ด้วยแรงศรัทธา

Page 1



ด้ ว ย แ ร ง ศ รั ท ธ า

นิธิ สถาปิตานนท์ ครบรอบ 72 ปี


ด้วยแรงศรัทธา

นิธิ สถาปิตานนท์ ครบรอบ 72 ปี พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2562 ลิขสิทธิ์ นิธิ สถาปิตานนท์ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ด้วยแรงศรัทธา นิธิ สถาปิตานนท์ ครบรอบ 72 ปี.-- กรุงเทพฯ : ลายเส้น พับบลิชชิ่ง, 2562. 168 หน้า. 1. นิธิ สถาปิตานนท์, 2490. 2. การออกแบบสถาปัตยกรรม. I. ชื่อเรื่อง. 720.92 ISBN 978-616-459-022-9 บรรณาธิการที่ปรึกษา บรรณาธิการ ออกแบบปกและรูปเล่ม กองบรรณาธิการ ถ่ายภาพ ภาพประกอบ พิสูจน์อักษร เลขากองบรรณาธิการ ผู้ช่วยกองบรรณาธิการ เอื้อเฟื้อข้อมูลและภาพประกอบ

สุลักษณ์ วิศวปัทมวรรณ บุศรา เขมาภิรักษ์ สิริยากร อุรัสยะนันทน์ ณัฐกานต์ ถาวรธรรมฤทธิ ์ นิศารัตน์ เจียวก๊ก กฤษฎา บุญเฉลียว ปิยะดนัย เพิ่มชีวา พิศานต์ คนดี ยงยุทธ แซ่โล้ว นาฬิก ลีลาชาต บุศรา เขมาภิรักษ์ รุ่งรวี สุรินทร์ ปุณณภา เหรียญทอง Xiaoyan Tu สถาปนิก 49 ลายเส้น พับบลิชชิ่ง

ผู้ดูแลการผลิต บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จำ�กัด 112 สุขุมวิท 26 คลองตัน คลองเตย กรุงเทพฯ T. 0 2259 2096 F. 0 2661 2017 www.li-zenn.com Facebook: Li-Zenn Publishing Line: @Li-Zenn พิมพ์ที่ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน)


หอประชุมนวมภูมินทร์ ศาลาไทยกลางน�้ำ อาคารวชิราวุธ 100 ปี อาคารกีฬารวม ศาลากลางน�้ำ ยุคโคโลเนียล ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก วัดสุนันทวนาราม เจดีย์หลวงปู่ชา เจดีย์วัดป่าจักราช เจดีย์หลวงปู่มหาปราโมทย์ เจดีย์วัดเขาล้อม (วัดควนจง) พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อ สถานปฏิบัติธรรมศศิภาวัน วัดป่าพิชัยวัฒนมงคล ศาลาสวดมนต์ ศาลาปฏิบัติธรรม ส�ำนักวิปัสสนา สุสานประจ�ำหมู่บ้าน โรงอุโบสถ ส�ำนักวิปัสสนา มูลนิธิแนบมหานีรานนท์ อาคารที่ประทับ พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน บ้านชมจันทร์ บ้านริมใต้ – สายธาร บ้านจีนที่บางปู บ้านแม่ริม บ้านเอกมัย 10 กระทรวงการต่างประเทศ อาคารสถานเลี้ยงและดูแลเด็กของมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมฯ หมู่อาคารใหม่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย งานเฟอร์นิเจอร์ ไม้ และงานประติกรรมไม้ อ่างบัว วชิราวุธ 100 ปี นิทรรศการ งานผลิตหนังสือเพื่อวงการวิชาชีพ

12 18 20 22 26 28 32 38 40 44 46 50 52 58 62 64 66 68 70 74 80 84 92 96 100 106 110 112 116 128 132 136

ภารกิจแห่งความสุขสันต์ และท้าทาย หลังเกษียณ ร้านตัดผมผู้ชาย สไตล์บาร์เบอร์แบบโบราณ ร้านอาหารเล็กๆ เพื่อลองสู้กับร้านอาหารใหญ่ๆ ดังๆ ทั้งหลาย อาร์ตแกลเลอรี ร้านกาแฟ ธุรกิจร้านค้าที่เขาว่า ปราบเซียนมามากแล้ว ร้านขายหนังสือและร้านมินิมาร์ท งานออกแบบผลิตภัณฑ์ จัดดอกไม้ตกแต่งสถานที่ ด้วยความจ�ำเป็นและให้ถูกใจ มีโอกาสได้เลี้ยงดูให้การศึกษาเด็กหลายคน

140 142 144 146 148 150 152 156 160



เมื่อผมอายุครบ 65 ปี ผมประกาศร�่ำลาจากวงการประกอบวิชาชีพ โดยเฉพาะร�่ำลาจากการท�ำงานในบริษัท  ทั้งงานบริหารและงานออกแบบ พนั ก งานในบริ ษั ท ได้ จั ด ท� ำ แผ่ น โปสเตอร์ ร วบรวมผลงานที่ ผ มเคยท� ำ มา ตลอดชีวติ การท�ำงาน  งานทีน่ ำ� มาจัดพิมพ์ลงในโปสเตอร์ดมู คี วามหลากหลาย และเป็นตัวตนของผม  เพื่อมอบให้กับเพื่อนๆ  และพนักงานภายในบริษัท เพื่ อ เป็ น ที่ ร ะลึ ก และเป็ น เครื่ อ งเตื อ นใจให้ นึ ก ถึ ง งานการที่ ห ลากหลาย ทีท่ ำ� มาในชีวติ   หลายๆ  คนคาดการณ์ลว่ งหน้าว่า  ผมคงยุตกิ ารท�ำงานต่างๆ  ลง และคงใช้ชีวิตพักผ่อนและท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ  ตามที่ปรารภเป็นนัยๆ  ไว้ ทั้ ง ยั ง คาดหมายว่ า   อาจจะไม่ ไ ด้ พ บปะสั ง สรรค์ กั น เหมื อ นเมื่ อ ครั้ ง ที่ ผ ม ยังใช้ชีวิตท�ำงานท�ำการอยู่  หลังจากเกษียณจากการท�ำงานแล้ว  การใช้ชีวิต ของผมดูจะเหมือนเดิม  คือ  มาท�ำงานทุกวันและยังต้องท�ำงานทีห่ ลากหลาย และดูเหมือนว่า  จะหลากหลายกว่าเดิม สนุกสนานกว่าเดิม ท้าทายกว่าเดิม และที่ส�ำคัญ คือ ได้ท�ำงานที่ชอบและได้ท�ำงานที่เลือกได้  ทั้งหลายทั้งมวล มั น เกิ ด จากความมุ ่ ง มั่ น ตั้ ง ใจด้ ว ยความรั ก และแรงศรั ท ธาในความเป็ น สถาปนิกของผม  ถ้าจะต้องท�ำอะไรจากนี้ไป  ก็ท�ำไปด้วยความพึงพอใจ ด้วยความสนุก ด้วยความสุขเท่านั้น เมื่ อ ชี วิ ต ด� ำ เนิ น มาถึ ง ปี ที่   72  ผมยั ง สนุ ก สนานกั บ การใช้ ชี วิ ต   กั บ การ ท�ำงานในหลากหลายรูปแบบเหมือนเดิม ช่วงหลังๆ นี้ วันเวลามันดูจะผ่านไป รวดเร็วมาก  ทั้งยังต้องใช้เวลาส่วนที่เหลืออย่างระมัดระวังและพยายามใช้ มันให้ได้ประโยชน์ หลังจากผมประกาศตนเองเกษียณจากการท�ำงานไปแล้ว มันยังมีงานอีกหลายสิ่งที่กลับมาให้ผมท�ำ มันอาจเป็นงานท้าทาย อาจเป็น งานยาก ที่หลายๆ คนอ้างว่าไม่ถนัด หรืออาจเป็นงานที่น่าเบื่อที่ไม่มีใคร อยากท�ำ  งานบางอย่างก็อาจเป็นงานที่ไม่ได้เงิน หรือได้เงินน้อยไม่คุ้มค่า ใช้จ่าย ไม่คุ้มกับเวลาที่จะเสียไป แต่ด้วย “สปิริต” ด้วยความเข้มข้นที่เป็น สถาปนิกของผม ผมต้องมารับท�ำงานประเภทนี้ เช่น ท�ำงานให้วงการ ศาสนา  ท� ำ งานพื้ น ถิ่ น   งานที่ เ ป็ น สถาปั ต ยกรรมไทย  หรื อ ไม่ ก็ ง าน สาธารณกุ ศ ลที่ ไ ม่ ไ ด้ เ งิ น   ซึ่ ง มี ม าให้ ท� ำ ต่ อ เนื่ อ งมาหลายยุ ค หลายสมั ย


