โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

Page 1


โทมั ส  ควิ ก   ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

Fallet Thomas Quick : Att skapa en seriemördare


Fallet Thomas Quick:  Att skapa en seriemördare © Hannes Råstam 2012 Thai Language Copyright © 2016 by Matichon Publishing House.  All rights reserved. Published by agreement with Salomonsson Agency AB  through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd.


โทมั ส  ควิ ก   ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร Fallet Thomas Quick : Att skapa en seriemördare Hannes Råstam

กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน  2559


โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร • โรจนา นาเจริญ แปล

จากเรื่อง  Fallet Thomas Quick : Att skapa en seriemördare ของ Hannes Råstam Copyright © Hannes Råstam 2012 Thai Language Copyright © 2016 by Matichon Publishing House. All rights reserved.

พิมพ์ครั้งที่  1 : สำ�นักพิมพ์มติชน, สิงหาคม  2559 ราคา  360  บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ร็อสตัม, ฮันเนส. โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร. กรุงเทพฯ : มติชน, 2559. 536  หน้า. 1. ควิก, โทมัส, ค.ศ.1950.  2. ฆาตกรต่อเนื่อง--สวีเดน.   l. โรจนา นาเจริญ, ผู้แปล.  Il. ชื่อเรื่อง. 364.15232092 ISBN  978 - 974 - 02 - 1502 - 8 ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : อารักษ์  ​คคะนาท, สุพจน์  แจ้งเร็ว, สุชาติ  ศรีสุวรรณ, ปิยชนน์  สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์  พงศ์พานิชย์, นงนุช สิงหเดชะ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์  : รุจิรัตน์  ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์  ธีระจารุวรรณ บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์  บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : พัลลภ สามสี หัวหน้ากองบรรณาธิการ : ทิมา เนื่องอุดม • บรรณาธิการเล่ม : เฉลิมพล แพทยกุล พิสูจน์อักษร : เมตตา จันทร์หอม • กราฟิกเลย์เอาต์  : รัตน์สุดา จันทพึ่ง ออกแบบปก-ศิลปกรรม : ประภาพร ประเสริฐโสภา • ประชาสัมพันธ์  : สุภชัย สุชาติสุธาธรรม หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�ำนวนมากในราคาพิเศษ  เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ โปรดติดต่อโดยตรงที่  บริษัทงานดี  จ�ำกัด โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 3353 โทรสาร 0-2591-9012

www.matichonbook.com บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) : 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 1235  โทรสาร 0-2589-5818 แม่พิมพ์สี-ขาวดำ� : กองงานเตรียมพิมพ์  บริษัทมติชน จำ�กัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 2400-2402 พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด 27/1 หมู่  5 ถนนสุขาประชาสรรค์  2 ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี  11120 โทรศัพท์  0-2584-2133, 0-2582-0596  โทรสาร 0-2582-0597 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัทงานดี  จำ�กัด (ในเครือมติชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์  1  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทรศัพท์  0-2580-0021 ต่อ 3350-3353 โทรสาร 0-2591-9012 Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ  ลดภาวะโลกร้อน  และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน


สารบัญ ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้แปล ค�ำน�ำโดยอลิซาเบธ เดย์

ตอนที่ 1

โรงพยาบาลแซเทอร์  วันจันทร์ที่  2 มิถุนายน 2008 แซเทอร์แมน พาดหัวข่าว ชาร์ลส์  เซลมาโนวิตซ์ คดีอัปโปเยาเร่ คดีเยน่อน เลวี คดีเทเรเซ่  โยฮันเนเซ่น ผู้กังขา คดีทรีเน่  เจนเซ่นและกรี  สโตร์วิก คดีโยฮัน แอสพลุนด์ ปิดปาก สารภาพเพราะเหตุใด? จดหมายถึงสตูเร่    สารวัตรยอน ออลสัน

8 11 14 22 25 32 37 43 54 60 65 71 73 76 79 87 89


จ�ำศีล ลุงสตูเร่  โรงพยาบาลแซเทอร์  วันพฤหัสบดีที่  28 สิงหาคม 2008 แหล่งข้อมูล ทางตัน ค้นป่า โรงพยาบาลแซเทอร์  วันพุธที่  17 กันยายน 2008 เหตุจูงใจ

ตอนที่ 2

อยู่ด้วยความเท็จ ฆาตกรต่อเนื่อง คนไข้พิเศษ ยาบ�ำบัด เหตุเกิดริมทะเลสาบ จุดพลิกผัน ความเบี่ยงเบน สู่อดีต ข้อต่อสู้ของสตูเร่ ความขัดแย้งระหว่างแพทย์ บีร์กิตต้า สตัวห์เล หัวหน้าแพทย์คนใหม่ ถามน�ำ ชาร์ลส์  เซลมาโนวิตซ์  หายสาบสูญ เทคนิคสอบปากค�ำเชิงการจดจ�ำ ภาพบาดตา แคลงใจ สอบปากค�ำเชิงประนีประนอม คนงานสร้างเขื่อนรายสุดท้าย พี่น้องที่สาบสูญ

93 97 103 106 115 117 133 136 144 148 156 165 172 176 193 205 213 221 231 241 244 260 269 280 295 307 309


ชั่วโมงที่หายไป หลายบุคลิก เสียงค�ำราม เผชิญหน้า คดีฆาตกรรมนักท่องเที่ยวยิว จดหมายจากสเตน-อูเว่ คดีที่ศาลแขวงเยลลิวาเร่ ผิดหวัง ความล้มเหลว การพิจารณาคดีเยน่อน เลวี มุ่งสู่ป่าเออร์เย่! ทีมสอบสวน ขุดหากระดูก ถอดรหัส บรรเลงซ�้ำ สัมภาษณ์อัยการ สัมภาษณ์ทนาย ผิดพลาดที่ระบบ ภาพยนตร์สารคดีทางโทรทัศน์สถานีเอสวีที

ตอนที่ 3

315 327 337 344 355 358 364 374 392 401 408 419 429 436 452 464 472 483 493

ลมเปลี่ยนทิศ แฟ้มที่  13 นักข่าวอาชญากรรม จิ๊กซอว์ตัวสุดท้าย พบนักข่าว ล�ำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับ สตูเร่  แบร์กวาลล์  / โทมัส ควิก

496 506 513 523 529 531

คดีถึงที่สุด

535


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์

คดีโทมัส ควิกเป็นคดีใหญ่ในสวีเดนช่วงทศวรรษ 90 เมื่อผู้ป่วยจิต  เวชรายหนึ่งรับสารภาพว่าเขาเป็นผู้ลงมือสังหารเด็กชายในคดีฆาตกรรม ปริศนานาน 10 กว่าปีมาแล้ว  หลังการสืบสวนสอบสวน ตามด้วยศาล มีค�ำพิพากษาว่าเขากระท�ำผิดจริงตามฟ้อง เรื่องนี้กลายเป็นข่าวใหญ่โต บนหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วสวีเดน สื่อต่างๆ ประโคมเรื่องพฤติกรรมอันโหด ร้ายผิดมนุษย์ของเขา นับจากนั้น เขาก็สารภาพในคดีอื่นๆ และถูกพิพากษาว่าผิดจริง อย่างต่อเนื่อง  หลายคดีมีการซัดทอดถึงผู้ร่วมกระท�ำผิดหลายคน แต่ทุก คนให้การปฏิเสธและไม่มีการน�ำตัวผู้ร่วมกระท�ำผิดเหล่านี้ขึ้นสู่ช้ันศาล  ที่ ส�ำคัญ การเบิกความในชั้นศาลก็ยิ่งดูคล้ายกับละครมากขึ้นทุกที เขาถูกศาลตัดสินว่าผิดจริงถึง 6 คดี  แม้จะมีข้อกังขาในกระบวน การสอบสวนมากมาย สังคมแบ่งเป็น 2 ฝ่ายโต้แย้งกันเรื่องคดีนี้   แต่หลัง การพิจารณาคดีครั้งสุดท้ายในปี  2001 เขาถอนตัวจากการสืบสวนสอบ สวน ยุติการให้ความร่วมมือทุกชนิดด้วยการ “ขอหยุดพัก” ยาว และ เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็นสตูเร่  แบร์กวาล เรื่องราวของเขาเงียบลงและหาย ไปจากความสนใจของสังคม

8

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


คดีควิกทิ้งค�ำถามส�ำคัญแก่สังคมสวีเดนหลายอย่าง ตั้งแต่เรื่องที่ ว่าเขาเป็นฆาตกรจริงหรือไม่  หรือทั้งหมดเป็นแค่ปาหี่ละครสัตว์  เขาเป็น นักต้มตุ๋นหรือเป็นโรคโกหกในทางจิตเวชกันแน่  10 ปีต่อมา ฮันเนส ร็อสตัม นักข่าวสืบสวน เข้าเยี่ยมควิกที่โรง พยาบาลแซเทอร์เพื่อไขข้อสงสัยที่ยังค้างคาอยู่  แล้วตัดสินใจสืบสวนคดีนี้ เพิ่มเติม เขาพบว่าข้อถกเถียงและเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับคดีนี้ในอดีตนั้นเป็น เพียงยอดภูเขาน�้ำแข็งเท่านั้น ส่วนที่จมอยู่ใต้ทะเลลึกคือปัญหาขนาด มหึมาที่สะท้อนช่องโหว่และปัญหาในระบบยุติธรรม เมื่อคณะบุคคลทั้ง คณะตั้งแต่ผู้ต้องหาไปจนถึงอัยการต่างมีผลประโยชน์ทับซ้อน  นอกจากหลักการแห่งกฎหมายจะถูกท�ำลายลงในการสอบสวนคดี นี้  อีกเรื่องหนึ่งที่น่าใจหายไม่แพ้กันก็คือบรรยากาศของสังคมที่ดูจะสนุก สนานกับข่าวฆาตกรต่อเนื่องผู้โหดเหี้ยม โดยเฉพาะวงการจิตเวช ที่กระบวนการบ�ำบัดกลายเป็นการต่อยอดงานวิจัยและเพื่อสร้างชื่อเสียงให้ตัว เอง มีการใช้ยาคลายประสาทออกฤทธิ์เสพติดรุนแรง การบ�ำบัดชักจูงชี้น�ำ ซ�้ำยังเออออห่อหมกไปกับผู้ป่วยจนสถานการณ์บานปลาย แม้หนังสือเล่มนี้เรียบเรียงสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดอย่างละเอียด ให้เรา ได้เห็นบทบาทของแต่ละบุคคลที่น�ำมาซึ่งความผิดพลาดในระบบกฎหมาย สวีเดนครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่  แต่เราแทบชี้นิ้วโทษ ใครไม่ได้เลยสักคน เพราะทุกคนที่รายล้อมตัวควิกล้วนมีส่วนท�ำให้เกิด เรื่องขึ้น ตั้งแต่เจ้าหน้าที่สอบสวน อัยการ นักบ�ำบัด และตัวโทมัส ควิกเอง กระนั้นก็น่าเสียดายที่ร็อสตัม ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้  เสียชีวิตหลัง เขียนหนังสือเสร็จไม่นาน ส่วนท้ายของหนังสือเล่มนี้จึงดูจบแบบห้วนๆ เพราะเวลานี้สตูเร่  แบร์กวาลล์ได้รับอิสรภาพและหลุดพ้นจากค�ำตัดสิน สมัยเป็นโทมัส ควิกหมดแล้ว นั่นก็ด้วยความพยายามของร็อสตัมในการ ท�ำสารคดีเชิงสืบสวน จนได้มาซึ่งความจริงที่ถูกเก็บเงียบเป็นความลับ นานหลายสิบปี หากมองเปรียบเทียบแล้ว สังคมไทยเองก็มตี วั อย่างของคดีทตี่ ดั สิน ผิดพลาด ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจากรูปคดี  หรือการใช้อ�ำนาจโดยมิชอบของ

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

9


เจ้าหน้าที่รัฐ แต่สิ่งหนึ่งที่น่าชื่นชมจากกรณีคดีโทมัส ควิกคือเรื่องเสรีภาพ ในการค้นข้อมูลและน�ำเสนอประเด็นโต้แย้ง ผลรูปธรรมชัดเจนที่สุดของ สังคมที่เปิดให้มีการเข้าถึง ตรวจสอบ และถกเถียงกันอย่างเสรี  แม้จะ เอาผิดใครไม่ได้  แต่อดีตฆาตกรต่อเนื่องก็ได้รับโอกาสพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ในการสู้คดีใหม่อีกครั้ง ส�ำนักพิมพ์มติชน

10

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


ค�ำน�ำผู้แปล

“ความไม่เป็นธรรมมีให้เห็นตลอดเวลา” ฮันเนส ร็อสตัม ผู้เขียนซึ่ง  เป็นนักข่าวอาชญากรรมเชิงสืบสวนของสถานีโทรทัศน์สวีเดนกล่าว นี่เป็นเรื่องจริงของชายชื่อสตูเร่  แบร์กวาลล์  หรือโทมัส ควิก ซึ่งเคย เชื่อกันว่าเป็นฆาตกรต่อเนื่องแห่งสวีเดน เพราะสารภาพในชั้นสอบสวนว่า เคยฆ่าเพื่อนมนุษย์กว่า 30 ราย คดีขึ้นสู่ศาลชั้นต้นแล้ว 7 คดี  (8 ศพ) ในชั้นศาลเขาก็รับสารภาพ ศาลตัดสินลงโทษทุกคดี พฤติกรรมของสตูเร่  แบร์กวาลล์  หรือโทมัส ควิก เข้าหลักเกณฑ์ “ฆาตกรต่อเนื่อง” ตามนิยามของเอฟบีไอ แต่หลังจากเวลาผ่านไปหลายปี  เรื่องราวกลับพลิกผันเมื่อฮันเนส ร็อสตัมสงสัยในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งประกอบด้วยศาล อัยการ ต�ำรวจ และทนาย รวมทั้งกังขาต่อ “ค�ำสารภาพ” ของจ�ำเลย  จึงขุดคุ้ย สืบสวน รวบรวมพยานหลักฐานจากนอกและในส�ำนวนการสอบสวน น�ำมาวิเคราะห์ หาความจริง จนกระทั่งพบ “ความไม่ปกติ” ของผู้เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา (ในชั้นสอบสวน) และจ�ำเลย (ในชั้นศาล) นอกจาก “ความไม่ปกติ” ที่พบในตัวสตูเร่  แบร์กวาลล์เองแล้ว ร็อสตัมยังพบ “ความไม่ปกติ” ที่แพทย์  ทนายจ�ำเลย ต�ำรวจ อัยการ ศาล

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

11


และสื่อมวลชนอีกด้วย มันเลยกลายเป็นเรื่องอื้อฉาวในกระบวนการยุติ ธรรมครั้งใหญ่ที่สุดในสวีเดน ชาติที่พัฒนาแล้วอันดับต้นๆ ของโลก เรื่องราวของสตูเร่  แบร์กวาลล์/โทมัส ควิก ยังสะท้อนบทบาทของ สื่อต่อผลกระทบทางคดี  ทั้งด้านลบและบวกขึ้นอยู่กับจรรยาบรรณของ ผู้ท�ำหน้าที่สื่ออีกด้วย อนึ่ง ในเล่มนี้มีข้อความ “ล�ำดับย้อนเหตุการณ์” หลายแห่ง จึงใคร่ ขอท�ำความเข้าใจว่า โดยทั่วไปเมื่อพนักงานสอบสวนน�ำผู้ต้องหาซึ่งรับ สารภาพไปยังที่เกิดเหตุ   บางท่านคุ้นจากข่าวกับค�ำ “ชี้ที่เกิดเหตุประกอบ ค�ำรับสารภาพ” หรือ “ท�ำแผนประทุษกรรม”  แต่กรณีของสตูเร่  แบร์กวาลล์ซึ่งสารภาพก่อคดีฆาตกรรม ที่ใช้ค�ำว่า “ล�ำดับย้อนเหตุการณ์” เพราะ แต่ละคดีที่เขาสารภาพผิดมีปัญหาให้พิจารณามากมาย ตั้งแต่ประเด็นวัน เวลาเกิดเหตุ  สถานที่เกิดเหตุ  อาวุธ วิธีการ และรายละเอียดการกระท�ำ ผิดอื่นๆ  บางคดีเจ้าตัวสับสน ไม่แน่ใจ พนักงานสอบสวนซึ่งประกอบ ด้วยพนักงานอัยการและต�ำรวจเป็นฝ่ายพาไป จึงเลือกใช้  “ล�ำดับย้อน เหตุการณ์”  นี่คือเหตุผลหนึ่ง อีกเหตุผล “ล�ำดับย้อนเหตุการณ์” น่าจะมีความหมายกว้างกว่า และหมายรวมถึง “ชี้ที่เกิดเหตุประกอบค�ำรับสารภาพ” หรือ “ท�ำแผน ประทุษกรรม” ด้วย เมื่อผู้กระท�ำผิด “ชี้ที่เกิดเหตุประกอบค�ำรับสารภาพ” หรือ “ท�ำ แผนประทุษกรรม” หมายถึงผู้กระท�ำผิดสาธิตพฤติการณ์กระท�ำผิดแต่ละ ขั้นตอนตามล�ำดับเวลาตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งก็อยู่ในความหมายของการ “ล�ำดับย้อนเหตุการณ์” นั่นเอง แต่บางคดี  การกระท�ำผิดเกิดขึ้นแล้วยังไม่ทราบตัวผู้กระท�ำผิด พนักงานสอบสวนหรือต�ำรวจฝ่ายสืบสวนอาจสืบสวนหาตัวผู้กระท�ำผิด โดยใช้การ “ล�ำดับย้อนเหตุการณ์” ผสมผสานกับเทคนิคอื่น เช่น กรณี ระเบิดที่แยกราชประสงค์  ซึ่งต�ำรวจ “ล�ำดับย้อนเหตุการณ์” ตามวันเวลา โดยกล้องวงจรปิดหลายตัวในที่ต่างๆ สามารถบันทึกภาพการเคลื่อนไหว ของผู้ต้องสงสัยไว้ได้  แล้วเรียงล�ำดับเหตุการณ์ตามภาพและวันเวลา

