How to be a good design manager 3

Page 1

A

B 0000

0000

C

D

E

F 1

4 2

3

5

3

ภาคสาม เขียนแบบก่อสร้าง สถาปัตยกรรมให้ “ปัง”

วิญญู วานิชศิริโรจน์

3

วิญู วานิชศิริโรจน

A0000


เกริ่นนำ�

How to be a good design manager-3.indd 10

9/25/2560 BE 2:13 AM


ในฐานะที่เป็นผู้จัดการงานออกแบบและเป็นผู้ดูแลทีมจัดท�ำแบบก่อสร้าง งานสถาปัตยกรรมในองค์กรที่ผู้เขียนท�ำงานอยู่มานานกว่าสิบปี ท�ำให้มี ประสบการณ์ ก ารไปประชุ ม หน้ า งานก่ อ สร้ า ง โดยต้ อ งตอบค� ำ ถามและ แก้ปัญหาที่เกิดจากแบบก่อสร้างเป็นประจ�ำ อีกทั้งมีหน้าที่ตรวจแบบก่อสร้าง ก่อนส่งออกไปใช้งานภายนอก ผู้เขียนพบว่าการเขียนแบบก่อสร้างของสถาปนิกไทยมักมีจุดอ่อนหลายเรื่อง จุดอ่อนบางเรือ่ งก่อปัญหามาก บางเรือ่ งเป็นแค่เส้นผมบังภูเขาทีถ่ า้ ปรับเปลีย่ น วิธีการท�ำงานเพียงเล็กน้อยปัญหาพวกนั้นก็ไม่เกิดขึ้นแล้ว ผู้เขียนได้หาวิธี พัฒนาการเขียนแบบก่อสร้างให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยมีเป้าหมายว่าแบบ ก่อสร้างที่ท�ำออกไปนั้นต้องให้ข้อมูลที่ครบถ้วน เข้าใจง่าย มีข้อผิดพลาดน้อย ที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ การหาวิธกี ารเขียนแบบก่อสร้างทีด่ นี นั้ ผูเ้ ขียนเริม่ จากค้นหาว่าแบบก่อสร้างที่ น�ำไปใช้งานแล้วมีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง จากนั้นจึงคิดวิธีแก้ปัญหานั้นหลาย ๆ แนวทาง แล้วตัดสินใจเลือกแนวทางหนึง่ ไปทดลองใช้กบั การเขียนแบบก่อสร้าง จริงในโครงการทีต่ วั เองรับผิดชอบอยู่ การท�ำเช่นนีเ้ พือ่ ไม่ตอ้ งการให้โครงการ อื่น ๆ ต้องเดือดร้อน จึงยอมเป็นหนูทดลองเอง หลังจากลองผิดลองถูกและปรับวิธอี ยูส่ กั พักจนแน่ใจว่าแนวทางนัน้ ใช้แก้ปญ ั หา ได้จริง จึงค่อยประกาศใช้เป็นมาตรฐานการท�ำงานในบริษัทต่อไป หลังจากที่ท�ำเรื่องนี้ไปได้สักระยะหนึ่ง ผู้เขียนรู้สึกเสียดายว่าเรื่องที่คิดขึ้นมา และได้ทดลองและทดสอบแล้วว่าใช้งานได้ดีแล้วควรถูกเผยแพร่ไปในวงกว้าง เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อื่นบ้าง ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงน�ำเรื่องนี้มาเขียนลงใน หนังสือ “บทบาทผู้จัดการงานออกแบบภาค 3” หรือ “How to be a good design manager Episode 3” สาเหตุที่น�ำเรื่องนี้มาเขียนเป็นหนึ่งในหนังสือ ชุดนีเ้ พราะผูเ้ ขียนเชือ่ ว่าหน้าทีส่ ำ� คัญของผูจ้ ดั การงานออกแบบทีด่ ตี อ้ งบริหาร การท�ำแบบก่อสร้างให้ดีและมีคุณภาพมากที่สุดนั่นเอง

How to be a good design manager-3.indd 11

9/25/2560 BE 2:13 AM


ส่วนผูเ้ ขียนไม่ขดั ข้องถ้าจะถือว่าหนังสือเล่มนีเ้ ป็นหนึง่ ในภาคแยกของหนังสือ “How to be a good design manager” เหมือนที่หนังเรื่องสตาร์ วอร์ส ชอบ ท�ำหนังภาคแยกออกหลาย ๆ ภาคจากหนังภาคหลักก็ได้ ขอแค่ท่านผู้อ่าน เลือกที่จะน�ำแนวคิดและข้อมูลจากหนังสือนี้ไปใช้บ้าง ผู้เขียนก็ดีใจมากแล้ว แต่ขอให้ท่านผู้อ่านเลือกเฉพาะเรื่องที่อ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นประโยชน์ จากนั้น น�ำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กบั ตัวท่านหรือหน่วยงานของท่าน เพราะผูเ้ ขียน เชื่อว่าแนวคิดทีน่ ำ� เสนอในหนังสือนีอ้ าจจะเหมาะกับการท�ำงานของทีห่ นึง่ แต่อาจ จะไม่เหมาะกับอีกที่หนึ่งก็ได้... วิญญู วานิชศิริโรจน์ ข้าพเจ้าเกิดในรัชกาลที่ ๙ เขียนที่บ้าน คอนโดฯ ห้องเล็ก ๆ ชั้น 4 เมื่อปีระกา

How to be a good design manager-3.indd 12

9/25/2560 BE 2:13 AM


How to be a good design manager-3.indd 13

9/25/2560 BE 2:13 AM


สารบัญแบบ: หมายเลขแบบ

รายละเอียด

A004

คำ�นิยม: ชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว

A006

คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์: นิธิ สถาปิตานนท์

A010

เกริ่นนำ�

A162

คำ�ขอบคุณ

A166

บรรณานุกรม

A168

ผู้เขียนคือใคร

How to be a good design manager-3.indd 16

9/25/2560 BE 2:13 AM


หมายเลขแบบ

รายละเอียด

1 - A020

กรอบความคิด

2 - A024

ทำ�ความเข้าใจก่อน

3 - A028

แบบก่อสร้างไม่เพอร์เฟค

4 - A032

แนวคิดหลัก

5 - A044

ก่อนเริ่มเขียน

6 - A072

หัวกระดาษ

7 - A074

แบบทั่วไป

8 - A082

แบบปักผัง

9 - A086

ผังบริเวณ

10 - A090

ตารางวัสดุเจ้าปัญหา

11 - A094

แปลน แปลน และแปลน

12 - A108

รูปด้านที่ถูกละเลย

13 - A116

รูปตัด

14 - A120

รูปตัดกรอบอาคาร

15 - A122

ผังเพดาน

16 - A124

ขยายบันได

17 - A128

บันไดเลื่อนปราบเซียน

18 - A132

ทางลาด

19 - A134

เขียนลิฟต์ให้ถูก

20 - A140

ประตู - หน้าต่าง

21 - A144

แบบห้องน้ำ�

22 - A146

แบบรายละเอียดอื่น

23 - A148

จบเพื่อเริ่มใหม่

24 - A150

ภาคผนวก

How to be a good design manager-3.indd 17

9/25/2560 BE 2:13 AM


2

1

3

4

A

B C

000

000

4 TITLE A32 SCALE

How to be a good design manager-3.indd 32

NTS

9/25/2560 BE 2:14 AM


ก่อนเข้ารายละเอียดวิธีการท�ำงานแต่ละส่วนของการ เขี ย นแบบก่ อ สร้ า งสถาปั ต ยกรรม ขออธิ บ ายแนวคิ ด หลัก ๆ ของผูเ้ ขียนทีเ่ ชือ ่ ว่าเมือ ่ ท�ำแล้วจะท�ำให้การท�ำงาน มีประสิทธิภาพและได้งานทีม ่ ค ี ณ ุ ภาพมากขึน ้ นัน ้ ประกอบ ด้วยอะไรบ้าง...

