บทสนทนากับ มีส ฟาน เดอ โรห์ (Conversations with Mies van der Rohe)

Page 1

Conversations with Mies van der Rohe


14

สถาปัตยกรรมและเทคโนโลยี 1950 เทคโนโลยีนั้นมีรากฐานมาจากอดีต มันส่งอิทธิพลในปัจจุบันและนำ�พาเราไปยังอนาคต มันเป็นการเคลื่อนไหวทางประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง เป็นการเคลื่อนไหวอันยิ่งใหญ่ที่ส่งผลต่อการก่อรูป และเป็นตัวแทนของยุคสมัย มันอาจเปรียบเทียบได้กับการค้นพบตัวตนของมนุษย์ในยุคคลาสสิก ความปรารถนาซึ่งอำ�นาจในยุคโรมัน และการเคลื่อนไหวทางศาสนาในยุคกลาง เทคโนโลยีนั้นเป็นมากกว่าวิธีการ มันเปรียบเสมือนโลกในตัวของมันเอง ในฐานะวิธีการ มันเป็นเครื่องมืออันทรงพลัง แต่มันจะสามารถเผยให้เห็นถึงธรรมชาติที่แท้จริง ก็ต่อเมื่อเราเปิดโอกาสให้มันแสดงตัวตน เช่นในการสร้างเครื่องจักรกล หรือในงานวิศวกรรมโครงสร้างขนาดมหึมา ซึ่งในกรณีดังกล่าว เทคโนโลยีไม่ใช่เพียงเครื่องมืออันมีประโยชน์ แต่มันมีตัวตนมากกว่านั้น มันมีความหมายในตัวของมันเอง และมีการปรากฏตัวอย่างมีพลัง มันมีพลังมากมายเสียจน ยากที่จะให้คำ�จำ�กัดความ ยากที่จะชี้ชัดไปว่า นั่นคือเทคโนโลยี หรือนั่นคืองานสถาปัตยกรรม? ซึ่งก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้คนจะเชื่อว่า วันหนึ่งสถาปัตยกรรมจะล้าสมัย และถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี


15

ความเชื่อดังกล่าวไม่ได้มีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่แจ่มชัดนัก ในทางกลับกัน เมื่อใดก็ตามที่เทคโนโลยีนั้นได้บรรลุวัตถุประสงค์ของมัน มันจะกลายเป็นสถาปัตยกรรม จริงอยู่ที่ว่า งานสถาปัตยกรรมนั้นขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง แต่หน้าที่ที่แท้จริงของมันนั้นอยู่ที่เนื้อหาสาระอันสำ�คัญ ผมหวังว่าคุณจะเข้าใจ ว่างานสถาปัตยกรรมนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์คิดค้นรูปทรง มันไม่ใช่สนามเด็กเล่น แต่สถาปัตยกรรมเป็นสมรภูมิของจิตวิญญาณ สถาปัตยกรรมมีส่วนในการเขียนประวัติศาสตร์แห่งยุคสมัย และให้คำ�จำ�กัดความแก่มัน สถาปัตยกรรม สัมพันธ์กับช่วงเวลาของมัน มันเป็นการสังเคราะห์กลั่นกรองโครงสร้างภายใน และการเผยตัวของรูปทรงอย่างช้า ๆ ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ทำ�ให้เทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมนั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ความหวังของเราคือ มันจะเติบโตไปด้วยกัน และในวันหนึ่ง มันจะเป็นการแสดงออกของกันและกัน และเมื่อนั้นเราจะมีงานสถาปัตยกรรม ที่มีคุณค่า สมกับชื่อของมัน สถาปัตยกรรม ที่เป็นสัญลักษณ์ แห่งยุคสมัยอย่างแท้จริง


บทสนทนา 1



860-880 Lake Shore Drive apartments (1948-51) and 900 Esplanade apartment, 1953-57, Chicago, Illinois Š William S. Engdahl/Chicago Historical Society


