๒๐๓ วัน
ชัตดาวน์‘ยิ่งลักษณ์’ เปิดศักราช คสช. กองบรรณาธิการมติชน
กรุงเทพมหานคร ส�ำนักพิมพ์มติชน ๒๕๕๗
“๒๐๓ วันชัตดาวน์ ‘ยิ่งลักษณ์’ เปิดศักราช คสช.” • กองบรรณาธิการมติชน พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, สิงหาคม ๒๕๕๗ พิมพ์ครั้งที่สอง : สำ�นักพิมพ์มติชน, สิงหาคม ๒๕๕๗
ราคา ๒๓๕ บาท
ข้อมูลทางบรรณานุกรม กองบรรณาธิการมติชน. “๒๐๓ วันชัตดาวน์ ‘ยิ่งลักษณ์’ เปิดศักราช คสช.”. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๓๓๖ หน้า. ๑. ไทย--การเมืองการปกครอง. I. ชื่อเรื่อง. ๓๒๐.๙๕๙๓ ISBN 978 - 974 - 02 - 1316 - 1
ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุชาติ ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี ผู้ช่วยบรรณาธิการ : โมน สวัสดิ์ศรี • พิสูจน์อักษร : ชาญวิทย์ ทานกระโทก, พรรณวดี หุ่นดี กราฟิกเลย์เอ้าต์ : ศรีสุดา ศิริพรนพคุณ, วรรธน์อนันต์ ชัยมงคล • ออกแบบปก : วรรธน์อนันต์ ชัยมงคล ประชาสัมพันธ์ : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
www.matichonbook.com บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองพิมพ์สี บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒ ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน
สารบัญ ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผูเ้ ขียน
๕ ๗
๑. ปฐมบท
๑๑
๒. ก�ำเนิด กปปส.
๒๗
๓. ก�ำลังพลมหาวิทยาลัย
๔๕
๔. หลังยุบสภา
๗๓
๕. กองทัพเสือ้ กาวน์ออกโรง
๘๗
๖. พลังกลุม่ ธุรกิจ
๑๐๙
๗. กกต. กับ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
๑๒๓
๘. จุดจบ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
๑๔๑
๙. ปฏิกริ ยิ าจากต่างประเทศ
๑๖๓
๑๐. ทฤษฎีมะม่วงหล่น
๑๘๕
๑๑. บทบาทศาล รธน.-บทบาท ป.ป.ช.
๑๙๓
๑๒. ความรุนแรง (๑)
๒๑๗
๑๓. ความรุนแรง (๒)
๒๔๕
๑๔. ความรุนแรง (๓)
๒๖๙
๑๕. สุดท้ายกลายเป็นคดี
๒๙๓
๑๖. จบทีร่ ฐั ประหาร
๓๑๗
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
ในที่สุด ความบาดหมางบนเส้นทางการเมืองไทยก็เข้าสู่จุดหักเห อีกครัง้ เมือ่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตัดสินใจเข้ายึดอ�ำนาจ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ แต่ ก ่ อ นจะเกิ ด เรื่ อ งดราม่ า ครั้ ง ใหญ่ คงต้ อ งยอมรั บ ว่ าความ มั่นคงของระบบการเมืองที่ผ่านมาตั้งอยู่บนเส้นด้ายมาตลอด นับแต่ การเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิด พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่ง กระทั่ง ประชาชนส่ ว นหนึ่ ง มองว่ า อาจเกิ ด ช่ อ งว่ า งให้ นั ก การเมื อ งบางคน สบช่องที่จะอาศัยรอยต่อของกฎหมายเดินทางกลับเข้ามาในเมืองไทย โดยปราศจากความผิด ด้วยเหตุนี้ ปรากฏการณ์ “ม็อบนกหวีด” ที่น�ำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ จึงเกิดขึ้นมานับแต่ปลายปี ๒๕๕๖ การเคลื่อนไหวของนายสุเทพ ได้มีประชาชนเข้าร่วมเป็นจ�ำนวน มาก โดยในระยะแรกได้ มี ก ารนั ด หมายกั น ที่ ห น้ า ที่ ท�ำการพรรค ประชาธิปัตย์บริเวณสถานีรถไฟสามเสน แล้วจึงหันหัวขบวนมายึดถนน ราชด�ำเนินและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเมือง การปกครองของไทย พร้อมทั้งเคลื่อนไหวกระจายไปในหลายเส้นทาง โดยเฉพาะกระทรวงส�ำคัญๆ รวมถึงท�ำเนียบรัฐบาล ขณะเดี ย วกั น ความไม่ พ อใจของกลุ ่ ม คนที่ เ ชื่ อ มั่ น กั บ พรรค เพื่อไทยซึ่งเป็นรัฐบาลโดยเฉพาะกลุ่มคนเสื้อแดง ก็ได้รวมตัวขยาย วงกว้างขึ้นทีละน้อย กลายเป็นมวลชนกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มหนึ่งเช่นกัน ๒๐๓ วัน ชัตดาวน์‘ยิ่งลักษณ์’ เปิดศักราช คสช.
