โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
“บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทความปริทัศน์ และ แหล่งตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ทางมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ (สถาปัตยกรรมศาสตร์) ที่ได้รับการยอมรับแพร่หลาย”
อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ รองคณบดีฝ่ายวางแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กล่าวนํา โครงการจั ด การความรู้ คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร ประจํ า ปี พ.ศ. 2558 “บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทความปริทัศน์ และแหล่งตีพิมพ์ผลงานวิชาการทางมนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ (สถาปัตยกรรมศาสตร์) ที่ได้รับการยอมรับแพร่หลาย” เป็นโครงการที่มุ่งเป้าประสงค์ในการถอด ความรู้ และประสบการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการโครงการวิจัยและการเผยแพร่ผลลัพธ์ของการวิจัย เพื่อ แบ่งปันสู่คณาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และนักศึกษาระดับบัณ ฑิตศึกษา คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รวมไปถึงคณาจารย์ และนักศึกษา สถาบันการศึกษาอื่นๆ ที่มีการ เรียนการสอนด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ ได้มีความเข้าใจคุณลักษณะของผลงานวิชาการประเภท ต่างๆ อาทิ บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทความปริทัศน์ ตลอดจนแหล่งตีพิมพ์ผลงานวิชาการที่ได้รับการ ยอมรับแพร่หลายในวงวิชาการ เพื่อให้การพิมพ์เผยแพร่องค์ความรู้ผ่านบทความต่างๆ เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ทั้ งต่ อผู้ อ่าน และระบบการบริห ารจัด การโครงการวิจัยต้ นสังกั ดของผู้แ ต่ งในการนํ าไปสู่ การประกั น คุ ณ ภาพ การศึกษา โดยเฉพาะการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ที่มีเป้าหมายให้อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ผู้ควบคุม วิทยานิพนธ์ อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ อาจารย์ประจําหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ตลอดจนนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษาให้มีผลงานวิจัย และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัย และผลงานวิชาการอย่างต่อเนื่อง เอกสารนี้จึงประกอบไปด้วยเนื้อหา 2 ส่วน ที่ว่าด้วย การทําความเข้าใจประเภทของผลงานวิชาการทั้ง “บทความวิชาการ” “บทความวิจัย” “บทความปริทัศน์” ตลอดจนมูลเหตุสําคัญที่ทําให้ในการจัดการการศึกษา ระดั บ อุ ด มศึ ก ษาได้ มี ก ารผลั ก ดั น ให้ มี ก ารกํ าหนดตั ว ชี้ วั ด ด้ านการวิ จั ย และการเผยแพร่ผ ลงานวิช าการของ คณาจารย์ในระดับอุดมศึกษา ตลอดจนแนวคิดในการบูรณาการพันธกิจ 4 ด้านของสถาบันการศึกษาเข้าด้วยกัน โดยนําเสนอในบทความเรื่อง “การตีพิมพ์บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทความปริทัศน์” และบทความ เรื่อง “การจัดกิจกรรม/โครงการเพื่อบูรณาการพันธกิจ 4 ด้านของสถาบันอุดมศึกษากับการจัดการเรียนการสอน” และเนื้อหาในส่วนที่ 2 ว่าด้วย “แหล่งตีพิมพ์ผลงานวิชาการทางมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ (สถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ) ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในวงวิชาการ” ที่รวบรวมแนวข้อมูลเบื้องต้นของวารสาร ต่างๆ ตลอดจนแนวทางการจัดทําบทความ ระบบการอ้างอิง และเอกสารประกอบต่างๆ ที่กําหนดโดยวารสาร ต่างๆ ไว้ให้ผู้อ่านสามารถนําใช้ประโยชน์ได้โดยตรง อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รองคณบดีฝ่ายวางแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การตีพม ิ พ์บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทความปริทัศน์ อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ รองคณบดีฝ่ายวางแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กล่าวนํา ในสถานการณ์ ปัจจุบัน อาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้น มีพันธกิจที่ต้องปฏิบัติ นอกเหนือไปจากการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายแล้ว อาจารย์ ยั งมี ห น้ าที่ ต ามพั น ธกิ จ อี ก 3 ส่ วน คื อ “การวิ จั ย ” “การบริก ารวิ ช าการสู่ ส าธารณะ” และ “การทํ านุ บํ ารุ ง ศิลปวัฒนธรรม” ทั้งนี้ไม่อาจจะปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจนั้นอย่างแยกส่วนจากกันได้ หากจะต้องนําพันธกิจทั้ง 4 ภาคส่วนมาบูรณาการเข้าด้วยกัน เพื่อให้กิจกรรมแต่ละประเภทส่องทางแก่กัน เติมเต็มองค์ความรู้ของกันและกัน ตลอดจนช่วยแก้ปัญ หาในบางประเด็นที่มีความซับซ้อนสูง ซึ่งหากแยกปฏิบัติเป็นพันธกิจเดี่ยวๆ นั้นจะไม่อาจ สร้างสรรค์ให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถ และใช้ทักษะในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีความซับซ้อนสูงได้ ซึ่งหาก บัณฑิตประสบกับภาวะไม่อาจจะทํางานหรือใช้ชีวิตนอกสถาบันการศึกษาได้จริง ย่อมเป็นภาพสะท้อนของความ ล้มเหลวของการจัดการเรียนการสอนโดยตรง อย่างไรก็ดี พันธกิจที่ดูจะมีบทบาทสูงมากขึ้นเมื่ออาจารย์ผู้สอนต้องทําหน้าที่สอน ควบคุมวิทยานิพนธ์ ตลอดจนการเป็นอาจารย์ประจําหลักสูตร และผู้รับผิดชอบหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาก็คือ “พันธกิจด้านการ วิ จั ย ” เนื่ อ งจากการเรี ย นการสอนในระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษานั้ น มุ่ งเป้ า เพื่ อ จะสร้ า งนั ก วิ ช าการ หรื อ ผู้ มี ค วามรู้ ความสามารถชั้นสูงที่ใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ตามกระบวนการใช้หลักเหตุและผลซึ่งเรียกกันว่า “การวิจัย” ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเขียนทางวิชาการประเภทหนึ่ง
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ทั้ งนี้ การเขี ย นงานทางวิ ช าการนั้ น อาจจํ า แนกออกเป็ น ประเภทได้ ดั งต่ อ ไปนี้ คื อ “รายงานวิ จั ย ” “หนังสือ” “ตํารา” “โปสเตอร์นําเสนองาน” “บทความวิจัย” “บทความวิชาการ” “บทความปริทัศน์” เป็นต้น ซึ่งมีช่องทางในการนําเสนอด้วยการตีพิมพ์ในวาสารวิชาการ หรือการประชุมวิชาการ เป็นต้น ซึ่งถือข้อเขียนทาง วิชาการนั้นเป็นการสื่อสารองค์ความรู้หรือข้อค้นพบจากเทคนิควิทยาในการวิจัยไปสู่ชุมชนวิชาการ และผู้ที่คาดว่า จะได้นําผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ข้อเขียนทางวิชาการที่ถูกผลิตขึ้นมานั้นก่อนที่จะ เผยแพร่ย่อมต้องมีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ และความน่าเชื่อถือก่อนเผยแพร่ผลงานดังกล่าวสู่สาธารณะ ซึ่ง ในบทความนี้ จะเน้นเฉพาะ “บทความวิชาการ” “บทความวิจัย” และ “บทความปริทัศน์” ซึ่งถือว่าเป็นข้อเขียน ทางวิชาการที่มีอิทธิพลต่อสังคม และมีผลกระทบต่อวงวิชาการ และมีความทันสมัยมากกว่าข้อเขียนทางวิชาการ ประเภทอื่นๆ
“บทความวิชาการ” “บทความวิจัย” และ “บทความปริทัศน์” คืออะไร “บทความวิชาการ (Article)” เป็นการเขียนเพื่อนําเสนอทางวิชาการในลักษณะการเขียนแบบ “ความ เรียง” หรือที่เรียกว่าเป็น “ร้อยแก้ว” อย่างไรก็ดี บทความวิชาการจะมีความแตกต่างไปจากเรียงความ กล่าวคือ ในการเขียนเรียงความอาจเขียนขึ้นบนทัศนคติหรือความคิดเห็นของผู้เขียนโดยไม่กล่าวอ้างถึงกรอบความคิดหรือ ทฤษฎีใดๆ ในขณะที่บทความวิชาการนั้นมีเป้าหมายสําคัญ เพื่อมุ่งให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง หรือหากเป็นการ คาดการณ์หรือการพยากรณ์ก็จะต้องเกิดขึ้นจากการศึกษาปัจจัยแวดล้อมอย่างลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นในการกล่าว แสดงความคิดเห็นของผู้เรียบเรียงมีความจําเป็นต้องแสดงให้เห็นประจักษ์หลักฐานที่สนับสนุนให้เกิดการสรุปผล เช่นนั้น ซึ่งอาจเป็นการอ้างถึงกรอบความคิด ทฤษฎี ตลอดจนการศึกษาที่ผ่านมาที่มีลักษณะเป็น “หลักฐานเชิง ประจักษ์ (Empirical Evidence)” ทว่าต้องมีการเรียบเรียงอย่างมีกลเม็ดที่ทําให้การให้ข้อมูลนั้นหนักแน่นทว่า กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันตลอดบทความ ทั้งนี้บทความวิชาการนั้นเกิดขึ้นจากประเด็นหรือความสนใจของผู้เรียนเรียงที่ชัดเจน และไม่จําเป็นต้อง เป็นบทความที่สรุปผลจากโครงการศึกษาวิจัย แต่ต้องเขียนขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลจากการ สั ง เกต หรื อ การทบทวนความรู้ ด้ ว ยวิ ธี ก ารต่ า งๆ ทั้ ง นี้ ต้ อ งเป็ น การรายงานข้ อ มู ล ที่ เป็ น ข้ อ เท็ จ จริ ง โดยมี กระบวนการศึกษาที่น่าเชื่อถือ และมีเหตุผล มีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ประมวลมาสู่กรอบความคิดในการเรียบ เรียง ขั้นตอนการศึกษาตั้งแต่การระบุความสําคัญของปัญหาหรือที่มาของการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งการ สังเกตและการทดลอง การสร้างและทดสอบสมมติฐาน และการสรุปผลต้องมีกระบวนการและระเบียบวิธีใน การศึกษาที่รัดกุม
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สําหรับโครงสร้างของเนื้อหาของบทความวิชาการนั้นจะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนกล่าวนํา ส่วน เนื้อหา แลส่วนสรุปผล ซึ่งในส่วนที่เป็นเนื้อหานั้นประกอบไปด้วยเนื้อหาที่จัดเป็นหมวดหมู่กว้างๆ ได้ดังนี้ คือ ความเป็นมา หรือความสําคัญ ของบทความ วัตถุประสงค์ของบทความ วิธีดําเนินการศึกษา และผลการศึกษา อย่างไรก็ตาม ในส่วนเนื้อหานี้ก็ไม่มีวิธีการเขียนที่แน่นอนตายตัว หากแต่ต้องมีการให้ข้อมูลต่อผู้อ่านอย่างมีลําดับ ขั้นตอน จากข้อมูลพื้นฐานที่เรียบง่าย จนเข้าสู่วิธีการศึกษา และผลการศึกษาที่มีความซับซ้อนขึ้น ทั้งนี้ สามารถ แทรกรูปภาพ แผนภูมิ หรือตารางสรุปข้อมูลต่างๆ ลงในเนื้อหาส่วนนี้ได้เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านมากขึ้น นอกจากนี้ ในการเขียนบทความวิชาการยังจําเป็นต้องเรียบเรียงด้วยภาษาที่เป็นทางการ ถูกหลักไวทยา กรณ์ 1 และจําเป็นต้องมีการเรียบเรียงอย่างมีกลเม็ดวิธีที่ จะทําให้บทความวิชาการที่มีความยาวไม่ มากนักนั้น สามารถสื่อสารใจความสําคัญไปยังผู้รับสารได้อย่างไม่คลาดเคลื่อน นอกจากนี้ กระบวนการเสนอเพื่อขอรับการ ตีพิมพ์นั้นต้องมีการตรวจประเมินความถูกต้อง และความสมเหตุสมผลโดยผู้ทรงคุณ วุฒิที่มีความเชี่ยวชาญใน สาขาวิชาเดียวกัน หรือสาขาวิชาที่มีความสอดคล้องกัน “บทความวิจัย (Research Article)” ถือว่าเป็นผลลัพธ์ที่กลั่นออกมาจากงานวิจัยอย่างลึกซึ้ง กล่าวคือ ใน การพัฒ นาองค์ความรู้ทางวิชาการของศาสตร์ต่างๆ จําเป็นต้องทําการวิจัยเพื่ อพัฒ นาองค์ความรู้เหล่านี้ ทั้งนี้ งานวิจัย อาจถูกจัดกลุ่มออกได้ตามเป้าประสงค์ และผลลัพธ์ปลายทางของงานวิจัย อาทิ “งานวิจัยเพื่อความเป็น เลิศทางวิชาการ” “งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ” “งานวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม และชุมชน” และ “งานวิจัย เพื่อกําหนดหรือปรับปรุงนโยบาย” คุณลักษณะของงานวิจัยที่ถูกจัดหมวดหมู่ข้างต้นนั้นมีฐานคิดเรื่องการผลักดัน ให้เกิดการใช้ประโยชน์งานวิจัยเป็นสําคัญ อย่างไรก็ดี ในการทําวิจัยของอาจารย์ผู้สอนในระดับอุดมศึกษานั้นส่วน ใหญ่เป็นงานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งแม้ว่าจะมีผลกระทบต่อสังคมน้อย แต่ทว่าก็ได้ช่วยพัฒนาความ เข้มแข็งของศาสตร์ต่างๆ มากขึ้น จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการวิจัยจึงเป็นสิ่งจําเป็นสําคัญในการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ผู้สอน ในระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาทั้ ง ทางตรง คื อ การพั ฒ นาองค์ ค วามรู้ และทางอ้ อ มก็ คื อ การสร้ า งความคุ้ น ชิ น ต่ อ กระบวนการตัดสินใจโดยการชั่งน้ําหนักเหตุผล ซึ่งนําไปสู่การแก้ปัญ หาได้หลากมิติ ซึ่งย่อมส่งโดยตรงต่อการ พัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้มีความลุ่มลึกทางวิชาการต่อไป อย่ างไรก็ ดี ผลงานการวิจัย หรือรายงานการวิจัย ฉบั บ สมบู รณ์ ถือเป็ นเอกสารที่ มี ค วามจํากัดในการ เผยแพร่ไปยังแวดวงวิชาการ ตลอดจนสังคมได้อย่างไม่กว้างขวางนัก เนื่องจากขนบในการเขียนรายงานวิจัยจะต้อง แสดงให้เห็นกระบวนวิธีในการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่การทบทวนสารสนเทศที่เกี่ยวเนื่องเพื่อ ศึกษาให้เห็นถึงสถานภาพการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรง และประเด็นที่มีความสัมพันธ์ เพื่อนําไปสู่การ หาช่องโหว่ หรือรอยแหว่งวิ่นของสถานภาพการศึกษาที่ผ่านมา เพื่อให้งานวิจัยที่กําลังจะเริ่มต้นนั้นสามารถเติมเต็ม 1
Smyth, T.R. (2004). The Principle of Writing in Psychology. New York: Palgrave Macmillan.
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ความรู้ในวงวิชาการด้านต่างๆ ให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น นอกจากการประมวลสถานภาพการศึกษาแล้ว ยังมีการ วิจัยบางประเภทที่เริ่มตั้งต้นจากการตั้งสมมติฐานโดยการใช้ทฤษฎีมาเพื่อเป็นแกนหลักในการอธิบายปรากฏการณ์ ต่างๆ ว่าเป็นไปตามที่ทฤษฎีนั้นกล่าวไว้ หรือเป็นไปในทางที่ตรงกันข้ามกับทฤษฎีซึ่งต่างก็ช่วยขยับขยายเพดาน ความรู้ให้สูงขึ้นทั้งสิ้น นอกจากนี้ ระเบียบวิธีในการทดลองและวิจัยเพื่อทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์ถึง ความสอดคล้อง หรือความแตกต่างของผลลัพธ์จากการวิจัย ทั้งหมดทั้งมวลนี้จําต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน และ เป็นหลักวิชาการในเล่มรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ด้วยรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้นจึงทําให้ รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ไม่ตอบโจทย์ในการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยไปสู่สาธารณชน ตลอดจนวง วิชาการได้กว้างขวาง เพราะฉะนั้น บทความวิจัย ที่ดูว่าจะมีโครงสร้างเช่นเดียวกันกับบทความวิชาการ แต่ในความเป็นจริงแล้ว แหล่งวัตถุดิบที่นํามาเรียบเรียงเขียนเป็นบทความนั้นจะได้มาจากประสบการณ์ตรง ข้อมูลบางส่วน หรือผลลัพธ์ ของโครงการวิจัยที่ ผู้เขียนนั้นเป็นผู้ดําเนิ นการเอง หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นผลลัพธ์ของงาน “วิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical Research)” เพราะฉะนั้ น สิ่ งที่ บ ทความวิจั ย เสนอนั้ น คื อ “ข้ อ เท็ จ จริ ง (Fact)” ไม่ ใช่ เป็ น เพี ย ง “ข้อคิดเห็น (Opinion)” ส่วนตัวที่มีต่องานศึกษานั้น2 และมิได้เป็นแต่เพียงการประมวลข้อมูลจากแหล่งต่างๆ หรือ ข้อสังเกตที่ปราศจากโครงการวิจัยที่ตนเองดําเนินการรองรับเช่น บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์ นอกจากนี้ ในการกระบวนการขอตําแหน่งวิชาการตามเกณฑ์ที่กําหนดให้นั้นเน้นให้เห็นถึงความสําคัญ ของการวิจัย แต่ทว่า ยังบ่งชี้ว่ามีการทํางานวิจัยแต่เพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่ครบตามกระบวนการ หากแต่งานวิจัยที่ ใช้ประกอบการขอตําแหน่งทางวิชาการของผู้วิจัยนั้นต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะของบทความวิจัยในเวที ประชุมวิชาการ หรือวารสารวิชาการอีกด้วย “บทความปริทัศน์ (Review Article)” เป็นรูปแบบหนึ่งของข้อเขียนทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นจากการ ทบทวนสารสนเทศที่ผ่านมาที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรง และประเด็นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งที่จะ ทําวิจัย เพื่อมุ่งให้เกิดการสังเคราะห์ข้อมูลเป็น “สถานภาพของการศึกษา” เพื่อนําไปสู่การต่อยอดในการศึกษาใน ประเด็นดังกล่าวเชิงลึก รวมไปถึงการหาช่องว่างที่มีอยู่จากการศึกษาที่ผ่านมาว่าสถานภาพความรู้ล่าสุด ณ ขณะที่ ทําการทบทวนสารสนเทศนี้มีลักษณะเป็นเช่นไร อันจะนําไปสู่การหลีกเลี่ยงในประเด็น หรือพื้นที่ศึกษาที่ทับซ้อน การศึกษาที่ผ่านมา ซึ่งจะทําให้ผลงานวิจัยไม่เป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือการค้นพบใหม่ ที่จะทําให้การศึกษาวิจัย สูญเสียเวลาไปโดยใช่เหตุ จากลักษณะของการทบทวนสารสนเทศที่หลากหลายแต่มีประเด็นที่กํากับไว้ดังกล่าวนั้น จึงทําให้บทความประเภทนี้มีคุณลักษณะของการเป็น “บทความเชิงสํารวจ (Survey Article)”
2
Bem, D.J. (1987). Writing the Empirical Journal Article. In M.P. Zanna & J.M. Darley (Eds.). The Complete Academic: A Practical Guide for the Beginning Social Scientist. New York: Random House. pp.171-201.
