สถาปัตยกรรมและวิทยาศาสตร์

Page 1

60-09-034_cover New25-09=3C _P COATED SATAPAT-edit.pdf 1 27/9/2560 10:28:42

+1MM

14.5MM

+1MM

C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K

60-09-034_cover-NEW25-09_P COATED SATAPAT.ai



สันติรักษ์ ประเสริฐสุข

Architecture and Science: A Reflection of Nature and Universe

สถาปัตยกรรม และวิทยาศาสตร์: ภาพสะท้อน ของธรรมชาติ และจักรวาล


Contents สารบัญ

22 บทนำ� Architecture and Science สถาปัตยกรรมและวิทยาศาสตร์

52 บทที่ 1 Classical Science and Simplicity วิทยาศาสตร์แบบคลาสสิก และความเรียบง่าย วิทยาศาสตร์แบบคลาสสิก >> 54 โลกทัศน์แบบจักรกล >> 58 สถาปัตยกรรมแห่งความเรียบง่าย >> 65


88 บทที ่ 2 New Science and Complexity วิทยาศาสตร์แบบใหม่ และความซับซ้อน ทฤษฎีสัมพัทธภาพและ ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ >> 92 วิทยาศาสตร์แห่งความซับซ้อน >> 103 ทฤษฎีไร้ระเบียบ >> 106 เรขาคณิตใหม่แห่งความซับซ้อน >> 110 เรขาคณิตเศษส่วน และความคล้ายตนเอง >> 114 สถาปัตยกรรมแห่งความซับซ้อน >> 122 โฟลด์ และสถาปัตยกรรมแบบโฟลด์ >> 126 เรือนร่างใหม่ และสถาปัตยกรรมบล็อบ >> 141 สถาปัตยกรรมแห่งเรขาคณิตใหม่ >> 153


170 บทที่ 3 Architecture in Digital World สถาปัตยกรรมในโลกดิจิทัล สถาปัตยกรรมเสมือน ในไซเบอร์สเปซ >> 172 สถาปัตยกรรมแห่งอนาคต >> 180

190 Bibliography บรรณานุกรม


194 Figure Credits ที่มาของรูป

198 Author’s Biography ประวัติผู้เขียน


ค�ำนิยม: ดวงฤทธิ์ บุนนาค


เมื่อหลายสิบปีก่อน ครั้งเมื่อผมเรียนจบจาก Architectural Association School of Architecture (AA) ในลอนดอนมาได้อย่างสดร้อน ผมพยายาม เป็ น อย่ า งมากที่ จ ะท� ำ ให้ ค นรอบข้ า งมองเห็ น ปรากฏการณ์ การเปลี่ ย นแปลงทางสถาปั ต ยกรรมอั น ยิ่ ง ใหญ่ ที่ เ ชื่ อ มโยง สถาปัตยกรรมเข้ากับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ (Post-Newtonian Paradigm) ในวิธีที่จะพาสถาปัตยกรรมไปสู่ยุคใหม่ โดยก้าวข้าม ปรัชญาคร�่ำครึอย่าง Post-Modernism หรือ Deconstruction ที่ได้รับความนิยมอยู่อย่างฉาบฉวยในช่วงเวลานั้น ในระหว่างทีผ่ มยังศึกษาอยูท่ ี่ AA นัน้ ผมเต็มไปด้วยความหมกมุน่ ในการเชือ่ มโยงการออกแบบทางสถาปัตยกรรมเข้ากับวิทยาศาสตร์ สมั ย ใหม่ อย่ า งที่ เ รี ย กได้ ว ่ า คลั่ ง ผมหลงใหลไปกั บ ค้ น คว้ า ปรากฏการณ์ใหม่ของ Chaos Theory และ Complexity และเขียน บทความมากมายเกี่ยวกับการค้นพบนั้น และได้น�ำวิทยาศาสตร์ สมัยใหม่เข้ามาผนวกรวมกับกระบวนวิธีการออกแบบ (Design Methodology) แบบ Grafting จนประสบความส�ำเร็จในการ สร้ า งรู ป ทรงใหม่ (New Form) และน� ำ มาใช้ กั บ โครงการ วิทยานิพนธ์ (Diploma Project) ของผมในการจบการศึกษา ในระดับ Graduate Diploma จากที่ AA และหลังจากนั้นผมยังได้ น�ำเสนอการเชื่อมโยงนี้ในการบรรยายผมหลายครั้งในช่วงระหว่าง ปี 1996-2006 ได้ท�ำการทดลองแนวคิดนี้ในทางสถาปัตยกรรม หลายครัง้ เพือ่ การประกวดแบบและโครงการจริงอีกหลายโครงการ แม้ว่าโครงการเหล่านั้นจะไม่ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยข้อจ�ำกัดทางการ ก่อสร้างในขณะนั้น ผมและทีมสถาปนิกที่ DBALP (Duangrit Bunnag Architect Limited) ก็ยังพัฒนาแนวคิดนี้และปรับปรุง กระบวนวิธีในการออกแบบสมัยใหม่ ที่มีพื้นฐานมาจากการเชื่อม โยงสถาปัตยกรรมเข้ากับวิทยาศาสตร์เป็นส�ำคัญ จนมาถึงใน ทุกวันนี้ 13


วิ ท ยาศาสตร์ ส มั ย ใหม่ จึ ง เป็ น รากฐานที่ ส� ำ คั ญ ในการพั ฒ นา กระบวนวิธกี ารออกแบบในวิธกี ารออกแบบของผม ทีใ่ ช้สอนน้อง ๆ ในทีมมาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา โดยท�ำให้การออกแบบมีผลลัพธ์ ทางรูปทรงและ diagram ทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ ให้ผลลัพธ์ ทีร่ วดเร็ว และกลายมาเป็นวิธกี ารสร้างงานในบริบทของปรัชญาแนว คิดแบบภววิทยา (Ontology) ของผมในปัจจุบัน จึงไม่ต้องบอกว่า ผมยินดีเพียงใดทีม่ ผี รู้ วบรวมเอาสิง่ ทีผ่ มหมกมุน่ และสนใจมาตลอด 20 ปีมาไว้ในหนังสือภาษาไทยที่อ่านสะดวกรวดเร็วในเล่มเดียว และมันส�ำคัญมากที่ไม่ว่าคุณจะสนใจเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ และสถาปัตยกรรมหรือไม่ หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มเดียวที่คุณต้อง อ่านเพื่อให้คุณมีที่ยืนในพื้นฐานของบริบททางด้านการออกแบบ ทางสถาปัตยกรรมในอีก 20 ปีต่อจากนี้ไป ดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิก

14


15


ค�ำนิยม: ผศ.ดร. รชพร ชูช่วย


สถาปัตยกรรมอันเป็นศาสตร์ที่รวมเอาความต้องการของมนุษย์ แทบจะทุกด้าน เป็นศาสตร์ทสี่ มั พันธ์ไปกับศาสตร์ตา่ ง ๆ หลากหลาย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าเป็นเรื่องความเชื่อ ไสยศาสตร์ ศิลปะ ศาสนา เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง เป็นที่แน่นอนว่า วิ ท ยาศาสตร์ อั น เป็ น ศาสตร์ ข องโลกสมั ย ใหม่ จึ ง เกี่ ย วพั น กับสถาปัตยกรรมอย่างแนบชิดสนิทสนม อาจารย์สันติรักษ์ มีความพยายามทีจ่ ะอธิบายเรือ่ งยาก ๆ ในศาสตร์ตา่ ง ๆ ทีเ่ ชือ่ มโยง กันแบบซับซ้อนพัวพัน ให้เข้าใจง่าย สละสลวย การอธิบาย ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งสถาปั ต ยกรรมและวิ ท ยาศาสตร์ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ขั้นสูงที่มากกว่าการเรียนในมัธยมปลาย ในหนังสือของอาจารย์สันติรักษ์เล่มนี้ ถือได้ว่าเป็นคู่มือส�ำคัญ ที่จะให้ความรู้พื้นฐานของพัฒนาการของวิทยาศาสตร์ และช่วย ให้เข้าใจสถาปัตยกรรมร่วมสมัยในแนวทางที่ใช้วิทยาศาสตร์เป็น แหล่งอ้างอิงในการสร้างระบบและอรูปทรงที่กลายมาเป็นพื้นที่ ที่เราอยู่อาศัยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

ผศ.ดร. รชพร ชูช่วย ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

17


Preface

คำ�นำ�


ในศตวรรษทีเ่ พิง่ ผ่านพ้น การเปลีย่ นแปลงกระบวนทัศน์หรือทัศนะ แม่บททางวิทยาศาสตร์ (Science) ได้สง่ ผลกระทบต่อแบบแผนการ ด�ำรงชีวิตของมนุษย์และโครงสร้างของสังคมตะวันตกในแทบทุก ระดับชั้น ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้โดยตรง จากผัสสะหรือประสบการณ์ที่มีต่อโลกแวดล้อมรอบตัว และจาก องค์ความรู้แบบใหม่ที่ถูกพัฒนาในศาสตร์หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ ชีววิทยา แพทยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์นี้เป็นการปฏิวัติองค์ความรู้หรือ “ปัญญา” ครั้งส�ำคัญในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ จากความรู้ ทางวิทยาศาสตร์แบบคลาสสิกซึ่งเคยครอบง�ำและก�ำหนดวิถีชีวิต ของมนุษย์มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ภายใต้กรอบความคิด แบบแยกส่วนและลดทอน เสมือนธรรมชาติและจักรวาลเป็นดั่ง เครื่องจักรที่ประกอบด้วยฟันเฟืองย่อยจ�ำนวนมาก เปลี่ยนไปสู่ กรอบความคิดแบบองค์รวมอันเกิดจาก “วิทยาศาสตร์แบบใหม่” (New Science) ซึง่ เป็นความรูใ้ หม่ทสี่ งั่ สมรวมตัวจากสายธารเล็ก ๆ แห่งความรูท้ างวิทยาศาสตร์ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จนก่อเกิด เป็นสายธารกระแสใหญ่ที่หล่อเลี้ยงสังคมและปัญญาของมนุษย์ สถาปัตยกรรม (Architecture) เป็นงานสรรค์สร้างที่ไม่ได้ก�ำเนิด จากอากาศธาตุหรือความว่างเปล่า แต่เป็นผลผลิตขององค์ความรู้ และปัญญาของมนุษย์ในสังคมแต่ละช่วงสมัยเช่นเดียวกับงานศิลปะ แขนงอื่น ๆ โดยมีคณิตศาสตร์และเรขาคณิตเป็นเสมือนเครื่องมือ ชิ้นส�ำคัญ ประวัติศาสตร์ของสถาปัตยกรรมตะวันตกได้แสดงให้ เห็นอย่างชัดเจนว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงแนวคิด ทฤษฎี กระบวนการ และรูปแบบโดยตลอด เคียงคู่กับการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมและวัฒนธรรม ผลงานเขียนเล่มนีไ้ ด้รวบรวมสาระส�ำคัญของทฤษฎีสถาปัตยกรรม ตะวันตก โดยใช้ “วิทยาศาสตร์” เป็นแว่นตาในการมองและอธิบาย 19