5
ผลักดันให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปเรื่อยๆ ก่อนที่รัฐบาลที่มีสถานะ ง่อนแง่นอยู่ก่อนแล้วจะถูกยึดอ�ำนาจ ด้วยเหตุการณ์ที่ควรค่าแก่การให้ความสนใจ “กองบรรณาธิการ มติชน” จึงได้เรียบเรียงบทความทางการเมืองชิน้ ส�ำคัญ อันเป็นบทบันทึก ทางการเมืองที่ทรงคุณค่า ผนวกรวมไว้ภายใต้ชื่อ “๒๐๓ วัน ชัตดาวน์ ‘ยิ่งลักษณ์’ เปิดศักราช คสช.” หนังสือการเมืองเล่มนี้ จึงคับแน่นด้วยคุณภาพของ “คนข่าว” ในเครือมติชน ที่ได้บันทึกเหตุการณ์ แง่มุม ประมวลผลและวิเคราะห์ ได้ อ ย่ า งละเอี ย ดรอบคอบ ข้ อ มู ล ทั้ ง หมดจึ ง นั บ เป็ น บทบั น ทึ ก ที่ เ ป็ น มากกว่ารายงานข่าว หากแต่ได้จดจารเหตุการณ์ประวัตศิ าสตร์การเมือง ไทยครั้งส�ำคัญไว้อย่างน่าสนใจ เพือ่ ให้คนไทยได้เรียนรูแ้ ละศึกษา ในฐานะทีท่ กุ คนถือเป็นพลเมือง ในระบอบประชาธิปไตย อย่างน้อยก็เพือ่ ให้กา้ วต่อไปของการเมืองไทยไม่ ติดอยู่ในสภาพย�่ำแย่เหมือนที่ผ่านมา ส�ำนักพิมพ์มติชน
6
กองบรรณาธิการมติชน
ค�ำน�ำผู้เขียน
จังหวะก้าวการขึน้ และการลงของรัฐบาลแต่ละชุดนัน้ น่าสนใจเสมอ ยิ่งเป็นรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ในสมัยที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็น นายกรัฐมนตรี นับตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ จนถึงปี ๒๕๕๗ ด้วยแล้ว ยิ่งน่าสนใจ เป็นอย่างมาก น่าสนใจที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และถูกปฏิวัติยึดอ�ำนาจไปเมื่อปี ๒๕๔๙ ใช้เวลา เพียง ๔๙ วัน ก็ก้าวขึ้นสู่ต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ ๒๘ ได้ แต่เมื่อถึงคราวต้องพ้นจากอ�ำนาจ เพียง “เดินหมากผิดตาเดียว” ก็ “ล้มทั้งกระดาน” รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ซึ่งได้คะแนนนิยมจากการเลือกตั้งเมื่อ วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ แบบถล่มทลายนัน้ โดนกระหน�ำ่ ใส่แบบเกินคาด ฝ่ายคัดค้านรัฐบาลพรรคเพื่อไทยบุกในหลายรูปแบบ และมีการ แปรผันตลอดเวลา แต่ขณะเดียวกันฝ่ายค้านก็มแี นวทางด�ำเนินการชัดเจน ชัดเจนจนกระทั่งบางคนสามารถท�ำนายผลการพิจารณาคดีได้ ชัดเจนถึงขนาดมองเห็นว่า สุดท้ายแล้วทุกอย่างต้องพึ่งอ�ำนาจ ฝ่ายทหารเข้ามาจัดการ และชัดเจนจนอดคิดไม่ได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมีการวางแผนเอาไว้ล่วง หน้าอย่างรัดกุมมานานแล้ว ? วางแผนเพื่อโค่นพรรคเพื่อไทย โค่นรัฐบาล โค่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และที่ส�ำคัญคือการโค่นล้มสิ่งที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ” ๒๐๓ วัน ชัตดาวน์‘ยิ่งลักษณ์’ เปิดศักราช คสช.
