แม่โขง

Page 1

1


2


3


คำ�นำ�

สายธารเดียวกัน

ภารกิจของผม ตั้งใจจะไปให้ถึงยอดเขาที่มีหิมะและเป็นที่ก�ำ เนิดของน้ำ�ชุดแรกที่ ไหลมาจากยอดเขาธรรมชาติที่ไกลหูไกลตาชาวโลก ภูเขาหิมะนี้ อยู่ตรงไหนกันแน่ จุดนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเดินทางในการแสวงหาต้นน้ำ�แม่โขง ตำ�นาน เล่าขานอีกชุดหนึ่งของทิเบต ประเทศจีนตอนใต้ จากยูนนานเข้าสู่ทิเบต มุ่งไปสู่เทือก เขาหิมะ ทีต่ ลอดทัง้ ปีไม่มวี นั ไหนทีไ่ ม่มหี มิ ะ และหยดน้ำ�หยดแรกทีป่ รากฏโดยธรรมชาติ ไปถึงปลายทางของแม่โขงที่เวียดนาม ต้องมีหยดนั้นที่ผมจะไปจับต้องด้วยตัวเองให้ ได้ การเดินทางไปถึงหลังคาโลกทีท่ เิ บต ไม่ใช่งา่ ยๆ บนทีร่ าบสูงนัน้ ออกซิเจนมีนอ้ ย อากาศเบาบาง ไม่ค่อยพอหายใจ และเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง ถนนหนทาง ต้องไต่เขาที่สูงชันอันตรายรอบด้าน ตั้งใจว่า ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องมาสัมผัสด้วยตนเองจริงๆ แม่น้ำ�โขงไม่ได้เป็นเพียงแม่น้ำ�สายธรรมดาที่วิ่งผ่านหลายประเทศ จีน, พม่า, ไทย, เขมร, เวียดนาม และลาวเท่านัน้ แต่เป็นสายธารทีม่ จี ติ วิญญาณทีเ่ ป็นตัวบันทึก ประวัติศาสตร์ เป็นสักขีพยานของสงคราม ความยากจน และเป็นสายธารแห่ง สันติภาพ

4

สายน้�ำ นีไ้ หลอย่างเชีย่ วกราก ประชากรหลายร้อยล้านคนทีอ่ ยูก่ ลางน้�ำ และปลาย น้ำ�ย่อมจะส่งสารซึ่งกันและกันตลอดเวลา เป็นไปได้ไหมครับว่าล้านช้าง แม่โขง เป็น ตัวแทนศูนย์กลางสือ่ สารจากต้นทางไปถึงปลายทาง เพือ่ ทีจ่ ะให้ตา่ งคนทีต่ า่ งความคิด ได้มาร่วมกันคิดว่าจะทำ�อย่างไรกับสายน้�ำ นี้ เป็นประโยชน์ตอ่ ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่เกิดประโยชน์กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถ้าหากสารนั้นคือสันติและความปรองดอง การเคารพในจิตวิญญาณของความ เป็นมนุษย์ด้วยกัน ไม่น่าจะมีปัญหามากมายที่เราเห็นของริมฝั่งแม่โขง ในเมื่อเราต่าง ก็มาจากสายธารเดียวกัน เรามาจากความศักดิ์สิทธิ์ของธรรมชาติ ทำ�ไมเราจึงไม่ ปกป้องธรรมชาติให้ประโยชน์ที่ควรจะได้แก่ประชาชนสองฝั่งโดยไม่มีความขัดแย้ง ทางการเมือง การขัดแย้งผลประโยชน์ เศรษฐกิจ มาเป็นตัวทำ�ให้ความเป็นมนุษย์ ของสองฟากฝั่งของแม่น้ำ�โขงกลายเป็นปัญหา หวังว่าสารที่ส่งจากแม่น้ำ�โขงจะฝาก ผ่านลงไปใต้น�้ำ ให้กระจายลงไปทุกๆ จุดจากนี้ไป สุทธิชัย หยุ่น ริมฝั่งแม่น้ำ�โขง ทิเบต


สารบัญ แผนที ่ ไปให้ไกลกว่า “กลุ่มฝรั่งเศส” ชื่อเรียกแม่น�้ำ พยศ สุทธิชัย หยุ่น นำ�ทีม ปฏิบัติการ 09 ไล่ล่า ขอบฟ้าที่เลือนหาย แชงกรี-ลา แชงกรี-ลา ชื่อที่มีมนต์เสน่ห์ เริ่มต้นเดินทาง 4,909 กม. -7 องศา คือข่าวแรกที่ได้รับก่อนเริ่มเดินทาง ถึงแชงกรี-ลา คิดถึง พระ “พุทธทาส” ...จับใจ ภูเขาหิมะเหมยลี่ กราบแสนครั้ง จึงได้คารวะ การกราบแบบ อัษฎางคประดิษฐ์ รำ�พึง ยามตะวันลับลำ�น้ำ�โขง ตะวันลับที่... หลานชางเจียง อาหารทิเบต เตรียมตัวก่อนขึ้นที่สูง High Altitude Sickness ต้นแม่น�้ำ โขง “อาการรัก” บนที่สูง จีนไม่ “หยุดสร้างเขื่อน” เวียงผาคราง กษัตริย์องค์สุดท้าย อาณาจักรสิบสองปันนา

6 8 13 14 19 25 26 28 32 33 45 46 52 58 60 64 66 75 82

“เวียงผาคราง” จากวัง...เปลี่ยนเป็นโรงแรม 84 “แม่น้ำ�โขง” ใช้ทั้งดื่ม กิน อาบ และต้มเหล้าขาว 88 ระเบิดแก่ง แม่โขง 94 แก่งผีหลง-แก่งผาชะนะได 96 โตนเลซาบ ทะเลสาบเขมร เขื่อนสกัดการไหลเทของน้ำ�ให้ผิดปกติ เริ่มตื้นเขิน 100 สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ�โขง แหล่งปลูกข้าวโลก เวียดนามกลัวอดตาย 106 The lost horizon found Seeking more than Shangri-la The mountain’s lesson The Lancang’s shifting mood The trance of the Snow Mountain History’s headwaters Dai in deep water The lair of the Naga king Dam and blast! Stormy waters My Three Precious เบื้องหลังการถ่ายทำ�

116 120 125 130 136 140 143 146 152 156 170 172 5


6


143 ปีแล้ว พ.ศ. 2409 (ค.ศ.1866) ณ เมืองต้าลี่ อาณาจักรน่านเจ้าในอดีตพันปี คณะสำ�รวจชาวฝรั่งเศส “กลุ่มคลั่งแม่น�้ำ โขง” หยุดการสำ�รวจแม่โขงลงที่เมืองต้าลี่ มณฑลยูนนาน หัวหน้าคณะสำ�รวจต้องฝังทิ้งร่างไว้ที่ริมแม่น�้ำ โขง

ทิ้งศพหัวหน้า ตัด “หัวใจ” กลับฝรั่งเศส 7


ไปให้ไกลกว่า “กลุ่มฝรั่งเศส” การปฏิบัติการแสวงหา “ต้นแม่น้ำ�โขง” เริ่มต้นใหม่อีกครั้งในปี 2552 ที่ทะเลสาบ “หนองแส” หรือทะเลสาบ เอ๋อไห่ เมืองต้าลี่ ประเทศจีน ดินแดนที่ชาวลุ่มน้ำ�โขงเคยเชื่อแต่โบราณว่า ที่นี่คือจุดกำ�เนิดของแม่น้ำ�โขง ปัจจุบันนี้ จาก การสำ�รวจทางดาวเทียม แหล่งกำ�เนิดต้นแม่น�้ำ โขงที่แท้จริงนั้น อยูู่ในแดนหิมะ ที่ราบสูงทิเบตยังไม่มีใครไปถึง 8


ผมจะไปจับต้องหยดน้ำ�หยดแรกด้วยตัวเอง ว่ากันว่า ข้างบนนั้น ออกซิเจน ไม่ค่อยพอ ถนนหนทางนั้น ต้องไต่เขาที่สูงชันอันตราย คณะสำ�รวจฝรัง่ เศสเคยเดินทางสำ�รวจแม่น�้ำ โขง และหยุดภารกิจสำ�รวจ แม่น้ำ�โขง ตรงนี้หลังใช้เวลาเดินทางสำ�รวจนานสองปี ด้วยวาระซ่อนเร้นของ ลัทธิอาณานิคม มีเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ของการสำ�รวจ หวังที่จะเข้ายึดครองทาง ใต้ของจีนด้วยเส้นทางเดินเรือลัดเลาะตามสายน้�ำ หลังบ้านของจีน มาถึงเมือง ต้าลี่ เมืองทีม่ ที ะเลสาบอันกว้างใหญ่ทะเลสาบเอ๋อไห่ อ่างเก็บน้�ำ หิมะละลายไหล ลงถึงสายน้�ำ หลักของแม่น�้ำ โขงทางด้านตะวันตกลงใต้ เมืองต้าลี่ มีประวัติย้อนลงไปนับพันปี เป็นที่ก่อเกิดของอาณาจักรน่านเจ้า อาณาจักรตาลีฟู ที่มีความเชื่อว่า เป็นต้นกำ�เนิดของ “อาณาจักรไทย” ที่ อพยพลงมาจากภูเขาอัลไต แล้วถูก กองทัพมองโกล บุกโจมตี ต้องถอยลงไป ทางใต้ของ “หนองแส” หรือทะเลสาบเอ๋อไห่ แห่งนี้ ความกว้างใหญ่ของทะเลสาบหนองแสนี้ เป็นที่กำ�เนิดความเชื่อมากมาย ของชนเผ่าในภูมิภาคนี้ ต้นกำ�เนิดพงศาวดาร พญานาค ต้นกำ�เนิดพระยาแถน ผู้ให้ความอุดมสมบูรณ์ ต้นกำ�เนิดที่ฝรั่งเศสเกือบสรุปว่า เป็นต้นกำ�เนิด แม่น�้ำ โขง

แก่งหินมาก ฝรั่งเศสยังถอย

9


ในช่วงเวลาเดียวกันนัน้ นักล่าอาณานิคมอีกประเทศอย่างอังกฤษก็ใช้แม่น�ำ้ สาละวิน เจาะหลังบ้านทางใต้ของจีนเช่นกัน แต่ก็ล้มเหลว ธรรมชาติของแม่น�ำ้ โขงได้สกัดกัน้ การล่าอาณานิคมของฝรัง่ เศสไว้ได้ ด้วยเกาะ แก่งคอน ความเชี่ยวกรากและความพยศของแม่น้ำ�โขง หัวหน้าคณะสำ�รวจเสียชีวิตและฝังไว้ที่ริมแม่น้ำ�โขง ตัดแต่ “หัวใจ” กลับไป ฝรั่งเศส เป็นตำ�นานเล่าขานกัน ของกลุ่มคลั่งแม่น้ำ�โขง ที่มาถึงก่อนใคร ในดินแดน ที่ยังไม่เคยมีใครสำ�รวจถึงต้นแม่น้ำ�โขงได้ ฝรั่งเศสสรุปไว้ว่า แม่น้ำ�โขงเต็มไปด้วยแก่งหิน น้ำ�ไหลเชี่ยว ไม่เหมาะกับการ เดินทางทางเรือ และว่าที่นี่คือต้นน้ำ�แม่น้ำ�โขงในความหมายของแอ่งน้ำ�จำ�นวนมากที่ ไหลลงหลายประเทศทางด้านใต้ จากข้อมูลที่มีอยู่และการสำ�รวจของ “กลุ่มคลั่งแม่น้ำ�โขง” นี้ ทำ�ให้สุทธิชัย หยุ่น และคณะ คิดว่า น่าจะเดินทางต่อไปเหนือกว่า “เมืองต้าลี่” เพราะภารกิจ ต้องการไปดูวา่ ยอดเขาหิมะ ทีก่ �ำ เนิดน้�ำ หยดแรก ไหลลงจากยอดเขาธรรมชาติ ไกลหูไกลตาชาวโลกนั้น อยู่ที่ไหนกันแน่ จากจุดนี้ การเดินทางไปแสวงหาต้นน้ำ�แม่โขงเริ่มต้นขึ้น เหนือกว่าจุดที่ฝรั่งเศส เคยยุติการสำ�รวจเมื่อ 143 ปีก่อน ในเขตมณฑลยูนนานที่ติดต่อกับเขตปกครอง ตนเองทิเบต ไปแชงกรี-ลา ไปสู่ทิเบต มุ่งสู่ภูเขาหิมะ ที่ที่มีหิมะปกคลุมตลอดปี ไม่มี วันไหนที่ไม่มีหิมะเป็นการเริ่มต้นปฏิบัติการค้นหา “หยดน้ำ�หยดแรก” แล้วเดินทาง ลงใต้ตามแม่น้ำ�โขงให้ถึงสามเหลี่ยมแม่น้ำ�โขง ในเวียดนามไปแสวงหา หยดน้ำ�หยด แรกและหยดสุดท้ายของแม่น้ำ�โขง

ทีมสำ�รวจแม่น้ำ�โขงของฝรั่งเศส

Dudart de Lagree (ดูดาร์ต เดอ ลาเกร)

10

Francis Garnier (ฟรานซิส การ์นิเยร์)

คอยดูว่า ผมจะรอดและโชคดีกว่าคณะ สำ�รวจฝรั่งเศส เมื่อ 143 ปี ก่อนหรือไม่ จะฟันฝ่าถึงสุดยอดของหลังคาโลกของทิเบต และยังมีลมหายใจอยู่หรือไม่


เทียบกับธรรมชาติ มนุษย์ตัวเล็กนิดเดียว

11


น้�ำ หยดแรกบนภูเขาหิมะ

12


ชื่อเรียกแม่น้ำ�พยศ ทิเบต ต้าจู : แม่น�้ำ หิน Dza Chu River ยูนนาน, จีน : หลานชางเจียง, แม่น้ำ�สายเชี่ยวกราก, Lancang Jiang, สิบสองปันนา น้�ำ ของ Nam Kong ลาว : น้ำ�ของ Nam Kong ไทย : แม่น้ำ�โขง Mekong River กัมพูชา : ตนเลธม Tonle Thom เวียดนาม : กิ๋วล่อง เก้ามังกร Cuu Long ความยาว : 4,909 กิโลเมตร ผ่านทิเบต ยูนนาน จีน 2,198 กม. ผ่าน 5 ประเทศ 2,711 กม. จุดเริ่มต้นของแม่น้ำ�โขงอยู่ที่ ทิเบต จีน เส้นแวง ลองติจูดที่ 94 องศา 40 ลิปดา 52 ฟิลิปดา ตะวันออก ละติจูดที่ 33 องศา 45 ลิปดา 48 ฟิลิปดา เหนือ จากการวิจัยสำ�รวจของนักวิทยาศาสตร์จีน ระบุ จุดกำ�เนิดแม่น้ำ�โขงอยู่ในหุบเขา จิฟู (Jifu) เขตปกครองตนเองยูชุ Yushu ทิเบต จุดสูงสุด : 5,200 เมตร เหนือระดับน้�ำ ทะเล ปริมาณน้�ำ : 475 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ไหลผ่าน : 6 ประเทศ จีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม ครอบคลุมพืน้ ทีร่ าบ : ลุม่ น้�ำ 810,000 ตร.กม. (สองเท่าของพืน้ ทีป่ ระเทศไทย) ปริมาณน้�ำ : 475 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี “ทะเลสาบสงขลา” แม่น้ำ�โขงไหลจากทิเบต ไปออกทะเลที่ดินแดนสามเหลี่ยมปากน้�ำ เวียดนาม กระแส น้ำ�พัดนำ�ตะกอนข้ามอ่าวไทย ไปเกิดเป็นสันเขื่อนกั้น ทำ�ให้เกิด “ทะเลสาบสงขลา” สรุป ได้ว่า ทะเลสาบสงขลา เกิดขึ้นจากดินตะกอนแม่น้ำ�โขง ชะล้างไหลมาไกลแสนไกลจาก “หลังคาโลก” จนถึงอ่าวไทย เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ (ข้อมูล: The Mekong from Dza Chu-Lancang-Tonle Thom to Cuu Long, จากยุคอาณานิคมสู่โลกาภิวัตน์ “แม่น้ำ�โขง” ฤาจะรอด) ข้อมูลใหม่ : ผลงานวิจยั ของนาย Liu Shaochuang จาก Institute of Romote Sensing Application ร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์จนี The Chinese Academy of Science

:: มุมแม่น้ำ�โขง ที่แปลกตา

13


สุทธิชัย หยุ่น นำ�ทีม ปฏิบัติการ 09

ไล่ล่า ขอบฟ้าที่เลือนหาย แชงกรี-ลา การเดินทางค้นหาสัจจะชีวิต ณ อุณหภูมิ -12 องศา สูง 5,005 เมตรเหนือระดับน้�ำ ทะเล ที่ราบสูงทิเบต-ซิงไห่ ต้นสายธารสำ�คัญของผู้คนนับร้อยล้านคน - แม่น�้ำ โขง - แม่น�้ำ สาละวิน - แม่น�้ำ แยงซีเกียง 14


จุดเริ่มต้นของการเดินทาง

15


ปฏิบตั กิ ารค้นหาต้นแม่น�้ำ โขง เริม่ ต้นขึน้ ในต้นฤดูหนาวทีก่ �ำ ลัง มาถึง เหนือจุดทีมนักสำ�รวจแม่น�้ำ โขงชาวฝรัง่ เศส ชุด “กลุม่ คนคลัง่ แม่น้ำ�โขง” เรียกตัวเองว่า “Mad of Mekong” ที่หัวหน้าทีมต้อง นำ�ชีวิตมาทิ้งไว้ด้วยไข้ป่า การเดินทางขึ้นเหนือไปแสวงหาให้ถึงต้นน้ำ�แม่น้ำ�โขงครั้งนี้ ในปี 2552 กำ�หนดเริ่มที่ “แซงกรี-ลา” ณ บริเวณเทือกเขาศักดิ์สิทธ์ิ ของชาวทิเบต “เทือกเขาโอรสแห่งสวรรค์” เหมยลี่เซียะซาน จุดที่ นักสำ�รวจชาวจีนและญี่ปุ่น 17 คน เคยเดินทางขึ้นไปสำ�รวจแล้ว สูญหายไปในพายุหิมะจนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย เมื่อร้อยกว่าปีก่อน เมื่อปี พ.ศ. 2409 หรือ ค.ศ. 1866 คณะ การสำ�รวจแบบบุกเข้าตี “ประตูหลัง” ของจีนด้านยูนนาน เดินทาง ไปถึงเมืองต้าลี่ ก็ตัดสินใจยุติการสำ�รวจที่นั่น แทนที่จะไปจนถึงต้น กำ�เนิดแม่น�้ำ โขง ตามที่ได้ตั้งใจไว้ ในปี 2552 นี้ การปฏิบัติการเดินทางครั้งใหม่กำ�ลังจะเริ่มต้น ขึ้น ณ จุดเริ่มต้นในที่ราบสูงเต๋อชิง จุดที่เจ้าหน้าที่จีนสันนิษฐานว่า คือเมือง แชงกรี-ลา ที่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของชาวทิเบต ยอดเขา “โอรส สวรรค์” เหมยลี่เซียะซาน เมืองเต๋อซิง ใน “แชงกรี-ลา” ก่อนขึ้นไปทางเหนือเพื่อจะไปหาต้นทางแม่น้ำ�โขง มาเริ่มต้นที่ แชงกรี-ลาแห่งนี้ แชงกรี-ลา แปลว่า สรวงสวรรค์ที่มนุษย์ทุกคน ใฝ่ฝันถึง ที่ที่ทุกคนสามารถที่จะอยู่เป็นร้อยๆ ปี ไม่มีความทุกข์ มีแต่ มิตรภาพ มีแต่ความสันติ การเดินทางมาเมืองแชงกรี-ลา ของจีนนี้ ไม่ได้อยู่ไกลนัก ใช้ เวลาเพียงชัว่ โมงเดียว จากเมืองคุนหมิง ก็เดินทางมาถึงได้ เมือ่ 6 ปีกอ่ น รัฐบาลจีนได้เปลีย่ นชือ่ เมืองจาก จงเตีย้ น เป็น แชงกรี-ลา เพือ่ ทำ�การ ุ ประชาสัมพันธ์บริเวณนีใ้ ห้คนทัว่ โลกได้รจู้ กั ว่า ทีน่ คี่ อื แชงกรี-ลาทีค่ ณ เห็นในหนังและที่คุณอ่านจากหนังสือ เพื่อที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยว

16

ต้องไปให้ถึงต้นน้ำ�


17


แชงกรี-ลา ภูเขาหิมะที่ยังไม่มีผู้ใดพิชิตได้

18


แชงกรี-ลา

ชื่อที่มีมนต์เสน่ห์

นักเขียนชือ่ ดังของอังกฤษคนหนึง่ เจมส์ ชิลตัน เขียนไว้ในนิยาย ปี 1933 เป็นนิยาย ทีใ่ ครอ่านแล้วก็ตอ้ งอยากรู้ว่า แชงกรี-ลา มี อยู่จริงหรือ ถ้ามีมีอยู่ที่ไหน หากรู้ก็อยากจะ มาที่นี่มาก นิยายเรื่อง “แชงกรี-ลา” นั้นเล่าถึงที่ นีว่ า่ มีความสุข มีภเู ขาหิมะทีส่ วยสดตระการ ตา มีทั้งทะเลสาบ หิมะ ธรรมชาติป่าเขาที่ สวยงาม ชื่อแชงกรี-ลาจึงกลายเป็นชื่อที่ โด่งดังอย่างยิง่ เพราะไม่วา่ คนฝรัง่ คนเอเชีย หรื อ ยุ โ รป ก็ ต้ อ งการหายู โ ทเปี ย แห่ ง นี้ วาดหวังว่านี่คือสรวงสวรรค์ที่มนุษย์ทุกคน แสวงหา ชื่อ “แชงกรี-ลา” โด่งดังขึ้นมาอย่าง ถึ ง ขี ด สุ ด เมื่ อ ฮอลลี วู้ ด สร้ า งเป็ น หนั ง ชื่ อ “แชงกรี-ลา” เมื่อปี 1937 ยิ่งก่อกระแสให้ ผู้คนอยากรู้ว่าแชงกรี-ลามีจริงหรือไม่ ทีน่ ยิ ายเขียนถึงนัน้ คือ ทีน่ บี่ ริเวณนี้ โดย เฉพาะใครก็ ต ามที่ เ ห็ น ภาพของเทื อ กเขา เหมยล่ี ซึ่งมีทั้งหมด 13 เทือกเขา ที่เรียก ว่า โอรสสวรรค์ 13 องค์ โดยเฉพาะช่วง เช้าดวงอาทิตย์ขนึ้ และช่วงเย็นดวงอาทิตย์ตก นัน้ ดูยงั ไงก็คดิ ได้วา่ เป็นสรวงสวรรค์แน่นอน

