Long Nan June 2013

Page 1

จุลสารล่องน่าน

จุลสารล่องน่าน | Long Nan Booklet จุลสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมในชุมชนเมืองน่าน

แจกฟรี | ฉบับที่ 1 | มิถุนายน 2556

เยือนเยี่ยมน่าน เมืองเก่าที่มีชีวิต

FREE COPY JUNE 2013 City Map Inside


Editor Talk

“เมืองเก่าที่มีชีวิต”

หลายปีที่ผ่านมานี้ เมืองน่านโตเร็วมาก ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเมืองน่านเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว ที่พักที่ไม่เพียงพอในช่วงปีใหม่จนนักท่องเที่ยวต้องกางเต็นท์นอนในบริเวณ ใจเมือง เป็นปรากฏการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าเมืองน่านคงต้องประสบกับเงื่อนไขใหม่ๆ ที่มา พร้อมกับนักท่องเที่ยวอย่างหนีไม่พ้น และถ้าเราลองสังเกตดีๆ จะพบว่านักท่องเที่ยวที่เข้า มาส่วนใหญ่ยังติดกับสถานที่ท่องเที่ยวหลักของเมืองเป็นหลัก จุดหมายส�ำคัญดูเหมือนจะ เป็นวัดภูมินทร์ และแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในบริเวณใจเมือง เมืองน่านซึ่งได้ชื่อว่า “เมือง เก่าที่มีชีวิต” น่าที่จะมีอะไรที่ชวนให้นักท่องเที่ยวได้ค้นหามากกว่าแหล่งท่องเที่ยวท็อป ฮิตติดหูเดิมๆ ที่นักท่องเที่ยวมักไปกระจุกตัวรวมกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทั้งใน ระดับเมือง และระดับชุมชนที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก อันเป็นทรัพยากรทางศิลปวัฒนธรรมทั้งที่จับ ต้องได้ และจับต้องไม่ได้ ที่ชุมชนมีอยู่แล้วเป็นต้นทุน รวมถึงทรัพยากรทางสถาปัตยกรรม องค์ประกอบของเมือง และภูมิทัศน์เมือง ที่ตั้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณเมืองน่าน ทรัพยากรเหล่านีเ้ ป็นต้นทุนทีด่ ี ทีจ่ ะท�ำให้เกิดการกระจายตัวของการท่องเทีย่ วไปสูบ่ ริเวณอืน่ ๆ ของเมืองน่าน เกิดการกระจายรายได้ที่ทั่วถึงและไปยังชุมชนมากขึ้น และที่ส�ำคัญที่สุดเกิด การใช้ทรัพยากรต่างๆ เหล่านัน้ ในเชิงสร้างสรรค์จากคนในท้องถิน่ ทีเ่ ล็งเห็นคุณค่าและความ ส�ำคัญของทรัพยากรที่ตนเองเป็นเจ้าของอยู่มากขึ้น อันจะยังผลให้เกิดการใช้ประโยชน์ สืบทอด เล่าต่อ หรือปฎิบตั สิ บื เนือ่ ง และสามารถปรับใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ทสี่ อดคล้อง กับวิถปี จั จุบนั ต่อไปได้อย่างเหมาะสม อันเป็นสิง่ ที่ “ล่องน่าน” เสนอตัวเป็นฟันเฟืองตัวหนึง่ ในกลไกที่จะผลักดันให้ฝันดังกล่าวเป็นจริงขึ้นมา เพื่อให้เมืองน่านเป็นเมืองเก่าที่เที่ยวได้ทั้ง เมือง และทั้งปีตลอดไป ณวิทย์ อ่องแสวงชัย | บรรณาธิการบริหาร

สัญลักษณ์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากตัวอักษรพื้นเมืองที่อ่านว่า “น่าน” ( ) ภายใต้กรอบรูปทรงวงรีหลายโค้ง อันไม่สมมาตร ซึ่งแสดงถึงการหลอมรวมกันของผู้คน และศิลปวัฒนธรรม จนเป็นเนื้อเดียวกัน ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เมืองน่าน กรอบรูปนั้นจึงไม่ใช่วงรี วงกลม หรือสี่เหลี่ยมพื้นฐานที่พบเห็นได้ทั่วไป ชื่อ “ล่องน่าน” สื่อความถึง ความผูกพันกับสายน�้ำน่านของคนน่าน และยังเป็นที่มาของฟ้อนล่องน่าน ซึ่งเป็น ศิลปะการแสดงดัง้ เดิมของเมืองน่าน “ล่องน่าน” ยังให้นยั ยะถึง การเข้ามาค้นหาความน่าตืน่ ตาตืน่ ใจในศิลปวัฒนธรรม ทีผ่ า่ นการสืบทอดมาอย่างยาวนานได้อย่างไม่รจู้ บจากผูม้ าเยือน ดุจดัง่ การล่องไปในจินตนาการ ในขณะที่ “Long Nan” เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมืองน่าน และศิลปวัฒนธรรมที่มีรากฝังลึกมาแต่อดีตช้านาน จนผู้มาเยือน อาจต้องใช้เวลานานกว่าที่คิดไว้ในการเข้าไปสัมผัส

ที่ปรึกษา | Adviser บรรณาธิการบริหาร | Editor in Chief กองบรรณาธิการ | Editorial Staff ภาพถ่าย | Photograph ศิลปกรรม | Graphic Designers

สุรพล เธียรสูตร, รศ.ดร. ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา ณวิทย์ อ่องแสวงชัย บรรจง อูปแก้ว, สุกันย์ณภัทร กันธะวงค์ ณัฐพล เรืองวิทยานุสรณ์ วราวุธ ธิจินะ, ชมพูนุท ชมภูรัตน์

จุลสาร “ล่องน่าน” เป็นจุลสารรายสองเดือน จัดท�ำโดยโครงการ “การจัดการทรัพยากรทาง สถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมในชุมชน เพือ่ ส่งเสริมการท่องเทีย่ วบนฐานวัฒนธรรมในเขตเมืองน่าน” ภายใต้การสนับสนุนจาก ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) Long Nan is a bimonthly magazine. Published by Faculty of Architecture, Chiang Mai University.

01 | จุลสารล่องน่าน

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โทร: 0 5394 2806, แฟกซ์: 05 322 1448 www.arc.cmu.ac.th

ติดต่อโฆษณาหรือร่วมสนับสนุนโครงการ โทร: 08 7496 4142 www.facebook.com/longnanproject www.longnanproject.wordpress.com longnanproject@gmail.com อนุญาติให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาติครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาติแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


Interview

คุยกับคุณ สุรพล เธียรสูตร

นายกเทศมนตรีเมืองน่าน เรื่อง - ภาพ : บรรจง อูปแก้ว

จุดขายของเราคือ “น่านเมืองเก่าที่มีชีวิต” สิ่งส�ำคัญคือเราจะต้องได้รับ ความร่วมมือจากชุมชน

เมืองน่านเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นที่ผู้มาเยือนจังหวัดน่านต่างแวะมาเยี่ยมชม เมือง น่านจึงเป็นเสมือนหน้าตา และประตูสู่เมืองน่าน ล่องน่านได้รับเกียรติไปสนทนากับ คุณสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน ในฐานะพ่อเมืองทีด่ แู ลความเป็นอยูข่ อง ประชาชนให้มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกพื้นฐานในการด�ำรงชีวิตที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย และสงบสุข รักษาสภาพแวดล้อมของเมืองให้มคี วามสวยงามรืน่ รมย์นา่ อยู่ รวมทัง้ ท�ำนุ บ�ำรุงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีในท้องถิน่ ให้ได้รบั การปฎิบตั สิ บื ทอดอย่างเหมาะสม ซึง่ หลายส่วนของความรับผิดชอบเกีย่ วข้องกับการท่องเทีย่ ว ทีก่ ำ� ลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในเขตเมืองน่านปัจจุบัน Q: เทศบาลเมืองน่านมีบทบาทหน้าที่รับ ผิดชอบ และช่วยเหลือชุมชนเกี่ยวกับการ ท่องเที่ยวอย่างไรบ้าง เทศบาลมีหน้าทีใ่ นการจัดการสนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดการสร้างรายได้ในชุมชน เช่น กรณีจัดร้านขายสินค้าส่งเสริมการท่องเที่ยว