7
ข้อสงสัยดังกล่าวยังเป็นปริศนาที่รอการค้นพบ กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน มิอาจตอบปริศนานีไ้ ด้ หากแต่ได้รวบรวมเหตุการณ์ชว่ งประวัตศิ าสตร์การเมืองไทย ในห้วงเวลา ๒๐๓ วัน นับตัง้ แต่วนั ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ ซึง่ เป็นวันทีน่ ายสุเทพ เทือก สุบรรณ เป่านกหวีดขับไล่รฐั บาลเป็นวันแรก จนถึงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ซึง่ เป็นวันที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ยึดอ�ำนาจ ในห้วงเวลาดังกล่าวมีเหตุการณ์และตัวละครในวิชาชีพต่างๆ เข้า มาเกี่ยวพันกับการเมืองไทยเป็นจ�ำนวนมาก หนังสือเรื่อง “๒๐๓ วัน ชัตดาวน์‘ยิ่งลักษณ์’ เปิดศักราช คสช.” นี้ ได้เริ่มบ่งบอกปฐมบทของเหตุการณ์ส�ำคัญดังกล่าว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยเพลี่ยงพล�้ำ และถอยร่นจนกระทั่งไม่อาจกลับคืน สู่อ�ำนาจได้ แม้จะมีความหวังว่า หากมีการเลือกตั้งขึ้นมา พรรคเพื่อไทยจะ กลับคืนสู่ฝ่ายบริหารอีกครั้ง แต่ในที่สุดความหวังก็ล่มสลาย หนังสือเล่มนี้ได้จ�ำแนกกลุ่มเคลื่อนไหว และองค์กรส�ำคัญที่มี บทบาทต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเคลื่อนไหวของพรรค ประชาธิปัตย์ การก่อตั้งคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข หรือ กปปส. ไม่ว่าจะเป็น ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. อาจารย์ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา ศิ ษ ย์ เ ก่ า แพทย์ พยาบาล บุ ค ลากรทาง สาธารณสุข ภาคธุรกิจ ตลอดจนองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงฝ่ายทหารที่เข้ามา “ปิดเกม” ในที่สุด หนังสือเรื่อง “๒๐๓ วัน ชัตดาวน์‘ยิ่งลักษณ์’ เปิดศักราช คสช.” นี้ น�ำเสนอโดยน�ำเอาข่าวสารที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นมารวบรวมและบอก กล่าวเป็นบันทึก เพื่อให้ผู้สนใจเหตุการณ์ความเป็นไปตั้งแต่เริ่มวิกฤต
8
กองบรรณาธิการมติชน
ของรัฐบาลพรรคเพือ่ ไทย เรือ่ ยไปจนถึงการยึดอ�ำนาจ สามารถน�ำมาพลิก อ่านความเป็นไปได้ง่าย หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาชวนติดตามเช่นไร โปรดพลิกหน้าต่อ ไปโดยพลัน กองบรรณาธิการมติชน
๒๐๓ วัน ชัตดาวน์‘ยิ่งลักษณ์’ เปิดศักราช คสช.
9
“
ให้บรรดาการกระท�ำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลหรือประชาชน ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมือง หรือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระท�ำความผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กร ที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหาร เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานที่ด�ำเนินการในเรื่องดังกล่าว สืบเนื่องต่อมา ที่เกิดขึ้นระหว่าง ๒๕๔๗ ถึงวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ ไม่ว่าผู้กระท�ำจะได้กระท�ำในฐานะตัวการผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระท�ำหรือผู้ถูกใช้ หากการกระท�ำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระท�ำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง
”
10
กองบรรณาธิการมติชน
ปฐมบท
๒๐๓ วัน ชัตดาวน์‘ยิ่งลักษณ์’ เปิดศักราช คสช.