12

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


เหล่านั้น ประมวลกับการสืบสวนสอบสวนแนวทางอื่น น�ำไปสู่การจับกุม ผู้กระท�ำผิด เมื่ออ่านเรื่องนี้จบ เชื่อว่าผู้อ่านคงเกิดค�ำถามในใจมากมาย ทั้ง “สตูเร่  แบร์กวาลล์/โทมัส ควิกเป็นใครกันแน่? เขาเป็นผู้ป่วยทางจิตหรือ นักต้มตุ๋น หรือนักแสดง หรือเป็นทุกอย่างในตัวคนคนเดียวกัน?” โรจนา  นาเจริญ

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

13


ค�ำน�ำโดยอลิซาเบธ เดย์

คนจ�ำนวนมากไม่อยากเชื่อเรื่องที่ก�ำลังจะได้อ่าน ฉันได้สัมผัสเรื่องราวอันเหลือเชื่อของโทมัส ควิก –ฆาตกรต่อเนื่อง ผู้ไม่เคยฆ่าใคร– เป็นครั้งแรกเมื่อได้อ่านบทความสั้นๆ ในเดือนสิงหาคม 2012 เกี่ยวกับหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งเพิ่งตีพิมพ์ในสวีเดนและต่อมากลายเป็น หนังสือขายดี  เขียนโดย ฮันเนส ร็อสตัม  ผู้สื่อข่าวเชิงสืบสวนเปิดโปงการ ตัดสินลงโทษผิดคนครั้งใหญ่ที่สุดในกระบวนการยุติธรรมยุคปัจจุบัน  เขา เล่าเรื่องราวโทมัส ควิก ผู้ป่วยภายใต้การควบคุมตัวในโรงพยาบาลจิตเวช สารภาพว่าตนเป็นผู้ก่อคดีฆาตกรรมกว่า 30 รายทั้งๆ ที่ไม่เคยท�ำ ครั้งหนึ่งเชื่อกันว่า โทมัส  ควิกเป็นฆาตกรต่อเนื่องฉาวโฉ่ที่สุดใน สวีเดน ภาพใบหน้าสวมแว่นตาของเขาปรากฏตามหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ และจอโทรทัศน์ตลอดยุค 90  สื่อหนังสือพิมพ์ตั้งฉายาชายผู้นี้ว่า “มนุษย์ กินคน” ค�ำสารภาพอั น แข็ ง ขั น ส่ ง ผลให้ ค วิ ก โดนศาลพพากษาโทษฐาน ฆาตกรรม 8 คดี   แต่เมื่อร็อสตัมเริ่มสืบสวนในปี  2008 กลับไม่พบพยาน หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์สนับสนุนค�ำสารภาพของควิกสักชิ้น ไม่ว่า จะดีเอ็นเอ อาวุธที่ใช้สังหาร ประจักษ์พยาน ไม่มีอะไรเลยนอกจากค�ำ

14

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


สารภาพจากปากควิกล้วนๆ  อีกทั้งหลายๆ ส่วนยังได้มาในระหว่างที่เขา อยู่ภายใต้ฤทธิ์ยาซึ่งเป็นสารเสพติด หนังสือซึ่งขณะนี้อยู่ในมือคุณ พิสูจน์ความอัจฉริยะอันเด็ดเดี่ยว ของร็อสตัมต่อความจริงที่ว่า  เขาตั้งค�ำถามมากมายและเฝ้าซักถามตลอด แบบกัดไม่ปล่อย แม้กระทั่งยามที่เรื่องอื้อฉาวของควิกโยงใยขึ้นไปถึงสังคม ชั้นสูงของสวีเดน กลุ่มคนซึ่งต้องการให้เขาหยุดเสียที  บ่ายเบี่ยงความ พยายามสืบเสาะค้นคว้าหาความจริงของร็อสตัมเป็นการสร้างทฤษฎีที่ไร้ เหตุผล กลุ่มคนซึ่งไม่ต้องการยอมรับว่ามีบางสิ่งบางอย่างผิดพลาดอย่าง มหันต์ เพราะหากยอมรับว่าร็อสตัมถูก นอกจากไม่ปฏิเสธว่าชายผู้บริสุทธิ์ คนหนึ่งถูกคุมขังโดยมิชอบมานานหลายปี  ก็ยังยอมรับอีกด้วยว่าฆาตกร ตัวจริงยังลอยนวลอยู่ข้างนอก ไม่เคยถูกน�ำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อด�ำเนินคดีในอาชญากรรมที่ก่อขึ้น  ทั้งต�ำรวจ ทนายความ และนัก บ�ำบัดล้วนต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดในการพิจารณาคดีซึ่งเป็นผล ให้มีค�ำพิพากษาตัดสินโทษผิดคน  รวมถึงไม่ต่างจากยอมรับว่า สิ่งที่เกิด ขึ้นในสวีเดนสามารถเกิดขึ้นได้ในที่อื่น และก่อความเสียหายมากมายเช่น เดียวกัน บางที  ส่วนที่พิเศษสุดของเรื่องนี้ก็คือ ร็อสตัมเป็นฝ่ายถูก เดือนสิงหาคม 2012  เมื่ออ่านข่าวสั้นๆ นั้น ฉันฉุกคิดขึ้นมาว่า หาก ฉันชมเรื่องราวของโทมัส ควิกในละครโทรทัศน์สแกนดิเนเวียน ก็คงรู้สึก ว่าเค้าโครงเรื่องเกินจริงเกินไป แต่มันก็แจ่มแจ้งกับตาว่านี่เป็นเรื่องจริง ฉันจึงสนใจและอยากรู้มากขึ้น พอหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตก็พบว่า ขณะนี้ โทมัส ควิกซึ่งมีชื่อจริงว่าสตูเร่  แบร์กวาลล์  ยังคงถูกคุมขังที่โรงพยาบาล จิตเวชในแซเทอร์  สถานที่ซึ่งเขาท�ำ “ค�ำสารภาพ” ของตัวเองขึ้น  ศาลยก ฟ้องคดีฆาตกรรมไปแล้ว 5 คดี  และอยู่ในระหว่างรอผลการพิจารณาคดี ใหม่อีก 2 คดี   ฉันจึงเดินทางไปพบเขาที่สวีเดนเพื่อเขียนสารคดีชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้หนังสือพิมพ์  อ็อบเซิร์ฟเวอร์

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

15


ตลอดการเดินทาง ฉันรู้ซึ้งว่าสารคดีที่ก�ำลังเขียนเป็นผลมาจาก การอุทิศตนของร็อสตัมอย่างแท้จริง  เขาเป็นผู้สื่อข่าวเชิงสืบสวนที่ฉลาด หลักแหลม เริ่มต้นจากเป็นนักดนตรีมือเบสอาชีพในสวีเดน ก่อนจะเปลี่ยน สายมาเป็นนักวิจัยเอกสารตอนอายุ  30 ปลายๆ  เคยได้รับรางวัลอันทรง เกียรติมากมาย มีชื่อว่าเป็นคนไม่เกรงกลัวการขบปัญหาใหญ่ๆ  เปิดโปง เรื่องราวที่ต�ำรวจปกปิด ไปจนถึงแกะรอยวงการค้ามนุษย์เพื่อธุรกิจทาง เพศโดยมิชอบ เพื่อไล่ล่าหาความจริงอย่างไม่หยุดหย่อน อาจารย์หลายท่านจากสถาบันวารสารศาสตร์กล่าวว่า หากส่งนัก ศึกษากลุ่มหนึ่งไปท�ำข่าวอุบัติเหตุทางรถยนต์  คนอื่นๆ จะกลับมานั่งโต๊ะ แล้วเขียนรายงาน ในขณะที่ฮันเนส ร็อสตัมยังตรวจนอตล้ออยู่ในที่เกิด เหตุ   โทมัส ออลสัน ซึ่งเคยท�ำงานกับร็อสตัมมาหลายครั้ง และปัจจุบัน เป็นตัวแทนของสตูเร่  แบร์กวาลล์  กล่าวถึงความใส่ใจต่อปัจจัยและองค์ ประกอบเล็กจิ๋วที่สุดของการสืบสวนสอบสวนเช่นนี้ว่าเป็นคุณลักษณะของ ร็อสตัม “ฮันเนสทุ่มเทให้กับสิ่งที่เขาเชื่อว่าเป็นภารกิจของการท�ำข่าว  ด้วย เหตุนี้เขาจึงใส่ใจในรายละเอียดอย่างรอบคอบ  ทุกข้อความทุกรายละเอียด ถูกพลิกกลับไปกลับมาหลายครั้งหลายหน และต้องได้รับการยืนยันก่อน ตีพิมพ์   ผมบอกเขาครั้งหนึ่งว่า ถ้าศาลมีความรอบคอบและระมัดระวัง เหมือนเขา ก็คงปราศจากความเสี่ยงที่น�ำไปสู่การลงโทษผู้ไม่ได้กระท�ำผิด” ร็อสตัมให้ความเคารพกับข้อเท็จจริง และจุดนี้น�ำพาเขาไปยังคดี ความของโทมัส ควิก  แม้ค�ำพิพากษาลงโทษควิกก่อให้เกิดการโต้แย้ง ในสวีเดนอย่างกว้างขวางเป็นเวลานาน แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถอธิบายให้ เหตุผลที่แน่ชัด ร็อสตัมเป็นผู้ส่ือข่าวรายแรกที่ควิกไว้ใจ เขามีพรสวรรค์ในการรับ ฟังและเปิดใจกว้าง ทั้งสองคนจึงกลายเป็นเพื่อนกัน  ตอนที่ฉันไปพบควิก เขาพูดถึงร็อสตัมว่า “ฮันเนสเป็นคนเปี่ยมพลังแรงกล้า มีพรสวรรค์ในการ รับฟังผู้อื่นและแบ่งปันความรู้สึก  นี่เป็นครั้งแรกที่ผมเริ่มคิด บางสิ่งบาง

16

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


อย่างอาจจะเกิดขึ้น ผมรู้สึก ใช่! บางอย่างใกล้จะเปลี่ยนแปลงในไม่ช้า ผมพร้อมกลับตัวกลับใจ...ช่างรู้สึกปลดปล่อยที่ได้พูดความจริงเสียที”  เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของควิก ร็อสตัมใช้เวลาหลายปีค้นหาข้อมูล จากเอกสารหลายพันหน้า สัมภาษณ์ตัวละครส�ำคัญหลายคนซ�้ำแล้วซ�้ำอีก น�ำข้อมูลที่ได้มาปะติดปะต่อเข้าด้วยกันเป็นล�ำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตาม ล�ำดับเวลาที่ซับซ้อน  มัตติยาส เยอรานสันซึ่งเป็นทั้งเพื่อนและเพื่อนร่วม อาชีพจ�ำได้ว่า แล็ปท็อปของร็อสตัมใช้เวลาค�ำนวณขนาดของเอกสาร ส�ำคัญเกี่ยวกับควิกนานถึง 9 วินาที   เมื่อการสืบสวนข้อเท็จจริงเสร็จสิ้น โฟลเดอร์ดังกล่าวบรรจุข้อมูล 12.5 กิกะไบต์  เอกสาร 5,218 ฉบับ  การ ประมวลข้อมูลในเอกสารเหล่านี้จนออกมาเป็นเรื่องราวน่าสนใจยิ่ง ถือเป็น ความส�ำเร็จอย่างเหลือเชื่อ  บางตอนที่ท่านอ่านพบในเล่มนี้อาจท�ำให้รู้สึกอึดอัด เช่น ตอนที่กล่าวถึง ส�ำเนาเกี่ยวกับผลตรวจทางจิตเวชนั้นพิลึกพิลั่นชวนสะอิดสะเอียนเลย ทีเดียว แต่นั่นคือภาษาที่ใช้กันจริงๆ มันชี้ว่ากระบวนการทั้งระบบสับสน และสิ้นหวังแค่ไหน  เมื่ออ่านต่อ ท่านอาจจะตั้งค�ำถามว่า เหตุใดกลุ่มคนใกล้ชิดจึง กระหายที่จะเชื่อเรื่องที่ควิกเล่า และไม่เต็มใจจะทักท้วงเห็นต่างกับความ คิดซึ่งแพร่หลายในสังคม  ร็อสตัมให้ค�ำตอบว่า เป็นเพราะพวกเขาอยาก เชื่อว่าควิกผิดจริงตามข้อกล่าวหา ยิ่งพวกเขาเกี่ยวข้องกับคดีลึกซึ้งมาก ขึ้น ชื่อเสียงทางวิชาชีพก็ยิ่งเดิมพันสูงขึ้น  แต่คนอย่างร็อสตัมจะไม่เชื่อ อะไรหากไม่ปรากฏพยานหลักฐานแน่ชัด ปราศจากข้อสงสัย และเป็น ความจริง  ด้วยเหตุนี้  เขาจึงขุดค้นจนกว่าจะถึงจุดนั้น เยนนี่   คิททิม นักวิจัยซึ่งท�ำงานให้ร็อสตัมในคดีควิก กล่าวถึงการ ท�ำงานของร็อสตัมว่า “เขาหมกมุ่นกับการค้นหาความจริง  สอนฉันให้อ่าน เอกสารทุกแผ่น ทุกเชิงอรรถ  อ่านบทความที่อ้างถึงในเชิงอรรถเหล่านั้น สอนให้คุยกับบุคคลที่มีส่วนรับผิดชอบ เปิดใจให้กว้างตลอดเวลา อย่า ท้อแท้ในการรวบรวมข้อเท็จจริง  เขาตั้งค�ำถามอย่างไม่หยุดยั้งเกี่ยวกับ

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

17


บริบท ข้อสรุป และเป้าหมายส่วนตัวของแต่ละคนในเรื่อง  นี่คือจุดแข็ง ของร็อสตัม”   ฉันอยากพบกับฮันเนส ร็อสตัม อยากให้เขาเป็นคนเขียนค�ำน�ำเองแทนที่ จะเป็นฉัน  แต่ในเดือนเมษายน 2011 ระหว่างที่เขาก�ำลังเขียนหนังสือ เล่มนี้ไปได้ครึ่งเล่ม แพทย์ตรวจพบว่าเขาเป็นมะเร็งตับและตับอ่อน  ช่วง หนึ่งไม่มีใครเชื่อว่าจะถึงชีวิต  ร็อสตัมยังคงท�ำงานต่อไปด้วยความช่วย เหลือของลิล่า เบลล์  ดรอเก้  และมัตติยาส เยอรานสัน ตัวแทนวรรณกรรม ของเขา ซึ่งบ่อยครั้งจะนั่งข้างเตียงที่เขานอนป่วยเพื่อจดข้อความส�ำคัญ ตามค�ำบอก  ร็อสตัมถึงแก่กรรมในเดือนมกราคม 2012 หลังเขียนต้นฉบับ เสร็จเพียงวันเดียว “ความทรงจ�ำเด่นชัดที่สุดของผมคือครั้งสุดท้ายที่เราพบกัน” โทมัส อูลซอนเล่า “มันเป็นต้นฤดูร้อน ผมไปคุยเรื่องต้นฉบับที่บ้านพักฤดูร้อน ของเขานอกเมืองกอเธนเบิร์ก  เขาเข้าครัว ท�ำอาหาร  เรานั่งท่ามกลาง แสงแดดในสวน ดื่มเบียร์  หารือคดีของควิก  หลังพักคุยชั่วคราว ผมถาม เขาว่ารู้สึกยังไงกับความไม่แน่นอนของผลการรักษามะเร็ง เขาตอบว่า ‘รู้ไหม โทมัส  ผมมีชีวิตที่วิเศษสุดและน่าทึ่ง ผมอยากมีชีวิตอยู่ต่อไป แต่ ก็ไม่กลัวตาย...และผมอยากท�ำหนังสือเล่มนี้ให้เสร็จ’  ตอนนั้นเองที่ผม เข้าใจว่าเขารู้ตัวว่าก�ำลังจะตาย แต่ก็มีความสุขกับทุกสิ่งทุกอย่างที่ชีวิต หยิบยื่นให้    “ในความคิดผม มันบ่งบอกว่าร็อสตัมไม่ใช่เพียงผู้สื่อข่าวที่ยึดมั่น ต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ เขามีความสุขกับชีวิต เมื่อคนเรามีความสุขกับชีวิต เราจะตายอย่างมีความสุขกับสิ่งที่เรามี  ไม่ใช่ขุ่นเคืองกับสิ่งที่เราพลาด” การตายของร็อสตัมในวัย 56 ปี  ไม่เพียงจบเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิต ของเขาเท่านั้น  แต่เขาน่าจะเป็นคนแรกที่กล้าพูดว่า ความไม่เป็นธรรม มีให้เห็นตลอดเวลา  ดังนั้น การค้นหาความจริงส�ำคัญที่สุด อลิซาเบธ เดย์ ลอนดอน, เมษายน 2013

18

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


THOMAS QUICK



ตอนที่ 1

“ทันทีที่ท่านทราบความจริงอันสยดสยองของพฤติ กรรมที่ โ ทมั ส   ควิ ก กระท� ำ ต่ อ เหยื่ อ   และเมื่ อ ท่ า น ได้ยินเสียงค�ำรามเหมือนสัตว์ป่าของชายคนนี้  มี เพียงค�ำถามเดียวที่เหลืออยู่  นั่นคือ เขาเป็นมนุษย์ จริงหรือ?” เพลเล่  ทาเกสสัน ผู้สื่อข่าวอาชญากรรม  หนังสือพิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น 2 พฤศจิกายน 1994


โรงพยาบาลแซเทอร์ วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน 2008

ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา  สตูเร่  แบร์กวาลล์  ผู้มีฉายา “ฆาตกรต่อเนื่อง คนซาดิสต์  และมนุษย์กนิ คน” ไม่เคยรับการเยีย่ มเยียน  ผมกังวลใจขณะที่ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตรงประตูใหญ่ของคลินิกจิตเวชในแซเทอร์ ให้ผ่านเข้าข้างใน  “ฮันเนส ร็อสตัม จากโทรทัศน์สวีดชิ  (Sveriges Television) มาขอ พบสตูเร่  แบร์กวาลล์...”  ผมหย่อนบัตรผ่านนักข่าวในลิ้นชักสเตนเลสขนาดเล็กใต้กระจก กันกระสุนระหว่างผมกับ รปภ.  เขายืนยันว่าการเยี่ยมของผมได้รับการ อนุมัติและบันทึกในสารบบแล้ว “เข้าทางประตูรกั ษาความปลอดภัย อย่าแตะต้องประตูเป็นอันขาด!” ค�ำแนะน�ำกระท่อนกระแท่นออกจากล�ำโพงเครื่องขยายเสียง  ผม ปฏิบตั ติ ามนัน้  ผ่านประตูอตั โนมัต ิ ผ่านเครือ่ งจับโลหะ 2 ตัว  สุดท้าย ผ่าน ประตูอัตโนมัติอีกบานเข้าสู่ห้องนั่งรอ  ที่นั่น หญิงคนหนึ่งซึ่งเป็น “ผู้ช่วย ดูแล” ตรวจค้นกระเป๋าสะพายไหล่ของผม   ผมเดินตามเธอไปผ่านระบบทางเดินในอาคาร บันได และลิฟต์ ต่างๆ ที่คดเคี้ยวจนอธิบายไม่ได้   เสียงรองเท้าเธอกระทบพื้นคอนกรีต