พัฒนาการของสถาปัตยกรรมตะวันตกตามล�ำดับเวลา เพือ่ ค้นหาทัง้ ความต่อเนือ่ งและความแตกต่างในประเด็นของความคิดสร้างสรรค์ (creative thinking) และรูปแบบศึกษา (typology) เป็นส�ำคัญ และปราศจากการกล่ า วถึ ง ผลกระทบจากวิ ท ยาศาสตร์ ที่ มี ต ่ อ สถาปัตยกรรมในมิตทิ างวิศวกรรม อาทิเช่น เทคโนโลยีอาคาร การ ก่อสร้าง วัสดุศาสตร์ เป็นต้น เนือ่ งจากมีผลงานวิชาการในแนวทางนี้ เป็นจ�ำนวนมากอยูแ่ ล้ว โดยเริม่ ต้นศึกษาตัง้ แต่อดีตกาลทีม่ นุษย์เริม่ เกิดความสงสัยในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ผ่านสูส่ มัยคลาสสิก โบราณอันเป็นต้นก�ำเนิดของการอธิบายธรรมชาติและโครงสร้าง ของจักรวาลด้วยคณิตศาสตร์และเรขาคณิตอย่างเป็นแบบแผนที่ เรียกว่า “ระบบเรขาคณิตแบบยูคลิด” (Euclidean Geometry) ซึ่งได้กลายเป็นรากฐานให้กับวิทยาศาสตร์แบบธรรมชาติที่ก่อตัว ขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 และพัฒนาต่อเนื่องมาจนเกิดเป็น วิทยาศาสตร์แบบคลาสสิกในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และวิทยาศาสตร์ แบบใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามล�ำดับ รู ป แบบของสถาปั ต ยกรรมที่ เ กิ ด ขึ้ น จากกระบวนทั ศ น์ ท าง วิทยาศาสตร์แบบใหม่ ภายใต้แรงสนับสนุนจากนวัตกรรมทาง คอมพิวเตอร์ แม้วา่ จะก่อให้เกิดความเคลือ่ นไหวในวงการออกแบบ และวงการศึกษาอย่างต่อเนือ่ งกว่าสองทศวรรษ และยังไม่มที ที า่ ว่า จะสิน้ สุดลง แต่ยอ่ มตามมาด้วยข้อถกเถียงและข้อวิพากษ์มากมาย เช่นเดียวกับทุกครัง้ ทีเ่ กิดแนวทางหรือรูปแบบใหม่ขนึ้ อย่างไรก็ตาม สถาปนิกและนักออกแบบคงไม่อาจปฏิเสธได้อีกต่อไปว่า กระแส ธารที่น�ำพาไปสู่พรมแดนใหม่ทางความคิดสร้างสรรค์ได้ถือก�ำเนิด ขึ้นอีกสายหนึ่งแล้ว สันติรักษ์ ประเสริฐสุข คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 20


21


บทนำ�

Architecture and Science

สถาปัตยกรรม และวิทยาศาสตร์


“สถาปั ต ยกรรม” มี ค วามสั ม พั น ธ์ เ ชื่ อ มโยงกั บ ความรู ้ ท าง “วิ ท ยาศาสตร์ ” ของมนุ ษ ย์ นั บ ตั้ ง แต่ อ ดี ต กาลที่ เ ริ่ ม ปรากฏสิ่ ง ก่อสร้างรูปแบบต่าง ๆ ขึ้นบนโลก โดยที่วิทยาศาสตร์มีสถานะ เปรียบได้กับแอ่งน�้ำขนาดใหญ่ที่รวบรวม “ความรู้” (knowledge) หรือ “ปัญญา” (wisdom) ของมนุษย์ ซึ่งสถาปนิก ศิลปิน หรือ นักออกแบบสามารถน�ำไปใช้เป็นฐานในการสร้างแนวคิดหรือ มโนทัศน์ (concept) ของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแขนง ต่าง ๆ ทั้งวิทยาศาสตร์และสถาปัตยกรรมต่างอาศัยพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ (Mathematics) และเรขาคณิต (Geometry) เป็น ฐานหลักเช่นเดียวกัน ในอดี ต กาลที่ อ ารยธรรมของมนุ ษ ย์ เ พิ่ ง เริ่ ม ต้ น ขึ้ น ภู มิ ค วามรู ้ โบราณในระยะแรกได้ช่วยให้มนุษย์สมัยนั้นสามารถไขความลี้ลับ ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น และช่วยสร้างความเข้าใจต่อโลกแวดล้อม ที่มนุษย์ด�ำรงอยู่ได้ในระดับหนึ่ง เช่น ปรากฏการณ์ของกลางวัน กลางคืน ฟ้าผ่า ฝนตก สุริยคราส จันทรคราส เป็นต้น ปริศนา จากปรากฏการณ์ธรรมชาติเหล่านี้ได้น�ำมนุษย์ไปสู่การสถาปนา รูปแบบของความเชื่อที่เรียกว่า “วิญญาณนิยม” (Animism) ขึ้น ซึง่ เชือ่ ว่าปรากฏการณ์ทงั้ หลายในธรรมชาติลว้ นเป็นผลจากอิทธิพล ของ “วิญญาณ” ของสิ่งมีชีวิต ทั้งจากวิญญาณของมนุษย์ด้วย กันและวิญญาณของสัตว์ที่ตายไปแล้ว รูปแบบความเชื่อในเรื่อง วิญญาณนิยมนี้ได้กลายเป็น “ทฤษฎี” (theory)1 หรือสกุลความ คิดแรก ๆ ของมนุษย์ที่พยายามอธิบายความจริงแท้ของธรรมชาติ และน�ำไปสู่พิธีกรรมและการสร้างสรรค์สิ่งของ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับแนวคิดในเรื่องชีวิตหลังความตายหรือวิญญาณซึ่งค้น พบในหลาย ๆ อารยธรรมโบราณ หลั ง จากสกุ ล ความคิ ด แบบวิ ญ ญาณนิ ย มก� ำ เนิ ด ขึ้ น ได้ ชั่ ว ระยะ มนุษย์สมัยโบราณได้สร้างรูปแบบความรู้และความเชื่อแบบใหม่ ตามมา โดยเริม่ จากการสร้างเรือ่ งราวหรือต�ำนานของเทพ (divinity)


ที่ศักดิ์สิทธิ์ขึ้น ภายใต้ความเชื่อที่ว่า เทพต่าง ๆ ที่อยู่เหนือมนุษย์ เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ในธรรมชาติ เช่น เทพแห่งแสง สว่าง เทพแห่งไฟ เทพแห่งลม เป็นต้น ความเชื่อในเรื่องเทพที่มี อ�ำนาจศักดิ์สิทธิ์ในการบันดาลให้เกิดสิ่งต่าง ๆ นี้ได้กลายเป็นสกุล ความคิดที่เรียกว่า “เทวนิยม” (Theology) และกลายเป็นพลังขับ เคลื่อนอารยธรรมของมนุษย์ให้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย เช่น เริ่มมีการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน สังคม และเริ่มเกิดประเพณี ต่าง ๆ และการสร้างสรรค์ศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบูชาหรือ บวงสรวงเทพเจ้า เป็นต้น เมื่ออารยธรรมโบราณได้เริ่มก่อรูปขึ้นอย่างชัดเจน มนุษย์จึงเริ่ม พัฒนาความรู้เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นระบบ มากยิ่งขึ้น เช่น ในอารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ซึ่ง ตัง้ อยูบ่ ริเวณทีร่ าบลุม่ แม่นำ�้ ไทกริสและยูเฟรติส ชาวเมโสโปเตเมีย ได้เริ่มพัฒนาระบบความรู้แบบ “ดาราศาสตร์” (Astronomy) ขึ้น เป็นครั้งแรก โดยเริ่มมีการจดบันทึกการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ต่าง ๆ บนท้องฟ้าไว้เป็นรูปธรรมเพื่อศึกษา อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ อารยธรรมมายา (Maya) ซึง่ อยูใ่ นทวีปอเมริกาใต้เมือ่ สามถึงสีพ่ นั ปี ที่แล้ว ได้พัฒนาระบบของ “ตัวเลข” (number) ขึ้น และเริ่มคิด ระบบปฏิทินเพื่อนับวันเวลา โดยสอดคล้องกับระบบดาราศาสตร์ ที่มีความแม่นย�ำสูง สิ่งก่อสร้างมากมายของอารยธรรมมายา ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับพิธีกรรมที่ส�ำคัญ และสอดคล้องกับ ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ในสมัยนั้น เช่น การหันทิศของ อาคารหรือบัลลังก์ของกษัตริย์ไปสู่ต�ำแหน่งที่สามารถสังเกตเห็น ปรากฏการณ์ส�ำคัญทางดาราศาสตร์ได้อย่างชัดเจน เป็นต้น ในอารยธรรมอียิปต์ (Egypt) ซึ่งตั้งอยู่ในลุ่มแม่น�้ำไนล์ ชาวอียิปต์ ได้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ไว้มากมาย ภายใต้ความเชื่อแบบเทวนิยม ผนวกกับแนวคิดเรื่องชีวิตหลังความตาย อียิปต์ได้พัฒนาระบบ ปฏิทนิ ทีใ่ กล้เคียงกับระบบปฏิทนิ ปัจจุบนั คือ 1 ปีมี 360 วันหรือ 12 24


บทนำ�: สถาปัตยกรรมและวิทยาศาสตร์

เดือน และที่ส�ำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ อียิปต์เป็นชนชาติแรกที่คิดค้น ระบบเรขาคณิตขึน้ โดยมีวตั ถุประสงค์แรกเริม่ เพือ่ เป็นเครือ่ งมือใน การค�ำนวณส�ำหรับจัดสรรพืน้ ทีด่ นิ เพือ่ เพาะปลูกพืชให้กบั ประชาชน และเพื่อใช้ในการค�ำนวณภาษีตามขนาดพื้นที่ดิน ระบบเรขาคณิต ซึ่งจัดเป็นคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งได้ส่งผลอย่างยิ่งใหญ่ต่อวิถีชีวิต ของชาวอียิปต์ และส่งผลต่อพื้นฐานการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม และศิลปกรรมแบบอียปิ ต์ ซึง่ วางอยูบ่ นรากฐานของระบบเรขาคณิต แบบบริสุทธิ์ เช่น รูปทรงเรขาคณิตของพีระมิด เป็นต้น (รูปที่ 1) ในอารยธรรมกรี ก (Greek) ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น ช่ ว งระหว่ า ง 400 ถึง 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ประกอบด้ ว ยหมู ่ เ กาะจ� ำ นวน มาก เมืองเอเธนส์ (Athens) ซึ่งมีสถานะเป็นนคร-รัฐ (citystate) มีบทบาทส�ำคัญในการ รูปที่ 1 รูปทรงเรขาคณิตของพีระมิดอียิปต์ เป็ น ศู น ย์ ก ลางของวั ฒ นธรรม กรีก ชาวกรีกเป็นชนชาติแรกที่พยายามท�ำความเข้าใจกับโลก แวดล้อมที่อาศัยอยู่หรือธรรมชาติ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ เป็นตรรกะ โดยมีเป้าหมายเพื่อค้นหา “ความจริงแท้” (truth) ของ สรรพสิ่งทั้งหลายในธรรมชาติ ซึ่งชาวกรีกเรียกว่า “ไฟซิส” (Physis)2 ด้วยเหตุนนี้ กั คิดหรือนักปรัชญากรีกในยุคแรกจึงถูกเรียกขาน ว่า “นักปรัชญาธรรมชาติ” (Natural Philosopher) ธาเลส (Thales) เป็นนักปรัชญาธรรมชาติคนแรกของกรีกที่ พยายามอธิบายโลกของธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลาด้วยระบบเหตุและผล เขาเชื่อว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งหลายไม่ได้เป็นผลมาจากสิ่งลึกลับเหนือธรรมชาติเหมือนกับที่ ชาวอียิปต์เชื่อในเรื่องเทพแต่อย่างใด แต่เป็นผลจาก “เหตุ” ทาง ธรรมชาติซึ่งต้องใช้กระบวนการสังเกตจึงจะรับรู้เหตุนั้นได้ ธาเลส 25