11
ภาพเหตุการณ์การประชุมสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเกิดความวุ่นวายทุกครั้งที่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล พยายามผลักดันให้ทปี่ ระชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัตปิ รองดองและร่างพระราชบัญญัติ นิรโทษกรรม
12
กองบรรณาธิการมติชน
แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะสามารถเอาชนะการเลือกตั้งและเป็นธงน�ำ ในการรวบรวมเสียงจากพรรคการเมืองต่างๆ จนจัดตั้งรัฐบาลได้ โดย สนับสนุนให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี หญิงคนแรกของประเทศไทย แต่สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างขั้ว อ�ำนาจทางการเมืองที่มีมานับตั้งแต่การรัฐประหารปี ๒๕๔๙ ยังคงอยู่ และเป็นความขัดแย้งทางการเมืองที่กินเวลายาวนาน มีการแบ่งสี แบ่ง ฝ่าย ภาคส่วนต่างๆ ในสังคม น�ำตัวเองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความขัด แย้งอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ผลของความขัดแย้งน�ำไปสูค่ วามสูญเสีย โดยเฉพาะในปี ๒๕๕๓ การปฏิบัติการ “ขอคืนพื้นที่” จากกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน เผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ภายใต้ค�ำสั่งของ “ศูนย์อ�ำนวยการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉิน” หรือ “ศอฉ.” สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่ม ี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ๙๙ ราย บาดเจ็บอีกกว่า ๒,๐๐๐ ราย มีผู้ต้องขังที่ถูกจับกุมด�ำเนินคดีและ ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจ�ำเป็นจ�ำนวนมาก สภาพความแตกแยกในสังคม รัฐบาลของ น.ส.ยิง่ ลักษณ์ ชินวัตร ได้ชนู โยบายสร้าง “ความปรองดองสมานฉันท์” ขึน้ มาเป็นนโยบายเร่งด่วน ดั ง นั้ น ตลอดระยะเวลาที่ น.ส.ยิ่ ง ลั ก ษณ์ ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ได้ พยายามระดมความเห็นจากผูอ้ าวุโสทางการเมือง นักวิชาการ หรือแม้แต่ ประชาชน เพื่อท�ำ “โรดแมป” แนวทางในการสร้างความปรองดอง ขณะ เดียวกัน ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรมีความพยายามเสนอร่างกฎหมาย “ปรองดองสมานฉันท์” และ “นิรโทษกรรม” บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระ ๒๐๓ วัน ชัตดาวน์‘ยิ่งลักษณ์’ เปิดศักราช คสช.
13
การประชุมอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีกระแสต่อต้านอย่างรุนแรงจากฝ่าย ค้านและฝ่ายคัดค้านรัฐบาล แต่ในทีส่ ดุ สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎรก็ยนื่ ร่าง กฎหมาย “ปรองดองสมานฉันท์” เข้าสู่สภา รวมทั้งสิ้น ๕ ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีราย ชื่อ พรรคมาตุภูมิ เป็นผู้เสนอ ฉบับที่ นายนิยม วรปัญญา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพือ่ ไทย เป็นผูเ้ สนอ ฉบับที่ นายณัฐวุฒิ ใสยเกือ้ ส.ส.บัญชีรายชือ่ พรรคเพื่อไทย เป็นผู้เสนอ ฉบับที่ นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย เป็นผู้เสนอ เมื่อเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๕ และร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฉบับที่ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย เป็นผู้เสนอ เมื่อ พฤษภาคม ๒๕๕๖ นอกจากนี้ ยังมีร่างกฎหมาย “นิรโทษกรรม” อีก ๓ ฉบับเสนอ เข้ามา ฉบับหนึ่ง นายนิยม วรปัญญา ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นผู้เสนอ อีกฉบับหนึ่ง นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อ ไทย เป็นผู้เสนอ เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๖ และยังมีฉบับประชาชน ซึ่ง นางพะเยาว์ อัคฮาด หรือแม่น้องเกด กลุ่มญาติวีรชน เม.