ปรากฏ-กาล ชีวิตของงานสถาปัตยกรรมผ่านกาลเวลา

Page 1



On Weathering: The Life of Buildings in Time

ปรากฏ-กาล: ชีวิตของงานสถาปัตยกรรมผ่านกาลเวลา Mohsen Mostafavi and David Leatherbarrow

โมฮ์เซน มอสตาฟาวี และเดวิด เลเธอร์บาร์โรว์

แปลโดย ต้นข้าว ปาณินท์


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

เมื่ อ ผมได้ ท ราบถึ ง นโยบายของสมาคมสถาปนิ ก สยาม ในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ เกี่ ย วกั บ การจั ด ทำ � โครงการหนั ง สื อ แปลเป็ น ภาษาไทย โดยพิจารณาจากหนังสือที่ดีๆ และมีคุณค่าจากทั่วโลก ที่คิดว่าจะเป็น ประโยชน์กับนักเรียน นักศึกษา และสถาปนิกในวงการสถาปัตยกรรมใน บ้านเรา ผมรู้สึกยินดีอย่างมากที่วงการของเราจะมีโอกาสได้อ่านหนังสือ ดีๆ ฉบับภาษาไทย ซึ่งก็จะช่วยเติมเต็มในแง่ของแนวคิดและปรัชญา ความรูต้ า่ งๆ ทีผ่ า่ นมานัน้ นักเรียน นักศึกษา และสถาปนิกในประเทศไทย ขาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือไปมาก และเสียเปรียบ เพือ่ นร่วมอาชีพในอีกหลายๆ ประเทศ ทีพ่ วกเขาเหล่านัน้ มีโอกาสได้เลือก หาหนังสืออ่านได้หลากหลาย มีโอกาสได้ศึกษาค้นคว้าและหาความรู้จาก การอ่านหนังสือที่เขียนโดยสถาปนิกชั้นครูทั้งหลาย หรือจากนักวิชาการ ที่มีประสบการณ์มากมาย ผมเชื่อว่าทุกๆ คนที่มีโอกาสได้อ่านหนังสือเหล่านี้ เขาจะเป็นสถาปนิก เป็นครูบาอาจารย์ ที่เพียบพร้อมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่ช่วยพัฒนาแนวคิด ช่วยพัฒนาวิชาชีพของพวกเขาให้ก้าวหน้ามาก ยิง่ ขึน้ การได้เรียนรูจ้ ากหนังสือเหล่านี้ ช่วยให้เขาได้ซมึ ซับสิง่ ทีด่ งี าม ซึมซับ ประสบการณ์ความรู้ต่างๆ จากผู้เขียน ทั้งในแง่ของความคิดสร้างสรรค์ ต่างๆ และในแง่ของคุณธรรมในการประพฤติปฏิบัติตน ทำ�ให้เขาเหล่านั้น เติบโตเป็นสถาปนิกที่เพียบพร้อม มีโอกาสจะได้สร้างสรรค์ผลงานที่ดี


มีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้นไป ความตั้งใจดี ความปรารถนาดีของกรรมการบริหาร สมาคมฯ ในยุคนี้ นับเป็นกุศลและทำ�คุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์ให้กบั วงการของเรา และด้วยแนวคิดเดียวกันนี้ สำ�นักพิมพ์ ลายเส้น พับบลิชชิง่ จึงได้จดั ทำ�เป็นโครงการหนังสือแปล โดยใช้ชอื่ ชุด ‘modern thought’ รวม เข้ากับหนังสือแปลแนวสถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม และการออกแบบ จากต้นฉบับภาษาต่างๆ ที่สำ�นักพิมพ์ ลายเส้นฯ จะจัดพิมพ์ในอนาคต ผมต้องขอขอบคุณสมาคมฯ มา ณ โอกาสนี้อีกครั้ง ที่สนับสนุนจัดทำ� โครงการหนั ง สื อ แปลนี้ ขอขอบคุ ณ ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ทั้ ง หลายที่ เ สี ย สละ ช่วยเหลือในการแปลหนังสือใน ขอขอบคุณสำ�นักงานสถาปนิกทีส่ นับสนุน ทุนทรัพย์ในการจัดพิมพ์ และขอขอบคุณทีมงานของสำ�นักพิมพ์ ลายเส้นฯ ที่ดำ�เนินการจัดพิมพ์ให้สำ�เร็จลงได้ด้วยดีทุกประการ นิธิ สถาปิตานนท์