ความส�ำคัญกับมโนทัศน์ของจักรวาลทีม่ พี ระเจ้าเป็นศูนย์กลางตาม แบบอย่างของสมัยกลาง แนวคิ ด มนุ ษ ยนิ ย มยกย่ อ ง บทบาทของมนุษย์ในฐานะเป็น ผู้รับมอบ “พรสวรรค์” โดยตรง จากพระเจ้า และเชือ่ ว่า “มนุษย์ เป็นศูนย์กลางของทุกสรรพสิ่ง” ซึ่ ง แนวคิ ด นี้ ล ้ ม ล้ า งความเชื่ อ ในสมั ย กลางที่ ว ่ า พระเจ้ า เป็ น ผู ้ ส ร้ า งทุ ก สรรพสิ่ ง ดั ง นั้ น สมั ย ฟื ้ น ฟู ศิ ล ปวิ ท ยาการจึ ง ไม่เพียงแต่ให้ความศรัทธาต่อ งานสร้ า งสรรค์ ข องคลาสสิ ก โบราณ แต่ยงั ให้ความส�ำคัญต่อ ร่างกายมนุษย์ในเชิงกายวิภาค (Anatomy) ท�ำให้เกิดการริเริ่ม ผ่าตัดเพื่อศึกษาร่างกายมนุษย์ รูปที่ 7 ภาพวาด “Vitruvian Man” ของ ลีโอ โด ดาวินชิ แสดงสัดส่วนของร่างกายมนุษย์ จนเกิดเป็นงานเขียนจ�ำนวนมาก นาร์ ่ อดคล้องกับรูปร่างทางเรขาคณิต คือ เพศชายทีส และเกิดการศึกษาสัดส่วนของ วงกลมและสี่เหลี่ยมจัตุรัส ร่ า งกายมนุ ษ ย์ ที่ สั ม พั น ธ์ กั บ คณิตศาสตร์และรูปทรงเรขาคณิตสมบูรณ์ที่เรียกว่า “มานุษยประมาณนิยม” (Anthropocentrism) ตัวอย่างที่โดดเด่นได้แก่ ภาพวาด “Vitruvian Man” ของศิลปิน ลีโอนาร์โด ดาวินชิ (Leonardo Da Vinci)13 ซึ่งเป็นภาพของร่างกายมนุษย์เพศชาย ในท่วงท่าที่กางแขนทั้งสองข้างออก และมีรูปเรขาคณิตของวงกลม และสี่เหลี่ยมจัตุรัสวางซ้อนทับบนร่างกาย ภาพวาดนี้แสดงถึง ความงามของเรือนร่างมนุษย์ที่เป็นคนธรรมดาสามัญที่สัมพันธ์กับ สัดส่วนทางคณิตศาสตร์เชิงอุดมคติ (รูปที่ 7) 40


บทนำ�: สถาปัตยกรรมและวิทยาศาสตร์

นอกจากสกุลความคิดแบบมนุษยนิยมแล้ว ในสมัยฟืน้ ฟูศลิ ปวิทยาการได้เกิดการปฏิวตั คิ วามรูท้ างดาราศาสตร์ครัง้ ยิง่ ใหญ่ โดยเริม่ ต้น จาก นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (Nikolaus Copernicus) ชาวโปแลนด์ เป็นผู้ประกาศว่า โลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามที่สังคม ตะวันตกรับรู้มาตั้งแต่สมัยของ อาริสโตเติล แต่โลกเป็นเพียง ส่ ว นหนึ่ ง ของระบบสุ ริ ย ะที่ มี ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และ มีดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ เรียง ตัวและโคจรเป็นวงกลมซ้อนกัน ตามล�ำดับ (รูปที่ 8) นอกจากนี้ โคเปอร์นิคัสได้เสนอทฤษฎีที่ว่า ด้วยโลกกลมขึ้นมาแทนความ เชื่อเดิมที่ว่าโลกมีสัณฐานแบน เหมือนจานหรือเหรียญ โดยใช้ การสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น จนน� ำ ไปสู ่ ข ้ อ สรุ ป รูปที่ 8 แผนภาพแสดงระบบสุริยจักรวาลโดย อย่ า งไรก็ ต าม มโนทั ศ น์ ใ หม่ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส แสดงต�ำแหน่งของดวง ที่ มี ต ่ อ ระบบสุ ริ ย จั ก รวาลของ ่ ๆ อาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีโลกและดาวดวงอืน โคเปอร์ นิ คั ส ส่ ง ผลให้ ส ถานะ โคจรเป็นวงกลมโดยรอบ ของพระเจ้าที่เป็นผู้สร้าง และ สถานะของมนุษย์ที่เป็นผู้ถูกสร้างถูกลดสถานะลงเทียบเท่ากับ สรรพสิ่งอื่น ๆ จึงท�ำให้โคเปอร์นิคัสกลายเป็นผู้ที่มีแนวคิดเป็น ปฏิปักษ์อย่างรุนแรงต่อศาสนจักรในสมัยนั้น องค์ความรู้ใหม่ในเรื่องระบบสุริยจักรวาลของโคเปอร์นิคัสกลาย เป็นรากฐานส�ำคัญให้กับนักดาราศาสตร์รุ่นต่อมาคือ โยฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler) เคปเลอร์ได้สถาปนา “กฎสาม ประการ” (Kepler’s Laws) เพื่ออธิบายการเคลื่อนที่ของดาว เคราะห์ต่าง ๆ โดยสรุปว่าการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ใด ๆ 41


ของผังวิหารคือ โถงทางเดิน โถงประกอบพิธี และแท่นประกอบพิธี ทีส่ มั พันธ์กบั สัดส่วนของร่างกายมนุษย์แต่ละส่วนคือ ขา ล�ำตัว และ ศีรษะ ตามล�ำดับ (รูปที่ 9) นอกจากนี้ สถาปนิกสมัยฟื้นฟู ศิลปวิทยาการได้เริ่มใช้รูปร่าง และรูปทรงทางเรขาคณิตเป็น เครือ่ งมือหลักในการวางผังเมือง ใหม่ และในแวดวงวรรณกรรม ได้ เ ริ่ ม ปรากฏแนวคิ ด ในเรื่ อ ง ระบบสั ง คมและเมื อ งในเชิ ง อุดมคติขนึ้ ในนวนิยายชือ่ Utopia ใน ค.ศ. 1516 โดย เซอร์ โทมั ส มอร์ (Sir Thomas M o r e ) นั ก เ ขี ย น แ ล ะ นั ก ปรั ช ญา วรรณกรรมชิ้ น ส� ำ คั ญ นี้ บ ร ร ย า ย ถึ ง สั ง ค ม ในอุ ด มคติ ที่ ตั้ ง อยู ่ บ นเกาะ ประกอบด้วย 54 นคร-รัฐ แต่ละ นคร-รัฐถูกโอบล้อมด้วยก�ำแพง เมื อ งและป้ อ มเหมื อ นเมื อ ง ในสมัยกลาง ภายในนคร-รัฐ รู ป ที่ 9 ภาพวาดแสดงการน� ำ สั ด ส่ ว นของ า งกายมนุ ษ ย์ ม าอ้ า งอิ ง กั บ ผั ง ของอาคาร มี ก ารแบ่ ง พื้ น ที่ อ อกเป็ น ส่ ว น ร่ศาสนาสมั ยฟื้นฟู ศิลปวิทยาการของ ฟรานเชสโก ย่อย ๆ ประชาชนอาศัยอยู่ใน ดิ จอร์โจ้ อาคารสู ง สามชั้ น ที่ มี รู ป แบบ เหมือนกัน รูปแบบของสังคมที่ปรากฏนี้สะท้อนให้เห็นแนวคิด เชิง “สังคมนิยม” (Communism) ที่ต่างจากระบบสังคมสมัยนั้น เนื่องจากในชุมชนทั้งหมดไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดิน โดยมีรัฐเป็นผู้ ควบคุมกฎระเบียบ และจัดการระบบการศึกษาและสาธารณูปโภค ทั้งหมด ประชาชนสวมใส่ชุดที่เหมือนกัน และได้รับการศึกษารูป 44


วิทยาศาสตร์แบบคลาสสิกและความเรียบง่าย

แบบเดียวกัน ผลพวงของงานเขียนชิ้นนี้ได้เป็นแรงบันดาลใจต่อ นักคิดในสกุลความคิดแบบสังคมนิยมในอีกหลายศตวรรษต่อมา ในคริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ 16 ซึ่ ง เป็ น สมั ย ฟื ้ น ฟู ศิ ล ปวิ ท ยาการตอน ปลาย อันเดรีย ปัลลาดิโอ (Andreas Palladio) สถาปนิกชาว อิตาลี ได้สร้างสรรค์อาคารพักอาศัยที่มีรูปแบบเฉพาะที่เรียกว่า “วิลลา” (Villa) ในประเทศอิตาลี รูปแบบของวิลลานี้เผยถึงความ สมบูรณ์แบบของสถาปัตยกรรมที่มีรากฐานบนคณิตศาสตร์ จาก การวางผังของอาคารที่มีความสมมาตรตามแนวแกนอย่างชัดเจน (รูปที่ 10) อิทธิพลจากความคิด ในการออกแบบของปัลลาดิโอ และจากหนั ง สื อ ที่ เ ขาเขี ย น ขึ้ น คื อ Quattro Libri dell’ Architettura (The Four Books of Architecture) ใน ค.ศ. 1570 ได้ส่งผลต่อพื้นฐานการ รูปที่ 10 ผังและรูปแบบของวิลลาโรทอนดา (Villa ออกแบบสถาปั ต ยกรรมสมั ย Rotonda) ออกแบบโดย อันเดรีย ปัลลาดิโอ นั้นอย่างเป็นระบบ ปัลลาดิโอ ได้นำ� เอาระบบตารางกริด (grid system) เป็นเครือ่ งมือหลักในการวางผังของวิลลาทุกหลัง โดยวาง ต�ำแหน่งพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ภายในตารางกริด และอยู่ในต�ำแหน่งที่ ใกล้เคียงกัน เช่น ต�ำแหน่งของบันได ห้องพัก ฯลฯ ผังของวิลลา แต่ละหลังมีความแตกต่างกันเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนขนาด สัดส่วนพื้นที่ส่วนต่าง ๆ แต่ยังอยู่ภายในขอบเขตของตารางกริด ที่ก�ำหนดไว้แต่แรก นอกจากการรื้อฟื้นแบบแผนของสถาปัตยกรรมคลาสสิกหลาย อย่างแล้ว ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการได้มีการคิดค้น “การเขียน ทัศนียภาพ” (perspective drawing) ขึน้ เป็นครัง้ แรก โดยเริม่ จาก ศิลปินชื่อ จอตโต้ ดิ บอนโดเน่ (Giotto di Bondone) พยายาม 45


Classical Science and Simplicity

1

วิทยาศาสตร์ แบบคลาสสิก และความเรียบง่าย


ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 17 มาเยือนนั้น สังคมตะวันตกโดยส่วนรวม อยู่ภายใต้ระบบวิธีคิดตามกรอบที่ก�ำหนดโดยศาสนจักรและนัก ปรัชญา เกิดการแบ่งกฎที่ใช้ควบคุมสังคมออกเป็นสองระบบเชิง ทวินยิ ม โดยด�ำเนินตามแนวคิดของอาริสโตเติลในสมัยกรีก กฎแรก คือ “กฎแห่งสรวงสวรรค์” ซึ่งเป็นกฎที่สมบูรณ์แบบและประกอบ ด้วยความสอดคล้องประสานกลมกลืน ภายใต้กฎแห่งสรวงสวรรค์ นั้นเชื่อว่ามี “ทรงกลมแห่งสรวงสวรรค์” ซึ่งมีโลกเป็นศูนย์กลาง และมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอืน่ ๆ โคจรโดยรอบโลก ส่วน กฎทีส่ องคือ “กฎของโลกเชิงกายภาพ” ศาสนจักรได้ใช้กรอบคิดเชิง ทวิลกั ษณ์ดงั กล่าวในการควบคุมระเบียบของสังคม เมือ่ มีผใู้ ดแสดง ความคิดขัดแย้งกับกฎแห่งสรวงสวรรค์จะถูกพิพากษาประหารชีวติ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ท่ีเริ่มก่อตัวขึ้นในสมัยกลางได้พยายาม อธิบายความจริงแท้ของธรรมชาติ โดยวางรากฐานอยูภ่ ายใต้ระบบ เชิงตรรกะควบคู่กับความศรัทธาต่อศาสนาคริสต์ แต่ไม่ได้มีจุด ประสงค์ที่ต้องการควบคุมหรือก�ำหนดความเป็นไปของธรรมชาติ แต่อย่างใด แต่กระนัน้ วิทยาศาสตร์ได้ถกู ตัง้ ค�ำถามและถูกวิพากษ์ ต่อองค์ความรู้ของตนเองเช่นเดียวกัน จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ซึ่งเป็นสมัยบาโรก (Baroque) สังคมตะวันตกได้เกิด การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่คือเกิด “การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์” (Scientific Revolution) สภาพสังคมโดยรวมเปลี่ยนจากระบบ เดิมที่อยู่ภายใต้หลักค�ำสอนทางศาสนาคริสต์ไปสู่ “กระบวนทัศน์ แบบกลไก” (Mechanical Paradigm) และก�ำเนิดศาสตร์แขนงใหม่ คือ “วิทยาศาสตร์ศึกษา” (Science Studies) ที่พยายามศึกษา วิทยาศาสตร์ในแง่ของประวัติศาสตร์ การพัฒนา และการวิพากษ์ เพื่อน�ำไปสู่การปรับปรุงแก้ไของค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในด้าน ต่าง ๆ กระบวนทัศน์แบบกลไกก�ำเนิดขึ้นจากบุคคลส�ำคัญในสมัยบาโรก สองคน ได้แก่ ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) นักวิทยาศาสตร์


