชากร 698 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาที่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ คณะเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย -แปซิฟิก ภาค การศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย แปซิฟิก วิทยาเขตกรุ งเทพฯ และมหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย -แปซิฟิก วิทยาเขตมวกเหล็ ก รวม


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

91

จานวนกลุ่มตัวอย่าง 567 คน เนื่องจากจานวนประชากรที่ใช้ในการวิจัยมีจานวนจากัดเพียง 698 คน ส่วนหนึ่ งผู้ วิจั ยได้คัดเลือกมาเป็ นกลุ่ มทดลองเครื่องมือการวิจัย จานวน 100 คน ทาให้ เหลื อกลุ่ ม ตัวอย่าง 598 คน สาหรับใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยภาคสนาม ในการศึกษาครั้งนี้ใช้การ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ซึ่งใช้วิธีประมาณค่าพารามิเตอร์ ด้วยวิธีการประมาณค่าความเป็นไปได้สูงสุด (Maximum Likelihood: ML) จาเป็นต้องใช้กลุ่มตัวอย่าง ขนาดใหญ่ (Saris; & Stronkhorst. 1984) ผู้วิจัยจึงพิจารณาเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เหลือทั้งหมด โดยใช้ วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) หรือสุ่มแบบมีจุดมุ่งหมาย (Judgmental sampling) เพราะกลุ่มตัวอย่างมีลักษณะสอดคล้องหรือเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรที่ศึกษา มีความเหมาะสมกับ ปัญหาและจุดประสงค์ของการวิจัย โดยเมื่อนาเครื่องมือไปเก็บรวบรมข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่าง 598 คนแล้ว ผู้วิจัยได้รับเครื่องมือกลับคืนจากกลุ่มตัวอย่าง จานวน 567 คน การดาเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบ สารวจรายการ (Check list) ลักษณะทางชีวสังคมและภูมิหลัง ตอนที่ 2 แบบสอบถามการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส มีลักษณะเป็น มาตรวัดประมาณค่า 6 ระดับคือ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย มี ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.846 ตอนที่ 3 แบบสอบถามปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติ ทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์ แอ๊ดเวนตีส จาแนกเป็น 8 ด้าน ได้แก่ สุขภาวะ บุคลิกภาพแบบอ่อนโยน การยึดมั่นในหลักศาสนา การดารงชีวิตแบบเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส การถ่ายทอดทางศาสนา การสนับสนุนจากคริสตจักร เจต คติต่อการปฏิบัติศาสนา และการประกาศศาสนา มีลักษณะเป็นมาตรวัดประมาณค่า 6 ระดับคือ จริง ที่สุด จริง ค่อนข้างจริง ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.785, 0.618, 0.791, 0.774, 0.824, 0.784, 0.865 และ 0.883 ตามลาดับ ตอนที่ 4 แบบวัดสอบถามปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่ นธ์ เดย์แอ๊ดเวนตีส ด้านความรู้ทางศาสนา มีลักษณะเป็นมาตรวัด 2 ระดับ คือ ใช่ และไม่ใช่ มีค่าความ เชื่อมั่นเท่ากับ 0.705 การวิเคราะห์ข้อมูล 1. การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติในการหาคุณภาพเครื่องมือ 2. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) เพื่อตรวจสอบ ความกลมกลืนของแบบจาลองการวัด การปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส ตาม สมมุติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีการประมาณค่าพารามิเตอร์ ด้วยวิธีการประมาณค่าความ เป็นไปได้สูงสุด (Maximum Likelihood: ML) ซึ่งพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (2-Chi-squares) โดย มีค่าไค-สแควร์ ที่ไม่มีนัยสาคัญทางสถิติหรือสัดส่วนของค่าไค-สแควร์กับค่าองศาความอิสระไม่เกิน


92

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

2.00 มีค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มากกว่า 0.90 ขึ้นไป มีค่าดัชนีรากมาตรฐานของค่าเฉลี่ยกาลังสองของส่วนที่เหลือ (SRMR) และมีค่า ดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกาลังสอง ของค่าความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) น้อยกว่า 0.05 ผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสมีความกลมกลืนกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์หลังจากการปรับโมเดล(2=329.227, df=191, CFI=0.996, TLI=0.980, RMSEA=0.035) มีองค์ประกอบการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส ได้แก่ การ ปฏิบั ติต่อพระเจ้า การปฏิบั ติต่อสั งคม การปฏิบัติต่อตนเอง การปฏิบัติพิธีกรรม และการปฏิบัติ กิจกรรมโบสถ์ โดยตัวแปรที่มีค่าน้าหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือการปฏิบัติต่อพระเจ้า รองลงมาคือ การปฏิบัติพิธีกรรม การปฏิบัติต่อ ตนเอง การปฏิบัติกิจกรรมโบสถ์ และการปฏิบัติต่อสังคม มีค่า น้าหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.88 0.87 0.73 0.82 และ 0.61 ตามลาดับ การอภิปรายผล ผลการวิจัยเรื่อง การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์ เดย์แอ๊ดเวนตีสของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย -แปซิฟิก มีประเด็นที่ควร น ามาอภิ ป รายผลดั งต่ อ ไปนี้ 1) การปฏิบ ัต ิท างศาสนาตามหลัก เซเว่น ธ์เ ดย์แ อ๊ ดเวนตี ส มี ค วาม กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์หลังจากการปรับโมเดล มีองค์ประกอบการปฏิบัติทางศาสนาตามหลัก เซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส ได้แก่ การปฏิบัติต่อพระเจ้า การปฏิบัติต่อสังคม การปฏิบัติต่อตนเอง การ ปฏิบัติพิธีกรรม และการปฏิบัติกิจกรรมโบสถ์ การปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสที่ กล่าวมานั้น มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เนื่องจากการปฏิบัติทั้ง 5 องค์ประกอบสร้างมา จากทฤษฎีทางศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism Christian) คริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ด เวนตีส (Seventh-day Adventist Church) ซึ่งเรียกว่าบัญญัติความเชื่อพื้นฐาน (Seventh-day Adventist Doctrines) 28 ข้อ แบ่งออกเป็น 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การปฏิบัติต่อพระเจ้า การปฏิบัติ ต่อสังคม การปฏิบัติต่อตนเอง การปฏิบัติพิธีกรรม และการปฏิบัติกิจกรรมโบสถ์ จากผลการศึกษา สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้ การปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสเป็น การปฏิบัติทางศาสนา เป็นการ ประพฤติปฏิบัติตามความเชื่อและคาสั่งสอนของศาสนาให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนแห่งศาสนานั้น สามารถนาหลักศาสนามายึดเป็นหลักในการดาเนินชีวิตประจาวันได้อย่างถูกต้อง และมีการปฏิบัติ อย่างสม่าเสมอจนเป็นกิจนิสัยตลอดจนเห็นคุณค่าของการปฏิบัติทางศาสนา การปฏิบัติในทางศาสนา ตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส ทั้ง 5 ด้านนั้น มีปัจจัยเชิงสาเหตุต่างๆ หลายด้านประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านจิตลักษณะ ได้แก่ สุขภาวะ ความรู้ทางศาสนา บุคลิกภาพแบบอ่อนโยน และการยึดมั่น ใน หลักศาสนา 2) ปัจจัยด้านสถานการณ์ ได้แก่ การดารงชีวิตแบบเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส การถ่ายทอด ทางศาสนา การสนับสนุนจากคริสตจักร 3) ปัจจัยด้านจิตลักษณะตามสถานการณ์ ได้แก่ เจตคติต่อ การปฏิบัติศาสนา การประกาศศาสนา ในบทความนี้มุ่งนาเสนอองค์ประกอบการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส ซึ่งมีอยู่ 5 ด้าน ได้แก่ การปฏิบัติต่อพระเจ้า การปฏิบัติต่อสังคม การปฏิ บัติต่อตนเอง การปฏิบัติ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

93

พิธีกรรม และการปฏิบัติกิจกรรมโบสถ์ ซึ่งการปฏิบัติทางศาสนาดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษาของ งามตา วนินทานนท์ (2536: 29) พบว่า การปฏิบัติทางพุทธศาสนามีการปฏิบัติตามหลักของศีลห้าซึ่ง ถือเป็นหลักปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่สาคัญเพื่อควบคุมการแสดงออกทางกายและวาจา ให้เป็นระเบียบและ เกื้อกูลต่อการดารงชีวิตอยู่ร่วมกันของหมู่ชนในสังคม ในส่วนของการศึกษาในต่างประเทศเกี่ยวกับการปฏิบัติทางศาสนาจากการศึกษาของสปิลกา และคนอื่นๆ (งามตา วนินทานนท์. 2536: 30; อ้างอิงจาก Spilka; et al. 1985) พบว่า ในการศึกษา พฤติกรรมทุจ ริตในการสอบของนั กศึกษามหาวิทยาลั ย นักศึกษาที่ตระหนักถึงคุณค่าภายในของ ศาสนา (Intrinsic Religion Orientation) มีการกระทาทุจริตน้อย นอกจากนั้นคริสต์ศาสนาได้ กาหนดบรรทัด ฐานไว้อ ย่ า งชั ดเจนเพื่อ ปรามมิใ ห้ มี การกระทาผิ ดเกี่ย วกั บความสั มพั นธ์ ทางเพศ โดยเฉพาะการมี สั ม พั น ธ์ ท างเพศกั บ บุ ค ลนอกสมรสพบว่ า จ านวนผู้ ห ญิ ง ที่ ไ ม่ นั บ ถื อ ศาสนามี ความสัมพันธ์ทางเพศกับบุคคลที่ไม่ใช่สามีมากเป็น 4 เท่าของผู้หญิงที่อ้างว่ามีความใกล้ชิดศาสนา นอกจากนี้ ยั ง มีงานวิจั ย ความสั มพันธ์ ระหว่ างการนับถื อศาสนากับ การใช้ยาเสพติด พบว่ าความ เข้มแข็งของความเชื่อและพฤติกรรมทางศาสนามีความสัมพันธ์ทางลบกับการใช้ยาเสพติดทุกประเภท วัย รุ่ นซึ่งเข้าร่ ว มพิธีทางศาสนาบ่อยครั้ง น้อยรายที่มีการใช้ยาเสพติดประเภทกัญชาและเฮโรอีน ผลการวิจัยยังมีข้อค้นพบอีกว่า ยิ่งศาสนาเป็นส่วนสาคัญในชีวิตของเขามากเท่าใดก็ยิ่งมีการใช้ยาเสพ ติดน้อยลง จากผลการวิจัยที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าบุคคลผู้มีความเชื่อศรัทธาและมีการปฏิบัติทาง ศาสนาจะนาหลักธรรมทางศาสนามาประกอบในการเลือกตัดสินกระทาในสิ่งที่สอดคล้องกับหลัก ความเชื่อและการปฏิบัติของศาสนิกชน ในส่วนของการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสซึ่งมี 5 ด้านตามที่กล่าว ข้ า งต้ น มี ร ายละเอี ย ดในหลั ก ความเชื่ อ ทางศาสนาคริ ส ต์ นิ ก ายโปรเตสแตนต์ (Protestantism Christian) ของคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส (Seventh-day Adventist Church) เรียกว่า บัญญัติความเชื่อพื้นฐาน (Seventh-day Adventist Doctrines) 28 ข้อซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อย อื่นๆ ของพระบัญญัติสิบประการ ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้ 1.1 การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ด เวนตีสของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก ทาให้ทราบถึงปัจจัย เชิง สาเหตุที่สาคัญที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก สามารถนาองค์ความรู้นี้ไปใช้ประกอบการกาหนด นโยบายกิจกรรมทางศาสนา นโยบายทางการศึกษา เพราะสถานศึกษาแห่งนี้เป็นสถาบันอุดมศึกษา ของคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งจัดตั้งภายใต้มูลนิธิคริสเตียน เมดิคอลเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย 1.2 ผลจากการศึกษาครั้งนี้ ทาให้ ได้ข้อมู ล ที่มีความส าคั ญและเป็นประโยชน์ต่อแผนก ศาสนกิจของมหาวิทยาลัย ในการวางแผนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดกิจกรรมทางศาสนา และ กาหนดเป็นนโยบายในการจัดการศึกษา


94

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

1.3 ผลจากการศึกษาทาให้สานักงานมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศ ไทยใช้เป็นข้อมูลในการวางกลยุทธ์ในการเผยแพร่หรือจัดกิจกรรมทางศาสนาให้กับสมาชิกคริสตจักรที่ เป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรีได้ 1.4 การนาผลการวิจัยไปใช้ควรอยู่ภายใต้หลักความเชื่อของคริสตศาสนิกชนโปรเตสแตนต์ (Protestantism Christian) คริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส (Seventh-day Adventist Church Doctrines) เนื่องจากเป็นการศึกษาเรื่องศาสนาซึ่งมีข้อจากัดในเรื่องหลักความเชื่อซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง 1.5 เนื่องจากเครื่องมือวัดการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสพัฒนาขึ้น เพื่อวัดปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติ ทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสที่ครอบคลุม 10 ด้านเท่านั้ น การวัดผลอาจจะไม่ครอบคลุ มสิ่งที่ต้องการวัด ดังนั้นการวัดผลต้องอาศัยเครื่องมืออื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น แบบสังเกต แบบตรวจสอบรายการ (Check list) แบบบันทึกพฤติกรรม เป็นต้น 2. ข้อเสนอแนะสาหรับการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 เนื่องจากการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทางศาสนาตามหลักเซเว่นธ์ เดย์แอ๊ดเวนตีสเป็นการเก็บข้อมูลกับนักศึกษาที่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ คณะเซเว่นธ์ เดย์แอ๊ดเวนตีสที่ศึกษาในระดับปริญญาตรีเท่านั้น ดังนั้นในการทาวิจัยครั้ งต่อไป ควรมีการศึกษาใน กลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้วย 2.2 ควรมีการพิทักษ์สิทธิกลุ่ มตัวอย่างเสมอ ถึงแม้ผู้ตอบจะนับถือศาสนาคริสต์ นิกาย โปรเตสแตนต์ คณะเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสก็ตาม เพราะยังมีความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ วัฒนธรรม ลักษณะทางชีวสังคมและภูมิหลัง และ ฯลฯ เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษานานาชาติ 2.3 ควรมีการศึกษาการปฏิบั ติทางศาสนาตามหลั กเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส กับสมาชิก คริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสในพื้นที่อื่น เอกสารอ้างอิง กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2548). แผนปฏิบัติการ โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ประชาชน ประจาปีงบประมาณ 2549. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. งามตา วนินทานนท์. (2536). ลักษณะทางพุทธศาสนาและพฤติกรรมศาสตร์ของบิดมารดาที่ เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูบุตร. รายงานการวิจัยฉบับที่ 50. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย พฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ตูวันอารง ยีบากา. (2549). การพัฒนาเครื่องมือวัดการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักการอิสลาม ใน สาระการเรียนรู้อิสลามศึกษาช่วงชั้นที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรมหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การ วัดผลการศึกษา) สงขลา : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยทักษิณ. ถ่ายเอกสาร. นาซีเราะห์ เจะมามะ. (2554). กระบวนการถ่ายทอดการปฏิบัติตามหลักคาสอนของศาสนา อิสลามสาหรับเยาวชนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ . วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ) สงขลา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ. ถ่ายเอกสาร.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