22

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


เป็นจังหวะ จากนั้นเงียบลงและมีเสียงลูกกุญแจกระทบกันทุกครั้งที่ต้อง ผ่านเครื่องกีดขวางเหล็ก  ตามด้วยเสียงแหลมสั้นๆ ของกุญแจล็อกอิเล็กทรอนิกส์และบานประตูหุ้มเกราะปิด โทมัส ควิกรับสารภาพคดีฆาตกรรมกว่า 30 ราย  ศาล 6 แห่งตัดสิน เป็นเอกฉันท์ว่าเขามีความผิดฐานฆาตกรรม 8 ราย  แต่หลังการตัดสินคดี สุดท้ายในปี  2001 ควิกถอนตัวอ้าง “ขอเวลานอก” กลับไปเป็นสตูเร่  แบร์กวาลล์คนเดิมอีกครั้ง แล้วปิดปากเงียบ  ตลอด 7 ปีหลังจากนั้น เกิดการ ถกเถียงเป็นช่วงๆ อย่างเผ็ดร้อนว่า ควิกเป็นฆาตกรต่อเนื่องหรือมีความ ผิดปกติเป็นโรคชอบโกหกที่มักโผล่มาให้เห็นเป็นระยะ แต่เจ้าตัวคิดอะไร อยู่ไม่มีใครรู้   ทว่าขณะนี้  ผมก�ำลังจะได้พบเขาแบบตัวต่อตัว ผู้ช่วยดูแลพาผมเข้าหอผู้ป่วยขนาดใหญ่ว่างเปล่า พื้นพลาสติกเป็น มันวาว  เธอน�ำทางเข้าห้องเยี่ยม “เขาก�ำลังมา” เธอบอก ผมรู้สึกไม่สบายใจขึ้นมาทันที “คุณช่วยรออยู่นอกห้องระหว่างผมคุยกับเขาได้ไหมครับ?” “หอผู้ป่วยแห่งนี้เลิกใช้แล้ว เลยไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่สักคน” เธอตอบ ห้วนๆ จากนั้นเหมือนอ่านใจผมออก เธอล้วงอุปกรณ์เล็กๆ ออกจากกระ เป๋า “คุณอยากได้เครื่องส่งสัญญาณแจ้งเหตุถูกท�ำร้ายไหม?” ผมจ้องหน้าเธอ แล้วมองอุปกรณ์สีด�ำนั้น สตูเร่  แบร์กวาลล์ถูกคุมขังที่นี่ตั้งแต่ปี  1991 และถือว่าเป็นบุคคล อันตราย  จึงได้รับอนุญาตให้นั่งรถออกจากเขตสถานพยาบาล 6 สัปดาห์ ต่อครั้งโดยมีผู้คุม 6 คนไปด้วย  ให้คนบ้าออกไปเห็นขอบฟ้าบ้างก็เพื่อไม่ ให้บ้ามากกว่านี้  ผมคิด ขณะนี้  ผมมีเวลา 2-3 วินาทีที่จะตัดสินใจว่า มีสถานการณ์ไหน บ้างที่ควรใช้เครื่องส่งสัญญาณแจ้งเหตุร้าย แต่ไม่มีค�ำตอบออกจากปาก “ที่ประตูถัดไปมีปุ่มกดส่งสัญญาณเสียงไว้แจ้งเหตุกรณีต้องการ ความช่วยเหลือ” ผู้ช่วยดูแลบอก

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

23


ผมเกือบจะคิดว่าเธอพูดเล่น เพราะเธอคงรูเ้ หมือนผมว่า ปุม่ ส่งสัญญาณแจ้งเหตุที่ประตูห้องถัดไปคงไม่สามารถช่วยเหลือผู้ที่จะตกเป็นเหยื่อ สังหารของควิกให้ปลอดภัยได้ ผมหยุดคิดทันทีที่เห็นร่างสูง 6 ฟุต 2 นิ้วของสตูเร่  แบร์กวาลล์โผล่ ที่ประตูห้องโดยมีผู้ช่วยดูแล 2 คนขนาบข้าง  เขาสวมเสื้อกีฬาแขนยาวสี ม่วงซีดจาง กางเกงยีนส์เก่า และรองเท้าแตะ  ยิ้มประหม่าขณะจับมือ ทักทายผมพร้อมโน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย ราวกับไม่กดดันผมให้เข้าใกล้ เขามากเกินไป ผมดูมือข้างนั้น มือที่เจ้าตัวรับว่าเคยฆ่าคนอย่างน้อย 30 ราย ผู้ช่วยดูแลออกไปหมดแล้ว ทิ้งผมไว้กับมนุษย์กินคนตามล�ำพัง

24

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


แซเทอร์แมน

สื่อมวลชนรายงานข่าวที่ชวนไม่สบายใจเหมือนอย่างเคย ผูส้ อื่ ข่าวหนังสือพิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น ถามพุง่ เข้าประเด็นอย่างร้อนรน “ชายคนหนึ่งในฟาลุนสารภาพว่าเป็นคนฆ่าโยฮันลูกชายคุณมี ความเห็นยังไงครับ?” แอนนา-คลาร่า แอสพลุนด์เพิ่งกลับจากท�ำงานถึงบ้าน ก�ำลังยืน ในห้องโถง ยังไม่ถอดเสื้อคลุม กุญแจไขประตูหน้ายังอยู่ในมือ เธอได้ยิน เสียงโทรศัพท์ในบ้านดังขึ้นระหว่างปลดล็อกประตู “ผมรีบนิดหน่อย” นักข่าวอธิบาย “พรุ่งนี้ผมต้องเข้ารับผ่าตัดไส้ เลื่อน แต่ต้องส่งบทความก่อน” แอนนา-คลาร่าไม่เข้าใจเรื่องที่เขาพูด แต่รู้สึกทันทีว่า บาดแผล เก่าของเธอถูกเปิดกว้างอีกครั้ง  จากวันนี้-จันทร์ที่  8 มีนาคม 1993-เป็น ต้นไป คงต้องกลับไปฝันร้ายอีก นักข่าวบอกเธอว่า คนไข้วัย 42 ปีที่คลินิกจิตเวชในแซเทอร์ราย หนึ่ง สารภาพว่าเป็นคนฆ่าบุตรชายของเธอ นักข่าวอ้างค�ำพูดของคนไข้ รายนี้ว่า “ผมฆ่าโยฮัน”  แอนนา-คลาร่าแปลกใจ เหตุใดต�ำรวจไม่ติดต่อ เธอก่อนแจ้งหนังสือพิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

25


นับจาก 7 พฤศจิกายน 1980  ชีวิตแอนนา-คลาร่ากับบียอร์น แอสพลุนด์เหมือนตกนรกทั้งเป็น มันเป็นวันธรรมดาๆ เหมือนทุกวัน เธอท�ำ อาหารเช้าให้โยฮัน ลูกชายวัย 11 ขวบ ก่อนลาลูกรีบออกไปท�ำงาน  ส่วน โยฮัน ออกจากบ้านเวลาประมาณ 08.00 น. ต้องเดินไปโรงเรียนที่อยู่ห่าง จากบ้านเพียง 300 เมตรเท่านั้น แต่ไปไม่ถึงโรงเรียน  ตั้งแต่นั้นเป็นต้น มา เขาหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย  วันแรก ต�ำรวจส่งก�ำลังพลจ�ำนวนมากออกค้นหา ใช้ทรัพยากรทุก อย่างที่จ�ำเป็น จัดทีมหลายทีมแยกตรวจค้น ส่งเฮลิคอปเตอร์บินสังเกต เบื้องบน และใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนหรือกล้องอินฟราเรดหลายตัว แต่ไม่พบวี่แววเด็ก คดีโยฮันกลายเป็นคดีลึกลับที่สุดคดีหนึ่งในประวัติศาสตร์อาชญา กรรมสวีเดน บิดามารดาให้สัมภาษณ์  เข้าถ่ายท�ำสารคดี  และร่วมถก ปัญหาอย่างไม่จบไม่สิ้น  พวกเขาเปิดเผยความรู้สึกที่ต้องเสียลูกคนเดียว หลายต่อหลายครั้งโดยไม่รู้ว่าเกิดอะไรกับลูก ไม่มีหลุมศพที่จะเยี่ยม แต่ก็ ไม่เกิดผลอันใด แอนนา-คลาร่ากับบียอร์น แอสพลุนด์แยกทางกันขณะโยฮันอายุ 3 ขวบ แต่ยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  ในช่วงเวลาแห่งความยาก ล�ำบากอันยาวนานจากการหายตัวของลูกชาย ทั้งคู่ต่างช่วยเหลือซึ่งกัน และกันยามเผชิญหน้ากับนักข่าวและองค์กรทางกฎหมายอย่างสิ้นหวัง ทั้งสองเชื่อแต่แรกว่า ชายที่แอนนา-คลาร่าเคยอาศัยอยู่ด้วยกัน เป็นคนลักพาตัวโยฮัน  ว่ากันว่ารักไม่สมหวังและความหึงหวงที่ไม่สามารถ ควบคุมได้คือมูลเหตุจูงใจ และชายคนนี้ก็เคยมีพฤติการณ์ออกนอกลู่นอก ทางเหมือนกัน อดีตเพื่อนชายของแอนนา-คลาร่าให้การปฏิเสธ  อ้างว่า เช้าวัน เกิดเหตุเขาตื่นนอนเวลา 09.00 น.  แต่ประจักษ์พยานหลายคนเห็นเขา ออกจากบ้านเวลา 07.15 น.  อีกหลายคนเห็นรถของเขาแถวหน้าบ้านเด็ก เวลาประมาณ 08.00 น.  เพื่อนและเพื่อนร่วมงานหลายคนของชายผู้นี้ รายงานพฤติกรรมแปลกๆ ของเขาหลังการหายตัวของโยฮัน  แม้กระทั่ง

26

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


เพือ่ นสนิททีส่ ดุ ก็เข้าให้การกับต�ำรวจว่า อดีตเพือ่ นชายของแอนนา-คลาร่า น่าจะเป็นคนลักพาตัวโยฮัน บียอร์น แอสพลุนด์พูดกับผู้ต้องสงสัยรายนี้ต่อหน้าพยาน 2 คน ว่า “แกมันไม่มนี ำ�้ ยา เป็นอะไรไม่ได้นอกจากฆาตกร แกฆ่าลูกชายฉัน แก ไม่มีทางรอดจากคดีนี้ได้   จากนี้ไป ฉันจะพูดกับทุกคนว่า แกฆ่าโยฮัน” ฝ่ายทีถ่ กู กล่าวหาไม่ตอบโต้  หรือพยายามฟ้องหมิน่ ประมาทบียอร์น แอสพลุนด์ฐานใส่ร้ายป้ายสี  ท�ำให้พ่อแม่โยฮันมองว่านั่นเป็นอีกข้อบ่งชี้ ถึงความส�ำนึกผิดของเขา  กระนั้น แม้มีทั้งพยานแวดล้อม พยานบุคคล และมูลเหตุจูงใจ แต่ก็ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความผิดอย่างแน่ชัด หลังโยฮันหายไป 4 ปี  พ่อแม่เด็กจ้างทนายความชื่อเพลเล่  สเวนสัน ฟ้องคดีแพ่งอดีตเพื่อนชายของแอนนา-คลาร่า  นี่เป็นการตัดสินใจที่ประ หลาด และหากศาลยกฟ้องก็ต้องแบกรับความเสี่ยงด้านการเงินก้อนโต ทีเดียว หลังการพิจารณาคดีบีบเค้นใจ ศาลแขวงพบว่าจ�ำเลยลักพาตัว โยฮันจริง เขาถูกพิพากษาโทษจ�ำคุก 2 ปี   มันเป็นคดีทมี่ องได้วา่ ฉีกแนว ไม่ มีคดีใดเหมือน  นับเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของแอนนา-คลาร่ากับบียอร์น แอสพลุนด์ อย่างไรก็ตาม เมื่อจ�ำเลยยื่นอุทธรณ์  ศาลอุทธรณ์กลับค�ำพิพาก ษาศาลชั้นต้น สั่งปล่อยตัวจ�ำเลยในปีต่อมา และให้ฝ่ายโจทก์  (แอนนาคลาร่ากับบียอร์น แอสพลุนด์) จ่ายค่าใช้จ่ายด้านกฎหมายแก่คู่ความเป็น เงิน 600,000 สวีดิชโครน  ต่อมารัฐบาลยกเว้นค่าธรรมเนียมด้วยเหตุผล “เมตตา” นับแต่นั้นมา 7 ปีผ่านไปโดยปราศจากร่องรอยโยฮัน ไม่มีใครสืบ หาฆาตกรอีกต่อไป แต่บัดนี้  แอนนา-คลาร่ายืนนิ่งสนิทในห้องโถง  มือหนึ่งก�ำหูโทร ศัพท์อีกมือถือกุญแจไขเข้าประตูหน้าบ้าน  เธอพยายามท�ำความเข้าใจสิ่ง ที่นักข่าวพูด ต�ำรวจรื้อฟื้นการสืบสวนสอบสวนคดีสังหารลูกขึ้นมาด�ำเนิน การใหม่  หลังจากคนป่วยจิตเวชรายหนึ่งสารภาพว่าเป็นฆาตกร เธอคิดไม่

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

27


ออกว่าจะให้ความเห็นที่เหมาะสมแก่หนังสือพิมพ์อย่างไร แอนนา-คลาร่าติดต่อต�ำรวจในซุนด์ซวาลล์  ได้รับการยืนยันตรง กับที่นักข่าวบอก  วันรุ่งขึ้น เธอทราบจากหนังสือพิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น ว่า ผู้ป่วยจิตเวชรายนั้นอ้างว่าตนเป็นคนบีบคอโยฮันและน�ำศพไปฝัง นั ก ข่ า วรายเดิ ม ติ ด ต่ อ บี ย อร์ น ซึ่ ง กั ง ขาต่ อ ข้ อ มู ล ใหม่ พ อสมควร เพราะยังเชื่อว่า ชายที่เขาฟ้องในศาลแขวงเป็นคนฆ่าลูก แต่ก็เปิดใจกว้าง พร้อมรับฟัง “หากแน่ชัดว่า คนอื่นคร่าชีวิตโยฮันจริงๆ  ผมยอมกลืนน�้ำลาย ยอมรับความผิดพลาด” เขาพูดกับนักข่าว เอ๊กซ์เพรสเซ่น “ส�ำคัญที่สุดคือ เราต้องพบความจริง” หนังสือพิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น ยังคงติดตามคดีนี้   2 วันถัดมา แอนนา -คลาร่าได้อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับค�ำสารภาพของผู้ป่วยจิตเวช ในโรงพยาบาลแซเทอร์ผู้นี้ “ผมพบโยฮันหน้าโรงเรียน จึงหลอกไปที่รถของผม” แซเทอร์แมน (Säter Man) เล่าให้นกั ข่าว เอ๊กซ์เพรสเซ่น ฟังเมือ่  15 มีนาคม ด้วยชือ่ ตัง้ แต่นั้นมาหนังสือพิมพ์ฉบับนี้เรียกเขาว่า แซเทอร์แมน  “จากนั้น ผมขับ เข้าป่าแห่งหนึ่งแล้วล่วงละเมิดทางเพศเด็ก  ผมไม่เคยคิดฆ่าโยฮัน แต่ เกิดตื่นกลัวเลยบีบคอ แล้วน�ำไปฝังเพื่อไม่ให้ใครพบศพ” ผู้ป่วยจิตเวชวัย 42 ปีรายนี้เป็นบุคคลน่าขยะแขยงสุดๆ อย่างไม่ ต้องสงสัย ย้อนอดีตเมื่อปี  1969  สตูเร่  แบร์กวาลล์  ผู้ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อ เป็นโทมัส ควิก หรือที่นักข่าวเรียกว่าแซเทอร์แมน เคยล่วงละเมิดทาง เพศเด็กชายหลายราย  เขาก่ออาชญากรรมล่าสุดในปี  1990 โดยปล้น ธนาคารในกริกซ์บู  นอกเมืองฟาลุน ถูกจับกุมพร้อมผู้สมรู้ร่วมคิดวัยอ่อน กว่าคนหนึง่  แล้วถูกส่งตัวมาคุมขังในโรงพยาบาลแซเทอร์   ทีน่ เี่ อง ระหว่าง เข้ารับจิตบ�ำบัด เขาสารภาพว่าฆ่าโยฮัน หนังสือพิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น อ้าง ค�ำพูดของเขาว่า “ผมมีชีวิตอยู่กับมันไม่ได้อีกแล้ว อยากช�ำระล้างสิ่ง โสโครก ขจัดมันออกให้หมด ผมต้องการไถ่โทษและได้รับอภัยเพื่อด�ำเนิน ชีวิตต่อไป”

