kbu journal

Page 1


วารสารเกษมบัณฑิต

วารสารราย 6 เดือน ปีที่ 12 ฉบับ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2554

Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July - December 2011

วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ความเคลื่อนไหว การพัฒนาผลงานทางวิชาการ การเสนอบทความ ทางวิชาการ การเสนอบทความวิจัยของคณาจารย์ และผลงานวิจัยของดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิตและ บัณฑิตของมหาวิทยาลัยที่มีผลงานดีเด่น 2.เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความคิด เห็นวิทยาการและเทคนิคใหม่ๆ อันนำ�ไปสูก่ ารพัฒนา ทักษะและศักยภาพในการสร้างผลงานทางวิชาการ การค้นคว้า การวิจัยและบริการทางวิชาการในทุก สาขาวิชา 3.เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ความร่ ว มมื อ และการนำ � เสนอผลงานทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการสังคม และการทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรม ของบุ ค ลากรของมหาวิ ท ยาลั ย เกษมบั ณ ฑิ ต และ มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภายในและต่าง ประเทศ คำ�ชี้แจง : ทัศนคติ ความคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏ ในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียนโดย เฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำ�เป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย

กองบรรณาธิการ (Editorial Staff) ที่ปรึกษา (Consultants) : ดร.วัลลภ ศาสตราจารย์ ดร.สุพรรณี รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร รองศาสตราจารย์ ดร.คมเพชร

สุวรรณดี ชะโลธร มาลากุล ณ อยุธยา ฉัตรศุภกุล

กองบรรณาธิการบริหาร (Executive Editors) : ศาสตราจารย์ ดร.สุรพงษ์ โสธนะเสถียร ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ รองศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ ชิตพงศ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล ขันธไชย รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยฤทธิ์ สัตยาประเสริฐ ดร.เสนีย์ สุวรรณดี บรรณาธิการ (Editor) : รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล ขันธไชย ผู้ช่วยบรรณาธิการ (Assistant Editor) : ดร.ศศิพรรณ บิลมาโนช ประจำ�กองบรรณาธิการ (Staff) : ดร.จิราทัศน์ รัตนมณีฉัตร อาจารย์อภินภัศ จิตรกร อาจารย์วิญลี่ รุ่งฤดีสมบัติกิจ ศูนย์ออกแบบและสื่อสิ่งพิมพ์

ประสานงานการผลิต (Production Coordinators) : สำ�นักวิจัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จัดพิมพ์โดย (Publisher) มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 1761 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทร. 02-320-2777 โทรสาร. 02-321-4444 ISSN 1513-5667


วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผู้ทรงคุณวุฒิผู้พิจารณาบทความ

(Peer Review)

ศาสตราจารย์ ดร.จรรจา

สุวรรณทัต

รองศาสตราจารย์บัญญัติ

จุลนาพันธุ์

ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ

เกิดพิทักษ์

รองศาสตราจารย์สุธรรม

พงศ์สำ�ราญ

ศาสตราจารย์ ดร.สุรพงษ์

โสธนะเสถียร

รองศาสตราจารย์ไพบูลย์

เทวรักษ์

ศาสตราจารย์ ดร.ติน

ปรัชญพฤทธิ์

รองศาสตราจารย์รักศานต์

วิวัฒน์สินอุดม

ศาสตราจารย์ ดร.สุดา

เกียรติกำ�จรวงศ์

รองศาสตราจารย์ดำ�รงค์

ทวีแสงสกุลไทย

ศาสตราจารย์ ดร.ยุวัฒน์

วุฒิเมธี

รองศาสตราจารย์ประศาสน์

คุณะดิลก

ศาสตราจารย์ ดร.พัทยา

สายหู

รองศาสตราจารย์อรทัย

ศรีสันติสุข

ศาสตราจารย์ ดร.สมทรง

บุรุษพัฒน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัตถกร

กลั่นความดี

รองศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์

เอี่ยมสุภาษิต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นรัชฎ์

กาญจนัษฐิติ

รองศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์

ชิตพงศ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี

รองศาสตราจารย์ ดร.รัญจวน

คำ�วชิรพิทักษ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาภรณ์ ศรีดี

รองศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์

ปานมณี

ดร.เสนีย์

สุวรรณดี

รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล

ขันธไชย

ดร.กรภัค

จ๋ายประยูร

รองศาสตราจารย์ ดร.ราเชนทร์

ชินทยารังสรรค์

ดร.ศศิพรรณ

บิลมาโนช

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยชนะ

อิงคะวัต

ดร.จารุวรรณ

เกษมทรัพย์

รองศาสตราจารย์ ดร.กอบชัย

เดชหาญ

ดร.สุเทพ

เดชะชีพ

บรรณาธิการแถลง วารสารเกษมบัณฑิตฉบับนีเ้ ป็นฉบับประจำ�ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2554) กองบรรณาธิการ และคณะผู้ทรงคุณวุฒิผู้พิจารณาบทความ (Peer Review) ได้คัดสรรบทความซึ่งเป็นบทความวิจัย (Research articles) และบทความทางวิชาการ (Academic articles) รวมทั้งบทวิจารณ์หนังสือ (Book review) ในลักษณะ พหุวิทยาการ (Multidisciplinary) ท่านผู้อ่านสามารถเลือกอ่านได้โดยเริ่มพิจารณาจากสารบัญของวารสาร อนึง่ บัดนีว้ ารสารเกษมบัณฑิตอยูใ่ นระหว่างการเตรียมการจัดทำ�วารสารในรูปแบบ e-Journal โดยเริม่ ตัง้ แต่ ฉบับนี้เป็นต้นไป ดังนั้น ท่านที่สนใจสามารถโทรศัพท์มาสอบถามความก้าวหน้าได้ที่ 02 3202777 ต่อ 1129

บรรณาธิการ


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July - December 2011

สารบัญ

1 19 30

วนอุทยานเขากระโดง: แหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

Kao Kradong Forest Park: Learning Resource for Ecotourism

จุรีพร กาญจนการุณ การอพยพและความยากจนของเงาะป่าซาไกตามชายแดนไทย-มาเลเซีย Relocation and Poverty of the Aboriginal Peoples along the Thailand-Malaysia Border

อุมัยยะห์ บินตี ฮัจยี อุมาร์ ความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นเกี่ยวกับความสำ�คัญ กระบวนการ และผลกระทบของการเสนอเป็นเมืองมรดกโลกเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

Local People’s Opinions about Importance, Procedure and Impacts of the Proposed Chiang Saen World Heritage Site, Chiang Rai Province

ศศิพรรณ บิลมาโนช และคณะ

51

63

การศึกษาเพลงรำ�วงโบราณของตำ�บลหนองบัว อำ�เภอหนองบัว จังหวัดนครสรรค์

A Study of Thai Traditional Folk Dancing Songs of Tumbon Nongbua, Nongbua District, Nakhonsawan Province

ภิญโญ ภู่เทศ

การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ�คัญของพนักงานครูเทศบาลใน โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ Development of Indicators for Student-Centered Learning Management of Municipal Teachers in the Schools under the Nakorn Sawan Municipality Administration

ชลิดา กลั่นแก้ว


วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2554

สารบัญ

78 90 105 117

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Factors That Create Happiness of Students at King Mongkut’s University of Technology

ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงรายวิชาการบัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) The Development of Instruction Model Based on the Philosophy of the Sufficiency Economy in the Course of Intermediate Accounting II (AC. 307)

เรวดี อันนันนับ, ขวัญหทัย มิตรภานนท,์ สุรีย์พร เกียรติเฉลิมพร

การศึกษาสมรรถนะหลักของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต : KASEM

A Study of Core Competency of Kasem Bundit University’s Undergraduates : KASEM

วรินทร ปิ่นทอง, ประภาพร เหลืองช่วยโชค, สุจิตรา แดงอินทวัฒน์ บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)

Conditional Cash Transfers: Reducing Present and Future Poverty by Ariel Fiszbein and Norbert Schady with Franciso H.G.Ferreira, Margaret Grosh, Nial Kelleher, Pedro Olinto, and Emmanauel Skoufias. Washington D.C. : The World Bank, 2009, 361 pages

ณัฐพล ขันธไชย


1 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

วนอุทยานเขากระโดง: แหล่งเรียนรู้เพือ่ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ Kao Kradong Forest Park: Learning Resource for Ecotourism

จุรีพร กาญจนการุณ1

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจแหล่งเรียนรู้ในวนอุทยานเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ และ ศึกษาเงื่อนไขในการส่งเสริมให้วนอุทยานเขากระโดงเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้วยวิธี วิจัย เชิง คุณภาพ โดยใช้ก ารศึ กษาเอกสาร การสัง เกต การสนทนากลุ่ม อย่า งไม่ เ ป็น ทางการ และการ สัมภาษณ์เชิงลึกนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยว ณ วนอุทยานเขากระโดงเป็นประจํา มีภูมิลําเนาอาศัยอยู่ใน จังหวัดบุรีรัมย์ และมีความสนใจต่อการพัฒนาวนอุทยานเขากระโดง จํานวน 30 คน วิเคราะห์สังเคราะห์ ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการสรุปเชิงอุปนัย ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1 แหล่งเรียนรู้ในวนอุทยานเขากระโดง ได้แก่ ปากปล่องภูเขาไฟเขากระโดง องค์พระสุภัทรบพิตร ปราสาทเขากระโดง วัดพระพุทธบาทเขากระโดง และอื่นๆ กิจกรรมการเรียนรู้ของนักท่องเที่ยว ได้แก่ การ เดิน ป่า การศึกษาธรรมชาติ การดูน ก การตั้งค่า ยพักแรม การขี่จัก รยานเสือภูเ ขา/จักรยานท่องเที่ย ว การศึกษาเรียนรู้ทางธรณีวิทยา การนมัสการกราบไหว้ตามความเชื่อ การถ่ายภาพ ฯลฯ และผลการเรียนรู้ ที่ ได้ รับ คือ ความรู้เ กี่ย วกับ ระบบนิเ วศ ความตระหนั กรู้ถึ งการอนุ รักษ์ ป่า ไม้ การประพฤติต นเป็ น พุทธศาสนิกชนที่ดี การมีสุขภาพทางกายดี รวมทั้งได้รับความผ่อนคลาย เพลิดเพลิน ฯลฯ 2 เงื่อนไขในการส่งเสริมให้วนอุทยานเขากระโดงเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จําแนกได้ 3 ด้าน คือ (1) ด้านกายภาพ จําเป็นต้องมีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติภายในบริเวณ วนอุทยานเขากระโดง ให้มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นธรรมชาติโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม (2) ด้านสังคม ควร ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมเชิงนิเวศและการเรียนรู้ในระหว่างนักท่องเที่ยวมากขึ้น เพื่อที่จะนําไปสู่การสร้าง จิตสํานึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติแวดล้อม และ (3) ด้านการจัดการ ควรต้องสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมใน การควบคุมดูแลเกี่ยวกับสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ห้องน้ํา ป้าย ฯลฯ เพื่อบริการแก่ นักท่องเที่ยวอย่างเพียงพอ คําสําคัญ: แหล่งเรียนรู้ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

1

อาจารย์ประจําสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 1

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

Jureeporn Kanjanakaroon The aims of this research were to survey learning resources in Kao Kradong Forest Park, Buriram Province, and to study the conditions facilitating Kao Kradong Forest Park to be a learning resource for ecotourism. The methodology adopted was a qualitative approach: documentary study, observation, informal focus group discussion and in-depth interviews with 30 tourists who visited Kao Kradong and were residents of Buriram province as key informants. Additionally, these tourists often traveled in Kao Kradong Forest Park and all of them were interested in its development. Descriptive data were analysed and synthesised using content analysis and inductive analysis. The research results were as follows: 1. Learning resources in Kao Kradong Forest Park were Kao Kradong crater, Supattarabupit Buddhist image, Kao Kradong castle, Kao Kradong temple, amomg others. Tourists’ learning activities were hiking and trekking, soil science study, bird watching, tent camping, terrain/mountain biking, geologic study, worshipping, photography, etc. Their learning experiences obtained were knowledge of eco-system, self awareness of forest conservation, being a good Buddhist, physical health, relaxation, entertainment, etc. 2. The recommended conditions to facilitate Kao Kradong Forest Park to be a learning resource for ecotourism could be divided into three dimensions: (i) Physical dimension – the natural environment inside the Kao Kradong area need to be restored to be natural and fertile by community participation; (ii) Social dimension – promoting learning and ecological activities among tourists to enhance their awareness of eco-conservation; and (iii) Managerial dimension – encouraging and supporting community participation in taking care, as well as being in charge, of the basic tourism facilities such as restaurants, toilets, signboards, etc., to provide tourists with sufficient services. Key words: Learning resources, Ecotourism


3 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

บทนํา ปั จ จุ บั น ประเทศไทยได้ มี ก ารพั ฒ นาและ ส่งเสริมการท่องเที่ย ว ซึ่งถือว่า เป็น อุตสาหกรรม ภาคบริการที่สร้างผลประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ และสั ง คมของประเทศเป็ น มู ล ค่ า มหาศาล การ ท่ อ งเที่ ย วนอกจากจะมี บ ทบาทในการพั ฒ นา คุณภาพชีวิตและนําความเจริญมาสู่ท้องถิ่นแล้ว ใน ด้านเศรษฐกิจยังก่อให้ เกิดรายได้จากการท่องเที่ยว แนวโน้มการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของ คนไทยเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ในทางตรงกันข้ามการเติบโต ของอุ ตสาหกรรมการท่ องเที่ ยวกลั บทํ าให้ สภาพแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวและภาพพจน์ของ การท่ องเที่ ย วต่ อชุ มชนท้ องถิ่ น ถดถอยลง ในการ จัดการท่องเที่ยวแต่ละแห่งมักประสบปัญหาที่สวน ทางกั น ระหว่ า งการอนุ รั กษ์ ส ภาพแวดล้ อ มทาง ธรรมชาติและสั งคมกั บการพั ฒ นาอยู่เ สมอ (การ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2542: 1-1) จากปัญหา ดังกล่าวจึงเกิดกระแสการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาและการ อนุรักษ์ รูปแบบการท่องเที่ยวที่มีระบบการจัดการ ที่กล่าวถึงมากที่สุด คือ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Ecotourism) เป็ น การท่ อ งเที่ ย วที่ เ น้ น การ ท่ อ งเที่ ย วในพื้ น ที่ ธ รรมชาติ แ ละวั ฒ นธรรมที่ เกี่ ย วเนื่ อ งกั บ ระบบนิ เ วศที่ ต้ อ งการให้ มี ก ารให้ ความรู้กับนักท่องเที่ยวในการอนุรักษ์และเน้นการมี ส่วนร่วมของชุมชน (ชูเกียรติ นพเกตุ, ม.ป.ป. : 145-146) ภายใต้กระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หรือ การท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบต่อระบบนิเวศที่ ได้รับความนิยมต่อนักท่องเที่ยวที่มีจิตสํานึกต่อการ อนุรักษ์ธรรมชาตินั้น วนอุทยานโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ ธรรมชาติที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวเหมาะสําหรับ การพักผ่อนหย่อนใจและเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ที่

ควรอนุรักษ์และได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว ซึ่งวนอุทยานเขากระโดง ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทางธรรมชาติที่สําคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ และภาค ตะวัน ออกเฉียงเหนือ สภาพพื้น ที่ส่วนใหญ่เป็น ที่ ราบสูงและเนินเขา สภาพป่าเป็นป่าแดงหรือป่าเต็ง รัง เขากระโดงเป็น หนึ่ง ในภูเ ขาไฟหลายแห่ง ใน ประเทศไทยที่เ ย็น ตัว แล้ว เป็น เนิน เขาที่เ กิด จาก การทั บ ถมของเศษหิ น ภู เ ขาไฟที่ พ่ น ปะทุ ออกมา ทางทิ ศตะวั นออกและตะวั นตก เป็ นแหล่ งต้ นน้ํ า เล็ กๆ ประมาณ 10 แห่ ง ในฤดู ฝนพื้ น ที่ ป่ า มี พื ช ล้ ม ลุ ก ขึ้ น อย่ า งหนาแน่ น จะมี พื ช ผั ก ซึ่ ง สามารถ นํ า มารั บ ประทานได้ เป็ น แหล่ ง อาหาร และ ก่ อ ให้ เ กิ ด รายได้ ต่ อ ชุ ม ชนอย่ า งมากมาย และมี สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ อาทิ เช่น ปราสาทเขา กระโดง พระสุภัทรบพิตรองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ บนเขากระโดง และปากปล่องภูเขากระโดง เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีสํานักสงฆ์วัดเขากระโดง ในบริเวณ พื้ น ที่ มี ก ารประกอบพิ ธี ประเพณี และกิ จ กรรม สําคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ เช่น พิธีสวดชะตาเมือง พิธีตักบาตรเทโวโรหนะ พิธีกวนข้าวทิพย์และพิธีกิน ข้ า วพาแลง วนอุ ท ยานเขากระโดงจึ ง เป็ น แหล่ ง ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีศักยภาพในการจัดการ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และนอกจากนี้ยังมีการจัดทํา แผนแม่บทการจัดการพื้นที่ระยะ 5 ปี (พ.ศ.25502554) และกํ า หนดพั น ธกิ จ ในการส่ ง เสริ ม สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และส่งเสริมให้ ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ พื้นที่ (สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์, 2547: 2-6) จากเหตุ ผ ลดั ง กล่ า ว ผู้ วิ จั ย จึ ง สนใจศึ ก ษา และสํารวจแหล่งเรียนรู้ในวนอุทยานเขากระโดง และเงื่อนไขในการส่งเสริมให้วนอุทยานเขากระโดง เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อสํารวจแหล่งเรียนรู้ในวนอุทยานเขา กระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อศึ กษาเงื่อนไขในการส่งเสริม ให้ว น อุ ท ยานเขากระโดงเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ เ พื่ อ การ ท่องเที่ยวเชิงอนุรกั ษ์

ก ร อ บ แ น ว ค ว า ม คิ ด ข อ ง ก า ร วิ จั ย (Conceptual Framework)

1. แนวคิดเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้(Learning Resources) จากการศึกษาและประมวลแนวคิดเกี่ยวกับ แหล่งเรียนรู้นั้น แหล่งเรียนรู้มีลักษณะหลากหลาย มีอยู่มากมายล้อมรอบตัวเราอยู่แทบทุกอย่างที่พบ เห็นหรือสัมผัสในชีวิตประจําวันสามารถเป็นแหล่ง เรียนรู้ได้ทั้งสิ้น โนลส์ (Knowles, 1962: 42-60 อ้างใน William Griffith, 1970: 174) เห็นว่า แหล่ ง การเรี ย นรู้ เป็ น แหล่ ง จั ด กิ จ กรรมหรื อ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น และ ปีเตอร์สัน (Peterson, 1980: 18-21) ได้ให้แนวคิดไว้ว่า แหล่งการเรียนรู้ ที่ จั ด ตั้ ง เพื่ อ การศึ ก ษาและการเรี ย นรู้ เช่ น ส ถ า น ศึ ก ษ า ต่ า ง ๆ สื่ อ สิ่ ง พิ ม พ์ แ ล ะ สื่ อ อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ แหล่งการเรียนรู้ ซึ่งทําให้เกิด การเรี ย นรู้ ขึ้ น ได้ โ ดยไม่ ตั้ ง ใจ (Unintentional Learning) ได้แก่ บ้าน ที่ทํางาน สถานที่ท่องเที่ยว กิจ กรรมต่า งๆ เป็น ต้น ไมเคิลลิส (Michaelis, 1978) ได้ร ะบุถึงแหล่งการเรียนรู้ครอบคลุมสิ่ง ต่ า ง ๆ อ า ทิ เ ช่ น แ ห ล่ ง ป ร ะ ช า ก ร แ ห ล่ ง ประวัติศาสตร์ แหล่งภูมิศาสตร์ แหล่งทรัพยากร แหล่งอุต สาหกรรม แหล่งธุร กิจ แหล่งการศึกษา แหล่ง ศาสนา แหล่ งสถานที่ สํา คัญ แหล่ งศิ ล ปะ ต่างๆ ฯลฯ นอกจากนั้น ชัยยศ อิ่มสุวรรณ (2544: 22) ได้นําเสนอไว้ว่า องค์ประกอบ ลักษณะสําคัญ

ของการเป็น แหล่งการเรีย นรู้ของชุมชนนั้น ควร พิจารณาสิ่งต่อไปนี้ คือ (1) ตัวของแหล่งเรียนรู้ ซึ่ง เน้ น ไปที่ ส ถานที่ ที่ จั ด การเรี ย นรู้ (2) กิ จ กรรมที่ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการจัดกระบวนการ ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง คนกับคน คนกับกลุ่ม คนกับ สื่อ กลุ่มกับกลุ่ม กลุ่มกับสื่อ คนกับเหตุการณ์ กลุ่ม กั บ เหตุ ก ารณ์ ความสั ม พั น ธ์ ใ นลั ก ษณะดั ง กล่ า ว เกิดขึ้นลําพังเฉพาะกลุ่มโดยไม่สัมพันธ์กับสิ่งต่างๆก็ ได้ ในขณะเดีย วกั น เป็น ความสัมพัน ธ์ ที่ตั้งอยู่บ น การสนทนาเพื่อ แลกเปลี่ย นเรีย นรู้ ซึ่ง กัน และกั น อาจเป็นทางการ หรือไม่ทางการ อาจตั้งใจ หรือไม่ ตั้ ง ใจก็ ไ ด้ ขึ้ น อยู่ กั บ สถานการณ์ จ ะพาไป (3) นั ก ศึ ก ษาตามอั ธ ยาศั ย ซึ่ ง เป็ น ผู้ จั ด การให้ เ กิ ด กิจกรรมการเรียนรู้ขึ้น และ (4) การบริหารจัดการ แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อม บรรยากาศของการเรียนรู้ จากแนวคิ ด ต่ า งๆ ดั ง กล่ า ว เมื่ อ พิ จ ารณา โดยรวมแล้วอาจกล่าวได้ว่าแหล่งเรียนรู้สามารถจัด แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ (1) แหล่งหรือสภาพที่มี ลั ก ษณะการก่ อ ตั้ ง หรื อ กํ า เนิ ด โดยธรรมชาติ (Natural environments) และ (2) ที่มนุษย์สร้าง ขึ้น (Human-made environments และ Societal settings) ดั ง นั้ น แหล่ ง เรี ย นรู้ ใ นที่ นี้ หมายถึ ง แหล่งหรือสภาพที่มีลักษณะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และที่ ม นุ ษ ย์ ส ร้ า งขึ้ น โดยต้ อ งมี อ งค์ ป ระกอบ พื้ น ฐานดั ง นี้ คื อ ตั ว ของแหล่ ง เรี ย นรู้ กิ จ กรรมที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด การเรี ย นรู้ ผู้ เ รี ย นรู้ ต าม อัธยาศัย ซึ่งเป็นผู้จัดการให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ ขึ้น และผลการเรียนรู้/ประโยชน์ที่ได้รับจากการ เรียนรู้ (จุรีพร กาญจนการุณ, 2551: 65-76)


5 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

2. แนวคิด เกี่ย วกั บการท่อ งเที่ยวเชิ ง อนุรักษ์ (Ecotourism) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2544) ให้ แนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หรือการ ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง นิ เ วศไว้ ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ Buckley (1993) และ Jones (2005) โดยได้ กํ าหนด องค์ ป ระกอบหลั กที่สํ า คั ญ ของการท่ องเที่ย วเชิ ง อนุ รั ก ษ์ ไว้ ดั ง นี้ คื อ (1) องค์ ป ระกอบด้ า นพื้ น ที่ เป็ น การท่ อ งเที่ ย วที่ มี พื้ น ฐานอยู่ กั บ ธรรมชาติ (Nature-based tourism) ในแหล่ ง ท่ องเที่ ย วที่ เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และประวั ติ ศ าสตร์ ที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั บ ระบบนิ เ วศ (Eco-system) ในพื้นที่นั้นๆ (2) องค์ประกอบด้าน การจัดการ เป็นการท่องเที่ยวที่มีการจัดการยั่งยืน (Sustainable) โดยมีความรับผิดชอบ (Responsible travel) ไม่ ก่อให้ เ กิ ด ผลกระทบสิ่ ง แวดล้ อมและ สั ง คม มี ก ารจั ด การยั่ ง ยื น ครอบคลุ ม ไปถึ ง การ อนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรการจั ด การสิ่ ง แวดล้ อ ม การ ป้ อ งกั น แล ะจํ า กั ด มล พิ ษ และคว บคุ ม การ พั ฒ น า ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว อ ย่ า ง มี ข อ บ เ ข ต (3) องค์ประกอบด้านกิจกรรมและกระบวนการ เป็น ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม (Environmental education-based tourism) มี ก ารเรี ย นรู้ (Learning Process) มีการให้การศึกษาเกี่ยวกับ สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศของแหล่งท่องเที่ยว เป็ น การเพิ่ ม พู น ความรู้ ประสบการณ์ ความ ประทั บ ใจ เพื่ อสร้ า งความตระหนั ก และปลู ก ฝั ง จิตสํานึกที่ถูกต้อง (4) องค์ประกอบด้านการมีส่วน ร่วม เป็นการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน (Community Participation-based tourism) โดย ชุมชนและประชากรท้องถิ่น มีส่ว นร่ว มในการคิด วางแผน ปฏิบัติตามแผน ได้รับประโยชน์ ติดตาม ตรวจสอบ ตลอดจนร่ ว มบํ า รุ ง รั ก ษาทรั พ ยากร

ท่ อ งเที่ ย วอั น ก่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ ใ นท้ อ งถิ่ น ยกระดับ คุณภาพชีวิต และได้รับค่า ตอบแทนเพื่อ กลับมาบํารุงและจัดการแหล่งท่องเที่ยวด้วย นั่น คื อ ท้ อ งถิ่ น มี ส่ ว นร่ ว มในการควบคุ ม การพั ฒ นา การท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ สํ า หรั บ กิ จ กรรมที่ จั ด เป็ น กิ จ กรรมการ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประกอบด้วย (1) กิจกรรม เชิงนิเวศในแหล่งธรรมชาติ ได้แก่ เดินป่า ศึกษา ธรรมชาติ ส่องสัตว์/ดูนก เที่ยวถ้ํา/น้ําตก พายเรือ ดํ า น้ํ า ดู ป ะการั ง ตั้ ง แคมป์ ล่ อ งแพ ขี่ ม้ า /นั่ ง ช้ า ง (2) กิ จ กรรมกึ่ ง นิ เ วศ ได้ แ ก่ การถ่ า ยรู ป บั น ทึ ก ภาพ/เสี ย ง ศึ ก ษาท้ อ งฟ้ า ขี่ จั ก รยาน ท่ อ งเที่ ย ว (เสื อ ภู เ ขา) ปี น ไต่ เ ขา ตกปลา (3) กิจกรรมทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ชมความ งาม ความเก่า แก่ ลัก ษณะเฉพาะตัว ของแหล่ง ประวัติศ าสตร์ ศึก ษาเรียนรู้ประวัติความเป็นมา ของแหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ศึกษาชื่น ชมงานศิ ล ปกรรมและวั ฒ นธรรม ร่ ว มกิ จ กรรม เรียนรู้พฤติกรรมของคน การศึกษาเรียนรู้การผลิต ของที่ร ะลึกและสิน ค้า พื้น เมือง นอกจากนั้น ยัง มี กิ จ กรรมที่ ไ ม่ เ ป็ น การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง นิ เ วศที่ ค วร พิจ ารณาเพื่ อพั ฒ นาการจั ด การให้ มีโ อกาสเสริ ม แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ เช่น ล่องเรือ ชมธรรมชาติ ชมทิว ทัศน์ พักผ่อ นปิกนิก เล่น น้ํ า ว่ายน้ํา อาบแดด มนัสการ กราบไหว้ตามความเชื่อ หรือแสวงบุญ ชม/ร่วมเล่นกีฬา ประชุมสัมมนา บันเทิง ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้มีลักษณะเฉพาะ กั บ บางพื้ น ที่ แ ละบางกลุ่ ม นั ก ท่ อ งเที่ ย ว ซึ่ ง มี วัต ถุป ระสงค์ที่ต่างกัน มีความต้องการสิ่งอํานวย ความสะดวกหรื อ เครื่ อ งมื อ ที่ ต่ า งกั น รวมทั้ ง มี ผลกระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มในระดั บ ที่ ต่ า งกั น ด้ ว ย (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2542: 3-20)


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

สรุ ป ได้ ว่ า การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง อนุ รั ก ษ์ หมายถึง การท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบไม่ส่งผล กระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มและสั ง คม สร้ า งความ ตระหนั ก และปลู ก จิ ต สํ า นึ ก ในการอนุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งหากนักท่องเที่ยวมีความรู้ ความเข้ า ใจและปฏิ บั ติ ก็ จ ะส่ ง ผลให้ เ ป็ น การ ท่องเที่ยวแบบยั่งยืน 3 . แ น ว คิ ด เ กี่ ย ว กั บ ช่ ว ง ชั้ น โ อ ก า ส ด้านนันทนาการ (Recreation Opportunity Spectrum: ROS)

ช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ (ROS) เป็น เครื่องมือสํา คัญ ประการหนึ่ง ในการจัด การแหล่ง ท่ อ งเที่ ย ว เพื่ อ ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว /ผู้ เ รี ย นรู้ ไ ด้ ประสบการณ์ตามที่กําหนดไว้ ซึ่งการกําหนดเขต หรือประเภทของพื้นที่นันทนาการโดย ROS เป็น แนวทางในการตัด สิน ใจดํา เนิน การจัด การหรือ พัฒ นาพื ้น ที ่ (ดรรชนี เอมพั น ธุ์ 2547 : 25) Clark and Stankey (1979) สรุปความหมายของ ช่ ว งชั้ น โอกาสด้ า นนั น ทนาการว่ า เป็ น ความ หลากหลายของโอกาสหรื อ ทางเลื อ กสํ า หรั บ นักท่องเที่ยวในการประกอบกิจกรรมนันทนาการ โ ดยพิ จารณ าจาก ศั ก ยภ าพขอ งทรั พ ยาก ร นั น ทนาการในพื้ น ที่ นั้ น ๆ เป็ น ประการสํ า คั ญ USFS (n.d.) (อ้างถึงในนภวรรณ ฐานะกาญจน์ 2545: ก) ได้นําหลักการ แนวคิดดังกล่าว มาปรับ ประยุ ก ต์ ใ ช้ เป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ จํ า เป็ น สํ า หรั บ การ วางแผนด้ า นนั น ทนาการ สามารถนํ า มาใช้ เ พื่ อ สํ า รวจโอกาสที่ มี อ ยู่ ข องพื้ น ที่ เชื่ อ มโยงความ ต้ อ งการของผู้ ใ ช้ ป ระโยชน์ กั บ โอกาสทางด้ า น นันทนาการ เพื่อการวางแผนการจัดการพื้นที่และ กิจ กรรมนัน ทนาการ ซึ่ งผลลัพธ์ สุด ท้า ยของการ จั ด การด้ า นนั น ทนาการ คื อ ประสบการณ์ ข อง

นั ก ท่ อ งเที่ ย ว โดยปั จ จั ย บ่ ง ชี้ ช่ ว งชั้ น ของแหล่ ง นันทนาการ มีดังนี้ 1. ลั ก ษณะด้ า นกายภาพ ซึ่ ง สามารถ พิ จ ารณาจากความยากง่ า ยในการเข้ า ถึ ง พื้ น ที่ ความห่างไกล โดยการรับรู้ด้วยตัวเอง และการได้ ยินเสียงการประกอบกิจกรรมนันทนาการของผู้อื่น และความเป็ น ธรรมชาติ ซึ่ ง พิ จ ารณาจากระดั บ ความเป็ น ธรรมชาติ ข องพื้ น ที่ แ วดล้ อ ม มี ผ ลต่ อ ความพึงพอใจ ความเพลิดเพลินของนักท่องเที่ยว 2. ลักษณะด้านสังคม ซึ่งสามารถพิจารณา จากโอกาสในการพบปะนั ก ท่อ งเที่ ย วอื่ น ๆ ตาม เส้ น ทางท่ อ งเที่ ย ว และพิ จ ารณาผลกระทบที่ ปรากฏในพื้นที่อันเนื่องมาจากการใช้ประโยชน์ของ นักท่องเที่ยว 3. ลักษณะด้า นการจัด การ ซึ่งสามารถ พิ จ ารณาจากระดั บ การพั ฒ นาสิ่ ง อํ า นวยความ สะดวก และการบริการภายในแหล่งท่องเที่ยว และ การจัดการนักท่องเที่ยว การใช้กฎระเบียบและการ ตรวจตรา จากการพิจารณาปัจจัยดังกล่าว USFS ได้ แบ่ ง ช่ ว งชั้ น โอกาสด้ า นนั น ทนาการดั ง นี้ คื อ 1) พื้ น ที่ สั น โดษ (Primitive: P) เป็ น แหล่ ง ท่องเที่ยวที่มีสภาพธรรมชาติดั้งเดิม พื้นที่ค่อนข้าง ใหญ่ 2) พื้ น ที่ กึ่ ง สั น โดษไม่ ใ ช้ ร ถยนต์ (Semiprimitive Non Motorized: SPNM) แหล่ ง ท่องเที่ยวที่สภาพส่วนใหญ่ ยังคงสภาพเดิม พื้นที่มี ขนาดใหญ่ -ปานกลาง 3) พื้น ที่ กึ่ งสั น โดษโดยใช้ รถยนต์ (Semi-primitive Motorized: SPM) เป็น แหล่งท่องเที่ยวที่สภาพส่วนใหญ่ ยังคงสภาพเดิม พื้น ที่มีขนาดปานกลาง 4) พื้น ที่ธ รรมชาติมีถนน (Roaded Natural: RN) แหล่งท่องเที่ยวที่สภาพ ส่วนใหญ่ ยังคงสภาพเดิม 5) พื้นที่ชนบท (Rural: R) เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีการปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่


7 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

พัฒ นาสิ่ งอํ า นวยความสะดวกเพื่อ รองรับ การใช้ ประโยชน์ จ ากนั ก ท่ อ งเที่ ย ว และสามารถใช้ ยวดยานในพื้นที่ได้ 6) พื้นที่เมือง (Urban: U) เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสภาพแวดล้อมเป็นเมือง มี การปรั บ เปลี่ ย นสภาพ มี ก ารพั ฒ นาสิ่ ง อํ า นวย ความสะดวกมาก มี ก ารใช้ ย วดยานมากและมี บริการขนส่งมวลชน สําหรับประเทศไทยมีการ จําแนกช่วงชั้ นโอกาสด้ านนั นทนาการ/ท่องเที่ ยว โดยแบ่งออกเป็น 5 ช่วงชั้น คือ 1) พื้นที่ธรรมชาติ สันโดษ (Primitive area) 2) พื้นที่ธรรมชาติกึ่ง สันโดษไม่ใช้ยานยนต์ (Semi-primitive nonmotorized area) 3) พื้นที่ธรรมชาติกึ่งสันโดษใช้ ยานยนต์ (Semi-primitive motorized area) 4) พื้นที่ธรรมชาติกึ่งพัฒนาแล้ว (Semi-developed natural area) และ 5) พื้นที่ธรรมชาติที่มีการพัฒนา สูง (Highly developed natural area) (ดรรชนี เอมพันธุ์ 2547 : 3-18) สรุ ป ได้ว่ า ช่ ว งชั้น โอกาสด้า นนัน ทนาการ เป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ มี ค วามจํ า เป็ น สํ า หรั บ ใช้ ใ นการ วางแผนด้านนันทนาการในพื้นที่วนอุทยาน

โ ด ย มี ปั จ จั ย บ่ ง ชี้ ช่ ว ง ชั้ น ข อ ง แ ห ล่ ง นันทนาการ 3 ด้าน คือ ด้านกายภาพ ด้านสังคม และด้านการจัดการ ทั้งนี้การแบ่งตามสภาพพื้นที่ แต่ ล ะพื้ น ที่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วจะได้ รั บ ประสบการณ์ แตกต่า งกัน ซึ่งนักท่องเที่ย วสามารถเลือกพื้น ที่ สํา หรั บ ประกอบกิ จ กรรมนั น ทนาการตามความ ต้องการเพื่อให้ได้ประสบการณ์ที่พึงปรารถนา กล่าวโดยสรุปการศึกษาวิจัยเรื่องวนอุทยาน เขากระโดง: แหล่ ง เรี ย นรู้ เ พื่ อ การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง อนุรักษ์ เน้นศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลตาม องค์ประกอบพื้นฐานของแหล่งเรียนรู้ อันได้แก่ ตัว แหล่งเรียนรู้ กิจกรรมนันทนาการที่เกิดขึ้น ผลการ เรียนรู้/องค์ความรู้/ประโยชน์ที่ได้รับ และศึกษา เงื่อนไข ในการส่งเสริมวนอุทยานเขากระโดง เพื่อ เป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ ในการท่ อ งเที่ ย วเชิ ง อนุ รั ก ษ์ ตามแนวคิ ด การจํ า แนกพื้ น ที่ นั น ทนาการตาม ห ลั ก ก า ร ช่ ว ง ชั้ น โ อ ก า ส ด้ า น นั น ท น า ก า ร (Recreation Opportunity Spectrum : ROS)

ดังกรอบแนวคิดวิจัยต่อไปนี้

วนอุทยานเขากระโดง: แหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ องค์ประกอบของแหล่งเรียนรู้ เงื่อนไขการส่งเสริมเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ ตามหลักการช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ - ตัวแหล่งเรียนรู้ - ด้านกายภาพ - กิจกรรมนันทนาการ - ด้านสังคม - ผลการเรียนรู/้ ประโยชน์ที่ได้รับ - ด้านการจัดการ - นักท่องเที่ยว (ผู้เรียนรู)้


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

คําถามในการวิจัย 1. แหล่งเรียนรู้ในวนอุทยานเขากระโดง มี อะไรบ้าง มีกิจกรรมนันทนาการ และผลการเรียนรู้ อะไรเกิ ด ขึ้ น บ้ า ง หรื อ นั ก ท่ อ งเที่ ย วในฐานะผู้ เรียนรู้ นั้น ได้เรียนรู้ หรือใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง 2. เงื่อนไขในการส่งเสริมให้วนอุทยานเขา กระโดงเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ เ พื่ อ การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง อนุรักษ์ในด้านกายภาพ ด้านสังคม และด้านการ จัดการ เป็นอย่างไร

นิยามศัพท์ในการวิจัย 1. วนอุ ท ยาน (Forest Park) หมายถึ ง สถานที่ในป่าที่มีทิวทัศน์สวยงาม เช่น มีน้ําตก หน้า ผา หมู่ไม้ที่สวยงาม มีธรรมชาติที่เหมาะสําหรับการ พักผ่อนหย่อนใจโดยที่วนอุทยาน มีเนื้อที่ขนาดเล็ก กว่าอุทยานแห่งชาติ 2. วนอุทยานเขากระโดง หมายถึง พื้นที่ป่า ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ที่รัฐจัดไว้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน มี เนื้ อ ที่ ทั้ ง หมด 8,000 ไร่ อ ยู่ ใ นท้ อ งที่ ตํ า บลเสม็ ด ตํ า บลอิ ส าณ และตํ า บลสวายจี ก อํ า เภอเมื อ ง บุ รี รั ม ย์ จั ง หวั ด บุ รี รั ม ย์ และเป็ น พื้ น ที่ ที่ ไ ด้ ถู ก ประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขากระโดงและ พื้ น ที่ ป่ า ถาวรของชาติ มี ลั ก ษณะเด่ น คื อ เป็ น ภู เ ขาไฟที่ เ ย็ น ตั ว ลงแล้ ว มี ป ราสาทเขากระโดง ฯลฯ เป็ น พื้น ที่มี ทรัพยากรการท่ องเที่ย วอัน ควร อนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็น แหล่งค้นคว้าศึกษาหาความรู้ของประชาชนทั่วไป 3. นักท่องเที่ยว หมายถึง ผู้ที่เดินทางมายัง วนอุทยานเขากระโดง เพื่อการท่องเที่ยว เพื่อศึกษา หาความรู้และประกอบกิจกรรมนันทนาการ 4. การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Ecotourism) หมายถึง การท่องเที่ย วอย่ า งมีความรับ ผิด ชอบ

โดยเน้น ให้เ กิด จิต สํา นึกต่อการรักษาระบบนิเ วศ อย่างยั่งยืน 5. ช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ หมายถึง การจําแนกพื้นที่นันทนาการเพื่อใช้เป็นแนวทางใน การจัด การพื ้น ที ่ที ่ม ีร ูป แบบแตกต่า งกัน ตาม ลัก ษณะศัก ยภ าพของพื ้น ที ่บ นพื ้น ฐานของ ลัก ษณะทางกายภาพ ลั ก ษณะทางสั ง คม และ ลักษณะการจัดการด้านการท่องเที่ยว

ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยนี้ เป็นศึกษาความคิดเห็นตามการ รั บ รู้ ข องนั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ เ ดิ น ทางไปท่ อ งเที่ ย ววน อุทยานเขากระโดง โดยถือว่านักท่องเที่ย วอยู่ ใน ฐานะผู้ เ รี ย นรู้ และเป็ น ผู้ ใ ห้ ข้ อ มู ล สํ า คั ญ ในการ ศึกษาวิจัยครั้งนี้ และเป็นการศึกษาตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2552 – กันยายน 2553

วิธีการวิจัย ก า ร วิ จั ย ค รั้ ง นี้ ใ ช้ วิ ธี ก า ร ศึ ก ษ า วิ จั ย เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การศึกษา เอกสาร (Documentary study) การสัมภาษณ์ เชิงลึก (in-depth interviews) การสนทนากลุ่ม อย่างไม่เป็นทางการ (informal focus group discussion) โดยเลื อกกลุ่ ม ตั ว อย่ า งแบบเฉพาะ เจาะจง (Purposive Sampling) จากนักท่องเที่ยว ที่เดินทางมาท่องเที่ยว ณ วนอุทยานเขากระโดงที่ ยินดีสนทนาตอบคําถาม โดยมีความความสนใจต่อ การพัฒนาของวนอุทยานเขากระโดง พร้อมทั้งเป็น ผู้ ที่ มี ภู มิ ลํ า เนาอยู่ ใ นเขตจั ง หวั ด บุ รี รั ม ย์ และ เดินทางมาท่องเที่ยว ณ วนอุทยานเขากระโดงเป็น ประจํา ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวที่มีความ เหมาะสมต่อประเด็นการวิจัย จํานวน 30 คน โดย ทั้ง นี้ มีป ระเด็ น สั มภาษณ์ และสนทนากลุ่ ม ตาม


9 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

กรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ “แหล่ง สถานที่ และ สิ่ ง ต่ า งๆ ฯลฯ ในวนอุ ท ยานเขา กระโดง ที่นักท่องเที่ยวเห็นว่ามีความเหมาะสมเป็น แ ห ล่ ง ก า ร เ รี ย น รู้ ข อ ง นั ก ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ ล ะ นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ ประกอบกิจกรรมเพื่อการ เรียนรู้ใดบ้าง นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้อะไร หรือได้ ประโยชน์ใดจากการมาท่องเที่ยวในวนอุทยานเขา กระโดง ความคิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ ลั ก ษณะทาง กายภาพ สังคม และการจัดการด้านการท่องเที่ยว ในการส่งเสริมให้วนอุทยานเขากระโดงเป็นแหล่ง เรี ย นรู้ เ พื่ อการท่ องเที่ย วเชิ งอนุรั ก ษ์” วิเ คราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเ คราะห์เ นื้อหา (content analysis) และการวิเคราะห์เชิงสรุปแบบ อุปนัย (inductive analysis) และรายงานผลการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (descriptive data)

ผลการวิจัย 1. ผลการวิ เ คราะห์ สั ง เคราะห์ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ บริบทสภาพแวดล้อมแหล่งสถานที่ในวนอุทยาน เขากระโดง มีดังต่อไปนี้ บริ เ วณพื้ น ที่ ใ นวนอุ ท ยานเขากระโดง มี ทรั พยากรธรรมชาติต่ า งๆ เป็ น ทรัพ ยากรป่า ไม้ ได้แก่ ป่าเต็งรัง ซึ่งมีต้นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง พั น ธุ์ ไ ม้ ที่ พ บได้ แ ก่ เต็ ง รั ง มะกอกเลื่ อ ม ฯลฯ และมีพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะพิเศษชื่อ ต้นมะกอกโคก หรื อ เขมรเรี ย กว่ า กระนุ ย ขมอจ และชาวบ้ า น เรี ย กว่ า ต้ น หี ผี และมี ชื่ อ วิ ท ยาศาสตร์ ว่ า Schrebera swietenioides Roxb. เป็ น พื ช ไม้ ประเภทยืน ต้ น ลัก ษณะไม้ เ ปลือ กแข็ ง ลํา ต้น สู ง ใหญ่ ประเภทใบเลี้ย งคู่ออกดอกเป็น ช่อๆ สีขาว แกมเหลืองเล็กน้อย พบตามซากภูเขาไฟเก่า ซึ่ง เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว ในฤดูฝน พื้นที่ป่า มี พืช ผักต่า งๆ อาทิเ ช่น ดอกกระเจียว และเห็ด ที่

สามารถนําไปปรุงอาหารได้ ซึ่งเป็นทั้งแหล่งอาหาร และแหล่ ง รายได้ ข องชาวบ้ า น ฤดู ห นาวป่ า จะมี ความแล้งและผลัดใบ ใบไม้ร่วงแห้ง สามารถเป็น เชือ้ เพลิงอย่างดี ส่วนทรัพยากรสัตว์ป่า จากการสํารวจใน พื้นที่วนอุทยานเขากระโดง เมื่อ พ.ศ. 2512 โดย กรมป่าไม้ พบว่า สัตว์ป่าประเภทเลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดใหญ่ ไม่มีเ หลืออยู่แล้ว มีแต่ขนาดเล็ก เช่น กระรอก กระต่ายป่า สัตว์ป่าที่น่าสนใจและยังคงมี อยู่ จํ า นวนมาก คื อ นก ซึ่ ง มี มากมายหลายชนิ ด เช่น นกขุนแผน นกเด้าดินสวน นกกระเต็นอกขาว นกกิ้ ง โครงคอดํ า ฯลฯ นอกจากนั้ น ในพื้ น ที่ ยั ง มี แหล่ ง และสถานที่ ท่ อ งเที่ ย วซึ่ ง เป็ น ที่ ส นใจของ นักท่องเที่ยวโดยทั่วไป ดังนี้ ปากปล่ อ งภู เ ขาไฟเขากระโดง มี อ ายุ ประมาณ 3 แสนถึง 9 แสนปี ปากปล่ องเป็น รู ป พระจันทร์ครึ่งซีก ยอดเนินเขาเป็นขอบปล่องด้าน ทิศใต้เรียกว่า เขาใหญ่ ส่วนยอดเนินเป็นขอบปล่อง ด้า นทิศ เหนือ เรี ย กว่ า เขาน้ อ ย หรื อ เขากระโดง ส่วนบริเวณที่เป็นขอบปล่องปะทุคือ บริเวณที่เป็น หุบเขา ปัจจุบันมีสภาพเป็นสระน้ํา เป็นซากภูเขา ไฟที่ยังคงสภาพดีและมีอายุน้อยที่สุดในประเทศ ไทย เขากระโดง เป็นภูเขาไฟที่เย็นตัวแล้ว มี อายุป ระมาณ 0.92 ± 0.30 ล้า นปี สูงจาก ระดั บ น้ํ า ทะเลประมาณ 265 เมตร บนเขามี หิ น ภูเขาไฟหลายชนิดซึ่งประกอบด้วยหินบะซอลล์ที่มี รูพรุน (Vesicular Basalt) สคอเรีย (Scoriaceous Basalt) และหิน ตะกรัน ภู เ ขาไฟ (Pyroclastic Materials) ส่ว นดิน ที่ผุ พังยั ง ไม่ ได้ กระจายตั ว ออกไปกว้ า งขวางนั ก พื้ น ที่ ข องเนิ น ภู เ ขาไฟมี ประมาณ 1.5 ตารางกิ โ ลเมตร แต่ ถ้ า คิ ด พื้ น ที่


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

ทั้งหมดที่หินลาวา (Lava) ไหลผ่านปกคลุม จะมี พื้นที่ประมาณ 120 ตารางกิโลเมตร เขาใหญ่ เป็นบริเวณที่มีหินระเบิดภูเขาไฟ ขนาดใหญ่อยู่มากมาย ตีนเขาเป็นที่ราบแคบๆ ทาง ทิศเหนือของเขาใหญ่เป็นสันต่อกับเขากระโดง ทิศ ใต้เป็นสระน้ําหินรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หลังเขาใหญ่มี วั ด ร้ า ง และมี รู ป หล่ อ สั ต ว์ น านาชนิ ด ที่ ห ล่ อ ด้ ว ย ปูนซีเมนต์ องค์พระสุภัทรบพิตร เป็นพระพุทธรูปองค์ ใหญ่ ก่ อ อิ ฐ ฉาบปู น ขนาดใหญ่ หน้ า ตั ก กว้ า ง 12 เมตร ฐานยาว 14 เมตร หันหน้าไปทางทิศเหนือ ประดิษฐานอยู่บนเขากระโดง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยผู้มีจิตศรัทธาและเลื่อมใส ต่อหลวงพ่อ บุญมา ปัญญาปโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดเขากระโดง พร้ อ มทั้ ง ได้ มี ก ารสร้ า งบั น ไดนาคราชขึ้ น ลงเขา กระโดง ซึ่งมีทั้งหมด 297 ขั้น พระพุทธบาทจําลอง มีขนาดยาว 2 ศอก 1 คืบ กว้าง 1 ศอก ประดิษฐานในปราสาทหินศิลา แลงโบราณเขากระโดง บนปากปล่ อ งภู เ ขาไฟ กระโดง สร้ า งขึ้ น เมื่ อ เดื อ นเมษายน พ.ศ. 2448 โดยพระยาประเสริ ฐ สุ น ทราศรั ย (กระจ่า ง สิง ห เสนีย)์ อดีตเจ้าเมืองบุรีรัมย์ เพื่อเป็นพุทธบูชา และ เป็ น ปู ช นี ย สถานสํ า หรั บ พุ ท ธศาสนิ ก ชนทั่ ว ไป ต่ อ มาได้ สู ญ หายไป และปราสาทหิ น ศิ ล าแลง ปรั ก หั ก พั ง พ.ศ. 2505 บุ ต รธิ ด าของพระยา ประเสริ ฐ สุน ทราศรัย จึง ได้ส ร้า งมณฑปกับ พระ พุทธบาทจําลองขึ้นใหม่ และได้นํามาประดิษฐานไว้ ในมณฑปนี้ ปราสาทเขากระโดง ตั้ง อยู่บ นปาก ปล่องภูเขาไฟกระโดง มีพื้นที่ 1 งาน 60 ตารางวา เป็นศาสนสถาน ที่สร้างขึ้น ก่อนสมัยสุ โขทัย เดิม เป็นปรางค์หินทราย ก่อบนฐานศิลาแลงองค์เดียว โดดๆ ฐานสี่เหลี่ยมขนาด 4 x 4 เมตร มีช่องทาง

เข้า 4 ด้าน ต่อมาหินพังหรือถูกรื้อลงมา มีผู้นําหิน มาเรีย งขึ้น มาใหม่ แต่ ไม่ต รงตามรูป แบบเดิม ใน สมัยรัตนโกสินทร์ ตระกูลสิงหเสนีย์ได้ประดิษฐาน พระพุ ทธบาทจํ า ลองไว้ ในองค์ป รางค์ แล้ว สร้ า ง มณฑปครอบทับ ปราสาทเขากระโดงถูกประกาศ ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจา นุ เ บกษาเล่ ม ที่ 52 ตอนที่ 75 วั น ที่ 8 มี น าคม 2518 อ่ า งเก็ บ น้ํ า เขากระโดง (อ่ า งเก็ บ น้ํ า วุ ฒิ สวั ส ดิ์ ) อยู่ ด้ า นเหนื อ ของภู เ ขากระโดง บริ เ วณ หน้าที่ทําการวนอุทยานเขากระโดง เนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ เป็น แหล่งอาศัยของเหล่านกน้ํา ประจําถิ่น และอพยพหนีหนาว รอบอ่างจะอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้ เต็ง-รัง นานาชนิด เป็นจุดนั่งชมวิว จากจุดนี้หาก มองขึ้นไปบนยอดเขากระโดงจะเห็นองค์พระสุภัทร บพิตร วั ด เขากระโดง เดิ ม ตั้ ง อยู่ ที่ สํ า นั ก งาน ตํารวจทางหลวงบุรีรัมย์ ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2499 หลวงพ่อ บุญ มา ปั ญ ญาปโชโต พร้อ มด้ว ย พระลูกวัดและชาวบ้านได้ย้า ยวัดมาสร้า งบริเวณ เขากระโดง และเขาใหญ่ ตอนเริ่มก่อตั้งวัดได้ตั้งใจ ให้ ไปอยู่บ นเขา และมีจุด มุ่งหมายเพื่อเป็น สํา นัก สงฆ์ วิ ปั ส นากรรมฐาน แต่ต่ อ มาทางราชการได้ ขอให้ ย้ า ยมาตั้ ง ที่ เ ชิ ง เขากระโดงขอบช่ อ งปล่ อ ง ภู เ ขาไฟ ทางด้ า นทิ ศ ตะวั น ตกติ ด กั บ ถนนสาย บุรีรัมย์-ประโคนชัย 2. ผลการวิ เ คราะห์ สั ง เคราะห์ ข้ อ มู ล เกี่ ยวกั บแหล่ง เรีย นรู้ ใ นวนอุ ทยานเขากระโดง กิจกรรมนันทนาการ ผลการเรียนรู้/ประโยชน์ที่ ได้รับจากการประกอบกิจกรรมนันทนาการของ นักท่องเที่ยว ดังต่อไปนี้


11 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

แหล่งเรียนรู/้ ทรัพยากรการท่องเที่ยว 1. เส้นทางศึกษาธรรมชาติที่มีความหลากหลาย ของสังคมพืช ชนิดพันธุ์ไม้ พืชสมุนไพร 2. ภูมิทัศน์ทสี่ วยงามและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในวนอุทยาน พันธุ์ไม้ ดอกไม้ในธรรมชาติ