เขียนน้อยให้ข้อมูลมาก แนวคิดแรกที่ผู้เขียนต้องการจะบอกคือต้อง “เขียนน้อยให้ข้อมูลมาก” และ ห้าม “เขียนเยอะก่อปัญหาแยะ” แต่ปรากฏว่าคนนอกวงการและคนในวงการ ก่อสร้างเองกลับชอบวัดคุณภาพงานเขียนแบบก่อสร้างว่าแบบก่อสร้างนั้นดี หรือไม่ดี งานละเอียดหรือไม่ละเอียด โดยดูจากจ�ำนวนแผ่น ยิ่งแบบก่อสร้าง โครงการไหนมีจำ� นวนแผ่นมากจะมีความรูส้ กึ ว่าแบบก่อสร้างของโครงการนัน้ มีความครบถ้วนและละเอียดมาก เรือ่ งนีอ้ าจจริงถ้าเป็นสมัยทีเ่ ขียนแบบด้วยมือ เพราะการ “เขียนแบบแผ่นใหม่” แต่ละครัง้ เป็นเรือ่ งทีค่ นเขียนแบบต้องคิดแล้วคิดอีก กว่าจะตัดสินใจได้วา่ เพิม่ แผ่นดีหรือไม่ เพราะแบบแต่ละแผ่นต้องใช้ทั้งเวลาและคนท�ำงานจ�ำนวนมาก แต่ในยุคที่เขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ การเพิ่มจ�ำนวนแผ่นนั้นท�ำได้ง่ายมาก โดยเฉพาะวัฒนธรรมกดปุ่ม control + c ตามด้วยปุ่ม control + v ท�ำให้ โครงการทีม่ แี บบก่อสร้างจ�ำนวนแผ่นมาก ๆ ไม่ได้แสดงว่าแบบก่อสร้างชุดนัน้ มีขอ้ มูลละเอียดมากกว่าแบบก่อสร้างทีแ่ ผ่นน้อย ๆ ข้อมูลทีท่ ำ� มาบางส่วนอาจ ไม่มีประโยชน์กับงานก่อสร้างแต่กลับก่อปัญหาในระหว่างการก่อสร้างด้วยซ�้ำ การเขียนแบบก่อสร้างให้มีแผ่นมาก ๆ แต่ไร้ประโยชน์นั้นมีหลายตัวอย่าง เช่น ตัวอย่างแรกมาจากแบบก่อสร้างของโครงการคอนโดมิเนียมแห่งหนึง่ ทีท่ ำ� แบบแปลนทุกชั้น 3 มาตราส่วน คือแบบแรกท�ำในมาตราส่วน 1:500 จาก นั้นเป็นมาตราส่วน 1:250 แล้วขยายอีกครั้งเป็น 1:100 โดยใช้ความสามารถ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการขยายแบบเท่านั้นเอง ข้อมูลที่แสดงก็เหมือนกัน ท�ำให้ผู้เขียนเกิดค�ำถามว่าแบบมาตราส่วน 1:250 ท�ำขึ้นมาท�ำไม? หลังจาก

33 How to be a good design manager-3.indd 33

9/25/2560 BE 2:14 AM


แนวคิดหลัก

มากแค่ไหนก็ไม่สนใจ ส่วนผู้รับเหมาก่อสร้างจะคิดอีกแบบหนึ่งคือต้องการให้ ประหยัดวัสดุก่อสร้างมากที่สุด ตัดให้น้อยสุด เหลือเศษให้น้อย ต้องการให้ ก่อสร้างง่าย ประหยัดค่าแรง ลดต้นทุนลงให้มาก ดังนั้นนักออกแบบคิดอะไรไว้ ฝันอะไรไว้ ต้องถ่ายทอดความต้องการของตัว เองลงไปในแบบก่อสร้างให้ครบ โดยสามารถใช้วิธีเขียนเป็นแบบ 2 มิติ หรือ เป็นรูป 3 มิติ หรือแม้แต่เขียนเป็นข้อความก็ได้ ขอแค่สื่อความต้องการของ คนออกแบบไปถึงคนท�ำงานได้อย่างทีต่ ้องการ ตรงกับทีต่ ั้งใจไว้ อย่าคิดไปเอง หรือคาดหวังหรือมโนไปเองว่าคนอื่นจะคิดได้เหมือนที่คนออกแบบต้องการ เรื่องนี้เข้าใจตรงกันนะ...

เขียนให้ชัด

ผูเ้ ขียนจ�ำได้วา่ สมัยเรียนในโรงเรียนสถาปัตยกรรมปีแรกจะถูกอาจารย์ตำ� หนิวา่ ขีดหรือเขียนเส้นต้องเขียนให้มนั่ คง  ขีดแล้วขีดเลยห้ามขีดซ�ำ้ ไปซ�ำ้ มา  จะเขียน สี่เหลี่ยมต้องเขียนมุมให้เส้นจรดกันหรือตัดกันให้ชัด ๆ

36 How to be a good design manager-3.indd 36

9/25/2560 BE 2:14 AM


แต่น่าแปลกใจที่แบบก่อสร้างที่สถาปนิกเขียนกันตอนนี้กลับมีลักษณะกล้า ๆ กลัว ๆ การเขียนเส้นชี้สเปก เส้นชี้สัญลักษณ์ไม่ชัดเจน เขียนลอย ๆ ให้คน อ่านแบบคาดเอาเองว่าต้องการบอกข้อมูลอะไร ต้องการชีว้ ตั ถุชนิ้ ไหน เป็นต้น ค�ำแนะน�ำคือจะเขียนอะไร จะบอกอะไร จะชี้อะไรก็ชี้ให้ชัด ๆ เขียนให้ตัด เขียนให้จรด เขียนให้ชิดติดกับวัสดุที่ต้องการบอกไปเลย ถ้าเป็นภาษาวัยรุ่น ต้องพูดว่า “แมน ๆ หน่อยจะเขียนอะไรก็ให้ชัด ๆ นะครับ”... ของแถม มีขอ้ แนะน�ำเพิม่ เติมว่าเส้นแบบทีเ่ กินจ�ำเป็นควรลบทิง้ ด้วย ตัวอย่างเช่น เส้นตัดแบ่ง หรือทีม่ ชี อื่ เล่นว่า “เส้นฟ้าผ่า” ทีแ่ บ่งส่วนของบันไดหรือวัตถุทยี่ าวเกินไปนัน้ ควรตัด ให้เส้นให้พอดีกับวัตถุจะท�ำให้แบบก่อสร้างดูสะอาดไม่รกรุงรัง อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เส้นกริดไลน์ที่มักลากเส้นอ้างอิงทุกเส้นออกไปจนเกือบสุด กระดาษทั้งที่เสาบางต้นที่กริดเสานี้อ้างอิงอยู่นั้นอยู่ส่วนต้น ๆ ของแบบ แนะน�ำว่า ให้หยุดเส้นกริดไลน์เสาที่ต้นสุดท้ายที่มันอ้างอิงก็พอ ไม่จ�ำเป็นต้องลากเส้นให้เลย ออกไป วิธีนี้นอกจากจะช่วยระบุต�ำแหน่งเสาที่อ้างอิงได้ชัดเจนขึ้นแล้วยังท�ำให้แบบ ไม่รกดูสะอาดมากขึ้นเข้ากับแนวคิดที่ว่า “เขียนน้อยให้ข้อมูลมาก”...

