ปฐมบท ทฤษฏีสถาปัตยกรรม

Page 1

ปฐมบท ทฤษฎีสถาปัตยกรรม


To Joseph and David


ปฐมบท ทฤษฎีสถาปัตยกรรม ต้นข้าว ปาณินท์



สารบัญ 7 9

จากผู้เขียน Prologue

12

ระหว่างความจริงและวาทกรรม From Intrinsic to Rhetoric ภาพของความแท้จริง From Classic to Renaissance การรู้แจ้ง From Baroque to Enlightenment องค์ประกอบสถาปัตยกรรมในศตวรรษที่สิบเก้า Elements of Architecture สมัยใหม่ Towards Modernity

42 74 104 132 179 180 183

Epilogue บรรณานุกรม เกี่ยวกับผู้เขียน



จากผู้เขียน ถ้าสถาปัตยกรรมนัน้ มีหน้าทีม่ อบโครงสร้างและทิศทางในการมองโลกแก่มนุษย์ ทฤษฎีกน็ า่ จะมีหน้าทีม่ อบโครงสร้างและทิศทางในการท�ำงานแก่สถาปัตยกรรม หนังสือเล่มนีเ้ ป็นเพียงมุมมองหนึง่ ทีผ่ เู้ ขียนมีตอ่ ทฤษฎีสถาปัตยกรรม เป็นความ พยายามที่จะเล่าเรื่องราวการเดินทาง  การดิ้นรน  แสวงหาทางเลือกและ เส้นทางที่ถูกต้องของงานสถาปัตยกรรมตะวันตกผ่านประวัติศาสตร์นับพันปี หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ต�ำราประวัติศาสตร์ทฤษฎีสถาปัตยกรรมที่รวบรวมทุกสิ่งที่ เกิดขึ้น  แต่เป็นเพียงแง่มุมเล็ก  ๆ  ของความสัมพันธ์ระหว่างความจริงและ วาทกรรมที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์  เล่าผ่านตัวละครเอกที่มีบทบาทโดดเด่น ในแต่ละยุคสมัย หนังสือเล่มนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดครู  ผู้ชี้ทางและผู้เป็นแรงบันดาลใจ ในการศึกษาทฤษฎีสถาปัตยกรรม Joseph Rykwert, David Leatherbarrow, Marco Frascari, Dalibor Vesely, Harry Francis Mallgrave, Anthony Vidler, Nadir Lahiji และเพื่อนผู้เดินทางในเส้นทางเดียวกันตลอดยี่สิบปีที่ผ่าน มา Marina Lathouri, Ufuk Ersoy, Juan Manuel Heredia, Carlos Naranjo, Jin Baek, Franca Trubiano, William Braham รวมทั้งลูกศิษย์ทุกคน ที่ ค ณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์   มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร  ที่ เ ป็ น แรงผลั ก ดั น ให้เดินทางไปข้างหน้าในโลกแห่งทฤษฎีสถาปัตยกรรม ต้นข้าว ปาณินท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร



Prologue “ด้วยการศึกษาความหมายของสภาพแวดล้อมรอบตัว  เราจึงจะค้นพบเครือ่ งมือ ในการศึกษาสถาปัตยกรรม และเมื่อนั้น เราจึงจะสามารถสื่อสารกับผู้คนทั่วไป ได้อีกครั้ง มนุษย์  มักมีความเข้าใจอย่างเจือจาง  เกี่ยวกับแรงผลักดันในตัวเขาเองที่ เกิดจากความทรงจ�ำและการโยงความสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว  แต่มนุษย์ก็มักมี ความรู้สึกอย่างแรงกล้าว่าแรงผลักดันดังกล่าว จะสามารถถูกสนองได้ ก็ด้วย วัตถุที่สื่อสารอะไรบางอย่างซึ่งพวกเขาสามารถรับรู้ได้  ดังนั้น ถ้าความทรงจ�ำ และการโยงความสัมพันธ์กับสิ่งที่ผู้คนคุ้นเคยถูกปฏิเสธโดยสถาปนิก  มันก็ มักจะน�ำไปสู่สภาพแวดล้อมที่ถูกปฏิเสธโดยผู้คนทั่วไปเช่นกัน ประวัติศาสตร์และประสบการณ์ส่วนบุคคล  รวมทั้งความทรงจ�ำและการโยง ความสัมพันธ์  ล้วนประกอบกันท�ำให้เราเป็นบุคคลที่สมบูรณ์  มันจะไม่มี ปัจจุบัน  ซึ่งหมายความว่า  จะไม่มีโลกที่จับต้องได้ในทุกมิติอันงดงามของมัน ถ้าการรับรู้ของเราไม่ได้มีอดีตที่หยั่งรากลงในก้นบึ้งของปัจจุบัน  ทุกนาทีของ การรับรู้ของมนุษย์ล้วนประกอบไปด้วยอดีตส่วนตัวและเรื่องราวหนหลังของ ส่วนรวม  ตัวตนของเราในปัจจุบันก็คือการเกิดใหม่ของอดีต  และด้วยทุกการ รับรู้ของเรา เราได้ประเมิน อ่านความหมาย และให้คุณค่ากับอดีตเสมอ”

จาก The Necessity of Artifice โดย Joseph Rykwert




1 ระหว่างความจริงและวาทกรรม


มนุษย์ถือก�ำเนิดขึ้นมาในโลก  แตกต่างจากที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบันมากนัก ปราชญ์เพลโต (Plato) เล่าให้เราฟังในช่วงต้นของบทสนทนาชื่อ ซิมโพเซียม (Symposium) ซึ่งพูดถึงธรรมชาติมนุษย์และความรู้สึกนึกคิดของเรา จากเรื่อง เล่าของเพลโต มนุษย์ดั้งเดิมนั้นไม่ได้มีสองเพศอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่มี สามเพศ คือ ชาย หญิง และส่วนผสมของชายหญิงที่อาจเรียกได้ว่าทั้งไม่มีเพศ และมีทั้งสองเพศในเวลาเดียวกัน ซึ่งศัพท์ค�ำว่า Androgynous หรือไร้เพศ ก็เป็นศัพท์ที่มาจากความเชื่อนี้ และนอกจากนั้นมนุษย์ยังไม่ได้มีรูปร่างหน้าตา เหมือนทุกวันนี้  แต่มนุษย์ดั้งเดิมที่เทพเจ้าสร้างขึ้นนั้นมีรูปร่างเป็นทรงกลม มีสองหน้าที่สามารถมองไปข้างหน้า  ข้างหลัง  และรอบ  ๆ  ข้างได้ในเวลา เดียวกัน มีสี่แขน สี่ขา สี่มือ สี่เท้า ท�ำให้สามารถเดินไปได้ในทุกทิศทางไม่ว่า จะหน้าหรือหลัง  และสามารถจะล้มตัวกลิ้งไปได้ด้วยความเร็วสูงเมื่อต้องการ จะเดินทางไปไหนไกล  ๆ  และด้วยลักษณะเฉพาะเช่นนี้  ท�ำให้มนุษย์มีพลัง อ�ำนาจมหาศาล จนคิดที่จะท้าทายต่อสู้รุกรานเหล่าทวยเทพ จนเหล่าเทพเจ้า ต้องคิดหนักถึงวิธีการจัดการกับมวลมนุษย์ผู้อหังการเหล่านั้น  เหล่าเทพต่างก็ ถกเถี ย งกั น ว่ า ควรจะท� ำ ลายล้ า งเผ่ า พั น ธุ ์ ม นุ ษ ย์ เ สี ย ให้ สิ้ น ซากเลยหรื อ ไม่ เพราะถ้าท�ำเช่นนั้น  ก็จะไม่มีหมู่มวลมนุษย์มาคอยเคารพบูชาเหล่าเทพด้วย ข้าวของสังเวยต่าง ๆ อีกต่อไป ในที่สุด ซุส (Zeus) ราชาแห่งเทพ ก็คิดแผนการที่จะจัดการกับมนุษย์เพื่อลด ความเย่อหยิ่งจองหองและทอนพลังอ�ำนาจ  โดยที่เหล่าทวยเทพจะอนุญาตให้ เผ่าพันธุ์มนุษย์นั้นสามารถด�ำรงอยู่ต่อไป แต่พลังของพวกเขาจะลดลง ในขณะ ที่จ�ำนวนของพวกเขาจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์มหาศาลส�ำหรับเหล่า เทพ มวลมนุษย์จะถูกแบ่งแยกร่างกายออกเป็นสองส่วน แต่ละส่วนจะมีเพียง หน้าเดียว สองขา สองแขน พวกเขาจะต้องเดินตัวตรงตั้งฉากกับพื้นโลก ซึ่งจะ


