61-03-114_COVER=1c
Paul Rand_p un coated.pdf
130 mm
1
4/4/18
10:02 PM
145+1 mm
ถาพูดถึงการออกแบบ...คุณคิดวาคุณกำลังทำอะไร? ทำไมคุณเรียกสิ่งนี้วาเสนโคงและเรียกอีกอันวารูปทรงโคงละ? อะไรคือความแตกตางระหวางการออกแบบกับการประดับตกแตง?
พอล แรนด C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
10.5mm
145+1 mm
130 mm
คำ�นำ�บรรณาธิการต้นฉบับ
ต้นข้าว ปาณินท์ 6
ถ้าสถาปัตยกรรม เป็นเครื่องมือในการที่มนุษย์สร้าง ความสัมพันธ์กบั สภาพแวดล้อมรอบตัว กราฟิกดีไซน์ ก็นา่ จะเป็นเครือ่ งมือในการมองโลกเครือ่ งมือหนึง่ ของ มนุษย์ ด้วยวัตถุสงิ่ ของทุกสิง่ ทุกอย่างทีอ่ ยูร่ อบตัวเรา ล้วนเป็นผลพวงของการออกแบบดังกล่าว ไม่วา่ เราจะ รูต้ วั หรือไม่กต็ าม นักออกแบบจึงต้องมีตาอันละเอียดอ่อน มองเห็นสิ่งที่มนุษย์ธรรมดาสามัญอาจมองข้ามไป ในหนังสือชื่อ ศิลปะของนักออกแบบ (Paul Rand: A Designer’s Art) พอล แรนด์ ได้กล่าวไว้อย่าง ชัดเจนว่า “ศิลปินนั้น คือนักสะสมทั้งในโลกแห่งจินตนาการ และโลกแห่งความจริง พวกเขารวบรวมสิง่ ของรอบตัว ด้วยความกระตือรือร้น ไม่ตา่ งจากเด็กน้อย ทีแ่ ข่งกัน หยิบของใส่กระเป๋า ไม่วา่ จะเป็นเศษเสีย้ วสิง่ ของทีก่ อง พะเนิน หรือพิพิธภัณฑ์ มันก็ตอบรับความกระหาย อยากรู้อยากเห็นคล้ายๆ กัน เหล่าศิลปิน ต่างก็ยก กล้องขึน้ ถ่ายภาพ จดบันทึกลงในสมุด หรือวาดภาพจำ� ลงบนผ้าเช็ดมือ หนังสือพิมพ์ หรือด้านหลังของซอง จดหมาย ทำ�ไมจึงเป็นสิ่งเหล่านั้นที่ได้รับความสนใจ มันคงเป็นเรื่องลึกลับ แต่ศิลปินก็เต็มไปด้วยความ ฉงนสงสัยและสนใจใคร่รู้ในสิ่งรอบตัวเสมอ” แม้บทสนทนาเล่มเล็กๆ นี้ จะไม่ใช่หนังสือเล่มทีม่ ชี อื่ เสียงโด่งดังที่สุดของ พอล แรนด์ แต่ภายใต้การแลก เปลี่ยนความคิดในภาษาที่เรียบง่ายนี้ ทำ�ให้เรารู้จัก กับ แรนด์ ในมิติที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ซึ่งย่อมทำ�ให้ เรามองงานออกแบบของเขาในภาพที่ไม่เหมือนเดิม 7
คำ�นำ�ผู้แปล
สันติ ลอรัชวี 8
เมื่อเอ่ยชื่อ “พอล แรนด์” หลายคนอาจถามว่าใคร? แต่นักออกแบบหลายคนอาจนึกถึงโปสเตอร์ Eye-Bee-M ของ IBM ที่แรนด์ใช้ภาพดวงตา (Eye) แทน I และภาพผึ้ง (Bee) แทน B ส่วนสาวกของสตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) อาจนึกถึงนักออกแบบ ผู้ออกแบบโลโก้ให้กับบริษัท NeXT Computer ของเขา แรนด์ยังถูกขนานนามภายหลังว่าเป็น “ปิกัสโซ่แห่งวงการออกแบบ” ซึ่งเชื่อว่าเขาอาจไม่ชอบใจกับฉายานี้นัก รู้จัก พอล แรนด์ ก่อนเขาจะเสียชีวิตไม่กี่ปี ทำ�ความรู้จักผ่านผลงานของเขาในหนังสือครั้งที่ยังเป็นนักเรียนออกแบบ ผลงานของแรนด์ไม่ได้เรียกร้องความสนใจได้มากนัก เมื่อเทียบกับเนวิลล์ โบรดี้ (Neville Brody) ปีเตอร์ ซาวิลล์ (Peter Saville) หรือ เดวิด คาร์สัน (David Carson) ที่ทำ�ให้คนหนุ่มกระตือรือร้นที่จะเอาเยี่ยงเอาอย่าง ในช่วงที่นักออกแบบกราฟิกกำ�ลังตื่นเต้น กับการเกิดขึ้นของคอมพิวเตอร์แมกอินทอช โปรแกรมอย่าง Aldus PageMaker 4.0 Adobe Illustrator 3.0 และ Photoshop 2.0 กลับมาทำ�ความรู้จักกับแรนด์อีกครั้งเมื่อเป็นอาจารย์ และพบว่าหนังสือที่เขาเขียนมีประโยชน์ต่อการสอน 9