หลายคนสงสัย ตั้งค�ำถามกับผมเสมอว่า ผมท�ำไปท�ำไม ทุกครั้งที่ท�ำงาน ประเภทนีก้ ว่าจะส�ำเร็จได้  กว่าจะจบได้  ผมต้องเสียเวลา  ต้องเหน็ดเหนือ่ ย ต้องเสี่ยงอันตราย ที่ต้องเดินทางไปทั่วบ้านทั่วเมือง ค�ำตอบง่ายๆ ก็คือ งานพวกนีไ้ ม่มคี นอยากท�ำ  กอปรกับคนทีม่ าขอให้เราท�ำก็ลว้ นไม่มที นุ ทรัพย์ ต้องการหาที่พึ่ง ต้องการความช่วยเหลือ หรือท้ายที่สุดก็ต้องการพึ่งความ สามารถของเรา  ในวินาทีที่ตอบรับท�ำงานให้ใคร  ผมก็มักต้องประเมิน ตนเองว่า มีพละก�ำลังทีจ่ ะท�ำงานได้หรือไม่ มีเวลาทีจ่ ะท�ำงานให้เขาได้หรือไม่ ทีมงานของผมจะเต็มใจช่วยและสนับสนุนผมได้หรือไม่  และต้องประเมิน ผู้ที่มาว่าจ้างหรือขอความช่วยเหลือผมนั้น  ว่าเขามีความเชื่อมั่น  มีความ ศรัทธาในแนวทางการท�ำงานของผมหรือไม่ ถ้าเงื่อนไขเหล่านั้นมันเป็นไปได้ ผมก็มักจะรับท�ำงาน และเป็นเงื่อนไขที่ท�ำมาจนถึงบั้นปลายชีวิตนี้ ผมโชคดี ทีม่ โี อกาสได้ฝกึ ฝนการท�ำสมาธิ ตัง้ สติมงุ่ มัน่ ท�ำงานต่างๆ ได้ สามารถแยกแยะ งานบริหารจัดการต่างๆ ที่ยังต้องท�ำอยู่ได้ สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่า ผมมีอยู่ในตัว ผมคือ  พลังในตัว  พลังในจิตใจ  เพราะเมื่อจะท�ำอะไรที่มุ่งมั่นตั้งใจหรือมี ความศรัทธาในงานนั้นแล้ว  ผมจะตั้งสติค้นคว้าหาข้อมูลและท�ำมันขึ้นมา ได้จนส�ำเร็จ ถึงแม้งานบางอย่างอาจยังไม่เคยท�ำมาก่อน งานบางอย่างอาจ ไม่คิดว่าจะท�ำมันได้  แต่ความมุ่งมั่นตั้งใจที่ว่านี้ท�ำให้ผมท�ำมันออกมาได้ ทั้งนี้ก็ด้วยความเชื่อมั่นว่า งานที่ท�ำออกไปด้วยความศรัทธานี้ มันคือตัวตน ของเรา มันเป็นผลงานของเรา และมันก็เป็น “signature” ของตัวตนเรา ถ้าคนที่เขามาให้เราท�ำเกิดไม่ชอบ  ไม่ตรงตามจริตของเขา  มันก็น่าจะ เลิกรากันไปตั้งแต่ตอนเป็นแบบอยู่ในกระดาษแล้ว เมื่อมาถึงช่วงเวลาที่อายุครบรอบ 72 ปี ในปี พ.ศ.2562 ผมอยากรวบรวม ผลงานต่างๆ ที่ว่านี้ไว้ในรูปของหนังสือ  เนื่องด้วยผลงานเหล่านี้ไม่ค่อยได้ ถูกตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ  ด้วยเป็นผลงานที่ถูกท�ำถูกสร้างขึ้นในกรณี พิเศษๆ  เท่านั้น  หรือเป็นงานเฉพาะกิจในโอกาสพิเศษๆ  ต่างๆ  ผลงาน เหล่านี้  ผมอยากจารึกไว้เป็นอุทาหรณ์ให้เพื่อนๆ  สถาปนิกหันกลับมา ร่วมพัฒนางานประเภทนี้บ้างในบางโอกาส  เพราะถ้าเราท�ำออกมาได้ดี


ผมเชื่อว่า  ผลงานเหล่านี้จะอยู่กับประเทศชาติไปอีกนาน  เป็นส่วนหนึ่ง ของศิลปวัฒนธรรมของประเทศชาติต่อไปได้  ผมอยากให้สถาปนิกรุ่นใหม่ๆ นิสิตนักศึกษาสถาปัตยกรรมได้เข้าใจในแนวทางของผม  และมีความกล้า ที่จะสร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้ มากกว่าที่จะมองข้ามไป มากกว่าที่จะอ้างว่า ไม่ ถ นั ด   ไม่ มี เ วลาในวั น นี้ ห นั ง สื อ รวบรวมผลงานที่ ว ่ า นี้   ได้ ส� ำ เร็ จ พิ ม พ์ เสร็จออกมาได้ดว้ ยความร่วมมือร่วมใจของเพือ่ นๆ  น้องๆ  สถาปนิกหลายๆ คน กว่าจะรวบรวมหาข้อมูลและรูปภาพมาได้กใ็ ช้เวลาไปพอสมควร  ด้วยมีผลงาน หลายๆ  ชิ้นสร้างเสร็จมาแล้วหลายสิบปี  ผมหวังเป็นอย่างมากว่า หนังสือ เล่ ม นี้ จ ะช่ ว ยจุ ด ประกาย  ช่ ว ยสร้ า งก� ำ ลั ง ใจให้ ส ถาปนิ ก ที่ มี จิ ต ใจรั ก ทาง ด้านนี้หันกลับมาสร้างงานที่ไม่มีใครอยากท�ำนี้บ้าง

นิธิ สถาปิตานนท์


หอประชุมนวมภูมินทร์ วชิราวุธวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร

เมื่อวชิราวุธวิทยาลัย ฉลองครบรอบ 100 ปี เมื่อปี พ.ศ.2553 คณะกรรมการอ�ำนวยการโรงเรียน มีมติเห็นชอบให้มจี ดั สร้างหอประชุมหลังใหม่ เพือ่ ให้ สอดคล้องกับการใช้งานทีม่ มี ากขึน้ ในปัจจุบนั หอประชุมเดิม ซึ่งมีอายุมากกว่า 100 ปี มีขนาดเล็กไม่พอแก่การใช้งาน และเป็นอาคารทีไ่ ด้รบั ขึน้ ทะเบียนเป็นอาคารอนุรกั ษ์ของชาติ ทางโรงเรียนเห็นควรให้เก็บรักษาไว้ใช้งานในกรณีที่มี พิธกี ารส�ำคัญเท่านัน้ ผมในฐานะเป็นศิษย์เก่าได้รบั มอบหมาย ให้เป็นผู้ออกแบบ ได้เสนอคณะกรรมการอ�ำนวยการ โรงเรียนว่า อาคารหอประชุมใหม่นี้ ควรออกแบบให้เป็น งานสถาปัตยกรรมไทยประเพณี และควรมีจติ วิญญาณ ของหอประชุมหลังเดิมไว้ให้มากทีส่ ดุ ด้วยหอประชุมหลังเดิม อยูค่ กู่ บั โรงเรียนมากว่า 100 ปี เป็นเอกลักษณ์ทโ่ี ดดเด่น ของโรงเรียน เป็นความภาคภูมใิ จของนักเรียนวชิราวุธฯ มาทุกยุคทุกสมัย ซึง่ คณะกรรมการก็เห็นด้วย งานออกแบบ ได้ถกู พัฒนามาในแนวทางนี้ จนอาคารแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2560 อาคารใหม่นี้เป็นอาคารอเนกประสงค์ที่ใช้ประโยชน์ ได้ในหลายกรณี เช่น เป็นหอประชุม หอสวดมนต์ประจ�ำวัน ส�ำหรับนักเรียน 800 คน ใช้เป็นสถานทีจ่ ดั แสดงละคร แสดงดนตรีในโอกาสต่างๆ ส่วนหนึง่ เป็นส�ำนักงานผูบ้ งั คับการ โรงเรียน บางส่วนเป็นห้องพักครูและห้องประชุมสัมมนา บางส่วนเป็นห้องพบปะของครูบาอาจารย์และผู้ปกครอง อีกส่วนหนึ่งเป็นห้องรับรอง ห้องประชุมคณะกรรมการ อ�ำนวยการโรงเรียน

12


13


ศาลาไทยกลางน�้ำ

วชิราวุธวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร ศาลาไทยกลางน�้ำนี้ ได้ก่อสร้างขึ้นแทนศาลาไทยหลังเดิม ซึ่งก่อสร้างด้วยโครงสร้างไม้และมีอายุมากกว่า 60-70 ปี โรงเรียนได้จัดสร้างศาลากลางน�้ำนี้ไว้เพื่อให้นักเรียนไว้ใช้ซ้อมดนตรีวงโยธวาทิต ซึ่งมีเสียงดังเวลาซ้อมและต้องใช้ พื้นที่มาก ศาลาไทยหลังใหม่นี้มีขนาดกว้างขวาง บรรจุนักดนตรี เพื่อฝึกซ้อมได้มากกว่า 60 คน มีที่เก็บเครื่องดนตรี ซ้อนอยู่ในชั้นหลังคา อาคารหลังนี้ได้ถูกออกแบบไว้ให้เป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ทรงจตุรมุข เพื่อให้มองเห็น สวยงามทัง้ 4 ด้าน และได้ทศั นียภาพทีผ่ สมกลมกลืนไปกับอาคารสถาปัตยกรรมไทยประเพณีซงึ่ ก่อสร้างรายล้อมอยูร่ อบๆ

18


19


ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น, จังหวัดขอนแก่น

ในปี พ.ศ.2559 ผมได้รับปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันที่ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย เลี้ยงรับรองแสดงความยินดี ท่านนายกสภามหาวิทยาลัย ได้เอ่ยปากขอให้ผม ช่วยออกแบบปรับปรุงอาคารหอประชุมของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีสภาพเก่าและทรุดโทรมมาก ถึงแม้ในช่วงเวลานั้น ผมได้ประกาศตัวเองเกษียณจากการท�ำงานออกแบบไปแล้ว แต่คณะกรรมการสภาฯ หลายๆ คนก็ได้ขอร้องให้ผม รับออกแบบเพื่อเป็นเกียรติแก่มหาวิทยาลัย นักศึกษาและคณาจารย์เป็นจ�ำนวนมากอยากให้มหาวิทยาลัยปรับปรุง หอประชุมเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย ผมได้รับปากไปในวันนั้น ได้ชักชวนทีมงานในบริษัท สถาปนิก 49 และบริษัทในเครือ ช่วยกันท�ำงานจนแล้วเสร็จและก่อสร้าง ทันงานรับปริญญาในปีต่อมา