95

มานพ ศรีวรกุล. (2547). การเปลี่ยนแปลงในระดับครอบครัวและชุมชนจากการนับถือศาสนาคริสต์ ของชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอ. ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบ) เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ถ่ายเอกสาร. อรพินทร์ ชูชม. (2549). การวิเคราะห์ปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับจิตสานึกทางปัญญาและ คุณภาพชีวิตของเยาวชนไทย. รายงานการวิจัยฉบับที่ 104. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย พฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อับดุลเลาะ การีนา และสมเจตน์ นาคเสวี. (2551). การยึดมั่นในหลักการศาสนาของชาวไทย มุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. รายงานการวิจัย ปัตตานี : วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ (2552) . สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์. Huynh Van Phuc. (2554). จามมุสลิมในเวียดนามหลังนโยบายโด๋ยเม้ย การปรับปรนวิถีชีวิต ทางเศรษฐกิ จ ศาสนปฏิ บั ติ แ ละชาติ พั น ธุ์ สั ม พั น ธ์ . วิ ท ยานิ พ นธ์ ปร.ด. (ไทศึ ก ษา) มหาสารคาม:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ถ่ายเอกสาร. Calamba, Alfreda B. (1982). A Study of Factors Affecting Religious Practices of Some Students of Saint Joseph’s College of Sindangan, Zamboanga del Norte, Master of Arts in Education Thesis (Higher Education) Pennsylvania : Graduate School, Saint Vincent’s College. Costa, P. & McCrae, R. (1992). Revised NEO Personality Inventory (NEO PI-R) and NEO Five-Factor Inventory (NEO-FFI). Odessa, Fla. : Psychological Assessment Resources. Ellis, Dirk Ray (2012). The relationship between liturgical practice and spirituality in the church of the nazarene with special reference to john wesley's doctrine of Christian perfection. Dissertation, (Theology) Michigan: Andrews University Graduate school. Andrews University. Photocopied. Pilkington; Poppleton & Robertshaw. (2011). Change in religious attitude and practices among students during university degree courses. n.p. British Journal of Educational Psychology. Retrieved September 29, 2015, from http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.2044-8279.1965.tb01799.x Saroglou. (2000). Religion and the five factors of personality: a meta-analytic review. Beigium: Department of Psychology, University catholique de Louvain, Pl. du Cardinal M Louvain-la Neuve. White, Ellen G. (n.d.). The Ministry (Work Done for God) of Healing. United State of America: The General Conference of Seventh-day Adventist. ……………………………………………………………………


96

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

การพัฒนาคู่มือการใช้ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์และ การวิเคราะห์เกณฑ์ปกติของแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยรูปภาพ แบบ ข. ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา The Development of Creative Thinking Test Manual and Norms of Creative Thinking Test of Undergraduate Students อารี พันธ์มณี1 เจษฎา อังกาบสี2

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ: พัฒนาคู่มือการใช้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยรูปภาพ แบบ ข. ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา และวิเคราะห์เกณฑ์ปกติของแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดย รูปภาพ แบบ ข. ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัย ของรัฐและเอกชน จานวน 1,310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยรูปภาพ แบบ ข. ของทอร์ แรนซ์ (Torrance Tests Creative Thinking : Figural Form B) ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 การต่อเติมภาพ กิจกรรมที่ 2 การวาดภาพให้ สมบู รณ์ กิจกรรมที่ 3 การต่อเติมภาพจากวงกลม การ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์หาค่าความเที่ยง และการหาค่าความเชื่อมั่นระหว่างระหว่างผู้ตรวจให้ คะแนน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลงคะแนนดิบเป็นคะแนนปกติ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1) ได้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยรูปภาพ แบบ ข. ของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา โดยมีค่าความเที่ยง .93 และมีค่าความเชื่อมั่นระหว่างผู้ตรวจให้คะแนน .95 ส่วนค่าคะแนน มาตรฐานปกติ T–Score ของแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยรูปภาพ แบบ ข. ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ด้านความคิดริเริ่ม (Originality), ด้านความคิดคล่องตัว (Fluency), ด้านความคิดละเอียดลออ (Elaboration), ด้านความคิดตั้งชื่อภาพ (Abstractness of Titles), ด้านความคิดไม่ยอมจานนต่อปัญหา (Resistance to Premature Closure) มีค่าคะแนนอยู่ระหว่าง 21 – 80, 21 – 80, 24 – 80, 35 – 80, 21 – 66 และมีคะแนนดิบอยู่ ระหว่าง 0 -28, 2 – 24, 3 – 17, 0 – 25, 3 – 20 ตามลาดับ และ 2) คู่มือการใช้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยรูปภาพ แบบ ข. ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาประกอบด้วย แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ การบริหารการ ทดสอบความคิดสร้างสรรค์ การตรวจให้คะแนนความคิดสร้างสรรค์ การแปลผลคะแนนความคิดสร้างสรรค์ คาสาคัญ: ความคิดสร้างสรรค์ เกณฑ์มาตรฐานปกติของ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ 1

รองศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2 ดร., ผู้อานวยการสานักบุคลากร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รองคณบดีฝุายบริหาร คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต อาจารย์ประจา บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

97

Abstract The purposes of this research were. 1) To Develop Creative Thinking Test Manual Figural Form B. of Undergraduate Students. 2) To study Norms of Creative Thinking Test Figural Form B. of Un graduated Students. The research samples were 1310 Students from public and private universities. The research instruments used was Torrance Test of Creative thinking Figural Form B. The test comprised three activities namely. Activity 1 Picture Construction, Activity 2 Picture Competition, Activity 3 Circles The statistical analysis were conducted to examine reliability and Intec reliability of scorer Creative Thinking Test, Figural from B comprised five aspects: originality, Fluency, Elaboration, Abstractness of Title, Resistance to Pre mature Closure The reliability of Creative Thinking Test was .93 and inters reliability of scorer’s was .95 The research analysis showed that originality, Fluency, Elaboration, Abstractness of Title, Resistance to Pre mature Closure normalized T – score of this research ranged from 21 – 80, 21 – 80, 24 – 80, 35 – 80, 21 – 66 and raw score ranged from 0 – 28, 3 – 17, 2 – 46, 0 – 25 and 3 – 20 respectively Torrance Test of Creative Thinking Test: Figural Form B Manual of Undergraduate Students comprised: Creative thinking Test, Administering Creative Thinking Test, Scoring of Creative Thinking Test, Interpreting Creative Thinking Test. Keywords: Creative Thinking, Norms of Creative Thinking Tests. ความสาคัญและที่มาของงานวิจัย ความคิดสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการทางสมองที่มีลักษณะพิเศษ ในการจินตนาการ การคิด ค้นพบ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ทั้งในด้านผลผลิตกระบวนการแก้ปั ญหา และนวัตกรรมการสร้างสรรค์ จรรโลงความเจริญก้าวหน้าและเอื้อประโยชน์สุขต่อชุมชน สังคม ประเทศที่นาศักยภาพด้านความคิด สร้างสรรค์ของบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็จะเสริมสร้างให้สังคมพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน แต่จากการศึกษาพบว่า สมองด้านสร้างสรรค์ (Creative Mind) เป็นคุณสมบัติที่สาคัญที่สุดของสมอง และเป็ นทักษะความสามารถที่คนไทยต้องการการพัฒนามากที่สุด และความคิดนอกกรอบ ก็จะ เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล (วิจารณ์ พานิช 2555: 25) ดังนั้นภายหลังปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาจึงได้กาหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานการประกันคุณภาพที่ เน้นกระบวนการคิดขั้นสูง ซึ่งได้แก่การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์และการคิดประเมินค่า เพื่อ ส่ งเสริ มคุ ณภาพของประชากร ให้ ส ามารถทางานและใช้ชี วิตในสั ง คมได้อย่า งปกติสุ ข (กองวิจั ย การศึกษา 2542: 8)


98

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ความคิดสร้ างสรรค์ เป็ นทักษะ ความรู้ คุณลั กษณะที่จาเป็นในการทางานและใช้ชีวิตใน ศตวรรษที่ 21 ซึ่งรัฐได้กาหนดเปูาหมายการเรียนรู้ในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษที่ 21 มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม รักความเป็นไทย มีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ มีทักษะ ด้านเทคโนโลยี สามารถทางานร่วมกับผู้อื่น สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ ซึ่งในด้าน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) คือทักษะพื้นฐานที่มนุษย์ใน ศตวรรษที่ 21 ทุกคนต้องเรียนเพราะโลกจะยิ่งเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และมีความซับซ้อนมากขึ้น การ เรียนรู้ทักษะในการเรียนรู้ (Leaning how to learn) ประกอบด้วย การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การ สื่อสารและการริเริ่มสร้างสรรค์ ต้องเร่งพัฒนาให้เร็วที่สุด (วิจารณ์ พานิช 2555: 29) เพราะความคิด สร้างสรรค์นั้นไม่ใช่วิชาจาเป็นที่ต้องบรรจุไว้ในหลักสูตรแต่ถือเป็นหน้าที่หลัก ของการศึกษา ซึ่งการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์นั้น ต้องใช้ยุทธศาสตร์ที่เป็นระบบ นั่นคือยุทธศาสตร์ที่สร้างความสมดุล ระหว่างหลักสูตรของโรงเรียน วิธีการสอนและการวัดประเมินผล (ถวัลย์ มาศจรัศ. 2548: 17) ปัจจุ บั นหลั กสู ตรการจั ดการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่ระดั บอนุบาล ประถม มัธยม และโดยเฉพาะระดับอุดม ได้เน้นและให้ความสาคัญกับการส่งเสริมกระบวนการคิด การพัฒนา ทักษะทางปัญญา การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดวิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนา คุณภาพเยาวชนและเตรียมเยาวชนให้มีความพร้อมสู่โลกศตวรรษที่ 21 โดยใช้วิ ธีการสอนที่หลากหลาย เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Bared Learning) การสอน แบบโครงงาน (Project Bsred Learning) การใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning) และใช้กลยุทธ การสอนคิด ได้แก่ แผนผังความคิด (Mind Map) การคิดด้วยหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats) และการ คิ ดอุ ปมาอุ ปมั ย (Synectics) จากผลการวิ จั ยสนั บสนุ นการพั ฒ นาทั กษะกระบวนการคิ ดระดั บสู ง (จรัญญา จักกาย: 2545, บังอร พรหมณ์ฤกษ์: 2545, เจษฎา อังกาบสี: 2550, อารี พันธ์มณ์: 2556) และ จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ เรื่องการวัดประเมินความคิ ดสร้างสรรค์วิธีการตรวจให้คะแนนและการ แปลผลแบบทดสอบ และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้ในงานวิจัยดังกล่าว ได้แก่ แบบทดสอบ ความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance Tcst of Creative Thinking) แบบทดสอบความคือ สร้างสรรค์ โดยรูปภาพของทอร์แรนซ์ มีอยู่ 2 แบบ คือแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยรูปภาพ แบบ ก. และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยรูปภาพ แบบ ข. ซึ่งแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยรู ป ภาพ แบบ ก. ได้ มี ก ารจั ดท าคู่ มื อ การใช้ แบบทดสอบ และการวิ เ คราะห์ เ กณฑ์ ป กติ ข อง แบบทดสอบ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา (อารี พันธ์มณี 2521) ระดับมัธยมศึกษา (อารี พันธ์มณี 2522) และระดับอุดมศึกษา (อารี พันธ์มณี 2523) และได้มีการนาผลการศึกษาวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการศึกษา วิจัยในสถาบันการศึกษา ส าหรั บ แบบทดสอบความคิด สร้ า งสรรค์ โ ดยรู ป ภาพแบบ ข. ได้ มี ก ารจั ด ท าคู่ มือ การใช้ แบบทดสอบและการวิเคราะห์เกณฑ์ปกติระดับประถมศึกษา (อารี พันธ์มณี 2556) ส่วนแบบทดสอบ ความคิดสร้างสรรค์ของแบบวัดระดับ อุดมศึกษายังไม่ได้จัดทา ดังนั้นเพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยรูปภาพ แบบ ข. ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ผู้วิจัยจึงสนใจ ศึกษาการพัฒนาคู่มือการใช้แบบทดสอบและวิเคราะห์เกณฑ์ปกติของแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยรูปภาพ แบบ ข. ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

99

วัตถุประสงค์ 1. เพื่ อ พั ฒ นาคู่ มื อ การใช้ แ บบทดสอบความคิ ด สร้ า งสรรค์ โ ดยรู ป ภาพ แบบ ข. ของ นักศึกษาระดับอุดมศึกษา 2. เพื่อวิเคราะห์หาเกณฑ์ปกติ (Norms) ของแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยรูปภาพ แบบ ข. ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ขอบเขตการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากร เป็ น นั ก ศึ ก ษาระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ที่ ก าลั ง ศึ ก ษาในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน 2. กลุ่ ม ตั ว อย่ า ง เป็ น นั ก ศึ ก ษาระดั บ อุ ด มศึ ก ษาที่ ก าลั ง ศึ ก ษาในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา มหาวิ ท ยาลั ย ของรั ฐ และเอกชน จ านวน 1,310 คน ที่ ไ ด้ ม าจากการสุ่ ม แบบหลายขั้ น ตอนจาก ประชากร นิยามศัพท์เฉพาะ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้วัดความสามารถทางสมองในการคิด ตอบสนองต่อสิ่งเร้าในด้านปริมาณ ความแปลกใหม่ และความละเอียดลออ และการคิดแก้ปัญหาได้ ประกอบด้วย 1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ความสามารถในการคิดตอบสนองต่อสิ่ง เร้าให้ได้ปริมาณมาก 2. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ความสามารถในการคิดตอบสนองต่อสิ่งเร้าให้ แปลกใหม่มีคุณค่าและเกิดประโยชน์ 3. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) หมายถึง ความสามารถในการคิดตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าในการคิดรายละเอียด ที่นามาตกแต่งความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ชัดเจน 4. การคิดตั้งชื่อภาพ (Abstractness of Titles) หมายถึง ความสามารถในการคิด จินตนาการตั้งชื่อภาพที่วาด 5. ความไม่ยอมจานนต่อปัญหา (Resistance to premature closure) หมายถึง ความสามารถอดทนไม่ ย อมแพ้ ต่ อ ปั ญ หา ไม่ ด่ ว นสรุ ป ปั ญ หาอย่ า งทั น ที ทั น ใด แต่ คิ ด ใคร่ ค รวญ พิจารณาอย่างรอบคอบ และนาไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ ประโยชน์จากการศึกษา 1. ได้ คู่ มื อการใช้ แบบทดสอบความคิ ดสร้ างสรรค์โดยรู ปภาพ แบบ ข. ส าหรั บนั กศึ กษา ระดับอุดมศึกษา 2. ได้เกณฑ์ปกติของแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยรูปภาพ แบบ ข. สาหรับนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา


100

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

วิธีการวิจัย การพัฒนาคู่มือและการวิเคราะห์เกณฑ์ปกติของแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยรูปภาพ แบบ ข.ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อใช้ในการทดสอบความคิดสร้างสรรค์ และการวางแผนการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาดาเนินการดังนี้ 1. การแปลคาชี้แจงของแบบทดสอบเป็นภาษาไทย โดยนักภาษาศาสตร์ 2. การจัดทาและพิมพ์แบบทดสอบ 3. กาหนดนิยามปฏิบัติการ ของแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ 4. การทดลองใช้แบบทดสอบ 5. การหาความเที่ยงของแบบทดสอบ นาแบบทดสอบที่ได้หาคุณภาพแล้วไปใช้กับ กลุ่มตัวอย่าง 6. วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นระหว่างผู้ตรวจ 7. วิเคราะห์หาค่าเกณฑ์ปกติ (Norm) คะแนนมาตรฐานปกติ เพื่อนามาใช้ในการ แปลความหมายของคาตอบของผู้รับการทดสอบ การจัดทาคู่มือของแบบทดสอบ คู่มือแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยรูปภาพประกอบด้วย 1. บทนา 2. แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยรูปภาพ แบบ ข. 3. การบริหารการทดสอบความคิดสร้างสรรค์ 4. การตรวจให้คะแนนแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ 5. การแปลผลของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ ผลการวิจัย 1. แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยรูปภาพ แบบ ข. ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 3 ชุด (activity) ซึ่งทอร์เรนซ์ ใช้คาว่า กิจกรรม (activity) กิจกรรมที่ 1 การวาดภาพ ให้วาดภาพต่อเติมสิ่งเร้าที่กาหนดให้เป็นภาพที่แปลกใหม่ แล้วตั้งชื่อภาพที่วาดให้น่าสนใจ กิจกรรมที่ 2 การต่อเติมภาพให้สมบูรณ์ ให้ต่อเติมภาพสิ่งเร้าให้สมบูรณ์จากสิ่งเร้า 10 สิ่งเร้าที่กาหนดให้เป็นภาพที่แปลกใหม่ แล้วตั้งชื่อภาพที่วาดให้น่าสนใจ กิจกรรมที่ 3 การใช้วงกลม ให้ต่อเติมวงกลม 30 วง ให้เป็นภาพที่แปลกใหม่ และตั้ง ชื่อภาพให้น่าสนใจ 2. คุณภาพของแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยรูปภาพ แบบ ข. มีค่าความเที่ยง.93 คุณภาพของการตรวจแบบทดสอบ ระหว่างผู้วิจัยและผู้เชียวชาญ มีค่ามีค่าความเชื่อมั่น.95 3. ผลการวิเคราะห์เกณฑ์ปกติหรือปกติวิสัย (Norm) ของแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย (1) ความคิดริเริ่ม (2) ความคิดคล่องตัว (3) ความคิด ละเอียดละออ (4) ความคิดตั้งชื่อภาพ (5) ความคิดไม่ยอมจานนต่อปัญหา


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

101

3.1 ข้อมูลเกณฑ์ปกติหรือปกติวิสัย (Normative Data) ของแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้มาจากการวิเคราะห์คะแนนที่ได้จากการทาแบบทดสอบความคิด สร้างสรรค์ โดยรูปภาพ แบบ ข. ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่กาลังศึกษาใน มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน จานวน 1,310 คน โดยนามาหาค่าเฉลี่ยค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนมาตรฐานปกติ T-score 3.2 เกณฑ์การแปลความหมาย เกณฑ์ปกติหรือปกติวิสัยของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ แสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 เกณฑ์การแปลความหมายเกณฑ์ปกติหรือวิสัยของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ โดยรูปภาพแบบ ข. คะแนนมาตรฐานปกติ (T-Score) การแปลความหมาย ตั้งแต่ T65 และสูงกว่า มีความคิดสร้างสรรค์สูงที่สุด ตั้งแต่ T55 – T 64 มีความคิดสร้างสรรค์ค่อนข้างสูง ตั้งแต่ T45 – T 54 มีความคิดสร้างสรรค์ปานกลาง ตั้งแต่ T35 – T 44 มีความคิดสร้างสรรค์ต่า ตั้งแต่ T34 และต่ากว่า มีความคิดสร้างสรรค์ต่าที่สุด ตารางที่ 2 ตัวอย่างเกณฑ์ปกติของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ ด้านความคิดริเริ่ม ความคิด คล่องตั ว ความคิด ตกแต่ ง ความคิดตั้งชื่อภาพ ความคิดไม่ย อมจานนต่อปัญ หา และคะแนน มาตรฐานปกติ T-score (Normalized T-score ของกลุ่มตัวอย่าง N = 1,310) ความคิด การไม่ยอมจานน ความคิดคล่องตัว การตั้งชื่อภาพ ละเอียดลออ ต่อปัญหา คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน ดิบ มาตรฐาน ดิบ มาตรฐาน ดิบ มาตรฐาน ดิบ มาตรฐาน ดิบ มาตรฐาน (X) (T) (X) (T) (X) (T) (X) (T) (X) (T) 0 23 2 18 2 18 0 34 1 18 1 28 3 27 3 22 1 41 2 23 2 32 4 32 4 26 2 45 3 26 3 36 5 37 5 29 3 48 4 30 4 39 6 42 6 31 4 50 5 33 5 42 7 47 7 33 5 52 6 35 6 45 8 51 8 34 6 54 7 37 7 47 9 55 9 36 7 56 8 39 8 49 10 59 10 38 8 58 9 41 9 51 11 62 11 42 9 60 10 43 10 53 12 65 12 45 10 62 11 45 11 56 13 68 13 48 11 64 12 47 12 58 14 71 14 49 12 66 13 49 ความคิดริเริ่ม


102

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ความคิด การไม่ยอมจานน ความคิดคล่องตัว การตั้งชื่อภาพ ละเอียดลออ ต่อปัญหา คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน ดิบ มาตรฐาน ดิบ มาตรฐาน ดิบ มาตรฐาน ดิบ มาตรฐาน ดิบ มาตรฐาน (X) (T) (X) (T) (X) (T) (X) (T) (X) (T) 13 60 15 76 15 50 13 67 14 51 14 63 16 79 16 51 14 69 15 52 15 65 17 81 17 52 15 70 16 54 16 66 18 84 18 53 16 71 17 56 17 67 19 54 17 71 18 58 18 69 20 55 18 73 19 61 19 70 21 55 19 73 20 66 20 71 22 56 20 74 21 72 23 57 21 76 22 73 24 57 22 78 23 75 25 58 25 84 24 78 26 59 25 79 27 59 26 81 28 60 27 84 29 61 30 62 31 62 32 63 33 64 34 64 35 65 36 66 37 66 38 67 39 67 40 68 41 69 42 70 43 70 44 71 45 72 46 75 ความคิดริเริ่ม


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

103

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตามตารางที่ 2 พบว่า เกณฑ์ปกติของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ ด้านความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องตัว ความคิดละเอียดลออ ความคิดตั้งชื่อภาพ ความคิดไม่ยอมจานน ต่อปัญหา มีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 0 - 28, 2 – 24, 3 – 17, 0 – 25, 3 – 20 และมีคะแนนมาตรฐาน T-score มีค่าอยู่ระหว่าง 21 – 80, 21 – 80, 24 – 80, 35 – 80, 21 – 66 3.3 ผลการจัดทาคู่มือ (Manual) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยรูปภาพ แบบ ข. ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ การบริหารแบบทดสอบความคิด สร้างสรรค์ การตรวจให้คะแนนความคิดสร้างสรรค์ การแปลผลคะแนนความคิดสร้างสรรค์ เอกสารอ้างอิง อารี พันธ์มณี. (2555). การวิเคราะห์เกณฑ์ปกติของแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. Rungsinan A. (1976). Originality, Elaboration, Resistance to Quick Closure, Unusual Visual Perspective. Movement and Internal Visual Perspective among Second Grade Children in Thailand and Georgia (U.S.A) Doctoral Dissertation University of Georgia. Torrance E. P, (1965). Torrance Tests of Creative Thinking: Norms – Technical Manual Research Edition Verbal. Test, Form A and B Figural Test, Form A and B New Jersey: Personnel Press, Inc. ______. (1974). Torrance Tests of Creative Thinking Direction – Manual and Scoring. Guide Figural Test Booblet B Massachusetts: A Division of Ginn and Company. ______. (1974). Torrance Tests of Creative Thinking: Norms Technical Manual. Lexington, Mass: Personnel Press, Inc. ……………………………………………………………………


104

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยา เชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตาม หลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนกลุ่มปฐมนคร The Development of An Integrated Psychological Instruction Model For Enhancing The Five Precept Undertaking Behavior Based on the Three Good Conducts of Higher Primary School Students Under Pathomnakhon Group 1 2 3 พระมหาอดิเรก สีตวรานุกูล รัญจวน คาวชิรพิทักษ์ ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา บทคัดย่อ การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อ เสริมสร้างพฤติกรรมการรั กษาศีล 5 ตามหลั กสุ จริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อ เสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้าง พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 4) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิ ตวิทยาเชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 โดยใช้การสนทนากลุ่มเฉพาะ

1

นักศึกษาระดับดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา กลุ่มวิชาจิตวิทยาการเรียนรู้และการสอน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รองศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจาหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 3 รองศาสตราจารย์ ดร., ผู้อานวยการหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

105

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมการรักษา ศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มปฐมนคร ประจาภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2558 จังหวัดนครปฐม จานวน 223 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิผล ของรูปแบบการจัดการเรี ยนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการ เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการ รักษาศีล 5 ตามหลักสุ จริต 3 เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนกลุ่มปฐมนคร ประจา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จานวน 40 คน โดยใช้นักเรียนที่มีคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 อยู่ในช่วงค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 0-34 ซึ่งเป็นค่าพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลัก สุจริต 3 ระดับต่า สุ่มอีกครั้งหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จานวนกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลอง ได้รับการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรม การรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิ ง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ที่มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .802 2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการ เพื่อ เสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) เท่ากับ 0.66-1.00 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนกลุ่มปฐมนคร จานวน 223 คน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับสูง 2. กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุ จริต 3 หลังการทดลองและเมื่อ สิ้นสุดการติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ระยะหลังการทดลองและ ระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการวิเคราะห์สาระสาคัญของแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group) พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีความพอพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณา การเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 และมีความตั้งใจที่จะรักษาศีล 5 ตาม หลักสุจริต 3 ต่อไป คาสาคัญ: รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการ, การส่งเสริมพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3


106

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

Abstract The purposes of this research topic “The Development of An Integrated Psychological Instruction Model For Enhancing the Five Precept Undertaking Behavior Based on the Three group Conducts of Higher Primary School Students” were 1) to study the five precepts undertaking behavior based on the three good conducts of higher primary school students, 2) to develop an integrated instructional model for enhancing the five precept undertaking behavior based on the three good conducts of higher primary school students and 3) to evaluate the effectiveness of the developed model for enhancing the five precept undertaking behavior based on the three good conducts of higher primary school students. The sample of this study was divided into two groups. The first group to study the five precept undertaking behavior based on the three good conducts consisted of 223 students from Pathomnakhon school group. The second group selected to study the effectiveness of the developed models were 40 higher students obtaining the least five precept undertaking behavior scores from the testing scale. They were then randomly assigned into an experimental group and a control group, each group consisted of 20 students. The experimental group received treatment from the Integrated psychological instruction model while the control group attended class as used. The research instruments were 1) five precept undertaking behavior based on the three good conduct scale with the reliability coefficient alpha of .802 2) An Integrated Psychological Instruction Model For Enhancing Precept Behavior based on the Three good Conducts of Higher Primary School with the Index Objective Congruence (IOC) of 0.66 – 1.00 The research result were as follows: 1. The total mean score of Five Precept Undertaking Behavior Based on the Three Good conducts of Higher Primary School were high. 2. The five Precept Undertaking Behavior Based on the three good conducts of the students in the experimental group after participating in the model and the follow up were significantly higher than before the experiment at .01 level. 3. The five Precept Undertaking Behavior Based on the Three Good Conducts of the students in the experimented group after participating in the model and after the follow–up were significantly higher than that of the control group at .01 level.


