จดหมายข่าวสภาทนายความ (เดือนมีนาคม 2560)

Page 1

จดหมายข่าว

สภาทนายความ สื่อสร้างสรรค์เพื่อทนายความ เผยแพร่งานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและประโยชน์สาธารณะ

ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2560


LAWYER’S CUP

โดย : ภักดี บุษยะบุตรี

LAWYER’S CUP คือ รายการแข่งขันฟุตบอลของทนายความทั่วประเทศ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทนายความทั้งหลายได้มาพบปะ

พูดคุยกันหลังจากที่ตรากตร�ำท�ำงานมาทั้งปี โดยอาศัยช่วงเวลาที่ทนายความยังไม่มีการนัดความ หลายคนคงอยากทราบว่า LAWYER’S CUP เป็นมาอย่างไร ผู้สูงวัยอย่างผมจะเล่าสู่กันฟัง เท่าที่จ�ำได้ ประมาณปี 2538 แม่สอดเป็นเจ้าภาพจัดสัมมนาวิชาการประเพณี ภาค 5-6 มีการแข่งบอลกระชับมิตรระหว่างภาค 5 กับภาค 6 ก่อนสัมมนา เป็นการเรียกน�้ำย่อย บรรยากาศเต็มไปด้วยมิตรไมตรี หลังจากนั้นทนายความในภาค 6 ได้หารือและตกลงกันว่า จะจัดให้มีการ แข่งขันกีฬาฟุตบอลภายในภาค 6 โดยจัดเป็นประเพณีทุกปี จังหวัดใดที่มีนักฟุตบอลมากก็เป็นทีมเดียว ส่วนจังหวัดไหนที่มีนักฟุตบอลน้อยก็รวม กับจังหวัดข้างเคียง มี 8 ทีม จัดครั้งแรกประมาณปี 2538 นั่นเอง โดยมีผู้พิพากษา อัยการ เจ้าหน้าที่ศาล เข้าร่วมเล่นด้วย จนประมาณปี 2541 ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ ซึ่งขณะนั้นด�ำรงต�ำแหน่งเป็นกรรมการสภาทนายความ ฝ่ายสวัสดิการ ซึ่งได้เฝ้ามองมาตั้งแต่ต้น ได้เห็นความส�ำคัญของการให้ทนายความมาพบปะกันโดยอาศัยกิจกรรมกีฬาฟุตบอลเป็นสื่อ จึงได้จัด LAWYER’S CUP ครั้งแรกที่สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยรามค�ำแหง โดยให้ภาค 6 เป็นพี่เลี้ยงเนื่องจากมีประสบการณ์และเป็น ต้นแบบในการจัด LAWYER’S CUP ยุคแรก ๆ ไม่มีการก�ำหนดอายุผู้เล่นอย่างในปัจจุบัน เนื่องจากเวลานั้นผู้เล่นบอลมีน้อย และเป้าหมายเพื่อหาเหตุ ออกนอกบ้านมาพบกับเพือ่ นๆ บอลจึงสนุกและอบอุน่ ด้วยมิตรภาพ จนถึงวันนีย้ งั มีนกั ฟุตบอลจ�ำนวนไม่นอ้ ยทีเ่ ริม่ เล่นมาด้วยกันตัง้ แต่ครัง้ แรกและ ผูกพันกันเหมือนพี่น้อง แม้จะอยู่ไกลกันและไม่เคยรู้จักกันมาก่อน LAWYER’S CUP มีข้อตกลงหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพโดยใช้ภาคเป็นตัวก�ำหนด ส่วนภาคที่เป็นเจ้าภาพจะใช้จังหวัดใดในภาคเป็น สถานที่แข่งขันก็เป็นการบริหารจัดการภายในภาคนั้น ๆ จนถึงวันนี้เกือบทุกภาคได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพแล้ว อาทิ ภาค 1 (จังหวัดลพบุรี), ภาค 2 (จังหวัดชลบุรี), ภาค 4 (จังหวัดอุดรธานี, จังหวัดขอนแก่น), ภาค 5 (จังหวัดเชียงใหม่), ภาค 6 (จังหวัดเพชรบูรณ์, จังหวัดพิษณุโลก), ภาค 7 (จังหวัดเพชรบุรี, จังหวัดนครปฐม, จังหวัดสุพรรณบุรี), ภาค 8 (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), ภาค 9 (จังหวัดสงขลา) และ ส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) ซึ่ง LAWYER’S CUP ครั้งที่ 19 นี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ ภาค 8 (จังหวัดนครศรีธรรมราช) เป็นเจ้าภาพ แต่เนื่องจากเกิดอุทกภัยอย่าง รุนแรงและยาวนาน คณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ จึงมีความเห็นให้เปลี่ยนมาจัดการแข่งขันฯ ที่ส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) จนถึงวันนี้ LAWYER’S CUP ได้พัฒนาไปมาก มากเสียจนกล่าวได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสภาทนายความเลยทีเดียว จากเดิมทนายความ มาเล่นฟุตบอลกลายเป็นนักฟุตบอลมาเป็นทนายความ ปัจจุบันยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศ นับเป็นมงคลยิ่งกับนักกีฬาและสภาทนายความ.


