Master of the Air (เจ้าเวหา)

Page 1



MASTER OF THE AIR เจ้าเวหา โดนนัลด์ แอล.มิลเลอร์ เขียน // นพดล เวชสวัสดิ์ แปล Copyright © 2006 by Donald L. Miller All Rights Reserved. Published by arrangement with the original publisher, Simon & Schuster, Inc.” 1230 Avenue of the Americas, New York, New York 10020, U.S.A. Through Tuttle-Mori Agency Co.,Ltd 459 Soi Piboon-oppathum, Ladprao 48, Samsen Nok, Huay Kwang, Bangkok 10230 Thai Language Translation copyright 20XX by Legend Legal Group Co., Ltd. Thai Translation Copyright © 2018 by Noppadon Wechsawat

พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง มีนาคม 2561 ราคา 550 บาท หมวด วรรณกรรมแปล ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data มิลเลอร์, โดนัลด์. เจ้าเวหา.-- ขอนแก่น : เลเจ้นด์ บุ๊คส์, 2561 592 หน้า. (วรรณกรรมแปล) 1. สารคดีอังกฤษ. I. นพดล เวชสวัสดิ์, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. ISBN: 978-616-8093-06-1 บรรณาธิการบริหาร: เทพพิคฑูนญ์ เลิศฤทธิ์ธนะกุล, วิมล เลิศฤทธิ์ธนะกุล, บุญ หลวงจันทร์ ผู้จัดการและที่ปรึกษากฏหมาย: ศุภฤกษ์ เทิงสูงเนิน บรรณาธิการฝ่ายผลิต: ศิริธาดา กองภา จัดรูปเล่ม: ศุภรักษ์ ปฐมกสิวัฒนา พิสูจน์อักษร: ศุภรักษ์ ปฐมกสิวัฒนา/ วารยา ศุภศิริ ภาพประกอบและปก: วารยา ศุภศิริ จัดพิมพ์โดย: บริษัท ส�ำานักพิมพ์ เลเจ้นด์ บุ๊คส์ จ�ำากัด (ในเครือ บริษัท เลเจ้นด์ ลีกัล กรุ๊ป จ�ำกัด) ที่อยู่: 103 หมู่ 3 ต�ำาบลนาหว้า อ�ำาเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น 40150 สถานที่ติดต่อ: 3/29 คอนโด เดอะคิทท์ พลัส ซอยนวนมินทร์ 163 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ 08 - 1051 - 9137, 09 - 0595 - 3027 Email : Legendbooks.publishing@gmail.com Facebook : www.facebook.com/legendbooks publishing พิมพ์ที่: บริษัท วิชั่น พรีเพรส จ�ำกัด โทรศัพท์ 02 882 9981-2 จัดจ�ำาหน่ายทั่วประเทศโดย: บริษัท เอบุ๊ค ดิสทริบิวชั่น จ�ำากัด 91/165/1-2 ซอยติวานนท์ 3 ถนนติวานนท์ อ�ำเภอเมือง นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0 - 2968-9337 โทรสาร 0 - 2968-9511



แด่ก๊วนที่บาร์แบล็คแคท อลิซสา, อเล็กซิส, แอชลี, เดวิน ออสติน และ เมสัน


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ‘เจ้าเวหา’ (Master of the Air) สารคดีมาสเตอร์พซี ของ โดนัลด์ แอล. มิลเลอร์ นักประวัตศิ าสตร์ทมี่ ผี ลงานเบสต์เซลเลอร์มาแล้วหลายเล่ม ‘เจ้าเวหา’ พูดถึง วีรกรรมของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 หรือ 8th Air Force ทีส่ งั กัดกองทัพบกอเมริกนั นักบินของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 ถือเป็นระดับหัวกะทิของกองทัพ พวกเขามีบทบาท ส�ำคัญในปฏิบตั กิ ารโจมตีตา่ งๆ รวมถึงเหตุการณ์กอ่ นวันดีเดย์ โดนัลด์ใช้เวลาหลายปีในการรวบรวมข้อมูล และกลายมาเป็นหนังสือเล่มหนา ที่บอกเล่าเรื่องราวการรบในน่านฟ้าได้ละเอียดที่สุดอย่างที่ไม่เคยมีเล่มไหนท�ำมาก่อน ท�ำให้เราเห็นภาพอย่างชัดเจน ปะติดปะต่อจิก๊ ซอว์การสูร้ บ ทัง้ ทางภาคพืน้ น่านน�ำ้ และ เวหา ในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ได้ครบถ้วน ความดีงามของสารคดีชิ้นนี้ ไปเตะตา สตีเวน สปีลเบิร์ก และ ทอม แฮงค์ จนทัง้ คูต่ ดั สินใจสร้าง มินซิ รี ยี จ์ ากหนังสือเล่มนี้ และใช้ชอื่ ว่า The Mighty Eighth มีกำ� หนดฉายทางช่อง HBO ปลายปี 2019 โดยใช้งบประมาณในการสร้างกว่า 500 ล้าน เหรียญ มากกว่าตอนทีเ่ คยสร้าง Band of Brothers และ The Pacific รวมกันเสีย อีก ซึง่ การันตีถงึ ความยิง่ ใหญ่ของโปรเจคต์นี้ รวมถึงตัวหนังสือได้เป็นอน่างดี ในฐานะคอประวัติศาสตร์ นี่เป็นหนังสือที่พลาดไม่ได้อีกเล่ม และถ้าอ่าน ‘ปาฏิหาริยแ์ ห่งดังเคิรก์ ’ เขียนโดย วอลเตอร์ ลอร์ด ไปแล้ว (ซึง่ กล่าวถึงปาฏิหาริยใ์ น การอพยพก�ำลังพลของฝั่งอังกฤษในช่วงต้นสงคราม) ‘เจ้าเวหา’ จะฉายภาพความ ห้าวหาญและปฏิบัติการอันเหลือเชื่อของนักบินอเมริกันในช่วงปลายสงครามโลกครั้ง ทีส่ องเช่นกัน

ส�ำนักพิมพ์เลเจ้นด์ บุค๊ ส์


ขอขอบคุณ อธิชา มัญชุนากร กาบูล็อง อัชฌา รัตนวงศ์นรา


ในฤดู ใ บไม้ ผ ลิ ป ี 1944...เราเป็ น เจ้ า เวหา ความขมขื่ น ของการดิ้ น สู ้ เ คี่ ย วกร� ำ ลุฟต์วาฟเฟอ (กองทัพอากาศเยอรมัน) เกินทานทน...เราครองฟ้าได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ในปลายปี 1944 ต้องขอขอบคุณกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 วินสตัน เชอร์ชิล, Closing the Ring

มีส�ำนึกรับรู้ถึงเพื่อนร่วมรบอยู่เคียงกายเสมอ เขารู้สึกถึงความผูกพันฉันสหายศึก แนบแน่นยิ่งกว่าอุดมการณ์ที่ส่งพวกเขาเข้าสู่สนามรบ ความผูกพันดุจภราดรอันเป็น ปริศนา ก่อก�ำเนิดจากควันและภัยคุกคามถึงชีวิต สตีเฟน เครน, The Red Badge of Courage


ฐานบิน กองกำลังทางอากาศที� � สถานีกองพลบิน � สถานีกองพลบิน � สถานีกองพลบิน � ปฏิบัติการพิเศษ (คาร์เป็ตแบ็กเกอร์)

หน่วยบินทิ�งระเบิด กองกำลังทางอากาศที� � ณ วันที� � มิถุนายน ���� �� : เมนเดิลแชม B-�� �� : เมนเดิลแชม B-�� �� : บาสซิงบอร์น B-�� �� : แพดดิงตัน B-�� �� : ฮาร์ดวิก B-�� �� : แบรี เซนต์ เอ็ดมันส์ B-�� �� : โฮร์แรม B-�� �� : สเน็ตเทอร์ตัน ฮีธ B-�� ��� : โธรป แอบบอตต์ส B-�� ��� : โมลสเวิร์ธ B-�� ��� : เชลเวสตันB-�� ��� : เธอร์เลห์ B-�� ��� : โพลบรูค B-�� ��� : คิมโบลตัน B-�� ��� : ริดจ์เวลล์ B-�� ��� : กราฟตัน อันเดอร์วูด B-�� ��� : เกรต แอชฟิลด์ B-�� ��� : เน็ตทิชชัล B-�� ��� : เฮเธิล B-�� ��� : ฟรามลิงแกม B-��

��� : เว็นดลิง B-�� ��� : นัธแฮมสเตด B-�� ��� : ดีเนโธรป B-�� ��� : ทิเบแนม B-�� ��� : บังกีย์ B-�� ��� : แร็ตเทิลสเดน B-�� ��� : ซีธิง B-�� ��� : ดีโอแฟม กรีน B-�� ��� : โอล์ด บักเกแนม B-�� ��� : กลัตตัน B-�� ��� : ฮอร์แชม เซนต์ เฟธ B-�� ��� : แอ็ตเทอบริดจ์ B-�� ��� : แร็กฮีธ B-�� ��� : ซัดบรี B-�� ��� : เลเวแนม B-�� ��� : เฮลซเวิร์ธ B-�� ��� : อาย B-�� ��� : เม็ตฟิลด์ B-�� ��� : นอร์ธ พิกเคเนม B-�� ��� : เด็บอิตช์ B-��

กองบัญชาการ

บุชชี พาร์ก : บก., ทัพอากาศยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ในยุโรป รหัส : ไวด์วิง ไฮห์ วิคัม : บก., กองกำลังทางอากาศที� � รหัส : ไพน์ทรี บุชชี ฮอลล์ : บก., กองบัญชาการรบทางอากาศ

��� BG ��� BG ��� BG ��� BG ��� BG ��� ��� BG ��� BG �� BG ��� BG เบดฟอร์ด

บุชชี ฮอลล์ ไฮห์ วิคัม เทมส ์


เดอะ วอช ��� BG

��� BG

�� BG

��� BG

อั ง ก ฤ ษ เคมบริดจ์

�� BG ��� BG

�� BG

��� BG ��� BG

��� BG ��� BG ��� BG

นอริช

��� BG

�� BG ��� BG �� BG ��� BG ��� BG ��� BG ��� BG ��� BG ��� BG ��� BG �� BG ��� BG

��� BG

��� BG ��� BG

�� BG

อิปสวิช

โลเอสตอฟต์

ทะเล เ ห นื อ

��� BG ��� BG ฟีลิกซโตว์

โคลเชสเตอร์

บุชชี พาร์ก ลอนดอน

เกรต ยาร์มัธ

มาร์เกต


ไอร์แลนด์

บาสซิงบอร์น ไฮห์ วิคัม

(บก., กองกำลัง ทางอากาศที� � ) เทมส์

ไมล์ ���

อังกฤษ

ไมล์ ���

สหราช อาณาจักร เวลส์

ม ห า ส มุ ท ร แ อ ต แ ล น ติ ก

ทะเล เ ห นื อ

นอริช เคมบริดจ์

ลอนดอน

ลารอเชล

ฝรั�งเศส อร์

บอรฺโดซ์ อู่เรือดำนำ้

ชุมทางรถไฟ

อู่ต่อเรือ หรือ ฐานทัพเรือ

ฐานปล่อยจรวด

โรงงานผลิตเครื�องบิน

้ น โรงกลั�นนำมั

อุตสาหกรรมสงคราม

สนามบินเครื�องบินขับไล่

พฤษภาคม ���� สปิตไฟร์ (อังกฤษ) พิสัย ��� ไมล์ มิถุนายน ���� P-�� ธันเดอร์โบลต์ (สหรัฐฯ) พิสัย ��� ไมล์ � สิงหาคม ���� P-�� ธันเดอร์โบลต์ ติดถังสำรอง พิสัย ��� ไมล์ � พฤศจิกายน ���� P-�� ไลต์นิง (สหรัฐฯ) พิสัย ��� ไมล์ � มีนาคม ���� P-�� มัสแตง (สหรัฐฯ) ติดถังสำรองพิสัย ��� ไมล์ �

อัมสเตอร์ดัม

รอตเทอร์ดัม � โดเวอร์ � เอสเซ็น ปาส์ เดอ กาเลส์ ดังเคิร์ก แอนต์ เ วิ ร ป ์ ช่องแคบอังกฤษ ลิลล์ บรัสเซลล์ โคโลญ อับเบอวิลล์ เบลเยียม บอนน์ เบรฺสตฺ แซงต์ โล ก็อง แซ รูอ็อง ลักซ์. น ลักเซมเบิร์ก ฟาเลส ม า ร ฺน ปารีส โลริอองต์ ซาบรึกเคน เลอ มอส์ แซงต์-นาแซรฺ นอนต์ ลัวรฺ

อ่ า ว บิ ส เ ค ย์

ฮอลแลนด์

อัลลิเ

สวิตซ์.


สวีเดน ทะเล บ อ ล ติ ก

เฟลนส์บูร์ก คีล

เพเนมึนเดอ

เฟเกซัค

กดิเนีย ดันซิก

ปรัสเซีย ตะวันออก (เยอรมนี)

มาเรียนบูร์ก

เวเซ อร์

เอมส์

ฮัมบูร์ก อันคลัม เอล เบอ เบรเมิน เ ย อ ร ม นี ชเตทีน (โพลิตซ์) ฮาโนเฟอร์ เบอร์ลิน บรุนส์วิค มึนสเทอร์ โอเดอร์ วาร์ตา โอเชอร์สเลเบิน ฮัมม์ เดสเซา ดอร์ตมุนด์ คัสเซิล แมร์เซอบูร์ก/ลอยนา � โกธา ไลป์ซิก บูเคินวัลด์ เดรสเดรน ลีกนิตซ์ แฟรงค์เฟิร์ต � ชไวน์ฟูร์ต � ปราก ไมนซ์ พิลเซิน นูเรมเบิร์ก ชตุตการ์ต เรเกินส์บูร์ก มิวนิก เบราเนา ลินซ์ เครมส์ ซูริค

้ เปาการทิ �งระเบิดของ กองกำลังทางอากาศที� �

มล์ ��� ไ

ไมล์ ���

มล์ ��� ไ

เดนมาร์ก

ฟรีดริชฮาเฟิน

สโลวาเกีย

เวียนนา

ฮังการี

แบร์คเทสกาเดิน

ออสเตรีย

ทริเอสเต

โรมาเนีย ยูโกสลาเวีย

อิตาลี

สหภาพ โซเวียต

โปแลนด์

โพลอีสตี

เซอร์เบีย

ทะเล อ า เ ด รี ย ติ ก

บัลแกเรีย

โรม อันซิโอ เนเปิลส์

ฟอจจา

(บก., กองกำลัง ทางอากาศที� �� )

แอลเบเนีย



บทน�ำ

หน่วยบินที่ 100 โชกเลือด กองก� ำ ลั ง ทางอากาศที่ 8 เป็ น หนึ่ ง ในกองก� ำ ลั ง ยิ่ ง ใหญ่ ที่ สุ ด ใน ประวัติศาสตร์การสงคราม มีเครื่องมืออุปกรณ์เป็นเลิศ ก�ำลังพลระดับ หัวกะทิ ทหารทุกนายเป็นทหารอาสา มีเพียงหยิบมือเดียวที่มีการ ศึกษา ทหารทุกนายเต็มใจสู้รบเพื่อประเทศชาติ และเพื่อ ‘เสรีภาพ’ อุดมการณ์ที่ตกอยู่ในภัยคุกคาม นั่นเองที่ท�ำให้สงครามโลกครั้งที่ 2 มี ความพิเศษโดดเด่น แอนดี รูนีย์, My War ลอนดอน, 9 ตุลาคม 1943 สงครามส่วนตัวของพันตรี จอห์น อีแกน เริ่มต้นในมื้ออาหารเช้าในโรงแรม ในลอนดอน อีแกนได้ลาหยุดสองวันจากโธรป แอบบอตต์ส ฐานบินอเมริกัน ห่าง ออกไปเก้าสิบไมล์ทางเหนือของลอนดอน ชุมชนเล็กๆ ในนอร์โฟล์ก อันเป็นที่มาของ ชื่อ ชื่อเป็นทางการของฐานบินคือ สถานี#139 ก�ำลังพลทั้งพลบินและพลสนับสนุน 3,500 นาย สร้างบนที่ดินของขุนนาง ลูกเรือบินเข้าสู่สนามรบเหนือผืนดินไถพรวน โดยชาวไร่ในท้องทุ่งของเซอร์ รูเพิร์ต แมนน์ ชาวไร่ผู้อาศัยอยู่ในกระท่อมหินผุพังซึ่ง ได้ความร้อนจากกองไฟกลางบ้าน โธรป แอบบอตต์ส อยู่ในอีสต์ แองเกลีย ดินแดนประวัติศาสตร์หลอกหลอน ฟาร์มโบราณ แม่น�้ำคดเคี้ยว ที่ราบต�่ำบึงพรุทอดยาวเหยียดไปทางเหนือจากยอด แหลมของโบสถ์เคมบริดจ์ไปยังมหาวิหารของเมืองนอริช แผ่ไปทางตะวันออกไปยังเกรต ยาร์มธั เมืองท่าอุตสาหกรรม ท่าเรือน�ำ้ ลึกในน�ำ้ ด�ำเข้มของทะเลเหนือ คูคลองระบายน�ำ้ กังหันลมไม้ และบึงพรุกว้างไกล ชวนให้มองพื้นที่ส่วนนี้ของอังกฤษว่าคล้ายฮอลแลนด์ ซึ่งอยู่ฟากตรงข้ามของผืนน�้ำ ผืนแผ่นดินยื่นออกจากไปในทะเล ในห้วงปีแห่งสงครามท�ำให้ดูคล้ายขวานใหญ่ เงื้อง่าพร้อมหวดจามศัตรู ผืนนาถูกระบายน�้ำไปสิ้น เหมาะแก่การสร้างฐานบิน เพื่อ


ส่งเครื่องบินรบเจาะลึกเข้าไปในดินแดนมหาอาณาจักรไรช์ โธรปแอบบอตต์ส ล้าหลัง ลอนดอนกว่าศตวรรษ ทั้งความเร่งร้อนและบุคลิกภาพ ได้ถูกแปลงโฉมใหม่โดยสงคราม เปลีย่ นให้เป็นแนวรบยิง่ ใหญ่ทสี่ ดุ ของโลก แนวรบทีไ่ ม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัตศิ าสตร์ นี่คือ แนวรบทางอากาศ จากฐานบินที่เพิ่งสร้างมาใหม่ในอีสต์แองเกลียเปิดการ ศึกประเภทใหม่...การทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์จากระดับความสูงมาก เหตุการณ์หนึ่ง เดียวในประวัติศาสตร์การสงครามที่ไม่เคยมีมาก่อนและจะไม่มีอีกแล้ว เทคโนโลยีที่ จ�ำเป็นส�ำหรับการสงครามทิง้ ระเบิดเต็มรูปแบบทีย่ ดื เยือ้ ไม่เคยปรากฏให้เห็นจนกระทัง่ ต้น ทศวรรษ 1940 และตกยุคล้าสมัยในช่วงท้ายสงคราม จากการปรากฏตัวของเครื่องบิน ไอพ่น ขีปนาวุธ และระเบิดอะตอม กลางฟ้าสูง อากาศบางเบา และเยือกแข็งเหนือ ยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ พลบินหลั่งเลือดและล้มตายในสภาพแวดล้อมที่ไม่เคยมีนักรบ ใดเคยสัมผัสมาก่อน สงครามทางอากาศที่สู้รบกัน มิใช่ที่ระดับ 12,000 ฟุตเช่นใน สงครามโลกครั้งที่ 1 หากแต่เป็นระดับความสูง สูงกว่านั้นสองเท่าถึงสามเท่าตัว สูง ใกล้ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ ที่ซึ่งสภาพแวดล้อมอันตรายยิ่งกว่าข้าศึก ในสนามรบ ฟ้าใสสีคราม ความหนาวเยือกฆ่าคน อากาศใช้หายใจไม่ได้ แสงอาทิตย์เจิดจ้าฉายส่อง เครื่องบินทิ้งระเบิด ชี้เป้าให้เครื่องบินขับไล่เยอรมันและปืนต่อสู้อากาศยาน บนพื้นที่ สังหารกว้างใหญ่ไพศาลที่ไม่เคยคุ้น เพิ่มมิติทุกข์ทรมานใหม่ให้การสู้รบ ก่อปัญหาทาง อารมณ์และกายภาพมากมายที่นักรบทางอากาศจะได้สัมผัสเป็นครั้งแรก ส�ำหรับพลบินส่วนใหญ่ การบินแปลกพิลึกเท่าเทียมกับการรบ ก่อนเข้ามาสังกัด กองทัพ พลบินอเมริกันหลายพันหลายหมื่นคน ไม่เคยย่างเหยียบขึ้นเครื่องบินมาก่อน ไม่เคยยิงอะไรที่เป็นภัยคุกคามมากไปกว่ากระรอก การสงครามรูปแบบใหม่ ก่อก�ำเนิด การแพทย์ประเภทใหม่-การแพทย์ส�ำหรับผู้ท�ำการในอากาศ ศัลยแพทย์และจิตแพทย์ รุ่นบุกเบิก ท�ำงานในโรงพยาบาลและคลินิกไม่ห่างไกลจากฐานบินเครื่องบินทิ้งระเบิด นัก สถานที่ที่ส่งทหารไปรักษาน�้ำแข็งกัดใบหน้าและนิ้ว หรือในยามที่ความสยดสยอง หวาดหวั่นสอยพวกเขาลงจากฟ้า การสงครามทิ้งระเบิดนั้นเกิดเป็นช่วง ความนิ่งงันและน่าเบื่อหน่าย ติดตามมา ด้วยการปะทะดุเดือดและน่าหวาดหวั่นชั่วครู่ ทหารกลับจากฟากฟ้ามายังผ้าปูที่นอน สะอาดเอี่ยมอ่อง อาหารควันฉุย และสาวอังกฤษหน้าแฉล้ม ในสงครามน่าอัศจรรย์ใจ เด็กหนุ่มอายุแค่สิบเก้าหรือยี่สิบ ดิ้นรนรักษาชีวิตให้รอดกลางฟ้าเหนือเบอร์ลินในช่วงสิบ เอ็ดโมงเช้า กลับมาถึงห้องพักในโรงแรมในลอนดอน ออกเดตกับสาวในฝันตอนสามทุ่ม ทหารราบส่วนหนึ่งอิจฉาความสะดวกสบายของทหารอากาศ แต่ตัวละครผู้หนึ่งในนิยาย ทัพอากาศ ตั้งค�ำถามว่า “จะมีทหารราบกี่คนที่พร้อมจะออกสู่แนวหน้า ถ้ามอบเครื่อง บินเติมน�้ำมันเต็มถังให้?” แนวคิดที่เสนอต่อสาธารณชนอเมริกัน, หนทางยุติสงคราม 18 เจ้าเวหา


เบ็ดเสร็จเด็ดขาด เร็วกว่าการค่อยๆ รุกคืบไปบนพื้นดิน การสงครามทางอากาศเป็น การบั่นทอนให้อ่อนล้า บดขยี้ช้าๆ อย่างเหี้ยมโหด จอห์ น อี แ กน เป็ น ผู ้ บั ง คั บ ฝู ง ป้ อ มบิ น B-17 ฟลายอิ้ ง ฟอร์ ต เทรส เครื่องจักรสังหารที่ชวนให้ขวัญผวาที่สุดในโลกในยุคนั้น เขาเป็น ‘เด็กทิ้งระเบิด’ มี การท�ำลายล้างเป็นอาชีพหลัก และเหมือนเช่นลูกเรือเครื่องบินทิ้งระเบิดส่วนใหญ่ เขา เดินขึ้นเครื่องไปท�ำงานทุกเมื่อเชื่อวันโดยไม่มีมโนธรรมสะกิดกวนใจ เนื่องเพราะเขาเชื่อ ว่าตนสู้รบเพื่ออุดมการณ์อันชอบธรรม และเข่นฆ่าเพื่อไม่ให้ถูกฆ่า อีแกนบินภารกิจรบตลอดห้าเดือนที่ผ่านมาในสมรภูมิทางอากาศที่อันตรายที่สุด สนามรบที่ทหารเรียกว่า ‘บิ๊ก ลีค’ นี่เป็นการหยุดพักผ่อนครั้งแรกจากการรบ แต่ ไม่คล้ายการพักเพื่อให้ผ่อนคลาย ค�่ำคืนนั้น ลุฟท์วัฟเฟอบินมาถล่มมหานครลอนดอน จุดไฟกองโตรายรอบโรงแรมที่เขาพัก นี่เป็นครั้งแรกที่เขาตกอยู่ใต้การทิ้งระเบิด ไม่อาจ ข่มตาให้หลับได้ จากเสียงไซเรนโหยหวนแหลมสูง และแรงสั่นสะเทือนครืนโครม อีแกนสังกัดกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 กองบัญชาการรบทางอากาศ ก่อตั้งหลัง จากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ที่ฐานบินทหารบกซาวานนาห์ในจอร์เจีย เพื่อน�ำระเบิด ไปถล่มเหย้าของนาซี จากการเริ่มต้นที่ซวนเซ กลายเป็นขุมก�ำลังโจมตียิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ อีแกนเดินทางมาถึงอังกฤษในฤดูใบไม้ผลิปี 1943 หนึ่งปีหลังจาก ที่ทหารและเครื่องจักรของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 มาปักหลักในฐานบินที่กองทัพ อากาศอังกฤษมอบให้ อังกฤษส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มมหานครในเยอรมนีมาตั้งแต่ปี 1940 หน่วยบินทิ้งระเบิดมีหมายเลขก�ำกับ (1) หน่วยบินของเขาคือ หน่วยบินที่ 100 ประกอบด้วยสี่ฝูงบิน แต่ละฝูงมีเครื่องบินทิ้งระเบิดสี่เครื่องยนต์ที่เรียกขานกันว่า‘เฮฟวี่’ จ�ำนวน 8-12 ล�ำ หน่วยบินทิ้งระเบิดมีฐานบินของตัวเอง ซึ่งตั้งอยู่ในอีสต์ แองเกลีย หรือมิดแลนด์ส ทางเหนือของลอนดอนรอบเมืองเบดฟอร์ด ในช่วงเวลาหนึ่งในปี 1943 กองก�ำลังทางอากาศที่ 8 ได้ 4 หน่วยบินทิ้งระเบิด บรรจุประจ�ำการเครื่องบินทิ้งระเบิดสองเครื่องยนต์ แบบ B-26 มารอดเดอร์ ซึ่งมี ภารกิจหลักในการทิ้งระเบิดระดับความสูงต�่ำหรือปานกลาง ซึ่งผลลัพธ์มีทั้งได้และเสีย และในเดือนตุลาคมปีนั้น ได้ปรับโอนเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลางและเบาไปสังกัดกอง ก�ำลังทางอากาศที่ 9 ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการข้ามช่องแคบไปยกพลขึ้นบก บุกภาค พื้นยุโรปที่อยู่ในการยึดครองของนาซี จากจุดนี้เป็นต้นไปจนสิ้นสุดสงคราม กองก�ำลัง ทางอากาศที่ 8 จะประกอบด้วย ป้อมบิน B-17 ฟลายอิ้ง ฟอร์ตเทรส และ B-24 ลิเบอเรเตอร์ เครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยไกลของอเมริกัน ทิ้งระเบิดจากระดับความสูงมาก นอกจากนั้น กองก�ำลังทางอากาศที่ 8 ยังมีกองบัญชาการเครื่องบินขับไล่ไว้ในสังกัด ท�ำหน้าที่คุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิดในการเจาะเข้าไปทางเหนือของยุโรปไม่ไกลนัก นักบิน นพดล เวชสวัสดิ์ 19


ขับไล่ใช้ P-47 ธันเดอร์โบลต์ เครื่องยนต์เดียว หรือ P-38 ไลต์นิง สองเครื่องยนต์ บินขึ้นจากฐานบินที่อยู่ใกล้ฐานบินเครื่องบินทิ้งระเบิด ในยามที่หน่วยบินที่ 100 บินเข้าสู่สนามรบ จะมีหน่วยบินทิ้งระเบิดอื่นร่วมทาง ไปด้วยจากฐานบินใกล้เคียง คือ หน่วยบินที่ 390 และหน่วยบินที่ 95 สามหน่วย บินรวมกันเป็นกองบินรบที่ 13 หนึ่งกองบินรบเป็นเพียงส่วนน้อยนิดของหมู่บินเครื่อง บินทิ้งระเบิดและเครื่องบินขับไล่คุ้มกันหลายร้อยล�ำที่ท�ำให้พื้นดินสะเทือนเลื่อนลั่น ชาวบ้านอังกฤษหลั่งไหลออกจากกระท่อมหินตอนรุ่งสางมองดูทหารอเมริกันมุ่งหน้าไป ‘ถล่มพวกฮัน’ “ไม่มีใคร...ไม่อัศจรรย์ใจไปกับหมู่บิน บินเกาะกันเป็นแพเต็มท้องฟ้า บินขึ้นจาก สนามบินในอีสต์ แองเกลีย...” จอห์น คีแกน นักประวัติศาสตร์ เด็กชายที่เติบโต มาในอังกฤษช่วงสงคราม “...ฝูงบินแล้วฝูงบินเล่า บินไต่ระดับความสูง บินวนเข้า รวมเป็นหน่วยบิน จากหน่วยบินเกาะกลุ่มใหญ่เป็นกองบิน มุ่งหน้าไปทางตะวันออก เฉียงใต้ ข้ามทะเลไปยังเป้าหมาย เครื่องบินสีเงินสะท้อนแสงวาววับ หมู่ดาวกะพริบ วับวาบแห่งความสง่างามกลางฟ้าและพลังอ�ำนาจทางทหาร ทิ้งเกลียวเมฆขาวขุ่นจาก ปลายปีกกว่า 600 ข้างไว้เบื้องหลังบนท้องฟ้าสีครามของฤดูร้อนอังกฤษ พลบินฝีมือ ดีที่สุดปราดเปรื่องที่สุดของอเมริกากว่าสามพันนาย ท่องไปกลางฟ้า สิบนาต่อหนึ่งล�ำ แต่ละเครื่องมีชื่อเล่นเฉพาะตัว ส่วนใหญ่ได้จากชื่อเพลง เช่น มาย แพรย์ หรือจาก วลีเด็ดในภาพยนตร์ เช่น ไอ แอม ทอนเดลาโย ในระหว่างบินมุ่งหน้าสู่ชายฝั่ง “เราเปิดบีบีซี ฟังเพลงหวานจับใจ” ค�ำกล่าวของ เบอร์นาร์ด อาร์. จาคอบส์ นักบินผู้ช่วยจากนาปา แคลิฟอร์เนีย การบินผ่านทุ่งหญ้า เขียวขจีของชนบทอังกฤษ จาคอบส์รู้สึกถึงความยอกแสยงใจที่ดินแดนงดงามสุขสงบ แห่งนี้ จะเป็นต้นทางของการท�ำลายล้างที่ยากจะวาดภาพได้ การล้างผลาญแสนสาหัส ที่โลกไม่เคยพบเห็นมาก่อน แม้ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. โรสเวลต์ จะยุตกิ ารรับอาสาสมัครเข้าสังกัดกองทัพ กองก�ำลังทางอากาศที่ 8 ยังคงเป็นหน่วยรบชั้นเลิศ ชุมนุมอาสาสมัครยอดหัวกะทิก่อน จะมีคำ� สัง่ ประธานาธิบดี หรือบุคลากรคุณภาพทีท่ พั อากาศฉกมาจากทหารเกณฑ์ของกอง ทัพบก ปล่อยทหารระดับรองลงไปให้หน่วยงานอื่น พลบินทิ้งระเบิดของกองก�ำลังทาง อากาศที่ 8 ได้จากคนอเมริกนั ทุกหัวระแหงของอเมริกา ทุกระดับชัน้ มีนกั ศึกษา ฮาร์ วาร์ดเอกประวัติศาสตร์กับคนเหมืองจากเวสต์ เวอร์จิเนีย ทนายความวอลล์สตรีตกับ โคบาลจากโอคลาโฮมา ดาราดังจากฮอลลีวูดกับนักฟุตบอลดาวดวงเด่น จิมมี สจวร์ต ดาราฮอลลีวูด เป็นเด็กทิ้งระเบิด เช่นเดียวกับ ‘ราชาฮอลลีวูด’ คลาร์ก เกเบิล ทั้ง สองรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับบุรุษและเด็กหนุ่มผู้เช็ดกระจกหน้าต่างในแมนฮัตตัน หรือตัก 20 เจ้าเวหา


