ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ในสหรัฐอเมริกา (WTO Protest @Seattle)

Page 1

ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหมในสหรัฐอเมริกา: กรณีศกึ ษาการประทวงตอตานการประชุม WTO ที่เมืองซีแอตเทิล ค.ศ.1999 New Social Movements in The USA: A Case Study of the WTO Protest in Seattle, 1999

เสนอ อ.ปกปอง จันวิทย จัดทําโดย นายคุปต พันธหินกอง 4904680438

รายงานนี้เปนสวนหนึง่ ของรายวิชา ศ.408 เศรษฐศาสตรการเมืองสหรัฐอเมริกา ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2552


คํานํา การชุมนุมประทวงเพื่อเคลื่อนไหวตอตานการประชุมระดับรัฐมนตรีการคาขององคการการคาโลก (WTO) ที่เมืองซี แอตเทิล มลรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ.1999 นับเปนครั้งแรกที่ขบวนการเคลื่อนไหวตอตานคัดคาน โลกาภิวัตน (Anti-globalization Movements), หรือถาจะพูดใหถูกตองคือตอตาน “โลกาภิวัตนแบบทุนนิยม/บรรษัท (Capitalist/Corporate Globalization), เริ่มประกาศตัวอยางเปดเผยถึงรูปแบบการเคลื่อนไหวแนวใหมที่ไมเคยปรากฏมากอน หน า นี้ รายงานนี้ จึ ง ต อ งการศึ ก ษาขบวนการเคลื่ อ นไหวทางสั ง คมแนวใหม ใ นสหรั ฐ อเมริ ก า ว า มี ที่ ม าและบริ บ ททาง ประวัติศาสตรอยางไร มีความแตกตางจากขบวนการเคลื่อนไหวที่เคยมีมากอนหนานี้อยางไร มียุทธศาสตรการเคลื่อนไหว ประทวงที่นาสนใจอยางไร รวมทั้งศึกษาเปาหมายของการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม แมวาปจจุบันขบวนการเคลื่อนไหว ทางสังคมแนวใหมจะปรากฏขึ้นมากมายหลายกลุมทั่วโลก แตรายงานนี้จะจํากัดขอบเขตการศึกษาเฉพาะเหตุการณประทวง การประชุม WTO ที่ซีแอตเทิลเปนกรณีศึกษาเทานั้น และในสวนทายของรายงานจะวิเคราะห/สรุปนัยยะสําคัญที่มีตอบริบท ทางเศรษฐกิจการเมืองในอนาคตของสหรัฐอเมริกา ขอขอบคุณอาจารยปกปอง จันวิทย สําหรับคําแนะนําในการเลือกหัวขอ และวิธีการทํารายงาน ทําใหรายงานเลมนี้ เสร็จสมบูรณตามกําหนดเวลา หากรายงานนี้มีขอผิดพลาดประการใด ผูเขียนขอรับผิดชอบไวแตเพียงผูเดียว

คุปต พันธหินกอง คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร 29 ธันวาคม 2552


สารบัญ 1 2 3 4 5

6 7

บทนํา ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม ขบวนการเคลื่อนไหวตอตานโลกาภิวัตน กรณีศึกษา: การเคลื่อนไหวตอตานการประชุม WTO ที่ซีแอตเทิล ป ค.ศ.1999 (N30) ผลของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม ตอเศรษฐกิจการเมืองสหรัฐ ภาพประกอบ บรรณานุกรม

………………….. ………………….. ………………….. …………………..

1 2 5 8

…………………..

13

………………….. …………………..

16 18


1

1. บทนํา ขบวนการเคลื่อนไหวตอตานโลกาภิวัตน (Anti-Globalization Movement) เปนปรากฏการณใหมของสังคมโลกยุค หลังสงครามเย็น (Post-Cold War) หรือชวงเวลาประมาณทศวรรษ 1990 ชวงเวลาดังกลาวเปนการสิ้นสุดของการตอสูเชิง อุดมการณระหวางฝายโลกเสรีนิยมและโลกคอมมิวนิสต (Communism) ถึงขนาดที่ฟรานซิส ฟุกูยามา (Francis Fukuyama) ไดเสนอไววาเปน “การสิ้นสุดของประวัติศาสตร” (The End of History) ที่ประวัติศาสตรโลกตอจากนี้ไปจะมีเพียงรูปแบบเดียว คือประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเทานั้น ซึ่งก็ดูเหมือนจะจริงเพราะชวงเวลาดังกลาวเราจะพบวา กระแสอุดมการณโลกาภิวัตนเสรีนิยมใหม (Neoliberal Globalization) โหมพัดแรง กระแสการเปดการคาเสรี (Trade Liberalization) และการเปดเสรีทางการเงิน (Financial Liberalization) กลายเปนชุดนโยบายคูหูในหลายประเทศ โดยเฉพาะ ประเทศตลาดเกิดใหม (Emerging Market Countries) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เทคโนโลยีการสื่อสารใหมๆอยาง อินเตอรเน็ทและโทรศัพทเคลื่อนที่ก็ทําใหยุคสมัยนี้กลายเปนสังคมขอมูลขาวสาร (Information and Knowledge Society) จน นักคิดหลายคนกลาววาโลกทั้งใบไดเชื่อมโยงเปนอันหนึ่งเดียวกันกลายเปน “หมูบานโลก” (The Global Village) ทั้งหมดนี้ดู ราวกับวาสังคมโลกกําลังมีสันติภาพและความสงบสุขมากขึ้น และมีความขัดแยงลดนอยลง ในป ค.ศ.1997 และ 1999 เกิดปรากฏการณที่สั่นคลอน/ทาทายความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม/เสรีนิยม คือวิกฤตการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (The East Asian Crisis) ที่ลุกลามระบาดไปยังภูมิภาคอื่นไดรวดเร็วอยางที่ไมเคย คาดการณมากอน และเหตุการณประทวงตอตานการประชุมระดับรัฐมนตรีการคาขององคการการคาโลก (World Trade Organization: WTO) ที่เมืองซีแอตเทิล จากนั้นในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 ก็เกิดการกอวินาศกรรมอาคารเวิลดเทรด เซ็น เตอร บนเกาะแมนฮัตตัน สหรัฐอเมริกา อันเปนการทําลายสัญลักษณของระบบทุนนิยม ทําใหอุดมคติของโลกยุคโลกาภิวัตน ในยุคหลังสงครามเย็นสลายไปในทันที นโยบายอนุรักษนิยมใหม (Neo-conservative) ของประธานาธิบดี จอรจ ดับเบิ้ลยู บุช (George W. Bush: 2001 - 2008) ทําใหความเชื่อที่วาอํานาจรัฐจะลดนอยลงในยุคโลกาภิวัตนนั้นผิดไปโดยสิ้นเชิง การเพิ่ม งบประมาณทหารเพื่อดําเนินการตอตานการกอการราย การจํากัดสิทธิและสิทธิเสรีภาพของประชาชนกลับมีมากขึ้นดวย เหตุผลของความมั่นคง รวมไปถึงการทําสงครามบุกยึดอิรัก ทําใหสังคมโลกตั้งคําถามกับความพยายามของสหรัฐในการ เผยแพรอุดมการณประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมใหกับอิรักดวยการใชอาวุธ ทั้งหมดนี้ทําใหสังคมโลกยุคหลังสงครามเย็นมีความ สลับซับซอน และมีความขัดแยงชุดใหมเกิดขึ้นจํานวนมากที่ยังตองการคําอธิบาย รายงานนี้เปนความพยายามสวนหนึ่งที่จะเลือกเอาประเด็นความขัดแยงใหมๆ ที่เกิดขึ้นภายใตกระแสโลกาภิวัตนเสรี นิยมใหม โดยเลือกเอาเหตุการณประทวงการประชุม WTO ที่ซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา หรือที่นิยมเรียกกันกวา “การตอสูที่ซีแอต เทิล” (The Battle of Seattle) มาเปนกรณีศึกษาถึงความขัดแยงที่เกิดขึ้น ศึกษาความนาสนใจ รูปแบบและเปาหมายของการ เคลื่อนไหวที่แตกตางไปจากขบวนการอื่นกอนหนานี้ โดยในสวนแรกของรายงานจะเปนการปูพื้นฐานใหรูจักกับขบวนการ เคลื่อนไหวการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม (New Social Movements: NSM) อันเปนคําอธิบายชุดใหมที่ใชอธิบายขบวนการ เคลื่อนไหวทางสังคมที่มีลักษณะ เปาหมาย และสมาชิกแตกตางไปจากเดิม สวนที่สองจะเปนการเชื่อมโยงไปสูขบวนการ เคลื่อนไหวตอตานโลกาภิวัตน (Anti-Globalization Movement) โดยใชเหตุการณประทวงการประชุม WTO ที่ซีแอตเทิลเปน ยกตัวอยาง และสวนสุดทายของรายงานจะเปนการสรุปนัยยะเชิงเศรษฐกิจการเมืองตอสังคมอเมริกัน


