Long Nan Booklet [Dec 2013 Jan 2014]

Page 1

จุลสารล่องน่าน

จุลสารล่องน่าน | Long Nan Booklet จุลสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมในชุมชนเมืองน่าน

แจกฟรี | ฉบับที่ 4 | ธันวาคม 2556 - มกราคม 2557

FREE

COPY December 2013 January 2014

สล่าแป๋งวัด ภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น

ควายปอน

สัตว์เผือกมงคลจาวน่าน

ตัดดอก ตอกลาย

คุ้มเจ้าเทพมาลา

สถาปัตยกรรมเก่ากลางเมืองน่าน


แอ่วเมืองน่าน นานนาน

เดือนธันวาคมถือว่าเป็นเดือนที่มีสีสันของการท่อง เที่ยวมากที่สุดเดือนหนึ่งในรอบปีของไทย โดยเฉพาะ ในแถบภาคเหนือของประเทศ ที่เริ่มมีอากาศเย็นสบาย ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งน่านก็อยู่ในทิศทางของกระแสการท่อง เที่ยวดังกล่าวด้วยเช่นกัน สิ่งนี้ท�ำให้เราคงต้องปรับตัว เพื่อรับกระแสการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มแต่จะเพิ่มขึ้น (อย่างรวดเร็ว) ทุกปีอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ไม่ว่าเราจะ เต็มใจหรือไม่ก็ตาม การปรับตัวนั้นอาจไม่ใช่เรื่อง (หรือ ธุระ) ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากการประกอบธุรกิจ การท่องเที่ยวแต่เพียงกลุ่มเดียว แต่เป็นเรื่องที่ทุกคน ทุกหน่วยงาน ที่รับผิดชอบในเมืองเกี่ยวข้องทั้งโดย ทางตรงและทางอ้อม ลองนึกภาพรถของนักท่องเที่ยว จ�ำนวนมากมาจอดรอเข้าแถวเพื่อเติมน�้ำมันจนล้นออก มานอกถนน และท�ำให้การจราจรติดขัด หรือร้านขาย ของทีร่ ะลึกพยายามใช้สอี นั ฉูดฉาดบนป้ายโฆษณาทีผ่ นัง ด้านหน้าของอาคาร ในการดึงดูดความสนใจจากลูกค้า ต่างถิ่น ซึ่งขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมของบ้านพักอาศัย โดยรอบ สิง่ เหล่านีเ้ มืองใหญ่ใกล้เคียงในภาคเหนืออย่าง เช่น เชียงใหม่ เคยประสบจากนักท่องเทีย่ วชาวไทยด้วย กัน จนกลายเป็นสิ่งปกติและเคยชินไปนานแล้ว แต่คน เชียงใหม่เริม่ มารูส้ กึ อีกทีกต็ อ่ เมือ่ มีนกั ท่องเทีย่ วจีนกลุม่ ใหญ่เข้ามาท่องเทีย่ วเป็นจ�ำนวนมากตลอดช่วงปีนี้ จนเริม่ รบกวนการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันของคนโดยทั่วไปทั้งที่ เกีย่ วข้องและไม่เกีย่ วข้องกับธุรกิจการท่องเทีย่ วเช่น การ ขีจ่ กั รยาน หรือมอเตอร์ไซค์ในแบบทีเ่ คยชินตอนอยูเ่ มือง

จีน ซึง่ แตกต่างจากวัฒนธรรมการใช้ถนนของคนไทย จน เกิดอุบัติเหตุให้เห็นเป็นประจ�ำ หรือการใช้รถไฟฟ้าเพื่อ ท่องเที่ยวในเขตรั้วมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนไม่มีที่ว่าง เหลือให้นักศึกษาที่ใช้บริการเป็นประจ�ำ เมืองของเราทัง้ หลายต่างประสบปัญหาคล้ายๆ กัน ต่างกันที่ว่าใครจะรับมือและแก้ปัญหาได้ดีกว่ากัน น่าน อาจจะโชคดี ที่กระแสกว่าจะมาถึง เมืองอื่นก็กลายเป็น บทเรียนให้เป็นอย่างดี ความท้าทายอยู่ตรงที่ว่าเราจะ เลือกบทเรียนไหน มาเป็นแบบอย่างให้กับเมืองของเรา ทัง้ นีค้ งขึน้ อยูก่ บั เราว่าจะเลือกสิง่ ไหนเป็นหลัก ระหว่าง คุณภาพของสังคมและคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม ที่ถ้า ดูแลรักษาไว้ให้ดจี ะยังประโยชน์ให้กบั เมืองอย่างไม่มวี นั หมด กับมูลค่าของรายได้ทเี่ กิดจากการจับจ่ายซือ้ ของ ใช้ บริการของนักท่องเทีย่ ว ซึง่ ทัง้ สองสิง่ มักสวนทางกันเสมอ ถ้าขาดการบริหารจัดการทีด่ ใี นการจัดสรรผลประโยชน์ ที่ได้รับจากการท่องเที่ยวอย่างเท่าเทียม ล่องน่านหวังว่าการท�ำงานของพวกเรา คงช่วยให้ นักท่องเทีย่ วรักและรูจ้ กั เมืองน่านมากขึน้ ในแบบทีเ่ มือง น่านเป็น เมืองน่านมี และเมืองน่านเคย ที่เมืองไหนๆ ก็ ไม่สามารถให้นกั ท่องเทีย่ วแบบนีไ้ ด้ จนทัง้ ผูอ้ ยูแ่ ละผูม้ า เยือนเข้าใจตรงกันว่าสิ่งนี้แหละคือ คุณค่าของน่านที่จะ ต้องช่วยกันดูแล สวัสดีปใี หม่ผอู้ า่ นทุกคน และขอให้ลอ่ งน่านให้สนุกครับ ณวิทย์ อ่องแสวงชัย | บรรณาธิการบริหาร

ที่ปรึกษา | Adviser สุรพล เธียรสูตร, รศ.ดร. ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา, เพลินจิต พ่วงเจริญ บรรณาธิการบริหาร | Editor in Chief ณวิทย์ อ่องแสวงชัย กองบรรณาธิการ | Editorial Staff สุกนั ย์ณภัทร กันธะวงค์, บรรจง อูปแก้ว, วราวุธ ธิจนิ ะ จุลสาร “ล่องน่าน” เป็นจุลสารรายสองเดือน จัดท�ำ โดยโครงการ “การจัดการทรัพยากรทางสถาปัตยกรรม และวัฒนธรรมในชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบน ฐานวัฒนธรรมในเขตเมืองน่าน” ภายใต้การสนับสนุนจาก ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

LongNan is a bimonthly magazine published by Faculty of Architecture, Chiang Mai University. The project is supported by Area-Based Collaborative Research-Upper Northern Region (ABC-UN), The Thailand Research Found (TRF).

จุลสารล่องน่าน ฉบับอิเล็กทรอนิกส์

ติดตามอ่านล่องน่านฉบับอิเล็กทรอนิกส์ได้ในระบบของ ebooks.in.th ระบบที่เข้าถึงได้ง่าย สามารถเปิดอ่านหนังสือ eBooks ได้หลากหลาย อุปกรณ์ ทั้ง iPhone iPad Android และ PC โดยท�ำตามขั้นตอนดังนี้

เรื่องจากปก

จิตรกรรมฝาผนังวัดศรีพันต้น บอก เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของเมืองน่าน วิถชี วี ติ และภูมปิ ญ ั ญาชาวบ้านในแต่ละพืน้ ที่ ของเมืองน่าน

สัญลักษณ์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากตัวอักษรพื้นเมืองที่ อ่านว่า “น่าน” ( ) ภายใต้กรอบรูปทรงวงรีหลายโค้งอันไม่ สมมาตร ซึง่ แสดงถึงการหลอมรวมกันของผูค้ น และศิลปวัฒนธรรม จนเป็นเนื้อเดียวกัน ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเมืองน่าน กรอบรูป นั้นจึงไม่ใช่วงรี วงกลม หรือสี่เหลี่ยมพื้นฐานที่พบเห็นได้ทั่วไป ชื่อ “ล่องน่าน” สื่อความถึง ความผูกพันกับสายน�้ำน่าน ของคนน่าน และยังเป็นที่มาของฟ้อนล่องน่าน ซึ่งเป็นศิลปะ การแสดงดั้งเดิมของเมืองน่าน “ล่องน่าน” ยังให้นัยยะถึง การ เข้ามาค้นหาความน่าตื่นตาตื่นใจในศิลปวัฒนธรรม ที่ผ่านการ สืบทอดมาอย่างยาวนานได้อย่างไม่รู้จบจากผู้มาเยือน ดุจดั่ง การล่องไปในจินตนาการ ในขณะที่ “Long Nan” เชื่อมโยง กับประวัตศิ าสตร์อนั ยาวนานของเมืองน่าน และศิลปวัฒนธรรม ทีม่ รี ากฝังลึกมาแต่อดีตช้านาน จนผูม้ าเยือนอาจต้องใช้เวลานาน กว่าที่คิดไว้ในการเข้าไปสัมผัส

อนุญาตให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครีเอทีฟคอมมอนส์ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย โทร: 0 5394 2806, แฟกซ์: 05 322 1448 www.arc.cmu.ac.th

ติดต่อโฆษณา หรือร่วมสนับสนุนโครงการ โทร: 08 7496 4142

1. โหลดผ่านอุปกรณ์พกพา Smart Phone, Tablet โหลดแอปชื่อ “ebooks.in.th” จาก App Store หรือ Google Play เปิดแอปแล้ว ค้นหา ล่องน่าน หรือ Long Nan โหลดหนังสือฉบับที่ชอบเก็บไว้อ่านได้ตลอดเวลา 2. โหลดผ่าน Web Browser http://www.ebooks.in.th/longnanproject เลือกโหลด PDF ไฟล์ จากหน้าเว็บ


A

B

C

D

E

F

2 10

1

9 8 7

2 เกร็ดล่องน่าน วัดเชียงแข็งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2213 เป็นวัด เก่าแก่คู่ชุมชนเชียงแข็ง ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ภายในวัดมีบนั ไดวิหารเป็นปูนปัน้ รูปมกรคายนาคสีทอง อร่ามงดงาม มีอุโบสถล้านนาที่มีอายุเก่าแก่ประมาณ 200 ปี นอกจากนี้ยังมีเครื่องประดับเครื่องแห่ของ พระพุทธรูป และธรรมาสน์เอกที่สวยงาม

10

3

3

วัดเชียงแข็ง

F-1 ต�ำบลในเวียง อ�ำเภอเมืองน่าน

4 1 5

5

6

4

แผนที่ชุมชนน่าน 1

สล่าแป๋งวัด

4

2

ควายปอน

5

3

ตัดดอกตอกลาย

6

B-5 F-1 E-3

ชุมชนมณเฑียร บ้านนาปง ต�ำบลบ่อสวก วัดพระเกิด ต�ำบลในเวียง

B-5 B-5 B-5

วัดศรีพันต้น

7

ไหล่ จันทรบุปผา และ ชโลมใจ ชยพันธนาการ

8

คุ้มเจ้าเทพมาลา

9

ชุมชนศรีพันต้น ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน 14 ชุมชนมณเฑียร ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน

ถ.มหาพรหม ชุมชนช้างค�้ำ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน

F-1 F-1 F-1

เคี่ยน เมืองเล็น

133/1 ชุมชนน�้ำล้อม ถ.เทศบาลด�ำริห์ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน

อนันต์ วุฒิ

135 ชุมชนน�ำ้ ล้อม ถ.เทศบาลด�ำริห์ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน

สุทธิดา สุขมี

ชุมชนเชียงแข็ง ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน

6


1

B-5

ต�ำแหน่งในแผนที่

สล่ า แป๋ ง วั ด ภูมิปัญญาวิชาชีพจากรุ่นสู่รุ่น

คุณสมัคร ไชยกลาง

คุณอาคม ไชยกลางก�ำลังเตรียมดินที่ใช้ในการท�ำปูนปั้น ก่อนน�ำไปขึ้นรูปเป็นใบเสมา

03 | จุลสารล่องน่าน

ขั้นตอนการลงสีขาวเพื่อเก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในงาน แสดงถึงความปราณีต และใส่ใจในการท�ำงานทุกๆ ขั้นตอน


