First published in the United States by Princeton Architectural Press This translation is published by arrangement with Princeton Architectural Press Kevin C. Lippert Princeton Architectural Press 37 East 7th Street New York, NY 1003 USA The Thai Edition is translated and published by Li-zenn Publishing, 2015 First Edition copyright 1969 Published by George Wittenborn Peter Papademetriou & Ann Mohler, Editors Maurice Miller & Rick Gardner, Photography Second Edition Copyright Š 1998 Rice University School of Architecture Architecture at Rice Publications Published by the Rice University School of Architecture; Lars Lerup, Dean and Princeton Architectural Press; Kevin Lippert, Publisher Dung Ngo, Editor
สารบัญ 17
ค�ำน�ำ ปีเตอร์ พาพาเดเมทริว
21
แสงสีขาวและเงาสีด�ำ
53
การออกแบบนั้น คือการสร้างตัวตนแก่รูปทรง
จากผู้แปล วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1974 สถาปนิกผู้เป็นที่รักของผู้คนรอบข้าง และครูของศิษย์ หลากหลายรุ่น หลุยส์ อิซาดอร์ คาห์น (Louis Isadore Kahn) ได้จากพวกเราไปอย่างเงียบ ๆ และโดดเดี่ยว ในห้องน�้ำที่สถานีรถไฟ เพน สเตชั่น ในนิวยอร์ก ไม่มีค�ำร�่ำลา ไม่มีร่องรอย ของความทุกข์ทรมาน มีเพียงกระเป๋าใบเล็กๆ ข้างกาย ซึ่งเป็นกระเป๋าที่คาห์นหอบหิ้วติดตัว ในระหว่างทีเ่ ขาเดินทางกลับมาจากอินเดีย คาห์นก�ำลังจะขึน้ รถไฟกลับบ้านทีเ่ มืองฟิลาเดลเฟีย อีกเพียงสองสามชั่วโมง เขาก็จะกลับถึงบ้านและงานที่เป็นทุกสิ่งในชีวิตของเขา การจากไป ของคาห์น ทิ้งปริศนาไว้ให้กับผู้คนรุ่นหลังอย่างเรา เมื่อใดก็ตามที่เราพยายามจะท�ำความเข้าใจ คาห์นและชีวิตของเขา ภาพที่มั่นคงอยู่ตรงหน้า ก็ดูเหมือนจะถอยห่างออกจากเราไปเรื่อยๆ ไม่ต่างจากงานสถาปัตยกรรมที่เขาสร้างขึ้น ภายใต้ความชัดเจนของรูปทรงและที่ว่าง ดูเหมือน จะแฝงไว้ด้วยความคิดที่ทั้งแจ่มชัดและเป็นปริศนา ในเวลาเดียวกัน เรารูจ้ กั หลุยส์ ไอ คาห์น ในฐานะสถาปนิกในยุคโมเดิรน์ ทีม่ วี ธิ กี ารคิดและการท�ำงาน แตกต่างออกไปจากสถาปนิกในยุคเดียวกันมาก คาห์นไม่พูดถึงความเป็นสากล ไม่พูดถึง เครื่องจักรกล ไม่พูดถึงการผลิตในระบบอุตสาหกรรม และที่แปลกไปกว่านั้นคือ เขาไม่พูดถึง รูปแบบ และเทคนิค ตลอดจนวิธีการ แต่คาห์นกลับพูดถึงสิ่งอื่น ที่ดูเหมือนจะมีตัวตนและ ไม่มีตัวตนในเวลาเดียวกัน เช่น ธรรมชาติ ความปรารถนา และวิญญาณของสิ่งต่างๆ ซึ่งท�ำ ให้คาห์นดูจะมีภาพลักษณ์ของความเป็นผู้น�ำทางจิตวิญญาณ ผู้เชื่อถือในสิ่งเหนือธรรมชาติ และหลงใหลในสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่ถ้าเรามองเข้าไปใกล้ๆ เราจะพบว่า การเข้าใจคาห์น ด้วยภาพเช่นนั้น อาจจะผิวเผินเกินไป เรายังรู้จักคาห์น ผ่านภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ที่ลูกชายของเขาสร้างขึ้น เพื่อค้นหา และท�ำความรู้จักกับพ่อ ที่เขาไม่มีโอกาสได้สัมผัสใกล้ชิดในขณะที่พ่อของเขายังมีชีวิตอยู่ จาก ภาพยนตร์เรือ่ งนัน้ เราเรียนรูช้ วี ติ ส่วนตัวของคาห์น ทีเ่ หมือนกับนิยาย มากกว่าทีจ่ ะเป็นชีวติ จริง ของสถาปนิกคนหนึ่ง เราได้รับรู้ปัญหา ความทุกข์ ความกังวล ความตั้งใจทุ่มเทของคาห์น ให้กบั สิง่ ทีเ่ ราเรียกมันว่าสถาปัตยกรรมเราเรียนรูค้ วามบกพร่องความไม่สมบูรณ์และความเปราะบาง ในชีวิตส่วนตัวของเขา ที่ดูเหมือนจะตรงกันข้ามกับภาพอันหนักแน่น มั่นคง ยิ่งใหญ่ ของ สถาปัตยกรรมของหลุยส์ ไอ คาห์น
