เอกสารวิชาการลำดับที่ 75
สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา อาคารบี ชั้น ๕ เลขที่ ๑๒๐ หมู่ ๓ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐-๒๑๔๑-๙๖๐๐ โทรสาร ๐-๒๑๔๓-๘๑๘๑ เว็บไซต์ www.kpi.ac.th
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมฯ ISBN : ๙๗๘-๙๗๔-๔๔๙-๕๑๙-๘
ราคา
บาท
สวพ.๕๓-๐๒-๕๐๐.๐
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... ลิขสิทธิ์ สถาบันพระปกเกล้า ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data. สถาบันพระปกเกล้า. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. ... --กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า ๒๕๕๓. ๑๐๐ หน้า ๑. นโยบายสาธารณะ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ. ๒. การมีส่วนร่วม ของประชาชน – กฏหมายและระเบียบข้อบังคับ. I.ชื่อเรื่อง ๓๔๒.๕๙๓๐๔๑ ISBN : ๙๗๘-๙๗๔-๔๔๙-๕๑๙-๘
สวพ. ๕๓-๐๒-๕๐๐.๐ พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวนพิมพ์ ๕๐๐ เล่ม บรรณาธิการ ปัทมา สูบกำปัง ประสานงาน วลัยพร ล้ออัศจรรย์ จัดพิมพ์โดย สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา อาคารบี ชั้น ๕ เลขที่ ๑๒๐ หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐-๒๑๔๑-๙๖๐๐ โทรสาร ๐-๒๑๔๓-๘๑๘๑ http://www.kpi.ac.th พิมพ์ที่
บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด ๗๔๕ ถนนนครไชยศรี แขวงนครไชยศรี เขตดุสติ กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ ๐๒-๒๔๓-๙๐๔๐-๔ โทรสาร ๐๒-๒๔๓-๓๒๒๕ นายเอนก ตาดอุไร ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
คำนำ รัฐเสรีประชาธิปไตยเกือบทั้งหมด รวมทั้งประเทศไทยต่างให้ ความสำคัญกับ “การเมืองภาคตัวแทน” โดยคาดหวังว่า “ผู้แทน” ของประชาชนผู ้ เ ป็ น เจ้ า ของอำนาจอธิ ป ไตย จะทำหน้ า ที ่ โ ดยยึ ด ประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวมเป็นหลัก แต่เมื่อไม่เป็นเช่นนั้น สังคม จึงต้องเรียกร้อง “การเมืองภาคพลเมือง” โดยที่ภาคพลเมืองต้องได้ เข้ามามีส่วนร่วมกับภาคตัวแทน ทำงานในลักษณะคู่ขนาน และหนุน เสริมซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินในด้าน ต่างๆ ตอบสนองความต้องการของสังคม และที่สำคัญยิ่งกว่าคือเป็นไป โดยสอดคล้องกับประโยชน์ของชาติ มิใช่ของบุคคล แต่เพียงคนเดียว หรือกลุ่มเดียวที่มีอำนาจเท่านั้น ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ สังคมไทยมีพัฒนาการเกี่ยวกับ “การ มีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน” ดังเห็นได้จากกระแสปฏิรูป การเมืองที่ปรากฏชัดในช่วงก่อนปี พ.ศ.๒๕๔๐ ทำให้ภาคประชาชนได้ เข้ามีส่วนร่วมในการพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญ และมีการรับรองสิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านต่างๆ มากอย่างที่
ไม่เคยปรากฏมาก่อน อย่างไรก็ตาม สิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนยังไม่ได้รับการคุ้มครองหรือเปิดให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม อย่างแท้จริง ด้วยมีปัญหาอุปสรรคต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาพื้นฐานที่นำ มาซึ่งปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย เช่น การขาดข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วม ทั้งฝ่ายที่เป็นภาคประชาชนและภาครัฐ โดยที่ ภาคประชาชนพยายามเรี ย กร้ อ งการเข้ า มี ส ่ ว นร่ ว มทางการเมื อ ง
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ในขณะที่ภาครัฐมักจะอ้างความชอบธรรมของการใช้อำนาจในการ ปกครอง และใช้ “การมี ส่ ว นร่ ว ม” ในมิ ต ิ ท ี ่ ต รงกั น ข้ า มกั บ ภาค ประชาชน ปัญหาสำคัญประการหนึ่ง คือการขาดกฎหมายรองรับหลักการ เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้
โดยเฉพาะ ทำให้ขาดความชัดเจนในการปฏิบัติทั้งภาคประชาชนและ หน่วยงานภาครัฐ ซึ่งภาคประชาชนอ้างอิงหลักการตามรัฐธรรมนูญ แต่ ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐยังคงยึดแนวทางและหลักการ ตามกฎหมายซึ่งบังคับใช้มาก่อนรัฐธรรมนูญ ทำให้สิทธิเสรีภาพและ การมีส่วนร่วมของประชาชนมีข้อจำกัดและเงื่อนไขปิดกั้น สิทธิและการ มีส่วนร่วมจึงถูกแปลความและใช้อ้างอิงไปตามที่แต่ละฝ่ายเข้าใจ โดยมี ความแตกต่างด้านสถานะเป็นปัจจัยสำคัญ สิ่งเหล่านี้ นอกจากจะ
ไม่สามารถแก้ไขปัญหาดั้งเดิมที่มีได้แล้ว ยังทำให้เกิดความขัดแย้ง
ที่รุนแรงยิ่งขึ้น สถาบันพระปกเกล้า ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการ ศึ ก ษาเพื่ อ พิ จ ารณายกร่ า งกฎหมายว่ า ด้ ว ยการมี ส่ ว นร่ ว มของ ประชาชน เพื่อถอดบทเรียนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกระบวนการนโยบายสาธารณะ ซึ่งต้องได้รับการยอมรับจาก ทุกภาคส่วน เป็นกฎหมายที่กำหนดหลักการมีส่วนร่วมที่ได้ดุลยภาพ กำหนดกฎเกณฑ์ กติกา และแนวทางการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆ ไว้อย่าง ชัดเจน ทั้งนี้ โดยต่อยอดจากกฎหมายเดิมที่มีอยู่ และพยายามสร้าง ระบบใหม่ขึ้นมารองรับหลักการมีส่วนร่วมตามความคาดหวังของสังคม การดำเนิ น โครงการดั ง กล่ า วสำเร็ จ ลุ ล ่ ว งไปได้ โดยได้ ร ั บ การ สนับสนุนช่วยเหลือทางด้านงบประมาณจากมูลนิธิเอเชีย ส่วนด้าน
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
วิชาการนั้นมีผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเปี่ยมไปด้วยความรู้ ประสบการณ์ทั้งในเชิง ทฤษฎีและในทางปฏิบัติกรุณาเสียสละเวลาในการช่วยขบคิด ค้นหา แนวทาง และข้ อ เสนอแนะที ่ เ หมาะสมต่ อ สั ง คมไทย ซึ ่ ง ผ่ า นการ พิจารณาด้วยมุมมองที่รอบด้านและมีหลักเหตุและผลรองรับ ที่สำคัญ ยิ่งไปกว่าคือการได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้ง เจ้าหน้าที่ภาครัฐซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมเวทีแสดงความคิดเห็น เสนอแนะ ตลอดกระบวนการพิจารณา ยกร่างกฎหมาย ทำให้สำเร็จเป็น “ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....” ที่เกิดขึ้นได้ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคประชาชน โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือ การทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ภายในกรอบของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๕๗ และมาตรา ๘๗ (๑)
และ (๒) สถาบันพระปกเกล้า กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
สารบัญ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
๑
บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติว่าด้วย ๒๙ การมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... ประกอบเหตุผล
๕๓
ภาคผนวก ๙๑ คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นประชาชน ๙๓ เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
หลักการ
ให้มีกฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ
เหตุผล
โดยที ่ ม าตรา ๕๗ ของรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย ได้ บัญญัติรับรองให้บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจาก หน่วยงานของรัฐก่อนการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบ ต่ อ ตนหรื อ ชุ ม ชนท้ อ งถิ ่ น และมี ส ิ ท ธิ แ สดงความคิ ด เห็ น ของตนต่ อ หน่ ว ยงานที ่ เ กี ่ ย วข้ อ ง ประกอบกั บ มาตรา ๘๗ (๑) และ (๒) ของ รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย ได้ บ ั ญ ญั ต ิ ใ ห้ ต ้ อ งส่ ง เสริ ม ให้ ประชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มในการกำหนดนโยบายและวางแผนพั ฒ นา เศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น และส่งเสริมสนับสนุน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมือง มีส่วนร่วมใน
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
การวางแผนพั ฒ นาทางเศรษฐกิ จ และสั ง คม รวมทั ้ ง การจั ด บริ ก าร สาธารณะ แต่โดยที่ปัจจุบันยังขาดกฎหมายที่มีประสิทธิผลในการ กำหนดหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธ ี ก ารในการให้ ป ระชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มในการ ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อตนหรือชุมชนท้องถิ่น การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการจัดบริการสาธารณะ ที่ชัดเจน ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญได้ อย่ า งทั ่ ว ถึ ง และให้ ห น่ ว ยงานของรั ฐ ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การมี ส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดกระบวนการนโยบายสาธารณะ โดยสอดคล้องและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็น ต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่าง พระราชบัญญัติ การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
........................................ ........................................ .........................................
..................................................................................... ......................................................
โดยที ่ เ ป็ น การสมควรให้ ม ี ก ฎหมายว่ า ด้ ว ยการมี ส ่ ว นร่ ว มของ ประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัด สิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา .. มาตรา .. และมาตรา ๖๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้ กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ..................................................................................... ......................................................
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการมี ส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “นโยบายสาธารณะ” หมายความว่า การจัดทำนโยบาย แผน พั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คม แผนพั ฒ นาการเมื อ ง แผนยุ ท ธศาสตร์ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาของหน่วยงานรัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน หรือพื้นที่ หรือการออกกฎหรือระเบียบของหน่วยงานของ รั ฐ และให้ ห มายความรวมถึ ง การจั ด ทำโครงการหรื อ กิ จ กรรมของ หน่วยงานของรัฐที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใด “กระบวนการนโยบายสาธารณะ” หมายความว่า การริเริ่ม การให้และรับรู้ข้อมูล การรับฟังความคิดเห็น การร่วมตัดสินใจ การร่วม ดำเนินการ การร่วมติดตามประเมินผล และการตรวจสอบการดำเนิน นโยบายสาธารณะ “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการ ส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ แต่ไม่รวมถึงราชการ ส่วนท้องถิ่น “ผู้มีส่วนได้เสีย” หมายความว่า ผู้ซึ่งอาจได้รับประโยชน์ ได้รับ ความเสียหาย หรือได้รับผลกระทบจากนโยบายสาธารณะ “ผู้ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ ง” หมายความว่ า ผู ้ ม ี ส ่ ว นได้ เ สี ย องค์ ก ร ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรภาคประชาชน ผู้แทนองค์กรพัฒนา
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
เอกชน และบุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด “การมีสว่ นร่วมของประชาชน” หมายความว่า การทีห่ น่วยงาน ของรัฐเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้เสีย ได้เข้ามามี ส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ “การสานเสวนา” หมายความว่า กระบวนการที่จัดให้มีการ สื่อสารสองทางระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้เสีย กับหน่วยงาน ของรัฐ เพื่อรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน “การประชาเสวนา” หมายความว่ า กระบวนการที ่ จ ั ด ให้ ม ี
การสานเสวนากับประชาชนเพื่อให้มีการหาทางออกในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะด้านนโยบายสาธารณะ “ฉั น ทามติ ” หมายความว่ า ผลที ่ ไ ด้ จ ากการสานเสวนาหรื อ
การประชาเสวนาที่เป็นความเห็นชอบของเสียงส่วนใหญ่ที่ได้ร่วมในการ สานเสวนาหรือการประชาเสวนานั้น ซึ่งไม่ได้เป็นผลที่เกิดจากการลงมติ หรื อ การลงคะแนนเสี ย ง และความเห็ น ชอบดั ง กล่ า วไม่ จ ำต้ อ งเป็ น ความเห็นที่เป็นเอกฉันท์ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ “คณะกรรมการสรรหา” หมายความว่า คณะกรรมการสรรหา กรรมการการมีสว่ นร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ “สำนั ก งาน” หมายความว่ า สำนั ก งานคณะกรรมการการมี ส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด” หมายความว่า รัฐมนตรีที่มีหน้าที่กำกับ ดูแลกิจการหรืองานของหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการดำเนิน นโยบายสาธารณะ
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้ ม ี อ ำนาจในการออกกฎกระทรวง เพื ่ อ ปฏิ บ ั ต ิ ก ารให้ เ ป็ น ไปตาม พระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้ บังคับได้
มาตรา ๕ ในกรณีที่มีกฎหมายใดบัญญัติเรื่องการมีส่วนร่วมใน กระบวนการนโยบายสาธารณะไว้ การดำเนินการเรื่องการมีส่วนร่วมใน กระบวนการนโยบายสาธารณะตามกฎหมายนั ้ น ให้ เ ป็ น ไปตามที ่ บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีที่กฎหมายนั้นได้กำหนด เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะไว้ โดยเฉพาะและมีมาตรฐานในการดำเนินการไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไว้ในพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑
สิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ
มาตรา ๖ ประชาชนย่อมมีสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ ทั้งในด้านการให้และการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร การแสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะ การมีส่วนร่วมใน การตัดสินใจ ทัง้ ในขัน้ ตอนการริเริม่ นโยบาย การจัดทำแผนงาน โครงการ หรื อ กิ จ กรรมที ่ อ าจมี ผ ลกระทบต่ อ คุ ณ ภาพชี ว ิ ต และสิ ่ ง แวดล้ อ ม
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการจัดการสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการปฏิบัติ และการติดตามประเมินผลตาม นโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมนั้น
มาตรา ๗ หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ ประชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มในกระบวนการนโยบายสาธารณะได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ
มาตรา ๘ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุน การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ ด้วย รูปแบบและวิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสม ดังต่อไปนี้ (๑) การให้ข้อมูลและการรับข้อมูลจากประชาชน (๒) การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (๓) การให้ ป ระชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มในการจั ด ทำหรื อ ปฏิ บ ั ต ิ ต าม นโยบายสาธารณะ (๔) การให้ ป ระชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มในการตั ด สิ น ใจในนโยบาย สาธารณะ (๕) การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลนโยบาย สาธารณะ (๖) การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจ ของหน่วยงานของรัฐ (๗) การให้ประชาชนมีสว่ นร่วมในการพิจารณา แก้ไข เปลีย่ นแปลง หรือยกเลิกนโยบายสาธารณะ การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักการพื้นฐานใน การมีส่วนร่วมตามที่คณะกรรมการกำหนด
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
มาตรา ๙ หน่วยงานของรัฐที่จะกำหนดนโยบายสาธารณะจะ ต้ อ งจั ด ให้ ผู ้ ม ี ส ่ ว นเกี ่ ย วข้ อ ง มี ส ่ ว นร่ ว มในกระบวนการนโยบาย สาธารณะที่อาจมีผลกระทบต่อประชาชนและชุมชนก่อนเสนอให้ผู้มี อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการกำหนดนโยบายสาธารณะนั้นอนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบ โดยอาจดำเนินการจัดให้มีการประชาเสวนาเพื่อ ให้เกิดฉันทามติอย่างกว้างขวางและครอบคลุม โดยเฉพาะในกรณีที่ เป็นนโยบายสาธารณะที่จะมีผลกระทบต่อประชาชนกลุ่มนั้นๆ