การจัดกิจกรรมรถรางชมเมือง คนในท้องถิน่ เองก็จะมีหน้าที่ในการดูแลสถานที่ต่างๆ ที่ มีความเกี่ยวเนื่องกับสถานที่ท่องเที่ยวของ ตน ซึ่งตรงนี้เราเน้นหลักให้ชุมชนเริ่มต้น ด้วยตนเอง เพราะท�ำให้เกิดกระบวนความ คิดที่มาจากคนในชุมชนนั้นๆ และแสดงให้ Long Nan Booklet | 02


Interview เห็นถึงศักยภาพของความเข้มแข็งของชุมชน และเทศบาลเองก็พยายามกระตุน้ ให้พวกเขา การตระหนักรู้ในขณะเดียวกันเราก็จะเสริม ในสิ่งที่เขาขาด แล้วเราก็เชื่อมโยงกับองค์กร อืน่ ๆ เป็นผูบ้ อกกล่าว อธิบายให้กบั นักลงทุน หรือหน่วยงานอืน่ ๆ ทีเ่ ข้ามาเกีย่ วข้องให้พวก เขารูว้ า่ จุดแข็งของชุมชนเป็นแบบนี้ เมือ่ การ เชื่อมโยงเกิด ทีนี้เค้าก็อาจจะท�ำการสานต่อ ด้วยตนเอง เพราะเราก็รวู้ า่ วันหนึง่ หน่วยงาน ที่เข้ามาเกี่ยวข้องเขาก็ต้องมีวันยุติ มีวันจบ ลงไป เมื่อมีวันจบเราจะประคองชุมชนต่อ ไปได้อย่างไร ก็โดยการสร้างความเข้มแข็ง ให้เกิดความยั่งยืน ให้เหมือนเป็นสิ่งที่ชุมชน ได้ยึดปฏิบัติมานานจนเกิดเป็นวิสัย หรือให้ เป็นเรื่องปกติของชุมชน Q: การท่องเที่ยวในเมืองน่านมีการกระจุก ตัวอยูใ่ นเฉพาะใจกลางเมืองซึง่ เป็นเขตเมือง เก่าและถนนสุมนเทวราช คิดว่าประเด็นนี้ มีขอ้ ดีหรือข้อเสียอย่างไรกับคนในพืน้ ทีท่ มี่ ี แหล่งท่องเทีย่ วในตัวอ�ำเภอเมืองน่าน แต่ยงั ไม่มคี นพบเห็นหรือขาดการประชาสัมพันธ์ จริงๆ แล้วเรื่องการท่องเที่ยวเป็นเรื่อง ของผู้บริโภคเอง ซึ่งพวกเขามีสิทธิที่จะเลือก พื้นที่ในการท่องเที่ยวเองหลังจากที่พวกเขา เสพข้อมูลแล้ว แต่เราจะเสริมในเรือ่ งของพืน้ ที่อื่นๆ ขึ้นมา เราต้องดูปัจจัยบริบท ต้นทุน ของสถานทีด่ ว้ ย ทีไ่ หนทีช่ มุ ชนมีสว่ นร่วม เช่น กรณีของ วัดมหาโพธิ์ วัดพระเกิด ที่อยู่ทาง ตอนเหนือ เราก็จะน�ำรถรางพานักท่องเที่ยว ออกไปเที่ยวชม และเทศบาลเองก็พยายาม ผลักดันและสนับสนุนการใช้ชุมชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการจัดการเพื่อเพิ่มศักยภาพของ พืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ด้วย เพือ่ ทีจ่ ะกระจายการท่องเทีย่ ว ออกไปให้มากขึ้น Q: การท่องเที่ยวกับการอนุรักษ์มันขัดแย้ง กันอยู่หรือไม่ เมื่อการท่องเที่ยวก็ต้องมีนัก ท่องเทีย่ วเข้าไปในชุมชน มีสอื่ ต่างๆ เข้าไป สิ่งเหล่านี้ท่านคิดว่ามันจะส่งผลกระทบต่อ ชุมชนในแง่ไหนบ้าง เรามองเห็นว่าบางครั้งในเรื่องของการ ท่องเที่ยวมันก็ท�ำให้การอนุรักษ์สูญเสียไป ผลกระทบในเชิงบวกลบมีทงั้ สองด้าน แต่เรา ต้องรู้ว่าจุดแข็งของเราคืออะไร ตัวตนของ 03 | จุลสารล่องน่าน

เราคืออะไร ภาพลักษณ์ของเราคืออะไร ถ้า เรารู้ว่าความสามารถในการแข่งขันของเรา อยู่ในด้านไหน เราก็จะสามารถรักษามันไว้ ได้โดยที่ไม่ถูกท�ำลาย เรารู้ว่าเราคือการท่อง เที่ยวเชิงอนุรักษ์ เราก็ต้องรักษาต้นทุนของ เราไว้ และในกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายที่ เราเลือก ก็เป็นกลุม่ ทีไ่ ม่ได้สร้างผลกระทบใน เชิงลบมากนัก เว้นแต่ว่าจะมีผู้ประกอบการ เลือกสนองนักท่องเทีย่ วบางกลุม่ เช่น ในด้าน บันเทิง หรือเกี่ยวกับเรื่องภาคกลางคืน ซึ่ง เราพยายามจะหลีกเลี่ยงคนพวกนี้ จุดขาย ของเราคือ “น่านเมืองเก่าที่มีชีวิต” ฉะนั้น สิ่งเหล่านั้นเราพยายามต่อต้านไม่ให้เกิด สิ่ง ส�ำคัญคือ เราจะต้องได้รับความร่วมมือจาก ชุมชนในการที่จะก�ำหนดทิศทางว่าจะก้าว ไปสู่จุดไหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้หนีไม่พ้นเรื่องของ การให้องค์ความรู้กับชุมชน Q: ทางเทศบาลมีมาตรการ มีกฎ ข้อบังคับ นโยบาย หรือมาตรการส่งเสริมการท่องเทีย่ ว ในชุมชนอย่างไรบ้าง เรามีนโยบายที่ไม่สนับสนุนให้มีสถาน บันเทิงในเขตเทศบาล เราจะเอากฎหมายเท่าที่ มีอยูเ่ ข้ามาเป็นเครือ่ งมือในการห้าม เช่น กรณี ของการไม่ออกใบอนุญาตในเรือ่ งของกิจการ ที่อาจจะเป็นผลร้ายต่อสุขภาพ เช่น การเปิด เครือ่ งเสียงดังๆ ของสถานบันเทิงกลางคืน ซึง่ เป็นกิจการทีอ่ าจก่อให้เกิดมลภาวะ ตอนนีเ้ รา ก�ำลังยกร่างเทศบัญญัติ ในเรือ่ งข้อห้ามในการ

ก่อสร้างอาคารประเภทต่างๆ บางประเภท การควบคุมความสูงอาคาร ควบคุมสีหลัง คา ซึ่งก�ำลังอยู่ในกระบวนการด�ำเนินการอยู่ ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง โดยเราพยายามท�ำสิ่ง นี้เพื่อเป็นคัมภีร์ในการปกป้อง ไปพร้อมกับ เรื่องความเข้มแข็งของชุมชนด้วย Q: เทศบาลมีการด�ำเนินการในการรักษา หรือป้องกันในเรือ่ งของการท่องเทีย่ วอย่างไร เทศบาลเองนอกจากการออกเทศบัญญัติ แล้ว การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าจะใน ช่องทางของสถานีวทิ ยุ การพบปะพูดคุย การ เชื่อมโยงกับทางชุมชน เพราะการสื่อสารให้ รับรู้ถึง ทิศทางที่ควรจะเป็น การท�ำงานร่วม กับชุมชน การออกไปพบปะและการสร้าง ความคิดเห็นให้ชุมชนเติบโต และมีวิธีคิด มี กรอบแนวคิด จึงเป็นเรื่องของเทศบาลที่จะ เป็นแรงสนับสนุนขับเคลื่อนในการปกป้อง ภาพลักษณ์ ตัวตนของน่าน สร้างความภาค ภูมใิ จให้คนในชุมชน โดยการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ โดยการดึงจุดเด่นของความ เป็นอัตลักษณ์ออกมา แต่เราไม่ได้สนับสนุน เรื่องเงินทั้งหมดครบถ้วนจนเพียงพอ เรา เห็นว่าจริงๆ แล้วชุมชนเองน่าจะมีส่วน ร่วมในการที่จะออกสตางค์ด้วย เพราะสิ่ง เหล่านี้เป็นเรื่องที่ชุมชนเคยมีมาก่อนโดย ไม่ต้องมีงบ แต่ถ้าเกิดเทศบาลจัดการให้ ทัง้ หมดครัง้ ต่อไปเกิดไม่มงี บก็คงจะไม่ได้ทำ� สุดท้ายมันก็จะหายไป