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ทั้งนี้ การเขียนบทความปริทัศน์จึงเกิดจากการทบทวนสารสนเทศที่เกี่ยวข้องใน 2 รูปแบบ คือ “การ ทบทวนการวิ จั ย ที่ ผ่ า นมา” เนื่ อ งจากผลลั พ ธ์ ข องการวิ จั ย นั้ น จะมี ลั ก ษณะเป็ น “สารสนเทศเชิ ง ประจั ก ษ์ (Empirical Literature)” รูปแบบที่ 2 คือ “การทบทวนทฤษฎี (Theoretical Literature)” ซึ่งจะทําให้ทราบถึง กรอบความคิด และตัวแปรต่างๆ ที่ต้องคํานึงถึง รวมไปถึงการพัฒ นาข้อสันนิษฐาน หรือสมมติฐานจากกรอบ ความคิดทฤษฎีได้ นอกจากนี้ บทความปริทัศน์ยังให้ความสําคัญต่อการเสนอ และวิพากษ์เอกสารอ้างอิงต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจสามารถติดตามค้นคว้าต่อไปได้
ความจําเป็นเร่งด่วนในการทําวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัย จากร่างเกณฑ์ การประกันคุ ณ ภาพภายในระดับอุ ดมศึกษา ปี การศึกษา 2557 นั้น จะเห็นได้ว่า แนว ทางการประเมินนั้นได้จําแนกการประเมินออกเป็น 3 ส่วน คือ การประเมินระดับสถาบัน การประเมินระดับคณะ วิชา และการประเมินในระดับหลักสูตร ซึ่งการประเมินที่ผ่านมานั้นยังไม่ได้ลงรายละเอียดในระดับหลักสูตร ทํา ให้ผลการประเมินทั้งหมดใช้ผลการประเมินในระดับคณะวิชาในการถัวเฉลี่ยผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดต่างๆ แต่สําหรับ การประกั น คุ ณ ภาพรอบใหม่ ที่ กํ า ลั ง จะมาถึ ง ซึ่ ง เน้ น การประกั น ระดั บ หลั ก สู ต ร จึ งทํ าให้ เห็ น ว่ า สํ า นั ก งาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาให้สําคัญต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ตัวบ่งชี้มาตรฐานที่ กํากับให้ทุกหลักสูตรต้องดําเนินการ และรับการประเมินมีจํานวน 12 ข้อ ซึ่งแม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องเรื่องจํานวน บทความที่ ได้ รับ การเผยแพร่ แต่ ท ว่าให้ ค วามสํ าคั ญ กับ คุณ สมบั ติ ข องอาจารย์ป ระจํ าหลั กสู ตร และอาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรนั้นก็สัมพันธ์กับผลงานวิชาการโดยตรง นอกจากนี้ ในตัวบ่งชี้พัฒ นาที่กําหนดไว้ทั้งสิ้น 13 ตัวบ่งชี้ ซึ่งมีตัวบ่งชี้ที่สัมพันธ์กับการตีพิมพ์ผลงาน วิชาการของอาจารย์ทั้งโดยตรง และโดยอ้อม จํานวน 3 ตัวบ่งชี้ อาทิ ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ร้อยละของอาจารย์ประจํา สังกัดหลักสูตรที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ, ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจําสังกัดหลักสูตร และ ตัวบ่งขี้ที่ 1.5 จํานวนบทความของอาจารย์ประจําหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิงในวารสารระดับชาติหรือ นานาชาติต่อจํานวนอาจารย์ประจําหลักสูตร นอกจากตั ว บ่ งชี้ ที่ กํ ากั บ เกณฑ์ ป ระกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาดั งที่ ก ล่ า วไปแล้ ว นั้ น ยั งให้ ค วามสํ าคั ญ ใน รายละเอียดของ “อาจารย์ผู้สอน” “อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ” “อาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์ร่วม” และ “อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์” นั้นต่างถูกกําหนดให้มีผลงานวิจัยทั้งสิ้น ซึ่งหากไม่มีงานวิจัย ย้อนหลังไป 5 ปี จะไม่สามารถดํารงตําแหน่งใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้นได้ ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของ หลักสูตร และนําไปสู่การไม่อนุญาตให้รับนักศึกษาจนกว่าจะปรับปรุงให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการประกัน คุณภาพ
ช่องทางในการนําเสนอบทความวิชาการ การนําเสนอผลงานวิชาการประเภทต่างๆ อาทิ บทความวิชาการ บทความวิจัย บทความปริทัศน์ และ แม้แต่โปสเตอร์นําเสนอผลงาน มีพื้นที่ในการนําเสนอผลงานใน 2 แนวทาง คือ “การนําเสนอผลงานในเวทีการ
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ประชุ ม วิ ช าการ ซึ่ ง มี ทั้ ง ระดั บ ชาติ และระดั บ นานาชาติ ” และ “การนํ า เสนอเพื่ อ ขอรั บ การตี พิ ม พ์ ใ น วารสารวิชาการ ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ” แต่อย่างไรก็ตาม พื้นที่ในการเสนอผลงาน และการตีพิมพ์ใน รูปแบบต่างๆ นั้นจะให้ค่าน้ําหนักในสัดส่วนไม่เท่ากัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ แหล่งเผยแพร่ บทความวิจัย หรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม วิชาการระดับชาติ บทความวิจัย หรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม วิชาการระดับนานาชาติ หรือในวารสารระดับชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลตามประกาศ กพร. แต่ สภาสถาบันอนุมัติและประกาศ
ค่าน้ําหนัก 0.2
บทความวิจัย หรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐาน TCI กลุ่มที่ 2
0.6
บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ใน ฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลนอกเหนือจากฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามระเบียบ คณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วย หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสําหรับการ เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ.2556 หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏใน ฐานข้อมูล TCI (กลุ่มที่ 1) ผลงานได้รับการจดอนุสิทธิบัตร บทความวิจัยหรือบทความวิชาการมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏใน ฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์การ พิจารณาวารสารทางวิชาการสําหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2556 ผลงานได้รับการจดสิทธิบัตร
0.8
ผลงานวิชาการรับใช้สังคมทีผ่ ่านการประเมินตําแหน่งทางวิชาการแล้ว
1
ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างดําเนินการ
1
ตําราหรือหนังสือที่ผ่านการประเมินตําแหน่งทางวิชาการแล้ว
1
ตําราหรือหนังสือที่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์การประเมินตําแหน่งทางวิชาการแต่ไม่ได้ นํามาขอรับการประเมินตําแหน่งทางวิชาการ
1
0.4
0.8 1
1
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่า ประเภทของผลงาน และช่องทางในการเผยแพร่มีความสําคัญอย่างมากต่อ ค่าน้ําหนักของบทความ ตัวอย่างเช่น เมื่อพัฒนาบทความวิจัย หรือบทความวิชาการภาษาไทย และนําไปนําเสนอ ในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ 1 บทความ จะได้ค่าน้ําหนักเพียง 0.2 ในขณะเดียวกัน หากนําบทความดังกล่าวไป เสนอเพื่อตีพิมพ์และได้รับการคัดเลือกให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติที่อยู่ในฐาน TCI กลุ่ม 2 จะได้ค่าน้ําหนักเป็น 0.6 หรือหากเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 นั้นจะได้ค่าน้ําหนักถึง 0.8 เลยทีเดียว นอกจากนี้ ตามจรรยาบรรณทางวิชาการแล้ว ผู้แต่งหรือเรียบเรียงผลงานทางวิชาการประเภทบทความ ไม่สามารถนําบทความเดียวกันไปตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ได้หลายช่องทาง คงจําเป็นต้องเลือกเพียงช่องทางใดช่องทาง หนึ่งเท่านั้น ในการนี้ การพิจารณาถึงเงื่อนไข และคุณลักษณะของแหล่งที่จะไปเผยแพร่ด้วย จะทําให้ผลงานที่ทํา มานั้นเกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการและเกิดประโยชน์ต่อผู้เขียน ตลอดจนหลักสูตร และต้นสังกัดของผู้เขียนมากขึ้น ตามไปด้วย
ค่าดัชนีผลกระทบการอ้างอิง (Journal Impact Factor, JIF) “ค่าดัชนีผลกระทบการอ้างอิง (Journal Impact Factor, JIF)” เป็นค่าดัชนีเชิงปริมาณในการวัดคุณภาพ ของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากสมมติฐานที่ว่า บทความที่มีคุณภาพย่อมส่งผล กระทบต่อสังคม และการศึกษาที่เกี่ยวเนื่อง โดยจะปรากฏเป็นประจักษ์เมื่อมีบทความใดบทความหนึ่งได้นําความรู้ หรื อข้ อค้ น พบที่ นํ าเสนอไว้ ในบทความไปอ้ างอิ ง หรื อต่ อยอด ทั้ งนี้ มี วิ ธี การคํ านวณค่ า JIF ดั งนี้ คื อ สํ าหรั บ วารสารวิชาการภายในประเทศ โดยมุ่งเน้นรายงานปริมาณการถูกอ้างอิง และความไวหรือความเร็วของบทความหนึ่งๆ ในวารสารที่ถูกนําไปอ้างอิงในปีเดียวกันกับที่บทความนั้นลงพิมพ์ในวารสารวิชาการในประเทศ โดยใช้วิธีการคํานวณ ตามหลักการของ Institute for Scientific Information (ISI)3 ทั้งนี้ หากมีการตีพิมพ์บทความในวารสารที่มีช่องทางในการสื่อสารต่อสังคมวิชาการ และสาธารณะที่ กว้างขวางย่อมส่งผลต่อการอ้างอิงต่อเนื่อง ตลอดจนผู้เขียนบทความซึ่งทําหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้สอน และผู้ควบคุม วิทยานิพนธ์ และมีการทําวิจัยอย่างต่อเนื่อง เมื่อข้อค้นพบหรือองค์ความรู้ใหม่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการย่อมได้รับ การอ้างอิงต่อเนื่อง และเป็นฐานความคิด และกรอบทฤษฎีในการทําวิจัยในวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา และเมื่อ นักศึกษาทําวิจัยในวิทยานิพนธ์เป็นที่เสร็จสิ้นแล้ว ก็มีความจําเป็นต้องนําผลลัพธ์ของการวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ย่อมมี การอ้างอิงผลงานของอาจารย์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้วก็ทําให้ค่าดัชนีผลกระทบการอ้างอิงของบทความนั้นสูงมาก ขึ้นด้วย
3
ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย เข้าถึงจาก http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/history.html วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สรุป ในสภาวการณ์ ปั จ จุ บั น ของโลกเสรี ที่ ให้ ค วามสํ าคั ญ ต่ อ การแข่ งขั น ในทุ ก มิ ติ ไม่ เว้ น แม้ แ ต่ วงวิช าการ ยังผลให้แวดวงวิชาการต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ตามกระแสโลกภิวัฒน์ นอกจากนี้ การศึกษาดูจะเป็นเพียงอย่างเดียวที่ทําให้มนุษย์ทุกคนเติบโตทางความคิดอันจะนําไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม วัฒนธรรมต่างๆ ให้เจริญงอกงามไปด้วย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่ผู้คนทั้งสังคมจับตามอง การเป็นอาจารย์ในสถาบันระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันจึงมิได้เพียงแต่ทําการสอนหนังสือเพียงอย่างเดียว อี ก ต่ อ ไป หากแต่ ต้ อ งทํ า พั น ธกิ จ อี ก 3 ด้ า น คื อ การวิ จั ย การบริ ก ารวิ ช าการสู ส าธารณะ การทํ า นุ บํ า รุ ง ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งพันธกิจดังกล่าวมานั้นก็ไม่อาจทําอย่างโดดเดี่ยวได้อีกต่อไป แต่ต้องนําทุกพันธกิจมาบูรณาการ เข้าหากัน โดยมีเป้าหมายในการสร้างบัณฑิตที่รู้รอบ รู้ลึก และรู้จริง สามารถออกไปเผชิญปัญหาและแก้ไขปัญหา ต่างๆ ที่จะประสบพบเจอได้ด้วยทักษะ และวิชาการ พันธกิจที่สําคัญที่สุดของการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา คือ การทําการวิจัย เนื่องจากการวิจัยจะนําพา ไปสู่การสํารวจสถานภาพความรู้ของตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อนําพาไปสู่การตั้งคําถาม การตั้งสมมติฐานเพื่อพัฒนา องค์ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งความรู้เหล่านั้นก็จะเป็ นประโยชน์อย่างสูงยิ่งต่อการเรียนการสอนในระดับบัณ ฑิตศึกษา นอกจากนี้ การสํารวจสถานภาพการศึกษายังทําให้ทราบสถานการณ์ด้านต่างๆ ในสังคมว่ากําลังประสบปัญหาเรื่อง ใด หรือต้องการอะไร ข้อมูลดังกล่าวนํามาสู่การพัฒนาโจทย์การเรียนการสอนแบบปัญ หาเป็นฐาน (Problem base learning) อั น จะเป็ น การฝึ ก ปฏิ บั ติ ห ลั ก การใช้ ต รรกะเหตุ ผ ลในการวิ นิ จ ฉั ย และแก้ ปั ญ หาเรื่ อ งต่ า งๆ นอกจากนี้ เมื่อทําการวิจัยสําเร็จเสร็จสิ้นแล้วก็ยังมีความจําเป็นที่ จะต้องผลิตบทความวิชาการ บทความวิจัย บทความปริทัศน์ เพื่อนําเสนอข้อมูล และข้อค้นพบอันเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยสู่สาธารณชนเพื่อยังประโยชน์ให้ กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะทําได้ และคัดเลือกแหล่งเผยแพร่ที่เหมาะสมที่สุดก็จะสร้างประโยชน์สูงสุดในมิติต่างๆ ของ บทความที่ลงทุนลงแรงเขียน นอกเหนือจากความเป็นเลิศทางวิชาการจากการค้นพบ
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การจัดกิจกรรม/โครงการเพือ ่ บูรณาการพันธกิจ 4 ด้าน ของสถาบันอุดมศึกษากับการจัดการเรียนการสอน อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ รองคณบดีฝ่ายวางแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ การจัดการจัดการเรียนการสอน และการผลิตบัณฑิตของสถาบันการศึกษาในปัจจุบันอยู่ภายใต้การจับตา และความคาดหวังของสังคม ในฐานะของหน่วยงานสําคัญที่จะทําให้ทิศทางของสังคมเดินไปสู่อนาคตเช่นไร ยั่งยืน หรือไม่ บนพื้นฐานของปัญหาที่ซับซ้อนและแหลมคมนับเท่าทวีคูณ ตลอดจนภาวะคับขันเรื่องความไม่สมดุลของ ทรัพ ยากรด้ านต่ างๆ ที่ มี ล ดน้ อยถอยลงตรงกัน ข้ามกับ จํานวนประชากรที่ เพิ่ ม ขึ้ น เป็ น เท่ าทวีคู ณ การจั ด การ การศึ ก ษาอย่ า งมี คุ ณ ภาพจึ งเป็ น ความสํ าคั ญ และต้ อ งสามารถแสดงข้ อ มู ล หลั ก ฐาน และความรั บ ผิ ด ชอบ (accountability) ให้สังคมตรวจสอบผลการดําเนินการได้อย่างโปร่งใส การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นเกณฑ์ ที่ออกมาเพื่อทําการรับรองการจัดการการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งทั้งนี้มีความคาดหวังใน 3 ประเด็นหลัก คือ (1) คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ในฐานะพลเมืองและพลโลก, (2) แนวทางการจัดการศึกษา, (3) แนวการสร้าง สังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ ทั้งนี้ ในการจัดกิจกรรม หรือโครงการที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาจึงมีความจําเป็นที่ต้อง “บูรณาการ” พันธกิจของสถาบันการศึกษา และคณาจารย์ ทั้ง 4 ด้าน คือ “การจัดการเรียนการสอน” “การวิจัย” “การบริการ วิชาการ” และ “การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม” เพื่อการผสานกิจกรรมต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน แล้วทําให้เกิดผลลัพธ์ที่แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์แบบ ครบถ้วนสมบูรณ์ อีกทั้งเป็นการลดความซ้ําซ้อนใน กิจกรรมที่ต้องทําให้น้อยลงแต่เกิดประโยชน์ ในลักษณะองค์รวมมากขึ้น และบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒ นา บัณฑิตที่พึงประสงค์ต่อไป คําสําคัญ: การบูรณาการ, พันธกิจ, การจัดการเรียนการสอน, การวิจัย, การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม, การบริการ วิชาการ
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ที่มา และความสําคัญของปัญหา ในการพัฒ นาสังคมให้มีความเจริญ อย่างยั่งยืนนั้น มีปัจจัยแวดล้อมหลายประการที่ต้องดําเนินการไป พร้อมๆ กัน และปัจจัยที่สําคัญที่สุดประการหนึ่ง และเป็นตัวจักรที่สําคัญของการขับเคลื่อนสังคมในทุกๆ มิติ คือ “คุณภาพของประชากร” จึงทําให้การวางรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ และสอดคล้องกับ ความต้องการของสภาพสังคมทั้งในระดับชาติ และสากลนั้นสําคัญมาก อีกทั้งในภาวการณ์ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาใน สังคมมีความเปลี่ยนแปลงบริบทต่างๆ อย่างรวดเร็วในหลากมิติ ส่งผลให้บัณฑิตที่จะจบออกไปจากสถาบันนั้นมีทั้ง โอกาสที่จะสร้างความเจริญงอกงามให้แก่สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนเศรษฐกิจ แต่ในขณะเดียวกันหากการเตรียม ความพร้ อ มให้ แ ก่ บั ณ ฑิ ต ในช่ ว งเวลาที่ เป็ น นั ก ศึ ก ษามี ไม่ เพี ย งพอก็ ย่ อ มส่ ง ผลให้ เผชิ ญ ความเสี่ ย งจากการ เปลี่ยนแปลงมากขึ้น จากสถานการณ์ต่างๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงมีความจําเป็นต้องมีการพัฒนาการเรียนการ สอนให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ในขณะเดียวกันต้องมีความทันสมัย โดยเฉพาะการเข้าสู่ประชาคม อาเซียน จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า การจัดการเรียนการสอน และการผลิตบัณฑิตนั้นต้องสร้างบัณฑิตที่พึง ประสงค์ที่มีความพร้อมในการรับมือกับบริบทแวดล้อมที่มีความซับซ้อน และมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยทักษะการคิดวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมที่ต้องเผชิญ และสามารถกําหนดแนวทางการพัฒนาในระยะต่อไปที่อยู่ บนพื้นฐานศักยภาพของบริบทต่างๆ อย่างแท้จริง ในลักษณะบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกันโดยมุ่งหวังให้เกิด การตั้งประเด็นปัญหาที่เฉียบคม และมีมุมมองทั้งกว้างขวาง และลึกซึ้ง สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างรอบด้าน และลุ่มลึกมากขึ้น ตลอดจนสามารถประกอบอาชีพ และวิชาชีพในหน้าที่การงานของตนได้เป็นอย่างดี
กรอบความคิด และแนวทางที่ต้องปฏิบัติในการจัดการศึกษาในสถานการณ์ปัจจุบัน ในการบริ ห ารองค์ ก รต่ า งๆ ในปั จ จุ บั น ไม่ ได้ เป็ น ไปอย่ า งระบบราชการในอดี ต อี ก ต่ อ ไป เนื่ อ งจาก สภาวการณ์การแข่งขันที่สูงขึ้น ทั้งที่เป็นการแข่งขันกับผู้อื่น และการแข่งขันกับตนเองให้ก้าวข้ามข้อจํากัดสู่การ ค้นพบศักยภาพที่กว้างขวาง และลึกซึ้งมากขึ้น อีกทั้งทรัพยากรต่างๆ มีความจํากัดมากขึ้นทั้งในเชิงปริมาณ และใน เชิงคุณภาพ แต่ทว่าจํานวนประชากรที่เพิ่มกลับมีมากขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ เพราะฉะนั้นการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเท่านั้นจะเป็นทางออกของสังคมในอนาคต องค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการการศึกษาก็เช่นกันที่ตกอยู่ในสภาวะเช่นเดียวกันกับองค์กรอื่นๆ แต่ทว่า มีภาระที่มากกว่าอันเป็นผลมาจากความคาดหวังของสังคม กล่าวคือ ยิ่งสังคมประสบปัญหาที่มากขึ้นและหนักขึ้น มากเท่าไร นั่ นย่อมหมายถึงว่าองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการศึกษาที่ทําหน้าที่ดูแลพันธกิจด้านการพั ฒ นา คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์นั้นยิ่งต้องทําหน้าที่ให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นอีกเท่าทวีคูณ ในการวางแผนการดําเนินการให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ของสังคมโดยรวม เพื่อให้กิจการงานในหน้าที่ ต่างๆ ดําเนินไปอย่างมีเป้าหมายนั้น “กรอบความคิดในการบริหารจัดการ” จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสําคัญ ทั้งนี้ ใน การวางแผนการปฏิบัติงานด้านต่างๆ จึงมีความจําเป็นต้องทําความเข้าใจ “วิสัยทัศน์” ในฐานะของสิ่งที่ถูกกําหนด ว่าจะต้องเป็นไปในอนาคต เพื่อการ “วางแผนเชิงรุก” หรือที่เรียกว่า “ยุทธศาสตร์” ที่มี “เป้าประสงค์” กํากับ
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ควบคุ ม การดํ าเนิ น การที่ นํ าไปสู่ก ารวางแผน “กิจกรรม” หรือ “โครงการ” เพื่ อ การประเมิ น ผลย้อ นกลั บ ว่า “กิจกรรม” หรือ “โครงการ” นั้นสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ทําให้วิสัยทัศน์ที่ถูกกําหนดว่าต้องเป็นไปในอนาคตนั้นเป็น ความจริงได้หรือไม่ และจะเป็นไปดั่งที่คาดการณ์นั้นเมื่อไหร่ ซึ่งการกําหนดวิสัยทัศน์นั้นต้องเป็นในลักษณะที่ “วิสัยทัศน์นั้นต้องสอดคล้อง และส่งเสริมพันธกิจ” เป็นหัวใจหลักสําคัญ ทั้งในการวางแผนการดําเนินการจําเป็นต้องสร้างกรอบแนวทาง และสร้างความเชื่อมโยงในหลากมิติ โดย อาศัยการทําความเข้าใจที่กําหนดไว้เป็นแนวทางในเอกสารต่างๆ ที่เป็นหัวใจหลักในการวางแผนพัฒนาประเทศ ดังต่อไปนี้ 1) “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ซึ่งในปัจจุบันเป็นแผนฉบับที่ 11 ที่วางแนวทางสําหรับ การพัฒนาประเทศในกรอบวาระ พ.ศ.2555-2559 ซึ่งมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่สังคมโดย ใช้แนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันมีความท้ายทายใหม่ และปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นจึงจําเป็นต้องสร้างความเชื่อมโยงให้หลากมิติ ทั้งทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทุนกายภาพ ทุนทางการเงิน และทุนทางวัฒนธรรมที่จะเชื่อมโยง กับทุนอื่นๆ เพื่อการพั ฒ นาสังคมและความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการสร้าง พันธมิตรการพัฒนาในประชาคมโลก โดยให้ความสําคัญกับการเสริมสร้างและการนําทุนของประเทศ ที่มีศักยภาพและความได้เปรียบด้านอัตลักษณ์ และคุณค่าของชาติให้เป็นฐานการพัฒนาประเทศที่ มั่นคงและสมดุล ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลและความสมานฉันท์ในทุกภาคส่วน และทุ ก ระดั บ 4 ซึ่ งอธิบ ายประเด็ น ยุ ท ธศาสตร์ และกิ จ กรรมที่ จ ะส่ งเสริ ม ให้ วิสั ย ทั ศ น์ ต่ างๆ ของ ประเทศนั้นเป็นไปตามที่วางแผน 2) “กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565)” ซึ่งมีเป้าหมายในการยกระดับ คุณภาพอุดมศึกษาไทย เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพสามารถปรับตัวสําหรับงานที่เกิดขึ้น ตลอดชีวิต พัฒนาศักยภาพอุดมศึกษาในการสร้างความรู้และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขัน ของประเทศในโลกาภิวัตน์ สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่นไทยโดยใช้กลไกของ ธรรมาภิ บาล การเงิน การกํากับมาตรฐาน และเครือข่ายอุดมศึกษา บนพื้ นฐานของเสรีภาพทาง วิชาการ ความหลากหลาย และเอกภาพเชิงระบบ” ซึ่งในเอกสารฉบับนี้ได้ให้รายละเอียดหลากหลาย มิติที่สถาบันอุดมศึกษาต้องนํามาใช้ในการวางแผน และเพื่อการปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการ ขอยุ ค สมัย และปั จจั ยแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก้าวสู่ สังคมสู งอายุ ตลอดจนนโยบายการ อุดหนุนการศึกษาของรัฐที่ปัจจุบันได้มุ่งเป้าไปที่นักศึกษาสายอาชีวะเป็นหลัก อันจะทําให้ในอนาคต อันใกล้นี้ตัวเลขจํานวนของผู้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาจะน้อยลง ซึ่งในการจัดการเรียนการสอน ต้องมีแผนในการรับมือปัญหาที่จะเกิดขึ้นมาจากจํานวนนักศึกษาที่ลดน้อยลง เป็นต้น 4
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. 2553. หน้า ช.