19

คุณคิดอย่างไร กับเทคนิคในการก่อสร้างสำ�เร็จรูป? ผมไม่คดิ ว่ามันจะเป็นประโยชน์อะไรนักในการสร้างบ้านสำ�เร็จรูป ถ้าคุณทำ�บ้าน สำ�เร็จรูปในทุก ๆ ส่วน มันจะกลายเป็นข้อจำ�กัดทีไ่ ม่จ�ำ เป็นเลย คุณค่าของระบบ สำ�เร็จรูปนัน้ อยูท่ ห่ี น่วยย่อย และมันจะดีกว่ามาก ทีจ่ ะมีองค์ประกอบบางส่วน ที่ทำ�สำ�เร็จรูปและมุ่งที่จะพัฒนาองค์ประกอบนั้น เพื่อที่สถาปนิกจะสามารถ ใช้องค์ประกอบเหล่านั้นอย่างเป็นอิสระ ไม่เช่นนั้นสถาปัตยกรรมจะกลายเป็น เรื่องน่าเบื่อมาก ในอาคารหลังสุดท้ายของเราที่เลขที่ 860-880 เลค ชอร์ ไดรฟ์ (Lake Shore Drive) เรามีหน้าต่างกว่าสามพันบาน แต่มเี พียงสองรูปแบบทีแ่ ตกต่าง กันเท่านั้น และที่อาคาร 900 เอสพลานาด (Esplanade) เรามีหน้าต่าง ประมาณหนึ่งหมื่นบาน ในรูปแบบเดียวกันทั้งหมด ซึ่งผมคิดว่านั่นเป็นการ ท�ำระบบส�ำเร็จรูปทีพ่ อเพียงแล้ว แต่ผมไม่อยากให้เข้าใจผิดกัน เพราะผมคิดว่า ระบบอุตสาหกรรมนั้น ไม่ได้เหมือนกับการพิมพ์ตรายางซ�้ำ ๆ ทุกสิ่งทุกอย่าง จ�ำเป็นต้องประกอบเข้าด้วยกัน และมีเอกลักษณ์ ตลอดจนการแสดงออก เฉพาะตัว แต่มันจะไม่เป็นการดีกว่าหรือที่เราจะมีระบบมาตรฐานขององค์ประกอบ ที่เป็นไปตามขนาดมาตรฐาน? ไม่เลย ผมคิดว่าเราไม่ควรจะสูญเสียอิสรภาพในการท�ำงานในปัจจุบัน ท�ำไมสถาปนิกทุกคนไม่ออกแบบมาตรฐานของตัวเองขึ้นมา? เพราะมันจะ ท�ำให้คุณต้องบอกกับทุกคนว่า มาตรฐานใดเป็นมาตรฐานที่เขาควรจะใช้ ซึง่ ผมคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น สถาปนิกบางคนใช้ประตูสงู เจ็ดฟุต และมีพื้นที่ทึบตันเหลืออยู่เหนือประตู ในขณะที่ผมเองอยากจะท�ำประตูที่สูง ชนฝ้าเพดาน ดังนั้นค�ำถามก็คือ เราควรจะยอมรับมาตรฐานของผม หรือ มาตรฐานของคนอื่นกันแน่? และผมอยากที่จะเสริมว่า ผมไม่เคยท�ำฝ้าเพดาน ที่ต�่ำกว่าแปดฟุต ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น 8.3 ฟุต หน้าก่อน: Mies van der Rohe at the Arts Club, Chicago, 1952


46

เลอ คอร์บูซิเอร์ ในอาคารบางหลัง ได้หยิบยกงานระบบขึ้นมาเป็นประเด็น สำ�คัญ ดังนั้นมันก็อาจจะมีวิธีการที่จะยกย่องเชิดชูงานระบบท่อต่าง ๆ ขึ้นเป็นสถาปัตยกรรมด้วย? ก็เป็นไปได้ และผมคิดว่า เลอ คอร์บูซิเอร์ ทำ�ได้ดีด้วย แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะ ทำ�ได้ และผมก็ไม่เห็นเหตุผลที่ทุกคนควรจะทำ�เช่นนั้น เมือ่ คุณพูดถึงโครงสร้าง ผมคิดว่าส่วนใหญ่แล้วคุณพูดถึงโครงสร้างในระบบ มุมฉาก เพราะมันมีเหตุผลทีส่ ดุ ใช้งานได้ดแี ละประหยัดทีส่ ดุ แต่ในปัจจุบนั นัน้ มีความเป็นไปได้มาก ทีเ่ ราจะมีโครงสร้างในรูปทรงอิสระ คุณคิดว่าจะเกิดอะไรขึน้ กับสถาปัตยกรรม ถ้าโครงสร้างในรูปทรงอิสระเหล่านั้น เข้ามาแทนที่ โครงสร้างในระบบมุมฉากธรรมดา ๆ ? ผมไม่คิดว่ามันจะมาแทนที่ ผมคิดว่าโครงสร้างในรูปทรงอิสระ เช่น โครงสร้าง ระบบเปลือกนั้นมีข้อจำ�กัดในการใช้งานมาก มันเป็นโครงสร้างระบบเปิด คุณสร้างอาคารชั้นเดียว ที่คุณจะสามารถจะออกแบบมันอย่างไรก็ได้หรือ บางทีอาจจะสองสามชั้น คุณก็ยังเป็นอิสระ แต่มันก็จะจบลงเพียงเท่านั้น คุณจะใช้มันในอาคารสูงอย่างไร? เพราะสำ�หรับอาคารส่วนใหญ่ เราต้องการ พื้นที่ พื้นที่ใช้สอย พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำ�งาน ถ้ามันไม่มีเหตุผลพอ เราจะ ทำ�ให้มันมีรูปทรงอิสระไปทำ�ไม พื้นที่สี่เหลี่ยมมุมฉากเป็นพื้นที่ที่ดี อาจจะดี กว่าที่ว่างที่มีรูปทรงอิสระ ถ้าคุณมีการใช้สอยที่เฉพาะเจาะจง ที่เลื่อนไหล ผมคิดว่ามันก็อาจจะดีที่จะทำ�พื้นที่ที่มีรูปทรงโค้งเลื่อนไหล แต่มันจะไม่เป็น ความคิดที่ดีที่จะใช้เป็นพื้นที่ทำ�งาน เพียงเพราะเหตุผลทางด้านความงาม เพียงอย่างเดียว คุณสามารถใช้รูปทรงอิสระกับโรงละคร หรือพื้นที่ที่มีลักษณะ เอกเทศ ตลอดจนทีต่ ง้ั ทีไ่ ม่เกีย่ วเนือ่ งกับใคร แต่อาคารส่วนใหญ่ของเราก็มกั จะ ถูกกำ�หนดความสัมพันธ์โดยระบบของเมือง


