Conversations with Architects Series Vol.13: ชีวิตสถาปนิกไทยในต่างแดน

Page 1

ช�ว�ตสถาปนิกไทยในตางแดน

ช�ว�ตสถาปนิกไทยในตางแดน

UNITED STATES ั สาโรจน กุลภัทร ยันตรศาสตร, ว�ศรุต ศตสุข, สุรพล สัจจวาณิชย, ธัญลักษณ หิรญ UNITED KINGDOM พ�ราม บรรพบุตร


12

กุลภัทร เจ้าของส�ำนักงานสถาปนิก / Creative Director บริษทั wHY Architecture ก่อตัง้ ขึน้ ในปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบนั มีสาขาอยูท่ ลี่ อสแอนเจลิสและนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีผลงานออกแบบเป็นทีร่ จู้ กั ทัง้ ในสหรัฐอเมริกาและนานาประเทศ นอกเหนือจากงานออกแบบแล้ว ยังเป็นอาจารย์สอนที่ University of California, Berkeley และ University of Oregon รวมถึงเป็นวิทยากรบรรยายในเวทีระดับ นานาชาติและในประเทศไทยในหลายๆ โอกาส กุลภัทรส�ำเร็จการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทและปริญญาเอกด้านสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยโตเกียว มีประสบการณ์ทำ� งานร่วมกับทาดาโอะ อันโดะในต�ำแหน่งสถาปนิกกว่าเจ็ดปี ได้รับรางวัลศิลปาธร จากกระทรวงวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2552 ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นหนึ่งใน ‘one of the art world’s 100 Most Powerful People’ โดยนิตยสาร Art+Auction Conversations with Architects Series


13

wHY Architecture กุลภัทร ยันตรศาสตร์

วรนล: ช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้างครับ กุลภัทร: งานยุง่ และเดินทางเยอะครับ เพราะงานส่วนมากไม่ได้อยูใ่ น แอลเอและนิวยอร์ก กระจายอยูท่ วั่ ไปตามเมืองต่างๆ ต้องบินไป บินมา ถึงแม้อยู่ในขั้นตอนก่อสร้างแล้วก็ยังต้องเดินทาง บางทีตอ้ งไปเลกเชอร์หรือต้องไปประกวดแบบ เรียกว่าไม่คอ่ ย อยู่กับที่ วรนล: อยากให้เล่าที่มาที่ไปของการมาเป็นสถาปนิก เริ่มตั้งแต่ ตอนเรียนเลยก็ได้ครับ กุลภัทร: ผมเรียนจบทีค่ ณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ เข้าปี 2528 จบปี 2532 รุ่นเดียวกับจุ๋ม (สุลักษณ์ วิศวปัทมวรรณ) ผมก็เหมือน คนส่วนใหญ่คอื เริม่ คิดถึงการไปเรียนต่อเมืองนอก แต่อกี ใจก็ คิดว่าอยากท�ำงานก่อนเหมือนกัน แต่รู้สึกว่าถ้ารีบท�ำงาน ไปก่อนก็เหมือนถูกย้อม ก็จริงที่ว่าได้ประสบการณ์ แต่ว่า เรือ่ งวิธคี ดิ เรือ่ งจุดยืน เราจะไปหาจากตรงไหน ซึง่ ตอนนัน้ อาจารย์ทจี่ ฬุ าฯ มีอทิ ธิพลทางความคิดกับผมเยอะ การเรียน ที่นี่ก็ช่วยในระดับหนึ่ง แต่คิดว่าถ้าอยากรู้มากขึ้นก็ต้องหา ที่อื่น ปรากฏว่าตอนเรียนปีสุดท้ายก็มีทุนญี่ปุ่นเข้ามาพอดี เป็นเหมือนโชคชะตาทีผ่ มสอบได้ พอเรียนจบเดือนมีนาคม ก็ไปญี่ปุ่นเลย เพราะที่นู่นเปิดเทอมเดือนเมษายน แล้วก็ กลับมารับปริญญาเดือนกรกฎาคมอีกที KULAPAT YANTRASAST


28

หน้าที่ของเราคือสร้างสรรค์งานที่สะท้อนชีวิตเรา และสะท้อนชีวิตเขาด้วย Conversations with Architects Series


