ปีเตอร์ สมิธสัน บทสนทนากับนักเรียน

Page 1


สารบัญ


22 บทสนทนา 1 68 บทสนทนา 2 110 การตอบโต้ต่อความโลภ การบรรยายโดย ปีเตอร์ สมิธสัน 132 บทสนทนา 3


จากผู้แปล ต้นข้าว ปาณินท์


Brutalism - เมื่อพูดถึง ปีเตอร์ และอลิสัน สมิธสัน (Peter and Alison Smithson) เราก็มกั จะนึกถึงค�ำ ๆ นี้ ซึง่ ได้กลายเป็นค�ำจ�ำกัด ความของความคิดและการท�ำงานของสถาปนิกคู่สามีภรรยาทั้งสอง ความชัดเจน รุนแรงของ Brutalism ไม่ได้ท�ำให้มันหมายถึงแนวทาง ของความคิดเท่านั้น แต่ได้ท�ำให้มันกลายเป็นรูปแบบหรือสไตล์ ที่มี อัตลักษณ์และภาพที่ชัดเจน จนแทบไม่เหลือทีว่ ่างให้เราตีความใด ๆ และทุกวันนี้ ปีเตอร์และอลิสันเอง ก็ไม่สามารถจะตามมาอธิบาย ความหมายของความคิดซึ่งถือก�ำเนิดจากการท�ำงานของทั้งสองคน ได้อีกต่อไปแล้ว สิ่งที่สถาปนิกและนักคิดทั้งสองทิ้งไว้ให้เราคืองาน สถาปัตยกรรม ที่ส่วนหนึ่งก็เสื่อมโทรม สูญสลายไปตามกาลเวลา และงานเขียนอีกจ�ำนวนหนึ่ง ซึ่งก็มักจะเป็นงานเขียนที่ถูกมองข้าม ไปอย่างน่าเสียดาย

Brutalism แน่นอนว่า มาจากค�ำว่า Brutal ซึ่งแปลตรงตัวว่า ความ ดิบ โหด เถื่อน อย่างสุดขั้ว จนบางทีก็แปลว่า สภาวะที่ไม่น่าอภิรมย์ Brutal มาจากรากศัพท์ภาษาละติน Brutus หรือ Brutalis มีการใช้ กันเป็นครั้งแรก ๆ ในช่วงศตวรรษที่สิบห้า ใช้บรรยายสภาวะหรือ สถานการณ์ที่มีความรุนแรง ยากล�ำบาก หนักหนาสาหัส ซึ่งก็ท�ำให้ ภาพของงานสถาปัตยกรรมทีผ่ ดุ ขึน้ ในหัวของเราเมือ่ นึกถึง Brutalism นัน้ เป็นภาพของอาคารทีม่ ลี กั ษณะดิบ ออกจะโหดร้าย น่ากลัว ไม่มี ความละเอียดอ่อน ละเมียดละไม ทัง้ ในแง่รปู ทรง และวัสดุ ตลอดจน สัมผัสของอาคาร ซึ่งนั่นก็เป็นลักษณะเฉพาะส่วนหนึ่งของงาน Brutalism จริง ๆ แต่ถา้ เรามองรากศัพท์ในภาษาละตินให้ลกึ ลงไปกว่านัน้

14 15

ถ้ า เรามองย้ อ นไปในการเรี ย นการสอนวิ ช าประวั ติ ศ าสตร์ สถาปัตยกรรมของเรา เราแทบจะไม่มีความทรงจ�ำใด ๆ เกี่ยวกับ ปีเตอร์และอลิสนั สมิธสัน คูส่ ามี ภรรยา สถาปนิกชาวอังกฤษทัง้ สอง ท่านนีเ้ ลย ทัง้ ๆ ทีง่ านออกแบบและความคิดเชิงทฤษฎีของสถาปนิก ทัง้ สอง เป็นความคิดทีก่ อ่ ให้เกิดการตัง้ ค�ำถาม และการเปลีย่ นแปลง ของสถาปัตยกรรมโมเดิรน์ ในช่วงหลังอย่างมาก และเป็นความคิดทีม่ ี อิทธิพลต่อแนวทางการพัฒนางานสถาปัตยกรรมในยุคต่อมา ทั้งใน ประเทศอังกฤษเอง รวมไปถึงงานในทวีปยุโรปอีกหลาย ๆ ประเทศ และในสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังเป็นความคิดที่ผลิดอกออกผล ก่อให้ เกิดแนวทางการท�ำงานและระบบความเข้าใจพืน้ ทีท่ างสถาปัตยกรรม ใหม่ๆ อีกหลากหลายรูปแบบในยุคหลัง


เราจะพบว่า ค�ำว่า Brutalis นั้นยังหมายถึงความตรงไปตรงมา ความแม่นย�ำ และความซือ่ สัตย์เถรตรง ตลอดจนสัจจะของการมีอยู่ และการปรากฏตัวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเป็นคุณสมบัติเชิงนามธรรม ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว นัยเชิงนามธรรมนี้ เป็นความหมายที่ตรงกับความ คิดของปีเตอร์และอลิสัน สมิธสัน มากกว่าเพียงการแสดงออกเชิง รูปแบบหรือสไตล์ ที่มีความดิบเถื่อนอย่างที่เรามักจะเข้าใจ ซึ่งความ ตรงไปตรงมานี้ อาจจะถูกแสดงออกในรูปแบบใดก็ยอ่ มได้ ไม่จำ� เป็น ต้องถูกจ�ำกัดอยู่กับรูปทรงและวัสดุ ตลอดจนพื้นผิวที่หยาบกระด้าง ดิบกร้าว เพียงอย่างเดียว หากเรามองความหมายของ Brutalism เป็นเพียงรูปแบบหรือสไตล์ ที่ถูกแสดงออกในทางกายภาพของความดิบหยาบเท่านั้น มันมักจะ ท�ำให้เราไม่เข้าใจงานและความคิดของปีเตอร์และอลิสัน สมิธสัน เพราะงานของสถาปนิกทั้งสอง หลาย ๆ งาน ก็ไม่ได้มีลักษณะดิบ กร้าวเช่นนั้นเลย แต่เมื่อเราพิจารณาความหมายของค�ำว่า Brutalis ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งในเชิงรูปธรรมและเชิงนามธรรม ย่อมท�ำให้ ความเข้าใจเกีย่ วกับความสัมพันธ์ระหว่างความคิดทฤษฎี Brutalism กับงานออกแบบของปีเตอร์ และอลิสัน สมิธสัน มีความกระจ่างขึ้น มาได้ว่า Brutalism นั้นไม่ใช่รูปแบบหรือสไตล์ ในการแสดงออกซึ่ง อัตลักษณ์ แต่เป็นความคิดเกี่ยวกับการจัดระบบ ทั้งระบบของพื้นที่ รูปทรง และพื้นผิวของวัสดุ อย่างตรงไปตรงมา ชัดเจน เด็ดขาด และทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือความพอเพียง ใช้ทรัพยากรให้นอ้ ยทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะ เป็นไปได้ ซึง่ ตรงกันข้ามกับความมากมาย ละโมบ เกินพอดี อันเป็น สภาวะทางสังคมที่เกิดขึ้นในยุคนั้น เรื่อยมาจนถึงยุคปัจจุบัน Brutalism ที่หมายถึงความตรงไปตรงมา พอเพียง และประหยัด ทรั พ ยากรนี้ นอกจากจะเป็ น แนวทางของการท� ำ งานทาง สถาปัตยกรรม อาจถือได้ว่า เป็นแนวความคิดทางสังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ที่สัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนโดยตรง เป็นการเรียกร้องให้สถาปนิกและนักออกแบบ ตระหนักถึงความ รับผิดชอบต่อสังคมรอบตัว มากกว่าเพียงแค่มุ่งจะสร้างถาวรวัตถุ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้กับความมั่งคั่ง มั่งมี ของสังคม ปีเตอร์ และอลิสัน สมิธสัน สอนเราว่า ความโลภ ความอยากมี อยากได้ อยากเป็น โดยขาดความรับผิดชอบ และความเข้าใจพื้นฐานทาง สังคมวัฒนธรรมนั้น เป็นบ่อเกิดของปัญหา ที่ไม่ใช่ปัญหาทาง


สถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่มันจะกลายเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นส่วน หนึ่งของปัญหาทางสังคมในไม่ช้า แม้หนังสือเล่มนีจ้ ะเป็นบทสัมภาษณ์ปเี ตอร์ สมิธสัน แต่เพียงผูเ้ ดียว แต่ผแู้ ปลคิดว่า เราควรจะต้องกล่าวถึงปีเตอร์และอลิสนั ไปพร้อม ๆ กัน ด้วยผลงานทัง้ หมด ไม่วา่ จะเป็นอาคารหรืองานเขียน และจากค�ำพูด ของปีเตอร์ สมิธสันเอง ความคิดและงานทัง้ หมดทีเ่ กิดขึน้ ในนามของ ปีเตอร์และอลิสนั นัน้ เป็นผลพวงของบทสนทนาตลอดระยะเวลาสีส่ บิ กว่าปี ที่ทั้งสองได้ร่วมงานกันมา จนยากที่จะบอกได้ว่า ความคิดใด มาจากใคร

วาทกรรมของปีเตอร์และอลิสัน สมิธสัน นอกจากจะท�ำให้เราย้อน มามองความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมและผู้คนรอบตัว ยัง ท�ำให้เราเข้าใจค�ำสอนของวิทรูเวียส (Vitruvius) ได้ดขี นึ้ ว่า สถาปนิก ไม่ ส ามารถจะใช้ ชี วิ ต อยู ่ ภ ายในวงจรอั น จ� ำ กั ด ของสาขาวิ ช าชี พ สถาปัตยกรรม แต่จ�ำเป็นจะต้องเข้าใจความเป็นไปของโลก รวม ทั้งศาสตร์อื่น ๆ สิ่งที่ปีเตอร์และอลิสัน สมิธสัน สอนเราเพิ่มเติม จากวิทรูเวียสก็คือ สถาปนิกจ�ำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้คน ในสังคม แม้ในยามที่ทิศทางความเป็นไปของสังคมมุ่งไปที่ความ ฟุง้ เฟ้อมากมายเกินจ�ำเป็น หน้าทีข่ องเราคือการชีน้ ำ� ให้สงั คมเห็นถึง สมดุลและภาวะความพอดี ที่ไม่ได้ถูกแสดงออกในรูปแบบของงาน สถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่ปรากฏขึ้นในแก่นความคิดของการสร้าง งานสถาปัตยกรรม อันสัมพันธ์กับวิถีชีวิต และการใช้งาน ที่ในที่สุด แล้ว อาจมีพลังอ�ำนาจในการเปลี่ยนแปลงสังคม ให้คืนสู่ความสุข ความพอใจ ในสิ่งธรรมดาสามัญ อันยั่งยืน

16 17

ในปี ค.ศ. 1993 อลิสันได้ตอบรับที่จะเดินทางไปบรรยายที่ฟลอริดา แต่ในช่วงปลายปี ก็ได้ล้มป่วยและทรุดหนักลงเรื่อย ๆ จนแทบไม่มี ความหวังใด ๆ เหลืออยู่ ปีเตอร์ไม่ได้ยกเลิกการบรรยายนั้น แต่ ได้เดินทางไปฟลอริดาเสียเอง เพื่อบรรยายในฐานะตัวแทนของคน ทั้งสอง และได้เดินทางไปดูอาคารทั้งหมดที่อลิสันต้องการจะไปดู แม้ว่าอลิสันจะจากโลกนี้ไปก่อนปีเตอร์นับสิบปี ปีเตอร์เองก็มองว่า บทสนทนาระหว่างเขาทั้งสองนั้น ยังคงด�ำเนินต่อไป และการท�ำงาน ของเขาในช่วงหลังจากทีอ่ ลิสนั ได้จากไปแล้วนัน้ ก็ยงั เป็นการสานต่อ ความคิดของอลิสันให้ลุล่วง เห็นผลเป็นรูปธรรม ทั้งสองจึงเป็น ตัวแทนของความเชื่อและความคิดที่ยากจะแยกจากกันได้


Conversation บทสนทนา 1

เชิงอรรถโดยปีเตอร์ สมิธสัน หากมิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น - บ.ก.


บทสนทนาต่อไปนี้ เป็นผลของความร่วมมือระหว่างปีเตอร์ สมิธสัน และการสัมมนาที่ Arizona State University ในช่วงฤดูใบไม้รว่ งของ ปี ค.ศ. 2001 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับงานออกแบบและงานเขียนของ อลิสันและปีเตอร์ สมิธสัน เราขอขอบคุณ Gustavo Gilli และ The College of Architecture and Environmental Design และ Herberger Center for Design Excellence ที่ Arizona State University ส�ำหรับการสนับสนุนใน โครงการนี้ เราอยากกล่าวค�ำขอบคุณเป็นพิเศษแก่ ปีเตอร์ สมิธสัน ส�ำหรับความเอื้อเฟื้อและความกระตือรือร้น ส�ำหรับหนังสือเล่มนี้ และเราขอขอบคุณนักศึกษาและคณาจารย์ ที่เข้าร่วมในการสัมมนา และบทสนทนานี้ ได้แก่: Luis Cruz, Nan Ellin, Sharon Haugen, Renata Hejduk, Daniel Hoffman, Victor Irizarry, Eugene Kupper, Joel Nice, Darren Petrucci, Robert Rager, Julie Russ, Max Underwood และ Stephan Willacy แคเธอรีน สเปลมาน และคาร์ล อุงเกลาป์ พฤศจิกายน ค.ศ. 2002


Conversation บทสนทนา 1

ในบทน�ำของหนังสือ Italian Thoughts1 คุณพูดถึง สถาปนิกยุคเดียวกันรุ่นต่าง ๆ ที่ส่งอิทธิพลต่อกัน เช่น ฟิลิปโป บรูเนลเลสกี (Filippo Brunelleschi) ลีออน บาติสตา อัลแบร์ติ (Leon Battista Alberti) และฟรานเชสโก ดิ จอร์โจ (Francesco di Giorgio)2 หรือในยุคหลัง เช่น มีส (Mies)3 อีมส์ (Eames)4 และ สมิธสัน (Smithson) คุณได้ความคิดเกี่ยวกับความ สัมพันธ์เหล่านี้มาจากไหน และมันส่งอิทธิพลอย่างไร ต่องานของคุณ?

