บทสนทนานอกห้องเรียน - นิธิ สถาปิตานนท์

Page 1



ค� ำ น� ำ ส� ำ นั ก พิ ม พ์

เมือ่ เดือนเมษายน พ.ศ.2558 นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชัน้ ปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ�ำนวน 24 คน ได้มาฟังค�ำบรรยายพิเศษเชิงสนทนาพูดคุยกับคุณนิธิ สถาปิตานนท์ ที่บริษัท สถาปนิก 49 ในหัวข้อเรื่องการบริหารจัดการส�ำนักงาน ปรัชญาความคิด และการใช้ชีวิตหลังเกษียณ ในวันนั้นบทสนทนา เป็นไปอย่างเป็นกันเองและได้อรรถรสที่เป็นประโยชน์อย่างมาก การพูดคุยเป็นไปในลักษณะของการถามและตอบ เพือ่ เปิดโอกาส ให้นักศึกษาได้ซักถามในข้อสงสัยต่างๆ ตลอดระยะเวลากว่า สามชัว่ โมงในวันนัน้ มีการบันทึกเทปการสนทนาไว้อย่างครบถ้วน บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง ได้ด�ำเนินการถอดเทปและพิมพ์บท สนทนานี้ออกมาได้กว่าสามสิบหน้า เมื่อได้อ่านบทความนี้อีกครั้ง ทางส�ำนักพิมพ์ฯ สัมผัสได้ถึงสารประโยชน์ทเี่ กีย่ วเนือ่ งกับการ ประพฤติปฏิบัติตัวของสถาปนิก สิ่งละอันพันละน้อยเกี่ยวกับการ ประกอบวิชาชีพ กลเม็ดต่างๆ ของการด�ำเนินธุรกิจ และหลัก ปฏิบัติต่างๆ ของการมุ่งมั่นที่จะเป็นสถาปนิกที่ประสบความ ส�ำเร็จ ทางส�ำนักพิมพ์ฯ พิจารณาเห็นว่าบทสนทนานี้น่าจะเป็น ประโยชน์อย่างมากถ้าได้จัดพิมพ์ออกเผยแพร่ในรูปของหนังสือ พ็อกเก็ตบุ๊กเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา หรือแม้แต่สถาปนิกรุ่น ใหม่ๆ ที่ไม่มีโอกาสมาร่วมพูดคุยกันในวันนั้น ได้มีโอกาสศึกษาหา สารประโยชน์จากหนังสือนี้ได้ ส�ำนักพิมพ์ฯ จึงได้ขออนุญาตทาง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อด�ำเนินการ จัดพิมพ์และได้รับความเห็นชอบให้ด�ำเนินการได้ ส�ำนักพิมพ์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดพิมพ์หนังสือ ‘บทสนทนา นอกห้องเรียน’ ในครั้งนี้ จะให้ประโยชน์แก่นิสิตนักศึกษาและ ผู้ที่สนใจ สมดังเจตนารมณ์ทุกประการ



เมษายน 2558 บริ ษั ท สถาปนิ ก 49


ผมไม่ได้ไปเลคเชอร์ที่ศิลปากร วังท่าพระ นานมาก เป็นสิบๆ ปี คราวนี้เรียนอาจารย์ไปว่า ถ้าจะเชิญผมให้มาเลคเชอร์ ก็อยากมาในลักษณะนั่งคุยกัน แลกเปลี่ยนความเห็น อยากรู้อะไร สามารถขุดคุ้ยจากผมได้เลย จะเล่าให้ฟังทุกเรื่อง