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
3) “แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย/สถาบัน” เป็นส่วนหนึ่งของการวางแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อสร้าง บัณ ฑิ ตที่พึงประสงค์ตามความคาดหวังของมหาวิทยาลัย และวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งจาก นโยบายต่างๆ ซึ่งคณะวิชาต้องรับสนองนโยบาย วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ จากระดับชาติ และ องค์กร เพื่ อขับเคลื่อนให้ เกิดกิจกรรมทางวิชาการด้านการเรียนการสอน การวิจัย การทํานุบํารุง ศิลปวัฒนธรรม และการบริการวิชาการสู่ชุมชน เพื่อสร้างบัณฑิตสู่สังคม ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการ พัฒนาวิชาชีพ อันจะนําไปสู่การส่งเสริมศักยภาพในการพัฒนาประเทศ และประชาคมอาเซียนต่อไป 4) “นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559” โดยมีวิสัยทัศน์การวิจัยของชาติ(พ.ศ. 2555-2559) คือ “ประเทศไทยมีและใช้งานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน” และมี พั น ธกิ จ คื อ “พั ฒ นาศั ก ยภาพและขี ด ความสามารถในการวิจัย ของประเทศให้ สู งขึ้ น และสร้าง ฐานความรู้ที่มีคุณค่าสามารถประยุกต์และพัฒนาวิทยาการที่เหมาะสมและแพร่หลายรวมทั้งให้เกิด การเรียนรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะตลอดจนเกิด การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้ทรัพยากรและเครือข่ายวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม”5 ซึ่งกําหนดยุทธศาสตร์การวิจัย 5 ด้าน คือ 1. การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทาง สั ง คม, 2. การสร้ า งศั ก ยภาพและความสามารถเพื่ อ การพั ฒ นาทางเศรษฐกิ จ , 3. การอนุ รั ก ษ์ เสริมสร้างและพัฒนาทุนทรัพยากร, 4. การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนานวัตกรรม และบุคลากรทางการวิจัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 5. การปฏิรูประบบวิจัยของประเทศเพื่อการ บริหารจัดการความรู้ ผลงานวิจัย นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ทรัพยากร และภูมิปัญญาของประเทศสู่การ ใช้ประโยชน์เชิงพาณิ ชย์และสาธารณะด้วยยุทธวิธีที่เหมาะสมที่เข้าถึงประชาชนและประชาสังคม อย่างแพร่หลาย6 และมีการกําหนดเรื่องที่ควรมุ่งเน้น 13 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ 1. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจ พอเพี ย ง, 2. ความมั่ น คงของรั ฐ และการเสริ ม สร้ า งธรรมาภิ บ าล 3. การปฏิ รู ป การศึ ก ษาและ สร้างสรรค์การเรียนรู้, 4 การจัดการทรัพยากรน้ํา, 5. ภาวะโลกร้อนและพลังงานทางเลือก, 6. เกษตร เพื่อความยั่งยืน, 7. การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้ นฟูสุขภาพ, 8. การ บริหารจัดการสิ่ งแวดล้ อมและการพัฒ นาคุณ ค่าของทรัพ ยากรธรรมชาติ, 9. เทคโนโลยีใหม่และ เทคโนโลยีที่สําคัญเพื่ออุตสาหกรรม, 10. การบริหารจัดการการท่องเที่ยว, 11. สังคมผู้สูงอายุ, 12. ระบบโลจิสติกส์, และ 13. การปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ7
สํานักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ. นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการวิจัย แห่งชาติ. 2555. หน้า i. 6 สํานักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ. นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการวิจัย แห่งชาติ. 2555. หน้า i. 7 สํานักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ. นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการวิจัย แห่งชาติ. 2555. หน้า i-iii. 5
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
จากที่กล่าวมาข้างต้นว่าในการปฏิบัติราชการให้เป็นตามยุทธศาสตร์ในปัจจุบันซึ่งให้ความสําคัญของหลัก ประสิ ท ธิ ภ าพ (Efficiency) ประสิ ท ธิ ผ ล (Effectiveness) และหลั ก สั ม ฤทธิ์ ผ ล (Achievement) จึ ง มี ค วาม จําเป็นต้องสร้างความเชื่อมโยงให้เห็นแนวทางของการปฏิบัติงานที่มีความสอดคล้องกับนโยบายและแผนต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะในการจัดการการศึกษาที่มีความเกี่ยวพันกับพันธกิจด้านต่างๆ ทั้งที่เป็นพันธกิจที่ สัมพันธ์กันทางตรง และพันธกิจที่สัมพันธ์กันทางอ้อม การทําความเข้าใจในความซับซ้อนของพันธกิจของตนจึงมี ความสําคัญมากเช่นเดียวกับการทําความเข้าใจวิสัยทัศน์ขององค์กร เพื่อการวางแผนกิจกรรมและโครงการที่ตรง ตามพั น ธกิ จ ซึ่ งเป็ น หน้ าที่ ห รือ งานประจํ า ในขณะเดี ยวกั น ต้ อ งตอบโจทย์ที่ กํ ากั บ มาโดยเป้ าหมาย และแผน ยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่ร้อยรัดกันเข้าเป็นเส้นทางที่จะทําให้วิสัยทัศน์ขององค์กรสัมฤทธิ์ผล จะเห็นได้ว่า เอกสารที่ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการกํากับแนวทางของพันธกิจด้านการจัดการเรียนการสอน ที่กล่าวมาข้างต้น อาทิ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” “กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565)” “แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร” และ “นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559” นั้นจะเห็นได้ว่ามีวิสัยทัศน์และนโยบายที่ร้อยเรียงกันด้วยมุ่งหมายจะขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่ สังคมฐานความรู้ที่มีคุณภาพชีวิต และมีศักยภาพในการแข่งขัน และปรับตัวตามบริบทที่แปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ดังสะท้อนให้เห็นในพันธกิจของสถาบันการศึกษา และคณาจารย์ คือ “การจัดการเรียนการสอน” “การวิจัย” “การบริการวิชาการ” และ “การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม” ที่ต้องทําไปพร้อมกัน และมีความจําเป็นอย่างยิ่งยวด ที่จะต้องบูรณาการระหว่างกัน จากการศึกษาเอกสารคู่มือดังกล่าวมาข้างต้นจะช่วยทําให้เข้าใจโดยเร็วว่า “สังคม คาดหวังจะเห็นอนาคตอย่างไร”
การบูรณาการพันธกิจ 4 ด้านกับการจัดการการศึกษา จากพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ จะกําหนดหน้าที่ 4 ประเด็น คือ (1) พัฒ นาและถ่ายทอด ความรู้ เพื่อเสริมสร้างบุคคลให้มีความรู้ในวิชาชีพชั้นสูง มีสติปัญญา ความคิด และความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคม (2) ค้นคว้า วิจัย และสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติ (3) นํา องค์ความรู้และผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน และพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน (4) ทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมอันดีงามทั้งในระดับท้องถิ่นและประเทศชาติ เพราะฉะนั้นในการจัดการเรียนการสอนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จึงต้องคํานึงถึงการดําเนินการให้สอดคล้อง พันธกิจในทุกๆ ประเด็น โดยมุ่งความเป็นเลิศด้านวิชาการ การวิจัย และการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ของศาสตร์ ที่ เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมเป็นสําคัญ การดําเนินการด้านการจัดการเรียนการสอน และการผลิตบัณฑิตของสถาบันการศึกษาย่อมอยู่ภายใต้การ จับตา และความคาดหวังของสังคม ในฐานะของหน่วยงานสําคัญยิ่งยวดที่จะทําให้ทิศทางของสังคมเดินไปสู่อนาคต เช่นไร ยั่งยืนหรือไม่ บนพื้นฐานของปัญหาที่ซับซ้อนและแหลมคมนับเท่าทวีคูณ ตลอดจนภาวะคับขันเรื่องความไม่ สมดุลของทรัพยากรด้านต่างๆ ที่มีลดน้อยถอยลงตรงกันข้ามกับจํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ การ
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
จัดการการศึกษาอย่างมีคุณภาพจึงเป็นความสําคัญ และต้องสามารถแสดงข้อมูลหลักฐาน และความรับผิดชอบ (accountability) ให้สังคมตรวจสอบผลการดําเนินการได้อย่างโปร่งใส การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นเกณฑ์ ที่ออกมาเพื่อทําการรับรองการจัดการการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งทั้งนี้มีความคาดหวังใน 3 ประเด็นหลัก คือ (1) คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ในฐานะพลเมืองและพลโลก, (2) แนวทางการจัดการศึกษา, (3) แนวการสร้าง สังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ เพราะฉะนั้น ความรู้ทางวิชาการจึงไม่ใช่สิ่งเดียวที่บัณฑิตจะได้รับไปจากการจัดการเรียนการสอน หากแต่ จําเป็นต้องได้เครื่องมือในการดําเนินชีวิตที่ดีงาม และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์สังคมและสภาพแวดล้อมที่ ปกติสุข ซึ่งเครื่องมือที่จะนําไปสู่การใช้ชีวิตนั้นจําเป็นต้นใช้ชีวิตอย่างบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน เห็น วิธีการแก้ปัญหาหลากมิติ มีการตั้งประเด็นปัญหาที่เฉียบคม และมีมุมมองที่กว้างขวาง และลึกซึ้ง และแก้ปัญหา ต่างๆ ได้ อย่างรอบด้าน และลุ่มลึกมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลล้วนแต่จักเกิดขึ้นได้ ก็มาจากการ “เรียนรู้ควบคู่ กิจกรรม” ทั้งสิ้น ดั งจะเห็ น ได้ ว่ าสํ านั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา และหน่ ว ยงานกํ า กั บ มาตรฐานต่ างๆ ได้ ให้ ความสําคัญกับการเรียนรู้พร้อมกับการทํากิจกรรมประเภทต่างๆ ที่ถูกจัดสรรออกมาในรูปแบบพันธกิจด้าน “การ วิจัย” “การบริการวิชาการ” และ “การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม” และไม่ได้ต้องการให้เกิดกิจกรรมประเภทใด ประเภทหนึ่งอย่างโดดเดี่ยว แต่ต้องทํากิจกรรมในลักษณะที่เชื่อมผสานเข้าหากัน โดยมี “การจัดการการศึกษา” เป็นแกนกลางในการเชื่อมผสาน นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์ และทําความเข้าใจในกระบวนการจัดการเรียนการสอน และพันธกิจด้านอื่นๆ แล้ว จะเห็นว่าการดําเนินการแต่ละพันธกิจอย่างไม่สอดประสานนั้นจะไม่เกิดสูงสุดในการ “บัณฑิตที่พึงประสงค์” ดังกล่าวมาข้างต้น อีกทั้งการบูรณาการพันธกิจต่างๆ เข้าด้วยกันนั้นยังส่องทางให้เกิดแนวทางการสร้างสรรค์ การ พัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอน ช่องทางในการทําวิจัยที่จะนําความรู้ใหม่ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน อีก ทั้งยังมีความเข้าใจความต้องการสังคมอันจะนําไปสู่การทําวิจัยที่ใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ ทั้ง (1) “การวิจัยเพื่อ ความเป็นเลิศทางวิชาการ” ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการของผู้วิจัย (Specialization) ตลอดจน การสร้างองค์ความรู้ใหม่ (Body of Knowledge) ทั้งทางวิชาการและทางวิชาชีพ (2) “การวิจัยที่มีประโยชน์ทาง เศรษฐกิจ” เพื่อนําไปสู่ความสามารถในการแข่งขันและการลงทุน (3) “การวิจัยเพื่อสังคมและชุมชน” เพื่อเพิ่ม คุ ณ ภาพชี วิ ต ในมิ ติ ต่ า งๆ ให้ แ ก่ ผู้ ค นในสั ง คม และ (4) “การวิ จั ย เพื่ อ กํ า หนดนโยบาย” เพื่ อ กํ า หนด หรื อ เปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่คนทั้งมวล จากการจัดหมวดหมู่ประเภทการวิจัยที่กล่าวมาข้างต้นทั้ง 4 แนวทางนั้น อาจารย์ผู้สอนซึ่งดํารงบทบาท ของผู้วิจัยอยู่ในขณะเดียวกัน ต้องทราบความถนัด และคุณลักษณะของงานวิจัยที่เหมาะสมกับการดําเนินการ การ จัดการการวิจัย ตลอดจนสิ่งที่ต้องการค้นคว้าเพื่อเติมเต็มความรู้ที่ยังพร่องอยู่ให้สมบูรณ์ ในขณะเดียวกันก็สามารถ
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กําหนด (Mapped) งานวิจัยที่ประสงค์จะดําเนินการให้เข้ากับยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติเพื่อประโยชน์ในการขอ ทุนวิจัยต่อไป
การจั ด กิ จ กรรมการบู ร ณาการพั น ธกิ จ 4 ด้ า น ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ตั ว ชี้ วั ด การประกั น คุ ณ ภาพ การศึกษา การประเมินคุณ ภาพการศึกษาซึ่งในปัจจุบันมีหน่วยงานกํากับดูแลหลัก 2 หน่วยงาน คือ “สํานักงาน คณะกรรมการการอุ ดมศึ ก ษา” และ “สํ านั ก งานรับ รองมาตรฐานและประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา (องค์ การ มหาชน)” ซึ่งจัดทําเอกสารแนวทางในการตรวจประเมินคุณ ภาพการศึกษา คือ “กรอบมาตรฐานการประกัน คุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2553”8 และ “คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ สาม (พ.ศ.2554-2558)”9 การจัดกิจกรรม หรือโครงการต่างๆ มีความจําเป็นต้องทําความเข้าใจเนื้อหา กรอบความคิด และแนวทาง ในการประเมินโดยละเอียด เพื่อให้กิจกรรม หรือโครงการที่จะจัดขึ้นนั้น มีระบบที่สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมิน และมีการรวบรวมเอกสารไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการดําเนินการ ซึ่งจะทําให้ผู้ที่จัดกิจกรรม หรือโครงการไม่รู้สึก เหนื่อย และจะไม่รู้สึกเสียดายที่ตั้งใจทํากิจกรรมอย่างเต็มที่ และได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นอย่างดี แต่เมื่อนําประเมิน คุณภาพแล้วกลับไม่เข้าเป้าประสงค์ เพราะฉะนั้น การศึกษาเอกสารคู่มือโดยละเอียด เพื่อทําความเข้าใจจะช่วย เพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการจัดกิจกรรมหรือโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และได้ผลพลอยได้ คือ นํามาเป็นส่วนหนึ่งในการรับการตรวจประเมินอีกด้วย
(ซ้าย) คู่มือประกันคุณภาพการ ศึกษาภายในสถานศึกษาระดับ อุดมศึกษา พ.ศ. 2553 (ขวา) คู่มือการประเมินคุณภาพ ภายนอกรอบสาม (พ.ศ.25542558)
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. กรอบมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2554. 9 สํ านั ก งานรั บ รองมาตรฐานและประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา (องค์ ก ารมหาชน). คู่ มื อ การประเมิ น คุ ณ ภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับอุดมศึกษาฉบับสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). 2555. 8
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สําหรับประเด็นเรื่อง “กิจกรรม หรือโครงการบูรณาการที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอน” ที่เป็นไปตาม “กรอบมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2553”10 มีองค์ประกอบ ที่เกี่ยวเนื่องดังนี้ คือ “องค์ประกอบที่ 2: การผลิตบัณฑิต มี 8 ตัวบ่งชี้” ซึ่งสรุปประเด็นหลักที่ต้องแสดงข้อมูลดังนี้ คือ ผู้สอน วิธีการสอน สภาพแวดล้อมแหล่งเรียนรู้ ระบบและกลไกต่างๆ ที่ผลักดันให้สามารถผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์ ได้ “องค์ประกอบที่ 3: กิจกรรมพัฒนานักศึกษา มี 2 ตัวบ่งชี้” ซึ่งสรุปประเด็นหลักที่ต้องแสดงข้อมูลดังนี้ คือ มีการ บริหาร มีระบบและกลไกในการพัฒนานักศึกษา และศิษย์เก่า ตลอดจนมีระบบการประเมินเพื่อ ปรับปรุงการดําเนินการตามความคาดหวังของผู้รับบริการ “องค์ประกอบที่ 4: การวิจัย มี 3 ตัวบ่งชี้” ซึ่งสรุปประเด็นหลักที่ต้องแสดงข้อมูลดังนี้ คือ ระบบและกลไกในการ พัฒนา และการจัดการความรู้งานวิจัย-สร้างสรรค์ และจํานวนเงินสนับสนุนการวิจัย “องค์ประกอบที่ 5: การบริการวิชาการแก่สังคม” ซึ่งสรุปประเด็นหลักที่ต้องแสดงข้อมูลดังนี้ คือ มีระบบและกลไก การบริการวิชาการ และสังคมได้รับประโยชน์จากกิจกรรม “องค์ประกอบที่ 6: การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม” ซึ่งสรุปประเด็นหลักที่ต้องแสดงข้อมูลดังนี้ คือ มีระบบและกลไก ในการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งจะเห็นได้ว่าในรายละเอียดในการดําเนินการประเมินใน “เกณฑ์การดําเนินการ” ซึ่งอยู่ภายใต้ “ตัว บ่งชี้” นั้นจะมี “คําสําคัญ (Keyword)” คําว่า “บูรณาการ” ซึ่งแปลความมาจากภาษาอังกฤษ คือ “Integration” ซึ่งความหมายของคําดังกล่าวที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการศึกษานั้นหมายถึง “การผสานศาสตร์ต่างๆ ที่มากว่า 1 ศาสตร์ หรือการผสานกิจกรรมต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน แล้วทําให้เกิดผลลัพธ์ที่แสดงให้เห็นถึงความ สมบูรณ์แบบ ครบถ้วนสมบูรณ์ อีกทั้งเป็นการลดความซ้ําซ้อนในกิจกรรมที่ต้องทําให้น้อยลงแต่เกิดประโยชน์ใน ลักษณะองค์รวมมากขึ้น” จึงจะเห็นได้ว่า สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาซึ่งทําหน้าที่กํากับมาตรฐานได้ให้ความสําคัญของ การบูรณาการกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (1) องค์ประกอบที่ 4 ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 เกณฑ์ที่ 2: มีการบูรณาการกระบวนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์กับ การเรียนการสอน11
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. กรอบมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2554. 11 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. กรอบมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2554. หน้า 71. 10
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
(2) องค์ประกอบที่ 5 ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 เกณฑ์ที่ 2: มีการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียน การสอน12 (3) องค์ประกอบที่ 5 ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 เกณฑ์ที่ 3: มีการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการวิจัย13 (4) องค์ประกอบที่ 6 ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 เกณฑ์ที่ 2: มีการบูรณาการงานด้านทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม กับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา14 นอกจากนี้ สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมิ นคุณ ภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ซึ่งได้จัดทํา เอกสาร “คู่ มือการประเมิน คุณ ภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558)”15 ได้ มีเนื้ อหาที่ เกี่ยวเนื่ องกับ การ “บูรณาการ” ดังนี้ (1) ตัวบ่งชี้ที่ 8 ผลการนําความรู้ และประสบการณ์จากการบริการวิชาการมาใช้ในการพัฒนาการเรียน การสอน หรือ/หรืองานวิจัย (ซึ่งโครงการดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากสภาของสถาบัน)16 จากตัวบ่งชี้ที่ 8 ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) นั้นจะเห็นว่า ได้กําหนดให้ การบู รณาการการบริ ก ารวิ ช าการกั บ การเรีย นการสอนนั้ น ต้ อ งมาจากผลลั พ ธ์ ข องการบริ ก ารวิ ช าการที่ ได้ ดําเนินการมาแล้ว และโครงการดังกล่าวต้องเป็นโครงการในแผนปฏิบัติราชการซึ่งต้องรับทราบโดยสภาสถาบัน และจึงค่อยนําประเด็นปัญหา หรือผลลัพธ์ของการบริการวิชาการดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผู้กําหนดตัวชี้วัดดังกล่าวนั้น ต้องการให้การจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษานั้นต้องรับโจทย์ หรือองค์ความรู้จริงมาสู่การค้นคว้าวิจัย และการเรียนการสอนนั่นเอง
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. กรอบมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2554. หน้า 78. 13 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. กรอบมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2554. หน้า 78. 14 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. กรอบมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2554. หน้า 80. 15 สํ านั ก งานรั บ รองมาตรฐานและประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา (องค์ การมหาชน). คู่ มื อ การประเมิ น คุ ณ ภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับอุดมศึกษาฉบับสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). 2555. 16 สํ านั ก งานรั บ รองมาตรฐานและประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา (องค์ การมหาชน). คู่ มื อ การประเมิ น คุ ณ ภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับอุดมศึกษาฉบับสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). 2555. หน้า 37. 12