29

แปดสิบเปอร์เซ็นต์ของอาคารในโตเกียวเป็นอาคารปกติ แต่ว่าสร้างดี ไหลไปเรื่อยๆ ไม่มีการแข่งขัน ทุกคนต้อง หน้าตาอย่างนี้ เหมือนความรู้สึกเรื่อง hierarchy ของ ญีป่ นุ่ ทีว่ า่ ถ้าเป็นเจ้าของบริษทั ต้องขับรถโตโยต้าคราวน์ ถ้า หัวหน้าแผนกลงมาต้องเป็นโคโรน่า รองลงมาเป็นโคโรล่า ถึงแม้คุณจะเป็นเจ้าของบริษัทคุณต้องมองว่าบริษัทอื่นเขา ใหญ่กว่าของคุณ เขาท�ำแบบไหนคุณจะไปซู่ซ่ามากไม่ได้ ไม่เหมือนอเมริกาที่ว่าถ้าคุณประสบความส�ำเร็จเหมือน American Dream แล้ว อยากจะสร้างออฟฟิศให้ฟฟู่ า่ แค่ไหน ก็ท�ำได้ ไม่ต้องไปกลัวใคร วรนล: ส่วนใหญ่ตกึ ทีห่ น้าตาหวือหวาหน่อยในญีป่ นุ่ มักจะเป็นฝีมอื ของสถาปนิกต่างชาติใช่ไหมครับ กุลภัทร: เป็นบางช่วงครับ ช่วงทีฟ่ องสบูแ่ ตกมีการจ้างสถาปนิกต่างชาติ เข้าไปเป็นสีสนั ให้ดไู ม่นา่ เบือ่ ความจริงไม่ได้มอี ทิ ธิพลอะไรมาก คืออาจมาท�ำแค่รา้ นอาหารเล็กๆ พองาม แต่ตวั รากมันก็ยงั เหมือนของเก่าอยู่ เรียกว่าช่วงนี้เปลี่ยนไปเยอะเหมือนกัน น่าจะประมาณสิบกว่าปีแล้ว เงินมาจากที่อื่นคือบริษัท อเมริกนั แต่เงินทีไ่ ปลงอเมริกามาจากทัว่ โลก ขณะทีค่ นบริหาร เป็นอเมริกัน ผมว่ามันเป็นยุคที่ดีของญี่ปุ่น คือเริ่มมีการ แข่งขันกันมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ใช้ข้อดีของระบบเก่า อย่างระบบอุปถัมภ์อยู่ แล้วยังมีความโปร่งใสมากขึ้นและ มีการเน้นเรื่องแสดงออกมากขึ้น ผมรู้สึกว่ามันเป็นเรื่อง ยัง่ ยืนดีนะ แต่มนั ก็ใช้เวลาพอสมควรกว่าจะพัฒนาขึน้ มาได้ อย่างนี้ มันถูกบังคับให้เปิดมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะถ้าไม่เปิด ก็สเู้ กาหลีหรือจีนไม่ได้ เขาเริม่ เข้าใจว่าชีวติ เขาต้องรวมกับ คนอื่นมากขึ้น KULAPAT YANTRASAST


48

Ponoma College StudioConversations Arts Hall, Claremont, CA with Architects Series


49

พัฒนาขึ้นไปด้วยกันได้ ผมเข้าใจว่ามีการท�ำให้ลูกค้าหรือ สังคมเข้าใจมากขึ้นเป็นเรื่องจ�ำเป็นมากว่าจะท�ำอย่างไรให้ คนเข้าใจว่าสถาปัตยกรรมเปลีย่ นชีวติ คนได้อย่างไร ต้องพูดถึง เรื่องที่ไม่ใช่แค่ผักชีโรยหน้า แต่ต้องไปดูว่ารูปแบบหรือ ความสัมพันธ์ในชีวิตประจ�ำวันเป็นอย่างไร ต้องย�้ำเรื่อยๆ เพราะถ้ า สั ง คมไม่ มี ค วามต้ อ งการในสถาปั ต ยกรรมที่ สร้างสรรค์และส่งเสริมชีวติ สถาปนิกก็ไม่สามารถจะสร้าง งานใหม่ๆ ได้ ||

KULAPAT YANTRASAST


52

วิศรุตส�ำเร็จการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริม่ ชีวติ การท�ำงานทีบ่ ริษทั Intergraph (ประเทศไทย) ก่อนทีจ่ ะไปศึกษาต่อ ระดับปริญญาโทที่ IIT มีความรูค้ วามช�ำนาญทางด้านคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ งานวางระบบจัดเก็บข้อมูลด้านสถาปัตยกรรม โดยเป็นหนึง่ ในทีมของบริษทั ใหญ่ อย่าง SOM และ Teng & Associates ดูแลรับผิดชอบโครงการสาธารณะขนาดใหญ่ อาทิ สนามบิน พิพธิ ภัณฑ์ ฯลฯ ก่อนทีจ่ ะย้ายมาท�ำงานทีบ่ ริษทั Stefian Bradley Architects ดูแลโครงการประเภทโรงพยาบาลและศูนย์สขุ ภาพ ฯลฯ วิศรุตใช้ชวี ติ และท�ำงานในสหรัฐอเมริกายาวนานกว่าสิบเจ็ดปี ก่อนทีจ่ ะตัดสินใจ กลับประเทศไทย และเริม่ สนใจงานด้านเกษตรกรรม ศึกษานวัตกรรมการก่อสร้าง บ้านดินและงานสถาปัตยกรรมไม้ไผ่ รวมถึงทดลองออกแบบก่อสร้างด้วยตนเอง ปัจจุบนั ยังคงเป็นทีป่ รึกษาด้านคอมพิวเตอร์และโปรแกรมงานวางระบบ โดยเฉพาะ โปรแกรม BIM ให้กบั ส�ำนักงานสถาปนิกในประเทศไทย Conversations with Architects Series