19


เมืองแชงกรี-ลา สวรรค์บนดิน

20


ฉะนั้นแชงกรี-ลา หรือ สรวงสวรรค์ของจีน เป็นที่ ที่ก่อนจะขึ้นเหนือ ค้นหาต้นน้ำ�ของแม่น�้ำ โขง มีทั้งความ เป็นธรรมชาติอันสดสวย ขณะเดี ย วกั น ก็ กำ � ลั ง จะมี คุ ณ ค่ า ทางด้ า นวั ต ถุ สองอย่างกำ�ลังต่อสู้กันพอสมควรว่า จะสามารถรักษา มนต์เสน่ห์ ความลี้ลับ ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ บริเวณนี้อย่างที่ควรจะเป็นหรือการท่องเที่ยวจะทำ�ลาย จนหมดไป

เดินทางไกลแค่ไหน ก็ต้องเริ่มที่ก้าวเท้าก้าวแรก ก้าวแรกของปฏิบัติการ 09 กำ�ลังเริ่มขึ้น

เมืองแชงกรี-ลา ปัจจุบัน เดิมเมืองนี้ชื่อ จงเตี้ยน อยู่ในมณฑลยูนนานของจีนเขตติดต่อกับมลฑลเสฉวน และเขตปกครองตนเองทิเบต เมืองจงเตี้ยนกลายเป็น “แชงกรี-ลา” แดนสวรรค์ขึ้นมาทันที ช่วงนี้ผมต้องไล่ล่าขึ้นไปเพื่อจะดูดวงอาทิตย์ขึ้นที่ เทื อ กเขาหิ ม ะที่ ผ มเชื่ อ ว่ า สวยที่ สุ ด แห่ ง หนึ่ ง ของโลก ก่อนที่จะตรงดิ่งขึ้นไปทางเหนือเพื่อจะค้นหาแหล่งของ แม่น้ำ�โขงให้ได้

21


วัดลามะทิเบต

22


เจมส์ ชิลตัน นักเขียนอังกฤษ เขียนนิยายไว้ในปี 1933 “ขอบฟ้าที่เลือนราง” เป็นนิยายที่คนเชื่อว่า บรรยากาศของจริงมาจากที่นี่ เพราะว่าในนิยายเป็นดิน แดนแห่งสรวงสวรรค์ที่มีแต่ความสงบสุข ผู้่คนมีชีวิต ยาวนาน 200-300 ปี เป็นที่ที่ไม่มีความขัดแย้ง ทุกคน เคารพซึ่งกันและกัน มีความเมตตาต่อกัน เจมส์ ชิลตัน โด่งดังด้วยหนังสือเล่มนี้ ยิ่งมีผู้ก�ำ กับ ฮอลลีวู้ด เดวิด คอปเบอร่า ทำ�เป็นหนังเมื่อปี 1937 ชื่อแชงกรี-ลา ยิ่งทำ�ให้โด่งดังมากยิ่งขึ้น

หลังจากนั้นรัฐบาลจีนได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้ จาก จงเตี้ยน เป็น แชงกรี-ลา เมื่อประมาณ 6 ปีก่อนนี้เอง กลายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว รัฐบาลจีนบอกนี่ล่ะ คือสรวงสวรรค์ตามนิยาย สวรรค์อยู่ใกล้แค่นี้เอง ถ้า หากมองขึ้นไปบนเทือกเขาหิมะขาว ผมไปดูมาแล้วเป็น สวรรค์จริงๆ ความสวยงามธรรมชาติลี้ลับมหัศจรรย์มี จริงๆ บนโลกใบนี้ ก่อนจะขึ้นไปตามไล่ล่าขอบฟ้าที่เลือน ลับ เพื่อต้องการจะรู้ว่า ต้นตอของแม่น้ำ�โขงอยู่ที่ไหน ความสวยงามของแม่น้ำ�โขงทีส่ ่วนของจีนเรียกว่า แม่น้ำ�

หลานชาง มีความพิสดาร มีความเป็นพยศมากน้อยแค่ ไหนอย่างไร ผมมาตั้งสติและทำ�สมาธิ มาแสวงหาสันติสุขที่ แชงกรี-ลาแห่งนี้ ทำ�ให้ใจสงบ ทำ�ให้มองทุกอย่างด้วย ความรูส้ กึ เป็นเพือ่ นร่วมโลก โดยเฉพาะก่อนจะไปมองหา ต้นสายธารแห่งความเมตตา ความรัก ความสงบ และ ความพยศของแม่โขง ผมมานั่งทำ�สมาธิที่นี่ เป็นความสุขเหลือหลาย

23


24


เริ่มต้นเดินทาง 4,909 กม. ในที่ราบสูงทิเบต-ซิงไห่ จาริกหาต้นแม่น�้ำ โขง “แซงกรี-ลา” หรือเมืองจงเตี้ยน เป็นประตูสู่ต้นแม่น�้ำ โขง บริเวณนี้ มีแม่น้ำ�ใหญ่ไหลผ่าน ถึง 3 สาย ขนานกันมาตามแนวที่ราบ คือ แม่น้ำ�โขง ชาวจีนเรียกว่าแม่น้ำ�ล้านช้าง ไหลลงไป ไกลสู่จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชาและเวียดนาม แม่น้ำ�สาละวิน หรือชาวจีนเรียกว่า นู่เจียง แปล ว่า แม่น้ำ�ดื้อ ไหลลงไปสู่พม่า อีกเส้นหนึ่งเป็นสายเลือดใหญ่ของจีนคือ แม่น้ำ�แยงซีเกียง ต้นแม่น้ำ�ก็อยู่ที่นี่ เรียกว่า จินซาเจียง หรือแม่น�้ำ ทรายทอง เป็นสาขาทีไ่ หลรวมลงไปทางตะวันออกของจีนจนถึงปากน้�ำ ทีเ่ มือง เซี่ยงไฮ้ ทีน่ จี่ งึ เป็นจุดเริม่ ต้นของการเดินทางเพือ่ ไปถึงจุดต้นกำ�เนิดแห่งแม่น�้ำ สายสำ�คัญต่อชีวติ มนุษย์ หลายร้อยล้านคน น่าแปลกว่า จุดที่ล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์นับล้านคน บ่อเกิดแห่งศาสนา วัฒนธรรม ภาษาและ วิถีชีวิตริมสองฝั่งน้ำ�ก่อนไหลไปสู่ทะเลใหญ่นั้น ณ ที่ต้นกำ�เนิดนี้ ณ ที่หยดน้ำ�หยดแรก ละลายจากหิมะ พื้นที่ที่หนาวเย็น มีแต่หิมะ ยากจะ มีชีวิตมนุษย์ทนทานอยู่ได้

25


-7 องศา คือข่าวแรกที่ได้รับก่อนเริ่มเดินทาง ก่อนอื่น ขอวัดความดันก่อนที่จะเริ่มเดิน ทางไปจากจุดเริ่มต้น

“แชงกรี-ลา” 26


ความกดอากาศมีผลต่อร่างกาย เป็นเรื่องสำ�คัญที่สุด ควรมีแพทย์ไปด้วย

27


ถึงแชงกรี-ลา คิดถึง พระ ...จับใจ

“พุทธทาส”

มาถึงถิน่ แชงกรี-ลา คุณสุทธิชยั หยุน่ กลับหวนไปคิดถึง พระ “พุทธทาส” ขึ้นมาอย่างจับใจ เมื่อเดินทางมาเยือนวัดซงจ้านหลินหรือวัดกุ้ยหัว ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่เหนือ เมืองแชงกรี-ลา วัดที่เป็นที่นับถือของชาวลามะ นักบวชทิเบต โดยจำ�ลองรูป แบบการสร้างคล้ายพระราชวังโปตาลา ที่เมืองหลวงทิเบต กรุงลาซา เป็นศูนย์ รวมทางจิตใจและศูนย์กลางพุทธศาสนาในบริเวณที่ราบสูงทิเบตในเขตจงเตี้ยน วัดแห่งนี้ สร้างโดยองค์ทะไลลามะองค์ที่ 5 ใช้เวลาก่อสร้าง 18 ปี ที่นี่ เป็นประตูสู่จิตวิญญาณของชาวทิเบต ภาพวาดฝากผนังวัดชิ้นหนึ่ง ได้ตรึงคุณสุทธิชัย ให้หยุดพิจารณาภาพนาน นับชั่วโมง ภาพนี้ พระทิเบตเรียกกว่า ธรรมจักรชีวิต “Wheel of Life” ที่ แสดงถึงความเชื่อเรื่อง วัฏสงสารของชีวิตมนุษย์ กรรมและความดี ความชั่ว นรกและสวรรค์ “ที่หยุดพิจารณานานมากนี้ เพราะภาพเดียวกันนี้ เคยเห็นเป็นเหมือนภาพ เดียวกันกับที่ท่านพุทธทาส ได้นำ�ไปสั่งสอนเผยแพร่อยู่ที่วัดสวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี ประเทศไทย”

28

วัดสวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี ประเทศไทย


วัดที่ทิเบต

29


ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงความดื่มด่ำ�กับจิตวิญญาณแห่งพุทธศาสนิกชนชาวทิเบต ที่ยังคงยึดศาสนาเป็นจุดศูนย์กลางของชีวิต เพื่ออุทิศตนให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ธรรมจักร วัฏสงสารชีวติ นี้ เป็นจุดทีน่ า่ พิศวงทีส่ ดุ แห่งวัดลามะ ซงจ้านหลิน ทีน่ ่ี หลักธรรมง่ายๆ นี้ แสดงให้เห็นว่า

ทำ�ดีได้ดี ทำ�ชั่วได้ชั่ว ภาพประกอบคำ�สอนแสดงได้ชัดเจน ทุกอย่างเกิดจากเหตุ ชีวิตเป็นไปตามกรรม “ตัวกิเลสตัณหาของมนุษย์ เป็นศูนย์กลางของกงล้อชีวิต”

อธิษฐานให้ประเทศไทยสงบ

30

กงล้อแห่งชีวิตที่วัดที่แชงกรี-ลาแห่งนี้ วัดซงจ้านหลินซื่อ ถ้าใครเคยไปที่สวน โมกข์ โรงมหรสพวิญญาณของท่านพุทธทาสจะเห็นกงล้อแบบเดียวกันนี้เหมือนกันที่ ท่านพุทธทาสเรียกว่าเป็น ปฏิจจสมุปบาท หรือที่ท่านเรียกว่าเป็น สังสารวัฏ สังสารจักร เป็นกงจักรแห่งชีวิต ทำ�ดีได้ดี ทำ�ชั่วได้ชั่ว กิเลสตัณหาของมนุษย์ถ้าหาก ไม่หาทางดับก็จะมาลงขุมนรก ทำ�ความดีมุ่งมั่น ทุกอย่างที่ท่านพุทธทาสท่านสอนเอา ไว้ว่าผลมาจากเหตุ ที่มีเพราะมันมี ที่ไม่มีเพราะไม่มี ทุกอย่างเป็นไปตามกฎของ ธรรมชาติ กงล้อหมุนตามหลักแห่งธรรมชาติ สิ่งที่เกิดเพราะมันมีเหตุผล มันมีปัจจัย ผมมายืนอยูต่ รงนีร้ ะหว่างเมืองแชงกรี-ลาทีอ่ ยูข่ า้ งหลังผม ด้านซ้ายผมเป็นกงจักร ยักษ์ใหญ่ที่สุดในทิเบตหนัก 36 ตัน ผมไปหมุนมาเพื่อที่จะขอพรให้เกิดสันติสุขใน ประเทศไทย ถ้าจะให้สมบูรณ์ต้องหมุนให้ครบรอบอายุ สำ�หรับผมคงจะหมุนไม่ไหว อย่างน้อยผมได้สวดมนต์เพือ่ ทีจ่ ะให้คนไทยทัง้ ประเทศได้ประสบแต่ความสุขและความสงบ ถ้าเป็นไปได้ให้เป็นแชงกรี-ลา เพราะคำ�ว่าแชงกรี-ลา หมายถึงสรวงสวรรค์ทที่ กุ คนเสมอภาค มีความสุขไร้ทุกข์ มีความเมตตากรุณาต่อกันและกัน ตามตำ�นานทีเ่ ล่าขานมาช้านาน แชงกรี-ลาทีน่ มี่ คี วามสวยความงามของธรรมชาติ ที่ติดตาตรึงใจเหลือเกิน มีเทือกเขา 13 เทือก ซึ่งมีหิมะปกคลุมทั้งปี ยามดวงอาทิตย์ ขึ้นเป็นสีทองแวววาวหาดูที่อื่นไม่ได้ มีทะเลสาบ มีนกธรรมชาติ มีผู้คน มีศาสนาพุทธ ทำ�ให้มีความรู้สึกว่า อาจเป็นสรวงสวรรค์ตามนิยายที่ทำ�ให้ชื่อนี้ปรากฏขึ้นมา


วัฏสงสารแห่งชีวิต

31


ภูเขาหิมะเหมยลี่

กราบแสนครั้ง จึงได้คารวะ กราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ เดิน 3 ก้าว แล้วก้มลงกราบกับพื้นไหว้ทีหนึ่ง เป็นวิธีการของชาว ทิเบตที่จะจาริกแสวงบุญ ที่นี่เทือกเขาหิมะขาว ชาวทิเบตใช้วิธีการนี้ในการแสวงบุญทำ�ให้มีความรู้สึก ว่าสามารถที่จะเดินทางโดยเท้าได้เหมือนคนทุกคน ทั้งขึ้นและลงรวมแล้ว 3,000 กว่ากิโลเมตร ชาวทิเบตเดินทางจากซินหนงเสีย้ นเป็นอำ�เภอของเมืองซินหนง กันซือเป็นเขตปกครองตนเองของ มณฑลเสฉวนที่อยู่ในฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเสฉวน ติดกับทิเบตกับมณฑลยูนนาน รวมการไหว้จนมา ถึงที่นี่ได้ทั้งหมด 100,000 ครั้ง คนทิเบตมีพระองค์หนึ่งอยู่ในใจตลอดเวลา

32


การกราบแบบ อัษฎางคประดิษฐ์ การกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ เป็นท่ากราบแบบนอนราบไปทั้งตัวตาม แบบฉบับของชาวทิเบต โดยให้ส่วนสำ�คัญของร่างกายแปดส่วน ได้แก่ มือทั้ง สอง เข่าทั้งสอง เท้าทั้งสอง ลำ�ตัว และหน้าผาก สัมผัสกับพื้นดิน การกราบสักการะแบบอัษฎางคประดิษฐ์ หรือ ชากเซล (chag tsel) ใน ภาษาทิเบต มีความหมาย โดยคำ�ว่า ชาก (chag) หมายถึง กายศักดิส์ ทิ ธิ์ วาจา ศักดิ์สิทธิ์ และจิตศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ส่วนคำ�ว่า เซล (tsel) หมายถึงการที่เราอุทิศตนอย่างจริงจังและจริงใจที่จะก้าวตามรอย พระพุทธบาทบนหนทางอันถูกต้องมุง่ สูก่ ารบรรลุเป็นพระโพธิสตั ว์หรือพระพุทธเจ้า วิธีการกราบจะเริ่มต้นด้วยการยืนตัวตรง พนมมือ ที่ระดับหน้าอก โดยให้ นิว้ หัวแม่มอื อยูภ่ ายในอุง้ มือเป็นรูปดอกบัว อันเป็นสัญลักษณ์มคี วามหมายถึงการ ฝึกฝนปฏิบตั เิ ป็นหนึง่ เดียวกันบนวิถขี องเมตตาและปัญญา อุทศิ ตนมุง่ สูก่ ารรูแ้ จ้ง เพื่อยังประโยชน์ต่อสรรพชีวิตทั้งมวล จากนั้นให้เคลื่อนมือไปยังตำ�แหน่งกลาง กระหม่อม หน้าผาก ลำ�คอ และหน้าอก อันเป็นตำ�แหน่งที่ตั้งของจักรที่สำ�คัญ ในร่างกาย จากนั้นเหยียดแขนออกไปข้างหน้า ย่อเข่าลงพร้อมกับเคลื่อนตัวไป ข้างหน้าจนลำ�ตัวเหยียดตรงกับพื้น ต้องระวังไม่ให้หัวเข่าแตะพื้นก่อนที่ลำ�ตัวจะ เหยียดออกไป จากนั้นเคลื่อนลำ�แขนทั้งสองข้างไปด้านข้างของลำ�ตัวตามแนว โค้งของวงกลมพร้อมกับค่อยๆ ชันตัวขึน้ บนเข่า ยืดตัวขึน้ กลับสูท่ า่ ยืนตรงในตอน เริ่มต้น

33


สิ่งศักดิ์สิทธิ์หนึ่งในทิเบต ชีวิตนี้ต้องมาที่นี่ให้ได้หนึ่งครั้ง

34


มองเทือกเขาหิมะ แล้วรู้สึกเหมือนมาจาริกแสวง บุญ ข้างล่างคือต้นน้ำ�แม่โขง ข้างบนคือเทือกเขาหิมะที่ ยังไม่มีมนุษย์พิชิตได้ ถ้ายืนอยูร่ มิ น้�ำ โขงทีเ่ มืองไทย คงไม่อาจจินตนาการ ได้วา่ ต้นน้�ำ แม่โขงหรือ หลานชางเจียง ชือ่ ทีช่ าวจีนเรียก แม่น้ำ�โขง มีความศักดิ์สิทธิ์ ความมหัศจรรย์อย่างเหลือ เชื่อ คนที่นี่เชื่อว่า ในชีวิตหนึ่งจะต้องมาจาริกแสวงบุญ มายื น สั ก การะกั บ ยอดเขาคาวาคาโป ยอดเขาที่ สู ง ที่สุด ไม่ว่าจะลำ�บากยากเย็น จะต้องเดินทางมาจาริก แสวงบุ ญ ถึ ง ที่ นี่ ใ ห้ ไ ด้ เพื่ อ คารวะต่ อ จิ ต วิ ญ ญาณที่ เชื่อว่าสามารถบันดาลชะตากรรมของมนุษย์เป็นเช่นใด

ก็ได้ มนุษย์พยายามพิชิตสุดยอดคาวาคาโปสูง 6,740 เมตร เหนือน้ำ�ทะเล มีคนจากทั่วโลกโดยเฉพาะนักพิชิต เขาพยายามไต่ไปให้ถึง ตั้งแต่ปี 1902 มีทั้งคณะไต่เขา อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ไม่เคยสำ�เร็จ ที่เป็นข่าวใหญ่โต คือเมื่อปี 1991 มีคณะไต่เขาจีน-ญี่ปุ่น 17 คน แบ่ง เป็น ญี่ปุ่น 12 คน จีน 5 คน มุ่งมั่นประกาศเป็นภารกิจ ในชีวติ จะต้องไต่ไปถึงยอดเขาคาวาคาโปให้ได้ ต้องไปถึง จุดสุดยอด 6,740 เมตรให้ได้ แต่เจอกับพายุหิมะที่ไม่ เคยเห็นมาก่อน แล้วก็ไม่เคยมีผู้ใดพบคณะสำ�รวจนี้ อีกเลย

35


ชาวบ้านบอกว่านั่นแหละคือคำ�ประกาศประกาศิตของพระเจ้า ที่คุ้มครองเทือกเขาแห่งนี้ ทั้ง 17 คนเสียชีวิต เราแวะผ่านเห็นมี สถูป 17 องค์ สร้างขึ้นมาเพื่อรำ�ลึกถึงความมุ่งมั่นถึงมนุษย์ที่จะ ต้องพิชติ จุดสูงสุดให้ได้ไม่วา่ จะต้องฟันผ่าอุปสรรคอย่างไร แต่ขณะ เดียวกันสถูป 17 องค์ ก็เป็นสักขีพยานของความศักดิ์สิทธิ์ของที่ นี่ สามารถจะดลบันดาลว่า ที่นี่คือจุดบริสุทธิ์ที่ไม่มีมนุษย์สามารถ แผ้วพาน ชาวบ้านเรียกเทือกเขาคาวาคาโปเป็นยอดเขาพรหมจรรย์ รัฐบาลที่นี่สั่งห้ามคนห้ามปีนขึ้นไปบริเวณนี้อีก แปลว่าจากนี้จนถึง กาลอวสาน คาวาคาโปจะไม่มีวันที่มนุษย์จะพิชิต มนุษย์มีแต่มอง ขึน้ ไป ตัง้ ความหวังความฝันว่า จะพิชติ ให้ได้ ทัง้ ๆ รูว้ า่ จิตวิญญาณ พระเจ้าเทพเทวาที่นี่สั่งแล้วว่ามนุษย์ไม่สามารถจะมาแผ้วพานใกล้ กับจุดสุดยอดนี้ได้ พอเรามาถึงที่นี่จึงเห็นทั้งความรู้สึก ความเชื่อ ความศักด์ิสิทธิ์ และตำ�นานที่เล่าขานจากต้นน้ำ�แม่โขง นีค่ อื แม่น�้ำ ล้านช้างหรือว่า ต้นตอของแม่น�้ำ โขงไหลมาบริเวณ นี้ ในบริเวณ 2 กิโลเมตร มีส่วนโค้งถึง 5 โค้ง ที่เรียกว่าโค้ง พระจันทร์เสีย้ ว และทีน่ า่ ตืน่ ตาตืน่ ใจมากข้างบนนัน้ คือยอดเขาสูงสุด ของเทือกเขาหิมะคาวาคาโป 6,740 เมตรเหนือระดับน้�ำ ทะเล เป็น จุดที่ยังไม่มีมนุษย์ขึ้นไปพิชิตได้ และนี่เป็นเทือกเขาภรรยาเมจโม ถือว่า เป็นภรรยาของคาวาคาโป และต้นน้ำ�แม่โขงอยู่ตรงบริเวณ ติดกับเทือกเขาสูงสุดของเทือกเขาหิมะซึ่งมี 13 ยอด และมียอด สูงสุดที่นักไต่เขาต้องการจะพิชิตให้ได้แต่ยังไม่เกิดขึ้น และเลย บริเวณเทือกเขานี้ไปคือแม่น้ำ�นู คือต้นสายของแม่น�้ำ สาละวินที่ลง ไปพม่า และหลังเทือกเขาด้านนี้คือ จินซา ซึ่งเป็นต้นน้ำ�ของแม่น้ำ� แยงซีเกียง นี่คือจุดที่ 3 แม่น้ำ�ใหญ่มาบรรจบพบกัน และอยู่ใกล้ ชิดกันที่สุด หลังจากนั้นแต่ละสายต่างก็แยกย้ายกันลงไปเพื่อที่จะ เป็นแหล่งธรรมชาติ แหล่งน้ำ� แหล่งวัฒนธรรมที่มีประชากรไม่ต่ำ� แม่น�้ำ โขง = แม่น�้ำ พยศ กว่า 300-500 คนจากนี้ลงไป

36


37


38


รูปบน เส้นทางการเดินทางไปสู่ต้นแม่น้ำ�โขง ไม่ใช่ใครๆ ก็ไปได้ง่ายๆ รูปซ้าย เส้นทางยากลำ�บาก ออกซิเจนมีน้อย ไปแล้วอาจไม่ได้กลับ