แบบก่อสร้างเป็น Shop Drawing ไม่ได้ มีสถาปนิกอาวุโสท่านหนึง่ พูดว่าวิธเี ขียนแบบก่อสร้างทีม่ คี ณ ุ ภาพต้องเขียนให้ ละเอียดเหมือน shop drawing จะช่วยลดเวลาท�ำงานช่วงก่อสร้างได้เพราะ ไม่ต้องท�ำแบบซ�้ำอีก แต่มีเหตุผลส�ำคัญทีแ่ บบก่อสร้างไม่ควรเขียนแบบ shop drawing นั่นคือ แบบก่อสร้างทีท่ ำ� โดยผูอ้ อกแบบนัน้ ต้องน�ำไปใช้ประมูลหาผูร้ บั เหมาก่อสร้างใน ราคาทีต่ ำ�่ ทีส่ ดุ ในการแข่งขันประกวดราคานัน้ ผูท้ เี่ ข้าแข่งขันประกวดราคานัน้ ไม่ใช่แค่ผู้รับเหมาก่อสร้างเท่านั้น แต่จะมีคนขายสินค้าก่อสร้างที่ต้องแข่งขัน กันเสนอราคาวัสดุก่อสร้างหรือระบบการก่อสร้างที่ถูกที่สุดด้วย ดังนั้นเพื่อ ให้เกิดการแข่งขันมากที่สุด ผู้ออกแบบต้องแสดงชนิดวัสดุและวัสดุก่อสร้างที่ มีผู้ขายมากกว่า 1 ราย โดยเฉพาะในงานราชการนั้นก�ำหนดไว้เลยว่าวัสดุ ทุกชนิดต้องมีผู้ขายอย่างน้อย 3 รายขึ้นไป

37 How to be a good design manager-3.indd 37

9/25/2560 BE 2:14 AM


A

B

1

2

3

4

5

7 A74

How to be a good design manager-3.indd 74

TITLE SCALE

6

NTS

9/25/2560 BE 2:15 AM


ตั้งแต่บทนี้เป็นต้นไปจะเป็นการแสดงรายละเอียดของ แบบแต่ละส่วน เริ่มจาก “แบบทั่วไป” ที่เป็นแบบส่วนแรก ที่ควรท�ำให้ดี เลยมีคนบอกว่า “ถ้าท�ำแบบส่วนแรกได้ดีก็ เหมือนงานเขียนแบบก่อสร้างนั้นส�ำเร็จไปมากกว่าครึ่ง แล้ว” หลายคนเลยบอกว่า “ให้ทำ� แบบชุดแรกให้ดส ี องครัง ้ ก็เหมือนท�ำงานนัน ้ เสร็จแล้ว” แต่คด ิ แบบนีไ้ ม่ถก ู นะครับ!!!...

หน้าปก หลายคนเข้าใจว่าหน้าปกเป็นแค่ใบปิดด้านหน้าของแบบก่อสร้างทีไ่ ม่ได้มคี วาม ส�ำคัญมากนัก แต่เดี๋ยวก่อนช้าก่อน หน้าปกสามารถใส่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ให้กับผู้เกี่ยวข้องได้มากมายหลายเรื่องเลยทีเดียว หัวกระดาษ

ภาพทัศนียภาพโครงการ

How to be a good design manager-3.indd 75

file stamp

75 9/25/2560 BE 2:15 AM


A

B

1

ปักผัง 2

3

4

5

8 TITLE A82 SCALE

How to be a good design manager-3.indd 82

NTS

9/25/2560 BE 2:15 AM


แบบ “ปักผัง” นั้นที่มักถูกละเลยจากสถาปนิก แต่มีความส�ำคัญมากเพราะ เป็นการให้ขอ้ มูลผูร้ บั เหมาก่อสร้างว่าจะเริม่ งานก่อสร้างอาคารอย่างไร จะหา ต�ำแหน่งเสาอาคารต้นแรกว่าอยูท่ ตี่ ำ� แหน่งใดโดยอ้างอิงจากหมุดและเขตทีด่ นิ และแสดงข้อมูลว่าจะก�ำหนดเสาต้นต่อ ๆ ไปโดยอ้างอิงจากเสาต้นแรกนั้น อย่างไรด้วย นอกจากนั้นแบบปักผังยังต้องแสดงระดับของอาคารที่อ้างอิงกับพื้นที่ก่อสร้าง จริง โดยก�ำหนดให้จดุ เริม่ ต้นวัดจากระดับ + - 0.00 (ระดับบวกลบศูนย์ศนู ย์) นั้นอยู่ที่จุดไหน ระดับของจุดนี้จะใช้เพื่ออ้างอิงระดับของอาคารส่วนต่อ ๆ ไป สรุปง่าย ๆ คือ แบบปักผังคือแบบที่แสดงข้อมูลตามแนวนอน X Y และแกน แนวดิ่ง Z ของอาคารกับพื้นที่ก่อสร้างจริงนั่นเอง เพือ่ ให้การก�ำหนดข้อมูลในแบบปักผังถูกต้องและใช้งานได้จริง การเขียนแบบ ต้องจินตนาการว่าตัวเองอยูใ่ นสถานทีก่ อ่ สร้างจริง ด้วยข้อมูลทีม่ ใี นสิง่ แวดล้อม จริงที่มีอยู่อย่างจ�ำกัด ไม่ใช่ข้อมูลบนกระดาษที่จะขีดจะเขียนเส้นอย่างไรก็ได้ จะเริ่มต้นวางต�ำแหน่งเสาต้นแรกได้อย่างไรบนที่ดินจริง และจะหาต�ำแหน่ง เสาของต้นต่อ ๆ อย่างไรโดยอ้างอิงต�ำแหน่งจากเสาต้นแรกจนได้เสาครบ ทุกต้นนั่นเอง...