1 Alison and Peter Smithson, “Three of Modern Architecture (New York: Generations,” จาก Italian Thoughts Rizzoli International Publication, 1981) ตีพิมพ์ในประเทศสวีเดน ปี ค.ศ. 1993 หน้า 13 - บ.ก. 4 “ในช่ ว งทศวรรษ 1950 วงการ 2 “สถาปนิกสามรุ่นในยุคเรอเนซองซ์ คือ สถาปั ต ยกรรมเกิ ด การเปลี่ ย นแปลง ฟิลปิ โป บรูเนลเลสกี (1377-1466) ลีออน ขึ้น ก็จากอิทธิพลของสถาปนิก ชาร์ลส์ บาตติสตา อัลแบร์ติ (1404-1472) และ (Charles, 1907-1978) และเรย์ อีมส์ ฟรานเชสโก ดิ จอร์โจ (1439-1502) ซึ่ง (Ray Eames, 1912-1988) ด้วยการ จากสถาปนิกทั้งสามท่านนี้เอง ที่ท�ำให้ ออกแบบบ้านและการออกแบบเก้าอี้ของ ความคิ ด ในยุ ค เรอเนซองซ์ ไ ด้ ถู ก ก่ อ ตั ว เขาทั้งสอง” จาก Alison and Peter และแพร่หลาย” จาก Alison and Peter Smithson, Changing the Art of InhabiSmithson, “Three Generations,” หน้า 9 tation (London: Artemis London Ltd., 1994) หน้า 72 3 มีส ฟาน เดอ โรห์ (1886-1969) “อาคารนั้ น จะน่ า สนใจก็ ต ่ อ เมื่ อ มั น มี 5 “เลอ คอร์บูซิเอร์ (1887-1965) นั้น เนื้ อ หามากกว่ า ตั ว ของมั น เอง ถ้ า มั น เป็นผูม้ วี สิ ยั ทัศน์ยงิ่ ใหญ่ และค�ำพูดของเขา สั ม พั น ธ์ กั บ ที่ ว ่ า งรอบ ๆ ตั ว มั น และ ก็มีอิทธิพลต่อผมอย่างมาก ซึ่งมันท�ำให้ มี ค วามเป็ น ไปได้ ห ลากหลายในความ พวกเราสามารถเข้าใจการต่อสู้ของเขาได้ สัมพันธ์นั้น อย่างเงียบ ๆ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ อย่างลึกซึ้ง” Alison and Peter Smithส�ำหรับสถาปัตยกรรมของเรา ที่ยังไม่เป็น son, The Heroic Period of Modern ที่ยอมรับกันในวงกว้าง” จาก Alison and Architecture หน้า 26 Peter Smithson, The Heroic Period


ผมคิดว่ามันเกี่ยวกับการที่ผมมาจากเกาะอังกฤษ ยุโรปไม่ใช่ทวีป ใหญ่โตอะไร ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นจะ ถูกก่อตั้งขึ้นมา เมื่อผมอายุสามสิบปี สถาปนิกรุ่นแรกที่ส่งอิทธิพล ในยุคนั้นก็ได้แก่ เลอ คอร์บูซิเอร์ (Le Corbusier)5 ถัดจากนั้นก็ เป็นรุ่นของฌอง พรูเว (Jean Prouvé)6 และโฮเซพ-หลุยส์ เซิร์ต (Josép-Lluís Sert)7 และรุน่ ของจอร์จ แคนดิลสี (George Candillis) ชาดรัค วูดส์ (Shadrach Woods)8 และอเล็คซิส โยสิค (Alexis Josic) ที่ท�ำงานกับเลอ คอร์บูซิเอร์ ผู้คนเหล่านี้ คือผู้คนที่เราพูดถึง และความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาก็ปรากฏให้เห็นอย่างแจ่มชัด แม้วา่ ระหว่างสถาปนิกสามรุน่ นัน้ เราจะไม่เห็นการลอกเลียนรูปแบบอย่าง ชัดเจน แต่พวกเขาก็มีความเชื่อร่วมกัน ซึ่งผมคิดว่าน่าสนใจ เพราะ เราจะไม่เห็นความคล้ายคลึงในรูปแบบหรือสไตล์ แต่มันเป็นความ เชื่อและอุดมคติที่พวกเขามีร่วมกัน ในยุคต่อมา เมื่อเราพิจารณางานของเอนริค มิราเลส (Enric Miralles) และคาร์เม พิโนส (Carme Pinós)9 เราจะสามารถเห็น ได้ถึงอิทธิพลระหว่างรุ่นของสถาปนิกเช่นกัน ผมมักจะมองเห็นเขา ทัง้ สองในตระกูลของความคิดและการท�ำงานเดียวกัน แต่ในขณะนัน้ ทั้งมีสและคอร์บูได้จากพวกเราไปแล้ว ดังนั้นสิ่งที่ถูกถ่ายทอดมา จึงเป็นความคิดและความเชื่อมากกว่าสไตล์ มันเป็นความคิดที่ถูก สืบสานต่อ ๆ มา 8 จอร์จ แคนดิลิส (1913-1995) เกิด ที่เมืองบากู ประเทศรัสเซีย เขาได้รับทุน การศึกษาเพื่อมาศึกษาที่กรุงปารีส และ ได้ท�ำงานกับเลอ คอร์บูซิเอร์ จนกระทั่งปี ค.ศ.1950 เขาได้ออกแบบบ้านการเคหะ ที่โมร็อกโกร่วมกับชาดรัค วูดส์ ซึ่งเราคิด ว่าเป็นงานทีส่ ร้างรากฐานให้กบั Team 10 ในเวลาต่อมา งานออกแบบ Toulouse-Le7 โฮเซพ-หลุยส์ เซิร์ต (1902-1983) เกิด Mirail ในฝรั่งเศส นั้นก็มีความคล้ายคลึง ที่เมืองบาร์เซโลนา เขาเป็นสถาปนิกยุค กับงาน Cluster City ของเรา โมเดิร์นรุ่นที่สอง ซึ่งท�ำงานกับเลอ คอร์บู ซิเอร์ และฌอง พรูเว ในช่วงปี ค.ศ. 1929 9 เอนริค มิราเลส (1955-2000) และคาร์ ถึง 1930 และในเวลาต่อมาได้กลายเป็น เม พิโนส (1954) ทั้งสองอยู่กับปีเตอร์ ประธานของสหพันธ์ Congrés Interna- ในเมืองเออร์บิโน ที่ International Labotionale d’Architecture Modern (CIAM) ratory for Architecture and Urban และเป็นคณบดีที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด Design ในปี 1977 และจากนั้นก็มีความ (Harvard University) สนิทสนมกันตลอดมา

24 25

6 “ในการพิจารณางานของฌอง พรูเว (1901-1984) ในนิทรรศการที่ปอมปิดู เซ็นเตอร์ ประเด็นที่น่าสนใจส�ำหรับเราก็ คือความสัมพันธ์ทอี่ าคารมีตอ่ บริบทในรูป แบบต่าง ๆ” Alison and Peter Smithson, Intalienishe Gedanken, weiterfedacht (Basel: Birkhauser, 2001) หน้า 86


Conversation บทสนทนา 1

Alison and Peter Smithson, “Three Generations.” Image, Lorenzo Wong and Alison Smithson, 1980


26 27

Alison and Peter Smithson, Colville Place (1952, unbuilt), London, England. Working drawing sections and plan, first-floor level, Alison and Peter Smithson, 1952


Conversation บทสนทนา 1

คุณอ้างอิงตัวคุณเองกับใคร?

10 Mies van der Rohe, The Museum 13 รูปนัน้ ปรากฏในวารสาร Arts and Arof Modern Art, New York, 1947 chitecture 64, เล่มที่ 27 เดือนธันวาคม ค.ศ. 1947 หน้า 24-27 - บ.ก. 11 อาคาร Metal and Minerals Research, Illinois Institute of Technology, 1942- 14 อลิสันและปีเตอร์ สมิธสัน คิดว่า 1943 ซึ่ ง เป็ น ข้ อ มู ล อ้ า งอิ ง ของอาคาร เจฟเฟอร์สัน และเฟรเดอริก ลอว์ โอล์มส Royal Academy โดยปีเตอร์ สมิธสัน เตด (Frederick Law Olmsted) นั้น เป็น และในเวลาต่อมาก็เป็นข้อมูลให้กับงาน เพียงสถาปนิกสองคนที่มีความสามารถ Hunstanton School ด้วย ส�ำหรับปีเตอร์ จากอเมริกา จาก Italienishe Gedanken, มันเป็นอาคารที่ “ดิบ” ซึ่งอาจจะเป็นที่มา weitergedacht หน้า 70 ของ Brutalism ในเวลาต่อมา 12 Haus Lange, Krefeld, Germany ปี ค.ศ. 1927-1930 - บ.ก.