2. ปากปล่องภูเขาไฟกระโดง - ธารลาวา - หินภูเขาไฟชนิดต่าง ๆ ซึ่งบางชนิดลอยน้ําได้ 3. ทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่าต่างๆ - นกชนิดต่างๆ เช่น นกขุนแผน นกปรอด หัวโขน นกเป็ดแดง นกเป็ดคับแค นกเป็ดผี เล็ก นกกระเต็นอกขาว นกยางกรอกพันธุ์จีน นกกระเบื้องคอขาว นกกินแมลงสีฟ้าอ่อน เป็นต้น 4. องค์พระสุภัทรบพิตร - รอยพระพุทธบาทจําลอง - พระพุทธรูปประจําวันเกิด - วัดพระพุทธบาทเขากระโดง 5. ประสาทเขากระโดง 6. ประเพณีตักบาตรเทโวโรหนะ - พิธีกวนข้าวทิพย์ - ประเพณีขึ้นเขากระโดง 7. อ่างเก็บน้ําเขากระโดง (วุฒิสวัสดิ)์

8. เส้นทางขี่จักรยานทางเรียบ พื้นที่ลาดชัดและ ขรุขระ - เส้นทางขี่จักรยานที่มีภูมิทัศน์สวยงาม ร่มรื่น

กิจกรรมนันทนาการ ผลการเรียนรู้/ประโยชน์ที่ได้รับ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - สัมผัสธรรมชาติ ความเพลิดเพลิน - ถ่ายบันทึกภาพ ผ่อนคลาย - พัฒนาร่างกายให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น - ความรู้เกี่ยวกับกับระบบนิเวศป่า ไม้และธรณีวิทยา และการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ - เรียนรู้ประวัติ / ความสําคัญของ แหล่งท่องเที่ยว - ศึกษาเรียนรู้ทาง - ความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย ธรณีวิทยา - ความรู้เกี่ยวกับธรณีวิทยา - ถ่ายบันทึกภาพ - ดูนก - สัมผัสธรรมชาติ - ถ่ายบันทึกภาพ - ความรู้เกี่ยวกับนก พฤติกรรมและ ถิ่นอาศัยธรรมชาติ - เข้าใจ/ตระหนักถึงความสําคัญของ การอนุรักษ์ป่าไม้ - นมัสการกราบไหว้ ตามความเชื่อ - ถ่ายบันทึกภาพ

- เกิดความเป็นสิริมงคลกับตนเอง และครอบครัว - ประพฤติตนเป็นพุทธศาสนิกชน และทํานุบํารุงพระพุทธศาสนา - การเยี่ ย มชมศิ ล ปะ - เรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะ โบราณสถาน โบราณสถาน - ถ่ายบันทึกภาพ - กิจกรรมสืบสาน - อนุรักษ์และสืบทอดประเพณีของ อนุรักษ์ประเพณี ชาวพุทธ - ถ่ายบันทึกภาพ - ทํานุบํารุงพระพุทธศาสนา - เรียนรู้ประเพณีทสี่ ําคัญ - เรือถีบ/เล่นน้ํา - สัมผัสธรรมชาติ ความเพลิดเพลิน - ถ่ายบันทึกภาพ สุขภาพร่างกายให้แข็งแรง - ตั้งแคมป์ - สัมผัสธรรมชาติ - ถ่ายบันทึกภาพ - ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศและ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ - ได้พึ่งพาตนเอง - ได้แสดงออกซึ่งความเป็นตัวของ ตัวเอง - ขี่จักรยานเสือภูเขา/ - สัมผัสธรรมชาติ เพลิดเพลิน จักรยานท่องเที่ยว - ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศและ - ถ่ายบันทึกภาพ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ - ออกกําลังกายและได้ทักษะ การขี่จักรยาน


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

3. ผลการวิ เ คราะห์ สั ง เคราะห์ ข้ อ มู ล เกี่ยวกับเงื่อนไขในการส่งเสริมให้วนอุทยานเขา กระโดงเป็ น แหล่งเรี ยนรู้เ พื่อการท่อ งเที่ย วเชิ ง อนุ รั ก ษ์ โดยการจํ า แนกพื้ น ที่ นั น ทนาการตาม แนวคิดหลักการช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ ดังต่อไปนี้ ลักษณะทางด้านกายภาพ นักท่องเที่ยวซึ่ง เป็ น ผู้ ใ ห้ ข้ อ มู ล สํ า คั ญ ในการวิ จั ย มี ค วามเห็ น ว่ า จํ า เป็ น ต้ อ งฟื้ น ฟู ส ภาพแวดล้ อ มทางธรรมชาติ ภายในบริ เ วณวนอุ ทยานเขากระโดง ให้ มี ความ อุดมสมบูรณ์และเป็นธรรมชาติ ส่งเสริมให้ชุมชนมี ส่วนร่วมใน การจัดกระบวนการฟื้นฟูความสมบูรณ์ ของพื้นที่ป่า รวมถึงปรับปรุงภูมิทัศน์โดยคํานึงถึง ความกลมกลืนกับสภาพธรรมชาติ ลักษณะทางด้านสังคม นักท่องเที่ยวซึ่งเป็น ผู้ให้ข้อมูลสําคัญในการวิจัยมีความเห็นว่า ควรต้อง ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมเชิงนิเวศเพิ่มขึ้นที่จะนําไปสู่ การเรียนรู้และร่วมกิจกรรมระหว่างนักท่องเที่ยวที่ ส่งเสริมความรู้ การอนุรักษ์และช่วยกันดูแลรักษา สภาพธรรมชาติ รวมถึงการสร้างเครือข่ายระหว่าง นักท่องเที่ยว ชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ ลักษณะทางด้านการจัดการ นักท่องเที่ยวซึ่ง เป็ น ผู้ ใ ห้ ข้ อ มู ล สํ า คั ญ ในการวิ จั ย มี ค วามเห็ น ว่ า จําเป็นต้องมีห้องน้ําสะอาด ตามจุดท่องเที่ยวอย่าง เพี ย งพอ โดยส่ ง เสริ ม ให้ ชุ มชนมี ส่ว นร่ว มในการ บริหารจัดการเกี่ยวกับสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ ยานพาหนะรถรับส่งขึ้นลงเขา และให้ชุมชนเข้ามา ดําเนินการเก็บค่าบริการห้องน้ํา ห้องสุขา เพื่อนํา รายได้ ไ ปพั ฒ นาและรั ก ษาความสะอาด จั ด ทํ า ป้ า ยและปรั บ ปรุ ง ป้ า ยต่ า งๆให้ ชั ด เจน สวยงาม ร้านอาหารปรับปรุงให้สะอาด ถูกหลักอนามัย ควร มีร ายการอาหารพื้น บ้ า นที่ ใ ช้ ผ ลิ ต ผลจากป่า เขา กระโดง ควรจั ด สร้ า งศู น ย์ บ ริ ก ารนั ก ท่ อ งเที่ ย ว

เพื่ อ ให้ บ ริ ก ารด้ า นข้ อ มู ล ต่ า งๆ ประชาสั ม พั น ธ์ โปรแกรมการท่ อ งเที่ ย วให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วทราบ ล่วงหน้าและมีกฎระเบียบในการเก็บผลผลิตจาก ป่าและพืชสมุนไพร และควรต้องมีมาตรการเพื่อ อํานวยความสะดวกให้มีการแจ้งเจ้าหน้าที่กรณีพบ ร่องรอยการทําลายทรัพยากรธรรมชาติ

สรุปและอภิปรายผลการวิจัย การศึกษาวิจัยครั้งนี้ วนอุทยานเขากระโดง ถือว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักท่องเที่ยวได้ โดยทั้งนี้ นักท่องเที่ยวจะเป็นผู้จัดการการเรียนรู้ด้วยตนเอง จึงเรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้ในลักษณะตามอัธยาศัย ซึ่งจากการพิจารณาองค์ประกอบพื้นฐานของแหล่ง เรี ย นรู้ ต ามกรอบแนวคิ ด การวิ จั ย นั้ น พบว่ า สถานที่ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยว ได้แก่ เส้ น ทางศึ ก ษาธรรมชาติ เส้น ทางขี่จั ก รยานทาง เรียบ พื้นที่ลาดชัดและขรุขระ เส้นทางขี่จักรยานที่ มีภูมิทัศน์สวยงาม ปากปล่องภูเขาไฟเขากระโดง ทรัพยากรป่าไม้ และนกชนิดต่างๆ องค์พระสุภัทร บพิตร พระพุทธบาทจําลอง ปราสาทเขากระโดง อ่างเก็บน้ําเขากระโดง (อ่างเก็บน้ําวุฒิสวัสดิ์) วัด พระพุทธบาทเขากระโดง และอื่นๆ สําหรับกิจกรรมการเรียนรู้ของนักท่องเที่ยว ได้แก่ การเดินป่า การศึกษาธรรมชาติ การศึกษา เรียนรู้ทางธรณีวิทยา การดูนก การถ่ายภาพ การ นมัสการกราบไหว้ตามความเชื่อ กิจกรรมสืบสาน อนุรักษ์ประเพณี การละเล่นเรือถีบ/เล่นน้ํา ชิงช้า เลื่อน การตั้งแคมป์ และการขี่จักรยานเสือภูเขา/ จั ก รยานท่ อ งเที่ ย ว ส่ ว นผลการเรี ย นรู้ แ ละ ประโยชน์ ที่ ไ ด้ รั บ จากการประกอบกิ จ กรรม นันทนาการดังกล่าว คือ ได้สัมผัสธรรมชาติ ได้รับ ความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย ความรู้เกี่ยวกับระบบ นิเ วศป่า ไม้และธรณีวิทยา ความรู้เกี่ย วกับ นก


13 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

พฤติกรรมและถิ่นอาศัยธรรมชาติ มีความเข้าใจ/ ตระหนั ก ถึ ง ความสํ า คั ญ ของการอนุ รั ก ษ์ ป่ า ไม้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้เรียนรู้ประวัติ/ ความสํ า คั ญ ของแหล่ ง ท่อ งเที่ย ว ได้ มี โ อกาส ประพฤติ ต นเป็ น พุ ท ธศาสนิ ก ชนและทํ า นุ บํ า รุ ง พระพุทธศาสนา ก่อให้เ กิดความเป็นสิริมงคลกับ ตนเองและครอบครัว ได้มีโอกาสแสดงออกซึ่ง ความเป็น ตัว ของตัว เอง ได้พึ่ งพาตนเอง ได้ ออก กําลังกายและทักษะการขี่จักรยาน และสามารถ พัฒนาร่างกายให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งนี้เมื่อพิจารณาบริบทสภาพแวดล้อมของ วนอุ ท ยานเขากระโดง พบว่ า มี ปั จ จั ย เอื้ อ ที่ จ ะ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบเป็นการท่องเที่ยว เชิ ง อนุ รั ก ษ์ ไ ด้ โ ดยเฉพาะในองค์ ป ระกอบ ด้ า นพื้ น ที่ ข องวนอุ ท ยานเขากระโดง มี พื้ น ฐาน อยู่กับธรรมชาติ (Nature-based tourism) มีแหล่ง ท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติ ที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะถิ่ น เป็ น ภู เ ขาไฟที่ เ ย็ น ตั ว แล้ ว และมี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี ในพื้นที่ เช่น ประเพณีขึ้นเขากระโดง นอกจากนี้จากการสํารวจ พบว่ า กิ จ กรรมนั น ทนาการ ของนั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ เกิดขึ้นนั้น มีความสอดคล้องตามนัย ความหมาย ของการท่องที่ยวเชิงอนุรักษ์ ดังนี้ คือ กิจกรรมการ เดินป่า การศึกษาธรรมชาติ การศึกษาเรียนรู้ทาง ธรณีวิทยา การดูนก การตั้งแคมป์ ถือเป็นกิจกรรม เชิ ง นิ เ วศในแหล่ ง ธรรมชาติ ใ นวนอุ ท ยานเขา กระโดงได้ ส่วนกิจกรรมการขี่จักรยานเสือภูเขา/ จักรยานท่องเที่ย ว และถ่ายบันทึกภาพ ถือได้ว่า เป็น กิจ กรรมกึ่งนิเวศ ทั้งนี้กิจ กรรมอื่น ๆในวน อุทยานเขากระโดงนอกนั้น แม้ ไม่ ใช่กิจ กรรมการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยตรง แต่ก็ควรพิจารณาเพื่อ พั ฒ นาการจั ด การให้ มี โ อกาสเสริ ม แนวคิ ด การ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้เช่นกัน เช่น เรือถีบ/เล่นน้ํา

ชิงช้าเลื่อน ชมทิวทัศน์ พักผ่อน นมัสการกราบไหว้ ตามความเชื่อ เป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบ ด้านการจัดการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ นั้น ปรากฏว่าวนอุทยานเขากระโดงยังไม่พบการ จั ด การพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย วอย่ า งมี ข อบเขต โดยเฉพาะในด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งหาก พิ จ ารณาตามแนวคิ ด เรื่ อ งองค์ ป ระกอบแหล่ ง เรียนรู้ของ ชัยยศ อิ่มสุวรรณ (2544) เกี่ยวกับการ บริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้เกิด สภาพแวดล้อมบรรยากาศของการเรียนรู้ดังกล่าว นั้น ยังปรากฏว่ามีเพียงนักท่องเที่ยวเป็นผู้จัดการ การเรี ย นรู้ ด้ ว ยตนเอง ซึ่ ง เป็ น การเรี ย นรู้ ต าม อัธยาศัย เท่านั้น ส่วนผลการศึกษาเงื่อนไขในการ ส่งเสริมให้วนอุทยานเขากระโดงเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นั้น ในด้านกายภาพ ผู้ให้ข้อมูลสําคัญในการวิจัยเห็นว่าควรเน้นให้ชุมชน มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ภายในบริ เ วณวนอุ ทยานเขากระโดง ให้ มี ความ อุด มสมบู ร ณ์ แ ละเป็ น ธรรมชาติ ด้า นสัง คม เน้ น ส่งเสริมให้เ กิด กิจ กรรมเชิงนิเ วศที่จ ะนํา ไปสู่การ เรียนรู้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้าน การจัดการ เน้นส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการ ควบคุมดูแลการบริหารจัดการต่างๆเกี่ยวกับการ บริการนักท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวเห็นว่าต้องมี มาตรการ เพื่ออํานวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว แจ้ ง เจ้ า หน้ า ที่ ก รณี พ บร่ อ งรอยการทํ า ลาย ทรัพยากรธรรมชาติ ดังกล่าวแล้วนั้นวนอุทยานเขา กระโดงจะสามารถเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ เ พื่ อ การ ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง อนุ รั ก ษ์ ไ ด้ อ ย่ า งสมบู ร ณ์ นั้ น จึ ง จํ า เป็ น ต้ อ งพิ จ ารณาเพิ่ ม เติ ม ถึ ง ปั จ จั ย ในด้ า น การบริห ารจัดการ และการมีส่ว นร่ว มของชุมชน เป็นสําคัญ


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ภาครัฐ เอกชน และชุมชน ควรต้องมีความ ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อพัฒนาส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยเน้นส่งเสริมให้ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อที่จะสร้างเสริมการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ให้สมบูรณ์ โดยเฉพาะการเข้ามามีส่วน ร่ ว มในด้ า นการบริ ห ารการจั ด การ การควบคุ ม ดูแลแหล่งท่องเที่ยวให้มากขึ้น ในด้านสิ่งอํานวย ความสะดวก การบริการนักท่องเที่ยว การจัดสร้าง บรรยากาศให้ เ อื้ อ ต่ อ การเรี ย นรู้ และการจั ด กิ จ กรรมนั น ทนาการอย่ า งเป็ น ระบบ ดั ง กล่ า ว พร้ อ มทั้ ง ควรศึ ก ษาวิ จั ย เกี่ ย วกั บ ค่ า นิ ย มความ ตระหนักรู้ และจิตสํานึกในการอนุรักษ์

นอกจากนั้ น ควรมี ก ารศึ ก ษาวิ จั ย เพิ่ ม เติ ม เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วน ร่วมทรัพยากรธรรมชาติของนักท่องเที่ยวโดยทั่วๆ ไป ที่เดินมาท่องเที่ยว ณ วนอุทยานเขากระโดง

กิตติกรรมประกาศ ผู้วิจัย ขอขอบคุณนักท่องเที่ย วชาวบุรีรัมย์ ทุ ก ท่ า น ที่ ใ ห้ ข้ อมู ล ใ น ก า ร ศึ กษ า วิ จั ย แ ล ะ ขอขอบคุณ คุณ เฌอมา ปัญญพิชญ์ สํานักงานเขต พื้น ที่การศึกษาบุรีรัมย์ กลุ่มนโยบายและแผน ที่ เอื้อเฟื้อข้อมูลประกอบการศึกษาวิจัยครั้งนี้


15 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

บรรณานุกรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2542). รายงานขั้นสุดท้ายการดําเนินการเพื่อกําหนดนโยบายการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ, กรุงเทพฯ : ททท. ________. (2544). แผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวชิงนิเวศแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : ททท. เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์, สํานักงาน. (2547). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาและพัฒนาภูเขาไฟวน อุทยานเขากระโดง. บุรีรัมย์ : สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์. จุรีพร กาญจนการุณ. (2551). สวนส้มบางมดแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนเกษตรกรชาวบางมด วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช ปีที่ 21 ฉบับที่ 1: 65-76. ชัยยศ อิ่มสุวรรณ. (2544). แหล่งการเรียนรูต้ ลอดชีวิต. วารสารการศึกษานอกโรงเรียน, 4(6) มีนาคม : 19-23. ชูเกียรติ นพเกตุ. (ม.ป.ป.). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. เชียงราย : โปรแกรมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คณะ วิทยาการการจัดการ สถาบันราชภัฎเชียงราย. ดรรชนี เอมพันธุ.์ (2547). หลักนันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นภวรรณ ฐานะกาญจน์และคณะ. (2545). การวางแผนและออกแบบอุทยานและพื้นที่นันทนาการชั้นสูง. กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วนอุทยานเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์. (2549). แผนแม่บทการจัดการพื้นที่วนอุทยานเขากระโดง จังหวัด บุรีรัมย์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2550-2554). บุรีรัมย์ : สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์. Buckley, R. (1993). Research Report of 1993 International Centre for Ecotourism Research. Australia : Gold Coast. Clark, R.N. and G.H. Stankey. (1979). The Recreation Opportunity Spectrum : A Framwork for Planning, Management and Research. Gen. Tech. Rep. PNW-98. Portland, OR : Forest Experiment Station, Forest Service, USDA. Griffith, William. (1970). “Adult Education Institutions” in Handbook of Adult Education. New York: Macmillian Publishing Co, Inc. Michaelis, John U.(1978). Social Studies for Children in a Democracy : Recent Trends and Development. 7th ed. New York: Prentice-Hall. Peterson, Richard. (1980). “Present Sources of Education and Learning” in Lifelong Learning in America. Washington : Jossey-Bass Publishers. Jones,Samantha.(2005). Community-Based Ecotourism:The Significance of Social Capital. Annals of Tourism Research, Vol. 32, No. 2, pp. 303–324.


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

ภาคผนวก

(รูปภาพวนอุทยานเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์)

นกน้ําและนกป่าในทีพ่ บในวนอุทยานเขากระโดง

สภาพธรรมชาติและปากปล่องภูเขาไฟ วนอุทยานเขากระโดง

หินภูเขาไฟและบริเวณธารลาวา


17 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

พระสุภัทรบพิตร รอยพระพุทธบาทจําลองและพระประจําวันเกิด

การจัดงานประเพณีขึ้นเขากระโดง พิธีกวนข้าวทิพย์และตักบาตรเทโวโรหนะ พระสงฆ์ เดินลงทางบันไดนาคราเพื่อรับบิณฑบาตข้าวสาร อาหารแห้งจากประชาชน


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

นักท่องเที่ยวเล่นชิงช้าเลื่อน เช่าเรือถีบและเล่นน้ําบริเวณอ่างเก็บน้ําวุฒิสวัสดิ์

เส้นทางแข่งขันจักรยานเสือภูเขาและจักรยานท่องเที่ยวขี่จักรยานรอบบริเวณอ่างเก็บน้ําวุฒิสวัสดิ์

บริเวณกางเต็นท์บริเวณอ่างเก็บน้ําวุฒิสวัสดิ์


19 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

การอพยพและความยากจนของเงาะป่าซาไกตามชายแดนไทย-มาเลเซีย Relocation and Poverty of the Aboriginal Peoples along the Thailand-Malaysia Border

อุมัยยะห์ บินตี ฮัจยี อุมาร์1

บทคัดย่อ ชาวป่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ตามชายแดนไทย-มาเลเซียมีชื่อเรียกกันในประเทศมาเลเซียว่า โอรัง อัสรี ใน ประเทศไทยชาวป่าเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า เงาะป่า ในประเทศมาเลเซียพวกเขาส่วนใหญ่ได้มีการอพยพเข้ามา ตั้งหลักแหล่งในหมู่บ้านใหม่ภายใต้การริเริ่มดําเนินการของรัฐบาล ส่วนในทางภาคใต้ของประเทศไทยมี เพียงหมู่บ้านเดียวที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการและถาวร หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดยะลาและมีชื่อว่า บ้าน ธารโต การอพยพเพื่อตั้งหลักแหล่งในหมู่บ้านที่มีการจัดหาให้โดยทางการนั้นชาวป่าเหล่านี้ได้คล้อยตาม นโยบายและคําสั่งของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ลูกหลานในปัจจุบันของชาวป่าเหล่านี้ก็ยังคงเป็นกลุ่มชนที่มี เศรษฐกิจที่ด้อยกว่ากลุ่มสังคมหลักในประเทศ ทั้งๆ ที่พวกเขาได้เสียสละถิ่นที่อยู่เดิมในป่าและได้เปลี่ยนวิถี การดํ า รงชีวิ ต จากแบบชาวป่า ดั้ งเดิม ก็ ต าม ผลการศึก ษาพบว่ า ชาวป่ า ดั้ง เดิ ม ที่ ไ ด้อ พยพย้า ยถิ่น ได้ รั บ การศึกษาต่ํา รายได้ต่ําและส่วนใหญ่ยังคงยากจน นอกจากนั้น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการ พํานักในบ้าน ยังไม่สามารถสร้างเป็นโอกาสทางธุรกิจที่จะทําให้ชาวป่าดั้งเดิมเหล่านี้อยู่รอดได้ตามอัตภาพ คําสําคัญ: ชาวป่าดั้งเดิม การย้ายถิ่นที่อยู่ ชายแดนไทย-มาเลเซีย ความยากจน

1

รองศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษายุโรปและเอเชีย มหาวิทยาลัยแห่งมาลายา ประเทศมาเลเซีย


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

Umaiyah binti Haji

Abstract Aboriginal people living along the Thailand-Malaysia border were called Orang Asli in Malaysia and Ngo Paa in Thailand. In Malaysia, most of these Orang Asli were resettled into new villages under government initiative whereas in South Thailand the only established resettlement village was located in Ban Than-To, Yala Province. Having complied with Governmental directives and relocated into the resettlement villages, subsequent generations of these Aboriginal people remained economically behind the mainstream society whilst having sacrificed their traditional homeland and lifestyle. It was observed that most of them received insufficient education, had low income and lived in poverty. Moreover, eco-tourism and home stay did not provide a viable business opportunity for them.

Keywords: Aboriginal people, Relocation, Thailand-Malaysia border, Poverty.


21 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

Introduction This paper discusses issues faced by the aboriginal people who were relocated by government sponsored resettlement schemes in Northern Malaysia. This paper refers to the relocation of Orang Asli under a government policy, away from their natural forest habitat to resettlement villages where they were provided with housing and amenities. The findings were a part of a broader on-going study entitled “A Genetic and Typological Study on the MonKhmer Languages (Indigenous Languages) in Malaysia and Thailand: An Investigation into Language Maintenance and Language Loss”.

Objective The objective of this paper was to investigate into: Causes leading to the relocation of aboriginal people living along the Thai-Malaysia border to government sponsored resettlement schemes, Impact of the change in lifestyle on the migrants, and Issues faced by the aboriginal peoples in adapting and coping with lifestyle changes.

Significance Findings from this study were envisaged to provide a better appreciation on the issues faced by aboriginal peoples in adapting to their new lifestyle and the impact of migration on language maintenance and language loss of the Northern Aslian Language.

Methodology Site visits were conducted at resettlement schemes and temporary forest dwellings of Orang Asli along the Malaysian side of the border i.e. Kampong Lalang, near Baling in Kedah, Kampong Sungai Banum, (Belum Forest) Perak, a Kintak village along the Kedah/Perak border and Kampong Sungai Rual in Kelantan. On the Thai side of the border, site visits were conducted on the TienEan people living on the Banthad mountain

ridge stretching from Trang, Phattalung to Satun. (Figure 1) Respondents consisted of the Tok Batin (tribal chief) and selected villagers. Data were collected through interviews and participant observation with audio and video recording. The researcher did not travel to Moo Baan Than-to, the resettlement scheme in Yala due to the unrest in Southern Thailand. Data were gathered from people in contact with these residents. Findings by researchers on Orang Asli issues in the book edited by Ma’Rof and Gill (2008) were used as framework for this paper. Selected relevant information from this book (in Malay language) is presented in Appendix I.

Background Information The aboriginal people living along the Thai-Malaysia border were called Orang Asli in Malaysia and Ngo Paa in Thailand. In Malay, Orang Asli means the “Original People”. In Thai, Ngo Paa literally means “forest rambutan”, ngo refering to the hair of the aboriginal people that is similar to the short curly hair of the “rambutan” fruit and paa meaning “forest”. They were also called Sakai in Thailand, though this term was no longer used in Malaysia due to the negative connotation – slaves or primitive people. These people spoke the Northern Aslian language which was classified under the MonKhmer sub-branch of Austroasiatic language family. Northern Aslian languages included Kensiu, Kintak, Jahai and Tien Ean. In Malaysia, the speakers were located in the states of Kedah, Perak and Kelantan whilst in South Thailand they were located in the provinces of Satun, Trang, Pattalung, Yala and Narathiwat. These people freely roamed the forests along the present day Thai-Malaysia border for a long time. However, a border was created by the 1909 Anglo-Siamese Treaty or Bangkok Treaty of 1909 (US Department, 1965). The northern Malay states were broken into two parts where Pattani, Narathiwat, Songkhla,


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

Satun and Yala became part of Siam; and Kedah, Kelantan, Perlis and Terengganu went under British influence. Today, the forest is no longer free for the Aboriginal people to roam. For security reason certain sections of the border are fenced. Cross-border movements must be made through immigration checkpoints. In Malaysia, the resettlement of Orang Asli was initially carried out for security reasons. They were to be removed from the forest because the communist insurgents were obtaining support from Orang Asli. Subsequently, it became part of a government policy to ‘absorb these people into the stream of national life’ (James, 1968). Nicholas (2000) however, argued that ‘development programmes and policies for Orang Asli . . . have a single ideological goal – to enable the control of the Orang Asli and to control their traditional territories and resources’ (Appendix II). The population of Orang Asli in Malaysia was relatively small. The Department of Orang Asli Affairs or Jabatan Hal Ehwal Orang Asli (JHEOA, 2006) reported that the population of Orang Asli was 141,230. The Negrito (tribes living in areas under study) population in Kedah was 191, in Perak was 1,575 and in Kelantan 1,086. In South Thailand, the population of Ngo Paa was also relatively small. According to Phaiboon (2006) there were some 200 speakers of Northern Aslian languages. The Kensiu were settled foragers in Thanto District; Teade were located in Weang and Srisakorn District in Narathiwat; Jahai were also found in Srisakorn District and Bala-Hala Forest, Betong District in Yala Province; and Teanean in Langu and Thungwa Districts, Satun Province, Palian District, Trang Province and Paborn District, Phatthalung Province. The 2009 Yala Provincial Report stated that there were 52 Sakais made up of 21 families living in the Moo Baan Than-to resettlement scheme. The Sakais were allocated 300 rai (around 150 acres) of land planted with rubber. They were trained to lead

a rural life – eating and wearing regular clothes. Annette Hamilton (Hamilton, 2002) reported that the Kensius were accorded a surname “Srithaanto” by Her Royal Highness the Queen of Thailand. She stated that “.. it is very difficult to put together the various accounts of the founding of the village...” and concluded that, “Almost certainly the present resettlement village was established as a direct result of the complex politics of the region” and that “the publicly presented reason . . . to improve the poor quality life of the Sakais, as part of the duties of a caring and protective state”. The Tien Ean people were still leading a nomadic life in the Banthad Mountains in South Thailand. They were separated from the main group living in the Yala, Narathiwat, Kedah, Perak and Kelantan (Appendix III).

Research Findings and Discussion Orang Asli adults in the resettlement schemes were the second or third generation migrants. It was their parents or grandparents who were resettled from the forest. As children, these people were brought up in the schemes and attended regular school. Their knowledge of the forest was instilled by the older generation, who brought them along to ‘work’ in the jungle. The present generation of Orang Asli and Ngo Paa were faced with challenges, living alongside the mainstream population. The mainstream population was encroaching into the forests evacuated by the aboriginal people for economic gain. The impact on the aboriginal community had been studied and reported by several researchers (see bibliography). In the following section, an attempt is made to outline the issues on poverty, economy, tourism, education and language. • Poverty Upon arriving to the settlements, one noticed that the homes seemed to withstand years of neglect. Outwardly, it was observed that there were hardly any improvements on


23 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

the homes even broken wall planks were not replaced. Internally the homes were sparsely decorated. It prompted the observer to enquire whether these people were not house-proud or simply could not afford. In Kampung Lalang near Baling, the Orang Asli settlement was located near a Malay village. A few homes were different from the rest with satellite TV antenna and cars (parked nearby), inside the homes being equipped with TV, washing machine, refrigerator and gas cookers. We were informed that these were homes of businessmen, who were the more successful people. Other homes might have satellite TV antennae. The antennae, however, were for show because electricity supply was cut as they could not afford to pay. This was different from the FELDA (Malaysian government resettlement) schemes, where the settlers were from the mainstream community. FELDA settlers appeared to be wealthier as living standards of these second and third generation settlers have visibly improved. Incomes from the palm oil or rubber plantations were high. They were able to capitalise on education, employment, business and other opportunities. In South Thailand, Sakais living in the Moo Baan Than-To resettlement scheme (according to local informants) continued to depend on forest products to supplement their income. Some of the Ngo Paa was said to have moved southwards to live with their own tribe in Malaysia, where they could expect a better life. • Economy Orang Asli families were economically less developed than those in the mainstream community. Income of Orang Asli families living in the resettlement schemes appeared to be lower than the mainstream population nearby. Though Orang Asli families were provided with land for rubber or palm oil cultivation, they remained dependant on the forest. The allocation of land to an Orang Asli was on similar basis as in other land development schemes, i.e. one-quarter acre for

housing and 6 acres for rubber or oil palm. However, the lands allocated were on hilly terrain where productivity was lower. Thus, even when they eventually produced, their income would be lower. It was observed that they ended up on the lowest end of the value chain – selling at the lowest prices and buying at the highest costs. This could be illustrated from an observation in the forest during a site visit to a Kintak community in North Perak. Forest products were sold to local traders in the forest as they did not own vehicles to transport forest products out from deep inside the forest and needed to remain there to continue with harvesting. The researcher was informed that the trader bought, for example, a certain type of forest fruit (popular in Thailand) from Kintak gatherers in the forest at RM2.50 a kilogram. The fruits were eventually bought by traders on the Malaysia-Thailand border at between RM4.00 to RM4.50 a kilogram. Local traders who exchanged forest products with food and groceries also priced their goods at higher prices to include transportation and profit. On the other hand, Orang Asli paid a high price when buying goods at shops located some distance away in towns. There were costs associated with travelling to the towns such as transport and meals which were a burden to these low income people. In northern Perak, for example, to shop in Gerik could take the whole day. Prices of goods, materials and food in Gerik were observed to be higher than in the city. There was little or no employment opportunity for the Orang Asli and Ngo Paa living along the border. These settlements were in remote areas and away from economic activity. Residents in Kampong Lalang which was close to the town of Baling (an economic hub) were able to find employment such as labourer, lorry driver and equipment (backhoe) operator. Otherwise these Aboriginal people were self employed – continued to work in their smallholdings or harvested from the forest.


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

• Tourism Eco-tourism and home-stay were fast becoming tourism products. Malaysian villagers including those living in Baling were beginning to find these as viable business proposition that generated additional income. However, exploiting this potential might be beyond the ability of Orang Asli living in the resettlement villages. At the time when the fieldwork was conducted, participation in the tourism industry seemed to be limited to the occasional tourist bus passing through the resettlement villages for a quick photo taking session which hardly contributed to their economy. Meaningful participation of the Orang Asli in the tourism industry requires an integrated approach, involving the relevant government departments and agencies working together with the tourism industry to identify, develop market and enable Orang Asli to manage the business. Otherwise, such initiative may fizzle out or be taken over and exploited by others. The Thai government developed the resettlement scheme at Moo Baan Than-To with a view to making it into a tourist destination. However, its location in the deep south (Yala) coupled with the current turmoil were not attractive. Kensui people living in the settlement were asked to showcase their culture and handicraft. Some resented the way they were treated and being dressed-up in red and paraded like caged animals at Bangkok shopping malls to promote the settlement. To supplement their income, people living in the resettlement schemes still continued to harvest forest products, in addition to travelling to forests in Malaysia. • Education On the whole, academic achievement of the North Aslians was lowest compared to all other Orang Asli tribes. According to a JHEOA official, not a single North Aslian has gained entry into any Institution of higher learning. It was observed that all children of Orang Asli in the resettlement villages were

attending compulsory education in government schools. Realisation on importance of education was highest at Kampung Lalang in Baling. Some parents discussed their children’s education with the researcher. They spoke about achievements of their old Malay school friends who completed higher education and were employed as teachers and government officials. However, to the Orang Asli living in remote areas, they were more concerned with training the children on the ways of the forest. They did not foresee their children being able to enter into institutions of higher learning or use education to gain employment. These children would continue seeking livelihood from the forest but formal education at schools, on the other hand, kept the children in classrooms. Could these children re-adapt themselves to work in the forest or would they become misfits? The Orang Asli community in the remote settlements seemed to lack role model and people to mentor them, in particular rural life. Their horizon required broadening to appreciate fundamentals of the modern world, such as coping with capitalism and transformation. Some respondents did indicate consciousness on rights of the Orang Asli through activities organised by Non Governmental Organisations. • Language At the resettlement schemes, North Aslian languages remained as the lingua franca. North Aslian language was not used in formal education. The teachers were from the mainstream society and teaching was in Malay language. In the forest they had their own worldview. When they lived in modern housing away from nature, their lifestyles changed. They became less communal and more individualistic. Malay words were borrowed and used in their daily conversation. Their elders acknowledged that many words and expressions relating to the old ways of the forest in their mother tongue were fast fading and forgotten.


25 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

Concluding Remarks In the forest, Orang Asli led a communal lifestyle whereas the resettlement schemes were designed to be similar to that for the mainstream population, a capitalist society i.e. life revolves around cash – almost everything is money: money to buy food, clothing and consumer goods; and people become less inclined to share wealth or money, as opposed to sharing food in the old way of life. The mainstream societies have made their transformation into the present lifestyle progressively over several generations. Yet Orang Asli have not made this transformation, neither adapting nor coping with the new lifestyle. The challenges are more than the community can cope. Having complied with Governmental directives and relocated into the resettlement villages, subsequent generations remained economically behind the mainstream society whilst sacrificing their traditional homeland and lifestyle. Economic disparity between Orang Asli and the mainstream society is widening. Orang Asli have a long way to catch-up with the mainstream society which is already on the fast lane. This transformation is an evolutionary process that needs to be inculcated into the community. To ease their acceptance to change, their culture and language should be retained. Government policy for the development of Orang Asli should be reconceptualised incorporating Orang Aslifriendly initiatives including mentoring activities, to facilitate the transformation process. Appendix I Issues of Transformation A team of academics at University Putra Malaysia, in their book Orang Asli: Isu, Transformasi dan Cabaran, in English “Orang Asli: Issues, Transformation and Challenges” (Zainal Abidin 2008) discussed Orang Asli issues and submitted recommendations for the Ninth Malaysia Development Plan (2005 to

2010). Issues related to this paper are discussed below: • Poverty There is a need for poverty eradication program to address on requirements of Orang Asli living in the interior. Close to 76% of the Orang Asli living below poverty are found in the 323 villages located in the interior of Pahang and Kelantan. Factors attributed to this included dependence on forest products as economic source; poor infrastructure, communication and difficulty to market forest products from the interior; without land titles; and (the attitude of) dependence on government aid. The recommendation is for centralised resettlement schemes bringing together the many smaller villages. • Land ownership and developing the land JHEOA records showed that Orang Asli are living and working on a land area of 138,861 hectares, comprising of: o 14% (19,303 hectares) of land gazetted as Orang Asli reserve; o 21% (28,933 hectares) of land approved but pending gazette as Orang Asli reserve; o 58% (79,715) of land applied by JHEOA to be classified as Orang Asli reserve; o 7% (9,873 hectares) occupied by Orang Asli that are already classified such as forest reserve, National Park and for game reserve; and o 644 hectares of land with Orang Asli holding titles (housing and agriculture). The requirement for 138,861 hectares land area utilised by Orang Asli relative to their population of 141,865 persons (2006) appears large; and comes to the attention of various quarters. Land is a state matter whilst JHEOA is an agency of the federal government. JHEOA has to negotiate land matters with the respective states; conflicting views on the concept of native land and the


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

national land code, a matter that has been brought to court; acreage of land ownership by individuals is low; state is empowered to gazette and de-gazette Orang Asli land reserve; and encourage land ownership by individuals, a move requiring consent of the state government. Initiatives to approve land for development such as practiced by the Pahang state government would accelerate efforts to provide planned and organised economic activity via the resettlement schemes. Each family is provided with 6 acres for agriculture activities and a quarter acre for housing. However, such a move entails uprooting people living in the interior and discarding the ‘old way of life’ for a rural life with modern amenities. • Education The high rate of school drop-out is a major concern. In a 1995 study, drop-out is attributed to attitude of parents (Fadzil Mahamud, 2005). In 2005, the drop-out rate for primary school reduced to below 1% compared to over 9% in 2003. Number of students continuing their education at secondary school increased to 58% in 2007 compared to 43% in 2003. In 2004, 436 Orang Asli were attending institutions of higher learning and another 150 persons graduated during the year (JHEOA, 2007). • Living in the interior and basic amenities In the interior, the Orang Asli settlements are small and interspersed. The school drop-out rate could be higher especially as small children were forced to wake up early to attend school. • Healthcare The rate of occurrence of diseases such as malaria, tuberculosis and filarial infection is higher among Orang Asli compared to the mainstream population. Efforts to provide effective healthcare, promote heath awareness and prevent the spread of serious diseases has to be increased.

Representation for Orang Asli At the national level, Orang Asli is provided with an avenue to voice out their opinion. In the Senate of Malaysia, one person is appointed to represent Orang Asli in Peninsular Malaysia. The Senate is the upper house of the Parliament of Malaysia comprising of 70 members of which 26 are indirectly elected by Appendix II Orang Asli in Malaysia Interest on the Orang Asli during the colonial period came about for security reasons. The British authorities and later the Malayan government were fighting communist insurgency or the “Emergency” which lasted from 1948 to 1960. During the Second World War, both the communists and British forces fought the Japanese occupation forces with the support of Orang Asli. When the returning British colonial rulers attempted to exclude the communist from the proposed post independence government of Malaya, the communists returned to the forest to wage an armed insurgency. Since the communists based themselves in the forest, it is natural for them to enlist their old Orang Asli friends in the interior (Jones, 1968; Carey, 1976; Leary, 1995 and Endicott, 2008). To separate the Orang Asli from communist insurgents, the British attempted to resettle Orang Asli in “new villages”. The resettlement strategy was successfully implemented on Chinese people living along fringes of the forest and the British decided to apply the same to the Orang Asli. Initially, forced resettlement was a disaster, and large numbers of Orang Asli died from disease, malnutrition, and demoralisation. They were unable to adapt to living behind barbed wires without proper shelter, sanitation and nutritionally adequate food. It is reported that ‘by 1953 virtually all the Orang Asli of the central highlands, Temiar and Semai, had turned to the communists for protection against the government’ (Jones, 1968; Carey, 1976 and Endicott 2008).


27 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

The colonial government until after the Second World War treated “Orang Asli with benign neglect, attending to them only when they broke the game or forestry laws. The state of Perak was the exception.” An Italian adventurer, Captain G. B. Cerruti was appointed to a post of “Superintendent of Sakais” in 1901. His memoir, My Friends the Savages (Cerruti, 1908) summarises Europeans’ views on Orang Asli at the time. The Perak Museum became the center of research on Orang Asli with some administrators taking special interest on Orang Asli (Dentan, 1997). The first formal government policy on Orang Asli, the Aboriginal Tribes Enactment – Perak: no 3 was drafted by H. D. Noone in 1939 (Holman, 1958). His recommendations included the establishment of aboriginal reserves and the post Protector of Aborigines. The Aboriginal Act of 1954 (Federation of Malaya 1954) formalises the establishment of the Department of Aborigines and giving it control over all matters concerning Orang Asli. The Department was enlarged in order to make it an effective force to fight the insurgency. Orang Asli were made to be less inclined and denied opportunity (by providing food, labour or intelligence) to support the insurgents. The security forces formed an anti-guerrilla unit the Senoi Praak (“Fighting Aborigines”) composed mainly of Orang Asli in the late 1950’s, (Jones, 1968), a part of the Police Field Force (paramilitary unit). As the strategy to alienate Orang Asli support towards the guerrillas worked and support waned, the insurgents are said to have massacred Orang Asli communities who were thought to be supporting the government. In recognising the contribution of the Orang Asli during the Emergency, the Yang di Pertuan Agong (the King) declared that the government was creating a “long-term policy for the administration and advancement of the Orang Asli” in order “to absorb these people into the stream of national life in a way, at a pace, which will adopt and not destroy their traditional way of living and culture” (James

1968). In every Five Year Malaysia Development Plan, there is specific allocation for the Orang Asli (Zainal Abidin 2005). The development program for Orang Asli is carried out in two phases (Ministry of Rural and Regional Development, 2005). Phase I, from 1954 to 1978 where the concentration was on security aspect that is to protect the Orang Asli from the threat and influence of the communists. Phase II, from 1978 onwards, the thrust is on socio-economic development of the Orang Asli. Throughout the ninth Development Plans (1966 to 2010) embarked by the Malayan and later the Malaysian government, a total of RM992 million had been allocated for Orang Asli. In the First Plan (1966 to 1970) the allocation was RM4.9 million and by the Ninth Malaysia Plan (2006 to 2010) allocations increased to RM358 million (Exchange Rate 2010: USD1.00 at RM3.30). The Department of Orang Asli (renamed “Jabatan Hal Ewal Orang Asli, JHEOA, webpage www.jheoa.gov.my) in line with the National Development Policy (1991-2000) established four (4) objectives: to eradicate poverty by the year 2020; reduce disparity (income, education, health and access to essential amenities) between Orang Asli and the mainstream community; upgrading the Orang Asli to be competitive; and eradicating communicable diseases (Zainal Abidin 2008). The development program planned by JHEOA for the Orang Asli addresses on the various aspects towards a balanced development, physical and mental; provision of essential amenities through the resettlement schemes; collaborating with state governments on land ownership for land development schemes; education and skills development; planned resettlement; economic development programs; and social development programs. The effectiveness of programs to alleviate hardship of Orang Asli had been discussed in various forums. In 2006, JHEOA reported that the population of Orang Asli in Peninsular Malaysia is 141,230 living in 869 villages.


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

There were 323 (or 37%) villages located in the interior (residents without regular income); 534 (or 61%) villages located close to Malay settlements (with road infrastructure, piped water and electricity supply and is part of development projects); and 12 (or 2%) villages located in urban areas (with all amnesties and excluded from development projects). Development status of the villages is summarised as: 45 villages considered developed, 425 villages partially developed and the remaining 398 (or 46%) classified as under developed (Zainal Abidin 2008). Incidence of poverty within the Orang Asli community is highest in the country. There are 13,784 Head of Households (HoH) or 49.5% of the total 27,841 HoH in the country living below the national classification for poverty (income below RM590 per month). Of this, 8,899 (or 32%) HoH are classified as hardcore poor. (Zainal Abidin 2008). In the Eighth Malaysia Plan, a nationwide Poverty Eradication Program was introduced. The JHEOA was tasked to build 10,895 homes under the Eighth Plan and another 12,072 under the Ninth Plan. Bumiputra Unit Trusts (Amanah Saham Bumiputra) were distributed to 15,820 eligible households. The recipients may earn from the dividends and not allowed to withdraw the principal, worth RM5,000. Another initiative is via direct intervention, the HoH would be allocated with government developed palm oil and rubber plantation (Ministry 2005). Appendix III Tien Ean People The Tien-Ean people living on the Banthad mountain range are cut-off from other aboriginal tribes located in Kedah, Perak and Yala. The forest on the lowlands between Banthad mountain range and the Main range had been cleared and cultivated. Informants estimate that the tribe consists of 100 to 120 people, living in small groups of between 15 to 30 people (similar to the report by Thonghom, 1984). They shun away from visitors and were quick to hide thus evade detection. Contact

with the Tien Ean was established with the help of locals who gained their trust (our informants). These people are still leading a nomadic lifestyle though they have become accustomed to eating and wearing clothing from the outside world. According to our informants, they have little to trade with the outside world, thus are very dependent on donations. An interesting feature is the annual mating ritual that had been said to take place around the same time (in 2010 on the same day) as the Valentine’s Day. On this chosen day, the various groups of the tribe gather at a location for males and females from the tribe choose their partners – with males wooing the women by showing off their hunt to demonstrate ability to provide for the family. Local Thais come to the Tien-Ean to seek treatment on women with difficulties to conceive. It appears that the Thai government have not seriously implemented any plan to develop the Tien-Ean people. They were left to continue with their traditional lifestyle. According to researchers based in Mahidol University, discussions are under way to ensure these people are given the national identity cards (ID). The group of Tien-Ean respondents did inform this research team that they did manage to obtain ID for members of their group.


29 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

Bibliography Bah Tony. Buku Sambutan Jubli Perak POASM (Silver Jubilee Celebration book of the Association of Orang Asli in Peninsular Malaysia). Carey, Iskandar. (1976). Orang Asli: The Aboriginal Tribes of Peninsular Malaysia. Kuala Lumpur. Oxford University Press. Cerruti, G. B. (1908). My Friends the Savages: Amongst the Sakais in the Malay Peninsula. Como, Italy: Tipographia Cooperativa Comense. Chowwanakit, Anong. (2007). Ngo Paa – Sakai: Endangered Aboriginal Tribe. Meang Phatthalung Press. Phatthalung, Thailand. (in Thai language). Dentan Robert K., Kirk Endicott, Alberto G. Gomes, and M. B. Hooker. (1997). Malaysia and the Aboriginal People: A Case Study of the Impact of Development on Aboriginal Peoples. Boston: Allyn and Bacon. Endicott K. And Dentan R. K. (2008). Into the Mainstream or Into the Backwater? Malaysian Assimilation of Orang Asli. In Civilizing the Margins: Southeast Asian Government Policies for the Development of Minorities. National University of Singapore. Singapore. Fadzil Mahamud. (2005). Isu-isu dalam Pengurusan dan Pembangunan Masyarakat Orang Asli. Kertas Kerja dalam Persidangan Dasar Pembangunan Orang Asli Di Mas Hadapan. Awana Genting, Pahanag, 10-12 Mac. Hamilton, Annette. (2002). Tribal People on the Southern Thai Border: Internal Colonialism, Minorities and the State. In Tribal Communities in the Malay World Historical, Cultural and SocialPerspectives, Edited by G. Benjamin and C. Chou, 77-96. Singapore: ISEAS. Holman, Dennis. (1958). Noone of the Ulu. London. Heinemenn. JHEOA. (2006). Laporan Tahunan JHEOA 2006. Kuala Lumpur. Jabatan Hal Ehwal Orang Asli (JHEOA). JHEOA. (2007). Laporan Tahunan JHEOA 2007. Kuala Lumpur. Jabatan Hal Ehwal Orang Asli (JHEOA). Lim Hin Fui. (1997). Orang Asli, Forest and Development. Kuala Lumpur: Forest Research Institute Malaysia.


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

ความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นเกี่ยวกับความสําคัญ กระบวนการ และผลกระทบของการเสนอเป็นเมืองมรดกโลกเชียงแสน จังหวัดเชียงราย Local People’s Opinions about Importance, Procedure and Impacts of the Proposed Chiang Saen World Heritage Site, Chiang Rai Province.

ศศิพรรณ บิลมาโนช1 และคณะ2

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเป็นเมืองมรดก โลก อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางสังคมกับความ คิดเห็นของประชาชนต่อการเป็นเมืองมรดกโลก อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้มี จํานวนทั้งสิ้น 153 คน เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตตําบลเวียงเชียงแสนและตําบลเวียง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าไคสแควร์และการคํานวนค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเพื่อทดสอบสมมุติฐาน ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เห็นว่าอําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายมีคุณสมบัติต่างๆ สมควรได้รับ พิจารณาเป็นเมืองมรดกโลก แต่เมืองเชียงแสนมีความพร้อมน้อยที่จะเป็นเมืองมรดกโลก รัฐได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมี ส่วนร่วมในกระบวนการเป็นมรดกโลกน้อย การเป็นเมืองมรดกโลกมีผลกระทบทางบวกด้านวัฒนธรรมและสังคม เช่น ทํา ให้มีความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรม การเป็นเมืองมรดกโลกทําให้วัฒนธรรมที่ตําบลเวียงเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนใน ชุมชนและคนจากท้องถิ่นอื่น เป็นต้น อย่างไรก็ดีผลกระทบในทางลบที่สําคัญได้แก่ การจัดการแบ่งพื้นที่สําหรับโครงการ มรดกโลกทําให้ประชาชนสูญเสียกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของที่ดิน ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเป็น มรดกโลกที่สําคัญได้แก่ การมีโครงการมรดกโลกทําให้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ของแหล่งโบราณสถาน ทําให้ต้องมีการ ปรับปรุงสิ่งก่อสร้างและมีถนนผ่านโบราณสถาน เป็นต้น และเป็นผลกระทบในทางที่ดี หรือบวก แต่ประเด็นผลกระทบ ในทางลบที่สําคัญ ได้แก่การมีโครงการมรดกโลกทําให้ต้องมีการตัดต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลกระทบ ทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นที่สําคัญที่สุดได้แก่ การมีโครงการมรดกโลกทําให้สูญเสียพื้นที่หรือถูกเวนคืน ซึ่งเป็น ผลกระทบในทางลบ ส่วนผลกระทบในทางบวกที่สําคัญได้แก่การมีโครงการมรดกโลกทําให้มีผลกระทบต่อการพัฒนา ท่าเรือเชียงแสน โดยที่ผลกระทบในด้านอาชีพทางเกษตรกรรม ช่องทางในการจับจ่ายใช้สอย รวมทั้งพฤติกรรมการออม ปรากฏผลระดับปานกลาง การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านประชากร(เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และสถานภาพ สมรส) และปัจจัยทางสังคม (การเป็นสมาชิกองค์กรส่วนท้องถิ่นและระดับการเปิดรับข่าวสารทางสื่อมวลชนและ สื่อบุคคล)ไม่มีความสัมพันธ์ต่อความคิดเห็นต่อการเป็นเมืองมรดกโลก อย่างไรก็ตาม พบว่า อาชีพมีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ .05 กับความคิดเห็นดังกล่าว คําสําคัญ : ความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่น ความสําคัญ กระบวนการ ผลกระทบ เมืองมรดกโลกเชียงแสน 1 2

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ดร.ดรุณี สายสุทธิชัย, พันเอกทวีศักดิ์ บุญรักษา, ปรีชา มันสลาย, มนตรี ธนภัทรพรชัย, รัฐพล จันทมณีโชติ, สมจินต์ วานิชเสถียร, สาธิต ภิรมย์ไชย, สิทธิพร งามมณฑา, สุดนรี สันตินรนนท์, และดร.สุภาพร โค้วนฤมิตร


31 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

Sasiphan Bilmanoch et al.

Abstract The objectives of this study were: 1) to study local people’s opinions about the establishment of a Chiang Saen World Heritage site, in Chiang Rai Province; 2) to study the relationships between people’s individual social background factors and attitudes toward the Chiang Saen World Heritage site establishment. Questionnaires were used for data collection from an accidental sample of 153 local people. The analytical methods used were frequency, percentage, and mean. Chisquare (χ2) test and the Pearson Product Moment Correlation Coefficient (r) were used to test hypotheses. It was revealed that, as far as the appropriateness of the site was concerned and in general, the majority of the sample expressed their favourable opinion on the establishment of Chiang Saen World Heritage site. However, they were cautious about the readiness of the preparation of the site. The local people had insufficient opportunity to participate in the process of the establishment. There would be positive social and cultural impacts of the establishment on the locality, e.g., local people would be proud of their culture, and the site would become a place for students to learn about ancient northern culture. However, one of the negative impacts would be concerned with some people’s loss of land to be allocated for the World Heritage site. Natural environmental impacts would be positive in most cases, e.g., improvement of geographical landscape, preservation of places of historical value, and improvement of roads as well as facilities. The main negative impact would be that some big and old trees would have to be cut down in preparation for the World Heritage site. As regard economic impacts, although there would be a loss of land to some local people, a change in agricultural occupation, increasing trends in consumption, and declining rate of saving, there would be great commercial and transportation benefits form the development of Chiang Saen Port. Tests of hypotheses demonstrated that sex, age, education, income, and marital status, as well as social factors (being a member of local organizations, media exposure , and interpersonal communication) were not significantly related to the opinions of local people toward the establishment of Chiang Saen World Heritage site in Chiang Rai Province at p = 0.05. People with different occupations, at any rate, tended to exhibit significantly different opinion on the process of the establishment of the World Heritage site at p = .05.