พอล แรนด์ เขียนหนังสือชื่อ Thoughts on Design ตอนเขาอายุ 33 ปี และหลังจากนั้นอีกหลายเล่ม จนนับได้ว่าเป็นนักออกแบบกราฟิก ที่มีผลงานการเขียนอย่างต่อเนื่อง หนังสือของเขาจึงเป็นช่องทางที่ผู้แปลใช้ในการเรียนรู้ และรับพลังจากมาสเตอร์แรนด์ ในมุมมองส่วนตัวเขาจึงมีภาพเป็นอาจารย์ มากกว่านักออกแบบผู้ยิ่งใหญ่ หนังสือเล่มหนึ่งที่แรนด์ไม่ได้เขียน แต่ทำ�ให้รู้จักเขาในสถานะครูได้เป็นอย่างดี เป็นหนังสือที่บันทึกบทสนทนาของเขา กับนักเรียนภาควิชาออกแบบกราฟิกในปี 2538 ระหว่างที่แรนด์มาบรรยายที่มหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา เคยนำ�บางตอนของบทสนทนาจากหนังสือเล่มนี้ มาเล่าให้นักศึกษาฟังในชั้นเรียน จนในปี 2559 ได้มีโอกาสให้คุณปิติพร วงษ์กรวรเวช ที่ขณะนั้นเป็นนักออกแบบสหกิจอยู่ที่แพรคทิเคิล ดีไซน์ สตูดิโอ มาร่วมกันแปลเป็นภาษาไทย หลังจากนั้นก็ได้เรียบเรียงปรับปรุงไว้ใช้ในการเรียนการสอน จนเมื่อปี 2560 คุณสุลักษณ์ วิศวปัทมวรรณ แห่งสำ�นักพิมพ์ลายเส้น ได้ชักชวนให้แปลจนเสร็จสมบูรณ์ เพื่อตีพิมพ์ให้นักเรียนและนักออกแบบไทยได้อ่านกันในภาคภาษาไทย การแปลหนังสือเล่มนี้ ได้ทบทวนปรับปรุงสำ�นวนแปลร่วมหกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าจะออกมาดีที่สุด รวมถึงการพยายามขัดเกลาสำ�นวนเพื่อขับเน้นความเป็นอาจารย์ของแรนด์ สิ่งที่น่าแปลกเกิดขึ้นระหว่างการแก้ไขรอบที่สามและสี่ คือความรู้สึกไม่ชอบใจกับอุปนิสัยของแรนด์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยรู้สึกเช่นนี้มาก่อน เริ่มไม่พอใจกับความคิดที่ยึดมั่นจนราวกับไม่รับฟังความคิดคนอื่น 10
ชอบพูดตัดบทไล่บี้คู่สนทนา จนแอบลังเลว่าหนังสือเล่มนี้จะเหมาะกับยุคสมัยหรือไม่ ผู้อ่านจะได้ประโยชน์แค่ไหน พบว่าไม่ได้ชื่นชอบพอล แรนด์ เหมือนเดิมอีกต่อไป ที่น่าแปลกใจยิ่งขึ้นอีกคือ จากความคิดไม่ชอบนั้น ทำ�ให้มองเห็นอีกมุมของแรนด์ระหว่างการแก้ไขต้นฉบับรอบที่ห้าและหก ไม่ใช่มุมของตำ�นานกราฟิกผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เจ้าของผลงานโลโก้ระดับโลกที่ทุกคนยกย่องอีกต่อไป ครั้นเมื่อปล่อยวางชื่อเสียงลง กลับทำ�ให้เรียนรู้จากคนคนหนึ่งได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น แทนที่จะเห็น “ดาบ” กลับเห็น “วิถีของดาบ” จึงเริ่มเห็นความเป็น “มาสเตอร์” ในตัวแรนด์ หากพิจารณาถึงขอบเขตของ “การรับฟัง” และ “การยอมรับ” ที่ตนเองคาดหวัง จนผิดหวังจากพอล แรนด์ แรนด์ไม่สนใจและไม่ยอมให้แนวทางอืน่ ๆ มารบกวนสิ่งที่เขาเชื่อ ไม่ยอมแม้กระทั่งมาทำ�ให้ไขว้เขวหรือเสียเวลาด้วยซํ้า แต่ขณะเดียวกันแรนด์เองก็ไม่ได้หลับตาข้างหนึ่งจนไร้เดียงสา เขารู้ดีว่ามีแนวทางการออกแบบอื่นๆ ที่ใช้ได้ดีอยู่บนโลกใบนี้ เพียงแต่นั่นไม่ใช่โลกการออกแบบของเขา แรนด์เป็นหนึ่งในคนที่เข้าใจดีที่สุดว่าการออกแบบคือความสัมพันธ์ และนั่นทำ�ให้เขาน่าจะตระหนักถึงความแตกต่างทั้งหลาย โดยเฉพาะความแตกต่างของบริบทในการออกแบบ “การมีโลกการออกแบบของตนเอง จึงเป็นคุณสมบัติในการเป็นมาสเตอร์ของพอล แรนด์”
11