สถาปนิกยุคโมเดิร์นเป็นรุ่นที่พวกเราสนใจ ยกตัวอย่างเช่น ชาร์ลส์ อีมส์ (Charles Eames) ซึ่งเกิดในปี ค.ศ. 1907 ดังนั้นจึงอยู่ในรุ่น เดียวกันกับเซิร์ตและพรูเว อีมส์นั้นจัดเป็นผู้มาทีหลังก็ว่าได้ เพราะ เขาเป็นนักออกแบบจากทวีปอเมริกาเหนือ ที่อยู่ ๆ ก็กลายเป็นที่ รู้จัก เขาเรียนในโรงเรียนสถาปัตย์ แต่ผมไม่คิดว่าควรจะเรียกเขาว่า สถาปนิก เพราะเขาไม่คดิ เหมือนสถาปนิก แต่อย่างไรก็ตาม อิทธิพล ทางความคิดของอีมส์ในยุคนั้นเป็นสิ่งที่ทรงพลัง แต่ก็อย่างที่ผมได้ กล่าวไปแล้ว ว่าเราจะไม่พบการเลียนแบบ เพราะเราก�ำลังพูดถึง มรดกทางความคิดเสียมากกว่า มรดกตกทอดทางความคิดนั้น เป็นความเชื่อมั่นและความหมกมุ่น ตัวอย่างเช่น เมื่อมีส ฟาน เดอ โรห์ (Mies van der Rohe) ย้าย มายังประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงแรก เขามีนทิ รรศการที่ Museum of Modern Art10 ซึ่งจัดแสดงอาคารหลังหนึ่ง ที่เขาได้สร้างใน อเมริกาเหนือ นั่นคืออาคารที่ Illinois Institute of Technology11 ประกอบกับอาคารหลังอื่นที่เขาได้สร้างในทวีปยุโรป12 เรื่องราวที่ ผมเพิ่งจะค้นพบก็คือ อีมส์ได้บันทึกภาพนิทรรศการนี้ไว้13 ซึ่งผม คิดว่ามันเป็นการจุดชนวนให้อีมส์เปลี่ยนการออกแบบบ้านของเขา จากบ้านที่มีลักษณะเหมือนสะพาน มาเป็นบ้านราบบนพื้นดิน ซึ่ง มันเป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่ทางความคิดในอเมริกา และอีมส์ก็เป็น ผู้สืบทอดเส้นทางความคิดนั้น

28 29

มันเหมือนการเล่นเกม เกมของเด็ก ๆ ในงานปาร์ตที้ เี่ ล่นเดาอารมณ์ ที่ผู้คนจะชอบ แต่อันที่จริงมันเป็นเรื่องของอุดมคติ ถ้าวัตถุประสงค์ ของความคิดของเรานัน้ มีทศิ ทางชัดเจน วัตถุประสงค์ของความคิดนี้ ก็คือสิ่งที่แยกอเมริกาเหนือออกจากยุโรป ผู้คนมากมายที่อพยพมา จากทวีปยุโรปสู่อเมริกานั้น บ้างก็น�ำความคิดและสิ่งอื่น ๆ ติดตัวมา ด้วย ตัวอย่างเช่น โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)14 นั้นก็ ท�ำงานกับระบบความคิดจากต่างประเทศได้ดี ในขณะทีง่ านส่วนอืน่ ๆ ในชีวิตของเขานั้นล้วนมีภาพที่ชัดเจน


Conversation บทสนทนา 2

เชิงอรรถโดยปีเตอร์ สมิธสัน หากมิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น - บ.ก.



อยากให้คุณสรุปให้เราฟังว่า ในช่วงทศวรรษต่าง ๆ ที่ ผ ่ า นมามี เ หตุ ก ารณ์ ใ ดบ้ า งที่ ส ่ ง อิ ท ธิ พ ลต่ อ คุ ณ อย่างยิ่งยวด?

Conversation บทสนทนา 2

1 มหาวิทยาลัยนั้นได้รับการออกแบบโดย แคนดิลิส (Candilis) โจสิค (Josic) วูดส์ (Woods) และชีดไฮม์ (Schiedheim) ใน ปี 1964 Hall (1983); Second Arts Building (1979-81) - บ.ก.

Mat-Buildings” ใน Hashim Sarkis, Le Corbusier’s Venice Hospital (Munich: Prestel, 2001) หน้า 91

3 The Arches Plaza, 112 University Drive, Tempe, Arizona ซึ่งปีเตอร์และ 2 “Mat-buildings นั้นเป็นตัวอย่างของ นักเรียนได้พูดถึงระบบความสัมพันธ์ของ สังคมส่วนรวม เมือ่ การใช้สอยนัน้ ส่งเสริม พื้นที่ระหว่างในเมือง Tempe ในวันแรกที่ ระบบพื้นที่และผู้ใช้งานมีอิสระในการใช้ ปีเตอร์เดินทางไปถึง - บ.ก. พื้นที่ จากระบบที่เปลี่ยนแปลงไป อันมี รากฐานจากความสัมพันธ์เชื่อมต่อของ 4 ความคิดของฌอง พรูเว เกี่ยวกับพื้นผิว หน่วยพื้นที่ต่าง ๆ ในระบบ และความ ภายนอกของอาคารที่ ป ระกอบไปด้ ว ย เป็ น ไปได้ ใ นการเติ บ โต ลดทอน และ โลหะพับ ได้ถูกน�ำมาใช้กับตลาดที่เมือง เปลีย่ นแปลง” Alison Smithson, บทความ Clichy ในปี ค.ศ. 1939 ชื่อ “How to Recognise and Read


เหตุการณ์ที่มีอิทธิพลและผลกระทบต่อผมที่สุดคือช่วงทศวรรษ 1960 ระหว่างที่ Berlin Free University ถูกออกแบบขึ้น1 มันเป็น อาคารที่ผมและอลิสันเรียกว่า Mat-building2 ซึ่งเป็นการคิดค้น ประเภทอาคารขึ้นมาใหม่ จากการผสมผสานระหว่างความคิด ของฌอง พรูเว จากช่วงทศวรรษ 1930 และวิธีการคิดของบริษัท แคนดิลิส-โจสิค-วูดส์ (Candillis-Josic-Woods) ผมคิดว่ามันเป็น อาคารที่ส�ำคัญที่สุดในช่วงอายุของเรา นั่นคือช่วงหลังของศตวรรษ ที่ยี่สิบ เพราะการเกิดประเภทอาคารใหม่ ๆ ขึ้นมานั้นไม่ใช่สิ่งที่เกิด ขึ้นได้บ่อย ๆ ตัวอย่างเช่นในศตวรรษที่สิบเก้า เกิดมีสถานีรถไฟขึ้น ซึ่งมันไม่เคยมีประเภทอาคารเช่นนั้นเกิดขึ้นมาก่อน เมื่อวานนี้ ระหว่างที่เดินอยู่ในเมือง เราคุยกันว่า เราสร้างโครงข่าย ของพื้นที่และที่ว่างในเมืองอย่างเมืองฟีนิกซ์ (Phoenix) ได้อย่างไร? สถานที่เช่น Arches Plaza3 ที่ปรากฏว่ามีต้นไม้ปกคลุมทางเดิน และมีเงาอาคารบังแดด คุณอาจจะคิดว่ามันเป็นสิ่งใหม่ แต่แท้จริง แสงแบบนั้น มันถูกคิดค้นขึ้นมาจากพื้นฐานของเมืองในอาหรับ ซึ่ง มีโครงข่ายของถนนแคบ ๆ จนเกิดเป็นร่มเงาขึ้นมา