83 How to be a good design manager-3.indd 83

9/25/2560 BE 2:15 AM


บริเวณ 0000

1

2

3

4

5

B

6

9 TITLE A86 SCALE

How to be a good design manager-3.indd 86

A

NTS

9/25/2560 BE 2:15 AM


ผังบริเวณ

กับเขตที่ดิน แสดงระดับของพื้นชั้นล่างของอาคารกับระดับทางหรือถนน สาธารณะหรือระดับพื้นดิน ข้อมูลที่มักลืมแสดงในผังบริเวณเสมอคือ “รั้ว” ท�ำให้เมื่อก่อสร้างอาคารไป แล้วระยะร่นจากขอบอาคารถึงเขตทีด่ นิ มักไม่ได้ระยะตามทีก่ ฎหมายฯ ก�ำหนด เพราะความหนาของรัว้ โดยเฉพาะในโครงการอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ พิเศษตามแบบอาจระบุให้อาคารอยู่ห่างจากเขตที่ดินโดยรอบไม่น้อยกว่า 6 เมตร แต่เมื่อก่อสร้างไปแล้วพบว่าระยะห่างนั้นกว้างไม่ถึง 6 เมตร เพราะ ถูกหักด้วยความหนาของรั้ว กลายเป็นปัญหาใหญ่ถึงขั้นโครงการนั้นเปิดใช้ อาคารไม่ได้เลยทีเดียว

88 How to be a good design manager-3.indd 88

9/25/2560 BE 2:15 AM


3 1

2

4 5

6

A

B C

D

0000

0000

11 TITLE A94 SCALE

How to be a good design manager-3.indd 94

NTS

9/25/2560 BE 2:15 AM


“แปลน” ถือเป็นแบบก่อสร้างทีต ่ อ ้ งแสดงข้อมูลมากทีส ่ ด ุ ซับซ้อนที่สุด เมื่อเทียบกับแบบชุดอื่น “แปลน” จึงถูกอัด แน่นไปด้วยข้อมูลจ�ำนวนมาก แต่เพราะความเข้าใจผิด หลายเรื่องเรา จึงมักใส่ข้อมูลมากเกินความจ�ำเป็นลงใน “แปลน” อย่างไม่เข้าใจและไม่ระมัดระวัง ท�ำให้ขอ ้ มูลสับสน เกิดปัญหากับการสื่อความกับผู้ใช้งาน หลักการในการ เขียนแปลนให้ดีมีวิธีการดังนี้

เห็นข้อมูลครั้งเดียว แนวคิดหลักการเขียน “แปลน” ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้และมักไม่เข้าใจนั่นคือ “แปลน” เป็นรูปตัดชนิดหนึง่ แต่มแี นวตัดทีข่ นานกับพืน้ โลก ต่างกับ “รูปตัด” ที่แนวตัดตั้งฉากกับพื้น ตามมาตรฐานแล้วจะก�ำหนดให้แนวตัดของแปลนสูง จากระดับของพื้นชั้นนั้นขึ้นมา 1.20 เมตร ทุกอย่างที่อยู่เหนือแนวตัดต้องไม่ ปรากฏในแปลนชั้นนั้น ส�ำหรับอาคารหลายชัน้ การเขียนแปลนพืน้ ชัน้ ถัดมาให้ใช้หลักการเดียวกันคือ ให้แนวตัดอาคารตามแนวนอนสูงจากพืน้ ชัน้ นัน้ ขึน้ มา 1.20 เมตร และให้ถอื ว่า ส่วนของแปลนชั้นล่างที่ถูกตัดไปแล้วนั้นต้องถูกทิ้งไปเลย ไม่ต้องแสดงอีก นักเรียนในคณะสถาปัตยกรรมหลายคนมักแสดง “แปลน” เรื่องนี้ผิดเสมอ มักแสดงข้อมูลที่เห็นไปแล้วในแปลนชั้นล่างซ�้ำแล้วซ�้ำอีก เช่น ชั้นล่างมีสระ ว่ายน�้ำอยู่ภายนอกของอาคารที่ถูกเห็นไปแล้วในแปลนชั้นล่างแล้ว พอเขียน แปลนชั้นบนก็ยังแสดงแบบสระว่ายน�้ำนั้นซ�้ำอีก การเขียนแบบวิธีนี้มีแต่สร้าง ปัญหาและความสับสนกับผู้ใช้งานแบบก่อสร้างชุดนั้น

95 How to be a good design manager-3.indd 95

9/25/2560 BE 2:15 AM


แปลน แปลน และแปลน

หลายคนอาจเถียงว่าบางครั้งเราต้องแสดงข้อมูลบางอย่างของชั้นล่างใน “แปลน” ชั้นอื่นเพื่อใช้อ้างอิง การแก้ปัญหานี้ง่ายมากแค่ท�ำให้ถูกวิธีคือ ให้ แสดงข้อมูลทีต่ อ้ งการแสดงเป็นเส้นประและแสดงเฉพาะเส้นทีส่ ำ� คัญ เช่น ถ้า จะแสดงข้อมูลสระว่ายน�ำ้ ชัน้ ล่างที่ “แปลน” ชัน้ บนให้เขียนเฉพาะเส้นขอบสระ ว่ายน�ำ้ เป็นเส้นประโดยไม่ตอ้ งแสดงรายละเอียดอืน่ ๆ แค่นกี้ แ็ ก้ปญ ั หาได้แล้ว...

แสดงที่ดินทุกแผ่น อย่างทีบ่ อกไปแล้วว่าแปลนแต่ละชัน้ ต้อง “เห็นข้อมูลครัง้ เดียว” แต่มขี อ้ มูลหนึง่ ทีถ่ อื เป็นภาคบังคับว่าจะต้องแสดงในทุกชัน้ ทุกแปลนนัน่ คือ เส้นขอบเขตทีด่ นิ ของโครงการ เพราะต้องใช้ในการก�ำหนดขอบเขตของอาคารให้มรี ะยะร่นตาม ทีอ่ อกแบบไว้และต้องไม่นอ้ ยกว่าทีก่ ำ� หนดไว้ในกฎหมายควบคุมอาคารนัน่ เอง แต่อย่างที่แจ้งแล้วว่า เส้นเขตที่ดินนั้นต้องระบุเป็นเส้นประ เฉพาะชั้นล่าง เท่านั้นที่ระบุเป็นเส้นทึบที่แสดงเป็นแบบรั้วของโครงการนั่นเอง...

96 How to be a good design manager-3.indd 96

9/25/2560 BE 2:15 AM


ขอบพื้น ข้อมูลส�ำคัญอีกเรือ่ งหนึง่ ของแปลนทีต่ อ้ งแสดงให้ชดั เจน คือแนวขอบพืน้ อาคาร ทีต่ อ้ งก�ำหนดให้ชดั เจนว่าขอบพืน้ โครงสร้างจบทีแ่ นวใด และเส้นกรอบอาคาร จบที่เส้นใด อย่างที่บอกแล้วว่าแปลนนั้นมีการแสดงข้อมูลจ�ำนวนมาก จนท�ำให้เกิดเส้น จ�ำนวนมาก ก่อให้เกิดความสับสนว่าเส้นไหนเป็นขอบของพื้น เส้นไหนเป็น แนววัสดุตกแต่งหรือแนวผนังอาคาร โดยเฉพาะอาคารที่มีกรอบอาคารเป็น ผนังม่านกระจก20 หรือผนังคอนกรีตส�ำเร็จรูป21 ถ้าระบุไม่ชัดเจนผู้รับเหมา ก่อสร้างอาจเข้าใจผิดคิดว่าเส้นขอบอาคารเป็นขอบพืน้ แล้วก่อสร้างไปตามนัน้ เมือ่ น�ำผนังม่านกระจกหรือผนังคอนกรีตส�ำเร็จมาติดตัง้ กรอบอาคารจะใหญ่ขนึ้ กว่าแบบ จนท�ำให้ระยะร่นหรือที่ว่างรอบอาคารลดลงจนไม่ได้ระยะตามที่ กฎหมายก�ำหนด ส่งผลให้อาคารเปิดใช้งานไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเขียนเส้นที่ชี้บอกว่าเส้นใดเป็นขอบพื้น เส้นใดเป็นกรอบอาคาร และแสดงระยะอ้างอิงให้ชัดเจน ทั้งนี้พึงระวังไว้เสมอว่า การวัดระยะร่นหรือ ระยะเว้นว่างจากเขตที่ดินหรือเขตรั้วต้องวัดจากขอบริมนอกสุดของกรอบ อาคารไม่ใช่จากขอบพืน้ จึงต้องระมัดระวัดและตรวจสอบเรือ่ งนีใ้ ห้ถถ่ี ว้ นเสมอด้วย