น่านเป็นเมืองหนึ่งที่มีวัดอยู่เป็นจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะวัดที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองน่านนั้น แต่ละวัดตั้งอยู่ในระยะที่ไม่ห่างกันมากนัก จน สามารถเดินไหว้พระ 9 วัดได้โดยใช้เวลาไม่นาน ซึ่งแต่ละวัดต่างมีลักษณะของศิลปะเชิงช่าง ทั้งทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม อันหลาก หลาย โดยเฉพาะความวิจิตรของลวดลายที่ประดับอยู่ตามสิ่งปลูกสร้างภายในวัดแต่ละวัดนั้นล้วนมีความงดงามที่แตกต่างกันไป ซึ่งบ่งบอกถึงยุคสมัย อิทธิพลความเชื่อทางพระพุทธศาสนา รวมถึงภูมิปัญญาของสล่า (ช่าง) สร้างวัดที่สืบทอดต่อกันมาในแต่ละช่วงสมัย หรือแต่ละชาติพันธุ์ ลวดลายของวัดในเมืองน่านมีทั้งลวดลายเก่าที่ สืบทอดจากรุน่ สูร่ นุ่ และลวดลายทีส่ ล่าสร้างวัดได้คดิ ขึ้นมาเอง หรือเลียนแบบมาจากที่อื่นเช่น เชียงใหม่ บ้าง แต่กย็ งั ดัดแปลงเพือ่ รักษาลวดลายให้เป็นแบบ เอกลักษณ์เฉพาะตัวของเมืองน่านไว้ได้ ซึ่งในแต่ละ ชุมชนในเขตเมืองน่านก็มีลวดลายที่แตกต่างกันไป อยู่ที่จินตนาการและความถนัดของสล่าแต่ละคน และอิทธิพลของศิลปะที่ได้รับมาในแต่ละสมัยเช่น เขมร มอญ เชียงแสน เชียงใหม่ และตะวันตก สล่า ก็จะน�ำศิลปะที่ตนเองพบเห็นในแต่ละช่วงสมัยมา ประยุกต์ในการสร้างวัดในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ลักษณะของโครงสร้างของวัดในสมัยโบราณ ของเมืองน่านจะเป็นทรงเตี้ยแบบล้านนา เช่นที่ วัด หนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ซึ่งโครงสร้างของวัดจะ เป็นไม้ ผนังก่ออิฐถือปูน แต่ในปัจจุบนั นี้ โครงสร้างวัด แบบเดิมเริม่ หายไป จากทีเ่ ป็นโครงสร้างไม้กเ็ ปลีย่ น เป็นเหล็ก จากฝาผนังทีเ่ ป็นอิฐและดิน ก็เปลีย่ นเป็น ปูน ท�ำให้วดั เมืองน่านในปัจจุบนั เป็นแบบผสมผสาน สมัยใหม่ โดยค่อนไปทางสมัยใหม่มากกว่า เนือ่ งด้วย วัดที่สร้างมาเป็นเวลานานถูกบูรณะซ่อมแซมด้วย วัสดุสมัยใหม่มากขึ้น เพื่อให้มีความคงทนแข็งแรง รองรับความต้องการใช้สอยในพืน้ ทีแ่ บบใหม่ๆ ของ แต่ละวัดได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันวัดที่ยังคง รักษาศิลปะความพืน้ ถิน่ ดัง้ เดิมในองค์ประกอบต่างๆ ของวัด สามารถพบเห็นได้น้อยมาก วัดหัวข่วงเป็น ตัวอย่างที่ดีวัดหนึ่งในเขตเมืองน่านที่ยังคงรักษารูป แบบดัง้ เดิมตัง้ แต่แรกสร้างไว้ได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ คุณอาคม ไชยกลาง เป็นผู้หนึ่งที่สืบทอดอาชีพ สล่าสร้างวัดเป็นอาชีพหลัก โดยท�ำอาชีพนี้ตั้งแต่ อายุได้ 15 ปี จนถึงปัจจุบันที่อายุกว่า 48 ปีแล้ว ตลอดระยะเวลากว่า 33 ปี คุณอาคมได้สืบทอด และสานต่อวิชาช่างจากบรรพบุรษุ เนือ่ งจากคุณตา ของคุณอาคม หรือพ่อครูผาย ไชยกลาง ผู้เคยเป็น ครูช่างคนส�ำคัญของชุมชนมณเฑียร และล่องน่าน ฉบับที่ 3 ได้เคยพาไปเยี่ยมชมบ้านของพ่อครูผาย ซึ่งปัจจุบันบ้านของพ่อครูผายได้ตกทอดมายังคุณ จินดา อินทรังสี ซึ่งเป็นลูกสาวคนที่ 2 ผู้เป็นมารดา ของคุณอาคมนั่นเอง คุณอาคมได้รับการประสิทธิ์ ประสาทวิชาช่างสล่าสร้างวัดจากพ่อครูผายผู้เป็น ตาโดยตรง โดยเมื่อครั้งคุณอาคมยังเด็กได้ติดตาม พ่อครูผายไปตามวัดวาอารามต่างๆ อาศัยครูพัก ลักจ�ำ และเรียนรู้วิชาช่างจากพ่อครูผายโดยตรง

ซึ่งเต็มใจถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เป็นหลาน จนเมื่อ คุณอาคมโตขึ้นก็ได้รับการครอบครูจากพ่อครูผาย และยึดอาชีพสล่าสร้างวัดเป็นอาชีพหลักมาจนถึง ปัจจุบัน ส่วนใหญ่งานที่ได้รับมอบหมายจะเป็นงาน ซ่อมแซม หรือบูรณะวัด มากกว่าสร้างวัดขึ้นใหม่ ทั้งหลัง ซึ่งงานซ่อมแซมมักจะวนไปทีละวัดๆ โดย คุณอาคมเล่าถึงความล�ำบากของสล่าสร้างวัดว่า สล่า สร้างวัดจะมีลูกทีมที่มาช่วยท�ำงานจ�ำนวนมาก แต่ มีเพียงไม่กี่คนที่จะสามารถออกแบบ และตกแต่ง ใส่รายละเอียดปลีกย่อยของวัดได้เช่น งานตัดแก้ว ทีป่ ระดับตกแต่งตามส่วนต่างๆ ของวัด งานจิตรกรรม ฝาผนัง งานประติมากรรมต่างๆ ซึ่งงานปลีกย่อย เหล่านี้เป็นงานที่มีขั้นตอนในการท�ำงานที่ยุ่งยาก และต้องใช้เวลาในการท�ำนานมาก กว่าจะได้มาหนึง่ ชิ้นงาน จึงหาคนท�ำค่อนข้างยาก เพราะเป็นงาน ทีต่ อ้ งใช้ความสามารถและความช�ำนาญส่วนบุคคล อีกทั้งยังต้องเป็นคนที่ละเอียด ใจเย็น มีความรู้ ในรายละเอียดปลีกย่อย หรือเข้าใจในสิง่ ทีค่ นโบราณ สร้างเมื่อต้องซ่อมแซมบูรณะวัดใหม่ เพราะสล่าจะ เป็นผู้น�ำสารที่ต้องการส่งต่อถ่ายทอดเป็นผลงาน ทางพุทธศิลป์แก่คนรุ่นต่อๆ ไป ปัจจุบันสล่าสร้าง วัดเริม่ มีจำ� นวนลดน้อยถอยลงเรือ่ ยๆ สล่าส่วนใหญ่ ทีย่ งั ประกอบอาชีพอยูใ่ นปัจจุบนั มักเป็นกลุม่ คนเก่า คนแก่อายุ 40 กว่าปีขึ้นไป หาได้ยากที่จะมีเยาวชน คนรุ่นใหม่ที่สนใจสืบทอดงานด้านนี้ คุณสมัคร ไชยกลาง ลูกชายคนที่ 3 ของพ่อครู ผาย ไชยกลาง ซึง่ หลังจากเกษียณอายุราชการทหาร แล้ว ก็ได้หันมาเป็น สล่าบูรณะซ่อมแซมใบเสมา และได้เรียนรู้การท�ำใบเสมามาจากผู้เป็นหลานคือ คุณอาคมที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาสล่าสร้างวัดมา จากพ่อครูผายโดยตรง คุณสมัครได้อธิบายเสริมถึง ลักษณะของใบเสมาธรรมจักรว่า ใบเสมาธรรมจักร ต้องมี 8 แฉก โดยแต่ละแฉกจะมีความหมายของหลัก ธรรมทางพระพุทธศาสนาทีแ่ ตกต่างกัน ซึง่ วัดแต่ละ แห่งจะท�ำรูปแบบลวดลายสีสันของกระจกที่ติดใบ เสมาธรรมจักรไม่เหมือนกัน เวลาที่ใช้ในการท�ำใบ เสมาธรรมจักรชิน้ หนึง่ นัน้ จึงค่อนข้างนาน เนือ่ งจาก เป็นงานที่มีความละเอียดสูง ต้องมีศิลปะที่ประณีต และใจเย็นในการท�ำ นอกจากนี้ คุณสมัครยังมีงาน ซ่อมแซมในส่วนอืน่ ๆ ของวัดหรือสิง่ ของต่างๆ ให้อยู่ ในสภาพเดิมด้วยเช่นกัน ซึง่ ถึงแม้งานทีท่ ำ� จะต้องใช้ ความละเอียดและความประณีตสูง แต่คุณสมัครก็

รักและเต็มใจท�ำอาชีพนี้ เพื่อรักษาศิลปวัฒนธรรม แบบล้านนาตะวันออกไว้ให้ยาวนานที่สุด เพื่อให้ ลูกหลานชาวเมืองน่าน และผู้มาเยี่ยมชมได้เห็นถึง ความเป็นอารยะผ่านสิง่ ปลูกสร้างทีเ่ ปีย่ มด้วยศิลปะ อันทรงคุณค่า งานปกติส่วนใหญ่ที่สล่าสร้างวัดท�ำคือ งาน ซ่อมแซมและบูรณะวัด สืบงานต่อจากสล่ารุน่ ก่อนๆ ซึง่ งานทีค่ ณ ุ อาคมได้เข้าไปมีสว่ นรับผิดชอบอยูเ่ สมอ คือ งานแกะสลักไม้ รองลงมาเป็นงานตัดกระจก และวาดรูป ตามล�ำดับ โดยงานวาดรูปและงานสร้าง ผลิตผลงานเหล่านีน้ นั้ มักเป็นงานทีเ่ ทศบาลจัดสรร ให้กบั กลุม่ วัดทีข่ นึ้ ทะเบียนกับกรมศิลป์ฯ ซึง่ มักมีการ ซ่อมแซมเป็นระยะอยูเ่ สมอ แต่ตอ้ งได้รบั การอนุมตั ิ ก่อนถึงจะสามารถเริม่ งานซ่อมแซมได้ และเนือ่ งจาก เป็นงานของทางราชการ จึงมักได้รบั ค่าตอบแทนทีต่ ำ�่ เมือ่ เปรียบเทียบกับงานทีไ่ ด้รบั จากภาคเอกชนหรือ คนทั่วไป โดยค่าตอบแทนการท�ำงานของสล่าสร้าง วัดส่วนมากจะคิดเป็นรายวัน หรือรายเดือนในราคา ที่ทั้งเจ้าของงานและสล่าพอใจร่วมกัน ปัจจุบันมีผู้สนใจเป็นสล่าน้อยมาก ท�ำให้หาคน มาสืบทอดวิชาช่างต่างๆ เหล่านี้ได้ยาก เนื่องจาก เป็นงานที่มีขั้นตอนการท�ำงานที่ค่อนข้างละเอียด ต้องอาศัยการเรียนรู้และความพยายามเพื่อให้เกิด ความช�ำนาญมาก จึงไม่เป็นที่นิยมในหมู่เยาวชน คนรุ่นใหม่ ถึงแม้จะมีรายได้ต่อเดือนสูงกว่าคนจบ ปริญญาตรีโดยทั่วไปก็ตาม ท�ำให้จ�ำนวนสล่าสร้าง วัดในปัจจุบันลดน้อยลงไปทุกที อีกทั้งงานช่างสล่า สร้างวัดเป็นสายวิชาชีพเฉพาะที่ถูกลดทอนความ ส�ำคัญลงไปอย่างไม่ตั้งใจ ทั้งจากสังคมและสถาบัน การศึกษาเอง จากการที่เรามุ่งหวังให้ประเทศไทย พัฒนาเจริญทัดเทียมอารยประเทศ โดยวิง่ ตามความ ศิวิไลซ์ของประเทศอื่น จนลืมที่จะใส่ใจพัฒนาสาน ต่อวัฒนธรรมดั้งเดิมที่เป็นความภาคภูมิใจของชาติ อีกทั้งยังสร้างค่านิยมผิดๆ ที่ไปลดทอนคุณค่าของ วิชาชีพสล่า ที่มีความส�ำคัญต่อการสร้างบ้านแปง เมืองและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ มาแต่โบราณ งานช่างเหล่านี้ยังช่วยขัดเกลาจิตใจ ของผู้สร้างให้สูงขึ้น ด้วยเพราะเป็นงานที่ละเอียด ประณีตที่ต้องอาศัยการฝึกฝน ต้องใช้ใจท�ำ ไม่ใช่ การท่องจ�ำจากในต�ำราแล้วมาท�ำก็ส�ำเร็จได้