คนที่จะเป็น “นาย” (master) ในอะไรสักอย่าง จะต้องเป็นคนที่มีความเชื่อเฉพาะตัว เข้าใจในสิ่งที่ทำ� ยืนหยัดในวิถีตัวเอง ทำ�ซํ้าจนเชี่ยวชาญลึกซึ้ง กระทั่งกลายเป็น “นาย” ในแนวทางของตน เมื่อยืนยันในความเชื่อตัวเองอย่างชัดเจน ย่อมจะมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ชอบและไม่ชอบ แต่คุณสมบัตินี้ก็เป็นคำ�ตอบว่า... ทำ�ไมงานนี้ถึงต้องเป็นนักออกแบบคนนี้ทำ� เพราะสิ่งที่เขาเป็นไม่เหมือนคนอื่น การเป็นคนที่ทำ� “อะไรก็ได้” ย่อมไม่มีทางเป็นต้นแบบของอะไรสักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นมาสเตอร์หรือไม่ แนวทางแห่งตนนั้นย่อมไม่เป็นอมตะ ไม่อยู่หรือร่วมสมัยไปตลอดกาล มันย่อมเสื่อมและหมดอายุไปตามกฎความเปลี่ยนแปลง แต่สำ�หรับผู้เป็นมาสเตอร์ หากแนวทางที่ยึดถือจะเสื่อมสลายตายลง เขาก็จะตายไปพร้อมๆ กับมัน หากเรามีแนวทางแห่งตน หากมันจะ “ผิด” ก็ขอให้มันผิดจากผู้อื่นตัดสิน แต่จะไม่มีวัน “ผิด” ต่อตนเอง พอล แรนด์ คือ “นาย” ของการออกแบบ แนวทางของเขายังส่งแรงบันดาลใจ และหลักการให้นักออกแบบรุ่นต่อมาได้เรียนรู้ การแปลหนังสือเล่มนี้ได้มอบวิธีแห่งวิถี เป็นวิธีแห่งความเป็นนายในการออกแบบแห่งวิถีตนเอง ทั้งยังได้รับพลังในการถ่ายทอดความรู้ต่อไปสู่คนรุ่นหลัง จากชื่นชอบ จนขัดแย้ง มาสู่นับถือจากใจ 12
โอกาสนี้ศิษย์ขอเรียกครู ครูผู้ไม่เคยพบหน้า หรือสอนด้วยวาจาใดๆ หากเป็นครูผู้บันดาลใจ ท้ายนี้ผู้แปลขอขอบคุณ รศ.ดร. ต้นข้าว ปาณินท์ บรรณาธิการต้นฉบับ ที่ได้ตรวจทานแก้ไขต้นฉบับอย่างพิถีพิถัน ขอขอบคุณ ผศ.ดร. ปิยลักษณ์ เบญจดล คุณณัฐวิทย์ ทองประเสริฐ และคุณนภพรรษ ฤดีสุนันท์ ที่มอบไมตรีจิตให้คำ�ปรึกษาต่อสำ�นวนการแปล และเพือ่ ให้ผอู้ า่ นรุน่ ใหม่ได้ท�ำ ความรูจ้ กั กับ พอล แรนด์ ได้อย่างสนิทสนมยิง่ ขึน้ ทางสำ�นักพิมพ์ได้เชิญนักออกแบบไทยสามท่าน ได้แก่ คุณบรรณนาท ไชยพาน คุณวิเชียร โต๋ว และคุณเตชิต จิโรภาสโกศล มาเขียนถึงความคิด ที่มีต่อพอล แรนด์ เพิ่มมาให้อ่านในท้ายเล่ม จึงใคร่ขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้แปลขอรับไว้แต่เพียงผู้เดียว และขออภัยมา ณ โอกาสนี้
ขอแสดงความนับถือ สันติ ลอรัชวี มีนาคม 2561
13
คำ�นิยม
วูลฟ์กัง ไวน์การ์ท
Wolfgang Weingart 14
ปี 1968 ผมเริ่มสอนวิชาออกแบบตัวอักษร (Typography) ที่โรงเรียนออกแบบบาเซิล (Basel School of Design) สวิตเซอร์แลนด์ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ พอล แรนด์ แวะมาที่นี่มากับ อาร์มิน ฮอฟมานน์ (Armin Hofmann) ณ ชัน้ ใต้ดนิ ของห้องมืดภาควิชาภาพพิมพ์ หิน ผมรูส้ กึ เป็นเกียรติมากทีไ่ ด้เจอกับนักออกแบบที่ มีชื่อเสียงระดับโลก ผู้ซึ่งมาจากประเทศที่ผมเคยคิด ว่ามีแต่ตึกระฟ้าอยู่ทุกหนแห่ง ธรรมเนียมการจับมือทักทายก็มาพร้อมกับคำ�ถามที่ เขาถามอาร์มนิ ว่า “นีใ่ ช่ไหม นายไวน์การ์ทผูบ้ า้ คลัง่ ?” ตอนนัน้ ผมอายุยส่ี บิ เจ็ด และมีแค่คนวงในไม่กค่ี นเท่านัน้ ทีร่ จู้ กั ผมในนาม “จอมบ้าคลัง่ ” แต่แรนด์กลับรูท้ กุ อย่าง ทุกความลับของคนในวงการ ยี่สิบสามปีต่อมา ผมมีโอกาสได้พบกับนักเรียนภาค วิชาออกแบบกราฟิกจากมหาวิทยาลัยเยล ในหลักสูตร ภาคฤดูรอ้ นที่บริสซาโก (Brissago) สวิตเซอร์แลนด์ นักเรียนทุกคนมีเรือ่ งเล่าเกีย่ วกับ พอล แรนด์ แต่เรือ่ ง ราวเหล่านั้นมันไม่ค่อยตรงกันสักเท่าไหร่ ผมเลยยิ่ง สนใจในความไม่เหมือนใครและความลึกลับของเขา 15