หลุยส์ อิซาดอร์ คาห์น ไม่ได้เป็นชาวอเมริกันแต่ก�ำเนิด เขาเกิดเมื่อปี ค.ศ.1901 ที่เมืองเล็กๆ ในประเทศเอสโตเนีย ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ด้วยความที่ ครอบครัวของคาห์นไม่ได้มีฐานะดีนัก เมื่อคาห์นอายุได้ห้าขวบ ครอบครัวของเขาตัดสินใจ อพยพมายังประเทศสหรัฐอเมริกา โดยตัดสินใจลงหลักปักฐานที่มลรัฐเพนซิลเวเนีย คาห์นได้ ช่วยเหลือครอบครัวด้วยการเล่นดนตรีและวาดรูป เขาได้รับสัญชาติอเมริกันเมื่ออายุได้ สิบสามปี และครอบครัวของเขาก็ได้เปลี่ยนนามสกุล จาก ชมาโลวสกี้ เป็นคาห์น คาห์นมักชอบที่จะเล่าให้ใครๆ ฟังถึงเรื่องราวเบื้องหลังแผลเป็นบนใบหน้าของเขา ที่ได้มาจากเหตุการณ์เมื่อเขาอายุได้เพียงสามขวบ เขาหยิบถ่านหินที่ก�ำลังลุกโชนสีสันสวยงาม มาวางลงบนผ้ากันเปื้อนที่เขาสวมอยู่ ท�ำให้ถ่านหินลุกติดไฟ ให้แผลเป็นกับเขาอย่างถาวร ตลอดชีวิต เขามักจะกล่าวว่า พระเจ้าได้มอบคารมคมคายเป็นพิเศษให้แก่เขา เพื่อทดแทนกับ หน้าตาอันอัปลักษณ์ และใครๆ ก็ตามที่ได้รู้จักคาห์น ก็มักจะอดไม่ได้ที่จะชื่นชมในถ้อยค�ำ และอุปนิสัยของเขา แต่ส�ำหรับเรา สถาปนิกรุ่นหลัง เราตระหนักดีว่า อีกสิ่งหนึ่งที่พระเจ้าได้ ประทานแก่คาห์น เพื่อตอบแทนต่อแผลเป็นนั้น คือวิธีการมองโลกและความเข้าใจธรรมชาติ ของสรรพสิ่งอันเฉียบคม ที่ถูกส่งต่อ เป็นแรงบันดาลใจให้เราจนถึงทุกวันนี้ หลังจากที่คาห์นเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย เขาได้ท�ำงานเป็นสถาปนิก ในเมืองฟิลาเดลเฟีย ก่อนที่จะออกเดินทางท่องเที่ยวไปยังทวีปยุโรป ซึ่งเป็นการเดินทาง ครั้ ง ส� ำ คั ญ ที่ ท� ำ ให้ ค าห์ น ได้ สั ม ผั ส สถาปั ต ยกรรมยิ่ ง ใหญ่ ใ นอดี ต เช่ น โรมั น แพนธี อ อน ซึ่งสร้างความประทับใจและเป็นแรงบันดาลใจให้กับคาห์นตลอดชีวิตของเขา คาห์นไม่คอ่ ย พูดถึงงานสถาปัตยกรรมของสถาปนิกคนไหน น้อยครั้งที่เขาจะเอ่ยชื่นชมงานของสถาปนิก คนอืน่ ๆ ในยุคเดียวกัน ยกเว้น เลอ คอร์บซู เิ อร์ ทีเ่ ขาพูดถึงบ่อยกว่าใคร ส่วนงานในประวัตศิ าสตร์ นั้น แม้คาห์นจะย�้ำอยู่เสมอว่า เป็นรากฐานของความคิด แต่เขาก็ไม่ได้อ้างอิงถึงอาคารมากมาย จะมีก็แต่เพียงโรมันแพนธีออนเท่านั้น ที่เขาใช้ยกตัวอย่างครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งส�ำหรับคาห์น อาคารยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์เหล่านั้น ไม่ได้เป็นตัวแทนของรูปแบบ หรืออดีตที่หยุดนิ่ง แต่ประเด็นส�ำคัญของมัน อยู่ที่หลักการทางความคิด ระบบพื้นฐานของพื้นที่และรูปทรง ที่ตอบสนองต่อสัญชาตญาณในการแสดงออกของมนุษย์ ตลอดจนความปรารถนาในการ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสภาพแวดล้อมรอบตัว ดังนั้นมันจึงเป็นอดีตที่มีชีวิต
