e-L
earning
“การศึกษาคืออนาคตของชาติ เส้นทางสูอนาครจะสดใส ด้วยกำลังคนที่ผ่านมาการหล่อหลอมให้รู้จักตนเอง รู้จัก โลก รู้จักศาสตร์ และศิลป์ เพื่อการดำรงอยู่ในโลกอย่างมี ความสุข ถึงพร้อมด้วยภูมิปัญญาและจินตนาการที่จะช่วย ให้ก้าวสู่หลักชัยในสังคมเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต”
กระแสความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ผลักดันให้มหาวิทยาลัยรังสิตปรับตัวไปสู่การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศในงานหลายด้านได้แก่ ด้านการบริหารและการประสานงาน เป็นไปได้ด้วยความคล่องตัว รวดเร็ว ทันใจ ด้านการจัดการเรียนการ สอนและการบริการวิชาการ เพื่อให้นักศึกษา ประชาชนทั่วไปทุกภาคของ ประเทศ หรือแม้แต่ผู้ที่อยู่ห่างไกลในต่างประเทศได้รับการศึกษาที่มี คุณภาพและสามารถเข้าถึงได้ด้วยตนเองผ่านการเรียนการสอนระบบการ ศึ ก ษาทางไกลอิ น เตอร์ เ น็ ต ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง ทั้ งในหลั ก สู ต รระดั บ ปริญญาตรีและปริญญาโท
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์
อธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต
RSU-Cyberu.com
ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล
ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต RSU-Cyber University 2 e-learning
มหาวิทยาลัยรังสิตโดยท่านอธิการบดี ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของ การพัฒนาระบบการศึกษาที่มีคุณภาพด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยที่สุด จึงได้มอบหมายให้กระผม ได้ริเริ่มจัดตั้งและดำเนินงานระบบการศึกษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ RSU Cyber University ทันที หลังจากที่มีประกาศของกระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้เปิดสอนทางไกลผ่าน ระบบอินเทอร์เน็ตขึ้น ทั้งนี้ RSU Cyber University นั้นเป็นสถานศึกษาที่มีระบบการเรียน การสอนภาษาไทยผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกและใหญ่ที่สุดของประเทศในขณะนี้ ในภาคการ ศึกษา 1/2551 นี้กำลังจะมีนักศึกษาจบการศึกษา 2 หลักสูตรด้วยกัน คือ หลักสูตรศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง และสาขานิติศาสตรบัณฑิต นอกจากนี้สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศก็กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงสุด RSU Cyber University แห่งมหาวิทยาลัยรังสิตมีความตั้งใจจริงที่จะใช้เทคโนโลยีที่ ทันสมัยทุกรูปแบบ ทั้งแบบเคลื่อนที่ สะดวกพกพา หรือที่จะเกิดขึ้นใหม่ในยุค 3 จี หรือ 4 จี เพื่อที่จะขับเคลื่อนระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตให้บริการแก่นักศึกษาอย่างมี คุณภาพที่สุด ด้วยความรู้ที่สัมผัสได้และมีปฎิสัมพันธ์จริงระหว่างอาจารย์และนักศึกษา มีความ รู้สึกใกล้ชิดอบอุ่น และเรียนรู้ด้วยบรรยากาศที่ใจนักศึกษารักและต้องการเพื่อสร้างคุณค่าและ ความก้าวหน้าในวิชาชีพของทุกคน ทีมงาน RSU Cyber University แห่งมหาวิทยาลัยรังสิตตั้งใจจริงและพร้อมเสมอที่จะให้ ทุกท่านได้สัมผัสกับระบบการศึกษายุคใหม่ที่มีคุณภาพมาตรฐานและ มั่นใจได้ว่าระบบเราอยู่ ระดับ World Class
คำนำ อีเลิร์นนิ่ง e-Learning ทางเลือกสำคัญของผู้นำอิเล็กทรอนิกส์ วิธีศึกษาหาความรู้ที่ทันสมัยและสะดวกรวดเร็ว คือ การศึกษาหาความรู้
แบบอีเลิร์นนิ่ง นั่นคือ ศึกษาหาความรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ปรมาจารย์ด้านบริหารธุรกิจ กล่าวว่า ยอดเงินค่าใช้จ่ายด้าน อีเลิร์นนิ่งจะสูงกว่าด้านอีคอมเมิร์ซ และมีการคาดการณ์จากนิตยสารไทม์ว่า ไม่เกิน ปี พ.ศ. 2563 หรือ ค.ศ. 2020 นับจากปี 2551 นักศึกษามากกว่าครึ่งจะใช้วิธี อีเลิร์นนิ่ง เพราะเป็นแบบ “ใครก็ได้ จากที่ใดก็ได้และเมื่อใดก็ได้” จากรายงานของบริษัทวิเคราะห์อุตสาหกรรมทั่วโลก พบว่า ในปี 2550 ตลาดอีเลิร์นนิ่งในสหรัฐมีมูลค่าประมาณ 600,000 ล้านบาท และในปี 2553 คาดว่า ตลาดอีเลิร์นนิ่งทั่วโลกน่าจะมีมูลค่าประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท สำหรับตลาดอีเลิร์นนิ่งในการฝึกอบรม ในสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี 2550-2555 คาด ว่า จะมีอัตราการเจริญเติบโตถึงร้อยละ 35.1 ต่อปี และเมื่อถึงปี 2555 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 3.41 ล้าน บาท ฉะนั้น อีเลิร์นนิ่ง จึงเป็นทางเลือกสำคัญที่ผู้นำอิเล็กทรอดนิกส์ อาจนำไปใช้เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากพอที่จะ แข่งขันกับหน่วยงานอื่นได้ และใช้เป็นกลยุทธ์ในการลดต้นทุนด้านงบประมาณ และเวลาที่จะต้องเสียไปในแต่ละครั้ง ที่ต้องส่งพนักงานเจ้าหน้าทีไ่ ปฝึกอบรมนอก สถานทีห่ รือจ้างผูเ้ ชีย่ วชาญมาฝึกอบรมให้ทหี่ น่วยงาน ท่านที่สนใจเรื่องอีเลิร์นนิ่ง ก็สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มได้จาก กูเกิล (wwwgoogle.com) ถ้าค้นหาคำว่า “อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) จากกูเกิล ก็จะพบ 59,600,000 รายการ และ ถ้าค้นคำว่า “อีเลิร์นนิ่งสำหรับหน่วยงาน (Corporate e-Learning) ก็จะพบมากถึง 1,080,000 รายการ การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-Learning เป็นการศึกษาเพื่อเปิดโอกาสให้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ทุกชนชั้นได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างไม่มีข้อจำกัด คือเป็นการเรียนสำหรับทุกคน เรียนได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ (Learn for all: anyone, anywhere and anytime) เพราะ การเรียนรู้ด้วยตัวเองสามารถเลือกเรียนเนื้อหาตามความสนใจและเลือกช่วงเวลาในการศึกษา ให้เหมาะกับตัวเองได้ และเนื่องจากต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง เนื้อหาในบทเรียนจึงสำคัญ เพราะ จะประกอบไปด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ และมัลติมีเดียอื่นๆ ทุกอย่างต้องสอดคล้อง กัน (จากหนังสือ ผู้นำ ไฮสปีด โดย ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บุรุษคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย)
4 e-Learning
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการและประธานผู้บริหาร วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
Contents P.
บัญชีสาขาท๊อปฮิตอันดับ 1 เรียนแล้วไม่ตกงาน 22 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
P. 40 ม.ศรีปทุม...เปิด 11 หลักสูตร ห้องเรียนยุคดิจิทัล การเรียนที่แตกต่าง สัมภาษณ์ ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพณิช ความหมาย e-Learning คำแนะนำสำหรับอาจารย์ e-Learning หลักสูตรเด่น หลักสูตรทางไกล นักศึกษานับแสนทั่วโลก สัมภาษณ์ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน รายได้ของคน ไอที ในอเมริกา
e-Learning สื่อในการเรียนการสอน
8 18 24 30 34 36 44 47 54
ABAC Farther of e-Learning
P.10
P. 50 ม.รังสิต “พ่อมด ไซเบอร์”
ตั้งใจทำให้ “เร็วกว่าสั่งพิซซ่า”
พลิกสถาบันการศึกษาน่าสนใจ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
หน้า 2 3 5 7,26 40 56
ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายโฆษณา : ณัฐวรา แสงวารินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณา : วิจิตรา ศิริวรากุล ฝ่ายการตลาด : กัญญารัตน์ อึ่งสกุล ฝ่ายโฆษณา : วิจิตรา ศิริวรากุล, จารุวรรณ วรบัณฑูร จันทร์ทิวา ศรทอง, จรัลพิสิษฐ์ จ่างพันธุ์ ศาสตรา ไชยเเก้ว โทร. 0-2338-3333 ต่อ 3037 โทรสาร. 0-2338-3904 กองบรรณาธิการพิเศษ : ชุมชนเมือง-คุณภาพชีวิต กราฟิก : ธนัท สุพิชญางกูล, ณัฐกร ทวีศักดิ์ สำนักงาน เลขที่ 1854 ถ.บางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กทม. 10260 บริษัท เกียวโด เนชั่น พริ้นติ้ง เซอร์วิส จำกัด 167/5 หมู่ 4 ถนน บางนา-ตราด ตำบล บางบ่อ อำเภอ บางบ่อ จังหวัด สมุทรปราการ 10560
P.
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ชีวิตสนุกทุกการเรียนรู้ ใช้ e-Learning 26 เติมเต็มการเรียนการสอน
อ้างอิง www.google.co.th, www.elearning.nectec.or.th/, www.chulaonline.com/, www.thaicyberu.go.th
e-L
earning
“ห้องเรียนกระดานดำ” คำขนานนามแหล่งความรู้ที่คุ้นเคย ของคนทุกยุคทุกสมัย แต่ในโลกยุคดิจิทัลอย่างปัจจุบันนี้ การ หาความรู้จากห้องเรียนกระดานดำคงไม่ตอบสนองความต้องการ กับคนในยุคปัจจุบันได้ดีที่สุด หากมี วั น หนึ่ ง คุ ณ ต้ อ งการศึ ก ษาเรื่ อ งที่ คุ ณ สนใจหรื อ ต้ อ งการ เรียนรู้ได้ทันที วันนี้ การเรียนรู้แบบ “e-Learning” จะเป็นคำตอบ ของคุณได้ดี คำจำกั ด ความง่ า ยๆ ของ “e-Learning” ย่ อ มาจาก
(Electronic Learning) คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะ เป็น เช่น การเรียนรู้ผ่านซีดีรอม, เครือข่ายอินเทอร์เน็ต การเรียน การสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), เครือข่ายภายในองค์กร หรืออินทราเน็ต, การเรียนรู้ผ่านสัญญาณดาวเทียม (Satellite) หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น การเรียนรู้ในลักษณะนี้ได้มี การนำมาพัฒนาและใช้สำหรับการเรียนการสอนในเมืองไทยมาสักระยะ หนึ่งแล้ว
สถิติของมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
(ตั้งแต่เปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อ 12 มกราคม 2548) จำนวนสมาชิกที่ลงทะเบียน 44,318 คน - นักเรียน 41,855 คน - อาจารย์ 2,463 คน จำนวนบทเรียน 442 บทเรียน จำนวนหลักสูตร 16 หลักสูตร จำนวนบทเรียนที่มีการลงทะเบียนเพื่อเข้าเรียน 68,135 บทเรียน จำนวนครั้งที่มีผู้เข้าใช้บริการในบทเรียน 946,303 ครั้ง มหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการ 33 แห่ง ปรับปรุงข้อมูลครั้งหลังสุด : 25 มิถุนายน 2551
e-Learning ห้องเรียนยุคดิจิทัล
คนทั่ วไปมั ก เข้ าใจว่ า e-Learning คื อ การเรี ย นการสอนที่ น ำ เทคโนโลยีทางด้านเว็บหรือการเรียนทางอินเทอร์เน็ต (online learning) ที่ได้มาการนำเข้ามาเพื่อใช้ในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไป แต่ในทางปฏิบัติ e-Learning ไม่ได้หมายความถึงเพียง การเรียนผ่านเว็บไซต์เท่านั้น แต่รวมถึงการจัดรูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้ เ ทคโนโลยี มั ล ติ มี เ ดี ย (Multimedia Technology) หรื อ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนบนเว็บ (WBI = Web-based Instruction) และเทคโนโลยีเชิง โต้ตอบ (Interactive Technology) ด้วย คล้ายกับการเรียนทางไกล
(Distance learning) ที่คุณสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง องค์ประกอบของ E-Learning 1. ระบบจัดการการศึกษา (Management Education System) ทำหน้าที่ควบคุม และประสานงาน ให้ระบบดำเนินไปอย่างถูกต้อง มีหน้า ที่ในการวางแผน กำหนดหลักสูตร ตารางเวลา แผนด้านบุคลากร แผน ด้านงบประมาณ แผนอุปกรณ์เครือข่าย แผนประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้ระบบดำเนินต่อไปด้วยดี และไม่หยุดชะงัก
8 e-Learning
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง MIT OCW, USA มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย UNESCO BANGKOK National Institute of Multimedia Education (NIME), Japan สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลธั ญ บุ รี Gwangju-Jeonnam University e-Learning Research & Support Center, The Republic of Korea มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลรั ต นโกสิ น ทร์ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยขอนแก่น Hanyang Cyber University, The Republic of Korea
2. เนื้ อ หารายวิ ช า (Contents) หน้ า ที่ ข องผู้ เ ชี่ ย วชาญ ที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายให้เป็นผู้สอนที่จะจัดเตรียมเนื้อหาต่างๆ เป็นบท และเป็นขั้นตอน เพื่อให้เรียนรู้ได้ง่าย 3. การสื่อสาร (Communication) เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การเรียน รู้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อาจจะมีการนำสื่อต่างๆ เช่น E-mail, Chat room, Web board หรือ โทรศัพท์ เป็นต้น เพื่อนำมาใช้ในการแสดงความคิดเห็นหรือให้คำ แนะนำกับผู้เรียนได้ 4. วัดผลการเรียน (Evaluation) เป็นการสร้างมาตรฐาน ที่จะนำผล การสอบไปใช้งานได้ ว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ จึงจะถือว่า เป็นการ เรียนรู้ E-Learning ที่ดี ประเภทของ e-Learning แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. Synchronous การเรียนรู้ในลักษณะนี้ คือ ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ใน เวลาเดียวกัน เป็นการเรียนแบบเรียลไทม์ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 2. Asychronous เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ในเวลา เดียวกันไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์ เน้นศูนย์กลางที่ผู้เรียน เป็นการเรียน ด้วยตนเอง ผู้เรียนเรียนจากอินเทอร์เน็ตนั่นเอง ประโยชน์ของ e-Learning • สะดวกในการเรียน เนื่องจากไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ประกอบกับ การเรี ย นผ่ า นอิ น เทอร์ เ น็ ต จะทำให้ เ ข้ า ถึ ง ได้ ง่ า ย และยั ง มี ค่ า เชื่ อ มต่ อ
อินเทอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าสมัยก่อนและมีการพัฒนาให้มีความเร็วใน การตอบสนองให้ดีขึ้นอีกด้วย • ปรับปรุงข้อมูลได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลทั้งหมดถูกจัดเก็บอยู่ในรูป แบบไฟล์คอมพิวเตอร์ ทำให้การปรับแก้ข้อมูลสามารถทำได้โดยง่าย ขึ้นอยู่ กับความชำนาญของผู้สอน และข้อมูลที่ทำการปรับปรุงก็จะถูกส่งถึงผู้เรียน ได้รวดเร็วทันที ตามที่ผู้สอนกำหนด • ประหยัดเวลา ประหยัดค่าเดินทางและค่าเอกสาร เนื่องจากข้อมูล ทั้งหมดถูกจัดเก็บอยู่ในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์และมีการเผยแพร่ข้อมูลผ่าน ระบบอินเทอร์เน็ตหรือสื่อคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนโดย ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปโรงเรียน หรือที่ ทำงาน นับว่าเป็นการประหยัดเวลาในการเดินทางมากและส่งผลให้ประหยัด ค่าใช้จ่ายในด้านการเดินทางหรือด้านเอกสารอีกด้วย