2

2. ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม (New Social Movements: NSM) เปนผลผลิตของความขัดแยงชุดใหมที่มิใช ความขัดแยงระหวางสองอุดมการณคูตรงขามดังเชนในยุคสงครามเย็น หากแตเปนความขัดแยงที่ตัดขามเสนแบงพรมแดนรัฐชาติ กลายเปนประเด็นขามชาติ (Transnational Issues) มิไดเปนความขัดแยงที่มีลักษณะจํากัดหรือเฉพาะเจาะจงอยูในพื้นที่ ใดพื้นที่หนึ่งเทานั้น เชน ความขัดแยงที่มีฐานบนเรื่องเพศ เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งสิ่งแวดลอม และ แสดงออกผานการเคลื่อนไหวเพื่อตอตาน/คัดคาน/เรียกรอง เชน ขบวนการสิทธิสตรี, ขบวนการเคลื่อนไหวของกลุมเพศที่สาม, ขบวนการอนุรักษสิ่งแวดลอม, ขบวนการสิทธิมนุษยชน, และขบวนการเคลื่อนไหวตอตานโลกาภิวัตน เมื่อสํารวจถึงที่มาที่ไป เราจะพบวาขบวนการเหลานี้สวนใหญถือกําเนิดขึ้นอยางเปนรูปธรรมในชวงทศวรรษ 1970 โดยประมาณ สวนมากเปนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในสังคมยุคหลังอุตสาหกรรม (Post-industrial Society) หรือหลังวัตถุนิยม (Post-materialism) ที่มีความกินดีอยูดีทางเศรษฐกิจ ซึ่งสวนมากก็คือสังคมตะวันตกที่ประชาชนสวนใหญเปนชนชั้นกลาง ขอ เรียกรองสําคัญของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหมจึงไมใชเรื่องความกินดีอยูดีทางเศรษฐกิจหรือประเด็นในเชิงวัตถุ ดังเชน การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงาน (Labor Movements) แตเปนประเด็นเกี่ยวกับ “อัตลักษณ” (Identity), “วิถีการใชชีวิต” (Lifestyle), “สิทธิ” (Rights), และ “นิเวศวิทยา” (Ecology) เปนตน เมื่อเปรียบเทียบขบวนการเคลื่อนไหวของฝายซายแนวสังคมนิยมมารกซิสม ซึ่งในที่นี้บางครั้งจะเรียกแทนกลุมนี้วา “ขบวนการเคลื่อนไหวแบบเดิม” เราจะพบวามีความแตกตางอยูหลายประการ ประการแรกไดกลาวไปแลวคือ ขอเรียกรองที่ แตกตางกัน เพราะขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหมเรียกรองในประเด็นที่ไมใชความกินดีอยูดีทางเศรษฐกิจ และมิใช ผลประโยชนของคนเฉพาะกลุมใดกลุมหนึ่ง ประการที่สองคือ ขบวนการเหลานี้ มิใชขบวนการที่เคลื่อนไหวบนฐานของชนชั้นใด ชนชั้นหนึ่งตามกรอบคิดของมารกซิสต ประการที่สามคือ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหมมีระดับการรวมตัวอยางหลวมๆ (Loosely Organized) เปนเครือขายทางสังคมที่มีลักษณะเปนแนวระนาบ (Horizontal) ไมมีสายการบังคับบัญชา ไมการ จัดตั้งที่ชัดเจนเปนองคกร/สถาบัน ไมมีสมาชิก (Members) มีแตกลุมแนวรวม/ผูสนับสนุน (Supporters) อาจมีประเด็นใหญๆที่ คนเหลานี้เห็นพองตองกัน แตอาจมีความคิดเห็นแตกตางกันไดในรายละเอียด ลักษณะดังกลาวแตกตางจากการเคลื่อนไหว แบบเดิมของพรรคฝายซายที่มีการจัดตั้งเปนองคกรอยางชัดเจน มีการจัดแบงองคกรและสายการบังคับบัญชา มีการกําหนด เปาหมายและยุทธศาสตรการตอสูรวมกัน มีการเคลื่อนไหวที่ไดรับการวางแผนอยางเปนระบบ ประการที่สี่คือ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหมเห็นขอจํากัดของระบบการเมืองแบบตัวแทน ไมตองการตั้งพรรค การเมืองเขาไปตอสูผานกลไกรัฐสภา เพราะระบบการเมืองแบบดังกลาวไมสามารถแกไขปญหาได ขบวนการเคลื่อนไหวทาง สังคมใหมจึงเปนการแหลงอํานาจใหมขึ้นมาเพื่อเปนทางเลือกใหกับระบบ แตก็มิไดตองการใชกําลังลมลางเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และยึดเอาอํานาจรัฐมาบริหารเสียเอง เพียงแตตองการปะทะ/ขัดขืนกับอํานาจรัฐหรือกฎระเบียบเดิมที่ดํารงอยู จนบางครั้งตอง ละเมิดกฎหมายของรัฐในลักษณะ “อารยะขัดขืน” (Civil Disobedience) เพื่อใหรัฐบาลเปดพื้นที่ใหม เปลี่ยนแปลงกฎหมาย เปลี่ยนแปลงวิธีคิด/การใหความหมาย ตระหนักเห็นความสําคัญ และยอมรับเปาหมายของการเคลื่อนไหว ตัวอยางที่คอนขาง สมบูรณแบบของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหมคือ ขบวนการซาปาติสตา (Zapatista)1 1

อานรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับซาปาติสตาไดใน ไชยรัตน (2549)


3

เพราะเหตุใดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหมจึงมีบทบาทและความสําคัญจนกระทั่งผูเขียนเลือกหัวขอที่เกี่ยวกับ เรื่องนี้มาทําศึกษาอยางละเอียด ผูเขียนเห็นดวยกับไชยรัตน (2545) วา ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหมไดสราง คุณูปการตอการพัฒนาประชาสังคมและพัฒนาประชาธิปไตยอยางนอย 3 ประการ ประการแรกคือ การเมืองแบบเกาหรือ การเมืองแบบการเลือกตั้งผูแทน – พรรคการเมือง ที่ดํารงอยูเปนเพียงรูปแบบพิธีกรรมหนึ่งสําหรับการรักษาอํานาจ/โครงสราง อํานาจและสถานภาพดั้งเดิม ไมคอยสนใจการแกปญหาระยะยาวหรือปญหาที่ยังมาไมถึง มุงสนใจเฉพาะผลการเลือกตั้งใน ระยะสั้นเพื่อรักษาอํานาจ จึงไมอาจนําไปสูการเปลี่ยนแปลงขั้นรากฐานที่สําคัญได ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม จึงเปนการเมืองที่ฉีกออกไปการเมืองแบบเกาเพราะมิไดอาศัยและคาดหวังกลไกรัฐสภาในการตอสู ประการที่สองคือ ความขัดแยงชุดใหมที่เกิดขึ้นมีความยุงยากซับซอน และรอบดานเกินกวาที่รัฐ-ชาติ, รัฐบาล, ชุม ชุน-ทองถิ่น ตลอดจนการรวมตัวแบบเกาในรูปของกลุมผลประโยชนหรือกลุมองคกรอาสาสมัครตางๆ จะสามารถแกไขไดแต เพียงลําพัง โดยเฉพาะปญหาที่ตัดขามพรมแดนอยางปญหาสิ่งแวดลอม จึงตองการความรวมมือในรูปแบบของเครือขาย (Cooperation Network) ทั้งในระดับทองถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลกเพื่อแกปญหา ประการที่สามคือ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหมกาวขามขีดจํากัดของการเมืองทั้งฝายซายและฝายขวา เนื่องจากที่ผานมาประชาธิปไตยของฝายซายมิไดนําไปสูประชาธิปไตยที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพอยางสมบูรณ การจัดรัฐ สวัสดิการและเพิ่มการใชจายภาครัฐจํานวนมากมิอาจชวยแกไขปญหาที่มีลักษณะขามพรมแดนได และในแงหนึ่งกลับเปนการ สร า งความแข็ ง แกร ง ให กั บ รั ฐ ด ว ย ขณะที่ ป ระชาธิ ป ไตยของฝ า ยขวาหรื อ ประชาธิ ป ไตยแบบตั ว แทน (Representative Democracy) ก็ไดกลายเปนประชาธิปไตยของชนชั้นกระฎมพี ที่กลายเปนสวนหนึ่งของระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน ตารางขางลางนี้จะชวงใหเราเขาใจตําแหนงแหงที่ของสิ่งที่เรียกวาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหมไดดีขึ้น โดยจะ แบงคนเปน 2 กลุมตามแนวนอน คือกลุมเสรีนิยมใหม (Neoliberal) ที่เนนความสําคัญของตลาดเสรีและรัฐบาลขนาดเล็ก มี อํานาจจํากัด และกลุมวิภาคนิยม (Redistributionist) ที่ตองการกระจายอํานาจทั้งทางการเมืองและกระจายทรัพยากรทาง เศรษฐกิจ และอีกสองกลุมตามแนวตั้งคือกลุมที่มีวิธีแบบเดิม/อนุรักษนิยม (Parochial) ที่สนใจการเมืองภายในประเทศ มากกวาปญหาระดับโลก คอนขางมีลักษณะเปนชาตินิยม และอีกกลุมคือกลุมสากลนิยม (Cosmopolitan) ที่มองขามพน อาณาเขตรัฐ-ชาติไปสูความคิดเรื่องพลเมืองโลก (World Citizen) ดังนั้น เราจะไดกลุมยอย 4 กลุมดังนี้ ตารางที่ 1: Global Political Cleavages Neoliberal

Redistributionist ที่มา: Kaldor (2000)

Parochial New Right, e.g., Thatcher, Pinochet, or Haider Old Left, e.g., Traditional Socialist Parties

Cosmopolitan Multinational Corporations, Internationalist Liberals, e.g., Fukuyama Global Civic Networks, e.g., NGOs, Aid Agencies