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ข้อสังเกตของการจัดกิจกรรมการบูรณาการพันธกิจในการจัดการการศึกษา จากประสบการณ์ในการตรวจประเมินฯ และการเตรียมเอกสารเพื่อรอรับการประเมิน พบว่า การบูรณา การพันธกิจทั้ง 4 ด้านเป็นสิ่งที่คณาจารย์ในสถาบันการศึกษาได้ดําเนินการอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ของ การบูรณาการดังกล่าวบางครั้งไม่สามารถนํามาใช้เป็นหลักฐานแสดงการปฏิบัติงานตามที่กําหนดไว้ในเกณฑ์การ ประกันคุณภาพการศึกษาได้ พบสาเหตุของการจัดโครงการแต่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา ดังต่อไปนี้ 1) โครงการที่จัดนั้นดําเนินการไปโดยไม่ปรากฏในแผนปฏิบัติราชการ และไม่ได้แจ้งให้สภาสถาบันผู้ กํ า กั บ ควบคุ ม นโยบายของสถาบั น รั บ ทราบ จึ งทํ าให้ โครงการดั งกล่ า วนั้ น ไม่ ส มบู ร ณ์ แม้ ว่ า จะ ดําเนินการไปแล้ว และได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากเกณฑ์การประเมินต่างๆ นั้นมุ่งหมายให้มี การปรับเปลี่ยนลักษณะของการดําเนินงานที่ทําโดยไม่มีการวางแผน มาสู่การทํางานโดยมีแผนการ ปฏิบัติงาน และตัวชี้วัดต่างๆ รองรับ เพื่อให้สามารถประเมินโครงการในมิติต่างๆ ได้ 2) โครงการที่จัดนั้นดําเนินไปโดยปราศจากข้อมูลของความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์รองรับ กล่าวคือ ความคาดหวังของการบริการวิชาการนั้ นต้องมีค วามต้องการ หรือการแจ้งเจตจํานงของผู้ ขอรับ บริการวิชาการ เนื่องจากเกณฑ์ในการประเมินนั้นต้องการให้กิจกรรมที่เกิดขึ้นเกิดประโยชน์สูงสุดต่อ ผู้ รั บ บริ ก าร ตลอดจนแสดงถึ ง ว่ า สถาบั น การศึ ก ษาสามารถเป็ น เสาหลั ก ทางวิ ช าการ และการ แก้ปัญหาให้แก่สังคมได้อย่างทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ 3) เมื่อจัดโครงการเสร็จสิ้นแล้วไม่มีการประเมนผลโครงการว่าสอดคล้องกับค่าความคาดหวังต่างๆ หรือไม่ จึงมีแนวทางในการนําไปปรับปรุงการจัดกิจกรรมในโอกาสต่อไป 4) รอบระยะเวลาของการดําเนินโครงการไม่สอดคล้องกัน กล่าวคือ ในรอบการตรวจประเมินนั้น มีทั้ง การใช้ข้อมูลในรอบปีงบประมาณ รอบปีการศึกษา รอบปีปฏิทิน ทําให้ผู้ปฏิบัติงานสับสน หรือความ ไม่ต่อเนื่องของงานตามเงื่อนไขที่เกณฑ์การประเมินได้ตั้งไว้
การพัฒนารูปแบบเอกสารโครงการ และแบบฟอร์มต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการศึกษาของ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จากวิธีการบริหารองค์กรระบบใหม่ที่ต้องการความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการดําเนินการ แต่ใน ความเป็นจริงสถานภาพของการดําเนินการต่างๆ มีการปรับตัวไม่ทันต่อความแหลมคม และความท้าทายของ ปัญหา ตลอดจนเกณฑ์มาตรฐานใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากระบบการทํางานนั้นคณาจารย์ต่างทุ่มเทในการ จัดการเรียนการสอนอย่างสุดความสามารถ ตลอดจนทํากิจกรรมส่งเสริมศักยภาพแก่นักศึกษาอยู่ตลอดเวลา
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หากแต่ ปั ญ หาของการทํ างานเอกสาร (Paper Work) ต่ างๆ ที่ จ ะถูก นํ าไปใช้ เป็ น เอกสารหลั ก ฐานยื น ยั น การ ปฏิบัติงานที่มีคุณภาพดังกล่าวนั้นเป็นอุปสรรคสําคัญของคณาจารย์ ในฐานะที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการจัดการการศึกษาโดยตรง จึงมีความพยายามในการลดภาระ การดําเนินการดังกล่าวของคณาจารย์ลงด้วยการพัฒนาแบบกรอกข้อมูล ตลอดจนตัวอย่างในการกรอกข้อมูลเท่าที่ มีความจําเป็น ตลอดจนวิเคราะห์ตัวชี้วัดด้านการประกันคุณภาพว่าสิ่งใดสามารถดําเนินการได้โดยส่วนกลางโดย ไม่ให้อาจารย์มีภาระ หรือสิ่งใดที่ต้องการการอนุเคราะห์จากอาจารย์ในการดําเนินการ ตลอดจนการพัฒนาเอกสาร ต่างๆ ในรายวิชา และหลักสูตรที่รับผิดชอบ ทั้งเอกสารรายละเอียดหลักสูตร ทั้งเอกสาร มคอ.3 มคอ.5. มคอ.7 ตลอดจนโครงการบูรณาการที่ผนวกงานวิจัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา เพื่อให้นักศึกษาได้มีโจทย์จริงในการ เรียนรู้ ตลอดจนผลักดันให้นักศึกษาเข้าร่วมเป็นผู้ช่วยเก็บข้อมูลวิจัย ผู้ช่วยวิจัย และผู้ร่วมวิจัย ตามลําดับชั้น ความรู้ของนักศึกษา ตลอดจนความสนใจของนักศึกษา อีกทั้งยังผลักดันโจทย์การทําการวิจัยบางประเด็น หรือ ข้อมูลบางมิติในการส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาต่อยอดเป็นงานวิจัยในวิทยานิพนธ์ของตนเอง ตลอดจนการจัด กิจกรรมบริการวิชาการเพื่อรับโจทย์ประเด็นปัญหามาและผลักดันต่อให้เป็นโครงการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาโดย นักศึกษา เพื่อทําให้นักศึกษามีความคุ้นชินกับการทํางานร่วมกับผู้อื่น และท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาโจทย์ การวิจัยขึ้นจาการบริการวิชาการสู่ชุมชน และการขอรับโจทย์วิจัยจากชุมชน ซึ่งทําให้ผลลัพธ์ของการทําวิจัยได้ นําไปใช้ให้เกิดประโยชน์สู่สังคมอย่างแท้จริง จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า เมื่อได้ทดลองใช้แบบฟอร์ม และระบบการรายงานผล ตลอดจนการทําเอกสาร ตัวอย่างไว้สําหรับคณาจารย์ท่านอื่นๆ เพื่อขับเคลื่อนการเก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานยืนยันสิ่งที่คณาจารย์ได้ ดําเนินการทําอยู่แล้วมาปรับเข้าสู่ระบบ สร้างความคุ้นชินสู่การเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย มีกระบวนการแจ้งผล การดําเนินการต่างๆ ตลอดจนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อนํามาปรับปรุง แม้จะไม่สร้างความเปลี่ยนแปลงได้ราว พลิกฝ่ามือ แต่ทว่าช่วยทําให้ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเป็นไปอย่างนุ่มนวล และทําให้สมาชิกขององค์กรเริ่ม เห็นความสําคัญ ในการขับเคลื่อนองค์กรเชิงรุก ในขณะเดียวกันก็ดําเนินการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ อผลิต บัณฑิตไปสู่สังคมอย่างมีคุณภาพต่อไป
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สรุป การดําเนินการส่งเสริมให้เกิดความสัมฤทธิ์ผลด้านการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งหมายจะสร้างผู้เรียนที่เป็น นักคิดและสร้างสรรค์ และก้าวสู่การเป็นบัณฑิตที่ดีและเป็นที่ต้องการของสังคมได้ด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อม และพันธกิจด้านๆต่างที่นํามาบูรณาการกันอย่างเป็นองค์รวม (holistic) เพื่อให้ได้ความสัมฤทธิ์ผล และมีเอกสาร หลักฐานแสดงตามความต้องการของตัวชี้วัดมาตรฐานต่างๆ ที่ดูแลโดยองค์กรกํากับมาตรฐานก็จะไม่เป็นภาระให้ ต้องดําเนินการ เพราะทุกๆ อย่างได้ขับเคลื่อนตามครรลองที่ควรจะเป็นในฐานะ และหน้าที่ของ “ครุ” หรือผู้มอบ แนวทางในการแสวงหาปัญญาแก่ผู้เรียนจนเขาบรรลุวัตถุประสงค์จนเป็นบัณฑิตของสังคมต่อไป
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หลักเกณฑ์การเขียนต้นฉบับเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ ในวารสารต่างๆ ทีเ่ กี่ยวเนื่องกับสาขามนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ (สถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ) ที่ได้รับการยอมรับแพร่หลายในวงวิชาการ
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หลักเกณฑ์การเขียนต้นฉบับเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ วารสารหน้ า จั่ ว คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ศิลปากร วารสารวิชาการหน้าจั่ว ฉบับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย วารสารวิชาการหน้าจั่ว ฉบับสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม 1. ข้อมูลเบื้องต้นของวารสาร วารสารวิชาการหน้าจั่ว ฉบับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย บรรณาธิการ: อาจารย์ ดร. พินัย สิริเกียรติกุล E-Mail: archihistoriography@gmail.com Website: http://arch.su.ac.th วารสารวิชาการหน้าจั่ว ฉบับสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม บรรณาธิการ: อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ E-Mail: arkkujournal@kku.ac.th Website: http://arch.su.ac.th ที่อยู่: โทร: โทรสาร:
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ.หน้าพระลาน เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 02-362-046 043-362-047
เพื่ อเสริม สร้างบรรยากาศทางความรู้ และความคิ ดใหม่ ๆ ในสาขาวิชาที่ เกี่ ยวข้อ งกั บ สถาปัต ยกรรม การ ออกแบบ และสภาพแวดล้อ มสรรค์ส ร้า ง เป็น การเปิด พื ้น ที ่ใ หม่ใ นการเสนอผลงานทางวิ ช าการให้ แ ก่ ผู้ รู้ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรม อันจะเป็นการ เสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการ และวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ต่อไป
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
2. เกณฑ์การพิจารณารับบทความ 1. ส่งต้นฉบับ 2 ชุดพร้อมแผ่นซีดี ความยาว 12-15 หน้า พร้อมบทคัดย่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ใน รูปแบบของไฟล์ MS-Word ส่งถึงบรรณาธิการวารสารหน้าจั่ว 2. พร้อมแนบเอกสาร “แบบฟอร์มการเสนอบทความเพื่อการพิจารณาตีพิมพ์” และหากผู้นําเสนอบทความ เป็นนิสิต-นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ต้องแนบเอกสาร “คํารับรองคุณภาพบทความจากอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อเสนอขอรับการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์” 3. ในกรณีที่บทความมีภาพประกอบ กรุณาสแกนรูปแยกต่างหาก โดยต้องมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi ในรูปแบบของไฟล์นามสกุลใดๆ ก็ ได้ ดังต่อไปนี้ .JPG, .PSD, .PNG, .TIF, .BMP และหากใช้ภาพมาจาก แหล่งข้อมูลอื่นๆ ซึ่งผู้เขียนไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ต้องอ้างอิงที่มาโดยละเอียด 4. ในกรณีที่บทความมีแผนภูมิ (Chart) แผนผัง (Plan) แบบสถาปัตยกรรม (Architectural Drawing), แผนที่ (Map) แผนภาพ (Diagram) ต้องแนบไฟล์ดังกล่าว ในรูปแบบของไฟล์นามสกุลใดๆ ก็ได้ดังต่อไปนี้.JPG, .PSD, .PNG, .TIF, .BMP และ AI ทั้งนี้ ไม่สามารถใช้การสร้างแผนภาพ (Diagram), การโยงเส้น, การสร้าง กล่องข้อความ และการใส่เนื้อหาข้อความบนรูปภาพในลักษณะที่เป็น Object ในเอกสาร Word ได้ รวมทั้ง หากดัดแปลงมาจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ ซึ่งผู้เขียนไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ต้องอ้างอิงที่มาโดยละเอียด 5. บทความที่เป็นงานแปลหรือเรียบเรียงต้องอ้างอิงที่มาโดยละเอียด และแสดงหลักฐานการได้รับอนุญาตให้ แปลจากเจ้าของลิขสิทธิ์ 6. บทความที่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ แล้ว หรืออยู่ในระหว่างการรอรับจากการพิจารณาจากวารสารอื่นๆ ทางกองบรรณาธิการจะไม่รับพิจารณา 7. บทความที่ผ่านการพิจารณาและได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับวารสารเป็นอภินันทนาการจํานวน 3 เล่ม 8. การที่ผู้อ่านจะนําข้อความใดๆ ไปพิมพ์เผยแพร่ต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการวารสารทราบ และต้องได้รับ อนุญาตจากผู้เขียนตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ยกเว้นการอ้างอิงเพื่อการต่อยอดทางวิชาการ แต่ต้องทําการอ้างอิง ถึงผลงานตามระบบการอ้างอิง 9. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สงวนสิทธิ์ในการนําส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความที่ได้รับ การตีพิมพ์ในวารสารหน้าจั่วเผยแพร่ในลักษณะต่างๆ รวมทั้งการเปิดให้สาธารณะดาวน์โหลดในลักษณะ ของ Digital ไฟล์ (PDF Format) โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้เขียนบทความทราบ 10. ผลการศึกษา บทสรุป ตลอดจนความคิดเห็นใดๆ ในบทความต่างๆ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้เป็นของ ผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงาน และคณะทํางาน แต่อย่างใด 11. บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์จะได้รับการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ บทความ หากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินในทิศทางตรงกันข้ามกันจะพิจารณาส่งผู้ทรงคุณวุฒิท่านที่ 3
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
12. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ไม่ส่งต้นฉบับ และเอกสารใดๆ ของบทความคืนให้แก่ผู้เขียนในทุกกรณี รวมทั้ง บทความที่ไม่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์ ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืน ผู้เขียน 3. การอ้างอิง และรูปแบบบรรณานุกรม (ตัวหนังสือสีแดง คือ ระบบการเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรม) - สําหรับการอ้างอิงในเนื้อหาใช้ระบบนาม-ปี (Author - Date Citation System) ในรูปแบบดังนี้ (ชื่อ นามสกุลผูแ้ ต่ง ปีที่พิมพ์: หน้า) - สําหรับบรรณานุกรมเรียงตามตัวอักษรของชื่อ - สกุลผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ โดยอ้างอิงในรูปแบบดังนี้ - หนังสือ/เอกสารทั่วไป ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. (พิมพ์ครั้งที่). สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการจัดพิมพ์. (ทั้งนี้หา ผู้แต่งมีฐานันดรศักดิ์ หรือบรรดาศักดิ์ ให้นําฐานันดรศักดิ์หรือบรรดาศักดิ์ ไว้หลังชื่อ) - หนังสือ/เอกสารที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อหนังสือ/เอกสาร. (ปีพิมพ์) สถานที่ พิมพ์: สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการจัดพิมพ์. - หนังสือ/เอกสารรวมเรื่องหรือรวมบทความที่ปรากฏบรรณาธิการเป็นผู้รวบรวม หรือเรียบเรียง ใช้ระบบ การอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลบรรณาธิการ. (บรรณาธิการ). (ปีพิมพ์) ชื่อหนังสือ/เอกสาร. สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์ /ผู้อํานวยการจัดพิมพ์. - หนั ง สื อ /เอกสารที่ ไม่ ป รากฏปี ที่ พิ ม พ์ ใช้ ร ะบบการอ้ า งอิ ง ดั งนี้ : ชื่ อ นามสกุ ล ผู้ แ ต่ ง. (ม.ป.ป.หรื อ n.d.). ชื่อเรื่อง. (พิมพ์ครั้งที่). สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการจัดพิมพ์. - หนังสือ/เอกสารที่ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. (ปีพิมพ์.). ชื่อ เรื่อง. (พิมพ์ครั้งที่). ม.ป.ท./N.P.: สํานักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์ หรือผู้อํานวยการจัดพิมพ์. - หนังสือ/เอกสารที่ไม่ปรากฏสํานักพิมพ์พิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการพิมพ์ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. (ปีพิมพ์.). ชื่อเรื่อง. (พิมพ์ครั้งที่). สถานที่พิมพ์: n.p. - บทความในวารสาร / นิตยสาร ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ สกุลผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). “ชื่อบทความ”. ชื่อ วารสาร. ปีที่ (เล่มที่): หน้า – หน้า. - บทความในหนังสือรวมบทความ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). “ชื่อบทความ”. ใน ชื่อบรรณาธิการ. (บรรณาธิการ). ชื่อหนังสื อ. สถานที่ พิม พ์ : สํานักพิ ม พ์/โรงพิ ม พ์ /ผู้อํานวยการ จัดพิมพ์. - วิท ยานิ พ นธ์ ใช้ ระบบการอ้ างอิ งดั งนี้ : ชื่ อผู้เขี ย นวิท ยานิ พ นธ์. (ปี ที่ พิ ม พ์ ). “ชื่ อวิท ยานิ พ นธ์ ”. ชื่ อ ปริญญามหาบัณฑิต/ดุษฎีบัณฑิต ชื่อสาขา ชื่อมหาวิทยาลัย. - สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ สกุลผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์) สืบค้นเมื่อวันที่ เดือน ปี, จาก URL หรือ กรณีเป็นการอ้างอิงในภาษาอังกฤษใช้ Retrieved month date, year, from URL
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
แบบฟอร์มการเสนอบทความเพือ่ การพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วันที่............ เดือน........................... พ.ศ. ................
เรียน บรรณาธิการ วารสาร หน้าจั่ว ฉบับสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง วารสาร หน้าจั่ว ฉบับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย วารสาร เมืองและสภาพแวดล้อม International Journal in Architectural Heritage Management and Tourism ข้าพเจ้า (นาย/นาง/นางสาว) …………………………………………………………………………………………………………………………...... ตําแหน่งทางวิชาการ/วิชาชีพ อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ อื่นๆ.............................................................................................. การศึกษาสูงสุด ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก สังกัด ภาควิชา/สาขาวิชา/กลุ่มวิชา ...........................................................คณะ/วิทยาลัย/สํานักวิชา............................................... .......................................................................... มหาวิทยาลัย/สถาบัน/วิทยาลัย.............................................................................. ขอส่ง บทความวิชาการ บทความวิจัย บทความแปล บทความปริทัศน์ บทความวิทยานิพนธ์ ระดับ………………………………….. สาขาวิชา............................................................. โดยมี ผู้เขียนคนที่ 1 ............................................................................................ สัดส่วนการทํางาน ร้อยละ............................... ผู้เขียนคนที่ 2 ............................................................................................. สัดส่วนการทํางาน ร้อยละ............................... ผู้เขียนคนที่ 3 ............................................................................................. สัดส่วนการทํางาน ร้อยละ............................... ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ............................................................................................................................................................................. ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ........................................................................................................................................................................ ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้สะดวก เลขที่..............หมู่ที่......................ซอย........................................ ถนน................................................ ตําบล.................................... อําเภอ...................................... จังหวัด................................................. รหัสไปรษณีย์.......................... โทรศัพท์มือถือ ........................................ โทรสาร ........................................ E-mail……..………………………………………………………… ข้าพเจ้าขอยืน ยัน ว่าบทความวิช าการและวิจัยดังกล่าว ไม่เคยมีการนํ าไปตีพิ มพ์ เผยแพร่มาก่อน และในกรณี ที่ เป็ น บทความวิทยานิพนธ์ ข้าพเจ้าได้แนบคํารับรองคุณภาพตามแบบฟอร์มที่กําหนดมาพร้อมจดหมายนําส่งฉบับนี้แล้ว เอกสารประกอบการส่งบทความ - บทความที่จัดพิมพ์ตามรูปแบบ (Format) ที่กําหนด จํานวน 3 ชุด (สามารถพิมพ์แบบหน้า-หลัง) - แผ่น CD 1 แผ่น บรรจุบทความในไฟล์ Word, Pdf ของบทความที่จัดพิมพ์ตามรูปแบบ (Format) ที่กําหนด, พร้อมไฟล์ รูปภาพ, Diagram, แผนที่ ที่จัดทําเป็นไฟล์รูปภาพ JPG, TIF ความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi ลงชื่อ....................................................(ผู้เสนอ) วัน........../................./..............