ผลลัพธ์ที่ได้จาก e-Learning (จากวารสาร Packet Cisco Vol 12. No.3)
ประโยชน์ของการเรียนแบบออนไลน์ e-Learning เทียบกับการเรียนในห้องเรียนกระดานดำ ห้องเรียนกระดานดำ e-Learning จำนวนผู้เรียน จำกัด ขึ้นอยู่กับขนาดของห้องเรียน สามารถเรียนรู้ได้ไม่จำกัดจำนวนเนื่องจากเรียนที่ใดก็ได้ ระยะเวลาเรียนรู้ มีกำหนดระยะเวลาที่เปิดสอนต่อวัน เรียนได้ 24 ชั่วโมงต่อวัน และ 7 วันต่อสัปดาห์ การทบทวนซ้ำ จำกัด ไม่สามารถทวนซ้ำได้ ไม่จำกัด เพราะสามารถทวนซ้ำได้หลายๆ ครั้ง เท่าที่ต้องการ นอกจากการศึกษาด้วยตนเองจากการ จดบันทึก การวัดผล วัดผลด้วยตัวเอง หรือครูผู้สอน วัดผลอัตโนมัติจากระบบการวัดผล หรือครูผู้สอน ค่าใช้จ่าย สูง จะมีในส่วนค่าสถานที่และค่าจ้าง น้อยกว่าเมื่อเทียบกับจำนวนครั้งการสอน ผู้สอนต่อครั้งอีกด้วย เพราะจะเสียค่าจ้างครูผู้สอนครั้งเดียวในการผลิตเนื้อหา ห้องเรียนยุคดิจิทัลอย่าง e-Learning จะทำให้การเรียนรู้ไร้ขีดจำกัด เป็นการเรียนรู้แนวใหม่ที่จะมาพัฒนาการเรียนการสอนพัฒนา คนและพัฒนาประเทศชาติต่อไป
e-Learning 9
e-L
earning
หลายๆ คนสงสัยว่าการเรียนทางไกลผ่านสื่ออิ เล็ก ทรอนิกส์
(e-Learning) แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนมากไหม อย่างไร? ยังคงมีอาจารย์ผู้สอน มีเพื่อนร่วมชั้น มีการพูดคุย ทำกิจกรรมร่วม กันระหว่างผู้เรียน ถามตอบปัญหากับผู้สอนหรือไม่ มีการบ้าน ต้องส่ง มีการสอบหรือเปล่า? การเรี ย นทางไกลผ่ า นสื่ อ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ยั ง คงมี องค์ประกอบเหมือนการเรียนในชั้นเรียน เช่น อาจารย์ เพื่ อ นร่ ว มชั้ น และการทำกิ จ กรรมการเรี ย น การบ้าน รวมทั้งการสอบเพื่อประเมินความรู้ เพี ย งแต่ ว่ า รู ป แบบ และวิ ธี ก ารเปลี่ ย นไป กล่าวคือ ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องเดินทางมาอยู่ ณ สถานที่เดียวกัน ในเวลาเดียวกัน โดยผู้เรียน สามารถจัดเวลาในการเรียนตามเวลาที่สะดวก และ เรียนในสถานที่ที่สะดวก ไม่ว่าจะเป็นที่พัก หรือเวลาว่าง ในที่ทำงาน โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ด้วยหลักการที่ยืดหยุ่นในเรื่องเวลา และสถานที่ เป็นข้อดีที่ จะให้โอกาสผู้เรียนที่มีข้อจำกัดต่างๆ สามารถเข้าเรียนได้ แต่ในขณะ
18 e-Learning
การเรียนที่แตกต่าง
เดียวกันก็เป็นความรับผิดชอบของผู้เรียนที่จะต้องมีวินัยในการเรียน ติดตามการเรียน การส่งงานตามกำหนด (เนื่องจากอาจารย์จะไม่ สามารถติดตามได้ใกล้ชิดเหมือนในการเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ) ผู้เรียนยังคงต้องมีทักษะในการเรียนที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการ วางแผนและควบคุมเวลาในการทำกิจกรรมการเรียน การจัดระบบ ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการทำงานกลุ่มย่อย ทักษะในการค้นคว้า ข้อมูล ทักษะในการคิดไตร่ตรอง คิดวิเคราะห์ โดยจะต้องเพิ่มเติม ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทักษะใน การพิมพ์ดีดภาษาไทย-อังกฤษ และทักษะการสื่อสารโดยใช้ข้อความ แทนวาจา (ในสภาพแวดล้อมผูเ้ รียนต่อเชือ่ มระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีความเร็วสูง อาจจะสามารถสื่อสารด้วยวาจาร่วมด้วย) การเรี ย นให้ ป ระสบความสำเร็ จในการเรี ย นทางไกลผ่ า นสื่ อ
อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่เรื่องยากนัก หากมีความเข้าใจ และเตรียมตัว พอควร ขอสรุปเป็นแนวทางการเรียนทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ ประสบความสำเร็จ ดังนี้ สร้ า งความเคยชิ นในการใช้ เ ครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ และระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฝึกหัดการค้นข้อมูล ฝึกหัดการรับส่งจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ฝึกหัดใช้เครื่องมือในการสื่อสาร และเครื่องมือในการ เรียนของระบบจัดการเรียนจนมีความมั่นใจในการใช้งาน การทดลอง และฝึกหัดควรทำในสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานที่เรียน เช่นที่ทำงาน หรือที่ บ้าน เนื่องจากบางครั้งระบบเครือข่ายของแต่ละสถานที่อาจจะมีการติด ตั้งโปรแกรมป้องกันบางอย่างที่ทำให้เกิดปัญหา อุปสรรคในการเข้าใช้ บทเรียน ทำความเข้าใจกับประมวลรายวิชา (Course Syllabus) เพื่อจะได้ ทราบการเตรียมตัวในการเรียน วิธีการเรียน กำหนดการส่งงานต่างๆ
และวิ ธี ก ารประเมิ น ผลของรายวิ ช า ตรวจสอบวิ ธี ก ารสื่ อ สารกั บ อาจารย์ และเพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียน และวิธีการขอความช่วยเหลือหาก มีปัญหา วางแผนการเรียนของตนเอง เช่น จะใช้เวลาใดในแต่ละวันเพื่อ เข้าสู่บทเรียน ใช้เวลาสัปดาห์ละกี่ชั่วโมงในการเรียน เผื่อเวลาให้ มากกว่าเวลาที่ต้องใช้จริงตามที่กำหนดในประมวลรายวิชา ส่งงานหรือ ทำกิ จ กรรมที่ ก ำหนดให้ เ สร็ จ ก่ อ นเวลาเสมอ เนื่ อ งจากอาจจะมี เหตุการณ์ไม่ได้คาดคิดเกิดขึ้นในวินาทีสุดท้าย เช่น ระบบเครือข่าย ล้มเหลว เครื่องคอมพิวเตอร์เสียหาย ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ส่งงานไม่ทัน สร้างนิสัยที่ดีสำหรับการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น เปิดตู้ e-mail อย่างน้อยทุกวันวันละครั้ง เปิดอ่านข่าวประกาศ ของรายวิชาเป็นประจำ เปิดกระดานถามตอบเป็นประจำเพื่อติดตาม ประเด็นถามตอบ เป็นต้น ทำความเข้าใจกับการสื่อสารด้วยตัวอักษร ขอให้ เ ข้ าใจว่ า การสื่ อ สารด้วยตัวอักษร จะไม่มี สีหน้า ท่าทางของผู้พูดมาช่วยในการตีความหมาย ข้อความ ดังนั้นผู้สื่อสารจำเป็นต้องใช้ข้อความที่ ชัดเจน สื่อความหมายตรงประเด็น อาจจะใช้การ ยกตัวอย่างช่วยให้เกิดความเข้าใจที่เป็นรูปธรรม สำหรับผู้อ่านข้อความก็ควรจะอ่านอย่างตั้งใจ และ พยายามทำความเข้าใจในแง่มุมของผู้สื่อสารเพื่อ ให้ เ กิ ด ความเข้ า ใจที่ ใ กล้ เ คี ย งความตั้ ง ใจของ
ผู้สื่อสาร เข้าสังคมออนไลน์ โดยพยายามทำความรู้จัก คุ้นเคยกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และอาจารย์ โดย การสื่อสาร พูดคุย ทักทาย และเรียนรู้กันและกัน จากประวัติ (Profile) ในการเรียนทางไกลผ่าน อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากจะไม่ได้พบกันแบบเห็นหน้า ความรู้สึกคุ้นเคย สนิ ท สนมกั น ระหว่ า งผู้ เ รี ย นมั ก จะไม่ ค่ อ ยมี หากผู้ เ รี ย นไม่ พ ยายาม ทำความรู้จักกันแล้ว เมื่อเรียนไปได้สักระยะแต่ละคนจะรู้สึกโดดเดี่ยว ขาดแรงจูงใจในการเข้าเว็บการเรียน อาจจะนำไปสู่การเลิกเรียนกลาง ครันได้ ขอความช่วยเหลือทางเทคนิคทันทีที่มีปัญหา อย่าปล่อยให้เวลา ผ่านไป หรือพยายามแก้ไขปัญหาด้วยตนเองเป็นเวลานาน ปัญหาทาง ด้านเทคนิคบางครั้งละเอียดอ่อน และต้องการผู้มีประสบการณ์ในการ ช่ ว ยแก้ ไ ข ขณะเดี ย วกั น การพยายามเรี ย นรู้ เ พื่ อใช้ เ ครื่ อ งมื อ ทาง เทคโนโลยีไปพร้อมกัน ก็จะเป็นประโยชน์ในอนาคต ทำความเข้าใจตนเอง ข้อดี ข้อจำกัด ค้นหาแบบการเรียนของ ตนเอง (Learning Style) ทำการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อให้ สามารถเรียนได้ประสบความสำเร็จ เช่น ชอบเรียนด้วยการอ่าน หรือ ชอบเรียนด้วยการดูและฟังการบรรยาย หรือชอบเรียนด้วยการปฏิบัติ กิจกรรม ก็ให้พยายามเลือกสื่อและวิธีการที่ใช้ในการเรียนให้เข้ากับ แบบการเรียนของตนเอง หรือ จะเรียนเนื้อหาได้ดีในตอนกลางคืนที่ไม่ มีผู้รบกวนก็จัดเวลาเรียนเป็นช่วงกลางคืน
บทเรียนออนไลน์ (e-Learning) สื่อการเรียนการสอน (Learning Resources) และห้องสมุดออนไลน์ (e-Library) ใน TCU จะเป็นแหล่ง ค้นคว้า อ้างอิง สื่อการเรียนการสอน บทเรียนเสริม สำหรับผู้เรียน/
นักศึกษาทุกท่าน เพียงแต่ท่านลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับ TCU ผู้เรียน/นักศึกษาในสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา สามารถศึกษา แนวทาง รูปแบบ วิธีการ ในการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ โดยทดลองสร้างรายวิชาใน TCU รายวิชาที่อาจารย์ สร้างเพื่อศึกษา ทดลองนี้จะจัดอยู่ในส่วนของ Experimental Zone
(ทดลองสร้างบทเรียน) และเพื่อการทดลองที่ครบถ้วน ผู้เรียน/นักศึกษา สามารถเลือกอนุญาติให้เฉพาะกลุ่มตัวอย่างเข้ามาใช้บทเรียนได้
e-Learning 19
e-L
earning
หลักสูตรบัญชี e-Learning ช่วยผลิตนักบัญชีที่ขาดแคลนมาก หางานง่ายกว่าแพทย์ วิศวะ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดการเรียนแบบ e-Learning หลักสูตรบัญชี ขึน้ มา เพราะนอกจากจะเป็นการช่วยผลิตบุคลากร ที่กำลังขาดแคลนในท้องตลาดแล้ว ยังเป็นการขยายโอกาส ทางการศึกษาให้แก่คนทีอ่ ยูต่ า่ งจังหวัดอีกด้วย การเรียน e-Learning หลักสูตรบัญชี ของมหาวิทยาลัย มี เป้าหมายอยู่ที่กลุ่มนักศึกษาที่อยู่ต่างจังหวัด ไม่สะดวกที่จะเข้ามาใน มหาวิทยาลัย เป็นกลุ่มคนที่ทำงานแล้ว แต่วุฒิที่มีอยู่ยังไม่จบ ปริญญาตรี หรือ กลุ่มคนที่ได้วุฒิปริญญาตรีมาแล้ว แต่ไม่ตรง กับงาน ถ้ามาเรียนในหลักสูตรนี้ก็จะได้พัฒนา และได้วุฒิปริญญา ตรีอีกหนึ่งใบที่ตรงกับงาน บทเรี ย นที่ นั ก ศึ ก ษาต้ อ งเรี ย นแบบ e-Learning จะเป็ น บทเรียนที่ถอดมาจากตำรา ที่นักศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัยกำลัง เรียนอยู่ แต่ความพิเศษของนักศึกษาที่เรียนแบบ e-Learning ที่มี มากกว่านักศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัยคือ จะมีภาพสถานที่การ ทำงานจริงที่อธิบายอยู่ในบทเรียนให้ได้เห็นจากจอคอมพิวเตอร์ ขณะเดียวกันก็มีส่วนที่เป็นแบบฝึกหัดให้ทำด้วย ก่อนเข้าบทเรียนก็จะทดสอบก่อนเข้าเรียน และหลังจากเรียน แล้ว ก็จะมีแบบฝึกหัดให้ตอบเพื่อเป็นการประมวลผลคะแนนให้รู้ได้ ในขณะนั้นเลย ทั้งก่อนเข้าเรียน และหลังจากเข้าไปดูบทเรียนแล้ว นักศึกษามีความเข้าใจในบทเรียนมากน้อยแค่ไหน แม้ว่า นักศึกษาจะไม่ต้องเข้าเรียนในห้องเรียน เรียนอยู่หน้า จอคอมพิวเตอร์แทน แต่คอมพิวเตอร์ได้กำหนดหลักสูตรการเรียน ในแต่ละเทอมไว้แล้วว่า ต้องเรียนกี่บทเรียน หรือมากน้อยแค่ไหน ถ้ายังไม่ได้อ่านบทที่หนึ่ง ก็ไม่สามารถข้ามไปอ่านบทที่สองได้ หรือ ภายใน 1 เทอม มีเวลาในการเรียน 4 เดือน จะมีช่วงสอบมิด เทอมเพื่อเก็บคะแนน ซึ่งนักศึกษาสามารถสอบผ่านจอได้ แต่ได้ คะแนน 20 คะแนน ที่เหลือต้องสอบจริงกับอาจารย์ในสถานที่ สอบที่มีการนัดสอบเพื่อจบภาคเรียน ต้องยอมรับว่า นักศึกษาที่เรียนในระบบนี้ ต้องมีความตั้งใจ และมีความมุ่งมั่นในการเรียน ต้องรู้จักการวางแผนในการเรียน ด้วย เพราะนักศึกษาต้องดูแลตัวเองไม่ได้มีอาจารย์มาคอยบอก โดยตรงเหมือนเรียนในมหาวิทยาลัย แต่หลังจากเรียนไปแล้ว 14 สัปดาห์ นักศึกษาสามารถพบอาจารย์แต่ละวิชาที่จะหมุนเวียนเพื่อ มาดูแลนักศึกษา โดยมีสำนักงานกลางเป็นที่นัดพบระหว่างอาจารย์ และนักศึกษา เพื่อเป็นการตอบปัญหาที่นักศึกษาสงสัย และนัก ศึกษาทุกรุ่นจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาไว้คอยให้คำแนะนำเหมือนกับนัก ศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัย
20 e-Learning
ผศ.แน่งน้อย ใจอ่อนน้อม คณบดีคณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
เป็นความเข้าใจผิดอย่างมากที่คิดว่า การ เรียนบัญชีเป็นเรื่องยาก เพราะในความเป็น จริงแล้ว ไม่ได้ยากอย่างที่เข้าใจ ถ้ามีการ เอาใจใส่ ทำแบบฝึกหัด หรือทำความเข้าใจ กับบัญชี ก็สามารถเรียนได้ ทำได้
“สาขาบัญชีเป็นบุคลากรที่กำลังขาดตลาด” ขณะนี้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่ เปิดแบบ e-Learning อยู่ 2 หลักสูตร หลักสูตรแรกเป็นหลักสูตร ปริญญาตรี ใช้เวลาในการเรียน 2 ปี เหมาะสำหรับผู้เรียนที่เคยมี ปริญญาตรีมาแล้วหนึ่งใบ แล้วมาเรียนหลักสูตรนี้เพื่อให้ได้ปริญญา ตรีใบที่สอง อีกหลักสูตรเป็นหลักสูตรปริญญาตรี สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ระดับ ปวส. แต่ใช้เวลาในการเรียน มากกว่าหลักสูตรปริญญาตรีใบที่ สองคือ ต้องใช้เวลาในการเรียน 2 ปีครึ่ง หลักสูตรนี้จึงเหมาะสำหรับ
ผู้ที่จบปวส.มาก่อนแล้ว และต้องการเรียนต่อให้จบปริญญาตรี ตลอดหลักสูตรการเรียนมีค่าใช้จ่ายเพียง 80,000 บาท จากการเปิดการสอนมาได้ 3 รุ่น พบว่า สำหรับนักศึกษาที่เพิ่งจบ ปวส. แม้สนใจ แต่ก็ยังติดกับความรู้สึกว่า อาจจะเรียนยาก ทั้งนี้อาจจะ เป็นเพราะ พฤติกรรมของเด็กที่อยู่ในวัยนี้ ยังบังคับตัวเองไม่ค่อยได้ แต่ ถ้าเป็นกลุ่มปริญญาใบที่สองนี่ น่าจะดี เพราะสามารถบังคับตัวเองได้แล้ว และนโยบายของมหาวิทยาลัยก็ชัดเจน คือ พยายามจะขยายโอกาส และ หวังให้คนที่จบทางด้านนี้มีเพิ่มมากขึ้น
ผศ.แน่ ง น้ อ ย ใจอ่ อ นน้ อ ม คณบดี ค ณะบั ญ ชี มหาวิ ท ยาลั ย หอการค้าไทย กล่าวยืนยัน พร้อมกับขยายความต่อว่า ความคิด ของคน ส่วนใหญ่มองว่า การเรียนวิชาบัญชีเป็นเรือ่ งยาก ทัง้ ในเรือ่ งของเนือ้ หา และ การทำความเข้าใจ จึงทำให้มีคนสนใจเรียนกันน้อย ส่งผลให้ทุกวันนี้ บุคลากรที่จบทางด้านการบัญชี กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด จะเห็นได้ จากการมีผู้สอบบัญชีไม่พอ ทำให้ผู้สอบบัญชีหนึ่งคน ต้องรับงานสอบ บัญชีจำนวนมาก ทัง้ นี้ เป็นเพราะบุคลากรทางด้านนีย้ งั ขาดแคลนอยูน่ นั่ เอง “เป็นความเข้าใจผิดอย่างมากที่คิดว่า การเรียนบัญชีเป็นเรื่องยาก เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้ยากอย่างที่เข้าใจ ถ้ามีการเอาใจใส่ ทำ แบบฝึกหัด หรือทำความเข้าใจกับบัญชี ก็สามารถเรียนได้ ทำได้ เพราะ ความสามารถของนักเรียนทุกคน ถ้าตั้งใจ ก็สามารถเรียนได้ ส่วนใหญ่ นั ก ศึ ก ษาที่ เ รี ย นได้ ก็ จ ะขยั น ทุ ก คนเรี ย นได้ แต่ ต้ อ งขยั น หน่ อ ย”
ผศ.แน่งน้อย กล่าว จากความคิดที่ว่า เรียนบัญชี ไม่ใช่เรื่องยาก ใครก็สามารถเรียน บัญชีได้นี่เอง กลายเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ระบบการสอน e-Learning จะ ช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนนักบัญชีได้
e-Learning 21
e-L
earning
บัญชี สาขาท๊อปฮิตอันดับ 1 เรียนแล้วไม่ตกงาน บัญชี แพทย์ศาสตร์ บริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ การตลาด นิติศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ การจัดการ รัฐศาสตร์
19.71% 18.75% 12.02% 10.10% 10.10% 8.65% 8.17% 4.81% 4.33% 3.36%