ระหว่างความจริงและวาทกรรม

14

ท� ำ ให้ ก ารเคลื่ อ นไหวของพวกเขาช้ า ลง  ซุ ส ขอให้ เ ทพอพอลโล  (Apollo) สร้างตา จมูก ปาก และปั้นแต่งรูปทรงของมนุษย์ พร้อมทั้งมอบเพศชายให้กับ ครึ่งแรกของมนุษย์ที่ถูกแบ่งแยก  และมอบเพศหญิงให้กับอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือ ท�ำให้เพศผสมระหว่างชายและหญิงอันทรงพลังอ�ำนาจนั้นอันตรธานหายไป จากโลก และด้วยเหตุที่มนุษย์ทั้งสองเพศนั้นถูกแบ่งแยกจากร่างเดียว ท�ำให้ทั้ง สองส่วนไม่สามารถมีชีวิตอยู่หรือด�ำรงเผ่าพันธุ์ได้ด้วยตัวเอง  มนุษย์ผู้ชายและ มนุ ษ ย์ ผู ้ ห ญิ ง จึ ง มี ค วามสมบู ร ณ์ เ พี ย งแค่ ค รึ่ ง เดี ย ว  ต่ า งก็ ต ้ อ งพึ่ ง พาและ เสาะแสวงหาการอยู ่ ร ่ว มกันเสมอ  การตามหาอีก ครึ่ ง หนึ่ ง ที่ ห ายไป  และ การพยายามจะเป็นหนึง่ เดียวกันเพือ่ กลับคืนสูส่ ภาวะดัง้ เดิมอันสมบูรณ์ในตัวเอง จึงได้กลายเป็นเป้าหมายหนึ่งในการด�ำรงชีวิตของมนุษย์นับแต่นั้นเป็นต้นมา1 เรื่องเล่าของเพลโตนี้  แม้จะเป็นการอธิบายเหตุผลที่มา  ความหมาย  และ ความจ�ำเป็นของความรักระหว่างชายหญิง  ตลอดจนการด�ำรงเผ่าพันธุ์มนุษย์ ตามความปรารถนาของเทพเจ้าแล้ว เมื่อพิจารณาในเชิงลึก เราจะพบว่าเรื่อง เล่านี้แท้จริงแล้วเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของขั้วตรงข้าม  (Polarity) ที่เกิดขึ้นและมีอยู่ในธรรมชาติ  ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ละเอียดอ่อน  อันเป็น รากฐานและกลไกในการขับเคลือ่ นของทุกสรรพสิง่ ในโลก  ไม่วา่ จะเป็นสรรพสิง่ ในธรรมชาติหรือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นด้วยอารยธรรมมนุษย์  ปราชญ์ในยุคกรีก โบราณก่อนโซคราตีส (Socrates) และเพลโต มักจะอธิบายปรากฏการณ์ตา่ ง ๆ ในโลกผ่ า นเรื่ อ งราวของขั้ ว ตรงข้ า มตลอดจนแรงดึ ง ดู ด หรื อ แรงผลั ก ดั น จากขั้วตรงข้ามในธรรมชาติเสมอ และศาสตร์ต่าง ๆ ที่ถือก�ำเนิดขึ้นก็ล้วนตั้ง อยู่บนรากฐานของความสมดุลระหว่างขั้วตรงข้ามที่แตกต่างนี้  ไม่ว่าจะเป็น ศาสตร์ทางการแพทย์  การเกษตรและการเพาะปลูก  ศิลปะ  วรรณกรรม หรือศาสตร์แห่งการก่อสร้าง  ความคิดดังกล่าวยังเป็นรากฐานของความเชื่อ


15

ทางศาสนาในยุคกรีกและโรมัน  ที่พยายามอธิบายปรากฏการณ์และระบบ ระเบียบของโลกผ่านลักษณะเฉพาะและหน้าที่ของเทพเจ้ามากมายหลายองค์ เทพเหล่านี้ล้วนมีจริตทางความคิดและมีหน้าที่แตกต่างกัน  แต่จะไม่มีเทพองค์ ใดเลยที่มีพลังอ�ำนาจเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ในตัวเอง  อ�ำนาจของเทพแต่ละองค์มัก จะถูกถ่วงดุลด้วยหน้าที่และพลังของเทพที่มีลักษณะตรงกันข้ามเสมอ  แม้แต่ ซุส  ราชาแห่งเทพ  ซึ่งเป็นเทพแห่งท้องฟ้าผู้ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง  ๆ เบื้องบน และเป็นตัวแทนแห่งกฎ ระเบียบ ตลอดจนความเป็นธรรม ก็ยังถูก ถ่วงดุลอ�ำนาจด้วยโพไซดอน (Poseidon) น้องชาย เทพแห่งท้องทะเลและ ผืนน�้ำ ผู้ควบคุมปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวของผืนดินทั้งปวง วิสัยทัศน์ในการมองโลกผ่านความสมดุลของความแตกต่างในยุคกรีกและ โรมันโบราณนี้  เป็นส่วนส�ำคัญของการพัฒนารากฐานทางความคิดส�ำหรับ ศิลปวิทยาการทั้งหลาย ไม่ใช่เฉพาะในยุคคลาสสิก แต่ได้กลายเป็นความคิด ที่ฝังรากลึกลงในระบบความคิดของอารยธรรมตะวันตกต่อมาในยุคคริสเตียน ตอนต้น  เรื่อยมาจนถึงยุคเรอเนซองซ์  และก็ไม่ได้จางหายไปแม้ในยุคของ การรู ้ แ จ้ ง ทางวิ ท ยาศาสตร์ ใ นศตวรรษที่ สิ บ แปด  และยุ ค ของการปฏิ วั ติ อุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่สิบเก้า ศาสตร์แห่งการสร้างสภาพแวดล้อมของมนุษย์  หรือสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก็เป็นหนึ่งในวิทยาการทั้งปวงที่ถูกพัฒนาเปลี่ยนแปลงและผันแปรไปตามแรง ผลักดันระหว่างขั้วตรงข้าม  ไม่ว่าจะเป็นขั้วตรงข้ามทางธรรมชาติ  หรือทาง สั ง คมวั ฒ นธรรม  เศรษฐกิ จ   การเมื อ ง  ในยุ ค สมั ย ต่ า ง  ๆ  แม้ แ ต่ ง าน สถาปัตยกรรมในยุคโมเดิร์น  ที่เรามักจะมองว่าเป็นปรากฏการณ์ของการ แตกหักทางความคิด  หรือการแยกตัวออกจากประวัติศาสตร์  แท้จริงแล้ว


ระหว่างความจริงและวาทกรรม

16

ก็ยังเป็นการเคลื่อนไหวที่ได้ถูกปูทาง  และมีรากฐานทางความคิดที่สามารถสืบ ร่ อ งรอยไปได้ ไ กลจนถึ ง ยุ ค คลาสสิ ก หรื อ ยุ ค กรี ก โรมั น โบราณเลยที เ ดี ย ว จนอาจกล่ า วได้ ว ่ า   รากฐานทางความคิ ด ของสถาปั ต ยกรรมโมเดิ ร ์ น นั้ น มีความสัมพันธ์กับระบบความคิดและการมองโลกแบบกรีกโบราณมากกว่า ความคิด “สมัยใหม่” ของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่สิบเก้าเสียด้วยซ�้ำ ซึ่ ง ก็ ท� ำ ให้ ค วามเชื่ อ ที่ ว ่ า งานสถาปั ต ยกรรมยุ ค โมเดิ ร ์ น พยายามตั ด ขาด ตัวเองจากประวัติศาสตร์นั้นมีส่วนจริง  แต่มันก็เป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว เพราะประวัติศาสตร์ที่งานสถาปัตยกรรมโมเดิร์นพยายามแยกตัวออกมานั้น เป็นการตีความประวัติศาสตร์ในมุมมองของผู้คนในช่วงศตวรรษที่สิบเก้า ไม่ใช่ ประวัติศาสตร์ในความหมายของระบบความคิดและสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตตั้งแต่ ยุคคลาสสิกมาจนถึงศตวรรษที่สิบแปด  และด้วยเหตุนี้เอง  ความเข้าใจที่ว่า จุดเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเกิดขึ้นในศตวรรษที่ยี่สิบนั้น จึงเป็นความ เข้าใจที่ท�ำให้เรามองข้ามข้อเท็จจริงที่ส�ำคัญไปหลายประเด็น  ปฐมบทของ สถาปัตยกรรมโมเดิร์น อาจเป็นระบบระเบียบทางความคิดและการมองโลกที่ มีพื้นฐานเชิงปรัชญาที่ละม้ายคล้ายคลึงกับความคิดในยุคคลาสสิกมากกว่า ยุ ค สมั ย ใด  ๆ  การท� ำ ความเข้ า ใจเหตุ ผ ล  และที่ ม าทางความคิ ด ของงาน สถาปัตยกรรมในยุคโมเดิร์นนั้น  จึงจ�ำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจในรากฐาน ความคิดเชิงปรัชญาของการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ตั้งแต่ยุคกรีกโรมันเรื่อยมา จนถึงการพัฒนาเปลี่ยนแปลงและการผันแปรของการสร้างงานสถาปัตยกรรม ไปตามแรงผลักดันของขั้วตรงข้ามทางความคิดต่าง ๆ ในยุคต่อมา โดยเฉพาะ ในช่วงศตวรรษที่สิบแปดและศตวรรษที่สิบเก้า ประวัตศิ าสตร์สถาปัตยกรรมทีเ่ ราคุน้ เคยกันดี  ได้แบ่งรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ไปตามยุคสมัยและช่วงเวลา  โดยให้ค�ำจ�ำกัดความทางความคิด  และให้ชื่อ