ฟิลปิ เบอร์ตนั (Philip Burton) คือหนึง่ ในนักเรียน รุ่นแรกที่ผมเคยสอนที่โรงเรียนออกแบบบาเซิล ซึง่ ต่อมาเขาได้มาสอนวิชาการออกแบบตัวอักษรและ การออกแบบกราฟิกที่มหาวิทยาลัยเยล ทำ�ให้ในปี 1986 ผมเลยมีโอกาสได้มาสอนนักศึกษาปีหนึ่งที่ นั่นเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ แต่พอล แรนด์ ไม่ได้มา ในวันแรกที่ผมบรรยาย เนื่องจากปัญหาทางสายตา ทำ�ให้เขาขับรถลำ�บาก แต่หลังจากนัน้ เบอร์ตนั ก็ได้รบั คำ�เชิญทีท่ �ำ ให้พวกเรา ตืน่ เต้น เพราะเราสองคนถูกเชิญไปยังบ้านของแรนด์ ทีเ่ วสตัน รัฐคอนเนตทิคตั (Weston, Connecticut) อันเป็นบ้านทีเ่ ขาใช้ท�ำ งานออกแบบมาตัง้ แต่ปี 1952 จนถึงวันทีเ่ ขาสิน้ ใจ ครัง้ นัน้ เป็นการเชิญไปเพือ่ บรรยาย ส่วนตัวให้แรนด์และมาเรียน (Marion Rand) ภรรยา ฟัง มือ้ เย็นของวันนัน้ ก็ผา่ นไปอย่างยอดเยีย่ ม เรือ่ งราว ทั้งหมดที่ผมเคยได้ยินและได้รับรู้มาเกี่ยวกับครอบ ครัวแรนด์นนั้ ไม่ได้มคี วามหมายอะไรอีกต่อไป เพราะ มิตรภาพของเราได้เริม่ ต้นตัง้ แต่วนั นัน้ จนกระทัง่ เดือน พฤศจิกายน ปี 1996 ซึง่ เป็นวันทีเ่ ขาจากไป ณ เมือง นอร์วอล์ค (Norwalk) ทีแ่ วดล้อมไปด้วยต้นไม้สงู ใหญ่ ใกล้ๆ กับบ้านอันเงียบสงบของเขา เรามีโอกาสพบกันอย่างสมํา่ เสมอ ไม่ในสหรัฐอเมริกา ก็สวิตเซอร์แลนด์ แม้เขาเดินทางมาทีบ่ าเซิลไม่กคี่ รัง้ แต่ผมก็ยังเชิญเขามาที่โรงเรียนได้สำ�เร็จถึงสองครั้ง เราได้พาเขากับมาเรียนมาพบกับนักเรียนในวิชา ออกแบบตัวอักษร ซึ่งกลายเป็นไฮไลต์ของการมา เยือนของเขาเลยทีเดียว ก็เนื่องมาจากการบรรยาย ที่ทั้งชาญฉลาดและมีอารมณ์ขันของเขานั่นเอง 16
หลายปีผา่ นมา ก็พบว่าเราทัง้ คูต่ กหลุมรักหนังสือเด็ก เหมือนกัน ระหว่างปี 1956 และ 1970 เขาได้วาดรูป และออกแบบหนังสือเด็กสีเ่ ล่มให้กบั มาร์กาเร็ต แม็กเอลเดอร์รี (Margaret McEldery) บรรณาธิการระดับ ตำ�นานของ ฮาร์คอร์ด เบรซ แอนด์ เวิลด์ (Harcourt Brace and World) สี่เล่ม นั้นได้แก่ I know A Lot of Things (1956), Sparkle and Spin (1957), Little 1 (1962), Listen! Listen! (1970) ซึ่งเนื้อ เรื่องถูกเขียนโดยแอนน์ (Ann) ภรรยาคนที่สอง ของเขา ส่วนตัวผมเองออกแบบหนังสือเด็กเช่นกัน เป็นหนังสือสำ�หรับเด็กๆ ในจอร์แดนและปากีสถาน ทอม บลูห์ม (Tom Bluhm) ผู้เป็นทั้งเพื่อนและ ลูกศิษย์ของแรนด์ เวลาแวะมาหาผม เขามักจะพก งานที่แรนด์เคยเขียนหรือออกแบบเพื่อใช้ประกอบ การนำ�เสนองานที่ทำ�ให้กับบริษัทต่างๆ มาด้วย หนึง่ ในนัน้ เป็นหนังสือทีอ่ ธิบายถึงกระบวนการพัฒนา โลโก้ให้กบั บริษทั NeXT Computer1 ของ สตีฟ จ็อบส์ ทีพ่ าโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย (Palo Alto, California) เนื้อหาในหนังสือคือตัวช่วยที่จะทำ�ให้บริษัทเข้าใจถึง การค้นคว้าของเขา เกี่ยวกับรูปแบบต่างๆ ของตัว อักษร รวมถึงกระบวนการพัฒนารูปแบบจนกลาย เป็นโลโก้ที่เสร็จสมบูรณ์ ผมประทับใจการอธิบายที่ ชัดเจน กระชับได้ใจความ และครบถ้วนของเขา ขนาด ภาษาอังกฤษของผมค่อนข้างแย่ ผมยังสามารถเข้าใจ ทุกประโยคได้เลย สำ�หรับผมแล้ว แรนด์เป็นหนึ่งในเสียงอันทรงพลัง ทีเ่ ตือนเราถึงอนาคตของการออกแบบ และโลกทีเ่ รา อาศัยอยู่ได้อย่างชัดเจน ทัศนคติของเขาจริงใจและ 17