ปีนี้ผมอายุหกสิบแปด และได้ประกาศไปในวงการ ไปกับลูกค้าว่า ได้รีไทร์แล้ว เป็นการรีไทร์จริงๆ กล้าพูดอย่างเต็มปากกับเพื่อน สถาปนิกหลายคน ไม่ได้พูดว่าอยากรีไทร์แบบกั๊กๆ ไม่อยากท�ำตัว แบบเสียดายงานหรือไม่อยากให้ลูกค้ารู้ว่าตัวเองรีไทร์ เมื่อสามปีที่แล้วตอนอายุหกสิบห้าผมออกจดหมายถึงลูกค้าทุกคน ว่าผมจะรีไทร์ ก็ขอบคุณเขาที่สนับสนุนเรามาตลอด ตอนที่ผมอายุหกสิบกว่าๆ ผมรู้สึกหมดไฟกับลูกค้าเบื่องานบริการ แล้วลูกค้าส่วนมากก็เด็กกว่าผม เคยได้คุยกับเพื่อนในวงการ หลายๆ คนบอกว่ายังไม่รไี ทร์ จะอยูไ่ ปจนถึงหกสิบเจ็ดสิบ ดูอย่าง แฟรงก์ ลอยด์ ไรท์ (Frank Lloyd Wright) อยู่ไปจนถึงเก้าสิบ ฟิลิป จอห์นสัน (Philip Johnson) อยู่จนถึงแปดสิบแปด หรือ คอร์บูซิเอร์ (Le Corbusier) ก็ท�ำงานไปจนแก่กันหมดเลย ก็คิด ว่าคนไทยจะท�ำได้ไหมให้อายุถึงเจ็ดสิบแปดสิบ แล้วผมก็ติดตาม ดูทุกคน รุ่นพี่ๆ ผมทุกคนไม่เห็นมีใครท�ำได้เลย บางทีเขาก็รีไทร์ โดยการปิดบริษัทไปเลยก็มี ด้วยเหตุผลที่ว่าลูกค้านั้นเด็กกว่าเรา หมดเลย ลูกค้ายุคนี้ส่วนใหญ่เป็นเด็กรุ่นใหม่ ผมอายุหกสิบ ลูกค้า อายุสี่สิบ ซึ่งเป็นคนละรุ่นกัน พ่อรวยแล้วให้ลูกขึ้นมาเป็นผู้บริหาร ซึ่งเด็กกว่าเรา แล้วเราก็ต้องไปพรีเซนต์งานกับเด็ก เขาอาจพูดว่า ลุง ผมไม่ชอบแบบลุง อะไรอย่างนี้ ซึ่งผมรูส้ กึ แย่มากๆ มีความ รูส้ กึ ว่าเริม่ เบือ่ ทีจ่ ะต้องไปพรีเซนต์กับลูกค้า ต้องพูดซ�้ำๆ โน้มน้าว ซ�้ำๆ แล้วลูกค้าก็เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง


เราต้องแก้แบบกันเป็นร้อยๆ แผ่น ก็ต้องคุยกับเขาด้วยเหตุด้วยผล ต้องขอค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพราะว่า มันเสียเวลาการท�ำงาน ยิ่งบริษัทใหญ่ๆ มีคา่ ใช้จา่ ยสูง เขาต้องยอมรับตรงนี้ ซึ่งเราก็เคลมในการท�ำงาน ที่เราต้องท�ำซ�้ำซ้อนเสียเวลาได้ ขั้นตอนนี้เด็กรุ่นใหม่ๆ จะกลัวว่าลูกค้าจะโกรธ มันเป็นการสปอยล์ลูกค้าด้วย ลูกค้าก็จะแก้เละๆ เทะๆ แก้แล้วแก้อีก คนที่พังคือเรา ค่า fee ที่ได้มาก็ไม่เหลืออะไรเลย


ทั ศ นคติ ต ่ อ งานหรื อ วิ ธี ก ารท� ำ งานจากอดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น เปลี่ ย นไป อย่ า งไรบ้ า ง อย่ า งตอนจบมาใหม่ ๆ เราอยากจะท� ำ งานที่ ดี ที่ สุ ด ต้ อ งการได้ ง านที่ ดี ๆ พออยู ่ ไ ปสั ก พั ก หนึ่ ง ด้ ว ยสภาพแวดล้ อ มหรื อ กลุ ่ ม ลู ก ค้ า อาจจะบี บ บั ง คั บ เราให้ เ ปลี่ ย นวิ ธี คิ ด หรื อ แนวทาง มี วิ ธี ก ารจั ด การกั บ วิ ธี คิ ด หรื อ ทั ศ นคติ ที่ เ ปลี่ ย นแปลงไปอย่ า งไรครั บ