มาตรา ๑๐ เมื่อมีการริเริ่มและจัดทำข้อเสนออันเป็นนโยบาย สาธารณะตามมาตรา ๙ เสร็จแล้ว ก่อนนำเสนอให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมายในการกำหนดนโยบายสาธารณะอนุมัติหรือให้ความเห็น ชอบ หน่วยงานของรัฐจะต้องนำนโยบายสาธารณะนั้นไปทำการรับฟัง ความคิดเห็น และเมื่อได้มีการอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการ ตามนโยบายสาธารณะนั้นแล้ว อาจจัดให้ประชาชนและชุมชนมีส่วน ร่ ว มในการดำเนิ น การตามนโยบายสาธารณะ รวมทั ้ ง การติ ด ตาม ประเมินผลนโยบายสาธารณะด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๑ การให้ผมู้ สี ว่ นเกีย่ วข้องเข้าร่วมในการจัดทำนโยบาย สาธารณะ การนำนโยบายสาธารณะนั้นไปทำการรับฟังความคิดเห็น และการดำเนินการอื่นตามมาตรา ๘ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๒ ก่อนที่หน่วยงานของรัฐจะดำเนินนโยบายสาธารณะ ที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือมีผลต่อส่วนได้เสียอื่นของประชาชนหรือชุมชน หน่วยงานของรัฐ ต้องเปิดเผยข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผล เพื่อให้ประชาชนและชุมชน 10
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ที่อาจจะได้รับผลกระทบดังกล่าวได้รับทราบ และต้องจัดให้มีการการรับ ฟังความคิดเห็น และการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก่อนที่จะ ตัดสินใจพิจารณาดำเนินนโยบายสาธารณะนั้น หน่วยงานของรัฐต้องนำผลการรับฟังความคิดเห็นตามวรรคหนึ่ง ไปใช้ประกอบในกระบวนการตัดสินใจดำเนินนโยบายสาธารณะ และ ต้องหลีกเลี่ยงการดำเนินการที่จะมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือมีผลต่อส่วนได้เสียอื่นของประชาชน หรือชุมชน แต่ถ้าเป็นกรณีที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ หน่วยงาน ของรัฐต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันหรือมาตรการเยียวยาที่เหมาะสม และเป็นธรรม เพื่อชดเชยให้กับผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการดำเนินการ ตามนโยบายสาธารณะดังกล่าว
มาตรา ๑๓ ในกรณี ท ี ่ จ ะต้ อ งจั ด ให้ ม ี ก ารรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ ก่อนดำเนินการดังกล่าวหน่วยงานของรัฐจะ ต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้อย่าง ทั่วถึงและในระยะเวลาที่เพียงพอ (๑) สาระสำคัญของนโยบายสาธารณะ (๒) เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ (๓) สถานที่ วิธีการ ขั้นตอน และระยะเวลาที่จะดำเนินการ (๔) ผลกระทบของการดำเนินการ ทั้งผลดีและผลเสียที่อาจเกิด ขึ้น รวมทั้งมาตรการป้องกันหรือแก้ไขในกรณีที่อาจเกิดผลเสียหรือ
ผลกระทบ (๕) การวิเคราะห์ความคุ้มค่าเมื่อพิจารณาจากผลกระทบตาม (๔) (๖) รายละเอี ย ดอื ่ น ที ่ จ ะทำให้ เ กิ ด ความเข้ า ใจอย่ า งเพี ย งพอ เกี่ยวกับการดำเนินงานของนโยบายสาธารณะ 11
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
การรับฟังความคิดเห็นตามวรรคหนึ่งจะทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวาจาให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด ให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดแนวทางของหน่วยงานของรัฐ ในการจัดหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริง และการเผยแพร่ข้อมูลหรือข้อเท็จจริง แก่ประชาชนตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๑๔ ในกรณีที่ต้องจัดให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามมาตรา ๘ (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการให้ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงตามมาตรา ๑๓ รวมทั้งต้องนำผลการรับฟังความ คิดเห็นตามมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๕ ไปใช้ประกอบในกระบวนการ ตัดสินใจกำหนด อนุมัติ หรือเห็นชอบในนโยบายสาธารณะนั้น
มาตรา ๑๕ เมื ่ อ หน่ ว ยงานของรั ฐ ได้ จ ั ด ให้ ม ี ก ารรั บ ฟั ง ความ คิดเห็นแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐประกาศการตัดสินใจให้ประชาชนทราบ เป็นการทั่วไป โดยในประกาศดังกล่าวต้องแสดงถึงเหตุผล ความจำเป็น มาตรการในการป้องกันหรือเยียวยา การแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่ อาจเกิ ด ขึ ้ น ความคุ ้ ม ค่ า ของประโยชน์ ส าธารณะ และทางเลื อ กที ่ เหมาะสมที่สุด ประกาศดังกล่าวต้องโดยเปิดเผยต่อสาธารณะเพื่อให้ ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ ในกรณีทม่ี กี ารคัดค้านการดำเนินนโยบายสาธารณะใด หน่วยงาน ของรัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น และนำความคิดเห็นดังกล่าว ไปใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง ในการนี้ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง ด้วย
12
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
มาตรา ๑๖ เมือ่ ได้มกี ารประกาศตามมาตรา ๑๕ แล้ว หน่วยงาน ของรัฐมีหน้าทีท่ จ่ี ะต้องปฏิบตั แิ ละดำเนินกระบวนการนโยบายสาธารณะ ตามที่ได้ประกาศไปแล้ว โดยเคร่งครัด
มาตรา ๑๗ ในระหว่างการดำเนินกระบวนการนโยบายสาธารณะ หน่วยงานของรัฐจะต้องจัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนิน นโยบายสาธารณะและเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ เมื ่ อ ดำเนิ น กระบวนการนโยบายสาธารณะเสร็ จ สิ ้ น แล้ ว ให้ หน่วยงานของรัฐจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการและเผยแพร่ต่อ สาธารณะ การจั ด ทำรายงานตามวรรคหนึ ่ ง และวรรคสองเป็ น ไปตาม หลักเกณฑ์ วิธกี าร และมีสาระตามทีค่ ณะกรรมการกำหนด ซึง่ อย่างน้อย ต้องจัดทำและเผยแพร่ปีละหนึ่งครั้ง และรายงานดังกล่าวต้องประกอบ ด้วย (๑) การมีส่วนร่วมของประชาชน (๒) ผลกระทบที่มีต่อประชาชนและชุมชน (๓) มาตรการป้องหรือเยียวยา หรือการดำเนินการแก้ไขปัญหา และผลกระทบ
มาตรา ๑๘ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใดเห็นว่านโยบายสาธารณะใด ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนและชุมชน และมิได้ดำเนินการตาม มาตรการป้ อ งกั น หรื อ เยี ย วยา หรื อ ดำเนิ น การแก้ ไ ขปั ญ หาและ ผลกระทบที ่ เ กิ ด ขึ ้ น ผู ้ ม ี ส ่ ว นเกี ่ ย วข้ อ งนั ้ น สามารถยื ่ น คำร้ อ งต่ อ หน่วยงานของรัฐเพื่อให้พิจารณาดำเนินการตามมาตรการป้องกันหรือ เยียวยา หรือแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ นั้นได้ 13
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ในกรณี ท ี ่ ก ารดำเนิ น การตามนโยบายสาธารณะใดก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบอย่ า งร้ า ยแรงต่ อ คุ ณ ภาพสิ ่ ง แวดล้ อ ม สุ ข ภาพอนามั ย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใด ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถยื่น คำร้องต่อหน่วยงานของรัฐเพื่อให้ทบทวนหรือยกเลิกนโยบายสาธารณะ นั้นได้ หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่พิจารณาดำเนินการตามคำร้องตาม วรรคหนึ่ง และวรรคสองโดยไม่ชักช้า ในการนี้อาจแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อศึกษาและหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หน่วยงานของรัฐพึงจัดให้มีการดำเนินการตามมาตรา ๘ (๗) โดย เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมได้ตามรูปแบบ วิธีการที่ คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๙ ในกรณี ท ี ่ ผู ้ ม ี ส ่ ว นเกี ่ ย วข้ อ งกั บ การดำเนิ น กระบวนการนโยบายสาธารณะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการว่าได้รับ ผลกระทบจากการดำเนินกระบวนการนโยบายเกินกว่าที่ได้ประกาศไว้ ตามมาตรา ๑๕ ถ้าคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าการนำคดีขึ้นสู่ ศาลจะเป็ น ประโยชน์ ต ่ อ ผู ้ ม ี ส ่ ว นเกี ่ ย วข้ อ งอื ่ น ด้ ว ย คณะกรรมการมี อำนาจแต่งตั้งพนักงานของสำนักงานซึ่งมีคุณวุฒิ ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ทางนิ ต ิ ศ าสตร์ เ ป็ น เจ้ า หน้ า ที ่ ค ุ ้ ม ครองสิ ท ธิ ข องประชาชน โดยให้ เจ้าหน้าที่คุ้มครองสิทธิของประชาชนมีอำนาจดำเนินคดีตามที่คณะ กรรมการมอบหมายได้ ในการดำเนินคดีในศาล ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองสิทธิของประชาชน มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ยื่นคำร้องขอต่อ คณะกรรมการได้ด้วย และในการนี้ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้ง ปวง ทั้งนี้ ก่อนการดำเนินคดีในศาล อาจจัดกระบวนการประชาเสวนา เพื่อให้เกิดข้อยุติในลักษณะของฉันทามติก่อนก็ได้
14
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
มาตรา ๒๐ ผู้ใดขัดขวางมิให้มีการดำเนินการมีส่วนร่วมตามที่ กำหนดในกฎหมายฉบับนี้ ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินสอง หมื่นบาท
หมวด ๒
คณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ
มาตรา ๒๑ ให้มคี ณะกรรมการคณะหนึง่ เรียกว่า “คณะกรรมการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ” ประกอบด้วย (๑) นายกรั ฐ มนตรี ห รื อ รองนายกรั ฐ มนตรี ท ี ่ น ายกรั ฐ มนตรี มอบหมาย เป็นประธาน (๒) ประธานสภาพัฒนาการเมืองหรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนัก งบประมาณหรือผู้แทน และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือผู้แทน เป็น กรรมการ (๓) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนหนึ่งคนซึ่งมาจาก การเลือกกันเองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่คณะกรรมการกำหนด เป็นกรรมการ (๔) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ได้รับการสรรหา จากนักวิชาการ ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้าน การมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวนสองคน เป็นกรรมการ
15
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
(๕) ผู้แทนจากภาคประชาชนซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ได้รับ สรรหาจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านการมีส่วน ร่วมของประชาชน จำนวนหกคน เป็นกรรมการ ให้เลขาธิการเป็นเลขานุการคณะกรรมการ และให้เลขาธิการ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๒๒ กรรมการตามมาตรา ๒๑ (๔) และ (๕) ต้ อ งมี คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ (๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๕) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้น แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้ทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๖) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการ การเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น (๗) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงาน หรือลูกจ้างของ หน่วยงานของรัฐ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (๘) ไม่เป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้มีตำแหน่งใด ในพรรคการเมือง
มาตรา ๒๓ การสรรหากรรมการตามมาตรา ๒๑ (๔) และ(๕) ให้ ดำเนินการโดยคณะกรรมการสรรหาซึง่ ประกอบด้วย ประธานผูต้ รวจการ แผ่นดิน ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และประธานสภา ที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 16
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ให้คณะกรรมการสรรหาประชุมกันเองเพื่อเลือกกรรมการสรรหา คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการสรรหา และให้เลขาธิการเป็นเลขานุการ คณะกรรมการสรรหา ให้สำนักงานทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเลขานุการในการดำเนินการ สรรหา
มาตรา ๒๔ ให้ ค ณะกรรมการสรรหากำหนดหลั ก เกณฑ์ แ ละ วิ ธ ี ก ารสรรหากรรมการตามมาตรา ๒๑ (๔) และ (๕) โดยคำนึ ง ถึ ง ตั ว แทนของประชาชนกลุ ่ ม ต่ า งๆ เช่ น เกษตร แรงงาน องค์ ก รภาค ประชาสั ง คม องค์ ก รพั ฒ นาเอกชน ภาคเอกชน ภาคบริ ก าร องค์ ก ร วิชาชีพ และสื่อมวลชน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงสัดส่วนระหว่างหญิงและชาย ด้วย ก่ อ นที ่ ก รรมการตามมาตรา ๒๑ (๔) หรื อ (๕) แล้ ว แต่ ก รณี จะครบวาระดำรงตำแหน่ ง ไม่ น ้ อ ยกว่ า เก้ า สิ บ วั น ให้ ค ณะกรรมการ สรรหาดำเนินการสรรหากรรมการตามมาตรา ๒๑ (๔) หรือ (๕) จากผู้ที่ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๒ เพื่อเสนอให้ นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง ในกรณีที่มีกรรมการเหลืออยู่ไม่ครบตามองค์ประกอบหรือจำนวน ที ่ ก ำหนด ให้ ก รรมการเท่ า ที ่ ม ี อ ยู ่ ป ฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ ต ่ อ ไปได้ เว้ น แต่ ม ี กรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด ให้ดำเนิน การสรรหาและแต่งตั้งให้ครบตามจำนวนต่อไป
มาตรา ๒๕ กรรมการตามมาตรา ๒๑ (๓) (๔) และ (๕) มีวาระ การดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรง ตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ 17
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
มาตรา ๒๖ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการ ตามมาตรา ๒๑ (๓) (๔) และ (๕) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๒ (๔) กรรมการไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการที่มีอยู่ มีมติให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะเหตุมีความประพฤติเสื่อมเสียในการ ปฏิบัติหน้าที่ เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้กรรมการเท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ ต่อไป และให้ถือว่าคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่
มาตรา ๒๗ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุม ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานสภาพัฒนาการเมืองเป็นประธาน ในที่ประชุม ถ้าประธานสภาพัฒนาการเมืองไม่มาประชุมหรือไม่อาจ ปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้พยายามใช้กระบวนการเพื่อให้ เกิดฉันทามติแทนการลงคะแนนก่อน เพื่อให้เกิดการรับฟังซึ่งกันและกัน และเกิดความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ แต่หากไม่อาจใช้กระบวนการ ดังกล่าวได้ ให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยถือเอาเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่ง ให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๒๘ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 18
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
(๑) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย และวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้ง การจัดทำบริการสาธารณะ (๓) กำหนดขอบเขต ประเภท ชนิ ด และลั ก ษณะของนโยบาย สาธารณะที่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัตินี้ (๔) กำหนดหลักการพื้นฐานในการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อ ให้ ห น่ ว ยงานของรั ฐ ออกกฎ ระเบี ย บ แนวทาง หรื อ ดำเนิ น การให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ (๕) เสนอแนะหน่ ว ยงานของรั ฐ ในการตราและการปรั บ ปรุ ง กฎหมาย กฎ หรื อ ระเบี ย บของหน่ ว ยงานของรั ฐ เพื ่ อ ส่ ง เสริ ม การมี
ส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมาย กฎ หรือระเบียบดังกล่าว (๖) เสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีในการตรากฎกระทรวงที่ออก ตามความในพระราชบัญญัตินี้ (๗) สนับสนุนและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ ของรัฐเกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การกำหนดนโยบายสาธารณะ (๘) ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชนหรือองค์กร ทางสังคมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง เพิ่มเครือข่าย และพัฒนาการมี ส่วนร่วมของประชาชน (๙) ให้คำปรึกษาหรือให้ความช่วยเหลือประชาชนในการใช้สิทธิ เพื ่ อ ดำเนิ น คดี ท างศาล ในกรณี ท ี ่ ห น่ ว ยงานของรั ฐ มิ ไ ด้ ป ฏิ บ ั ต ิ ต าม หลักการที่คณะกรรมการกำหนด หรือมิได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมี ส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะ และในกรณีที่เห็นสมควร 19