Keywords : Local people’s opinions, World Heritage, Chiang Saen


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

บทนํา เชียงแสนเป็นอําเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย มี อ าณาเขตติ ด ต่ อ กั บ ประเทศเพื่ อ นบ้ า น คื อ ประเทศเมี ย นม่ า ร์ (สาธารณรั ฐ สั ง คมนิ ย มแห่ ง สหภาพพม่ า ) และสาธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตย ประชาชนลาว มีพื้นที่รวม 554 ตารางกิโลเมตร มี ประชากรจํานวน 51,748 คน มีความหลากหลาย ทางชาติพันธุ์ ประเพณี วัฒนธรรม มี เอกลักษณ์โดด เด่น และในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554) ซึ่งได้ระบุไว้ว่า การ สร้ า งความเข้ ม แข็ ง ของชุ ม ชนและสั ง คมให้ เ ป็ น รากฐานที่ มั่ น คงของประเทศนั้ น มี แ นวทางการ พัฒนาโดยการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการอยู่ ร่ ว มกั น กั บ ทรั พ ยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ ม อย่างสันติและเกื้อกูลกัน ด้วยการส่งเสริมสิทธิชุมชน และกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสงวน อนุ รั ก ษ์ ฟื้ น ฟู พั ฒ นา ใช้ ป ระโยชน์ แ ละเพิ่ ม ประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การ จัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมืองและเสริมสร้างขีด ความสามารถและองค์ความรู้ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ ตามคํ า แถลงนโยบายของ ค ณ ะ รั ฐ ม น ต รี น า ย อ ภิ สิ ท ธิ์ เ ว ช ช า ชี ว ะ นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 29 ธัน วาคม 2551 รั ฐ บาลจะดํา เนิน นโยบายปรับ โครงสร้างเศรษฐกิจ ภาคการท่องเที่ยวและบริการ เน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งของรัฐและเอกชน โดยรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่มีอยู่แล้ว ทั้ ง แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วทางธรรมชาติ ประวั ติ ศ าสตร์ วั ฒ นธรรม และแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วที่ ม นุ ษ ย์ ส ร้ า งขึ้ น โดยเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของชุมชน นโยบายดังกล่าว สอดคล้องอย่างยิ่งกับทิศทางการพัฒนาของจังหวัด

เชียงรายที่มีวิสัยทัศน์จังหวัด คือ “เชียงรายประตู ทองของวัฒนธรรมล้านนาและการค้าสู่สากล” ซึ่ง ให้ความสํ า คัญ ในเรื่ องวั ฒ นธรรมล้ า นนาและเน้ น แหล่ง ท่อ งเที่ย วเชิง นิเ วศ สุข ภาพ ประวั ติศ าสตร์ ศิ ล ปวั ฒ นธรรม รวมทั้ ง ยุ ท ธศาสตร์ พั ฒ นาและ ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงรายของสํานักงาน การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงรายยังได้กําหนด วิสัยทัศน์ว่า “เชียงรายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว ของล้านนา” และมีนโยบายพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์ : เมืองเวียงเก่า เชียงแสนและ เวี ย งกาหลง สู่ ม รดกโลก โดยสํ า นั ก งานการ ท่ อ งเที่ ย วและกี ฬ าจั ง หวั ด เชี ย งราย มี แ ผนการ ดําเนินการโครงการพัฒนาโบราณสถานอารยธรรม ล้านนา ระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2555 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2530 คณะ รัฐมนตรีได้มีมติให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีใน อนุ สั ญ ญาคุ้ ม ครองมรดกทางวั ฒ นธรรมและ ธรรมชาติของโลก และเห็น ชอบให้นําเสนอแหล่ง มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของไทยรวม 6 แหล่ง เพื่อบรรจุ ไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก และเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม จํานวน 3 แห่ง ไ ด้ แ ก่ แ ห ล่ ง โ บ ร า ณ ค ดี บ้ า น เ ชี ย ง อุ ท ย า น ประวั ติ ศ าสตร์ สุ โ ขทั ย อุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ ศรีสัชนาลัย อุทยานประวัติศาสตร์กําแพงเพชร และ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2533 – 2535 รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะ กรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดก โลกขึ้ น เพื่ อ ดํ า เนิ น งานต่ า งๆ ให้ เ ป็ น ไปตามข้ อ ผูกพันของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม และธรรมชาติของโลก และคณะกรรมการมรดกโลก ได้ ส่ ง ผู้ เ ชี่ ย วชาญมาตรวจสอบข้ อ เท็ จ จริ ง และ ศัก ยภาพของแหล่ ง มรดกทางวั ฒ นธรรมดั ง กล่ า ว กระทั่ ง ได้ ป ระกาศให้ เ ป็ น แหล่ ง มรดกโลกทาง


33 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

วัฒนธรรม ภ า ย ห ลั ง ก า ร ป ร ะ ก า ศ ก ลุ่ ม โบราณสถานหลายแห่ ง เป็ น แหล่ ง มรดกโลกทาง วัฒนธรรม ทําให้หน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กั บ การอนุ รั ก ษ์ แ ละพั ฒ นาเมื อ งเชี ย งแสน เริ่ ม กําหนดทิศทาง การพัฒนาเมืองเชียงแสนในแนวทาง ดั ง กล่ า ว รวมทั้ ง สนั บ สนุ น งบประมาณสํ า หรั บ แผนงานการอนุ รั ก ษ์ แ ละพั ฒ นาโบราณสถานที่ มี ศักยภาพเพียงพอที่จะดําเนินการตามขั้นตอน เพื่อ ประกาศเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในอนาคต ในปี พ.ศ. 2538 หน่วยศิลปากรที่ 4 กรม ศิ ล ปากร จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ได้ จั ด ทํ า แผนแม่ บ ท โครงการบูรณะและอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์เชียง แสน อํา เภอเชีย งแสน จังหวัด เชีย งราย ภายหลัง จากการเตรี ย มข้ อ มู ล และประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร หลายครั้ง ในระหว่างปี พ.ศ. 2536 – 2538 และ ไ ด้ บ ร ร จุ โ ค ร ง ก า ร บู ร ณ ะ แ ล ะ อ นุ รั ก ษ์ เ มื อ ง ประวัติศาสตร์เชียงแสน ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสั งคมแห่ง ชาติ ฉบั บ ที่ 6 เป็น ต้ น มา การ ดําเนิน การดังกล่า ว ทํา ให้โ บราณสถานหลายแห่ง กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ อําเภอ เชีย งแสนได้รับ การพัฒ นาในฐานะเมืองท่องเที่ย ว สําคัญของจังหวัดเชียงราย จนกระทั่งปัจจุบัน อํา เภอเชีย งแสน เป็น เมืองประวัติศาสตร์ที่ สําคัญ แห่งหนึ่งของภาคเหนือ มีร่องรอยของเมือง โบราณที่เ ห็นในปัจจุบัน ซึ่งสันนิษฐานว่า สร้า งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1871 เพื่อเป็นเมืองหน้าด่านควบคุม เส้นทางคมนาคมในแม่น้ําโขงระหว่างเมืองเชียงแสน ล้านช้าง และเชียงรุ่ง รวมทั้งหัวเมืองต่างๆ ที่ตั้งอยู่ ริ ม ฝั่ ง แม่ น้ํ า โขง ในบริ เ วณซึ่ ง เชื่ อ ว่ า เป็ น ที่ ตั้ ง ของ เมืองหิรั ญ นครเงิ น ยาง เมืองเชีย งแสน น่ า จะเป็ น เมืองโบราณแห่งเดีย วของภาคเหนือตอนบนที่ยั ง ปรากฏหลั ก ฐานทางด้ า นกายภาพของเมื อ งและ เอกส ารอ้ างอิ ง ที่ ค่ อ นข้ า งส มบู รณ์ ปั จ จุ บั น

โบราณสถานเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังเป็นศาสนสถานที่ใช้ ประโยชน์ อ ยู่ และมี ค วามสํ า คั ญ ต่ อ วิ ถี ชี วิ ต ความ เป็นอยู่ของประชาชน และบางแห่งเป็นซากโบราณ สถานที่ จํ า เป็ น ต้ อ งดํ า เนิ น การศึ ก ษาและอนุ รั ก ษ์ ต่ อ ไป ดั ง นั้ น เมื อ งเชี ย งแสนจึ ง ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เมื อ ง ประวั ติ ศ าสตร์ ที่ สํ า คั ญ สํ า หรั บ คนเชี ย งแสนและ ประเทศไทยเท่ า นั้ น หากแต่ ยั ง มี ค วามสํ า คั ญ ใน ระดับภูมิภาคอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่าน มา การดําเนินการของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง กับการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเชียงแสน เน้นการ พั ฒ นาด้ า นกายภาพของโบราณสถาน และการ พั ฒ นาระบบสาธารณู ป โภคและคมนาคมภายใน เมือง เนื่องจากแต่ละหน่วยงานดําเนินการแบบแยก ส่วนตามภารกิจ ไม่ได้บูรณาการให้เกิดแผนแม่บท การอนุ รั ก ษ์ แ ละพั ฒ นาที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ อี ก ทั้ ง แผนงานโครงการที่เกิดขึ้นในระยะแรกไม่ได้ศึกษา ความเป็นไปได้ก่อนการดําเนินโครงการ และไม่ได้ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่ว นร่ว มในการวางแผน และออกแบบ รวมทั้ ง ขาดการศึ ก ษาผลกระทบ สิ่งแวดล้อม และยังไม่มีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้าง ความรู้ ค วามเข้ า ใจที่ ถู ก ต้ อ งอย่ า งเพี ย งพอและ ต่อเนื่อง ส่งผลให้เ กิดความล่า ช้า เสีย หายและเกิด ความคิดเห็นที่หลากหลายต่อการอนุรักษ์และพัฒนา เมืองเชีย งแสน แม้ว่าการดํา เนินการที่จําเป็น ตาม แผนงานโครงการของหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งจะมี เป้าหมายและทิศทางที่ชัด เจนในการสนับ สนุน ให้ เป็ น เมื อ งมรดกโลก ภายใต้ ส ภาพแวดล้ อ มยุ ค โลกาภิวัฒน์ได้ส่งผลให้มีการต่อต้านจากประชาชน บางกลุ่ ม ในพื้ น ที่ เนื่ อ งจากความกลั ว ในความไม่ แน่ น อนหรื อ ข้ อ สงสั ย ในสิ่ ง ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ใหม่ แ ละ แตกต่ า งไปจากวิถีชี วิต ดั้ งเดิม หรื อความกัง วลใน เรื่องทรัพยากรที่ต้องใช้ เ พิ่มเติมทั้งที่ เ ป็น รูป ธรรม


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

และนามธรรม รวมถึ ง ความมั่ น คง ผลประโยชน์ และอํานาจที่มีอยู่เดิมอาจลดลง ดั ง นั้ น การรั บ ทราบความคิ ด เห็ น ของ ประชาชนที่มีต่อการเป็นเมืองมรดกโลกของอําเภอ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย จึงเป็นเสมือนกระจกที่ สะท้ อนภาพบางแง่ มุม ของเมือ งเชีย งแสนภายใต้ แผนงานโครงการที่ออกแบบและดําเนินการ โดย หน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ และพัฒนาเมืองเชียงแสน และอาจเป็นจุดเริ่มต้น ของการมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนในการพั ฒ นา เศรษฐกิ จ สั ง คม ทรั พ ยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล มั่นคงและยั่งยืน ตามหลัก ปรัช ญาของเศรษฐกิจ พอเพีย ง และสอดคล้องกับ ความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงต่อไปใน อนาคตอันใกล้

ข้อคิดเห็นและเป็นปัญหาที่สําคัญที่ส่งผลกระทบต่อ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในแนวพื้นที่ที่จะกําหนดให้เป็น เขตมรดกโล ก ทั้ ง ทางด้ า นวั ฒ นธรรม สั ง คม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คณะผู้วิจั ย ได้ ศึกษาเอกสารและงานวิ จัย ที่ เ กี่ย วกั บ อําเภอเชียงแสนในระยะเวลาที่ผ่านมาไม่เกิน 5 ปี เพื่อที่จะได้มีการกําหนดประเด็นและหัวข้อของปัญหา ที่เ กี่ย วข้อง เพื่อให้ครอบคลุมเกี่ย วกับความคิด เห็น ของประชาชนต่อการเป็นเมืองมรดกโลกของอําเภอ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย 2. การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey research) ใช้แบบสอบถามสําหรับให้กลุ่มตัวอย่างทําการตอบ ประกอบกั บ การสั ม ภาษณ์ ผู้ รู้ แ ละเจ้ า หน้ า ที่ ที่ เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจในเรื่องที่ศึกษา มากขึ้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

ประชากรและตัวอย่าง ประชากรที่ นํ า ใช้ ศึ ก ษาเป็ น ประชาชนที่ อาศัยอยู่ในบริเวณที่อยู่ในพื้นที่กําหนดของการเป็น โครงการมรดกโลกในอํ า เภอเชี ย งแสน จั ง หวั ด เชี ย งราย และอาศั ย อยู่ ในท้ อ งที่ ตํ า บลเวี ย ง (เขต ท้ อ งที่ เ ทศบาลตํ า บลเวี ย งเชี ย งแสนและองค์ ก าร บริหารส่วนตําบลเวียง รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ ในพื้นที่รัศมีประมาณ 200 เมตร จากแนวกําแพง เมืองเก่าของเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน กล่าวคือ กํ า หนดพื้ น ที่ เ ขตเทศบาลตํ า บลเวี ย งเชี ย งแสน จํานวน 2 หมู่บ้าน (หมู่ที่ 2 และ 3) และเขต องค์ การบริ ห ารส่ ว นตํ า บลเวี ย ง อํ า เภอเชี ย งแสน จังหวัดเชียงราย จํานวน 3 หมู่บ้าน (หมู่ที่ 3, 6 และ 9) จํานวนประชากรทั้งสิ้น 2,580 คนขนาดกลุ่ม ตัวอย่างจํานวน 153 คน ได้มาจากการคํานวณ ขนาดตัว อย่ า งตามสู ต รสถิ ติด้ ว ยโปรแกรม Excel ความเชื่อมั่นที่ระดับ 95% และเก็บรวบรวมข้อมูล

1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อ การเป็น เมือ งมรดกโลก อํา เภอเชีย งแสน จังหวั ด เชียงราย 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วน บุ ค คล และปั จ จั ย ทางสั ง คมกั บ ความคิ ด เห็ น ของ ประชาชนต่อการเป็น เมืองมรดกโลก อํา เภอเชีย ง แสน จังหวัดเชียงราย

วิธีการวิจัย การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดําเนินการศึกษา 2 แบบ คือ 1. การวิจัยศึกษา (Documentary research) เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ทั้งที่ เป็นทฤษฎี แนวความคิด และผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับ ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเป็นเมืองมรดก โลกของอํ า เภอเชี ย งแสน จั ง หวั ด เชี ย งราย ซึ่ ง เป็ น


35 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

โดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนหรือ ตัวแทนในพื้นที่โครงการจํานวน 100 คน และนอก พื้นที่โครงการจํานวน 53 คน โดยผู้ใหญ่บ้านหรือ ตั ว แทนเป็ น ผู้ นํ า ทาง การเลื อ กตั ว อย่ า งแบบ อุบัติการณ์ (Accidental sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอนดังนี้ 1. ลักษณะทั่วไปของ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ - ข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับ การศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้ - สถานภาพทางสังคม ประกอบด้วย ลักษณะของ ตํ า แหน่ ง ทางการเมื อ งระดั บ ท้ อ งถิ่ น ของ ประชาชนที่สํารวจในระยะเวลาที่ทําการสํารวจ และเก็บข้อมูล - การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนที่ทําการ สํ า รว จ ปร ะก อบ ด้ ว ย แ หล่ งข้ อมู ล จ า ก สื่อมวลชน ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และทางสื่ออื่นๆ เช่น อินเตอร์เน็ต เป็นต้น และ แหล่งข้อมูลจากสื่อบุคคล ได้แก่ จากเจ้าหน้าที่ รั ฐ เจ้ า หน้ า ที่ อ งค์ ก รส่ ว นท้ อ งถิ่ น ผู้ นํ า ชุ ม ชน เป็นต้น 2. ความคิดเห็นต่อการเป็นเมืองมรดกโลก อําเภอ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย ได้แก่ - ความสําคัญต่อการเป็นเมืองมรดกโลก - กระบวนการเป็นเมืองมรดกโลก - ผลกระทบที่ อาจจะเกิ ด ขึ้น จากการเป็น เมือ ง มรดกโลก อํา เภอเชีย งแสน จังหวัดเชีย งราย ในด้ า นผลกระทบทางวั ฒ นธรรมและสั ง คม ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และผลกระทบทาง เศรษฐกิจ

3. การทดสอบข้อมูลแบบสอบถาม ที่สร้างขึ้นตาม แนวคิ ด ทฤษฎี ที่ เ กี่ ย วข้ อ งและได้ ใ ห้ ผู้ เ ชี่ ย วชาญ ตรวจสอบความถูกต้อง การครอบคลุมและความ ตรงของเนื้อหา (Content validity) แล้วนําไป ทดสอบความเชื่ อถื อได้ (Reliability) กั บ กลุ่ ม ประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง แล้ว นํามาคํานวณหาค่าความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล โดย หาสั ม ประสิ ท ธิ์ แ อลฟ่ า ของครอนบาค (Alpha Coefficient’s Cronbach) = 0.957 วิธวี ิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามทั้งหมด ซึ่ง มีคํา ถามเป็น แบบมาตราส่ว นประเมิน ค่า (Rating Scale) ของ Likert หากประเด็นข้อความ (Item) เป็นเชิงบวกให้คะแนน ดังนี้ 3 หมายถึง มีระดับเห็นด้วยมาก 2 หมายถึง มีระดับเห็นด้วยปานกลาง 1 หมายถึง มีระดับเห็นด้วยน้อย หากประเด็นข้อความ (Item) เป็นเชิงลบให้ คะแนน ดังนี้ 3 หมายถึง มีระดับเห็นด้วยน้อย 2 หมายถึง มีระดับเห็นด้วยปานกลาง 1 หมายถึง มีระดับเห็นด้วยมาก การวิเ คราะห์ข้อมูล ทํา การวิเคราะห์ข้อมูล ตามวัตถุประสงค์ - วิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดั บ การศึ ก ษา สถานภาพ สมรส อาชีพ รายได้ และสถานภาพสังคม จากค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย - วิ เ คราะห์ ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งความ คิ ด เห็ น ต่ อ การเป็ น เมื อ งมรดกโลกของ อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในด้าน ตามความสํ า คั ญ ขั้ น ตอน กระบวนการ


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

การเป็ น เมื อ งมรดกโลก ผลกระทบด้ า น วั ฒ นธรรมและสั ง คม สิ่ ง แวดล้ อ มและ เศรษฐกิจ กับ เพศ อายุ รายได้ อาชีพ การศึ ก ษา สถานภาพสมรส และ ส ถ า น ภ า พ ท า ง สั ง ค ม โ ด ย ท ด ส อ บ ความสัมพันธ์ระหว่างตัว แปรอิสระกับตัว แปรตามด้วย Chi-square ( χ2 ) และ Pearson product moment correlation coefficient ( r ) ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05

คําจํากัดความเชิงปฏิบัติการ (Operational definition)

การรั บ รู้ ข้ อ มู ล ข่ า วสาร หมายถึ ง กระบวนการที่ป ระชาชนแต่ล ะคนเลือก ประมวล และตีความข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ หรือ เหตุการณ์ที่มีความหมายและคํา บอกเล่าเรื่องราว ทั่ ว ไป ผ่ า นสื่ อ หรื อ ตั ว กลางในการนํ า ส่ ง หรื อ ถ่ายทอด โดยมีปริมาณความบ่อยครั้งแตกต่างกัน ความคิ ด เห็ น ต่ อ การเป็ น เมื อ งมรดกโลก หมายถึง การแสดงออกด้านความรู้สึกต่อการจัดตั้ง เป็นเมืองมรดกโลกของประชาชนที่อาศัย และ/หรือ มีที่ทํากินอยู่ในเขตพื้นที่โครงการมรดกโลกและผู้ที่ อยู่อาศัยในรัศมี 200 เมตร จากที่ตั้งโครงการฯ ใน ด้ า นความสํ า คั ญ ขั้ น ตอนกระบวนการ และ ผลกระทบต่อการเป็นเมืองมรดกโลก ความคิดเห็นต่อความสําคัญ หมายถึง การ แสดงออกด้านความเห็นโดยการระบุถึงความสําคัญ ของเมืองเชียงแสนในฐานะเมืองประวัติศาสตร์แห่ง หนึ่งที่มีความสําคัญต่อประวัติศาสตร์โลก มีร่องรอย หลั ก ฐานที่ แ สดงการตั้ ง ถิ่ น ฐานที่ มี เ อกลั ก ษณ์ เฉพาะตั ว รวมทั้ ง สภาพแวดล้ อ มและวิ ถี ชี วิ ต ที่ จําเป็นต้องอนุรักษ์ ความคิดเห็นต่อกระบวนการ หมายถึง การ แสดงออกด้านความเห็นโดยการระบุกระบวนการ

ปฏิบั ติ/การดํา เนิน การที่ นํา ไปสู่ การเปลี่ย นแปลง อย่างมีระบบและระเบียบ เพื่อการเป็นมรดกโลก ซึ่ง ประกอบด้ ว ย การสํ า รวจ การมี ส่ ว นร่ ว มของ ประชาชนในท้ อ งถิ่ น แนวทางการจั ด การ การ ว า ง แ ผ น ห น่ ว ย ง า น ที่ รั บ ผิ ดช อ บ แล ะ ก า ร ประชาสัมพันธ์ ความคิ ด เห็ น ต่ อ การมี ส่ ว นร่ ว ม หมายถึ ง การแสดงออกด้า นความเห็น โดยการระบุบ ทบาท ของบุ ค คลและองค์ ก รต่ า งๆ ในชุ ม ชน เช่ น ผู้ นํ า ชุมชน หรือสมาชิกชุมชน ที่อาศัย และ/หรือมีที่ทํา กิ น อยู่ ใ นเขตพื้ น ที่ โ ครงการมรดกโลกและผู้ ที่ อ ยู่ อาศัยในรัศมี 200 เมตร จากที่ตั้งโครงการฯ มาร่วม กันดําเนินการด้านการวางแผน การดําเนินงาน และ การติด ตามประเมินผล เพื่อทํา ให้กระบวนการใน การเป็นเมืองมรดกโลกเชียงแสนดําเนินไปได้ ความคิด เห็ น ต่ อผลกระทบ หมายถึ ง การ แสดงออกด้านความเห็นโดยการระบุผลอันเกิดขึ้น จากการที่ทําให้เชียงแสนเป็นเมืองมรดกโลก ที่เกิด ขึ้นกับประชาชนที่อาศัย และ/หรือมีที่ทํากินอยู่ใน เขตพื้นที่โครงการมรดกโลกและผู้ที่อยู่อาศัยในรัศมี 200 เมตร จากที่ ตั้ ง โครงการฯ ทั้ ง ทางด้ า น วัฒนธรรมและสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ผลกระทบด้ า นวั ฒ น ธรรมแ ละสั ง ค ม หมายถึง ผลอันเกิดขึ้นจากการที่ทําให้เชียงแสนเป็น เมืองมรดกโลกที่มีต่อศิลปวัฒ นธรรม ภาพลักษณ์ แหล่ ง เรี ย นรู้ กรรมสิ ท ธิ์ ก ารถื อ ครองพื้ น ที่ ความ คิดเห็นของชุมชน การคมนาคม สาธารณูปโภคและ วิถีชีวิตชุมชน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง ผลอัน เกิดขึ้นจากการที่ทําให้เชียงแสนเป็นเมืองมรดกโลก ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของพืชท้องถิ่น สิ่งก่อสร้าง ภูมิทัศน์ การตัดต้นไม้ และมลภาวะสิ่งแวดล้อม


37 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

ผลกระทบด้า นเศรษฐกิจ หมายถึ ง ผลอั น เกิดขึ้นจากการที่ทําให้เชียงแสนเป็นเมืองมรดกโลก ที่มีต่อการเพิ่มขึ้นของรายได้ ค่าครองชีพ การพัฒนา ท่าเรือ การประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม การ จับ จ่า ย การออม แรงงานอพยพ และการสูญ เสีย หรือถูกเวนคืนพื้นที่

ผลการวิจัย 1. ลักษณะทางประชากรและสถานภาพทางสังคม ของกลุ่มตัวอย่าง จากกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 153 คน เป็นเพศชาย มากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 60.8 : 39.2) เมื่อจําแนกตาม กลุ่มอายุ พบว่ามีอายุในช่วง 50 – 59 ปี (ร้อยละ 25.5) รองลงมาคือช่วง 40 – 49 ปี (ร้อยละ 23.5) โดยกลุ่ม ตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 44.06 ปี และเมื่อพิจารณาระดับ การศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าสัดส่วนของผู้ที่ได้รับ การศึ กษาระดั บปริ ญญาตรี และสู งกว่ า ใกล้ เคี ยงกั บ ระดับประถมการศึกษาและต่ํากว่า (ร้อยละ 37.9 : 37.3) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส (ร้อยละ 67.1) กว่าร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับจ้าง และธุรกิจส่วนตัว รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 4,650 บาท และ 4,650 – 13,949 บาทมีจํานวนใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 35.9 และ 35.3 ) สําหรับสถานภาพทางสังคมของ ประชากรในชุมชน พบว่าส่วนใหญ่ไม่มีตําแหน่งในองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (ร้อยละ 84.3) 2. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเป็น เมือง มรดกโลก การรั บข้ อมู ลข่ าวสารจากสื่ อมวลชน พบว่ า สื่อมวลชนที่กลุ่มตัวอย่างเปิดรับบ่อยมาก คือ โทรทัศน์ (ร้อยละ 46.4) และรองลงมา คือ วิทยุ ที่กลุ่มตัวอย่าง เปิดรับนานๆ ครั้ง (ร้อยละ 36.6) และกลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญ่ไม่เคยได้รับข้อมูลจากสื่อมวลชนอื่น (ร้อยละ 81.7) ส่วนการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อบุ คคล พบว่าร้อยละ

48.4 และ 39.9 ของกลุ่มตัวอย่างไม่เคยได้รับข้อมูลจาก เจ้าหน้าที่รัฐและผู้นําชุมชน แต่อย่างไรก็ตามร้อยละ 37.9 และร้อยละ 34 ได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่องค์กรส่วน ท้องถิ่นและผู้นําชุมชนนานๆ ครั้ง 3. ความคิดเห็นต่อความสําคัญของการเป็นเมือง มรดกโลก ข้อมูลในตารางที่ 1 แสดงว่าส่วนใหญ่ของกลุ่ม ตัวอย่าง (ร้อยละ 56.4) ได้รับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการ จั ดตั้ งเมื องเชี ยงแสนเป็ นเมื องมรดกโลก ความเห็ นที่ สมควรให้ อ.เชียงแสน เป็นเมืองมรดกโลกยังก้ํากึ่ง (ร้อย ละ 34.5 เห็นด้วยมาก แต่ร้อยละ 37.2 เห็นด้วยน้อย) ความเห็นโดยสรุปส่วนใหญ่ (ร้อยละ 45.9) เห็นว่าเมือง เชี ยงแสนมี ความพร้ อมน้ อยที่ จะเป็ นเมื องมรดกโลก อย่างไรก็ดีส่วนใหญ่เห็นว่าอําเภอเชียงแสน จังหวัด เชียงรายมีคุณสมบัติต่างๆสมควรได้รับพิจารณาเป็นเมือง มรดกโลก เช่ นความเก่ าแก่ ต.เวี ยง ซึ่ งเป็ นเมื องที่ มี สถาปัตยกรรมโดดเด่น เป็นเมืองประวัติศาสตร์ มีความ สงบเงียบและความสันโดษ เป็นต้น 4. ความคิดเห็นต่อกระบวนการเป็นมรดกโลก ตารางที่ 2 นําเสนอความคิดเห็นต่อกระบวนการ เป็ นมรดกโลก พบว่ าส่ วนใหญ่ (ร้ อยละ42.8) เห็ นว่ า หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักควรเป็นกรมศิลปากร การทํา โครงการเมืองมรดกโลกควรให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามา มีส่วนร่วม และข้อที่มีค่าความถี่ต่ําสุด (ร้อยละ 17.3) และมีค่าเฉลี่ยต่ําสุด (1.84) ได้แก่ สัดส่วนของการใช้ ประโยชน์ที่ดินสําหรับโบราณสถานและที่อยู่อาศัยมีความ เหมาะสม โดยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 49.3) เห็นว่ามีความ เหมาะสมปานกลาง รัฐได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วน ร่วมน้อย (ร้อยละ 44.9) การทําโครงการเมืองมรดกโลก ควรให้ ประชาชนในท้ องถิ่ นเข้ ามามีส่ วนร่ วม (ร้ อยละ 56.0) โดยการร่วมแสดงความคิดเห็น และการวางแผน


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

ตารางที่ 1 ความสําคัญต่อการเป็นเมืองมรดกโลก อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ท่านเห็นด้วยกับคําถามเหล่านี้ในระดับใด

1. ได้รับรู้และเข้าใจเกีย่ วกับการจัดตัง้ เมืองเชียง 2.

3.

4. 5. 6.

แสนเป็นเมืองมรดกโลก มีความเก่าแก่สมควรได้รับพิจารณาเป็นเมือง มรดกโลก 2.1 ท่านเห็นว่า ต.เวียง เป็นเมือง ประวัติศาสตร์ 2.2 ท่านเห็นว่า ต.เวียง ซึ่งเป็นเมืองที่มี สถาปัตยกรรมโดดเด่น ความสงบเงียบและความสันโดษของเมือง เชียงแสนควรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา คัดเลือกเป็นเมืองมรดกโลก ความเป็นอยู่ของประชาชนใน อ.เชียงแสน ควรได้รับการพิจารณาเป็นเมืองมรดกโลก เห็นสมควรให้ อ.เชียงแสน เป็นเมืองมรดก โลก เมืองเชียงแสนมีความพร้อมที่จะเป็นเมือง มรดกโลก ค่าเฉลี่ย

มาก

ระดับความคิดเห็น ปานกลาง น้อย

S.D.

17 (11.4)

84 (56.4)

48 (32.2)

1.79

0.629

88 (60.7) 86 (59.7) 61 (41.2)

37 (25.5) 48 (33.3) 50 (33.8)

20 (13.8) 10 (6.9) 37 (25)

2.47

0.727

2.53

0.625

2.16

0.8

39 (26.4) 50 (34.5) 37 (25.3)

57 (38.5) 41 (28.3) 42 (28.8)

52 (35.1) 54 (37.2) 67 (45.9)

1.91

0.782

1.97

0.849

1.79

0.821

2.09

0.75


39 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

ตารางที่ 2 กระบวนการการเป็นเมืองมรดกโลกของ อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ระดับความคิดเห็น ท่านเห็นด้วยกับคําถามเหล่านี้ในระดับใด 1. การสํารวจสภาพโบราณสถานโดยเจ้าหน้าที่ของ รัฐมีความเหมาะสมในระดับใด 2. แนวทางในการปรับปรุงภูมิทศั น์มคี วามเหมาะสม 3. สัดส่วนของการใช้ประโยชน์ที่ดินสําหรับ โบราณสถานและที่อยู่อาศัยมีความเหมาะสม 4. ท่านคิดว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักควรเป็น เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น 5. ท่านคิดว่าหน่วยงานที่รบั ผิดชอบหลักควรเป็น กรมศิลปากร 6. การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการดําเนินการสู่การเป็นเมือง มรดกโลกที่ทําให้ประชาชนเข้าถึงอย่างเหมาะสม 1. สื่อมวลชน

2.

สื่อบุคคล

7. รัฐได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม 8. การทําโครงการเมืองมรดกโลกควรให้ประชาชน ในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม 9. ความเหมาะสมของการมีส่วนร่วมของประชาชน ในแต่ละขั้นตอน 1. การรับฟังความคิดเห็น

2.

การวางแผน

ค่าเฉลี่ย

มาก

ปานกลาง

น้อย

37 (24.3) 33 (21.9) 26 (17.3) 52 (34.7) 65 (42.8)

71 (46.7) 75 (49.7) 74 (49.3) 52 (34.7) 52 (34.2)

44 (28.9) 43 (28.5) 50 (33.3) 46 (30.7) 35 (23)

41

44

55

(29.3)

(31.4)

(39.3)

40

50

52

(28.2)

(35.2)

(36.6)

26 (17.7) 79 (56.0)

55 (37.4) 31 (22.0)

56

S.D.

1.95

0.731

1.93

0.709

1.84

0.696

2.04

0.81

2.2

0.789

1.9

0.825

1.92

0.803

66 (44.9) 31 (22.0)

1.73

0.745

2.34

0.818

46

46

2.07

0.83

(37.8)

(31.1)

(31.1)

53

35

56

1.98

0.873

(36.8)

(24.3)

(38.9) 1.99

0.78


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

ตารางที่ 3 ผลกระทบทางวั ฒ นธรรมและสั ง คมที่ อ าจจะเกิ ด ขึ้ น จากการเป็ น มรดกโลก อํ า เภอ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย ท่านเห็นด้วยกับคําถามเหล่านี้ในระดับใด 1. 2. 3.

4.

5. 6. 7. 8. 9.

การเป็นเมืองมรดกโลกทําให้ท่านมีความ ภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรม การเป็นเมืองมรดกโลกเป็นการสร้าง ภาพลักษณ์ทดี่ ีของชุมชน การเป็นเมืองมรดกโลกทําให้วัฒนธรรมที่ ต.เวียง สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนใน ชุมชนและท้องถิ่นอื่น การจัดการแบ่งพื้นที่สําหรับโครงการมรดก โลกทําให้ประชาชนสูญเสียความเป็น กรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของพื้นที่ การคืนพื้นที่ให้เป็นสถานที่ของโครงการ มรดกโลกเป็นการเสียสละแก่ส่วนร่วม การมีโครงการมรดกโลกทําให้ชุมชนมีความ คิดเห็นที่แตกต่างกัน การมีโครงการมรดกโลกทําให้ชุมชนมีความ สมัครสมานสามัคคี การมีโครงการมรดกโลกทําให้คมนาคมใน พื้นที่มีความสะดวกขึ้น การมีโครงการมรดกโลกทําให้มี สาธารณูปโภคมากขึ้น ค่าเฉลี่ย

ระดับความคิดเห็น มาก ปานกลาง น้อย 86

41

21

(56.2)

(30.1)

(13.7)

78

46

24

(51.0)

(33.3)

(15.7)

84

47

16

(54.9)

(34.6)

(10.5)

79

52

15

(51.6)

(38.6)

(9.8)

58

46

41

(37.9

(35.3)

(26.8)

58

64

25

(37.9)

(45.8)

(16.3)

39

54

52

(25.5)

(40.5)

(34.0)

56 (36.6) 44 (28.8)

57 (41.8) 56 (47.1)

33 (21.6) 37 (24.2)

S.D.

2.42

0.723

2.35

0.739

2.44

0.678

1.58

0.665

1.89

0.799

1.78

0.707

1.92

0.769

2.15

0.75

2.05

0.729

2.06

0.73


41 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

ตารางที่ 4 ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเป็นมรดกโลก อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ท่านเห็นด้วยกับคําถามเหล่านี้ในระดับใด 1.

2.

3.

4.

5.

6.

การมีโครงการมรดกโลกทําให้มีการสูญเสีย พืชท้องถิ่น การมีโครงการมรดกโลกทําให้ต้องมีการ ปรับปรุงสิ่งก่อสร้างและมีถนนผ่าน โบราณสถาน การมีโครงการมรดกโลกทําให้มีการปรับปรุง ภูมิทัศน์ของแหล่งโบราณสถาน การมีโครงการมรดกโลกทําให้ต้องมีการตัด ต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การมีโครงการมรดกโลกทําให้เกิดมลภาวะ สิ่งแวดล้อม การมีโครงการมรดกโลกทําให้วิถีชีวิตของ ชุมชนเปลี่ยนแปลง ค่าเฉลี่ย

ระดับความคิดเห็น S.D.

มาก

ปานกลาง

น้อย

42

52

48

(27.5)

(41.2)

(31.4)

71

57

17

(46.4)

(42.5)

(11.1)

89

43

11

(64.7)

(28.1)

(7.2)

69

47

29

(45.1)

(35.9)

(19)

47

48

49

(41.2)

(37.3)

(32)

77

56

13

(50.3)

(41.2)

(8.5)

2.04

0.768

1.65

0.673

2.58

0.625

1.74

0.759

2.01

0.795

2.22

0.707

2.04

0.72


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

ตารางที่ 5 ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเป็นมรดกโลก อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ท่านเห็นด้วยกับคําถามเหล่านี้ในระดับใด 1.

2.

3.

4.

5.

การมีโครงการมรดกโลกทําให้มผี ลกระทบกับ การพัฒนาท่าเรือเชียงแสน การมีโครงการมรดกโลกทําให้อาชีพทาง เกษตรกรรมท้องถิ่นลดน้อยลง การมีโครงการมรดกโลกทําให้มีชอ่ งทางในการ จับจ่ายใช้สอยมากขึ้น การมีโครงการมรดกโลกทําให้มีพฤติกรรมการ ออมน้อยลง การมีโครงการมรดกโลกทําให้สญ ู เสียพืน้ ที่หรือ ถูกเวนคืนในการถือครองพื้นที่ ค่าเฉลี่ย

ระดับความคิดเห็น S.D.

มาก

ปานกลาง

น้อย

57

55

38

(38.0)

(36.7)

(25.3)

45

57

48

(30.0)

(38.0)

(32.0)

57

62

28

(38.8)

(42.2)

(19.0)

44

66

38

(29.7)

(44.6)

(25.7)

90

45

14

(60.4)

(30.2)

(9.4)

2.13

0.788

2.02

0.79

1.8

0.737

1.96

0.746

1.49

0.664

1.88

0.75


43 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

5. ความคิดเห็นต่อผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจาก การเป็นเมืองมรดกโลก 5.1 ด้านวัฒนธรรมและสังคม จากข้อมูลในตารางที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเห็น ว่าการเป็นเมืองมรดกโลกมีผลกระทบทางบวกด้าน วัฒนธรรมและสังคม เช่น ทําให้มีความภาคภูมิใจใน ศิลปวัฒนธรรม (ร้อยละ 56.2) การเป็นเมืองมรดก โลกทําให้วัฒ นธรรมที่ตํา บลเวีย งเป็น แหล่งเรีย นรู้ ของคนในชุ ม ชนและคนจากท้ อ งถิ่ น อื่ น (ร้ อ ยละ 54.9) และการเป็ น เมื อ งมรดกโลกเป็ น การสร้ า ง ภาพลักษณ์ที่ดีของชุมชน (ร้อยละ 51.0) เป็นต้น อย่างไรก็ดีผลกระทบในทางลบที่สําคัญได้แก่ การ จัด การแบ่ งพื้ น ที่ สํา หรับ โครงการมรดกโลกทํ า ให้ ประชาชนสูญ เสี ย กรรมสิ ทธิ์การเป็น เจ้า ของที่ดิ น (ร้อยละ 51.6) แต่ก็ยังตระหนักดีว่าการคืนพื้นที่ให้ เป็นสถานที่ของโครงการมรดกโลกเป็นการเสียสละ แก่ส่วนร่วม (ร้อยละ37.9)

5.3 ด้านเศรษฐกิจ ตารางที่ 5 นําเสนอความคิดเห็นในด้าน ผลกระทบทางเศรษฐกิ จ ที่ อาจจะเกิด ขึ้น จากการ เป็นเมืองมรดกโลก ของอําเภอเชียงแสน จังหวัด เชียงราย จะเห็นได้ว่าที่สําคัญที่สุดได้แก่ การมี โครงการมรดกโลกทําให้สูญเสียพื้นที่หรือถูกเวนคืน (ร้อยละ 60.4) ซึ่งเป็นผลกระทบในทางลบ ส่วน ผลกระทบในทางบวกที่สําคัญได้แก่ การมีโครงการ มรดกโลกทํ า ให้มี ผ ลกระทบต่ อ การพั ฒ นาท่ า เรื อ เชี ย งแสน โดยที่ ผ ลกระทบในด้ า นอาชี พ ทาง เกษตรกรรม ช่องทางในการจับจ่ายใช้สอย รวมทั้ง พฤติกรรมการออม ปรากฏผลระดับปานกลาง

5.2 ด้านสิ่งแวดล้อม ผลกระทบทางสิ่งแวดล้ อมที่ อาจจะเกิด ขึ้ น จากการเป็นมรดกโลก อําเภอเชียงแสน จังหวัด เชีย งราย ในตารางที่ 4 ที่สํา คัญ ได้แก่ การมี โครงการมรดกโลกทําให้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ของ แหล่งโบราณสถาน (ร้อยละ 64.7) การมีโครงการ มรดกโลกทําให้ต้องมีการปรับปรุงสิ่งก่อสร้างและมี ถนนผ่านโบราณสถาน (ร้อยละ 46.4) เป็นต้น และ เป็ น ผลกระทบในทางที่ ดี หรื อ บวก แต่ ป ระเด็ น ผลกระทบในทางลบที่สํา คัญ ได้แก่การมีโ ครงการ มรดกโลกทํ า ให้ ต้ อ งมี ก ารตั ด ต้ น ไม้ ใ หญ่ ซึ่ ง มี ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 45.1)

พบว่า ไม่มีค วามสั มพัน ธ์ ร ะหว่ า งปัจ จัย ส่ว นบุคคล และปัจจัยทางสังคมกับความคิดเห็นของประชาชน ต่อการเป็นเมืองมรดกโลก อําเภอเชียงแสน จังหวัด เชียงราย อย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05 ยกเว้น อาชีพซึ่งนําเสนอในตารางที่ 6 ซึ่งพบว่าผู้มีอาชีพรับ ราชการมี ค วามคิ ด เห็ น แตกต่ า งจากผู้ ไ ม่ เ ป็ น ข้าราชการ ในด้านกระบวนการเป็นเมืองมรดกโลก และในด้ า นผลกระทบด้ า นเศรษฐกิ จ อย่ า งมี นัยสําคัญ (p = 0.021, p = 0.015, และ p = 0.018 ตามลําดับ)

6. ผลการทดสอบสมมติฐาน การทดสอบสมมติ ฐ านโดย

Pearson product moment correlation coefficient ( r )


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

ตารางที่ 6 ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งอาชี พ กั บ ระดั บ ความคิ ด เห็ น ต่ อ การเป็ น เมื อ งมรดกโลกของ อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ประเด็นความคิดเห็น 1. ความสําคัญ รับราชการ ไม่ได้รับราชการ รวม 2. กระบวนการเป็นเมือง มรดกโลก รับราชการ ไม่ได้รับราชการ รวม

น้อย

8 (20.5) 29 (26.1) 37 (24.7)

8 (20.5) 40 (35.4) 48 (31.6)

ระดับความคิดเห็น ปานกลาง

14 (35.9) 50 (45.0) 64 (42.7)

15 (38.5) 51 (45.1) 66 (43.4)

มาก

ไม่ได้รับราชการ รวม

3 (7.7) 7 (6.1) 10 (6.5)

33 (84.6) 102 (89.5) 135 (88.2)

p-value

2.860

0.239

7.721

0.021*

0.940

0.988

17 (43.6) 32 (28.8) 49 (32.7)

16 (41.0) 22 (19.5) 38 (25.0)

3. ผลกระทบทาง วัฒนธรรมและสังคม รับราชการ

χ2

3 (7.7) 5 (4.4) 8 (5.2)


45 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

ตารางที่ 6 (ต่อ) ความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพกับระดับความคิดเห็นต่อการเป็นเมืองมรดกโลกของ อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ประเด็นความคิดเห็น 4. ผลกระทบทาง สิ่งแวดล้อม รับราชการ ไม่ได้รับราชการ รวม 5. ผลกระทบทาง เศรษฐกิจ รับราชการ ไม่ได้รับราชการ รวม ผลกระทบทุกด้าน รับราชการ ไม่ได้รับราชการ รวม

ระดับความคิดเห็น น้อย

1 (2.6) 5 (4.4) 6 (3.9)

2 (5.1) 27 (23.7) 29 (19.0) 4 (10.5) 10 (9.5) 14 (9.8)

ปานกลาง

33 (84.6) 102 (89.5) 135 (88.2)

33 (84.6) 83 (72.8) 116 (75.8) 28 (73.7) 92 (87.6) 120 (83.9)

มาก

χ2

p-value

1.977

0.372

8.344

0.015*

8.089

0.018*

5 (12.8) 7 (6.1) 12 (7.8)

4 (10.3) 4 (3.5) 8 (5.2) 6 (15.8) 3 (2.9) 9 (6.3)


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

สรุปและการอภิปรายผล 1. ความสําคัญต่อการเป็นเมืองมรดกโลก กลุ่ม ตัว อย่ า งทั้ง หมด เป็ น ผู้ ที่มี บ้า นเรือ น อาศัยอยู่ในบริเวณเขตโครงการการเป็นเมืองมรดก โลก จึงมีความรักและความผูกพันกับถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นอย่างมาก กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า อําเภอ เชียงแสนเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีสถาปัตยกรรม โดดเด่นมีความสงบเงียบและสันโดษ และมีการรับรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งเมืองเชียงแสนเป็นเมือง มรดกโลกน้อยมากและเห็นว่าเมืองเชียงแสนยังไม่มี ความพร้อมที่จะเป็นเมืองมรดกโลก 2. ขั้นตอนกระบวนการเป็นเมืองมรดกโลก กลุ่มตัวอย่า งส่วนใหญ่เ ห็น ว่า แนวทางใน การปรั บ ปรุ ง ภู มิ ทั ศ น์ แ ละการใช้ ป ระโยชน์ ที่ ดิ น สํ า หรั บ โบราณสถานและที่ อ ยู่ อ าศั ย มี ค วาม เหมาะสมน้ อ ย ส่ ว นหน่ ว ยงานหลั ก ที่ รั บ ผิ ด ชอบ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า กรมศิลปากรควรเป็น หน่วยงานหลักในการรับผิดชอบมากกว่าองค์กรหรือ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เนื่องจากกรมศิลปากรเป็นองค์กร ที่มีความรู้ความเข้า ใจในโครงการมรดกโลกดีกว่า หน่ ว ยงานอื่ น ๆ สํ า หรับ การรั บ รู้ ข่ า วสารเกี่ ย วกั บ โครงการเมื องมรดกโลก กลุ่มตัว อย่า งเห็น ว่า การ ประชาสัมพันธ์ทางสื่อมวลชนและสื่อบุคคลยังอยู่ใน ระดับปานกลาง และควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ เข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนการแสดงความคิดเห็น และการวางแผนโครงการ เนื่องจากประชาชนยังไม่ เข้าใจถึงขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ ของการเป็น เมื อ งมรดกโลกและการขาดการประสานงาน ระหว่างหน่วยงานที่เกีย่ วข้อง จึงทําให้ประชาชนเกิด ความสนใจ อยากเข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในขั้ น ตอน กระบวนการต่างๆ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ต่างๆ ของตนเองและรับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง

3. ผลกระทบที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นจากการเป็น เมืองมรดกโลก 3.1 ผลกระทบทางวัฒนธรรมและสังคม ผลกระทบทางวั ฒ นธรรมและสั ง คมใน ภาพรวม พบว่าระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ต่อผลกระทบทางวัฒนธรรมและสังคมอยู่ในระดับ ปานกลาง (ภายใต้ฐานคติ หรือ Assumption ว่า ผลกระทบในแต่ละเรื่องมีน้ําหนักเท่ากัน) อย่างไรก็ ตามเมื่ อพิ จ ารณาเป็ น รายประเด็น การเป็ น เมื อ ง มรดกโลกทํ า ให้ กลุ่ มตัว อย่ า งมี ความภาคภูมิใ จใน ศิล ปวั ฒ นธรรม และการเป็ น เมื อ งมรดกโลกเป็ น ภาพลั ก ษณ์ ที่ ดี ข องชุ ม ชนและสามารถเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ ข องชุ ม ชนและท้ อ งถิ่ น อื่ น ๆ อย่ า งไรก็ ต าม กลุ่ ม ตั ว อย่ า งส่ ว นใหญ่ เ ห็ น ว่ า การจั ด แบ่ ง พื้ น ที่ สําหรับโครงการมรดกโลก ทําให้ประชาชนสูญเสีย การมีกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของพื้นที่ 3.2 ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในภาพรวม(ภายใต้ ฐานคติ หรือ Assumption ว่า ผลกระทบในแต่ละ เรื่องมีน้ําหนักเท่ากัน) พบว่าระดับความคิดเห็นของ กลุ่ ม ตั ว อย่ า งต่ อ ผลกระทบทางสิ่ ง แวดล้ อ มอยู่ ใ น ระดับ ปานกลาง เมื่ อพิจ ารณณาเป็ น รายประเด็ น การมี โ ครงการมรดกโลกทํ า ให้ มี ก ารปรั บ ปรุ ง ภู มิ ทัศน์ของแหล่งโบราณสถาน และทําให้วิถีชีวิตของ ชุมชนเปลี่ยนแปลง นอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญ่ เ ห็ น ว่ า การมี โ ครงการเมื อ งมรดกโล ก ทําให้มีการสูญเสียพืชท้องถิ่นน้อย แต่มีผลกระทบ ต่อต้นไม้ใหญ่มาก เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการ ทํา โครงการมรดกโลก จะต้องมีการตัด ต้น ไม้ ใหญ่ เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ของแหล่งโบราณสถานและ ทํา ให้ มี ก ารปรั บ ปรุ ง สิ่ ง ก่ อ สร้ า งและมี ถ นนผ่ า น โบราณสถาน และสามารถส่งผลกระทบ ทํา ให้วิถี ชีวิตของชุมชนเปลี่ยนแปลง


47 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

3.3 ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผลกระทบทางเศรษฐกิ จ ในภาพรวมพบว่ า ระดับความคิด เห็นของกลุ่มตัวอย่า งต่อผลกระทบ ทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง (ภายใต้ฐานคติ หรือ Assumption ว่า ผลกระทบในแต่ละเรื่องมี น้ํ า หนั ก เท่ า กั น ) เมื่ อ พิ จ ารณาเป็ น รายประเด็ น โดยเฉพาะการมี โ ครงการมรดกโลกทํ า ให้ มี ผลกระทบกับการพัฒนาท่าเรือเชียงแสน และทําให้ สูญเสียพื้นที่หรือถูกเวนคืนการถือครองพื้นที่บริเวณ โครงการ นอกจากนั้นกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าโครงการ เมืองมรดกโลกไม่มีผลทําให้อาชีพทางเกษตรกรรม ท้องถิ่นลดน้อยลง แต่ทําให้มีพฤติกรรมการออมลด น้อยลงและ มีช่องทางในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น บ้าง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เ ห็นว่าการมีโ ครงการ มรดกโลกจะทําให้สูญเสียพื้นที่หรือถูกเวนคืนการถือ ครองพื้นที่บริเวณเขตที่ตั้งโครงการ ซึ่งสอดคล้องกับ การศึกษาของกําไลทอง ปันนํา (2543) ได้ทําการ ศึ ก ษาวิ จั ย เรื่ อ ง “ผลกระทบจากการจั ด การ สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่มีต่อชุมชนในกํา แพงเมือง เก่าเชียงแสน” พบว่าการดําเนินการโครงการบูรณะ และอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน ได้ส่งผล กระทบต่ อ ชุ ม ชนในด้ า นกายภาพ เศรษฐกิ จ และ สังคม ผลกระทบด้านกายภาพ สามารถเห็นได้จาก การจัดการสภาพภูมิทัศน์แหล่งศิลปกรรม การจัด ระเบี ย บชุ ม ชน และการปรั บ ปรุ ง การคมนาคม ภายในชุ ม ชน ผลกระทบทางด้ า นเศรษฐกิ จ และ สังคม สามารถสังเกตได้จากอาชีพและรายได้

ข้อเสนอแนะ 1. เพื่อการพัฒนาโครงการ ผลการวิจัย ในครั้งนี้ สามารถนําไปใช้เป็น ข้อมูลสําหรับผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบและหน่วยงานที่ มีห น้ า ที่ เ กี่ ย วข้ อ งในการดํ า เนิ น งานโครงการเป็ น

เมืองมรดกโลก อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชีย งราย ได้ แ ก่ กระทรวงวั ฒ นธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและ สํา นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ดังนี้ 1.1 ควรมีการให้ข้อมูลแก่ประชาชนในท้องถิ่น ให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการและผลกระทบที่ คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเป็นเมืองมรดกโลก 1.2 ใช้ประกอบการวางแผนเพื่อให้สอดคล้อง กับความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนที่ อาศั ย อยู่ ใ นบริเ วณพื้ น ที่ โ ครงการ อั น จะนํา มาซึ่ ง ความเข้ า ใจและลดปั ญ หาความขั ด แย้ ง ระหว่ า ง ประชาชนท้ อ งถิ่ น กั บ องค์ ก ารของรั ฐ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป 1.3 จัดทํามาตรการทางด้านนโยบายมิให้มีหรือ มีผ ลกระทบในทางลบน้อ ยที่ สุด เช่น ในด้ า นการ จัดการแบ่งพื้นที่สําหรับโครงการมรดกโลกที่จะทํา ให้ป ระชาชนสูญ เสี ย ความเป็น กรรมสิทธิ์ก ารเป็ น เจ้าของพื้นที่ จากการเวนคืนในการถือครองพื้นที่ดิน การมี โ ครงการมรดกโลกทํา ให้ต้องมีการตัด ต้น ไม้ ใหญ่ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การจับจ่ายใช้ สอยและพฤติกรรมการออมของประชาชนในท้องที่ 2. เพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ควรศึ ก ษาความคิ ด เห็ น ของประชาชนที่ อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่อื่นๆ นอกบริเวณโครงการ เพื่อจะได้ทราบความคิดเห็นของประชาชนผู้ที่ไม่ได้ รับ ผลกระทบในด้ า นที่อ ยู่ อาศั ย ว่า มี ความคิด เห็ น อย่างไร ในมุมมองที่หลากหลาย เพื่อจะได้นําไปเป็น ข้อ มูล ใช้ ใ นการพิ จ ารณาและวางแผนการจั ด การ เกี่ยวกับโครงการมรดกโลก อําเภอเชียงแสน จังหวัด เชียงราย ในภาพรวมต่อไป


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

บรรณานุกรม กมลรัต น์ หล้ า สุ ว งษ์. (2527). จิต วิ ทยาสั งคม กรุง เทพฯ : มหาวิท ยาลั ย ศรีน คริน ทรวิ โ รฒ ประสานมิตร. กรมศิลปากร. (2538). แผนแม่บทโครงการบูรณะและอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย กองโบราณคดี. หน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ (อัดสําเนา). กําจัด สุขเจริญ. (2544). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการดําเนินงานของนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร อํา เภอนครหลวง จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา. วิ ท ยานิ พ นธ์ รั ฐ ประศาสนศาสตร์ ม หาบั ณ ฑิ ต มหาวิทยาลัยบูรพา. กําไลทอง ปันนํา. (2543). ผลกระทบจากกการจัดการสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่มีต่อชุมชนในกําแพงเมืองเก่า เชียงแสน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. จํานงรักษ์ อุดมเศรษฐ์. (2529). ความคิดเห็นของเยาวชนในเขตกรุงเทพฯ ที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากร สัตว์ป่า. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. จิราวรรณ พิเศษสกลกิจ. (2534). ความเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมบริเวณโบราณสถาน : ศึกษากรณีป้อมมหากาฬ จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล. นิภาวรรณ วิชัย และคณะ. (2549). การศึกษาภาพรวมธุรกิจท้องถิ่นของอําเภอเชียงแสน กรณีศึกษาพื้นที่ เขตเทศบาล เวียงเชียงแสน อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น สํานักงาน กองทุน สนับสนุนการวิจัย. บุญมี เลากุลศานต์. (2531). ความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมนักศึกษาในวิทยาลัยพล ศึกษาภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา. ปาณิสรา ดาวเรือง. (2545). แนวทางการพัฒนาเมืองชายแดน : กรณีศึกษา เมืองเชียงแสน จังหวัด เชียงราย. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พระมหาอัมพร จัมปาลา. (2536). ผลกระทบจากโครงการพัฒนาต่อชุมชาวไทยอีสาน : กรณีศึกษาหมู่บ้าน อีสานแดง จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ยุทธนา พยุยงค์. (2546). การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เรืองแสง ทองสุขเจริญ. (2542). การรับรู้ปัญหาและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งโบราณสถานของ ปร ะช า ชน ใน เ กา ะเ มื อง พร ะ น ค รศ รี อยุ ธ ย า . วิ ท ย านิ พน ธ์ ศึ ก ษา ศ าส ตร์ ม หา บั ณ ฑิ ต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ศิริวรรณ ทาปัญญา. (2539). ปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแหล่งโบราณสถาน : กรณีศึกษาการมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนผู้ มี ถิ่ น พํ า นั ก ใกล้ แ หล่ ง โบราณสถาน อํ า เภอเมื อ ง จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ . วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล. สายันต์ ไพรชาญจิตร์และคณะ. (2539). เมืองและแหล่งชุมชนโบราณในล้านนา กรุงเทพฯ :คณะกรรมการ ชําระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี. หทัยรัตน์ ธรามานิตย์. (2530). การศึกษาความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัญหาการสอนคณิตศาสตร์ใน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จังหวัด ลพบุรี. ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิ โรฒ ประสานมิตร.