53

วิศรุต ศตสุข

ณัฐญา: อยากให้เล่าว่าเรียนจบทีไ่ หนมา ท�ำไมถึงไปอยูเ่ มืองนอกได้ ได้ประสบการณ์อะไรมาบ้าง วิศรุต: จบสถาปัตย์ จุฬาฯ แล้วก็ท�ำงานที่ไทยสี่ปี ตอนนั้นอยู่ บริษัท Intergraph ช่วงปีที่สี่ของการท�ำงานพ่อก็เริ่มคิดว่า ถ้าอยู่นานกว่านี้เราคงไม่ไปไหนแน่นอน ท่านเลยจัดการ ส่งไปอเมริกา ผมไปนัง่ ร้องไห้อยูท่ นี่ นั่ ไม่รจู้ กั ใครเลย ไปถึงก็ เรียนภาษาอังกฤษก่อนแค่เดือนเดียวแล้วเข้าโปรแกรม สถาปัตย์ที่ IIT (Illinois Institute of Technology) ซึ่งก็ เรียนไม่ค่อยรู้เรื่องหรอก ปีแรกก็รู้สึกว่าใช้เงินเยอะเลยไป สมัครเป็นผูช้ ว่ ยอาจารย์ทนี่ นั่ เอาเรือ่ งคอมพิวเตอร์จากสีป่ ี ที่ท�ำงานมาไปสอนเขา ผลจากการเป็นผู้ช่วยสอนคือได้ลด ค่าเล่าเรียนครึ่งหนึ่ง ซึ่งถือว่าโชคดี เพราะพอเรียนจบปุ๊บ เจอช่วงต้มย�ำกุง้ ก็ขนึ้ มาเป็นดอลลาร์ละห้าสิบบาทเลย ผมไป ทีโ่ น่นปี 2536 เรียนจบปี 2538 ก็เริม่ ท�ำงานที่ Skidmore, Owings & Merrill (SOM) ณัฐญา: ระหว่างเรียนมีการฝึกงานด้วยหรือเปล่า วิศรุต: ไม่เลย สอนอย่างเดียว สอนคอมพิวเตอร์ทเี่ ราถนัด ทุกวันนี้ ก็ยังสอนอยู่ ไม่นา่ เชื่อเหมือนกัน ณัฐญา: สมัครงานที่ SOM ยากไหม VISARUT SATASOOK


72

ได้ง่าย บางเมืองก็ง่าย อย่างชิคาโกง่ายกว่าบอสตัน ถ้า นิวยอร์กก็เปลี่ยนทุกเดือนยังได้ โอกาสในการเรียนรู้ก็มี เยอะขึ้น

กลับมามีแต่คนบอกว่าไม่ทำ� งานแล้วจะเอาเงิน ที่ไหนกิน คือผมกะว่าจะท�ำเกษตรอย่างเดียว คิดว่าที่ผ่านมาไม่ใช่สิ่งที่ยั่งยืนถาวร สิ่งที่เรา ต้องใช้จริงๆ คืออาหาร ผมอยากสร้างอาหารจริงๆ ณัฐญา: ได้กลับมาเมืองไทยบ้างไหมคะ วิศรุต: ผมกลับทุกปี คิดถึงบ้าน คิดถึงแม่ คิดถึงครอบครัว ผมซื้อ บ้านตอนปี 2549 ซื้อรถอีกต่างหาก ไม่ใช่ว่าเศรษฐกิจดี หรอก แต่มีก�ำลังพอ ตอนนั้นขายบ้านได้ก�ำไรก็เอามาซื้อ บ้านต่อ เก็บเงินไม่ได้ก็เก็บเป็นบ้านไปเลย ภาคบังคับ เพราะถ้าเก็บเป็นเงินก็เอาออกมาใช้ ณัฐญา: แล้วอะไรท�ำให้ตัดสินใจกลับเมืองไทยคะ วิศรุต: เพราะครอบครั ว ด้ ว ย และด้ ว ยความที่ ผ ่ า นการปลด พนักงานมาหลายหน เห็นว่าสิง่ ทีพ่ ยายามท�ำไปต่างๆ นานา ให้องค์กร มันไม่ได้มคี า่ เท่ากับเงินทีเ่ ขาได้ เพราะฉะนัน้ เขา ไม่ได้เห็นคุณค่าของคน พอดูไปแล้วก็พบว่าสิ่งที่อเมริกามี ก็แค่วัตถุเท่านั้น คุณค่าทางจิตใจแทบจะไม่มี เขาพยายาม ปัน้ ขึน้ มาว่าเศรษฐกิจดีอย่างนัน้ อย่างนี้ คุณมีรายได้เท่านัน้ Conversations with Architects Series


73

G Concourse, Chicago O’Hare International Airport, Chicago, Illinois by Teng and Associates ©www.airwaysnews.com

VISARUT SATASOOK


88

ณัฐญา: ฝากอะไรส�ำหรับเด็กรุ่นใหม่ คนที่อยากไปเมืองนอก หรือ ยังไม่มีประสบการณ์ในอาชีพ วิศรุต: อย่าเป็นเลยสถาปนิก ดูตงั้ แต่ตน้ ก็แล้วกันว่าผมผ่านอะไรมา ทั้งเศรษฐกิจ ทั้งสังคม ที่เริ่มด้วยความอยากแล้วลงท้าย ด้วยความเสื่อม วนกันแค่นี้ เราท�ำงานตรงนี้จะจับต้อง กิเลสของลูกค้าได้ชัดเจน เรารับกิเลสของลูกค้ากลับไป สิ่งที่เราได้คือกรรม มันจะติดตามเราไปเรื่อยๆ ถ้าบอกว่า เราจะเป็นสถาปนิกที่มีจิตส�ำนึกแล้วท�ำลายให้น้อยที่สุด ให้ลองคิดใหม่วา่ ท�ำลายให้น้อยที่สุดก็ท�ำลายอยู่ดี คือเป็น สถาปนิกมันก็ดีครับ แต่ก็สร้างสรรค์และท�ำลายในขณะ เดียวกัน ต้องดูว่าสิ่งที่สร้างนั้นคนรับได้ประโยชน์สูงสุด