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

107

4. The satisfaction of the students in the experimented group towards the developed model was high. They also revealed intentions to strengthen the five Precept Undertaking Behavior Based on the Three Good Conducts in the wider area. Keywords: The Development of An Integrated Psychological Instruction Model, Enhancing Five Precept Undertaking Behavior Based on the Three Good Conducts. ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ความเจริญก้าวหน้าในทางวิชาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตามการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค โลกาภิวัตน์ก่อให้เกิดการตื่นตัวที่จะรับรู้ถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆทั่วทุกมุมโลก ในส่วนของประเทศไทย ได้รับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางทั้งทางบวกและลบ กล่าวคือในทางบวกจะก่อให้เกิด การพัฒนาไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุและเทคโนโลยี ความทันยุคทันสมัย ในขณะเดียวกั นผล ในทางลบก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น การทาร้ายกันจนถึงแก่ชีวิตหรือการเบียดเบียนกัน การ ฉ้อราษฎร์ บั งหลวง การล่ วงละเมิดทางเพศ การไม่มีความซื่อสั ตย์ต่อกัน และการดื่มสุ ราหรือเสพ ยาเสพย์ติด เป็นอันเกี่ยวเนื่องกับปัญหาด้านพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ขาดการศึกษาและการอบรมที่ดี ด้านการมีพฤติกรรมการรักษาศีล 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กและเยาวชนไทย ซึ่งจะเติบโตขึ้นเป็น ผู้ใหญ่และเป็นกาลังสาคัญของประเทศชาติในอนาคต ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณา การเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เพราะเด็กวัยนี้เป็นวัยที่อยากรู้ อยากเห็น อยากทดลอง โดยบูรณาการแนวคิด หลักการ และวิธีการ ของทฤษฏี ทางจิ ต วิ ทยา 4 ทฤษฏี คื อ การเสริ มแรงและการเรี ย นรู้ จ ากตั ว แบบตามแนวทฤษฏี พฤติกรรมนิยม (Behaviorism) การเรียนรู้แบบสืบสอบตามแนวทฤษฏีปัญญานิยม (Cognitivism) การเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มตามแนว ทฤษฏีมนุยษนิยม (Humanisms) และการเรียนรู้โดยใช้ ปัญหาเป็นฐานตามแนวทฤษฏีสรรคนิยม (Constructivism) เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย คาถามวิจัย 1. พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายมี ลักษณะอะไรบ้าง 2. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการ รักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบและ ขั้นตอนอย่างไร 3. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรม การรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้นทาให้นักเรียนมี พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 เพิ่มขึ้นหรือไม่ 4. นักเรียนมีความพึงพอใจมากน้อยเพียงใดภายหลังได้รับการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการ สอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3


108

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้าง พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการ เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดย 3.1 เปรียบเทียบพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ตอนปลายกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลอง หลังการทดลองและเมื่อสิ้นสุดการติดตามผล 3.2 เปรียบเทียบพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ตอนปลายกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และเมื่อสิ้นสุดการติดตามผล 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตาม แนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 โดยใช้การสนทนา กลุ่มเฉพาะ สมมติฐานการวิจัย 1. นั กเรี ยนกลุ่ มทดลองที่ได้รั บ การเรียนรู้ ด้ว ยรู ปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนว จิตวิทยาเชิงบูรณาการ มีพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 หลังการทดลองและเมื่อสิ้นสุดการ ติดตามผล สูงกว่าก่อนการทดลอง 2. นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยา เชิงบูรณาการ มีพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 หลังการทดลองและเมื่อสิ้นสุดการติดตามผล สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการ เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ตอนปลาย กลุ่มปฐมนคร 8 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดวังตะกู โรงเรียนวัดม่วงตารศ โรงเรียนวั ดทัพยาย ท้าว โรงเรียนวัดทุ่งรี โรงเรียนบ้านทุ่งหัวพรม โรงเรียนบ้านหนองปากโลง และโรงเรียนบ้านนาสร้าง ประจาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จานวน 505 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่ มตั ว อย่ างที่ ใช้ ในการวิ จั ย ครั้ งนี้ แบ่ งออกเป็ น 2 ส่ ว น คื อ กลุ่ มตั วอย่ างที่ ใช้ ศึ กษา พฤติกรรมการเรียนรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดการ เรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการ เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ดังรายละเอียดและวิธีการในการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ต่อไปนี้ 2.1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มปฐมนคร ทั้ง 7 แห่ง คือ โรงวัดวังตะกู โรงเรียนวัดม่วงตารศ โรงเรียนวัด ทุ่งรี โรงเรียนวัดทัพยายท้าว โรงเรียนบ้านหนองปาก โรงเรียนบ้านทุ่งหัวพรหม และโรงเรียนบ้านนาสร้าง


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

109

ประจาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จังหวัดนครปฐม จานวน 223 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จากประชากรที่ระดับความเชื่อมั่น 95% 2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณา การเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนกลุ่มปฐมนคร ทั้ง 7 โรงเรียน ประจาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โดยใช้นักเรียนที่มี คะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 อยู่ในช่วงค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 0-34 ลงมา และสุ่ม มาจานวน 40 คน สุ่มอีกครั้งหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จานวนกลุ่มละ 20 คน กรอบแนวคิดการวิจัย การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการ เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนกลุ่มปฐมนคร มีกรอบแนวคิดการวิจัย ดังนี้ ตัวแปรต้น (Independent Variable)

ตัวแปรตาม (Dependent Variable)

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยา เชิ ง บู ร ณาการ ประกอบด้ ว ย หลั ก การ แนวคิ ด วัตถุ ป ระสงค์ กิจ กรรม การวัดและการประเมิน และ วิธีการของทฤษฏีทางจิตวิทยา 4 ทฤษฏี ได้แก่ 1.การ เสริ ม แรง และการเรี ย นรู้ จ ากตั ว แบบตามแนวกลุ่ ม พฤติ ก รรมนิ ย ม(Behaviorism) 2.การเรี ย นรู้ แ บบสื บ สอบ ตามแนวกลุ่มปัญ ญานิย ม (Cognitivism) 3.การ เรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่ม ตามแนวกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) และ4.การเรีย นรู้โ ดยใช้ปั ญ หาเป็ นฐาน ตามแนวกลุ่มสรรคนิยม (Constructivism) โดยมีกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1. ขั้นการสนทนาแลกเปลีย่ นเรียนรู้ 2. ขั้นพิจารณาปัญหาร่วมกัน 3. ขั้นของการใช้ปัญญา 4. ขั้นปฏิบัติกิจกรรม 5. ขั้นการประเมินผล

พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ด้าน ดังนี้ ศีลข้อที่ 1 การงดเว้นจากการฆ่าการประทุษร้ายเบียนเบียนกัน - กายสุจริต - การไม่แกล้งเพื่อน - การไม่ทาร้ายเพื่อน - การไม่เบียดเบียนหรือการไม่ฆ่าสัตว์ - วจีสุจริต - การไม่พูดชักชวนให้แกล้งเพื่อน - การไม่พูดชักชวนให้ทาร้ายเพื่อน - การไม่พูดชักชวนให้เบียดเบียนหรือฆ่าสัตว์ - มโนสุจริต - การมีจิตใจเมตตาต่อเพื่อนร่วมโลก - การไม่คิดร้ายมุ่งเบียดเบียน หรือเพ่งมองในแง่ที่จะร้าย ศีลข้อที่ 2 การงดเว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้ - กายสุจริต - การไม่ลักขโมยของผู้อื่น - การไม่ทาลายสิ่งของผู้อื่น - วจีสุจริต - การไม่พูดชักชวนให้ลักขโมยของผู้อื่น - การไม่พูดชักชวนให้ทาลายสิ่งของผู้อื่น - มโนสุจริต - การไม่คิดลักขโมยของผู้อื่นและทาลายสิ่งของผู้อื่น ศีลข้อที่ 3 การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม หรือการงดเว้นจากการ ล่วงละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักใคร่หวงแหน - กายสุจริต - การไม่ล่วงละเมิดทางเพศต่อเพศตรงข้าม - วจีสุจริต - การไม่กล่าววาจาแทะโลมเพศตรงข้าม - มโนสุจริต - การไม่คิดอกุศลต่อเพศตรงข้าม


110

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ตัวแปรตาม (Dependent Variable) ศีลข้อที่ 4 การงดเว้นจากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง - กายสุจริต - การไม่แสดงพฤติกรรมให้คนอื่นเข้าใจคลาดเคลื่อนจาก ความเป็นจริง - วจีสุจริต - การไม่กล่าวคาโกหกหลอกลวง - การไม่กล่าวคาหยาบคาย - มโนสุจริต - การไม่คิดที่จะกล่าวคาโกหกหลอกลวง - การไม่คิดที่จะกล่าวคาหยาบคาย ศีลข้อที่ 5 การงดเว้นจากการดื่มน้าเมาคือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาททาให้ขาดสติสัมปชัญญะ หรือเว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษ - กายสุจริต - การไม่เสพสิ่งเสพย์ติดทุกชนิด - วจีสุจริต - การไม่ชักชวนผู้อื่นให้เสพสิ่งเสพย์ติด - มโนสุจริต - การไม่คิดที่จะเสพสิ่งเสพย์ติด - การมีสติระลึกถึงโทษของการเสพสิ่งเสพย์ติด

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบวัดพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จานวน 34 ข้อ มีความ ตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item Objective Congruence : IOC) อยู่ระหว่าง 0.66-1.00 มีค่าอานาจจาแนกรายข้อ (Item discrimination power) อยู่ระหว่าง 0.20.62 และมีค่าความเที่ยง (reliability coefficient (alpha) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.802 2. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรม การรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item Objective Congruence : IOC) เท่ากับ 0.66-1.00 3. แบบสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group) เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียน การสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 และ ความตั้งใจที่จะแสดงพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ภายหลังสิ้นสุดระยะติดตามผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการ เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item Objective Congruence : IOC) เท่ากับ 1.00


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

111

วิธีดาเนินการวิจัย 1. ศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยา 2. ศึกษาเอกสาร แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 3. นาข้อความรู้ที่ได้จากการศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวรูปแบบการจัดการเรียนการอน ตามแนวจิตวิทยา มาบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 4. สร้างแบบวัดพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 และรูปแบบการจัดการเรียนการ สอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 5. ผู้วิจัยจัดให้กลุ่มตัวอย่างทาแบบวัดพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ทั้งก่อนการ ทดลอง หลั งการทดลอง และเมื่ อสิ้ น สุ ดการทดลองด้วยรูปแบบการจั ดการเรี ยนการสอนตามแนว จิตวิทยาเชิงบูรณาการ 6. ผู้วิจัยนาข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการวิจัย และอภิปรายผล การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ดาเนินการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ ข้อมูลเชิงปริมาณ 1. วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่าสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ของแบบวัดพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 2. ค านวณหาค่ า ร้ อ ยละและค่ า เฉลี่ ย ร้ อ ยละของกลุ่ ม ทดลองและกลุ่ ม ควบคุ ม ที่ แ สดง พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3ที่ได้จากการทาแบบวัดพฤติก รรมการรักษาศีล 5 ตาม หลักสุจริต 3 ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล 3. วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลองหลังการทดลอง และระยะติดตามผล โดยพิจารณาค่า F-test ด้วยการวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้า (One-Way ANOVA with Repeated Measurement) 4. วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล โดยพิจารณาค่า F-test ด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (Oneway ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป 5. การวิ เคราะห์ รู ปแบบการการจั ดการเรี ยนการสอนตามแนวจิ ตวิ ทยาเชิ งบู รณาการเพื่ อ เสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 โดยการวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) โดยใช้ สู ตรค านวณค่ าดั ชนี ความสอดคล้ องในด้ า นวั ตถุ ประสงค์ วิ ธี ด าเนิ นการ และการ ประเมินผล (Item-Objective Congruence: IOC) (วรรณี แกมเกตุ, 2549: 216-217)


112

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ข้อมูลเชิงคุณภาพ ดาเนินการโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากบันทึกการเรียนรู้ (Self-Monitoring) ของกลุ่มทดลอง และจากแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group) เพื่อนามาอธิบายพัฒนาการของผู้เรียนที่เกิดขึ้น ระหว่างการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการ เพื่อเสริ มสร้ างพฤติกรรมการรั กษาศี ล 5 ตามหลั กสุ จริต 3 โดยผู้ วิจัยด าเนินการวิเคราะห์ เนื้อหา (Content Analysis) ดังนี้ 1. อ่านบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคน 2. วิเคราะห์สาระสาคัญของบันทึกเรียนรู้ในกรอบขององค์ประกอบด้านพฤติกรรมการรักษา ศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 กล่าวคือ ด้านกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต 3. อ่านแบบสนทากลุ่มเฉพาะและวิเคราะห์สาระสาคัญ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ผลการศึกษาพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ตอนปลาย โรงเรียนกลุ่มปฐมนคร การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นนี้ ผู้วิจัยนาคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 มาหา ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและแปลผล ดังแสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ย( x ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ของพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตาม หลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งรายด้านและโดยรวม พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 แปลผล ด้านกายสุจริต สูง ด้านวจีสุจริต สูง ด้านมโนสุจริต สูง โดยรวม สูง

n

x

S.D

223

25.7489

3.77756

223

23.3812

3.16413

223

24.9821

3.88455

223

74.11

7.972

จากตารางที่ 1 กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 รายด้านอยู่ในระดับสูง x =25.7489, x =23.3812, x =24.9821 ตามลาดับ และโดยรวม อยู่ในระดับสูง ( x = 74.11) 2. ผลการวิเคราะห์คะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองระยะ ก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล ในการพิจารณาว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ในระยะก่อน การทดลอง หลั งการทดลองและระยะติ ดตามผล แตกต่ างกั นหรื อไม่ ผู้ วิ จั ยน าค่ าเฉลี่ ยของคะแนน พฤติ กรรมการรั กษาศี ล 5 ตามหลั กสุ จริ ต 3 ของกลุ่ มทดลองทั้ ง 3 ระยะมาท าการวิ เคราะห์ ความ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

113

แปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้า (One Way ANOVA with Repeated Measures) และนาเสนอผลการ วิเคราะห์ในตารางที่ 2-4 ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนทดลอง หลังทดลองและ เมื่อสุดการติดตามผล ของกลุ่มทดลองที่ได้รับการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยา เชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 (n=20) กลุ่ม

n

กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

20 20

พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง หลังการติดตามผล SD SD SD x x x 62.60 4.018 84.95 3.052 94.45 2.704 62.60 4.018 62.60 4.018 60.30 4.105

จากตารางที่ 2 กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการทาแบบวัดพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล เท่ากับ 62.60, 84.95, 94.45 ตามลาดับ และควบคุมมีค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการทาแบบวัดพฤติกรรมการรักษา ศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล เท่ากับ 62.60,62.60,60.30 ตามลาดับ ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้า (One Way ANOVA with Repeated Measures) ของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองใน ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล แหล่งความแปรปรวน การวัดก่อน หลังและระยะติดตามผล ความคลาดเคลื่อน รวม(Total)

df 1 19 20

SS 10144.225 207.275 10351.5

MS 10144.225 10.909 10155.164

F

sig

929.877 .000

จากตารางที่ 3 เมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้า (One Way ANOVA with Repeated Measures) ความแปรปรวนของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลัก สุจริต 3 ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผลของกลุ่มทดลองอย่างน้อย 1 คู่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (F= 31344.113) เพื่อให้ทราบว่าคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจรติ 3 ของกลุ่มทดลองในระยะ ใดบ้างที่แตกต่างกัน ผู้วิจัยจึงทาการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ทั้ง 3 ระยะของกลุ่มทดลอง ด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่ าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference) เพื่อดูว่าคู่ใดแตกต่างกันและแสดงผลการทดสอบในตารางที่ 4 ตารางที่ 4 ผลการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ของค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล