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
คณะกรรมการอาจเสนอเรื่องพร้อมความเห็นไปยังหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้อง หรือใช้สิทธิทางศาลแทนประชาชนได้ (๑๐) จัดทำรายงานการประเมินการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การกำหนดนโยบายสาธารณะ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และ เผยแพร่ต่อสาธารณะอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (๑๑) แต่ ง ตั ้ ง คณะอนุ ก รรมการ และคณะทำงาน เพื ่ อ ปฏิ บ ั ต ิ
หน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย และกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ ของคณะอนุกรรมการและคณะทำงานดังกล่าว (๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือ กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
มาตรา ๒๙ เมื่อคณะกรรมการได้กำหนดหลักการพื้นฐานใน การมี ส ่ ว นร่ ว มของประชาชนตามมาตรา ๒๘ (๔) แล้ ว ให้ แ จ้ ง ให้ หน่วยงานของรัฐทราบเพื่อพิจารณาทบทวน แก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิก กฎหรือระเบียบของหน่วยงานของตนให้สอดคล้องกับหลักการพื้นฐาน ดังกล่าว ในการนี้หน่วยงานของรัฐอาจขอหารือหรือขอคำแนะนำจาก คณะกรรมการได้ มาตรา ๓๐ เบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของกรรมการ และอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็น ชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๓๑ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้คณะกรรมการ มีอำนาจเรียกบุคคลใดมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น หรือให้ส่งเอกสาร หลักฐานใดๆ รวมทั้งอาจขอตรวจดูเอกสารหลักฐาน ที่อยู่ในครอบครอง ณ ที่ทำการหรือในหน่วยงานได้ 20
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
หมวด ๓ สำนักงานคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ
มาตรา ๓๒ ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่มี ฐานะเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
มาตรา ๓๓ กิจการของสำนักงานไม่อยูภ่ ายใต้บงั คับแห่งกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมาย ว่าด้วยประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่พนักงานและ ลูกจ้างของสำนักงานต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนด ไว้ ใ นกฎหมายว่ า ด้ ว ยการคุ ้ ม ครองแรงงาน กฎหมายว่ า ด้ ว ยประกั น สังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
มาตรา ๓๔ ให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) รับผิดชอบงานธุรการและงานวิชาการของคณะกรรมการ (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ดำเนินนโยบายสาธารณะ (๓) ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การเพิ ่ ม ขี ด ความสามารถของ หน่วยงานของรัฐในการให้ความรู้ในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินนโยบายสาธารณะ 21
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
(๔) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์และวิจัยเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการ มีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินนโยบายสาธารณะ (๕) รับเรื่องร้องทุกข์จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจาก การดำเนินนโยบายสาธารณะ (๖) ดำเนิ น การเผยแพร่ ผ ลงานวิ ช าการ และให้ ค วามรู ้ แ ละ การศึกษาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินนโยบาย สาธารณะแก่หน่วยงานของรัฐและประชาชน (๗) ติ ด ตามและประเมิ น การดำเนิ น นโยบายสาธารณะของ หน่วยงานของรัฐ (๘) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ (๙) ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน (๑๐) จัดทำรายงานประจำปีแสดงผลงานและอุปสรรคในการ ดำเนินงานของคณะกรรมการและสำนักงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (๑๑) ปฏิ บ ั ต ิ ก ารอื ่ น ใดตามที ่ ก ำหนดไว้ ใ นพระราชบั ญ ญั ต ิ น ี ้ กฎหมายอื่น หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๕ ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินงานของสำนักงาน ประกอบด้วย (๑) เงินที่รัฐจ่ายให้เป็นทุนประเดิม (๒) เงินอุดหนุนรายปีที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสม (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๔) ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้ อื่นจากการดำเนินงาน (๕) ดอกผลหรือเงินรายได้จากทรัพย์สินของสำนักงาน
22
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
เงินทุนประเดิมตาม (๑) และเงินอุดหนุนรายปีตาม (๒) รัฐบาล พึงจัดสรรให้โดยตรง เป็นจำนวนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นใน การดำเนินการให้บรรลุผลตามพันธกิจของคณะกรรมการและสำนักงาน
มาตรา ๓๖ บรรดารายได้ ท ั ้ ง ปวงที ่ ส ำนั ก งานได้ ร ั บ จากการ ดำเนินงานในแต่ละปี ให้ตกเป็นของสำนักงานเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ การดำเนินงานและค่าภาระต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น ค่าบำรุงรักษาและ ค่าเสื่อมราคา เบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนของคณะกรรมการ คณะกรรมการสรรหา คณะอนุกรรมการ เลขาธิการ พนักงานและลูกจ้าง ของสำนักงาน เงินสมทบกองทุนเพื่อการสวัสดิการและการสงเคราะห์ และเงินสำรองเพื่อใช้จ่ายในกิจการของสำนักงานหรือการอื่น รายได้ตามวรรคหนึ่งไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา ๓๗ ทรัพย์สินของสำนักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการ บังคับคดี และบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับสำนักงานใน เรื่องทรัพย์สินของสำนักงานมิได้
มาตรา ๓๘ ให้สำนักงานมีเลขาธิการคนหนึ่งซึ่งนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งจากบุคคลที่คณะกรรมการคัดเลือก
มาตรา ๓๙ เลขาธิการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้อง ห้ามดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ (๓) สามารถทำงานให้สำนักงานได้เต็มเวลา (๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ 23
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
(๕) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๖) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกไม่ว่าจะได้รับโทษ จำคุ ก จริ ง หรื อ ไม่ เว้ น แต่ เ ป็ น โทษสำหรั บ ความผิ ด ที ่ ไ ด้ ก ระทำโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษหรือพ้นระยะเวลารอการ ลงโทษหรือรอการกำหนดโทษแล้ว (๗) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงาน หรือลูกจ้างของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น (๘) ไม่ เ ป็ น หรื อ เคยเป็ น ข้ า ราชการการเมื อ ง ผู ้ ด ำรงตำแหน่ ง ทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น เว้นแต่จะได้พ้น จากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (๙) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงาน ของรั ฐ หรื อ รั ฐ วิ ส าหกิ จ หรื อ จากหน่ ว ยงานของเอกชน เพราะทุ จ ริ ต ต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
มาตรา ๔๐ เลขาธิการมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสอง วาระไม่ได้
มาตรา ๔๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ เลขาธิการ พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๙ (๔) เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา ๔๘ 24
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
(๕) คณะกรรมการมีมติให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ ทุจริตต่อ หน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ มาตรา ๔๒ ให้เลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานและ ลูกจ้าง และรับผิดชอบในการดำเนินกิจการทั้งปวงของสำนักงาน ในการบริ ห ารกิ จ การทั ้ ง ปวงของสำนั ก งาน เลขาธิ ก ารต้ อ ง รับผิดชอบต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๔๓ ให้ ม ี ร องเลขาธิ ก ารตามจำนวนที ่ ค ณะกรรมการ กำหนดเพื ่ อ ช่ ว ยเลขาธิ ก ารในการปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ ต ามที ่ เ ลขาธิ ก าร มอบหมาย
มาตรา ๔๔ เลขาธิการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานหรือลูกจ้าง ออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้า เป็นพนักงานตำแหน่งรองเลขาธิการ ผู้บริหารระดับสูง และผู้ตรวจสอบ ภายใน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน (๒) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสำนักงานโดยไม่ขัด หรือแย้งกับข้อบังคับหรือระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด หรือมติของ คณะกรรมการ
มาตรา ๔๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการจะมอบอำนาจให้ รองเลขาธิ ก ารหรื อ พนั ก งานกระทำการแทนได้ ต ามข้ อ บั ง คั บ ที ่ ค ณะ กรรมการ กำหนด 25
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ให้ผู้ได้รับมอบอำนาจตามวรรคหนึ่งมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับ เลขาธิการในเรื่องที่ได้รับมอบอำนาจนั้น
มาตรา ๔๖ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการ เป็นผู้แทนสำนักงาน ในการนี้เลขาธิการจะมอบอำนาจให้บุคคลใด กระทำการแทนก็ได้ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๗ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการหรือมีแต่
ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้คณะกรรมการแต่งตั้งรองเลขาธิการคนหนึ่ง เป็นผู้รักษาการแทนเลขาธิการ ในกรณีที่ไม่มีรองเลขาธิการหรือมีแต่ไม่ อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งพนักงานของสำนักงาน คนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทนเลขาธิการ ให้ ผู ้ ร ั ก ษาการแทนเลขาธิ ก ารตามวรรคหนึ ่ ง มี อ ำนาจหน้ า ที ่ อย่างเดียวกับเลขาธิการ
มาตรา ๔๘ เลขาธิการต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ สำนักงานหรือใน กิจการที่กระทำให้กับสำนักงาน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือ ทางอ้อม เว้นแต่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นเพื่อประโยชน์ ในการลงทุนโดยสุจริต ในนิติบุคคลที่กระทำการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้นไม่เกินจำนวนตาม ข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด ในกรณีที่บุพการี คู่สมรส ผู้สืบสันดานของเลขาธิการ หรือบุพการี ของคู่สมรสของเลขาธิการกระทำการตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเลขาธิการ มีส่วนได้เสียในกิจการของสำนักงาน
มาตรา ๔๙ เงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด 26
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
บทเฉพาะกาล มาตรา ๕๐ ในวาระเริ่มแรกให้คณะกรรมการการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะประกอบด้วยกรรมการตาม มาตรา ๒๑ (๑) และ (๒) โดยให้ ป ลั ด สำนั ก นายกรั ฐ มนตรี เป็ น เลขานุการคณะกรรมการ
มาตรา ๕๑ ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการสรรหาและคัด เลือกกรรมการตามมาตรา ๒๑ (๔) และ (๕) ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่ง ร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๕๒ ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะตามพระราชบั ญ ญั ต ิ น ี ้ จ นกว่ า จะมี ก ารแต่ ง ตั ้ ง เลขาธิการตามมาตรา ๓๘ ซึ่งต้องไม่เกิน ........... นับแต่วันที่พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับ
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ................................ นายกรัฐมนตรี 27
บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญ ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ภายหลังการพิจารณาผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนใน ภู ม ิ ภ าคต่ า งๆ รวมทั ้ ง ผลการระดมความคิ ด เห็ น ผู ้ เ ชี ่ ย วชาญและ เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งรับผิดชอบงานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และได้ปรึกษาหารือในที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ แล้ว จึงได้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... โดยมีสรุป สาระสำคัญดังนี้
(๑) ขอบเขตและสถานะกฎหมาย (๑.๑) ขอบเขตของกฎหมาย ยึดกรอบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๕๗ และมาตรา ๘๗ (๑) (๒) “มาตรา ๕๗ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และ เหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการ ส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่ อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิ แสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปประกอบ การพิจารณาในเรื่องดังกล่าว 31
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคื น อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ การวางผั ง เมื อ ง การกำหนดเขตการใช้ ประโยชน์ ใ นที ่ ด ิ น และการออกกฎที ่ อ าจมี ผ ลกระทบต่ อ ส่ ว นได้ เ สี ย สำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ” “มาตรา ๘๗ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมี ส่วนร่วมของประชาชน ดังต่อไปนี้ (๑) ส่ ง เสริ ม ให้ ป ระชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มในการกำหนด นโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและ ระดับท้องถิ่น (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจและ สังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ ฯลฯ” (๑.๒) สิทธิและการมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบาย สาธารณะของประชาชน กำหนดรั บ รองสิ ท ธิ แ ละการมี ส ่ ว นร่ ว มในกระบวนการ นโยบายสาธารณะของประชาชนโดยหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะ ด้วยรูปแบบ และวิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสมดังนี้ (๑) การให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอแก่ประชาชน (๒) การรับข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (๓) การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำหรือปฏิบัติ ตามนโยบายสาธารณะ 32
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
(๔) การให้ ป ระชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มในการตั ด สิ น ใจใน นโยบายสาธารณะ (๕) การให้ประชาชนมีสว่ นร่วมในการติดตามประเมินผล นโยบายสาธารณะ (๖) การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้ อำนาจรัฐของหน่วยงานของรัฐ (๗) การให้ ป ระชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มในการเสนอหรื อ พิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกนโยบายสาธารณะ ในการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐนั้น ให้เป็นไปตาม หลักการ มาตรฐานหรือองค์ประกอบพื้นฐานตามที่กฎหมายฉบับนี้ กำหนด รวมทั้งหลักการพื้นฐานในการมีส่วนร่วมซึ่งคณะกรรมการฯ กำหนดขึ้น ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐสามารถขอปรึกษาหารือหรือขอคำ แนะนำจากคณะกรรมการฯ เกี่ยวกับการตรากฎหมาย กฎหรือระเบียบ รวมทั ้ ง การทบทวน แก้ ไ ขปรั บ ปรุ ง หรื อ ยกเลิ ก กฎหรื อ ระเบี ย บของ หน่วยงานได้
(๒) ขอบเขตนโยบายสาธารณะ คำว่า “นโยบายสาธารณะ” มีความหมาย และขอบเขตที่ ค่อนข้างกว้างขวาง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแนวคิด ทฤษฎี หลักการ หรือแม้ กระทั่งทัศนคติ ความเชื่อที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม จากบริบท สภาพแวดล้อม ปัญหาและความ จำเป็นเร่งด่วนสำหรับสังคมไทย รวมทั้งประสิทธิภาพในการบังคับใช้ กฎหมาย คณะกรรมการฯ พิจารณาและกำหนดขอบเขตของนโยบาย สาธารณะในระดับต่างๆ ซึ่งต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายฉบับนี้ ดังนี้ 33