28

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


แกไม่สามารถอยู่กับมันได้อีก? แอนนา-คลาร่า แอสพลุนด์คิด และเลิกสนใจหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น คริสเตอร์  แวน เดอร์  ควาสท์  พนักงานอัยการวัยประมาณ 50 ผู้ เปี่ยมด้วยพลังและความกระตือรือร้น ผมด�ำตัดสั้นมาก แต่งเคราอย่าง ประณีต ชื่อเสียงโด่งดังในทักษะการเสนอความเห็นด้วยน�้ำเสียงทรงพลัง หนักแน่นมั่นคงเสียจนผู้ใต้บังคับบัญชาและบรรดาผู้สื่อข่าวเชื่อถือราวกับ ข้อเท็จจริง  โดยรวมแล้ว เขามั่นใจในตัวเองอย่างเหลือล้น ดูหลงใหลการ ออกค�ำสั่ง ท�ำตัวเสมือนนายพลวางแผนเส้นทางให้กองทัพเคลื่อนขบวน ปลายเดือนพฤษภาคมนั้น คริสเตอร์  แวน เดอร์  ควาสท์แถลงข่าวต่อ ผู้สื่อข่าวจ�ำนวนมากที่มาเฝ้ารอ  เขาแจ้งว่า แซเทอร์แมนระบุสถานที่ซ่อน ชิ้นส่วนศพโยฮันหลายแห่ง  และต�ำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านพิสูจน์หลักฐาน ก�ำลังค้นหาชิ้นส่วนมือเด็กในบริเวณสถานที่แห่งหนึ่งนอกเมืองฟาลุน  เป็น ไปได้ว่าชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ตัดจากศพน่าจะถูกฝังในซุนด์ซวาลล์  แต่หลังจาก พยายามค้นหาอย่างละเอียดโดยใช้สุนัขดมกลิ่นศพ ก็ยังไม่พบอะไร “การที่เราไม่พบอะไร ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไรอยู่ที่นั่น” เขา สรุป ไม่พบพยานหลักฐานใดสามารถเชื่อมโยงผู้ต้องสงสัยรายนี้กับการ หายตัวของโยฮัน อัยการคริสเตอร์  แวน เดอร์  ควาสท์โดนบีบให้ยอมรับ ว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอจะด�ำเนินคดี   แต่ก็ยังไม่สิ้นข้อสงสัย เขาชี้ว่าถึง แม้คดีนี้จะมีพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจิตเวชรายเดียวกันยังพัวพัน กับฆาตกรรมคดีอื่นอีกคดีหนึ่ง เขาแถลงว่า ในปี  1964 ผู้ต้องสงสัยคนนี้ฆ่าเด็กชายวัยเดียวกัน ชื่อโทมัส บล็อมเกร็น อายุ  14 ปี  เหตุเกิดในแวกซ์เฮอ “รายละเอียดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามค�ำบอกเล่าของผู้ป่วยรายนี้ ครอบคลุมสิ่งซึ่งเป็นสาระส�ำคัญอย่างครบถ้วน ประกอบกับมีผลการสืบ สวนรองรับเป็นอย่างดี   ถ้าเป็นภายใต้สถานการณ์ปกติ  ผมคงไม่ลังเลที่ จะแจ้งข้อหาเขา”

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

29


แต่กรณีดังกล่าวมีปัญหา 2 ประการ  ประการแรก อายุความฟ้อง ร้องคดีฆาตกรรมในขณะนั้นคือ 25 ปี  คดีจึงหมดอายุความแล้ว  ประการ ที่  2 ขณะเกิดเหตุ  แซเทอร์แมนเป็นผู้เยาว์  อายุเพียง 14 ปี   เด็กเกินไป ที่จะด�ำเนินคดีในศาลอาญา  อย่างไรก็ตาม การสอบสวนคดีฆาตกรรม โทมัส บล็อมเกร็น กลับมีนัยส�ำคัญยิ่งต่อการสืบสวนในภายหลัง สถานะ ผู้เยาว์ในวัย 14 ปีของแซเทอร์แมนถูกเพิกเฉย  คริสเตอร์  แวน เดอร์  ควาสท์ไม่ได้เปิดเผยว่าแซเทอร์แมนเกี่ยว ข้องกับการสังหารโทมัส บล็อมเกร็นอย่างไร เนื่องจากไม่สามารถด�ำเนิน คดีได้ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงไม่มีการเปิดเผยผลการสืบสวนสอบสวนต่อ สาธารณชน  ถึงกระนั้น กุนนาร์  ลุนด์เกร็น ทนายจ�ำเลยของแซเทอร์แมน เห็นพ้องกับพนักงานอัยการ และยืนยันชัดเจนว่าค�ำบอกเล่าของลูกความ ของเขาน่าเชื่อถือ สื่อมวลชนขุดอดีตและอุปนิสัยอันน่ากลัวของแซเทอร์แมนขึ้นมาตี แผ่แก่ผู้อ่านมากขึ้นเรื่อยๆ  เขาเคยพยายามก่อคดีฆาตกรรมทางเพศเด็ก ชายวัย 9 ขวบคนหนึ่งที่โรงพยาบาลฟาลู   คดีนี้  กุ๊บบ์  ยอน สติ๊กสัน ผู้สื่อ ข่าวหนังสือพิมพ์  ดาล่า-เดโมแครเต็น รายงานว่า “เมือ่ เด็กหวีดร้อง ชายวัย 43 ปีคนนี้พยายามบีบคอ  เขาเล่ารายละเอียดว่าเค้นคอหอยเด็กจนเลือด กระฉูดออกจากปากอย่างไร” หนังสือพิมพ์  ดาล่า-เดโมแครเต็น อ้างว่า แพทย์หลายท่านเตือนมา ตั้งแต่ปี  1970 แล้วว่าแซเทอร์แมนมีแนวโน้มเป็นฆาตกรฆ่าเด็ก และอ้าง ค�ำพูดของนักนิติจิตเวชท่านหนึ่งด้วยว่า “ชายผู้นี้เป็นโรคกามวิตถารร้าย แรงประเภท เปโดฟิเลีย คัม ซาดิสมุส (paedophilia cum sadismus) นัน่ คือ วิปริตทางเพศกับเด็กด้วยความรุนแรง”  เขาไม่เพียงเป็นภัยกับเด็กเท่า นั้น แต่ภายใต้สภาพแวดล้อมบางประการ ยังอันตรายต่อความปลอดภัย สวัสดิภาพ และชีวิตผู้อื่นอย่างยิ่ง 12 พฤศจิกายน 1993 กุ๊บบ์  ยอน สติ๊กสันเปิดเผยว่า การสืบสวน ของต�ำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ต้องสงสัยรายนี้ได้รับการขยายผล

30

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


ครอบคลุมฆาตกรรมทั้งหมด 5 คดี   นอกเหนือจากโยฮัน แอสพลุนด์ใน ปี  1980 และโทมัส บล็อมเกร็นในปี  1964 แล้ว เขายังตกเป็นผู้ต้องสงสัย ฆ่าอัลวาร์  ลาร์สัน วัย 15 ปี  ซึ่งหายตัวจากซิร์เคิน เมื่อปี  1967 รวมทั้ง อิงเงมาร์  นีลนุ ด์  อายุ  48 ปี  ทีถ่ กู สังหารในอุปซอลลาเมือ่ ปี  1977 และอุลเล่ เฮิกบ็อม วัย 18 ปีซึ่งหายตัวอย่างไร้ร่องรอยในซุนด์ซวาลล์ในปี  1983 สติ๊กสันอ้างว่า แซเทอร์แมนสารภาพเป็นฆาตกรทั้ง 5 คดี  จ�ำนวน คดีที่เพิ่มขึ้นตามค�ำกล่าวอ้างของผู้สื่อข่าวส่งผลให้ชายคนนี้กลายเป็น ฆาตกรต่อเนื่องที่แท้จริงรายแรกของสวีเดน “เขาเล่าความจริงเกี่ยวกับการสังหารเด็กผู้ชายหลายคดี” ข้อความ ท่อนหนึ่งในบทความเต็มหน้าหนังสือพิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น ฉบับวันที่  17 มิถุนายน 1994 ระบุ  ทั้งยังอ้างด้วยว่า แซเทอร์แมนรับสารภาพฆาตกรรม อีกคดี   ในทีส่ ดุ  คราวนีพ้ นักงานสอบสวนก็มคี วามคืบหน้าครัง้ ส�ำคัญเกีย่ ว กับชาร์ลส์  เซลมาโนวิตซ์  วัย 15 ปี  ที่หายตัวไปหลังร่วมปาร์ตี้ที่โรงเรียน ในพิเทเออเมื่อปี  1976 แซเทอร์แมนสารภาพว่า เขากับเพื่อนสูงวัยกว่าคนหนึ่งขับรถจาก ฟาลุนไปพิเทเออเพื่อหาเด็กชายสักคนมาล่วงละเมิดทางเพศ  และพบ ชาร์ลส์โดยบังเอิญจึงล่อขึ้นรถ เมื่อถึงป่าใกล้ๆ แซเทอร์แมนบีบคอชาร์ลส์ จนสิ้นใจแล้วหั่นศพ โดยน�ำชิ้นส่วนศพบางชิ้นกลับไปด้วย พนักงานสอบสวนอ้างว่า ควิกไม่เพียงให้ข้อมูลซึ่งอาจจะน�ำไปสู่ การค้นพบศพอีกหลายชิ้นส่วน แต่เขายังระบุชัดเจนเกี่ยวกับชิ้นส่วนที่หิ้ว กลับบ้าน เป็นครัง้ แรกทีแ่ วน เดอร์  ควาสท์มหี ลักฐานทีไ่ ม่เคยมีในคดีอนื่   ค�ำ สารภาพและการบรรยายเกี่ยวกับชิ้นส่วนศพแสดงให้เห็นว่า แซเทอร์แมน มีข้อมูลซึ่งฆาตกรเท่านั้นที่รู้ บทความในหนังสือพิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น ฉบับ 17 มิถุนายน ฟันธง ว่า “ชายวัย 43 ปีผู้นี้เป็นฆาตกรทางเพศ”  คริสเตอร์  แวน เดอร์  ควาสท์เสริมทันที  “เรารู้ว่าเขาพูดความจริง เกี่ยวกับการสังหารเหยื่อ 2 รายนั้น”

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

31


พาดหัวข่าว

เมื่อบีร์กิตต้า สตัวห์เล นักจิตบ�ำบัดผู้รับผิดชอบดูแลแซเทอร์แมน เดินทางไปพักผ่อนในเดือนกรกฎาคม 1994  สังคมมีความกังวลใจกันว่า แซเทอร์แมนจะรับมือตัวเองอย่างไรโดยปราศจากการบ�ำบัดรักษาอย่าง ต่อเนื่องซึ่งนับวันก็ยิ่งมีความส�ำคัญกับเขามากขึ้นเรื่อยๆ  วันจันทร์ที่  4 กรกฎาคม ทีมผู้ดูแลคนป่วยมีแผนจะพาแซเทอร์แมนไปทานอาหารกลาง วันที่ห้องอาหารที่กอล์ฟคลับในแซเทอร์  โดยมีนักศึกษาจิตเวชศาสตร์คน หนึ่งท�ำหน้าที่ดูแลแทนบีร์กิตต้า สตัวห์เล   นักศึกษาหญิงน�ำคนไข้ของเธอออกจากหอผู้ป่วย 36 เวลา 11.45 น. พาเดินไปตามทิศทางสู่สนามกอล์ฟ จู่ๆ แซเทอร์แมนบอกเธอว่าปวด ท้อง ขอเข้าห้องน�้ำ  แล้วเดินไปด้านหลังอาคารร้างซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็น แผนกรักษาความปลอดภัยของโรงพยาบาล  ทันทีที่พ้นสายตาเธอ เขาวิ่ง ตามเส้นทางตัดผ่านป่าออกถนนสเมดเยแบ็กสแวเก็น ซึ่งตามแผน มีรถ วอลโว่  745 เก่าคันหนึ่งติดเครื่องจอดรออยู่แล้ว คนขับเป็นหญิงสาว ข้าง เธอเป็นชายวัยประมาณ 20 ผู้ซึ่งได้รับการทดลองปล่อยตัวชั่วคราวจาก โรงพยาบาลแซเทอร์   แซเทอร์แมนกระโดดเข้านั่งเบาะหลัง คนขับเหยียบ คันเร่งพุ่งรถออกไปทันที

32

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


ทุกคนในรถหัวเราะด้วยความตื่นเต้นหลังการหลบหนีส�ำเร็จตาม แผน  ชายนั่งหน้ายื่นซองพลาสติกเล็กๆ ให้แซเทอร์แมนเปิด เทผงขาว ข้างในใส่ฝ่ามืออย่างคล่องแคล่ว ใช้ปลายนิ้วที่หมาดๆ ด้วยน�้ำลายแตะผง แหย่นิ้วเข้าปาก ดันผงขึ้นติดเพดานปาก จากนั้นก็หลับตาเอนหลังพิงเบาะ “สุดยอด” เขาพึมพ�ำขณะแอมเฟตามีนออกฤทธิ์  แอมเฟตามีนเป็น สารเสพติดที่แซเทอร์แมนโปรดปราน  และเขาก็ชอบรสชาติของมันจริงๆ  เพื่อนวัยหนุ่มที่นั่งหน้าส่งมีดโกน โฟมโกนหนวด หมวกเบสบอลสี น�้ำเงิน และเสื้อยืดให้  พร้อมกับเร่ง “เร็วเข้า  เราไม่มีเวลามานั่งอ้อยอิ่งนะ” ขณะรถวอลโว่เลี้ยวเข้าถนนสายหลักเอส-70 มุ่งหน้าไปทางเฮเดมอร่า  นักศึกษาสาวก�ำลังยืนข้างคลับเฮาส์ของสนามกอล์ฟ ไม่แน่ใจตัว เองว่าควรวิตกหรือไม่  เธอตะโกนเรียก ไม่มีเสียงตอบ  แต่ไม่นานก็แน่ใจ ว่า เขาไม่อยู่หลังอาคารหรือที่อื่นใดแถวนั้น  นึกไม่ถึงว่า ผู้ป่วยที่ดูจริงใจ และเป็นมิตรกับเธอกล้าท�ำลายความรู้สึกของเธอแบบนี้   หลังจากค้นหา พักหนึ่ง เธอเดินกลับหอผู้ป่วย 36 เพื่อรายงานการหลบหนี ถึงตอนนั้น แซเทอร์แมนโกนหนวดเคราเกลี้ยงเกลา เปลี่ยนเสื้อตัว ใหม่  เพลิดเพลินกับอิสรภาพและเคลิบเคลิ้มฤทธิ์แอมเฟตามีนระหว่าง เดินทางโดยไร้จุดหมายตามทางหลวงสาย 270 ไปด้านทิศเหนือ ตอนที่ต�ำรวจในบอร์แล็งเย่ประกาศตามล่าแซเทอร์แมนนั้น  เวลา ผ่านไป 42 นาทีแล้ว ไม่มีใครทราบว่าเขาอยู่ในรถวอลโว่เก่าซึ่งก�ำลังใกล้ ถึงโอเคลบู หนังสือพิมพ์กรอบเย็นหลายฉบับได้กลิ่นข่าวการหลบหนีเข้า ก็พา กันเล่นข่าวนี้ทันที   หนังสือพิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น พาดหัวตัวโตอย่างดุเดือด ว่า :

ต�ำรวจตามล่าตัว แซเทอร์แมน ‘บุคคลอันตรายอย่างยิ่ง’

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

33


ที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้  หนังสือพิมพ์หลายฉบับไม่ระบุอัตลักษณ์ชัด เจนของแซเทอร์แมนด้วยเหตุผลด้านจรรยาบรรณ  แต่เมื่อบุคคลอันตราย ที่สุดในสวีเดนอยู่ระหว่างหลบหนี  สาธารณชนเรียกร้องขอทราบชื่อ รูป ถ่าย และข้อมูลชีวประวัติ  ผลจึงปรากฏออกมาดังนี้ แซเทอร์แมน อายุ  44 ปี   ขณะนี้เปลี่ยนชื่อและรู้จัก กันในนาม โทมัส ควิก เขารับสารภาพเป็นผู้สังหาร เด็กผูช้ าย 5 ราย  ต�ำรวจและอัยการเชือ่ ว่าเขาเกีย่ ว ข้องกับ 2 ใน 5 คดีแน่นอน  ชายผู้นี้เคยบอก เอ๊กซ์เพรสเซ่น ว่าชอบอยู่ในป่ากับสุนัขของเขามากกว่า เมื่อคืนวาน ต�ำรวจออกค้นหาตัวในป่ารอบโอเคลบู ทันทีที่หญิงสาวผู้ขับรถทราบลักษณะอาชญากรรมที่โทมัส ควิก เคยถูกด�ำเนินคดี  เธอก็เกิดอาการลังเลใจ แล้วจอดรถข้างโรงนาร้างแห่ง หนึ่ง เพื่อให้ทั้งสองคนลงจากรถ พวกเขาพบรถจักรยาน 2 คันไม่ได้ล็อก หลังจากจัดการกับมันจนใช้งานได้ก็พากันปั่นไปยังเมืองใกล้ที่สุด ระหว่าง ทางเห็นรถต�ำรวจหลายคัน บางคันแซงผ่านไป เฮลิคอปเตอร์ต�ำรวจหลาย ล�ำบินวนเหนือท้องฟ้า ไม่มีใครสงสัยชาย 2 คนซึ่งก�ำลังปั่นจักรยานเก่า จนขึ้นสนิมในที่ห่างไกล ก�ำลังต�ำรวจจ�ำนวนมากเพียบพร้อมด้วยอาวุธอัตโนมัติ  เสื้อเกราะ กันกระสุน และสุนัขดมกลิ่นตระเวนค้นหาจนกระทั่งเที่ยงคืน แต่ไม่พบ ร่องรอย คืนนั้นทั้งสองนอนในเต็นท์  เช้าวันรุ่งขึ้นแยกทางกัน  แอมเฟตามีน หมดฤทธิ์แล้ว ทั้งคู่จึงรู้สึกเหนื่อย และรู้ว่าการหลบหนีไม่ใช่เรื่องสนุกอีก ต่อไป ระหว่างที่ต�ำรวจยังค้นป่าต่อไป ชายคนหนึ่งสวมหมวกเบสบอล เดินเข้าปั๊มน�้ำมันสตั๊ตออยล์ในเมืองเล็กๆ ชื่ออัลฟ์ต้า “มีโทรศัพท์สาธารณะไหมครับ” เขาถาม