สวนดุสิตโพลชี้ผลการวิจัยล่าสุด ผู้ที่เรียนจบการบัญชีหางาน ง่ า ย เป็ น อั น ดั บ 1 ร้ อ ยละ 19.71 สถิ ติ สู ง กว่ า ผู้ ที่ เ รี ย นจบ แพทยศาสตร์และบริหารธุรกิจ ส่วนผลสำรวจจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุนักบัญชีบัณฑิต ที่จบไปได้งานทำกว่า 87 เปอร์เซ็นต์ แต่ยังคงไม่เพียงพอต่อความ ต้ อ งการของนั ก บั ญ ชี ข องตลาดงาน ทางคณะบั ญ ชี ม หาวิ ท ยาลั ย หอการค้าไทย จึงเปิดหลักสูตรบัญชีบัณฑิต e-Learning เพื่อเพิ่ม จำนวนนักบัญชีที่มีคุณภาพให้ตลาดงาน โดยไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเวลาใด ก็ตามสามารถเรียนบัญชีได้ โดยผ่านการเรียนอินเทอร์เน็ต
22 e-Learning
จุดแข็ง
- ประหยัดเวลาในการเดินทางมาเรียน - ประหยัดค่าใช้จ่าย
จุดอ่อน
- นักศึกษาขาดทักษะด้านเทคโนโลยี และภาษาอังกฤษ - บทเรียนไม่ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ต้องยอมรับว่า ในทุกรูปแบบของการศึกษามีทั้งข้อดีและ
ข้อด้อย ซึ่งรวมถึงการเรียนการสอนแบบ e-Learning ด้วย เพราะการเรียนการสอนแบบนี้ นักศึกษาจะไม่ได้บรรยากาศของ การเข้ า มานั่ ง เรี ย นในห้ อ งเรี ย นกั บ อาจารย์ แต่ นั ก ศึ ก ษก็ จ ะมี โอกาสที่อยู่กับครอบครัวมากขึ้น หากมีความพร้อมในการที่จะ เรียนช่วงไหนก็สามารถเรียนได้ ด้วยการเข้าไปอ่านบทเรียนด้วย ตัวเอง เพราะการเรียนแบบ e-Learning เป็นการศึกษาในรูป แบบใหม่ที่เรียนผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ อยู่กับบทเรียนด้วย ตัวเองมากกว่าจะได้เจอกับอาจารย์ผู้สอน ในต่างประเทศได้มีการระบุไว้ชัดเจนว่า เป็นการเรียนการสอน แบบ e-Learning จะได้ผลดีมากกว่าเรียนในห้องเรียน เพราะผู้เรียน สามารถเรียนได้ตามความต้องการของตัวเอง สำหรับการเรียน e-Learning หลักสูตร MBA Online นั้น
ทางมหาวิทยาลัยเพิ่งเปิดรับเป็นรุ่นแรก แม้จะมีนักศึกษาให้ความสนใจ สมัครเข้ามากกว่า 200 คน แต่รับได้แค่ 70-80 คนเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะอยากให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งในเรื่องของหลักสูตรและ
นักศึกษาที่ได้เข้าเรียนจนจบหลักสูตร จึงยังไม่คิดที่จะเพิ่มจำนวน
นักศึกษาในช่วงนี้ ส่วนในเรื่องของการวัดผล ระหว่างบทเรียนก็จะมีการทดสอบ เป็นระยะๆ เพื่อเป็นการทดสอบความเข้าใจ หลังจากนั้นก็มีการสอบ กลางภาคเพือ่ เป็นการเก็บคะแนน แต่จะเป็นการเก็บคะแนนทีไ่ ม่มากนัก เพราะนักศึกษาสามารถสอบได้ด้วยตัวเองจากคอมพิวเตอร์ แต่ถ้า เป็นการสอบปลายภาคเรียน นักศึกษาจะต้องมาสอบที่ศูนย์กลางที่มี อาจารย์คุมสอบ และในครั้งนี้คะแนนการสอบจะมาก เมื่อนำ e-Learning มาใช้ในระดับบัณฑิตศึกษาจะมีจุดแข็ง คือ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเรียน ทำให้นักศึกษากล้า แสดงความคิดเห็น ช่วยสร้างมาตรฐานในการศึกษา มีการลงทุนต่ำ สำหรับการใช้ในระยะยาวและทำให้อาจารย์มีเวลามากขึ้น ส่วนจุดอ่อน คือ นักศึกษายังขาดทักษะด้านเทคโนโลยีและภาษาอังกฤษ มีทัศนคติ ทางลบต่ อ การเรี ย นกั บ e-Learning ขาดแคลนในเรื่ อ งของ งบประมาณและบทเรียนไม่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้
e-Learning 23
e-L
earning
จากการชักชวนของ รศ.ดร.ทิวา เงินยวง คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่แจ้งให้ทราบว่า มีหลักสูตร นิติศาสตร์ออนไลน์ให้เลือกเรียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องเข้าไปมหาวิทยาลัย และยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระดับ ประเทศ อาทิ อาจารย์จรัญ อาจารย์เรวัติ เป็นผู้สอน แล้วจึงสนใจเมื่อถูกชักชวน ในระหว่างนั้นเป็นช่วงของการยุบสภา โดยส่วนตัวแล้วก็มีความสนใจที่จะเรียนรู้ด้านกฎหมายตั้งแต่ ตัดสินใจเข้าสู่วงการเมือง ทำให้รู้ว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับกฎหมายทั้งสิ้น ไม่ว่าอาชีพใด ก็ต้องรู้กฎหมาย ยิ่งเมื่อได้เป็น สส. ทำหน้าที่นิติบัญญัติ ยิ่งจะต้องรู้ฎหมายมาก จึงเห็นความสำคัญ ยิ่งมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเรียนการสอน ยิ่งทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการเรียนผ่านจอ คอมพิวเตอร์ อยู่ที่ไหนก็เรียน เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แทนที่จะไป “เล่นเกมส์” ก่อนหน้านี้ ด้วยดีกรี “ด็อกเตอร์” ทางด้านนิวเคลียร์ฟิสิกส์ ทำให้ดร.คุณหญิงกัลยามีบทบาทในวงการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ของไทยไม่น้อย เริ่มตั้งแต่เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม หลายสมัยเป็นเวลากว่า 10 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง “ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ” (NECTEC) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษานั้นจบปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท และ ปริญญาเอกสาขานิวเคลียร์ฟิสิกส์ ทีอ่ มิ พีเรียล คอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยได้รบั ทุนโคลัมโบ ปัจจุบัน ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพณิช เป็น รัฐมนตรีเงา ICT ของโควต้าพรรคประชาธิปัตย์ ด้วย
“ดร.คุณหญิง” กัลยา โสภณพนิช เรียน ป.ตรี ทีส่ อนทาง Cyber U ตั้งแต่เรียนกฎหมายมาสองปีมานี้ รู้สึกว่า อภิปรายในสภาได้ดีกว่าเดิม มั่นใจกว่าเดิม การเรี ย นรู้ ผ่ า น Cyber U นี้ มี ค วามดี ก ว่ า การไปเรี ย นในห้ อ งเรี ย น นอกจากจะประหยัดเวลาในการเดินทางแล้วยังทำให้สามารถเปิดฟังบทเรียนซ้ำได้ ทบทวนได้ ขณะเดียวกัน ก็สามารถ “พบอาจารย์” ผ่านทางอินเตอร์เน็ทได้อีก ด้วย ขณะเดียวกัน ก็พิมพ์บทเรียนมาทบทวนอ่านได้อีก ช่วงเวลาที่เรียนและทำงานไปด้วยนี้ ต้องจัดเวลา มีวินัยกับ ตัวเอง และเมื่อถึงเวลาใกล้สอบ ก็ต้องจัดเวลาให้มากขึ้น ช่ ว งแรกๆ มี ปั ญ หาในเรื่ อ งของสั ญ ญานไม่ ค่ อ ยคมชั ด เสียงการฟังไม่ชัดเจน แต่ก็มีการแก้ไขไปแล้ว ทำให้การเรียน ดีขึ้น ด้วยความที่เป็นผู้ที่สนุกกับการเรียนรู้ สนุกกับการ ทำงาน ดร.คุณหญิงกัลยา ในภาคเรียนการศึกษานี้ จะ สำเร็จหลักสูตรการศึกษาปริญญาตรีใบที่ 2 จากหลักสูตร นิ ติ ศ าสตร์ บั ณ ฑิ ต การศึ ก ษาทางไกลทางอิ น เทอร์ เ น็ ต มหาวิทยาลัยรังสิต ที่เรียนผ่านระบบ e-Learning แม้จะมีดีกรี ดร. แล้วก็ตาม จากความพยายาม 2 ปีที่ ผ่านมา ขณะนี้ ดร.คุณหญิงกัลยา ได้แจ้งความประสงค์ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาเป็นผู้สำเร็จหลักสูตรด้วยระบบ Cyber U มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นคนแรก อีกเพียง 7 วิชา ที่กำลังเรียนอยู่ในเทอมสุดท้ายนี้ เท่านั้น
24 e-Learning
เทคนิคเรียน Cyber U ให้จบ วิธีการเรียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องเข้าห้องเรียนเหมาะกับคนทำงาน แต่ก็ยังมีข้อที่ไม่สะดวกนัก นั่นก็คือ การฟังการสอนของอาจารย์ผ่านจอคอมพิวเตอร์ไม่ค่อยชัดเจน ทำให้การฟังไม่ชัดเจน แต่ดีที่เพื่อนร่วมเรียนเมื่อเขาฟัง อาจารย์สอนเเล้วเขาก็ถอดเทปและพิมพ์แจกเพื่อนที่เรียนด้วยกัน และการเรียนระบบนี้จะเจอเพื่อนไม่บ่อยมาก ส่วนมาก จะเจอกันช่วงที่ต้องไปสอบ เทคนิคเรียน Cyber U. ให้จบของ ดร.คุณหญิงกัลยา โดย ดร.คุณหญิงกัลยากล่าวแนะนำว่าจะต้องค้นหาตัวเองให้พบว่า ตัวเองมีความจำวิธีไหนซึ่งมีอยู่ 3 ด้านคือ 1. อ่านผ่านตาแล้วก็จำได้ 2. อ่านออกเสียงแล้วค่อยจำได้ 3. บางคนต้องเขียนถึงจำได้ คือต้องผ่านมือถึงจะจำได้ ต้องค้นหาให้พบก่อน เพราะเรียนผ่านออนไลน์โอกาสที่จะไม่จบมีเยอะ เพราะไม่มีการบังคับ เราต้องบังคับตัวเอง แต่ถ้าเรา จับจุดที่อาจารย์สอนเราก็จะรู้และเข้าใจ นี่คือสิ่งที่อยากแนะนำกับคนที่อยากจะเรียน.... สำหรับคนทำงานเป็นนักการเมือง และยังต้องศึกษาพร้อมกันไปด้วยนั้น ถือเป็นงานที่หนักมาก แต่คุณหญิงแนะนำว่า
ถ้าสามารถแบ่งเวลาได้ ถ้าไม่จำเป็นจะเลิกงานสังคม เพราะกำลังจะสอบ ต้องแบ่งเวลาให้พอเหมาะพอควร เหตุที่ต้องศึกษาปริญญานิติศาสตร์ เป็นปริญญาตรีที่สองผ่านระบบการศึกษาทางไกลในอินเทอร์เน็ตนั้น คุณหญิงให้ สัมภาษณ์ไว้ว่า “เหตุผลหลักเลยจะต้องรู้เรื่องกฎหมาย คือที่สุดเป็นนักการเมืองจะต้องรู้เรื่องกฎหมายมากกว่าใคร” การให้การศึกษาในระบบนี้ ผู้เรียนจะต้องมีวินัย ขยันขันแข็ง ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัย ก็ต้องเตรียมจัดการศึกษาให้ผู้ เรียนได้รับความสะดวก ให้ผู้ต้องการเรียนสามารถเข้าถึงระบบการศึกษาให้ได้เร็ว พยายามจัดหาคณะผู้สอนที่มีความรู้ความ สามารถมากที่สุด ให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบอาชีพมากที่สุด
e-Learning 25
e-L
earning
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
ชีวิตสนุกทุกการเรียนรู้ ใช้ e-Learning เติมเต็มการเรียนการสอน
ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองทะลุถึงหัวใจของการศึกษาที่ว่า ความรู้สึก สนุกที่จะเรียนรู้เป็นหนทางนำไปสู่ความสำเร็จ และการเรียนรู้ไม่ได้ จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตจึงมีปรัชญาที่น่า สนใจในการนำ e-Learning มาใช้คือมุ่งเน้นประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นกับ นักศึกษา จึงออกแบบระบบ e-Learning ให้เป็นเครื่องมือเติมเต็ม การเรี ย นการสอน ทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับ บั ณ ฑิต ศึ ก ษา
โดยมีธงกำกับอยูใ่ นใจว่าการพัฒนาระบบ e-Learning ของเกษมบัณฑิต ต้ อ งทำให้ ทั้ ง ผู้ เ รี ย นและผู้ ส อนเป็ น “ผู้ ใ ช้ เ ทคโนโลยี ” ไม่ ใ ช่ เ ป็ น
“ทาสเทคโนโลยี” ดร.เสนี ย์ สุ ว รรณดี รองอธิ ก ารบดี ฝ่ า ยวางแผนและพั ฒ นา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต กล่าวว่า e-Learning ของเกษมบัณฑิตให้ ความสำคัญกับเนื้อหา (Content) มากกว่าความสวยงามในเชิงของ กราฟิก โดยเลือกที่จะใช้ e-Learning เป็นเครื่องมือเสริมและเติมเต็ม ความรู้ ข องนั ก ศึ ก ษาหลั ง จากเรี ย นในห้ อ งเรี ย นแล้ วให้ มี โ อกาสได้ ใ ช้ e-Learning ในการทบทวนด้วยตัวเองในทุกที่ทุกเวลาที่สะดวก “ผมไม่มองว่าอิเล็กทรอนิกส์นี่เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง แต่มองว่ามันเป็น เครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดในยุคนี้ แล้วเราก็นำเครื่องมือนี้มาถ่ายทอดเนื้อหา ลงไป เนื้อหาใน e-Learning ของเกษมบัณฑิต จึงเป็นอะไรที่มากกว่า เพียงแค่เป็นการ Repeat สิ่งที่มันเกิดขึ้นในห้องเรียน นั่นหมายความว่า ขั้นตอนการทำ e-Learning ในด้านเนื้อหาของเราจะลึกซึ้ง แต่ทำให้
เข้าใจง่าย
26 e-Learning
...ผมคิดว่า เรือ่ งสำคัญคือเนือ้ หา มันเป็นฐานสำคัญ ไม่ใช่วา่ อยูด่ ๆี
ก็หยิบอะไรมาแล้วมาใส่รูป ใส่กราฟิก แล้วบอกว่านี่คือ e-Learning
มันก็ไม่ได้ทำให้เกิดการเรียนรู้เพิ่ม เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น e-Learning
ก็จะกลายเป็นแค่เรื่องแฟชั่น” สำหรับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เน้นว่า การนำ e-Learning มา ใช้ในหลักสูตรใดจะต้องวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่จะทำให้ผู้เรียนประสบความ สำเร็จ “ผมคิดว่า ธรรมชาติของหลักสูตรเป็นเรื่องหนึ่งที่เราต้องพิจารณา บางวิ ช า บางหลั ก สู ต ร ไม่ ส ามารถเรี ย นในลั ก ษณะเป็ น Passive
ได้ เพราะความสำเร็จในหลักสูตรนั้นคือนักศึกษาจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์
มีการปฏิบัติ มีกรณีศึกษาที่จะต้องมานั่งถกเพื่อให้ได้ความรู้ เพื่อให้มี ความแตกฉาน” และนี่ เ ป็ น คำตอบสำคั ญ ทำให้ ม หาวิ ท ยาลั ย เกษมบั ณ ฑิ ตไม่ ว าง เป้าหมายเชิงปริมาณว่าในแต่ละปีจะต้องนำวิชาเข้าสู่ระบบ e-Learning กี่ สิ บ กี่ ร้ อ ยวิ ช า รวมทั้ ง เลื อ กที่ จ ะไม่ ใ ช้ วิ ธี ซื้ อโปรแกรมสำเร็ จ รู ป ด้ า น e-Learning มาใช้ แต่เลือกที่จะใช้วิธีส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อปริญญาเอก ด้าน Ergonomics ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งวันนี้ได้กลับมาเป็นกำลังสำคัญ พัฒนาระบบ e-Learning ของมหาวิทยาลัย “คื อ เรามี วิ ธี คิ ด ที่ ค่ อ นข้ า งต่ า ง ผมเชื่ อ ว่ า ถ้ า เราซื้ อโปรแกรม
สำเร็จรูปที่เป็น Commercial Program เราอาจทำเรื่อง e-Learning ได้เร็วมาก แต่ Commercial Program ก็เหมือนเสื้อยืดสำเร็จรูปฟรี ไซส์ ซึ่งใส่ไม่พอดีตัว ไหล่อาจจะตกไป คอก็กว้างไป มันไม่พอดีกับตัวเรา ที่จะใส่ได้สวยและสบายตัว เราจึงต้องการแบบสั่งตัด (Tailored-made) ได้ ใ นสิ่ ง ที่ เ ราคิ ด เราพั ฒ นาที ม งานให้ มี ค วามรู้ ด้ า น Information Science มิใช่แค่ Graphic Design และเราได้มีความร่วมมือกับ
ประเทศฮอลแลนด์ เพื่อพัฒนา e-Learning ให้มีเนื้อหาและรูปแบบ เหมาะกับนักศึกษาของเรา” ซึ่งดร.เสนีย์ ย้ำตัวตนของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตว่า หัวใจสำคัญ ของการบริหารการศึกษาของที่นี่คือ การดูแลนักศึกษา “เราให้ความสำคัญกับนักศึกษา มุ่งเน้นที่ตัวคน แล้วเราก็พยายาม เข้าไปดูแล โดยเราไม่ได้มองว่าคนที่จะมาเรียนกับเราต้องมีประวัติการ เรี ย นถึ ง ขั้ น เป็ น ชั้ น หั ว กะทิ ห รื อ ระดั บ ต้ น ๆ ของประเทศ เพราะเรามี แนวทางว่า ไม่ว่าวัตถุดิบจะเข้ามาเป็นอย่างไร เกรดไหนก็ตาม หน้าที่ ของผู้ผลิตอย่างมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตคือ ต้องทำให้ออกมาให้ดีให้ได้ ...ผมเชื่ อ ว่ า นี่ คื อ ความสวยงามในการที่ เ รานำนั ก ศึ ก ษาระดั บ ปานกลางมาพัฒนา แล้วเราสามารถทำให้เป็นบัณฑิตที่มีความสามารถมี ศักยภาพไปทำงานในสาขาต่างๆ เพื่อพัฒนาชาติบ้านเมือง”
e-Learning 27
e-L
earning
ดร.กรี ช า ภู่ ไ พบู ล ย์ ผู้ อ ำนวยการศู น ย์ พั ฒ นาระบบ
อี-เลิร์นนิ่งและซอฟท์แวร์ นับเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของทีม พัฒนาระบบ e-Learning ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่ไปศึกษาระดับปริญญาเอก ด้าน Information Science สาขา Ergonomics ที่ประเทศอังกฤษ ด้วยเป้าหมายชัดเจน จากมหาวิ ท ยาลั ย ที่ ต้ อ งการให้ เ ขากลั บ มาพั ฒ นาระบบ e-Learning ที่ เ หมาะกั บ หลั ก สู ต รการเรี ย นการสอนของ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เพื่อเติมเต็มการศึกษาในหลักสูตร ต่างๆ พร้อมกับพัฒนาระบบ e-Learning ในลักษณะงาน บริการสังคม ขยายองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยไปสู่องค์กร ภายนอก และมีเป้าหมายในอนาคตที่จะพัฒนาระบบการเรียน การสอนในบางสาขาที่เหมาะสมให้เป็นการเรียนการสอนแบบ e-Learning เต็มหลักสูตร “สิ่งที่เราคำนึงถึงมากที่สุดคือ การจัดการเรียนการสอนที่มี การผสมผสานสื่อต่างๆ อย่างสมบูรณ์เพื่อเอื้อต่อการแสวงหา ความรู้ของนักศึกษาให้มากที่สุดในทุกวาระทุกโอกาส ซึ่งในด้าน โครงข่ายระบบ (Infrastructure) เราได้วางระบบให้มี 2 ลิงค์ ดังนั้นถ้าลิงค์ไหนดาวน์ก็จะมีอีกลิงค์หนึ่งรองรับอยู่ นักศึกษาจะ ไม่เจอปัญหาเรื่องดาวน์ไทม์” ทัง้ นีม้ หาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตมีการศึกษา ระดับปริญญาตรี 7 คณะคื อ คณะบริ ห ารธุ ร กิ จ (ทั้ ง ภาคภาษาไทยและภาค