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
(๑) นโยบาย ยกเว้ น นโยบายทางการเมื อ งที ่ ร ั ฐ บาลแถลงต่อ รั ฐ สภา เนื ่ อ งจากรั ฐ บาลต้ อ งรั บ ผิ ด ชอบทางการเมื อ ง ต่อรัฐสภาอยู่แล้ว
(๒) แผนงาน ในระดับต่างๆ ได้แก่ (๒.๑) ระดับชาติ คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แผน พั ฒ นาการเมื อ ง และแผนยุ ท ธศาสตร์ ยกเว้ น แผนบริหารราชการแผ่นดิน (๒.๒) ระดับภูมิภาค คือ แผนพัฒนาจังหวัด (๒.๓) ระดับหน่วยงาน คือ แผนพัฒนาของหน่วยงานต่างๆ เช่น แผนพัฒนาพลังงาน แผนพัฒนาที่ดิน แผนพัฒนา การเกษตร ผังเมือง เป็นต้น (๒.๔) การออกกฎหรือระเบียบของหน่วยงานของรัฐ (๒.๕) โครงการหรือกิจกรรมที่ก่อที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ คุ ณ ภาพสิ ่ ง แวดล้ อ ม สุ ข ภาพอนามั ย คุ ณ ภาพชี ว ิ ต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใด
ส่วนนโยบายสาธารณะในระดับท้องถิ่น เช่น แผนพัฒนา ตำบล รวมทั้งโครงการหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใด ซึ่งเกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นนั้น ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วย การมี ส ่ ว นร่ ว มของประชาชนในการบริ ห ารงานขององค์ ก รปกครอง ส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ไม่อยู่ใน ขอบเขตกฎหมายฉบับนี้ เพราะเป็นแผนการทำงานที่มีลักษณะเป็นงาน ประจำทั่วไปที่ส่วนราชการต้องดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมายอื่นแล้ว 34
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
กล่าวโดยสรุป นโยบายสาธารณะซึ่งต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ฉบับนี้ ถูกกำหนดไว้ในนิยามความหมายและบทบัญญัติดังนี้ “นโยบายสาธารณะ” หมายความว่า การจัดทำนโยบาย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แผนพัฒนาการเมือง แผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาของหน่วยงานรัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน หรือพื้นที่ การออกกฎหรือระเบียบของหน่วยงานของรัฐ รวมถึงโครงการหรือกิจกรรมของหน่วยงานของรัฐที่ก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสีย สำคัญอื่นใด “กระบวนการนโยบายสาธารณะ” หมายความว่า การริเริม่ การให้และรับข้อมูล การรับฟังความคิดเห็น การร่วมตัดสินใจ การร่วม ดำเนิ น การ การร่ ว มติ ด ตามประเมิ น ผล และตรวจสอบการดำเนิ น นโยบายสาธารณะ “หน่ ว ยงานของรั ฐ ” หมายความว่ า ราชการส่ ว นกลาง ราชการส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นใดของรัฐ แต่ไม่รวม ถึงราชการส่วนท้องถิ่น นอกจากนี ้ คณะกรรมการมี อ ำนาจหน้ า ที ่ ใ นการกำหนด ขอบเขต ประเภท ชนิด และลักษณะของนโยบายสาธารณะที่อยู่ภายใต้ บังคับพระราชบัญญัตินี้ด้วย
(๓) คณะกรรมการการมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนใน กระบวนการนโยบายสาธารณะ กำหนดให้ ม ี เ ฉพาะคณะกรรมการการมี ส ่ ว นร่ ว มของ ประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ ระดับชาติเท่านั้น ซึ่งใน ส่ ว นของโครงสร้ า ง องค์ ป ระกอบของคณะกรรมการ ยึ ด หลั ก การ 35
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
พิจารณาตามกรอบบทบาทอำนาจหน้าที่หลัก โดยที่กรรมการฝ่ายข้าง มากเป็นภาคประชาชน คือ สัดส่วนกรรมการภาครัฐ ๕ คน ต่อภาค ประชาชน ๘ คน คณะกรรมการ ประกอบด้วยประธานและกรรมการ รวม จำนวน ๑๓ คน ดังนี้ (๓.๑) นายกรั ฐ มนตรี ห รื อ รองนายกรั ฐ มนตรี ซ ึ ่ ง นายก รัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ (๓.๒) ประธานสภาพั ฒ นาการเมื อ งหรื อ ผู ้ แ ทน เป็ น กรรมการ (๓.๓) ผู ้ อ ำนวยการสำนั ก งบประมาณหรื อ ผู ้ แ ทน เป็ น กรรมการ (๓.๔) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือผู้แทน เป็นกรรมการ (๓.๕) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหนึ่งคน ซึ่งมา จากการเลือกกันเอง เป็นกรรมการ (๓.๖) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นนักวิชาการผู้มีความรู้ ความ เชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน ๒ คน เป็นกรรมการ (๓.๗) ผู้แทนจากภาคประชาชนซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความ เชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน ๖ คน เป็นกรรมการ ทั้งนี้ กรรมการตาม (๓.๖) และ (๓.๗) มาจากการสรรหา ของคณะกรรมการสรรหา และให้เลขาธิการเป็นเลขานุการคณะกรรมการ หมายเหตุ กรรมการจากภาครัฐส่วนกลางตาม (๓.๑) – (๓.๔) ทำหน้าที่ในฐานะปฏิบัติราชการ อาจมอบหมายผู้อื่นปฏิบัติ 36
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ราชการแทนได้ ส่วนกรรมการตาม (๓.๕) – (๓.๖) ปฏิบัติหน้าที่ใน ฐานะส่วนตัว การทำหน้าที่ไม่ผูกพันกับองค์กรที่สังกัด จึงไม่สามารถ มอบหมายผู้อื่นปฏิบัติทำหน้าที่แทนได้
(๔) คณะกรรมการสรรหากรรมการการมี ส่ ว นร่ ว มของ ประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ คณะกรรมการสรรหาฯ ประกอบด้วย ประธานผู้ตรวจการ แผ่นดิน ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และประธานสภา ที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทั้งนี้ ให้กรรมการเลือกกันเอง ๑ คน เป็ น ประธานกรรมการ และให้ เ ลขาธิ ก ารเป็ น เลขานุ ก าร คณะกรรมการสรรหาฯ คณะกรรมการสรรหาฯ มี อ ำนาจหน้ า ที ่ ใ นการพิ จ ารณา สรรหา และคั ด เลื อ กกรรมการผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒ ิ แ ละกรรมการจากภาค ประชาชน ซึ่งสามารถพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนจากภาคประชาชนได้ โดยพิจารณาจากความ เชี ่ ย วชาญ สาขาวิ ช าชี พ หรื อ สั ง กั ด องค์ ก รได้ ต ามความเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้ครอบคลุมประชาชนทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง และเกิด ความยืดหยุ่นในทางปฏิบัติ จึงมิได้ระบุกลุ่มตัวแทนภาคประชาชนไว้ใน กฎหมายโดยตรง แต่กำหนดให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการสรรหาฯ กำหนด โดยให้คำนึงถึงตัวแทนของประชาชนกลุ่มต่างๆ เช่น เกษตรกร แรงงาน องค์กรภาคประชาสังคม (Civil Society Organization) องค์กร พัฒนาเอกชน (NGOs) ภาคเอกชน (Private Sector) ภาคบริการ องค์กร วิชาชีพ และสื่อมวลชน อีกทั้งโดยคำนึงถึงสัดส่วนหญิงชายด้วย
37
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
หลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติในกระบวนการสรรหา คัดเลือก และแต่งตั้งกรรมการ - กำหนดให้มีการสรรหา การเลือกและแต่งตั้งกรรมการ เป็นการล่วงหน้าก่อนครบวาระ ทั้งนี้เพื่อความต่อเนื่อง ของการปฏิบัติงาน - นายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้งกรรมการซึ่งเป็นผู้แทน องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ ่ น ตามข้ อ (๓.๕) และ กรรมการซึ ่ ง เป็ น ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒ ิ แ ละผู ้ แ ทนจากภาค ประชาชนซึ่งมาจากกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งของ คณะกรรมการสรรหา ตามข้อ (๓.๖) และ (๓.๗) - กรณีมีกรรมการคงเหลือไม่ครบตามจำนวนที่กำหนด ให้กรรมการเท่าที่เหลืออยู่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ได้ เว้นแต่มีกรรมการเหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวน กรรมการทั้งหมด ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งให้ ครบจำนวนต่อไป
(๕) อำนาจหน้ า ที่ ข องคณะกรรมการการมี ส่ ว นร่ ว มของ ประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ คณะกรรมการฯ มี อ ำนาจหน้ า ที ่ ห ลั ก คื อ ในการกำหนด หลักเกณฑ์ แนวทาง รวมทั้งหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ ดำเนินการ ซึ่งเป็นบทบาทในเชิงนโยบายมากกว่าลงไปปฏิบัติหรือจัดให้ ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรง ดังนี้ (๑) ส่ ง เสริ ม การมี ส ่ ว นร่ ว มของประชาชนในการกำหนด นโยบาย และวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งใน ระดับชาติและท้องถิ่น 38
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การตั ด สิ น ใจทางการเมื อ ง การวางแผนพั ฒ นา เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ (๓) กำหนดขอบเขต ประเภท ชนิด ลักษณะของนโยบาย สาธารณะที่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัตินี้ (๔) กำหนดหลักการพื้นฐานในการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้หน่วยงานของรัฐออกกฎ ระเบียบ แนวทาง หรือ ดำเนิ น การให้ ป ระชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มในการกำหนด นโยบายสาธารณะ (๕) เสนอแนะการปรับปรุง การตรากฎหมายหรือระเบียบ ของหน่วยงานของรัฐ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้อง กับกฎหมายหรือระเบียบดังกล่าว (๖) สนับสนุนและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ ของรัฐเกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะ (๗) ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชน หรือ องค์กรทางสังคม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง เพิ่ม เครือข่ายและพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน (๘) ให้คำปรึกษาหรือให้ความช่วยเหลือประชาชนในการใช้ สิทธิ เพื่อดำเนินคดีทางศาล ในกรณีที่หน่วยงานของ รั ฐ มิ ไ ด้ ป ฏิ บ ั ต ิ ต ามหลั ก การที ่ ค ณะกรรมการกำหนด หรื อ มิ ไ ด้ เ ปิ ด โอกาสให้ ป ระชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มใน กระบวนการนโยบายสาธารณะ ทั ้ ง นี ้ ในกรณี เ ห็ น สมควร คณะกรรมการอาจเสนอเรื่องไปยังหน่วยงาน 39
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ของรั ฐ ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ ง รวมถึ ง การใช้ ส ิ ท ธิ ท างศาลแทน ประชาชนได้ (๙) จัดทำรายงานการประเมินการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการกำหนดนโยบายสาธารณะ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อทราบ และเผยแพร่ต่อสาธารณะอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๑๐) แต่ ง ตั ้ ง และกำกั บ ดู แ ลการปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ ข องคณะ กรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน เพื่อปฏิบัติ หน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นซึ่งกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการ
เมื่อคณะกรรมการได้กำหนดหลักการพื้นฐานในการมีส่วน ร่วมของประชาชนแล้ว ให้แจ้งไปยังหน่วยงานของรัฐเพื่อพิจารณา ทบทวน แก้ ไ ข ปรั บ ปรุ ง หรื อ ยกเลิ ก กฎหรื อ ระเบี ย บที ่ ม ี อ ยู ่ แ ล้ ว ให้ สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานดังกล่าว กรณีที่มีปัญหาหรือข้อสงสัย หน่วยงานของรัฐอาจขอหารือ หรือขอคำแนะนำจากคณะกรรมการได้ นอกอำนาจหน้าที่หลักตามข้อ (๑) – (๘) และอำนาจหน้าที่ เสริมตามข้อ (๙) – (๑๑) ดังกล่าวข้างต้นแล้ว คณะกรรมการมีอำนาจ หน้าที่อื่นๆ อีก เช่น - พิจารณาคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอให้นายกรัฐมนตรี
แต่งตั้งเป็นเลขาธิการ - พิ จ ารณาและมี ม ติ ใ ห้ เ ลขาธิ ก ารพ้ น จากตำแหน่ ง เนื ่ อ งจากบกพร่ อ งหรื อ ทุ จ ริ ต ต่ อ หน้ า ที ่ ประพฤติ เสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ 40
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
- รับผิดชอบดูแลการบริหารงานของเลขาธิการ - กำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของ เลขาธิการ
อนึ ่ ง เพื ่ อ ให้ ก ารแสดงบทบาทอำนาจหน้ า ที ่ ข องคณะ กรรมการบรรลุผลสำเร็จได้ จึงกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจเรียกให้ ส่งเอกสารหลักฐาน หรือเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือชี้แจง และอาจขอ ตรวจดูเอกสารหลักฐานในที่ทำการหรือในหน่วยงานใดๆ ได้
(๖) เลขาธิการ (๖.๑) เลขาธิการมาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีจากบุคคล ที่คณะกรรมการคัดเลือก มีวาระดำรงตำแหน่ง ๔ ปี และดำรงตำแหน่ง ติดต่อกันได้ไม่เกินสองวาระ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ เลขาธิการพ้นจาก ตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะ ต้องห้าม (๔) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับสำนักงานหรือในกิจการที่ กระทำให้แก่สำนักงาน (๕) คณะกรรมการมีมติให้ออก (๖.๒) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของเลขาธิการ คุณสมบัติ คือ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่เกิน ๖๐ ปี บริบูรณ์ และ (๓) สามารถทำงานให้แก่สำนักงานได้เต็มเวลา ลักษณะต้องห้าม คือ (๑) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคน เสมือนไร้ความสามารถ (๒) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคล ล้มละลายทุจริต (๓) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกไม่ว่าจะได้รับ โทษจำคุกจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษหรือพ้นระยะเวลารอการ 41
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ลงโทษหรือรอการกำหนดโทษแล้ว (๔) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือ เงินเดือนประจำ พนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของราชการส่วนท้องถิ่น (๕) เป็นหรือเคย เป็ น ข้ า ราชการการเมื อ ง ผู ้ ด ำรงตำแหน่ ง ทางการเมื อ ง สมาชิ ก สภา ท้ อ งถิ ่ น หรื อ ผู ้ บ ริ ห ารท้ อ งถิ ่ น เว้ น แต่ จ ะได้ พ ้ น จากตำแหน่ ง มาแล้ ว
ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ (๖) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจาก ราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือจากหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (๖.๓) กำหนดห้ า มเลขาธิ ก ารมี ส ่ ว นได้ เ สี ย ในสั ญ ญากั บ สำนักงานหรือในกิจการที่กระทำให้แก่สำนักงานไม่ว่าทางตรงหรือทาง อ้ อ ม เว้ น แต่ เ ป็ น ผู ้ ถ ื อ หุ ้ น เพื ่ อ ประโยชน์ ใ นการลงทุ น โดยสุ จ ริ ต ใน นิติบุคคลที่กระทำการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้นไม่เกินจำนวนตาม ข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด (๖.๔) อำนาจหน้าที่หลักของเลขาธิการมีดังนี้ - เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานหรือลูกจ้าง รับผิดชอบ ในการดำเนินกิจการทั้งปวงของสำนักงาน โดยมี รองเลขาธิ ก ารช่ ว ยเหลื อ การปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ ทั ้ ง นี ้ เลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ - บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือ ค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้าง ตลอด จนให้พนักงานหรือลูกจ้างออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเป็น รองเลขาธิการ ผู้บริหารระดับสูง และผู้ตรวจสอบ ภายใน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก่อน 42
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
- วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสำนักงาน - เป็ น ผู ้ แ ทนสำนั ก งานในกิ จ การที ่ เ กี ่ ย วกั บ บุ ค คล ภายนอก
(๗) เบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทน (๗.๑) เบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของกรรมการ และอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบ ของกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ รัฐมนตรีหมายถึงนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็น ผู้รักษาการตามกฎหมายฉบับนี้ (๗.๒) เงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
(๘) สำนักงาน เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มิใช่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ และมีฐานะเป็นนิติบุคคล