ถ่านหินในเหมืองในเพนซิลเวเนีย คนเชื้อสายโปแลนด์กับอิตาเลียน เยอรมันกับสวีเดน กรีกกับลิธัวเนีย อเมริกันอินเดียนและสแปนิชอเมริกัน แต่มิใช่แอฟริกันอเมริกัน เพราะ นโยบายทัพอากาศ ห้ามขาดไม่ให้คนผิวด�ำบินในหน่วยรบของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 ในพื้นที่คับแคบชวนให้หวาดกลัวของเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนัก ในเบ้าหลอมของการ รบ คาทอลิกกับยิว คนอังกฤษกับคนไอริช ผูกพันกันแน่นเหนียวยิ่งกว่าพี่น้องสายเลือด เดียวกัน หล่อหลอมด้วยความปรารถนาที่จะรักษาชีวิตให้อยู่รอด ในสงครามทิ้งระเบิด ความสามารถในการรักษาชีวิตให้รอดและการปัดเป่าความกลัวให้พ้นจากความคิด ขึ้น อยู่กับมาดของเครื่องบินแต่ละล�ำ เท่าเทียมกับบุคลิกภาพของลูกเรือแต่ละคน “อาจไม่ เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของการรบ...” สตารร์ สมิธ อดีตนายทหารฝ่ายการ ข่าวของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 กล่าวไว้ “...ที่จะมีความผูกพันระหว่างพลรบเหนียว แน่นเหมือนลูกเรือของเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนัก” กองก�ำลังทางอากาศที่ 8 มาถึงอังกฤษในช่วงตกต�่ำที่สุดในสงคราม การต้านรับ ฝ่ายอักษะ อันประกอบด้วยเยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และบริวาร อาณานิคมของอังกฤษ ดัตช์ และฝรั่งเศสในตะวันออกไกล ตกอยู่ในมือของญี่ปุ่นแล้ว รวมทั้งฟิลิปปินส์ของ สหรัฐฯ เมื่อถึงเดือนพฤษภาคม 1942 พลตรี คาร์ล ‘ทูอี้’ สปาตซ์ เดินทางมาถึง ลอนดอน รับหน้าที่ผู้บัญชาการทัพอากาศสหรัฐฯ ในสมรภูมิยุโรป ขณะที่ญี่ปุ่นยึดครอง อาณานิคมตะวันออกไกลได้ทั้งหมด กองทัพอากาศของอังกฤษได้ชัยชนะใน ‘แบตเทิล ออฟ บริเทน’ ในฤดูร้อนที่ผ่านมา และอังกฤษยืนหยัดต้าน ‘บลิตซ์’ ปฏิบัติการทิ้ง ระเบิดยาวนานเป็นครั้งแรกของนาซีเยอรมัน หลังการอพยพครั้งใหญ่จากดังเคิร์กใน ปี 1940 และฝรั่งเศสตกอยู่ในมือของฮิตเลอร์ ไม่นานหลังจากนั้น เยอรมนีเป็นเจ้า นายใหญ่บนภาคพื้นยุโรปตะวันตกอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ในฤดูใบไม้ผลิของปี 1942 สหราชอาณาจักรเป็นประเทศประชาธิปไตยเพียงประเทศเดียวที่ต้านสู้นาซีเยอรมัน ค�ำถามก็คือ จะตอบโต้ข้าศึกได้อย่างไร? “ในเมื่อเราไม่มีกองทัพบนผืนดินยุโรปที่จะเอาชนะก�ำลังทางทหารเยอรมันได้...” นายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิล ประกาศ “...มีเพียงอย่างเดียวที่จะท�ำลายมันให้ ย่อยยับได้ นั่นก็คือ การทิ้งระเบิดท�ำลายล้างโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักจาก ประเทศของเรา ถล่มใจกลางดินแดนนาซี” ต้นปี 1940 กองบัญชาการโจมตีทาง อากาศของอังกฤษ มุ่งไปหาเป้าหมายย่านอุตสาหกรรมในริเนอลันด์และรูร์ ศูนย์กลาง การผลิต ในระยะแรกเป็นการทิ้งระเบิดในเวลากลางวัน แต่หลังจากที่ได้รับความสูญ เสียอย่างหนัก ทัพอากาศอังกฤษจ�ำต้องทิ้งระเบิดในเวลากลางคืนและเป้าหมายก็ต้อง เปลี่ยนด้วยเช่นกัน ในเมื่อมองไม่เห็นเป้าโรงงานอุตสาหกรรมบนพื้นดิน ไม่ต้องพูดถึงว่า ทิ้งระเบิดเข้าเป้าหรือไม่ ในคืนเดือนมืด ทัพอากาศอังกฤษเริ่มทิ้งระเบิดท�ำลายเมือง... นพดล เวชสวัสดิ์ 21


การ ‘ล้างเมือง’ ที่ลูกเรือเรียกขาน วัตถุประสงค์จะเป็นการเผาผลาญ ท�ำลายชีวิต คนเยอรมันนับพันนับหมื่นเพื่อท�ำลายขวัญก�ำลังใจในการท�ำสงคราม การทิ้งระเบิดไม่ แม่นย�ำ การสูญเสียเครื่องบินทิ้งระเบิดสูงลิบ แต่การเข่นฆ่าคนเยอรมัน กลับยกระดับ ขวัญก�ำลังใจคนอังกฤษได้เป็นอย่างดี...ล้างแค้นที่เครื่องบินรบเยอรมันทิ้งระเบิดโจมตี เมืองโคเวนทรีและลอนดอน อังกฤษไม่มีหนทางอื่นอีกแล้วที่จะตอบโต้เยอรมนี จนกว่า กองก�ำลังสัมพันธมิตรจะยาตราทัพเข้าเยอรมันในช่วงท้ายของสงคราม การทิ้งระเบิด ยุทธศาสตร์เป็นการสู้รบเดียวที่กระท�ำต่อดินแดนเยอรมนี กองก�ำลังทางอากาศที่ 8 ส่งตรงมายังอังกฤษ เพื่อร่วมขบวนการทิ้งระเบิดที่ยก ระดับขึ้น อาจเป็นการรบที่ยาวนานที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2 การรบเริ่มขึ้นในเดือน สิงหาคม 1942 เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการของอังกฤษ แต่ต่างแผนต่างวัตถุประสงค์ หั ว ใจส� ำ คั ญ อยู ่ ที่ ศู น ย์ เ ล็ ง เป้ า นอร์ เ ด็ น อุ ป กรณ์ ลั บ สุ ด ยอดที่ คิ ด ค้ น และพั ฒ นาโดย นักวิทยาศาสตร์นาวีสหรัฐฯ ในต้นทศวรรษ 1930 นักบิน เช่น อีแกน ได้ท�ำการ ทดสอบอุปกรณ์น้ีในฟ้าสูงสีครามของดินแดนตะวันตกของสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดลงสู่เป้า ในทะเลทรายได้แม่นย�ำอย่างยิ่ง นายทหารทิ้งระเบิดบางนายอ้างว่าสามารถทิ้งระเบิด ลูกเดียวลงถังไม้ได้จากที่ระดับความสูง 20,000 ฟุต ศูนย์เล็งเป้านอร์เด็นช่วยให้การ ทิ้งระเบิดจากระดับความสูง ทรงประสิทธิภาพและเปี่ยมด้วยมนุษยธรรม ผู้น�ำระดับ สูงของทัพอากาศ กองทัพบกสหรัฐฯ เชื่ออย่างนั้น ระเบิดจะลงสู่เป้าหมายในมหานคร แม่นย�ำเหมือนลงมีดผ่าตัด ท�ำลายโรงงานอมภัณฑ์ (munition) โดยก่อความเสียหาย ให้ชีวิตและทรัพย์สินของพลเรือนในระดับต�่ำสุด กองก�ำลังทางอากาศที่ 8 คือบทพิสูจน์ของ ‘การทิ้งระเบิดลงถัง’ ด้วยการใช้ เครื่องจักรสังหารเช่น ป้อมบิน B-17 และ B-24 นักทฤษฎีสงครามเชื่อว่าป้อมบิน สี่เครื่องยนต์นี้จะเผด็จศึกยุติสงครามได้ โดยไม่ต้องใช้การสังหารหมู่ภาคพื้นดิน และเสีย เลือดเนื้อมากนักบนท้องฟ้า ดังเช่น สงครามโลกครั้งที่ 1 แนวคิดนี้ถูกจริตคนอเมริกัน ผู้ไม่ชื่นชอบการท�ำศึกยืดเยื้อ แต่น้อยคนนักจะทราบว่าการศึกนั้นท�ำลายทฤษฎีให้ปี้ป่น ได้เสมอ การทิ้ ง ระเบิ ด ช่ ว งกลางวั น สามารถกระท� ำ ได้ โ ดยเครื่ อ งบิ น ทิ้ ง ระเบิ ด เท่ า นั้ น ไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี เ ครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ คุ ้ ม กั น นี่ เ ป็ น ความเชื่ อ แน่ น เหนี ย วของ พลจั ต วา ไอรา ซี. อีเคอร์ อดีตนักบินขับไล่ ผู้ที่นายพลสปาตซ์คัดเลือกมาเป็นผู้บัญชาการ กองบัญชาการโจมตีทางอากาศ ของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 อีเคอร์จะสั่งให้บินเกาะ หมู่ ก่อตั้งพื้นที่ป้องกันตัวเอง หรือ ‘กล่องคอมแบ็ต’ อาศัยอ�ำนาจการยิงของปืนกล หนักของเครื่องบินทิ้งระเบิด ที่จะช่วยเหลือกันและกัน จนกระทั่งไปถึงเป้าหมายได้ จอห์นนี อีแกน เชื่อมั่นในการทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ แต่ไม่เชื่อมั่นปฏิบัติการที่ไม่มี 22 เจ้าเวหา


เครือ่ งบินขับไล่ เขาเข้าสูส่ งครามในขณะทีอ่ เี คอร์เริม่ ส่งหมูเ่ ครือ่ งบินทิง้ ระเบิดบินลึกเข้าไป ในดินแดนเยอรมนี...โดยไม่มีเครื่องบินขับไล่คุ้มกัน เพราะในช่วงเวลานั้น ไม่มีเครื่องบิน ขับไล่เครื่องยนต์เดียวที่มีพิสัยการบินไกลพอจะคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิดทั้งไปและกลับ ได้ ในฤดูร้อนปี 1943 จอห์น อีแกน สูญเสียเพื่อน สังเวยให้แก่ลุฟท์วัฟเฟอไปเป็น จ�ำนวนมาก ในเครื่องบินทิ้งระเบิดหนักของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 มีลูกเรือทั้งสิ้นสิบคน นักบิน กับนักบินผู้ช่วยนั่งเคียงกันในห้องนักบิน ต้นหนและนายทหารทิ้งระเบิดนั่งต�่ำลงไป ในส่วนหัวของเครื่องบินที่เป็นเพล็กซีกลาสโปร่งใส ข้างหลังของนักบินจะเป็นช่างผู้ ท�ำหน้าที่พลปืนป้อมปืนบนอีกต�ำแหน่ง ถัดมาในตัวเครื่อง จะเป็นพลวิทยุ พลปืน ข้างล�ำตัวซ้ายกับขวา และพลปืนในกระเปาะใสใต้ท้องเครื่องที่หมุนได้รอบตัว ท้ายสุด จะเป็นพลปืนท้าย นั่งแท่นถีบจักรยานท้ายเครื่อง ทุกต�ำแหน่งบนเครื่องบินล้วนเสี่ยงภัย ทั้งสิ้น ไม่มีหลุมบุคคลให้หลบกลางฟ้า เด็กทิ้งระเบิดอเมริกันและอังกฤษ ได้งานความ เสี่ยงภัยสูงสุดในสงครามเทียบเท่าพลเรือด�ำน�้ำ (อเมริกันและเยอรมัน) และนักบินขับไล่ ลุฟท์วัฟเฟอผู้เป็นคู่ปรับ เดือนตุลาคม 1943 พลบินกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 น้อย กว่าหนึ่งในสี่คน คาดว่าไม่น่าจะปฏิบัติภารกิจ (25 เที่ยวบิน) ได้ครบถ้วน สถิติชวน ให้ยอกแสยงใจ สองในสามของพลบิน หากไม่ตายกลางฟ้า ก็ถูกจับเป็นเชลยและสิบ เจ็ดเปอร์เซ็นต์ หากไม่บาดเจ็บสาหัส ก็มีอาการป่วยไข้ทางจิต หรือเสียชีวิตในอุบัติเหตุ ร้ายแรงทางอากาศเหนือน่านฟ้าอังกฤษ พลบินที่โอนมาสังกัดหน่วยบินทิ้งระเบิดของพัน ตรี อีแกน นับแต่เดินทางมาถึงอังกฤษในเดือนพฤษภาคม 1943 เพียงสิบสี่เปอร์เซ็นต์ ที่ปฏิบัติภารกิจลุล่วงครบ 25 เที่ยวบิน เมื่อถึงวันสิ้นสุดสงคราม กองก�ำลังทางอากาศ ที่ 8 จะมีทหารบาดเจ็บล้มตายมากกว่าความสูญเสียของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ทั้งกองทัพ ถึง 26,000 คน พลบินอเมริกันที่ขึ้นบินสู้รบกับอาณาจักรไรช์ที่สามก่อนวันดี-เดย์ ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงถึงเจ็ดสิบเจ็ดเปอร์เซ็นต์ ในฐานะผู้บังคับฝูงบินที่ 418 หน่วยบินทิ้งระเบิดที่ 100 จอห์นนี อีแกน ขึ้น บินกับลูกน้องในทุกเที่ยวบินรบ ในยามที่เด็กของเขาเข้าสู่ภัยอันตราย เขาอยากจะเผชิญ เภทภัยนัน้ ร่วมกัน “มีแต่ไอ้บา้ เท่านัน้ ทีจ่ ะขึน้ บินปฏิบตั กิ ารรบ” อีแกนบอกสิบเอก ซอล เลวิตต์ พลวิทยุในฝูงบินของเขา ภายหลังซอลบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในฐานบิน ต้องย้าย ไปสังกัดนิตยสาร แยงค์ สิ่งพิมพ์ของกองทัพบก เลวิตต์กล่าวต่อ “แต่ผู้ฝูงก็ยังบ้าระห�่ำ และขึ้นบินปฏิบัติการ ไม่ใช่บินชมทิวทัศน์...” ในยามที่เด็ก-หนุ่ม (ค�ำที่อีแกนเรียกลูกน้อง) ร่วงเป็นลูกไฟสู่พื้นดิน เขาเขียน นพดล เวชสวัสดิ์ 23


จดหมายถึงภรรยาและมารดาของลูกน้อง “ไม่ใช่จดหมายส�ำเร็จรูป” เลวิตต์ยังจ�ำได้ “ผู้ฝูงเขียนเองกับมือ ส่งข่าวเล่าเรื่องเป็นการส่วนตัว ไม่มีส�ำเนาจดหมายพวกนี้ ท่าน ไม่ได้พูดคุยถึงเรื่องนี้ จดหมายเป็นเรื่องระหว่างผู้ฝูงกับครอบครัวผู้เสียชีวิต” พันตรีอีแกน ร่างเล็กผอมบาง น�้ำหนักแทบไม่ถึง 140 ปอนด์ ผมด�ำดกหนา หวีเรียบแปล้ด้วยน�้ำมันใส่ผม ตาด�ำ หนวดเรียวเหนือริมฝีปาก เครื่องหมายการค้า ประจ�ำตัว จะเป็นเสื้อหนังนักบินบุขนแกะสีขาว และสไตล์การพูดยียวนเหมือนนักเลง ข้างถนน หยิบยืมจากนักเขียนเดมอน รันยอน อายุยี่สิบเจ็ด เด็กๆ ในฝูงถือว่าเป็น ‘เฒ่าโบราณ’ อีแกนประกาศว่า “ฉันท้าชน ดื่มให้หนูน้อยหลับคาแก้วได้ทุกคน” เขาล้อเลียนเด็กหน้าใสในฝูง ในค�่ำคืนที่จะไม่มีการบินในวันถัดไป เขาจะกระโดดขึ้นรถ จี๊ปออกไปเยี่ยมบาร์ ‘ท้องถิ่น’ ไปร่วมดื่มกับคนงานไอริช ร่วมร้องเพลงพื้นเมืองจนกว่า เหล้าจะหมดผับ หรือเจ้าของผับเบื่อขี้หน้า จับโยนออกมาข้างนอก ในยามทีอ่ แี กนออกไปร่วมดืม่ กับคนพืน้ เมือง เพือ่ นสนิทของเขาเข้านอนแล้ว ความ อภิรมย์ของพันตรี เกล ดับเบิลยู. คลีเวน มีแต่เรื่องพื้นฐาน เขาชื่นชอบไอศกรีม แคนตาลูป และภาพยนตร์สงครามของอังกฤษ รักเดียวซื่อสัตย์ต่อเพื่อนหญิงที่บ้านนาม มาร์จ เขามีชีวิตเพื่อการบิน เขากับอีแกนได้รับการสถาปนาให้เป็นหนึ่งใน ‘สภาขุนนาง การบิน’ เพื่อนวัยเด็กเรียกเขาว่า ‘เคลฟ’ แต่อีแกน คู่หูไปไหนไปกันตั้งแต่โรงเรียน การบินในสหรัฐฯ เปลี่ยนชื่อเล่นให้ใหม่ว่า ‘บั๊ค’ เพราะหน้าตาเหมือนเด็กข้างบ้าน ชื่อบั๊ค ในแมนิทวาก รัฐวิสคอนซิน ได้ชื่อเล่นใหม่ติดตัว “ผมไม่เคยชอบชื่อนั้น แต่ผม ก็ได้ชื่อบั๊คนับแต่นั้นมา” คลีเวนบอกเล่าในอีกหกสิบปีให้หลัง หลังจากเขาจบปริญญาโท บริหารธุรกิจจากฮาร์วาร์ด และจบดอกเตอร์สาขาฟิสิกส์ระหว่างดาวเคราะห์ เกล คลีเวน ร่างผอมสูง เติบโตมาในดินแดนน�้ำมันทางเหนือของเมืองแคสเปอร์ รัฐไวโอมิง ส่งเสียตัวเองเรียนจบมหาวิทยาลัยไวโอมิงจากเงินค่าจ้างกรรมกรแท่นขุดเจาะ น�้ำมัน หมวกนายทหารวางเผล้บนหัว ไม้จิ้มฟันเสียบที่มุมปาก มาดนักเลงอันธพาล “แต่หัวใจใหญ่เท่าเท็กซัส และใจทั้งดวงมอบให้ลูกเรือ” นักบินคนหนึ่งกล่าวไว้ คลีเวน คึกคัก มีชีวิตชีวา ได้ต�ำแหน่งนักเล่านิทานมือหนึ่งในฐานบิน คลีเวนเป็นผูบ้ งั คับฝูงเมือ่ อายุได้ยสี่ บิ สี่ เป็นวีรบุรษุ ในอเมริกา หลังบทความยกย่อง ความห้าวหาญของเขาในภารกิจทิ้งระเบิดถล่มเรเกินส์บูร์ก ลงใน แซตเทอร์เดย์ อีฟนิง โพสต์ เขียนโดย พันโท เบิร์น เลย์ จูเนียร์ ผู้ที่จับมือกับไซ บาร์เล็ตต์ เขียนนิยาย Twelve O’Clock High! นิยายและภาพยนตร์สุดคลาสสิกที่ได้จากสมรภูมิยุโรป ภารกิจทิง้ ระเบิดเรเกินส์บรู ก์ -ชไวน์ฟรู ต์ ในวันที่ 17 สิงหาคม 1943 เป็นการสูญ เสียครัง้ ใหญ่ทสี่ ดุ ของอเมริกาในช่วงนัน้ สูญเสียเครือ่ งบินทิง้ ระเบิด 60 ล�ำ ลูกเรือ 600 คน การทิ้งระเบิดสองเป้าซ้อน ถล่มโรงงานเครื่องบินที่เรเกินส์บูร์ก และโรงงานตลับ 24 เจ้าเวหา


ลูกปืนที่ชไวน์ฟูร์ต ศูนย์อุตสาหกรรมทั้งสองแห่งมีระบบป้องกันภัยทางอากาศหนาแน่น ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เบิร์น เลย์ บินไปกับหน่วยบินที่ 100 ในฐานะผู้สังเกตการณ์ ในป้อมบิน พิคาดิลลี ลิลลี กลางลูกไฟและความโกลาหล เขาเห็นคลีเวนในฝูงบินต�่ำ ที่เรียกกันว่า ‘มุมโลงศพ’ ฝูงบินที่อยู่ต�่ำที่สุดและรั้งท้ายในหมู่บินทิ้งระเบิด “คลีเวน ใช้ชีวิตในชั่วโมงแจ่มกระจ่างที่สุด” เครื่องบินของเขารุ่งริ่งด้วยกระสุนจากเครื่องบินขับ ไล่เยอรมัน นักบินผู้ช่วยของคลีเวนตระหนกตกใจ เตรียมพร้อมจะสละเครื่อง “เผชิญ หน้ากับความเสียหายของโครงสร้าง สูญเสียการควบคุมส่วนหนึ่ง ไฟลุกกลางอากาศ ลูกเรือได้รับบาดเจ็บสาหัส และเครื่องบินขับไล่อีกฝูงไต่ความสูงขึ้นมาหา คลีเวนมีเหตุ อันควรแล้วที่จะสละเครื่อง” เลย์เขียนไว้ แต่คลีเวนออกค�ำสั่งให้นักบินผู้ช่วยรั้งอยู่ก่อน “เสียงของเขาได้ยนิ ทัว่ ล�ำเรือ คล้ายมนต์เสกเป่าให้กำ� ลังใจลูกเรือ ทุกคนประจ�ำการทีป่ นื กลหนัก B-17 ยังบินต่อไป” เบิร์น เลย์ เสนอชื่อคลีเวนให้รับเมดัล ออฟ ออนเนอร์ “ผมไม่ได้รับ และ ไม่สมควรได้รับ” คลีเวนกล่าว เขาได้รับอิสริยาภรณ์ชั้นรองลงมาคือ ดิสทิงกวิชด์ เซอร์วิส ครอส แต่ไม่เดินทางเข้าลอนดอนเพื่อไปรับ “เหรียญกล้าหาญ ห่ะ ผมอยาก ได้แอสไพรินมากกว่า” เขาให้ความเห็น อีกนานหลังจากนั้น “ผมก็ยังไม่มีเหรียญกล้า หาญใดเลย” เรื่องราวของคลีเวนในการทิ้งระเบิดที่เรเกินส์บูร์ก “เป็นที่ฮือฮาในฐานบิน” แฮร์รี เอช. ครอสบี ย้อนนึก เขาเป็นต้นหนของเครื่องในฝูงบินที่ 418 ของ อีแกน และ ในวันนั้น จอห์น อีแกน ท�ำงานได้ดีเช่นกัน ต่อค�ำถามที่ว่าเขารอดมาได้อย่างไร อีแกน บรรยาย “ผมมีสร้อยประค�ำสวดมนต์สองเส้น เหรียญน�ำโชคสองเหรียญ ธนบัตรสอง ดอลลาร์ที่ผมกัดมุมให้แหว่งทุกเที่ยวบิน ผมยังสวมสเวตเตอร์กลับหลัง และสวมแจ๊กเก็ต หนังน�ำโชค” คนอื่นไม่มีโชคขนาดนั้น หน่วยบินที่ 100 สูญเสียพลรบ 90 นาย การบาดเจ็บล้มตายเพิม่ ขึน้ อย่างน่าตกใจในฤดูรอ้ นปีนนั้ เร็วเกินกว่าพลรบจะบันทึก ได้ทัน ลูกเรือทดแทนคนหนึ่งเดินทางมาถึงโธรป แอบบอตต์ส ทันมื้ออาหารเย็น เข้า นอนในที่พัก และเสียชีวิตในน่านฟ้าเยอรมนีในตอนรุ่งเช้า ไม่มีใครทันรู้จักชื่อ คนใน ฐานบินเรียกเพียงว่า ‘คนที่มากินอาหารเย็นด้วยกัน’ ในเมื่อเพื่อนพ้องล้มตายราวใบไม้ร่วง หน่วยบินที่ 100 ต้องการวีรบุรุษ ที่สโมสร นายทหาร นักบินรุ่นเด็กห้อมล้อมอีแกนกับคลีเวน “สายตาทุกคู่จับจ้องการบินกลาง อากาศด้วยมือ” ครอสบีเขียนไว้ในบันทึก “ทหารเกณฑ์บูชาผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสอง” นักบิน หน้าใสอยากบินได้เหมือนผู้ฝูงอยากผูกผ้าพันคอสีขาว และสวมหมวกบูบี้ ‘50 เที่ยว บิน’ เบิร์น เลย์ น�ำเอานักบินเหล่านี้ไปเป็นตัวละครในนิยาย Wanted Wings ภาพ ยนตร์ฮอลลีวูดที่จุดแรงบันดาลใจให้คนหนุ่มอยากมาเป็นนักบินทัพอากาศ สังกัดกองทัพ นพดล เวชสวัสดิ์ 25


บก การพูดจาท่าทางเลียนแบบฮอลลีวูดเช่นกัน ครั้งแรกสุดที่ครอสบีมองเห็นคลีเวนใน สโมสรนายทหาร “ด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง เขาอยากคุยกับผม แล้วเอื้อนออกมาว่า ‘แท็กซี่ (ขับเคลื่อนเครื่องบินบนพื้น) มาทางนี้เลย, ผู้หมวด” คลีเวนชอบนักบินทดแทน แต่เป็นกังวลต่อท่าทางอวดกล้าของเด็กหนุม่ “เด็กพวก นี้ไม่ได้กลัวมากเท่าพวกเรา ดังนั้น เด็กพวกนี้เป็นตัวอันตราย พวกเขากลัวสิ่งที่ยังไม่รู้ พวกเรากลัวเรื่องที่ทราบกันดีแล้ว”

เช้าตรู่วันที่ 8 ตุลาคม 1943 หนึ่งชั่วโมงก่อนที่จอห์นนี อีแกนจะเดินขึ้นรถไฟมุ่ง หน้าไปลอนดอน วันหยุดครั้งแรกสุด บั๊ค คลีเวน น�ำเครื่องขึ้นจากพื้น มุ่งหน้าไปยัง เบรเมิน และไม่ได้กลับมา เครือ่ งบินขับไล่ลฟุ ท์วฟั เฟอสามล�ำ บินออกมาจากดวงอาทิตย์ ยิงกราดเข้าใส่ป้อมบินของคลีเวน ดับสามเครื่องยนต์ ยิงแพนหางและหัวเครื่องจนพรุน ตัดเฉือนปีกซ้ายขาดไปส่วนหนึ่ง ไฟลุกท่วมห้องนักบิน สถานการณ์สิ้นหวัง คลีเวนสั่ง ให้ลูกเรือสละเครื่อง เขาเป็นคนสุดท้ายที่กระโดดร่มออกจากเครื่อง ในยามที่เขาโดดร่ม เครื่องบินทิ้งระเบิดอยู่ห่างจากพื้นดินแค่ 2,000 ฟุต เวลา 1515 เวลาที่จอห์น อีแกนน่าจะเช็กอินเข้าพักในโรงแรมในลอนดอน คลีเวนบังคับร่ม มองเห็นว่าเขาน่าจะลงพื้นใกล้บ้านไร่ขนาดเล็ก “เร็วกว่าที่ผมอยาก ลงพื้น” เขาดึงร่มให้เบี่ยงหลบหลังคาบ้าน ร่มหมุนควบคุมไม่ได้ ร่างของเขาทะลุผ่าน ประตูหลังเข้าไปในห้องครัว ร่มลากครูดเครื่องเรือน และเตาเหล็กขนาดเล็ก ภรรยา และลูกสาวของชาวนากรีดร้องเสียสติ ชาวไร่จิ้มส้อมตักหญ้าจ่อหน้าอกของเขา “ด้วย ภาษาเยอรมันกระท่อนกระแท่น ผมพยายามอธิบายว่าผมไม่ใช่คนร้าย เขาไม่เชื่อ” คื น นั้ น พลบิ น จากฝู ง บิ น ของคลี เวนที่ ร อดชี วิ ต จากภารกิ จ เบรเมิ น เดิ น เข้ า ผับหมู่บ้าน ดื่มจนเมามายไม่ได้สติ “ไม่มีใครเชื่อว่าผู้ฝูงโดนยิงตก” สิบเอก แจ๊ก เชอริแดน หนึ่งในฝูงบินของคลีเวนเขียนไว้ ถ้าผู้ฝูง ‘อมตะ’ ยังไม่รอด แล้วใครจะ รอดได้? แต่เชอริแดนก็บันทึกไว้ด้วยว่า ‘คนที่หายสาบสูญ ไม่หยุดสงคราม” เช้ า วั น ถั ด มา มื้ อ อาหารเช้ า ของโรงแรม ไข่ ด าวกั บ สกอตช์ วิ ส กี้ ส องเป๊ ก อีแกนอ่านพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ ลอนดอน ไทมส์ ‘กองก�ำลังทางอากาศที่ 8 สูญเสีย 30 ป้อมบินเหนือเบรเมิน’ เขาลุกพรวดพราดออกจากเก้าอี้ ตรงไปหาโทรศัพท์ ต่อสายไปยังฐานบิน ในช่วงสงครามการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเข้มงวด การ สนทนาใช้รหัส “เกมเป็นไงบ้าง?” เขาถาม ได้รับค�ำตอบ คลีเวนสไตรก์เอาต์ เงียบงัน ชั่วครู่ เขารวบรวมสติ สอบถามต่อ “ทีมของเรามีเกมก�ำหนดไว้ไหมวันพรุ่งนี้?” 26 เจ้าเวหา