ภาษาอั ง กฤษ), คณะนิ ติ ศ าสตร์ , คณะนิ เ ทศศาสตร์ ,
คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ , คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ ,
คณะศิลปศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ไม่ว่าเทคโนโลยีจะพัฒนาไปไกลแค่ไหน อย่าลืมว่าผู้เรียนก็ยังต้องขยัน
ปริญญาโท ประกอบด้วย บริหารสือ่ สาร, ภาพยนตร์-วีดที ศั น์, ออกแบบตกแต่งภายใน, บริหารธุรกิจ, การจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว, จิตวิทยาเพื่อการ พัฒนามนุษย์, รัฐประศาสนศาสตร์, ภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการ(GIS), การจัดการ งานวิศวกรรม ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต จิตวิทยา แบ่งเป็น 3 กลุม่ วิชาได้แก่ จิตวิทยาการเรียนรูแ้ ละการสอน, จิตวิทยาการบริหารจัดการ, จิตวิทยาการให้คำปรึกษา ดร.กรีชา ฝากข้อคิดมาถึงนักศึกษาที่อยู่ในยุคของ e-Learning ว่าเราต้อง ฉลาดใช้เทคโนโลยีและคำนึงถึงประสิทธิผลด้านการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง “ไม่ ว่ า เทคโนโลยี จ ะพั ฒ นาไปไกลแค่ ไ หน อย่ า ลื ม ว่ า ตั ว ผู้ เ รี ย นก็ ยั ง ต้ อ งขยั น
มีความขวนขวาย ใฝ่รู้ โดยใช้ระบบ e-Learning และอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชี่อมโยงไป ยัง Abstract ต่างๆ เพื่อเสริมความรู้ และขยายความรู้ให้เราเข้าใจมากขึ้น”
28 e-Learning
อาจารย์เจษณัฐฐา กิจรักษ์สุวาณิช ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการ เรียนรู้ (Learning Center) มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ให้ข้อมูลที่
น่าสนใจว่า e-Learning ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ให้ความ สำคัญกับขั้นตอนก่อนนำมาใช้ที่ต้องศึกษาหาความเหมาะสมที่ลงตัว กับนักศึกษา “เราพบว่า การจัดการศึกษาแบบที่ยังคงมีการพูดคุยกับนักศึกษา จัดกิจกรรมต่างๆ ผสมผสานกับ e-Learning โดยใช้ทุกสื่อผสมผสานกัน ในสั ด ส่ ว นที่ เ หมาะกั บ ลู ก ศิ ษ ย์ ข องเรา จะทำให้ ก ารเรี ย นการสอนมี ประสิทธิผล เพราะการได้พูดคุย ได้ถกปัญหา ได้ฟังความคิดเห็นจาก เพื่อนและคนอื่นๆ จะทำให้นักศึกษาได้พัฒนาทั้งความรู้ และความมั่นใจใน ตัวเอง รวมถึงการปรับตัวเข้ากับสังคมจริงๆ ที่ต้องมีการประสานงานกับ คนอื่นๆ ...แนวทางของเกษมบัณฑิตคือการผสมผสาน เราไม่เคยปฏิเสธ เทคโนโลยีใหม่ๆ เพราะการจัดการเรียนการสอนไม่ได้มี Dimension เดียว แต่มีหลายอย่าง ต้องเลือกให้เหมาะกับนักศึกษา ส่วนวิธีไหนจะนำ มาใช้ในสัดส่วนเท่าไหร่ 25%, 10% ก็ว่ากันไป เทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็น ส่วนหนึ่งที่ทำให้เราทำได้อย่างที่เราต้องการ” โดยสำหรับทีน่ ี่ ทักษะภาษาอังกฤษถือเป็นพืน้ ฐานของนักศึกษาทุกคณะ “e-Learning ในส่วนที่เป็นทักษะความรู้ด้านภาษาอังกฤษจะเป็น ส่วนเสริมเติมเต็มให้นักศึกษาทุกคณะ เพื่อช่วยให้บัณฑิตของเรามีทักษะ ภาษาอังกฤษดีขึ้น แต่ทุกคณะใช้เนื้อหาเดียวกันไม่ได้ เพราะภาษาอังกฤษ ที่เหมาะกับการทำงานของนักศึกษาแต่ละคณะแตกต่างกัน เช่น ภาษา อังกฤษของคณะวิศวกรรมศาสตร์ กับภาควิชาธุรกิจการโรงแรมและการ ท่องเที่ยว จะไม่เหมือนกัน เป็นคนละแนวกัน”
การจัดการเรียนการสอนไม่ได้มี Dimension เดียว แต่มีหลายอย่าง ต้องเลือกให้เหมาะกับนักศึกษา ทั้ ง นี้ ม หาวิ ท ยาลั ย เกษมบั ณ ฑิ ต ได้ รั บ ความไว้ ว างใจจากองค์ ก ร ภายนอกให้จัดการเรียนการสอนระบบ e-Learning เสริมทักษะภาษา อังกฤษให้บุคลากรในองค์กรต่างๆ เช่น การบินไทย กรมพัฒนาฝีมือ แรงงาน และเครือโรงแรมต่างๆ และในเดือนพฤศจิกายน 2551 จะเริ่ม ทำ e-Learning เพื่อเสริมทักษะภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเยอรมัน และภาษาสเปน ในมุมมองของอาจารย์เจษณัฐฐา เห็นว่า คุณค่าของการนำระบบ e-Learning เข้ามาเสริมในการเรียนการสอน โดยผสมผสานทั้งมิติการ สอนที่มีครูผู้สอน และมิติของการใช้ e-Learning คือช่วยให้นักศึกษา พัฒนาศักยภาพได้ครบถ้วนทุกมิติชีวิต “ไม่อยากให้นักศึกษาของเราเรียนจบมาแล้วเป็นหุ่นยนต์ (Robot) เรานำ e-Learning มาเสริมการเรียนรู้จากการเรียนในห้องเรียน เพื่อให้ นักศึกษายังคงมีสังคม ขณะที่การใฝ่หาความรู้ผ่านระบบ e-Learning จะ ฝึกให้เขาบริหารจัดการตัวเอง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ดีขึ้น”
e-Learning 29
e-L
earning
ความหมายของ e-Learning
e-Learning (Electronic Learning) คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คำว่า E นั้นย่อมาจาก Electronic ส่วนคำว่า learning มีความหมายตรงตัวว่า การเรียนรู้ เมื่อนำมารวมกันหมายถึงการเรียนรู้โดยใช้ electronic หรือ internet เป็นสื่อ คำที่มี ความหมายใกล้เคียงเช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนบนเว็บ (WBI = Web-based Instruction ความหมายของ e-Learning ถูกตีความต่าง กันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่มีส่วนที่ เหมือนกันคือ 30 e-Learning
“ใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนาตลอด เวลาตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สำหรับผู้เขียนให้ความหมาย ของ e-Learning ว่าเป็น “การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต เข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล” http://www.thaiall.com/e-learning สู่การเรียนรู้ใหม่ ‘อี-เลิร์นนิ่ง’ การเปลี่ ย นแปลงการปฏิ รู ป การศึ ก ษา ทั้ ง ด้ า นหลั ก สู ต ร
และกระบวนการเรียนรู้ ของกระทรวงศึกษาธิการ มีจุดประสงค์เพื่อให้ เยาวชนไทยได้พฒ ั นาตัวเอง เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ และ สติปัญญา สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุข การปฏิรูปการศึกษาเบื้องต้นตั้งแต่ระดับประถม ต้องการให้เยาวชน คนไทยมีระบบความคิดที่มั่นคงในอนาคต ปัจจุบันโลกแห่งการเรียนรู้เปิด กว้ า งในการแสวงหาความรู้ ใ หม่ ๆ ทั้ ง ด้ า นเทคโนโลยี แ ละวิ ท ยาศาสตร์ ทางการแพทย์ รวมถึ ง ความรู้ ด้ า นอื่ น ๆ เป็ น อี ก ทางเลื อ กของผู้ เ รี ย น สามารถค้นคว้าจากฐานข้อมูลที่ทันสมัย
การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ อี-เลิร์นนิ่ง เป็นระบบการเรียนรู้ที่เข้ากับ ยุคสมัยการเติบโตของเทคโนโลยี ซึ่งระบบการเรียนรู้ดังกล่าวเป็นที่รู้จักของ คนทั่วโลก ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า โครงการการเรียนรู้แบบ ออนไลน์ ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาให้บริการการเรียนรู้ และฝึก อบรมแบบใหม่ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเรียกการเรียนรู้แบบนี้ว่า
การเรียนรู้แบบ ออนไลน์ (e-Learning) โครงการดั ง กล่ า ว มี วั ต ถุ ป ระสงค์ ต้ อ งการสนั บ สนุ นให้ ส ถาบั น
หน่วยงาน ได้รับการเผยแพร่บทเรียนที่มีคุณค่าให้กับผู้เรียนทุกคน ซึ่งผู้ เรียนจะได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ ด้วยการศึกษาด้วยตนเอง เพื่อให้ เป็นคนที่เหมาะสมกับการทำงานในตำแหน่งต่างๆ หรือเพิ่มโอกาสในการรับ ตำแหน่งที่สูงขึ้น และสามารถเรียนได้ในช่วงเวลาว่างหลังเลิกงานหรือใน
วันหยุด แม้กระทั่งการอยู่ร่วมกับครอบครัวที่บ้าน ก็สามารถประหยัดทั้งเวลา และค่ าใช้ จ่ า ยในการเดิ น ทางไปยั ง สถานศึ ก ษาที่ เ ปิ ด สอนหลั ง เลิ ก งาน
หรือเลิกเรียนเราก็สามารถพัฒนาตนเองได้ และที่สำคัญเพื่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงกระตุ้นหน่วยงานภาครัฐบาลและธุรกิจเอกชน ได้เพิ่มการ ลงทุนทางด้านการศึกษาและฝึกอบรมแก่องค์กรให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงานให้แก่ทรัพยากรบุคคลของประเทศ และเป็น แหล่งรวบรวมความรู้ทางวิชาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยโรงเรียนและ มหาวิทยาลัย และสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ สามารถพัฒนาเป็นบทเรียน ออนไลน์เผยแพร่ขยายความรู้ออกไปสู่สาธารณชน
e-Learning 31
e-L
earning สุรสิทธิ์ วรรณไกรโรจน์ ผู้อำนวยการโครงการการเรียนรู้แบบ ออนไลน์ สวทช. กล่าวว่า การศึกษาแบบ e-Learning มาจากคำว่า Electronic Learning ซึ่ ง ก็ ห มายถึ ง การศึ ก ษาผ่ า นเครื อ ข่ า ย คอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) เป็ น การเรี ย นรู้ ด้ ว ยตั ว เองแบบใหม่ ที่ จั ด การศึ ก ษาในลั ก ษณะสถาน
ศึ ก ษาเสมื อ น (สถาบั น ที่ จั ด การเรี ย นการสอนแบบออนไลน์
โดยอาศั ย การติ ด ต่ อ สื่ อ สารและเทคโนโลยี ที่ ทั น สมั ย ผ่ า นเครื อ ข่ า ย
อินเทอร์เน็ต) ผูเ้ รียนสามารถเรียนได้จากเว็บไซต์ของโครงการ (www.Thai2Learn.com) ด้ ว ยระบบแนะแนวการศึ ก ษา ระบบลงทะเบี ย น บทเรี ย นออนไลน์
คลังข้อสอบ และการบันทึกติดตามตรวจสอบผลการเรียนอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากผู้เรียนเกิดความสงสัยเกี่ยวกับรูปแบบ วิธีการเรียนก็สามารถ ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของโครงการซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญพร้อมจะให้ คำแนะนำ และตอบปัญหาต่างๆ ได้ตลอดเวลา หากเกิดความสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาของบทเรียนก็สามารถสอบถาม ได้จากอาจารย์ผู้สอนโดยตรง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถ
และความสนใจของตน โดยใช้มัลติมีเดียในการนำเสนอเนื้อหาของ บทเรียน ซึ่งประกอบด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดีย อื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน สามารถติ ด ต่ อ ปรึ ก ษาและแลกเปลี่ ย นความคิ ด เห็ น ระหว่ า งกั น ได้
เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ “เครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย (e-mail, web-board, Chat) จึงเป็นการเรียนในชั้นเรียนปกติ เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ ซึ่งผมมองว่าจะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้แห่งใหม่ขึ้นมาได้ และการเข้า สมัครเรียนแบบออนไลน์กเ็ ป็นวิธที งี่ า่ ยๆ สะดวกกับผูเ้ รียนเพียงสมัครเข้าสู่ ระบบเรียนออนไลน์ ต่อจาก นั้นจะได้ pin code และ password ก็เข้าสู่ การเรียนแบบออนไลน์ได้ทันที” สุรสิทธิ์ แสดงทัศนะว่า ปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตมี บทบาทกั บ คนไทยมากขึ้ น ในโรงเรี ย นอนุ บ าลก็ เ ริ่ ม มี ก ารเปิ ด สอน คอมพิวเตอร์ การมีพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์ที่ดี ผนวกกับค่าเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตที่นับวันจะมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ส่วนปัจจัยสำคัญที่จะขยายกลุ่ม ผู้เรียนให้มากขึ้น จนเรียกได้ว่า e-Learning มีส่วนช่วยสนับสนุนการ ศึกษาตลอดชีวิตของคนไทยได้ “ผมมองว่าการเรียนแบบ e-Learning จะเข้ามามีส่วนในการ ผสมผสานกับการเรียนในห้องเรียน เช่น นักเรียนในห้องเรียนสามารถ เข้ามาค้นคว้าเพิ่มเติมความรู้ได้เอง หลังจากเลิกเรียน หรือแม้กระทั่งใน วันหยุดเป็นการสร้างนิสัยรักการค้นคว้า นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ที่ไม่มี โอกาสได้ศึกษาในการเรียนปกติ เช่น ผู้ที่ทำงาน ได้มีทางเลือกเพิ่มขึ้น การเปิดโอกาสทางการศึกษา ยิ่งเปิดกว้างขึ้นเท่าใด ผู้เรียนยิ่งได้รับผล ประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น” อย่างไรก็ตามการเรียนในรูปแบบแบบ e-Learning ผู้เรียนต้อง บั ง คั บ ตั ว เองเพื่ อให้ เ ข้ า เรี ย นตามกำหนดเวลาที่ ต นเองวางไว้ โดย โครงการจะมีใบรับรองผลการเรียน ซึ่งจำเป็นต่อผู้เรียนที่จะนำไปใช้ใน การสมัครงาน หรือเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น
การนำ e-Learning มาใช้ในการฝึกอบรม ควรให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายฝึกอบรมได้มสี ว่ นร่วมในการวางแผน และตัดสินใจในการดำเนินงานด้านอี-เลิรน์ นิง่ ด้วยระบบดังกล่าว จะช่วยเพิ่มความสนใจและประสิทธิผลของ การเรียนในชั้นเรียนปกติ หรือใช้เป็นหลักสูตรปูพื้นความรู้ก่อนจะเข้าสู่ห้องเรียนได้ โดยเจ้าหน้าที่ควรได้ รับคำแนะนำ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์การเรียนการสอน ซึง่ อาจกล่าวได้วา่ อี-เลิรน์ นิง่ จะช่วยให้ วิทยากรผูส้ อนทำงานได้งา่ ยขึน้ ด้วยระบบดังกล่าวและยังสามารถนำมาประกอบการอบรมได้ ด้วยลักษณะของอี-เลิร์นนิ่ง หากฝ่ายฝึกอบรมนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานอย่างเต็มที่ ไม่เพียงเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงาน ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์ที่ดีด้วย ปัจจุบันหน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชน เริ่มให้ความสนใจการอบรมผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น โดย เฉพาะหน่วยงานที่มีสาขาในต่างจังหวัด เนื่องจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการอบรมได้สูง ในขณะนี้สำนักงาน พัฒนาข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. ได้ให้ความสำคัญกับการฝึกอบรม และได้จัดทำหลักสูตร การ วางแผนกลยุทธ์ โดยให้หน่วยงาน สวทช. เป็นผู้ผลิตหลักสูตรดังกล่าว และจะเปิดอบรมในเร็วๆ นี้ เทคโนโลยีใหม่ อี-เลิร์นนิ่ง เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ มนุษย์สามารถ ค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น แต่ต้องรู้จักเลือกใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและสังคม ที่มา : สำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี <สวทช>
e-Learning 33
e-L
earning
บทเรียนออนไลน์ (e-Learning) สื่อการเรียนการสอน