17

แก่ รู ป แบบเหล่ า นั้ น ในลั ก ษณะที่ เ ราจดจ� ำ กั น ได้ ใ นทุ ก วั น นี้   ไม่ ว ่ า จะเป็ น สถาปัตยกรรมกรีก โรมัน คริสเตียนตอนต้น โรมาเนสก์ กอทิก เรอเนซองซ์ บารอก นีโอคลาสสิก อาร์ตนูโว จนถึงสถาปัตยกรรมโมเดิร์น แต่ในขณะที่เรา จดจ�ำหน้าตาของรูปแบบเหล่านั้นได้ เรามักไม่รู้ถึงเหตุผล ที่มาทางความคิด และความสัมพันธ์ของรูปแบบทั้งหลาย ตลอดจนแรงผลักดันที่ท�ำให้เกิดหน้าตา รู ป ทรง  และระบบพื้ น ที่ อ ย่ า งที่ มั น เป็ น   หรื อ อาจกล่ า วได้ ว ่ า   ความรู ้ ท าง สถาปัตยกรรมนัน้ จ�ำเป็นต้องเกิดภายใต้ความเข้าใจทีส่ มั พันธ์กนั   สอง  ประเภท คือ  ความเข้าใจความแตกต่างทางกายภาพของงานสถาปัตยกรรมในยุคต่าง ๆ ไม่ ว ่ า จะเป็ น ระบบระเบี ย บ  รู ป ร่ า ง  รู ป ทรง  หน้ า ตา  ระบบพื้ น ที่ การวางผั ง   และความเข้ า ใจความแตกต่ า งทางความคิ ด อั น เป็ น ที่ ม าของ การพัฒนาเปลี่ยนแปลงทั้งปวง  ส�ำหรับความแตกต่างทางกายภาพนั้นเป็น ความเข้าใจที่ถูกก�ำหนดด้วยสัญลักษณ์เชิง “นาม” หรือชื่อที่เราใช้เรียกรูปแบบ และยุ ค สมั ย ต่ า ง  ๆ  สั ญ ลั ก ษณ์ เ ชิ ง นามนี้ สั ม พั น ธ์ กั บ ภาพของงาน สถาปัตยกรรมในแต่ละยุคสมัยที่เราแต่ละคนก็มีความทรงจ�ำในรายละเอียด แตกต่างกันออกไป  แต่อย่างไรก็ตาม  เราก็มีความเข้าใจร่วมกันได้ไม่ยากนัก ว่าภาพของสถาปัตยกรรมกรีก โรมัน โรมาเนสก์ กอทิก เรอเนซองซ์ นัน้ ต่างกัน อย่างไร ส� ำ หรั บ ความเข้ า ใจประเภทที่ ส อง  คื อ ความเข้ า ใจความแตกต่ า งทาง ความคิดนั้น  ดูเผิน  ๆ  เหมือนจะเป็นเรื่องยาก เพราะลักษณะทางกายภาพ ของรูปแบบในยุคต่าง  ๆ  นัน้ มีความหลากหลาย  และดูจะมีเหตุผลทีม่ าทีซ่ บั ซ้อน เกินกว่าที่เราจะศึกษาจนเข้าใจได้ทั้งหมด  แต่แท้จริงแล้ว  ถ้าเราลองมอง ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในประวัติศาสตร์ทั้งหมดในภาพรวม เราจะพบว่าการที่เราพยายามแยกย่อยรูปแบบและยุคสมัยออกเป็นช่วงต่าง  ๆ


ระหว่างความจริงและวาทกรรม

18

ที่เป็นเอกเทศและสมบูรณ์ในตัวเองนั้น  จะท�ำให้เราเข้าใจได้เพียงเปลือกทาง กายภาพของแต่ละยุคสมัย  แต่แทบจะไม่ท�ำให้เราเข้าใจพื้นฐานทางความคิด อย่างแท้จริงเลย  ดังนั้น  หากเราลองมองประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมเป็น “หนึง่ ” หรือเป็นเรือ่ งราวเพียงเรือ่ งราวเดียวมากกว่าทีจ่ ะเป็นเศษส่วนของเรือ่ งราว หลายสิบเรื่อง  เราจะพบว่าแท้ที่จริงแล้ว  ธรรมชาติของปรากฏการณ์ทาง สถาปัตยกรรมในประวัติศาสตร์นั้น ประกอบไปด้วยการต่อสู้หรือการถกเถียง เอาชนะกันระหว่างขั้วตรงข้ามทางความคิดเพียงสองขั้วเท่านั้น  แต่ก่อนที่จะ ตอบค�ำถามว่า ขั้วทั้งสองนั้นคืออะไร จะขอย้อนกลับไปท�ำความเข้าใจพื้นฐาน ทางปรัชญาตะวันตกที่เป็นรากฐานทางความคิดและการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ จากความคิดของปราชญ์ เพลโต และ อริสโตเติล (Aristotle) เสียก่อน เพลโต  เป็นปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่ใช้ชีวิตอยู่ในช่วงปี  427-347  ก่อน คริ ส ตกาล  โดยที่ เ พลโตนั้ น เป็ น ลู ก ศิ ษ ย์ ข องโซคราตี ส   และเป็ น ครู ข อง อริสโตเติล  เหตุที่เราจ�ำเป็นต้องเข้าใจเพลโตนั้นเป็นเพราะว่า  บทสนทนา ส�ำคัญ  ๆ  ของเพลโตล้วนมีอิทธิพลส่งผลต่อความคิดและการมองโลกในยุค ต่อ  ๆ  มาจนถึงปัจจุบัน  เพลโตพยายามท�ำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก ตลอดจนระบบสังคมวัฒนธรรมมนุษย์ผ่าน บทสนทนา  (Dialogue)  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นบทสนทนาระหว่างโซคราตีส ผูเ้ ป็นครูและเพลโตผูเ้ ป็นศิษย์ รวมทัง้ บทสนทนาระหว่างเพลโตและบุคคลอืน่ ๆ อีกมากมาย และด้วยเหตุที่เรารู้จักปราชญ์โซคราตีสผ่านบทสนทนาของเพลโต ก็ท�ำให้เป็นการแยกออกได้ยากว่าความคิดใดมีต้นตอมาจากใคร  หลักปรัชญา ของโซคราตีสและเพลโตจึงถูกหลอมรวมเป็นหนึง่ ภายใต้คำ� บอกเล่าของเพลโตเอง


19

ภายใต้บทสนทนามากมาย  บทที่เป็นที่รู้จักและส่งอิทธิพลทางความคิดจนถึง ทุกวันนี้คือบทที่มีชื่อว่า Republic (รีพับลิก หรือ รัฐ) ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นระหว่างเพลโตและโซคราตีส  ในประเด็นที่เกี่ยวกับการปกครอง ความยุติธรรม รัฐในอุดมคติ ความสัมพันธ์ของรัฐ ผู้ปกครองและประชาชน งานเขียนของเพลโตมีความหลากหลายในหัวเรื่อง  ด้วยความรอบรู้และความ สนใจในความเป็นไปของสิ่งรอบตัว  ท�ำให้งานเขียนเหล่านั้นมีเนื้อหาแตกต่าง กันออกไป ไม่วา่ จะเป็นในหัวข้อของ Metaphysics หรือความหมายของสรรพสิง่ Ethics หรือคุณธรรมจริยธรรม Epistemology หรือพื้นฐานที่มา ขอบเขต และ ธรรมชาติของความรู้ Politics หรือการปกครอง Psychology หรือจิตวิทยา Mathematics หรือคณิตศาสตร์ Education หรือการศึกษา Theology หรือ ศาสนา ไปจนกระทั่ง Arts หรือศิลปะแขนงต่าง ๆ ภายใต้ความหลากหลายและความรู้รอบด้านของเพลโตนั้น  ทฤษฎีที่สัมพันธ์ กับงานสร้างสรรค์ของมนุษย์คือทฤษฎีเกี่ยวกับ  Form  หรือแก่นความคิด และ Matter หรือวัตถุ โดยที่แม้เพลโตจะไม่ได้อุทิศงานเขียนชิ้นใดให้กับทฤษฎี ของ Form และ Matter โดยเฉพาะ แต่ทฤษฎีดังกล่าวก็ปรากฏขึ้นเป็นเนื้อหา สาระหลักในงานเขียนชิ้นต่าง  ๆ  เสมอ  จนเรียกได้ว่าเป็นแก่นความคิด ในการมองโลกของเพลโตก็ว่าได้ เพลโตแบ่งระบบความสัมพันธ์ของคนกับสรรพสิ่งในโลกออกเป็น  สอง  ระบบ หลัก ๆ คือ ระบบความคิดความเข้าใจ (Intellect) และระบบของการรับรูส้ งิ่ เร้า ภายนอกด้วยประสาทสัมผัส (Senses) เมื่อเพลโตพูดถึง Form หรือแก่น ความคิด โดยใช้ค�ำว่า Eidos หรือ Idea นั้น Form จึงไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มี