6 7


จากผู้แปล


เราคงจ�ำกันได้ถึงนิทานที่เคยฟังในสมัยเด็กๆ เรื่องเสื้อผ้าชุดใหม่ของ จักรพรรดิ ทีน่ กั เล่านิทานชาวเดนมาร์ก ชือ่ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สนั (Hans Christian Andersen) ได้เล่าให้เราฟังว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีจักรพรรดิองค์หนึ่ง ที่แสนจะรักใคร่หลงใหลในเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย มุ่งแต่จะสรรหาเสื้อผ้าใหม่ๆ สวยงามกว่าใครๆ มาสวมใส่เสมอๆ ไม่มี สิ่งใดส�ำคัญกว่าการห่อหุ้มร่างกายด้วยอาภรณ์งดงาม จนอยู่มาวันหนึ่ง มีนักต้มตุ๋นสองคน เดินทางเข้ามาในเมือง แสร้งท�ำเป็นช่างทอผ้าและ ช่างตัดเสื้อ แอบอ้างว่าตนสามารถทออาภรณ์งดงามที่สุดให้กับจักรพรรดิ และมันจะเป็นอาภรณ์วิเศษที่คนขลาดเขลาจะไม่สามารถมองเห็นได้ หลังจากแสร้งทอเสื้อผ้าอันงดงามหาที่เปรียบไม่ได้ให้กับจักรพรรดิสวม ใส่ ซึ่งแน่นอนว่าแม้จักรพรรดิเองก็ไม่อาจมองเห็นอาภรณ์ที่ไม่มีอยู่ จริงเหล่านั้นได้ จักรพรรดิได้สวมใส่อาภรณ์วิเศษนั้น เพื่อน�ำขบวนออก พบปะประชาชน เมื่อข่าวเกี่ยวกับอาภรณ์วิเศษนี้ได้แพร่กระจายออกไป เหล่าขุนนางและประชาชนต่างก็แซ่ซ้องสรรเสริญความงามอันหาที่ติ ไม่ได้ของมัน ไม่มีใครเลยที่จะยอมรับว่าไม่สามารถมองเห็นอาภรณ์ พิเศษนี้ จนกระทัง่ เด็กน้อยคนหนึง่ ได้ตะโกนถามด้วยความประหลาดใจว่า เหตุ ใ ดจั ก รพรรดิ จึ ง ไม่ ส วมใส่ อ ะไรเลย ประชาชนทั้ ง หมด รวมทั้ ง ตัวจักรพรรดิเองจึงเริ่มตระหนักถึงความจริงที่ปรากฏ นิทานสั้นๆ ของฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สันนี้ มีเค้าโครงมาจากเรื่องเล่า โบราณตั้งแต่ยุคกลาง อันเป็นเรื่องเล่าที่บ่งบอกถึงความหมายและความ สัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างมนุษย์และภาพลักษณ์ที่ปรากฏสู่ภายนอก ซึ่ง ภาพลักษณ์นี้ แน่นอนว่าเกิดจากการห่อหุ้มร่างกายของเราด้วยเสื้อผ้า อาภรณ์ที่มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสังคมวัฒนธรรม ในปี ค.ศ. 1930 นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ จอห์น คาร์ล ฟลูเกิล (John Carl Flugel) ได้เขียนต�ำราส�ำคัญเกี่ยวกับจิตวิทยาของเสื้อผ้าอาภรณ์ในหนังสือชื่อ