Interview Q: ท่านอยากให้เมืองน่านถูกเข้าใจหรือรับ รู้ในลักษณะไหนส�ำหรับผู้มาเยือน มันอยู่ที่ว่าเรานิยามค�ำว่า “เมืองเก่า” อย่างไร ซึ่งหลายคนอาจจะมองในเรื่องของ สถาปัตยกรรม มองโครงสร้างที่เป็นอาคาร วัด บ้านเก่า เมื่อพอเราเห็นภาพลักษณ์ของ สิง่ ทีเ่ ป็นสถาปัตยกรรมแบบนี้ เราก็รแู้ ล้วว่านี่ คือเมืองเก่า แต่คำ� ว่ามีชวี ติ มันมีองค์ประกอบ อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องก็คือ ภาษา การแต่งกาย อาหารพื้นบ้าน อันหลากหลายของชนเผ่า ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชาว ไทยพื้นเมือง ไทเขิน ไทโยนก ไทลื้อ ที่มีแม้มีความแตกต่างแต่ก็ เกือ้ กูลซึง่ กันและกัน ซึง่ สิง่ เหล่านีเ้ ข้ามาหล่อ หลอมให้เกิดศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี มี เรื่องราว ภูมิปัญญา ในแบบที่เป็นน่าน รวม ถึงสถาปัตยกรรมบ้าน วัดต่างๆ เหล่านี้มัน เป็นตัวชี้ให้คนเห็นว่านี่คือ “น่าน” และเมื่อ เกิดความเป็นน่านขึน้ มาแล้ว การรักษาให้สงิ่ เหล่านี้คงไว้ต้องใส่ความภาคภูมิใจเข้าไป ในตัวคนน่าน ซึ่งไม่ใช่แค่คนที่เกิดที่น่าน เท่านัน้ แต่รวมถึงคนจากทีอ่ นื่ มาอยู่ กระทัง่ คนที่เป็นลูกหลาน เราต้องสร้างความภาค ภูมใิ จในความเป็นคนน่านให้เกิดขึน้ เพราะ ความภาคภูมใิ จในความเป็นคนน่าน ท�ำให้ คนอยากเป็นคนน่าน และพร้อมทีจ่ ะปกป้อง อัตลักษณ์ สิง่ ทีเ่ ป็นตัวตนของพวกเขาเอาไว้ Q: ข้อส�ำคัญที่นักท่องเที่ยวควรจะเรียนรู้ ศึกษา ปรับตัวในการเข้ามาเทีย่ วเมืองน่าน หรือไม่อย่างไร ผมว่าถ้าเราสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน สร้างความคุ้มกันให้กับผู้ประกอบการ สร้าง ภูมคิ มุ้ กันให้กบั ส่วนราชการหรือส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง ในการที่จะรับรู้สิ่งที่เป็นจุดยืนของเรา นัก ท่องเที่ยวเป็นคนที่อื่นเข้ามา ผมคิดว่าเขาก็ ต้องเป็นฝ่ายปรับเข้าหาเรา และในตอนนี้ก็ มีสื่อพวกโซเชียลเนตเวิร์คกว้างขวาง มีการ เล่าขาน โพสข้อความ ลงรูปที่เป็นข้อมูลพอ สมควร สุดท้ายเขาก็หาทางเลือกของเขาเอง มันอยู่ที่ว่าเราอยากจะสนองนักท่องเที่ยว ขนาดไหน เราจะให้ทกุ อย่างทีน่ กั ท่องเทีย่ ว ต้องการมันเป็นไปไม่ได้ เวลานักท่องเที่ยว มาร้อยคนอาจจะมีคนหนึ่งต้องการแบบนี้ แล้วคนที่ต้องการเค้าพูดกับเรา เราก็อาจ จะคิดว่าคนที่พูดนั้นคือความต้องการของ

ทุกคนแต่มันไม่ใช่ ฉะนั้นการที่เราจะสนอง ตอบต่อนักท่องเที่ยวกี่คนก็ตาม เราอาจจะ ต้องดูภาพรวมของบริบทด้านการท่องเที่ยว ซึง่ บริบทของเราก็คอื การปกป้อง การอนุรกั ษ์ เราเลือกลุ่มเป้าหมายแบบนี้ มันก็จะเกิด กระบวนการที่ยั่งยืน

เราไม่ได้สนับสนุนเรื่องเงิน ทั้งหมด เราเห็นว่าจริงๆ แล้ว ชุมชนเองน่าจะมีส่วนร่วม ด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้เป็น เรื่องที่ชุมชนเคยมีมาก่อนโดย ไม่ต้องมีงบ แต่ถ้าเกิดจัดการ ให้ทั้งหมดครั้งต่อไปเกิดไม่มี งบก็คงจะไม่ได้ท�ำ สุดท้ายมัน ก็จะหายไป Q: ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่เข้ามาสนับ สนุน ไม่ว่าจะเป็น สกว. อพท. หรือ หน่วย งานต่างๆ จากภาคนอก รวมทัง้ องค์กรเครือ ข่ายภาคประชาชน ตรงนี้ทา่ นมองประเด็น การท�ำงานในพื้นที่ของหน่วยงานเหล่านี้ อย่างไรบ้าง หลายคนเข้ามาท�ำงานวิจัย แน่นอนว่า ผลงานวิจัยอาจจะเป็นประโยชน์ต่อเรา ผม เชื่อถ้าพี่น้องประชาชนเกิดความมั่นคงมันก็ ไม่ได้เกิดความเสียหาย หน่วยงานเหล่านั้น ก็อาจจะเห็นว่าพืน้ ทีน่ มี้ ศี กั ยภาพ เพราะบ่อย ครั้งที่มีหน่วยงานเข้ามาท�ำ เนื่องจากพื้นที่มี ความเข้มแข็งในการลงมือท�ำ แต่จุดอ่อนที่ เกิดขึ้นมาก็คือ บางหน่วยงานใช้เงินเป็นตัว ตั้งมันอาจจะท�ำให้เกิดการติดนิสัย บางครั้ง เราค่อนข้างหนักใจกับเรือ่ งของกิจกรรมทาง สังคม ที่บางครั้งคนในชุมชนก็ถามว่ามีเงินรึ เปล่า ขบวนแห่เท่านี้ไม่พอไม่ไหว จะต้องได้ เยอะกว่านี้ สิง่ เหล่านีผ้ มว่าเมือ่ มีเงินมาเป็นตัว ตั้ง กิจกรรมที่เกิดจากศรัทธากิจกรรมที่เกิด จากความร่วมไม้ร่วมมือมันถูกบีบ มีเงินน้อย ก็ท�ำตามน้อย มีเงินมากก็ท�ำตามมาก แล้วก็ ต้องมีของตอบแทน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ท�ำให้ความ