47

ผู้คนที่สนใจโครงสร้างในรูปทรงอิสระ ต่างก็คิดว่า ถ้าคุณออกแบบเมือง ทั้งเมือง มันคงจะเป็นสถานที่ที่น่าเบื่อไม่น้อย อาคารทุกหลังคงมีหน้าตา เหมือน ๆ กัน ดังนั้นมันน่าจะมีอะไรที่แตกต่างออกไปบ้างตามที่ต่าง ๆ แต่คุณลองนึกถึงเมืองในยุคกลาง ผมคิดว่ามันเป็นตัวอย่างที่ดี บ้านทุกหลังนั้น ล้วนเหมือนกัน มีผังพื้นที่ไม่แตกต่างกัน แต่ใครที่สามารถมีกำ�ลังซื้อ ก็อาจจะ เพิ่มโถงทางเข้าที่แตกต่างออกไป หรืออาจจะเพิ่มที่เคาะประตูที่ไม่เหมือนใคร ตลอดจนหน้าต่างยื่นที่แตกต่างจากคนอื่น แต่ผังพื้นทั้งหมดล้วนไม่ต่างกัน คุณดูสิว่า เมืองในยุคกลางนั้นมีความน่าสนใจเพียงใด อาคารของแฟรงก์ ลอยด์ ไรท์ ในเมืองต่าง ๆ อย่างน้อยก็อาคารที่ออกแบบ ในช่วงยี่สิบปีหลังนั้น ดูเหมือนจะขัดแย้งกับเมืองโดยสิ้นเชิง ใช่ ดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้น และผมก็ไม่เห็นด้วยกับความคิดนั้น ผมคิดว่า คุณต้องยอมรับความจริง ผมไม่คิดว่าใครจะสามารถเปลี่ยนแปลงความจริง ได้ด้วยหลักทฤษฎีใด ๆ ผมเห็นความพยายามแบบนั้นมานับครั้งไม่ถ้วน และ มันก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า ถ้าเป็นผม ผมจะยอมรับ และทำ�อะไรบางอย่างกับมัน มันคือปัญหาอย่างหนึ่ง ผู้คนมักคิดว่าผมมีสูตรสำ�เร็จเมื่อผมพูดถึงโครงสร้าง พวกเขาคิดว่าผมพูดถึงคานเหล็กเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่ใช่เลย มันไม่จำ�เป็น ต้องเป็นเช่นนั้น คุณสามารถสร้างอาคารคอนกรีต แต่ถ้าผมจะสร้างอาคาร คอนกรีต ผมก็จะไม่ทำ�เหมือนที่ไรท์ทำ� ผมไม่เห็นเหตุผลอันสมควรเพราะผม เชื่อว่า อาคารแบบไรท์นั้นไม่ใช่อาคารสำ�หรับยุคสมัยของเรา คุณคิดว่าในโลกอิสระแห่งประชาธิปไตย ที่ทุกคนมีอิสระที่จะทำ�อะไรก็ได้ ภายใต้ข้อจำ�กัดที่น้อยมากนั้น มีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่เราจะสร้างระบบทางสถาปัตยกรรม? เป็นไปได้ ผมคิดว่ามันคงเป็นระบบของความเป็นอิสระ


48

แต่คุณคิดไหมว่า มันน่าจะต้องอาศัยระเบียบวินัยของสถาปนิก จึงจะประสบความสำ�เร็จ? คุณเห็นอย่างไร? แน่นอน ผมคิดว่ามันต้องอาศัยวินัยของสถาปนิก แม้แต่แฟรงก์ ลอยด์ ไรท์ ก็ ต้องอาศัยวินัยอย่างมากในการทำ�งานแบบของเขา สำ�หรับผมแล้ว มันดูเหมือนกับว่า ในอาคารยุคแรก ๆ ของคุณ เช่น บาร์เซโลนา พาวิลเลียน นั้นมีร่องรอยระบบความคิดของไรท์อยู่ คุณคิดว่าไรท์ได้สร้างความประทับใจ และส่งอิทธิพลต่องานของคุณบ้างหรือไม่? สำ�หรับหนังสือของฟิลปิ จอห์นสัน (Philip Johnson)4 ผมเขียนเกีย่ วกับไรท์ และอิทธิพลของเขาต่อสถาปนิกในยุโรป แน่นอนว่า ผมประทับใจกับบ้าน โรบี (Robie House) และอาคารสำ�นักงานในเมืองบัฟฟาโล (Buffalo)5