12 13


Psychology of Clothes เล่าให้เราฟังถึงจุดเริ่มต้นและพัฒนาการ ของเสื้อผ้าอาภรณ์ ตลอดจนความส�ำคัญของภาพลักษณ์ของสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏสู่ภายนอก โดยมีเนื้อหาส่วนหนึ่งเกี่ยวกับที่มาของการห่อหุ้ม ร่างกายว่ามาจากความต้องการและความสามารถในการสื่อสารของ สิ่งห่อหุ้มเหล่านั้นที่ได้พัฒนามาเป็นเสื้อผ้าในที่สุด เนื้อหาในหนังสือของ ฟลูเกิลนั้น แม้จะเกี่ยวกับเสื้อผ้าอาภรณ์ แต่ก็มีความสัมพันธ์และได้รับ อิทธิพลทางความคิดจากทฤษฎีทางศิลปะและสถาปัตยกรรมในช่วงปลาย ศตวรรษที่สิบเก้าและต้นศตวรรษที่ยี่สิบเกี่ยวกับการห่อหุ้มหรือเปลือก ที่สถาปนิกชาวเยอรมัน กอตฟรีต เซมเปอร์ (Gottfried Semper) ได้ สร้างทฤษฎีขึ้นมาว่า จุดก�ำเนิดของงานสถาปัตยกรรมนั้นเป็นการห่อ หุ้มพื้นที่ องค์ประกอบแรกของงานสถาปัตยกรรมจึงหาใช่โครงสร้างไม่ แต่เป็นเปลือก ผนัง หรือพื้นผิวห่อหุ้ม ที่แบ่งแยกพื้นที่ภายในออกจาก พื้นที่ภายนอก ซึ่งสถาปนิกในยุคสมัยต่างๆ ก็ล้วนพยายามสร้างสิ่งที่ เรียกว่าเปลือกหรือพื้นผิวภายนอกนี้ เพื่อแสดงภาพลักษณ์และตัวตน สู่ภายนอก แน่นอนว่าเปลือกและพื้นผิวภายนอกนั้นไม่ใช่สิ่งเดียวที่สร้างความหมาย และมีความส�ำคัญต่องานสถาปัตยกรรม แต่ก็กลายเป็นประเด็นส�ำคัญที่ ได้รับการถกเถียงกันในโลกสถาปัตยกรรมนับตั้งแต่ เซมเปอร์ได้สร้าง ทฤษฎีแห่งเปลือก หรือ Bekleidung Theory ขึ้น สถาปนิกในยุคต่อมา เช่น ออตโต วาคเนอร์ (Otto Wagner) อดอล์ฟ โลส (Adolf Loos) เลอ คอร์บูซิเอร์ (Le Corbusier) คาร์โล สคาร์ปา (Carlo Scarpa) ล้วนพยายามตีความความหมายของเปลือกหรือ Cladding นี้ผ่านพื้นผิว ภายนอกของงานสถาปัตยกรรม และก็ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่สถาปนิกทั้งสี่ จะกลายเป็นตัวละครเอกในหนังสือชื่อ On Weathering, The Life of Buildings in Time เล่มนี้ที่กล่าวถึงชีวิตของงานสถาปัตยกรรม จากการ เปลี่ยนแปลงของเปลือกและพื้นผิวภายนอก ภายใต้กาลเวลา


เมื่อมองย้อนกลับไปในนิทานของ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน ไม่ใช่ เพี ย งจั ก รพรรดิ เ ท่ า นั้ น ที่ ต ้ อ งการอาภรณ์ ใ หม่ ๆ อั น มี ลั ก ษณะพิ เ ศษ เราทุกคนก็เช่นกัน แต่ในขณะที่เราสามารถสรรหาเสื้อผ้าอาภรณ์มาเป็น เปลือกใหม่ๆ ให้กับตัวเราได้เสมอๆ เพื่อแสดงออกถึงลักษณะเฉพาะ ของเราสู่โลกภายนอก ค�ำถามที่น่าสนใจส�ำหรับเราก็คือ แล้วส�ำหรับ งานสถาปัตยกรรม ผู้ออกแบบสามารถให้ชีวิตและภาพลักษณ์ใหม่ๆ แก่อาคารได้มากน้อยเพียงใด ภาพและการสื่อสารของอาคาร ตลอด จนความทรงจ�ำที่เรามีต่ออาคารนั้นเป็นสิ่งที่จะอยู่คงทนถาวรตลอดไป หรือเราสามารถให้ชีวิตและความทรงจ�ำใหม่ๆ แก่อาคาร ตลอดจนสร้าง ความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงของอาคารอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เหล่านี้ เป็นค�ำถามที่หนังสือเล่มเล็กๆ นี้ พยายามที่จะน�ำเราไปสู่ค�ำตอบ ต้นข้าว ปาณินท์ มกราคม 2558

14 15


สารบัญ


6 8 12 20 140 154

คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นิยม จากผู้แปล ปรากฏ-กาล เชิงอรรถ กิตติกรรมประกาศ