(Learning Resources) และห้องสมุดออนไลน์ (e-Library) ใน TCU จะเป็นแหล่งค้นคว้า อ้างอิง สื่อการเรียนการสอน บทเรียนเสริม สำหรับการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ ทุกท่าน เพียงแต่ท่านลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับ TCU อาจารย์สามารถศึกษาแนวทาง รูปแบบ วิธีการ ในการ จัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยทดลอง สร้ า งรายวิ ช าใน TCU รายวิ ช าที่ อ าจารย์ ส ร้ า งเพื่ อ ศึ ก ษา ทดลองนี้จะจัดอยู่ในส่วนของ Experimental Zone (ทดลอง สร้างบทเรียน) และเพื่อการทดลองที่ครบถ้วน อาจารย์สามารถ เลือกอนุญาติให้เฉพาะนักศึกษาของอาจารย์เข้ามาใช้บทเรียนได้ เพียงแต่อาจารย์ลงทะเบียนเป็นอาจารย์ใน ห้องเรียน TCU อาจารย์สามารถร่วมสร้างสรรค์ แบ่งปันสื่อการเรียนการ สอน ใน ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสื่อการเรียนการสอน สื่อ การเรียนการสอนที่จะแบ่งปันและแลกเปลี่ยนในศูนย์กลางการ แลกเปลี่ยนสื่อฯ นั้น จะต้องเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ออนไลน์ อาจจะเป็นสื่อการเรียนการสอนที่อาจารย์สร้างขึ้นเอง หรือที่ อาจารย์พบในอินเทอร์เน็ตและมีประโยชน์ต้องการจะแนะนำให้แก่ อาจารย์ท่านอื่น โดยขอให้อาจารย์แบ่งปันเฉพาะสื่อการเรียนการ สอน ที่ยินดีเผยแพร่ให้มีการนำไปใช้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
คำแนะนำสำหรับอาจารย์ e-Learning อาจารย์สามารถสร้าง บทเรียนออนไลน์ เพื่อติดตั้งและเปิดให้ นักศึกษาทั่วไป ที่มีคุณสมบัติ ตามที่อาจารย์ กำหนดเข้าศึกษา 34 e-Learning
อาจารย์สามารถสร้างบทเรียนออนไลน์ เพื่อติดตั้งและเปิดให้นักศึกษาทั่วไปที่มีคุณสมบัติตามที่อาจารย์ กำหนดเข้าศึกษา โดยมีค่าลงทะเบียน ทาง TCU จะเป็นตัวกลางและช่วยดำเนินการให้อาจารย์ในด้านของระบบ การจัดการ ทั้งธุรกรรมด้านต่างๆ และการเงิน อาจารย์สามารถติดต่อ สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาการศึกษา (Uninet) เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2354-5678 ในการใช้ทรัพยากรการศึกษาต่างๆ ใน TCU ที่ไม่มีค่าใช้จ่าย อาจารย์สามารถลงทะเบียนเป็นสมาชิก TCU ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.tcu.uni.net.th และใช้ทรัพยกรการศึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ในการสร้างบทเรียนเพื่อทดลอง อาจารย์สามารถลงทะเบียนเป็น อาจารย์ ในห้อง เรียน TCU โดยขอให้อาจารย์กรอกรายละเอียดต่างๆ โดยเฉพาะส่วนทีเ่ ป็นข้อมูลทีร่ ะบุ สถานภาพอาจารย์ให้ครบถ้วน ทางเจ้าหน้าที่ TCU จะตรวจสอบและให้การอนุมัติ อาจารย์เข้าสร้างบทเรียนทดลองใน TCU ซึ่งจะติดตัง้ ในส่วน Experimental Zone (ห้องเรียนทดลอง) โดยไม่เสียค่าใช้จา่ ยใดๆ ในการสร้างแบ่งปันสื่อการเรียนการสอน อาจารย์ที่ลงทะเบียนเป็น สมาชิก TCU แล้วสามารถแบ่งปันสื่อการเรียนการสอนใน ศูนย์กลาง การแบ่งปันสื่อการเรียนการสอนได้ โดยทาง TCU ขอเวลาตรวจสอบ สื่อการเรียนการสอนที่อาจารย์แจ้งไว้สักระยะ หากสื่อการเรียนการสอน นั้นเป็นไปตามข้อกำหนดก็จะนำขึ้นให้ทันที ในการสร้างบทเรียนออนไลน์ เพื่อให้นักศึกษาลงทะเบียนโดยมีการจัดเก็บค่า ลงทะเบียน ขอให้อาจารย์ติดต่อ TCU เพื่อการประสานงานในรายละเอียดต่อไป อาจารย์สามารถติดต่อ สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษา (Uninet) เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2354-5678
e-Learning 35
หลักสูตรเด่น
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญกรุงเทพ เปิดถึงปริญญาเอก www.eLearning.au.edu มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยที่ นำระบบการเรียนการสอนแบบ e-Learning ครบทั้งหลักสูตร มาใช้กับ การศึกษาในระดับปริญญาและเป็นภาษาอังกฤษ โดยเปิดตัวครั้งแรก หลังจากได้รับการรับรองในราชกิจจานุเบกษา ได้เริ่มเปิดรับสมัครรุ่น แรกไปเมื่อต้นปี คือเมื่อเดือนมกราคม 2549 เอแบคเปิดวิทยาลัยการ ศึ ก ษาทางไกลอิ น เทอร์ เ น็ ต (College of Internet Distance Education) ขึ้นเพื่อจัดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต โดยการ เชื่อมโยงหลักสูตรกับมหาวิทยาลัยในอังกฤษและมาเลเซีย และให้ผู้จบ การศึกษาได้รับวุฒิโดยตรงจากมหาวิทยาลัยเหล่านั้น
เพื่อรับนักศึกษาเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โท และเอก เปิดใน 5 สาขา ได้แก่ • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (M.Sc in Management) • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (M.Sc in Information and Communication Technology) • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิธีวิทยาอีเลิร์นนิ่ง (M.Sc in e-Learning Methodology • ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิธีวิทยาอีเลิร์นนิ่ง (Ph.D in e-Learning Methodology) • หลักสูตรปริญญาตรีและโทร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น UNITAR, National American University, Jones International University, และ Middlesex University หนึ่งในหลักสูตรเด่น คือ MBA in Entrepreneurship and Business Venturing ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เอแบคจับมือกับ มหาวิทยาลัยในอังกฤษคือ University of Stirling ซึ่งมีชื่อเสียงด้าน Entrepreneurship อยู่แล้ว และสอดรับกับกระแสเศรษฐกิจ ในขณะนี้อย่างมาก โดยการพัฒนาการเรียนการสอนทั้งหมดมุ่งเน้นให้นักศึกษาที่ต้องการเรียนรู้จะอยู่ ณ จุดใดก็สามารถแสวงหาความรู้ได้ ดัง สโลแกนที่ว่า “One-Stop Services for Worldwide E-Education for Anyone, from Anywhere, and at Anytime”
36 e-Learning
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถ่ายทอดสดจากห้องเรียน
http://www.ram.edu/elearning/index.php
มหาวิ ท ยาลั ย รามคำแหง ได้ ก่ อ ตั้ ง ศู น ย์ สื่ อ การสอนทาง อิเล็กทรอนิกส์ e-Learning เมื่อปี 2544 ตามนโยบาย มีหน้าที่ใน การวางระบบงานและดำเนิ น การจั ด การเรี ย นการสอนของ มหาวิทยาลัยในรูปแบบ e-Learning และเป็นศูนย์กลางในการผลิต บทเรี ย นแบบ e-Learning ประสานงานกั บ คณาจารย์ สถาบั น คอมพิวเตอร์ และสำนักเทคโนโลยีการศึกษา ควบคุมและดูแลระบบ การเรี ย นการสอนแบบ online ตามคำจำกั ด ความง่ า ยๆ ที่ ว่ า “เว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา” หลักสูตรที่เปิดสอน ประกอบด้วย • บทเรียน e-Learning การถ่ายทอดสดจากห้องเรียน หรือ Cyber Classroom • เทปบันทึกคำบรรยาย หรือ Course On Demand • ตำราออนไลน์หรือ e-Books • ล่าสุดกับการเรียนด้วยมือถือ หรือ m-Learning ซึ่งการเรียนรูปแบบต่างๆ นี้ก็นำไปสู่การบริการห้องสอบออนไลน์ หรือ e-Testing อีกด้วย
หลักสูตรเด่น คือ บทเรียน e-Learning การถ่ายทอดสดจากห้อง เรียน หรือ Cyber Classroom เป็นการเรียนการสอนที่นักศึกษาและ บุคคลทั่วไปสามารถรับชมภาพและเสียงของการสอนในรายวิชาต่างๆ ตามที่ตารางกำหนดไว้ผ่านระบบออนไลน์อินเทอร์เน็ต เสมือนการเข้า เรียนในห้องเรียนจริงและเป็นระบบ Real Time คือ เป็นการถ่ายทอดสด ณ เวลาที่สอนจริง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าเรียน e-Learning มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีแผนงานในการพัฒนาบุคลากรการฝึก อบรมให้ ค วามรู้ ใ นการใช้ และสร้ า งบทเรี ย นแก่ บุ ค ลากรภายในและ ภายนอกมหาวิ ท ยาลั ย เพื่ อ รองรั บ การเข้ า สู่ ก ารเรี ย นการสอนแบบ e-Learning และนำวิชาเรียนทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเข้าสู่ระบบการ เรียนการสอนแบบ e-Learning อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดองค์ ความรู้ การพัฒนาตนเองให้ก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้และส่งเสริมการ สร้างฐานความรู้สู่สากล
e-Learning 37
หลักสูตรเด่น
มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์
จะเป็นมหาวิทยาลัยปิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศที่จัดสอน e-Learning http://www.ku.ac.th/e-university/elearning.html
มหาวิทยาลัยรังสิต http://www.rsu-cyberu.com
เว็บไซต์ภาษาไทยที่สอน e-Learning ระดับปริญญาเป็นแห่งแรกของ ประเทศไทย (The first Thai Language Web-Based Education) คือ เว็ บ ไซต์ e-Learning ของมหาวิ ท ยาลั ย รั ง สิ ต ในต้ น ปี 2549 มหาวิทยาลัยรังสิต โดยฝ่ายเทคโนโลยีและคณะนิติศาสตร์จึงได้เริ่มให้ บริการในส่วน e-Learning เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษา และตอบรับกับที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศให้สถานศึกษาในระดับ อุดมศึกษาสามารถเปิดสอนทางไกลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ปริญญาได้ โดยก่อตั้งเป็น RSU – Cyber University เริ่มเปิดการเรียนการสอนใน เดือนสิงหาคม 2549 โดยเริ่มจากระดับปริญญาตรีในสาขานิติศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ ที่จะขยายโอกาสด้านอุดมศึกษาให้แก่ผู้ที่สนใจสาขา e-University เป้าหมายสำคัญของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิ ช าชี พ กฎหมายที่ มี ข้ อ จำกั ด ด้ า นเวลา ไม่ ส ามารถเดิ น ทางมาเรี ย นที่ จากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำไปใช้กับการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยภาคปกติ และในปี พ.ศ.2550 ที่ผ่านมา RSU – Cyber การบริ ห ารและการวิ จั ย ของมหาวิ ท ยาลั ย โดยผสมผสานกั บ University ได้ ท ำการเปิ ด สอนระดั บ มหาบั ณ ฑิ ต ปริ ญ ญาตรี และ กระบวนการจัดการแบบปกติในกรณีที่จำเป็น โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ประกาศนียบัตร สาขาใหม่ๆ ดังนี้ เพื่ อ พั ฒ นาเทคโนโลยี ส ารสนเทศของมหาวิ ท ยาลั ย ให้ มี คุ ณ ภาพ • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาผูน้ ำสังคม ธุรกิจ การเมือง และการศึกษา ประสิทธิภาพ ประหยัด รวดเร็ว ปรับปรุงคุณภาพการใช้เทคโนโลยี • ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาผู้นำสังคม ธุรกิจ การเมือง และการศึกษา สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน ให้มีความทันสมัย ก้าวทันเทคโนโลยี • ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว e-University มีการวางแนวทางการ • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินงานไว้หลายด้าน ได้แก่ • ประกาศนียบัตร ผู้ประกอบวิชาชีพครู • E-office : เทคโนโลยีด้านการบริหารงาน RSU – Cyber University มีปณิธานที่จะขยายโอกาสการเข้าถึงและ • Research University : การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการวิจัย ทางเลือกด้านอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ ให้แก่นักศึกษาและผู้ใฝ่หาความรู้และ • E-Ag : เทคโนโลยีด้านการเกษตรและการบริการชุมชน ทักษะในการประกอบวิชาชีพเพิ่มเติม เพื่อเป็นผู้นำที่ดีในองค์กร สังคม และ • e-Learning การปฏิรูปการเรียนการสอนโดยใช้ไอทีเข้ามาช่วย ประเทศชาติมุ่งเน้นการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต จะอำนวยความ e-Learning ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย การทำ สะดวกให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ถึงพร้อมด้วยคุณภาพ ฐานข้อมูลกลาง ห้องสมุดดิจิทัล การเรียนการสอนทางไกล การใช้สื่อ สามารถสร้างความพึงพอใจให้ผู้เรียนและสะดวกที่ผู้เรียนจะนำความรู้ไป (e-Courseware) ต่างๆ กับการเรียนการสอน เพื่อขยายโอกาสทางการ ประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพได้เป็นอย่างดี ศึกษาให้มากขึ้น ซึ่งจากแผนฯ ของมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นขยายการศึกษาไป ในหลายวิทยาเขตโดยการลดต้นทุน จะทำให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มี แนวโน้ ม ที่ จ ะเป็ น มหาวิ ท ยาลั ย ปิ ด ที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ในประเทศที่ จั ด สอน e-Learning ยกเว้น มหาวิทยาลัยเปิดอย่างมหาวิทยาลัยรามคำแหง และ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หลักสูตรเด่น ได้แก่ หลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ ปัจจุบันมีเปิดสอน e-Learning ใน 13 คณะและครอบคลุมการเรียน การสอน 4 วิทยาเขตอีกด้วย
38 e-Learning
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.chulaonline.com
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำโครงการนำความรู้จากจุฬาฯ สู่ภูมิภาค ภายใต้ชื่อ “จุฬาออน์ไลน์” ChulaELS (Chula E-Learning System)
ได้รับการสนับสนุนจากคณาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเปิดโอกาสในการเรียนรู้สู่ภูมิภาคทั่วประเทศ จัดการเรียนการสอนผ่าน ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้จัดทำเว็บไซต์ที่พัฒนาโดยฝีมือคนไทย www.ChulaOnline.com เพื่อให้บริการแก่ผู้ที่สนใจ ระบบ ChulaELS สามารถ รองรับผู้เรียน (User) ไม่จำกัดจำนวนอีกด้วย ทำให้การศึกษาไรขีดจำกัด หลักสูตรที่เปิดสอน ได้แก่ หลักสูตรภาษา, หลักสูตรธุรกิจ, หลักสูตรคอมพิวเตอร์, หลักสูตรวิชาสามัญและหลักสูตรวิทยาศาสตร์พื้นฐาน หลักสูตรเด่นที่ได้รับความนิยมมาก คือ หลักสูตร “TOEFL & TOEIC Online” ค่าใช้จ่ายในหลักสูตรนี้ จะให้บริการสำหรับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนบุคคล ทั่วไปสามารถชำระเงินผ่านระบบ Online ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น online payment ผ่าน บัตรเครดิตวีซ่าหรือมาสเตอร์ หรือชำระผ่านระบบ PayPal ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่ ต้องการเรียน ได้แก่ • TOEFL IBT 2-Test Bundle - US$35 • TOEFL IBT Trainer (60 speaking and 20 writing tasks) - US$80 • Tag TOEFL CBT 3-Test Bundle - US$25 • Ultimate TOEFL CBT TestPack (3 Tag Tests & 1 Trainer) - US$69
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://e-learning.tu.ac.th
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันที่เป็นแหล่งความรู้ทาง ด้าน กฎหมาย รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ชั้นนำของประเทศ จึงมี