20 21

curtain wall precast concrete หรือ PCC

How to be a good design manager-3.indd 97

97 9/25/2560 BE 2:15 AM


2

3

รูปด้าน ละเลย 1

A

B

0000

C

D

E

3

1

0000

2

0000

12 TITLE A108 SCALE

How to be a good design manager-3.indd 108

NTS

9/25/2560 BE 2:15 AM


นอกจากการออกแบบพื้นที่ใช้งานแล้วสถาปนิกใช้เวลา ส่วนใหญ่ไปกับการออกแบบรูปทรงของอาคาร แต่เป็น เรื่ อ งน่ า แปลกใจที่ รู ป ด้ า นในแบบก่ อ สร้ า งนั้ น กลั บ ถู ก ละเลย เพราะแสดงข้อมูลน้อยมากเมือ ่ เปรียบเทียบกับแบบ ก่ อ สร้ า งส่ ว นอื่น ๆ บทนี้ ผู้ เ ขี ย นจึงเสนอวิธีก ารเขีย น รูปด้านทีใ่ ห้ขอ ้ มูลทีเ่ ป็นประโยชน์กบ ั การก่อสร้างและท�ำให้ เราได้งานสถาปัตยกรรมทีส ่ มบูรณ์และตรงใจผูอ ้ อกแบบ ที่สุด โดยมีรายละเอียดหลายเรื่องดังนี้...

ท�ำโมเดลได้เลย วิธีเขียนรูปด้านอาคารที่ใช้กันโดยปกตินั้นจะใช้วิธีเอาแปลนมาวางไว้ด้านบน ของแบบแล้วลากเส้นตั้งฉากจากแปลนลงมาเป็นตัวแทนของมุมมองรูปด้าน ด้านนั้น เพื่อเขียนให้เป็นรูปด้าน อาคารส่วนใดเอียง รูปด้านนั้นจะเห็นเอียง ตามแปลน ท�ำให้รูปด้านหลายบริเวณไม่สามารถวัดระยะทางแนวนอน และ อาจมีองค์ประกอบหลายส่วนของอาคารไม่ปรากฏในรูปด้านเพราะถูกบังโดย อาคารส่วนอื่น การเขียนรูปด้านเพื่อเป็นประโยชน์กับการก่อสร้างได้จริงนั้น ขอให้ผู้อ่าน จินตนาการว่าถ้าต้องตัดหุ่นจ�ำลองอาคารหลังนั้น จะต้องเขียนรูปด้านอย่างไร เพื่อให้เราท�ำหุ่นจ�ำลองได้ง่ายที่สุด วิธีการที่ต้องท�ำคือให้ “คลี่” รูปด้านของอาคารทั้งหมดออกมาเป็นส่วน ๆ ให้ เห็นรูปด้านทุกชิ้นทุกมุมที่มองตั้งฉากกับผนังส่วนนั้น สามารถวัดระยะได้ทั้ง แนวตัง้ และแนวนอน แต่ละชิน้ ส่วนต้องแสดงรายละเอียดของหน้าตาและวัสดุ ทีค่ รบถ้วน วิธนี เี้ ราจะได้ทงั้ ความชัดเจนของระยะ มิติ และรายละเอียดครบถ้วน ตามที่ผู้ออกแบบต้องการทั้งหมด

109 How to be a good design manager-3.indd 109

9/25/2560 BE 2:15 AM


รูปด้านที่ถูกละเลย

ของแถม การแบ่งแนววัสดุและการจัดลวดลายต้องตรวจสอบขนาดและข้อจ�ำกัดของวัสดุกับ ผู้ผลิตก่อนท�ำแบบฯ ห้ามมโนหรือคิดไปเองว่า “น่า” จะมีวสั ดุขนาดนี้ ถ้าต้องใช้วสั ดุ ขนาดพิเศษที่ต้องสั่งท�ำโดยเฉพาะ ให้ระบุลงในแบบเลยว่า “วัสดุนี้ต้องสั่งผลิตเป็น พิเศษ ผู้รับจ้างจะต้องติดต่อกับผู้ขายเพื่อสั่งสินค้านั้นก่อนแต่เนิ่น ๆ” ไม่เช่นนั้น ผู้ออกแบบจะไม่ได้วัสดุตกแต่งที่มีขนาดอย่างที่เราต้องการ “แน่เหมือนแช่แป้ง” เลยทีเดียว...

แสดงวัสดุทุกที่ทุกบริเวณ สมัยเด็ก ๆ พวกเราน่าจะเคยเล่นเกมระบายสีทมี่ เี ส้นแบ่งกระดาษเป็นช่องเล็ก ๆ หลาย ๆ ช่อง แต่ละช่องจะมีหมายเลขก�ำกับเขียนเอาไว้ เลขเหล่านั้นจะแทน สีแต่ละสี เมือ่ ระบายสีลงไปในช่องนัน้ ตามหมายทีก่ ำ� หนดไว้ จะเห็นว่ารูปนัน้ เป็นรูปอะไร

How to be a good design manager-3.indd 112

9/25/2560 BE 2:15 AM


เราน�ำหลักการเดียวกันนี้มาใช้กับการ เขียนแบบรูปด้านอาคาร คือทุกพื้นที่ใน รูปด้านต้องระบุหมายเลขหรือสัญลักษณ์ ที่แสดงว่าบริเวณนั้น ๆ เป็นผิวที่บุด้วย วัสดุอะไร โดยไม่ตกหล่นแม้แต่บริเวณเดียว หลักการนี้จะท�ำให้เราได้รูปด้านที่แสดง ข้อมูลของวัสดุอาคารได้อย่างครบถ้วน ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการนั้นก็ได้ข้อมูลที่ ชัดเจนว่า ผิวอาคารแต่ละส่วนท�ำด้วย วัสดุชนิดใด