บน: Mies van der Rohe visiting Frank Lloyd Wright in Taliesin, 1959 © Hedrich-Blessing/Chicago Historical Society


49

ใครล่ะ จะไม่ประทับใจ? เขาเป็นอัจฉริยะผู้ยิ่งใหญ่อย่างแน่นอนอยู่แล้ว แต่มันเป็นเรื่องยากที่จะดำ�เนินรอยตาม คุณสามารถสัมผัสได้ถึงแฟนตาซีใน งานของเขา คุณจำ�เป็นต้องมีจินตนาการแฟนตาซี เพื่อที่จะทำ�งานในทิศทาง ของไรท์ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าคุณมีจินตนาการแฟนตาซี คุณก็จะไม่เดินไป ในทิศทางเดียวกับเขา คุณก็จะสร้างทางของคุณเอง ไรท์มีอิทธิพลมาก ในช่วงหลัง ๆ ของชีวิต แต่อิทธิพลของเขาต่อภาพของงานสถาปัตยกรรม ในอเมริกานั้นมีไม่มาก นักวิจารณ์ศิลปะหลาย ๆ คน กล่าวว่างานของคุณนั้นได้รับอิทธิพลจาก กลุ่มเดอ สเตล (De Stijl) และธีโอ ฟาน ดูสเบิร์ก (Theo van Doesburg) ไม่จริงเลย คุณก็รู้ว่ามันเป็นความคิดที่ไร้สาระสิ้นดี อยากให้คุณอธิบายเพิ่มเติมว่าทำ�ไม? ฟาน ดูสเบิรก์ ได้เห็นภาพอาคารสำ�นักงานทีผ่ มอธิบายให้เขาฟัง และผม พูดว่า “นี่คือสถาปัตยกรรมของกระดูกและเนื้อหนัง” หลังจากนั้นเขาก็เรียก ผมว่า สถาปนิกกายวิภาค ผมชอบฟาน ดูสเบิร์ก แต่ก็ดูเหมือนกับว่าเขาไม่ได้ รูเ้ รือ่ งอะไรเกีย่ วกับสถาปัตยกรรมมากนัก เขาออกแบบบ้านและอาคารร่วมกับ คอร์ ฟาน เอสเตเรน (Cor van Eesteren) ซึ่งเป็นนักผังเมือง แต่โดยทั่วไป แล้วผมว่าเขาสนใจเกี่ยวกับศิลปะบางประเภทของเขามากกว่า เหมือน พีท มอนเดรียน (Piet Mondrian) ครั้งหนึ่งที่ดุสเซลดอร์ฟ (Düsseldorf) เขาเสนอความคิดที่ว่า ทุกสิ่งควรเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่มันไม่ได้มีผลอะไร ผู้คนจำ�นวนหนึ่งอ้างว่าผมได้รับอิทธิพลจากมอนเดรียน สำ�หรับอาคาร หลังแรกที่ IIT (Minerals and Metals Research Building) ซึ่งมีผนังที่ผู้คน พูดกันว่าดูเหมือนงานของมอนเดรียน แต่ผมจ�ำได้อย่างแม่นย�ำถึงจุดเริม่ ต้นของมัน


52

จนทุกวันนี้ ผมไม่สร้างระบบสังคมแต่ผมสนใจในคำ�ถามเกี่ยวกับอารยธรรม มันคืออะไร? มันเกิดขึ้นได้อย่างไร? ซึ่งมันไม่ใช่ระบบที่เกิดจากการทำ�งาน ของคนคนเดียว มันเป็นงานของผูค้ นมากมาย อารยธรรมเป็นสิง่ ทีถ่ กู หยิบยืน่ ให้เราจากอดีต โดยสิ่งที่เราทำ�ได้ก็คือ ชี้ทางให้มัน ผมไม่คิดว่า เราเปลี่ยนแปลงรากฐานของมันได้ แต่เราสามารถสร้างบางสิ่งจากมัน ทั้งในทางที่ดี และในทางที่ไม่ดี IIT ซึ่งเป็นตัวแทนความคิดของคุณเกี่ยวกับการศึกษานั้น ดูเหมือนจะเป็นโรงเรียนที่เป็นทางการและไม่ยืดหยุ่นที่สุดในอเมริกา ทุกวันนี้ อะไรเป็นแรงบันดาลใจที่ทำ�ให้คุณสร้าง IIT ในแบบที่มันเป็น และคุณคาดหวังว่านักเรียนจะได้อะไรจากโรงเรียน? คุณรู้ไหมว่า เมื่อผมเข้ามาร่วมงานกับโรงเรียนนี6้ และต้องเปลี่ยนแปลง หลักสูตร ผมพยายามจะหาวิธีการที่จะสอนให้นักเรียนเรียนรู้การออกแบบ อาคารที่ดีเท่านั้นเอง โดยเราเริ่มจากการสอนให้นักเรียนหัดวาดในปีแรก นักเรียนจึงเรียนรู้ที่จะวาด จากนั้นเราจึงสอนให้พวกเขารู้จักการก่อสร้าง ด้วย หิน อิฐ ไม้ และสอนพวกเขาเกี่ยวกับงานวิศวกรรม เราสอนเกี่ยวกับ คอนกรีตและเหล็ก จากนั้นเราจึงสอนเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอย (function) ของอาคาร จากนั้นในปีที่สาม เราจึงสอนพวกเขาเกี่ยวกับสัดส่วนและเรื่องราว ของที่ว่าง และในปีสุดท้ายเท่านั้นที่เราพูดถึงกลุ่มอาคาร ทั้งหมดนี้ผม มองไม่เห็นความไม่ยืดหยุ่นของหลักสูตรเลย เพราะเราพยายามที่จะสอนให้ พวกเขาตระหนักถึงปัญหาที่เกี่ยวข้อง เราไม่ได้หยิบยื่นคำ�ตอบให้  แต่เราสอน ให้พวกเขารู้จักที่จะหาทางแก้ปัญหา