ทุกครั้งที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรในเรื่องใหญ่ ต้องคุยกันซีเรียส เหมือนกัน ด้วยความที่เราเป็นมืออาชีพ เขาก็ต้องเข้าใจในสัญญา เราเขียนไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า การแก้แบบอะไรที่รุนแรงหรือการทิ้ง แบบเป็นร้อยๆ แผ่น เขาต้องเป็นคนจ่ายเงิน ต้องยอมเสียค่าใช้จา่ ย ให้เรา ตรงนี้เราจะเขียนไว้ในสัญญาเลย แล้วก็อย่าไปกลัวว่าจะ ไม่ได้งาน กลัวว่าเขาจะยกเลิกงาน มันผ่านยุคนัน้ ไปแล้ว ด้วยความ ที่เราเป็นมืออาชีพ หากมีการแก้ย้อนหลังไม่ว่าจะด้วยเหตุใด กรณีเซ็นทรัลเวิลด์ก็แก้กันทุกเดือน เพราะฝ่ายการตลาดคิดว่า ตรงนี้ต้องย้ายทั้งโซน ไม่เอาแบบเดิมแล้ว หรือตรงนี้เขาอยากจะ เปลี่ยนมาเป็นโซนอาหารแทน เพราะว่าการตลาดมันเปลี่ยนไป เป็นต้น มันแข่งขันกันมาก ตอนนั้นสยามพารากอนก็ก�ำลังจะเปิด เขาก็สืบกันไปสืบกันมา เขามีเราก็ต้องมีบ้างอะไรอย่างนี้ ซึ่งตรงนี้ เราต้องแก้แบบกันเป็นร้อยๆ แผ่น ก็ต้องคุยกับเขาด้วยเหตุด้วยผล ต้องขอค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพราะว่ามันเสียเวลาการท�ำงาน ยิ่งบริษัท ใหญ่ๆ มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งตัวเลขมันวิ่งอยู่ตลอดเวลากับการต้องใช้ ต้องเปลีย่ นแบบทิง้ ไปสักร้อยแผ่น และการเขียนแบบเพิม่ อีกสักร้อย แผ่น มันต้องเสียอะไรบ้าง เขาต้องยอมรับตรงนี้ ซึ่งเราก็เคลมใน การท�ำงานที่เราต้องท�ำซ�้ำซ้อนเสียเวลาได้ ขั้นตอนนี้เด็กรุ่นใหม่ๆ จะกลัวว่าลูกค้าจะโกรธ มันเป็นการสปอยล์ลูกค้าด้วย ลูกค้าก็จะ แก้เละๆ เทะๆ แก้แล้วแก้อีก คนที่พังคือเรา ค่า fee ที่ได้มาก็ไม่ เหลืออะไรเลย แก้ซ�้ำแก้ซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกน้องๆ ที่เปิด บริษัทใหม่ ค่า fee ก็ได้ไม่มากอยู่แล้ว ถ้ายอมให้เขาแก้แล้วแก้อีก ก็เสร็จเลย


แต่ ถ ้ า เราไม่ แ ก้ ใ ห้ เ ขา เราก็ อ าจจะเสี ย ลู ก ค้ า ไป ไม่ ใ ช่ เ หรอครั บ

คือต้องดูว่าที่แก้นั้นเพราะเราท�ำไม่ดีหรือเปล่า หรือแก้ทั้งๆ ที่ เราท�ำงานเต็มที่แล้ว เราพรีเซนต์งานเต็มที่แล้ว ส่งไปให้ลูกค้าดู ลูกค้าอนุมัติกลับมาเรียบร้อยแล้ว เราก�ำลังท�ำงานขั้นต่อไปแล้ว ลูกค้าเกิดคุยกันในครอบครัวแล้วก็ขอประชุมกับเราใหม่ ลูกคนนี้ ต้องการแบบนี้ ขอพลิกบ้านจากขวาเป็นซ้าย อะไรอย่างนี้เป็นต้น ท�ำให้เราต้องทิ้งงานแล้วก็เริ่มนับหนึ่งใหม่ ตรงนี้เราก็ต้องอธิบาย ด้วยเหตุผลให้เขาฟัง มีอีกเรื่องหนึ่งที่สถาปนิกต้องเรียนรู้ ซึ่งใน การเรียนในมหาวิทยาลัยไม่ได้สอนคือเรื่องของการต่อรอง