70 71

ผมคิดว่ามันยากมากที่จะตอบว่าผมจ�ำอะไรได้บ้างในแต่ละทศวรรษ ในชีวิตเรา สิ่งต่าง ๆ มักเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน โครงการ The House of the Future เกิดขึน้ ในเวลาเดียวกันกับการตัง้ กลุม่ Team 10 และ การออกแบบงาน Sugden House เหตุการณ์ตา่ ง ๆ มักจะซ้อนทับกัน ผมกล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า บางทีอาคารแต่ละหลังนั้น ต้องใช้เวลาถึง ยีส่ บิ ปีนบั ตัง้ แต่จดุ ก�ำเนิดของความคิดไปจนถึงการเกิดขึน้ เป็นอาคาร ที่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งผมก็ยังคิดว่ามันเป็นเรื่องจริง งาน Berlin Free University ในช่วงแรกนั้นสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1973 ในขณะที่การ ประกวดแบบนั้นเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1963 และความคิดหลัก ๆ ของ ฌอง พรูเว นั้นก่อตัวขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ 1930 เสียด้วยซ�้ำไป4


Conversation บทสนทนา 2

Alison Smithson, Canteen Porch (1990), Tecta, Lauenförde. Exploratory sketches, Alison Smithson


74 75

Alison and Peter Smithson, Doorn Manifesto (1954). Diagram


Conversation บทสนทนา 2

สังคมวิทยามีความส�ำคัญอย่างไรต่องานของคุณ?

6 “การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์และ อัตลักษณ์ น�ำไปสู่การพัฒนาระบบการ เชื่อมโยงกลุ่มอาคาร ซึ่งมุ่งจะตอบสนอง ระบบความสัมพันธ์ทางสังคม มากกว่า การมุ่งสร้างที่ว่างและอาคารที่จบสมบูรณ์ ในตั ว ของมั น เอง ซึ่ ง ระบบที่ เ ป็ น อิ ส ระ มากขึ้ น นี้ เอื้ อ ให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลง โดยเฉพาะในชุมชนใหม่ ๆ ในขณะที่มัน พัฒนาเติบโต ความผิดพลาดของเมืองใหม่ ๆ ในอังกฤษ นั้น เป็นเพราะมันขาดความยืดหยุ่น และ ในปี คศ. 1956 เราได้เสนอแนะทางเลือก ที่เพียงระบบสาธารณูปโภคและถนนเป็น สิ่งเดียวที่จะหยุดนิ่งไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่ง ระบบถนนก็ถูกคิดขึ้นมาให้ง่ายที่สุด เพื่อ การเข้าถึงที่สะดวกเท่าเทียมกัน แนวความคิดเกี่ยวกับระบบถนนในฐานะ พื้ น ฐานของชุ ม ชนนี้ ได้ ถู ก พั ฒ นาต่ อ ในแนวความคิดเกี่ยวกับ Cluster City ระหว่างปี คศ. 1957 และ คศ. 1959 ในแปลนของ Haupstadt Berlin ปี คศ.

1958 และใน London Roads Study ปี ค.ศ. 1959” Alison Smithson, Team 10 Primer หน้า 52 7 “แทนทีเ่ มืองของเราจะเต็มไปด้วยอาคาร ใหญ่โต ถนนแคบ ๆ ขนาบข้างด้วยตึก เจ็ดชั้น สร้างชิดขอบถนน ก่อให้เกิดพื้นที่ ที่ขาดสุขอนามัย อับลม และไร้แสงแดด เมืองที่เราน�ำเสนอนั้น จะใช้พื้นที่เท่ากัน บรรจุผู้คนจ�ำนวนเท่ากัน แต่จะมีระบบ การจัดการระยะถอยร่นตลอดแนวถนน” Le Corbusier, Towards a New Architecture (London: Architectural Press, 1927) หน้า 59 - บ.ก. 8 Alison and Peter Smithson, Kuwait Mat-Building (1969-70) “ภาษาทาง สถาปัตยกรรมของ mat-building นั้นคือ การปกป้อง” Alison and Peter Smithson, The Charged Void: Architecture หน้า 356


สังคมวิทยาเคยเป็นสาขาวิชาการที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักแพร่หลายใน ประเทศอังกฤษ ในขณะทีม่ นั เป็นวิทยาการทีเ่ ข้มแข็งในฝรัง่ เศส หลัง สงครามโลกครั้งที่สอง มหาวิทยาลัยเก่าแก่ทั้งหลายจึงเริ่มที่จะเปิด สาขามานุษยวิทยา ซึง่ เน้นการศึกษาวัฒนธรรมของเราเอง ซึง่ นัน่ เป็น จุดเริม่ ต้นของสาขาสังคมวิทยาในประเทศอังกฤษ ซึง่ ก็เริม่ จากการที่ จูดธิ เฮนเดอร์สนั (Judith Henderson) เริม่ ศึกษามานุษยวิทยาและ สังคมวิทยาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในช่วงเวลานั้น การพัฒนาของ สังคมวิทยาในอังกฤษเกิดจากการที่ทหารผ่านศึกซึ่งมีพื้นเพมาจาก ชนชั้นแรงงานได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาล ท�ำให้สามารถเข้ามา เรียนในมหาวิทยาลัยอย่างออกซฟอร์ดหรือเคมบริดจ์ได้ และความ สนใจเกี่ยวกับสังคมของคนเหล่านั้นก็เป็นจุดเริ่มต้น

78 79

การเปลี่ ย นแปลงของแนวคิ ด เกี่ ย วกั บ สั ง คม จากความคิ ด เชิ ง นามธรรม มาสู่รูปธรรมอย่างชัดเจน ก็เป็นสิ่งที่พวกเรากลุ่ม Team 106 ให้ความสนใจ ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองมีสองสิ่งที่เป็น ประเด็นส�ำคัญส�ำหรับสถาปัตยกรรมยุคโมเดิรน์ เรือ่ งแรกคือประเด็น ทางภาษาและสังคมทีเ่ ชือ่ มโยงกับคิวบิซมึ (Cubism) และโครงสร้าง นิยม (Constructivism) ในรัสเซียช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เรือ่ งทีส่ องคืองานเขียนของเลอ คอร์บซู เิ อร์ เกีย่ วกับข้อบกพร่องทาง สุขอนามัยของเมืองปารีส7 ความน่าสนใจของประเด็นที่สองนี้อยู่ที่ ข้อเท็จจริงทีว่ า่ เมืองสตอกโฮล์ม (Stockholm) นัน้ เป็นเมืองทีม่ ผี ปู้ ว่ ย วัณโรคมากที่สุดในยุโรป ซึ่งมันเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อเพราะปัจจุบันเรา มีภาพเมืองสตอกโฮล์มเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่สะอาดหมดจดถูก สุขอนามัย แต่ความจริงคือสตอกโฮล์มไม่ได้เป็นเช่นนั้น ในช่วงก่อน สถาปัตยกรรมโมเดิร์นและก่อนสังคมนิยม สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ถ้าคุณพยายามอ่านบริบททาง สังคมวัฒนธรรมเหล่านี้ คุณอาจจะพบว่ามันไม่ใช่เรือ่ งง่ายทีจ่ ะเข้าใจ ถ้าคุณเป็นส่วนหนึง่ ของสังคมนัน้ ๆ แต่มนั จะง่ายกว่ามากถ้าคุณมอง มันในฐานะคนนอก เหมือนนักมานุษยวิทยาซึ่งก็เป็นสิ่งที่ผมท�ำเมื่อ ท�ำงานในประเทศคูเวต8 เราอ่านลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมใน ฐานะคนนอก เราไม่ใช่สว่ นหนึง่ ของสังคมนัน้ แต่เป็นผูส้ งั เกตการณ์