53

Mies van der Rohe with his fourth-year students at the IIT, 1939 Š IIT Archives, Chicago


68

คุณคิดว่าผู้คนนั้นปรารถนาวัสดุธรรมชาติที่มีความเข้มข้นรุ่มรวยหรือไม่? ตัวอย่างเช่น กรณีบ้านเรเซอร์ (Resor House) ที่ผมเสียดายอยู่เสมอ ที่มันไม่ได้สร้าง ใช่ ผมเองก็เสียดาย ผมคิดว่ามันเป็นอาคารที่ดี คุณคิดว่าวัสดุที่มีความรุ่มรวยเหล่านี้ สามารถสร้างมิติของความเป็นมนุษย์ ขึ้นมาได้หรือไม่? มันไม่จำ�เป็น มันอาจจะรุ่มรวย แต่ก็ไม่จำ�เป็น หรือมันอาจจะเป็นอะไรสามัญ ธรรมดา ก็คงไม่แตกต่างอะไรนัก คุณหมายความว่า บ้านเรเซอร์ ไม่จำ�เป็นต้องสร้างด้วยไม้สักก็ได้? ไม่จำ�เป็นเลย มันสามารถจะสร้างด้วยไม้ชนิดอื่น ๆ และก็ยังคงเป็นอาคารที่ดี เพียงมันอาจจะไม่ละเมียดละไมเหมือนไม้สัก บน: Resor House, Jackson Hole, Wyoming, 1937-39 Collage with a reproduction of Paul Klee’s Colorful Meal (1939)


69

ความจริงแล้ว ผมคิดว่าถ้าผมสร้างบาร์เซโลนา พาวิลเลียน ด้วยอิฐ มันก็ยังคงเป็นอาคารที่ดี ผมมั่นใจว่ามันคงไม่ประสบความสำ�เร็จเท่ากับสร้าง ด้วยหินอ่อน แต่มันไม่เกี่ยวกับแก่นของความคิดเลย คุณคิดอย่างไรกับการใช้สีในงานสถาปัตยกรรม? ทีว่ ทิ ยาเขต IIT ผมทาสีเหล็กเป็นสีด�ำ ทีบ่ า้ นฟาร์นสเวิรธ์ (Farnsworth House) ผมทาสีขาวเพราะมันอยู่ท่ามกลางธรรมชาติสีเขียว และเป็นพื้นที่เปิดโล่ง ผมจะใช้สีอะไรก็ได้ และคุณก็เคยทำ�สีโครมเหมือนที่คุณทำ�ในบาร์เซโลนา พาวิลเลียน ใช่แล้ว ผมทำ�เช่นนั้น ผมรักวัสดุธรรมชาติและโลหะ ผมไม่ค่อยทาสีผนัง เท่าไหร่นัก ผมยกให้มันเป็นงานของปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Picasso) หรือ พอล เคล (Paul Klee) อันที่จริงผมสั่งภาพขนาดใหญ่จากพอล เคล สองภาพ ด้านหนึ่งสีขาว อีกด้านหนึ่งสีดำ� ผมบอกเขาว่า “ผมไม่สนใจว่าคุณจะเพ้นท์ อะไรลงไป” แปลว่าถ้าเป็นเรื่องของสีสัน คุณจะยกให้เป็นงานของศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ แน่นอน ผมจะทำ�เช่นนั้น 1964 ถ้าผมมีความเป็นปัจเจกมาก ผมคงเป็นศิลปิน ไม่ใช่สถาปนิก ซึ่งผมคงจะ สามารถแสดงออกทุกสิ่งที่ผมต้องการ แต่ในงานอาคารผมต้องทำ�สิ่งที่จำ�เป็น ไม่ใช่สิ่งที่ผมชอบเพียงคนเดียวแต่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ ผมมักโยน ความคิดที่ผมชื่นชอบทิ้งไป เพราะเมื่อผมพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ผมมักต้องโยน มันทิ้งไป นั่นคือความแตกต่าง มันไม่ใช่เรื่องของประโยชน์ใช้สอยเสียทีเดียว คุณแค่ไม่สามารถจะมีอัตตาได้อย่างจริงจัง มันดูน่าขันในงานอาคาร