39


ต้ น น้ำ � ของแม่ น้ำ � หลานชาง ที่ ต่ อ ยอดลงไปเป็ น แม่น�ำ้ โขง เป็นการมาสักการะแทนประชาชน สองฝัง่ แม่น�ำ้ โขง ก็ว่าได้ เพราะว่านี่คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นต้นน้ำ� หิมะ ละลายกลายเป็นน้ำ�ไหลลงมาเป็นแม่น�้ำ หลานชาง กลาย เป็นแม่น้ำ�โขง ที่นี่คือสถูปโอรสสวรรค์ทำ�หน้าที่ปกปักรักษาป่าเขา ลำ�เนาไพรและต้นน้ำ�ทั้งสิ้นทั้งปวง โดยเฉพาะชาวบ้านที่ อยู่แถบนี้ ความศักดิ์สิทธิ์ทำ�ให้ชาวบ้านเชื่อว่า การมา จาริกแสวงบุญทุกปีโดยเฉพาะ 12 ปีต่อครั้ง ปีแพะ เป็นการแสวงบุญที่สำ�คัญที่สุด มาล้างบาป มาขอให้เทพ เทวาของเทือกเขาหิมะขาว ดลบันดาลให้สามารถที่จะขึ้น สวรรค์ได้ ชำ�ระความชั่วร้ายของตัวเอง และมาสักการะ ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เทพเทวดาในแถบนี้บันดาลให้แก่ชีวิต ของประชาชนทั้งหลาย การมาจาริกแสวงบุญจึงกลายเป็นภาระหลักของคน ที่นี่ว่า ชีวิตหนึ่งชีวิตต้องมาที่นี่ให้ได้ แม้ว่าจะต้องบุกป่า ฝ่าดงเดินจากเทือกเขาจุดนี้ข้ามเทือกเขาไปอีกฝั่งหนึ่ง เพราะว่าบริเวณนี้เป็นที่บรรจบต้นน้ำ�ของ 3 แม่น้ำ�หลัก แห่งเอเชีย หลังเขาฝัง่ โน้นคือแม่น�้ำ จินซาต้นน้�ำ แยงซีเกียง ทางนี้คือล้านช้าง ต้นน้ำ�ของแม่น้ำ�โขง ข้ามหลังเทือกเขา นี้คือ แม่น้ำ�นูต้นน้ำ�สาละวิน ที่นี่คือที่รวมของต้นธารแห่ง ชีวติ ของคนหลายร้อยล้าน จากนีล้ งไปถึงจุดต่�ำ สุดออกไป ถึงทะเลจีนใต้ โอรสสวรรค์ทั้ง 13 องค์ จึงเป็นตัวแทน ของธรรมชาติการปกปักรักษาความศักดิ์สิทธิ์ และหมาย ถึงต้นน้ำ�แห่งชีวิตของคนทั่วเอเชีย เอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ และต่อสายสัมพันธ์กับทุกส่วนที่เป็นธารน้ำ�ทั่วโลก

40


เด็กๆ ในหมู่บ้าน

อากาศเย็นจัด ทั้งบ้านคือตู้เย็น

41


42


ชาวทิเบตที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ�โขง น้ำ�ในแม่น้ำ�โขง ไหลจากภูเขาหิมะลงมาเป็นแม่น้ำ�หลานชาง ไหลลงมาต่อเนื่องเป็น แม่น้ำ�โขง แม่น้ำ�นานาชาติ ที่ไหลผ่านถึง 6 ประเทศเป็นแนวจากเหนือลงใต้ ผ่านทิเบต จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และออกสู่ทะเลใหญ่ที่ประเทศเวียดนาม แม่น้ำ�สายนี้มีความหมายต่อมนุษย์ มีความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ที่รู้ได้เลยว่าไม่มีทางที่ มนุษย์จะพิชิตได้ มนุษย์อย่าได้คิดพิชิตอะไรทัง้ สิ้น เพราะธรรมชาติจะเป็นตัวกำ�หนดเองว่ามนุษย์ จะอยู่ได้มากน้อยแค่ไหน มนุษย์ต่างหากที่ต้องปรับตัวให้อยู่กับธรรมชาติอย่างสมดุล

43


44


รำ�พึง ยามตะวันลับลำ�น้ำ�โขง ...ได้ยินเสียงของน้ำ� ...ได้เห็นธรรมชาติ ...เห็นความเชี่ยวกราก แม่น้ำ�สายนี้ไหลไปตลอด ประชากรหลายล้านคนที่ อยูก่ ลางน้�ำ และปลายน้�ำ ย่อมจะส่งสารซึง่ กันและกันตลอด เวลา เป็นไปได้วา่ แม่น�้ำ หลานชางหรือแม่น�้ำ โขงเป็นตัวแทน ของการส่งสารจากต้นทางไปถึงปลายทาง เพือ่ ทีจ่ ะให้ตา่ ง คนที่ต่างความคิดได้มาร่วมกันคิด ให้สายน้ำ�นี้เป็นประโยชน์แก่ทุกคนโดยเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น ถ้าหากสารนั้นคือ สันติสุข ความปรองดอง และ ความเคารพในจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ด้วยกัน ไม่น่าจะมีปัญหามากมาย แต่ว่าถ้าแม่น้ำ�คุยกับผมได้ ผมคาดว่า แม่น้ำ�หลาน ชางคงบอกว่า เราต่างก็มาจากสายธารเดียวกัน เรามา จากความศักดิ์สิทธิ์ของธรรมชาติ ทำ�ไมถึงไม่ปกป้อง ธรรมชาติ ให้ประโยชน์ที่ควรจะได้แก่ประชาชนทั้งสองฝั่ง โดยไม่มีความขัดแย้งทางการเมือง การแก่งแย่งผล ประโยชน์เศรษฐกิจมาให้ความเป็นมนุษย์ของสองฟากฝั่ง หลานชางกลายเป็นปัญหา หวังว่าสารที่ส่งนี้จะฝากผ่าน ลงไปใต้น�้ำ ให้กระจายไปทุกๆ จุดจากนี้ไป

45


ตะวันลับที่... หลานชางเจียง 46

บริเวณพื้นที่ราบสูงนี้ อย่างน้อย เป็น แหล่งกำ�เนิดของแม่น้ำ� 3 สาย แม่น้ำ�แยงซี เกียง แม่น้ำ�โขง แม่น้ำ�อิระวดี แม่น้ำ�สาละวิน ถ้าภาวะโลกร้อนทำ�ลายต้นน้ำ� ลองวาด ภาพธารแม่น้ำ�ซึ่งโดดเด่นที่สุด ในช่วง 10 ปีที่ ผ่านมา ธารน้ำ�แข็งได้หดหายไปใน 1 ใน 10 แล้ว มีภาพปรากฎถ่ายไว้ เมื่อ 10-15 ปีก่อน แล้วถ่ายวันนี้มันหดตัว ในอนาคตจากนี้ไปอีก 12 ปี เป็นไปได้ว่าจะหายไปครึ่งหนึ่ง พิ จ ารณาจากที่ ไ ปสำ � รวจขั้ วโลกเหนื อ มีสิทธิ์ว่าจากนี้ไป 25 ปีจะแห้งไปเลย ถ้าต้นน้ำ� แห้ ง ผลกระทบจะหนั ก และรุ น แรง ที่ ผ่ า น มา 100-1,000 ปี ไม่มีเหตุการณ์อะไรที่ เปลี่ ย นแปลงได้ ถึ ง ขนาดนี้ ความเร่ ง ร้ อ น ของภูเขา เรื่องใหญ่และเรื่องสำ�คัญเท่าเรื่อง “ภาวะโลกร้อน” มาก่อน ที่นี่ยังแสดงให้เห็นว่า น้ำ�จากทุกสายน้ำ� ล้ ว นมาจากสายธารเดี ย วกั น สายธารของ ธรรมชาติ สายธารน้ำ�ใจ และสายธารการอยู่ ร่วมกัน เพราะว่าถ้าหากตอนใดตอนหนึ่งของ แม่น้ำ�ล้านช้าง หรือว่าแม่น้ำ�โขงเกิดภาวะเป็น มลพิษที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เป็นลักษณะมลพิษ ของการฝืนธรรมชาติ


47


48


ทีร่ มิ แม่น�้ำ โขงนี้ ค่�ำ คืนนี้ มองเห็นดวงจันทร์ เต็มดวง อารมณ์คนละแบบ ดวงจันทร์ที่นี่มีภูเขา คั่นอยู่ และลอยเหนืออยู่บนท้องฟ้า ดวงจันทร์ สะท้อนอยูใ่ นแม่น�้ำ ล้านช้าง กับเงาของพระจันทร์ที่ แม่น้ำ�โขง ก็มีอารมณ์คนละแบบ ความโรแมนติก เหมือนกัน แต่ที่นี่ได้ยินเสียงของแม่น้ำ�ล้านช้าง แม้วา่ ดวงจันทร์จะแสดงถึงความอ่อนโยน แต่ความ เชี่ยวกรากของแม่น�้ำ ล้านช้างไม่ได้เบาบางลง ผมเคยมองดูดวงจันทร์เต็มดวงที่หนองคาย คืนนั้น เสียงแม่น�้ำ โขงไม่กระหน่ำ�ดังขนาดนี้ แต่ที่ เหมือนกันอย่างหนึง่ คือว่า ในยามค่�ำ คืนเราเห็นดวง จันทร์เต็มดวง ไม่ว่าจะเหนือแม่น้ำ�ล้านช้างหรือ แม่น�้ำ โขง เรารูว้ า่ อารมณ์ของแม่น�้ำ สายเดียวกันนี้ กลางวันกับกลางคืนแตกต่างกันสิ้นเชิง กลางวัน เป็นอารมณ์ของแม่น�้ำ ทีไ่ หลเชีย่ วกราก และไม่สนใจ ว่าใครจะมายับยั้งได้หรือไม่ แต่ผมมองออกไป แม่น้ำ�ล้านช้างดวงจันทร์เต็มดวง กลางคืนความ ดุดันเบาบางลง อาจจะเป็นความรู้สึกของผมก็ได้ ว่า เมื่อดวงจันทร์เต็มดวงสาดแสงส่องลงมา ดวงจันทร์ของที่นี่เหมือนจะบอกว่า แม่น้ำ� กลางวันกับกลางคืนคนละเรื่องเลย เพราะว่าโดย จิตวิญญาณของแม่น� ้ำ ถ้าแม่น�้ำ มีจติ ใจก็จะบอกว่า แต่ละช่วงเวลาอารมณ์ก็ไม่เหมือนกัน เพราะว่า มนุษย์ที่มีความผูกพันเกี่ยวกับธรรมชาติแม่น้ำ�ทั้ง สองฝั่งนั้นขึ้นลงเร็ว ดุดัน อ่อนโยน ต่างกันหรือไม่ อย่างไร หรือว่าแม่น�้ำ ล้านช้างหรือแม่น�้ำ โขงสะท้อน อารมณ์ของคนที่อยู่สองฝั่ง ทำ�ให้ที่มองออกไปใน

อย่าเพียงมองว่าคือสายน้�ำ ธรรมดา ไม่ธรรมดาครับ เพราะว่าทุกชีวติ ที่ อยูส่ องฝัง่ แม่น�ำ้ ล้านช้าง แม่น�ำ้ โขง มีลึกกว่าที่คิดจริงๆ

ยามค่ำ�คืนดวงจันทร์เต็มดวงนั้น มีความรู้สึกที่ แตกต่างกัน มองทีร่ มิ แม่น�้ำ โขง กับมองทีร่ มิ ฝัง่ ของ ทิเบตก็แตกต่างกัน ถ้ า มองดวงจั น ทร์ เ ต็ ม ดวงที่ ห นองคายริ ม แม่น�้ำ โขง กับมองดวงจันทร์เต็มดวงทีร่ มิ แม่น�้ำ ล้าน ช้างบางครั้งอารมณ์ไม่เหมือนกัน คืนนีผ้ มกลับคิดว่าดวงจันทร์ดวงเดียวกันนีล่ ะ่ ให้สัญญาณที่แม่น้ำ�โขงและล้านช้างเหมือนกัน คือ มีอารมณ์ศิลปิน มีความอ่อนโยน และสามารถจะ โรแมนติกได้ไม่แพ้กับคุณมองดูดวงจันทร์เต็มดวง ที่อื่นเลยครับ แม่น�้ำ ล้านช้างทีท่ ขู า่ สูง 3,000 เมตรเหนือ ระดับน้ำ�ทะเล ยืนดูจากข้างบนดูเหมือนจะค่อยๆ ไหลอย่างเอือ่ ยเฉือ่ ย แต่หลอกตาครับ จริงๆ แล้ว มันเชี่ยวมากๆ โดยเฉพาะเวลาผ่านโค้งแล้วเลี้ยว อ้อมไปอีกโค้งหนึ่ง แล้วไปลงที่สันเขาที่สวยงาม เรามองไปเป็นเทือกเขาทีเ่ ขียวชอุม่ แต่ทนี่ า่ กลัวคือ ความแรงของสายน้�ำ ล้านช้างไปกระทบกับสองข้าง ทาง ในแง่ของการใช้เป็นการขนส่งคงทำ�ไม่ได้ แต่ การเพาะปลูกจะมีอยู่สองฝั่งอยู่ตลอดเวลา มองที่ สูงเห็นความสวยงามของแม่น้ำ�ล้านช้าง แต่พอลง ไปใกล้ๆ เอามือไปสัมผัสเราจะรู้เลยว่าเชี่ยวกราก เหลือเกิน เหมือนกับสิง่ ทีม่ องกับสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ จริงนัน้ เป็นคนละเรื่องกัน ในแง่ของธารน้ำ�ก็เช่นเดียวกัน คืออย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งที่เห็น โดยเฉพาะเห็นจากที่สูง เห็นจากทีไ่ กล ต้องลงไปสัมผัส ในทีน่ แี้ ปลว่าสัมผัส กับผู้คน สัมผัสกับความรู้สึกจริงๆ เท่านั้น

49


50


สองวันมานี้ เดินทางตลอดขนานไปกับแม่น้ำ�ล้านช้าง จนเกือบจะถึงเขตชายแดนทิเบตแล้ว จนมาถึงหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อฟูซัน ตลอดเส้นทางช่วงนี้ ยังคงปรับปรุงถนน และงานก่อสร้างต่อไป หินจำ�นวนมาก ถูกนำ�มาก่อสร้างเป็น กำ�แพงถนนที่วนเวียนไปตามขุนเขาใหญ่ มีแม่น้ำ�ล้านช้างอยู่ ด้านล่างในหุบเหวของเขาสูงนี้ เส้นทางจึงยากลำ�บากยิ่งขึ้น ต่อไปนีเ้ มือ่ ถึงเขตชายแดนทิเบตแล้ว ถนนจะขรุขระ ยาก ลำ�บาก อาหารการกินหายาก ต้องไปกินตามแต่ละท้องถิ่นที่ มีอยู่เท่านั้น พื้นที่หนาวเย็นบนที่ราบสูงนี้ อาหารแพงและหา ยาก ที่นี่ เป็นหมู่บ้านสุดท้ายก่อนเข้าเขตที่ราบสูงทิเบต ที่มี เพี ย งเส้ น ทางสายน้ำ � ของแม่ น้ำ � ล้ า นช้ า งเป็ น เขตแดนกั้ น ระหว่างดินแดนแผ่นดินใหญ่จีนกับเขตปกครองตนเองทิเบต หมู่บ้านทิเบตเริ่มปรากฏขึ้นให้เห็นเป็นระยะ ที่ดินเริ่มมีการ เพาะปลูกตามไหล่เขา ปรับเป็นท้องนาขัน้ บันได เป็นระยะแล้ว แต่ว่าจะมีพื้นที่ราบให้ทำ�การเพาะปลูกได้ พื้นท่ีหลายแห่ง เหมาะกับการเลี้ยงสัตว์ จามรี วัวและ แพะ มีให้เห็นเป็น ระยะๆ เท่าที่เห็นก่อนหนาวนี้ การเก็บเกี่ยวน่าจะสมบูรณ์ในปีนี้ แทบทุกบ้าน มีข้าวที่เกี่ยวและฟางเก็บไว้เต็มหลังคาบ้านเพื่อ ตากแดดจัดไว้ ให้เก็บเป็นอาหารได้ยาวนาน มองไปฝั่งทิเบต บ้านแต่ละหลัง “ติดธงแดง” ของจีน ไว้ นัยว่า แสดงถึงสถานการณ์การเมืองที่ตึงเครียดระหว่าง จีนกับทิเบตในช่วงนี้ อันเป็นผลจากเหตุจลาจลในเมืองหลวง ลาซา เมื่อเดือนสิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา ในทีท่ �ำ การพรรคในเมือง ก็มแี ผ่นผ้า “ต่อต้านการแยก ดินแดนจีน” ให้ปรากฏเห็นด้วยในวันต่อมา

51


อาหารทิเบต มื้่อแรก เน้นให้กินน้ำ�ซุปร้อนๆ เพื่อที่ให้ร่างกายอุ่นขึ้น หมอในเมือง จีนบอกว่าทุกวันก่อนนอน และช่วงเช้าเวลาตืน่ ต้องกินน้�ำ อุน่ 2 แก้วใหญ่ และน้�ำ อุ่นจะทำ�ให้อุณหภูมิอุ่นกว่าร่างกาย ร่างกายมีอุณหภูมิอยู่ที่ 30 องศา ต้องกินน้ำ�อุ่นให้อุ่นกว่าร่างกาย สักนิดหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องอาหารแล้ว การเดินทางครั้งนี้ ผิดคาด แทนที่จะได้เห็น ความยากลำ�บากและแพง แต่กลับมีอาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดระยะทาง และรสชาติ ก็มีร้านอาหารจีน อยู่ตลอดเส้นทาง เป็นชาวจีนที่อพยพเข้า มาอยู่ทั่วไปในบริเวณนี้ ระหว่างเดินทางในเทือกเขาสูง วันนี้ มีเนื้อหมู เนื้อไก่ ให้กินได้ใน เมืองเล็กๆ ทีเ่ ป็นเมืองผ่านของนักการค้าตัง้ แต่สมัยโบราณ ผักก็สมบูรณ์ น่ากิน ไก่ที่ว่านี้ เป็นไก่ที่ไม่ธรรมดาเลยสำ�หรับคนไทยคือ “ไก่ดำ�” อาหาร บำ�รุงให้อุ่น ชาวบ้านนำ�มาต้มผัดกินกับข้าวได้อร่อยทีเดียว คณะเดินทาง บอกว่า มีไก่อย่างนี้ น่าจะทำ�เป็นต้มยำ�ไก่ แบบไทยๆ ได้ แต่น่าเสียดาย พยายามเท่าไร ก็ไม่ได้ เครือ่ งเทศไม่พอทีจ่ ะทำ�ได้และแม่ครัวสาวก็ไม่กล้า ทำ�ด้วยเลยอดกิน “ต้มยำ�ไก่” ในทิเบต คราวหน้า ถ้าได้มาให้เตรียม “เครื่องต้มยำ�แห้ง” มาด้วย มาหา “ไก่ดำ�” ที่นี่ เพราะมีเลี้ยงอยู่ข้างหลังครัว ติดกับแม่น�้ำ โขงนี่เอง

52


แม่โขงให้อาหารที่อุดมสมบูรณ์

53


54


อาหารชุดทิเบต ที่ราบสูงเต๋อชิง เป็นจุดเริ่มต้นของการไปแสวงหาต้นน้ำ� แม่น้ำ�โขง เป็นหม้อไฟคล้ายๆ สุกี้ มีน้ำ�ซุปปรุง มีพริก กระเทียม ต้นหอม เทน้ำ�ซุป เข้าไปนิดนึงแล้วคน ข้างในจะมีเต้าหู้ยี้แล้วคนจนกระทั่งเต้าหู้ยี้ละลายก็กินได้แล้ว อากาศหนาวขนาดติดลบนี้ กินแล้ว อุ่นดี อาหารจานเด็ดสุดเห็นจะเป็น ชุดตะพาบน้อย ชุดนี้ เป็นอาหารจีนที่ได้รับการ ยกย่องเป็นสูตรเด็ดยอดเยี่ยมที่สุดของเมือง เฉิงตู เมืองที่แม่น้ำ�สองสายจากทิเบต มาบรรจบกันเป็นต้นน้�ำ แม่น้ำ�โขง ที่ขาดไม่ได้ ในการเดินทาง อาหารหลักของชาวทิเบต เนื้อจามรี จามรีหรือ YAK สัตว์เศรษฐกิจสำ�คัญแข็งแรง ทนหนาว ให้ทั้งกำ�ลังแรงงาน เนื้อ น้ำ�นม เนย และผ้าสวยดั่งไหม พบเห็นทั่วไปในที่ราบสูงทิเบต

55


56


หินถูกทุบ แดนร้อนจัด ลมเย็น คือบรรยากาศของสองข้างขุนเขาที่เดินทาง ต่อไป แม่น้ำ�ล้านช้างยังกระโจนต่อไปตามซอกเขา แก่งหิน หมุนวนไปพันตัวกลายเป็น คลื่น แสดงถึงความแรงของสายน้�ำ จนมาถึงทางแยกเชื่อมต่อกับมลฑลเสฉวนของจีน ที่เมือง “มังคัง” ก่อนแยกไป เหนือแล้วมุ่งตรงไปยังเมืองหลวงทิเบต “ลาซา” ได้ ที่นี่ห่างไกลจากทะเล มี “บ่อเกลือ” อยู่ริมแม่น้ำ�ล้านช้างด้วย

แต่เกลือที่นี่ ไม่มีแร่ไอโอดีน ใช้ปรุงอาหารให้รสชาติเท่านั้น ไม่ได้เป็นประโยชน์ กับร่างกายเหมือนเกลือจากทะเล ที่เป็นสินค้า “ทองคำ�” ที่ชาวทิเบต ชาวที่ราบสูง ต้องการมาก นอกจากจะใช้ปรุงอาหารเป็นประโยชน์กบั ร่างกายแล้วยังเป็นอาหารของ “จามรี” สัตว์เศรษฐกิจของที่นี่ด้วย

ในช่วงนี้ มีแต่ภูเขา แสงแดดและความหนาวเย็น การไล่ล่าขอบฟ้ายังคงดำ�เนินไป จากยอดเขาสูงไต่ระดับลงมาจากยอดเขาสูง ได้ยนิ เสียงน้�ำ รุนแรงกึกก้อง เสียงนี้ ทำ�ให้ การติดตามได้สมั ผัสความจริงแล้ว จากระยะทางหลายวันทีผ่ า่ นมา มองเห็นแต่สายน้�ำ ล้านช้างอยู่เบื้องล่างของขุนเขาใหญ่ วันนี้ ได้สัมผัสแม่น�้ำ ล้านช้างเป็นครั้งแรก สัมผัสน้�ำ ที่รุนแรงและเย็นเฉียบ เมื่อแรกได้ แตะลำ�น้ำ�โขงในนามของแม่น้ำ�ล้านช้าง ที่ถูกเรียกอยู่ที่นี่ นั่งบนโขดหิน มองแม่น้ำ�ที่ไหลลงไปทางใต้ รุนแรงรวดเร็ว บนท้องถิน่ มีแสงเดือนอันอ่อนโยนบนท้องฟ้าอันมืดมิด พระจันทร์เต็มดวง ในคืนนี้ คืน วันเพ็ญ วันลอยกระทง 15 ค่ำ� เดือนสิบสอง นั่งมองน้ำ�ที่ไหลผ่านไป ใจหวนคิดไปถึงบ้าน คิดถึงเทศกาลสงกรานต์ที่เชียงรุ่ง สิบสองปันนา คิดถึงหลวงพระบาง เมืองมรดกโลกของลาว คิดถึงน้ำ�ตกหลี่ผี น้ำ�ตกคอนพระเพ็ง คิดถึงทะเลสาบเขมร คิดถึงสงครามเวียดนาม คิดถึงสงครามเขมร คิดถึงสงครามในลาว

คิดถึงเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ตาคลี โคราช อุบล อุดรและนครพนม ถึงคิดสะพานข้ามแม่น้ำ�โขง ท้ายสุดคิดถึง ปลาบึก และไฟพญานาค ริมโขง หนองคาย นั่งอยู่ริมน้� ำ มองจันทร์วันเพ็ญ ท่ามกลางเสียงของแม่น้ำ�ที่ดังกึกก้องไปทั่วหมู่บ้านใน หุบเขาสูง ลมหนาวเย็นพัดมา หนาว แสงจันทร์โผล่เหนือทิวเขาสูง แต่มีดาวกะพริบอยู่ริมฟากฟ้าอีกด้าน ำ ระยิบระยับ แสงจันทร์และแสงดาว สะท้อนลำ�น้� เสียงนี้ น้ำ�นี้ ไหลผ่านไปไกล ตะวันลับไปแล้ว ดวงจันทร์โผล่ขึ้นมา เหนือลำ�น้ำ�โขงที่ทิเบต วันนี้ เสียงแม่น้ำ�ดังสนั่น แต่ใครจะได้ยินเสียงของแม่น้ำ�โขงหรือไม่ อะไรจะเกิดขึ้น หากธารน้ำ�แข็งลดลง ฤดูกาลโลกกำ�ลังเปลี่ยนไป แม่โขงกำ�ลังรอคำ�ตอบจาก “มนุษย์”

57


เตรียมตัวก่อนขึ้นที่สูง การเดินทางมาแชงกรี-ลา ปัญหาที่พบมากคือความ กดอากาศที่แตกต่างและมีผลกับชีวิต นพ.ตระกูล ฟูเจริญ ยศ จาก รพ.พระมงกุฎเกล้า บอกว่า ความสูงกว่า 4,0005,000 เมตรจากระดับน้ำ�ทะเล พบว่าคนที่ขึ้นที่สูงถ้าเกิน จาก 3,000 เมตร ประมาณ 20% จะมีปัญหาวิงเวียน มึนๆ บางคนปวดหัว บางคนไอ เป็นอาการเริ่มต้น ความกดอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำ�ให้ออกซิเจนเข้าสู่ ร่างกายน้อย ร่างกายจึงปรับตัวโดยทำ�ให้ออกซิเจนมาทีป่ อด เพิม่ ขึน้ เกิดความดันในปอดสูงขึน้ จึงเกิดอาการดังกล่าวข้าง

58

ต้น เพราะเลือดมาเลีย้ งทีป่ อดมากขึน้ เป็นการปรับตัวตาม ธรรมชาติ กลุ่มคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอดจะมีอาการเหมือนคน ปอดชืน้ ถ้าหายใจเร็วขึน้ หรือเหมือนคนใกล้จะเสียชีวติ หรือ หายใจเร็ว หายใจหยุดเป็นระยะๆ การดูแลเบื้องต้น ต้องรีบส่งลงที่ต� ่ำ ระดับความสูงที่ พบอาการ คือ ระดับเกิน 3,000 เมตร ประมาณ 20% โอกาสเกิดเกี่ยวกับปอดต่ำ�กว่า 10% ป้องกันคือการรับ ประทานยาลดความดันที่ได้ผลมี 2 ตัว คือ ไดอะม็อก กับ

สเตียรอยด์ ก่อนขึ้นที่สูงเกิน 3,000 เมตรควร พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายมีพลังงานเหลือ ที่ส�ำ คัญ การเคลื่อนไหว หรือทำ�อะไรให้ทำ� ช้าๆ กว่าปกติที่เคยทำ� เคลื่อนไหวอย่างให้ช้าลง ดืม่ น้�ำ มากๆ และบ่อยๆ มียาของทิเบตเป็นสมุนไพร ทำ � จากต้ นไม้ ช นิ ด หนึ่ ง แก้ อ าการความดั น สู ง อาเจียน เวียนศีรษะ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มคนที่อายุน้อยกว่า 50 ปีจะมีปัญหามากกว่าคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ประสบการณ์จริง ผู้ป่วยมักจะมีอาการเวียน หัว มึน ตาลาย เริ่มตั้งแต่อยู่ในระดับความสูงที่ 3,000 เมตร และเมือ่ ขึน้ ไปถึงระดับ 4,000 เมตร จะเริ่มรู้สึกหายใจขัดจึงใช้ออกซิเจน วัดความดัน สูงถึง 160 สิ่งสำ�คัญคือให้ทำ�อะไรให้ช้าลง ค่อยๆ ทำ� โดยเฉพาะ 1-2 วันแรก หายใจไม่เหมือนปกติ สูด ออกซิเจนเข้าไปลึกๆ แล้วค่อยๆ ปล่อยออกมา เพื่ อให้ ชิ น อากาศที่ ทิ เ บต คนไทยจะอยู่ ที่ ร้ อ น อุณหภูมิ 25 องศาขึ้นไป ที่ทิเบตอุณหภูมิต่ำ�กว่า 5 องศา อากาศไม่ชิน และความสูงจากระดับน้�ำ ทะเล ต้องทำ�ให้อุณหภูมิในตัวปกติโดยเตรียม ถุงมือเพื่อกันหนาว ไฟฉาย บางสถานที่ไม่มีฮีท เตอร์ ไม่มีน�้ำ ร้อน ไม่มีไฟ เตรียมไฟแช็กเพราะ เวลากลางคืนจะได้สะดวก เทียนจุดเพื่อให้รู้สึก อบอุ่น


ทุกลมหายใจ มีคุณค่าบนที่สูงกว่า 5,000 เมตร เหนือระดับน้�ำ ทะเล ออกซิเจนน้อยมาก

59


High Altitude Sickness เป็นที่รู้กันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เมื่อมีการประดิษฐ์เครื่องวัดความดัน ว่าเมื่อ ขึ้นที่สูง ความดันอากาศจะต่ำ�ลง ฉะนั้นในคนที่ปีนเขาสูง ระดับความดันอากาศจะลด ลง และพบว่าระดับของออกซิเจนจะลดลงตามกันไป จากการศึกษาพบว่า เมื่อขึ้นที่ สูงกว่าระดับน้ำ�ทะเล 2,500 เมตร อาจส่งผลต่อร่างกาย จากภาวะที่มีการขาด ออกซิเจน หลายอย่าง เช่น 1. ภาวะเจ็บป่วยจากการขึ้นที่สูง (Acute mountain sickness) 2. ภาวะปวดบวมในที่สูง (High altitude pulmonary edema) 3. ภาวะสมองบวมในที่สูง (High altitude cerebral edema) 4. ภาวะเลือดออกบริเวณจอรับภาพในตา (High altitude retinal hemorrhage)

วิธีการป้องกัน 1.1 นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ 1.2 ดื่มน้ำ�ให้พอเพียง จนถึงระดับที่ปัสสาวะขาวใส เพราะคนเราจะปรับตัว โดยการ หายใจเร็วขึ้น และ ลึกขึ้น เพื่อให้มีการถ่ายเทออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายให้มากพอ ทำ�ให้ ร่างกายสูญเสียน้ำ�ทางการหายใจมากขึ้น และมีภาวะการขับปัสสาวะเพิ่มขึ้น ก็ทำ�ให้ ร่างกายสูญเสียน้ำ�เพิ่มขึ้น 1.3 ทำ�ตัวให้ช้าลง ร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัว 2-3 วัน 1.4 ไต่ขึ้นสูงช้าๆ มีการวิจัยพบว่า ไม่ควรปีนขึ้นสูงเกิน 300 เมตรต่อวัน เมื่อเริ่ม ต้นที่ระดับ 2,500 เมตร

1. ภาวะเจ็บป่วยเมื่อขึ้นที่สูง พบได้ถึง 50% เมื่อขึ้นสูงกว่า 4,250 เมตร เหนือระดับน้�ำ ทะเล บางคนก็มี อาการตั้งแต่ระดับความสูงแค่ 2,500 เมตรเหนือระดับน้�ำ ทะเล อาการก็มีตั้ง แต่ ปวดศีรษะตลอดเวลา กระสับกระส่าย นอนหลับไม่สนิท เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน

2. ภาวะปอดบวมเมื่อขึ้นที่สูง เกิดจากการที่ร่างกายปรับตัว โดยส่งเลือดมาที่ปอดมากขึ้น เพื่อให้มีการรับ ออกซิเจนมากขึ้น ทำ�ให้ความดันเลือดในปอดสูงมาก พบได้เมื่อขึ้นที่สูง เกิน 3,600 เมตรเหนือระดับน้ำ�ทะเล อาการที่พบ คือ ไอถี่ขึ้น หายใจ ลำ�บาก เร็ว หอบ เหนี่อย วิธีการรักษา ให้สูดออกซิเจน นอนนิ่งๆ และรีบลงมาจากที่สูงโดยเร็ว

60


3. ภาวะสมองบวมเมื่อขึ้นที่สูง สมองคนเราต้องการออกซิเจนตลอดเวลา เมื่ออยู่ที่สูง ซึ่งมีออกซิเจนเบาบาง ร่างกายก็ต้องปรับตัว โดยส่งเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น เพื่อลำ�เลียง ออกซิเจนเพิ่มขึ้น ทำ�ให้มีน้ำ�คั่งในสมองมากขึ้น อาการที่พบคือ ปวดหัว สับสน ร่างกายไม่ทำ�ตามสั่ง เดินเซ เห็นภาพเบลอ อาจถึงขั้นโคม่า พบได้เมื่อขึ้นสูงถึงระดับ 4,200 เมตรเหนือระดับน้ำ�ทะเล วิธีการรักษา เป็นภาวะเร่งด่วนฉุกเฉิน ต้องรีบนำ�ลงมาจากที่สูง และให้สูดออกซิเจน 4. ภาวะเลือดออกบริเวณจอรับภาพในตา พบได้ 1 ใน 3 ของผู้ที่ขึ้นสูงระดับ 5,800 เมตรเหนือระดับน้ำ�ทะเล แต่ ก็พบได้ในความสูง 4,200 เมตร โดยที่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ และจะหายเองได้ โดยใช้เวลาหลายเดือน

สรุป เมื่อต้องมีการขึ้นที่สูงเกิน 2,500 เมตรเหนือระดับน้ำ�ทะเล ต้องมีการเตรียมตัวโดย 1. พักผ่อนให้เพียงพอ 2. ดื่มน้ำ�ให้พอ 3. ทำ�ตัวให้ช้าลง 4. วางแผนค่อยๆ ไต่ระดับขึ้นไป 5. เตรียมยา เช่น ยาแก้ปวด แอสไพริน พาราเซตามอล ส่วนยาอื่นๆ ที่มีผลการ ทดลองว่า ช่วยป้องกันโรคได้ เช่น Diamox (Acetazolamine 250mg) หรือ Dexamethasone ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ 6. เตรียมออกซิเจน 7. วางแผนล่วงหน้า กรณีที่ต้องมีการส่งกลับ

หมายเหตุ 1. คุณสุทธิชัย หยุ่น มีความดันโลหิตสูงเล็กน้อย 130/80 มม.ปรอท คุมได้ดีมาตลอด แต่ตั้งแต่ วันที่ 3-7 ความดันโลหิตสูงขึ้นเป็น 140/95 - 160/105 มม.ปรอท ได้รับยาปรับความดันโลหิต 2. คุณพิภพ ไม่เคยมีความดันโลหิตสูง แต่ความดันโลหิตสูงขึ้นเป็น 150/100 - 180/110 มม.ปรอท ตั้งแต่ วันที่ 2-6 และมีภาวะเจ็บป่วยเมื่อขึ้นที่สูง ตั้งแต่ 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำ�ทะเล ในวันที่ 2-8 มีอาการ มึน ปวดหัว สมองสั่งการช้าลง ได้รับยาปรับความดันโลหิต 3. ทุกคนในคณะ ได้รับยาป้องกัน เมื่อขึ้นที่สูง ตั้งแต่วันแรก (Diamox หรือ Dexamethasone)

61


62


63


ต้นแม่น้ำ�โขง วันนี้ ต้องเร่งการเดินทางตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อไประยะทางให้ได้ 200 กิโลเมตร หากต้องการผ่าน “หุบขุนเขาใหญ่” ที่นี่ไป เพราะอาจถูกปิด เพื่อการก่อสร้าง โดยไม่รู้กำ�หนดเวลาหรืออาจเดินทางต่อไปไม่ได้อีกเลย หุบเขาใหญ่นี้ อยู่สูงเหนือระดับน้ำ�ทะเลถึง 4,200 เมตร ระยะทาง ตั้งแต่ไปจะเป็นที่ราบสูง แท้จริงแล้ว กำ�ลังเดินทางไปบนภูเขาหิมะ ตลอด เส้นทางมีแต่หิมะ มีแต่น้ำ�แข็ง มีแต่ความหนาวเย็น มีแต่แสงแดด แต่ยังไม่สูงพอ ยังมีภูเขาหิมะสูงกว่านี้อีก ในระหว่างเส้นทางผ่าน ไป สูต่ น้ น้�ำ ล้านช้างขึน้ มาถึงทีน่ ี่ มีแต่หมิ ะและความเย็นจัดยอดเขาสูงนีเ้ รียกว่า หงส์ลาซันโคว ว่ากันว่า เขาสูงนี้ มีแต่สมุนไพรที่มีคุณค่า ความสวยงามของเทือกเขาหิมะ ขึ้นมาสูงขนาดนี้แล้ว ฟ้าโปร่งใส แสงแดดรุนแรง ท้องฟ้ามีแต่เมฆขาว ปุยเมฆเต็มไปหมด แสงอาทิตย์ส่อง แสงสีทองสะท้อนจากยอดเขา แม้จะหนาวเย็น แต่หัวใจนั้น ยังอบอุ่นไปด้วยความตื่นตาตื่นใจในสิ่งที่ พบเห็น แม้จะมีหมิ ะปกคลุม แต่ทรี่ าบสูงภูเขาหิมะนีก้ ลับมีแต่ความเขียวชอุม่ มี ต้นไม้พุ่มเต็มไปหมด มีฝูงจามรีอยู่ตามภูเขา กินสมุนไพรบนเขาสูงที่หนาว เย็น มีหิมะอยู่เต็มเป็นหย่อมๆ ไม้พมุ่ เขียวนี้ ทนทานต่อความเย็น มีทงั้ ต้นสนและไม้พมุ่ กิน่ สนบนเขา สูงนี้ ชาวทิเบตเก็บไปเผาไฟบูชาคารวะสิ่งศักด์ิสิทธิ์ที่นับถือบนยอดเขาสูง มีธงมนต์เต็มไปหมด แสดงศรัทธาต่อธรรมชาติ ไม่น่าเชื่อว่า บนเขาหิมะ สูงนี้ มีหนูขนาด 20 กิโล อาศัยอยู่ได้ในรูบนภูเขา

64


65


“อาการรัก” บนที่สูง อยู่ๆ ก็ “เบลอ” ได้ ความกดอากาศเมื่อขึ้นมาอยู่บนเขาสูงนี้ มีผลให้พฤติกรรมสมองของคนเปลี่ยนแปลง ไป หรือสังเกตให้ดี มีเลือดไหลออกจาก “ดวงตา” ได้ หากทนความกดอากาศไม่ได้ อันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง อากาศทำ�ให้ปวดหัวเหมือนจะเป็นไข้ แต่วัดอุณหภูมิแล้วไม่มี ปากแตกเป็นแผล เจ็บไปหมด แถมบางคนยังมีอาการแปลกๆ อย่างคุณพิภพ ช่างภาพ ขยันผิดปกติ จนเป็นที่สังเกต เริ่มพูดอะไร เรื่อยเปื่อย คนฟังที่สังเกตก็งง มายอมรับภายหลังว่า ไม่รู้ตัว รู้แต่ว่า มีอาการคล้ายๆ กับฝันไป มีความสุข เคลิบเคลิ้มไปกับบรรยากาศ นึกมาได้ว่า ไม่น่าแปลกที่จะมีคนพูดเสมอว่า โอ้พระเจ้า ได้พบพระเจ้าแล้ว เมื่อขึ้นมาอยู่บนภูเขาสูงเช่นนี้ มี อาการคล้ายๆ กับอาการของคนมีความสุขช่างเป็นสุขเสียจริง แต่คนรอบข้างเป็นห่วงแทบแย่ จะไปต่อไปไหวไหม นะ อาการน่าเป็นห่วง หรือว่าจะได้พบพระเจ้าบนที่ราบสูง บนหลังคาโลกนี้หรือ

66


ในที่สุด การเดินทางไต่ภูเขาสูงบนที่ราบสูง ก็มาถึงจุดสูงสุด “ตงต้าซันโคว” เหนือระดับน้ำ� ทะเล 5,005 เมตร อุณหภูมิ -12 องศา ใกล้เมืองปางต้า ทางแยกไปสู่ลาซาหรือขึ้นเหนือไปต้น แม่น�้ำ ทีเ่ ฉิงตู ในระดับน้�ำ ทะเล 4,000-4,500 เมตรนีค่ อื ภูเขาหิมะทีล่ ะลายลงไปรวมเป็นแม่น�้ำ ใหญ่ สามสาย ของเอเชีย ยืนเหนือระดับน้ำ�ทะเลระดับนี้ แสงแดดร้อนจัด ลมพัดเอื่อยๆ หนาวเย็น หิมะน้ำ�แข็งกลายเป็น เกล็ดหลอมละลาย น้ำ�ในแม่น�้ำ มาจากที่นี่กว้างใหญ่ ตระการตา ท่ามกลางหิมะขาวโพลนที่ราบสูง แห่งนี้ ถูกปกคลุมไปด้วยความหนาวเย็น ท่ามกลางความกดอากาศที่รุนแรง มีผลต่อร่างกายและ จิตใจตลอดเวลา ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง ต้องเตรียมการป้องกันให้ดี ความน่าสนใจอยู่ที่ แม่น้ำ�ใหญ่ที่เกิดจากภูเขาหิมะขาวโพลนนี้ น้ำ�มาจากแหล่งเดียวกัน กลาย เป็นแม่น้ำ�นานาชาติ แม่น้ำ�ของผู้คนนานาชาติ ไหลไปเป็นสามแม่น้ำ�ขนาดใหญ่ ขนานกันไหลแยก ทางไปตามที่ราบสูงแห่งนี้

67


หยดหนึ่งกลายเป็นแยงซีเกียง หยดหนึ่งกลายเป็นล้านช้าง หยดหนึ่งกลายเป็นสาละวิน เกิดวัฒนธรรมที่แตกต่าง ชีวิตที่แตกต่างกันไปตามสายน้ำ� น้�ำ ทีเ่ กิดจากหิมะ หิมะในทุง่ หิมะกว้างใหญ่น้ี

68


69


ใกล้ความจริงเข้าไปแล้ว อาจจะได้ เห็น “ต้นแม่น้ำ�หลานชาง” คงอยู่อีกไม่ ไกลจากนีก้ ารเดินทางจากทุง่ หิมะใหญ่ ยัง คงมุ่งหน้าขึ้นเหนือที่หนาวเย็นและเต็มไป ด้วยหิมะต่อไป ไกลนับพันไมล์ที่น้อยคนนักที่จะมาถึง ผ่านภูเขาหิมะ ผ่านทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ผ่านความหนาวเย็น ในที่สุด พลบค่ำ� เวลา 16.20 น. ก็เดินทางมาถึงเมือง ชางโต ต้นน้ำ� หลานชางเมืองทีแ่ ม่น�้ำ สองสายบรรจบกัน กลายเป็นต้นน้ำ�หลานชางหรือต้นแม่น้ำ� โขงนั่นเอง เห็นแล้วอดนึกถึง ต้นแม่น้ำ� เจ้าพระยาทีป่ ากน้�ำ โพไม่ได้ กำ�หนดจุดเริม่ ต้นของแม่น�้ำ โขงและแม่น�้ำ เจ้าพระยา เป็น ดั่งเช่นเดียวกัน แม่น�้ำ สองสายมาบรรจบกัน สายหนึง่ ใสสะอาด สายหนึง่ ขุน่ ด้วยโคลนตม กลาย มาเป็นแม่น�้ำ สายใหญ่ ได้เหมือนกันอย่าง ไม่นา่ จะเชือ่ ว่า เป็นไปได้ทแี่ ม่น�้ำ สำ�คัญต่าง มีต้นกำ�เนิดเช่นเดียวกันชาวเมืองเฉิงตู เรียกว่า แม่น้ำ�สองสี

70

แรกๆ ในความคิด นึกว่า เมืองเฉิงตู น่าจะเป็นเมืองที่ห่างไกล โดดเดี่ยว อยู่ ท่ามกลางหิมะ แต่ผดิ คาด เมืองนีถ้ กู สร้าง เป็ น เมื อ งใหม่ มี ตึ ก สู ง มากมาย มี แบรนด์เนมจำ�หน่าย มีทุกสิ่งทุกอย่างที่ เมืองใหญ่ๆ มี ทั้งๆ ที่เป็นเมืองเศรษฐกิจ อันดับสองของทิเบต บรรยากาศถูกสร้างเมืองใหญ่ที่ทัน สมัยเป็นตลาดแหล่งรวมซื้อขายของชาว เมืองที่อยู่ใกล้เคียง กรีนเฮ้าส์ เพื่อการ ปลูกผัก ถูกพัฒนาโดยชาวจีน เพื่อเลี้ยง ชาวเมือง ผู้คนแต่งตัวทันสมัย ชาวจีนอพยพเข้ามาทำ�ธุรกิจมากมาย ทีน่ า่ แปลกอีกอย่าง กีฬาทีไ่ ด้รบั ความนิยม คือ กีฬาพูล ก็คือ ชาวเมืองเล่นพูลกัน กลางเมือง ข้างถนนที่ผ่านไปนี่เอง เมือง ทีร่ อบล้อมไปด้วยภูเขาใหญ่ มีแม่น�้ำ โขงผ่า กลางเมือง ที่นี่เป็นเมืองธุรกิจ มีสนามบินที่สูง ทีส่ ดุ ในโลก “สนามบินเฉิงตู” กำ�ลังได้รบั การพัฒนาและขยายจากสนามบินทหาร เป็นสนามบินพาณิชย์อย่างเร่งรีบ มาถึงแล้ว “ต้นน้ำ�หลานชาง” ต้น แม่น้ำ�โขง