ตรงไปตรงมา ผมศรัทธาในสิ่งที่เขาได้กล่าว และเรา ก็มโี อกาสได้แลกเปลีย่ นความคิดเห็นกันในหลายสิง่ หลายอย่าง การบรรยายครัง้ สุดท้ายของเขาทีส่ ถาบัน เทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology) ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน (จัดขึน้ โดย จอห์น มาเอดะ) เขาถ่ายทอดให้กับผู้ฟังที่นั่งกันเต็ม หอประชุม เกี่ยวกับรูปแบบและเนื้อหาในงานศิลปะ และการออกแบบได้อย่างฉลาดหลักแหลมและตรง ประเด็น ซึ่งเป็นประเด็นหลักในหนังสือเล่มสุดท้าย ของเขา “From Lascaux to Brooklyn (1996)”
1 http://www.paul-rand.com/foundation/identity/#prettyPhoto[presNext]/0/ (ผู้แปล) 18
19
คำ�นำ�
ไมเคิล โครเกอร์ Michael Kroeger 20
ผมมีโอกาสได้พบและเรียนกับ พอล แรนด์ ครั้งแรก ในช่วงฤดูร้อนปี 1981 ที่บริสซาโก สวิตเซอร์แลนด์ เป็นช่วงห้าสัปดาห์ของการสัมมนาเชิงปฏิบตั กิ าร ซึง่ จะ มีชว่ งเวลาในแต่ละสัปดาห์กบั ฟิลปิ เบอร์ตนั , อาร์มนิ ฮอฟมานน์, เฮอร์เบิรต์ แมทเทอร์ (Herbert Matter) และ วูลฟ์กงั ไวน์การ์ท ส่วนงานที่ได้รับจากชั้นเรียน ของแรนด์คืองานที่เกี่ยวกับความหมายทางการมอง เห็น (visual semantics) โดยมีจิตรกร ฮวน มีโร (Joan Miró) เป็นเนื้อหาหลัก วัตถุประสงค์หลัก ของการแก้โจทย์นี้คือการจัดการรูปแบบของคำ�และ ตัวอักษร เพื่อแสดงถึงความคิดหรือเพื่อทำ�ให้นึกถึง ภาพใดภาพหนึ่ง โดยใช้ตัวอักษร M I R Ó มาสื่อ ถึงตัวผลงานของจิตรกรด้วย หนึง่ ในการแก้โจทย์ของผม คือการออกแบบทีเ่ ล่นกับการจัดการตัวอักษรจากคำ� ว่า Miró ให้เกิดเป็นภาพแมว ซึ่งแรนด์ช่วยแนะนำ� ผมในช่วงการออกแบบขั้นสุดท้ายด้วย [รูปภาพ 1] ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1995 ระหว่างที่แรนด์เดิน ทางมายังมหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา (Arizona State University หรือ ASU) ผมมีโอกาสพูดคุยและ ทานมื้อกลางวันกับเขาและภรรยา ซึ่ง The ASU Eminent Scholar Program เป็นผูส้ นับสนุนให้เขามา 21
[1]
22
ที่โรงเรียนออกแบบเพื่อบรรยาย และนำ�การสนทนา ให้แก่นกั เรียนภาควิชาออกแบบกราฟิก เราได้น�ำ เสนอ ผลงานบางส่วนของนักเรียนจากวิชา Letterform ของศาสตราจารย์ โธมัส เดทรี (Thomas Detrie) และวิชา visual communication ของผม แรนด์ได้ วิจารณ์ผลงานเหล่านั้นไว้ว่า “มันก็ไม่ได้ดีกว่าหรือ แย่กว่าโรงเรียนออกแบบที่ผมเคยไปมา” ซึ่งผมถือ เอาว่าเป็นคำ�ชม หัวข้อทีเ่ ราคุยกันค่อนข้างทีจ่ ะหลากหลาย แต่น่ าํ้ หนัก ในบทสนทนานั้ น จะเน้ น ไปที่ ก ารออกแบบและ บทความ “พื้นฐานการศึกษาการออกแบบกราฟิก” (Graphic Design Education Fundamentals) ซึง่ ผมกำ�ลังเขียนมันอยูบ่ นเว็บไซต์ ส่วนประเด็นอืน่ ๆ ที่อยู่ในการสนทนานี้ ได้แก่ การออกแบบกราฟิก ปรัชญาการออกแบบ และการศึกษาการออกแบบ ซึง่ เนือ้ หาในหนังสือเล่มนีค้ อื ข้อความทีค่ ดั มาจากการ สนทนาดังกล่าวนี้
