จดหมายข่าว
สภาทนายความ สื่อสร้างสรรค์เพื่อทนายความ เผยแพร่งานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและประโยชน์สาธารณะ
ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ (ฉบับวันทนายความ) 2560
สารนายกสภาทนายความ เนื่องในวันทนายความ ประจ�ำปี 2560
เนื่องในวันทนายความ 2560 ตรงกับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 ถือเป็นปีที่ 60 และเป็นการเริ่มต้น ยุคใหม่แ ห่งการปฏิรูปวิชาชีพทนายความให้ทันสมัยกับโลกที่ก้าวไปข้างหน้า ทั้งด้านเทคโนโลยีและการใช้ กฎหมายใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�ำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พระราชบัญญัติการอ�ำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พระราชบัญญัติวิธี พิจารณาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบ สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดสัมมนาวิชาการให้ความรู้ด้านกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใหม่ อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องแก่ทนายความและประชาชนทั่วประเทศในปี พ.ศ.2560 รวมทั้งจัดสวัสดิการ และเพิม่ สิทธิประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ให้กบั สมาชิกทนายความและทายาท ไม่วา่ จะเกีย่ วกับเบีย้ ยังชีพทนายความ ผู้สูงอายุ การศึกษาของบุตรธิดาทนายความ และทนายความที่ได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับค่าครองชีพ รวมถึงประสบภัยต่าง ๆ เช่น อุทกภัย เป็นต้น ทั้งยังให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ด้านทางกฎหมายและ ด�ำเนินคดีให้กับผู้ที่ได้ไม่รับความเป็นธรรมทั่วประเทศ กระผมและคณะมีความตั้งใจแน่วแน่และมุ่งมั่นที่จะท�ำให้องค์กรสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นองค์กรที่ก้าวล�้ำและพัฒนาไปสู่ศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรมต่อไป
ว่าที่ร้อยตรี
(ดร. ถวัลย์ รุยาพร) นายกสภาทนายความ
คุยกับ บก. ในโอกาส “วันทนายความ ประจ�ำปี 2560” จดหมายข่าวฉบับนี้จึงจัดท�ำขึ้นเป็นกรณีพิเศษ โดยมีบทความทางกฎหมายที่น่ารู้น่าศึกษามาฝากเพื่อนสมาชิก รวมถึงบทความที่เกี่ยวกับความเป็นมา ของสภาทนายความ นับจากอดีตถึงปัจจุบัน อันเป็นความภาคภูมิใจของสมาชิก ที่มีองค์กรในการดูแล ทัศไนย ไชยแขวง กันเอง รวมถึงการรับใช้สังคมในทางกฎหมาย ทั้งการเผยแพร่กฎหมาย และการช่วยเหลือทางคดี ซึ่งเป็น บรรณาธิการบริหาร ที่รับทราบกันในสังคมว่าเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนทางกฎหมาย กฎหมายใหม่ๆ ที่จ�ำเป็นต้องรับรู้รับทราบ เพื่อใช้ในการประกอบวิชาชีพ เป็นสิ่งที่เราให้ความส�ำคัญที่จะต้องเผยแพร่ให้แก่เพื่อนสมาชิก ทั้งบทความทางกฎหมายทั้งในเชิงวิเคราะห์ และในเชิงปฏิบัติ “จดหมายข่าวสภาทนายความ” ขอเป็นช่องทางในการเผยแพร่ สิ่งอันเป็น ประโยชน์นี้ จึ ง ขอใคร่ ถื อ โอกาสนี้ เชิ ญ ชวนเพื่ อ นสมาชิ ก ที่ มี ค วามคิ ด ความเห็ น ในทางกฎหมาย ได้ ใช้ ช ่ อ งทางการสื่ อ สารนี้ ใ นการเผยแพร่ ผลงานอันจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยส่งบทความทางกฎหมาย หรือบทความที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ มายังกองบรรณาธิการฯ ตามที่อยู่นี้ กองบรรณาธิการจดหมายข่าวสภาทนายความ ส�ำนักงานโฆษกและประชาสัมพันธ์สภาทนายความ เลขที่ 249 ถนนพหลโยธิน แขวง อนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 ขอบคุณครับ.
สภาทนายความ จดหมายข่าว
เพื่อช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและประโยชน์สาธารณะ
ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (วันทนายความ 2560) เดือนกุุมภาพันธ์ 2560
ส า ร บั ญ
สารนายกสภาทนายความ เนื่องในวันทนายความ 2560 เรื่องจากปก สัมภาษณ์พิเศษ มุมฎีกา กฎหมายน่ารู้ กฎหมายใหม่ ถนนสายทนายความ กฎหมายกับงานวิชาการ แวดวงทนายความ หน้าต่างกิจกรรม
1 3 4 10 12 14 17 19 23 25
ที่ปรึกษาประจำ�กองบรรณาธิการ :
นายกิ่งกาญจน พงศทัต, นายจารึก รัตนบูรณ์, นายฐานสุอิทธิ์ ทองจีนทวีรัชต์, นายทรงศักดิ์ กอน้อย, นางสาวภัทรานิษฐ์ มหัทธนวิสิทธิ์, นายพลระพีย์ รังสีธรรม, นายภาคภูมิ เศวตรัตน์, นายภิรมย์ สัมมาเมตต์, นายยงยุธ บุญทองแก้ว, นายราเชน กิ่งทอง, นายเรวัต ปิยโชติสกุลชัย, นายวสันต์ ฝีมือช่าง, นายวันชัย โฆษิตมาศ, นายศิษฎ์ สุนันท์สถาพร, นายสุกฤษฎิ์ แพรกรีฑาเวศน์, นายชิดชัย สายเชื้อ
บรรณาธิการ : นายทัศไนย ไชยแขวง ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นายชนะวัฒน์ ษารักษ์ กองบรรณาธิการ : นายกิตติคณุ แสงหิรญั , นายเกียรติคณุ ต้นยาง, นายเชษฐ์ สุขสมเกษม, นางสาวบัวระวงค์ ทรัพย์กง่ิ ศาล, นายสมภพ หงษ์กติ ติยานนท์, นายอนันต์ชยั ไชยเดช, นายอภินนั ท์ รัตนสุคนธ์, ว่าที่ พ.ต.ธำ�รงเกียรติ กังวาฬไกล, นางสาวกานดา จำ�ปาทิพย์, นางสาวกุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา, นายอานันท์ จันทร์ศรี, นางสาวจิตอารีย์ ปุญญะศรี ผู้ช่วยกองบรรณาธิการ : นางสาวนัทธมน จันดี, นายไพศาล แก่ฉมิ
• ผลิตโดย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 249 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทรศัพท์ : 0-2522-7124-27 ต่อ 318, 322 โทรสาร : 0-2522-7158
เรื่ อ งจากปก
นายกสภาทนายความ รับรางวัล “ศิษย์เก่าดีเด่น” มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง
เมื่อวันอังคารที่ 17 มกราคม 2560 มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพ่อขุนรามค�ำแหง มหาราช ในโอกาส “วันพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช” ประจ�ำปี 2560 โดย นายวิรชั ชินวินจิ กุล นายกสภามหาวิทยาลัย รามค�ำแหง เป็นประธานในพิธีบวงสรวงและวางพานพุ่มถวายราชสักการะ และมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามค�ำแหง พร้อมคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และ นักศึกษาร่วมกิจกรรม ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช ภายในมหาวิทยาลัย รามค�ำแหง ในโอกาสนี้ ทางมหาวิทยาลัยรามค�ำแหงได้มีการมอบรางวัล “ศิษย์เก่าดีเด่น” ที่ได้รับคัดเลือกในโอกาส วันสถาปนามหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ครบ 45 ปี (26 พฤศจิกายน 2559) แก่ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายก สภาทนายความ ในฐานะทีเ่ ป็นศิษย์เก่าคณะนิตศิ าสตร์คนแรกของมหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ทีไ่ ด้รบั เลือกตัง้ จากสมาชิก สภาทนายความทั่วประเทศกว่า 80,000 คน ให้ด�ำรงต�ำแหน่งนายกสภาทนายความ.
4
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
สั ม ภาษณ์ พ ิ เ ศษ กองบรรณาธิการ
“วันทนายความ” กับทัศนะของ
“นายชวน หลีกภัย”
ในการสร้างตนให้เป็นนักกฎหมายที่ดีแท้ พุทธศักราช 2560 นับเป็นปีที่ 60 แห่ง วันทนายความ และนับเป็นเวลา 32 ขวบปี ของการก่อตั้ง “สภาทนายความ” สถาบันซึ่งเป็นของผู้ประกอบวิชาชีพ ทนายความ และเป็นองค์หนึ่งในกระบวนการยุติธรรมของไทย โดย มีนายกและกรรมการสภาทนายความทีไ่ ด้รบั เลือกตัง้ จากทนายความ ทั่วประเทศเข้ามาเป็นผู้บริหาร มีเป้าหมายหลักในการดำ�รงไว้ซึ่ง ศั ก ดิ์ ศ รี แ ห่ ง วิ ช าชี พ ทนายความ เพื่ อ เป็ น ที่ เ ป็ น ที่ พึ่ ง ที่ ห วั ง ของ ประชาชนผู้ยากไร้ไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน ย้อนไปในปี พ.ศ.2513 สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ได้จัด การสัมมนานักกฎหมายแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ขึ้น ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 16-18 มกราคม 2513 จนได้ขอ้ ยุตกิ ารสัมมนา ทีว่ า่ …ขอให้สถาบันทนายความเท่านัน้ เป็นผู้ควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพทนายความเอง ดังเช่นที่เป็นอยู่ใน นานาประเทศ และให้เป็นเช่นเดียวกับอาชีพแพทย์ที่แพทย์ควบคุม กันเองในประเทศไทย จากนั้นมีทนายความอาวุโส และเพื่อนทนายความ ได้ร่วม กันร่างพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ........ ขึ้น เสนอต่อที่ประชุม รัฐสภา และในที่สุด เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2528 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราช บัญญัติทนายความ พุทธศักราช 2528 และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 102 ตอนที่ 129 วันที่ 19 กันยายน 2528 วันพุธที่ 18 ธันวาคม 2528 พระราชบัญญัตทิ นายความ พ.ศ. 2528 มีผลใช้บังคับ “สภาทนายความ” ได้สถาปนาขึ้นโดย บทบัญญัติของกฎหมาย หลังจากใช้เวลาในการรณรงค์ต่อสู้นานกว่า
15 ปี จากวันนั้นจนถึงวันนี้ 20 กุมภาพันธ์ 2560 เป็น วัน ครบรอบปีที่ 60 นับตัง้ แต่มกี ารจัดงานวันทนายความ ครั้งแรก เป็นต้นมา เมื่อปี พ.ศ. 2500 คณะกรรมการ บริหารสภาทนายความยังคงให้ความสำ�คัญกับ “วัน ทนายความ” และถือเป็นประเพณีที่มีการจัดงาน ระลึกถึงความสำ�คัญของวิชาชีพทนายความตามที่บรรพ ชนทนายความได้ดำ�เนินการสืบเนื่องต่อกันมายาวนาน “ทนายความ” ยังเป็นวิชาชีพทีส่ �ำ คัญหนึง่ ในกระบวนการยุตธิ รรม ภายใต้การกำ�กับดูแลขององค์กร วิชาชีพ คือ สภาทนายความ มีหน้าที่หลักในการอำ�นวย ความยุติธรรมแก่ประชาชน ส่งเสริม ช่วยเหลือ แนะนำ� เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนเกีย่ วกับกฎหมาย และได้ รั บ พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ อย่ า งหาที่ สุ ด มิ ไ ด้ ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สภาทนายความอยูใ่ นพระบรม ราชูปถัมภ์ ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2553 เป็นต้นมา ในวันทนายความ ปี 2560 นี้ กองบรรณาธิการ “จดหมายข่ า วสภาทนายความ” ได้ รั บ เกี ย รติ จาก “นายชวน หลีกภัย” อดีตนายกรัฐมนตรี / อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งท่านเป็น ทนายความอาวุโส ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการทำ� หน้าที่ในวิชาชีพทนายความ รวมถึงการสร้างตนให้เป็น “นั ก กฎหมายที่ ดี แ ท้ ” โดยยึ ด หลั ก ตามพระบรม ราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
5
อดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โดยกองบรรณาธิการฯ ได้หยิบยกคำ�สัมภาษณ์ของท่านมาเผยแพร่เพื่อเป็นกำ�ลังใจแก่ผู้ประกอบวิชาชีพ ทนายความทุกท่าน ดังนี้