Long Nan Booklet | 04


2

F-1

ต�ำแหน่งในแผนที่

ควายปอน สัตว์เผือกมงคลจาวน่าน ที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ควายปอนเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตคนพื้นเมืองน่าน ในสมัยก่อนคนที่รู้เรื่อง เกี่ยวกับควายปอนดีที่สุดคือ กลุ่มคนชนชั้นไพร่ ทาส เพราะกลุ่มบุคคลเหล่านี้ มักมีหน้าที่ดูแลพวก สัตว์เลี้ยงของเจ้านาย ท�ำให้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างดี และเมื่อรู้ถึงสรรพคุณของควาย ปอนในด้านต่างๆ แล้ว ก็เกิดการบอกต่อกัน จนกลายเป็นความเชื่อของชาวบ้าน และในที่สุดก็กลาย ความเชื่อของคนพื้นเมืองน่านโดยทั่วไปมาจนถึงปัจจุบัน พระอาจารย์ปริญญา สุเมธี เจ้าอาวาสวัด นาปงใหม่พัฒนา พระนักพัฒนาบ้านนาปง ต�ำบล บ่อสวก อ�ำเภอเมือง จังหวัดน่าน ได้กล่าวถึง ควาย ปอนตามความเชือ่ ของคนพืน้ เมืองน่านว่า ควายปอน คือ ควายเผือก ที่คนภาคกลางรู้กันดีว่า เป็นควายที่ มีความผิดปกติทางพันธุกรรม ท�ำให้ได้สีผิวอ่อนซีด จางต่างไปจากปกติ แต่ทว่าคนน่านนัน้ มีความเชือ่ ว่า ควายปอน เป็นควายผี ควายเจ้า จึงมักถูกเลี้ยงให้ เป็นเจ้าคอก หรือจ่าฝูง โดยคอกหนึ่งจะเลี้ยงควาย ปอนหนึ่งตัว ด้วยความเชื่อที่ว่า ภูตผีจะไม่กล้าท�ำ อะไรฝูงควายที่มีควายปอนอยู่ภายในฝูง และหาก บริเวณใดที่มีอาถรรพ์ หรือสิ่งลี้ลับชั่วร้าย ชาวบ้าน ก็จะน�ำควายปอนไปไถกลบที่ดินในบริเวณนั้น เพื่อ ล้างอาถรรพ์ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในเรื่องของ สรรพคุณทางยาของควายปอนว่า อวัยวะทุกส่วน ในร่างกายของควายปอนนั้นใช้เป็นยารักษาโรคได้ เช่น กระดูก และเขาของควายปอน เป็นอวัยวะทีค่ น โบราณเชื่อว่า เป็นส่วนที่ส�ำคัญที่สุดของควายปอน และท่านพระอาจารย์ปริญญา สุเมธีเอง ก็เคยได้น�ำ มาทดลองรักษาโรคเก๊า โดยน�ำกระดูกควายปอนมา ฝน (บด) ให้เป็นผง ผสมกับน�ำ้ มะนาว รับประทานวัน ละหนึ่งแก้ว ติดต่อกันประมาณ 15-20 วัน และพบ ว่าอาการทุเลาเบาบางลง ชาวบ้านคนอืน่ ทีเ่ คยน�ำวิธี นีไ้ ปทดลองแล้ว ก็พบว่าสามารถบรรเทาอาการของ โรคได้จริง นอกจากนีย้ งั พบว่าปัสสาวะของควายปอน นัน้ มีสารป้องกันศัตรูพชื สามารถใช้แทนยาฆ่าแมลง ได้ผลเป็นอย่างดี โดยไม่ตอ้ งพึง่ สารเคมีจำ� กัดศัตรูพชื อืน่ สังเกตได้จากหญ้าทีโ่ ดนปัสสาวะควายปอนรดใส่ จะไม่มแี มลงกัด โดยกลิน่ ปัสสาวะของควายปอนจะ 05 | จุลสารล่องน่าน

มีกลิน่ ทีฉ่ นุ กว่าควายด�ำทัว่ ไป และยังเชือ่ ว่าอุจจาระ ของควายปอนนัน้ สามารถถอนพิษจากแมลงกัดต่อย ได้เช่น เมื่อถูกตะขาบ หรือแมงป่องกัด ก็จะน�ำมูล ควายปอนแห้งมาเผาให้เกิดควัน และก็นำ� แผลทีถ่ กู ตะขาบหรือแมงป่องกัดนัน้ ไปรมควันมูลควายปอน เพื่อสกัดหรือถอนพิษสัตว์เหล่านั้นออกมา ควายปอนโดยส่วนใหญ่จะไม่คอ่ ยพบโรคติดต่อ ต่างๆเหมือนควายด�ำเช่น โรคปากและเท้าเปือ่ ย ทัง้ ๆ ทีค่ วายปอนก็เป็นสัตว์ทกี่ นิ พืช กินหญ้า เหมือนเช่น ควายด�ำทั่วไป และมีพฤติกรรมของการอยู่ร่วมกัน ในการเข้าฝูงกับควายด�ำได้อย่างกลมกลืน ท�ำให้มี ความเชื่อต่อไปอีกว่า ควายปอนมีภูมิต้านทานโรค ในตัวของมันเอง ส่วนของเนื้อควายปอนก็สามารถ น�ำไปประกอบอาหารได้เช่นเดียวกันกับควายด�ำ ทั่วไป แต่เนื้อควายปอนนั้นจะมีกลิ่นที่ค่อนข้างฉุน มากกว่าเนื้อควายด�ำทั่วไปมาก ชาวบ้านจึงไม่นิยม น�ำมาประกอบอาหาร อีกทัง้ ควายปอนนัน้ มีจำ� นวน

น้อย และหายาก ท�ำให้ควายปอนถูกอนุรักษ์ไว้เพื่อ ไม่ให้สญ ู พันธุไ์ ป ด้วยเหตุนคี้ วายปอนในสมัยโบราณ จึงมีความส�ำคัญมากกว่าควายด�ำทัว่ ไป กล่าวคือ โดย ทั่วไปควายด�ำนั้นจะถูกน�ำไปใช้งานไถนา แต่ควาย ปอนนั้นมีไว้ใช้ในงานที่เป็นลักษณะพิเศษบางงาน เช่น มีไว้เพื่อป้องกันเภทภัย และโรคติดต่อที่เกิด จากสัตว์ ขับไล่สิ่งอาถรรพ์ชั่วร้ายที่แฝงอยู่ในพื้น ที่นั้นๆ เป็นต้น ซึ่งแต่เดิมชาวพื้นเมืองน่านเปรียบ ควายปอนดัง่ เป็นสัตว์เทพบนสรวงสวรรค์ลงมาเกิด ปัจจุบนั ควายปอนมีความเสีย่ งต่อการสูญพันธุส์ งู จากสถิตพิ บว่า ถ้าควายคลอดลูกประมาณ 10-20 ตัว จะให้ก�ำเนิดควายปอนเพียง 1 ตัว ซึ่งควายปอนนั้น เกิดจากการผ่าเหล่าทางพันธุกรรมของควายตัวผูก้ บั ตัวเมียที่มีทั้งยีนเด่นและยีนด้อย แต่ก็ถือได้ว่าน้อย ครัง้ ทีจ่ ะมีการผ่าเหล่าเกิดขึน้ ประกอบกับความเชือ่ ของควายปอนในเรือ่ ง การใช้ปอ้ งกันภูตผิ ลี ดน้อยลง ผูเ้ ลีย้ งควายปอนก็ขาย และกินเนือ้ ควายปอนเหมือน เช่นควายด�ำ จึงท�ำให้ควายปอนในปัจจุบนั จึงมีจำ� นวน ลดลงเรื่อยๆ พระอาจารย์ปริญญา จึงได้มอบควาย ปอนให้กบั มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ที่ได้เริ่มโครงการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ควาย ปอน โดยมีการรับบริจาคเงินเพื่อรวบรวมไปซื้อ ควายปอนตามชุมชน และโรงฆ่าสัตว์ต่างๆ เพื่อน�ำ มาศึกษาวิจยั ศึกษาเกีย่ วกับควายปอน และค้นหาวิธี การขยายพันธุ์เพื่อการการอนุรักษ์ควายปอนต่อไป นอกจากนี้ในอนาคต จะมีการจัดตั้งหมู่บ้านส�ำหรับ เลีย้ งควายปอนโดยเฉพาะ เพือ่ อนุรกั ษ์และเผยแพร่ ความรูเ้ กีย่ วกับควายปอนให้แก่คนในชุมชนและนัก ท่องเที่ยวได้เข้ามาเยี่ยมชม โดยจะท�ำการส่งเสริม การท่องเที่ยวเกี่ยวกับควายปอน และท�ำให้ควาย ปอนเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการท่องเที่ยวเมือง น่านเช่น การน�ำควายปอนมาลากรถแทนรถราง ใน การเดินทางระยะใกล้ เนือ่ งจากว่าควายปอนจะทน ความร้อนของแสงแดดได้นอ้ ยกว่าควายด�ำ ซึง่ ขณะ นี้ก�ำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้และ วางแผนการท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต **เป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน**

ควายปอน ในบริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน


ตัดดอก ตอกลาย

3

E-3

ต�ำแหน่งในแผนที่

ตัดดอกตอกลายพื้นเมืองน่านมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ลักษณะของลวดลายนั้นจะเรียกกันแบบง่ายๆ ตามลักษณะของการตัดลวดลาย เช่น ลาย ดอกสามเหลี่ยม ดอกสี่กลีบ ดอกแปดกลีบ และลายดอกทานตะวัน เป็นต้น การประดิษฐ์ลวดลายต้องอาศัยจินตนาการในการพับกระดาษ และวิธีการใน การตัด ซึ่งลวดลายที่ตัดออกมาเป็นดอกแล้ว สามารถน�ำไปใช้ในการประดับตุง โคมไฟ และสิ่งของอื่นๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม การตัดดอกตอกลาย สามารถใช้ได้ทุกโอกาส ทุกเทศกาล ทั้งงานมงคล และงานอวมงคล โดยส่วนมากคนที่ตัดดอกตอกลายมักจะเป็นผู้หญิง เนื่องจากเป็นงานที่เบา และต้อง อาศัยความละเอียดประณีต พระมหาธนพล ธมฺพโล วัดแสงดาว ได้กล่าว ถึงการตัดดอกตอกลายพื้นเมืองน่านไว้ว่า ในสมัย ก่อนครั้งมีเทศกาลงานวัด หรืองานมงคลต่างๆ จะ มีการรวมตัวของผู้คนในชุมชนมาช่วยกันลงแรง ระดมความคิดในการจัดงาน แบ่งงานกันท�ำ และ ช่วยกันตัดดอกตอกลาย เพื่อน�ำไปประดับตุง โคม ไฟ หรือเสลี่ยงกฐิน เป็นต้น การตัดดอกจะสวยหรือ ไม่นั้น ขึ้นอยู่กับฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ของผู้ ตัด หากว่าผูใ้ ดตัดดอกตอกลายสวย ก็จะใช้ลวดลาย ดอกแบบนั้นเป็นมาตรฐานในการตัดดอกอื่นๆ เพื่อ ให้ลวดลายทีต่ กแต่งมีลกั ษณะเหมือน และสอดคล้อง กัน การตัดดอกที่ท�ำด้วยตนเองจะเกิดความภาค ภูมิใจ มากกว่าการใช้เครื่องพิมพ์ออกมา โดยจะให้ ความรู้สึกชดช้อยอ่อนหวานที่แตกต่างกัน และการ ตัดดอกตอกลายเมื่อเสร็จจากการใช้งานหนึ่งแล้วก็ สามารถเก็บไว้ใช้ในงานต่อไปได้ การตัดดอกมักจะ พบเห็นได้ทั่วไปก่อนวันงานเทศกาลตามวัดต่างๆ