3

จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2560

กฎหมาย กั บ กี ฬ า

LAW AND SPORT

โดย สมศักดิ์ อัจจิกุล น.บ น.ม*

เมือ่ วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2560 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ น�ำโดย ว่าทีร่ อ้ ยตรีถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ และสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย น�ำโดย นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ได้จัดการแข่งขันฟุตบอล เชื่อมความสัมพันธไมตรีระหว่างสององศ์กรที่เกี่ยวข้องกับวงการทนายความ ที่สนามเอส ซี จี เมืองทอง ยูไนเต็ด ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่า สภาทนายความเป็นฝ่ายชนะไปด้วยผลประตู 2 : 1 แต่ผลการแข่งขันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเริ่มต้นที่ดีของสององศ์กรที่จะต้องประสานงาน ร่วมกันเพื่อทนายความ จากการแข่งขันฟุตบอลดังกล่าว ผู้เขียนจะชี้ให้เห็นว่าฟุตบอลเป็นจุดของการเชื่อมความสัมพันธ์ซึ่งแต่ละทีมจะมีผู้เล่นจ�ำนวนมาก จนอาจท�ำให้เข้าใจได้ว่าฟุตบอลเป็นกีฬารวยเพื่อน และหากมองในปัจจุบันฟุตบอลเป็นกีฬาที่บูมสุดๆ ในประเทศไทย จะเห็นได้จากการ ติดตามดูในสนามแข่งขัน หรือโทรทัศน์ หรือสื่อหนังสือพิมพ์หรือสื่อออนไลน์ กีฬาฟุตบอล จึงเป็นที่นิยมของแฟนบอลชาวไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ก�ำลังเปิดฤดูกาลแข่งขันแล้วจะเห็น จากข่าวว่ามีการซื้อขายนักฟุตบอลกันในราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทจนถึง 50 ล้านบาทและค่าจ้างรายเดือนๆ ละหลายแสนบาทจนเป็นเสน่ห์ที่ท�ำให้ ผู้คนหรือผู้ปกครองจ�ำนวนมากสนใจที่จะให้บุตรหลานของตนเป็นนักฟุตบอลอาชีพ แต่ทุกท่านทราบหรือไม่ว่ากีฬาฟุตบอลในปัจจุบันมี กฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับนักฟุตบอลอย่างไร ตั้งแต่การ ท�ำสัญญา การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสโมสร สมาคม หรือ FIFA เป็นต้น ในที่นี้....ผู้เขียนจะขอแนะน�ำ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของไทย ดังนี้ • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน หรือลักษณะ 7 จ้างท�ำของ • พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 • พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 หมวดที่ 3 นักกีฬาอาชีพและบุคลากรอาชีพ • พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 • ข้อบังคับลักษณะปกครองของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ • ข้อบังคับและระเบียบว่าด้วยการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพของประเทศไทย ข้อบังคับของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ FIFA มีดังนี ้ • FIFA Regulations on Status and Transfer Player • FIFA Governing The Procedure Of The Player’s Status Committee And The Dispute Resolution Chamber จะเห็นว่ากีฬาฟุตบอลซึ่งเป็นที่นิยมมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว ย่อมจะต้องมีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับเข้ามาเกี่ยวข้องในการก�ำกับ ดูแล และควบคุม ทั้งนักกีฬา สโมสร ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน เจ้าหน้าที่ทีม รวมถึงกองเชียร์ เพื่อให้อยู่ในกรอบกติกา ฉบับนี้ ผู้เขียนขอเขียนเกี่ยวกับการท�ำสัญญาว่าจ้างนักฟุตบอลก่อน ส่วนฉบับถัดไปจะเขียนเกี่ยวกับช่องทางการฟ้องร้องด�ำเนิน คดีเมื่อสโมสรหรือสมาคมหรือบริษัท เลิกจ้าง นักฟุตบอลหรือผู้ฝึกสอนหรือเจ้าหน้าที่ประจ�ำทีม รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ ล้มบอลของนักฟุตบอล เจ้าหน้าที่ทีม หรือผู้ตัดสิน เป็นต้น ฉะนั้น ในการท�ำสัญญาว่าจ้างนักฟุตบอล นักฟุตบอลจะต้องค�ำนึงถึง สัญญาว่าจ้าง ค่าจ้างในแต่ละเดือน ค่าภาษี (TAX) ค่าส่วน แบ่งเงินรางวัล ค่าท�ำประตู ค่าผ่านบอลให้นักฟุตบอลในทีมท�ำประตู รวมทั้งกฎ ระเบียบ การฝึกซ้อม ข้อห้ามในระหว่างฝึกซ้อมและการแข่งขัน ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์ของนักฟุตบอลกับทีมต้นสังกัด ด้วยเหตุนี้สัญญาจ้างนักฟุตบอลจึงต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจะอธิบาย ดังนี้ 1) ระยะเวลาจ้าง 1.1 สัญญาจ้าง ควรมีก�ำหนดระยะเวลา 1 ฤดูกาลแข่งขันแต่ไม่ควรเกิน 5 ปี (FIFA Regulations on Status and Transfer Player ข้อ 18 (2)) ส�ำหรับนักฟุตบอลที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี สัญญาจ้างนักฟุตบอลควรมีระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี (FIFA Regulations on Status and Transfer Player ข้อ 18 (2))

----------------------------------------------*คณะทำ�งานสำ�นักนายกสภาทนายความ, อดีตคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายสำ�หรับ สโมสร นักกีฬา และบุคลากรกีฬาอาชีพ,

อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการฟุตบอลอาชีพ ระดับการศึกษาปริญญาโท

อ่านต่อหน้า

74


4

จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2560

1.2 สัญญาการยืมตัว (FIFA Regulations on Status and Transfer Player ข้อ 10) 2) สิ้นสุดสัญญา สัญญาจ้างนักฟุตบอลอาชีพเป็นสัญญาจ้างทีม่ กี ำ� หนดระยะเวลาชัดเจนเมือ่ สิน้ สุดระยะเวลาจ้างสโมสรก็ไม่ตอ้ งบอกกล่าวล่วงหน้า สอดคล้อง ตามมาตรา 17 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และ FIFA Regulations on Status and Transfer Player ข้อ 13 3) เลิกสัญญา การยกเลิกสัญญาจ้างนักฟุตบอลอาชีพมี 3 ประการ 3.1) นักฟุตบอลอาชีพไม่ได้ลงท�ำการแข่งขันให้กับสโมสรเกินร้อยละ 10 ของการแข่งขันทั้งหมดในฤดูการแข่งขันนั้น (FIFA Regulations on Status and Transfer Player ข้อ 15) 3.2) นักฟุตบอลอาชีพกระท�ำผิดสัญญาจ้าง เช่น ห้ามดื่มสุรา ขาดการฝึกซ้อม เป็นต้น 3.3) นักฟุตบอลอาชีพผิดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสโมสร ทัง้ นี้ ห้ามเลิกจ้างนักฟุตบอลอาชีพในระหว่างฤดูกาลแข่งขัน เว้นแต่ชว่ งเวลาทีม่ กี ารเปิดการซือ้ ขายนักฟุตบอล (FIFA Regulations on Status and Transfer Player ข้อ 16) การยกเลิกสัญญาจ้างนักฟุตบอลอาชีพ จะต้องมีการจ่ายเงินค่าชดเชยโดยค�ำนวณตามกฎหมายภายในประเทศ (FIFA Regulations on Status and Transfer Player ข้อ 17 (1) 4) เงื่อนไขอื่น ๆ 4.1) กรณีนักฟุตบอลมีตัวแทนหรือ Agency ในการท�ำสัญญาจ้างนักฟุตบอลควรจะต้องมีชื่อของตัวแทน รวมถึงเงื่อนไขข้อตกลงโดย ท�ำเป็นสัญญาต่างหากอีกฉบับหนึ่ง (FIFA Regulations on Status and Transfer Player ข้อ 18 (1)) 4.2) นักฟุตบอลอาชีพ จะสามารถเจรจากับสโมสรอื่นได้ หากสัญญาจ้างเหลือระยะเวลาน้อยกว่า 6 เดือน หรือสัญญาจ้างนักฟุตบอล สิ้นสุดลง เกี่ยวกับสัญญาจ้างนักฟุตบอล ทุกสโมสรต้องจัดท�ำสัญญาจ้างกับนักฟุตบอลทุกคน มิฉะนั้นจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติส่งเสริม กีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 มาตรา 59 มีบทลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงินจ�ำนวน 100,000 บาท ***ฉบับนี้ ขอเพียงเท่านี้ก่อน แล้วพบกันใหม่ในฉบับต่อไป...ขอบคุณครับ.

