อนาคตของระบบตลาดเสรี

Page 1

1

อนาคตของระบบตลาดเสรี (The Prospect of Free-Market Orthodoxy) นายคุปต พันธหินกอง นักศึกษาชั้นปที่ 3 โครงการปริญญาตรี ภาคภาษาไทย คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร นับเปนการสิ้นสุดยุคทอง (Golden Age) ของทุนนิยมรูปแบบตลาดเสรีที่ดําเนินมาตั้งแตทศวรรษ 1980 อยางแทจริง เมื่อมหาอํานาจทางเศรษฐกิจอยางสหรัฐอเมริกาถึงคราวตองเผชิญกับวิกฤตสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นในปลายป ค.ศ.2008 อันมี สาเหตุสําคัญมาจากการเก็งกําไรในตลาดอสังหาริมทรัพยจนนําไปสูสภาวะหนี้เสียจํานวนมากเพราะปลอยกูใหกับผูมีรายได นอยและมีความนาเชื่อถือต่ํา (Sub-prime Mortgage Loan) จนสถาบันการเงินขนาดใหญตองลมละลาย ทําใหแทบทุก ประเทศทั่วโลกที่มีตลาดสินคา และตลาดการเงินเชื่อมโยงถึงกัน (Interconnectedness) ตองเผชิญกับสภาวะถดถอยทาง เศรษฐกิจอยางหลีกเลี่ยงไมได เราจึงไดเห็นภาพของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ประกาศมาโดยตลอดวาดําเนินนโยบายเสรีนิยม ทางเศรษฐกิจ ตองกลืนน้ําลายตัวเองดวยการเขาไปซื้อหนี้เสียของธนาคารและสถาบันการเงินกวา 7 แสนลานดอลลาร เพื่อ ชวยพยุงสภาพเศรษฐกิจและการจางงานมิใหตกต่ํารุนแรง ซึ่งคาดการณกันวาจะเศรษฐกิจจะตกต่ํายื้ดเยื้อยาวนานกวา 2 – 3 ปกวาจะฟนตัว หรืออาจจะยาวนานกวานั้นก็เปนได ปญ หาวิ ก ฤตเศรษฐกิ จที่ เ กิ ด ขึ้น บ อ ยครั้ ง ขึ้ น เรื่ อ ยๆในช ว ง ค.ศ.1990 – 2008 มี คํ า อธิ บ ายที่ แ ตกต า งกั น ออกไป ยกตัวอยางเชน วิกฤตการเงินในเอเชียตะวันออก ค.ศ.1997 บทความของ Jayasuriya and Rosser กลาววามีคําอธิบายหลักๆ อยู 3 ประการคือ ความลมเหลวของรัฐบาลและระบบทุนนิยมพวกพอง (The Government Failure/Crony Capitalism Thesis) ทําใหการบริหารงานไมโปรงใส ขาดธรรมาภิบาลและมีผลประโยชนทับซอน, การดําเนินนโยบายมหภาคที่ผิดพลาด ของรัฐบาล (The Macroeconomic Mismanagement Thesis) เชน การขาดการกํากับดูแลสถาบันการเงิน การใชอัตรา แลกเปลี่ยนแบบคงที่ควบคูไปกับการเปดเสรีใหเงินทุนไหลเขาออกอยางเสรี, และการเปดเสรีทางการเงินโดยที่ยังไมมีความ พรอม (The Premature Financial Liberalization Thesis) อันเปนผลมาจากฉันทมติวอชิงตัน (Washington Consensus) ที่ เรงรัดใหประเทศตลาดเกิดใหม (Emerging Market) เปดเสรีทางการเงินโดยไมตระเตรียมปจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจใหพรอม (Jayasuriya and Rosser 2001: 384-386) นอกจากคําอธิบายวิกฤตเศรษฐกิจตามแนวทฤษฎีเศรษฐศาสตรกระแสหลักแลว ยังมีขอโจมตีจากหลายแหลง ที่มุง โจมตี “ระบบตลาด” โดยตรงวาเปนตนตอที่แทจริงของปญหา เชน กลุมสื่อสารมวลชน คอลัมนิสต องคกรเพื่อการพัฒนา เอกชน (NGO) ขบวนการเคลื่อนไหวอนุรักษสิ่งแวดลอม (Environmentalism) กลุมเคลื่อนไหวเพื่อความเปนธรรมของโลก (Global Justice) ปญญาชนสาธารณะ กลุมสังคมนิยม (Socialism) กลุมตอตานจักรวรรดินิยมอเมริกัน (Anti-Americanism) ที่ตางรวมตัวกันอยางแข็งขันในชวงทศวรรษ 1990 โดยมีจุดมุงหมายเดียวกันคือ คัดคานตลาดเสรีและระบบทุนนิยม การ เคลื่อนไหวประสบความสําเร็จถึงจุดสูงสุดเมื่อพวกเขาสามารถขัดขวางมิใหมีการประชุม WTO ที่เมือง Seattle ในป ค.ศ.1999 การเคลื่อนไหวของคนเหลานี้ David Henderson อดีตหัวหนาฝายเศรษฐกิจและสถิติของ OECD เรียกชื่อโดยรวมๆวาเปน “New Millennium Collectivism” ในหนังสือของเขาชื่อ “Anti-Liberalism 2000” (Henderson 2000)


2

บทความนี้มิไดมุงอธิบายปญหาวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาในรายละเอียดโดยตรง แตเปนการวิเคราะหวาวิกฤต เศรษฐกิจครั้งนี้สงผลตอทัศนคติเรื่องระบบตลาดอยางไร และจะตองเผชิญกับขอวิจารณคัดคานอยางไร และในอนาคตระบบ ตลาดเสรีจะเสื่อมความนิยมลงไปหรือไม เหมือนดังที่เคยเกิดขึ้นมาแลวในทศวรรษ 1930 – 1970 ในสวนแรกจะเปนการอธิบาย เชิงเศรษฐศาสตรวาระบบตลาดคืออะไร อะไรคือความลมเหลวของระบบตลาด สวนที่สองคือการนําเสนอวิวัฒนาการของ ระบบตลาดเสรีในอังกฤษและสหรัฐชวง ค.ศ.1930 – 2000 และการตอสูกันทางความคิดระหวางนักเศรษฐศาสตร 3 คนคือ จอหน เมยนารด เคนส (John Maynard Keynes) ฟรีดริช ฮาเยก (Friedrich A. Hayek) และมิลตัน ฟรีดแมน (Milton Friedman) ในประเด็นเรื่องระบบตลาดและบทบาทของรัฐ สวนที่สามคือการวิเคราะหผลกระทบของวิกฤตการเงินสหรัฐตอ บทบาทของรัฐในระบบตลาด สวนสุดทายคือการวิเคราะหทิศทางของตลาดเสรีแบบอเมริกันที่ตองเผชิญกับแรงเสียดทาน ตอตานคัดคาน และการสูญเสียความนาเชื่อถือ (Discredit) รวมทั้งตองเผชิญกับการทาทายอํานาจของระบบตลาดแบบสั่ง การของจีน (Command Capitalism) ที่ยังสามารถรักษาตัวเองและบอบช้ําจากวิกฤตครั้งนี้คอนขางนอย ระบบตลาดคืออะไร? ในหนังสือ The Market System ของ Charles E. Lindblom ศาสตราจารยทางดานเศรษฐศาสตรและรัฐศาสตรแหง มหาวิทยาลัยเยล กลาวไวอยางนาสนใจวา “เปนไปไดที่คนๆหนึ่งจะใชเวลาศึกษาวิชาเศรษฐศาสตรนานหลายป โดยที่ไมเขาใจ เลยวาระบบตลาดคืออะไร” (Lindblom 2001: 2) นักศึกษาเศรษฐศาสตรมักจะไดรับการสอนแบบแยกสวนตามแขนงวิชา และ ไมเขาใจถึงโครงสรางองครวมทั้งหมดของระบบตลาด เสมือนการเรียนเฉพาะตนไมทีละตน แตมองไมเห็นปาทั้งหมด กลาว อยางกระชับแลวระบบตลาดหมายถึง การประสานรวมมือกันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจผานผูผลิตและผูบริโภค โดยไมใชการ วางแผนจากรัฐบาลวาจะผลิตอะไร จํานวนเทาใด จะผลิตอยางไร จางคนงานเทาไร ซึ่ง Lindblom เรียกวา “Coordination without a Coordinator” (Lindblom 2001: 23) พลังที่ขับเคลื่อนระบบตลาดคือพลังของความเห็นแกประโยชนสวนตน (Self-interest) ตามความคิดของ อดัม สมิธ (Adam Smith) ในหนังสือ The Wealth of Nations เมื่อมีการแขงขันในตลาด ผลประโยชนสวนตนจะถูกแปรเปลี่ยนให กลายเปนผลประโยชนตอสังคมได กระบวนการดังกลาวจะเกิดขึ้นเองโดยที่ไมมีใครเจตนาใหเกิดขึ้นโดยตรง แตอาศัย “มือที่ มองไมเห็น” (Invisible Hand) ทําหนาที่อยูเบื้องหลัง การแลกเปลี่ยนในระบบตลาดเปนการกระทําโดยสมัครใจ (Voluntary) ไมมีการใชกําลังบังคับ (Coercion) ในระบบตลาดเราสามารถทําใหคนอื่นทําในสิ่งที่เราตองการโดยไมตองออกคําสั่งแตใชการ แลกเปลี่ยนแทนคําสั่ง การตัดสินใจวาจะแลกเปลี่ยนหรือไมจะพิจารณาจากราคา กลไกราคาจะเปนสัญญาณของการ แลกเปลี่ยนระหวางผูซื้อ-ผูขายปจจัยการผลิต และผูซื้อ-ผูขายสินคา ระบบตลาดจะมีประสิทธิภาพ (Market Efficiency) ภายใตเงื่อนไข 4 ประการ (Steven 1993: 57) คือ 1. สินคาและบริการมีลักษณะเปนสินคาสวนบุคคล (Private Goods) ไมสามารถบริโภครวมกันไดพรอมๆกัน การ บริโภคสินคาและบริการดังกลาวทําใหปริมาณที่จะเหลือใหผูอื่นบริโภคลดลง 2. เสนอุปสงคของผูบริโภคจะตองสะทอนอรรถประโยชนทั้งหมดของการบริโภคสินคานั้น 3. เสนอุปทานของผูผลิตจะตองสะทอนตนทุนทั้งหมดของการผลิตสินคานั้น 4. มีการแขงขันในตลาดทั้งฝงผูซื้อและผูขาย ไมมีใครมีอํานาจเหนือตลาด