การก่อสร้างนั้นจบลงที่ผิวนอกสุดของอาคาร ในขณะที่ร่องรอยของ กาลเวลาบนเปลือกอาคารคือสิ่งที่สร้างตัวตนอย่างแท้จริง


สถาปัตยกรรมนั้นดูเหมือนจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่คงทนถาวร มีชีวิตผ่าน กาลเวลา แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีอาคารใดคงอยู่ตลอดไป ในที่สุด แล้วทุกสิ่งทุกอย่างย่อมพ่ายแพ้ต่อสภาพแวดล้อม และเราเองก็ตระหนัก ถึงจุดจบดังกล่าวตั้งแต่เริ่มต้น และถ้าเช่นนั้น เราจะกล่าวได้อย่างไร ว่าการกัดกร่อนของดินฟ้าอากาศนั้นไม่ได้ท�ำลาย แต่ “สร้าง” ผิวหรือ ตัวตนของอาคาร ในเมื่อการกระท�ำของสภาพแวดล้อมนั้นย่อมน�ำไปสู่ ความทรุดโทรมของอาคารเสมอ ค�ำถามที่น่าสนใจคือดินฟ้าอากาศนั้น ท�ำลายอาคารเท่ า นั้ น หรื อ ? มั น สามารถสร้ า งอะไรใหม่ ใ ห้ กั บ อาคาร ได้หรือไม่? เมื่ อ เวลาผ่ า นไป องค์ ป ระกอบของสภาพแวดล้ อ มจะกระท�ำกั บ ผิ ว หรือเปลือกนอกสุดของอาคาร ในลักษณะที่ท�ำให้วัสดุของพื้นผิวเหล่านั้น ผุ พั ง ลง การพั ง ทลายเหล่ า นั้ น ถ้ า ถู ก ทิ้ ง ไว้ โ ดยธรรมชาติ ก็ ย ่ อ ม จะน�ำไปสู่ความล้มเหลวของวัสดุต่างๆ และสุดท้ายก็จะน�ำไปสู่การพัง ทลาย  ของอาคารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่แน่นอนว่าการพังทลายนั้น ไม่ ใ ช่ ค วามปรารถนาของสถาปนิ ก ผู ้ ส ร้ า งหรื อ เจ้ า ของอาคารอย่ า ง แน่นอน การบ�ำรุงรักษาอาคารจึงจ�ำเป็นต้องเกิดขึ้นตลอดเวลาเพื่อชะลอ กระบวนการกัดกร่อนเหล่านั้น ซึ่งค�ำจ�ำกัดความของการบ�ำรุงรักษา แบบธรรมดาๆ ที่สุดนั้นก็หมายถึงการอนุรักษ์ การเปลี่ยน หรือการ ทดแทน แต่ด้วยความยากล�ำบากของขั้นตอนการบ�ำรุงรักษาและความ สิ้นเปลือง ก็มีส่วนท�ำให้ผู้สร้างอาคารปัจจุบันพยายามที่จะท�ำให้อาคาร สามารถด�ำรงอยู่ได้โดยมีการซ่อมแซมดูแลให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