49 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

บรรณานุกรม อดุล คนยัง. (2513). ความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพระนครและธนบุรีที่มีต่อการจัด การศึกษาแบบสหศึกษา. ปริญญานิพนธ์ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร. อมราวดี เหมาคม. (2528). ความคิดเห็นของราษฎรรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Website ยุทธศาสตร์ก ารพัฒนาจังหวัดเชียงราย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.chiangrai.net/cpoc/manage/Plan.htm วันที่สืบค้น 11 มีนาคม 2552 ฐาปนา บุณยประวิตร. (2551). แนวทางการพัฒนาและออกแบบพัฒนาภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์เมือง โบราณเชียงแสน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://asiamuseum.co.th/paper/46 วันที่สืบค้น11 มีนาคม 2552 บริษัท พิพิธ ภัณฑ์เอเซีย จํากัด . (2551). การวิพากษ์แผนแม่บทการพัฒนาและออกแบบภูมิทัศ น์ ประวัติศาสตร์ถนนพหลโยธินภายในเขตเมืองโบราณเชียงแสน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://asiamuseum.co.th /paper/12 วันที่สืบค้น 11 มีนาคม 2552 พิมลพร มาลัยวงค์. (2551). บรรยายสรุปจังหวัดเชียงราย ปรับปรุงล่าสุด (2551). (ออนไลน์). แหล่งที่มา :

จังหวัดเชีย งราย. (มปท.).

http://www.chiangrai.net/cpoc/2009/Articles/Uploaded/611200810360CRsummy2008.pdf

วันที่สืบค้น 30 มีนาคม 2552 ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp วันที่สืบค้น 11 มีนาคม 2552 สํานักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย. (2551). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2552 – 2555. ยุทธศาสตร์ พัฒนาและส่งเสริมการท่อ งเที่ย วจังหวัด เชี ยงราย. (ออนไลน์ ). แหล่งที่ มา : http://www.cots.go.th/plan52-55.pdf วันที่สืบค้น 11 มีนาคม 2552 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2547). แนวคิดและยุทธศาสตร์การ พัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554). (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p10/plan10/data/report_1248/1. pdf วันที่สืบค้น 11 มีนาคม 2552 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554). (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.nes db.go.th/Portals/0/news/plan/p10/plan10/book/บทที่%203 ยุทธศาสตร์การ สร้างความเข้มแข็งของชุมชน.pdf วันที่สืบค้น 11 มีนาคม 2552 สํานักโบราณคดี. (2550). โบราณสถานจังหวัดเชียงราย.(ออนไลน์).แหล่งที่มา: http://www.archae.go.th/Monument/North/Chaingrai.asp วันที่สืบค้น 10 มีนาคม 2552 อภิสิทธิ์ เวชชาชีว ะ. (2552). คํา แถลงนโยบายของคณะรั ฐมนตรี. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.thaigov.go.th/multimedia/vana/คําแถลงนโยบาย%20.pdf วันที่สืบค้น 11 มีนาคม 2552


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

บรรณานุกรม (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://en.wikipidia.org/wiki /World_Heritage_Site วันที่สืบค้น 5 มีนาคม 2552 World Heritage Centre. (2009). World Heritage. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://whc.unesco.org/ en/about/ วันที่สืบค้น 12 มีนาคม 2552 แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคมเขตเทศบาลตําบลเวียงเชียงแสนและตําบลเวียง อําเภอเชียงแสน จังหวัด เชียงราย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://maps.google.co.th วันที่สืบค้น 12 มีนาคม 2552 Wikipedia. (2009). World Heritage Site.


51 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

การศึกษาเพลงรํ าวงโบราณของตําบลหนองบัว อําเภอหนองบัว จังหวัดนครสรรค์ 1

A Study of Thai Traditional Folk Dancing Songs of Tumbon Nongbua, Nongbua District, Nakhonsawan Province. 1

ขวัญหทัย มิตรภานนท์

ภิญโญ ภู่เทศ 1

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวัฒนธรรมและประวัติความเป็นมารวมทั้งเพื่อวิเคราะห์ ทํานองและจัดทําเป็นโน้ตสากลประกอบคําร้องของเพลงรําวงโบราณของเพลงรําวงโบราณในตําบลหนอง บัว อําเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ในการศึกษาครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยบันทึกเสียงการร้อง จากพ่อ เพลงแม่เ พลงที่ ร้ องเพลงรํ า วงโบราณ ซึ่ งการศึก ษาครั้ ง นี้ ไ ด้ ศึก ษาเฉพาะเพลงที่ เ กี่ ย วข้อ งกั บ วัฒนธรรมเท่านั้น เพลงรําวงโบราณที่สะท้อนถึงลักษณะทางวัฒนธรรมของชาวหนองบัว ได้แก่ เพลงตา ละลุม เพลงยามเย็นเดินเล่นลับแล เพลงชาติไทยเราเอ๋ย เพลงไทยรงค์ เพลงสาวน้อยเอวกลม เพลงดูซิ ดูโน่นซิ เพลงฉันเป็นรําวงชาวไร่ และ เพลงโอ้เจ้ากล้วยไม้เอ๋ย จากการศึกษาวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับเพลงรําวงโบราณนั้น พบว่า วัฒนธรรมของชาวหนองบัวที่ ปรากฏในเพลงรําวงโบราณยังเป็นวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมอยู่มาก ได้แก่ วัฒนธรรมในการประกอบอาชีพของ ชาวหนองบัวยังเป็นวัฒนธรรมของการทําการเกษตรกรรม ซึ่งวิถีชีวิตต่างๆ ยังมีความเชื่อในเรื่องของสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ เวทมนต์คาถา โดยการนํามาใช้ในการรักษาโรคภัยต่างๆ ในครอบครัว และมีการสืบทอดประเพณี มาจากบรรพบุรุษ เช่น ประเพณีการเกิด ประเพณีการตาย ประเพณีบุญห่อข้าว และประเพณีที่เป็นเทศกาล ประจําท้องถิ่นจะนําเพลงรําวงโบราณมาร่วมแสดงในงานต่างๆ ด้วยการวิเคราะห์ทํานองเพลงรําวงโบราณ พบว่า ลักษณะการเคลื่อนที่ของทํานองเพลงรําวงโบราณส่วนมาก เป็นการเคลื่อนที่แบบสม่ําเสมอ นุ่มนวล ระดับของเสียงที่ใช้ในบทเพลงจะค่อยๆสูงขึ้น และค่อยๆ ต่ําลง บางครั้งลักษณะของทํานองมีการซ้ําเสียง กันอยู่บ้าง ทุกเพลงของเพลงรําวงโบราณจะใช้อัตราความเร็วของจังหวะเคาะที่สม่ําเสมอ โดยประมาณ 70 ครั้งต่อ 1 นาที การตีรํามะนาประกอบจังหวะเพลงรําวงโบราณจะใช้หน้าทับในการตีเหมือนกันทุกเพลง จึงทําให้ลักษณะของทํานองไม่กระโดด ลักษณะของการร้องเพลงนั้นจะไม่เน้นหนักของน้ําเสียงในเพลงรํา วงโบราณ การใช้ขั้นคู่ในการเคลื่อนที่ของทํานองเพลง มีดังนี้ คือ ขั้นคู่ 2 เมเจอร์ ขั้นคู่ 3 ไมเนอร์ ขั้น คู่ 4 เพอร์เฟกต์ ขั้นคู่ 5 เพอร์เฟกต์ ขั้นคู่ 6 ไมเนอร์ และการซ้ําเสียง เป็นต้น ในแต่ละเพลงจะมีประโยค เพลงไม่เกิน 3 ประโยค แต่ละประโยคจะมีวรรคเพลงไม่เกิน 3 วรรค ทั้งนี้ในแต่ละประโยคจะมีวรรคถาม และวรรคตอบอยู่ในตัวเองโดยสมบูรณ์ คําสําคัญ : เพลงรําวงโบราณ ดนตรีพื้นบ้าน วัฒนธรรมพืน้ บ้าน 1

อาจารย์ประจําคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

Pinyo Phuthed

Abstract This research aimed to study culture related to, and history of, ancient Thai traditional folk dancing songs as well as to analyze the rhythms of ancient Thai folk dance performed by people in Nongbua, Nakhonsawan. In this study, data was collected from both male and female local singers of traditional Thai folk dancing songs by recording their singing and analyzing their music rhythms. It should be noted that only songs related to cultures were studied in this research. The ancient Thai folk dancing songs of Nongbua were Tha-la-lum, Yam Yen Den Len Lup Lae, Chat Thai Rao Eer, Thai Rong, Sao Noi El Klom, Du Si Du Noon Si, Chan Pen Rom Wong Chao Rai and Oh Chao Kluay Mai Eer. The study on culture related to the traditional Thai folk dancing songs revealed that most of the traditional Thai folk dancing songs exhibited traditional culture of the local people. For example, professional culture was still concerned with agriculture in which belief, as well as practices, in sacred things and magic were applied to cure deceases suffered by households members as normal ways of life. In addition, ancient Thai folk dancing songs were inherited from generation to generation, and sung for dancing in many traditional events, such as birthday, the death ceremony, the Boon – Hua - Khow ceremony, and other local festivals. The analysis of traditional Thai folk dance rhythms showed that they were considerably smooth and soft. The tones of the songs moved slowly from low to high level and then to low level, and could be repetitive at times. Every traditional Thai folk dancing song had a constant rate of beating rhythms at about 70 time per minute. The Ton – Rummana was used to perform the same Nha – Tub for every song, jumping of rhythms being not found in most cases. In the singing of ancient Thai folk song, it was observed that the quality of sound was not emphasized. Interval conjunct motions were applied in 2 Major, 3 Minor, 4 Perfect, 5 Perfect, 6 Minor and tone repeated, etc. Each song had no more than 3 sentences, and each sentence had no more than 3 sections. Moreover, each sentence had both principal part and complementary part in itself. Key words : Traditional folk dancing songs, folk music, folk culture


53 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

บทนํา เพลงพื้นบ้านถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทาง ดนตรี ซึ่งมีความเก่าแก่สืบทอดจากปากต่อปากมา หลายชั่วอายุคน โดยอาศัยการจดจํา ไม่มีกําเนิดที่ แน่ ชั ด แต่ มี ก ารยอมรั บ และถ่ า ยทอดกั น อย่ า ง แพร่ ห ลาย ลั ก ษณะเด่ น ของเพลงพื้ น บ้ า นคื อ ความเรียบง่ายและความเฉพาะถิ่น ความเรียบง่าย นั้นปรากฏอยู่ทั้งในรูปแบบและทํานองเพลง ความ เรี ย บง่ า ยของรู ป แบบคื อ การซ้ํ า คํ า ซ้ํ า วรรค ซ้ํ า โ ค ร ง ส ร้ า ง ข อ ง จั ง ห ว ะ ผ ส ม (Isorhythmic structure) ภาษาที่ ใ ช้ เ ป็ น ภาษาพู ด ธรรมดา ส่ ว น ความเรียบง่ายนั้นในท่วงทํานองเพลง คือมีทํานอง ไม่ซับซ้อน และมีระดับเสียงซ้ําไปซ้ํามา (สุกัญญา สุจฉายา, 2525 : 1) เพลงพื้ น บ้ า นในประเทศไทยมี ห ลาย ประเภท เช่น เพลงประกอบพิธี (เพลงแห่นางแมว เพลงทําขวัญต่างๆ) เพลงกล่อมเด็ก เพลงประกอบ การละเล่ น เพลงรํ า วง เพลงปฏิ พ ากย์ เป็ น ต้ น (กฤษณา แสงทอง, 2540 : 1) เพลงรําวงเป็นเพลง พื้นบ้านอีกประเภทหนึ่งที่มีอยู่ทั่วพื้นที่ของประเทศ ไทย และเป็นวัฒนธรรมทางด้านดนตรีที่แตกต่าง และมีความหมายของแต่ละพื้นที่ของชุมชนตนเอง ซึ่งมีความเก่าแก่มากซึ่งผ่านการละเล่นและการสืบ ทอดจากปากต่อปากมาหลายชีวิตคน มีการสั่งสม และปฏิ บั ติ ติ ด ต่ อ กั น มาเป็ น ระยะเวลานานโดย อาศัยการจดจํา มีการถ่ายทอดและพัฒนามาจาก ประสบการณ์ ข องชาวบ้ า นจากอดี ต สู่ ปั จ จุ บั น กลายเป็นความชัดเจนและเป็น องค์ความรู้แขนง หนึ่ ง ที่ ไ ด้ รั บ หรื อ ความรอบรู้ ที่ ต กผลึ ก อยู่ ใ น จิ ต สํ า นึ ก แม้ ไ ม่ มี ต้ น กํ า เนิ ด ที่ แ น่ ชั ด แต่ ก็ เ ป็ น ที่ ยอมรับ และถ่า ยทอดกัน อย่า งแพร่ ห ลาย ความ เรียบง่ายและมีลักษณะเฉพาะท้องถิ่นของเพลงรํา วงปรากฏอยู่ในรูปแบบของการแสดงพื้นบ้าน ซึ่ง

สื บ เนื่ อ งทางสั ง คมและวั ฒ นธรรม อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น เครื่องมือช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางจิตใจ และทางอารมณ์ได้อีกด้วย เพลงพื้นบ้านส่วนมากจะสะท้อนถึงสภาพ ความเป็น อยู่ของชุมชน หรือสภาพของหมู่บ้า น เป็นหลัก ทั้งนี้เพราะเพลงพืน้ บ้านเป็นเพลงประจํา ท้ อ งถิ่ น นั้ น ๆ แต่ ล ะชุ ม ชนแต่ ล ะท้ อ งถิ่ น ก็ มี เอกลักษณ์ของตนเอง ไม่ว่า จะเป็น ลักษณะของ การร้อง ลักษณะของการแต่งกาย ลักษณะของ การใช้ คํ า ร้ อ ง ลั ก ษณะของการออกท่ า ทาง ประกอบ และลักษณะของความเชื่อ ที่แตกต่างกัน ออกไปตามแต่ ล ะชุ มชนแต่ล ะท้องถิ่น และเป็ น ลั ก ษณะของการสื บ ทอดเป็ น วั ฒ นธรรมและ ประเพณีต่อๆ กันมาเป็นเวลานาน จั ง หวั ด นครสวรรค์ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง อํา เภอหนองบัว ส่ว นใหญ่มีพื้น เพและชาติพัน ธุ์ เดิมเป็น คนเก่าแก่ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ช้านานนับ ได้ เป็นร้อยปี ทั้งยังเป็นแหล่งสําคัญที่มีเพลงรําวง โบราณซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงด้านวัฒนธรรมต่างๆ ที่ เป็นเอกลักษณ์ สมดังคําขวัญที่ว่า “หินสีชมพูเขา พระ แหล่ง ธัม มะวัฒ นธรรม เพลงระบํา พื้น บ้า น มหาศาลหินแกรนิต” ทั้งนี้ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วย ทรั พ ยากรต่ า งๆ เช่ น แร่ ธ าตุ แหล่ ง น้ํ า ป่ า ไม้ รวมทั้งทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่ายิ่ง คือ มีพ่อเพลง แม่เพลงที่มีต้นแบบในการร้องและรําเพลงพื้นบ้าน จึงทําให้เกิดการสืบทอดเพลงรําวงขึ้นในกลุ่มเด็ก และเยาวชนของหมู่บ้า นในสมัย นั้น แต่ปัจ จุบั น ส ภ า พ แ ว ด ล้ อ ม แ ล ะ วิ ถี ชี วิ ต ข อ ง ชุ ม ช น ไ ด้ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ ทรัพยากรป่าไม้และ หินแกรนิตของหมู่บ้านเริ่มหมดไป ความสัมพันธ์ ระหว่างคนในชุมชนห่างเหินออกไปไม่เหมือนเดิม เด็กและเยาวชนของชุมชนต้องเข้าไปเรียนหนังสือ ในตัวเมือง เมื่อเรียนจบก็ไปประกอบอาชีพอย่าง


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

อื่น ไม่สนใจที่จะเรียนรู้ภูมิปัญญาที่เป็นมรดกของ บรรพบุรุษที่มีอยู่ในท้องถิ่นดั่งเช่นแต่ก่อน ดังนั้น ภูมิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น เพลงรํา วงโบราณหนองบั ว ใน ปัจจุบันนี้ จึงมีผู้สืบทอดที่ยังมีชีวิตอยู่เพียงไม่กี่คน ซึ่งแต่ละคนล้วนแล้วมีอายุไม่น้อยกว่า 70 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ชาวบ้านคนอื่นๆ ไม่สามารถร้องเล่นได้ ได้เพียงแค่ปรบมือให้เข้าจังหวะไปพร้อมๆ กับพ่อ เพลงแม่เพลงเท่านั้น อีกทั้งยังไม่มีการบันทึกภูมิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น เพลงรํ า วงโบราณในรู ป แบบของ หนั ง สื อ และการใช้ เ ทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ เ ป็ น เครื่องมือในการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้แต่ อย่ า งใด จึ ง เป็ น ที่ ม าของการศึ ก ษาเพลงรํ า วง โบราณในตําบลหนองบัว อําเภอหนองบัว จังหวัด นครสวรรค์ ก่ อ นที่ เ พลงรํ า วงโบราณจะหมด ความสําคัญจากความเป็นอยู่ของคนในสังคม ซึ่ง จะเป็นการยกระดับองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพลงรําวงโบราณในตํา บลหนองบัว สู่สังคมเพื่อ การสืบทอดต่อไป

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของเพลงรํา วงโบราณในตําบลหนองบัว อําเภอหนองบัว จังหวัด นครสวรรค์ 2. เพื่อวิเคราะห์ทํานองและจัดทําเป็นโน้ ต สากลประกอบคําร้องของเพลงรําวงโบราณในตําบล หนองบัว อําเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อวิเคราะห์วัฒนธรรมที่สําแดงออกใน เพลงรําวงโบราณ ในตําบลหนองบัว อําเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์

การทบทวนวรรณกรรมและ กรอบแนวความคิดทางทฤษฎี กําเนิดของวัฒนธรรมพื้นบ้าน จากหนังสือไทยศึกษา (2524 : 199) ได้ กล่ า วถึ ง การกํ า เนิ ด ของวั ฒ นธรรมพื้ น บ้ า นว่ า การเกษตรกรรมหรือกล่าวให้จําเพาะเจาะจงยิ่งขึ้น ก็คือ การทํานา เป็นพื้นฐานการดํารงชีพของชาว ไทยมาช้านาน โดยแต่เดิมเป็นการเกษตรหรือการ ทํ า นาแบบที่ เ รี ย กด้ ว ยศั พ ท์ ท างวิ ช าการว่ า เศรษฐกิจ เพื่อการยังชีพ คือทํา เพีย งพอมีพอกิน ไม่ มี ก ารใช้ แ รงงานอื่ น นอกจากแรงงานใน ครอบครัว ไม่มีการผลิตอะไรอื่นนอกเหนือจากที่ ครอบครั ว จํ า เป็ น จะต้ อ งใช้ มี ลั ก ษณะการ ดํารงชีวิตที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติและพึ่งพาตนเองสูง จึง ทํ า ให้ ชี วิ ต ของชาวบ้ า นเสี่ ย งที่ จ ะมี ห รื ออดอยู่ เสมอ อย่างไรก็ตาม สมาชิกในชุมชนเกษตรกรรม เพื่ อ การยั ง ชี พ ได้ เ รี ย นรู้ ที่ จ ะสร้ า งแบบแผนทาง สั ง คมบางประการ เพื่ อ ช่ ว ยผนึ ก ชุ ม ชนให้ เ ป็ น อันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อร่วมทุกข์ร่วมสุขกันอย่าง เป็น กลุ่มก้อน และเพื่อร่วมแก้ปัญหาในยามเกิด ภั ย พิ บั ติ อั น ทํ า ใ ห้ ชี วิ ต ข อ ง ช า ว บ้ า น ใ น วิ ถี เกษตรกรรมระบบเดิมมีความมั่นคงขึ้น แบบแผนทางสังคมดังกล่าวข้างต้นมีตัวอย่าง แสดงให้ เ ห็ น ชั ด เช่ น พฤติ ก รรมแสดงความ เอื้ อเฟื้ อเผื่ อแผ่ การแบ่ งปั นสิ่ งที่ทํ ามาหาได้ ในหมู่ เพื่อนบ้าน การนับญาติกันอย่างกว้างขวาง และการ กําหนดพฤติกรรมต่อผู้อื่นด้วยฐานะสูงต่ําของระบบ เครือญาติ เป็นต้น แบบแผนเหล่านี้นอกจากจะช่วย ประกันความมั่นคงของครอบครัวแล้วยังช่วยให้การ ผลิตในวิถีชีวิตของชาวนาทําได้ง่ายขึ้น เช่น ทําให้มี ธรรมเนี ยมที่ เรี ยกต่ างๆกั นไปตามท้ องถิ่ น ว่ าการ “ขอแรง” “เอาแรง” “เอามื้อ” “ออกปาก” “กิน วาน” หรือ “ลงแขก” ซึ่งก็คือ การร่วมแรงร่วมใจ


55 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

กันทํางานในยามที่แรงงานเฉพาะที่ได้จากสมาชิกใน ครอบครัวไม่เพียงพอ ต้องการแรงงานเพิ่มครั้งละ มากๆ เช่น ในการเก็บเกี่ยวพืชผล การขึ้นบ้านใหม่ การบุกเบิกที่ใหม่ ฯลฯ เป็นการหมุนเวียนแลกเปลี่ยน แรงงานในชุมชน โดยไม่มีการเรียกร้องสินจ้างรางวัล เจ้ า ของบ้ านหรื อเจ้ า ของงานเพี ยงทํ า หน้ าที่ ดู แล อาหารการกิ นไม่ ให้ ขาดตกบกพร่ อง ผลั ดกั นเป็ น เจ้าของบ้านผู้ขอแรง และเป็นเพื่อนบ้านผู้ให้แรงอยู่ ในชุ มชนของตน หรื อบางครั้งบางคราวอาจมี การ “ขอแรง” กันระหว่างสมาชิกในชุมชนใกล้เคียง ใน บางชุ ม ชน ยามที่ ร่ ว มกั น ทํ า กิ จ กรรมยั ง มี ก าร ประดิษฐ์กลวิธีทางสันทนาการ ได้แก่ การร้องรําทํา เพลง เพื่ อกระชั บสั มพั นธไมตรี และผ่ อนคลาย ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ทําให้เกิดการร่ายรําและ เพลงพื้นบ้านชนิดต่างๆ เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงชั่ว ลูกชั่วหลานอีกด้วย (ไทยศึกษา, 2542 : 199) สรุ ป ได้ ว่ า วั ฒ นธรรมพื้ น บ้ า น หมายถึ ง วิถีชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง ซึ่ง อาจปรากฏในรู ป วั ต ถุ เครื่ อ งใช้ ไ ม้ ส อย จั ด เป็ น วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material Culture) หรืออาจ ปรากฏในรู ป ของสั ญ ลัก ษณ์ เป็ น ขนบนิ ย ม หรื อ วิ ธี ก ารประพฤติ ป ฏิ บั ติ ที่ ต กทอดกั น มา ที่ ห ล่ อ หลอมให้ ค นในท้ อ งถิ่ น อยู่ ร่ ว มกั น อย่ า งสงบสุ ข จัดเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุแต่เป็นวัฒนธรรมทาง จิตใจ (Non – Material Culture) (ไทยศึกษา, 2542 : 199 - 200) ปัญญา รุ่งเรือง (2533 : 1) ได้กล่าวถึงดนตรี ว่า เป็ น วั ฒ นธรรมประจํ า ชาติ ที่ แสดงถึ ง ความ เจริญรุ่งเรืองและความคิด ความรู้สึกทางศิลปะของ ชนแต่ ล ะชาติ สภาพแวดล้ อ มตามธรรมชาติ ที่ แตกต่างกันกําหนดให้วัฒนธรรมของชนแต่ละเผ่ามี ความแตกต่า งกันนานาประการ ทั้งความเป็นอยู่ ศิลปะ ภาษา วรรณคดี และดนตรี ดนตรีของชน

ช า ติ เ ดี ย ว กั น แ ต่ ต่ า ง ถิ่ น ฐ า น เ ดี ย ว กั น ต่ า ง สภาพแวดล้อมกันย่อมแตกต่างกัน ดนตรีที่แต่ละ ชนชาติสร้างสรรค์สั่งสมสืบต่อมา ต่างก็เป็นดนตรี ของชาติเ หล่า นั้น ทั้ง สิ้น ลั กษณะของดนตรีช าติ เดี ย วกั น ที่ แ ตกต่ า งกั น ไปตามสภาพแวดล้ อ ม วัฒ นธรรม ประเพณี ความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิด และวัตถุที่เป็นสื่อแสดงออกซึ่งดนตรีของชนแต่ละ ท้องถิ่นนี้ เรียกว่า “ดนตรีประจําถิ่น หรือดนตรี พื้นเมือง” ซึ่งมีทั้งบทเพลงง่ายๆ ตั้งแต่เพลงกล่อม เด็กไปจนถึงเพลงที่ยากขึ้น เครื่องดนตรี วงดนตรี บทเพลง การขับ ร้อง ตลอดจนการแสดง การ เต้นรําต่างๆ ลักษณะทั่วไปของเพลงพื้นบ้าน ไพบูลย์ ช่างเรียน (2516 : 39) ได้กล่าวถึง เพลงพื้นบ้านว่าเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่ถือเป็น วิ ธี ก ารอย่ า งหนึ่ ง ของสั ง คมในการที่ จ ะถ่ า ยทอด วัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่ง ไปสู่คนรุ่นหนึ่ง เพราะ นอกเหนือจากความบันเทิงซึ่งเป็นความมุ่งหมาย หลักแล้ว เพลงพื้น บ้า นยังเปรียบเสมือนกระจก สะท้อนให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ ความนึกคิด ความเชื่อ ประเพณี และค่ า นิย มของกลุ่มชน ผู้ เป็นเจ้าของวรรณกรรมอีกด้วย สุพัตรา สุภาพ (2523 : 3) ได้กล่าวถึง ค่านิยมว่า หมายถึง สิ่งที่สังคมหนึ่งเห็นว่าเป็นสิ่งที่ มีคุณค่า ควรค่าแก่การกระทํา น่ากระทํา น่ายก ย่ อ ง หรื อ ว่ า ถู ก ต้ อ ง เป็ น การยอมรั บ ทั่ ว ไปจาก สังคมนั้น เราอาจสังเกตค่านิยมของสังคมได้หลาย ทาง คือ 1. ดู จ ากสิ่ ง ที่ ค นในสั ง คมนั้ น เลื อ กใน ชีวิตประจําวัน คือ ดูว่าโดยทั่วๆ ไป คนในสังคมนั้น เลือกทําอะไร เชื่ออะไร และเลือกไปทางไหน 2. ดูทิศทางของความสนใจ คือ ดูว่าโดย ทั่ ว ๆ ไป คนในสั ง คมนั้ น สนใจอะไรในทางไหน


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

หรือสนใจทําอะไรในชีวิตสังคมส่วนใหญ่ ชีวิตการ งาน ชีวิตครอบครัวหรือแม้แต่ชีวิตส่วนตัว 3. ดูจากคําพูดที่แสดงออกโดยทั่วๆ ไป คนเรามักจะพูดว่าสิ่งนั้นดี สิ่งนี้ไม่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะ สะท้อนให้เห็นถึงความปรารถนาของคนในสังคม นั้นๆ 4. ดูจ ากคําพูดที่ใช้สนทนา สังเกตจาก คํ า พู ด และแนวคิ ด บางอย่ า ง ซึ่ ง ทํ า ให้ คู่ ส นทนา พอใจ หรือโกรธจนเห็น ได้ชัด คํา พู ด ที่ โ ต้ กลับ ไป กลับมาเป็นแนวทางที่ช่วยให้เราทราบค่านิยมของ คนนั้นได้บ้าง 5. ดู จ ากการคิ ด การเขี ย น คนเรามั ก แสดงออกในหลักการ อุดมการณ์แนวคิด ความฝัน และรสนิ ย ม ของตนออกมาปะปนกั บ การเขี ย น เสมอ วรรณคดีต่า งๆ ช่วยให้เ ราเห็น ค่านิย มของ สังคมระยะนั้นได้มาก ลักษณะที่สําคัญของเพลงพื้นบ้าน สุกรี เจริญสุข (2538 : 41) ได้กล่าวถึงเพลง พื้ น บ้ า นว่ า เป็ น เพลงที่ มุ่ ง เพื่ อ ความสนุ ก ซึ่ ง เป็ น ความสนุกของชาวบ้านที่ใช้ดนตรีเข้ามาประกอบ เพลงพื้นบ้านเป็นผลงานเพลงของชาวบ้านที่ไม่ต้อง ฝึกฝนเชี่ยวชาญ ที่ป ฏิบัติกันอยู่เพราะความเคย ชิ น ไม่ ไ ด้ มุ่ ง ความไพเราะหรื อ ความสวยงาม แต่ มุ่งเน้นที่ความสนุกเป็นหลัก นัก บรรเลงเพลงพื้ น บ้ า นสื บ ต่อ กั น มาด้ ว ย การเลียนแบบ ลอกเลียนตามกันมาโดยเด็กทําตาม ผู้ ใ หญ่ ในระบบครอบครั ว หรื อ ระบบชาวบ้ า น ไม่ ได้มีการฝึกฝนเพื่อความเป็น เลิศทางศิล ปะแต่ อย่ า งใด ดั ง คํ า กล่ า วที่ ว่ า “ไม่ เ ก่ ง แต่ ชํ า นาญ ไม่ เชี่ยวชาญแต่เคยมือ” นอกเหนือจากความสนุก แล้ว เพลงพื้นบ้านยังเป็นมหรสพของชาวบ้านอีก ด้วย เล่นกันเองเพื่อดูกันเอง

เนื้อร้องของเพลงพื้นบ้าน (Lyric) เกี่ยวข้อง กับชีวิต การงาน ความรัก ความสนุกสนานเฮฮา การดื่ ม กิ น สั ง สรรค์ การเกี้ ย วพาราสี เป็ น ต้ น อาจจะพูดได้ว่าเนื้อร้องเกือบทั้งหมดเป็นเรื่องชีวิต ของชาวบ้าน เว้น ไว้เ ฉพาะเรื่องที่เ กี่ย วกับ ความ เชื่ อ นิ ทานพื้ น บ้า น วรรณคดีที่ เ ป็ น รากเหง้ า ของ ศิลปวัฒนธรรม ความมีเสน่ห์ของเพลงพื้นบ้านก็คือ การพู ด ถึ ง เรื่ อ งชี วิ ต ตั ว เอง การเล่ า เรื่ อ งเล่ า เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องของหมู่บ้าน เป็นการบันทึก ประวัติศาสตร์ของชีวิต ทําให้ทุกคนในสังคมของ หมู่บ้านมีความผูกพันซึ่งกันและกัน นอกจากเนื้อ ร้องเพลงพื้นบ้านเป็นสื่อแล้ว เนื้อร้องยังเป็นศิลปะ รากเหง้าของศิลปวัฒนธรรมของคนในหมู่บ้าน ซึ่ง ทําหน้าที่ถมช่องว่างให้แต่ละครอบครัวมีความผูก สัมพันธ์กัน ลักษณะของรําวง รําโทนเป็นการละเล่นพื้นบ้านชนิดหนึ่งของ ชาวบ้ า นเมื อ งลพบุ รี นิ ย มเล่ น กั น แพร่ ห ลายใน ระหว่าง พ.ศ. 2484 - 2488 หรือในช่วงเกิด สงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามเลิกความนิย ม เล่นรําโทนลดลงตามลําดับ ส่วนหนึ่งพัฒนาไปเป็น การละเล่น “รําวง” และ “รําวงมาตรฐาน” เหตุที่ เรียกชื่อว่า รําโทน เพราะเดิมเป็นการรําประกอบ จังหวะการตี “โทน” ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีหลักใน การเล่ น ภายหลั ง แม้ ใ ช้ เ ครื่ อ งดนตรี อื่ น เช่ น รํ า มะนา ตี ใ ห้ จั ง หวะแทนก็ ยั ง เรี ย กชื่ อ เช่ น เดิ ม หนุ่มสาวสมัยก่อนเล่นรําโทนเพื่อความสนุกสนาน รื่ น เริ ง เพื่ อ พั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจยามเหงาหรื อ ยาม สงครามที่ค่ําลงก็ไม่ มีอะไรจะทํากัน เป็นการเพิ่ม ชีวิต ชีว าให้กับ ชีวิต ที่ต้อ งอดออมและเสี่ย งภัย ใน ยามสงคราม เพลงที่ใช้ร้องมักเป็นเพลงที่มีเนื้อร้อง ง่ า ยๆ เป็ น เพลงสั้ น ๆ ไม่ มี ชื่ อ เพล งเฉพาะ


57 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

มักเรียกชื่อตามวรรคแรกของเนื้อร้อง ไม่บอกชื่อผู้ แต่งว่าเป็นใครอยากแต่งขึ้นมาใหม่ก็ได้ จํากันร้อง ตามกันต่อๆ มา เนื้อร้องมักเป็น การเกี้ย วพาราสี ปลุกใจหรือสะท้อนชีวิต ความเป็น อยู่ห รือมาจาก วรรณคดี ไ ทย เช่ น เพลงลพบุ รี ข องเรานี่ เ อ๋ ย เจ็ด นาฬิกา ใครรักใครโค้ง ใคร เชื่อผู้นํา ของชาติ ศิลปากร ฯลฯ “รําโทน”หรือ “รําวง” มาจากรากแห่ง ที่ ม าของ “ลู ก ทุ่ ง ไทย” ในปั จ จุ บั น ที่ แวง พลังวรรณ ต้องการชี้ประเด็น “รําโทน” มาจาก “โทน” ที่เป็นกลองหน้าเดียว ทําจากหนังกบ หรือ หนังงูเหลือม เป็นเครื่องดนตรีหลักในการให้จังหวะ การร่ายรําที่เรียกกันว่า “รําวง” โดยเรียกตาม ลักษณะการก้าวเท้าเคลื่อนย้ายตามกันเป็นวงของผู้ รํา และเมื่อชาวกรุงไปพบเข้า จึงเรียกการรําชนิดนี้ ว่า “รําวงพื้นเมือง” นัยว่า “รําวง” หรือ รําโทน เป็นชื่อสามัญ ไม่ใช่ชื่อเฉพาะที่ตายตัว อย่างที่เป็น ในระยะหลัง แต่ชาวท้องถิ่นจะเรียกศิลปะชนิดนี้ใน ชื่ออื่นแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น และการร่าย รํ า ชนิ ด นี้ มี ที่ ม าจากภาคอี ส าน หรื อ จั ง หวั ด ใน ภาคเหนื อ ที่ มี ค นเชื้ อ สายลาวอาศั ย อยู่ เช่ น เพชรบูรณ์ ซึ่งสืบทอดถ่ายโอนมาจากลาว โดยที่มา ของ “รําโทน”มาจากการเล่า “นิทานก้อม” ที่มัก เล่ากันในงานสวดศพ หรือที่ภาษาอีสานเรียก 'งัน เฮือนดี' นอกจากนี้ ในระยะหลังยังปรากฏว่า การ เล่า “นิทานก้อม” เพื่อให้ออกรส มีการนําเอา “นิทม” มาเล่าปะปนด้วย “นิทม” คือเรื่องเล่าอิง นิทาน แต่มีการแต่งเติมหรือแต่งเลียนขึ้นใหม่ ให้ ทัน ยุค ทัน เหตุการณ์ เป็น เรื่องใส่ไคล้และสัป ดน เสียเป็นส่วนมาก ความสนุกสนานขึ้นอยู่กับ “หมอ เล่า” หรือ “หมอเว้า” และการดําเนินเรื่องด้วย ทํา นองเสนาะตลอดเรื่อง หรือสอดแทรกทํา นอง เสนาะเป็นช่วงๆ ไป ทํานองเสนาะบางช่วงคล้ายว่า

กลอนลํา บางช่วงก็เป็นการ “ว่าผญา” (อ่านบทกวี อีสาน) หรือบางครั้งก็เอ่ยหนังสือสลับสับเปลี่ยนไป ขึ้น อยู่กับ เหตุการณ์ ในท้องเรื่อง ซึ่งจะทํา ให้ออก รสชาติและสนุกครึกครื้นยิ่งขึ้น ในการเล่า นิทาน ก้อม เมื่อถึงช่วงทํานองเสนาะจึงมีผู้ที่เกิดอารมณ์ ร่ ว ม หรื อ ตั ว ผู้ ว่ า กล่ อ มเสนาะเอง ได้ เ คาะพื้ น กระดานเรือนให้จังหวะไปด้ว ย เป็น รูป เป็น แบบ เป็น จังหวะเฉพาะขึ้น และนี่ก็เ ป็น จุ ด กํา เนิด ของ “หมอลํา” ประการหนึ่งด้วย “หมอลํา” ที่นับว่า ปัจจุบันประยุกต์ไปมากมาย สารพัดรูปแบบที่เห็น และเป็นอยู่ และรับรู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นศิลปะจาก ภูมิปัญญาคนอีสาน หรือคนเชื้อสายลาว ด้าน จอม พล ป. พิบูลสงคราม มีข้อมูลบ่งชี้ว่า เอา “รําโทน” มาจากการออกท้องที่ตรวจราชการตามจังหวัดภาค อีสาน และภาคเหนือด้านที่ติดกับภาคอีสานและ ชายแดนลาว โดยเฉพาะเพชรบูรณ์ อาศัยจดจําเอา จากชาวบ้าน ขณะนํา “รําโทน”มาจัดแสดงเพื่อให้ การต้อนรับตามประเพณีอันดีงาม และนอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ที่ทํา หน้า ที่จ ดบัน ทึกคําร้องและจดจํา จังหวะทํานอง “รําโทน” จากชาวบ้าน ก็คือ ท่าน ผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ภริยาของจอมพล ป. นั่นเอง จึงไม่แปลกที่เพลงรําวงมาตรฐานจะมีชื่อ ของ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม เป็นผู้แต่ง เนื้อร้องอยู่ถึง 6 เพลง จากที่มีอยู่ทั้งหมด 10 เพลง จึงเท่ากับว่า นับแต่นั้นมา “รําโทน” หรือ “รําวง” แบบดั้งเดิม ได้แปลงโฉมใหม่ ก่อนถูกส่งกลับยังถิ่น เดิ ม ของมั น ผ่ า นกลไกรั ฐ ของยุ ค นั้ น ที่ สุ ด “รํ า โทน”หรือ “รําวง” นี่เอง ที่เป็นรากเหง้าแห่งที่มา ของลูกทุ่ งอีส านและลูก ทุ่ง ไทย นับ ว่า ท้ า ทายต่ อ การหาคําอธิบายในที่นี้อย่างยิ่ง “แวง” เชื่อมโยงว่า เมื่อมีผู้นํา “รําโทน” ไปบันทึกแผ่นเสียง จึงทําให้มี ชื่อใหม่ว่า “เพลงรําวง” และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา “รําวง” หรือ “รําโทน”ก็ได้ชื่อที่เป็นชื่อเฉพาะว่า


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

“เพลงรําวง” เพียงชื่อเดียว ตั้งแต่นั้นมา ในยุคที่ แผ่นเสียงเข้ามามีบทบาทในการผลิตเพลงเพื่อเป็น ธุรกิจ และมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคมากขึ้น เพลงรําวง ก็มีส่วนเติบโตในยุคนี้เช่นเดียวกัน ที่สําคัญเพลงรํา วงมีความพิเศษของมัน คือการเปิดโอกาสให้ผู้คนมี ส่วนร่วมในกิจกรรมที่ตนถนัด เช่น ประพันธ์เพลง ขึ้นเอง มีอิสระในการสร้างสรรค์ เพื่อถ่ายทอดและ รับใช้วิถีชีวิตของผู้คนในถิ่นต่างๆ ดังจะเห็นได้จาก การที่มีคณะรําโทนแต่งเพลงขึ้นเองเพื่อใช้ในการรํา วง และนําไปอัดแผ่นเสียงในเวลาต่อมา เช่น คณะ ชาวสามย่าน และยังมีการแสดงออก ทางการฟ้อนรําอีกด้วย ต่อมา ได้เกิดมีนัก แต่ ง เพลงและนั ก ร้ อ งเพลงรํ า วงที่ โ ดดเด่ น ในยุ ค แผ่ น เสี ย งขึ้ น ได้ แ ก่ เบญจมิ น ทร์ ผู้ ไ ด้ รั บ ฉายา ราชาเพลงรําวง และ เฉลิมชัย ศรีฤๅชา ผู้ถูกตั้งข้อ สงสัยว่า เป็นผู้ปิดทองหลังพระ อยู่เบื้องหลังความ โด่งดังและยิ่งใหญ่ของ สุรพล สมบัติเจริญ เจ้าของ ฉายา ราชาเพลงลูกทุ่งไทย นั่นเอง

วิธีดําเนินการวิจัย การศึ ก ษาครั้ ง นี้ หน่ ว ยการศึ ก ษา คื อ ตําบลหนองบัว อําเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เค รื่ อ งมื อ ที่ ใช้ ใ น กา ร ศึ กษ า วิ จั ย คื อ แ บ บ สัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นอย่างมีโครงสร้าง (Structured Interview) ประกอบด้ ว ย 2 ส่ ว น คื อ ส่ ว นที่ 1 เป็ น ข้ อ มู ล ประวั ติ ค วามเป็ น มาของเพลงรํ า วง โบราณในตําบลหนองบัว อําเภอหนองบัว จังหวัด นครสวรรค์ ส่ ว นที่ 2 เป็ น ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การ วิเคราะห์ทํานองเพลงและจัดทําโน้ตสากลประกอบ คํ า ร้ อ งของเพลงรํ า วงโบราณตํ า บลหนองบั ว อําเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ กา ร เก็ บ รว บ รว ม ข้ อมู ล โ ด ย วิ ธี ก า ร สัมภาษณ์ผู้อาวุโส ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้นํา

ท้องถิ่น และพ่อเพลงแม่เพลงพร้อมลูกคู่ ซึ่งเป็น ชาวตํ า บลหนองบั ว อํ า เภอหนองบั ว จั ง หวั ด นครสวรรค์ และวิ เ คราะห์ ส าระของข้ อ มู ล (Content analysis) การพรรณนาเชิงวิเคราะห์และ ก า ร แ ป ล ค ว า ม ห ม า ย เ ชิ ง วิ พ า ก ย์ (Critical interpretation) พร้ อ มจั ด ทํ า โน้ ต สากลโดยใช้ โปรแกรมสําเร็จรูป Encore (อังกอร์) และทําการ สรุปข้อมูลทั้งหมด

ผลการวิจัย การศึ ก ษาวิ จั ย เรื่ อ ง การศึ ก ษาเพลงรํ า วง โบราณของตํ า บลหนองบั ว อํ า เภอหนองบั ว จังหวัดนครสวรรค์ สามารถสรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้ 1. ประวัติความเป็นมาของเพลงรําวงโบราณใน ตํ า บลหน องบั ว อํ า เ ภอหน องบั ว จั ง หวั ด นครสวรรค์ จากการศึ ก ษาประวั ติ ค วามเป็ น มาของ เพลงรํ า วงโบราณนั้ น พบว่ า การรํ า วงเป็ น การละเล่นอย่างหนึ่งของชาวบ้านที่ร่วมกันเล่นเพื่อ ความสนุกสนานและเพื่อความสามัคคี นิยมเล่น กันในระหว่าง พ.ศ. 2484 - 2488 รําวงนั้นเดิม เรียกว่า “รําโทน” เพราะได้ใช้โทนเป็นเครื่องดนตรี ประกอบจังหวะ โดยใช้ โทนเป็น จังหวะหลัก มี กรับและฉิ่งเป็นเครื่องดนตรีประกอบ แต่ไม่มีเนื้อ ร้อง ผู้รําก็รําไปตามจังหวะโทน ลักษณะการรําไม่ มีกําหนดกฎเกณฑ์ เพียงแต่ย่ําเท้าให้ลงจังหวะโทน ต่อ มามีผู้ คิ ด ทํา นองและบทร้ อ งประกอบจั ง หวะ โทนขึ้น จึงทําให้รําโทนได้รับการพัฒนามาเป็น “รํา วง” ซึ่งมีลักษณะดังนี้คือ มี โ ต๊ะตั้งอยู่กลางวง ชาย-หญิ ง รํ า เป็ น คู่ ๆ ไปตามวงอย่ า งมี ร ะเบี ย บ เรีย กว่า “รํา วงพื้น เมือง” เล่น ได้ทุกงานเทศกาล ทุกฤดูกาล หรือจะเล่นกันเองเพื่อความสนุกสนาน


59 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2484 ซึ่งอยู่ระหว่างสงครามโลก ครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่นได้เจรจาขอตั้งฐานทัพใน ประเทศไทย เพื่อเป็นทางผ่านสําหรับการลําเลียง เสบี ย ง อาวุ ธ และกํ า ลั ง พล เพื่ อ ไปต่ อ สู้ กั บ ฝ่ า ย พั น ธมิ ต ร โดยยกพลขึ้ น ที่ ตํ า บลบางปู จั ง หวั ด สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 จอมพล ป. พิ บู ล สงคราม นายกรั ฐ มนตรี ใ นสมั ย นั้ น จําเป็นต้องยอมให้ทหารญี่ปุ่นตั้งฐานทัพมิฉะนั้นจะ ถู ก ฝ่ า ยอั ก ษะซึ่ ง มี ป ระเทศญี่ ปุ่ น อยู่ ด้ ว ยนั้ น ปราบปราม ประเทศไทยขณะนั้นจึงเป็นเป้าหมาย ให้ ฝ่า ยพั น ธมิต รโจมตี ส่ งเครื่ อ งบิ น มาทิ้ งระเบิ ด ทําลายชีวิตผู้คน บ้านเรือน ทรัพย์สินเสีย หายพัง ยับ เยิน โดยเฉพาะที่ที่อยู่ ใกล้กับ ฐานทัพ ซึ่งส่ว น ใหญ่ แล้ ว ฝ่า ยพั น ธมิ ต รจะส่ งเครื่อ งบิ น มารุก ราน บริ เ วณจุ ด ยุ ท ธศาสตร์ ใ นเวลาค่ํ า คื น เดื อ นหงาย สาเหตุ เ พราะจะทํ า ให้ ส ามารถมองเห็ น จุ ด ยุทธศาสตร์ได้ง่าย ในช่วงเวลานั้นชาวไทยเต็มไป ด้ ว ยความรู้ สึ ก หวาดกลั ว และตึ ง เครี ย ด จึ ง ได้ ชักชวนกันเล่นเพลงพื้นเมือง คือ การรําโทน เพื่อ ผ่ อ นคลายอารมณ์ ที่ ตึ ง เครี ย ดให้ เ พลิ ด เพลิ น สนุกสนานขึ้น บ้าง การรําโทนนั้นใช้ภาษาที่เรีย บ ง่าย เนื้อร้องเป็นเชิงเย้าแหย่ หยอกล้อเกี้ยวพาราสี กันระหว่างหนุ่มสาว ทํานองเพลง การร้อง ท่ารํา การแต่งกายก็เรียบง่าย มุ่งความสนุกสนาน พอ ผ่อนคลายความทุกข์ไปได้บ้างเท่านั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม เกรงว่าชาวต่างชาติที่ได้พบเห็นจะ เกิดความเข้าใจว่า ศิลปะการฟ้อนรําของไทยมิได้มี ความประณีตงดงาม ท่านจึงได้ทําการพัฒนาการรํา โทนขึ้นอย่างมีแบบแผน ประณีตงดงาม ทั้งท่ารํา คํ า ร้ อ ง ทํ า นองเพลง และเครื่ อ งดนตรี ที่ ใ ช้ ตลอดจนการแต่ ง กาย จึ ง เรี ย กกั น ว่ า “รํ า วง มาตรฐาน” เพื่อจะได้เป็นแบบอย่างต่อไป

ในอดีตชาวบ้านมักจะร้องเล่นในช่วงเย็น หรือหลังจากทํางานเสร็จแล้วจะมีการนัดกันว่าจะ ไปเล่นที่บ้านของใคร การเล่นเพลงจะร้องเล่นกัน ไปจนถึงมืดถึง 3-4 ทุ่ม จึงแยกย้ายกันกลับบ้าน ทั้งนี้จะร้องเล่นเพื่อผ่อนคลายความเหน็ด เหนื่อย จากการทํางานมาทั้งวัน และเพื่อผ่อนคลายความ ตึ ง เครี ย ดจากปั ญ หาการเมื อ ง โดยร้ อ งแก้ กั น ระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิง แต่ปัจจุบันโอกาส ของการเล่น เปลี่ยนไปเป็น การเล่นเพื่อการแสดง มีเพียงการเล่นตามงานที่ได้รับเชิญให้ไปแสดงที่มุ่ง เพื่อการอนุรักษ์เป็นหลัก และมีการเล่นเฉพาะที่มี การเชิ ญ จากหน่ ว ยงานต่ า งๆ ทั้ ง หน่ ว ยงานทาง ราชการ หรือหน่วยงานเอกชนให้ไปแสดง โดยยัง ยึดหลักการร้อง การแต่งกาย และวิธีการเล่นเพลง ตามรูปแบบการเล่นในอดีต เหตุผ ลหนึ่งที่โ อกาส การเล่ น เพลงเปลี่ ย นไปนั้ น มี ส าเหตุ ม าจาก ใน ปั จ จุ บั น การทํ า นามี ก ารใช้ เ ครื่ อ งทุ่ น แรงจาก เครื่องจักรกลมากกว่าแรงงานที่มาจากคน ซึ่งช่วย ในด้า นเวลาของการเก็บเกี่ย วให้ ได้เร็วขึ้น ดังนั้น การเล่นเพลงรําวงที่เคยมีการรวมกลุ่มพ่อเพลงแม่ เพลงได้ ม ากก็ มี ก ารรวมกลุ่ ม น้ อ ยลงตามไปด้ ว ย จนไม่ปรากฏให้เห็นว่าในปัจจุบันจะมีการเล่นรําวง โบราณเลย 2.วัฒนธรรมที่สะท้อนจากเพลงรําวง เพลงพื้นบ้านเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่ถือ เป็ น วิ ธี ก ารอย่ า งหนึ่ ง ของสั ง คมที่ ถ่ า ยทอด วั ฒ นธรรมจากคนรุ่ น หนึ่ ง ไปสู่ ค นอี ก รุ่ น หนึ่ ง เพราะนอกจากความบันเทิงซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายหลัก แล้ว เพลงพื้นบ้านยังเปรียบเสมือนกระจกสะท้อน ให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ ความนึกคิด ความ เชื่ อ ประเพณี และค่ า นิ ย มของกลุ่ ม ชนผู้ เ ป็ น เจ้ า ของวรรณกรรมนั้ น อี ก ด้ ว ย ดั ง เช่ น ชาว