3

ถาระบบตลาดบรรลุเงื่อนไขครบทั้งหมดนี้ การจัดสรรทรัพยากรจะมีประสิทธิภาพ เมื่อมีความตองการสินคาชนิดใดมาก เสน อุปสงคของผูบริโภคที่สะทอนความตั้งใจจาย (Willingness to Pay) จะเพิ่มขึ้น สงผลใหราคาดุลยภาพเพิ่มสูงขึ้น ผูผลิตเล็งเห็น กําไรสวนเกิน (Excess Profit) จึงโยกยายปจจัยการผลิตไปผลิตสินคาชนิดดังกลาว เมื่อมีผูผลิตเขามาผลิตมากขึ้น ปริมาณ สินคาก็จะมากขึ้นทําใหราคาสินคาลดลง สุดทายก็จะไมมีผูผลิตรายใดไดกําไรสวนเกิน การเคลื่อนยายปจจัยการผลิตก็จะหยุด ลง ดังนั้นราคาจึงเปนกลไกอัตโนมัติที่ควบคุมมิใหมีการใชทรัพยากรอยางสูญเปลาเพื่อไปผลิตสินคาและบริการที่ไมเปนที่ ตองการของตลาด และคอยดูแลมิใหสินคาและบริการบางประเภทขาดแคลน ไมเพียงกับความตองการของผูบริโภค การจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพที่สุดในทางเศรษฐศาสตรหลักประสิทธิภาพแบบพาเรโต (Pareto Efficient) หรืออุตมภาพแบบพาเรโต (Pareto Optimality) ซึ่งมีหลักวา การจัดสรรทรัพยากรใดๆก็ตามจะเกิดประสิทธิภาพแบบพาเรโตก็ ตอเมื่อ “สังคมไมสามารถจัดสรรทรัพยากรใหมเพื่อเพื่อทําใหคนๆหนึ่งในสังคมมีสวัสดิการดีขึ้นโดยไมทําใหสวัสดิการของคน อื่นในสังคมลดลง” ดังนั้น ถาเมื่อใดที่เราสามารถจัดสรรทรัพยากรใหมเพื่อใหคนๆหนึ่งในสังคมมีสวัสดิการดีขึ้นโดยไมทําให สวัสดิการของคนอื่นในสังคมลดลง แสดงวาการจัดสรรทรัพยากรในขณะนั้นไมมีประสิทธิภาพ (Inefficient) และการ เปลี่ยนแปลงการจัดสรรทรัพยากรเพื่อใหสวัสดิการสังคมดีขึ้น จะกอใหเกิดพัฒนาการแบบพาเรโต (Pareto Improvement) การวิเคราะหประสิทธิภาพตลาดแขงขันทําไดจากแบบจําลองดุลยภาพทั่วไป (General Equilibrium) ที่รวมเอาประสิทธิภาพใน การแลกเปลี่ยนของผูบริโภค (Exchange Efficiency) และประสิทธิภาพในการผลิต (Production Efficiency) เขาดวยกัน นอกจากนั้น เศรษฐศาสตรสมัยใหมยังอาศัยทฤษฎีเกมในการอธิบายพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนระหวางมนุษยใน สังคมที่มีผลประโยชนแตกตางกัน โดยจะเนนศึกษาทั้งกลยุทธการตอรอง (Bargaining Strategy) เพื่อวิเคราะหวาสวัสดิการ สังคมที่เพิ่มขึ้นจากการแลกเปลี่ยนนั้นจะตกอยูในมือของใครมากกวากัน ภายใตกฎกติกาและโครงสรางแรงจูงใจ (Incentive Structure) ที่แตกตางกัน มนุษยผูซึ่งแสวงหาผลประโยชนสวนตนก็จะมีพฤติกรรมที่แตกตางกันตามไปดวย ระบบตลาดซึ่ง ทํางานดวยการแลกเปลี่ยนสินคาและบริการ จําเปนตองมีการตกลงกันวาสินคา A 1 หนวย จะแลกกับสินคา B ไดกี่หนวย มูลคาการแลกเปลี่ยนจึงเกิดจากการตอรองกัน และระบบตลาดก็มีการตอรองผลประโยชนกันอยูทุกขณะ เชน ลูกจางตอรอง คาจางกับนายจาง ผูซื้อตอรองราคากับผูขาย เกมของการแลกเปลี่ยนตอรองมีทั้งเกมที่ผูเลนรวมมือกัน (Cooperative Game) เกมแบบไมรวมมือกัน (Non-Cooperative Game) เกมที่เลนซ้ํา (Repeated Game) เปนตน อยางไรก็ตาม สิ่งสําคัญที่จะเขาใจการทํางานของระบบตลาด Lindblom เห็นวาจะตองมองระบบตลาดกวางกวา มุมมองแบบเศรษฐศาสตร โดยมองตลาดในฐานะสถาบันทางสังคมที่ทําหนาที่ประสานสานมนุษยไวดวยกัน (Lindblom 2001: 19-20) สิ่งที่ประสานมนุษยในสังคมมีหลายสถาบัน เชน เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา กฎหมาย ซึ่งในบรรดาเครื่องที่ใชประสาน มนุ ษ ย เ ข า ไว ด ว ยกันทั้ ง หมด ตลาดถื อ เป น กลไกที่ ใ ห อิส ระในการตั ด สิ น ใจของมนุ ษ ย ม ากที่ สุ ด ไม มี ก ารใช อํา นาจบั งคั บ นอกจากนั้นการมองระบบตลาดจะตองมองจากสภาพที่ “เปนจริง” ของมัน เพราะตลาดในปจจุบันหางไกลจากตลาดในทฤษฎี ขอกลุมเศรษฐศาสตรนีโอคลาสสิกมาก โลกปจจุบันรัฐบาลเปนผูมีบทบาทสําคัญในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เปนผูซื้อรายใหญ ผลิตบริการสาธารณะจํานวนมาก เก็บภาษีสินคา ออกกฎหมายกํากับควบคุมการผลิต หามการคาขายสินคาที่ผิดจริยธรรม อุดหนุนราคาสินคาเกษตร กําหนดคาจางขั้นต่ํา ประกันสวัสดิการสังคม ฯลฯ ซึ่งเราไมสามารถจะปฏิเสธการเขามามีสวนรวม ในระบบตลาดของรัฐได (Lindblom 2001: 8) หลายบทบาทก็ไมเกิดประโยชนและสูญเปลา แตหลายบทบาทของรัฐชวย สนับสนุนระบบตลาด ตลาดที่มีประสิทธิภาพจึงมิไดหมายความวารัฐจะตองมีบทบาทใหนอยที่สุดเสมอไป


4

ความลมเหลวของระบบตลาด ระบบตลาดอาจทํางานลมเหลว (Market Failure) ไดในหลายรูปแบบ สงผลใหผลลัพธการดําเนินงานของตลาดไมมี ประสิทธิภาพ หรือไมสามารถตอบสนองตอความตองการของสาธารณะไดอยางเพียงพอ ตามความเขาใจของนักเศรษฐศาสตร โดยทั่วไปแลว ตลาดจะลมเหลวเมื่อตลาดที่ “เปนจริง” มีลักษณะหรือเงื่อนไมสอดคลองกับตลาดใน “อุดมคติ” ที่มีการแขงขัน อยางเต็ มที่ นอกจากตลาดจะลม เหลวด วยเหตุผลดา นประสิทธิภ าพแลวยั งมีเหตุ ผลด าน “ความเทาเทีย ม” หรือ “ความ ยุติธรรม” อีกดวย ประเด็นเรื่องความลมเหลวของตลาดจึงนําไปสูวิวาทะของนักเศรษฐศาสตรเรื่องการเขามาแทรกแซงโดยรัฐ บางกลุมเชื่อวาตลาดสวนใหญในโลกลมเหลวอยูบอยครั้ง และทันทีที่เกิดความลมเหลวรัฐบาลควรจะเขามาแทรกแซงทันที ขณะที่บางกลุมมีความเคลือบแคลงระแวงสงสัยกับการเขามาแทรกแซงโดยรัฐที่อาจจะทําใหปญหาแยลงกวาเดิม (Steven 1993: 59) นอกจากนั้นยังมีกลุมนักเคลื่อนไหวตอตานทุนนิยมที่เห็นวาควรยกเลิกระบบตลาดไปเลยแลวแทนที่ดวยระบบอื่น เพราะเมื่อใดที่ใชระบบตลาดก็จะมีปญหาเชนนี้เสมอไป ไมมีทางแกไข ลักษณะของตลาดที่ลมเหลว มีหลายประการ อาทิ ผลิตสินคาสาธารณะออกมานอยเกินไป (Undersupplied Public Goods), กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีตนทุนตอสังคม (Social Cost), มีการเอารัดเอาเปรียบเนื่องจากขอมูลขาวสารไมสมมาตร (Asymmetric Information), การแขงขันที่ไมสมบูรณทําใหบรรษัทรายใหญผูกขาดและมีอํานาจในการตั้งราคา (Market Power), ปญหาความเชื่องชาในการปรับตัวของตลาด (Time Lags), ปญหาตนทุนธุรกรรมสูง (High Transaction Cost), ความไรเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค (Instability), และปญหาการกระจายรายไดที่ไมเทาเทียมกัน (Inequality) (ดู รายละเอียดเพิ่มเติมใน Steven 1993: Ch 3 และ Mitchell and Simmons 1994: Ch 1) นอกจากนั้นรัฐบาล โดยเฉพาะประเทศกําลังพัฒนา อาจเขาแทรกแซงระบบตลาดไดแมไมมีความลมเหลวเพื่อเรงรัด การพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะหากปลอยใหระบบตลาดทํางานอยางอิสระ การสะสมทุนและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอาจจะ เพิ่มขึ้นอยางเชื่องชา การแทรกแซงอาจทําไดโดย นโยบายอุตสาหกรรมทดแทนการนําเขา (Import Substitution) โดยรัฐกีดกัน การนําเขาสินคานําเขาที่จะเขามาแขงขันกับอุตสาหกรรมเกิดใหม (Infant Industry) ภายในประเทศ เชน การเก็บภาษีนําเขา การกี ด กั น ดว ยโควต า หรื อ การออกกฎหมายคุ ม ครอง เพื่ อเป ด โอกาสให ผูผ ลิ ต สามารถพั ฒ นาตนเองเพื่ อแข ง กั บ ผู ผ ลิ ต ตางประเทศได หรือรัฐอาจใชอีกทางเลือกหนึ่งคือนโยบายสงเสริมการสงออก (Export Promotion) โดยรัฐอุดหนุนผูผลิตสินคา เพื่อสงออก เชน การใหเงินอุดหนุน การใหสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา การใหอภิสิทธิ์บางประการ เปนตน ความเปนมาของการตอสูทางความคิดเรื่องตลาดเสรี: เคนส, ฮาเยก, และฟรีดแมน ชวงเวลา 25 ปหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 (1945 – 70) แนวคิดเศรษฐศาสตรแบบเคนสเซียน (Keynesianism) มี บทบาทสําคัญในการยึดกุมพื้นที่ทางความคิด จนกลายเปนกระบวนทัศนหลัก (Dominant Paradigm) ของนักเศรษฐศาสตร ผูนําในประเทศตางๆ และผูกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจในหลายประเทศ จอหน เมยนารด เคนส (John Maynard Keynes: 1883 – 1946) เปนนักเศรษฐศาสตรชาวอังกฤษ แนวคิดของเขานับไดวาเปนการปฏิวัติทางกระบวนทัศน (Paradigm Shift) ทางเศรษฐศาสตรที่เคยมีมากอนหนานี้ (รังสรรค 2548: 2-3) โดยเคนสเรียกแนวคิดทางเศรษฐศาสตรกอนที่หนังสือ The General Theory of Employment, Interest, and Money ของเขาจะตีพิมพในป ค.ศ.1936 วา “เศรษฐศาสตรคลาสสิก” (Classical Economics) ที่เชื่อมั่นในประสิทธิภาพของกลไกราคาในการจัดสรรทรัพยากร โดยที่รัฐบาลไมตองเขาไปแทรกแซง เคนสปฏิเสธกฎของซาย (Say’s Law) ที่เชื่อวา “Supply creates its own demand” เพราะอุปสงคมวลรวมอาจมีไมเพียงพอ