4

กลุมแรกคือกลุม Neoliberal Parochialists: กลุมนี้จะใหความสําคัญกับอัตลักษณของชาติและ/หรือศาสนา รวมถึง คุณคาวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ แตสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม ผลลัพธคือสนับสนุนการเปดเสรีทางการคา และการเงิน แตคัดคานการเคลื่อนยายผูคนโดยเสรี (Free Movements of People) สวนในทางการเมืองยังคงความเปน ชาตินิยมเอาไวเพื่อเปนฐานคะแนนเสียงทางการเมือง บางครั้งเราเรียกกลุมเหลานี้วากลุมขวาใหม (New Right) กลุมที่สองคือกลุมซายเกา (Old Left): ที่สนับสนุนการเพิ่มบทบาทของรัฐบาล จัดใหมีรัฐสวัสดิการและการจางงาน เต็มที่ (Full Employment) กลุมนี้เชื่อวาโลกาภิวัตนเปนภัยตอระบอบประชาธิปไตยและสวัสดิการของผูคนในประเทศ จึง สนับสนุนการสลายโลกาภิวัตน (De-globalize) ผลลัพธคือการจัดตั้งพรรคสังคมนิยม และสหภาพแรงงาน กลุมที่สามคือกลุมผูนิยมโลกาภิวัตน (Globalizers): กลุมนี้มองโลกาภิวัตนทางเศรษฐกิจในแงดี การเปดการคาเสรี จะใหประโยชนกับทุกฝาย สรางความมั่งคั่งใหกับพลเมืองในประเทศได และระบบเศรษฐกิจที่เสรีจะเปนแรงเกื้อหนุนตอ เสรีภาพทางการเมืองและการสรางประชาธิปไตย แมแตประเทศกําลังพัฒนาก็จะไดประโยชนจากการเปดประเทศ โดยมักจะ ยกตัวอยางความสําเร็จของกลุมประเทศในเอเชียตะวันออก (East Asian/Asian Tigers) ความคิดนี้แพรหลายในกลุมภาค ธุรกิจเอกชน นักการเมืองสายกลาง และนักเศรษฐศาสตร กลุมสุดทายในชองที่ 4 (แถบสีเทา) เปนกลุมใหม และเปนกลุมที่รายงานนี้ใหความสนใจ คือกลุมเครือขายประชา สังคมโลก (Global Civic Networks) กลุมนี้เปนผลผลิตโดยตรงจากการเทคโนโลยีการสื่อสารที่กาวหนาในทศวรรษ 1990 ชวย ลดอุปสรรคของการติดตอขามพรมแดน สามารถใชประโยชนจากโลกาภิวัตนในการสรางเครือขายสื่อสารระดับโลก (Global Media) ประเด็นที่กลุมนี้สนใจจึงเปนประเด็นระดับโลก (Global Issues) ที่มนุษยทุกคนในฐานะที่เปนพลเมืองโลกตองให ความสนใจ เชน สิ่งแวดลอม สงคราม สันติภาพ ความยากจน และสิทธิของผูหญิง กลุมเครือขายประชาสังคมโลกมองวา กระบวนการของโลกาภิวัตนนั้นไมราบเรียบสม่ําเสมอ (Uneven Process) บางประเทศและบางกลุมคนเทานั้นที่สมารถสราง ความมั่งคั่งไดจํานวนมาก แตคนบางสวน (หลายสวน) ยังคงตกหลนไมไดรับประโยชนอยางเต็มที่ ยังมีคนชายขอบของพัฒนา จํานวนมากที่ยังยากจน ไมมีคุณภาพชีวิตที่ดี และยังตองเผชิญกับสงครามกลางเมือง ในขณะที่ระเบียบโลก (Rules of Global Governance) ยังคงลําเอียงเขาขางประเทศร่ํารวย ยกตัวอยางที่ชัดเจนคือ องคกรอยาง WTO ที่มุงเปดเสรีภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ แตยังไมประสบความสําเร็จในการเปดตลาดสินคาเกษตรและตลาดสินคาหัตถอุตสาหกรรม (เชน สิ่งทอ) ใน ประเทศร่ํารวย นอกจากนี้เงื่อนไขเรื่องการคุมครองทรัพยสินทางปญญา ก็สรางประโยชนใหกับกลุมทุนของประเทศร่ํารวย แต ตนทุนตกอยูกับประเทศที่ยากจน เชน การคุมครองสิทธิบัตรยาทําใหยามีราคาสูงเกินกวาประเทศยากจนจะซื้อได หรือการจด สิทธิบัตรพันธุพืชในลักษณะ “ปลนชิง” (Hijack) พันธุพืชที่มีอยูในประเทศอื่นๆ อยางไรก็ตามขอเสนอของกลุมเครือขายประชา สังคมโลกไมใชการยอนกลับคืนสูยุคที่รัฐ-ชาติมีอํานาจเขมแข็งเพื่อพิทักษคุมครองคนในชาติ แตเปนการเขาไปเคลื่อนไหว ปะทะกับระเบียบโลก/สถาบันระดับโลกโดยตรง ปรากฏการณเกิดขึ้นอยางเขมขนและชัดเจนมาตั้งแตทศวรรษ 1990 เปนตน มา เกิดเครือขายประชาสังคมโลกและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหมในหลายพื้นที่บนโลก ผลจากความเชื่อมโยงถึงกันในระดับโลก (Global Interconnectedness) ตนทุนการสื่อสารและการคมนาคมที่ลดลง นอกจากจะเปนประโยชนกับธุรกิจขามชาติแลว และสงผลใหกลุมเครือขายประชาสังคมโลกเขมแข็งดวย จุดนี้เองที่จะนําไปสู ความขัดแยงชุดใหม ที่มิใชแคการตอสูในระดับรัฐ-ชาติระหวางชนชั้นแรงงานกับชนชั้นนายทุน แตกลายเปนการตอสูระหวาง เครือขายทุนสากลกับขบวนการเคลื่อนไหวตอตานโลกาภิวัตน ซึ่งเปนประเด็นที่จะกลาวถึงในสวนถัดไป


5

3. ขบวนการเคลื่อนไหวตอตานโลกาภิวัตน โดยสวนตัวแลวผูเขียนมีความเห็นวา การใชคําวา “ขบวนการเคลื่อนไหวตอตานโลกาภิวัตน” (Anti-Globalization Movement) นั้นไมถูกตองตรงประเด็นเสียทีเดียว ควรใชคําวา “Global Justice Movements” จะดีกวา แตคําวาขบวนการ เคลื่อนไหวตอตานโลกาภิวัตน ก็ยังคงใชกันในวงกวางตามสื่อสิ่งพิมพ และบทความตางๆ ทั้งที่หากใชกรอบการมองตามตาราง ที่ 1 ขางตนแลว จะพบวาขบวนการเคลื่อนไหวตอตานโลกาภิวัตนในฐานะที่เปนสวนหนึ่งของเครือขายประชาสังคมโลก มิได ตอตานโลกาภิวัตนทั้งหมดทุกแงมุม เพราะคนกลุมนี้ไดใชประโยชนจากเทคโนโลยีการสื่อสาร อันเปนผลไดโดยตรงจากระบบ โลกาภิวัตน สิ่งที่คนเหลานี้ตอตานคือ “โลกาภิวัตนของชนชั้นนายทุน/บรรษัทขามชาติ” (Corporate Globalization) ที่เปรียบ ประดุจลัทธิครอบงํามนุษยชาติ มีลักษณะเปน “โลกาภิวัตนจากขางบน” (Globalization from above) ที่คนเล็กคนนอยใน ประเทศมิอาจทัดทานได จึงมีความจําเปนตองสรางเครือขายประชาสังคมโลก เปนคนธรรมดาที่เคลื่อนไหวในระดับรากหญา (Grass-root Movements) เพื่อปะทะในลักษณะของ “โลกาภิวัตนจากเบื้องลาง” (Globalization from below) จึงตองขอชี้แจง ใหเขาใจ เพื่อมิใหเกิดความเขาใจผิดวาขบวนการเคลื่อนไหวตอตานโลกาภิวัตนมีเปาหมายที่จะปดประเทศ2 การเกิดขึ้นของขบวนการเคลื่อนไหวตอตานโลกาภิวัตน ถือเปนปฏิกิริยาตอบโตนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมใหมที่เริ่ม แพรหลายตั้งแตทศวรรษ 1980 โดยมีมารกาเร็ต แท็ตเชอร (Margaret Thatcher) นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และโรนัลด เรแกน (Ronald Reagan) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จับมือกันดําเนินนโยบายเสรีนิยมใหมอยางแข็งขัน ทั้งการลดการควบคุมดูแล โดยรัฐ (Deregulation) และการถายโอนกิจการภาครัฐไปสูเอกชน (Privatization) ตอกย้ําดวยฉันทมติวอชิงตัน (Washington Consensus) ในป ค.ศ.1990 ที่ประกอบดวยชุดนโยบาย 10 ประการที่มีความคลายคลึงกับแนวทางเสรีนิยมใหมอยางมาก กลุมผูที่คัดคานนโยบายเสรีนิยมใหมเห็นวา นโยบายดังกลาวทําใหภาคการเงินเปราะบางและไรเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น การ กระจายรายไดกลับแยลง สรางความเขมแข็งใหกับกลุมทุน แตลดทอนอํานาจตอรองของกลุมแรงงาน และยังมีปญหาดาน สิ่งแวดลอมที่ไมไดรับการแกไข ครั้นจะเรียกรองเอากับรัฐบาลของประเทศตนเองก็คงไมเปนผล เนื่องจากการเมืองในระบบ ประชาธิปไตยไดกลายเปนประชาธิปไตยของชนชั้นกระฎมพีและกลุมทุนไปเสียแลว กลุมผูที่คัดคานเสรีนิยมใหมจึงตองสราง เครือขายของตนเองขึ้นเพื่อเขาปะทะกับแกนกลางปญหาโดยตรง ความเดนชัดของขบวนการตอตานโลกาภิวัตน เกิดขึ้นจากเหตุการณประทวงที่ซีแอตเทิล ในปค.ศ.1999 การประชุม WTO ครั้งนี้มีวาระสําคัญในเรื่องการเปดเสรีการคาและภาคบริการ มีผูเขารวมชุมนุมประทวงกวา 50,000 คน สวนใหญมาจาก องคกรแรงงานของสหรัฐอเมริกา เชน กลุมผูขับรถบรรทุก กรรมกรทาเรือ ชางเครื่องในโรงงานอุตสาหกรรม และยังมีกลุม NGO เขารวมเคลื่อนไหว เพื่อรณรงคในเรื่องอื่นๆ เชน การคาที่เปนธรรม (Fair Trade) เรื่องสิ่งแวดลอม นับเปนครั้งแรกที่ขบวนการ ตอตานโลกาภิวัตนมีพื้นที่ในการตอสูกับประเทศมหาอํานาจ องคกรระหวางประเทศ และกลุมทุนอยางชัดเจน การประชุม WTO รอบนี้จึงไดถูกระงับไปอยางนอยก็ชวงระยะหนึ่ง ความสําเร็จในการทาทาย ตอตานขัดขืนครั้งนี้ทําใหขบวนการตอตาน โลกาภิวัตนเริ่มมีความมั่นใจในการเคลื่อนไหวครั้งตอไป หลังจากนั้นก็มีการเคลื่อนไหวตอตานองคกรตางๆ อีกหลายครั้ง เชน G8, IMF, EU, APEC, FTA เชนการประทวงที่ Washington, Prague, Cancun ครั้งที่ยิ่งใหญที่สุดคือการประทวงการประชุม G8 ที่เจนัว (Genoa) ประเทศอิตาลี ที่มีผูชุมนุมประทวงกวา 200,000 คน 2