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

หนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มี วั ฒ นธรรมเป็ น ของตนเองมาตั้ ง แต่ โ บราณที่ บรรพบุ รุ ษ เป็ น ผู้ ส ร้ า งเอาไว้ ซึ่ ง คนหนองบั ว เอง พยายามที่จะดํารงรักษาไว้ โดยสะท้อนผ่านมาทาง เพลงรําวงโบราณ แต่เ นื่องจากเสีย งร้องของพ่อ เพลงแม่เพลงมีสําเนียงที่เพี้ยนแปร่ง ฟังยาก และ พ่อเพลงแม่เพลงมีความชรามาก ทําให้พื้นเสียงฟัง ยากไม่ค่อยชัดเจนจากการบันทึกพบว่าเพลงรําวง โบราณที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมของชาวตําบลหนอง บัว ได้แก่ วัฒนธรรมการครองเรือน เพลงพื้น บ้า นมีบ ทบาทในการแสดงทัศนะ ต่างๆอันเป็นแนวทางให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วน สร้างสถาบันให้เกิดเสรีภาพ ปราศจากปัญหาต่างๆ และชาวหนองบัวมีความเชื่อว่าต้องมีผัวเดียวเมีย เดียว หากผู้ใดมีสามีหรือภรรยาใหม่โดยไม่เลิกกับ คนเดิมก่อน จะส่งผลให้เกิดเหตุร้ายต่อครอบครัว เช่น ลูกหลานจะเจ็บป่วย เป็นต้น และถือเป็นเรื่อง ที่ สํ า คั ญ มากเกี่ ย วกั บ ค่ า นิ ย ม เช่ น การครองตน ครองเรื อ น การรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ครอบครั ว ความ ซื่อสัตย์ต่อคู่ครอง การมีรักเดียวใจเดียว ดังเพลงที่ มีชื่อว่า เพลงตาละลุม และ เพลงยามเย็นเดินเล่น ลับแล มีเนื้อร้องว่า “ตาละลุ ม ตุม ฉั น รั ก แม่ พุ่ มโพธิ์เ ขี ย วเอย โอ้แม่ฟันเลี่ยมทองรักน้องคนเดียว หญิงอื่นไม่แล เหลียว ฉันรักแม่เขียวนก” “ยามเย็ น เดิ น เล่ น ลั บ แล กระต่ า ยกระแต ชะแง้ชมจันทร์ สักเมื่อไรจะได้พบกัน สักเมื่อไรจะ ได้พบกัน กระต่า ยหมายจันทร์ แม่วัน จัน ทร์เ พ็ญ กระต่ายหมายจันทร์ แม่วันจันทร์เพ็ญ” วัฒนธรรมการรักชาติ เพลงพื้นบ้านที่สะท้อนให้เห็นว่าชาวหนอง บัวรักความสงบ รักชาติ บ้านเมือง และพรรคพวก

พี่น้องของตนเอง ดังเพลงที่มีชื่อว่า เพลงชาติไทย เราเอ๋ย และ เพลงไทยรงค์ มีเนื้อร้องว่า “ชาติไทยเราเอ๋ย อย่า ละเลยทํา ตามหน้า ที่ ไทยเรานั้นมีความสุข บททุกข์ใครล่ะย่ํายี เอกราช มันชาติเสรี นั้นมีพระเอกพละสมบูรณ์ ไทยเราต้อง ช่วยชูชาติ เก่งกาจคือหลวงพิบูลย์ ความสุขจะได้ ละเพิ่มพูนของไทยเราเอย” “ไทยรงค์เป็นของคนไทย ถ้าแม้ผู้ใดใครจะ มาข่มขี่ ชาติใดใครจะมาข่มขี่ ชีวิตเรามีรักษากันไว้ ชาติไทยต้องเป็นของไทย ชาติไทยต้องเป็นของไทย สงวนเอาไว้จะได้ถาวร” วัฒนธรรมการแต่งกาย ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม จะเน้นการ แต่งกายของผู้ห ญิงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการแต่งกาย สมั ย จอมพล ป. พิ บู ล สงคราม ผู้ ห ญิ ง จะต้ อ งมี กระเป๋าถือ นุ่งโจงกระเบน และเสื้อแบบหลายสี สําหรับไปเที่ยวชมงานและเทศกาลต่างๆ ดังเพลงที่ มีชื่อว่า สาวน้อยเอวกลม และ เพลงดูซิดูโน่นซิ มี เนื้อร้องว่า “สาวน้อยเอวกลมไว้ผมดัดรอน ดัดคลื่นใส่ น้ํา มั น หอม สวมแต่ ห มวกโบราณเอย แต่ ง ตั ว ไม่ ทั น สมั ย สาวไทยแต่ ง แบบพิ กุ ล หิ้ ว กระเป๋ า เพชรบูรณ์เอย แม่คุณจะไปไหนกัน ฉันจะไปดูโขน ฉันจะไปดูหนัง มาขึ้นรถรางมาไปด้วยกัน” “ดูซิ ดู โ น่ น นุ่ ง สี กัน มาหลายคน ดู ซิ แ ม่ ค น โน้น งามโน้นเสลาะใจเรียม รูปหล่อละออเอี่ยมทํา หน้าเสงี่ยมเอวอ่อนเป็นนางละเวง นุ่งดํางามขําจริง นะเอย ใส่ขาวมารําสวยเช้ง ฟ้อนรําไปตามบทเพลง คนไหนรําเก่งขอเชิญมารํา” วัฒนธรรมด้านการประกอบอาชีพ ชาวหนองบั ว ส่ ว นใหญ่ ป ระกอบอาชี พ เกษตรกรรม เช่น ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ แต่ส่วน ใหญ่ ที่ป ระกอบอาชีพกั น มากที่ สุด คื อ การทํ า นา


61 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

และทํา ไร่ เพราะพื้น ที่ของหนองบัว เป็น ที่ราบสูง ซึ่งสอดคล้องกับเพลงที่มีชื่อว่า ฉันเป็นรําวงชาวไร่ และ เพลงโอ้เจ้ากล้วยไม้เอ๋ย มีเนื้อร้องว่า “วันนี้รําวงจะไม่มานั้นก็ไม่ได้ อุตส่าห์ตั้งใจ สมานไมตรี ฉั น เป็ น รํ า วงชาวไร่ รํ า ได้ มั น ก็ ไ ม่ ดี ออกกิริย าหรือจะวางท่าที ออกกิริยาหรือจะวาง ท่าที ฉันรําไม่ดีฉันขอโปรดอภัย” “โอ้เจ้ากล้วยไม้เอ๋ย ทําไปช่างหอมจริงเอย โอ้เจ้ากล้วยไม้เอย ทําไงจะได้สักกิ่ง รักจริงจะไม่ทิ้ง เธอเลย ขอฉันชมสักช่อ อย่าทรมานฉันเลย ฝากรัก เอาไว้ชมเชย โธ่เอ๋ยละจะมาด่วนตัดรอน โธ่เอ๋ยจะ มาด่วนตัดรอน” 3. การวิเคราะห์ทํานองเพลงรําวงโบราณ ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะการเคลื่อนที่ ของทํ า นองเพลงรํ า วงโบราณส่ ว นมาก เป็ น การ เคลื่อนที่แบบสม่ําเสมอ นุ่มนวล ระดับของเสียงที่ ใช้ ในบทเพลงจะค่ อยๆ สู ง ขึ้น และค่ อ ยๆ ต่ํา ลง บางครั้ง ลัก ษณะของทํา นองมี การซ้ํ า เสีย งกั น อยู่ บ้ า ง จึ ง ทํ า ให้ ลั ก ษณะของทํ า นองไม่ ก ระโดด ลักษณะของการร้องเพลงนั้น จะไม่เ น้น หนั กของ น้ํา เสี ย งในเพลงรํ า วงโบราณ การใช้ ขั้ น คู่ ใ นการ เคลื่ อ นที่ ข องทํ า นองเพลง มี ดั ง นี้ คื อ ขั้ น คู่ 2 เมเจอร์ ขั้นคู่ 3 ไมเนอร์ ขั้นคู่ 4 เพอร์เฟกต์ ขั้น คู่ 5 เพอร์เฟกต์ ขั้นคู่ 6 ไมเนอร์ การซ้ําเสียง ใน การเดินทํานองเพลงรําวงโบราณทุกเพลง และขั้นคู่ เสียงที่พบมากที่สุดในบทเพลง คือ ขั้นคู่ 2 เมเจอร์ ขั้นคู่ 3 ไมเนอร์ และการซ้ําเสียงเป็นต้น

สรุปและอภิปรายผล การศึ ก ษาทํ า นองเพลงรํ า วงโบราณของ ตําบลหนองบัว อําเภอหนองบัว จังหวัดนครสรรค์ สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของเพลงรําวงโบราณที่มี

ต่อชุมชน ได้แก่ การสร้างความบันเทิง การสร้าง ความสามัคคีในชุมชน เพลงพื้นบ้านบันทึกเรื่องราว ที่ เ กิ ด ขึ้ น โดยการร้ อ งถึ ง เรื่ อ งราวต่ า งๆ และ เหตุการณ์สําคัญๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการ แจ้งข่า วสารต่า งๆ ให้กั บ ชุมชนและร้องเรีย นผู้ ที่ อํา นาจหน้ า ที่ ต่า งๆ ได้ ท ราบความทุก ข์ ร้อ นของ ประชาชน ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ ผลการศึ ก ษาโดย กาญจนา อินทรสุนานนท์ และคณะ (2543) ซึ่งได้ ทํา การศึ ก ษาวิ เ คราะห์ วัฒ นธรรมที่ เ กี่ ย วข้อ งกั บ เพลงระบําบ้านนา พบว่า ในบทเพลงระบําบ้านนา กล่า วถึงค่า นิย มในการนับ ถือศาสนาพุทธ พ่อแม่ ครูและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มารยาทในการต้อนรับ การ แต่ ง กาย อาชี พ เศรษฐกิ จ การเมื อ ง ยาเสพติ ด ความรักระหว่างชายหญิง ผัวเมีย พ่อแม่ลูก ความ รั ก ช า ติ พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ แ ล ะ เ รื่ อ ง เ พ ศ นอกจากนั้ น เพลงระบํ า บ้ า นนายั ง มี บ ทบาทต่ อ สังคมในการสร้างความบันเทิง ความสามัคคี การ แจ้งข่าวสาร บันทึกเรื่องราวและให้ความรู้ในด้าน ต่างๆ การศึ กษาของ บัว ผัน สุ พ รรณยศ (2535) ได้ ทํ า งานวิ จั ย วิ เ คราะห์ เ พลงอี แ ซว ของจั ง หวั ด สุพ รรณบุรี พบว่ า เพลงอีแ ซวเป็ น เพลงพื้ น บ้ า น ประจําถิ่นของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมาไม่น้อยกว่า 100 ปี เดิมเป็นเพลงปฏิพากย์ยาว ลักษณะเด่น ของเพลงคือ มีจังหวะเร็ว กระชั้น มีคําประพัน ธ์ เป็น กลอนหัว เดีย ว ที่นิย มเล่น สัมผัส อักษรแพรว พราวเป็นพิเศษ เพลงอีแซวมีบทบาทต่อสังคมใน ฐานะเป็น สิ่ง บัน เทิง ให้ก ารศึกษาทั้ง ทางตรงและ ทางอ้อม เป็น สื่อมวลชนของชาวบ้านที่ทํา หน้า ที่ กระจายข่าวสาร และวิพากษ์วิจารณ์สังคม และมี บทบาทในการจรรโลงวัฒนธรรมของสังคม และผล การศึกษาของ สุมาลย์ เรืองเดช (2518) ที่ได้วิจัย และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านของตําบล


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

พนมทวน อํ า เภอพนมทวน จั ง หวั ด กาญจนบุ รี ข้อมูลที่ได้จ ากการศึกษานี้ส ะท้อนให้เห็นแนวคิด ค่านิยม และการปฏิบัติของชาวบ้าน นอกจากนี้ยัง พบอีกว่า เพลงเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินชีวิตใน ชนบท ในปัจจุบันเพลงพื้นบ้านของตําบลพนมทวน ได้ที่รับความนิยมมี 2 เพลงคือ เพลงพวงมาลัย กับเพลงฉ่อย ซึ่งใช้เ ล่นกันในงานต่างๆ เช่น งาน มงคล โกนจุก บวชนาค ทอดกฐิน วิธีเล่น นิยมเล่น กัน เป็ น วงกลม ฝ่ า ยชายกับ ฝ่า ยหญิง ฝ่า ยละครึ่ ง วงกลม มีพ่อเพลงแม่เพลงและลูกคู่ ฝ่ายใดร้องก็ ออกมารําอยู่กลางวง ผลัดกันไป ลูกคู่จะร้องรับ และปรบมือให้จังหวะ

ข้อเสนอแนะ 1. เนื่องจากเพลงรําวงโบราณเป็นภูมิ ปัญญาท้องถิ่นที่องค์ความรู้ส่วนใหญ่เป็น

องค์ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวบุคคลยากต่อการถอด องค์ความรู้ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ฉะนั้นจึง ควรศึกษาถึงแนวทางการจัดการความรู้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นเพลงรําวงโบราณอย่างเป็นระบบ อีกทั้งยัง เป็นการยกระดับองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพลง รําวงโบราณของตําบลหนองบัว อําเภอหนองบัว สู่ สังคมเพื่อการสืบทอดต่อไป 2. ควรจัดทําหลักสูตรท้องถิ่นภูมิปัญญา เพลงรําวงโบราณ ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านของตําบล หนองบั ว อํ า เภอหนองบั ว จั ง หวั ด นครสวรรค์ เพื่ อ ให้ ใ นการเรี ย นการสอนของโรงเรี ย น และ หน่ว ยงานที่เ กี่ย วข้อ งควรสนับ สนุน อุ ป กรณ์และ งบประมาณ รวมทั้งการจัดห้องเรียนเพื่อทําการ ฝึ ก ปฏิ บั ติ เพื่ อ การสื บ ทอดภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น นี้ ให้แก่ชุมชนต่อไป

บรรณานุกรม กฤษณา แสงทอง. (2540). เพลงปฏิพากย์ : วัฒนธรรมดนตรีและภาพสะท้อนสังคมของชาวตําบลเขาทอง อําเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครสวรรค์. กาญจนา อินทรสุนานน์และคณะ. (2543). การศึกษาวิเคราะห์เพลงระบําบ้านนา. สํานักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ. บัวผัน สุพรรณยศ. (2535). การวิเคราะห์เพลงอีแซวจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร. ปรานี วงษ์เทศ. (2525). พื้นบ้านพื้นเมือง. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์เจ้าพระยา. ไพบูลย์ ช่างเรียน. (2516). สารานุกรมศัพท์ของสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา. วิเชียร เกษประทุม. (2528). เพลงพื้นบ้านจากพยุหะคีร.ี นครสวรรค์ : ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์. สมปราชญ์ อัมมะพันธ์. (2516). ประเพณีและพิธีกรรมในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. สุกรี เจริญสุข. (2532). เพลงชาติ. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์. สุกัญญา สุจฉายา. (2525). เพลงปฏิพากย์ : บทเพลงแห่งปฏิญาณแห่งชาวบ้านไทย. กรุงเทพฯ : สํานัก คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. สุชาติ แสงทอง. (2544). การวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีเพลงปฏิพากย์. สํานักศิลปวัฒนธรรม สถาบัน ราชภัฏนครสวรรค์. สุมาลย์ เรืองเดช. (2518). เพลงพื้นบ้านจากพนมทวน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.


63 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ของพนักงานครูเทศบาลในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ Development of Indicators for Student-Centered Learning Management of Municipal Teachers in the Schools under the Nakorn Sawan Municipality Administration

ชลิดา กลั่นแก้ว1

บทคัดย่อ พนักงานครูเทศบาลในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ เฉลี่ย 34.91 สมรสแล้ว จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีโดยมีประสบการณ์ในการทํางานเฉลี่ย 14.82 ปี รับผิดชอบดูแลระดับชั้นประถมศึกษา (ป.1-ป.6) และ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาทเป็น จํานวนมากที่สุด พนักงานครูเทศบาลในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์มีการจัดการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญจริง ( Χ =3.65) และมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญจริงเกี่ยวกับ สภาพแวดล้อม/บรรยากาศของการเรียนรู้ ปัจจัยเบื้องต้นของการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลผลิต ของการเรีย นรู้ ส่วนปัญ หาอุปสรรคการจัด การเรีย นการสอนที่เ น้น ผู้เรีย นเป็น สํา คัญ ที่พบมากที่สุด คือ ข้อจํากัดในเรื่องของเวลาและเนื้อหาทีเ่ รียนมีมากเกินไป ทําให้การทํากิจกรรมไม่เต็มที่เท่าที่ควร ตัวบ่งชี้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญของพนักงานครูเทศบาลในโรงเรียนสังกัด เทศบาลนครนครสวรรค์ที่พัฒนาขึ้น (Secondary Development) มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญประกอบด้วย 13 ตัวบ่งชี้ 41 ตัวชี้วัดจาก 42 ตัวบ่งชี้ย่อย คําสําคัญ: การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

1

ผู้ชํานาญการพิเศษ รองผู้อํานวยการ โรงเรียนเทศบาลวัดพรหมจริยาวาส


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

Chalida Klankaew

Abstract The majority of teachers in the municipal schools under the Nakorn Sawan Municipality Administration were female, 34.91 years old in average, married, holders of bachelor’s degree, and responsible for teaching at elementary level (grades 1-6) with averaged work experience of 14.82 years and averaged income of 10,001-20,000 baht per month. The indicators of student-centered learning management, which involved atmosphere/environment of learning, fundamental inputs of learning, learning process, and learning outputs averaged 3.65 from the total scaled score of 4.00. By confirmatory factor analytical technique, it was demonstrated that the indicators were created consistently with empirical data. The student-centered learning management assessment patterns created by third order confirmatory factor analysis technique consisted of 4 factors, and 13 indicators, comprising of which 41 out of 42 items. Main problems and obstacles of student-centered learning management found were namely, the constraint and limit of time in the classroom, excessive content, and difficulty to provide adequate activities for students.

Key words: Student-Centered Learning Management


65 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา “ผู้ เ รี ย น เ ป็ น ศู น ย์ ก ล า ง ” (Studentcentered)” สํ าหรับครูยั งคงมีความเข้ าใจสับสนใน ความหมายและแนวทางปฏิ บั ติ ที่ ห ลากหลาย เนื่องจากการดําเนินงานเพื่อการปฏิรูปการศึกษาที่ ผ่านมายังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดการเรียน การสอนที่ เน้ นผู้ เรี ยนเป็ นสํ าคั ญ แม้ ว่ าสํ านั กงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) จะพยายาม รวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการ สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และมีโครงการอบรมให้ตัวแทนของกรมสังกัดต่างๆ นําไปขยายผลให้ความรู้แก่ครูมาแล้วหลายโครงการก็ ตาม แต่ก็ยังไม่ประสบผลสําเร็จมากนัก เนื่องจากทั้ง ผู้ให้และผู้รับการอบรมต่างก็ยังไม่มีความเข้าใจพอทั้ง ในเรื่องแนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติ ทําให้ผู้รับการ อบรมไม่สามารถนําไปขยายผลได้ (วีรนุช ปิณฑวณิช, 2548) เมื่ อครูยั งมีความเข้ าใจอย่างหลากหลายใน หลั กการ แนวคิ ดตลอดจนวิ ธี ปฏิ บั ติ เกี่ ยวกั บการ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ จึงทําให้ แต่ละคนลังเล และไม่แน่ใจว่าแนวทางที่ตนปฏิบัติอยู่ นั้นเป็นแนวทางที่ถูกต้องหรือไม่ ไม่มีความชัดเจนใน เรื่องแนวคิด หลักการ ความหมาย ตลอดจนตัวบ่งชี้ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ และ แนวทางปฏิบัติ ในการจัดการเรียน การสอนที่เน้น ผู้เรี ยนเป็นสํ าคัญ จึงทําให้สอนแบบเก่าๆ กลั บมา เป็ นแนวทางหลั กในการจั ดการเรี ย นสอนของครู นัน่ เอง เมื่อสภาพการณ์เป็นเช่นนี้ ตัวบ่งบอกที่ใช้ใน การประเมิ น การจั ด การเรี ย นการสอน เพื่ อ การ ปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนจึงเป็น สิ่งจําเป็น เพราะการที่บุคคลได้ทราบผลการกระทํา ของบุ ค คลนั้ น น่ า จะปรั บ ปรุ ง พั ฒ นางานให้ มี ประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าผู้ที่ไม่ทราบผลการกระทํา

ของตน และนอกจากจะทําให้เพิ่มคุณภาพของงาน แล้ ว ยั งอาจช่ วยให้ เกิ ดแรงจู งใจในการทํ างานให้ บ ร ร ลุ ผ ล ต า ม เ ป้ า ห ม า ย อี ก ด้ ว ย ดั ง ที่ ไพฑู รย์ สิ นลารั ตน์ (2544) ได้ กล่ าวว่ า การที่ จ ะ ปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นากิ จ การใดๆ ให้ ดี และมี ประสิ ท ธิ ภ าพ จํ า เป็ น อย่ า งยิ่ งที่ จ ะต้ องมองและ ประเมินสภาพปัจจุบันของสิ่งนั้นก่อน เพื่อที่จะเทียบ ดูว่าสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันกับสิ่งที่ควรจะเป็นแตกต่าง กั น มากน้ อ ยอย่ า งไร จะแก้ ไ ขปรั บ ปรุ ง อย่ า งไร เช่นเดียวกับการสอนถ้าต้องการจะปรับปรุงพัฒนาให้ ดีขึ้น ก็ควรประเมินดูว่าขณะนี้มีสภาพเป็นเช่นไร มี ปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง เพื่อที่จะดํ าเนินการ ปรับปรุงให้เหมาะสมต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้ หากมีตัว บ่งชี้ วั ดการจัดการเรี ยนการสอนที่ เน้นผู้ เรียนเป็ น สําคัญอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล แล้ว จะช่ วยให้ครูและผู้เกี่ ยวข้องได้ทราบข้อมูลที่ เป็ น ประโยชน์ สํ า หรั บ การปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นา การจั ดการเรี ยนการสอนได้ อย่ างมี ประสิ ทธิ ภาพ ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ ก า ร ป ฏิ รู ป ก า ร ศึ ก ษ า ต า ม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการกํากับ ติดตาม และ ตัดสินใจทางด้านการบริหารได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาตัวบ่งชี้การจัดการเรียนการ สอนที่ เ น้ น ผู้ เ รี ย นเป็ น สํ า คั ญ ของพนั ก งานครู เทศบาลในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคการจัดการ เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญของพนักงาน ครู เ ทศบาลในโรงเรี ย นสั ง กั ด เทศบาลนคร นครสวรรค์


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

3. เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการเรียนการ สอนที่ เ น้ น ผู้ เ รี ย นเป็ น สํ า คั ญ ของพนั ก งานครู เทศบาลในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ กรอบแนวคิดการวิจัย

องค์ประกอบที่ 1 สภาพแวดล้อม/บรรยากาศการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ 1. ลักษณะการจัดห้องเรียน (ตัวชี้วัดที่ 1–3) ตัวบ่งชี้ 2. การจัดสรรพื้นที่ชั้นเรียน (ตัวชี้วัดที่ 1–2) ตัวบ่งชี้ 3. บรรยากาศการเรียนรู้ (ตัวชี้วัดที่ 1–3)

องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยเบื้องต้นของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ 4. การวางแผนการจัดการเรียนรู้ (ตัวชี้วัดที่ 1–5) ตัวบ่งชี้ 5. การเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ (ตัวชี้วัดที่ 1–3) องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ 6. บทบาทของผู้สอนในการจัดกระบวนการเรียนรู้ (ตัวชี้วัดที่ 1–3) ตัวบ่งชี้ 7. สัดส่วนของเวลาที่ใช้ในการดําเนินกิจกรรมการเรียน การสอน (ตัวชี้วัดที่ 1–3) ตัวบ่งชี้ 8. ลักษณะกิจกรรรมการเรียนการสอน (ตัวชี้วัดที่ 1–3) ตัวบ่งชี้ 9. พฤติกรรมของผู้สอนในการดําเนินกิจกรรม (ตัวชี้วัดที่ 1–3) ตัวบ่งชี้ 10. ลักษณะการมีส่วนร่วมในกิจกรรมผู้เรียน (ตัวชี้วัดที่ 1–3) ตัวบ่งชี้ 11. พฤติกรรมของผู้เรียนในการร่วมกิจกรรม(ตัวชี้วัดที่ 1–3) องค์ประกอบที่ 4 ผลผลิตของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ 12. การประเมินการเรียนรู้ (ตัวชี้วัดที่ 1–3) ตัวบ่งชี้ 13. ผลที่คาดหวังในตัวผู้เรียน (ตัวชี้วัดที่ 1–4)

การจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ


67 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

สมมติฐานในการวิจัย ตั ว บ่ ง ชี้ ก ารจั ด การเรี ย นการสอนที่ เ น้ น ผู้ เ รี ย นเป็ น สํ า คั ญ ของพนั ก งานครู เ ทศบาลใน โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ที่พัฒนาขึ้น มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

การทบทวนวรรณกรรม การจัดการเรีย นการสอนที่เน้น ผู้เรีย นเป็น สําคัญ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ หมายถึ ง กระบวนการพั ฒ นาร่ า งกาย จิ ต ใจ สติปัญญาความรู้และคุณธรรมของผู้เรียน โดยยึด ผู้เรียนเป็นแกนกลางของการสร้างและพัฒนาความ เจริญงอกงาม สร้างการมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วม กระทํ า ระหว่า งผู้เ รีย นกั บ ผู้ เ รี ย น และผู้ เ รี ย นกั บ ผู้สอนด้วยการใช้ยุทธวิธีที่หลากหลายและยืดหยุ่น คํานึงถึงความสามารถที่แตกต่างกันของผู้เรียน โดย มีผู้ส อนเป็นผู้ร่ว มวางแผนจัด กิจ กรรมการเรียนรู้ เป็ น ผู้ กระตุ้ น ส่ง เสริม ความคิ ด และอํ า นวยความ สะดวกให้ ผู้ เ รี ย นมี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ท างสั ง คม พั ฒ นา ตนเองอย่า งเต็มที่ สอดคล้องกับ ศักยภาพ ความ ต้องการความถนัดและความสนใจของผู้เรียน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ พั ฒ นาตั ว บ่ ง ชี้ก ารเรี ย นการสอนที่ผู้ เ รี ย นเป็ น สําคัญ โดยทํา การสังเคราะห์ทฤษฎีการเรีย นรู้ 5 ทฤษฎี ได้แก่ 1) ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข 2) ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมี ส่วนร่วม 3) ทฤษฎีการ เรีย นรู้เ พื่อพัฒนากระบวนการคิด 4) ทฤษฎีการ เรียนรู้เพื่อพัฒ นาลักษณะนิสัย : การฝึกฝน กาย วาจา ใจ และ 5) ทฤษฎี ก ารเรี ย นรู้ เ พื่ อ พั ฒ นา สุนทรียภาพ : ศิลปะ ดนตรี กีฬา ภายหลังจากการ สังเคราะห์ทฤษฎีดังกล่าวแล้วทําให้ได้ตัวบ่งชี้การ เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญแยกออกมา และจัดหมวดหมู่เป็นตัวบ่งชี้การเรียนจํานวน 58

ตั ว บ่ ง ชี้ และตั ว บ่ ง ชี้ ก ารสอนของครู จํ า นวน 52 ตั ว บ่ ง ชี้ (สํ า นั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษา แห่งชาติ, 2547) โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์นั้น ปัจจุบัน อยู่ ในสังกัด สํา นักการศึกษาเทศบาลนคร นครสวรรค์ กรมส่ ง เสริ ม การปกครองท้ อ งถิ่ น กระทรวงมหาดไทย มีบทบาทหน้าในภารกิจหลัก 7 กลุ่มงานคือ งานบริหารทั่วไป งานธุรการ งาน วิช าการ งานปกครองนัก เรี ย น งานบริ การ งาน สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และการบริหารงาน อาคารสถานที่ แต่ ใ นปั จ จุ บั น บทบาทหน้ า ที่ ขอบข่ า ยและภารกิ จ การบริ ห ารและจั ด การ โรงเรียนใหม่นั้น ได้ปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมและบูรณา การกํ า หนดเป็ น 4 ด้ า น (กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร, 2546) ซึ่งประกอบด้วย 1) การบริหารงานวิชาการ 2) การบริ ห ารงบประมาณ 3) การบริ ห ารงาน บุ ค คล และ 4) การบริ ห ารทั่ ว ไป ซึ่ ง ลั ก ษณะ ดังกล่า วจะมีผ ลต่อการดํา เนิน งานในการบริห าร โรงเรี ย นทั้ ง ในด้า นการวางแผน การจัด องค์ การ การนําและการกํากับควบคุมติดตามงาน และการ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งที่ เกี่ยวข้องกับภายในและ ภายนอกโรงเรียนด้วย (ศิริชัย กาญจนวาสี, 2545; สําเริง บุญเรืองรัตน์, 2548)

วิธีดําเนินการวิจัย ประเภทการวิจัย การวิจัยเชิงสํารวจและ พัฒนา (Survey and Development Research) ประชากรที่ใช้ ในการวิจัย คือพนักงานครู เทศบาลโรงเรี ย นสั ง กั ด นครนครสวรรค์ ใ นปี กา ร ศึ ก ษา 2 5 5 3 จํ า น ว น ทั้ ง สิ้ น 3 4 4 ค น ประกอบด้วย โรงเรียนเทศบาลวัดไทรใต้ (43 คน) โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ําโพใต้ (35 คน) โรงเรียน เทศบาลวั ด พรหมจริ ย าวาส (52 คน) โรงเรี ย น


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

เทศบาลวั ด วรนาถบรรพต (58 คน) โรงเรี ย น เทศบาลวั ด ช่ อ งคี รี ศ รี สิ ท ธิ ว ราราม (46 คน) โรงเรี ย นเทศบาลวั ด จอมคี รี น าคพรต (55 คน) โรงเรีย นเทศบาลวัด สุคตวราราม (32 คน) และ โ ร ง เ รี ย น เ ท ศ บ า ล วั ด ไ ท ร เ ห นื อ ( 2 3 ค น ) (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2553) เครื่ อ งมื อ ที่ ใ ช้ ใ นการวิ จั ย แบบสอบถาม (Questionnaires) ได้ผ่ า นการวิ เ คราะห์ ความ เที่ย งตรงด้า นเนื้อหาของแบบประเมิน (Content Validity) โดยการหาค่ า (Item Objective Congruence : IOC) โดยคณะผู้เชี่ยวชาญจํานวน 5 ท่าน ข้อคําถามในแบบประเมินที่มีค่าดัชนีความ สอดคล้ อ งระหว่ า งเนื้ อ หาในข้ อ คํ า ถามกั บ วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป จึงมีความ เหมาะสมที่จะนําไปใช้ในการเก็บข้อมูลต่อไป (กรม วิชาการ. 2545 : 84) ตลอดจนหาความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้ สู ต รสั ม ประสิ ท ธิ์ แ อลฟา (Alpha Coefficient) ของ ครอนบาช (Cronbach, J., 2003: 204) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับสูงมาก เท่ากับ 0.9710 ผ่านเกณฑ์ 0.70 ขึ้นไป จึงมีความ เหมาะสมที่จะนําไปใช้ในการเก็บข้อมูลจริงต่อไป (Cronbach, J. 2003: 204)

การเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล จากพนักงาน ครูเทศบาลในโรงเรียนสังกัดเทศบาล นครนครสวรรค์ จํานวนทั้งสิ้น 344 คน ระหว่า ง วันที่ 1-31 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ด้วยแบบสอบถาม ซึ่งสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจริงได้ จํานวนทั้งสิ้น 337 คน ส่วนที่เหลืออีก 7 คนได้ลาศึกษาต่อทั้งใน และต่ า งประเทศ หลั ง จากนั้ น นํ า ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ ไ ป ตรวจสอบความถูกต้องวิเคราะห์ผลพร้อมทั้งสรุป ผลงานวิจัยต่อไป การวิเ คราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่า สถิติต่า งๆ ไ ด้ แ ก่ ก า ร แ จ ก แ จ ง ค ว า ม ถี่ (Frequency

ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าต่ําสุด (Minimum) ค่าสูงสุด (Maximum) ค่าเฉลี่ยเลข คณิต (Arithmetic Mean) ค่า ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) และการ วิเ คราะห์องค์ประกอบเชิงยืน ยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) (นงลั กษณ์ วิ รั ช ชั ย , 2542) Distribution)

ผลการวิจัย ข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คล พบว่ า พนั ก งานครู เทศบาลในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 79.5 มี อายุเฉลี่ย 34.91 ส่วนใหญ่สมรสแล้ว คิดเป็นร้อย ละ 56.4 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีโดยส่วน ใหญ่คิดเป็นร้อยละ 73.9 คิดเป็นจํานวนปีที่ศึกษา เฉลี่ย 17.91 ปี มีประสบการณ์ในการทํางานเฉลี่ย 14.82 ปี ส่ ว นใหญ่ จ ะรั บ ผิ ด ชอบดู แ ลระดั บ ชั้นประถมศึกษา (ป.1-ป.6) คิดเป็นร้อยละ 59.6 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท จํานวน มากที่สุดถึงร้อยละ 32.6 ตั ว บ่ ง ชี้ ก ารจั ด การเรี ย นการสอนที่ เ น้ น ผู้เ รียนเป็นสํา คัญ พบว่า พนักงานครูเ ทศบาลใน โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์มีการจัดการ เรี ย นการสอนที่ เ น้น ผู้ เ รี ย นเป็ น สํ า คัญ จริ ง ( Χ = 3.65) โดยมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสําคัญจริงเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม/บรรยากาศ ของการเรียนรู้ ( Χ =3.63) ปัจจัยเบื้องต้นของการ เรียนรู้ ( Χ =3.52) กระบวนการเรียนรู้ ( Χ =3.64) และผลผลิตของการเรียนรู้ ( Χ =3.82) ตามลําดับ นอกจากนี้พนักงานครูเทศบาลในโรงเรียน สั ง กั ด เทศบาลนครนครสวรรค์ ป ระสบปั ญ หา อุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสําคัญมากที่สุด 3 เรื่องด้วยกันได้แก่ ข้อจํากัด


69 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

ในเรื่องของเวลาและเนื้อหาที่เรียนมีมากเกินไป ทํา ให้ ก ารทํ า กิ จ กรรมไม่ เ ต็ ม ที่ เ ท่ า ที่ ค วร รองลงมา ได้แก่ ขาดความพร้อมของแหล่งข้อมูล โดยเฉพาะ หนั ง สื อ และระบบอิ น เทอร์ เ น็ ต และผู้ เ รี ย น บางรายไม่กล้าแสดงความคิดเห็น หรือซักถาม ข้อ สงสัย หรือเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามลําดับ ผลการวิ เ คราะห์ อ งค์ ป ระกอบเชิ ง ยื น ยั น (Confirmatory Factor Analysis: CFA) พบว่า ตัวบ่งชี้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สํา คัญ ของพนักงานครูเ ทศบาลในโรงเรีย นสังกัด เทศบาลนครนครสวรรค์ ที่ พั ฒ นาขึ้ น มี ค วาม กลมกลื น กั บ ข้ อ มู ล เชิ ง ประจั ก ษ์ จึ ง ยอมรั บ สมมติ ฐานที่ตั้ง ไว้ สรุป ผลการวิเ คราะห์โ มเดล องค์ประกอบของตัวบ่งชี้การจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญของพนักงานครูเทศบาลใน โรงเรี ย นสั ง กั ด เทศบาลนครนครสวรรค์ ที่ ด้ ว ย โปรแกรมสําเร็จรูป AMOS Version 6.0 พบว่า โมเดลองค์ ป ระกอบของตัว บ่งชี้ การจั ด การเรีย น การสอนที่ เ น้ น ผู้ เ รี ย นเป็ น สํ า คั ญ ที่ พั ฒ นาขึ้ น มี ความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่พัฒนาขึ้นมี ความสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ เนื่องจาก การทดสอบไค-สแควร์ (Chi-square) ไม่ มี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P-value ≥ 0.05) ค่าดัชนีทุกตัวได้แก่ GFI, AGFI, NFI, IFI, CFI ผ่านเกณฑ์ที่กําหนดตั้งแต่ 0.90 ขึ้นไป ส่วนดัชนีที่ กําหนดไว้ที่ระดับน้อยกว่า 0.05 พบว่า ดัชนี RMR และ RMSEA ก็ผ่านเกณฑ์เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ดัชนี CMIN/DF มีค่าเท่ากับ 1.272 ซึ่งเข้าใกล้ 1 ด้ว ย อีกทั้ งการวิเ คราะห์องค์ป ระกอบเชิงยืน ยั น (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ยังพบว่า ตั ว บ่ ง ชี้ ที่ พั ฒ นาแล้ ว และถู ก คั ด เลื อ กในแต่ ล ะ องค์ประกอบที่มีความเที่ยงตรง (Validity) โดยมี ค่าน้ําหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ตั้งแต่

0.30 ขึ้นไป ส่วนตัวบ่งชี้และตัวชี้วัดในตัวบ่งชี้การ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญที่มีค่า น้ําหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ไม่ถึง 0.30 จะถูกคัดออก (กัลยา วานิชย์บัญชา, 2546) ซึ่งในที่นี้พบว่า 13 ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมในการ วัดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ แต่ จ ะมี เ พี ย ง 1 ตั ว ชี้ วั ด (ตั ว บ่ ง ชี้ ย่ อ ย) จาก 42 ตัวชี้วัด (ตัวบ่งชี้ย่อย) ใน 13 ตัวบ่งชี้ที่ถูกคัดออก เนื่องจากค่า น้ํา หนักองค์ป ระกอบของตัว ชี้วัด Id 2.3 (การจัดสรรพื้นที่ชั้นเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด การเรีย นรู้ร่ว มกับ ผู้อื่น ) มีค่า Factor Loading = 0.294) ซึ่งไม่ถึง 0.30 จะเหลือตัวชี้วัด (ตัวบ่งชี้ ย่อย) การจัด การเรีย นการสอนที่เ น้น ผู้เ รียนเป็น สําคัญ รวมจํานวนทั้งสิ้น 41 ตัวชี้วัด (ตัวบ่งชี้ย่อย) ใน 13 ตัวบ่งชี้ (ตารางที่ 2) ซึ่งสามารถนําเสนอใน โมเดลองค์ประกอบของตัวบ่งชี้การเรียนการสอนที่ เน้น ผู้ เ รีย นเป็น สํ า คัญ ที่ พัฒ นาขึ้น ในรูป ประหยั ด (Parsimonious Model) ได้ดังภาพที่ 2


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

ตารางที่ 2 สรุปตัวบ่งชี้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญที่พัฒนาด้วยเการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยันอันดับสาม ตัวบ่งชี้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ องค์ประกอบที่ 1 สภาพแวดล้อม/บรรยากาศของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ที่ 1 ลักษณะการจัดห้องเรียน 1. ในแต่ละรายวิชามีการจัดมุมสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วย ตนเองอยู่ในห้องเรียน เช่นมีโต๊ะแสดงผลงานชิ้นงานของนักเรียน มีมุมความรู้ ตะกร้า ความรู้ เป็นต้น 2. มีการจัดโต๊ะ เก้าอี้ทสี่ ะดวกต่อการจัดกลุ่มผูเ้ รียนส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทํากิจกรรม พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน 3. มีการปรับเปลี่ยนชั้นเรียนตามกิจกรรมและสถานการณ์ ส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ระหว่างผูเ้ รียนกับครูและผูเ้ รียนกับผู้เรียน ตัวบ่งชี้ที่ 2 การจัดสรรพื้นที่ชั้นเรียน 1. มีการจัดกลุ่มผูเ้ รียนตามศักยภาพ ความถนัด ความสนใจของผูเ้ รียน 2. มีการจัดสรรพื้นที่ชั้นเรียนส่งเสริมให้ผเู้ รียนเกิดการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง 3. มีการจัดสรรพื้นที่ชั้นเรียนส่งเสริมให้ผเู้ รียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ตัวบ่งชี้ที่ 3 บรรยากาศการเรียนรู้ 1. ผู้สอนจัดบรรยากาศการเรียนรูท้ ี่เป็นกันเอง ส่งเสริมการกล้าแสดงออก การร่วมคิด และร่วมกระทํา 2. ผู้สอนรับฟังความคิดเห็นและให้อิสระแก่ผู้เรียนในความคิดเห็นและการตัดสินใจ 3. ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผเู้ รียนซักถาม เมื่อผู้เรียนเกิดข้อสงสัยในวิธีการเรียนรูแ้ ละเนื้อหาทีเ่ รียน องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยเบื้องต้นของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ที่ 4 การวางแผนการจัดการเรียนรู้ 1. ผู้สอนทําแผนการจัดการเรียนรูท้ ี่แสดงถึงการเตรียมกิจกรรม การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ การเตรียมการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติเอง 2. ผู้สอนวางแผนการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทีส่ อดคล้องกับ จุดมุ่งหมายของหลักสูตรสอดคล้องกับศักยภาพ/ความต้องการความสนใจของผู้เรียน 3. ผู้สอนวางแผนการจัดกิจกรรมโดยมุ่งสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนบนพื้นฐาน ประสบการณ์เดิม 4. ผู้สอนวางแผนการจัดกิจกรรมโดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงความรู้ในแต่ละวิชาที่มีเนื้อหา เกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน 5. ผู้สอนวางแผนการจัดกิจกรรม โดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านความรู/้ ความถนัด/ความสนใจของผูเ้ รียน ตัวบ่งชี้ที่ 5 การเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ 1. ผู้สอนเตรียมแหล่งข้อมูลในการแสวงหาความรูต้ ่าง ๆ สําหรับผู้เรียนทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน 2. ผู้สอนเตรียมการประเมินผลด้วยวิธีที่หลากหลาย โดยใช้การทดสอบร่วมกับวิธีอื่นๆ เช่น การสังเกต การทําแบบฝึกหัดหรือชิ้นงาน เป็นต้น 3. ผู้สอนเป็นผู้กระตุ้น ส่งเสริม อํานวยความสะดวกให้ผเู้ รียน เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

น้ําหนักองค์ประกอบ ตัวบ่งชี/้ ตัวชี้วัด (Factor Loading) ที่ถูกคัดเลือก 0.790

0.673

0.754

0.460 0.497 0.750 0.758 0.294 0.855

0.572 0.694 0.624

0.761

0.703

0.823

0.731 0.624

0.996 0.837

0.678

0.786 0.799


71 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

ตารางที่ 2 (ต่อ) สรุปตัวบ่งชี้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญที่พัฒนาด้วยเการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสาม ตัวบ่งชี้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการเรียนรู้ ตัวบ่งชีท้ ี่ 6 บทบาทของผู้สอนในการจัดกระบวนการเรียนรู้ 1. ผู้สอนจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์เรียนรู้ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมคิด วางแผน และทํากิจกรรม 2. ผู้สอนจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์เรียนรู้ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ และ ทักษะได้ด้วยตนเอง 3. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ด้วยวิธีการหลากหลายและต่อเนื่อง เช่น ประเมินโดยผู้สอนร่วมกับผู้เรียน และประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน ตัวบ่งชี้ที่ 7 สัดส่วนของเวลาที่ใช้ในการดําเนินกิจกรรม การเรียนการสอน 1. ผู้สอนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติมากกว่าการบรรยายโดยมีสัดส่วนไม่ต่ํากว่า 60:40 2. ผู้สอนอุทิศเวลาหลังเลิกเรียนเพื่อดําเนินกิจกรรม การเรียนการสอนหรือสอนซ่อมเสริมเพิ่มเติม 3. ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงได้ง่ายเพื่อซักถามภายหลังเลิกเรียนหรือยามเวลาว่าง ตัวบ่งชี้ที่ 8 ลักษณะกิจกรรรมการเรียนการสอน 1. ผู้สอนกระตุน้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั้งภายในกลุม่ และระหว่างกลุ่ม 2. ผู้สอนส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3. ผู้สอนส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายในการทํากิจกรรม ตัวบ่งชี้ที่ 9 พฤติกรรมของผู้สอนในการดําเนินกิจกรรม 1. มีการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนขณะทํากิจกรรมเพื่อวินิจฉัยปัญหาการเรียนรู้และ นํามาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น 2. ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ กําหนดไว้ 3. ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนนําประสบการณ์เดิมมาเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ เพื่อนํา ความรู้หรือทักษะที่ได้ไปใช้ ตัวบ่งชี้ที่ 10 ลักษณะการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของผูเ้ รียน 1. ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจนได้ผลสรุปขององค์ความรู้

น้ําหนักองค์ประกอบ ตัวบ่งชี/้ ตัวชี้วัด (Factor Loading) ที่ถูกคัดเลือก 0.766 0.673

0.672

0.706

0.876 0.428 0.815

0.720 0.918 0.503 0.722 0.575 0.660 0.602

0.618

0.733

0.709 0.587

Chi-square = 981.980, df = 772, P-value = 0.072, CMIN/DF = 1.272, GFI = 0.982, AGFI = 0.945, NFI = 0.930, IFI = 0.908,CFI =1.000, RMSEA = 0.033


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

2 ! " #$" % !& ' ( ) * $ + (Parsimonious Model)

องค์ประกอบที่ 1 สภาพแวดล้อม/บรรยากาศการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ 1. ลักษณะการจัดห้องเรียน (ตัวชี้วัดที่ 1–3) ตัวบ่งชี้ 2. การจัดสรรพื้นที่ชั้นเรียน (ตัวชี้วัดที่ 1–2) ตัวบ่งชี้ 3. บรรยากาศการเรียนรู้ (ตัวชี้วัดที่ 1–3)

องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยเบื้องต้นของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ 4. การวางแผนการจัดการเรียนรู้ (ตัวชี้วัดที่ 1–5) ตัวบ่งชี้ 5. การเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ (ตัวชี้วัดที่ 1–3)

องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ 6. บทบาทของผู้สอนในการจัดกระบวนการเรียนรู้ (ตัวชี้วัดที่ 1–3) ตัวบ่งชี้ 7. สัดส่วนของเวลาที่ใช้ในการดําเนินกิจกรรมการเรียน การสอน (ตัวชี้วัดที่ 1–3) ตัวบ่งชี้ 8. ลักษณะกิจกรรรมการเรียนการสอน (ตัวชี้วัดที่ 1–3) ตัวบ่งชี้ 9. พฤติกรรมของผู้สอนในการดําเนินกิจกรรม (ตัวชี้วัดที่ 1–3) ตัวบ่งชี้ 10. ลักษณะการมีส่วนร่วมในกิจกรรมผู้เรียน (ตัวชี้วัดที่ 1–3) ตัวบ่งชี้ 11. พฤติกรรมของผู้เรียนในการร่วมกิจกรรม(ตัวชี้วัดที่ 1–3) องค์ประกอบที่ 4 ผลผลิตของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ 12. การประเมินการเรียนรู้ (ตัวชี้วัดที่ 1–3) ตัวบ่งชี้ 13. ผลที่คาดหวังในตัวผู้เรียน (ตัวชี้วัดที่ 1–4)

การจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

การจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ


73 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

อภิปรายผล ตั ว บ่ ง ชี้ ก ารจั ด การเรี ย นการสอนที่ เ น้ น ผู้ เ รี ย นเป็ น สํ า คั ญ ของพนั ก งานครู เ ทศบาลใน โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ ผลการวิจัย ครั้งนี้พ บว่า องค์ป ระกอบที่ สํา คัญ ในการจัด การ เรี ย นการสอนที่ เ น้ น ผู้ เ รี ย นเป็ น สํ า คั ญ มี 4 องค์ประกอบคือ สภาพแวดล้อม/บรรยากาศการ เรียนรู้ ปัจจัยเบื้องต้นของการเรียนรู้ กระบวนการ เรียนรู้ และผลผลิตของการเรียนรู้ ซึ่งองค์ประกอบ ด้ ว ย 4 องค์ ป ระกอบดั ง กล่ า ว มี ค วามเกี่ ย วข้ อ ง สัมพันธ์กันในเชิงตรรกะ ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้ เห็น ว่า ในการจัด การเรียนการสอนที่เ น้น ผู้เ รีย น เป็ น สํ า คั ญ ควรพิ จ ารณาเชิ ง ระบบ (System Approach) อย่างรอบด้าน โดยแต่ละองค์ประกอบ ประกอบด้ว ยตัวบ่งชี้ห ลักๆ รวม 13 ตัวบ่งชี้ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 สภาพแวดล้อม/บรรยากาศการ เรียนรู้ (Context) ประกอบด้วยตัวบ่งชี้หลัก 3 ตัว ได้แก่ (1) ลักษณะการจัดห้องเรียน (2) การจัดสรร พื้ น ที่ ชั้ น เรี ยน ( 3) บ รร ยา กา ศก าร เรี ยน รู้ องค์ ป ระกอบที่ 2 ปั จ จัย เบื้อ งต้ น ของการเรี ย นรู้ (Input) ประกอบด้วยตัวบ่งชี้หลัก 2 ตัว ได้แก่ (1) การวางแผนการจั ด การเรี ย นรู้ (2) การเตรี ย ม กิจกรรมการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการ เรียนรู้ (Process) ประกอบด้วยตัวบ่งชี้หลัก 6 ตัว ได้แก่ (1) บทบาทผู้สอนการจัดกระบวนการเรียนรู้ (2) สัดส่วนของเวลาที่ใช้ในการดําเนินกิจกรรมการ เรียนการสอน (3) ลักษณะกิจกรรรมการเรียนการ สอน (4) พฤติกรรมผู้ส อนในการดําเนินกิจกรรม (5) ลั ก ษณะการมี ส่ ว นร่ ว มกิ จ กรรมผู้ เ รี ย น (6) พฤติ ก รรมของผู้ เ รี ย นในการร่ ว มกิ จ กรรม และ องค์ ป ระกอบที่ 4 ผลผลิ ต ของการเรี ย นรู้ (Product) ประกอบด้วยตัวบ่งชี้หลัก 2 ตัว ได้แก่

(1) การประเมินการเรียนรู้ (2) ผลที่คาดหวังในตัว ผู้เรียน ใ น ก า ร จั ด ลํ า ดั บ ค ว า ม สํ า คั ญ ข อ ง องค์ประกอบ 4 องค์ประกอบในการจัดการเรียน การสอนที่ เ น้ น ผู้ เ รี ย นเป็ น สํ า คั ญ พนั ก งานครู เทศบาลในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ ได้ให้ความสําคัญกับองค์ประกอบด้านกระบวนการ เรียนรู้ (Process) เป็นลําดับที่ 1 โดยมีน้ําหนัก องค์ประกอบเท่ากับ 1.018 สามารถอธิบายการผัน แปรได้ร้อยละ 103.7 รองลงมาได้แก่ องค์ประกอบ ด้ า นสภาพแวดล้ อ ม/บรรยากาศของการเรี ย นรู้ (Context) ปัจจัยเบื้องต้นของการเรียนรู้ (Input) และผลผลิตของการเรียนรู้ (Product) ซึ่งมีน้ําหนัก องค์ประกอบเท่ากับ 0.973, 0.908 และ 0.750 และสามารถอธิบายการผันแปรได้ ร้อยละ 94.7, 82.5 และ 56.2 ตามลํา ดับ แสดงให้เ ห็น มุมมอง ของกลุ่ ม ที่ ศึ ก ษา ซึ่ ง เป็ น ครู ผู้ ส อนในระดั บ ก่ อ น ประถมศึก ษา ประถมศึกษา และมัธ ยมศึกษาใน โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ที่มีความรู้ ความชํา นาญและประสบการณ์ ในวิช าชีพที่ส อน ในการพิ จ ารณาการจั ด การเรี ย นการสอนที่ เ น้ น ผู้ เ รี ย นเป็ น สํ า คั ญ ควรพิ จ ารณาที่ คุ ณ ภาพของ กระบวนการเรีย นรู้ สภาพแวดล้อม/บรรยากาศ ของการเรียนรู้ และปัจจัยเบื้องต้นของการเรียนรู้ เป็นหลัก (อธิบายการผันแปรรวมได้สูงถึงร้อยละ 280.9) ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย 11 ตั ว บ่ ง ชี้ ห ลั ก (1) บทบาทผู้ ส อนการจั ด กระบวนการเรี ย นรู้ (2) สัด ส่ ว นของเวลาที่ ใ ช้ ในการดํ า เนิ น กิ จ กรรมการ เรียนการสอน (3) ลักษณะกิจกรรมการเรียนการ สอน (4) พฤติกรรมผู้ส อนในการดําเนินกิจกรรม (5) ลั ก ษณะการมี ส่ ว นร่ ว มกิ จ กรรมผู้ เ รี ย น (6) พฤติกรรมของผู้เรีย นในการร่วมกิจกรรม (7) ลักษณะการจัดห้องเรียน (8) การจัดสรรพื้นที่ชั้น


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

เรียน (9) บรรยากาศการเรียนรู้ (10) การวางแผน การจัด การเรี ย นรู้ (11) การเตรี ย มกิ จ กรรมการ เรี ย นรู้ ส่ ว นองค์ ป ระกอบด้ า นผลผลิ ต ของการ เรียนรู้เป็นตัวเสริม (อธิบายการผันแปรรวมได้ร้อย ละ 56.2) เมื่อวิเคราะห์ลงลึกในรายละเอียดของตัว บ่งชี้ พบว่าตัวบ่งชี้ที่สําคัญที่สุดือ ลักษณะกิจกรร รมการเรียนการสอน รองลงมาได้แก่ สัดส่วนของ เวลาที่ใช้ในการดําเนินกิจกรรมการเรียนการสอน บรรยากาศการเรียนรู้ และการเตรียมกิจกรรมการ เรียนรู้ นอกจากนี้ยังพบว่า ส่วนใหญ่เ ป็นตัวบ่งชี้ เกี่ยวข้องกับครู ผู้สอนเป็นสําคัญ สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ ส อนนั บ ว่ า เป็ น บุ ค คลที่ มี บ ทบาทสํ า คั ญ ในการ จัด การเรีย นการสอนที่เ น้น ผู้เ รีย นเป็น สํา คัญ ซึ่ ง สอดคล้องกับงานวิจัยของสํานักงานคณะกรรมการ การศึ ก ษาแห่ ง ชาติ (2543) พั ช รี ขั น อาสะวะ (2544) และสอดคล้องกับหลักการ แนวคิด การ จัดการเรีย นการสอนที่เ น้น ผู้เรียนเป็นสํา คัญ ของ ศิริชัย กาญจนาวสี (2547) ได้กล่าวว่า เงื่อนไขที่ จํ า เป็ น สํ า หรั บ การจั ด การเรี ย นการสอนที่ เ น้ น ผู้ เ รี ย นเป็ น สํ า คั ญ ประการหนึ่ ง คื อ ครู โดยครู จะต้องมี 1) ความรู้และทักษะ กล่าวคือ สามารถ เป็ น แหล่ ง ความรู้ ใ นเรื่ อ งนั้ น ได้ มี ค วามรู้ ค วาม เข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และสามารถจัด กิจกรรมได้หลากหลายสอดคล้องกับเป้าหมายการ เรียนรู้ของผู้เรียน 2) การสร้างบรรยากาศแห่งการ เรียนรู้ในชั้นเรียน ประกอบด้วย บรรยากาศที่เป็น ร ะ บ บ เ ปิ ด ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร แ ส ด ง อ อ ก อ ย่ า ง กระตื อรื อร้ น และ เป็ น บรรยากาศที่ เ อื้ อต่ อการ แสดงความเป็ น ตั ว ตนอย่ า งเป็น อิส ระ 3) บุค ลิ ก ลักษณะของครู กล่าวคือ ครูจะต้องมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ มีใจเปิดกว้าง ยอมรับผู้อื่น ตอบสนอง ได้ ไ ว อดทนต่ อ ความคลุ ม เครื อ ที่ เ กิ ด ขึ้ น และมี ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์