113 How to be a good design manager-3.indd 113

9/25/2560 BE 2:15 AM


ตัด A

B

C

3

1

2

13 TITLE A116 SCALE

How to be a good design manager-3.indd 116

NTS

9/25/2560 BE 2:15 AM


ข้อมูลส�ำคัญที่ต้องแสดงในรูปตัดคือ ชื่อชั้นและระดับของพื้นแต่ละชั้น จาก หัวข้อทีผ่ า่ นมาทีบ่ อกว่าในแปลนต้องแสดงค่า 2 ระดับคือระดับโครงสร้างและ ระดับพืน้ ตกแต่ง แต่ในรูปตัดให้แสดงระดับพืน้ ตกแต่งส�ำเร็จค่าเดียวก็พอ และ ถ้ารูปตัดนั้นตัดโดนพื้นที่ระบุระดับ HP และ LP ให้ระบุข้อมูลนี้ในรูปตัดด้วย ข้อมูลอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องแสดงในรูปตัดคือความสูงอาคารที่ต้องไม่เกินกว่าที่ กฎหมายควบคุมอาคารก�ำหนด ได้แก่ ความสูงของอาคารด้านที่ประชิดริม ทางสาธารณะต้องไม่เกินสองเท่าจากผิวกรอบอาคารด้านนัน้ วัดไปถึงเขตทีด่ นิ ฝั่งตรงข้าม โดยให้แสดงเส้นเอียงในอัตราส่วน 2:1 คือเส้นแนวราบ 1 ส่วน เส้นแนวดิ่ง 2 ส่วนประกอบในแบบด้วย ส่วนโครงการทีอ่ ยูใ่ นเขตควบคุมความสูงโดยกฎหมายเฉพาะ จะต้องระบุระดับ ของความสูงอาคารที่วัดจากระดับอ้างอิงไม่ให้เกินตามที่กฎหมายก�ำหนด ให้ แสดงระดับความสูงของอาคารที่สูงที่สุดโดยใช้ตัวย่อว่า TOW29 ก�ำกับไว้ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าอาคารไม่ได้สร้างสูงเกินกว่าที่ท�ำได้ มีขอ้ แนะน�ำเพิม่ เติมส�ำหรับการเขียนรูปตัดอีก 2 เรือ่ ง เรือ่ งแรกคือ ถ้ารูปตัดนัน้ เห็นรูปด้านของอาคารที่ปรากฏอยู่แล้วในแบบรูปด้านอื่น ให้แสดงรูปด้านนั้น เป็นแค่เส้นกรอบของอาคารเป็นเส้นประอย่าแสดงเป็นรูปด้านเต็ม หลักการนี้ ท�ำตามแนวคิดที่ว่า “เขียนน้อยให้ข้อมูลมาก” เพราะถึงแม้วา่ การเอารูปด้านทีส่ มบูรณ์มาใส่ในรูปตัดนีจ้ ะไม่ได้เสียเวลาในการ ท�ำงานเลย เพราะสามารถส�ำเนารูปด้านทีท่ ำ� ไว้แล้วมาใส่ได้ แต่ปญ ั หาทีจ่ ะเกิด ตามมาในภายหลังคือ ถ้ามีการแก้ไขรูปด้านด้านนัน้ แทนทีจ่ ะต้องแก้เฉพาะรูป ด้านนั้น เราต้องแก้รูปตัดที่แสดงรูปด้านนั้นรวมอยู่ด้วย แต่มีข้อยกเว้นคือ กรณีที่รูปด้านนั้นมีความสมบูรณ์ด้วยตัวของมันเอง คือเป็นรูปด้านด้านหนึ่ง ได้เลยให้ก�ำหนดแบบแผ่นนั้นว่าเป็นแบบที่แสดงทั้งรูปตัดและรูปด้านทั้งสอง แบบได้เลยในกระดาษแผ่นเดียวกัน ค�ำแนะน�ำทีส่ อง คือ อย่าเขียนรูปตัดผ่านบริเวณทีต่ อ้ งท�ำแบบขยายอยูแ่ ล้ว เช่น บันได ลิฟต์ หรือทางลาด ให้เลือกแนวตัดบริเวณที่ไม่มีโอกาสเห็นจากแบบ แผ่นอื่นให้มากที่สุด เพื่อให้แบบก่อสร้างทุกแผ่นมีความส�ำคัญและเป็น ประโยชน์กับผู้เกี่ยวข้องมากที่สุด... 29

Top of Wall

How to be a good design manager-3.indd 117

117 9/25/2560 BE 2:15 AM


รูปตัด

How to be a good design manager-3.indd 118

9/25/2560 BE 2:15 AM


119 How to be a good design manager-3.indd 119

9/25/2560 BE 2:16 AM


A

B

C

0000

1

2

3

4

14 TITLE A120 SCALE

How to be a good design manager-3.indd 120

NTS

9/25/2560 BE 2:16 AM


รูปตัดกรอบอาคารที่ฝรั่งเรียกว่า “Typical Section” เข้าใจว่าที่เรียกแบบชุด นี้เป็นชื่อนี้ เพราะค�ำว่า “Typical” แปลว่าซ�้ำ ๆ เหมือน ๆ กันนั้นมีความ หมายว่าให้แสดงแนวรูปตัดที่เหมือนกันออกมาเป็น 1 เซต แต่เมื่อไรที่กรอบ อาคารนัน้ เริม่ ไม่เหมือนกันกับบริเวณอืน่ ก็ให้เริม่ ท�ำรูปตัดกรอบอาคารชุดใหม่ นั่นเอง แบบชุดนีม้ ปี ระโยชน์กบั การก่อสร้างผนังอาคารภายนอกมาก เพราะเป็นรูปตัด ขยายที่ใช้มาตราส่วนขนาดใหญ่แสดงความสัมพันธ์ของกรอบอาคารกับพื้น อาคารทั้งภายในภายนอก ตั้งแต่ระดับพื้นดินจนถึงยอดอาคาร วิธตี ดั สินใจว่าต้องมีรปู ตัดกรอบอาคาร ที่จุดไหนบ้าง ให้พิจารณาจากทุกครั้ง ทีก่ รอบอาคารมีการเปลีย่ นแปลงอย่าง มีนยั แล้วละก็ ให้ทำ� แบบรูปตัดบริเวณ นั้นเพิ่ม พูดง่าย ๆ คือแบบชุดนี้ให้ท�ำ รูปตัดส่วนที่เหมือน ๆ กัน แต่เมื่อไร ทีแ่ บบเริม่ ไม่เหมือนหรือไม่ซำ�้ กับส่วน อื่น ให้เขียนเพิ่มนั่นเอง แบบรูปตัดกรอบอาคารให้เขียนด้วย มาตราส่วนทีต่ อ้ งใหญ่กว่ารูปตัดเสมอ แนะน�ำว่าควรใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1:50 เพือ่ แสดงรายละเอียดทีเ่ พียงพอ กับการก่อสร้าง โดยเฉพาะรอยต่อ ระหว่างกรอบอาคารกับโครงสร้างพืน้ ให้ชัดเจนที่สุด  บริเวณใดที่มีความ ซับซ้อนและมีรายละเอียดมากแนะน�ำ ให้ท�ำแบบขยายเพิ่มเป็นจุด ๆ ด้วย...

121 How to be a good design manager-3.indd 121

9/25/2560 BE 2:16 AM


A

B

เพดาน C

0000

15 TITLE A122 SCALE

How to be a good design manager-3.indd 122

NTS

9/25/2560 BE 2:16 AM


ผังเพดานเป็นส่วนของแบบก่อสร้างที่ถูกละเลยมากที่สุด อาจเป็นเพราะ สถาปนิกไม่ค่อยเห็นความส�ำคัญและเป็นแบบที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับ ผู้รับเหมาก่อสร้างค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะอาคารที่ฝ้าเพดานไม่ซับซ้อน เรา สามารถน�ำข้อมูลจากแบบอื่น ๆ เช่น ข้อมูลวัสดุฝ้าเพดานจากตารางวัสดุ ข้อมูลความสูงของฝ้าเพดานจากรูปตัดและตารางความสูงฝ้า มาประกอบกัน เพื่อใช้ในการท�ำงานได้โดยไม่ต้องมีผังเพดานก็ได้ เหตุผลอีกเรือ่ งทีท่ ำ� ให้สถาปนิกไม่ชอบเขียนผังเพดานเพราะเป็นแบบทีเ่ ขียนยาก เป็นแบบที่ไม่ได้เขียนแบบตรงไปตรงมา เพราะต้องเขียนเหมือนภาพสะท้อน จากกระจกเงา นีเ่ องท�ำให้ภาษาอังกฤษเรียกแบบชนิดนีว้ า่ “Reflecting Ceiling Plan” และคนไทยไม่เรียกแบบชนิดนีว้ า่ “แปลนฝ้าเพดาน” แต่เรียกว่า “ผังเพดาน” หรือ “ผังฝ้าเพดาน” เพือ่ ไม่ให้ตอ้ งเสียเวลาไปกับการท�ำผังฝ้าเพดานมากเกินไป แนะน�ำให้นำ� แปลน อาคารมาลบประตูออกแล้วปรับแบบเท่าที่จ�ำเป็น แล้วให้ใช้เวลากับการเขียน แบบฝ้าเพดานเฉพาะส่วนที่มีการออกแบบพิเศษ ที่แบบก่อสร้างอื่น ๆ ไม่ สามารถให้ข้อมูลเพียงพอกับการท�ำงาน...