The Response to The Glut Lecture by Peter Smithson การตอบโต้ต่อความโลภ การบรรยายโดย ปีเตอร์ สมิธสัน

บทบรรยายต่อจากนี้เป็นการถอดความจากการบรรยายของปีเตอร์ สมิธสัน ที่ Arizona State University เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ซึ่งได้รับการรวบรวมโดยผู้ช่วยของเขา ก่อนที่สมิธสันจะ เสียชีวติ ในปี ค.ศ. 2003 ข้อความตัวอักษรปกติ นัน้ มาจากบทความ บรรยายของสมิธสัน ส่วนข้อความตัวอักษรเอียงนั้นเป็นการถอด ความจากบทสนทนาระหว่างสมิธสันและผู้ฟัง


Peter Smithson, Put- away Villa (1994–2000). Drawing, collage, Ana Iglesias González, and Peter Smithson


เริม่ จากประชาชนผูม้ งี านท�ำ ผมคิดว่าพวกเราซือ้ หาบริโภคและสัง่ สม ข้าวของจ�ำนวนมหาศาลมากขึน้ เป็นสิบ ๆ เท่า เมือ่ เทียบกับเมือ่ ยีส่ บิ ปีทแี่ ล้ว พืน้ ทีอ่ ยูอ่ าศัยของเรานัน้ ถูกรุกรานโดยข้าวของทีไ่ ม่ได้ใช้ และ ก็อาจไม่เคยได้ใช้อีกเลยก็เป็นได้ ข้าวของส�ำหรับเด็กทารก เปล รถ เข็น ทีน่ งั่ ทารกในรถยนต์ เก้าอีส้ งู แพมเพอร์สห่อใหญ่ ๆ สเกตบอร์ด โรลเลอร์สเกต จักรยานภูเขา เรือแคนู วัตถุอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้และจะไม่ได้รับการใช้สอยอีกในอนาคตเหล่า นี้ นับเป็นการจัดเก็บที่ไร้ชีวิต แต่ในขณะเดียวกันเราก็ยังมีการเก็บ ข้าวของทีย่ งั มีการใช้สอยในชีวติ ประจ�ำวัน เช่น เสือ้ ผ้า เครือ่ งประดับ และการจัดเก็บประเภทที่สาม คือเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการ บ�ำรุงรักษาสภาพที่อยู่อาศัยและข้าวของต่าง ๆ ในบ้านของเรา

The Response to The Glut การตอบโต้ต่อความโลภ

ส�ำหรับข้าวของทัง้ หมดนี้ เราต้องการพืน้ ทีป่ ระมาณสามสิบเปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่อยู่อาศัย ดังนั้นจึงเกิดความคิดที่ว่า การอยู่อาศัยนั้นคือ ความต้องการระบบการจัดเก็บรูปแบบหนึ่ง และรถยนต์ก็เป็นสิ่ง จ�ำเป็นด้วยเหตุทมี่ นั เป็นยานพาหนะทีใ่ ช้ขนส่งข้าวของต่าง ๆ เหล่านี้ ภายใต้ระบบอุตสาหกรรม รถยนต์จึงกลายเป็นสิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับทุก ชีวิตและทุกวัฒนธรรม เหมือนกับที่ระบบอุตสาหกรรมได้ท�ำให้ข้าว ของเหล่านั้น กลายเป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกครัวเรือน วัตถุประสงค์ของโปรเจ็กต์บา้ นอุปกรณ์ (Appliance House) นัน้ เกิด ขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1950 ก็เพื่อทวงพื้นที่อยู่อาศัยของเรากลับคืน มาให้ได้มากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะเป็นไปได้ ในช่วงเวลานัน้ การก�ำจัดอุปกรณ์ ที่กินพื้นที่อยู่อาศัย หรือการจัดเก็บอุปกรณ์ที่ส่งเสียงรบกวน เข้าไป ในที่ของมันที่เราเรียกว่า “Appliance Cubicles” เราคิดว่ามันน่าจะ ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ แต่ในปัจจุบัน มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น ดังนั้นบ้านอุปกรณ์นั้นจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บอุปกรณ์ใน บ้านไว้ในที่ทางของมัน ท�ำให้พื้นที่ใช้สอยเป็นอิสระจากความรก รุงรังของอุปกรณ์เหล่านั้น


คุณจะไม่พบความแตกต่างมากมายนักระหว่างสิ่งที่ผมพูด กับ สิ่งที่ เจ บี แจ็คสัน (J.B. Jackson) ได้กล่าวไว้ 1 ซึ่งก็คือการ ที่เขาสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของที่จอดรถในบ้านพักอาศัย จากการศึกษาผ่านช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ สิ่งที่ผมพยายาม จะท�ำก็คอื การเปลีย่ นแปลงทีม่ ชี วี ติ ในผังพืน้ ของบ้านพักอาศัยเอง เราได้ท�ำการศึกษาอีกครั้งในช่วงปลายปี ค.ศ. 1993 ถึงต้นปี ค.ศ. 1994 ซึ่งเราได้น�ำมาศึกษาอีกทีในช่วงปี ค.ศ. 2000 และคิดระบบ พืน้ ทีอ่ ยูอ่ าศัยของวิลล่าทีพ่ นื้ ทีจ่ ดั เก็บเป็นจุดเริม่ ต้นของการออกแบบ แปลน ผมคิดว่า บ้านเก็บของ (Put–away Villa) หลังนีส้ ร้างระบบพืน้ ทีใ่ หม่ ให้กับความต้องการใหม่ ๆ เหมือนกับที่บ้านของเลอ คอร์บูซิเอร์ ได้ สร้างระบบความคิดส�ำหรับความต้องการใหม่ ๆ ในยุคทศวรรษ 1920 หลักห้าประการของเลอ คอร์บซู เิ อร์ ซึง่ ผมเชือ่ ว่าพวกคุณทุกคน คุ้นเคย ได้ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างบ้านแบบโบราณและ บ้านที่เขาน�ำเสนอ ส�ำหรับผมคิดว่ามันเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อจริง ๆ ที่ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมืองสตอกโฮล์มจะเป็น เมืองที่มีวัณโรคระบาดมากที่สุดในยุโรป ซึ่งอาจจะเป็นเพราะ ความหนาแน่น และระบบการเคหะที่ไม่ดีพอ ซึ่งสถาปนิกในรุ่น เดียวกับเลอ คอร์บูซิเอร์ ล้วนคิดว่าสถาปัตยกรรมนั้นสามารถ เป็นเครื่องมือในการสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

1 J. B. Jackson, “The Domestication of the American Garage,” in The Necessity for Ruins (Amherst: The University of Massachusetts Press, 1980), 103.

112 113

วิลล่า การ์ช (Villa Garches) ของเลอ คอร์บูซิเอร์ ที่สร้างในปี ค.ศ. 1927 นั้นเป็นอาคารที่สร้างภาพของความต้องการใหม่ ๆ ในยุคนั้น ได้ส�ำเร็จ ซึ่งกฎห้าประการของคอร์บูซิเอร์ ใต้ถุนสูงเป็นเสาลอย สวนบนดาดฟ้า แปลนที่เป็นอิสระ หน้าต่างในแนวยาว และรูปด้าน ที่เป็นอิสระ มันเป็นมากกว่าการแสดงออกถึงความต้องการอากาศ


The Response to The Glut การตอบโต้ต่อความโลภ

Alison and Peter Smithson, Cubical House (1956–57). Plan, Alison Smithson


114 115

Alison and Peter Smithson, Appliance House (1957–58). Entrance elevation, “closed” plan, Alison Smithson