114

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ระยะ

n

ก่อนการทดลอง-หลังการทดลอง ก่อนการทดลอง-ระยะติดตามผล หลังการทดลอง-ระยะติดตามผล

20 20 20

ความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ย 22.350 31.850 9.500

ความคลาดเคลื่อน มาตรฐาน .993 1.044 .985

sig .000 .000 .000

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามตารางที่ 4 พบว่า ในกลุ่มทดลองค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรม กรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง (Mean Difference= 22.350) ระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง (Mean Difference= 31.850) และระยะติดตามผล สูงกว่าหลังการทดลอง อย่างมีสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลการวิเคราะห์คะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ที่ได้จากการทาแบบวัด พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล ในการพิจารณาว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลัก สุจริต 3 ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผลแตกต่างกันหรือไม่นั้น ใช้การ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ซึ่งมีข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลที่จะ นามาวิเคราะห์ 4 ประการ (Glass & Hopkins,1984:350-352;Roscoe, 1975:300-301;Steel & Torrie,1980: 167-170 และ Wynne, 1982:239) คือ 1) ข้อมูลต้องมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบ โค้งปกติ 2) มีความแปรปรวนเท่ากัน 3) ข้อมูลต้องเป็นอิสระกัน และ 4) ข้อมูลต้องมีความเป็นบวก ดังนั้น ก่อนที่ผู้วิจัยจะทาการทดสอบว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล การทดลองแตกต่างกัน หรือไม่นั้น ผู้วิจั ยได้นาคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลั กสุจริ ต 3 ของกลุ่มทดลองและกลุ่ ม ควบคุมทั้ง 3 ระยะ มาทาการทดสอบความเป็นเอกพัน ธ์ของความแปรปรวน (Homogeneity of Variance) แล้วจึงทาการทดสอบนัยสาคัญของความแตกต่างของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ใน แต่ละระยะและนาเสนอผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบดังรายละเอียดในหัวข้อที่ 1-6 (ตารางที่ 5) 1. การทดสอบความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวน (Homogeneity of Variance) ของ คะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ระยะก่อนการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม ตารางที่ 5 ผลการทดสอบความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวน (Homogeneity of Variance) ของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในระยะก่อนการ ทดลองพบว่า ไม่มีหลักฐานพอที่จะปฏิเสธความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวน (Homogeneity of Variance) ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม Levene Statistic .000

df1 1

df2 38

sig 1.000

จากตารางที่ 5 ผลการทดสอบความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวน (Homogeneity of Variance) ของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในระยะ


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

115

ก่ อ นการทดลองพบว่ า ไม่ มี ห ลั ก ฐานพอที่ จ ะปฏิ เ สธความเป็ น เอกพั น ธ์ ข องความแปรปรวน (Homogeneity of Variance) ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เนื่องจาก sig = 1.000 ซึ่งมากกว่า .01 จึงสรุปได้ว่าค่าความแปรปรวนของพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ในระยะก่อนการทดลอง ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้สถิติทดสอบ F ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) ได้ 2. การทดสอบนัยสาคัญของความแตกต่างของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ในระยะก่อนการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ตารางที่ 6 ผลการทดสอบนัยสาคัญของความแตกต่างของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ในระยะก่อนการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แหล่งความแปรปรวน SS df MS F sig ระหว่างกลุ่ม (Between Group) .000 1 .000 .000 ภายในกลุ่ม (Within Group) 613.600 38 16.147 1.000 รวม(Total) 613.600 19 จากตารางที่ 6 แสดงว่า ความแปรปรวนของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลัก สุจริต 3 ระยะก่อนการทดลองไม่ได้รับอิทธิพลจากรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยา เชิงบูรณาการ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (F=.000) 3. การทดสอบความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวน (Homogeneity of Variance) ของ คะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ระยะหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุม ตารางที่ 7 ผลการทดสอบความเป็ นเอกพั นธ์ ของความแปรปรวน (Homogeneity of Variance) ของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ระยะหลังการทดลองระหว่างกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม Levene Statistic 1.345

df1 1

df2 38

sig .253

จากตารางที่ 7 ผลการทดสอบความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวน (Homogeneity of Variance) ของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมใน ระยะหลั งการทดลองพบว่า ไม่มีห ลั กฐานพอที่จ ะปฏิเสธความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวน (Homogeneity of Variance) ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เนื่องจาก sig = .253 ซึ่งมากว่า .01 จึงสรุป ได้ว่าค่าความแปรปรวนของพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ในระยะหลังการ ทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้ สถิติทดสอบ F ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) ได้ 4. การทดสอบนัยสาคัญของความแตกต่างของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลัก สุจริต 3 ในระยะหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม


116

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ตารางที่ 8 ผลการทดสอบนัยสาคัญของความแตกต่างของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ในระยะหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แหล่งความแปรปรวน ระหว่างกลุ่ม (Between Group) ภายในกลุ่ม (Within Group) รวม(Total)

SS 4995.225 483.750 5478.975

df 1 38 39

MS 4995.225 12.730

F 392.390

sig .000

จากตารางที่ 8 แสดงว่า ความแปรปรวนของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ระยะหลังการทดลอง ได้รับอิทธิพลจากรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (F=392.390) 5. การทดสอบความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวน (Homogeneity of Variance) ของ คะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ระยะติดตามผลการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม ตารางที่ 9 การทดสอบความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวน (Homogeneity of Variance) ของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ระยะติดตามผลการทดลองระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม Levene Statistic 4.357

df1 1

df2 38

sig .044

จากตารางที่ 9 ผลการทดสอบความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวน (Homogeneity of Variance) ของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในระยะ ติ ดตามผลการทดลองพบว่ า ไม่ มี หลั กฐานพอที่ จะปฏิ เสธความเป็ นเอกพั นธ์ ของความแปรปรวน (Homogeneity of Variance) ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เนื่องจาก sig = .044 ซึ่งมากกว่า .01 จึงสรุปได้ว่าค่าความแปรปรวนของพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ในระยะติดตามผลการ ทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้สถิติ ทดสอบ F ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANVA) 6. การทดสอบนัยสาคัญของความแตกต่างของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลัก สุจริต 3 ในระยะติดตามผลการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ตารางที่ 10 ผลการทดสอบนัยสาคัญของความแตกต่างของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ในระยะติดตามผลการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แหล่งความแปรปรวน ระหว่างกลุ่ม (Between Group) ภายในกลุ่ม (Within Group) รวม(Total)

SS 11662.225 459.150 12121.375

df 1 38 39

MS 11662.225 12.083

F 965.185

sig .000

จากตารางที่ 10 แสดงว่า ความแปรปรวนของคะแนนพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

117

3 ระยะติดตามผลการทดลอง ได้รับผลจากรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณา การ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (F= 965.185) 4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากแบบสนทนากลุ่มเฉพาะของกลุ่มทดลอง โดย ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ข้อความจากการบันทึกการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group) จาแนกตามหัวข้อ ดังนี้ 4.1 นักเรียนมีความพึงพอใจวิธีการในการจัดการเรียนการสอนนี้มากน้อยเพียงใด?เพราะ เหตุใด? ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองพบว่า มีความ พึงพอใจวิธีการในการจัดการเรียนสอนนี้ มาก ซึ่งประกอบไปด้วยวิธีการเสริมแรง วิธีการใช้ตัวแบบ วิธีการเรียนรู้แบบสืบสอบวิธีการเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม และวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพราะเป็นวิธีการสามารถแสดง ความคิด ความรู้สึก พฤติกรรม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ภายใต้ บรรยากาศของความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้กาลังใจกันและกันและสามารถเรียนรู้วิ ธีการ สื่อสารกับสมาชิกกลุ่ม 4.2 นักเรียนมีความพึงพอใจลักษณะการจัดกิจกรรมนี้มากน้อยเพียงใด?เพราะเหตุใด? ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองพบว่า มีความ พึงพอใจลักษณะกิจกรรมในการจัดการเรียนสอนนี้ มาก โดยลักษณะกิจกรรมนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้ซักถามข้อสงสัย และแสดงความคิดทั้งส่วนตัวและกลุ่ม พร้อมกับการนาเสนอหน้าชั้นเรียน ทั้งผล การคิดวิเคราะห์ปัญหา และผลการร่วมกันใช้ปัญญาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 4.3 กิจ กรรมการเรี ย นรู้ในแต่ล ะขั้นตอนใดของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มี คุณค่าแก่นักเรียน? ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองพบว่า นักเรียน ได้เรียนรู้การทากิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้เก่ากับ ความรู้ ใหม่ซึ่งกันและกัน ได้เรียนรู้แนวคิดในการพิจารณาสภาพปัญหาแล้วใช้ปัญญาพิจารณาหา แนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยในแต่ละขั้นตอนของการจัดเรียนการสอนนั้นผู้วิจั ยเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นส่วนตัวและกลุ่มพร้อมทั้งสักถามข้อสงสัยต่างๆ 4.4 การเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการเรียนการอนในครั้งนี้เกิดคุณค่าอะไรกับนักเรียนบ้าง? ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองพบว่า คุณค่าที่ นักเรียนได้รับนั้นมีหลากหลาย พอประมวลสรุปได้ 3 ประการ ดังนี้ 1. คุณค่าทางกาย นักเรียนได้ เรีย นรู้ การทางานร่วมกับ คนอื่น ๆ และได้สร้างสัมพันธ์ภ าพกับเพื่อนๆในกลุ่ ม 2. คุณค่าทางจิตใจ นักเรียนได้เรียนรู้ถึงความมีน้าใจของกันและกัน มุ่งมั่นพยายามที่จะพิจารณาสภาพปัญหาและใช้ ปัญญาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 3. คุณค่าทางสติปัญญา นักเรียนได้รับความรู้เรื่องเบญจ ศีล เบญจธรรม และแนวทางการปฏิบัติตนในการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 เพิ่มเติมมากขึ้น


118

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

4.5 นั ก เรี ย นได้ น าพฤติ ก รรมการรั ก ษาศี ล 5 ตามหลั ก สุ จ ริ ต 3 ไปประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ น ชีวิตประจาวันได้อย่างไร? (ยกตัวอย่างประกอบ) ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณา การเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองพบว่า เรียนนักมีความตั้งใจ ในการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 นั้นมาก โดยเริ่มจาก ตื่นเช้ามาจะตั้งใจสมาทานศีล 5 ด้วยตัวเอง และ ในขณะทางานหรือเรียนหนังสือก็จะระลึกถึงศีล 5 และจะสารวมกาย วาจา และใจอยู่เสมอฯ 5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกการเรียนรู้ของกลุ่มทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากบันทึกการเรียนรู้ของกลุ่มทดลอง ดาเนินการโดยวิเคราะห์ สาระสาคัญ (Content Analysis) ภายในกรอบที่ได้กาหนดไว้ 5.1 สิ่งที่ได้เรียนรู้ ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองพบว่า นักเรียน ได้เรี ย นรู้แนวทางการประพฤติป ฏิบั ติตนในการรักษาศีล 5 ตามหลักสุ จริต 3 โดยผ่ านกิจกรรม วิธีการ และขั้นตอนที่ผู้วิจัยจัดให้ พร้อมทั้งได้เรียนรู้การทางานเป็นทีม(Team Work) ได้เรียนรู้ วิ ธีการคิดวิเคราะห์ ส ภาพปั ญ หาและการพิจ ารณาหาแนวทางการแก้ไขปั ญหาร่ว มกัน เพื่อไม่ใ ห้ เดือดร้อนตนเองและผู้อื่น 5.2 ความรู้สึกที่มีต่อการเรียนรู้ในครั้งนี้ ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองพบว่า นักเรียนมี ความประทับใจต่อการเข้าร่ วมกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนในครั้งนี้เป็นอย่างมมาก เพราะมี รูปแบบการนาเสนอที่สนุกสนาน มีคาถามที่ทาให้ผู้เรียนได้รู้จักคิดอยู่เกือบตลอดเวลา และมีการโต้ตอบ กันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ทาให้บรรยากาศไม่เงียบเหงา และเนื้อหาสาระก็มีประโยชน์ในการนาไประ ยุกต์ใช้ในการดาเนินชีวิตประจาวันได้พร้อมทั้งยกตัวอย่าง และเล่าเป็นนิทาน ทาให้ผู้เรียนเห็นภาพ ชัดเจน และเข้าใจง่าย ความรู้และสิ่งที่ได้รับ สามารถนาไปประยุกต์ใช้ได้จริงและยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น 5.3 แนวทางในการนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจา ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองพบว่า นักเรียนมี ความตั้งใจปฏิญาณว่า 1. จะไม่ละเมิด จะไม่คุกคามต่อชีวิตของผู้อื่น สัตว์อื่น ด้วยตัวเอง และไม่ใช้ให้ ใครละเมิด ทั้งนี้ด้วยความตระหนักรู้เป็นอย่างดีว่า ทั้งตัวเราเองและผู้อื่น สัตว์อื่น ต่างก็รักตัวกลัวตาย รักสุขเกลียดทุกข์เช่นเดียวกัน เรารักตัวเองฉันใด คนอื่น สัตว์อื่น ก็รักตัวเองฉันนั้น 2. จะไม่ละเมิดต่ อ ทรั พย์ สิ น และกรรมสิ ทธิ์ ในทรั พย์ สิ นของผู้ อื่ น ด้ วยตั วเอง และไม่ใช้ ให้ ใครละเมิด ทั้ งนี้ ด้ วยความ ตระหนักรู้เป็นอย่างดีว่า ทรัพย์สินของใครใครก็รัก ของของใครใครก็หวง เรารักและหวงแหนในทรัพย์สิน ของเราฉันใด คนอื่น สัตว์อื่น ก็รักและหวงแหนในทรัพย์สินของเขาฉันนั้น เมื่อทรัพย์สินของเราถูกขโมย หรือพลัดพรากจากเราไป เราย่อมทุกข์ฉันใด คนอื่น สัตว์อื่นก็ย่อมทุกข์ฉันนั้นเหมือนกัน 3.จะไม่ละเมิด ต่อจริยธรรมทางเพศของคู่ควง คู่รัก คู่ครอง และของเพศตรงข้าม ทั้งนี้ด้วยความตระหนักรู้เป็นอย่างดีว่า การละเมิดต่อจริยธรรมทางเพศของคู่ควง คู่รัก คู่ครองโดยปราศจากสติและความรับผิดชอบ นามาซึ่ง