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ch.su.ac.th คํารับรองคุณภาพบทความจากอาจารย์ที่ปรึกษาเพือ ่ เสนอขอรับการพิจารณาบทความเพือ ่ ตีพิมพ์
วารสารหน้าจั่ว: วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
1. ชื่อ-สกุล นักศึกษาผู้เสนอบทความ (นาย/นาง/นางสาว) (ภาษาไทย)
: ______________________________________________________________________________
(ภาษาอังกฤษ) : ______________________________________________________________________________ 2. ระดับ
ปริญญามหาบัณฑิต ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา ________________________________________________________________________ ภาควิชา ________________________________ คณะ ____________________________________ มหาวิทยาลัย _____________________________________________________________________
3. ชื่อบทความ (ภาษาไทย)
: ______________________________________________________________________________ _______________________________________________________________________________
(ภาษาอังกฤษ) : _______________________________________________________________________________ _______________________________________________________________________________ 4. เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หัวข้อ (ภาษาไทย)
: _______________________________________________________________________________ _______________________________________________________________________________
(ภาษาอังกฤษ) : _______________________________________________________________________________ _______________________________________________________________________________ 5. อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก (ภาษาไทย)
: _______________________________________________________________________________
(ภาษาอังกฤษ) : _______________________________________________________________________________ สังกัด
: _______________________________________________________________________________
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
6. มีความประสงค์จะเสนอบทความลงในวารสารฉบับ:
สถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม สถาปัตยกรรมไทย และประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม • หมายเหตุ ทั้งนีจ้ ะอยู่ในการพิจารณาของกองบรรณาธิการอีกครั้งเป็นสําคัญ 7. ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบคุณภาพบทความแล้ว และเห็นสมควรให้ส่งผลงานเรื่องดังกล่าวเข้ารับการพิจารณาเพื่อขอรับการตีพิมพ์ใน วารสารหน้าจั่ว: วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร ลงชื่อ
อาจารย์ที่ปรึกษา
(..................................................) วันที่ ____ / __________ / _____
ส่งเอกสารมาที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ 02-221-5877 โทรสาร. 02-221-8837w.jo
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หลักเกณฑ์การเขียนต้นฉบับเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ Journal of Architectural / Planning Research and Studies (JARS) คณะสถาปัตยกรรม และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์17
1. ข้อมูลเบื้องต้นของวารสาร Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS) เป็ น วารสารวิ ช าการประจํ า คณะ สถาปั ต ยกรรมศาสตร์ และการผั งเมื อ ง มหาวิท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ที่ ดํ าเนิ น การตี พิ ม พ์ ด้ ว ยมาตรฐานระดั บ นานาชาติ ทั้งนี้ มีการตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ด้วยมุ่งหวังที่จะเป็นผู้นําในวงวิชาการ และเปิดโอกาสให้นักวิชาการ นักวิจัย ตลอดจนผู้ประกอบวิชาชีพในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการวิจารณ์ของการวิจัย และการศึกษาที่ เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมภายใน เทคโนโลยีอาคารและสารสนเทศ การวางผังเมือง การ บริหารจัดการ ภูมิสถาปัตยกรรม และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ที่อยู่: กองบรรณาธิการวารสาร JARS คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121 โทร: 02-986-9605-6 ต่อ 3015 โทรสาร: 02-986-8067 E-Mail: JARS@ap.tu.ac.th Website: http://www.tds.tu.ac.th/jars/index 1. การเตรียมต้นฉบับบทความ ต้นฉบับควรลักษณะเป็นผลสรุปการวิจัย หรือบทความวิชาการ ที่แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์ และการ วิจารณ์ หรือการพัฒนาองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในการส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณานั้นต้องเป็น องค์ความรู้ใหม่ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผูใ้ ด หากเป็นบทความที่เคยตีพิมพ์แล้วต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหา และการเรียบเรียงใหม่ให้เหมาะสม (ทั้งนี้ ผู้เขียนต้องส่งบทความที่เคยได้รับการตีพิมพ์แล้วแนบมาเพื่อ ประกอบการพิจารณาด้วย) นอกเหนือไปจากนี้ หรือสิ่งเพิ่มเติมนั้นจะอยู่ในการตัดสินใจเป็นพิเศษของกอง บรรณาธิการ
17
แปลและเรียบเรียงจาก http://www.tds.tu.ac.th/jars/index.php
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
2. การประเมินต้นฉบับ ต้นฉบับบทความทุกบทจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน ที่เป็นผูม้ ีความเชี่ยวชาญ ในสาขา กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขบทความ และหรือ ส่งบทความกลับให้ผู้เขียนแก้ไข ผูเ้ ขียน บทความต้องใช้ภาษา และรูปแบบที่เหมาะสมในการเขียนบทความ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะส่งบทความสู่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินก็ต่อเมื่อบทความดังกล่าวนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนด 3. การจัดรูปแบบ บทความที่ส่งเพื่อขอรับการพิจารณาต้องพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word สําหรับระบบปฏิบัติการ Windows มีความยาวประมาณ 10-30 หน้ากระดาษ A4 ด้วยการพิมพ์แบบ Double-Spaced กั้นหน้า-กั้นหลัง 17 มิลลิเมตร เว้นหัวกระดาษ 25 มิลลิเมตร และท้ายกระดาษ 35 มิลลิเมตร จัดพิมพ์ด้วยฟอนต์ Browallia New font type ขนาด 14 pt. ตลอดเอกสาร ใช้ระบบการเรียงลําดับตัวเลของของหัวข้อหลัก และหัวข้อย่อย และพิมพ์ หัวข้อชิดซ้ายด้วยตัวพยัญชนะทั้งตัวใหญ่ และตัวเล็ก สําหรับหัวข้อที่เป็นภาษาอังกฤษ การสะกดคําใช้มาตรฐาน ของ Webster Dictionary หากเป็นภาษาไทยใช้ระบบการเขียนของราชบัณฑิตสถาน 4. โครงสร้างของบทความ ควรมีการแบ่งโครงสร้างเนื้อหาของบทความออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนกล่าวนํา ส่วนเนื้อหา และส่วน อ้ างอิ งทั้ งนี้ ส่ วนกล่ าวนํ านั้ น ต้ องประกอบด้ วยชื่อ บทความ ชื่อผู้ เขียน สั งกั ด ของผู้เขี ยน หรือที่ อยู่ ที่ ติด ต่ อได้ บทคั ด ย่ อ และคํ าสํ าคั ญ สํ าหรั บ ส่ วนเนื้ อ หานั้ น ประกอบด้ ว ยข้ อ มู ล เบื้ อ งต้ น ของการศึ ก ษา เนื้ อ หาหลั ก ผล การศึกษา การอภิปรายผล สรุปผลการศึกษา และกิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) สําหรับส่วนอ้างอิงนั้น รวมทั้งการ อ้างอิง และบรรณานุกรม และภาคผนวก (ถ้ามี) 5. บทคัดย่อ และคําสําคัญ บทคัดย่อควรมีความยาวประมาณ 100-200 คํา รวมทั้งต้องมีคําสําคัญ 6 คํา ที่สัมพันธ์กับเนื้อหาของ บทความ สําหรับบทความภาษาไทยต้องมีบทคัดย่อ และคําสําคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 6. รูปภาพ และตาราง รูปภาพและตารางควรเรียงลําดับ และมีการอ้างอิงที่สัมพันธ์กับเนื้อหาของบทความ รูปภาพและตาราง ทั้งหมดควรมีคําอธิบาย สําหรับคําอธิบายรูปภาพนั้นพิมพ์กึ่งกลางใต้รูปภาพ สําหรับคําอธิบายตารางจัดชิ้นกั้นซ้าย อยู่เหนือตาราง และต้องมีการอ้างอิงที่มาของรูปภาพและตาราง ทั้งนี้ต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และเตรียมข้อมูล รูปภาพความละเอียดสูงในรูปแบบของไฟล์ TIFF ที่มีความละเอียดอย่างน้อย 300 Dpi
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
7. การอ้างอิง และบรรณานุกรม สําหรับการอ้างอิงในเนื้อหา รายชื่อเอกสารอ้างอิง และบรรณานุกรม ต้องเป็นภาษาอังกฤษตามระบบ American Psychological Association (APA). 8. ตัวอย่างการอ้างอิง และระบบบรรณานุกรม (ตัวหนังสือสีแดง คือ ระบบการเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรม) Book มี ตั ว อย่ างการอ้ างอิ งดั งนี้ : Eggan, P. D., & Kauchall, D. (1992). Educational psychology: Classroom connections. New York: Merrill. Non-English Book มี ตั ว อย่ า งการอ้ า งอิ ง ดั ง นี้ : Phanthasen, A. (2003). การประยุ ก ต์ พ ระราชดํ า ริ เศรษฐกิจพอเพียงกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม [The application of His Majesty the King’s sufficiency economy to small and medium industry]. Bangkok, Thailand: Thai Wattana Panich. Journal Article มี ตั ว อย่ า งการอ้ า งอิ ง ดั ง นี้ : Hengrasmee, S. (2007). The study of sustainable architectural design in Thailand. Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 5(1), 135-154. Newspaper Article มีตัวอย่างการอ้างอิงดังนี้: Goleman, D. (1993, July 13). New treatments for autism arouse hope and skepticism. The New York Times, pp. C1, C11. - Proceedings of Meetings and Symposia มี ตั ว อย่ า งการอ้ า งอิ ง ดั ง นี้ : Searle, J. (1990). Is the brain a digital computer? Proceedings of the American Philosophical Association, 64(3), 79-100. - Internet Document มี ตั วอ ย่ างก ารอ้ างอิ งดั งนี้ : Department of Trade and Industry (DTI). (2003). Renewables innovation review. Retrieved May 1, 2007, from http://www.berr.gov. uk /files/files/file21955.pdf - Journal Article from Internet มี ตั ว อย่ า งการอ้ า งอิ ง ดั ง นี้ : VandenBos, G.,Knapp, S., & Doe, J. (2001). Role of reference elements in the selection of resources by psychology undergraduates .Journal of Bibliographic Research, 5, 117-123. Retrieved October 13, 2001, from http: //www.jbr.org/articles.html 9. การส่งบทความ การเตรียมต้นฉบับบทความต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กองบรรณาธิการกําหนด และส่งต้นฉบับบทความ ฉบับพิมพ์ และบันทึกใส่แผ่น CD-ROM รวมทั้งกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กําหนด
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
แบบฟอร์มแสดงความจํานงขอเสนอบทความทางวิชาการ วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Application Form for Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS) Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University ผู้เขียนบทความ (Author’s Name) 1. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. …………………………………………………………………………………………………………..…………..……..……………………… 3. …………………………………………………………………………………………………………..…………..……..……………………… สถานที่ติดต่อ อีเมล์ และหมายเลขโทรศัพท์ (Address, E-mail address and Phone Numbers) 1. ………………………………………………………………………………………………………………..…………..………….…………… 2. …………………………………………………………………………………………………………..…………..……..……………………… 3. …………………………………………………………………………………………………………..…………..……..……………………… ชื่อบทความภาษาไทย ......................................................................................................................................................................... Article’s Title ......................................................................................................................................................................... บทคัดย่อภาษาไทย (Thai Abstract) …………………………………………………………………………………………..……………………………………………..…………………………………………… …………………………………………..……………………………………………..……………………………………………………………………………………..…… ………………………………………..……………..…………….…………………………..……………บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (English Abstract) ……………………………………………………………………………..……………………………………………..………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………..…………………… ……………………………………………………………………………..………………………………… ต้องการลงบทความในวารสารฉบับที่ (Issue of Journal to be published) 1. ฉบั บ การผั ง เมื อ ง การจั ด การ และภู มิ ส ถาปั ตยกรรม (Urban Planning, Management and Landscape Architecture) 2. ฉบั บ สถาปั ต ยกรรม สถาปั ต ยกรรมภายใน เทคโนโลยี อ าคาร และเทคโนโลยีส ารสนเทศ (Architecture, Interior Architecture, Building and Information Technology)
สอบถามข้ อ มู ล เพิ่ มเติ ม ได้ ที่ นางสาวพิ มพ์ วดี เอื้ อ มธุ ร พจน์ โทรศั พ ท์ 02-986-9605-6 ต่ อ 3015 โทรสาร 02-9868067 หรื อ e-mail: jars@ap.tu.ac.th และ khunpim@yahoo.com กองบรรณาธิการวารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง ขอสงวนสิทธิ์เป็นผู้พิจารณาเลือกผู้ทรงคุณวุฒิอ่านบทความ (For further information, please contact Ms. Pimwadee Eumthurapoth, Phone no. 02-986-9605-6 ext. 3015, Fax. no. 02-9868067, jars@ap.tu.ac.th และ khunpim@yahoo.com. The application form can be downloaded at https://sites.google.com/a/ap.tu.ac.th/jars/home/application-form. The editorial board
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หลักเกณฑ์การเขียนต้นฉบับเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น18 1. ข้อมูลเบื้องต้นของวารสาร ที่อยู่: กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถ.มิตรภาพ อ.เมืองฯ จ.ขอนแก่น 40002 โทร: 043-362-046 โทรสาร: 043-362-047 E-Mail: arkkujournal@kku.ac.th Website: http://arch.kku.ac.th/journal/ 2. แน วท างการเส น อบ ท ค วาม เพื่ อ ตี พิ ม พ์ ใน วารส ารวิ ช าการ ค ณ ะส ถาปั ต ย ก รรม ศ าส ต ร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วารสารวิ ช าการ คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เพื่ อ เผยแพร่ แนวความคิด ผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัยทางด้านสถาปัตยกรรมและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของนักวิชาการ จากภายในและภายนอกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน และสังคม และส่งเสริมกระตุ้นให้เกิดการวิจัย และการพัฒนาองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม ทุกบทความที่ตีพิมพ์ ลงในวารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิใน สาขาที่เกี่ยวข้อง 3. เกณฑ์การพิจารณารับบทความ บทความที่ ส่งมาให้พิ จารณาลงตีพิ ม พ์ต้องเป็นบทความที่ยังไม่เคยตี พิม พ์ ที่ใดมาก่อนทั้งใน หรือนอก ประเทศ และสาระบทความและแนวเขียนต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร 4. ลักษณะของบทความ 1. ชื่อเรื่อง ชื่อ-นามสกุลผู้เขียนทุกคน ทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ 2. ตําแหน่งทางวิชาการ วุฒิการศึกษา สถานที่ทํางานและ อีเมล์ติดต่อของผู้เขียนบทความหลัก
18
อ้างอิงข้อมูลจาก http://arch.kku.ac.th/journal/
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
3. บทคัดย่อ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กําหนดให้มีเพียง 1 ย่อหน้า โดยที่บทคัดย่อภาษาไทยต้องมีความ ยาวไม่เกิน 15 บรรทัด และบทคัดย่อภาษาอังกฤษไม่เกิน 250 คํา ทั้งนี้ บทคัดย่อภาษาอังกฤษต้องมีเนื้อหา สอดคล้องกับบทคัดย่อภาษาไทย 4. คําสําคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างละไม่เกิน 3 คํา 5. เนื้ อเรื่องควรประกอบด้ วย บทนํ า (ครอบคลุม ความสําคัญ ของปั ญ หา วัตถุป ระสงค์ และวรรณกรรมที่ เกี่ยวข้อง) ตัวเรื่อง บทสรุปและวิจารณ์ผล กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิงทั้งภายในและท้าย บทความ ความยาวของเรื่องรวมรูปภาพประกอบหรือตาราง ไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ ขนาดเอ 4 6. ตัวอักษรไทยในเนื้อหาใช้ Browallia New ขนาด 14 และพิมพ์เว้น 1.5 บรรทัด 7. สมการ รูปภาพ และตาราง ให้มีความชัดเจนและมีการลงหมายเลข และต้องให้มีการกล่าวถึงในตัวบทความ และรูป-ตารางควรระบุที่มาถ้าไม่ได้สร้างขึ้นเอง ความละเอียดของรูปภาพไม่ต่ํากว่า 300 dpi 8. การเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมควรเป็นไปตามรูปแบบการเขียนการอ้างอิงและบรรณานุกรมสําหรับ บทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 9. การส่ ง ต้ น ฉบั บ ให้ ส่ ง บทความพร้ อ มรู ป หรื อ ตารางจํ า นวนสํ า เนา 2 ชุ ด มาที่ ก องบรรณาธิ ก าร วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 10. ผู้เขียนจะได้รับการติดต่อเพื่อแก้ไขบทความโดยคําแนะนําจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อ ผู้เขียนได้ทํ าการแก้ไขปรับ ปรุงบทความแล้วให้ ส่ งบทความสุดท้ าย (Final Manuscript) จํานวน 1 ชุ ด พร้อมไฟล์ที่มีเนื้อหาตรงกับบทความสุดท้าย ในแผ่น CD เมื่อบทความมีความสมบูรณ์ครบถ้วนพร้อมที่จะลง ตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะแจ้งการรับเรื่องเพื่อตีพิมพ์ให้ทราบโดยเร็วที่สุด 11. ส่งบทความทั้งหมดไปยัง บรรณาธิการวารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถนนมิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 12. บทความส่งทางจดหมายอิเลคทรอนิคส์ ให้ส่งไฟล์ที่จัดเตรียมด้วย Microsoft Word ไปยังบรรณาธิการ วารสาร วิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: arkkujournal@kku.ac.th 5. การอ้างอิงและบรรณานุกรม (ตัวหนังสือสีแดง คือ ระบบการเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรม) 5.1 การเขียนอ้างอิงในเนื้อเรื่องบทความสําหรับการอ้างอิงในเนื้อหาใช้ระบบนาม-ปี (Author - Date Citation System) โดยใส่ชื่อ ผู ้แ ต่ง (สํ าหรับ คนไทย) ชื่ อสกุ ล ผู ้แ ต่ง (สํ าหรับ ชาวต่ างประเทศ) และปี พิ ม พ์ ข อง เอกสาร หรือใส่ชื่อและปีีอยู่ในวงเล็บ 5.2 วิธีการเขียนบรรณานุกรมท้ายบทความ: ให้เรียงลําดับเอกสารภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ เรียงลําดับตาม ตัวอักษรและสระ กรณีผู้เขียนคนเดียวกันให้เรียงตามปีที่ตีพิมพ์ - หนังสือ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อหนั งสือ. ครั้งที่พิมพ์. เมือง ที่พิมพ์: สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการจัดพิมพ์.