บริสุทธิ์และสุขอนามัยที่ดี แต่มันเป็นระบบพื้นที่ที่เหมาะสมกับการ เปลี่ยนแปลงของอุปนิสัยทางสังคมของเรา และจาก “บ้านเก็บของ” นี้ เราก็ได้ออกแบบบ้านพักอาศัยอีก รูปแบบหนึ่ง ซึ่งเราเชื่อว่าตั้งอยู่บนรากฐานของความต้องการ ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น เหมือนที่บ้านของเลอ คอร์บูซิเอร์ ได้น�ำเสนอ ความคิดเกี่ยวกับความต้องการใหม่ ๆ ในช่วง ทศวรรษที่ 1920 หัวใจของบ้านซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบพื้นที่ในทุก ๆ ชั้นนั้น จะเป็นพื้นที่เก็บของใหญ่ ที่เชื่อมต่อกับห้องทุก ๆ ห้อง โดยไม่ ต้องผ่านห้องอื่น ๆ และเมื่อศูนย์กลางของบ้านเป็นที่เก็บของ มันก็ อนุญาตให้พื้นที่อื่น ๆ เป็นอิสระอย่างเต็มที่ และนอกจากนั้นภายใน ห้องทุกห้อง ก็ยงั มีพนื้ ทีต่ เู้ ก็บของของตัวเอง เพือ่ ความต้องการเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจ�ำวัน

The Response to The Glut การตอบโต้ต่อความโลภ

พืน้ ทีส่ ว่ นดาดฟ้านัน้ ท�ำหน้าทีส่ องอย่างไปพร้อม ๆ กัน คือ ท�ำหน้าที่ เป็นพื้นที่พักผ่อน ก�ำบังด้วยหลังคาด้านข้างเพื่อไม่ให้มองเห็นจาก ระดับพืน้ และท�ำหน้าทีเ่ ป็นพืน้ ทีท่ ำ� งานส�ำหรับการซ่อมบ�ำรุง ส�ำหรับ วัสดุอุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ในบ้าน ท�ำหน้าที่คล้ายกับสวนหลังบ้าน ข้าวของต่าง ๆ ทีถ่ กู น�ำเข้ามาในบ้าน สามารถถูกจ�ำแนกแจกจ่าย ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ โดยไม่รบกวนส่วนอยู่อาศัย เหมือนกับพื้นที่ ถ่ายของ (loading dock) ในโรงงานหรือโกดังเก็บของ บ้านหลัง นี้ถูกออกแบบส�ำหรับลูกค้าชาวยุโรปรายหนึ่ง พื้นที่ที่อยู่ด้านข้าง ส่วนบริการตรงกลาง แบ่งเป็นพื้นที่ฝั่งเหนือที่มี หลังคารับแสงใต้ และพื้นที่ฝั่งใต้ที่มีหลังคารับแสงเหนือ พื้นที่ส่วน บริการตรงกลางนั้น มีไว้เพื่องานซ่อมบ�ำรุงและบริการต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นการซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ ซักและแขวนตากพรม ท�ำความ สะอาดและซ่อมจักรยาน เป็นต้น ส่วนช่องแสงก็จะมีบังตาเอาไว้ ป้องกันความเสียหาย และบดบังสายตาจากห้องด้านล่าง บังตานี้ สามารถปรับได้จากพื้นที่ด้านบน หรือจากห้องด้านล่าง เพื่อเปิดมุม มองสู่ท้องฟ้า และเพื่อปรับคุณภาพของแสงในห้อง


มั น อาจจะยากที่จะเข้า ใจสัก นิด หากเปรี ย บเที ย บกั บ สภาพ แวดล้อมในเมืองฟีนิกซ์ เพราะแทนที่จะปกป้องความร้อนจาก แสงแดด เรากลับพยายามที่จะน�ำความอบอุ่นจากแสงแดดเข้า สู่ตัวบ้าน ระบบต่าง ๆ มีไว้เพื่ออนุญาตให้เรามองเห็นท้องฟ้า ได้อย่างอิสระ ในรูปสามมิติ เมือ่ พืน้ ทีบ่ า้ นถูกจับจองด้วยวัสดุอปุ กรณ์ขา้ วของที่ จัดเก็บเอาไว้ เราจะเริม่ ตระหนักได้วา่ มันเป็นการตัง้ ค�ำถามและ คิดค้นขึน้ ใหม่ ภายใต้รากฐานของบ้านชนชัน้ กลางในยุคพระเจ้า เอ็ดเวิรด์ (Edwardian Period) ทีป่ ระกอบไปด้วยห้องจัดดอกไม้ พืน้ ทีท่ ำ� ความสะอาดและจัดเก็บอุปกรณ์รบั ประทานอาหาร ห้อง คนรับใช้ภายในห้องนั่งเล่นและอื่น ๆ ความแตกต่างนั้นอยู่ที่วัตถุประสงค์ ใน “บ้านเก็บของ” นัน้ พืน้ ทีอ่ ยูอ่ าศัยจะเป็นอิสระ เฟอร์นเิ จอร์มที ที่ าง และเป็นตัวตนของมันเอง ดังนั้นพื้นที่จึงเอื้ออ�ำนวยให้เกิดกิจกรรม ของมนุษย์มากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะเป็นไปได้ ให้ความรูส้ กึ ปกป้องปลอดภัย ในการท�ำกิจกรรมต่าง ๆ คุณควรจะคุ้นเคยกับพื้นที่ภายในบ้านยุคก่อนสงครามโลกครั้ง ที่หนึ่ง ที่ทุกสิ่งทุกอย่างดูเหมือนจะไม่ใช่ตัวตนของมันเอง แต่มี อยู่เพื่อส่งเสริมสิ่งอื่น ๆ เวอร์จเิ นีย วูลฟ์ ได้เขียนหนังสือชีวประวัตสิ นุ ขั ของอลิซาเบธ บาร์เร็ต บราวนิ่ง (Elizabeth Barrett Browning) เมื่อบราวนิ่งย้ายบ้าน จากบลูมส์เบอรี่ไปยังเมืองฟลอเรนซ์ เรื่องราวทั้งหมดเป็นเรื่องราว เกี่ยวกับประสบการณ์ของสุนัขตัวนั้นในบ้านที่ฟลอเรนซ์:

2 Virginia Woolf, Flush (New York: Harcourt, Brace, 1933), 128.

116 117

“มันดูโล่ง วัตถุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในบ้านที่เคยอยู่ ดูเหมือนจะหายไป หมด เตียงก็กลายเป็นเตียงจริง ๆ อ่างล้างหน้าท�ำหน้าที่เป็น อ่างล้างหน้า ทุกสิ่งเป็นตัวมันเอง ไม่มีสิ่งอื่น”2


Conversation บทสนทนา 3

เชิงอรรถโดยปีเตอร์ สมิธสัน หากมิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น - บ.ก.


Peter Smithson, Front Door Porch (1998), Hexenhaus, Bad Karlshafen, Germany. Photograph, Peter Smithson, 1999


Conversation บทสนทนา 3

ผมนึกถึงการบรรยายของคุณที่คุณเรียกยุคสมัย ของเราว่า เป็นยุคของความมากมายเกินพอดี1 คุณ บอกว่าเราน่าจะมีแกลเลอรี่ที่โล่งว่าง และผมก็คิดว่า มันเป็นความคิดทีด ่ ม ี าก อยากให้คณ ุ อธิบายเพิม ่ เติม ในประเด็นนี้?

1 จากการบรรยาย “การตอบโต้ต่อความ โลภ” ในหนังสือเล่มนี้ - บ.ก.