ในหุบเขาสูงชาวเมืองนี้ ทันสมัยมีแบรนด์เนมด้วย

72


73


74


จีนไม่ “หยุดสร้างเขือ่ น” เดินทางขึ้นเหนือต่อไปตามเส้นทาง แม่น้ำ� ล้านช้างหรือแม่น้ำ�โขง ขึ้นไปตามไหล่เขา มองลง มาด้ า นล่ า ง แม่ น้ำ � ไหลจากภู เ ขารุ น แรงมาก แน่นอนว่า เบื้องล่างมองเห็น “โรงงานผลิต ไฟฟ้า” เป็นระยะๆ ขนาดไม่ใหญ่มากนัก ในขณะ ที่ถนนทุกเส้นทางมีการปรับปรุงและเร่งก่อสร้าง ขนานใหญ่ ทั้งจากแรงงานคนจำ�นวนมากและ เครื่องจักรตลอดระยะทาง คาดว่า อีกประมาณ 2 ปี ไม่เกิน 5 ปี เส้น ทางทีล่ กึ ลับไร้ผคู้ นนี้ จะกลายเป็นเส้นทางเศรษฐกิจ ใหม่ทางตะวั น ตกเฉี ย งใต้ ข องจี น เส้ น ทางที่ ได้ พัฒนามาจากเส้นทางโบราณ “เส้นทางชา-ม้า” ที่ ไ ปเชื่ อ มต่ อ กั บ เส้ น ทางสายไหมหลั ก ในการ ลำ�เลียง “ชาจีน” ไปแลกเปลีย่ นกับ “ม้าเทวดา” ใช้ทำ�สงคราม วันนี้ เส้นทางชา-ม้า นี้ กำ�ลังเป็น ถนนเศรษฐกิ จใหม่ จ ากเหนื อ มุ่ ง สู่ ท างใต้ ไ ปยั ง มณฑลยูนนาน พม่า ลาว ไทย เวียดนาม เชื่อม ต่อกันด้วย “ถนน” เส้นทางสายไหมยุคใหม่ R3A ระหว่างการเดินทางทีน่ ี่ “ม้า” เริม่ หมดความ สำ�คัญลงไปแล้ว สิง่ ทีม่ าทดแทนม้าในการเดินทาง ก็คือ มอเตอร์ไซค์ เพิ่มมากขึ้น ถือเป็นนวัตกรรม ยุคใหม่ที่ให้ความเร็วในการเดินทางและบรรทุก สินค้า คน แทนม้า แต่ล่อ ยังคงเห็นอยู่เป็น ระยะ

75


พลังงานแสงอาทิตย์ถูกนำ�มาใช้ “ต้มน้�ำ ” ระหว่างทาง ต้องสะดุดลงที่หมู่บ้าน “จีซิง” ชาวบ้านชนทิเบต อยู่ที่นี่มานับพันปี แล้ว จากหลักฐานที่พบในหมู่บ้าน วันนี้ก�ำ ลังจะต้องเผชิญหน้ากับความก้าวหน้าของ การพัฒนา แหล่งน้ำ�ที่ไหลผ่านหมู่บ้านนี้ กำ�ลังจะกลายเป็น “พลังงานผลิตไฟฟ้า” ของชนชาติจีน มีเจ้าหน้าที่จีนกำ�ลังสำ�รวจพื้นที่และสภาพของหินที่นี่ว่า จะมีความ แข็งแกร่งพอที่จะสร้าง “เขื่อน” ได้หรือไม่ ข่าวสารกระจายไปทั่วหมู่บ้าน แต่ยังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการ ยังไม่มีการ สอบถามความคิดเห็นชาวบ้าน แต่ชาวบ้านบอกว่า ต้องอพยพไปเพื่อสร้างเขื่อนในอีก ไม่นานนี้ หมูบ่ า้ นนี้ ปลูกข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวทิเบต องุน่ และทีส่ �ำ คัญ มีเห็ดและสมุนไพร ภูเขา ทีม่ คี ณ ุ ค่าทางยา เป็นรายได้หลักเพราะราคาแพง ชาวบ้านไม่รจู้ ะต้องไปอยูท่ ไี่ หน

76

เจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางยังคงก่อสร้างถนนและสำ�รวจต่อไป ท่ามกลางความ “ตื่นตระหนก” ของชาวบ้าน ที่นอนไม่หลับมาเป็นแรมเดือน แล้ว จีนยังเร่งสร้างเขื่อน สร้างโรงไฟฟ้าต่อไป น่าสังเกตว่า ทุกบ้านในหมู่บ้านที่ไปเยือนมีจานดาวเทียมรับสัญญาณโทรทัศน์ มี กาต้มน้�ำ แบบพลังงานแสงอาทิตย์ และมีโทรศัพท์มอื ถือเป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกัน มอง ไปบนภูเขา ก็มีสายไฟฟ้า สายโทรเลขและเสาเชื่อมต่อสัญญาณมือถือ ทั่วไปหมดทุก ยอดเขาสูง ว่ากันว่า ไปที่ไหนในเมืองจีน ก็ใช้โทรศัพท์มือถือ ไปเมืองใหญ่ๆ มีอินเทอร์เน็ต คาเฟ่ ในโรงแรมระดับ 5 ดาว มีอินเทอร์เน็ต บริการฟรีถึงในห้องพัก การสื่อสารสมัยใหม่ทุกระบบนี้ ว่ากันว่า เป็นส่วนของ ยุทธศาสตร์ชาติด้วย


77


78


79


หมู่บ้านนี้ก�ำ ลังถูกย้ายหนีเมือง

80


81


เวียงผาคราง 82


กษัตริยอ์ งค์สดุ ท้าย อาณาจักรสิบสองปันนา “แม่ของ” คือชีวิตของชาวสิบสองปันนา ที่ให้น� ้ำ ให้ข้าว ให้ปลา และอาหารทีส่ มบูรณ์ แม่น�้ำ โขงไหลผ่านเมืองเชียงรุง่ เมืองหลวงชาวไต ที่สิบสองปันนา คุณสุทธชัย หยุ่น ได้เข้าเฝ้า เจ้าหม่อมคำ�ลือ พระเจ้าแผ่นดินสิบ สองปันนา องค์สุดท้าย ณ นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ราชวงศ์นี้สืบทอดกันโดยราชวงศ์เดียวมากว่า 800 ปี โดยไม่เคย เปลี่ยนราชวงศ์สืบต่อกันมา ในระหว่างเข้าเฝ้า เจ้าหม่อมคำ�ลือ ทรง เสวย “มะเฟือง” ทีป่ ลูกในเชียงรุง่ ด้วย ล่�ำ มากๆ หมายถึงอร่อยมาก... มะเฟืองนี้ ไม่มีผลไม้นี้ในประเทศจีน ราชวงศ์ปกครองอาณาจักรเชียงรุ่ง หรือ ราชวงศ์สิบสองปันนานี้ สืบทอดราชวงศ์ท้าวเฮืองเป็นเชื้อสายสืบทอดกันมากว่าพันปีแล้ว เป็น พระเจ้าแผ่นดินปกครองกันมาถึง 41 รัชกาลแล้ว โดยไม่มีการเปลี่ยน ราชวงศ์ไปเป็นราชวงศ์อื่น อาณาจักรสิบสองปันนา เป็นรุ่นแรกของชนชาวไต ที่ได้รวบรวม เป็นอาณาจักรขึน้ ยาวนานกว่าราชวงศ์ใด กำ�เนิดมาก่อนราชวงศ์สโุ ขทัย ของสยามหรือประเทศไทย ปัจจุบัน เจ้าหม่อมคำ�ลือ อายุ 81 ปี อาศัยอยู่ในชุมชนจินหนิว เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน หากมีอากาศหนาวมาก จึงจะ เดินทางไปพักผ่อนที่เชียงรุ่งเป็นครั้งคราว เพราะที่คุนหมิงอากาศจะ หนาวมาก ในฤดูหนาวที่เชียงรุ่ง อุณหภูมิจะอยู่ประมาณ 30 องศา เซลเซียส

83


“เวียงผาคราง”

จากวัง...เปลีย่ นเป็นโรงแรม “แม่ของ” เป็นจุดเปลี่ยนที่สำ�คัญของแม่น้ำ�สายที่รุนแรงและเชี่ยวกรากนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียกชื่อเป็นครั้งแรกว่า “น้ำ�ของ” หรือไทยเรียกว่า แม่โขง เวียงผาคราง จุดทีเ่ ป็นพระราชวังทีป่ ระทับของพระเจ้าแผ่นดินสิบสองปันนา อยูโ่ ค้งแม่น�้ำ โขงไหลผ่านลงมากระแทกเข้ากับหน้าผาและโตรกหิน ก่อให้เกิดเสียง คล้ายสาวคราง จึงเรียกว่า ผาคราง ในฤดูน้ำ�หลาก ทุกปี จะมีลูกฝูงปลาเล็กที่มาจากทางเหนือของน้ำ�โขง ไหลผ่านผาคราง นับเป็นชัว่ โมงๆ กว่าจะหมด ชาวบ้านนำ�เรือและอุปกรณ์จบั ปลา ออกจับปลา ลูกปลาที่ไหลลงมามืดฟ้ามัวดินนี้ ว่ายลงไปเติบโตอยู่ด้านแม่น้ำ�ทาง ใต้ลงไป เจ้าหม่อมคำ�ลือตรัสว่า จับกันสามวันสามคืน ไม่มีหมด ชาวสิบสองปันนา หรือเชียงรุ้ง หรือไทลื้อนี้ จึงถือว่า แม่ของ หรือ แม่น�้ำ โขงนี้ เป็นน้ำ�แม่ เพราะ ว่าสิบสองปันนาจะเรียกน้ำ�แม่เพราะถือว่า เป็นน้ำ�ที่ให้กำ�เนิดไทยลื้อ ให้น้ำ�ทำ�นา ให้หาปลา ปลูกผัก ชีวติ ของชาวสิบสองปันนา จะอยูผ่ กู พันกับแม่น�ำ้ โขงตลอดเวลา วันนี้ ทีเ่ ชียงรุง่ รัฐบาลจีน ได้สร้างเขือ่ นผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่และท่าเรือใหญ่ ของเชียงรุ้ง รับเรือได้ขนาด 1 พันตันเชียงรุ่งกำ�ลังกลายเป็นเมืองหน้าด่านทาง ธุรกิจใหม่ เมืองนี้ก�ำ ลังเปลี่ยนโฉม ที่ “เวียงผาคราง” กำ�ลังถูกปรับพื้นที่ สร้างโรงแรม 5 ดาว รับนักท่อง เที่ยว

84


85


เวียงผาครางเปลี่ยนเป็นศูนย์วิจัยลิง

86


เจ้าหม่อมคำ�ลือ พระเจ้าแผ่นดินสิบสองปันนา องค์สุดท้าย

มะเฟือง

87


88


ลาว ลูกพญานาค “แม่น�ำ้ โขง”

ใช้ทง้ั ดืม่ กิน อาบ และต้มเหล้าขาว แม่น้ำ�โขงไหลผ่านประเทศลาวในฐานะเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ หลวงพระบาง เป็นเสมือนประภาคารทางประวัตศิ าสตร์และวัฒนธรรม ของคนในลุม่ น้�ำ แม่โขงทีย่ ง่ิ ใหญ่ กระแสที่ไหลเชี่ยวภายใต้ผิวน้ำ�ที่ดูราบเรียบ ยังคงมีเรื่องราวให้แสวงหาคำ�ตอบต่อไป คนไทยที่อ่านประวัติศาสตร์ ต้องรู้ว่า ม.ปาวี ทูตฝรั่งเศสยุคล่าอาณานิคม มา อยู่หลวงพระบาง เป็นทูตฝรั่งเศสในสมัยนั้น พยายามที่จะทำ�ตัวเป็นคนท้องถิ่น แต่ง ชุดท้องถิ่น ผ้าซิ่นก็ใส่ หมากก็เคี้ยว แต่เป้าหมายจริงๆ คือ พยายามให้ลาวเป็นส่วน หนึ่งของฝรั่งเศส กรณีโด่งดังที่สุดคือ ร.ศ. 112 เมื่อ 166 ปีก่อน เป็นช่วงที่ ม.ปาวี ให้กลยุทธ์ ทางการทูตทุกวิถีทาง หลอกล่อให้ไทยเผชิญหน้ากับฝรั่งเศส ให้ฝ่ายไทยยิงปืนก่อน เมื่อฝรั่งเศสส่งเรือรบไปที่ปากน้ำ� จนกระทั่งฝรั่งเศสอ้างได้ว่า ฝ่ายไทยเป็นคนเปิดศึก ก่อน เรือรบของฝรั่งเศสไปจ่อถึงปากน้ำ� ไปถึงที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสในแม่น้ำ� เจ้าพระยาทุกวันนี้ และนัน่ เป็นปีทไี่ ทยเสียดินแดนฝัง่ ขวาทัง้ หมดของแม่โขงให้แก่ฝรัง่ เศส เป็นจุดเริม่ ต้นของประวัติศาสตร์บทใหม่ระหว่างไทยกับลาว เนื่องจากก่อนหน้านั้น แม่น้ำ�โขง เป็นสายน้ำ�เชื่อมระหว่างไทยกับลาว เพราะว่า เป็นแผ่นดินเดียวกัน อยูภ่ ายใต้การปกครองเดียวกัน แต่วา่ ฝรัง่ เศสแบ่งแยกตัดฝัง่ ขวา แม่โขงออกไปกลายเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส เพราะก่อนหน้านี้ฝรั่งเศสก็ได้เวียดนาม ไปแล้ว อ้างว่า สิ่งที่เห็นอยู่บนแผนที่เป็นส่วนหนึ่งของเวียดนาม เพราะเจ้าอนุวงศ์ของ ลาวเคยลงนามยกส่วนนั้นเป็นของเวียดนามตอนลี้ภัยไปอยู่ที่เวียดนาม

89


90


ต้มเหล้า การได้เห็นชื่อชาวฝรั่งเศส 3 คน ที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำ�โขง เกี่ยวข้องกับ ประวัตศิ าสตร์ ไทย ลาว เวียดนาม ทำ�ให้คดิ ได้วา่ นัน่ อาจเป็นช่วงแย่งแก่งมหาอำ�นาจ เพื่อจะให้ประเทศเล็กๆ ไม่มีทางเลือก ต้องยอมสวามิภักดิ์ ทั้งๆ ที่สายน้ำ�แม่โขง ถึง แม้ตอนนี้พยศแล้ว แต่ว่าในหลายๆ ช่วง แม่โขงเป็นจุดเชื่อมชีวิตของคนไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า และทางใต้ของจีน แต่ชว่ งนัน้ ของประวัตศิ าสตร์แม่น�้ำ โขงกลับกลายเป็นเครือ่ งมือการล่าอาณานิคม ของฝรั่งเศสไป วันนี้ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนไป ลาวกับแม่น�้ำ โขงมีความผูกพันลึกซึง้ กว่าหลายประเทศในแถบนี้ เพราะว่า จำ�นวน น้�ำ ที่ไหลลงไปในแม่น้ำ�โขงมีสูงที่สุดในบรรดา 6 ประเทศที่อยู่ สองฝั่งแม่น้ำ�โขง นับ แล้วประมาณ 30% ของน้ำ�ในแม่น�้ำ โขงมาจากประเทศลาว ประเทศลาวมีสาขาของแม่น้ำ�โขงที่แยกถึง 12 สาขา ฉะนั้นแม่น้ำ�โขงเป็นแม่น้ำ� แห่งชาติของลาว เพราะว่าลาวไม่มีทางออกไปทะเล แม่โขงกับลาวจึงมีความผูกพันที่ ปฏิเสธไม่ได้ และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำ�วัน

ร่อนหาทอง

91


ลูกพญานาค จากหนองแส

92

ชีวิตคนลาวกับพญานาคผูกพันมาช้านาน โดยเฉพาะที่ พระธาตุภูศรี ผูกพันกันเป็นประวัติศาสตร์ช้านาน ลงไปจาก นี่ไม่ไกลจะมีรูที่บอกว่า เป็นรูพญานาค ไกลลงไปถึงข้างล่าง และทุ ก ปี ก็ จ ะมี แ ห่ พ ญานาคเพื่ อให้ พ ญานาคลงไปเล่ น สงกรานต์ในแม่โขง แม่โขงที่หลวงพระบาง จึงมีความ ศักดิ์สิทธิ์ลุ่มลึก และมีความสำ�คัญต่อชีวิตคนลาว ชาวบ้านใช้ซักผ้า ใช้ทำ�ความสะอาด ใช้น้ำ�จากแม่โขง มาต้มเหล้าแบบชาวบ้าน เหล้าแม่โขงของหลวงพระบาง แตะ แล้วยังมีความเย็นทีพ่ เิ ศษ ไม่ใช่เย็นเฉพาะผิว เป็นความเย็น ทีส่ ม่�ำ เสมอ ทำ�ให้การกลัน่ เหล้ามีประสิทธิภาพอยูต่ ลอดเวลา “ผมได้เจอกับศิลปินที่เป็นช่าง อายุของลุงเหนียว 75 แล้วครับ ยังมีอารมณ์ศิลปินอยู่เต็มตัว ลุงสามารถทำ�ซอได้ ตลอด ทำ�ซอเสร็จเหนื่อยก็บรรเลงดนตรี หมู่บ้าน ชุมชน แม่น้ำ� และความเป็นนิรันดร์ ดนตรี สายน้ำ� และความ เปลีย่ นแปลง ผมอดคิดไม่ได้วา่ อีกนานเท่าไรทีล่ งุ เหนียวและ ดนตรีพื้นบ้านของเขาจะส่งเสียงกังวานให้ได้ยินเสียงเหมือน วันนี้ ผมมองออกไปยังแม่น้ำ�แล้วนึกถึงความเปลี่ยนแปลงที่ กำ � ลั ง เกิ ด ขึ้ น กั บ สายน้ำ � พยศ ความเปลี่ ย นแปลงที่ เ ป็ น นิรันดร์” อีกเรื่องที่เป็นประเด็นถกเถียงกัน คือ แม่น�้ำ โขงมีร่อง น้ำ�ลึกพอสำ�หรับเรือลำ�ใหญ่หรือไม่ แม่น้ำ�โขงตื้นเขินเพราะ ว่าเกาะแก่งมากมาย ฉะนั้นเรือใหญ่ไม่อาจจะวิ่งได้ จึงต้อง จอดเพือ่ รอจังหวะ ประเด็นคือ ถ้าเรือใหญ่ตอ้ งการวิง่ ตลอด ทั้งปี หรือว่ากลายเป็นธุรกิจใหญ่ แปลว่าจะต้องขุดร่องน้ำ� ลึกลงไป จะมีการระเบิดเกาะแก่งต่างๆ ในแม่น้ำ�โขง การ ระเบิดหินเหล่านี้ แปลว่า จะทำ�ลายนิเวศวิทยา ทำ�ลาย ธรรมชาติของแม่โขงไปอย่างชนิดที่เรียกกลับคืนมาไม่ได้อีก


ไม่ห่างจากเรือแม่โขงซันมากนัก มีเรือหาปลากับ 2 หนุ่มชาวบ้าน ที่ลอยเรือทอดแหอยู่บริเวณ แม่น้ำ�โขง มีหนุ่ม 2 คน ที่อยู่กับแม่โขงมาตั้งแต่เกิด หัดว่ายน้ำ�ที่แม่โขง หาปลาที่แม่โขง ถึงแม้ว่าจะเรียนหนังสือ ระดับมหาวิทยาลัยทั้งคู่ เพราะนั่นคือโลกสมัยใหม่ แต่ถ้าว่าง ก็ต้องลงแม่ โขงหาปลา และยังบอกว่า เงินเดือนจบมหาวิทยาลัยแรกๆ ประมาณ 3-4 แสนกีบ หรือประมาณ 1,2001,500 บาท คงจะไม่เพียงพอ ต้องกลับมาอยู่กับชีวิตธรรมชาติ ต้องมาหาปลาในแม่โขง ข้าว ผักที่ปลูก อยู่ริมโขงนั่นคือ วิธีการอยู่อย่างสมถะธรรมชาติที่สุด สิ่งที่อยากถามก็คือ ถ้าหากแม่โขงเปลี่ยนไป ถ้ามีมลพิษ มีการสร้างเขื่อนสกัดกั้นการไหลตาม ธรรมชาติ ทรัพยากรในแม่น้ำ�โขงจะเกิดอะไรขึ้น อาจจะไม่มีคำ�ตอบสำ�หรับทุกคำ�ถาม แต่อย่างน้อยที่สุด สิ่งที่บอก คือ ชีวิตของพวกเขาอยู่กับน้ำ�จน แยกกันไม่ได้ ผู้คนเหล่านี้ อาจมองได้ว่า เป็นคนเล็กๆ ไม่มีสิทธิ์ ไม่มีเสียง บางคนไม่มีบัตรประชาชนด้วยซ้ำ� แต่ ว่า เสียงเล็กๆ ที่รวมตัวกันมากๆ พลังจะยิ่งใหญ่กว่าเสียงใหญ่ 2-3 เสียง ที่ทะเลาะเบาะแว้งแก่งแย่งผล ประโยชน์กนั มากกว่าด้วยซ้� ำ เสียงเล็กๆ ทีเ่ ห็นจาก สองฝัง่ แม่โขงรวมกัน และพูดปรัชญาชีวติ ไปในแนวทาง เดียวกันหมด “....คือ รักษาสิ่งที่ดีที่มีค่า อย่าทำ�ลาย ปกป้อง ถ้ามีสิ่งใหม่ๆ ที่คิดว่าจะทำ�ให้ชีวิตดีขึ้น ให้มา บอกก่อนว่า ดีจริงหรือไม่ ให้บอกก่อนว่าต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง ให้เขามีโอกาสที่มีส่วนแสดงความ คิดเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงหมายถึงอะไรสำ�หรับเขา....”