นอกจากนี้ ตั ว บ่ ง ชี้ ก ารจั ด การเรี ย นการ สอนที่ เ น้ น ผู้ เ รี ย นเป็ น สํ า คั ญ ของพนั ก งานครู เทศบาลในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ ที่พัฒ นาขึ้น (Secondary Development) และ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ใน 13 ตัว บ่งชี้หลัก มี 1 ตัว ชี้วัด จาก 42 ตัว ชี้วัด (ตัว บ่งชี้ ย่อย) ที่ถูกคัดออก เนื่องจาก น้ําหนักองค์ประกอบ ไม่ถึง 0.30 คือการจัดสรรพื้นที่ชั้นเรียนส่งเสริมให้ ผู้ เ รี ย นเกิ ด การเรี ย นรู้ ร่ ว มกั บ ผู้ อื่ น (น้ํ า หนั ก ความสํ า คั ญ น้ํ า หนั ก ความสํ า คั ญ เท่ า กั บ 0.294) ทั้ ง นี้ เ นื่ อ งจาก การจั ด สรรพื้ น ที่ ชั้ น เรี ย นเพื่ อ ทํ า กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ร่ ว มกั น จะขึ้ น อยู่ กั บ ความ เหมาะสมของขนาดของห้ อ งเรี ย น สภาพโต๊ ะ เก้าอี้ ว่าสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายหรือไม่ รวมถึง ข้อจํากัดของระยะเวลาเรียนเป็นสิ่งสําคัญ

ข้อเสนอแนะ 1. โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ ผลักดันโยบายการส่งเสริมการเรีย นรู้จ ากการทํา กิจกรรม (Activity Learning) เพื่อให้ความเข้าใจ ที่ ถ่ อ งแท้ และจดจํ า ได้ ง่ า ยขึ้ น สามารถนํ า องค์ ความรู้ที่ได้ไปบูรณาการเข้ากับสถานการณ์จริงใน ชี วิ ต ประจํ า วั น ได้ ซึ่ ง สามารถทํ า โดยการเชิ ญ วิ ท ยากรผู้ มี ค วามเชี่ ย วชาญโดยเฉพาะมาอบรม ฝึ ก ปฏิ บั ติ รู ป แบบการสอนให้ แ ก่ ค รู ผู้ ส อนใน โรงเรี ย น หรื อ การระดมสมองของครู ผู้ ส อนใน โรงเรี ย นเพื่ อ สร้ า งกิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ใ นแต่ ล ะ สาขาวิชาให้เกิดประโยชน์ในเชิงรูปธรรมแก่ผู้เรียน ตลอดจนการเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนได้ศึกษาดูงาน โรงเรีย นต้น แบบที่มีการนํา กิจ กรรมต่า งๆ มาทํา การเรี ย นการสอนเพื่ อให้เ กิด วิสัย ทัศน์ ความคิ ด สร้างสรรค์ และนํามาประยุกต์ ใช้เพื่อการจัดการ เรียนการสอนของตน


75 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

2. โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ ผลักดันนโยบายการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ด้วยการกระทํา (Learning by Doing) การเน้น การมีส่วนร่วม (Participation) ในกิจกรรมการ เรี ย นการสอน ทั้ ง ร่ ว มคิ ด ร่ ว มทํ า และนํ า ไปใช้ รวมถึ ง การสร้ า งแรงจู ง ใจในรู ป ของรางวั ล ทุนการศึกษา ประกาศนียบัตร เพื่อให้นักเรียนเกิด แรงจูง ใจในการทํากิจ กรรม ตลอดจนการขยาย ช่องทางการเรีย นรู้ โดยเฉพาะระบบอินเทอร์เ น็ต ร ะ บ บ ก า ร ศึ ก ษ า ท า ง ไ ก ล ผ่ า น ด า ว เ ที ย ม นอกเหนื อ จากตํ า ราเรี ย น เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความคิ ด สร้ า งสรรค์ ไม่ เ บื่ อ หน่ า ยต่ อ การเรี ย นจากตํ า รา แบบเดิมๆ 3. โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ ผลักดันมาตรการในปรับปรุงแผนการสอนรายวิชา โดยเน้ น เนื้ อ หาเฉพาะที่ สํ า คั ญ และมุ่ ง เน้ น ให้ นั ก เรี ย นเกิ ด การค้ น คว้ า เรี ย นรู้ ด้ ว ยตนเอง (Learning by Yourself) การทํา กิจ กรรมกลุ่ ม โครงการในวิชาที่เรียน เพื่อปลูกฝังการทํางานเป็น ทีม การกล้าแสดงความคิดเห็น ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้เรียนกับ ผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้สอน จัดสรรสื่อ การเรียนรู้ทั้งหนังสือ ตําราเรียน อินเทอร์เน็ต โดย การล็อกโดเมนเฉพาะเนื้อหาที่เหมาะสม รวมถึง ปรั บ รู ป แบบการสอนที่ มุ่ ง เน้ น การตอบคํ า ถาม ระหว่างเรียนโดยมีการให้คะแนน เพื่อสร้างความ กระตือรือร้น ความสนใจเรีย น ตลอดจนจัด ให้มี ห้องเรียนปฏิบัติการเฉพาะ เพื่อแก้ปัญหาการปรับ ห้องเรียน 4. โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ เร่งผลักดันนโยบายที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ สภาพแวดล้อม/บรรยากาศของการเรียนรู้ ปัจจัย เบื้ อ งต้ น ของการเรี ย นรู้ เป็ น เรื่ อ งเร่ ง ด่ ว น ส่ ว น ผลผลิ ต ของการเรี ย นรู้ เป็ น เรื่ อ งที่ ค วรผลั ก ดั น

นโยบายเสริมในกรณีที่งบประมาณและระยะเวลา มี เ หลื อ ซึ่ ง นโยบายที่ ค วรทํ า อย่ า งเร่ ง ด่ ว นคื อ การบู ร ณาการความรู้ เ ข้า กั บ รู ป แบบการดํ า เนิ น ชีวิตประจําวัน การประเมินผลก่อน ระหว่าง และ หลั ง การเรี ย นการสอน การปลู ก ฝั ง ให้ จั ด ทํ า ตารางเวลา/การแบ่ง เวลาการเรีย นรู้ และการใช้ ชี วิ ต ประจํ า วั น การปลู ก ฝั ง หลั ก ธรรมทางพุ ท ธ ศาสนามาใช้ ในการควบคุ มดู แ ลตนเอง การการ ปรับสภาพ/บรรยากาศการเรียนให้แลดูเสมือนบ้าน มีมุมการเรียนรู้โดยยึดหลักธรรมชาติ รวมถึงปรับ แผนการสอนเน้น การทํ า กิจ กรรมกลุ่ มและเดี่ ย ว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 5. โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ จัดสรรห้องปฏิบัติการเฉพาะเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ในภาคปฏิบตั ิร่วมกัน สามารถเรียนรู้ความแตกต่าง ทางความคิ ด ของผู้ อื่ น เกิ ด มุ ม มอรอบด้ า น 360 องศา จนสามารถสรุ ป เป็ น ความคิ ด รวบยอด (Concept) ง่ายต่อการจดจําและนําไปใช้ ตลอดจน นํา ตัวบ่งชี้วัดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็ น สํ า คั ญ ที่ ไ ด้ พั ฒ นาแล้ ว มาใช้ ใ นการวั ด การ จัดการเรีย นการสอนที่เ น้น ผู้เรียนเป็นสํา คัญ ของ พนักงานครูเทศบาลในโรงเรียนประจําปีการศึกษา ต่อๆ ไป


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

บรรณานุกรม กระทรวงศึ กษาธิการ. (2542). แนวทางการดํา เนิน งานการปฏิรูปการศึก ษาของกระทรวงศึ ก ษาธิก าร. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว. ________________. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. ________________. (2546). พระราชบัญญัติระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2553). ข้อมูลทั่วไปของในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์. นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL) สถิติวิเคราะห์สําหรับการวิจัยทาง สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พัชรี ขันอาสะวะ. (2544). การประเมินความต้องการจําเป็นในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น ศู น ย์ ก ลาง. วิ ทยานิ พนธ์ ป ริ ญ ญามหาบั ณฑิ ต ภาควิ ช าวิ จั ย การศึ กษา บั ณฑิ ต วิ ทยาลั ย จุ ฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ไพฑูรย์ ลินลารัตน์. (2544). การประเมินผลการสอน: หลักและวิธีการปฏิบัติในระดับอุดมศึกษา. ครุศาสตร์ 10 (มกราคม-มิถุนายน) : 92-94. วีรนุช ปิณฑวณิช. (2543). พร้อมปฏิรูปการเรียนรู้แค่ไหน. สารปฏิรูป. 3 (พฤษภาคม). สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2547). ตัวบ่งชี้การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2545). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิ ริ ชั ย กาญจนวาสี . (2547). การจั ด การเรี ยนการสอนที่ เน้ นผู้ เ รี ยนเป็ น สํ า คั ญ. ในคู่ มื อประเมิ นคุ ณภาพ สถานศึกษา สําหรับผู้ประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สําเริง บุญเรือรัตน์. (2547). การบริหารตามหลักอริยสัจสี.่ บริหารการศึกษา มศว. 3(7) : 2-3. Arbuckle. J. J. (1995). AMOS Users Guide. Chicago: Small Waters Corporation. Arizona

University.

(2000).

Learning

Centered

Definitions

[Online].

Available

from:

http//ag.arizona.edu/azlearners/learner-whatisit.thml [2001.august 9]. Bollen. K. A. (1989). Structure Equations with Latent Variables. New York: John Wiley & Sons. Brown. M.W. & Cudeek.R. (1993). Alliterative Ways of Assessing Model Fit, in Testing Structural Equation Model. New Jersey: Sage Publication. Cronbach, J. (1990). Essential of Psychology Testing. New York: Hanpercollishes. Driscoll, M. E. (1994). Constructivism: Psychology of Learning for Instruction. Needham Heights: Allyn and Bacon.


77 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

Fennimore, B. S. (1995). Student-Centered Classroom Management. New York: Delmar Publishers. Joreskog. K. G. & Sorbom. D. (1993). Lisrel 8 : Structural Equation Modeling with the Simplis Command Language. Chicago: Software International. Lambert, l., & Walker, D. (1995). The Constructivist Leader. New York: Teacher College Press. Lunenberg, F. C. (1998). Constructivism and Technology: Instructional Designs for Successful Education Reform. Journal of Instructional Psychology, 51 (June): 75-82. Lumenburg, F. C. and Omstein, A. C. (1999). Education Administration Concepts Practices (3rded.). Singapore: McGraw –Hill Inc. Saris. W.E. & Strenkhorst. L H. (1984). Causal Modeling Non experimental Research : An Introduction to the lisrel approach. Dissertation Abstract International. 47(7), 2261-A. Wookfolk, A. E. (1998). Constructivism and Situated Learning : Challenging Symbolic Process Model and Learning and Instruction Educational Psychology. Need than Heights : Allyn and Bacon.


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี Factors That Create Happiness of Students at King Mongkut’s University of Technology

ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล1

บทคัดย่อ การศึ ก ษาครั้ ง นี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ศึ ก ษาระดั บ ความสุ ข และปั จ จั ย ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความสุ ข ของนั ก ศึ ก ษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีจาก 10 ตัวแปร ได้แก่ เพศ ชั้นปี คณะที่ศึกษา เกรดเฉลี่ย ภูมิลําเนา สภาพเศรษฐกิจ สัมพันธภาพกับครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน สัมพันธภาพกับอาจารย์ และ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะครุ ศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ชั้นปีที่ 3-4 จํานวน 1,010 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามจํานวน 33 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น .8498 - .9075 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติวิ เ คราะห์ การผั น แปร และการวิเ คราะห์จํา แนกพหุ ผลการศึ กษาพบว่า นักศึ กษาในมหาวิท ยาลั ย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีส่วนใหญ่มีความสุขระดับเท่ากับคนทั่วไป มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีความสุข ระดับน้อยกว่าคนทั่วไป ส่วนปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรีพบว่ามาจากปัจจัย 6 ตัวแปรได้แก่ ผลการเรียนหรือเกรดเฉลี่ย ภูมิลําเนา สภาพเศรษฐกิจ สัมพันธภาพกับครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ โดยตัวแปรทั้งหมดร่วม อธิบายระดับความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้ประมาณร้อยละ 32.4 คําสําคัญ : ความสุข GPA, สถานภาพทางเศรษฐกิจ ความสําพันธ์ทางสังคม สภาพแวดล้อมทางกายภาพ

1

ปร.ด. (สังคมวิทยา) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจําสายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


79 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

Riruenggrong Ratanavilaisakul The purpose of this research was to study factors that create happiness of students of King Mongkut’s University of Technology Thonburi. There were 10 variables of this study: gender, level of study, field of study, GPA, birthplace, economics, relationships with family, relationships with friends, relationships with teachers, and physical environment. The subjects were 1,010 students, 3rd year and 4th year, of the Faculty of Engineering, Faculty of Science and Faculty of Industrial Education and Technology. The tools used in data collection were questionnaires containing 33 questions with reliability values of .8498 - .9075. Data were analyzed by Percentage, Mean, Analysis of Variance and Multiple Classification Analysis. The results showed that most students were as happy as a typical man whereas only a small number were happy at least. The factors that create happiness of the students of King Mongkut’s University of Technology Thonburi were GPA., birthplace, economic status, relationships with family, relationships with friends, and physical environment. All variables could jointly explained the happiness of the students of King Mongkut’s University of Technology Thonburi at approximately 32.4 percent. Keywords : Happiness, GPA, Economic status, Social relations, Physical environment.


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

บทนํา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับ การจัด อัน ดับ เป็น มหาวิทยาลัย ดีเ ยี่ย มด้า น การเรียนการสอนและดีเลิศด้านการวิจัย จากการ จัดอันดับ เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัย ไทย ปี พ.ศ. 2548 ของสํานักงานคณะ กรรมการ การอุดมศึกษา เนื่องจากมหาวิทยาลัยตระหนักว่า คนเป็น ทรัพยากรที่ล้ํา ค่า ยิ่งของประเทศ ดังนั้น หลั ก สูต รการเรีย นการสอนของมหาวิ ท ยาลั ย จึ ง มุ่งมั่นที่จะปลูกฝังนักศึกษาให้มีจิตสํานึกในการใฝ่ เรีย นรู้ สามารถเรีย นรู้ ได้ด้ว ยตนเอง และเรีย นรู้ อย่า งต่อเนื่อ งตลอดชีวิต ตั้งแต่เ ป็ น นักศึกษาใน มหาวิ ท ยาลั ย จนสํ า เร็ จ ออกไปเป็ น ผู้ ป ระกอบ วิ ช าชี พ แขนงต่ า งๆ ด้ ว ยเหตุ นี้ ม หาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงมีปณิธานที่จ ะ อบรมสั่งสอนนักศึกษาให้มีฐานความรู้ทางวิชาการ ที่ลึกซึ้งและกว้างขวางมีระบบการคิดที่มีเหตุผล มี ทั ก ษะทางภ าษาไทยแล ะมี ค ว ามสั น ทั ด ใน ภาษาต่างประเทศอีกอย่างน้อย 1 ภาษา มีความ ถนั ด เชิ ง เทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยี สารสนเทศ นักศึกษาทุกคนต้องได้รับการปลูกฝัง ให้ยึดมั่นในจริยธรรมและคุณ ธรรมมีจิตสํานึกที่จะ ประพฤติปฎิบัติในสิ่งที่ดี มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีวินัย รู้จักหน้าที่ มีความรับผิดชอบ และมีใจเปิด กว้า งที่จะรับ วิทยาการใหม่ๆ มหาวิทยาลัย จึงมุ่ง สร้างระบบการศึกษา และระบบประกันคุณภาพ การ ศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งบูรณาการกิจกรรม สร้างเสริมการเรียนรู้ ทักษะทางสังคม วัฒนธรรม ศี ล ธรรมจรรยาและการศึ ก ษาทางวิ ช าการเข้ า ด้วยกัน ดังนั้นลักษณะการเรียนการสอน กิจกรรม และสิ่ ง แวดล้ อ มต่ า งๆ ภายในมหาวิ ท ยาลั ย ของ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จึงเน้นการสร้างบัณฑิต ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ เป็น

คนเก่ง คนดี และมีความสุข อยู่ในสังคมไทยและ สามารถปรับ ตั ว ได้ ใ นสั ง คมที่ มี การเปลี่ ย นแปลง ตลอดเวลา อย่ า งไรก็ ต ามจากการเปิ ด เผยของรอง ศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภา การศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ ผลการวิ จั ย เรื่ อ งคิ ด ดี ทํ า ดี มีสุข ฯลฯ โดยสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ร่ว มกับ ศูน ย์เครือข่า ยวิช าการเพื่อสังเกต การณ์ แ ละวิ จั ย ความสุ ข ชุ ม ชนหรื อ ศู น ย์ วิ จั ย ความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทําการ สํารวจนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงนักศึกษา ระดับปริญญาเอก จํานวน 23,088 คน จาก 76 จังหวัด ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม 2552 พบว่ามีนักเรียนและนักศึกษาร้อยละ 55.6 ที่คิดดี ร้อยละ 53.1 ที่ทําดี และมีเพียงร้อยละ 49.7 ที่มี ความสุข จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าสิ่งแวดล้อม ต่างๆ ภายในสถานการศึกษา ยังไม่สามารถสร้าง ความสุ ข ให้ กั บ ผู้ เ รี ย นได้ ต ามปรั ช ญาการศึ ก ษา ที่ ตั้ ง ไว้ อย่ า งไรก็ ต ามงาน วิ จั ย หลายชิ้ น ใน การประชุมวิชาการ International Gross National Happiness ครั้งที่ 3 (2007) พบว่าความสุขของ คนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยพบว่าความสุข ของนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ ส่วนใหญ่ มาจากการมีโอกาสได้พัฒนาความรู้และรับรู้ข้อมูล ของตนเอง รวมทั้งการมีความสัมพันธภาพที่ดีกับ เพื่อนและอาจารย์ นอกจาก นี้ความสุขของแต่ละ คนยั ง ขึ้ น กั บ เพศ อายุ คณะที่ ศึ ก ษา และสภาพ เศรษฐกิจของครอบครัวและจากการศึกษาภาวะ สุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรีของนงลักษณ์ ไหว้พรหมและคณะ (2551) พบว่านักศึกษาหญิงมีความสุขน้อยกว่า นักศึกษาชาย (ASTV ผู้จัดการออนไลน์ : 18 มีนาคม, 2551)


81 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

บทความนี้ เป็ น การนํ า เสนอผลการวิ จั ย ปั จ จั ย ที่ ก่ อ ใ ห้ เ กิ ด ค ว า ม สุ ข ข อ ง นั ก ศึ ก ษ า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดย ทํ า การทบทวนวรรณกรรมและแนวคิ ด ต่ า งๆ ที่ เกี่ ย วข้ อ งทั้ ง หมด 10 ตั ว แปรได้ แ ก่ เพศ ชั้ น ปี คณะที่ศกึ ษา เกรดเฉลี่ย ภูมิลําเนา สภาพเศรษฐกิจ สัมพัน ธภาพกับ ครอบครัว สัมพัน ธภาพกับ เพื่อน สัมพันธภาพกับอาจารย์ และสภาพแวดล้อมทาง กายภาพ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา นัก ศึ กษามหาวิท ยาลั ย เทคโนโลยีพ ระจอมเกล้ า ธนบุรีให้เป็นคนดีและมีความสุข สามารถปรับตัวได้ ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับความสุขของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขของ นักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี นิยามปฏิบัติการของตัวแปรที่ศึกษา 1. สัมพันธภาพกับครอบครัว หมายถึงความ สามารถในการบอกปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ใ ห้ ค น ใ น ค ร อ บ ค รั ว ไ ด้ ท ร า บ โ ด ย ไ ม่ บิ ด บั ง ความรู้สึกต่อพ่อแม่ในการปฏิบัติต่อลูกทุกคนอย่าง เท่าเทียมกัน และความรู้สึกร่วมเป็นทุกข์กับคนใน ครอบครัวที่ประสบปัญ หาความทุกข์ร้อนในเรื่อง ต่างๆ

2. สัมพันธภาพกับเพื่อน หมายถึงความ สามารถในการพึ่ ง พาเพื่ อ นในเรื่ อ งการเรี ย น และการมีเพื่อนที่สามารถบอกเล่าเรื่องต่างๆ ที่ไม่ สบายใจให้ฟังได้ 3. สัมพันธภาพกับอาจารย์ หมายถึงการ สามารถเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคําปรึกษา ในปัญหาทุกเรื่องได้อย่างสบายใจ และการไปพบ อาจารย์ผู้ส อนในรายวิช าที่เ รีย นไม่เ ข้า ใจเพื่อขอ คําแนะนําด้านการเรียน 4. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ หมายถึง สภาพแวดล้อมของที่พักอาศัยที่ ไม่มีเสียงรบกวน จากสิ่งต่างๆ ทางเข้าที่พักอาศัยมีความปลอดภัย และไม่ มีปัญ หาเรื่องการจราจรติด ขัด ในการเดิ น ทาง มาเรียนในมหาวิทยาลัย ซึ่ ง ในการศึ ก ษานี้ วั ด ความคิ ด เห็ น หรื อ ความรู้สึกออกมาเป็นระดับคะแนน โดยแต่ละข้อมี คะแนนเต็ม 4 คะแนน เริ่มต้นจากเห็นด้วยน้อย ที่สุดเป็น 1 คะแนน ไปจนถึงเห็นด้วยมากที่สุดเป็น 4 คะแนน 5. ความสุขของนักศึกษา มจธ. หมายถึง ความรู้สึกของตนเองในระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่าน มาเกี่ ย วกั บ ชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ความผู ก พั น ต่ อ ครอบครั ว การคบเพื่ อนการเรี ย น สุ ขภาพ และ ความภู มิ ใ จในตนเองว่ า มี ม ากน้ อ ยเพี ย งใด ด้วยการทําเครื่องหมาย X ลงในช่อง [ไม่เลย] [เล็กน้อย] [ค่อนข้างมาก] หรือ [มาก]


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

กรอบแนวคิดในการวิจัย จากการทบทวนวรรณกรรม/แนวคิดและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสุข และปัจจัยที่มีผล ต่อระดับความสุขของคนทั่วไป พบว่าความสุขของ คนเกิ ด ขึ้น ได้จ ากหลายสาเหตุ อาทิ ความสุขมา จากการมีโอกาสได้รับการศึกษา การมีสัมพันธภาพ กับ บุคคลอื่น และสภาพทางเศรษฐกิจ ของแต่ล ะ บุคคล นอกจากนี้ความสุขของคนในแต่ละช่วงอายุ และแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกัน โดยเฉพาะความสุข ของวัยรุ่นในสถาบันการศึกษา มักจะเกี่ยวข้องกับ

การคบเพื่ อ นและผลการเรี ย น สภาพเศรษฐกิ จ สั ม พั น ธ ภ า พ กั บ ค ร อ บ ค รั ว อ า จ า ร ย์ แ ล ะ ส ภ า พ แ ว ด ล้ อ ม ห รื อ บ ร ร ย า ก า ศ ต่ า ง ๆ ใ น สถาบั น การศึ ก ษา (นุ ส รา งามเดช และคณะ, 2550; นิตยา ยงภูมิพุทธา, 2543; วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา และคณะ, 2553) . ผู้วิจัยจึงได้กําหนดกรอบแนวคิดปัจจัยชี้วัด ความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าธนบุรีตามแผนภาพดังนี้

แผนภาพที่ 1 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขของนักศึกษา มจธ. เพศ ชั้นปี คณะที่ศึกษา เกรดเฉลี่ย ภูมิลําเนา สภาพเศรษฐกิจ สัมพันธภาพกับครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน สัมพันธภาพกับอาจารย์ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ

ระดับความสุขของ นักศึกษา มจธ.


83 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

สมมุติฐานในการวิจัย ร ะ ดั บ ค ว า ม สุ ข ข อ ง นั ก ศึ ก ษ า ม จ ธ . ขึ้ น อยู่ กั บ เพศ ชั้ น ปี คณะที่ ศึ ก ษา เกรดเฉลี่ ย ภู มิ ลํ า เนา สภาพเศรษฐกิ จ สั ม พั น ธภาพกั บ ครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน สัมพันธภาพกับ อาจารย์ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

วิธีดําเนินการวิจัย 1. ประชากรเป้ า หมาย คื อ นั ก ศึ ก ษา มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า ธนบุ รี ที่ ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2552 2. กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีชั้นปีที่ 3 และชั้นปี ที่ 4 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะครุศาสตร์อุ ต สาหกรรมและเทคโนโลยี ที่ ล ง ท ะ เ บี ย น เ รี ย น ใ น ภ า ค ก า ร ศึ ก ษ า ที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จํานวน 1,200 คน 3. ตัวแปรที่ศึกษา 3.1 ตัว แปรต้น ได้แก่ เพศ ชั้น ปี คณะที่ศึกษา เกรดเฉลี่ย ภูมิลําเนา สภาพเศรษฐกิจ สัมพันธภาพกับครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน สัมพัน ธภาพกับอาจารย์ และสภาพแวดล้อมทาง กายภาพ 3.2 ตัวแปรตาม คือระดับ ความสุข ของนักศึกษา มจธ. 4. เครื่องมือที่ใช้การศึกษา: การศึกษา ครั้ ง นี้ ใ ช้ แ บบสอบถามเป็ น เครื่ อ งมื อ ในการเก็ บ

รวบรวมข้ อ มู ล ซึ่ ง สร้ า งขึ้ น จากการทบทวน วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสุข ของนักศึกษาจํานวน 33 ข้อประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็น ข้ อมูล ส่ว นบุคคลของผู้ต อบ แบบสอบถาม ประกอบด้ ว ย เพศ ชั้ น ปี คณะที่ ศึ ก ษา เกรดเฉลี่ ย ภู มิ ลํ า เนา สภาพเศรษฐกิ จ อาชีพของพ่อแม่ และความคาดหวังการได้งานทํา เมื่อสําเร็จการศึกษา รวมจํานวน 8 ข้อ ส่วนที่ 2 เป็นข้อมูลด้า นสัมพัน ธภาพกับ ครอบครั ว เพื่ อ น อาจารย์ และความคิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ สภาพแวดล้ อ มทางกาย ภาพของผู้ ต อบ แบบสอบถาม จํานวน 10 ข้อ พบว่ามาตรวัดส่วนนี้ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น .8498 . ส่วนที่ 3 เป็นคําถามเกี่ยวกับความสุขใน ชี วิ ต ซึ่ ง ปรั บ ปรุ ง มาจากแบบวั ด ความสุ ข คนไทย ฉบับกรมสุขภาพจิต จํานวน 15 ข้อ โดยให้ผู้ตอบ แบบวัดสํารวจความรู้สึกของตนเองในระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่า นมาว่า มีความรู้สึกในเรื่องต่อไปนี้มาก น้อยเพียงใด ด้วยการทําเครื่องหมาย X ลงในช่อง [ไม่เลย] [เล็กน้อย] [ค่อนข้างมาก] หรือ [มาก] ช่องใดช่องหนึ่งที่ตรงกับความรู้สึกของตนเองมาก ที่ สุ ด จากนั้ น ได้ นํ า ไปทดลองใช้ กั บ กลุ่ ม ทดลอง จํ า นวน 100 คน เพื่ อ ตรวจสอบคุ ณ ภาพของ เครื่ อ งมื อ พบว่ า แบบวั ด ความสุ ข ฯ ฉบั บ นี้ มี ค่ า สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น .9075


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

การแปลความหมาย แบบวั ด คว ามสุ ข ของนั ก ศึ ก ษา มจธ . จํานวน 15 ข้อนี้มีคะแนนเต็ม 45 คะแนน เมื่อ ผู้ต อบได้ป ระเมิน ตนเองครบทุ กข้ อ คะแนนรวม ทั้งหมดสามารถนํามาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติที่ (กรมสุ ข ภาพจิ ต กระทรวง กํ า หนดดั ง นี้ สาธารณสุข, 2552) 35 - 45 คะแนน หมายถึงมีความสุขมากกว่า คนทั่วไป 28 - 34 คะแนน หมายถึงมีความสุขเท่ากับ คนทั่วไป 0 - 27 คะแนน หมายถึงมีความสุขน้อยกว่า คนทั่วไป

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ข้อมูลพื้นฐานและปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับ ความสุขของกลุ่มตัวอย่าง ทําการวิเคราะห์โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. ข้ อ มู ล ด้ า นปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผลต่ อ ระดั บ ความสุขของนักศึกษา มจธ. ทําการวิเคราะห์โดย ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ การผันแปร (Analysis of Variance : ANOVA) และนําเทคนิคการวิเคราะห์จําแนกพหุ (Multiple Classification Analysis : MCA) มาร่วมวิเคราะห์ เพื่อ ดูว่ า ตัว แปรอิส ระทั้งหมดสามารถอธิ บ ายตั ว แปรตามได้มากน้อยเพียงใด

ผลการวิจัย การศึ ก ษาปั จ จั ย ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความสุ ข ของ นักศึกษามหา วิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรีจากจํานวนตัวอย่าง 1200 คน พบว่ามีผู้ให้

ความร่วมมือตอบแบบสอบถามครบ ถ้วนสมบูรณ์ จํานวน 1010 คน คิดเป็นร้อยละ 84.17 ของ กลุ่มตัวอย่า ง โดยผู้ต อบแบบสอบถามเป็น เพศ หญิงร้อยละ 55.5 เป็นเพศชายร้อยละ 44.5 และ พบว่าร้อยละ 43.5 เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 56.5 เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 38.6 เป็นนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร้ อ ยละ 36.5 เป็ น นั ก ศึ ก ษาคณะวิ ท ยาศาสตร์ และร้อยละ 24.9 เป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ด้านผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 22.6 มีเกรด เฉลี่ย 2.51-2.75 ร้อยละ 22.4 มีเกรดเฉลี่ย 2.763.00 ร้อยละ 21.7 มีเกรดเฉลี่ย 2.26-2.50 และ ร้อยละ 18.2 มีเกรดเฉลี่ยต่ํากว่า 2.25 มีเพียงร้อย ละ 15.1 มีเกรดเฉลี่ยสูงกว่า 3.00 ด้านการเงินที่ พ่อแม่ให้ใช้จ่ายในแต่ล ะเดือนพบว่าร้อยละ 52.8 เพี ย งพอต่ อ การใช้ จ่ า ยทุ ก เดื อ น ร้ อ ยละ 39.8 เพีย งพอต่อการใช้จ่า ยบางเดือน มีเ พีย งร้อยละ 7.4 เท่านั้นที่ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายทุกเดือน ส่ ว นความคาดหวั ง ที่ จ ะได้ ง านทํ า เมื่ อ สํ า เร็ จ การศึกษาพบว่า ร้อยละ 31.5 เชื่อว่าตนจะได้งาน ทําแน่นอน ร้อยละ 38.2 ไม่แน่ใจว่าตนจะได้งาน ทํา และร้อยละ 30.3 ยังไม่ได้คิดเรื่องจะมีงานทํา หรือไม่ ด้า นสัมพั น ธภาพกั บ ครอบครัว พบว่ า กลุ่ ม ตัวอย่างร้อยละ 50 เห็นว่าพ่อแม่ดูแลและปฎิบัติ ต่อลูกทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยมีร้อยละ 60 ที่ คิดว่าตนเองสามารถจะบอกปัญหาทุกเรื่องให้คนใน ครอบครัวฟังได้อย่างไม่ปิดบัง และร้อยละ 56.5 จะมี ค วามรู้ สึ ก ร่ ว มเป็ น ทุ ก ข์ ด้ ว ยถ้ า พบว่ า คนใน ครอบครัวคนใดมีความทุกข์


85 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

ด้ า นสั ม พั น ธภาพกั บ เพื่ อ นพบว่ า กลุ่ ม ตัวอย่างร้อยละ 54.2 มีเพื่อนสนิทมากกว่าหนึ่งคน ที่สามารถบอกเล่าเรื่องที่ตนเองไม่สบายใจให้ฟังได้ และร้อยละ 61.6 มีเพื่อนที่ สามารถพึ่งพาในเรื่อง การเรียนได้ ด้ า นสั ม พั น ธภาพกั บ อาจารย์ พบว่ า กลุ่ ม ตัวอย่างร้อยละ 52.8 ไม่ไปพบหรือขอคําแนะนํา จากอาจารย์ผู้สอน เมื่อเรียนไม่เข้าใจแต่จะไปถาม เพื่อนๆ แทน และร้อยละ 44.5 ให้ความไว้วางใน ต่ออาจารย์ที่ปรึกษาฯ ในการขอคําปรึกษาเพื่อช่วย แก้ปัญหาการเรียนหรือปัญหาส่วนตัว ด้ า นสภาพแวดล้ อ มของที่ พั ก อาศั ย พบว่ า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 56.2 ได้รับเสียงรบกวนจาก สิ่งต่างๆ เป็นประจําอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.2 ทางเข้าที่พักอาศัยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ

การก่ออาชญากรรมในระดับปานกลาง และร้อยละ 45.3 มีปัญหาเรื่องการจราจรติดขัดเป็นประจําใน การเดินทางมาเรียนในมหาวิทยาลัย

ระดับความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลการวิเคราะห์ระดับความสุขของนักศึกษา มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า ธนบุ รี จํานวน 1010 คน ปรากฏผลตามตารางที่ 1 จากตาราง 1 พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 57.8 มีความสุขเท่ากับคนทั่วไป (ช่วงคะแนนอยู่ ระหว่าง 28-34 คะแนน) รองลงมาร้อยละ 23.2 มี ค วามสุ ข มากกว่ า คนทั่ ว ไป (ช่ ว งคะแนนอยู่ ระหว่าง 35-45 คะแนน) และร้อยละ 19.0 มี ความสุขน้อยกว่าคนทั่วไป (ช่วงคะแนนอยู่ระหว่าง 0-27 คะแนน)

ตารางที่ 1 ระดับความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ช่วงคะแนน 0 – 27 28 - 34 35 - 45

จํานวน/คน 192 584 234

ปั จ จั ย ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความสุ ข ของนั ก ศึ ก ษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การวิ เ คราะห์ ปัจ จัย ที่ก่ อให้เ กิด ความสุ ข ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ด้วยสถิติการวิเคราะห์การผันแปร (ANOVA)

ร้อยละ 19.0 57.8 23.2

แปลความ มีความสุขน้อยกว่าคนทั่วไป มีความสุขเท่ากับคนทั่วไป มีความสุขมากกว่าคนทั่วไป

และการวิเคราะห์จําแนกพหุ (M.C.A.) กับตัวแปร เพศ ชั้ น ปี คณะที่ ศึ ก ษา เกรดเฉลี่ ย ภู มิ ลํ า เนา และสภาพเศรษฐกิ จ สั ม พั น ธภาพกั บ ครอบครั ว เพื่อน/อาจารย์ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ปรากฏผลตามตารางที่ 2


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

ตารางที่ 2 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตัวแปร

ค่าเฉลี่ย

S.D.

เพศ หญิง ชาย

31.140 31.075 31.239 31.278 31.333 31.354 31.307 30.450 31.121 31.974

สถานภาพทางการเงิน เพียงพอใช้จ่ายต่อเดือน เพียงพอใช้จ่ายบางเดือน ไม่พอใช้จ่ายทุกเดือน สัมพันธภาพกับครอบครัว ระดับน้อย ระดับปานกลาง ระดับมาก สัมพันธภาพกับเพื่อน ระดับน้อย ระดับปานกลาง ระดับมาก

30.868 31.333 32.079 30.699 28.467 28.299 31.698 34.446 29.909 31.662 33.644

0.487

.768

0.604

.547

11.275

.000**

4.845

.000**

29.388

.000**

72.140

.000**

20.643

.000**

1.811 1.686 1.712

ภูมิลําเนา กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด

.188

0.128 0.246 0.539

เกรดเฉลี่ย ต่ํากว่า 2.50 ระหว่าง 2.51- 3.00 สูงกว่า 3.00

1.739

2.220 1.707

คณะที่เรียน วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ครุศาสตร์

Sig

0.148 0.185

ชั้นปี ปี 3 ปี 4

F

1.393 1.574 1.817 1.794 1.562 2.961 1.437 2.184 1.351 1.401 2.383


87 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

มีคะแนนความสุ ขเฉลี่ยสูงกว่ าคนที่มีสัมพัาธนบุ นธภาพกั ตารางที่ 2 (ต่อ) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขของนักศึกษามหาวิ ทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้ รี บ ครอบครั ว ระดั บ ปานกลางและน้ อยเช่ น เดี ย วกั บ สั มพั น ธภาพกัFบ เพื่ อ น Sig พบว่ า หน่ ว ยตั ว อย่ า งที่ มี S.D. ตัวแปร ค่าเฉลี่ย สัมพันธภาพกั บเพื่อนระดั.111 บมาก มีคะแนนความสุข สัมพันธภาพกับอาจารย์ 2.203 เฉลี่ยสูงกว่าคนที่มีสัมพันธภาพกับเพื่อนระดับปาน ระดับน้อย 30.027 0.474 กลางและน้อย และหน่วยตัวอย่างที่มีสภาพแวด ระดับปานกลาง 30.659 0.360 ระดับมาก 30.832 0.571 ล้อมทางกายภาพระดับดี มีคะแนนความสุขเฉลี่ยสูง สภาพแวดล้อมทางกายภาพ 3.643 อมทางกายภาพระดั .027* กว่าคนที่มีสภาพแวดล้ บค่อนข้าง ไม่ดี 29.323 0.429 ดี และระดับไม่ ดี ส่วนตั วแปรเพศ ชั้ นปี คณะที่ ค่อนข้างดี 30.833 0.398 เรียน และสัมพันธภาพ กับอาจารย์ พบว่าไม่มีผล ดี 31.622 0.437 ต่อระดั บความสุขของนั กศึกษา มจธ. อย่ างมี ** มีนัยสําคัญที่ระดับ .01 * มีนัยสําคัญที่ระดับ .05 R = .569 R2 = .324 นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ.05 ทั้งนี้อาจเป็น เพราะลั กษณะการเรี ยนการสอนในมหาวิ ทยาลั ย นักศึกษาต้องเรียนรู้ด้วยตนเองและต้องแลกเปลี่ยน จากตาราง 2 พบว่าปัจจัยทั้งหมด 10 ตัวแปร มี องค์ความรู้กับเพื่อนๆ เป็นหลัก ดังนั้นกลุ่มเพื่อนจึงมี 6 ตัวแปรที่มีผลต่อระดับความสุขของนักศึกษา มจธ. ความสําคัญมากกว่าอาจารย์หรือคณะที่เรียนจึงทําให้ อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตัวแปรกลุ่มนี้ไม่มีผลต่อระดับความสุขของนักศึกษา ได้แก่ เกรดเฉลี่ย (F = 11.275) ภูมิลําเนา (F = 4.845) ทั้ งนี้ ตั วแปรทั้ งหมดสามารถร่ วมกั นอธิ บายระดั บ สภาพเศรษฐกิจ (F = 29.388) สัมพันธภาพกับ ความสุขของนักศึกษา มจธ. ได้ประมาณร้อยละ 32.4 ครอบครัว (F = 72.140) สัมพันธภาพกับเพื่อน (F = 20.643) และสภาพแวดล้ อมทางกายภาพ (F = 3.643) โดยพบว่าหน่วยตัวอย่างที่มีเฉลี่ยเกรด สรุปและข้อเสนอแนะ เฉลี่ยสูงกว่า 3.00 มีคะแนนความสุขเฉลี่ยสูงกว่าคนที่ การศึ กษาครั้ งนี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อศึ กษา มีเกรดเฉลี่ย 2.51- 3.00 และเกรดเฉลี่ยต่ํากว่า 2.50 ระดับความ สุขและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขของ หน่วยตัวอย่างที่มีภูมิลําเนาอยู่ต่างจังหวัด มีคะแนน นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ความสุขเฉลี่ยสูงกว่าคนกรุงเทพฯ หน่วยตัวอย่างที่มี จากจํานวนตัวอย่าง 1,010 คน โดยทําการศึกษาจาก สภาพการเงิ นใช้ จ่ ายเพี ยงพอทุ กเดื อน มี คะแนน ตัวแปร 10 ตัว ได้แก่ เพศ ชั้นปี คณะที่ศึกษา เกรด ความสุขเฉลี่ยสูงกว่าคนที่มีเงินใช้จ่ายเพียงพอในบาง เฉลี่ย ภูมิลําเนา สภาพเศรษฐกิจ สัมพันธภาพกับ เดื อนและคนที่ มี เ งิ น ใช้ จ่ า ยไม่ เ พี ย งพอทุ ก เดื อ น ครอบครั ว สั มพั นธภาพกับเพื่ อน สั มพั นธภาพกั บ หน่วยตัวอย่างที่มีสัมพันธภาพกับครอบครัวระดับมาก อาจารย์ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เพื่อนําผล


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

การศึกษามาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนานักศึกษา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้ เป็นคนดี และมีความสุข สามารถปรับตัวในสังคมที่มี การเปลี่ยนแปลงได้ โดยหน่วยตัวอย่างศึกษาพบว่า เป็ นเพศหญิ งมากกว่ าเพศชาย เป็ นนั กศึ กษาคณะ วิ ศ วกรรมศาสตร์ คณะวิ ท ยาศาสตร์ และคณะ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ชั้นปีที่ 3 - 4 เกรดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.26 - 3.00 และได้รับเงินจาก พ่อแม่ให้ ใช้จ่ายในแต่ละเดือนอย่างเพียงพอ หน่วย ตัวอย่างส่วนใหญ่มีสัมพันธภาพที่ดีกับครอบครัวและ เพื่อนมากกว่าอาจารย์ ด้านสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย พบว่ า ส่ ว นใหญ่ อยู่ ในระดั บ ปานกลาง โดยหน่ ว ย ตัวอย่างส่วนมากเชื่อว่าตนจะได้งานทําแน่นอนเมื่อ สําเร็จการศึกษาแล้ว จะมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยัง ไม่ได้คิดเรื่องจะมีงานทําหรือไม่เมื่อสําเร็จการศึกษา ผลการศึกษาได้ข้อสรุปดังนี้ 1. นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้ าธนบุ รี ส่ วนใหญ่ มี ความสุ ขเท่ ากั บคนทั่ วไป มี เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีความสุขน้อยกว่าคนทั่วไป 2. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มาจาก 6 ตัวแปรด้วยกัน ได้แก่ ผลการเรียน ภูมิลําเนา สภาพเศรษฐกิ จ สั ม พั น ธภาพกั บ ครอบครั ว สั ม พั น ธภาพกั บ เพื่ อ นและสภาพแวดล้ อ มทาง กายภาพ โดยตั ว แปรทั้ ง หมดร่ ว มอธิ บ ายระดั บ ความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าธนบุรีได้ประมาณร้อยละ 32.4 ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นว่าความสุขของ นักศึกษาในรั้ว มหาวิทยาลัย เกิด จากหลายปัจ จัย

อาทิ การมีครอบครัว ที่อบอุ่น การมีผลการเรียนดี การมีเพื่อนที่สามารถพูดคุยปัญหาและช่วยเหลือ ด้านการเรียนได้ การมีเงินจับจ่ายใช้สอยในสิ่งที่ ต้ อ งการ และการมี ที่ พั ก อาศั ย ที่ เ ดิ น ทางมา ม ห า วิ ท ย า ลั ย ไ ด้ ส ะ ด ว ก แ ล ะ ป ล อ ด ภั ย นอกจากนี้ ยั ง พบว่ า นั ก ศึ ก ษาที่ มี ภู มิ ลํ า เนาอยู่ ต่างจังหวัด จะมีความสุขมากกว่านักศึกษาที่เป็น คนกรุงเทพฯ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนักศึกษาที่เป็น เด็กต่า งจังหวัด มีความคุ้น เคยกับ การอยู่ร่ว มกับ กลุ่มเพื่อนมากกว่านักศึกษาที่เป็นคนกรุงเทพฯ ซึ่ง มักจะใช้ชีวิตส่ว นใหญ่อยู่กับหน้า จอคอมพิวเตอร์ ดังนั้นผู้ปกครอง/สถาบันครอบครัว จึงต้องมีส่วน ร่ ว มในการดู แ ลการใช้ ชี วิ ต ของบุ ต รหลานในรั้ ว มหาวิ ท ยาลั ย มิ ใ ช่ เ พี ย งคาดหวั ง ให้ ส ถาบั น การศึ ก ษาเป็ น ผู้ ทํ า หน้ า ที่ เ หล่ า นี้ แ ต่ เ พี ย งลํ า พั ง อย่ า งไรก็ ต าม การวิ จั ย ครั้ ง นี้ ไ ด้ ใ ช้ ตั ว แปรที่ ทําการศึกษาเพียง 10 ตัวแปร ซึ่งพบว่าสามารถ อธิ บ า ย ร ะดั บ ค ว า ม สุ ข ข อ ง นั ก ศึ ก ษ า ใ น รั้ ว มหาวิทยาลัยได้เพียงร้อยละ 32.4 จึงควรมีการนํา ตั ว แปรอื่ น ๆ อาทิ ลั ก ษณะการเรี ย นการสอน กิจ กรรมนักศึกษา ความสัมพัน ธ์ร ะหว่างรุ่น พี่รุ่น น้อง และสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย ฯลฯ มาทําการศึกษาต่อยอด เพื่อดูว่าจะสามารถอธิบาย ระดั บ ความสุ ข ของนั ก ศึ ก ษาในมหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า ธนบุ รี ได้ เ พิ่ ม มากขึ้ น หรือไม่อย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา ระบบและกลไกการประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา และการใช้ ชีวิ ต ของนัก ศึ กษาในรั้ ว มหาวิ ท ยาลั ย อย่างมีความสุขต่อไป


89 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

บรรณานุกรม กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2552).ดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย.[ http://www.dmh.moph.go.th ] นงลักษณ์ ไหว้พรหม และคณะ. (2551). การศึกษาภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 18 มีนาคม 2551. นิ ต ยา งามเดช และคณะ. (2543). ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งปั จ จั ย ด้ า นนั ก ศึ ก ษา คุ ณ ลั ก ษณะพี่ เ ลี้ ย ง สภาพแวดล้อ มทางคลินิ ก กั บการเรีย นภาคปฎิบั ติอ ย่า งมีค วามสุ ขของนั ก ศึ ก ษาพยาบาล วิ ทยาลั ย พยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์บัณฑิตศึกษา สาขาจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นุสรา งามเดช และคณะ. (2550). ความสุขของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. การ ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6 เรื่องสุขภาพจิต : ชีวติ ชาวเมือง, ระหว่างวันที่ 1-3 สิงหาคม, ณ โรงแรมปรินซ์พาเลช. กรุงเทพฯ, หน้า 98. วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา และคณะ. (2553). รูปแบบการพัฒนาตนเองในการสร้างเสริมความสุขของนักศึกษา พยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที 4 ปีการศึกษา 2552. สํานักวิจัยและพัฒนา วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย.