ชาวอังกฤษ และ เรอเน เดการ์ต (Rene Descartes) นักปรัชญา ชาวฝรั่งเศส ทั้งคู่ได้น�ำพาสังคมตะวันตกก้าวพ้นจากเงื้อมเงาของ ศาสนจักร ด้วยปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก รากฐานในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ จนก�ำเนิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ที่เรียกว่า “วิทยาศาสตร์แบบคลาสสิก” (Classical Science) หรือ “วิทยาศาสตร์แบบกลไก” (Mechanical Science) ซึ่งมีทัศนะใน การมองโลกและจักรวาลเปลีย่ นไปจากสมัยก่อนหน้านีอ้ ย่างสิน้ เชิง Classical Science วิทยาศาสตร์แบบคลาสสิก ไอแซก นิวตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้รับการยกย่องว่า เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของแวดวง วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สมัยใหม่ ผลงานของนิวตันได้แก่การ พัฒนาคณิตศาสตร์ทเี่ รียกว่าแคลคูลสั (Calculus)16 ให้กา้ วหน้ายิง่ ขึ้น เพื่อใช้ในการอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุต่าง ๆ ในธรรมชาติ นิวตันได้สร้างผลงานวิชาการชิน้ เอกคือ Principia ซึง่ รวบรวมสาระ ส�ำคัญทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่ส่งผลอย่างมหาศาลต่อ การพัฒนาความรู้ทั้งสองศาสตร์ในเวลาต่อมา นิวตันเป็นบุคคลแรกที่ประสานกฎแห่งสรวงสวรรค์ตามแนวคิด เชิงทวิลักษณ์ของอาริสโตเติลเข้ากับกฎของโลกเชิงกายภาพที่เป็น จริง เมื่อเขาประกาศถึง “กฎของแรงโน้มถ่วง” (Laws of Gravity) จากการค้นพบแรงโน้มถ่วงในธรรมชาติ ซึ่งมีข้อสรุปเบื้องต้นว่า “แรง” (force) ทีก่ ระท�ำต่อวัตถุใด ๆ ขณะร่วงหล่นลงสูพ่ นื้ เป็นแรง ชนิดเดียวกับแรงลึกลับที่ดึงดูดให้ตัวเขาและวัตถุอื่น ๆ ยึดติดกับ พื้นผิวโลก เพราะเมื่อเขาพยายามกระโดดขึ้นจากพื้น ร่างกายจะ ตกลงกลับสู่พื้นเสมอ 54


วิทยาศาสตร์แบบคลาสสิกและความเรียบง่าย

นิวตันค้นพบกฎสากลที่เปิดเผยความจริงแท้ของธรรมชาติและ จักรวาลอย่างยิ่งใหญ่ภายหลังจากการค้นพบแรงโน้มถ่วงเบื้องต้น ดังกล่าว ด้วยการสร้างภาพจินตนาการเปรียบเทียบการเคลื่อนที่ ของวัตถุบนโลก17 กับการเคลือ่ นทีข่ องเทหวัตถุเป็นวงกลมในอวกาศ (รูปที่ 12) นิวตันค้นพบว่า กฎที่ท�ำหน้าที่ก�ำกับการเคลื่อนที่ของ วัตถุบนโลก และกฎทีก่ ำ� กับการเคลือ่ นทีข่ องเทหวัตถุอนื่ ๆ นัน้ เป็น “กฎเดียวกัน” ไม่มกี ารแบ่งแยก ออกเป็ น กฎของพระเจ้ า และ กฎของโลกเชิ ง กายภาพตาม แบบจ�ำลองของอาริสโตเติลอีก ต่อไป ปรากฏการณ์ทั้งหลาย ในจั ก รวาลจึ ง ถู ก “ประสาน” รวมอยู่ภายใต้กฎเดียวเท่านั้น คือ “กฎของจักรวาล” กฎการ เคลื่ อ นที่ เ ป็ น วงกลมดั ง กล่ า ว ของนิ ว ตั น ได้ เ ปลี่ ย นแปลง ความเข้าใจของมนุษย์ต่อโลก และจั ก รวาลตามมุ ม มองของ ศาสนจักรที่มีมาตั้งแต่สมัยกรีก อย่างสิ้นเชิง

รู ป ที่ 12 ภาพแสดงการเคลื่ อ นที่ แ นววิ ถี โ ค้ ง ของก้อนหินที่ถูกขว้างออกจากยอดเขาด้วยแรง ที่ต่างกัน

ตลอดช่ ว งชี วิ ต ของไอแซก นิ ว ตั น พ ย า ย า ม อ ธิ บ า ย ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติด้วยการสังเกตหลักฐานเชิงประจักษ์ จ�ำนวนมาก และมองหาความสม�่ำเสมอที่เกิดขึ้นซ�้ำ ๆ กันจาก การทดลอง จนมั่นใจว่าเพียงพอต่อการสรุป จากนั้นจึงน�ำไปสู่การ สถาปนากฎสากลของธรรมชาติในท้ายสุด นิวตันเชื่อว่ามี “กฎ สากลในธรรมชาติ” (universal laws of nature) ทีส่ ามารถอธิบาย ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้ด้วยหลักการที่เรียบง่ายและชัดเจน โดยใช้ 55


ลดบทบาทลงจนสูญหายไปจากมโนทัศน์ของมนุษย์ทมี่ ตี อ่ ธรรมชาติ และจักรวาล วิทยาศาสตร์แบบกลไกซึ่งเคยเป็นเสาหลักทางความรู้มานับหลาย ศตวรรษได้เริ่มถูกค้นพบข้อจ�ำกัดมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการน�ำไป อธิบายปรากฏการณ์ตา่ ง ๆ เนือ่ งจากวิทยาศาสตร์แบบกลไกมีหลัก การอยู่บนความเรียบง่ายและการลดทอน พยายามมองสรรพสิ่ง ในธรรมชาติราวกับเครื่องจักรที่ประกอบไปด้วยกลไกชิ้นย่อย ๆ ดังนั้นการแก้ปัญหาใด ๆ จึงเชื่อว่าหากแก้ไขที่กลไกชิ้นย่อยจะแก้ ปัญหานัน้ ได้สำ� เร็จ กระบวนการคิดแบบกลไกนีจ้ งึ เปิดเผยให้เห็นถึง ความเพิกเฉยต่อความสัมพันธ์โดยรวมของระบบทัง้ หมด และท�ำให้ ได้ข้อสรุปที่ “ตายตัว” ส�ำหรับปรากฏการณ์ทุก ๆ สิ่งจนท�ำให้เกิด ความคลาดเคลือ่ นขึน้ ได้21 ระบบการคิดแบบกลไกยังส่งผลโดยตรง ให้ศาสตร์แขนงต่าง ๆ ถูกแยกขาดความสัมพันธ์ออกจากกัน เสมือนชิน้ ส่วนของเครือ่ งจักรคนละชิน้ ส่วน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การแก้ปญ ั หาใด ๆ ด้วยวิธคี ดิ แบบกลไกไม่อาจแก้ปญ ั หานัน้ ได้อย่าง สมบูรณ์แบบ หรือท�ำได้แต่เป็นเพียงการแก้ไขในส่วนย่อยส่วนเดียว ยังคงเหลือปัญหาอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวพันกันเป็นลูกโซ่อีกจ�ำนวนมาก ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 การค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการ ในแวดวงชีววิทยา ผนวกเข้ากับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ก�ำเนิด ขึ้นใหม่คือ “ทฤษฎีสัมพัทธภาพ” (Theory of Relativity) และ “ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์” (Quantum Physics Theory) ท�ำให้นัก วิทยาศาสตร์จ�ำนวนมากเริ่มเปลี่ยนกรอบความคิดของตนในการ อธิบายความจริงแท้ของธรรมชาติดว้ ยโลกทัศน์แบบกลไก ไปสูโ่ ลก ทัศน์แบบใหม่ที่มีรากฐานบน “ความซับซ้อน” (complexity) ไม่ใช่ ความเรียบง่ายอีกต่อไป

64


วิทยาศาสตร์แบบคลาสสิกและความเรียบง่าย

Architecture of Simplicity สถาปัตยกรรมแห่งความเรียบง่าย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมตะวันตก ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบบาโรก (Baroque Style) (รูปที่ 13) รูปแบบ บาโรกเริ่ ม แสดงให้ เ ห็ น การ ละทิ้งแนวคิดในการใช้สัดส่วน ของร่ า งกายมนุ ษ ย์ ใ นงาน ออกแบบตามแนวทางมนุ ษ ย นิ ย มในสมั ย ฟื ้ น ฟู ศิ ล ปวิ ท ยา การ และเริ่มให้ความส�ำคัญต่อ “ระบบเรขาคณิตเชิงเส้นโค้ง” (curvilinear geometry) ทัง้ การ ทดลองใช้ กั บ รู ป ทรงภายนอก และองค์ ป ระกอบภายในของ อาคาร เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ต่าง ไปจากสถาปัตยกรรมรู ป แบบ อื่น ๆ ก่อนหน้านี้ ซึ่งส่วนใหญ่ ยั ง ใช้ ร ะบบเรขาคณิ ต เชิ ง เส้ น ตรงเป็นเครื่องมือหลัก และมุ่ง เน้นการให้ความส�ำคัญกับการ สะท้อนความศรัทธาในพระเจ้า เป็นแนวคิดหลัก

รู ป ที่ 13 โบสถ์ ซ านคาร์ โ ล อั ล เล ควอตโตร ฟอนตาเน (S. Carlo alle Quattro Fontane) โรม ประเทศอิ ต าลี ออกแบบโดย ฟรานเชสโก บอโรมิน่ี (Francesco Borromini) สถาปัตยกรรม แบบบาโรก

การน� ำ ระบบเรขาคณิ ต เชิ ง เส้นโค้งมาใช้นั้นสอดคล้องกับ พั ฒ นาการของคณิ ต ศาสตร์ แบบแคลคูลัสและเรขาคณิต วิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นโดยไอแซก นิวตัน แต่อย่างไรก็ตาม สถาปนิกสมัยบาโรกยังคงใช้เรขาคณิต 65