คุยกับ บก. กีฬาฟุตบอล เป็นกีฬายอดนิยมของหมู่นักกฎหมาย โดยเฉพาะทนายความ ทั้งศาล อัยการ ต�ำรวจ และทนายความ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้กฎหมายในการประกอบวิชาชีพ ล้วนชื่นชอบในการเล่นฟุตบอล โดยเฉพาะ ในต่างจังหวัด พื้นที่ว่างหน้าที่ท�ำการศาลส่วนใหญ่ปรับปรุงเป็นสนามฟุตบอล เล็กบ้างใหญ่บ้างก็ตามก�ำลัง ทัศไนย ไชยแขวง ของเหล่าสมาชิก ตกเย็นก็จะเห็นสมาชิกนักฟุตบอลลงไปบรรเลงเพลงเตะกันเป็นที่สนุกสนาน เสร็จแล้วก็นั่ง บรรณาธิการบริหาร พูดคุยหยอกล้อกัน ซึ่งเป็นภาพที่อบอุ่นประทับใจของผู้พบเห็น ปัจจุบันเริ่มมีสนามฟุตบอลเอกชนที่ท�ำเป็นธุรกิจเกินขึ้นมาแทนที่ สนามบอลหน้าที่ท�ำการศาลก็ค่อยๆ เลือนหายไป เป็นสนามหญ้า หรือ สวนหย่อมเข้ามาแทนที่ แต่ประชากรนักฟุตบอลของทนายความก็ไม่ได้หายไปไหน กลับไปปรากฏในสนามฟุตบอลเอกชน แต่ความอบอุ่นกลมเกลียว ของนักกฎหมายก็ยังคงเดิม สถานที่เปลี่ยน เวลาเปลี่ยน แต่จิตวิญญาณ ความรักความผูกพันในกิจกรรมที่ท�ำร่วมกัน ไม่เคยเปลี่ยน “ฟุตบอลลอร์เยอร์ คัพ” ก็ถอื ก�ำเนินมาด้วยเหตุของความรัก ความชอบในกีฬา และบรรยากาศทีอ่ บอุน่ ในมิตรภาพของการเล่นฟุตบอล นีเ่ อง “จดหมายข่าวสภาทนายความ” ฉบับนี้จึงขอยกพื้นที่ให้กีฬาฟุตบอล ทั้งบทความของท่านภักดี บุษยะบุตรี อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและ สารสนเทศ ทีไ่ ด้กรุณาเล่าถึงเรือ่ งราวให้เราท่านได้ทราบถึงความเป็นมาของ “ฟุตบอลลอล์เยอร์ คัพ” และยังมีทนายสมศักดิ์ อัจจิกลุ ซึง่ เป็นทนายความ ทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถในกฎหมายทีเ่ กีย่ วกับการกีฬา โดยเฉพาะฟุตบอล ซึง่ ท่านได้ให้เกียรติเขียนบทความทางกฎหมายทีเ่ กีย่ วกับนักฟุตบอล ซึง่ ถือว่า เป็นประโยชน์มาก เพราะทุกวันนี้มีนักกีฬาอาชีพเกิดขึ้นในบ้านในเมืองเราหลายประเภท ซึ่งก็หนีไม่พ้นที่จะต้องมีกฎหมายมาเกี่ยวข้อง และก็คงเป็น หน้าที่ของทนายความอีกเช่นเคยที่ต้องเข้าไปแก้ปัญหาในข้อพิพาทที่เกิดขึ้น เช่นเคยครับ ผมอยากเห็นบทความทางกฎหมายจากเพื่อนสมาชิก อยากเห็นสมาชิกมีส่วนร่วมในการท�ำงานให้องค์กรของเรา ส่งมาที่ กองบรรณาธิการฯ ได้เลยนะครับ มาช่วยกัน.


จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2560

5

สั ม ภาษณ์ พ ิ เ ศษ

ปฏิบัติการ

อุปนายกฝ่าย

ยกแนวคิดการท�ำงานเชิงบูรณาการ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วม

เอาธรรมะน�ำการกระท�ำ เน้นย�ำ้ท�ำดีเท่านั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า การบริหารงานของสภา ทนายความนัน้ ต้องอาศัยบุคลากรมีจติ อาสาจ�ำนวน มากและมีความสามารถรอบรู้ ทั่วทุกด้าน เพราะงาน ของสภาทนายความประกอบด้วยหลายสายงาน ผม โชคดีที่ได้ทีมงานมีจิตอาสา ประเภทมนุษย์พันธ์ุดี จ�ำนวนมากมายให้ความช่วยเหลือสนับสนุนส�ำหรับ ในสายงานปฏิบตั กิ าร ภายใต้ความดูแลของอุปนายก ฝ่ายปฏิบัติการ นั้น มีส่วนงานในความรับผิดชอบ ทั้งสิ้น 4 ส่วนงาน ได้แก่ 1. 2. 3. 4.

ส�ำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมสภาทนายความ ส�ำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสภาทนายความ ส�ำนักงานคดีปกครองสภาทนายความ ส�ำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคสภาทนายความ

โดยแต่ละส่วนงานมีการท�ำงานร่วมกันอย่างบูรณาการในการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายด้านต่างๆ ซึ่ง “จดหมายข่าว สภาทนายความ” ฉบับนี้มีโอกาสพูดคุยถึงแนวคิดและทิศทางในการท�ำงาน ของ “นายด�ำรงศักดิ์ เครือแก้ว” อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ คนปัจจุบันมาน�ำเสนอ ดังนี้

ทิศทางการด�ำเนินงานภาพรวมของสายงานปฏิบัติการ มีการวางกรอบการท�ำงานอย่างไร ? “ผมมุ่งเน้นการท�ำงานเชิงรุกและเปิดโอกาสการกระจายอ�ำนาจให้บุคลากรทรงคุณภาพที่พึงปรารถนาในการท�ำกิจสภาทนายความ ให้ส�ำเร็จ เพื่อให้การอ�ำนวยความยุติธรรมเป็นไปอย่างครบถ้วนรอบด้านและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาผมให้ความส�ำคัญในการลง พื้นที่เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ได้รับผล กระทบเป็นจ�ำนวนมากและรวมกลุม่ กันเพือ่ ขอความช่วยเหลือทางกฎหมายจากสภาทนายความ มีทงั้ คดีปกครอง, คดีสงิ่ แวดล้อม, คดีคมุ้ ครอง ผู้บริโภค และคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งผมได้ก�ำหนดทิศทางด�ำเนินงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายทุกกรณีที่อยู่ในความ ดูแลของส่วนงานในสายงานปฏิบัติการมีหลักการส�ำคัญ คือ เอาธรรมะน�ำการกระท�ำ โดยท�ำทันที ท�ำดี เท่านั้น ที่ผ่านมาผมและทีมงานได้ ลงพื้นที่น�ำทีมทนายความออกไปรับฟังข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์จากชาวบ้านหลายท้องที่ในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนโดยตรง เปิดโอกาสให้มีการสะท้อนปัญหาโดยผู้แทนชุมชน ที่มาขอความช่วยเหลือทางกฎหมายจากส�ำนักงานคดีปกครองสภาทนายความ กรณีที่ ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐในการออกเอกสารสิทธิ์เกี่ยวกับที่ดิน อันเป็นการกระท�ำโดย มิชอบด้วยกฎหมาย ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ได้ลงพื้นที่พิพาทกรณีชาวบ้านถูกเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน “บึงวงฆ้อง” เพื่อ สอบข้อเท็จจริงประกอบการด�ำเนินการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ชาวบ้าน ต.ห้วยงู อ.หันคา จ.ชัยนาท เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2560 ปัจจุบันได้น�ำคดีขึ้นสู่ศาลปกครองนครสวรรค์แล้ว”


6

จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2560

“จากการท�ำงานเชิงรุก เข้าถึง ใส่ใจในการแก้ไขปัญหาเพือ่ ก�ำจัดทุกข์เพิม่ ความสุขให้ชาวบ้านทีไ่ ด้รบั ความเดือดร้อนและมาขอรับความ ช่วยเหลือ น�ำมาซึง่ แนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุดและทันเวลา โดยการวิเคราะห์ภาพรวม ก�ำหนดแนวทางให้ประชาชนเข้าถึงการรับความ ช่วยเหลือจากสภาทนายความ ง่ายสะดวกดี ถูกต้อง เป็นธรรม นี่จึงเป็นกรอบการท�ำงานหลักๆ ของผมและทีมงานในทุก ๆ ส่วนงานในสาย ปฏิบัติการตามแนวนโยบายของ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความคนใหม่ โปร่งใส เข้าถึง พึ่งได้ รับใช้ทนายความและ ประชาชน ซึ่งผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถสร้างผลงาน และความเชื่อมั่นศรัทธาจากสมาชิกทนายความและประชาชนได้เป็นอย่างดี”