28


29


เจดีย์วัดป่าจักราช

อำ�เภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา วัดป่าจักราช เป็นอีกวัดหนึ่งที่ผมได้รับมอบหมายให้ช่วย เข้าไปแก้ปญ ั หาจากทางคณะกรรมการวัด ด้วยเจดียข์ องเดิม ได้กอ่ สร้างทิง้ ร้างไว้เป็นเวลาหลายปี ผมเข้าดูสถานทีร่ ว่ มกับ วิศวกร พบว่าสภาพของเดิมทรุดโทรมและไม่มีแบบก่อสร้าง ของเดิมให้ตรวจได้ จึงได้เสนอทางวัดขอออกแบบใหม่ ทั้งงานโครงสร้างและงานสถาปัตยกรรม พร้อมทั้งได้ ก่อสร้างจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2559 เจดีย์ที่วัดจักราชนี้ เป็นเจดีย์ที่ยกใต้ถุนสูง ชั้นล่างเป็นที่ใช้งานอเนกประสงค์ เวลามีกิจกรรมต่างๆ ชั้นสองเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ มีองค์พระประธานประดิษฐานอยู่ภายใน เหนือชั้นนี้ขึ้นไป เป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โครงสร้างของเจดีย์เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ตัวองค์เจดีย์ท�ำด้วยสแตนเลสสตีลจนถึงยอดเจดีย์ เมื่อถึง วันที่สร้างเสร็จชาวบ้านในละแวกนั้นต่างร�ำ่ ลือกันว่า เจดีย์ วัดป่าจักราชนี้ น่าจะเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นด้วยโครงสร้างเหล็ก และองค์เจดียท์ ำ� ด้วยสแตนเลสสตีลทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในประเทศไทย

40


41


เจดีย์วัดเขาล้อม (วัดควนจง) อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

เมื่อกรรมการวัดท่านหนึ่งติดต่อให้ผมไปออกแบบเจดีย์ ที่จะท�ำการก่อสร้างที่วัดเขาล้อม (หรือวัดควนจง ที่ชาวบ้าน เรียก) อ�ำเภอหาดใหญ่ เมื่อได้รับโจทย์มาว่า ทางวัดจะ สร้างถวายเป็นอนุสรณ์แด่ หลวงพ่อมหาจิต จิตฺตวโร ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสและพระผู้ใหญ่ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ มาช้านาน ท่านได้มรณภาพไปเมือ่ ปี พ.ศ.2557 ผมได้รบั ปาก ไปว่า ขอเดินทางไปดูสถานที่และขอทราบข้อมูลจากทาง กรรมการวัดก่อน ก่อนจะตัดสินใจว่าจะรับออกแบบให้หรือไม่ ด้วยเหตุผลที่ว่า ผมไม่มีประสบการณ์ออกแบบเจดีย์ทาง ภาคใต้มาก่อนเลย ผมไปอ�ำเภอหาดใหญ่ในคราวนั้น มีโอกาสได้ไปเยีย่ มชมวัดหลายๆ วัดในจังหวัดสงขลา รวมทัง้ ขอไปเยี่ยมชมวัดช้างให้ วัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปัตตานี เมื่อกลับมากรุงเทพฯ ผมก็มีความมั่นใจขึ้นมาก บวกกับ ความเชื่อมั่นของกรรมการวัดที่มั่นใจว่า ผมจะออกแบบ เจดีย์นี้ออกมาได้สวยงาม ผมตอบรับไปและใช้เวลาไม่นาน ในการออกแบบ เมื่อน�ำแบบไปเสนอ คณะสงฆ์และ กรรมการวัดทุกคนเห็นชอบให้ดำ� เนินการก่อสร้างได้ เจดียน์ ี้ สร้างเสร็จเมื่อต้นปี พ.ศ.2562 เมื่อเจดีย์สร้างเสร็จ ชาวบ้านก็พอใจ และเจดีย์นี้ก็กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ ของเมืองหาดใหญ่ เป็นที่เคารพสักการะของคนที่มา เยี่ยมเยือนทุกคน

46


47


สถานปฏิบัติธรรมศศิภาวัน อำ�เภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

คุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์ ปรารภอยากสร้างสถานปฏิบัติธรรมส�ำหรับประชาชนได้มาศึกษาธรรมะและเรียนวิปัสสนา กับพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ในโอกาสต่างๆ บนทีด่ นิ บริเวณเขาใหญ่ ถนนธนะรัชต์ เมือ่ ผมได้รบั การติดต่อให้เป็นผูอ้ อกแบบ และเมื่อทราบเจตนารมณ์ของคุณหญิง ที่ต้องการจัดท�ำสถานที่แห่งนี้ ให้เป็นศาสนสถานเพื่อประชาชนคนทั่วไป ต้องการให้ผู้คนมาศึกษาธรรมะและร่วมกันปฏิบัติศาสนกิจ ทั้งท่านยังเปิดโอกาสให้ผมออกแบบอาคารต่างๆ ในแนวทาง ที่ผมถนัด ตามแนวคิดที่ผมอยากให้เป็น ผมได้ท�ำงานร่วมกับคุณหญิงร่วมปีจนแบบแล้วเสร็จพร้อมจะก่อสร้างได้ในต้นปี พ.ศ.2562 งานสถาปัตยกรรมของที่นี่จะเป็นงานสถาปัตยกรรมแบบไทยสมัยใหม่ ผมพยายามอย่างที่สุดที่จะท�ำให้ มีจิตวิญญาณของความเป็นไทยแฝงไว้ในหลายส่วนของอาคาร ยังอยากให้ทุกคนที่มาใช้อาคารนี้ซึมซับในรสพระธรรม ซึมซับความเป็นไทย ซึมซับในศิลปวัฒนธรรมแบบไทยๆ ได้ ทั้งในตัวศาลาปฏิบัติธรรม เจดีย์ที่ท�ำด้วยแก้ว กุฏิพี่พัก และบรรยากาศของการจัดวางทางด้านภูมิสถาปัตยกรรมต่างๆ ผมอยากให้สถานที่นี้เป็นที่สงบเงียบ มีรสนิยมที่ดี หล่อหลอมจิตใจของผู้คนที่มาที่นี่ให้เป็นคนดี มีจิตใจดี มีสติ มีพละก�ำลังที่จะต่อสู้ชีวิตต่อไปได้ เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้น ได้พบกับความสุข มีชีวิตที่สุขสมบูรณ์ สมดังเจตนารมณ์ที่บริสุทธิ์ของเจ้าของผู้ดำ� ริสร้างโครงการนี้ขึ้นมา ผมท�ำโครงการนี้ ด้วยความสุข ด้วยความศรัทธา งานสถาปัตยกรรมทีจ่ ะเกิดขึน้ ทีน่ เี่ ป็นงานสถาปัตยกรรมทีม่ าจากใจของผูท้ มี่ าร่วมงานทุกคน

52


53


วัดป่าพิชัยวัฒนมงคล อำ�เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

เมื่อปี พ.ศ.2555 มีพระสงฆ์ท่านหนึ่งมาพบผมที่สำ� นักงาน ท่านเป็นพระหนุม่ บุคลิกสุขมุ งดงาม ท่านเล่าถึงประสบการณ์ ที่ ไ ด้ พ บเห็ น และได้ ไ ปจ�ำ วัดที่วัดป่าสุนันทวนาราม จั ง หวั ด กาญจนบุ รี ที่ผมเป็นผู้ออกแบบไว้ ท่านประทับใจ ในบรรยากาศของทีน่ นั่ มาก ทัง้ ยังศรัทธาในงานสถาปัตยกรรม ที่นั่น ท่านได้ปรึกษาท่านเจ้าอาวาสวัดสุนันทวนาราม ถึงความต้องการที่จะให้ผมช่วยออกแบบวัดแห่งใหม่ ที่อำ� เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ด้วยมีผบู้ ริจาคทีด่ นิ ให้ สร้ า งวั ด เมื่ อ ท่ า นมาพบผม ท่ า นได้ เ ล่ า ให้ ฟ ั ง ถึ ง ความต้องการของท่าน ที่ต้องการสร้างวัดใหม่ที่ให้ผู้คน มาปฏิบตั ธิ รรม งานสถาปัตยกรรมอยากให้เป็นแบบเรียบง่าย ดูสงบเงียบ ไม่จ�ำเป็นต้องดูยิ่งใหญ่ฟุ้งเฟ้อ ไม่ต้องมีช่อฟ้า ใบระกาหรือลวดลายไทยปิดทองเหมือนวัดทัว่ ๆ ไป ท่านคิดว่า ผมน่าจะเป็นสถาปนิกที่เหมาะสมที่สุดที่จะออกแบบวัดนี้ ให้ได้ตามแนวทางของท่ า น นอกจากนี้ท ่านยังชอบ บรรยากาศ ของที่ท�ำงานของผมที่ดูทันสมัย ใช้วัสดุที่ดู เรียบง่ายและเป็นธรรมชาติ ท่านชอบงานคอนกรีตเปลือย ที่อาคารส�ำนักงานของสถาปนิก 49 เลือกใช้อยู่ทั่วๆ ไป ผมและท่านไปมาหาสู่และท�ำงานปรึกษาหารือเรื่องงาน ออกแบบวัดใหม่เป็นเวลาเกือบ 1 ปี จนงานออกแบบและ เขียนแบบใกล้แล้วเสร็จ ท่านได้มาพบและขอลาไปปลีกวิเวก ปฏิบตั ธิ รรมในป่าครัง้ ส�ำคัญของท่าน เพือ่ เตรียมตัวทีจ่ ะกลับ มาสร้างวัด เมือ่ แบบก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านขอให้ผม และทีมงานเตรียมแบบให้พร้อมและให้คำ� ยืนยันว่า ท่านจะ ต้องกลับมาสร้างวัดนีใ้ ห้สำ� เร็จสมดังเจตนารมณ์ให้ได้ ทัง้ ยัง พูดให้กำ� ลังใจว่า ญาติโยมที่ให้การสนับสนุนด้านทุนทรัพย์ ได้เตรียมทุนรอนไว้ให้พร้อมแล้ว เวลาผ่านไปหลายเดือน ท่านหายไปไม่มผี ใู้ ดติดต่อได้ ญาติโยมที่เคยมากับท่านใน ช่วงที่มาปรึกษาหารือกับผม ก็ยังกังขาไม่สามารถหาค�ำตอบ ได้วา่ ท่านหายไปไหน ทราบแต่วา่ ท่านเข้าไปในป่าลึก อาจไป อยูใ่ นถ�ำ้ ทีไ่ หนสักแห่ง เพือ่ จ�ำศีลภาวนา ไม่บอกใครว่าไปทีใ่ ด เพราะไม่อยากให้ใครรบกวน ในส่วนของผมและทีมงานก็ได้ จัดท�ำแบบก่อสร้างวัดจนเสร็จเรียบร้อย รอวันเวลา ที่ จะมีโอกาสได้ก่อสร้างจนถึงทุกวันนี้ ทั้งยังมีความหวังลึกๆ ว่าท่านจะกลับมาและได้ร่วมสร้างวัดใหม่แห่งนี้ด้วยกัน สักวันหนึ่ง