Conversations with Architects Series


89

หรือเปล่า จ�ำไว้ว่าสถาปนิกเป็นคนที่ได้สัมผัสกับชีวิตของ ผูค้ นหมูม่ าก ยิง่ ท�ำอะไรกับคนหมูม่ ากนัน้ กรรมยิง่ แรง แตะ นิดเดียวผลกระทบก็มากได้ ลงนรกได้เลย ส่วนเรือ่ งการเรียน ตอนที่ไปผมไม่คิดเลยว่าจะได้อะไรจากการเรียน ไปลงทุน ปรับตัวท�ำงานที่นั่น ไม่ได้อะไรจากการเรียนปริญญาโท ที่อเมริกา อาจได้แค่ประสบการณ์ในการใช้ชีวิตแบบไม่มี พ่อแม่อยู่ ส่วนเรื่องการท�ำงานก็เหมือนอยู่ต่างจังหวัด แล้วเข้ามาท�ำงานในกรุงเทพฯ มาลุย มาใช้ชวี ติ เอง ใช้เวลา กับคนที่ไม่รู้จัก แล้วทุกคนเครียดหมด ต้องเอาตัวรอดเอง ณัฐญา: การอ่อนน้อมแบบคนไทยยังมีเสน่ห์ในสายตาฝรั่งไหม วิศรุต: ถ้าเราไม่เถียงเขา เราอาจไม่เจริญก้าวหน้า แต่ก็ต้องเถียง หรือแสดงความเห็นหรือแม้แต่จะเกรีย้ วกราดอะไรก็ตอ้ งให้ พอเหมาะ บางคนน่าหมัน่ ไส้ แล้วคนไม่เอาก็อยูล่ ำ� บากนะ ||

VISARUT SATASOOK


92

หลังส�ำเร็จการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สุรพลได้เริม่ ต้นอาชีพสถาปนิกทีบ่ ริษทั ศรีเมืองก่อสร้าง ก่อนทีจ่ ะตัดสินใจศึกษาต่อ ระดับปริญญาโทด้านภูมสิ ถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ North Carolina State University มีประสบการณ์ทำ� งานในสายวิชาชีพในสหรัฐอเมริกาต่อเนือ่ งยาวนาน นับตัง้ แต่ ปี พ.ศ. 2517 โดยเป็นดราฟต์แมนทีบ่ ริษทั WM. F. Freeman & Associates ก่อนทีจ่ ะมาท�ำงานในต�ำแหน่ง Project Manager และดีไซเนอร์ ทีบ่ ริษทั Robert W Hedrick, Architect และตัดสินใจเปิดส�ำนักงานเป็นของตัวเอง เมือ่ ปี พ.ศ. 2528 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ในชื่อ Surapon Sujjavanich, Architect, PA โดยด�ำรงต�ำแหน่งสถาปนิกและประธานกรรมการบริษทั นอกเหนือจากงานออกแบบแล้ว มีโอกาสได้ดำ� รงต�ำแหน่งประธานสมาคมชาวไทย ในรัฐ North Carolina ต่อเนือ่ งหลายสมัย อุทศิ ตนช่วยเหลืองานด้านสังคมต่างๆ และได้รบั พระราชทานเครือ่ งราชอิสริยาภรณ์เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ จาก Conversations Series พระบาทสมเด็จพระเจ้ าอยู่หัวฯwith ในปีArchitects พ.ศ. 2551


93

Surapon Sujjavanich, Architects, PA สุรพล สัจจวาณิชย์

ณัฐญา: พีส่ รุ พลเป็นหนึง่ ในสถาปนิกไทยทีม่ ปี ระสบการณ์ทำ� งานอยู่ ต่างประเทศมายาวนานมาก เปิดบริษทั เป็นของตัวเองด้วย อยากให้เล่าทีม่ าทีไ่ ปของชีวติ การท�ำงาน เริม่ ต้นจากอะไรคะ สุรพล: ผมจบการศึกษาปริญญาตรีดา้ นสถาปัตยกรรมศาสตร์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมือ่ ปี 2515 ท�ำงานทีป่ ระเทศไทย สองปี จึงมาเรียนต่อปริญญาโททางภูมสิ ถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ North Carolina State University ณัฐญา: ในช่วงทีศ่ กึ ษาต่อต่างประเทศ มีโอกาสได้ฝกึ งานหรือท�ำงาน ไปด้วยไหมคะ สุรพล: ผมมีโอกาสได้ท�ำงานตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน หรือท�ำในช่วง ระหว่างทีก่ ำ� ลังเรียน และหลังจากเรียนจบได้เคยท�ำงานกับ บริษทั สถาปนิกและวิศวกรรมหลายบริษทั ทัง้ บริษทั เล็กและ ใหญ่ ท�ำต่อเนือ่ งมาโดยตลอดครับ ณัฐญา: เริม่ ต้นสมัครงานอย่างไรคะ เตรียมตัวอย่างไรบ้าง สุรพล: งานแรกในอเมริกาเมือ่ ปี 2517 คือดราฟต์แมน ผมได้งาน แรกด้วยวิธี cold door knocking โดยไปทีบ่ ริษทั สถาปนิก พร้อมกับน�ำพอร์ทโฟลิโอไปให้เขาดูด้วย ผมโชคดีที่เขา ชอบผลงานและรับเข้าท�ำงาน แต่ละบริษทั ทีท่ ำ� งาน จะท�ำ ประมาณสามถึงสีป่ ี ระหว่างทีท่ ำ� ให้แต่ละบริษทั ก็พยายาม Surapon Sujjavanich