ด้วยหลักการและระบบความคิดที่พร้อมจะถูกตั้งค�ำถาม ศึกษา เรียนรู้ และแปรเปลี่ยน อดีตสอนให้คาห์นเข้าใจ ไม่ใช่แต่เพียงเทคนิค และรูปแบบ แต่มันยังหมายถึงความสัมพันธ์ กับระบบสังคมวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นที่และความพยายามของงานสถาปัตยกรรมในการตอบ สนองต่อสิ่งที่คาห์นเรียกว่า สถาบันของมนุษย์ หรือ The Institutions of Man ความหมายของสถาบันของมนุษย์ ที่คาห์นกล่าวถึงนั้น คือหน่วยความคิดและ ความหมายทางสังคมวัฒนธรรมที่มนุษย์เราสร้างขึ้น ซึ่งมีความหมายทั้งในเชิงนามธรรมและ รูปธรรม เช่น สถาบันของการศึกษาเรียนรู้ สถาบันของการอยู่อาศัย สถาบันของการปกครอง สถาบันของการพักผ่อนหย่อนใจ ความเป็น “สถาบัน” ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ได้หมายถึงสถานที่ ในทางกายภาพเท่านั้น แต่มันหมายถึงธรรมชาติและความเป็นตัวตนของสิ่งนั้น และบทบาท ที่มันมีต่อชีวิตมนุษย์ สถาปัตยกรรมส�ำหรับคาห์น เป็นวิชาชีพที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อสถาบัน ทั้งหลายของมนุษย์ ดังนั้น มันจึงต้องตอบค�ำถามรอบด้าน ไม่ใช่แต่เพียงประเด็นเชิงจิตวิญญาณ เท่านั้น แต่รวมไปถึงประเด็นต่างๆ ในชีวิตประจ�ำวันของเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลงทุน เทคโนโลยี การสื่อสาร และการใช้สอย นอกจากการเป็นสถาปนิกแล้ว คาห์นยังเป็นครูมาตลอดชีวิตของเขา นักเรียน หลากหลายรุ่น ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้ผ่านการเรียนรู้ และซึมซับการมองโลกจากคาห์น ดังนั้นนอกจากอาคารที่เรารู้จักกันดี เขายังทิ้งมรดกทาง ความคิดไว้กับสถาปนิกผู้ที่เป็นนักเรียนของเขาโดยตรง และสถาปนิกรุ่นหลังจากทุกมุมโลก ที่ได้มีโอกาสศึกษางานของเขา จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นนักเรียนของคาห์นเช่นกัน สตูดิโอ ที่คาห์น เลือกที่จะใช้สอนนักเรียน เพื่อสร้างสถาปนิกนักคิดและนักประกอบวิชาชีพนั้น เป็น สถานที่ที่ดูจะเป็นตัวแทนของความคิดทั้งปวงของคาห์น ตลอดจนเป็นบทสรุปของความเข้าใจ ที่เรามีต่อคาห์น ห้องขนาดใหญ่ ผนังอิฐโค้งครึ่งวงกลม เต็มไปด้วยหน้าต่างที่ต้อนรับแสงแดด อนุญาตให้ผู้ที่ท�ำงานอยู่ในห้องได้มองออกไปเห็นท้องฟ้ากว้างใหญ่ และหากเราอยากจะ สังเกตผู้คนที่เดินผ่านไปมา เราก็สามารถจะชะโงกมองดูเบื้องล่างได้จากมุมสูง ภาพของชีวิต ด้านนอกจึงเป็นเพียงฉากหลังเบาบาง แต่ในขณะเดียวกัน ก็ท�ำให้เราตระหนักอยู่เสมอ ถึงความสัมพันธ์ระหว่างงานออกแบบที่อยู่ตรงหน้าและชีวิตประจ�ำวันที่ด�ำเนินไปด้านนอก ผนังอิฐดิบหยาบสีแดงและเพดานสูง ดูจะเป็นตัวแทนของแบบแผนในอดีต ทีถ่ กู น�ำมาตัง้ ค�ำถาม
ปัดฝุ่น และใช้งานอีกครั้งในรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างไปจากเดิมช่องแสงกระจกใสบางช่อง ถูกสลักด้วยถ้อยค�ำภาษาละติน ซึ่งแม้จะเป็นภาษาที่ตายแล้ว แต่ความหมายของมันยังคงเป็น ปัจจุบัน ความถ้อยค�ำที่สลักอยู่บนช่องแสงเหนือทางเดิน Veritas และ Artes ความจริงและ ศิลปะ ตัวแทนของสรรพสิง่ ทีท่ งั้ หนักแน่นและเปราะบาง ดูจะเป็นจุดร่วมของคุณสมบัตอิ นั แจ่มชัด ที่เรารู้จักในงานสถาปัตยกรรมของ หลุยส์ ไอ คาห์น
ต้นข้าว ปาณินท์ พฤษภาคม 2558
แรงบันดาลใจในการเรียนรู้ของมนุษย์ มีที่มาจากความสนใจใฝ่รู้ของเรา ซึ่งสัมพันธ์กับสัญชาตญาณพื้นฐานที่เราถูกสร้างขึ้นมา...
ผมสามารถบอกคุณได้ว่า สิ่งที่เริ่มต้นจากเพียงการตั้งค�ำถามเล็กๆ ได้ก่อให้เกิดพลังของการสร้างสรรค์ และจุดเริ่มต้นใหม่ๆ ที่ท�ำให้เราตระหนักว่า การค้นพบสิ่งใหม่นั้น เกิดขึ้นได้ในบริบทของสถานการณ์ปัจจุบัน...