20 21


Bibliothèque Sainte-Geneviève (1838-1850) Henri Labrouste Paris, France


30 31

Casa del Girasole (1947-1950) Luigi Moretti Rome, Italy


และช่างก่อสร้างเปลี่ยนแปลงไป จากที่สถาปนิกเคยต้องพึ่งพาความรู้ ความช�ำนาญของช่างในการสร้างอาคาร5 กลายเป็นว่าการท�ำงานของ ช่างกลับต้องมาอยู่ภายใต้การควบคุมของสถาปนิก การเปลี่ยนแปลงและ การลดบทบาทหน้าที่เดิมๆ ของช่างนี้เองที่ท�ำให้กระบวนการก่อสร้างเป็น ไปด้วยความยากล�ำบาก และมีส่วนท�ำให้ชีวิตของอาคารตกอยู่ภายใต้ ผลกระทบของสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เมื่ออาคารในยุคโมเดิร์นช่วงแรกๆ เกิดปัญหาจากการที่วัสดุถูกกัดกร่อน จากสภาพแวดล้อมก่อนเวลาอันควร จึงเกิดการพัฒนาระบบการก่อสร้าง ที่มีมาตรฐานและสามารถท�ำให้อาคารมีความคงทนต่อการเปลี่ยนแปลง ของสภาวะแวดล้ อ มได้ ม ากขึ้ น ในปั จ จุ บั น อาคารที่ ส มบู ร ณ์ เ กิ ด จาก กระบวนการท�ำงานและการก่อสร้างที่สถาปนิกเป็นผู้ก�ำหนดวิธีการและ ถ่ายทอดสู่ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ซึ่งดูแลก�ำกับช่างก่อสร้างอีกทอดหนึ่ง และกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ก็มีส่วนส�ำคัญมาจากความประหยัด ในการลงทุนเช่นกัน ผลที่ได้ส�ำคัญสองประการคือ ประการแรก ช่วง เวลาของการก่อสร้างที่สั้นลงและช่องว่างของเวลาระหว่างการออกแบบ และการเริ่มอยู่อาศัยที่น้อยลง  ประการที่สองคือ ระบบการก่อสร้างที่ อาศัยองค์ประกอบจากระบบอุตสาหกรรมและเทคนิคที่เกิดจากระบบ ดังกล่าว โดยไม่เกี่ยวข้องกับแนวความคิดทางสังคมวัฒนธรรมในยุคนั้น ขั้ น ตอนเหล่ า นี้ บวกกั บ ความรวดเร็ ว ของการก่ อ สร้ า ง ได้ ส ่ ง ผล ต่อกระบวนการสร้างงานสถาปัตยกรรมในทุกขั้นตอน ในช่วงของการ ออกแบบ เอกสารทุกสิ่งต้องถูกเตรียมด้วยความรวดเร็ว ซึ่งมักก่อให้เกิด การหยิบยืมองค์ประกอบหรือรายละเอียดที่เคยมีอยู่แล้วซ�้ำๆ กันมาใช้ ตลอดจนการก�ำหนดรายละเอียดที่อนุญาตให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อย ที่ สุ ด เท่ า ที่ จ ะเป็ น ไปได้ ซึ่ ง ทั้ ง หมดนี้ เ ป็ น วิ ธี ก ารที่ ช ่ ว ยประหยั ด เวลา และเงิน รวมทั้งลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากความไม่คุ้นเคยของช่าง


38 39

The Growing House (Exhibition, 1932), section Walter Gropius Berlin, Germany


Palazzo ducale (1340-1419) Filippo Calendario Venice, Italy


56 57

De Bijenkorf Department Store (1955-1957) Marcel Breuer, A. Elzas Rotterdam, Netherlands


Palazzo Zuccaro (1579) Federico Zuccaro Florence, Italy


ในอาคาร บางครั้งใช้ร่วมกับพื้นผิววัสดุที่เรียบเนียนอีกด้วย ในอาคาร พาลาซโซ เดลเท การอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิดของพื้นผิวเนียนเรียบและ พื้นผิวหยาบดิบนั้น ส�ำหรับสถาปนิก เซบาสเตียโน เซอร์ลิโอ (Sebastiano Serlio) เปรียบได้ดั่งความแตกต่างระหว่างปรากฏการณ์ของ ธรรมชาติและงานทีม่ นุษย์สร้างขึน้ 18 อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวประการหนึง่ ที่ เ ห็ น ได้ ชั ด ในสถาปั ต ยกรรมแบบ แมนเนอริ ส ต์ (Mannerist) นักประวัติศาสตร์ เอิร์นสต์ กอมบริค (Ernst Gombrich) ในบทความที่ กล่าวถึง พาลาซโซ เดล เท ได้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติและ ศิลปะ ภายใต้หลักจิตวิทยาสมัยใหม่ โดยใช้ค�ำว่าเหตุผล หรือ Reason และความปรารถนา หรือ Libido19 เพื่อแสดงออกถึงความแตกต่างของ ทั้งสองสิ่ง คุ ณ สมบั ติ ข องการแสดงออกในรู ป แบบรั ส ติ ก ยั ง ปรากฏในงานของ สถาปนิกยุคโมเดิร์นตอนต้น  เช่นงานของ ออตโต วาคเนอร์ ซึ่งใช้ หิ น แกรนิ ต ที่ มี ลั ก ษณะหยาบดิ บ ณ ฐานด้ า นนอกของอาคารสถานี รถไฟใต้ดิน คาร์ลสพลาทซ์ (Karlsplatz) ในเมืองเวียนนา ซึ่งแผ่นหิน แกรนิตบางๆ นั้นได้ถูกปะติดปะต่ออยู่บนโครงสร้างรับน�้ำหนักอีกที20 ลั ก ษณะที่ ว าคเนอร์ เ ชื่ อ มวั ส ดุ ป ิ ด ผิ ว ดิ บ หยาบเข้ า กั บ องค์ ป ระกอบรั บ น�้ำหนักนั้นแสดงออกถึงประเด็นอันส�ำคัญสองประการ คือ คุณสมบัติใน การสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ของรูปแบบดิบหยาบ โดยเน้นความคงทนและ ความบางของหินดังกล่าว แต่ในโบสถ์ เซนต์ ลีโอโปลด์ อาม ชไตน์ฮอฟ (Saint Leopold am Steinhof) นั้น รูปแบบรัสติกได้ถูกน�ำมาใช้ ผ่านการปฏิวตั เิ ปลีย่ นแปลงเทคนิควิธกี ารก่อสร้างแบบโบราณ โดยแถบของ พื้นผิวในแนวนอนที่ใช้เชื่อมระหว่างแผ่นหินอ่อนได้ถูกท�ำให้ยื่นออกมา จากแนวผนังแทนการกดลึกลงไปในผนังเหมือนอาคารโบราณ นอกจากนี้ ขอบของช่องเปิดที่ถูกเจาะบนผนังยังเผยให้เห็นหน้าตัดของหินอ่อนที่