แบบยูคลิดเป็นพื้นฐานในการสร้างระบบเรขาคณิตเชิงเส้นโค้ง ขึ้น เช่น การสร้างรูปวงรีด้วยการใช้ส่วนโค้งของวงกลมแบบยู คลิ ด หลายวงมาประกอบเข้ า ด้วยกัน หรือการสร้างเส้นโค้ง หลายทิ ศ ทางด้ ว ยการเชื่ อ ม ส่วนโค้งของวงกลมหลายวงเข้า ด้วยกัน เพื่อสร้างส่วนโค้งที่เว้า (concave) หรือส่วนโค้งที่นูน (convex) สถาปัตยกรรมแบบ บาโรกจึงเป็นจุดเริ่มต้นส�ำคัญที่ มีการทดลองใช้ระบบเรขาคณิต รูปแบบใหม่ ๆ และส่งผลให้เกิด ทีว่ า่ งหรือปริภมู ภิ ายในทีม่ คี วาม ลื่นไหลต่อเนื่อง (smooth and continuous space) จนเกิดเป็น เอกภาพเดียวกัน (รูปที่ 14) รู ป ที่ 14

ฝ้า เพดานในโบสถ์ ซ านคาร์ โ ล อั ล เล

ฟอนตาเน ประกอบด้วยเรขาคณิตรูป ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ระบบ ควอตโตร วงรี รูปหกเหลี่ยม และรูปแปดเหลี่ยม เรขาคณิ ต เชิ ง เส้ น โค้ ง แบบ บาโรก ได้รับการสืบทอดและ พัฒนาต่อมาในสมัยโรโกโก (Rococo) ซึ่งมีศูนย์กลางที่ประเทศ เยอรมนี รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโรโกโกให้ความส�ำคัญกับ การประดั บ ประดาลวดลายต่ า ง ๆ ที่ ดั ด แปลงจากธรรมชาติ มากกว่ารูปแบบบาโรก ท�ำให้รูปทรงเรขาคณิตของอาคารแบบโร โกโกลดความส�ำคัญลงจนแลดูเลือนรางไม่ชัดเจน และในศตวรรษ ที่ 18 นี้ สถาปนิกส่วนใหญ่เริ่มหันมาสนใจศึกษาสถาปัตยกรรม ตะวั น ตกในอดี ต อย่ า งเป็ น ระบบ โดยเฉพาะรู ป แบบคลาสสิ ก เป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากเกิดการค้นพบเมืองโบราณและ โบราณสถานจ�ำนวนมากในกรีซและโรม เกิดผลงานวิชาการทาง ประวัติศาสตร์อย่างมากมาย ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 ได้ 66


วิทยาศาสตร์แบบคลาสสิกและความเรียบง่าย

เกิดความนิยมในการสร้างสรรค์ สถาปัตยกรรมรูปแบบ “คลาส สิกใหม่” (Neoclassic) (รูปที่ 15) ซึ่งเป็นรูปแบบที่โดดเด่น และนิ ย มอย่ า งยิ่ ง ในประเทศ อังกฤษ ในประเทศฝรั่งเศส รูปแบบของ รูปที่ 15 โรงเรียนรอยัล (Royal High School) สถาปั ต ยกรรมต่ า งไปจากรู ป ประเทศสกอตแลนด์ ออกแบบโดย ทอมัส แฮมิลตัน แบบคลาสสิกใหม่ของอังกฤษ (Thomas Hamilton) สถาปั ต ยกรรมแบบ ่ เศส คลาสสิกใหม่ ที่น�ำรูปแบบของสถาปัตยกรรมกรีก อย่างมาก โดยสถาปนิกฝรัง มารื้อฟื้นอีกครั้ง นิยมน�ำรูปทรงเรขาคณิตบริสทุ ธิ์ แบบปฐมภูมิมาใช้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเชิงเหตุผลนิยมของ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสร่วมสมัย ตัวอย่างเช่น ผลงานออกแบบ อาคารของ เอเตียง-หลุยส์ บูเล (Etienne-Louise Boulle’e) สถาปนิกชาวฝรั่งเศส บูเลเห็น ว่าต้นก�ำเนิดของรูปทรงต้องมา จากจิ น ตนาการของสถาปนิ ก ผลงานออกแบบจ� ำ นวนมาก ของเขาได้น�ำเอารูปทรงตันแบบ เพลโตมาใช้ เ ป็ น รู ป ทรงของ อาคาร เช่ น อนุ ส รณ์ ส ถาน ส�ำหรับไอแซก นิวตัน (A Memorial to Isaac Newton) (รู ปที่ 16) ซึ่งเป็นอาคารขนาด รู ป ที่ 16 อนุ ส รณ์ ส ถานส� ำ หรั บ ไอแซก นิ ว ตั น (a Memorial to Isaac Newton) ออกแบบโดย ใหญ่ ที่ มี รู ป ทรงกลมเส้ น ผ่ า น เอเตียง-หลุยส์ บูเล ศูนย์กลาง 500 ฟุต โดยที่โดม ส่วนบนสื่อความหมายถึงโดมแห่งสรวงสวรรค์ อาคารหลังนี้เริ่ม แสดงให้เห็นปริมาตรกลวงของที่ว่างภายใน และปราศจากการ ตกแต่งด้วยองค์ประกอบจากสถาปัตยกรรมในอดีต จึงต่างไปจาก 67


ย่านชานเมือง ทั้งสองรูปแบบส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นด้วยระบบผนัง ไร้นำ�้ หนัก (curtain wall) ซึง่ เป็นแผงกระจกขนาดใหญ่วงิ่ ยาวตลอด โดยไม่มีโครงสร้างรับน�้ำหนักของอาคารมาแบ่งช่วง (รูปที่ 20) ในช่วงสูงสุดของสถาปัตยกรรม โมเดิร์นนี้ เลอ กอร์บูซิเยร์ ได้ เสนอแนวคิดใหม่คือ “Modulor Man” ใน ค.ศ. 1954 ใน งานเขียนที่ชื่อ The Modulor ซึ่ ง ว่ า ด้ ว ยความสั ม พั น ธ์ ท าง คณิ ต ศาสตร์ ร ะหว่ า งร่ า งกาย มนุษย์กับสถาปัตยกรรม (รูป ที่ 21) เลอ กอร์บูซิเยร์ เห็น ว่ า สั ด ส่ ว นของร่ า งกายมนุ ษ ย์ เป็ น เครื่ อ งมื อ ส� ำ คั ญ ในการ อ้ า งอิ ง กั บ สั ด ส่ ว นของอาคาร ซึ่งสถาปัตยกรรมโมเดิร์นก่อน สงครามโลกครั้ ง ที่ ส องส่ ว น ใหญ่ ไ ม่ ไ ด้ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ รูปที่ 21 ภาพวาด “Modulor Man” ของเลอ บูซิเยร์ แสดงสัดส่วนร่างกายมนุษย์เพศชาย ร่างกายมนุษย์มากนัก เพราะ กอร์ ที่สัมพันธ์กับสัดส่วนทองค�ำ สนใจแต่ เ รื่ อ งรู ป ทรงอุ ด มคติ และโครงสร้างเชิงวิศวกรรมเป็น หลัก เขาจึงน�ำเสนอสัดส่วนของ ร่างกายมนุษย์เพศชายในเชิงนามธรรมผ่านทาง “Modulor Man” ซึ่งเป็นภาพวาดที่ไม่ปรากฏรายละเอียดของหน้าตาและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ชัดเจน นอกจากกล้ามเนื้อของเพศชาย ซึ่งต่างจาก ภาพวาด “Vitruvian Man” ในสมัยคลาสสิกที่มีรายละเอียดของ ร่างกายค่อนข้างมาก

78


วิทยาศาสตร์แบบคลาสสิกและความเรียบง่าย

สัดส่วนของ “Modulor Man” ซึง่ มีความสูงโดยรวมจากพืน้ ถึงปลาย มือทีช่ ขู นึ้ คือ 2,260 มม. ได้ถกู ออกเป็นสามส่วนด้วยกันคือทีร่ ะยะ 432, 698 และ 1,130 มม. ตามล�ำดับ ซึ่งหากน�ำระยะทั้งสามนี้ เมื่อน�ำมาหารกันมีค่าเท่ากับ “สัดส่วนทองค�ำ” (Golden Section) คือ 1.618 จากนั้นสัดส่วนทั้งสามส่วนจะถูกลดทอนย่อยลงเป็น ระยะต่าง ๆ เกิดเป็นสัดส่วนย่อย ๆ ทางคณิตศาสตร์จ�ำนวนมาก ซึ่ ง สถาปนิ ก สามารถน� ำ ไปใช้ ใ นการสร้ า งสรรค์ ง านออกแบบ ทั้งขนาดของอาคาร ขนาดของช่องแสง ตลอดจนขนาดของเครื่อง เรือนต่าง ๆ ดังนั้น “Modulor Man” จึงเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจน ของสารัตถะแบบโมเดิร์นที่แสดงให้เห็นถึงสภาวะของความเป็น นามธรรม ความริเริม่ สร้างสรรค์ (originality) และการปฏิเสธ การเปลี่ ย นแปลง ซึ่ ง เป็ น ผล มาจากการมองร่างกายมนุษย์ แบบเครื่องจักรเชิงนามธรรมที่ ไม่มกี ารเติบโตหรือเปลีย่ นแปลง ประกอบด้วยชิ้นส่วนย่อย ๆ ที่ ไม่ สั ม พั น ธ์ กั น เหมื อ นชิ้ น ส่ ว น ต่าง ๆ ของเครื่องจักร ซึ่งแต่ละ ชิน้ ส่วนย่อยสามารถถูกสลับสับ เปลี่ยนเพื่อทดแทนกันได้

รู ป ที่ 22 อาคาร “Unite’ d’Habitation” ม า ร์ ก เ ซ ย์ ป ร ะ เ ท ศ ฝ รั่ ง เ ศ ส อ อ ก แ บ บ โ ด ย เลอ กอร์บูซิเยร์

เลอ กอร์บซู เิ ยร์ได้นำ� เอาสัดส่วน ของ “Modulor Man” ใช้ใน งานออกแบบสถาปั ต ยกรรม จ�ำนวนมาก ตัวอย่างที่ชัดเจน ได้แก่ อาคารพักอาศัย “Unite’ d’Habitation” มาร์ ก เซย์ ประเทศฝรั่งเศส (รูปที่ 22) โครงการนี้มีแนวคิดเชิงอุดมคติ 79


New Science and Complexity

2

วิทยาศาสตร์ แบบใหม่ และความซับซ้อน


กระบวนทัศน์หรือทัศนะแม่บททางวิทยาศาสตร์แบบคลาสสิกหรือ แบบกลไกซึ่งมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของมนุษย์หลายศตวรรษ ได้ เริ่มถูกตั้งค�ำถามและถูกพิสูจน์ว่าก่อให้เกิดวิกฤตทางสังคมและ วัฒนธรรมแทบทุกระดับตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 เรื่อยมา ทัง้ นีเ้ ป็นเพราะว่า วิทยาศาสตร์แบบกลไกมองโลกและปรากฏการณ์ ธรรมชาติทงั้ หลายราวกับเครือ่ งจักรทีท่ ำ� งานอย่างสม�ำ่ เสมอ มัน่ คง และไม่มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตทั้งหลายล้วนประกอบด้วย ชิ้นส่วนย่อย ๆ เหมือนชิ้นส่วนของเครื่องจักร และเชื่อว่าการแก้ไข ปัญหาใด ๆ สามารถท�ำได้ด้วยการแก้ไขที่ส่วนย่อยนั้น ๆ โดยไม่ ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อส่วนรวม วิทยาศาสตร์แบบกลไกนี้พยายามอยู่เหนือและควบคุมธรรมชาติ ให้รับใช้มนุษย์โดยตรง จึงท�ำให้เกิดวิกฤตทางวัฒนธรรม สภาพ แวดล้อม และการผลาญทรัพยากรธรรมชาติจนไม่เพียงพอต่อ ความต้องการของมนุษย์ อีกทั้งธรรมชาติก็ถูกมองแบบแยกขาด จากกันเป็นส่วน ๆ ส่งผลให้เกิดการแก่งแย่ง ช่วงชิง และตักตวงผล ประโยชน์จากธรรมชาติในแต่ละส่วนย่อยนัน้ จนน�ำไปสูก่ ารท�ำลาย ระบบนิเวศโดยรวมอย่างรุนแรง ยิ่งไปกว่านั้น ระบบคิดแบบกลไก ยังท�ำให้เกิดผลลัพธ์ทางการแบ่งแยกเผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ วัฒนธรรม และศาสนาออกเป็นกลุ่มย่อยต่าง ๆ กัน และเกิดการแข่งขันเพื่อ แย่งชิงทรัพยากรมาเป็นของตน จนน�ำไปสู่ความขัดแย้งและเกิด เป็นสงครามขึ้นในที่สุด ฟริตจอฟ คาปร้า (Fritjof Capra) นักคิดที่มีชื่อเสียงชาวออสเตรีย ได้กล่าวไว้วา่ การมองเห็นวิกฤตดังกล่าวได้อย่างชัดเจนจะต้องปรับ เปลี่ยนทัศนคติจากโครงสร้างที่ตายตัว ไปสู่การมองโลกที่มีการ เปลี่ยนแปลงเชิงพลวัต ไม่หยุดนิ่ง เนื่องจากโครงสร้างที่ตายตัวไม่ สามารถปรับตนเข้ากับสถานการณ์ทเี่ กิดขึน้ ใหม่ได้ ท�ำให้สงั คมอาจ เดินไปสูจ่ ดุ พังทลายหรือจุดจบของสังคมหรืออารยธรรมนัน้ คาปร้า