5

ความคิดของเคนสเขาแทนที่เศรษฐศาสตรคลาสสิกเพราะกระบวนทัศนเดิมอธิบายปญหาวิกฤตการณเศรษฐกิจตกต่ําครั้งใหญ ในสหรัฐ (The Great Depression) ไมได ลักษณะสําคัญของแนวคิดเศรษฐศาสตรแบบเคนสเซียนคือ 1. สนับสนุนใหรัฐเขาไปมีบทบาทอยางแข็งขันในการแทรกแซงระบบตลาด (Active Intervention) ดวยความเชื่อ ที่วา ภาคธุรกิจเอกชนไมมีเสถียรภาพและเปนสาเหตุของความผันผวนของเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงมีหนาที่ดําเนิน นโยบายเพื่อตานทานวัฏจักรทางเศรษฐกิจ (Countercyclical) 2. มุงแกปญหาดานเศรษฐกิจมหภาค เชน การบริโภค การออม การวางงาน และอัต ราเงินเฟอ ดวยนโยบาย ดานมหภาค เชน นโยบายการเงินและการคลัง ผานการจัดการอุปสงคมวลรวม (Aggregate Demand Management) กลาวคือ เคนสพัฒนาแบบจําลองเศรษฐกิจมหภาคอยางเปนระบบขึ้นเปนครั้งแรก ทฤษฎีหลาย ประเภทเปนการคิดขึ้นใหม เชน ทฤษฎีอัตราดอกเบี้ย ทฤษฎีความตองการถือเงิน 3. ใหความสําคัญกับนโยบายการจางงาน (Employment) เนื่องจากแนวคิดเศรษฐศาสตรแบบเคนสเซียนไดรับการ พัฒนาขึ้นมาในชวงทศวรรษ 1930 เพื่อเสนอแนวทางแกไขวิกฤตการณเศรษฐกิจตกต่ําครั้งใหญในสหรัฐ ที่มีคน วางงานเปนจํานวนมากกวา 20% ในชวงป ค.ศ.1932 – 35 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Knoop 2004: Ch 10) 4. มีความเชื่อวาการใชนโยบายการคลังในการแกปญหาเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพมากกวาการใชนโยบายการเงิน เนื่องจากเกิดกับดักสภาพคลอง (Liquidity Trap) ในตลาดการเงิน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Froyen 2008: Ch 5) อีกทั้งรัฐบาลสามารถใชนโยบายงบประมาณแบบขาดดุลได ซึ่งขัดกับแนวคิดของเศรษฐศาสตรคลาสสิก 5. มีความเชื่อวาระดับราคาสินคาและคาจางตัวเงินปรับตัวไดคอนขางชา (Sticky) สงผลใหกลไกตลาดทํางานไดไม สมบูรณ ประชาชนมีขอมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจไมเพียงพอจึงปรับการคาดการณไดชา เคนสถูกจัดอยูในกลุมนักเศรษฐศาสตรแนวเสรีนิยมสมัยใหม (Modern Liberalism) ที่ยังคงสนับสนุนระบบทุนนิยม โดยวิสาหกิจเอกชน แตใหรัฐมีบทบาทในทางเศรษฐกิจมากขึ้นดวยเหตุผลทางสังคมและการเมือง สงเสริมมีการจัดสวัสดิการ แกคนที่ตกงาน ผูสูงอายุ ผูปวย ผูพิการ รัฐมีหนาที่จัดการศึกษาและบริการสาธารณะ ใชนโยบายการกระจายรายไดดวยภาษี (Redistribution) เพื่อชวยใหคนที่ดอยกวามีโอกาสที่เทาเทียมกับผูอื่น (Equality of Opportunity) ลักษณะของแนวคิดเสรีนิยม สมัยใหมจะละมายคลายคลึงกับแนวทางสังคมเสรีนิยม (Social Liberalism) (สมเกียรติ 2551: 43) อยางไรก็ตาม กลุมอนุรักษ นิยมฝายขวาในสหรัฐก็ยังพยายามโจมตีแนวคิดของเคนสวาเปนสังคมนิยม และไดรับการคัดคานในชวงทศวรรษ 1950 เนื่องจากกระแสตอตานคอมมิวนิสตกําลังครอบงําสังคมอเมริกันในขณะนั้น ในอีกฟากฝงหนึ่งของกระแสความคิด ฟรีดริช ฮาเยก (Friedrich A. Hayek: 1899 – 92) นักเศรษฐศาสตรชาว ออสเตรีย ไดรับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตรในป ค.ศ.1974 เปนอีกหนึ่งคนที่สงอิทธิพลทางความคิดอยางมากในศตวรรษ ที่ 20 โดยเฉพาะการปฏิรูประบบตลาดในอังกฤษและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 1980 ฮาเยกเชื่อมั่นในสกุลความคิดแบบเสรี นิยมคลาสสิก1 และยืนยันความเชื่อมั่นในระบบตลาดเสรี เขาคัดคานแนวคิดของเคนสที่ปรากฏในหนังสือ The General Theory ในงานเขียนสําคัญของเขาคือ The Road to Serfdom ตีพิมพในป ค.ศ.1944 เขาคัดคานระบบเศรษฐกิจการเมือง แบบรวมหมู (Collectivism) ระบบสังคมนิยม และการวางแผนจากสวนกลาง ที่เกิดขึ้นในประเทศเยอรมนี และสหภาพโซเวียต 1

ความคิดแบบเสรีนิยมคลาสสิก (Classical Liberalism) ปฏิเสธการบังคับจํากัดเสรีภาพทั้งในทางการเมืองและในทางเศรษฐกิจ มีแนวคิดเชิดชู ปจเจกบุคคล (Individualism) สนับสนุนระบบกรรมสิทธิส์ วนบุคคล (Private Property) ตองการรัฐบาลทีม่ ีขนาดเล็กและมีอํานาจนอย (Minimal State) และสงเสริมเศรษฐกิจแบบตลาดที่มีการแขงขันเสรี (Free Market Economy) โดยรัฐไมเขาแทรกแซง (สมเกียรติ 2551: 40-44)


6

สิ่งที่ฮาเยกกังวลก็คือ ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ําหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประชาชนตางสิ้นหวังในชีวิตและหันไปเรียกรองให รัฐบาลเขามามีบทบาทมากขึ้นในทุกมิติเพื่อแกไขปญหาความยากลําบาก นั่นหมายถึงรัฐบาลจําเปนที่จะตองมีอํานาจมากขึ้น ซึ่งเปนสิ่งที่ฮาเยกไมพึงปรารถนาเลย เขาเปรียบเทียบวามหาเศรษฐีที่ทรงอิทธิพลคนหนึ่งยังมีอํานาจนอยกวาขาราชการของรัฐ เพียงไมกี่คนที่มีอํานาจบังคับ (Coercive Power) ในการชี้เปนชี้ตายชีวิตมนุษยได เขาเชื่อวาในทายที่สุดแลวการเรียกรองให รัฐบาลเขามามีบทบาทมากขึ้น มีอํานาจมากขึ้น จะทําใหเสรีภาพ2 ของมนุษยถูกลดทอนลง (Hayek 1945/2005: 41) แมวาฮาเยกจะเชื่อวาพลังของการแขงขันโดยเสรีจะเปนกลไกที่ประสาน (Coordinate) กิจกรรมทางเศรษฐกิจของ มนุษยเขาดวยกันโดยที่ไมตองการอํานาจบังคับใดๆ แตเขาก็มิไดสนับสนุนแนวคิดแบบปลอยเสรี (Laissez Faire) หรือการ ปลอยทิ้งไวโดยลําพัง (leaving things just as they are) โดยปราศจากการควบคุมของกฎหมาย เขาเชื่อวาบทบาทของรัฐยังมี ความจําเปน เชน จํากัดชั่วโมงการทํางาน กําหนดมาตรฐานสุขอนามัย ใหบริการสาธารณะตอสังคม ดูแลปญหาสิ่งแวดลอม จํากัดการผูกขาดและสงเสริมการแขงขัน (Hayek 1945/2005: 45-46) กลาวคือรัฐบาลที่ดีควรมีหนาที่กํากับดูแลระบบตลาด (Regulation) ใหทํางานอยางมีประสิทธิภาพ แตฮาเยกก็มิไดหมายความวาจะมี “ทางสายกลาง” (Middle Way) ของกิจกรรม ทางเศรษฐกิจที่ผสมผสานระหวางตลาดเสรีกับการวางแผนโดยรัฐ เพราะเขาเชื่อวาการวางแผนมิไดอยูตรงขามกับการแขงขัน แตเปนการวางแผนคือเงื่อนไขพื้นฐานของการแขงขัน3 ฮาเยกคัดคานการวางแผนเศรษฐกิจโดยรัฐ ที่มีขออางวาทําไปเพื่อ “ความเปนธรรมทางสังคม” (Social Justice) การ วางแผนโดยรัฐที่ทําตัวเปน “คุณพอรูดี” ทายที่สุดแลวจะนําไปสูหายนะหรือที่ฮาเยกเรียกวา “A Fatal Conceit” เพราะเขาเชื่อ วาไมมีใครจะรอบรูขอมูลทางเศรษฐกิจมากเพียงพอที่จะวางแผนและจัดสรรทรัพยากรไดอยางเหมาะสม ซึ่งเคยเกิดขึ้นและ ลมเหลวมาแลวในระบบคอมมิวนิสต การตัดสินใจผลิตอะไร อยางไร ควรเปนหนาที่ของปจเจกบุคคลผานการแขงขันอยางเสรี ในระบบตลาด ระบบตลาดเสรีดําเนินงานโดยไมมีการวางแผน4 ผลลัพธที่ออกมาจึงไมไดเกิดขึ้นจากความตั้งใจของใคร (Market outcomes are arbitrary) และคาดการณไมไดแนนอน ดังนั้นระบบตลาดจึงไมมีสิ่งที่เรียกวา “มาตรฐานทาง คุณธรรม” (Moral Standard) เพราะตลาดไมมีคุณสมบัติความเปนมนุษย (Impersonal) การเรียกรองความเปนธรรมจาก ระบบตลาดจึงสูญเปลา เพราะไมสามารถจะเรียกรองเอาจากใครได (No one is to blame) (Macedo 1999: 292-294) ในชวงป ค.ศ.1930 – 50 ระบบตลาดเสรีกําลังออนโรยและไมนาเชื่อถือ ฮาเยกเขียนบทความขึ้นในป ค.ศ.1949 ชื่อ The Intellectuals and Socialism กลาววาบุคคลที่ชวยโหมกระแสตอตานระบบตลาดและสนับสนุนใหรัฐบาลขยายตัว (Growing Government) ประกอบดวย ปญญาชน สื่อสารมวลชน คอลัมนิสต นักเขียน ศิลปน ฮาเยกเรียกคนกลุมนี้วาเปน “the second-hand dealers in ideas” โดยเฉพาะในอังกฤษที่มีอาจารยมหาวิทยาลัยจํานวนไมนอยสนับสนุนแนวทางสังคม นิยม สนับสนุนการจัดตั้งองคกรสวนกลางขึ้นมาทําหนาที่แทนตลาด พวกเขาเชื่อระบบตลาดเปน “ความชั่วราย” มีการเอารัด เอาเปรียบ และไมเปนธรรม พวกเขาใฝฝนถึงสังคมในอุดมคติ (Utopia) ที่ไมมีระบบตลาดเสรี แตฮาเยกกลาววาวิธีคิดแบบนี้ 2