34

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


เจ้าของปั๊มจ�ำไม่ได้ว่าเขาเป็นคนเดียวกับรูปที่ปรากฏหราบนหน้า หนึ่งหนังสือพิมพ์ฉบับเย็น เขาจึงชี้ไปที่โทรศัพท์   ควิกหมุนแล้วพูดสั้นๆ กับต�ำรวจเมืองบอลแนส “ผมขอมอบตัว” “แล้วคุณเป็นใครล่ะ?” ต�ำรวจที่รับสายถาม “ควิก” เขาตอบ “โทมัส ควิก” การหลบหนีของควิกก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วจิ ารณ์อย่างเผ็ดร้อนเกีย่ ว กับมาตรการด้านความปลอดภัยอันหย่อนยานของสถาบันจิตเวชแห่งนี้ บียอร์น อิริคสัน ผู้บัญชาการต�ำรวจแห่งชาติไม่พอใจอย่างยิ่ง “มั น น่ า เอื อ มระอาที่ เ กิ ด เรื่ อ งแบบนี้ ขึ้ น ”  อิ ริ ค สั น กล่ า ว  “บุ ค คล อันตรายยิ่งยวดมีแค่ไม่กี่คน การดูแลเฝ้าระวังพวกเขาจึงไม่น่ามีปัญหา ก�ำลังต�ำรวจเราให้ความส�ำคัญต่อความปลอดภัยของสาธารณชนมากกว่า การพื้นฟูสภาพจิต” ค�ำวิจารณ์ในทางเสียๆ หายๆ โถมใส่โรงพยาบาลจิตเวชแซเทอร์ โดยตรง  แต่วันที่  10 กรกฎาคม 1994 หน้าอภิปรายของหนังสือพิมพ์ ดอเก้นส์  นีเฮเทอร์  ตีพิมพ์บทความที่โทมัส ควิกเขียนด้วยตัวเอง เขาปก ป้องสถาบันจิตเวชอย่างแข็งขัน สรรเสริญบุคลากร และชื่นชมคุณภาพ การดูแลผู้ป่วยที่แซเทอร์   ขณะเดียวกันก็ต�ำหนิข่าวหนังสือพิมพ์ท�ำให้มี ปัญหามากขึ้น นี่คือเนื้อหาสาระของข้อความนั้น ผมชื่อโทมัส ควิก  หลังหลบหนีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่าน มา (4 ก.ค.) และหลังความโกลาหลวุ่นวายขนาน ใหญ่ในสื่อ ทั้งชื่อและหน้าตาผมเป็นที่รู้จักกันดีแล้ว เรือ่ งหลบหนีจากโรงพยาบาล ผมไม่ตอ้ งการ แก้ตัว ถึงแก้ตัวก็ฟังไม่ขึ้น  แต่จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง เน้นถึงการท�ำงานอย่างมีประสิทธิภาพบางประการ ที่สถานพยาบาลแห่งนี้ท�ำมาแล้วและควรท�ำต่อไป

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

35


คุณความดีเหล่านีจ้ มหายไปท่ามกลางเสียงร้องระงม ของนักข่าวผูห้ วิ กระหายข่าวทีน่ า่ ตืน่ เต้น ดังสนัน่ เสีย จนกลบเสียงแห่งปัญญาที่พยายามขับขานให้ได้ยิน

หลายคนแปลกใจในค�ำพูดของควิก มันบ่งชี้ว่า เขาเป็นคนฉลาด และเจ้าส�ำนวน นี่เป็นครั้งแรกที่สาธารณชนได้มองทะลุถึงจิตฆาตกรต่อ เนื่องคนหนึ่ง  อีกทั้งได้เรียนรู้ถึงแนวทางปฏิบัติต่อค�ำสารภาพในคดีฆาต กรรมของโทมัส ควิก “เมื่อมาถึงหอผู้ป่วยจิตเวชในแซเทอร์   ผมจ�ำชีวิต 12 ปีแรกของ ตัวเองไม่ได้  ความทรงจ�ำที่ถูกกดทับไว้พอๆ กันก็คือคดีฆาตกรรม ซึ่งขณะ นี้ผมสารภาพและต�ำรวจซุนด์ซวาลล์ก�ำลังสอบสวน”  โทมัส ควิกชื่นชมบุคลากรผู้ช่วยเขากู้ความจ�ำเรื่องฆาตกรรมที่โดน กดทับไว้ให้กลับคืนมา  เขาเล่าวิธีการที่นักบ�ำบัดให้ความช่วยเหลือใน กระบวนการที่ปวดร้าวนี้ว่า “ความกังวล รู้สึกผิด และโศกเศร้าเสียใจต่อ สิ่งที่ผมท�ำลงไปนั้นมากมาย หนักหนาสาหัสเหลือเกินจนแบกไว้ไม่ได้อีก จริงๆ ผมต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ท�ำไปแล้วและจะท�ำจากนี้ไป  ผมละอาย ที่ ไ ม่ มี ห นทางใดสามารถเยี ย วยาการกระท� ำ ผิ ด กฎหมายและศี ล ธรรม เหล่านั้นได้   แต่วันนี้  อย่างน้อยผมก็พร้อมจะบอกว่าเคยท�ำอะไรมาบ้าง ตามความพร้อมของผม”   ควิกอ้างว่า เขาไม่ได้หนีไปเพื่อก่อคดีอาชญากรรมใหม่  แต่เพื่อฆ่า ตัวตาย “หลังจากแยกทางกับเพื่อน ผมนั่งจ่อปากกระบอกปืนลูกซองตัด ล�ำกล้องสั้นที่หน้าผากอยู่นานถึง 13 ชั่วโมง แต่ท�ำไม่ส�ำเร็จ  วันนี้  ผมขอ รับผิดชอบต่ออดีต  ผมคิดว่าความรู้สึกรับผิดชอบนี้หยุดยั้งผมไม่ให้จบ ชีวิตตัวเอง จึงโทรศัพท์บอกต�ำรวจให้มาจับตัว  นั่นคือสิ่งที่ผมอยากจะ เชื่อ”

36

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


ชาร์ลส์ เซลมาโนวิตซ์

18 ตุลาคม 1994 ศาลแขวงพิเทเออได้รบั ค�ำร้องจากอัยการคริสเตอร์ แวน เดอร์  ควาสท์  ขอหมายเรียกพร้อมค�ำอธิบายความผิดสั้นๆ ว่า “คืน วันที่  13 พฤศจิกายน 1976  ที่บริเวณป่านอกเมืองพิเทเออ ควิกฆ่าโดย การบีบคอชาร์ลส์  เซลมาโนวิตซ์  ผู้ตาย ซึ่งเกิดในปี  1961”  ศาลนัดวันเริ่มพิจารณาคดีในวันที่  1 พฤศจิกายน 1994 แม้ใกล้ ถึงก�ำหนดวันไต่สวนค�ำสารภาพของควิกแล้วก็ตาม สื่อตีแผ่รายละเอียด เกี่ยวกับประวัติและภูมิหลังของผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตกรต่อเนื่องรายนี้ มากขึ้นเรื่อยๆ  ก่อนหน้านี้  ส่วนมากมีเพียงหนังสือพิมพ์ประเภทแท็บลอยด์* เท่านั้นที่สนใจเรื่องราวพิลึกๆ ของควิก  แต่ตอนนี้  หนังสือพิมพ์ ไซซ์ใหญ่พากันกระโจนเข้าสังเวียนข่าวควิกด้วย  วันที่  1 พฤศจิกายน หนังสือพิมพ์  สเวนสก้า ด็อกบลาเด็ท ตีพิมพ์บทความชิ้นหนึ่งพูดถึงโทมัส ควิก ซึ่งตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาทุกคนยึดถือกันว่าเป็นความจริง  นักข่าว ชื่อ ยอนเน่  มัตต์สัน เขียนดังนี้  : * Tabloid หมายถึงหนังสือพิมพ์ไซซ์เล็กที่มักเล่นข่าวซุบซิบ เรื่องอื้อฉาวคนดัง หรือ เรื่องประหลาดหวือหวา-บรรณาธิการ

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

37


โทมัส ควิกเป็นบุตรคนที่  5 ในพี่น้อง 7 คน พ่อเป็น ผู้ช่วยพยาบาลตามบ้านส�ำหรับผู้เป็นโรคติดสุรา ส่วนแม่เป็นผู้ดูแลและท�ำความสะอาดโรงเรียนแห่ง หนึ่งซึ่งปิดกิจการหลายปีแล้ว พ่อแม่เสียชีวิตแล้ว ขณะนี้  […] ครอบครัวนี้ซ่อนความลับไว้เบื้องหลัง อย่างมิดชิด  โทมัส ควิกอ้างว่า เขาตกเป็นเหยื่อ ล่วงละเมิดทางเพศของพ่ออย่างต่อเนื่องตั้งแต่อายุ 4 ขวบ ถูกพ่อบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ทางปากและ ทางทวารหนัก   ระหว่างโดนล่วงละเมิดทางเพศครัง้ หนึง่  เกิด เหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น  มันหล่อหลอมชีวิตควิกไป สู่ความวิปลาสทางเพศ นั่นคือแม่โผล่มากะทันหัน และเห็นว่าพ่อลูกก�ำลังท�ำอะไรกัน  เธอช็อกจนถึง กับแท้งบุตร ตะโกนใส่หน้าควิกวัย 4 ขวบว่าเขาฆ่า น้องชาย  พ่อซ�้ำเติมค�ำกล่าวหานั้นโดยพูดเป็นนัยว่า ควิกยั่วยวนชักจูงให้ร่วมเพศ ความสัมพันธ์ระหว่าง แม่ลูกขาดสะบั้นแต่นั้นมา แทนที่ด้วยความเกลียด หลังแท้งบุตรในครรภ์  เธอโยนความผิดทั้งหมดให้ ควิก มันเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสเกินกว่าที่เขาจะ รับได้ ควิกอ้างว่าครั้งหนึ่งแม่พยายามฆ่าเขา ทั้ง กล่าวหาว่าแม่เริ่มท�ำร้ายทางเพศเขาคู่ขนานกับพ่อ

ยอนเน่  มัตต์สนั เขียนต่อไปว่า ควิกเคยก่อคดีฆาตกรรม 2 คดีขณะ เป็นวัยรุ่น พออายุ  13 ปี   ควิกทนไม่ไหวกับการล่วงละเมิดทางเพศของพ่อ ดังนั้น เมื่อพ่อพยายามข่มขืนอีก เขาจึงสู้สุดฤทธิ์   ต่อมาเขายอมรับว่า

38

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


เขาอยากฆ่าพ่อ แต่ไม่กล้า  เขากลับรับพฤติกรรมกามวิปริตของพ่อมาใส่ตัว  แต่ซาดิสต์และ ผิดปกติกว่า  6 เดือนต่อมา ขณะอายุ  14 เขาสังหารเด็กชายวัยเดียวกัน คนหนึ่งในแวกซ์เฮอ […] 3 ปีหลังจากนั้น วันที่  16 เมษายน 1967  เด็ก ชายวัย 13 ปีอีกคนตกเป็นเหยื่อสังหารด้วยน�้ำมือควิก แม้ ยั ง ไม่ มี ก ารเชื่ อ มโยงควิ ก กั บ คดี ฆ าตกรรมดั ง กล่ า วอย่ า งเป็ น ทางการ และไม่มีการด�ำเนินคดีหรือพิสูจน์ได้ว่าเขามีความผิดในคดีหนึ่ง คดีใดจริง สื่อมวลชนก็เชื่อแล้วว่าเขากระท�ำผิดจริง เชื่อด้วยว่า เรื่องที่เขา กล่าวหาพ่อแม่ข่มขืนอย่างเป็นระบบ ล่วงละเมิดทางเพศ และพยายาม ฆ่านั้นก็เป็นความจริงเช่นกัน  ทัศนคติดังกล่าวของสื่อมวลชนในช่วงนี้สามารถอธิบายได้ด้วย เหตุผล 3 ประการคือ ประการแรก มีค�ำสารภาพของควิก  ประการที่  2 อัยการคริสเตอร์  แวน เดอร์  ควาสท์แถลงชัดเจนว่า มีหลักฐานอื่นเชื่อม โยงควิกกับอาชญากรรมหลายคดี   ประการที่  3 ค�ำแถลงเหล่านั้นถูก น�ำไปผนวกกับข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดทางเพศที่โทมัส ควิกสาธิตว่า กระท�ำต่อเด็กชายหลายคนในปี  1969  รวมถึงข้อความที่ยกมาจากค�ำ แถลงของนักนิติจิตเวชที่ว่า ควิกเป็นบุคคลอันตรายต่อสาธารณชน เมื่อน�ำ  3 ประการนั้นมาปะติดปะต่อกัน ประวัติชีวิตที่สมเหตุสม ผลจึงถูกสร้างขึ้นมาให้กับฆาตกรผู้ชั่วร้าย ซึ่งขณะนี้ถูกด�ำเนินคดีฐาน กระท�ำฆาตกรรมคดีแรกในหลายคดี บทความของหนังสือพิมพ์  สเวนสก้า ด็อกบลาเด็ท อ้างอีกครัง้ กรณี นักนิติจิตเวชรายนั้นซึ่งตรวจอาการควิกเมื่อปี  1970   อ้างว่าควิกป่วยเป็น โรคกามวิตถารร้ายแรง ประเภทวิปริตทางเพศแบบใช้ความรุนแรงกับเด็ก ศาลแขวงฟาลูตัดสินลงโทษควิกคดีล่วงละเมิดทางเพศเด็กผู้ชาย หลายคดี  และให้ส่งตัวไปอยู่ในความดูแลของสถาบันจิตเวชเพื่อรับการ บ�ำบัดรักษา  4 ปีต่อมา ขณะอายุ  23 ควิกผ่านการพิจารณาว่าสุขภาพ จิตดีพอที่จะได้รับการปล่อยตัว

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

39


“เมื่ อ มองย้ อ นกลั บ ไป ก็ ถื อ เป็ น ความผิ ด พลาดที่ ป ล่ อ ยตั ว เขา” บทความดังกล่าวสรุปก่อนตบท้ายโดยคาดการณ์ว่า ศาลจะตัดสินว่าเขา มีความผิดฐานฆ่าชาร์ลส์  เซลมาโนวิตซ์ในการพิจารณาคดีที่จะถึง  “พวก เขาปล่อยตัวระเบิดมีชีวิตซึ่งอัดแน่นด้วยความทุกข์ที่เก็บกดไว้ให้ออกมา เพ่นพ่าน สุดท้าย ความทุกข์นี้น�ำควิกกับเพื่อนคนรักร่วมเพศไปยังพิเทเออ เพื่อละเมิด ฆ่า และหั่นศพเด็กชายวัย 15 ปี” แม้รายละเอียดชวนขนลุกจะได้รับการตีแผ่มามากมายแล้วก็ตาม แต่การเผชิญหน้ากับควิกจริงๆ ในศาลแขวงพิเทเออ ยังคงสร้างความปั่น ป่วนให้กับท้องไส้ของผู้อยู่ในห้องพิจารณาคดี   พวกนักข่าวแก่งแย่งกัน ป่าวประกาศความขยะแขยงและชิงชังอสุรกายในคอกจ�ำเลย “มนุษย์โหดเหีย้ มได้เยีย่ งนีเ้ ชียวหรือ?” นีเ่ ป็นพาดหัวข่าวของหนังสือ พิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น หลังจบการพิจารณาคดีของศาลในวันแรก เพลเล่ ทาเกสสัน ผู้สื่อข่าวที่กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องควิก เขียนต่อไปว่า : ทันทีที่ท่านทราบความจริงอันสยดสยองของพฤติ กรรมที่โทมัส ควิกท�ำต่อบรรดาเหยื่อของเขา และ เมื่อท่านได้ยินเสียงค�ำรามเหมือนสัตว์ป่าของชาย คนนี้  มีเพียงค�ำถามเดียวที่เหลืออยู่  : นั่นคือเขาเป็นมนุษย์จริงหรือ? เหตุการณ์ในศาลแขวงพิเทเออเมื่อวานนี้น่า จะเลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในศาลสวีเดน แซเทอร์แมน-โทมัส ควิกก�ำลังถูกด�ำเนินคดี ข้อหาฆ่าชาร์ลส์  เซลมาโนวิตซ์ เขาร้องไห้  แต่ไม่มีใครรู้สึกเสียใจกับเขา เชิร์สติน เวจ จากหนังสือพิมพ์  แอฟตอนบลาเด็ท เขียนว่า โทมัส ควิก “อยู่พ้นขอบเขตจะท�ำความเข้าใจ”  โชคดีที่สเวน อัวเก้  คริสเตียนสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านความจ�ำซึ่งอยู่ที่นั่นได้อธิบายเรื่องที่คนธรรมดาทั่วไป

40

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


ไม่เข้าใจ “ผมไม่คิดว่าคนธรรมดาจะสามารถเข้าใจสิ่งที่ควิกท�ำ   มันยากเกิน กว่าจะเข้าใจ นั่นคือเหตุผลที่เราไม่ยอมรับมัน”  เขาอธิบายว่ามี  ‘ตรรกะ’ บางอย่างแฝงอยู่ในการกระท�ำของควิก “ควิกถูกพ่อข่มขืนตั้งแต่อายุ  4 ขวบ  วัยเด็กโดนขโมยไปจากเขา เขาไม่สามารถอดทนต่อความกลัวของ ตัวเอง จึงพยายามโอนย้ายความกลัวนัน้ ไปให้คนอืน่ ทีส่ ามารถรับได้   ควิก มีความคิดผิดๆ ว่า เขาสามารถท�ำลายชีวิตคนอื่นเพื่อสร้างชีวิตใหม่ให้ ตัวเอง  แต่มันได้ผลเพียงชั่วคราว เลยต้องฆ่าต่อไปอีก” หลังจบการพิจารณาคดีวันแรก ความสงสัยที่ว่าควิกกระท�ำผิดจริง หรือไม่  หายไปสิน้   หนังสือพิมพ์  แอฟตอนบลาเด็ท ป่าวร้องทันที  “ชายผูน้ ี้ เป็นฆาตกรต่อเนื่อง ชอบมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก สมสู่กับศพ เป็นมนุษย์กิน คน และซาดิสต์   เขาเป็นบุคคลที่น่ารังเกียจยิ่ง” วิดีโอจากป่าในพิเทเออเผยภาพควิกก�ำลังร�่ำไห้และคร�่ำครวญด้วย ความเสียใจขณะเล่าว่า เขาฆ่าและหั่นศพชาร์ลส์  เซลมาโนวิตซ์อย่างไร ไม่มีผู้ใดในห้องพิจารณาคดีอดกลั้นความสะเทือนใจไว้ได้ เชิร์สติน เวจ เขียนต่อดังนี้  : หลังได้ฟัง ฉันไม่สงสัยเลยแม้แต่น้อย  ค�ำพูดของ เขาพรัง่ พรูออกมาในช่วงสัน้ ๆ พร้อมอาการชักกระตุก คล้ายกับจะอาเจียน  ใช่-นี่ต้องเป็นความจริงแน่ๆ  ฆาตกรรมคดีนี้ผ่านไปแล้ว 17 ปี   แต่ควิก สามารถชี้สถานที่ที่ขุดพบชิ้นส่วนศพผู้ตาย  เขานั่ง บนก้อนหินที่ใช้ฆ่าและหั่นศพ อีกทั้งอธิบายชัดเจน ว่าฝังศพที่ใด การพิจารณาคดีที่ศาลแขวงพิเทเออ ในเดือนพฤศจิกายน 1994 เป็นชัยชนะที่ง่ายดายครั้งหนึ่งของอัยการคริสเตอร์  แวน เดอร์  ควาสท์ ศาลมีความเป็นเอกฉันท์  ตัดสินว่าควิกมีความผิดฐานฆ่าชาร์ลส์  เซลมา-