เสนอว่าสังคมตะวันตกจ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องเปลีย่ นแปลงกระบวน ทัศน์แบบเดิมไปสู่ระบบแบบใหม่31 ส�ำหรับกระบวนทัศน์แบบใหม่นนั้ คาปร้ากล่าวว่าเป็นผลพวงมาจาก การปฏิวัติความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบใหม่ (New Science) โดย เฉพาะการปฏิวัติความรู้ทางด้านฟิสิกส์ในราวปลายคริสต์ศตวรรษ ที่ 19 ต่อเนื่องถึงต้นศตวรรษที่ 20 จากการสถาปนาทฤษฎีทาง วิทยาศาสตร์ขึ้นใหม่สองทฤษฎีด้วยกันคือ “ทฤษฎีสัมพัทธภาพ” (Theory of Relativity) และ “ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์” (Quantum Physics Theory) ทัง้ สองทฤษฎีได้รว่ มกันไขความลับตัง้ แต่จกั รวาล ไปจนถึงระดับเล็กที่สุดคืออะตอมให้กับมนุษยชาติ ในวิถีทางที่ต่าง ไปจากวิทยาศาสตร์แบบคลาสสิกของไอแซก นิวตัน คาปร้าเห็นว่า กระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์แบบใหม่โดยเฉพาะ ฟิสิกส์สมัยใหม่นั้น มีความสอดคล้องเป็นอย่างดียิ่งกับแนวคิด ทางปรัชญาและศาสนาของโลกตะวันออก ซึ่งน�ำไปสู่งานเขียนที่มี ชื่อเสียงของเขาคือ The Tao of Physics32 ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1975 งานเขียนนี้ได้ชี้ให้เห็นความเป็นพลวัตของสรรพสิ่งในธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า “แก่นแท้ของความเป็นจริง” ตามวิถีคิดของสังคม ตะวันออกทีม่ มี านับหลายพันปี ทัง้ ในศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู และ เต๋า เช่นแนวคิดเรื่อง พรหมัน รีต ลีลา กรรม วัฏสงสาร เป็นต้น ซึ่งเป็นแก่นหลักเดียวกันกับฟิสิกส์สมัยใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น ในงานเขียนชิ้นต่อ ๆ มาของคาปร้ายังคงกล่าวย�้ำถึงความสัมพันธ์ สอดคล้องกันระหว่างแก่นหลักของวิทยาศาสตร์แบบใหม่และ ภูมปิ ญ ั ญาของตะวันออก เช่น The Turning Point ซึง่ ให้รายละเอียด เชิงลึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของกระบวนทัศน์ของสังคมตะวัน ตกจากพัฒนาการของฟิสิกส์สมัยใหม่ และการเปลี่ยนแปลงใน ศาสตร์ดา้ นอืน่ เช่น การแพทย์ จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น คาปร้า เห็นว่า ตั้งแต่วิธีคิดแบบกลไกของเดการ์ต นิวตัน และเบคอนได้ 90


วิทยาศาสตร์แบบใหม่และความซับซ้อน

สถาปนาตนเองขึ้นอย่างมั่นคง ท�ำให้โครงสร้างของสังคมตะวันตก หลังจากนั้นเกิดการแยกขาดเป็นส่วนย่อย ๆ ขาดปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสิง่ ต่าง ๆ ในเชิงพลวัต จึงท�ำให้สงั คมมีลกั ษณะทีต่ ายตัว ไม่ สามารถรับมือกับวิกฤตทีก่ ำ� ลังเกิดขึน้ ได้ ตัวอย่างเช่น การเสือ่ มของ ระบบปิตาธิปไตยหรือผูช้ ายเป็นใหญ่ หรือจุดสิน้ สุดของยุคฟอสซิล เป็นต้น งานเขียนชิ้นนี้ได้เรียกร้องระบบคิดแบบใหม่ท่ีเป็นองค์ รวม (holistic) โดยสรรพสิง่ ในธรรมชาติมคี วามสัมพันธ์โยงใยเป็น เครือข่าย (network) เชื่อมร้อยระหว่างกัน และยังได้จุดประกาย ให้เกิดงานเขียนและงานศึกษาถึงความเชื่อมโยงระหว่างโลกตะวัน ตกและตะวันออกตามมาอีกนับไม่ถ้วน ทฤษฎีทางกลศาสตร์ของไอแซก นิวตัน ซึง่ เคยอธิบายการเคลือ่ นที่ ของวัตถุได้อย่างถูกต้องแม่นย�ำและเรียบง่าย ได้เริ่มเปิดเผย ความคลาดเคลื่อนอย่างสูงหากถูกน�ำไปใช้ในการค�ำนวณในบาง ขอบเขต เช่น การค�ำนวณการเคลือ่ นทีข่ องวัตถุมากกว่า 2 วัตถุขนึ้ ไป จะพบความผิดพลาดมาก33 ทฤษฎีกลศาสตร์ของนิวตันจึงเริม่ มีขอ้ จ�ำกัดในการน�ำไปใช้ และน�ำไปสูค่ วามคิดใหม่ทวี่ า่ ความจริงเชิงระบบ แบบเดการ์ตและฟิสิกส์แบบนิวตันเป็นเพียง “การประมาณการ” (approximity) ที่ ใ กล้ เ คี ย งความเป็ น จริ ง เท่ า นั้ น เนื่ อ งจาก ปรากฏการณ์ธรรมชาติมีความซับซ้อนในระดับสูงเกินกว่าจะถูก อธิบายด้วยวิทยาศาสตร์แบบเดิมที่มีรากฐานอยู่บนความเรียบง่าย และการลดทอน ดังนั้นภายใต้กรอบของวิทยาศาสตร์แบบกลไก นักวิทยาศาสตร์จงึ เป็นผูอ้ ธิบายความจริงแท้ได้อย่างจ�ำกัดและใกล้ เคียง และทฤษฎีวทิ ยาศาสตร์ไม่มวี นั ทีจ่ ะอธิบายธรรมชาติได้อย่าง สมบูรณ์แบบ เป็นได้แค่เพียงการประมาณการความเป็นจริงเท่านัน้

91


Theory of Relativity and Theory of Quantum Physics ทฤษฎีสัมพัทธภาพ และทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 พัฒนาการของฟิสกิ ส์สมัยใหม่ทเี่ กีย่ วข้องกับ “แสง” เป็นพลังขับเคลื่อนที่ส�ำคัญต่อการเกิดขึ้นของวิทยาศาสตร์ แบบใหม่ การค้นพบคลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้าโดย เจมส์ คลาร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell) และการค้ น พบว่ า แสงเป็ น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารูปแบบหนึ่งที่สามารถเคลื่อนที่ผ่านอวกาศได้ ด้วยความเร็วสูงคือ 186,000 ไมล์ต่อวินาที34 ได้กลายเป็นเสา หลักขององค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปกับกลศาสตร์ของ ไอแซก นิ ว ตั น 35 และท� ำ ให้ เ กิ ด การพั ฒ นาและการประดิ ษ ฐ์ นวัตกรรมต่าง ๆ มากมาย อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทั้งทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของแมกซ์เวลล์และกลศาสตร์ของนิวตัน ได้ เ ริ่ ม ถู ก ค้ น พบว่ า มี ค วามขั ด แย้ ง กั น เองโดยนั ก วิ ท ยาศาสตร์ ชาวเยอรมัน อัลเบิรต์ ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) สิง่ ทีไ่ อน์สไตน์ คิดและค้นพบนั้นประกอบด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ที่สามารถอธิบายความขัดแย้งของทฤษฎีหลักทั้งสองทฤษฎี และ ยังขยายความรูท้ เี่ ปิดเผยความเป็นไปของจักรวาล ตัง้ แต่การก�ำเนิด ของจักรวาลไปจนถึงปรากฏการณ์ตา่ ง ๆ ในธรรมชาติทสี่ มั พันธ์กบั แรงโน้มถ่วง ท�ำให้ไอน์สไตน์กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดหลังจากสิ้นสุดยุคของไอแซก นิวตัน หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยในประเทศ เยอรมนี อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ในวัยหนุ่มได้เข้าท�ำงานเป็นเสมียน ในส�ำนักงานสิทธิบัตรเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 92


วิทยาศาสตร์แบบใหม่และความซับซ้อน

โดยมีหน้าที่รับจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์คิดค้นต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้ เขาได้พัฒนาความรู้และความสนใจในวิทยาศาสตร์เป็นอย่างสูง และในช่วงเวลานี้ที่ไอน์สไตน์ได้เริ่มค้นพบว่ากลศาสตร์ของนิวตัน มีปัญหาในการน�ำมาอธิบายหรือค�ำนวณการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มี ความเร็วสูงมาก เช่น การเคลื่อนที่ของแสง และขัดแย้งกับทฤษฎี ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในกรอบของไอแซก นิวตันนั้น “ปริภูมิหรืออวกาศ” (space) และ “กาลหรือเวลา” (time) นั้นเป็นสิ่งสัมบูรณ์ กล่าวคือนาฬิกาของ นิวตันนั้นเดินสม�่ำเสมอและเหมือนกันไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในจักรวาล และเช่นเดียวกัน ไม้เมตรของนิวตันมีความยาวเท่ากันเสมอไม่ว่า ณ ต�ำแหน่งใดในจักรวาล แต่ไอน์สไตน์กลับเห็นต่างจากนิวตันว่า เวลาที่แท้จริงเดินไม่เท่ากันโดยแตกต่างกันไปตามต�ำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งแนวคิดใหม่นี้ท�ำให้ทฤษฎีของแสงนั้นยังคงถูกต้องเสมอ เขาได้ คิดค้น “ทฤษฎีสมั พัทธภาพพิเศษ” (Theory of Special Relativity) ขึ้นใน ค.ศ. 1905 เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอวกาศและ เวลาในเชิงสัมพัทธ์ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามผู้สังเกต และเป็นความ สัมพันธ์ที่ต่อเนื่องสี่มิติ ไม่อาจแยกขาดออกจากกันได้ เรียกว่า “กาลาวกาศ” (space – time) ซึ่งต่างไปจากแนวคิดเรื่องกาลและ อวกาศที่สัมบูรณ์ของนิวตัน ตัวอย่างเช่น หากเราเคลื่อนที่เพื่อ พยายามไล่ตามแสงด้วยความเร็วที่มากขึ้นเรื่อย ๆ จนใกล้เคียง กับความเร็วแสง ผู้สังเกตการณ์ภายนอกจะเห็นเราเคลื่อนที่เข้า ใกล้แสงมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่เรากลับมองเห็นแสงวิ่งห่างออกจากตัว เราโดยไม่มีวันไล่ตามทัน ดังนั้นเราและผู้สังเกตการณ์ภายนอกจึง เห็นภาพของการเคลื่อนที่ต่างกัน ซึ่งขัดแย้งกับสามัญส�ำนึกที่ควร เป็นตามกรอบการเคลื่อนที่ของนิวตันที่ทั้งสองคนควรจะเห็นภาพ เหมือนกัน ไอน์สไตน์เชื่อว่า กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันสามารถใช้อธิบาย ได้เฉพาะวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต�่ำเท่านั้น แต่เมื่อวัตถุนั้น 93