เสรีภาพ (Liberty) ในความหมายของฮาเยกจากหนังสือ The Constitution of Liberty (1960) คือ “a condition in which coercion of some by others is reduced as much as possible in society ” (Caldwell 1997: 1870) 3 ถอดความจากภาษาอังกฤษคือ “Planning and competition can be combined only by planning for competition, not by planning against competition.” (Hayek 1945/2005: 46) 4 ฮาเยกเรียกกระบวนการนี้วา “Spontaneous Order” อธิบายสั้นๆคือ “Spontaneous order is the product of human action but not of human design.” (Macedo 1999: 290) ซึ่งแนวคิดนี้สอดคลองกับ “Invisible Hand” ของ Adam Smith


7

สุดทายจะนําไปสูระบบฟสซิสมหรือไมก็ระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต จึงกลาวไดวาในชวงเวลานั้น ฮาเยกเปนนักคิดและนัก เศรษฐศาสตรที่มีความคิดที่แปลกไปจากคนอื่นๆแทบทั้งหมด (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Hayek 1949/2005: 96-104) มิลตัน ฟรีดแมน (Milton Friedman: 1912 – 2006) ศาสตราจารยประจํามหาวิทยาลัยชิคาโก และไดรับรางวัลเบล สาขาเศรษฐศาสตรเมื่อ ค.ศ.1976 เปนนักเศรษฐศาสตรเสรีนิยมที่สนับสนุนการจํากัดบทบาทของรัฐมาตั้งแตแรกเริ่ม แนวคิด ของเขาคลายคลึงกับของฮาเยก ในหนังสือ Capitalism and Freedom ตีพิมพในป ค.ศ.1962 ในบทนําของหนังสือเขาคัดคาน คําพูดของประธานาธิบดีจอหน เอฟ. เคนเนดี้ ที่วา “ทานโปรดอยาถามเลยวาประเทศจะทําอะไรใหทาน จงถามวาทานจะทํา อะไรใหประเทศไดบาง”5 ฟรีดแมนอธิบายวา สังคมประกอบขึ้นดวยปจเจกบุคคลที่เปนอิสระเสรีตอกัน ประชาชนมิไดมีหนาที่ ตองรั บใชรัฐ พวกเขามีชีวิต และรับ ผิด ชอบชี วิต ของเขาเอง ขณะเดี ย วกัน รัฐบาลก็ ไมไ ด เปน ผูอุ ปถั มภ แก ประชาชน จึง ไม จําเปนตองทําอะไรใหแกประชาชน (Friedman 1962/1982: 1-2) เคนเนดี้จึงไมควรกลาวเชนนี้ในสังคมที่นิยมเสรีภาพ ฟรีดแมนเห็นวาสิ่งที่ปจเจกบุคคลควรเรียกรองจากรัฐบาลของตนคือการพิทักษเสรีภาพ (Freedom) ทั้งเสรีภาพใน การพูด การคิด การเขียน การนับถือศาสนา การประกอบธุรกิจ การซื้อขายแลกเปลี่ยน และสิ่งที่เปนภัยตอเสรีภาพคือการรวม ศูนยอํานาจ (Concentration of Power) สิ่งที่จะควบคุมอํานาจของรัฐบาลไดมี 2 ประการคือ การจํากัดขอบเขตอํานาจของ รัฐบาลภายใตรัฐธรรมนูญ (Constitutionalism) และการกระจายศูนยกลางอํานาจรัฐออกไป (Decentralization) เมื่อรัฐถูก จํากัดอํานาจลงแลว ฟรีดแมนเห็นวารัฐควรมีหนาที่เพียง 3 ประการคือ รักษากฎหมายและความสงบเรียบรอย (preserve law and order) บังคับใชสัญญาของเอกชน (enforce private contracts) และสงเสริมการแขงขันในตลาด (foster competitive market) (Friedman 1962/1982: 2) ฟรีดแมนมีผลงานที่ครอบคลุมหลายแขนงในทางเศรษฐศาสตร ทั้งดานนโยบายการเงิน ระบบการเงินระหวางประเทศ การคาระหวางประเทศ การศึกษา นโยบายสวัสดิการสังคม ซึ่งโดยรวมแลวเขาเห็นวาการมี รัฐบาลเปนสิ่งที่จําเปน เพียงแตเขาไมสนับสนุนใหรัฐบาลเขาดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจดวยตนเอง รัฐบาลควรดํารงตนใน ฐานะกรรมการ (Umpire) ผูกํากับดูแลกติกาของเกม (Rules of the game) อยางไรก็ตาม ตลาดผูกขาดในบางสถานการณจะมีประสิทธิภาพจําเปนตองมีการผูกขาดโดยผูผลิตรายเดียว ฟรีด แมนเรียกวา “การผูกขาดในเชิงเทคนิค” (Technical Monopoly) (Friedman 1962/1982: 28) เชน กิจการโทรศัพท กิจการ รถไฟ ในสภาวะเชนนี้มีทางเลือกอยู 3 ทางคือ เอกชนเปนผูผูกขาด (Private Monopoly) รัฐเปนผูผูกขาด (Public Monopoly) ในรูปแบบรัฐวิสาหกิจ และทางเลือกสุดทาย ใหเอกชนผูกขาดแตรัฐคอยกํากับดูแล (Public Regulation) ฟรีดแมนเห็นวาเปน เหตุการณที่เลือกยาก เพราะตองเลือกสิ่งที่ “เลวราย” นอยที่สุด ซึ่งเขาตัดสินใจเลือกวิธีแรก (อยางไมเต็มใจนัก) โดยอธิบายวา สองวิธีหลังมีขอเสียคือ ตอบสนองไดชาตอสังคมที่เปลี่ยนแปลงเร็ว และอาจจะนําไปสูการปกปองรัฐวิสาหกิจมิใหเผชิญแขงขัน จากธุรกิจใหมๆ ในขณะที่การผูกขาดโดยเอกชนในระยะยาวยังตองเผชิญกับการแขงขันจากเทคโนโลยีใหม เขายกตัวอยาง กิจการรางรถไฟในสหรัฐที่เปนการผูกขาดเชิงเทคนิคในระยะเริ่มตน แตในระยะยาวแลวก็ยังตองตองเผชิญกับการแขงขันโดย ธุรกิจการบิน และการขนสงทางรถยนต เวนแตจะไดรับการปกปองโดยรัฐ สิ่งที่ฟรีดแมนตองการจะสื่อก็คือ การผูกขาดเชิง เทคนิคของเอกชนโดยลําพังแลวกีดกันผูอ่ืนมิใหเขามาแขงขันไมได ทายที่สุดแลวรัฐบาลคือผูออกกฎหมายวากิจการใดมี ลักษณะเปน “กิจการสาธารณะ” ที่รัฐบาลเทานั้นมีอํานาจผูกขาดในการใหบริการเพียงรายเดียว 5

ถอดความจากภาษาอังกฤษคือ “Ask not what your country can do for you—ask what you can do for your country.” (Inaugural Address of President Kennedy, 1961)