ต้องเรียนรู้เรื่องเทคนิคของการต่อรอง จะต่อรอง อย่างไรที่ไม่ท�ำให้เสียบรรยากาศ ลูกค้าไม่รู้สึกแย่ ซึ่งตรงนี้คุณต้องเรียน ต้องหัดต่อรองให้เก่ง พูดให้เก่ง ประนีประนอม ชักแม่น�้ำทั้งห้า มาเพื่อ ให้ลูกค้าเข้าใจและเห็นใจได้ แต่ถ้าหากว่านั่งนิ่ง พูดไม่เป็นก็เสร็จเหมือนกัน ลูกค้าบางคนเขา เขี้ยวเรื่องเทคนิคนี้ เขาก็เอาเปรียบเราทันทีเลย ซึ่งเราต้องไม่ยอม เราอาจเสียลูกค้ากลางคันไปบ้างก็ตอ้ งท�ำใจ เนือ่ งจากเราถูกเอาเปรียบ ถ้าเรายอม ลูกค้าก็จะได้ใจ วันหลังเขาก็ท�ำอีก


มองอนาคต รู ป แบบ หรื อ สไตล์ ข องงานสถาปั ต ยกรรม ทั้ ง ที่ พี่ เ ต้ ย ท� ำ และที่ เ กิ ด ขึ้ น ในประเทศไทย ว่ า จะเปลี่ ย นแปลง หรื อ ไปในทิ ศ ทางไหนครั บ

บอกตามตรงเลยว่าไม่สามารถบอกได้วา่ เทรนด์จะเปลีย่ นไปแบบไหน เทรนด์ทางด้านสถาปัตยกรรมมันเปลีย่ นตลอดเวลา อันเนือ่ งมาจาก วงการศึกษาทั่วโลกพยายามคิดสโลแกน คิดเทรนด์อะไรออกมา เพื่อให้ได้เป็นผู้น�ำทางด้านการศึกษา ยิ่งในอเมริกาก็พยายามจะ สร้างตรงนี้ขึ้นมา เพื่อให้เห็นว่าสถาบันเขาเป็นผู้น�ำทางด้านวงการ ศึกษาสถาปัตยกรรม เช่น มีค�ำว่า deconstruction ก็มาจาก สถาบันแห่งหนึ่ง หรืองาน postmodern ก็มาจากสถาบันอีกแห่ง ตรงนี้มันบอกยาก ผมเองอายุขนาดนี้แล้วก็ยังต้องดูแมกาซีน คอยตาม คอยศึกษาจากที่ต่างๆ ในยุคผมนานๆ ทีถึงจะได้เห็น แมกาซีนออกมาสักเล่มหนึ่ง บางทีเราได้เห็นช้าไปสักสามสี่เดือน แต่ยุคนี้สามารถดูได้ ตามกันได้ทุกวัน เทรนด์ของที่อเมริกาหรือ สถาปนิกที่อเมริกาเขาท�ำอะไร หรืออย่างประเทศในเอเชียอาจจะ ท�ำอะไรเร็วๆ ขณะที่ทางอเมริกาอาจจะท�ำเป็นแบบขึ้นมาเล่นๆ หรือก�ำลังพัฒนาแบบ แต่เราก๊อบปี้สร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กรณีแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ อย่างในจีนเกิดขึ้นเร็วมาก สร้างจนเสร็จ แต่ที่อเมริกายังเขียนแบบหรือสร้างไม่เสร็จเลย ดังนั้นเทรนด์ พวกนี้ต้องตามและศึกษากันตลอดเวลา ผมก็บอกไม่ได้เหมือนกัน ความจริงการท�ำงาน ณ วันนี้กับการท�ำงานเมื่อสามสิบปีที่แล้ว อย่างสมัยก่อนไม่มีคอมพิวเตอร์ การดีไซน์ก็เป็นอีกลักษณะหนึ่ง สมัยก่อนปั้นกันมาจากโมเดล ปั้นกันมาจากฟรีแฮนด์ แต่ในสมัยนี้ เป็นคอมพิวเตอร์หมดแล้ว ซึ่งมันก็เปลี่ยนไปมากเหมือนกัน ซึ่งผม ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าหลังยุคคอมพิวเตอร์ไปนี้จะมีอะไรมาทดแทน อะไรที่จะเร็วไปว่านั้น หรืออะไรที่ก้าวหน้าไปกว่านั้น ซึ่งมันก็มีผล ต่อสถาปัตยกรรม จริงๆ ตึกของเราอาจจะรูปร่างเหมือนจรวดหรือ