วิสัยทัศน์การบริหารงานเชิงบูรณาการ ระหว่างส่วนงานในสายงานปฏิบัติการ เพื่อให้สอดรับกับวัตถุประสงค์การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของสภาทนายความ ? จากแนวคิดการบริหารงานสายงานปฏิบตั กิ าร ทีเ่ น้นการท�ำงานเชิงรุกและการมีสว่ นร่วม อุปนายกฝ่ายปฏิบตั กิ ารจึงมอบแนวนโยบาย ดังกล่าวแก่ส่วนงานในความดูแลเพื่อให้มีการปรับตัวเองอยู่ตลอดเวลา และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารที่สนับสนุน ให้มีการกระจายอ�ำนาจในการท�ำงานอย่างเป็นระบบและสามารถตรวจสอบได้ ดังนั้น จึงเลือกที่จะน�ำรูปแบบการบริหารงานเชิงบูรณาการเพื่อ ให้เกิดความสมดุลย์ในการท�ำงานระหว่างส่วนงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดมาปรับใช้ ซึ่งแต่ละส่วนงานมีวิสัยทัศน์การบริหารงาน ดังนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมสภาทนายความ นางสาวอรนุช คงช่วย ประธานกรรมการส�ำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงแนวทางการท�ำงานด้านคดีสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพทนายความคดีสิ่งแวดล้อม ว่า “เราพัฒนาบุคลากรทนายความ ด้วยวิธีให้ศึกษาเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ให้ก้าวทัน ต่อการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ไม่วา่ จะในปัจจุบนั หรือในอนาคต ซึง่ ต้องอบรมทนายความให้มคี วามรู้ ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญด้านคดีสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มจ�ำนวนบุคลากรทนายความให้เพียงพอ สภาทนายความ โดยส�ำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม จัดทนายความที่มีความช�ำนาญด้าน คดีสิ่งแวดล้อม ให้บริการประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนด้านอรรถคดีและไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมได้ นอกจากนี้ ยังมีโครงการเผยแพร่ความรู้ทางด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้าน สิ่งแวดล้อมแก่ประชาชนทั่วไปได้เข้าใจถึงสิทธิ หน้าที่ และเป็นการปลูกจิตส�ำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม ผ่านศูนย์อบรมความรู้ด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เน้นกลุ่มเป้าหมายการเรียนรู้ทั้งทนายความ บุคลากรใน ท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อม และประชาชนทั่วไป ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ อย่างเป็นรูปธรรม สามารถน�ำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน องค์กรและประเทศชาติต่อไป” ส�ำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสภาทนายความ นายนคร ชมพูชาติ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสภาทนายความ กล่าวถึง วิสัยทัศน์ในการท�ำงานด้านสิทธิมนุษยชนของสภาทนายความ ว่า “สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องสากล แต่ประเทศ เราสามารถรับหลักเกณฑ์มาได้มากและหลายเรื่องน�ำมาบัญญัติในรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ปัญหาการละเมิด สิทธิมนุษยชนยังมีอยู่เป็นจ�ำนวนมาก สภาทนายความจึงมุ่งมั่นที่จะปกป้องและส่งเสริมให้ประเทศเรามี สิทธิมนุษยชนที่แท้จริง และพยายามแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่ ตามศักยภาพขององค์กร และความทุ่มเทของทนายความอาสาในส่วนที่เป็นทนายความสิทธิมนุษยชนของส�ำนักงานสิทธิมนุษยชน”


จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2560

7

ส�ำนักงานคดีปกครองสภาทนายความ นายณัฐนันณ์ สุวรรณมณี ประธานกรรมการส�ำนักงานคดีปกครอง กล่าวถึงวิสัยทัศน์การ บริหารงานส�ำนักงานคดีปกครอง ว่า “ส�ำนักงานคดีปกครองได้ก�ำหนดพันธกิจหลักในการบริหารงานเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายเกี่ยวกับคดีปกครองหรือการโต้แย้งทาง ปกครองทีเ่ กิดขึน้ จากการกระท�ำหรือละเว้นการกระท�ำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าทีข่ องรัฐ รวมทัง้ คดีทางปกครองที่สภาทนายความเป็นผู้ถูกฟ้องคดีหรือเป็นผู้ฟ้องคดีด้วย 2. ด้านงานวิชาการก�ำหนดให้มีการ ฝึกอบรมและส่งเสริม เผยแพร่ความรู้ให้แก่บุคลากร, ทนายความและประชาชนทั่วไป เพื่อให้การด�ำเนินงาน ด้านคดีปกครองเกิดประสิทธิภาพและเป็นทีพ่ งึ่ ของประชาชนได้ เช่น หลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าทีส่ ำ� นักงาน คดีปกครอง, โครงการอบรมทนายความอาสาทัง้ ส่วนกลางและส่วนภูมภิ าคของส�ำนักงานคดีปกครอง, โครงการ จัดการศึกษาอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร สาขากฎหมายปกครอง เพือ่ ให้ผปู้ ระกอบวิชาชีพทนายความเกิด ทักษะและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีปกครอง เป็นต้น” ส�ำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคสภาทนายความ นายสมพร จินตุลา ประธานส�ำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวถึงวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ส�ำคัญ ของส�ำนักงานคุม้ ครองผูบ้ ริโภค ว่า “ปัจจุบนั ผมได้วางกรอบการท�ำงานทีม่ งุ่ เน้นและยกระดับส�ำนักงานคุม้ ครอง ผู้บริโภคเป็นองค์กรกลางด้านการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในระดับชาติและระดับสากล รวมทั้งการผลักดัน ให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม โปร่งใส สร้างประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้บริโภค อีกทั้งยังเผยแพร่ ความรู้ด้านกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจและรับรู้ถึงสิทธิของตนเอง มีการสร้าง จิตส�ำนึกที่ดี สร้างเครือข่ายผู้บริโภค และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้ บริโภคทัง้ ภาครัฐและเอกชน ทีส่ ำ� คัญคือการผลักดันให้เกิดการปลูกจิตส�ำนึกแก่ผปู้ ระกอบการทัง้ หลายให้ปฏิบตั ิ ตามกฎหมายอย่างถูกต้องและมีจริยธรรมที่สร้างสรรค์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด” แนวคิดในการพัฒนางานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายผ่านส่วนงานต่างๆ ในสายงานปฏิบัติการ ในอีก 3 ปีข้างหน้า เป็นอย่างไร ? “ผมอาสาเข้ามาเพื่อตอบแทนบุญคุณวิชาชีพทนายความ มีความตั้งใจและใส่ใจจริง การปฎิบัติหน้าที่เพื่อพัฒนางานช่วยเหลือ ประชาชนทางกฎหมายในส่วนงานต่างๆ ของสายงานปฎิบัติการนั้น แยกการท�ำงานเป็น 3 ส่วน โดยด�ำเนินการแบบคู่ขนานกัน คือ ส่วนบริหาร, ส่วนบริการ และส่วนวิชาการ ส่วนบริหาร โดยการมอบนโยบายหลักในการบริหารงานแก่ส่วนงานต่างๆ ในสายงานปฎิบัติการ รวมถึงการประสานงานกับ หน่วยงานอื่น ๆ ในกระบวนการยุติธรรมองค์กรอื่นๆ เพื่อให้การบริหารงานมีคุณภาพรอบด้านทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทั้งเน้นให้ สมาชิกมีคุณภาพ มีงาน และรายได้มั่นคงเป็นส�ำคัญ ส่วนบริการ นอกจากการจัดทนายความให้คำ� ปรึกษาทางกฎหมายแล้ว ได้ให้ความช่วยเหลือทางคดีความแก่ประชาชนทีย่ นื่ หนังสือ ขอรับความช่วยเหลือทางกฎหมายในการด�ำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่างๆ และการลงพื้นที่เข้าถึงปัญหาเพื่อให้บริการประชาชนในพื้นที่ ที่เกิดกรณีพิพาทอย่างทันท่วงที ทั้งคดีสิทธิมนุษยชน คดีสิ่งแวดล้อม คดีคุ้มครองผู้บริโภค และคดีปกครอง ซึ่งมีทั้งคดีบุคคล และคดีกลุ่ม ครบเครื่องทุกรูปแบบเดิมพันด้วยชีวิต จิตอาสารับใช้สภาทนายความและประชาชน ส่วนวิชาการ “ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก” จัดอบรมวิชาการติดอาวุธทางปัญญาให้สมาชิกทนายความแต่งตัวให้พร้อมท�ำงาน และจัดโครงการเผยแพร่ความรู้และให้ค�ำปรึกษาทางด้านกฎหมายแก่ประชาชน ตลอดทั้งประสานความร่วมมือกับนักวิชาการ หน่วยงานใน กระบวนการยุตธิ รรมทัง้ ในภาครัฐและเอกชนทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ จัดหาวิทยากรผูท้ รงคุณวุฒใิ นการให้ความรูท้ างกฎหมาย สร้างกระบวนการการ เรียนรูท้ างกฎหมายให้เกิดความเข้าใจในสิทธิและหน้าทีข่ องตนเอง เพือ่ ให้สมาชิกมีความรูพ้ ร้อมช่วยเหลือประชาชนให้มภี มู คิ มุ้ กันด้านกฎหมาย สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้คลี่คลายได้อย่างถูกวิธีและโดยชอบด้วยกฎหมาย” “ผมจึงมั่นใจว่าในอีก 3 ปีต่อจากนี้ สภาทนายความจะสามารถพัฒนางานในสายงานปฏิบัติการได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ผ่านโครงการต่างๆ ตามแนวทางการบริหารงานที่วางไว้ เพื่อสนองรับกับวัตถุประสงค์หลักของสภาทนายความในการให้ความช่วยเหลือ ประชาชนผู้ยากไร้และไม่ได้รับความเป็นธรรมให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และ เป็นธรรม ผมถือเอาสมาชิกฯและเจ้าหน้าทีท่ กุ ท่านเป็นหุน้ ส่วนชีวติ ในการสามัคคีรว่ มท�ำกิจสภาทนายความ ให้สำ� เร็จจงทุกประการครับ และ ขอขอบพระคุณทุกท่านในการร่วมกันท�ำกิจสภาทนายความให้ส�ำเร็จ ด้วยจิตคารวะ”