123 How to be a good design manager-3.indd 123

9/25/2560 BE 2:16 AM


2

3

1

0000

A

B

C

4

5

ปราบ เซียน 17 TITLE A128 SCALE

How to be a good design manager-3.indd 128

NTS

9/25/2560 BE 2:16 AM


การเขียนแบบขยายบันไดเลื่อนเราไม่ต้องสนใจจ�ำนวนลูกตั้งหรือจ�ำนวนลูก นอนเพราะแบบต้องเป็นไปตามมาตรฐานของผู้ผลิต เรื่องที่ต้องสนใจคือ จะ เลือกบันไดเลื่อนที่ความชันเท่าไรระหว่าง 30 องศา หรือ 35 องศา โดย แนะน�ำให้ใช้แบบ 30 องศา เพราะถ้าเกิดเหตุบันไดเลื่อนไม่ท�ำงาน คนใช้งาน ยังสามารถเดินขึ้นลงบันไดเลื่อนได้ แต่ถ้าเป็นบันไดเลื่อน 35 องศา บันไดจะ ชันเกินไปจนเดินได้ล�ำบาก เรื่องถัดมาคือ บันไดเลื่อนแต่ละยี่ห้อมีมิติความกว้างและความยาวไม่เท่ากัน ถ้าโครงการที่ออกแบบยังก�ำหนดไม่ได้ว่าจะใช้บันไดเลื่อนยี่ห้อใด ผู้ออกแบบ ต้องหาข้อมูลบันไดเลื่อนที่มีขายในท้องตลาดมาอย่างน้อย 3 รายแล้ว ให้ลอง น�ำมาใส่ในแบบว่าทัง้ 3 รายว่าสามารถใส่ในแบบฯ ได้โดยไม่แคบหรือกว้างเกินไป สั้นหรือยาวเกินไป จากนั้นให้เอาระยะบันไดเลื่อนที่กว้างมากที่สุด กับระยะของบันไดที่ยาวที่สุด มาใช้ท�ำแบบก่อสร้าง โดยระบุหมายเหตุในแบบว่า “ขนาด ระยะ และมิติของ บันไดเลือ่ นทีแ่ สดงไว้นเ้ี ป็นข้อมูลโดยสังเขป เท่านัน้ ผูร้ บั จ้างต้องประสานงาน กับผู้ขายบันไดเลื่อนที่โครงการจะเลือกในภายหลัง โดยต้องปรับข้อมูลให้ถูก ต้องตามการติดตั้งจริงก่อนด�ำเนินการ” ส่วนรูปตัดของบันไดเลื่อนให้ใช้แบบ ของผู้ผลิตน�ำมาปรับใส่ในแบบก่อสร้าง แต่อย่าลืมใส่หมายเหตุตามที่ระบุไว้ ก่อนหน้านี้ไว้ด้วยเสมอ เทคนิคส�ำคัญเรื่องสุดท้ายในการเขียนแบบบันไดเลื่อนคือ การแสดงทิศทาง การขึน้ หรือลงของบันไดเลือ่ น เนือ่ งจากบันไดเลือ่ นต้องแบ่งเป็นบันไดเลือ่ นขึน้ หรือบันไดเลื่อนลง ผู้ออกแบบบางคนเลยใส่ข้อมูลในแบบว่าบันไดเลื่อนตัวนี้ เป็นบันไดเลือ่ นขึน้ หรือลง ท�ำให้เกิดข้อมูลทีส่ บั สน วุน่ วาย ท�ำให้เกิดความยุง่ ยาก กับการอ่านแบบฯ โดยลืมไปว่าบันไดเลือ่ นนัน้ สามารถก�ำหนดให้เลือ่ นขึน้ หรือ เลื่อนลงก็ได้ ข้อมูลส�ำคัญที่ต้องแสดงในแบบฯ นั้นแค่บอกว่าบันไดนั้นเป็น บันไดเลื่อนที่พาดขึ้นหรือพาดลงจากชั้นนั้นก็พอแล้ว ผูเ้ ขียนเคยเจอแบบก่อสร้างทีพ่ ยายามเขียนค�ำอธิบายทิศทางการพาดของบันได เลื่อนที่มีอยู่ 4 ตัวด้วยข้อความยืดยาวว่า “ขึ้นจากชั้น 3” “ลงไปชั้น 3” “ลง จากชัน้ 5” “ขึน้ ไปชัน้ 5” แสดงข้อความว่ามีทงั้ ขึน้ ทัง้ ลงจากชัน้ ไหนไปชัน้ ไหน ท�ำให้คนอ่านแบบก่อสร้างชุดนัน้ สับสน กว่าจะท�ำความเข้าใจได้วา่ บันไดเลือ่ นนัน้