“ใช่ครับ” เสียงจากปลายสายตอบมา “ฉันอยากลงขว้างลูก” เขากลับมายังโธรป แอบบอตต์ส ในตอนบ่าย ทันเวลาพอจะนั่ง ‘รีดเหงื่อ’ รอ คอยการบินยาวไกลไปยังมาเรียนบูร์ก ปฏิบัติการทิ้งระเบิดน�ำหมู่โดยผู้บังคับหน่วยบิน ที่ 100 พันโท นีล บี. ‘ชิค’ ฮาร์ดิง อดีตยอดนักฟุตบอลเวสต์พอยน์ต ในทันทีที่ ฝูงบินลงแตะพื้น เขาได้รับอนุมัติจากฮาร์ดิงให้เป็นหัวหน้าหมู่ น�ำหมู่บินของหน่วยบินที่ 100 ออกปฏิบัติการในวันรุ่งขึ้น รุ่งสาง เขาเดินเข้าไปในกระท่อมของลูกเรือและปลุก นักบิน จอห์น ดี. เบรดี อดีตนักแซ็กโซโฟนของบิ๊กแบนด์ แฮร์รี ครอสบี ซึ่งนอน ฟากตรงข้าม ร้อยเอก เบรดี ได้ยินการสนทนา “จอห์น ผมบินกับคุณ เราจะไปเด็ด หัวไอ้เชี่ยที่ยิงบั๊คตก” จากนั้นชายทั้งสองก็ออกไปฟังบรรยายสรุปก่อนปฏิบัติการ “เป้ า หมายวั น นี้ คื อ มึ น สเทอร์ ” นายทหารฝ่ า ยการข่ า ว พั น ตรี ไมเนอร์ ชอว์ แจ้งให้ลูกเรือง่วงตาปรือได้ทราบ ดึงเปิดม่าน เผยให้เห็นแผนที่ของยุโรปเหนือ เต็มผนัง เชือกสีแดงโยงจากโธรป แอบบอตต์ส ข้ามฮอลแลนด์ไปยังชุมทางรถไฟเล็กๆ เลยจากชายแดนดัตช์ จะเป็นปฏิบัติการทิ้งระเบิดระยะใกล้ มีเครื่องบินขับไล่ P-47 ธันเดอร์โบลต์ เครื่องบินขับไล่ดีที่สุดที่สัมพันธมิตรมีอยู่ ท�ำหน้าที่คุ้มกันป้อมบินไปจน สุดพิสัยท�ำการ ใกล้เป้าหมาย อาจดูคล้ายงานประจ�ำ ยกเว้นเรื่องเดียว จุดเล็งจะเป็น เมืองโบราณก�ำแพงล้อมรอบ ย่านสับเปลี่ยน รายล้อมด้วยบ้านพักคนงานรถไฟ ใกล้เป้า หมายจะมหาวิหาร บิชอปประจ�ำที่นั่น ได้ชื่อว่าเป็นเสียงต่อต้านนาซี “คนงานรถไฟใน แคว้นรูร์ทุกคน พักอาศัยในมึนสเทอร์” ชอว์บรรยายด้วยเสียงราบเรียบ หากนายทหาร ทิ้งระเบิด วางระเบิดแม่นย�ำกลางเป้า ระบบรางรถไฟเยอรมันที่มีการจราจรหนาแน่น น่าจะเสียหายอย่างหนักจนใช้การไม่ได้ นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงกลับทิศของการทิ้งระเบิดอเมริกัน ในภายหลัง กองก�ำลัง ทางอากาศที่ 8 จะออกมาปฏิเสธอย่างเป็นทางการ ทว่า การทิ้งระเบิดมึนสเทอร์เป็น ปฏิบัติการ ‘ล้างเมือง’ รายงานภารกิจที่ปลดชั้นความลับสุดยอดไปแล้วและปูมการบิน บันทึกไว้แจ้งชัดว่าจุดเล็งเป้าอยู่ที่ ‘ใจกลางเมือง’ รายงานของหน่วยบินทิ้งระเบิดที่ 94 บรรยายจุดเล็งเป้าว่า “แหล่งชุมนุมหนาแน่นปลายยอดตะวันออกเฉียงเหนือของย่าน สับเปลี่ยน” “เมื่อชอว์ประกาศว่า เราจะถล่มย่านที่พักอาศัย ผมรู้สึกตัวว่าลุกขึ้นยืน ส่งเสียง โห่ร้อง” อีแกนกล่าวไว้ในเวลาต่อมา “คนอื่นๆ ที่สูญเสียเพื่อน (ในการทิ้งระเบิดคราว ที่ผ่านมา) ร่วมส่งเสียงโห่ร้อง เพราะนี่เป็นโอกาสที่เราจะได้ฆ่าคนเยอรมัน ชนเผ่าที่ ฟักบ่มความเกลียดชังและการข่มเหงย�่ำยีชนกลุ่มน้อย นี่เป็นภารกิจในฝัน...ล้างแค้นแทน เพื่อนสนิท” นพดล เวชสวัสดิ์ 27


พลบินบางคนที่อยู่ในห้องบรรยายสรุปเช้าวันนั้น จ�ำไม่ได้ว่ามีการโห่ร้อง คนหนึ่ง ร้อยเอก แฟรงก์ เมอร์ฟี นักดนตรีแจ๊สอายุยี่สิบสองจากแอตแลนตา, จอร์เจีย ผู้เลิก เรียนมหาวิทยาลัยเอ็มมอรีกลางคัน เพือ่ มาเป็นต้นหนในทัพอากาศ เมอร์ฟไี ม่มคี วามทรง จ�ำว่าอีแกนลุกขึ้นมาโห่ร้อง สบถสาบานจะล้างแค้น เขาบอกเพียงว่า ไม่มีใครในห้อง นั้นประท้วงการถล่มพลเรือน แม้แต่คนที่เหมือนเขา มีญาติอาศัยอยู่ในเยอรมนี อาจ เป็นได้ว่าหลายคนยังจ�ำค�ำเตือนของผู้บังคับบัญชาคนแรก พันโท ดาร์ เอช. ‘แป๊ปปี’ อัลไคร์ ในสหรัฐฯ หลังจากจบการบินใหม่หมาด และได้ปีกบิน “อย่าได้หลงเพ้อว่างาน ของพวกคุณจะหรูหราฟู่ฟ่าและน่าภาคภูมิใจได้เสียงแซ่ซ้องสรรเสริญ คุณมีงานสกปรก ให้ท�ำ คุณควรเผชิญความจริงเสียเถอะ คุณจะเป็นฆาตกรฆ่าทารก ฆาตกรฆ่าสตรี” ไม่มีใครในหน่วยบินทิ้งระเบิดที่ 100 มองตัวเองว่าอยู่ในกิจการฆาตกรรม ทหาร ส่วนใหญ่วางใจในผู้น�ำ “ผมรู้สึกว่า ผมไปอยู่ที่นั่นเพื่อช่วยให้เราชนะสงคราม หากเป็น ไปได้” ร้อยโท โฮเวิร์ด ‘แฮมโบน’ แฮมิลตัน นายทหารทิ้งระเบิดของผู้กองเบรดี “ปัญหาพื้นฐานของการพยายามทิ้งระเบิดท�ำลายระบบรางก็คือ ถ้ามีกรรมกรมากพอ รางรถไฟจะซ่อมให้ใช้งานได้อีกครั้งในระยะเวลาอันสั้น เราได้รับค�ำบอกกล่าวว่าการทิ้ง ระเบิดลงบ้านพักกรรมกรรถไฟ จะเป็นการลดจ�ำนวนผู้คนที่จะมาซ่อมราง” แต่ ก ารบรรยายสรุ ป เช้ า วั น นั้ น ในฐานบิ น ทิ้ ง ระเบิ ด ข้ า งเคี ย ง มี เ สี ย ง บ่นอื้ออึงถึงการเลือกเป้าหมาย “วันอาทิตย์ ลูกเรือหลายคน...ไม่ใคร่สบายใจนักที่จะทิ้ง ระเบิดใกล้โบสถ์” ร้อยโท รอเบิรต์ เซเบิล นักบินสังกัดหน่วยบินทิง้ ระเบิดที่ 390 และ ร้อยเอก เอลลิส สคริปเจอร์ ต้นหนที่จะบินในเครื่อง เดอะ ซูซูตเทอร์ส หัวหน้าหมู่ ของหน่วยบินทิ้งระเบิดที่ 95 เขาบรรยายความรู้สึกในเวลาต่อมา “ผมเกิดในครอบครัว เคร่งศาสนาโปรเตสแตนต์ พ่อแม่นับถือพระผู้เป็นเจ้า ผมตกตะลึงที่ได้ทราบว่าเราจะไป ทิ้งระเบิดโดยมีพลเรือนเป็นเป้าหมายหลัก นี่เป็นครั้งแรกในสงคราม” หลังการบรรยาย สรุป เอลลิส สคริปเจอร์ น�ำเรื่องนี้ไปร้องเรียนต่อผู้บังคับหน่วยบิน แจ้งให้ทราบว่าเขา ไม่อยากบินในวันนี้ พันโท จอห์น เกอร์ฮาร์ต ระเบิด “ฟังนะ ผู้กอง นี่คือ สงคราม สะกดว่า ส-ง-ค-ร-า-ม เราออกมารบเต็มรูปแบบ คนเยอรมันฆ่าคนบริสุทธิ์ทั่วยุโรปมา นานหลายปี เรามาที่นี่เพื่ออัดบั้นท้ายมารดามัน...และเราจะท�ำเสียอย่างนั้น ฉันเป็น หัวหน้าหมู่บิน และคุณเป็นต้นหน...ถ้าคุณไม่ยอมขึ้นบิน ฉันจะส่งคุณขึ้นศาลทหาร มี ค�ำถามอะไรอีกไหม?” สคริปเจอร์ตอบว่า “โน เซอร์” เดินมุ่งหน้าไปยังเครื่องบินที่จอดเรียงราย “ผม ตัดสินใจได้ในเดี๋ยวนั้นว่าสงครามไม่ใช่การดวลของสุภาพบุรุษ” เขาบอกในเวลาต่อมา “หลังจากนัน้ ผมไม่เคยแคลงใจยุทธศาสตร์ของผูบ้ งั คับบัญชา พวกเขามีเรือ่ งยากล�ำบาก ต้องตัดสินใจ...และตัดสินใจสั่งการออกมา” 28 เจ้าเวหา


นักบินอีกคนจากหน่วยบินทิ้งระเบิดของสคริปเจอร์ ผู้หมวด ธีโอดอร์ โบซาร์ธ บรรยายได้อย่างชัดเจนว่าทหารในกองบินรบที่ 13 รู้สึกอย่างไรต่อภารกิจนี้ ภารกิจที่ สามของกองบินในสามวัน : เบรเมิน มาเรียนบูร์ก และมึนสเทอร์ “เราเหนื่อยเราล้า เกินกว่าจะสนใจห่ะเรื่องใด” แฮร์รี ครอสบี ไม่ได้ร่วมบินไปยังมึนสเทอร์ เขากับนักบิน ร้อยเอก เอเวอเร็ตต์ เบลกลีย์ พักฟื้นรักษาตัวจากเครื่องอกไถพื้นดินอังกฤษ หลังกลับจากการทิ้งระเบิด เบรเมิน เช้าของวันภารกิจมึนสเทอร์ ทั้งสองยึดเครื่องบินที่ได้รับความเสียหาย บิน ไปยังเมืองรีสอร์ตบอร์นมัธ ไปพักตากอากาศชายทะเล หนีจากสงครามชั่วขณะ ก่อน จะพาเครื่องขึ้นจากพื้น ครอสบีโทรถึงนักอุตุนิยมของฐานบิน ร้อยเอก คลิฟฟ์ ฟราย นัดแนะรหัสส�ำหรับครอสบีให้ทราบผลการทิ้งระเบิดมึนสเทอร์ ทางโทรศัพท์ บ่ายสี่โมง เขาโทรศัพท์ถึงฟราย “เพื่อนของผมกลับจากการลาหยุดมาครบทุกคน หรือเปล่า?” ไม่มีค�ำตอบ “บางคนต้องย้ายสังกัดเป็นการถาวร?” “ใช่ ทุกคน ยกเว้นคนเดียว” และแล้ว ฟรายอัดอั้นตันใจเกินทน ไม่สนใจรหัสอีกแล้ว “อีแกนหายไป ลูกเรือ ของคุณหายไป ทัง้ หน่วยบินหายไป คนเดียวทีร่ อดกลับมาเป็นลูกเรือชุดใหม่จาก (ฝูงบิน) 418 พวกเขาเรียกนักบินคนนั้นว่า โรซี”

ร้อยโท รอเบิร์ต ‘โรซี’ โรเซ็นธาล ไม่ได้ร่วมฝึกกับลูกเรือดั้งเดิมของหน่วยบินที่ 100 เขากับลูกเรือโอนมาสังกัดหน่วยบินที่ 100 ในเดือนสิงหาคม จากกองหนุนกลางใน อังกฤษ ทดแทนพลบินที่ขาดหายไปในการทิ้งระเบิดเรเกินส์บูร์ก “ในตอนที่ผมมาถึง หน่วยบินที่ 100 เละเทะไร้ระเบียบ” โรเซ็นธาลย้อนนึก “พวกเขาเป็นกลุ่มอันธพาล เอะอะตึงตัง แต่ละคนมีมาดกร่าง ชิค ฮาร์ดิง เป็นผู้บังคับบัญชาชั้นดี แต่เขาไม่ ก�ำกับวินัย ทั้งบนพื้นและในอากาศ” โรเซ็นธาลไม่ได้ขึ้นบินสามวัน “ไม่มีใครแวะมา ตรวจสอบผม ไม่อนุมัติสถานะพร้อมรบ ในท้ายที่สุด ผู้ฝูง จอห์น อีแกนให้ผมฝึกบิน เกาะหมู่ ผมบินเกาะปลายปีกขวาของเขา ผมฝึกบินเกาะหมู่มาเยอะ ผมงุ่นง่าน อยาก เข้าสู่สงคราม ผมพาเครื่องแตะปลายปีกเขา เขาไปทางไหน ผมไปทางนั้น กลับลงถึง พื้น อีแกนบอกผมว่าเขาอยากได้ผมเป็นวิงแมนของเขา” โรเซ็นธาลเข้าเรียนในบรูกลิน คอลเลจ ไม่ไกลจากย่านแฟลตบุชที่เขาพักอาศัย นพดล เวชสวัสดิ์ 29


ยอดนักกีฬา เป็นกัปตันทีมฟุตบอล กัปตันทีมเบสบอล ในเวลาต่อมา จารึกชื่อใน ท�ำเนียบเกียรติยศของคอลเลจ จบการศึกษาเกียรตินิยมจากส�ำนักกฎหมาย เขาเข้า ท�ำงานในส�ำนักงานกฎหมายชั้นน�ำในแมนฮัตตัน เพิ่งท�ำงานใหม่ได้ไม่นาน เมื่อญี่ปุ่น ทิ้งระเบิดเพิร์ล ฮาร์เบอร์ เช้าวันถัดมา เขาสมัครเข้าทัพอากาศของกองทัพบก โรเซ็นธาลอายุยี่สิบหก แผงไหล่กว้าง เค้าหน้าหล่อเหลาคมคาย ผมด�ำหยักศก หนุ่มมหานครผู้หลงรักแจ๊ส ขัดกับท่าเดินงุ่มง่ามเหมือนชาวนา หัวแม่เท้าเอนเข้าหา กัน ไม่มีมาดยะโสหวาดระแวงของหนุ่มนิวยอร์ก เขาเป็นคนขี้อาย หน้าแดงง่าย แต่ความมุ่งมั่นคล้ายกองไฟคุโชนกลางอก “ผมอ่าน ไมน์ คัมพฟ์ สมัยเรียนวิทยาลัย ได้เห็นภาพยนตร์ข่าวการชุมนุมอลังการของนาซีในนูเรมเบิร์ก ฮิตเลอร์นั่งรถเปิดประทุน ฝูงชนโห่ร้องต้อนรับบ้าคลั่ง ใบหน้าของผู้คนนั่นเองที่สะกิดใจผม สีหน้าหลงใหลคลั่งเพ้อ ไม่ใช่แค่ฮิตเลอร์ หากแต่เป็นคนทั้งชาติเสียสติไปแล้ว จะต้องหยุดคนพวกนี้ให้จงได้ “ผมเองเป็นยิว แต่ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องนั้น ฮิตเลอร์เบียดเบียนคุกคามคนดีรักสงบ ทุกหนทุกแห่ง ผมยกย่องนับถือคนอังกฤษเช่นกัน พวกเขายืนหยัดต้านสูน้ าซีตามล�ำพังใน ช่วง ‘แบตเทิล ออฟ บริเทน’ และ ‘เดอะ บลิตซ์’ (สงครามเวหาและการทิ้งระเบิด ถล่มลอนดอน) ผมติดตามอ่านหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ และรับฟังรายการวิทยุของเอดเวิร์ด อาร์. มอร์โรว์ รายงานสดการทิ้งระเบิดถล่มลอนดอน ผมอดทนรอไม่ไหว อยากมาที่นี่ “เมื่ อ ผมมาถึ ง ผมคิ ด ว่ า ผมมาอยู ่ ที่ จุ ด ศู น ย์ ก ลางโลก สถานที่ ร วมประเทศ ประชาธิปไตย ชุมนุมกันเพื่อปราบลัทธินาซี ผมมาอยู่ในที่ที่ผมควรจะอยู่” ‘โรซี ’ โรเซ็ น ธาลไม่ ไ ด้ บ อกเล่ า แบ่ ง ปั น แนวคิ ด ในใจให้ ลู ก เรื อ ได้ ท ราบ คน สามัญที่ไม่ใคร่วางใจพวกคิดลึก ไม่มีใครทราบว่าโรเซ็นธาลคิดอะไรในใจ อะไรขับ ไสให้ เขาขึ้ น บิ น และสู ้ ร บด้ ว ยเพลิ ง พิ โรธมุ ่ ง มั่ น หลั ง สงครามสิ้ น สุ ด ‘โรซี ’ โรเซ็ น ธาลเป็นหนึ่งในนักบินที่ได้รับเหรียญกล้าหาญมากที่สุด นักบินชื่อเสียงโด่งดังสังกัด กองก� ำ ลั ง ทางอากาศที่ 8 ข่าวลือซุบ ซิบ ไปทั่วโธรป แอบบอตต์ส ว่าครอบครัว ของเขาถู ก ขั ง อยู ่ ใ นค่ า ยกั ก กั น ของเยอรมั น แต่ เ มื่ อ มี ค นโพล่ ง ถาม เขาตอบตาม ตรง “เรื่องเหลวไหลทั้งเพ” ครอบครัวของเขา มารดา พี่สาว พี่เขย และหลาน สาว (พ่อเพิ่งเสียชีวิต) ยังอยู่สุขสบายในบรูกลิน “ผมไม่มีเหตุผลส่วนตัว ทุกอย่างที่ ผมท�ำ หรือหวังอยากท�ำ เป็นเพราะว่าผมเกลียดชังการกดขี่ข่มเหง...มนุษย์ควรดูแล เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่เช่นนั้น เราจะมีอารยธรรมได้หรือ?” ในการบรรยายสรุปภารกิจมึนสเทอร์ โรซีจดจ�ำได้วา่ เป้าหมายจะเป็นย่านสับเปลีย่ น ของมหานคร มิใช่เรือนพักคนงาน “อยู่ใกล้ใจกลางเมือง คนบริสุทธิ์ได้รับบาดเจ็บล้ม ตายอยู่แล้ว เหมือนที่เกิดขึ้นในสงครามทุกคราว” ในเช้าหม่นมัวในเดือนตุลาคม เครื่องบินของโรซีเป็นล�ำที่สามบนรันเวย์ เข้าแถว 30 เจ้าเวหา


ร่วมกับเครื่องจักรสังหารหนักสามสิบตันล�ำอื่นๆ เครื่องยนต์แผดเสียงกึกก้อง พร้อมจะ บินขึ้นฟ้า ทิ้งช่วงทุกครึ่งนาที เขากับลูกเรือบินด้วยเครื่องใหม่ รอยัล ฟลัช แทนล�ำ เดิม โรซี’ส ริเว็ตเทอร์ส ซึ่งเสียหายอย่างหนักจากภารกิจเบรเมินและมาเรียนบูร์ก ลูก เรือเชื่อโชคลาง ใจหวาดในยามที่บินด้วยเครื่องที่ไม่คุ้นเคย โรซีเรียกลูกเรือมาล้อมวงกัน ใต้ปีกเครื่อง พยายามกล่อมลูกเรือให้สงบ “บานทิ้งระเบิดปิดงับไล่หลัง เรารู้แล้วว่าเราเป็นนักโทษที่ถูกกักในเครื่องบินล�ำนี้” เดนตัน สก็อตต์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ แยงค์ บรรยายความกลัวของลูกเรือก่อนขึ้นบิน “การจองจ�ำสิน้ สุดลงได้สามทาง เรียงล�ำดับตามนี้ : ภัยพิบตั จิ ากการระเบิด การโดดร่ม ลงสู่คุกหรือความตาย หรือว่าการบินกลับฐานอย่างปลอดภัย” เวลา 1111 เครื่อง มิล ซิก ซิก ของเบรดีเป็นหัวหน้าหมู่ในวันนี้ มีพันตรีอีแกน นั่งในเก้าอี้นักบินผู้ช่วย ร้อยโท จอห์น โฮร์ นักบินผู้ช่วยของเบรดี นั่งอยู่ในเก้าอี้เสริม ล้อสะกิดพื้นรันเวย์ ลูกระเบิดเต็มท้อง ยกตัวลอยขึ้นฟ้า แทบจะไม่พ้นทิวยอดไม้ปลาย รันเวย์ นี่เป็นครั้งแรกที่เบรดีเป็นหัวหน้าหมู่ เขารู้สึกเหมือนว่ายังไม่พร้อม อีแกนไม่ใคร่ สบายใจเช่นกัน เขาไม่ได้สวมแจ๊กเก็ตหนังน�ำโชคบุขนแกะขาว บั๊ค คลีเวน เพื่อนที่เขา จะล้างแค้นให้ ไม่ชื่นชอบ เพราะแจ๊กเก็ตไม่สะอาด เครื่องบินทิ้งระเบิด 53 ล�ำจากกองบินรบที่ 13 จัดขบวนเหนือยาร์มัธหน่วยบิน ที่ 100 ต่อแถวจากหมู่น�ำขบวน, หน่วยบินที่ 95 บินไปทางตะวันตกเฉียงใต้ สมทบ กับกองบินรบอีกขบวนหนึ่ง ป้อมบิน B-17 จ�ำนวน 275 ล�ำจัดขบวนเป็นหมู่บินทิ้ง ระเบิด เหนือทะเลเหนือ สี่ล�ำบ่ายหน้ากลับฐาน อ้างว่ากลไกขัดข้อง สี่ล�ำที่ขาดหาย ลดจ�ำนวนปืนกลหนัก .50 คาลิเบอร์ไป 36 กระบอก การขาดหายที่มีนัยส�ำคัญยิ่ง ในการรบกลางฟ้า แต่ก็ดูเหมือนว่าไม่มีใครเป็นกังวล “เราค่อนข้างสบายใจในการเดิน ทางเที่ยวนี้” ร้อยโท ดักลาส กอร์ดอน-ฟอร์บส นายทหารทิ้งระเบิดของเครื่อง เคบิน อิน เดอะ สกาย สังกัดหน่วยบินทิ้งระเบิดที่ 390 “นับเป็นครั้งแรกที่เรามีเครื่องบิน ขับไล่คุ้มกันเข้าไปในดินแดนเยอรมนี ความเชื่อมั่นของเราท่วมท้น” เยอรมันตัง้ สถานีเรดาร์ตงั้ แต่นอรเวย์มาถึงทางเหนือของฝรัง่ เศส เยอรมันรูว้ า่ เครือ่ ง บินอเมริกันมุ่งหน้ามาหา ตั้งแต่เครื่องเริ่มตั้งขบวนเหนืออีสต์ แองเกลีย และเมื่อหมู่ เครื่องบินทิ้งระเบิดบินมาเหนือชายแดนดัตช์ ข้ามเขตเมืองเวสต์ฟาเลีย หมู่บินทิ้งระเบิด บินเข้าหา ‘แฟลค’* กระสุนปืนต่อสู้อากาศยาน หรือ ฟลีเกอร์อับแวร์คาโนเนิน (ปืน ใหญ่ต่อสูอ้ ากาศยาน) อีแกนเหลือบมองเบรดี เห็นนักบินท�ำเครื่องหมายไม้กางเขน ไม่กี่ วินาทีถัดมา พลปืนกลางล�ำตัวเครื่องก็เสียชีวิตจากสะเก็ดระเบิดจากปืน ปตอ. เยอรมัน *  แฟลค - กระสุน ปตอ. แตกอากาศ กระสุนแตกกลางฟ้า สาดสะเก็ดระเบิดเจาะล�ำตัว ปีก หรือถังน�้ำมัน ของเครื่องบินทิ้งระเบิด และลูกเรือในเครื่องItatur alibusa eprehenis est, นพดล เวชสวัสดิ์ 31


เมื่อหมู่บินของหน่วยบินที่ 100 มาถึง จุดตั้งต้น (IP-Initial point - จุดที่เฮฟ วี่,เครื่องบินทิ้งระเบิดหนักต่อท้ายกันในเส้นทางทิ้งระเบิด) อีแกนวิทยุแจ้งให้หมู่บินทราบ ว่า ธันเดอร์โบลต์ ‘ต้องมุ่งหน้ากลับโรงนา’ สิ้นสุดพิสัยท�ำการแล้ว เขาหันไปมองทาง ขวา นักบินขับไล่โคลงปีก อวยพรให้โชคดี อีแกนเบือนหน้ากลับมา มองตรงไปข้าง หน้า ตะโกนออกมา “จีซัส ไครสต์! สิบสองนาฬิกา!* พวกมันตรงดิ่งมาหาเราแล้ว!” เครื่องบินขับไล่เยอรมันราว 200 ล�ำเข้าโจมตีตรงหน้า พุ่งตรงมาหาเครื่องบินทิ้งระเบิด จนจมูกแทบจะชนกัน ก่อนจะฉีกไปทางอื่น เครื่องบินของเบรดี หัวหน้าหมู่บินโดนก่อน แฟรงก์ เมอร์ฟี อยู่ในกระเปาะ ใสส่วนหัวของ ออ-อาร์-โก, เครื่องที่บินตามหลัง มิล ซิก ซิก เห็นลูกไฟระเบิด เจิดจ้าใต้เครื่องของเบรดี เขาเบิกตาโพลงมองป้อมบินตกดิ่งลงหาพื้นดิน ทิ้งควันด�ำ และพวยเชือ้ เพลิงตามหลัง อีแกนบรรยายฉากทุลกั ทุเลในภายหลัง “(นายทหารทิง้ ระเบิด ของเรา) ลนลานขึ้นจากส่วนหัวของเครื่อง บอกเราว่าต้องออกจากหมู่บิน เพราะว่า ‘แฮมโบน’ แฮมิลตันโดนเจาะหลายรู เจ้าหนูอยากกลับบ้าน” อีแกนกล่าวต่อ “ผม ปลอบเขาไปว่าเราออกจากหมู่บินแล้ว” ในระหว่างที่เบรดีพยายามประคองเครื่องให้แล่นในแนวราบ เพื่อให้ลูกเรือโดดร่ม ได้ อีแกนดูแลขั้นตอน ‘การสละเรือ’ ในขณะที่เขาให้ค�ำแนะน�ำผ่านเครื่องติดต่อภายใน เครือ่ งบินระเบิดเป็นลูกไฟ ในวินาทีนนั้ เขาส่งจอห์น โฮร์ ลงไปช่วยเด็กหนุม่ อายุสบิ เก้า ‘แฮมโบน’ แฮมิลตันให้คลานไปถึงบานหนีภัยส่วนหน้า บนพื้นของเครื่องบิน จากนั้น อีแกนกับเบรดีเปิดการท�ำงานระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ ทั้งสองมุ่งหน้ามายังบาน ทิ้งระเบิดที่เปิดอ้า ยืนบนคานเหล็กเล็กแคบที่คั่นกลางระหว่างแผงระเบิดสองฟากข้าง อีแกนมองลงไปยังพื้นดินเบื้องล่าง ตะโกนออกมา “ไปก่อน, เบรดี...ผมเป็นทหารยศ สูงที่สุดที่นี่” แต่เบรดีอยากออกจากเครื่องเป็นคนสุดท้าย นี่คือเครื่องของเขา ลูกเรือ ของเขา “เราโยนกันไปโยนกันมาอีกชั่วขณะ” อีแกนกล่าวบอก “จนได้เห็นรูเรียงเป็น ระเบียบ ห่างฝ่าเท้าเราลงไปหกนิ้ว รูเจาะเป็นแนวยาวเต็มบานทิ้งระเบิด รูกระสุน .30 คาลิเบอร์ ผมก็เลยบอกว่า แล้วเจอกัน, เบรดี ผมเดินลงไปในช่อง นับหนึ่ง แล้ว กระตุกเชือกร่มในตอนที่หล่นผ่านกระเปาะปืนใต้ท้อง ร่มกางกินลม ลูกชายแสนดีของ ครอบครัวรอดปลอดภัย” อีกวินาทีถัดมา อีแกนมองเห็นเครื่องบินขับไล่เยอรมันสามล�ำฉีกตัวจากหมู่บิน ทิ้งระเบิด พุ่งตรงมาหาเขา ปืนกลอากาศระยิบระยับ กระสุนฉีดผ่านร่างพอเลือดซิบ เจาะรูร่มชูชีพจนพรุน เครื่องบินขับไล่หายไป “เพราะหลงคิดไปว่าผมตายแล้วตายดับ พวกนั้นไม่รู้ว่าผมเป็นคนไอริช” เมื่อตกกระทบพื้น อีแกนเห็นทหารศัตรูตรงมาหา *  ยึดทิศตามหน้าปัดนาฬิกา สิบสองนาฬิกาคือข้างหน้า หกนาฬิกาคือท้ายเครื่อง 32 เจ้าเวหา