มันเป็นความคิดทีน่ า่ สนใจใช่ไหมครับ? ในช่วงทศวรรษที่ 1940 และ 1950 ในยุโรป เป็นช่วงแห่งความขาดแคลน ซึง่ ในปัจจุบนั ทุกสิง่ ดูจะ ตรงกันข้ามโดยสิน้ เชิง ในเวลานัน้ เรามีสงิ่ ประดิษฐ์เพียงเล็กน้อย แต่ ในปัจจุบนั เรามีมากมายเกินพอ ผมจึงคิดว่าในฐานะสถาปนิก เราควร จะตอบค�ำถามของความมากมายเกินพอดีนอี้ ย่างไร? ค�ำถามนีต้ งั้ อยู่ บนพื้นฐานของความพอเพียง มันเป็นเรื่องถูกต้องแล้วหรือที่เราจะมี ทุกสิง่ มากมายเกินพอดี? ท�ำอย่างไรเราจึงจะได้คณ ุ ภาพกลับคืนมา? คุณภาพในความว่างเปล่านั้นเป็นไปได้หรือไม่?

134 135

คุณภาพเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นได้บนเวทีละครใช่ไหม? มันเป็นไปได้ ที่เราจะท�ำละคร ซึ่งมีเวทีอันว่างเปล่า ที่เป็นคุณสมบัติส�ำคัญอัน หนึ่งของละครนั้น


Conversation บทสนทนา 3

คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับแนวความคิดของกลุ่มศิลปะ Minimalist เมื่อเปรียบเทียบกับความคิดของคุณ เรื่องความว่างเปล่า?


ผมมีประสบการณ์เกี่ยวกับมันน้อยมาก มีร้านขายของจ�ำนวนหนึ่ง ในย่านไนท์สบริดจ์ ใกล้ ๆ กับห้างแฮร์รอดส์ ซึ่งเป็นร้านที่ดูดี ขาย ข้าวของราคาแพงที่ออกแบบโดยสถาปนิกรุ่นใหม่ ๆ อันที่จริงมัน ดูดีเลยทีเดียว และก็ดูน้อยจนเหมือนกับไม่มีอะไรเลย ผมรู้สึกว่า สถาปัตยกรรมแบบนี้เป็นเหมือนกับลัทธิที่มีกลุ่มเป้าหมายพิเศษอยู่ กลุ่มเดียว แต่ความว่างเปล่าที่ผมพูดถึงนั้น ไม่ได้ต้องการกลุ่มเป้า หมายพิเศษจึงจะสามารถเข้าใจมันได้ คุณลองนึกภาพคนธรรมดา เดินเข้าไปในที่ว่างเหล่านั้นกับเด็กเล็ก ๆ เขาจะสามารถเข้าใจพื้นที่ ส�ำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษแบบนั้นได้หรือไม่? คงจะยากทีเดียว ย้อนกลับมาที่การบรรยายของผม คุณคิดว่าเจ้าของบ้านในยุค ค.ศ. 1920 ที่สร้างวิลล่า การ์ช (Villa Garches) และวิลล่า ซาวัว (Villa Savoy) นัน้ เป็นใคร? แน่นอนว่าพวกเขาเป็นเศรษฐี ปัญญาชนชาวยิว ในชนชั้นสังคมเดียวกันกับเกอร์ธรูด สไตน์ (Gertrude Stein) และ บ้านเหล่านั้นก็อาจจะไม่ได้เข้าถึงคนทั่วไปเลยก็ได้ และในปัจจุบัน คุณคิดว่าคนทัว่ ไปจะพูดถึงวิลล่าเหล่านีอ้ ย่างไร? ผมคิดว่ามันไม่ตา่ ง กัน มันไม่ใช่สิ่งที่ง่ายต่อการเข้าใจ ซึ่งก็เป็นสถานการณ์เดียวกันกับ ลูกค้าของเรา คุณเอกเซิล บรุคเฮาเซอร์ เขาเป็นคนพิเศษไม่ใช่บคุ คล ธรรมดาทั่ว ๆ ไป เอกเซิลเป็นลูกค้าที่รู้เรื่องประวัติศาสตร์เท่า ๆ กับ ที่คุณรู้ แต่เขาไม่รู้เกี่ยวกับวิชาชีพสถาปัตยกรรม เขาจึงมาหาคุณ

บางทีผมอาจจะตอบค�ำถามนีด้ ว้ ยการอธิบายทีต่ งั้ ของความว่างเปล่าที่ ผมพูดถึง ในประเทศนีด้ เู หมือนว่าธรรมชาติจะท�ำหน้าทีเ่ ป็นความว่าง เปล่าดังกล่าว ในช่วงหลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ทีผ่ คู้ นต่างก็มรี ถยนต์ พวกเขาต่างก็พากันขับรถพาครอบครัวออกมาเที่ยวธรรมชาติและ วนอุทยานต่าง ๆ มันเป็นประสบการณ์ที่ทุกครอบครัวมีร่วมกัน มัน เป็นประสบการณ์ที่เด็ก ๆ จะจ�ำได้ และจะเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อ พวกเขาไปจนโต มันเป็นประสบการณ์ทคี่ ณ ุ หาไม่ได้ในเมือง หรืออัน ที่จริงมันเป็นสิ่งที่ท�ำให้คุณต้องออกจากเมืองไปค้นหา

138 139

คุณอาจจะถามว่า แล้วการบรรยายของผมเกี่ยวกับความว่างเปล่านี้ จะมีประโยชน์อะไร? ค�ำตอบคือคุณต้องไม่พยายามที่จะประดิษฐ์ มันขึ้นมาอย่างไม่เป็นธรรมชาติ การบรรยายหรือวิชาความรู้ใด ๆ ถ้ามันไม่สามารถน�ำเสนอหรือเอื้อให้เกิดความคิดใด ๆ ก็คงจะไม่มี ประโยชน์อะไรเลย


Conversation บทสนทนา 3

Alison and Peter Smithson, The Economist Building (1959–64), London. Axonometric, Christopher Woodward


158 159

Peter Smithson, Tea House (1998), Hexenhaus, Bad Karlshafen. Photograph, Axel Bruchhäuser, 1998



LI-ZENN PUBLISHING Modern Thought Series

เลอ คอร์บูซิเอร์ หลุยส์ ไอ คาห์น เรม โคลฮาส บทสนทนากับมีส ฟาน บทสนทนากับนักเรียน บทสนทนากับนักเรียน บทสนทนากับนักเรียน เดอ โรห์ ISBN: 978-616-7800-48-6 ISBN: 978-616-7800-50-9 250 THB 250 THB

หัตถาราชัน

ISBN: 978-616-7800-47-9 300 THB

บทสนทนา กับความว่างเปล่า

ปีเตอร์ สมิธสัน บทสนทนากับนักเรียน

ISBN: 978-616-7800-73-8 ISBN: 978-616-7800-87-5 ISBN: 978-616-7800-86-8 300 THB 250 THB 350 THB

อยูก่ บั ความซับซ้อน ปรากฏ-กาล:ชีวิตของ เมืองของผู้คน เมืองมีชวี ติ งานสถาปัตยกรรม ISBN: 978-616-7800-61-5 ISBN: 978-616-7800-84-4 ISBN: 978-616-7800-76-9 ผ่านกาลเวลา 380 THB 700 THB 350 THB ISBN: 978-616-7800-46-2 300 THB

ความซับซ้อน และความขัดแย้ง ในสถาปัตยกรรม

ISBN: 978-616-7800-28-8 ISBN: 978-616-7800-71-4 300 THB 350 THB

ความปรุโปร่ง

ความหมาย

ชุดพืน้ ฐาน: พืน้ ฐานการ

ออกแบบสถาปัตยกรรม ISBN: 978-616-7800-69-1 ของการก่อสร้าง 300 THB ISBN: 978-616-7800-74-5 ISBN: 978-616-7800-88-2 XXX THB 350 THB

สั่งซื้อหนังสือ: FB: Li-Zenn Publishing (ทาง Inbox) E: purchase@li-zenn.com T: 089 500 2049 / 02 259 2096 ร้าน Li-zenn Bookshop สาขาสุขุมวิท 26 และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.