จากการที่ ท� ำ งานมามากขนาดนี้ แ ล้ ว เริ่ ม จะเห็ น ความเป็ น ไทยใน สถาปั ต ยกรรมร่ ว มสมั ย บ้ า งแล้ ว หรื อ ยั ง ครั บ เช่ น ถ้ า เป็ น ญี่ ปุ ่ น เราจะสามารถที่ จ ะแบ่ ง แยกได้ ชั ด เจนเลยว่ า นั่ น คื อ สถาปั ต ยกรรม ญี่ ปุ ่ น แต่ ห ากว่ า เป็ น ของไทยพอที่ จ ะเห็ น แนวทางบ้ า งหรื อ ยั ง ครั บ

ในส่วนลึกของผม ผมรักความเป็นไทยมาก ถึงได้ทำ� หนังสือเล่มแรก โดยมีชื่อว่า Architecture of Thailand เมื่อประมาณแปดปีที่แล้ว ซึ่งก็ขายทั่วโลกเหมือนกัน แล้วมาอีกเล่มคือ Architecture of Lanna อีกแง่มมุ หนึง่ ผมก็รกั ทีจ่ ะท�ำสถาปัตยกรรมไทย ถ้ามีโอกาส ได้ท�ำผมก็อยากที่จะลงมือท�ำเอง ถ้าได้ท�ำมันก็ท้าทายตลอดเวลา วันนีผ้ มท�ำให้กบั โรงเรียนวชิราวุธ ซึง่ เป็นโรงเรียนทีม่ สี ถาปัตยกรรม ไทยเกือบทั้งหมด อาจมีบางช่วงเวลาที่มีอาคารที่เป็นโมเดิร์น รูปร่างหน้าตาที่อาจไม่เข้ากับงานไทยประเพณีที่มีอยู่ อาจดูว่าไป ผิดทาง ขัดความรู้สึกของคนอีกหลายๆ คน ในช่วงสี่ถึงห้าปีมานี้ ผมได้ถูกเชิญให้เป็นคณะกรรมการของโรงเรียน โดยผมได้ขอให้ วางนโยบายไปเลยว่างานของวชิราวุธจะต้องเป็นงานไทยแท้ๆ ไทย ประเพณี ซึ่งก็จะเป็นโรงเรียนเดียวในโลกที่เป็นสถาปัตยกรรมไทย ผมมีโอกาสได้ท�ำงานให้โรงเรียนสามชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นตึกเรียน ซึ่ง ได้ทำ� เสร็จไปเป็นทีเ่ รียบร้อยแล้ว อีกชิน้ หนึง่ เป็นตึกหอประชุมใหม่ ก็เป็นทรงไทยเหมือนกัน มีช่อฟ้าใบระกา แล้วก็มีศาลา เรียกว่า ศาลาดนตรี ซึ่งก็เป็นไทยแท้เหมือนกัน ผมพยายามที่สุดเลย ถ้า มีโอกาสนะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผมจะแอนตี้สถาปัตยกรรม โมเดิร์น คือสถาปัตยกรรมโมเดิร์นผมก็ยังท�ำได้ แล้วก็ยังรักมัน เพราะว่า A49 ก็เกิดมาจากการท�ำสถาปัตยกรรมโมเดิร์น แต่ถ้า มีอะไรที่จะต้องท�ำเป็นไทยผมก็จะท�ำ ผมยังเคยเป็นคนที่ผลักดัน ให้มีการมอบรางวัลงานสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ ซึ่งท�ำอยูู่ ประมาณสามสมัยที่จุฬาฯ แต่ว่ายุคหลังนี้ก็ขาดหายไป ไม่มีใคร ไปสานต่อ แล้วก็เลยไม่มีการให้รางวัลต่อ ความจริงเหตุผลที่ผม เข้าไปผลักดันตรงนั้นก็เพื่อให้มีการยอมรับงานโมเดิร์นของไทย