(๙) บทลงโทษหรือผลทางกฎหมาย ร่ า งพระราชบั ญ ญั ต ิ ฯ ฉบั บ นี ้ เป็ น กฎหมายส่ ง เสริ ม และ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น จึงไม่กำหนดให้มีโทษทาง อาญา แต่เพื่อให้การบังคับใช้บรรลุผลตามเจตนารมณ์ดังกล่าว จึง กำหนดให้ผู้ขัดขวางมิให้มีการดำเนินการมีส่วนร่วมต้องระวางโทษปรับ ทางปกครอง ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท อย่างไรก็ตาม หากมีการดำเนินการใดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ กฎหมายอื่น เช่น กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายว่าด้วยวิธี 43
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ปฏิ บ ั ต ิ ร าชการทางปกครอง รวมทั ้ ง การตรวจสอบความชอบด้ ว ย กฎหมายของ กฎระเบียบ และหรือการกระทำของหน่วยงานของรัฐ ให้ สอดคล้องกับกฎหมายนี้ด้วย
(๑๐) กองทุนฯ แม้ในเบือ้ งต้นกำหนดให้มกี องทุนเพือ่ การพัฒนากระบวนการ มีส่วนร่วมของประชาชน แต่เมื่อพิจารณาวิเคราะห์ผลดีผลเสีย และ เหตุผลความจำเป็นอื่น ประกอบกับสถานการณ์ด้านการเงินการคลัง ของประเทศแล้ว ได้ข้อสรุปว่าไม่ควรกำหนดให้มีกองทุนฯ อย่างไรก็ตาม กำหนดให้มที นุ และทรัพย์สนิ ในการดำเนินงาน ของสำนักงาน ประกอบด้วย (๑) เงินที่รัฐจ่ายให้เป็นทุนประเดิม (๒) เงิน อุดหนุนรายปีที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสม (๓) เงินหรือทรัพย์ สินที่มีผู้อุทิศให้ (๔) ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือ รายได้อื่นจากการดำเนินงาน หรือ (๕) ดอกผลหรือเงินรายได้จากทรัพย์ สินของสำนักงาน ทั้งนี้ มีหลักประกันด้านงบประมาณโดยกำหนดให้รัฐบาล จัดสรรงบประมาณให้โดยตรง เป็นจำนวนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย ที่จำเป็นในการดำเนินการให้บรรลุผลตามพันธกิจ ระบบการจัดสรรทุนและทรัพย์สินดังกล่าว สอดคล้องกับ กรอบวินัยทางการเงินการคลังของประเทศ อีกทั้งสอดคล้องกับหลัก ความรั บ ผิ ด ชอบ โปร่ ง ใส และตรวจสอบได้ ใ นการใช้ จ ่ า ยเงิ น
งบประมาณ ซึ ่ ง การเสนอของบประมาณต้ อ งจั ด ทำโครงการหรื อ
แผนงาน พร้อมทั้งระบุงบประมาณที่ต้องการเสนอต่อรัฐบาล และต้อง มีการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานเผยแพร่ต่อสาธารณะด้วย 44
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
กล่าวโดยสรุป ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... มี เจตนารมณ์ ใ นการส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ให้ ป ระชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มใน กระบวนการนโยบายสาธารณะอย่างแท้จริง โดยกำหนดรับรองสิทธิ เสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน ในขณะเดียวกันกำหนดให้ เป็ น หน้ า ที ่ ข องหน่ ว ยงานของรั ฐ ในการส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การมี
ส่วนร่วมของประชาชนด้วยรูปแบบ วิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ กลไกสำคัญที่จะช่วยทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนเกิดขึ้นได้ และเป็นการมีส่วนร่วมที่มีความหมาย (Meaningful Participation) คือ คณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบาย สาธารณะ อีกทั้งมีมาตรการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือทั้งในส่วน ของหน่วยงานของรัฐในฐานะผู้มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วน ร่วมของประชาชนโดยตรงและประชาชนทั่วไป
ข้อเด่นร่างพระราชบัญญัติฯ มีดังนี้ ประการแรก เป็ น กฎหมายกลางว่ า ด้ ว ยการมี ส ่ ว นร่ ว มของ ประชาชน ซึ่งมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนใน กระบวนการนโยบายสาธารณะ (Promote Participation in Policy Process) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมเป็นการเฉพาะ อยู่แล้ว หากกฎหมายดังกล่าว มีหลักเกณฑ์ที่มีมาตรฐานในด้านการมี ส่วนร่วมของประชาชนสูงกว่ากฎหมายฉบับนี้ก็ให้บังคับตามกฎหมาย เฉพาะนั้นๆ แต่ถ้ามีมาตรฐานการมีส่วนร่วมน้อยกว่าก็ให้บังคับตาม กฎหมายฉบับนี้ 45
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ยกเว้น การมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นให้กำหนดไว้ในกฎหมายว่า ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องกำหนดหลักเกณฑ์และกลไกว่าด้วยการมีส่วนร่วม ของประชาชนในระดับท้องถิ่นให้สอดคล้องและโดยคำนึงถึงมาตรฐาน การมี ส ่ ว นร่ ว มตามกฎหมายว่ า ด้ ว ยการมี ส ่ ว นร่ ว มในกระบวนการ นโยบายสาธารณะฉบับนี้ด้วย การมี ก ฎหมายกลางเช่ น นี ้ ทำให้ ร ะบบการบั ง คั บ ใช้ แ ละการ ตีความกฎหมายเป็นเอกภาพและสอดคล้องกับเจตนารมณ์อันแท้จริง ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านการมีส่วนร่วมสามารถ ปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง เพราะมีกฎหมายกำหนดและให้ อำนาจไว้โดยชัดแจ้ง ซึ่งในอดีตนั้นไม่มีกฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วม ของประชาชนโดยตรง แม้มีความพยายามยกร่างและนำเสนอเข้าสู่การ พิจารณาของรัฐสภาจำนวนมากก็ตาม ประการที่สอง กำหนดหลักการพื้นฐานในการมีส่วนร่วมใน กระบวนการนโยบายสาธารณะ และกำหนดกระบวนการ ขั้นตอน และแนวทางการปฏิ บั ติ โดยกำหนดไว้ ใ นกฎหมายฉบั บ นี ้ และให้ คณะกรรมการฯ พิ จ ารณากำหนดหลั ก การดั ง กล่ า วได้ ด ้ ว ย ทำให้ หน่วยงานของรัฐ ประชาชน รวมทั้งกลไกในกระบวนการมีส่วนร่วม ดำเนินการได้อย่างถูกต้อง หากละเลยหรือดำเนินการไม่ถูกต้องอาจถูก ทักท้วงและเรียกร้องให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดได้ หน่วยงานของรัฐกำหนดกฎ ระเบียบ วิธีการหรือดำเนินการให้ ประชาชนมีส่วนร่วมอันเป็นกฎเกณฑ์การปฏิบัติภายในได้เอง ทำให้ สามารถปฏิ บ ั ต ิ ง านตามอำนาจหน้ า ที ่ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบได้ อ ย่ า ง ถูกต้อง ครอบคลุม และเหมาะสมกับแต่ละกรณี ทั้งนี้ ตามหลักการ 46
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
พื้นฐานในการมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบาย โดยที่หน่วยงานของ รั ฐ อาจขอปรึ ก ษาหารื อ หรื อ คำแนะนำจากคณะกรรมการฯ ในการ ดำเนินการดังกล่าวได้ ประการที่สาม สร้างสมดุลในการใช้อำนาจกำหนดนโยบาย สาธารณะ กล่าวคือ แม้ว่ารัฐบาลรวมถึงหน่วยงานของรัฐต่างๆ มีความ ชอบธรรมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ แต่การกำหนดนโยบาย สาธารณะนั้น จำเป็นต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เนื่องจาก ต้องยึดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติโดยรวมเป็นหลัก และ ต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนและชุมชนในด้านต่างๆ หาก จำเป็นต้องดำเนินนโยบายสาธารณะและมีผลกระทบหรือก่อให้เกิด ความเสียหาย ต้องมีมาตรการเยียวยาและชดใช้อย่างเป็นธรรม ประการที่สี่ กำหนดมาตรการสนับสนุนช่วยเหลือหน่วยงาน ของรัฐและประชาชนเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากที่สุด ดังนี้ (๑) ให้คำปรึกษาแนะนำ และเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐใน การตราหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย กฎ หรือระเบียบ รวมทั้ง สนั บ สนุ น และให้ ค ำปรึ ก ษาเกี ่ ย วกั บ การปฏิ บ ั ต ิ ง าน เพื ่ อ ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน (๒) กำหนดให้มีการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเพียงพอแก่ ประชาชน เพื่อให้การมีส่วนร่วมเป็นไปอย่างมีคุณภาพ และ ให้ ค วามรู ้ แ ก่ ป ระชาชนเพื ่ อ เสริ ม สร้ า งความเข้ ม แข็ ง เพิ ่ ม เครือข่ายและพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน (๓) กำหนดให้มีกลไกช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจาก การดำเนินนโยบายสาธารณะ โดยแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครอง สิทธิของประชาชน เพื่อให้ความช่วยเหลือในการดำเนินคดี 47
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ประการที่ห้า นอกจากกำหนดหลักการ กระบวนการ รูปแบบ และแนวทางการมีส่วนร่วมไว้ในกฎหมายดังกล่าวมาแล้วข้างต้น และกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจในการกำหนดหลักการพื้นฐานใน การมีส่วนร่วมแล้ว เพื่อให้การบังคับใช้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยที่ได้ กำหนดรูปแบบ และวิธีการมีส่วนร่วมในระดับต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน ดังนี้ (๑) การให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ ดังเช่นที่กำหนดไว้ใน มาตรา ๘ (๑) มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ (๒) การมีส่วนร่วมในการรับข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชน ดังเช่นที่กำหนดไว้ใน มาตรา ๘ (๒) มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๕ (๓) การมี ส ่ ว นร่ ว มในการจั ด ทำหรื อ ปฏิ บ ั ต ิ ต ามนโยบาย สาธารณะ มาตรา ๘ (๓) ดังเช่นที่กำหนดไว้ใน มาตรา ๑๐ (๔) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในนโยบายสาธารณะ ดังเช่นที่ กำหนดไว้ ใ น มาตรา ๘ (๔) มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ วรรคสอง (๕) การมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลนโยบายสาธารณะ ดังเช่นที่กำหนดไว้ใน มาตรา ๘ (๕) มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๗ (๖) การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจของหน่วยงาน ของรั ฐ ดั ง เช่ น ที ่ ก ำหนดไว้ ใ น มาตรา ๘ (๖) มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ (๗) การมีส่วนร่วมในการเสนอหรือพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกนโยบายสาธารณะ ดังเช่นที่กำหนดไว้ใน มาตรา ๘ (๗) มาตรา ๑๗ 48
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ประการที่ ห ก กำหนดให้ ป ระชาชนมี ส่ ว นร่ ว มได้ ต ลอด กระบวนการนโยบายสาธารณะด้วยรูปแบบ วิธีการ และในระดับที่ แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม ดังนี้
๑. ก่ อ นอนุ มั ติ ห รื อ ให้ ค วามเห็ น ชอบนโยบายสาธารณะ หน่วยงาน ของรัฐต้อง ๑.๑ จั ด ให้ ผู ้ ม ี ส ่ ว นเกี ่ ย วข้ อ ง มี ส ่ ว นร่ ว มในกระบวนการ นโยบายสาธารณะที่อาจมีผลกระทบต่อประชาชนและ ชุ ม ชนก่ อ นเสนอให้ ผู ้ ม ี อ ำนาจหน้ า ที ่ ต ามกฎหมาย อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ ๑.๒ ก่อนตัดสินใจดำเนินนโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบ ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือมีผลต่อส่วนได้เสียอื่นของประชาชนหรือชุมชน หน่วยงานของรัฐ (๑) ต้องเปิดเผยข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผล เพื่อให้ ประชาชนหรือชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบได้รับ ทราบ (๒) ต้องจัดรับฟังความคิดเห็นและปรึกษาหารือผู้มีส่วน ได้เสีย (๓) ต้ อ งนำผลการรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น มาพิ จ ารณา ประกอบในกระบวนการตัดสินใจดำเนินนโยบาย สาธารณะ และต้องหลีกเลี่ยงการดำเนินการที่จะมี ผลกระทบต่ อ คุ ณ ภาพสิ ่ ง แวดล้ อ ม สุ ข อนามั ย คุ ณ ภาพชี ว ิ ต หรื อ มี ผ ลต่ อ ส่ ว นได้ เ สี ย อื ่ น ของ ประชาชนหรื อ ชุ ม ชน ยกเว้ น กรณี จ ำเป็ น เพื ่ อ ประโยชน์สาธารณะ แต่หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้ 49
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
มี ม าตรการป้ อ งกั น หรื อ มาตรการเยี ย วยาหรื อ
ชดเชยผลกระทบของนโยบายสาธารณะทีเ่ หมาะสม และเป็นธรรม ๒. ระหว่างดำเนินนโยบายสาธารณะ หน่วยงานของรัฐต้อง ๒.๑ จั ด ทำรายงานความก้ า วหน้ า ของการดำเนิ น นโยบายสาธารณะ เผยแพร่ให้ผู้มีส่วน เกี่ยวข้อง ทราบ อย่างน้อยต้องไม่น้อยกว่า ๑ ครั้ง/ปี ๒.๒ ผูกพันในการปฏิบัติตามประกาศการตัดสินใจใน การดำเนินโยบายสาธารณะ ๒.๓ อาจจัดให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการ ดำเนินนโยบายสาธารณะได้ตามความเหมาะสม ๒.๔ จัดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการเสนอหรือ พิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกนโยบาย สาธารณะ ๒.๕ กรณีที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นว่านโยบายสาธารณะ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนและชุมชน และ มิได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันหรือเยียวยา หรือดำเนินการแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น มี ส ิ ท ธิ ย ื ่ น คำร้ อ งต่ อ หน่ ว ยงานของรั ฐ เพื ่ อ ให้ พิ จ ารณาดำเนิ น การตามาตรการป้ อ งกั น หรื อ เยียวยาหรือแก้ไขปัญหาและผลกระทบดังกล่าวได้ ซึ ่ ง หากมี ผ ลกระทบอย่ า งร้ า ยแรงต่ อ คุ ณ ภาพ สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วน ได้เสียสำคัญอื่นใด ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถยื่น 50
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
คำร้ อ งต่ อ หน่ ว ยงานของรั ฐ เพื ่ อ ให้ ท บทวนหรื อ ยกเลิกนโยบายสาธารณะนั้นได้
๓. ภายหลังดำเนินนโยบายสาธารณะ หน่วยงานของรัฐต้อง ๓.๑ จัดรับฟังความคิดเห็นต่อการดำเนินนโยบายสาธารณะ ๓.๒ อาจจัดให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการติดตาม ประเมินผลนโยบายสาธารณะ ๓.๓ ผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายสาธารณะ เกินกว่าที่มีประกาศการตัดสินใจ มีสิทธิร้องขอต่อคณะ กรรมการ เพื ่ อ แต่ ง ตั ้ ง เจ้ า หน้ า ที ่ ค ุ ้ ม ครองสิ ท ธิ ข อง ประชาชน และมอบหมายให้ดำเนินคดีได้
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่คุ้มครองสิทธิของประชาชนมีอำนาจฟ้องเรียก ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้องขอได้ โดยให้ได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม ด้วย ดังนี้
ประการที่เจ็ด กำหนดหลักเกณฑ์การจัดรับฟังความคิดเห็น
๑. ต้ อ งดำเนิ น การให้ ป ระชาชนได้ ร ั บ ข้ อ มู ล หรื อ ข้ อ เท็ จ จริ ง เกี่ยวกับ ๑.๑ สาระสำคัญของนโยบายสาธารณะ ๑.๒ สถานที่ วิธีการ ขั้นตอนและระยะเวลาที่จะดำเนินการ ๑.๓ เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องดำเนินการ ๑.๔ ผลกระทบของการดำเนินการ ทัง้ ผลดีและผลเสีย รวมทัง้ มาตรการป้องกันหรือแก้ไขในกรณีที่อาจมีผลเสีย ๑.๕ การวิเคราะห์ความคุ้มค่า 51
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
๑.๖ รายละเอี ย ดอื ่ น ใดที ่ จ ะทำให้ เ กิ ด ความเข้ า ใจในการ ดำเนินนโยบายสาธารณะ ทั้งนี้ คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดแนวทางเพื่อให้หน่วยงาน ของรัฐจัดหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริง และการเผยแพร่แก่ประชาชน
๒. เมื ่ อ จั ด รั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น แล้ ว ให้ ป ระกาศการตั ด สิ น ใจ โดยแสดงถึงเหตุผล ความจำเป็น มาตรการในการป้องกัน หรื อ เยี ย วยา และการแก้ ไ ขปั ญ หาและผลกระทบ ความ คุ้มค่าของผลประโยชน์สาธารณะและทางเลือกที่เหมาะสม ที ่ ส ุ ด โดยเปิ ด เผยต่ อ สาธารณะเพื ่ อ ให้ ป ระชาชนสามารถ ตรวจสอบได้
52
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... ประกอบเหตุผล
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติ การมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
........................................ ........................................ ......................................... ..........................................................................................................................
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... มาตรา ๑ พระราชบั ญ ญั ต ิ น ี ้ เพื ่ อ ให้ เ ป็ น กฎหมายกลาง ซึ ่ ง มี เรียกว่า “พระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม เจตนารมณ์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของประชาชนในกระบวนการนโยบาย ในการมี ส ่ ว นร่ ว มของประชาชนใน สาธารณะ พ.ศ. ....” กระบวนการนโยบายสาธารณะ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระยะ มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้ บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วัน เวลาพอสมควรในการเตรียมความพร้อม ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สำหรับปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ “นโยบายสาธารณะ” หมายความ เนื ่ อ งจากนโยบายสาธารณะมี ว่ า การจั ด ทำนโยบาย แผนพั ฒ นา ความหมายกว้างจึงต้องจำกัดขอบเขต เ ศ ร ษ ฐ ก ิ จ แ ล ะ ส ั ง ค ม แ ผ น พ ั ฒ น า ของนโยบายสาธารณะให้ อ ยู ่ ใ นกรอบ การเมือง แผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนา ของกฎหมายนี้อย่างชัดเจน เพื่อสามารถ จั ง หวั ด แผนพั ฒ นาของหน่ ว ยงานรั ฐ บังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล โดยยึด 55