เขาสลัดหลุดจากร่มชูชีพและเครื่องแต่งกายหนาหนักต้านความหนาว หายตัวเข้าไปใน ป่าละเมาะ ‘แฮมโบน’ แฮมิ ล ตั น ลงพื้ น ห่ า งออกไปไม่ ถึ ง ไมล์ แต่ ค นทั้ ง สองก็ ไ ม่ เ ห็ น กั น แฮมิลตันนอนเดียวดายบนพื้นดิน หลั่งเลือดโซมร่าง แต่เขาเชื่อว่าวันนี้ไม่ใช่วันตาย ของเขา หลายนาทีก่อนหน้านั้น เขาหลุดรอดจากกรงเล็บมัจจุราชได้อย่างฉิวเฉียด ในตอนที่ผู้หมวดโฮร์ไปถึงส่วนหัวของเครื่อง ไปช่วยเหลือแฮมิลตัน เขาพบนาย ทหารทิ้งระเบิดเลือดอาบร่าง ตัวติดคาบานหลบภัย ห้อยต่องแต่งกลางอากาศ ไม่มี ใดอื่นรองรับนอกจากอากาศว่างเปล่าความสูง 20,000 ฟุต สะเก็ดระเบิดเจาะปอด แฮมิลตันไม่เหลือเรี่ยวแรงพอจะเปิดบานหลบภัยด้วยมือ ดังนั้น เขาขึ้นไปยืนบนนั้นแล้ว บิดคันเปิด เมื่อบานเปิดออก ร่างหล่นลงไป สายบ่าร่มชูชีพคล้องคันเปิด ร่างของเขา ห้อยคาช่องหลบภัยหน้า ใบพัดหมุนเร็วจัดห่างจากศีรษะไม่กี่น้ิว ออกแรงสุดตัวอยู่นาน โฮร์ช่วยปลดแฮมิลตันพ้นบานหลบภัย ทั้งสองตกลงสู่พื้น ดิน ร่มชูชีพกางกินลม เมื่อลงถึงพื้น ถูกทหารเยอรมันจับตัว ทหารเรียกรถพยาบาล ส่งแฮมิลตันเข้าโรงพยาบาลในมึนสเทอร์ หลานชายของคนขับ น่าจะอายุไม่ถึงสิบห้า เล็งปืนไรเฟิลยาวเฟื้อย จ่อศีรษะแฮมิลตัน ตลอดการเดินทางสามสิบนาที ในเวลาเดียวกันนั้น ลูกเรือของ รอยัล ฟลัช ของโรซี โรเซ็นธาล อยู่ในช่วง นาทีสุดท้ายของสิ่งที่ผู้บังคับฝูงผู้หนึ่งกล่าวไว้ว่า “การรบดุเดือดที่สุดกลางฟ้าครั้งหนึ่ง ครั้งเดียวในสงครามนี้ หรือสงครามไหนๆ” การรบกินเวลาเพียงสี่สิบห้านาที แต่ไม่มี ครั้งใดในการรบในสมรภูมิยุโรปที่จะกราดเกรี้ยวกว่านี้ บ่ายวันนั้น กองก�ำลังทางอากาศ ที่ 8 เผชิญหน้ากับสิ่งที่กอร์ดอน-ฟอร์บส เรียกว่า “การชุมนุมหนาแน่นที่สุดของเครื่อง บินขับไล่เยอรมันที่เคยกระท�ำต่อหมู่บินทิ้งระเบิดสหรัฐฯ” ลุฟท์วัฟเฟอได้ยุทธวิธีใหม่และอาวุธใหม่ จะเข้าโจมตีเพียงไม่กี่หน่วยบิน เพื่อเพิ่ม จ�ำนวนเด็ดปีกให้สูงสุด และยิงจรวดอากาศสู่อากาศ เข้าไปในหมู่บินที่เกาะฝูงแน่นหนา เพื่อท�ำลาย ‘กล่องรบ’ หน่วยบินที่ 100 อยู่ล่างสุดของกองบินรบ ต้องรับหัวหอกของ การโจมตีครั้งนี้ ไม่กี่วินาที หลังเครื่องของเบรดีตก หมู่บินของหน่วยบินที่ 100 แตก ขบวน แต่ละล�ำอยู่ในวงล้อมของเครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์เดียว และจรวดจากเครื่อง บินขับไล่เยอรมันสองเครื่องยนต์ ซึ่งบินขนานกับหมู่บินทิ้งระเบิด หน่วยบินที่ 100 ไม่มีโอกาสตอบโต้ เพราะอยู่นอกพิสัยการยิงของปืนกลหนัก “ลูกไฟสีแดง มีพวยควัน ขาวตามหลัง กระเพื่อมตรงมาหาเรา แล้วพุ่งผ่านเร็วจัด” ดักลาส กอร์ดอน-ฟอร์บส บรรยายความสยองของการโจมตีด้วยจรวด “หลายลูกเฉียดเครื่องของเรา ลูกหนึ่งพุ่ง ผ่านต�่ำจากกระเปาะใสส่วนหัวเครื่องที่ผมนั่งอยู่ไม่ถึงสี่ฟุต” เมื่อแตกออกมานอกหมู่บิน เครื่องบินทิ้งระเบิดของหน่วยบินที่ 100 เป็นเหยื่อ นพดล เวชสวัสดิ์ 33


อันโอชะของนักบินข้าศึกที่เดือดดาลมุ่งมั่น นักบินบางคนบินอยู่เหนือบ้านของครอบ ครัวในเวสต์ฟาเลีย “เครื่องบินขับไล่เยอรมันบินมาโจมตีหน่วยบินที่ 100 ระลอก แล้วระลอกเล่า” แฟรงก์ เมอร์ฟี ย้อนนึก “หลายครั้งที่ผมต้องเบือนหน้าไปทางอื่น คาดว่าจะมีการชนปะทะ” นี่เป็นเที่ยวบินที่ยี่สิบเอ็ดของเมอร์ฟี เท่าที่ผ่านมา เขาไม่ เคยเห็นเครื่องบินขับไล่มากขนาดนี้ แม้แต่ที่เรเกินส์บูร์ก ก่อนนี้ลุฟท์วัฟเฟอไม่เคยตีโต้ การทิ้งระเบิดของหน่วยบินที่ 100 ได้ทัน “ผมคิดว่าการโจมตีครั้งนี้ มุ่งจะตีให้เราถอย ร่นเป็นครั้งแรก” โรซี โรเซ็นธาล กล่าวในเวลาต่อมา ในเวลาเพียงแค่เจ็ดนาที หน่วยบินที่ 100 ไม่ด�ำรงอยู่ในฐานะหน่วยรบอีกแล้ว เหลือเพียงเครื่องบินไม่กี่ล�ำ รวมทั้งเครื่องของโรซีและเครื่องของเมอร์ฟี บุกฝ่าแนว ป้องกันเข้าไปจนถึงเป้าหมาย ทิ้งระเบิด 500 ปอนด์ โปรยปรายลงกลางมหานคร ใน ขณะที่ระฆังมหาวิหารลั่นเหง่งหง่างเรียกผู้คนไปท�ำวัตรบ่าย “เราบินสูงสี่ไมล์” นักบิน หนุ่มเขียนไว้ “เราปล่อยระเบิด ไม่ระแคะระคายว่าเกิดเรื่องใดในยามที่ระเบิดตกลงพื้น ดินเบื้องล่าง” เครือ่ งบินขับไล่ผละจากเครือ่ งบินทิง้ ระเบิด ในยามทีเ่ ฮฟวีบ่ นิ เข้าเขตแฟลคหนาแน่น เหนือเป้าหมาย แต่เมื่อเครื่องบินที่เหลือของหน่วยบินที่ 100 ร่อนโค้งกลับมาหาจุดรวม พลกับหน่วยบินทิ้งระเบิดที่ 95 และ 390 ลุฟท์วัฟเฟอโผล่มาให้เห็นอีกครั้ง มืดฟ้ามัว ดิน “ในทันทีที่เราบินเลี้ยวกลับมา มีเสียงระเบิดข้างหลัง ผมโดนแรงกระแทกล้มกลิ้ง บนพื้น” เมอร์ฟียังจ�ำได้ “รู้สึกเหมือนโดนหวดด้วยไม้เบสบอล พร้อมกับสาดน�้ำร้อน ทั้งถังราดตัว น่ากลัวแทบขาดใจ ผมไม่รู้ว่าโดนสาหัสแค่ไหน แค่คิดวูบขึ้นมาว่าจะตาย ไหม” เขานอนอยู่บนกองปลอกกระสุนร้อนฉ่าจากปืนกลหนักบราวนิง กองสูงจากพื้น สามนิ้ว ร่างไถลเลื่อนไปมาควบคุมไม่ได้ เมอร์ฟีเงยหน้ามอง เห็นนักบินผู้ช่วย เกล็นน์ แกรห์ม ปลดหน้ากากออกซิเจนออก วาดมือให้เขาตามไป แกรห์มดึงคันโยกบานฉุกเฉิน ที่หัวเครื่อง ถีบให้บานเปิด โดดลงไป เมอร์ฟีชะงัก มองพื้นดินเบื้องล่าง “คล้าย จะห่างออกไปร้อยไมล์” เขาค่อยๆ หย่อนตัวลงไปในช่องเปิด “ในทันใด ทุกอย่าง รอบข้างเงียบสงัด ไม่มีเสียงการสู้รบ ไม่มีเสียงปืน ไม่มีกลิ่นดินปืน ไม่มีเสียงเครื่องยนต์ ครางกระหึม่ ไม่มเี สียงพูดโต้ตอบกันทางอินเตอร์คอม” และแล้ว ในขณะทีเ่ ครือ่ งบินของ หน่วยบินทิ้งระเบิดที่ 390 เกาะกลุ่มมาเหนือร่างของเมอร์ฟี ฟ้าระเบิดตูมตาม ปตอ. รายรอบมหานครเปิดฉากระดมยิงเฮฟวี่ สาดสะเก็ดโลหะออกรอบข้าง เครื่องบินขับไล่ โฉบเข้ามาสอยให้ร่วง “ผมประจ�ำการอยู่ที่ปืน ไม่จ�ำเป็นต้องส่ายหาเป้า เครื่องบินขับ ไล่เยอรมันบินมาเต็มฟ้า” นายทหารทิ้งระเบิด กอร์ดอน-ฟอร์บส ย้อนนึก ฟ้าสีครามกว้างใหญ่ไพศาล “แต้มด้วยหย่อมด�ำของแฟลคแตกกระจาย B-17 บ้างลุกไหม้ บ้างแตกระเบิด หมุนควง ร่วงหล่นไร้การควบคุม” ร้อยโท วิลเลียม 34 เจ้าเวหา


โอเวอร์สตรีต นักบินผู้ช่วยของเครื่อง ซิตทูเอชั่น นอร์มอล เขียนไว้ ชื่อเครื่องแปล ว่า สถานการณ์ปกติ แต่ “เหมือนว่าเราบินฝ่าเข้าไปในดงขยะกลางฟ้า” พลปืนป้อม บินกล่าวเสริม มีร่มชูชีพกระจายเต็มฟ้า จน กอร์ดอน- ฟอร์บส มองว่าคล้ายการบุก ของพลร่ม และร่างมนุษย์กางแขนกางขา บิดหมุน ตีลังกา หล่นฝ่าอากาศ เพราะไม่มี เวลาได้สวมร่มชูชีพ “เกิดอะไรต่อเรือนกายในยามที่หล่นลงมา 25,000 ฟุต?” นักบิน ถามตัวเองในยามที่จับตามองร่างคนรู้จักตกฝ่าก้อนเมฆ “ตายตอนตกลงพื้น หรือว่ายัง มีสติอยู่...กรีดร้องสุดเสียงไปตลอดทาง?” นักยุทธศาสตร์ก่อนสงคราม คาดการณ์ว่าสงครามการทิ้งระเบิดจะเป็นการรบ กันระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร มนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องน้อยมาก แต่ทุกภารกิจ ทิ้งระเบิดของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 พลบินที่หล่นลงพื้นได้อย่างปลอดภัย เช่น ‘แฮมโบน’ แฮมิลตัน เผชิญหน้าศัตรูบนดินแดนข้าศึกก่อนที่ทหารราบอเมริกันจะ เหยียบข้ามพรมแดนเยอรมนี การรบกันทางอากาศ บ่อยครั้ง แทบจะคล้ายการ รบระยะประชิ ด เหมื อ นทหารราบบนพื้ น ดิ น ในช่ ว งหนึ่ ง ในการรบดุ เ ดื อ ดเหนื อ เมืองมึนสเทอร์ เครื่องบินขับไล่เยอรมันบินเฉียดส่วนหัวโปร่งใสของเครื่อง เคบิน อิน เดอะ สกาย “ในเสี้ยววินาทีนั้น เขาบินมาใกล้มาก ผมจ�ำได้ว่าผมนั่งตัวแข็ง จ้องมองเขา เขามองตาผม” ดักลาส กอร์ดอน-ฟอร์บส ย้อนนึก “สายตาของเขาฉาย แววหวาดกลัวเช่นกัน” บ่ายวันนั้น ออตโท ชึตต์ เด็กหนุ่มอายุสิบห้า ดูการแสดงม้านอกเมืองมึนสเทอร์ เขาเป็นเด็กฝึกงานโรงพิมพ์ เกิดในบรูกลิน, นิวยอร์ก อาจจะไม่ไกลจากบ้านพักของ โรซี โรเซ็นธาล พ่อแม่ของเขาเดินทางกลับมาเยอรมนีในปี 1931 ย้ายจากเมือง ลือเบคมายังมึนสเทอร์ในปี 1939 พ่อของเขาไต่เต้าขึ้นมาอยู่ในระดับผู้น�ำในพรรคนาซี เมื่อสงครามโลกระเบิดขึ้น ออตโทสมัครเข้าสังกัดยุวชนนาซี ภาคภูมิใจที่ได้เลื่อนขึ้นมา เป็นหัวหน้าหมู่ จากลานแสดงม้ามึนสเทอร์ สามไมล์จากใจกลางมหานคร ออตโทได้ยนิ เสียงเครือ่ ง บินทิ้งระเบิดบินตรงมาหา แต่ยากจะมองเห็น เพราะป้อมบินกลืนเข้ากับท้องฟ้าสีคราม ในฤดูใบไม้ร่วง “จากที่ที่เราอยู่ เราเห็นพวยควัน ควันหนา ทะลักขึ้นจากใจกลางเมือง เมื่อระเบิดตกมาใกล้ และใกล้เข้ามาทุกขณะ เราเพิ่งตระหนักว่าชีวิตของเราตกอยู่ใน อันตราย ผู้คนกระจายไปทุกทิศ วิ่งหาที่ก�ำบัง เสียงระเบิดและเสียงปืนต่อสู้อากาศยาน ดังถี่กระชั้น ผมทิ้งตัว นอนคว�่ำหน้าบนพื้น” ในช่วงที่ระเบิดทิ้งช่วง ออตโท ชึตต์ วิ่งหาที่หลบภัยที่ดีกว่า ในก้าววิ่ง เขา นพดล เวชสวัสดิ์ 35


เห็นปีก B-17 พร้อมเครื่องยนต์ใบพัดหมุนติ้ว ลอยตรงมาหา ปีกเครื่องบินหล่นต่อ หน้า “ลุกไหม้เจิดจ้า ส่งควันด�ำ ควันน�้ำมันลอยขึ้นฟ้า ผมนอนคว�่ำหน้าอยู่ในฝุ่นดิน คาดว่าความตายน่าจะมาเยือนในนาทีใดก็ได้” ในมหานครก� ำ แพงล้ อ มรอบ ฮิ ล เดอการ์ ด โคล์ ส เทอร์ ส นั ก เรี ย นหญิ ง อายุสิบสี่ เบียดตัวชิดผนังในหลุมหลบภัยใต้สถานีรถไฟ “โลกไหวตัวเยือก สั่นสะเทือน ลอยขึ้นสูงแล้วตกลงมา แรงกระแทกเขย่าทั่วร่าง บังเกอร์คอนกรีตสะท้านไปจนถึง ฐานราก ชุมทางรถไฟและย่านสับเปลี่ยน น่าจะเป็นเป้าทิ้งระเบิด “ในทั น ใด ไฟดั บ ผู ้ ค นในหลุ ม ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น สตรี แ ละเด็ ก กอดกั น แน่ น เบียดเข้าหากันเหมือนฝูงแกะในโรงฆ่าสัตว์ สวดมนต์ ร้องไห้ และกรีดร้องออกมาสุด เสียงด้วยความหวาดหวั่น บางคนเป็นใบ้ไปเพราะความกลัว” “เหมือนนรกไฟลุกท่วม” ทหารเยอรมันที่บังเอิญมาเปลี่ยนรถไฟที่มึนสเทอร์กล่าว ไว้ “รอบตัวฉัน ฉันได้ยินคนได้รับบาดเจ็บส่งเสียงกรีดร้อง คนที่โดนซากอาคารถล่มทับ อาคารไฟลุกท่วม แทบทุกอย่างในใจกลางมหานครถูกท�ำลายราบ สถานีรถไฟเสียหาย อย่างหนัก” ทหารเงยหน้ า มองเครื่ อ งบิ น ทิ้ ง ระเบิ ด บิ น ผ่ า นกลุ ่ ม ควั น ด� ำ ที่ ทิ้ ง ไว้ เ บื้ อ งหลั ง บ่ายหน้ากลับเกาะอังกฤษ เขาพอบอกได้ บางเครื่องเสียหายอย่างหนัก “เรามีรูจรวดที่ปีกขวา เครื่องยนต์ดับไปสอง พลปืนกลางล�ำตัวทั้งสองได้รับบาด เจ็บ พลปืนท้ายโดนเหมือนกัน” โรเซ็นธาลบรรยายสถานการณ์ของเครื่อง รอยัล ฟลัช “หลังเราผละจากเป้าหมายแล้ว เครื่องบินขับไล่เยอรมันมารุมกินโต๊ะเราอีกครั้ง พลปืน ของเรายิงศัตรูไม่ได้ หากไม่มีที่ยืนมั่นคง แต่ถ้าผมบินตรงไปข้างหน้าในแนวราบ เราคง ถูกยิงตก ดังนั้น ผมบังคับเครื่อง เลี่ยงหลบผาดโผน ทุกท่าที่คิดออกมาได้ เครื่องของ เราร่อนไปทุกทิศ ผมเดาเอาว่านักบินเยอรมันคงหัวเสีย ตัดสินใจไปหาเป้าใหม่ที่ยิงง่าย กว่านี้” ลูกเรือร้องระงมผ่านอินเตอร์คอม ระบบออกซิเจนถูกยิงเสียหาย มีปัญหาในการ หายใจ โรเซ็นธาลบอกให้ทุกคนหยุดส่งเสียงเซ็งแซ่ เครื่องตกดิ่งเร็วจนไม่จ�ำเป็นต้องใช้ หน้ากากออกซิเจน นักบินผู้ช่วย วินฟรีย์ ‘แป๊ปปี’ ลูอิส หันไปถามช่าง อยากทราบ รายละเอียดของอากาศหายใจ เขาไม่ได้ค�ำตอบ ช่างลูกตาถลนออกมานอกเบ้า อาการ ขาดออกซิเจน ช่างไม่ฟื้นคืนสติ จนกระทั่ง เครื่องลงอยู่ที่ระดับความสูง 12,000 ฟุต “ในภาวการณ์นั้น เราไม่คิดถึงความตาย” โรเซ็นธาลกล่าว “เราทุ่มสมาธิไปที่การ รักษาเครื่องและชีวิตลูกเรือ เราจะต้องขับทุกอย่างไปให้พ้นความคิด เรากลัว แต่ก็ยังมี ความแตกต่างระหว่างความกลัวกับความตระหนก ความตระหนกท�ำให้ร่างกายอัมพาต ความกลัวสูบฉีดพลังงาน เราเหงื่อโซมร่าง แม้อากาศเย็นเยือกถึง -50 องศา หัวใจ 36 เจ้าเวหา


เต้นระรัว เราต้องท�ำอะไรสักอย่าง กล่าวโดยสัตย์จริง ความกลัวหนึ่งเดียวที่ผมพบพาน ในสงคราม เป็นความกลัวว่าจะท�ำให้ลูกเรือผิดหวัง “ผู ้ ค นพู ด กั น เรื่ อ งความกล้ า หาญ ไร้ ส าระสิ้ น ดี ผมไม่ ไ ด้ ก ล้ า หาญในภารกิ จ มึนสเทอร์ ผมมีงานต้องท�ำ น�ำระเบิดไปทิ้งที่นั่น ผมท�ำงานนั้น หลังจากนั้น ความ กังวลเดียวของผมอยู่ที่ลูกเรือเก้าคนบนเครื่อง ผมจะพาพวกเขากลับบ้านได้อย่างไร?” การรบเกิดขึ้นในทันใด และจบลงเร็วเท่านั้น “สูงเหนือหัว พวยขาวทอดยาว บ่งบอกว่าเรารอดจากกรงเล็บมัจจุราชแล้ว” กอร์ดอน-ฟอร์บส ย้อนนึก “ธันเดอร์ โบลต์! นาซีเอียงปีก หลุบหางจากไป” พันโท ฮิวเบอร์ต ‘ฮับ’ เซมเก หน่วยบินขับไล่ที่ 56 ‘ฝูงหมาป่าของเซมเก’ บินขึ้นจากฐานบินซัฟโฟล์ก ในลมฟ้าอากาศเลวร้าย ขึ้นมารับเครื่องบินทิ้งระเบิดที่บิน กลับบ้าน ฝูงบินขับไล่ธันเดอร์โบลต์ รับมือกับเครื่องบินขับไล่เยอรมันที่ส่วนใหญ่น�้ำมัน ใกล้เกลี้ยงถัง กระสุนร่อยหรอแล้ว คุ้มกัน ‘เพื่อนตัวโต’ บินข้ามทะเลเหนือกลับบ้าน เครื่องของโรเซ็นธาลร่อแร่ ไม่อาจบินเร็วเกาะฝูงได้ ต้องบินกลับบ้านตามล�ำพัง ในเมื่อ รอยัล ฟลัช บินเรี่ยผิวน�้ำของทะเลเหนือ น�ำร่อง โรนัลด์ เบลีย์ มีปัญหาในการหาพิกัดของชายฝั่งอังกฤษในหมอกหนาย�่ำเย็น สาหัสกว่านั้น จะเป็นการ หาที่ตั้งของโธรป แอบบอตต์ส ซึ่งหน้าตาคล้ายฐานบินอเมริกันอื่นๆ ที่อยู่ในละแวกนั้น เมื่อ รอยัล ฟลัช ฝ่าเมฆด�ำห้อยเรี่ยใกล้พื้น กางล้อพร้อมลงรันเวย์ ลูกเรือยิงพลุแดง ให้สัญญาณว่า ‘มีผู้บาดเจ็บบนเครื่อง’ เกือบทุกคนที่ฐานบิน เร่งรุดมายังรันเวย์ เพื่อ ดูเครื่องบินเสียหายอย่างหนักร่อนลงพื้น สายตากังวลกระวนกระวายใจ กวาดมองฟ้า มองหาป้อมบินล�ำอื่น หวังจะได้เห็นทั้งสิบสามเครื่อง...แต่มีเพียงเครื่องเดียว หลังจาก โรซีพาเครื่องแล่นเข้าไปในฮาร์ดสแตนด์-ลานคอนกรีตครึ่งวงกลมส�ำหรับจอดเครื่องจักร หนัก เขาปีนลงจากเครื่องผ่านบานทิ้งระเบิด หันไปหานายทหารฝ่ายการข่าว สอบถาม ว่า “ภารกิจทุกครั้งโหดแบบนี้หรือไง?” จากนั้น เขากระโดดขึ้นรถพยาบาล พาพลปืน บาดเจ็บสองนายไปส่งโรงพยาบาลฐานบิน “ผมไม่รู้สึกโล่งอกสบายใจ” เขาให้ความเห็น ในอีกหลายปีให้หลัง “ผมรู้สึกผิด ท�ำไมผมยังมีชีวิตอยู่ ในขณะที่คนดีๆ ล้มตาย?” พลปืน โลเร็น ดาร์ลิง ฟื้นคืนสภาพรวดเร็ว แต่เพื่อนสนิท จอห์น เชฟเฟอร์ ต้องถูกส่งกลับสหรัฐฯ เข้ารับการผ่าตัดสะเก็ดระเบิดที่ฝังใกล้หัวใจ ในเวลาต่อมา โรเซ็นธาลทราบจากพลสนับสนุนภาคพื้นดินว่า มีกระสุนปืนใหญ่ที่ยังไม่ระเบิด กลิ้งอยู่ ในถังน�้ำมันที่ปีกของ รอยัล ฟลัช ลูกเรือของเขาคนหนึ่งคาดเดาเอาว่า แรงงานทาสใน โรงงานอมภัณฑ์นาซี น่าจะวางยาระเบิดลูกนั้น

นพดล เวชสวัสดิ์ 37


มีเหยื่อสองประเภทในสงครามทิ้งระเบิดในสมรภูมิยุโรป: คนที่อยู่ใต้ระเบิดกับ คนที่เอาระเบิดมาทิ้งใส่ มีพลเรือนเสียชีวิตราว 700 คนในการทิ้งระเบิดมึนสเทอร์ใน วันที่ 10 ตุลาคม 1943 ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านเรือนในเมืองโบราณใกล้ย่าน สับเปลี่ยน มหาวิหารมึนสเทอร์ได้รับความเสียหายเล็กน้อย และโรงเรียนสองแห่งที่โดน ระเบิดท�ำลายราบ ไม่มีนักเรียนอยู่ในนั้น เมื่อออตโท ชึตต์ กลับมายังย่านที่พักอาศัย ห่างจากมหาวิหารไม่กี่ร้อยหลา บ้านของเขาเหลือเพียงผนังหน้าบ้าน ผู้รอดชีวิตตื่นกลัว รวมทัง้ ครอบครัวของเขา ปีนขึน้ มาจากห้องหลบภัยใต้ดนิ อุม้ คนตายขึน้ มาด้วย ส�ำหรับ คนที่อยู่บนพื้นดิน จะเป็นความสยองไร้ความผ่อนคลายตลอดสี่สิบห้านาที ในห้วงเวลา นั้น กองบินรบที่ 13 สูญเสียป้อมบิน 25 ล�ำจาก 30 ล�ำที่ถูกท�ำลายในวันนั้น นั่น ก็คือเด็กหนุ่ม 300 คนที่จะไม่ได้กลับมานอนในที่พัก(2) ตัวเลขเย็นชืด ไม่อาจแทนค่าความเจ็บปวดร้าวรานใจที่ไม่อาจวาดภาพได้ ใน เครื่องบินที่ถูกยิงตก หรือในเครื่องเสียหายยับเยินจากการรบ เช่น รอยัล ฟลัช บิน ออกจากเยอรมนี โดยมีลูกเรือกุมมือเพื่อนเลือดท่วมร่าง กลัวไปว่าจะบินกลับไม่ทัน เวลาที่หมอจะช่วยรักษาได้ ไม่มีเสนารักษ์ที่ระดับความสูง 25,000 ฟุต ไม่มีคน ติดเครื่องหมายกาชาด วิ่งถลามาท�ำแผลให้เพื่อนที่ถูกยิง พลบินที่แทบไม่มีความรู้ เรื่องการปฐมพยาบาล จะต้องดูแลเพื่อนและตัวเองหากได้รับบาดเจ็บ ร้อยโท พอล แวนซ์ นักบินเครื่อง มิส แครี ขาโดนแฟลคอย่างจัง ท�ำแผลตัวเอง ใช้สายอินเตอร์ คอมมัดห้ามเลือดแทนเชือกขันชะเนาะ นั่งให้ค�ำแนะน�ำนักบินผู้ช่วย พาเครื่องเข้า ขบวนทิ้งระเบิด และบินกลับอังกฤษ ร้อยโท รอเบิร์ต เซเบิล นักบินหน่วยบินทิ้ง ระเบิดที่ 390 คนที่ไม่ใคร่สบายใจนักที่จะทิ้งระเบิดลงมหานครในวันอาทิตย์ พาเครื่อง รัสตี โหลด บินกลับอังกฤษ โดนแฟลคเจาะ 750 รู และน�้ำมันเหลือในถังแค่สอง นาที ลูกเรือหดหู่สามนาย โดดร่มลงในเยอรมนีเมื่อสถานการณ์สิ้นหวัง แต่เซเบิล พาเครื่องกลับอังกฤษ แม้ยังเหลือเพียงสองเครื่องยนต์ที่ยังท�ำงาน ร่อนลงโดยไม่เห็น พื้นดินที่โธรป แอบบอตต์ส ห่างจากฐานบินของเขาหลายไมล์ ในเครื่อง ลูกเรือสี่คน นอนตายจมกองเลือดในห้องวิทยุ

ย�่ำเย็นวันทิ้งระเบิดมึนสเทอร์ ข้าวของส่วนตัวของหนุ่มทิ้งระเบิดที่ไม่ได้กลับมา จะเก็บ ลงถุง ห้องนอนเก็บกวาดไม่เหลือสิ่งใด ในเวลาแค่ชั่วโมงเดียว ไม่มีร่องรอยว่าคนผู้นั้น เคยด�ำรงอยู่ที่นั่น ในเมื่อไม่อาจข่มตาให้หลับ โรซี โรเซ็นธาล เดินไปยังสโมสรนาย ทหาร เขาไม่ดื่ม แต่อยากอยู่ในกลุ่มเพื่อน ที่นั่นแทบจะว่างเปล่า คนที่อยู่ที่นั่นนั่งกัน 38 เจ้าเวหา