รูปที่ 50 หุ่ น จ� ำ ลองของศู น ย์ ศิ ล ปะร่ ว มสมั ย และ ดุ ริ ยางคศิ ล ป์ ตู ลู ส ป ร ะ เ ท ศ ฝ รั่ ง เ ศ ส ออกแบบโดย ปี เ ตอร์ ไอเซนแมน รู ป ทรงอาคารเกิ ด จากกระบวนการ “morphing” ของ รู ป ทรงอาคารทาง ประวั ติ ศ าสตร์ ท่ี ตั้ ง อ ยู่ ทั้ ง ส อ ง ฝั่ ง เ ข้ า ด้วยกัน

140


New Body and Blob Architecture เรือนร่างใหม่และสถาปัตยกรรมบล็อบ

วิทยาศาสตร์แบบใหม่และความซับซ้อน

นับตัง้ แต่บทความทีช่ อื่ “Architectural Curvilinearity: The Folded, The Pliant and The Supple” ของ เกรก ลินน์ ได้รับการเผย แพร่ใน ค.ศ. 1993 และตามมาด้วยงานเขียนและงานออกแบบ ของเขาอีกจ�ำนวนมาก ตอกย�้ำให้เห็นถึงมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ แบบใหม่ในสถาปัตยกรรมผ่านการทดลองรูปทรงทางเรขาคณิต บนคอมพิวเตอร์ เกรก ลินน์ให้ความสนใจในประเด็นส�ำคัญใน สถาปัตยกรรมคือ เรือนร่างและเรขาคณิตของสถาปัตยกรรมใน สภาวะที่มีความต่อเนื่อง (continuity) และมีความอ่อนไหวต่อการ เปลี่ยนแปลงจากสิ่งเร้าหรือปัจจัยภายนอก ลินน์กล่าวว่า เรือนร่างของสถาปัตยกรรมในอดีตส่วนใหญ่เป็นแบบ จ�ำลองเชิงอุดมคติ เช่น แบบจ�ำลองของร่างกายของมนุษย์เพศชาย เชิงอุดมคติที่มีสัดส่วนสวยงามทางคณิตศาสตร์ ปราศจากการ ก�ำหนดลักษณะเฉพาะใด ๆ เช่น อายุ เชื้อชาติ และศาสนา ฯลฯ การสถาปนากฎเกณฑ์สากลของสถาปัตยกรรมในอดีตจึงโยงกับ ร่างกายมนุษย์เชิงอุดมคติ อาทิเช่น วิทรูเวียนแมนและโมดูเลอร์ แมน ซึ่งเชื่อมร้อยร่างกายมนุษย์เข้ากับเรขาคณิตเชิงอุดมคติคือ วงกลมและสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั สถาปัตยกรรมจึงมีภาษาร่วมทีเ่ ป็นระบบ สากลบนระบบเรขาคณิตที่บริสุทธิ์ มีความสมมาตรตามแนวแกน และมีความเสถียรภาพไม่เปลี่ยนแปลงของร่างกายมนุษย์ รวมถึง ยังสะท้อนความเข้าใจของมนุษย์ต่อระบบธรรมชาติและจักรวาล ว่าเป็นระบบเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว องค์ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สมัยใหม่ได้เปิดเผยว่า ธรรมชาติ และจักรวาลมิได้วางอยู่บนเรขาคณิตที่บริสุทธิ์หรือเรขาคณิตแบบ ยูคลิดแต่อย่างใด 141


Architecture in Digital World

3

สถาปัตยกรรม ในโลกดิจิทัล


การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ครั้งใหญ่ จาก วิทยาศาสตร์ของ “ความเรียบง่าย” (simplicity) ไปสู่ “ความซับ ซ้อน” (complexity) ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 โดยมีพลัง เสริมจากการประดิษฐ์และพัฒนาทางเทคโนโลยี เช่น การประดิษฐ์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สอื่ สารทีม่ ขี นาดเล็กลง แต่มปี ระสิทธิภาพ เพิ่มขึ้นเป็นพหุคูณ การพัฒนาความรู้และการประดิษฐ์ในเชิงหุ่น ยนต์ (robotics) วิทยาการทางด้านชีววิทยาทางด้านสายพันธุ์หรือ DNA และการท�ำโคลนนิง่ (cloning) สิง่ มีชวี ติ ตลอดจนเทคโนโลยี ขนาดจุลภาคซึ่งเรียกกันว่า “นาโนเทคโนโลยี” (nanotechnology) ได้สง่ ผลต่อแบบแผนการด�ำรงชีวติ ของมนุษย์ การท�ำความเข้าใจต่อ โลกแวดล้อม และโครงสร้างของสังคมอย่างมหาศาลทัง้ ณ ปัจจุบนั และอนาคต “เครื่องจักรที่คิดได้” (thinking machine) เป็นสมญานามที่มนุษย์ ได้มอบให้กบั คอมพิวเตอร์เมือ่ ครัง้ ทีค่ อมพิวเตอร์กำ� เนิดขึน้ ครัง้ แรก บนโลกใบนี้ พื้นฐานของคอมพิวเตอร์วางอยู่บนแนวคิดของ “การ ลดทอน” เพราะระบบการบันทึกข้อมูลไม่ว่าจะมีความซับซ้อน มากเพียงใดจะถูกลดทอนให้อยู่ในรูปของข้อมูลที่เรียบง่ายทาง คณิตศาสตร์ โดยอาศัยระบบเลขฐานสอง คือ 0 และ 1 เท่านั้น การจัดเก็บข้อมูลทั้งหลายในคอมพิวเตอร์จึงขึ้นอยู่กับการเรียง ตัวเลขทั้ง 0 และ 1 สลับไปมาให้ต่างกัน ตามหลักของอัลกอริทึ่ม (algorithm) ทางคณิตศาสตร์ ท�ำให้คอมพิวเตอร์สามารถท�ำงาน และประมวลผลข้อมูลที่สลับซับซ้อนได้อย่างมหาศาล และรวดเร็ว กว่าระบบสมองของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม สังคมส่วนหนึ่งยังเห็นว่า ระบบประมวลผลของ คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเทียบเท่าสมองของมนุษย์ได้อย่างสิ้นเชิง เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีระดับของชีวิต ปัญญา และจิตส�ำนึก สูงส่งเหนือกว่าแม้แต่ในสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็น


เพียงเครื่องจักรที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไร้ชีวิตจึง ไม่อาจมีสถานะเทียบเท่ามนุษย์ได้ แต่ด้วยพัฒนาการอันรวดเร็ว ของคอมพิ ว เตอร์ ทั้ ง ในด้ า นฮาร์ ด แวร์ แ ละซอฟต์ แ วร์ ที่ ผ ่ า นมา ท�ำให้คอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาจนขยับเข้าใกล้สู่ความเป็น “ปัญญา ประดิษฐ์” (Artificial Intelligence) ที่มีความสามารถในการคิด และเรียนรู้ราวกับมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์จะถูกพัฒนาไปในสภาวะใดก็ตาม คอมพิวเตอร์ จัดเป็นนวัตกรรมส�ำคัญทีท่ ำ� ลายสภาวะการรับรูข้ องมนุษย์ระหว่าง “เทศะหรือพื้นที่” (space) และ “กาลหรือเวลา” (time) ตาม แบบแผนสามมิติเดิมลงอย่างหมดสิ้น โลกดิจิทัล (digital world) จากคอมพิวเตอร์ซงึ่ เปลีย่ นการรับรูต้ อ่ สรรพสิง่ ทีป่ รากฏเหลือเพียง ความเรียบง่ายทางคณิตศาสตร์ของเลข 0 และ 1 จึงเป็นโลกเสมือน ใบใหม่ที่ต้องการความรู้และความเข้าใจที่ต่างจากข้อก�ำหนดและ กฎเกณฑ์เดิม ทั้งในเชิงมโนทัศน์และเชิงกายภาพของร่างกาย Virtual Architecture in Cyberspace สถาปัตยกรรมเสมือนในไซเบอร์สเปซ คอมพิวเตอร์นอกจากเป็นเครื่องมือที่เข้ามาช่วยท�ำงานแทนมนุษย์ ในหลายมิติแล้ว ยังได้ขยายพื้นฐานทางความคิดที่มีต่อพื้นที่ว่าง และร่างกายซึ่งเคยถูกจ�ำกัดอยู่กับระบบผัสสะทั้งห้าออกไปไม่มี ขอบเขตสิ้นสุด โดยให้ก�ำเนิดโลกเสมือนแห่งใหม่ขึ้น ซึ่งไม่ใช่โลก ทางกายภาพสามมิติที่มนุษย์ด�ำรงอยู่ โลกเสมือนดังกล่าวถูกเรียก ขานว่า “ไซเบอร์สเปซ” (cyberspace)62 ไซเบอร์สเปซเป็นพื้นที่ รูปแบบใหม่ที่เกิดจากการแปรสภาพข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นที่ว่างหรือ ปริภมู ขิ นึ้ ด้วยระบบเครือข่ายทางการสือ่ สารซึง่ เชือ่ มโยงการติดต่อ ระยะไกลระหว่างบุคคลจ�ำนวนมาก เกิดเป็นสภาพแวดล้อมจ�ำลอง 172


ที่เรียกว่า “ความจริงเสมือน” (Virtual Reality) โดยมนุษย์ซึ่งอยู่ ในโลกหรือพืน้ ทีว่ า่ งทีเ่ ป็นจริงทางกายภาพสามารถใช้อปุ กรณ์เชือ่ ม ต่อ (interface) เข้ากับโลกเสมือนในไซเบอร์สเปซได้

สถาปัตยกรรมในโลกดิจิทัล

ไซเบอร์สเปซได้เปลีย่ นแปลงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ตอ่ มนุษย์ และมนุษย์ต่อที่ว่างและเวลา หรือกาล-เทศะ (space-time) จนถึง ระดับที่อัตลักษณ์ของมนุษย์ในเชิงกายภาพและการด�ำรงอยู่ตาม แบบแผนเดิมถูกท�ำลายจนหมดสิ้น ในไซเบอร์สเปซ ร่างกาย แท้จริงของมนุษย์ถูกแทนที่ด้วย “ร่างเสมือน” (virtual body) ซึ่ง ไร้ตัวตน ดังนั้นการรับรู้หรือการด�ำรงตนในมิติของพื้นที่ รวมถึง ความแตกต่างของการอ้างอิงตัวตนกับพื้นที่ระหว่าง “ที่นี่” (here) และ “ที่นั่น” (there) เริ่มพร่าเลือน ระบบความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งต่าง ๆ ซึ่งเชื่อมต่อกันเป็นระบบเชิงเส้นตรงถูกขยายเปลี่ยนไป เป็นระบบของเครือข่ายที่เรียกว่า “ไฮเปอร์ลิงค์” (hyperlink) ซึ่ง ทุกสิ่งรวมถึงข้อมูลต่างถูกโยงใยสัมพันธ์กันในหลากหลายทิศทาง เชื่อมต่อได้ไม่รู้จบ ความสั ม พั น ธ์ ข องร่ า งกายมนุ ษ ย์ ใ นไซเบอร์ ส เปซจึ ง เป็ น ความ สัมพันธ์แบบใหม่ซงึ่ ซับซ้อนขึน้ และเป็นไปไม่ได้ในโลกแห่งความเป็น จริง นัน่ คือสถานะทีร่ า่ งกายสามารถอยูไ่ ด้ในทุก ๆ พืน้ ทีใ่ นขณะเวลา หนึง่ (being in all places at one time) โดยร่างกายทีม่ ตี วั ตนและ เลือดเนือ้ จะถูกทิง้ ไว้ในโลกภายนอกมีพกิ ดั ทีแ่ น่ชดั ในทางภูมศิ าสตร์ ในขณะที่ภายในโลกของไซเบอร์สเปซ ผู้คนในสถานที่เสมือน นี้จะสูญเสียความมีตัวตนของตัวเองไป ความซับซ้อนที่สานกัน เป็ น ตั ว ตนของคนคนหนึ่ ง ถู ก ทิ้ ง ไว้ ภ ายนอก เหลื อ แต่ ร ่ า งกาย เสมือน ไม่มีพิกัดทางภูมิศาสตร์ที่สามารถอ้างอิงได้เมื่อเทียบกับ โลกภายนอก พิกัดตามแกน x, y, z ในไซเบอร์สเปซจึงเป็นพิกัด เสมือนในสถานที่อันไม่มีตัวตนแท้จริง (siteless) เมื่อโยงกลับไป อ้างอิงกับโลกกายภาพทีเ่ ราอาศัยอยู่ ไซเบอร์สเปซจึงเป็นพรมแดน ใหม่ของโลกหรือสภาพแวดล้อมเสมือนส�ำหรับสถาปนิกและนัก 173