ตึกวชิราวุธ 100 ปี

หอประชุม (บน) / ศาลาดนตรี (ล่าง) วชิราวุธวิทยาลัย


ในการเติ บ โตเป็ น สถาปนิ ก ในอนาคตข้ า งหน้ า พวกเราควรจะ ประพฤติ ป ฏิ บั ติ ตั ว อย่ า งไร ที่ จ ะท� ำ ให้ ก ้ า วไปข้ า งหน้ า ได้ อ ย่ า งมั่ น ใจ และมั่ น คง

ต้องเข้าใจและยอมรับอย่างหนึ่งว่าไม่มีใครเกิดมาแล้วเก่ง ไม่ต้อง พึ่งใคร ไม่ต้องเรียนรู้จากใคร เราจะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ก็ต้องมองดูคนอื่น เรียนรู้จากคนรอบข้างเรา เริ่มต้นก็คงต้องดู ตัวอย่างจากครูบาอาจารย์ แน่นอนว่าครูก็ไม่เหมือนกันทุกคน เราก็เลือกคนที่จะเป็นแบบอย่างให้เราได้ศึกษาวิธีประพฤติปฏิบัติ น�ำปรัชญาและแนวทางข้อชี้แนะของอาจารย์ใช้เป็นหลักในการ ด�ำเนินชีวิตของเรา เมื่อส�ำเร็จการศึกษาแล้วก็ต้องเลือกสถานที่ ท�ำงานที่จะขัดเกลาให้เป็นสถาปนิกที่สมบูรณ์ได้ เก็บเกี่ยวตักตวง สิ่งที่ดีจากเจ้านาย จากพี่ๆ เพื่อนๆ ร่วมงานของคุณ ทุกๆ สิ่งที่ ผ่านมาที่คุณเจอนั้นล้วนเป็น ‘ครู’ สอนเราได้ทั้งนั้น สิ่งที่ผิดพลาด ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็เป็น ‘ครู’ สอนเราได้ ถ้าเราคิดจะเป็น ‘สถาปนิก’ ที่สมบูรณ์แบบให้ได้ เราต้องมีจิต วิญญาณของการเรียนรู้ บางคนเป็นคนช่างสังเกต คอยติดตาม คอยซักถาม เพียงไม่กี่ปีเขาก็เป็นสถาปนิกเต็มตัว เป็นคนรอบรู้ใน หลายๆ เรื่อง มีความไวต่อการแก้ปัญหาต่างๆ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี กับคนรอบข้าง มีทักษะในการพูด บางคนอาจได้เรียนรู้ไปถึงเรื่อง มารยาท จรรยาบรรณ เขาอาจสัมผัสได้ถึงความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ อาจเข้าใจลึกซึ้งได้ว่าวิชาชีพนี้ความซื่อสัตย์ในการเป็นสถาปนิกนั้น เป็นเรื่องส�ำคัญ เขาอาจแยกแยะได้ถึงว่าสิ่งใดควรท�ำและไม่ควรท�ำ และท้ายที่สุดเขาอาจจะเริ่มแยกแยะได้ถึงงานสถาปัตยกรรมที่ดี และงานสถาปัตยกรรมที่ขาดรสนิยมได้


อะไรคื อ หลั ก พื้ น ฐานที่ ส ถาปนิ ก ต้ อ งมี ติ ด ตั ว ไปตลอดการท� ำ งาน หรื อ หลั ก ที่ จ ะช่ ว ยให้ เ ราประสบความส� ำ เร็ จ ในการท� ำ งานได้ ค ะ