เงียบกริบ ไม่รู้ว่าควรจะตอบสนองเยี่ยงไร โรซีเองก็เช่นกัน คืนนั้น แฮร์รี ครอสบี มองไปยังที่นอนว่างเปล่าของจอห์น เบรดี และเริ่มนับ นายทหาร 140 นายที่เริ่มท�ำงานที่โธรป แอบบอตต์ส เมื่อสี่เดือนก่อน เหลือเพียง สามนายที่พร้อมขึ้นบิน ในสัปดาห์ที่ผ่านมาสัปดาห์เดียว หน่วยบินทิ้งระเบิดที่ 100 สูญเสียทหาร กว่า 200 นาย รวมทั้งสองผู้บังคับฝูง...คลีเวนกับอีแกน นั่นหมายถึง การสูญเสีย 50 เปอร์เซ็นต์ อันเป็นที่มาของชื่อเรียกขานว่า ‘หน่วยบินที่ 100 โชก เลือด’ เป็นไปได้อย่างไร? ครอสบีฉงน เขารอดมาได้อย่างไร? คืนนั้น แฟรงก์ เมอร์ฟี ถามตัวเองด้วยค�ำถามเดียวกัน แขนขวาถูกเจาะด้วย สะเก็ดระเบิด ขาขวายังปวดหนึบจากการกระแทกเมื่อลงพื้นด้วยร่มชูชีพ แต่เขายังมี ชีวิตอยู่ นั่งอยู่ในห้องเล็กในฐานบินขับไล่เยอรมัน รวมกับทหารอเมริกันราว 30 คน ที่ถูกจับมาในวันนั้น ทหารอเมริกันคุยเสียงเบากับนักบินเยอรมันที่ยิงเขาตก “พวกเขา ให้ความนับถือเรา และผมคิดว่าเราควรเคารพนับถือพวกเขาเช่นกัน” ดูเหมือนว่าคน เยอรมันสนใจอยากคุยกับนักโทษคนหนึ่งเป็นพิเศษ ร้อยโท จอห์น วิแนนต์ นักบิน หน่วยบินทิ้งระเบิดที่ 390 ลูกชายของเอกอัคราชทูตอเมริกันประจ�ำอังกฤษ จอห์น จี. วิแนนต์ ซีเนียร์ หลั ง จากนั ก บิ น ลุ ฟ ท์ วั ฟ เฟอจากไปแล้ ว นั ก โทษอเมริ กั น ปรึ ก ษากั น ว่ า จะเป็ น ‘แขก’ ของเยอรมันนานแค่ไหน ไม่มีใครแคลงใจ สัมพันธมิตรชนะสงครามแน่อยู่แล้ว แต่พลบินทุกคนในห้องนั้นรู้แน่แก่ใจว่ากองก�ำลังทางอากาศที่ 8 พ่ายแพ้ศึกกลางฟ้า พวกเขาอาจเป็นเชลยศึกอีกนานสิบปี พลบินคนหนึ่งร้องอุทานออกมา “พระเจ้าช่วย! สิบปี” เมอร์ฟีสนับสนุน “ฉันคงแก่หง่อมตอนกลับบ้าน” เช้าวันถัดมา จอห์น วิแนนต์ ถูกพาตัวไปยังที่คุมขังของนักโทษพิเศษ เมอร์ฟี กับคนอื่นๆ ถูกพาตัวไปยังมึนสเทอร์ ลงจากรถเดินไปตามท้องถนน ผ่านฝูงชนโกรธ แค้นที่ยืนรอสองฟากถนนไปจนถึงสถานีรถไฟที่นักโทษทิ้งระเบิดถล่ม ปลายทางคือ ดูลัก ลูฟต์-ศูนย์สอบปากค�ำของลุฟท์วัฟเฟอ ชานเมืองแฟรงเฟิร์ต เมื่อไปถึงที่นั่น นายทหารถูกแยกไปขังเดี่ยว ตลอดการสอบปากค�ำ ดังนั้น แฟรงก์ เมอร์ฟี ไม่มีทาง ทราบว่าจอห์น อีแกนกับเกล คลีเวน อยู่ในดูลัก ลูฟต์ ในช่วงนั้น อีแกนกับคลีเวน ไม่รู้เช่นกันว่ามีคนอเมริกันคนอื่นๆ อยู่ที่นั่น อีแกนที่หลบซ่อนได้หลายวัน ถูกจับตัวได้ในท้ายที่สุด ถูกขังอยู่ในห้องเล็กแคบ เย็นเยือก ไม่ห่างจากห้องขังของคลีเวนนัก มีเพื่อนร่วมห้องขังคือ ‘หมัดสักล้านตัว’ หลังการขังเดี่ยวและสอบปากค�ำไม่หยุดหย่อน คลีเวนถูกส่งตัวไปพร้อมกับคนอื่นๆ ไป ที่ชตาลัก ลูฟต์ III-ค่ายเชลยศึก นายทหารจากทัพอากาศอังกฤษและอเมริกันที่ไซลีเซีย ดินแดนที่เยอรมันยึดครอง (เดิมเป็นดินแดนโปแลนด์) นักโทษเบียดอัดกันในตู้สินค้า นพดล เวชสวัสดิ์ 39


ที่ใช้ขนส่งสัตว์ กลิ่นมูลสัตว์คละคลุ้ง ในเมื่อการขนส่งนักโทษไม่ได้ล�ำดับความส�ำคัญสูง นัก ตู้สินค้าจะน�ำไปต่อพ่วงขบวนนั้นขบวนนี้ และลากออกไปรอในทางเบี่ยง การเดิน ทาง 300 ไมล์ กินเวลานานสามวัน ชตาลัก ลูฟต์ III สร้างในป่าสนหนาทึบ นอกเมืองเล็กๆ ชื่อว่า ซากัน เก้าสิบ ไมล์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเบอร์ลิน เมื่อคลีเวนไปถึงในเช้าวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม แทบจะเรียกว่าเป็นงานคืนสู่เหย้าของหน่วยบินทิ้งระเบิดที่ 100 ซึ่งเมื่อสงครามสิ้นสุด มีทหารจากหน่วยบินทิ้งระเบิดที่ 100 เกือบหนึ่งพันคนตกเป็นเชลยศึก ลูกน้องดั้งเดิม ในฝูงบินของคลีเวนครึ่งหนึ่งอยู่ในซากัน แฟรงก์ เมอร์ฟี และจอห์น เบรดี อยู่ที่นี่ด้วย โฮเวิร์ด ‘แฮมโบน’ แฮมิลตัน นายทหารทิ้งระเบิดของเบรดีอยู่ในโรงพยาบาล หลังพัก ฟื้นยาวนาน เขาถูกส่งตัวไปยังค่ายเชลยศึกนายทหารอีกแห่ง ชตาลัก ลูฟต์ I ที่บาร์ต ชายฝั่งทะเลบอลติก สามวันหลังจากคลีเวนมาถึงที่ซากัน ยามรักษาการณ์ประกาศว่ามีนักโทษ นักบิน อเมริกันอีกชุดอยู่ที่ประตูหน้า คลีเวนมองดูนายทหารเดินเรียงแถวมายังที่คุมขัง เขาเห็น จอห์น อีแกน เขาตะโกนถามไปว่า “นรกซี ท�ำไมแกใช้เวลานานนัก?” “ทิ้งช่วงให้แกโหยหาน่ะซี” อีแกนร้องตอบ ในระยะแรก ถูกแยกให้อยูค่ นละกลุม่ อาคาร กัน้ กลางด้วยรัว้ ลวดหนามและหอคอย ยาม แต่ในอีกสี่เดือนต่อมา พวกเขาได้อยู่ร่วมกันในกลุ่มอาคารตะวันตก นายทหารยศ สูงสุดคือ พันโท ดาร์ เอช. ‘แป๊ปปี’ อัลไคร์ โดนปลดจากผู้บังคับการหน่วยบินทิ้ง ระเบิดที่ 100 ก่อนจะเดินทางมายังอังกฤษ อัลไคร์ถกู ยิงตกในระหว่างทีเ่ ป็นผูบ้ งั คับการ หน่วยบินทิ้งระเบิด B-24 ในสมรภูมิเมดิเตอร์เรเนียน คลีเวนกับอีแกนเป็นเพื่อนร่วมห้อง เหมือนเมื่อครั้งอยู่ในโรงเรียนการบิน แต่คราว นี้ สู้รบในสงครามอีกประเภท...รบกับความเบื่อหน่ายและความท้อแท้ และในช่วงปลาย สงคราม ในฤดูหนาวหฤโหดของปี 1945 จะเป็นการดิ้นรนเพื่อการรักษาชีวิตรอด ในห้วงเวลาที่มหาอาณาจักรนาซีล่มสลายรอบตัวเชลยศึก

“ดีเหลือเกินที่ได้เจออีแกนและเด็กๆ จากฝูงบินอีกครั้ง” คลีเวนจดจ�ำวันแรกๆ ที่ซากัน “เราผ่านห้วงทุกข์ทรมานมาด้วยกัน ผมพบบางคนจากหน่วยบินทิง้ ระเบิดอเมริกนั แรกสุด ทีม่ ายังอังกฤษ แม้เราจะโดนหนัก แต่พวกเขาสาหัสกว่า ในระหว่างทีเ่ ราฝึกบินในสหรัฐฯ พวกเขาปฏิบัติการพลีชีพกันแล้ว ไม่มีใครรู้อะไรเลย ไม่มีเวลาเตรียมตัว สงครามมาหา เราเร็วเกินไป เรามีต้นหนที่น�ำร่องไม่ได้ นายทหารทิ้งระเบิดที่หาเป้าไม่เจอ พลปืนที่ยิง 40 เจ้าเวหา


ไม่ตรง และผูบ้ งั คับบัญชาทีไ่ ม่รวู้ า่ จะใช้วธิ ไี หนทีจ่ ะเอาชนะทัพฟ้าเยอรมัน หรือไม่รวู้ า่ จะ ใช้วิธีไหนที่จะรักษาชีวิตลูกน้องไว้ได้ “ไม่ได้มีคนพวกนี้มากนักที่ซากัน แต่ก็นะ ไม่เหลือคนพวกนี้มากนักในอังกฤษใน ฤดูร้อนก่อนที่พวกเราจะมาถึง” หนึ่งในผู้บุกเบิกของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 เป็นร้อยโท วอลต์ เคลลี ลูกชาย บาร์เทนเดอร์จากนอร์รสิ ทาวน์, เพนซิลเวเนีย เขาเป็นนักบินในหน่วยบินทิง้ ระเบิดที่ 97 หน่วยบินทิ้งระเบิดหนักของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 หน่วยแรกที่เดินทางมาถึงอังกฤษ “ในตอนที่เรามาถึงอังกฤษ ทัพอากาศอังกฤษบอกเราว่า พวกแกโดนยิงบั้นท้ายกระจุย ถ้าทิ้งระเบิดยามกลางวัน” เขาย้อนนึก “แต่เราพร้อมจะออกศึก อยากพิสูจน์ตัวเองใน สนามรบ เราอดใจรอวันออกรบไม่ไหว รอไม่นานเลย วันนั้นมาถึง วันที่ 17 สิงหาคม 1942 วันฟ้าใสโปร่ง อากาศสดใส”

(1) พลบินเรียก หน่วยบินทิ้งระเบิด Bombardment Group ว่า Bomb Group (2) แม้บันทึกเยอรมันจะตราไว้ว่าสูญเสียเครื่องบินขับไล่ 22 ล�ำ แต่ทหารอเมริกัน นักบินขับไล่ ฝูงหมาป่าของเซมเก และพลปืนของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 อ้างว่า ท�ำลายเครือ่ งบินขับไล่เยอรมัน ได้ 183 ล�ำ กองบินรบที่ 13 อ้างชัยชนะ 105 ล�ำ ผู้บัญชาการระดับสูงในทัพอากาศ ตระหนักว่า ในการรบดุเดือด ค�ำกล่าวอ้างของพลปืนมักจะมองโลกในแง่ดีเหลือร้าย ตลอดสงคราม มีมาตรการ ที่จะลดสัดส่วนการกล่าวอ้าง แต่ก็ยังคลาดเคลื่อน ค่อนไปทางสูง พลปืนบางคนอาจขยายความ ผลส�ำเร็จของตนสูงเกินไป แต่พลปืนส่วนใหญ่ เชื่อว่าการรายงานของตนแม่นย�ำตรงตามความจริง เช่นเดียวกัน มีความระแวงว่าลุฟท์วัฟเฟออาจกดตัวเลขให้ต�่ำเกินจริง กลบหลักฐานการสูญเสียใหญ่ หลวง ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเยอรมันสูญเสียเครื่องบินขับไล่มากเท่าใดในวันที่ 10 ตุลาคม แต่นัก ประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้ วางตัวเลขไว้ท่ี 60-90 ล�ำ

D ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทัพอากาศสหรัฐฯ สังกัดกองทัพบก แยกตัวเป็นกองทัพอากาศ สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 18 กันยายน 1947

กองก�ำลังทางอากาศที่ 8 (eighth air force) ก่อตั้งในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1944 ปฏิบัติ การทิ้งระเบิดในสมรภูมิยุโรป D

นพดล เวชสวัสดิ์ 41


บทที่ 1 มาเฟียนักทิ้งระเบิด

“เครื่องบินทิ้งระเบิดจะผ่านตลอด” นายกรัฐมนตรีอังกฤษสามสมัย, สแตนลีย์ บอลด์วิน

กราฟตัน อันเดอร์วูด, วันที่ 17 สิงหาคม 1942 ป้อมบินล�ำแรกของฝูงสิบสองล�ำ ทะยานขึ้นจากรันเวย์คือ บุชเชอร์ ช็อป นักบิน คือ พอล ดับเบิลยู. ทิบเบ็ตส์ จูเนียร์ อายุยี่สิบเจ็ด จากไมอามี, ฟลอริดา นักบิน มือดีที่สุดของหน่วยบินทิ้งระเบิดที่ 97 พันตรี ทิบเบ็ตส์ จะน�ำหมู่บินเปิดการรุกรบ ซึ่ง จะเป็นการทิง้ ระเบิดในเชิงรุกครัง้ ใหญ่ทสี่ ดุ ของสหรัฐฯ สามปีตอ่ มา ในวันที่ 6 สิงหาคม 1945 เขาจะบินขึ้นจากเกาะเล็กๆ ในแปซิฟิกตะวันตก มุ่งหน้าไปยังฮิโรชิมา ประเทศ ญี่ปุ่นทิ้งระเบิดอะตอมลูกเดียว ซึ่งจะช่วยยุติสงครามโลกยาวนานหกปี คร่าชีวิตผู้คนทั่ว โลกกว่า 60 ล้านคน ผู้บัญชาการกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 นายพล คาร์ล ‘ทูอี้’ สปาตซ์ อยู่ที่นั่น ดูหน่วยบินทิ้งระเบิดที่ 97 บินขึ้นจากพื้น รวมทั้งผู้สังเกตการณ์แคลงใจจากกองทัพ อากาศอังกฤษ กับผู้สื่อข่าวอังกฤษและอเมริกันเกือบสี่สิบคน “ช่วงเวลาเลวร้ายที่สุดที่ จะปฏิบัติภารกิจล้มเหลว” ทิบเบ็ตส์กล่าวในภายหลัง เขาไม่ได้บินเครื่องประจ�ำตัว เรด เกรมลิน ไม่มลี กู เรือจากเครือ่ งประจ�ำตัวร่วมในเทีย่ วบินนี้ รวมทัง้ สองคนทีร่ ว่ มทางไปกับ เขาในเทีย่ วบินฮิโรชิมาในเครือ่ ง อีโนลา เกย์ (นายทหารทิง้ ระเบิด ทอม แฟร์บกี บั ต้นหน ร้อยเอก ธีโอดอร์ ‘ดัตช์’ ฟาน เคิร์ก) ลูกเรือในเที่ยวบินนี้ คัดเลือกโดยคนที่นั่งตรง ข้ามกับเขาในห้องนักบินของเครื่อง บุชเชอร์ ช็อป พันเอก แฟรงก์ เอ. อาร์มสตรอง จูเนียร์ ผู้บังคับการใจเพชรของหน่วยบินทิ้งระเบิดที่ 97 อาร์มสตรองก�ำกับวินัยเข้มงวด ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการรบของทหารที่ฝึกมาอย่างเร่งรีบ และส่งมายังอังกฤษใน เดือนผ่านมา หลังสงคราม เพื่อนของเขา พันโท เบิร์น เลย์ จูเนียร์ ผู้บังคับการและ นักเขียนชือ่ ดัง ผูท้ สี่ ร้างชือ่ เสียงให้บคั๊ คลีเวน จากการรบห้าวหาญในภารกิจทิง้ ระเบิดเร เกินส์บูร์ก น�ำอาร์มสตรองมาเป็นตัวเอก-นายพล แฟรงก์ ซาเวจ ในหนังสือ Twelve 42 เจ้าเวหา


O’ Clock High! น�ำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูด บทนายพลซาเวจแสดงโดยเกรก อรี เป็ค คนสติแตกจากความเครียด แต่อาร์มสตรองหนักแน่นมั่นคง ลูกน้องในหน่วย บินที่ 97 ทั้งกลัวทั้งบูชา พร้อมใจกันเรียกเขาว่า ‘บุทเชอร์-จอมเชือด’ ผู้บังคับหน่วย บินทิ้งระเบิดเปลี่ยนค�ำนี้เป็นค�ำยกย่อง และน�ำไปตั้งชื่อเครื่องบินทิ้งระเบิด ในการบรรยายสรุปก่อนปฏิบัติการ อาร์มสตรองบอกลูกเรือว่าพวกเขาจะเป็น ผู ้ เริ่ ม รุ ก รบโดยทิ้ ง ระเบิ ด กลางวั น จะเพิ่ ม ก� ำ ลั ง พลมากขึ้ น ตามกาลเวลา จนถล่ ม ท�ำลายขวัญก�ำลังใจและขีดความสามารถท�ำการรบของข้าศึกให้พังทลาย ค�ำกล่าว นี้อาจฟังคล้ายค�ำคุยอวดโอ่ ในช่วงนั้น กองก�ำลังทางอากาศที่ 8 มีเครื่องบินทิ้ง ระเบิดในอังกฤษไม่ถึงร้อยล�ำ การเข้าสู่สงครามของสหรัฐอเมริกาล่าช้าไปเจ็ดสัปดาห์ จนกระทั่ ง อาร์ ม สตรอง ซึ่ ง ได้ รั บ แรงกดดั น จากวอชิ ง ตั น ให้ ส ่ ง ทหารอเมริ กั น เข้ า สู ่ สนามรบ ประกาศว่าลูกเรือของเขาพร้อมท�ำศึกแล้ว แต่แท้ที่จริงแล้วทหารอเมริกันยัง ไม่พร้อม และเขาเองก็รู้ แต่ก็จ�ำเป็นต้องส่งขึ้นไปปฏิบัติการ ลุฟท์วัฟเฟอทิ้งใบปลิว เยาะเย้ย ‘เครื่องบินทิ้งระเบิดอเมริกันไปอยู่ที่ไหนเล่า?’ ที่สนามบินขนาดเล็กของกอง ก�ำลังทางอากาศที่ 8 ที่กราฟตัน อันเดอร์วูด และโพลบรูค “เอาละ, บัดนี้ พวกมัน จะได้ประจักษ์” อาร์มสตรองบอกพลบินในห้องบรรยายสรุป ก่อนจะส่งออกไปขึน้ เครือ่ ง “เกาะหมู่บินให้เหนียวแน่น ตามหลังฉันมา ฉันให้ค�ำรับประกันได้ว่า เราจะท�ำลายพวก ฮัน และบินกลับมาอย่างปลอดภัย” ไม่มีใครในห้อง แคลงใจค�ำกล่าวของเขา บุชเชอร์ ช็อป บินขึ้นจากรันเวย์เวลา 1530 ตามมาข้างหลังทางขวา จะเป็น แยงกี ดูเดิล หัวหน้าหมู่บินของหมู่ที่สอง ซึ่งประกอบด้วยป้อมบินหกล�ำ มีพลจัตวา ไอรา อีเคอร์ ผู้บัญชาการ กองบัญชาการโจมตีทางอากาศ ของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 นั่งอยู่ในห้องวิทยุของป้อมบิน เขาเป็นคนเท็กซัสหน้าตาคมสัน ยิ้มเรื่อประดับใบหน้า มีเกียรติประวัติการเป็นนักบินขับไล่เป็นกอบเป็นก�ำ แต่ไม่เคยเข้าสู่สนามรบ เพื่อนสนิท และขาไพ่โป๊กเกอร์ คาร์ล ‘ทูอี้’ สปาตซ์ อยากเป็นผู้น�ำหมู่บินประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ด้วยตัวเอง แต่ยูแอลทีอาร์เอ (ข่าวกรองระดับสูงที่ได้จากการถอดรหัสข่าวข้าศึก) และ กองบัญชาการสูงสุดสัมพันธมิตร ประเมินภารกิจนี้ว่าเสี่ยงเกินไปที่จะส่งเขาเข้าไปในดิน แดนข้าศึก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากเรื่องน่ากลัวที่เกิดในเดือนที่ผ่านมา วันที่ 4 กรกฎาคม ลูกเรือหกนายจากฝูงบินทิ้งระเบิดที่ 15 ของกองก�ำลัง ทางอากาศที่ 8 (พลรบชุดเล็กเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดเบาที่ส่งมายังอังกฤษในเดือน พฤษภาคมเพื่อฝึกในเครื่องบินอังกฤษ) ร่วมกับลูกเรืออังกฤษจ�ำนวนเท่ากัน ขึ้นบิน ทิ้งระเบิดระดับความสูงต�่ำที่สนามบินเยอรมันที่มีการป้องกันอย่างหนาแน่นในฮอลแลนด์ ค�ำสั่งของพลโท เฮนรี เอช. ‘แฮ็ป’ อาร์โนลด์ ผู้บัญชาการทัพอากาศ กองทัพบก สหรัฐฯ ได้การสนับสนุนเต็มทีจ่ ากประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี. โรสเวลต์ อาร์โนลด์เชือ่ นพดล เวชสวัสดิ์ 43


ว่าวันชาติสหรัฐฯ น่าจะเป็นวันดีที่อเมริกาจะทิ้งระเบิดถล่มนาซีเป็นครั้งแรก แต่สปาตซ์ ไม่มีเครื่องบินทิ้งระเบิดในอังกฤษในสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม ลูกเรือวันประกาศ อิสรภาพของอเมริกาบินในเครือ่ ง A20-ดักลาส ทีข่ ายให้องั กฤษ และเปลีย่ นชือ่ ใหม่เป็น บอสตัน จากบอสตันจ�ำนวนสิบสองล�ำ สองล�ำไม่ได้กลับมา หนึง่ ล�ำลูกเรืออเมริกนั อีก หนึ่งล�ำลูกเรืออังกฤษ ร้อยเอก ชาร์ลส ซี. เคเกิลแมน ทัพอากาศ กองทัพบกสหรัฐฯ ประคองเครื่องถูกยิงรุ่งริ่ง แทบกลับไม่ถึงบ้าน โดยเชิงทฤษฎีแล้ว นี่เป็นการทิ้งระเบิดครั้งแรกของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 แต่ ในสายตาของสปาตซ์ เป็นแต่เพียงการโฆษณาชวนเชื่อ จากแรงกดดันจากสื่ออังกฤษ และอเมริกนั ซึง่ เชือ่ ว่ากิจกรรมของพลเรือนของสองประเทศ จ�ำเป็นต้องได้รบั การอัดฉีด ขวัญก�ำลังใจ “ช่างภาพกับนักข่าว ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการแล้ว ทุกคนอิ่มเอมสุขใจ” สปาตซ์เขียนด้วยความขมขืน่ ใจในสมุดบันทึก หลังจากกลัดเหรียญ ดิสทิงกวิชด์ เซอร์วสิ ครอสส์ เหรียญกล้าหาญสูงสุดระดับสองบนอกของเคเกิลแมน ภารกิจของทิบเบ็ตส์ แตกต่าง และมีความส�ำคัญยิ่ง เฮฟวี่สี่เครื่องยนต์ กล่อง ดวงใจของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 จะขึ้นบินเป็นครั้งแรก จะเป็นการทดสอบครั้งแรก สุดของหลักการสงครามทางอากาศทีอ่ าร์โนลด์ สปาตซ์ และอีเคอร์ ช่วยกันพัฒนาขึน้ มา นักยุทธศาสตร์การทัพอากาศ วางแผนนี้และฝึกบินในสหรัฐฯ มานานหลายปี แต่บัดนี้ “ทฤษฎีการทิง้ ระเบิดในเวลากลางวันด้วยความง่ายดายนัน้ จะได้รบั การทดสอบและยืนยัน ผล โดยมีชีวิตของทหารวางเป็นเดิมพัน” อีเคอร์เขียนถึงอาร์โนลด์ก่อนเริ่มปฏิบัติการ เป้าหมายคือย่านสับเปลี่ยนใกล้รูอ็อง เมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส เมืองที่จับโจน ออฟ อาร์ก มัดหลักเผาทั้งเป็น ‘งานง่าย’ ภารกิจที่รุกล�้ำเข้าไปในดิน แดนศัตรูไม่ไกลนัก โดยมีเครือ่ งบินขับไล่สปิตไฟร์ของอังกฤษคุม้ กันทัง้ ขาไปและกลับ แต่ สปาตซ์เป็นกังวล เชอร์ชิลกดดันโรสเวลต์ให้ยุบกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 ที่เพิ่งตั้งขึ้นมา ใหม่ ให้นำ� เอาเครือ่ งบินทิง้ ระเบิดอเมริกนั ไปรวมกับกองทัพอากาศอังกฤษ ทิง้ ระเบิดกลาง คืน ถล่มมหานครโรงงานอุตสาหกรรมหนักในแคว้นรูร์ หากการทิง้ ระเบิดกลางวันไม่ได้ผล และอาร์มสตรองสูญเสียเครื่องบิน นายกอังกฤษก็น่าจะสมหวัง ผู้สังเกตการณ์จากกองทัพอากาศอังกฤษ ยืนเคียงข้างสปาตซ์บนหอบังคับการ บินที่กราฟตัน อันเดอร์วูด เค้าหน้าหวั่นหวาด การทิ้งระเบิดกลางวันก่อนหน้านี้ เครื่องบินเวลลิงตันและเบลนไฮม์ เสียหายยับเยินจากเครื่องบินขับไล่เยอรมัน ป้อม บิน 20 ล�ำที่อเมริกันส่งมาให้อังกฤษหนึ่งปีก่อนหน้านี้ ใช้งานได้ไม่ดีนักในสนามรบ สปาตซ์คิดว่าไม่ใช่แบบทดสอบที่เป็นธรรมนัก เพราะป้อมบินที่มอบให้อังกฤษ ไม่มี อุ ป รณ์ ลั บ สุ ด ยอด-ศู น ย์ เ ล็ ง เป้ า นอร์ เ ด็ น และไม่ มี อ� ำ นาจการยิ ง เท่ า เที ย ม B-17 รุน่ ใหม่ ทหารอังกฤษน�ำเครือ่ งบินขึน้ ระดับความสูงเหนือระยะยิงของ ปตอ. ผลทีต่ ามมา 44 เจ้าเวหา


คือความไม่แม่นย�ำของการทิ้งระเบิด และการขัดข้องของเครื่องยนต์กลไกในความหนาว เยือกทีร่ ะดับความสูงมากกว่า 30,000 ฟุต ฝ่ายอังกฤษยังแคลงใจต่อศักยภาพของเครือ่ ง บินทิ้งระเบิดอเมริกัน ในขณะที่ป้อมบิน 12 ล�ำหายลับเข้าไปในกลุ่มเมฆเหนือกราฟตัน อันเดอร์วดู นักบินกองทัพอากาศอังกฤษ คนสก็อตร่างใหญ่ หันมาหานายทหารอเมริกนั ที่ยืนอยู่ข้างๆ “เกลอ, เอ็งน่าจะโชคดีสัด ถ้าบินกลับมาได้สักล�ำ” การเดินทางราบรื่นไปจนถึงย่านสับเปลี่ยนขนาดใหญ่ริมแม่น�้ำแซน ฟ้าโปร่ง ไม่มี เครื่องบินขับไล่เยอรมัน ในการเดินทางกลับ ป้อมบินพบเครื่องบินขับไล่เมสเซอร์ ชมิตต์ Me 109 สองสามล�ำ เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว เร็ว และมีอาวุธเต็มอัตรา ศึก แต่สปิตไฟร์รับมือได้อย่างเหลือเฟือ ไล่ข้าศึกจากไป มี Me 109 ล�ำเดียว ที่โฉบมาใกล้ป้อมบิน ได้การต้อนรับด้วยห่ากระสุนปืนกลหนักจากเครื่อง เบอร์มิง แฮม บลิตซครีก “ข้าศึกลังเลที่จะเข้าตีป้อมบินของเราในระยะประชิด” อีเคอร์ให้ สัมภาษณ์นักข่าวจากนิตยสาร ไลฟ์ “ผมพอจะเข้าใจได้ ข้าศึกไม่เคยเห็น B-17 รุ่น ใหม่ของเรามาก่อน ปืนกลหนักแหย่ยื่นออกจากล�ำตัวในทุกทิศ น่าจะเป็นเหตุผล ชั้นดีที่จะท�ำให้ข้าศึกหวั่นไหว” ทีก่ ราฟตัน อันเดอร์วดู สปาตซ์มองทีข่ อบฟ้า มองหาป้อมบินเดินทางกลับมา การ สูญเสียใดๆ น่าจะท�ำให้ความเชือ่ มัน่ เสือ่ มถอย หากสูญเสียผูบ้ ญ ั ชาการระดับสูงหนึง่ หรือ ทั้งสอง: อีเคอร์กับอาร์มสตรอง นั่นจะเป็นภัยพิบัติใหญ่หลวง ก่อนหนึ่งทุ่ม จุดด�ำมอง เห็นจากระยะไกล สปาตซ์นับ : มีเพียงสิบเอ็ดล�ำ แต่แล้ว หมายเลขสิบสองปรากฏให้ เห็น...กลับมาได้ครบทั้งหมด เมือ่ ป้อมบินโฉบผ่านหอบังคับการบินทีน่ ายทหารระดับสูงรอท่าอยู่ ชือ่ เล่นของเครือ่ ง ที่เพิ่งวาดปรากฏชัดบนส่วนหัวของเครื่องบิน เบบี ดอลล์, เพ็กกี ดี, ไฮดี โฮ, จอห์น นี เร็บ ชื่อยอดเยี่ยมเหมาะควรแก่เครื่องบินที่ยิ่งใหญ่ ภาษาสุดกร่างสอดรับกับความ เชื่อมั่นของเด็กหนุ่มที่ยังไม่รู้จักความกลัว เมื่อป้อมบินร่อนลงพื้น พลสนับสนุนภาคพื้น ของหน่วยบินที่ 97 วิ่งกรูข้ามทุ่งไปหาจอมถล่มรูอ็อง “ทุกคนส่งเสียงตะโกน กระโดด โลดเต้นเหมือนเด็ก ตบหลังตบไหล่กัน” โฆษกทัพอากาศ วิลเลียม อาร์. เลดลอว์ ย้อนนึก แม้แต่นายทหารสก็อตต์ร่างยักษ์ก็ยังแย้มยิ้มอารมณ์ดี “พระเจ้าเหอะ เห็นมั้ย ว่าแล้ว” ตะโกนมาจากคอนทีเ่ กาะอยูใ่ นหอบังคับการบิน “ไม่มไี อ้แยงค์คนไหน จะพลาด อาหารมื้อเย็น!” หลังจากที่ แยงกี ดูเดิล แล่นเข้าลานจอดคอนกรีต อีเคอร์ถอดชุดบินจุดซิการ์ และออกมาพบสื่อมวลชน “นกนางแอ่นตัวเดียวไม่ท�ำให้ฤดูร้อนมาถึง” อีเคอร์ประกาศ แต่ยิ้มเปื้อนหน้าบ่งบอกความหมายแท้จริง เขาอิ่มสุขและพึงพอใจไปกับผลส�ำเร็จ เช่น เดียวกับการได้ขึ้นบินรบ “สุดยอด!ไม่เคยสะใจอะไรมากกว่านี้ในชีวิต” หลังจากตรวจ นพดล เวชสวัสดิ์ 45