129 How to be a good design manager-3.indd 129

9/25/2560 BE 2:16 AM


บันไดเลื่อนปราบเซียน

พาดขึน้ หรือพาดลงจากชัน้ นัน้ ต้องใช้เวลาไปหลายนาที ทีแ่ ย่กว่านัน้ คือพอกลับ มาดูแบบนั้นใหม่ต้องเริ่มอ่านข้อมูลและท�ำความเข้าใจอีกครั้ง เพราะข้อมูล ซับซ้อนเกินไปจนจ�ำไม่ได้ นอกจากนัน้ การเขียนแบบวิธนี อี้ าจเกิดข้อผิดพลาดได้งา่ ย เพราะกว่าทีจ่ ะเขียน ข้อมูลนี้ได้นอกจากต้องรู้ว่าบันไดเลื่อนพาดขึ้นหรือลงแล้ว ยังต้องรู้ว่าตอนนี้ ก�ำลังเขียนแปลนชั้นอะไรอยู่ ทั้งยุ่งยากและเสียเวลา วิธแี ก้ปญ ั หานีง้ า่ ยนิดเดียว เพียงใช้วธิ กี ารแบบเดียวกับการเขียนบันได คือ ใช้ ลูกศรแสดงทิศขึ้นของบันไดที่ชี้ขาขึ้นอย่างเดียว โดยไม่ต้องเขียนตัวหนังสือ หรือค�ำอธิบายใด ๆ ก็จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างหมดข้อสงสัย ผูเ้ ขียนเคยเสนอการเขียนบันไดเลือ่ นวิธนี กี้ บั ทีมงานของเจ้าของโครงการแห่งหนึง่ แต่ทมี งานนัน้ ไม่เชือ่ วิธนี ี้ บังคับให้ผอู้ อกแบบเขียนค�ำอธิบายการขึน้ การลงของ บันไดเลื่อนเหมือนที่แสดงไว้ย่อหน้าที่แล้วผู้เขียนจึงต้องท�ำแบบตามใจทีม เจ้าของโครงการ แต่ใช้วิธีเขียนค�ำอธิบายด้วยตัวหนังสือตัวเล็กที่อ่านได้ยาก แต่เขียนลูกศรที่ชี้ขึ้นอย่างเดียวใหญ่ ๆ หนา ๆ ชัด ๆ หลังจากส่งแบบนี้ไป 2-3 ครั้งพร้อมกับพูดอธิบายซ�้ำ ๆ ของหลักการนี้ ใน ที่สุดทีมงานเริ่มเคยชินกับวิธีการนี้ หลังจากนั้นผู้เขียนจึงเริ่มส่งแบบขยาย บันไดเลือ่ นทีไ่ ม่มคี ำ� อธิบายใด ๆ เลย จากนัน้ ทุกคนจึงอ่านแบบด้วยสัญลักษณ์ ลูกศรเพียงอย่างเดียวได้ในที่สุด และทีมงานนั้นไม่กลับไปอ่านแบบก่อสร้าง แบบเดิมอีกเลย... ของแถม เคยมีผอู้ อกแบบต่างประเทศรายหนึง่ เสนอวิธกี ารเขียนแบบบันไดและบันไดเลือ่ นว่า ให้แสดงแบบบันไดและบันไดเลื่อนที่เป็นช่วงลงให้เห็นเต็มทั้งบันได ส่วนบันไดและ บันไดเลื่อนวิ่งขึ้นให้เขียนแบบตัดส่วนไม่เห็นทั้งหมด แนวคิดนี้มีข้อด้อย 2 เรื่องคือ ปัญหาแรกคือผิดหลักการเขียนแบบเรื่อง ต้องไม่แสดงข้อมูลที่แสดงไปแล้วซ�้ำอีก ปัญหาที่สอง คือ ถ้าเขียนวิธีนี้ในโครงการที่มีบันไดเลื่อนที่พาดไปมาอย่างซับซ้อน เราจะเห็นบันไดเลือ่ นเยอะแยะไปหมด แบบจะสับสนจนท�ำให้อา่ นแบบก่อสร้างได้ยาก ผู้เขียนจึงไม่แนะน�ำให้ใช้วิธีนี้...

130 How to be a good design manager-3.indd 130

9/25/2560 BE 2:16 AM


131 How to be a good design manager-3.indd 131

9/25/2560 BE 2:16 AM


A

ให้ถูก

0000

B

C

1

2

6

3

4

5

19 TITLE A134 SCALE

How to be a good design manager-3.indd 134

NTS

9/25/2560 BE 2:16 AM


ลิฟต์เป็นระบบการติดต่อระหว่างชัน ้ ทีน ่ า่ จะใช้ในเกือบทุก โครงการโดยเฉพาะในอาคารสูง ดังนั้นการเขียนแบบ ขยายลิฟต์ในแบบสถาปัตยกรรมจึงมีความส�ำคัญที่จะ ต้องสื่อสารไปให้ผู้รับก่อสร้างด�ำเนินการให้ถูกต้องตาม ที่ผู้ออกแบบตั้งใจ ค�ำแนะน�ำในการเขียนแบบขยายลิฟต์ ให้ถูกต้อง มีวิธีดังนี้...

ข้อมูลลิฟต์ ข้อมูลส�ำคัญเพือ่ ใช้ในการเขียนแบบขยายปล่องส�ำหรับติดตัง้ ลิฟต์ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ความกว้างและความลึกของปล่องลิฟต์ ขนาดของช่องประตูลิฟต์ ระยะ Over Head30 และขนาดกว้าง x ยาว x สูงของห้องเครื่องลิฟต์ เพื่อ ไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการเขียนแบบ ข้อมูลทัง้ หมดนีต้ อ้ งได้รบั การยืนยัน จากผู้รับผิดชอบเป็นเอกสารก่อนด�ำเนินการเสมอ...

ปล่องลิฟต์ โครงสร้างของปล่องลิฟต์ ส�ำหรับอาคารส่วนใหญ่มกั เป็นผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือประหยัดพื้นที่อาคาร การติดตั้งรางและอุปกรณ์ ลิฟต์ท�ำได้ง่าย สามารถติดตั้งที่จุดใดก็ได้ ระดับใดก็ได้ แต่มีข้อควรระวัง 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ เรือ่ งที่ 1 ถ้าเป็นลิฟต์เดีย่ ว คือมีลฟิ ต์เพียงตัวเดียวในปล่องลิฟต์นนั้ จะต้องเตรียม ช่องเปิดให้อากาศภายในช่องลิฟต์ถา่ ยเทได้ระหว่างทีล่ ฟิ ต์เคลือ่ นที่ เพราะตอน ที่ลิฟต์ขึ้นลงระหว่างชั้น ห้องโดยสารจะเหมือนลูกสูบที่ดันอากาศในปล่องขึ้น และลงตามการเคลื่อนที่ของลิฟต์ โดยขนาดและต�ำแหน่งของช่องเปิดนี้ให้ ปรึกษากับผู้ขายลิฟต์ 30

ความสูงที่วัดจากระดับพื้นที่จอดลิฟต์ชั้นสุดท้ายถึงใต้ท้องโครงสร้างพื้นห้องเครื่องลิฟต์

135 How to be a good design manager-3.indd 135

9/25/2560 BE 2:16 AM


ผู้เขียนคือใคร

How to be a good design manager-3.indd 166

9/25/2560 BE 2:19 AM


วิญญู วานิชศิริโรจน์

ส�ำเร็จการศึกษาจากหลายสถาบันและหลายสาขา คือ สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต (MBA) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ (ITM.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ปัจจุบนั ท�ำงานเป็นสถาปนิกในต�ำแหน่ง รองประธานอาวุโส ทีบ่ ริษทั ดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด ผู้เขียนมีประสบการณ์เป็นสถาปนิกที่ท�ำงานด้านออกแบบและจัดการงาน ออกแบบมานานมากกว่า 30 ปี มีผลงานออกแบบอาคารมาแล้วมากมาย มีงานอดิเรกเป็นนักเขียน ได้เขียนหนังสือและบทความทางวิชาการไว้หลาย ร้อยชิ้น งานเขียนหนังสือเล่มนี้มาจากความรู้ด้านสถาปัตยกรรม การบริหาร การเงิน และประสบการณ์ตรงจากการท�ำงานเป็น “ผู้จัดการงานออกแบบ” มาแล้ว หลายสิบโครงการ ข้อมูลที่น�ำเสนอผ่านหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยแง่มุมและ รายละเอียดที่ตั้งใจให้เป็นประโยชน์กับผู้อ่านที่ต้องการเปลี่ยนตัวเองจาก นักออกแบบมาเป็นผู้จัดการงานออกแบบ ผลงานเขียนหนังสือขายดีทจี่ ดั พิมพ์ไปแล้วคือ “ตรวจสุขภาพบ้านก่อนรับโอน” “ตรวจสุขภาพคอนโดก่อนรับโอน” “ซื้อบ้านได้ถูกใจ” “สร้างบ้านให้ตรงใจ” “อ่านแบบก่อสร้างให้เป็น” และ “How to be a good design manager” ภาคหนึ่งและภาคที่สอง... และเล่มล่าสุดคือ “99 ข้อควรรู้ก่อนมีบ้าน”...

How to be a good design manager-3.indd 167

9/25/2560 BE 2:19 AM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.