ชาวบ้านช่วยกันน�ำกระดาษที่ตัดเป็นลวดลายแล้ว ติดเข้ากับโคมเพื่อใช้ในการประดับประดาบ้านเรือน

เพราะชุมชนในหมู่บ้านจะมารวมตัวกันที่วัดเพื่อ เตรียมงานเทศกาล ซึ่งนอกจากงานบุญ งานมงคล แล้ว การตัดดอกลวดลายยังใช้ได้ในงานอวมงคลอีก ด้วย เช่น ในงานศพจะมีการใช้ตงุ ผืนใหญ่ทมี่ กี ารตัด ดอกประดับ เพือ่ เดินน�ำขบวนแห่ศพไปยังป่าช้า คน ถือตุงจะอยู่หน้าสุด โดยมีความเชื่อว่า ตุงนี้จะได้น�ำ วิญญาณผู้ตายไปสู่สรวงสวรรค์ การท�ำโคมหรือตุงเมืองน่านทีม่ กี ารตัดดอกตอก ลายประดับนั้นสันนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพลมาจาก จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยจังหวัดเชียงใหม่มีการท�ำตุง และโคมอย่างแพร่หลายสืบต่อกันมาแต่ช้านาน ใน อดีตเมืองน่านมีคนตัดดอกตอกลายกันค่อนข้างมาก แต่ปัจจุบันมีความนิยมลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ตามยุค สมัยทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปและมีความเร่งรีบในการด�ำเนิน ชีวติ มากขึน้ เพราะการตัดดอกมีขนั้ ตอนการท�ำทีย่ งุ่ ยาก เป็นงานที่ค่อนข้างละเอียด และใช้เวลาในการ ท�ำนาน ตัวอย่างเช่น โคมไฟ 1 อัน ใช้เวลาในการ

ลวดลายจากการตัดและตอก เอามาตกแต่งตุง ที่ใช้ในพิธีต่างๆ

ประดิษฐ์ประมาณ 1-2 อาทิตย์ อย่างไรก็ตาม ใน เมืองน่านยังพอมีการตัดดอกตอกลายกันอย่างจริงจัง ในชุมชนให้เห็นอยู่บ้าง เช่น ที่ชุมชนพระเกิด ซึ่งใน ปัจจุบันก็มีการพัฒนาลวดลายมากขึ้นเรื่อยๆ ตาม ความชอบพึงพอใจ และความคิดสร้างสรรค์ทาง ศิลปะของผูป้ ระดิษฐ์ ท�ำให้เกิดลวดลายทีห่ ลากหลาย มากขึ้น เช่น ทรงกรวย ทรงปราสาท รูปปลาหมึก เป็นต้น บางพื้นที่เริ่มมีการใช้เครื่องมือเป็นตัวช่วย ในการประดิษฐ์ เช่น แม่พิมพ์ บล็อก ตอกลาย ซึ่ง ลายดอกเมือ่ ท�ำออกมาแล้ว จะท�ำให้มลี กั ษณะทีเ่ ท่า กันตลอด ลายดอกมีความชัดเจน และสามารถท�ำ ออกมาได้ในปริมาณที่มากกว่าการตัดลายด้วยมือ ในเวลาที่เท่าๆ กัน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ ประดิษฐ์ แต่ก็ต้องแลกกับคุณค่าทางวิจิตรศิลป์ ที่ แฝงไว้ซึ่งอารมณ์ และจิตวิญญาณ ของผู้ประดิษฐ์ ที่อาจมีน้อยลง

การตัดกระดาษเป็นรูปเทวดา ใช้ในการตกแต่งตุงเท่านั้น

Long Nan Booklet | 06


4

B-5

ต�ำแหน่งในแผนที่

วัดศรีพันต้น

ท่องเที่ยวที่เดินทางโดยทางรถยนต์ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ก่อนเข้าสู่เมืองน่านคงจะเคยสังเกตเห็นวิหารสีทอง ที่ตั้งอยู่บริเวณหัวมุม ถนนด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของสี่แยกถนนเจ้าฟ้าตัดกับถนนสุริยพงษ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดศรีพันต้น อันเป็นวัดที่เปรียบเสมือนจุดหมายตาของการเข้า สู่เมืองน่าน ข้อมูลของส�ำนักวัฒนธรรมจังหวัดน่านได้กล่าวถึงวัดศรีพันต้นว่า สร้างขึ้นในสมัยของพญาพันต้น ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครน่านแห่งราชวงศ์ภูคา (พ.ศ. 1960 - 1969) ชื่อวัดมาจากนามของผู้สร้างคือ พญาพันต้น บางสมัยเรียกว่า วัดสลีพันต้น ซึ่งในอดีตมีต้นสลี (ต้นโพธิ์) ต้นใหญ่อยู่ทางทิศเหนือ และทิศใต้ของวัด แต่ปัจจุบันถูกโค่นลงเพื่อตัดถนนไปแล้ว คุณศรีตาล ต้นบ�ำเพ็ญ อดีตหัวหน้าบ้านศรีพันต้น ซึ่งเป็นผู้ทรงภูมิปัญญาเกี่ยวกับวัดศรีพัน ต้น ได้เล่าถึงความเป็นมาของการบูรณปฏิสังขรณ์วิหารวัดศรีพันต้นว่า ในสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชขึ้นครองเมืองน่านในปี พ.ศ. 2395 ปรากฎหลักฐานที่ เหลืออยู่ว่า เจ้าอนันตวรฤทธิเดชได้สร้างวิหารวัดแห่งหนึ่งขึ้นในสมัยนั้น ซึ่งแต่เดิมเป็นวิหารไม้ พอกาลเวลาผ่านไปเกิดความช�ำรุดทรุดโทรมลงไปมาก จึง ได้รับการสร้างขึ้นใหม่เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน อิฐที่น�ำมาสร้างพระวิหารในตอนนั้นมีลักษณะเป็นปูนขาวผสมกับน�้ำเมือก อันแตกต่างจากอิฐในปัจจุบัน ซึ่ง เรายังคงสามารถสังเกตเห็นอิฐโบราณนี้ได้ในบริเวณก�ำแพงวัดด้านทิศตะวันออก โดยผู้คนในชุมชน เรียกว่า “ก�ำแพงปล่องไข่” แต่เดิมวัดนี้มีชื่อเรียกว่า “วัดพันต้น” ครั้นเมื่อเจ้าเมืองได้เกณฑ์ให้ข้าราชการ และขุนนางทั้งหลายช่วยกันปลูกต้นสลี (ต้นโพธิ์) จ�ำนวนถึงพันต้น จึงเรียกวัดนี้ว่า “วัดสลีพันต้น” ต่อมาชื่อวัดก็ได้เพี้ยนไปเป็น “วัดศรีพันต้น” ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ชื่อ “วัดศรีพันต้น” นี้ ก็ถูกเรียกขานมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเป็นปีกาญจนาภิเษก ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช รัชกาลที่ 9 ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วิหาร วัดศรีพันต้นครั้งใหญ่ขึ้น และชุมชนได้ส่งหนังสือถึง ส�ำนักพระราชวัง เพือ่ ขออนุญาตใช้ตรากาญจนาภิเษก ประดิษฐานไว้บนหลังคาพระวิหาร ท�ำให้วหิ ารมีชอื่ ว่า “วิหารกาญจนาภิเษก” และได้ทำ� การบูรณะแล้ว เสร็จในปี พ.ศ. 2547 โดยตัววิหารได้รบั การทาสีเป็น สีทองอร่ามทัง้ หลัง มีพระพุทธรูปประธาน ทีม่ ชี อื่ ว่า “พระพุทธสลี” ซึง่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชยั ใน แบบศิลปะสุโขทัยประดิษฐานอยู่ภายใน ผนังวิหาร เป็นจิตรกรรมบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของ 07 | จุลสารล่องน่าน

เมืองน่าน รามเกียรติ์ วิถีชีวิต และภูมิปัญญาชาว บ้านในแต่ละพืน้ ทีข่ องเมืองน่าน บานประตูหน้าต่าง เป็นไม้แกะสลักตามจินตนาการของสล่า นอกจากนี้ ภายในวัดยังมีพระสังกัจจายน์ ทีเ่ ชือ่ ว่าพญาพันต้น เป็นผูส้ ร้างขึน้ หลังจากสร้างพระวิหารแล้วเสร็จ โดย มีความเชือ่ เกีย่ วกับพระสังกัจจายน์วา่ ครัง้ ทีท่ า่ นยัง เป็นพระอรหันต์นั้น เป็นบุคคลที่มีรูปลักษณ์งดงาม ผิวพรรณผุดผ่อง มีสง่าราศีเลิศบุรษุ ถึงขนาดทีว่ า่ ใคร พบเห็นเป็นต้องหลงใหลในรูปกายภายนอกของท่าน ท�ำให้เกิดเป็นปัญหาขึ้น ท่านจึงท�ำสมาธิเบ่งลมเข้า ท้องให้ทอ้ งป่องออกมา ให้รปู ร่างของท่านเหมือนคน อ้วนลงพุง หาความงามในสรีระไม่ได้ เพือ่ ไม่ให้มใี คร

มาหลงใหลในตัวท่านอีก และมีความเชื่ออีกว่าพระ สังกัจจายน์เป็นบุคคลที่มีสติปัญญาดีเลิศ สามารถ ตอบและแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ท�ำให้ผู้คนเลื่อมใส ศรัทธาในตัวท่านและเข้ามากราบไว้สักการะขอพร ท่านเพื่อให้ตนได้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเช่นเดียว กับท่าน โดยวัดศรีพนั ต้นได้จดั ให้มงี านสักการะพระ สังกัจจายน์ขึ้นทุกปี ในวัน 5 เป็ง ขึ้น 15 ค�่ำ เดือน 3 คือ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และขึ้น 15 ค�่ำ เดือน 5 ซึง่ ตรงกับวันมาฆบูชา โดยตามประเพณีจะมีการสัก การะด้วยดอกไม้ ธูปเทียน การปิดทอง การขอขมา ด้วยน�้ำส้มป่อย ในอดีตประชาชนทั่วไปจะสามารถ สักการะพระสังกัจจายน์ได้ตอ่ เมือ่ มีเทศกาลเท่านัน้