ความเสียหายจากรูปถ่ายทางอากาศ เขาประกาศว่า “ได้ผลดียิ่ง” ส�ำหรับลูกเรือที่ยัง ไม่เคยเข้าสนามรบมาก่อน ส่วนอาร์มสตรอง ชื่นบานยิ่งกว่านั้น “เราถล่มรูอ็องยับเยิน” เขาบอกผูส้ อื่ ข่าว และนัน่ จะเป็นมาตรฐานการขยายความเกินจริงของรายงานการทิง้ ระเบิด ของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 ตลอดห้วงเวลาที่เหลือของสงคราม มีป้อมบินเพียงล�ำเดียวที่ได้รับความเสียหายจากแฟลค มีผู้บาดเจ็บสองคน ทั้งสอง ได้รับบาดเจ็บจากนกพิราบตัวเดียว นกบินชนกระเปาะใสหัวเครื่อง เครื่องบินทิ้งระเบิด ในหมู่บินเล็กที่เดินทางไปในบ่ายวันเดียวกัน เพื่อล่อเครื่องบินขับไล่เยอรมันให้หันเห ความสนใจไปจากหมู่บินใหญ่ แรงกระทบท�ำให้กระเปาะแก้วแตก เศษกระจกบาดนาย ทหารทิง้ ระเบิดและต้นหน เลือดหยดแรกของลูกเรือเครือ่ งบินทิง้ ระเบิดอเมริกนั ก่อนสูร้ บ ยืดเยื้ออีกเกือบหนึ่งพันวัน ที่ส่งผลให้ลูกเรือของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 เสียชีวิตกว่า 26,000 คน สิ้นสุดการบรรยายสรุปหลังปฏิบัติการของนายทหารการข่าว ลูกเรือยังสวมชุด บินเทอะทะ ออกมาพบผู้สื่อข่าว บรรยายเหตุการณ์รบซ�้ำอีกครั้ง “เหมือนทีมฟุตบอล แสนสุข” คืนนัน้ จะเป็น “บรรยากาศของค�ำ่ คืนวันเสาร์หลังเกมใหญ่ในฐานบิน” วีรบุรษุ แห่งวันคือ จ่าอากาศเอก เคนต์ เวสต์ พลปืนกระเปาะใต้ท้องเครื่องของ เบอร์มิงแฮม บลิตซครีก ผู้ได้รับเครดิตว่าเป็นคนยิงเครื่องบินขับไล่เยอรมันตก ค�ำกล่าวอ้างเปลี่ยนใน ภายหลังว่า ‘ได้รับความเสียหาย’ แต่อีเคอร์ก็ยังน�ำปืนกลหนักคู่ไปติดบนผนังเหมือนเขา กวาง ในกองบัญชาการของเขาที่วิคัมบ์ แอบบีย์ ทางตะวันตกของลอนดอน “งานหมูๆ” วอลต์ เคลลีย์ ลูกชายเจ้าของโรงเตีย๊ ม ผูบ้ นิ ในเครือ่ ง ไฮดี โฮ “เรา สุดกร่างในตอนบินขึน้ จากพืน้ และกร่างกว่านัน้ ตอนร่อนลง มีเสียงโห่รอ้ งเสียงถามไถ่เซ็ง แซ่จากผู้สื่อข่าว หลายเครื่องเร่งเครื่อง บินโฉบหอบังคับการบิน” จะไม่ มี ค วามชื่ น มื่ น เช่ น นั้ น อี ก แล้ ว ในอี ก หนึ่ ง เดื อ นถั ด มา เมื่ อ เครื่ อ งบิ น ทิ้ ง ระเบิดอเมริกันท�ำการไกลกว่าพิสัยของสปิตไฟร์ เครื่องบินขับไล่ของข้าศึกจะเด็ดปีก เครื่องบินทิ้งระเบิดของอีเคอร์ให้ร่วงจากฟ้าเป็นปกติวิสัย เด็กหนุ่มหยิ่งผยองที่เคยยืน แย้มยิ้มบน ‘กราฟตัน อันเดอร์มัด-ใต้หล่มโคลน’ ชื่อที่พวกเขาเรียกขานฐานบินบึง พรุ เคยดื่มอวยพรให้แก่ความส�ำเร็จ บัดนี้ นอนตัวแข็งเย็นชืดในหลุม หนึ่งปีเต็มพอดี หลังปฏิบัติการรูอ็อง เครื่องบินทิ้งระเบิดอเมริกันและลูกเรือจะหล่นจากฟ้าเหนือเรเกินส์ บูร์กและชไวน์ฟูร์ต เป็นจ�ำนวน ‘ห้าเท่าตัว’ ของการสูญเสียจากปฏิบัติการทิ้งระเบิด ครั้งแรกสุดจากกราฟตัน อันเดอร์วูด สนามบินขนาดเล็ก ตั้งชื่อตามหมู่บ้านใกล้ฐานบิน ที่มีประชากรเพียง 99 คน แต่จุดหนึ่งที่ถือว่าส�ำคัญยิ่ง: การทิ้งระเบิดรูอ็องเป็นการเปิดแง่มุมใหม่ของสงคราม ในภารกิจทิ้งระเบิด เด็กหนุ่มในเครื่องบินแบกรับสงครามทิ้งระเบิดไปจากมือของนาย 46 เจ้าเวหา


พลและพลสนับสนุนภาคพื้น นายพลเลือกเป้าหมายและวางแผนภารกิจ ก่อนการทิ้ง ระเบิด ลูกเรือได้รับบรรยายสรุปสภาพอากาศ การป้องกันของข้าศึก และต�ำแหน่งของ เป้าหมาย แต่เมือ่ บินขึน้ จากพืน้ ดิน ลูกเรือหลุดไปอยูใ่ นโลกอืน่ ...โลกของตัวเอง “แผนที่ วางไว้สมบูรณ์แบบ ไม่อาจประสบความส�ำเร็จได้ในความผิดพลาดของลูกเรือ” วิลเลียม เลดลอว์ กล่าวไว้ เริ่มตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปี 1942 ลูกเรือเครื่องบินทิ้งระเบิดอเมริกัน เรียนรู้ที่จะ สู้รบศึกกลางฟ้าด้วยประสบการณ์และการทดลอง ทุกภารกิจจะเป็นการเรียนรู้เรื่อง ใหม่ ประสบการณ์สุดพิเศษ แตกต่างไปจากกองก�ำลังภาคพื้นดิน เมื่อหลุดเข้าสนามรบ แล้ว เด็กทิ้งระเบิดไม่อาจส่งข่าวกรองกลับมายังกองบัญชาการเพื่อปรับเปลี่ยนแผนการ รบ การเข่นฆ่าเร็วเกินไประยะทางห่างไกลเกินไปจากกองบัญชาการ และไม่มีกอง หนุน ทุกภารกิจจะเป็นการทุ่มทั้งตัว เมื่อหลุดเข้าไปในการสู้รบแล้ว จะต้องสู้สุดชีวิต เพื่อถางทางเอาตัวรอดกลับมา กลางฟ้า ลูกเรือโดดเดี่ยว และถูกบังคับให้ต้องตัดสินใจ เอง เสาะหาทางเลือกในยามที่แผนแม่บทล้มเหลว ซึ่งจะเกิดขึ้นเสมอในความโกลาหล เหนือความคาดหมายของการสู้รบ เหมือนที่พันเอก เลดลอว์ เขียนไว้ “ในการปฏิบัติ การทางอากาศยุทธศาสตร์ ไม่มีทหารคนใด หรือแม้แต่ผู้บัญชาการทางอากาศที่เปี่ยม ประสบการณ์และมีคณะเสนาธิการมือดีที่สุดในโลก จะชี้ชัดระบุเป้าหมายได้ด้วยตัว คนเดียว” ลมฟ้าอากาศ สภาพเครื่องยนต์กลไกของเครื่องบิน การต้านรับของข้าศึก ระดั บ การฝึ ก ความมั่นคงเชิง อารมณ์ข องลูกเรือ และตัว แปรอีกอย่างน้อยนับสิบ จะบ่งบอกว่าที่ไหนจะถูกทิ้งระเบิด และใครจะบาดเจ็บล้มตาย ทั้งบนดินและกลางฟ้า ทหารราบและทหารเรื อ มี ป ระสบการณ์ สั่ ง สมมานานหลายศตวรรษ หยิ บ มาใช้ก�ำหนดยุทธศาสตร์การรบ แม้จะเคยมีการน�ำเครื่องบินทิ้งระเบิดโบราณมาใช้ ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และญี่ปุ่น เยอรมนี และอิตาลีใช้เครื่องบินด�ำทิ้งระเบิด ก่อความหวาดหวั่นต่อมหานครและหมู่บ้านในจีน สเปน และแอฟริกาเหนือในทศวรรษ 1930 ไม่เคยมีประเทศไหนท�ำสงครามทิ้งระเบิดเต็มรูปแบบก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง นักเขียนนิยาย จอห์น สไตน์เบ็ค เขียนไว้ในปี 1942 “ในมวลหมู่เหล่าทัพ ทัพอากาศ ต้องท�ำงานโดยไม่มีตัวอย่างบัญญัติให้ศึกษา นี่ยังไม่นับขนบประเพณี” พันเอก บัดด์ เจ. พีสลีย์ หนึ่งในต�ำนานผู้บัญชาการกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 แย้งว่า นักประวัติศาสตร์รู้จักผู้น�ำสงครามทางอากาศน้อยคนเพราะแทบไม่มีการออก ค�ำสั่งบัญชาการรบหลังจากเครื่องบินขึ้นฟ้าแล้ว และเพราะว่าการตัดสินใจของนายพล ไม่เคยให้ผลชีข้ าดการสงคราม ในการรบทางอากาศ ทักษะและความหาญกล้าของนักรบ กลุ่มเล็กๆ จะตัดสินผลแพ้ชนะ พาสลีย์เขียนไว้ “พวกเขามีพลังและอ�ำนาจมากล�้ำกว่า อายุ ยศ และประสบการณ์” นพดล เวชสวัสดิ์ 47


“การทิ้งระเบิดรูอ็อง” นายพล ‘แฮ็ป’ อาร์โนลด์ ประกาศในวันถัดมา “ยืนยันความ ถูกต้องของนโยบายทิ้งระเบิดเจาะจงเป้าหมายยุทธศาสตร์ แทนการทิ้งระเบิดหว่าน กระจาย (บลิตซ์) ไปในพื้นที่กว้างของมหานคร” ท่านนายพลด่วนพูดไป การทิ้ง ระเบิดเจาะจงเป้าหมายในเวลากลางวัน จ�ำเป็นต้องผ่านบทพิสูจน์ของภารกิจที่ยากกว่า นี้ ในลมฟ้าอากาศเลวร้าย และบุกฝ่าเข้าไปในการต้านรับเหนียวแน่น ประวัติศาสตร์ ของสงครามทางอากาศอเมริกัน-เยอรมัน จะเป็นเรื่องราวของการทดลอง : ทดสอบ ไอเดียใหม่ของการศึก ซึ่งเป็นผลจากหลักเกณฑ์ที่ยังไม่มีการพิสูจน์ นานแสนนาน ก่อนทีท่ บิ เบ็ตส์จะมาถึงสหราชอาณาจักร “ภารกิจทิง้ ระเบิดครัง้ แรกสุด เป็นแต่เพียงการ แสดงเชิงสัญญะ” พาสลียแ์ สดงความเห็น “แต่กเ็ ป็นภาพแห่งความหวังและความฝันของ ทัพฟ้าอเมริกันมากว่าสองทศวรรษ”

ผู้ครองฟ้า ในการสงครามยุคใหม่ การทิ้งระเบิดมี 2 ประเภท คือ การทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ และการทิ้งระเบิดทางยุทธวิธี การทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ นิยามโดยทัพอากาศอเมริกัน “ท�ำลายเศรษฐกิจของศัตรู โดยพยายามท�ำให้ศักย์สงครามของข้าศึกเป็นอัมพาต ด้วย การโจมตีการผลิตอุตสาหกรรมท�ำลายขวัญพลเรือน และท�ำลายการสือ่ สาร” ส่วนการทิง้ ระเบิดทางยุทธวิธี จะเป็นการสนับสนุนทางอากาศต่อการเคลือ่ นก�ำลังทางอากาศ ทางบก และทางทะเล” กองก�ำลังทางอากาศที่ 8 จะกระท�ำทัง้ สองประเภท แต่ในระยะแรกของ สงคราม ผู้บัญชาการวาดหวังว่าจะเป็นแต่เพียงการทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ อาร์โนลด์ อีเคอร์ และสปาตซ์ เป็นสาวกของวิลเลียม ‘บิลลี’ มิตเชลล์ ผู้ล่วง ลับไปแล้ว มิตเชลล์เป็นบิดาแห่งทัพฟ้าอเมริกัน ในปี 1927 เมื่อครั้งที่พอล ทิบเบ็ตส์ อายุสิบสองขวบ เขาขึ้นบินเป็นครั้งแรกในเครื่องบินปีกสองชั้น โดยมีนักแสดงเสี่ยง ตายเป็นนักบิน ผูกผ้าพันคอไหมสีขาว หมวกนิรภัยหนังแนบศีรษะ บิลลี มิตเชลล์ เขียนและบรรยายการสงครามทิ้งระเบิดสุดสะพรึง แนวคิดที่จะแปลงโฉมใหม่ของ โลก แนวคิดที่น�ำมาสู่การทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ที่ผู้พัน ทิบเบ็ตส์จะน�ำมาทดสอบเป็น ครั้งแรกในฟากฟ้าของเมืองรูอ็อง เวหานุภาพอเมริกันถือก�ำเนิดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และบิลลี มิตเชลล์ เป็น 48 เจ้าเวหา


ศาสดา เขาเป็นนักบินอเมริกันคนแรกที่มาถึงแนวรบด้านตะวันตก และบินข้ามแนว ข้าศึก คนแรกของเพื่อนร่วมชาติที่รู้ซึ้งถึงอ�ำนาจท�ำลายล้างของการสงครามทิ้งระเบิด มิตเชลล์เป็นลูกชายของวุฒสิ มาชิกจากวิสคอนซิน และเป็นหลานชายของเจ้าพ่อการรถไฟ สมัยรุ่งเรือง เขาเป็นภาพในฝันของนักข่าว หน้าตาหล่อเหลา ไม่รู้จักความกลัว หรูหรา ฟูฟ่ า่ แชมเปีย้ นโปโล พูดฝรัง่ เศสได้คล่องปาก สวมรองเท้าบูต๊ ทหารม้า และเครือ่ งแบบ ตัดเย็บประณีต เขาเลิกเรียนมหาวิทยาลัยกลางคันเมือ่ อายุสบิ แปด เพือ่ ร่วมรบในสงคราม สแปนิช-อเมริกัน (ปี 1898) สิบปีต่อมาเขียนหนังสือเรียกร้องให้กองทัพบกที่เขาร่วมรบ ด้วยในคิวบา กองทัพที่ใช้ม้าลากสรรพาวุธ ให้พัฒนากรมการบินยุคใหม่ ในปี 1916 เขามีอายุสามสิบหก ฝึกเป็นนักบิน ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าแผนกสื่อสารอากาศยาน กองทัพบก แผนกแรกของการบินอเมริกัน สองปีต่อมา พลจัตวา มิตเชลล์จัดระบบ และดูแลการตัง้ หน่วยก�ำลังทางอากาศโพ้นทะเล แทนทีแ่ ผนกอากาศยาน และขยายใหญ่ เป็นกรมการบินทหารบก ในปี 1926 ในฝรัง่ เศส มิตเชลล์เป็นผูน้ ำ� ในสนามรบ ห้าวหาญ และช่างคิดค้นพลิกแพลง ได้ความนับถือสุดสูงจากนักบินหนุ่มรุ่นใหม่ เช่น คาร์ล สปาตซ์ คนทีเ่ ขาเสนอชือ่ ให้รบั เหรียญกล้าหาญ ดิสทิงกวิชด์ เซอร์วสิ ครอสส์ หลังจากที่ สปาตซ์ยิงเครื่องบินข้าศึกตก 3 ล�ำ แต่ชื่อเสียงเลื่องระบือของมิตเชลล์ จะเป็นแนวคิด เวหานุภาพว่าด้วยการทิ้งระเบิด ประสบการณ์ในสงครามครั้งแรกของเขา จะแปลงโฉมเหตุการณ์ที่เกิดในชีวิต มิตเชลล์เคยรบในสนามเพลาะร่วมกับทหารราบ เขาบินข้ามแนวรบของข้าศึกร่วมกับนักบิน ฝรัง่ เศส “เราข้ามแนวรบทีว่ างแนวยันกันอยูเ่ ครือ่ งบินบินข้ามในเวลาไม่กนี่ าที” มิตเชลล์ เขียนไว้ “แนวรบซึง่ กองทัพสองฟากแน่นงิ่ ยันกันอยู่ ไม่มพี ลังอ�ำนาจพอจะรุกคืบไปข้าง หน้า ตลอดระยะเวลาสามปี” มิตเชลล์มองเห็นว่า “หมดยุคของต�ำราพิชัยสงครามแล้ว การบั่นทอนให้อ่อนล้าหรือการเข่นฆ่าข้าศึกเชื่องช้าทีละน้อย เป็นสิ่งเดียวที่กองก�ำลังบน พื้นดินท�ำได้” เมื่อนายพล จอห์น เจ. ‘แบล็ก แจ๊ก’ เพอร์ชิง เดินมาถึงฝรั่งเศส ในฐานะ ผูบ้ ญ ั ชาการทหารสูงสุดของกองก�ำลังต่างแดนอเมริกนั มิตเชลล์เข้าพบท่านนายพล เสนอ แนวคิดสุดห้าว : ใช้ก�ำลังทางอากาศท�ำลายสนามบินและยุทโธปกรณ์ของเยอรมันหลัง แนวปะทะ นักประวัติศาสตร์ รัสเซลล์ เอฟ. ไวกลีย์ เขียนไว้ “นี่เป็นการใช้เครื่อง บินในยุทธศาสตร์ของ (วิลเลียม เทคัมเซห์) เชอร์แมน ที่จะพาสงครามไปหาเศรษฐกิจ และพลเรือนของข้าศึก” ข้อเสนอของมิตเชลล์ไม่เข้าหูเพอร์ชิง เพราะเพอร์ชิง มองว่า ทหารราบเป็นราชินีแห่งสนามรบ มองว่าก�ำลังทางอากาศมีหน้าที่สอดแนม สนับสนุน การรบภาคพื้นดิน และมีคุณค่าเพียงน้อยนิด แต่ในช่วงท้ายสุดของสงคราม เมื่อกอง ก�ำลังทางอากาศอเมริกัน จากไม่มีอะไรเลย เพิ่มจ�ำนวนเป็น 750 ล�ำ สิบเปอร์เซ็นต์ นพดล เวชสวัสดิ์ 49


ของกองก�ำลังสัมพันธมิตร เพอร์ชิงอนุญาตให้มิตเชลล์น�ำเครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่อง บินขับไล่ ไปสนับสนุนการรบของทหารราบที่แซงต์ มิฮิเอล และเมิส-อาร์กอน “การ รุกรบทางอากาศที่มิตเชลล์กระท�ำต่อเมิส-อาร์กอน ในเดือนกันยายน (1918) ถือได้ว่า เยีย่ มยอดทีส่ ดุ เท่าทีเ่ คยพบมาในสนามรบ” แฮ็ป อาร์โนลด์เขียนไว้ในบันทึกความทรงจ�ำ “ก่อนหน้านัน้ การรบกลางท้องฟ้า จะเป็นการดวลกันระหว่างนักบินสองฝ่าย...นีเ่ ป็นการ รุกรบด้วยหมู่บินเป็นครั้งแรก” อาร์โนลด์ได้แต่หวังว่าเขาจะได้อยู่ที่นั่น มองดูผลงานของเพื่อน เขาอยากเข้าสู่ สนามรบ อาร์โนลด์จบการศึกษาจากเวสต์พอยน์ต เป็นหนึ่งในสี่คนแรกในกองทัพบกที่ ได้ใบอนุญาตนักบิน เป็นลูกศิษย์สายตรงของสองพี่น้องตระกูลไรต์, ออร์วิลล์กับวิลเบอร์ ขึ้นบินที่โรงเรียนการบินเดย์ตัน, โอไฮโอ ในปี 1912 เขาได้รางวัลแม็กเคย์ ส�ำหรับการ บินทางทหารยอดเยีย่ มประจ�ำปี แต่ในเมือ่ เป็นส่วนหนึง่ ของกองบัญชาการ เขาทรงคุณค่า ในฐานะนักวางแผนทางทหารมากกว่าจะส่งไปยังแนวหน้า เพื่อนๆ เรียกเขาว่า ‘แฮ็ป’ ย่อมาจาก ‘แฮ็ปปี้’ เพราะมีรอยยิ้มอิ่มสุขประดับใบหน้าเสมอ หน้ากากยิ้มที่กลบซ่อน อารมณ์เดือดดาลและความบ้าคลั่งอยากผลักดันการบินอเมริกันให้ก้าวหน้า เขาเป็นหนึ่ง ในสาวกรุ่นแรกและทุ่มเทที่สุดของบิลลี มิตเชลล์ อาร์โนลด์กับมิตเชลล์ ได้แรงบันดาลใจจากฮิวจ์ เทรนเชิร์ด บิดาการบินและผู้ บัญชาการทหารอากาศอังกฤษคนแรก สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นสงครามนักบินขับไล่ แต่เทรนเชิร์ดเชื่อมั่นในการสงครามทิ้งระเบิด มองว่าเป็นอนาคตของกองทัพอากาศ เมื่อ เยอรมนีทิ้งระเบิดลอนดอนครั้งแรกสุดด้วยโพยมยาน (เซปเพลิน) และด้วยเครื่องบินทิ้ง ระเบิดหนักสองเครื่องยนต์, โกธา ในปี 1917 คร่าชีวิตผู้คน 1,400 คน เทรนเชิร์ด ตอบโต้ด้วยการส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดสี่เครื่องยนต์, แฮนด์ลีย์ เพจ ไปถล่มมหานครใน เยอรมนี หลังการพูดคุยกับเทรนเชิร์ดที่แนวหน้า มิตเชลล์ได้ความคิดว่า อเมริกาควรจะ มีสิ่งที่อังกฤษสร้างขึ้นมาหลังจากโดนทิ้งระเบิดถล่มลอนดอน นั่นก็คือ ก�ำลังทางอากาศ ต้องแยกเป็นเอกเทศ มีทั้งสถานะและอ�ำนาจเท่าเทียมกับกองทัพบกและกองทัพเรือ การเซ็นสัญญาสงบศึกเกิดขึน้ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 1918 สองวันหลังจากฝูงบิน ทิง้ ระเบิดกลางคืนอเมริกนั ฝูงแรกโผล่มายังแนวหน้า มิตเชลล์วางแผนโจมตียทุ ธศาสตร์บน ดินแดนเยอรมัน ใช้ระเบิดเพลิงและแก๊สพิษ ท�ำลายพืชผล ป่าไม้และสัตว์เลี้ยง “ฉัน แน่ใจว่าถ้าสงครามยืดเยื้อ ก�ำลังทางอากาศจะเป็นตัวชี้ขาด” เขาเขียนไว้ในเวลาต่อมา มิตเชลล์ได้ไอเดียจากหลายแหล่ง หนึ่งนั้นเป็นผลงานของผู้บัญชาการทหารอากาศ อิตาเลียน, นายพล จูลิโอ ดูห์เอ็ต สามปีหลังจากมิตเชลล์กลับจากสงคราม ดูห์เอ็ต ตีพิมพ์ผลงานยิ่งใหญ่ The Command of the Air หนังสือที่จะส่งชื่อเขาเป็นผู้น�ำ แห่งเวหานุภาพ มิตเชลล์ไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนี้ (หรืออาจจะอ่านฉบับแปลของกระทรวง 50 เจ้าเวหา


สงคราม) เขาเขียนจดหมายติดต่อกับจานนี คาโปรนี นักออกแบบเครื่องบินทิ้งระเบิด และเพื่อนของดูห์เอ็ต ไม่ว่าความเกี่ยวข้องจะเป็นไปในรูปใด มิตเชลล์เห็นพ้องกับดูห์ เอ็ตในหลายข้อของเวหานุภาพ ประสบการณ์จากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งชี้ชัด: ทั้งสอง ฝ่ายอยากยุติการบั่นทอนให้อ่อนล้ายืดเยื้อและการสังหารหมู่ระยะประชิด อยากท�ำให้ สงครามสั้นลง อาศัยการรุกสร้างความได้เปรียบ เดิมทีนั้น เทคโนโลยีอาวุธน�ำมาซึ่ง ความได้เปรียบของฝ่ายตั้งรับ ไม่ว่าจะเป็นปืนกลหนัก แก๊สพิษ และปืนใหญ่มีเกลียวใน ล�ำกล้อง ท�ำให้การเข้าตีของทหารราบต่อทีน่ ั่งตัง้ รับ แทบจะเป็นการฆ่าตัวตาย จากการ วิเคราะห์ข้อมูลหลายทิศ น�ำมาซึ่งค�ำตอบเดียว คือ พลังอ�ำนาจทางอากาศ..ชัยชนะที่ได้ จากปีก นอกจากเทคโนโลยีจะน�ำมาซึง่ ความได้เปรียบแก่ฝา่ ยตัง้ รับแล้ว ยังสร้างความได้ เปรียบเมื่อเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรุกด้วยเครื่องบิน...อาวุธทรงอ�ำนาจที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อการ รุก จะถล่มการป้องกันที่เคยครองความยิ่งใหญ่ที่สุดในสนามรบ ในช่วงนั้น นักวางแผน ยุทธศาสตร์เยอรมันตอบสนองต่อสงครามแน่นงิ่ ซึง่ ตนเพิง่ พ่ายแพ้ แอบพัฒนาการสงคราม รูปแบบใหม่ โดยใช้รถถังจูโ่ จมเร็ว และยานเกราะ ส่วนมิตเชลล์กบั ดูหเ์ อ็ตยกระดับแนวคิด ‘บลิตซ์ครีก’ จากท้องฟ้า ดูห์เอ็ตยืนยันว่า สงครามในอนาคตจะสั้น ทุ่มเททั้งมวล และ ‘รุนแรงในระดับ สูงสุด’ จะได้ชัยชนะจากท้องฟ้า โดยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกลแผ่เป็นแพเต็มฟ้า ฝ่ายที่โจมตีก่อน แบบไม่ขาดสาย และครองท้องฟ้าได้ จะเป็นผู้ชนะ ไม่เพียงแค่ท�ำลาย เครื่องบินของข้าศึกในการรบทางอากาศเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการท�ำลายฐานบิน เครือข่ายการสือ่ สาร และศูนย์กลางการผลิตด้วย ดูหเ์ อ็ตใช้ถอ้ ยค�ำว่า “เพียงแค่ยงิ นกให้ ตกหมดจากฟ้า ไม่เพียงพอที่จะท�ำลายล้างเผ่าพันธุ์ ต้องท�ำลายไข่และรวงรังด้วย” การ ท�ำลายไข่และรัง ถือเป็นการทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ การทิ้งระเบิดประเภทเดียวที่ดูห์เอ็ต ชื่นชอบ เมื่อใดที่การครองฟ้าหรือครองอากาศ กระท�ำได้ด้วยการโจมตีของเครื่องบิน ทิ้งระเบิด มิใช่เครื่องบินขับไล่ ซึ่งจะถูกท�ำลายโดยสิ้นเชิงจากเครื่องบินทิ้งระเบิดยุค ใหม่ (ในความเห็นของดูห์เอ็ต) เป้าหมายหลัก มิใช่กองทหารบนพื้นดิน หากแต่ เป็นมหานครอุตสาหกรรม การท�ำลายล้างศูนย์กลางการผลิต จะเป็นการท�ำลายขวัญ ก�ำลังใจของพลเรือน ท�ำลายขีดความสามารถในการท�ำสงครามของข้าศึก และมอบ การยอมแพ้รวดเร็วอย่างมีมนุษยธรรมให้ โดยไม่ต้องใช้ก�ำลังกองทัพบกหรือกองทัพ เรือ ในการสงครามยุคใหม่ “จะถือว่าประเทศทั้งประเทศเป็นก�ำลังรบ” มิตเชลล์ สะท้ อ นเสี ย งของดู ห ์ เ อ็ ต ซึ่ ง เขี ย นไว้ ว ่ า “การท� ำ ศึ ก สงครามมิ ใ ช่ ก ารปะทะ ของกองทัพอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นการปะทะระหว่างชาติต่อชาติ ระหว่างประชาชน ของสองประเทศ การแยกแยะความแตกต่างระหว่างผู้มีภัยคุกคามกับไม่มีภัยคุกคาม นพดล เวชสวัสดิ์ 51