58


59


60


61


อาคารที่ประทับ

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดำ� ริทจี่ ะท�ำการก่อสร้างอาคารทีป่ ระทับ โดยทางกรรมการสภามหาวิทยาลัยได้ขอให้ผมเป็นผูอ้ อกแบบ เมือ่ วันทีผ่ มได้เดินทางไปรับปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2559 ผมตอบรับด้วยความเต็มใจและได้พยายามท�ำงานด้วยความมุง่ มัน่ ตัง้ ใจด้วยเป็นอาคารส�ำคัญของทางมหาวิทยาลัย ผมใช้เวลาร่วม 1 ปี ท�ำงานจนแล้วเสร็จและพร้อมทีจ่ ะก่อสร้างได้ งานออกแบบทีไ่ ด้ น�ำเสนอคณะกรรมการมหาวิทยาลัย เป็นงานสถาปัตยกรรมแบบไทยล้านนาร่วมสมัย หลังคาเป็นแบบหน้าจัว่ ทรงสูง ซ้อนชัน้ กันตามแบบล้านนาโบราณ รายล้อมด้วย ระเบียงและเสาไม้โดยรอบอาคาร และมีกำ� แพงล้อมเขตทีป่ ระทับ อีกชัน้ หนึง่ อาคารกลุม่ นีจ้ ะท�ำการก่อสร้างใกล้ๆ หอประชุม ของทางมหาวิทยาลัย มีทางลาดพระบาทเชือ่ มต่อกับหอประชุมได้ทางด้านข้าง

70


71


พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน ตำ�บลเกาะเกิด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เมื่อมีพระราชโองการให้พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน ย้ายออก จากพระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อกลางปี พ.ศ.2560 คณะ กรรมการมูลนิธิสิริกิติ์ได้ด�ำริที่จะย้ายพิพิธภัณฑ์ ไปอยู่ใน สถานที่ใหม่ในที่ดินของมูลนิธิ ที่ต�ำบลเกาะเกิด จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ได้มอบหมายให้ผมและทีมงานของ สถาปนิก 49 ช่วยด�ำเนินการออกแบบและบริหารจัดการ การก่อสร้าง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาว ต่างประเทศ งานออกแบบได้ด�ำเนินการอย่างเร่งด่วนภายใน เวลาเพียง 3-4 เดือน โดยได้ใช้ส่วนหนึ่งของอาคารเดิม ที่มีอยู่แล้วหลังหนึ่ง และก่อสร้างอาคารประกอบเพิ่มเติม เพื่อการใช้งานที่สมบูรณ์ตามเจตนารมณ์ อาคารต่างๆ แล้วเสร็จในต้นปี พ.ศ.2562 และจะเปิดให้นักท่องเที่ยว เข้าเยี่ยมชมได้

74


75


76


77


“เป็นสถาปนิกในเมืองไทยนี้ยากยิ่ง เพราะสถาปนิกไทยแบ่งกันเป็นหมู่เหล่าเป็นสถาบัน เสียเวลาไปกับการรักษาชื่อเสียงของสถาบันของตนเอง มากกว่าการพัฒนาวิชาชีพโดยรวมของประเทศชาติ ให้ ไปต่อสู้กับนานาชาติได้ เราจึงถูกพัฒนากันมาในลักษณะที่ถูกครอบอยู่ในกะลา เมื่อถึงวันที่จะต้องเปิดกะลาที่ครอบไว้ ก็ โรยราไม่กล้าสู้ ไม่กล้าเผชิญกับใคร ฝักใฝ่ถามหาแต่เรื่องพรรคเรื่องสถาบัน เห็นใครเป็นคนแปลกหน้าเข้ามา ก็ดูจะเป็นศัตรูไปได้หมด ไม่อยากคบหา ไม่อยากร่วมงานด้วย”

78


“ไม่มีสถาปนิกคนใดอยู่ค้ำ�ฟ้าได้ตลอดกาล เพราะความยิ่งใหญ่ของเรานั้น คือ ผลงานที่ทำ�ออกไป ไม่ใช่การป่าวประกาศโฆษณาชวนเชื่อเหมือนการขายสินค้าอื่นๆ เทรนด์ของงานสถาปัตยกรรมในโลกนี้ไม่เคยหยุดนิ่ง มีพัฒนาการมาเป็นพันๆ ปี เมื่อถึงวันเวลาที่เราเริ่มอ่อนล้า เราคงอยู่ค้ำ�ฟ้าต่อไปได้ยาก”

79


อาคารสถานเลีย้ งและดูแลเด็ก ของมูลนิธเิ ด็กอ่อนในสลัมฯ หนองแขม, เสือใหญ่, อ่อนนุช, กรุงเทพมหานคร ผมและทีมงานของบริษัท สถาปนิก 49 ได้เข้าไปช่วยเหลือ และร่วมพัฒนาอาคารต่างๆ ของมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒ ั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ต่อเนื่องมากว่า 10 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 และได้ทำ� ส�ำเร็จเสร็จสิ้นไปแล้ว 2 แห่ง คือ ที่ชุมชนซอยเสือใหญ่ ถนนรัชดาภิเษก และชุมชน ซอยอ่อนนุช ถนนสุขุมวิท และก�ำลังเริ่มด�ำเนินการปรับปรุง อีกแห่งทีช่ มุ ชนกองขยะหนองแขม ในปี พ.ศ.2562 นี้ การที่ ได้เข้าไปร่วมในการพัฒนาสถานรับเลี้ยงเด็กของมูลนิธิเด็ก อ่อนในสลัมฯ ที่ได้กล่าวมานี้ ได้ออกแบบอาคารทุกๆ แห่ง อยู่บนพื้นฐานของความเรียบง่ายและประหยัด แต่ทั้งนี้ อาคารทุกหลังก็ได้ถกู พัฒนาให้คณ ุ ภาพชีวติ ของเด็กๆ ทีพ่ อ่ แม่ น�ำมาฝากเลี้ยงดู มีชีวิตที่ดีขึ้น ถูกสุขลักษณะมากยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยพัฒนาความรู้ให้พ่อแม่และผู้ปกครองให้มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลลูกๆ อย่างถูกต้อง การออกแบบสถานที่ ได้พยายามให้เหมาะสมกับการใช้งาน สถานที่ดูเป็นระเบียบ และถูกสุขลักษณะอนามัย และที่ส�ำคัญสามารถท�ำการ ก่อสร้างได้จนส�ำเร็จในงบประมาณทีป่ ระหยัดทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�ำได้ ด้วยเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้มาจัดสร้างโครงการประเภทนี้ ล้วนเป็นเงินที่ได้มาจากความศรัทธาของผู้คนที่มีใจกุศลร่วม บริจาคกันมา ผมและสถาปนิกทุกคนของบริษทั สถาปนิก 49 ตระหนักในจิตใต้ส�ำนึกนี้

110


111


หมู่อาคารใหม่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถนนเทียมร่วมมิตร กรุงเทพมหานคร