23
บทสนทนา ที่
การออกแบบคือความสัมพันธ์ การออกแบบคือความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบกับเนื้อหา
27
ไมเคิล โครเกอร์ ผมเอาหนังสือที่คุณแนะนำ�ในการบรรยายคืนก่อน ติดมาด้วย พอล แรนด์ โอ้ใช่ๆ ผมก็ว่าเล่มนี้คุ้นๆ โครเกอร์ ผมเริม่ อ่านบทแรกของ Art as Experience (1934) ของดิวอี้ (John Dewey) แล้วครับ แรนด์ คุณอ่านแล้วเหรอ? มันดีใช่ไหม? แล้วคุณใช้เวลา อ่านนานแค่ไหนล่ะ? โครเกอร์ ก็ประมาณสองสามหน้าต่อคืนครับ เล่มนี้ผมต้อง ค่อยๆ อ่าน แล้วนีก่ อ็ กี เล่มหนึง่ ทีเ่ ราคุยกัน A History of Knowledge (1991) ของ ดอเรน (Charles Van Doren)1 แรนด์ เล่มนีด้ มี าก เป็นบทสรุปทีเ่ ต็มไปด้วยความรู้ สำ�หรับ ดอเรนแล้ว เขาไม่ใช่เพียงคนที่สรุปย่อสิ่งต่างๆ หรือ เขียนนวนิยายให้เราอ่านเท่านัน้ แต่ยงั เป็นคนทีเ่ คยชนะ รายการเกมโชว์ Twenty-One เมื่อปี 1964 อีกด้วย2 นักเรียนควรจะได้รเู้ รือ่ งเหล่านี้ มันเป็นหนังสือทีด่ มี าก เล่มหนึง่ มีขอ้ มูลอ้างอิงดีๆ เต็มไปหมด โดยเฉพาะ ถ้าคุณเริม่ อ่านหมวดบรรณานุกรม คุณจะมีคลังหนังสือ เพิ่มขึ้นอีกเยอะทีเดียว 28
[2]
โครเกอร์ คุณบอกไว้ในบรรยายคืนก่อนว่า หนังสือเล่มล่าสุด ของคุณมีการอ้างอิงถึงหกหน้า [รูปภาพ 2] แรนด์ ใช่แล้ว โครเกอร์ มีหนังสือของ จอห์น ดิวอี้ ในนั้นไหมครับ? แรนด์ แน่นอน มันเป็นหนึ่งในนั้น คุณจะเป็นได้แค่นักออกแบบที่ยังไม่รู้จริงจนกว่า คุณจะได้อ่านหนังสือเล่มนี้ และที่ผมใช้คำ�ว่าไม่รู้ จริงนั้น มันก็หมายถึงว่าคุณแค่ยังไม่รู้ โครเกอร์ ในบทแรก จอห์น ดิวอี้ ได้พูดถึงความสอดประสาน กันระหว่างความเป็นศิลปะกับสุนทรียศาสตร์วา่ เขาเอง ไม่สามารถจะหาคำ�ทีเ่ หมาะเจาะมารวบคำ�ทัง้ สองคำ�นี้ ได้เลย หรือพอจะเรียกว่าสุนทรียศาสตร์ของศิลปะ ได้ไหมครับ แรนด์ เราจะพูดถึงมันก็ได้ เพราะมันมีเรือ่ งให้คยุ เยอะทีเดียว ในบทแรก ผมจำ�ได้วา่ หน้าแรกเลยล่ะ เขาบอกไว้วา่ ... “หนึง่ ในประเด็นทีน่ า่ ขบขันและถูกกล่าวถึงกัน ก็คอื การเกิดขึ้นของงานศิลปะ ซึ่งมีความสำ�คัญต่อการ ก่อรูปของทฤษฎีสนุ ทรียศาสตร์ แต่ตวั งานเองกลับ กลายเป็นอุปสรรคสำ�หรับทฤษฎีที่มีต่อมัน 29
เหตุผลข้อหนึ่งก็คืองานศิลปะเหล่านี้เป็นผลผลิตที่ มีอยู่นอกเหนือตัวมันเอง และเป็นวัตถุที่สามารถ จับต้องได้ ชิ้นงานศิลปะจึงมักถูกจำ�แนกการมีอยู่ ของมันในรูปของการเป็นตึก หนังสือ จิตรกรรม หรือรูปปั้น ซึ่งอยู่นอกเหนือความเกี่ยวข้องกับ ประสบการณ์ของมนุษย์ เนื่องด้วยตัวชิ้นงานศิลปะเองเป็นสิ่งที่สร้างจาก ประสบการณ์และเกิดขึน้ จากการได้รบั ประสบการณ์ ผลลัพธ์เช่นนี้จึงยากต่อการทำ�ความเข้าใจ นอกจากนี้ การได้รับการยอมรับและชื่นชมอย่าง ไม่มีข้อสงสัยมาเป็นระยะเวลายาวนาน ลักษณะที่ สมบูรณ์แบบอย่างยิง่ ของผลผลิตงานศิลปะบางชิน้ ได้สร้างธรรมเนียมที่ขัดขวางต่อการทำ�ความเข้าใจ ในมุมมองใหม่ๆ เมื่องานศิลปะชิ้นใดได้รับการยอมรับว่ายอดเยี่ยม