เนือ่ งจากพระสังกัจจายน์ถอื เป็นสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ทีม่ ขี อง ล�ำ้ ค่าฝังอยูด่ า้ นใน แต่ปจั จุบนั ด้วยความเจริญก้าวหน้า ของเทคโนโลยี ได้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด เพื่อ รักษาความปลอดภัยตลอดเวลา จึงสามารถเปิดให้ บุคคลทัว่ ไปได้สกั การะนอกเหนือจากช่วงเทศกาลได้ นอกจากตัวพระวิหาร และพุทธประติมากรรม แล้ว สิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ “เรือพญาฆึ” โดยที่ มาของชื่อเรือมาจากผู้คนที่มาพบเห็นเรือล�ำนี้ต่าง เกิดความประหลาดใจ ในรูปร่าง ทรวดทรงของเรือ ที่มีลักษณะใหญ่โต สวยงาม เป็นสง่าเป็นอย่างมาก ซึ่งภาษาทางเหนือเรียกว่า “ฆึ”ทั้งยังมีหัวเรือรูป พญานาคที่มีลวดลายต่างจากที่อื่น จึงเรียกชื่อรวม กันว่า “เรือพญาฆึ” ตั้งแต่นั้นมา เรือพญาฆึลำ� นี้ สร้างขึน้ ในปีพ.ศ. 2545 ส่วนเรือ เกียรติประวัตสิ ร้างขึน้ ในปี พ.ศ. 2546 โดย สล่ารงค์ หรือคุณอนุรักษ์ สมศักดิ์ ชาวชุมชนศรีพันต้น เป็น ผู้สร้างเรือล�ำนี้ขึ้น แต่เดิมสล่ารงค์มีความถนัดและ เชีย่ วชาญในงานปัน้ ต่างๆ โดยเฉพาะงานปัน้ ทีเ่ กีย่ ว กับวัด ในเรื่องของงานสร้างเรือนี้ สล่ารงค์ มีความ รักในศิลปะของเรือมาตัง้ แต่เด็ก โดยเริม่ จากการวาด ภาพเรือแข่งก่อน และได้ส่งรูปวาดเข้าประกวดอยู่ หลายครั้ง ได้รางวัลบ้าง ไม่ได้บ้าง และวันหนึ่งก็มี ความคิดฝันว่า สักวันรูปเรือแข่งที่ตนเคยวาดไว้นั้น จะต้องได้รับการสร้างขึ้นมาและน�ำไปแข่งจริง จึง กลายเป็นแรงผลักดันให้ตนมีความมุมานะในการ สร้างเรือของชุมชนเมื่อเติบโตขึ้น ผู้ที่สร้างเรือพญาฆึนั้น มีอยู่ด้วยกัน 5 คนด้วย กันได้แก่ ช่างรงค์ บ้านศรีพันต้น ช่างทองใบ บ้าน น�้ำปั้ว ช่างด�ำ อ�ำเภอท่าวังผา ช่างมาด บ้านปง และ ช่างบุญเทียม อ�ำเภอทุ่งช้าง โดยทั้ง 5 คนนี้เป็นผู้ ร่วมสร้างเรือพญาฆึด้วยกัน ไม้ที่น�ำมาสร้างนั้นเป็น ไม้ตะเคียนที่อยู่ในป่าสุสาน บ้านดอนเฟือง ซึ่งเป็น

สล่ารงค์ บ้านศรีพันต้น และเรือพญาฆึ

ไม้ทลี่ ม้ ลงใกล้กบั เมรุเผาศพ จึงไม่มใี ครกล้าน�ำไปใช้ ประโยชน์ เพราะด้วยเป็นไม้ใหญ่ทอี่ ยูใ่ นป่าสุสาน ซึง่ ก่อนที่จะน�ำไม้นี้มาสร้างเรือ ต้องมีการท�ำพิธีกรรม ทางศาสนาก่อน เรือพญาฆึ เป็นเรือขุดที่ใช้ไม้ 2 ท่อนมาต่อกัน จากไม้ต้นเดียว ตัวเรือจะมีลักษณะหางทรงกาบ หมากไม้ มี 3 ช่วงคือ ช่วงต้นจะมีลักษณะโค้งงอ เรียว ตรงกลางเป็นลักษณะท้องปลิงป่อง และช่วง ปลายจะมีลักษณะเรียวยาว ตัวเรือคล้ายคลึงกับ เรือของชุมพร ทางภาคใต้ ส่วนกระดูกงู หรือที่นั่ง เรือ เป็นชิ้นส่วนไม้ที่น�ำมาประกอบเองจากไม้ต้น อื่น ส่วนรูปลักษณะและลวดลายของเรือพญาฆึ ตามรูปที่ออกแบบไว้นั้น จะมีลักษณะที่แตกต่างไป จากเรือแข่งน่านทั่วไปคือ สล่าสร้างเรือได้พยายาม น�ำเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนามาประดับตกแต่ง เรือให้มากที่สุด โดยหัวเรือเป็นหัวพญานาคที่มีลิ้น ยาว มีลักษณะของหงอน มงกุฎ เขี้ยว ตา จมูก ใบหู ครีบปลา แตกต่างจากเรือของชุมชนอื่นอย่าง เห็นได้ชัด หลายคนที่พบเห็นเรือล�ำนี้ก็จะกล่าวใน ท�ำนองเดียวกันว่าเป็นเรือทีแ่ ปลกสะดุดตา ลวดลาย ของเรือพญาฆึจะมีดอกประจ�ำยามหลายดอกเรียงกัน อย่างสวยงาม ผสมกับลายเครือเถา ลายกนกแบบ ล้านนาที่มีความอ่อนช้อย ซึ่งปกติเรือล�ำอื่นจะมีด อกประจ�ำยามเพียงแค่ดอกเดียวเท่านั้น การซ่อมเรือพญาฆึนนั้ ส่วนใหญ่ตวั เรือจะช�ำรุด ผุพังง่ายที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ถูกใช้งานมากที่สุด ในขณะที่ทั้งหัวและหางเรือสามารถถอดเก็บไว้ใน ทีเ่ หมาะสมบริเวณอืน่ ได้ โดยหัวเรือและหางเรือนัน้ จะต้องท�ำการประกอบพิธกี รรมก่อนทีจ่ ะน�ำลงแข่ง ด้วยเชือ่ ว่าทัง้ สองส่วนนัน้ มีความศักดิส์ ทิ ธิ์ เป็นของ มีครู และการท�ำพิธีดังกล่าวถือเป็นศิริมงคล ก่อน การน�ำเรือไปลงแข่งอีกด้วย

เดิมชือ่ ของเรือพญาฆึ ทีไ่ ด้นำ� ไปลงแข่งในสนาม เป็นครัง้ แรกคือ “เรือเลิศเกียรติศกั ดิ”์ ซึง่ มีความหมาย ว่า มีเกียรติ มีศกั ดิศ์ รี สุดยอด ไม่มใี ครเทียบเท่า เรือ พญาฆึสามารถบรรจุฝพี ายได้ทงั้ หมด 71 คน มักน�ำไป แข่งขันประเภทเรือสวยงามมากกว่าทีจ่ ะน�ำไปลงแข่ง แบบชิงถ้วยรางวัล เพราะเรือพญาฆึเป็นเรือทีม่ ขี นาด ใหญ่และมีน�้ำหนักมาก ย่อมแล่นได้ช้ากว่าเรือที่ล�ำ เล็กกว่า และเรือพญาฆึเองถูกออกแบบมาเพื่อให้ คนรุน่ ปัจจุบนั ได้เห็นเรือแข่ง ทีย่ งั คงยึดรูปแบบการ สร้างเรือทีเ่ หมือนกับเรือในอดีตมากทีส่ ดุ เพือ่ สืบสาน ประเพณี วัฒนธรรม รูปลักษณะของเรือในอดีตเอา ไว้ให้คนในปัจจุบันและอนาคตได้เห็น ซึ่งเรือพญาฆึ จะถูกน�ำออกมาจัดแสดงในตอนพิธเี ปิด-ปิดงานแข่ง เรือประเพณีเมืองน่าน และผู้คนที่มาเที่ยวเยี่ยมชม งานแข่งเรือเมืองน่านส่วนใหญ่ต่างก็รู้จักชื่อเสียง ของเรือพญาฆึดี จึงมักได้รับความสนใจอย่างกว้าง ขวาง ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสอันดีส�ำหรับผู้ที่มาเยือน เมืองน่านในช่วงเวลาดังกล่าว เพราะเรือพญาฆึเป็น เรือโบราณขนาดใหญ่ทหี่ าชมได้อยากมากขึน้ ทุกวัน ด้วยการสร้างเรือตามแบบโบราณนัน้ จะหาเนือ้ ไม้ที่ เหมาะสมส�ำหรับการสร้างเรือได้ยากขึ้นเรื่อยๆ อีก ทั้งคนรุ่นใหม่ก็ไม่ค่อยให้ความสนใจในศิลปะการ สร้างเรือ ท�ำให้หาผู้สืบทอดได้ยาก ปัจจุบันหากใครได้มาเยี่ยมชมความงามของ วิหารกาญจนาภิเษกภายในวัดศรีพนั ต้นแล้ว ก็จะไม่ พลาดทีจ่ ะแวะชืน่ ชมความใหญ่โตของเรือพญาฆึไป ในขณะเดียวกัน ซึง่ ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมคู่ ชุมชนและวัดศรีพนั ต้นมาแต่โบราณ จนเป็นทีร่ จู้ กั กัน อย่างกว้างขวางทัง้ ภายในและภายนอกจังหวัดน่าน

พญานาคบริเวณบันไดทางขึ้นวัดศรีพันต้น

พระสังกัจจายน์ วัดศรีพันต้น ชาวบ้านนิยมมาขอพร เพื่อให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด

Long Nan Booklet | 08


เรือนรับรองที่ถูกปรับใช้พื้นที่เป็นห้องสมุด มีหนังสือ จัดวางแยกประเภทอย่างเป็นระเบียบ

5

B-5

ต�ำแหน่งในแผนที่

คุณชโลมใจ ชยพันธนาการ

ชานระเบียงชั้นบนส�ำหรับนั่งอ่านหนังสือ ในบรรยากาศสบายๆ เหมือนพักผ่อนอยู่ที่บ้าน

09 | จุลสารล่องน่าน

ในชุมชนมณเฑียร บริเวณพื้นที่บ้านของคุณยายไหล่ จันทรบุปผา กับลูกสาว คุณชโลมใจ ชยพันธนาการนั้น มีเรือนไม้ดั้งเดิมตั้งอยู่ 2 หลังด้วยกันคือ เรือนที่ใช้เป็นที่พักอาศัย และเกสต์โฮม กับเรือนที่ใช้เป็นห้องสมุดบ้านๆ น่านๆ ซึ่งเรือนทั้งสองหลังนี้มีอายุพอกันคือ ประมาณ 40 ปีมาแล้ว โดยครอบครัวของคุณยายไหล่ตั้งรกรากอยู่ที่นี่มานาน ด้วยพ่อแม่ของคุณ ยายไหล่แบ่งมรดกให้ลกู ทัง้ 4 คน เป็นทีด่ นิ ผืนใหญ่ทถี่ กู แบ่งเป็นสีแ่ ปลงย่อยติดกัน เมือ่ ประมาณปี พ.ศ. 2511 คุณยายไหล่ได้แต่งงานกับสามีที่เป็นต�ำรวจตระเวนชายแดน และช่วยกันท�ำงาน เก็บเงินซื้อไม้อยู่หลายปีจนเพียงพอในการสร้างบ้านหลังนี้ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2516 ครั้นต่อมาเมื่อ คุณยายไหล่ได้แยกทางกับสามี บ้านหลังนี้ก็ได้ถูกต่อเติมใต้ถุนให้เป็นห้องนั่งเล่นและห้องนอน ปรับพืน้ ทีช่ นั้ บนให้เป็นส่วนของเกสต์โฮม เพือ่ เสริมสร้างรายได้ให้กบั ครอบครัวนอกเหนือจากการ ท�ำขนมที่เป็นอาชีพหลักของคุณยายไหล่อยู่แล้ว ในปี พ.ศ. 2549 ได้เกิดน�ำ้ ท่วมใหญ่ ซึง่ รุนแรง ทีส่ ุดเท่าทีเ่ คยมีมา น�ำ้ ได้ท่วมขึน้ มาประมาณ 1.2 เมตร จนถึงบันไดขึน้ เรือนขัน้ ที่ 5 คุณยายไหล่กบั คุณชโลมใจจึงตัดสินใจยกบ้านให้สูงขึ้นอีก และ ปรับปรุงบริเวณใต้ถุนบ้านให้เป็นห้องนอน และ ห้องนัง่ เล่นทีเ่ ป็นสัดส่วนมากกว่าเดิม โดยมีเพือ่ น คุณชโลมใจทีเ่ ป็นสถาปนิกมาช่วยออกแบบให้ จน กลายเป็นบ้านพักอาศัยกึ่งเกสต์โฮมดังที่เห็นใน ปัจจุบันคือ เป็นบ้านไม้สองชั้น โดยชั้นล่างเป็น ที่อยู่อาศัยของเจ้าของบ้าน ชั้นบนเป็นส่วนของ