98

Superior Courtroom of Vance County Courthouse, Henderson,Series North Carolina Conversations with Architects


99

ณัฐญา: สุรพล: ณัฐญา: สุรพล:

ณัฐญา: สุรพล:

ออกไปหางานมาเป็นเวลาเกือบสิบปีแล้ว และทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือผมรักงาน และมีความสุขกับงานทีท่ ำ� มีโอกาสได้ท�ำงานอย่างอื่น หรือท�ำธุรกิจส่วนตัวควบคู่ไป ด้วยไหมคะ ผมมีธรุ กิจอีกอย่างคือบ้านเช่าครับ อยากให้เล่าถึงกิจวัตรประจ�ำวัน ใช้ชวี ติ อย่างไรบ้าง มีงาน อดิเรกอะไรทีส่ นใจเป็นพิเศษ ทุกวันหลังจากดูขา่ วโทรทัศน์ชว่ งหกโมงเย็นถึงหนึง่ ทุม่ เสร็จ ผมกับภรรยาจะออกก�ำลังกาย ยกน�ำ้ หนัก ปัน่ จักรยาน วิง่ สายพาน และเทโบ (Tae Bo) เป็นเวลาสีส่ บิ ห้านาที และถ้ามี เวลาว่างก็จะจัดสวนดอกไม้ในห้อง sunroom เพือ่ เป็นงาน อดิเรก อีกอย่างทีส่ นใจเป็นพิเศษคือการถ่ายรูปครับ ถ้าจะให้บรรยายถึงลักษณะของตนเอง มองว่าตนเองมีขอ้ ดี อย่างไรคะ ผมชอบเรียนรูเ้ ทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดเวลา เพือ่ มาปรับใช้ ประโยชน์ในการออกแบบ ถ้ามีขอ้ ผิดพลาดจะหาทางแก้ไข ไม่ใช่แก้ตวั และเรียนรูจ้ ากข้อผิดพลาดในอดีต เพือ่ ปรับปรุง การออกแบบในปัจจุบนั และอนาคต

พนักงานในอเมริกาจะมีความพยายามในการท�ำงานสูง เพือ่ ให้คณ ุ ภาพของงานออกมาสูง เพือ่ ความก้าวหน้าและความส�ำเร็จของตัวเองและ ของบริษทั ด้วย Surapon Sujjavanich


102

ณัฐญา: ลักษณะการท�ำงานในต่างประเทศเป็นอย่างไรคะ สุรพล: บริษทั ในอเมริกาอาจจะแยกตามจ�ำนวนพนักงานได้เป็นสาม ประเภท ขนาดเล็ก มีพนักงาน 1-9 คน เจ้าของบริษทั ส่วน ใหญ่จะเป็นสถาปนิกเอง จะด�ำเนินงาน วางแผนงาน ติดต่อ กับลูกค้าและผูร้ บั เหมาเอง ออกแบบเอง คุมงานก่อสร้างเอง และแก้ไขปัญหาเองทุกอย่าง โดยมี technician (site survey) และ CAD operator ช่วย ขนาดกลางมีประมาณ 10-39 คน เจ้าของบริษทั แต่งตัง้ คนหนึง่ เป็น marketing manager เป็น คนออกหางานเข้าบริษทั งานของบริษทั จะแบ่งเป็น 2-4 กลุม่ เพือ่ ท�ำคนละโปรเจ็กต์ ในแต่ละกลุม่ จะมี project architect รับผิดชอบ และมีดราฟต์แมนกับ CAD operator 1-3 คน ส่วนขนาดใหญ่มพี นักงานประมาณสีส่ บิ คนขึน้ ไป บริษทั จะมี ประธานคนเดียว แต่จะมีรองประธานของแต่ละแผนก เช่น รองประธานฝ่ายสถาปัตยกรรม รองประธานฝ่ายวิศวกรรม รองประธานฝ่ายการตลาด รองประธานฝ่ายหาข้อมูล แล้วแต่ ว่าบริษัทมีแผนกอะไรบ้าง งานออกแบบของบริษัทอาจจะ แบ่งความรับผิดชอบเป็นหลายแผนก เช่น สถาปัตยกรรม วิศวกรรม ภูมสิ ถาปัตยกรรม เป็นต้น ซึง่ แต่ละแผนกก็แยก ความรับผิดชอบเป็นสาขาย่อยอีกหลายอย่าง เช่น หาข้อมูล ออกแบบ เขียนแบบ specification ตลอดจนก�ำหนดคน รับผิดชอบในการคุมงานก่อสร้าง ณัฐญา: ทีอ่ เมริกามีวฒ ั นธรรมการท�ำงานหรือมีบรรยากาศการท�ำงาน เป็นอย่างไรบ้างคะ สุรพล: โดยทัว่ ไปจะท�ำงานเป็นทีมเวิรก์ ช่วยกันออกแบบเพือ่ ให้ผลงาน ออกมาดีทสี่ ดุ ให้มขี อ้ ผิดพลาดน้อยทีส่ ดุ ทุกคนมีโอกาส แสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ เพือ่ ปรับปรุงคุณภาพของ Conversations with Architects Series


