เลอ คอร์บูซิเอร์ บทสนทนากับนักเรียน

Page 1



อะ

Talks with Students from the Schools of Architecture

แปล

ต้นข้าว ปาณินท์


This translation is published by arrangement with La Foundation Le Corbusier Š 1943 Foundation Le Corbusier 8-10 square du Docteur Blanche - 75016 Paris, France The Thai Edition is translated and published by Li-zenn publishing, 2015


สารบัญ

12

ค�ำกล่าวของวันนี้

16

ถึงนักเรียนในโรงเรียนสถาปัตยกรรม

18

ความสับสนวุ่นวาย

28

การสร้างที่อยู่อาศัย

38

สถาปัตยกรรม

80

เวิรก์ชอปของการศึกษาวิจัย



ค�ำน�ำ

เมื่อผมได้ทราบถึงนโยบายของสมาคมสถาปนิกสยาม  ในพระบรมราชูปถัมภ์  เกี่ยวกับ การจัดท�ำโครงการหนังสือแปลเป็นภาษาไทย  โดยพิจารณาจากหนังสือที่ดีๆ  และมีคุณค่าจากทั่วโลก ที่ คิ ด ว่ า จะเป็ น ประโยชน์ กั บ นั ก เรี ย น  นั ก ศึ ก ษา  และสถาปนิ ก ในวงการสถาปั ต ยกรรมในบ้ า นเรา ผมรู้สึกยินดีอย่างมากที่วงการของเราจะมีโอกาสได้อ่านหนังสือดีๆ ฉบับภาษาไทย ซึ่งก็จะช่วยเติมเต็ม ในแง่ของแนวคิดและปรัชญาความรู้ต่างๆ ที่ผ่านมานั้น นักเรียน นักศึกษา และสถาปนิกในประเทศไทย ขาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือไปมาก  และเสียเปรียบเพื่อนร่วมอาชีพในอีกหลายๆ ประเทศ  ที่พวกเขาเหล่านั้นมีโอกาสได้เลือกหาหนังสืออ่านได้หลากหลาย  มีโอกาสได้ศึกษาค้นคว้า และหาความรู ้ จ ากการอ่ า นหนั ง สื อ ที่ เ ขี ย นโดยสถาปนิ ก ชั้ น ครู ทั้ ง หลาย  หรื อ จากนั ก วิ ช าการที่ มี ประสบการณ์มากมาย ผมเชื่อว่าทุกๆ  คนที่มีโอกาสได้อ่านหนังสือเหล่านี้  เขาจะเป็นสถาปนิก  เป็นครูบาอาจารย์ ที่เพียบพร้อมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาแนวคิด  ช่วยพัฒนาวิชาชีพของพวกเขา ให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น การได้เรียนรู้จากหนังสือเหล่านี้ ช่วยให้เขาได้ซึมซับสิ่งที่ดีงาม ซึมซับประสบการณ์ ความรู้ต่างๆ จากผู้เขียน ทั้งในแง่ของความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ และในแง่ของคุณธรรมในการประพฤติ ปฏิบัติตน  ท�ำให้เขาเหล่านั้นเติบโตเป็นสถาปนิกที่เพียบพร้อม  มีโอกาสจะได้สร้างสรรค์ผลงานที่ดีมี คุณภาพยิ่งๆ ขึ้นไป ความตั้งใจดี ความปรารถนาดีของกรรมการบริหารสมาคมฯ ในยุคนี้ นับเป็นกุศลและ ท�ำคุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์ให้กับวงการของเรา และด้วยแนวคิดเดียวกันนี้ ส�ำนักพิมพ์ ลายเส้น พับบลิชชิง่ จึงได้จดั ท�ำเป็นโครงการหนังสือแปล โดยใช้ชอื่ ชุด ‘modern thought’ รวมเข้ากับหนังสือแปล แนวสถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม และการออกแบบ จากต้นฉบับภาษาต่างๆ ที่ส�ำนักพิมพ์ ลายเส้นฯ จะจัดพิมพ์ในอนาคต ผมต้องขอขอบคุณสมาคมฯ มา ณ โอกาสนี้อีกครั้ง ที่สนับสนุนจัดท�ำโครงการหนังสือแปลนี้ ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายที่เสียสละช่วยเหลือในการแปลหนังสือในครั้งนี้  ขอขอบคุณส�ำนักงาน สถาปนิ ก ที่ ส นั บ สนุ น ทุ น ทรั พ ย์ ใ นการจั ด พิ ม พ์   และขอขอบคุ ณ ที ม งานของส� ำ นั ก พิ ม พ์   ลายเส้ น ฯ ที่ด�ำเนินการจัดพิมพ์ให้ส�ำเร็จลงได้ด้วยดีทุกประการ นิธิ สถาปิตานนท์