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

41


โนวิตซ์ สื่อมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น พนักงานสอบสวนขยายผลไปยังคดี อื่นต่อไป  จนกระทั่ง พวกเขาทุ่มความสนใจกับประเด็นที่ว่า ควิกอยู่ที่ ไหนขณะเกิดเหตุคดีฆาตกรรมเด็กอีกหลายรายที่ยังคลี่คลายไม่ได้  หรือ เมื่อใดก็ตามที่เด็กผู้ชายหลายคนหายตัวไปภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ไม่ สามารถอธิบายได้ หลังศาลตัดสินคดีในพิเทเออไม่ถึง 1 สัปดาห์   พนักงานสอบสวน มีงานเข้าอีกเมือ่ ควิกโทรศัพท์ไปยังบ้านของเซ็ปโป เพนท์ตเิ นน นายต�ำรวจ อาวุโสแห่งซุนด์ซวาลล์ว่า “น่าจะเป็นเรื่องดี  หากผมได้เผชิญกับข้อมูล เกีย่ วกับฆ่าคนตายอีก 2 รายในนอร์บอ็ ตเต็นเมือ่ ประมาณ 10 ปีกอ่ น  ผม คิดว่าผมน่าจะอยู่ที่นั่นช่วงหนึ่ง…”

42

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


คดีอัปโปเยาเร่

มารินัสและยอนนี่  สเตเกห์วิส คู่สามีภรรยาจากเนเธอร์แลนด์  อายุ 34 และ 39 ปีตามล�ำดับ ยังไม่มีบุตร พยายามเก็บเงินเพื่อเดินทางไปพัก ผ่อนในนอร์ดิค แอลพ์   เมื่อถึงฤดูร้อนปี  1984 พวกเขาก็พร้อมสานฝันให้ เป็นจริง เช้ามืด วันที่  28 มิถุนายน ทั้งสองขับรถโตโยต้าโคโรลล่า ออกจาก บ้านในอัลเมโล วิ่งโดยไม่หยุดเพื่อไปแวะพักบ้านญาติของมารินัสที่เออเดสเฮิร์กในเอิสเทอร์เยิทลันด์  เนื่องจากงบประมาณจ�ำกัด ไม่มีปัญญา ค้างคืนตามโรงแรม  หลังจากพักที่เออเดสเฮิร์ก 3 คืนก็ออกเดินทางต่อมุ่ง สู่ฟินแลนด์  ที่นั่น พวกเขามีเพื่อนหลายคนที่รู้จักสมัยเป็นนักร้องประสาน เสียงในโบสถ์แห่งหนึ่ง เมื่อออกจากมุสตาซารี่ในเอิสเทอร์บ็อตเต็น ก็ขับขึ้นเหนือสู่การ ผจญภัยอย่างแท้จริง  ข้ามนอร์ดคาล็อตเต็น ผ่านนอร์ท เคป มุ่งไปยัง สวีดิช แอลพ์   วางแผนกางเต็นท์พักแรมบริเวณที่รกร้างว่างเปล่าห่างไกล ผู้คน ไม่มีแผนอะไรอื่น รับมือกับสภาพไปวันต่อวัน หวังจะใช้เวลาเพลิด เพลินกับการตกปลา หาประสบการณ์กับสัตว์ป่า และถ่ายภาพธรรมชาติ

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

43


การเดินทางล�ำบากกว่าที่คิดเนื่องจากฝนตกชุก ลมแรง อุณหภูมิ ใกล้จุดเยือกแข็ง และยุงชุกชุม  ซ�้ำเติมด้วยเครื่องยนต์มีปัญหานอกเมือง วิทังกิ  ต้องลากเข้าอู่ซ่อม 2 ครั้ง จ�ำต้องนอนค้างโรงแรม 1 คืน ค่าซ่อมรถ ก็แพงมาก ทั้งคู่ออกจากคิรูน่าแบบไม่มีเงินติดกระเป๋าเดินทางลงใต้  เย็นวันที่ 12 กรกฎาคม พวกเขากางเต็นท์ที่ปลายแหลมด้านทิศเหนือของทะเล สาบอัปโปเยาเร่  ยอนนี่บันทึกไว้ในไดอารี่ดังนี้  : “ขับไปอุทยานแห่งชาติสตูร่า ฮวาฟาเล็ต ภูมิทัศน์ โดยรอบสวยมาก  ถ่ายรูปไว้บ้าง ถ่ายวิดีโอกวาง เรนเดียร์เอาไว้  เจอตัวสโตทตัวหนึ่งข้างถนน กาง เต็นท์เวลา 16.30 น. บริเวณนัน้ ล้อมรอบด้วยป่า ยุง ยังคงรังควาน  ตลอดระยะทาง 150 กม.จากคิรูน่า ฝนตกปรอยๆ ต่อมาอากาศสดใสขึ้น แล้วตอนนี้ฝน ก็ตกอีกรอบ” ทั้งสองตั้งเตาแก๊สข้างนอกทางเข้าเต็นท์   เพื่อให้พอมีที่ก�ำบังฝน ระหว่างท�ำอาหารง่ายๆ ด้วยไส้กรอกกับถั่วเขียว   วันศุกร์ที่  3 กรกฎาคม ก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อย  ต�ำรวจในเยลลิวาเร่ ได้รับโทรศัพท์จากมัตติ  แยร์วิเนน ชาวเมืองกอเธนเบิร์กซึ่งก�ำลังพักผ่อน แถวเทือกเขาในสวีเดน ว่าพบคนตายในเต็นท์บริเวณพื้นที่ปิกนิกใกล้ทะเล สาบอัปโปเยาเร่   เมื่อทราบเหตุ  แฮร์รี่  แบรนสตร็อม สารวัตรสืบสวน กับ เอน่าร์  ยาคอปสัน นายต�ำรวจอาวุโสขับรถฝ่าสายฝนเป็นระยะทาง 80 กม. ท่ามกลางแสงตะวันยามค�่ำคืนของโลกเขตเหนือ  ถึงสถานที่เกิดเหตุ ตามที่ได้รับแจ้ง พบเต็นท์ส�ำหรับนอน 2 คนยุบลงกับพื้น พวกเขาค่อยๆ ยกเสาเต็นท์  รูดซิปเปิดดู  ภาพที่ปรากฏรายละเอียดเบื้องต้นในรายงาน ของต�ำรวจ ดังนี้  : ฮันเนส ร็อสตัม เขียน 44 โรจนา นาเจริญ แปล


ข้างผนังเต็นท์ฝั่งตะวันตกเป็นศพชายคนหนึ่งอายุ ประมาณ 30-40 ปี  นอนหงาย […] คราบเลือดเต็ม ใบหน้า รอบคอและไหล่ขวา  มีเลือดจ�ำนวนมาก อยู่ด้านขวาของเสื้อสเวตเตอร์ไร้แขน ใกล้ตะเข็บ ระดับราวนม บนเสื้อบางแห่งก็มีคราบเลือด  ผู้ตาย มีบาดแผลถูกแทงหรือเฉือนที่แขนขวาท่อนบน ที่ ล�ำคอข้างซ้าย และที่อกขวาข้างราวนม มีรอยคล้าย รอยฟกช�้ำพาดขวางปาก  มองจากทางเข้าเต็นท์  มีศพหญิงนอนตะแคง ขวาทางด้านขวาศพชาย  ศีรษะและแก้มขวาอยู่บน พื้นข้างสะโพกศพผู้ชาย ตัวงอเกือบ 90 องศา แขน ซ้ายเหยียดท�ำมุมประมาณ 45 องศาจากร่างกาย ท่อนบนซึ่งห่อด้วยผ้าห่มนวมลวดลายเหมือนผ้าห่ม นวมของศพผู้ชาย ผ้าห่มเต็มไปด้วยคราบเลือด

ต�ำรวจพบมีดส�ำหรับแล่เนื้อเลาะกระดูกเล่มหนึ่งนอกเต็นท์  ผลิต โดยฟัลคอนในสวีเดน น่าจะเป็นอาวุธที่คนร้ายใช้ฆ่าผู้ตาย  ใบมีดบาง ส่วนหักออกจากด้าม ซึ่งต่อมาพบอยู่ระหว่างแขนกับล�ำตัวของศพหญิง ใบมีดคงหักตอนจ้วงแทงโดนกระดูกอย่างแรง พบรถโตโยต้าโคโรลล่าสีเขียวเทา ป้ายทะเบียนดัตช์จอดอยู่บริ เวณที่โล่งแจ้งระหว่างเต็นท์กับทะเลสาบ  ประตูล็อก ภายในรถอยู่ใน สภาพเรียบร้อย ไม่มีร่องรอยการรื้อค้น ต�ำรวจสามารถระบุชื่อผู้ตายได้อย่างรวดเร็ว สภาพที่เกิดเหตุบ่งชี้ ว่าเกิดจากการกระท�ำของคนวิกลจริต วันต่อมา ศพถูกส่งไปอูเมอัว ให้อันแดร์ส อิริคสัน เจ้าหน้าที่ชันสูตร ศพท�ำการตรวจทางนิติเวชอย่างละเอียด ในรายงานการชันสูตรศพทั้ง 2 รายระบุว่า มีบาดแผลถูกแทงและฟันขนาดใหญ่หลายแห่ง

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

45


พนั ก งานสอบสวนสรุ ป ความเห็ น ว่ า  คนร้ า ยแทงผู ้ ต ายทั้ ง สอง ระหว่างนอนหลับ เริ่มจากจ้วงแทงเต็นท์อย่างบ้าระห�่ำ  ผู้ตายทั้งสองตกใจ ตื่น ยกแขนขึ้นป้องกันตัว  แต่ไม่มีคนใดหนีออกจากถุงนอนได้ทัน เหตุ การณ์จะต้องเกิดขึ้นรวดเร็วมาก ข่าวการฆ่าชาวดัตช์คู่นี้ท�ำเอาผู้คนทั่วประเทศตกตะลึง  แย่ที่สุด คือ ฆาตกรซึ่งเป็นใครก็ตาม ขี้ขลาดตาขาวมากที่คืบคลานเข้าหาผู้ตายที่ ไม่เคยพบกันมาก่อนขณะก�ำลังหลับไร้ทางต่อสู้  หรือจะเป็นเรื่องการจู่โจม แบบนิรนาม จ้วงแทงผ่านผ้าเต็นท์ไม่ยั้ง เหยื่อสังหารไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่มีโอกาสเห็นหน้าคนร้าย  หรือเรื่องบาดแผลขนาดใหญ่จ�ำนวนมากที่ แสดงว่าแทงอย่างเมามัน หลักฐานในที่เกิดเหตุชี้ไปทิศทางเดียวว่า คน ร้ายปราศจากมูลเหตุจูงใจ  การสังหารสามีภรรยาสเตเกห์วิสเป็นเรื่อง แปลกและสร้างความสับสนทุกแง่มุม อธิบายได้เพียงอย่างเดียวว่า นี่เป็น การกระท�ำของคนป่วยทางจิตชนิดเกินจะหยั่งถึงได้ อาชญากรรมเหี้ยมโหดในถิ่นห่างไกลผู้คนของสวีเดนคดีนี้เป็นที่ สนใจคนนอกประเทศอีกด้วย  ในการสืบสวนสอบสวนที่ตามมา ต�ำรวจ สอบปากค�ำกว่าหนึ่งพันคน แต่ไม่มีความคืบหน้า โดยทั่วไป คดีฆาตกรรมที่ใช้เวลายาวนานกว่าจะคลี่คลาย มัก ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับตัวคนร้ายที่ไหนสักแห่งในส�ำนวนการสอบสวน แต่ส�ำหรับคดีนี้  ไม่ปรากฏร่องรอยของชายผู้ซึ่งในอีก 10 ปีต่อมาสารภาพ ว่าเป็นคนสังหารมารินัสและยอนนี่  สเตเกห์วิส  ข้อเท็จจริงอีกประการที่ สร้างความงุนงงให้พนักงานสอบสวนคือโทมัส ควิก ซึ่งจนกระทั่งถึงวัน เวลาเกิดเหตุคดีฆาตกรรมมารินสั และยอนนี ่ เป็นทีร่ กู้ นั ว่าเขาเลือกฆ่าเฉพาะ เด็กผู้ชายเท่านั้น แต่คราวนี้สารภาพว่าใช้มีดฆ่าสามีภรรยาวัย 30 เศษ ระหว่างต�ำรวจซักถามครั้งแรกเมื่อ 23 พฤศจิกายน 1994  ควิก เล่าว่า เขาโดยสารรถไฟจากฟาลุนไปย็อคม็อค สถานที่ที่เขาคุ้นเคยตั้งแต่ ตอนเรียนมัธยมปลายในปีการศึกษาปี  1971-1972 ขโมยจักรยานคันหนึ่ง จากหน้าพิพิธภัณฑ์ซามี่  แล้วปั่นไปเรื่อยๆ อย่างไร้จุดหมาย จนถึงถนน แวเก้น แวสเตรูต ซึ่งทอดจากพอร์ยูสไปทางสตูร่า ฮวาฟาเล็ต

46

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


เขาสังเกตเห็นผู้ตายทั้งสองที่บริเวณปิกนิกใกล้ทะเลสาบอัปโปเยาเร่   คืนนั้นเอง เขาบุกเข้าเล่นงานด้วยมีดล่าสัตว์ที่พกติดตัวมาด้วย เรื่องราวที่ออกจากปากควิกคลุมเครือ  แถมยังพูดออกมาชัดว่า เขาไม่มั่นใจจริงๆ ว่าตัวเองเกี่ยวข้องอะไรกับการฆ่าครั้งนี้   สิ่งที่ท�ำให้เขา สงสัยมี  2 ประการ คือ ลักษณะการใช้ความรุนแรง และหนึ่งในเหยื่อ ฆาตกรรมเป็นผู้หญิง ในการสอบปากค�ำครั้งที่  2  ควิกเปลี่ยนเรื่องเป็นว่า อ้างถึงชายอีก คนที่เขาจัดแจงนัดพบกันที่ย็อคม็อค  ผู้สมรู้ร่วมคิดรายนี้รู้กันดีว่าเป็น อาชญากรเหี้ยม นั่นคือจอห์นนี่  แฟร์บริงค์  ซึ่งเคยมีชื่อโผล่ขึ้นระหว่างการ สืบสวน ควิกอ้างว่า เขากับจอห์นนี่เดินทางไปอัปโปเยาเร่ด้วยรถปิกอัพ โฟล์คสวาเก้นของจอห์นนี่   แล้วร่วมกันแทงสองสามีภรรยาจนตาย การสอบปากค�ำครั้งต่อๆ มา ควิกเพิ่มรายละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ บอกต�ำรวจว่า พบเพื่อนคนหนึ่งซึ่งเคยเรียนมัธยมปลายด้วยกัน  นอกจาก นี้  เขากับจอห์นนี่ยังไปเยี่ยมเพื่อนอีกคนถึงที่บ้านในพอร์ยูสด้วย  หนังสือพิมพ์หลายส�ำนักตีพิมพ์ข่าวโทมัส ควิกมีผู้สมรู้ร่วมคิดก่อ เหตุฆาตกรรมคดีนี้   ขณะนั้น จอห์นนี่  แฟร์บริงค์ก�ำลังถูกจองจ�ำหลังศาล ตัดสินจ�ำคุกฐานฆ่าคนตายรายหนึ่งเป็นเวลา 10 ปี  เมื่อนักข่าวหนังสือ พิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น ถามเขาว่า คิดเห็นอย่างไรกับการซัดทอดของควิก จอห์นนี่ตอบอย่างเหลืออด “มั่วทั้งเพ! ผมไม่รู้จักมัน ไม่เคยพบมัน” อย่างไรก็ตาม เมื่อการสืบสวนสอบสวนผ่านไป 4 เดือน  อัยการ คริสเตอร์  แวน เดอร์  ควาสท์ถึงกับให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น วันที่  23 เมษายน 1995 ว่า “ค�ำสารภาพของโทมัส ควิกสอดคล้อง กับข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบสวนสอบสวน  ผมสามารถพูดได้เพียงว่า ยิ่งขุดลึก เราก็ยิ่งแน่ใจว่าควิกไม่ได้โกหกหรือเพ้อฝัน  ขณะเกิดเหตุเขาอยู่ ในบริเวณใกล้เคียงทะเลสาบอัปโปเยาเร่  และรู้จักภูมิประเทศแถวนั้นดี เพราะเคยเรียนมัธยมปลายในย็อคม็อค”