8

ระบบตลาดในสหรัฐอเมริกายุคแนวคิดเคนสเซียน (1940 – 1970) เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาหลัง The Great Depression เปนระบบทุนนิยมแบบมีการกํากับดูแลอยางเขมงวด (Regulatory Capitalism) ป ค.ศ.1932 ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฟรงคลิน ดี. รุสเวลท (Franklin D. Roosevelt: 1882 – 1945) นําเสนอนโยบาย “New Deal” เพื่อแกไขปญหาเศรษฐกิจตกต่ํา โดยเนนการจัดหางานใหคนที่วางงาน ออกกฎหมาย ประกันสังคม (The Social Security Act) ในป ค.ศ.1935 เรงยกฐานะทางเศรษฐกิจของกรรมกรและเกษตรกร ฟนฟูฐานะ การเงินของธนาคารและตลาดหุน กอตั้งพลังงานไฟฟาของรัฐบาลในราคาถูก ทําใหในป ค.ศ.1936 เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา เริ่มฟนตัว อัตราการวางงานเริ่มลดลง (Yergin and Stanislaw 2002: Ch 2) เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง สหรัฐซึ่ง กลายเปนมหาอํานาจที่โดดเดนภายหลังสงคราม ไดมีการประชุมรวมกับประเทศฝายสัมพันธมิตรเพื่อปฏิรูประบบการเงิน ระหวางประเทศ โดยกอตั้งระบบ Bretton Woods System ในป ค.ศ.1944 และจัดตั้งกองทุนการเงินระหวางประเทศ (International Monetary Fund: IMF) เพื่อใหเกิดความรวมมือกันทางดานการเงิน และแกไขปญหาดุลการชําระเงินของ ประเทศสมาชิก (พรายพล 2551: 195-196) ขณะที่ประเทศในยุโรปตะวันตกสวนใหญมีฉันทมติยอมรับระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) โดยมีระบบ สวัสดิการสังคม และรัฐวิสาหกิจอยางเต็มรูปแบบ เพื่อฟนฟูสภาพบานเมืองและสวัสดิการของประชาชนใหกลับคืนมา เนื่อง ยุโรปไดรับความเสียหายอยางมากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลตองประกันการวางงาน ประกันสุขภาพ และเปนผู จัดหาบริการสาธารณะแกประชาชนทั้งหมด กํากับดูแลวิสาหกิจเอกชน (Private Enterprise) อยางใกลชิด รักษาเสถียรภาพ ของนโยบายมหภาค ดวยเกรงกลัวภัยคุกคามจากเศรษฐกิจตกต่ําจะหวนกลับมาอีก แนวคิดตลาดเสรีหมดความนิยม ในขณะ ที่สงครามโลกทั้งสองครั้งทําใหเศรษฐกิจแบบวางแผนโดยรัฐเฟองฟูขึ้น (Yergin and Stanislaw 2002: Ch 1) เศรษฐกิจสหรัฐในชวง ค.ศ.1946 – 61 ยังคงประสบกับการชะลอตัวเปนพักๆ แตละครั้งกินเวลาสั้นๆ เนื่องจาก ธนาคารกลางสหรัฐไดเรียนรูบทเรียนจาก The Great Depression จึงดําเนินนโยบายการเงินเพื่อแกปญหาไดอยางทันทวงที ในชวงป ค.ศ.1961 – 70 เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวมากเปนประวัติการณในอัตราเฉลี่ย 4.5% ตอป อันเปนผลมาจากการเพิ่มใน อุปสงคมวลรวม โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินเพื่อใชจายทางทหารในสงครามเวียตนามระหวาง ค.ศ.1960 – 72 ในชวงเวลานี้ถือไดวาเปนยุครุงโรจนของการใชนโยบายเศรษฐศาสตรมหภาคแบบเคนสเซียน โดยมีประธานาธิบดีจอหน เอฟ. เคนเนดี้ (John F. Kennedy: 1917 – 63) สนับสนุนแนวนโยบายดังกลาว อยางไรก็ตามปญหาเงินเฟอไดทวีความสําคัญขึ้น เรื่อยๆ อัตราเงินเฟอเพิ่มสูงขึ้นจาก 1.5% ใน ค.ศ.1964 เปน 5.5% ใน ค.ศ.1970 นโยบายการขึ้นภาษีและลดปริมาณเงินลงไม เปนผลสําเร็จเพราะหยุดยั้งการคาดการณเงินเฟอไมได (Knoop 2004: 160-162) มูลเหตุสําคัญที่ทําใหแนวคิดเศรษฐศาสตรแบบเคนสเซียนเริ่มเสื่อมความนิยม คือเหตุการณวิกฤตราคาน้ํามัน (Oil Shock) ในเดือนตุลาคม ค.ศ.1973 ทําใหราคาน้ํามันสูงขึ้นทันทีจาก 3 เปน 12 ดอลลารตอบารเรล สงผลใหเศรษฐกิจชะลอ ตัวอยางรุนแรง เกิดปญหาซึ่งในทางเศรษฐศาสตรมหภาคเรียกวา “Stagflation” ซึ่งเปนการปรากฏขึ้นพรอมๆกันของอัตราเงิน เฟอสูงและเศรษฐกิจถดถอย อันเนื่องมาจากตนทุนการผลิตเพิ่มขึ้นสงผลใหอุปทานมวลรวมลดลง ซึ่งไมเคยเกิดขึ้นมากอนกับ เศรษฐกิจของสหรัฐและนโยบายการเงินและการคลังแบบเคนสเซียนไมสามารถหาทางออกใหกับปญหานี้ได ชวง ค.ศ.1973 – 75 อัตราเงินเฟอเพิ่มขึ้นจาก 7% เปน 12.1% และอัตราการวางงานเพิ่มขึ้นจาก 4.8% เปน 8.9% ซึ่งหักลางความเชื่อมั่นใน Phillips Curve ที่นักเศรษฐศาสตรเคยเชื่อกันในยุคกอนหนานี้ (Knoop 2004: 163) ในวงวิชาการเริ่มมีการถกเถียงถึงสาเหตุ และทางออกของปญหา ราคาน้ํามันที่เพิ่มขึ้นทําใหตนทุนการผลิตสูงขึ้น ผลิตภาพการผลิต (Productivity) จึงลดลง ซึ่งเปน


9

ปญหาทางดานอุปทานจึงตองแกไขดวยนโยบายดานอุปทาน แตเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายกํากับดูแลเศรษฐกิจที่เขมงวด เกินไป เชน การกําหนดคาจางขั้นต่ํา การควบคุมคาจางและราคาสินคา อัตราภาษีที่สูงเกินไป และสหภาพแรงงานที่เขมแข็ง ทําใหผูผลิตไมสามารถลดคาจางหรือปลดคนงานออกไดเพื่อลดตนทุนได ในยุคปลายทศวรรษ 1970 ความคิดเรื่องกลไกตลาด เสรีที่ลดการแทรกแซงโดยรัฐจึงหวนกลับมาอีกครั้งในหมูนักเศรษฐศาสตรของสหรัฐบางสวน ระบบตลาดในอังกฤษและสหรัฐอเมริกาทศวรรษ 1980 ในอังกฤษรัฐบาลพรรคอนุรักษนิยม (Conservative) นําโดยนางมารกาเร็ต แธ็ตเชอร (Margaret Thatcher) ไดรับ การเลือกตั้งเปนรัฐบาลตอเนื่องถึง 11 ป (ค.ศ.1979 – 90) นโยบายเศรษฐกิจของแธ็ตเชอรเปนการผสมผสานแนวคิดเสรีนิยม ใหมและอนุรักษนิยมใหมเขาดวยกัน6 หลักการสําคัญมี 3 ประการคือ ประการแรกคือการเนนบทบาทของตลาดเสรี สงเสริม วิสาหกิจเอกชนในการทําหนาที่ผลิตและกระจายสินคาและบริการ ลดการควบคุมราคาสินคาและคาจาง สรางแรงจูงใจให บริษัทเอกชนดวยการลดการเก็บภาษีทางตรง ออกกฎหมายควบคุมสหภาพแรงงานเพื่อทําใหตลาดแรงงานมีความยืดหยุนใน การจางและเลิกจาง ประการที่สองคือการจํากัดบทบาทของรัฐในการเขาแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และถอนตัวออกจาก กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไมจําเปน ดําเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจใหเปนเอกชน (Privatization) ลดขนาดภาครัฐลงดวยการ ทยอยลดจํานวนขาราชการพลเรือนลง ประการสุดทายคือการดําเนินนโยบายมหภาคแบบหดตัว (Contractionary Policy) มุงเนนการควบคุมเงินเฟอ จํากัดงบประมาณภาครัฐ ลดปริมาณหนี้สาธารณะ นโยบายดังกลาวถูกสงตอไปยังรัฐบาลของนาย จอหน เมเจอร (John Major) ในชวง ค.ศ.1990 – 95 แมแตรัฐบาลพรรคแรงงานของนายโทนี่ แบลร (Tony Blair) ยังตองปรับ ภาพลักษณของพรรคใหม โดยเรียกชื่อวาพรรคแรงงานใหม (New Labour) เพื่อลบภาพเดิมของพรรคที่ถูกมองวาเปนตัวแทน ของสหภาพแรงงานและรัฐสวัสดิการทิ้งไป หันไปสนับสนุนแนวทางเสรีนิยม การคาเสรีมากขึ้น7 (วินัย 2550: 27-28) ในสหรัฐอเมริกา แนวคิดเสรีนิยมใหมมีบทบาทชัดเจนมากในยุคของประธานาธิบดี โรนัลด เรแกน จากพรรคริพับลิกัน ที่ดํารงตําแหนงติดตอกันสองสมัย (ค.ศ.1980 – 88) แนวนโยบายเศรษฐกิจของเรแกนสื่อมวลชนเรียกวา “Reaganomics” มี หลักการอยูสองประการ (Newsweek, October 13, 2008: 26) คือ หนึ่ง เชื่อวาการลดภาษี (Tax Cuts) จะชวยแกปญหาทาง การเงินของบริษัทเอกชนไดในตัวเอง (Self-Financing) และยังจูงใจใหบริษัทขยายกิจการเพราะมีกําไรเหลือไปลงทุนมากขึ้น ทําใหมีการจางงานมากขึ้น สอง เชื่อในการลดการกํากับดูแลของรัฐ (Deregulation) ลดระเบียบขั้นตอนในการประกอบธุรกิจ ของเอกชน ซึ่งมากอนหนานี้สมัยประธานาธิบดี จิมมี่ คารเตอร (Jimmy Carter) ในธุรกิจสายการบิน ขณะที่ตลาดการเงิน รัฐบาลเชื่อวาสามารถปลอยใหกํากับดูแลตนเองได ทําใหสถาบันการเงินเรงพัฒนานวัตกรรมทางเงินใหมๆที่สลับซับซอนมาก ขึ้น อยางไรก็ตาม เรแกนมิไดลดการใชจายของรัฐผานทางงบประมาณลงเหมือนแธ็ตเชอร คาใชจายทางการทหารเพื่อตอตาน ลัทธิคอมมิวนิสตเพิ่มขึ้น มีโครงการซื้ออาวุธ ระบบดาวเทียม และโครงการ Star War ทําใหรัฐบาลขาดดุลงบประมาณมหาศาล เรแกนจึงตองลดงบประมาณดานอื่นลง เชนดานสวัสดิการสังคม สุขภาพ และการศึกษา 6

เราเรียกอุดมการณกลุมนี้วา เปนพวก “ขวาใหม” (New Right) ซึ่งเกิดขึ้นยุโรปและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 1970 ประกอบขึ้นจากสองแนวคิดคือ แนวคิดเสรีนิยมใหม (Neoliberalism) ที่เนนปจเจกบุคคล ทรัพยสินสวนบุคคล และรัฐบาลที่มีอํานาจนอย กับแนวคิดอนุรักษนิยมใหม (Neoconservative) ที่เนนความรักชาติ ระเบียบวินัย คานิยมที่ดี และรัฐบาลที่มีอาํ นาจ ผลลัพธของแนวคิดนี้คือ “เศรษฐกิจเสรี และรัฐบาลขนาด เล็กแตเขมแข็ง” (Free Economy and Small, but Strong State) (สมเกียรติ 2551: 72-73) 7 แบลรใชสโลแกนในการหาเสียงเลือกตั้งและไดรับชัยชนะใน ค.ศ.1997 วา “New Labour, new Britain!”