17
LOU: ICON นับตั้งแต่วันที่ ลู คาห์น (Lou Kahn) สนทนากับนักศึกษาสถาปัตยกรรมที่ มหาวิทยาลัยไรซ์ ในฤดูใบไม้ผลิ ของปี ค.ศ.1968 ก่อนหน้าที่หนังสือเล่มนี้จะ ถูกพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกหนึ่งปีนั้น เวลาก็ได้ล่วงเลยมาหลายทศวรรษ จนเรียกได้ ว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งเลยทีเดียว ในขณะที่เหล่า นักศึกษาในรูปภาพนั้น ด้วยเสื้อเชิ้ตขาวสะอาด นั่งอยู่ภายใต้แสงแดดจัดจ้าน ของเมืองฮูสตัน ดูเหมือนจะเป็นผู้คนที่มีชีวิตอยู่ในอดีต แต่ ลู คาห์น ส�ำหรับเรานั้น ยังคงเป็นบุคคลเดิม เสมือนไร้กาลเวลา ก่อนหน้าที่จะมีการสนทนากันระหว่างคาห์นและนักศึกษานั้น ได้มีหนังสือส�ำคัญ สองเล่มถูกพิมพ์ขนึ้ ซึง่ เป็นหนังสือทีม่ เี นือ้ หาเข้ากับยุคสมัย คือหนังสือของ เรย์เนอร์ บานแฮม (Rayner Banham) ชื่อ New Brutalism และหนังสือโดย โรเบิร์ต เวนทูรี (Robert Venturi) ชื่อ Complexity and Contradiction in Architecture ในขณะที่ หนังสือทั้งสองเล่มนี้มีเนื้อหาที่เผชิญหน้ากับกระแสหลักทางสถาปัตยกรรม แต่ก็มีจุดยืนทางทฤษฎีที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด จุดร่วมประการเดียวของ หนังสือทัง้ สองเล่ม คือการกล่าวถึง ลู คาห์น เสมือนว่าตัวตนของ ลู คาห์น นัน้ สามารถเป็นสะพานเชือ่ มโยงขัว้ ความคิดทีแ่ ตกต่างทางสถาปัตยกรรมในยุคนัน้ ได้ ลู คาห์น เป็นสถาปนิกอเมริกันคนเดียวที่มีโอกาสเข้าร่วมประชุมนานาชาติ CIAM ( Congrès Internationaux d’Architecture Moderne ) ครั้งที่สิบที่เมืองออตเตอร์ลู (Otterlo) และในการประชุมครั้งนั้นผลงานของทีมเทน (Team 10) ซึ่งเป็นกลุ่มคน ที่ชื่นชมผลงานของคาห์น ก็เป็นผลงานที่น่าจับตามองอย่างยิ่งส�ำหรับปี ค.ศ.1968 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผมเพิ่งจะเรียนจบ ท�ำงานเป็นอาจารย์ที่มีอายุน้อยที่สุดใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยไรซ์ ทีมเทน ได้พูดถึงแนวความคิดที่ มีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์มากขึ้น มีความสัมพันธ์กับลักษณะเฉพาะของ ท้องถิน่ และตอบสนองต่อธรรมชาติพนื้ ฐานของระบบสังคมวัฒนธรรม ซึง่ ในเวลา ต่อมาสถาปนิกรุ่นหลังคาห์น คือ โรเบิร์ต เวนทูรี ได้น�ำความคิดเหล่านี้มา
18
ชี้แนะให้แก่เราว่า ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของสังคมอเมริกันชาวบ้านๆ นั้น ควรที่จะ ถูกน�ำมาพิจารณาและพัฒนาในเวลาเดียวกัน และเขาก็มองกว้างไปกว่าคาห์น ในการเห็นความส�ำคัญของทั้งเมืองเก่าเช่นโรม และเมืองใหม่เช่นลาส เวกัส งานสถาปัตยกรรมของ ลู คาห์น ดูจะแตกต่างจากสถาปัตยกรรมทั่วๆ ไปใน เมืองฮูสตัน ในช่วงเวลานั้น เขาไม่เคยสร้างอาคารส�ำนักงานเพื่อการขายพื้นที่ เขามองพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างอาคาร และบริบท ด้วยการพูดถึงความต้องการสาธารณะ และการกล่าวว่า เมืองที่ไร้ งานสถาปัตยกรรมนั้นจะไม่ใช่เมืองอีกต่อไป ลู คาห์น ทิ้งความคิดส�ำคัญไว้ให้เราว่า สถาปัตยกรรมจ�ำเป็นต้องมีพลังของการ ขับเคลื่อน ทั้งในระดับสภาพแวดล้อมกว้างๆ และในระดับปฏิสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล เขาพูดถึงสถาบันของมนุษย์ หรือ “The Institutions of Man” โดยกล่าวว่า อาคารนั้นจ�ำเป็นต้องซื่อตรงต่อธรรมชาติของมัน และสถาปนิกก็จ�ำเป็นจะต้อง เรียนรู้ว่าตนเองนั้นก็มีสิทธิในการสร้างสรรค์ ดังนั้นอาคารควรมีจิตวิญญาณ และความปรารถนา อันเป็นสิ่งที่สถาปนิกจ�ำเป็นจะต้องมอบให้ ซึ่งก็ท�ำให้หน้าที่ ของสถาปนิกนั้น เต็มไปด้วยความรับผิดชอบและท้าทายในเวลาเดียวกัน มุมมองเหนือธรรมชาตินี้ เป็นศูนย์กลางของความคิดของคาห์น และการพัฒนา งานสถาปัตยกรรมของเขามาโดยตลอด ประโยชน์ใช้สอย (Function) นั้น ถูกบดบังด้วยวัตถุประสงค์และความตั้งใจ และการใช้ประวัติศาสตร์ในแง่ของ การสื่อสารของรูปทรงนั้น ก็เป็นประเด็นหลักส�ำหรับคาห์น ในขณะที่คาห์น สนทนากับเรา คุณจะสามารถสัมผัสได้ถงึ อดีตอันมีชวี ติ ซึง่ ไม่ใช่ประเด็นเกีย่ วกับ รูปแบบ แต่เป็นการให้ชวี ติ ใหม่ทเี่ ป็นอันหนึง่ อันเดียวกันกับกระบวนการสร้างงาน