การยกระดับวิชาชีพทนายความให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้นในสังคม ? “เป็นที่ทราบว่าสถานะของทนายความในมุมมองของคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นประชาชน สื่อมวลชน หรือบุคคลในแขนง วิชาชีพอืน่ ๆ มักมีเสียงวิพากษ์วจิ ารณ์ในแง่ของการไม่คอ่ ยยอมรับไม่ให้ความสำ�คัญกับวิชาชีพทนายความ ผมมองว่า ทัง้ หมดทัง้ มวล ศักดิ์ศรีเกียรติยศทั้งหลายนั้นขึ้นอยู่กับตัวเรา การจะหวังให้ผู้อื่นเชื่อถือในตัวเรา นับถือในตัวเรา นั้น ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรม ของตัวเราด้วย อีกประการก็คือ ถ้าเรารักอาชีพอะไรก็อยากให้เลือกเดินบนเส้นทางนั้น หากไม่มีความรักในอาชีพนั้น ๆ แล้วก็ อย่าไปเลือกอาชีพนั้น วิชาชีพทนายความก็เช่นเดียวกัน เมื่อเรารักในวิชาชีพทนายความแล้ว คนภายนอกจะมองอย่างไรก็เป็น เรื่องของเขา ขอเพียงแต่เราต้องรักและภาคภูมิใจในวิชาชีพที่เราทำ� ผมมีความภาคภูมิใจที่ผมเป็น “ทนายความ” เพราะเป็นเส้น ทางทีผ่ มเลือกเอง หากมองย้อนหลังไปสมัยทีผ่ มยังเป็นเด็กก็มกั จะได้ยนิ คนทัว่ ไปมักเรียกทนายความด้วยถ้อยคำ�ทีด่ หู มิน่ ว่าเป็น พวกนั้นพวกนี้ แม้กระทั่งทุกวันนี้ก็ยังมี แต่ว่าทั้งหมดนี้มันขึ้นอยู่กับตัวเรา และบทบาทของทนายความก็คือ ส่วนหนึ่งของ กระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นวิชาชีพที่สามารถช่วยให้ความยุติธรรมเกิดขึ้นในสังคมได้มาก หากผู้ประกอบวิชาชีพทนาย ความมี ความรักและตั้งใจทำ�งานจริงๆ และทุกๆ วิชาชีพในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ตำ�รวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ ทนายความ ก็ล้วน มีทงั้ คนดีและคนไม่ดี ไม่มวี ชิ าชีพไหนทีม่ คี นดีทงั้ หมด คนทีท่ �ำ งานด้วยความตัง้ ใจจึงมีสว่ นช่วยเหลือบ้านเมืองและสังคมได้มาก” “ผมคิดว่าพี่น้องทนายความส่วนใหญ่ที่ทำ�งานด้วยความตั้งใจ มีบทบาทในการทำ�ให้สังคมนี้มีความเป็นธรรมมากขึ้น แม้บางครัง้ การทำ�งานเหล่านัน้ อาจจะมองไม่เห็น เป็นคดีเล็กๆ น้อยๆ บ้าง แต่กถ็ อื เป็นกลไกส่วนหนึง่ ของบ้านเมือง ซึง่ หากกลไก เหล่านีถ้ กู บัน่ ทอนหรือถูกทำ�ลายมากๆ ก็อาจทำ�ให้สงั คมบิดเบีย้ วมากกว่าทีเ่ ป็นอยูใ่ นปัจจุบนั ก็เป็นได้ นีจ่ งึ เป็นภาระทีท่ นายความ ทุกคนต้องตระหนักและต้องมีความภาคภูมิใจในงานที่ทำ�และตั้งใจทำ�งานในหน้าที่ให้ดีที่สุด ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต” “ทนายความต้องเชือ่ มัน่ ในวิชาชีพของตนเองก่อน จะทำ�ให้คนอืน่ ยอมรับในวิชาชีพของเรามากขึน้ ผมไม่ทราบว่าคนอืน่ จะคิดอย่างไร แต่กลุ่มคนที่เข้ามาให้เราช่วยเหลือหรือทำ�งานให้นั้น ไม่เคยดูถูกวิชาชีพเรา เพราะเรามีความตรงไปตรงมา ส่วน ใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้นมักมาจากทนายความที่ใช้วิชาชีพไปในทางไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อลูกความซึ่งยังมีอยู่จำ�นวนไม่น้อย จากการที่ ผมเคยเป็นกรรมการพิจารณามรรยาททนายความเมื่อครั้งที่ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะสภา นายกพิเศษแห่งสภาทนายความ ทำ�ให้รวู้ า่ ผูท้ มี่ พี ฤติกรรมเหล่านีม้ กั จะเป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลทีข่ าดความรับผิดชอบ ซึง่ มีปะปน อยู่ในทุกอาชีพ ไม่ควรเหมารวมถึงผู้ประกอบวิชาชีพทนายความทุกคน ดังความจริงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ลกู เสือ ในงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครัง้ ที่ 6 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2512 ความว่า “ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำ�ให้ทุกคนเป็นคนดีได้ ทั้งหมด การทำ�ให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำ�ให้ทุกคนเป็นคนดี หากอยู่ที่การส่งเสริมให้คนดีได้ปกครอง บ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำ�นาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้” หากทุกคนเข้าใจสัจธรรมความจริงข้อนี้ เราก็ จะไม่มองแต่ละวิชาชีพในทางลบทั้งหมด” “ผมก็ยงั เชือ่ ว่ามีทนายความหลายท่านทีท่ �ำ งานช่วยเหลือประชาชนทีไ่ ม่ได้รบั ความเป็นธรรมได้อย่างดี หากเราไม่เข้าไป ช่วยเหลือ บุคคลเหล่านั้นก็อาจจะไม่หลุดพ้นจากข้อกล่าวหาได้ ซึ่งทนายความต้องทำ�งานหนักอย่างจริงจัง อีกทั้ง ปัจจัยการ ช่วยเหลือประชาชนก็ไม่ได้อยูท่ เี่ งินทองเสมอไป ผมเองก็เคยทำ�งานคดีหลังจากทีเ่ ป็นรัฐมนตรีชว่ ยว่าการกระทรวงยุตธิ รรมแล้วก็ มาว่าความคดีลักทรัพย์ (จักรยาน) มูลค่า 700 บาท ในสมัยนั้นสมาคมทนายความให้ผมเขียนเรื่องนี้ เพราะมีการมองกันในแง่ ลบว่าเป็นถึงอดีตรัฐมนตรีฯ ทำ�ไมมาว่าความคดีเล็กๆ ไม่สมศักดิ์ศรี ผมก็อธิบายให้ผู้ใหญ่ที่ข้องใจว่า มันเป็นคดีที่ญาติพี่น้อง เขาขอให้ช่วย พ่อแม่ไม่มีเงินประกันตัว จำ�เลยติดคุกอยู่ 5-6 เดือน และข้อเท็จจริงที่จำ�เลยถูกกล่าวหาก็ไม่มีมูลความจริง ผมช่วยเหลือคดีจนศาลยกฟ้อง เป็นต้น” (อ่านรายละเอียดคดีลักทรัพย์ (จักรยาน) เพิ่มเติม ท้ายบทความ) อ่านต่อหน้า
6
+6MCTD% TILBT9;TD'ITC = 9Wg ² ,<S<9Wg ¯ _6YO;$ZCBT@S;: ¯²³ ¥IS;9;TD'ITC¦
ประธานรุนฝายหญิง ชื่อ-นามสกุล: นางสาว ชุติมา ศรีทองแท ชื่อเลน: จอย การศึกษา: มัธยมศึกษา โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง ป 2554 นิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขากฎหมายเอกชนและธุรกิจ) จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ป 2558 ที่ทํางาน: สํานักงานหลักสี่ที่ปรึกษากฎหมายและธุรกิจ อีเมล: nujoychutima@gmail.com
7
8
+6MCTD% TILBT9;TD'ITC = 9Wg ² ,<S<9Wg ¯ _6YO;$ZCBT@S;: ¯²³ ¥IS;9;TD'ITC¦
ประธานรุนฝายชาย ชื่อ: นาย สถาพร ใจการ ชื่อเลน: ดาม
การศึกษา: มัธยมศึกษา โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร พะเยา นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง ป 2558 ที่ทํางาน: สํานักกฎหมายเวลล-เวอรส อีเมล: Dam.Th3LawYeR@gmail.com
+6MCTD% TILBT9;TD'ITC = 9Wg ² ,<S<9Wg ¯ _6YO;$ZCBT@S;: ¯²³ ¥IS;9;TD'ITC¦
9
มุมมองของประธานฝายหญิงสําหรับแผนงานในอนาคตตอจากนี้ : ผูสอบผานเปนทนายความจากการอบรมวิชาวาความรุนที่ 45 และประเภทสํานักงาน ป 2559 นั้นมีจํานวนมาก ถึงสองพันแปดรอยกวาคน นั่นทําใหรุนของพวกเรานั้นตกลงกันที่จะมีประธานรุนถึงสองคนดวยกันเปนประธานรุนฝายชาย และประธานรุนฝายหญิงรวมกัน เพื่อชวยกันประสานงานและดูแลชวยเหลือเพื่อนทนายรวมรุนที่สอบผานมาพรอมๆกัน และ โดยสวนตัวนั้นมองวาตอนนี้เปนยุคเริ่มตนของ Internet of Thing ซึ่งกาวสูยุคดิจิตอลเต็มตัวที่ติดตอสื่อสารผานทางระบบ เครือขายอินเตอรเน็ตกันเปนหลัก แนวทางจึงจะเนนที่การใชระบบเครือขายออนไลนซึ่งสะดวก รวดเร็ว และเขาถึงไดงาย เปนหลัก สวนที่เริ่มทําแลวตอนนี้คือการตั้งกลุมเฟซบุคของรุนเพื่อรวบรวมเพื่อนๆเขาไวดวยกันและไวกระจายขาวสารตางๆ และพูดคุยภายในรุน ซึ่งตอนนี้มีผูสมาชิกในรุนเขารวมแลวถึงหนึ่งพันหกรอยกวาคนและทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สําหรับเปาหมายหลักของประธานทั้งสองฝายนั้นมีความคลายคลึงกัน โดยมุมมองตอเปาหมายและแผนงาน ที่ตั้งใจดําเนินงานตอจากนี้ไปนั้น ตั้งใจวาจะพยายามรวมกันจัดกิจกรรมหรือนําเสนอโครงการที่สงเสริมและพัฒนาความรู ความสามารถและทักษะของทนายความใหมอยางพวกเรา เนื่องมาจากรุนของพวกเรานั้นยังพึ่งเปนทนายความมือใหมมาก ถาเปรียบกับรถยนตยังเปนปายแดงอยูทีเดียว ยังพึ่งเริ่มตนกาวแรกในเสนทางของวิชาชีพทนายความซึ่งยังคงตองเรียนรู และเก็บสะสมประสบการณอกี มาก และในอนาคตอันใกลนพี้ วกเรากําลังจัดทําเพจเฟซบุค ขึน้ เพจหนึง่ เพือ่ เปนเพจทีเ่ ปดใหสมาชิก ในรุนของพวกเราไดใชงานเพื่อประกาศขาวสารตางๆและใชประชาสัมพันธขอมูลของรุนพวกเราคะ อยางไรก็ดีเนื่องจากพวกเรา ยังใหมมากจึงขอถือโอกาสนี้ขอฝากเนื้อฝากตัวกับทนายความรุนพี่ทั้งหลาย ไดโปรดใหความเอ็นดูชวยเหลือสนับสนุนและ ใหคําแนะนําทนายความรุนนองอยางพวกเราดวยนะคะ มุมมองของประธานฝายชายสําหรับแผนงานในอนาคตตอจากนี้ : จุดมุงหมายบนเสนทางของผมคือความยุติธรรมครับ หากจะกลาวถึงวิชาชีพทนายความประชาชนทั่วไปจะจิต นาการถึงภาพของทนายความที่เปนแคนักกฎหมาย แตวิชาชีพทนายความนั้นแตกตางจากนักกฎหมายอื่นๆ คือจะตองมีทั้ง ศาสตรและศิลป กลาวคือนอกมีความรูทางกฎหมายแลวทนายความยังตองเปนผูมีศิลปะในการพูดเห็นไดชัดเจนจากในการวา ความ และยังประกอบไปดวยเทคนิคการแสวงหาขอเท็จจริงและพยายหลักฐานตางๆใหปรากฏชัดแจงแกศาล ซึ่งศิลปที่กลาว มาเหลานี้นั้นเปนสิ่งที่ยากจะเรียนรูและเขาใจอยางถองแท ไมเหมือนกับศาสตรวิชาความรูที่จะสามารถคนหาศึกษาอานไดจาก ตําราตางๆโดยทั่วไป แตเปนสิ่งที่ตองเรียนรูจากประสบการณและสังเกตจากทนายความรุนพี่ สําหรับเปาหมายหลักของผมนั้น นอกจากในสวนที่ประธานฝายหญิงไดกลาวไปแลวขางตน ผมยังมีเปาหมาย ที่จะชักชวนเพื่อนๆรวมรุนใหความชวยเหลือประชาชนที่ยังขาดความเขาใจและเขาถึงกฎหมาย ซึ่งเห็นไดจากขาวในสื่อตางๆ ยังมีประชาชนที่กระทําความผิดตอกฎหมายโดยที่ไมทราบวาการกระทําของตนนั้นเปนการกระทําผิด ผมมีความตองการที่จะ หาทางชวยประชาชนเหลานั้นดวยชวยอุดชองวางในเรื่องความรูเกี่ยวกับกฎหมาย ดวยการสรางความรูความเขาใจกฎหมาย เสริมสรางความรูจากการหาทางที่จะถายทอดกฎหมายใหประชาชนเขาถึงไดงาย แตการจะผลักดันใหประชาชนไดรับความชวย เหลือทางกฎหมายในดานตางๆนั้น สิ่งนี้จะเกิดขึ้นไดอยางเห็นผลไดหากพวกเราไดรับความรวมมือจากทานทั้งหลาย ดังนั้น หากพวกเราจะไดรับความอนุเคราะหรวมมือชวยกันสรางโอกาสในการสงเสริมความรูและความชวยเหลือดานกฎหมายใหแก ประชาชน เพื่อรวมกันสรางสังคมที่นาอยูของเราทุกคนดวยกันครับ สุดทายนี้พวกเราประธานรุนทั้งสองขอเปนตัวแทนของเพื่อนทนายความรวมรุนขอเชิญชวน ไดโปรดมาแวะทักทาย เยี่ยมเยียน พูดคุยกับพวกเรา หรือแนะนําความรูและประสบการณตางๆกับทนายความนองใหมจากการอบรมวิชาวาความรุนที่ 45 และประเภทสํานักงาน ป 2559 ไดที่ เฟซบุค “ทนายความรุน45 ป2559”
10
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
มุ ม ฎี ก า
กำ�หนดระยะเวลาบังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่งชั้นที่สุดนั้น
ใช้บังคับรวมไปถึงเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาซึ่งเป็นผู้รับจำ�นองด้วย
แนวค�ำพิ พ ากษาศาลฎี ก าเดิ ม ก่ อ นหน้ า นี้ (ฎี ก าที่ 5992/2556) ได้วางหลักไว้ว่า การร้องขอให้บังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เจ้าหนี้ ตามค�ำพิพากษาต้องด�ำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ของกรม บังคับคดีให้ครบถ้วนภายในสิบปีนับแต่วันมีค�ำพิพากษา โดย ขั้นแรกเจ้าหนี้ตามค�ำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับ คดี และขัน้ ตอนต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาล ได้ออกหมายบังคับคดี ต่อจากนั้นเจ้าหนี้ต้องแถลงต่อเจ้า พนักงานบังคับคดีให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามค�ำพิพากษา ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 275 และมาตรา 278 ดังนัน้ การทีผ่ รู้ อ้ งเพียงแต่ขอให้ศาลออกหมาย บั ง คั บ คดี โ ดยมิ ไ ด้ ด�ำเนิ น การตามขั้ น ตอนต่ อ ไปอี ก จนพ้ น ก�ำหนดเวลาสิบปี ย่อมสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่หนี้ตามค�ำ พิพากษา แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าการจ�ำนองได้ระงับสิ้นไป การ จ�ำนองจึงยังคงมีอยู่ ดังนั้น ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิที่จะได้รับช�ำระ หนี้จ�ำนองตามกฎหมายกับดอกเบี้ยที่ค้างช�ำระในการจ�ำนอง เป็นเวลาห้าปีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 745 เท่านั้น ผู้ร้องจะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างช�ำระใน การจ�ำนองเกินกว่า 5 ปี ไม่ได้
ค�ำพิพากษาซึ่งเป็นผู้รับจ�ำนองจะต้องบังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีค�ำพิพากษาของศาลชั้นที่สุด อย่างไร ก็ตามแม้จะไม่ได้บังคับคดีภายใน 10 ปี แต่บุริมสิทธิ จ� ำ นองยั ง คงอยู ่ สามารถใช้ ยั น ต่ อ ลู ก หนี้ ห รื อ บุ ค คล ภายนอกได้ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานใหม่