ร่วมมือในชุมชนหายไปด้วย เพราะฉะนั้นผม เห็นว่าก็ตอ้ งตระหนักรูพ้ อสมควรในเรือ่ งของ ความเข้มแข็งของชุมชน Q: ท่านมองว่าหน่วยงานทีเ่ ข้ามานัน้ สร้าง ปัญญาหาหรือมาค�้ำจุน หรือมีข้อดีข้อ เสียอย่างไร และเทศบาลมีการร่วมมือกับ หน่วยงานเหล่านั้นหรือการส่งเสริมการ ท�ำงานอย่างไร หน่วยงานต่างๆ ทีเ่ ข้ามาเหล่านี้ พวกเขา มีกรอบวิธีคิดที่แตกต่างกัน เขาจะเข้าไปคุย หรือศึกษาชุมชนโดยตรง ชุมชนบางชุมชนก็ จะมีความพร้อมและสามารถสะท้อนออกมา ได้เลย ซึง่ องค์ความรูข้ องชุมชนเหล่านีอ้ าจจะ เกิดก่อน หรือหลังแนวความคิดของเทศบาล หรือเกิดพร้อมกัน แล้วผมก็เชื่อว่าทุกหน่วย งานที่เข้ามาก็มีความรู้ และวิธีคิดของตัวเอง อาจมีแนวความคิดที่แตกต่าง แต่พอมาถึงที่ นีไ่ ด้ลงพืน้ ทีจ่ ริงๆ พวกเขาก็จะถูกหลอมแนว ความคิดให้เปลีย่ นไป หลายครัง้ ทีค่ วามคิดของ เขาก็อาจจะดีกว่าทีเ่ รามี เราก็ตอ้ งปรับทิศทาง ของเรา ถ้าทิศทางของเราดีกว่าเขายอมรับมัน ก็ดี ซึง่ ในตอนนีท้ างเทศบาลเองก็พยายามจะ ดึงชุมชนเข้ามารับฟังเพื่อให้พวกเขามีกรอบ แนวคิด ปัจจุบันเทศบาลก็มีแนวความคิด ตั้งโครงการ “ร้อยคลังสมอง” คือ เอาคน ทีม่ วี ธิ คี ดิ แต่ละด้าน มีแนวคิดแปลกใหม่มา ช่วยเทศบาลคิด และท�ำการปรึกษาหารือกัน เทศบาลเองเป็นคนท�ำเรือ่ งงบประมาณ เมือ่ ฟังจากชุมชนก็เกิดการสะท้อนทางความคิด ก็เกิดระบบการจัดการออกมา ซึง่ การสะท้อน ออกไปมันมีทงั้ แนวคิดทีช่ มุ ชนเอาจากเราไป และทีเ่ ราเอาของชุมชนมาใช้ มันท�ำให้ เกิด จุดมุง่ หมายเดียวกันมากขึน้ จากทีย่ นื กันอยู่ ในคนละมิติ มองเห็นกันคนละมุม ก็เกิดการ แชร์มุมมองโดยรอบด้านของมิติ ซึ่งเมื่อเรา ได้มองเห็นทุกมุมมองก็จะเกิดการตัดสินใจ ชั่งน�้ำหนักจัดล�ำดับความส�ำคัญ รู้ถึงผลดีผล เสีย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ท�ำให้เกิดการพัฒนา และ เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้สูงสุด ท�ำให้เราสามารถดึงทรัพยากรไปอยู่ในจุด แข็งที่เราต้องการ

Long Nan Booklet | 04


Feature

การเดินทางชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยว และเป็นวิถีในการเดินทางของผู้คนมาช้านานคือ การสัญจรทางน�้ำเช่น การล่องแม่น�้ำเจ้าพระยาที่กรุงเทพฯ หรือล่องแม่น�้ำปิงที่เชียงใหม่ การล่องล�ำน�้ำ น่านก็เป็นวิถีการเดินทางแบบหนึ่งของคนน่านในอดีตเช่นกัน สังเกตได้จากชื่อของการร่ายร�ำพื้นเมืองของ คนน่านที่เรียกว่า “ฟ้อนล่องน่าน” ฉะนั้น การล่องน�้ำน่านจึงเป็นรากวัฒนธรรมหนึ่งที่มีความส�ำคัญต่อคน น่านมาจนถึงปัจจุบัน ในอดีตชาวเมืองน่านมักนิยมใช้เรือในการโยกย้ายถิ่นฐานไปตามล�ำน�้ำ น่าน ก่อนที่จะมีการใช้ม้าต่อวัวต่าง และเกวียน ในสมัยก่อนชุมชนที่อาศัย อยูร่ มิ สองฝัง่ แม่นำ�้ น่านจะมีทา่ น�ำ้ อยูท่ กุ หมูบ่ า้ น และมีเรือเป็นพาหนะประจ�ำ บ้านเกือบทุกหลัง ชาวบ้านจะใช้ไม้ต้นเดียวมาขุดเนื้อไม้ออกเป็นรูปล�ำเรือ ปัจจุบนั ไม้ขนาดใหญ่หาได้ยากจึงมีการต่อเรือโดยใช้วสั ดุทที่ ำ� จากเหล็กแทน เสียเป็นส่วนใหญ่ ทุกวันนีส้ องฝัง่ ล�ำน�ำ้ น่านมีสภาพแวดล้อมเปลีย่ นแปลงไปมากจากอดีต เห็นได้ชัดคือระดับน�้ำลดลงมากในช่วงหน้าแล้ง และบางปีน�้ำก็ท่วมสูงเกิน จนท�ำให้ตลิ่งพัง แต่ยังหลงเหลือวิถีชาวบ้านและความเป็นธรรมชาตที่ชวน ให้เข้าไปสัมผัส คั้ง เครื่องมือจับปลาหาเลี้ยงชีพของชาวบ้าน

05 | จุลสารล่องน่าน

เนื่องจากล�ำน�้ำน่านยังไม่ได้อยู่ในแผนที่นักท่องเที่ยวโดยทั่วไป การหา โอกาสเข้าไปการล่องเรือชมวิถีชีวิตริมแม่น�้ำน่านจึงเป็นเรื่องที่ยากล�ำบาก แต่นับว่าโชคดีที่สามชุมชนและหนึ่งบ้านทางตอนเหนือของเขตเทศบาล เมืองน่านคือ ชุมชนมหาโพธิ์ เชียงแข็ง น�้ำล้อม และบ้านคั้งถี่ ได้ร่วมมือกัน


Feature

ในการฟืน้ ฟูการเดินทางในล�ำน�ำ้ น่าน เพือ่ เปิด เป็นเส้นทางท่องเที่ยวขึ้นมาใหม่ส�ำหรับผู้มา เยือนที่สนใจในวิถีชุมชนและธรรมชาติขึ้น ในอดีตคนในชุมชนที่โยกย้ายมาอาศัย รวมกันที่ริมน�้ำน่านมักมีอาชีพท�ำไร่ท�ำสวน เมือ่ เลิกจากการงานก็มกั จะหาปลาโดยการตก คัง้ ซึง่ ในบริเวณนีบ้ า้ นคัง้ ถีน่ มี้ ชี าวบ้านท�ำกัน หลายคนจนติดๆ ต่อเนือ่ งกันจนถึงอีกฝัง่ ของ ล�ำน�ำ้ น่าน และชิดกันมากจนกระทัง่ สามารถ เดินจากคั้งหลังหนึ่งไปยังคั้งอีกหลังหนึ่งได้ ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่แถบนี้ว่า “บ้านคั้งถี่” ปัจจุบนั การหาปลาโดยวิธตี กคัง้ ในล�ำน�ำ้ น่าน แถบจะไม่มชี าวบ้านกระท�ำกันให้เห็นบ่อยครัง้ นัก เนื่องจากการสร้างคั้งดักปลาต้องอาศัย ความช�ำนาญและประสบการณ์ในการสร้าง และการตกคัง้ โดยคัง้ หลังหนึง่ จะประกอบไป ด้วย จ�๋ำ (ยอ) สายใย ขายอ ห้างคั้ง (เพิงพัก) และรั้วกั้นปลายาวตลอดล�ำน�้ำน่าน การตีคั้ งดักปลาสามารถท�ำได้ตลอดทั้งปี แต่ก็มีบาง ช่วงเวลาทีช่ าวบ้านไม่คอ่ ยนิยมกระท�ำกันคือ ช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน เพราะน�้ำน้อย ไม่ค่อยมีปลาใหญ่ บางบ้านก็จะหันไปท�ำคั้ง ตุ้มใช้คาหรือผ้าด�ำบังแสงสว่าง เพราะเมื่อ