ในขณะที่บทสนทนากับคาห์นนั้น เกิดขึ้นเมื่อหลายทศวรรษมาแล้ว ความคิด ของเขายังคงสื่อสารอย่างตรงประเด็นกับนักศึกษาสถาปัตยกรรมในยุคปัจจุบัน คุณค่า อุดมคติ ของคาห์น ยังคงเป็นความคิดส�ำคัญที่มีความทันสมัยอยู่เสมอ เมื่อผมพิมพ์หนังสือเล่มนี้ในครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1969 ผมต้องการให้บทความ ทั้งหมดตอบสนองต่อบทกวีทางความคิดของคาห์น โดยการน�ำค�ำพูดของคาห์นที่ ไม่ได้มีการดัดแปลง มาเรียบเรียงในรูปแบบของประโยคสั้นๆ คล้ายค�ำพูดที่พูด ออกมาลอยๆ รูปร่างของประโยคและการจัดวาง ก็ล้วนเป็นการตอบสนองทาง กายภาพต่อวิธีการที่คาห์นแสดงออกซึ่งความคิดของเขา ผมขอขอบคุณ ดัง โง (Dung Ngo) ที่คงลักษณะของถ้อยค�ำของคาห์นไว้ดังเดิม ขอบคุณ ลาร์ส เลรัพ (Lars Lerup) และ เควิน ลิพเพอร์ท (Kevin Lippert) ในการ พิมพ์หนังสือเล่มนี้ และขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์ Princeton Architectural Press ที่ท�ำหน้าที่เดียวกับที่ส�ำนักพิมพ์ George Wittenborn ได้ท�ำเมื่อปี ค.ศ. 1969 ปีเตอร์ พาพาเดเมทริว
20
White Light Black Shadow แสงสีขาวและเงาสีดำ�
22
23
เมื่อเดือนที่แล้ว ในขณะที่ผมท�ำงานอยู่ที่ส�ำนักงาน จนดึกดื่นเหมือนเคย ผู้ร่วมงานของผมคนหนึ่ง ก็เอ่ยขึ้นมาว่า “ผมอยากจะถามค�ำถามคุณค�ำถามหนึ่ง ซึ่งค้างคาอยู่ในใจผมมานานนักหนาแล้ว... ผมอยากรู้ว่า คุณจะให้ค�ำนิยามแก่ยุคสมัยปัจจุบันของเรานี้ว่าอย่างไร? ” ชายผู้ที่ถามค�ำถามนั้นกับผม เป็นชาวฮังการี ที่เดินทางมายังประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงที่รัสเซียบุกประเทศฮังการี ผมครุ่นคิดถึงค�ำถามนี้ เพราะว่าด้วยเหตุผลบางประการ ผมรู้สึกสนใจเสมอ ที่จะตอบค�ำถามที่ผมไม่รู้ค�ำตอบ แต่เมื่อไม่นานมานี้ ผมเพิ่งอ่านนิตยสาร นิวยอร์กไทมส์ เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ผมเคยเดินทางไปเยือนแคลิฟอร์เนีย ผ่านเมืองเบิร์กลีย์ และผมก็สังเกตเห็นปรากฏการณ์ของการปฏิวัติบางสิ่งบางอย่าง ผมได้ตระหนักถึงอิทธิพลและความสามารถของเครื่องจักรใหม่ๆ และผมก็ได้รู้สึก คล้ายๆ กับที่รู้สึกเมื่อไม่นานมานี้ ว่าทุกสิ่งนั้นคล้ายกับกวีผู้ก�ำลังประพันธ์บทกลอนที่ไร้ค�ำพูด
24
ผมนั่งนิ่งอยู่ประมาณสิบนาที โดยไม่ได้เคลื่อนไหวใดๆ ผมพยายามมองย้อนไปถึงสิ่งที่ผมได้เคยพบเห็นเหล่านั้น และในที่สุดผมก็พูดกับ กาบอร์ (Gabor) เพื่อนร่วมงานชาวฮังการีผู้นั้นว่า “คุณคิดว่าเงาของแสงสีขาวนั้นเป็นอย่างไร” กาบอร์นั้นมีนิสัยชอบทวนค�ำพูดในบทสนทนา เขากล่าวทวนซ�้ำๆ “แสงสีขาว…แสงสีขาว…ผมนึกไม่ออก” ผมจึงตอบเขาไปว่า “สีด�ำ…แต่คุณไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะแสงสีขาวนั้น แท้จริงแล้วมันไม่มีตัวตนใดๆ เงาสีด�ำก็เหมือนกัน” ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะตั้งค�ำถาม แม้กับดวงอาทิตย์ของเรา ถึงเวลาแล้วที่เราจะตั้งค�ำถาม เกี่ยวกับความเชื่อและคุณค่าต่างๆ ทางสังคมของเรา ผมเติบโตขึ้นมาในยุคสมัยที่แสงอาทิตย์นั้นเป็นสีเหลืองทอง และเงามืดนั้นเป็นสีน�้ำเงิน แต่ผมมองเห็นมันอย่างแจ่มชัดว่าแสงนั้นเป็นสีขาว เงานั้นเป็นสีด�ำ ซึ่งก็ไม่น่ากังวล เพราะผมมีความเชื่ออยู่เสมอว่า สักวันหนึ่ง ผมจะเห็นแสงสีเหลืองทองผ่องอ�ำไพ และเงาน�้ำเงินงาม และผมก็เชื่อว่า การปฏิวัติทางความคิดนั้น จะน�ำมาซึ่งความฉงนสงสัย และด้วยความพิศวงสงสัย ตลอดจนการตั้งค�ำถามนี้เอง ที่จะก่อให้เกิดคุณค่าทางสังคมใหม่ๆ
What is the shadow of white light? 25
ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่สามารถเกิดขึ้นได้ จากการวิเคราะห์ของใครคนใดคนหนึ่ง และผมก็พูดว่า “คุณรู้ไหมกาบอร์ ถ้าจะให้ผมจินตนาการว่าตัวผมนั้น ต้องท�ำอะไรอย่างอื่นในชีวิต นอกจากการเป็นสถาปนิกแล้ว ผมคิดว่าผมอยากจะเขียนนิทานเรื่องใหม่ๆ เกี่ยวกับเวทมนตร์และสิ่งมหัศจรรย์ เพราะผมคิดว่า จากความเชื่อเหล่านั้นของมนุษย์ มันท�ำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ ตลอดจนสิ่งมหัศจรรย์อื่นๆ ในความคิดของเรา... ทั้งหมดนี้ ล้วนเกิดจากความพิศวงสงสัยและการตั้งค�ำถามทั้งนั้น” บทสนทนาระหว่างผมและกาบอร์นี้ เกิดขึ้นระหว่างที่ผมก�ำลังจะต้องไปบรรยาย ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สามครั้งติดๆ กัน ซึ่งแน่นอนว่า ผมยังไม่มีชื่อหัวข้อที่ผมจะไปพูดเลย และผมก็ถูกทวงแล้วทวงอีกจากเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย ให้ส่งหัวข้อไปให้เขาเพื่อการประชาสัมพันธ์ แต่หลังจากบทสนทนาในคืนนั้นกับกาบอร์ ผมก็ได้ชื่อหัวข้อในที่สุด (ช่างเป็นเรื่องโชคดี ที่รอบตัวผมมีคนที่ใส่ใจในทุกสิ่ง แม้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ)
Those kids in the photograph, so crisp in white shirts, sitting in the Houston sun, do seem a generation away in time; but Lou remains,timeless. Peter Papademetriou
ในภาพ หลุย ไอ คาห์น สนทนากับนักเรียนสถาปัตย์ มหาวิทยาลัยไรซ์ ฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ. 1968
สถาปัตยกรรมจะเป็นอย่างไร ห้าสิบปีนับจากนี้ และเราจะสามารถคาดเดาอะไรได้? What will architecture be like fifty years from now, and what can we anticipate?