แขกผู้มาเข้าพักที่เกสต์โฮม โดยมีห้องอยู่ทั้งหมด 4 ห้อง เป็นห้องเดี่ยวส�ำหรับ 1 คน 1 ห้อง และ ส�ำหรับ 1-2 คน 2 ห้อง และห้องพักส�ำหรับ 3 คน 1 ห้อง แต่ละห้องสามารถเสริมทีน่ อนได้ โดยราคา จะแตกต่างกันไปตามขนาดห้องพัก และจ�ำนวน คนที่เข้าพัก ผู้ที่มาพักสามารถใช้พื้นที่ห้องสมุด บ้านๆ น่านๆ และพื้นที่ในบริเวณได้เสมือนเป็น บ้านของตนเอง ห้องสมุดบ้านๆ น่านๆ ตัง้ อยูใ่ นบริเวณพืน้ ที่ เดียวกันไม่ใกล้ไม่ไกลจากเรือนทีใ่ ช้เป็นทีพ่ กั อาศัย


(บน) ด้านหน้าทางเข้าห้องสมุดบ้านๆ น่านๆ มองเห็นเรือนรับรอง และร่มไม้ที่ปกคลุมเรือนไว้อย่างหนาแน่น (ล่าง) เรือนไม้ส�ำหรับพักอาศัย ปรับพื้นที่ชั้นบนใช้เป็นเกสต์โฮม รองรับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเมืองน่าน

บันไดทางขึ้น ห้องพักให้เช่า

รูปด้านหน้าเกสต์โฮม

ทางเข้าห้องพักผ่อนส่วนตัว

ห้องน�ำ้

2.80

ครัว

ห้องน�ำ้ ห้องนอน

2.90

3.00

ห้องนอน

ห้องนอน

โถง

ระเบียง

2.40

ชานแดด

ห้องนอน

ระเบียง

โถง

1.00

เกสต์โฮมชั้นบน

โดยมีพื้นที่สวนเล็กๆ เชื่อมเรือนทั้งสองเข้าด้วยกัน ลักษณะของห้องสมุดเป็นเรือนไม้หลังเล็กๆ ที่ให้ บรรยากาศเสมือนบ้านที่เต็มไปด้วยหนังสือ พื้นที่ ภายในมีมุมนั่งอ่านหนังสือสบายๆ หลากหลายรูป แบบ โดยคุณชโลมใจ ได้ซื้อบ้านหลังนี้ต่อจากญาติ เมื่อปี พ.ศ. 2551 และได้ท�ำการรื้อเสาใหม่ ซึ่งจาก เดิมเป็นเสาไม้ ก็เปลี่ยนเป็นเสาปูนเพื่อกันปลวก ใต้ถนุ ปูซเี มนต์ เพือ่ ใช้เป็นพืน้ ทีอ่ า่ นหนังสือทีส่ ะดวก ยิ่งขึ้น ชั้นบนรื้อผนังบางส่วนออก เพือ่ ให้มพี ื้นทีโ่ ล่ง กว้าง โปร่งสบาย และเพิม่ ชายคาออกมาเพื่อกันฝน สาดเข้าไปในห้องสมุด ใส่รางน�้ำฝนเพื่อกันไม่ให้ฝน ตกลงพืน้ กระเด็นโดนบริเวณทีอ่ า่ นหนังสือชัน้ ล่าง รวม ถึงการออกแบบตกแต่งสวนในบริเวณรอบห้องสมุด เพือ่ สร้างความร่มรืน่ และบรรยากาศทีผ่ อ่ นคลายให้ กับผู้ทมี่ าใช้บริการ ชัน้ ล่างของห้องสมุดมีทเี่ ลือกให้ นั่งอ่านหลากหลาย ทั้งแบบโต๊ะ 2-6 ที่นั่ง ที่นั่งแบบ ม้านั่งยาว ที่นั่งเดี่ยวแบบเคาน์เตอร์บาร์ หรือม้านั่ง หินในสวน มีมมุ กาแฟ เครือ่ งดืม่ และอาหาร เปิดให้ บริการ แต่ต้องช่วยกันรักษาความสะอาดและไม่ส่ง เสียงดังรบกวนผูอ้ นื่ ชัน้ บนเป็นโถงกว้างให้บรรยากาศ

3.30

เหมือนอยู่บ้าน มีที่นั่งชานระเบียง เก้าอี้โยก เปล หวายให้นอนอ่านหนังสือเล่น หรือจะนั่งอ่านกับ พื้นก็สามารถท�ำได้ ห้องหนังสือใหญ่จะอยู่ที่ชั้นบน นี้ โดยมีการแยกเป็นหมวดต่างๆ ตามประเภทของ หนังสืออย่างเป็นระเบียบ โดยหนังสือส่วนใหญ่เหล่า นีเ้ ป็นหนังสือทีไ่ ด้รบั บริจาคมาจากหน่วยงานต่างๆที่ รูข้ า่ วการสร้างห้องสมุด รวมทัง้ ได้รบั บริจาคมาจาก เพื่อนนักเขียน ส�ำนักพิมพ์ และแขกที่มาเกสต์โฮม ห้องสมุดบ้านๆ น่านๆ เปิดให้บริการทุกวัน ตัง้ แต่ เวลา 8.00 น.-18.00 น. โดยเด็กนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทัว่ ไปทีร่ กั การอ่านสามารถเข้ามาใช้หอ้ ง สมุดได้โดยไม่เสียค่าใช้จา่ ย มีแต่คา่ สมาชิกเพือ่ ใช้ใน กรณีต้องการยืมหนังสือเพียง 50 บาทต่อปี ส�ำหรับ ผูใ้ หญ่ และฟรีสำ� หรับเด็ก โดยสามารถยืมหนังสือได้ 3 เล่มต่อครัง้ ซึง่ การเปิดบริการห้องสมุดในลักษณะ นี้ อาจมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการที่สงู กว่าราย ได้จากค่าสมาชิก แต่คณ ุ ชโลมใจซึง่ เป็นเจ้าของ และ ผู้คิดริเริ่มสร้างห้องสมุดบ้านๆ น่านๆ อธิบายว่า ท�ำ ห้องสมุดนี้ขึ้นมาเพราะใจรัก เนื่องจากตนเองรัก การอ่านและเขียนหนังสือมาแต่เด็ก ทั้งด้วยการที่

3.40

2.80

2.80

2.40

0.50

ตนเองเป็นครู จึงอยากปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและ การเขียนหนังสือให้กับลูกศิษย์ โดยให้นักเรียนท�ำ กิจกรรมเกี่ยวกับการเขียน และการท�ำหนังสือเช่น จัดค่ายฝึกเขียน จัดท�ำหนังสือให้เด็กๆ เป็นคนเขียน คนวาด แล้วก็ขายกันในโรงเรียนหรือตามถนนคน เดิน ฝากขายตามร้านกาแฟ หรือกระทั่งฝากส�ำนัก พิมพ์ที่ตีพิมพ์น�ำไปขายที่งานสัปดาห์หนังสือแห่ง ชาติในกรุงเทพฯ ชีวิตของคุณชโลมใจคลุกคลีอยู่ กับหนังสือมาโดยตลอด ท�ำให้เมื่อมีบ้านที่มีพื้นที่ ใช้สอยมากพอ จึงคิดดัดแปลงบ้านให้เป็นห้องสมุด แบบบ้านๆ ขึน้ มาในรูปแบบทีไ่ ม่เหมือนใคร คือเป็น ห้องสมุดที่ผ่อนคลาย สบายๆ กินขนมได้ ฟังเพลง ได้ แบบเราชอบอ่านหนังสือในบรรยากาศแบบ ใดที่บ้าน เราก็สามารถท�ำได้ที่ห้องสมุดแห่งนี้ “ก็ เป็นห้องสมุดแบบบ้านๆ น่ะค่ะ” คุณชโลมใจบอก ถึง แนวคิดง่ายๆ ในการสร้างห้องสมุดขึ้นมา และ ยึดเป็นแนวคิดในการท�ำห้องสมุดและเกสต์โฮมว่า “ดอกไม้ หนังสือ ทีพ่ กั จักรยาน อาหาร และกาแฟ” โดยเน้นอยูก่ บั ธรรมชาติ ในบรรยากาศบ้านพืน้ ถิน่ ที่ เรียบง่ายไม่หวือหวา Long Nan Booklet | 10


6

B-5

ต�ำแหน่งในแผนที่

เจ้าเทพมาลา ตั้งอยู่บนถนนมหาพรหม ด้านทิศตะวันตกของหอค�ำ เป็นเรือนที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 มีอายุเรือนกว่าร้อยปีมาแล้ว คุ้มหลังนี้แต่เดิมเป็นของเจ้านางเทพมาลา ธิดาคนแรกของเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กับแม่เจ้ายอดหล้า ซึ่งท่านเป็นหญิงชาวไทลื้อ เชียงค�ำ โดยในสมัยนั้น ถือว่า เชียงค�ำ เชียงของ และปง อยู่ในเขตของน่าน แต่ปัจจุบันถูกแบ่งให้อยู่ในเขตของเชียงราย และพะเยา ซึ่งจากค�ำบอกเล่าของเจ้าสมปรารถนา ณ น่าน ว่าญาติพี่น้องของเจ้าเทพมาลา และเจ้าเทพเกสรที่อยู่เชียงรายก็ยังคงมีการติดต่อไปมาหาสู่กันไม่ขาด ปีทสี่ ร้างคุม้ เจ้าเทพมาลานัน้ ไม่ปรากฏหลักฐาน แน่ชัดว่าสร้างขึ้นในเมื่อใด แต่จากค�ำบอกเล่าของ เจ้าสมปรารถนา ที่ได้กรุณาเล่าถึงความเป็นมาใน อดีตของพืน้ ทีบ่ ริเวณนีว้ า่ ครัง้ เมือ่ เจ้าสุรยิ พงษ์ฯ ได้ ท�ำการรือ้ คุม้ แก้วหอค�ำ ทีเ่ ป็นเรือนไม้ตดิ กันเจ็ดหลัง ของเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผูค้ รองน่านองค์กอ่ น ผู้ เป็นพระราชบิดาลง เนื่องจากในปีพ.ศ. 2446 เจ้า สุริยพงษ์ฯ ทรงได้รับการโปรดเกล้าฯ จากพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ให้ สถาปนาเลื่อนพระฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น “พระเจ้า นครน่าน” ซึ่งถือได้ว่า ทรงมีศักดิ์สูงกว่าเจ้าผู้ครอง นครน่านทุกพระองค์ พระเจ้าสุรยิ พงษ์ฯ จึงได้สร้าง หอค�ำขึ้นมาใหม่ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบสมัย ใหม่หลังเดีย่ วขึน้ แทนคุม้ แก้วหอค�ำเดิม เพือ่ เป็นการ เฉลิมพระยศว่า พระองค์ทรงเป็น “พระเจ้า” องค์ แรกและองค์เดียวในประวัตศิ าสตร์นา่ น ส่วนไม้ของ คุม้ แก้วหอค�ำทัง้ เจ็ดหลังทีถ่ กู รือ้ ออกไปนัน้ ถูกน�ำไป สร้างเรือนให้กบั เจ้าเทพมาลา เจ้าเทพเกสร และวัด พระธาตุเขาน้อย ด้วยเหตุนี้ จึงพอสันนิษฐานได้ว่า คุม้ เจ้าเทพมาลา และคุม้ เจ้าเทพเกสร น่าจะถูกสร้าง ขึ้นในราวปี พ.ศ. 2446 หรือหลังจากนั้นไม่นาน ซึ่ง ในปัจจุบนั เรือนของเจ้าเทพเกสรถูกรือ้ ไปหมดแล้ว จึงเหลือเพียงแต่เรือนของเจ้าเทพมาลาทีย่ งั คงรักษา เอาไว้ได้จนถึงปัจจุบันนี้ คุ้มเจ้าเทพมาลาได้ถูกขายให้กับ เจ้าบุญศรี เมืองชัย ซึ่งเป็นน้องชายของ เจ้าบุญโสม ณ น่าน ผู้ เป็นชายาของเจ้าราชบุตร(หมอกฟ้า ณ น่าน) และ ปัจจุบัน คุ้มนี้ได้ตกทอดสู่ทายาทรุ่นปัจจุบัน โดยมี คุณตาสัมพันธ์ เมืองชัย ซึง่ เป็นบุตรคนที่ 11 ของเจ้า บุญศรี เป็นผู้ดูแลรักษา โดยเจ้าบุญศรี ได้แต่งงาน 11 | จุลสารล่องน่าน