ปลาว่ายเข้ามาที่คั้งตุ้มจะเห็นตัวปลาชัดเจน ก็จะท�ำให้จับปลาได้ง่ายขึ้น และที่ส�ำคัญคือ ช่วงเดือนดังกล่าวจะมี “ไก” หรือสาหร่าย ไก มาติดที่ยอท�ำให้ปลาไม่เข้าคั้ง ปกติช่วง ฤดูน�้ำหลากปลาจะขึ้นไปวางไข่ที่ต้นน�้ำ พอ น�้ำลดปลาจะลงมาตามน�้ำมาหาที่อาศัยตาม วังปลา ซึ่งบริเวณบ้านน�้ำล้อมและบ้านคั้งถี่ เป็นวังปลา ท�ำให้บริเวณนีม้ ปี ลาค่อนข้างชุกชุม เหมาะแก่การท�ำคั้งดักปลา การหาปลาด้วย วิธกี ารตกคัง้ ดักปลาถือได้วา่ เป็นวิธหี าปลาวิธี หนึง่ ทีไ่ ม่ทำ� ให้ปลาบอบช�ำ้ ไม่เจ็บปวดและไม่ เกิดบาดแผล ปลาที่ได้จึงสดอยู่เสมอ ปลาที่ หาได้สว่ นใหญ่มกั เป็นปลาอีก่ า(ปลาเพีย้ ) ปลา สวาย ปลาบึก ปลากด ปลาไอ้โกรก(ปลาจอก) และปลาตะเพียน สาเหตุหนึ่งที่การตีคั้งดัก ปลาหายไปจากล�ำน�้ำน่าน เกิดจากชาวบ้าน กลัวห้างคัง้ ไปขวางทางน�ำ้ ไหล และเกรงจะมี ความผิดทีไ่ ปปลูกสร้างห้างขวางล�ำน�ำ้ ซึง่ ถือ เป็นการบุกรุกทีด่ นิ กรมเจ้าท่า และการสร้าง ห้างคั้งถึงแม้จะท�ำชั่วคราวไม่ถาวร แต่ก็ต้อง ใช้ไม้เนือ้ แข็งล�ำต้นใหญ่เป็นโครงสร้าง ในอดีต การหาไม้มาสร้างห้างท�ำได้งา่ ย กฎหมายยังไม่ เคร่งครัด ปัจจุบนั ไม้เริม่ หายากและมีราคาสูง ขึ้น อีกทั้งไม่สามารถไปหาตัดเอาตามป่าเขา ได้เหมือนในอดีต การสร้างห้างคั้งจึงเป็นสิ่ง ที่เสื่อมความนิยมลงเรื่อยๆ แต่หากจะมีการ รื้อฟื้นภูมิปัญญาการตีคั้งตักปลาก็น่าที่จะ เป็นไปได้เพราะในล�ำน�้ำน่านยังมีปลาอยู่พอ สมควร เพียงแต่อาจต้องมีการปรับวิธีการส ร้างคั้งโดยใช้วัสดุสมัยใหม่ที่เหมาะสม เพื่อ ไม่ให้การสร้างคั้งดักปลาเป็นแค่การท�ำเพื่อ ให้นักท่องเที่ยวดูอย่างเดียว การท่องเที่ยวชมคั้งที่ชาวบ้านสร้าง เตรียมไว้ขนึ้ ตามลักษณะเดิม เพือ่ แสดงให้ถงึ ลักษณะทีแ่ ท้จริงของคัง้ และวิธกี ารตกคัง้ ซึง่ แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างที่เรียบง่ายแต่แฝง ไว้ด้วยภูมิปัญญาของก่อสร้างและการใช้คั้ง ให้เกิดประโยชน์อย่างเชีย่ วชาญ การล่องเรือ ไปตามล�ำน�ำ้ น่าน ซึง่ ท�ำให้เราได้เห็นธรรมชาติ และการด�ำรงชีวติ ทีเ่ รียบง่ายของชาวบ้านริม สองฝั่งล�ำน�้ำ เราเห็นชาวบ้านปลูกผักสองฝั่ง ล�ำน�้ำ ดักปลา เก็บสาหร่ายไก และด�ำขุด ทรายแม่น�้ำเพื่อไปขายอยู่เป็นระยะๆ ตลอด การล่องเรือ

ช่วงเวลาล่องเรือทีเ่ หมาะสมอยูเ่ ฉพาะใน ช่วงเดือนพฤศจิกายน – เมษายน และอาจมี กิจกรรมเสริมระหว่างการพักเรือเช่น การแข่ง ปาหินสะเทินน�ำ้ การหาไกรอน การสาธิตการ หาปลาโดยการหว่านแห ตกปลา เป็นต้น ภาพวิถกี ารด�ำรงชีวติ ของชาวบ้านยังคง ปรากฏให้เห็น สิง่ เหล่านีค้ งด�ำเนินอยูต่ ลอดไป ถึงแม้จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาหรือไม่ก็ตาม ซึ่งน่าจะเป็นค�ำตอบของการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมที่ดี ที่สิ่งที่มีเสน่ห์ดึงดูดก็คือสิ่งที่ เป็นปกติวสิ ยั ของวิถกี ารด�ำเนินชีวติ ของผูค้ น ในพืน้ ทีน่ นั้ ๆ ความไม่สะดวกสบายต่างๆ ตาม มาตรฐานของนักท่องเทีย่ วผูม้ าจากเมืองกลับ กลายเป็นสิง่ ทีน่ กั ท่องเทีย่ วอยากเข้ามาสัมผัส ในสิ่งที่ยังไม่ได้รับการเติมแต่งจนเกินพอดี เหมือนแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ที่หาได้ทั่วไปที่ แออัดไปด้วยนักท่องเที่ยวด้วยกันเอง กรอบแนวคิดและความต้องการของชุมชน ทีจ่ ะพัฒนาการท่องเทีย่ วโดยชุมชน โดยการ ล่องเรือตามล�ำน�้ำน่าน และความยั่งยืนของ กิจกรรมนีข้ นึ้ อยูก่ บั ผูน้ ำ� ชุมชนและคนในชุมชน ที่จะร่วมกันท�ำงาน โดยเป้าประสงค์ที่ส�ำคัญ คือ การด�ำรงรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของวิถีชุมชน ที่พบเห็นตลอดเส้นทาง ให้คงอยู่ตลอดไป

เกร็ดล่องน่าน นักท่องเทีย่ วทีป่ ระสงค์จะล่อง เรือในล�ำน�ำ้ น่านควรศึกษาช่วงเวลาที่ เหมาะสมในการล่อง และควรติดต่อ ล่วงหน้าเพื่อจะได้ทราบจ�ำนวนคน วัน เวลาที่ชัดเจน เพื่อทางชุมชน จะได้เตรียมการได้อย่างเหมาะสม กับความต้องการ ติดต่อ คุณเพลินจิต พ่วงเจริญ โทร 08 1023 4452 Long Nan Booklet | 06


People Talk

ป้าแต๋ว

เพลินจิต พ่วงเจริญ

หัวหน้าบ้านมหาโพธิ ชุมชนในเขตเมืองน่าน “บ้านมหาโพธิ” เป็นชุมชนหนึ่งที่ก้าวมาอยู่แถวหน้าในเรื่องของการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมของเมืองน่าน กว่าจะมาถึงวันนีว้ นั ทีใ่ ครทีส่ นใจเรือ่ งการจัดการชุมชน ไม่มใี ครไม่รู้ จักหัวเรีย่ วหัวแรงส�ำคัญในการขับเคลือ่ นชุมชนจากทีเ่ คยเงียบเหงา ให้กลายเป็นสถานทีท่ อ่ ง เที่ยวทางวัฒนธรรมในชุมชนขึ้นมาได้ “ป้าแต๋ว หรือแม่แต๋ว” คือ ผู้น�ำหญิงที่ล่องน่านก�ำลัง พูดถึง ผู้ซึ่งล่องน่านอยากล้วงความลับในการจัดการชุมชนมาให้ผู้อ่านฟัง Q: สาเหตุทคี่ ณ ุ เพลินจิตเริม่ ต้นเข้ามาท�ำงาน เกี่ยวกับชุมชน สิง่ ทีส่ ำ� คัญอันดับแรกคือเราต้องมี “จิต เป็นสาธารณะ” ซึง่ ในตอนแรกเคยมองเห็นว่า ชุมชนของเราเป็นวิถชี มุ ชนแบบดัง้ เดิมและคิด ว่าชาวบ้านก็ใช้ชวี ติ อยูไ่ ปวันๆ ไม่ได้มคี ณ ุ ค่า อะไร พอเมื่อได้เข้ามาเป็นผู้น�ำชุมชนก็ได้จัด ตั้ง “กลุ่มคนรักวัด” ขึ้นมาก่อน เพื่อให้คน กลุ่มนี้มาช่วยดูแลพระพุทธรูปไม้ของวัด ซึ่ง 07 | จุลสารล่องน่าน

เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ สมัย ก่อนวัดมหาโพธิ์ยังเป็นวัดปิด ไม่ได้เปิดให้ ใครมาเที่ยวชมเช่นตอนนี้ แต่เมื่อก่อนก็มี แบบทีเ่ จ้าอาวาสเปิดให้เข้าไปดูเหมือนกัน ถ้า ใครอยากเห็น แต่ก็ไม่ได้มีการโปรโมทอะไร แบบตอนนี้ จ�ำได้ว่าสมัยที่ป้าแต๋วเป็นเด็ก มีคนกรุงเทพฯ มาขอซื้อพระพุทธรูปพระ ประธานของวัด ชาวบ้านคิดว่ามันเป็นเพียง พระพุทธรูปไม้ธรรมดา ก็ตกลงขาย เพราะ

เราจะได้เอาเงินมาหล่อพระพุทธรูปส�ำริด ซึง่ ในตอนนัน้ คิดว่าได้พระพุทธรูปส�ำริดก็ยอ่ มดี กว่า พอตกลงขายเราก็ท�ำการหล่อพระพุทธ รูปใหม่ แต่พอแกะออกมาก็ไม่ได้สวยอย่างที่ ต้องการ เราก็ย้ายสถานที่หล่อใหม่จากหน้า วัดเป็นทีบ่ า้ นมณเฑียร แต่ตอนทีห่ ล่อนัน้ ก็เกิด ฟ้าผ่า คนทีก่ ำ� ลังหล่อพระอยูก่ ก็ ระเด็น แต่ไม่ ตาย แล้วพอชาวกรุงเทพฯ จะมายกพระไม้ ไปก็เกิดพายุฝน เกิดฟ้าผ่าที่หลังวัดอีก ชาว บ้านก็สงสัย เลยตัดสินใจไม่ขายแล้ว และก็ไม่ หล่อพระพุทธรูปส�ำริดขึน้ มาแทนด้วย ต่อมา ก็เห็นฝรัง่ มาส่องกล้องดูสองสามคน ชาวบ้าน ก็รีบปิดวัดเพราะกลัวว่าเขาจะมาขอซื้ออีก หลังจากนัน้ ก็ปดิ วัดมาโดยตลอดไม่ให้เข้าชม แล้ว มีครัง้ หนึง่ เจ้าอาวาสได้รบั ค�ำสัง่ จากท่าน ผู้ว่าฯ ให้น�ำพระพุทธรูปไม้พระประธานนี้ไป ให้สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตร ก็เรียกให้ ชาวบ้านมายกไป แต่พอคนหกคนช่วยกันยก ก็ยกไม่ขึ้น ก็มาเพิ่มอีกเป็น แปดคน สิบสอง คน ก็ยกไม่ขนึ้ ทีนเี้ จ้าอาวาสก็คดิ ขึน้ ได้วา่ ลืม ไหว้บอกกล่าวท่าน จึงได้น�ำพานใส่ดอกไม้ ธูปเทียนไปไหว้บอกกล่าวขออนุญาตว่า ขอ น�ำพระพุทธรูปไม้นี้ไปให้เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินดู เมือ่ ดูเสร็จแล้วก็จะน�ำกลับมาคืนตามเดิม เมือ่ ไหว้บอกกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว คนเพียงแค่ “หกคน” ก็ยกไปได้อย่างง่ายดาย จากนั้นก็ เอาไปไว้ทพี่ พิ ธิ ภัณฑ์สถานแห่งชาติให้สมเด็จ พระเทพฯ ทอดพระเนตร เสร็จแล้วก็นำ� ท่าน กลับมาไว้ตามเดิม เมื่อได้มาเป็นผู้น�ำชุมชนก็เริ่มต้นด้วย ชมรมคนรักวัดและการเปิดวัด ในตอนแรก ที่จะเปิดวัดบางคนก็มีปัญหา ต่อต้านกล่าว หาว่าเราจะเอาพระไปขายกิน ไม่ยอมให้เปิด เราก็ได้มีการท�ำประชาคม เรียกชาวบ้านมา เต็มวัดลงคะแนนเสียงกันว่าอยากให้เปิดหรือ

สิ่งที่ส�ำคัญอันดับแรก คือเราต้องมี “จิตเป็นสาธารณะ”


People Talk ไม่เปิด แต่คนทีไ่ ม่อยากให้เปิดก็มแี ค่สามสีค่ น คนส่วนใหญ่ยกมือให้เปิดได้ เพราะพวกเรา เห็นว่าถ้าเปิดวัด จะมีเงินเข้าวัด เราก็จะเอา เงินส่วนนีม้ าบ�ำรุงวัดไม่ตอ้ งไปเรีย่ รายเงินจาก ชาวบ้าน เพราะทุกๆ ปีต้องมีการไปเรี่ยราย เงินเข้าวัด ซึ่งบางคนก็ไม่มีเงินจะให้ พอเปิด วัดแล้วก็มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาเที่ยว กัน ทีนี้เราก็เห็นว่าน่าจะมีการจัดกิจกรรม ต่างๆ มีการฟื้นฟูวัฒนธรรมควบคู่ไปด้วย เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว Q: นักท่องเที่ยวมาจากไหนในเมื่อเคยปิด วัดมาก่อน เราก็เริม่ จากการรวบรวมเงินกันในกลุม่ คนรักวัด เมือ่ รวบรวมเงินได้กส็ ร้างห้องน�ำ้ ขึน้ มา ท�ำการปรับปรุงห้องน�้ำให้สะอาด มีเวร ท�ำความสะอาดห้องน�้ำในกลุ่มคนรักวัด เรา มีความคิดที่ว่า “ความสะอาดเป็นรากฐาน แห่งความดีหลายๆ อย่าง” ใครมาเที่ยววัด ก็ชื่นใจ เข้าห้องน�้ำได้อย่างสบายใจ เพราะ ห้องน�้ำสะอาด คนที่ล้างห้องน�้ำก็มีจิตใจที่ สะอาดตามไปด้วย ดังนัน้ เราเริม่ ต้นจากเรือ่ งของวัฒนธรรม ขยายมาในเรือ่ งของสิง่ แวดล้อมควบคูก่ นั ไปใน ปัจจุบัน พอเราท�ำมากๆ เข้า โครงการต่างๆ ก็เข้ามา เริม่ มีผมู้ าศึกษาดูงาน มีการบอกเล่า ปากต่อปาก เทศบาลก็มีการประชาสัมพันธ์ ให้ ว่าชุมชนนีส้ ะอาด ห้องน�ำ้ ก็สะอาด ชุมชน เป็นเมืองเก่าที่มีชีวิตจริงๆ เพราะเราเอาคน ที่มีชีวิตมาอยู่วัด บ้านใครมีผักพื้นเมืองก็เอา มาท�ำอาหารร่วมกันแบ่งกันกิน ซื้อก็แต่แค่ หมูกับไก่เท่านั้น Q: มีกระบวนการคิดที่เป็นระบบในการ จัดการในเรือ่ งของการท่องเทีย่ วในรูปแบบ นี้อย่างไร เริม่ จากการลองผิดลองถูก คิดเองว่าบ้าน ของเรามีของเก่าแก่ หรือมีวฒ ั นธรรมประเพณี เก่าอันไหนทีค่ วรรือ้ ฟืน้ และควรอนุรกั ษ์ไว้หรือ ไม่ เราเริม่ จาก “การอือ่ ลูก” แบบดัง้ เดิม ซึง่ ก็ คือการกล่อมเด็กแบบเก่าแล้วเอาไปแสดง พอ คนเห็นก็ตนื่ ตาตืน่ ใจ คนเฒ่าคนแก่กน็ ำ�้ ตาไหล เพราะได้ร�ำลึกถึงเรื่องเก่าเรื่องหลัง ทีนี้เรื่อง