อาจมีบางสวนที่ยงั คิดจะทําเชนนั้น แตคนกลุมนี้ก็มีสัดสวนที่นอยลงมากแลว คือกลุมทฤษฎีพึ่งพิง (Dependency Theory)


6

จํานวนผูป ระทวงตอตานสถาบันระหวางประเทศครั้งสําคัญ (Protests at International Events) ในตารางที่ 2 – 4 ไดรวบรวมจํานวนผูประทวงสถาบันระหวางประเทศครั้งสําคัญไว ไดแก WTO, IMF/World Bank, และ G8 สวนตารางที่ 5 เปนการประชุมของขบวนการสมัชชาสังคมโลก (World Social Forum) สวนใหญประชุมกันที่ประเทศ บราซิล โดยจัดขึ้นควบคูและลอกับการประชุทสมัชชาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ที่เมืองดาวอส (Davos) ประเทศสวิตเซอรแลนด เพื่อเปดพื้นที่สําหรับทางเลือกที่สามของการพัฒนานอกไปจากแนวทางเสรีนิยมใหม และสงเสริมความ หลากหลาย (Plurality/Diversity) และยึดหลักการประชาธิปไตย ตารางที่ 2: World Trade Organization Meetings Year Location 1998 Geneva, Switzerland 1999 Seattle, USA 2001 Doha, Qatar 2003 Cancun, Mexico 2005 Hong Kong, China ที่มา: Paczynska (2008)

Numbers of Protesters 2,000 – 3,000 50,000 – 70,000 1,000 2,000 – 3,000 5,000 – 10,000

ตารางที่ 3: IMF/World Bank Annual Meetings Year Location Numbers of Protesters 1998 Washington, USA 200 - 300 1999 Washington, USA 1,000 2000 Washington, USA 7,000 – 10,000 2000 Prague, Czech Republic 10,000 – 15,000 2001 Washington, USA Canceled 2002 Washington, USA 40,000 – 50,000 2003 Dubai, UAE Banned by Law 2004 Washington, USA 2,000 – 3,000 2005 Washington, USA 200 2006 Singapore Banned by Law 2007 Washington, USA 300 ที่มา: Paczynska (2008) ตารางที่ 4: G8 Summits


7

Year Location 1999 Berlin, Germany 2000 Okinawa, Japan 2001 Genoa, Italy 2002 Calgary, Canada 2003 Evian, France 2004 Savannah, USA 2005 Edinburgh, Scotland 2006 St. Petersburg, Russia 2007 Heiligendamm, Germany ที่มา: Paczynska (2008)

Numbers of Protesters 800 – 1,000 70,000 100,000 – 250,000 2,000 – 3,000 50,000 – 100,000 1,000 – 2,000 225,000 125 – 200 25,000 – 80,000

ตารางที่ 5: World Social Forum Year 2001 2002 2002

Location Porto Alegre, Brazil Porto Alegre, Brazil Florence, Italy (European Social Forum) 2003 Porto Alegre, Brazil 2003 Paris, France (European Social Forum) 2004 Bombay, India 2005 Porto Alegre, Brazil 2006 Caracas, Venezuela Bamako, Mali Karachi, Pakistan 2007 Nairobi, Kenya ที่มา: Paczynska (2008)

Numbers of Protesters 20,000 – 30,000 40,000 – 60,000 40,000 – 60,000 70,000 – 75,000 100,000 80,000 – 90,000 155,000 – 200,000 80,000 11,000 20,000 66,000

4. กรณีศึกษา: การเคลื่อนไหวตอตานการประชุม WTO ที่ซีแอตเทิล ป ค.ศ.1999 (N30)


8

การชุมนุมประทวง WTO ที่ซีแอตเทิล มิใชการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหมครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา หากแตมีมา กอนหนานี้แลว ครั้งสําคัญๆ คือการเรียกรองสิทธิของคนผิวดํา และการประทวงตอตานสงครามเวียตนาม ในยุค 1960 โดยการ ตอตานสงครามเวียตนามที่ กรุงวอชิงตัน ดี ซี มีผูรวมประทวงกวา 250,000 – 500,000 คน ประกอบดวยผูคนหลายชนชั้น ตั้งแตปญญาชนในมหาวิทยาลัย นักศึกษา ชนชั้นกลาง ไปจนถึงสหภาพแรงงาน กินเวลาตั้งแตป 1965 – 1969 โดยประมาณ นับเปนขบวนการเคลื่อนไหวที่กินเวลานาน มีผูเขารวมจํานวนมาก และเขมขนมากที่สุดครั้งหนึ่งของสหรัฐอเมริกา สังคม อเมริกันเปลี่ยนจากยุคเงียบ (Age of Silence) ในชวงทศวรรษ 1950 ที่ความหวาดกลัวภัยคอมมิวนิสตและลัทธิแมคคารทธี (McCarthyism) กําลังแผซานปกคลุม ไปสูยุคแหงความรุนแรง (Age of Violence) ในทศวรรษ 1960 ที่มีเหตุการณลอบสังหาร ประธานาธิบดีจอหน เอฟ. เคนเนดี้ (John F. Kennedy: 1917 – 1963) และมารติน ลูเธอรคิง จูเนียร (Martin Luther King, Jr.: 1929 – 1968) ผูนําชาวผิวดําในการเรียกรองความเสมอภาคกับชนผิวขาว และมียังมีเหตุการณประทวงตอตานสงคราม เวียตนาม ประสบการณเหลานี้เปนจุดเริ่มตนแรกๆของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหมในสังคมอเมริกัน ระหวางวันที่ 30 กันยายน จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ.1999 การประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Conference) ครั้งที่ 3 ขององคการการคาโลก (WTO) ที่จัดขึ้นที่เมืองซีแอตเทิล ยังไมสามารถหาขอยุติรวมกันไดระหวางประเทศพัฒนาแลว กับประเทศกําลังพัฒนาในประเด็นเรื่องการเปดตลาดสินคาเกษตร นอกจากนี้ยังมีความขัดแยงภายนอกหองประชุม เวทีการ ประทวงบนถนนกําลังดําเนินไปอยางเขมขนควบคูไปกับเวทีเจรจาการคาของ WTO มีผูรวมชุมนุมประมาณ 50,000 - 70,000 คน และมีกลุม NGOs กวา 700 กลุมเขารวม อาทิเชน The Alexis de Tocqueville Institution, The Anti-Slavery Campaign, The Kenya National Farmers Union, The Canadian Broiler Hatching Egg Marketing Agency, The Georgian Environment and Biological Society, The Kalahari Conservation Society, The Sea Turtle Restoration Project, The World Rain Forest Movement รวมทั้งอยางมีกลุมอนาธิปตย (Anarchists) ที่มุงทําลายรานคาแบรนดเนมอันเปนสัญลักษณ ของทุนนิยมอยาง สตารบัคส (Starbucks) ไนกี้ (Nike) และแกป (The Gap) นอกจากนี้ยังมีกลุมที่เรียกรองในประเด็นอื่นอีก มาก เชน กลุมที่เรียกรองเอกราชของทิเบต (The Free Tibet Campaign) และกลุมทองถิ่นนิยมดวย (Localists) ทามกลางเหตุการณวุนวายทั้งหมดนี้ เราจะเริ่มตนทําความเขาใจกับเหตุการณที่เกิดขึ้นในซีแอตเทิลไดอยางไร? ผูคน หลากหลายกลุม หลากหลายผลประโยชน หลากหลายอุดมการณ ทําไมพวกเขาจึงมีเปาหมายรวมกันในการชุมนุมประทวง? และเปาหมายที่วานั้นคืออะไร? ในงานเขียนหลายชิ้น เชน ไชยรัตน (2549), Reed (2005), Kaldor (2000) มีความเห็นวา องคกร WTO นั้นไมไดเปนเปาหมายสุดทายของการประชุม WTO เปนเพียงตัวแทนของระบบที่พวกเขาเรียกวา "ฉันทมติแหง เสรีนิยมใหม" (Neoliberal Consensus) ที่บางครั้งใชในความหมายเดียวกันกับคําวา "โลกาภิวัตนแบบทุนนิยม/บรรษัท (Corporate Globalization) ที่คนเหลานี้มีความรูสึกรวมกันวาสถาบันอยาง WTO รวมไปถึงธนาคารโลก (World Bank) และ องคกรการเงินระหวางประเทศ (IMF) เนื้อแทแลวเปนสถาบันอันเปนตัวแทนของประเทศร่ํารวย และตัวแทนที่เอนเอียงเขาขาง ผลประโยชนของกลุมทุนขามชาติ และยังเห็นวากระบวนการเจรจาของ WTO ไมมีความเปนประชาธิปไตย ประเทศที่ร่ํารวย ยังคงมีอิทธิพลเหนือประเทศยากจนในการตอรอง