เมื่อปี พ.ศ.2548 บริษัทสถาปนิก 49 ได้เข้าร่วมงานประกวดแบบกลุ่มอาคารใหม่ของศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในที่ดิน 35 ไร่ บนถนนเทียมร่วมมิตร สถาปนิก 49 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะการประกวดแบบ ด้วยโครงการนี้ เป็นโครงการขนาดใหญ่และใช้งบประมาณสูง ทางการจึงแบ่งโครงการเป็น 3 ช่วง ท�ำให้ตอ้ งผ่านความเห็นชอบของรัฐบาล หลายรัฐบาล ใช้เวลาต่อเนื่องมากว่า 14 ปี ตลอดเวลา 14 ปีมีค�ำสั่งให้แก้แบบตามความนึกคิดของผู้บริหารในแต่ละ รัฐบาลในแต่ละยุคสมัย  ผมในฐานะเจ้าของส�ำนักงานก็ต้องเข้าไปต่อสู้และรับนโยบาย แบบสุดท้ายที่ได้รับอนุมัติ ให้ก่อสร้างแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากแบบเมื่อครั้งชนะการประกวดแบบ ในที่สุดการก่อสร้างช่วงแรกก็เริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2555 โดยรัฐบาลให้ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยเป็นอาคารหลังแรก และตามด้วยอาคารส�ำนักงานกระทรวงวัฒนธรรม เป็นอาคารที่สองในปี พ.ศ.2557 จนมาถึงรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นช่วงที่จะด�ำเนินการก่อสร้างในช่วง สุดท้ายส�ำหรับอาคารทีเ่ หลืออยูค่ อื โรงละครหลังใหม่ มีผใู้ ห้คำ� แนะน�ำว่าควรจะจัดประกวดแบบใหม่ ด้วยเวลาผ่านมาเนิน่ นาน กว่า 14 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้สถาปนิกรุ่นใหม่ๆ เข้ามาประกวดได้ กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดให้มีการประกวดแบบใหม่อกี ครัง้ เมือ่ ต้นปี พ.ศ.2562 ปรากฏว่ามีบริษทั สถาปนิกสมัครเข้าประกวดเพียง 2 ราย บริษทั สถาปนิก 49 เป็นหนึง่ ในสอง บริษัทนี้ โครงการนี้ผมได้บันทึกไว้ในหนังสือนี้ ด้วยผมมีส่วนร่วมมาตั้งแต่ต้น แก้ปัญหาความสับสนวุ่นวายทางด้านเทคนิค และการเมืองมาโดยตลอด และเป็นโครงการที่ด�ำเนินมาต่อเนื่องยาวนาน และด้วยระบบราชการแบบไทยๆ 14 ปีผ่านไป อาคารหลังแรกก็ยังไม่แล้วเสร็จ เมื่อผมเกษียณจากการท�ำงานไปแล้วผมก็ยังอดไม่ได้ที่จะติดตามความคืบหน้า ของการประกวดแบบในช่วงสุดท้ายนี้ ด้วยความเชือ่ มัน่ ว่า ถ้าสถาปนิก 49 ได้มโี อกาสท�ำงานโครงการนีจ้ นส�ำเร็จในทุกเฟส และด้วยประสบการณ์ของบริษัทที่เคยท�ำงานออกแบบโรงละคร โรงจัดแสดงดนตรีส�ำคัญๆ ของประเทศมาแล้วหลายแห่ง ผมเชื่อว่า ประเทศชาติจะได้อาคารที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์ และได้มาตรฐานที่เป็นสากล อาคารทุกหลัง จะผสมกลมกลืนกันได้และท�ำให้กลุ่มอาคารที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งใหม่นี้จะออกมาสวยงาม มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น และเป็นหน้าเป็นตาของประเทศชาติอกี โครงการหนึง่ ได้แน่นอน การประกวดแบบได้ดำ� เนินการเสร็จสิน้ ไปเมือ่ เดือนมีนาคม พ.ศ.2562 บริษัทสถาปนิก 49 ไม่ได้รับการคัดเลือก ผมน�ำงานออกแบบที่เราส่งเข้าประกวดมาลงไว้เป็นที่ระลึก ในหนังสือเล่มนี้ เพื่อร�ำลึกถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของพวกเรา

112


113


“คนที่ลุ่มหลงว่า ตนเองนั้นเก่งและเลอเลิศ ขอให้มั่นใจได้เลยว่า เขากำ�ลังก้าวเดินสู่ความหายนะในไม่ช้านี้”

“การวิพากษ์วิจารณ์งานของคนอื่น ดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย ดูเหมือนตัวเราเป็นกูรูผู้ล่วงรู้เหนือคนอื่น แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์นั้น อาจไม่เคยมีโอกาสได้ทำ�งานที่ว่านั้นมาเลยก็เป็นได้”

114


“เป็นสถาปนิกไม่ควรทำ�ตัวโดดเด่นเกินคนอื่น ถ้าเราจะดีจะเด่นให้คนอื่นเป็นคนพูด เป็นคนยกย่องจะสวยงามกว่ามาก”

“บุคคลที่มีความทะเยอทะยานจนเกินตัว ย่อมก้าวไปสู่เป้าหมายได้ยาก”

115


งานเฟอร์นิเจอร์ ไม้ และงานประติมากรรมไม้ พืน้ ฐานผมเป็นคนชอบออกแบบงานเฟอร์นเิ จอร์ไม้และงานประติมากรรมไม้ ทีผ่ า่ นมาบางช่วงเวลา ถ้ามีอารมณ์ผมก็ออกแบบ และจ้างช่างไม้ทำ� ขึน้ มาหลายครัง้ หลายวาระ จนกระทัง่ วันหนึง่ ได้มโี อกาสพบช่างไม้ทา่ นหนึง่ ชือ่ ไสยาสน์ เสมาเงิน เขาเป็นช่างไม้ มาจากอยุธยา เขาท�ำเฟอร์นเิ จอร์จากไม้เก่ามาขาย ไม้ทนี่ ำ� มาท�ำเฟอร์นเิ จอร์อาจมาจากเกวียนเก่าๆ จากเรือขนข้าวทีเ่ ลิกใช้ งานไปแล้วในยุคสมัยนี้ เฟอร์นเิ จอร์ของคุณไสยาสน์ในยุคนัน้ อาจจะยังดูดบิ ๆ ดูเป็นงานชนบทมากๆ เราได้คยุ กันถูกคอ ในวันทีพ่ บกัน ก่อนจากกันได้แลกเปลีย่ นหมายเลขโทรศัพท์กนั ไว้ เวลาล่วงเลยไปเกือบปี วันหนึง่ คุณไสยาสน์โทรศัพท์หาผมว่า อยากมาเยีย่ มทีส่ ำ� นักงาน ผมตอบรับและได้พบพูดคุยกัน จนพัฒนาไปสูแ่ นวคิดทีจ่ ะท�ำงานออกแบบและท�ำเฟอร์นเิ จอร์ เพือ่ จัดแสดงร่วมกันสักครัง้ ซึง่ เป็นการแสดงงานของคน 2 อาชีพมาท�ำงานร่วมกัน คือ สถาปนิก และช่างไม้พนื้ บ้าน งานแสดง นิทรรศการเฟอร์นเิ จอร์ไม้และงานประติมากรรมไม้ของผมและคุณไสยาสน์ได้จดั ขึน้ ทีศ่ นู ย์การค้าเกสรพลาซ่า เมือ่ ปี พ.ศ.2545 มีนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น คือ คุณทักษิณ ชินวัตร มาเป็นประธานในพิธีเปิด ด้วยคุณไสยาสน์ ได้รู้จักสนิทสนมกับ ครอบครัวชินวัตรมาก่อนหน้านี้ งานแสดงนิทรรศการในครัง้ นีไ้ ด้รบั ต้อนรับอย่างดี ด้วยเฟอร์นเิ จอร์ทกุ ชิน้ ดูแปลกตา มีผสู้ งั่ จอง จนหมดทุกชิน้ ในการจัดงานครัง้ นัน้ หลังจากจัดงานครัง้ นัน้ ผมยังออกแบบเฟอร์นเิ จอร์ในแบบทีว่ า่ นีต้ อ่ เนือ่ งอีกหลายชิน้ โดยมีคณ ุ ไสยาสน์เป็นคนจัด ท�ำให้ จนคุณไสยาสน์เสียชีวิตไปเมื่อปี พ.ศ.2558 ก่อนเสียชีวิต คุณไสยาสน์ยังได้รับการยกย่องได้รับรางวัลศิลปาธร จากกระทรวงวัฒนธรรม คุณไสยาสน์ภาคภูมใิ จเป็นอย่างมาก เพราะรางวัลศิลปาธรนีเ้ ป็นรางวัลระดับชาติ เพือ่ สนับสนุน นักออกแบบรุน่ ใหม่ๆ คุณไสยาสน์ ณ ช่วงเวลานัน้ ได้กา้ วไปสูก่ ลุม่ นักออกแบบเฟอร์นเิ จอร์ชนั้ แนวหน้าไปแล้ว ผมได้หยุดท�ำงาน ด้านนีไ้ ปนาน จนเมือ่ ได้ออกแบบสถานปฏิบตั ธิ รรมให้คณ ุ หญิงศศิมา ศรีวกิ รม์ ผมได้กลับมาออกแบบเฟอร์นเิ จอร์ให้กบั สถานที่ แห่งนีอ้ กี ครัง้ อีกหลายชิน้

เก้าอี้ ไม้ ใช้ที่ร้าน Blue Harbour Barber 116


เก้าอี้ ไม้ที่ห้องประชุม A49 และบ้านเอกมัย 10 117


เฟอร์นิเจอร์ ไม้ ออกแบบให้สถานปฏิบัติธรรมศศิภาวัน 118


119


“ความใกล้ชิดสนิทสนมและความจริงใจ เป็นเคล็ดลับในการผูกใจคน การเสแสร้งไม่จริงใจ ผู้คนย่อมรู้ ได้ด้วยสัญชาตญาณ”

“อย่าหลงละเริงกับเกียรติยศที่พลั่งพรูเข้ามา สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงกิเลส เป็นเพียงภาพลวงตาที่ดูสวยงาม ความแน่วแน่ในจิตใจของเราต่างหาก ที่จะอยู่กับตัวเราตลอดไป”