ค�ำนิยม

การศึกษาสถาปัตยกรรมตามแบบแผนตะวันตกได้เริ่มต้นมากว่า  80  ปี  ในประเทศไทย ไม่ได้หมายความว่าการสร้างงานสถาปัตยกรรมในบ้านเราจะต้องเป็นไปตามรูปแบบตะวันตกเท่านั้น การศึกษาช่วยให้เราเข้าใจวิธีการคิดอย่างสร้างสรรและกระบวนการออกแบบอย่างเป็นระบบ  มีความรู้ เกี่ยวกับเทคโนโลยีการก่อสร้างตลอดจนคุณสมบัติของวัสดุที่เหมาะสมกับการใช้งานในแบบต่างๆ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์และศิลป์ของงานสถาปัตยกรรม  ท�ำให้เราสามารถพัฒนาการความคิดอ่าน ที่สามารถใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบและพัฒนารูปแบบงานที่เป็นตัวตนของเรา แต่ จ นถึ ง ปั จ จุ บั น หนั ง สื อ และต� ำ ราจ� ำ นวนมากมายที่ เ ป็ น บทเรี ย นที่ ส� ำ คั ญ ต่ อ การพั ฒ นา การศึ ก ษาสถาปั ต ยกรรมยั ง ไม่ ไ ด้ ถู ก แปลและจั ด พิ ม พ์ ใ ห้ เ ป็ น หนั ง สื อ ภาษาไทย  ดั ง นั้ น เพื่ อ ให้ เ ป็ น ประโยชน์ต่อการศึกษาสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงมีด�ำริที่จะท�ำ โครงการจัดท�ำหนังสือแปลโดยจะคัดเลือกหนังสือที่คิดว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนการศึกษา ทั้งส�ำหรับนิสิตนักศึกษาและแม้แต่สถาปนิกเองที่ยังไม่ได้อ่านหนังสือที่มีคุณค่าเหล่านี้ได้มีโอกาสใน การเข้าถึงเนื้อหาของหนังสือเหล่านี้ได้อย่างลึกซึ้งในฉบับภาษาไทย  ทั้งนี้การคัดเลือกและการแปล หนั ง สื อ ได้ มี ก ารด� ำ เนิ น การอย่ า งพิ ถี พิ ถั น โดยที ม งานผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ แถวหน้ า ในวงการวิ ช าการ ในบ้านเรา ในชุดแรกนี้จะมีหนังสือที่ท�ำการแปลทั้งหมดจ�ำนวน 7เล่ม ล้วนเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าทั้งสิ้น ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการที่สมาคมฯ  จัดท�ำโครงการหนังสือแปลในครั้งนี้จะช่วยให้เป็น ตัวกระตุ้นความคิดความอ่านของผู้ที่รักการศึกษาสถาปัตยกรรมให้มีความรู้เพิ่มพูนไม่มากก็น้อยและ เป็นพื้นฐานส�ำคัญในการพัฒนายกระดับคุณภาพงานสถาปัตยกรรมในประเทศไทยอย่างยั่งยืน พิชัย วงศ์ไวศยวรรณ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2557 - 2559


จากผู้แปล

ในฤดูร้อน ต้นเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1965 เลอ คอร์บูซิเอร์ ได้เดินทางมาพักร้อน ที่เมือง Roquebrune-Cap-Martin ในแถบ Côte d’Azur ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเมืองชายทะเล โดย พักอยูใ่ นกระท่อมเล็กๆ  บนเนินเขาทีส่ ามารถมองลงมายังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้อย่างแจ่มชัด  กระท่อม น้อยของเลอ  คอร์บูซิเอร์นั้น  รายล้อมไปด้วยพืชพันธุ์นานาชนิด  และสามารถจะเข้าถึงได้ด้วยทางเดิน เท้าเล็กๆ เท่านั้น บรรยากาศโดยรอบนั้นสุขสงบ มีเพียงเสียงของคลื่นกระทบฝั่ง และเสียงเบาๆ จาก ทางรถไฟที่อยู่ไกลออกไป ที่ พั ก อาศั ย ของ  เลอ  คอร์ บู ซิ เ อร์ นี้   เป็ น เพี ย งบ้ า นน้ อ ยที่ มี ห ้ อ งเดี ย ว  สร้ า งด้ ว ยไม้ ส น ไม่ต่างจากกระท่อมในวัยเด็กที่เทือกเขาอัลไพน์ที่เลอ  คอร์บูซิเอร์  เคยเล่าให้เราฟัง  ภายในประกอบ ไปด้วยเฟอร์นิเจอร์ง่ายๆ มีโต๊ะเล็กๆ ตัวเดียว ม้านั่งไม้สองตัว และเตียงเล็กๆ ก่อนที่ภรรยาของเขาจะ จากไปเมือ่ เจ็ดปีกอ่ นหน้านี้ เลอ คอร์บซู เิ อร์ นัน้ จะปูทนี่ อนอยูบ่ นพืน้ ในขณะทีภ่ รรยาจะนอนบนเตียงเล็ก นอกจากเฟอร์นิเจอร์เพียงไม่กี่ชิ้นเหล่านี้  ก็จะมีเพียงอ่างล้างหน้าเล็กๆ  และโถส้วมที่ปิดกั้นด้วย ม่านบางๆ  เท่านั้น  กระท่อมน้อยนี้มีขนาดกว้างยาวเท่ากันคือสามเมตรหกสิบหก สูงสองเมตรยี่สิบหก ทุกสิ่งดูจะอยู่ในระยะเอื้อมถึง องค์ประกอบทุกอย่างท�ำงานร่วมกัน เลอ คอร์บูซิเอร์ จะตื่นนอนในเวลา หกโมงเช้าทุกวันเพื่อออกก�ำลังกายและว่ายน�้ำในทะเล กิจวัตรที่เขาท�ำเป็นประจ�ำทุกวัน โดยมีโรเบิร์ต โรบูตาโน (Robert Robutano) ลูกชายเจ้าของร้านอาหารที่คอยท�ำอาหารส่งมาให้ เลอ คอร์บูซิเอร์ มาว่ายน�้ำเป็นเพื่อนทุกวัน โดยโรบูตาโนนั้นยังเป็นสถาปนิกท�ำงานในส�ำนักงานของ เลอ คอร์บูซิเอร์ ใน กรุงปารีสด้วย ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม  โรบูตาโน  ต้องออกเดินทางไปยังเมืองเวนิส  เพื่อท�ำงานใน โปรเจ็กต์โรงพยาบาลที่ เลอ คอร์บูซิเอร์ ได้ออกแบบไว้ โดยก่อนจะออกเดินทาง เลอ คอร์บูซิเอร์ ได้ขอให้โรบูตาโน  น�ำต้นฉบับหนังสือเกี่ยวกับความคิดของเขา  ชื่อ  ตัวตนของ  เลอ  คอร์บูซิเอร์ (Corbusier Himself) ที่เขาได้แก้ไขเรียบร้อยแล้ว ไปน�ำส่งให้กับ ฌอง เพติต (Jean Petit) บรรณาธิการ ที่เมืองปารีส โรบูตาโนเอง ได้เล่าให้เราฟังว่า เขารู้สึกประหลาดใจที่เลอ คอร์บูซิเอร์นั้น ฝากต้นฉบับ ล�้ำค่านี้ไปกับเขา แทนที่จะน�ำกลับไปเองในเดือนกันยายน ที่เลอ คอร์บูซิเอร์ก็ต้องกลับไปปารีสอยู่แล้ว แต่เลอ คอร์บูซิเอร์ ก็ยังยืนยันที่จะให้เขาน�ำต้นฉบับนั้นติดตัวไปด้วย