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- บทความในหนังสือ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลผู้เขียนบทความ. ปีพิมพ์. ชื่อบทความ. ใน ชื่อหนังสือ, หน้า. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์: สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการ จัดพิมพ์. - บทความในวารสาร ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลผู้เขียน. ปีที่พิมพ์. ชื่อบทความ. ชื่อ วารสาร. ปีที่ (ฉบับที่) : หน้า. - Web site ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อนามสกุลผู้แต่ง. ปีพิมพ์. ชื่อเรื่อง. [ออนไลน์] [cited วัน เดือนปีที่ อ้าง]. เข้าถึงได้จาก : URL
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หลักเกณฑ์การเขียนต้นฉบับเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย19 1. ข้อมูลเบื้องต้นของวารสาร วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Academic Journal of Architecture AJA) เป็นวารสารรายปี จัดพิมพ์เดือนธันวาคมของทุกปี ที่อยู่: กองบรรณาธิการวารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร: 02 218 4348 โทรสาร: 02 218 4303 E-Mail: aja.chula@gmail.com Website: http://www.arch.chula.ac.th/journal/home.php 2. ลักษณะของบทความ 1. ข้อกําหนดทั่วไป บทความเป็นภาษาไทยและเรียงลําดับหน้า โดยหน้าแรกของบทความควรประกอบด้วย ชื่อบทความ ชื่อผู้เขียน สถาบัน และอีเมล์ติดต่อ บทคัดย่อยาวไม่เกิน 200 คํา และคําสําคัญไม่เกิน 5 คํา และหน้าที่สองของบทความควรประกอบด้วยข้อมูลเดียวกันยกเว้นเนื้อความทั้งหมดจะต้องจัดให้อยู่ใน คอลัมน์เดียวกันและมีการจัดตัวอักษรให้เรียบร้อย 2. บทคัดย่อ บทคัดย่อจะต้องใช้ตัวเอียง โดยหัวเรื่องใช้ตัวอักษร FreesiaUPC คําว่าบทคัดย่อให้ใช้ขนาด ตัวอักษร 16 ส่วนเนื้อหาบทคัดย่อใช้ตัวอักษรขนาด 14 เว้นบรรทัดเดียว โดยกําหนดให้เว้นบรรทัดสอง บรรทัดระหว่างหัวเรื่องและเนื้อหาบทคัดย่อ 3. ชื่อเรื่องหลัก กําหนดให้ชื่อเรื่องหลักใช้ตัวอักษร FreesiaUPC ขนาด 18 ตัวหนา และชื่อเรื่องหลักที่เป็น ภาษาอังกฤษ กําหนดให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ที่ตัวอักษรแรกของคํานาม คํากริยา คําขยาย โดยเว้นบรรทัด 2 บรรทัดจากชื่อเรื่องหลัก 4. ชื่ อ ผู้ แ ต่ ง และสถาบั น กํ า หนดให้ ชื่ อ ผู้ แ ต่ ง และสถาบั น อยู่ ใ นตํ า แหน่ ง กลางใต้ ชื่ อ บทความ โดยใช้ ตัวอักษร FreesiaUPC ขนาด 16 ตัวธรรมดา ในกรณีที่มีผู้แต่งหลายคนสามารถแสดงเป็น 2-3 คอลัมน์ ได้ โดยให้ชื่อสถาบันอยู่ใต้ชื่อของผู้แต่งแต่ละท่าน ชื่อสถาบันจะอยู่ตรงกลางใต้ชื่อผู้แต่งแต่ละท่าน โดย กําหนดให้ใช้ตัวอักษรธรรมดา เอียงและใส่อีเมล์ติดต่อในกรณีที่มี 5. เนื้อเรื่อง ใช้ตัวอักษร FreesiaUPC ขนาด 14 เว้นบรรทัดเดียว โดยตัวอักษรจัดชิดหน้าและหลัง และไม่ ควรเว้นบรรทัดระหว่างย่อหน้า 19
อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.arch.chula.ac.th/journal/home.php
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
6. ภาพและตาราง คําหัวเรื่องของภาพหรือตารางควรเป็นตัวอักษรขนาด 14 ตัวเข้ม คําบรรยายใต้ภาพควร เป็นตัวอักษรขนาด 12 ตัวปกติ แยกสารบัญลําดับเลขของภาพและตาราง โดยกําหนดให้ชื่อภาพอยู่ใต้ ภาพและ ชื่อตารางอยู่ตําแหน่งกลางเหนือตาราง 7. หัวเรื่อง 7.1 หัวเรื่องลําดับที่ 1 เช่น บทนํา กําหนดให้ใช้ตัวอักษร FreesiaUPC ขนาด 16 ตัวเข้ม ชิดขอบซ้าย โดยเว้นวรรค 1 จังหวะ และเว้น 1 บรรทัดหลังจากหัวเรื่อง 7.2 หั วเรื่องลําดับที่ 2 กําหนดให้ใช้ตัวอักษร FreesiaUPC ขนาด 14 ตัวปกติ ชิดขอบซ้ายโดยเว้น วรรค 1 จังหวะ และเว้น 1 บรรทัดหลังจากหัวเรื่อง 7.3 หั ว เรื่ อ งลํ า ดั บ ที่ 3 ไม่ แ นะนํ า ให้ ใ ช้ ย กเว้ น ในกรณี จํ า เป็ น ในกรณี นั้ น กํ า หนดให้ ใ ช้ ตั ว อั ก ษร FreesiaUPC ขนาด 12 ตัวเข้ม ชิดขอบซ้ายเว้น 1 บรรทัดตามด้วยเนื้อความในบรรทัดเดียวกัน 8. เชิงอรรถ ควรใช้เชิงอรรถเท่าที่จําเป็น โดยกําหนดให้วางไว้ด้านล่างสุดของหน้าที่ใช้อ้างอิง ใช้ตัวอักษร FreesiaUPC ขนาด 10 ตัวปกติ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการเขียนเชิงอรรถรวมๆกัน และให้รวมข้อคิดเห็นด้วยในเชิงอรรถได้ 9. การใช้คําภาษาอังกฤษ ควรใช้เฉพาะที่จําเป็น ชื่อคน ชื่อสิ่งของ ชื่อเมือง ชื่อประเทศ ให้ใช้ทับศัพท์เป็น ภาษาไทย โดยไม่ต้องมีวงเล็บ การใส่วงเล็บคําภาษาอังกฤษให้ใส่เมื่อกล่าวถึงครั้งแรกได้ครั้งเดียว คําที่มี ความหมายทั่ ว ไปๆ ไม่ ต้ อ งมี ว งเล็ บ ภาษาอั งกฤษ ให้ ใส่ ว งเล็ บ ภาษาอั งกฤษได้ เมื่ อ กล่ า วถึ งคํ า ที่ เป็ น ศัพท์เทคนิค คําเฉพาะ คําที่เมื่อใช้ภาษาไทยแล้วมีความหมายที่เข้าใจยาก ไม่ชัดเจน การใส่วงเล็บคํา ภาษาอังกฤษ หากเป็นชื่อเฉพาะ หรือศัพท์เทคนิค ให้ใช้อักษรตัวเล็ก หากเป็นคําที่เมื่อแปลเป็นภาษาไทย แล้วอาจทําให้ความหมายผิดไปให้สามารถใช้ทับศัพท์ได้โดยอ้างอิงตามราชบัณฑิต โดยใช้แบบตัวอักษร เป็น FreesiaUPC 10. การอ้ างอิ งในเอกสารควรอ้ า งอิ งแบบนามปี (ชื่ อ ผู้ แ ต่ งและตามด้ วยปี พ.ศ.) โดยการอ้ างอิ งทั้ งหมด กําหนดให้ใช้ ตัวอักษรแบบ FreesiaUPC ขนาด 14 ตัวปกติ ในตอนท้ายของบทความ การอ้างอิงเอกสาร 4.สมบู ร ณ์ ทั้ ง หมดต้ อ งพิ ม พ์ double spaced แยกบนหน้ า กระดาษในตอนท้ า ยของบทความโดย ประกอบด้วยชื่อผู้แต่ง ปี พ.ศ. ชื่อบทความหรือชื่อหนังสือ ชื่อวารสาร ปี หน้า ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน The Chicago Manual of Style, 15th ed., Chicago and London: The University of Chicago Press, 2003. 11. ภาพและตาราง วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์รับเฉพาะเอกสารที่ประกอบด้วยภาพและตาราง ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ กําหนดรูปแบบให้ดังนี้ TIFF, JPEG, และ EPS ที่มีความละเอียดของรูปภาพและ ตารางระหว่าง 300-600 dpi ชื่อไฟล์ไม่ควรยาวเกินไป รูปและตารางที่นํามาใช้ควรมีการอ้างอิงถึงใน เนื้อหาบทความและสามารถพิมพ์ในรูปแบบขาว-ดําได้ และสามารถพิมพ์อยู่ในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยวกว้าง ไม่เกิน 13 เซนติเมตร หรือครึ่งคอลัมน์ ขนาด 6.5 เซนติเมตร
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
12. การแก้ไข บทความใดก็ตามที่ไม่ตรงตามแนวทางการเขียนด้านบนจะถูกส่งกลับเพื่อการแก้ไขให้ถูกต้อง ก่อนกระบวนการพิจารณาและการบวนการจัดพิมพ์ 3. บรรณานุกรม (ตัวหนังสือสีแดง คือ ระบบการเขียนบรรณานุกรม) - หนังสือภาษาอังกฤษ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: นามสกุลผู้แต่ง. ปีพิมพ์. ชื่อหนังสือ/เอกสาร. เมืองที่พิมพ์: สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการจัดพิมพ์. - หนังสือภาษาไทย ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. ปีพิมพ์. ชื่อหนังสือ/เอกสาร. เมืองที่พิมพ์: สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการจัดพิมพ์. - บทความในวารสาร ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. ปีพิมพ์. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร ปีที่ (ฉบับ ที่): หน้า-หน้า. - บทความในหนั งสือ/เอกสาร ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้ : ชื่อ นามสกุล ผู้แ ต่ง. ปี พิ ม พ์ . ชื่อบทความ. ใน ชื่อ หนังสือ/เอกสาร. เมืองที่พิมพ์: สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการจัดพิมพ์. - วิทยานิพนธ์ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. ปีพิมพ์. “ชื่อวิทยานิพนธ์”, วิทยานิพนธ์ปริญญา ระดับปริญญา สาขาวิชา/ภาควิชา มหาวิทยาลัย. - บทความในหนังสือพิมพ์ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. ปีพิมพ์. ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์ , วันที่เดือน ปีที่พิมพ์, หน้าที่. - Electronic media ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. ปีพิมพ์. [Online]. Available: URL [cited เดือน วันที่, ปีที่สืบค้น]. - สั ม ภาษณ์ ใช้ ร ะบบการอ้ า งอิ ง ดั ง นี้ : ชื่ อ นามสกุ ล ผู้ ใ ห้ สั ม ภาษณ์ , คํ า นํ า หน้ า ชื่ อ . ตํ า แหน่ ง , ปี ที่ สัมภาษณ์. สัมภาษณ์, วันที่ เดือนที่สัมภาษณ์. 4. การเสนอบทความ วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Academic Journal of Architecture AJA) ยินดีต้อนรับ การส่งบทความที่มีคุณภาพในรูปแบบอิเลคทรอนิคส์ บทความทุกบทความต้องเป็นบทความต้นฉบับที่ไม่เคยส่ง พิ ม พ์ ที่ ใดมาก่ อ น พิ ม พ์ ด้ ว ยโปรแกรม Microsoft Word และเพื่ อ ให้ ก ระบวนการพิ จ ารณาบทความคงเป็ น บทความนิรนามระหว่างการพิจารณาอย่างยุติธรรม ขอความกรุณาส่งบทความที่ประกอบด้วยชื่อเรื่องหลัก 2 แผ่น โดยชื่อผู้แต่งและสถาบันปรากฏอยู่บนแผ่นแรกของบทความเท่านั้น นอกจากนั้นบทความควรจะประกอบด้วยเนื้อ เรื่อง การอ้างอิง รูปภาพและตารางอย่างสมบูรณ์ บทความควรมีความยาวระหว่าง 5000-7000 คํา ซึ่งรวมบทคัดย่อ เชิงอรรถ และบรรณานุกรมเรียบร้อย แล้วผู้แต่งควรส่งบทความในรูปแบบ PDF ไฟล์ มาที่ aja.chula@gmail.com โดยระหว่างที่บทความอยู่ในระหว่าง การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ ถือว่าผู้เขียนยกกรรมสิทธิ์ของบทความให้กับทางวารสาร และผู้แต่งต้องรับผิดชอบ ในการขออนุญาตลิขสิทธิ์รูปภาพหรือตารางที่ปรากฏอยู่ในบทความ
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
ใบแจ้งความจํานงเสนอผลงานวิชาการ วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Academic Journal of Architecture, Chulalongkorn University
ข้าพเจ้า (กรุณาใส่ชื่อ-สกุล พร้อมยศและคํานําหน้าที่สมบูรณ์) สถานที่ติดต่อ
ภาควิชา
คณะ
มหาวิทยาลัย เลขที่ แขวง
ซอย
ถนน เขต
จังหวัด
รหัสไปรษณีย์ โทรศัพท์ ชื่อเรื่อง
มือถือ
โทรสาร
Email ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
โดยแนบบทความทางวิชาการฉบับสมบูรณ์ ตามรูปแบบและแนวทางการจัดพิมพ์บทความ ที่กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กําหนด จํานวนหน้าบทความจะต้องมีความยาวทั้งหมดไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 มาพร้อมเอกสารแจ้งความจํานงนี้ ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าบทความวิชาการดังกล่าว ไม่เคยมีการนําไปตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน ลงชื่อ .................................................... วันที่....................................................... สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 02-218-4320 โทรสาร 02-218-4303 Email: aja.chula@gmail.com
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หลักเกณฑ์การเขียนต้นฉบับเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง20 1. ข้อมูลเบื้องต้นของวารสาร กําหนดตีพิมพ์ราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ: ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม) ที่อยู่:
โทร: โทรสาร: E-Mail: Website:
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขที่ 1 ซอยฉลองกรุง 1 ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520 02-329-8000-99 ต่อ 3551 02-329-8366 pimkmitl@hotmail.com, journal.archkmitl@hotmail.com https://www.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl
2. ประเภทของผลงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ 1.1 บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่มีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชาการ กล่าวคือ มี การตั้งสมมติฐานหรือมีการกําหนดปัญหาที่ชัดเจนสมเหตุสมผล ระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแน่นอน มีการค้นคว้า อย่างมีระบบ รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล ตีความและสรุปผลตรงตามวัตถุประสงค์ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ 1.2 บทความทางวิชาการ (Article) เป็นบทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์วิจารณ์ หรือเสนอแนวคิด ใหม่ๆ จากพื้นฐานทางวิชาการที่ได้เรียบเรียบจากผลงานทางวิชาการของตนเองหรือของคนอื่น หรือเป็นบทความ ทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้ที่สําคัญแก่คนทั่วไป 3. ลักษณะของบทความ - บทความทางวิชาการที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน (ทั้งในและนอกประเทศ) หากเคยเผยแพร่ต้อง มีการอนุญาตพิมพ์ซ้ําเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของบทความ - เป็นบทความที่ไม่ได้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ - ต้นฉบับที่ส่งมาต้องมีความถูกต้องของตัวสะกดและไวยากรณ์ บทความที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบจะถูก ส่งคืนให้ผู้เขียนกลับไปแก้ไขให้ถูกต้อง 20
อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
-
เป็นบทความที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น รูปแบบการจัดพิมพ์บทความให้ถูกต้องตามที่กําหนด บทความควรมีความยาวโดยประมาณ 12-15 หน้า กระดาษ A4 รวมภาพประกอบ บทความภาษาไทยและภาษาอั งกฤษให้ ใช้ ตั วอั ก ษรชนิ ด Cordia New โดยยึ ด ถื อ รู ป แบบการพิ ม พ์ บทความภาษาไทย - บทความทุกบทความที่ส่งมาจะได้รับการอ่าน และตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่ น้อยกว่า 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในสาขานั้นๆ โดยไม่ทราบชื่อของผู้เขียนบทความ - บทความในลักษณะอื่นๆ นอกเหนือจากรายละเอียดข้างต้นได้รับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการเป็น กรณีเฉพาะ 4. รูปแบบของบทความ แนวทางและรูปแบบการเขียนบทความควรมีเนื้อหาดังนี้ - ชื่ อ เรื่ อ ง (Title): ควรกระทั ด รั ด ไม่ ย าวเกิ น ไป ชื่ อ เรื่ อ งให้ มี ทั้ ง ภาษาไทยและภาษาอั งกฤษ ต้ น ฉบั บ ภาษาไทยให้พิมพ์ชื่อเรื่องภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาอังกฤษ - ชื่อผู้เขียนและหน่วยงานสังกัด (Authors): ให้ระบุชื่อเต็ม-นามสกุลเต็มของผู้เขียนทุกคนทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และระบุตําแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานหรือสถาบันที่สังกัด - บทคัดย่อ (Abstract): ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 350 คํา (บทคัดย่อที่เขียนควร เป็ น แบบ Indicative Abstract คื อ สั้ น และตรงประเด็ น และให้ ส าระสํ า คั ญ เท่ า นั้ น ไม่ ค วรเขี ย นแบบ Informative Abstract ตามแบบที่เขียนวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์) - คําสําคัญ (Keywords): กําหนดคําสําคัญที่เหมาะสมสําหรับการนําไปใช้ทําคําค้นในระบบฐานข้อมูล ที่คิด ว่า ผู้ที่จะค้นหาบทความควรใช้ ให้ระบุทั้งคําในภาษาไทยและภาษาอังกฤษใส่ไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละ ภาษาอย่างละไม่เกิน 5 คํา - บทนํา (Introduction): อธิบายถึงที่มาและความสําคัญของปัญหาและเหตุผลที่นําไปสู่การศึกษาวิจัย ให้ ข้อมูลทางวิชาการที่ มี การตรวจเอกสาร (Literature Review) พร้อมทั้ งจุดมุ่งหมายที่เกี่ ยวข้อง รวมทั้ ง วัตถุประสงค์ของการวิจัย - วิธีการวิจัย เครื่องมือการวิจัย และระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology): อธิบายกระบวนการ ดําเนินการวิจัย โดยบอกรายละเอียดวัสดุ และวิธีการศึกษา สิ่งที่นํามาศึกษา จํานวน ขนาด ลักษณะเฉพาะ ของตัวอย่างที่ศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษา อธิบายแบบแผนการวิจัย การ เลือกตัวอย่าง วิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิตที่ใช้ - ผลการวิจัย (Research Results): เสนอผลการวิจัยอย่างชัดเจน ตรงประเด็นตามลําดับขั้นตอนของการ วิจัย ถ้าผลไม่ซับซ้อนและมีตัวเลขไม่มาก ควรใช้คําบรรยายแต่ถ้ามีตัวเลขหรือตัวแปรมาก ควรใช้ตารางหรือ แผนภูมิแทน โดยไม่ควรมีเกิน 5 ตารางหรือแผนภูมิ โดยต้องมีการแปลความหมายและวิเคราะห์ผลที่ค้นพบ และสรุปเทียบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ (ถ้ามี)
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- การอภิ ป รายผล การวิ จ ารณ์ แ ละสรุ ป ข้ อ เสนอแนะ (Discussions, Conclusions, and Recommendations): เป็นการชี้แจงผลการวิจัยว่าตรงกับวัตถุประสงค์/สมมติฐานของการวิจัย สอดคล้องหรือ ขั ด แย้ ง กั บ ผลการวิ จั ย ของผู้ อื่ น ที่ มี อ ยู่ ก่ อ นหรื อ ไม่ อ ย่ า งไร เหตุ ผ ลใดจึ ง เป็ น เช่ น นั้ น และให้ จ บด้ ว ย ข้อเสนอแนะที่จะนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ หรือทิ้งประเด็นคําถามการวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางสําหรับการ ทําวิจัยต่อไป - กิติกรรมประกาศ (Acknowledgements): ระบุสั้นๆ ว่างานวิจัยได้รับทุนสนับสนุนหรือความช่วยเหลือ จากองค์กรใดหรือผู้ใดบ้าง - ประวัติผู้เขียนบทความ: ชื่อ-สกุล, ประวัติการศึกษา, การทํางาน, ผลงานทางวิชาการที่ยอมรับ, ตําแหน่ง หน้าที่ การทําปัจจุบัน, หมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร และ E-mail address ที่สามารถติดต่อได้ 5. การอ้างอิงและบรรณานุกรม: (ตัวหนังสือสีแดง คือ ระบบการเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรม) การอ้างอิง ใช้ระบบการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ แบบ นาม-ปี และหน้า (ชื่อ-นามสกุลผู้ต่าง, ปีที่พิมพ์: หน้าที่อ้างอิง) ทั้งนี้ เอกสารอ้างอิง ให้ระบุรายชื่อเอกสารที่ใช้เป็นหลักในการค้นคว้าวิจัยที่ได้ตรวจสอบเพื่อนํามา เตรี ย มรายงานและมี ก ารอ้ างถึ ง จั ด เรี ย งลํ าดั บ ตามตั ว อั ก ษร ถ้ าเป็ น บทความภาษาไทยนํ า โดยกลุ่ ม เอกสาร ภาษาไทยและตามด้วยกลุ่มเอกสารภาษาอังกฤษ รูปแบบของการเขียนเอกสารอ้างอิง ควรเป็น ดังนี้ - หนังสือใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อผู้แต่ง. ชื่อเรื่อง. พิมพ์ครั้งที่. สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์, ปีที่พิมพ์ - บทความในวารสาร ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อผู้เขียนบทความ. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่ (เดือน ปี): เลขหน้า - สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อผู้แต่ง, ชื่อเรื่อง (ออนไลน์) ปีที่พิมพ์ (วัน เดือน ปีที่อ้าง) จาก ระบุชื่อ Website.