130


“ความสำ�เร็จของการทำ�ธุรกิจ ไม่ใช่อยู่ที่การได้มาซึ่งสินจ้างรางวัล แต่เป็นการได้มาซึ่งจิตใจคน”

“อย่าท้อแท้เสียใจว่า เราด้อยกว่าคนอื่น ถ้าเรายอมรับความด้อยกว่าในวันนี้ ได้ วันหน้าเราก็มีโอกาสแก้ ไขให้ดีขึ้นไปอีก”

131


นิทรรศการ ในชีวิตของการท�ำงานเป็นสถาปนิก ผมสนุกสนานกับการจัดนิทรรศการผลงานออกแบบในหลายโอกาสหลายวาระ ซึ่งในจิตใต้ส�ำนึกนั้นก็เพื่อเผยแพร่ความรู้ประสบการณ์ให้กับคนรุ่นหลัง โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษาที่สนใจใฝ่หาความรู้ การจัดงานนิทรรศการในแนวทางของผมนั้นก็มีตั้งแต่ งานสถาปัตยกรรมที่ได้ออกแบบกันมาในแต่ละช่วงเวลา ผลงาน แสดงภาพเขียนลายเส้นของผม การออกแบบเฟอร์นิเจอร์และประติมากรรม การจัดงานนิทรรศการในลักษณะเช่นนี้ มันเกิดจากใจจริงๆ ถ้าไม่รักที่จะท�ำคงท�ำให้เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องของการเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่าย แต่ผมก็ ไม่เคยเอาสองเรื่องนี้มาเป็นกังวล ท�ำให้มีความสุขและสนุกสนานตั้งแต่สมัยเริ่มต้นชีวิตการท�ำงานและมาถึงอายุที่จะ ฉลองครบรอบ 72 ปีนี้ การจัดพิมพ์หนังสือครบรอบ 72 ปี ที่ท่านถืออยู่นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการจัดนิทรรศการ แต่แสดง ในรูปของสิ่งพิมพ์ที่จะสื่อสารกันต่อไปได้อีกนานๆ

งานแสดงนิทรรศการ ที่หอศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 132


งานแสดงนิทรรศการ ที่หอศิลป์ กรุงเทพมหานคร 133


งานผลิตหนังสือเพือ่ วงการวิชาชีพ ผมท�ำงานในสายวิชาชีพนีม้ านานกว่า 50 ปี เห็นพัฒนาการ ของวงการสถาปัตยกรรมและการออกแบบ อีกหลายๆ สาขา มายาวนาน เห็นความสามารถของสถาปนิกไทยมาอย่างต่อเนือ่ ง โดดเด่นไม่นอ้ ยหน้าสถาปนิกชาติใดในโลก แต่นา่ เสียดาย ทีค่ วามสามารถและผลงานต่างๆ ของสถาปนิกไทยไม่มโี อกาส เผยแพร่สสู่ ายตาชาวโลก โดยเฉพาะในทางสือ่ สิง่ พิมพ์ ซึง่ เป็นสือ่ ขัน้ พืน้ ฐานทีส่ ถาปนิกในโลกใช้เป็นเครือ่ งมือสือ่ สาร ประชาสัมพันธ์ผลงานของตนเองสูส่ งั คมภายนอก สถาปนิก ไทยเราละทิง้ ปล่อยโอกาสทีค่ วรจะท�ำนีม้ าเป็นร้อยปี วงการ สถาปัตยกรรมในโลกเขาก้าวล�ำ้ น�ำหน้าพวกเราไปมาก อาจไม่ จ�ำเป็นต้องไปเปรียบเทียบกับประเทศตะวันตกทีล่ ำ�้ หน้าเรา ไปมากแล้ว แค่เปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านของเรา ในเอเชียหลายๆ ประเทศเหล่านีก้ ก็ า้ วล�ำ้ น�ำหน้าพวกเราไปมาก เช่นกัน เช่น ญีป่ น่ ุ เกาหลี จีน อินเดีย หรืออีกหลายๆ ประเทศ ในภูมภิ าคตะวันออกเฉียงใต้นี้ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลปิ ปินส์ ประเทศเหล่านีผ้ ลิตหนังสือสถาปัตยกรรม แสดงผลงานของสถาปนิกของประเทศของเขา วางขายใน ร้านหนังสือทั่วโลก ล�้ำหน้าประเทศไทยล่วงหน้าไปหลายปี เมื่อผมตัดสินใจเกษียณจากการท�ำงานด้านวิชาชีพเมื่อปี พ.ศ.2550 สิง่ แรกทีอ่ ยากท�ำและต้องท�ำคือ ท�ำส�ำนักพิมพ์ หนังสือสถาปัตยกรรมและงานออกแบบต่างๆ ออกเผยแพร่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ วันนี้ “ส�ำนักพิมพ์ลายเส้น” ด�ำเนินการมาได้มากว่า 10 ปี ผลิตหนังสือออกสู่สายตา ชาวโลกได้มากกว่า 200 เล่ม ผลงานของสถาปนิกไทย เป็นที่รู้จัก เป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างกว้างขวางทั่วภูมิภาค วันนี้เรามีหนังสือสถาปัตยกรรมของประเทศไทย วางขาย เคียงบ่าเคียงไหล่กับหลายๆ ประเทศ จากนี้ไปผมคง นอนตายตาหลับอย่างมีความสุขตลอดไป และยังอยาก เชิญชวนสถาปนิกไทยที่ยังมีไฟและเห็นพ้องตรงกับแนวคิดนี้ หันกลับมาท�ำหนังสือสถาปัตยกรรม เผยแพร่ออกสู่สายตา ชาวโลก เพราะหนังสือทุกเล่มจะอยู่ไปอีกเป็นร้อยปี และเป็นหลักฐานที่อ้างอิงได้อีกนาน

136


137


ภารกิจแห่งความสุขสันต์ และท้าทาย หลังเกษียณ

140


มีภารกิจที่แปลกใหม่และท้าทายอีกหลายอย่างหลังเกษียณ ค�ำว่า แปลกใหม่ในที่นี้อาจดูไม่แปลกใหม่ ส�ำหรับคนทีท่ ำ� ธุรกิจด้านนีอ้ ยูแ่ ล้ว แต่มนั เป็นความแปลกใหม่สำ� หรับผม ด้วยไม่เคยท�ำธุรกิจเหล่านีม้ าก่อน เมื่อหนุ่มๆ ก็มุ่งมั่นท�ำแต่งานในสาขาวิชาชีพที่ถนัด ท�ำเป็นก็เฉพาะแต่งานออกแบบสถาปัตยกรรม จะมี ความช�ำนาญอยู่บ้างก็คงเป็นเรื่องของการวางแผนและการบริหารจัดการ เมื่อเข้าสู่ช่วงเวลาของการ เกษียณจากการท�ำงาน เวลาก็มีมากขึ้น เงินทองก็พอมีเก็บไว้อยู่บ้าง เพื่อนฝูงหลายๆ คนเมื่อถึงเวลา เกษียณก็มุ่งมั่นตั้งใจใช้เวลาส่วนใหญ่ พักผ่อน นอนหลับและวางแผนท่องเที่ยว หรือไม่ก็ใช้เงินใช้ทอง ที่มีอยู่ไปกับสิ่งที่อยากได้อยากท�ำมาในชีวิต บางคนก็ใช้เงินละลายแม่น�้ำ กับการสร้างที่พักผ่อนแพงๆ ซื้อเรือยอชต์ ซื้อรถยนต์แพงๆ หรือไม่ก็ซื้อเครื่องบินแพงๆ ไปเลย ผมพักผ่อนนอนหลับไปได้สักพัก ก็รู้สึกเบื่อหน่าย เสียดายเวลาที่ผ่านไปทุกวัน ถึงแม้จะได้ท�ำงานหลายๆ อย่างตามที่กล่าวมาแล้ว เช่น งานออกแบบสถาปัตยกรรมในกรณีพิเศษๆ ต่างๆ, งานเขียนหนังสือ และงานที่ไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ในสถาบันต่างๆ งานเหล่านี้ก็กลับกลายเป็นงานประจ�ำ งานที่ต้องท�ำต่อเนื่องก็รู้สึกว่ามันไม่ท้าทาย และยังไม่ได้ใช้พละก�ำลังที่ยังมีได้เต็มที่ เงินทองที่มีอยู่ในธนาคารก็ดูจะไม่งอกเงย ด้วยดอกเบี้ยที่ ธนาคารจัดสรรให้ มันลดต�่ำลงทุกๆ ปี เงินทองที่ลงทุนในตลาดหุ้นไว้ก็ดูจะถึงจุดเสี่ยงด้วยตลาดหุ้น ผันแปรตกต�่ำลงทุกวันอันเนื่องจากสภาวะของเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในช่วงเวลาถดถอยต่อเนื่องมาหลายปี ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต�่ำนี้ก็ท�ำให้เราได้หยุดพักผ่อน ได้หยุดนั่งนอนคิดยาวๆ ได้ ผมเป็นคนหยุด พักยาวๆ ไม่ค่อยได้ เมื่อมีเวลาพัก มีเวลาคิด ผมก็เริ่มขบวนการคิดค้นหาอะไรท�ำที่ตัวเองเคยใฝ่ฝัน อยากท�ำมาตอนหนุ่มๆ ใช้เวลาว่างๆ ออกหาข้อมูล ออกไปส�ำรวจตลาด ไปเยี่ยมเยือนวงการ SME ต่างๆ ซึ่งเป็นค�ำฮิตติดหูจากสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุทุกวัน ผมส�ำรวจเอง เก็บข้อมูลเอง วางแผนเอง ตัดสินใจเองคนเดียว และตัดสินใจลงทุนคนเดียว การตั้งใจให้มีหุ้นคนเดียวก็ด้วยธุรกิจต่างๆ ที่จะท�ำ ขึ้นมานี้ ท�ำขึ้นเพราะเราชอบเป็นการส่วนตัว ทั้งยังไม่แน่ใจว่า ธุรกิจจะไปได้หรือไม่ มีความเสี่ยงสูง เพราะยังไม่เคยท�ำ เลยไม่อยากให้ใครมาเสี่ยงด้วย จะบอกคนรอบข้างก็เมื่อสิ่งนั้นๆ เกิดเป็นรูปธรรม ชัดเจนแล้ว ในโอกาสนี้ ขอเล่าให้ฟงั แบบสนุกๆ เพือ่ ให้คนทีส่ นใจได้ลองท�ำอย่างผมดูบา้ ง