ระหว่างความจริงและวาทกรรม

20

รูปทรงจับต้องได้ด้วยประสาทสัมผัสของเรา  แต่หมายถึงความหมายและ ความเป็นตัวตน  ตลอดจนวัตถุประสงค์อันแท้จริงในการเกิดขึ้น  มีอยู่  และ ด�ำรงอยู่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง Form จึงมีความบริสุทธิ์เป็นแก่นความคิดในอุดมคติ ที่มั่นคง ไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงหรือบิดเบือนด้วยสิ่งเร้าใด ๆ2 แต่ในขณะที่ด้านหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งคือ  Form หรือความหมายอันบริสุทธิ์ อีกด้านหนึ่งของระบบความสัมพันธ์นี้ก็คือ Matter หรือวัตถุที่เรารับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งคือ “รูปลักษณ์” ที่ประกอบ ไปด้วยสิ่งเร้าภายนอก ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง รูปร่าง สีสัน พื้นผิว ที่มนุษย์รับรู้ได้ โดยง่าย และเมื่อ Form คือความจริงและความหมายอันบริสุทธิ์ Matter ที่มี รูปร่างรูปทรงสีสันหลากหลายเพื่อตอบสนองสุนทรียะในการรับรู้ของเรานั้น จึงเป็นเพียงสิง่ ทีท่ ำ� เลียนตาม (Imitation) แก่นความคิดเท่านัน้ หาใช่ความหมาย ที่แท้จริงของสิ่งนั้นไม่ ดังนั้น  โลกของเพลโต  จึงถูกแบ่งเป็นโลกของ  Form  อันเป็นแก่นความจริง กับโลกของ Matter ซึ่งหมายถึงวัตถุที่ถูกปรุงแต่ง ในบทสนทนาระหว่างเพลโต และไดโอจีเนส เลติอุส (Diogenes Laërtius) ทั้งสองกล่าวถึง Form และ Matter ไว้ว่า : เพลโตพูดถึงความคิดเกี่ยวกับ Form ของเขา และใช้ค�ำว่า “ความเป็นโต๊ะ” และ “ความเป็นถ้วย” ในขณะที่ไดโอจีเนสถามว่า “เพลโต,  ผมมองเห็นโต๊ะ และถ้วย  แต่ผมมองไม่เห็น “ความเป็นโต๊ะ” และ “ความเป็นถ้วย” “แน่นอนล่ะ” เพลโตกล่าว “จะมองเห็นโต๊ะและถ้วยได้ คุณต้องมีตาที่จะมองเห็น ซึ่งคุณก็มี อย่างแน่นอน แต่การที่จะมองเห็นความเป็นโต๊ะและความเป็นถ้วยนั้นคุณต้อง อาศัยสติปัญญา แต่คุณไม่มี”3


21

ดังนั้นจากบทสนทนานี้  ความหมายของความเป็นโต๊ะ  และความเป็นถ้วย อันบริสุทธิ์นั้นคือความจริงที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง  มันคือวัตถุประสงค์ของ การมีอยู่ของโต๊ะและถ้วย และหน้าที่ในอุดมคติของมัน แต่ในขณะเดียวกัน ในโลกของวัตถุ ทั้งความเป็นโต๊ะและความเป็นถ้วยอาจถูก ท�ำซ�้ำ ท�ำเลียนตาม โดยปรากฏเป็นรูปร่าง รูปทรง สีสัน พื้นผิวและสัมผัส สารพัดมากมาย  โดยความแตกต่างนี้เป็นเพียงความแตกต่างเชิงวัตถุ  ที่เรา รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าของเรา  และจากความแตกต่างระหว่างโลก แห่งสติปัญญาหรือ Intelligible และโลกแห่งการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสหรือ Sensible  นี้ เ อง  ที่ เ พลโตได้ พั ฒ นาทฤษฎี เ กี่ ย วกั บ ความรู ้ ใ นช่ ว งท้ า ยของ บทสนทนารีพับลิก ในรี พั บ ลิ ก เล่ ม ที่ ห ก  เพลโตได้ อ ธิ บ ายถึ ง ระดั บ ของความรู ้ ไ ว้   โดยให้ เ รา จินตนาการถึงเส้นตรง ที่ถูกเขียนขึ้นในทางตั้งเส้นหนึ่ง และมีการแบ่งขีดเป็น สี่ระดับ  โดยที่ระดับล่างสองระดับนั้นเป็นตัวแทนของโลกวัตถุที่เรามองเห็น และสั ม ผั ส ได้   และระดั บ บนทั้ ง สองระดั บ นั้ น เป็ น ตั ว แทนของโลกแห่ ง สติ ปัญญา ชั้นล่างสุดของโลกวัตถุนั้นเป็นเพียงเงาสะท้อน  ในขณะที่ชั้นเหนือขึ้น มาในโลกวั ต ถุ นั้ น คื อ สรรพสิ่ ง ทั้ ง หลายที่ เ รารั บ รู ้ แ ละสั ม ผั ส ได้ จ ริ ง   ทั้ ง สิ่ ง ในธรรมชาติ แ ละสิ่ ง ที่ ม นุ ษ ย์ ส ร้ า งขึ้ น   ถั ด มาในชั้ น ล่ า งของโลกสติ ป ั ญ ญา คือ การหาเหตุผลเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในโลกวัตถุ และในชั้นบนสุดของโลกสติ ปัญญานั้น เราใช้เหตุผลดังกล่าวในการค้นพบและเข้าใจหลักการ ตลอดจน แก่นของความหมาย โดยที่ไม่ต้องพึ่งพารูปวัตถุของสรรพสิ่งอีกต่อไป จากทฤษฎีดังกล่าวจะเห็นว่า  แม้เพลโตแบ่งความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และ สรรพสิ่งออกเป็นหลายระดับ  แต่ท้ายที่สุดแล้ว  ความรู้ในอุดมคติของเพลโต


ระหว่างความจริงและวาทกรรม

22

ก็คือการพยายามท�ำความเข้าใจถึงแก่นความหมายของทุกสิ่ง โดยไม่ต้องพึ่งพา รูปหรือสิ่งเร้าภายนอกที่สามารถผันแปรไปได้เสมอ ๆ เพราะตราบใดที่มนุษย์ ยั ง คงด� ำ รงอยู ่ ใ นธรรมชาติ   แก่ น ความหมายนี้ คื อ เป็ น ความจริ ง ที่ ไ ม่ มี วั น เปลี่ ย นแปลง  ในขณะที่ โ ลกแห่ ง วั ต ถุ มี ข ้ อ บกพร่ อ งตรงที่ มั น เปลี่ ย นแปลง อยู่ตลอดเวลา  และเมื่อมันมีจุดมุ่งหมายในการเร้าประสาทสัมผัสและอารมณ์ ความรู้สึกของมนุษย์  โลกวัตถุนี้ย่อมไม่จีรังยั่งยืน  การยึดเหนี่ยวกับสิ่งเร้า จึงท�ำให้เรามองไม่เห็นแก่นหรือความหมายที่แท้จริงของสิ่งรอบตัว ในขณะที่เพลโตให้คุณค่ากับโลกแห่งสติปัญญาในอุดมคติ  ศิษย์ของเพลโต ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศิลปวิทยาการในยุคต่อมาคือปราชญ์  อริสโตเติล กลับมีความเห็นแตกต่างออกไป  อริสโตเติลใช้ชีวิตอยู่ในช่วง  384-322  ปี ก่อนคริสตกาล โดยความคิดของอริสโตเติลนั้น แม้มีจุดเริ่มต้นและพัฒนามา จากทฤษฎีต่าง  ๆ  ของเพลโต  อริสโตเติลก็มีความคิดเห็นที่เป็นตัวของตัวเอง อย่างแจ่มชัด จนท�ำให้งานเขียนทางปรัชญาของอริสโตเติล สามารถเติมเต็ม ช่องว่างทีเ่ พลโตทิง้ ไว้ และกลายเป็นปรัชญาทีท่ รงอิทธิพล ส่งผลต่อศิลปวิทยาการ ต่ า ง  ๆ  ในโลกตะวั น ตกจนถึ ง ทุ ก วั น นี้   สิ่ ง ที่ ท� ำ ให้ ป รั ช ญาของเพลโตและ อริสโตเติลแตกต่างกันนั้น ก็คือความหมายและความสัมพันธ์ระหว่าง Form และ Matter ซึง่ ในขณะทีเ่ พลโตเห็นว่าจุดสูงสุดของความรู้ คือความเข้าใจหลักการ ความคิดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  โดยปราศจากอิทธิพลทางรูปลักษณ์วัตถุของสิ่งนั้น แต่ส�ำหรับอริสโตเติล ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดและวัตถุไม่ได้เป็นเช่นนั้น อริสโตเติลไม่เชื่อในความส�ำคัญของแก่นความจริง  หรือ  Form  ที่ปราศจาก การเชื่ อ มโยงกั บ รู ป วั ต ถุ   ส� ำ หรั บ อริ ส โตเติ ล   ทั้ ง สองโลก  คื อ โลกแห่ ง สติปัญญาและโลกแห่งรูปวัตถุอันรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสนั้น  ไม่ควรจะถูก แยกออกจากกัน และไม่มีวันจะแยกออกจากกันได้ หรืออาจกล่าวได้ว่า ส�ำหรับ