วันที่ 27 สิงหาคม ในฤดูร้อนแห่งการพักผ่อนนั้นเอง เลอ คอร์บูซิเอร์ ได้ออกไปว่ายน�้ำใน เวลาเช้าเหมือนเช่นเคย แตกต่างจากทุกๆ วันก็ตรงที่มันกลายเป็นวันสุดท้ายที่เราได้พบกับเขา โดยทิ้ง ข้อสงสัยไว้ให้กับเราว่า เลอ คอร์บูซิเอร์ นักสร้างแห่งศตวรรษที่ยี่สิบ ได้ตัดสินใจที่จะออกเดินทางไปยัง สถานที่แห่งใหม่ และได้เลือกเส้นทางนั้นด้วยตัวของเขาเอง แม้การหันหลังให้กับโลกและสถาปัตยกรรมของ เลอ คอร์บูซิเอร์ จะเป็นเรื่องราวปริศนาที่ เราไม่มีวันได้รับค�ำตอบ สถาปนิกและนักคิดผู้นี้ ได้ทิ้งมรดกมากมายไว้ให้เรา เพราะตั้งแต่เริ่มท�ำงาน เขาได้ตัดสินใจแน่วแน่ที่จะเก็บบันทึกเกี่ยวกับทุกสิ่ง รักษาชิ้นส่วนของทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นภาพสเก็ตช์ โปสต์การ์ด จดหมาย สมุดบันทึก แบบทุกแผ่น ภาพถ่าย ไปจนถึงหนังสือ นิตยสาร ใบเสร็จค่าโทรศัพท์ ค่าซักรีด หมายศาล และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน ร่องรอยของ เลอ คอร์บูซิเอร์ จึงเป็นร่องรอยที่ทั้งแจ่มชัด และรางเลือนในเวลาเดียวกัน มันแจ่มชัดด้วยข้อเท็จจริงและหลักฐานที่ปรากฏนับไม่ถ้วน และเลือนราง ด้วยความคิดภายในจิตใจของสถาปนิกผู้นี้ ที่ไม่เคยเปิดโอกาสให้เราได้ยึดมั่นในสิ่งใดที่เขาพูดหรือกระท�ำ ทุกสิ่งดูจะมีสองความหมายควบคู่กันเสมอ ในงานสถาปัตยกรรมของ เลอ คอร์บูซิเอร์ โลกอนาคตนั้น ดูจะผูกอยู่กับภาพของอดีต การคิดค้นสิ่งใหม่ดูเหมือนจะผูกอยู่กับเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ความขาว เรียบหมดจดดูจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดสีสัน ในขณะที่งานของเขาดูเหมือนจะสร้างขึ้นที่ใดก็ได้ มันก็ไม่ สามารถจะเกิดขึ้นได้ในทุกๆ ที่ ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมและชีวิตมนุษย์ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง เราจึงไม่เคยมั่นใจได้เลยว่า เลอ คอร์บูซิเอร์ ต้องการจะบอกอะไรกับเรา ท่ามกลางข้อมูลมากมายเกี่ยวกับ  เลอ  คอร์บูซิเอร์  แบบสามหมื่นสองพันแผ่น  สมุดบันทึก เจ็ดสิบสามเล่ม  หนังสือรวบรวมผลงานเก้าเล่ม  และ  archive  อีกสามสิบสองเล่ม  และงานเขียนอีก นับไม่ถ้วน หนังสือเล็กๆ เล่มนี้ เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของการแสดงออกซึ่งความคิดของ เลอ คอร์บูซิเอร์ ที่ทิ้งไว้ให้เราได้ตีความ บทสนทนาสั้นๆ นี้ อาจน�ำเสนอมิติของความคิดที่เราเคยมองผ่านเลย แสดงให้ เราเห็นว่าสถาปัตยกรรมนั้นดูเหมือนจะเกิดขึ้นเพื่อรองรับ ไม่ใช่เรียกร้อง และเมื่อเราพิจารณามิติของ ความคิดภายใต้ตัวหนังสือเหล่านี้  ความหมายของสถาปัตยกรรมในแง่มุมอื่นอาจเริ่มเผยตัวตนและ น�ำพาให้จินตนาการของเราเดินทางไปได้ในเส้นทางที่เราไม่คุ้นเคย ต้นข้าว ปาณินท์