นโยบายที่จะสนับสนุนให้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่ง ของการให้ความรู้สังคม ในทุกท้องที่ ดังนั้น เพื่อให้ประโยชน์ในด้าน การศึกษาของประเทศ ในปี 2546 ผู้บริหารจึงได้เล็งเห็นความสำคัญและสนับสนุนให้ มีการผลิตสื่อการสอน ในรูปแบบ Web Base e-learning ที่ใช้ Streaming Multimedia Technology ซึ่งจะเน้นการถ่ายทอดจาก เจ้าของวิชา และสนับสนุนการเรียนทางไกล โดยผ่านอินเทอร์เน็ต รวมถึ ง กระจายความรู้ ที่ ต่ า งๆ นอกเหนื อ จากห้ อ งเรี ย นใน มหาวิทยาลัย เพื่อเข้าสู่ชุมชนบุคคลทั่วไป ซึ่งจะเป็นการพัฒนา ประเทศ พั ฒ นาคนในประเทศ ให้ มี ค วามรู้ ทั ด เที ย มนานาชาติ
ในกลุ่ ม ที่ ข าดโอกาสการศึ ก ษาในชั้ น เรี ย น รวมถึ ง กลุ่ ม นั ก ศึ ก ษา
ทั่วประเทศ โดยการผลิ ต การสอนทางไกล จะใช้ วิ ธี ก ารบั น ทึ ก การสอน
ในชั้นเรียนในมหาวิทยาลัย จากกล้อง VDO Microphone จอภาพของคอมพิวเตอร์ (Computer Screen) และลายมือที่เขียนบนกระดาน อากัปกิริยาของ ผู้สอน แล้วนำเอาสัญญาณ VDO Audio มาตัดต่อ และแปลงเป็น Streaming Multimedia Content ที่มีความเร็วต่างๆ รวมถึงสามารถแสดงร่วมกับ สื่อการสอนที่สร้างโดยใช้ Powerpoint แล้วนำสื่อต่างๆ เหล่านั้นมารวมกัน และเผยแพร่ ทาง Intranet Internet CD ในรูปแบบ Web Page ทำให้ คณาจารย์สามารถนำสือ่ ทีใ่ ช้ในการสอน ในปัจจุบนั ทีม่ อี ยูแ่ ล้ว นำมาปรับและประยุกต์ให้กบั เทคโนโลยี windows Media เพือ่ ใช้ในการสอนให้แก่นกั ศึกษาและบุคคล ทั่วไป และยังประโยชน์ให้แก่นักศึกษาในการทบทวนบทเรียน หรือไม่สามารถเรียนในชั้นเรียนได้ ก็สามารถเรียนรู้ได้ทันกับนักศึกษาในห้องเรียน
e-Learning 39
e-L
earning
e-Learning อาจเป็นคำใหม่ในวงการการศึกษา แต่ในปัจจุบัน การเรียนรู้มีการตื่นตัวมาก มีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ใน ระบบการศึกษา โดยเฉพาะ e-Learning ซึ่งเป็นระบบการศึกษารูป แบบหนึ่งที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นการเสริมการ เรียนรู้เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนรู้ที่อยู่ไหนก็สามารถทบทวน และ เรียนรู้ได้ตลอดเวลา นวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ๆ เป็นแนวคิดเพื่อให้เกิดความอยากรู้ อยากเห็น แต่ e-Learning เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ช่วยทำให้เกิดการ เรียนรู้และเกิดความต้องการในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจริง ถ้าใช้ในระบบ e-Learning ในมหาวิทยาลัยจะช่วยให้ทำให้มีเวลาทบทวน เช่น ในกรณีที่ อยู่ ใ นห้ อ งเรี ย น และยั ง ไม่ เ กิ ด ความพร้ อ มหรื อ ตามไม่ ทั น บทเรี ย น
ก็สามารถที่จะทบทวนการเรียนรู้ได้ ในปัจจุบันมีการวิจัยพบว่า สมาธิของคนที่จะเรียนรู้ได้นั้น มีระยะ เวลาประมาณชั่วโมงเศษๆ ประกอบกับปัจจัยในการเรียนรู้หรือรับรู้ที่มี ความแตกต่างในตัวบุคคลถึงจะทำกิจกรรม เทคนิคต่างๆ มาช่วยสร้าง
สีสรรที่ดึงดูดความสนใจ ก็ยังพบข้อจำกัดในการเรียนรู้ในนักศึกษาส่วน ใหญ่อยู่ดี แต่เมื่อมีการนำ e-Learning มาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ ทบทวนเรียนรู้เพิ่มเติม ฝึกปฏิบัติในการทำแบบฝึกหัดก็เป็นทางเลือกที่ดี ในการพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา
ดร.นิลุบล ศิวบวรวัฒนา
รักษาการ ผอ.ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิ ท ยาลั ย ศรี ป ทุ ม มี ก ารสนั บ สนุ นให้ อ าจารย์ น ำ e-Learning
มาเป็นสื่อในการเรียนการสอน โดยมีการจัดทำเนื้อหาของวิชาที่เรียนเป็น รูปแบบ Power Point เมื่อทำการเรียนการสอนในชั้นเรียนเสร็จสิ้น อาจารย์จะใส่ Power Point ที่สอนในชั้นเรียนลงไปใน e-Learning และ มีการทำแบบฝึกหัด Pretest-Protest ใส่เพิ่มเติมลงไปด้วย เมื่อนักศึกษา เข้ามาเรียนรู้ด้วยตัวเองหรือทบทวน สามารถลองทำแบบฝึกหัด เพื่อวัด ความรู้ของตนเองได้ในเบื้องต้น ถ้ายังไม่เข้าใจตรงจุดไหน ก็สามารถย้อน กลับไปดูได้ เพื่อศึกษาเพิ่มเติม หรือ Short note เพื่อมาถามอาจารย์ ประจำวิชาให้อธิบายในจุดตรงที่ไม่เข้าใจ หรือนักศึกษาท่านอื่นที่ไม่ได้ลง วิชานั้นๆ แต่สนใจหาความรู้เพิ่มเติม e-Learning ก็เป็นเครื่องมือหนึ่งใน การหาความรู้ ที่ง่ายและสะดวกในการใช้งาน สำหรับศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุมนั้น ปัจจุบันมีการจัดทำ e-Learning ออกมาในรูปแบบสำหรับการฝึกอบรมในหลากหลายสาขา
40 e-Learning
1. ด้านการเงินการบัญชี หัวข้อ การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน, การวางแผนและควบคุมการเงิน, การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ 2. ด้านการตลาด หัวข้อ การตลาดเชิงบูรณาการ, การวิจัย พฤติกรรมผู้บริโภค, การตลาดบริการ, การจัดการส่งออกและนำเข้า
3. ด้าน Logistics เป็นต้น ซึ่งศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรี ปทุมมีความพร้อมในเรื่องวิทยากร หลักสูตร ห้องอัดเสียง สตูดิโอตัดต่อ โปรแกรม ซอฟต์แวร์ ที่ทำได้เองโดยไม่ต้องไปจ้างที่อื่นทำ จึงมีศักยภาพ ทางด้าน e-Learning อย่างมืออาชีพ ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการรับคำปรึกษาทางด้าน e-Learning สามารถติดต่อได้ในวันเวลาราชการที่ ศูนย์วิทยบริการ ชั้น 5 อาคาร 10 มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน โทร : 0-2579-1111 ต่อ 2292 โทรสาร 0-2579-1111 ต่อ 2432 e-mail : sputraining@spu.ac.th หรือ www.sputraining.com
e-L
earning
Academic Service Center
ม.ศรีปทุม...เปิด 11 หลักสูตร e-Learning
เน้น การบัญชี การเงิน การตลาด การลดต้นทุนการผลิต (Logistics Management) หลักสูตร logistics หลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ ให้บุคคลที่สนใจ ระบบ logistics ได้ทราบถึงภาพรวมของการนำ ระบบ logistics เข้ามา ใช้ในการบริหารจัดการภายในองค์กร และการลดต้นทุนการผลิต เหมาะ อย่างยิ่งสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการ ลดต้นทุนการผลิต และ องค์กรที่ต้องการนำ ระบบ logistics มาใช้ภายในองค์กร เพื่อให้การ ทำงานนั้นสามารถทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและยังคงมีมาตรฐานตามกำหนด ด้านการตลาด ด้ ว ยเนื้ อ หาที่ ค รบถ้ ว นเพื่ อให้ คุ ณ นั้ น ได้ รู้ จั ก ภาพรวมของระบบ - การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการ logistics และการนำมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากทีมงานผลิต - Modern Management และวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ กลั่นกรองเนื้อหาเพื่อสรรสร้างเนื้อหาที่มี - การประเมินผลการปฏิบัติงาน คุณภาพสู่คุณ - การวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค - การตลาดบริการ บรรยายโดย วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ - การจัดการส่งออกและนำเข้า วิทยากร คุณชานนท์ โรจน์วิรัตน์ คุณพงษ์ศักดิ์ เดชอุดม - การจัดการธุรกิจบริการและสันทนาการ วิทยากร คุณชานนท์ โรจน์วิรัตน์ ด้านการลดต้นทุนการผลิต ผู้อำนวยการมูลนิธิโลจิสติกส์และการขนส่ง (ประเทศไทย) - Logistics Management วิทยากร คุณสมเกียรติ คีลาวัฒน์ ด้านการบัญชี กรรมการมูลนิธิโลจิสติกส์และการขนส่ง (ประเทศไทย) - การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน วิทยากร คุณกุณฑิกา วงศ์วิเชียร ด้านการเงิน กรรมการมูลนิธิโลจิสติกส์และการขนส่ง (ประเทศไทย) - การวางแผนและควบคุมการเงิน วิทยากร อาจารย์สุวัฒน์ จรรยาพูน - การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ หัวหน้าภาควิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยจะเริ่ม เปิดตัวหลักสูตรแรกคือ Logistics Management โดยจะ วิทยากร คุณวิชชุ สังกรธนกิจ เปิดตัวในวันที่ 1 กันยายน 2551 นี้ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด JWD Info Logistics Co.,Ltd. รายละเอียด วิทยากร คุณธวัชชัย บิงขุนทด หัวข้อการบรรยาย ผู้วิเคราะห์ระบบอาวุโสของ มูลนิธิโลจิสติกส์และการขนส่ง (ประเทศไทย) ภาพรวมและแนวโน้มทิศทางของโลจิสติกส์ วิทยากร อาจารย์นิวัฒน์ จินันทุยา Managing Resources อาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี Managing the Logistics and Transport Environment วิทยากร อาจารย์นิวัฒน์ จินันทุยา Customer Care and Service Quality Management in- อาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี Transport Operation สนใจติดต่อ Warehousing and Operations ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม Freight Operations Tel. 0-2579-1111 ต่อ 2292,2293 Fleet Management Mobile Phone : 087 337 3446 กฏหมาย และทรัพย์สนิ ทางปัญญาทีเ่ กีย่ วข้องกับการส่งออก นำเข้า นายทรงยศ เฮงสุนทร ระเบียบพิธกี ารส่งออก นำเข้าและความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ให้บริการทางด้านการฝึก อบรมครบวงจรรวมไปถึงการให้บริการ การเรียนการสอนผ่านสื่อ ออนไลน์ (e-Learning) ภายใต้ชื่อโครงการผลิตบทเรียน e-Learning จำนวน 11 หลักสูตร โดยมุ่งเน้น เนื้อหา ทางด้านการบัญชี การเงิน การตลาด และ การลดต้นทุนการผลิต
เจ้าหน้าที่วิชาการ ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม นางสาวกรรณิการ์ ทองจันทร์ เจ้าหน้าที่การตลาด ศูนย์วิทยบริการ มหาวทิยาลัยศรีปทุม สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.sputraining.com , http://sputraining.spu.ac.th/
e-Learning 41
เพิ่มบทบาท...เพิ่มศักยภาพ...การบริหารบุคคลยุคใหม่
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “Mini HRM” # 3 เพิ่มบทบาท...เพิ่มศักยภาพ...การบริหารบุคคลยุคใหม่ เสริมเขี้ยวเล็บ HR พันธุ์ใหม่ เพื่อนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ…!! โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Mini HRM” # 3 พัฒนาระบบการจัดการความรู้ด้วย HRM สมัยใหม่ พัฒนาองค์กร พัฒนางาน และพัฒนาคน ด้วยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ วิทยากรเด่น ด้วยเนื้อหาที่ครบครัน และกรณีศึกษาจากประสบการณ์จริง ดร.นิพนธ์ สุรพงษ์รักเจริญ พร้อมนำพาท่านสู่สถานที่จริง ด้วยการศึกษาดูงานบริษัทชั้นนำ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อาจารย์ทายาท ศรีปลั่ง Knowledge is not what you know, but is what you do. ที่ปรึกษาอิสระ (ความรู้ไม่ใช่เพียงการรู้ แต่เป็นการกระทำ) อาจารย์ธานินทร์ สุวงศ์วาร อาจารย์พิเศษผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เนื้อหาดี พร้อมดูงานสถานที่ดัง (5 แห่ง) • แนวคิดการสรรหา คัดเลือก และรักษาคนดีและเก่งให้อยู่กับองค์กร • หน่วยงานราชการและบริษัทเอกชนที่ประสบความสำเร็จด้านการ • องค์การแห่งความเรียนรู้ และการจัดการความรู้ บริหารทรัพยากรมนุษย์ประจำปี 2551 • โหงวเฮ้งกับงาน HR • บทบาท HR ในยุคการพัฒนาองค์กรและการบริหารการเปลี่ยนแปลง จำนวนผู้เข้าอบรม จำนวน 40 ท่าน • บทบาท HR กับการเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ ค่าลงทะเบียนตลอดหลักสูตร 32,000 บาท • บทบาท HR กับการเป็นที่ปรึกษาองค์กร วันเวลาจัดอบรม : วันที่ 4 ตุลาคม 2551– 24 มกราคม 2552 • กลยุทธ์ การสร้างภาวะผู้นำเพื่อพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ฯลฯ
Concept Model Case Study and PR by E-Marketing โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรกลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ E-Marketing วิทยากร ผศ.ดร.อนุชิต ศิริกิจ Department Director of Customer Experience Department, Total Access Communication Plc คุณชีพธรรม คำวิเศษณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยเวนเจอร์ ดอทคอม จำกัด อาจารย์พงษ์ ผาวิจิตร Board of National Innovation Awards committee, National Innovation Agency. Science and Technology Ministry คุณวนิดา จิตต์ไมตรี อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยศรีปทุม อาจารย์สุรางคณา วายุภาพ ผู้ดูแลด้านกฎหมายโดยตรงจาก NECTEC คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการบริษัท ตลาด ดอท คอม จำกัด e-Learning 42
แนวทางการตลาดยุคใหม่ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในธุรกิจ โดยวิทยากรระดับแนวหน้าผู้ประสบความสำเร็จ ในวงการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เนื้อหา “IMC for E-Marketing” “CRM for E-Marketing” “การสร้างพันธมิตรทางการตลาด (Affiliate Marketing)” “Product standardization” “Business E – Law” “What Who When How E-Marketing” “Website for E-Marketing” “การให้ บ ริ ก ารทางการตลาดบนเสิ ร์ ช เอ็ น จิ้ น (Search Engine Marketing)” “การโฆษณาทางเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Interactive Advertising)” จำนวนผู้เข้าอบรม จำนวน 40 ท่าน ค่าลงทะเบียนตลอดหลักสูตร 22,000 บาท วันเวลาจัดอบรม : เดือนมกราคม – มีนาคม 2552
หลักสูตร ผู้ส่งออกอัจฉริยะ : Smart Exporter รุ่นที่ 9 ก้าวสู่การเป็นนักส่งออกมืออาชีพพร้อมเสริมสร้าง ความแข็งแกร่งทางธุรกิจด้วยหลักสูตร “Smart Exporter” หัวข้อจัดอบรม
- แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและทิศทางการค้าระหว่างประเทศ ของประเทศไทย ปี 2552 - การจัดการธุรกิจนำเข้า – ส่งออก ปี 2552 และแนวทางการปรับตัวของ ผู้ประกอบการ - FTA กับการค้าระหว่างประเทศ (Free Trade Area : เขตการค้าเสรี) - การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า - การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด สู่ตลาดอาเซียน - การเป็นนักขายมืออาชีพ ในตลาดโลก - เจาะลึกการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง (Brand Power) - การพัฒนารูปแบบสินค้าตามแนวโน้มตลาดโลกแก่ผู้ประกอบการ - เทคนิคการเจรจาต่อรองในการค้าระหว่างประเทศ - ทิศทางการส่งออกไปตลาดอินโดจีน - การบริหารสภาพคล่อง และการทำ Financial Projection - Managing the Logistics and Transport Environment - Customer Care and Service Quality Management in Transport Operation - ลู่ทางการส่งออกไปตะวันออกกลาง
วิทยากร
จากหน่วยงานราชการ มหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำ และจากภาคเอกชนที่มี ประสบการณ์โดยตรง พร้อมดูงานสถานที่จริง ทางด้านการส่งออก และระบบการขนส่ง ภายในประเทศ และต่างประเทศ
จัดโดยสถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
ด่วนรับจำนวนจำกัด!!