ฎีกาแนวใหม่ ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที ่ 4613/2559 (ประชุมใหญ่) ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า สิทธิ จ�ำนองเป็นทรัพยสิทธิจะระงับสิน้ ไปก็ตอ่ เมือ่ มีกรณีตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 744 (1) ถึง (6) ดังนี้ ผู้รับ จ�ำนองซึ่งทรงทรัพยสิทธิจ�ำนองย่อมมีสิทธิบังคับจ�ำนองแม้หนี้ ทีป่ ระกันหรือสิทธิเรียกร้องส่วนทีเ่ ป็นประธานจะขาดอายุความ เพียงแต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างช�ำระในการจ�ำนองเกินกว่า ห้าปีไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27 และมาตรา 745 บัญญัติไว้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็น กฎหมายสารบัญญัติ ซึ่งก�ำหนดสิทธิและหน้าที่ของคู่กรณีที่มี นิตสิ มั พันธ์ตอ่ กัน โดยหากเจ้าหนีป้ ระสงค์บงั คับตามสิทธิกต็ อ้ ง ฟ้องเป็นคดีต่อศาลเพราะเหตุถูกลูกหนี้โต้แย้งสิทธิ ตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 อันเป็น กฎหมายวิธีสบัญญัติคือกฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติไว้ ซึ่งต่อมาเมื่อปี 2559 ได้มี ค�ำพิพากษาศาลฎีกา และเมือ่ คดีเข้าสูศ่ าล กระบวนพิจารณาก็ตอ้ งบังคับตามทีบ่ ญ ั ญัติ ที่ 4613/2559 (ประชุมใหญ่) ได้กลับแนวค�ำพิพากษา ไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น เมื่อ ศาลฎีกาเดิม โดยวางหลักเกณฑ์ใหม่ว่า เจ้าหนี้ตาม ประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การ
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
11
บังคับคดีตามค�ำพิพากษาหรือค�ำสั่ง มาตรา 271 บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามค�ำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่ วันที่ศาลมีค�ำพิพากษาหรือค�ำสั่ง ซึ่งหมายถึงตั้งแต่มีค�ำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น ส�ำหรับคดีนี้ ศาลชั้นต้นอ่านค�ำ พิพากษาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ดังนี้ การร้องขอให้บังคับคดีโดยการยึดทรัพย์สินจ�ำนองจึงต้อง กระท�ำในระยะเวลาสิบปีดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการบังคับคดีที่ต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาความ แต่โจทก์เพิ่งยื่น ค�ำขอฉบับลงวันที่ 30 ตุลาคม 2556 ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ด�ำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินจ�ำนองของจ�ำเลย ล่วงพ้นระยะ เวลาสิบปีนับแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2543 แล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินจ�ำนองของจ�ำเลย อย่างไรก็ตามทรัพย สิทธิจ�ำนองยังคงอยู่ และโจทก์สามารถใช้ยันต่อลูกหนี้จ�ำนองหรือต่อบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์สินจ�ำนองต่อไปได้ หมายเหตุ : ตามค�ำพิพากษาฎีกาที่ 4613/2559 ยังคงหลักการเดิมว่าสิทธิจ�ำนองจะระงับไปต่อเมือ่ มีกรณีตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (1) ถึง (6) การทีเ่ จ้าหนีจ้ �ำนองไม่ด�ำเนินการบังคับคดีภายในก�ำหนดสิบปีนบั แต่วนั ทีศ่ าล มีค�ำพิพากษานั้น ไม่มีผลให้สิทธิจ�ำนองระงับไปแต่อย่างใดไม่ แต่ถึงอย่างไรก็ตามในการที่เจ้าหนี้จ�ำนองไม่ด�ำเนินการบังคับคดี ภายในก�ำหนดสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีค�ำพิพากษานั้น ตามค�ำพิพากษาฎีกาที่ 4613/2559 ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่ได้ วางหลักการใหม่ว่า เจ้าหนี้จ�ำนองจะด�ำเนินการบังคับคดีกับทรัพย์จ�ำนองในคดีดังกล่าวไมได้ ซึ่งถือเป็นการกลับ ค�ำพิพากษาฎีกาที่ 5992/2556, 18391/2556, 3334/2557.
สิทธิน�ำคดีอาญามาฟ้องระงับเมื่อจ�ำเลยในคดีอาญาถึงแก่ความตาย
ท�ำให้ค�ำขอทางแพ่ง ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 44/1 จะระงับไปด้วยหรือไม่ ? ตามหลักกฎหมายในคดีอาญาเมือ่ จ�ำเลยถึงแก่ความตาย สิทธิน�ำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1) จากกรณีศกึ ษา ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13361/2558 ซึง่ เป็นฎีกาแนวใหม่ “คดีอาญา จ�ำเลยถึงแก่ความตายระหว่าง การพิจารณาคดีของศาลฎีกา สิทธิน�ำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1) จึงให้จ�ำหน่วยคดีเสียจากสารบบความ ส�ำหรับคดีส่วนแพ่งให้ศาลชั้นต้นด�ำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 (คู่ความมรณะ) หากครบก�ำหนดหนึ่งปีนับแต่จ�ำเลยถึงแก่ความตาย ไม่มีบุคคลใดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทน หรือ เข้ามาตามหมายเรียกของศาล ก็ให้ศาลชั้นต้นจ�ำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ หมายเหตุ : แต่เดิมศาลฎีกาได้วางหลักมาโดยตลอดว่า เมื่อสิทธิน�ำคดีอาญามาฟ้องระงับเพราะเหตุจ�ำเลยถึงแก่ความ ตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 ย่อมตกไปด้วย ซึ่งผู้เสียหายต้องน�ำไปฟ้องเป็นคดีใหม่ แต่ตาม ค�ำพิพากษาฎีกาที่ 13361/2558 ศาลฎีกาได้วางหลักการใหม่ว่า เมื่อจ�ำเลยถึงแก่ความตายจะมีผลเฉพาะคดี ส่วนอาญาเท่านั้น ไม่มีผลให้ค�ำขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 ตกไปด้วยแต่อย่างใด ซึ่งศาลจะต้องด�ำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ต่อไป. ส่วนในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์และขอให้จ�ำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ซึ่งเป็นค�ำขอที่ เกีย่ วเนือ่ งกับคดีอาญา ในกรณีเช่นนีแ้ ม้ผเู้ สียหายจะเข้าเป็นโจทก์รว่ มกับพนักงานอัยการก็ตาม เมือ่ จ�ำเลยซึง่ เป็นผูก้ ระท�ำผิดถึงแก่ ความตาย สิทธิน�ำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์รว่ มย่อมระงับไป มีผลให้ค�ำขอให้จ�ำเลยคืนหรือใช้ราคาย่อมตกไปด้วยศาล ต้องจ�ำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ (ฎีกาที่ 2384/2555, 13412/2553) ขอบคุณข้อมูลจาก : จุลสารศาลอุทธรณ์ภาค 3 ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2559)
12
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
กฎหมายน่ า รู ้ อ.ธีรวัฒน์ จันทร์สมบูรณ์
ปัญหาและมาตรการ โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดจากการขายทอดตลาด เมือ่ ก่อนนีผ้ ซู้ อื้ ห้องชุดทีป่ ระมูลได้จากการขายทอดตลาดของเจ้าของพนักงานบังคับคดีมปี ญั หาเกีย่ วกับการจดทะเบียน รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่เจ้าของห้องชุดมีหนี้ค้างช�ำระค่าใช้จ่ายทรัพย์ส่วนกลางติดมากับห้องชุดนั้นด้วย ท�ำให้ผู้ประมูลได้ไม่ สามารถรับโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนได้ และหากต้องการรับโอนจะต้องมีการช�ำระหนี้ค่าใช้จ่ายทรัพย์ส่วนกลางที่ค้างช�ำระของ ห้องชุดนัน้ ให้กบั นิตบิ คุ คลอาคารชุดก่อนจึงจะได้รบั หนังสือรับรองรายการปลอดหนีจ้ ากค่าใช้จา่ ยทรัพย์สว่ นกลางเพือ่ น�ำไปแสดง กับเจ้าพนักงานที่ดินให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดนั้นแก่ผู้ซื้อดังกล่าวต่อไป ด้วยสาเหตุปญ ั หานี้ ท�ำให้มอี ปุ สรรคต่อการขายทอดตลาดห้องชุดนัน้ ของเจ้าพนักงานบังคับคดีทมี่ กี ารซือ้ ขายได้ยากขึน้ ต่อมากรมบังคับคดีออกมาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีข้อก�ำหนดเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับ คดีระบุว่าผู้ประมูลซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้เป็นผู้รับผิดช�ำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่จ�ำเลย เจ้าของห้องชุดนั้นค้างช�ำระ อย่างไรก็ตาม กรณีกรมบังคับคดีออกประกาศเช่นนี้ ท�ำให้ผปู้ ระมูลได้ไม่เห็นด้วยกับประกาศและน�ำความไปฟ้องเป็นคดี ต่อศาล โดยอ้างว่าข้อก�ำหนดตามประกาศและน�ำความไปฟ้องเป็นคดีตอ่ ศาล โดยอ้างว่าข้อก�ำหนดตามประกาศดังกล่าวนีบ้ งั คับ ไม่ได้เนือ่ งจากเป็นหน้าทีข่ องจ�ำเลยเจ้าของห้องชุดนัน้ ทีต่ อ้ งช�ำระหนีค้ า่ ใช้จา่ ยส่วนกลาง และเห็นว่าเป็นหน้าทีข่ องนิตบิ คุ คลอาคาร ชุดต้องยืนค�ำขอรับช�ำระหนี้ในคดีนี้ หรือไปฟ้องจ�ำเลยเจ้าของห้องชุดนั้นเป็นคดีใหม่ คดีพิพาทไปถึงศาลฎีกา1ศาลฎีกาในคดีนี้ตัดสินว่าข้อก�ำหนดตามประกาศดังกล่าวของกรมบังคับคดีบังคับได้ เพราะ กฎหมายอาคารชุดมิได้บัญญัติห้ามบุคคลอื่นช�ำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางแทนเจ้าของห้องชุดเดิมนั้น และผู้ประมูลไม่มีสิทธ์อ้าง ข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่ดังที่อ้างไว้นั้นได้ ด้วยเหตุนตี้ ามประกาศจึงบังคับให้ผปู้ ระมูลนัน้ มีหน้าทีช่ �ำระค่าใช้จา่ ยส่วนกลางทีค่ า้ งช�ำระก่อนจึงจะมีสทิ ธิขอให้นติ บิ คุ คล อาคารชุดออกหนังสือรับรองรายการหนี้ที่เกิดจากค่าใช้จ่ายทรัพย์ส่วนกลางเพื่อน�ำเอาไปให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ให้กับตนต่อไปได้ 1
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 4341/2552
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
13
ตามประกาศนี้มีผลขับเคลื่อนให้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้กับผู้ประมูลดังกล่าวได้บ้าง แต่ก็พบว่ายังมีห้องชุด ดังกล่าวตกค้างยังขายทอดตลาดไม่ได้อยู่อีกจ�ำนวนหนึ่ง
ดังนัน้ เมือ่ ปี 2558 กรมบังคับคดีจงึ ได้ออกมาตรการเพิม่ ขึน้ 2 เพือ่ ให้มกี ารรับโอนทางทะเบียนได้ผลมากขึน้ และเป็นธรรม กับผู้ประมูลห้องชุดนั้นได้มาตรการนี้คือ “ถ้าทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดเป็นห้องชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ก่อนท�ำการขายทอดตลาด ให้ เจ้าพนักงานงานบังคับคดีบอกกล่าวให้นิติบุคคลอาคารชุดแจ้งรายการหนี้ค่าใช้จ่ายที่ต้องช�ำระเพื่อออกหนังสือ รับรองการปลอดหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับค�ำ บอกกล่าว เมื่อขายทอดตลาดแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้เพื่อช�ำระหนี้ที่ค้าง ช�ำระดังกล่าวจนถึงวันขายทอดตลาดแก่นิติบุคคลอาคารชุดก่อนเจ้าหนี้จ�ำนอง และให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ต้องใช้หนังสือรับรองการปลอดหนี้ หากนิติบุคคลอาคารชุดไม่แจ้งรายการหนี้ที่ค้างช�ำระดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในก�ำหนดเวลา ตามวรรคสองหรือแจ้งว่าไม่มีหนี้ที่ค้างช�ำระ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ต้องใช้ หนังสือรับรองการปลอดหนี้”3
2
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่29) พ.ศ.2558 (ประกาศในราชกิจจานุเบกขา เล่ม 132 ตอนที่ 110ก. วันที่ 19 พฤศจิกายน 2558) ตามมาตรา2 แห่งพระราชบัญญัตินี้ บัญญัติว่า “พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป” ดังนั้นพระราชบัญญัติมี ผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป. 3 สำ�หรับกรณีทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดเป็นที่ดินจัดสรรตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน ตามมาตรการที่เพิ่มขึ้นนี้กำ�หนดในทำ�นองเดียวกับห้องชุดนั้น (รายละเอียดตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่29) พ.ศ.2558)
14
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
กฎหมายใหม่ กองบรรณาธิการ
พ.ร.บ.ยาเสพติด ใหม่ ยืดหยุ่นโทษ คืนความยุติธรรม แก่ผู้ต้องหายาเสพติด