9

เราจะพบวาบรรดาเหลาขบวนการเคลื่อนไหวที่ซีแอตเทิลมีหลากหลายกลุม มีเปาหมายใกลเคียงกันคือ การคัดคาน ระบบโลกาภิวัตนแบบที่ดํารงอยู Reed (2005) ไดสรุปไววามีถึง 9 กลุมใหญๆโดยประมาณ ดังนี้ 1. กลุมนักพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Groups) กลุมนี้มีความเห็นวาชุดนโยบายขององคกรอยาง IMF, Worldbank, และ WTO สรางปญหาใหกับประเทศโลกที่สาม/ ประเทศกลุมซีกโลกใต มากกวาจะชวยแกไขปญหา ทําใหประเทศเหลานี้ตองประสบกับวัฏจักรหนี้สิน (Vicious Cycle of Debt) โดยเฉพาะการใหเงินกูยืมผานโครงการเงินกูเพื่อปรับโครงสรางเศรษฐกิจ (Structural Adjustment Programs: SAPs) การใหเงินกูยืมยังมาพรอมกับเงื่อนไขที่มีลักษณะ "บังคับ" ใหประเทศเหลานี้ตองปฏิบัติตาม ขณะที่นโยบายเศรษฐกิจที่มุงลด ความยากจนยังไมเกิดผลขึ้นจริง แตสิ่งที่เกิดขึ้นคือชองวางรายไดระหวางคนจนกับคนรวยกลับเพิ่มขึ้น และบรรษัทขามชาติมี โอกาสเขาไปตั้งสาขาการผลิตไดงายขึ้น 2. กลุมเกษตรกร (Farmers) การเปดเสรีตลาดสินคาเกษตร สงผลใหเกษตรกรรายยอย (Small-scale Farmers) ยากที่จะแขงขันกับธุรกิจ การเกษตรขนาดใหญ (Agribusiness) คนเหลานี้จึงเขารวมประทวงคัดคานโลกาภิวัตนแบบทุนนิยม/บรรษัท ที่ทําใหการเกษตร โลกมุงเขาสูวิถีการผลิตพืชเชิงเดี่ยว กลุมนี้เรียกรองใหมีการผลิตอาหารที่หลากหลาย ใชสารเคมีนอย ไมใชพันธุพืชตัดแตง พันธุกรรม และปลอดภัยตอผูบริโภค นอกจากนี้กลุมนี้ยังตอตานความตองการอํานาจผูกขาดของธุรกิจการเกษตรขนาดใหญที่ พยายามจะ "ชิงปลน" เอาพันธุพืชของทองถิ่นมาจดสิทธิบัตร (Biopiracy) แลวสมอางวาตนเองเปนคนคนพบ หนึ่งในกลุมผูรวม ประทวง Jose Bové ผูผลิตชีสรายยอยชาวฝรั่งเศส ก็ตอตานคัดคานรานแฮมเบอรเกอรแมคโดนัลด (McDonald) ที่ขยายสาขา ไปทั่วโลกจนทําลายผูผลิตสินคาวัตถุดิบรายยอย 3. กลุมคนพื้นเมืองดั้งเดิม (Indigenous People) โลกาภิวัตนแบบทุนนิยม/บรรษัท สรางผลกระทบเปนวงกวางตอกลุมคนพื้นเมืองดั้งเดิม การเขาไปบุกเบิกพื้นที่ปาของ นายทุน การขับไลกลุมคนพื้นเมืองดั้งเดิมออกจากพื้นที่ การเขามาของวัฒนธรรมใหมที่มาพรอมกับโลกาภิวัตน การสรางถนน การคา กลับสรางประโยชนใหกับภาคเอกชนที่ตองการเขาไปทําการคามากกวาที่สรางประโยชนใหกลุมคนพื้นเมืองดั้งเดิม รวมถึงวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของชนพื้นเมืองเหลานี้ยังไมไดรับการดูแลมากเพียงพอ 4. กลุมนักอนุรักษสิ่งแวดลอม (Environmentalists) เนื่องจากปญหาสิ่งแวดลอมไมมีพรมแดนรัฐ-ชาติขวางกั้น นักอนุรักษสิ่งแวดลอมจึงมีวิสัยทัศนการปญหาในระดับ โลก (Global Perspectives) มิใชแคระดับชุมชนหรือระดับประเทศ กลุมนักอนุรักษเชื่อวาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดลอมเกิด จากการพัฒนาเศรษฐกิจที่เนนการเจริญเติบโตอยางรวดเร็ว เนนภาคอุตสาหกรรม นําไปสูลัทธิบริโภคนิยม (Consumerism) ทํ า ให มี ก ารถลุ ง ทรั พ ยากรธรรมชาติ ม าใช อ ย า งสิ้ น เปลื อ ง การใช ส ารเคมี ใ นภาคเกษตร การปล อ ยมลพิ ษ และก า ซ คารบอนไดออกไซดสูชั้นบรรยากาศ และองคกรอยาง WTO ก็มีสวนทําใหสภาวะเหลานี้เลวรายลงดวยนโยบายการเปดการคา เสรีโดยไมใหความใสใจกับความเขมงวดกฎหมายสิ่งแวดลอม นอกจากนี้ยังนําเอาพันธุพืชตามธรรมชาติไปจดสิทธิบัตรเพื่อ แปลงเปนสินคา (Commodification) เราจึงพบวาองคกรพิทักษสิ่งแวดลอมหลายแหงเขารวมการชุมนุมประทวงที่ซีแอตเทิล เชน Rainforest Action Network, EarthFirst!, และ Greenpeace ขอเรียกรองของกลุมเหลานี้สวนใหญเปนการตอตานการ ผลิตแบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ หันกลับไปสูการพัฒนาอยางยั่งยืนและพึ่งตนเองของทองถิ่น