74

ผมจำ�ได้ถึงความประทับใจที่สุด ในครั้งแรกที่ผมไปเยือนนครนิวยอร์ก ที่ลิฟต์สามารถพาคุณขึ้นไปยังชั้นห้าสิบของอาคาร ได้ในเวลาเพียงน้อยนิด ผมประทับใจมาก คุณเคยกล่าวถึงโรงนาในรัฐเพนซิลเวเนีย ใช่แล้ว โรงนาดี ๆ ในเพนซิลเวเนีย ที่ผมชอบมากกว่าอาคารส่วนมากเสียอีก มันเป็นอาคารจริงที่ดีที่สุดที่ผมรู้จักในอเมริกา สะพานวอชิงตันเป็นตัวอย่างของอาคารสมัยใหม่ทตี่ รงประเด็น บางทีพวกเขา อาจมีความคิดเกี่ยวกับหอคอยสูง แต่ผมไม่ได้หมายถึงมัน ผมหมายถึง หลักการของมันมากกว่า การสร้างเส้นตรงง่าย ๆ ธรรมดา ๆ จากฝั่งหนึ่ง ของแม่น�้ำฮัดสันไปยังอีกฝั่งหนึ่ง เป็นการตอบค�ำถามที่ตรงไปตรงมา ที่ผม พยายามจะค้นหา แต่ยังมีประเด็นอื่นอีก ในภาษาเยอรมัน เราใช้คำ�ว่า Baukunst ซึ่งเป็น สองคำ� Bau (อาคาร, การสร้าง) และ Kunst (ศิลปะ) ศิลปะนัน้ เป็นความลุม่ ลึก ละเมียดละไมของการสร้าง ซึง่ เป็นสิง่ ทีเ่ ราแสดงออกใน Baukunst เมือ่ ผมยังเด็ก ผมเกลียดคำ�ภาษาเยอรมันทีแ่ ปลว่า สถาปัตยกรรม คือ Architektur เราพูดถึง Baukunst เพราะสถาปัตยกรรมหมายถึงการที่เราปั้นรูปทรงจากภายนอก คุณสามารถกล่าวได้ไหมว่า ลักษณะเฉพาะของ Baukunst นั้น คือความ มีเหตุผล? ใช่ อย่างน้อยนั่นก็เป็นประเด็นที่ผมชอบใน Baukunst แม้ว่าเราจะต้องสร้าง อาคารในรูปแบบบาโรกมากมาย สมัยที่ผมยังหนุ่ม แต่ผมก็ไม่เคยสนใจใน สถาปัตยกรรมบาโรก ผมสนใจในสถาปัตยกรรมแห่งโครงสร้าง ผมสนใจ สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ ผมสนใจสถาปัตยกรรมกอทิก ซึง่ เรามักจะเข้าใจมันผิดไป


75

Model of the Weissenhofsiedlung, Stuttgart, Germany, 1927


80

เมื่อคุณใช้คอนกรีต ดูเหมือนคุณจะละทิ้งความเป็นอิสระด้านรูปทรง ของคอนกรีต? ความเป็นอิสระด้านรูปทรงของคอนกรีตนั้น ฟังดูน่าขัน เพราะความเป็น อิสระนั้นอาจจะไม่ใช่วิธีการทำ�งานกับคอนกรีตที่เหมาะสมที่สุด ถ้าผมจะใช้ คอนกรีต ผมก็ใช้มันในรูปแบบของโครงสร้าง หรือที่ผมเรียกมันว่าโครงสร้าง ผมทราบว่าคุณสามารถจะใช้มันในรูปแบบอื่นมากมาย แต่ผมไม่ชอบจะใช้มัน ในรูปแบบอื่น ๆ ผมชอบอาคารที่มีโครงสร้างชัดเจน ผมไม่สนใจในความเป็น อิสระของรูปทรง ไม่สนใจเลย แม้แต่ในเก้าอี้ของคุณ? คุณจะเห็นว่า มันเหมือนกัน เก้าอี้นั้นเป็นเก้าอี้ทรงครึ่งวงกลมทางด้านหน้า มันเป็นโครงสร้างที่เหมือนโครงกระดูก แม้แต่เก้าอี้บาร์เซโลนา มันก็ยังเป็น โครงสร้าง ผมเคยออกแบบเก้าอี้ในรูปทรงอิสระอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำ�มันขึ้นมา จริง ๆ ผมใช้รปู ทรงทีเ่ ป็นก้อน ถ้าคุณต้องการใช้วสั ดุทม่ี คี วามยืดหยุน่ เป็นอิสระ คุณก็ต้องทำ�งานกับรูปทรงที่เป็นก้อน แต่ในขณะเดียวกัน การที่คุณสามารถ จะปั้นคอนกรีตให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ก็ไม่ได้แปลว่าคุณต้องปั้นมันให้เป็น รูปทรงอิสระ มันเพียงแค่มีความเป็นไปได้ ที่คุณจะทำ�เช่นนั้น คุณจะเห็นว่า ในบางครั้งเราก็ใช้อะลูมิเนียม เมื่อเราใช้มันครั้งแรกเรา ทดลองใช้กับวงกบ หลังจากนั้น เราลองแขวนมันไว้บนดาดฟ้าของอาคาร 860-880 เลค ชอร์ ไดรฟ์ เพื่อดูว่ามันจะออกมาเป็นอย่างไร และผมก็บอก คุณได้ว่า หน้าตัดตัว I ง่าย ๆ นั้นทำ�งานได้ดีกว่ามาก และนั่นก็เป็นเหตุผล ทีเ่ ราใช้โครงสร้างทีม่ หี น้าตัดตัว I (I beam structure) แม้มนั จะเป็นอะลูมเิ นียม เพราะมันชัดเจนกว่ามาก