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จ ซึ่งจากผลการประชุมนั้น ที่ประชุม สนช. เห็นชอบให้ประกาศใช้รา่ งพระราชบัญญัตฉิ บับนีใ้ นราชกิจจานุเบกษา ด้วยคะแนนเอกฉันท์ 196 ต่อ 0 เสียง ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ผ่านการพิจารณาและประกาศใช้ในชื่อ “พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560” ประกาศใช้ใน ราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม 134 ตอนที่ 5 กวันที่ 15 มกราคม 2560 โดยให้มผี ลใช้บงั คับตัง้ แต่วนั ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป คือวันที่ 16 มกราคม 2560 โดยมีสาระสําคัญคือแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัตดิ งั กล่าวให้มลี กั ษณะ เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน เพือ่ ให้ผตู้ อ้ งหาหรือจาํ เลยมีโอกาสพิสจู น์ความจริง ได้โดยทีก่ ฎหมายปัจจุบนั มีบทบัญญัตบิ างส่วนทีก่ าํ หนดว่าบุคคลใดซึง่ กระ ทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 4 และประเภท 5 โดยมียาเสพติดให้โทษเกินปริมาณที่กําหนดไว้ให้ถือเป็น เด็ดขาดว่าผู้นั้นกระทําเพื่อจําหน่ายโดยไม่ได้เปิดโอกาสให้พิจารณาจาก พฤติการณ์หรือคํานึงถึงเจตนาที่แท้จริงของผู้กระทําความผิดและไม่ได้ให้ สิทธิผตู้ อ้ งหาหรือจาํ เลยในการพิสจู น์ความจริงในคดีนอกจากนีอ้ ตั ราโทษ สําหรับความผิดเกี่ยวกับการผลิต นําเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 1 ทีก่ าํ หนดโทษให้จาํ คุกตลอดชีวติ และปรับตัง้ แต่หนึง่ ล้านบาท ถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวติ ยังไม่เหมาะสมจึงแก้ไขปรับปรุงบทกาํ หนด โทษดังกล่าวเพื่อให้การลงโทษผู้กระทําความผิดมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ยาเสพติดให้โทษแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน, แอมเฟ ตามีน ,แมทแอมเฟตามีน, เอ็กซ์ตาซี และแอลเอสดี ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน, โคคาอีน, โคเดอีน และฝิ่นยา
ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะ เป็นต�ำรับยา และมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยูด่ ว้ ย คือ ยารักษาโรคทีม่ ยี าเสพติด ประเภท 2 เป็นส่วนประกอบอยู่ในสูตร เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้ ท้องเสีย ประเภท 4 สารเคมีทใี่ ช้ในการผลิตยาเสพ ติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อาเซติค แอนไฮไดรด์ และอาเซติลคลอไรด์ ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษทีม่ ไิ ด้เข้าอยู่ ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีการเปลี่ยน ค�ำว่า “ให้ถือว่า” เป็นค�ำว่า “ ให้สันนิษฐานว่า” จะช่วยให้พนักงานสอบสวนต้องสอบสวนให้เห็นถึง พฤติการณ์และเจตนาอันแท้จริงของผู้กระท�ำความ ผิด พร้อมกันนั้นยังเป็นการช่วยให้ผู้พิพากษาได้มี อิสระมากขึ้นในการใช้ดุลยพินิจเพื่อการก�ำหนด โทษแก่จ�ำเลย ประกอบกับจ�ำเลยสามารถอ้างข้อเท็จ จริงต่างๆ ขึ้นต่อสู้ในศาลได้ เพื่อพิสูจน์เจตนาของ ตน ทั้งนี้เพื่อเป็นการจับผู้ต้องหาคดียาเสพติดให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวมีทั้งสิ้น 10 มาตรา ขอยกมาตราทีม่ กี ารแก้ไขเพิม่ เติม ได้แก่ มาตรา 15
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
15
วรรคสาม, มาตรา 65 วรรคหนึ่ง, มาตรา 65 วรรคสอง, มาตรา 65 วรรคสาม และมาตรา 67 มีรายละเอียดดังนี้
ครอบครองยาเสพติดเกินก�ำหนดให้สันนิฐานว่ามีเพื่อ จ�ำหน่าย มาตรา 15 วรรคสาม มีการยกเลิกข้อความเดิมที่ว่า “การผลิต น�ำ เข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดประเภท 1 ตามปริมาณดังต่อ ไปนี้ ให้ถอื ว่าเป็นการผลิต น�ำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพือ่ จ�ำหน่าย” แล้วให้ใช้ขอ้ ความต่อไปนีแ้ ทน “การผลิต น�ำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบ ครองซึ่งยาเสพติดประเภท 1 ตามปริมาณดังต่อไปนี้ ให้สันนิษฐานว่า เป็นการผลิต น�ำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจ�ำหน่าย”
จ�ำหน่ายยาเสพติดโทษ “จ�ำคุกตลอดชีวิต” ถึง “ประหารชีวิต” มาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีการยกเลิกข้อความเดิมที่ว่า ผู้ใดผลิต น�ำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 15 ต้องระวางโทษจ�ำคุกตลอดชีวติ และปรับตัง้ แต่หนึง่ ล้านบาทถึงห้าล้านบาท” แล้วให้ใช้ขอ้ ความต่อไป นี้แทน “ผู้ใดผลิต น�ำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 15 ต้องระวางโทษจ�ำ คุกตั้งแต่สิบปีถึงจ�ำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท” มาตรา 65 วรรคสอง มีการยกเลิกข้อความเดิมทีว่ า่ “ถ้าการกระท�ำความผิดตามวรรคหนึง่ เป็นการกระท�ำเพือ่ จ�ำหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต” แล้วให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ถ้าการกระท�ำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระท�ำเพื่อ จ�ำหน่าย ต้องระวางโทษจ�ำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต” มาตรา 65 วรรคสาม มีการยกเลิกข้อความเดิมว่า “ถ้าการกระท�ำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการผลิตโดยการแบ่ง บรรจุ หรือรวมบรรจุ และมีปริมาณค�ำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจ�ำนวนหน่วยการใช้ หรือมีน�้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่ก�ำหนด ตามมาตรา 15 วรรคสาม ต้องระวางโทษจ�ำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจ�ำทั้ง ปรับ” แล้วให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ถ้าการกระท�ำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการผลิตโดยการแบ่งบรรจุ หรือรวม บรรจุ ต้องระวางโทษจ�ำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ” (คือตัดส่วนของการก�ำหนดปริมาณทิ้งไป) มาตรา 67 มีการยกเลิกข้อความเดิมทีว่ า่ ผูใ้ ดมีไว้ในครอบครองซึง่ ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 โดยไม่ได้รบั อนุญาตและ มีปริมาณค�ำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจ�ำนวนหน่วยการใช้ หรือมีน�้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่ก�ำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม ต้องระวางโทษจ�ำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ” แล้วให้ใช้ข้อความต่อ ไปนี้แทน “ผู้ใดมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจ�ำคุกตั้งแต่หนึ่ง ปีถงึ สิบปี หรือปรับตัง้ แต่สองหมืน่ บาทถึงสองแสนบาท หรือทัง้ จ�ำทัง้ ปรับ” (คือตัดส่วนของการก�ำหนดปริมาณทิง้ ไปเช่น เดียวกับในมาตรา 65 วรรคสาม) จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงในการแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีผลมาจากกระแสสังคมปัจจุบันที่มุ่งให้ความส�ำคัญกับ ความมั่นคงของมนุษย์ ค�ำนึงถึงเรื่องของสุขภาพ ค�ำนึงถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยเพิ่มช่องโทษจาก “ประหาร” อย่างเดียวเป็น ปรับและจ�ำคุกตลอดชีวิตในกรณีจ�ำหน่าย ซึงนับเป็นมิติใหม่ที่น่าสนใจ.
16
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
กฎหมายใหม่ กองบรรณาธิการ
ผ่านกฎหมาย
ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฝ่าฝืนมีโทษถึงจำ�คุก ปรับสองแสน เมื่อวันที่ 15 มกราคม ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 แล้ว โดยมี รายละเอียดระบุวา่ สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่าโดยทีเ่ ป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วย การห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 4 บุคคลใดให้บคุ คลอืน่ กูย้ มื เงินหรือกระทาํ การใดๆ อันมีลกั ษณะเป็นการอาํ พราง การให้กยู้ มื เงิน โดยมีลกั ษณะ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (1) เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกําหนดไว้ (2) กําหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจํานวนเงินกู้หรือเรื่องอื่นๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืม หรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้ เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกําหนด หรือ (3) กําหนดจะเอาหรือรับเอาซึ่งประโยชน์อย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นเงิน หรือสิ่งของหรือโดยวิธีการใดๆ จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืมเงินมาตรา 5 บุคคลใดได้มาซึ่งสิทธิ เรียกร้องจากบุคคลอื่นโดยรู้ว่าเป็นสิทธิที่ได้มาจากการกระทําความผิดตาม มาตรา 5 และใช้สิทธินั้นหรือพยายามถือเอาประโยชน์แห่งสิทธินั้น ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 มาตรา 6 เมื่อศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดแต่รอการกําหนดโทษหรือรอการลงโทษไว้ไม่ว่าจะมีคําขอหรือไม่ ศาลอาจนําวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามมาตรา 39 (3) และ (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
17
ถนนสายทนายความ
ผอ.สำ�นักฝึกอบรมวิชาว่าความ ชูนโยบายเตรียมความพร้อม
สู่วิชาชีพทนายความ ผ่านการฝึกทักษะการเขียนคำ�คู่ความ ทีไ่ ม่ยากเกินความตั้งใจ
เป็นที่ทราบกันดีว่า “ส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภา ทนายความ” ด�ำเนินการจัดฝึกอบรมหลักปฏิบัติเบื้องต้นในการว่า ความ ฝึกอบรมมรรยาททนายความ และการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายแก่ผู้ที่จะขอรับใบอนุญาตเพื่อประกอบ วิชาชีพทนายความ ค�ำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความก็คือ อยากเป็นทนายความ ข้อสอบยากมั๊ย ? ต้องเตรียม ตัวอย่างไร ? จดหมายข่าวสภาทนายความฉบับนี้ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ว่าที่พันตรี สมบัติ วงศ์ก�ำแหง ผู้อ�ำนวยการส�ำนัก ฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ อย่างตรงประเด็นแบบค�ำต่อค�ำ ดังนี้
อยากเป็นทนายความต้องเตรียมตัวอย่างไร ? “ผู้ท่ีอยากเป็นทนายความนอกจากจะต้องส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรืออนุปริญญาทางนิติศาสตร์ จาก สถาบันการศึกษาซึง่ สภาทนายความรับรองว่าควรเป็นทนายความได้ ต้องเข้ารับการอบรมวิชาว่าความจากส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่า ความทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ก�ำหนด ซึ่งปัจจุบันเปิดรับสมัครปีละ 2 ครั้ง และในปี 2560 มีแผนจะ เปิดรับสมัครปีละ 3 ครัง้ โดยส�ำนักฝึกอบรมฯ จะจัดให้มกี ารบรรยายความรูเ้ กีย่ วกับวิชาว่าความในหัวข้อต่าง ๆ และมีการทดสอบ ความรู้ในภาคทฤษฎี ผู้ที่สอบผ่านเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการอบรมในภาคปฏิบัติต่อไป ซึ่งในภาคปฏิบัตินี้ต้องเข้าฝึกอบรม ภาคปฏิบัติในส�ำนักงานทนายความ หน่วยงานหรือองค์กรกฎหมายต่าง ๆ ทั่วประเทศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน และใน ระหว่างการฝึกอบรมภาคปฏิบตั ิ ส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความจะจัดให้มกี ารบรรยายหัวข้อเกีย่ วกับการด�ำเนินกระบวนพิจารณาใน ศาลช�ำนัญพิเศษในทุกศาล และมรรยาทและจริยธรรมทนายความ เป็นเวลาอีก 10 วัน และมีการทดสอบความรู้ในภาคปฏิบัติ เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ตามกฎหมายในหน้าที่ของทนายความ เมื่อสอบผ่านภาคปฏิบัติจึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบปากเปล่า เมื่อ สอบผ่านทุกขั้นตอนแล้วก็ต้องเข้ารับการอบรมจริยธรรมมรรยาททนายความซึ่งเป็นภาคบังคับไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง จึงจะ ถือว่าผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาว่าความโดยสมบูรณ์ มีสิทธิ์ในการยื่นค�ำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ทนายความได้”
การทดสอบ และการเตรียมความพร้อม ?