23

อริสโตเติล  ความบริสุทธิ์ของแก่นความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นไม่มีอยู่จริง และมันจะไม่เกิดขึ้นหากปราศจากรูปวัตถุที่เรารับรู้และสัมผัสได้ อริสโตเติลจึง เขี ย นทฤษฎี ม ากมายที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั บ ความส� ำ คั ญ ของรู ป วั ต ถุ   การสื่ อ สาร และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส  ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีการสื่อสาร  (Rhetoric) หรือทฤษฎีความเป็นกวี (Poetics)4 จากความแตกต่างระหว่างเพลโตและอริสโตเติลนี้ ก็มีส่วนท�ำให้ศิลปวิทยาการ ต่าง ๆ ถูกแบ่งเป็นสองขั้วเสมอ ในขณะที่ศาสตร์บางศาสตร์ศึกษาความจริง และความหมายมากกว่ารูปวัตถุ เช่น Metaphysics ศึกษาความหมายและ ธรรมชาติของสรรพสิ่ง Ethics ศึกษาคุณธรรมจริยธรรม Epistemology ศึกษา เกี่ยวกับความรู้ ก็ยังมีศาสตร์ในอีกแขนงหนึ่ง ที่ศึกษาและมุ่งสร้างผลลัพธ์ทาง วัตถุเพื่อสร้างสิ่งเร้าให้แก่ประสาทสัมผัสของเรา ไม่ว่าจะเป็น ศิลปะ ดนตรี วรรณกรรม หรือการแสดง ส�ำหรับสถาปัตยกรรมนั้น  ด้วยความเป็นศาสตร์ที่ถูกพัฒนาเปลี่ยนแปลงมา พร้อมกับอารยธรรมมนุษย์ ตั้งแต่ครั้งบรรพกาล แน่นอนว่าความจริงและแก่น ของความหมาย ย่อมถูกท�ำซ�้ำเรื่อย ๆ ภายใต้รูปวัตถุที่เราสามารถสัมผัสได้ แตกต่างกันออกไป และด้วยความเป็นศาสตร์ที่ซับซ้อน ประกอบไปด้วยหน่วย ย่อยขององค์ความรู้แขนงต่าง ๆ มากมาย ในการพิจารณาศึกษาและท�ำความ เข้าใจสถาปัตยกรรม เราจึงพบกับค�ำถามหรือปัญหาเสมอ ไม่ว่าเราจะพิจารณา ภายใต้ทฤษฎีของเพลโต หรือ อริสโตเติล โดยค�ำถามของสถาปัตยกรรมภายใต้ ทฤษฎี ข องเพลโตก็ คื อ   เราจะสามารถเข้ า ใจแก่ น ความหมายหรื อ   Form อันเป็นนิรันดร์ของสถาปัตยกรรมได้อย่างไร  Form-Idea-Eidos  ของงาน สถาปัตยกรรมนั้นคืออะไร  มันคือประโยชน์ใช้สอย?  การตั้งอยู่อย่างถาวร?


ระหว่างความจริงและวาทกรรม

24

หรือการเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ?  และถึงแม้เราจะเข้าใจ แก่นความคิดนั้น  ๆ  เราจะแยกมันออกมาจากรูปวัตถุที่ถูกสร้างสรรค์และ ปรากฏขึ้นจนเป็นรูปแบบหรือสไตล์  (Style)  ในยุคสมัยและในถิ่นที่ต่าง  ๆ ได้อย่างไร  และหากเราเชื่อในทฤษฎีของเพลโต  หมายความว่ารูปลักษณ์ของ งานสถาปัตยกรรมนั้นไม่มีความหมายเลยหรือ? ในทางกลั บ กั น   ค� ำ ถามของสถาปั ต ยกรรมภายใต้ ท ฤษฎี ข องอริ ส โตเติ ล ก็ คื อ   ภายใต้ ค วามแตกต่ า งของรู ป ลั ก ษณ์ ม ากมายที่ ป รากฏต่ อ ประสาท สัมผัสรับรู้ของเรานั้น  เราจะเข้าใจมันได้อย่างไร  และรูปลักษณ์ที่กลายเป็น รูปแบบเหล่านั้น  จ�ำเป็นต้องสัมพันธ์กับแก่นความหมายที่แท้จริงหรือไม่? หากรูปลักษณ์เชิงวัตถุถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างไร้กฎเกณฑ์และไร้ขอบเขต จ�ำกัดด้วยจินตนาการของผูส้ ร้างสรรค์  เราจะย้อนกลับมาประเมินวัตถุประสงค์ ดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมเหล่านั้นได้หรือ? ในขณะที่ อ ริ ส โตเติ ล เองก็ มี ส ่ ว นเห็ น ด้ ว ยกั บ เพลโตเกี่ ย วกั บ คุ ณ ค่ า และ ความส�ำคัญของความจริงสากลในวิทยาศาสตร์ แต่ทั้งเพลโตและอริสโตเติลก็ ไม่ได้ให้ค�ำตอบกับเราว่า  ส�ำหรับสถาปัตยกรรมนั้นเราควรจะแสวงหาแก่น ของความหมายหรือรูปวัตถุกันแน่ และในทางตรงกันข้าม หากสถาปัตยกรรม ควรจะตอบสนองการมองโลกและความเข้าใจทั้งสองด้าน  เราจะหาจุดสมดุล ระหว่ า งความหมายที่ แ ท้ จ ริ ง และการแสดงออกของรู ป ลั ก ษณ์ ภ ายนอกได้ อย่างไร ค� ำ ถามดั ง กล่ า วได้ ก ลายเป็ น พลั ง ขั บ เคลื่ อ นของการสร้ า งสรรค์ ง าน สถาปัตยกรรมมาทุกยุคสมัย ตั้งแต่ยุคกรีกโรมันจนถึงปัจจุบัน ในบางยุคสมัย


25

ปรั ช ญาในการสร้ า งงานสถาปั ต ยกรรมได้ ถื อ ก� ำ เนิ ด ขึ้ น จากความต้ อ งการ ในการแสวงหาความจริ ง   และกฎระเบี ย บแห่ ง ความจริ ง อั น เป็ น นิ รั น ดร์ ยังผลให้เราได้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์โดยตรงกับเหตุแห่งการเกิด และการก่อรูปขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นงานสถาปัตยกรรมในยุคคลาสสิก เราจะพบกฎเกณฑ์แห่งระบบ หรือออร์เดอร์ (Order) ในงานสถาปัตยกรรม กรีก โรมัน ที่ถึงแม้ระบบเหล่านั้นจะมีรูปวัตถุที่เป็นตัวแทน  หรือ  Representation ที่เรารู้จักกันภายใต้ชื่อ อีทรัสคัน (Etruscan) ดอริก (Doric) ไอออนิก (Ionic)  โคริ น เธี ย น  (Corinthian)  หรื อ รู ป แบบผสม  (Composite) ลักษณะทางกายภาพของระบบเหล่ า นี้   ก็ มิ ไ ด้ เ กิ ด ขึ้ น เพื่ อ เร้ า การรั บ รู ้ ห รื อ ประสาทสั ม ผั ส ของมนุ ษ ย์ เ ป็ น หลั ก   แต่ ร ะบบดั ง กล่ า วเกิ ด ขึ้ น เพื่ อ ควบคุ ม บทบาทหน้าที่ขององค์ประกอบ  ตลอดจนพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้น ทั้งภายในและภายนอก แต่แน่นอนว่า งานสถาปัตยกรรมนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อ ตอบสนองการใช้สอยหรือความคงทนเพียงอย่างเดียว  ดังที่วิทรูเวียส  (Vitruvius) สถาปนิกชาวโรมันได้อธิบายไว้ในต�ำราทฤษฎีสถาปัตยกรรม De architectura  ว่ า ส่ ว นประกอบส� ำ คั ญ สามประการของงานสถาปั ต ยกรรมคื อ การใช้สอย (Utilitas) ความคงทนถาวร (Firmitas) และความงาม (Venustas)5 นัน้ จ�ำเป็นต้องท�ำงานร่วมกัน  โดยความงามของงานสถาปัตยกรรมคลาสสิกนัน้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นความงามที่เป็นหนึ่งเดียว  หรือผุดขึ้นจากความสัมพันธ์ของ องค์ประกอบและพื้นที่ จนเรียกได้ว่า ไม่ได้แสร้งให้งาม องค์ประกอบต่าง ๆ ล้วนมีหน้าที่ที่สัมพันธ์กับความหมายของการเกิดและการด�ำรงอยู่ของงาน สถาปัตยกรรมนั้น ๆ ลักษณะดังกล่าวของงานสถาปัตยกรรมคลาสสิก จึงอาจ กล่าวได้ว่าใกล้เคียงกับแก่นของความจริงในทฤษฎีของเพลโต  เพราะเนื้อหา ของงานสถาปัตยกรรมคลาสสิกนั้น ไม่ได้อยู่ที่การเร้าอารมณ์ด้วยส่วนประดับ ตกแต่งหรือหน้าตาภายนอก แต่องค์ประกอบทัง้ หมดถือก�ำเนิดขึน้ พร้อม ๆ กัน