“การสู่ขวัญควาย” ก็ถูกรื้อฟื้นขึ้น ชาวบ้าน ก็มคี วามกระตือรือร้น อยากทีจ่ ะแสดงวิถชี วี ติ แบบดั้งเดิมออกสู่สายตาประชาชนให้ลูกให้ หลานได้เห็น เมือ่ มีการแสดงทีล่ านวัฒนธรรม ข่วงเมืองน่าน บ้านมหาโพธิ์ก็แสดงพิธีสู่ขวัญ ควาย ก็เป็นที่ประทับใจของคนที่มาดู

จัดการพวกนี้ ไม่คอ่ ยมีใครอยากเป็น หัวหน้า บ้านมีสองวาระ วาระละสองปี ซึ่งตอนนี้ป้า แต๋วเป็นมาสองวาระแล้ว ต่อไปถ้าใครกล้า อาสามาท�ำงานตรงนี้ เราก็จะช่วยสนับสนุน อยู่ด้านหลัง คงไม่ทิ้งให้เขาท�ำเอง ถ้าใครมา ท�ำตรงนี้ต่อเราก็พร้อมที่จะช่วย

Q: แนวโน้มของการท่องเที่ยวในเขตเมือง น่าน คิดว่าน่าจะเป็นอย่างไรบ้างในอนาคต ถ้าเราไม่จ�ำกัดนักท่องเที่ยว หรือไม่ เลือกนักท่องเที่ยว มันก็จะมีนักท่องเที่ยว ทั้งที่มีและไม่มีคุณภาพเข้ามา ซึ่งเราต้องตั้ง รับ ในเรื่องของการจัดการต่างๆ ต้องมีการ ประชุมกับชุมชนบ่อยๆ ชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือ เขาเอาเงินมาให้เรา ข้อเสียคือ เขา น�ำขยะมาด้วย เราก็มีการปรึกษากันว่า เรา ควรจะท�ำอย่างไร จะจ�ำกัดนักท่องเทีย่ วหรือ ไม่ ระยะไหนบ้าง แต่ในบางครั้งเราก็ปฏิเสธ ไม่ได้ อย่างเช่นบางครั้งนักท่องเที่ยวบอกว่า อีกสองวันจะมา สามสี่วันจะมา อาทิตย์หนึ่ง มาสองสามคณะ เราไม่วา่ งเลยนีเ่ ราแย่นะ เรา ก็จะขอว่าขอขยับออกไปอีกหน่อยได้มั้ย ทิ้ง ช่วงบ้าง ซึง่ บางครัง้ สมาชิกในชุมชนไม่ได้รบั รู้ ถึงปัญหานี้ ก็ตอ้ งหาวิธจี ดั การ ต้องมีการปรับ Q: เรื่องการท่องเที่ยวกับสิ่งแวดล้อมมัน เปลี่ยนวิธีการคิดใหม่ในการรับนักท่องเที่ยว เกี่ยวกันอย่างไร ปัญหาอุปสรรคเป็นตัวส�ำคัญที่จะกระตุ้นให้ มันเป็นเรื่องที่คู่กัน เพราะนักท่องเที่ยว เราคิดใหม่ท�ำใหม่ นั้นเข้ามาก็มักจะน�ำขยะหรือสิ่งที่ท�ำให้บ้าน เราสกปรกเลอะเทอะก็คือ นักท่องเที่ยวน�ำ Q: สิ่งที่อยากฝากไว้ สิ่งของเหลือใช้มาเพิ่มในชุมชน แต่เราก็มี อยากฝากถึงนักท่องเทีย่ ว คือคุณมาเทีย่ ว วิธีการของเรา โดยขอให้รถรางที่พานักท่อง ได้แต่คณ ุ อย่าถือ อย่าน�ำขยะ สิง่ ปฏิกลู ทัง้ หลาย เที่ยวมา ช่วยบอกให้นักท่องเที่ยวทราบว่า เข้ามาในชุมชน เพราะน่านมีการรณรงค์เรือ่ ง ถ้าเขาน�ำกล่องโฟม หรือขยะที่ไม่อาจย่อย สิง่ แวดล้อม เช่นเรือ่ งของโลว์คาร์บอน ตัง้ แต่ สลาย ไม่อาจรีไซเคิล หรือไม่อาจน�ำไปใช้ เริม่ ตืน่ นอน การกิน การใช้ชวี ติ ทุกอย่างต้อง ประโยชน์ต่อได้ เราก็บอกว่าคุณอย่าเอามา ค�ำนึงถึงโลว์คาร์บอนหมด ผูป้ ระกอบการต้อง ถ้าเอามาให้คุณเอากลับไปที่เดิม เราก็จะไม่ รูเ้ รือ่ งของโลว์คาร์บอน แม้กระทัง่ ร้านอาหาร เห็นใครเอาเข้ามาเลย จะต้องมีอ่างดักไขมัน ร้านก๋วยเตี๋ยวก็ต้องใช้ หม้อลวกก๋วยเตี๋ยวที่เป็นสเตนเลส ห้ามเป็น Q: มีเป้าหมายสุดท้ายอย่างไรในการดูแล ตะกั่ว ทุกวันนี้ป้าแต๋วคิดว่า “มันจะส�ำเร็จ จัดการเกี่ยวกับชุมชนเมื่อถึงวันหนึ่งที่เรา ได้ถ้าเราท�ำด้วยใจ” แล้วภาครัฐ และภาค จ�ำเป็นต้องวางมือจากมันแล้ว เอกชนต้องเอากับเราด้วย เพราะถ้าให้เรา เราต้องสร้างทายาท หรือผู้สืบสาน ท�ำเองหมดมันก็ไม่ได้ ต้องมีผู้สนับสนุนด้วย อุดมการณ์ต่อ แต่คนที่จะมาท�ำตรงนี้ต่อมัน หายาก เขาจะปฏิเสธในเรื่องของการบริหาร แล้วทีนี้ตัวเองก็คิดว่าเมื่อประสบความ ส�ำเร็จในเรื่องหนึ่งๆ แล้วเราก็น่าจะมีการ รือ้ ฟืน้ ในเรือ่ งอืน่ ๆ อีก ก็เห็นว่า เรือ่ งการฟ้อน ร�ำ ฟ้อนแง้น ทีม่ นั หายไปแล้วก็นา่ จะมีการน�ำ กลับมาอีก ก็ลองถามเด็กๆ ถามว่าสนใจมั้ย ถ้าท�ำได้จะได้สตางค์ด้วยนะ เมื่อเด็กๆ ยอม ฝึกก็ไปหาคนเฒ่าคนแก่ที่เคยฟ้อนเป็น มา สอนเด็กๆ ทีนเี้ มือ่ เรารือ้ ฟืน้ การละเล่นเก่าๆ ขึ้นมา ก็มีการฝึกเด็กๆ รุ่นต่อรุ่น อย่างการตี กลองปูจาก็มีพ่อครูมณี เป็นคนสอน ฟ้อน ล่องน่านเราก็มาค้นพบว่าแม่บัวหอมฟ้อน เป็น ก็เชิญมาสอน ฟ้อนเจิง ก็มีแม่สมหมาย กับพ่อลุงหนานสมปานฟ้อนเจิงเป็น ก็น�ำมา สอน ชาวบ้านหลายคนก็สนใจ คนโน้นก็อยาก แสดง คนนี้ก็จะร่วมด้วย ทีนี้ก็เราเอามาร่วม ด้วยกัน ท�ำการฝึกสอนต่อๆ กันไป

Long Nan Booklet | 08


Nan View

สีซีดของเรือนไม้เก่าหลายหลังในเขต เมืองน่านนัน้ ดึงดูดสายตาของนักท่องเทีย่ ว เป็นอย่างดี ท�ำหน้าที่คล้ายกับเหรียญกล้า หาญ ทีป่ ระกาศตัวว่า ข้านัน้ ได้ผา่ นสงคราม มาหลายช่วงอายุคน มีบ้างที่ร่างกายครบ สมบูรณ์ดี บ้างที่พิกลพิการไป แต่สิ่งที่ยัง คงเหลืออยู่และเป็นหัวใจที่ท�ำให้เรือนเก่า ยังคงมีคุณค่าแบบเก่าก็คือ ผู้ใช้และพื้นที่ที่ อยู่ด้านในตัวเรือน วิถกี ารใช้ชวี ติ ยังมีหลายๆ อย่างทีย่ งั ไม่ เปลีย่ นจากอดีต การใช้พนื้ ทีใ่ นเรือนจึงยังคง สะท้อนให้เห็นผ่านทางงานสถาปัตยกรรมที่ เกิดขึ้น รูปด้าน ช่องเปิดหลายๆ แบบ ยังคง ความงามทีส่ อดคล้องกับพืน้ ทีภ่ ายใน แม้บาง หลังอาจจะเปลีย่ นแปลงรูปลักษณ์ภายนอก ไปเสียหมดแล้ว แต่ภายใน กลับยังให้ความ รูส้ กึ ของเรือนเก่าได้เป็นอย่างดี ดัง่ ค�ำโบราณ ที่เตือนสติเราไม่ให้มองอะไรเสียแต่เพียง ภายนอกเพียงอย่างเดียว