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
แบบฟอร์มการส่งบทความวิชาการและวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วันที่............เดือน...........................พ.ศ................. เรียน คณบดี ชื่อ-สกุล (นาย/นาง/นางสาว) …………………………………………………………………………………….………………………….. ตําแหน่งทางวิชาการ .............................................................................................................................................. กลุ่มวิชา ....................................................................สาขาวิชา ............................................................................. คณะ......................................................................................................................................................................... มหาวิทยาลัย/สถาบัน/วิทยาลัย................................................................................................................................ ขอส่ง บทความวิชาการ บทความวิจัย ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ................................................................................................................................................. ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ............................................................................................................................................ ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้สะดวก.......................................หมู่ที่............................ซอย............................................... ถนน.................................ตําบล...................................อําเภอ.....................................จังหวัด................................... รหัสไปรษณีย์..........................โทรศัพท์...................................................โทรศัพท์มือถือ........................................... โทรสาร.........................................................E-mail………………………………………………………………………………………. ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าบทความวิชาการและวิจัยดังกล่าว ไม่เคยมีการนําไปตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน เอกสารประกอบการส่งบทความ บทความต้นฉบับ 1 ชุด และ CD 1 แผ่น ลงชื่อ.................................................... (ผู้เขียน) วัน........../................./.............. หมายเหตุ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขที่ 1 ซอยฉลองกรุง 1 ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520 โทรศัพท์ 02-329-8000-99 ต่อ 3551 โทรสาร. 02-329-8366 E-mail: journal.archkmitl@hotmail.com E-mail : pimkmitl@hotmail.com
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หลักเกณฑ์การเขียนต้นฉบับเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ วารสารวิจิตรศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่21 1. ข้อมูลเบื้องต้นของวารสาร วารสารวิจิตรศิลป์ มีกําหนดออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม ที่อยู่: กองบรรณาธิการวารสารวิจิตรศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ตําบลสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทร: 0-5394-4829 โทรสาร: 0-5321-1724 E-Mail: sulaluck.k@cmu.ac.th Website: http://journal.finearts.cmu.ac.th/ 2. ประเภทบทความที่รับพิจารณา - รายงานการวิจัยทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็ น บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ท างด้านศิลปกรรม (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี) - บทความวิชาการหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้าน ศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจั ยงานศิ ลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิล ป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิล ปะ ปรัชญาศิล ป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี) - บทความวิจารณ์หนังสือหรือบทความปริทรรศน์ 3. รูปแบบการเขียนบทความ รายงานการวิจัย บทความวิจัย และงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม ควรมีความยาวตั้งแต่ 8,000คํา แต่ ไม่ควรเกินกว่า 15,000 คํา (จํานวนคําถือตามการนับจํานวนคําใน Microsoft Word) หรือ จํานวนหน้า ตั้งแต่ 15 หน้า แต่ไม่เกิน 30 หน้า (ไม่รวมบรรณานุกรม ภาพประกอบ และคําบรรยายภาพ) ลงในกระดาษ A4 ระยะห่าง จากขอบกระดาษ ทั้งด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้าย และด้านขวา 2.54 เซนติเมตร แบบอักษร Cordia New ขนาด 21
อ้างอิงข้อมูลจาก journal.finearts.cmu.ac.th/
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
16 Point ภาพประกอบความละเอียดที่ 300 Pixel/High Resolution ขนาดไฟล์ไม่ต่ํากว่า 500KB และมีข้อมูล ตามลําดับต่อไปนี้ - บทคัดย่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ - ชื่อ-นามสกุล ตําแหน่ง ตําแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานที่สังกัด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ - เชิงอรรถและบรรณานุกรม - กิตติกรรมประกาศ 4. การเตรียมต้นฉบับ - เอกสารบทความวิชาการ/วิจัย (ตามข้อ 2) จํานวน 2 ชุด พร้อมแบบนําส่งต้นฉบับ จํานวน 1 ชุด - ซีดี-รอม จํานวน 1 แผ่น ประกอบด้วย ไฟล์บทความ นามสกุล .doc หรือ .docx ไฟล์ ภ าพประกอบ นามสกุ ล .jpg, jpeg หรือ RAW หรือ TIFF ความละเอี ยด 300 Pixel / High Resolution ขนาดไฟล์ไม่ต่ํากว่า 500KB
5. การพิจารณาบทความ - กองบรรณาธิการฝ่ายวิชาการจะทําหน้าที่พิจารณากลั่นกรองบทความและจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ส่ง บทความทราบภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับบทความ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการฝ่ายประสานงานจะทํา หน้าที่ประสานงานกับผู้ส่งบทความในทุกขั้นตอน - กองบรรณาธิการฝ่ายประสานงานจะดําเนินการจัดรูปแบบของบทความให้เป็นระบบเดียวกันทุกบทความ ก่อนนํ าเสนอให้ ผู้ ท รงคุณ วุฒิ (peer review) พิ จ ารณา จากนั้ น จึงส่ งบทความที่ ได้รับ การพิ จารณาใน เบื้องต้นให้กับผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) จํานวน 2 ท่าน เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบในการตีพิมพ์ เผยแพร่บทความ โดยใช้เวลาพิจารณาแต่ละบทความไม่เกิน 1 เดือน ผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ ดังกล่าวถือเป็นสิ้นสุด จากนั้น จึงส่งผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้ส่งบทความ หากมีการแก้ไขหรือ ปรับปรุงให้ผู้ส่งบทความแก้ไขและนําส่งกองบรรณาธิการภายในระยะเวลา 1 เดือนนับตั้งแต่วันที่ได้รับผล การพิจารณา - กองบรรณาธิการฝ่ายประสานงานนําบทความที่ผ่านการพิจารณาและแก้ไขแล้ว เข้าสู่กะบวนการเรียบ เรียงพิมพ์และการตีพิมพ์ โดยใช้ระยะเวลาดําเนินการประมาณ 2-3 เดือน - ผู้ส่งบทความจะได้รับ “วารสารวิจิตรศิลป์” จํานวน 2 เล่ม เป็นการตอบแทน ภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่ วารสารวิจิตรศิลป์ได้รับการเผยแพร่
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
6. การอ้างเอกสาร การอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่องใช้ระบบนาม-ปี (Name-year system) ของวารสารวิจิตรศิลป์ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1. นามของผู้เขียนและการอ้างอิงที่เป็นตัวเลข 1.1 นามของผู้ เขียนภาษาไทย ให้เขียนเฉพาะชื่อ ให้ใช้พุท ธศักราช และเลขหน้าเป็ นเลขอารบิ ค ทั้งหมด 1.2 นามของผู้เขียนภาษาต่างประเทศ ให้เขียนเฉพาะนามสกุล (last name) ให้ใช้คริสต์ศักราช และ เลขหน้าเป็นเลขอารบิคทั้งหมด 2. เรื่องที่มีผู้เขียนมากกว่า 3 คนขึ้นไป 2.1 ภาษาไทย ใช้ชื่อแรกแล้วตามด้วยคําว่า และคณะ แล้วจึงเป็น พุทธศักราชและเลขหน้า 2.2 ภาษาต่างประเทศ ใช้เฉพาะนามสกุลคนแรก แล้วตามด้วย et al. และ ค.ศ. 3. ผู้เขียนเดียวกัน เสนอเอกสารปีเดียวกัน ให้กํากับตัวอักษรตามลําดับ เช่น ก, ข, ค,... A, B, C,… ต่อ จากปีพิมพ์ 4. กรณีไม่มีชื่อผู้แต่ง ผู้รวบรวม ผู้แปล หรือบรรณาธิการ ให้ลงรายการชื่อเรื่องแทนและใช้ตัวเอน 7. การเขียนบรรณานุกรม เอกสารอ้างอิงทุกเรื่องที่ปรากฏในรายการอ้างอิง ให้นํามาเขียนเป็นบรรณานุกรมทุกรายการ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ - จัดทํารายการสิ่งพิมพ์ภาษาไทยก่อน ตามด้วยรายการสิ่งพิมพ์ภาษาต่างประเทศ - การอ้างอิงที่เป็นตัวเลขใช้เลขอารบิคทุกกรณี - เรียงลําดับตามตัวอักษรของผู้แต่ง - เขียนชื่อทุกคนที่ร่วมเขียนเอกสารภาษาไทยให้เขียนชื่อ ทุกคนเรียงกันไป คั่นด้วยจุลภาค (,) คนสุดท้าย ให้เชื่อมด้วย “และ” - เอกสารที่มีผู้เขียนชุดเดียวกัน ให้เรียงลําดับตามปี จากปีที่พิมพ์ก่อน-ปีที่พิมพ์หลังต่อๆ มา แต่หากเป็นปี เดียวกันให้ใส่ ก ข ค กํากับไว้ที่พุทธศักราช หรือ A B C กํากับไว้ที่คริสต์ศักราชโดยเรียงตามลําดับของ เล่มที่พิมพ์ก่อน-หลังและตามลําดับตัวอักษรของชื่อเรื่องสําหรับชื่อเรื่องให้ใช้ตัวเอน - ชื่อผู้แต่งในรายการถัดจากรายการแรกให้แทนชื่อผู้เขียนด้วยการขีดเส้นใต้ จํานวน 16 เคาะ (8 ตัวอักษร) ตามด้วยจุด (.) - บรรณานุกรมที่มีความยาวเกิน 1 บรรทัด ในการพิมพ์/เขียนบรรทัดที่ 2 ให้เยื้องเข้าประมาณ ½ นิ้ว - ชื่อเรื่องหนังสือ ชื่อบทความ ชื่อวารสารภาษาต่างประเทศ ให้ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคํา ยกเว้น คําบุรพบทและสันธาน
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- หากไม่ปรากฏเมืองที่ พิม พ์ สํานักพิม พ์ ให้ใช้คําว่า ม.ป.ท. หรือ n. หากไม่ปรากฏปี ที่พิม พ์ ให้ ใช้คําว่า ม.ป.ป. หรือ N.d. - ในกรณีไม่มีชื่อผู้แต่ง ผู้รวบรวม ผู้แปล หรือบรรณาธิการ ให้ลงรายการชื่อเรื่องแทน - ลําดับการเขียนและเครื่องหมายวรรคตอนให้ใช้ดังนี้ - หนังสือ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ผู้เขียน.//ปี.//ชื่อหนังสือ.//ชื่อเมือง:/สํานักพิมพ์. - วารสาร ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ผู้เขียน.//ปี.//”ชื่อเรื่อง.”//ชื่อวารสาร ปีที่,/ฉบับที่/(เดือน):/ หน้า. - รายงานสัมมนา/ประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ผู้เขียน.// ปี.// “ชื่อเรื่อง.”//.ใน ชื่อสัมมนา วัน สัมมนา.//สถานที่:/หน่วยงานที่จัด - วิท ยานิพ นธ์ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้ : ผู้เขียน.//ปี .//ชื่อเรื่อง.//วิท ยานิ พ นธ์ ชื่อ ปริญ ญา ชื่อ มหาวิทยาลัย หรือสถาบัน - เว็บไซต์ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อผู้พัฒนาเว็บไซต์.//ปีที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด.//”ชื่อเรื่อง.”// หน่วยงานเจ้าของเว็บไซต์,/URL,/(สืบค้นเมื่อ วันที่ เดือน ปี ภาษาไทย) (accessed เดือน วันที่, ปี ภาษาต่างประเทศ)
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
แบบเสนอต้นฉบับเพื่อลงตีพิมพ์ ในวารสารวิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1. ชื่อเรื่อง ภาษาไทย…………………………………………………………………………………………………...................................................... ภาษาอังกฤษ.............................................................................................................................................. 2. ชื่อ/สกุล เจ้าของบทความหรือผู้แทนส่งบทความ.............................................................................. 3. สถานที่ติดต่อเจ้าของบทความหรือผู้แทนส่งบทความ...................................................................... ………………………………………………………………………………………………………………........................................................ ………………………………………………………………………………………………………………........................................................ โทรศัพท์…………………....................…โทรสาร……............………………E-mail……............………………….…....……….... 4. ประเภทของต้นฉบับ บทความวิจัยทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ สาขา……………………….................................................................. บทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม สาขา……………………….................................................................. บทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ สาขา……………………….................................................................. บทความวิจารณ์หนังสือ บทความปริทรรศน์ อื่นๆ (โปรดระบุ)……………………………………………………… 5. คํายินยอมในการนําส่งบทความ “ข้าพเจ้ายินดีให้กองบรรณาธิการ วารสารวิชาการ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีสิทธิ์ในการเลือกสรรหาผู้ กลั่นกรองโดยอิสระ เพื่อพิจารณาต้นฉบับที่ข้าพเจ้า (และผู้แต่งร่วม) ส่งมาและยินยอมให้กองบรรณาธิการวารสาร สามารถตรวจ แก้ไขต้นฉบับดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร” (กรุณาลงลายมือชื่อให้ครบทุกท่าน) ชื่อ – สกุล ชื่อ – สกุล หน่วยงาน โทรศัพท์ E-mail (ภาษาไทย) (ภาษาอังกฤษ)
ลงชื่อ.....................................................................เจ้าของบทความหรือผู้แทนส่งบทความ (...................................................................) วันที่..............เดือน..................................พ.ศ. ............
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หลักเกณฑ์การเขียนต้นฉบับเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ วารสารดํารงวิชาการ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร22 1. ข้อมูลเบื้องต้นของวารสาร วารสารดํารงวิชาการกําหนดออกปีละ 2 ฉบับ ทุกๆ 6 เดือน (ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม) ที่อยู่: กองบรรณาธิการวารสารดํารงวิชาการ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ.หน้าพระลาน พระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร: 0224-7684 โทรสาร: 02226 5355 E-Mail: damrong_journal@hotmail.com Website: http://www.damrong-journal.su.ac.th 2. รายละเอียดการเตรียมบทความ - พิมพ์ผลงานในกระดาษขนาด A4 (พิมพ์หน้าเดียว) แบบ 1 คอลัมน์ โดยใช้โปรแกรม Microsoft Word for Windows หรือซอฟท์ แ วร์อื่นที่ ใกล้เคียงกั น จํานวนประมาณ 26 บรรทั ดต่อ หนึ่ งหน้ า ใช้รูป แบบฟอนท์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษเป็น TH Sarabun PSK ขนาด 16 พอยต์ ทั้งบทความ หากมีการใช้อักษรพิเศษ ให้ส่งแบบอักษร (Font) นั้นมาพร้อมกันด้วย และใส่เลขหน้ากํากับทุกหน้าด้านบนขวายกเว้นหน้าแรก - ตั้งค่าหน้ากระดาษในส่วนของระยะขอบกระดาษ โดยให้ระยะขอบบน ขนาด 1.5 นิ้ว และระยะขอบล่าง, ซ้าย, ขวา ขนาด 1 นิ้ว - จํ า นวนหน้ า ทั้ ง หมดตั้ งแต่ เนื้ อ หารวมบทคั ด ย่ อ ภาษาไทย บทคั ด ย่ อ ภาษาอั ง กฤษ บรรณานุ ก รม และ ภาพประกอบต้อง ต้องไม่เกิน 15 หน้า - บทคัดย่อภาษาไทย และบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) จํานวนอย่างละ 1 ย่อหน้า โดยภาษาไทยมีความ ยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษ A4 และภาษาอังกฤษมีความยาวประมาณ 250 คํา พร้อมคําสําคัญต่อท้าย (Keywords, Tags) จํานวนไม่เกิน 5 คํา - ในส่วนบทนํา ใส่ชื่อ – นามสกุล ของผู้เขียนบทความ หรือผู้เขียนร่วม หากมีตําแหน่งทางวิชาการให้นําใส่ใน เชิงอรรถท้ายหน้า - รูปแบบการอ้างอิงและการเขียนบรรณานุกรม มีอยู่ในรูปแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี 22
อ้างอิงข้อมูลจาก http://journal.finearts.cmu.ac.th/?lang=en#
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ไฟล์บทความ บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อยู่ในรูปแบบไฟล์ .doc - ไฟล์ รูปภาพ - ตาราง (กรณีมีภาพหรือตารางประกอบให้สร้างแยกจากบทความ) สําหรับรูปภาพประกอบ ขอให้มีความละเอียดไม่ต่ํากว่าไม่ต่ํากว่า 300 dpi/inch หรือ ไม่ต่ํากว่า 1 MB ต่อภาพ รวมทั้งระบุที่มาของ ภาพหากมิใช่ภาพที่ผู้เขียนถ่าย หรือจัดทําด้วยตนเอง - บทความนี้เป็นของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว และ/หรือเป็นผลงานของข้าพเจ้าและผู้ร่วมงาน ตามชื่อที่ระบุใน บทความจริง และเป็นผลงานที่มิได้ถูกนําเสนอหรือตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน - ตัวบทความที่ Print Out ออกมา พร้อมบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จํานวน 2 ชุด - ข้อมูลของบทความประกอบด้วย: ไฟล์บทความ บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ไฟล์ .doc) ไฟล์ รูปภาพ – ตาราง (กรณี มีภาพหรือตารางประกอบให้สร้างแยกจากบทความ) พร้อมบันทึ กลงใน รูปแบบแผ่น CD จํานวน 1 ชุด 3. รูปแบบการอ้างอิง และเขียนบรรณานุกรม (ตัวหนังสือสีแดง คือ ระบบการเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรม) วารสารดํารงวิชาการ ได้กําหนดเกณฑ์รูปแบบการอ้างอิงและการจัดทําบรรณานุกรมแบบระบบนาม-ปีขึ้น โดยปรับปรุงจากมาตรฐานของสมาคมสังคมวิทยาอเมริกัน (ASA) และสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA) ผู้เขียน สามารถดาวน์โหลด “เกณฑ์การจัดทําระบบอ้างอิงฉบับเต็ม” ได้จากหัวข้อ “เกณฑ์การจัดทําระบบอ้างอิงของ วารสารดํารงวิชาการ” ได้ที่เว็บไซต์ http://www.damrong-journal.su.ac.th ในที่นี้จะนําเสนอตัวอย่างการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา และรูปแบบของบรรณานุกรมดังนี้ 3.1 การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาให้ใช้ระบบนาม-ปี คือ การแทรก “อ้างอิง” อยู่ในเนื้อหาของ บทความ วิธีการคือ ให้พิมพ์ ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ เครื่องหมายทวิภาค และเลขหน้าที่อ้างอิง ภายในเครื่องหมาย วงเล็บ โดยมีรูปแบบดังนี้ เนื้อหาบทความที่อ้าง (ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์: เลขหน้าที่อ้าง) หรือชื่อผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์: เลข หน้าที่อ้าง) เนื้อหาบทความที่อ้าง 3.2 การจัดทําบรรณานุกรม: - หนังสือ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์: สํานักพิมพ์ - บทความในวารสาร/ นิ ต ยสาร ใช้ ร ะบบการอ้ า งอิ ง ดั ง นี้ : ชื่ อ ผู้ แ ต่ ง , ปี ที่ พิ ม พ์ . “ชื่ อ หนังสือ.” ชื่อวารสาร/นิตยสาร ปีที่ (ฉบับที่): เลขหน้าบทความ. 4. การส่งต้นฉบับบทความ ส่ง “แบบเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารดํารงวิชาการ” พร้อมแนบต้นฉบับบทความและ บทคัดย่อ (ไทยและอังกฤษ) จํานวน 3 ชุด และแผ่นซีดีต้นฉบับ 1 แผ่น จ่าหน้าถึง “บรรณาธิการวารสารดํารง
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิชาการ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200” - ในกรณีที่บทความมีภาพประกอบ ให้ผู้เขียนแยกไฟล์.Doc ของภาพประกอบพร้อมคําบรรยายออกมาอยู่ ส่วนท้ายของบทความหลังบรรณานุกรม (ไม่แทรกภาพประกอบในเนื้อหาบทความต้นฉบับ) โดยภาพประกอบ จะต้ อ งระบุ ห มายเลขของภาพ และคํ า บรรยายซึ่ ง สามารถเชื่ อ มโยงกั บ หมายเลขที่ ต รงกั บ เนื้ อ หาใน บทความ ส่วนตัวไฟล์ภาพประกอบ (เช่น .JPEG) ให้ rename เป็นหมายเลขตรงกันกับหมายเลขคําบรรยายภาพ (เช่น 01,02,03…..) แยกใส่ใน Folder ของภาพประกอบออกมาต่างหาก (ไฟล์ .JPEG / Resolution ไม่ต่ํากว่า 300 dpi/inch หรือ ไม่ต่ํากว่า 1 MB ต่อภาพ รวมทั้งระบุที่มาของภาพหากมิใช่ภาพที่ผู้เขียนถ่าย หรือจัดทําด้วย ตนเอง) - ไฟล์ บทความ บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ไฟล์ .doc) - ไฟล์ รู ป ภาพ – ตาราง (กรณี มี ภ าพหรื อ ตารางประกอบให้ ส ร้ า งแยกจากบทความ) สํ า หรั บ รู ป ภาพประกอบขอให้มีความละเอียดไม่ต่ํากว่า 300 dpi/inch หรือ ไม่ต่ํากว่า 1 MB ต่อภาพ รวมทั้งระบุที่มาของ ภาพหากมิใช่ภาพที่ผู้เขียนถ่าย หรือจัดทําด้วยตนเอง 5. เกณฑ์การพิจารณาบทความ - บทความต้องมีคุณค่าทางวิชาการ และส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยในด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ศิลปะ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา สังคมศาสตร์ ภาษา และวัฒนธรรม โดยทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนทรรศนะทาง วิชาการ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื้อหาบทความต้องมีความสมบูรณ์ ชัดเจน ถูกต้อง และมีการอ้างอิง/บรรณานุกรมที่ถูกต้อง - หากมี ป ระเด็ น ทางวิชาการที่ มี ค วามเกี่ ยวข้อ งกั บ เนื้ อหาในบทความของวารสารดํ ารงวิช าการฉบั บ ย้อนหลังควรอ้างอิงบทความเหล่านั้น เพื่อแสดงถึงความครบถ้วนของการค้นคว้างานที่เกี่ยวข้องกับความสมบูรณ์ ของการทบทวนวรรณกรรม และความถูกต้องทางวิชาการรวมทั้งเพื่อให้สามารถประเมินความเป็นงานบุกเบิก (originality) ของบทความ
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
6. ขั้นตอนการพิจารณาบทความ ระยะเวลา (เดือน) โดยประมาณ 2 4.1 ผู้เขียนส่งบทความพร้อมทั้งบทคัดย่อเสนอต่อกองบรรณาธิการ เพื่อรับการพิจารณาเบื้องต้น (หากมีข้อแก้ไขผู้เขียนปรับและแก้ไขบทความตามที่กองบรรณาธิการ ได้ให้ข้อเสนอแนะ) 4.2 กองบรรณาธิการส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณากลั่นกรองบทความจากผู้เขียน 1 4.3 กองบรรณาธิการ พิจารณาผลการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมออกแบบตอบรับ 1 การตีพิมพ์ให้ผู้เขียน (ขั้นตอนการออกแบบตอบรับการตีพิมพ์จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน หลังจาก ผู้เขียนส่งบทความมายังกองบรรณาธิการ เพื่อขอรับการพิจารณา) 4.4 ผู้เขียนจะต้ อ งแก้ ไขบทความตามที่ ผู้ท รงคุณ วุ ฒิ ได้แ สดงความเห็ น และข้อ เสนอแนะ และ 1 ส่งกลับมาให้กองบรรณาธิการพิจารณา 4.5 หากไม่มีข้อแก้ไขเพิ่มเติม กองบรรณาธิการจะดําเนินการในขั้นตอนการตีพิมพ์วารสารต่อไป 1 หากยังมีข้อแก้ไขกองบรรณาธิการจะติดต่อผู้เขียนเพื่อให้ดําเนินการแก้ไขจนกว่าจะสมบูรณ์ กระบวนการ
หมายเหตุ กระบวนการตั้งแต่ส่งบทความเข้ามายังกองบรรณาธิการ เพื่อขอรับการพิจารณาจนถึงการตีพิมพ์ จะใช้ เวลาไม่ น้ อ ยกว่ า 6 เดื อ น หรื อ นานกว่ า นั้ น ขึ้ น อยู่ กั บ คุ ณ ภาพของบทความและการพิ จ ารณาของกอง บรรณาธิการ ผู้ ท รงคุณ วุฒิ ผู้กลั่นกรองบทความ เช่น ถ้าประสงค์จะลงตีพิม พ์ ในวารสาร ฉบั บ ที่ 1 (มกราคมมิถุนายน) ของแต่ละปี จะต้องส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาไม่ช้าไปกว่าวันที่ 31 ธันวาคม ของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมติของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในการที่จะพิจารณาตัดสินให้มีการตีพิมพ์บทความนั้นใน วารสารฉบับที่/ปีที่เท่าใดด้วย
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
แบบเสนอขอส่งบทความเพือ่ ลงตีพิมพ์ในวารสารดํารงวิชาการ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ข้าพเจ้า นาย/นาง/นางสาว (ภาษาไทย) .................................................................................................................... (ภาษาอังกฤษ) .......................................................................................................................................................... ตําแหน่ง...................................................................................................................................................................... วุฒิการศึกษา............................................................................................................................................................... สถานที่ทํางาน............................................................................................................................................................. ขอส่งบทความวิชาการด้าน O โบราณคดี O ประวัติศาสตร์ O มานุษยวิทยา O ภาษาศาสตร์
O ประวัติศาสตร์ศิลปะ O ศิลปวัฒนธรรม
O อื่นๆ..........................