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

47


ถึงขณะนี้  โทมัส ควิกสารภาพว่าสังหารผู้อื่นมา 7 รายแล้ว  ซึ่งหาก เป็นความจริง เขาจะเป็นฆาตกรต่อเนื่องที่ชั่วร้ายที่สุดในสวีเดน นาย ต�ำรวจมากประสบการณ์  2 นายจากหน่วยปาลเม่ซึ่งก�ำลังสืบสวนสอบ สวนคดีสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีถูกย้ายไปท�ำคดีควิก เช่นเดียวกับฮานส์ เอิลเวโบร ผู้เป็นหัวหน้า  เพราะตอนนี้  ต�ำรวจให้ความส�ำคัญกับคดีนี้เป็น ล�ำดับแรก 9 กรกฎาคม เครื่องบินเจ็ตส่วนตัวซึ่งต�ำรวจเช่าเหมาล�ำทะยาน ขึ้นจากสนามบินในอาร์ลันด้ามุ่งสู่เยลลิวาเร่  ผู้โดยสารบนเครื่องประกอบ ด้วยโทมัส ควิก, บีร์กิตต้า สตัวห์เล นักจิตบ�ำบัดที่ดูแลควิก, คริสเตอร์ แวน เดอร์  ควาสท์  อัยการ, สเวน อัวเก้  คริสเตียนสัน ผู้เชี่ยวชาญด้าน ความจ�ำ  และเจ้าหน้าที่กับผู้ช่วยดูแลอีกจ�ำนวนหนึ่ง จุดประสงค์ของการ เดินทางคือ ย้อนล�ำดับเหตุการณ์สังหารสามีภรรยาสเตเกห์วิส นอกจากนี้  บนเครื่องยังมีกุนนาร์  ลุนด์เกร็น ทนายความของควิก ด้วย  เมื่อพิจารณาใคร่ครวญแล้วเห็นว่านี่เป็นการสืบสวนสอบสวนคดี อาชญากรรมส�ำคัญซึ่งก�ำลังเป็นเป้าสายตาของคนทั้งประเทศ ทนายท้อง ถิ่นอย่างกุนนาร์  ลุนด์เกร็นก็ไม่น่าจะเหมาะอีกต่อไป  หลังหารือกับเพนท์ติ เ นนและคริ ส เตี ย นสั น  จึ ง มี ก ารตั ด สิ น ใจเปลี่ ย นทนายความของควิ ก จากลุนด์เกร็น ไปเป็นคลอส บอร์กสตร็อม นักกฎหมายผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง คลอส บอร์กสตร็อมยินดีรับงานนี้  แต่เนื่องจากเขาเริ่มวันพักผ่อนนาน 5 สัปดาห์  ทีมงานจึงต้องฝืนใจเชิญลุนด์เกร็นไปแทน  ทุกคนรวมทั้งควิกนั่ง เก้าอี้หนังหรูหรา มีที่วางแขนพร้อม วันรุ่งขึ้น ควิกน�ำทางพนักงานสอบสวนไปพอร์ยูส และแวเก้น แวสเตรูต  และเลี้ยวเข้าเส้นทางสู่ป่า และมาถึงบริเวณปิกนิกชายป่าใกล้ทะเล สาบอัปโปเยาเร่ในท้ายที่สุด  ต�ำรวจผู้เชี่ยวชาญทางนิติเวชจ�ำลองสถานที่ เกิดเหตุเหมือนคืนวันที่  13 กรกฎาคม 1984 โดยมีฮานส์  เอิลเวโบร และ แอนนา วิคสตร็อม สารวัตรสืบสวนร่วมจ�ำลองสถานการณ์ด้วย  ทั้งเต็นท์ เตาแก๊ส ถุงนอน และอื่นๆ วางอยู่ในต�ำแหน่งเดียวกับที่ต�ำรวจพบหลัง เกิดเหตุ   ตัวเต็นท์เป็นแบบเดียวกับที่ผู้ตายใช้นอนในคืนนั้น โดยสั่งพิเศษ

48

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


จากเนเธอร์แลนด์   แล้วให้เอิลเวโบรเข้าไปนอนด้านซ้ายตรงที่มารินัสนอน และวิคสตร็อมนอนด้านขวาตรงที่ยอนนี่นอน จากนั้น ควิกสาธิตให้ดูว่าเขาท�ำอย่างไรบ้าง เริ่มจากถือกิ่งไม้แทน มีด ย่องเข้าไปที่เต็นท์  แล้วกระโจนใส่   ทิ่มแทงเต็นท์อย่างเมามันจนขาด เปิดเป็นช่องให้เข้าไปข้างในได้   ระหว่างสาธิตทิ่มแทงเต็นท์นั้น เขาท�ำ เสียงฮึดฮัดและค�ำรามไปด้วย ท�ำเอาแอนนา วิคสตร็อมตกใจจริงๆ จน ถึงกับร้องขอความช่วยเหลือ  ต�ำรวจรีบช่วยกันรวบตัวควิก การท�ำแผน ประทุษกรรมต้องยุติชั่วคราว  การสาธิตครั้งแรกของควิกไม่สอดคล้องกับล�ำดับเหตุการณ์ตาม ความเป็นจริงที่ต�ำรวจรู้ หลังหยุดพัก การท�ำแผนเริ่มใหม่อีกครั้ง คราวนี้ควิกตั้งอกตั้งใจ เต็มที่  จึงสอดคล้องกับความเป็นจริงที่ทราบมาก่อนแล้ว เขาเล่าให้เพนท์ติเนนฟังอย่างใจเย็นถึงการแทงแต่ละครั้ง สรุปการสมรู้ร่วมคิดกับจอห์นนี่ แฟร์บริงค์  และสาธิตการกรีดเต็นท์เป็นทางยาวเพื่อใช้เป็นทางเข้าข้างใน 7 ชั่วโมงถัดมา เมื่อการล�ำดับย้อนเหตุการณ์เสร็จสิ้น ทั้งพนักงาน สอบสวนและอัยการต่างพอใจผลที่ออกมา หนังสือพิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น ฉบับวันที่  12 กรกฎาคม อ้างค�ำพูดของแวน เดอร์  ควาสท์ว่า “เป็นไป อย่างราบรื่น ควิกเต็มใจท�ำ  และสามารถแสดงรายละเอียดการสังหารทุก ขั้นตอน” เขาจึงมั่นใจว่าควิกเป็นผู้สังหารสามีภรรยาคู่นี้แน่ ผู้เชี่ยวชาญจริงๆ และคนที่อ้างตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ ต่างแห่กันออก มาให้ความเห็นและอธิบายประสบการณ์และสภาวะแวดล้อมต่างๆ ซึ่งท�ำ ให้ชีวิตเด็กชายสตูเร่  แบร์กวาลล์พลิกผันไปสู่ฆาตกรต่อเนื่องซาดิสต์ที่ รู้จักในนามโทมัส ควิก  เชิร์สติน วินเตอร์เฮด นักข่าวซึ่งเป็นที่ยอมรับนับ ถืออย่างสูง เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์  ดอเก้นส์  นีเฮเทอร์  บรรยายถึง บ้านในวัยเด็กของควิกว่า เงียบเชียบและตัดขาดจากโลกภายนอกอย่าง สิ้นเชิง ไม่มีใครไปเยือน ไม่เห็นเด็กๆ เล่นอยู่ใกล้บ้าน วัยเด็กของควิกเป็นข่าวในสือ่ อีกครัง้  รวมทัง้ การข่มขืนของพ่อ ความ โหดร้ายของแม่  และความพยายามฆ่าเขา 2 ครั้ง เข้าใจว่าควิกแปรผัน

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

49


เป็นฆาตกรหลังจากถูกพ่อท�ำร้ายทางเพศครั้งสุดท้ายในป่าเมื่อเขาอายุ  13 ปี  เขาอยากฆ่าพ่อ แต่เปลี่ยนใจเมื่อเห็นความน่าสังเวชของตัวเองขณะ กางเกงถูกรูดลงไปกองรอบข้อเท้า “แล้วผมก็วิ่งหนี  มันเหมือนก้าวกระโดดยาวๆ ครั้งเดียวจากวินาที นั้นไปสู่การก่อคดีฆาตกรรมที่แวกซ์เฮอในอีก 6 เดือนต่อมาขณะอายุ  14 ปี” ควิกให้เหตุผล “มันคล้ายกับว่า คุณก�ำลังฆ่าตัวเอง ใช่ไหม?” เชิร์สตินสงสัย “ใช่  ผมก�ำลังฆ่าตัวเอง” เขายอมรับ เชือ่ กันว่า ระหว่างก่อคดีฆาตกรรมรายนีซ้ งึ่ ก็เหมือนรายอืน่ ๆ  โทมัส ควิกเป็นทั้งคนร้ายและเหยื่อผู้ถูกกระท�ำ  การฆ่าแต่ละรายเปรียบได้กับ การจ�ำลองเหตุการณ์ที่เขาเคยเป็นเหยื่อในวัยเด็ก  นี่คือทฤษฎีที่ใช้ในการ บ�ำบัดควิก และพนักงานสอบสวนก็เห็นด้วยกับวิธีนี้ บรรดาพี่น้องของโทมัส ควิกและหลานชาย-หลานสาว ไม่ตอบโต้ อะไรนอกจากน่าอับอายต่อความโหดร้ายของพ่อแม่ควิกตามที่ปรากฏใน สื่อ ครอบครัวแบร์กวาลล์ไม่พูดถึงสตูเร่อีกเลย หากจ�ำเป็นจะเรียกเขาว่า ‘ทีคิว’ (TQ) สตูเร่  แบร์กวาลล์ไม่มีตัวตนในโลกนี้อีกแล้ว ญาติพี่น้องปิดปากเงียบนานทีเดียว แต่ในปี  1955  สเตน-อูเว่ แบร์กวาลล์  ลูกชายคนโต ก้าวออกมาพูดแทนครอบครัวโดยเขียนหนังสือ ชื่อ Min bror Thomas Quick (น้องชายผม-โทมัส ควิก) เล่าบรรยากาศ ในครอบครั ว ที่ เ ขาเติ บ โตขึ้ น มา  สเตน-อู เ ว่ ต อบค� ำ ถามแทนครอบครั ว ทั้งหมด เรื่องความทรงจ�ำที่สร้างความบอบช�้ำทางจิตใจให้แก่น้องชายใน วัยเด็กดังนี้ “ผมไม่สงสัยว่ามันดูเป็นความจริงส�ำหรับเขา   เป็นที่รู้กันว่า ผู้ บ�ำบัดกระตุ้นผู้ป่วยให้สร้างความจ�ำเท็จขึ้นมาในระหว่างบ�ำบัด” เขาให้ สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น พร้อมยืนยันอย่างหนักแน่นว่า พ่อแม่ของเขาไม่ได้กระท�ำการอันน่าละอายตามที่โทมัส ควิกกล่าวหา สเตน-อูเว่ให้เหตุผลในการเขียนหนังสือเล่มนี้ว่าไม่ใช่เพื่อเงิน  แต่ ต้องการทวงคืนวัยเด็กของเขาที่โดนพรากไปด้วยถ้อยแถลงของควิก และ

50

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


ต้องการกอบกู้ชื่อเสียงพ่อแม่ผู้ล่วงลับไปแล้วมากกว่า เพราะทั้งสองไม่ สามารถปกป้องจากข้อกล่าวหาของควิกด้วยตัวเองได้ “ผมไม่ได้บอกว่าเราเติบโตในครอบครัวที่ดีพร้อม แต่ไม่มีความ ทรงจ�ำของพี่น้องคนใดยืนยันว่าเรื่องราวที่ควิกกล่าวหาเป็นความจริง เรา ไม่ใช่ครอบครัวที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่ใช่กลุ่มคนซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับและ ท�ำตัวลึกลับ เราคบหาสมาคมกับชาวบ้าน เราท่องเที่ยวบ่อยทีเดียว ไป เยี่ยมญาติๆ ในวันหยุดสุดสัปดาห์  วันคริสต์มาส และวันเกิด” อย่างไรก็ตาม กรณีควิกสารภาพกระท�ำฆาตกรรมหลายราย สเตน -อูเว่ไม่กังขา  “เมื่อได้ยินข่าวชายคนหนึ่งสารภาพว่าฆ่าโยฮัน แอสพลุนด์  ผมรู้ โดยสัญชาตญาณว่าต้องเป็นน้องชายผมแน่  และมั่นใจว่าจะอีกหลาย เรื่องตามมา” การพิจารณาคดีฆาตกรรมที่อัปโปเยาเร่เริ่มขึ้นในเดือนมกราคม 1996 ที่ศาลแขวงเยลลิวาเร่  ในการพิจารณาคดีที่พิเทเออ  โทมัส ควิกยืน กรานให้ศาลไต่สวนเป็นการลับระหว่างเขาถูกซักค้าน แต่ในห้องพิจารณา คดีศาลแขวงเยลลิวาเร่  เขาว่าความเองอย่างมั่นใจต่อหน้าผู้เข้าฟังการ พิจารณาคดีฆาตกรรมสามีภรรยาชาวดัตช์  ให้รายละเอียดตั้งแต่นั่งรถไฟ ไปย็อคม็อคเพื่อหาเด็กชายวัยรุ่นสักคน  ที่นั่นเขาเห็นกลุ่มวัยรุ่นเยอรมัน ตัดสินใจเลือกเด็กคนหนึ่งในกลุ่มนั้นเป็นเหยื่อ เขาขโมยจักรยานของหญิงรายหนึ่งปั่นไปซูเปอร์มาร์เก็ตโดมัส เพื่อ พบกับจอห์นนี่  แฟร์บริงค์  มือมีดบ้าระห�่ำผู้เก็บกด หลังดื่มเหล้าก็พากัน ไปยังอัปโปเยาเร่ที่ซึ่งสามีภรรยาสเตเกห์วิสก�ำลังแคมปิ้ง  ควิกให้เหตุผล ในการไปที่นั่นว่าจอห์นนี่  แฟร์บริงค์  ‘ไม่ชอบ’ ชาวดัตช์คู่นั้น  ในขณะที่ ควิกหมายตาเด็กชายชาวเยอรมันที่พบในย็อคม็อคไว้แล้ว และมีความ รู้สึกว่าเด็กชายรายนี้น่าจะเป็นบุตรของมารินัสและยอนนี่  สเตเกห์วิส  “ผมถามหญิงคนนั้นตรงๆ เธอปฏิเสธว่าไม่ใช่บุตรชายของเธอ ผม โกรธมาก”  ควิกบอกศาล

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

51


การสังหารสามีภรรยาชาวดัตช์ซึ่งก่อนหน้านี้ดูเหมือนเข้าใจยาก แต่ขณะนี้เผยให้เห็นตรรกะบางอย่างแฝงอยู่  แม้จะบิดเบี้ยวชอบกลก็ตาม “ผมพยายามยกตัวเธอขึ้นมาให้หน้าของเราตรงกัน เพื่อให้เธอได้ สัมผัสความกลัวก่อนตาย” ควิกให้การต่อ “แต่ผมไม่มีแรงพอ เลยแค่จ้วง แทงและแทง” คลอส บอร์กสตร็อม ทนายของเขาถามควิกว่า เหตุใดจึงไม่ชอบ ผู้หญิงคนนั้น? “เพราะเธอปฏิเสธว่าไม่ใช่ลูก ท�ำให้ผมเชื่อมโยงกับ ม. รูปพรรณ สัณฐานก็คล้ายกัน” ควิกตอบ ม.คือ แม่ของควิก  ดังนั้น การสังหารเธอคือฆ่าแม่ตัวเอง ญาติคนหนึ่งซึ่งผู้ตายไปพักที่บ้าน 2 วันแรก เดินทางมาเยลลิวาเร่ ด้วยความอยากรู้ว่ามารินัสและยอนนี่  สเตเกห์วิสถูกฆ่าเพราะอะไร  หลัง ฟังค�ำให้การของควิก ก็ให้สมั ภาษณ์หนังสือพิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น ว่า “ควิก มันน่าขยะแขยง ไม่ควรมีชีวิตอยู่ต่อไป” ผลการด�ำเนินคดีฆาตกรรมสามีภรรยาชาวดัตช์ที่อัปโปเยาเร่ไม่ใช่ ข้อสรุปที่ชัดเจน มีประเด็นค�ำถามมากมายเกี่ยวกับเรื่องราวที่ออกจาก ปากควิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีผู้สมรู้ร่วมคิด  พนักงานสอบสวนไม่มี หลักฐานหรือพยานบุคคลที่สามารถสนับสนุนค�ำให้การถึงจอห์นนี่  แฟร์บริงค์ว่าเป็นความจริงตามที่ควิกอ้าง ไม่มีผู้ใดในร้านเห็นสองคนนี้อยู่ด้วย กัน ดื่มด้วยกัน  ด้วยเหตุผลดังกล่าว จอห์นนี่  แฟร์บริงค์จึงไม่ถูกกล่าวหา เป็นผู้ร่วมกระท�ำผิดในคดีนี้ จิตรกรท้องถิ่นคนหนึ่งซึ่งเคยเรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนเดียวกับ ควิกในยุค 70  เบิกความต่อศาลว่า เธอค่อนข้างมัน่ ใจว่า เห็นควิกทีส่ ถานี รถไฟในเยลลิวาเร่ช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุคดีฆาตกรรมในอัปโป เยาเร่ ศาลแขวงเยลลิวาเร่เชื่อด้วยว่า ควิกอยู่ที่ย็อคม็อคในวันก่อนเกิด เหตุ   ตามค�ำเบิกความโดยเจ้าของรถจักรยานสองล้อคันที่ถูกขโมย ซึ่ง ยืนยันว่าเกียร์รถจักรยานคันดังกล่าวใช้การไม่ได้ตรงกับที่ควิกให้การ

52

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


เซ็ปโป เพนท์ติเนน ต�ำรวจผู้ซักถามควิกทุกครั้งระหว่างสอบปาก ค�ำ  เบิกความในศาลชี้แจงเหตุผลที่ควิกพูดกลับไปกลับมาเปลี่ยนเรื่อง ตลอดเวลา ว่าเป็นเพราะควิก “จ�ำต้องปกป้องตัวเองโดยกุเรื่องที่คล้าย ความจริงขึ้นมา” อย่างไรก็ตาม เขายืนยันว่า สาระส�ำคัญของความทรง จ�ำของควิกชัดเจนมาก สเวน อัวเก้  คริสเตียนสันพูดถึงปัญหาของควิกในการจดจ�ำฆาต กรรมของเขา และอธิบาย 2 กลไกที่ขัดแย้งกันในการท�ำงานของความจ�ำ มนุษย์   ด้านหนึ่งคือจดจ�ำสิ่งเป็นอันตรายต่อเรา  นี่เป็นกลไกเพื่อความ อยู่รอดที่ส�ำคัญ แต่อีกด้าน เราก็ไม่สามารถวนเวียนอยู่กับความจ�ำที่ท�ำ ให้ทุกข์ทรมานตลอดเวลา การลืมมันได้จึงเป็นเรื่องส�ำคัญ คริสเตียนสันซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบการท�ำงานของความจ�ำควิก ให้ข้อ สรุปว่า ความจ�ำของควิกปกติอย่างแน่นอน  เขาอ้างว่า ไม่มีสิ่งใดบ่งชี้ว่า นี่น่าจะเป็นค�ำสารภาพอันเป็นเท็จ เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพและนักเทคนิคทางนิติเวชเบิกความโน้มน้าว ให้เชื่อว่า  ระหว่างซักถาม ควิกบรรยายบาดแผลฉกรรจ์ของสามีภรรยา ชาวดัตช์  และเรื่องราวของเขาก็ตรงกับหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ซึ่ง พบในที่เกิดเหตุ  ศาลให้ความส�ำคัญกับค�ำเบิกความของเซ็ปโป เพนท์ติเนน เกี่ยว กับกรณีที่ควิกสามารถบรรยายสถานที่เกิดเหตุถูกต้อง จึงสรุปในค�ำตัดสิน ว่า “ตามหลักฐานที่ประจักษ์  ศาลมีความเห็นโดยปราศจากข้อสงสัยว่า โทมัส ควิกมีความผิดในการก่ออาชญากรรมครั้งนี้  ซึ่งเป็นคดีฆาตกรรม” ถึงขณะนี้  โทมัส ควิกต้องค�ำพิพากษาว่ามีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น แล้ว 3 ราย แต่การสืบสวนสอบสวนเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