ย.- พ.ค. เป็น ผู้เสนอ เมื่อกรกฎาคม ๒๕๕๖ ร่างกฎหมายทั้งหมดถูกจัดให้เป็น “กฎหมายร้อน” เพราะเมื่อใดที่ มีการหยิบยกขึน้ มาหารือ หรือมีความพยายามทีจ่ ะเดินหน้าพิจารณา มัก จะเพิ่มอุณหภูมิทางการเมืองโดยอัตโนมัติ เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ ออกแรงต้านเต็มก�ำลัง ด้วยความเคลือบแคลงว่าร่างกฎหมายเหล่านั้น ออกมาเพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้ กลับเข้าประเทศอย่างเท่ๆ ตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณต้องการ การน�ำเสนอร่างกฎหมายปรองดองเหล่านี้ เริ่มต้นเมื่อ “บิ๊กบัง” พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ อดีตหัวหน้า คณะรัฐประหาร ปี ๒๕๔๙ อาสาน�ำร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่ง ชาติฉบับที่ตนเอง นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสามารถ
14
กองบรรณาธิการมติชน
แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย และนายนิยม วรปัญญา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อ ไทย เป็นผูเ้ สนอ เข้าสูก่ ารพิจารณา มีเป้าหมายเพือ่ คืนความยุตธิ รรมและ ให้อภัยกับคนทุกกลุ่มเพื่อหวังสร้างความปรองดองให้กับคนทั้งประเทศ ตั้งแต่พฤษภาคม ๒๕๕๕ พ.ร.บ.ปรองดองฯ ดั ง กล่ า ว เชื่ อ กั น ว่ า พ.ต.ท.ทั ก ษิ ณ ชินวัตร เป็นหนึ่งในผู้ที่จะได้รับอานิสงส์ หลังจากนั้นกระแสคัดค้านและ ต่อต้านจากคนเสื้อเหลืองเดิม และพรรคประชาธิปัตย์ ก็ปะทุขึ้น ยิ่งเมื่อ พรรคเพื่อไทยเสนอให้เลื่อนวาระการพิจารณา พ.ร.บ.ปรองดองฯ ท�ำให้ สถานการณ์ตกอยู่ในสภาพคุกรุ่น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์คัดค้านอย่าง หนัก สภาเกิดความวุ่นวาย มีการปาแฟ้มเอกสาร และลากเก้าอี้ประธาน สภาเพื่อไม่ให้ประธานท�ำหน้าที่ นี่ย่อมสะท้อนให้เห็น “ของร้อน” ทางการเมืองที่ยากจะแตะต้อง กระทั่งในที่สุดร่างกฎหมายปรองดองฯ ถูกแช่แข็งโดยไม่มี ใครต้องการพูดถึง ต่อมานักวิชาการ นักกิจกรรมการเมือง และมวลชนคนเสื้อแดง จ�ำนวนหนึ่งเริ่มเคลื่อนไหว โดยเรียกร้องให้รัฐบาลเดินหน้าปลดปล่อย “นักโทษทางการเมือง” ในเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น กระแสกดดัน เพิ่มความแรงขึ้น กระทั่งรัฐบาลและแกนน�ำคนเสื้อแดงไม่สามารถนิ่ง เฉยได้ และกลายเป็นทีม่ าของการผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผซู้ งึ่ กระท�ำความผิดเนือ่ งจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการ เมืองของประชาชน ที่มี นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ และ ส.ส.พรรคเพือ่ ไทย รวม ๔๒ คน เป็นผูร้ ว่ มเสนอ เมือ่ เดือนมีนาคม ๒๕๕๖ มีเนื้อหาให้ล้างความผิดประชาชนอันเนื่องมาจากการชุมนุม ทางการเมืองตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ - ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ทั้งนี้ ไม่รวมบรรดาแกนน�ำและผู้สั่งการแม้แต่คนเดียว ๒๐๓ วัน ชัตดาวน์‘ยิ่งลักษณ์’ เปิดศักราช คสช.