บางคนอาจพูดแบบไม่ต้องคิดว่า ต้องเป็นคนมีฐานะดี พ่อแม่ต้อง รวยถึงจะประสบความส�ำเร็จได้ หรืออาจจะประสบความส�ำเร็จได้ เร็วกว่าคนอืน่ ๆ แต่ประสบการณ์สสี่ บิ ปีของผมมันบอกว่าไม่นา่ จะใช่ เพราะผมเห็นตัวอย่างมากมาย คนที่พ่อแม่รวยๆ ให้เงินมาตั้ง บริษัท ให้มาเท่าไหร่ก็ไม่พอเพราะเขาขาดประสบการณ์ ขาดหลัก ในการด�ำเนินธุรกิจได้ เปิดบริษัทได้ไม่นานก็ต้องล่มสลายไปเป็น ส่วนใหญ่ ซึ่งหลักพื้นฐานที่จะท�ำให้เราเป็นสถาปนิกที่สมบูรณ์แบบ ได้นั้น คือ

‘ความอดทน’ เป็นคุณสมบัติข้อแรกและ ข้อส�ำคัญที่สุด ถ้าขาดข้อนี้เราแทบจะไปต่อ ในสายวิชาชีพนี้ไม่ได้เลย อาชีพสถาปนิกเป็นอาชีพที่ต้องให้บริการสังคมและคนในสังคม ถ้าเราไม่มีจิตวิญญาณของการให้บริการหรือขาดความอดทนต่อ แรงกดดันต่างๆ เราคงต้องจบวิชาชีพไปในเวลาอันสัน้ ข้อต่อไปคือเรื่องของการมีจิตวิญญาณของการเรียนรู้ สถาปนิก ต้องหูตากว้างไกล เรียนรูจ้ ากสิง่ แวดล้อมรอบตัว จากครูบาอาจารย์ เจ้านาย รุ่นพี่ หรือจากสื่อต่างๆ ที่ท�ำให้เราทราบถึงวิวัฒนาการ ของงานสถาปัตยกรรมทีเ่ กิดขึน้ ในโลกนี้ ใครทีท่ ำ� ไปก่อนเราก็ล้วน เป็น ‘ครู’ ให้เราได้ทั้งนั้น เราอาจจะเรียนรู้ได้จากคู่แข่ง ซึ่งก็เป็น ‘ครู’ ให้เราได้อกี ทางหนึง่ และด้วยความมุง่ มัน่ ตัง้ ใจ สักวันหนึง่ เราก็ ต้องท�ำได้ดเี ท่าเขาหรือดีกว่าเขา หรืออาจถึงขัน้ ทีจ่ ะชีน้ ำ� คนอืน่ ๆ ได้ นอกจากนี้การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีการพัฒนาตนเอง มีความ


พร้อมที่จะเข้าสังคมรอบข้างได้ ยิ่งปรับตัวได้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งมี โอกาสมากขึ้นเท่านั้น การจะเข้าสังคมได้ดีนั้น ก็ต้องรู้จัก ประนีประนอม รู้จักให้อภัย รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม ไม่หวัง ประโยชน์ส่วนตนมากเกินไป รู้จักถ่อมตนและยกย่องคนอื่น ความซื่อสัตย์สุจริตในวิชาชีพ ก็เป็นเรื่องส�ำคัญที่ต้องฝังรากลึก ลงในชีวิตสถาปนิกเรา