8

จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2560

อดีตรัฐมนตรีฯ กับคดีลักจักรยาน 700 บาท*

โดย ชวน หลีกภัย เมือ่ ปี พ.ศ.2519 ผมเป็นสมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎรจังหวัดตรังของพรรคประชาธิปตั ย์ สมัยที่ 3 ได้รบั โปรดเกล้าฯ แต่งตัง้ ให้ดำ� รงต�ำแหน่งรัฐมนตรีชว่ ยว่าการกระทรวง ยุตธิ รรม โดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยทหารได้เข้ายึดอ�ำนาจรัฐบาลประชาธิปไตย และบ้านเมืองก็เข้าสูก่ ารปกครอง ในระบบปฏิวัติอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพ้นจากต�ำแหน่งทางการเมืองพร้อมกับสิ้นสุดการเมืองในระบบการเลือกตั้ง ผมจึงกลับไปท�ำมาหากินประกอบอาชีพเป็นทนายความเช่นเดิม เรื่องอดีตรัฐมนตรีฯ กับคดีลักจักรยาน 700 บาท ได้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2520 ผมได้รับการขอร้องจากเพื่อนทนายความ คือ คุณอุดม ศุภสินธ์ ให้บันทึกเรื่องนี้เพื่อลงพิมพ์ในวารสารทนายความ ฉบับ “วันทนายความ” ประจ�ำปี พ.ศ.2521 ผมหอบเสื้อครุยออกจากบัลลังก์ชั้นบนของศาลอาญา เลี้ยวลงไปตามบันไดด้านในผ่านบัลลังก์พิเศษชั้นล่างเพื่อจะออกไปทางร้านอาหาร พอก้าวออกจากใต้ถุนศาล โผล่พ้นเสาใหญ่ ผมเกือบชนสุภาพบุรุษวัยกลางคนที่ก�ำลังเดินพ้นมุมเสาจะตรงไปทางระเบียงศาลอาญา ต่างฝ่ายต่างชะงักและรีบขอโทษซึ่งกันและกัน และก่อนจะเดินแยก ออกจากกัน ท่านหันมามองผมอีกครั้งแล้วทักขึ้นว่า “ท่านรัฐมนตรี หรือ?” ผมเงยหน้าขึ้นมองเจ้าของเสียงอีกครั้งหนึ่ง แล้วรีบยกมือไหว้เพราะจ�ำได้ว่าท่านเป็นผู้ใหญ่ที่เคยเคารพนับถือในศาลอุทธรณ์ “ท่านไปไหนมาครับ” ผมทักตอบท่าน “ไปทานข้าวมาครับ” ท่านตอบ ยิ้มอย่างอารมณ์ดีมองเสื้อครุยผมแล้วถามต่อว่า “ท่านรัฐมนตรีว่าความมาหรือครับ ท�ำไมเพิ่งลงมาล่ะครับ” ท่านเรียกผมว่า “ท่านรัฐมนตรี” จนผมรู้สึกอึดอัดใจ เพราะไมมีต�ำแหน่งแล้ว “สืบพยานเพิ่งเสร็จครับ” “เที่ยวหน้า เอาอีกไหมครับ” ผมเข้าใจว่าท่านหมายถึงเที่ยวหน้าจะสมัครผู้แทนฯ อีกหรือไม่ จึงตอบไปตามความรู้สึกว่า “ยังไมแน่ใจเลยครับ” “การเมืองก็อย่างนี้แหละ อย่าเพิ่งท้อถอยนะ” เสียงท่านปลอบและให้ก�ำลังใจ “ครับ” ผมไม่ทราบจะตอบอย่างไร “คดีมีมากไหมครับ” “พอมีครับ ผมเพิ่งเริ่มต้นใหม่ครับ” “ได้ข่าวว่าท่านรับว่าความ เอ้อ...คดีลักจักรยานเจ็ดร้อยบาท” ผมพอจะเข้าใจในความหมายของน�้ำเสียงและสายตาที่เห็นใจแต่สงสัยนั้น ผมพอจะอ่านความเข้าใจของท่าน ผมทบทวนความจ�ำระลึกถึงคดีจักรยาน 700 บาท แล้ว ใช้เวลาสั้นๆ ชี้แจงให้ทราบถึงเหตุผลที่ต้องรับว่าความคดีลักจักรยาน 700 บาท ผมก็เหมือนทนายความอืน่ ๆ บางคนทีเ่ คยเล่นการเมืองและผ่านการเลือกตัง้ มาจากประชาชน แม้จะไม่ได้ตงั้ ส�ำนักงานอยูใ่ นท้องถิน่ ทีเ่ คยไปสมัครรับเลือกตัง้ มา แต่ ประชาชนในถิ่นนั้นที่ท�ำมาหากินหรือมาศึกษาเล่าเรียนในกรุงเทพฯ หรือในจังหวัดใกล้เคียงก็มักจะมีปัญหามาให้เราแก้เสมอ ผมเองมีภาระมากไปกว่านั้น เพราะปรากฏ ว่าประชาชนในจังหวัดอื่นๆ รวมทั้งคนในกรุงเทพฯ ไปขอความช่วยเหลือด้านคดีเสมอ จึงเป็นภาระที่หนักที่จะสามารถช่วยเหลือใครต่อใครได้หมดในสภาพเศรษฐกิจและ สังคมเช่นปัจจุบัน คดีลักจักรยาน 700 บาท ก็มาในท�ำนองเดียวกัน วันแรกที่คดีนี้มาหาผม เมื่อประมาณก่อนกลางปี 2520 ผมเพิ่งเริ่มต้นว่าความอีกครั้ง หลังจากความเปลี่ยนแปลง ทางการเมืองในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ญาติของจ�ำเลยน�ำส�ำเนาค�ำฟ้องไปให้ ปรากฏว่าจ�ำเลยถูกฟ้องในข้อหาลักจักรยานเสือหมอบ 