TODAY’S WORD ค�ำกล่าวของวันนี้

ปารีส 6 กันยายน ค.ศ. 1957 เลอ คอร์บซู ิเอร์


TODAY’S WORD

13

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง  ซึ่งประเทศฝรั่งเศสถูกยึดครองอยู่นั้น  งานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ได้ถูกกล่าวหาว่าเต็มไปด้วยความขัดแย้งไม่ลงตัวและเป็นสาเหตุหนึ่ง ของความไร้ระเบียบวุ่นวายในสังคม  เพราะสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ได้ทรยศต่อระเบียบ แบบแผนในอดีตและได้เผยให้เห็นภาพความล้มเหลวของอนาคต  ค�ำกล่าวหาดังกล่าว แน่นอนว่ามาจากพรรคนาซีในประเทศเยอรมัน ผนวกกับผู้มีอ�ำนาจในมอสโก ซึ่งในช่วง ปีที่ยากล�ำบากเหล่านั้น ผมได้ตีพิมพ์ผลงานที่มีชื่อว่า บนเส้นทางทั้งสี่ (On the Four Roads) ชะตากรรมของปารีส (The Destiny of Paris) และบ้านเรือนของมนุษยชาติ (The Home of Man) ภายใต้ความร่วมมือกับ ฟรองซัวส์ เดอ ปิแอร์-เฟอ (Francoise de Pierre-Feu) และ เอเธนส์ ชาร์เตอร์ (Athens Charter) มีบทน�ำเขียนโดย ฌอง จิโรดู (Jean Giroudoux) หลังจากนั้นผมก็ได้ก่อตั้งสมาคมการก่อสร้างเพื่อการปฏิวัติ สถาปัตยกรรมหรือ Builders’ Council for Architectural Reform ซึ่งเป็นองค์กรที่เปิด กว้างส�ำหรับผู้คนจากวงการศิลปะและวิทยาศาสตร์หลากสาขา  ไม่ว่าจะเป็นผู้คนจาก วงการก่อสร้าง นักสังคมวิทยา นักเศรษฐศาสตร์ นักชีววิทยา และอื่นๆ อีกมากมาย เราได้แบ่งสมาคมของเราออกเป็นคณะกรรมการสิบเอ็ดชุดด้วยกัน  มีการประชุมกัน ทุกสองอาทิตย์ ซึ่งหมายความว่าเรามีการพบกันยี่สิบสองครั้งต่อเดือน ทั้งหมดนี้เพื่อ หารือเกี่ยวกับกิจกรรมการ “สร้าง” อาคารและสภาพแวดล้อม ในฐานะประธานในการ ประชุมเหล่านี้ ผมพยายามที่จะให้พวกเขามุ่งศึกษาประเด็นที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อ ให้ความคิดทีย่ งั ไม่ถกู ปนเปือ้ นด้วยผลประโยชน์และกลลวงได้งอกงามเติบโต  บทความต่างๆ ได้ถูกน�ำเสนอและตีพิมพ์เป็นจ�ำนวนมากเท่าที่จะท�ำได้  ไม่ว่าจะเป็นบทความเกี่ยวกับ


TO THE STUDENTS OF THE SCHOOLS OF ARCHITECTURE ถึงนักเรียนในโรงเรียนสถาปัตยกรรม


TO THE STUDENTS OF THE SCHOOLS OF ARCHITECTURE

17

ด้วยค�ำขอของผองเพือ่ นของคุณ  ผมจึงมาพูดคุยกับคุณในวันนีเ้ พือ่ สานความสัมพันธ์ อั น จะช่ ว ยลดทอนช่ อ งว่ า งระหว่ า งอายุ ข องเรา  เพื่ อ ที่ เ ราจะได้ ช ่ ว ยกั น ลบล้ า งความ เข้าใจผิดที่คนทั่วไปมักจะคิดว่า  ช่องว่างระหว่างเรานั้นมากเกินกว่าที่เราจะเข้าใจกันได้ ผมจึงอยากเริ่มต้นด้วยความเชื่อที่ว่า  เรานั้นได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งที่เราสร้างขึ้นมา เหมือนๆ  กัน  ในขณะที่พวกคุณมีความกระหายใคร่รู้  ผมซึ่งได้ทุ่มเทพลังทั้งหมดในช่วง ระยะเวลาสี่สิบปีที่ผ่านมาให้กับสถาปัตยกรรม  ก็ยังถูกขับเคลื่อนด้วยการค้นพบสิ่งใหม่ ไม่ตา่ งไปจากพวกคุณ