Design is Form Towards Presence 55
คุณไม่สามารถคาดเดาได้ ค�ำถามนี้ท�ำให้ผมนึกถึงเรื่องราวในอดีต... บริษัท เจนเนอรัล อิเลคทริค ได้มาขอ ให้ผมช่วยแนะน�ำพวกเขาในการออกแบบยานอวกาศ ซึ่งผมก็ได้รับอนุมัติจาก หน่วยสืบราชการลับเรียบร้อย แม้ผมจะมีงานออกแบบล้นมืออยู่แล้วในขณะนั้น แต่ผมก็ยังอยากจะลองคิดเรื่องยานอวกาศดูสักหน่อย ผมเดินทางไปประชุมกับ นักวิทยาศาสตร์กลุม่ หนึง่ ทุกคนนัง่ อยูร่ อบโต๊ะทีด่ จู ะยาวกว่าปกติ นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มนี้ดูสดใสรื่นเริงดี บางคนก็สูบไปป์ บางคนก็ไว้หนวดเคราเต็มไปหมด แน่นอน ว่าทุกคนดูพิเศษ แตกต่างจากคนทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง วางภาพวาดภาพหนึ่งลงบนโต๊ะ และก็พูดกับผมว่า “คุณคาห์น เราอยากจะให้ คุณดูว่า ห้าสิบปีนับจากนี้ เราคิดว่ายานอวกาศจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร”รูปที่ เขาให้ผมดูนั้น เป็นภาพที่งามมาก มันมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ดูซับซ้อนลอยอยู่ ในอวกาศ พร้อมทั้งผู้คนจ�ำนวนหนึ่ง แน่นอนว่า เมื่อดูภาพนั้นแล้ว คุณก็อาจจะ รูส้ กึ เหมือนผม ผมรูส้ กึ อับอายทีค่ นเหล่านัน้ ดูจะรูเ้ รือ่ งอะไรมากมายทีผ่ มไม่รเู้ ลย โดยเฉพาะเมื่อนักวิทยาศาสตร์ผู้ชาญฉลาดพูดว่า “นี่คือยานอวกาศในอีกห้าสิบ ปีข้างหน้า” ผมตอบทันทีว่า “มันจะไม่เป็นเช่นนั้นแน่ๆ”... เหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างก็ขยับ เก้าอี้เข้ามาใกล้ และถามว่า “คุณรู้ได้อย่างไร” ผมตอบว่า มันเป็นเรือ่ งธรรมดามากๆ… ถ้าคุณรูว้ า่ มันจะเป็นอย่างไรในอีกห้าสิบปี ข้างหน้า คุณก็สามารถจะสร้างมันขึ้นมาได้ตอนนี้เลย แต่ในความเป็นจริงคือ คุณไม่รู้ เพราะในอีกห้าสิบปีนับจากนี้ ของทุกสิ่งก็จะเป็นอย่างที่มันจะเป็น เราไม่มีวันรู้
คุณมีวิธีในการวิเคราะห์ที่ตั้ง และพยายามท�ำความเข้าใจบริบท รอบๆ ด้วยวิธีการเดียวกันในทุกที่ตั้งหรือไม่? Do you approach your analysis of the site of a building the same way, and try to understand the nature of the surrounding area? ถ้าพูดถึงรูปทรงและการออกแบบ คุณคิดว่ามันเป็นเหตุผล ซึ่งกันและกันหรือไม่? Considering form and design - is one the maker of the other?