ด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึง่ มันกลับแยกตัวออกจาก ปัจจัยแวดล้อมของเรา ทัง้ ๆ ทีม่ นั ถูกสร้างขึน้ จาก ตัวเรา และจากผลสืบเนือ่ งจากการทีเ่ รามีประสบการณ์ ตรงกับมัน” ย่อหน้านี้คือสาระสำ�คัญของหนังสือเล่มนี้ทั้งเล่ม ศิลปะทีพ่ ดู ถึงคือสิง่ ทีค่ ณ ุ จะไม่มวี นั มีประสบการณ์กบั มันเลย ถ้าคุณไม่เข้าไปในพิพิธภัณฑ์เพื่อค้นพบมัน แต่สิ่งที่ดิวอี้บอก คือศิลปะนั้นมีอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง โครเกอร์ แต่งานศิลปะในพิพิธภัณฑ์ก็เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นาน
30
แรนด์ พิพิธภัณฑ์ได้แยกศิลปะออกจากประสบการณ์ทั่วไป ของผู้คน คำ�ตอบนั้นอยู่ในปัญหา ซึ่งปัญหานั้นก็คือ การทำ�ให้มนั แยกตัวออกจากทีท่ มี่ นั ควรจะอยู่ ศิลปะ ควรจะอยู่ในห้องนอนหรือห้องครัวเช่นกัน ไม่ใช่อยู่ แต่ในพิพิธภัณฑ์ ในพิพิธภัณฑ์เมื่อก่อนหน้านี้มันไม่ค่อยมีคนหรอก ตอนผมอยู่โรงเรียนศิลปะพวกเราเคยไปวาดรูป ในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งไม่ค่อยมีคนเลย แต่ดูตอนนี้สิ ทำ�แบบนั้นไม่ได้แล้วนะ [3]
โครเกอร์ คุณคิดว่าผูค้ นกำ�ลังค้นหาบางอย่าง เพือ่ แสวงหาความ หมายให้กับชีวิตตนเองอยู่หรือเปล่าครับ? แรนด์ อันนี้ผมไม่รู้หรอก อย่ามาถามผมเลย คุณคงต้อง ไปถามนักจิตวิทยามากกว่า หนังสือเล่มนี้ Art as Experience เกีย่ วพันกับทุกเรือ่ ง ไม่มเี รือ่ งอะไรทีไ่ ม่ ได้พดู ถึงเลย เล่มนีค้ อื หนังสือทีม่ ชี อื่ เสียงทีส่ ดุ ของเขา ผมอยากแนะนำ�ให้นกั เรียนของคุณอ่านนะ [รูปภาพ 3] โครเกอร์ คุณนำ�สิ่งที่อ่าน รวมถึงประสบการณ์ มาสัมพันธ์กับ งานออกแบบของคุณอย่างไรครับ? แรนด์ คุณไม่จำ�เป็นต้องทำ�อย่างนั้นหรอก มันก็เหมือนกับ การกินขนมปัง
31
58
59
บทสนทนา ที่
ผมคิดว่ามันสำ�คัญที่เราควรจะรู้ 60
61
พอล แรนด์ ถ้าพูดถึงการออกแบบ...คุณคิดว่าคุณกำ�ลังทำ�อะไร กับมัน มีใครจะตอบไหม? นักเรียน การสื่อสารสามารถสร้างสาเหตุและผลกระทบ แรนด์ นั่นก็ใช่ แต่นั่นก็ไม่ได้พาเราคิดต่อไปไหนได้ มีคน อื่นอีกไหม? นักเรียน การสื่อสารคือสาเหตุและผลกระทบ แรนด์ การสื่อสารมักจะทำ�ให้เกิดผลกระทบอะไรบางอย่าง เสมอ ถ้ามันไม่ทำ�ให้คุณหลับซะก่อน มันก็คงเป็น อย่างอื่น ลองอีกที นักเรียน การออกแบบจะจัดการและนำ�เราไปสู่อีกที่หนึ่ง แรนด์ ดีขึ้น! มันนำ�ไปสู่อีกที่หนึ่ง นักเรียน การออกแบบคือความเป็นสองมิติ แรนด์ มันจำ�เป็นต้องเป็นสองมิติ หรือสามมิติด้วยเหรอ? ทำ�ไมมันถึงไม่เป็นอะไรก็ได้ล่ะ? 66
การจัดการเป็นส่วนหนึ่งของมัน แต่อย่างน้อยเราก็รู้ ว่าเราต้องจัดการกับมัน แล้วอะไรล่ะที่เราจะต้องจัดการ มีอะไรอีกไหม? นักเรียน รูปแบบและเนื้อหา แรนด์ การออกแบบคือการจัดการรูปแบบและเนือ้ หา ด้วยคำ� จำ�กัดความแบบนี้ คุ ณ รู้ ว่ า คุ ณ ต้ อ งไปไหนสั ก ที่ และทำ�อะไรบางอย่าง ขณะที่ผมนั่งลงและจัดการ มันหมายความว่าอย่างไร? เราทำ�อะไรอยู่? กระบวนการที่คุณทำ�ก็คือรูปแบบของการจัดการที่ กำ�ลังพูดถึง แล้วคุณกำ�ลังทำ�อะไรอยู่ล่ะ? เนื้อหาก็คือไอเดียหรือสาระสำ�คัญ ส่วนรูปแบบ คือสิ่งที่เราทำ�กับไอเดียนั้น ลองถามตัวเองว่าเรา จะจัดการกับมันอย่างไร? จะให้มีสีสัน? หรือจะ ทำ�เป็นขาวดำ�? จะทำ�ให้ใหญ่? หรือจะทำ�ให้เล็ก? จะทำ�ให้เป็นสามมิตหิ รือสองมิต?