“ส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความฯ แบ่งการทดสอบดังนี้ 1. ภาคทฤษฎีเพื่อเป็นการทดสอบความรู้ ความเข้าใจในสาระส�ำคัญของกฎหมาย และความพร้อมในการ เรียบเรียงถ้อยค�ำส�ำนวนความ ซึ่งเป็นการสอบข้อเขียน แบบปรนัย 20 คะแนน แบบอัตนัย 80 คะแนน ภายในระยะเวลา 4 ชั่วโมง รวมคะแนนเต็ม 100 คะแนน และผู้ที่จะถือว่าสอบผ่านจะต้องสอบได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
18
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
2. ภาคปฏิบัตนิ ั้น เพื่อเป็นการตรวจสอบความรู้ด้านกฎหมาย ความสามารถ-ความเข้าใจในการสรุปข้อเท็จ จริงและก�ำหนดประเด็น การเขียนค�ำคู่ความ ขั้นตอนและวิธีการด�ำเนินคดี การใช้แบบพิมพ์ศาล ซึ่งเป็นการสอบข้อ เขียน แบบปรนัย 20 คะแนน แบบอัตนัย 80 คะแนน ภายในระยะเวลา 4 ชั่วโมง รวมกับคะแนนส�ำนักงาน 10 คะแนน เป็น คะแนนเต็ม 110 คะแนน และผู้ที่จะถือว่าสอบผ่านภาคปฏิบัติจะต้องสอบได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 3. การสอบปากเปล่า ผู้เข้ารับการอบรมที่สอบผ่านภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติแล้ว จะต้องเข้าสอบปากเปล่า ตาม ก�ำหนดวัน เวลา ที่ส�ำนักฝึกอบรมฯ ก�ำหนด ซึ่งการสอบปากเปล่า เพื่อเป็นการทดสอบความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับวิธี พิจารณา ทักษะการถามพยานและการด�ำเนินกระบวนการพิจารณา พร้อมทั้งตรวจสอบบุคลิกภาพ สมรรถภาพ ไหวพริบ ปฏิภาณการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ
โครงการฝึกทักษะการเขียนค�ำคู่ความ มีส่วนพัฒนาศักยภาพและ มาตรฐานการอบรมวิชาว่าความอย่างไร ? “โครงการนีม้ ขี นึ้ เพือ่ รองรับการด�ำเนินงานตามนโยบายใหม่ของส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความทีม่ เี ป้าประสงค์หลัก คือการ เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมกับส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความทั่วประเทศ โดยได้กระจายอ�ำนาจในการบริการ จัดการการอบรมให้กรรมการบริหารสภาทนายความ ภาค 1-9 ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพวิชาชีพทนายความให้มี มาตรฐานอย่างเต็มระบบมากขึ้น จึงริเริ่มโครงการนี้โดยส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความได้จัดอบรมวิทยากรฝึกทักษะการเขียนค�ำ คูค่ วามจากตัวแทนทนายความทีก่ รรมการบริการสภาทนายความภาคเป็นผูพ้ จิ ารณาจากภาคต่างๆ เพือ่ ซักซ้อมความเข้าใจกติกา หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการทดสอบความรู้ผู้เข้ารับการอบรมวิชาว่าความ และเพิ่มพูนความรู้ต่าง ๆ ที่จ�ำเป็นในการไปถ่ายทอดฝึก ทักษะความรู้ รวมถึงประสบการณ์ในการว่าความแก่นกั ศึกษาอบรมวิชาว่าความให้สามารถเขียนค�ำคูค่ วามได้ เข้าใจในสาระส�ำคัญ ของกฎหมาย และสามารถเรียบเรียงส�ำนวน จับประเด็นข้อเท็จจริงปรับเข้ากับข้อกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และสามารถผ่านการ ทดสอบของส�ำนักฝึกอบรมฯ ได้ไม่ยาก ขอแค่นักศึกษาทุกท่านมีความตั้งใจจริงในการเข้าสู่ถนนสายวิชาชีพทนายความ” “แม้โครงการนี้จะเป็นโครงการน�ำร่อง จัดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ ได้รบั การตอบรับทีด่ จี ากนักศึกษาฯ เข้าร่วมอบรมฝึกทักษะการเขียนค�ำ คู่ความตามภูมิภาคต่าง ๆ อย่างคับคั่ง” “นอกจากนี้ ส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความฯ ได้เตรียมส�ำรวจ ประเมินผลสถิติการผ่านการทดสอบของนักศึกษาที่เข้ารับการอบรมฝึก ทักษะดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับมาตรฐานการถ่ายทอดองค์ ความรู้ของผู้เป็นวิทยากรให้ครอบคลุมการอบรมเพื่อเป็นข้อมูลในการ ขยายพื้นที่โครงการและการปรับมาตรฐานความก้าวหน้าของโครงการอย่างยั่งยืนต่อไป” “ฝากถึงนักศึกษาผู้เข้ารับการอบรมทุกท่าน รวมทั้งท่านที่อยากประกอบวิชาชีพทนายความว่า การจัดอบรมที่ สภาทนายความในรุ่นที่ 47 นี้ ส�ำนักฝึกกอบรมได้ปรับปรุงเนื้อหา และเพิ่มความเข้มข้นในการฝึกทักษะให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม อย่างเต็มที่ ด้วยความเสียสละจากคณะกรรมการควบคุมการฝึก ทุกท่านโดยเฉพาะ คุณนคร ดิวรางกูร เลขาส�ำนักอบรม คุณศุภ กิจ หล่อพัฒนางกูร คุณวิภาต อภิปาลกุลด�ำรง คุณพินิจ ลักษณะวิศิษฐ์ และคณะทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทุกท่านสามารถ สอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานของส�ำนักอบรมวิชาว่าความ และสามารถเข้าสู่วิชาชีพทนายความได้ด้วยความภาคภูมิใจและสามารถ อ�ำนวยความยุตธิ รรมให้กบั สังคมไทยได้เป็นอย่างดี และะอยากขอฝากผูเ้ ข้ารับการอบรมทุกท่านว่า ความพยายามคือหนทางแห่ง ความส�ำเร็จ เมื่อท่านได้ใช้ความเพียรอย่างเต็มที่แล้ว ข้อสอบไม่ยากเกินกว่าที่ท่านจะท�ำได้ หากท่านมีโอกาสก้าวเข้าสู่วิชาชีพ ทนายความ จงเป็นคนดีที่ยึดถือเกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ และเหนือสิ่งอื่นใดก็คือความยุติธรรมสังคมจะสันติสุข ได้ด้วยความยุติธรรม ดังนั้น “จงประสาทความยุติธรรมแม้ฟ้าจะถล่มก็ตามที” หากวันใดที่ไม่มีความยุติธรรมหลงเหลืออยู่ใน หัวใจของท่านแล้ว ขอท่านอย่าท�ำให้วิชาขีพทนายความแปดเปื้อน จงออกไปจากกระบวนการยุติธรรม และออกจากวิชาชีพ ทนายความเสีย”
19
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
กฎหมายกั บ งานวิ ช าการ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ
รัฐธรรมนูญกับองค์การอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย
The Constitution of Thailand and the Independent Organization for the Consumer Protection in Thailand
ผู ้ บริ โ ภคในประเทศไทยจ�ำนวนมากถูกเอารั ด เอาเปรี ยบ แต่ ผู ้ บ ริ โภคกลั บ ไม่ อาจเรี ยกร้ องความเป็ น ธรรมหรื อ ค่าเสียหายใด ๆ ได้ เนื่องด้วยผู้บริโภคมักขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคที่ตนได้รับความคุ้มครองรวมทั้งขาดความ พร้อมในหลายด้าน ในอันที่จะเรียกร้องเอาความเป็นธรรมตามกฎหมายจากผู้ประกอบการธุรกิจ จึงจ�ำต้องยอมถูกเอารัดเอา เปรียบไปตามสภาพแม้ว่าผู้บริโภคจ�ำนวนมากจะได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิผู้บริโภคตลอดมาก็ตาม ดังนั้น จึงได้ มีการเสนอให้มีบทบัญญัติเพื่อจัดตั้งองค์การอิสระเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคตลอดมาก็ตาม ดังนั้น จึงได้มีการเสนอให้มี บทบัญญัติเพื่อจัดตั้งองค์การอิสระเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 57 และในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 61 นับถึงปัจจุบันเป็นระยะ เวลาถึง 18 ปี แต่ยังไม่มีการใช้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับองค์การอิสระดังกล่าว ส่งผลให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความช่วยเหลือ และคุม้ ครองอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจ�ำเป็นต้องมีการผลักดันให้สทิ ธิของผูบ้ ริโภคได้รบั การคุม้ ครองตามกฎหมายเพือ่ ให้เกิดการ ปฏิรปู การคุม้ ครองผูบ้ ริโภค โดยควรให้มกี ฎหมายในการจัดตัง้ องค์การอิสระเพือ่ การคุม้ ครองผูบ้ ริโภคเพือ่ ท�ำหน้าทีใ่ ห้ความเห็น ประกอบการพิจารณาของหน่วยงานรัฐในการเสนอกฎหมายและก�ำหนดมาตรการในการคุม้ ครองผูบ้ ริโภค รวมถึงการตรวจสอบ การท�ำงานในการคุ้มครองผู้บริโภค ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2558) ได้บัญญัติเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคไว้ ในมาตรา 60 อันเป็นการสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการจัดตั้งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคมีความส�ำคัญในการ ด�ำเนินการเพื่อให้มีการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ แต่โดยเหตุที่ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครอง ผู้บริโภคตกไปพร้อมกับการสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้วนั้น จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้อง ตรากฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดตั้งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อท�ำหน้าที่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญต่อไป จะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ให้ความส�ำคัญกับองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครอง ผูบ้ ริโภคเป็นอย่างมาก โดยได้กล่าวถึงการจัดตัง้ องค์การอิสระเพือ่ การคุม้ ครองผูบ้ ริโภคไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญนัน้ เอง และ ได้มกี ารตรากฎหมายการจัดตัง้ องค์การอิสระเพือ่ การคุม้ ครองผูบ้ ริโภคตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ดังกล่าว อ่านต่อหน้า
21
20
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
นอกจากทีม่ บี ทบัญญัตเิ รือ่ งการคุม้ ครองผูบ้ ริโภคในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยดังทีก่ ล่าวมาแล้ว ในประเทศไทย ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวกับคุ้มครองผู้บริโภคที่ส�ำคัญคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ บริโภค ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2541 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นกฎหมายที่ใช้เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย โดยในพระ ราชบัญญัตดิ งั กล่าวได้บญ ั ญัตใิ ห้นยิ ามค�ำว่า “ผูบ้ ริโภค” ไว้ดงั นี้ “ผูบ้ ริโภค” หมายถึง “ผูซ้ อื้ หรือได้รบั บริการจากผูป้ ระกอบธุรกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือ ผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม” นอกจากนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคดังกล่าวยังได้ก�ำหนดสิทธิของผู้บริโภคไว้ 5 ประการ คือ 1. สิทธิที่จะได้ข่าวสารรวมถึงค�ำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ 2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ 3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ 4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการท�ำสัญญา 5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ทั้งนี้ เพื่อให้การด�ำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปตามกฎหมาย ได้มีการจัดตั้งส�ำนักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สังกัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ด�ำเนินการในการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย การที่มีส�ำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐในการช่วยเหลือในการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ ยังมีข้อจ�ำกัดในเรื่องบุคลากรที่ไม่เพียงพอ และการที่บุคลากรอยู่ภายใต้สายการบังคับบัญชาซึ่งอาจถูกสั่งการได้จากผู้มีอ�ำนาจที่ เกีย่ วข้อง แต่องค์การอิสระเพือ่ การคุม้ ครองผูบ้ ริโภคเป็นหน่วยงานภาคเอกชนและเป็นตัวแทนของผูบ้ ริโภคซึง่ สามารถด�ำเนินการ ให้แก่ผู้บริโภคได้อย่างอิสระ ไม่ต้องอยู่ภายใต้อ�ำนาจรัฐ หน่วยงานของรัฐ จึงสามารถด�ำเนินการต่าง ๆ ภายใต้กรอบแห่ง รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่บัญญัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ร่างกฎหมายเกี่ยวกับองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ 2550 จะตกไปตามรัฐธรรมนูญทัง้ สองฉบับดังกล่าว อันท�ำให้รา่ งพระราชบัญญัตเิ กีย่ วกับองค์การอิสระเพือ่ การคุม้ ครอง ผูบ้ ริโภคไม่มผี ลใช้บงั คับเป็นกฎหมาย แต่ตอ่ มาได้มกี ารประกาศใช้รฐั ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชัว่ คราว พุทธศักราช 2557 โดยให้ไว้ ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 และให้มีการตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ตั้งคณะ กรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญ และในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ คณะกรรมาธิการยก ร่างรัฐธรรมนูญได้พิจารณาแล้ว โดยได้น�ำเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2558 เพื่อลงมติรับหรือไม่รับร่าง รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในวันที่ 6 กันยายน 2558 ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้มีบทบัญญัติเรื่ององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคไว้เช่นกัน โดย บัญญัติไว้ในมาตรา 60 ความว่า “สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคทีเ่ ป็นอิสระซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ ประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ท�ำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและบังคับใช้ กฎหมายและกฎ ให้ความเห็นในการก�ำหนดมาตราต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้ง ตรวจสอบและรายงานการกระท�ำหรือ การละเลยไม่กระท�ำการอันเป็นการคุม้ ครองผูบ้ ริโภค และเสนอทางแก้ไขเยียวยาความเสียหายทีผ่ บู้ ริโภคได้รบั ตลอดจนสนับสนุน และส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรู้และทักษะที่จ�ำเป็นด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนด�ำเนินคดีที่เป็นประโยชน์สาธารณะเพื่อ คุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” จะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญได้ให้ความส�ำคัญแก่การจัดตั้งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยมีร่าง พระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ก�ำหนดไว้ให้องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นองค์การที่ อ่านต่อหน้า
22
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
21
ด�ำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการ โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 12 ของร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ บริโภคได้รับการคุ้มครอง และก�ำหนดให้มีตัวแทนผู้บริโภคในการด�ำเนินการขององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในร่าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. .... มาตรา 60 บัญญัติไว้โดยสรุปว่า 1. ท�ำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ 2. ให้ความเห็นในการก�ำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค 3. ตรวจสอบและรายงานการกระท�ำหรือการละเลยไม่กระท�ำการอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค และเสนอทางแก้ไข เยียวยาความเสียหายที่ผู้บริโภคได้รับ 4. สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรู้และทักษะที่จ�ำเป็นด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค 5. ด�ำเนินคดีที่เป็นประโยชน์สาธารณะเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ในปัจจุบัน ผู้บริโภคที่ถูกเอาเปรียบได้ไปร้องเรียนต่อหน่วยงานของรัฐ แต่โดยที่หน่วยงานของรัฐก็อยู่ภายใต้ก�ำกับของ ผู้มีอ�ำนาจในการบริหารบ้านเมือง เช่น รัฐมนตรี หรือโดยระบบทุน ท�ำให้ผู้ประกอบการบางรายอาจได้รับการปกป้องอย่างไม่ เป็นธรรมจากผูม้ อี �ำนาจ จึงจ�ำเป็นต้องมีการปฏิรปู การคุม้ ครองผูบ้ ริโภค การทีร่ ฐั ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทีผ่ า่ นมาบัญญัติ ให้มีการจัดตั้งองค์การอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคโดยมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อ ให้หลักในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยให้ปลอดจากระบบทุนและการเมือง เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและตรวจสอบให้ความเห็น เพื่อ คุ้มครองผู้ที่มีฐานะเป็นผู้บริโภคซึ่งมีอยู่จ�ำนวนมาก เป็นวิธีการที่สามารถก่อให้เกิดเป็นพลังในการคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมี ประสิทธิภาพและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ส�ำหรับประเด็นเกี่ยวกับงบประมาณ ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แต่ในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. .... (2558) ไม่ได้บัญญัติไว้
ที่มา : คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.)