10

5. กลุมนักสิทธิมนุษยชน (Human Rights) กลุมนักสิทธิมนุษยชนที่เคลื่อนไหวทั้งในระดับทองถิ่นและระดับโลก มองเห็นความเห็นความเชื่อมโยงระหวางการ ปรับโครงสรางตามแนวทางเสรีนิยมใหมกับการสรางระบอบที่กดทับประชาชนในประเทศ (Repressive Regimes)รัฐบาล พยายามดึงดูดการลงทุนจากตางชาติดวยสราง "สรางบรรยากาศ" ที่เอื้อตอการลงทุน หมายความวาการชุมนุมเรียกรอง ประทวง ตอตานของประชาชน หรือสหภาพแรงงาน ยอมจะเปนการ "ทําลายบรรยากาศ" ของนักลงทุน จึงมีความจําเปนที่รัฐ จะตองกดทับ ใชมาตรการเขมงวดมิใหมีการเดินขบวนเรียกรองในประเทศที่จะนําไปสูความวุนวาย กลุมนักสิทธิมนุษยชนไม เห็นดวยกับการยกเอาผลประโยชนทางเศรษฐกิจอยูเหนือสิทธิของพลเมือง โดยมีองคกรอยาง Amnesty International เปนหัว หอกของกลุมนักสิทธิมนุษยชนในการชุมนุมครั้งนี้ 6. กลุมองคกรดานสาธารณสุขและคุมครองผูบริโภค (Public Health and Consumer Advocates) กลุมองคกรดานสาธารณสุขเรียกรองให WTO คํานึงถึงความเดือดรอนของผูคนในประเทศอยางเชนในแอฟริกา ที่ไม สามารถเขาถึงยารักษาโรคที่จําเปนอยาง HIV/AIDS ได เนื่องจากการคุมครองสิทธิบัตรยาอยางเขมแข็งมุงคุมครองผูผลิตยา ของประเทศร่ํารวย นอกจากนี้องคกรคุมครองผูบริโภคยังตองการให WTO เพิ่มกฎระเบียบเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัย ของสินคา และตอตานการใชการแรงงานเด็กในทุกขั้นตอนการผลิตสินคา 7. กลุมสิทธิสตรี (Women's Rights) เนื่องจากสัดสวนของผูหญิงในกําลังการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรมและบริการเพิ่มมากขึ้น เครือขายสตรีนิยมโลก (Global Feminist Networks) จึงเรียกรองการพัฒนาควรจะยึดเอาผูหญิงเปนศูนยกลางมากขึ้น เนื่องจากในหลายประเทศ แรงงานหญิงที่สวนใหญเปนแรงงานไรฝมือ (Unskilled Labor) ถูกเอารัดเอาเปรียบและไดรับคาจางราคาถูก และมีแนวโนมจะ ถูกนายจางใหออกจากงานกอนผูชายถาเกิดโรงงานตองลดกําลังการผลิต สิทธิของผูหญิงจึงควรจะไดรบั มากขึ้นกวาที่เปนอยู 8. กลุมแรงงาน (Labor) กลุมแรงงานและบรรดาสหภาพเปนกลุมที่มีทั้งจํานวนและพลังมากที่สุดในการประทวง ในชวงปลายป 1995 - 1999 สหภาพแรงงานมีจํานวนครั้งของการประทวง (Strike) บอยกวาชวงทศวรรษ 1990 สืบเนื่องจากกระแสโลกาภิวัตนเสรีนิยมที่ทํา ใหโรงงานจํานวนมากยายฐานการผลิตไปยังประเทศดอยพัฒนาที่มีคาจางถูกกวา กลุมสหภาพแรงงานในสหรัฐกําลังเรียกรอง ใหพิทักษตําแหนงงานของคนอเมริกัน (American Jobs) ที่กําลังสูญเสียไปใหประเทศจีนและอินเดีย 9. กลุมนักศึกษา (Students) นักศึกษาเปนอีกกลุมหนึ่งที่มีเขารวมการประทวงจํานวนมาก ความพิเศษของบรรดานักศึกษาหนุมสาวคือพลัง เพราะเปนวัยที่ยังที่ไฟในการตอสูอยูมาก มีเวลาอานทบทวนรายละเอียดและทําการบาน ทําใหขอถกเถียงในการประทวงมี ความลุมลึกมากขึ้น และยังไมมีพันธะเรื่องครอบครัวใหวุนวาย ไมมีตนทุนคาเสียโอกาสของรายไดระหวางการเขารวมประทวง ขบวนการนักศึกษาที่มีความโดดเดนคือ สหพันธนักศึกษาตอตานสวีทช็อป (United Students against Sweatshops) ที่มี สาขาตามมหาวิทยาลัยกวา 150 แหงในสหรัฐอเมริกา ตอตานการเอารัดเอาเปรียบแรงงานในประเทศโลกที่สามที่ตองทํางาน ใน "โรงงานนรก" ไดรับคาจางต่ํา สภาพแวดลอมการทํางานเลวราย ไมมีสวัสดิการ ไมมีความมั่นคง อยางไรก็ตาม ตัวแทนการคาจากประเทศกําลังพัฒนามิไดเห็นดวยกับกลุมผูประทวงเสียทั้งหมด สิ่งที่ประเทศเหลานี้ ตองการคือการคาที่เสรีมากขึ้น มิใชนอยลง กลาวคือตองการใหประเทศร่ํารวยเปดตลาดสินคาเกษตรและสิ่งทอมากขึ้น มิใช การคาที่ “เสรีฝายเดียว” คือประเทศยากจนเปดตลาดแตประเทศร่ํารวยยังปกปองคุมครองตลาดของตนเองอยู


11

ในการเดินขบวน ผูประทวงสวนหนึ่งนอกจากจะถือปายประทวงตามปกติแลว ยังแตงตัวดวยชุดเตา บางคนใชสีเพนท ตัวเอง บางคนแตงเปนซานตาคลอสเตนระบํา หรือใสเสื้อคลุมสีดําเปนปศาจ บางคนแตงชุดเปนเทพีเสรีภาพที่มีขอความ “STOP the WTO” หรือบางคนถึงขนาดเปลือยหนาอกชวงบนรวมเดินขบวน ดูแลวคลายงานเทศกาล จุดที่โดดเดนของการ ประทวงคือ มีผูนําเอาเครนสูง 170 ฟุต มาแขวนปายผาขนาดใหญ ทําลูกศรชี้ไปทางขวาเขียนวา “Democracy” และลูกศรชี้ไป ทางซายเขียนวา “WTO” เพื่อสื่อวาองคกร WTO ไมมีความเปนประชาธิปไตย บางคนที่คาดวาไดรับอิทธิพลจากหนังสือที่มี เนื้อหาทํานองเดียวกันกับของ นาโอมิ ไคลน (Naomi Klein) ชื่อ “No logo: Money, Marketing, and the growing of AntiCorporate Movement” ทําสัญลักษณลอเลียนแบรนดสินคาสัญชาติอเมริกาอยาง “McDonald” “Disney” และ “Coca Cola” ในฐานะที่เปนตัวแทนของวัฒนธรรมบริโภคนิยม ผูประทวงคนหนึ่งแขวนปายมีขอความวา “We were in Seattle for the world and for justice. But we were also there for ourselves, to create a new culture.” นอกจากจากนี้ ความนาสนใจของขบวนการนี้อยูที่ความสามารถในการระดมคน (Mobilization) การสรางการ เคลื่อนไหวในแนวระนาบ การกระจายขาว การ “ทําใหเปนปรากฎการณ” เพื่อใหสื่อทั่วโลกจับตามอง คือขอไดเปรียบ นาโอมิ ไคลนเองก็ใหใหความสนใจกับปรากฏการณ “สื่อใหม” (New Media) อยางอินเทอรเน็ต โดยเขียนไวในหนังสือของเธอวา “Despite this common ground, these [anti-corporate globalization] campaigns have not coalesced into a single movement. Rather, they are intricately and tightly linked to one another, much as ‘hotlinks’ connect their websites on the Internet. This analogy is more than coincidental and is, in fact, key to understanding the changing nature of political organizing. Although many have observed that the recent mass protests would have been impossible without the Internet, what has been overlooked is how the communication technology that facilitates these campaigns is shaping the movement in its own image.” อยางไรก็ตาม ในทัศนะของ Henderson (2001) เห็นวาขบวนการเคลื่อนไหวตอตานโลกาภิวัตน เปนการกลับมาของ กลุม “สมุหนิยม” (Collectivism) โดยเขาตั้งชื่อใหกับการประทวงที่ซีแอตเทิลวาเปนจุดเริ่มตนของ “The New Millennium Collectivism” ที่เขาเห็นวานี่เปนคูปรับคูใหมของแนวคิดเสรีนิยมทางเศรษฐกิจหลังจากที่สงครามเย็นสิ้นสุดลง เขากลาววา กลุม NGOs โดยสวนมากนั้นเปนกลุมตานเสรีนิยม (Anti-liberalism) ตอตานระบบทุนนิยม ตอตานธุรกิจขามชาติ ตอตาน การคาเสรี และถึงที่สุดแลว ตอตานระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (Market Economy) ดวยเหตุผลที่วาระบบตลาด/ระบบทุนนิยม ได “ครอบงํา” โลกจนไมมีทางออกอื่น Henderson เห็นวาทัศนะของกลุม NGOs ที่กําลังเคลื่อนไหวนั้นสุดโตงและผิดออกไป จากขอมูลความเปนจริง เขาชี้วาแตละประเทศยังคงมีทางเลือกของตนเองที่จะรับเอาระบบตลาดเสรีไปใชในขอบเขตที่มาก นอยแตกตางกัน แตละประเทศยังคงมีสิทธิเลือกวิถีทางของตน และโลกาภิวัตนก็มิไดมีอํานาจลนฟาอยางที่จินตนาการกัน เชนเดียวกันกับ Wolf (2004) ที่เห็นวาไมควรโยนบาปทั้งหมดใหกับระบบเศรษฐกิจแบบตลาด บรรษัทขามชาติ และ องคกรระหวางประเทศอยาง World Bank, IMF และ WTO ปญหาเรื่องความยากจนและสิ่งแวดลอมมีหลายมิติและเปนปญหา ซับซอน โครงสรางเศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลงอยางชาๆ มากกวาจะเกิดความยากจนฉับพลันอันเกิดจากนโยบายเศรษฐกิจแบบ เสรีที่เพิ่งเริ่มตนใชไดไมนานนัก เขาชี้แจงทั้งดวยการใชเหตุผลและขอมูลเชิงประจักษในหนังสือ “Why Globalization Works” เพื่อตอบโตกับกลุมเคลื่อนไหวตอตานโลกาภิวัตนไวครบถวนทุกประเด็น เชน โลกาภิวัตนไมใชสาเหตุของความยากจนและการ กระจายรายไดอยางที่กลุม NGOs กลาวอาง (หรือถามีผลจริง ก็ไมใชสาเหตุสําคัญลําดับหนึ่ง) โลกาภิวัตนมิใชการทําให