DISORDER ความสับสนวุน่ วาย


DISORDER

19

ค� ำ ถามแรกคื อ   คุ ณ เห็ น ว่ า สถานการณ์ ข องโลกสถาปั ต ยกรรมทุ ก วั น นี้ เ ป็ น อย่ า งไร?  ในอดี ต นั้ น   ไม่ เ คยจะมี ยุ ค สมั ย ใดที่ ดู จ ะไร้ ทิ ศ ทางเหมื อ นยุ ค สมั ย ของเรา เราได้ท�ำลายความสัมพันธ์ระหว่างความเจริญก้าวหน้าเชิงวัตถุและองค์ประกอบธรรมชาติ ของจิตวิญญาณของเราไปเสียแล้ว  วิธีการที่เราปฏิบัตินั้นช่างไม่สัมพันธ์กับจุดหมาย ปลายทางของเราเลย ด้วยเรานั้นขาดทิศทางในทุกๆ สิ่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงาน สถาปัตยกรรม ความสับสนนี้ก็ได้พุ่งทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุด ถ้าจะเปรียบไปแล้ว ในอดีตเช่น ยุคไบเซนไทน์นั้นแม้สังคมจะขาดวัตถุประสงค์อันชัดเจน แต่ไบเซนไทน์ก็เป็นอารยธรรม ที่น�ำเสนอวิธีการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่วนในยุคปัจจุบันที่ เรามีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุอย่างยิ่งใหญ่เหลือเกิน เรากลับขาดทิศทางในการด�ำเนิน ชีวิต ประเทศฝรั่งเศสทุกวันนี้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งหนึ่งในโลกตะวันตก ก็เป็น ศูนย์กลางของความสับสนวุ่นวายเช่นกัน ปัจจุบันนี้ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ความ ต้องการของสังคมจักรกลของเรานัน้ เพิม่ มากขึน้ ทุกๆ วัน แม้วา่ เราจะต้องสร้างเมืองบางเมือง ขึ้นมาใหม่ภายหลังความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่สองก็ตาม  แต่นั่นก็เป็นเพียง เสี้ยวเดียวของสภาพแวดล้อมทั้งหมดของเรา  หลังจากหลายปีที่ทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง ก็แน่นอนว่าแต่ละประเทศต้องท�ำการเสริมสร้างซ่อมแซม  เหมือนที่เราสร้างเซลล์ใหม่ๆ ขึ้นในเนื้อเยื่อของร่างกายแทนเซลล์เก่าที่ตายไป ผู้คนในทุกยุคสมัยล้วนเป็นส่วนหนึ่งของ การสร้างอันไม่มีที่สิ้นสุดนี้


THE CONSTRUCTION OF DWELLINGS การสร้างที่อยู่อาศัย


THE CONSTRUCTION OF DWELLINGS

29

สังคมใดก็ตามที่แสวงหาความยั่งยืน  ควรจะเริ่มต้นค�ำถามและวัตถุประสงค์ ในการด�ำรงอยู่  จากที่อยู่อาศัยของมนุษย์  สถานที่ซึ่งปกป้องเราจากสภาพแวดล้อม ภัยอันตราย  น�ำมาซึง่ ความสุขสงบ  เพือ่ ให้ชวี ติ ความเป็นอยูข่ องเราตัง้ อยูใ่ นความสัมพันธ์ กับกฎของธรรมชาติรอบตัว  แต่จุดประสงค์ดังกล่าวนั้น  ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับที่อยู่ อาศัยในปัจจุบันของเราเลย  เคหสถานของเราทุกวันนี้เป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆ  ของความ พยายามทีไ่ ม่ได้สง่ ผลดีอนั ใด  เนือ่ งจากผลประโยชน์ทางการเงิน  ความเร่งรีบ  การแข่งขัน ของตลาด  ล้ ว นเป็ น แรงผลั ก ดั น ที่ ท� ำ ให้ ส ถานภาพของที่ อ ยู ่ อ าศั ย ของเรานั้ น ถดถอย ท�ำลายจิตวิญญาณของมนุษย์ กดดันให้เรายอมจ�ำนนและบังคับให้เราลืมหรือละเลยสิทธิ พื้นฐานในการมีชีวิตที่ดีของเรา คุณรู้หรือไม่ว่าที่โบ-ซา (Beaux-Arts) ซึ่งเป็นโรงเรียน สถาปัตยกรรมใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ไม่เคยมีการน�ำปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยเข้าไป เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอนเลย  ซึ่งแปลว่าไม่เคยมีความสนใจใดๆ ที่จะทุ่มเทให้กับสภาพแวดล้อมที่เราใช้ชีวิตกันอยู่ประจ�ำวันทุกวัน  ทุกชั่วโมงที่เราใช้ไป บนถนน ในจัตุรัสกลางเมือง ในห้อง วันแล้ววันเล่า ตั้งแต่เกิดจนตาย สถานที่ทั้งหมด ทีค่ วรจะเป็นแรงบันดาลใจให้เราเนือ่ งจากมันเป็นบริบททีจ่ ติ ส�ำนึกของเรานัน้ ถูกหล่อหลอม ขึ้นมานับตั้งแต่เราได้ลืมตาดูโลก เมื่อตอนที่ผมก่อตั้งวารสาร เอสปรี นูโว (L’Esprit Nouveau)4 ขึ้นมาในปี ค.ศ.1920 นั้น ผมได้ให้ความส�ำคัญอย่างยิ่งกับประเด็นของที่อยู่ อาศัย ผมเรียกมันว่า เครื่องจักรส�ำหรับการอยู่อาศัย ซึ่งแปลว่าผมคาดหวังความสมบูรณ์ หมดจดในการตอบค�ำถามเกี่ยวกับความต้องการด้านต่างๆ  ซึ่งความคิดดังกล่าวเป็น ความพยายามที่จะรื้อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมและมนุษย์ ที่มีตัวเราเป็น ศูนย์กลางของความสนใจ  และค�ำกล่าวเกี่ยวกับเครื่องจักรส�ำหรับอยู่อาศัยนี้  ได้กลาย