93


ระเบิดแก่ง แม่โขง รัฐบาลจีนเรียก “หินโสโครก” ลาว เรียก “สมบัตขิ องชาติ” ชุมชนเชียงของ เรียก “บ้านของปลา” ้ ดั สิน แก่งน้�ำ โขงคือสมบัตมิ นุษยชาติ คุณคือผูต เสียงจากคนนับล้านจากใต้น้ำ�แม่น้ำ�โขงนับจากที่ไหลจากจีน ลงบรรจบไทยครั้งแรกที่สบรวก สามเหลี่ยมทองคำ� เขตพม่า-ไทย-ลาว เขมร และเวียดนาม เป็นเสียงจากชีวิตริมน้�ำ โขงที่รวมทั้งพืชและปลาอีกนับพันชนิด ล้วนได้รับผล กระทบจากการพัฒนาที่มุ่งเศรษฐกิจการค้าเป็นหลัก ด้วยการสร้างเส้นทางลำ�เลียงสินค้าจีนออกสู่ตลาดโลกอย่างเร่ง รีบ ผลสะเทือนอย่างรุนแรงต่อ “ความเป็นอยู่ชีวิตสองฝั่งน้ำ�โขง” การสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ�โขงอีก 15 เขื่อน ให้แม่น�้ำ กลายเป็นอ่างเก็บน้ำ�ขนาดใหญ่ 15 แห่ง เชื่อมต่อกัน และ ความพยายามระเบิดแก่ง ทำ�ลายวิถีนิเวศของแม่น�้ำ โขง อีก 21 จุด เพื่อเปิดทางให้เรือบรรทุกสินค้าหนักอีก 500 ตัน วิ่งส่งสินค้ามาทางใต้ได้ถึงท่าเรือเชียงแสน และเชียงของ ของไทย เพราะเป็นทางเลือกที่มีต้นทุนต่ำ� ได้กำ�ไรสูงใน การขนส่ง เมื่อเทียบกับวิถีทางบกและอากาศ แม่น้ำ�โขงจากต้นน้ำ�ไหลลงมาถึงไทย เริ่มมีความคุกรุ่นในความรู้สึกของชาวบ้านที่เชียงของ เชียงแสน เวียงแก่น 3 อำ�เภอที่ติดกัน ต่ำ�ลงมาจากสามเหลี่ยมทองคำ� ที่ต้องเผชิญน้�ำ ท่วมหนักเมื่อเดือนสิงหาคม ปีที่แล้ว วิเคราะห์กัน แล้วบอกว่า สาเหตุใหญ่มาจากการสร้างเขื่อนใหญ่ของจีน เฉพาะตอนใต้ในยูนนานมีเขื่อนถึง 3 เขื่อนที่จีนสร้างเสร็จ แล้ว และกำ�ลังสร้างอยู่เขื่อนบนสุดนั้น มานว่าน ลงมา ต้าฉาวซ่า และที่สิบสองปันนานั้นคือเขื่อนชื่อ จินหง เมืองหลวง ของสิบสองปันนา เมื่อแม่น�้ำ โขงไหลผ่านจีน ยูนนาน ทางใต้ลงมา ผ่านพม่า ลาว ไทย ลงไปถึงกัมพูชา และเวียดนาม ทั้งหมด 4,000 กว่ากิโลเมตร ถึงเชียงของถึงได้รวู้ า่ พอไปสัมผัสชีวติ คนจริงๆ บัดนีป้ ญ ั หาระหว่างแม่น�้ำ โขงตอนล่างกับจีนกำ�ลัง คุกรุ่น

94


95


แก่งผีหลง-แก่งผาชะนะได 9 แก่งลำ�น้�ำ โขง เมืองเชียงของ ปราการด่านแรกและด่านสุดท้าย ของชีวต ิ ริมแม่น�ำ้ โขง เสียงเรียกร้องที่รอคำ�ตอบจาก “ผู้มีอำ�นาจ” มา 8 ปีแล้ว ว่า ให้หยุดทำ�ร้าย แม่น้ำ�โขง คน พืชและปลา ความอุดมสมบูรณ์ของลำ�น้ำ�โขง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เสียงเล็กๆ ของชุมชนสองฝัง่ น้�ำ โขงนี้ อาจจะไม่มผี ใู้ ดได้ยนิ หรือสนใจได้ฟงั มาก่อน แต่ บัดนี้ วิถชี วี ติ ของพวกเขาถูกทำ�ลายไปหมดสิน้ ต้องดิน้ รนหนีจากแม่น�้ำ ทีอ่ ยูบ่ นบก ทิง้ แม่น�้ำ ที่เกิด ที่ทำ�มาหากิน เลี้ยงชีวิต ไปรับจ้างในเมืองหรือทำ�สวนทำ�ไร่ ที่ไม่เคยทำ� มาก่อนในชีวิต และไม่พอกิน เพราะเขื่อนและการระเบิดแก่งหินในลำ�น้ำ�โขง เพื่อเปิด การเดินเรือนั้น นำ�มาซึ่งความหายนะของปลาในแม่น้ำ�โขง น้ำ�ขึ้นลงผิดฤดูกาล เกิดน้�ำ ท่วมน้ำ�หลากอย่างไม่มีเหตุผลให้เข้าใจอย่างอื่นได้ว่า เป็นเขื่อนจีนปล่อยน้�ำ ลงมา ทำ�ลายแหล่งประมงน้�ำ จืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เทียบเท่ากับแม่น้ำ�อะเมซอน แม่โขง ตอนล่าง ผลิตสัตว์น้ำ�ได้ถึง 1-1.3 ล้านตัน และตอนกลางจับได้อีกกว่า 0.9-1.2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 10.5 แสนล้านบาทต่อปี

96

ความพยายามที่จะระเบิดเปิดทางให้เรือใหญ่เข้ามาได้ สำ�หรับในไทยมีอยู่ 9 จุด และนี่ก็เป็นจุดที่ 9 หลังจากนั้นแม่น้ำ�โขงก็ไหลออกพื้นที่ประเทศลาว ก่อนจะไปโผล่ที่ จ.เลย อีกครั้งหนึ่งที่เชียงคาน มีการแบ่งงานออกไป 3 เฟส 3 ระยะ ระยะหนึ่งจะระเบิดออก 21 จุด ระเบิด มาแล้วที่ทางพม่า แต่ของไทย 9 แห่ง ยังไม่ได้ระเบิด เพราะชาวชุมชนท้องถิ่นเสนอ ว่าน่าจะมีการทบทวน นายสมเกียรติ เขือ่ นเชียงสา ผูป้ ระสานงานเครือข่ายอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรมลุ่มน้ำ�โขง-ล้านนา เล่าว่า จีนมีแผนจะเปิดเป็นเส้นทางเดินเรือให้ได้ถึง 500 ตัน และก็เดินทางได้ 95% เพราะพยายามที่จะใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้า โดย บอกว่า ถ้ามาทางเรือการลงทุนในการขนส่งทางเรือจะถูกกว่าทางอืน่ ก็เลยต้องระเบิด เกาะแก่ง คือปกติแม่น�้ำ โขงเรือก็สามารถเดินทางได้ตามฤดูกาล แต่วา่ ถ้าใหญ่ถงึ 500 ตัน ก็ต้องเอาเกาะแก่งออก จุดที่ 9 ที่จะต้องระเบิดในประเทศไทย “แก่งผาชะนะได” เป็นจุดที่นักท่องเที่ยว มาเทีย่ ว คนท้องถิน่ แถวนีร้ จู้ กั ดี เพราะเป็นทีพ่ กั ผ่อนทีส่ วยงาม คนก็มาดูแม่น�้ำ โขง มา กินอาหาร ดังนั้น เหตุที่แก่งนี้ยังอยู่ได้ ที่สำ�คัญคือ การรวมตัวของชาวบ้านในการยื่นข้อ เสนอต่อทางรัฐบาล เหตุผลที่มันชัดเจนคือ เกาะแก่งที่เห็นไม่ใช่เป็นเพียงแค่ก้อนหิน แต่เป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยของปลา เป็นแหล่งของพันธุพ์ ชื หลายๆ ชนิดทีอ่ ยูต่ ามเกาะแก่ง และ พันธุ์พืชเหล่านี้ก็ให้ประโยชน์ทั้งในแง่ที่เป็นอาหารส่วนหนึ่ง และก็เป็นอาหารของปลา เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา


97


98


“ฤดูน�้ำ หลากเกาะแก่งทีเ่ ห็นเหล่านีก้ จ็ ะไม่เห็น น้�ำ ก็จะท่วมหลาก เป็นบ้านของปลา มีปลาหลายชนิดอาศัย คนที่คิดโครงการขนาด ใหญ่ จะคิดว่า เป็นอุปสรรคขวางกั้น แต่ส�ำ หรับชุมชนสิง่ นี้ คือชีวติ คืออาหาร คือทุกอย่างของชีวติ ด้วย” บริเวณคอนผีหลง ปราการด่านแรกและด่านสุดท้ายทีร่ อดพ้น จาก “การระเบิดแก่งแม่โขง” ของจีน มาได้พร้อมกับแก่งในส่วน ของไทยอีก 9 แห่ง ที่รัฐบาลไทยเปิดโอกาสให้จีนระเบิดได้ ตาม สัญญาว่า ไทย จีน ที่กำ�หนดให้ “ทำ�แม่น้ำ�โขงช่วงไทยให้กลาย เป็นคลองเดินเรือ” แต่ในทางปฏิบัติคือ การระเบิดเขื่อน ที่ทาง การไทยไม่แจ้งให้ชุมชนทราบล่วงหน้ามาก่อน แต่ชุมชนชาวเชียงของและกลุ่มรักเชียงของ ได้ต่อสู้เรียกร้อง แจ้งให้รัฐบาลไทยทราบว่า จีนได้ระเบิดแก่งในไทย และไม่ได้แจ้งให้ รัฐสภาไทยทราบด้วยว่า มีสนธิสญ ั ญาระหว่างประเทศครัง้ นี้ เพราะ รัฐธรรมนูญกำ�หนดให้ การกระทำ�ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับชายแดนไทย นัน้ ให้ถอื เป็นสัญญาระหว่างประเทศ ต้องแจ้งให้รฐั สภาทราบ เพราะ กระทบกระเทือนถึงความมั่นคงของชาติ จีนได้ระเบิดแก่งในแม่น้ำ�โขง เปิดทางเดินทางเรือมาได้ถึง บริเวณคอนผีหลง จึงยุติการระเบิดแก่ง จากงานวิจัยชาวบ้านพบว่า มีพืชพรรณแม่น�้ำ โขงบริเวณคอน ผีหลงกว่า 65 ชนิด ทั้งเป็นแหล่งอาหารของปลาที่กินพืช รวมไป ถึงเป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยของสัตว์น�้ำ และพืน้ ทีว่ างไข่ โดยเฉพาะชาวบ้านเชือ่ ว่า ปลาบึก ว่ายทวนน้�ำ ขึ้นมาเป็นแหล่งผสมพันธุ์ที่นี่ ที่นี่เป็นจุดสุดท้ายที่จะต้องรักษาไว้ให้มั่น เพราะถ้าหากว่า บริเวณนีถ้ กู ทำ�ลายก็จะเปรียบเสมือนว่า ระบบนิเวศต่างๆ ของแม่น�้ำ โขงก็คงถูกทำ�ลายไปด้วย พร้อมกับแก่งอีก 9 แห่ง ทีจ่ นี มุง่ จะระเบิด เปิดทางน้ำ�ให้ได้ นอกจากนี้ ยังมีวิกฤติน้ำ�ท่วมจากน้ำ�โขงอย่างรวดเร็วผิดปกติ

เมื่อเดือนสิงหาคม 2551 ทำ�ให้ชาวบ้านนอนตาไม่หลับมาหลายปีทุกค่ำ�คืน ต้องรอฟังหรือจัดเวรยาม ระวังน้�ำ ท่วมฉับพลัน อย่างไม่มีเหตุมีผล จากคอนผีหลงล่องเรือไปจนถึงแก่งผาได แก่งสุดท้ายของน้ำ�โขงที่ไหลเข้าไทยช่วงแรก ชุมชนริมโขง พบว่า ระบบนิเวศของแม่น�้ำ โขงและวิถวี ฒ ั นธรรมตลอดสองฝัง่ โขงจากคอนผีหลงจนถึงบ้านห้วยลึก ต.ม่วง ยาย อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย นั้น เปลี่ยนแปลงไปมาก และเข้าใจเป็นอย่างอื่นไม่ได้ สาเหตุมาจาก “จีนสร้างเขื่อน” พ่อหลวงฮวก อายุ 50 ปี เกิดที่หมู่บ้านห้วยลึก ใช้ชีวิตทั้งชีวิตอยู่กับแม่น้ำ�โขง จับปลาขายเลี้ยง ลูกเมีย พึ่งพิงอาศัยแม่น้ำ�โขงมา แต่วันนี้ชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงไป เมื่อก่อนลงน้ำ�ครั้งเดียวก็จับปลาขาย ได้ไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท เคยจับได้สูงสุดวันเดียวถึง 7,600 บาท แต่ปัจจุบันสองสามวันยังจับ ปลาไม่ได้เลย ้ำ เปรียบเสมือนเป็นชีวติ และสายเลือด อยากให้แม่โขงอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม ให้ได้พงึ่ พิงอาศัยแม่น� ที่หล่อเลี้ยงมาทั้งชีวิต

99


โตนเลซาบ ทะเลสาบเขมร เขือ่ นสกัดการไหลเทของน้�ำ ให้ผดิ ปกติ เริม่ ตืน้ เขิน ลาว หุน้ ส่วนใหญ่ แม่น�ำ้ โขง จีน 18% ลาว 37% ไทย 16% กัมพูชา 16% พม่าและเวียดนาม 13% เรื่องที่ท้าทายแม่น�้ำ โขงขณะนี้ก็คือ เขื่อนที่ประเทศจีนสร้าง แล้วส่งผลกระทบต่อ “คนใต้น�้ำ ” ทีอ่ าศัยทำ�มาหากินอยูท่ างตอนล่างของแม่น�้ำ โขง ทัง้ ไทย ลาว เขมร และ เวียดนาม จะเป็นจุดที่มีผลกระทบต่อระบบมากกว่า 30-50% แล้ว แต่ตำ�แหน่งของ เขือ่ น แม้วา่ ในเขตแม่น�้ำ โขงส่วนเชือ่ มติดต่อกับเขตแดนไทยยังไม่มเี ขือ่ นสร้างบนแม่น�้ำ โขง แต่เคยมีความพยายามทีจ่ ะสร้างทีเ่ ขือ่ นผามอง จ.เลย และกำ�ลังพยายามจะสร้าง อีก 2 โครงการคือ จุดเดิมใกล้ๆ ผามอง เรียกว่าเขื่อนปากชม จ.เลย จุดที่ 2 อยู่ ที่ อ.โขงเจียม เรียกว่าเขื่อนบ้านกุ่ม

100


101


102


ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ด้านแหล่งน้�ำ จืด กล่าวว่า น่าเป็นห่วง เพราะเพียงแค่เขื่อนเดียวที่กั้นแม่น�้ำ โขงตอนล่าง ก็ฆ่าแม่น้ำ�โขงได้ทั้งแม่น้ำ� ที่ใช้คำ�ว่า “ฆ่า” เพราะว่าระบบนิเวศของแม่น�้ำ สายยาวๆ จะต้องมีการไหลเวียน ขึ้นลงตลอดเวลา การสร้างเขื่อน คือ การกั้นการอพยพของปลาหลายชนิดพร้อมกัน ไปด้วย ที่ยืนยันได้แน่นอนคือ ผลกระทบและอาจสูญพันธุ์ได้ของปลาบึก เพราะเป็นปลา ขนาดใหญ่ ที่ต้องวางไข่ต้นน้ำ�บริเวณ จ.เชียงราย ส่วนตัวอ่อนและตัวเล็กจะมาเลี้ยง

ตัวอยูท่ ปี่ ระเทศกัมพูชาหรือเวียดนาม ออกไปหากินในทะเล พอโตขึน้ มาก็กลับมาวางไข่ อีก และมีการอาศัยอยู่ทั่วไปในบริเวณที่ลึกของแม่น้ำ�โขง พอมีเขื่อนเพียงแห่งเดียว สมมติว่าสร้างอยู่ระหว่างชายแดนไทย-ลาว หรือสร้างอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน ปลา บึกก็จะใช้ชีวิตอย่างนั้นไม่ได้ การสูญพันธุ์จะเกิดขึ้นอีกไม่นาน มีการประเมินกันว่า ทั้งระบบแม่น�้ำ โขงแต่ละปีควรจับปลาบึกได้ไม่เกิน 10 ตัว ต่อปี ไม่ว่าจะจับได้ด้วยความบังเอิญหรือตั้งใจ

103


ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ชาวประมงจับปลาได้น้อยลง เพราะมีจำ�นวนชาวประมงเพิ่ม ขึ้น ขณะที่ทรัพยากรปลามีเท่าเดิม มีส่วนแบ่งมีตัวหารเพิ่มขึ้นเรื่อย ขณะที่ประชากร ปลาของทั้งหมดแพร่พันธุ์ก็ทำ�ไม่ทัน ทำ�ให้มีการลดจำ�นวนชนิดลงอย่างค่อนข้างจะเห็น ได้ชัด จากการสอบถามคนประมง หรือคนในท้องตลาด จะพบว่า จำ�นวนชนิดของปลา ที่มาจำ�หน่ายในท้องตลาดมีน้อยลง การสร้างเขือ่ นจะมีผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ ต่อแม่น�้ำ ชาวประมงพืน้ บ้าน ทีอ่ าศัยบริเวณ ลุ่มแม่น้ำ� ตั้งแต่กลางน้ำ� จนถึงปลายน้ำ� จะมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้าน มาก ส่วนผลประโยชน์ทไี่ ด้จากพลังงานจะไปป้อนสูค่ นกลุม่ เล็กๆ เมืองใหญ่ๆ เมือ่ เปรียบ เทียบกันแล้ว คนกลุ่มเล็กมีความสามารถในการปรับตัว การจัดการต่อความต้องการ พลังงานได้ง่ายกว่าการที่จะให้คนกลุ่มใหญ่ที่เป็นคนยากจนต้องเปลี่ยนวิถีชีวิต และ ประสบความยากลำ�บากในพื้นที่ แล้วอาจจะต้องเข้ามาอยู่ในเมือง และสร้างความ ลำ�บากหรือปัญหาทางสังคมต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย

104


105


สามเหลีย่ มปากแม่น�ำ้ โขง

แหล่งปลูกข้าวโลก เวียดนามกลัวอดตาย ชาวเวียดนามกำ�ลังให้ความสนใจที่สุด จับตาอย่างจริงจังที่สุด ใกล้ชิดที่สุด ถึง การเปลีย่ นแปลงทีก่ �ำ ลังเกิดขึน้ อยูบ่ ริเวณ “ต้นแม่น�้ำ โขง” ตัง้ แต่การสร้างเขือ่ นขนาด ใหญ่ในจีน การเปลี่ยนแปลงต้นน้ำ�ในลาว ไทย และกัมพูชา เพราะเป็นประเทศเดียว ที่มีประสบการณ์มาแล้วในช่วงสงครามญี่ปุ่นยึดสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ�โขง เวียดนาม ยึดข้าวที่ปลูก ผลก็คือ ชาวเวียดนามทางเหนือนับล้านคนเสียชีวิต เพราะอดข้าว

106

เวียดนามมีความหวั่นเกรงที่สุดว่า ดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ�โขงจะได้รับผล กระทบกระเทือนจากการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางน้ำ�ตามธรรมชาติของแม่น้ำ�โขง ที่น�ำ ความอุดมสมบูรณ์มาให้แก่ชาวเวียดนาม เพราะนั่นหมายถึงชีวิต แม่น้ำ�โขงที่ให้ ชีวิต ให้อาหารแก่ผู้คนชาวเวียดนาม


107


จุดปลายแม่น�้ำ โขง มาถึงดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ�โขงของเวียดนาม แม่น�้ำ โขงเดิน ทางจากภูเขาหิมะมาถึงดินแดนเวียดนามแล้ว ได้แยกเป็น 9 สาย ที่ชาวเวียดนามเรียกเป็น มังกร 9 ตัว แยกสายกันต่างคนต่างลงไปสู่ทะเลจีนใต้ 1 ใน 9 สาย คือแม่น้ำ�เตียน ที่แบ่งเป็น 2 สายใหญ่จาก 9 สาย คือแม่น้ำ�เตียนกับ แม่น้ำ�เห่า เตียนคือ หน้า เห่าคือ หลัง นี่คือสามเหลี่ยมแม่โขงอันลือเลื่องของเวียดนามใต้ นีเ่ รียกว่า อูข่ า้ วอูน่ �้ำ ทีแ่ ท้จริงของเวียดนาม อูข่ า้ วอูน่ �้ำ ของโลกก็ยงั ได้ ข้าวทีป่ ลูกในสามเหลีย่ ม แม่โขงของเวียดนามส่งขายไปทั่วโลก เวียดนามมีที่ราบใหญ่ 2 จุด ข้างบนนั้นเป็นแม่น้ำ�แดง คือจุดที่เพาะปลูกได้ แต่สู้ที่สามเหลี่ยมไม่ได้เลยเพราะสามเหลี่ยมปากแม่โขงนั้นมีพื้นที่ถึงแม้ 12% ของทั้งประเทศ แต่ปลูกข้าว 60% นอกนั้นเป็นผลไม้ เกือบจะเกิน 60-70% ของ เวียดนามมาจากบริเวณลุ่มแม่น้ำ�โขงที่แยกเป็น 9 สาย ที่นี่เป็นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของ เวียดนาม เป็นตัวพิสูจน์ตะกอนที่พัดพาจากต้นน้ำ�มาจนปลายทางของแม่น้ำ�โขงมาสร้างความ อุดมสมบูรณ์สุดยอดของแม่น้ำ�โขง

108


109


ดินแดนแห่งนีเ้ ต็มไปด้วยความคึกคัก และผลผลิตทางด้านเกษตรทีส่ �ำ คัญคือข้าว ซึ่งแข่งกับประเทศไทยในหลายๆ ด้าน ปีนี้อุดมสมบูรณ์ทีเดียว สามเหลี่ยมแม่โขงมี ความอุดมสมบูรณ์ที่สุดของเวียดนาม 70-80% ของการผลิตข้าวและพืชพันธุ์ ธัญญาหารมาจากสามเหลี่ยมแม่โขง ปีนี้ที่นั่นได้ผลผลิตดี สามารถปลูกข้าวได้ผล 80-110 ถังต่อไร่ ดีกว่าไทยเป็นเท่าตัว เขาปลูกได้ 2-3 ครั้งด้วยซ้�ำ ไป ราคาที่ส่ง ออกก็แข่งขันกับประเทศไทยได้ ฉะนัน้ เวียดนามเป็นคูแ่ ข่งทีน่ า่ กลัวสำ�หรับประเทศไทย ในการส่งออกข้าว คนเวียดนามกำ�ลังกังวลและส่งเสียงเรียกร้องไปถึง “ประเทศจีน” พี่เบิ้มใหญ่ ของเอเชีย ทีอ่ ยูท่ างต้นน้�ำ ว่า หากแม่น�้ำ โขงมีอนั เป็นไปหรือเปลีย่ นแปลงไปโดยสายน้�ำ ทีไ่ หลจากเหนือลงใต้นี้ ชาวเวียดนามจะต้องรับชะตากรรมทีห่ นักหน่วงที่สุด การสร้าง เขื่อนที่เมืองจีนตลอดทางลงมา เกิดผลเสียสิ่งที่เห็นชัดที่สุดคือบริเวณสามเหลี่ยม แม่โขงแห่งนี้

110


111


หากความอุดมสมบูรณ์นี้สูญสิ้นไป ผลก็คือ ชาวเวียดนามต้องถึงขั้นอดตาย คำ�พูดนี้ไม่ใช่พูดด้วยความกังวล ไม่ได้พูดขึ้นมาอย่างเลื่อนลอย แต่เกิด จากประสบการณ์ชีวิตของชาวเวียดนามเอง ประวัติศาสตร์บทเรียนนี้ได้เกิด ขึน้ ให้จารึกไว้ในเวียดนามมาแล้ว เมือ่ เกิดสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง กองทัพญีป่ นุ่ ได้บุกเข้ายึดสามเหลี่ยมแม่น้ำ�โขงในเวียดนาม พร้อมทั้งยึดอาหารและข้าวไป ทั้งหมดเพื่อส่งเป็นอาหารให้กองทัพญี่ปุ่น เวียดนามยังจำ�บทเรียนนั้นได้ ชาวเวียดนามทางเหนือที่อยู่ในเขตภูเขา ที่ราบสูง ไม่สามารถปลูกข้าวได้พอกิน ผลก็คือ ชาวเวียดนามทางเหนือตาย ไปเพราะอดอาหาร เกือบ 2 ล้านคน (ข้อมูลจากความทรงจำ�) การเดินทางของ “สุทธิชัย หยุ่น” ตั้งแต่ต้นทางแม่น้ำ�โขงประมาณ 4,200 กว่ากิโลเมตร จะมาจบที่สามเหลี่ยมแม่โขง จากเมืองใหญ่ที่สุดของ บริเวณนี้ “หมีถ่อ” บริเวณปากน้ำ� 1 ใน 9 สาย ก่อนจะไหลลงไปสู่ทะเลจีน จากนี้ไปอีกประมาณ 50 กิโลเมตร นี่คือจุดปลายทางที่แม่น้ำ�โขงแสวงหา ต้นน้�ำ เดินทางมาตลอดทัง้ หมด 6 ประเทศ นีเ่ ป็นประเทศสุดท้ายของการเดิน ทางสำ�รวจความเหมือนและความแตกต่างของวัฒนธรรม วิถชี วี ติ เสียงเล็กๆ ของคนสองฝัง่ แม่น�้ำ โขง มาเห็นทีน่ รี่ เู้ ลยว่าความสำ�คัญของแม่น�้ำ โขงนัน้ ในทุก จุดอาจแตกต่างกัน แต่ความสำ�คัญต่อชีวติ ความสำ�คัญของความหมายการ อยู่ร่วมกันกับธรรมชาติให้ได้