12

ประเทศหรือรัฐชาติออนแอลงเพื่อใหบรรษัทขามชาติเขามาควบคุมจัดการไดงายขึ้น โลกาภิวัตนไมไดบั่นทอนประชาธิปไตย โลกาภิวัตนไมไดเปนสาเหตุหลักของสิ่งแวดลอมเสื่อมโทรม แตยังมีปจจัยดานอื่น เชน ระบบกฎหมายและการบังคับใชของแต ละประเทศ รวมถึงนโยบายควบคุมจัดการของรัฐนั้นๆ ความจริงแลวเศรษฐกิจระบบตลาดเสรีนั้นมิไดมีอํานาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หากแตยังเปราะบางเพราะการดํารงอยูของระบบดังกลาวตองอาศัยความรวมมือของหลายประเทศจึงจะอยูได ประเทศเพียง ไมกี่ประเทศไมสามารถจะขืนใจใครใหปฏิบัติตามไดอยางแนนอน แต Wolf ก็เห็นดวยประการหนึ่งกับกลุมที่ตอตาน WTO คือ ประเด็นเรื่องความ “ปากวาตาขยิบ” (Hypocrisy) ของเหลาประเทศพัฒนาแลวในเรื่องการเปดเสรีการคา สวนทางองคกร WTO เองก็ออกเอกสารชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับ “ความจริง” ของ WTO ออกมาสูสาธารณชน เพื่อ ตอบขอสงสัยของฝายที่ตอตานคัดคานการทํางานของ WTO โดยมี 10 ขอกลาวหาหลักๆ ที่ WTO ไดรับการโจมตี ไดแก 1) ประเทศสมาชิกมีหนาที่ตามที่ WTO บอกใหทํา 2) WTO มุงเปดเสรีการคาโดยไมสนใจตนทุนใดๆที่เกิดขึ้น 3) WTO เห็นผลประโยชนเชิงพาณิชยมีความสําคัญกวาการพัฒนาเศรษฐกิจ 4) WTO เห็นผลประโยชนเชิงพาณิชยมีความสําคัญกวาสิ่งแวดลอม 5) WTO เห็นผลประโยชนเชิงพาณิชยมีความสําคัญกวาสุขภาพและความปลอดภัย 6) นโยบายการคาเสรีของ WTO ทําใหคนสูญเสียงาน และทําใหคนยากจนลง 7) ประเทศเล็กเสียเปรียบประเทศใหญในการเจรจา WTO 8) WTO เปนเพียงเครื่องมือของกลุมล็อบบี้ยิสตผูทรงอิทธิพล 9) ประเทศที่ออนแอกวาถูกบังคับใหตองเขาเปนสมาชิก WTO 10) องคกร WTO ไมเปนประชาธิปไตย WTO ไดชี้แจงวา กฎระเบียบตางๆที่ออกโดย WTO เปนผลมาจากความเห็นตกลงรวมกันของประเทศสมาชิก องคกร WTO จึงขับเคลื่อนดวยเหลาสมาชิก (Member-driven Organization) และขอตกลงตางๆตองไดรับความเห็นจากรัฐสภาของ แตละประเทศกอนมีผลบังคับใช การที่แตละประเทศเลือกจะเจรจาลดอุปสรรคทางการคาของตนเองลงมากนอยเพียงใดนั้น เปนดุลยพินิจของรัฐบาลแตละประเทศอยูแลว WTO ไมสามารถสั่งการใหประเทศใดๆลดอุปสรรคทางการคาลงไดตามใจชอบ WTO ทําหนาที่เปนเวทีของการเจรจาการคาของแตละประเทศเทานั้น การลดภาษีเปนไปอยางคอยเปนคอยไป เพื่อใหผูผลิต ภายในประเทศไดปรับตัว และแตละประเทศยังมีสิทธิในการตอบโตการทุมตลาด (Anti-dumping) ถาประเทศนั้นเห็นวาการคา ไมเปนธรรม กฎระเบียบหลายอยางของ WTO ก็ใหโอกาสประเทศกําลังพัฒนาไดมีเวลาในการปรับตัวมากกวา ไดรับสิทธิพิเศษ ทางการคามากกวา หลักการเรื่องสิ่งแวดลอมและเรื่องการพัฒนาอยางยั่งยืนก็เปนประเด็นที่ WTO ไมละเลยเชนกัน WTO ยัง ชี้ใหเห็นวาถาปราศจากซึ่ง WTO แลว ประเทศเล็กยิ่งจะเสียเปรียบประเทศพัฒนา การมีองคกรกลางที่คอยกํากับกติกาการ เจรจาการคาใหทุกคนอยูภายใตกฎเดียวกัร จะชวยเพิ่มอํานาจตอรองใหประเทศเล็กๆเสียดวย และดวยระบบการลงคะแนน เสียงแบบเอกฉันท (Consensus) จะชวยรับประกันวาประเทศเล็กยังคงมีอํานาจคัดคานไดเสมอ จะเห็นไดวา การเกิดขึ้นของขบวนการตอตานโลกาภิวัตนเปนความพยายามที่จะตั้งคําถามกับระบบระเบียบเดิมที่ ดํารงอยู นั่นคือระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม ขณะเดียวผูที่มองโลกาภิวัตนทางเศรษฐกิจในแงดีกวา ไดพยายามนําเอา เหตุผลและขอเท็จจริงมาถกเถียง/ชี้แจง/หักลาง เราจึงไดเห็นพลวัตของพลังในการตอสูทางความคิดชุดใหมในสังคมโลกยุคหลัง สงครามเย็น ในสวนสุดทายจะเปนการสรุปผลกระทบตอเศรษฐกิจการเมืองของสหรัฐอเมริกา


13

5. ผลของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหมตอเศรษฐกิจการเมืองสหรัฐ ในทางการเมือง การเกิดขึ้นของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม เปนการแสดงใหเห็นถึงความไมเพียงพอของ รูปแบบการเมืองที่เปนอยูตามปกติ ที่ไม สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงไปของปญหาในระดับโลกไดอยางทัน ทวงที จึ ง จําเปนตองมีความพยายามสรางพื้นที่ทางการเมืองใหม การเมืองในที่นี้ใชในความหมายกวาง ผูเขียนใชในความหมายของ “สนามอํานาจ” (Power Field) ที่มีการตอสูปะทะสังสรรคอยูตลอดเวลา และเปนสภาวะที่ยังหาขอสรุปไมได เมื่อใดที่หาขอสรุป รวมกันได การตอสูปะทะสังสรรคก็ยุติลง สนามอํานาจก็จะหมดไป พื้นที่นั้นก็จะหมดความเปนการเมืองอีกตอไป เมื่อใดที่มี ความพยายามตอตาน/ขัดขืน/ทาทายขอสรุป/ขอยุติ/ขอตกลง/ระเบียบ ก็จะเปนการเปดสนามอํานาจขึ้นมาอีกครั้ง ความเปน การเมืองก็จะกลับมา ดังนั้นการจะเขาใจการเมืองจึงไมสามารถพิจารณาแคการเมืองเชิงรูปแบบ/เชิงสถาบันเทานั้น แตยังมี พื้นที่การเมืองนอกรัฐสภาที่มีการใชอํานาจ และการเคลื่อนไหวเพื่อสรางระบบระเบียบดํารงอยูเชนกัน กอนเหตุการณที่ซีแอตเทิล สังคมอเมริกัน ทั้งรัฐบาลและสื่อมวลชน ตางก็ทําสงครามเย็นกับสหภาพโซเวียตมานาน กวา 40 ป จนทําใหความเขาใจตอขบวนการเคลื่อนไหวเรียกรองของประชาชนยังคงมืดบอดอยู ยังไมมีความเขาใจที่ชัดเจนถึง วัตถุประสงคใหม เงื่อนไขใหมที่เกิดขึ้น ไชยรัตน (2545) ไดยกตัวอยางขบวนการ Earth First! ไวไดอยางนาสนใจมาก Earth First! เปนขบวนการเคลื่อนไหวประชาสังคมในระดับทองถิ่นในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เริ่มตนราวป 1980 มีเปาหมายเพื่อการ อนุรักษธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ปาไมและระบบนิเวศน แตรัฐบาลและสื่อมวลชนในขณะนั้นกลับมองรูปแบบการเคลื่อนไหว ของ Earth First! วาเปนการกระทําที่เปนอาชญากร หรือเปนขบวนการกอการราย มองวาการเคลื่อนไหวที่ตองการตอตานรัฐ หรือตอตานระบบระเบียบของสังคม จะตองเปนการเคลื่อนไหวของขบวนการคอมมิวนิสตเทานั้น ไมไดเขาใจในความแตกตาง เชิงลึก เพียงแคเห็นวาเปนการตอตานอํานาจรัฐก็ถือไดวาเปนคอมมิวนิสตแลว คําบอกเลาของเดฟ ฟอรแมน (Dave Foreman) ผูนําขบวนการ Earth First! คนหนึ่งเลาวา เขาไปรวมประทวงการตัดไมแหงหนึ่งในเมืองเม็ดฟอรด (Medford) มลรัฐโอเรกอน (Oregon) รวมกับสมาชิกอีกคนหนึ่งของขบวนการซึ่งเปนชายพิการนั่งรถเข็น ทั้งคูพยายามขวางถนนเพื่อไมใหเจาหนาที่ปาไม นํารถยนตและเครื่องมือเขาไปได ฟอรแมนขวางรถบรรทุกไวแมวาจะมีเสียงบีบแตรเตือน เขาไมหลบและเกาะกันชนรถเอาไวให รถลากตัวไปราว 100 หลา คนขับจึงหยุดรถพรอมทั้งตะโกนตอหนาฟอรแมนวา “ไอพวกคอมมิวนิสต” แตฟอรแมนตอบกลับเขา ไปวา เขาไมใชคอมมิวนิสต และไมเคยคิดจะเปนดวย แตเขาเปนสมาชิกที่จดทะเบียนถูกตองตามกฎหมายของพรรครีพับลิกัน ซึ่งเปนพรรคการเมืองที่มีนโยบายอนุรักษนิยมในสหรัฐอเมริกา ตัวอยางขางตนแสดงใหเ ห็นว า เจาหนาที่ ของรัฐในขณะนั้น ยังขาดความรูความเขาใจในรูปแบบของขบวนการ เคลื่อนไหวเรียกรองของประชาชน ยังมีวิธีคิดแบบยุคสงครามเย็นอยู ทั้งที่โลกเคลื่อนไปยุคหลังสงครามเย็นแลว ความเขาใจกับ ยุทธศาสตรการเคลื่อนไหวของ Earth First! ยังคงถูกมองวาเปนการสรางความไมมั่นคง เปนการกอการราย เพราะ Earth First! เคลื่อนไหวดวยการเขาไปทําลาย สรางความเสียหายใหกับเครื่องจักร เครื่องมือ หรือกิจการ/ธุรกิจที่ไดชื่อวาทําลายสิ่งแวดลอม ปดถนน สรางสิ่งกีดขวาง เพื่อหยุดกิจกรรมที่ทําลายธรรมชาติ การเคลื่อนไหวที่ซีแอตเทิลนั้น ไดอธิบายไปกอนหนานี้แลววามิใชแคการตอตาน WTO แตเปนการตอสูขัดขืนกับ ระบบที่เราเรียกวาโลกาภิวัตนเสรีนิยมใหม และการตอสูในรูปแบบของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหมก็มิอาจเขาใจไดดวย ภาพการมองการเมืองรูปแบบเดิม เนื่องจากขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหมไมอยูในกรอบความเขาใจแบบแยกฝาย เด็ดขาดระหวางเดโมแครต-รีพับลิกัน อยางที่เคยใชกันมาโดยตลอดวากลุมแนวคิดเสรีนิยมคือกลุมเดโมแครต กลุมที่มีแนวคิด