ARCHITECTURE สถาปัตยกรรม


ARCHITECTURE

39

ส�ำหรับพวกคุณทีต่ อ้ งเรียนรูใ้ นโรงเรียน  เกีย่ วกับเรือ่ งของสถาปนิกยุคเรอเนซองซ์ ชื่ อ วิ น โยลา  (Vignola)  รวมทั้ ง เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ ออร์ เ ดอร์ ท างสถาปั ต ยกรรมทั้ ง สาม ประเภทจากยุคกรีกและโรมัน  ผมขออนุญาตน�ำเสนอภาพของงานสถาปัตยกรรมทีแ่ ท้จริง แก่ พ วกคุ ณ   สถาปั ต ยกรรมนั้ น เริ่ ม ต้ น จากจิ ต ส� ำ นึ ก พิ เ ศษภายใต้ ส ติ สั ม ปชั ญ ญะ ท�ำงานร่วมกับความคิดทางเทคนิค  ซึ่งจะเอื้ออ�ำนวยให้ความคิดนั้นถือปรากฏเป็นจริง ขึ้นมาได้  จากนั้นความเป็นสถาปัตยกรรมจะถูกพิจารณาจากลักษณะเด่นของตัวมันเอง ความสมบู ร ณ์ พ ร้ อ มและความคงทนถาวร  จิ ต ส� ำ นึ ก นี้ เ ปรี ย บได้ กั บ วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ น การด�ำรงชีวิตของมนุษย์  ส่วนเทคโนโลยีนั้นก็มีค่าเท่ากับการสร้างพื้นฐานของความ สัมพันธ์ระหว่างคนและสภาพแวดล้อม  เทคโนโลยีเป็นผลจากการศึกษา  ในขณะที่ องค์ประกอบส�ำคัญอีกประการหนึ่งของงานสถาปัตยกรรมนั้นเกิดจากแรงปรารถนา ของมนุษย์อันเป็นผลจากการพยายามสร้างตัวตนของเรา  และจากความเอาใจใส่อย่าง ต่อเนื่องตลอดจนการฝึกฝนปฏิบัติตนภายใต้ความอดทน  พรสวรรค์ส่วนตัวของเรา ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่ ธรรมดา หรือเล็กน้อยก็ตาม จะสามารถถูกท�ำให้คมชัด บริสุทธิ์ พัฒนา และยกระดับขึ้นได้ แต่ในขณะเดียวกัน หากพรสวรรค์เหล่านั้นถูกชี้น�ำด้วยความนิ่งเฉย เกียจคร้าน ไม่เอาใจใส่ พรสวรรค์เหล่านั้นก็จะสูญสลาย มลายไปท่ามกลางเรื่องราวใน ชีวิตประจ�ำวันของเรา เทคโนโลยีนั้น เป็นเรื่องของเหตุผล แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องของความ สามารถ แต่จิตส�ำนึกนั้น ขึ้นอยู่กับบุคลิกลักษณะของแต่ละบุคคล ประสบการณ์และการ ทบทวนตนเอง ความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนคุณค่านั้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งของวัฒนธรรม


40

แต่ด้วยขอบเขตของวัฒนธรรมที่กว้างไกลเสียเหลือเกิน สถาปัตยกรรมจึงสามารถถูกจัด ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบความคิดทางวัฒนธรรม ซึ่งอย่างน้อยก็แปลว่าสถาปัตยกรรมนั้น ไม่ได้อาศัยอยู่ภายใต้ข้อจ�ำกัดทางวิศวกรรมเท่านั้น ทุกวันนี้สถาปัตยกรรมกลายเป็นสิ่งที่ เราเรียกกันว่าศิลปะ ที่ไม่ใช่เพียงธุรกิจหรือความฉาบฉวย ค�ำถามต่อมาคือ แล้วโรงเรียน สถาปัตยกรรมของเรา  สามารถเป็นแหล่งปลูกฝังความคิดสร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรม ทั้งสองด้านนี้ได้หรือไม่ ผมยังสงสัย ดังนั้น  แม้จะมีข้อจ�ำกัดมากมายของค�ำพูดที่จะใช้อธิบายที่มาของความคิด สร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรม ผมจะลองเรียงล�ำดับเหตุการณ์และประเด็นต่างๆ ทีละประเด็น โดยขอให้พวกคุณจ�ำไว้เสมอว่าประเด็นเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมๆ  กันในงานสถาปัตยกรรม เสมอ