74 75


เป็นแผ่นบาง ไม่ใช่หินหนารับน�้ำหนักเหมือนในอาคารโบราณอีกต่อไป ซึ่งแตกต่างจากอาคารแบบรัสติกในยุคก่อนๆ ดังนั้นเทคนิคที่ดูจะคล้าย กับการก่อสร้างแบบเดิมๆ นั้น แท้จริงแล้วมีความแตกต่างออกไปอย่าง มาก ซึ่งเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในวิธีการใช้หมุดยึดแผ่นหินอ่อนบางๆ นั้น เข้ากับผนังอิฐด้านหลัง การใช้หมุดยึดนี้แสดงออกให้เห็นถึงความบาง ของวัสดุปิดผิวตลอดจนความเบา แต่ในขณะเดียวกันก็บ่งบอกถึงความ ทนทานของอาคาร และในขณะที่วัสดุปิดผิวเช่นนี้ถูกใช้มากขึ้นในอาคาร ยุคต่อมา ค�ำถามส�ำคัญคือ วิธีการเหล่านี้สัมพันธ์กับสภาพดินฟ้าอากาศ และการถูกกัดกร่อนโดยสภาพแวดล้อมอย่างไร พื้ น ผิ ว ของอาคารนั้นได้รับ ผลกระทบจากการเปลี่ ย นแปลงของสภาพ ดินฟ้าอากาศอย่างไรบ้าง ถ้าเรามองย้อนไปถึงพืน้ ผิวเรียบๆ ของอาคารยุค โมเดิร์น ความแบนและความเรียบของพื้นผิวอาคารเหล่านั้น เกิดขึ้นด้วย วิธีการแตกต่างกันออกไป โดยมีวิธีหลักคือ การปิดผิวผนังหรือโครงสร้าง รับน�้ำหนักด้วยแผ่นปิดผิวบางๆ ที่มีการเชื่อมด้วยวัสดุประสาน ตรงข้าม กับการใช้อิฐหรือหินในอาคารโบราณ ซึ่งมีความหนาของส่วนที่สัมผัส กับสภาพอากาศภายนอก การที่ผนังเหล่านี้มีความหนามาก ก็หมายถึง ความคงทนที่มากขึ้นตามล�ำดับ การกัดกร่อนของสภาพอากาศต่อวัสดุ ผนังอาคารจะเผยให้เห็นพื้นผิวใหม่ๆ ของวัสดุนั้นที่อยู่ลึกลงไปเสมอ ซึง่ นับเป็นการล้มล้างพืน้ ผิวเดิมและสร้างหรือเผยให้เห็นพืน้ ผิวใหม่ในเวลา เดียวกัน และกระบวนการนีม้ กั มีซากของวัสดุชนั้ นอกทีห่ ลงเหลือจากการ กัดกร่อนรวมทับอยู่ด้วย จึงกลายเป็นปรากฏการณ์ของการกัดกร่อนและ การทับถมในเวลาเดียวกัน เป็นการลดทอนและการเพิ่มพูนที่สัมพันธ์กับ เวลา ก่อให้เกิดร่องรอยของชีวิตในอดีต ณ ภาพที่เราเห็นในปัจจุบัน21 ซึ่งในกรณีนี้ความคงทนของงานสถาปัตยกรรม มีนัยที่บ่งบอกถึงอดีตที่ ถูกท�ำให้ปรากฏในปัจจุบนั และรอคอยการเปลีย่ นแปลงในอนาคตข้างหน้า