Design is Form Towards Presence 65
ธรรมชาติและลักษณะเฉพาะของทีต่ งั้ จ�ำเป็นต้องได้รบั การศึกษา เพราะมันมีตวั ตน อยู่ที่นั่น คุณไม่สามารถจะเอาอาคารไปตั้งไว้ที่ไหนก็ได้โดยปราศจากอิทธิพล จากที่สิ่งอยู่รอบข้าง มันจ�ำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กันเสมอๆ
ผมคิดว่าเนื้อหาของรูปทรงหรือฟอร์มนั้นไม่ได้อยู่ที่รูปร่างหรือขนาดแต่อยู่ที่ ธรรมชาติและอัตลักษณ์ รูปทรงล้วนมีส่วนต่างๆ ที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ ถ้าคุณดึงส่วนใดส่วนหนึง่ ออกไป รูปทรงนัน้ จะสูญสลายไปในทันที นัน่ คือความหมาย ของรูปทรง ในขณะที่การออกแบบนั้น เป็นการแปลความคิดไปสู่สิ่งที่มีตัวตน รูปทรงใดๆ ก็ตาม มันอาจจะมีตัวตนจับต้องได้ แต่ไม่มีความหมายและอัตลักษณ์ แจ่มชัดในตัวของมันเอง การออกแบบ เกิดขึน้ ก็เพือ่ มอบความหมายและอัตลักษณ์ ต่อสิ่งต่างๆ และความหมายนั้นก็มีนัยในเชิงจินตภาพ คุณออกแบบก็เพื่อท�ำให้ ความหมายเชิงจินตภาพนัน้ มีตวั ตนจับต้องได้ขนึ้ มา ถ้าคุณวาดภาพเพือ่ แสดงออก ถึงธรรมชาติและตัวตนของบางสิ่ง สิ่งที่คุณวาดนั้นจะมีรูปทรง ความหมาย และตัวตน ปรากฏรูปแจ่มชัด เมื่อผมได้รับค�ำขอจากกระทรวง ให้ออกแบบโบสถ์ยูนิทาเรียน ผมเข้าไปประชุม กับคณะกรรมการด�ำเนินงาน โดยที่ไม่รู้จักใครในนั้นมาก่อนเลย แต่สิ่งที่ผม น�ำเสนอแก่พวกเขานัน้ ไม่ใช่แบบสถาปัตยกรรม ผมน�ำไปเพียงภาพวาดของรูปทรง ซึ่งเป็นภาพวาดที่ต้องการแสดงออกถึงธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ผมสามารถจะ แสดงให้คณ ุ ดูได้วา่ ภาพวาดนัน้ เป็นอย่างไร ผมเล่าให้เขาฟังว่า นีค่ อื ทีเ่ ดินจงกรม นั่ น คื อ ทางเดิ น นี่คือโรงเรียน ในขณะที่ที่เดินจงกรมนั้นมีไว้ส�ำหรับคนที่ คิ ด
If you separate this thing without saying its nature, you have nothing which holds together. The nature is to inspire, and to give inspiration is probably too strong an expression. I would say that you present your aspiration, something in which you believe, something which you are not afraid to expose.
Plan Sketch for the Rice School of Architecture, 1969; unbuilt.
อยากให้คุณแสดงความเห็นเกี่ยวกับระบบการศึกษาสถาปัตยกรรม และวิธีการที่จะท�ำให้งานช่างฝีมือและงานออกแบบท�ำงานร่วมกัน? ถ้าคุณเป็นผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาตรีทางสถาปัตยกรรม คุณจะเริ่มกระบวนการสร้างสถาปนิกอย่างไร? Would you comment on the education of an architect, and how to achieve the integration of craft and design? If you were head of an undergraduate school, how would you begin the training of architects?
Your obligations as a professional are those of a man who is entrusted to do a work which is of interest for the people,for, after all, an architect doesn’t dish it out of his pocket.
Design is Form Towards Presence 79
ผมคิดว่า วิธีการใดๆ ก็อาจจะใช้ได้ดีเท่ากับวิธีการอื่นๆ ผมอธิบายแบบนี้ดีกว่า คุณมีหน้าที่รับผิดชอบในเชิงวิชาชีพส�ำหรับทุกอาคาร ที่สร้างขึ้น เนื่องจากคุณก�ำลังท�ำงานกับผู้คนและความต้องการอันหลากหลาย ของพวกเขา คุ ณ จ� ำ เป็ น ต้ อ งเรี ย นรู ้ ห น้ า ที่ ที่ จ ะต้ อ งรั บ ผิ ด ชอบด้ า นการเงิ น การลงทุนของลูกค้า รายจ่ายทัง้ หมดทีจ่ ะเกิดขึน้ ความต้องการพืน้ ทีใ่ นลักษณะต่างๆ และประเด็นอืน่ ๆ อีกมากมายทีค่ ณ ุ จ�ำเป็นต้องเข้าใจ เอาใจใส่ดแู ลด้วยความซือ่ สัตย์ สุจริต จริงใจ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด แน่นอนว่าเรามีสิ่งซึ่งเราเรียกกันว่า วิชาชีพแต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็นเรือ่ งของคนทีม่ จี ติ ใจการทีจ่ ะสอนสิง่ เหล่านีไ้ ด้ คุณจ�ำเป็นต้องใช้ปรัชญา ความเชื่อ และความสัมพันธ์กับศิลปะแขนงอื่นๆ รอบตัวคุณ ทั้งหมดนี้เป็นรูปแบบของการแสดงออก มันยังไม่ใช่การสื่อสารเสียทีเดียว แต่เป็น การเตรียมความพร้อมไปสู่สิ่งที่คุณจ�ำเป็นต้องรู้และเข้าใจ ความรับผิดชอบของ วิชาชีพของคุณ คือหน้าที่ที่คนคนหนึ่งควรเข้าใจ เมื่อได้รับมอบหมายให้ท�ำงาน อันเกี่ยวเนื่องกับผู้คนมากมายและผลประโยชน์ของเขา เพราะในที่สุดแล้ว สถาปนิกไม่ได้ควักกระเป๋าตัวเองเพื่อสร้างอาคารขึ้นมา และนอกจากนั้น ผมคิดว่า สิ่งส�ำคัญและจ�ำเป็นอย่างยิ่งยวดอีกประการหนึ่ง คือโปรแกรมอันเหมาะสม ในเชิงวิชาชีพ ผมพูดได้ว่า มันหมายถึงการค้นหา ธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง สถาปนิกจ�ำเป็น ต้องค้นหาธรรมชาติที่แท้จริงของอาคารที่ตนจะสร้าง เพื่อตอบรับสถาบันต่างๆ ของมนุษย์ ถ้าผมเป็นนักดนตรี และผมเป็นคนแรกที่คิดค้นเพลงวอลซ์ขึ้นมา ผมไม่คิดว่า เพลงวอลซ์นนั้ เป็นของผมแต่เพียงผูเ้ ดียว เพราะใครๆ ก็สามารถจะแต่งเพลงวอลซ์ ขึ้ น มาได้ เนื่ อ งจากมั น มี ธ รรมชาติ แ ละตั ว ตนที่ ตั้ ง อยู ่ บ นพื้ น ฐานของความ สัมพันธ์สาม-และ-สี่ จังหวะ