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน หรือ พื้นที่ หรือการออกกฎหรือระเบียบของ หน่ ว ยงานของรั ฐ และให้ ห มายความ รวมถึงการจัดทำโครงการหรือกิจกรรม ของหน่ ว ยงานของรั ฐ ที ่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ผล กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามั ย คุ ณ ภาพชี ว ิ ต หรื อ ส่ ว นได้ เ สี ย สำคัญอื่นใด “กระบวนการนโยบายสาธารณะ” หมายความว่า การริเริ่ม การให้และรับรู้ ข้อมูล การรับฟังความคิดเห็น การร่วม ตั ด สิ น ใจ การร่ ว มดำเนิ น การ การร่ ว ม ติดตามประเมินผล และการตรวจสอบ การดำเนินนโยบายสาธารณะ “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค รั ฐ วิ ส าหกิ จ และหน่ ว ยงานอื ่ น ของรั ฐ แต่ไม่รวมถึงราชการส่วนท้องถิ่น
เหตุผล กรอบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 57 และ มาตรา 87 (1) (2) อันจะนำไปสู่การบังคับ ใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ และเพื่อการผลัก ดั น กฎหมายได้ โ ดยง่ า ย จึ ง กำหนด ขอบเขตเฉพาะเรื่องที่จำเป็นและสำคัญ โดยพิจารณาถึงสภาพปัญหาและความ จำเป็นเร่งด่วนสำหรับสังคมไทย เพื่อกำหนดวงจรของการมีส่วนร่วม ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ โดยที่การมีส่วนร่วมในแต่ละขั้นตอนนั้น มีหลากหลายรูปแบบหรือวิธีการ
เพื ่ อ กำหนดขอบเขตการบั ง คั บ ใช้ กฎหมาย โดยที่การมีส่วนร่วมในระดับ ท้องถิ่น ซึ่งรับผิดชอบโดยราชการส่วน ท้องถิ่นนั้น อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่า ด้วยการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “ผู ้ ม ี ส ่ ว นได้ เ สี ย ” หมายความว่ า เพื่อจำแนกกลุ่มบุคคลและจัดระดับ ผู ้ ซ ึ ่ ง อาจได้ ร ั บ ประโยชน์ ได้ ร ั บ ความ การมี ส ่ ว นร่ ว มของ “ผู ้ ม ี ส ่ ว นได้ เ สี ย ” เสี ย หาย หรื อ ได้ ร ั บ ผลกระทบจาก และ “ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง” ทำให้เกิดความ นโยบายสาธารณะ ชัดเจนและสามารถบังคับใช้กฎหมายได้ 56
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... “ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง” หมายความว่า ชัดเจนและสามารถบังคับใช้กฎหมายได้ ผู ้ ม ี ส ่ ว นได้ เ สี ย องค์ ก รปกครองส่ ว น อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ และเพื ่ อ ความ ท้ อ งถิ ่ น ผู ้ แ ทนองค์ ก รภาคประชาชน ยื ด หยุ ่ น จึ ง กำหนดให้ ค ณะกรรมการ ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน และบุคคล มีดุลพินิจในการกำหนดผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ได้ “การมี ส ่ ว นร่ ว มของประชาชน” หมายความว่า การที่หน่วยงานของรัฐ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือผู้มี ส่ ว นได้ เ สี ย ได้ เ ข้ า มามี ส ่ ว นร่ ว มใน กระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อนำ ไปสู่การตัดสินใจ การสานเสวนา และการประชา “การสานเสวนา” หมายความว่า กระบวนการที่จัดให้มีการสื่อสารสองทาง เสวนาเป็นช่องทางหรือรูปแบบการมีส่วน ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้เสีย ร่วมเพื่อให้เป็นทางเลือกสำหรับการนำ กั บ หน่ ว ยงานของรั ฐ เพื ่ อ รั บ ฟั ง ความ ไปใช้ในทางปฏิบัติ คิดเห็นซึ่งกันและกัน “การประชาเสวนา” หมายความว่า กระบวนการที่จัดให้มีการสานเสวนากับ ประชาชนเพื ่ อ ให้ ม ี ก ารหาทางออกใน ประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะด้านนโยบาย สาธารณะ
57
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... “ฉันทามติ” หมายความว่า ผลที่ได้ จากการสานเสวนาหรือการประชาเสวนา ที่เป็นความเห็นชอบของเสียงส่วนใหญ่ที่ ได้ร่วมในการสานเสวนาหรือการประชา เสวนานั้น ซึ่งไม่ได้เป็นผลที่เกิดจากการ ลงมติหรือการลงคะแนนเสียง และความ เห็นชอบดังกล่าวไม่จำต้องเป็นความเห็น ที่เป็นเอกฉันท์ เพื่อให้เป็นกลไกหลักรับผิดชอบใน “คณะกรรมการ” หมายความว่ า คณะกรรมการการมี ส ่ ว นร่ ว มของ การส่ ง เสริ ม การมี ส ่ ว นร่ ว มของภาค ประชาชนในกระบวนการนโยบาย ประชาชน ซึ ่ ง ทำหน้ า ที ่ ท ั ้ ง เสริ ม สร้ า ง สาธารณะ ศักยภาพภาคประชาชน และช่วยเหลือ สนับสนุนหน่วยงานของรัฐในการจัดให้ ประชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มตามที ่ ก ฎหมาย กำหนด “คณะกรรมการสรรหา” หมายความว่ า คณะกรรมการสรรหา กรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชนใน กระบวนการนโยบายสาธารณะ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการนโยบาย สาธารณะ
เพื ่ อ ให้ ท ำหน้ า ที ่ ใ นการสรรหา กรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชนใน กระบวนการนโยบายสาธารณะ เพื่อให้เป็นกลไกกลางในการปฏิบัติ งานด้ า นธุ ร การ ประสานงาน ส่ ง เสริ ม และสนับสนุนการดำเนินการและสร้าง ความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างๆ
58
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... “เลขาธิ ก าร” หมายความว่ า เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการมี ส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด” หมายความ ว่า รัฐมนตรีที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแล กิจการหรืองานของหน่วยงานของรัฐที่รับ ผิดชอบในการดำเนินนโยบายสาธารณะ มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษา การตามพระราชบั ญ ญั ต ิ น ี ้ และให้ ม ี อำนาจในการออกกฎกระทรวง เพื ่ อ ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ นี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ มาตรา ๕ ในกรณีที่มีกฎหมายใด บัญญัติเรื่องการมีส่วนร่วมใน กระบวนการนโยบายสาธารณะไว้ การ ดำเนิ น การเรื ่ อ งการมี ส ่ ว นร่ ว มใน กระบวนการนโยบายสาธารณะตาม กฎหมายนั้นให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ ในพระราชบั ญ ญั ต ิ น ี ้ เว้ น แต่ ก รณี ท ี ่ กฎหมายนั้นได้กำหนดเรื่องการมีส่วน ร่ ว มของประชาชนในกระบวนการ 59
เหตุผล เพื ่ อ ให้ ม ี ห ั ว หน้ า สำนั ก งานรั บ ผิ ด ชอบในการบริ ห ารจั ด การและควบคุ ม กำกั บ ดู แ ลสำนั ก งานตามที ่ ก ฎหมาย กำหนด เพื่อระบุถึงรัฐมนตรีซึ่งควบคุมหรือ กำกับดูแลหน่วยงานของรัฐที่จะดำเนิน นโยบายสาธาธารณะ ซึ่งมีความรับผิด ชอบต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายกลาง ก ำ ห น ด เ ฉ พ า ะ ห ล ั ก ก า ร ส ำ ค ั ญ จำเป็ น ต้ อ งมี ก ฎหมายลำดั บ รองเพื ่ อ รองรับหลักการที่กำหนดไว้ ซึ่งการแก้ไข เพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายลำดับรอง ควรทำได้โดยง่าย เพื่อการบูรณาการกฎหมายว่าด้วย การมีส่วนร่วมให้อยู่ในระดับมาตรฐาน เดียวกัน และเป็นการสร้างหลักประกัน ว่ า ประชาชนจะได้ เ ข้ า มี ส ่ ว นร่ ว มตาม มาตรฐานดั ง กล่ า ว โดยไม่ ม ี ก ฎหมาย เป็นข้อจำกัด
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... นโยบายสาธารณะไว้โดยเฉพาะและมี มาตรฐานในการดำเนิ น การไม่ ต ่ ำ กว่ า เกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หมวด ๑ สิทธิของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ มาตรา ๖ ประชาชนย่อมมีสิทธิใน เพื่อรับรองสิทธิและการมีส่วนร่วม ก า ร ม ี ส ่ ว น ร ่ ว ม ข อ ง ป ร ะ ช า ช น ใ น ของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด กระบวนการนโยบายสาธารณะ ทั ้ ง ใน โดยจำแนกระดั บ การมี ส ่ ว นร่ ว มและ ด้านการให้และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร นโยบายสาธารณะที ่ อ ยู ่ ภ ายใต้ บ ั ง คั บ การแสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอ กฎหมายฉบั บ นี ้ เพื ่ อ ให้ ก ารบั ง คั บ ใช้ แนะ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ทั้ง กฎหมายนี ้ ท ำให้ เ กิ ด การมี ส ่ ว นร่ ว ม ในขั้นตอนการริเริ่มนโยบาย การจัดทำ ที ่ ม ากกว่ า การมี ส ่ ว นร่ ว มในการแสดง แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมที่อาจมี ความคิดเห็นเช่นในอดีต ผ ล ก ร ะ ท บ ต ่ อ ค ุ ณ ภ า พ ช ี ว ิ ต แ ล ะ สิ่งแวดล้อม การวางแผนพัฒนา เศรษฐกิ จ และสั ง คม และการจั ด การ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ รวม ทั้งการปฏิบัติ และการติดตามประเมิน ผลตามนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือ กิจกรรมนั้น เพื ่ อ เป็ น หลั ก ประกั น สำหรั บ การ มาตรา ๗ หน่ ว ยงานของรั ฐ มี
หน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน ดำเนิ น การของหน่ ว ยงานภาครั ฐ โดย มี ส ่ ว นร่ ว มในกระบวนการนโยบาย ภาคประชาชนสามารถอ้างสิทธิเพื่อให้ สาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ได้ หาก ไม่ ด ำเนิ น การมี ผ ลเป็ น การละเว้ น การ ปฏิบัติหน้าที่ 60
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... เพื ่ อ กำหนดรู ป แบบและวิ ธ ี ก ารมี มาตรา ๘ ให้ ห น่ ว ยงานของรั ฐ ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการมี ส่วนร่วม โดยกำหนดเป็นแนวทาง ส่วน ส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ วิ ธ ี ป ฏิ บ ั ต ิ ห น่ ว ยงานของรั ฐ สามารถ นโยบายสาธารณะ ด้ ว ยรู ป แบบและ กำหนดได้เองตามความเหมาะสมและ วิ ธ ี ก ารต่ า งๆ ตามความเหมาะสม สอดคล้องกับแต่ละหน่วยงาน ดังต่อไปนี้ (๑) การให้ข้อมูลและการรับข้อมูล การมีส่วนร่วมมีหลากหลายรูปแบบ จากประชาชน และวิธีการ ซึ่งหน่วยงานของรัฐสามารถ (๒) การรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของ กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้ตาม ประชาชน ความเหมาะสม ตามมาตรฐานขั ้ น ต่ ำ (๓) การให้ ป ระชาชนมี ส ่ ว นร่ ว ม หรื อ องค์ ป ระกอบขั ้ น ต่ ำ ที ่ ก ฎหมายนี ้ ในการจั ด ทำหรื อ ปฏิ บ ั ต ิ ต ามนโยบาย กำหนด สาธารณะ (๔) การให้ ป ระชาชนมี ส ่ ว นร่ ว ม ในการตัดสินใจในนโยบายสาธารณะ (๕) การให้ ป ระชาชนมี ส ่ ว นร่ ว ม ในการติ ด ตามประเมิ น ผลนโยบาย สาธารณะ (๖) การให้ ป ระชาชนมี ส ่ ว นร่ ว ม ในการตรวจสอบการใช้ อ ำนาจของ หน่วยงานของรัฐ (๗) การให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน การพิจารณา แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือ ยกเลิกนโยบายสาธารณะ 61
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... การดำเนิ น การตามวรรคหนึ ่ ง ให้ เ ป็ น ไปตามหลั ก การพื ้ น ฐานในการ มีส่วนร่วมตามที่คณะกรรมการกำหนด กำหนดเป็ น มาตรฐานขั ้ น ต่ ำ ที ่ มาตรา ๙ หน่ ว ยงานของรั ฐ ที ่ จ ะ กำหนดนโยบายสาธารณะจะต้องจัดให้ผู้ หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการจัดให้ ม ี ส ่ ว น เ ก ี ่ ย ว ข ้ อ ง ม ี ส ่ ว น ร ่ ว ม ใ น ประชาชนและชุ ม ชนมี ส ่ ว นร่ ว มก่ อ น กระบวนการนโยบายสาธารณะที่อาจมี กำหนดนโยบายสาธารณะ ผลกระทบต่อประชาชนและชุมชนก่อน เสนอให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ในการกำหนดนโยบายสาธารณะนั ้ น อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ โดยอาจ ดำเนินการจัดให้มีการประชาเสวนาเพื่อ ให้ เ กิ ด ฉั น ทามติ อ ย่ า งกว้ า งขวางและ ครอบคลุ ม โดยเฉพาะในกรณี ท ี ่ เ ป็ น นโยบายสาธารณะที่จะมีผลกระทบต่อ ประชาชนกลุ่มนั้นๆ กำหนดเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่หน่วย มาตรา ๑๐ เมื่อมีการริเริ่มและจัด ทำข้ อ เสนออั น เป็ น นโยบายสาธารณะ งานของรั ฐ ต้ อ งดำเนิ น การจั ด ให้ ตามมาตรา ๙ เสร็จแล้ว ก่อนนำเสนอให้ ประชาชนและชุ ม ชนมี ส ่ ว นร่ ว มก่ อ น ผู ้ ม ี อ ำนาจหน้ า ที ่ ต ามกฎหมายในการ กำหนดนโยบายสาธารณะ โดยการรับ กำหนดนโยบายสาธารณะอนุมัติหรือให้ ฟั ง ความคิ ด เห็ น และในการดำเนิ น ความเห็นชอบ หน่วยงานของรัฐจะต้อง นโยบายสาธารณะดังกล่าว อาจจัดให้มี นำนโยบายสาธารณะนั้นไปทำการรับฟัง ส ่ ว น ร ่ ว ม ใ น ก า ร ด ำ เ น ิ น น โ ย บ า ย ความคิดเห็น และเมื่อได้มีการอนุมัติหรือ สาธารณะ และติ ด ตามประเมิ น ผล ให้ ค วามเห็ น ชอบให้ ด ำเนิ น การตาม นโยบายสาธารณะได้ นโยบายสาธารณะนั ้ น แล้ ว อาจจั ด ให้ 62
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... ประชาชนและชุ ม ชนมี ส ่ ว นร่ ว มในการ ดำเนินการตามนโยบายสาธารณะ รวม ทั ้ ง การติ ด ตามประเมิ น ผลนโยบาย สาธารณะด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๑ การให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าร่วมในการจัดทำนโยบายสาธารณะ การนำนโยบายสาธารณะนั้นไปทำการ รั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น และการดำเนิ น
การอื ่ น ตามมาตรา ๘ ให้ เ ป็ น ไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบที่คณะ กรรมการกำหนด
เหตุผล
มาตรา ๑๒ ก่อนที่หน่วยงานของ กำหนดเป็ น มาตรฐานขั ้ น ต่ ำ ที ่ รัฐจะดำเนินนโยบายสาธารณะที่อาจมี หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการจัดให้มี ผลกระทบต่ อ คุ ณ ภาพสิ ่ ง แวดล้ อ ม ส่วนร่วมก่อนกำหนดนโยบายสาธารณะ สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือมีผล โดยเน้นที่การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ ต่ อ ส่ ว นได้ เ สี ย อื ่ น ของประชาชนหรื อ ครบถ้ ว นเพี ย งพอและจั ด รั บ ฟั ง ความ ชุ ม ชน หน่ ว ยงานของรั ฐ ต้ อ งเปิ ด เผย คิดเห็นก่อนการตัดสินใจดำเนินนโยบาย ข้ อ มู ล คำชี ้ แ จง และเหตุ ผ ล เพื ่ อ ให้ สาธารณะ ประชาชนและชุ ม ชนที ่ อ าจจะได้ ร ั บ
ผลกระทบดังกล่าวได้รับทราบ และต้อง จัดให้มีการการรับฟังความคิดเห็น และ การปรึ ก ษาหารื อ กั บ ผู ้ ม ี ส ่ ว นเกี ่ ย วข้ อ ง ก่ อ นที ่ จ ะตั ด สิ น ใจพิ จ ารณาดำเนิ น นโยบายสาธารณะนั้น 63
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... หน่วยงานของรัฐต้องนำผลการรับ กำหนดเป็ น มาตรฐานขั ้ น ต่ ำ ที ่ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ตามวรรคหนึ ่ ง ไปใช้ หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการจัดให้มี ประกอบในกระบวนการตัดสินใจดำเนิน ส่วนร่วมก่อนกำหนดนโยบายสาธารณะ นโยบายสาธารณะ และต้องหลีกเลี่ยง โดยเน้ น ที ่ ก ารเปิ ด เผยข้ อ มู ล ข่ า วสาร การดำเนิ น การที ่ จ ะมี ผ ลกระทบต่ อ ที่ครบถ้วนเพียงพอและจัดรับฟังความ คุ ณ ภาพสิ ่ ง แวดล้ อ ม สุ ข ภาพอนามั ย คิดเห็นก่อนการตัดสินใจดำเนินนโยบาย คุณภาพชีวิต หรือมีผลต่อส่วนได้เสียอื่น สาธารณะ ของประชาชนหรือชุมชน แต่ถ้าเป็นกรณี ที ่ จ ำเป็ น เพื ่ อ ประโยชน์ ส าธารณะ หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีมาตรการ ป้องกันหรือมาตรการเยียวยาที่เหมาะสม และเป็นธรรม เพื่อชดเชยให้กับผู้ซึ่งได้รับ ผลกระทบจากการดำเนิ น การตาม นโยบายสาธารณะดังกล่าว มาตรา ๑๓ ในกรณีที่จะต้องจัดให้ มี ก ารรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น เกี ่ ย วกั บ นโยบายสาธารณะ ก่อนดำเนินการดัง กล่าวหน่วยงานของรัฐจะต้องดำเนินการ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้อย่างทั่วถึงและในระยะเวลาที่ เพียงพอ (๑) สาระสำคั ญ ของนโยบาย สาธารณะ (๒) เหตุผลและความจำเป็นที่จะ ต้องดำเนินการ 64
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... (๓) สถานที่ วิธีการ ขั้นตอน และ ระยะเวลาที่จะดำเนินการ (๔) ผลกระทบของการดำเนินการ ทั้งผลดีและผลเสียที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้ง มาตรการป้องกันหรือแก้ไขในกรณีที่อาจ เกิดผลเสียหรือผลกระทบ (๕) การวิเคราะห์ความคุ้มค่าเมื่อ พิจารณาจากผลกระทบตาม (๔) (๖) รายละเอียดอื่นที่จะทำให้เกิด ความเข้าใจอย่างเพียงพอเกี่ยวกับการ ดำเนินงานของนโยบายสาธารณะ การรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ตามวรรค หนึ่งจะทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วย วาจาให้ เ ป็ น ไปตามที ่ ค ณะกรรมการ กำหนด ให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนด แนวทางของหน่ ว ยงานของรั ฐ ในการ จัดหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริง และการเผย แพร่ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงแก่ประชาชน ตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๑๔ ในกรณีที่ต้องจัดให้มี การมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรา ๘ (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) หน่วยงานของรัฐ ต้องดำเนินการให้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๑๓ รวมทั้งต้องนำผลการรับ 65