103

Surapon Sujjavanich


116

Sujjavanich’s Residence, Apex, North Carolina Conversations with Architects Series


117

ณัฐญา: สุรพล:

ณัฐญา: สุรพล:

ต่างประเทศก็ดี สิ่งส�ำคัญคือสถาปนิกต่างชาติควรจะต้อง ศึกษาเพือ่ ความเข้าใจดินฟ้าอากาศ สิง่ แวดล้อม ตลอดจน ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของประเทศนัน้ ๆ ด้วย ค�ำว่า ‘จรรยาบรรณ’ มีความส�ำคัญไหมกับอาชีพเรา ส�ำหรับผมเป็นเรือ่ งส�ำคัญมากในการท�ำงานในต่างประเทศ ‘จรรยาบรรณ’ ของสถาปนิกก็เช่นเดียวกับความรับผิดชอบ ในวิชาชีพสถาปนิก ทีจ่ ะต้อง Protect the health, safety and welfare of others. ฝากข้อคิดหรือค�ำแนะน�ำส�ำหรับนักศึกษาทีก่ ำ� ลังเรียน หรือ สถาปนิกทีก่ ำ� ลังวางแผนจะไปท�ำงานในต่างประเทศ ขอให้อดทน ท�ำงานให้หนัก รักในสิง่ ทีท่ ำ� และท�ำในสิง่ ทีร่ กั พยายามขวนขวายหาความรูใ้ หม่ๆ เพิม่ เติมตลอดเวลา ||

Surapon Sujjavanich


120

พิรามเริม่ ต้นอาชีพสถาปนิกทีบ่ ริษทั Tibbalds TM2 ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ก่อนทีจ่ ะย้ายมาท�ำงานทีบ่ ริษทั Caroe & Partners ดูแลรับผิดชอบโครงการประเภท อาคารอนุรกั ษ์ตา่ งๆ ในประเทศอังกฤษ ภายหลังได้ยา้ ยมาท�ำงานทีบ่ ริษทั Tony Fretton Architects บริษทั David Chipperfield Architects และบริษทั Hugh Broughton Architects ตามล�ำดับ โดยท�ำหน้าทีเ่ ป็น Project Architect มีโอกาส ได้ดแู ลรับผิดชอบโครงการสาธารณะและโครงการขนาดใหญ่ ทัง้ ในอังกฤษและ ในประเทศต่างๆ ก่อนทีจ่ ะตัดสินใจกลับประเทศไทยหลังท�ำงานในสายวิชาชีพ และใช้ชีวิตที่อังกฤษกว่ายี่สิบปี พิรามส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินยิ ม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จาก Cardiff University และปริญญาโทในสาขาเดียวกันจาก Bartlett School of Architecture ปัจจุบนั เป็น Design Director / เจ้าของส�ำนักงานออกแบบชือ่ 4b architects Conversations with Architects Series


121

4b architects พิราม บรรพบุตร

ณัฐญา: ไปอยู่ที่อังกฤษตั้งแต่เด็กเลยหรือเปล่า พิราม: ผมเรียนทีก่ รุงเทพคริสเตียนถึง ม.3 จากนัน้ คุณพ่อคุณแม่ก็ ส่งไปเข้าโรงเรียนประจ�ำทีอ่ งั กฤษครับ ต้องเรียนซ�ำ้ ชัน้ หนึง่ ปี เพราะภาษาไม่ดี เรียนอยูส่ ปี่ กี ส็ มัครเข้ามหาวิทยาลัยสองที่ คือ UCL (University College London) กับ Cardiff University แต่เข้าทีแ่ รกไม่ได้เพราะคะแนนฟิสกิ ส์แย่มาก มารูภ้ ายหลัง ว่าฟิสิกส์ไม่ต้องใช้เลย ผมก็เลยมาได้ที่ Cardiff หลักสูตร ห้าปีจบ คือสามปีแรกได้ Bachelor of Science ต้องท�ำงานต่อ อีกหนึ่งปี แล้วก็กลับมาเรียนต่ออีกปีถึงจะได้ Bachelor of Architecture ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยอืน่ จะต้องกลับมาเรียนต่อ อีกสองปี แต่หลังจากได้ Bachelor of Science แล้วจะเปลีย่ น ทิศก็ได้นะครับ เพื่อนผมมีเยอะที่เรียนแล้วไม่ชอบก็ดรอป หรือเปลี่ยนสายอาชีพกันเยอะ ณัฐญา: อยากเรียนสถาปัตย์มาตั้งแต่มัธยมเลยหรือเปล่า พิราม: ไม่เคยคิดเลยครับ จริงๆ อยากเป็นวิศวกร ตอนเด็กๆ คุณพ่อ ชอบพูดว่าเป็นวิศวกรจะได้สร้างสะพานใหญ่ๆ มีรถข้ามแล้ว มันเท่ แถมยังมีความคิดในใจว่าสถาปัตย์นนั้ เรียนนานมาก แต่ท้ายที่สุดแล้วฟิสิกส์มันแย่มาก เรียนไปแล้วเหมือนฝืน ก็เลยเปลี่ยนมาเป็นเรียนสถาปัตย์ พอเรียนไปก็เริ่มชอบ PIRAM BANPABUTR