141


ร้านตัดผมผู้ชาย สไตล์บาร์เบอร์แบบโบราณ (ร้าน Blue Harbour the Barber Shop) เมื่อเอ่ยปากอยากท�ำร้านตัดผมผู้ชายแบบบาร์เบอร์โบราณสักร้าน หลายคนร้องยี้ หลายคนปรามาสว่าไม่น่าส�ำเร็จ ไม่น่าจะท�ำเป็นธุรกิจได้ หลายคนมองไม่ออกว่า จะท�ำให้อยู่รอดตลอดไปได้อย่างไร แต่ส�ำหรับผม ผมออกหาข้อมูล ออกส�ำรวจร้านตัดผมผู้ชายดังๆ ทุกแห่ง ทั้งยังตั้งค�ำถามอยู่ตลอดเวลาว่า ผู้ชายที่มีฐานะ มีอันจะกินทั้งหลายเขาตัดผม กันที่ใด และใช้จ่ายในเรื่องอย่างนี้กันประมาณกี่สตางค์ ที่ต้องถามเรื่องนี้เพราะในละแวกสุขุมวิทนี้ ร้านตัดผมผู้ชายดีๆ มีมาตรฐานแทบหาไม่ได้ แต่ขณะที่ร้านท�ำผมผู้หญิงที่ดูดีมีมาตรฐานมีให้เห็นอยู่หลายแห่ง ค�ำตอบที่ได้มาคือ ผู้ชายที่มี ฐานะทั้งหลายมักจะไปตัดผมกันตามโรงแรมใหญ่ๆ ในเมือง หรือไม่ก็ตามสปอร์ตคลับต่างๆ ผมตามไปลองใช้บริการ ทุกแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งค่าตัดผมราคาแพง สถานที่พอใช้ได้ไม่หรูหรามากมาย การบริการไม่มีอะไรพิเศษถึงกับจะต้อง จดจ�ำหรือประทับใจ เมื่อได้ข้อมูลมาเต็มที่แล้ว กอปรกับผมเป็นคนชอบสังเกตและเอาตนเองเป็นตัววัดมาตรฐานที่จะ ท�ำให้เกิดขึ้นต่อไปข้างหน้า ผมเป็นคนชอบสังเกตการให้บริการต่างๆ ในร้านตัดผม ชอบความละเอียดอ่อนของการ ให้บริการของช่างแต่ละคน พืน้ ฐานชอบเล่นกีฬา เช่น กอล์ฟ เทนนิส เมือ่ เสร็จภารกิจจากการเล่นกีฬาแล้ว ชอบแวะร้านตัดผม ถือโอกาสตัดผมบ้าง สระผมบ้าง ท�ำความสะอาดหูบา้ ง หรือตัดเล็บบ้าง ถ้าทีใ่ ดมีนวดหน้า นวดเท้า นวดตัว นวด หัว คอ บ่าไหล่ ด้วยยิ่งวิเศษ และยังคิดเสมอว่า สถานที่ท�ำนองนี้น่าจะเป็นสวรรค์ของนักกีฬาที่เล่นกีฬามาเหนื่อยๆ ทุกคน ข้อส�ำคัญคือ ผมขอให้สถานทีด่ สู ะอาด พนักงานแต่งตัวเรียบร้อย การบริการเป็นกันเอง ทัง้ นีเ้ ป็นด้วยร้านตัดผมประเภทนี้ ช่างและลูกค้า เหมือนเป็นเพื่อนกัน มาใช้บริการแล้วก็ไว้ใจกัน ทั้งยังต้องมั่นใจในตัวช่าง เมื่อได้แนวทางชัดเจนแล้ว ผมก็มองหาที่ทำ� ร้าน ที่เหมาะสม คือ อยู่ในท�ำเลที่ดี เข้าถึงง่าย มีที่จอดรถสะดวก ราคาเช่าพื้นที่พอสู้ได้ ในที่สุดร้านตัดผมของผมก็เปิด ได้เมื่อปี พ.ศ.2552 มีพนักงาน 7-8 คน อยู่มาได้กว่า 10 ปี และเป็นธุรกิจ SME ที่มีความมั่นคงและน่าพึงพอใจส�ำหรับ ผมถึงแม้จะเป็นธุรกิจเล็กๆ แต่ก็สมความตั้งใจอีกเรื่องหนึ่ง

142


143


อาร์ตแกลเลอรี (Fine Line Gallery) เปิดร้านตัดผมก็แล้ว เปิดร้านอาหารก็แล้ว ด้วยพื้นฐานของการสร้างธุรกิจที่มันอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองและสร้างระบบ ให้มันบริหารตัวมันเอง พร้อมกับเรามีระบบตรวจสอบ และระบบที่ให้การสนับสนุนอยู่ที่สำ� นักงานเมื่อมีปัญหา ที่ส�ำนักงาน ของผมก็สามารถให้ค�ำปรึกษาและช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ เมื่อระบบมันเดินไปได้ ผมก็มีเวลาว่าง สนุกสนานกับการคิด และวางแผนท�ำอะไรทีท่ า้ ทายต่อไป ผมเป็นคนชอบงานศิลปะมาตัง้ แต่หนุม่ ๆ เคยเปิดธุรกิจร้านค้าอาร์ตแกลเลอรี ต่างกรรม ต่างวาระมาถึง 3 แห่งในรอบ 30 ปีมานี้ ทัง้ 3 แห่งล้มเหลวไม่สามารถด�ำเนินธุรกิจต่อไปได้ ด้วยเหตุผลของความล้มเหลว ต่างๆ กัน ซึ่งก็เป็นประสบการณ์ที่สอนอะไรเราไว้มากมายจนถึงวันนี้ ตลอดระยะเวลา 20-30 ปี ที่ผ่านมา ด้วยความรัก ในงานศิลปะ ผมก็คลุกคลีรู้จักกับศิลปินหลายๆ คน ทั้งยังซื้อหางานศิลปะทั้งรูปภาพ และงานประติมากรรมมาเก็บไว้ มากมายจนล้นบ้านล้นที่ท�ำงาน จนมาถึงช่วงปลายชีวิต ช่วงหลังเกษียณนี้ผมยิ่งมีเวลาว่างมากขึ้น เดินทางไปเยี่ยมเยือน ตามอาร์ตแกลเลอรีต่างๆ ไปเยี่ยมบ้านและสตูดิโอของศิลปินหลายๆ ที่ และมีโอกาสได้ทำ� หนังสือเกี่ยวกับวงการศิลปะ บ้านศิลปินก็หลายเล่ม จนวันหนึง่ มีรา้ นค้าทีศ่ นู ย์การค้าทีผ่ มเปิดร้านอยู่ ปิดตัวและย้ายออกไป ซึง่ เป็นร้านเล็กๆ เนือ้ ทีเ่ พียง 50 ตารางเมตร ร้านนีป้ ดิ ตัวอยูน่ านไม่มคี นมาเช่า ผมเดินผ่านทุกวันเกิดความร�ำคาญ เอ่ยปากถามเจ้าหน้าทีถ่ งึ รายละเอียด การเช่าต่างๆ จนทางเจ้าของศูนย์การค้าทราบถึงความต้องการของผมทีอ่ ยากท�ำเป็นแกลเลอรี ซึง่ จะมีสว่ นช่วยให้ศนู ย์การค้า ดูดมี ชี วี ติ ชีวาขึน้ เขาให้ขอ้ เสนอทีน่ า่ สนใจ จนในทีส่ ดุ ร้านอาร์ตแกลลอรีแ่ ห่งใหม่ของผมก็เปิดขึน้ ในปี พ.ศ.2560 ร้านแกลเลอรี แห่งนี้เป็นร้านขายงานศิลปะแห่งเดียวในศูนย์ฯ มีผู้คนมาแวะเวียนเยี่ยมชมอยู่เสมอ ผมสนุกสนานกับภารกิจนี้พอสมควร เพราะได้ทำ� ในสิง่ ทีต่ นเองชอบ ได้เอางานของผมมาจัดแสดง ได้มเี พือ่ นเพิม่ ขึน้ มากมาย ได้สนุกสนานกับการไปซือ้ รูปมาขาย ส่วนใหญ่ก็เป็นรูปที่เราชอบ ร้านนี้เปิดมาได้ 2 ปี ร้านอยู่ได้ไม่ติดลบ เพียงเท่านี้ก็มีความสุขแล้ว