กับเจ้าบัวค�ำ มีบุตรธิดารวม 12 คน ซึ่งทุกคนเกิด และเติบโตที่คุ้มแห่งนี้ แต่ปัจจุบันก็ได้แยกย้ายกัน ไปท�ำงานในต่างจังหวัดกันหมด เหลือแต่คุณตา สัมพันธ์ที่เกษียณอายุราชการจากกรมป่าไม้ และ กลับมาดูแลคุ้มหลังนี้เพียงล�ำพัง คุ้มเจ้าเทพมาลาเป็นอาคารยกใต้ถุนสูงที่สร้าง ขึ้นจากไม้สักทั้งหลัง และมีการจัดวางผังอาคาร แบบสมมาตร มีบันไดขึ้นสู่เรือนตรงกลาง โดยมีมุข หลังคาจัว่ คลุมบันไดทางขึน้ ทีน่ ำ� ไปสูห่ อ้ งโถงกลางของ เรือน ซึง่ ปัจจุบนั ถูกใช้เป็นห้องนัง่ เล่นและรับแขก ที่ ขนาบด้วยห้องผังหกเหลีย่ มทัง้ ฝัง่ ซ้ายและขวา ด้าน หลังห้องนัง่ เล่นเป็นห้องโถงย่อย ซึง่ เป็นทีว่ างเครือ่ ง เรือนโบราณติดอาคารขนาดใหญ่ ซึง่ มีอายุพอๆ กับ ตัวอาคาร ก่อนทีจ่ ะเปิดออกสูเ่ ติน๋ และชานด้านหลัง ซึ่งเชื่อมเรือนครัวและห้องต่างๆ กับเรือนพักอาศัย เข้าด้วยกัน ในอดีตชานเชือ่ มอาคารบริเวณนีเ้ ป็นไม้ ก่อนทีจ่ ะถูกเปลีย่ นเป็นชานคอนกรีตปูกระเบือ้ งดัง เช่นในปัจจุบนั หลังคาของคุม้ เจ้าเทพมาลา นอกจาก จะมีรูปทรงแปลกตากว่าอาคารอื่นๆ ในเขตเมือง น่านแล้ว ยังสามารถขึ้นไปใช้พื้นที่ใต้หลังคาได้อีก ด้วย โดยมีบันไดขึ้นถาวรจากห้องชั้นล่าง ทางฝั่ง ตะวันออกของอาคาร ด้านบนพื้นที่ห้องใต้หลังคา นอกจากใช้เป็นพื้นที่เก็บของแล้ว ยังมีทางเดินไป สู่ระเบียงยื่นเหนือมุขจั่วหลังคาคลุมบันไดทางขึ้น เรือนด้านหน้าอาคาร ซึง่ ในอดีตเจ้าเทพมาลามักขึน้ ไปชมทิวทัศน์เมืองน่านจากระเบียงนีอ้ ยูเ่ ป็นประจ�ำ บริเวณพื้นที่ด้านหน้าคุ้มสุดขอบที่ดินทางทิศ ตะวันตก ยังมีเรือนแถวไม้หนึง่ ชุด ทีเ่ จ้าบุญศรีสร้าง ขึน้ ให้เช่าเพือ่ เป็นรายได้เสริมของครอบครัว ปัจจุบนั เรือนหลังนีผ้ เู้ ช่าได้เปิดเป็นร้านขายอาหารในชัน้ ล่าง และใช้เป็นที่พักอาศัยในชั้นบน

คุ้มเจ้าเทพมาลาได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ สถาปัตยกรรมที่สมควรเผยแพร่ ประเภท บ้านพัก อาศัย (คุ้มเจ้า) ประจ�ำปี พ.ศ. 2555 จากสมาคม สถาปนิกสยาม อย่างไรก็ตาม คุ้มเจ้าเทพมาลา ปัจจุบันอยู่ในสภาพทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ซึ่ง สมควรได้รับการซ่อมแซมบูรณะอย่างเร่งด่วน เพื่อ รักษาเรือนโบราณหลังงามนีใ้ ห้คงอยู่คพู่ ื้นที่ใจเมือง น่านตราบนานเท่านาน

เครื่องเรือนโบราณติดอาคารขนาดใหญ่ ภายในคุ้ม

ห้องใต้หลังคา และประตูเปิดออกสู่ระเบียงเหนือมุขจั่ว


รูปด้านหน้าอาคาร

ผังพื้นอาคาร

ห้องน�้ำ

โถง

4.00

ครัว

2.00

4.00

4.00

เฮื อ นพอเพี ย ง คุณลุงเคี่ยน เมืองเล็น

ด้านหน้าบ้านมองเห็นตัวเรือนที่ยกสูงขึ้น และใต้ถุนที่ถูกปรับเป็นห้อง นอนส�ำหรับลูกหลาน และพื้นที่เลี้ยงจิ้งหรีด

บันไดหลังบ้าน

โถง

บันไดหลังบ้าน

บันไดหน้าบ้าน

ในชุมชนน�ำ้ ล้อม มีเรือนครึง่ ไม้ครึง่ ปูนทรวดทรง งดงามอยูห่ ลังหนึง่ ทีซ่ อ่ นตัวอยูอ่ ย่างเงียบสงบ เขยิบ ออกมาจากริมฝัง่ ถนนเทศบาลด�ำริหไ์ ม่ไกล ลุงเคีย่ น เมืองเล็น ผู้เป็นเจ้าของบ้านได้พาเยี่ยมชม และเล่า ถึงความเป็นมาของบ้านหลังนีใ้ ห้ลอ่ งน่านฟังว่า เดิม ทีด่ นิ บริเวณนีเ้ ป็นทีด่ นิ ส่วนหนึง่ ของพ่อและแม่ของ ตน ซึง่ ท่านทัง้ สองได้ทงิ้ มรดกเป็นทีด่ นิ ผืนใหญ่ให้ลกู ทั้ง 4 คนของท่าน โดยที่ดินผืนใหญ่นี้ ถูกแบ่งเป็น 4 ผืน ส�ำหรับลูกๆ แต่ละคน เมื่อราว 35 ปีก่อน ลุง เคี่ยนได้ปลูกกระต๊อบมุงหญ้าคาหลังเล็กๆ เพื่ออยู่ อาศัยก่อน ในตอนนั้น ทุกๆ วัน ลุงเคี่ยนจะขับเรือ ยนต์ไปดูแลสวนส้มที่ไร่ บ้านเมืองจัง เมื่อส้มออก ผล ก็จะมีพ่อค้าชาวจีนมารับซื้อถึงสวน เพื่อน�ำไป ส่งขายที่กรุงเทพฯ ซึ่งสมัยก่อนนั้นส้มขายได้ราคา ดีมาก เนื่องจากมีคนปลูกน้อย และเป็นที่ต้องการ สูงในตลาด เมื่อเก็บเงินได้มากพอสมควร ก็ได้ปลูก บ้านหลังนีข้ นึ้ มา เริม่ แรกนัน้ มีเพียงสองห้องนอน โดย

ห้องนอน

ห้องนอน

โถง

2.50

บันไดหน้าบ้าน

7

F-1

2.50

2.85

3.00

2.50

2.50

ต�ำแหน่งในแผนที่

ห้องนอนใหญ่เป็นของลุงเคีย่ นและภรรยา ส่วนห้อง นอนเล็กเป็นของลูกชายสองคน แต่ปัจจุบันลูกชาย คนเล็ก โตแล้ว จึงได้แยกห้องนอนออกมา โดยกั้น พื้นที่ส่วนหนึ่งของห้องโถงด้วยม่านผ้าให้เป็นพื้นที่ ส่วนตัว และได้มกี ารเปลีย่ นฝ้าบางส่วนภายในบ้านที่ ช�ำรุดทรุดโทรมลงเมือ่ ประมาณสองปีทผี่ า่ นมา ด้าน ล่างของเรือนเป็นทีเ่ พาะจิง้ หรีดขายของลูกชาย ซึง่ มี พ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงที่ หรือในบางครั้งภรรยา คุณลุงเคี่ยนก็น�ำไปขายที่ตลาดเชียงแข็งด้วยตนเอง ปัจจุบนั ลุงเคีย่ นประกอบอาชีพท�ำสวนผลไม้แบบผสม ผสาน มีทั้งมังคุด กระท้อน เงาะ พริก พืชผักสวน ครัว และพันธุ์ไม้ผลอื่นๆ ปลูกรวมกันภายในสวน โดยอาศัยแนวคิดในการด�ำเนินชีวติ ทีเ่ รียบง่าย สมถะ ตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง เนื่องจาก ส้มที่เคยปลูกได้ราคาดี และมีคุณภาพในสมัยก่อน แต่ยิ่งนานวัน ส้มที่ปลูกเริ่มมีคุณภาพลดลง สาเหตุ มาจากดินที่เสื่อมสภาพลง ในขณะที่ต้นส้มเริ่มแก่

มุมห้องครัวมองเห็นผนังหลายรูปแบบที่ ให้แสงธรรมชาติลอดผ่านเข้ามา ซึ่งแตกต่างกันตามการใช้งาน

ขึ้น จึงท�ำให้ผลผลิตน้อยลงไปเรื่อยๆ จนไม่คุ้มค่า ต่อการปลูกเพื่อน�ำไปขายอีกต่อไป หลายๆ ครอบครัวในชุมชนน�้ำล้อม รวมทั้ง ครอบครัวของลุงเคี่ยน มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจร่วมกัน คือ ศาลเจ้าหลวงเชียงราบ ซึ่งนับถือสืบเนื่องกันมา ตัง้ แต่รนุ่ ปูย่ า่ ของคนในชุมชน เจ้าหลวงเชียงราบเป็น เจ้าทางเหนือแถบสิบสองปันนา ที่เจ้าเมืองอัญเชิญ ให้มาปกปักษ์รักษาบ้านเมือง และลูกหลานชาว เชียงราบที่ปัจจุบันอาศัยอยู่กันทางด้านทิศเหนือ ของเขตเทศบาลเมืองน่าน แถบชุมชนน�้ำล้อมเป็น ส่วนใหญ่ โดยในทุกๆ วันออกพรรษาจะมีพิธีเลี้ยง เจ้าหลวงเชียงราบ ครอบครัวลุงเคีย่ นก็จะน�ำเครือ่ ง เซ่นต่างๆ ไปถวายบูชาท่านเจ้าหลวงเชียงราบ ทีศ่ าล เจ้าในชุมชนด้วยอยู่เสมอ