ระหว่างความจริงและวาทกรรม

26

เราสามารถอ่านความสัมพันธ์และหน้าที่ขององค์ประกอบทั้งหมดได้  ไม่ว่าจะ เป็นหน้าที่ของการรับน�้ำหนัก  หรือหน้าที่ของการปิดล้อมพื้นที่  จนท�ำให้เรา สามารถมองข้ามรูปวัตถุที่แตกต่างกันของอาคารทั้งหลาย แต่ยังเข้าใจถึงระบบ ออร์ เ ดอร์ ที่ เ ป็ น แก่ น ความหมาย  สะท้ อ นถึ ง วิ สั ย ทั ศ น์ ใ นการมองโลกและ ความสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัวของผู้คนในยุคนั้นด้วย แต่แน่นอนว่าธรรมชาติมนุษย์ไม่ได้มีเพียงด้านเดียว ดังที่เพลโตได้เล่าให้เราฟัง ถึงเรื่องราวการเกิดของมนุษย์โลก แรงผลักดันของขั้วตรงข้ามและการพยายาม แสวงหาจุ ด สมดุ ล ระหว่ า งขั้ ว ที่ แ ตกต่ า ง  ตลอดจนการถกเถี ย งแย่ ง ชิ ง ความส�ำคัญระหว่างขั้ว  จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กับอารยธรรมมนุษย์ตั้งแต่ ยุคบรรพกาล และการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของงานสถาปัตยกรรมผ่านยุคสมัย ต่าง  ๆ  ก็เกิดจากแรงปะทะระหว่างขั้วที่แตกต่างนี้เอง  หรืออาจกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงจากสถาปัตยกรรมคลาสสิกไปยังกอทิก  จากกอทิกไปยัง เรอเนซองซ์ จากเรอเนซองซ์ไปยังบารอค จากบารอคไปยังนีโอคลาสสิก จากนี โอคลาสสิ ก ไปยั ง ประวั ติ ศ าสตร์ นิ ย ม  และจากประวั ติ ศ าสตร์ นิ ย มมาสู ่ สถาปัตยกรรมโมเดิร์นนั้น  แม้จะมีรูปแบบย่อย  ๆ  เกิดขึ้นมากมายระหว่าง ยุคสมัย แต่การเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนผ่านระหว่างคู่ของยุคสมัยที่กล่าว มาข้างต้น ล้วนเป็นปฏิกิริยาระหว่างสองขั้วความคิดทั้งสิ้น หากพิจารณาความแตกต่างระหว่างคู่ยุคสมัย  สถาปัตยกรรมคลาสสิกหรือ กรีกโรมันโบราณที่เกิดขึ้นระหว่างศตวรรษที่ แปด ก่อนคริสตกาล จนถึง ศตวรรษที่   ห้ า   หลั ง คริ ส ตกาล  และสถาปั ต ยกรรมกอทิ ก ที่ พั ฒ นาจาก สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ ในช่วงศตวรรษที่ 6-11 และกลายเป็นสถาปัตยกรรม กอทิกในช่วงศตวรรษที่ สิบสอง เราจะเห็นว่าในขณะที่สถาปัตยกรรมคลาสสิก


27

นั้ น ถื อ ก� ำ เนิ ด และถู ก พั ฒ นาภายใต้ ขั้ ว ความคิ ด ที่ เ พลโตเรี ย กว่ า   แก่ น ของ ความหมาย  (Form) หรือแก่นของความคิด  (Eidos,  Idea)  ที่เน้นการสร้าง ระบบระเบียบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบและพื้นที่ แต่เมื่ออาณาจักรโรมัน ล่มสลายในศตวรรษที่ ห้า ระบบความคิดภายใต้อารยธรรมกรีกโรมันก็ได้สิ้น สุดลงไปด้วย  เปิดโอกาสให้กับการพัฒนางานสถาปัตยกรรมจากขั้วความคิด ที่แตกต่างออกไป ได้ปรากฏเป็นรูปเป็นร่าง เกิดเป็นรูปแบบและยุคสมัยทาง สถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบต่างไปโดยสิ้นเชิง เมื่ อ ยุ ค ของสถาปั ต ยกรรมแห่ ง ระบบออร์ เ ดอร์ สิ้ น สุ ด ลง  ขั้ ว อ� ำ นาจของ อารยธรรมในยุโรปได้ถูกกระจายไปยังดินแดนต่าง  ๆ  อันเป็นที่อยู่อาศัยของ กลุ่มชาติพันธุ์เยอรมัน  (German  tribes)  เผ่าต่าง  ๆ  รวมไปถึงกลุ่มชน ชาวแฟรงก์ส (Franks) ทีเ่ ป็นต้นตระกูลของชาวฝรัง่ เศสด้วย ซึง่ ดินแดนเหล่านี้ เป็นดินแดนที่ศาสนาคริสต์ได้ถูกเผยแพร่จนเข้ามามีอิทธิพลต่อระบบสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง กลายเป็นปัจจัยหลักของการจัดระบบ สั ง คมยุ โ รปในยุ ค กลาง  ความเชื่ อ ในศาสนา  การเคารพบู ช าพระเจ้ า และ สัญลักษณ์ของพระองค์ ได้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนหลักประการหนึ่งในสังคม ยุคนั้น ประกอบกับที่ในช่วงยุคกลาง ความรู้ในศิลปวิทยาการต่าง ๆ ยังถูก จ�ำกัดอยู่ในแวดวงของผู้ปกครองบ้านเมืองและผู้น�ำทางศาสนาหรือพระเท่านั้น ผู้คนทั่วไปยังแทบไม่มีโอกาสเข้าถึงความรู้ทั้งปวงรวมทั้งความรู้ทางศาสนาด้วย สถาปั ต ยกรรมโดยเฉพาะอาคารทางศาสนา  จึ ง กลายเป็ น เครื่ อ งมื อ หนึ่ ง ในการสื่อสารเล่าเรื่องราวของความเชื่อและความศรัทธา  และด้วยเหตุผล ดังกล่าว การแสดงออกด้วยรูปวัตถุของอาคาร ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง ลักษณะ ของพื้นที่ภายใน พื้นผิว การประดับตกแต่ง จึงเกิดขึ้นเพื่อการรับรู้ด้วยประสาท สัมผัสต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นประเด็นส�ำคัญ ลักษณะและธรรมชาติของงาน


ระหว่างความจริงและวาทกรรม

28

สถาปัตยกรรมดังกล่าวได้ถูกพัฒนาจนถึงจุดที่ชัดเจนที่สุดในสถาปัตยกรรม กอทิ ก   ที่ อ งค์ ป ระกอบต่ า ง  ๆ  ถู ก เพิ่ ม ขยาย  ดั ด แปลง  ประดั บ ประดา เพื่อสื่อสารบอกเล่าเรื่องราวให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนเราไม่สามารถอ่าน เหตุผล  ที่มา  หรือความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบได้แจ่มชัดเหมือนกับ สถาปั ต ยกรรมในยุ ค คลาสสิ ก   งานสถาปั ต ยกรรมกอทิ ก จึ ง มี ลั ก ษณะ ที่อริสโตเติลให้ค�ำจ�ำกัดความไว้ว่าเป็นการสื่อสาร  หรือ  Rhetoric  ที่เน้น การรับรู้รูปวัตถุเป็นประเด็นส�ำคัญ  แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่างานในยุค กอทิกนั้นขาดระบบระเบียบองค์ประกอบ เพียงแต่ระบบระเบียบเหล่านั้นได้ถูก ผลั ก ให้ ก ลายเป็ น ฉากหลั ง   โดยมี รู ป วั ต ถุ ที่ สื่ อ สารกั บ การรั บ รู ้ ข องเรา เป็นฉากหน้า และในทางกลับกันงานสถาปัตยกรรมคลาสสิก ก็ไม่ได้เกิดขึ้น โดยปราศจากรูปวัตถุโดยสิ้นเชิง  เพียงแต่รูปวัตถุเหล่านั้นไม่ได้กลายเป็น เนื้อหาสาระส�ำคัญที่บดบังความสัมพันธ์ของระบบหลักทั้งปวง ดังนั้น  แม้งานสถาปัตยกรรมคลาสสิกจะประกอบไปด้วยแก่นความคิดและ รูปวัตถุ  แต่เมื่อแก่นความคิดและความหมายเป็นเนื้อหาที่เด่นชัดที่สุด  ก่อให้ เกิ ด ระบบที่ อ ่ า นความสั ม พั น ธ์ ไ ด้ เ ป็ น ล� ำ ดั บ   งานสถาปั ต ยกรรมคลาสสิ ก จึงสามารถจัดอยู่ในขั้วของงานสถาปัตยกรรมแห่งความแท้จริง หรือ Intrinsic ในขณะที่ ง านสถาปั ต ยกรรมกอทิ ก นั้ น อยู ่ ใ นขั้ ว ของงานสถาปั ต ยกรรม แห่งวาทกรรม หรือ Rhetoric แต่อย่างไรก็ตามการจ�ำแนกงานสถาปัตยกรรม ในประวัติศาสตร์ออกเป็นขั้วของความจริงและขั้วของวาทกรรมนั้นไม่ได้แปลว่า ขั้วใดมีคุณค่าหรือมีความดีงามอย่างแท้จริงมากกว่าอีกขั้วหนึ่ง  แต่การจ�ำแนก ดังกล่าวเป็นเพียงเครื่องมือที่เราจะใช้ในการท�ำความเข้าใจ  การพัฒนาการ เปลี่ ย นแปลงของงานสถาปั ต ยกรรมในยุ ค ต่ อ   ๆ  มา  จนถึ ง การเกิ ด งาน สถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นในที่สุด