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

119

ความทุกข์อย่างใหญ่หลวงทั้งต่อตัวผู้ถูกละเมิด และต่อครอบครัวของเขาหรือของเธอ ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้า จึงตั้งใจว่า หากข้าพเจ้าไม่พร้อมจะรับผิดชอบชีวิตของผู้ใดแล้ว ข้าพเจ้าจะไม่มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับ คนคนนั้ นเป็ นอั นขาด เพราะความสั มพันธ์ ที่ปราศจากความรั ก ปราศจากสติ และปราศจากความ รับผิดชอบนั้น คือ ต้นธารแห่งปัญหาชีวิตที่หนักหนาสาหัสอันไม่รู้จบสิ้น 4.จะไม่กล่าววาจาที่ปราศจาก สติอันเป็นเหตุให้เกิดความเดือนร้อนแก่ผู้อื่น แก่สังคม แก่ประเทศ และแก่มวลมนุษยชาติ และทุ กครั้งที่ พูด ข้าพเจ้าจะพยายามหลีกเลี่ยงการกล่าวคาพูดที่เป็นคาโกหก คาหยาบคาย คาเพ้อเจ้อ คาส่อเสียด คา ยุให้แตกความสามัคคี 5. จะไม่ดื่มสุรา และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และ/หรือสิ่งเสพติด ทุกชนิด ที่เมื่อดื่มแล้วจะทาให้ประมาทขาดสติ อันเป็นการสูญเสี ยปกติภาพแห่งความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ เพราะตระหนักเป็นอย่างดีว่า การดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่ประทุษร้ายต่อสติสัมปชัญญะใดๆ และการเสพ สิ่งเสพติดทุกชนิดนั้น เป็นประตูแห่งความเสื่อมสุขภาพ เสื่อมสติสัมปชัญญะ เสื่อมทรัพย์ เสื่อมเกียรติภูมิ ชื่อเสียง เสี่ยงต่อการทะเลาะวิวาทวุ่นวายอันเป็นอันตรายทั้งต่อชีวิตตนและผู้อื่น อภิปรายผลการวิจัย การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อ เสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 อภิปรายผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ข้อมูลเชิงปริมาณ 1.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการใช้แบบวัดพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มปฐมนคร ทั้ง 7 แห่ง มีพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตาม หลักสุจริต 3 อยู่ในระดับมาก ( x = 74.11) จากผลการวิจัยดังกล่าวสามารถอภิปรายผลได้ว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มปฐมนคร ทั้ง 7 แห่งนั้น ได้มีครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย เข้าไปสอนวิชาศีลธรรมเป็นประจาอยู่แล้ว และคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม ใน ส่วนงานเผยแผ่ได้จัดพระธรรมฑูตประจาอาเภอเข้าไปเผยแผ่ธรรมอยู่เป็นประจา ประกอบทั้งผู้บริหาร โรงเรียนกลุ่มปฐมนคร ทั้ง 7 แห่งได้จัดให้นักเรียนเข้าค่ายธรรมะ 3 คืน 4 วัน ที่วัดวังตะกู ในเดือน มิถุนายนของทุกปีอยู่แล้ว เมื่อนักเรียนได้ซึมซับเอาการเรียนรู้และการปฏิบัติธรรมเป็นประจาเช่นนี้ จึง เป็นผลให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มปฐมนคร ทั้ง 7 แห่ง มีพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 อยู่ในระดับมาก 1.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนว จิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาตอนปลาย พบว่า (อภิปรายผลตามสมมุติฐานข้อที่ 1) 1.2.1 อภิปรายผลตามสมมุติฐานข้อที่ 1 ดังนี้ : นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษา ศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ระยะหลังการทดลองและเมื่อสิ้นสุดการติดตามผล สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากผลดังกล่าวสามารถอภิปรายผลได้ว่า รูปแบบการจัดการเรียน การสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการ ได้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ การทางานเป็นทีม (Team Work) ของผู้เรียนเป็นสาคัญ มาผสมผสานกันเพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5


120

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ตามหลักสุจริต 3 โดยที่การจัดกิจกรรมด้วยการบูรณาการแนวคิดจิตวิทยานั้น ได้เน้นถึงการจัดกิจกรรม ที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้ริเริ่มลงมือทาด้วยตนเอง สังเกตจากตัวแบบ ศึกษาสถานการณ์เพื่อสร้างความเข้าใจ มโนทัศน์ ใหม่ และแก้ปั ญหาจากการท าความเข้าใจในสภาพปัญหาที่ เกี่ ยวข้ อง เน้ นการเสริมแรง ทางบวก ตลอดจนเน้นให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง และทางานร่วมกันกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เช่น ร่วมกัน วิเคราะห์สาเหตุของการกระทาผิดศีล 5 และร่วมกันระดมสมองหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น หลังจากที่ได้ชมสื่อวีดิทัศน์ ที่ผู้สอนได้นาเสนอไป โดยมีผู้วิจัยเป็นผู้ชี้แนะแนวทางเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิด การคิดวิเคราะห์ และได้เชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้เกิดเป็นกรอบแนวคิด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่ ผู้วิจัยสอนและสามารถนากรอบแนวคิดไปสร้างหลักการจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ เพื่อนาไปประยุกต์ใช้ในการ เสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ในชีวิตประจาวัน (Caine and Caine, 1991 อ้างถึงใน Frazee and Rudnitski, 1995: 135) สอดคล้องกับ Eggen and Kauchak (2001:14-15) ที่ เห็ นว่า การใช้วิธีที่เรี ยนรู้ แตกต่างกันจะน าไปสู่เปูาหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งองค์ประกอบส าคัญที่ที อิทธิพลต่อการเลือกวิธีเรียนรู้ที่เหมาะสมได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียนและเนื้อหาที่จะสอน โดยผู้สอนจะเป็นผู้ กาหนดเปูาหมายที่ต้องการให้ เกิดขึ้นกับผู้เรียน นั่นก็คือ การเกิดพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลัก สุจริต 3 และผู้เรียนแต่ละคนจะตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ที่ต่างกันอันเป็นผลมาจากประสบการณ์เดิม และแรงจูงใจซึ่งเกิดจากค่านิยม เจตคติและวัฒนธรรม ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนว จิ ตวิ ทยาเชิ ง บู ร ณาการนี้ มี การผสมผสานของการเสริ มแรง การสั ง เกตจากตั ว แบบ การสื บ สวน กระบวนการกลุ่ มและการเรี ยนรู้ โดยใช้ปั ญหาเป็นฐาน ซึ่งแต่ละวิธีล้ วนมีผลต่อการทาให้ ผู้ เรียนมี พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 สูงขึ้น ดังนี้ 1) การเสริ มแรง มีผ ลต่อการทาให้ ผู้เรียนมีพฤติก รรมการรักษาศีล 5 ตามหลั ก สุจริต 3 เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับคากล่าวของฮิงการ์ดและบาวเวอร์ที่กล่าวว่าการกระทาใดๆ ที่ได้รับการ เสริ มแรงจะมีแนวโน้ มให้การกระทานั้นๆเพิ่มขึ้น ส่ว นการกระทาใดๆที่ไม่ได้รับการเสริมแรงจะมี แนวโน้มที่ลดลง (Hilgard and Brower, 1966: 11) จากการสังเกตของผู้วิจัย ผู้เรียนได้เข้าร่วมในการทดลองครั้งนี้มีความตั้งใจ ให้ความ ร่วมมือเป็นอย่างดี รวมทั้งมีความกระตือรือร้น เข้าเรียนตรงเวลา มีความรับผิดชอบ และมีความพร้อมที่ จะพั ฒ นาพฤติ กรรมการรั กษาศี ล 5 ตามหลั กสุ จริ ต 3 ของตนเอง ตลอดจนตั้ งใจฟั งผู้ วิ จั ยชี้ แจง จุดมุ่งหมายและขั้นตอนต่างๆในการทดลอง จึงทาให้พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของ ผู้เรียนกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นตามลาดับและผู้เรียนยังสามารถบอกถึงประโยชน์และคุณค่าของการได้รับการ เสริมแรงหลังจากการทดลองเสร็จสิ้นได้เป็นอย่างดี ดังผู้เรียนที่เขียนว่า “...พอตนเองได้ออกไปนาเสนอ หน้าชั้นเรียนให้เพื่อนๆและผู้วิจัยฟังก็รู้สึกดีที่ได้รับคาชมต่างๆ ...” และ “...มีเสริมแรงทางบวกทาให้มี กาลังใจในการทากิจกรรมต่างๆ ได้ทากิจกรรมที่หลากหลาย มีประสบการณ์มากมาย...” 2) การเรียนรู้จากตัวแบบ การให้ตัวแบบเป็นวิธีช่วยให้ผู้เรียนรู้การทาตนให้เป็นผู้มี พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ในการทดลองแต่ละครั้ง ผู้วิจัยจะให้ผู้เรียนได้ชมวีดีทัศน์ สั้นๆ หรือการเล่าเรื่อง ภายหลังการดูตัวแบบ ผู้วิจัยมักให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกที่มีต่อ การรั บชมตั วแบบนั้ น ตลอดทั้ งข้ อดี ข้ อเสี ยของตั วแบบ พร้ อมทั้ งท้ าทายให้ ผู้ เรี ยนน าไปปฏิ บั ติ ใน ชีวิตประจาวัน ซึ่งบางครั้งมีการแบ่งปันสิ่งดีๆ ที่แต่ละคนไปทามา จากการสังเกตของผู้วิจัยพบว่าผู้เรียน ค่อยๆ เปลี่ยนไปในทางที่ดีทีละเล็กละน้อย ครั้งแรกๆ จะพบว่า ความกระตือรือร้นในการทางานร่วมกัน


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

121

กับเพื่อนนั้นยังน้อยจากนั้นเริ่มมีการพัฒนาขึ้นเป็นลาดับและจากบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียนคนหนึ่งที่ เขียนว่า “...ฉันรู้สึ กมีความสนุ กสนานและมีความสุขมากที่ได้มาชมวีดีทัศน์ของหนูน้อยสองคนที่ได้ พรรณนาถึงศีล5 องค์ประกอบของศีล 5และแนวทางในการรักษาศีล 5 ทาให้ฉันได้รู้ว่าการรังแกสัตว์นั้น ก็เป็นการทาให้ผู้อื่นเดือดร้อนเช่นกัน และทาให้ฉันได้นึกถึงคาที่พระอาจารย์ในห้องเรียนว่า เรารักชีวิต เราอย่างไร ผู้อื่นก็รักชีวิตของเขาอย่างนั้นเหมือนกัน สิ่งที่ฉันอยากเอาเป็นตัวอย่างคือ การนาเอาศีล 5 ประการนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันอย่างแน่นอน” ซึ่งสอดคล้องกับ Bandura ที่เชื่อว่า การเรียนรู้ ส่วนใหญ่ของคนเกิดจากการเรียนรู้ผ่านตัวแบบซึ่งสามารถที่ถ่ายทอดทั้งความคิดและการแสดงออกได้ พร้อมๆ กันโดยตัวแบบนี้อาจทาหน้าที่ส่งเสริมหรือยับยั้งการเกิดของพฤติกรรมบางอย่างหรือช่วยให้ พฤติกรรมนั้นคงอยู่ได้ นอกจากนี้ Bandura ยังตอกย้าถึงอิทธิพลสาคัญของการมีตัวแบบที่ดี ซึ่งในเวลา ต่อมาการมีตัวแบบที่ดีได้รับการค้นพบว่ามีความหมายอย่างยิ่งต่อการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้กับ บุคคลในทุกๆ สังคม (เดือนเพ็ญ ธัญญะวาณิช, 2554: 6-7) อย่างไรก็ตามแนวความคิดของ Bornstein and others (ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์, 2536: 65 อ้างอิงจาก Bornstein and others, 1977) กล่าวว่า การให้ตัวแบบเพียงประการเดียวใน การสร้างหรือสอนพฤติกรรมใหม่ การเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์อาจจะเกิดได้ช้า ด้วยเหตุนี้จึงควรใช้ การให้ตัวแบบควบคู่กับการเสริมแรงทางบวก การได้ข้อมูลย้อนกลับหรือสิ่งเร้าที่จาแนกความแตกต่าง เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่ต้องการจะสร้างหรือสอนนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลการวิจัยนี้ สอดคล้องกับการทดลองของเตือนใจ รงค์โสภณ (2537: 73) ที่ศึกษาผลของการใช้เทคนิคแม่แบบ ควบคู่กับการเสริมแรงที่มีต่อสุขภาพส่วนบุค คลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอาบึล อาเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ผลการทดลองปรากฏว่า นักเรียนที่ได้รับการใช้เทคนิคแม่แบบควบคู่ กั บ การเสริ ม แรง มี ค ะแนนสุ ข ภาพส่ ว นบุ ค คลสู ง ขึ้ น อย่ า งมี นั บ ส าคั ญ ทางสถติ ที่ ร ะดั บ .05 และ สอดคล้องกับงานวิจัยของกรรณิการ์ สิทธิ ศักดิ์ (2522: 47) ที่ได้ศึกษาพบว่า การให้ตัวแบบควบคู่กับ การเสริมแรงทาให้เด็กเลียนแบบได้เร็วกว่าการใช้แม่แบบเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับ ผลการศึกษาของ Bornstein and others,(1977: 183-195) ที่ได้ศึกษาพบว่า การใช้เทคนิคแม่แบบ ควบคู่กับการเสริมแรงทางบวกสามารถเพิ่มพฤติกรรมเปูาหมายได้ 3) การสืบสอบ การจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบหาความรู้ สามารถช่วยให้ผู้เรียนเป็นผู้ ที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้และส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักตัดสินใจอย่างมีเหตุผล สอดคล้อง กับภพ เลาหไพบูลย์ (2542: 36) ได้กล่าวถึง การสืบสอบหาความรู้ว่าเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ ที่ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเอง เป็นการฝึกให้ผู้เรียนพัฒนาความคิดโดยอาศัยความสามารถ ทางสติปัญญา การรับรู้และประสบการณ์ ซึ่งสอดคล้องกับจิรพันธ์ ทัศนศรี (2548: 24) สรุปไว้ว่าการ สืบสอบหาความรู้เป็นวิธีการหนึ่งที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าหาความรู้และสามารถพัฒนา ความคิดของผู้เรียนได้ ซึ่งกลุ่มแนวคิดปัญญานิยม (Cognitivism) เชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของ บุคคลจะเป็นไปตามขั้นและขึ้นกับพัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลด้วย (อ้อมเดือน สดมณี และฐา ศุกร์ จันประเสริฐ, 2554 บทคัดย่อ) 4) กระบวนการกลุ่ม การให้ประสบการตรงในการทากิจกรรมกลุ่มเป็นวิธีที่ดี และ เหมาะที่จะใช้ในการพัฒนาบุคคลและกลุ่ม เนื่องจากกิจกรรมกลุ่มเป็นการเรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติ สามารถช่วยให้ผู้เรียนร่วมกิจกรรมกลุ่มนี้มีความซาบซึ้งและพึงพอใจที่จะเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง


122

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

ตนเอง (คมเพชร ฉัตรศุภกุล, 2546: 148) สอดคล้องกับอารี พันธ์มณี (2542: 194) ที่ได้กล่าวว่า ความร่วมมือของบุคคลจัดเป็นแรงจูงใจที่สาคัญประการหนึ่งที่ทาให้บุคคลเกิดพฤติกรรมต่างๆ โดย ในขณะที่ผู้เรียนทากิจกรรมภายในกลุ่ม จะมีการช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบ ร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวมเพื่อให้กลุ่มได้รับความสาเร็จตามเปูาหมายที่กาหนดสิ่งเหล่านี้ทาให้ ผู้เรียนรู้สึกถึงคุณค่าของตนเองเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพราะผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการทากิจกรรมกลุ่ม ซึ่ง แต่ล ะคนมีบ ทบาทส าคัญต่อความสาเร็จ ของกลุ่ มโดยบรรยากาศดังกล่าวจะเป็นตัว เอื้ออานวยให้ ผู้เรียนรู้สึกถึงคุณค่าในชั้นเรียน มีความสนใจในการทากิจกรรม มีความกระตือรือร้นในการเรียนและ เกิดแรงจูงใจในการเรียน ดังผู้เรียนคนหนึ่งที่เขียนว่า “...ในการทางานกลุ่มมีความหลากหลาย ทาให้ เราได้เปิดใจรับความคิดเห็นของคนอื่น ปกติข้าพเจ้าไม่ค่อยยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นสักเท่าไรและ บางทีสาหรับพวกเราก็เป็นแค่เด็กกลุ่มหนึ่งซึ่งทาให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างจากกิจกรรมที่เรา ทาให้เด็กและผู้อื่นมีพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ทาให้เรามีการพัฒนาทางด้านกาย วาจา และใจ ให้ดียิ่งขึ้น” 5) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based learning)โดยผู้สอนจัด สภาพการณ์ให้ผู้เรียนเผชิญปัญหา และฝึกกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ปัญหาร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในปัญหานั้นอย่างชัดเจน ได้เห็นทางเลือกและวิธี การที่หลากหลายใน การแก้ปั ญหานั้ น รวมทั้ งช่วยให้ ผู้ เรี ยนเกิ ดความใฝุ รู้ เกิ ดทั กษะกระบวนการคิ ด และกระบวนการ แก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งจะ เป็นการสร้างศักยภาพทางการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยวิธีของ ตนเอง และสร้ างองค์ ความรู้ ได้ ด้วยตนเอง รวมทั้ งรู้ จั กวางแผนการท างาน การลงมื อปฏิ บั ติ และ ตรวจสอบผลงานเพื่อการปรับปรุงหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงาน ดังผู้เรียนคนหนึ่งที่เขียน ว่า “... ข้าพเจ้ามีความสุขและได้รับความรู้เป็นอย่างมากที่ได้เรียนรู้แบบวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็น ฐาน เพราะทุกคนอย่างมีปัญหาและอุปสรรคด้วยกันทั้งนั้น อยู่ที่ว่าใครจะสามารถเอาปัญหามาเป็นตัวตั้ง แล้วค้นหาสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหานั้นๆได้” ซึ่งสอดคล้องกับ มัณฑรา ธรรมบุศย์ (2545 : 13) ได้สรุปลักษณะของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่สาคัญไว้ 7 ประการดังนี้ 1. ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของกาเรียนรู้อย่างแท้จริง 2. การเรียนรู้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เรียนที่มีขนาดเล็ก 3. ผู้สอนเป็นผู้อานวยความสะดวกหรือผู้ให้คาแนะนา 4. ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ 5. ปัญหาที่นามาใช้เป็นปัญหาที่มีหลายคาตอบหรือแก้ไขปัญหาได้หลายทาง 6. ผู้เรียนเป็นคนแก้ปัญหา โดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ๆ ด้วยตนเอง 7. ประเมินผลการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติ 1.2.2 อภิปรายผลตามสมมุติฐานข้อที่ 2 ดังนี้ : ผู้เรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูร ณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการ รักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 มีพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ระยะหลังการทดลองและ เมื่อสิ้น การติดตามผล สู งกว่านั กเรียนกลุ่ มควบคุม อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากผล ดังกล่าวสามารถอภิปรายผลได้ว่า นอกเหนือจากเหตุผลที่ได้อภิปรายในสมมุติฐานข้อที่ 1 แล้ว อาจจะ เป็นเพราะว่ารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรม


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

123

การรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 นั้น มีขั้นตอนและวิธีการที่หลากหลายจึงทาให้ผู้เรียนมีพฤติกรรม การรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 เพิ่มขึ้น เนื่องจากได้ลงมือคิดวิเคราะห์พิจารณาปัญหา หาแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาและปฏิบัติกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ด้วย ตนเอง มิใช่เพียงแค่การท่องจาว่าศีล 5 คืออะไร มีอะไรบ้าง สุจริต 3 คืออะไร มีอะไรบ้าง และมี ประโยชน์อย่างไรเท่านั้น และหากพิจารณาถึงขั้นตอนการจัดกิจกรรมของรูปแบบการจัดการเรียนการ สอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการแล้ว จะพบว่าน่าจะเป็นส่วนสาคัญที่ส่งผลให้นักเรียนกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการ มีพฤติกรรม การรักษาศีล 5 ตามหลั กสุจริต 3สูงกว่ากลุ่มควบคุม เนื่องจากมีการกาหนดขั้นตอนตามพัฒนาการ เรียนรู้ของผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โดยเริ่มจาก 1) ขั้นการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเป็นขั้นเตรียมความพร้อมของผู้เรียนหรือการ สร้างบรรยากาศที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ที่จะตามมา มี วัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ ผู้เรียน สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ ในกลุ่ม และสนใจต่อเนื้อหาที่จะเรียน และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างเรื่องที่จะเรียนกับชีวิตจริงของผู้เรียน ซึ่งจัดเป็นการสร้างแรงจูงใจที่สาคัญ จากนั้นผู้สอนแจ้ง จุดประสงค์ของการเรียน แล้ วอธิบายความหมาย และองค์ประกอบของศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ด้าน คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน 2) ขั้ น พิ จ ารณาปั ญ หาร่ ว มกั น ซึ่ ง เป็ น ขั้ น ตอนที่ ผู้ วิ จั ย กระตุ้ น ให้ ผู้ เ รี ย นร่ ว มกั น พิจารณาปัญหา โดยการนาเสนอปัญหาที่เกิดจากการประพฤติตนผิด หลักศีล 5 ผ่าน วิดีโอ ภาพนิ่ง เพลง รูปภาพ เล่าเรื่องราวและการยกตัวอย่างเหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งสื่อต่างๆ มีความเกี่ยวข้อง กับเนื้อหาที่เรียน และสอดคล้องกับชีวิตจริงของผู้เรียน ส่วนผู้เรียนเป็นผู้พิจารณาสื่อที่ได้ชมไปแล้วนั้น ว่า อะไรคือสิ่งที่ทาให้ชีวิตต้องเกิดความทุกข์ 3) ขั้นของการใช้ปัญญา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการวิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น ว่าอะไรเป็นสาเหตุของปัญหานี้ 4) ขั้นปฏิบัติกิจกรรม ขั้นนี้ใช้เทคนิคการกากับตนเองเป็นแนวทางในการควบคุม พฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มาเสริมสร้างพฤติกรรม การรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 เป็นรายกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนร่วมกันระดมสมองโดยให้นักเรียนคิดว่า ถ้านักเรียนต้องตกอยู่ในสถานการณ์นั้นๆจะทาอย่างไรหรือจะหลุดพ้นจากปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร โดยให้นักเรียนพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาจากสาเหตุที่ได้วิเคราะห์ออกมา 5) ขั้นประเมินผล ซึ่งเป็นการทากิจกรรมหลังจากที่จบบทเรียน โดยผู้นาเสนอผลการ เรียนรู้จากการวิเคราะห์ปัญหาทั้งหมด โดยผู้วิจัยให้ข้อคิดและวิพากย์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดต่อไป ถึงการนาเอาการเรี ยนรู้ที่ได้ รับไปใช้ในชีวิตจริงด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย และนาสิ่งที่ เรียนรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความเข้าใจและเชื่อมโยงสู่การ ปฏิบัติในชีวิตประจาวัน ซึ่งผู้เรียนสามารถแสดงออกทางกิจกรรมหลายรูปแบบ ได้แก่ เขียนผังมโน ทัศน์ เขียนแผนผังความคิด (mind mapping) เป็นต้น จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการจัดกิจกรรมของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนว จิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ทั้ง 5 ขั้นตอนนี้เป็นไป ตามพัฒนาการของผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย ซึ่งเป็นช่วงที่ กาลังเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย


124

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

และจิตใจภายใต้การดูแลของผู้ปกครอง ดังนั้น จากการกาหนดกิจกรรมที่หลากหลายและมีขั้นตอนที่ วางไว้อย่างเป็นระบบจึงทาให้ผู้เรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการ สอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการ มีพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 สูงกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุมน อมรวิวัฒน์ (2530: 50) ได้สร้างรูปแบบการเรียการสอนโดยใช้ หลั กธรรมการสร้ างศรั ทธาและโยนิ โ สมนสิ การเป็นหลั กการและขั้นตอนการสอนตามพุทธวิธีขึ้น รูปแบบนี้พัฒนาขึ้นจากหลักการที่ว่า ครูเป็นบุคคลสาคัญที่สามารถจัดสภาพแวดล้อม แรงจูงใจและ วิธีการสอนให้ศิษย์เกิดศรัทธาที่จะเรียนรู้ การได้ฝึกฝนวิธีการคิดโดยแยบคายและนาไปสู่การปฏิบัติจน ประจักษ์จริง โดยครูทาหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรช่วยให้ศิษย์มีโอกาสคิดและแสดงออกอย่างถูกวิธี จะ สามารถช่วยพัฒนาให้ศิษย์เกิดปัญญาและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม 2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ 2.1 การอภิปรายผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนว จิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ตามแบบสนทนา กลุ่มเฉพาะ (Focus Group) ดังนี้ 2.1.1 นักเรียนมีความพึงพอใจวิธีการในการจัดการเรียนการสอนนี้มากน้อยเพียงใด? เพราะเหตุใด? ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองพบว่า มีความ พึงพอใจวิธีการในการจัดการเรียนสอนนี้ มาก อาจเป็นเพราะว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ ประกอบไปด้ ว ยวิ ธี ก ารเสริ ม แรง วิ ธี ก ารใช้ ตั ว แบบ วิ ธี ก ารเรี ย นรู้ แ บบสื บ สอบวิ ธี ก ารเรี ย นรู้ กระบวนการกลุ่ม และวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน นั้นเป็นวิธีการที่ทาให้ผู้เรียนสามารถแสดง ความคิ ด ความรู้ สึ ก พฤติ ก รรม แลกเปลี่ ย นความคิ ด เห็ น ภายใต้บ รรยากาศของความร่ว มมื อ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้กาลังใจกันและกันและสามารถเรียนรู้วิธีการสื่อสารกับสมาชิกกลุ่ม 2.1.2 นักเรียนมีความพึงพอใจลักษณะการจัดกิจกรรมนี้มากน้อยเพียงใด? เพราะ เหตุใด? ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองพบว่า มีความ พึงพอใจลักษณะกิจกรรมในการจัดการเรียนสอนนี้ มาก อาจเป็นเพราะว่าลักษณะกิจกรรมที่ผู้วิจัยได้ จัดขึ้นอย่างเป็นระบบนี้ มีกระบวนการที่ได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามข้อสงสัย และแสดงความคิด ทั้งส่วนตัวและกลุ่ม พร้อมกับการนาเสนอหน้าชั้นเรียน ทั้งผลการคิดวิเคราะห์ปัญหา และผลการ ร่วมกันใช้ปัญญาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 2.1.3 กิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอนใดของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ มีคุณค่าแก่นักเรียน? ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริ ต 3 ของกลุ่มทดลองพบว่า นักเรียน ได้เรียนรู้การทากิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้เก่ากับ ความรู้ ใหม่ซึ่งกันและกัน ได้เรียนรู้ แนวคิดในการพิจารณาสภาพปัญหาแล้วใช้ปัญญาพิจารณาหา