บันไดหลังบ้านมีหลังคาคลุม เชื่อมต่อไปยังห้องครัวและโถงหลังบ้าน

คุณลุงเคี่ยน เมืองเล็น เจ้าของบ้าน

Long Nan Booklet | 12


เรือนรวมญาติ

8

F-1

คุณอนันต์ วุฒิ

ต�ำแหน่งในแผนที่

ในเขตชุมชนน�ำ้ ล้อม ยังมีอาคารเรือนไม้ชวนสะดุดตาอีกหลังหนึง่ ทีย่ กใต้ถนุ สูงกว่าสองเมตร บนถนนเทศบาลด�ำริห์ บ้านหลังนีเ้ ป็นของคุณอนันต์ วุฒิ ซึง่ คุณ เรือนทอง เลิศเจริญ พี่สาวต่างมารดาของคุณอนันต์ ได้เปิดโอกาสให้ล่องน่าน เข้าไปเยี่ยมชม และเล่าประวัติความเป็นมาของบ้านให้ฟังว่า บ้านหลังนี้เป็นที่ อยูอ่ าศัยของครอบครัวของคุณเรือนทองมากว่า 4 ชัว่ อายุคน บรรพบุรษุ ของคุณ เรือนทองนับถือเจ้าหลวงเชียงราบ ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในหมู่บ้าน และของครอบครัวคุณเรือนทองมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตาทวด เพราะบรรพบุรุษของ คุณเรือนทองคือ ชาวเชียงราบที่อพยพมาตั้งรกรากอยู่ในบริเวณนี้ ซึ่งคนส่วน ใหญ่ในชุมชนน�้ำล้อมก็นับถือเจ้าหลวงเชียงราบเช่นกัน และมีการจัดพิธีเซ่น ไหว้เจ้าหลวงเชียงราบขึ้นในทุกๆ ปี คุณเรือนทองเล่าถึงครอบครัวใหญ่ในสมัยก่อน ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบ้าน หลังนีต้ งั้ แต่ทยี่ งั จ�ำความได้วา่ แต่กอ่ นคนในครอบครัวท�ำมาหาเลีย้ งชีพด้วยการ ท�ำสวนผลไม้ผสม แต่เดิมบ้านหลังนี้เคยมีห้องอยู่หลายห้อง เนื่องจากมีคนอยู่ อาศัยร่วมกันในบ้านกว่าสิบคน ซึง่ รวมถึงพ่อและแม่ของคุณเรือนทองด้วย โดย ตัวเรือนจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ เรือนใหญ่ดา้ นหน้า และเรือนเล็กด้านหลัง ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยชาน แต่เมื่อ 30 ปีก่อน ได้รื้อชานไม้ที่ผุพังในส่วนที่เชื่อมกับ ห้องน�ำ้ ออกไป แล้วเปลีย่ นเป็นพืน้ ซีเมนต์พร้อมกับท�ำห้องน�ำ้ และอ่างซักล้างขึน้ ใหม่ และย้ายบันไดจากหน้าบ้านมาไว้ตรงทางขึ้นห้องนอนเล็กแทน รวมทั้งรื้อ ผนังห้องนอนเล็กเพื่อรวมเป็นพื้นที่เดียวกับห้องโถงใหญ่ ซึ่งการปรับเปลี่ยนดัง กล่าว เกิดขึ้นในช่วงที่พี่น้องคุณเรือนทองได้เริ่มแยกย้ายไปสร้างครอบครัวเป็น ของตนเอง จนกระทั่งเหลือคุณเรือนทองเพียงคนเดียวในบ้านหลังนี้ คุณเรือน ทองจึงได้ท�ำการปรับเรือนเล็กด้านหลังให้เป็นห้องนอนของตนเอง ยุ้งข้าวที่ไม่ ใช้แล้วก็ใช้เป็นห้องเก็บสมุนไพร เพือ่ ท�ำยาดม ยาหม่องขาย ส่วนเรือนใหญ่ดา้ น หน้าปล่อยทิง้ ร้างเอาไว้ เนื่องจากคุณเรือนทองอยูค่ นเดียวไม่อาจดูแลบ้านหลัง ใหญ่เพียงล�ำพังได้ทั้งหมด ครั้งเมื่อเกิดน�้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. 2549 คุณอนันต์ ผู้เป็นน้องชาย ก็ได้ท�ำการยกตัวบ้านเพิ่มขึ้นอีก 1 เมตร เพื่อป้องกันความเสีย หายจากน�้ำท่วม ที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ท�ำให้บ้านหลังนี้สูงกว่าบ้านหลัง อื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง หากเกิดอุทกภัยขึ้นอีกในอนาคตที่ไม่อาจคาดเดาได้

ด้านหน้าเรือนที่ติดกับถนนเทศบาลด�ำริห์ มองเห็นตัวเรือนที่ยกสูงขึ้นป้องกันน�้ำท่วม

13 | จุลสารล่องน่าน

ผังพื้นอาคาร บันไดใหม่

2.50

3.50

ห้องนอน ห้องนอน

2.50

เคยเป็น ห้องนอน

ชาน

โถง

ชาน

เคยเป็น บันไดหน้า บ้าน

ห้องนอน

ครัว บันไดหลังบ้าน 3.50

1.50

2.00

3.00

3.00

3.00

รูปด้านหน้าอาคาร

บันไดหลังบ้าน

ปัจจุบนั คุณเรือนทองไม่ได้อาศัยอยูใ่ นบ้านหลังนีแ้ ล้ว คุณอนันต์เจ้าของบ้าน จึงเก็บอาคารไว้ส�ำหรับให้คนมาเช่าเพื่ออยู่อาศัยได้ประมาณ 2-3 ปี แล้ว และ ยังวางแผนที่จะรื้อเรือนหลังเล็กด้านหลังออก เนื่องจากมีปัญหาเรื่องปลวกขึ้น แล้วจะเลื่อนเรือนหลังใหญ่ไปไว้ด้านหลัง โดยจะสร้างห้องแถวชั้นเดียวส�ำหรับ ให้เช่าขึ้นมาบริเวณพื้นที่ติดถนนด้านหน้า เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว แต่กเ็ ป็นทีน่ า่ เสียดาย หากเรือนไม้หลังสวยจะต้องถูกห้องแถวบดบังเอาไว้ดา้ น หลังในอนาคตอันใกล้

บันไดทางขึ้นเรือนด้านหลังมีหลังคาคลุม เชื่อมต่อไปยังห้องครัวและชานเชื่อม

ภายในโถงกลางบ้านบริเวณที่เคยเป็นบันไดทางขึ้นหน้าบ้าน ก่อนเปลี่ยนมาขึ้นจากกลางบ้านแบบในปัจจุบัน


ด้านหน้าอาคารคล้ายกับเรือนแถวมีระเบียงด้านหน้าทั้งสองชั้น ชั้นล่างถูกจัดเป็นสวนกระถางสวยงาม

พื้นที่ระเบียงชั้นสองเชื่อมต่อกับห้องนอน และสามารถออกมานั่งพักผ่อนได้

เรือนแถวสืบสุข คุณสุทธิดา สุขมี

เรือนพักอาศัยเก่าส่วนใหญ่ของเมืองน่านมักเป็น เรือนไม้ชนั้ เดียวยกใต้ถนุ สูงเสียเป็นส่วนใหญ่ อาคาร เรือนไม้สองชั้นเต็มที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบันส่วน ใหญ่ จึงเป็นอาคารที่มีอายุไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม เรือนไม้สองชัน้ เหล่านี้ บางหลังก็มอี ายุมากกว่าครึง่ ทศวรรษ และมีรปู ทรงของเรือนทีน่ า่ สนใจเช่น เรือน พักอาศัยหลังนีท้ ลี่ อ่ งน่านได้มโี อกาสเข้าไปเยีย่ มชม ตั้งอยู่ในซอยด้านหลังวัดน�้ำล้อม ลึกเข้าไปเพียง ไม่ถึง 20 เมตร ตัวเรือนหันหน้าไปทางทิศตะวัน ออก เปิดสู่ถนนเลียบก�ำแพงวัดน�้ำล้อมที่วิ่งไปออก ถนนเทศบาลด�ำริห์ ซึ่งมองจากถนนก็สามารถมอง กลับมาเห็นตัวบ้านได้อย่างชัดเจนเช่นกัน บ้านหลัง นี้ปัจจุบันเป็นของคุณสุทธิดา สุขมี ซึ่งเป็นลูกสาว ของจ่าเอกประทีป กรองทอง ผู้ออกแบบและสร้าง บ้านหลังนี้ขึ้นมา โดยภูมิล�ำเนาเดิมแล้วคุณประทีป เป็นชาวสุรนิ ทร์ แต่ยา้ ยไปอาศัยอยูก่ รุงเทพฯ ตัง้ แต่ เด็ก ด้วยความที่รับราชการทหาร ท�ำให้ได้เดินทาง ไปตามจังหวัดต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง จนได้มาพบรักกับ สาวชาวน่านผูเ้ ป็นแม่ของคุณสุทธิดา จึงได้ยา้ ยมาตัง้ รกรากอยู่ที่เมืองน่านตั้งแต่นั้นมา

9

F-1

ต�ำแหน่งในแผนที่

บ้านหลังนี้สร้างขึ้นโดย ได้รับแรงบันดาลใจมา ตั้งแต่ช่วงที่คุณประทีปยังเด็กที่เคยฝันว่า ตนได้เคย อาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ และสมัยที่คุณประทีปยัง รับราชการทหาร ก็ได้มีโอกาสขึ้นเหนือล่องใต้เดิน ทางไปในหลายๆ พื้นที่ ท�ำให้ได้พบเห็นบ้านเรือน ที่สวยงามของเหล่าเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หลายท่าน ก็เกิดความคิดต่อยอดในการน�ำรูปแบบทีพ่ บเห็นมา ประสมกับรูปแบบที่ตนชอบ ออกมาเป็นแบบบ้าน ตามที่ตนต้องการหลังนี้ โดยได้จ้างช่าง หรือสล่า เก๊าซึ่งเป็นคนอุตรดิตถ์ แต่มาอาศัยอยู่ในเมืองน่าน นี้ ช่วยก่อสร้างบ้านขึ้นมาตามรูปแบบที่ตนเองคิด ออกแบบไว้ โดยบ้านหลังนี้ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง สองปีคือ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2495 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งหลังจากคุณประทีปลาออกจากงาน ราชการทหาร ก็ได้มาอยู่ที่เมืองน่านนี้อย่างถาวร โดยเข้ารับราชการครู แต่ได้ไปท�ำงานในส่วนของ ศาลากลาง ไม่ได้มีหน้าที่สอนหนังสือในโรงเรียน คุณสุทธิดาเล่าว่า ผู้เป็นพ่อของตนรักและผูกพัน กับบ้านหลังนี้มาก สั่งลูกๆ ว่าห้ามรื้อโดยเด็ดขาด นอกจากนีค้ ณ ุ ประทีปยังชอบสะสมของเก่า โดยเฉพาะ

โถงกลางบ้านเชื่อมต่อห้องรับแขก ครัวและบันไดทางขึ้นไปชั้นสอง

รถโบราณ เช่นเดียวกับคุณชัยพร สุขมี ผูเ้ ป็นสามีของ คุณสุทธิดา ที่ทั้งสองต่างชอบสะสมของเก่าโบราณ เช่นกัน ท�ำให้บ้านหลังนี้ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เสมอมาจากรุ่นสู่รุ่น ความน่าสนใจของบ้านหลังนี้คือ รูปด้านหน้า ของอาคารที่มีการจัดพื้นที่ใช้สอยเหมือนเรือนพัก อาศัยผสมเรือนแถวไม้ค้าขายริมฝั่งถนน โดยหน้า บ้านจะเป็นประตูบานเฟี้ยม ที่เปิดออกสู่ระเบียง หน้าบ้าน ชั้นบนของบ้านมีระเบียงยื่นยาวออกมา คลุมระเบียงชั้นล่างนี้ตลอดทั้งแนว มีเสารับชายคา ที่ยื่นยาวด้านบนเพื่อถ่ายน�้ำหนักลงสู่พื้นระเบียง โดยหลังคาด้านบนที่เป็นจั่วนี้ หันด้านลาดหลังคา ออกสู่หน้าบ้าน ท�ำให้เกิดเป็นรูปด้านของอาคารที่ สง่างาม และแปลกตาไปจากอาคารอื่นๆ ที่พบใน เขตเมืองน่านในอดีต บริเวณห้องครัวด้านหลังของ บ้านจะมีเพียงชั้นเดียว ต่อมาคุณประทีปเห็นว่าชั้น บนไม่มหี อ้ งน�ำ้ จึงได้ตอ่ เติมเพิม่ ห้องน�ำ้ ชัน้ บนเหนือ ห้องครัวขึน้ ส่วนหลังคาแต่เดิมนัน้ เป็นหลังคาซีเมนต์ ปั้นมือ แต่ด้วยพายุเห็บท�ำให้หลังคาพังลงไปเกือบ หมด จึงได้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องลอนอย่างที่เห็นใน ปัจจุบนั นอกนัน้ ตัวบ้านทัง้ หมดยังคงสภาพเดิมตัง้ แต่ แรกสร้าง ซึง่ ตรงตามความประสงค์ของคุณประทีป ผูเ้ ป็นพ่อ ทีต่ อ้ งการให้คณ ุ สุทธิดารักษาบ้านหลังนีใ้ ห้ คงอยู่กับครอบครัวตลอดไปนานเท่านาน

Long Nan Booklet | 14


สะพานนครน่านพัฒนา

ถนนหน้า รร.น่านคริสเตียน

ข่วงเมือง

ภูมิทัศน์หน้าค่ายสุริยพงษ์

สนามหญ้าหน้าพิพิธภัณฑ์ ซุ้มดอกลีลาวดีหน้าพิพิธภัณฑ์

วัดสวนตาล

ทุ่งนาฝั่งตะวันออกแม่น�้ำน่าน

วัดอรัญญาวาส

ตรอกกาดกองน้อย

ก�ำแพงเมืองน่าน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.