29

ดังนั้น  ในบทต่อ  ๆ  ไป  ไม่ว่ามันจะถูกเรียกว่าขั้วของคลาสสิก  –  กอทิก หรือขั้วของความจริง – วาทกรรม หรือขั้วของระบบระเบียบ – รูปวัตถุ ขั้วตรงข้ามดังกล่าว  จ�ำเป็นต้องถูกพิจารณาในลักษณะของการถ่วงดุลหรือ Polarity  ระหว่ า งยุ ค สมั ย ที่ ต ่ า งกั น   ที่ ถู ก ใช้ เ ป็ น แว่ น ขยาย  เปิ ด มุ ม มอง ให้เราเข้าใจถึงที่มาทางความคิด  และการพัฒนาการทางกายภาพของงาน สถาปัตยกรรมในยุคสมัยต่าง ๆ ได้อย่างแจ่มชัด

เชิงอรรถ 1. 2. 3. 4. 5.

Plato. Symposium. Translated by R, Waterfield. Oxford: Oxford University Press, 2009, 4-77. Albert Hofstadter, ed. Philosophies of Art and Beauty, Selected Readings in Aesthetics from Plato to Heidegger. Chicago: The University of Chicago Press, 1964. Diogenes Laertius. The Lives and Opinions of Eminent Philosophers, Translated by C.D. Yonge. London: Bohn, 1853, Vol. 1, Book III. Aristotle. Poetics. Translated by S.H. Butcher. New York: Hill and Wang, 1961. Marcus Pollio Vitruvius. The Ten Books on Architecture. Translated by M. Morgan. New York: Dover Publications. 1960, 3-17.


Parthenon


Temple of Athena Nike


Colosseum


Colosseum


Pantheon


Pantheon


2 ภาพของความแท้จริง


45

โดยสถาปนิก วิศวกร และนักคิดชาวโรมัน มาร์คัส วิทรูเวียส พอลลิโอ (Marcus Vitruvius Pollio) หรือที่เรารู้จักกันในนามวิทรูเวียส ต�ำราทฤษฎี สถาปัตยกรรม The Ten Books on Architecture นี้ถูกเขียนขึ้นเป็นภาษา ละติน อุทิศให้กับจักรพรรดิออกุสตุส (Augustus) โดยเนื้อหาหลักในต�ำรา เล่มนี้มุ่งอธิบายความคิดเกี่ยวกับระบบออเดอร์ทางสถาปัตยกรรม  ผ่านกฎ เกณฑ์เกี่ยวกับสัดส่วนหรือ Proportion โดยมีเนื้อหาย่อย ๆ ที่ครอบคลุมวิถี ทางในการออกแบบและการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม วิศวกรรม ตลอดจน งานก่ อ สร้ า งในหั ว ข้ อ หลากหลาย  ตั้ ง แต่ เ ล่ ม ที่ ห นึ่ ง   ที่ ก ล่ า วถึ ง ความเป็ น สหวิทยาการของงานสถาปัตยกรรมและการศึกษาของสถาปนิก  ไปจนถึง เล่มที่สอง  ที่กล่าวถึงต้นตอและระบบของการสร้างที่อยู่อาศัย และเล่มที่สาม ที่กล่าวถึงความคิดในการสร้างวิหารที่สัมพันธ์กับสัดส่วนมนุษย์  ตลอดจน ระบบและสัดส่วนของอาคาร  จนกระทั่งเล่มที่สี่ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นหัวใจของ ต�ำราเล่มนี้ ที่กล่าวถึงระบบและสัดส่วนในงานสถาปัตยกรรม ตั้งแต่ที่มาจนถึง พัฒนาการของออร์เดอร์ทั้งหลาย  ในขณะที่เล่มที่ห้านั้นพูดถึงประเภทของ อาคารต่าง  ๆ  ในยุคนั้น  จนถึงเล่มที่หกที่กลับมาพูดถึงบ้านเรือนและระบบ ความคิดในการออกแบบ ตลอดจนความสัมพันธ์กับที่ตั้ง ส่วนเล่มที่เจ็ดนั้นพูด ถึ ง รายละเอี ย ดในการก่ อ สร้ า งและวั ส ดุ   ในขณะที่ เ ล่ ม ที่ แ ปดและเก้ า ได้ขยายความออกไปนอกเหนือจากระบบในการออกแบบก่อสร้าง โดยพูดถึง สภาพแวดล้อมการจัดการน�้ำ  ตลอดจนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง  ไม่ว่าจะเป็น การเดินทางของดวงอาทิตย์ หรือดาราศาสตร์อื่น ๆ ในขณะที่เล่มสุดท้ายนั้น พูดถึงรายละเอียดของกลไกและเครื่องจักรกลต่าง ๆ ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง กับอาคาร2 ในขณะที่วิทรูเวียสไม่ได้เขียนบทสรุปให้กับเรา และดูเหมือนว่า เนื้อหาในแต่ละบทนั้นจะค่อนข้างแยกขาดจากกัน แต่เมื่อพิจารณาในภาพรวม แล้วจะเห็นว่าเนื้อหาในทุก  ๆ  บทจะเป็นการพยายามอธิบายความสัมพันธ์


3 การรู้แจ้ง


ฟิลิปโป  บรูเนลเลสกี  (Filippo  Brunelleschi)  สถาปนิกเรอเนซองซ์ผู้มาก ความสามารถนั้น นอกจากจะมีชื่อเสียงด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม ยังเป็น ที่รู้จักกันในนามของนักแกล้งและสร้างกลลวงตัวฉกาจ  ที่มักจะคิดค้นเรื่อง และวิธกี ารแกล้งคนอย่างประหลาดเสมอ  ๆ  กลลวงครัง้ หนึง่ ทีบ่ รูเนลเลสกีคดิ ค้น ขึ้นมาในปี  ค.ศ.1409  นั้น  ซับซ้อนซ่อนเงื่อนและเป็นขบวนการแกล้งคน ทีโ่ ด่งดังทีส่ ดุ ในยุคนัน้ โดยเหยือ่ ของการแกล้งครัง้ นีช้ อื่ ว่า มาเนตโต (Manetto) ช่างไม้ฝมี อื ดีผมู้ รี า้ นอยูไ่ ม่ไกลจากบ้านของบรูเนลเลสกี ซึง่ เกิดเคราะห์รา้ ยท�ำให้ บรูเนลเลสกีไม่พอใจขึ้นมาในวงสังสรรค์  บรูเนลเลสกีจึงวางแผนร่วมกับผู้คน จ�ำนวนมาก เพื่อจะสร้างเหตุการณ์หลอกมาเนตโตว่า เขาได้กลายสภาพเป็น บุคคลอีกคนหนึง่ ทีม่ ชี อื่ เสียงในฟลอเรนซ์เช่นกัน นามว่า มัตเทโอ (Matteo) โดยวันหนึ่งมาเนตโตกลับบ้านหลังเลิกงานตามปกติ  แต่เขาพบว่าไม่สามารถ เข้าบ้านตัวเองได้  พร้อมทั้งมีเสียงไล่  ขณะที่เขาก�ำลังงงงวย  ก็มีคนทักเขา ในนามมัตเทโอ  พร้อมทั้งเรียกคนมาจับเขาไปยังสถานีต�ำรวจ  ด้วยเหตุที่ เขาเล่นการพนันแพ้แล้วไม่ยอมจ่ายหนี้สินนั้น  หลังจากที่มาเนตโตงงงวย อยู่ในคุก  น้องชายของมัตเทโอก็มาประกันตัว  และพาเขากลับบ้าน  ซึ่งก็ แน่นอนว่าเป็นบ้านของ มัตเทโอ ไม่ใช่บ้านของเขา ทุกคนในบ้านปฏิบัติดังว่า เขาคือ มัตเทโอ จนมาเนตโตเองก็เกือบจะเชื่อแล้วว่าเขาได้กลายเป็นมัตเทโอ ไปจริ ง   ๆ  จนกระทั่ ง คื น นั้ น   บรู เ นลเลสกี ไ ด้ ผ สมยานอนหลั บ ให้ เ ขากิ น จนหลับใหลไม่ได้สติ  และก็พากันแบกหามเขากลับไปยังบ้านของมาเนตโต วางร่างของเขาบนเตียง  กลับหัวกลับหาง  เมื่อตื่นขึ้นมา  มาเนตโตก็ต้อง ประหลาดใจอี ก ครั้ ง กั บ ต� ำ แหน่ ง การนอนอั น ผิ ด ปกติ   และข้ า วของในบ้ า น ที่ ถู ก จั ด วางเสี ย ใหม่ ผิ ด แปลกไปจากเดิ ม   และก็ ต ้ อ งงงงวยมากยิ่ ง ขึ้ น เมื่อน้องชายของมัตเทโอที่เมื่อวานได้ประกันตัวเขาออกจากคุก ได้แวะมาเยี่ยม และทักทายเขาเป็นมาเนตโต  แตกต่างจากเมื่อวานโดยสิ้นเชิง  พร้อมเล่า