126

Swan Lake, Khao Yai Conversations with Architects Series


127

PIRAM BANPABUTR


150

ถามตลอดเวลาเลยว่า What is your big idea? ถามจน เพื่อนผมร้องไห้ จะไม่ดูรูปที่ทำ� มาสวยๆ เลย ติยาวมาก เขาบอกว่าของพวกนี้ดูไม่ได้เพราะแผ่นแรกยังไม่ผ่านเลย จะวาดรูปสวยแค่ไหนเขาก็ไม่ซื้อ เด็กสมัยนี้อาจติดเรื่อง รูปแบบคือค้นหาอะไรได้ง่ายๆ แล้วก็จ�ำมาจากสิ่งที่เห็น มันต้องหาไอเดียภาพรวมก่อน อย่างเช่นตึกช้างข้างในคนจะ ชอบหรือไม่ชอบก็ตาม แต่แนวคิดคือช้าง หรือตึกหุ่นยนต์ ไอเดียก็คือหุ่นยนต์ อันนี้ผมให้นะ ไม่ว่าคนจะวิจารณ์ว่า อย่างไร ณัฐญา: เรื่ อ งจรรยาบรรณเป็ น เรื่ อ งที่ ส� ำ คั ญ มากไหมส� ำ หรั บ สถาปนิกที่อังกฤษ พิราม: ส�ำคัญครับ ที่โน่นเป็นระบบระเบียบแบบแผน มีกฎสิบข้อ ของ ARB ว่าอะไรท�ำได้อะไรท�ำไม่ได้ แล้วธรรมชาติของคน อังกฤษก็จะท�ำตามกฎ ต้องเข้าคิว เดินไปตามคิว ทัศนคติคน ก็เป็นอย่างนั้น ยกตัวอย่างเช่น คุณเป็นลูกค้าผม แล้วผม ท�ำอะไรที่ไม่ถูกต้อง แต่เผอิญคุณศึกษามาว่าจริงๆ แล้ว สถาปนิกควรจะท�ำอะไรบ้าง คุณก็แค่โทรไปหา ARB เพือ่ รายงาน ผมก็จะโดนสอบสวนและเสียค่าปรับ ถ้าไม่เสียค่าปรับ ก็ตอ้ งแก้ไขให้จบภายในหกสิบวัน ถ้าไม่แก้ชอื่ ผมก็จะถูกลบ ออกจาก ARB แล้วเขาก็มหี นังสือพิมพ์ชอื่ Building Design จะมีบทความกอสซิปเล็กๆ ประมาณว่านาย ก. ท�ำผิดแล้ว เพิ่งถูกลบชื่อออกไป เพื่อคนอ่านจะได้รู้สึกว่าเป็นบทเรียน และเห็นว่าเอาจริงนะ ส่วนเรื่องใต้โต๊ะก็คงมีบ้างแต่ก็ไม่ได้ ชัดเจนครับ ณัฐญา: เรือ่ งฟ้องทีเ่ มืองไทยก็มจี ากทัง้ สองฝัง่ จากสถาปนิกและจาก ลูกค้า อย่างบางทีลูกค้าก็ทำ� เหมือนจะจ้างเรา แต่กลับเอา Conversations with Architects Series


151

ถ้าเห็นตึกนีแ้ ล้วรูส้ กึ มีอารมณ์รว่ มก็เข้าไปดูวา่ มันเข้าท่าไหม ถ้าดูแล้วไม่เข้าท่าพรุง่ นีก้ ลับไปดูอกี ที แล้วถ้ามันยังน่าเบือ่ อยูก่ อ็ ย่าไปท�ำตาม ต้องพยายาม ขวนขวายดูอะไรใหม่ๆ ต้องกล้า ต้องสู้ ต้องมัน่ ใจ แต่กอ็ ย่ามัน่ ใจจนประมาท

PIRAM BANPABUTR


156

4b architects

Conversations with Architects Series


157

ก็ตาม พยายามหาโอกาสไป แล้วก็ตอ้ งไปดูในสิง่ ทีเ่ มืองไทย ไม่มี สิง่ ทีค่ นไทยไม่ได้คดิ และต้องเอากลับมาให้คนทีน่ ไี่ ด้คดิ เพือ่ พัฒนา อย่าดูแต่สงิ่ ทีอ่ ยูบ่ นโทรศัพท์มอื ถือ อย่างพูดถึง สถาปัตยกรรม ถ้าเห็นตึกนี้แล้วรู้สึกมีอารมณ์ร่วมก็เข้าไป ดูว่ามันเข้าท่าไหม ถ้าดูแล้วไม่เข้าท่าพรุ่งนี้กลับไปดูอีกที แล้วถ้ามันยังน่าเบื่ออยู่ก็อย่าไปท�ำตาม ต้องพยายาม ขวนขวายดูอะไรใหม่ๆ ต้องกล้า ต้องสู้ ต้องมั่นใจ แต่ก็ อย่ามั่นใจจนประมาท ||