อ่านต่อหน้า
23
22
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
ดังนั้น ในส่วนงบประมาณจึงสมควรให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการด�ำเนินการให้แก่องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครอง ผูบ้ ริโภค เพือ่ ให้เกิดความอิสระในการบริหารจัดกรและเพือ่ ให้คณะกรรมการมีอ�ำนาจหน้าทีใ่ นฐานะเป็นผูด้ �ำเนินการแทนผูบ้ ริโภค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ผ่านมาจนถึงร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ก�ำลังพิจารณาอยู่ใน ปัจจุบัน (พ.ศ.2558) เห็นควรให้มีองค์การเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคทีเ่ ป็นอิสระ ไม่เป็นหน่วยงานของรัฐ แสดงถึงการที่รัฐให้ ความส�ำคัญในการมีองค์การอิสระเพือ่ การคุม้ ครองผูบ้ ริโภคซึง่ เป็นภาคประชาชนทีเ่ ป็นผูบ้ ริโภค เพือ่ สนับสนุนส่งเสริมและแสดง ถึงพลังของผู้บริโภคเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่จะมีการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นในประเทศไทย ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้ให้ความส�ำคัญกับองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ไว้ ทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 57 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 61 รวมถึงในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2558) ก็มีบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. .... มาตรา 60 ในอันทีจ่ ะให้ภาคเอกชนซึง่ เป็นตัวแทนผูบ้ ริโภคเข้ามามีสว่ นร่วมในการคุม้ ครองผูบ้ ริโภคในด้านการให้ความ เห็น เพื่อประกอบการพิจารณาจากหน่วยงานของรัฐ ในการตราและบังคับใช้กฎหมาย ให้ความเห็นในการก�ำหนดมาตรการ ต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงการตรวจสอบสนับสนุนส่งเสริมและเยียวยาแก้ไขความเสียหายที่ผู้บริโภค ซึ่งมีการ ด�ำเนินการที่ไม่ทับซ้อนกับหน่วยงานของรัฐเพื่อที่จะท�ำให้เกิดพลังของผู้บริโภคในการร่วมกันช่วยเหลือและคุ้มครองผู้บริโภคได้ อย่างแท้จริงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ควรบัญญัติหลักการสรรหาหรือคัดเลือกคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการ คุ้มครองผู้บริโภคให้ชัดเจน โปร่งใสในร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้คณะกรรมการสามารถ ด�ำเนินการอย่างเป็นอิสระไม่มสี ว่ นได้เสียและปราศจากการครอบง�ำ ด้านการจัดสรรงบประมาณก็ควรให้รบั อย่างเหมาะสมเพียง พอกับการด�ำเนินการขององค์การอิสระฯ โดยก�ำหนดไว้ให้ชดั เจนในรัฐธรรมนูญหรือในร่างพระราชบัญญัตอิ งค์การอิสระเพือ่ การ คุ้มครองผู้บริโภค อีกทั้งสมควรที่รัฐจะตรากฎหมายว่าด้วยองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย อันจะเป็นการ ปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ว่าจะบัญญัติเรื่ององค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2559 (ฉบับลงประชามติ) นั้น ก็มีการบัญญัติเรื่ององค์การเพื่อการ คุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระไว้ด้วย เช่น มาตรา 60 วรรคสาม ก็ระบุให้ “รัฐต้องจัดให้มีองค์กรของรัฐที่มีความเป็นอิสระในการ ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อรับผิดชอบและก�ำกับการด�ำเนินการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ให้เป็นไปตามวรรคสอง ในการนี้ องค์กรดังกล่าวต้อง จัดให้มีมาตรการป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์จากผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือสร้างภาระแก่ผู้บริโภคเกินความจ�ำเป็น ป้องกันมิให้คลื่นความถี่รบกวนกัน รวมตลอดทั้งป้องกันการกระท�ำที่มีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้หรือปิดกั้นการรับ รูข้ อ้ มูลหรือข่าวสารทีถ่ กู ต้องตามความเป็นจริงของประชาชน และป้องกันมิให้บคุ คลหรือกลุม่ บุคคลใดใช้ประโยชน์จากคลืน่ ความถี่ โดยไม่ค�ำนึงถึงสิทธิของประชาชนทัว่ ไป รวมตลอดทัง้ การก�ำหนดสัดส่วนขัน้ ตำ�่ ทีผ่ ใู้ ช้ประโยชน์จากคลืน่ ความถีจ่ ะต้องด�ำเนินการ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” และมาตรา 61 “รัฐต้องจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่มีประสิทธิภาพใน การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการรู้ข้อมูลที่เป็นจริง ด้านความปลอดภัย ด้านความเป็น ธรรมในการท�ำสัญญา หรือด้านอื่นใดอันเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค” จึงเห็นได้ว่ารัฐได้ให้ความส�ำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจังและ เป็นรูปธรรมมากขึ้น. อ้างอิง : คณิต ณ นคร. 2558. รัฐธรรมนูญกับกระบวนการยุติธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์วิญญูชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 มาตรา 27
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
23
แวดวงทนายความ
อนุมัติแล้ว...!!! เบี้ยยังชีพ
สภาทนายความ เดินหน้า
ทนายความผู้สูงอายุ ปีละ 5,000 บาท ประสานความร่วมมือด้านคุ้มครองผู้บริโภค
ตามสัญญา
คณะกรรมการสวัสดิการและสิทธิประโยชน์สภาทนายความ โดย นายอ�ำพล รัตนมูสิก อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ในฐานะประธานกรรมการสวัสดิการฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ ได้แก่ นายเกียรติศักดิ์ เหลืองอังกูร กรรมการสวัสดิการ/รองประธาน กรรมการฯ, นายปัจจุคมน์ เจริญรัชต์ รองประธานกรรมการฯ, นายอนุสรณ์ นาคินทร์ กรรมการ สวัสดิการฯ, นายอิทธิพล มโนมัย กรรมการสวั ส ดิ ก าร, นายณั ฐ พงศ์ มุ สิ ก กรรมการสวั ส ดิ ก ารฯ, นายไพโรจน์ สมานันตกุล กรรมการสวัสดิการฯ, นายภูศิษฐ์ สมบูรณ์ ทรัพย์ กรรมการสวัสดิการฯ, นายนิติศักดิ์ อัศวะศิริจินดา กรรมการ สวัสดิการฯ, นายปรีชา ประเสริฐศักดิ์ กรรมการสวัสดิการฯ, นาย สุเทพ สมจิตร กรรมการสวัสดิการฯ, นายประกฤษฎิ์ ทองอิว้ กรรมการ สวัสดิการฯ, นายสุวิทย์ สุนทรกิจเสนีย์ กรรมการสวัสดิการฯ, นาย นพวงศ์ วงศ์ตระกูล กรรมการสวัสดิการฯ, ดร.ธวัชชัย แสวงทรัพย์ กรรมการ/เลขานุการฯ ผ่านมติปรับเบี้ยยังชีพทนายความผู้สูงอายุ จากเดิมปีละ 2,000 บาท เพิ่มเป็นปีละ 5,000 บาท โดยได้น�ำเสนอ เข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสภาทนายความ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2560 ซึ่ ง ที่ ป ระชุ ม ฯ มี ม ติ อ นุ มั ติ ต ามที่ อุ ป นายกฝ่ า ย สวัสดิการฯ น�ำเสนอ ทั้งนี้ โครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพทนายความผู้สูงอายุ มี วัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือด้านสวัสดิการแก่ทนายความ ผู้สูงอายุที่ได้ รับความเดือดร้อนจากค่าครองชีพ โดยทนายความที่ประสงค์จะขอรับ เบีย้ ยังชีพสามารถยืน่ ค�ำขอได้ที่ ส�ำนักงานสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ สภาทนายความ ส� ำ นั ก งานสวั ส ดิ ก ารและสิ ท ธิ ป ระโยชน์ สภาทนายความ โทรศัพท์ 0-2522-7124-27 ต่อ 224, 225 สายตรง 0-2522-7151 โทรสาร 0-2522-7152
เมื่อวันพุธที่ 4 มกราคม 2560 ที่ส�ำนักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค (สคบ.) : นายด�ำรงศักดิ์ เครือแก้ว อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ พร้อมด้วยคณะท�ำงาน ประกอบด้วย นายทีปกรณ์ ประดิษฐ์ธนกร, นายพนิต บุญชะม้อย, ว่าที่ร้อยตรี ฐานพัฒน์ รัตนพันธ์, นายวัชราธร เชื้อชุมพล, นายสมพร จินตุลา, นายธีรวุฒิ สุวรรณ, นายอัครวัฒน์ วงศ์ ธีระดิลก, นายขวัญชาติ ด�ำรงขวัญ และนายธนพล คงเจี้ยง ร่วมประชุม กับ พลต�ำรวจตรี ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค โดยได้มีการหารือและตกลงประสานงานร่วมกันใน ประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1.ให้ทนายความอาสาสภาทนายความเป็นทนายความผู้ฟ้องคดี ส�ำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 2.แก้ไขค�ำสัง่ แต่งตัง้ ประธานสภาทนายความจังหวัดหรือผูแ้ ทน เป็น คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ประจ�ำจังหวัด 3.ให้ ค ณะกรรมการส�ำนั ก งานคุ ้ ม ครองผู ้ บ ริ โ ภคจั ด ท�ำท�ำเนี ย บ ทนายความอาสา น�ำส่งให้เลขาธิการส�ำนักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค 4.จั ด พิ ธี ล งนามบั น ทึ ก ข้ อ ตกลง MOU. ร่ ว มกั น ระหว่ า งสภา ทนายความกับส�ำนักงานคณะกรรมการคุม้ ครองผูบ้ ริโภค โดยมีรฐั มนตรี ว่าการกระทรวงยุติธรรมร่วมเป็นสักขีพยาน (ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2560) และ 5.ประสานงานจัดส่งรายชื่อทนายความเป็นผู้แทนสภาทนายความ ในคณะกรรมการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการ ละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ส�ำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โดยด่วน
24
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
สภาทนายความรับช่วยเหลือ
ผูเ้ สียหายกรณีอมุ้ ฆ่าทอมสาว เหยื่อแก๊งค์ผู้ก�ำกับ
เมือ่ วันที่ 13 มกราคม 2560 ทีส่ ภาทนายความ ถนนพหลโยธิน บางเขน กรุงเทพฯ สภาทนายความ โดย ว่าที่พันตรีสมบัติ วงศ์ก�ำแหง โฆษกสภา ทนายความ พร้อมด้วย นายด�ำรงศักดิ์ เครือแก้ว อุ ป นายกฝ่ า ยปฏิ บั ติ ก าร ร่ ว มรั บ เรื่ อ งขอความ ช่ ว ยเหลื อ ทางกฎหมายจากบิ ด า-มารดาของ นางสาวสุภัคสรณ์ พลไธสง ในคดีอุ้มฆ่าทอมสาว
ว่าที่พันตรีสมบัติ วงศ์ก�ำแหง โฆษกสภาทนายความ แถลงว่า “เนื่องจากกรณีที่เกิดขึ้นมีข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ในระดับ สูงและมีผรู้ ว่ มกระท�ำความผิดจ�ำนวนหลายคน พฤติกรรมในการกระท�ำความผิดเป็นการกระท�ำทีอ่ กุ ฉกรรจ์กลุม่ คนร้ายลงมือก่อเหตุในพืน้ ทีใ่ นเมือง หลวง กระทบความรูส้ กึ ของประชาชน และไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ทางฝ่ายผูเ้ สียหายมีอาชีพรับจ้าง สภาทนายความยินดีทจี่ ะรับให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายทั้งในทางแพ่ง และอาญา” “โดยสภาทนายความจะด�ำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ผเู้ สียหายตัง้ แต่ในชัน้ สอบสวนของพนักงานสอบสวน ชัน้ พิจารณาของพนักงานอัยการ และในชัน้ พิจารณาคดีของศาล โดยเมือ่ พนักงานอัยการได้มคี �ำสัง่ ฟ้องผูต้ อ้ งหาแล้วจะได้ด�ำเนินการให้ผเู้ สียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กบั พนักงานอัยการ และขอให้จ�ำเลยชดใช้ค่าสินไหม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 44/1 (ค่าสินไหมได้แก่ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าขาดไร้ ค่า เสียประโยชน์ ฯลฯ) และหากในกรณีทพี่ นักงานอัยการมีค�ำสัง่ ไม่ฟอ้ งคดีอาญาผูต้ อ้ งหารายใดรายหนึง่ สภาทนายความจะให้ความช่วยเหลือด�ำเนิน การให้ผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยตนเอง โดยจะด�ำเนินการตั้งแต่ชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์” “นอกจากนี้ สภาทนายความจะประสานความร่วมมือด�ำเนินการในการสืบสวน รวบรวมข้อเท็จจริง พร้อมพยานหลักฐาน กับพนักงานสอบสวนอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก คดีนมี้ ผี กู้ ระท�ำความผิดจ�ำนวนหลายคนเกีย่ วข้องกับเจ้าหน้าทีร่ ฐั และผูม้ อี ทิ ธิพล ประกอบ กับผู้ได้รับความเสียหายเป็นประชาชนที่อยู่ในสถานะที่เสียเปรียบในทางสังคม” ด้าน นายด�ำรงศักดิ์ เครือแก้ว อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ แถลงเพิ่มเติมว่า “การช่วย เหลือเยียวยาผูเ้ สียหาย นัน้ สภาทนายความจะประสานความร่วมมือกับกรมคุม้ ครองสิทธิ และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับค่าชดเชยและค่าเสียหายตามที่ กฎหมายก�ำหนดจนผูเ้ สียหายพอใจ ทัง้ นี้ ให้ความช่วยเหลือแก่ผเู้ สียหายในทางแพ่งสภา ทนายความจะด�ำเนินการช่วยเหลือใน 2 ประเด็น คือ 1. กรณีที่ผู้เสียชีวิตได้มีการท�ำ ประกันชีวิตไว้ก็จะด�ำเนินการกับบริษัทที่รับประกันให้ปฏิบัติตามสัญญา และ 2. การ ด�ำเนินการกับผู้กระท�ำความผิดในทางแพ่ง สภาทนายความจะให้ความช่วยเหลือผู้เสีย หายในการยื่นฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายต่อผู้กระท�ำความผิดต่อศาลต่อไป” กรณีนี้ ผูเ้ สียหายเข้ามาขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลดีในการรวบรวมพยานหลักฐานทางคดี ทั้งพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ พยาน แวดล้อมต่าง ๆ ท�ำให้ส�ำนวนคดีมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ขอเรียนว่า หากประชาชน ทั่วไปมีปัญหาทางคดีความเกิดขึ้นและต้องการความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย ให้รีบ มาขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความโดยเร็วที่สุด.