San Carlo alle Quattro Fontane, Francesco Borromini


San Carlo alle Quattro Fontane, Francesco Borromini


4 องค์ประกอบสถาปัตยกรรม ในศตวรรษที่สิบเก้า


ในต�ำนานกรีกโบราณ โฮเมอร์ (Homer) กวีผู้โด่งดังได้กล่าวถึงช่างและศิลปิน ผู้มากความสามารถชื่อว่า เดดาลัส (Daedalus หรือในภาษากรีกโบราณ Δαίδαλος) โดยโฮเมอร์เล่าให้เราฟังว่า เดดาลัสนัน ้ เป็นผูส้ ร้างเขาวงกตแห่งครีต (Labyrinth  on  Crete)  ซึ่งเป็นที่กักขังสัตว์ประหลาดครึ่งคนครึ่งวัวชื่อว่า มิโนทอร์ (Minotaur) เดดาลัสเป็นช่างผู้ชาญฉลาดและมีฝีมือ จนเรียกได้ว่า มีอ�ำนาจเหนือสสารและวัสดุทั้งมวลในโลก  สามารถบันดาลสร้างสรรพสิ่ง ได้ดั่งใจ  แต่ในขณะที่เดดาลัสเป็นช่างผู้สร้างเขาวงกตที่ไม่มีใครสามารถหลุด พ้นออกมาได้นั้น  กษัตริย์แห่งครีตก็เกรงว่าความรู้เกี่ยวกับเขาวงกตอันเป็น ความลับนั้นจะรั่วไหล จึงได้สั่งให้ขังเดดาลัสและลูกชายชื่อ อิคารัส (Icarus) ไว้บนหอคอยที่มีการป้องกันเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด  เมื่อเดดาลัสตระหนัก ว่ า ตนเองและลู ก ชายไม่ ส ามารถหนี อ อกมาได้ ทั้ ง ทางบกและทางน�้ ำ ที่ถูกเฝ้าระวังตลอดเวลา  เดดาลัสจึงคิดจะสร้างปีกให้กับตนเองและลูกชาย ด้วยขนนกหลากหลายขนาดที่ถูกผูกเข้ากันด้วยเชือกและเชื่อมด้วยขี้ผึ้งจนมี รูปลักษณะโค้งมนและเบาบางเยี่ยงปีกนก  ด้วยความสามารถของเดดาลัส ปี ก ที่ เ ขาสร้ า งขึ้ น นั้ น สามารถท� ำ ให้ เ ขาและลู ก ชายสามารถฝึ ก บิ น ได้ อ ย่ า ง ง่ายดาย  ก่อนที่จะบินหนีออกจากหอคอย  เดดาลัสได้เตือนลูกชายไม่ให้ บินสูงเกินไป  เพราะความร้อนจากดวงอาทิตย์จะท�ำให้ขี้ผึ้งละลาย หรือไม่ให้ บินต�่ำเกินไป  ด้วยคลื่นทะเลจะเปียกขนนก  ทั้งสองได้บินผ่านเมืองต่าง  ๆ อย่างง่ายดาย จนกระทั่งอิคารัสนั้นลืมตัว เริ่มบินสูงขึ้นเรื่อย ๆ สู่ดวงอาทิตย์ จนในที่ สุ ด รั ง สี แ ผดกล้ า และความร้ อ นของดวงอาทิ ต ย์ ก็ ท� ำ ให้ ขี้ ผึ้ ง ละลาย จนปี ก นั้ น พั ง ทลาย  ท� ำ ให้ อิ ค ารั ส หล่ น ร่ ว งลงสู ่ พื้ น ทะเลและจมน�้ ำ ตาย ในที่สุด  ส่งผลให้เดดาลัสผู้เป็นพ่อเศร้าโศกเสียใจที่ผลงานสร้างสรรค์ของตน ไม่ ส ามารถท� ำ งานได้ ดั่ ง ปี ก ที่ แ ท้ จ ริ ง ของนก  ท� ำ ให้ ลู ก รั ก ต้ อ งจบชี วิ ต ลง จนในที่สุดเทพอธีนา  (Athena)  สงสารและเห็นใจเดดาลัส  จึงได้มอบปีก ที่แท้จริงให้กับเดดาลัส เพื่อให้เขาสามารถบินได้ดั่งเทพ1


5 สมัยใหม่


ในบทสนทนาชื่อรีพับลิก  ปราชญ์เพลโตเล่าให้เราฟังถึงการโต้ตอบระหว่าง โซคราตีส และกลอคอน (Glaucon) ซึง่ โซคราตีสได้พดู ถึงเรือ่ งราวของมนุษย์ถำ�้ กลุ่มหนึ่ง1 เรื่องมีอยู่ว่า มีมนุษย์กลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ในถ�้ำ  โดยถูกพันธนาการจองจ�ำด้วยโซ่ตรวนยึด กับผนังถ�้ำ หันหลังให้ปากถ�้ำ หันหน้าเข้าผนังอันว่างเปล่า และใช้ชีวิตเช่นนั้น มาโดยตลอด  ผู้คนเหล่านี้มีชีวิตอยู่กับการเฝ้ามองเงาที่ตกกระทบบนผนังถ�้ำ อันเป็นเงาของผูค้ น สิง่ ของ และเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ภายนอกถ�ำ้ พาดผ่านกองไฟ ที่จุดอยู่ด้านหลังพวกเขา มนุษย์ถ�้ำจึงให้ชื่อเรียกเงาต่าง ๆ เหล่านั้น เพราะ ส�ำหรับผู้คนกลุ่มนี้ เงาที่ตกกระทบบนผนังถ�้ำคือโลกของ “ความจริง” และ ด้วยเหตุที่พวกเขาไม่รู้จักชีวิตในโลกภายนอกใด ๆ ที่ดีกว่านั้น พวกเขาจึงไม่มี แม้ความต้องการที่จะหลุดพ้นเป็นอิสระ โซคราตีสอธิบายต่อมาว่า บุคคลผูเ้ ป็นปราชญ์นน้ั เปรียบได้ดงั่ นักโทษทีห่ ลุดพ้น จากการจองจ�ำ และสามารถเข้าใจได้ในทีส่ ดุ ว่าเงาบนผนังถ�ำ้ นัน้ ไม่ใช่ความจริง แต่เป็นเพียงภาพเสมือนหรือวาทกรรมที่ถูกสร้างขึ้นเท่านั้น วันหนึ่ง เมื่อเหล่า มนุษย์ถ�้ำพ้นจากโซ่ตรวนที่จองจ�ำ พวกเขาจะค้นพบว่า “ความจริง” ที่เขารับรู้ อยู่ทุกวันนั้น  หาได้เป็นอย่างที่คิดไม่  พวกเขาจะค้นพบดวงอาทิตย์และโลก ภายนอกที่พวกเขาไม่เคยรู้จักและไม่เข้าใจ  สุดท้ายแล้ว  โซคราตีสกล่าวว่า ธรรมชาติของมนุษย์กเ็ ปรียบได้ดงั่ กองไฟทีส่ าดแสงมายังผนังถ�ำ  ้ เพราะธรรมชาติ ของมนุษย์นั้นถูกผูกอยู่กับสิ่งที่เราสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งเราเข้าใจว่ามันคือความจริง  เรื่องราวของมนุษย์ถ�้ำที่เพลโตเล่าให้เราฟัง จึงก่อให้เกิดค�ำถามเกีย่ วกับความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ การเรียนรู้ และความ เข้าใจสรรพสิ่งของมนุษย์  ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างแก่นของความจริง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.