1 คัน ราคา 700 บาท อัยการเป็นโจทก์ ฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 14 ค�ำสั่งคณะปฏิวัติการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 24 ข้อ 2 พวกเขาให้เหตุผลที่มาหาผมว่า เขายากจน เขามาขอความช่วยเหลือเพราะไม่มีเงินที่จะจ้างทนายความ และพ่อแม่ญาติพี่น้องรับรองว่าจ�ำเลยบริสุทธิ์ ผมสอบข้อเท็จ จริงได้ความว่า จ�ำเลยซึ่งเพิ่งออกจากโรงเรียนเคยมีรถจักรยานเสือหมอบ 1 คัน เมื่อประมาณ 2 ปีก่อนเกิดเหตุ ผู้เสียหายในคดีนี้ซึ่งเป็นเพื่อนกับจ�ำเลยมาก่อน ได้ขอยืมรถ จักรยานไปแล้วไม่ยอมคืน พ่อของจ�ำเลยจึงไปแจ้งความไว้ทสี่ ถานีต�ำรวจนครบาลบางกอกใหญ่ ต่อมาจ�ำเลยไปพบผูเ้ สียหายและจักรยานเสือหมอบคันทีเ่ กิดเรือ่ งเข้า จ�ำเลย จ�ำได้ว่าเป็นของตนจึงแย่งคืนมา พ่อแม่ของจ�ำเลยเอาส�ำเนาบันทึกประจ�ำวันที่เคยแจ้งความไว้มาแสดงด้วย ผมสอบฐานะอาชีพของพ่อแม่จ�ำเลยแล้ว ปรากฏว่าแม่หาบ มันแกวบ้าง ฝักบัวบ้าง ผลไม้บ้าง เร่ขายอยู่แถวท่าพระจันทร์และสนามหลวง ข้อเท็จจริงเป็นอย่างนี้ ฐานะของครอบครัวจ�ำเลยขนาดนี้เราจะทิ้งเขาไปได้อย่างไร ผมจึงรับปากจะว่าความให้เขา คิดว่าอย่างน้อยก็ได้กุศลยิ่งกว่า ปล่อยนกปล่อยกา คดียืดเยื้ออยู่ประมาณครึ่งปี จ�ำเลยต้องขังอยู่ในเรือนจ�ำพิเศษกรุงเทพมหานครตลอดมา เพราะพ่อแม่ไม่มีหลักทรัพย์และไม่มีเงินที่จะหาเช่าโฉนดที่ดินประกันตัว จ�ำเลยออกมา การต่อสู้เพื่อหาความเป็นธรรมให้แก่จ�ำเลยไม่ใช่ได้มาอย่างง่ายๆ เพราะต�ำรวจเมื่อจับแล้ว เขาก็ต้องพยายามจะเอาผิดให้ได้ แต่ในที่สุดศาลอาญา (ศาลทหาร กรุงเทพฯ) พิพากษายกฟ้องโจทก์ และปล่อยตัวจ�ำเลยออกมาเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 กว่าจะพิสูจน์ได้ว่าตนบริสุทธิ์ จ�ำเลยก็ต้องถูกขังอยู่ประมาณครึ่งปี ไม่ว่าจะพิจารณาในด้านความหนักเบาของข้อหา หรือจ�ำนวนทุนทรัพย์ที่ถูกลัก หรือในความส�ำคัญของตัวจ�ำเลย คดีอย่างนี้ “กิ๊กก๊อก” เต็มที แต่ความยุติธรรมนั้น มิใช่เป็นเรื่อง “กิ๊กก๊อก” ส�ำหรับ “คนทุกระดับ” ผมก็ตระหนักถึงข้อนี้ ผมไม่รู้สึกด้อยศักดิ์ศรีอะไรที่จะต้องมาท�ำคดีอย่างนี้ ท่านผู้ใหญ่ที่ผมเคารพนับถือท่านนั้นยิ้มอย่าง พอใจ เมื่อผมเล่าให้ท่านฟังถึงเหตุผลที่ได้รับว่าความคดีลักจักรยาน 700 บาท แม้ว่าในขณะที่ผมพบท่านนั้น คดียังไม่ยุติ ผมตั้งใจว่าถ้าได้พบกับท่านอีก ผมจะน�ำจดหมายจากญาติคนหนึ่งของจ�ำเลยที่มีไปถึงผมให้ท่านอ่าน ผมเชื่อว่าท่านจะภาคภูมิใจกับความรู้สึกของญาติจ�ำเลยที่เขียน มาตอนหนึ่งว่า “ความยุติธรรมนั้นยังเป็นสิ่งที่คนยากจนยังพอจะหาได้” ซึ่งความรู้สึกอย่างนี้ คนในสมัยนี้ไม่เชื่อเสียแล้วว่าเป็นความจริง ผมเชื่อว่าเรื่องท�ำนองนี้ เพื่อนทนายความที่มีอุดมการณ์และมีความเป็นธรรมในหัวใจเป็นจ�ำนวนมากก็ประสบอยู่ และหลายคนก็ได้ร่วมกันต่อสู้เพื่อแสวงหาความ ยุติธรรมให้แก่คนบริสุทธิ์ที่ถูกข่มเหงรังแกและเอาเปรียบเหล่านั้น ข้อความในจดหมายที่น�ำมาลงต่อไปนี้อาจจะเป็นก�ำลังใจให้กับเพื่อนๆ ทนายได้ไม่มากก็น้อย

*

เรื่องต่อเนื่องจากบทสัมภาษณ์นายชวน หลีกภัย จดหมายข่าวสภาทนายความ (ฉบับวันทนายความ 2560) เป็นเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารตรวจเงินแผ่นดิน ปีที่ 1 ฉบับที่ 3/2537 โดยได้รับคัดเลือกให้เป็นเรื่องสั้นเกียรติยศ


จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2560

เกร็ดกฎหมาย

9

กฎหมายอนุบัญญัติ 2 ประเภท ภายใต้ พ.ร.บ. การกระท�ำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560