10

ระบบตลาดในยุคโลกาภิวัตนทางการเงิน ชวงทศวรรษ 1990 ระบบตลาดเสรีไดสถาปนาตนเองอยางมีหลักการชัดเจนผาน “ฉันทมติวอชิงตัน” (Washington Consensus) คําๆนี้กําเนิดขึ้นในครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1989 โดยนายจอหน วิลเลียมสัน (John Williamson) เพื่อใชเปนแนวทาง หลักในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจของประเทศกําลังพัฒนา โดยมีหลักการที่สําคัญอยู 3 ประการคือ การเปดเสรีทางการคา และการเงิน (Liberalization) การลดการกํากับดูแลโดยรัฐ (Deregulation) และการโอนกิจการของรัฐเปนของเอกชน (Privatization) ซึ่งกลายเปนประเด็นถกเถียงไปทั่วโลก มีขอวิพากษวิจารณมากวาฉันทมติวอชิงตันสงเสริมใหระบบทุนนิยม และการคาเสรีแพรขยายไปทั่วโลก ซึ่งเปนไปโดยไมสมัครใจหากแตเปนการบังคับยัดเยียดจากชาติมหาอํานาจและองคกร ระหวางประเทศทางเศรษฐกิจ อีกทั้งผลประโยชนมิไดแพรกระจายอยางทั่วถึงแตกระจุกตัวอยูกับประเทศขนาดใหญและ บรรษัทขามชาติ แตในอีกแงมุมหนึ่งหลายประเทศก็ประสบความสําเร็จในการนําไปปฏิบัติ เชน ชิลี และบราซิล การเปดเสรีทางการเงิน (Financial Liberalization/Globalization) หรือการเชื่อมโยงและรวมตัวกันทางการเงินของ โลก เปนหนึ่งในนโยบายลดการแทรกแซงของรัฐในระบบตลาด ลดขอจํากัดในการเคลื่อนยายเงินทุน และลดความบิดเบือน ของตลาดเงิ น ระหว า งประเทศ และปล อ ยให ก ลไกตลาดทํ า หน า ที่ จั ด สรรเงิ น ทุ น โดยเงิ น ทุ น จะเคลื่ อ นย า ยจากแหล ง ที่ ผลตอบแทนหนวยสุดทายตอทุนนอย (Marginal Productivity of Capital) ไปยังแหลงที่ผลตอบแทนหนวยสุดทายตอทุนมาก กระแสการเปดเสรีทางการเงินไดรับการสงเสริมโดยธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหวางประเทศ จนกลายเปนกระแสหลักที่ ประเทศกําลังพัฒนานําไปใช ขอสนับสนุนการเปดเสรีทางการเงินคือ ชวยเพิ่มแหลงเงินทุนเพื่อตอบสนองความตองการลงทุน ทําใหเศรษฐกิจขยายตัว การระดมเงินทุนทําไดสะดวกรวดเร็วขึ้น และชวยกระจายความเสี่ยงของผูลงทุน (Diversification) นักเศรษฐศาสตรสวนใหญยังมีความคิดเห็นที่ไมลงรอยกันในเรื่องการเปดเสรีทางการเงิน โดยเฉพาะ Joseph Stiglitz ที่เห็นวาการเปดเสรีทางการเงินคือสาเหตุของวิกฤตการเงินในหลายประเทศ แมแต Jagdish Bhagwati เองที่สนับสนุนการคา เสรีก็ยังคงเคลือบแคลงวาการเปดเสรีทางการเงินใหประโยชนจริงหรือไม8 เพราะการเปดเสรีทางการเงินนําไปสูเคลื่อนไหวของ เงินทุนระยะสั้นจํานวนมาก มีแนวโนมทําใหภาคการเงินมีความผันผวนมากขึ้น และการลงทุนจํานวนมากเปนการลงทุนเพื่อ เก็ ง กํ า ไรในระยะสั้ น นั ก ลงทุ น มั ก จะใหค วามสํ า คั ญ กั บ ภาคการเงิ น เช น ดั ช นีต ลาดหลั ก ทรั พ ย อั ต ราดอกเบี้ ย ระยะสั้ น ผลตอบแทนของตราสารอนุพันธ อัตราแลกเปลี่ยน มากกวาจะสนใจภาคการผลิตจริง เมื่อเกิดวิกฤตการณทางการเงินปญหา จึงระบาดลุกลามไปไดอยางรวดเร็ว (Contagion) เพราะตลาดทุนทั่วโลกเชื่อมโยงถึงกันหมด โดยรวมแลวมี 3 กระแสแนวคิด หลัก ที่คัดคานการเปดเสรีทางเงิน (เทียนทิพย และ เรจินา 2544) คือ 1. กลุม New-Keynesian ที่เชื่อวาตลาดการเงินมีขอมูลขาวสารไมสมมาตร และสุมเสี่ยงตอปญหา Adverse Selection และ Moral Hazard ไดงาย สงผลใหธนาคารมีแนวโนมจะปลอยสินเชื่อที่ไมมีคุณภาพ 2. กลุม Post-Keynesian เชื่อวาการคาดการณอนาคตจะมีบทบาทตอการตัดสินใจ ในชวงเศรษฐกิจเฟองฟูผูคนจะ คาดการณไปในทิศทางที่ดีกวาปกติ และแขงขันกันหากําไร จึงลงทุนในกิจกรรมที่มีความเสี่ยงมากขึ้น 3. กลุม Neo-Structuralist เชื่อวาการเปดเสรีทางเงินเปนการดึงเอาเงินมาจากตลาดเงินนอกระบบ (Informal Market) ซึ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น ธนาคารจึงตองกันสํารองมากกวาปกติ ทําใหสินเชื่อโดยรวมลดลง

8

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Globalization and Its Discontents (Stiglitz 2002) และ In Defense of Globalization (Bhagwati 2004)


11

การถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งใหญของสหรัฐในครั้งจึงเกิดคําถามขึ้นวา แมแบบตลาดเสรีของ Thatcher-Reagan จะ ยังคง “ศักดิ์สิทธิ์” ตอไปอีกหรือไมหลังจากนี้ ความจริงแลวมีสัญญาณเตือนลวงหนาหลายครั้งถึงผลกระทบทางลบของการใช นโยบายตลาดเสรี (Newsweek, October 13, 2008: 27) ไดแก (1) การเหตุการณเปดเสรีทางเงินในประเทศไทยและเกาหลีใต โดยที่ประเทศยังไมมีความพรอมเพียงพอ ทําใหเกิดการเก็งกําไรขนานใหญและจบลงดวยการโจมตีคาเงินในประเทศไทย นําไปสูวิกฤตการณเศรษฐกิจในป ค.ศ.1997 ที่ลุกลามไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (ยกเวนจีนที่ไมคอยไดรับผลกระทบ) (2) การ ลดภาษีตามแนวทางของเรแกนทําใหรัฐบาลสหรัฐขาดดุลการคลังอยางตอเนื่อง ทําใหดุลการคาขาดดุลตามไปดวย ประกอบ กับการทําสงครามในอิรักยิ่งซ้ําเติมใหอาการของโรคขาดดุลเรื้อรังมากขึ้น (3) การลมสลายของบริษัทยักษใหญอยาง Enron เปนผลมาจากนโยบายลดการกํากับดูแลของรัฐ (Deregulation) เพราะการทําบัญชีของบริษัทไมไดมาตรฐานเพียงพอ Dani Rodrik นักเศรษฐศาสตรจากมหาวิทยาลัยฮารวารด ไดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิกฤตการเงินของสหรัฐ ใน หัวขอ “The Disappointment of Financial Globalization” (ประชาชาติธุรกิจ, 12 พฤศจิกายน 2551) เขามีความเห็นวา ตั้งแต ทศวรรษ 1970 เปนตนมาประเทศในกลุมละตินอเมริกาและเอเชียตางทยอยเปดเสรีทางการเงินอยางตอเนื่อง กระแสดังกลาว สะดุดหยุดลงเมื่อเกิดวิกฤตการเงินในเอเชียตะวันออกป ค.ศ.1997 ซึ่งผลลัพธของการเปดเสรีในหลายประเทศมิไดสวยหรูอยาง ที่คาดกันไว เชน ในละตินอเมริกาที่เปดเสรีสูงมากแตอัตราการลงทุนก็ยังอยูในระดับต่ํา และปริมาณเงินที่ไหลออกก็มิไดนอย ไปกว าเงิ น ไหลเข า สั ก เทา ไร เพราะเงิ นที่ ไ หลเข า เป น การลงทุ น ระยะสั้ น เสี ย มากกว า ขณะที่ ก ารลงทุ น ระยะยาวที่ อาศั ย ปจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีสัดสวนที่นอยกวา นอกจากนี้ Rodrik ยังเห็นวา ตลาดการเงินมีลักษณะเปน “ตลาดแบบดีเปนที่ สอง” (Second-best) ซึ่งเปนตลาดที่หลีกเลี่ยงความลมเหลวไมได (Unavoidable Market Failure) เนื่องจากตลาดการเงินไมมี วันจะสมบูรณแบบได และการกํากับดูแลโดยรัฐก็ชวยไดเพียงระดับหนึ่งเทานั้น แตไมสามารถกําจัดสาเหตุของความลมเหลว ของตลาดใหหมดสิ้นไปได และไมมีทางการันตีไดเลยวาในอนาคตจะไมมีวิกฤตการเงินเกิดขึ้นอีก ขณะที่ Jagdish Bhagwati นักเศรษฐศาสตรจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียมีความเห็นวาวิกฤตครั้งนี้สรางผลกระทบใน วงกวาง แตอาจไมรุนแรงเทากับที่เคยเกิดขึ้นอยาง The Great Depression เพราะในครั้งนี้รัฐบาลกระโดดเขาแกปญหาอยาง เต็ ม ตั วเพื่ อ บรรเทามิ ใ ห เกิ ด ประชาชนต องตกงาน และรัฐ บาลยั งเรี ย นรู ก ารใช นโยบายการเงินและการคลั งมากกว า เดิม นอกจากนั้นรัฐบาลปจจุบันยังทําถูกตองที่ไมออกนโยบายกีดกันทางการคาอยาง the Smoot-Hawley Tariff ในป ค.ศ.1930 เหมือนสมัย The Great Depression ที่ทําใหสภาวะทางเศรษฐกิจเลวรายยิ่งขึ้น แต Bhagwati ไมเห็นดวยกับ Joseph Stiglitz ที่กลาวโทษวากลุม “คลั่งระบบตลาด” (Market Fundamentalist) คือตนเหตุสําคัญของวิกฤตการเงินครั้งนี้ เพราะการเปนการ ไมถูกตองที่จะเหมารวมทุกคนที่เห็นดวยกับระบบตลาดและการคาเสรีวาเปนพวก Fundamentalist ไปเสียหมด เขาเห็นวาแม จะเกิดความลมเหลวในตลาดการเงินและรัฐตองเพิ่มการกํากับดูแลก็จริง แตก็มิไดหมายความวาตลาดอื่นๆ เชน ตลาดสินคา และบริการ จะตองใชนโยบายที่ “ลดระดับความเสรี” ลงในลักษณะเดียวกันเสมอไป9 การมาถึงของจีน การสิ้นสุดของตลาดเสรีแบบอเมริกัน? ในชวงเวลากวา 10 ปที่ผานมา ประเทศจีนกลายเปนดาวรุงในเศรษฐกิจโลกที่นาจับตามอง มีอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูง ในป ค.ศ.2007 ผลิตภัณฑมวลรวมของจีน (GDP) สูงถึง 11.9% ซึ่งมากที่สุดในโลก แมในปลายปที่ ผานมาเศรษฐกิจโลกจะทรุดตัวลง แตจีนก็ไดรับผลกระทบไมมาก นักเศรษฐศาสตรสวนใหญเชื่อวาเศรษฐกิจของประเทศใน 9