อย่าให้ความโลภหลงมาครอบง�ำชีวิตเรา ความซือ่ สัตย์สจุ ริตขอให้ถอื เป็นเรือ่ งคอขาดบาดตาย ถ้าเราท�ำได้เราก็เป็นสถาปนิกที่มีเกียรติภูมิ มีศักดิ์ศรี และสามารถก้าวเดินไปได้อย่างสง่างาม การตรงต่อเวลาเป็นเรื่องที่ส�ำคัญมากๆ ต่อการเป็นสถาปนิก มืออาชีพ การฝึกฝนตนเองให้เป็นคนตรงต่อเวลาได้นั้นนับเป็น เรื่องที่ต้องกระท�ำและต้องสร้างภาพลักษณ์นี้ให้ติดตัวไปจนวัน ตาย เพราะลูกค้าจะเกิดความศรัทธาและเชื่อมั่น เมื่อสถาปนิก คนใดสร้างมาตรฐานของการเป็นคนตรงต่อเวลาได้ มันจะพัฒนา ไปสู่การเป็นคนที่รักษาค�ำมั่นสัญญา ถ้าเอ่ยปากรับค�ำจะท�ำสิ่งใด แล้วต้องรักษาค�ำพูดนั้น ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ต้อง ท�ำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าทุกสิ่งที่เขามาว่าจ้างให้ท�ำ เราจะท�ำได้ตาม เจตนารมณ์ของเขา ทุกสิ่งจะท�ำเสร็จตามเวลา ตามค�ำมั่นสัญญา ที่ให้ไว้ หรือถ้าท�ำไม่ได้ตามสัญญาก็ต้องชี้แจงเหตุผลล่วงหน้าและ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้แก่เขา ไม่สร้างปัญหาและภาระให้แก่เขา เรื่องมารยาทและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ หลายคน อาจมองข้ามหรือไม่ใส่ใจ นั่นก็จะท�ำให้ถูกมองว่าคุณเป็นสถาปนิก


อีกชนชั้นหนึ่ง อาจถูกดูถูกดูแคลนในสังคมของสถาปนิกด้วยกัน ภาพลักษณ์ที่เสียๆ หายๆ นี้ ยากที่จะแก้ไขและมันจะติดตัวเรา ตลอดไป จะมีมารยาทจรรยาบรรณอย่างไรนั้นคงจะต้องไปเรียนรู้ กันอย่างละเอียด เมื่อเข้าสู่ช่วงของการเป็นสถาปนิกในอนาคต สุดท้ายที่ส�ำคัญมากและอยากให้ทุกคนท�ำความเข้าใจถ่องแท้กับ อาชีพเรา คือสถาปนิกเป็นอาชีพที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรี เราไม่ควร มุ่งหวังท�ำงานเพียงเพื่อต้องการ ‘เงิน’ อย่างเดียว ต้องสังวรอยู่ ทุกลมหายใจว่าผลงานเราที่ท�ำไปมันจะต้องอยู่กับสังคมและ ประเทศชาติไปอีกนาน ถ้าเป็นผลงานทีด่ มี คี ณ ุ ค่ามันก็จะเป็นสมบัติ ของประเทศ เป็นมรดกตกทอดไปถึงคนรุ่นหลัง จะออกแบบอะไร ก็ต้องนึกถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ไม่ใช่คิดแค่เพียงว่า ท�ำงานไปแล้วได้เงินมาก็ถอื ว่าหมดหน้าทีข่ องเราแล้ว ถ้าคิดอย่างนัน้ ก็คงเป็นเรื่องน่าเศร้าส�ำหรับวงการเรา หลักเกณฑ์เบื้องต้นนี้ ถ้าเราประพฤติปฏิบัติตัวได้และให้มันฝังอยู่ ในจิตใต้ส�ำนึกของเราได้ตลอดไป จะท�ำให้เราเป็นสถาปนิกที่ดีได้ ในอนาคตครับ


การตรงต่อเวลา เป็นเรื่องที่ส�ำคัญมากๆ ต่อการเป็นสถาปนิก มืออาชีพ การฝึกฝนตนเอง ให้เป็นคนตรงต่อเวลา ได้นั้น นับเป็นเรื่องที่ต้อง กระท�ำ และต้องสร้าง ภาพลักษณ์นี้ ให้ติดตัวไปจนวันตาย


การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีการพัฒนาตนเอง มีความพร้อม ที่จะเข้าสังคมรอบข้างได้ ยิ่งปรับตัวได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นเท่านั้น

ความซื่อสัตย์สุจริต ในวิชาชีพ ก็เป็นเรื่อง ที่ส�ำคัญมากๆ ที่จะต้อง ฝังรากลึกลงในชีวิต การเป็นสถาปนิกของเรา



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.