112


113


ไม่มที ไี่ หนเห็นโดดเด่นชัดเจนเท่ากับทีเ่ วียดนาม แห่งนี้ ผู้คนบอกผมว่าถ้าไม่มีแม่น้ำ�โขงที่แตก เป็น 9 สาย จะไม่มีชีวิตอยู่ที่นี่ ชีวิตของสองฝั่งแม่น้ำ�โขงมองว่าไม่ใช่แม่น้ำ�ธรรมดาที่ไหลผ่าน แต่เป็นต้นตอ แห่งความอยู่รอด เป็นที่ให้อาหารการกิน เป็นที่ก่อเกิดของวัฒนธรรมความเป็นอยู่ การประมง การเพาะปลูก การเดินเรือ การติดต่อของเวียดนามกับโลกภายนอกที่ ลงไปในทะเลจีนใต้มีความสำ�คัญอย่างยิ่ง ในหน้าน้ำ�จะมีน้ำ�ท่วมขึ้นมาอย่างน้อย 3 กิโลเมตร ทำ�ให้เวียดนามสามารถอ้างสิทธิ ที่นี่จึงกลายเป็นสิ่งที่คนเวียดนามถือว่า เป็นทรัพย์สมบัติที่ต้องรักษาสุดชีวิต ขณะเดียวกันเป็นจุดที่ไหลไปสู่ทะเลจีนใต้ที่จะต้องจับมือกับประเทศอื่นๆ ใน บริเวณนี้เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ บางครั้งความขัดแย้งเกิดจากการตีเส้น การที่ ธรรมชาติทำ�ให้แบ่งทรัพย์สมบัติแตกต่างกันไป แต่เวียดนามก็เหมือนกับประเทศที่ อยู่เหนือแม่น้ำ�โขง ไม่ว่าไทย ลาว กัมพูชา พม่า รวมไปถึงจีนตอนใต้ ทั้งหมดคือ เพื่อนร่วมสายน้�ำ ที่ปลายสุดนั้นมีคนเวียดนามขอให้คนที่อยู่ต้นน้ำ�ช่วยกันปกปักรักษาแม่น้ำ�โขง เพราะว่านี่เป็นสายน้ำ�สายเดียวที่คนหลายสิบล้านสองฝั่งแม่น้ำ�โขงสามารถอยู่รอด ปลอดภัยจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ที่นี่ทำ�ให้สามารถรำ�ลึกว่าจิตวิญญาณของการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ แม่น้ำ�โขง เป็นแม่น�้ำ พยศชัดเจนโดดเด่นอย่างยิ่ง เพราะว่าที่นี่สายน้�ำ แรงและเชี่ยว แต่แม่น้ำ� โขงบอกว่าถ้าหากไม่ดแู ลกันให้ดี มนุษย์ไม่สามารถอยูร่ ว่ มกับธรรมชาติได้ ปลายทาง ทีเ่ ป็นตัวพญานาคหรือตัวมังกรอาจปรากฏให้เห็นว่าหางของพญามังกรฟาดขึน้ มาเพือ่ ให้เห็นว่าถ้าหากธรรมชาติผิดเพี้ยนไปเพราะมนุษย์ จะแสดงอาการพยศให้เห็น ตอนท้ายๆ ของสายน้�ำ แห่งนี้

114


115


The lost horizon found

T

his is the first in a series of articles called “Mekong the Untamed”, based on the upcoming television shows in which Suthichai Yoon and his team track the source of the Mekong River. Our 4,880-kilometre journey takes us from Dali to the source of the Mekong in Qinghai province. After a good start, we take a break in the area now called Shangri-La. We began in southern Yunnan, just north of the spot in Xishuangbanna where in 1866 Captain Ernest Dudart de Lagree, leader of the French “Mad about Mekong” expedition, had died from a sudden illness. Lagree was replaced by his deputy, Francis Garnier, who led the expedition on to Dali. There the trip ended after two years. The French expedition has to be mentioned when it comes to exploring the source of the Mekong. The

116

naval officers, geographers and botanists made their way from Saigon as far up the Mekong as they could manage. The explorers proceeded up the river in grand style, first in gunboats, then on barges, elephants, horses and palanquins, accompanied at various times by dozens of porters and armed escorts. The team’s two-year, 5,392km journey took it through Vietnam, Cambodia, Laos, Thailand, Burma and China, where it reached as far as Dali. Hoping to speed the colonisation of Indochina and neighbouring countries, the explorers found that the Mekong, with its ubiquitous rapids, was not an ideal communication route, In Shangri-La we came face to face with the Tibetan region’s towering Meili Snow Mountain Range, which is sacred to the inhabitants.


117


118


There are 13 mountains, each topping 6,000 metres. This was where a team of 13 Chinese and Japanese explorers disappeared in a snowstorm. Just the same, Shangri-La is an ideal place to stop over for a good time-it’s said you’re closer to heaven. Of course much of the locale’s popularity has to do with the novel “The Lost Horizon”. You’ll want to come here if you’ve read it. In 1933, James Hilton, an English writer of modest repute, published a small novel about a sacred utopian kingdom hidden away in the Himalayas, in a place that strongly resembled Tibet. It was the story of a man named Hugh Conway and three companions whose plane crashed in a hermetic kingdom overseen by a Buddhist

lamasery. The lamas exercised a benevolent and mystical rule over a society where people lived for 200 years, and gloriously, possessed modern plumbing! Hilton called the place he conjured up Shangri-La. The name entered the English language as a metaphor for a perfect place, and the notion captivated the imaginations of moviemakers. Among other appropriations, it now shares its name with one of Asia’s finest hotel chains. James Hilton, whose other principal novel is the schoolboy classic “Goodbye, Mr Chips”, was not much of a traveller, preferring instead to draw his inspiration from the pages of glossy magazines like National Geographic, which had become a

rage in the 1930s. Shangri-La, it was widely speculated, must be in Zhongdian county, straddling Yunna and Sichuan provinces, and part of the Tibetan region. In 2001 the county was renamed Shangri-La as a gimmick to stimulate local tourism, the Chinese government insisting it was indeed the location of the kingdom unveiled in the novel. These days, visitors come to see the sacred mountains. I must admit they do turn heavenly at dawn and dusk. One of the reasons for me to be in Shangri-La is to meditate. The landscape calms my mind. I’m glad I’m able to meditate and turn the giant dharma wheel at a temple.

Shangri-La is the gateway to the Mekong River, which is known as Lancang to the Chinese. It’s where you can see three rivers flowing in parallel: the Lancang, the Salween (Nu in Chinese) bound for Burma, and the Yangtze. 119


Seeking more than Shangri-la

A

fter a period spent acclimatising in Kunming, we were finally in the highlands of Shangri-la on our way to the source of the Mekong River in Qinghai province. So we decided to break the journey and stay a few nights in this heavenly landscape. Given its altitude and freezingcold weather, a degree of physical fitness is necessary if you are to enjoy Shangri-la. French, Japanese and even local explorers have lost their lives here over the past century. Concerned about the health risks, we had sought medical advice. We learned it was vital to keep an oxygen canister handy in these high mountains, where the thin air can bring you to your knees in minutes.

120

As we were leaving for the Shangri-la trek, a Chinese doctor offered a word of advice: try to slow down the pace to allow enough time for your bodies to adjust to the new conditions. Soon after arriving, we heard of a tourist who had to be rushed to hospital in the middle of the night. The doctor’s health advice came with a surprise: trekkers under 40 need to pay more attention to their health than those in their 50s. The older you are, the better your body acclimatises. All of us needed to have our blood pressure checked regularly and some resorted to taking Chinese herbs or Viagra pills for better blood circulation.


121


We stood in the thin air 3,800 metres above sea level, surveying three rivers running in parallel: the Salween (the Nu, in Chinese) flowing to Burma, the Yangtze and, there in the distance, the Mekong - or Lancang as the Chinese know it. I couldn’t wait for a closer view of the goal.

Each stage of our journey so far had meant planning for a step up in altitude and a drop in temperature. We had come from Bangkok, which lies five metres above sea level, to southern China’s Kunming, a jump of 1,800 metres. Then we headed for Dali at 2,400 metres before climbing to the 3,270-metre highlands of Shangri-la in Zhongdian county. Our destination in the peaks of Qinghai soared to over 5,005 metres.

122


The temperature in Shangri-la when we arrived last November was minus-2 degrees celsius during the day, falling to minus-9 at night. From Zhongdian, we navigated a route through the mountains, taking dirt tracks that clung to the cliff tops. What lay ahead was snow, ice, whipping winds and dazzling sunshine. Considered by the locals as the gateway to the source of the Mekong, Shangri-la is caught in the jaws formed by the sacred Meili Snow Mountain Range. Each of its 13 sacred peaks soars above anything Thailand has to offer - once you’ve seen these mountains, the molehills back home quickly lose their attraction. Entering Shangri-la, we made our way through hillside villages surrounded by rice paddies and lakes. The locals dry their produce - vegetables, fruit and rice - on the thatched roofs of their homes as a traditional way of preserving the food. Five hours into the journey, we began to smell the fresh tang of a big river. But it wasn’t the Mekong. We

were at the foot of the snow-capped White Horse Mountain whose summit towered over us at 5,460 metres and whose flanks are wrapped by not one but two mighty rivers, the Salween and the Yangtze, known locally as the Golden Sands River. Our journey was made easier by the network of dirt roads that offer easy access to the villages up in the hills. Running alongside them were power poles and telephone lines, piping in the modern world to these remote settlements. Almost every house we passed had a satellite dish and a telephone. Trekking into a village tucked deep in the mountains, we were surprised to discover we could check our e-mails on the available Internet service. The Chinese government, it seems, know the value of modernity.

123


124


The mountain’s lesson

T

owering over northern Tibet, the peak called Khabadkar-po tolerates no humans at its summit. The TV series co-hosted by Suthichai Yoon marches on. We pushed north towards Dechen, the northernmost Tibetan town in Yunnan, a town of some 20,000 people in the embrace of a mountain’s folds. Right in front of us was the Meili range, which the Tibetans call the Khabadkars. Its highest peak, Khabadkar-po - Kawa Karpo to the Chinese-rises to 6,740 metres above sea level and is one of 13 prominent summits in the range. Khabadkar-po remains unclimbed despite a series of attempts by local and foreign climbers since 1902. A bid in 1991 by a Japanese-Chinese team ended in tragedy: All 17 team members were killed in a huge avalanche.

There are now 17 cement stupas on the mountain, erected as memorials. Local people in the villages nearby interpret this tragedy as the mountain gods’ revenge against intruders. For Tibetans, who regard it as a sacred mountain, these unsuccessful climbing attempts are explained by a local belief that the mountain is guarded by gods who wish to maintain its virginity. The Chinese government has banned further attempts. Many Tibetans at least once in their lives try to visit two sacred places. One is the Jokhang in Lhasa, “the St Peter’s Basilica of Tibetan Buddhism”. The other is Khabadkar-po, where most are content to make a pilgrimage on foot around its lower circumference. They come once every 12 years, during the Year of the Sheep, to pray to the gods of the mountains.

125


126


The pilgrims take between 10 and 14 days to circumnavigate the mountain’s girth, following a well-trodden trail and camping each evening in the snow. Some even crawl the distance on hands and knees. Near Khabadkar-po is the Lancang River, as the Chinese call the Mekong. The locals call its five sweeping turns of direction the Crescent Bends.

You see the snow-capped peaks above and the Lancang below and begin to realise that the river comes from those mountains, where the ice and snow melt to create a little stream that grows into a mighty river. Next to the highest peak is the Lady peak, known as Miancimu, shooting to 6,054 metres and considered Khabadkar-po’s majestic wife.

127


We were just journalists trying to understand the local ways and convey some insights to our readers and viewers. We were stunned by what is a fact of life here: Man can never conquer everything in nature - it is nature that controls our survival. Man needs to adapt to survive in nature.

Beyond we saw two other rivers, the Jinsha, otherwise known as the Yangtze, and the Nu - the Salween, flowing to Burma. The three rivers come together in parallel before branching out in different directions to serve the needs of millions of people further downstream. The 13 peaks are their guardians. The Tibetans call them “the 13 princesses�, protecting the three rivers for the benefit of the masses. Standing here, I felt that the mountains were unconquerable, symbolic of the mighty power of Mother Nature.

128


129


The Lancang’s shifting mood

O

ur team continued apace in northern Yunnan, near the Tibetan border, coming to a mountain summit 3,000 metres above sea level. Seeing the Lancang below, I wondered what, if the river could speak, it would tell me. I could hear its voice, the furious gushing of the current. It seemed to me that the river could continue flowing forever to nourish the millions of mortals downstream. I asked myself whether the Lancang might be able to send out a message of sharing and unity to those people. If it managed to get that notion across, maybe people of different opinions could see the importance of making the best of

130

the river, so that it might be used for the benefit of all mankind, not just any one individual country. If the river could speak of peace, ethnic reconciliation and respect for the spirit of humanity, there should be no problems along its course. I imagined the Lancang might want to say this: All of humanity flows from the same stream, from holy Mother Nature. So why not protect Nature, to ensure that the river is of use to all parties, so that we can avoid using political turmoil to achieve our ends? I sincerely hoped just such a message might be carried all the way along the Lancang’s length.


131


River Sunset

I

n this part of the Tibetan Plateau, which is itself the source of the three great rivers - the Yangtze, Lancang and Salween - there’s an ominous sign of water sources under threat. Over the past 10 years global warming has contributed to the gradual depletion of ice fields. In the next 12 years, it’s believed half of the existing ice will disappear. In 25 years the water source might just dry up. This has never happened in the past century. Certainly the main culprit is climate change. As if by magic, all these rivers come from the same source. It’s a modern calamity if this one source is in peril of evaporating. However, sitting by the Lancang on this moonlit evening, I could still see the snow-capped peaks and hear the river surging below. But then a pale shimmer of reflected moonshine on the water

132

ushered in a strangely warm and romantic shift in the night, despite an icy wind. It was easy to succumb to this mantra, fantasy - or self-delusion, if you like. Whatever it was, the Lancang on closer scrutiny was anything but calm. It was always furious with its raucous rapids and endlessly gushing undercurrents. It felt so different looking at the Mekong beneath a full moon back in Nong Khai, even though it was the same moon. Later it dawned on me that the river’s mood swayed from day to night. By day the roaring current seems uncontrollable. Come darkness and the river won’t give too much of itself away. Looks can be deceptive, and you need to feel the river’s flow first-hand to realise its true identity. The Lancang was expressing the dual moods on the Chinese and Tibetan sides.


133


134


LANCANG PURSUIT

O

ver the last two days we kept following the river’s course towards the Tibetan border. We made our way as far as a village called Fusan, the last on a trail leading upwards to the Tibetan Plateau. The road seemed under repair, with piles of gravel on both sides. It was a long, rocky ride to the border. Here the river divided the land between the Tibetan and Chinese frontiers. Soon the barren landscape was jolted to life with the thickening of Tibetan villages, all overshadowed by terraced rice paddies. A herd of cattle and yaks soon came into view. On the Tibetan side, most houses flew Chinese flags, perhaps

suggestive of the still-tense political climate following last August’s unrest in Lhasa. To our surprise, the food here was in bountiful supply: pork, chicken and several kinds of vegetables. We’d thought it was going to be another day of hunger. The villagers raised black chickens, which they believe are healthier than the regular variety. We were hoping to have blackchicken tom yum in Tibet, but unfortunately couldn’t come up with all the spices we needed. Near the village stood a border checkpoint. Here it was the mountains, the sun and the cold. We continued chasing the horizon.

135


The trance of the Snow Mountain

W

e trekked up the Hongla Snow Mountain in the Tibetan Plateau today, hoping to cover 200 kilometres on our way to Ch’ang Tu in southeastern Tibet. The road was covered with snow and ice. Despite the strong sunshine, an icy wind kept blowing. At 4,200 metres above sea level the mountain seemed the most inhospitable place, with its harsh, freezing conditions. To our surprise, we came across various kinds of expensive herbal plants growing in the hills. The views were stunning too, and that’s why our hearts were beating quickly in an ecstatic thump. Later, on some parts of the mountain, there were immense

136

expanses of greenery, with herds of yak grazing the grasslands dotted with pockets of snow. We found many evergreen perennials growing in the pine forest. We later found out that Tibetans collected pine branches to use in rituals worshipping the guardian spirit of the forest. Seeing the prayer flags, you realise the strength of the people’s faith in nature and their respect for it. At this altitude it was hard to believe that the mountain was home to a breed of rats that could weigh up to 20 kilograms. Soon we began to feel the enervating effects of the altitude and high pressure. The Tibetans are more acclimated to the thin air because they’re raised at high altitude.


137


The thin oxygen over time has a progressively debilitating effect, and in critical cases can cause illness and death. Some of us had bloodshot eyes and started displaying strange behaviour. Our cameraman, Pipop Panichpak, suddenly seemed terribly busy, flitting about mumbling or pacing up and down a dirt track. Later he admitted that he’d no idea what had happened to him. At times it felt like we were in a trance in such a conducive climate. The locals pointed out that, up here, we were close to God, and that’s why we were all in a good mood. But the people who had been monitoring our progress were extremely concerned about our safety. I was thinking that, if we could make it a bit farther, we’d probably get to meet God ourselves somewhere on the plateau. Then the journey took us to a mountain rising 5,000 metres, near a town called Pang Ta. The trail led westward to Lhasa and north to Ch’ang Tu. Standing up there, I felt the strong sunshine and the freezing wind. What interested me was how the snow was melting away and forming the headwaters of the rivers.

The melting snow of this mountain flowed into three great rivers of Asia: the Yangtze, the Lancang and the Salween. 138


These were the rivers of humanity flowing in parallel. One drop of water turned into the Yangtze, another the Lancang, and yet another the Salween, creating different civilisations, cultures and ways of life. Right here, we knew we were close to the headwaters of the Lancang. We kept going north to find its source. At last we reached Ch’ang Tu, where two rivers converge to form the Lancang. Seeing the Lancang here, I couldn’t help thinking of Paknam Po in Nakhon Sawan, where two rivers come together just like this to form the Chao Phya. But here you could see that one river was clear, the other quite muddy. So the locals called the Lancang the two-coloured river. Before I got here, I’d thought Ch’ang Tu was just a lifeless, desolate outpost covered with snow, but we discovered that it’s quite a modern city with high-rise buildings and brand-name products. It’s just like any other city where you can get whatever you want. Surrounded by mountains, with the Lancang cutting through its heart, Ch’ang Tu is Tibet’s second commercial hub. In the fields are greenhouses, herds of yak and farms. On the city streets you see local girls dressed fashionably.

139


History’s headwaters

T

he team pause on the shores of Yunnan’s Erhai Lake to ponder the birthplace of kingdoms and legends. Our quest to find the source of the Mekong began right here in Yunnan’s Dali, the ancient city famed for Erhai Lake, China’s secondlargest highland lake. It was here, 143 years ago, that members of the celebrated French Mekong Expedition ended their two-year journey along the Mekong from Saigon, satisfied they had found the true source of the mighty river. In 1866, as European explorers and colonists delved deeper into the world’s remote corners, the French dispatched an expedition of naval officers, geographers and

140

botanists with orders to journey from Saigon as far up the Mekong as they could manage. Their primary task was to determine how the Mekong could be used as a trade route and as a vessel to speed French colonisation. Following the take over of Vietnam, Cambodia and Laos, the next country in the colonists’ sights was China, which the French wanted to capture by the backdoor. They saw the Mekong as the gateway to the prize, following the example of the British, who had used the Salween to seize Burma. This was the idea that drove the first leader of the expedition, Captain Ernest Doudart de Lagree, and his successor Francis Garnier, who led the way into Dali after an

arduous two years on the river. We follow precisely Garnier’s chosen route to Erhai Lake by way of Xishuangbanna. This is where the Frenchmen realised that the Mekong, with its ferocious rapids and perilous gushing flow, would hold up rather than speed up an expansion of French colonialism in the region. Before the French, the Mongol warrior Kublai Khan had made it to Dali as he rolled through China, finally stumbling on the Mekong, down which he sent his armies. Eighteen years later in 1271 he became the first emperor of the Yuan dynasty. His Mongol hordes also swept through swathes of Southeast Asia, including what is now Thailand and

Laos, coming to a halt at Angkor, where the Khan left an ambassador to keep an eye on things. We Thais know Dali through its many connections with our history - one theory says the Thai people originated in Nanzhao Kingdom, established here in 738. It’s disputed by some historians, who point to evidence that Thais were growing rice in what is now modern-day Thailand long before people arrived from Dali. Whatever the truth, Dali is the focus of legends that still echo across cultures. Central to the traditional beliefs of ethnic groups from the Bai in Dali to the Lao, the Thai and the Burmese is the legend that Erhai Lake - Nong Sae to Thais - is


the source of the Mekong and the birthplace of Phya Tan (the God of Rain) as well as the Naga Serpent King. The city of Dali attracts a steady stream of tourists with its age-old charm and fascinating history that goes back to the great kingdoms of Nanzhao and Dali. But visitors can also expect to

be hooked on the breathtaking landscape, which has people talking of the place as an “earthly paradise”. The real attraction is Lake Erhai - literally “ear-shaped sea”. Feeding the Mekong’s headwaters, Erhai sits at the base of the imposing Cangshan Mountain, 1,972 metres above sea level. Stretching 41

kilometres between the village of Jiangwei in the north to Xiaguan on the outskirts of Dali in the south, Erhai’s surface covers about 251 square kilometres, making it Yunnan’s second-largest lake. Also worth exploring is Dali Ancient City, which embraces Erhai Lake in the east and Cangshan Mountain in the west.

Here, we take in the haunting sight of the Three Pagodas. Legend has it they were built to protect the city from a lake-dwelling dragon. Leaving Dali, we had a long path ahead on our quest for the true origin of the Mekong, which lies in the snow-capped peaks of Tibet beyond the land they call Shangri-la.