1

ท่ามกลางสิ่งอื่นๆ  ในสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา  แน่นอนว่าองค์ประกอบที่เด่นชัด ที่สุดนั้นย่อมจะเป็นท้องฟ้า ซึ่งเป็นที่มาของสภาพอากาศทั้งปวง องศาที่ดวงอาทิตย์ บรรจบพบกับเส้นแกนโลกนั้นเป็นตัวก�ำหนดพฤติกรรมทั้งหมดของมนุษย์บนโลกใบนี้ และก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป  ไม่ว่าจะเป็นอากาศร้อนชื้น  อากาศ แห้งๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ สภาวะสบายๆ อากาศเย็นๆ หรือสภาวะอันหนาวเหน็บของ ขั้วโลก ตลอดจนสภาพอากาศอื่นๆ อีกมากมายในเขตพื้นที่ต่างๆ นั้น ล้วนเป็นเครื่อง บ่งชี้วิถีชีวิตที่เกิดขึ้นบนโลก  ผมเชื่อว่าความปรารถนาและความผูกพันกับแสงสว่างนั้น เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ในเขตอากาศสบายๆ ผมจะไม่ปฏิเสธแสงสว่าง หรือแม้แต่ แสงแดดที่จะส่องตรงเข้ามายังพื้นที่ต่างๆ ภายในบ้านของผมเลย


ARCHITECTURE

41


A RESEARCH WORKSHOP เวิร์กชอปของการศึกษาวิจัย


A RESEARCH WORKSHOP

81

เราสามารถจะสนทนากันต่อได้ในหัวข้อที่ส�ำคัญนี้ เพื่อตอบค�ำถามของพวกคุณ ผมได้พยายามอธิบายความคิดของผมในทุกๆ  ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรม เพือ่ สร้างความเข้าใจทีถ่ กู ต้องเกีย่ วกับตัวผมและความคิดของผม  และเพือ่ แก้ไขค�ำกล่าวเท็จ ตลอดจนความเชื่อผิดๆ  เกี่ยวกับงานของผมที่มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง  จากที่ พวกคุณต้องการให้ผมเปิดเวิร์กชอปที่โรงเรียน École des Beaux-Arts นั้น ผมได้เคย เขียนไว้ในหนังสือชื่อ On the Four Roads ในปี ค.ศ.19398  และในบทความ Classifications ในปี ค.ศ.19299  ไว้ เกี่ยวกับหลักการพื้นฐานข้อหนึ่งว่า นักเรียนนั้น จ�ำเป็นต้องเลือกครูของตนเอง  ซึง่ มันก็ได้กลายมาเป็นเหตุผลของหนังสือเล่มนี ้ ผมเองนัน้ ไม่เคยเตรียมตัวเพื่อจะเป็นครู  ซ�้ำร้ายกว่านั้น  (หรืออาจจะดีก็ได้)  ผมเองไม่เคยได้รับ การศึกษาอย่างเป็นทางการเลยเสียด้วยซ�้ำ ผมนั้นเรียนรู้ด้วยตนเองในทุกๆ เรื่อง แม้ในการ กีฬา  และด้วยเหตุที่ผมเรียนรู้ทุกอย่างเองนั้น  ผมก็ได้รับรู้ถึงความยากล�ำบากของมัน จนกระทั่งผมอายุได้ถึงสามสิบห้าปี  ผมจึงไม่แนะน�ำให้ใครด�ำเนินรอยตามเป็นอันขาด หลังจากเหตุการณ์อื้อฉาวเกี่ยวกับการประกวดแบบ The Palace of Nations ที่ผมได้เล่า ให้ฟังไปแล้วตั้งแต่ต้น พวกคุณก็มาเชื้อเชิญให้ผมตั้งเวิร์กชอปขึ้นมาที่โบ-ซา แต่ในขณะนั้น ด้วยความที่ผมยังหมกมุ่นอยู่กับการค้นหาแนวทางของตนเอง  และเป็นช่วงเวลาที่ผม มักจะต้องเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ผมจึงจ�ำเป็นต้องปฏิเสธ โดยที่ผมได้แนะน�ำ ให้พวกคุณเชิญ ออกุสต์ เปเรต์ แทน ซึ่งแม้ตลอดช่วงเวลาหลายปี ผมและออกุสต์ เปเรต์ เจ้านายเก่าและครูของผม จะมีข้อโต้แย้งถกเถียงและไม่ลงรอยกันมากมายเกี่ยวกับงาน สถาปัตยกรรม แต่เปเรต์ก็เป็นผู้ที่ผมให้ความนับถืออย่างจริงจัง ผมเลยบอกเขาเหมือนกับ