ไม่อาจยอมรับได้อีกต่อไปแล้ว...เพราะในยามที่ชาติเข้าสู่สงคราม ประชาชนทุกคนมีส่วน ร่วม : ทหารหยิบปืน สตรียกกระสุนปืนใหญ่ขึ้นรถในโรงงาน ชาวนาปลูกข้าวสาลี นัก วิทยาศาสตร์เข้าประจ�ำการในห้องทดลอง” ดูห์เอ็ต, ฟาสซิสต์ตัวกลั่น กล่าวถึงสงครามท�ำลายล้างสิ้นซาก ได้ชัดเจนกว่า ที่มิตเชลล์จะสรรหาถ้อยค�ำมาบรรยายได้ ในการสงครามยุคใหม่ ไม่มีค�ำว่าศีลธรรม จะเป็นการเชือด การสังหารรวดเร็ว ไร้เมตตา ไร้ความรู้สึกในใจ “ขีดจ�ำกัดของวิธี การท�ำสงครามไร้ความเป็นมนุษย์ ชั่วช้าเลวทราม ไม่มีความหมายใดอื่น นอกจาก ค� ำ ลวงของผู ้ น� ำ นานาประเทศ” ดูห์เ อ็ตเขียนไว้ “จะต้องถือว่าการสงครามไร้ซึ่ง อารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าวิทยาศาสตร์นั้นจะชั่วร้ายเพียงใด” นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันแสดงความเห็น “เราหยั่งถ้อยค�ำของดูห์เอ็ตได้ว่า ทหาร พึงละทิ้งส�ำนึกแห่งความรับผิดชอบทั้งมวล ส�ำหรับผลกระทบทางการเมืองและสังคม ซึ่งเกิดจากปฏิบัติการทางทหารของพวกเขา” นี่เป็นครั้งแรกใประวัติศาสตร์การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยก�ำลัง พลเรือนถูก แยกออกมาเป็นเป้าทางการทหาร ไม่เพียงแค่ว่าพวกเขาเป็นผู้ผลิตอันทรงค่า แต่ยังรวม ไปถึงว่าเป็นเป้าหมายที่อ่อนแอ ข่มเหงรังแกได้ง่าย ทั้งดูห์เอ็ตและมิตเชลล์ มั่นใจว่า พลเรือนไม่มีความแกร่งทานทนการสงครามแนวดิ่งที่มีแรงระเบิด ระเบิดเพลิงและแก๊ส พิษ เทียบเท่าความสยดสยองของการสงครามระเบิดอะตอม หลักฐานได้จากการตระหนก และความหวั่นหวาดของประชากรทั้งมวล จากการทิ้งระเบิดในลอนดอนและโคโลญจ์ใน สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การโจมตีทางอากาศขนาดเล็กที่ไม่อาจวาดภาพได้ในสงครามใน อนาคต สงครามยุคใหม่จะตัดสินได้ฉับไว ดูห์เอ็ตชี้ชัด เพราะการจู่โจมท�ำลายอันเป็น จุดเปลี่ยน กระท�ำต่อพลเรือน องค์ประกอบส�ำคัญที่ชาติท�ำสงครามไม่อาจดูแลป้องกัน ได้” หนึง่ ในฉากชวนขนหัวลุกของมิตเชลล์ คือการทิง้ ระเบิดนิวยอร์กซิตี แก๊สพิษจากลูก ระเบิด แผ่กระจายในอากาศ ซึมลงไปในสถานีรถไฟใต้ดิน การอพยพผู้คนทั้งมหานคร เมื่อนิวยอร์กและมหานครขนาดใหญ่ถูกทิ้งระเบิด ผู้อพยพไม่อาจหาปัจจัยสี่เลี้ยงชีวิตได้ รัฐบาลถูกบังคับให้ยอมแพ้สงคราม ในสายตาของดูหเ์ อ็ตและมิตเชลล์ สงครามทีส่ นิ้ สุดอย่างรวดเร็วและรุนแรง หมายถึง จ�ำนวนผู้บาดเจ็บล้มตายลดลง แทนที่จะเป็นเรื่องชั่วร้าย สงครามรูปแบบนี้จะกลายเป็น เรื่องเปี่ยมด้วยมนุษยธรรม จะเป็นการดีหากตัดสินสงครามด้วยการเขย่าขวัญประชากร “ด้วยระเบิดแก๊สพิษลูกสองลูก” มิตเชลล์เขียนไว้ “ดีกว่าวิธีดั้งเดิมที่จะยิงร่างทหารฉีก ขาดด้วยปืนใหญ่ หรือกระซวกให้ร่างขาดรุ่งริ่งด้วยดาบปลายปืน” มิตเชลล์ถึงขั้นเสนอ แนะว่า สงครามในอนาคตจะไม่ได้สู้รบกันด้วยกองก�ำลังขนาดใหญ่ หากแต่เป็นกลุ่ม 52 เจ้าเวหา


นักรบทางอากาศระดับสุดยอด เทียบได้กับ ‘อัศวินสวมเกราะในยุคกลาง’ วิธีนี้ช่วยลด จ�ำนวนผู้คนล้มตายเช่นกัน เขาชี้ให้เห็นว่า การขู่ขวัญด้วยการท�ำลายล้างเบ็ดเสร็จเด็ด ขาด จะช่วยป้องปรามการใช้อาวุธนิวเคลียร์ในสงครามเย็นทีใ่ กล้มาถึง จะยับยัง้ ไม่ให้เกิด สงครามโลกครั้งใหม่ได้ “เวหานุภาพมอบหลักนิยมใหม่ของสงคราม...และหลักนิยมแห่ง สันติภาพ” ถึงจุดนี้ ดูห์เอ็ตกับมิตเชลล์แยกทางกัน ดูห์เอ็ตบรรยายแนวคิดด้วยภาษาลัทธิ ดาร์วนิ การสงครามอยูใ่ นสายเลือดอยูใ่ นกระดูกของมนุษย์ เป็นส่วนหนึง่ ของวิวฒ ั นาการ สันติภาพเป็นเพียงแค่ฝันเพ้อ ดูห์เอ็ตสนับสนุนการ “ถล่มด้วยระเบิดจากฟากฟ้า ทิ้งลง ใส่ศนู ย์กลางพลเรือนหนาแน่นทีส่ ดุ ” เป้าประสงค์มใิ ช่แค่การท�ำลายล้างโรงงานและระบบ สื่อสาร หากแต่เป็นองค์กรเชิงสังคมทั้งมวล กว่าศตวรรษที่ผ่านมา นักทฤษฎีทหารของโลกตะวันตก อยู่ใต้มนต์สะกดของนัก เขียนปรัสเซีย คาร์ล ฟอน เคลาเซอวิตซ์ ผู้ยืนยันว่าเป้าหมายสูงสุดของการสงครามจะ เป็นการท�ำลายก�ำลังรบของข้าศึก มิตเชลล์กบั ดูหเ์ อ็ตท้าทายกฎเหล็กข้อนี้ ผูส้ งั เกตการณ์ ทางทหารร่วมสมัยโอบรับแนวคิดของคนทัง้ สอง “ประวัตศิ าสตร์ของมนุษย์ศวิ ไิ ลซ์แสดงให้ เราเห็นถึงการค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ทางทหารสามเรื่อง: วินัย ดินปืน และเครื่องบิน... เครือ่ งบินจะใช้เป็นครัง้ แรกในประวัตศิ าสตร์ความขัดแย้ง มอบหนทางใหม่ให้การสงคราม นัน่ ก็คอื น�ำการโจมตีไปมอบให้แหล่งก�ำเนิดของอ�ำนาจ ถล่มท�ำลายประชากร นครหลวง ศูนย์อตุ สาหกรรม พาณิชย์ และการเมือง โดยไม่จำ� เป็นต้องหักล้างกับกองก�ำลังของข้าศึก ที่ท�ำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองเป้าหมายเหล่านี้” มิตเชลล์พยากรณ์ไว้ว่า ประเทศที่เตรียมพร้อมที่จะผลิตเครื่องบินทิ้งระเบิดจ�ำนวน มหาศาล โจมตีหนัก โจมตีต่อเนื่องต่อระบบเศรษฐกิจและประชากรของข้าศึกจะยุติ สงครามครั้งใหม่ ก่อนทหารราบหรือกองทัพเรือจะมีโอกาสเข้าสู่การสู้รบ อย่างไรก็ตาม เขายังวาดภาพไม่ถึงการทิ้งระเบิดแม่นย�ำ การทิ้งระเบิดจากที่ระดับความสูงมาก มักไม่ แม่นย�ำอยู่แล้ว การทิ้งระเบิดลงสู่เป้าหมายอุตสาหกรรม เครื่องบินทิ้งระเบิดจ�ำเป็นต้อง ‘ทิ้งไข่ลงกลางเมือง’ ตามค�ำกล่าวของพลอากาศโท เทรนเชิร์ด ไม่เพียงท�ำลายโรงงาน อุตสาหกรรมเท่านั้น ยังเข่นฆ่าพลเรือนผู้บริสุทธิ์ไปด้วย มิตเชลล์นำ� เสนอแนวคิดนีด้ ว้ ยความกราดเกรีย้ วเยีย่ งนักรบครูเสด ในสายการบังคับ บัญชาทางทหาร ในฐานะผู้ช่วยผู้บัญชาการกรมการบิน และนอกค่ายทหาร เขาออก หนังสือหลั่งไหลเป็นสาย เขียนบทความ บรรยายต่อสาธารณชน ยืนที่โพเดียม กวัด แกว่งคทาเลี่ยมทอง เน้นย�้ำประเด็นส�ำคัญ เจ้าวาทะค�ำคมข�ำขัน วิล รอเจอร์ส ขนาน นามให้เขาว่า ‘นโปเลียนแห่งฟากฟ้า’ ในยามที่มิตเชลล์ได้ยินเสียงคัดค้านจากนายพล กองทัพบกและกองทัพเรือ ที่มองว่าก�ำลังทางอากาศ เป็นแต่เพียงติ่งมิติที่สามของการ นพดล เวชสวัสดิ์ 53


สงครามบนพื้นดิน เขาจะตอบโต้เผ็ดร้อน สร้างความหมางใจต่อผู้ทรงอ�ำนาจที่เขาหวัง จะหว่านล้อมจูงใจให้คล้อยตาม แนวคิดการสงครามของมิตเชลล์ล�้ำหน้าเทคโนโลยีที่มีอยู่: ไม่มีการวางแผนจะ ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิด ไม่มีการสร้างเครื่องบิน หรือการใช้งานเครื่องบินทิ้งระเบิด ระยะไกลเชิงยุทธศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญการทหารผู้หนึ่ง กล่าวไว้ในปี 1925 เครื่องบิน ทิ้งระเบิดพอจะทิ้งระเบิดลงสู่เมืองได้จากระดับความสูง 10,000 ฟุต ถ้าเมืองนั้นมี ขนาดใหญ่พอ” แต่มิตเชลล์เป็นคนน�ำสมัย คนหลงใหลเทคโนโลยี เขาเชื่อมั่นว่าการ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมอเมริกันจะพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดได้ในเร็ววัน ส่งเขาเป็น ศาสดาได้ด่วนทันใจ แนวคิดของมิตเชลล์ชนตออีกด่าน สิ่งที่นักเขียนคนหนึ่งเรียกว่า ‘ด่านอุปสรรค ศีลธรรม’ ใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รัฐมนตรีกระทรวงสงคราม นิวตัน ดี. เบเกอร์ ออกค�ำสัง่ ห้ามกรมการบินมิให้โจมตีทางอากาศ “ต่อเป้าหมายการทิง้ ระเบิดเปะปะ กระท�ำต่ออุตสาหกรรม พาณิชย์ และประชากร” เบเกอร์เชื่อว่า การท�ำสงครามต่อ พลเรือน ล่วงละเมิดอุดมคติเชิงศาสนาและมนุษยธรรม การส�ำรวจประชามติในเวลาต่อมา แสดงให้เห็นว่าสาธารณชนอเมริกันเห็นพ้องกับค�ำสั่งนี้ คนอเมริกันส่วนใหญ่เบื่อหน่าย สงคราม และไม่เต็มใจจะสนับสนุนรัฐบาลที่หนุนหลังการแพร่ขยายก�ำลังรบ ดังนั้น มิตเชลล์แปลงโฉมเสียใหม่ ชูแนวคิดเรือ่ ง ก�ำลังทางอากาศต้องเป็นหน่วยงานอิสระไม่ขนึ้ ต่อกองทัพใด จะช่วยลดงบประมาณและการป้องกันประเทศ ก�ำลังทางอากาศขนาดใหญ่ สามารถปกป้องชายฝั่งทะเลอเมริกา และพื้นที่ห่างไกล เช่น อะแลสกา ฮาวาย และ ฟิลิปปินส์...ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดงบประมาณกว่ากองทัพเรือ...ต้นทุนเรือ ประจัญบานหนึ่งล�ำพอจะน�ำมาสร้างเครื่องบินได้หลายพันล�ำ ในช่วงนั้น ลัทธิทางทหารที่มีอยู่ เชื่อว่าเครื่องบินไม่อาจจมเรือประจัญบานได้ มิตเชลล์มองว่าเป็นแนวคิดคร�่ำครึล้าสมัย จึงกดดันผู้สนับสนุนของเขาในรัฐสภา บีบให้ กองทัพเรือท�ำการทดสอบ ครั้งที่ฟู่ฟ่าที่สุดในเดือนกรกฎาคม 1921 ฝูงบินขนาดเล็ก ของเขาทิ้งระเบิดขนาด 2,000 ปอนด์ จ�ำนวนหกลูก ก็สามารถจมเรือรบเยอรมัน ออสต์- ฟรีสลันด์ ที่ยึดมาได้ ลงสู่ก้นทะเลนอกแหลมเวอร์จิเนีย กองทัพเรือประท้วง ว่าการทดสอบไม่เป็นธรรม เรือทอดสมออยู่กับที่ ในเมื่อปืนเรือเงียบสนิท เรือก็เป็นเป้า นิ่งให้ซ้อมมือเท่านั้น ในเมื่อมีนายพล เพอร์ชิง เป็นหัวหอกต่อต้านการก่อตั้งทัพอากาศ มิตเชลล์จูงใจกองทัพบกไม่ส�ำเร็จ อย่างไรก็ตาม เขายังแผลงฤทธิ์กดดันกองทัพบกในทุก ทาง จนกระทั่ง กองทัพบกไม่ต่ออายุผู้ช่วยผู้บังคับการกรมการบิน ในปี 1925 ย้าย มิตเชลล์ไปแช่แข็งที่ฐานทัพห่างไกลในซานอันโตนิโอ รัฐเท็กซัส ที่ซึ่งผนังห้องท�ำงานเป็น ห้องสุขาของเสมียน “มิตเชลล์ในเท็กซัส คล้ายกับการลีภ้ ยั ของนโปเลียนบนเกาะอัลบา” 54 เจ้าเวหา


นักประวัตศิ าสตร์ ผูห้ นึง่ เขียนไว้ “เขาวางแผนเล่นเล่ห์ ดิน้ สู”้ ต่างจากจักรพรรดิตวั เล็ก เพียงแค่เขาไม่รู้จักหุบปากให้สนิท “ส่งเสียงเซ็งแซ่ แม้อยู่กลางทุ่งหญ้ากงจักรเวิ้งว้าง” มิตเชลล์โยนความผิดเรือ่ งอุบตั เิ หตุทางอากาศสองครัง้ ต่อกองทัพเรือและกระทรวงสงคราม เพราะ “ไร้ประสิทธิภาพ และไร้ความใส่ใจถึงขัน้ ความผิดทางอาญา” มิตเชลล์กอ่ กวนให้ ผูบ้ งั คับบัญชาส่งเขาขึน้ ศาลทหาร เพียงเพือ่ จะได้สง่ เสียงประท้วงระดับชาติ “เขาไม่ยอม หยุด จนกว่าจะเป็นผู้พลีชีพเพื่ออุดมการณ์” แฮ็ป อาร์โนลด์ ให้ความเห็น หลังจากได้ รับแต่งตั้งเป็นโฆษกกรมการบิน ในการพิจารณาคดีของศาลทหารตลอดเจ็ดสัปดาห์ สปาตซ์กับอาร์โนลด์น�ำอนาคต งานอาชีพในกองทัพเป็นเดิมพัน ให้ปากค�ำสนับสนุนมิตเชลล์ และ ไอรา อีเคอร์ ใช้ภูมิ ความรู้ด้านกฎหมาย ท�ำหน้าที่ทนายแก้ต่างให้ ทั้งสามชื่นชมบูชาผู้บังคับการเย่อหยิ่งผู้นี้ แม้จะปากกล้าไปนิดนายทหารคนอื่นๆ ในสายการบังคับบัญชา สนับสนุนแนวคิดเวหา นุภาพของมิตเชลล์ เช่น ร้อยโท เจมส์ เอช. ดูลิตเติล รู้สึกว่าความกร่างของมิตเชลล์ เป็นภัยต่อการผลักดันอุดมการณ์ “เหมือนเช่นคนคลัง่ ศาสนา เขาไม่ยอมทนความเห็นอืน่ ที่แตกต่างไปจากความคิดของตน” มิตเชลล์ต้องค�ำพิพากษาแสดงความเห็นกระด้างกระเดื่องในที่สาธารณะ ถูกสั่งพัก งานห้าปี แต่ไอเดียของเขาส�ำคัญยิง่ กว่าอาชีพทหาร เขาลาออกจากกองทัพ สานต่อการ ต่อสูเ้ พือ่ ปลดแอกก�ำลังทางอากาศออกจากกองทัพบก และการรบในเชิงรุกของทัพฟ้า ใน แวดวงอ�ำนาจ เขามีสาวก เช่น อาร์โนลด์ ‘ท�ำการรบเชิงไอเดีย’ ขับนายทหารรุ่นเด็ก ต่อกรกับกลุ่มอ�ำนาจเดิมในกระทรวงสงคราม อาร์โนลด์กบั คณะนายทหารหัวแข็ง...มาเฟียนักทิง้ ระเบิด ชือ่ เรียกทีอ่ ำ� นาจเดิมขนาน นามให้ ผูกพันเกาะกลุม่ กันแน่นเหนียวด้วยความชืน่ ชมบูชามิตเชลล์ และความรักบริสทุ ธิ์ ต่อการบิน พวกเขาเป็นนักบุกเบิกทางอากาศ ผูส้ ร้างสถิตทิ างอากาศใหม่ครัง้ แล้วครัง้ เล่า สร้างความประทับใจต่อสาธารณชน เท่าเทียมกับข้อเขียนของมิตเชลล์ ชีน้ ำ� ให้เห็นศักยภาพ ของเครื่องบิน ในปี 1929 สปาตซ์กับอีเคอร์ และลูกเรือของเครื่องบินสามเครื่องยนต์ เควสชัน มาร์ค เบิกยุคใหม่ของการเติมน�ำ้ มันกลางอากาศ สร้างสถิตบิ นิ ต่อเนือ่ งกว่า 150 ชัว่ โมง เจ็ดปีให้หลัง ไอรา อีเคอร์ ใช้ผา้ ด�ำปิดคลุมกระจกห้องนักบิน บินข้ามมหาสมุทร แอตแลนติกด้วยเครื่องวัดประกอบการบินเพียงอย่างเดียว ประสบการณ์บ่งชี้ว่าเขา เหมาะสมยิง่ ต่อหน้าทีบ่ งั คับบัญชาการโจมตีทางอากาศในสงครามทีใ่ กล้จะมาถึง ในยามที่ เครื่องบินทิ้งระเบิดของเขาต้องบินฝ่าเข้าไปในพื้นที่ลมฟ้าอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก แฮ็ป อาร์โนลด์ ไม่ยอมให้นกั บินหนุม่ สร้างชือ่ ฝ่ายเดียว ในปี 1934 อาร์โนลด์อายุ สี่สิบหก น�ำฝูงบินเครื่องบินทิ้งระเบิด 2 เครื่องยนต์ 10 ล�ำ บินรวดเดียวจากวอชิงตัน ไปอะแลสกา และบินกลับ ผลงานน่าอัศจรรย์ยิ่ง เพราะในยุคนั้น ไม่มีแผนที่การบิน นพดล เวชสวัสดิ์ 55


เหนือเทือกเขาขั้วโลก ปีถัดมา เขาเลื่อนยศเป็นพลจัตวา ครองต�ำแหน่งผู้บัญชาการกอง บินรบ กองบินทิ้งระเบิดที่ 1 ที่มาร์ชฟิลด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ในระหว่างนั้นอาร์โนลด์กับ อีเคอร์ ผู้ลงทะเบียนเรียนวิชาวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซาเธิร์นแคลิฟอร์เนีย ร่วม กันเขียนหนังสือสามเล่มว่าด้วยเวหานุภาพ ประทับตราอิทธิพลของมิตเชลล์ เหมือนเช่น ค�ำพยากรณ์ของหนังสือพิมพ์เมื่อครั้งที่มิตเชลล์ขึ้นศาลทหาร “ลัทธิมิตเชลล์จะคงอยู่หลัง จากมิตเชลล์ลาจากไปแล้ว”

มาเฟียนักทิ้งระเบิด เมื่อบิลลี มิตเชลล์ เสียชีวิตในปี 1936 ผลงานของเขายังมีชีวิตสืบไปในค�ำบรรยาย สอนของครูการบิน ศูนย์การบินเชิงยุทธวิธีที่แม็กซเวลล์ฟิลด์ เมืองมอนต์โกเมอรี รัฐ แอละแบมา นีเ่ ป็นโรงเรียนมืออาชีพแห่งแรกของนักบิน นักวางแผนการบินของโลก และ กลายเป็นเบ้าหลอมของแนวคิดใหม่ ว่าด้วยการทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ “เราไม่กังวลเรื่อง การสู้รบในสงครามครั้งที่ผ่านมา” พันโท แฮโรลด์ แอล. จอร์จ นักทฤษฎีทิ้งระเบิด ชั้นน�ำของโรงเรียนการบิน บรรยายพันธกิจของศูนย์ฯ ต่อศิษย์การบิน “เราเป็นกังวล... ต่อการเลือกใช้ก�ำลังทางอากาศในสงครามครั้งถัดไป” ในการติดต่อกับกระทรวงสงคราม ผู้บัญชาการทัพอากาศ จะพูดถึงเครื่องบินทิ้งระเบิดในแง่อาวุธเชิงตั้งรับ แต่ที่แม็กซเวลล์ ฟิลด์ แนวคิดเชิงรุกยังด�ำรงอยู่ ลัทธิมติ เชลล์ทผี่ ดิ แผกแตกต่างออกไป พันโท จอร์จ และ คณาจารย์ ไม่ยอมรับแนวคิดของมิตเชลล์กบั ดูหเ์ อ็ตทีว่ า่ การทิง้ ระเบิดมีผลกระทบต่อขวัญ ก�ำลังใจมากกว่าการผลิต ในขณะทีม่ ติ เชลล์กบั ดูหเ์ อ็ตเรียกร้องให้ทำ� ลายศูนย์เศรษฐกิจของ ข้าศึก เป้าหมายเดียวที่ระบุแน่ชัด จะเป็นอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบิน อะไรเป็นจุด แข็งของโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมของประเทศ? จะท�ำลายได้อย่างไร? ผู้มีวิสัยทัศน์ ทางอากาศที่แม็กซเวลล์ฟิลด์เผชิญค�ำถามนี้ซึ่งหน้า ได้ค�ำตอบใหม่สด และเป็นค�ำตอบ แบบอเมริกันขนานแท้ : การทิ้งระเบิดอย่างแม่นย�ำในเวลากลางวัน ค�ำตอบนี้ให้ก�ำเนิด ‘ปรัชญาการสงครามใหม่’ ก่อนที่กรมการบินจะทดสอบสิ่ง ประดิษฐ์ใหม่เป็นการลับ นัน่ ก็คอื ศูนย์เล็งเป้านอร์เด็น อาวุธลับสุดยอดของอเมริกาก่อน โครงการแมนฮัตตัน พัฒนาขึน้ มาในปี 1931 ส�ำหรับเครือ่ งบินนาวี โดยวิศวกรดัตช์ คาร์ล แอล. นอร์เด็น ภรรยาของนอร์เด็นหยอกล้อว่า เขาเป็น ‘พ่อค้าความตาย’ แต่นอร์เด็น กล่าวอ้างว่า สิ่งประดิษฐ์ของเขาช่วยชีวิตผู้คนมากหลายจากการทิ้งระเบิดที่แม่นย�ำ สองปีหลังจากนาวีทดสอบสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ กองทัพบกสั่งให้ติดตั้งประจ�ำเครื่องบิน ยามฝั่ง ในท้ายที่สุด ทุ่มเงิน 1.5 พันล้านดอลลาร์ (65 เปอร์เซ็นต์ของโครงการ 56 เจ้าเวหา


แมนฮัตตัน) จัดซื้อศูนย์เล็งเป้านอร์เด็น 90,000 ชุด ในยามที่กองบินทิ้งระเบิดที่ 1 ของแฮ็ป อาร์โนลด์ ทดสอบในฟ้าโปร่งอากาศแห้งของทะเลทรายโมฮาวี ทุกคนต้อง ประหลาดใจที่ระเบิดตกลงบนเป้าหมายอย่างแม่นย�ำ นี่คือ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่คณาจารย์ที่แม็กซเวลล์ฟิลด์เฝ้ารอคอย อุปกรณ์รกั ษาเสถียรภาพด้วยไจโรสโกปของคาร์ล นอร์เด็น ค�ำนวณการเบีย่ งเบนและองศา การทิง้ ระเบิด จะท�ำให้การทิง้ ระเบิดจากระดับความสูงมาก ได้ผลทรงประสิทธิภาพและมี มนุษยธรรม เหตุผลสนับสนุนดังเซ็งแซ่ในปี 1935 ทีร่ จู้ กั ศูนย์เล็งเป้านอร์เด็น แต่ปญ ั หา ยังคงอยู่ กระทรวงสงครามมองศูนย์เล็งเป้านอร์เด็นว่าเป็นอาวุธเชิงป้องกันตั้งรับ ติดตั้ง บนเครื่องบินทิ้งระเบิดยามฝั่ง ปกป้องกองทัพเรือหากมีการบุกฐานทัพเรือ มาเฟียนักทิ้ง ระเบิดมองอีกทาง มหานครต่างหากที่จะเป็นเป้าหมายของการทิ้งระเบิดอย่างจ�ำเพาะ เจาะจง ท�ำลายแต่เฉพาะจุดเศรษฐกิจส�ำคัญ เช่น โรงไฟฟ้า โรงกลั่นน�้ำมัน นี่เป็นการ ผละจากแนวคิดของมิตเชลล์โดยสิน้ เชิง เนือ่ งเพราะมิตเชลล์เชือ่ ว่าการทิง้ ระเบิดจะท�ำโดย สุ่ม ไม่จู้จี้เลือกเป้า “แนวคิดการเข่นฆ่าบุรุษ สตรี และทารก นับพันนับหมื่น ยังความสะอิดสะเอียน ต่ อ ขนบประเพณี อ เมริ กั น ” พั น ตรี เฮย์ วู ด เอส. แฮนเซลล์ เขี ย นไว้ เขาเป็ น หนึ่ ง ในดาวสุ ก ใสที่ แ ม็ ก ซเวลล์ ฟ ิ ล ด์ ในเวลาต่ อ มา เป็ น นั ก วางกลยุ ท ธ์ ทิ้ ง ระเบิ ด และผู้บัญชาการรบในสงคราม แฮนเซลล์เพิ่มเติมว่า การเข่นฆ่าพลเรือนเป็นเป้า หมายเลวทางการทหาร ตรงข้ า มกั บ ความเชื่ อ ของดู ห ์ เ อ็ ต และมิ ต เชลล์ พลเรื อ น ทนทานไร้อารมณ์ อาจอพยพออกจากเมืองไปที่อื่น หรือลงไปซ่อนตัวในหลุมหลบ ภัย ในขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมบอบบาง เคลื่อนที่ไม่ได้ และแทบไม่มีหนทาง ป้องกัน* นี่เป็นการสงครามที่สอดรับกับสภาพจิตอเมริกัน “รวมเอาความเชื่อเชิง ศีลธรรม การมองโลกในแง่ดีฝังรากยาวนานในประวัติศาสตร์ การบุกเบิกเชิงเทคโนโลยี สามเรื่องนี้เป็นคุณลักษณะของคนอเมริกัน” จอห์น คีแกน นักประวัติศาสตร์ เขียนไว้ ในเมือ่ มีคำ� สัง่ ห้ามขาดจากกระทรวงสงคราม ไม่ให้ศกึ ษาภาวะเศรษฐกิจของประเทศ อื่น ป้องกันโดยเชิงงบประมาณ ไม่ให้ว่าจ้างนักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มนักทฤษฎี ดาวรุ่งที่แม็กซเวลล์ฟิลด์: โดนัลด์ วิลสัน, เคนเน็ธ วอล์กเกอร์, แฮโรลด์ จอร์จ, มัวร์ แฟร์ไชล์ด และเฮย์วูด แฮนเซลล์ ลงมือกระท�ำ ‘เศรษฐกิจศึกษา’ ของตน วิเคราะห์ ระบบอุตสาหกรรมอเมริกัน ซึ่งน�ำไปสู่การวางแผนการรบทางอากาศ มีฐานจากระบบ เครือข่ายอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์ที่จะมีโอกาสได้น�ำมาปรับใช้ในภายหลังโดยคณะ เสนาธิการช่วงสงครามของแฮ็ป อาร์โนลด์ รัฐอุตสาหกรรมยุคใหม่ คณะศึกษาตั้งทฤษฎีไว้ เสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางอากาศ *  เมื่อถึงปี 1943 อุตสาหกรรมเยอรมันปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่น เคลื่อนที่ได้ และมีการป้องกันอย่างหนาแน่น นพดล เวชสวัสดิ์ 57


เพราะเศรษฐกิจของประเทศต่อเชือ่ มเป็นเครือข่ายบอบบางถักทอกันเหมือนใยแมงมุม การ ทัพทิง้ ระเบิดแม่นย�ำต่อเนือ่ งไม่ขาดสาย ต้องการเพียงแค่ถล่มท�ำลายอุตสาหกรรมการผลิต หรือการขนส่งวัตถุดบิ ทีอ่ ตุ สาหกรรมอืน่ จ�ำเป็นต้องใช้ ท�ำลาย ‘คอขวด’ ของข้าศึก ไม่วา่ จะ เป็นเหล็กกล้า โรงไฟฟ้า ตลับลูกปืน น�้ำมัน และอุตสาหกรรมรถไฟ...เศรษฐกิจสงคราม ทั้งมวลจะล่มสลาย ท�ำให้การต้านสู้ทางทหารไม่อาจกระท�ำได้ ญี่ปุ่นและเยอรมนี คาดว่าจะเป็นศัตรูของอเมริกาในสงครามครั้งถัดไป ดังนั้น นับว่ามีความส�ำคัญยิ่ง (มาเฟียนักทิ้งระเบิดยืนยัน) ต้องหาฐานที่มั่นในประเทศพันธมิตร เช่น จีนหรืออังกฤษ จากที่นั่น ส่งเครื่องบินออกไปท�ำการปฏิบัติการทิ้งระเบิดทาง ยุทธศาสตร์ การปฏิบตั กิ ารนีจ้ ะเริม่ ต้นในช่วงเดือนแรกๆ ของสงคราม และเพิม่ ก�ำลังพล ให้เต็มอัตราศึกในห้วงเวลาสองปี ช่วงเวลาทีต่ อ้ งพึง่ พาอ�ำนาจการผลิตมโหฬารของอเมริกา ต้นปี 1935 ไม่มีเครื่องบิน ไม่มีสงคราม ที่จะทดสอบวิสัยทัศน์และการคาดประมาณ กรมการบินได้เครือ่ งบินทิง้ ระเบิดในปีนนั้ ในอีกหกปีตอ่ มา มาเฟียนักทิง้ ระเบิดได้สงคราม ในปี 1927 นายพล ดูหเ์ อ็ต เขียนไว้วา่ “เครือ่ งบินรบแท้จริง จะต้องข่มขวัญข้าศึก เครือ่ งบินเช่นว่านัน้ ยังไม่มกี ารประดิษฐ์มาใช้งาน และไม่นา่ จะผลิตมาให้เห็นในระยะเวลา อันใกล้” ในทศวรษ 1930 กรมการบินพิสจู น์วา่ ค�ำกล่าวนัน้ ผิดพลาด บรรษัท โบอิง้ เมือง ซีแอตเติล มลรัฐวอชิงตัน ท�ำสัญญาต่อกองทัพบก เริ่มโครงการที่ไม่มีวิศวกรการบินคน ไหนเชือ่ ว่าจะเป็นไปได้...พัฒนาเครือ่ งบินปีกชัน้ เดียว โลหะทัง้ ล�ำ ขนาดใหญ่และบินได้เร็ว เครือ่ งบินทีจ่ ะพิสจู น์วา่ ขนาดมหึมาไม่จำ� เป็นต้องแลกกับประสิทธิภาพเชิงอากาศพลศาสตร์ โบอิง้ ตอบรับ โดยเสนอป้อมบิน B-17 (โมเดล 299) เครือ่ งบินทิง้ ระเบิดอเมริกนั ก่อนหน้า นัน้ มีเพียงสองเครือ่ งยนต์ แต่เครือ่ งบินต้นแบบปี 1935 มีเครือ่ งยนต์สบู ดาว (สูบเป็นวง รอบเพลา) 750 แรงม้ า สี่ เ ครื่ อ ง ซึ่ ง ท� ำ ให้ บิ น เร็ ว กว่ า เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ อ เมริ กั น ทุกรุน่ ทีม่ ใี ช้อยู่ รุน่ ผลิตจริง B-17G เปิดตัวเข้าสงครามในปี 1943 มีเครือ่ งยนต์ 1,200 แรงม้าสี่เครื่องยนต์ บรรทุกระเบิด 4,000 ปอนด์ บินพร้อมน�้ำหนักบรรทุกเต็มพิกัดได้ 150-250 ไมล์ต่อชั่วโมงที่ระดับความสูง 25,000 ฟุต พิสัยท�ำการ 650-800 ไมล์ ขึ้นอยู่กับน�้ำหนักบรรทุก เครื่องบินแสนสวย บ่งบอกพลังและการเคลื่อนที่ มาดคุกคาม น่าเกรงขามบนพื้นดิน และสวยสง่าเมื่อบินท่องกลางฟ้า ต้นปี 1937 ป้อมบินสีเงินฝูงแรกมาถึงหน่วยฝึกนายทหารทิ้งระเบิด ที่แลงลีย์ ฟิลด์, เวอร์จิเนีย ไม่ไกลจากเมืองหลวงนัก หนึ่งปีหลังจากที่แฮ็ป อาร์โนลด์ คืนสู่ วอชิงตันดีซี รับหน้าที่ผู้ช่วยผู้บังคับการกรมการบิน คนยืดหยุ่น เสาะหาการปรองดอง มากกว่าจะผลักดันอุดมการณ์ใด ห้วงเวลาที่กราดเกรี้ยวร่วมกับบิลลี มิตเชลล์ สอน ให้เขาพูดจาภาษาทูตกับกระทรวงสงคราม เขาสานสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ได้การ เกื้ อ หนุ น ให้ ม ารั บ ต� ำ แหน่ ง ปั จ จุ บั น ขึ้ น บิ น ครั้ ง แรกในป้ อ มบิ น B-17 เขาหลงรั ก 58 เจ้าเวหา