จำนวนผู้เข้าอบรม 40 -70 ท่าน ค่าลงทะเบียน 30,000 บาท วันเวลาจัดอบรม : วันที่ 15 กันยายน – 24 ธันวาคม 2551 อบรมเฉพาะวันพุธ และวันเสาร์ ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. ณ สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2512-0093-104 ต่อ 671, 675 www.depthai.go.th ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุมโทรศัพท์ : 086-300-9500 /0-2579-1111 ต่อ 2292-3 www.sputraining.com
e-L
earning
หลักสูตรทางไกล นักศึกษานับแสนทั่วโลก
ได้ปริญญาจากอังกฤษ โดยไม่ต้องจากประเทศบ้านเกิด ปัจจุบันมีนักศึกษา 200,000 คน ซึ่งกำลังเรียนในหลักสูตรระดับ อุดมศึกษาของสหราชอาณาจักรในประเทศต่างๆ และมีนักศึกษาจำนวนถึง ครึ่ ง ล้ า นคนกำลั ง เรี ย นเพื่ อ การสอบวิ ช าชี พ มหาวิ ท ยาลั ย ของ
สหราชอาณาจักรส่วนใหญ่มีหลักสูตรการเรียนการสอนในต่างประเทศใน รูปแบบต่างๆ ซึ่งเปิดโอกาสสำหรับการเรียนทั้งแบบเต็มเวลา นอกเวลา ด้ ว ยนวั ต กรรมในด้ า นการเรี ย นการสอนและการพั ฒ นาแผนการ
ประกั น คุ ณ ภาพ ไม่ มี ค วามจำเป็ น อี ก ต่ อ ไปที่ ต้ อ งเรี ย นเต็ ม เวลาใน
สหราชอาณาจักรเพื่อได้รับโอกาสทางการศึกษาอันหลากหลาย มีหลักสูตรหลากหลายซึ่งเปิดสอนโดยสถาบันการศึกษา องค์กรผู้ออก วุฒิและองค์กรวิชาชีพของสหราชอาณาจักรเพื่อเปิดสอนในประเทศต่างๆ นอก สหราชอาณาจักร โดยหลายหลักสูตรเหล่านี้เป็นหลักสูตรเต็มเวลาอาจจัดขึ้น โดยความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นหรือเป็นปริญญาแบบเรียนร่วม ระหว่างสองสถาบันและรวมถึงหลักสูตรแบบเรียนด้วยตนเองอย่างที่รู้จักโดย ทั่วไป หลักสูตรที่เปิดสอนเป็นเหตุผลสำคัญสำหรับนักศึกษาจำนวนมากที่เลือก เรียนในหลักสูตรของสหราชอาณาจักรในประเทศของตนเอง ประสบการณ์ของ
44 e-Learning
สหราชอาณาจักรในการจัดการด้านการศึกษาในรูปแบบนี้เป็นที่ยอมรับเป็น อย่างดี วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยของสหราชอาณาจักรได้ใช้ประสบการณ์ ของตนเองเพื่อพัฒนาการเรียนรูปแบบใหม่ ซึ่งได้รับการออกแบบเพื่อตอบ สนองความต้ อ งการของนั ก ศึ ก ษาและประเทศที่ พ วกเขากำลั ง เรี ย นอยู่ กลไกด้ า นคุ ณ ภาพได้ ถู ก นำมาใช้ เ พื่ อ เป็ น หลั ก ประกั น ว่ า การเรี ย นจะมี มาตรฐานเดียวกันกับหลักสูตรต่างๆ ซึ่งสอนในสหราชอาณาจักร หลักสูตรนอกเวลาและหลักสูตรการเรียนทางไกล ในหลักสูตรนอกเวลาและหลักสูตรการเรียนทางไกล คุณจะเรียนใน หลักสูตรตามความสะดวกของตนเองพร้อมความช่วยเหลือผ่านทางสื่อการ เรียนรู ปแบบต่างๆ เช่น เอกสารการเรียนและอินเทอร์เน็ต คุณอาจ สามารถสื่อสารกับอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาคนอื่นๆ โดยจดหมายอีเมล หรือ สิ่ง อำนวยความสะดวกออนไลน์ เช่นห้องสนทนาผ่านเว็บหรือการ ประชุมวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ บางครั้งคุณอาจมีโอกาสได้เข้าร่วมเรียนในห้อง เรี ย นที่ ส ถาบั น การศึ ก ษาท้ อ งถิ่ นในประเทศของคุ ณ หรื อ เดิ น ทางมาที่
สหราชอาณาจักร หลักสูตรการเรียน หลักสูตรที่เปิดสอนจะขึ้นอยู่กับประเทศที่คุณจะเรียน สาขาวิชาที่คุณ เลือกและระดับการเรียน ในกรณีที่มีหลักสูตรมากกว่าหนึ่งหลักสูตรเปิด สอน คุณควรเปรียบเทียบเนื้อหาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนเพื่อดูว่า หลักสูตรใดเหมาะกับความต้องการของคุณมากที่สุด คุณสามารถเรียนหสักสูตรต่างๆ ได้ทุกระดับ เช่น ระดับ GCSEs/ A-levels และวุฒิที่เทียบเท่าในสกอตแลนด์ ประกาศนียบัตรอุดมศึกษา ปริ ญ ญาตรี แ ละวุ ฒิ ด้ า นวิ ช าชี พ อี ก มากมาย ประเพณี อั น ยาวนานของ
สหราชอาณาจักรในการจัดการหลักสูตรการศึกษาในประเทศบ้านเกิดของ นักศึกษาสามารถเห็นได้ชัดจากความหลากหลายของสถาบันการศึกษา ซึ่ง เปิดสอนหลักสูตรประเภทนี้ เช่น วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย องค์กร วิชาชีพและองค์กรความเชี่ยวชาญพิเศษ มีหลักสูตรหลายหลักสูตรซึ่งมี
ระยะเวลาการเรี ย นภาคบั ง คั บ หรื อ เป็ น ทางเลื อ กใน
สหราชอาณาจักร (โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในระดับปริญญาตรี) กรุณาตรวจสอบข้อมูลหลักสูตรเพื่อค้นหาว่าสถาบันการ ศึกษาใดที่เปิดสอนในหลักสูตรดังกล่าว นอกจากนี้ ม หาวิ ท ยาลั ย ต่ า งๆ ของสหราช อาณาจักรยังได้ทำงานร่วมกับโรงเรียนและวิทยาลัยใน ต่างประเทศเพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนหลักสูตรก่อน เข้าเรียนหรือหลักสูตรปูพื้นฐานในประเทศของตนเอง พร้ อ มโอกาสในการเรี ย นต่ อ หลั ก สู ต รต่ อ เนื่ อ งใน
สหราชอาณาจักร เงื่ อ นไขการรั บ สมั ค รได้ รั บ การออกแบบเพื่ อให้ แน่ใจว่านักศึกษาที่ได้รับเข้าเรียนจะสามารถสำเร็จการ ศึกษาได้ โดยแตกต่างกันตามแต่ละสถาบันและวุฒิการ ศึ ก ษา เนื่ อ งด้ ว ยเหตุ ผ ลด้ า นวิ ธี ก ารเรี ย นและการ ประเมินผล สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่จะกำหนดให้นัก ศึกษาต้องมีมาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษที่ดี
e-Learning 45
e-L
earning ระดับอุดมศึกษา สำหรั บ หลั ก สู ต รปริ ญ ญาตรี แ บบทางไกล มหาวิทยาลัยของสหราชอาณาจักรต้องให้ข้อมูลที่ครบ ถ้วนของวุฒิปริญญาที่ได้รับและประวัติการเรียนตลอด ระยะเวลาการเรียน ใบปริญญาและหนังสือรับรองผล การเรียนจะให้รายละเอียดที่ครบถ้วนกับสิ่งที่คุณได้เรียน รวมถึงสถานที่และวิธีการเรียนของคุณ ซึ่งเป็นการให้ ข้อมูลทั้งหมดที่ผู้จ้างงานหรือองค์กรวิชาชีพต้องการ เกี่ยวกับวุฒิปริญญาของคุณ ขอบเขตและความหลากหลายของสาขาวิ ช าที่
คุ ณ สามารถเรี ย นได้ นั้ น กว้ า งขวางมาก ตั้ ง แต่ ประกาศนี ย บั ต รบั ณ ฑิ ตในสาขาการป่ า ไม้ ส มั ย ใหม่
จนถึ ง ศิ ล ปศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาวรรณคดี เ ด็ ก
หรื อ ปริ ญ ญาโทสาขากฎหมายคอมพิ ว เตอร์ จ นถึ ง
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาภาษาจีน ธุรกิจสาขา คอมพิ ว เตอร์ แ ละเทคโนโลยี ส ารสนเทศนั้ น มี ค วาม เหมาะสมสำหรั บ การเรี ย นทางไกล นอกจากนี้ วุ ฒิ วิ ช าชี พ มากมายซึ่ ง เปิ ด สอนโดยองค์ ก รต่ า งๆ ของ
สหราชอาณาจั ก รสามารถทำการเรี ย นในประเทศ
ของคุณ หลายหลักสูตรบริหารโดยสถาบันการศึกษาใน ประเทศเพื่อประสบการณ์การเรียนของคุณเอง นอกจากนี้ ม หาวิ ท ยาลั ย ต่ า งๆ ของสหราช อาณาจักรยังได้ทำงานร่วมกับโรงเรียนและวิทยาลัยใน ต่างประเทศเพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนหลักสูตรก่อน เข้าเรียนหรือหลักสูตรปูพื้นฐานในประเทศของตนเอง พร้อมโอกาสในการเรียนต่อในสหราชอาณาจักร วุฒิด้านวิชาชีพและองค์กรผู้ออกวุฒิ วุฒิวิชาชีพของสหราชอาณาจักรได้รับการยอมรับ อย่างสูงจากทั่วโลก และมีนักศึกษานานาชาติมากกว่า ครึ่ ง ล้ า นคน ซึ่ ง ทำการสอบวิ ช าชี พ ของสหราช อาณาจักรในแต่ละปี องค์กรวิชาชีพและการจัดการสอบ ของสหราชอาณาจักรทำหน้าที่รับผิดชอบมาตรฐานทาง วิ ช าการของการสอบเท่ า นั้ น แต่ ไ ม่ ร วมถึ ง การสอน นอกจากนี้องค์กรวิชาชีพหลายองค์กรยัง มีการส่งคำ แนะนำผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังนักศึกษาด้วย
46 e-Learning
e-L
earning
อยากมีชีวิตที่สอง เชิญลองมีได้ในโลกเสมือนจริง โลกเสมือนจริงสำหรับชีวิตที่สองนี้ก่อตั้งโดยบริษัทลินเดนแลบ
(Linden Lab) ทั้งนี้ เมื่อ พ.ศ.2549-2550 มีคนเข้าไปอยู่ใน “เช็ค กันไลฟ์ดอทคอม” ไม่กี่แสนคน แต่ในปี พ.ศ.2551 มีคนอยู่กว่า 12 ล้านคน มหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าไปซื้อเกาะไว้ มหาวิทยาลัยละ 1-2 เกาะ เมื่อ พ.ศ.2550 ผมก็เลยเข้าไปซื้อเกาะไว้หนึ่งเกาะพื้นที่ประมาณ 40 ไร่ ราคาประมาณห้าหมื่นบาท แล้วเสียเงินค่าดูแลรักษาอีกประมาณห้าหมื่น บาทต่อปี รวมแล้วจ่ายไปครั้งแรกประมาณหนึ่งแสนบาท จ่ายเงินจริงๆ ผ่านบัตรเครดิตแล้วได้ของปลอมๆ มา คือ ได้เกาะเสมือนจริงอยู่ในอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ผู้ขายเขายอมให้ตั้ง ชื่อเกาะได้ ผมตั้งชื่อว่า “เกาะมหาเสน่ห์” หรือ “ชาร์มมิ่ง ไอแลนด์
(Charming Island)” ซึง่ อาคาร A เป็นบ้านพักประธานผูบ้ ริหาร ถนน B เป็นถนนจากด้านหน้าเกาะไปยังอาคาร D ผ่านอาคาร A ซึ่งอยู่ทางซ้าย และอาคาร C ซึ่งอยู่ทางขวา และอาคาร D อยู่กลาง โดยอาคาร C เป็นศูนย์ประชุม ซึ่งด้านนอกจำลองมาจากพระที่นั่งกลางน้ำที่บางปะอิน หรือศาลาจตุรมุขไพจิตรที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญวิทยาเขตสุวรรณภูมิ โดยศูนย์ประชุมนี้จะแบ่งเป็นหลายชั้น ชั้นล่างเป็นห้องโถงอเนกประสงค์ ซึ่งอาจจะใช้จัดนิทรรศการ จัดประชุม หรือจัดเลี้ยง ชั้นล่างเป็นห้อง ประชุมสัมมนาขนาดใหญ่จุได้พันที่นั่ง มีห้องประชุมย่อยหลายห้อง
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการและประธานผู้บริหารวิทยาลัย การศึกษาไกลอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
อยากมีชีวิตที่สอง
ซื้อเกาะทั้งเกาะ ด้วยเงิน 1 แสนบาท เชิญลองมีได้ในโลกเสมือนจริง
อาคาร A ซึ่งเป็นบ้านพักผู้บริหารนั้นจำลองมาจากบ้านจริงๆ ของผมเอง ซึ่งของจริงเนื้อที่ประมาณ 800 ตารางวา แต่ในโลกเสมือนจริง ขยายเป็น 2 เท่า คือ ประมาณ 1,600 ตารางวา เป็นถนนจากประตูหน้าบ้านไปโรงรถซึ่งถ้าเลี้ยวขวาก็เป็นถนนจากโรงรถไปหน้าประตูตึกและ
สระน้ำ โดยสระน้ำมีน้ำตกสามชั้นแบ่งเป็นสามส่วน มีทางเดินรอบตัวตึกและข้างสระน้ำ ห้องโถงใหญ่จากประตูตึกด้านหน้าไปห้องทำงาน เป็นห้องดู หนังฟังเพลง เป็นมุมมองจากห้องโถงใหญ่ขนึ้ ไปห้องนอนใหญ่ ห้องนอนใหญ่มขี นาด 50 ตารางเมตร ติดกับห้องน้ำทีม่ ขี นาด 50 ตารางเมตร เช่นกัน
e-Learning 47
e-L
earning
อาคาร D คือ แบบจำลองของอาคาร “ศรีศักดิ์ จามรมาน สถาน เทคโนโลยีสารสนเทศ” ซึ่งในโลกจริงมี 12 ชั้น ชั้นละประมาณ 1,000 ตารางเมตร รวมพื้นที่ประมาณ 12,000 ตารางเมตร แต่ในโลกเสมือน จริงผมขยายอาคารเป็น 29 ชั้นๆ ละ 5,000 ตารางเมตร รวมทั้งสิ้น 145,000 ตารางเมตร อาคารศรีศักดิ์ จามรมาน สถานเทคโนโลยี สารสนเทศในโลกเสมือนจริงลงทุนไปประมาณ 670 ล้านบาท โดยห้อง ทำงานของผมจั ด แบบพระราชวั ง ในยุ โ รป ในอาคารศรี ศั ก ดิ์ ฯ
มีคอมพิวเตอร์เป็นพันเครื่อง มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองใช้น้ำมันดีเซล
มีห้องฝึกอบรมอินเทอร์เน็ตขนาด 408 เครื่อง 120 เครื่อง 60 เครื่อง และ 30 เครื่อง มีห้องประชุมขนาด 160 ที่นั่ง และเป็นที่ตั้งวิทยาลัย การศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต เปิดการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตที่ เรียกว่า “อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning)” โดยตัวผมเองเป็นประธานกรรมการ และประธานผู้บริหาร จากห้องทำงานมีประตูไปทางเดิน ผ่านห้องรับรองทางซ้าย และผ่าน ห้องประชุมทางไกล โดยในห้องประชุมทางไกลมีกล้องราคาประมาณ 600,000 บาท ซึ่งผู้ร่วมประชุมคนใดพูดเสียงดังกว่าเพื่อนกล้องก็จะหัน ไปจับภาพผู้นั้นขึ้นจอ แต่ผู้ดำเนินการประชุมอาจจะบังคับกล้องให้หันไป ทางอื่นและเชิญผู้อื่นพูดก่อนก็ได้ ด้านหนึ่งของห้องประชุมทางไกลมีจอ ขนาด 6 ฟุต แบ่งเป็น 4-6 จอเล็กได้ โดยในรูปนั้นชักจอซ่อนไว้บนฝ้า อีกด้านหนึ่งของห้องประชุมทางไกลมีกระดานขาวให้เขียนได้
48 e-Learning
ในโลกเสมือนจริง เมือ่ เข้าไปในอาคารศรีศกั ดิ์ จะพบป้ายโฆษณา ตัวอวตารสามารถเดินเข้าไปในห้องทำงาน หรือเข้าไปในห้องประชุมขนาด 160 ทีน่ งั่ มีอีกหนึ่งอาคาร คือ อาคารดี เป็นที่พักอาศัย อยู่ชายหาด กะว่าจะให้มี 20 ชั้นๆ ละ 4,000 ตารางเมตร รวม 80,000 ตารางเมตร จะให้เช่า ตารางเมตรละ 10 บาทต่อปี ถ้าให้เช่าได้หมดก็จะได้ค่าเช่าปีละ 800,000 บาท เทียบกับค่าบำรุงรักษาเกาะปีละ 50,000 บาท ดูจะได้กำไรดี ทั้งนี้ ถ้ามีบริการแต่งห้อง บริการให้เช่าเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ ก็มีโอกาสได้กำไรอีกมาก ความจริงในชีวิตที่สองโลกเสมือนจริงนี้มีคนเข้าไปทำธุรกิจจริงๆ หลายคนมีรายได้จริงคนละเป็นล้านดอลลาร์แล้ว ตัวอย่างเช่น มีคนขายรถยนต์ คันละ 50-100 ดอลลาร์สหรัฐ จะเอายี่ห้ออะไร ตกแต่งอย่างไรก็ได้ ผู้ซื้อจ่ายเงินจริงๆ แต่ได้รถเสมือนจริงที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ไม่มีของจริงๆ ในชีวิตจริงๆ e-Learning 49
e-L
earning
www.rsu-cyberu.com
การศึกษาทางไกล...
ผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นทางเลือกใหม่ มหาวิทยาลัยรังสิตมีส่วนร่วมในการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ
มีความเข็มแข็ง มีความแข็งแกร่งให้แก่ประเทศชาติ เพราะว่าบุคคล หรือทรัพยากรคนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะผลักดันให้ประเทศชาติมี ความเข้มแข็ง แล้วพัฒนาต่อไปสู่ความรุ่งโรจน์ ความมั่นคงยืนอยู่บน ขาของตัวเองได้ ฉะนั้น มหาวิทยาลัยรังสิตจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะสนองต่อความ ต้ อ งการของบ้ า นเมื อ ง อะไรที่ เ ป็ น ทิ ศ ทางเป็ น ความรู้ เป็ น ทั ก ษะ เป็นความสามารถใหม่ๆ ที่ยังมีความต้องการ และขาดแคลน มองไปข้าง หน้า แล้วเราก็สร้างสิ่งเหล่านั้นให้มีศักยภาพที่เข้มแข็งกับประเทศไทย จริงๆ ถ้าค้นหาศักยภาพให้พบแล้วพัฒนาให้เกิดคุณค่าประสิทธิภาพแล้วก็ มีนวัตกรรมวิสัยทัศน์ในการที่จะสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้
ก็นับว่าเป็นภารกิจสำคัญของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา อย่าง เช่น มหาวิทยาลัยรังสิต มาบัดนี้มหาวิทยาลัยรังสิตคิดว่าถึงโอกาสแล้วที่จะได้ขยายผู้เป็น ทรัพยากรบุคคลทั่วประเทศได้มีโอกาสเข้าถึงและพัฒนาศักยภาพในด้าน ต่ า งๆ จึ ง ได้ เ ปิ ด การสอนในหลั ก สู ต รออนไลน์ ที่ เ รี ย กว่ า Cyber University หรือการสอนแบบทางไกล การสอนทางไกลทางอินเทอร์เน็ต ที่แท้จริงเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ และยังไม่มีสถาบันที่นำการเรียนการ สอนโดยใช้เทคโนโลยีนี้มาใช้มากนัก
Mission
RSU-Cyber University มีปณิธาน ที่จะขยายโอกาสการเข้าถึง การและทางเลือกด้านอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ ให้กับนักศึกษาและผู้ใฝ่ หาความรู้และทักษะในการประกอบวิชาชีพเพิ่มเติม เพื่อเป็นผู้นำที่ดีใน องค์กร สังคม และประเทศชาติ จุดประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีช่องทางใหม่ในการเพิ่มพูนความรู้ และทั ก ษะในการประกอบอาชี พโดยสามารถเรี ย นได้ อ ย่ า งสะดวก
มีคุณภาพและได้มาตราฐานระดับสากล 2. เพื่ อ สรรค์ ส ร้ า งบทเรี ย นรวบยอดที่ มี คุ ณ ภาพและเข้ าใจง่ า ย
ซึ่งพัฒนาโดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชา นั้น โดยใช้เทคโนโลยีที่สามารถสร้างความเข้าใจและพึงพอใจกับผู้เรียน รวมทั้งนำไปประยุกต์ในการประกอบวิชาชีพได้โดยง่าย 3. เป็นองค์กร ที่เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยสร้างความมั่นคง ยั่ ง ยื นในการพั ฒ นาเทคโนโลยี ก ารศึ ก ษาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพื่ อให้ เ กิ ด ประสิทธิผลต่อการศึกษาของชาติอย่างเต็มที่ 4. เพื่ อ ปู พื้ น ฐานด้ า นอุ ด มศึ ก ษาที่ มี คุ ณ ภาพให้ แ ก่ นั ก ศึ ก ษา
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการศึกษาต่อยอดวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
50 e-Learning
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์
อธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต
www.rsu-cyberu.com “พูดถึงนักศึกษา Cyber U แล้ว มีคณ ุ ภาพ เรียนรูจ้ ริง นำไปใช้งานได้ อาชีพที่มาเรียนที่นี่มีทั้งอาชีพพนักงานบริษัท แพทย์ นักการเมือง ข้าราชการ เจ้าของกิจการ ผูบ้ ริหารบริษทั แต่ สั ด ส่ ว นที่ ม ากที่ สุ ด คื อ ฝ่ า ยการเมื อ งและข้ า ราชการ ประมาณ 30% มีแนวโน้มว่า ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์เข้า มาเรียนกฎหมายมากขึ้น” ในระยะ 2-3 ปีที่ก่อตั้ง Cyber U มหาวิทยาลัยรังสิต ผมตั้งข้อ สังเกตไว้ 2 เรื่อง คือ เรื่องการตลาดของผู้สนใจที่จะเรียนโดยระบบ
e-Learning นั้น พบว่า มีตลาดที่กว้างขวางมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มี เงินเดือน แล้วหาเวลามาเรียนไม่ได้ แล้วต้องรับผิดชอบในงานประจำ ต้องการมีวิชาความรู้ที่สามารถไปเสริมในการทำงานได้ดีขึ้น นี่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ส่วนใหญ่กลุ่มที่มาเรียน Cyber U ต้องมี ความรับผิดชอบตัวเอง ต้องการความรู้จริงๆ ไม่ใช่กลุ่มคนที่เรียนเพื่อ ปริญญา เป็นกลุ่มผู้ที่ทำงานบริษัทต่างๆ ในเอกชน หรือในรัฐวิสาหกิจ กลุ่มราชการ ซึ่งมีเงินเดือนอยู่แล้ว กลุ่มผู้สนใจเรียนนี้ มีปริมาณมากเป็นล้านคน ตลาดแต่ละปีเป็น หมื่นเป็นแสนคงไม่ใช่ คงต้องเริ่มต้นเท่าที่ทำได้ดีที่สุดก่อน ผมคิดว่า มากกว่าภาคปกติ ส่วนใหญ่เป็นปริญญาโทขึ้นไป ประสบการณ์ที่ได้มาคือการเปิดไซเบอร์มีคนสองเท่าของภาคปกติ นี่คือสิ่งที่ผมค้นพบมา
รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต RSU-Cyber University
ตลาด Cyber U ขยายตัวกว่าภาคปกติ สองเท่า มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เปิดหลักสูตร 4-5 หลักสูตรเป็นอย่างน้อย หลักสูตรที่ 1 ก็คือ นิติศาสตรบัณฑิตออนไลน์ เรามีความเห็นว่าคน ที่ต้องการรู้กฎหมายมีทุกสาขาวิชาชีพ ถึงแม้ว่าจะจบปริญญาตรีไปแล้วก็มุ่ง หวังที่จะมีความรู้ด้านกฎหมาย ฉะนั้นจึงเปิดปริญญาตรีทางด้านนิติศาสตร์ ให้ผู้ที่จบปริญญาตรีมาแล้วได้เรียนเป็นปริญญาตรีที่ 2 ไม่ว่าจะประกอบ อาชีพอะไรอยู่ สามารถเรียนได้ใน 2 ปีแล้วก็ได้ปริญญาตรี อยู่ที่ไหนก็ เรียนได้ ปริญญาทางด้านออนไลน์ที่ว่านี้อยู่ที่บ้านก็เรียนได้ภายในระยะเวลา สั้นๆ หลักสูตรที่ 2 นั้นจะเปิดศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา ก็สำหรับพี่น้องครู นักการศึกษาทั่วประเทศได้มีโอกาส เข้ า ถึ ง และพั ฒ นาศั ก ยภาพของตั ว เองให้ เ ป็ น ผู้ บ ริ ห ารและก็ เ ป็ น ครู ที่ มี คุณภาพ เพราะว่าประเทศไทยนั้นก็ขึ้นอยู่กับการศึกษาอย่างเดียวที่จะทำให้ ประเทศเจริญได้ หลักสูตรที่ 3 คือ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผูน้ ำสังคม ธุรกิจและการเมือง หลักสูตรที่ 4 คือ หลักสูตรการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ก็เป็นอีกด้านหนึ่งซึ่งแพร่หลายมากแต่ว่าคนก็มีโอกาสเข้าถึงได้น้อย ขอปวารณาว่ามหาวิทยาลัยรังสิตถือว่าเป็นภารกิจที่สำคัญในการที่จะ สร้างศักยภาพของประเทศไทยในด้านบุคลากร ในด้านทรัพยากรมนุษย์ให้ เข้มแข็งแล้วก็มีคุณค่ามีประสิทธิภาพ มีวิสัยทัศน์มากที่สุด
e-Learning 51
e-L
earning
www.rsu-cyberu.com
ทางมหาวิทยาลัยรังสิตถือว่าการรู้จักใช้เทคโนโลยีที่ดี ช่วยระบบการศึกษาที่ดีได้ เป็นสิ่งที่เราทำร่วมกันได้ เราไม่ได้มองเรื่องการแข่งขันแบบนั้นไม่ใช่ ช่วยกันเพื่อให้การศึกษาได้ทั่วถึง เปิดโอกาสให้ทุกคน เป็นเป้าหมาย ที่เรามองอยู่ โดยเฉพาะตรงนี้เป็นปณิธานของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ที่มีจุดประสงค์ให้การศึกษามีคุณภาพ เพื่อจะสร้างทรัพยากรมนุษย์ เพื่อจะสร้างประเทศชาติให้เจริญขึ้น การเสริมสร้างในทุกๆ เรื่อง มีปณิธานที่ชัดเจน จึงใช้เทคโนโลยีมาช่วยเสริมในสิ่งนี้และกำลังเกิดเป็นจริง ขึ้นในเมืองไทย มหาวิทยาลัยรังสิต มีความภูมิใจที่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดการเรียนการสอน ด้วย ระบบ Cyber U อย่างจริงจัง เป็นภาษาไทยแห่งแรกของประเทศ เทอมนี้จะมีเรียนจบ 2 สาขา คณะ นิติศาสตร์ คณะผู้นำสังคมธุรกิจและการเมือง วันรับปริญญาอยู่ที่เดือนธันวาคม อีกสิ่งที่เราค้นพบก็คือ มีเสียงสะท้อนมาว่า การเรียนโดยระบบ Cyber U ไม่น่าจะประสบความสำเร็จ เพราะว่าเรียนยาก เรียนผ่านคอมพิวเตอร์ไม่มีชีวิตจิตใจ ไม่เป็นมนุษย์ ห่างจากความเป็นจริง ผมเชื่อว่า ลักษณะการเรียนการสอนอาจารย์และนักศึกษามีทางปฏิสัมพันธ์กันมากอยู่แล้ว โดยใช้ไซเบอร์ เป็นเครื่องมือ ทางอินเทอร์เน็ต มือถือ ไอโฟน อีเมล แบล็คเบอรี่ทุกประเภท ฐานหลักเป็นคอมพิวเตอร์ในการ สื่อสาร นักศึกษาจะเรียนกี่รอบก็ได้ ถ้าตั้งใจเรียนก็จบ ดีกว่าภาคปกติด้วยซ้ำ จะทบทวนกี่ครั้งก็ได้ จะทำ แบบฝึกหัดกี่ครั้งก็ได้ นักศึกษาส่วนใหญ่เปิดคอมพิวเตอร์เข้ามาศึกษาบทเรียน เมื่อไรก็ได้ เวลาใดก็ได้ ด้วยความเหมาะสมกับ ความต้องการเรียนมากที่สุด ไม่ต้องพะวงกับเวลาหรือระเบียบแบบการเรียนในภาคปกติ ที่มีระเบียบบังคับใน เรียน ความแตกต่างระหว่างการเรียนภาคปกติกับระบบ Cyber ก็คือ ภาคปกติจะเน้นการเรียนรู้ในตำรา มากกว่า แต่ในภาค Cyber นั้น นำผู้ที่มีประสบการณ์จริงมาสอนและสร้างบทเรียนวิธีการถ่ายทอดจึงใช้วิธีที่ นำประสบการณ์ การสอน การถ่ายทอดความรู้ที่ดี นำมาผสมผสานกับคนที่มีประสบการณ์ มาช่วยสอนเป็น ระยะๆ ซึ่งจะทำให้นักศึกษาได้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ อันนี้คือจุดเด่น อันนี้คือตลาดคุณภาพออกมาไม่แพ้มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
52 e-Learning
e-L
earning
www.rsu-cyberu.com
“พ่อมด ไซเบอร์” ตั้งใจทำให้ “เร็วกว่าสั่งพิซซ่า” ด้วยระยะเวลาเพียง 2 ปี ที่เปิดเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ขณะนี้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยไซเบอร์รังสิตรุ่นแรก ได้สำเร็จการศึกษาเตรียมรับปริญญาแล้ว จำนวน 42 คน นั ก ศึ ก ษาคนแรกที่ จ บการศึ ก ษาด้ ว ยระบบ Cyber U. นี้ คื อ ดร.คุ ณ หญิ ง กั ล ยา โสภณพนิ ช
ถือเป็นการสำเร็จปริญญาตรีใบที่สอง ของคุณหญิง ผมตั้งใจให้การศึกษาในระบบนี้ ได้รับความสะดวกมากที่สุด แต่ผู้เรียนจะต้องมีวินัย ขยันขันแข็ง ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยก็ต้องเตรียมจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้ รับความสะดวกมากที่สุด ให้ผู้ต้องการเรียนสามารถเข้าถึงระบบการศึกษาให้ได้เร็วที่สุด พยายามจัดหาคณะ ผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถมากที่สุด ให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบอาชีพมากที่สุด Rangsit Cyber U. จะปรับบทเรียนข้อเสนอจากผู้ที่สำเร็จการศึกษารุ่นแรกแล้ว เพื่อนำมาปรับปรุงให้ ผู้เรียนได้รับบริการสะดวกที่สุด ดีที่สุด เร็วที่สุด และบริการแบบถึงที่ พร้อมกับปรับระบบ วิธีการเรียนการ สอนเสริมผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ การศึกษาในระบบใหม่นี้ เพียงแค่ “คลิก” อาจารย์ก็มาสอนถึงที่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง “ผมตั้งใจจะให้เร็วกว่าสั่งพิซซ่า กดแค่คลิกเดียวให้อาจารย์มาสอนถึงบ้านตลอด 24 ชั่วโมง ให้เร็วกว่า สั่งพิซซ่า เวลาหิวสั่งแล้วต้องรอถึง 20-30 นาที จึงจะดีลิเวอรี่มาถึง เรียนทาง Cyber U. ของเรา คลิก ปั๊บมาปุ๊บ หิวความรู้ปั๊บ มาทันทีเหมือนกับแฮร์รี่ พอตเตอร์ อยากเรียนวิชาพ่อมดแบบไหนอาจารย์
ขี่ไม้กวาดมาได้เลยทันที” โลกวันนี้ คงต้องยอมรับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า ไซเบอร์ คือแหล่งความรู้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความ สะดวกสบายอย่างยิ่ง ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาการจราจรที่แก้ไขไม่ตกในเมืองไม่ต้องปวดหัวกับน้ำมันราคาแพง ไม่ต้องห่วงเรื่องการเดินทางอีกต่อไป ไม่ต้องทรมานเพื่อไขว่คว้าหาปริญญาอีก เพราะบริการทางวิชาการส่ง ตรงถึงบ้าน ที่ทำงาน หรือที่ไหนก็ได้ในโลกนี้ อย่างมีคุณภาพสามารถที่จะเรียนรู้ได้ทุกวัน ทุกเวลา ทุกนาที ทุกชั่วโมง ตามความต้องการที่อยากเรียนรู้
โดย รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล ผช.อธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต RSU-Cyber University
Tel. 0-2997-2200-30 ต่อ 3650, 3467 www.rsu-cyberu.com
e-Learning 53
e-L
earning
เงินเดือนคนไอที ในอเมริกา อัตราเงินเดือน ประมาณ
เงินเดือน/ปี 5 ล้านบาท
60,250-94,750 ดอลลาร์ 2,216,000-3,480,000 บาท/ปี
4 ล้านบาท
3 ล้านบาท
2 ล้านบาท
1 ล้านบาท
ตำแหน่งนักพัฒนาเวป อัตราเงินเดือน 54,750-81,500 ประมาณ 2,000,000 - 2,990,000 ผู้จัดการคลังข้อมูล อัตราเงินเดือน 85,500-113,500 ประมาณ 3,100,000-4,170,000 ผู้จัดการโครงการ อัตราเงินเดือน 72,750-106,250 ประมาณ 2,670,000-3,900,000 นักวิเคราะห์ด้านการประกันคุณภาพสารสนเทศ อัตราเงินเดือน 62,250-74,500 ประมาณ 2,284,693-2,734,226
54 e-Learning
ดอลลาร์ บาท/ปี ดอลลาร์ บาท/ปี ดอลลาร์ บาท/ปี บาท/ปี บาท/ปี
นักออกแบบ อัตราเงินเดือน 80,000-112,750 ประมาณ 2,900,000-4,100,000 ผู้โดยแลรักษาความปลอดภัยเครือข่าย อัตราเงินเดือน 69,250-97,000 ประมาณ 2,500,000-3,600,000 ผู้ตรวจสอบบัญชีไอที อัตราเงินเดือน 69,250-97,000 ประมาณ 2,500,000-3,500,000 ที่มา ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน www.charm.au.edu
ดอลลาร์ บาท/ปี ดอลลาร์ บาท/ปี ดอลาร์ บาท/ปี