80 81

Maison Tzara (1925—1927) Adolf Loos Paris, France


Bartholomeus Ruloffstraat housing (1922—1924) J. F. Staal Amsterdam, Netherlands


82 83

Edifici residenziali nel Giardino Sola-Busca (1924—1930) Aldo Andreani Milan, Italy


Villa Stein—de Monzie (1926—1928) Le Corbusier Garches, France


อย่างไรก็ตาม แนวความคิดเกี่ยวกับความขาวเรียบหรือความใหม่นี้ เป็นส่วนหนึ่งของอุดมคติยุคโมเดิร์นที่มองเห็นความใหม่แตกต่างจาก ความเก่าแก่ หรือสิ่งซึ่งมีชีวิตผ่านกาลเวลามายาวนาน ในบางครั้งการ ชื่นชมสิ่งเก่าในยุคใหม่นี้ก็เนื่องมาจากการเปรียบเทียบคุณค่า ซึ่งความ เก่าถูกมองว่ามีความคงทนและเป็นตัวแทนของอดีต นักประวัติศาสตร์ ชาวเยอรมัน อลัว รีเกิล (Alois Riegl) ได้พูดถึงการเปรียบเทียบความเก่า และความใหม่ ในขณะที่สถาปนิกในยุคนั้นต้องเผชิญกับค�ำถามเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ของสิ่งเก่าและใหม่ในการออกแบบสถาปัตยกรรม27 คุณค่า ของความเก่าแก่ดูเหมือนจะหมายถึงคุณค่าที่เพิ่มขึ้นเมื่อวัตถุได้มีชีวิต ผ่านกาลเวลา ซึ่งร่องรอยตลอดจนกาลทับถมของซากแห่งกาลเวลาบน พื้นผิวของวัตถุเหล่านั้นก็เปรียบได้กับเครื่องมือในการบันทึกความทรงจ�ำ ทีอ่ นุญาตให้เราจดจ�ำช่วงเวลาในประวัตศิ าสตร์ทผี่ า่ นมาของอาคารตลอดจน ชี วิ ต ของมนุ ษ ย์ ที่ ผู ก อยู ่ กั บ อาคารเหล่ า นั้ น ในขณะที่ ค วามบริ สุ ท ธิ์ หมดจดของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่เป็นตัวแทนของความใหม่นั้นปฏิเสธ กระบวนการบันทึกความทรงจ�ำดังกล่าว ด้วยพื้นผิวอันสมบูรณ์ที่สภาพ แวดล้อมไม่สามารถกัดกร่อนให้เก่าลง ท่ามกลางความเรียบบริสุทธิ์และใหม่ ค�ำถามต่อมาคือ เมื่ออาคารเหล่า นั้นถูกกัดกร่อน ร่องรอยหรือคราบของกาลเวลาบนอาคารที่เคยขาว บริสุทธิ์นั้นมีความหมายอย่างไร? และเมื่อพิจารณาถึงความปรารถนา ที่จะท�ำให้อาคารหมดจด ขาวและใหม่ตลอดเวลา สถาปนิกยุคโมเดิร์น นั้นมองความหมายตลอดจนกระบวนการกัดกร่อนของสภาพแวดล้อม ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นเช่นไร นอกจากความแปดเปื้อน? เลอ คอร์บูซิเอร์ ได้เขียนหนังสือชื่อ “เมื่อวิหารเป็นสีขาว” หรือ When the Cathedrals were White พูดถึงประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีรากฐาน จากความคิดและความต้องการที่จะให้งานสถาปัตยกรรมนั้นขาวบริสุทธิ์