53


คดีเยน่อน เลวี

ส�ำนักงานสืบสวนสอบสวนกลางสหรัฐอเมริกา หรือ เอฟบีไอ ให้ นิ ย ามอั น เป็ น ที่ ย อมรั บ ของค� ำ  ฆาตกรต่ อ เนื่ อ ง (serial killer) ดั ง นี้   : หมายถึงบุคคลที่ก่อคดีฆาตกรรมตั้งแต่  3 ครั้งขึ้นไป โดยเว้นช่วงเป็นพักๆ ระหว่างการฆ่าแต่ละครั้ง ต่างกับกรณีฆ่าอย่างเมามัน (spree murders) ซึ่งเป็นการฆ่าหลายๆ คนติดต่อกันโดยไม่เว้นช่วงหยุดพัก  ถึงขณะนี้  โทมัส ควิกถูกศาลตัดสินฆ่าคนเพียง 3 รายจากการก่อ คดีฆาตกรรม 2 ครั้ง จึงยังไม่เข้าเกณฑ์ฆาตกรต่อเนื่องตามนิยามดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ระหว่างสืบสวนสอบสวนคดีฆาตกรรมที่อัปโปเยาเร่  ควิก สารภาพว่าเคยก่อคดีฆาตกรรมรายอื่นๆ อีกมากมาย  ด้วยเหตุนี้  ควิกจึง เป็น ‘ว่าที่’ ฆาตกรต่อเนื่องอย่างไม่ต้องสงสัย ตอนแรก ควิกไม่ได้สารภาพเฉพาะกับต�ำรวจเสมอไป  เพลเล่  ทาเกสสัน แห่งหนังสือพิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น เปิดเผยในเดือนสิงหาคม 1995 ว่า โทมัส ควิกรับสารภาพคดี  “ฆาตกรรมในสกัวเน่” กับเขาระหว่างให้ สัมภาษณ์  และอนุมานได้ว่า ควิกรับผิดชอบต่อคดีฆาตกรรมกามวิปริต แบบซาดิสต์  สังหารเฮเลน นิลสัน วัย 9 ขวบ แห่งฮอร์บี้เมื่อปี  1989   ใน การสัมภาษณ์คราวเดียวกัน ควิกสารภาพด้วยว่า เขาฆ่าเด็กผู้ชาย 2 คน

54

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


ในนอร์เวย์  และชายอีก 2 คนจากตอนกลางของสวีเดน คริสเตอร์  แวน เดอร์  ควาสท์แสดงความผิดหวังอย่างชัดเจนที่ควิก ไม่สารภาพกับนักบ�ำบัดและพนักงานสอบสวน กลับไปสารภาพกับสื่อ โดยตรง และกล่าวว่า “ผมหวังให้เขาสารภาพกับผมด้วย” กรณีที่ควิกปล่อยเบาะแสและบอกเป็นนัยเกี่ยวกับฆาตกรรมหลาย คดี  บางครั้งบอกต�ำรวจ แต่บางครั้งก็แย้มกับนักบ�ำบัดหรือนักข่าวนั้น คล้ายกับว่าเขาก�ำลังเล่นเกมแมวจับหนู  สร้างความขุนเคืองไม่เพียงแต่ กับแวน เดอร์  ควาสท์เท่านั้น คนอีกมากก็หงุดหงิด กลุ่มนักข่าวและสื่อรับบทบาทส�ำคัญแต่ไม่ชัดเจนในการสืบสวน คดีของควิก  ควิกมีอิสระที่จะพบนักข่าวคนใดก็ได้ที่อยากคุยด้วย และได้ อ่านบทความที่เขียนถึงเขาเป็นประจ�ำ   แวน เดอร์  ควาสท์จึงแทบท�ำอะไร ไม่ได้นอกจากยอมรับว่า กรณีควิกเคยก่อคดีฆาตกรรมชาวอิสราเอลชื่อ เยน่อน เลวี  ที่บริเวณชายขอบหมู่บ้านร็อสชิตตันในดาลาร์นา เมื่อ 11 มิถุนายน 1988 ซึ่งน�ำไปสู่การสืบสวนสอบสวนนั้น เขาไม่เคยรู้มาก่อนว่า ควิกเกี่ยวข้อง และเพิ่งทราบเรื่องจากหนังสือพิมพ์  เอ๊กซ์เพรสเซ่น   เยน่อน เลวี  อายุ  24 ปี  เป็นนักท่องเที่ยว มีผู้พบศพริมเส้นทางเข้า ป่าแห่งหนึ่งในดาลาร์นา  ต�ำรวจทุ่มสืบสวนหาตัวคนร้ายอย่างกว้างขวาง จนน�ำไปสู่ชายผู้ต้องสงสัยคนหนึ่ง แต่ไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะ ด�ำเนินคดี คดีฆาตกรรมนักท่องเที่ยวรายนี้ผลุบๆ โผล่ๆ ขึ้นมาระหว่างการสืบ สวนคดีควิกมานานแล้ว หลังผ่านการท�ำแผนเหตุฆาตกรรมที่อัปโปเยาเร่ ประมาณ 1 เดือน โทมัส ควิกโทรศัพท์ไปบ้านเซ็ปโป เพนท์ติเนน หัวหน้า พนักงานสอบสวน  เพนท์ติเนนบันทึกการสนทนาไว้ดังนี้  วันพุธที่  19 สิงหาคม เวลา 19.45 น. พนักงานลง นามด้านล่างได้รับโทรศัพท์จากควิก  ซึ่งบอกว่า สภาพจิตของเขาแย่มาก อยากคุยเกี่ยวกับบางเหตุ การณ์ที่เขาก�ำลังรู้สึกกังวล กรณีเหตุฆ่าชายชาว

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

55


อิสราเอลในดาลาร์นานั้น  ควิกบอกว่า เขาได้รับ ความช่วยเหลือจากอีกคน ร่วมก่อฆาตกรรมคดีนี้ ควิกเล่าว่า พวกเขาพบเยน่อน เลวีอยู่ข้างถนนในอุปซอลลา ผู้สมรู้ ร่วมคิดพูดคุยกับเลวีด้วยภาษาอังกฤษ  หลังจากนั้น เลวีก็ขึ้นรถของควิก ไปดาลาร์นา แล้วถูกชายทั้งสองฆ่า ควิกจับตัวผู้ตายไว้ให้อีกคนชกต่อย ก่อนฟาดด้วย วัตถุหนักๆ ที่คว้ามาจากที่เก็บสัมภาระท้ายรถ แล้ว ทิ้งศพไว้ในที่เกิดเหตุโดยไม่ได้จัดสภาพศพใหม่แต่ อย่างใด  ศพนอนหงายมากกว่าตะแคงข้าง ไม่ใช่ นอนคว�่ำอย่างแน่นอน ควิกบอกด้วยว่า เขาตามข่าวคดีนี้ตามหน้า หนังสือพิมพ์ตลอดเวลา แต่ไม่ดูภาพและไม่อ่านทุก อย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ พนักงานสอบสวนไม่กระตือรือร้นทีจ่ ะต้อนรับคดีนสี้ กั เท่าไหร่   เซ็ปโป เพนท์ติเนนบอกควิกว่า เรื่องราวของคดีฆาตกรรมเลวีปรากฏตามหน้า หนังสือพิมพ์มากมาย จนไม่มีอะไรที่พูดถึงแล้วยังไม่ใช่สิ่งที่รู้กันแล้วอย่าง กว้างขวาง อย่างไรก็ตาม เมื่อเสร็จสิ้นการสืบสวนสอบสวนคดีฆาตกรรมที่อัปโปเยาเร่   พนักงานสอบสวนก็หันมาท�ำคดีเลวีทันที   ถึงตอนนี้  ควิกกลับ ล�ำใหม่  เล่าว่าเขาอยู่ตามล�ำพังขณะเห็นเลวีที่อุปซอลลา จึงชักชวนให้ขึ้น รถไปฟาลุนด้วยกัน  ขณะแวะข้างกระท่อมเล็กที่พักตากอากาศแห่งหนึ่ง ใกล้ซอล่า ควิกใช้ก้อนหินทุบศีรษะผู้ตาย 2 ครั้ง  หลังจากนั้นลากศพไป ไว้ที่เบาะหลัง เดินทางต่อจนไปถึงร็อสชิตตัน เลี้ยวเข้าเส้นทางสู่ป่า แล้ว ทิ้งศพไว้ที่นั่น การสืบสวนคดีเลวียดื เยือ้ และยุง่ ยากส�ำหรับทุกคนทีเ่ กีย่ วข้อง เนือ่ ง

56

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


จากควิกพูดไม่อยู่กับร่องกับรอย เปลี่ยนเรื่องตลอดเวลา บางครั้งอ้างว่ามี ผู้สมรู้ร่วมคิดอีกคน บางครั้งปฏิเสธว่าไม่มี  สถานที่เกิดเหตุก็เปลี่ยนไป เปลี่ยนมา เช่นเดียวกับสถานที่พบเลวีครั้งแรก ส่วนประเด็นอาวุธสังหาร ที่ใช้นั้นควิกสร้างความสับสนยิ่งกว่าเสียอีก ในช่วงแรกๆ ของการสืบสวนสอบสวน ควิกอ้างว่าอาวุธสังหารคือ ก้อนหิน ซึ่งไม่เป็นความจริง  เมื่อซักถามอีกหลายครั้งในเวลาต่อมา เขา บอกเป็นนัยเปลี่ยนไปมาว่าใช้แม่แรง ประแจ ขวานด้ามสั้น ชะแลงเหล็ก ท่อนฟืน หรือเตะครั้งสองครั้ง แต่ทั้งหมดนั้นไม่เป็นความจริงเลย  ตลอดช่วงเวลาเกือบ 1 ปี  เพนท์ติเนนซักถามควิก 14 ครั้ง ตรวจ สถานที่พบศพ 1 ครั้ง และจัดให้มีการท�ำแผน 2 ครั้ง ระหว่างท�ำแผนครั้ง ที่  2 ควิกอ้างอาวุธสังหารว่าสัมผัสคล้ายๆ ไม้ “เห็นอะไรบ้างซึ่งยาวคล้ายไม้อย่างที่คุณว่า?” เพนท์ติเนนถาม พร้อมกับใช้  2 มือประกอบแสดงระยะห่างกันราว 1 เมตร  ควิกก้มหยิบกิ่งไม้อันหนึ่งยาวประมาณนั้นที่เห็นอยู่ใกล้ๆ ขึ้นมา ทันที คริสเตอร์  แวน เดอร์  ควาสท์ไม่คดิ ว่าทีค่ วิกเปลีย่ นเรือ่ งไปมาตลอด เวลาจะท�ำลายความน่าเชื่อถือของตัวเขา  เขาให้ความเห็นเหมือนนัก บ�ำบัดของโรงพยาบาลแซเทอร์ผู้ดูแลรักษาควิกว่า “ปัญหาอยู่ที่ความ จ�ำในฆาตกรรมหลายคดีของควิกแตกแยกเป็นเสี่ยงๆ ยุ่งเหยิง สับสน ไม่ รวมกันเป็นโครงสร้างอย่างชัดเจน  บางครัง้  ควิกใช้เวลานานกว่าจะปะติด ปะต่อชิ้นส่วนเหล่านั้นเข้าด้วยกันเป็นรูปร่าง” หลังผ่านการบ�ำบัดรักษา 1 ปี  ต�ำรวจสอบปากค�ำและจัดให้สาธิต ล�ำดับย้อนเหตุการณ์ซ�้ำอีก  ควิกปะติดปะต่อชิ้นส่วนความจ�ำได้ส�ำเร็จไม่ มากก็น้อย โดยเล่าว่า เริ่มแรก เขากับผู้สมรู้ร่วมคิดใช้ก�ำลังเอาตัวเลวีจาก ชานชาลาสถานีรถไฟอุปซอลลาไปยังที่จอดรถ ลากขึ้นรถ ให้ผู้สมรู้ร่วมคิด จับตัวไว้พร้อมใช้มีดจี้คอหอยตลอดเวลาระหว่างควิกขับรถไปยังที่เกิดเหตุ 10 เมษายน 1997  คริสเตอร์  แวน เดอร์  ควาสท์ยื่นฟ้องควิกต่อ ศาลแขวงเฮเดมอร่า โดยบรรยายส�ำนวนฟ้องสั้นๆ ว่า :

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

57


โทมัส ควิกสังหารเยน่อน เลวี  โดยใช้ของแข็งไม่มี คมทุบศีรษะและร่างกายท่อนบน เหตุเกิดระหว่าง วันที่  5-11 มิถุนายน 1988 ในร็อสชิตตันเมืองเฮเดมอร่า

นี่เป็นการพิจารณาคดีฆาตกรรมครั้งที่  3  ซึ่งโทมัส ควิกถูกกล่าว หาว่าร่วมกับผู้สมรู้ร่วมคิดคนหนึ่งฆ่าผู้อื่น และเป็นครั้งที่  3 เช่นกันที่ผู้ สมรู้ร่วมคิดไม่ถูกน�ำตัวขึ้นศาล แม้ชื่อเต็มของชายคนนั้นและพฤติกรรม การมีส่วนร่วมในการสังหารเลวีจะปรากฏในรายละเอียดค�ำพิพากษา ทั้ง นี้เพราะเจ้าตัวปฏิเสธว่าไม่รู้เรื่อง และไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะ ด�ำเนินคดี   จากนั้น ก็ไม่มีการด�ำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดกับชายผู้นี้อีก “การสอบปากค�ำชายคนนีไ้ ม่เอือ้ ประโยชน์ใดๆ ต่อการท�ำคดีของเรา” คริสเตอร์  แวน เดอร์  ควาสท์สรุป ศาลแขวงเฮเดมอร่าจ�ำต้องยอมรับว่า แม้ระหว่างการพิจารณาคดี “ไม่ปรากฏหลักฐานเชือ่ มโยงโทมัส ควิกกับอาชญากรรมคดีนโี้ ดยตรง” แต่ ศาลเชื่อว่าค�ำเบิกความคดีฆาตกรรมของควิกมีความสอดคล้องและไร้จุด ขัดแย้ง เขาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุถูกต้องมากมายและชัดเจน แม้กระทั่งเสื้อผ้าและบาดแผลของเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย ซึ่งศาลเห็นว่าสอด คล้องกับความจริงที่ได้จากการชันสูตรศพและการตรวจสถานที่เกิดเหตุ ทางนิติวิทยาศาสตร์ ควิกยังพูดถึงรายละเอียดจ�ำเพาะอื่นๆ ซึ่งดูจะบ่งชี้ว่าเขาเป็นคน ฆ่าเลวีจริง เช่น อ้างว่าเขาพบมีดแกะสลักไม้เล่มหนึ่งในเป้สะพายหลัง ของผู้ตาย ซึ่งผู้ตายเคยเขียนในไปรษณียบัตรส่งไปให้แม่ เพนท์ติเนนอธิบายต่อศาลว่า กรณีที่ควิกให้การไม่ตรงกับข้อเท็จ จริงบางประการนั้นไม่ใช่สาระส�ำคัญ เช่น การระบุอาวุธสังหารอันแสน สับสนวุน่ วาย ล้วนเป็นสิง่ ทีส่ มเหตุสมผลส�ำหรับเขา เพราะ “ผมเชือ่ ว่า ควิก รู้ดีตลอดมาว่าเป็นไม้คล้ายตะบอง แต่ด้วยเรื่องนี้เป็นภาวะกดดันต่อตัว เขา เขาจึงไม่สามารถระบุมันได้”  เพนท์ติเนนยังให้การยืนยันข้อเท็จจริง

58

ฮันเนส ร็อสตัม เขียน โรจนา นาเจริญ แปล


ที่ได้จากการสอบปากค�ำควิกและวิธีการซักถาม ซึ่งมีความส�ำคัญมากต่อ การตัดสินคดี   มีความเห็นอยู่เช่นกันว่า ควิกให้ข้อมูลอย่างละเอียดชนิด ที่มีแต่ฆาตกรเท่านั้นที่รู้ วันที่  28 พฤษภาคม 1997 ศาลตัดสินว่า โทมัส ควิกมีความผิด ฐานฆ่าเยน่อน เลวี  : ศาลเห็นว่า ค�ำเบิกความของโทมัส ควิกเป็นพยาน หลักฐานส�ำคัญยิ่ง เมื่อพิจารณาจากค�ำสารภาพ ประกอบผลการสืบสวนสอบสวน ฟังได้โดยปราศ จากข้อสงสัยว่า โทมัส ควิกมีความผิดตามฟ้องจริง จึงต้องรับผิดชอบต่อการฆาตกรรมเยน่อน เลวีโดย เจตนา ควิกถูกส่งกลับเข้ารับการบ�ำบัดทางจิตที่โรงพยาบาลจิตเวชต่อไป ขณะนี้  ศาลตัดสินลงโทษเขาฆ่าคนตาย 4 รายจากการก่อฆาต กรรม 3 ครั้งต่างวาระกัน เข้าเกณฑ์เป็น “ฆาตกรต่อเนื่อง” ตามนิยาม ของเอฟบีไอแล้ว

โทมัส ควิก ฆาตกรผู้ไม่เคยฆ่าใคร

59


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.