โดยพระราชบัญญัตินี้ จะมีการออกกฎหมายลูกหรืออนุบัญญัติ 2 ประเภท ได้แก่ 1) ส่วนที่ปรากฏใน พ.ร.บ. เดิมอยู่แล้ว 2) ประกาศ กระทรวงฯ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีนโยบายว่า ก่อนจะประกาศใช้ให้มีการท�ำประชาพิจารณ์กับผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนเพื่อให้มีการตรวจสอบที่รัดกุม ทั้งร่างประกาศฯ ที่ออกภายใต้ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้เห็นแนวทางการใช้บังคับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ส�ำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) (สพธอ.) / ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

อบรมพัฒนาศักยภาพทนายความอาสา : เมื่อวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2560 ที่สภาทนายความ ถ.พหลโยธิน กรุงเทพฯ : ว่าที่ ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ เปิดการอบรมทนายความอาสาประจ�ำส่วน ราชการ (กทม.) เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพ และพัฒนาบุคลากรในการปฏิบัติหน้าที่ โครงการทนายความอาสาเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย โดยนายเสาวภักดิ์ สกุลโรมวิลาส อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย กล่าวรายงาน นอกจากมีการ ชี้แจงเกี่ยวกับระเบียบการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายแล้ว ยังจัดบรรยายความรู้ ทางวิชาการกฎหมายเรือ่ ง “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระท�ำความผิดเกีย่ วกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560” โดย ว่าที่พันตรี สมบัติ วงศ์ก�ำแหง อุปนายกฝ่ายบริหาร และ “พ.ร.บ.วิธี พิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559” ทั้งนี้มี นางสาวเสาวรียา ไชยยังธัญทวี กรรมการฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย เป็นผู้ด�ำเนินรายการ มีทนายความอาสา เข้าร่วมฟังการอบรมกว่า 250 คน

ยื่นฟ้องคดีปกครอง : เมื่ิอวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ีศาลปกครองกลาง กรุงเทพฯ : นายเสาวภักดิ์ สกุลโรมวิลาส อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือ ประชาชนทางกฎหมายสภาทนายความ พร้อมคณะทนายความ น�ำ ผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาย ต.97 เส้นทางปากเกร็ด - รามค�ำแหง ยื่นศาลปกครอง ฟ้อง ขสมก. กรณียกเลิกสัญญาอย่างไม่เป็นธรรม


10

จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2560

บรรยากาศการสัมมนาเพื่อฝึกทักษะการเขียนค�ำคู่ความ เพื่อพัฒนาศักยภาพและมาตรฐาน

แก่นักศึกษาอบรมวิชาว่าความ ส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ

สภาทนายความภาค 1

โดย ดร.สมพงษ์ สิงห์สมบุญ กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 1 เป็นประธาน เปิดการสัมมนา ณ ห้องประชุมชัน้ 5 อาคารทีท่ ำ� การสภาทนายความ ถนนพหลโยธิน บางเขน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560

สภาทนายความภาค 2

สภาทนายความภาค 7

โดย ดร.อุลิช ดิษฐปราณีต กรรมการบริหารสภา ทนายความภาค 2 เป็นประธานเปิดการสัมมนา ณ ห้อง 36301 อาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคาร 36) มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ ร� ำ ไพพรรณี เมื่ อ วั น ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560

สภาทนายความภาค 4

โดย นายถาวร มงคลเคหา กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 4 เป็นประธาน เปิดการสัมมนา ณ ห้องประชุม AV โรงเรียนเทศบาล 3 จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560

โดย นายนุกูล สิริสุวรรณ์ กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 7 เป็นประธานเปิด การสัมมนา ณ ณ ห้องประชุม เทศบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม เมื่อวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560

สภาทนายความภาค 8 โดย นายลือชา เปีย่ มสุวรรณ กรรมการบริหารสภา ทนายความภาค 8 เป็นประธานเปิดการสัมมนา ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 ให้ค�ำปรึกษาทางกฎหมาย : เมื่อวันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2560 : ว่าที่พันตรี สมบัติ วงศ์ก�ำแหง อุปนายกฝ่ายบริหาร/โฆษกสภาทนายความ พร้อมด้วย นายภักดี บุษยะบุตรี อุปนายกเทคโนโลยีและสารสนเทศ, นายทัศไนย ไชยแขวง อุปนายกฝ่าย ต่ า งประเทศ/กรรมการประชาสัมพันธ์ ร่วมให้ ค�ำปรึกษากับสมาชิก สมาพั น ธ์ ผู ้ ขั บ รถยนต์ ส าธารณะ มืออาชีพแห่ง ราชอาณาจักรไทย ณ สภาทนายความ ถนนพหลโยธิ น กรุงเทพมหานคร. รับเรื่องขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย : เมื่อพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2560 ที่สภาทนายความ ถ.พหลโยธิน กรุงเทพฯ : ว่าทีร่ อ้ ยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย นายทัศไนย ไชยแขวง อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ/กรรมการประชาสัมพันธ์, นายเกษม รังสุวรรณ์ เหรัญญิก และนายนุกูล สิริสุวรรณ์ กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 7 ร่วมรับเรื่องร้อง ขอความช่วยเหลือทางกฎหมายจาก นายทนงศักดิ์ โผไพบูลย์ และคณะ จากกรณีได้รับความเดือดร้อนจากการถูกหลอกให้เข้าศึกษาในหลักสูตรวิชาชีพที่ปรึกษาธุรกิจเพื่อ การพัฒนาวิสาหกิจ (วปธ.) ของสมาคมเครือข่ายที่ปรึกษาธุรกิจเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจไทย ในเบื้องต้นนายกสภาทนายความ ได้รับเรื่องไว้พิจารณาเพื่อเสนอเข้าที่ประชุม คณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายต่อไป.


จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2560

11

วันทนายความ ประจ�ำปี 2560 :

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 11.00 น. : ว่าทีร่ อ้ ยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธที ำ� บุญเลีย้ งภัตตาหารเพลพระสงฆ์ จ�ำนวน 9 รูป เพื่อความเป็นสิริมงคลเนื่องในโอกาส “วันทนายความ” ประจ�ำปี 2560 โดยในปีนี้ได้รับเกียรติจากอดีตนายกสภาทนายความหลายท่านเดินทาง มาร่วมงาน ได้แก่ นายค�ำนวณ ชโลปถัมภ์, นายสัก กอแสงเรือง, นายเกษม สรศักดิ์ เกษม, นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นอกจากนี้ยังมี นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายก สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย, อดีตกรรมการสภาทนายความ และทนายความ อาวุโสหลายท่านร่วมงาน ณ อาคารที่ท�ำการสภาทนายความ ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร

เอกอัครราชทูตเมียนมา ขอบคุณสภาทนายความ : เมื่อวันพุธที่ 8 มีนาคม 2560 : นายฮองค�ำชุง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐ แห่งสหภาพเมียนมา ประจ�ำประเทศไทย เข้าพบ นายด�ำรงศักดิ์ เครือแก้ว อุปนายก ฝ่ายปฏิบัติการ, นายเสาวภักดิ์ สกุลโรมวิลาส อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทาง กฎหมาย และนายนคร ชมพูชาติ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนสภาทนายความ เพื่อขอบคุณสภาทนายความที่ช่วยเหลือด้านกฎหมายกับจ�ำเลยชาวเมียนมาทั้ง 2 (จ�ำเลยในคดีฆ่านักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี) พร้อมขอ ค�ำปรึกษาและแนวทางการต่อสูค้ ดีของสภาทนายความในการต่อสูค้ ดีในชัน้ ศาลฎีกา ทั้งนี้ เบื้องต้นคณะท�ำงานของสภาทนายความ ได้มีการประชุมหารือถึง แนวทางการยื่นฎีกาในคดี นี้ ซึ่ ง มี ความเห็ นขอขยายเวลายื่ นฎี กาออกไปก่ อ น เนื่องจากรายละเอียดในค�ำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีหลานประเด็นที่ต้องวินิจฉัย โดย คณะท�ำงานสภาทนายความได้อธิบายขั้นตอนการท�ำงานให้ทางเอกอัครราชทูตฯ เมี ย นมา ทราบถึ ง กระบวนการต่ อ สู ้ ค ดี ใ นศาลชั้ น ต้ น และศาลอุ ท ธรณ์ อ ย่ า ง ละเอียด และยืนยันว่าจะด�ำเนินการทางคดีให้แก่จ�ำเลยชาวเมียนมาทั้ง 2 คน อย่างสุดความสามารถ

อบรมทนายความรับรองลายมือชื่อฯ รุ่นที่ 24 : เมื่อวันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ห้องประชุมชั้น 5 สภาทนายความฯ ถนนพหลโยธิ น กรุ ง เทพมหานคร : สภาทนายความ จั ด อบรมหลั ก สู ต ร “ทนายความผู้ท�ำค�ำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร” รุ่นที่ 24 โดย ว่าที่ ร.ต. ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ เป็นประธานเปิดการอบรมฯ และให้ ความรู้เกี่ยวกับหลักการ ความส�ำคัญและประโยชน์ของการรับรองลายมือชื่อและ เอกสาร ขอบเขต อ�ำนาจหน้าที่ในการท�ำค�ำรับรองฯ นอกจากนี้ยังมีวิทยากรหลาย ท่านร่วมบรรยายความรู้ตลอดการอบรมในหลักสูตรนี้ ได้แก่ นายพจน์ จิรวุฒิกุล ผู้อ�ำนวยการส�ำนักทะเบียนแบบการรับรองลายมือชื่อและเอกสาร/อุปนายกฝ่าย วิชาการ, ร้อยโท ดร.ธนพจน เอกโยคยะ, นายนันทน อินทนนท์, นายสมศักดิ์ อัจจิกุล กรรมการก�ำกับดูแลการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ท�ำค�ำรับรองลายมือชื่อฯ, นายทัศไนย ไชยแขวง อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ/กรรมการประชาสัมพันธ์ และ นายภักดี บุษยะบุตรี อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ กล่าวต้อนรับผู้เข้า อบรมฯ ทัง้ นีก้ ารอบรมหลักสูตรดังกล่าวมีระยะเวลา 2 วัน (25-26 กุมภาพันธ์ 2560) มีทนายความให้ความสนใจเข้ารับการอบรมกว่า 375 คน.


12

จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2560

พิธีมอบประกาศผู้ผ่านการอบรมวิชาว่าความ รุ่น 45 ณ อาคารใหม่สวนอัมพร

เมือ่ วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม 2560 : สภาทนายความ โดยส�ำนักฝึกอบรม วิชาว่าความแห่งสภาทนายความ จัดพิธมี อบประกาศนียบัตรผูผ้ า่ นการอบรม วิชาว่าความ รุน่ 45 และผูผ้ า่ นการทดสอบกรณีฝกึ หัดงานในส�ำนักงานไม่นอ้ ย กว่า 1 ปี ประจ�ำปี 2559 โดย ศาสตราจารย์พิเศษ อรรถนิติ ดิษฐอ�ำนาจ องคมนตรี เป็นประธานในพิธี ซึ่งก่อนพิธีมอบประกาศนียบัตรฯ มีการจัดพิธี ไหว้ครู จากนั้น ว่าที่พันตรี สมบัติ วงศ์ก�ำแหง ผู้อ�ำนวยการส�ำนักฝึกอบรม วิชาว่าความแห่งสภาทนายความ กล่าวเชิญ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ กล่าวรายงานต่อประธานในพิธี ทัง้ นีม้ กี รรมการบริหาร สภาทนายความ, กรรมการอ�ำนวยการส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความฯ, กรรมการ ทดสอบส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความฯ ร่วมพิธี ณ อาคารใหม่สวนอัมพร สภาทนายความในพระบรมราชู มภ : นายกิ่งกาญจน พงศทัต, นายจารึก รัตนบูรณ์, นายฐานสุอิทธิ์ ทองจีนทวีรัชต์, ที่ปรึกษาประจำ �กองบรรณาธิปกถัาร ชำระคาฝากสงเปนรายเดือน เลขที่ 249 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

ËÇÁÊ‹§ÀÒ¾¢‹ÒÇ-º·¤ÇÒÁÁÒŧà¼Âá¾Ã‹ ไดที่ ¡Í§ºÃóҸԡÒà ¨´ËÁÒ¢‹ÒÇÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁ àÅ¢·Õè 249 ¶¹¹¾ËÅâ¸Թ á¢Ç§Í¹ØÊÒÇÃÕ ࢵºÒ§à¢¹ ¡Ãا෾ÁËÒ¹¤Ã 10220

â·ÃÈѾ· 0-2522-7124-27, 0-2522-7143-47 µ‹Í 322 â·ÃÊÒà 0-2522-7158

Facebook : ÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁã¹¾ÃкÃÁÃÒªÙ»¶ÑÁÀ

E-mail : lctnews2013@gmail.com

นายทรงศักดิ์ กอน้อย, นางสาวภัทรานิษฐ์ มหัทธนวิสิทธิ์, นายพลระพีย์ รังสีธรรม, นายภาคภูใบอนุ มิ เศวตรั , นายภิรมย์ สัมมาเมตต์, ญาตเลขทีต่ น์5/2559 พท 0-2522-7124-27, 0-2522-7143-47 ตอ 322 โทรสาร 0-2522-7158 กสี่ ตมาศ, นายศิษฎ์ สุนันท์สถาพร, นายยงยุธ บุโทรศั ญทองแก้ ว, นายราเชน กิ่งทอง, นายเรวัต ปิยโชติสกุลชัย, นายวสันต์ ฝีมือช่าง, นายวันปณ.หลั ชัย โฆษิ นายสุกฤษฎิ์ แพรกรีฑาเวศน์, นายชิดชัย สายเชื้อ

บรรณาธิการ : นายทัศไนย ไชยแขวง ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นายชนะวัฒน์ ษารักษ์ กองบรรณาธิการ : นายกิตติคณุ แสงหิรญั , นายเกียรติคณุ ต้นยาง, นายเชษฐ์ สุขสมเกษม, นางสาวบัวระวงค์ ทรัพย์กง่ิ ศาล, นายสมภพ หงษ์กติ ติยานนท์, นายอนันต์ชยั ไชยเดช, นายอภินนั ท์ รัตนสุคนธ์, ว่าที่ พ.ต.ธำ�รงเกียรติ กังวาฬไกล, นางสาวกานดา จำ�ปาทิพย์, นางสาวกุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา, นายอานันท์ จันทร์ศรี, นางสาวจิตอารีย์ ปุญญะศรี ผู้ช่วยกองบรรณาธิการ : นางสาวนัทธมน จันดี, นายไพศาล แก่ฉมิ

• ผลิตโดย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 249 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทรศัพท์ : 0-2522-7124-27 ต่อ 318, 322 โทรสาร : 0-2522-7158


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.