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาการบัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307)

The Development of Instruction Model Based on the Philosophy of the Sufficiency 1 รภานนท์ Economy in the Course of Intermediate Accounting II (AC.307)

เรวดี อันนันนับ1 ขวัญหทัย มิตรภานนท์1 สุรีย์พร เกียรติเฉลิมพร1 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในรายวิชาการบัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านความพอเพียงของ นักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะด้านความพอเพียง ด้านการรู้คิด ด้านจิตใจ ด้าน สังคม และด้านคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษากลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบ สมรรถนะด้านความพอเพียงระหว่างกลุ่มทดลองที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นและกลุ่ม ควบคุมที่เรียนตามกระบวนการเรียนการสอนแบบปกติ กลุ่ ม ตั ว อย่ า งในการวิ จั ย ได้ แ ก่ นั ก ศึ ก ษาสาขาวิ ช าการบั ญ ชี คณะบริ ห ารธุ ร กิ จ มหาวิ ท ยาลั ย เกษมบัณฑิต ที่เรียนวิชาการบัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) ในภาคการศึกษาที่ 1 ประจําปีการศึกษา 2550 โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองจํา นวน 40 คน และกลุ่มควบคุมจํานวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการบัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) และ แบบวัดสมรรถนะด้านความพอเพียง 4 ด้าน คือ ความพอเพียงด้านการรู้คิด ความพอเพียงด้านจิตใจ ความ พอเพียงด้านสังคม และความพอเพียงด้านคุณธรรมและจริยธรรมค่าความเที่ยงของแบบวัดเท่ากับ .86 ใช้ แบบแผนการวิจัยแบบ Control group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent Samples และ Independent Samples ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงมีสมรรถนะความพอเพียงด้านการรู้คิด ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านคุณธรรม จริยธรรม ก่อนและ หลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการ จัดการเรียนการสอนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีสมรรถนะความพอเพียงด้านการรู้คิด ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านคุณธรรม-จริยธรรม แตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบ ปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1

คําสําคัญ : รูปแบบการเรียนการสอน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วิชาการบัญชีชั้นกลาง 2 สมรรถนะด้าน ความพอเพียง 1

อาจารย์ประจําคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


91 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

Revadee Annannab Kwanhatai Mitrapanont Sureeporn Kiatchalermporn

Abstract The purposes of this study were 1) to develop an instructional model based on the Sufficiency Economy Philosophy carried out in the course of Intermediate Accounting II (AC.307) and 2) to study quality of the developed instructional model by comparing the student’s sufficiency economy competency between before and after implemented model and comparing the student’s sufficiency economy competency of the experimental group and control group after the experiment. The samples were undergraduate students who studied in the course of Intermediate Accounting II (AC.307) the first semester of academic year 2007. The samples were divided into the experimental and control group. The experimental groups were 40 undergraduate students and the control groups were 29 undergraduate students. The research instruments were the Instructional Model Based on the Philosophy of the Sufficiency and the inventories of sufficiency economy competency with the reliability coefficients of 0.86. Methods of analyses were mean, standard deviation and t-test dependent. The results of this study were as follows. 1) The Sufficiency Economy Competency of the experimental groups significantly increased after participating in the Instruction Model Based on the Philosophy of the Sufficiency Economy Competency at .01 level. 2) After experiment, The Sufficiency Economy Competency of the experimental groups were significantly higher than that control group at .01 level. Key words : Instruction model, Sufficiency Economy Philosophy, Intermediate Accounting II, The Sufficiency Economy Competency


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา สืบเนื่องจากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ต่อชีวิตของผู้คนเกือบทุกระดับในสังคมไทย ซึ่ง แสดงให้เห็นว่าแนวทางการพัฒนาประเทศของรัฐที่ มุ่งเน้น ไปสู่ความเจริญ ทางเศรษฐกิจ และสังคมที่ ทันสมัย โดยละเลยการพิจารณาความเหมาะสม หรื อ ก า ร คํ า นึ งถึ ง ปั จ จั ย พื้ น ฐา น ท า ง สั ง ค ม ทรัพยากร และวัฒนธรรมของไทย โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ ง การช่ ว ยให้ ค นไทยส่ ว นใหญ่ ข องประเทศมี รากฐานทางจิตใจและความรู้ที่มั่นคงเพื่อพร้อมรับ ต่ อ การเปลี่ ย นแปลงก่ อ นนั้ น ย่ อ มนํ า ไปสู่ ก าร ดําเนินชีวิตที่ไม่พอเพียง ขาดจริยธรรม เอารัดเอา เปรียบเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว และส่งผลให้เกิด ปัญหาขึ้นในสังคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเสนอแนะแนวทางในการดํา เนิน ชีวิต ด้ว ย ความพอเพียงให้แก่พสกนิกรชาวไทยมาตลอดนาน กว่า 30 ปี ให้ประชาชนตั้งมั่นอยู่ในความพอมี พอ กิน พอใช้ และการทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น ต้องทําด้วย ความค่อยเป็นค่อยไปและรอบคอบ อันเป็นพื้นฐาน ที่มั่นคงในการดํารงชีวิต ดังจะเห็นได้จากพระราช ดํ า รั ส ของพระองค์ ตั้ ง แต่ ปี พ .ศ .2517 ที่ ไ ด้ พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ บั ณ ฑิต ในพิ ธี พระราชทานปริ ญ ญาบั ต ร ณ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ มีความว่า “.….. การพัฒนาประเทศ จําเป็นต้องทําตามลําดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ ประหยั ด แต่ ถู ก ต้ อ งตามหลั ก วิ ช าการ เมื่ อ ได้ พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้ แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะ ทางเศรษฐกิจ ขั้น สูง ขึ้น โดยลํ า ดั บ ต่ อไป .. การ ช่ ว ยเหลื อ สนั บ สนุ น ประชาชนในการประกอบ

อาชีพ และตั้ง ตัว ให้มีความพอกิน พอใช้ก่อนอื่ น เป็ น พื้ น ฐานนั้ น เป็ น สิ่ ง สํ า คั ญ ยิ่ ง ยวด เพราะผู้ มี อาชีพและฐานะเพียงพอจะพึ่งตนเองย่อมสามารถ สร้ า งความเจริ ญ ก้ า วหน้ า ระดั บ ที่ สู ง ขึ้ น ต่ อ ไปได้ แน่นอน ส่วนการถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญ ให้ ค่ อ ยเป็ น ไปตามลํ า ดั บ ด้ ว ย ความรอบคอบ ระมัดระวัง และประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกัน ความ ผิด พลาดล้มเหลว และเพื่อให้บ รรลุผลสําเร็จ ได้ แน่นอนบริบูรณ์....” (สํานักราชเลขาธิการ, 2518) และเมื่ อภายหลังการเกิด วิ กฤติการของประเทศ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2539 พระองค์ได้ทรงเน้นย้ํา แนวคิ ด ของความพอเพี ย งในการดํ า เนิ น ชี วิ ต เพื่ อให้ ป ระชาชนชาวไทยรอดพ้น จากวิก ฤติท าง เศรษฐกิจ และสามารถดําเนินชีวิตได้อย่างมั่นคง และยั่ ง ยื น ภายใต้ ก ระแสโลกาภิ วั ฒ น์ แ ละความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังพระราชดํารัสเนื่องในโอกาส วันเฉลิม พระชนมพรรษา 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ที่ว่า “….การจะเป็นเสือนั้นไม่สําคัญ สําคัญอยู่ที่เรา มีเ ศรษฐกิ จ แบบพอมี พอกิ น แบบพอมีพอกิน นั้ น หมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ให้มีความพอเพียงกับ ตนเอง ความพอเพี ย งนี้ ไ ม่ ไ ด้ ห มายความว่ า ทุ ก ครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวจะต้องทอผ้าใส่ เองอย่ า งนั้ น มั น เกิ น ไป แต่ ว่ า ในหมู่ บ้ า นหรื อ ใน อํา เภอจะต้องมีความพอเพีย งพอสมควร บางสิ่ง บางอย่ า งผลิ ต ได้ม ากกว่ า ความต้ องการก็ ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ไม่ต้องเสียค่าขนส่ง มากนัก….ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนไปทําให้กลับเป็น เศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่ต้องทั้งหมดแม้แค่ครึ่งก็ ไม่ ต้อ งอาจจะสั กเศษหนึ่ งส่ ว นสี่ ก็ จ ะสามารถอยู่ ได้….” ผลสืบ เนื่องจากการเน้น ย้ํ า ของพระองค์ เกี่ ย วกั บ เศรษฐกิ จ พอเพี ย งในโอกาสต่ า งๆ สํานักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและ


93 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

สังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการวางแผน พั ฒ นาประเทศได้ อั ญ เชิ ญ “ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพียง” (sufficiency economy) มาเป็นปรัชญา นําทางในการวางแผนพัฒนาและบริหารประเทศใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) และฉบับที่ 9 (พ.ศ. 25452549) ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศไทยยังคงต้องเผชิญ กับการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญในหลายบริบท ทั้งที่ เป็นโอกาสและข้อจํากัดต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อ เป็ น การเตรี ย มความพร้ อ มของคนและระบบ ภูมิคุ้มกัน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถดํารงอยู่ได้ อย่ า งมั่ น คง และนํ า ไปสู่ ก ารพั ฒ นาที่ ส มดุ ล มี คุณภาพและยั่งยืน สํานักงานคณะกรรมการการ พัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติยังคงอัญเชิญ “ปรัช ญาของเศรษฐกิจ พอเพีย ง” มาเป็น แนว ปฏิบัติ ในการพัฒ นาประเทศแบบบูร ณาการองค์ รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางพัฒนา” ในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ต่อเนื่องจากแผนพัฒนา เศรษฐกิจฉบับที่ 8 และฉบับที่ 9 ซึ่งผลจากความ พยายามนี้ได้ทําให้ประชาชน องค์กรภาครัฐ และ เอกชน และแทบทุกส่วนของประเทศ ตื่นตัวและ สนใจในการนํา ปรัช ญาของเศรษฐกิจ พอเพีย งไป ประยุกต์ใช้กันอย่างกว้างขวางในหลายระดับและ หลายลักษณะ หลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งมี ค วาม สอดคล้ อ งกับ แนวคิ ด ที่ เ ป็ น พื้ น ฐานในการจั ด ทํ า และนํ า เสนอข้ อ มู ล ทางการบั ญ ชี กล่ า วคื อ หลั ก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักปรัชญาที่ชี้ถึง

แนวทางการปฏิบัติตนให้ดําเนินไปในทางสายกลาง มีความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความ จําเป็นที่ต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่ อ ก า ร มี ผ ล ก ร ะ ท บ ใ ด ๆ อั น เ กิ ด จ า ก ก า ร เปลี่ ย นแปลงทั้ ง ภายนอกและภายใน ทั้ ง นี้ ต้ อ ง อาศั ย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความ ระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่างๆ มาใช้ใน การวางแผนและการดํ า เนิ น การทุ ก ขั้ น ตอน ภายใต้ความสํา นึกในคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งหลัก ดั ง กล่ า วมี ค วามสอดคล้ อ งกั บ หลั ก การบั ญ ชี เนื่ อ งจากการจั ด ทํ า บั ญ ชี แ ละนํ า เสนอข้ อ มู ล ทางการบัญชีจะต้องจัดทําตามแม่บทการบัญชีและ มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมั ด ระวั ง ภายใต้ จรรยาบรรณวิ ช าชี พ บั ญ ชี เพื่ อ ให้ ข้ อ มู ล มี ค วาม ถูกต้อง มีความเป็น กลาง และผู้ใช้งบการเงิน ทุก กลุ่มสามารถนําไปใช้ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ได้อย่างเหมาะสม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงสามารถนํา มาประยุกต์ ใช้ ในการสร้า งรูป แบบ การจัดการเรียนการสอนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงรายวิชาการบัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) เพื่ อ สร้ า งสมรรถนะความพอเพี ย งด้ า นการรู้ คิ ด ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านคุณธรรมจริยธรรม ให้เกิดแก่นักศึกษาต่อไป

คําถามวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีคําถามวิจัย 2 ประการ คือ 1. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตาม แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในรายวิชาการบัญชี


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

ชั้นกลาง 2 (AC.307) ของนักศึกษาระดับปริญญา ตรีมีห ลักการและขั้น ตอนของกระบวนการเรีย น การสอนต่างๆ อย่างไร 2. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตาม แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในรายวิชาการบัญชี ชั้นกลาง 2 (AC.307) สามารถส่งเสริมสมรรถนะ ด้านความพอเพียงของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ได้หรือไม่

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียน การสอนตามแนวปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งใน รายวิชาการบัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) เพื่อ ส่งเสริมสมรรถนะด้านความพอเพียงของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2. เพื่อการประเมินผลการใช้รูปแบบการ จัด การเรีย นการสอนตามแนวปรัช ญาเศรษฐกิ จ พอเพียงในรายวิชาการบัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษม บั ณ ฑิ ต โดยดํ า เนิ น การสอนตามรู ป แบบการจั ด การเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นและเปรียบเทียบผล ใน 2 ประเด็น ดังนี้ 2.1 เปรียบเทียบสมรรถนะด้านความ พอเพียง 4 ด้าน คือ ความพอเพียงด้านการรู้คิด ความพอเพียงด้านจิตใจ ความพอเพียงด้านสังคม และความพอเพียงด้านคุณธรรมและจริยธรรมของ นักศึกษากลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน 2.2 เปรียบเทียบสมรรถนะด้านความ พอเพียง 4 ด้าน คือ ความพอเพียงด้านการรู้คิด

ความพอเพียงด้านจิตใจ ความพอเพียงด้านสังคม และความพอเพี ย งด้ า นคุ ณ ธรรมและจริ ย ธรรม ระหว่างกลุ่มทดลองที่เรียนตามรูปแบบการเรีย น การสอนที่พัฒนาขึ้น และกลุ่มควบคุมที่เรียนตาม กระบวนการเรียนการสอนแบบปกติ

สมมติฐานในการวิจัย 1. นักศึกษากลุ่มทดลองที่เรียนวิชาการ บัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) ที่ใช้รูปแบบการจัดการ เรียนการสอนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมี คะแนนสมรรถนะความพอเพียงด้านการรู้คิด ด้าน จิต ใจ ด้า นสังคม และด้า นคุณธรรมจริย ธรรมสูง กว่าก่อนเรียน 2. นักศึกษากลุ่มทดลองที่เรียนวิชาการ บัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) ที่ใช้รูปแบบการจัดการ เรียนการสอนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอมีคะแนน สมรรถนะความพอเพียงด้านการรู้คิด ด้านจิตใจ ด้าน สังคม และด้านคุณธรรมจริยธรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุม ที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบปกติ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 1. ได้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตาม แนวเศรษฐกิ จ พอเพีย งที่ส ามารถนํ า ไปใช้ ใ นการ จัดการเรียนการสอนของรายวิชาต่างๆ ของคณะ บริหารธุรกิจได้จริง และสามารถเผยแพร่ขยายผล ไปยังสถาบันการศึกษาหรือผู้ที่สนใจ 2. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตได้รูปแบบการ จัดการเรียนการสอนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงที่ สามารถนํา ไปใช้ในการจัด การเรียนการสอนของ คณะวิชาต่างๆ รวมทั้งมีรายวิชาเลือก “การพัฒนา


95 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

คุณภาพชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อเผยแพร่ ข้ อ ความรู้ เ กี่ ย วกั บ ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ให้แพร่หลาย

ตัวแปรต้น (Xi)

ตัวแปรตาม (Yi)

รูปแบบการจัดการเรียน การสอนตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

สมรรถนะด้านความพอเพียง - ความพอเพียงด้านรู้คิด - ความพอเพียงด้านจิตใจ - ความพอเพียงด้านสังคม - ความพอเพียงด้านคุณธรรม จริยธรรม

นิยามศัพท์และนิยามปฏิบัติการ 1.

ให้ แ พร่ ห ลายและเกิ ด ความเข้ า ใจตรงกั น ใน สังคมไทย

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน (Instruction Model) หมายถึง แบบแผนของการ จัด การเรีย นการสอนที่จัด ทํา ขึ้น อย่า งเป็ น ระบบ ระเบียบ และมีจุดมุ่งหมายเฉพาะผ่านขั้นตอนการ ดํ า เนิ น การพั ฒ นาอย่ า งเป็ น ระบบ โดยมี ก รอบ แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐาน มีองค์ประกอบต่างๆ ในการจัดการเรียนการสอนที่ เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน และแสดงให้เห็นถึงแนวทาง ในการจัด การเรีย นการสอนให้บ รรลุจุด มุ่งหมาย ตามที่กําหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนการสอน 2. ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง (The Philosophy of Sufficiency Economy) หมายถึง ปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางดํารงชีวิตและปฏิบัติตนบน พื้น ฐานของทางสายกลางและความไม่ ป ระมาท โดยคํานึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การ

สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนใช้ความรู้ ความ รอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผนการ ตัดสินใจและการกระทํา 3. ส ม ร ร ถ น ะ ด้ า น ค ว า ม พ อ เ พี ย ง (Sufficient Economy Competency) หมายถึง คุณลักษณะ เชิงพฤติกรรมที่มุ่งหวังให้นักศึกษาที่ ผ่านการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ประพฤติปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมด้าน ความพอเพียง อันประกอบด้วย ความพอเพียงด้าน การรู้คิด ความพอเพียงด้านจิต ใจ ความพอเพีย ง ด้ า นสั ง คม และความพอเพี ย งด้ า นคุ ณ ธรรม จริยธรรม 3.1 ความพอเพียงด้านการรู้คิด ได้แก่ การพิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะพอควร และ สมเหตุสมผล ในการวางแผนและตั้งเป้าหมายชีวิต มี พ ฤติ ก รรมใฝ่ รู้ และใช้ วี ก ารคิ ด แก้ ปั ญ หาด้ ว ย


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

ความรอบคอบ ระมัดระวัง คํานึงถึงผลดีผลเสียที่ จะเกิดตามมาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ปัญหา 3.2 ความพอเพียงด้านจิตใจ ได้แก่ การ มี จิ ต ใจที่ เ ข้ ม แข็ ง อดทน มี ค ว ามเอื้ อ อาทร ประนีประนอม มีวินัยรับผิดชอบ รู้จักเก็บออมและ มีความประหยัด 3.3 ความพอเพียงด้านสังคม (Social consciousness) ได้แก่ การรู้จักช่วยเหลือเกื้อกูล กัน มีความสามัคคี การสร้างความเข้มแข็งให้กับ ครอบครั ว และชุ ม ชน โดยคํ า นึ ง ถึ ง ผลประโยชน์ ส่วนรวมเป็นหลัก 3 . 4 ค ว า ม พ อ เ พี ย ง ด้ า น คุ ณ ธ ร ร ม จริยธรรม ได้แก่ การใช้วิธีดํารงตนและวิถีปฏิบัติใน สั ง คมบนพื้ น ฐานของคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม อั น ประกอบด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต ความอ่อนน้อม มีสัมมาคารวะตามขนบประเพณีวัฒ นธรรม และ ความกตัญ ญูรู้คุณ มีจิต สํ า นึกที่ดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

วิธีดําเนินการวิจัย 1. ประเภทและแบบการวิจัย การวิจัย ครั้งนี้เ ป็น การวิจัยกึ่งทดลอง ใช้ รูปแบบการทดลองที่มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วัด ก่ อนและหลัง การทดลอง (Control Group Pretest-Posttest Design) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ สมรรถนะความพอเพีย ง หลังจากใช้รูป แบบการ เรี ย นการสอนรายวิ ช าการบั ญ ชี ชั้ น กลาง 2 (AC.307) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ ใ ช้ ใ นการ ทดลองเพื่อประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียน การสอนที่พัฒนาขึ้นได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการ บัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

ที่เรียนวิชาการบัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) ในภาค การศึกษาที่ 1 ประจําปีการศึกษา 2550 จํานวน 69 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ ม ทดลอง ได้ แ ก่ นั ก ศึ ก ษาภาคปกติ ทั้งหมด ที่ได้รับการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการ สอนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจํานวน 40 คน กลุ่มควบคุม ได้แก่ นักศึกษาภาคสมทบ ทั้งหมด ที่ได้รับการเรียนการสอนตามปกติจํานวน 29 คน 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญา เศรษฐกิ จ พอเพี ย งรายวิ ช าการบั ญ ชี ชั้ น กลาง 2 (AC.307)

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการบัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) 3. แบบวัดสมรรถนะด้านความพอเพียงด้าน การรู้คิด ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ เป็นดังนี้ 1. การออกแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชา การบัญ ชีชั้น กลาง 2 (AC.307) ดํา เนิน การสร้า ง แผนการจัดการเรียนรู้ตามลําดับขั้นตอนดังนี้ 1.1 ศึกษาเนื้อหาและจุดประสงค์การ เรียนรู้รายวิชาการบัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) 1.2 ศึ ก ษา แ น ว ป รั ช ญา เ ศ รษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง ที่ พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ เ จ้ า อ ยู่ หั ว พระราชทานเพื่อใช้ชี้แนะแนวทางการดํารงชีวิต และปฏิบัติ ต นบนพื้น ฐานของทางสายกลางและ ความไม่ประมาท 1.3 วิ เ คราะห์ ค วามสอดคล้ อ งของ เนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้รายวิชาการบัญชี


97 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

ชั้นกลาง 2 พอเพียง

(AC.307)

กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจ

1.4 เขี ย นโครงสร้ า งเนื้ อ หาและ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการบัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1.5 นํ า แผนการสอนเข้ า สั ม มนาเชิ ง วิ พ ากษ์ ใ นคณะผู้ เ ข้ า ร่ ว มโครงการวิ จั ย เพื่ อ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ความถูกต้องของ ภาษา และความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียน การสอน 1.6 ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ ตามคําแนะนําของผู้เชี่ยวชาญ 1.7 นํ า แผนการจั ด การเรี ย นรู้ ที่ ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับนักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่ม ตัว อย่างและนํามาปรับ ปรุงแก้ไขให้เ ป็น แผนการ จัดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ 2. แบบวัดสมรรถนะความพอเพียง แบบวั ด สมรรถนะความพอเพี ย งสร้ า งขึ้ น ตามนิยามศัพท์และนิยามปฏิบัติการ ประกอบด้วย ข้อคํา ถามสําหรับวัดสมรรถนะหลักทั้ง 4 ด้า น ได้แก่ สมรรถนะความพอเพียงด้านการรู้คิด ด้าน จิ ต ใจ ด้ า นสั ง คม และด้ า นคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม จํานวน 82 ข้อ โดยมีเกณฑ์วิธีการตอบข้อคําถาม และการให้คะแนนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ข้อคําถามที่ 1-77 เป็นข้อคําถาม วั ด ความพอเพี ย งด้ า นการรู้ คิ ด ด้ า นจิ ต ใจ ด้ า น สังคม และด้านคุณธรรมจริยธรรม มีลักษณะเป็น มาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) กลุ่ ม ที่ 2 ข้ อ คํ า ถามเกี่ ย วกั บ การคิ ด แก้ปัญหา เป็นข้อคําถามเกี่ยวกับการคิดแก้ปัญหา 5 เรื่ อ ง ให้ ผู้ ต อบแบบวั ด สมมุ ติ ว่ า ตนเองอยู่ ใ น เหตุการณ์ของแต่ละเรื่องแล้วพิจารณาวิธีแก้ปัญหา ของบุคคลในเหตุการณ์นั้น โดยพิจารณาประเมิน

แก้ ปั ญ หา 5 ระดั บ ตั้ ง แต่ เ ห็ น ด้ ว ยอย่ า งยิ่ ง จนกระทั่งไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง การหาคุณภาพของแบบวัด เป็นดังนี้ 1. นํ า แบบประเมิ น ความสอดคล้อ งของ พฤติ ก รรมกั บ นิ ย ามสมรรถนะความพอเพี ย ง แต่ละด้านไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบ ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ความ สอดคล้องของข้อคําถาม กับนิยามปฏิบัติการและ ความถูกต้องเหมาะสมของภาษาที่ใช้ 2. ปรับปรุงแก้ไขข้อความ สํานวนภาษา ให้ถูกต้องตรงตามเนื้อหาและมีความสอดคล้องกับ กลุ่มตัวอย่างตามข้อเสนอของผู้ทรงคุณวุฒิได้แบบ วัดที่ปรับปรุงแล้วจํานวน 77 ข้อ 3. ผู้ วิ จั ย นํ า แบบวั ด ที่ ป รั บ ปรุ ง แล้ ว จํานวน 77 ข้อ ไปดําเนินการทดลองใช้ (Try Out) กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตที่ไม่ใช่กลุ่ม ตัวอย่างจริงจํานวน 50 คน ที่มีลักษณะใกล้เคียง กั บ ประชากรที่ ศึ ก ษามากที่ สุ ด แล้ ว นํ า มาหาค่ า อํ า นาจจํ า แนกโดยวิ เ คราะห์ ห าค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ สหสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งรายข้ อ กั บ คะแนนรว ม (Corrected Item Total Correlation) ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ที่มีค่า 0.2 ขึ้นไปถือว่าข้อนั้นใช้ได้ หลังจากนั้นหาค่าความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟ่า (Cronbach’s Alpha Coeffiicient) ความ เที่ยงรวมของแบบวัด สมรรถนะความพอเพียงทั้ง 4 ด้าน มีค่าเท่ากับ 0.86 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ก่อนทดลองนําแบบวัดสมรรถนะ ความ พอเพีย งทั้ง 4 ด้าน อัน ประกอบด้วย ความ พอเพี ย งด้ า นการรู้ คิ ด ความพอเพี ย งด้ า นจิ ต ใจ ความพอเพีย งด้านสังคม และความพอเพียงด้า น คุณธรรมจริยธรรม ไปใช้กับนักศึกษาที่ลงทะเบียน เรียนวิชาการบัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) ที่เป็น


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

กลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (Pretest)

2. ดําเนินการจัดการเรียนการสอนตามแนว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกับกลุ่ม ทดลองจํานวน 40 คน และดําเนินการจัดการเรียน การสอนแบบปกติกับกลุ่มควบคุมจํานวน 29 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองรวม 13 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 3 คาบ คาบละ 50 นาที ทําในช่วงเวลาเรียนปกติ 3. เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนประจําภาค การศึกษา ให้นักศึกษาที่เป็นตัวอย่างประชากรทั้ง 2 กลุ่มทํา แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา การบั ญ ชีชั้ น กลาง 2 (AC.307) และแบบวั ด สมรรถนะความพอเพียงชุดเดิม (Post-test) 5. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิ จั ย ดํ า เนิ น การในการวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ตามสมมติฐาน ดังนี้ 1. เปรี ย บเที ย บสมรรถนะด้ า นความ พอเพียง 4 ด้าน คือ ความพอเพียงด้านการรู้คิด ความพอเพียงด้านจิตใจ ความพอเพียงด้านสังคม และความพอเพียงด้านคุณธรรมและจริยธรรมของ นักศึกษากลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียนโดย ใช้สถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent Samples 2. เปรี ย บเที ย บสมรรถนะด้ า นความ พอเพียง 4 ด้าน คือ ความพอเพียงด้านการรู้คิด ความพอเพียงด้านจิตใจ ความพอเพียงด้านสังคม และความพอเพียงด้านคุณธรรมและจริยธรรม

ระหว่างกลุ่มทดลองที่เรียนตามรูปแบบการเรียน การสอนที่พัฒนาขึ้น และกลุ่มควบคุมที่เ รีย นตาม กระบวนการเรียนการสอนแบบปกติ โดยใช้สถิติ ทดสอบ t-test แบบ Independent Samples

สรุปผลการวิจัย

ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนว ปรั ชญาเศรษฐกิ จพอเพี ยงในรายวิ ชาการบั ญชี ชั้ น กลาง 2 (AC.307) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านความ พอเพียง ประกอบด้วยข้อสารสนเทศ ดังนี้ 1) ชื่อหน่วยการสอน 2) ชื่อเรื่อง 3) ระดับชั้น เวลา 4) หัวเรื่อง 5) สาระการเรียนรู้ (มโนมติ) 6) วัตถุประสงค์การเรียนรู้เนื้อหา 7) การบู ร ณาการกั บ แนวปรั ช ญา เศรษฐกิจพอเพียง 8) กิจกรรมการเรียนการสอน 9) การวัดและประเมินผล 2. สมรรถนะความพอเพียง 4 ด้าน ได้แก่ ความพอเพียงด้านการรู้คิด ด้านจิตใจ ด้าน สั ง คม และด้ า นคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม ของกลุ่ ม ทดลองและกลุ่ ม ควบคุ ม ก่ อ นและหลั ง การจั ด การเรี ย นการสอน มี ค่ า เฉลี่ ย และส่ ว นเบี่ ย งเบน มาตรฐาน ดังนี้ ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสมรรถนะความพอเพียง 4 ด้าน ของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอน สมรรถนะความพอเพียง กลุ่ม การ ด้านการรู้คิด ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านคุณธรรม ตัวอย่าง ทดลอง จริยธรรม กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

ก่อน หลัง ก่อน หลัง

Mean

S.D.

Mean

S.D.

Mean

S.D.

Mean

S.D.

3.64 4.32 3.59 3.76

.39 .31 .45 .38

4.02 4.60 3.83 3.93

.42 .31 .39 .32

3.88 4.52 3.88 4.28

.43 .31 .40 .39

4.52 4.75 4.47 4.53

.34 .29 .28 .25


99 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

3. นักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการ เรียนการสอนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีสมรรถนะความพอเพียงด้านการรู้คิด ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านคุณธรรมจริยธรรม ก่อนและ หลังการทดลองแตกต่างกันอย่าง มีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ .01

4. นักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการ เรียนการสอนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มี สมรรถนะความพอเพียงด้านการรู้คิด ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านคุณธรรมจริยธรรม แตกต่าง จากกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนการสอน แบบปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะความพอเพียง 4 ด้านของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการ จัดการเรียนการสอน

กลุ่มทดลอง ก่อน หลัง

ด้านการรู้คิด

เปรียบเทียบสมรรถนะความพอเพียง ด้านจิตใจ ด้านสังคม

ด้านคุณธรรม จริยธรรม

t

Sig

t

Sig

t

Sig

t

Sig

9.151

.00

7.137

.00

10.172

.00

3.885

.00

ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะความพอเพียง 4 ด้านของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการจัดการ เรียนการสอน กลุ่ม ตัวอย่าง กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

ด้านการรู้คิด

เปรียบเทียบสมรรถนะความพอเพียง ด้านจิตใจ ด้านสังคม

ด้านคุณธรรม จริยธรรม

t

Sig

t

Sig

t

Sig

t

Sig

6.783

.00

8.773

.00

2.801

.00

3.253

.00


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

อภิปรายผลการวิจัย จากผลการวิจัยมีประเด็นที่สามารถอภิปราย ได้ดังนี้ 1. สมรรถนะความพอเพียงด้านรู้คิด จากการวิจัย พบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองที่ เรีย นวิช าการบัญชีชั้น กลาง 2 (AC.307) ที่ ใช้ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวปรัชญา เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง มี ค ะแนนสมรรถนะความ พอเพีย งด้า นการรู้คิด หลั งเรีย นสูงกว่า ก่อนเรีย น อย่ า งมี นั ย สํ า คั ญ ทางสถิ ติ ที่ ร ะดั บ 0.01 ซึ่ ง สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อที่ 1 และสูง กว่ า กลุ่ ม ควบคุ ม ที่ เ รี ย นด้ ว ยการเรี ย นการสอน ตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่ง สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อที่ 2 เหตุที่เป็น เช่นนี้เนื่องมาจาก 1.1 เนื้ อ หาวิ ช าการบั ญ ชี ชั้ น กลาง 2 (AC.307) มี ค วามสอดคล้ อ งกั บ หลั ก ปรั ช ญา เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง จึ ง สามารถนํ า มาบู ร ณาการ สอดแทรกได้อย่างเหมาะสม โดยเนื้อหาวิชาการ บัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) จะเกี่ยวข้องกับการ บัญชีหนี้สินและทุน ซึ่งการจัดทําบัญชีและนําเสนอ ข้อมูลทางการบัญชีนั้น นักบัญชีจะต้องมีความรอบ รู้ เ กี่ ย วกั บ หลั ก การและวิ ธี ก ารบั น ทึ ก บั ญ ชี ต าม มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง สามารถนําความรู้ นั้นมาคิดวิเคราะห์ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ นําไปสู่การปฏิบัติทางบัญชีที่มีความถูกต้องตามที่ ควรและมีความเป็นกลาง อันจะส่งผลให้ผู้ใช้งบ การเงิ น ทุ ก ฝ่ า ยสามารถนํ า ข้ อ มู ล ไปใช้ ใ นการ ตั ด สิ น ใจ ไ ด้ อ ย่ างถู กต้ อ งเห มาะ ส มภ ายใ ต้ สถานการณ์ที่มีความเปลี่ยนแปลง ซึ่งสอดคล้อง กับแนวคิดของ ภาพร เอกอรรถพร (2545 : 198) ที่ ว่ า ข้ อ มู ล ที่ แ สดงในงบการเงิ น ต้ อ งเชื่ อ ถื อ ได้ ปราศจากความผิ ด พลาดที่มีนั ย สํา คั ญ และความ

ลําเอียง ความเชื่อถือได้ถือเป็นคุณลักษณะหลักซึ่ง ประกอบด้วยคุณลักษณะรอง 5 ประการ คือ การ เป็ น ตั ว แทนอั น เที่ ย งธรรม เนื้ อ หาสํ า คั ญ กว่ า รูป แบบ ความเป็น กลาง ความระมั ด ระวั ง และ ความครบถ้วน 1.2 รู ป แบบการจั ด การเรี ย นการสอน รายวิชาการบัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) ผู้วิจัยได้ใช้ รูป แบบการจัด การเรีย นการสอนแบบบูร ณาการ สอดแทรกหลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งในทุ ก ขั้นตอนของการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้ใน แต่ ล ะสั ป ดาห์ ผู้ ส อนได้ ใ ช้ ก ลยุ ท ธ์ ก ารสอนที่ เ น้ น ผู้เ รีย นเป็น สํา คัญ อาทิเ ช่น การทํา กิจ กรรมกลุ่ ม โดยค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงและการนํามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติทาง บัญชี เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษารู้จักวางแผนในการ ทํางาน มีพฤติกรรมใฝ่รู้ และมีการระดมความคิด เกี่ยวกับการนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมา ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติทางบัญชีได้ ซึ่งสอดคล้อง กั บ แนวคิ ด ของ พั น ธ์ ศั ก ดิ์ พลสารั ม ย์ (2546) เสนอแนวโน้ ม ของการปรับ เปลี่ย นกระบวนการ เรียนรู้ในปัจจุบัน ต้องจัดให้เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ โดยมีรูปแบบการดําเนินการ 4 รูปแบบ ซึ่งรูปแบบ ที่ 1 เป็นการใช้กลุ่มเพื่อการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียน ได้มีส่วนในการฝึกฝนทักษะการทํางานร่วมกัน การ คิดวางแผน การพัฒนาทักษะและทัศนคติเชิงบวก ซึ่งผู้เรียนจะพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา เพิ่มขึ้นและมีความเข้าใจเนื้อหาสาระของการเรียน มากขึ้น การทํางานร่วมกันทําให้สามารถแก้ปัญหา ได้ เ ร็ ว ขึ้ น ง่ า ยขึ้ น และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากขึ้ น นอกจากนี้ ผู้ ส อนยั ง ได้ ม อบหมายกรณี ศึ ก ษา เกี่ยวกับข่าวอื้อฉาวทางการบัญชีเพื่อให้นักศึกษาได้ ฝึกวิเคราะห์การปฏิบัติทางบัญชีที่ไม่สอดคล้องกับ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและผลเสียที่เกิดขึ้น


101 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

นั ก ศึ กษ า จึ ง ไ ด้ คิ ด วิ เค ร าะ ห์ แ ก้ ปั ญ หา จ า ก กรณี ศึก ษาด้ว ยความรอบคอบ ระมั ด ระวั ง และ พิจารณาถึงผลเสียที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ปัญหา ในกรณีศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ พันธ์ ศักดิ์ พลสารัมย์ (2546) ได้เสนอกลยุทธ์เกี่ยวกับ วิธีการเรียนการสอน ให้มีการจัดการเรียนการสอน ที่ลดการบรรยายเน้นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนา ผู้เ รีย น มี วิ ธีก ารสอนที่ ห ลากหลายเหมาะสมกั บ ธรรมชาติ เนื้ อ หาวิ ช า และระดั บ ของผู้ เ รี ย น โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรี ที่เน้นการเรียนแบบ มุ่ง ให้เ กิด ความคิด วิ เ คราะห์ วิ จ ารณญาณ และ ทั ก ษะการแก้ ปั ญ หา สํ า หรั บ การสรุ ป บทเรี ย น ผู้สอนได้มอบหมายให้นักศึกษาสรุปเนื้อหาแต่ล ะ บทเรีย นโดยการจัดทําเป็นผังความคิด (Mind เพื่ อ บู ร ณาการสอดแทรกหลั ก ปรั ช ญา map) เศรษฐกิจพอเพียง ด้านความมีเหตุผล และความ รอบรู้ และเพื่อให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงองค์ ความรู้ต่างๆ ให้เป็นระบบ 2. สมรรถนะความพอเพียงด้านจิตใจ จากการวิจัยพบว่านักศึกษากลุ่มทดลองที่ เรีย นวิช าการบัญชีชั้น กลาง 2 (AC.307) ที่ ใช้ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวปรัชญา เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง มี ค ะแนนสมรรถนะความ พอเพียงด้านจิตใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งสอดคล้องกับ สมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อที่ 1 และสูงกว่ากลุ่มควบคุม ที่ เ รี ย นด้ ว ยการเรี ย นการสอนตามปกติ อ ย่ า งมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งสอดคล้องกับ สมมติ ฐ านที่ ตั้ ง ไว้ ใ นข้ อ ที่ 2 เหตุ ที่ เ ป็ น เช่ น นี้ เนื่องมาจาก 2.1 การบูรณาการสอดแทรกหลักปรัชญา เศรษฐกิ จ พอเพี ย งรายวิ ช าการบั ญ ชี ชั้ น กลาง 2 (AC.307) จะต้องนํ ากลยุท ธ์การจั ดการเรียนรู้ ที่

เน้น ผู้เ รีย นเป็น สํา คัญ เข้ า มาใช้เ ป็น ส่ว นหนึ่งของ กิจกรรมการเรียนการสอน นักศึกษาจึงต้องทํา กิจกรรมเพิ่มเติมนอกเหนือจากแบบฝึกหัดท้ายบท ตามใบงานที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายไม่ ว่ า จะเป็ น รายบุ ค คลหรื อ กิ จ กรรมกลุ่ ม ดั ง นั้ น นั ก ศึ ก ษา จะต้ อ งปฏิ บั ติ ง านที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายด้ ว ยความ ขยันหมั่นเพียร อดทน มีวินัยรับ ผิดชอบต่องานที่ ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ และในการทํากิจกรรม กลุ่มนั้นนักศึกษาจะต้องมีการแบ่งงานกันทํา การ ระดมความคิด และการติด ตามงาน ซึ่งทํา ให้ นักศึกษารู้จักความเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและ กัน และมีความประนีประนอมเมื่อความคิดเห็นไม่ ตรงกัน 2.2 องค์ความรู้ของแต่ละแผนการจัดการ เรี ย นรู้ ไ ด้ บู ร ณาการสอดแทรกหลั ก ปรั ช ญา เศรษฐกิ จ พอเพี ย งเป็ น ระยะเวลารวมทั้ ง สิ้ น 13 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะเวลานานพอสมควรจึงทําให้ ผู้เรียนเกิดสมรรถนะความพอเพียงด้านจิตใจ ได้แก่ การมี จิ ต ใจที่ เ ข้ ม แข็ ง อดทน ความเอื้ อ อาทร ประนีประนอม มีวินัยรับผิดชอบ ซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิดของ สมจิต สวธนไพบูลย์ (2535 : 19) ที่ได้ กล่าวว่าการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรีย น เกิดการพัฒนาจิตสํา นึก เจตคติทางวิทยาศาสตร์ หรื อ ค่ า นิ ย มทางวิ ท ยาศาสตร์ จํ า เป็ น ต้ อ งอาศั ย ระยะเวลา คงไม่ ส ามารถที่ จ ะดํ า เนิ น การให้ นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างเห็น ได้ชัดในระยะเวลาอันสั้น 3. สมรรถนะความพอเพียงด้านสังคม จากการวิจัยพบว่านักศึกษากลุ่มทดลองที่ เรีย นวิช าการบัญชีชั้น กลาง 2 (AC.307) ที่ ใช้ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวปรัชญา เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง มี ค ะแนนสมรรถนะความ พอเพียงด้านสังคมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งสอดคล้องกับ สมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อที่ 1 และสูงกว่ากลุ่มควบคุม ที่ เ รี ย นด้ ว ยการเรี ย นการสอนตามปกติ อ ย่ า งมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งสอดคล้องกับ สมมติ ฐ านที่ ตั้ ง ไว้ ใ นข้ อ ที่ 2 เหตุ ที่ เ ป็ น เช่ น นี้ เนื่องมาจาก กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ที่ ม อบหมายให้ นั ก ศึ ก ษาทํ า กิ จ กรรมกลุ่ ม ตามใบงานที่ ไ ด้ รั บ มอบหมาย โดยมี จุ ด ประสงค์ เ พื่อ ให้นั กศึ ก ษาได้ ร่ว มกั น เผยแพร่ความรู้ค วามเข้า ใจเกี่ ย วกั บ หลั ก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปยังชุมชน ทั้งนี้ผู้สอน ได้ มี ก ารสั ง เกตพฤติ ก รรมของนั ก ศึ ก ษาพบว่ า นักศึกษามีความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันในการ ทํางานเพื่อประโยชน์ต่อสังคม จากการทํากิจกรรม ดังกล่าวช่วยส่งเสริมพฤติกรรมการรู้จักช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน มีความสามัคคี การสร้างความเข้มแข็ง ใ ห้ กั บ ค ร อ บ ค รั ว แ ล ะ ชุ ม ช น โ ด ย คํ า นึ ง ถึ ง ผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก 4. ส ม ร ร ถ น ะ ค ว า ม พ อ เ พี ย ง ด้ า น คุณธรรมจริยธรรม จากการวิจัยพบว่านักศึกษากลุ่มทดลองที่ เรียนวิช าการบัญ ชีชั้นกลาง 2 (AC.307) ที่ ใช้ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวปรัชญา เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง มี ค ะแนนสมรรถนะความ พอเพียงด้า นคุณธรรมจริยธรรมหลังเรีย นสูงกว่า ก่อนเรีย นอย่า งมีนัย สําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อที่ 1 และสูง กว่ า กลุ่ ม ควบคุ ม ที่ เ รี ย นด้ ว ยการเรี ย นการสอน ตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่ง สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อที่ 2 เหตุที่เป็น เช่นนี้เนื่องมาจาก 4.1 ความรู้ ด้ า นคุ ณ ธรรมและจริ ย ธรรม ตามแนวปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งที่ นํ า มา

สอดแทรกมี ค วามเหมาะสมและสอดคล้ อ งกั บ สภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน สอดคล้องกับความ มุ่งหมายในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ต้องการพัฒนา คนไทยให้ เ ป็ น มนุ ษ ย์ ที่ ส มบู ร ณ์ ทั้ ง ทางร่ า งกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดํารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับ ผู้ อื่ น ได้ อ ย่ า งมี ค วามสุ ข และสอดคล้ อ งกั บ วัตถุประสงค์ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ข้อ ที่ 4.4 ที่ว่าเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม มีระเบียบ วิ นั ย มี ค วามซื่ อ สั ต ย์ ขยั น หมั่ น เพี ย ร สํ า นึ ก ใน จรรยาวิชาชีพและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และ สัง คม ดัง นั้น แผนการจัด การเรี ย นรู้ ร ายวิ ช าการ บัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307) ที่พัฒนาขึ้นจึงมีเนื้อหา และกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของหลั ก สู ต รและรายวิ ช า และสอดคล้ อ งกั บ เงื่อนไขคุณ ธรรมและจริย ธรรมตามหลักปรัช ญา เศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าว นอกจากนี้ความรู้ด้าน คุณธรรมและจริยธรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพี ย งที่ นํ า มาสอดแทรกยั ง สอดคล้ อ งกั บ จรรยาบรรณของผู้ ป ระกอบวิ ช าชี พ บั ญ ชี ต าม พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 หมวด 7 มาตรา 47 ข้อที่ 1 ได้แก่ ความโปร่งใส ความเป็น อิสระเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งผู้สอน ได้ ทํ า การปลู ก ฝั ง อย่ า งต่ อ เนื่ อ งในทุ ก หน่ ว ยการ เรีย นรู้ ซึ่งสอดคล้องกับ ผลการวิจัย ของ อรุณศรี อึ้งประเสริฐ (2532 : บทคัดย่อ) ที่ว่าความรู้ด้าน จริย ธรรมที่ส ามารถนํา มาสอดแทรกในการเรีย น การสอนคณิตศาสตร์ ซึ่งครูคณิตศาสตร์มีความเห็น ว่ า มี ค วามเหมาะสมมาก คื อ ความรั บ ผิ ด ชอบ ความซื่อสัต ย์สุจริต ความมีเ หตุผ ล ความกตัญ ญู กตเวที ความมีระเบียบวินัย ความเสียสละ ความ สามั ค คี การประหยั ด ความยุ ติ ธ รรม ความ


103 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

อุตสาหะ และความเมตตากรุณา และสอดคล้อง กับผลการวิจัยของ นันทา ชุติแพทย์วิภา (2545 : 109) พบว่าจิตสํานึกต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของนั ก เรี ย นที่ ไ ด้ รั บ การจั ด การเรี ย นการสอน วิ ท ยาศาสตร์ สิ่ ง แวดล้ อ มตามแนวปรั ช ญาของ เศรษฐกิจพอเพียงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นั้นปัจจัยที่ส่งผล น่า จะเกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ซึ่งมีการบูรณาการ ความรู้ ทักษะต่ า งๆ และคุณ ธรรมจริย ธรรมเข้ า ด้วยกัน เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นแนวทางการนําความรู้ ไปใช้ เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 4.2 วิธีการที่ใช้ในการสอดแทรกเหมาะสม และมี ค วามต่ อ เนื่ อ งนานพอสมควร โดยผู้ ส อน ปลู กฝั งจริย ธรรมทางอ้ อมให้ แก่ นัก ศึ กษาโดยให้ นักศึกษาลงมือปฏิบัติ เช่น การมอบหมายงานให้ นักศึกษาทําล่วงหน้า การแบ่งกลุ่มให้ทํางาน และ การให้นักศึกษาทํางานเป็นรายบุคคล เพื่อบูรณา การสอดแทรกหลักปรัช ญาเศรษฐกิจ พอเพีย งใน เรื่องความอดทน ความขยันหมั่นเพียร และการใช้ สติ ปั ญ ญาในการดํ า เนิ น ชี วิ ต สอดคล้ อ งกั บ ผลการวิจัย ของ อรุณศรี อึ้งประเสริฐ (2532 : บทคั ด ย่ อ ) ที่ ว่ า วิ ธี ก ารทางอ้ อ มที่ ใ ช้ ใ นการ สอดแทรกความรู้ด้า นจริย ธรรมในการเรีย นการ สอนคณิตศาสตร์ได้แก่ (1) ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ เช่น การมอบหมายงานให้นักเรียนทําล่วงหน้า การ แบ่งกลุ่มให้ทํางาน และการให้นักเรียนทํางานเป็น รายบุคคล (2) ครูใช้กลวิธีสอน เช่น การยกตัวอย่าง โจทย์ ปั ญ หาที่ อ้ า งอิ ง ถึ ง ความรู้ ด้ า นคุ ณ ธรรม จริยธรรมด้วย นอกจากนี้ผู้สอนใช้วิธีการสอนโดย บรรยายและยกตัวอย่างที่มีการสอดแทรกความรู้ ด้า นคุณ ธรรมและจริ ย ธรรมอย่ า งต่ อเนื่ อ งในทุ ก หน่วยการเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษามีวิธีดํารงตนและ วิ ถี ป ฏิ บั ติ ใ นสั ง คมบนพื้ น ฐานของคุ ณ ธรรม

จริยธรรม อันประกอบด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต ความอ่อนน้อม มีสัมมาคารวะตามขนบประเพณี วัฒนธรรม และความกตัญญูรู้คุณ มีจิตสํานึกที่ดี ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และผู้สอนยังได้ มีการติดตามผลเชิงพฤติกรรมของนักศึกษาในด้าน คุณธรรมและจริยธรรมทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้น เรียนโดยวิธีสังเกตการณ์ ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่มี พฤติ ก รรมที่ ดี ง ามมากขึ้ น ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ ผลการวิจัยของ นันทา ชุติแพทย์วิภ า (2545 : 109) พบว่าจิตสํานึกต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของนั ก เรี ย นที่ ไ ด้ รั บ การจั ด การเรี ย นการสอน วิ ท ยาศาสตร์ สิ่ ง แวดล้ อ มตามแนวปรั ช ญาของ เศรษฐกิจพอเพียงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นั้นปัจจัยที่ส่งผล น่ า จะเกี่ ย วข้ อ งกั บ ระยะเวลาที่ ใ ห้ ผู้ เ รี ย นได้ ฝึ ก ปฏิ บั ติ กิ จ กรรมจนสามารถบอกคุ ณ ค่ า ของสิ่ ง ที่ ปฏิบัติได้ ข้อเสนอแนะการวิจัย จากการวิจัย หัว ข้อ “การพัฒ นารูป แบบ การเรี ย นการสอนตามแนวปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพียงรายวิชาการบัญชีชั้นกลาง 2 (AC.307)” ผู้วิจัย มี ข้อเสนอแนะการวิจัย ดังนี้ แนวทางการ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวปรัชญา เศรษฐกิ จ พอเพี ย งควรจะมี ก ารขยายขอบเขต การศึ ก ษาให้ ค รอบคลุ ม ในทุ ก ระดั บ ชั้ น หรื อ ทุ ก สาขาวิชา เพื่อให้นักศึกษาได้รับการกระตุ้นในเชิง พฤติกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่าง ชัดเจนยิ่งขึ้น


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

บรรณานุกรม นันทา ชุติแพทย์วิภา. (2545). ผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การประถมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สํานักงาน ท ด ส อ บ ทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2543). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์สุวีริยาสาส์น. วัชราภรณ์ แก้วดี. (2548). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดอินเตอร์แอกทีฟคอนสตักติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และการนําเสนอผลงานวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ คม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิบูลย์ เข็มเฉลิม. (2543). ทฤษฎีใหม่ในหลวงชีวิตที่พอเพียง การประยุกต์หลักทฤษฎีใหม่มาใช้กับการเกษตร. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน. ศิริชัย กาญจนวาสี ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์และดิเรก ศรีสุโข. (2537). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสําหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมศรี จินะวงษ์. (2544). การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ใน ชุมชนที่ใช้แนวทางการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ คม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สหัทยา พลปัถพี (2548). การนําเสนอแนวทางการพัฒนาคนให้มีคุณลักษณะตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ คม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2539). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่8 (พ.ศ. 2540-2544). กรุงเทพฯ : สํานักนายกรัฐมนตรี. สํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ. (2541). เกษตรทฤษฎีใหม่. กรุงเทพฯ : สํานักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. เทพวาณี วินิ จ กํา ธร. (2548). การปลูก ฝัง ค่ า นิ ยมตามปรัช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ยงสํ า หรั บนั ก เรี ยนชั้ น ประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการตามแนวคิดของบลูมและแรทส์. วิทยานิพนธ์ คม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


105 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

การศึกษาสมรรถนะหลักของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต : KASEM A Study of Core Competency of Kasem Bundit University’s Undergraduates : KASEM

วรินทร ปิ่นทอง1 ประภาพร เหลืองช่วยโชค1 สุจิตรา แดงอินทวัฒน์1

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมรรถนะหลักของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มี วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนากรอบสมรรถนะหลัก พัฒนาแบบวัดสมรรถนะหลัก รวมทั้งวิเคราะห์และสรุป เกี่ยวกับสมรรถนะหลัก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษม บัณฑิต จํานวน 929 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย คือ สมรรถนะหลัก ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต 5 ด้าน ประกอบด้วย KASEM โดย K คือ ใฝ่รู้ พัฒนาตนเอง และมีความคิดสร้างสรรค์ A คือ สามารถปรับตัวในการทํางาน S คือ มีจิตสํานึกและ รับผิดชอบต่อสังคมร่วมพัฒนาท้องถิ่น E คือ เป็นนักปฏิบัติ มีความอดทน มีพลังมุ่งมั่น กระตือรือร้น และ M คือ มีจริยธรรม คุณธรรม และวุฒิภาวะ ผู้วิจัยดําเนินการโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนา กรอบสมรรถนะหลักโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและจัดประชุมกลุ่มเฉพาะ ระยะที่ 2 พัฒนาแบบวัด สมรรถนะหลักและตรวจสอบคุณภาพ โดยการตรวจสอบความตรง ความเป็นปรนัย ค่าความสอดคล้อง ค่า อํานาจจําแนก และค่าความเที่ยง ระยะที่ 3 รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน ซึ่งผลการวิจัยที่สําคัญ พบว่า 1) ระดับสมรรถนะหลักของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง โดยสมรรถนะหลักด้านความสามารถ ปรับตัวในการทํางานและด้านความมีจริยธรรม คุณธรรมและวุฒิภาวะ อยู่ในระดับสูง 2) นักศึกษาที่มีเพศ และเกรดเฉลี่ยต่างกันมีระดับสมรรถนะหลักแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และ 3) เพศและเกรด เฉลี่ยมีความสัมพันธ์กับระดับสมรรถนะหลักอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ คําสําคัญ: สมรรถนะหลัก คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

1

สํานักงานรองอธิการบดีฝา่ ยวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

KASEM

(เกษม)


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

Warinthorn Pinthong Prapaporn Luangchouychok Sujitra Dangintawat

Abstract This research studied core competency of undergraduates of Kasem Bundit University. Its objectives were to develop the core competency framework and the core competency test including analyzing and summarizing the core competency levels. Samples in this research were 929 undergraduates of Kasem Bundit University. The samples were selected by using stratified random sampling technique. The principle research variable was the core competency which comprised five quality aspects of graduates: K A S E M. K is Keep on learning and being creative, A is Adaptability, S is Social responsibility, E is Engaging/ Energetic, and M is Morality/ Maturity. The research procedure was divided into three phases. Phase 1 was to develop the core competency framework by using content analysis and focus group techniques. For Phase 2, it was to develop the core competency test and quality testing by testing validity, objectivity, IOC (Index of ItemObjective Congruence), item discriminating power, and reliability. Finally, Phase 3 was to collect and analyze the data by using descriptive statistics, t-test, one-way ANOVA, and Pearson’s correlation coefficient. The major research results were as follows: 1) The core competency of most undergraduates of Kasem Bundit University was moderate to almost high. However, two quality aspects of graduates: Adaptability and Morality/Maturity were high, 2) There was a significant difference between male and female graduates, and the students who got different grade point average, and 3) The correlation between the core competency and sex and grade point average were statistically significant. Keywords: Core competency, Quality aspects of graduate students, KASEM, Kasem Bundit University


107 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

บทนํา การแข่งขันทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อมทางสังคมที่ร วดเร็ว และขีด จํากัด ด้านทรัพยากรในปัจจุบันได้สะท้อนถึงปัญหาด้าน ความสามารถที่ จ ะตอบสนองความต้ อ งการที่ สู ง ขึ้ น ของภาคส่ ว นต่ า งๆ ให้ ไ ด้ อ ย่ า งมี ส มดุ ล มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตในฐานะที่เป็นหน่วยผลิต บั ณ ฑิ ต อั น เป็ น ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ที่ สํ า คั ญ ของ ประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงให้ ความสําคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตเพื่อ เพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการตอบสนองความ ต้องการที่สูงขึ้นของภาคส่วนต่างๆ โดยมุ่งพัฒนา คุณภาพการศึกษาในเชิงรุกมากขึ้น และมีนโยบาย ใ ห้ มี ก า ร จั ด ทํ า แ ผ น ก ล ยุ ท ธ์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย เกษมบัณฑิต (ส่วนงานวางแผนและพัฒนา, 2553) ประจําปีการศึกษา 2552 - 2554 ให้สอดคล้องกับ ทิศทางการพัฒ นาของประเทศและแนวโน้มการ เปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมในโลกปัจจุบัน โดยมี วิ สั ย ทั ศ น์ คื อ “บ้ า นแห่ ง ความสุ ข สนุ ก ทุ ก การ เรีย นรู้ มุ่งสู่นักปฏิบัติ ร่ว มวิวัฒ น์สังคม” และได้ กําหนดเป้าประสงค์หลักไว้ 3 ด้าน คือ ด้านบัณฑิต ด้านผลงานวิชาการ และด้านภาพลักษณ์ การกําหนดเป้าประสงค์หลักดังกล่าว อยู่บน พื้ น ฐานกรอบความคิ ด ที่ ต้ อ งการเสริ ม สร้ า งให้ มหาวิทยาลัย มีลักษณะที่ เ ป็น เอกลักษณ์ มีความ แตกต่ า งที่ ชั ด เจน โ ดดเด่ น จากสถาบั น อื่ น โดยเฉพาะอย่า งยิ่ง ได้มุ่งเน้น ให้มีการเสริมสร้า ง ความเป็น ”เกษม” ให้เกิดขึ้นในด้านต่างๆ ทั้งด้าน บัณฑิต ที่มหาวิทยาลัยมุ่งหวังให้มีคุณสมบัติหรือ สมรรถนะหลั ก “KASEM” ซึ่ ง เป็ น คํ า ย่ อ ของ คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ 5 ด้าน ได้แก่ K คือ ใฝ่รู้ พัฒนาตนเองและมีความคิดสร้างสรรค์ (K: Keep on learning and creativity) A คือ

สามารถปรับตัวในการทํางาน (A: Adaptability) S คือ มีจิตสํานึกและรับผิดชอบต่อสังคมร่วมพัฒนา ท้องถิ่น (S: Social responsibility) E คือ เป็นนัก ปฏิบัติ มีความอดทน มีพลังมุ่งมั่น กระตือรือร้น (E: Engaging/Energetic) และ M คือ มีจริยธรรม คุณธรรม วุฒิภาวะ (M: Morality/Maturity) จาก ความสํา คัญ ดัง กล่ า ว มหาวิ ทยาลั ย จึ ง ได้กํ า หนด ทิศทางและยุทธศาสตร์ด้านการจัดการเรียนการ สอนและด้านการพัฒนานักศึกษา เพื่อขับเคลื่อนให้ การพั ฒ นาสมรรถนะหลั กของนัก ศึก ษาสามารถ บรรลุผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังไว้ตามเป้าประสงค์หลัก ของการพัฒนา ดังนั้น การวางแผนพัฒนาสมรรถนะหลักจึง ต้องเป็นไปอย่างมีทิศทาง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ข้อมูลเชิงประจักษ์ มหาวิทยาลัยเห็นความสําคัญ ในเรื่องนี้จึงสนับ สนุน ให้คณะผู้วิจัย ทํา การศึกษา วิจัย เพื่อพัฒนากรอบสมรรถนะหลักเชิงพฤติกรรม และแบบวัดสมรรถนะหลักขึ้น รวมทั้งศึกษาและ วิเคราะห์เกี่ยวกับสมรรถนะหลักของนักศึกษา ซึ่ง ผลการวิจัยที่ได้จะนําไปใช้ในการพัฒนานักศึกษา ให้เป็นบัณฑิตที่มีส มรรถนะหลัก และพัฒนาไปสู่ ความมี อั ต ลั ก ษณ์ ที่ ส อดคล้ อ งกั บ วิ สั ย ทั ศ น์ ข อง มหาวิทยาลัยและความต้องการของสังคมต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนากรอบสมรรถนะหลักเชิงพฤติกรรม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิต 2. เพื่ อ พั ฒ นาแบบวั ด สมรรถนะหลั ก ของ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษม บัณฑิต


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

3. เพื่อวิเ คราะห์และสรุปเกี่ยวกับลักษณะและ ระดั บ สมรรถนะหลั ก ของนั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