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน “Bhagwati thoughts on crisis” ในเว็บไซต http://www.columbia.edu/~jb38


12

แถบเอเชียจะยังขยายตัวในอัตราที่สูง โดยมีจีนและอินเดียเปนตัวขับเคลื่อนที่สําคัญ เพราะประเทศสวนใหญในเอเชียปรับ นโยบายเศรษฐกิจมหภาคไดทันและไมคอยมีปญหาดานสถาบันการเงิน และในป ค.ศ. 2009 นักวิเคราะหก็คาดการณวา เศรษฐกิจจีนจะเติบโตที่ระดับประมาณ 8% (ประชาชาติธุรกิจ, 2 – 4 กุมภาพันธ 2552) นอกจากนี้จีนก็ยังเปนประเทศที่เกินดุล การคากับสหรัฐอเมริกามาอยางตอเนื่อง (ดูตารางประกอบดานลาง) ทําใหจีนมีเงินสํารองระหวางประเทศอยูเปนจํานวนมาก จึงคาดการณกันวาจีนอาจจะเปนประเทศมหาอํานาจทางเศรษฐกิจนําหนาสหรัฐอเมริกาไดภายในป ค.ศ.2030 – 2050 ดวย สัดสวน GDP โดยรวมของทั้งประเทศที่สูงกวา ขณะที่ GDP per Capita จีนจะเทียบเทาสหรัฐในราวป ค.ศ.210010

เพราะเหตุใดเศรษฐกิจจีนจึงยังเจริญเติบโตอยางตอเนื่อง? ทั้งที่เราทราบกันดีวาประเทศจีนมิไดดําเนินนโยบายตาม หลักการตลาดเสรีแบบตะวันตก หรือแนวคิดของ “สํานักชิคาโก” กําลังจะเสื่อมความนิยมลง?11 ความระบบตลาดของจีนเปน ระบบตลาดแบบลูกผสม (Hybrid) มาตั้งแตตนทศวรรษ 1980 ซึ่งลักษณะดังกลาวถือเปนยุทธศาสตรการพัฒนาที่เรียกวา “การ เลือกอุตสาหกรรมผูชนะ” (Selective Protectionism and Promoting Champion Industries) โดยรัฐทําหนาที่ตัดสินใจเลือก วาจะสงเสริมใหอุตสาหกรรมใดเปนตัวขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของประเทศ (Keidel 2008: 2) แมวาบริษัทสวนใหญในตลาด กวาครึ่งหนึ่งดําเนินการโดยเอกชน แตก็มีการควบคุมราคาสินคาและปจจัยการผลิต ที่สําคัญ, รัฐบาลเปนเจาของกิจการ 10

จากการประมาณทางคณิตศาสตร ในป 2030 จีนจะมีขนาดเศรษฐกิจ 35 ลานลานดอลลารสหรัฐ (ปรับดวย PPP แลว) ขณะที่ของสหรัฐอยูที่ 24 ลานลานดอลลาร (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Keidel 2008: 6) ขณะที่ GDP per Capita ในปจจุบันของจีนอยูที่ 4,644 ดอลลาร และของสหรัฐอยูที่ 43,968 ดอลลาร ซึง่ ยังมีคาหางกันมาก 11 เศรษฐศาสตรสํานักชิคาโกไดรับอิทธิพลโดยตรงจากมิลตัน ฟรีดแมน ที่เชือ่ มั่นในระบบตลาดแบบเสรี จากการสํารวจลาสุดในป 2005 (ยกตัวอยางมาบางสวน) พบวา 63% ของนักศึกษามหาวิทยาลัยชิคาโกยังคงเชื่อมั่นในเศรษฐศาสตรแบบนีโอคลาสสิก, 79% เชื่อวามนุษยมี Rational Bahavior, 43% เชื่อมั่นในขอสมมติ Rational Expectation, 62% เชื่อวาการกีดกันทางการคาทําใหสวัสดิการภายในประเทศลดลง, ขณะที่มีเพียง 7% เชื่อวาระดับราคามีความหนืดในการปรับตัว, (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Colander 2005)


13

อุตสาหกรรมหนักที่สําคัญๆ เชน อุตสาหกรรมเหล็ก บริษัทกอสราง, รัฐบาลสามารถสั่งไมใหธุรกิจลดการลงทุนแมเศรษฐกิจโลก จะถดถอย, การปลอยสินเชื่อของธนาคารไดรับการวางแผนจากสวนกลาง ในวิกฤตที่ผานมาจีนก็ไมไดรับผลกระทบจากตรา สารอนุพั นธที่ กําลั งสร างป ญหาอยู ในสหรัฐ ขณะนี้ (CDOs) เพราะรั ฐบาลกํ ากับ ดูแลตลาดเงิ นอย างใกลชิ ด (Newsweek, January 19, 2009: 24) สภาวะเชนนี้ทําใหบทบาทที่แทจริงของรัฐบาลคอนขางสับสน ไมชัดเจน รัฐวิสาหกิจ (State-Own Enterprise) บางแหงมีการบริหารงานแบบบริษัทเอกชนโดยพฤตินัย (de facto) แตรัฐบาลยังคงประกาศวาเปนรัฐวิสาหกิจอยู และสามารถดําเนินกิจการไดแมขาดทุน (Lo 2007: 68) ซึ่งก็เปนการผสมผสานที่ออกจะดูแปลกอยูไมนอย เหตุผลที่เปนเชนนี้ก็คือ จีนดําเนินนโยบายแบบปฏิบัตินิยม (Pragmatism) ไมขึ้นอยูกับอุดมการณ (Newsweek, January 19, 2009: 24) จีนไมสนใจวาจะใชระบบเศรษฐกิจแบบใด จะเปนระบบตลาดเสรีหรือไมเสรีก็ได ขอใหประเทศพัฒนา และมีความมั่งคั่งที่มากขึ้นเปนพอ12 จีนยินดีสนับสนุนการคาเสรีการลงทุนจากตางประเทศเมื่อเห็นวาเปนประโยชน ไมดําเนิน นโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจ (แตรัฐบาลดูแลอยางเขมงวด) ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนก็มิไดกังวลวาบทบาทของตนเองจะ “ล้ํา เสน” ขอบเขตของตลาดเสรีหรือไม ถารัฐบาลเล็งเห็นวาการแทรกแซงเปนประโยชนตอจีนก็ทําเต็มที่ ถานโยบายใดเห็นวาเปน ภัยรัฐก็สั่งหามไดอยางรวดเร็ว นอกจากนี้จีนยังพยายามหลีกเลี่ยงมิใหการเปลี่ยนจากระบบสังคมไปสูระบบตลาดมีปญหา เหมือนในรัสเซีย ที่ประสบความลมเหลวในทศวรรษ 1990 มีปญหาการฉอฉล ทุจริตติดสินบน การเปลี่ยนผานไปสูตลาดเสรี ของจีนจึงทําอยางคอยเปนคอยไป (Incremental Reform) และไดผลในทางปฏิบัติจริง13 ขอมูลการจัดอันดับความเสรีทางเศรษฐกิจ (Index of Economic Freedom)14 ป 2009 ใหภาพประเทศจีนที่ไมคอย สวยงามนัก จีนอยูในอันดับที่ 132 จากทั้งหมด 179 ประเทศ หมายความวาทิศทางของจีนยังไมคอยเขาใกลระบบตลาดเสรี เทาใดนัก ขอมูลรายงานวาการเริ่มเปดดําเนินกิจการในจีนใชเวลาประมาณ 38 วันขณะที่สิงคโปรใชเวลาเพียง 4 วัน, การคา ระหวางประเทศคอนขางมีเสรีภาพเพราะจีนตองปฏิบัติตามขอกําหนดของ WTO แตก็ยังมีการกีดกันดวยมาตรการที่ไมใชภาษี (Non-Tariff Barrier) อยูพอสมควรที่ดานศุลกากร, มีการบิดเบือนกลไกตลาดดวยการควบคุมราคาสินคาหลายรายการ, การ ไหลเขาออกของเงินในบัญชีทุนถูกควบคุม, การบังคับใชกฎหมายไมสม่ําเสมอและเลือกปฏิบัติ, สถาบันการเงินกวา 8,900 แหงอยูภายใตอํานาจของ The China Banking Regulatory Commission, การคุมครองทรัพยสินทางปญญาหละหลวม, ตลาดแรงงานไมยืดหยุนและการเลิกจางทําไดลําบาก (ดูกราฟคะแนนดานลาง)

12

มาจากวาทะของอดีตผูนํา เติ้ง เสี่ยวผิง ทีว่ า “It doesn’t matter if a cat is white or black, as long as it catches the mouse” เปนคําพูดของเติ้ง เสี่ยว ผิง ทีว่ า “Crossing the river by groping for stepping-stones” 14 การจัดอันดับเปนความรวมมือกันระหวาง The Heritage Foundation และ The Wall Street Journal ดูสถิติการจัดอันดับทั้งในปปจจุบันและปที่ ผานมาไดจาก http://heritage.org 13