146


147


ร้านกาแฟ ธุรกิจร้านค้าที่เขาว่า ปราบเซียนมามากแล้ว (Bellinee’s: Bake & Brew Store สุขุมวิท 26) การท�ำธุรกิจร้านกาแฟในยุคนี้ เป็นธุรกิจร้านค้ายอดฮิต ติดอันดับโลก จะว่าเป็นธุรกิจแฟชัน่ ของคนรุน่ ใหม่กไ็ ด้ เพราะ คิดอะไรไม่ออกก็หนั มาท�ำร้านกาแฟ จนเราจะเห็นร้านกาแฟ เกิดขึ้นมากมายทั่วทุกถนน เฉพาะถนนสุขุมวิท 26 มีร้าน กาแฟมากถึง 15-16 แห่ง (รวมร้านกาแฟในร้าน 7-11 ด้วย) หลายคนอาจโอดครวญว่า ไม่มีช่องทางให้เปิดร้านกาแฟ ขึ้นใหม่ได้อีกแล้วในละแวกนี ้ ผมน่าจะอยู่ในกลุ่มคนบ้าห้า ร้อยจ�ำพวกที่ชอบท�ำอะไรที่มันท้าทาย ชอบท�ำอะไรที่มี ความเสีย่ งสูง แต่ผมอาจต่างจากกลุม่ คนบ้าเหล่านีอ้ ยูบ่ า้ งตรงที่ ผมจะท�ำอะไร ผมจะท�ำด้วยความมีสติและรอบคอบอย่าง ที่สุด ด้วยการหาข้อมูลอย่างละเอียดด้วยตัวเอง ประเมิน และวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเอง และถ้าจะตัดสินใจ ลงทุนก็จะลงทุนด้วยตัวเองคนเดียว อย่างกรณีจะท�ำร้าน กาแฟนี้ ผมก็ลองเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ขึ้นที่บริเวณใต้ถุน ที่ท�ำงาน ขายกาแฟใช้เครื่องชงแบบมาตรฐาน ขายกาแฟ ราคาเริ่มต้นที่ 40 บาท มีพนักงานดูแล 2 คน ท�ำอยู่ 3 ปี ได้ทุนคืนมาเรียบร้อย ได้ลูกค้ามาไว้กลุ่มใหญ่ และได้ ประสบการณ์มามากมายเกี่ยวกับการท�ำร้านกาแฟ การท�ำ ร้านกาแฟเล็กๆ ถึงแม้จะมีกำ� ไรดีและมีความมั่นคง แต่ก็มี ขีดจ�ำกัด ด้วยร้านประเภทนี้ทุกสิ่งเราต้องท�ำเอง วัตถุดิบ เราต้องจัดซื้อมาเอง ด้วยเป็นร้านเล็กเราก็สร้าง “แบรนด์” ล�ำบากเราจะผลักดันให้มี “โปรดักซ์ดไี ซน์” สวยๆ ก็ทำ� ได้ยาก ด้วยค่าใช้จ่ายสูงจะผลิตอาหารเสริม เช่น เบเกอรีต่างๆ หรือแซนด์วิช ฯลฯ ก็ท�ำได้ไม่ต่อเนื่อง พอมาถึงจุดนี้ก็ต้อง คิดต่อไปว่า เราจะท�ำร้านกาแฟของเราให้เจริญก้าวหน้า ต่อไปได้อย่างไร ก็คงเป็นอย่างที่เคยท�ำ ผมออกหาข้อมูล ปรึกษาหารือแฟรนไชส์ต่างๆ ออกไปเยี่ยมเยือนร้านกาแฟ ต่างๆ และชิมกาแฟหลากหลายรสชาติ ร้านกาแฟของผม ถ้าจะเกิดขึ้นในซอยสุขุมวิท 26 และจะต้องมาต่อสู้กับ ร้านกาแฟที่มีอยู่เดิมแล้วทั้ง 15-16 ร้านนี้ ร้านใหม่ที่ว่านี้ มีเงื่อนไขที่ต้องตีโจทย์ให้แตก คือ กาแฟต้องรสชาติสู้เขาได้ การชงต้องมาตรฐาน ร้านต้องสวยมีเสน่ห์น่านั่ง รสนิยม ต้องดี ต้องมีของที่ทานกับกาแฟได้ในราคาสมเหตุสมผล ข้อส�ำคัญราคากาแฟต้องสู้กับคู่ต่อสู้ได้ คือ ต�่ำกว่าราคา มาตรฐานของร้านชั้นดีทั่วไป ในที่สุดผมเลือกร้านกาแฟ ในเครือของซีพี ชื่อ “Bellinee’s Bake & Brew Coffee” ซึ่งเป็นแบรนด์ใหม่เปิดมาได้ 3-4 ปี มีสาขาเพียง 30 สาขา

148

ร้านกาแฟใหม่นี้เปิดไปแล้วเมื่อปลายปี พ.ศ.2561 มีคนมา อุดหนุนอย่างอุน่ หนาฝาคัง่ ด้วยราคากาแฟเริม่ ต้นที่ 50 บาท ซึ่งเป็นราคาที่คนท�ำงานทานได้ทุกวัน และบางคนอาจทาน ได้มากกว่า 1 แก้ว ในช่วงเวลาเริ่มต้นนี้เป็นช่วงเวลาแห่ง การทดสอบ ซึ่งผมก็สนุกไปกับมันด้วย นั่งดูร้านกาแฟแห่ง ใหม่นี้เติบโตไปตามธรรมชาติ ให้ระบบแฟรนไชส์ของมัน บริหารจัดการในตัวของมันไป ทางส�ำนักงานที่ควบคุมดูแล ต้นสังกัดมาเห็นร้านของเราซึ่งดูแปลกกว่าร้านอื่นๆ ในเครือ ของเขาถึงกับเอ่ยปากชักชวนให้ขยายไปเปิดสาขาที่อื่น ซึ่งเขาหารู้ไม่ว่าแนวทางของผมนั้นจะท�ำธุรกิจอะไรก็ขอเดิน ไปถึงไม่เกิน 100 เมตร มากกว่านั้นไม่เคยมองเลย


149


“วีรบุรุษสร้างสถานการณ์ ขณะเดียวกันสถานการณ์ก็ทำ�ให้เกิดวีรบุรุษได้ ในแวดวงของสถาปนิก ผลงานของสถาปนิกที่โดดเด่นสวยงาม จะสร้างให้สถาปนิกเป็นวีรบุรุษได้”

“ความน่าเชื่อถือ ความซื่อสัตย์สุจริต เมื่อหมดไปแล้วก็เหมือนกระจกร้าว ยากที่จะซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้”


“เมื่อเวลามืดที่สุดได้มาเยือน จงจำ�ใส่ ใจไว้เลยว่า เวลาที่ ใกล้สว่างกำ�ลังจะมาถึงแล้ว ปัญหาใดๆ ก็แล้วแต่ ถ้ามันจะยุ่งยากจนถึงที่สุดแล้ว เมื่อเรามีความอดทน มีสติ ปัญหานั้นก็จะคลี่คลายไปได้ ในที่สุด”


164


นิธิ สถาปิตานนท์ เกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2490 เข้าศึกษาในระดับชั้นประถมและมัธยม ที่วชิราวุธวิทยาลัย และได้เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย สำ�เร็จการศึกษาในปี พ.ศ.2514 หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะทีศ่ กึ ษาอยูท่ ม่ี หาวิทยาลัยนี้ ได้สง่ ผลงานออกแบบเข้าประกวดโดยแข่งขันกับนักศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา และได้รับรางวัลชนะเลิศ ในโครงการชื่อ “Housing for Older Adults, Utica, New York” ซึ่งจัดโดย American Institute of Architects (AIA) เมื่อปี พ.ศ. 2516 และได้ส่งผลงานสเก๊ตช์รูปเข้าแข่งขันกับนักศึกษาในคณะ ในโครงการของมูลนิธิ ฟรานซิส เจ ไพร์ม (Francis J. Plym Foundation Graduate Student Architectural Sketch Competition) นิธิเป็นหนึ่งในผู้ที่ ได้รับรางวัลชนะเลิศในครั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2517 นิธิ ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยให้ร่วมทีม ของคณาจารย์และนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ และมหาวิทยาลัยวิสคัสซิล เดินทางไปทำ� Master Plan ให้มหาวิทยาในประเทศอินเดีย หลังจากสำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้เข้าทำ�งานในบริษทั Metcalf and Associates Washington D.C. เป็นเวลาหนึ่งปีครึ่ง ก่อนเดินทางกลับประเทศไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2518 – 2526 ได้ทำ�งานในบริษัท ดี ไซน์ 103 จำ�กัด ได้รับตำ�แหน่งกรรมการผู้จัดการ ในปี พ.ศ. 2520 ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 ได้ลาออกจากบริษัท ดี ไซน์ 103 มาตั้งบริษัท สถาปนิก 49 และดำ�รงตำ�แหน่งประธานกรรมการบริหาร มาจนถึงปี พ.ศ. 2555 และได้เกษียณอายุจากการทำ�งาน ในสายวิชาชีพ ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2555 ปัจจุบันดำ�รงตำ�แหน่งประธานกรรมการ บริษัทในเครือ 49 กรุ๊ป ในปี พ.ศ. 2535-2537 ดำ�รงตำ�แหน่งนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำ�รงตำ�แหน่ง เลขาธิการ สภาสถาปนิก ในปี พ.ศ. 2543-2545 ในปี พ.ศ. 2545 ได้รับเกียรติจากกระทรวงวัฒนธรรม คัดเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2556 ได้รับวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขา สถาปัตยกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม และในปี พ.ศ.2559 ได้รับปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้รับปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2551 ได้รบั แต่งตัง้ ให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิจ์ ากสมาคมสถาปนิกแห่งสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2538 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ จากสมาคมสถาปนิกแห่งประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2551-2555 เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอำ�นวยการวชิราวุธวิทยาลัย ในปี พ.ศ.2552-2557 และในปี พ.ศ. 2551 ได้รบั แต่งตัง้ ให้เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ จนถึงปัจจุบนั

165


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.