วิธีดําเนินการวิจัย คณะผู้วิจัยดําเนินการโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 พัฒนากรอบสมรรถนะหลักเชิง พฤ ติ ก ร ร ม ข อ ง นั ก ศึ กษ า ร ะ ดั บ ป ริ ญ ญ า ต รี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ของบัณฑิต 5 ด้าน คือ K A S E M โดย ผู้วิ จัย ใช้ การวิ เ คราะห์ แ ละสัง เคราะห์ เ ชิ งเนื้อ หา (Content Analysis) จากการศึกษาเอกสารต่างๆ เพื่อกําหนดนิยามและพฤติกรรมสําคัญ จากนั้นจัด ประชุมกลุ่มเฉพาะ (Focus Group) โดยเชิญผู้แทน จากทุกคณะวิช าเข้า ร่ว ม จํา นวน 38 คน แล้ว นําเสนอกรอบสมรรถนะหลักที่ผ่านการตรวจสอบ โดยผู้เ ชี่ย วชาญ จํา นวน 5 ท่า น ต่อที่ป ระชุ ม ผู้บริหารระดับสูง ระยะที่ 2 พัฒนาแบบวัดสมรรถนะหลัก และตรวจสอบคุณภาพ โดยการตรวจสอบความ ตรง ความเป็นปรนัย ความสอดคล้อง ค่าอํานาจ จําแนก และค่าความเที่ยง ระยะที่ 3 รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติบรรยาย วิเคราะห์ค่าสถิติ ทดสอบที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ ใ ช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้ คื อ นั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี มหาวิ ท ยาลั ย เกษม บัณฑิต ในปีการศึกษา 2553 จํา นวน 929 คน ตามสูตรการคํานวณของ Taro Yamane′ ที่ความ เชื่อมั่น 95% ความคลาดเคลื่อน5% และใช้วิธีการ

สุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามคณะวิชาและชั้นปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวัด สมรรถนะหลั ก ของนั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต คณะผู้วิจัยดําเนินการ พั ฒ นาเครื่ อ งมื อ และตรวจสอบคุ ณ ภาพ ตาม ขั้นตอนดังนี้ 1. การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะหลัก คณะผู้ วิ จั ย พั ฒ นาแบบวั ด สมรรถนะหลั ก ของนั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี มหาวิ ท ยาลั ย เกษมบั ณ ฑิ ต ตามกรอบสมรรถนะหลั ก เชิ ง พฤ ติ ก ร ร ม ข อ ง นั ก ศึ กษ า ร ะ ดั บ ป ริ ญ ญ า ต รี มหาวิ ท ยาลั ย เกษมบั ณ ฑิ ต ที่ ผู้ วิ จั ย พั ฒ นาขึ้ น ใน ระยะแรก โดยแบบวัดมีลักษณะเป็นมาตรประมาณ ค่า 5 ระดับ (Rating scale) ประกอบด้วยข้อ คําถามสําหรับวัดสมรรถนะหลักทั้ง 5 ด้าน จํานวน 55 ข้อ แบ่งการตอบออกเป็น 2 ส่วน คือ ผู้ตอบ ประเมินตนเอง และผู้ตอบประเมินนักศึกษาในคณะ 2. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวัด สมรรถนะหลั ก ของนั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต คณะผู้วิจัยดําเนินการ ตรวจสอบคุณภาพ ดังนี้ 1) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 ท่าน และ คํานวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC: Index of Item Objective Congruence)

2) ตรวจสอบความเป็นปรนัย (Objectivity) โดยนําแบบวัดสมรรถนะหลักให้ศิษย์เก่า จํานวน 3 คน ทดลองอ่านข้อคําถามเพื่อทดสอบความเข้าใจ 3) ทดลองใช้ (Try Out) กับนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี ในภาคการศึกษาฤดูร้อน ปีการศึกษา


109 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

2552 จํานวน 200 คน แล้ว นํา มาหาค่า ความ เชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) โดยคํานวณหา ค่าความสัมพันธ์รายข้อกับคะแนนรวมแต่ละด้าน (Item-Total Correlation) โดยใช้ สู ต ร Pearson Correlation Coefficient (r) และค่ า ความ สอดคล้องภายใน (Internal consistency) โดยใช้ สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient). การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย 1) รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ สมรรถนะหลั ก ของนั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2) รวบรวมข้อมูลจากการประชุมกลุ่มเฉพาะ (Focus group) จากผู้ แ ทนของทุ ก คณะวิ ช า เกี่ ย วกับ กรอบสมรรถนะหลัก เชิ งพฤติ กรรมของ นั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี มหาวิ ท ยาลั ย เกษม บัณฑิต 3) รวบรวมข้ อมู ล จากกลุ่ มตั ว อย่ า ง คื อ นั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี มหาวิ ท ยาลั ย เกษม บัณฑิตด้วยแบบวัดสมรรถนะหลักโดยประสานงาน กับส่วนงานวางแผนและพัฒนาเพื่อติดต่อขอความ อนุ เ คราะห์ จ ากทุ ก คณะวิช าในการเก็ บ รวบรวม ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล 1) วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัย ที่เ กี่ย วข้อง โดยการวิเ คราะห์และสังเคราะห์เ ชิง เนื้อหา (Content analysis) 2) วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมจากแบบวัด สมรรถนะหลั ก ของนั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต โดยใช้สถิติบรรยาย (Descriptive statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อย ละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ วิเคราะห์ (Analytical statistics) ได้แก่ การ

วิเคราะห์ค่าสถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) และการวิ เ คราะห์ ค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ ส หสั ม พั น ธ์ เพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient)

ผลการวิจัย คณะผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. ผลการพัฒนากรอบสมรรถนะหลักเชิงพฤติกรรม กรอบสมรรถนะหลั ก เชิ ง พฤติ ก รรมของ นั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี มหาวิ ท ยาลั ย เกษม บัณฑิต: KASEM ที่คณะผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น มีดังนี้ 1) K: ใฝ่รู้ พัฒนาตนเอง และมีความคิด สร้างสรรค์ (K: Keep on learning and being creative) ประกอบด้วย 5 พฤติกรรมสําคัญ ได้แก่ 1. แสวงหาความรู้ ด้ว ยตนเองอย่ า งต่อ เนื่อ งจาก แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย 2. เปิดรับสิ่งใหม่ๆ รอบ ด้า น และแลกเปลี่ย นเรีย นรู้กั บ ผู้อื่ น อยู่ เ สมอ 3. สามารถว างแผนพั ฒ นาตนเอง 4. ติ ด ตาม ความก้าวหน้าในสาขาวิชาชีพและพัฒนาตนเองให้ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และ 5. สามารถคิด แปลกแตกต่ า ง หลากหลายรู ป แบบในเวลา อันรวดเร็วและมีประโยชน์ 2) A: สามารถปรับตัวในการทํางาน (A: Adaptability) ประกอบด้วย 3 พฤติกรรมสําคัญ ได้ แ ก่ 1. สามารถปรั บ ตนเองให้ เ ข้ า กั บ ผู้ อื่ น สถานการณ์ หรือลักษณะงานต่างๆ 2. ยอมรับ ความจําเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยน และ 3. สามารถ แก้ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม 3) S: มีจิตสํานึก รับผิดชอบต่อสังคม และ ร่วมพัฒนาท้องถิ่น (S: Social responsibility) ประกอบด้วย 6 พฤติกรรมสําคัญ ได้แก่ 1. เข้าใจ และปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ของตนโดยไม่ละเมิด


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

สิทธิและหน้า ที่ของผู้อื่น 2. ติด ตามข่า วสารและ ร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างสม่ําเสมอ 3. ปฏิบัติงานส่วนรวมที่ได้รับมอบหมายจนสําเร็จ แม้ว่าจะมีอุป สรรค 4. ดูแลรักษาสาธารณสมบัติ และทรั พ ยากรธรรมชาติ ไ ม่ ใ ห้ เ สี ย หายหรื อ ถู ก ทําลาย 5. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สมาชิกใน ท้องถิ่น ชุมชน และสังคม และ 6. เสียสละแรงกาย เวลา และ/หรือทรัพย์สินเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน และสังคมด้วยความเต็มใจ 4) E: เป็นนักปฏิบัติ มีความอดทน มีพลัง มุ่งมั่น กระตือรือร้น (E: Engaging/Energetic) ประกอบด้วย 8 พฤติกรรมสําคัญ ได้แก่ 1. มีความ ชํ า น า ญ ใ น ก า ร สื่ อ ส า ร ด้ ว ย ภ า ษ า ไ ท ย แ ล ะ ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ 2. มี ความสามารถในการใช้เ ทคโนโลยีส ารสนเทศได้ อย่า งเหมาะสม และมีประสิทธิภ าพ 3. สามารถ เลือกใช้เ ทคนิคต่า งๆ ทางคณิต ศาสตร์และ/หรือ เทคนิ ค เชิ ง วิ เ คราะห์ อื่ น ๆ ในการค้ น คว้ า และ รายงานเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆ 4. สามารถ ประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาในสาขาวิชาของ ตนมาแก้ ปั ญ หาและจั ด การกั บ ข้ อ โต้ แ ย้ ง ใน สถานการณ์ ต่ า งๆ 5. แสวงหาและเสนอแนะ แนวทางในการแก้ปัญหาทางวิชาการหรือวิชาชีพ โดยเข้าใจข้อจํากัดของความรู้ในสาขาวิชาของตน 6. มีความสามารถในการทํางานเป็นทีม 7. มีความ เป็ น ผู้ นํ า มี ทั ก ษะในการบริ ห ารจั ด การ และ สามารถกํ า หนดทิ ศ ทางเชิ ง กลยุ ท ธ์ ใ นงานที่ รับผิดชอบได้ และ 8. มีความมุ่งมั่น กระตือรือร้น และอดทนในการปฏิบัติงาน 5) M: มีจริยธรรม คุณธรรม และวุฒิภาวะ (M: Morality/Maturity) ประกอบด้ ว ย 9 พฤติกรรมสําคัญ ได้แก่ 1. มีสัจจะเชื่อถือได้ 2. มี การประมาณตน ยับยั้งชั่งใจ และไม่เกี่ยวข้องกับ

อบายมุ ข 3. สามารถเป็ น ทั้ ง ผู้ ใ ห้ แ ละผู้ รั บ 4. ปฏิบัติตนตามระเบีย บข้อบังคับ และกฎหมาย 5. ยึดมั่นในจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 6. สามารถควบคุมอารมณ์ได้ภายใต้ภาวะความกดดัน 7. ยอมรับทั้งความเด่นและความด้อยของตนเอง และของผู้อื่น 8. มีความรับผิดชอบต่อการกระทํา ของตนเอง และ 9. มองโลกในแง่ บ วกและมี ความสุขในการดําเนินชีวิต 2. ผลการพัฒนาแบบวัดสมรรถนะหลัก แบบวัดสมรรถนะหลักของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตที่พัฒนาขึ้น ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้เชี่ยวชาญจํานวน 5 ท่าน และหา ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ได้เท่ากับ 1.00 ตรวจสอบความเป็นปรนัย (Objectivity) โดยศิษย์ เก่าพบว่ามีความเข้าใจในข้อคําถามตรงกันทุกข้อ แล้ ว นํ า มาหาค่ า สหสั ม พั น ธ์ ร ายข้ อ กั บ ทั้ ง ฉบั บ (Item-Total Correlation) ได้เท่ากับ 0.38-0.72 ความเชื่ อ มั่ น ได้ (Reliability) รายด้ า นเท่ า กั บ 0.81-0.88 โดยรวมทั้งฉบับ (2 ชุด คือชุดนักศึกษา ประเมิ น ตนเอง กั บ นั ก ศึ ก ษาประเมิ น เพื่ อ น) เท่ากับ 0.95 และ 0.97 จากการตรวจสอบคุณภาพ ของเครื่ อ งมื อ ดั ง กล่ า วได้ แ สดงว่ า แบบวั ด สมรรถนะหลักที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้มีคุณภาพอยู่ใน ระดับดีมาก 3. ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับสมรรถนะหลักของ นัก ศึก ษาระดับปริ ญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษม บัณฑิต: KASEM 3.1 ระดับสมรรถนะหลักของนักศึกษา ระดั บ สมรรถนะหลั ก ของนั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต: KASEM จากการประเมิ น ตนเองแล ะประเมิ น ผู้ อื่ น (นั ก ศึ ก ษาในคณะ) พบว่ า ส มรรถนะหลั ก


111 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.61 และ 3.62 ตามลําดับ เมื่อ พิจารณาผลการประเมินตนเองรายด้าน พบว่าด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ M : ความมีจริยธรรม คุณธรรม และวุฒิภาวะ มีค่าเฉลี่ย อยู่ ในระดับสูง เท่า กั บ 3.82 รองลงมาคือ A: ความสามารถ ปรั บ ตั ว ในการทํ า งาน มี ค่ า เฉลี่ ย อยู่ ใ นระดั บ สู ง เช่ น เดี ย วกั น เท่ า กั บ 3.76 S: มี จิ ต สํ า นึ ก รั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม และร่ ว มพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง เท่ากับ 3.64 K: ใฝ่รู้ พัฒนาตนเอง และมีความคิด สร้ า งสรรค์ มี ค่ า เฉลี่ ย อยู่ ใ นระดั บ ปานกลาง ค่อนข้างสูงเท่ากับ 3.45 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อย ที่สุด คือ E: เป็นนักปฏิบัติ มีความอดทน มีพลัง มุ่งมั่น กระตือรือร้น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปาน กล างค่ อ นข้ า งสู ง เท่ า กั บ 3.44 ตามลํ า ดั บ รายละเอียดดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ระดับสมรรถนะหลักของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

KASEM

สมรรถนะหลัก K A S E M KASEM

ตนเอง ผู้อื่น ตนเอง ผู้อื่น ตนเอง ผู้อื่น ตนเอง ผู้อื่น ตนเอง ผู้อื่น ตนเอง ผู้อื่น

N

Mean

S.D.

929 831 929 834 926 819 929 824 926 812 929 837

3.45 3.52 3.78 3.72 3.64 3.64 3.44 3.56 3.82 3.71 3.61 3.62

0.49 0.53 0.57 0.56 0.52 0.54 0.49 0.53 0.57 0.56 0.44 0.47

3.2 การเปรียบเทียบระดับสมรรถนะหลัก ของนักศึกษา การเปรีย บเทีย บระดับ สมรรถนะหลักของ นั ก ศึ ก ษาที่ มี ลั ก ษณะส่ ว นบุ ค คลต่ า งกั น พบว่ า นักศึกษาเพศชายและเพศหญิงมีระดับสมรรถนะ หลัก A S M และโดยรวมแตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยต่างกันมี ระดั บ สมรรถนะหลัก ทุ ก ด้ า นแตกต่ า งกั น อย่ า งมี นัยสําคัญทางสถิติ และนักศึกษาที่มีชั้นปีต่างกันมี ระดั บ สมรรถนะหลั ก K แตกต่ า งกั น อย่ า งมี นั ย สํ า คั ญ ทางสถิ ติ ส่ ว นนั ก ศึ ก ษาที่ มี ค ณะวิ ช า ต่างกันมีระดับสมรรถนะหลักไม่แตกต่างกัน เมื่อทดสอบรายคู่ด้วยวิธี Scheffe พบว่า นักศึกษาที่มีเ กรดเฉลี่ย ต่า งกัน มี ร ะดับ สมรรถนะ หลักแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติจํานวน 6 คู่ ได้แก่ เกรดเฉลี่ยต่ํากว่า 2.00 กับ 3.51 ขึ้นไป 2.00-2.50 กับ 3.01-3.50 และ 2.00-2.50 กับ 3.51 ขึ้นไป มีระดับสมรรถนะหลัก K A S E และ M แตกต่างกัน เกรดเฉลี่ยต่ํากว่า 2.00 กับ 3.013.50 มีระดับสมรรถนะหลัก K S E และ M แตกต่างกัน เกรดเฉลี่ย 2.51-3.00 กับ 3.01-3.50 มีระดับสมรรถนะหลัก A และ S แตกต่างกัน และ เกรดเฉลี่ย 2.51-3.00 กับ 3.51 ขึ้นไป มีระดับ สมรรถนะหลัก M แตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาชั้นปี ต่างกันมีระดับสมรรถนะหลัก K แตกต่างกันอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติมีจํานวน 1 คู่ ได้แก่ ชั้นปี 1 กับชั้นปี 4 โดยนักศึกษาชั้นปี 1 มีระดับสมรรถนะ หลักสูงกว่าชั้นปี 4 รายละเอียดดังตารางที่ 2


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

ตารางที่ 2 ค่าสถิติเปรียบเทียบระดับสมรรถนะหลักของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่มีลักษณะส่วนบุคคลต่างกัน ตัวแปร

เพศ

คณะวิชา

ชั้นปี

เกรดเฉลี่ย

t-test

F-test

F-test

F-test

3.18* 1.15 2.10 0.92 0.98 2.05

8.20** 5.99** 8.12** 7.72** 8.07** 11.11**

0.83 0.92 A 3.02** 1.57 S 3.33** 0.52 E 0.49 1.74 M 3.86** 0.99 KASEM 2.41* 0.57 ** มีนัยสําคัญทางสถิตทิ ี่ระดับ 0.01 *มีนัยสําคัญทางสถิตทิ ี่ระดับ 0.05 K

ตารางที่ 3 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักกับลักษณะส่วนบุคคล ของนักศึกษาระดับปริญญา ตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต คณะวิชา เกรดเฉลี่ย ความเป็น ความเป็น ขนาด สูงกว่า เพศหญิง ปี 3-4 ใหญ่ 2.50

K

A

S

E

M

ความเป็นเพศหญิง

1.000

คณะวิชาขนาดใหญ่

-.054

1.000

ความเป็นปี 3-4

-.051

.136**

1.000

เกรดเฉลี่ยสูงกว่า 2.50

.237**

-.005

-.042

1.000

K

-.027

-.007

-.056

.146**

1.000

A

.099**

-.021

-.013

.093**

.567**

1.000

S

.109**

.021

-.030

.118**

.588**

.661**

1.000

E

.016

.038

-.013

.141**

.669**

.584**

.664**

1.000

M

.126**

-.007

-.002

.145**

.475**

.599**

.658**

.571**

1.000

KASEM

.079*

.007

-.026

.160**

.778**

.784**

.857**

.857**

.836**

** มีนัยสําคัญทางสถิตทิ ี่ระดับ 0.01 * มีนัยสําคัญทางสถิตทิ ี่ระดับ 0.05

KASEM

1.000


113 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

3. ความสัมพัน ธ์ระหว่า งลักษณะส่วน บุคคลกับระดับ สมรรถนะหลัก ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับ ระดับสมรรถนะหลักของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต พบว่าตัว แปรลักษณะ ส่ ว นบุ ค คลที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ ระดั บ สมรรถนะ หลักอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ มี 2 ตัวแปร คือ ความเป็ น เพศหญิ ง และการมีเ กรดเฉลี่ ย สู ง กว่ า 2.50 โ ด ย ก า ร มี เ ก ร ด เ ฉ ลี่ ย สู ง ก ว่ า 2.50 มี ความสัมพันธ์กับระดับสมรรถนะหลักทั้งโดยรวม และรายด้านอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งหมด ส่วนความเป็นเพศหญิงมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับ ระดับ สมรรถนะหลักโดยรวมอย่า งมี และมี นั ย สํ า คั ญ ทางสถิ ติ ที่ ร ะดั บ 0.05 ความสัมพันธ์กับระดับสมรรถนะหลัก A S และ M อย่ า งมี นั ย สํ า คั ญ ทางสถิ ติ ที่ ร ะดั บ 0.01 เมื่ อ พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักทั้ง 5 ด้านด้วยกันแล้ว พบว่าทุกด้านต่างมีความสัมพันธ์ กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งหมด รายละเอียดดังตารางที่ 3

อภิปรายผลการวิจัย คณะผู้วิจัย ขอนําเสนอการอภิปรายเฉพาะ ประเด็นหลักจากผลการวิจัยที่พบ ดังนี้ 1) กรอบสมรรถนะหลักของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต: KASEM ที่ ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนั้น เป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของบัณฑิตซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของคุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ ปริ ญ ญาตรี ของสํ า นั ก งาน คณะกรรมการการอุ ดมศึ ก ษา (กระทรว ง ศึกษาธิการ, 2552) ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้า น คุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทาง ปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ

ความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิง ตั ว เลข การสื่ อ สาร และการใช้ เ ทคโนโลยี สารสนเทศ โดย “KASEM” เป็นสมรรถนะหลักที่ มหาวิทยาลัย ต้องการเสริมสร้า งให้เ ป็ น จุด เน้น ที่ โดดเด่ น และแตกต่ า งจากส ถาบั น อื่ น จาก ผลการวิจัยเกี่ยวกับทักษะแรงงานไทยในอนาคตที่ พึงประสงค์ พบว่าความต้องการบุคลากรจะเน้นใน เชิ ง คุ ณ ภาพมากกว่ า เชิ ง ปริ ม าณ มี ค วามรู้ ที่ หลากหลายศาสตร์สาขา (Multidisciplinary) ไม่ เพียงแต่รู้ในสิ่งที่ตนเองเรียนเพียงอย่างเดียว ต้องมี ทั ก ษะพื้ น ฐานที่ ดี ม ากในด้ า นต่ า งๆ และมี ค วาม ชํ า นาญในสิ่ ง ที่ เ รี ย นมา บั ณ ฑิ ต ต้ อ งสามารถคิ ด วิเคราะห์ วิจัย และแก้ปัญหาต่างๆ ได้ในระดับ ดี มาก มี ทั ศ นคติ ที่ ดี ใ นการทํ า งาน มี ค วามพร้ อ ม อดทน และมีแรงจูงใจ รวมทั้งมีความเป็นผู้นําใน การทํา งาน (เกื้อ วงศ์บุญ สิน และสุวารี สุร เสีย ง สังข์ อ้างถึงในพสุ เดชะรินทร์, 2547) ซึ่งเดวิด แมคคิลแลนด์ (1973) ได้กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับ สมรรถนะไว้ ว่ า เป็ น คว ามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง คุณลักษณะที่ดีของบุคคล (excellent performer) ในองค์กรกับระดับทักษะความรู้ความสามารถ โดย มีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ ความรู้ ทักษะ ความคิด เกี่ยวกับตนเอง บุคลิกลักษณะ และแรงจูงใจ/เจต คติ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า “KASEM” เป็นสมรรถนะ หลักที่ประกอบด้วยความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ ที่ จํ า เป็ น ของบุ ค คลในการทํ า งานให้ ป ระสบ ความสํ า เร็ จ มี ผ ลงานได้ ต ามเกณฑ์ ม าตรฐานที่ กําหนดหรือสูงกว่า 2) ระดับสมรรถนะหลักของนักศึกษา พบว่า โดยรวมอยู่ ใ นระดั บ ปานกลางค่อนข้ า งสูง โดยมี สมรรถนะหลั ก 2 ด้า น คื อ M: มี จ ริย ธรรม คุณธรรม และวุฒิภาวะ และ A: สามารถปรับตัว ในการทํางาน อยู่ในระดับสูง ซึ่งสอดคล้องกับผล


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

การสํ า รวจความพึ ง พอใจของผู้ ใ ช้ บั ณ ฑิ ต ของ มหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิต ประจํา ปีการศึกษา 2552 (ฝ่า ยกิจ การนักศึกษา, 2553) ที่พบว่ า บัณฑิตของมหาวิทยาลัยมีคุณธรรมจริยธรรมอยู่ใน ระดับสูง และจากผลการสัมภาษณ์ผู้แทนนักศึกษา ทุ ก คณะวิ ช าในการประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา ภายใน ประจํ า ปีก ารศึก ษา 2552 (สํ า นัก งาน ประกันคุณภาพการศึกษา, 2553) พบว่า นักศึกษา ประทับใจในตัวอาจารย์มากที่สุด อาจารย์มีความ ใกล้ชิดและให้การดูแลนักศึกษาเป็น อย่า งดี ซึ่งมี ส่ ว นทํ า ให้ นั ก ศึ ก ษาสามารถปรั บ ตั ว ได้ ดี จาก ผลการวิจัยของศรุดา โตษยานนท์ (2553) พบว่า สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนและครูเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์ทางบวกและส่งผลต่อการปรับตัว ของนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของพัชริ นทร์ ชมพู วิเ ศษ (2550) ที่พบว่า สัมพัน ธภาพ ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา และบรรยากาศใน ชั้นเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวของ นัก ศึก ษา อย่ า งไรก็ ต ามมหาวิท ยาลั ย ควรเร่ง รั ด พั ฒ นาสมรรถนะหลั ก ของนั ก ศึ ก ษาให้ มี ร ะดั บ ที่ สูงขึ้นโดยเฉพาะสมรรถนะหลัก K S และ E ที่ยัง อยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง 3) ผลการวิ จั ย พบว่ า เกรดเฉลี่ ย มี ค วาม สัมพันธ์ทางบวกกับระดับสมรรถนะหลักในทุกด้าน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับผลการ วิเ คราะห์เ ปรีย บเทีย บที่พบว่า นักศึกษาที่มีเกรด เฉลี่ยสูงจะมีระดับสมรรถนะหลักสูงกว่านักศึกษาที่ มีเกรดเฉลี่ยต่ําอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติในทุกด้าน จากข้อค้นพบนี้สามารถกล่าวได้ว่าเกรดเฉลี่ยหรือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีส่ว นเกี่ยวข้องกับระดับ สมรรถนะหลัก KASEM ที่สูงขึ้นหรือลดลงด้วย ซึ่งสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์เพิ่มเติมของผู้วิจัย ที่พบว่า สาเหตุหนึ่งที่ทําให้สมรรถนะหลักลดลงมา

จากปัญ หาด้า นการเรียน เรียนไม่ทัน เพื่อน เกรด เฉลี่ยต่ําลง ทําให้หมดกําลังใจ และเกิดความท้อแท้ เบื่อหน่ายในการเรียน จากผลการวิจัยของเติมศักดิ์ คทวณิช (2549) พบว่ า ปัจ จัย ส่ว นตัว และปัจ จั ย ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มทางการเรี ย นมี ค วามสั ม พั น ธ์ ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งสอดคล้อง กับไพศาล หวังพาณิช (2523) ที่กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรีย นเป็น ลักษณะและความสามารถของ บุ ค คลอั น เกิด จากการเรีย นการสอน เป็น การ เปลี่ย นแปลงพฤติกรรมรวมทั้งประสบการณ์ ซึ่ง เป็นผลมาจากการเรียนรู้ที่ได้รับ และผลการวิจัย ของอรอนงค์ เย็น เกษม (2552) ยังพบว่า ปัจ จัย ด้า นการส่ง เสริม และพัฒ นานัก ศึก ษา ด้า นการ ส่งเสริมและพัฒ นาอาจารย์ และด้า นการพัฒ นา หลักสูต รสามารถทํา นายคุณลักษณะของบัณฑิต ที่พึง ประสงค์ สอดคล้อ งกับ ผลการวิจ ัย ของดา ระกา ศีริสันติสัมฤทธิ์ (2553) ที่พบว่า ปัจจัยด้าน ห ลั ก สู ต ร แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น มี ความสัมพันธ์กับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และสามารถร่ว มทํา นายคุณลักษณะบัณฑิต ที่พึง ประสงค์ได้ ดังคํากล่าวของเทื้อน ทองแก้ว (อ้างถึง ในดาระกา ศี ริ สั น ติ สั ม ฤทธิ์ , 2553) ที่ ว่ า การ วางแผนหรือจัด ระบบเกี่ยวกับ กิจ กรรมการเรีย น การสอนช่ว ยให้ผู้เรียนแสดงถึงการเรียนรู้ และมี คุ ณ ลั ก ษณะที ่ส ัง คมต้อ งการ นอกจากนี ้ส ุม ิต ร คุณ านุก ร (อ้า งถึง ใน ดาระกา ศีริสัน ติสัม ฤทธิ์ . 2553) ยั ง กล่ า วว่ า การให้ ก ารศึ ก ษาคื อ การ ถ่ายทอดความรู้หรือการให้วิชาความรู้ วัฒนธรรม การปลูกฝังทัศนคติและค่านิยม ดังนั้นการจัดการ เรียนการสอนที่ดีจึงมีส่วนช่วยส่งเสริมให้นักศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีและมีสมรรถนะหลัก KASEM ที่สูงขึ้นด้วย


115 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

4) การวิจัยพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีระดับ สมรรถนะหลัก KASEM ต่ํากว่านักศึกษาชั้นปี อื่นๆ ในทุกด้านนั้น คณะผู้วิจัยได้ทําการสัมภาษณ์ นักศึกษาชั้นปี 4 เพิ่มเติม จํานวน 53 คน พบว่า ส่ ว นใหญ่ มี ค วามเห็ น สอดคล้ อ งกั บ ผลการวิ จั ย ดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า วิธีการสอนของอาจารย์ ความเข้มข้นของเนื้อหาที่สอน ภาระงานที่มากขึ้น ทั้งงานจากการเรียนและงานส่วนตัว สิ่งแวดล้อมที่ เหมือนเดิม เทคโนโลยีอื่นๆ ที่ดึงดูดความสนใจจาก การเรียน และปัญหาส่วนตัวมีผลทําให้สมรรถนะ หลักลดลง ซึ่งข้อค้นพบนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการนํ า ไปพั ฒ นานั ก ศึ ก ษาให้ เ ป็ น บั ณ ฑิ ต ที่ มี สมรรถนะหลั ก KASEM ตามที่ ม หาวิ ทยาลั ย คาดหวังต่อไป

ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช้ 1) ผลการวิจัยที่ได้มหาวิทยาลัยสามารถ นํ า ไปใช้ เ ป็ น แนวทางในการพั ฒ นารู ป แบบการ จัด การเรีย นการสอน การจัด กิจ กรรม/โครงการ เพื่ อ พั ฒ นานั ก ศึ ก ษาให้ มี ส มรรถนะหลั ก ตาม เป้าประสงค์หลักด้านบัณฑิต และเสริมสร้างความ มีอัต ลักษณ์ ต ามความมุ่งหมายของมหาวิทยาลั ย ต่อไป 2) มหาวิ ท ยาลั ย สามารถนํ า แบบวั ด สมรรถนะหลักที่พัฒ นาขึ้นนี้ ไปใช้ในการประเมิน สมรรถนะหลักของบัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาในทุก ปี ก ารศึ ก ษา เพื่ อ ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ะนํ า มาใช้ ใ นการ วางแผนพัฒนานักศึกษาอย่างต่อเนื่อง

2. ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งต่อไป 1) ควรมีการวิจัยเพื่อพัฒนากรอบสมรรถนะ หลั ก เชิ ง พฤติ ก รรมและแบบวั ด สมรรถนะหลั ก KASEM อย่ า งต่ อ เนื่ อ งเพื่ อ ให้ ทั น ต่ อ การ เปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคม 2) ควรมีการวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ สมรรถนะหลัก KASEM เพื่อนํามาเป็นแนวทางใน การวางแผนพั ฒ นานั ก ศึ ก ษาไห้ มี คุ ณ ภาพอย่ า ง แท้จริง

กิตติกรรมประกาศ คณะผู้วิจัยขอขอบคุณมหาวิทยาลัยที่ให้การ สนับสนุนทุนวิจัย ขอขอบพระคุณที่ปรึกษา รศ.ดร. ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา และผู้เ ชี่ยวชาญใน การตรวจเครื่ อ งมื อ และกรอบสรรถนะหลั ก เชิ ง พฤติกรรม ทั้ง 5 ท่าน ได้แก่ ศ.ดร.ผ่องพรรณ เกิด พิทักษ์ รศ.ดร.อารี พันธ์มณี รศ.ดร.รัญจวน คําวชิร พิทักษ์ รศ.ดร.ทัศนีย์ นนทะสร และ รศ.ไพบูล ย์ เทวรั ก ษ์ ขอบคุ ณ อาจารย์ ป ระจํ า ฝ่ า ยวิ ช าการ อาจารย์ ฝ่ า ยวางแผนและพั ฒ นา และอาจารย์ ผู้แทนจากคณะวิช าทุกคณะที่ ให้ความร่ว มมือใน การประชุมกลุ่มเฉพาะและให้ความอนุเคราะห์เก็บ รวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ พ.ศ.2552. กระทรวงศึกษาธิการ. ดาระกา ศีริสันติสัมฤทธิ์. (2553). ปัจจัยการจัดการศึกษาที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย รามคําแหง. เติมศักดิ์ คทวณิช. (2549). ปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีร าชมงคลกรุงเทพ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. พสุ เดชะรินทร์. (2553). มุมมองใหม่, กรุงเทพธุรกิจ, ปีที่ 14, ฉบับที่ 4211, 10 มิถุนายน 2547. พัชรินทร์ ชมพูวิเศษ. (2550). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับตัวทางสังคมของนักศึกษาชั้นปีทื่ 1 มหาวิทยาลัยราช ภัฏอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ไพศาล หวังพาณิช. (2523). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช. ฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. (2552). รายงานผลการสํารวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ประจําปีการศึกษา 2552. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. สํานักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. (2553). รายงานผลการประเมินการประกันคุณภาพ การศึกษาภายใน ประจําปีการศึกษา 2552. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. ส่วนงานวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. (2553). แผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปี การศึกษา 2552-2554. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. ศรุดา โตษยานนท์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวกับเพื่อนของนักเรียนช่วงชั้นทื่ 1 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อรอนงค์ เย็น เกษม. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนักศึกษา หาวิทยาลัย ขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. McClelland D.C.(1973). Testing for Competence Rather Than for "Intelligence". American Psychologist, vol. 28, pp.1-14.


117 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) Conditional Cash Transfers: Reducing Present and Future Poverty by Ariel Fiszbein and Norbert Schady with Franciso H.G.Ferreira, Margaret Grosh, Nial Kelleher, Pedro Olinto, and Emmanauel Skoufias. Washington D.C. : The World Bank, 2009, 361 pages.

ณัฐพล ขันธไชย1

2

Nathabhol Khanthachai

1

คว ามยากจน (Poverty) เป็ น ปั ญ หาที่ พิจารณาถึงสาเหตุและผลสืบเนื่องได้หลายมิติ การ กําหนดความหมาย (Definition) ของความยากจน ใช้เกณฑ์ของระดับรายได้ที่เป็นเงิน (Cash income) เป็น หลักเพราะเป็น สิ่งที่ส ามารถระบุ ได้ชัด เจนว่า ยากจนหรือไม่ยากจน แม้ว่าเกณฑ์ของระดับรายได้ จะไม่สามารถสร้างความพอใจให้แก่ผู้ที่สนใจเรื่อง ความยากจนได้ โ ดยสมบูร ณ์ก็ ต าม ดั งนั้น บุค คลที่ ยากจนสมบูรณ์ (Absolute poverty) คือผู้ที่มีรายได้ เป็นงินต่ํากว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ปั ญ หาความยากจนมี ลั ก ษณะเป็ น ปั ญ หา เรือ้ รัง (Persistence) กล่าวคือ บุคคลและครอบครัว มักจะวนเวียนอยู่ในวงจรอุบาทก์ของความยากจน (Vicious circle of poverty) จากรุ่นปู่ย่า – ตายาย สู่รุ่นบิดา – มารดา สู่รุ่นลูกและรุ่นหลาน วนเวียน อยู่ในกับดักของความยากจน (Poverty trap)จนเป็น ปรากฏการณ์ ที่ เ รี ย กได้ ว่ า เป็ น “ความยากจน ดั ก ดาน” ความยากจนจึ ง เป็ น ปั ญ หาที่ ท้ า ทาย ความสามารถของผู้ บ ริ ห ารการพั ฒ นาประเทศ ที่ จ ะต้ อ งแสวงหามาตรการ (Measures) และ เครื่ อ งมื อ (Instruments) ทางด้ า นนโยบายที่ จ ะ บรรเทาและปลดปล่ อ ย บุ ค คล ครอบครั ว และ ประเทศให้หลุดพ้นจากวงเวียนในกับดักของความ ยากจนให้ได้อย่างมีประสิทธิผล

1

หนั ง สื อ เรื่ อ ง

1

Transfers:

Reducing

“Conditional Present

and

Cash Future

ตีพิมพ์โดยธนาคารโลก (World Bank) เป็ น เอกสารรายงานการวิ จั ยเชิ งนโยบาย (Policy research report) ศึ ก ษาวิ จั ย เพื่ อ ประเมิ น ประสิทธิผ ล/ประสิทธิภ าพของเครื่องมือทางด้า น นโยบาย (Policy instrument/tool) ได้แก่โครงการ/ แผนงานการถ่ า ยโอนเงิ น สดอย่ า งมี เ งื่ อนไข (Conditional Cash Transfers) ในการดําเนินการให้ บรรลุเป้าหมายเชิงนโยบาย (Policy objective) ของ การบรรเทาหรือขจัดความรุนแรงของปัญหาความ ยากจนทั้งในปัจจุบันและอนาคต เนื้ อหาสาระของเอกสารรายงานการวิ จั ย ประกอบด้วย Poverty”

Overview Chapter 1

Introduction

Chapter 2

The Economic Rationale for

Conditional Cash Transfers Chapter 3

Design and Implementation

Features of CCT Programs Chapter 4

The Impacts of CCT’s on

Consumption, Poverty and Employment Chapter 5

The Impacts of CCT’s on

the Accumulation of Human Capital Chapter 6 Options

รองศาสตราจารย์ (เศรษฐศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

CCT’s: Policy and Design


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

3 ในส่ ว นที่ ว่ า ด้ ว ยเรื่ อ งทั่ ว ไป (Overview) ได้กล่าวถึงการนําเครื่องมือทางด้านนโยบายเรื่อง การถ่ายโอนเงินสดอย่างมีเงื่อนไข (CCT’s) โดยระบุ ว่ า ใน คศ. 1997 มี เ พี ย ง 3 ประเทศในโลกคื อ บั ง คลาเทศ บราซิ ล และเมกซิ โ กเท่ า นั้ น ที่ นํ า เครื่องมือทางด้านนโยบายนี้ไปดําเนินการบรรเทา ปั ญ หาความยากจน ต่ อ มาในปี คศ. 2008 เครื่องมือทางด้านนโยบาย CCT’s ได้รับความนิยม แพร่หลายมากขึ้น กล่าวคือ มีจํานวนประเทศที่นํา CCT’s ไปใช้ ใ นการบรรเทาปั ญ หาความยากจน จํ า นวน 28 ประเทศ โดยใน ASEAN ได้ แ ก่ กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย การถ่ายโอนเงินสดอย่างมีเงื่อนไข (CCT’s) หมายความว่ า โครงการซึ่ง ถ่ ายโอนเงิ นสดให้ แก่ ครั ว เรื อนที่ ย ากจน ภายใต้ เ งื่ อนไขว่ า ครั ว เรื อ น เหล่ า นั้ น จะต้ อ งมี ร ายการลงทุ น เพื่ อ พั ฒ นาทุ น มนุษย์ (Human Capital) ในบรรดาบุตรหลาน (Children) ของตน โดยที่ โ ครงการต่ า งๆดั ง กล่ า ว ส่วนใหญ่เป็นโครงการของรัฐบาล และการลงทุน ในการพั ฒ นาทุ น มนุ ษ ย์ ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น โครงการ ทางด้ า นสาธารณสุ ข (Health) โภชนาการ (Nutrition) แก่ บุ ต ร เด็ ก และมารดา รวมทั้ ง โครงการทางด้านการศึกษา เช่น การช่วยให้เด็กได้ ลงทะเบียนเข้าเรียน (School Enrollment) และ สามารถมาเข้าเรีย นได้ร้อยละ 80 -85 ของเวลา เรียนทั้งหมด เป็นต้น ส่วนใหญ่ของการถ่ายโอนเงิน สดของโครงการ CCT’s มีการถ่ายโอนเงินไปให้แก่ ผู้เป็นมารดาหรือนักเรียนโดยตรง โครงการ CCT’s กล่ า ว ได้ ว่ า เป็ น องค์ ประกอบหนึ่ ง ในระบบการป้ อ งกั น ทางสั ง คม (Social Protection Systems) กล่าวคือป้องกันมิ ให้ลูกหลานของครัวเรือนที่ยากจนในปัจจุบันต้อง

ดักดานติด อยู่ในกับ ดักของความยากจนต่อไปอีก จนชั่วลูกชั่วหลานในอนาคต เหตุผลสนับสนุนให้ โครงการ CCT’s เป็นเครื่องมือทางด้านนโยบายใน การบรรเทาความยากจนทั้งในปัจจุบันและอนาคต เหตุ ผ ลหลั ก เนื่อ งจาก การลงทุ น ของเอกชน ทางด้านทุนมนุษย์อาจต่ําเกินไปด้วยเหตุผลสําคัญ 2 ประการคือ (1) ผู้มี อํ า นาจตั ด สิ น ใจในครัว เรื อนอาจมี ความเชื่ อ ที่ ผิ ด พลาดกี่ ย วกั บ การลงทุ น ทาง การศึกษาและด้านสุขภาพอนามัยของบุตรหลาน เช่น เชื่อว่ารายได้มีความยืดหยุ่นต่อการศึกษาน้อย กว่าความเป็นจริง ดังนั้น บิดามารดาจึงอาจกําหนด อั ต ราส่ ว นลดของรายได้ ใ นอนาคตสู ง เกิ น ความ สมควร จึ งมี ผ ลทํ า ให้ ผ ลตอบแทนสุท ธิจ ากการ ลงทุนให้การศึกษาแก่บุตรหลานต่ํา หรือไม่คุ้มค่า การลงทุน เป็นต้น (2) ระดับการลงทุนที่เหมาะสมของเอกชน (Private Optimal level) ในการศึกษาหรือสุขภาพ อนามัยอาจต่ํากว่าระดับการลงทุนที่เหมาะสมทาง สังคม (Social optimal level) เนื่องจากประเด็น การมี ผ ลกระทบภายนอกทางบวก (Positive externalities) ของการลงทุ น ทางการศึ กษาและ สาธารณสุข ดังนั้น จึงมีความจําเป็นที่รัฐบาลจะต้องเข้า มาแทรกแซงกลไกตลาดด้ ว ยเครื่ อ งมื อ ทางด้ า น นโยบาย CCT’s เพื่ อ ให้ ก ารลงทุ น ทางด้ า น การศึ ก ษาและการสาธารณสุ ข อยู่ ใ นระดั บ เหมาะสมทางสังคม รายงานของธนาคารโลกยั ง ได้ ป ระเมิ น ผล กระทบของโครงการ CCT’s ทางด้ า นบริ โ ภค/ อุ ป โ ภ ค ค ว า ม ย า ก จ น ก า ร มี ส่ ว น ร่ ว ม ใ น ตลาดแรงงาน การศึกษาและสุขภาพอนามัย และ


119 วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554

พบว่า โครงการ CCT’s มีประเมินผลกระทบอย่าง มีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05 หรือ 0.01 เป็นส่วนใหญ่ 4 สาระของเอกสาร “Conditional

Cash Transfers: Reducing Present and Future Poverty” นําเสนอในบทที่ 1 – 6 โดยใช้ข้อมูลจาก

ประเมิ น ผลโครงการ CCT’s ในประเทศต่ า ง โดยเฉพาะอย่า งยิ่งในลาตินอเมริกา เช่น เมกซิโ ก เป็นต้น แต่ผู้วิจัยยังได้พิจารณาข้อมูลจากประเทศ ในภู มิ ภ าคอื่ น เช่ น บั ง คลาเทศและกั ม พู ช า ประกอบด้วย โดยในบทที่ 1 กล่าวถึงแนวความคิด และกระบวนการรวมทั้งการขยายตัวของโครงการ CCT’s ในระหว่าง ค.ศ. 1997 ถึง ค.ศ. 2008 ไปยัง ประเทศต่ า งๆทั่ ว โลก จาก 3 ประเทศเป็ น 29 ประเทศ บทที่ 2 นํ า เสนอหลั กการและเหตุ ผ ลทาง เศรษฐศาสตร์ของโครงการ CCT’s ทั้งที่เป็นเหตุผล สนั บสนุ น และคั ดค้ าน ซึ่ งรวมทั้ งเหตุ ผ ลทางด้ า น เศรษฐศาสตร์การเมืองและด้านประสิทธิภาพทาง สั ง คม บทที่ 3 ว่ าด้ ว ยการออกแบบและการนํ า โครงการ CCT’s สู่การปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วยการ กํ า หนดกลุ่ ม เป้ า หมายของโครงการ ระบบ ผลประโยชน์ การกํ า หนดเงื่อนไข (Conditions) ของโครงการ การนํ า โครงการสู่ การปฏิ บั ติ การ ติดตามและการประเมินผลโครงการ สําหรับบทที่ 4 และบทที่ 5 เป็ น การนํ าเสนอผลการประเมิ น ผล กระทบของโครงการ CCT’s ต่อการอุปโภคบริโภค ของครัวเรือน ความยากจนและการจ้างงาน รวมทั้ง ผลกระทบต่ อ การสะสมทุ น มนุ ษ ย์ โดยเฉพาะ ทางด้ า นการศึ ก ษาและการสาธารณสุ ข บทที่ 6 ระบุแนวคิดและหลักการที่ช่วยในการพิจารณาว่าใน สถานการณ์อย่างไรหรือเมื่อไรที่โครงการ CCT’s มี

ความแหมาะสมที่จะนํามาใช้เป็นเครื่องมือทางด้าน นโยบาย รวมทั้งการออกแบบโครงการ CCT’s ที่มี ประสิ ท ธิ ภ าพ ในฐานะที่ เ ป็ น องค์ ป ระกอบของ ระบบการป้องกันทางสังคม (Social Protection Systems)

5 ในทั ศ นะของนั ก วิ ช าการของธนาคารโลก ประเด็นปัญหาสําคัญยิ่งปัญหาหนึ่งในการพัฒนา ประเทศของประเทศกํ า ลั ง พั ฒ นา ได้ แ ก่ ปั ญ หา ความยากจน ทั้งนี้เห็นได้จากแนวคิดหลัก (Theme) ที่นํ าเสนอในรายงานการพัฒ นาของโลก (World Development Report) ซึ่งได้รายงานประจําปีทุกปี ตลอดมาตั้งแต่ ค.ศ. 1978 จนถึงปัจจุบัน โดยได้ ระบุเน้นย้ําประเด็นปัญหาของความยากจนอย่า ง เด่นชัดในรายงานฉบับ ค.ศ. 1978, 1980, 1990, 2001 และ 2004 เสมอตลอดมา ความยากจนเป็ น ประเด็ น ปัญ หาทางด้ า น นโยบาย (Policy issue) ของการพัฒนาประเทศ ประเทศกํ า ลั ง พั ฒ นาทุ ก ประเทศกํ า หนดให้ ก าร บรรเทาหรื อ การขจั ด ปั ญ หาความยากจนเป็ น เป้าหมายเชิงนโยบาย (Policy objective) โดยมี การกํ า หนดมาตรการทางด้ า นนโยบาย (Policy measures) ต่ า งๆ เช่ น มาตรการทางการคลั ง (Fiscal measure) มาตรการทางด้านการจ้างงาน (Employment measure) ม า ต ร ก า ร ท า ง ด้ า น สาธารณสุ ข (Public health measure) และ มาตรการทางด้านการศึกษา (Education measure) เป็นต้น ในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรการทางการคลัง การโอนเงินสด (Cash Transfers) เป็นเครื่องมือ ทางด้านนโยบาย (Policy instrument/tool) ของ มาตรการทางการคลั ง ซึ่ ง ดํ า เนิ น การโ ดย กระทรวงการคลังของรัฐบาล เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ


Kasem Bundit Journal Volume 12 No. 2 July – December 2011

ในการแก้ ไ ขปั ญ หาความยากจนของประเทศ หนั ง สื อ “Conditional Cash Transfers: Reducing Present and Future Poverty” ได้ นําเสนอหลักการแนวความคิด ปริบท การประยุกต์ และผลที่บังเกิดขึ้นของเครื่องมือทางด้านนโยบายนี้ โดยนําเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์และตัวอย่างจากการ ปฏิบัติจริงในประเทศต่างๆ จึงเป็นประโยชน์อย่าง ยิ่ ง สํ า หรั บ ผู้ บ ริ ห ารประเทศที่ มี ห น้ า ที่ กํ า หนด นโยบายและยุ ท ธศาสตร์ ในการพั ฒ นาประเทศ โดยเฉพาะอย่า งยิ่งนโยบายและยุทธศาสตร์ที่จ ะ ต่อสู้กับปัญหาความยากจนให้บรรเทาลงหรือขจัด ให้หมดสิ้นไปอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ สําหรับนักศึกษาทางด้านนโยบายสาธารณะ และการจัดการ (Public Policy and Management) หนั ง สื อ “Conditional Cash Transfers: Reducing Present and Future Poverty” มีความ เหมาะสมในฐานะตํ า ราที่ ค วรศึ ก ษาให้ เ ข้ า ใจใน กระบวนการในการกํ า หนดและบริ การจั ด การ นโยบาย รวมทั้ ง ความเข้ า ใจถึ ง ความสั ม พั น ธ์ ระหว่างประเด็นปัญหาทางด้านนโยบาย เป้าหมาย ทางด้านนโยบาย มาตรการทางด้านนโยบาย และ เครื่ อ งมื อ ทางด้ า นนโยบาย เพราะจะทํ า ให้ เ กิ ด ความเข้ า ใจอย่ า งลึ ก ซึ้ ง ต่ อ แนวความคิ ด เรื่อ ง “นโยบาย” ซึ่งมักอ้างถึงโดยไม่ระบุให้ชัดเจนอยู่เสมอ ว่ า อ้ า งถึ ง ประเด็ นปั ญ หา (Issue) เป้ า หมาย (Objective) มาตรการ (Measure) หรื อเครื่ องมื อ (Instrument) ทางด้านนโยบาย

รายงานเรื่ อ ง

“Conditional

Cash

Transfers: Reducing Present and Future Poverty” มิ ได้ ระบุ ว่ าประเทศไทยได้ นํ าเครื่ อ งมื อ

ทางด้า นนโยบายนี้มาใช้ ในการบรรเทาหรื อขจั ด ปัญหาความยากจน ในข้อเท็จจริงประเทศไทยนํา การถ่ายโอนเงินสดมาใช้ในการบรรเทาปัญหาความ ยากจนสํ า หรั บ ผู้ สู ง อายุ โ ดยจ่ า ยเงิ น ให้ เ ดื อ นละ 500 บาทต่อคน ทั้งนี้มิได้มีเป้าหมายในการพัฒนา ทุนมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต ตามเจตนารมณ์ ของโครงการ CCT’s ที่รายงานอ้างถึง แต่อย่างไรก็ ดีโครงการรักษาพยาบาลฟรีหรือ 30 บาทรักษาทุก โรคและโครงการเรี ย นฟรี 12 ปี ก็ นั บ ได้ ว่ า เป็ น โครงการประเภทเงิ น โอน (Transfers) ที่ ช่ ว ย บรรเทาปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ ในปัจจุบันและอนาคต โดยที่การโอนเงินเป็นการ โอนไปสู่สถานพยาบาลและโรงเรียน มิใช่โอนเงินสด ไปยังผู้ปกครอง มารดาหรือเด็กและนักเรียนโดยตรง ดังระบุไว้ในโครงการ CCT’s


แบบ JKBU-3 รูปแบบการพิมพ์และการนําเสนอบทความ/บทวิจารณ์หนังสือ 1. การพิมพ์ พิมพ์ต้นฉบับบทความ/บทวิจารณ์หนังสือด้วย Microsoft Word for Windows หรือ ซอฟต์แวร์อื่นที่ใกล้เคียงกัน พิมพ์บนกระดาษขนาด A4 หน้าเดียว ประมาณ 26 บรรทัด ต่อ 1 หน้า ภาษาไทยให้พิมพ์ด้วยอักษร TH Saraban ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ 16 พอยท์ ภาษาอังกฤษให้พิมพ์ ด้วยอักษร Times New Roman ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ 11 พอยท์ และใส่เลขหน้าตั้งแต่ต้นฉบับ จนจบบทความ ยกเว้น หน้า แรก โดยจัด พิมพ์เ ป็ น 2 คอลัมภ์ สํ า หรับ สาระของบทความ ยกเว้ น บทคัด ย่อทั้ง ภาษาไทยและภาษาอัง กฤษเป็น แบบคอลั มภ์เ ดี ย ว (กรุณาดูตัว อย่า งจากบทความที่ นํา เสนอในวารสารเกษมบัณฑิต ตั้งแต่ปีที่ 11 ฉบับ ที่ 2 กรกฎาคม–ธัน วาคม 2553 เป็น ต้น มา) สามารถดาวน์โหลดรูปแบบการจัดหน้า และตัวอักษรได้ที่ http://research.kbu.ac.th/journal.php 2. การนําเสนอบทความ 2.1 บทความทุกประเภททั้งที่เป็นบทความจากงานวิจัย บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์ (Article review) มีความยาวประมาณ 12 – 15 หน้า A4 (รวมบทคัดย่อ) 2.2 ชื่อบทความให้ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2.3 ให้ร ะบุชื่อของผู้เ ขีย นบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใต้ชื่อบทความ และระบุ ตํ า แหน่ ง ทางวิ ช าการ (ถ้ า มี ) ตํ า แหน่ ง งาน สถานที่ ทํ า งานของผู้ เ ขี ย น โดยเขี ย นเป็ น เชิ ง อรรถ (footnote) ในหน้าแรกของบทความ 2.4 การนําเสนอบทความให้นําเสนอ โดยมีองค์ประกอบดังนี้ • บทคั ด ย่ อ (เฉพาะบทความจากงานวิ จั ย ) กรณี ที่ เ ป็ น บทความจากงานวิจั ย ต้ อ งมี บทคัดย่อภาษาไทยและบทคัดย่อภาษาอังกฤษ โดยแต่ละบทคัดย่อมีความยาวไม่เกิน 1/3 ของกระดาษ A4 (ประมาณ 18 บรรทัด) และให้ระบุคําสําคัญ (Keywords) ใน บรรทัดสุดท้ายของบทคัดย่อทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ • 1 : บทนํา ระบุปัญหา/ความเป็นมา ความสําคัญของปัญหา/ประเด็นที่จะนําเสนอใน บทความ และวัตถุประสงค์ในการวิจัย/การเสนอบทความ • 2 : เนื้อหาสาระ นําเสนอประเด็นเนื้อหาต่างๆ ซึ่งอาจประกอบด้วยหลายย่อหน้า และ ในกรณี ข องบทความจากงานวิ จั ย การนํ า เสนอในส่ ว นนี้ ค วรมี ส่ ว นประกอบ ดั ง นี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) ขอบเขตของการวิจัย แนวคิดทฤษฎี และกรอบความคิ ด ในการวิ จั ย การทบทวนเอกสาร วิ ธี ก ารดํ า เนิ น การวิ จั ย และ ผลการวิจัย • 3 : สรุป สรุปผลการวิจัย/บทความและข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) • 4 : เอกสารอ้างอิง ให้นําเสนอแยกภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (เรียงลําดับอักษร) โดยนําเสนอตามตัวอย่าง 3 • ภาคผนวก (ถ้ามี)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.