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

125

แนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยในแต่ละขั้นตอนของการจัดเรียนการสอนนั้นผู้วิจัยเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นส่วนตัวและกลุ่มพร้อมทั้งสัก ถามข้อสงสัยต่างๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยได้จัดขึ้นมีขั้นตอนที่ชัดเจน และผู้เรียนก็สามารถปฏิบัติได้ตาม ขั้นที่กาหนดขึ้น 2.1.4 การเข้า ร่ ว มกิ จกรรมการจัด การเรี ย นการอนในครั้ งนี้ เ กิด คุ ณค่ าอะไรกั บ นักเรียนบ้าง? ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองพบว่า คุณค่าที่ นักเรียนได้รั บนั้นมีหลากหลาย พอประมวลสรุปได้ 3 ประการ ดังนี้ 1. คุณค่าทางกาย นักเรียนได้ เรี ยนรู้ การท างานร่ วมกับ คนอื่นๆ และได้สร้างสั มพั นธ์ภาพกับเพื่ อนๆในกลุ่ ม 2. คุณค่าทางจิตใจ นักเรียนได้เรียนรู้ถึงความมีน้าใจของกันและกัน มุ่งมั่นพยายามที่จะพิจารณาสภาพปัญหาและใช้ปัญญา หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 3. คุณค่าทางสติปัญญา นักเรียนได้รับความรู้เรื่องเบญจศีล เบญจธรรม และแนวทางการปฏิบัติตนในการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 เพิ่มเติมมากขึ้น ทั้งนี้อาจ เป็นเพราะว่า ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกาเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบรูณา การเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 อย่างเป็นระบบ กล่าวคือ การมีกิจกรรม ที่หลากหลาย มีขั้นตอนที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามได้ 2.1.5 นักเรียนได้นาพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจาวันได้อย่างไร? (ยกตัวอย่างประกอบ) ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองพบว่า เรียนนักมี ความตั้งใจในการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 นั้นมาก โดยเริ่มจาก ตื่นเช้ามาจะตั้งใจสมาทานศีล 5 ด้วยตัวเอง และในขณะทางานหรือเรียนหนังสือก็จะระลึกถึงศีล 5 และจะสารวมกาย วาจา และใจอยู่ เสมอฯ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า นักเรียนได้รับการเสริมแรงทางบวกจากผู้วิจัย และการได้เรียนรู้จากตัว แบบที่ดี จึงเป็นตัวแบบที่นักเรียนนาเอาไปประพฤติปฏิบัติตาม 2.2 การอภิป รายผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนว จิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ตามแบบบันทึกการ เรียนรู้ ดังนี้ 2.2.1 สิ่งที่ได้เรียนรู้ ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองพบว่า นักเรี ยน ได้เรียนรู้แนวทางการประพฤติปฏิบัติตนในการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 โดยผ่านกิจกรรม วิธีการ และขั้นตอนที่ผู้วิจัยจัดให้ พร้อมทั้งได้เรียนรู้การทางานเป็นทีม (Team Work) ได้เรียนรู้วิธีการคิด วิเคราะห์สภาพปัญหาและการพิจารณาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อ ไม่ให้เดือดร้อนตนเอง และผู้อื่น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตาม แนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 นั้นได้เรียนรู้สิ่ง ใหม่ๆ ซึ่งผสมผสานจากความรู้เดิมและประสบการณ์เดิมที่มีอยู่แล้วอย่างกลมกลืน


126

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

2.2.2 ความรู้สึกที่มีต่อการเรียนรู้ในครั้งนี้ ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองพบว่า นักเรียนมี ความประทับใจต่อการเข้าร่ วมกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนในครั้งนี้เป็นอย่างมมาก เพราะมี รูปแบบการนาเสนอที่สนุกสนาน มีคาถามที่ทาให้ผู้เรียนได้รู้จักคิดอยู่เกือบตลอดเวลา และมีการโต้ตอบ กันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ทาให้บรรยากาศไม่เงียบเหงา และเนื้อหาสาระก็มีประโยชน์ในการนาไประ ยุกต์ใช้ในการดาเนินชีวิตประจาวันได้พร้อมทั้งยกตัวอย่าง และเล่าเป็นนิทาน ทาให้ผู้เรียนเห็นภาพ ชัดเจน และเข้าใจง่าย ความรู้และสิ่งที่ได้รับ สามารถนาไปประยุกต์ใช้ได้จริงและยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยา เชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 นั้นได้ทากิจกรรมที่หลากหลาย ตามเทคนิควิธีการและขั้นตอนที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ 2.2.3 แนวทางในการนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวัน ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ของกลุ่มทดลองพบว่า นักเรียนมี ความตั้งใจปฏิญาณว่า 1. จะไม่ละเมิด จะไม่คุกคามต่อชีวิตของผู้อื่น สัตว์อื่น ด้วยตัวเอง และไม่ใช้ให้ ใครละเมิด ทั้งนี้ด้วยความตระหนักรู้เป็นอย่างดีว่า ทั้งตัวเราเองและผู้อื่น สัตว์อื่น ต่างก็รักตัวกลัวตาย รักสุขเกลียดทุกข์เช่นเดียวกัน เรารักตัวเองฉันใด คนอื่น สัตว์อื่น ก็รักตัวเองฉันนั้น 2. จะไม่ละเมิดต่อ ทรัพย์สิน และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น ด้วยตัวเอง และไม่ใช้ให้ใครละเมิ ด 3.จะไม่ละเมิดต่อ จริยธรรมทางเพศของคู่ควง คู่รัก คู่ครอง และของเพศตรงข้าม ทั้งนี้ด้วยความตระหนักรู้เป็นอย่างดีว่า การละเมิดต่อจริยธรรมทางเพศของคู่ควง คู่รัก คู่ครองโดยปราศจากสติและความรับผิดชอบ 4.จะไม่ กล่าววาจาที่ปราศจากสติอันเป็นเหตุให้เกิดความเดือนร้อนแก่ผู้อื่น แก่สังคม แก่ประเทศ และแก่มวล มนุษยชาติ และทุกครั้งที่พูด ข้าพเจ้าจะพยายามหลีกเลี่ยงการกล่าวคาพูดที่เป็นคาโกหก คาหยาบ คาย คาเพ้อเจ้อ คาส่อเสียด คายุให้แตกความสามัคคี 5. จะไม่ดื่มสุรา และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ แอลกอฮอล์ และ/หรือสิ่งเสพติดทุกชนิด ที่ เมื่อดื่มแล้วจะทาให้ประมาทขาดสติ อันเป็นการสูญเสีย ปกติ ภ าพแห่ ง ความเป็ น มนุ ษ ย์ ทั้ง นี้ เ พราะตระหนั ก เป็ น อย่ า งดี ว่า การดื่ ม สุ ร า หรื อ เครื่ อ งดื่ ม ที่ ประทุษร้ายต่อสติสัมปชัญญะใดๆ และการเสพสิ่งเสพติดทุกชนิดนั้น เป็นประตูแห่งความเสื่อมสุขภาพ เสื่อมสติสัมปชัญญะ เสื่อมทรัพย์ เสื่อมเกียรติภูมิชื่อเสียง เสี่ยงต่อการทะเลาะวิวาทวุ่นวายอันเป็น อันตรายทั้งต่อชีวิตตนและผู้ อื่น ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการ จัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลัก สุจริต 3 นั้น มีความตระหนักถึงคุณธรรมขั้นพื้นฐานของมวลมนุษยชาติเป็นอย่างดี เพราะว่าถ้าคนใน ทุกสังคม ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ประพฤติปฏิบัติตามหลักศีล 5 ประการนี้แล้ว ทั้งกาย วาจาและใจ ก็ สงบซึ่งจะนาสันติภาพมาสู่ทุกสังคม ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

127

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การจัดกิจกรรมด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิง บูรณาการทั้ง 4 แนวคิด ได้แก่ การเรียนรู้แบบเสริมแรง และการเรียนรู้จากตัวแบบ ตามแนวพฤติกรรม นิยม(Behaviorism) การเรี ยนรู้ แบบสื บสอบ ตามแนวปัญญานิยม (Cognitivism) การเรียนรู้แบบ กระบวนการกลุ่ม ตามแนวมนุษยนิยม (Humanism) และการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ตามแนว สรรคนิยม (Constructivism) รวมทั้งขั้นตอนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้น พิจารณาปัญหาร่วมกัน ขั้นการใช้ปัญญา ขั้นปฏิบัติกิจกรรม และขั้นประเมินผล นั้นมีการจัดการได้อย่าง เหมาะสมโดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามความต้องการ ความสนใจ ด้วยวิธีการเรียนรู้และกระบวน ซึ่ง จะได้ผลดีกว่าการเน้นเนื้อหา โดยเป็นผู้ริเริ่มลงมือกระทาด้วยตนเอง เรียนรู้จากตัวแบบ เพื่อสร้างความ เข้าใจมโนทัศน์ใหม่ โดยอาศัยความรู้เดิมและแก้ปัญหาจากการทาความเข้าใจในเรื่ องที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง ในกระบวนการเรี ยนการสอนผู้สอนได้เชื่อมโยงความรู้เดิม ประสบการณ์เดิมกับข้อมูลใหม่ เน้นการ เสริ ม แรงทางบวกและการให้ ข้ อ มู ล ย้ อ นกลั บ ตลอดจนเน้ น ให้ ผู้ เ รี ย นมี ค วามรั ก ความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กันละกัน มีความซื่อสัตย์จริงใจต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน จึงส่งผลให้นักเรียนกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตวิทยาเชิงบูรณาการ เพื่อเสริมสร้าง พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 สูงขึ้นเป็นลาดับ ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้ 1.1 ควรได้นารูปแบบที่พัฒนาขึ้นในการวิจัยครั้งนี้ไปใช้เป็นต้นแบบหรือแนวทางในการ พัฒนาพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 สาหรับเยาวชนโดยรวม 1.2 สาหรับผู้บริหาร ครูอาจารย์และผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กควรพิจารณา คุณค่าของการนาแนวคิดทฤษฏีทางจิตวิทยามาบูรณาการใช้อย่างเป็น ระบบในการพัฒนาคุณลักษณะ ของเยาวชนด้านอื่นๆ 1.3 รู ป แบบการจั ดการเรี ย นการสอนตามแนวจิ ตวิ ทยาเชิ งบู รณาการเพื่ อเสริ มสร้ า ง พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลั กสุ จริต 3 สามารถประยุกต์ใช้กับนักเรียนระดับอื่นได้ แต่ควรมี การศึกษาคู่มือเทคนิคการนาเสนอ การสรุปประเด็นติดตามผลให้เกิดความรู้ ความเข้าใจก่อนนาไปใช้ 2. ข้อเสนอแนะสาหรับการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการวิจัยด้วยวิธีที่หลากหลายและมีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพอย่างลุ่มลึก 2.2 ควรพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 2.3 ควรมีการติดตามพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 หลังการติดตามผลแล้ว 3 เดื อน 6 เดื อน และ 1 ปี เพื่ อศึ กษาความเปลี่ ยนแปลงของพฤติ กรรมที่ แสดงออกพร้ อมทั้ งหา ข้อเสนอแนะวิธีการจัดการเรียนการสอนที่จะสามารถพัฒนาพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ตามหลักสุจริต 3 ให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์แบบยั่งยืนต่อไป


128

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

เอกสารอ้างอิง กรมการศาสนา. กระทรวงวัฒนธรรม. (2550). คู่มือการดาเนินงานตามโครงการพระสอนศีลธรรมใน โรงเรียน. บัญชีจัดสรรกรมการศาสนา: ประจาปีงบประมาณ 2550 . ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน. สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Bandura. A. (1977). Social Learning Theory. New York: General Learning Press. Bandura, Albert. 1977. Social Lerning Theory. New Jersey : Prentice – Hall. De Cecco, J.P. (1968). The Psychology of Learning and Instruction: Educational Psychology. New Jersey: Prentice Hall. Delisle, R. (1997). How to Use Problem-Based Learning in the Classroom. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development. ……………………………………………………………………


วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

129

คาชี้แจงสาหรับผู้ส่งบทความวิชาการและบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เป็นวารสารเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การศึกษาค้นคว้าสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการด้านจิตวิทยา บทความทุกเรื่องที่ตีพิ มพ์จะต้องได้รับ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รายละเอียดมีดังนี้ 1. ลักษณะบทความที่ตีพิมพ์ 1.1 บทความทางวิชาการ/บทความทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา 1.2 บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา 2. ส่วนประกอบของบทความ 2.1 บทความทางวิชาการ ความยาวเรื่องละไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย 2.1.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.1.2 ชื่อผู้แต่ง 2.1.3 สถาบันที่ผู้เขียนสังกัด 2.1.4 บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.1.5 บทนา เนื้อเรื่องและสรุปสาระสาคัญ 2.1.6 เอกสารอ้างอิง (ตามระบบ APA) 2.2 บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์ ความยาวเรื่องละไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วย 2.2.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.2.2 ชื่อผู้แต่ง 2.2.3 สถาบันที่ผู้เขียนสังกัด 2.2.4 บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2.2.5 คาสาคัญ (Key words) 2.2.6 เนื้อเรื่อง ประกอบด้วย 1) บทนา 2) วัตถุประสงค์ 3) นิยามศัพท์ 4) วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 5) ระเบียบวิธีวิจัย ประกอบด้วย - ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - การวิเคราะห์ขอ้ มูล


130

วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559)

6) ผลการวิจัย - บทสรุป - ข้อเสนอแนะ 7) เอกสารอ้างอิง (ตามระบบ APA) 3. การจัดพิมพ์ 3.1 พิมพ์ลงหน้ากระดาษขนาด A4 3.2 พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Office Word 2003 3.3 รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK 3.4 ลักษณะและขนาดตัวอักษร 3.4.1 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ตัวหนาขนาด 26 3.4.2 ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ตัวหนาขนาด 26 3.4.3 ชื่อผู้เขียน ตัวหนาขนาด 16 3.4.4 หัวข้อใหญ่ ตัวหนาขนาด 16 3.4.5 เนื้อหา ตัวปกติขนาด 16 4. การจัดส่งบทความ 4.1 จัดส่งเอกสาร ดังนี้ 4.1.1 ต้นฉบับบทความ จานวน 3 ชุด 4.1.2 CD บันทึกบทความ จานวน 1 แผ่น 4.1.3 แบบฟอร์มส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 4.2 จัดส่งบทความ ดังนี้ 4.2.1 ส่งบทความผ่านเว็บ http://journal.psy.kbu.ac.th/ 4.2.2 กองบรรณาธิการวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต หลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา ชั้น 3 อาคาร 1 เลขที่ 1761 ซอยพัฒนาการ 37 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 e-mail: journal.psy.kbu@gmail.com 4.3 มีข้อสงสัยกรุณาติดต่อ รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรักษ์ โทร.0-2320-2777 ต่อ 1163, 089-929-9705 รองศาสตราจารย์อัจฉรา สุขารมณ์ โทร.0-2320-2777 ต่อ 1134, 081-921-7903 5. เงื่อนไขการตีพิมพ์บทความ 5.1 เป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน 5.2 เป็นบทความที่ผ่านการพิจารณาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ (Peer review) ของวารสาร จิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต บทความละ 2 คน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเชิงวิชาการ 5.3 เป็นบทความที่ได้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว 5.4 บทความที่ ไ ด้ รั บ การตี พิ ม พ์ เผยแพร่ ใ นวารสารจิ ต วิ ท ยา มหาวิ ท ยาลั ย เกษมบั ณ ฑิ ต เจ้าของบทความจะได้รับวารสารฉบับนั้น จานวน 3 เล่ม

…………………………………………………..



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.