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
หน้ า ต่ า งกิ จ กรรม ลงพื้นที่ช่วยเหลือทนายความที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ :
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2560 : ว่าที่ ร.ต.ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย นายเสาวภักดิ์ สกุลโรม วิลาส อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย และนายลือชา เปี่ยมสุวรรณ กรรมการบริหารสภาทนายความ ภาค 8 พร้อมคณะ เดิ น ทางลงพื้ น ที่ เ ยี่ ย มเยี ย นประธานสภาทนายความจั ง หวั ด นครศรีธรรมราช และเพื่อนสมาชิกทนาย ความ ที่ประสบปัญหา อุ ท กภั ย ในเขตจั ง หวั ด ซึ่ ง อยู ่ ใ นพื้ น ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบของสภา ทนายความภาค 8 พร้อมน�ำถุงยังชีพสิ่งของอุปโภคบริโภคมอบ แก่ทนายความและประชาชนในเขตเทศบาลต�ำบลทางพูน อ�ำเภอ เฉลิมพระเกียรติ, โรงเรียนวัดมุกธารา และโรงเรียนบ้านบางใหญ่ ตามที่สภาทนายความได้ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย น�้ำท่วมในเขตพื้นที่ภาค 8 ภาค 9 ไว้แล้ว
ประชุมกับ สภาทนายความ สปป.ลาว :
เมื่อวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2560 : นายทัศไนย ไชยแขวง อุปนายก ฝ่ายต่างประเทศ/กรรมการประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วย นายพจน์ จิรวุฒกิ ลุ อุปนายกฝ่ายวิชาการ, นายนพดล เพิม่ พิทยา ประธานคณะท�ำงานประจ�ำ ส�ำนักนายกและกรรมการฯ, นพ.ประยุกต์ เสรีเสถียร ที่ปรึกษาอุปนายก ฝ่ายวิชาการ และ นายพิทยา วิชยั ดิษฐ์ ทนายความผูป้ ระสานงาน เข้าร่วม ประชุมประสานงานเพือ่ ก�ำหนดความร่วมมือระหว่าง สภาทนายความไทย และสภาทนายความ สปป.ลาว โดยมี นายค�ำใส สุรินทอน ประธานสภา ทนายความ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, นายบุนยู สีสาน รองประธานฯ และ นายวอรัดสะมี สิริปะพัน รองประธานฯ ร่วมหารือ เกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการ และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสอง องค์กร ณ กรุงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
25
26
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
สัมมนาประเพณีสภาทนายความภาค 5-6 :
วันที่ 14 มกราคม : ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภา ทนายความ เป็นประธานเปิดการสัมมนาประเพณีสภาทนายความ ภาค 5 และสภาทนายความภาค 6 ครั้งที่ 37 ณ โรงแรมเวียงอินทร์ ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย โดยมีกรรมการบริหารสภา ทนายความ และทนายความในเขตภาค 5 และภาค 6 ร่วมงาน
พบอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ : เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2560 : ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายก สภาทนายความ มอบหมายให้ นายด�ำรงศักดิ์ เครือแก้ว อุปนายกฝ่าย ปฏิบัติการ พร้อมคณะ ประกอบด้วย ว่าที่ ร.ต.พาณิช ช�ำนิธุรการ, นาย เกื้อ โยมเมือง, นายเสน่ห์ เพชรทอง, นายณัฐรินทร์ คงเอียง, นายวัชรธร เชื้อชุมพล, นายณัฐนันณ์ สุวรรณมณี, นายทินกร สุรบัณฑิต, นายสกุล ฉางวางปราง, นายสมพร จินตุลา, นายธนพล คงเจี้ยง, ว่าที่ร้อยตรีฐาน พัฒน์ รัตนพันธ์, นายขวัญชาติ ด�ำรงขวัญ, นายอัชนันต์ ขวัญดี เข้าพบ เพื่อสวัสดีปีใหม่ พลโท สรรเสริญ แก้วก�ำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และโฆษกรัฐบาล ในการนี้นายด�ำรงศักดิ์ เครือแก้ว อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการได้หารือ พลโท สรรเสริญ แก้วก�ำเนิด เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมโดยง่ายและเข้าใจกฎหมายได้ทั่วถึงในเรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่อง คุม้ ครองผูบ้ ริโภค เรือ่ งสิง่ แวดล้อม เรือ่ งคดีปกครอง โดยให้ความช่วยเหลือ แก่ประชาชนทีย่ ากไร้และไม่ได้รับความเป็นธรรม แม้สภาทนายความไม่ ได้เป็นองค์กรส่วนราชการ แต่สภาทนายความยุคใหม่มี ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ ปลุกจิตส�ำนึกให้ทนายความได้ มีโอกาสตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน โดยพลโท สรรเสริญ แก้วก�ำเนิด ได้มี ข้ อ เสนอจั ดที ม คณะท�ำงานเพื่อให้ค วามรู้ทางกฎหมายโดยทางกรม ประชาสัมพันธ์จะจัดสรรช่วงเวลาของสถานีวทิ ยุของกรมประชาสัมพันธ์ใน เบื้องต้น ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะได้ศึกษารายละเอียดและท�ำข้อตกลงต่อไป.
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
27
ร่วมไว้อาลัย :
เมื่อวันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 16.00 น. : ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ พร้อมด้วยกรรมการบริหารสภา ทนายความ ร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ นายกิตติ คุณะเกษม กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 6 โดยมีสมาชิกทนายความร่วมไว้อาลัย อย่างคับคั่ง ในการนี้นายกสภาทนายความได้มอบเงินช่วยเหลือการฌาปนกิจสงเคราะห์แก่ทายาทผู้วายชนม์ ณ วัดโพธิญาณ อ�ำเภอเมือง จังหวัด พิษณุโลก
มอบเงินช่วยเหลือการฌาปนกิจสงเคราะห์ :
วันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2560 เวลา 14.00 น. ที่สภาทนายความ ถนน พหลโยธิน กรุงเทพมหานคร : ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภา ทนายความ พร้อมด้วย นายอ�ำพล รัตนมูสกิ อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิ ประโยชน์, นายสมศักดิ์ อัจจิกุล กรรมการ/เลขานุการสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ และกรรมการสวัสดิการ ร่วม มอบเงินช่วยเหลือการฌาปนกิจสงเคราะห์แก่ทายาททนายความที่เสียชีวิต จ�ำนวน 11 ราย ได้แก่ 1. ทายาท นาง นิจฉรา ธนประสิทธิ์พัฒนา สมาชิกเลขที่ 3183 จ�ำนวนเงิน 137,650.40 บาท, 2. ทายาท นางปราณี มัลลิกะ นาวิน สมาชิกเลขที่ 9628 จ�ำนวนเงิน 140,578.40 บาท, 3. ทายาท นายทองพูล ค�ำตา สมาชิกเลขที่ 2607 จ�ำนวนเงิน 140,959.20 บาท, 4. ทายาท นายชูศักดิ์ สุบรรณเทพภูษิต สมาชิกเลขที่ 8496 จ�ำนวนเงิน 140,181.60 บาท, 5. ทายาท นางถนอม ตันยะไพบูลย์ สมาชิกเลขที่ 1125 จ�ำนวนเงิน 104,103.20 บาท, 6. ทายาท นางลออ จ�ำนงค์จิตร สมาชิกเลขที่ 1107 จ�ำนวนเงิน 104,285.60 บาท, 7. ทายาท นายสาลี มีค�ำ สมาชิก เลขที่ 8353 จ�ำนวนเงิน 144,388.00 บาท, 8. ทายาท นายธัญญา โกสวัสดิ์ สมาชิกเลขที่ 2346 จ�ำนวนเงิน 144,691.20 บาท, 9. ทายาท นายสมศักดิ์ แซ่อึ้ง สมาชิก เลขที่ 2634 จ�ำนวนเงิน 144,832.00 บาท, 10. ทายาท นายพิชัยลักษณ์ ภาเสือแสงทอง สมาชิกเลขที่ 4680 จ�ำนวนเงิน 144,404.00 บาท, 11. ทายาท นายสมบูรณ์ สิงขโรทัย สมาชิกเลขที่ 9230 จ�ำนวนเงิน 139,472.00 บาท
28
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
ร่วมอุดหนุนสลากบำ�รุงกาชาดสภาทนายความ ประจำ�ปี 2560
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ส�ำนักงานสวัสดิการและสิทธิประโยชน์สภาทนายความ โทรศัพท์ 0-2522-7124-27 ต่อ 223, 224
ประชุมงบประมาณร่วมกับกระทรวงยุติธรรม :
เมื่อวันพุธที่ 25 มกราคม 2560 : นายเกษม รังสุวรรณ์ เหรัญญิกสภา ทนายความ ร่วมประชุมกับคณะกรรมการเร่งรัดติดตามการด�ำเนินงานและ การใช้ จ ่ า ยเงิ น งบประมาณ ส�ำนั ก งานปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม ประจ�ำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 1/2560 และการประชุมคณะกรรมการเพื่อ พิจารณากลั่นกรองค�ำของบประมาณรายจ่าย ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 โดยมี นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการ ประชุม ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม 2 ชั้น 8 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ กรุงเทพมหานคร
ประชุมร่วมกับคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม :
เมื่อวันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2560 ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม : นาย เสาวภักดิ์ สกุลโรมวิลาส อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย เป็นผู้แทน สภาทนายความ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม โดยมีนายชาญเชาว์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปฏิบัติหน้าที่ประธานที่ประชุม และมีผู้แทนจาก หน่วยงานอื่นๆ ร่วมประชุมด้วย
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
29
พบ ผบ.ตร. :
เมือ่ วันอังคารที่ 24 มกราคม 2560 ทีส่ �ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ : ว่าทีร่ อ้ ยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย นายสรัลชา ศรีชลวัฒนา อุปนายกฝ่ายนโยบาย และแผนงาน/เลขาธิการสภาทนายความ, นายเสาวภักดิ์ สกุลโรมวิลาส อุปนายกฝ่าย ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย, นายด�ำรงศักดิ์ เครือแก้ว อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ, นายวัชรธร เชื้อชุมพล ประธานกรรมการโครงการอาวุธปืน เข้าพบ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผูบ้ ญ ั ชาการต�ำรวจแห่งชาติ เพือ่ เยีย่ มคารวะและหารือความร่วมมือในการท�ำงานร่วมกันระหว่างสภาทนายความ กับส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ รวมถึงการด�ำเนินการโครงการขออนุญาตพบพาอาวุธปืนส�ำหรับทนายความ, การจัดทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวน ในคดีอาญาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134/1, การจัดหาที่ปรึกษาเด็กและเยาวชน การแจ้งข้อกล่าวหาและการสอบปากค�ำเด็กและเยาวชน ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ พ.ศ.2553 มาตรา 75 วรรคสาม, การก�ำหนดหน้าที่และขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความและพนักงานสอบสวนใน ขณะร่วมฟังการสอบสวน, การพัฒนาเสริมสร้างความรูใ้ นการจัดการอบรมร่วมกันระหว่างทนายคามและพนักงานสอบสวนเกีย่ วกับการร่วมฟังการ สอบสวนและการท�ำบันทึกความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน.