เหตุผล
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... ฟั ง ความคิ ด เห็ น ตามมาตรา ๑๓ และ มาตรา ๑๕ ไปใช้ประกอบในกระบวนการตั ด สิ น ใจกำหนด อนุ ม ั ต ิ หรื อ เห็นชอบในนโยบายสาธารณะนั้น ก า ร ป ร ะ ก า ศ ก า ร ต ั ด ส ิ น ใ จ น ี ้ มาตรา ๑๕ เมื่อหน่วยงานของรัฐ ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นแล้ว ให้ นอกจากเพื่อสร้างความโปร่งใสแล้วยัง หน่วยงานของรัฐประกาศการตัดสินใจ เป็ น ไปตามหลั ก ความรั บ ผิ ด ชอบ และ ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป โดยใน ต้องถูกตรวจสอบจากสาธารณะ อันเป็น ประกาศดั ง กล่ า วต้ อ งแสดงถึ ง เหตุ ผ ล องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การมีส่วน ความจำเป็ น มาตรการในการป้ อ งกั น ร่วมของประชาชนมีความหมายและเกิด หรื อ เยี ย วยา การแก้ ไ ขปั ญ หาและ ผลอย่างแท้จริงในทางปฏิบัติ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ความคุ้มค่าของ ประโยชน์ ส าธารณะ และทางเลื อ กที ่ เหมาะสมที่สุด ประกาศดังกล่าวต้องโดย เปิดเผยต่อสาธารณะเพื่อให้ประชาชน สามารถตรวจสอบได้ ในกรณีที่มีการคัดค้านการดำเนิน นโยบายสาธารณะใด หน่วยงานของรัฐ พึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น และ นำความคิดเห็นดังกล่าวไปใช้ประกอบ การพิ จ ารณาตั ด สิ น ใจอี ก ครั ้ ง หนึ ่ ง ในการนี้ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง ด้วย
66
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... มาตรา ๑๖ เมื่อได้มีการประกาศ ตามมาตรา ๑๕ แล้ว หน่วยงานของรัฐ มี ห น้ า ที ่ ท ี ่ จ ะต้ อ งปฏิ บ ั ต ิ แ ละดำเนิ น กระบวนการนโยบายสาธารณะ ตามที่ ได้ประกาศไปแล้วโดยเคร่งครัด มาตรา ๑๗ ในระหว่างการดำเนิน ก ร ะ บ ว น ก า ร น โ ย บ า ย ส า ธ า ร ณ ะ หน่วยงาน ของรัฐจะต้องจัดทำรายงาน ความก้าวหน้าของการดำเนินนโยบาย สาธารณะและเผยแพร่ ใ ห้ ผู ้ ม ี ส ่ ว น เกี่ยวข้องทราบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และเกิด เมื ่ อ ดำเนิ น กระบวนการนโยบาย สาธารณะเสร็ จ สิ ้ น แล้ ว ให้ ห น่ ว ยงาน การตรวจสอบโดยสาธารณะชน ของรัฐ จั ด ทำรายงานสรุ ป ผลการดำเนิ น การและเผยแพร่ต่อสาธารณะ การจั ด ทำรายงานตามวรรคหนึ ่ ง และวรรคสองเป็ น ไปตามหลั ก เกณฑ์ วิธีการ และมีสาระตามที่คณะกรรมการ กำหนด ซึ ่ ง อย่ า งน้ อ ยต้ อ งจั ด ทำและ เผยแพร่ ป ี ล ะหนึ ่ ง ครั ้ ง และรายงาน ดังกล่าวต้องประกอบด้วย (๑) การมีส่วนร่วมของประชาชน (๒) ผลกระทบที่มีต่อประชาชนและ ชุมชน 67
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... (๓) มาตรการป้องกันหรือเยียวยา หรื อ การดำเนิ น การแก้ ไ ขปั ญ หาและ ผลกระทบ มาตรา ๑๘ ผู ้ ม ี ส ่ ว นเกี ่ ย วข้ อ งใด เพื ่ อ ให้ เ กิ ด การมี ส ่ ว นร่ ว มในการ เห็นว่านโยบายสาธารณะใด ก่อให้เกิด ติ ด ตามตรวจสอบ และริ เ ริ ม เสนอให้ ผลกระทบต่อประชาชนและชุมชน และ แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกนโยบาย มิ ไ ด้ ด ำเนิ น การตามมาตรการป้ อ งกั น สาธารณะ หรือเยียวยา หรือดำเนินการแก้ไขปัญหา และผลกระทบที ่ เ กิ ด ขึ ้ น ผู ้ ม ี ส ่ ว น เกี ่ ย วข้ อ งนั ้ น สามารถยื ่ น คำร้ อ งต่ อ หน่วยงานของรัฐเพื่อให้พิจารณาดำเนิน การตามมาตรการป้องกันหรือเยียวยา หรื อ แก้ ไ ขปั ญ หาและผลกระทบที ่ เ กิ ด จากนโยบายสาธารณะนั้นได้ ในกรณี ท ี ่ ก ารดำเนิ น การตาม นโยบายสาธารณะใดก่ อ ให้ เ กิ ด ผล กระทบอย่ า งร้ า ยแรงต่ อ คุ ณ ภาพ สิ ่ ง แวดล้ อ ม สุ ข ภาพอนามั ย คุ ณ ภาพ ชี ว ิ ต หรื อ ส่ ว นได้ เ สี ย สำคั ญ อื ่ น ใด ผู ้ ม ี ส่ ว นเกี ่ ย วข้ อ งสามารถยื ่ น คำร้ อ งต่ อ หน่ ว ยงานของรั ฐ เพื ่ อ ให้ ท บทวนหรื อ ยกเลิกนโยบายสาธารณะนั้นได้ หน่ ว ยงานของรั ฐ พึ ง จั ด ให้ ม ี ก าร ดำเนิ น การตามมาตรา ๘ (๗) โดยเปิ ด โอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วน ร่ ว มได้ ต ามรู ป แบบ วิ ธ ี ก ารที ่ ค ณะ กรรมการกำหนด 68
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... มาตรา ๑๙ ในกรณี ท ี ่ ผู ้ ม ี ส ่ ว น เกี ่ ย วข้ อ งกั บ การดำเนิ น กระบวนการ นโยบายสาธารณะยื ่ น คำร้ อ งต่ อ คณะ กรรมการว่ า ได้ ร ั บ ผลกระทบจากการ ดำเนินกระบวนการนโยบายเกินกว่าที่ได้ ประกาศไว้ ต ามมาตรา ๑๕ ถ้ า คณะ กรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าการนำคดี ขึ ้ น สู ่ ศ าลจะเป็ น ประโยชน์ ต ่ อ ผู ้ ม ี ส ่ ว น เกี ่ ย วข้ อ งอื ่ น ด้ ว ย คณะกรรมการมี อำนาจแต่งตั้งพนักงานของสำนักงานซึ่ง มี ค ุ ณ วุ ฒ ิ ไม่ ต ่ ำ กว่ า ปริ ญ ญาตรี ท าง นิติศาสตร์เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองสิทธิ ของประชาชน โดยให้เจ้าหน้าที่คุ้มครอง สิ ท ธิ ข องประชาชนมี อ ำนาจดำเนิ น คดี ตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ ในการดำเนิ น คดี ใ นศาล ให้ เ จ้ า หน้ า ที ่ ค ุ ้ ม ครองสิ ท ธิ ข องประชาชนมี อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายแทนผู้มีส่วน เกี ่ ย วข้ อ งที ่ ย ื ่ น คำร้ อ งขอต่ อ คณะ กรรมการได้ด้วย และในการนี้ให้ได้รับ ยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง ทั้งนี้ ก่ อ นการดำเนิ น คดี ใ นศาล อาจจั ด กระบวนการประชาเสวนาเพื่อให้เกิดข้อ ยุติในลักษณะของฉันทามติก่อนก็ได้
69
เหตุผล เพื่อเป็นกลไกช่วยเหลือประชาชน ผู ้ เ ดื อ ดร้ อ นจากการดำเนิ น นโยบาย สาธารณะ
เพื่อเป็นกลไกช่วยเหลือประชาชน ผู ้ เ ดื อ ดร้ อ นจากการดำเนิ น นโยบาย สาธารณะ
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... มาตรา ๒๐ ผู้ใดขัดขวางมิให้มีการ ดำเนินการมีส่วนร่วมตามที่กำหนดใน กฎหมายฉบับนี้ ต้องระวางโทษปรับทาง ปกครองไม่เกินสองหมื่นบาท หมวด ๒ คณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบาย สาธารณะ มาตรา ๒๑ ให้ ม ี ค ณะกรรมการ กรรมการประกอบด้ ว ยภาคส่ ว น คณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการมี ต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั้งภาครัฐ ภาค ส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ วิชาการ และภาคประชาชน โดยมีภาค ประชาชนเป็นหลัก ซึ่งองค์ประกอบดัง นโยบายสาธารณะ” ประกอบด้วย (๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายก กล่าวพิจารณาตามกรอบบทบาทอำนาจ รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็น หน้าที่ โดยที่ (๑) (๒) เป็นกรรมการโดย ประธาน ตำแหน่ ง ส่ ว น (๓) มาจากการเลื อ ก (๒) ประธานสภาพั ฒ นาการเมื อ ง กันเอง และ (๔) (๕) มาจากการสรรหา ห ร ื อ ผู ้ แ ท น ผู ้ อ ำ น ว ย ก า ร ส ำ น ั ก ของคณะกรรมการสรรหา งบประมาณหรือผู้แทน และปลัดสำนัก นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทน เป็นกรรมการ (๓) ผู ้ แ ทนองค์ ก รปกครองส่ ว น กรรมการภาครั ฐ ต้ อ งเป็ น ผู ้ ท ี ่ ท้ อ งถิ ่ น จำนวนหนึ ่ ง คนซึ ่ ง มาจากการ เกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบโดยตรง ภาค เลื อ กกั น เองขององค์ ก รปกครองส่ ว น วิ ช าการต้ อ งเป็ น ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒ ิ ท ี ่ ม ี ท้ อ งถิ ่ น ตามหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธ ี ก ารที ่ ประสบการณ์ทำงานด้านการมีส่วนร่วม คณะกรรมการกำหนด เป็นกรรมการ โดยตรง 70
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... ส่วนภาคประชาชนต้องเป็นผู้แทน (๔) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรี แต่ ง ตั ้ ง จากผู ้ ไ ด้ ร ั บ การสรรหาจาก กลุ่มต่างๆ อย่างหลากหลาย มีบทบาท นักวิชาการ ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ด้านการมีส่วน หรือประสบการณ์ด้านการมีส่วนร่วมของ ร่วม เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมที่มาจาก ประชาชน จำนวนสองคน เป็นกรรมการ ทุกฝ่าย เพื ่ อ ให้ เ กิ ด ความยื ด หยุ ่ น ในการ (๕) ผู ้ แ ทนจากภาคประชาชนซึ ่ ง นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ได้รับสรรหา ดำเนินการสรรหาจึงไม่ระบุกลุ่มตัวแทน จากผู ้ ม ี ค วามรู ้ ความเชี ่ ย วชาญ หรื อ ภาคประชาชนในพระราชบั ญ ญั ต ิ น ี ้ ประสบการณ์ ด ้ า นการมี ส ่ ว นร่ ว มของ โดยตรง เพี ย งกำหนดแนวทางไว้ ใ น ประชาชน จำนวนหกคน เป็นกรรมการ ม. ๒๔ และให้ เ ป็ น อำนาจของคณะ กรรมการสรรหาในการดำเนินการ ให้ เ ลขาธิ ก ารเป็ น เลขานุ ก าร คณะกรรมการ และให้เลขาธิการแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่ของสำนักงานไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ เพื ่ อ กำหนดคุ ณ สมบั ต ิ พ ื ้ น ฐาน ที ่ มาตรา ๒๒ กรรมการตามมาตรา ๒๑ (๔) และ (๕) ต้องมีคุณสมบัติและ เหมาะสมต่อการทำหน้าที่ของกรรมการ ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ โดยเฉพาะด้ า นความรู ้ ค วามสามารถ (๑) มีสัญชาติไทย ความเป็นอิสระ และไม่เป็นผู้มีส่วนได้ (๒) มี อ ายุ ไ ม่ ต ่ ำ กว่ า สามสิ บ ห้ า ปี ส่วนเสียหรือมีความขัดแย้งในบทบาท บริบูรณ์ อำนาจหน้าที่ (Conflict of Interest) (๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิต ฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 71
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... (๕) ไม่ เ คยได้ ร ั บ โทษจำคุ ก โดย คำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็น โทษสำหรับความผิดที่ได้ทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (๖) ไม่ เ ป็ น สมาชิ ก สภาผู ้ แ ทน ราษฎร สมาชิ ก วุ ฒ ิ ส ภา ข้ า ราชการ การเมื อ ง สมาชิ ก สภาท้ อ งถิ ่ น หรื อ
ผู้บริหารท้องถิ่น (๗) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่ง หรื อ เงิ น เดื อ นประจำ พนั ก งานหรื อ ลู ก จ้ า งของ หน่ ว ยงานของรั ฐ องค์ ก ร ตามรั ฐ ธรรมนู ญ หรื อ องค์ ก รปกครอง ส่วนท้องถิ่น (๘) ไม่ เ ป็ น เจ้ า หน้ า ที ่ ห รื อ ผู ้ ม ี ตำแหน่งใด ในพรรคการเมือง มาตรา ๒๓ การสรรหากรรมการ ตามมาตรา ๒๑ (๔) และ(๕) ให้ดำเนิน การโดยคณะกรรมการสรรหาซึ่งประกอบ ด้ ว ย ประธานผู ้ ต รวจการแผ่ น ดิ น ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ให้ ค ณะกรรมการสรรหาประชุ ม กันเองเพื่อเลือกกรรมการสรรหาคนหนึ่ง เป็ น ประธานกรรมการสรรหา และให้ เลขาธิการเป็นเลขานุการคณะกรรมการ สรรหา
72
เหตุผล
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... ใ ห ้ ส ำ น ั ก ง า น ท ำ ห น ้ า ท ี ่ เ ป ็ น หน่วยงานเลขานุการในการดำเนินการ สรรหา มาตรา ๒๔ ให้ ค ณะกรรมการ เพื ่ อ เป็ น แนวทางในการสรรหา สรรหากำหนดหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธ ี ก าร กรรมการภาคประชาชน และให้อำนาจ สรรหากรรมการตามมาตรา ๒๑ (๔) คณะกรรมการสรรหาฯ กำหนดหลั ก และ (๕) โดยคำนึ ง ถึ ง ตั ว แทนของ เกณฑ์ แ ละวิ ธ ี ก ารสรรหาได้ ต ามความ ประชาชนกลุ ่ ม ต่ า งๆ เช่ น เกษตร เหมาะสม แรงงาน องค์กรภาคประชาสังคม องค์กร พัฒนาเอกชน ภาคเอกชน ภาคบริการ องค์กรวิชาชีพ และสื่อมวลชน ทั้งนี้ โดย คำนึงถึงสัดส่วนระหว่างหญิงและชาย ด้วย ก่อนที่กรรมการตามมาตรา ๒๑ (๔) เพื่อความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน หรือ (๕) แล้วแต่กรณี จะครบวาระดำรง ของคณะกรรมการฯ ตำแหน่งไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน ให้คณะ กรรมการสรรหาดำเนิ น การสรรหา กรรมการตามมาตรา ๒๑ (๔) หรือ (๕) จากผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้อง ห้ามตามมาตรา ๒๒ เพื่อเสนอให้นายก รัฐมนตรีแต่งตั้ง
73
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... ในกรณี ท ี ่ ม ี ก รรมการเหลื อ อยู ่ ไ ม่ ครบตามองค์ ป ระกอบหรื อ จำนวนที ่ กำหนด ให้ ก รรมการเท่ า ที ่ ม ี อ ยู ่ ป ฏิ บ ั ต ิ หน้าที่ต่อไปได้ เว้นแต่มีกรรมการเหลือ อยู ่ ไ ม่ ถ ึ ง กึ ่ ง หนึ ่ ง ของจำนวนกรรมการ ทั้งหมด ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้ง ให้ครบตามจำนวนต่อไป เพื่อป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบ มาตรา ๒๕ กรรมการตามมาตรา ๒๑ (๓) (๔) และ (๕) มี ว าระการดำรง จากการอยู่ในตำแหน่งด้วยเวลายาวนาน ตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่ง ตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกัน เกินสองวาระมิได้ มาตรา ๒๖ นอกจากการพ้นจาก ตำแหน่งตามวาระ กรรมการตามมาตรา ๒๑ (๓) (๔) และ (๕) พ้ น จากตำแหน่ ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะ ต้องห้ามตามมาตรา ๒๒ (๔) กรรมการไม่ น ้ อ ยกว่ า สองใน สามของจำนวนกรรมการที่มีอยู่มีมติให้ พ้ น จากตำแหน่ ง เพราะเหตุ ม ี ค วาม ประพฤติเสื่อมเสียในการปฏิบัติหน้าที่ 74
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... เมื ่ อ มี ก รณี ต ามวรรคหนึ ่ ง ให้ กรรมการเท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อ ไป และให้ถือว่าคณะกรรมการประกอบ ด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่ มาตรา ๒๗ การประชุ ม คณะ กรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ น้ อ ยกว่ า กึ ่ ง หนึ ่ ง ของจำนวนกรรมการ ทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุ ม คณะกรรมการ ถ้ า ประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่ อาจปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ ไ ด้ ให้ ป ระธานสภา พัฒนาการเมืองเป็นประธานในที่ประชุม ถ้ า ประธานสภาพั ฒ นาการเมื อ งไม่ ม า ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ ประชุ ม เลื อ กกรรมการคนหนึ ่ ง เป็ น ประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ พยายามใช้กระบวนการเพื่อให้เกิดฉันทา มติแทนการลงคะแนนก่อน เพื่อให้เกิด การรับฟังซึ่งกันและกัน และเกิดความ ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ แต่หากไม่อาจใช้ กระบวนการดังกล่าวได้ ให้วินิจฉัยชี้ขาด โดยถื อ เอาเสี ย งข้ า งมาก กรรมการ คนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็น เสียงชี้ขาด 75
เหตุผล
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... มาตรา ๒๘ ให้ ค ณะกรรมการมี อำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) ส่ ง เสริ ม การมี ส ่ ว นร่ ว มของ ประชาชนในการกำหนดนโยบาย และ วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งใน ระดับชาติและท้องถิ่น (๒) ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การมี ส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจ ทางการเมื อ ง การวางแผนพั ฒ นา เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการจัดทำ บริการสาธารณะ (๓) กำหนดขอบเขต ประเภท ชนิด และลักษณะของนโยบายสาธารณะที่อยู่ ภายใต้บังคับพระราชบัญญัตินี้ (๔) กำหนดหลักการพื้นฐานในการ มีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้หน่วย งาน ของรั ฐ ออกกฎ ระเบี ย บ แนวทาง หรือดำเนินการให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน การกำหนดนโยบายสาธารณะ (๕) เสนอแนะหน่วยงานของรัฐใน การตราและการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือระเบียบของหน่วยงานของรัฐ เพื่อ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การกำหนดนโยบายสาธารณะที่ เกี่ยวข้องกับกฎหมาย กฎ หรือระเบียบ ดังกล่าว 76
เหตุผล