ออกแบบ ช่วยขยายนิยามของสถาปัตยกรรมที่ถูกจ�ำกัดอยู่กับสิ่ง ก่อสร้างที่มนุษย์เข้าไปใช้งานเชิงกายภาพเท่านั้น ไปสู่รูปแบบของ “สถาปัตยกรรมเสมือน” (virtual architecture) ในไซเบอร์สเปซ ที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับที่ว่างและเวลาในมิติใหม่ ขณะที่ ส ถาปั ต ยกรรมในโลกทางกายภาพด� ำ รงอยู ่ ใ นเชิ ง ของ ถาวรวัตถุด้วยโครงสร้างและวัสดุที่มีตัวตน เช่น หิน เหล็ก ไม้ คอนกรีต ฯลฯ สถาปัตยกรรมเสมือนในไซเบอร์สเปซด�ำรงอยูใ่ นรูป ของชุดข้อมูลซึง่ วางอยูบ่ นระบบเลขฐานสองคือ 1 และ 0 เช่นเดียวกับ ข้อมูลทัว่ ไป ดังนัน้ เมือ่ กระท�ำหรือเปลีย่ นแปลงข้อมูลหรือโครงสร้าง ของค�ำสัง่ พืน้ ฐานผ่านทางคอมพิวเตอร์ อาจด้วยการเปลีย่ นตัวแปร เสริมหรือค่าพารามิเตอร์โดยตรงในโปรแกรม หรือการเชื่อมต่อ เพื่อโอนถ่ายข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง รูปทรงของสถาปัตยกรรมเสมือนจะเปลีย่ นแปลงจนเกิดเป็นรูปทรง ใหม่ที่ต่างไปจากเดิม สถาปัตยกรรมเสมือนจึงไม่ใช่วัตถุที่เสถียรตายตัว แต่ รูปที่ 71 > มีคุณลักษณะที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง สามารถ P h y l o g o n 1 เปลี่ยนรูปเมื่อมีปัจจัยหรือข้อมูลมากระทบ โดยอาจ ออกแบบโดย คาร์ล ชู สถาปัตยกรรม เกิ ด การรวมตั ว ของรู ป ทรงหรือแยกตัว ออกจากกัน เอส ใ น ไ ซ เ บ อ ร์ ส เ ป ซ ที่ ได้อย่างอิสระ จึงไม่ต่างไปจากสถาปัตยกรรมแบบ เ กิ ด จ า ก ก า ร ป้ อ น โฟลด์หรือสถาปัตยกรรมบล็อบในเชิงความเป็นพลวัต ค่ า พ า ร า มิ เ ต อ ร์ ใ น ค อ ม พิ ว เ ต อ ร์ เ พื่ อ ต่ อ การเปลี่ ย นรู ป เพี ย งแต่ ส ถาปั ต ยกรรมเสมื อ น ส ร้ า ง รู ป ท ร ง ที่ ซั บ ปรากฏในโลกของไซเบอร์สเปซที่ปราศจากแรงโน้ม ซ้อนโดยใช้หลักของ ถ่วงทางกายภาพ (รูปที่ 71) สถาปัตยกรรมเสมือน อัลกอริทึ่ม ในไซเบอร์ ส เปซนั้ น มี ชื่ อ เรี ย กที่ ห ลากหลายไปตาม กลุ่มของสถาปนิกและนักออกแบบ เช่น “สถาปัตยกรรมเหลว” (Liquid Architecture) “Transarchitecture” “สถาปัตยกรรม ดิจทิ ลั ” (Digital Architecture) หรือ “สถาปัตยกรรมพารามิเตอร์” 174


175

สถาปัตยกรรมในโลกดิจิทัล


ไม่มีประโยชน์ใช้สอยที่ชัดเจน รวมถึงการไร้กฎเกณฑ์ทางการ ออกแบบสถาปั ต ยกรรม บทบาทของสถาปนิ ก ในแนวทางนี้ จึ ง พยายามพิ สู จ น์ ถึ ง ความส� ำ คั ญ และหาหนทางในการสร้ า ง สถาปั ต ยกรรมให้ เ ป็ น จริ ง ทางกายภาพขึ้ น โดยใช้ เ ทคโนโลยี สมัยใหม่ในการก่อสร้างรูปทรงที่ซับซ้อนเหล่านั้น บทบาทของ คอมพิวเตอร์ต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมจึงเป็นสิ่งที่สถาปนิก และนักออกแบบไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไป คอมพิวเตอร์ได้ เริ่มแสดงบทบาทของ “ผู้ร่วมงาน” ส�ำคัญคนหนึ่งในกระบวนการ ออกแบบ และยังเข้ามาช่วยในกระบวนการก่อสร้างอาคารทีม่ คี วาม สลับซับซ้อนเป็นอย่างสูง ท�ำให้รูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ “เป็น ไปไม่ได้” กลายเป็น “สิ่งที่เป็นไปได้” ในที่สุด Architecture of the Future สถาปัตยกรรมแห่งอนาคต องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบใหม่ได้ส่งผลกระทบต่อแบบแผน การด�ำรงชีวติ ของมนุษย์และโครงสร้างของสังคมอย่างมากมาย และ เกิดเป็นนวัตกรรมทีช่ ว่ ยให้มนุษย์มวี ถิ ชี วี ติ ทีด่ ขี นึ้ ในแทบทุกด้าน จน ดูเหมือนสังคมโลกก�ำลังก้าวเข้าสู่สังคมอารยะ อย่างไรก็ตาม เมื่อ พิจารณาตามสภาพทีเ่ ป็นจริงแล้ว จะเห็นได้วา่ โลกไม่ได้กา้ วพัฒนา ไปสูห่ นทางทีด่ เี พียงด้านเดียวเท่านัน้ ปัญหาและวิกฤตการณ์ทเี่ กิด ขึน้ เป็นระยะ ๆ ได้แสดงให้เห็นถึงสภาพไร้ระเบียบทีแ่ ฝงเร้นอยูภ่ าย ใต้ความสงบเป็นระเบียบ ทัง้ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ดว้ ย กัน และปัญหาระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ การเกิดขึ้นของวิกฤตทั้งหลายในโลกกล่าวได้ว่า เป็นการพยายาม ปรับโครงสร้างของสังคมในระบบหนึ่งที่ไม่สามารถเดินหน้าต่อไป ได้อีกแล้วไปสู่โครงสร้างอีกระบบที่ต่างออกไป และเป็นระบบใหม่ 180


ที่ตอบสนองต่อวิกฤตนั้น ๆ ได้ดีกว่าระบบเดิม แต่หากระดับของ วิกฤตมีความรุนแรงสูงสุดจะเกิดเป็นสงครามขึน้ ดังนัน้ วิกฤตการณ์ และสงครามทั้งมวลจึงเป็นผลมาจากการพยายามจัดระเบียบใหม่ ของโลก เกิดการสลายตัวเพือ่ สร้างตัวเองขึน้ เหมือนกับระบบจัดการ ตัวเองในสิ่งมีชีวิต แต่ในบางครั้งการจัดการควบคุมตัวเองอาจไม่ ส�ำเร็จ อาจเกิดเป็นความโกลาหลที่คาดการณ์ไม่ได้ข้ึน ซึ่งในทาง ฟิสกิ ส์สามารถวัดค่าความไร้ระเบียบทีเ่ กิดขึน้ ได้ เนือ่ งจากจะมีการ คายพลังงานซึ่งวัดได้ด้วยหน่วยที่เรียกว่า “เอนโทรปี” (Entropy)

สถาปัตยกรรมในโลกดิจิทัล

โลกไร้พรมแดนซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการพัฒนาระบบสื่อสารอย่าง รวดเร็วท�ำให้ความผูกพันระหว่างมนุษย์กับสังคมเลือนหายไป มนุษย์เริ่มรับรู้เรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ อย่างมากมาย รวดเร็ว และซับซ้อนขึ้นจากสื่อรูปแบบใหม่ โลกที่แปลกใหม่และไม่คุ้นเคย จึงปรากฏขึ้นให้สัมผัสและเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ความแปลกแยก ต่อโลกแวดล้อมจึงเป็นอาการของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ที่ไม่ อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งโดยพื้นฐานทางจิตใต้ส�ำนึกมนุษย์จะเกิดการ ต่อต้านหรือพยายามทีจ่ ะลบความรูส้ กึ นัน้ ออกไป ตัวอย่างทีช่ ดั เจน ในอดีตเช่น สถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นซึ่งมีรูปแบบจากผลผลิต ทางอุ ต สาหกรรม ความเหมือนกันหรือซ�้ำกัน ของรู ป แบบของ สถาปัตยกรรมเมื่อรวมกันจนเป็นเมือง จึงเป็นผลลัพธ์ของความ พยายามที่จะลบความแปลกแยกออกไป โดยมีระบบและระเบียบ แบบแผนเป็นเป้าหมายสูงสุด สังคมโลกในปัจจุบันตกอยู่ในสภาวะที่คลุมเครือเหมือนกับที่นัก ปรัชญาโพสต์โมเดิร์นได้เคยให้ภาพไว้ว่า เป็นสภาพสังคมที่ไม่ได้ มีการแบ่งแยกชัดเจนว่าเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตามแนวความ คิดแบบทวินิยมตั้งแต่อดีตกาล ซึ่งเคยเชื่อว่าทุกสิ่งในธรรมชาติ ประกอบด้วยคูต่ รงข้ามกันเสมอ เช่น พระเจ้า/ซาตาน สวรรค์/นรก ด�ำ/ขาว ถูก/ผิด เป็นต้น องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบคลาสสิก หรือแบบกลไกได้ตอกย�้ำถึงปรัชญาแบบทวินิยมนี้ด้วยความคิดใน 181


Author’s Biography ประวัติผู้เขียน


สันติรักษ์ ประเสริฐสุข จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านออกแบบอุตสาหกรรมบัณฑิต จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนัน้ ได้ศกึ ษาต่อทางด้านสถาปัตยกรรมระดับปริญญาตรี (B.Arch) จาก Pratt Institute และระดับปริญญาโท (M.Arch) จาก University of California at Los Angeles ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันด�ำรงต�ำแหน่ง รองศาสตราจารย์ทางด้านสถาปัตยกรรม คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ แ ละการผั ง เมื อ ง มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ มี ผ ลงานวิ ช าการและวิ จั ย ทางด้ า นทฤษฎี แ ละ ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมทั้งไทยและตะวันตกตีพิมพ์เผยแพร่ เป็นจ�ำนวนมาก

199


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.