ิ จะทำ�ตามเทรนด์ดี ไหม หรือทำ�อะไรที่ดูจริงจังขึ้น? จะใช้ Bodoni หรือ Baskerville ดี? นีค่ อื คำ�ถามทัง้ หมดทีค่ ณ ุ ถาม ซึง่ ก็คอื ส่วนหนึง่ ของวิธี การจัดการงานออกแบบ เพราะเหตุนี้ ก่อนจะมีการ แลกเปลีย่ นความเห็นเกีย่ วกับอะไรสักอย่าง คุณจำ�เป็น ต้องให้คำ�จำ�กัดความให้ได้ถึงสิ่งที่ตัวเองกำ�ลังพูดถึง 67
หลายครัง้ คนชอบพูดถึงการออกแบบและไม่มใี ครเข้าใจ ว่าประเด็นคืออะไร คนไม่ได้คดิ ถึงสิง่ นี้ บ้างก็คดิ ว่างาน ออกแบบคือสิง่ ทีเ่ ขาเห็นบนกระเบือ้ ง หรือวอลล์เปเปอร์ ห้องนํ้า หรือลวดลายบนพรม ซึ่งนั่นคือความหมายที่ คนส่วนใหญ่เข้าใจ แต่นนั่ ไม่ได้หมายถึงการออกแบบ มันเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของกระบวนการออกแบบ ซึ่งเป็นเพียงแค่การประดับตกแต่ง (decoration) คนส่วนใหญ่ตคี วามการออกแบบเป็นแบบนี้ นีเ่ ป็นสิง่ ทีค่ นทัว่ ไปเข้าใจ จริงๆ ผมคิดว่าคำ�ว่า “คนทัว่ ไป” นัน้ เป็นคำ�เรียกที่ไม่เข้าท่าสักเท่าไหร่ แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ยังเป็นคำ�ที่เราใช้ติดปากกันอยู่ อย่างในช่วงก่อนยุคเรอเนซองซ์ในยุโรป สมัยศตวรรษ ที่ 14-17 จอร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) ผู้เป็นทั้ง ศิลปินและสถาปนิกกล่าวไว้ว่า “การออกแบบเป็น พื้นฐานของศิลปะทุกแขนง ทั้งจิตรกรรม การเต้นรำ� ประติมากรรม และงานเขียน” มันเป็นรากฐานของ ศิลปะทัง้ หลาย มันคือกระบวนการจัดการรูปแบบและ เนื้อหาของศิลปะทุกแขนง” ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ หรือการออกแบบ กราฟิก ก็ไม่ต่างอะไรกับการออกแบบในจิตรกรรม ถ้าคุณเข้าใจในธรรมชาติของมันแบบนี้แล้ว คุณจะ ตัดสินได้เลยว่าไม่มีอะไรต่างกันเลย ระหว่างงาน ออกแบบกับงานจิตรกรรม หรืองานออกแบบและ งานประติมากรรม ทุกสิง่ เหมือนกัน ถ้าใครในทีน่ เี้ ป็น จิตรกร ผมเชื่อว่าเขาจะไม่เห็นด้วยกับผมอย่างแรง แต่มันไม่สำ�คัญหรอก ไหน! มีใครเป็นจิตรกรไหม หรือรู้จักใครที่เป็นจิตรกรไหม พาเขาเข้ามาเลย
68
นักเรียน ผมทำ�งานจิตรกรรมครับ แต่ผมเห็นด้วยกับคุณ มากๆ เลย แรนด์ โอเค อย่างนั้นผมก็กลับบ้านได้แล้วสิ นักเรียน รูปทรงเดียวกัน สีเดียวกัน ปัญหาก็ปัญหาเดียวกัน แรนด์ ถ้าคุณเป็นจิตรกรที่ห่วย คุณก็จะเป็นนักออกแบบที่ ห่วยด้วย ใช่ไหม? นักเรียน ผมหวังว่าไม่นะครับ แรนด์ ผมพูดว่า “ถ้า” น่ะ โอเค ผมคิดว่าทุกคนเข้าใจแล้วว่าการออกแบบคืออะไร และอีกหนึ่งคำ�จำ�กัดความของการออกแบบ ก็คือ ระบบของความสัมพันธ์ เช่นเดียวกับงานจิตรกรรม มั น คื อ ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งแง่ มุ ม ทั้ ง หมดของ ปั ญ หา ซึ่ ง หมายถึ ง ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งคุ ณ กับเฟรมผ้าใบ ระหว่างคุณกับคัตเตอร์ ยางลบ หรือปากกา ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทีเ่ ป็น ส่วนประกอบของงานออกแบบ ไม่วา่ จะเป็นสีขาวหรือ สีดำ� หรือเส้นหรือรูปทรง
69
www.li-zenn.com