81

MR534 cantilevered arm chair, 1927


88

คุณคิดว่าผังพื้นสำ�หรับศูนย์ราชการที่มอนทรีออล โทรอนโต และชิคาโก มีอะไรร่วมกันบ้างหรือไม่? เราวางอาคารต่าง ๆ เพื่อให้อาคารแต่ละหลังได้รับประโยชน์มากที่สุด และ ให้ช่องว่างระหว่างอาคารมีคุณภาพที่ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำ�ได้ นั่นคือลักษณะ ที่เหมือนกัน และถึงแม้ว่าผมจะออกแบบกลุ่มบ้านเดี่ยว ผมก็คงจะใช้หลักการ เดียวกัน เพียงแต่ที่ว่างระหว่างบ้านอาจจะมีขนาดเล็กลง

Federal Center, Chicago, 1959-73


89

Westmount Square, Montreal, Canada, 1964-67

Toronto-Dominion, Toroto, Canada, 1963-69


96

อิทธิพลทางประวัติศาสตร์ มีความสำ�คัญสำ�หรับคุณแค่ไหน? ผมไม่สนใจในประวัติศาสตร์ของอารยธรรม ผมสนใจในอารยธรรมของเรา ที่เราอยู่ในปัจจุบัน เพราะหลังจากการทำ�งานมาเป็นเวลานาน และการคิด การศึกษา ผมเชื่อว่าสถาปัตยกรรมนั้นสัมพันธ์กับอารยธรรมที่เราอยู่อาศัย ในปัจจุบัน นั่นเป็นเนื้อหาของงานสถาปัตยกรรม มันสามารถแสดงออกถึง อารยธรรมที่เราอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น มันอาจจะมีแรงผลักดันที่ขัดแย้งหรือ ตรงกันข้าม แต่ถ้าคุณมองให้ลึกซึ้ง คุณจะพบแรงผลักดันหลัก แรงผลักดันที่ ยั่งยืน และแรงผลักดันอันผิวเผิน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำ�ให้เราให้คำ�จำ�กัดความ กับอารยธรรมและช่วงเวลาของเรายากเหลือเกิน ในอารยธรรมโบราณ แรงผลักดันอันฉาบฉวยนั้นล้วนสูญสลายไป เหลือเพียงแรงผลักดันหลัก อันเป็นตัวกำ�หนดทิศทาง ซึ่งกลายเป็นแรงผลักดันทางประวัติศาสตร์อันมี ลักษณะพิเศษ บางทีคณ ุ ก็ไม่สามารถจะให้ค�ำ จำ�กัดความกับบางสิง่ ได้ แต่คณ ุ อาจจะค้นพบ อะไรบางอย่างที่ทำ�ให้คุณสะดุดลึกลงไปถึงแก่นความคิดของคุณ มันคือสิ่งที่ใช่ คุณไม่สามารถอธิบายได้ แต่มันคือสิ่งที่ใช่ มันเหมือนกับการที่คุณเจอใครบาง คนที่สุขภาพดี คุณไม่สามารถบอกเหตุผลได้ แต่คุณรู้ว่าสุขภาพใครดีหรือไม่ นั้นคือประเด็นที่ผมคิดว่าสำ�คัญ โดยเฉพาะในช่วงเวลาของเราที่มีความคิด แบบบาโรกเกิดขึ้น คุณจะเรียกมันว่าบาโรก หรืออะไรก็ตาม ผมคิดว่า มันเป็นรูปแบบของความฟุ้งเฟ้อแบบบาโรก ที่ขัดแย้งกับความมีเหตุผล ตรงไปตรงมา โดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งความสับสน อะไรควรจะเป็น เครื่องนำ�ทางให้กับเรา ถ้าไม่ใช่เหตุผล? นั่นเป็นเหตุผลที่ทำ�ให้เราพยายาม อย่างยิ่งยวด ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1920 ในช่วงต้นทศวรรษ เพื่อค้นหาแนวทาง การทำ�งานที่มีเหตุผล มีผู้คนมากมายที่มีจินตนาการเพ้อฝัน และความสนใจ ในรูปทรงเชิงประติมากรรมในช่วงยูเก็นชติล (Jugendstil) และอาร์ต นูโว (Art Nouveau) แม้พวกเขาจะเก่งกาจ แต่น้อยคนนักที่จะมีเหตุผลในช่วงเวลา นั้น ผมจึงตัดสินใจตั้งแต่ยังหนุ่มว่าผมจะยอมรับความมีเหตุผลนี้