ยักษ์ใหญ่สเี งินในทันที ไม่เหมือนกับ ‘วิทยาการนามธรรมในศูนย์การบินเชิงยุทธวิธ’ี นีค่ อื ‘เวหานุภาพที่จับต้องได้’ การเสริมแต่งเพื่อการรบ มีการติดตั้งปืนกลหนักบราวนิง .50 คาลิเบอร์ จ�ำนวน 13 กระบอก แปดกระบอกอยูใ่ นกระเปาะหมุนได้รอบตัว เครือ่ งจักร สงครามน่าสะพรึงกลัว หลังการติดตัง้ ศูนย์เล็งเป้านอร์เด็น และเพิม่ ระบบการบินอัตโนมัติ ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาในทศวรรษ 1930 ป้อมบินให้น�้ำหนักต่อแนวคิดของมาเฟียนัก ทิ้งระเบิด ขอเพียงแค่โน้มน้าวกระทรวงสงครามให้น�ำไปใช้ในเชิงรุก ไม่เพียงแค่ปกป้อง น่านฟ้าและน่านน�้ำสหรัฐฯ ให้ได้เท่านั้น การเปิดตัว ป้อมบิน B-17 ยืนยันแนวคิดป้อมบินประจัญบาน ปราการกลาง ฟ้าที่ไม่อาจเจาะท�ำลายได้ของนายพล ดูห์เอ็ต แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าข้าศึกพัฒนาระบบ ป้องกันภัยทางอากาศ ถึงระดับที่ก่อความเสียหายอย่างหนักให้เครื่องบินทิ้งระเบิดที่ ไม่มีเครื่องบินขับไล่คุ้มกัน? ท�ำไมกรมการบินไม่ผลักดันการพัฒนาเครื่องบินขับไล่คุ้ม กันระยะไกล? เหตุผลเดียวคือ ความล้มเหลวของจินตนาการ มาเฟียนักทิ้งระเบิดไม่ ทราบล่วงหน้าในเรื่องการใช้งานเรดาร์ ซึ่งในช่วงนั้น มีแปดประเทศพัฒนาเรดาร์ รวม ทั้งสหรัฐฯ ในฐานะเครื่องมือเตือนภัยล่วงหน้าต่อการโจมตีทางอากาศ เรดาร์จะน�ำมา ใช้ทางทหารอย่างแพร่หลายในอีกไม่นาน แนวคิดต่อเครื่องบินขับไล่คุ้มกันเป็นดังนี้: ใน เมือ่ มีทอ้ งฟ้ากว้างใหญ่ไพศาล จะไม่มที างตรวจพบเครือ่ งบินทิง้ ระเบิดจนกว่าจะบินถึงเป้า หมาย และเมื่อถึงเป้าหมาย เครื่องบินทิ้งระเบิดบินสูงเกินระยะท�ำการของ ปตอ. และ หมูบ่ นิ ทิง้ ระเบิดซึง่ บินคุม้ กันซึง่ กันและกัน ไม่มที างทีเ่ ครือ่ งบินขับไล่ของข้าศึกจะเจาะเข้า มาได้ “การโจมตีทางอากาศทีว่ างแผนไว้อย่างดี ปฏิบตั กิ ารดี เมือ่ บินขึน้ จากพืน้ แล้ว จะ ไม่มีทางหยุดยั้งได้” เคนเน็ธ วอล์กเกอร์ จากศูนย์การบินเชิงยุทธวิธีเขียนไว้ แต่แฮน เซลล์ มองโลกในความเป็นจริง อย่างน้อยก็ยอมรับความเป็นไปได้ว่า ระบบป้องกันภัย ทางอากาศของข้าศึก อาจรับมือกับการโจมตีของเครื่องบินทิ้งระเบิดได้หากเกิดเรื่องเช่น นั้น ระบบป้องกันภัยทางอากาศของข้าศึก จะถูกท�ำลายลงได้ โดยการรบกลางฟ้า โดย การท�ำลายฐานบินข้าศึก โรงงานผลิตเครื่องบินและแหล่งน�้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน นั่นก็ หมายถึงการถล่มท�ำลายลุฟท์วฟั เฟอ ท�ำลายกองทัพอากาศข้าศึก โดยเครือ่ งบินทิง้ ระเบิด เป็นผูร้ บั ภาระ “เสาะหาการบัน่ ทอนให้ออ่ นล้าผ่านการรบทางอากาศ” ในสนามรบกลาง ฟ้าเหนือเยอรมนี ป้อมบินจ�ำเป็นต้องประกาศศักดาให้สมกับชื่อ ผู้นิยมการทิ้งระเบิดไม่เห็นพ้องกับการพัฒนาเครื่องบินขับไล่คุ้มกันระยะไกล ใน เมื่อ B-17 บินเร็วว่าเครื่องบินขับไล่ทุกรุ่นที่ประจ�ำการในกองทัพในปี 1935 การ ติดถังน�้ำมันส�ำรอง เพื่อการบินคุ้มกันระยะไกล จะลดความเร็วและความคล่องแคล่ว ของเครื่องบินขับไล่ จนไม่อาจตามทันเครื่องบินทิ้งระเบิด ต้องป้องกันตัวเองจาก เครื่องบินขับไล่เบาและเร็วกว่าของข้าศึก การพัฒนาเครื่องบินขับไล่บินเร็วพิสัยท�ำการ นพดล เวชสวัสดิ์ 59


ไกลเท่าเครื่องบินทิ้งระเบิด มองว่าเป็น ‘ความเป็นไปไม่ได้เชิงวิศวกรรม’ นายพล ลอเรนซ์ เอส. คูเทอร์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังสงคราม “เราปิดความคิดเรื่องเครื่องบิน ขับไล่คุ้มกันพิสัยไกล ไม่มีอะไรหยุดยั้งเครื่องบินทิ้งระเบิดได้ เครื่องบินทิ้งระเบิดเป็น อมตะ” เงินเป็นอีกปัจจัยหนึง่ ในเมือ่ รัฐสภาและกระทรวงสงครามเต็มใจจะสัง่ B-17 เพียง แค่ 13 ล�ำ การผลักดันเครือ่ งบินขับไล่ น่าจะเป็นการปัดแข้งปัดขา “ข้ออ้างทีจ่ ะตัดตอน เครื่องบินทิ้งระเบิด” ตามค�ำกล่าวของพันตรี โดนัลด์ วิลสัน หากนักทฤษฎีเวหานุภาพ เช่น คูเทอร์และวิลสัน ศึกษาประวัติชีวิตของมิตเชลล์ อย่างถ่องแท้ ก็น่าจะมองเห็นบทบาทของเครื่องบินขับไล่ในการสงครามทิ้งระเบิด ไม่ เพียงแค่คุ้มกัน แต่ยังท�ำหน้าที่เสาะหาและท�ำลาย ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มิตเชลล์ และผู้น�ำทัพอากาศคนอื่นๆ ที่แนวหน้า ตระหนักแล้วว่า ไม่มีปฏิบัติการทางอากาศใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเชิงยุทธวิธี ยุทธศาสตร์ หรือลาดตระเวน จะกระท�ำได้...หากไม่ได้เป็นผู้ ครองฟ้า “ส�ำหรับมิตเชลล์ ภารกิจแรกสุดทีก่ ำ� ลังทางอากาศต้องปฏิบตั ”ิ นักประวัตศิ าสตร์ วิลเลียมสัน เมอร์เรย์ ชี้ให้เห็น “...จะเป็นการท�ำลายก�ำลังทางอากาศของข้าศึก โดย เฉพาะอย่างยิ่งเครื่องบินขับไล่ ท�ำลายจนไม่เหลือแม้แต่ล�ำเดียว เมื่อบรรลุเป้าหมายนั้น แล้ว จึงจะหันไปหาเป้าหมายอื่นได้ ดังนั้น เครื่องบินขับไล่ข้าศึกถือเป็นเป้าหมายส�ำคัญ อย่างยิง่ ” ในสายตาของมิตเชลล์ การจัดก�ำลังทางอากาศให้ได้สมดุล จะต้องมีเครือ่ งบิน ขับไล่อย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ การครองอากาศโดยเครื่องบินขับไล่ จ�ำเป็นต้องท�ำให้ได้ก่อน จึงจะได้มาซึ่งความ ส�ำเร็จจากการทิ้งระเบิดเชิงรุก ในสมรภูมิยุโรปที่ใกล้จะมาถึง ผู้บัญชาการรบทางอากาศ อเมริกัน ใช้เวลาปีเศษ และการสูญเสียแทบล่มสลาย เพื่อซับซาบบทเรียนนี้ แต่มาเฟีย นักทิง้ ระเบิดสร้างผลงานได้ดยี ิ่งในปลายทศวรรษ 1930 กระตุน้ ให้มกี ารพัฒนาเรือ่ งหนึ่ง ที่ทั้งมิตเชลล์และดูห์เอ็ตมองข้ามไป...นั่นคือ การจับมือของทหารกับอุตสาหกรรม ผลิต เครื่องบินรบจ�ำนวนมหาศาล

เครื่องบินแผ่เต็มฟ้า ฤดู ร ้ อ นปี 1937 ทั พ อากาศดิ้ น รนสุ ด ฤทธิ์ เสาะหาทุ น เพิ่ ม จ� ำ นวน B-17 ใน ช่วงนั้นมีเพียงเจ็ดล�ำ จอดบนรันเวย์ของแลงลีย์ฟิลด์ ภายใต้การบัญชาการของคาร์ล สปาตซ์ จากนั้นหนึ่งปี ‘มิวนิก’ เปลี่ยนทุกอย่างไปโดยสิ้นเชิง หลังจากฮิตเลอร์ผนวกออสเตรีย เรียกร้องจังหวัดซูเดเท็นลันด์ทมี่ คี นเชือ้ ชาติเยอรมัน 60 เจ้าเวหา


จากเชโกสโลวาเกีย ในการประชุมมิวนิก วันที่ 29-30 กันยายน 1938 อังกฤษและ ฝรั่งเศสหันหลังให้เชโกสโลวาเกีย ปล่อยให้เผชิญชะตากรรมตามล�ำพัง “(ฉันน�ำมามอบ ให้ท่าน) สันติภาพที่มีเกียรติ” นายกรัฐมนตรี เนวิลล์ เชมเบอร์เลน เปล่งวาทะอมตะ เดินทางกลับลอนดอนหลังจากจูบบัน้ ท้ายฮิตเลอร์ “ฉันเชือ่ ว่าจะเป็นสันติภาพยืนยงสถาพร ในยุคของพวกเรา” ไม่ถึงสองเดือนหลังจากนั้น ประธานาธิบดี แฟรงคลิน โรสเวลต์ อดีตนาย ทหารนาวีสหรัฐฯ สั่งการให้เพิ่มการผลิตเครื่องบินทุกประเภท ส�ำหรับการใช้งานใน สหรัฐฯ และส่งออกไปให้อังกฤษและฝรั่งเศสที่ตกอยู่ในภัยคุกคาม มีเพียงเครื่องบินทิ้ง ระเบิดหลายพันหลายหมื่นล�ำเท่านั้นที่จะสร้างความประทับใจให้ฮิตเลอร์ และปกป้อง คุ้มครองชายฝั่งทะเลอเมริกากับดินแดนยุทธศาสตร์ทั้งหลาย รวมทั้งคลองปานามาและ ฟิลปิ ปินส์ จากการโจมตีทางอากาศและทางทะเลจากญีป่ นุ่ และปกป้องฐานทัพในดินแดน ตะวันตกที่เยอรมนีจะมายึดครองในอนาคต หลังความพ่ายแพ้จากการประชุมมิวนิก โรสเวลต์แน่ใจว่า “เราจะใกล้จะเข้าสู่สงครามอีกครั้ง” แฮร์รี ฮ็อปกินส์ รัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์ และหัวหน้าคณะที่ปรึกษาของโรสเวลต์กล่าวไว้ “...ก�ำลังทางอากาศ จะช่วยให้เราชนะสงคราม” แต่โรสเวลต์ก็เหมือนเช่นคนอเมริกันส่วนใหญ่ ยืนยันว่า สงครามทางอากาศจะต้องก�ำกับด้วยศีลธรรม ในท้ายที่สุด เมื่อเกิดสงครามในยุโรปในปี 1939 เขาร้องขอต่อทัง้ สองฝ่าย “อย่าได้ทงิ้ ระเบิดอย่างเหีย้ มโหดต่อพลเรือนในมหานคร ประชากรหนาแน่นที่ไม่มีการป้องกัน” เชอร์ชิลเห็นพ้อง เช่นเดียวกับฮิตเลอร์ซ่อนเล่ห์ แสร้งท�ำเป็นเห็นพ้อง แม้ว่าลุฟท์วัฟเฟอใกล้จะขึ้นบิน น�ำระเบิดไปทิ้งลงกลางวอร์ซอ เมืองหลวงของโปแลนด์ ในเดือนวิกฤตมิวนิก แฮ็ป อาร์โนลด์ เป็นผู้บังคับการกรมการบินทหารบก แต่งตั้ง สปาตซ์กับอีเคอร์ขึ้นมาด�ำรงต�ำแหน่งระดับสูงในทันที ทั้งสามได้ชัยชนะใน ‘สงคราม ท�ำเนียบขาว’ บอกคณะเสนาธิการว่าจ�ำเป็นต้องเผด็จศึกของการผลิตให้จงได้ อาร์โนลด์ ตะลุยเข้าไปในศึกนี้ด้วยความมุ่งมั่นและจินตนาการสุกปลั่ง เขาเป็นผู้น�ำชั้นดี “ในแง่การ จุดแรงบันดาลใจ” ความเห็นของรอเบิร์ต เอ. โลเว็ตต์ นักการเงินจากวอลล์สตรีต ผู้ มาด�ำรงต�ำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสงครามด้านทัพอากาศ “คึกคักกระตือรือร้นเหมือน เด็กหนุ่ม” ภาษิตประจ�ำใจสลักไว้บนแผ่นไม้บนโต๊ะท�ำงาน “เรื่องยาก จัดการในวันนี้ เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ใช้เวลานานกว่านี้อีกหน่อย” เขาบอกคนรอบข้างว่าเขาเรียนรู้เรื่องนี้ จากสองพี่น้องตระกูลไรต์ อาร์โนลด์ นักการทูตหน้าตายิม้ แย้มในยามพูดคุยกับผูบ้ งั คับบัญชา แต่เย็นชาเหีย้ ม นพดล เวชสวัสดิ์ 61


เกรียมต่อลูกน้อง คนจริงจัง ‘ไร้เมตตาต่อความล้มเหลว’ เหมือนบิดา นายแพทย์จาก เมืองอาร์ดมอร์, เพนซิลเวเนีย อาร์โนลด์เลือ่ งชือ่ ในการหักหน้าด่าทอผูค้ นให้ไร้คา่ ในการ ประชุมคณะเสนาธิการ สตีฟ เฟอร์สัน นายทหารระดับล่าง ใบหน้าแดงก�่ำ เหงื่อโซม หน้า ในขณะทีอ่ าร์โนลด์ตะคอกใส่หน้า เฟอร์สนั ยกมือกุมอก ขาดใจตายด้วยอาการหัวใจ วาย ล้มคว�่ำบนพื้นพรมหน้าโต๊ะท�ำงานของนายพล หลังจากทหารหามศพออกไปแล้ว อาร์โนลด์บอกให้ทุกคนกลับบ้านส�ำหรับวันนั้น แต่เขานั่งท�ำงานต่อตามล�ำพัง “พวกเรา เกือบทุกคน” ลอเรนซ์ คูเทอร์ กล่าว “กลับไปนั่งท�ำงานที่โต๊ะ” อาร์โนลด์มอี าหารหัวใจวายห้าครัง้ ครัง้ ท้ายสุดคร่าชีวติ นายทหารในกองบัญชาการ บางนาย เรียกเจ้านายคิดไวท�ำไวว่า ‘ผูค้ มุ ทาส’ แต่ผคู้ นใกล้ชดิ เข้าใจความจ�ำเป็นเร่งด่วน คูเทอร์กล่าวไว้วา่ “ทัพอากาศสร้างขึน้ มาเร่งด่วน เพือ่ ยับยัง้ ภัยพิบตั ใิ นยุโรปและเอเชีย ใน ฐานะผูน้ ำ� ไม่มใี ครท�ำงานภายใต้แรงกดดันได้เท่าเขา เขาต้องเปิดหน้ารับค�ำสัง่ ข้อเรียกร้อง ทั้งปวง จากประธานาธิบดี จากแฮร์รี ฮ็อปกินส์ และจากเจ้าหน้าที่ท�ำเนียบขาว รวม ถึงผู้ยิ่งใหญ่จากหน่วยงานอื่นๆ” หากต้องการชัยชนะในสนามรบเช่นนี้ อาร์โนลด์ผูกมิตรสิบทิศ ในแวดวงธุรกิจ ชุมชนนักวิทยาศาสตร์ ในฮอลลีวูด ในรัฐสภา และในท�ำเนียบขาว เพื่อนเก่าของเขา นายพล จอร์จ ซี. มาร์แชล เป็นผู้ดูแลโครงการสร้างกองทัพบกใหม่ให้ยิ่งใหญ่พอจะ รับมือภัยคุกคามจากฝ่ายอักษะ และพอจะท�ำให้เขาใจชื้น เมื่อมีคาร์ล สปาตซ์ เป็น มือขวาและเป็นเสนาธิการ สปาตซ์เกิดและเติบโตในเมืองบอยเยอร์ทาวน์, เพนซิลเวเนีย ไม่ไกลจากบ้านเกิดของอาร์โนลด์ แม้ทงั้ สองจะเป็นเพือ่ นสนิทกันชัว่ ชีวติ แต่ลกั ษณะนิสยั ขัว้ ตรงข้ามกัน พลโท เอลวูด อาร์. ‘พีต’ เควซาดาลูกน้องของคนทัง้ สองในสงครามโลก ครัง้ ที่ 2 เปรียบเทียบให้เห็น “สปาตซ์เป็นคนช่างคิดและนักวางแผน ไม่เคยพัวพันเรือ่ ง ยุ่งยาก ตรงข้ามกับอาร์โนลด์ คนลงมือกระท�ำ พยายามหาแง่มุมใหม่เสมอ และคิด โครงการใหม่ได้ทุกวัน สปาตซ์เป็นคนเงียบขรึมสุขุมคิดลึก ในขณะที่อาร์โนลด์ คนเดือด ง่ายโผงผาง ซึ่งนั่นท�ำให้เขาเป็นเจ้านายชั้นดี หากไม่มีเขา เราก็คงไม่มีทัพอากาศ” แต่ ถ้าไม่มีสปาตซ์ถ่วงให้ได้สมดุล อาร์โนลด์ก็คงมาไม่ได้ไกลขนาดนี้ “สปาตซ์เข้ากับผู้คนได้ ง่ายกว่าอาร์โนลด์” สปาตซ์นอบน้อมถ่อมตน “แผ่ความเชื่อมั่นออกมารอบข้าง เพราะ เขาเยือกเย็นมั่นคงยิ่ง” สปาตซ์ชนื่ ชอบโป๊กเกอร์ บริดจ์ ซิการ์ควิ บา และวิสกีเ้ คนตักกี ในงานปาร์ตที้ บี่ า้ น ของอาร์โนลด์ เขาจะลากกีตาร์ออกมา เล่นเพลงสองแง่สามง่ามไม่รจู้ บ เล่นเสร็จ จะไป นั่งตามล�ำพัง สูบซิการ์ “ผมไม่เคยเรียนรู้อะไร ในยามที่เปิดปากพูด” เขาบอกคนรอบ ข้าง เควซาดาเล่าต่อ “อาร์โนลด์กับสปาตซ์นิยมชื่นชอบอีกฝ่าย ทันกัน และเล่นเป็น ทีมเข้าขากัน แม้ว่าอาร์โนลด์จะขยายความขีดความสามารถของก�ำลังทางอากาศเกินจริง 62 เจ้าเวหา


สปาตซ์ไม่เคยพูดอะไรเกินจริง” ข้อแตกต่างชัดที่สุด “สปาตซ์ฉลาดแต่ไม่ตัดสินใจ ส่วน อาร์โนลด์ตัดสินใจแต่ไม่ฉลาด” ในปี 1938 ทัพอากาศ “มีแพลน (แผน) แต่ไม่มีเพลน (เครื่องบิน)” ในเดือน พฤษภาคม 1940 ฝรั่งเศสใกล้จะตกอยู่ในมือนาซี โรสเวลต์เรียกร้องให้ผลิตเครื่องบิน ปีละ 50,000 ล�ำ กระตุ้นให้อุตสาหกรรมผลิตเครื่องบิน เพิ่มยอดจาก 2,000 ล�ำ ต่อปี เป็น 4,000 ล�ำต่อเดือน รัฐสภาอนุมัติงบประมาณให้เร็วด่วน ในค�ำกล่าวของ อาร์โนลด์ “ในเวลาแค่สี่สิบห้านาที ผมได้รับเงินทุน 1,500,000,000 ดอลลาร์ และ ค�ำสั่งก�ำชับให้สร้างทัพอากาศขึ้นมา” ในช่วงเวลานั้น เป็นช่วงวิกฤตมิวนิก ทัพอากาศ อเมริกันมีเครื่องบินรบ 1,200 ล�ำ นายทหารและก�ำลังพล 22,700 นาย อยู่ใน อันดับที่ยี่สิบของโลก เมื่อถึงเดือนธันวาคม 1941 มีนายทหารและก�ำลังพล 340,000 นาย กับเครื่องบินรบ 3,000 ล�ำ ใหม่ล่าสุดจะเป็น B-24 ลิเบอเรเตอร์ บินได้เร็วกว่า ไกลกว่า และบรรทุกระเบิดได้มากกว่า B-17 ซึ่งงดงามและบังคับควบคุมได้คล่องแคล่ว เมื่อถึงปี 1944 การผลิตเป็นเลิศ การศึกษาเป็นเลิศ ส่งให้สหรัฐอเมริกามีทัพอากาศ ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เครื่องบินรบ 80,000 ล�ำ นักบินและพลสนับสนุน 2.4 ล้านนาย ถือเป็น 31 เปอร์เซ็นต์ของกองทัพบก กองก�ำลังขนาดใหญ่กว่ากองก�ำลังทหารอเมริกนั ที่ นายพล เพอร์ชงิ เคยบัญชาการในสงครามโลกครัง้ ที่ 1 และเมือ่ ถึงเดือนมีนาคม 1944 โรงงานอเมริกันผลิตเครื่องบินรบ 9,000 ล�ำต่อเดือน มากกว่าค�ำร้องขอของโรสเวลต์ใน ปี 1940 ถึงเท่าตัว การคาดประมาณที่ถือว่า ‘เป็นไปไม่ได้อย่างยิ่ง’ จากมุม มองของทั้ ง ฝ่ายฮิตเลอร์และคณะที่ป รึก ษาของท�ำเนียบขาว ผู้เขียนชีว ประวัติของ อาร์โนลด์บันทึกไว้ “ไม่เคยมีมาก่อน และจะไม่มีอีกแล้ว ที่เครื่องจักรทหาร ทั้งขนาด มหึมา และเทคโนโลยีซับซ้อน จะผลิตออกมาในห้วงระยะเวลาอันสั้น” ผลงานที่ได้ จากการร่วมมือใกล้ชิดของวงการธุรกิจกับรัฐบาล ซึ่งไม่มีทางเกิดขึ้นในรัฐทหารนาซี โลเว็ตต์กล่าวไว้ว่า “อาร์โนลด์ให้ความเป็นผู้น�ำ เพลิงโชติช่วง และแรงขับทั้งมวลที่อยู่ เบื้องหลัง” แต่ก�ำลังการผลิต ไม่เร็วพอที่จะสร้างกองบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ได้ทันปี 1942 การเร่งการผลิตระหว่างปี 1938-1942 หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะลดคุณภาพทั้งการ ผลิตและมาตรฐานการฝึก ส่งผลใหญ่หลวงต่อผลการท�ำงานของลูกเรือและเครื่องบินใน ปีแรกของปฏิบัติการรบ วันที่ 20 มิถุนายน 1941 รัฐมนตรีกระทรวงสงคราม เฮนรี แอล. สติมสัน ลงนามก่อตัง้ ทัพอากาศ สังกัดกองทัพบกอย่างเป็นทางการ และอาร์โนลด์ ด�ำรงต�ำแหน่ง เสนาธิการทหารอากาศ และเสนาธิการร่วมอังกฤษ-อเมริกัน ทัพอากาศเป็นอิสระไม่ขึ้น ตรงต่อกองก�ำลังภาคพืน้ ดินและได้อำ� นาจเต็มจากประธานาธิบดีในการเขียนพิมพ์เขียวการ ผลิตส�ำหรับสงครามทีใ่ กล้จะมาถึง ในเดือนสิงหาคม 1941 ในช่วงเร่งด่วนเก้าวัน อดีตครู นพดล เวชสวัสดิ์ 63


การบินทีแ่ ม็กซเวลล์ ฟิลด์: แฮโรลด์ จอร์จ, เคนเน็ธ วอล์กเกอร์, ลอเรนซ์ คูเทอร์ กับ เฮย์วดู แฮนเซลล์ ร่างแผนกองพลรบทางอากาศ-1 “มองในแง่ไหน ก็เหมือนเลกเชอร์ศนู ย์ การบินเชิงยุทธวิธ”ี พยากรณ์ได้อย่างแม่นย�ำว่าต้องใช้เครือ่ งบินและก�ำลังพลเท่าใดในการ ท�ำสงครามทางอากาศต่อเยอรมนี และไปไกลว่านั้น ถึงขั้นตรา ‘พันธกิจ’ ทัพอากาศ ในสงคราม: “ปฏิบัติการรุกรบทางอากาศ ไม่หยุดหย่อน ไม่ว่างเว้น ต่อเยอรมนีและ อิตาลี เพือ่ ท�ำลายความมุง่ มัน่ และขีดความสามารถในการท�ำศึก ท�ำให้การบุกภาคพืน้ ดิน ไร้ความจ�ำเป็น หรือไม่สญ ู เสียมากเกินไป” แน่อยูแ่ ล้ว แฮโรลด์ จอร์จ กับคณะวางแผน ไม่ให้ความส�ำคัญต่อเครือ่ งบินขับไล่คมุ้ กันพิสยั ไกล และยังเลือกผิดประเภท ใช้ปอ้ มบิน ขนาดใหญ่เทอะทะอุ้ยอ้ายที่ไม่บรรทุกระเบิด ท�ำหน้าที่คุ้มกัน เมื่อมาร์แชลกับสติมสันให้การรับรองแผนการยุทธ์ทางอากาศ ทัพอากาศสหรัฐฯ ได้การยอมรับอย่างเป็นทางการในภารกิจทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ สมความปรารถนาของ อาร์โนลด์ เขาได้ ‘แม็กนา คาร์ตา’ แล้ว (รัฐธรรมนูญสูงสุดของอังกฤษ) อย่ า งไรก็ ต าม ยั ง มี ป ั ญ หารอท่ า อยู ่ ข ้ า งหน้ า นั ก วางแผนทั พ อากาศ วาง กลยุ ท ธ์ เ ผด็ จ ศึ ก จากข้ อ มู ล การฝึ ก ทิ้ ง ระเบิ ด ในวั น ฟ้ า ใส ที่ ร ะดั บ ความสู ง ต�่ำ และไม่มีแม้การจ�ำลองการต่อต้าน ในหนังสือ Command Decision นวนิยาย หลังสงคราม เรื่องราวของกองก�ำลังทางอากาศที่ 8 โดยวิลเลียม วิสเตอร์ ผู้ที่เคย สังกัดคณะเสนาธิการ เขียนถึงการฝึกทิ้งระเบิด ดั่งที่วาดหวังไว้ในปี 1941 “แทบยุติ สงครามที่ไม่ต่างไปจากหมอพูดกันเรื่องการเสาะหาชีวิตอมตะ” ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เป็นได้แค่การรักษาตามอาการ เลวร้ายยิ่งกว่านั้น กลายเป็นหลักเกณฑ์ไร้พิสูจน์ ค�ำ สอนสั่งที่ไม่ผ่านการพิสูจน์ แนวคิดที่เชื่อถือโดยปราศจากข้อสงสัย น�ำมาซึ่งการสูญเสีย พลรบและเครื่องบินในช่วงปีครึ่งแรกของปฏิบัติการเหนืออาณาจักรไรช์ ที่นั่น พลรบทิ้ง ระเบิดอเมริกันได้ประสบการณ์การสงครามทางอากาศที่มาเฟียนักทิ้งระเบิดมองไม่เห็น มาก่อน

64 เจ้าเวหา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.