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... (๖) เสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีใน การตรากฎกระทรวงที่ออกตามความใน พระราชบัญญัตินี้ (๗) สนับสนุนและให้คำปรึกษาแก่ หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนในการกำหนด นโยบายสาธารณะ (๘) ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น และให้ ความรู ้ แ ก่ ป ระชาชนหรื อ องค์ ก รทาง สังคม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง เพิ่ม เครือข่าย และพัฒนาการมีส่วนร่วมของ ประชาชน (๙) ให้คำปรึกษาหรือให้ความช่วย เหลือประชาชนในการใช้สิทธิ เพื่อดำเนิน คดี ทางศาล ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ มิได้ปฏิบัติตามหลักการที่คณะกรรมการ กำหนด หรือมิได้เปิดโอกาสให้ประชาชน มี ส ่ ว นร่ ว มในกระบวนการนโยบาย สาธารณะ และในกรณี ท ี ่ เ ห็ น สมควร คณะกรรมการอาจเสนอเรื่องพร้อมความ เห็นไปยังหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือใช้สิทธิทางศาลแทนประชาชนได้
77
เหตุผล
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... (๑๐) จั ด ทำรายงานการประเมิ น การมี ส ่ ว นร่ ว มของประชาชนในการ กำหนดนโยบายสาธารณะ เสนอต่ อ คณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และเผยแพร่ต่อ สาธารณะอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (๑๑) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และ คณะทำงาน เพื ่ อ ปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ ต ามที ่ คณะกรรมการมอบหมาย และกำกั บ ดู แ ล ก า ร ป ฏ ิ บ ั ต ิ ห น ้ า ท ี ่ ข อ ง ค ณ ะ อนุกรรมการและคณะทำงานดังกล่าว (๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนด ไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น ที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะ กรรมการ มาตรา ๒๙ เมื่อคณะกรรมการ ได้ ก ำหนดหลั ก การพื ้ น ฐานในการมี
ส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรา ๒๘ (๔) แล้ ว ให้ แ จ้ ง ให้ ห น่ ว ยงานของรั ฐ ทราบเพื ่ อ พิ จ ารณาทบทวน แก้ ไ ข ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหรือระเบียบของ หน่วยงานของตนให้สอดคล้องกับหลัก การพื้นฐานดังกล่าว ในการนี้หน่วยงาน ของรั ฐ อาจขอหารื อ หรื อ ขอคำแนะนำ จากคณะกรรมการได้ 78
เหตุผล
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... มาตรา ๓๐ เบี ้ ย ประชุ ม และ ประโยชน์ตอบแทนอื่นของกรรมการและ อนุ ก รรมการ ให้ เ ป็ น ไปตามที ่ น ายก รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของ กระทรวงการคลัง มาตรา ๓๑ เพื่อประโยชน์ในการ ปฏิบัติหน้าที่ ให้คณะกรรมการมีอำนาจ เรี ย กบุ ค คลใดมาให้ ข ้ อ มู ล ข้ อ เท็ จ จริ ง หรื อ แสดงความคิ ด เห็ น หรื อ ให้ ส ่ ง เอกสาร หลั ก ฐานใดๆ รวมทั ้ ง อาจขอ ตรวจดู เ อกสารหลั ก ฐานที ่ อ ยู ่ ใ นครอบ ครอง ณ ที่ทำการหรือในหน่วยงานได้ หมวด ๓ สำนักงานคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ มาตรา ๓๒ ให้ จ ั ด ตั ้ ง สำนั ก งาน คณะกรรมการการมี ส ่ ว นร่ ว มของ ประชาชน ในกระบวนการนโยบาย สาธารณะขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่มี ฐานะเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้เป็นส่วน ราชการและรัฐวิสาหกิจ
79
เพื ่ อ ให้ ม ี ส ำนั ก งานฯ รั บ ผิ ด ชอบ ปฏิ บ ั ต ิ ง านด้ า นการส่ ง เสริ ม และ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีความเป็น อิสระ ไม่ติดกรอบราชการ
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระ มาตรา ๓๓ กิจการของสำนักงาน ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วย และทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับสวัสดิการ การคุ ้ ม ครองแรงงาน กฎหมายว่ า ด้ ว ย และค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าในระบบการ แรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยประกัน จ้างงานของภาคเอกชน สังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ พ นั ก งานและลู ก จ้ า งของสำนั ก งาน ต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่า ที ่ ก ำหนดไว้ ใ นกฎหมายว่ า ด้ ว ยการ คุ ้ ม ครองแรงงาน กฎหมายว่ า ด้ ว ย ประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงิน ทดแทน มาตรา ๓๔ ให้สำนักงานมีอำนาจ หน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) รับผิดชอบงานธุรการและงาน วิชาการของคณะกรรมการ (๒) ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนในการดำเนิ น นโยบายสาธารณะ (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่ม ขีดความสามารถของหน่วยงานของรัฐ ในการให้ความรู้ในเรื่องการมีส่วนร่วม ของประชาชน และให้ประชาชนมีส่วน ร่วมในการดำเนินนโยบายสาธารณะ
80
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... (๔) ศึ ก ษา ค้ น คว้ า วิ เ คราะห์ แ ละ วิ จ ั ย เพื ่ อ ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาการมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนในการดำเนิ น นโยบายสาธารณะ (๕) รั บ เรื ่ อ งร้ อ งทุ ก ข์ จ ากผู ้ ม ี ส ่ ว น เกี ่ ย วข้ อ งที ่ ไ ด้ ร ั บ ผลกระทบจากการ ดำเนินนโยบายสาธารณะ (๖) ดำเนิ น การเผยแพร่ ผ ลงาน วิ ช าการ และให้ ค วามรู ้ แ ละการศึ ก ษา เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การดำเนิ น นโยบายสาธารณะแก่ หน่วยงานของรัฐและประชาชน (๗) ติดตามและประเมินการดำเนิน นโยบายสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ (๘) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ (๙) ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน (๑๐) จัดทำรายงานประจำปีแสดง ผลงานและอุ ป สรรคในการดำเนิ น งาน ของคณะกรรมการและสำนักงานเสนอ ต่อคณะรัฐมนตรี (๑๑) ปฏิ บ ั ต ิ ก ารอื ่ น ใดตามที ่ กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมาย อื่น หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย 81
เหตุผล
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... มาตรา ๓๕ ทุ น และทรั พ ย์ ส ิ น ใน การดำเนินงานของสำนักงาน ประกอบ ด้วย (๑) เงินที่รัฐจ่ายให้เป็นทุนประเดิม (๒) เงิ น อุ ด หนุ น รายปี ท ี ่ ร ั ฐ บาล จัดสรรให้ตามความเหมาะสม (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๔) ค่ า ธรรมเนี ย ม ค่ า บำรุ ง ค่ า ตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้อื่นจาก การดำเนินงาน (๕) ดอกผลหรื อ เงิ น รายได้ จ าก ทรัพย์สินของสำนักงาน เงิ น ทุ น ประเดิ ม ตาม (๑) และเงิ น อุดหนุนรายปีตาม (๒) รัฐบาลพึงจัดสรร ให้โดยตรง เป็นจำนวนที่เพียงพอสำหรับ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการให้ บรรลุผลตามพันธกิจของคณะกรรมการ และสำนักงาน มาตรา ๓๖ บรรดารายได้ทั้งปวงที่ สำนั ก งานได้ ร ั บ จากการดำเนิ น งานใน แต่ละปี ให้ตกเป็นของสำนักงานเพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานและค่า ภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม เช่น ค่าบำรุง รักษาและค่าเสื่อมราคา เบี้ยประชุมและ ประโยชน์ ต อบแทนของคณะกรรมการ
เหตุผล กฎหมายฉบับนี้ ไม่มีกองทุนฯ เพื่อ ความสะดวกในการผลักดัน แต่เพื่อให้มี หลักประกันด้านงบประมาณ จึงกำหนด ให้มีทุนและทรัพย์สินอย่างเพียงพอต่อ การดำเนินงานให้บรรลุผลตามพันธกิจที่ กฎหมายกำหนด
เ พ ื ่ อ ใ ห ้ ม ี ห ล ั ก ป ร ะ ก ั น ด ้ า น งบประมาณสำหรั บ ดำเนิ น งานอย่ า ง เพียงพอ
82
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... คณะกรรมการสรรหา คณะอนุกรรมการ เลขาธิ ก าร พนั ก งานและลู ก จ้ า งของ สำนั ก งาน เงิ น สมทบกองทุ น เพื ่ อ การ สวั ส ดิ ก ารและการสงเคราะห์ และเงิ น สำรองเพื ่ อ ใช้ จ ่ า ยในกิ จ การของ สำนักงานหรือการอื่นรายได้ตามวรรค หนึ่งไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
เหตุผล
มาตรา ๓๗ ทรัพย์สินของ สำนักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการ บังคับคดี และบุคคลใดจะยกอายุความ ขึ ้ น เป็ น ข้ อ ต่ อ สู ้ ก ั บ สำนั ก งานในเรื ่ อ ง ทรัพย์สินของสำนักงานมิได้ เพื่อให้อำนาจแก่คณะกรรมการใน ม า ต ร า ๓ ๘ ใ ห ้ ส ำ น ั ก ง า น ม ี เลขาธิ ก ารคนหนึ ่ ง ซึ ่ ง นายกรั ฐ มนตรี การแต่ ง ตั ้ ง เลขาธิ ก ารได้ ต ามความ แต่ ง ตั ้ ง จากบุ ค คลที ่ ค ณะกรรมการ เหมาะสม ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมาย คัดเลือก กำหนด เพื่อปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการ รองรับการใช้อำนาจหน้าที่ขององค์กร เพื่อกำหนดคุณสมบัติพื้นฐานของ มาตรา ๓๙ เลขาธิ ก ารต้ อ งมี คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดัง เลขาธิ ก าร เพื ่ อ ประสิ ท ธิ ภ าพในการ ต่อไปนี้ ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ (๓) สามารถทำงานให้แก่สำนักงาน ได้เต็มเวลา 83
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... (๔) เป็ น คนไร้ ค วามสามารถ หรื อ คนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคย เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๖) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำ คุกไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกจริงหรือไม่ เว้ น แต่ เ ป็ น โทษสำหรั บ ความผิ ด ที ่ ไ ด้ กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรื อ พ้ น โทษหรื อ พ้ น ระยะเวลารอการ ลงโทษหรือรอการกำหนดโทษแล้ว (๗) เป็ น ข้ า ราชการซึ ่ ง มี ต ำแหน่ ง หรื อ เงิ น เดื อ นประจำ พนั ก งานหรื อ ลูกจ้างของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของราชการ ส่วนท้องถิ่น (๘) เป็ น หรื อ เคยเป็ น ข้ า ราชการ การเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่ น้อยกว่าหนึ่งปี (๙) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐหรือ รั ฐ วิ ส าหกิ จ หรื อ จากหน่ ว ยงานของ เอกชน เพราะทุ จ ริ ต ต่ อ หน้ า ที ่ ห รื อ ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง 84
เหตุผล
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... เพื่อป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบ มาตรา ๔๐ เลขาธิ ก ารมี ว าระใน การดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจ จากการอยู่ในตำแหน่งด้วยเวลายาวนาน ได้ ร ั บ การแต่ ง ตั ้ ง ใหม่ ไ ด้ แต่ จ ะดำรง ตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ มาตรา ๔๑ นอกจากการพ้นจาก ตำแหน่ ง ตามวาระ เลขาธิ ก ารพ้ น จาก ตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะ ต้องห้ามตามมาตรา ๓๙ (๔) เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา ๔๘ (๕) คณะกรรมการมี ม ติ ใ ห้ อ อก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ ทุจริตต่อหน้าที่ มี ค วามประพฤติ เ สื ่ อ มเสี ย หรื อ หย่ อ น ความสามารถ มาตรา ๔๒ ให้ เ ลขาธิ ก ารเป็ น เพื ่ อ ประสิ ท ธิ ภ าพในการบริ ห าร ผู้บังคับบัญชาของพนักงานและลูกจ้าง จั ด การสำนั ก งาน ให้ ส อดคล้ อ งกั บ
และรับผิดชอบในการดำเนินกิจการทั้ง พันธกิจขององค์กร ปวงของสำนักงาน ในการบริ ห ารกิ จ การทั ้ ง ปวงของ สำนักงาน เลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อ คณะกรรมการ 85
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... เพื ่ อ ช่ ว ยเหลื อ เลขาธิ ก ารในการ มาตรา ๔๓ ให้มีรองเลขาธิการตาม จำนวนที่คณะกรรมการกำหนดเพื่อช่วย บริ ห ารงานในด้ า นต่ า งๆ ตามที ่ ไ ด้ ร ั บ เลขาธิ ก ารในการปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ ต ามที ่ มอบหมาย ในระดั บ นโยบาย ตาม เลขาธิการมอบหมาย พันธกิจที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการ ป้องกันปัญหา Bottle Neck เพื ่ อ เป็ น กรอบอำนาจหน้ า ที ่ ข อง มาตรา ๔๔ เลขาธิ ก ารมี อ ำนาจ ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน ซึ่งมีอำนาจ หน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ในการบริ ห ารงาน และบั ง คั บ บั ญ ชา ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทาง เจ้าหน้าที่ โดยมีการถ่วงดุลอำนาจจาก วิ น ั ย พนั ก งานและลู ก จ้ า ง ตลอดจนให้ คณะกรรมการฯ พนักงานหรือลูกจ้างออกจากตำแหน่ง ทั ้ ง นี ้ ตามข้ อ บั ง คั บ ที ่ ค ณะกรรมการ กำหนด แต่ถ้าเป็นพนักงานตำแหน่งรอง เลขาธิการ ผู้บริหารระดับสูง และผู้ตรวจ สอบภายใน ต้ อ งได้ ร ั บ ความเห็ น ชอบ จากคณะกรรมการก่อน (๒) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติ งานของสำนักงานโดยไม่ขัดหรือแย้งกับ ข้อบังคับหรือมติที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการจะมอบอำนาจให้รอง เลขาธิการหรือพนักงานกระทำการแทน ได้ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
86
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... ให้ ผู ้ ไ ด้ ร ั บ มอบอำนาจตามวรรค หนึ ่ ง มี อ ำนาจหน้ า ที ่ อ ย่ า งเดี ย วกั บ เลขาธิการในเรื่องที่ได้รับมอบอำนาจนั้น มาตรา ๔๖ ในกิ จ การที ่ เ กี ่ ย วกั บ บุคคลภายนอก ให้เลขาธิการเป็นผู้แทน สำนักงาน ในการนี้เลขาธิการจะมอบ อำนาจให้บุคคลใดกระทำการแทนก็ได้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๗ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรง ตำแหน่ ง เลขาธิ ก ารหรื อ มี แ ต่ ไ ม่ อ าจ ปฏิบัติหน้าที่ได้ให้คณะกรรมการแต่งตั้ง รองเลขาธิ ก ารคนหนึ ่ ง เป็ น ผู ้ ร ั ก ษาการ แทนเลขาธิ ก าร ในกรณี ท ี ่ ไ ม่ ม ี ร อง เลขาธิการหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งพนักงานของ สำนักงานคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทน เลขาธิการ ให้ผู้รักษาการแทนเลขาธิการตาม วรรคหนึ่งมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับ เลขาธิการ
87
เหตุผล
เพื่อความต่อเนื่องในการทำงาน
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ เหตุผล นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... เพื ่ อ ความโปร่ ง ใสและป้ อ งกั น มาตรา ๔๘ เลขาธิ ก ารต้ อ งไม่ เป็ น ผู ้ ม ี ส ่ ว นได้ เ สี ย ในสั ญ ญากั บ ปั ญ หาการทั บ ซ้ อ นของผลประโยชน์ สำนักงานหรือใน กิจการที่กระทำให้กับ และการใช้ อ ำนาจโดยมิ ช อบเพื ่ อ เอื ้ อ สำนั ก งาน ไม่ ว ่ า โดยทางตรงหรื อ ทาง ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง อ้ อ ม เว้ น แต่ เ ป็ น เพี ย งผู ้ ถ ื อ หุ ้ น เพื ่ อ ประโยชน์ ในการลงทุ น โดยสุ จ ริ ต ใน นิติบุคคลที่กระทำการอันมีส่วนได้เสีย เช่นว่านั้นไม่เกินจำนวนตามข้อบังคับที่ คณะกรรมการกำหนด ในกรณี ท ี ่ บ ุ พ การี คู ่ ส มรส ผู ้ ส ื บ สันดานของเลขาธิการ หรือบุพการีของ คู ่ ส มรสของเลขาธิ ก ารกระทำการตาม วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเลขาธิการมีส่วนได้ เสียในกิจการของสำนักงาน ม า ต ร า ๔ ๙ เ ง ิ น เ ด ื อ น แ ล ะ ประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการให้ เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด บทเฉพาะกาล เพื่อให้มีกลไกชั่วคราวเพื่อดำเนิน มาตรา ๕๐ ในวาระเริ ่ ม แรกให้ คณะกรรมการการมี ส ่ ว นร่ ว มของ งานในช่วงหลังการประกาศใช้กฎหมาย ประชาชนในกระบวนการนโยบาย สาธารณะประกอบด้ ว ยกรรมการตาม มาตรา ๒๑ (๑) และ (๒) โดยให้ ป ลั ด สำนั ก นายกรั ฐ มนตรี เป็ น เลขานุ ก าร คณะกรรมการ 88
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ พ.ศ. .... มาตรา ๕๑ ให้ ค ณะกรรมการ สรรหาดำเนิ น การสรรหาและคั ด เลื อ ก กรรมการตามมาตรา ๒๑ (๔) และ (๕) ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับ แต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๕๒ ให้ ป ลั ด สำนั ก นายก รั ฐ มนตรี ปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ เ ลขาธิ ก าร สำนักงานคณะกรรมการการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการนโยบายสา ธารณะตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะ มีการแต่งตั้งเลขาธิการตามมาตรา ๓๘ ซึ่งต้องไม่เกิน ........... นับแต่วันที่พระ ราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ............................... นายกรัฐมนตรี
89
เหตุผล
ภาคผนวก คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นประชาชน เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
93
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
94