09 | จุลสารล่องน่าน


Cover Story

พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้ และแหล่งเรียนรู้ชุมชนวัดน�้ำล้อม เรื่อง : ปณิตา สระวาสี |ภาพ : Woodwork Studio

วัดน�้ำล้อมเป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดน่าน ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าสร้างมาตั้งแต่สมัย ใด หากแต่ชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมที่แห่งนี้เป็นเกาะกลางหนองน�้ำ ชาวบ้านได้ สร้างอารามเป็นเรือนไม้มุงด้วยหญ้าคากลางเกาะแห่งนั้น เมื่อจุลศักราช 1119 (พ.ศ. 2300) แล้วนิมนต์พระสงฆ์จากวัดอื่นมาจ�ำพรรษา ต่อมาเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ ครองนครน่านทรงสร้างวิหารถวาย แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2434 พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้เกิดขึ้นจาก การที่ชุมชนท�ำโครงการเสนอขอเงินจาก “โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ ชุมชน” (SML) ของรัฐบาล ในปี 2547 แล้ว น�ำมาสร้างพิพิธภัณฑ์ในชุมชน ให้เป็นสถาน ทีจ่ ดั เก็บโบราณวัตถุของวัดและใช้เป็นแหล่ง เรียนรู้ในชุมชน โดยได้รับความร่วมมือจาก บรรดาปราชญ์ท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่จาก พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ให้ความรูแ้ ละ ค�ำแนะน�ำต่างๆ ชั้นบนของศาลาพิทักษ์ไทยภายในวัด น�้ำล้อมถูกดัดแปลงเป็นพื้นที่จัดแสดง ที่นี่ ไม่เหมือนพิพิธภัณฑ์วัดส่วนใหญ่ท่ีจัดแสดง ข้าวของจ�ำนวนมากหลายชนิด หากแต่เน้น พระพุทธไม้ เอกลักษณ์โดดเด่นของเมืองน่าน และเป็นสมบัตเิ ก่าแก่ของวัด จ�ำนวนกว่า 200 องค์ พร้อมวัตถุเกี่ยวเนื่องศาสนาอื่นๆ อาทิ คัมภีร์ใบลาน หีบพระธรรม ปราสาทจ�ำลอง ลักษณะการจัดแสดงพระพุทธรูปไม้จะวาง ในตู้กระจกแปดเหลี่ยม ภายในท�ำเป็นชั้น วางลดลั่นทรงปิระมิด ผู้ชมสามารถเดินชม

ได้โดยรอบ ด้านหน้าตู้ติดป้ายค�ำอธิบายของ พระพุทธรูปไม้แต่ละองค์ พระบางส่วนจัด แสดงในประสาทจ�ำลองทีม่ ลี วดลายสวยงาม ความงดงามของพระเจ้าไม้และแสงเงาทีส่ อ่ ง กระทบ ท�ำให้บรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์ แห่งนีด้ ขู รึมขลังและสวยงามในขณะเดียวกัน พระพุทธรูปไม้ในภาษาพื้นเมืองเรียก กันว่า “พระเจ้าไม้” ในอดีตชาวน่านทั้ง ชนชั้นปกครองและสามัญชนนิยมสร้างพระ ไม้หรือพระเจ้าไม้ เพื่อสืบทอดพุทธศาสนา พระเจ้าไม้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีหลากหลาย พุทธลักษณ์และหลายขนาด มีฐานสูงเพื่อ จารึกข้อความ ส่วนมากบอกค�ำปรารถนาของ ผูส้ ร้าง ระบุวนั เดือนปีทสี่ ร้าง บางองค์ทำ� จาก เกสรดอกไม้ โดยน�ำเกสรมาเผาแล้วน�ำมาปัน้ ภายในเป็นโครงเหล็ก พระเจ้าไม้ทกุ องค์ทาง พิพธิ ภัณฑ์ได้ทำ� ทะเบียนและบันทึกข้อมูลราย ละเอียดไว้แล้ว และท�ำให้ทราบว่าพระเจ้าไม้ ที่นี่มีอายุการสร้าง 200 กว่าปีมาแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. 2281 ถึง 2505

วิหารวัดน�้ำล้อม มีรูปทรงคล้ายแม่ไก่

พระประธานภายในวิหาร

บุษบกจ�ำลอง

เกร็ดล่องน่าน พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้ และแหล่งเรียนรู้ชุมชน วัดน�้ำล้อม ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน โทร: 0-4810-1120, 0-5471-068-2 เปิดทุกวัน กรุณาแจ้งล่วงหน้า ไม่เก็บค่าเข้าชม ข้อมูลเพิ่มเติม: ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/

Long Nan Booklet | 10


เนิ บ ช้ า ในเมื อ งน่ า น กับสารพัดวิธีการเดินทางแสนสะดวก เดิน เดิน เดิน

ง่ายที่สุด ประหยัดที่สุด ไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์ใดๆ แค่ เตรียมร่างกายให้พร้อมแล้วก็ก้าวขาอออกไปชมเมืองเก่า วัดเก่า กันได้ทั่วน่านในแบบใกล้ชิด ทั้งสถาปัตยกรรม และวัฒนธรรมที่เรียงรายอยู่รอบตัวแบบใกล้ชิดกว่าใคร ค่าใช้จ่าย ฟรี

สามล้อถีบ เบือ่ จากการเดินลองมาเทีย่ วโดยสามล้อถีบในแบบเมือง น่าน นัง่ อยูข่ า้ งหลังคนขับพร้อมเสพบรรยากาศเมืองสองข้าง ทาง ชมวิถชี าวบ้าน ราวกับเป็นเจ้านายสมัยก่อน พิงพนักด้าน หลังพลางหยิบกล้องถ่ายรูปมาเก็บภาพความทรงจ�ำเก๋ๆ อึดใจ เดียวก็ชมเมืองไปได้ทั่วไม่รู้ตัวจนต้องขอเพิ่มรอบ นั่งสามล้อผ่อเมืองน่าน ติดต่อศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โทร. 054-751169 , 054-750247

นั่งเนิบไปกับคุณลุงถีบสามล้อแล้วแกไม่ยอม ตามใจ ตอนเราขอแวะนอกเส้นทางแล้วล่ะก็ จักรยาน นี่แหละคือค�ำตอบสุดท้าย ที่จะปลดปล่อยอิสระใน การลัดเลาะทั่วเมืองด้วยความรวดเร็วและไม่เหนื่อย จนเกินไป เก็บแรงไว้ชักภาพสวยๆ แล้วก็ปั่น ปั่น ปั่น ให้ทั่วเมืองดีกว่าเยอะ เช่าจักรยานติดต่อศูนย์บริการนักท่องเที่ยว หรือที่พักและร้านเช่าจักรยานทั่วไป

นั่งรถราง

หากได้ลองทั้ง เดิน นั่ง ถีบ จนทั่วเมืองแล้วแต่ก็ยังอดสงสัยไม่ได้ อยากให้มีคนมาอธิบายประกอบด้วย ต้องขอแนะน�ำรถรางเมืองน่าน ที่มี มักคุเทศก์อาสาสมัครที่มาช่วยคอยบรรยายระหว่างนั่งสบายๆ ในรถราง ขนาด 46 ที่นั่ง อีกทั้งยังได้เจอเพื่อนร่วมทางคนอื่นๆ ไว้คุยแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ดีๆ อีกด้วย อัตราค่าบริการ ท่านละ 30 บาท เหมาบริการ ราคา 500 บาท (ติดต่อศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โทร. 054-751169 , 054-750247)

ข้อมูลจากส�ำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.