เกี่ยวกับผู้เขียน เลอ คอร์บูซิเอร์

Charles-Édouard Jeanneret-Gris หรือที่เรารู้จักกันในนามของ เลอ คอร์บูซิเอร์ (Le Corbusier) นั้น เป็นสถาปนิกชาว สวิส-ฝรั่งเศส หนึ่งในผู้ริเริ่มทางความคิดแห่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เลอ คอร์บูซิเอร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี ค.ศ.1887 ณ เมืองเล็กๆ ชื่อ La Chaux-de-Fonds ซึ่งอยู่ทางตะวันตก เฉียงเหนือของประเทศสวิตเซอร์แลนด์  ติดกับชายแดนฝรั่งเศส  แม้ว่า เลอ  คอร์บูซิเอร์  จะไม่ได้ เข้าศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมอย่างเป็นทางการจากโรงเรียนใด  แต่การศึกษาพื้นฐานศิลปะและ สถาปัตยกรรมในโรงเรียนศิลปะแห่งเมือง La Chaux-de-Fonds ก็ได้วางรากฐานทางความคิดให้แก่ เลอ คอร์บูซิเอร์ อย่างมั่นคง โดยครูสองท่านคือ Charles L’Eplattenier และ René Chapallaz ซึ่ ง ส่ ง อิ ท ธิ พ ลต่ อ วิ ธี ก ารท� ำ งานในยุ ค แรกๆของเลอ  คอร์ บู ซิ เ อร์   อย่ า งเห็ น ได้ ชั ด   ด้ ว ยการศึ ก ษา พื้ น ฐานทางศิ ล ปะ  ตลอดจนการเดิ น ทางท่ อ งเที่ ย วศึ ก ษางานสถาปั ต ยกรรมโบราณต่ า งๆ ในยุโรป และการฝึกงานกับสถาปนิกนักคิดชาวฝรั่งเศส Auguste Peret และสถาปนิกชาวเยอรมัน Peter Behrens และมิตรภาพอันเหนียวแน่นกับศิลปิน Amédée Ozenfant ทั้งหมดนี้ได้กลายเป็น รากฐานของการพัฒนาทางความคิดให้กับเลอ คอร์บูซิเอร์ จนเกิดเป็นผลพวงทางสถาปัตยกรรม มากมาย เลอ คอร์บูซิเอร์ ใช้ชีวิตในฐานะสถาปนิก ผู้บุกเบิกแนวทางแห่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ท�ำงานอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในปี ค.ศ.1965 ตลอดระยะเวลา เจ็ดสิบแปดปี เลอ  คอร์ บู ซิ เ อร์   ได้ ส ร้ า งมรดกทางวั ฒ นธรรมทิ้ ง ไว้ ใ ห้ กั บ เรานั บ ไม่ ถ ้ ว น  ทั้ ง อาคาร  ตลอดจน แนวความคิด  ทฤษฎี  และงานเขียนมากมายที่ยังคงเป็นแหล่งศึกษาสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ให้แก่ สถาปนิกรุ่นหลังจนถึงทุกวันนี้

เกี่ยวกับผู้แปล ต้นข้าว ปาณินท์

สถาปนิกและอาจารย์ประจําคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร  สําเร็จการศึกษา ปริ ญ ญาเอกด้ า นทฤษฎี แ ละประวั ติ ศ าสตร์ ส ถาปั ต ยกรรม  มี ค วามสนใจและทํ า วิ จั ย อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เกี่ยวกับทฤษฎีสถาปัตยกรรมตะวันตกตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่สิบแปดจนถึงศตวรรษที่ยี่สิบ


เลอ คอร์บูซิเอร์ บทสนทนากับนักเรียน ผู้แปล ต้นข้าว ปาณินท์ พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤษภาคม 2558 บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จ�ำกัด ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ เลอ คอร์บูซิเอร์. เลอ คอร์บูซิเอร์ บทสนทนากับนักเรียน.-กรุงเทพฯ : ลายเส้น, 2558 96 หน้า. -- (modern thought). 1. สถาปัตยกรรม -- ไทย. I. ต้นข้าว ปาณินท์, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 720.9593 ISBN: 978-616-7800-48-6 ที่ปรึกษา บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการบทความ กองบรรณาธิการ ออกแบบปกและรูปเล่ม ลิขสิทธิ์ต่างประเทศ จัดหาผู้สนับสนุน

นิธิ สถาปิตานนท์ สุลักษณ์ วิศวปัทมวรรณ อรศิริ ปาณินท์ บุศรา เขมาภิรักษ์ ศุภวิชญ์ คิรีวนานุกูล สุรัตน์ เปเรซ ชวะ วงษ์ ไทย

บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จ�ำกัด นิธิ สถาปิตานนท์ ประธานกรรมการ สุลักษณ์ วิศวปัทมวรรณ กรรมการผู้จัดการ พิสุทธิ์ เลิศด�ำริห์การ / ประภากร วทานยกุล / เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ กรรมการบริหาร จัดพิมพ์และจัดจ�ำหน่าย บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จ�ำกัด 81 สุขุมวิท 26 คลองตัน คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2259 2096 0 2661 2017 โทรสาร li-zenn@li-zenn.com อีเมล Li-Zenn Publishing เฟสบุ๊ก www.li-zenn.com, www.li-zennpub.com

พิมพ์ท ี่ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน)


หนังสือเล่มนี้ส�ำเร็จล่วงได้ด้วยดีจากการสนับสนุนและผลักดันจาก สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ คุณ พิชัย วงศ์ ไวศยวรรณ (นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์) และ รศ. ดร. ต้นข้าว ปาณินท์ ส�ำนักพิมพ์ ลายเส้น พับบลิชชิ่ง ขอขอบคุณทุกท่าน รวมทั้ง ส�ำนักงานสถาปนิกที่ให้การสนับสนุนจัดพิมพ์มา ณ ที่นี้

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ The Association of Siamese Architects under Royal Patronage www.asa.or.th คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Faculty of Architecture, Kasetsart University www.arch.ku.ac.th บริษัท สถาปนิก วิน วรวรรณ จ�ำกัด Vin Varavarn Architects Ltd. Facebook: Vin Varavarn Architects บริษัท สถาปนิก โอเพนบอกซ์ จ�ำกัด Openbox Architects Co., Ltd. www.openbox.in.th

เครดิตภาพประกอบ

Entretien avec les étudiants des écoles d’architecture, Edition Denoel 19, Rue Amelie 19, Paris.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.