พบ ผอ.สถาบันยุติธรรมแห่งประเทศไทย :
เมื่อวันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2560 ที่สถาบันการ ยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) Thailand institute of Justice (Public Organization) ถ.วิทยุ กรุงเทพฯ : ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภา ทนายความ พร้อมด้วย ว่าที่พันตรี สมบัติ วงศ์ก�ำแหง อุปนายกฝ่ายบริหาร/ผู้อ�ำนวยการส�ำนักฝึกอบรมวิชา ว่าความแห่งสภาทนายความ เข้าเยี่ยมคารวะมอบกระเช้าอวยพรปีใหม่แก่ ดร.กิตติพงษ์ กิตติยารักษ์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่ง ประเทศไทย (องค์การมหาชน) ในการนี้ได้มีการพูดคุยหารือร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายตามวัตถุประสงค์หลัก ของสภาทนายความให้สอดคล้องการช่วยเหลือประชาชนตามแนวทางของสหประชาชาติด้วย
สบทบทุนศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ :
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2560 ตัวแทนกลุ่มนักศึกษาอบรมวิชาว่าความ ของส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ (ภาคทฤษฎี) รุ่นที่ 46 น�ำเงินบริจาคสมทบทุนศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้สภาทนายความ เป็นจ�ำนวนเงิน 21,200 บาท โดยว่าที่ ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ เป็นผู้รับมอบ ณ ที่ท�ำการสภาทนายความ กรุงเทพมหานคร
30
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
พบ รมต.ยุติธรรม :
วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2560 ที่กระทรวงยุติธรรม อาคาร ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ กรุงเทพมหานคร : ว่าทีร่ อ้ ยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ น�ำคณะกรรมการ บริหารสภาทนายความ ได้แก่ นายสรัลชา ศรีชลวัฒนา อุปนายกฝ่าย นโยบายและแผนงาน/เลขาธิ ก ารสภาทนายความ, ว่ า ที่ พั น ตรี สมบัติ วงศ์ก�ำแหง อุปนายกฝ่ายบริหาร/ผูอ้ �ำนวยการส�ำนักฝึกอบรม วิชาว่าความแห่งสภาทนายความ, นายทัศไนย ไชยแขวง อุปนายก ฝ่ายต่างประเทศ/กรรมการประชาสัมพันธ์, นายพจน์ จิรวุฒิกุล อุปนายกฝ่ายวิชาการ, นายอ�ำพล รัตนมูสิก อุปนายกฝ่ายสวัสดิการ และสิ ท ธิ ป ระโยชน์ , นายวิ สิ ท ธิ์ ศั ก ดิ์ สิ ง ห์ กรรมการบริ ห าร สภาทนายความภาค 3 และนายถาวร มงคลเคหา กรรมการบริหาร สภาทนายความภาค 4 เข้าเยี่ยมคารวะ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เนื่องในโอกาสที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรมเข้ารับต�ำแหน่งใหม่ โดยได้มีการพูดคุยหารือ เกี่ ย วกั บ การประสานความร่ ว มมื อ ระหว่ า งสภาทนายความกั บ กระทรวงยุตธิ รรมในภาคส่วนต่าง ๆ เพือ่ ประโยชน์ในการบริหารงาน สภาทนายความให้สอดรับกับกระทรวงยุตธิ รรมอย่างบูรณาการต่อไป
พบประธาน สนช. :
วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 11.00 น. ทีส่ �ำนักงานเลขาธิการ วุฒิสภา กรุงเทพมหานคร : ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภา ทนายความ พร้อมด้วย นายสรัลชา ศรีชลวัฒนา อุปนายกฝ่ายนโยบาย และแผนงาน/เลขาธิการสภาทนายความ, นายชัยวัธน์ ประจงใจ นาย ทะเบียนสภาทนายความ, นายภากร ชัชวาลวงศ์ คณะท�ำงานประจ�ำ ส�ำนักงานนายกและคณะกรรมการฯ เข้าเยี่ยมคารวะ ศาสตราจารย์ พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมทั้ง มอบกระเช้าของขวัญอวยพรเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
31
สภาทนายความ จัดพิธีบ�ำเพ็ญพระราชกุศสตมวาร :
เมื่อวันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2560 : ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ น�ำคณะกรรมการบริหารสภาทนายความ, ทนายความอาสา และพนักงานสภาทนายความ จัดพิธีท�ำบุญถวายภัตตาหารเช้าแด่พระภิกษุสงฆ์ เนื่องในพิธีบ�ำเพ็ญพระราชกุศลสตม วาร พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครบ 100 วัน ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารที่ท�ำการสภาทนายความ ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร
ประชุมร่วมกับ THAC:
เมื่อวันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560 : ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย นายทัศไนย ไชยแขวง อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ/กรรมการประชาสัมพันธ์ ร่วมประชุมกับ นาง ณัฏฐิณี เนตรอ�ำไพ ผู้จัดการฝ่ายประนอมข้อพิพาทศูนย์บริการการ ระงับข้อพิพาททางเลือกสากล (The Premier International Dispute Resolution Service Provider) และคณะ เพื่อแนะน�ำบริการของ ศูนย์บริการระงับข้อพิพาททางเลือกสากล บทบาทหน้าที่หลัก และ การประสานความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต
ช่วยทนายประสบภัยน�้ำท่วม :
เมือ่ วันอังคารที่ 31 มกราคม 2560 ทีส่ ภาทนายความ ถนน พหลโยธิน กรุงเทพมหานคร : ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ พร้ อ มด้ ว ยกรรมการบริ ห ารสภา ทนายความ ร่วมรับมอบเงินช่วยเหลือทนายความที่ประสบ อุทกภัยภาคใต้จ�ำนวน 42,100 บาท จากนายถาวร มงคลเคหา กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 4 โดยเงินจ�ำนวน ดังกล่าวสมาชิกทนายความในพืน้ ทีส่ ภาทนายความภาค 4 ได้ ร่วมกันบริจาคเพื่อช่วยเหลือครอบครัวทนายความที่ประสบ อุ ท กภั ย ภาคใต้ ในพื้ น ที่ ส ภาทนายความภาค 8 และ สภาทนายความภาค 9
32
จดหมายข่าวสภาทนายความ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 (วันทนายความ)
ร่วมงานเลี้ยงต้อนรับ :
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2560 : ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ ร่วมงานเลี้ยงรับรอง Mr.Eduardo M. Penalver อธิการบดีมหาวิทยาลัย Cornell Law School ซึ่งจัดโดยเนติบัณฑิตยสภา ที่ โรงแรมสยามแคมปินสกี้ กรุงเทพมหานคร
พบปลัดกระทรวงมหาดไทย :
เมื่อวันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2560 เวลา 10.30 น. ที่กระทรวง มหาดไทย : ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย นายสรัลชา ศรีชลวัฒนา อุปนายกฝ่ายนโยบายและ แผนงาน/เลขาธิการสภาทนายความ, นายด�ำรงศักดิ์ เครือแก้ว อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ, นายวัชรธร เชื้อชุมพล ประธานกรรมการ โครงการอาวุธปืน และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะ นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้งพูดคุยและขอค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับ โครงการอาวุธปืนส�ำหรับทนายความด้วย
พบองคมนตรี :
เมื่อวันอังคารที่ 17 มกราคม 2560 ที่ท�ำเนียบองคมนตรี กรุงเทพฯ : ว่าทีร่ อ้ ยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย ว่าที่พันตรี สมบัติ วงศ์ก�ำแหง อุปนายกฝ่ายบริหาร/ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ, ว่าที่ร้อยตรี นคร ดิวรางกูร เลขานุการส�ำนักฝึกอบรมวิชา ว่าความฯ, นายวิภาต อภิปาลด�ำรงกุล กรรมการอ�ำนวยการ ส�ำนักฝึกอบรมฯ เข้าพบ ศาสตราจารย์พิเศษ อรรถนิติ ดิษฐ อ�ำนาจ องคมนตรี เพื่อกราบเรียนเชิญเป็นประธานในพิธี มอบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการอบรมวิชาว่าความฯ รุ่นที่ 45 และผู้ผ่านการฝึกหัดงานในส�ำนักงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ประจ�ำปี 2559 ในวันเสาร์ที่ 4 มีนาคม 2560 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร กรุงเทพมหานคร
อวยพรปีใหม่ : เมื่ อ วั น พฤหั ส บดี ที่ 29 ธันวาคม 2559 เวลา 9.00 น. ณ ที่ท�ำการพรรคประชาธิปัตย์ สามเสน กรุ ง เทพมหานคร : ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย นายด�ำรงศักดิ์ เครือแก้ว อุปนายกฝ่ายปฏิบตั กิ าร, นายเสาวภักดิ์ สกุลโรมวิลาส อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชน ทางกฎหมาย, นายทัศไนย ไชยแขวง อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ/กรรมการประชาสัมพันธ์, นายเกษม รังสุวรรณ์ เหรัญญิก และคณะทนายความ เข้ามอบกระเช้าและอวยพรปีใหม่แด่ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2560 ทั้งนี้ นายกสภาทนายความ ได้พูดคุยเกี่ยวกับการด�ำเนินงานในด้านต่างๆ ของสภาทนายความ ไม่ว่าจะเป็นด้านการอบรมวิชาว่าความ, ด้านมรรยาททนายความ, ด้านการให้ ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย, การให้บริการด้านวิชาชีพทนายความ เป็นต้น.
ส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ เปิดฝึกอบรมวิชาว่าความ รุ่นที่ 47 (ภาคทฤษฎี) วันเสาร์ที่ 7 มกราคม 2560 ที่ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 อาคารที่ท�ำการสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ถ.พหลโยธิน กรุงเทพฯ : ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ เป็นประธานเปิดการอบรมวิชาว่าความ รุ่นที่ 47 (ภาคทฤษฎี) โดยมี ว่าที่พันตรี สมบัติ วงศ์กำ� แหง ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ กล่าวรายงานและแนะน�ำกรรมการบริหารสภาทนายความ และกรรมการ ส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ ในการเปิดอบรมวิชาว่าความรุ่นนี้ ส�ำนักฝึกอบรมวิชาว่าความฯ ได้รับเกียรติจากทนายความอาวุโสซึ่งท่านเป็นอดีตนายกสภาทนายความถึง 2 ท่าน ได้แก่ นายค�ำนวณ ชโลปถัมภ์ อดีตนายกสภาทนายความ คนแรก (สมัยที่ 1 พ.ศ. 2529 - 2532) และ นายเกษม สรศักดิ์เกษม อดีตนายก สภาทนายความ คนที่ 4 (สมัยที่ 4 พ.ศ. 2538 - 2541) ซึ่งท่านได้ร่วมถ่ายทอดประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อวิชาชีพทนายความและการก่อตั้ง สภาทนายความ รวมถึงประสบการณ์การว่าความ นอกจากนี้ มีกรรมการบริหารสภาทนายความทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค, กรรมการส�ำนัก ฝึกอบรมวิชาว่าความฯ ร่วมเป็นเกียรติในงาน
ËÇÁÊ‹§ÀÒ¾¢‹ÒÇ-º·¤ÇÒÁÁÒŧà¼Âá¾Ã‹ ËÇÁÊ‹§ÀÒ¾¢‹ ÒÇ-º·¤ÇÒÁÁÒŧà¼Âá¾Ã‹ ไดที่ ¡Í§ºÃóҸԡÒà ไดที่ ¨´ËÁÒ¢‹ ¡Í§ºÃÃ³Ò¸Ô ¡Òà ÒÇÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁ ¨´ËÁÒ¢‹ àÅ¢·Õè 249ÒÇÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁ ¶¹¹¾ËÅâ¸Թ á¢Ç§Í¹ØÊÒÇÃÕ ࢵºÒ§à¢¹ ¡Ãع§à·¾ÁËÒ¹¤Ã 10220 àÅ¢·Õè 249 ¶¹¹¾ËÅâÂ¸Ô á¢Ç§Í¹ØÊÒÇÃÕ Â â·ÃÈѾ· 0-2522-7124-27, 0-2522-7143-47 µ‹Í 322 ࢵºÒ§à¢¹ ¡Ãا෾ÁËÒ¹¤Ã 10220 â·ÃÊÒà 0-2522-7158
â·ÃÈѾ· 0-2522-7124-27, 0-2522-7143-47 µ‹Í 322 â·ÃÊÒà 0-2522-7158
Facebook : ÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁã¹¾ÃкÃÁÃÒªÙ»¶ÑÁÀ
E-mail : lctnews2013@gmail.com Facebook : ÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁã¹¾ÃкÃÁÃÒªÙ»¶ÑÁÀ
E-mail : lctnews2013@gmail.com
สภาทนายความในพระบรมราชู ปถัมภปถัมภ สภาทนายความในพระบรมราชู เลขที่ 249 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 เลขที่ 249 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 โทรศัพท 0-2522-7124-27, 0-2522-7143-47 ตอ 322 โทรสาร 0-2522-7158 โทรศัพท 0-2522-7124-27, 0-2522-7143-47 ตอ 322 โทรสาร 0-2522-7158
ชำระคาฝากสงเปนรายเดื ชำระคอนาฝากสงเปนรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ 5/2559
ปณ.หลักสี่ ใบอนุญาตเลขที่ 5/2559
ปณ.หลักสี่