15
ทั้งนี้การะประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๖ ส.ส.ฝ่าย รัฐบาลเลื่อนวาระการประชุมพิจารณาร่าง พรบ.นิรโทษกรรมขึ้นมา พิจารณาเป็นวาระแรก ก่อนสภาปิดสมัยประชุมโดยมีก�ำหนดเปิดสมัย ประชุมอีกครั้ง วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยูบ่ ำ� รุง รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมัน่ คง ซึ่งเป็นคนที่ออกมาประกาศเสมอว่าจะพา พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้านอย่าง เท่ๆ ได้รวบรวมรายชือ่ ส.ส.ของพรรคเพือ่ ไทย โดยให้ นายพีรพันธุ์ พาลุสขุ ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย เป็นผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดอง แห่งชาติ ที่มีเนื้อหาให้ยกเลิกความผิดทางการเมืองอันเนื่องมาจากการ รัฐประหาร ๒๕๔๙ ทั้งหมด รวมทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณด้วยเข้าไปประกบ เมื่อ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ร.ต.อ.เฉลิมเรียกร่าง พ.ร.บ.ฉบับของนายพีรพันธุ์ว่าฉบับ “สุดซอย” ร่างกฎหมาย ๒ ฉบับนี้ ดันเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมในช่วง เวลาไล่เลี่ยกัน จนเกิดเป็นค�ำถามว่า การผลักดัน “กฎหมายร้อน” ทั้ง ๒ ฉบับ ที่มี เนื้อหาเฉกเช่นเดียวกัน จาก ส.ส.พรรคเพื่อไทยด้วยกัน แต่มีผลทางการ เมืองแตกต่างกันนั้น มีเป้าหมายอย่างไรกันแน่? มิหน�ำซ�้ำ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ที่ เป็นผู้เสนอร่างนิรโทษกรรมที่มุ่งปลดปล่อยนักโทษทางการเมือง ไม่รวม แกนน�ำหรือผู้สั่งการ ก็กลายเป็นหนึ่งในคนที่ร่วมลงชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ. ปรองดองฯ ฉบับ “สุดซอย” ด้วย ความเคลือ่ นไหวนีไ้ ม่เพียงแต่คนเสือ้ เหลืองและพรรคประชาธิปตั ย์ ที่สงสัย แม้แต่คนเสื้อแดงที่ไม่ต้องการให้นิรโทษกรรมนายอภิสิทธิ ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็เคลือบแคลง คนเสื้อแดงจ�ำนวนไม่น้อยสงสัยถึงขั้นว่าอาจเป็น “ดีลทางการ
16
กองบรรณาธิการมติชน
เมือง” แลกเปลีย่ นเพือ่ สอดไส้ให้ชว่ ย พ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมๆ กับมุง่ ช่วยเหลือ นายอภิสิทธิ์ กับนายสุเทพ ให้รอดพ้นจากความรับผิดชอบในฐานะ ผู้ลงนามในค�ำสั่งขอคืนพื้นที่ในเหตุการณ์ เมษายน-พฤษภาคม ๒๕๕๓ กระทั่งท�ำให้ประชาชนบาดเจ็บและเสียชีวิต ต่อมาวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ประกาศ ผ่านสไกป์เข้าไปในงานร�ำลึกครบรอบ ๓ ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุม ทางการเมืองที่แยกราชประสงค์ บอกเจตนารมณ์ของตัวเองที่สนับสนุน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เหมะ โดยยืนยันให้มีการล้างผิด ให้ประชาชนก่อน “ผมบอกวรชัย เอาเลยน้อง ให้พี่น้องก่อน ไม่ต้องห่วงผม ผมไม่กลับไม่เป็นไร” พ.ต.ท.ทักษิณกล่าว วั น ที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ แกนน� ำ พรรคเพื่ อ ไทยเรี ย ก ประชุม ส.ส.ของพรรคพิจารณาเรื่องดังกล่าวเป็นการด่วน กระทั่งใน ที่สุดพรรคมีมติสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เห มะ ส.ส.สมุทรปราการ สู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรไม่สนับสนุ นร่างพ.ร.บ.ฉบับสุดซอย ทางด้านพรรคประชาธิปัตย์ โดย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน ให้ความเห็นว่า กฎหมายนิรโทษกรรมของนายวรชัย เหมะ อาจะเป็นหัวเชื้อของร่าง พ.ร.บ.ฉบับสุดซอยก็ได้ จึงอยากให้สังคม จับตา ถ้าไม่เห็นด้วยก็ต้องคัดค้านตั้งแต่การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษ กรรมของนายวรชัยตั้งแต่เริ่มต้น แม้ว่าจะมีเสียงคัดค้าน และมีความพยายามตีรวนจาก ส.ส.ฝ่าย ค้าน พรรคประชาธิปตั ย์ ระหว่างการอภิปราย แต่ทสี่ ดุ แล้ว พรรคเพือ่ ไทย ใช้เวลา ๒ วัน อภิปรายเข็น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เหมะ ผ่าน วาระแรกมาได้ดว้ ยมติ ๓๐๐ ต่อ ๑๒๔ เสียง เมือ่ วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ และให้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ ๓๕ คน เพื่อรอการพิจารณา ๒๐๓ วัน ชัตดาวน์‘ยิ่งลักษณ์’ เปิดศักราช คสช.
17