ชื่อเรื่อง (ไทย)......................................................................................................................................................................... (อังกฤษ)...................................................................................................................................................................... . สถานทีส่ ามารถติดต่อได้ บ้านเลขที่.................................หมู่ที่........................... ตรอก/ซอย.......................................................................... ถนน.............................................................................แขวง/ตําบล……………………………………..…………………….….. เขต/อําเภอ...............................................จังหวัด..................................................รหัสไปรษณีย์............................. โทรศัพท์....................................................................โทรศัพท์เคลื่อนที่.................................................................... โทรสาร.............................................................E-mail……………………………………….………………………………….……. หรือ สถานทีท่ าํ งาน.................................................................................................................................................. ที่อยู่.......................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... โทรศัพท์.........................................................โทรสาร............................................................................................... วัตถุประสงค์ของการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ O เพื่อสําเร็จการศึกษาภาคเรียนที่.......... ปีการศึกษา...................... ภายในวันที่...................................................... อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ คือ..........................................................สังกัด........................................................
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โดยมีผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) นาย/นาง/นางสาว (ภาษาไทย) ............................................................................................................................. (ภาษาอังกฤษ) ...................................................................................................................................................... สังกัด...................................................................................................................................................................... O ใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนตําแหน่งทางวิชาการ/วิชาชีพ O อื่นๆ ......................................................................................................................................................................... ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่านที่เห็นว่าเหมาะสมเป็นผู้พิจารณากลั่นกรองบทความ (ถ้ามี) โดยต้องไม่อยู่ในสังกัด เดียวกันกับผู้เขียน ทั้งนี้การพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิอ่านบทความเป็นเอกสิทธิ์ของกองบรรณาธิการ ซึ่งอาจ ไม่ตรงกับที่ผู้ส่งบทความเสนอมาก็ได้ 1. ชื่อ - นามสกุล........................................................................... ตําแหน่ง ............................................................. ต้นสังกัด ...................................................................................... โทรศัพท์ .............................................................. โทรศัพท์เคลื่อนที่..........................................โทรสาร..........................................................E-mail…………………….. 2. ชื่อ - นามสกุล........................................................................... ตําแหน่ง ............................................................. ต้นสังกัด ...................................................................................... โทรศัพท์ .............................................................. โทรศัพท์เคลื่อนที่..........................................โทรสาร..........................................................E-mail…………………….. ข้าพเจ้าขอรับรองว่าบทความนี้
( ( ( (
) เป็นผลงานของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว ) เป็นผลงานของข้าพเจ้าและผู้ร่วมงานตามชื่อที่ระบุในบทความจริง และ ) เป็นผลงานที่มิได้ถูกนําเสนอหรือตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน ) มีการอ้างอิงบทความทางวิชาการจากวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนี การอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่ปีปจั จุบัน
ลงชื่อ........................................................................ (......................................................................) วันที่.........เดือน........................พ.ศ. ..................
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หลักเกณฑ์การเขียนต้นฉบับเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ วารสารสังคมลุ่มนํ้าโขง23 1. ข้อมูลเบื้องต้นของวารสาร วารสารสังคมลุ่มน้ําโขงเปิดรับบทความวิชาการ เนื้อหาเกี่ยวกับอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขงในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ภาษา วรรณกรรม สารสนเทศ สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ที่อยู่: กองบรรณาธิการวารสารสังคมลุ่มน้ําโขง ศูนย์พหุลักษณ์ลุ่มน้ําโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถ.มิตรภาพ อ.เมืองฯ จ.ขอนแก่น 40002 โทร: 043-203-215 โทรสาร: 02226 5355 E-Mail: plurality@kku.ac.th Website: http://www.plurality.net 2. รายละเอียดการเตรียมบทความ - เป็นบทความด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง - เป็นบทความภาษาไทยหรือบทความภาษาอังกฤษ ในกรณีเป็นบทความภาษาอังกฤษต้องผ่านการตรวจสอบ ความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาก่อนส่งบทความมายังกองบรรณาธิการ - ต้องระบุชื่อบทความ และชื่อ-นามสกุลจริงของผู้เขียนบทความ พร้อมวุฒิ การศึกษาตําแหน่ ง และสถานที่ ทํางานอย่างชัดเจน เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ - ต้ น ฉบั บ บทความต้ อ งมี ค วามยาวไม่ เกิ น 15 หน้ า กระดาษ A4 ขนาดอั ก ษร Cordia New 16 พร้ อ มทั้ ง แฟ้มข้อมูลอิแล็กทรอนิกส์ โดยส่งบทความที่ www.tci-thaijo.org/index.php/mekongjournal หรือติดต่อ สอบถามได้ที่ plurality@kku.ac.th - ต้องเป็นต้นฉบับที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน - หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์ อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์ - บทความต้องมีสาระสังเขปทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ มีความยาวรวมกันไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 23
อ้างอิงข้อมูลจาก http://mekongjournal.net/
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- บทความควรมีภาพประกอบตามความเหมาะสม ตาราง และเเผนภูมิควรจัดลงในหน้ากระดาษแยกต่างหาก แนบท้ายบทความ และผู้แต่งควรระบุชัดเจนในบทความว่าจะให้แทรกตารางและแผนภูมิในที่ใดของบทความ - บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์จะได้รับการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ บทความ - บทความที่ไม่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์ ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืน ผู้เขียน 3. การอ้างอิง (ตัวหนังสือสีแดง คือ ระบบการเขียนอ้างอิง) การอ้างอิงใช้วิธีการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา ใช้ระบบนาม-ปี (Author - Date Citation System) โดยวงเล็บเฉพาะชื่อ-สกุลผู้แต่ง (สําหรับคนไทย) และ ชื่อสกุล (สําหรับชาวต่างชาติ) ปีที่พิมพ์ และหน้าของเอกสาร ที่อ้างอิงต่อท้ายข้อความที่ต้องการอ้าง แต่ถ้าชื่อผู้แต่งที่อ้างถึงเป็นส่วนหนึ่งของบทความให้วงเล็บเฉพาะปีที่พิมพ์ และหน้าของเอกสารต่อจากชื่อผุ้เขียนได้เลย ดังวิธีการต่อไปนี้ (ผู้แต่ง, ปีพิมพ์ : เลขหน้า) .................. หรือ (ผู้แต่ง, ปีพิมพ์) 4. รูปแบบบรรณานุกรม (ตัวหนังสือสีแดง คือ ระบบการเขียนบรรณานุกรม) ให้ใช้ตามรูปแบบของ APA (American Psychological Association) - หนังสือ/เอกสารทั่วไป ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือ/เอกสาร. สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์. - หากเอกสารที่อ้างอิงไม่ได้เป็นหนังสือที่พิมพ์ครั้งแรก ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อ หนังสือ/เอกสาร. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์ : สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการจัดพิมพ์. - หากมีผู้แต่งมากกว่า 1 คน ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อผู้แต่งคนที่ 1, & ชื่อผู้แต่งคนที่ 2 . (ปีพิมพ์). ชื่อ หนังสือ/เอกสาร. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์ : สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการจัดพิมพ์. - หากไม่ ป รากฏชื่ อ ผู้ แ ต่ ง ใช้ ร ะบบการอ้ างอิ งดั งนี้ : ชื่ อ หนั ง สื อ /เอกสาร. ครั้ งที่ พิ ม พ์ . สถานที่ พิ ม พ์ : สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการจัดพิมพ์. - หากไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อผู้แต่ง. [มปป.]. ชื่อหนังสือ/เอกสาร. สถานที่พิมพ์ : สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการจัดพิมพ์. - หากเป็นเอกสารแปล ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือ/เอกสาร ฉบับแปล. (ชื่อผู้ แปล, ผู้แปล). สถานที่พิมพ์ : สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการจัดพิมพ์. - หากเป็นการอ้างอิงจากบทความในหนังสือ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความใน หนั งสื อ. ใน ชื่ อบรรณาธิก าร (บรรณาธิการ). ชื่ อ หนั งสื อ/เอกสาร ฉบั บ แปล. (หน้ า -). ครั้งที่ พิ ม พ์ . สถานที่พิมพ์ : สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการจัดพิมพ์.
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- หากเป็นการอ้างอิงจากบทความในวารสาร ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อ วารสาร, ปีที่, (ฉบับที่), เลขหน้า. - หากเป็นการอ้างอิงจากบทความวารสารที่เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อผู้แต่ง. (ปี พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ค้นเมื่อ วัน เดือน ปี ที่สืบค้น, จาก URL. - หากเป็นการอ้างอิงจาก Website ของหน่วยงาน ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. ค้นเมื่อ วัน เดือน ปี ทึ่สืบค้น, จาก URL. - หากเป็ น การอ้ างอิ งจากการสั ม ภาษณ์ ใช้ ร ะบบการอ้ างอิ งดั งนี้ : ชื่ อ ผู้ ถู ก สั ม ภาษณ์ . (วั น เดื อ น ปี ที่ สัมภาษณ์) สัมภาษณ์. ตําแหน่ง. หน่วยงานที่สังกัด.
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หลักเกณฑ์การเขียนต้นฉบับเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ วารสารไทยคดีศึกษา24 1. ข้อมูลเบื้องต้นของวารสาร วารสารไทยคดี ศึ ก ษา เป็ น วารสารวิช าการราย 6 เดื อ น (ปี ล ะ 2 ฉบั บ ฉบั บ ที่ 1 ตุ ล าคม - มี น าคม, ฉบั บ ที่ 2 เมษายน - กันยายน) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความ วิชาการเกี่ยวกับไทยศึกษา ในมิติทางด้านสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ที่อยู่: กองบรรณาธิการวารสารไทยคดีศึกษา สถาบันไทยคดีศึกษา ตึกอเนกประสงค์ชั้น 9 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200 โทร: 02-613-3203-5 ต่อ 19-22, 31 โทรสาร: 02-226-2112 E-Mail: tkri.tu@gmail.com Website: http://tkri.tu.ac.th 2. การเตรียมต้นฉบับบทความ 1. เป็นบทความวิจัย / บทความวิชาการเกี่ยวกับไทยศึกษา ในมิติทางด้านสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม หรือบทความวิจารณ์หนังสือ ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน 2. เขียนเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ โดยบทความวิจัย และบทความวิชาการ ควรมีความยาวประมาณ 15-30 หน้าเอสี่ (A4) บทความวิจารณ์หนังสือ ควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 5 หน้าเอสี่ (A4) โดยเนื้อความใน ภาษาไทย กําหนดให้ใช้เลขไทย และเนื้อความในภาษาอังกฤษ ใช้เลขอารบิค 3. มีองค์ประกอบของบทความครบถ้วนและชัดเจน 3.1 บทความวิจัย อาจเป็นบทความสรุปโดยย่องานวิจัย หรือประเด็นใดประเด็นหนึ่งที่มีความสําคัญใน งานวิจัยฉบับสมบูรณ์ องค์ประกอบของบทความมีดังนี้ ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ชื่อ ผู้เขียน (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ในส่วนของเนื้อหา ควรมี บทนํ า / ความนํ า ประเด็ น ในการศึ ก ษาหรือ วิจั ย ระเบี ย บวิ ธีก ารศึ ก ษา ผลการศึ ก ษา วิเคราะห์ สรุปอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง
24
อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/thaikhadijournal
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
3.2 บทความวิ ช าการ ควรมี อ งค์ ป ระกอบดั งนี้ ชื่ อ เรื่ อ ง (ภาษาไทยและภาษาอั งกฤษ) ชื่ อ ผู้ เขี ย น (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) บทนํา / ความนํา เนื้อหา สรุป และเอกสารอ้างอิง 3.3 บทความวิจารณ์หนังสือ ควรมีองค์ประกอบดังนี้ เนื้อหาโดยย่อของหนังสือ คุณูปการของงานเขียนที่ เป็นองค์ความรู้ใหม่ รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงวิพากษ์วิจารณ์ เช่น เสนอแนวคิดทฤษฎีที่ช่วยเติมเต็ม ความสมบู ร ณ์ ข องงานเขี ย น อนึ่ ง ในการวิจ ารณ์ ค วรมี ก ารอ้ างอิ งงานศึ ก ษาอื่ น ๆ ที่ เกี่ ย วข้ อ ง ประกอบ เพื่อมิให้การวิจารณ์เป็นเพียงข้อถกเถียงเชิงอัตวิสัย 3. การอ้างอิง และรูปแบบบรรณานุกรม (ตัวหนังสือสีแดง คือ ระบบการเขียนบรรณานุกรม) - สําหรับการอ้างอิงในเนื้อหาใช้ระบบนาม-ปี (Author - Date Citation System) ในรูปแบบดังนี้ (ชื่อ นามสกุลผูแ้ ต่ง ปีที่พิมพ์: หน้า) - สําหรับบรรณานุกรมเรียงตามตัวอักษรของชื่อ - สกุลผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ โดยอ้างอิงในรูปแบบดังนี้ - หนังสือ/เอกสารทั่วไป ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. (พิมพ์ครั้งที่). สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการจัดพิมพ์. (ทั้งนี้หา ผู้แต่งมีฐานันดรศักดิ์ หรือบรรดาศักดิ์ ให้นําฐานันดรศักดิ์หรือบรรดาศักดิ์ ไว้หลังชื่อ) - หนังสือ/เอกสารที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อหนังสือ/เอกสาร. (ปีพิมพ์) สถานที่ พิมพ์: สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการจัดพิมพ์. - หนังสือ/เอกสารรวมเรื่องหรือรวมบทความที่ปรากฏบรรณาธิการเป็นผู้รวบรวม หรือเรียบเรียง ใช้ระบบ การอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลบรรณาธิการ. (บรรณาธิการ). (ปีพิมพ์) ชื่อหนังสือ/เอกสาร. สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์ /ผู้อํานวยการจัดพิมพ์. - หนั ง สื อ /เอกสารที่ ไม่ ป รากฏปี ที่ พิ ม พ์ ใช้ ร ะบบการอ้ า งอิ ง ดั งนี้ : ชื่ อ นามสกุ ล ผู้ แ ต่ ง. (ม.ป.ป.หรื อ n.d.). ชื่อเรื่อง. (พิมพ์ครั้งที่). สถานที่พิมพ์: สํานักพิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการจัดพิมพ์. - หนังสือ/เอกสารที่ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. (ปีพิมพ์.). ชื่อ เรื่อง. (พิมพ์ครั้งที่). ม.ป.ท./N.P.: สํานักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์ หรือผู้อํานวยการจัดพิมพ์. - หนังสือ/เอกสารที่ไม่ปรากฏสํานักพิมพ์พิมพ์/โรงพิมพ์/ผู้อํานวยการพิมพ์ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. (ปีพิมพ์.). ชื่อเรื่อง. (พิมพ์ครั้งที่). สถานที่พิมพ์: n.p. - บทความในวารสาร / นิตยสาร ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ สกุลผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). “ชื่อบทความ”. ชื่อ วารสาร. ปีที่ (เล่มที่): หน้า – หน้า. - บทความในหนังสือรวมบทความ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). “ชื่อบทความ”. ใน ชื่อบรรณาธิการ. (บรรณาธิการ). ชื่อหนังสื อ. สถานที่ พิม พ์ : สํานักพิ ม พ์/โรงพิ ม พ์ /ผู้อํานวยการ จัดพิมพ์.
โครงการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ งานแผน และวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- วิท ยานิ พ นธ์ ใช้ ระบบการอ้ างอิ งดั งนี้ : ชื่ อผู้เขี ย นวิท ยานิ พ นธ์. (ปี ที่ พิ ม พ์ ). “ชื่ อวิท ยานิ พ นธ์ ”. ชื่ อ ปริญญามหาบัณฑิต/ดุษฎีบัณฑิต ชื่อสาขา ชื่อมหาวิทยาลัย. - สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ใช้ระบบการอ้างอิงดังนี้: ชื่อ สกุลผูแ้ ต่ง. (ปีที่พิมพ์) สืบค้นเมื่อวันที่ เดือน ปี, จาก URL หรือ กรณีเป็นการอ้างอิงในภาษาอังกฤษใช้ Retrieved month date, year, from URL 4. การส่งบทความ แนบประวัติผู้เขียน ระบุชื่อ - นามสกุล ตําแหน่ง หน่วยงานต้นสังกัดที่เป็นปัจจุบัน หรือ สาขาวิชา คณะ มหาวิทยาลัยที่สังกัด กรณีที่เป็นนักศึกษา (การแจ้งเปลี่ยนสถานะหรือสังกัดในภายหลังจะกระทํามิได้ เนื่องจากมี ผลกระทบต่อการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินบทความ) ที่มาของบทความ หรือข้อมูลอื่น ๆ (ถ้ามี) พร้อม ระบุสถานที่ติดต่อ โทรศัพท์ โทรสาร หรือ E-mail เพื่อการติดต่อกลับ การส่งต้นฉบับ สามารถส่งได้ในช่องทางดังต่อไปนี้ - ทางไปรษณีย์ ส่งต้นฉบับพิมพ์ ๑ ชุด พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล - ทาง E-mail: tkri.tu@gmail.com โดยส่ งมาทั้ งในรู ป แบบไฟล์ Microsoft Word และรู ป แบบไฟล์ PDF ทั้งนี้ ผู้เขียนจะต้องลงนามในแบบฟอร์มยืนยันการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารไทยคดีศึกษา เพื่อให้ คํายืนยันความรับผิดชอบว่า บทความของผู้เขียนนั้นไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน พร้อมรับทราบว่า กระบวนการส่ง บทความเข้ า พิ จ ารณ าและตี พิ ม พ์ ใ นวารสารไทยคดี ศึ ก ษานั้ น จะไม่ มี ก ารเรี ย กเก็ บ ค่ า ใช้ จ่ า ยในการ ดําเนินการ ยกเว้น ในกรณีที่ผู้เขียนขอยกเลิกการตีพิมพ์บทความในวารสารไทยคดีศึกษาไม่ว่าด้วยสาเหตุใด และ บทความนั้นเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิไปแล้ว ผู้เขียนจะต้องรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใน กระบวนการประเมินเป็นจํานวนเงิน 3,000 บาท 5. การประเมินบทความ และการตีพิมพ์ - ต้นฉบับจะผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน ๓ ท่าน ในรูปแบบ double-blind peer review (ผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ) ทั้งนี้ กองบรรณาธิการอาจ ขอให้ผู้เขียนปรับปรุงแก้ไขบทความตามคําแนะนําของผู้ทรงคุณวุฒิ และขอสงวนสิทธิในการพิจารณาการแก้ไข ภายหลังการประเมินโดยกองบรรณาธิการ - ลําดับการตีพิมพ์เป็นไปตามดุลพินิจของกองบรรณาธิการ - กองบรรณาธิการสงวนสิทธิไม่คืนต้นฉบับในทุกกรณี - บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับวารสารไทยคดีศึกษาเป็นอภินันทนาการ 3 เล่ม