14

อยางไรก็ตาม อํานาจสั่งการของรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสตจีนนั้น อาจเปนจุดออนที่สําคัญในอนาคตของจีน แมวา รัฐบาลจะประสบความสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจจีนก็ตาม แตฮาเยกไดเคยกลาวไวแลววาทายที่สุดแลวรัฐบาลที่ทําตัวเปน คุณพอรูดี จะตองประสบความลมเหลวในที่สุด (A Fatal Conceit) ในเศรษฐศาสตรการเมืองใหม (New Political Economy) ก็ ไดมีการพูดถึงแนวคิดเรื่อง “ความลมเหลวของรัฐบาล” (Government Failure) ที่ทําใหการจัดสรรทรัพยากรโดยรัฐไมอยูใน ระดับที่เหมาะสมเพราะรัฐ “อยากแทรกแซง” แตกลับไมมีขอมูลเพียงพอ ผลลัพธจึงออกมากไมมีประสิทธิภาพ เชน ผลิตบริการ สาธารณะมากเกินไปหรือผลิตนอยเกินไป การกระจายผลประโยชนตกอยูกับผูที่ไมควรได หรือจัดสรรทรัพยากรดวยตนทุนที่สูง จนเกินไป มีการติดสินบน การคอรัปชั่น ขาดความโปรงใสและตรวจสอบได (Accountability) ซึ่งประเทศจีนติดอันดับที่ 72 จาก 179 ประเทศ15 จากการจัดอันดับประเทศระดับความโปรงใสทั่วโลก สาเหตุของความลมเหลวของรัฐบาลอาจพอสรุปได 2 ประการ (Besley 2006: Ch 2) คือ 1. ความไมรู (Ignorance) การวางแผนจากสวนกลางเพื่อจัดสรรทรัพยากรแทนกลไกราคา รัฐบาลไมรูความ ตองการของผูบริโภค และไมรูตนทุนที่แทจริงของผูผลิต ทําใหรัฐบาลตัดสินใจบนเงื่อนไขอื่น เชน ความตองการ ของผูนําหรือกลุมอิทธิพลทางการเมือง สงผลใหการจัดสรรทรัพยากรบิดเบี้ยวไปจากสิ่งที่ควรจะเปน ทรัพยากร อาจถูกโอนยายจากชนบทเขามาผลิตในภาคอุตสาหกรรมในเมืองมากเกินไป และรัฐบาลอาจเลือกสงเสริม อุ ต สาหกรรมที่ผิ ด เช น เลือ กส ง เสริ ม อุ ต สาหกรรมเหล็ ก ทั้ ง ที่ ป ระเทศไม มี ค วามได เ ปรี ย บเชิ ง เปรี ย บเที ย บ (Comparative Advantage) ทําใหรัฐบาลตองใหเงินอุดหนุนเพื่อปกปองอุตสาหกรรมที่ไมมีประสิทธิภาพ 2. การใชอิทธิพล (Influence) การที่รัฐเปนผูผูกขาดอํานาจในการจัดสรรทรัพยากร สงผลใหรัฐใชอํานาจในทางมิ ชอบได เชน เอกชนตองจายสินบนแกเจาหนาที่รัฐในการขอใบอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาเชา หรือมิเชนนั้นก็ ใชระบบพวกพองหรือระบบอุปถัมภ ทําใหรัฐปกปองคุมครองตนเองธุรกิจเปนพิเศษเพื่อสรางอํานาจผูกขาด โดย รัฐไดสวนแบงกําไรสวนเกิน (Excess Profit) ซึ่งเปนผลประโยชนตางตอบแทน เกิดเปนตลาดการซื้อขายสิทธิ ผูกขาดระหวาง รัฐบาล-ขาราชการ และกลุมธุรกิจ พฤติกรรมดังกลาวเรียกวาการแสวงหาคาเชาทางเศรษฐกิจ (Rent-Seeking) โดยมีรัฐบาลตั้งอุปสรรคในการเขาสูตลาดของผูผลิตรายอื่น เพื่อมิใหเกิดการแขงขันโดยเสรี 15

ขอมูลจากการจัดอันดับของ Transparency International’s Corruption Perception Index 2007 ประเทศที่อยูในอันดับแรกๆ (ตัวเลขนอยๆ) หมายถึงมีระดับความโปรงใสมาก (ประเทศไทยอยูในอันดับที่ 84)


15

อนาคตของตลาดเสรี การขึ้นมาของจีนและอินเดียทําใหในอนาคตขางหนา สหรัฐอเมริกาจะมิไดเปนผูนําทางเศรษฐกิจโลกแตเพียงผูเดียว อีกตอไป แมปจจุบันจีนจะยังไมกาวเขาสูตลาดเสรีอยางเต็มตัว แตโดยสวนตัวแลวผูเขียนคิดวาจีนจะยอมรับตลาดเสรีใน อนาคต เพราะจีนเล็งเห็นประโยชนที่จะไดรับจากการเขาไปมีสวนรวมกับระบบเศรษฐกิจโลก จะเห็นไดจากการเขาเปนสมาชิก WTO ในป ค.ศ.2001 แตการกาวเขาสูตลาดเสรีทั้งในภาคการผลิตและภาคการเงิน จีนจะกระทําอยางรอบคอบโดยเรียนรูจาก บทเรียนที่ผานมาทั้งจากรัสเซีย วิกฤตการเงินเอเชีย และวิกฤตการเงินสหรัฐ ผูเขียนไมคิดวาวิกฤตการเงินสหรัฐในครั้งนี้จะทํา ใหจีนไมมั่นใจในตลาดเสรีและหันไปใชระบบอื่นแทน รัฐบาลจีนเองรับรูถึงขอจํากัดของตนเอง และกําลังลดบทบาทในการเขา ควบคุมดูแลเศรษฐกิจโดยตรง จากขอมูลของ Lo (2007) พบวาสัดสวนของกิจการของรัฐในจีนลดลงอยางตอเนื่องในชวง ค.ศ. 1999 – 2003 ขณะที่บริษัทเอกชนกําลังเพิ่มขึ้นจํานวนเรื่อยๆ

อยางไรก็ตาม รัฐบาลก็จะยังมิไดหายไปจากระบบเศรษฐกิจหากแตจะตองอยูคูกับตลาดเสรี มีความเขาใจผิดอยูเปน อันมากวาเมื่อมีระบบตลาดมากขึ้น รัฐบาลก็จะตองลดบทบาทลง (more market, less state) ความจริงแลวรัฐบาลยังตองอยู เพื่อชวยใหประชาชนไดใชประโยชนจากพลังของระบบตลาดที่จะนําความมั่งคั่งมาสูประเทศ แมแตผูที่สนับสนุนตลาดเสรีอยาง เต็มที่อยางฮาเยกเองก็ยืนยันจําเปนตองมีรัฐบาล เพราะรัฐบาลคือเงื่อนไขพื้นฐานของตลาดเสรี ฟรีดแมนเองก็ยังกลาววา รัฐบาลในตลาดเสรียังตองมีบทบาทอยู เพียงแตตองรูวาบทบาทที่เหมาะสมของตนคืออะไร มีความเขาใจผิดอยูอีกมากที่กลาว วาวิกฤตการเงินสหรัฐที่ผานมีตนเหตุมาจากตลาดเสรี ทั้งที่นักคิด/นักเศรษฐศาสตรทางดานตลาดเสรีสวนใหญมิไดสนับสนุน ใหรัฐบาลไมกํากับดูแล เพราะถาเมื่อใดที่ไมมีรัฐบาลในฐานะกรรมการของตลาด การแขงขันในตลาดนั้นก็คงไมมีทางที่เสรีได สุดทายนี้ในหนังสือ The Commanding Heights (2002) ไดอางคําพูดของ Manmoham Singh ผูนําพรรคฝายคานของอินเดีย ในขณะนั้นเกี่ยวทัศนะของระบบตลาดและรัฐในยุคโลกาภิวัตนไวอยางนาฟงวา “It’s not about government disappearing, it’s about reconstructing the role of government. Getting government out of activities where governments are not efficient at doing things. Getting government more actively involved where we feel markets alone cannot provide the necessary amount of goods to extent that our people need them.” (Yergin and Stanislaw 2002: 397)


16

เอกสารอางอิง พรายพล คุมทรัพย (2551) เศรษฐศาสตรการเงินระหวางประเทศ: ทฤษฎีและนโยบาย. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. รังสรรค ธนะพรพันธุ (2548) ฉันทมติวอชิงตัน. กรุงเทพ: สํานักพิมพคบไฟ. วินัย ผลเจริญ (2550) โลกาภิวัตนเสรีนิยมใหมกับความพายแพของรัฐไทย. วิทยานิพนธปริญญาเอก, คณะรัฐศาสตร มหา วิทยาธรรมศาสตร สมเกียรติ วันทะนะ (2551) อุดมการณทางการเมืองรวมสมัย. กรุงเทพ: อักษรขาวสวย. Besley, Timothy (2006) Principled Agents?: The Political Economy of Good Government. New York: Oxford University Press. Caldwell, B. (1997) “Hayek and Socialism,” Journal of Economic Literature 35, 1856-1890. Colander, D. (2005) “The Making of an Economist Redux,” Journal of Economic Perspectives 19:1, 175-198. Friedman, Milton (1962/1982) Capitalism and Freedom. Chicago: The University of Chicago Press. Froyen, R. T. (2008) Macroeconomics: Theories and Policies. (8th Edition) Prentice Hall. Hayek, F. A. (1945/2005) The Road to Serfdom: The Condensed Version with The Intellectuals and Socialism. London: The Institute of Economic Affairs. Henderson, David (2000) Anti-Liberalism 2000: The Rise of New Millennium Collectivism. London: The Institute of Economic Affairs. Jayasuriya, K. and Rosser A. (2001) “Economic Orthodoxy and East Asian Crisis,” Third World Quarterly 22:3, 381-396. Keidel, A. (2008) “China's Economic Rise: Fact and Fiction,” Policy Brief 61, 1-16. Knoop, Todd A. (2004) Recessions and Depressions: Understanding Business Cycle. Westport: Praeger. Lindblom, Charles E. (2001) The Market System: What it is, how it works, and what to make of it. New Haven and London: Yale University Press. Lo, Chi (2007) Understanding China's Growth. New York: Palgrave Macmillan. Macedo, S. (1999) “Hayek's Liberal Legacy,” Cato Journal 19:2, 289-300. Mitchell, William C. and Simmons, R. T. (1994) Beyond Politics: Markets, Welfare, and the Failure of Bureaucracy. Colorado: Westview Press. Steven, J. B. (1993) The Economics of Collective Choice. Boulder: Westview Press. Yergin, Daniel and Joseph, S. (2002) The Commanding Heights: The Battle for the World Economy. New York: Simon & Schuster.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.