100 101


Yale Center for British Art (1969—1974) Louis I. Kahn New Havenm Connecticut


ล้วนตอกย�้ำความคิดของ วิคเตอร์ ฮูโก ที่ว่า สุดท้ายแล้ว อาคารนั้น จะกลายสภาพเป็นเสมือนหนังสือ ด้วยอาคารมีภาพลักษณ์ที่ต้องการ สื่ อ สารเสมื อ นดั่ ง ถ้ อ ยค�ำในหนั ง สื อ ในขณะที่ ห นั ง สื อ นั้ น ก็ เ ป็ น ปรากฏการณ์จากฝีมือมนุษย์ที่เอื้อให้เกิดการอ่านซ�้ำแล้วซ�้ำเล่าในหลาก หลายความหมาย ไม่ต่างจากอาคาร ความคิดทางสถาปัตยกรรม ไม่วา่ จะเป็นภาพขีดเขียน ภาพวาด หุน่ จ�ำลอง ล้วนเป็นอดีตของงานสถาปัตยกรรมนั้น ซึ่งแน่นอนว่า มันจะถูกกระท�ำให้ เกิดร่องรอยจากสภาพแวดล้อมเมื่อการก่อสร้างสิ้นสุดลง กระบวนการ กัดกร่อนนี้สามารถชะลอลงได้ด้วยกลวิธีทางเทคนิคสมัยใหม่มากมาย ซึ่งเครื่องมือหรือกลวิธีเหล่านี้สามารถป้องกันการกัดกร่อน หรือสามารถ จะก่อให้เกิดการกัดกร่อนของกาลเวลา โดยชี้ให้เราเห็นถึงความหมาย ของการเปลี่ยนแปลงของวัสดุและสรรพสิ่ง เสมือนการเกิดใหม่ด้วยร่อง รอยที่ปรากฏขึ้นผ่านกาลเวลา

136 137


ปรากฏ-กาล: ชีวิตของงานสถาปัตยกรรมผ่านกาลเวลา ผู้แปล: ต้นข้าว ปาณินท์ บรรณาธิการแปล: อรศิริ ปาณินท์ พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤษภาคม 2558 บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จำ�กัด

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ มอสตาฟาวี, โมฮ์เซน. ปรากฏ-กาล ชีวิตของงานสถาปัตยกรรมผ่านกาลเวลา.-- กรุงเทพฯ : ลายเส้น, 2558. 160 หน้า. -- (modern thought ). 1. สถาปัตยกรรม. I. เลเธอร์บาร์โรว์, เดวิด, ผู้แต่งร่วม. II. ต้นข้าว ปาณินท์, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 720 ISBN 978-616-7800-46-2

ที่ปรึกษา: นิธิ สถาปิตานนท์ บรรณาธิการบริหาร: สุลักษณ์ วิศวปัทมวรรณ ออกแบบปกและรูปเล่ม: วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์ กองบรรณาธิการ: บุศรา เขมาภิรักษ์ ลิขสิทธิ์ต่างประเทศ: สุรัตน์ เปเรซ

บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จำ�กัด ประธานกรรมการ: นิธิ สถาปิตานนท์ กรรมการผู้จัดการ: สุลักษณ์ วิศวปัทมวรรณ กรรมการบริหาร: พิสุทธิ์ เลิศดำ�ริห์การ / ประภากร วทานยกุล / เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ จัดพิมพ์และจัดจำ�หน่าย: บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จำ�กัด 81 สุขุมวิท 26 คลองตัน คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2259 2096 โทรสาร 0 2661 2017 อีเมล li-zenn@li-zenn.com เว็บไซต์ www.li-zenn.com, www.li-zennpub.com Facebook: Li-Zenn Publishing พิมพ์ที่: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน)


หนังสือเล่มนี้สำ�เร็จล่วงได้ด้วยดีจากการสนับสนุนและผลักดันจาก สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ คุณพิชัย วงศ์ไวศยวรรณ (นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2557-2559) และ รศ. ดร. ต้นข้าว ปาณินท์ สำ�นักพิมพ์ ลายเส้น พับบลิชชิ่ง ขอขอบคุณทุกท่าน รวมทั้ง สำ�นักงานสถาปนิกที่ให้การสนับสนุนจัดพิมพ์มา ณ ที่นี้

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ The Association of Siamese Architects under Royal Patronage www.asa.or.th บริษัท สถาปนิก 49 จำ�กัด Architects 49 Ltd. www.a49.co.th บริษัท จีโอเดสิค ดีไซน์ จำ�กัด Geodesic Design Co.,Ltd. www.geodesicdesign.co.th.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.