97

1955 คุณคิดไหมว่าการอยู่อาศัยในรูปแบบใหม่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ? ไม่เลย ผมคิดว่าหลักการก็จะยังคงเดิม มันอาจจะรุม่ รวยขึน้ ในขณะทีม่ นั พัฒนา มันยากมากที่จะทำ�ให้ทุกสิ่งชัดเจน และจากนั้นจึงแสดงออกถึงความงาม มันแตกต่างกัน แต่ก่อนอื่นเราต้องชัดเจน ผมคงช่วยอะไรไม่ได้มากถ้าใครจะ ต้องการอาคารอพาร์ตเมนต์สูงสี่สิบชั้น และทุกอพาร์ตเมนต์นั้นต้องเหมือน กันหมด ผมทำ�ได้เพียงพยายามแสดงออกตามที่มันควรจะเป็น และสุดท้ายมี ความงาม คุณมองอนาคตของสถาปัตยกรรมในแง่ดีหรือไม่? แน่นอน ผมมองโลกในแง่ดีเสมอ ผมคิดว่าคุณไม่ควรจะวางแผนมากเกินไป และไม่ควรจะสร้างมากเกินไป แปลว่าคุณเล็งเห็นอนาคตที่ใครสักคนจะทำ�งานในสไตล์ของคุณ และสามารถพัฒนา... ผมจะไม่ใช้คำ�ว่าสไตล์โดยเด็ดขาด ผมจะพูดว่า ถ้าเขาใช้หลักการหรือแนวทาง เดียวกัน และแน่นอนว่าถ้าเขามีพรสวรรค์ เขาสามารถพัฒนามันต่อได้ แต่ใน ทางหลักการแล้วมันไม่แตกต่างกัน แรงต่อต้านต่อแนวทางการทำ�งานของผมนั้น มีอยู่อย่างเห็นได้ชัด แต่ผม คิดว่ามันเป็นเพียงแรงต่อต้าน ผมไม่คิดว่ามันจะเป็นแนวทางใหม่ มันเป็นแรง ต่อต้านต่อของที่มีอยู่แล้ว เป็นแรงต่อต้านที่เปรียบได้กับแฟชั่น นิวยอร์ก 1955; ชิคาโก 1964


LI-ZENN PUBLISHING Modern Thought Series

เรม โคลฮาส เลอ คอร์บูซิเอร์ หลุยส์ ไอ คาห์น บทสนทนากับมีส ฟาน บทสนทนากับนักเรียน บทสนทนากับนักเรียน บทสนทนากับนักเรียน เดอ โรห์

ปีเตอร์ สมิธสัน บทสนทนากับนักเรียน

ISBN: 978-616-7800-48-6 ISBN: 978-616-7800-50-9 ISBN: 978-616-7800-73-8 ISBN: 978-616-7800-87-5 ISBN: 978-616-7800-86-8 300 บาท 250 บาท 300 บาท 350 บาท 250 บาท

หัตถาราชัน

ISBN: 978-616-7800-47-9 300 บาท

บทสนทนา กับความว่างเปล่า

อยูก่ บั ความซับซ้อน ปรากฏ-กาล:ชีวิตของ เมืองของผู้คน เมืองมีชวี ติ งานสถาปัตยกรรม ISBN: 978-616-7800-61-5 ISBN: 978-616-7800-84-4 ISBN: 978-616-7800-76-9 ผ่านกาลเวลา 380 บาท 700 บาท 350 บาท ISBN: 978-616-7800-46-2 300 บาท

ความซับซ้อน และความขัดแย้ง ในสถาปัตยกรรม

ความปรุโปร่ง

ความหมาย

ISBN: 978-616-7800-69-1 ของการก่อสร้าง ISBN: 978-616-7800-28-8 300 บาท ISBN: 978-616-7800-74-5 ISBN: 978-616-7800-71-4 300 บาท 350 บาท 350 บาท

สั่งซื้อหนังสือ: FB: Li-Zenn Publishing (ทาง Inbox) E: purchase@li-zenn.com T: 089 500 2049 / 02 259 2096 ร้าน Li-zenn Bookshop สาขาสุขุมวิท 26 และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.