หลักการของบางอย่างของธรรมชาตินั้นมักจะเป็นจริงเสมอ ภาพลักษณ์ของสรรพสิ่งนั้นย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่วัตถุประสงค์และหน้าที่ของมันจะยังคงอยู่
LOUIS I. KAHN Conversations with Students
เกี่ยวกับหลุยส์ ไอ คาห์น หลุยส์ อิซาดอร์ คาห์น (Louis Isadore Kahn) สถาปนิกยุคโมเดิร์น ชาวอเมริกันเกิดเมื่อ วันที่ 5 มีนาคม ปี ค.ศ. 1901 ที่เมืองเล็กๆ ในประเทศเอสโตเนีย หลังจากนั้น ครอบครัว ของเขาได้ย้ายมาตั้งรกรากในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยลงหลักปักฐานที่เมืองฟิลาเดลเฟีย มลรัฐเพนซิลเวเนีย คาห์นจบการศึกษาสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียและ ท�ำงานออกแบบอย่างต่อเนือ่ งตลอดชีวติ ผลงานของคาห์นเป็นทีร่ จู้ กั กันด้วยความหนักแน่น มัน่ คง และความสามารถในการสื่อสารอันละเอียดอ่อนของรูปทรง ที่ว่าง การใช้วัสดุ ตลอดจน ตั้งค�ำถามส�ำคัญเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของงานสถาปัตยกรรมและลักษณะเฉพาะของถิ่นที่ และการสื่อสารถึงจิตวิญญาณและหน้าที่ของอาคาร คาห์นมีผลงานออกแบบ อันมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักมากมาย เช่น สถาบันซอล์ค พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งมหาวิทยาลัยเยล พิพิธภัณฑ์ศิลปะ คิมเบล และ National Assembly ที่เมืองดักกา ประเทศบังกลาเทศ คาห์นยังเป็นอาจารย์สอน การออกแบบสถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และท�ำงานออกแบบอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตเมื่ออายุได้เจ็ดสิบสามปี
เกี่ยวกับผู้แปล ต้นข้าว ปาณินท์
สถาปนิกและอาจารย์ประจําคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สําเร็จ การศึ ก ษาปริ ญ ญาเอกด้ า นทฤษฎี แ ละประวั ติ ศ าสตร์ ส ถาปั ต ยกรรม มี ค วามสนใจและ ทําวิจัยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับทฤษฎีสถาปัตยกรรมตะวันตกตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่สิบแปดจนถึง ศตวรรษที่ยี่สิบ
หลุยส์ ไอ คาห์น บทสนทนากับนักเรียน ผู้แปล ต้นข้าว ปาณินท์ พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2558 บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จ�ำกัด ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ พาพาเดเมทริว, ปีเตอร์. หลุยส์ ไอ คาห์น บทสนทนากับนักเรียน.-- กรุงเทพฯ : ลายเส้น, 2558. 104 หน้า. -- (modern thought). 1. สถาปัตยกรรม--รวมเรื่อง. I. ต้นข้าว ปาณินท์, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 720 ISBN 978-616-7800-50-9 บรรณาธิการงานแปล
อรศิริ ปาณินท์
ที่ปรึกษา บรรณาธิการบริหาร กองบรรณาธิการ ออกแบบปกและรูปเล่ม ลิขสิทธิ์ต่างประเทศ จัดหาผู้สนับสนุน
นิธิ สถาปิตานนท์ สุลักษณ์ วิศวปัทมวรรณ บุศรา เขมาภิรักษ์ / พฤหัส สุวรรณรัตน์ สิริยากร อุรัสยะนันทน์ สุรัตน์ เปเรซ ปานพิมพ์ ใจปัญญา
บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จ�ำกัด ประธานกรรมการ นิธิ สถาปิตานนท์ กรรมการผู้จัดการ สุลักษณ์ วิศวปัทมวรรณ พิสุทธิ์ เลิศด�ำริห์การ / ประภากร วทานยกุล / เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ กรรมการบริหาร จัดพิมพ์และจัดจ�ำหน่าย บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จ�ำกัด 81 สุขุมวิท 26 คลองตัน คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2259 2096 โทรสาร 0 2661 2017 li-zenn@li-zenn.com อีเมล เฟสบุ๊ก Li-Zenn Publishing www.li-zenn.com, www.li-zennpub.com พิมพ์ที่ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน)
www.li-zenn.com