144

ย อรีพับลิกัน ขบวนการเคลืลื่อนไหวทางสั​ังคมใหมไมอยูในระบบการรับรู บ แบบดังกลาว เพราะประกออบดวยมวลชนน อนุรักษนิยมคื จํานวนมาากหลายชนชั้น หลายอุดมกาารณ ขบวนการหนึ่งๆที่เรียกรรองดานสิ่งแวดดลอมจึงอาจมีทั้งคนที่ชื่นชอบบเดโมแครตไดด เทาๆกับคนที ค ่ชื่นชอบรีพับลิกัน การจะเเขาใจรูปแบบการเมืองอเมริกันดวยทฤษฎีกลุลมผลประโยชนน (Interest Grroups) อันเปน ความเชื่อพื้นฐานของกาารออกแบบการรเมืองอเมริกัน อาจใหภาพที่ไม ไ สมบูรณชัดเจนอี เ กตอไป เนืนื่องจากขบวนการเคลื่อนไหวว ทางสังคมมใหม มิใชตัวแททนของกลุมผลประโยชนใดผลลประโยชนหนึง่ แตเปนประเด็​็นสาธารณะขอองพลเมืองโลก ที่ควรจะไดรับรู รวมกัน (Issue Group Politics) เราจจะเห็นวาการเคคลื่อนไหวเรียกรองทีซีแอตเทิล มิใชการวิ่งเขาหากลไกของรรัฐ หรือสถาบัน หลักทางกการเมืองที่ดํารงงอยู อยางเชนพรรคการเมื พ อง หรือนักการเมืมือง เพื่อขอควาามชวยเหลือดังงที่กลุมผลประโโยชนสวนใหญ ญ กระทํากัน แตเปนการเคคลื่อนไหวเอง สรางเครือขายเออง ตอสูเอง หลลายครั้งมีลักษณ ณะขัดขืนกับกฎฎหมาย เชน มีการทํ ก าลายขาว ของ รานคคาแบรนดเนม อันเปนสัญลักษณ ษ ของทุนนิยม เพื่อแสดงคววามไมเห็นดวยกั ย บระบบที่ดํารรงอยู การที่ตองลุกขึ้นมาตอสู ดวยตัวเองและเสี่ยงตอการถู ก กตํารวจจั​ับนั้น ก็เนื่องจากวากลไกของรัรัฐยังไมสามารถถจัดการกับสิ่งที่พวกเขาเห็นวาเปนปญหาไดด รัฐลมเหลวในการจัดการรกับคลื่นกระแสสทุนนิยมโลกาภิภิวัตน ดังนั้นในนอนาคตเราตอไปเราจะเห็นกาารเกิดขึ้นของกกลุมเหลานี้มากก า ขึ้นเนื่องจากขอจํากัดของงรัฐบาลในการรแกไขปญหาขามชาติ รูปที่ 1:

รูปที่ 2:

นอกจากนี้ ขบวนการเคลื่อนไไหวเหลานี้จะชชวยเปนพลังตรรวจสอบถวงดุลกั ล บกลุมทุนขนนาดใหญ ในสหหรัฐอเมริกาเราา อ งที่มีสวนแแบงรายไดจํานนวนมาก เชน Exxon E Mobil, Wal-mart Stoore, Chevron, จะพบวามีบรรษัทขนาดใใหญอยูไมกี่รอยแห General Electrics, General G Motoors, Conoco Phillips ยอดรรายไดของบริษัษัทเหลานี้มีขนาาดใหญกวา GDDP ของหลายย ประเทศเสีสียดวยซ้ําไป คววามมั่งคั่งสวนใใหญในโลกกระะจุกตัวอยูที่สหรัฐอเมริกา และะในสหรัฐเองก็กกระจุกอยูกับกลุมทุนไมกี่กลุม Indicators (22008) สัดสวนการบริ เทานั้น จาากขอมูลของ W World Bank Development D น โภคของงประชากรโลก 20% ที่ร่ํารวยย ที่สุด บริโภคทรั ภ พยากรกวา 76.6% ของงทั้งโลก ขณะทีที่ประชากรโลก 20% ที่ยากจนที่สุด บริโภคททรัพยากรเพียง 1.5% เทานั้น (รูปที่ 1 และรู แ ปที่ 2) สั​ัดสวนความไมมสมดุลดังกลาวไมเปนธรรมตตอคนจํานวนมมากบนโลกและะนําไปสูการพัฒนาที ฒ ่ไมยั่งยืน ปญหาคววามกระจุกตัวของทรั ข พยากรจึจึงยังคงเปนประะเด็นสําคัญที่ขบวนการเคลื ข ่อนไหวเหลานี้พยายามตอสู และยืนยันวาทุน นิยมโลกาาภิวัตนมีสวนทําใหเกิดกระจายความมั่งคั่งทีไม ่ สมดุลอยางมาก


15

แมวาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมอาจจะไดรับขอวิจารณวา ไมมีขอเสนอที่ชัดเจน หรือมีขอเสนอที่ยากที่จะทําให เกดขึ้นไดจริง แตเหตุการณที่ซีแอตเทิล ก็ไดทําใหเรารับรูถึง “พลังของการทาทาย” (Power of the Resistence) ที่แมจะเปน กลุมที่รวมตัวกันอยางหลวมๆ มีเปาหมายใหญๆรวมกันแตอาจไมสอดคลองกันทุกประเด็น แตก็มีพลังในการทาทายระเบียบ เดิมที่ดํารงอยู เปนระเบียบที่แมแตอํานาจรัฐเองยังไมสามารถจะเขาไปทัดทานได แตกลุมเคลื่อนไหวเครือขายภาคประชาชน กลับประสบความสําเร็จ อยางนอยก็ในระดับหนึ่ง ในการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกรองความเปนธรรมในระดับโลก บทบาทของ สหรัฐอเมริกาเองก็ยอมตองปรับเปลี่ยนไปใหสอดคลองกับพลังของกลุมเคลื่อนไหวดังกลาวที่มีเครือขายอยูทั่วโลก และกําลัง ทาทาย/ขัดขืน ระบบเศรษฐกิจการเมืองที่อเมริกาพยายามจะผลักดัน และหลายครั้งเปนการผลักดันฝายเดียว ตราบใดที่ เทคโนโลยีการสื่อสารยังคงกาวหนาและเชื่อมโยงผูคนทั่วโลกไดอยางรวดเร็ว ขบวนการเคลื่อนไหวเหลานี้ยิ่งจะผนึกกําลังขึ้น เปนเครือขายไดอยางเขมแข็ง และเปนพลังที่อาจสังคมการเมืองอเมริกันไมอาจมองขามไดอยางแนนอน


16

ภาพประกอบ: เหตุการณประทวงที่ซีแอตเทิล ในป 1999 (ภาพทั้งหมดนํามาจากสํานักขาว BBC)


17


18

บรรณานุกรม ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร. 2545. ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม. พิมพครั้งที่ 2, กรุงเทพ: สํานักพิมพวิภาษา. ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร. 2549. รัฐ-ชาติกับความไรระเบียบโลกชุดใหม. กรุงเทพ: สํานักพิมพวิภาษา. Gassama, I. J. 2002. “Confronting Globalization: Lessons from the Banana Wars and the Seattle Protest,” Oregon Law Review, (81), 707 – 737. Henderson, David. 2001. Anti-Liberalism 2000: The Rise of New Millennium Collectivism. London: The Institute of Economic Affair. Kaldor, Mary. 2000. “Civilizing Globalization: The Implication of the Battle in Seattle,” Journal of International Studies, (29), 105 – 114. Chossudovsky, M. 2000. “Seattle and Beyond: Disarming New World Order,” Economic and Political Weekly, 35:3, 15 – 21. Paczynska, Agnieszka. “Turtles, Puppets and Pink Ladies: the Global Justice Movement in a Post-9/11 World,” Working Papers in Global Studies, Centor for Global Studies, George Mason University Reed, T. V. 2005. The Art of Protest. Minneapolis: The University of Minnesota Press. Wolf, Martin. 2004. Why Globalization Works. New Haven: Yale University Press. World Trade Organization. 2008. 10 Common Misunderstandings about the WTO.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.