141


142


Dai in deep water

W

ading further upstream, the team encounters the Tai Lu of Xishuangbanna and an ancient kinship that’s being swamped. Our voyage to find the source of the Mekong brought us to Chiang Rung (Jinghong), the capital of the Xishuangbanna administrative region in Yunnan. Here we met the Dai (or Tai Lu) who share an ancient cultural, linguistic and religious kinship with their folk in Chiang Mai and other northern Thai provinces. But here on the Mekong, life is changing. Over the past few decades, ripples of China’s prosperity and tourism boom have spread to Xishuangbanna, which has become one of the country’s most popular destinations. There’s also been a growing feud between locals and newly arrived Han Chinese businessmen, who

set up shop here to capitalise on the flood of visitors. So I was determined to gauge the impact of tourism on life in Xishuangbanna. We were lucky indeed to stumble upon a string of interesting contacts. We met Chao Mom Khamlue, the former 41st king of the 800-year-old Xishuangbanna dynasty. We were received with a big plate of starfruit plucked from his trees at Chiang Rung palace. The Xishuangbanna dynasty is recognised these days for establishing the first Dai kingdom in Xishuangbanna, which pre-dates our own Sukhothai kingdom. Despite a generous share of palace intrigues, the throne managed to survive for almost a thousand years. Unlike Thailand, females of the dynasty were permitted to take the throne of Xishuangbanna. We found the former king in fabulous health for an 81-year-old.

He told us that he spends most of the year at his residence west of Kunming but come winter takes up residence in his palace in Xishuangbanna. The Dai people still speak the ancient language of Tai Lu, a dialect spoken in Chiang Mai. Any ordinary Thai would understand 70 per cent of the Tai language. Identical to the Lanna script, the Tai alphabet looks nothing like written Thai, which borrows a lot from Sanskrit, Pali and Khmer. It’s worth remembering that the Dai call their bedroom suam, which has somehow come to mean toilet in Thai. One reason Chiang Rung was an important juncture on our journey was because this is where the word Mekong originated. The locals call the river Nam Khong (Mekong), which is echoed downstream through Burma, Thailand, Laos and Vietnam.

143


To the Chinese, it is Lancang, but there’s confusion about the name’s origins - does it mean “land of a million elephants” or refer to an ancient kingdom in Laos? In truth Lanna and Lancang are references to the old kingdoms that centred on Chiang Mai and Luang Prabang (or Xieng Thong). Chiang Mai, Xieng Thong and Chiang Rung share the same cultural, religious and linguistic heritage. But in Chiang Rung the Mekong is more than just a river. Flowing from the north and dividing Xishuangbanna into western and eastern halves, the mighty current is called the nam mae by locals (a reversal of the Thai mae nam), or the “mother of water”. Considered the origin of life, it’s a source of water to drink and to wash with, a trade route and the waterway that irrigates rice paddies, fruit orchards and vegetable farms. It also teems with fish making their way downstream to lay eggs in Burma, Thailand, Laos and Vietnam. These days Chiang Rung has emerged as a new commercial hub, with its own electricityproducing dam and a deep-water harbour for ships. But while it seems that all roads lead to

144

Xishuangbanna, progress may have come at a cost to its much-prized ecological diversity. I saw several holes cut out of the surrounding forests, ready to be planted with rubber or coconut trees. Meanwhile, tourism is reshaping the cultural landscape. To mop up more tourist dollars, Songkran is being distorted and abused. Traditionally held to celebrate the Dai New Year, these days water is being thrown around every day as part of cultural performances. Outsiders - mainly Han Chinese - dress up in local garb to play the part of revellers. Other changes have a positive side. Though temples that were once free now charge an entrance fee, I was glad to discover that my money was going to help restore their old glory. The Dai’s most sacred temple is Wat Ratchakhan, whose grounds dotted with coconut and palm trees would be familiar to any Thai. The oldest, however, is Wat Pathep Tawana Aram, famed for its magnificent columns. The general impression I got, though, is that the profits from Xishuangbanna’s tourism boom are being reaped by the newcomers, not the Dai. Signs that Tai Lu culture is under threat were everywhere.


145


The lair of the Naga king

T

he team tails the river’s sacred serpent as it slithers through the ancient traditions of Luang Prabang. Following the course of the Mekong downstream from Yunnan to Vietnam, we decided to break the journey in Luang Prabang, the ancient capital of the Lao kingdom. Surrounded by hills and sitting 700 metres above sea level, Luang Prabang stands majestic at the confluence of the Nam Khan and Mekong rivers. It served as the ancient royal capital of the Lan Xang Kingdom until King Phothisarat moved the administrative seat to Vientiane in 1545. In 1995 the city was named a Unesco World Heritage site. But the thread of life that has run through Luang Prabang since ancient times is the Mekong. While ordinary folk rely on its water for their everyday needs, the religiously minded find serenity and a source of insight in the river.

146


147


Buddhism has thrived here for centuries on its banks. Luang Prabang, aka Xieng Thong, is home to 65 or so temples richly decorated in traditional Lao motifs. We were lucky to pay a visit to the city’s oldest temple, Wat Wisunarat (Wat Visoun). Built in 1513, it remained the abode of the famous Emerald Buddha until King Setthathirath of Lan Xang moved it to his new capital at Vientiane in 1564. Then in 1779, following Siam’s take-over of Vientiane, the Emerald Buddha was taken to Thon Buri before it found its present home in Bangkok during the reign of King Rama I who moved the image to Wat Phra Kaew on March 22, 1784. Then, there is Wat Mai Suwannapumaram, former residence of Laos’ supreme patriarch, where you can find the Tripitaka (the Pali Canon) written on the traditional palm leaves. A short walk away is the first of the 328 steps leading to the summit of Mount Phousi, where a panoramic view of the former capital city awaits. The real highlight for us was the Royal Palace Museum. Built for King Sisavang Vong between 1904 and 1909, it was the royal residence until the Communist Pathet Lao took control of the country in 1975. The last Lao king, Sisavang Vattana, fled to the northern jungles with his family, where they disappeared. We also enjoyed a trip to the Tham Ting (lower cave) and the Tham Thueng (upper cave) near the mouth of the Ou river. Two hours upstream from Luang Prabang, the caves are only accessible by boat and noted for a hoard of Lao-style Buddha sculptures gathered over the centuries by locals and pilgrims. The collection has been reduced over the years, from 6,000 to 2,000 images at the last count.

148


In days gone by, Lao kings paid ceremonial visits to the caves where they performed an annual ritual of bathing the sculptures. Near the caves is the mouth of the Ou, a spot believed to be the lair of the Lao Naga serpent king. Like Luang Prabang’s, the history of the Mekong swirls with myth and folklore. Tradition has it that the Laotians are children of the Naga king, who is the ultimate guardian of the river. Images of the serpent permeate the art showcased in temples and palaces. To many Lao people, the sinuous currents are still alive with the spirit of the Naga king, who they celebrate in an annual rocket-firing festival in Nong Khiad, a village across the river from Thailand’s Nong Khai.

149


The Laotians believe that another serpent king resides in Nong Sae, or Erhai Lake in Dali, Yunnan, from which the Mekong flows. Like many Thais, the Lao people trace their ancestral origins to the Nanzhao kingdom in Dali. Luang Prabang is also the locus of Theravada Buddhism. The enduring spirit of Lao Buddhism surfaces every morning on the streets of this ancient town. The scene we witnessed couldn’t have been more impressive: older women waited by the roadside with kettles of sticky rice which they scooped into the alms bowls of saffronclad monks in exchange for spiritual merit. Offering alms is a tradition that has endured through the centuries in Luang Prabang. White sticky rice, a symbol of purity, is favoured over the less auspicious black or brown sticky rice, considered the food of Mara, or demons. Leftovers of the day usually go to poor families from the surrounding hills. At some point Luang Prabang began to feel like home: the locals speak a tongue similar in tone and accent to the Thai dialect of the South. I could hardly believe my ears!

150


151


Dam and blast!

C

hina’s plans to turn the river into a major trade route are washing away lives downstream in Chiang Rai On the edge of the Golden Triangle, we trekked into controversy where the Mekong rages through Chiang Rai’s three districts: Chiang San, Chiang Kong and Wiang Kaen. From here the river wanders east to Laos before re-emerging in Thailand at Loei’s Chiang Khan district. But the watery tumult seemed tame compared with the one on the riverbanks: the villagers were complaining of a calamity befalling their communities as the Mekong’s ecosystem came under threat from China’s dam projects. I began hoping the river would somehow carry the voices of the millions who depended on it downstream all the way up to the powers that be big in that huge nation. I wondered whether the Chinese realised what impact the dam projects were having on those that live on the banks of the Mekong. The Chinese are going to build 15 more dams on the river and blow up islets and boulders in 21 spots to make the route accessible to 500-tonne cargo crafts. The belief is that shipping cargo to trading posts downstream in Thailand’s Chiang San and Chiang Khong will be more cost-efficient than using air and land routes. And the Chinese are determined to achieve that goal no matter what. Meanwhile, the dams are needed to meet China’s rapacious energy demands. The Thai locals are unsympathetic, pointing to the damage to the river’s ecology they say the dams are causing.

152


153


I could hear the rage, flowing as strong as the Mekong’s current, in the villagers’ words as they described how last August, villagers along the banks in the three districts were inundated after a flash flood. They blamed it on the opening of several dams in China’s Yunnan province, including the huge barrier in Jinhong, the capital of Xishuangbanna administrative region. In just five minutes, the river level jumped half a metre. Unseasonable high and low tides that disrupt river life were also attributed to the Chinese dams. Fish, for instance, find it hard to adjust to the river’s changing ecology.

154

One research project shows that the river junction in the Golden Triangle used to boast 65 types of flora that formed the food source and habitat of river creatures. Locals say that Mekong giant catfish lay their eggs around the local islets and boulders that have been earmarked for blasting. Another study found that the lower stretches of the Mekong were capable of yielding fish catches of 1-1.3 million tonnes per year and the middle stretches 0.9-1.2 million tonnes, worth overall Bt105 billion to the local economy.


There have already been attempts to blow up islets in the Chiang Rai Mekong. Somkiat Khuenchiangsa, co-ordinator for the Natural Resources and Mekong-Lanna Culture Conservation Network, says that China targeted Pha Dai in Chiang Rai, a scenic spot popular with tourists. Following villagers’ protests, the river there was spared. “That stretch is a habitat for several species of fish. But Chinese engineers consider the islets obstacles to their mega projects,” Somkiat says. He adds that Thailand and China shook hands on an agreement to remove the Mekong islets in that area, but local villagers were never consulted. “Luckily, locals and members of the Mekong Lovers group were all opposed to the blasting project.” Another area of islets that was saved from destruction was Khon Phi Long. I took a boat ride from Khon Phi Long to Pha Dai, and found out firsthand the drastic changes that locals’ lives have undergone. Huak, 50, has lived his entire life on the riverbank. He used to make Bt500 a day from selling fish he caught in the river. On a lucky day, he could make several thousand baht. Now, he says, he can go three days without catching a single fish. He’s watched many of his friends leave the village to seek work in the city. But he clings to the hope that the Mekong’s fertile ecology will be restored so that locals can once more depend on it as their lifeline. For now, the Mekong’s ordinary folk are finding it hard to make their voices heard and their way of life here seems to be steadily being destroyed. Fishermen are leaving their villages to labour in fruit orchards and farms. But the silent cry from the riverbank remains: stop hurting the Mekong, its plants, river creatures and people.

155


Stormy waters

O

ur team followed the Mekong as it flowed south to Tonle Sap (literally the Great Lake) in Cambodia. We came here to see first-hand how the Chinese dams being built upstream have altered the seasonal flow of the Mekong in countries like Cambodia and Vietnam. Many villagers, dependent on the great lake and the rainforests that it nourishes, believe that China’s dam-building projects are wreaking havoc on their way of life. The ancient lake, they feel, is increasingly under threat from modern human interference. Southeast Asia’s largest freshwater lake and an ecological hotspot designated a Unesco biosphere in 1997, Tonle Sap is home to more than 400 species of fish as well as 46 species of mammals and reptiles and 225 types of birds. With such awesome biodiversity, the Great Lake’s floodplain is one of the most productive inland fisheries in the world, supporting millions of people.

156


157


On the journey here, we had learned how China’s dams had already brought calamity to communities further downstream. Though Thailand has not yet built one, in the pipeline are two dams: one in Loei’s Pak Chom district and the other in Khong Chiam, Ubon Ratchathani. Dr Chavalit Witthayanon, an expert in freshwater fish, reckons the current state of the Mekong is worrying. He says just one downstream dam would simply “kill” the entire river’s ecosystem as it would bar seasonal migrations of several fish species including the giant Mekong catfish, which can grow to the size and weight of an adult water buffalo. And Chavalit fears that several fish species will be pushed to

158

the edge of extinction if river-blasting projects in China and elsewhere are not stopped. He says big fish reproduce upstream in places like Chiang Rai and return to their habitats and food sources downstream in Cambodia and Vietnam. The Mekong giant catfish live in deep water, and if a dam is built on the Thai-Lao border, says Chavalit, the creature’s life cycle will be squeezed, reducing reproduction. With the help of over-fishing they could soon disappear altogether from the river. Here at Tonle Sap, villagers have been reporting sudden and unseasonal changes in water levels as a result of the opening of upstream dams.


159


The Great Lake expands and shrinks over its floodplain with the seasons. During Cambodia’s dry season -- November to May -- Tonle Sap drains into the Mekong River at Phnom Penh. But when monsoon season begins in June, the Tonle Sap River that connects the lake with the Mekong reverses direction, allowing the water from the Mekong to back up to form an enormous lake the size of Ubon Ratchathani. Whether this cycle will continue in the future is in doubt, given increased disruptions to the river’s flow and its water level. What seems certain is that sooner or later the millions of people who depend on the lake will be mourning lost livelihoods. To them the waters are both a source of food and a natural flood barrier.

160


161


But right now, the lake’s floating villages are full of life. Phnom Penh is six hours away by boat but the lake surface’s residents have just about everything they need right here: groceries, coffee shops, pig and crocodile farms, schools and restaurants. Half of the villagers are Vietnamese, recognisable for their beautifully decorated houses. Many of the floating homes can be carried ashore during the dry season. But whereas they used to be moved to dry land only once every twelve months, these days the villagers head for the shore as many as 10 times a year as the lake level shoots up.

162

Life is lived at a leisurely pace in these floating communities. Villagers lie in their hammocks reading books, keeping one eye on the fishing rod beside them. Many, though, are living below the poverty line. Long used to seasonal fluctuations, it now seems these villages are in the grip of bigger changes. Who knows when the water will rise again as the floodgates are opened hundreds of kilometres upstream?


163


ธารน้ำ�แข็งในอดีตวัดเทียนซื่อ วัดโอรสสวรรค์ 164


165


ธารน้ � ำ แข็ ง ปี 2552 166


ธารน้ำ�แข็ง ปี 2562

167


Y Three Precious

Apa, the sun is rising did the moon go home? -- Emmm,right พ่อจ๋า พระอาทิตย์ขึ้น แล้วพระจันทร์กลับบ้านหรือเปล่าคะ -- ใช่จ้ะ Stars comes out where is the sun? เมื่อดวงดาวโผล่ออกมาแล้วพระอาทิตย์ไปไหนคะ? -- he is in the sky -- เขาอยู่ในท้องฟ้าจ้ะ Why I can’t find him? -- Because he went home ทำ�ไมหนูถึงหาเขาไม่เจอคะ? -- เพราะเขากลับบ้านไปแล้ว Sun, stars and moon are a happy family พระอาทิตย์ ดวงดาว และพระจันทร์เป็นครอบครัวที่มีความสุข Ama, when the leaves turns green how the flower goes out? แม่คะ เมื่อใบไม้เปลี่ยนเป็นสีเขียว แล้วดอกไม้ออกดอกได้อย่างไรคะ? -- She’s waiting for summer -- ดอกไม้ก�ำ ลังรอให้ฤดูร้อนมาถึง Flower turns red can I pick up the fruits? เมื่อดอกไม้เปลี่ยนเป็นสีแดง แล้วหนูจะเก็บผลไม้ได้ไหมคะ? -- Waiting for the fall -- ต้องรอฤดูใบไม้ร่วงก่อนจ้ะ Fruit in the soil can she Germinates? -- It will grow up ผลไม้ในผืนดินแตกหน่อออกมาได้ไหมคะ? -- มันจะเติบโตขึ้น Flower leaf fruit are a happy family ดอกไม้ ใบไม้ และผลไม้เป็นครอบครัวที่มีความสุข Baby -- Ah? ลูกจ๋า -- คะ? Papa shines Mama like the sunshine -- Then what about Mama? พ่อให้แสงสว่างแก่แม่เหมือนดังดวงอาทิตย์ -- แล้วแม่ล่ะคะ? Mama serves as contrast of Papa like leaf to flower แม่เป็นเสมือนสิ่งที่ตรงข้ามกับพ่อเหมือนกับที่ใบไม้มีต่อดอกไม้ -- Then what about me? -- แล้วหนูล่ะคะ You will grow up like a little seed -- Ahhahaha หนูก็จะโตขึ้นเหมือนกับเมล็ดพันธุ์เล็กๆ -- ค่ะ We three are a fortunate happy family เราสามคนจึงเป็นครอบครัวที่มีความสุขและมีโชค 168


169


170

เบื้องหลังการถ่ายทำ�


171


172

เบื้องหลังการถ่ายทำ�


173


174

เบื้องหลังการถ่ายทำ�


” ม อ ้ ล ด ว แ ง ่ ิ ส อ ่ ื เพ ้ า ต โย โต “ ร า ก ง ร โค 2 # g in k k re T n e re G Toyota

กิจกรรม Toyota Green Trekking ครั้งที่ 2 ภายใต้โครงการ “โตโยต้า...เพื่อสิ่ง แวดล้อม” ณ มูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรฯ อ.ชะอำ� จ.เพชรบุรี จัดขึ้นเพื่อเปิด ประสบการณ์ให้นกั เรียน นักศึกษา และประชาชนทัว่ ไป ได้มโี อกาสเรียนรูเ้ รือ่ งการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม และการเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนอย่างใกล้ชิดทั้งใน “ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน อุทยานสิง่ แวดล้อมนานาชาติสริ นิ ธรฯ” และในป่าชายเลนพืน้ ทีจ่ ริง อันจะเป็นการสร้างจิตสำ�นึก ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและป่าชายเลนเพื่อให้เกิดการขยายผลในวงกว้างต่อไป บริษัทฯ ได้เข้าไป ดำ�เนินการพัฒนา “ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธรฯ” และได้มีการดำ�เนินกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชายเลน และป่าชายหาด และร่วม กับองค์การกองทุนสัตว์ปา่ โลกสากล (WWF) สำ�นักงานประเทศไทย ในการจัดตั้งหลักสูตรใน การศึกษาและอนุรักษ์ป่าชายเลน การรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ� ทั้งน้ำ�จืดและน้ำ�เค็ม ชายฝัง่ ทะเลให้มคี วามหลากหลายทางชีวภาพมากขึน้ บอร์ดนิทรรศการ การเรียนรูเ้ ส้นทางนกอพยพ และระบบนิเวศป่าชายเลน ภายใต้งบประมาณการสนับสนุนเป็นมูลค่ากว่า 16,000,000 บาท (สิบ หกล้านบาท) ในระยะเวลาการดำ�เนินงาน 3 ปี โตโยต้า ได้คัดเลือกประชาชนที่มีความตั้งใจ และมีจิตใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการเข้า ร่วมกิจกรรมในครัง้ นีท้ งั้ สิน้ จำ�นวน 100 ท่าน เพือ่ เข้าร่วมเรียนรูถ้ งึ รายละเอียดของป่าชายเลน ผ่าน การเรียนรู้ใน “ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรฯ” รวมทั้งกิจกรรมการเข้าฐานที่มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมได้สัมผัสกับธรรมชาติป่าชายเลนอย่างใกล้ชิด โดย ทำ�การสอดแทรกองค์ความรู้ต่างๆ ผ่านกิจกรรมตลอดเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เพือ่ ให้งา่ ยต่อการ ทำ�ความเข้าใจและการนำ�ไปถ่ายทอดต่อไป

นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำ�กัด กล่าวว่า “โตโยต้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสร่วมมือกับ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) สำ�นักงานประเทศไทย ในการพัฒนาและให้การ สนับสนุน มูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรฯ ให้เป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ด้านระบบ นิเวศป่าชายเลนอย่างครบวงจร ดังเช่นความสำ�เร็จที่เกิดกับ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชินี (บางปู) ซึ่งทางโตโยต้าเองคาดหวังว่ากิจกรรม Green Trekking ในครั้งนี้นั้นจะช่วยให้ “ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน อุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธรฯ” เกิดการรับรู้จนเป็นที่รู้จักแก่สาธารณชนในวงกว้าง โตโยต้า มีความยินดีเป็น อย่างยิง่ ทีจ่ ะได้ตอ้ นรับหน่วยงานและผูท้ สี่ นใจ ในการแวะเวียนเข้ามาทำ�การศึกษาจากสิง่ ต่างๆ ทีเ่ รา ได้จัดทำ�ขึ้น อันจะก่อให้เกิดการส่งต่อองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนสืบต่อไป” 175 โตโยต้าห่วงใย...ด้วยหัวใจสีเขียว


176


177


redit สุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการ/ดำ�เนินรายการ พิภพ พานิชภักดิ์ กุลพัฒน์ จันทร์ไกรลาส กำ�กับ/ถ่ายภาพ/ลำ�ดับภาพ วิฑูร พึงประเสริฐ ผู้ช่วยบรรณาธิการ/ภาพนิ่ง ธนานุช สงวนศักดิ์ สัมภาษณ์ ตระกูล ฟูเจริญยศ แพทย์ประจำ�คณะสำ�รวจ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า คงศักดิ์ จงใจ ผู้ช่วยลำ�ดับภาพ ณัฐกร ทวีศักดิ์ ออกแบบรูปเล่ม

178

MOVING PIXELS เอกชัย เทอดเทพพิทักษ์ รวิกานต์ ตติยสุข สุรชาติ ธีระวงษ์ไพโรจน์ พนิดา โค้วเจริญ วรางคณา บุญฤทธิ์ธงไชย กราฟฟิก แอนิเมชั่น ขอขอบคุณ ศรีศักร วัลลิโภดม ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ชวลิต วิทยานนท์ วุฒิชัย มูลศิลป์ สุรจิต ชิรเวทย์ IPS Asia Pacific Probe Media Foundation Inc. East Asia Institute of Visual Anthropology, Yunnan university Women’s Media Centre of Cambodia Vietnam News Hochiminh City Television Film Studios

ที่ปรึกษา ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ สุทธิชัย หยุ่น ธนะชัย สันติชัยกูล ศุทธิชัย บุนนาค เขมทัตต์ พลเดช อำ�นวยการผลิต อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ดูรายการย้อนหลังได้ที่ www.mekongstory.com


179


ทุกหยาดหยดจากดวงจิตคนสองฝั่ง ...ขอก้มกราบคารวะความยิ่งใหญ่ ของแม่แห่งน้ำ�อันมหัศจรรย์ ไม่ว่าจะเรียกขานตามสมญาว่าหลานชาง, แม่ของ, แม่โขงหรือกิ๋วล่อง คือสายธารแห่งความหลากหลาย สายน้ำ�แห่งชีวิต, ความหวัง, ความรัก, ความอบอุ่น และความเป็นดวงจิตดวงเดียวกัน... สุดสิ้นการเดินทางรอบนี้ ข้อสรุปอันถ่อมตน คือ พยศในหัวใจนักรบ คือ ศานติในดวงจิตผู้แสวงหา บางที พรุ่งนี้เราจะกลับมาอีก แม้ไม่ใช่ด้วยเส้นทางเดิม ด้วยจิตคารวะอย่างสูง จาก ทีมงานผลิตสารคดีชุด “แม่โขง...สายน้ำ�พยศ”

180


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.