เครดิตภาพถ่าย: Biglovestudio PIRAM BANPABUTR


160

หนิง-ธัญลักษณ์ทำ� งานในสายวิชาชีพสถาปัตย์ทนี่ วิ ยอร์กตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2543 มีโอกาสได้ทำ� งานในส�ำนักงานออกแบบในฐานะสถาปนิกอยูห่ ลายบริษทั อาทิ บริษทั CannonDesign บริษัท Pei Cobb Freed and Partners บริษัท Rafael Viñoly Architects และบริษัท BBG-BBGM ก่อนที่จะมาท�ำงานกับ Daniel Libeskind ในปี พ.ศ. 2549 ดูแลรับผิดชอบในโครงการส�ำคัญๆ โดยเฉพาะอาคารสาธารณะ อาคารส�ำนักงาน และอาคารพาณิชย์ ฯลฯ ทั้งในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศ รวมถึงมีสว่ นร่วมในการประกวดแบบ ในระดับนานาชาติในหลายๆ โอกาส ปัจจุบนั ด�ำรงต�ำแหน่งเป็น Associate หลังส�ำเร็จการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนิงมีโอกาสได้ทำ� งานทีเ่ มืองไทยในระยะเวลาสัน้ ๆ ก่อนทีจ่ ะไปท�ำงานกับ OMA Asia ทีฮ่ อ่ งกงในปี พ.ศ. 2542 และได้ตดั สินใจไปเรียนต่อในระดับปริญญาโท ด้านสถาปัตยกรรมที่ Columbia University ใช้ชวี ติ และท�ำงานทีน่ วิ ยอร์กจนถึง Conversations with Architects Series ปัจจุบัน


161

Studio Libeskind ธัญลักษณ์ หิรัญสาโรจน์

Nattaya: What is the reason for working abroad for a long time? Ning: During my final two years as an undergraduate at Chulalongkorn University, one of my professors, Pramote Tangtieng, introduced me to many international projects, including projects by Mr. Libeskind, which inspired me to learn more about the profession abroad. I was also fortunate to have Duangrit Bunnag, who studied at the AA, as a mentor. In 1998 I interned with the Office for Metropolitan Architecture (OMA) in Hong Kong, which is where I learned about the architectural process in its entirety: writing, diagramming, collage and model making, and presentation. Living in Hong Kong, a port city with both old and new urban characteristics, also prepared me to live abroad. ... NING HIRANSAROJ


170

Nattaya: Explain the distinct characteristics, pros and cons for working in the US and the trend in the industry. Ning: I have worked only briefly in Thailand, so I will not be able to provide an answer for this question with regard to working in Thailand. In the U.S. architects gain access to the manufacturing industry much earlier in the design process. The distance between manufacturing and design is getting smaller and the two are seamlessly integrated at times. Nattaya: Describe pros and cons for being foreign. Ning: Because the Studio works on projects around the world, I think most of us live in a perpetual state of being foreign. The profession requires us to think in terms of geometry, conceptualize problems and solve them with ideas. The language boundary is mitigated as diagrams and images act as the primary means of communication. Nattaya: Is there any other business interests or hobbies beside work? Ning: In my view, it is critical for designers to follow business and technological innovations in the news. Nattaya: Describe your daily life. Ning: I like to run before going to work...read the paper on the subway…simple. ... Conversations with Architects Series


171

01

02

01 Kö-Bogen, Düsseldorf, Germany ©KirscherFotografie 02 Kö-Bogen, Düsseldorf, Germany ©Matthias Kunde 03 Kö-Bogen concept sketch ©SDL

03

NING HIRANSAROJ


192

Conversations with Architects Series


193

fantastic portfolio and a concise resume. Working in an office on a team is different than working on a school project. It is important to contribute ideas to the team and deliver your share of the responsibility. Make sure you have an understanding of the project as a whole, beyond your scope of involvement. ||

NING HIRANSAROJ



ณัฐญา ชัยวรรณคุปต์ นักออกแบบ / สัมภาษณ์

ณัฐญา ชัยวรรณคุปต์ จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เริม่ ชีวติ การท�ำงาน ที่บริษัทสถาปนิก 49 หลังจากนั้นไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ College of Architecture and Urban Planning, the University of Michigan และได้รับประกาศนียบัตรทางด้าน การออกแบบจาก University of Copenhagen มีประสบการณ์ใช้ชีวิตในต่างประเทศและ ประสบการณ์ท�ำงานใน Chicago, USA นับสิบปี จากบริษัท SOM (Skidmore Owings and Merrill) และ TENG & Associates ดูแลรับผิดชอบโครงการหลากหลายขนาดใน ระดับนานาชาติ มีผลงานที่ร่วมออกแบบและด�ำเนินการได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น จาก AIA Chicago Chapter หลายโครงการ ปัจจุบันกลับมาบุกเบิกงานในสาขา Environmental and Architectural Graphic ด�ำรงต�ำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการบริษัท กราฟฟิค 49

วรนล สัตยวินจิ สถาปนิก / สัมภาษณ์ วรนล สัตยวินิจ ส�ำเร็จการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จากสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และปริญญาโทจาก The University of California, Berkeley มีประสบการณ์ทำ� งานกับบริษทั SOM (Skidmore Owings and Merrill) ปัจจุบนั ด�ำรงต�ำแหน่งสถาปนิกอาวุโส / พาร์ทเนอร์ บริษัท สถาปนิก 49 เฮ้าส์ ดีไซน์ จ�ำกัด


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.